อัตชีวประวัติ

Page 1



ความคิดนำโลกไป ความคิดทำให้โลกดิ้นรน สิ่งทั้งปวงตกอยู่ใต้อำนาจของ ความคิด พระพุทธพจน์


อัตชีวประวัติของ วศิน อินทสระ เรียบเรียงโดย : วศิน อินทสระ พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม ๒๕๕๒ จัดพิมพ์โดย : ห้องหนังสือ เรือนธรรม ๒๙๐/๑ ถนนพิชัย แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๒๔๔-๘๒๙๒


สารบัญ v

v

อัตชีวประวัติของ วศิน อินทสระ ความคิดที่ถูกต้อง การเลือกวิถีชีวิต และการคิดในโลกที่สับสน

๘ ๑๐๙ ๑๕๘


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

v

รูปอาจารย์ v


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

คำนำ v

v

เมื่อข้าพเจ้าทำหนังสือเรื่อง ‘การเผยแผ่ศาสนา ความ เข้าใจหลักศาสนาและการพัฒนาชีวิตด้วยคุณธรรม’ เพื่อแจกใน งานทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี ๑๗ กันยายน ๒๕๓๗ ข้าพเจ้าได้ ปรารภไว้ในคำนำตอนหนึ่งว่า “แม้ตั้งใจจะเขียนประวัติของตนเองอย่างย่อๆ ไว้บ้างใน หนังสือเล่มนี้ ก็ยังทำไม่ได้ รู้สึกว่าทำได้ยากอย่างยิ่ง สมตามที่ อับราฮัม คราวลีย์ เขียนไว้ว่า ‘การเขียนประวัติตัวเองนั้น แม้จะ สนุกแต่ยาก เพราะถ้าเขียนในทางลบก็จะกระเทือนใจผู้เขียนเอง ถ้าเขียนในเชิงบวกคือยกย่องตัวเองก็จะกระเทือนหูผู้อ่าน’ (It is a hard and nice subject for a man to write of himself: it grates his own heart to say anything of disparagement, and the reader’s ears to hear anything of praise for him.)๑” ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เขียนประวัติของตนเองเมื่อ ๑๒ ปีก่อน มาถึงบัดนี้ข้าพเจ้าตัดสินใจเขียนประวัติของตนเอง โดยพยายาม หลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นไปในเชิงบวกหรือเชิงลบ แต่เล่าไปตามที่เป็น จริง นอกจากนี้ยังหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงผู้อื่นในทางไม่ดี แม้จะ ประสบมาเป็นอันมากก็ตาม ๑ อ้างใน ‘คำคมบ่มชีวิต’ ของ กรุณา กุศลาสัย พ.ศ. ๒๕๓๖ หน้า ๔๒ เมื่อเป็นเด็ก


๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ มีตัวอย่างที่ท่านผู้ใหญ่ได้ทำไว้ก่อนเป็นอันมาก เช่น ‘พระ ประวัติ ตรัสเล่า’ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ตรัสเล่าประวัติของพระองค์ไว้อย่างน่าสนใจ น่า อ่ า น และได้ ค ติ ไ ด้ ป ระโยชน์ แ ก่ พ วกเรามากมาย พระยา อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) หรือที่พวกเราส่วนมากรู้จัก ท่านในนาม ‘เสฐียรโกเศศ’ ได้เขียนหนังสือชื่อ ‘อัตชีวประวัติ’ ของท่านไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ อาจารย์

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการก็ได้เขียนประวัติของท่านไว้ อาจารย์ กรุณา กุศลาสัย ได้เขียนเรื่องราวของท่านเองไว้ เป็นทำนอง จดหมายถึ ง ลู ก ชื ่ อ หนั ง สื อ ‘ชี ว ิ ต ที ่ เ ลื อ กไม่ ไ ด้ ’ ชื ่ อ รองว่ า ‘อั ต ชี ว ประวั ต ิ ข องผู ้ ท ี ่ เ กิ ด ในแผ่ น ดิ น ไทยคนหนึ ่ ง ’ พิ ม พ์

