วารสารผลิใบ ฉบับ 113

Page 1

㪌·ÃѾÂÒ¡ÃÍ‹ҧÃÙŒ¤‹Ò à¾×èÍÇѹ¢ŒÒ§Ë¹ŒÒ à¾×èÍ͹Ҥµ

www.facebook.com/plibai2012.tei

ปที่ ๒๐ ฉบับที่ ๑๑๓ เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๗



สื่อสดใสเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๑๑๓ เมษายน – มิถุนายน ๒๕๕๗ ต้นอ่อน ๓ CARTOON CLUB : มารู้จักวันสิ่งแวดล้อมโลกกันเถอะ ๔ ฟุดฟิด FOR FUN : รู้จักพลังงาน ๖ สัตว์โลกชวนฉงน : มหัศจรรย์ชีวิต...เต่าทะเล ๘ ผลิใบ AROUND THE WORLD : เติบโต ใต้ดิน ๙ วิวัฒนาการ...สะท้านโลก : กว่าจะเป็นปากกา ๑๐ มุมสร้างสรรค์ (CREATIVE CORNER) : กระถางเพื่อนรัก...รักษ์โลก ๑๒ นิทานสีเขียว : แพนด้าน้อยจอมตะกละ ๑๔ เรื่องเล่าเยาวชน : หลังคาสีเขียว เมืองในอ้อมกอดของธรรมชาติ ๑๖ สนามนักคิด : นันทวัน วาตะ (กาแฟด�ำไม่เผ็ด) ๑๘ ผลิใบ IT : หนูน้อยหาร ๒ ๒๐ จิตรกรรุ่นเยาว์ : พลังงานสะอาด สร้างอากาศสดใส

ต้นกล้า ๒๓ บันทึกเด็กพันธุ์ใหม่ : Mind Maps ของฉัน ๒๔ นวัตกรรมล�้ำโลก : ยีนส์จากขยะ คืนชีวิตสู่ทะเล ๒๕ ผลิใบ Recycle : Gasoline Idea ถังแปลงร่าง ๒๖ On The Move : การสร้่างเมืองน่าอยู่จากนิคมที่เริ่มหมดอายุการใช้งาน ๒๙ Green Product : Gracz จากภาชนะ สู่ ภาชีวะ ๓๐ ปลูกเพื่อโลก : เกษตรบนพื้นที่จ�ำกัด ๓๑ เรื่องเล็ก ไม่น้อย : ถ่านชีวภาพ มีประโยชน์อย่างไร ๓๒ นอกรั้ว น่ารู้ : ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ๓๔ เพลินกวี : ใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า เพื่อวันข้างหน้า เพื่ออนาคต ๓๖ เกร็ดวิทย์ ติดขอบเล่ม : วิทยาศาสตร์ในปากกา ๔๐ ASEANs’ GAME : อะไรซ่อนอยู่ในป่า หาฉันให้เจอนะ

วารสารผลิใบได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทวารสารที่มีเนื้อหาทั่วไปเหมาะสมกับเยาวชน ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙ จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ วารสารผลิใบได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในวารสารอ่านเพิ่มเติมส�ำหรับห้องสมุดโรงเรียน สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๔๒ วารสารผลิใบได้รางวัลดีเด่น ประเภทสื่อมวลชน รางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ เจ้าของ : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย บรรณาธิการอ�ำนวยการ : ศ.ดร. สนิท อักษรแก้ว บรรณาธิการบริหาร : ดร. ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : คุณกมนนุช สมบุญธวงษ์ บรรณาธิการ : ณชชน พชรชัยกุล กองบรรณาธิการ : ภัทรา จิตรานนท์ เบญจพร พุทธรรมมา เลขากองบรรณาธิการ : ศิริรัตน์ จุลพฤกษ์ ออกแบบ : ณชชน พชรชัยกุล โรงพิมพ์ : หจก. สตาร์ กราฟฟิก (2555)

ส�ำนักงาน : วารสารผลิใบ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ๑๖/๑๕๑ เมืองทองธานี ถนนบอนด์สตรีท ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๐๓-๓๓๓๓ โทรสาร ๐-๒๕๐๔-๔๘๒๖-๘ อีเมล : sirirat@tei.or.th, notchana@tei.or.th เว็บไซต์ : www.tei.or.th Facebook : http://www.facebook.com/Plibai2012.Tei


ºÃóҸԡÒÃ

เปิดบ้าน ผลิใบ

สวัสดีคะ่ น้องๆ ชาวผลิใบทีน่ า่ รักทุกคน ฉบับนี้ผลิใบได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาบางส่วน เพื่อให้มีความน่า สนใจและเหมาะกับวัยของน้องๆ ในแต่ละระดับชั้น มากยิ่งขึ้น ที่ส�ำคัญคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองก็สามารถอ่านได้ด้วยค่ะ โดยใน ฉบั บ นี้ เ ราจะมาเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งของทรั พ ยากรซึ่ ง ถื อ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ส�ำ คั ญ ของพลั ง งานและ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับวันส�ำคัญระดับโลก ในเดือนพฤษภาคม และเดือนมิถนุ ายน พีๆ่ จึงสรรหาเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจมาให้นอ้ งๆ ได้เรียนรูไ้ ปพร้อมๆ กัน อย่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม เป็นวันหลากหลายทางชีวภาพ และวันที่ ๒๓ พฤษภาคม เป็นวันเต่าโลก พี่ๆ ก็ได้น�ำเรื่องราวของสายพันธุ์เต่าทะเลมาให้น้องๆ ได้รู้จักในคอลัมน์สัตว์โลกชวนฉงน ส่วนในวันที่ ๕ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก น้องๆ ก็สามารถไปท�ำความรู้จักกับวันสิ่งแวดล้อมโลกได้ในคอลัมน์ Cartoon Club และสุดท้าย วันที่ ๘ มิถุนายน วันทะเลโลก เราก็มีเรื่องของการผลิตยีนส์จากขยะทะเล น้องๆ จะได้ทราบว่า การทิ้งขยะลงทะเลนั้นส่งผลอย่างไรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนได้รู้จักกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่ น่าเป็นไปได้ แต่ก็สามารถท�ำขึ้นมาได้จริง นอกจากที่กล่าวมานี้ยังมีเนื้อหาในเล่มที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งการสอน ค�ำศัพท์ภาษาอังกฤษในรูปแบบของ Mind Maps ที่ท�ำให้น้องๆ สามารถจดจ�ำได้ง่ายขึ้น มาร่วมยินดีกบั เพือ่ นๆ ทัง้ ๓ โรงเรียนทีช่ นะการประกวดจากโครงการ ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ทีบ่ ริษทั โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จ�ำกัด และมูลนิธสิ ถาบันสิง่ แวดล้อมไทยจัดขึน้ และในเล่มยังอัดแน่นไปด้วยความรูจ้ ากทัว่ ทุกมุมโลก ทีพ่ ๆี่ ทีมงาน ผลิใบ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ และทุกคนที่ได้อ่านค่ะ จ�ำไว้ให้ขึ้นใจนะคะว่าทรัพยากรเป็นของทุกคน เพราะฉะนั้นอย่าคิดแต่เพียงช่วยกันใช้ เราต้องช่วยกัน รักษาและรู้จักการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและคุ้มค่าที่สุดด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ณชชน พชรชัยกุล (พี่เปิ้ล) notchana@tei.or.th


iPad

Cartoon Club

ค�ำขวัญวันสิง่ แวดล้อมโลก ปี ๒๕๕๗ :

“Raise your voice not the sea level ยกระดับความคิด แก้วกิ ฤตินำ้� ท่วมโลก”

โอ้โห.. กรุงสตอกโฮล์ม นีส่ วยสมกับเป็นนครทีง่ ดงามทีส่ ดุ ใน สแกนดิเนเวียจริงๆ เลยนะเนีย่ สวยจนเมืองนี้ ได้รบั การขนานนามว่า ความงามบนผิวน�ำ้ หรือ ราชินแี ห่งทะเลบอลติกด้วยนะ แล้วแก้วตาล่ะ รูเ้ รือ่ งอะไรเกีย่ วกับสตอกโฮล์ม บ้างหรือเปล่า?

โดย : กองบรรณาธิการ

เรื่องเลาเยาวชน

แก้วตาซะอย่าง ก็ตอ้ งรูส้ ิ กรุงสตอกโฮล์มเนีย่ นะ มีสว่ นเกีย่ วข้องโดยตรง กับวันสิง่ แวดล้อมโลกในยุคแรกเลย เพราะเมือ่ มีวกิ ฤตการณ์ตา่ งๆ เกีย่ วกับสิง่ แวดล้อมเกิดขึน้ จนเกิดการตืน่ ตัวอย่างแพร่หลาย รัฐบาลสวีเดนจึง เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติเรื่อง สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ขึ้น ยังไงล่ะ

โดยมีการสถาปนาวันสิง่ แวดล้อมขึน้ ครัง้ แรก เมือ่ วันที่ ๕ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๑๕ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ร่วม พิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อมต่างๆ ทีแ่ ต่ละประเทศสมาชิกก�ำลังประสบอยูอ่ ย่างเร่งด่วน ซึง่ ประเด็นส�ำคัญก็คอื ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธกี ารดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตืน่ ตัวเกีย่ วกับวิกฤตการณ์ ด้านสิง่ แวดล้อมของทุกภูมภิ าคทัว่ โลกอย่างจริงจัง โดยกระตุน้ ให้มกี ารเปลีย่ นแปลงไปสูท่ างทีด่ ที งั้ ในเรือ่ งของ ดิน น�ำ้ และ มลพิษทางอากาศ ภายใต้การก�ำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ ส�ำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี ๒๕๑๘ เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช ๒๕๑๘ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๕ ได้มีการแก้ไขอีกครั้งเป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ใช้มาจนปัจจุบัน ที่มา (๑) จาก http://www.tlcthai.com (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗).

3


ฟุดฟิด FOR FUN

โดย : ณชชน พชรชัยกุล

ในชีวิตประจ�ำวันของคนเรานั้นมีการใช้พลังงานอยู่ตลอดเวลา ส�ำหรับพลังงานหมุนเวียนก็คงจะไม่สร้างปัญหาอะไร เพราะใช้แล้วก็ยังน�ำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ แต่พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปก�ำลังสร้างปัญหาวิกฤตให้กับโลกปัจจุบันอย่างมาก ฟุดฟิด For Fun ฉบับนีจ้ งึ อยากจะชวนน้องๆ มาท�ำความรูจ้ กั กับค�ำศัพท์เกีย่ วกับพลังงานต่างๆ ทีเ่ ราใช้กนั อยูใ่ นชีวติ ประจ�ำวันค่ะ ลองนึกดูนะคะว่าวันหนึ่งๆ น้องๆ ใช้พลังงานอะไรกันไปบ้าง ถ้านึกออกแล้วก็มาดูพร้อมๆ กันว่าในภาษาอังกฤษมีค�ำศัพท์ พลังงานน่ารู้อะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ เรอ่ืงเลาเยาวชน

คือ พลังงานธรรมชาติที่ เกิดจากความร้อน ที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก

GEOTHERMAL ENERGY พลังงานความร้อนใต้พิภพ

RENEWABLE ENERGY พลังงานหมุนเวียน

ENERGY พลังงาน

คือ แหล่งพลังงานที่ได้จาก ธรรมชาติรอบตัวเรา น�ำมาใช้ได้ไม่มวี นั หมด สามารถสร้างทดแทนได้ในช่วงเวลาสัน้ ๆ โดยธรรมชาติ หลังจากมีการใช้ไป มีชื่อที่ใช้เรียกต่างกันออกไป เช่น พลังงานทดแทน พลังงานใช้ไม่หมด พลังงานสะอาด และพลังงานสีเขียว

NON-RENEWABLE ENERGY พลังงานใช้แล้วหมดไป คือ พลังงานทีใ่ ช้ไปแล้ว ไม่สามารถจะสร้างขึน้ มาใหม่ได้อกี

4

HYDRO-POWER พลังงานน�้ำ คือ การสร้างก�ำลังโดยการอาศัย พลังงานของน�้ำที่เคลื่อนที่ พลังงานน�้ำ ส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า

PETROLEUM น�้ำมันดิบ คือ ของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยส่วนผสมระหว่างไฮโดรคาร์บอน ที่มีน�้ำหนักโมเลกุลต่างกันกับสารประกอบอินทรีย์ ทีเ่ ป็นของเหลวอืน่ ๆ ซึง่ พบในชัน้ ธรณีวทิ ยาใต้ผวิ โลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกด�ำบรรพ์ เกิดได้จาก ซากสิ่งมีชีวิต


BIOMASS ENERGY พลังงานชีวมวล

SOLAR ENERGY พลังงานแสงอาทิตย์

คือ พลังงานที่สะสมอยู่ ในสิ่งมีชีวิตที่เราสามารถน�ำมาใช้งานได้ เช่น ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุจากการเกษตร หรืออุตสาหกรรม เช่น แกลบ ฟาง ชานอ้อย ขี้เลื่อย เศษไม้ เปลือกไม้ มูลสัตว์ รวมทั้ง ของเหลือใช้ หรือขยะจากครัวเรือน

คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์

WIND POWER พลังงานลม คือ พลังงานตาม ธรรมชาติที่เกิดจากความ แตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของ บรรยากาศ และแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด ความเร็วลมและก�ำลังลม

NUCLEAR ENERGY พลังงานนิวเคลียร์

คือ พลังงานที่ได้จากการที่นิวเคลียสแตกตัว ปล่อยอนุภาคออกมาจะเกิดนิวเคลียสธาตุใหม่ พร้อมทั้งพลังงานนิวเคลียร์

NATURAL GAS ก๊าซธรรมชาติ

COAL ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอน สะสมของซากพื ช ในยุ ค ดึ ก ด� ำ บรรพ์ เ ป็ น เวลายาวนาน หลายล้านปี จนตะกอนเปลี่ยนสภาพ มีองค์ประกอบส่วน ใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆ ทั้งที่เป็นก๊าซและ ของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่า และเป็นแร่ เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน�้ำตาลอ่อน จนถึงสีด�ำ

คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจาก การทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุ หลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้เป็น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น

5


สัตว์โลกชวนฉงน

โดย : ณชชน พชรชัยกุล

เต่า จัดว่าเป็นสัตว์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องอายุยืน โดยเต่าที่มีอายุยืนที่สุดในโลกขณะนี้คือ เต่ากลาปากอส ที่มีชื่อว่า “แฮเรียน” เป็นเต่าที่ชาร์ลส ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จับมันมาตั้งแต่สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ในราวปีคริสตศักราช ๑๘๐๙ – ๑๘๘๒ แต่ความยั่งยืนของอายุ ก็ไม่ได้ทำ�ให้เต่ารอดพ้นจากความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ไปได้เลย เต่าทะเลทั่วทั้งโลก มีอยู่ด้วยกัน ๘ ชนิด ซึ่งในเมืองไทยของเราพบถึง ๕ ชนิด คือ เต่าตนุ เต่ากระ เต่ามะเฟือง เต่ า หั ว ฆ้ อ น และเต่ า หญ้ า ซึ่ ง เต่ า ทะเลพวกนี้ จ ะอยู่ ใ นน้ำ� ตลอดชี วิ ต โดยไม่ ขึ้ น จากน้ำ� เลย ยกเว้ น เต่ า ตั ว เมี ย เท่ า นั้ น ที่ต้องขึ้นมาบนบกเพื่อวางไข่

เต่ามะเฟือ

เต่า

กระ

เต่าตนุ

เต่าทะเลในเมืองไทย มี ๕ ชนิด

้า

เต่าหญ เต่าหัวฆ้อน

แล้วถ้าเต่าทะเลอยู่ในน�้ำตลอดชีวิต ท�ำไมมันถึงไม่เป็นสัตว์น�้ำล่ะครับ? ถึงแม้เต่าทะเลจะใช้เวลาทั้งชีวิตอยู่ในน�้ำแต่ก็ไม่ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น�้ำ เพราะเต่าทะเลมีลักษณะทางกายภาพหลายๆ อย่างที่เหมือนกับสัตว์เลื้อยคลาน คือมีกระดูกสันหลัง มีหัวใจ ๓ ห้อง วางไข่บนบก และจัดอยู่ในจ�ำพวกสัตว์เลือดเย็น อ๊ะๆ!! อย่าพึ่งตกใจไปนะคะน้องๆ สัตว์เลือดเย็นในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นสัตว์ที่มีจิตใจเหี้ยมโหดไร้คุณธรรมอะไรหรอกค่ะ แต่สัตว์เลือดเย็นเป็นศัพท์ทางชีววิทยา ที่เราใช้แบ่งชนิดของสัตว์ตามความแตกต่างของอุณหภูมิภายในร่างกายได้เป็นสองพวก ใหญ่ๆ คือ สัตว์เลือดอุ่น และสัตว์เลือดเย็น สั ต ว์ เ ลื อ ดเย็ น หมายถึ ง สั ต ว์ ที่ มี อุ ณ หภู มิ ข องร่ า งกายไม่ ค งที่ โดยจะเปลี่ ย นแปลงขึ้ น ลงไปตามอุ ณ หภู มิ ข อง สภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ ซึ่งต่างจากสัตว์เลือดอุ่น เพราะไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร อุณหภูมิภายใน ร่างกายของสัตว์เลือดอุ่นก็จะค่อนข้างคงที่ เพราะร่างกายมีกลไกในการเพิ่มหรือลดความร้อนในร่างกายได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่าง เช่น มนุษย์เราซึ่งเป็นสัตว์เลือดอุ่น เวลาที่เรารู้สึกหนาว เราจะตัวสั่น คางสั่น นั่นคือกลไกที่กล้ามเนื้อพยายามสร้างพลังงาน ความร้อนให้กับร่างกาย หรือเมื่อเรารู้สึกร้อน ร่างกายก็จะขับเหงื่อออกมาเพื่อขับความร้อนให้ออกมาพร้อมๆ กับน�้ำ แต่ส�ำหรับ สัตว์เลือดเย็นแล้ว หากมันต้องการความอบอุ่น มันจะต้องหาเอาจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เราจึงเคยเห็นบ่อยๆ ว่าจะมีสัตว์ บางชนิด อย่างเต่าบกที่มักจะขึ้นมานอนผึ่งแดด ตากกระดอง ก็เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายนั่นเองค่ะ 6