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เล่าชีวประวัติของ ท่านไว้ในหนังสือชือ่ ‘เล่าไว้เมือ่ วัยสนธยา’ พิมพ์เมือ่ พ.ศ. ๒๕๓๕ มีตวั อย่างทีท่ า่ นผูอ้ า่ นสนใจ อ่านแล้วได้ประโยชน์ได้คติชวี ติ มากมาย หลวงวิจติ รวาทการนัน้ เป็นนักประพันธ์ทม่ี ชี อ่ื เสียงโด่งดัง มาก เขียนอะไรก็น่าอ่าน เมื่อเขียนชีวประวัติของท่านจะน่าอ่าน สักเพียงไร ด้วยเห็นตัวอย่างเหล่านี้ ข้าพเจ้าจึงกล้าเขียนประวัติของ ตน ด้วยหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่อนุชนคนรุ่นหลัง หรือ แม้แก่ผู้ที่มีชีวิตร่วมยุคกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าตระหนักอยู่เสมอว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่คนสำคัญ และไม่ถึงระดับที่จะได้รับการยกย่องว่า เป็นบุคคลสำคัญ แต่ข้าพเจ้าก็ภูมิใจว่า เกิดมาในพระพุทธ-


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ศาสนา เกิดมาในสังคม ได้ทำประโยชน์ไว้แก่พระพุทธศาสนา และแก่สังคม ด้วยเรี่ยวแรงและความสามารถเท่าที่ข้าพเจ้ามี เพื่อเป็นการใช้หนี้พระศาสนาและสังคม ที่ได้เลี้ยงดูอุ้มชูข้าพเจ้า มา หลังจากที่พ่อแม่ของข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตแล้วตั้งแต่ข้าพเจ้าอายุ ๕ ขวบ ด้วยความดำริและเหตุผลดังกล่าวมา ข้าพเจ้าจึงได้เขียน ชีวประวัติไว้เพียงเล็กน้อยอย่างที่ท่านเห็นอยู่นี้ วศิน อินทสระ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙


๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

อัตชีวประวัติของ v วศิน อินทสระ

v

ข้าพเจ้าเกิดที่ตำบลท่าศาลา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ สถานที่เกิดเป็นเนินดินที่ ภาษาทางใต้เขาเรียก ‘โคก’ มีต้นมะม่วงหิมพานต์อยู่เต็มใน บริเวณนั้น ต้นมะม่วงหิมพานต์นั้นภาษาทางใต้เรียก ‘ยาร่วง’ แปลว่าข้าพเจ้าเกิดที่โคกยาร่วงหรือเนินป่าต้นหิมพานต์ เมื่อข้าพเจ้าโตแล้วได้เห็นว่าบริเวณนั้นเป็นป่าทั้งหมด จึง เป็นบ้านที่อยู่ในป่า มีป้าผู้ใจดีตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กัน เป็นพี่ของ แม่ ชื่อ ป้ากลับ มีลูกสาว ๒ คนอายุมากกว่าข้าพเจ้า หมู่บ้าน บริเวณนั้นจึงสงบเงียบเพราะเป็นป่าเสียส่วนใหญ่ มีลำคลอง ทอดยาวมาจากเขาแก้วลงสู่ทะเลสาบสงขลา ตรงตำบลปากบาง อำเภอรัตภูมิ ข้าพเจ้าได้ทราบจากผู้ใหญ่ว่า ต่อมาแม่ได้ย้ายกลับไปอยู่ ที่ตำบลบ้านตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่ง ณ ที่นั้นมี ญาติอยู่มาก เช่น น้าน้องของแม่ และต่อไปอีกหมู่บ้านหนึ่งเหนือ ขึ้นไปมีญาติฝ่ายพ่ออยู่มาก เรียกหมู่บ้านหนองหวา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สองหมู่บ้านนี้อยู่คนละฝั่งทะเลสาบกับอำเภอรัต-