แม้เต่าทะเลจะถูกจัดอยู่ในจ�ำพวกสัตว์เลื้อยคลาน แต่มันกลับคลานแทบไม่เป็น เพราะว่าอวัยวะต่างๆ ในร่างกายถูก พัฒนามาเพื่อให้เหมาะกับการใช้ชีวิตอยู่ในน�้ำเป็นหลัก ตั้งแต่ขาทั้ง ๔ ข้าง ที่ควรจะมีไว้คลาน ก็กลับมีลักษณะเหมือนใบพาย ที่เหมาะส�ำหรับการว่ายน�้ำ กระดองที่มีลักษณะเพรียวลม ที่ช่วยลดแรงเสียดทานในขณะเคลื่อนตัว เต่าทะเลจะมีความคล่องแคล่ว และเคลือ่ นทีไ่ ด้รวดเร็วมากเมือ่ อยูใ่ นน�ำ้ โดยเฉพาะในเวลาทีม่ นั ตกใจ เต่าทะเลอาจว่ายน�ำ้ ได้เร็วถึง ๓๕ กิโลเมตร/ชัว่ โมง เต่าทะเลจะกินน�้ำทะเลตลอดเวลา มันจึงมีไตที่คอยขับถ่ายของเหลวได้ดีมาก เกลือส่วนเกินที่ไตสกัดได้จะถูกล�ำเลียงมา ที่ต่อมน�้ำตาและถูกขับออกมาออกทางดวงตาของมัน ซึ่งขบวนการนี้จะเกิดขึ้นตลอดเวลา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ท�ำไมแม่เต่าทะเล เมื่อขึ้นมาบนบกเพื่อวางไข่ มันจะร้องไห้อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพราะเสียใจหรือเจ็บปวดอะไรหรอกนะคะ แต่เพื่อขับเกลือส่วนเกิน ออกจากร่างกายนั่นเองค่ะ ในแต่ละปีแม่เต่าจะวางไข่ ๒-๔ ครั้ง และแม่เต่าทะเลทุกตัวจะว่ายน�้ำกลับไปวางไข่บนหาดที่ตัวเองเกิด คือเกิดที่ไหน ก็จะขึ้นมาวางไข่ที่นั่น โดยเต่าทะเลจะมีเส้นประสาทบันทึกความจ�ำอยู่ในโพรงจมูก ซึ่งเป็นอวัยวะพิเศษที่แยกจากสมอง ท�ำหน้าที่ จดจ�ำทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกซึ่งมีติดตัวมาแต่ก�ำเนิด

ไข่ที่ถูกฟักอยู่ใต้พื้นทรายธรรมชาติ จะใช้เวลาฟักนาน ๔๕–๖๐ วันโดยประมาณ ทันทีที่ลูกเต่าโพล่พ้นทราย ลูกเต่าจะมุ่งหน้าลงสู่ทะเลทันทีโดยสัญชาตญาณ โดยลูกเต่าจะขึ้นจาก ทรายในเวลากลางวันเพราะมันต้องอาศัยเส้นขอบฟ้าเป็นตัวน�ำทางลงสู่ทะเล และนี่คือช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของเต่าทะเล เพราะลูกเต่ายังไม่แข็งแรงพอที่จะเก็บออกซิเจนไว้ในปอดแล้วด�ำลงไป หายใจใต้น�้ำนานๆ ได้อย่างเต่าตัวเต็มวัย ลูกเต่าจึงต้องลอยตัวอยู่ที่ผิวน�้ำตลอดเวลาเพื่อหายใจ สภาพการลอยเท้งเต้งอยู่ บนผิวน�้ำตลอดเวลาแบบนี้ ท�ำให้ลูกเต่ามักจะตกเป็นอาหารของปลา นก และตะกวดได้ง่าย อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลจึงมี โอกาสน้อยมาก และอาจน้อยถึง ๑ ส่วน ๑,๐๐๐ ก็เป็นได้ และถึงแม้ลูกเต่าจะรอดและเติบโตเป็นเต่าตัวเต็มวัยได้ ก็ยังต้องมา เสี่ยงกับการล่าอย่างหนักของมนุษย์ เพื่อเอาเนื้อและกระดองมาแปรรูปเป็นอาหาร สินค้า หรือเครื่องประดับ นอกจากนั้นแล้ว การที่คนแผ่ขยายการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ชายฝั่งทะเลมากขึ้น ก็ท�ำให้เต่าทะเลมีพื้นที่ในการวางไข่ลดน้อยลง ซึ่งกลายเป็นปัญหา ส�ำคัญ ที่คุกคามเต่าทะเลอยู่ในปัจจุบัน “เต่าทะเล” หนึ่งในเรื่องเล่าจากอ่าวไทย วงจรชีวิตของสัตว์เลื้อยคลานผู้เยือกเย็น พฤติกรรมทางธรรมชาติที่น่าทึ่ง และลักษณะทางกายภาพที่ทนทานต่อบททดสอบของท้องทะเล ความรู้ที่น้องๆ ได้รับจากเต่าทะเลไทย ไม่ได้เป็นเพียงความรู้ ที่มีเอาไว้ประดับปัญญาเท่านั้น เพราะจิตสำ�นึกที่เกิดขึ้นพร้อมๆ ความรู้ ความเข้าใจ จะเป็นหนทางหนึ่งในการประคับประคอง สายพันธุ์เต่าทะเล และค้ำ�จุนระบบนิเวศให้ยั่งยืนยาวนานดังที่มันควรจะเป็น ก่อนที่รอยเท้าที่เรียบแบนของเต่าทะเลต้องลบเลือน ไปจากผืนทรายของชายฝั่งทะเลไทย ที่มา (๑) จาก http://www.dmcr.go.th/marinecenter/turtle.php : (วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๑ : http://pirun.ku.ac.th/~b521020119/green_sea_turtle_being_cleaned_by_reef_fishes_hawaii.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๒ : http://static.panoramio.com/photos/large/59000148.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๓ : http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/09/05/hiegcajaf6ca5ba7659a9.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๔ : http://pirun.ku.ac.th/~b521020119/630.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๕ : http://481304.fortunecity.ws/p_39.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๖ : http://www.naewna.com/uploads/userfiles/images/1%2824%29.jpg. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗).

7


rl d

Ar

oun d Th

e

Wo

ผลิใบ Around The World โดย : ณชชน พชรชัยกุล

น้องๆ ทราบหรือไม่คะว่าในปัจจุบนั ชีวติ ของคนเรานัน้ ถูกคุกคามจากสารเคมีกำ� จัดศัตรูพชื โดยไม่รตู้ วั ซึง่ สารเคมีเหล่านี้ จะติดมากับพืช ผัก ผลไม้ ที่เรารับประทานอยู่ทุกวันนั่นแหละค่ะ หลายคนอาจสงสัยว่าในเมื่อร่างกายได้รับสารเคมีแล้วท�ำไม เราไม่เห็นมีอาการเจ็บป่วยอะไรเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าสารเคมีเหล่านี้จะสะสมในร่างกายเราไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จึงไม่แสดง อาการให้เห็นในทันทีทันใด เช่น การท�ำงานผิดปกติของระบบประสาท และโรคมะเร็ง คนส่วนใหญ่จึงไม่ได้คาดคิดว่าการ เจ็บป่วยเหล่านี้มีสาเหตุมาจากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช

จากปัญหาดังกล่าว ท�ำให้ชาวอังกฤษอย่าง ริชาร์ด บัลลาร์ด (Richard Ballard) และสตีเวน ดริงก์ (Steven Dring) วางแผนท�ำโครงการ “เติบโต ใต้ดิน” หรือ Growing Underground ขึ้นมา โดยปรับเปลี่ยนทางเดินรถไฟใต้ดินสาย นอร์เทิร์น ไลน์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นฟาร์มใต้ดินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีพื้นที่ถึง ๖.๓ ไร่ ด้วยวิธีการ ปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ในถาดซ้อนกัน ๓ ชั้น ใช้ไฟ LED แทนแสงอาทิตย์ การควบคุมสภาพแวดล้อมนี้เองที่ท�ำให้ผัก มีรสชาติดี และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากยาฆ่าแมลง ซึ่งระบบไฮโดรโปนิคของที่นี่ใช้น�้ำน้อยกว่า การท�ำการเกษตรแบบระบบเปิดได้ถึง ๗๐% อุโมงค์ใต้ดินแห่งนี้เคยเป็นที่หลบภัยขณะเกิดการโจมตีทางอากาศยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ อยู่ต�่ำกว่าระดับถนน ๑๐๐ ฟุต และมีอุณหภูมิคงที่ ๖๐ องศาฟาเรนไฮต์ มีการใช้การกรองเพื่อป้องกันศัตรูพืช จึงมั่นใจได้ว่าผักที่ปลูกในอุโมงค์ จะปลอดภัยจากสารเคมีอย่างแท้จริง พืชที่น�ำมาปลูกมีหลากหลายชนิด เช่น ถั่ว ผักโขม บรอกโคลี กุยช่าย มัสตาร์ดญี่ปุ่น หัวไชเท้า ผักชี และโหระพา โดยผักสดเหล่านี้จะถูกส่งตรงถึงร้านอาหารและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วกรุงลอนดอนภายใน ๔ ชั่วโมงหลังการเก็บเกี่ยว

8

ที่มา (๑) จาก http://food.uk.msn.com/food/would-you-eat-vegetables-that-had-been-grown-underground : (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗). (๒) จาก http://growing-underground.com/ : (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๑-๓ : http://stupiddope.com/2014/02/19/growing-underground-abandoned-tunnels-become-underground-farms-in-london/ (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗). ภาพที่ ๔-๗ : http://growing-underground.com/ (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๗).


วิวัฒนาการสะท้านโลก โดย : ณชชน พชรชัยกุล

การสื่ อ สารของมนุ ษ ย์ เ รานอกจากการพู ด แล้ ว การเขียนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ส�ำคัญ เพราะนอกจากจะให้ ความชัดเจนแล้ว ยังเป็นหลักฐานส�ำคัญทั้งในปัจจุบันและ ประวั ติศ าสตร์ อี ก ด้ว ย แต่กว่า ที่มนุษย์จ ะประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือในการขีดเขียนขึ้นมาได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาหลาย พันปีจนมาเป็นปากกาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มาดูกันดีกว่าว่า เส้นทางของปากกานั้นยาวไกลแค่ไหน ในยุ ค อดี ต มนุ ษ ย์ ใ ช้ ดิ น หรื อ หิ น สี ขี ด เขี ย นบนผนั ง ถ�้ ำ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ในการสื่อการ จากการเขียนผนังถ�้ำนี้เอง ที่น�ำมาสู่การเขียนบนแผ่นไม้ แผ่นโลหะ และใบไม้อย่างใบลาน ซึ่งชาวอียิปต์โบราณถือเป็นชาติแรกที่ใช้แปรงเขียนหนังสือบน แผ่นกระดาษที่ท�ำจากต้นปาปิรุส (Papyrus) โดยการปล่อยหมึกหรือสีบนกระดาษ เช่นเดียวกับการเขียนหนังสือด้วยพู่กันของ จีนและญี่ปุ่น ซึ่งนี่อาจเป็นแนวคิดเบื้องต้นที่น�ำพาไปสู่การประดิษฐ์ปากกาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณประดิษฐ์ ปากกาขึ้นจากต้นกกไส้กลวง โดยการปาดให้มีปากแหลม เพื่อใช้เขียนบนผิวไม้ที่เคลือบด้วยขึ้ผึง เมื่อเขียนก็จะเกิดรอยยุบบนผิว ขี้ผึ้งเหมือนการจารึก ในขณะที่ประเทศอังกฤษมนุษย์เริ่มน�ำขนนกหรือขนห่านมาท�ำเป็นปากกา เรียกว่า “ปากไก่” สามารถเขียน ได้คมชัดและเขียนติดต่อกันได้นานกว่า ในศตวรรษที่ ๕ ปากไก่ ทีท่ ำ� จากขนนกหรือขนห่าน เป็นที่ นิ ย มกั น อย่ า งแพร่ ห ลายใน ประเทศอั ง กฤษเพราะสามารถเขี ย นได้ คมชัด จึงนับเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ใช้ใน การเขียนหนังสือของชาวตะวันตก แต่ชาว ตะวันออกยังนิยมใช้พู่กันไม้

ค.ศ. ๑๘๘๔ ที่ นิ ว ยอร์ ก ป ร ะ เ ท ศ ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า Lewis Edson Waterman ได้ผลิตปากกาที่มีหมึกในตัว เรียกว่า “ปากกาหมึกซึม” (Fountain Pen)

ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ มนุษย์เริ่ม ประดิษฐ์ปากกาที่มีปากเป็นโลหะ มีรอยผ่า ตรงกลางปาก ท�ำให้เขียนได้นานโดยไม่ ต้องจุ่มหมึกทุกครั้งที่เขียน

ค.ศ. ๑๙๐๐ ชาวอเมริกาชื่อ จอห์น เอช. ลาวด์ ได้ประดิษฐ์ปากกาลูกลื่น เป็นปากกาที่มีลูกกลิ้งกลมๆ ขนาดเล็ก อยู่ที่ปลายปาก เวลาเขียนลูกกลมๆ นี้ จะกลิ้งไปรอบๆ ท�ำให้หมึกออกมาติดบน กระดาษ แต่ก็ยังเลอะเทอะ อยู่บ้าง

ค.ศ. ๑๙๓๐ ไบโร นักหนังสือพิมพ์และศิลปิน ชาวฮังกาเรียน ได้ประดิษฐ์ปากกาลูกลื่นขึ้นมา ใหม่ เป็ น ปากกาหมึ ก แห้ ง (Quick-Drying Ink) โดยน�ำ หมึกที่ใช้ในโรงพิมพ์มาบรรจุลง ในปากกา สามารถใช้ขีดเขียน โ ด ย ไ ม ่ มี ห มึ ก ห ย ด แ ล ะ ไ ห ล เปรอะเปื ้ อ นเหมื อ นปากกา หมึ ก ซึ ม แบบเก่ า เรี ย กว่ า “ปากกาลู ก ลื่ น ” (Ball-point pen) และพัฒนารูปที่ใช้กันอยู่ ในปัจจุบัน

ที่มา (๑) ครูเทพ,นามแฝง. “ ปากกาลูกลื่น ,” ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์. ๓๓(๑๑) : ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๙. (๒) จาก http://inventors.about.com/library/weekly/aa100197.htm (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗).

9


iPad

มุมสร้างสรรค์ (Creative Corner) โดย : ณชชน พชรชัยกุล

วชน

ในชีวิตประจำ�วันของคนเรานั้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับพลาสติกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะถุงพลาสติกและขวดน้ำ� ที่หลังจากเลิกใช้งานแล้วก็มักจะกลายเป็นขยะรกโลก ซึ่งขยะประเภทนี้ต้องใช้เวลาย่อยสลายนานกว่า ๔๕๐ ปีต่อ ๑ ใบ เลยทีเดียว ฉบับนี้ พี่ผลิใบจึงมีไอเดียมาเปลี่ยนขยะให้เป็นของใช้แบบง่ายๆ ลองทำ�ตามกันดูนะคะ

อุปกรณ์ ๒ ๓ ๑

๖ ๕

๗ ๘

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘.

ขวดน้ำ�พลาสติก สีสเปรย์สีขาว กาวลาเท็กซ์ กาวร่างเส้นสามมิติ (หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียน) สีตามชอบ ปากกาเมจิก มีดคัตเตอร์ ตัวอักษรไม้หรือวัสดุอื่นตามชอบ ฟิวเจอร์บอร์ด (สำ�หรับรองกันเปื้อนเวลาพ่นสีสเปรย์)

วิธีทำ� ๑. ใช้ปากกาเมจิกร่างเส้น เป็นรูปคน (หรือสัตว์ตามชอบ) ทั้งสองด้านของขวดน้ำ�

๓. พ่นสีสเปรย์ทับลงบนขวดน้ำ� ที่ตัดแล้ว จะยังคงเหลือเส้น บางๆ ให้เห็น

10

๒. ตัดขวดน้ำ�ออกตามเส้นที่วาดไว้ (ระวังมีดบาดมือด้วยนะคะ)

๔. ระหว่างรอสีที่ขวดแห้ง ใช้กาวสามมิติตกแต่ง สีให้ตัวอักษร ซึ่งในที่นี้เราจะใช้ สัญลักษณ์ H2O


๖. วาดให้ครบทั้งด้านนอก และด้านใน โดยกำ�หนดให้ ด้านนอกเป็นด้านหลังของ ตัวการ์ตูน ด้านในของขวด เป็นด้านหน้าของตัวการ์ตูน ก็จะได้เหมือนกับคนหันหน้า เข้าหากัน

๕. ใช้กาวสามมิติวาดเส้น เป็นรูปคน และลวดลาย เสื้อผ้าตามชอบ

๗. ตกแต่งลวดลายตรงพื้นที่ว่างๆ อาจทำ�เป็นลายเส้น ลายจุด ลายตาราง ฯลฯ

๘. เอาตัวอักษร H2O ที่ทำ�สีไว้มาติดลง ด้านข้างของขวดน้ำ�

เิ จนได้แล้วละค่ะ

ลูกเพิ่มปริมาณออกซ าป ม ๆ ก ็ เล น ้ ต บ ั ะด ร ครัว ไม้ดอก ไม้ป ๙. ทีนี้ก็หาพืชผักสวน

“กระถางเพื่อนรัก...รักษ์โลก” ของน้องๆ ออกมาหน้าตาเป็นอย่​่างไรกันบ้างคะ แต่ไม่ว่าจะออกมาหน้าตาเป็นแบบไหน ก็ขอให้น้องๆ ภูมิใจว่าอย่างน้อยเราก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะไม่เพิ่มปริมาณขยะให้กับโลกสวยๆ ใบนี้ค่ะ ฉบับหน้าจะมีไอเดียดีๆ อะไรมาฝาก ต้องรอติดตามนะคะ 11


นิทานสีเขียว

โดย : เบญจพร พุทธรรมมา

ครั้งหนึ่งนานมา ในป่าไผ่ลึก แพนด้าอ้วนปึ๊ก อาศัยในนั้น ชายคาเดียวกัน อยู่กันสามตัว ยอดไผ่รอบตัว ของโปรดพวกมัน

ลูกหมีแพนด้า ตะกละตะกลาม กินจนพุงหลาม ไม่รู้จักพอ พ่อแม่คอยเตือน กินแค่อิ่มพอ กินเยอะเกินหนอ ปวดท้องติดคอ

12


หมีน้อยจอมซน ยังคงกินต่อ ปีนหายอดอ่อน ไผ่อันโปรดปราน ปีนบิดดึงพลาง ไม่ระวังตัว รังผึ้งเหนือหัว หล่นใส่ตัวพลัน

ฝูงผึ้งตกใจ บินพุ่งใส่พลัน หมีน้อยผลุนผลัน วิ่งอย่างตกใจ พอพบแอ่งน้ำ� โดดลงเร็วไว ฝูงผึ้งจากไป แพนด้าโผล่คืน

เมื่อพ่อแม่ฟัง จึงรีบบอกเตือน อย่างเช่นเคยเตือน ให้ลูกสาวจดจำ� กินแต่พอดี อย่ารีบเกินการ ระวังตัวบ้าง ครั้งนี้บทเรียน แพนด้าตัวน้อย รับฟังคำ�สอน กินเพียงอิ่มก่อน หิวค่อยว่ากัน ตั้งแต่นั้นมา ลูกแพนด้านั้น เลิกตะกละพลัน กินแต่พอดี

13


เรอ่ืงเลาเยาวชน

โดย : กองบรรณาธิการ

ผลงานชนะเลิศโครงการนักเขียนรุ่นเยาว์เพื่อสร้างนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต ปีที่ ๘ หัวข้อ แบบอย่างในการด�ำเนินธุรกิจห่วงใยสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลทุนการศึกษา ๔,๐๐๐ บาท พร้อมประกาศนียบัตร