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ภูมิ ถ้าจะเดินทางไปหากันต้องไปทางเรือ ส่วนมากจะเป็นเรือใบ ย่าและปู่อยู่ที่บ้านหนองหวานี้ มีพี่สาวที่ใจดีคนหนึ่งลูกของป้า ชื่อ พี่ถ้าย จิตภักดี วัน เดือน ปีเกิดของข้าพเจ้าแม่ได้บอกให้ทราบไว้ตั้งแต่ พอจำความได้ว่า ถ้าใครถามให้บอกว่าเกิดปีจอวันจันทร์เดือนสิบ ข้าพเจ้าก็ท่องตลอดมาตั้งแต่สมัยที่เป็นเด็ก ใครถามก็ตอบได้ ทันที ที่มาทราบว่าเกิดวันที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ นั ้ น เมื ่ อ ข้ า พเจ้ า ได้ ม าบวชเป็ น สามเณรที ่ ว ั ด บุ ป ผารามแล้ ว

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยที่ท่านอาจารย์คือท่านเจ้าคุณพระราชดิลก เวลานั้นยังเป็นพระมหาหลง กิตฺติสาโร อยู่ ท่านชำนาญทาง โหราศาสตร์ ได้นำวันเดือนปีเกิดที่ข้าพเจ้าท่อง มาเทียบกับ ปฏิทินโหราศาสตร์ว่าตรงกับวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๔๗๗ เวลา นั้นข้าพเจ้าอายุ ๑๓ ปี ซึ่งจะเล่ารายละเอียดข้างหน้า ข้าพเจ้าเกิดที่อำเภอรัตภูมิ แต่มาเติบโตที่อำเภอเมือง เมื่อแม่ย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านตากแดด ตำบลปากรอ ข้าพเจ้าจำ ความได้ไม่นานแม่ก็สิ้นชีวิตด้วยโรคไข้ธรรมดาเมื่อข้าพเจ้าอายุ ได้ ๕ ขวบ พ่อนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ไหน บ้านของ ข้าพเจ้าอยู่ติดกับบ้านของน้าซึ่งข้าพเจ้าเรียกว่า ‘น้าบ่าว’ ภรรยา ชื่อ ‘แช่ม’ ซึ่งเป็นน้าสะใภ้ มีลูกหลายคนทั้งหญิงและชาย ข้าพเจ้ามีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน เป็นชาย ๔ หญิง ๒ ข้าพเจ้าไม่ เคยเห็นพี่ชายคนที่สอง ทราบว่าเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก คงยัง เหลือเติบโตมา ๕ คนคือ


๑๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ สุเมธ อินทสระ (เสียชีวิตแล้ว) นรินทร์ อินทสระ (เสียชีวิตแล้ว) ขัด บุญประกอบ (เสียชีวิตแล้ว) ข้าพเจ้า วศิน อินทสระ คล่องจิตร กาญจนมุสิก (ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลปากบาง อำเภอรัตภูมิ) เมื่อแม่เสียชีวิตแล้วพ่อไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน พี่ชายคนโตก็ไม่ ได้อยู่บ้าน พวกเราซึ่งยังเด็กๆ กันอยู่ก็กำพร้าทั้งพ่อและแม่ ป้า กลับผู้มีน้ำใจอารีต่อลูกหลานได้มาแบ่งเอาหลานไป ๓ คน ไป เลี้ยงที่อำเภอรัตภูมิ คือ นรินทร์ ขัด และคล่องจิตร คงเหลือ ข้าพเจ้าให้อยู่กับน้าที่บ้านตากแดด ตอนนั้นข้าพเจ้าอายุได้ ๕ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๘๒) พอช่วยเขาทำงานได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ ตาม ประสาเด็ก เมื่ออายุ ๘ ขวบจึงได้เข้าเรียนหนังสือชั้นเตรียม ประถมที่โรงเรียนประชาบาลบ่อทราย ตำบลปากรอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีศาลาอยู่หลังหนึ่งเป็นโรงเรียนทั้งหมด เด็กเล็ก ชั้นเตรียมประถมให้เรียนที่ใต้ต้นประดู่ มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่ง อยู่ระหว่างศาลากับต้นประดู่ นักเรียนหิวน้ำก็ไปวักน้ำในสระกิน แต่ห้ามไม่ให้ใครลงไปว่ายน้ำเล่น คราวใดปิดเทอมป้ากลับก็ จะมารับไปอยู่ที่อำเภอรัตภูมิ ข้าพเจ้ารู้สึกมีความสุขเหมือนได้ ขึ้นสวรรค์ เพราะมีป่ามากและมีผลไม้ให้เก็บกินหลายอย่าง ลูกสาวคนเล็กของป้าชื่อพี่เชือนได้โอบไหล่ข้าพเจ้าไปหาผลไม้ใน ป่ากิน ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นและมีความสุขอย่างประหลาด ซึ่ง


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ไม่เคยได้รับมาก่อน ความรู้สึกอันนั้นยังแนบสนิทอยู่จนบัดนี้ พี ่เชือนเสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๔๘) เมื่อเปิดเทอมข้าพเจ้าต้องกลับมาเรียนหนังสือที่โรงเรียน บ่อทราย โดยเดินไปเรียนทั้งไปและกลับระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร เสื้อผ้าและอาหารนั้นขาดแคลนมาก ไม่ต้องพูดถึง รองเท้า เด็กนักเรียนเดินเท้าเปล่ากันทั้งนั้น พ.ศ. ๒๔๘๔ เกิด สงครามโลกครั้งที่สองยิ่งขาดแคลนหนักขึ้นไปอีก กางเกงที่นุ่ง ไปโรงเรียนปะแล้วปะอีก กางเกงที่นุ่งอยู่กับบ้านและนุ่งไป โรงเรียนคงมีไม่เกิน ๒ ตัว ปะแล้วปะอีกจนหาเนื้อเดิมไม่ได้ เสื้อนั้นมีไว้สำหรับผูกคอไม่ได้มีไว้สำหรับใส่ วิธีผูกคอก็คือ เอา แขนเสื้อทั้งสองโอบมามัดคอไว้ ตัวเสื้ออยู่ข้างหลัง ไม่ต้องกลัว หนาวเพราะที่นั่นไม่เคยหนาว และเป็นการถนอมเสื้อไม่ให้ขาด จะไม่นุ่งกางเกงไปโรงเรียนก็ดูกระไรอยู่ ความขาดแคลนปัจจัยสี่ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมีอยู่เป็นอันมาก ธรรมดาไม่เกิด สงครามก็ขาดแคลนอยู่แล้ว ถึงหน้าแล้งก็แห้งจริงๆ ผู้ใหญ่ต้อง ไปตักน้ำในที่ไกลๆ จึงจะได้น้ำมาปี๊บสองปี๊บ ไกลหลายกิโล ทีเดียว หน้าฝนน้ำก็ท่วมเจิ่งนองไปหมดทั่วท้องทุ่ง มองเห็นพื้น น้ำขาวสุดสายตา อาหารที่ชาวบ้านหาได้เป็นหลักก็คือปลาในท้อง ทุ่ง ข้าวพอมีกินเพราะทำนาเอง ย้อนระลึกดูแล้วความเป็นอยู่ ของชาวบ้านในชนบทสมัยนั้นน่าสงสารมาก จำไม่ได้ว่ากี่เดือนหลังจากที่แม่ตายแล้ว พ่อก็มาที่บ้าน น้าบ่าว ตอนนั้นบ้านของแม่ได้เป็นเรือนข้าวเปลือกของน้า น้าได้