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าปัจจุบันโลกของเราอยู่ในยุค โลกาภิ วั ต น์ ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยเม็ ด เงิ น จ� ำ นวนมหาศาลของ เทคโนโลยี แ ละอุ ต สาหกรรมที่ ก ้ า วกระโดด ทรั พ ยากร ธรรมชาติ ทุ ก ชนิ ด ถู ก น� ำ มาใช้ ต อบสนองความต้ อ งการของ มนุษย์ที่ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ลัทธิวัตถุนิยมเป็นดั่ง สายฝนที่เรียกร้องให้บริษัทและธุรกิจต่างๆ เติบโตและผุดขึ้น ราวกับดอกเห็ด แต่ในขณะเดียวกันพวกเราผู้ยืนอยู่บนจุด สูงสุดต่างเพิกเฉย และหลงลืมที่จะมองกลับลงไปยังเบื้องล่าง สิ่ ง ใดที่ เ ป็ น รากฐาน เป็น ผู้สร้า งความสะดวกสบายให้แก่ 14

มนุษย์ ธรรมชาติที่ก�ำลังผุพังนั้น เมื่อถึงเวลาจะย้อนกลับมา ท�ำลายพวกเราในที่สุด คงไม่ต้องรอให้ถึงวันที่เหตุการณ์นั้นเป็นจริง หาก พวกเราเรี ย นรู ้ ที่ จ ะอยู ่ ร ่ ว มกั บ ธรรมชาติ อ ย่ า งเกื้ อ กู ล ทั้ ง ประชาชนที่เป็นผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งต้องยอมรับว่าโรงงานและตึกสูงจ�ำนวนมากในปัจจุบันเป็น สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดมลภาวะและเป็นอันตรายต่อธรรมชาติ วิ ธี ใ ดที่ ส ามารถลดผลกระทบของภาคอุ ต สาหกรรมต่ อ สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการผลิตที่ทันสมัย ในบทความนี้จะขอ แนะแนวทางที่น่าสนใจ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่มีการวิจัยมานาน แล้ว แต่ผู้เขียนมองว่ายังไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังเท่าใด นักในประเทศไทย Green Roof หรือ หลังคาสีเขียว คือการปลูกพืช บนหลังคา ดาดฟ้า หรือแม้แต่ระเบียงของตัวอาคาร ไม่ใช่


เพียงแค่การน�ำกระถางต้นไม้เพียงไม่กี่ใบมาจัดวางไว้เท่านั้น แต่หมายความถึงการปลูกพืชครอบคลุมพื้นที่และมีระบบระบาย น�้ ำ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แนวคิดหลังคาสีเขียวนี้เ ป็น ภูมิปัญญา ดั้งเดิมของชาวยุโรปแถบชนบท พวกเขารู้ดีว่าหลังคาที่ปกคลุม ด้วยหญ้าช่วยรักษาอุณหภูมิภายในบ้าน และช่วยดูดซับขี้เถ้าจาก การระเบิดของภูเขาไฟ นอกจากนีโ้ รงนาทีใ่ ช้ระบบหลังคาสีเขียว ยังช่วยถนอมอาหารได้ดีอีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ วัตถุประสงค์ของการสร้างหลังคาสีเขียวเริ่มเปลี่ยนไปให้ความ ส�ำคัญกับการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นในประเทศเยอรมนี และแผ่ขยายออกไปเป็น วงกว้างในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญีป่ นุ่ และสิงคโปร์ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น มีการตรากฎหมายออกมาบังคับให้ อาคารหลังใหม่ในเมืองใหญ่สร้างหลังคาสีเขียว ระบบนี้มีดี อย่างไร เหตุใดหลายประเทศจึงให้ความสนใจ ผู้เขียนจะขอน�ำ อาคาร Acros Fukuoka ในจังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น มาเป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ข องการสร้ า งหลั ง คาสี เ ขี ย วที่ ป ลอดภั ย และมีความสวยงาม

หากคุ ณ เดิ น เล่ น ริ ม ถนนผ่ า นด้ า นหน้ า ของอาคาร Acros Fukuoka มองอย่างผิวเผินอาคารสูงใหญ่หลังนี้ไม่มี อะไรต่างไปจากอาคารส�ำนักงานอื่นๆ ในย่านธุรกิจของเมือง ฟุกุโอกะ แต่เมื่อมองจากด้านหลัง คุณจะเห็นขั้นบันไดสีเขียว ของพืชหลากชนิด สูงไล่ระดับจากชั้นหนึ่งไปจนถึงดาดฟ้าของ อาคารที่ปูด้วยพรมหญ้าเขียวขจี

สถาปนิกชื่อดัง Emilio Ambasz ออกแบบอาคาร หลังนี้ให้มี ‘ความเขียว’ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการ ปลูกพืชกว่า ๓๕,๐๐๐ ต้น ๗๖ สายพันธุ์บนระเบียงแต่ละชั้น พนักงานในบริษัทสามารถออกมาผ่อนคลายรับอากาศสดชื่น และสูดกลิ่นไอธรรมชาติซึ่งหาได้ยากในเมืองใหญ่ ภายในพื้นที่ ๑๔ ชั้นและชั้นใต้ดินอีก ๔ ชั้นของตึก Acros Fukuoka นั้ น เป็ น ทั้ ง ส� ำ นั ก งาน โรงละคร พิพิธภัณฑ์ และหอประชุม ซึ่งนอกจากประโยชน์ทางธุรกิจที่ อาคารหลังนี้สามารถมอบให้แก่มนุษย์ได้แล้ว ยังมีประโยชน์ ทางด้านสิ่งแวดล้อมจากระบบหลังคาสีเขียวที่ช่วยลดการใช้ พลังงาน ควบคุมระดับอุณหภูมิของตึกให้เย็นสบาย รองรับ ปริ ม าณน�้ ำ ฝน และเป็ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ของแมลง ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ช่วยลดสภาวะเกาะความร้อน หรือ Urban Heat Island ปรากฏการณ์ ข องชุ ม ชนป่ า คอนกรี ต ในเมื อ งใหญ่ ซึ่ ง เป็ น เหมือนกับแหล่งรวมของก๊าซ การสันดาป และการใช้พลังงาน สาเหตุส�ำคัญของภาวะโลกร้อนนั่นเอง แต่ ก ารสร้ า งหลั ง คาสี เ ขี ย วก็ มี ข ้ อ เสี ย อยู ่ เ ช่ น กั น เนื่ อ งจากอาคารต้ อ งรั บ น�้ำหนักของพืชและดินจ�ำนวน ม า ก บ น ห ลั ง ค า ท� ำ ใ ห ้ ต้องการโครงสร้างที่แข็งแรง มั่ น คง การจะเปลี่ ย นให้ อาคารเก่ า กลายเป็ น อาคาร สี เ ขี ย วหลั ง ใหม่ ไ ด้ ทั น ที จึ ง ต้องผ่านการดูแลของวิศวกร อย่างรอบคอบ อีกทั้งเจ้าของ อาคารยังต้องเสียค่าใช้จ่ายใน การดูแลรักษา แต่หากมอง ถึ ง ผลประโยชน์ ใ นระยะยาว การสร้างหลังคาสีเขียวจะช่วย อาคาร Acros Fukuoka ลดค่าใช้จ่ายในด้านพลังงาน ได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว หากเราน�ำแบบอย่างการด�ำเนิน ธุรกิจทีใ่ ส่ใจสิง่ แวดล้อมของชาวญีป่ นุ่ มาปฏิบตั โิ ดยผูป้ ระกอบการ รุ่นใหม่ที่มีจิตส�ำนึกรักสิ่งแวดล้อมและห่วงใยอนาคตของโลก ทีจ่ ะกลายเป็นบ้านของรุน่ ลูกรุน่ หลาน การสร้างหลังคาสีเขียว ให้กับอาคารส�ำนักงานหลังใหม่พร้อมการรณรงค์และให้ความรู้ ที่ถูกต้อง จะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อสังคม ประเทศชาติ และโลกของพวกเรา

ที่มา ภาพอาคาร Acros Fukuoka : http://www.greenroofs.com/projects/acros/acros9.gif. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗).

15


สนามนักคิด

โดย : ณชชน พชรชัยกุล

นันทวัน วาตะ “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด”

จากบันทึกรูปภาพ สู่ นักวาดภาพประกอบมืออาชีพ “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด” นามปากกาที่น้องๆ อาจจะเคยเห็นตามหน้าหนังสือหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสำ�หรับเด็ก คอลัมน์ต่างๆ ในนิตยสาร ไม่เว้นแม้ในหน้าหนังสือพิมพ์ ใช่แล้วค่ะ..เพราะ “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด” หรือ นันทวัน วาตะ เป็นนักวาดภาพประกอบฝีมือดี ที่สำ�นักพิมพ์ต่างให้ความสนใจและดึงตัวเธอมาร่วมงาน แต่น้องๆ ทราบไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของ พี่สาวคนนี้มาจากความคิดสร้างสรรค์ในการเขียนบันทึกในรูปแบบแปลกตาของเธอนั่นเองค่ะ ๒. อยากให้เล่าถึงการเขียนบันทึกเก๋ๆ ที่มี ต่างประเทศที่เขาสเก็ตซ์ และเล่าบันทึก ภาพวาดเองประกอบทำ � ให้ เ ป็ น บั น ทึ ก ที่ ไ ม่ เรือ่ งราวของการเดินทาง เราก็อยากทำ�บ้าง น่าเบื่อและมีคุณค่า ได้ไอเดียนี้มาจากไหน แรงบั น ดาลใจแรกสุ ด ที่ ช อบมากคื อ

๑. เรียนจบที่ไหน คณะอะไร เริม่ เรียนศิลปะแบบจริงจังครัง้ แรกที่ วิทยาลัยช่างศิลป (ปัจจุปันคือสถาบัน บัณฑิตพัฒนศิลป์) จากนั้นก็มาเรียนต่อ ระดับปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จบมาก็ทำ�งานเป็น นักออกแบบสิ่งทออยู่หลายปี แล้วก็ออก มาเรียนต่อระดับปริญญาโท คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา 16

งานของ Sara Midda เป็นบันทึก การเดินทางท่องเทีย่ วในยุโรปของหญิงสาว เธอวาดสิง่ ทีพ่ บเจอแม้วา่ สิง่ นัน้ จะดูเล็กน้อย อย่ า งป้ า ยหรื อ ฉลากสิ น ค้ า เธอก็ ว าด แล้วเราก็ชอบเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งปกติ ก็แค่ถ่ายรูปเก็บความทรงจำ� เป็นคนที่เขียนบันทึกส่วนตัวอยู่แล้ว และก็วาดภาพประกอบลงไปบ้าง เขียนเอาไว้ อ่าน เอาไว้ดเู อง แต่ไหนเเต่ไรมาเราก็มสี มุด สเก็ตซ์เอาไว้วาดรูปติดตัวเป็นปกติ เพราะ เอาสมุดสเก็ตซ์ไว้จดงานบ้าง วาดรูปบ้าง ร่างงานก่อนทำ�จริงบ้าง สมุดแบบนี้ก็มี ติดตัวมาตลอดตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียน จนถึงปัจจุบัน จนได้มาเห็นหนังสือของ


ทีนี้เราก็เลยลองวาดบันทึกการเดินทาง เขี ย นภาพประกอบในคอลั ม น์ บ้าง เริม่ ต้นทำ�ตอนเเรกๆ ก็วาดเอาไว้ดเู อง อ่านเมือง นิตสารสารคดี แล้วก็เอาไปลง Blog บ้าง ลง Facebook เขี ย นเรื่ อ งและวาดรู ป ในหนั ง สื อ ส่วนตัวบ้าง จากนัน้ ก็มงี านเขียนคอลัมน์ นิทานเรื่องชวนน้องดูนก สำ�นักพิมพ์ ใน Free Copy ของหนั ง สื อ พิ ม พ์ ปาร์ตี้ริ้ดดิ้ง กรุงเทพธุรกิจกายใจ ฉบับวันอาทิตย์ ก็เลยถือโอกาสเอาบันทึกทีช่ อบเขียนมาเล่า ลงในคอลัมน์ ถือว่าได้ทำ�ในสิ่งที่ชอบ แล้วยังเอาไปเป็นงานได้ด้วย -----------------------------------๓. เข้าสู่วงการนักวาดภาพประกอบได้อย่างไร ครั้งแรกสุดนั้นส่งงานประกวดภาพ ประกอบนิ ท านของมู ล นิ ธิ เ ด็ ก สมั ย ที่ ยังเรียนป.ตรี ได้รางวัลดีเด่นภาพประกอบ หนังสือนิทานเรือ่ ง “จ้อยตามหาพระจันทร์” วาดภาพประกอบในหนังสือสำ�หรับ เด็ก และวรรณกรรมเยาวชน

จำ�ได้ ว่ า ตอนวาดภาพประกอบครั้ ง นั้ น มี ค วามสุ ข มาก อยากเป็ น คนวาดภาพ ประกอบเลยที เ ดี ย ว แต่ พ อเรี ย นจบ ก็ไม่ได้ทำ�งานตรงนี้ ไปทำ�งานออกแบบ อยู่หลายปี จนลาออกไปเรียนต่อแล้วถึง กลั บ มาทำ�งานภาพประกอบอี ก ครั้ ง -----------------------------------๔. ปัจจุบันมีผลงานอะไรบ้าง เขียนคอลัมน์ชื่อ ข้างแก้วกาแฟ ใน หนั ง สื อ พิ ม พ์ ก รุ ง เทพธุ ร กิ จ กายใจ ฉบับวันอาทิตย์ เขียนภาพประกอบให้ Smart Kids เล่มนิทาน และเกมของนิตยสาร Real Parenting Thailand

๕. อยากให้แนะนำ�น้องๆ ที่มีความฝันอยาก จะเป็นนักวาดเหมือน “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด” มีนอ้ งๆ หลายคนเคยส่งเมลล์มาถาม ก็ตอบไปว่าก็ “ต้องรักมันแล้วก็ลงมือทำ�” ความฝันจะเป็นจริงได้กต็ อ้ งลงมือ สิง่ แรก ทีต่ อ้ งรูค้ อื ว่าการเป็นคนวาดภาพประกอบ ต้องมีคุณสมบัติอะไร หนึ่งคือต้องชอบ อ่านหนังสือ เพราะเราทำ�งานกับหนังสือ สิง่ พิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ต้องวาดรูปได้ และ วาดให้ได้ทกุ อย่างเท่าทีท่ ำ�ได้ นัน้ หมายถึง เราต้องฝึกการวาดรูปบ่อยๆ การได้ฝกึ ฝน การวาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคนิค และ รูปแบบทีเ่ ราเรียกว่าวาดให้มสี ไตล์เป็นของ ตัวเองนั้นจำ�เป็น แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลา ส่วนใหญ่ทพ่ี บจากคนทีเ่ ข้ามาขอคำ�แนะนำ� คือ อดทนรอไม่ได้ อยากได้เร็วๆ พอเป็น

แบบนี้ส่วนใหญ่ก็จะท้อและเลิกไป บางที อาจต้องถามตัวเองว่าอยากทำ�งานนีเ้ พราะ อะไร คำ�ตอบที่เราตอบตัวเองนั่นเเหละ จะพาเราไป สำ�หรั บ คำ�ตอบของพี่ “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด” คือ ทีอ่ ยากทำ�เพราะเรา ชอบวาดรู ป และทำ�ได้ ดี อ ยู่ อ ย่ า งเดี ย ว ทำ�แล้วมีความสุข มีสมาธิ ยิ่งทำ�แล้ว เลี้ยงตัวได้ก็อยากทำ�ไปเรื่อยๆ สมัยนีอ้ นิ เตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้ คนวาดรูป มีพนื้ ทีแ่ สดงผลงานของตัวเอง ได้มากขึ้น ถ้าเราก็ใช้โอกาสนี้ในการ เผยแพร่ผลงาน อย่างน้อยก็ไมใช่แค่เสียเวลา เล่นพวกโซเชียลเน็ตเวิร์คเพียงอย่างเดียว บางเพจนั ก วาดภาพประกอบมืออาชีพ จะเล่าถึงเทคนิคในการทำ�งาน การคิดงาน เราก็ควรเอาเวลาไปอ่านเรื่องพวกนี้เพราะ เป็นประสบการณ์ตรงที่มีประโยชน์กับ การทำ�งานของเรา และเอามาประยุกต์ใช้ กับการทำ�งานของเราได้ -----------------------------------๖. มุมมองเรื่องสิ่งแวดล้อมกับนักวาดภาพของ “กาแฟดำ�ไม่เผ็ด” ปกติก็ชอบกิจกรรมพวกเข้าป่าดูนก ดู สั ต ว์ ชอบวาดรู ป ต้ น หมากรากไม้ นกกาทั้งหลาย แต่สิ่งแวดล้อมในที่นี้ คงไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ป่ า เขาอย่ า งเดี ย ว คงหมายถึง สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวของเรา คนวาดรู ป หรื อ คนทำ�งานศิ ล ปะก็ ไ ด้ แรงบั น ดาลใจจากสิ่ ง เเวดล้ อ มทั้ ง สิ้ น สิ่งแวดล้อมที่ดีก็ส่งผลให้เราทำ�งานออก มาดีด้วย ทุกวันนี้ก็พยายามใช้ชีวิตแบบ ทำ�ลายสิง่ แวดล้อมให้นอ้ ยทีส่ ดุ แม้วา่ บางที จะเลีย่ งไม่ได้กต็ าม กลัวว่าถ้าสภาพแวดล้อม รอบตั ว มั น แย่ ล ง เราจะไม่ เ หลื อ แรงบันดาลใจอะไรให้วาดรูปอีก

17


ผลิใบ IT

โดย : กองบรรณาธิการ

ถ้าหลายครั้งน้องๆ ได้ยินคุณพ่อคุณแม่บ่นว่า “ค่าน�้ำ ค่าไฟฟ้่า ท�ำไมแพงจัง ” นั่นก็แสดงว่าเราอาจจะใช้พลัง งานมากเกินไป หรื อ ลื ม ประหยัดพลังงานในขณะที่เราไม่ได้ใช้ก็เป็นได้นะคะ ซึ่งน้องๆ อาจจะยังไม่ ทราบว่ า เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า แต่ ล ะชนิ ด นั้ น ใช้ พ ลั ง งานไฟฟ้ า มากน้ อ ยเท่ า ไหร่ พี่ผลิใบเลยอยากจะแนะน�ำเกมสนุกๆ ที่ให้ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับการประหยัด พลังงานให้น้องๆ ได้รู้จักกันค่ะ เป็นเกมที่แฝงไปด้วยสาระความรู้ เกมนี้มีชื่อว่า เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานที่เราอาจหลงลืมหรือปล่อยปละละเลยจนท�ำให้ เกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งในเกมน้องๆ จะต้องเข้าไป ปฏิบัติภารกิจลดการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ โดยเกมจะแสดงแผนผังของ บ้าน และต�ำแหน่งของเหตุการณ์ที่ท�ำให้เกิดการสูญเสียพลังงาน ซึ่งน้องๆ จะต้องค้นหาว่าอะไรเป็นต้นเหตุให้บ้านเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ จะมีปัญหาเรื่องการจ�ำกัดเวลาในการเล่นมาเป็นอุปสรรคในการท�ำภารกิจของ น้ อ งๆ ซึ่ ง ถ้ า ท� ำ ภารกิ จ ไหนไม่ ส� ำ เร็ จ เกมก็ จ ะแจ้ ง ให้ ท ราบว่ า เราจะต้ อ ง สิ้นเปลืองพลังงานไปเท่าไหร่ รวมทั้งมีความเสี่ยงอย่างไร แต่ถ้าท�ำภารกิจ ส�ำเร็จน้องๆ ก็จะได้ทราบว่าเราช่วยประหยัดพลังงานได้เท่าไหร่ต่อชั่วโมง พี่ๆ เห็นว่าเกมนี้มีประโยชน์กับน้องๆ มากในแง่ของความรู้ด้าน การประหยัดพลังงาน และสามารถน�ำมาปรับใช้ได้ในชีวิตจริง จึงอยากให้ น้องๆ ได้ลองเข้าไปเล่นดูค่ะ เล่นเกมได้ที่ >> http://www.area3.energy.go.th/flash/game4.swf

แผนผังจุดที่ใช้พลังงานภายในบ้าน

18

ไม่ได้ปิดคอมพิวเตอร์หน้าจอ ๑๗ นิ้ว สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า ๓ บาทต่อชั่วโมง

เตาไมโครเวฟ ๒๕ ลิตร กินไฟ ๒๐๐ วัตต์ ต่อชั่วโมง



จิตรกรรุ่นเยาว์

โดย : กองบรรณาธิการ

พลังงานสะอาด สร้างอากาศสดใส

อากาศจะดีได้นนั้ ก็ยอ่ มต้องพึง่ ปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างด้วยกัน หนึง่ ในนัน้ ก็คอื พลังงานสะอาด แล้วพลังงานสะอาดในมุมมองของน้องๆ คนเก่งกลุม่ นีจ้ ะเป็นอย่างไร ไปชมการแต่งแต้มเติมสีให้กบั ภาพพร้อมอ่านบทบรรยายจากจินตนาการในหัวข้อ “พลังงาน สะอาด สร้างอากาศสดใส” กันเลยค่ะ ส�ำหรับฉบับหน้าพีผ่ ลิใบขอเชิญน้องๆ ส่งภาพมาร่วมสนุกกันเช่นเคย ภายใต้ หัวข้อ “ค�ำนึงถึงคุณค่า ศึกษาก่อนทิง้ ขว้าง” โดยน้องๆ สามารถสร้างสรรค์ผลงานด้วย การแต่งเติมภาพโดยไม่จำ� กัดเทคนิค ไม่วา่ น้องๆ จะวาดภาพเพิม่ เติม ระบายสี น�ำวัสดุมา ปะติด หรือใช้เทคนิคอืน่ ๆ ตามความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทัง้ เขียนบรรยายภาพความยาวไม่ เกิน ๑๐ บรรทัด ส่งมาที่ วารสารผลิใบตามที่อยู่ด้านหน้า หรือส่งอีเมลล์มาที่ sirirat@tei.or.th, notchana@tei.or.th งานนีไ้ ม่จำ� กัดอายุนะคะ วัดกันทีค่ วามคิด สร้างสรรค์ลว้ นๆ ค่ะ ภาพของน้องๆ คนใดทีไ่ ด้ลงวารสารจะได้รบั รางวัลพิเศษจากผลิใบ ด้วยค่ะ

ด.ญ. เพราพนิต จุลภักดิ์ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๒ (English Programme) โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา เช้าวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดและเป็นวันที่มี อากาศแจ่มใสอีกวันหนึ่ง ฉันและน้องออก มาวิง่ เล่นทีบ่ ริเวณบ้านกันแต่เช้า เพือ่ มาสูด อากาศอันบริสทุ ธิ์ บ้านของฉันเป็นบ้าน ๒ ชัน้ แต่ไม่ใหญ่มาก ท�ำด้วยไม้ ไม่มสี ารพิษ ต่างๆ หรือโรงงานอุตสาหกรรมมารบกวน ฉันใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ร่วมกันปลูกผัก สวนครัว เลี้ยงปลา ปลูกไม้ผล โดยใช้ พลังงานต่างๆ ที่ช่วยท�ำให้ประหยัดและ อากาศดี ขึ้ น ไม่ ว ่ า จะเป็ น กั ง หั น ลมและ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึง่ เป็นโครงการพระราชด�ำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั โดยหมูบ่ า้ น ของเราได้น�ำมาใช้ในการด�ำรงชีวิตในชุมชน อย่างมีความสุข พวกเราควรตระหนักถึงการ รักษาสิง่ แวดล้อมบนโลกใบนี้ เพราะจะท�ำให้ อากาศดีขนึ้ เพือ่ ให้โลกของเราได้อยูก่ บั เราไป ตราบนานเท่านาน

20

ด.ญ. ญาณิศา กาญจนะคช ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา สมัยนีอ้ ากาศทีป่ ลอดภัยไร้ฝนุ่ และก๊าซพิษเริม่ มีนอ้ ยแล้ว พลังงานสมัยนีม้ กั มาจากการเผา ไหม้เชือ้ เพลิง ซึง่ ส่วนใหญ่ทำ� ให้เกิดก๊าซพิษ และท�ำให้ผู้คนเสียสุขภาพและป่วยเป็นโรคที่ รักษาได้บา้ งไม่ได้บา้ ง ปอเป็นคนกรุงเทพฯ เกิดและโตที่กรุงเทพฯ ซึ่งอากาศไม่ค่อยดี เท่าไหร่เพราะเป็นเมืองหลวงจึงมีคนมาอยู่ เยอะ คนยิง่ เยอะก็ยงิ่ ต้องใช้พลังงานมากขึน้ จึงมีอากาศเสียทีเ่ ยอะขึน้ ในวันหยุดยาวช่วง ปิดเทอม พ่อแม่จะพาปอและป่านไปลานสกา ซึ่งเป็นบ้านของคุณย่า และจะไปอยู่ ๑ เดือน วันแรกที่ปอไปอยู่ ปอรู้สึกว่าเบื่อ เพราะไม่มี ๓G ให้เล่นเน็ต ไม่มีเครื่อง อ�ำนวยความสะดวก ปอจึงนัง่ นอนอยูแ่ ต่ใน บ้าน จนปอรูส้ กึ เบือ่ จนทนไม่ไหวจึงออกมา ข้างนอกบ้าน ทันทีทอี่ อกมา ปอเห็นธรรมชาติ ที่สวยงามของลานสกา ปอสูดหายใจลึกๆ เต็มปอด แล้วจึงเรียกป่านออกมา ป่านก็ ออกมาเล่นกับปอ ไล่จับผีเสื้อแล้ววิ่งเล่น นอกบ้าน สุดท้ายปอก็รวู้ า่ อากาศทีบ่ ริสทุ ธิ์ ธรรมชาติ ที่ ส วยงามดู ดี ส� ำ คั ญ กว่ า เทคโนโลยีทไี่ ฮเทค

ด.ญ. ปวีณ์ธิดา เยี่ยมมี ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๒ (English Programme) โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา ท�ำตัวเป็นแบบอย่าง ชีน้ ำ� ทางอย่างสร้างสรรค์ พอเพียงเลีย้ งชีวนั รักษ์โลกนัน้ เริม่ ทีเ่ รา สืบเนือ่ งในปัจจุบนั ประชากรโลกมีปริมาณ เพิ่มขึ้นมากมาย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การใช้ พลังงานในชีวิตประจ�ำวันเราจึงใช้กันอย่าง สิ้ น เปลื อ ง บางครั้ ง ก็ เ กิ น ความพอดี ประกอบอุตสาหกรรม การขนส่ง เมือ่ ต่าง คนต่างใช้กเ็ กิดมลภาวะทางอากาศ แหล่งน�ำ้ ดิน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสภาพ แวดล้อม เพราะแหล่งพลังงานทีน่ ำ� มาใช้ใน ปัจจุบนั เช่น ถ่านหิน ก๊าซ ม�ำ้ มัน ล้วน ปลดปล่อยมลพิษสูธรรมชาติทงั้ สิน้ ฉะนัน้ ผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงต้องคิดค้นหาพลังงาน ทดแทน เช่ น พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้ภิภพ พลังงานชีวมวล และพลังงานน�้ำ เพราะ พลังงานเหล่านีเ้ ป็นพลังงานจากธรรมชาติที่ ไม่ ผ ลิ ต มลพิ ษ พลั ง งานสะอาดท� ำ ให้ ธรรมชาติไม่ถกู ท�ำลาย โลกสะอาดไม่กอ่ ให้ เกิดภัยธรรมชาติ หากพวกเราหันมาให้ความ ส�ำคัญด้านพลังงานทดแทนต่างๆ ทีไ่ ด้จาก ธรรมชาติทยี่ งิ่ ใหญ่ เข้ามาใช้ในกิจวัตรประจ�ำวัน มลพิษต่างๆ ก็จะลดน้อยลง และสิง่ มีชวี ติ จะอยู่อย่างมีความสุขโดยเฉพาะมนุษย์ จึง อยากเชิ ญ ชวนทุ ก คนมาช่ ว ยกั น คนละไม้ คนละมือ หันมารณรงค์การผลิตพลังงาน ธรรมชาติ ท ดแทน ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ ใครที่ ไ หน แต่เพือ่ เราและลูกๆ หลานๆ


ด.ช. วรากร กายโรจน์ ชั้นอนุบาล ๓ โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา เด็กๆ ก�ำลังวิง่ ไล่จบั ผีเสือ้ ซึง่ แสดงถึงความ อุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ทีไ่ ด้มาจาก การใช้ พ ลั ง งานที่ ไ ม่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ สิง่ แวดล้อม และใช้พลังงานธรรมชาติ เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จากสายลม เราอยากเก็บธรรมชาติที่สวยงามเอาไว้ให้อยู่ กั บเรานานๆ เราก็ต้อ งช่วยกันประหยัด พลังงานนะครับ

ด.ญ. นวพร ศรีรตั นกุณชัย ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนจักรค�ำคณาทร

ฉันชือ่ ว่าหนูดี มีเพือ่ นชือ่ ว่านุ เขาเป็นเด็กผูช้ าย ฉันเป็นเพือ่ นกับเขาตัง้ แต่สมัยยังเด็ก บ้าน พวกเราอยู่บนดอย พวกเราชอบวิ่งไล่จับ ผีเสื้อกันอย่างสนุกสนานที่ลานหน้าบ้าน พอเราวิง่ เล่นกันเสร็จ ฉันกับนุกไ็ ปนอนพัก กันที่ใต้ต้นไม้ ที่ตรงนั้นอากาศเย็นสบาย เพราะตอนกลางวั น ต้ น ไม้ จ ะปล่ อ ยก๊ า ซ อ๊อกซิเจนออกมา ที่นี่ยังมีแผงโซล่าเซลล์ที่ ท�ำหน้าที่แปลงพลังงานแสงเป็นพลังงาน ไฟฟ้า และกังหันลมจะแปลงพลังงานจลน์ จากการเคลือ่ นทีข่ องลมเป็นเป็นพลังงานกล พืน้ ทีบ่ นดอยของเราเป็นแบบนี้ แต่ในส่วน อืน่ ๆ น้อยนักทีจ่ ะเป็นแบบนี้ ส่วนใหญ่มแี ต่ รถยนต์กบั ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ จึงท�ำให้ อากาศมีแต่มลพิษ ซึง่ อาจท�ำให้เราหายใจไม่ เต็มปอด ฉันจึงคิดที่จะลดก๊าซคาร์บอนได ด.ญ. รุง่ นภา เหลีย่ ง อ๊อกไซด์ด้วยการปลูกต้นไม้ เพื่อที่เด็กๆ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ อย่างเรา คนอายุมาก คุณแม่ตั้งครรภ์ โรงเรียนจักรค�ำคณาทร จะได้สดู อากาศบริสทุ ธิ์ และมีลกู ทีส่ ขุ ภาพดี การที่เราใช้พลังงานมากเกินไปท�ำให้อากาศ และแข็งแรง ไม่สดชืน่ มีแต่มลพิษ เราควรท�ำพลังงาน ทดแทน ตัวอย่างพลังงานทีส่ ำ� คัญทีส่ ามารถ ทดแทนพลังงานทีเ่ ราใช้ไป เช่น พลังงาน ลม พลั ง งานน�้ ำ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ พลั ง งานน�้ ำ ขึ้ น น�้ ำ ลง พลั ง งานคลื่ น พลังงานความร้อนใต้ภภิ พ เชือ้ เพลิงชีวภาพ เป็นต้น เราควรจะน�ำพลังงานเหล่านี้มา ทดแทนพลังงานทีเ่ สียไป โลกของเราจะได้มี บรรยากาศทีส่ ดชืน่ สดใส บรรยากาศน่าอยู่ เด็กๆ รุ่นหลังจะได้พัฒนาการใช้พลังงาน ธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด.ญ. นวพร ศรีรตั นกุณชัย ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนจักรค�ำคณาทร หมู ่ บ ้ า นของฉั น นั้ น มี อ ากาศที่ ส ดใส ปลอดโปร่ง สดชืน่ เพราะใช้พลังงานจาก ธรรมชาติ มีทั้งกังหันลม แผงโซล่าเซลล์ ไม่ทำ� ลายธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ตามแนว พระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ท�ำให้หมู่บ้านของฉันน่าอยู่ยิ่งขึ้น และเป็น หมู่บ้านตัวอย่างที่รักษาธรรมชาติ ท�ำให้พืช พรรณไม้มีความสวยงาม เจริญเติบโตได้ดี และมีความอุดมสมบูรณ์มาก ยังส่งผลให้ฉนั มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จิตใจแจ่มใส ร่าเริง ฉันและพีช่ ายชอบวิง่ เล่นไล่จบั กันใน หมูบ่ า้ นเป็นประจ�ำ

จิตรกรรุน่ เยาว์ ฉบับหน้า

ประจ�ำฉบับที่ ๑๑๔ เดือนกรกฏาคม-กันยายน ๒๕๕๗ สามารถดาวน์โหลดภาพจริงได้ที่ http://www.facebook.com/Plibai2012.tei

21


รู้ใช้ รู้คิด

โดย : ณชชน พชรชัยกุล

ปัจจุบันโลกเรามีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นจ�ำนวนประชากร ที่อยู่อาศัย การติดต่อสื่อสาร แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ก็ยังคงเดิม นั่นหมายถึงความต้องการการใช้พลังงานยัง มีมากอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณพลังงานลดลงอย่างน่าใจหาย ประกอบกับประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการน�ำเข้าพลังงานจาก ต่างประเทศจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงที่ในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยอาจตกอยู่ในสถานการณ์ขาดแคลนพลังงาน พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จึงเข้ามามีบทบาทในการท�ำหน้าที่ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างจริงจัง ส�ำหรับในฉบับนี้เราจะมาท�ำความรู้จักพลังงานทดแทนที่น่าสนใจตัวหนึ่ง นั่นคือพลังงานชีวมวลนั่นเองค่ะ ถ้าอยากรู้ว่าพลังงาน ชีวมวลคืออะไรเรามาท�ำรู้จักกันเลยค่ะ มวลชีวภาพ หรือชีวมวล (Biomass) ได้มาจากสารอินทรีย์ จากธรรมชาติ

ต้นไม้

ผ่านกระบวนการแปรรูป ชีวมวลให้เป็นพลังงาน

กาก แกลบ ชานอ้อย วัชพืช ฟืน ได้จาก ได้จาก มันส�ำปะหลัง เศษไม้ ได้จาก การสี การผลิต ได้จากการ ได้จากการ การเกษตร น�้ำตาล ผลิตแป้งมัน แปรรูปไม้ ข้าวเปลือก ทราย ส�ำปะหลัง ยางพารา หรือไม้ ยูคาลิปตัส

การผลิตก๊าซ (Gasification) ขยะ ได้จาก ครัว เรือน

การเผาไหม้ โดยตรง (Combustion) การผลิต เชื้อเพลิงเหลว จากพืช

การหมัก (Fermentation)

มาถึ ง ตรงนี้ น ้ อ งๆ คงทราบกั น แล้ ว ว่ า ชี ว มวลได้ ม าจากอะไร และคงเริ่ ม สงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่าเราจะน�ำพลังงาน กระบวนการทางฟิสิกส์ กระบวนการใช้ความร้อน กระบวนการทางชีวภาพ สูง เช่นกระบวนการ และเคมี โดยสกัดน�้ำมัน ท�ำการย่อยสลายแป้ง ชี ว มวลมาใช้ ไ ด้ อ ย่ า งไร? เราสามารถน� ำ ไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทาง ออกจากพืชน�้ำมัน พลังงานจากชีวมวลมาใช้ได้โดยกระบวนการ น�้ำตาล และเซลลูโลสจาก การเกษตรได้ความร้อน จากนั น ้ น� ำ น� ำ ้ มั น ที ไ ่ ด้ พืชทางการเกษตร เช่น ที่ใช้ความร้อน และกระบวนการทางชีวภาพ สูงในสภาพไร้ออกซิเจน ไปผ่านกระบวนการ อ้อย มันส�ำปะหลัง (ดังแผนผัง) โดยส่วนใหญ่นอ้ งๆ จะเห็นว่า จะเกิดการสลายตัว transesterification ให้เป็นเอทานอล การใช้พลังงานชีวมวลโดยกระบวนการที่ใช้ เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูป เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลว ของเหลวและแก๊ สผสมกัน ในเครื่องยนต์เบนซิน ความร้อนนั้น มักมาจากการน�ำถ่านไม้หรือ ฟืนมาจุดไฟเพื่อให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นการ ท�ำลายทรัพยากรป่าไม้โดยตรง และท�ำลายชั้นบรรยากาศทางอ้อม เพราะฉะนั้นเราจึงจ�ำเป็นต้องพัฒนาการใช้พลังงานจากชีวมวล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์สูงสุด และให้มีการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด ที่มา : (๑) พลังงานชีวมวล จาก : http://www.energyvision.co.th (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗) (๒) มวลชีวภาพ จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/มวลชีวภาพ (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗)

22


สวสั ดีคะ่ ชาวผลิใบทนี่ า่ รักทุกคน คอลัมน์ “บนั ทึกเดก็ พันธุใ์ หม เปน็ คอลัมน์ใหมเ่ อีย่ มทอี่ ยากให้ ”่ บันทึกเด็กพันธุ์ใหม่ นอ้ งๆ ไดร้ จู้ กั น�ำเอาการเขียน Mi nd Maps โดย : กองบรรณาธิการ มาปรบั ใชก้ บั เรอื่ งตา่ งๆ ในชีวติ ประจำ� วัน โดยเฉพาะด้านการ เร ยี น ท�ำไมน่ะ เหรอคะ ก็เพราะว่าการเขียน Mind Maps นัน้ เกยี่ วขอ้ งกบั การพฒ ั นาสมอง และการเพมิ่ เสน้ ใยสมองนัน่ เองค ะ่ ยิง่ เสน้ ใยสมองแตกรากฝอ ยออกมามากก็ ยิง่ ท�ำใหฉ้ ลาด คิดค้นควา้ หาเห ตุผลได้ดขี นึ้ เปน็ ผลดีตอ่ การจ ดจำ� ท�ำใหเ้ รา รูจ้ กั การคดิ แบบเป็นขัน้ เปน็ ตอ น และวธิ กี ารทีจ่ ะทำ� ใหเ้ ส้นใย สมองงอ มามากวธิ หี นึง่ ก็คอื การทำ� แผนท ค่ี วามคดิ หรอื Mind Mapping กออก สมองของคนเรานัน้ จะคิดและจ ำ� เปน็ ภาพ ลองคดิ ง่ายๆ เลยน เมื่อพี่พูดถึงบ้านในหัวของน ะคะ่ ้องจะเห็นอะไรคะ รูปบ้านห รื อ ตั วหนังสือ แนน่ อนว่าเราตอ้ งจนิ ตนาการรู ปบ้านขนึ้ มา บ้านในความคดิ ขอ งน อ้ งๆ ก็จะมี ด.ช. สีสนั ทีแ่ ตกต่างกนั ออกไป พงศภ์ คั พวงมาลยั ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ ๓ การเขียน Mind Maps มีองค โรงเ รี ย นจักรค�ำคณาทร ป์ ระกอบเพียง ๔ อยา่ งคอื ค� เสน้ และภาพ โดยอนั ดับแร ำ สี กเราต้องการรูเ้ รือ่ งอะไร ก็วาด รู ป นั น ้ แกน่ แกน โดยใช้สอี ย่างนอ้ ย ๓ สีเสมอ เพราะสจี ะกระตุน้ คว เปน็ ภาพ ามจ�ำแล คิดสรา้ งสรรค์ และคอ่ ยๆ แต กแขนงออกไปเปน็ หมวดหมู่ จา ะความ กหมวดหมูก่ ็ ค่อยๆ แตกเป็นหมวดหมยู่ อ่ ย โดยอาจใชภ้ าพหรอื สัญลักษณต์ า่ งๆ ทีค่ ดิ ขึน้ เองมาประกอบการเขียน ไมย่ าก เลยใช่ไหมคะ ทีนเี้ รามาดู Mind Maps ของ เพอื่ นๆ ชาวผลิใบกนั ดีกว่าค่ะ ว่าจะน่ารักสดใสขนาดไหน

ด.ญ. ปุณยณุช ชุมเปีย ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ ๓ โรงเรียนศรธี รรมราชศกึ ษา

ด.ญ. ธัญญาภรณ์ คงตุก ชัน้ โรงเรยี นศรีธรรมราชศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ให้นอ้ งๆ เขียน Mind Maps ในแบบฉบบั ของตัวเอง ต่อจาก ภาพ แก ่ น แก นที่ ก� ำ หน ดให ้ ในหวั ข้อ “บ้านฉนั กับการ อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แว ดล ้ อ ม” ใครได้รับคัดเลือกมาลง ภาพแก่นแกน ในวารสารจะไดร้ บั ของ โจทย์บนั ทึกเด็กพันธุใ์ หม่ ฉบบั หนา้ ราง วั ล จาก ผลิ ใ บ “บ้านฉนั กับการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม” ด้วยค่ะ ประจ�ำฉบบั ที่ ๑๑๔ เดือนกรกฏาคม-กันยายน ๒๕๕๗ สามารถดาวน์โหลดภาพจริงได้ที่ http://www.facebook.com/Plibai2012.tei

ที่มา : โทนี บูซาน. Mind Maps.: ส�ำนั กพิมพ์ขวัญข้าว, ๒๕๕๑. (หน้า ๗).