๑๑


๑๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เรียกข้าพเจ้าไปหาพ่อ ท่านเรียกข้าพเจ้าไปกอด รู้สึกอบอุ่นอย่าง ประหลาด เป็นครั้งเดียวที่ข้าพเจ้าจำได้ว่าได้อยู่ในอ้อมกอดของ พ่อ แล้วพ่อก็จากไป เข้าใจว่าคงไปพักที่บ้านปู่และย่า ต่อมาอีก ไม่กี่เดือนน้าจิตที่บ้านหนองหวามาแจ้งข่าวว่า พ่อได้เสียชีวิตเสีย แล้ว ข้าพเจ้ายังเด็กเกินไปที่จะเสียใจจึงได้แต่ยืนเฉยๆ จำได้ว่า วันที่เผาพ่อนั้นน้ำท่วมใหญ่ คนหามศพต้องหามลุยน้ำกันไป ข้าพเจ้ายังเล่นน้ำตามไปด้วย เรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนบ่อทรายได้ ๓ ปี พอจบ ป.๒ ตอนนั้นทราบว่าพี่ชายคนโตคือพี่สุเมธไปบวชเป็นพระอยู่ที่วัด ภูตบรรพต ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยคำ ขอร้องของปู่และย่า ข้าพเจ้าอยู่ที่บ้านตากแดดด้วยความลำบาก และอดทน บังเอิญมีเหตุให้น้าตัดสินใจนำข้าพเจ้าไปไว้ที่วัดภูตบรรพตที่พี่ชายบวชอยู่ ตกลงว่าได้ไปอยู่เป็นเด็กวัดอยู่กับพี่ชาย แต่ความเป็นอยู่ก็ยังคงอัตคัดขาดแคลนตามประสาเด็กวัดบ้านนอก อาหารได้กินบ้างไม่ได้กินบ้าง น้อยวันที่ได้กินครบสามมื้อ มาเรียน ป.๓ ที่โรงเรียนประชาบาลวัดชะแล้ ตำบลบางเขียด ปัจจุบันเป็นอำเภอสิงหนคร ห่างจากวัดภูตบรรพตเพียงเล็กน้อย เดินประมาณสิบนาทีก็ถึงแล้ว ตลอดเวลาที่เรียนอยู่ที่นี่ อาหาร และน้ำตอนกลางวันเป็นไม่ต้องพูดถึงกันเลยคือ ไม่มีกิน ของ ขายก็ไม่มี ถึงจะมีของขายก็กินไม่ได้เพราะไม่มีเงินติดตัวเลย สักบาทเดียวเหมือนๆ กันทุกคน เด็กที่พอกินข้าวกลางวันได้