ด.ช. อภิเดช สุวรรณคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนจักรค�ำคณาทร

ด.ญ. วชิราภรณ์ ผวนดอยแดน ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ ๓ โรงเรียนจักรค�ำคณาทร

23


นวัตกรรมล้ำ�โลก

ยีนส์จากขยะ..คืนชีวต ิ สูท่ ะเล

หน้าร้อนอย่างนี้ ทะเลถือเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยม ส�ำหรับคลายร้อนของใครหลายคน เสน่ห์ของทะเลคงจะ หนีไม่พ้นน�้ำใสสะอาด หาดทรายขาว ที่ดึงดูดให้คนจากทั่วทุก พื้นที่เดินทางมาสัมผัสความงดงามนี้ แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจ เป็นเพียงภาพในความฝัน เพราะในความเป็นจริงแล้วเราต่าง ฝากความบอบช�้ำให้กับทะเลที่เรารักด้วยการทิ้งขยะโดยเฉพาะ พลาสติกลงไปบนหาดทรายและผืนทะเล แล้วปล่อยให้เป็น ภาระของธรรมชาติต่อไป ขยะจ�ำพวกขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ผลิตจากโพลีเอทิลีน โพลีโพรไพลีน ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ จากปิโตเลียมหรือน�้ำมันที่ย่อยสลายยาก ซึ่งนอกจากจะก่อให้ เกิดมลภาวะแล้วยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัตว์ทะเล เพราะ จากสถิติทั่วโลกมีสัตว์ทะเลโดยเฉพาะสัตว์หายาก อาทิ โลมา วาฬ เต่าทะเล พะยูน ฯลฯ ต้องตายเพราะกลืนกินขยะ พลาสติกเข้าไปเพราะเข้าใจว่าเป็นอาหาร สัตว์เหล่านี้ต้อง เจ็บป่วยทุกข์ทรมานเนื่องจากกระเพาะไม่ย่อย ไม่สามารถกิน

24

และขับถ่ายได้ ท�ำให้หมดแรง และตายในที่สุด จากปัญหาข้างต้นจึงเกิดแนวคิดมากมายในการก�ำจัด ขยะพลาสติกในทะเล ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นจิตส�ำนึกผ่าน Application ต่างๆ การสร้างโรงแรมจากขยะ Save The Beach Hotel หรือการรณรงค์เรือ่ งการก�ำจัดขยะทะเลจากทัว่ โลก G-Star Raw ผู้ผลิตยีนส์ได้ร่วมมือกับ Pharrell Williams เจ้าของ Bionic Yarn ผลิตกางเกงยีนส์จาก เส้นด้าย Bionic Yarn ที่ใช้นวัตกรรมในการน�ำขยะพลาสติก จากท้องทะเลและชายหาดมารีไซเคิล คล้ายกับลีวายส์ที่ท�ำ คอลเลคชั่น “ลีวายส์® Waste<LESSTM” ยีนส์ที่ท�ำจากเส้นใย รีไซเคิลมาจากโพลิเอทธิลีน เทเรฟทาเลตที่ใช้ในการผลิตขวด พลาสติกและถาดอาหาร แต่ของ Pharrell ใช้ขยะพลาสติก จากท่้องทะเล โครงสร้างของเส้นด้าย Bionic Yarn ประกอบด้วย โครงสร้าง ๓ ชั้นคือ โครงสร้างไฟเบอร์ท�ำหน้าที่เป็น แกนกลาง ห่อหุ้มด้วยเส้นใยที่เกิดจากการรีไซเคิลพลาสติก และปิดผิวด้านนอกของเส้นใยด้วยเส้นใยธรรมชาติหรือวัสดุ สังเคราะห์ Pharrell มีความคิดว่า ผ้ายีนส์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะคนส่วนใหญ่มักจะมีกางเกงยีนส์ อย่างน้อย ๑ ตัว โดยถ้า ๑ ตัวนั้นจะเป็นยีนส์ที่ผลิตจากขยะ ทะเลก็จะท�ำให้ขยะทะเลลดลงได้อย่างรวดเร็วในที่สุด The Raw for the Oceans Jeans จึ ง เป็ น ผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้ปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน ทางอ้อม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยให้ท้องทะเลกลับมา สวยงามอีกครั้ง ที่มา : (๑) Pharrell Williams to launch eco-friendly ‘RAW for the Oceans’ จาก : http://www.nydailynews.com/life-style/fashion/ pharrell-williams-g-star-launch-eco-friendly-denim-line-article-1.1608290#ixzz2z8S8yJ2k. (วันที่ค้นข้อมูล : ๗ เมษายน ๒๕๕๗) (๒) RAW for the Oceans จาก : http://www.partofabiggerplan.com/ G-Star-Raw-for-the-Oceans(วันที่ค้นข้อมูล : ๗ เมษายน ๒๕๕๗) ภาพประกอบจาก : (๑) http://globalgrind.com/ (๒) http://www.denimfuture.com/read-journal/ pharrell-williams-presents-g-star-raw-for-the-oceans (๓) http://www.partofabiggerplan.com/G-Star-Raw-for-the-Oceans


Gasoline idea

ผลิใบรีไซเคิล

น้ อ งๆ ทราบหรื อ ไม่ ว ่ า ในปั จ จุ บั น ขยะที่ เ หลื อ ทิ้ ง ภายในครัวเรือนเป็นขยะรีไซเคิลเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีปริมาณ มากถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ และอลูมิเนียม ซึ่งขยะเหล่านี้สามารถน�ำ กลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพให้กลายเป็น ผลิตภัณฑ์ใหม่ Gasoline Idea Furniture หนึ่งในไอเดียรีไซเคิล ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งเฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ ข ายไอเดี ย หากแต่ ยั ง เป็ น เฟอร์นิเจอร์ที่สรรค์สร้างขึ้นมาจากขยะรีไซเคิลอย่างถังน�้ำมัน ๒๐๐ ลิตร ที่ไม่มีมูลค่าอะไร มาแปรสภาพให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ ที่สวยงามและมีสนนราคา เฟอร์นิเจอร์รูปร่างล�้ำสมัยเหล่านี้ถูกดัดแปลงขึ้นมา จากถังน�้ำมันและส่วนประกอบอื่นๆ อย่างเบาะ และขาไม้ โดย พี่ศรัญย์ บัณฑิตเกษตร เดิมทีพี่ศรันย์เคยเปิดร้านอาหารชื่อว่า Gasoline จึง ได้ไอเดียว่าจะตกแต่งร้านด้วยถังน�้ำมัน แต่ถ้าเป็นถังน�้ำมัน อย่างเดีย วมาตั้ง คงจะดูธ รรมดาเกิน ไป เขาจึงดัดแปลงถัง น�้ำมันมาท�ำเป็นเก้าอี้ โซฟา โต๊ะ ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ถูกใจของ ลูกค้าจนถึงขั้นขอซื้อและมียอดสั่งผลิตเดือนละหลายร้อยชิ้น เขาจึงเบนเข็มจากร้านอาหารมาท�ำเฟอร์นิเจอร์จากถังน�้ำมันจน กลายมาเป็นอาชีพหลักในที่สุด ถังน�้ำมันธรรมดาถูกเลือกโดยพิถีพิถันจากแหล่งค้า ส่งวัสดุรีไซเคิล โดยจะต้องไม่เป็นถังที่บรรจุวัตถุไวไฟ หรือ

สารอันตรายใดๆ เพราะเมื่อน�ำถังมาตัดระหว่างกระบวนการ ผลิตอาจจะเกิดระเบิดได้ ราคาซือ้ อยูท่ ปี่ ระมาณ ๓๐๐-๔๐๐ บาท เมื่อท�ำเสร็จเป็นเฟอร์นิเจอร์แล้วราคาขายจะอยู่ที่ประมาณชิ้นละ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ บาทขึ้นไป ราคาต่อชุดประมาณ ๙,๐๐๐ บาท โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มร้านกาแฟ ร้านอาหาร รีสอร์ท โรงแรม คอนโดมิเนียม และกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบงานไอเดีย โดยอาชีพแล้วพี่ศรันย์บอกว่า “จะพยายามท�ำลาย สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด เพราะเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นหน้าที่ของทุกคน ใครช่วยตรงส่วนไหนได้ก็ท�ำ อย่างผมก็ น�ำขยะรีไซเคิลมาท�ำเป็นของใช้ที่เกิดประโยชน์ อย่างน้อยก็ช่วย ลดปริมาณขยะลงได้บ้าง ถึงแม้จะช่วยได้ไม่มากแต่ก็ถือว่าได้ ช่วย” พี่ศรันย์ยังฝากแนวคิดดีๆ ถึงน้องๆ ที่อยากจะสร้าง ธุรกิจจากไอเดียของตัวเองด้วยว่า “คิดแล้วต้องท�ำ ท�ำพลาด ๑๐๐ ครั้ง ยังดีกว่าไม่ลงมือท�ำเลย คิดแล้วท�ำก่อน ท�ำให้ดี ที่สุดแล้วผลจะตามมาเอง” ยังมีขยะรีไซเคิลอีกมากมายที่รอการต่อยอดให้กลาย เป็นของใช้ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าใหม่ๆ ที่อาจจะสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้กบั ใครอีกหลายคน ขอเพียง มีความคิดสร้างสรรค์ และลงมือท�ำ เท่านี้ ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลโลกให้ อยู่กับเราไปได้นานแสนนานแล้วค่ะ

Gasoline Idea Furniture ตลาดนัดรถไฟ ถนนศรีนครินทร์ โทร ๐๘ ๙๔๔๐ ๒๒๒๓ Facebook: Gasoline idea furniture

25


On The Move โดย : ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์

ประเทศไทยมี นิ ค มอุ ต สาหกรรม อยู่มากกว่า ๒๕ แห่ง บางแห่งเปิดมา นานกว่า ๓๐ ปี ถึงแม้ยังไม่หมดอายุ การใช้ ง าน แต่ ห ากเศรษฐกิ จ ไม่ ดี การเมืองไม่มั่นคง โรงงานต่างชาติหนี ไปลงทุนประเทศอื่น ใครจะบอกได้ว่า แต่ละนิคมใช้ได้ถงึ เมือ่ ไหร่ การเตรียมตัว และความพร้อมน่าจะเป็นเรื่องที่ประเทศ ไทยควรศึกษา และประเทศสวีเดนเป็น ตัวอย่างทีด่ ใี นเรือ่ งนี้ ผูเ้ ขียนได้ไปเยีย่ มชม มาจึงขอขนุญาตน�ำมาขยายความต่อ

26

Stockholm Royal Seaport เป็น นิ ค มอุ ต สาหกรรมท่ า เรื อ โรงไฟฟ้ า โรงผลิตก๊าซ และอุตสาหกรรม แม้ว่า ท่าเรือยังมีการใช้งานอยู่ แต่ธุรกิจอื่น เริ่ ม ปิ ด ตั ว ลง (ท่ า เรื อ ในปั จ จุ บั น มี ผูโ้ ดยสาร สัญจรไปมาประมาณ ๔ ล้านคน ต่อปี มีการขนส่งสินค้าประมาณ ๑.๖ ล้านตัน) จึงจ�ำเป็นต้องปรับการใช้ประโยชน์ พืน้ ทีบ่ างส่วน ประกอบกับความต้องการ ของประเทศที่ต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น แต่ต้องการใช้งบประมาณในการพัฒนา พื้นที่ไม่สูงนัก ต้องอยู่ในพื้นที่ที่เจริญ ไม่ ไ กลจากเมื อ งใหญ่ พื้ น ที่ ใ นนิ ค ม อุ ต สาหกรรมที่ มี ก ารปิ ด ตั ว ของธุ ร กิ จ จึ ง เป็ น ค� ำ ตอบที่ ล งตั ว ค� ำ ถามคื อ ท� ำ อย่างไรให้อุตสาหกรรมกับชุมชนอยู่ด้วย กันได้ และท�ำอย่างไรให้เป็นเมืองแห่ง ความสุข เป็น Sustainable city ปัจจุบนั นิคมแห่งนีไ้ ด้ถกู พัฒนาเป็น ที่อยู่อาศัย ๕,๐๐๐ ยูนิต ส�ำนักงาน และพืน้ ทีเ่ พือ่ การพาณิชย์ ๖๐,๐๐๐ ตรม. ในการพัฒนา Stockholm Royal Seaport ได้มกี ารจัดท�ำแผนแม่บทขึน้ มาก่อน ซึง่ มี เป้าหมายจะเป็น World Class Sustainable

City District ภายในปี ๒๐๓๐ ซึ่ง ปราศจากการใช้พลังงานฟอสซิล มีการ ปรั บ ตั ว ต่ อ การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อากาศ และมีการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ควบคู ่ ไ ปกั บ การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และ สังคม การพัฒนาของ Stockholm Royal Seaport จะด�ำเนินงานโดยบริษทั เอกชน ภายใต้การควบคุมและการวางโครงสร้าง พื้ น ฐานของเมื อ งโดยเทศบาลเมื อ ง ท้องถิ่น การพัฒนาเริ่มต้นด้วยขั้นตอน การวางแผนกับชุมชน ซึ่งใช้เวลานานถึง ๖-๘ ปี ก่อนลงมือก่อสร้าง โดยจะเริ่ม จากพื้นที่เล็กๆ ก่อน และค่อยขยายไป สู่พื้นที่อื่นๆ Major physical changes in the area หน่วยงานท้องถิ่นได้ปรับปรุงพื้นที่ ทั้งหมด โดยวางระบบสาธารณูปโภค ทุกด้าน โดยเฉพาะการจัดการขยะ มีการ ใช้ระบบ Vacuum โดยวางท่อใต้ดินยาว ๓.๕ กิโลเมตร ลึก ๒ เมตร ในพื้นที่


ที่ต้องการพัฒนา และมีการจัดสร้าง สถานี พั ก และแยกขยะเพื่ อ การจั ด การ รวมถึ ง การสร้ า งเตาเผาขยะ ระบบ บ�ำบัดน�้ำเสียและอื่นๆ บริษัทเอกชนที่ ต้ อ งการสร้ า งอาคารคอมโดมิ เ นี ย มจะ รั บ ผิ ด ชอบออกแบบส่ ว นที่ อ าคารอยู ่ เหนือพื้นดิน โดยมีการคิดค่าใช้จ่ายรวม ในค่ า ซื้ อ คอนโดมิ เ นี ย มขั้ น ต�่ ำ ห้ อ งละ ๒,๔๐๐ ยูโร หรือประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ บาท ไม่รวมค่าบริการรายเดือนที่มีการเรียก เก็บจากผู้พักอาศัย พื้นที่บางส่วนได้ถูกสร้างเป็นอาคาร ที่พักอาศัย โดยอาคารที่ถูกสร้างใหม่ได้ รับการออกแบบแบบ Passive House และอาคารเก่า เช่น อาคารอ�ำนวยการ ถูกปรับปรุงเป็นโรงเรียนอนุบาล

มีการน�ำเศษอาหารที่ผ่านการบด จากอ่างล้างจาน ซึ่งผสมมากับน�้ำเข้าสู่ ระบบบ� ำ บั ด น�้ ำ เสี ย และน� ำ มาผลิ ต เป็ น Biogas น�ำไปใช้ในการคมนาคมขนส่ง ถึงแม้ปริมาณจะไม่เพียงพอ

ไปสู่เขตเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน การที่เมือง/เทศบาลเป็นเจ้าของที่ดี (ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญมาก) ความต้องการในการพัฒนาเมืองของ ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ การท�ำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั้ง จากผู้มีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอก โครงการ การติ ด ตามและประเมิ น ผลการ ด�ำเนินงานของโครงการ นอกจาก Stockholm Royal Seaport ยั ง มี นิ ค มอื่ น ๆ ที่ ไ ด้ มี ก าร ปรับปรุงท�ำนองเดียวกัน แต่มีจุดเด่นที่ เสริมหรือต่างจาก Stockholm Royal Seaport คื อ นิ ค ม Hammarby Sjostad และนิคม Western Habour

ถังเก็บก๊าซได้ปรับปรุงเป็นอาคาร นิ ค ม Hammarby Sjostad พิพิธภัณฑ์ และโรงละคร ส ภ า พ เ ดิ ม ข อ ง พื้ น ที่ เ ป ็ น เ ข ต นิ ค ม อุตสาหกรรมและเป็นที่ทิ้งขยะจึงถือว่า ด้านการจัดการพลังงาน เป็ น พื้ น ที่ ป นเปื ้ อ นมลพิ ษ และในปี ๑๙๒๕ ต้องการสร้างให้เป็นท่าเรือเพื่อ Stockholm Royal Seaport มี ออกสู่ทะเลบอลติก แต่ปรากฏว่าร่องน�้ำ การใช้ Smart Grid เพื่ อ บริ ห าร เล็ ก เกิ น ไป เรื อ ใหญ่ แ ล่ น ผ่ า นไม่ ไ ด้ จั ด การพลั ง งานที่ ม าจากหลายแหล่ ง การเป็นท่าเรือจึงไม่เกิดประโยชน์มากนัก รวมถึงพลังงานทดแทน นอกจากนี้ยังมี ต่อมาในปี ๑๙๙๖ ต้องการสมัครเป็น การส่งเสริม Electric Vehicle และ สถานที่จัด Summer Olympic จึงมี การใช้รถยนต์ร่วมกัน (Car Pool) การวางแผนแม่ บ ทเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง เมื อ ง แต่ภายหลังไม่ได้รับเลือก ด้วยสภาพ อาคารจะมีการท�ำ Green Roof, เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ทางกายภาพที่ไม่เหมาะในการเป็นท่าเรือ Green Wall และ Green Area เพื่อ จึงมีการปรับการใช้ประโยชน์ ลดความรุนแรงของพายุ ลดมลพิษและ ปัจจัยความส�ำเร็จ การปรับปรุงการใช้ประโยชน์เพื่อ เสียง การมี ข ้ อ ตกลงและความเห็ น พ้ อ ง เป็นเมืองครั้งนี้มาจากการที่ Stockholm ต้องกันของนโยบายทางการเมืองในการ ขยายตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ต้ อ งการที่ พั ก พัฒนา Stockholm Royal Seaport อาศัย ๘๐,๐๐๐ ยูนิตต่อปี แรกเริ่ม 27


y Sjöstad j ส่ ว นนิ ค ม Western Habour เดิ ม ที ที่ ดิ นHammarby บางส่ ว นเป็ น ของเอกชน ภายหลังทางเมืองได้ขอซื้อเป็2013 นของเมือง เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือเก่า ทั้งหมด ในการพัฒนาเมืองจะเริ่มด้วย ซึ่งได้ถูกปรับปรุงเป็นเขตที่อยู่อาศัยอย่าง การวางระบบ Infrastructure ก่อน ยั่งยืน สาเหตุเนื่องมาจากในปี ๑๙๙๐ และแผนแม่บทในการพัฒนาเมืองต้องได้ เกิ ด วิ ก ฤตการณ์ ท างเศรษฐกิ จ ท� ำ ให้ รั บ การการยอมรั บ จากชุ ม ชน โดยใช้ โรงงานในพื้นที่หลายแห่งต้องปิดกิจการ เวลาพูดคุยและปรึกษาหารือกันถึง ๑๐ ปี ลง ในช่ ว งแรกของการพั ฒ นาได้ เ ริ่ ม ปัจจุบัน Hammarby Sjostad มี สร้าง ๑,๐๐๐ Apartments และเพิ่ม พื้นที่ยาว ๒.๕ กิโลเมตร ปัจจุบันสร้าง เป็น ๕,๐๐๐ Apartments ในปัจจุบัน เสร็จแล้ว ๒๐,๐๐๐ ยูนิต มีเป้าหมายที่ และคาดว่าในอนาคตจะมีถึง ๑๐,๐๐๐ จะสร้างอีก ๖๐,๐๐๐ ยูนิต คาดว่า Apartments จุดเด่น คือ การวางผัง โครงการจะสมบูรณ์ในปี ๒๐๑๘-๒๐๑๙ การใช้ที่ดินจะวางอาคารสูงไว้ตามด้านที่ ติ ด กั บ ทะเลเพื่ อ ลดความเร็ ว ลม โดย 2014-03-26

28

อาคารด้านในจะมีความสูงน้อยกว่าและ ใช้สีที่สดใสกว่าเพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่น แก่ผู้อยู่อาศัย และระหว่างตัวอาคารจะ เป็ น ทางคดเคี้ ย วขนาดเล็ ก ซึ่ ง ดู เ หมื อ น ทางตัน เพื่อให้คนอยู่อาศัยใช้เป็นทาง เดินและทางจักรยาน หลังคาของอาคาร ส่วนใหญ่ท�ำเป็นหลังคาเขียวเพื่อรองรับ น�้ำฝน ลดความแรงของน�้ำและให้น�้ำฝน ไหลลงสู่ท่อระบายน�้ำ นอกจากนี้ยังมี การออกแบบสวนหย่อมเพื่อให้เกิดความ หลากหลายทางชีวภาพ ตึกใหม่ล่าสุด ของ Western Habour มีกังหันลมเพื่อ ผลิ ต ไฟฟ้ า บนหลั ง คา และมี ที่ ช าร์ จ แบตเตอรี่ ส� ำหรั บ รถยนต์ แ ละจั ก รยาน ไฟฟ้า


iPad

Green Product

โดย : วิศรา หุ่นธานี (พี่เจเจ)

เรื่องเลาเยาวชน

อาหารที่ขายในตลาดหรือที่ขายตามข้างทาง ตอนท�ำ เสร็ จใหม่ ๆ ดู น ่ าทานดีน ะ.. แต่บางทีตัดใจไม่ทานดีก ว่า เพราะไม่มีที่ส�ำหรับให้ลูกค้านั่งรับประทานที่ร้าน ต้องซื้อใส่ ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมกลับบ้านอย่างเดียว หรือบางครั้งมี ที่ให้นั่งแต่ก็น�ำชามโฟมหรือกล่องโฟมมาตัดแบ่งใช้แทนจาน ส�ำหรับใส่อาหารให้เราพอทานได้ หรือแม้กระทั่งร้านอาหาร ขนาดใหญ่บางแห่งก็ยังใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารให้กับลูกค้าที่ ต้องการซื้อกลับบ้าน ...อาหารดีๆ พออยู่ในภาชนะโฟมแล้ว ดูแย่ไปเลยนะ อาหารก็ถูกปนเปื้อนเป็นอันตรายกับผู้บริโภค แถมขยะโฟมก็เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก.. พี่เจเจเป็นพวกแอนตี้โฟมด้วยสิ จะท�ำอย่างไรล่ะคะ ให้ถือปิ่นโตไปไหนๆ ด้วยตลอดเวลาก็คงไม่สะดวก ... แม้ว่าถุงพลาสติกและกล่องโฟมจะมีประโยชน์อย่าง ล้นเหลือ แต่น้องๆ ทราบไหมคะว่าถุงพลาสติกและกล่องโฟม เมื่อถูกทิ้งแล้ว ต้องใช้เวลาย่อยสลายยาวนานกว่าอายุขัยของ มนุษย์คนหนึ่งเลยทีเดียว เพราะถุงพลาสติก ๑ ใบใช้เวลา ย่อยสลายถึง ๔๕๐ ปี ในขณะที่กล่องโฟมใช้เวลายาวนานถึง ๒,๐๐๐ ปี หรืออาจไม่ย่อยสลายเลย เห็นตัวเลขแล้วน่าตกใจ ใช่ไหมล่ะคะ และแล้วก็มีข่าวดีส�ำหรับมนุษย์เขียวแบบพี่เจเจ วันนี้ เลยแนะน�ำให้ พ่อค้า แม่ค้า หรือเจ้าของร้านอาหารต่างๆ รวมถึงตัวน้องๆ ได้รจู้ กั สิง่ นีแ้ ล้วน�ำมาใช้แทนโฟมกันดู ..

ภาชนะชนิดนีถ้ กู ตัง้ ชือ่ ว่าอย่างเก๋ไก๋วา่ “ภาชีวะเกรซ” (GRACZ) ซึ่งเป็นศัพท์นิยามใหม่ของ นพ.วีรฉัตร กิตติรัตน์ไพบูลย์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ GRACZ หมายถึง คุณงามความดี ภาชีวะ หมายถึง ภาชนะเพื่อชีวิต “ภาชีวะเกรซ” จึ ง เกิ ด มาเพื่ อ ฆ่ า โฟมโดยเฉพาะ เนื่องจากมันถูกผลิตจากเยื่อพืชธรรมชาติ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จึงสามารถย่อยสลายได้ภายใน ๖ สัปดาห์โดยการฝังกลบ (๑๐๐% Biodegradable) มีความสะอาด ปลอดภัย ไม่มสี ารก่อ มะเร็ง ใส่อาหารได้ทั้งเย็นหรือร้อน ตั้งแต่อุณหภูมิ ๐-๒๕๐ องศาเซลเซียส สามารถน�ำเข้าโครเวฟและเตาอบได้ นอกจากนัน้ ยังช่วยรักษาคุณภาพอาหารประเภทพืชผักอีกด้วยเพราะเป็น บรรจุภณ ั ฑ์หายใจได้ (Breathable Packaging) นัน่ เองค่ะ ที่มา : (๑) จาก : https://th-th.facebook.com/gracz.co.th (๒) จาก : http://www.thaibpe.com/ (๓) ระยะเวลาการย่อยสลายของวัสดุ. จาก : http://www.mrbackpacker.com/tips/tip_19.html

29


ปลูกเพื่อโลก

โดย : ปาริสุทธิ์ สีทองดี

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” น้ อ งๆ หลายคนคงเคยได้ ยิ น ค� ำ นี้ ม าบ้ า งแล้ ว ซึ่ ง การ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ คือ การเปลีย่ นแปลงของอุณหภูมิ บนพื้นผิวโลกจนท�ำให้เกิดความแตกต่างของมวลอากาศ ท�ำให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงปริมาณน�ำ้ ฝน ซึ่งประเทศไทยของเราก็ได้ รับผลกระทบนี้โดยตรง คือ น้องๆ ในภาคใต้จะต้องเจอกับ เหตุการณ์น�้ำท่วมบ่อยขึ้น ในขณะที่น้องๆ ในภาคเหนือและ อีสานต้องเจอกับภัยแล้ง รวมทั้งความรุนแรงของพายุ และ ระดับน�้ำทะเลที่เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างของผลกระทบจากการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ เช่น แนวเสาไฟฟ้าทีอ่ ยู่กลางทะเล ห่ า งจากฝั ่ ง หลายสิ บ เมตรที่ บ ้ า นขุ น สมุ ท รจี น จั ง หวั ด สมุทรปราการ ซึ่งเดิมทีเคยเป็นถนนที่ใช้สัญจรของชาวบ้าน หรือจะเป็นเหตุการณ์นำ�้ ท่วมครัง้ ใหญ่เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่มี พายุเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกันถึง ๕ ลูก ท�ำให้ น้องๆ ในหลายพืน้ ทีต่ อ้ งเจอกับน�ำ้ ท่วมอย่างทีไ่ ม่เคยเจอมาก่อน โดยตั ว อย่ า งที่ ไ ด้ ก ล่ า วมาเป็ น เพี ย งบางส่ ว นของผลกระทบ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทีนี้น้องๆ เริ่มเห็นถึงผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบ้างแล้วรึยังคะ “การพัฒนาเมือง” ในความหมายของน้องๆ น่าจะเห็น เป็นภาพทีเ่ มืองเกิดการพัฒนา มีบา้ นเรือนทันสมัย การคมนาคม สะดวกสบาย มีหา้ งสรรพสินค้าเกิดขึน้ เศรษฐกิจดีขนึ้ ผู้คน เข้ามาท�ำงานในเมืองเพิ่มมากขึ้น แต่ใครจะรู้ว่าการพัฒนาเมือง เหล่ า นี้ มี ทั้ ง ด้ า นดี แ ละด้ า นที่ ส ่ ง ผลกระทบ ตั ว อย่ า งเช่ น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากเดิมเป็นพื้นที่โล่ง ว่างเปล่าซึง่ อาจเป็นพืน้ ทีร่ บั น�ำ้ กลับกลายเป็นทีต่ งั้ ของห้างสรรพสินค้า หรือพื้นที่ริมคลองที่อาจใช้ประโยชน์ด้านการพักผ่อนหย่อนใจ

30

สามารถ เพาะปลู ก พืชผักสวนครัว ริมสองฝั่งคลองได้ กลายเป็นถนน เป็นที่อยู่อาศัย เป็นต้น ซึ่งการพัฒานาเมืองเหล่านี้ ท�ำให้ วิถีชีวิตของคนในเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ต้องแข่งขันกับเวลา จนลืมใส่ใจสุขภาพ อีกทั้งพื้นที่ที่จะเพาะปลูกพืชผักมีอยู่อย่าง จ�ำกัด หรือบางบ้านอาจไม่มีพื้นที่ที่เป็นดินเลยก็ได้ “เกษตรบนพื้นที่จ�ำกัด” จึงเป็นวิธีที่สามารถหาทางออก ให้กับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การมี พื้นที่เพาะปลูกจ�ำกัดและความต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดีบริโภค อาหารที่ปลอดสารพิษ พร้อมกับการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ จึงมีกลุ่มชุมชนเมืองที่ให้ความสนใจการเพาะปลูกพืชบนพื้นที่ จ�ำกัด แม้จะไม่มีพื้นที่ที่เป็นดินก็ตาม ซึ่งปัจจัยที่ส�ำคัญในการ ปลูกผัก คือ “ใจรักในการปลูกและน�ำสิ่งของรอบตัวมาใช้ให้ เป็นประโยชน์” เพียงเท่านี้น้องๆ ก็สามารถปลูกผักได้แล้วค่ะ จังหวัดเชียงราย ถึงแม้ว่าจะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เมืองเหมือนกรุงเทพมหานคร แต่ประชาชนในเมืองเชียงราย ก็เริ่มตื่นตัวกับการรักษาสุขภาพ ปัญหาที่ดินเพาะปลูกมีจ�ำกัด ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (น�้ำ ท่ วม/ น�้ำแล้ง/อุณหภูมิไม่เหมาะสม) ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตร เสียหาย จึงท�ำให้เกษตรอ�ำเภอเมืองเชียงรายร่วมกับเทศบาล นครเชียงรายและโครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Asian Cities Climate Change Resilience Network : ACCCRN) ริเริ่มส่งเสริม การปลู ก พื ช บนพื้ น ที่ จ� ำ กั ด โดยใช้ ชั้ น ดาดฟ้ า ของส� ำ นั ก งาน เทศบาลนครเชี ย งรายเป็ น พื้ น ที่ ส าธิ ต ซึ่ ง วิ ธี ก ารปลู ก ท� ำ อย่างง่าย โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น โครงส�ำหรับปลูก พืช พันธุ์ไม้เลื้อยท�ำจากไม้ไผ่ ถุง ส�ำหรับใส่ดินก็น�ำมาเป็ น กระถางปลูก เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี เจ้าหน้าที่ เทศบาลได้ความรู้ อีกทั้งยังได้ทานผักสดปลอดสารพิษ

ทีม่ า : ภาพ : จาก http://www.100ydesign.com/graphic-design/images/t1csfs5a.jpg (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗). จาก http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2011/01/J10129254/J10129254-0.jpg (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗). จาก http://3.bp.blogspot.com/_IbyiMowjxp8/S7ygLN-ke9I/AAAAAAAAAAo/L3ff-aw78wc/s1600/DSC_0168.JPG (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗).


มีประโย

ชน์อย่างไร

เรื่องเล็ก ไม่น้อย โดย : ณชชน พชรชัยกุล

ถึงแม้ปจั จุบนั จะมีเชือ้ เพลิงให้เลือกใช้มากมาย แต่การใช้ถา่ นไม้กย็ งั คงมีอยูใ่ นหลายพืน้ ทีข่ องประเทศไทย ซึ่งน้องๆ ทราบ หรือไม่คะว่าในกระบวนการเผาถ่านนั้นก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง อย่างแรกเลยก็คือปัญหาการตัดไม้ ท�ำลายป่า ต่อมาก็คือปัญหาด้านสุขภาพจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่นละอองในควันไฟ รวมถึงปัญหาด้านมลภาวะอันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเกิดภาวะโลกร้อน จากผลกระทบที่กล่าวมานี้เองที่ท�ำให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสร้างเตาเผาถ่านที่ช่วยลดปัญหาด้านมลภาวะ และการเผาถ่านให้ได้ประโยชน์ สูงสุดโดยกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น เตาเผาถ่านไร้ควันแบบต่างๆ แต่ที่ น่าสนใจและเราจะพูดถึงในฉบับนี้ก็คือ “เตาเผาถ่านชีวภาพ” แล้วถ่านชีวภาพ คืออะไร? สงสัยใช่ไหมล่ะคะ ถ้าอย่างนั้นเรามาท�ำความรู้จักกับถ่านชีวภาพพร้อมๆ กันเลยค่ะ ถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือ ถ่านที่ผลิตจากชีวมวล หรือวัสดุ เหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันส�ำปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ โดย ผ่ า นกระบวนการแยกสลายด้ ว ยความร้ อ นโดยไม่ ใ ช้ อ อกซิ เ จน หรื อ ใช้ น ้ อ ยมาก ถ่านชีวภาพ แตกต่างจากถ่านทั่วไปในด้านของการน�ำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งถ่านทั่วไปจะใช้ เป็นเชื้อเพลิง ในขณะที่ไบโอชาร์คือถ่านที่ใช้ประโยชน์เพื่อกักเก็บคาร์บอนลงในดิน และ ปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดิน เนื่องจากคุณสมบัติของถ่านชีวภาพมีรูพรุนตามธรรมชาติ ะช่วยการระบายอากาศ การซึมน�้ำ การอุม้ น�ำ้ ลด ความเป็นกรดของดิน กักเก็บธาตุอาหารจากปุ๋ย เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พชื ได้นาน ซึ่งจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้ นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยให้สูงขึ้นลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และเพิ่มผลผลิตอีกด้วยค่ะ ทีม่ า (๑) จาก http://www.inthanon2007. com/index.php?lay=show&ac=article& Id=539308862 (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗). (๒) จาก http://www. biochar-international.org/regional/ thailand (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗). ภาพ : จาก http://www. endalldisease.com/wp-content/ uploads/2013/10/ Making-Biochar-Method-2EndAllDisease-216x300.jpg (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗).