บ้างตอนพักเที่ยง ก็เห็นจะเป็นเด็กที่อยู่วัดชะแล้นั่นเอง มีเพื่อน


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

คนหนึ่งชื่อ ‘ขอม’ เป็นเด็กวัดชะแล้ เขาชวนไปกินข้าวกลางวัน บ่อยๆ แต่ไม่ค่อยได้ไปกิน เลิกเรียนกลับมาวัดได้กินบ้างไม่ได้ กินบ้าง มีอุบาสิกาบางคนที่อยู่ข้างวัดเขารู้สึกเอ็นดู บอกว่าวัน ไหนไม่มีข้าวเย็นที่วัด ให้ไปกินที่บ้านเขา แต่ก็ไม่ค่อยได้ไป ปู่กับ ย่าก็สั่งเหมือนกัน แต่บ้านปู่และย่าอยู่ไกลเหลือเกิน ต้องเดินเป็น ชั่วโมงจึงจะถึง จึงไม่ค่อยได้ไป ปู่กับย่าเป็นคนใจดีลูกหลานรัก และคนในหมู่บ้านก็เคารพนับถือ เคยพูดกับข้าพเจ้าว่า เมื่อเรียน จบชั้นประถมแล้วก็จะส่งให้เรียนต่อชั้นมัธยม แต่น่าเสียดาย เมื่อข้าพเจ้าเรียนอยู่ชั้น ป.๔ ปู่และย่าก็ล้มป่วยลงพร้อมกัน เลิก โรงเรียนแล้วข้าพเจ้าก็จะรีบกลับมาเยี่ยมปู่และย่า และร้องไห้ โฮโฮทุกครั้งที่มา รู้สึกหมดที่พึ่ง ในที่สุดปู่และย่าก็สิ้นชีวิตลง พร้อมกัน ดูเหมือนจะห่างกันคนละวัน เก็บศพไว้ที่บ้านสองสาม วันแล้วก็เผาพร้อมกัน ข้าพเจ้ากลับไปอยู่วัดอย่างเดิม เมื่อเรียนอยู่ ป.๔ จำได้ว่าน้าแดงน้องของพ่อ เป็นผู้ใหญ่ บ้านอยู่ที่บ้านโคกโพธิ์ใกล้ๆ บ้านหนองหวานั่นเอง (ทางใต้จะ เรียกน้องของพ่อหรือน้องของแม่ว่า ‘น้า’ เหมือนกันหมด) ทาง รัฐบาลได้มีนโยบายช่วยเหลือเด็กยากจน ได้นำผ้าไปแจก ไม่มี ชื่อของข้าพเจ้าอยู่ด้วย น้าแดงได้ทักท้วงขึ้นว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็น เด็กยากจนหรือ ทำไมจึงไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงได้ผ้ามาผืนหนึ่ง จำได้ ว่าเป็นสีกรมท่า ใช้นุ่งก็ได้ห่มก็ได้ ข้าพเจ้าดีใจยิ่งนัก ใช้ผ้าอย่าง ทะนุถนอม คืนหนึ่งมีการแสดงหนังตะลุงที่เชิงเขาวัดภูตบรรพต ที่นั่นเป็นป่าช้าด้วย (ภาษาทางใต้เรียกว่า ‘เปลว’) ข้าพเจ้าได้ไปดู

๑๓


๑๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ หนังตะลุงแล้วเผลอหลับไป ตื่นขึ้นมาผ้าห่มหายไปเสียแล้ว เป็น ความทรงจำที่ไม่รู้จักลืมเลือนถึงความรู้สึกขณะนั้นว่าเสียดาย เพียงไร เรายังเด็กมากจะไปหาโจรที่ไหนได้เล่า ข้าพเจ้าชอบศิลปิน หนังตะลุงเป็นสิ่งที่นิยมชมชอบมาก เมื่ออยู่วัดบางคืนก็หนีไปแสดงหนังตะลุงเอง ตอนนั้นคงจะอายุ สัก ๑๒-๑๓ มีเพื่อนๆ เด็กวัดด้วยกันช่วยกันเอาวัสดุเท่าที่จะหา ได้มาแทนโหม่ง ฉิ่ง และกลอง เป็นต้น พากย์หนังตะลุงอยู่ได้ทั้ง คืน กลับมาวัดตอนเช้าถูกท่านอาจารย์ลงโทษบ้างก็เพียงเล็กน้อย ไม่หนักหนารุนแรงอะไร ท่านอาจารย์ผู้ปกครองเวลานั้นก็คือ ท่านปลัดเมศวร์ ซึ่งต่อมาเป็นพระครูถาวรศีลคุณ (มรณภาพ แล้ว) เจ้าอาวาสวัดภูตบรรพตเวลานั้นคือ ท่านพระครูโศภณ- ศีลาจาร (แดง) ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ข้าพเจ้าเรียนจบ ป.๔ ที่โรงเรียนวัดชะแล้ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จำได้แม่นเพราะทราบข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ สวรรคต พอดีพระพี่ชายคิดจะมาเรียนหนังสือต่อ ที่จังหวัดสงขลา จึงได้เดินทางมาจังหวัดสงขลา พักอยู่ที่วัด มัชฌิมาวาส ซึ่งเป็นวัดหลวงและเป็นวัดใหญ่ อาศัยพักอยู่ที่กุฏิ ท่านมหานิพนธ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นท่านพระครูนิเทศธรรมาภรณ์ ท่านเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่และมีชื่อเสียง ทางวิชาการแล้ว ท่านติดขัดอะไรก็เขียนจดหมายมาถามบ่อยๆ โดยไม่ได้ถือตัวว่าเคยเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า เมื่อพักอยู่ที่วัด มัชฌิมาวาสนั้น มีเด็กรุ่นเดียวกันที่พักอยู่กับท่านมหานิพนธ์