ประโยชน์ของไบ 1. ช่วยบรรเทาการเปลี โอชาร์ ่ยนแ สามารถลดคาร์บอนไดออ ปลงภูมิอากาศ เนื่องจากไบโอชาร์ กไซด การกกั เกบ็ คาร์บอนในดิน ใ์ นชนั้ บรรยากาศในระยะยาวได้ดว้ ย 2. ช่วยปรับปรงุ ดินและผ ลผ โอชาร์ลงดนิ ลักษณะควา ลิตทางการเกษตร เนอื่ งจากเมอื่ น�ำไบ มเป็นรูพรุนของไบโอชารจ์ ะช ว่ ยก และอาหารในดิน และเปน็ ทีอ่ ยูใ่ ห้กับจุลินทรีย์ส�ำหร กั เกบ็ น�ำ้ ับท�ำกิจกรรม เพื่อสร้างอาหารให้ดิน เมื่อดินอุดมสมบูรณ์จะส่ง ผลให้ผลผลิต ทางการเกษตรเพิม่ ขึน้ 3. ช่ ว ยผ ลิ ต พลั ง งา นท ดแ ไบโอชาร์จากมวลชีวภาพด ทน เนื่ อ งจ าก กร ะบ วน กา รผ ลิ ต ้วยก พลงั งานชวี ภาพทสี่ ามารถใ ารแยกสลายด้วยความร้อนจะให้ ช้เป็นพลงั งานทดแทนเพอื่ การขนสง่ และ ในระบบอุตสาหกรรมได้ 4. ช่วยในกระบวนการ จัด เนอื่ งจากเทคโนโลยไี บโอช การของเสียประเภทอินทรีย์วัตถุได้ ารม์ ศี กั ยภาพในการกำ� จัดขอ งเสียทีท่ ำ� ให้ สิง่ แวดลอ้ มเป็นพิษ

31


นอกรั้ว น่ารู้

โดย : กองบรรณาธิการ

ฉบับนี้เราจะมาแนะน�ำให้น้องๆ ได้รู้จักกับเพื่อนเยาวชนคนเก่งจาก ๓ โรงเรียน ที่ชนะการประกวดจากโครงการ ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา ที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จ�ำกัด และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดขึ้น โดย ด�ำเนินกิจกรรมร่วมกับเทศบาล และโรงเรียนทั่วประเทศไทย ภายใต้แนวคิดที่ว่าประชากรในเมืองเป็นผู้บริโภคพลังงาน กลุ่มส�ำคัญ และเมืองเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด จึงมุ่งเน้นที่จะรณรงค์การลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้ ๔ กิจกรรมรณรงค์ อันประกอบด้วย ลดเมืองร้อนด้วยการเดินทางอย่างยั่งยืน ลดเมืองร้อนด้วยการลดขยะในเมือง ลดเมืองร้อนด้วยการลดการลด ใช้พลังงานไฟฟ้า และลดเมืองร้อนด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งน้องๆ ทั้ง ๓ โรงเรียนได้สร้างสรรค์กิจกรรมที่สามารถลดเมือง ร้อนได้อย่างยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนจนเป็นผลส�ำเร็จ มาดูกันนะคะว่าโครงการของเพื่อนๆ ดีและมีประโยชน์ อย่างไรจึงคว้ารางวัลไปทัศนศึกษาและอบรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศญี่ปุ่นมาได้

Hard Start Easy op St น แก โล ส ำ ่ � ต าน ัง...ความหวังคาร์บอน ยให้นักเรียนมาปั่นจักรย โด บ ็ เก น โครงการ ธิดาร่วมพล ค ๐ ๐๐ ๑, ่ น เศษใบไม้ไปใส่ใน จกรรมที่มีชื่อว่า ๑ คนปั

ะและ ลดปริมาณขยะ โดยท�ำกิ วณนั้นๆ ก็จะคอยเก็บขย เ ริ บ ่ ยู อ ่ ี ท น ย รี งเ โร ๑. ลดเมืองร้อนด้วยการ ใน ๆ เช้าและตอนเย็น เพื่อน อน ต ใน น ย รี งเ โร บ รอ อ ล้ สาม นในแต่ละระดับชั้นจะ ์ต่อไป ย ี น เร ยช ก ั ะโ ยน ปร โด ำ � ท ม ่ ิ ไป เพ ำ � น น วั อ ่ ื เพ ๑ ย ตะแกรงท้ายรถจักรยาน ยใต้ชื่อโครงการ ๑ วันลด ภา า ้ ฟ ไฟ เป็นโรงเรียนเอกชน โด น าก งา ง งจ ลั อ ่ ื พ น ด ยั (เ ะห ร์ ปร แอ าร ด ปิ เ ยก ม่ ว ด้ ็จะไ ๒. ลดเมืองร้อน ไหนฝนตกหรืออากาศดีก น วั า ้ ะถ แล า ้ เช น วั ง ่ รึ งค สลับวันกันปิดแอร์ในช่ว พาะเมล็ดพันธุ์พืชและน�ำไป น) ย รเ รี กา งเ ำ � ท โม ว ่ จะ ชั น ก ุ ย ี ดท เร ก ั ลอ ต ยน ร์ โด แอ น ปกติจะมีการเปิด โรงเรียนและนอกโรงเรีย ป่า ใน ง ้ ั ท ำ � ท ว ย ขี เ ี ส ่ ี ท น ้ ื ยพ เวณหน้าโรงเรียนให้เป็น ริ บ า ่ ปล งเ า ่ ว ่ ี ท น ้ ื พ น ย ่ ี ๓. กิจกรรมลดร้อนด้ว ปล รอยู่ใกล้กันก็ให้เดินทาง าคตอันใกล้จะเ ใค อน น า ้ น บ ะใ แล น ย ง รี ย ี งเ ค เ โร ล้ ใน ใก น ย ี ชน ักเร แจกจ่ายให้กับชุม ยท�ำการส�ำรวจที่อยู่ของน โด น ยื ง ่ ั ย ่ ี ท าง ท น ิ เด าร ๔. ลดเมืองร้อนด้วยก วมกว่า ๑๒๐ ครอบครัว ร่ า ข้ เ ่ ี ท ว รั ค บ รอ ค วน น ำ � จ ัน มี มาด้วยกัน รถคันเดียวก คราะห์ จ.สงขลา

รางวัลที่ ๑ โรงเรียนธิดานุเ

๑. น.ส.ญาดา จารุร ัชต์ธำ�รงค์ ม.๕ ๒. น.ส.ชวิศา วงศ์ไ ตรทิพย์ ม.๕ ๓. น.ส.กลรัตน์ มัง คลาทัศน์ ม.๔ ๔. น.ส.อมรพันธ์ ต รีรัญเพ็ชร ม.๔

32


๑ .๕ ริญเมือง ม ร ม.๕ จ เ ล ช ช ั ช ๑. นาย ิศนิมิตรบุต ล เ ร า ห ร ๒. นายบร ร สิธิปุก ม.๕ วัต ๓. นายชิน ุณ เกิ่งสุวรรณ ม.๕ รพิร ๔. น.ส.พ

รางวัลที่ ๒ โรงเรียนแม่สะเรีย ง “บริพัตรศึกษา” จ.แม่ฮ่องสอน

กรรมบวชป่า และปลูกป่า จ กิ ร์ สต ศา กษ พฤ น สว ปลูกต้นไม้ในโรงเรียน เช่น รม กร จ ิ ก มี ว ย ขี เ ี ส ่ ที น ้ พื ม ่ พิ ๑. โครงการเ �ำหรับรดน�้ำต้นไม้ และ ส ้ ใช อ ่ ื เพ า ฟ้ ไฟ น งา ง ั ชน พล ม น ชุ แท ร่วมกับ ปั่นน�้ำเป็นการใช้พลังงานกล าน รย ก ั จ ช้ ยใ โด น งา ง ั พล ด ั ๒. การประหย ียนด้วยกัน ถ้าบ้านอยู่ เร รง าโ ย ะม ว ้ จ ก็ ยด น ั ก ้ กา ง ลั กล ำ ใ ่ ู ก� อย อก น า ้ รอ ใครบ เป็นกา อ ทางเดียวกันมาด้วยกัน คื น ื งย า ย่ งอ ทา น ดิ รเ กา ๓. กิจกรรม ้า ก้วน�้ำที่ล้างได้แทนการใช้ เท แ ้ น ใช ดิ งเ ก ทา ติ น าส ส้ เ ช้ พล ะใ ง ุ จ ถ ช้ ก็ น รใ ย ี กา เร หา ัญ ใกล้โรง ารและการขนส่ง โตมาโรงเรียน เป็นการลดป น ่ าห ปิ งอ พก โร าร น ยใ ยก โด ภา ม ยะ ต้ ง ุ ดข ซห รล า ๊ กา ก ช้ ๔. กิจกรรม ษอาหารมาหมัก ลดการใ เศ ำ � น ดย พโ ภา ว ชี ส ๊ แก ำ ท� าร แก้วพลาสติก มีก ือใช้มาท�ำเป็นของใช้ หล เ ดุ ส วั ำ � น ้ ให น ุ สน บ ั สน ง ยั นอกจากนั้น

๑๐ ปี โดยมีโครงการเด่นๆ คือ า ่ กว ว ้ าแล งม อ ่ เนื อ ่ งต า ่ อย ำ � ารท ก มี ร รงกา โครงการของโรงเรียนมีทั้งหมด ๔๐ โค น�้ำของนักเรียนประจ�ำมารดน�้ำต้นไม้ าบ ารอ รก กา จาก อ ื หล เ ่ ที ำ ้ � อาน ารเ ยก โด ำ ้ � ๑. ลดการใช้น รือการใช้เอกสารออนไลน์แทน ายห หม จด อบ ารต ยก โด าษ ระด ก ช้ ารใ ดก ๒. ลดปริมาณขยะ และล สามารถท�ำเป็นสวนป่าขนาดย่อมได้ ไร่ ๐ ๕๐ า ว่ ก ่ ที น ้ ื พ ี นม ย เรี รง าะโ เพร ะมี ๓. เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในโรงเรียน นักเรียนบ้านไกลก็จะใช้บริการรถตู้ แล บ ั หร ำ ส� น ั ยก ว ้ มาด น ั ก ้ กล ใ ่ ยู นอ า ้ บ ่ ี ยนท ง ๔. การเดินทางอย่างยั่งยืน โดยนักเรี ยโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาเป็นศูนย์กลา โด น ั มก ว ่ ถร ร ช้ ารใ นก นใ ย เรี โรง ๓ ง การร่วมมือขอ

.ชลบุรี จ า าช ร ี ร ศ ญ ชั ม ั ส ส ั อ น ย ี ร งเ โร รางวัลที่ ๓ ๑. นายศรัณยู ชุณวิ รัตน์ ม.๔ ๒. น.ส.วรรณวิภา วั งเย็น ม.๔ ๓. นายณัฐกร สกุล ดี ม.๔ ๔. น.ส.ศศิภา กันท ุกข์ ม.๔

๔ ๓

33


เพลินกวี

โดย : กองบรรณาธิการ

นับวันทรัพยากรบนโลกของเราจะเริม่ ร่อยหรอลงทุกวัน นัน่ เป็นเพราะการน�ำมาใช้งานอย่างอย่างต่อเนือ่ งเป็นเวลานาน จึงท�ำให้ธรรมชาติไม่สามารถสร้างขึน้ มาใหม่ได้ทนั เวลา การหันมาพึง่ พาพลังงานทดแทนจึงเป็นอีกทางเลือกทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ มนุษย์ และโลกใบนี้ ซึง่ คอลัมน์เพลินกวีกม็ นี อ้ งๆ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่งบทกวีอย่างสร้างสรรค์ใน หัวข้อ “ใช้ทรัพยากรอย่างรูค้ า่ เพือ่ วันข้างหน้า เพือ่ อนาคต” เข้ามากันมากมาย พีๆ่ ได้คดั เลือกผลงานมาให้อา่ นกันบางส่วนค่ะ ส�ำหรับผลงงานของใครทีย่ งั ไม่ได้รบั คัดเลือกไม่ตอ้ งเสียใจนะคะ ฉบับหน้าพยายามใหม่คะ่ กลอนสุภาพ

กลอนสี่ พลงั งานทดแทน ใชไ้ ปกลับมา ี้ วนเวียนอย่างน เราจึงควรงด ้ แลว้ หันมาใช ไมย่ ากเย็นแสน เทา่ นีโ้ ลกเรา เพราะเรารคู้ า่

สิง่ แสนมคี า่ ใหเ้ ราใชใ้ หม่ ไมม่ วี นั หมด ใชท้ รัพยากร พลงั งานทดแทน จะสรา้ งขนึ้ มา ก็ลำ�้ คุณค่า ทรพั ยากร

ด.ญ. วิศลั ยา แกว้ มหสกลุ ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ ๔ โรงเรยี นพรหมสวุ รรณสามคั คี

ทรพั ยากรของไทยนน้ั มีมาก ก็จะหมดลงไปเร็ววันพลนั ถึงวันนีค้ วรชว่ ยกนั รักษาไว้ ว่าเรารักษ์เราดแู ลไมส่ ายเกิน

แตถ่ า้ หากใช้ไปไมส่ ร้างสรรค์ กวา่ จะหนั มารคู้ า่ ก็ชา้ เกิน เพือ่ ต่อไปวนั ข้างหน้าคนสรรเสริญ ดีกว่าเมินไม่รคู้ า่ ทรพั ยากร

ด.ญ. กฤตตกิ า จรรยาวิศทุ ธ Grade ๘ โรงเรียนสารศาสน์วเิ ทศ ธนบุรี ถึงวันนีท้ รัพยากรใกล้หมดโลก ถึงวันหนงึ่ อาจเจ็บทัง้ ใจกาย ท�ำอยา่ งไรให้คงอยูอ่ ย่างรคู้ า่ ประหยัดใช้แต่วนั นีว้ นั หนา้ สบาย

เป็นเพราะเราบริโภคกันหลากหลาย วันทีท่ รัพยากรหายไปจากเรา ไม่ยากมาชว่ ยกนั สานฝนั ได้ ดีกว่าสายเกนิ แกแ้ ย่ยาวนาน

ด.ช. นครินทร์ แกว้ ระคน ชัน้ มัธยมศึก ษาปีที่ ๓ โรงเรียนราชวนิ ติ บางแคปานขำ�

ร้อยแก้ว

ผุดขึน้ ราวกบั ดอกเหด็ ทุกอยา่ ง งๆ า ต่ รม กร ั ต นว ั ย สม ้ � ำ ี ล ลย นโ งรดุ หนา้ ด้วยเทคโ รมชาตกิ ็ ณ วันนี้ วันทีโ่ ลกเจรญิ เติบโตอยา่ างเราจะคาดเดาได้ แตย่ งิ่ ความเจรญิ เพิม่ มากขนึ้ เท่าไหร่ ทรพั ยากรธร ค้น ็นมนุษย์ผู้คิด กวา่ ทีม่ นุษย์อย่ ดูเหมอื นจะเดนิ หนา้ อยา่ งรวดเร็วเกิน ลยี ทุกนวัตกรรม ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทรัพยากรทั้งสิ้น เราผู้ซึ่งเป ไดม้ โี อกาสน�ำ งั จะ คโนโ ลดลงเป็นเงาตามตัว เพราะทุกเท งทรัพยากรว่าเราจะดูแลกนั และกนั ไดอ้ ย่างไร เพือ่ ทีว่ นั ข้างหน้าชนรุน่ หล นั มอ ทุกสิง่ ทุกอยา่ งบนโลก จ�ำเป็นต้องห งเราตอ่ ไป ุ ประโยชนแ์ ก่โลกขอ ทรพั ยากรมาสรา้ งคณ จน์ Grade ๘ ด.ญ. เหมอื นแพร กาญจนอดุ มกาญ โรงเรียนสารศาสนว์ เิ ทศ ธนบุรี ส�ำหรับฉบับต่อไปน้องๆ สามารถส่งบทความมาได้เช่นเคยภายใต้หวั ข้อ “คนสร้างป่า ป่าสร้างคน” โดยกติกามีอยูว่ า่ บทร้อยแก้วให้เขียนลงบนกระดาษ A๔ ความยาวไม่เกิน ๑๐ บรรทัด ส่วนบทร้อยกรอง สามารถส่งบทกวีแบบใดก็ได้ ทัง้ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ความยาว ๒ บท เขียนถูกต้องตามฉันทลักษณ์ พร้อมทัง้ ระบุประเภทของกลอนทีแ่ ต่ง ที่ส�ำคัญอย่าลืมเขียนชื่อ นามสกุล ชั้น โรงเรียน และที่อยุ่ของน้องๆ แล้วส่งผลงานมาที่วารสารผลิใบตามที่อยู่หน้าสารบัญ หรือส่งอีเมลมาที่ sirirat@tei.or.th หรือ notchana@tei.or.th ได้เลยค่ะ

34


ประกวดนักเขียนรุ่นเยาว์ ปี ๙ วารสารผลิใบร่วมกับองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขอเชิญชวนนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ประถม ๔-๖) และระดับมัธยมศึกษา (มัธยม ๑-๖) ส่งบทความเข้าประกวดในโครงการนักเขียนรุน่ เยาว์เพือ่ สร้างนักธุรกิจเพือ่ สิง่ แวดล้อมในอนาคต ปีที่ ๙

นักเขียนระดับประถมศึกษา

นักเขียนระดับมัธยมศึกษา

เลือกเขียนบทความ ๒ หัวข้อตามความสนใจ ได้แก่ ๑. “ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน” นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึง ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทีเ่ กิดจากไอเดีย ประสบการณ์ แนวคิดหรือแนวปฏิบตั ทิ ี่ สังคมหรือชุมชนสืบสานต่อกันมา ซึ่งเป็นความรู้ในการ ส่ ง เสริ ม ด้ า นการประกอบสั ม มาอาชี พ ที่ ค� ำ นึ ง ถึ ง การ ประหยัดพลังงาน หรือสนับสนุนการใช้เป็นพลังงาน ทดแทน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้แก่ สังคมหรือชุมชนนัน้ ๆ ๒. “เทคโนโลยีสีเขียว เพื่อเรา เพื่อโลก” นิยามหัวข้อ ให้นักเรียนกล่าวถึง เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใหม่ๆ หรือแนวทางต่างๆ ที่เป็นมิตรกับ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือการอนุรักษ์ พลั ง งาน แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง กระบวนการท� ำ งานของ เทคโนโลยีเหล่านี้ว่าช่วยสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษย์ และโลกอย่างไรบ้าง โดยไม่จำ� กัดว่าจะต้องเป็นเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิด มุมมองและโลกทัศน์ทกี่ ว้างขึน้ ส�ำหรับเยาวชนรุน่ ใหม่ โดย ให้แสดงแนวคิดว่าเราจะน�ำเทคโนโลยีสเี ขียวเหล่านีม้ าเป็น แบบอย่ า ง ต่ อ ยอด หรื อ ประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ ภาคธุ ร กิ จ ภาคอุตสาหกรรม และสังคมของเราได้อย่างไร

เลือกเขียนบทความ ๒ หัวข้อตามความสนใจ ได้แก่ ๑. “ฉลากสิ่งแวดล้อมกับเยาวชนไทย” นิยามหัวข้อ ให้นกั เรียนแสดงความคิดเห็นในแง่มมุ ในฐานะของผูบ้ ริโภค รุ่นเยาว์ยุคใหม่ ว่าท�ำไมจึงต้องตระหนักและสนับสนุนในการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ นั ก เรี ย นมี ค วามคิ ด เห็ น อย่ า งไรเกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งฉลาก สิง่ แวดล้อมกับสินค้าทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม และท�ำไมสังคมไทยต้องให้ ความส� ำ คั ญ ต่ อ การเลื อ กซื้ อ เลื อ กใช้ สิ น ค้ า ที่ ไ ด้ รั บ การรั บ รองฉลาก สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ทั้งนี้ในฐานะเยาวชนไทยจะมีบทบาทอย่างไร ในการสื่ อ สารเกี่ ย วกั บ ประโยชน์ ข องฉลากสิ่ ง แวดล้ อ มให้ แ ก่ ค นใน ครอบครัว ชุมชน และสังคมรับรูแ้ ละปรับเปลีย่ นพฤติกรรมให้เป็นมิตร ต่อสิง่ แวดล้อมได้ ๒. “ด�ำเนินธุรกิจอย่างเคารพสิทธิและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม” นิยามหัวข้อ ให้นกั เรียนกล่าวถึง ต้นแบบในการด�ำเนินธุรกิจทีถ่ กู ต้อง ตามท�ำนองคลองธรรม ค�ำนึงถึงความสมดุลด้านสิง่ แวดล้อม ไม่วา่ จะเป็น มลพิษทางน�ำ้ อากาศ ดิน เสียง และเป็นแบบอย่างทีด่ ใี นการให้ความ เคารพในด้านสิทธิมนุษยชนต่อบุคลากรและชุมชนทีอ่ ยูใ่ กล้เคียง โดยไม่มี การเข้าไปแทรกแซงหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของบุคคลในชุมชนนั้นๆ มีการตรวจสอบผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนจากการด�ำเนินธุรกิจของตน และให้มกี ารตอบสนองผลกระทบนัน้ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการ สือ่ สารกับสาธารณชนเมือ่ มีขอ้ กังวลเกิดขึน้

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ รางวัลชมเชย

ทุนการศึกษา ๔,๐๐๐ บาท จ�ำนวน ๔ รางวัล ทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท จ�ำนวน ๔ รางวัล ทุนการศึกษา ๑,๐๐๐ บาท จ�ำนวน ๒๐ รางวัล

กติกา ๑. บทความที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเขียนขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ลอกเลียนตัดต่อมาจากที่อื่น หากยกค�ำพูดหรือข้อความใดๆ ต้องระบุที่มา และงานเขียนนั้นต้องไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน ๒. ความยาวไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ A๔ ตัวอักษรพิมพ์ขนาด ๑๖ พอยต์ หรือเขียนด้วยลายมือบรรจง ๓. ไม่ต้องมีภาพประกอบ ๔. การให้คะแนนพิจารณาจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ถ้อยค�ำสละสลวย ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ วางขอบเขตเนื้อหาตาม หัวข้อที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม และสื่อความหมายชัดเจนและถูกต้องตามข้อมูลเชิงวิชาการ ส่งผลงานตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมดเขตรับผลงานวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ทางอีเมล์ที่ sirirat@tei.or.th หรือ notchana@tei.or.th จ่าหัวเรื่อง (subject) ว่า นักเขียนรุ่นเยาว์ ทางจดหมายที่ นักเขียนรุ่นเยาว์ วารสารผลิใบ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ๑๖/๑๕๑ เมืองทองธานี ถนนบอนด์สตรีท ต�ำบลบางพูด อ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์สอบถาม ๐ ๒๕๐๓ ๓๓๓๓ ต่อ ๕๓๔ สามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: http://www.facebook.com/Plibai2012.Tei 35


เกร็ดวิทย์ ติดขอบเล่ม โดย : กองบรรณาธิการ

วิทยาศาสตร์ในปากกา หลังจากที่น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ พลังงานจากเนื้อหาภายในเล่มกันไปแล้ว พี่ผลิใบก็อยากจะแบ่งปันความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ให้กับน้องๆ ด้วย เพราะวิทยาศาสตร์นั้นอยู่รอบๆ ตัวเรา ถ้าน้องๆ สังเกตให้ดีก็จะได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย ฉบับนี้เราจะมาตามหาเกร็ดวิทยาศาสตร์ จากคอลัมน์ต่างๆ ที่เราได้อ่านไปแล้ว น้องๆ ลองช่วยหาด้วยนะคะว่ามีวิทยาศาสตร์อะไรซ่อนอยู่ในเนื้อหาบ้าง ส�ำหรับพี่ผลิใบ ก็ได้ค้นพบวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในปากกาจากคอลัมน์ “วิวัฒนาการสะท้านโลก” ค่ะ สงสัยละสิคะว่าในปากกามีวิทยาศาสตร์ อะไรซ่อนอยู่ เรามาดูให้หายสงสัยพร้อมๆ กันเลยค่ะ คงมีน้องหลายคนที่สงสัยว่าหมึกของปากกานั้นท�ำมาจากอะไร เอ..แล้วจะใช่หมึกที่มาจากหมึกในทะเลหรือเปล่า ค�ำตอบคือไม่ใช่ค่ะ ส�ำหรับปากกาหมึกแห้งนั้นจะใช้หมึกที่ประกอบด้วย ตัวเนื้อสี ตัวน�ำ ตัวท�ำละลาย และตัวท�ำให้แห้งซึ่งสาร ทั้ง ๔ ชนิดก็คือ ตัวเนื้อสี (Pigment) เป็นตัวท�ำให้หมึกมีสีสันแตกต่างกัน ได้จากสารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ • สารอนินทรีย์ ซึ่งก็คือแร่ธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดินสีต่างๆ สนิมเหล็ก คุณสมบัติที่ดีของเนื้อสี ชนิดนี้ จะมีความทนทาน สีไม่ซีดจางง่าย แต่การบดให้เนื้อสีละเอียดท�ำได้ยาก • สารอินทรีย์ ได้แก่ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน หรือสารอินทรีย์ที่ เกิดขึ้นในธรรมชาติจากพืชและสัตว์ คุณสมบัติที่ดีของสารประเภทนี้คือ ให้สีหมึกที่สดใส สามารถบด ให้ละเอียดได้ง่าย แต่มีข้อเสียที่คุณภาพสีไม่ทนทานต่อแสงแดดท�ำซีดจางเร็ว

ตัวน�ำ ได้แก่ สารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน หรือสารอินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติจากพืชและสัตว์ คุณสมบัติที่ดีของสารประเภทนี้คือ ให้สีหมึกพิมพ์ที่สดใส

ตัวท�ำละลาย เป็นส่วนที่ช่วยให้หมึกเหลวไม่แข็งตัวเร็วเกินไป ส่วนใหญ่จะเป็นน�้ำยาเคมี หรือน�้ำมัน จ�ำพวกน�้ำมันสน น�้ำมันก๊าด เป็นต้น

ตัวท�ำให้แห้ง เช่นเติม Cobalt ลงไปเพื่อท�ำให้เป็นตัวเร่งที่จะท�ำให้หมึกท�ำปกิริยากับออกซิเจน ในอากาศ

36


ส�ำหรับหมึกของปากกาลูกลื่นนั้น ได้จาการละลายเม็ดสีลงในสารละลายที่เป็นตัวพา (Vehicle) ซึ่งการท�ำหมึก ปากกาลูกลื่นจะต้องมีส่วนประกอบ ๓ สิ่งคือ Vechicle เม็ดสี และ Addition Vechicle ท�ำจากพืช ซึ่งจะแห้งโดยการซึมหรือระเหย เม็ดสี ได้จากธาตุต่างๆ สีด�ำเป็นสีมาตรฐานท�ำจากคาร์บอน ส่วนสารประกอบโครเมี่ยม ให้สีเหลือง เขียว และส้ม โมลิดีนัมให้สีส้ม แคดเมี่ยมให้สีแดงและเหลือง เหล็กให้สีน�้ำเงิน Addition ผสมลงไปเพือ่ ให้หมึกมีความคงทีแ่ ละเสถียร เพราะปากกาลูกลืน่ ทีด่ ี เส้นจะต้องหนาและแห้งเร็ว ขณะเดียวกัน ต้องไม่ไหลเลอะเทอะ

ยชน์อย่างไร

ามีประโ ก ก า ป ม า ้ ด น บ ๆ ก ็ รูเล

แล้วทุกครัง้ ทีน่ อ้ งๆ จับปากกา เคยสังเกตหรือไม่คะว่าทีด่ า้ มปากกาลูกลืน่ และปากกาหมึกซึมบางชนิดจะมีรเู ล็กๆ รูหนึง่ รูนมี้ ปี ระโยชน์คอื ภายในด้ามปากกาจะมีอากาศอยู่ ซึง่ อากาศเหล่านีม้ แี รงดันต่อหมึกทีอ่ ยูภ่ ายในด้ามปากกา ถ้าไม่มรี เู ล็กๆ บนด้าม ปากกา แรงดันของอากาศภายนอกที่เท่ากับแรงดันภายใน จะท�ำให้น�้ำหมึกไม่ถูกดันให้ไหลออกมา ตัวอย่างเหตุการณ์ที่แรงดัน ภายในและภายนอกปากกาเกิดความแตกต่างกัน เช่น • อุณหภูมิร่างกายของเราท�ำให้อุณหภูมิภายในปากกาสูงขึ้น เมื่ออากาศร้อนขยายตัวก็จะดันให้น�้ำหมึกไหลออกมา • หากน�ำปากกาขึ้นไปบนห้องสัมภาระบนเครื่องบินที่บินอยู่สูง แรงดันอากาศในห้องสัมภาระได้ปรับให้ต�่ำกว่าแรงดันอากาศ (ราว ๖๐% ของแรงดันอากาศบนพื้นโลก) จะท�ำให้แรงดันอากาศในปากกาสูงกว่าในห้องและดันให้น�้ำหมึกไหลออกมา ดังนั้นรูเล็กๆ บนด้ามปากกาจึงท�ำให้แรงดันอากาศภายในและอากาศภายนอกสมดุลกัน ป้องกันไม่ให้หมึกไหลออกจากปากกา นั่นเองค่ะ หลักการของปากกาทั่วๆไป จะใช้แรงดึงดูดของโลกเป็นตัวท�ำให้น�้ำหมึกไหลลงออกมาทางหัวปากกา แต่ถ้าเราขึ้นไปอยู่ ในอวกาศที่ไร้แรงดึงดูด ก็จะไม่มีแรงอะไรที่จะคอยดึงให้น�้ำหมึกไหลออกมาที่หัวปากกาได้ค่ะ

่างไร

พิเศษอย ษ ศ เ ิ พ า ก ก า ป

ปัจจุบันมีการออกแบบปากกาลูกลื่นให้มีความพิเศษกว่าปากกาทั่วไป คือสามารถใช้งานเฉพาะด้านได้ เช่น ปากกา อวกาศ และปากกาลบได้ ปากกาอวกาศ ที่ใส่หมึกของปากกาพวกนี้จะอัดแรงดันอากาศขนาด ๔๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จึงไม่ต้องอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกเพื่อให้หมึกไหล สามารถน�ำไปใช้ในอวกาศที่ไม่มีแรงโน้มถ่วงได้อย่างสบายๆ เลยละค่ะ (ในปี ๑๙๖๐ ช่วงที่มีการ แข่งขันอวกาศระหว่างรัสเซียกับอเมริกา นักบินอวกาศทั้งสองประเทศใช้ปากกาแบบนี้) ปากกาลบได้ ถูกผลิตขึ้นในปี ๑๙๘๐ เมื่อถูกเขียนแล้วสามารถลบได้เหมือนกับดินสอ ลักษณะพิเศษนี้อยู่ที่หมึก โดยในขณะที่เราเขียน ลูกกลิ้งก็จะป้ายหมึกพิเศษนี้ลงไปบนกระดาษ ถ้าพึ่งจะเขียนเสร็จใหม่ๆ หมึกนี้ยังไม่ซึมผ่านกระดาษ เราสามารถใช้ยางลบลบได้ แต่หลังจาก ๑๐ ชั่วโมงไปแล้ว หมึกก็จะแห้งและลบออกได้ยากค่ะ เห็นไหมล่ะคะน้องๆ แค่ปากกาเพียงด้ามเดียว ก็มีความรู้ซ่อนอยู่มากมาย ขอเพียงแค่เป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต ช่างสงสัย เพียงเท่านี้โลกของน้องๆ ก็จะเต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนานในทุกวันอย่างแน่นอนค่ะ ฉบับหน้าเราจะมา ค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อะไรกันอีกต้องรอติดตามนะคะ ทีม่ า (๑) จาก http://www.lib.ru.ac.th (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗). (๒) จาก http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/physcis-for-everyday/physics-for-everydayuse-content/21-40/indexcontent37.htm (วันทีค่ น้ ข้อมูล : วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗).

37


ใบสมัครสมาชิก

วารสารผลิใบ วันที่…..........เดือน….....…………….พ.ศ.……… (นาย / นาง / นางสาว / เด็กชาย / เด็กหญิง) ชื่อ …….....................................................…………………. นามสกุล …………............................................……………. อายุ ……… ปี อาชีพ .....................………………………. หน่วยงาน ………………………........................................... สถานที่ติดต่อ ………………………. …………………… .......…………………............................................................. รหัสไปรษณีย์ ………………โทรศัพท์ ……........................... โทรสาร ………………อีเมล ...........………………………. ขอสมัครสมาชิกวารสารผลิใบ อัตราค่าสมัคร [ ] ๑ ปี / ๖ ฉบับ / ๒๑๖ บาท (รวมค่าจัดส่ง) [ ] ๒ ปี / ๑๒ ฉบับ / ๔๓๒ บาท (รวมค่าจัดส่ง) ประเภทสมาชิก [ ] สมาชิกสามัญเริ่มต้นฉบับที่ ………... ถึงฉบับที่ ...……… [ ] โครงการห้องสมุดอุปถัมภ์เริม่ ต้นฉบับที่ ……… ถึงฉบับที่ …......… ห้องสมุดโรงเรียนที่ต้องการอุปถัมภ์ [ ] ระบุเอง ชื่อโรงเรียน ………………………......................................... ที่อยู่ ……………………….................................................... ...............................................รหัสไปรษณีย์ ………………… [ ] ต้องการให้วารสารผลิใบคัดเลือกโรงเรียนให้อำ�เภอ/ จังหวัดทีต่ อ้ งการ ………………………............................................................. การชำ�ระเงิน [ ] เงินสด [ ] ธนาณัติ สัง่ จ่าย ปณ.ปากเกร็ด ในนาม “สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย” [ ] โอนเงินผ่านธนาคารกรุงไทย สาขาเมืองทองธานี บัญชีออมทรัพย์ ชือ่ บัญชี “สถาบันสิง่ แวดล้อมไทย” เลขทีบ่ ญั ชี ๑๔๗ – ๑ – ๑๓๗๔๐ - ๖ วารสารผลิใบ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ๑๖ / ๑๕๑ เมืองทองธานี ถนนบอนด์สตรีท ตำ�บลบางพูด อำ�เภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๐๓-๓๓๓๓ โทรสาร ๐-๒๕๐๔-๔๘๒๖-๘ Email info@tei.or.th

38

สมัครสมาชิกวารสารผลิใบ

๕ ท่านแรก รับทันที

กระติกน�้ำ

ดีไซน์เก๋ มูลค่า ๓๐๐ บาท จาก มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย


รายนามผู้สนับสนุนโครงการห้องสมุดอุปถัมภ์ เพื่อมอบของขวัญอันทรงคุณค่าด้วยการส่งเสริมให้เยาวชน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนวัฒนธรรมการอ่าน

มูลนิธิไทยสแตนเลย์ประเทศไทย

บริษัท โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด

โรงเรียน

จังหวัด

โรงเรียน

จังหวัด

โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ โรงเรียนอนุบาลปทุมธานี โรงเรียนวัดไพร่ฟ้า โรงเรียนวัดนาวง โรงเรียนวัดรังสิต โรงเรียนวัดบางพูน โรงเรียนวัดโพธิ์เลื่อน โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาทํา โรงเรียนวัดเวฬุวัน โรงเรียนวัดมะขาม โรงเรียนวัดโคก โรงเรียนวัดพืชนิมิตร โรงเรียนวัดมูลเหล็ก โรงเรียนวัดสว่างภพ โรงเรียนวัดคุณหญิงส้มจีน โรงเรียนวัดศิริจันทราราม โรงเรียนสามัคคีราษฎร์บํารุง โรงเรียนวัดผลาหาร โรงเรียนวัดตะวันเรือง โรงเรียนวัดเพิ่มทาน โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนจารุศรบํารุง โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนคลองหนึ่ง (แก้วนิมิต) โรงเรียนวัดกล้าชอุ่ม โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนวันครู 2502 โรงเรียนลําสนุ่น โรงเรียนลิ้นจี่อุทิศ โรงเรียนวัดเกิดการอุดม โรงเรียนทองพูลอุทิศ โรงเรียนชุมชนประชาธิปัตย์วิทยาคาร โรงเรียนอนุบาลธัญวิทยา โรงเรียนสังฆรักษ์บํารุง โรงเรียนบางโพธิ์ใหม่ โรงเรียนวัดบ่อทอง โรงเรียนวัดบ่อเงิน โรงเรียนคลองบางโพธิ์ โรงเรียนชุมชนวัดไก่เตี้ย โรงเรียนสี่แยกบางเตย โรงเรียนสุเหร่าใหม่เจริญ โรงเรียนวัดบางเตยนอก โรงเรียนวัดสามัคคิยาราม โรงเรียนวัดถั่วทอง โรงเรียนวัดเชิงท่า โรงเรียนวัดเมตารางค์ โรงเรียนวัดสะแก โรงเรียนวัดป่างิ้ว โรงเรียนวัดบ้านพร้าวใน โรงเรียนชุมชนวัดจันทน์กะพ้อ

ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี ปทุมธานี

โรงเรียนชุมชนวัดบ้านแลง โรงเรียนชุมชนวัดหนองคอกหมู โรงเรียนบ้านคลองขนุน โรงเรียนบ้านคลองทราย โรงเรียนบ้านค่าย โรงเรียนบ้านชากลูกหญ้า โรงเรียนบ้านเนินเสาธง โรงเรียนบ้านบึงตาต้า โรงเรียนบ้านปลวกแดง โรงเรียนบ้านปากแพรก โรงเรียนบ้านพยูน โรงเรียนบ้านมาบเตย โรงเรียนบ้านแม่น้ำ�คู้ โรงเรียนบ้านยางงาม โรงเรียนบ้านสะพานสี่ โรงเรียนบ้านหนองบอน โรงเรียนบ้านหนองแฟบ โรงเรียนบ้านหนองมะปริง โรงเรียนบ้านหนองสะพาน โรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม โรงเรียนวัดคีรีภาวนาราม โรงเรียนวัดชากหมาก โรงเรียนวัดช้างชนศิริราษฎร์บำ�รุง โรงเรียนวัดดอนจันทน์ โรงเรียนวัดตะพงนอก โรงเรียนวัดเนินกระปรอก โรงเรียนวัดในไร่ โรงเรียนวัดบ้านเก่า โรงเรียนวัดบ้านค่าย โรงเรียนวัดบ้านฉาง โรงเรียนวัดปทุมาวาส โรงเรียนวัดประชุมมิตรบำ�รุง โรงเรียนวัดปลวกเกตุ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม โรงเรียนวัดพลา โรงเรียนวัดมาบชลูด โรงเรียนวัดยายดา โรงเรียนวัดสมบูรณาราม โรงเรียนวัดสระแก้ว โรงเรียนวัดสำ�นักกะท้อน โรงเรียนวัดสุวรรณรังสรรค์ โรงเรียนวัดหนองกระบอก โรงเรียนวัดหนองกรับ โรงเรียนวัดหนองพะวา โรงเรียนวัดหวายกรอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านเนินเสาธง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดช้างชนศิริราษฎร์บำ�รุง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดตะพงนอก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดตะพงใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดยายดา

ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง ระยอง

39


ASEANs’ GAME โดย : กองบรรณาธิการ

ผลิใบ ASEAN เกมส์ฉบับนี้ อยากให้น้องๆ ช่างสังเกตทั้งหลาย มาลองหาจุดแตกต่างระหว่างภาพป่าชายเลน ทั้ง ๒ ภาพ ว่ามีจุดแตกต่างอยู่ทั้งหมดกี่จุด และอยู่ตรงไหนบ้าง หาเจอแล้วก็รีบทำ�สัญลักษณ์เอาไว้นะคะ แล้วอย่าลืมสังเกต ตัวเองด้วยว่าน้องๆ ใช้เวลาไปเท่าไร มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ ๕...๔...๓...๒...๑...

เฉลย ฉบับ ๑๑๒ ภาพตึก Zero Energy Building

ที่มา (๑) ภาพจาก : http://mfrcsk.wordpress.com. (วันที่ค้นข้อมูล : วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๗).

40


41


42


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.