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๕

มากคน นอนกันที่ระเบียงหน้าห้องท่านเต็มไปหมด อาหาร ประจำวันก็คือผักบุ้งที่เด็กรุ่นโตไปซื้อมาจากตลาด นำมาแกง รวมกับอาหารที่พระบิณฑบาตได้ รู้สึกว่ากลิ่นอายของจังหวัด สงขลาเป็นทีถ่ กู ใจยิง่ นัก มันเป็นกลิน่ เมืองทีส่ งบเรียบร้อย สะอาด และ ผาสุก ด้านตะวันตกเป็นทะเลสาบสงขลา ด้านตะวันออกเป็ น ทะเลหลวง สมัยนั้นสงขลาเป็นเมืองที่สงบเงียบ ท่อระบายน้ำใส สะอาด นอนไม่ต้องกางมุ้งไม่มียุงสักตัว อยู่ที่วัดมัชฌิมาวาสกี่เดือนจำไม่ได้ ก็เดินทางมากรุงเทพฯ เป็นไวยาวัจกรของพระพี่ชาย มาโดยทางรถไฟในปี ๒๔๙๐ เสร็จสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ๒ ปี ตอนนั้นทางรถไฟที ่

สุราษฎร์ฯขาด ต้องลงเรือข้ามแม่น้ำแล้วมาขึ้นรถไฟอีกฝั่งหนึ่ง รถไฟสุดทางที่บางกอกน้อยเวลานั้น มาพักที่วัดบูรณศิริฯก่อน จำไม่ได้ว่ากี่วัน แล้วไปพักที่วัดบุปผาราม ธนบุรี กับท่านเจ้าคุณ พระราชดิลก ซึ่งตอนนั้นยังเป็นพระมหาหลงอยู่ ประมาณเดือน พฤษภาคม ๒๔๙๐ ทีแรกพระพี่ชายตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึง กรุงเทพฯแล้วก็จะส่งกลับไปบวชที่วัดมัชฌิมาวาส สงขลา แรกที เดียวพระพี่ชายไม่ได้ตั้งใจพาข้าพเจ้ามา จะให้บวชอยู่ที่สงขลา แต่เพราะผู้ที่จะเดินทางเป็นไวยาวัจกรมาด้วยเกิดป่วยกะทันหัน จึงให้ข้าพเจ้าเป็นตัวแทนมา เมื่อพักอยู่ที่วัดบุปผารามนั้น ท่านเจ้าคุณอาจารย์ คือ ท่านเจ้าคุณพระราชดิลก ซึ่งต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะขอเรียกท่านว่า


๑๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ‘ท่านอาจารย์’ ได้สืบสาวเรื่องราวว่าข้าพเจ้าเป็นลูกใครเป็นหลาน ใคร พอรู้ชื่อพ่อและปู่ ท่านอาจารย์ก็รับไว้ให้บวชที่วัดบุปผาราม ทราบว่าเมื่อสมัยยังหนุ่ม ก่อนบวช ท่านไปมาที่บ้านหนองหวา เสมอ รู้จักปู่ของข้าพเจ้าและเป็นเพื่อนกับพ่อของข้าพเจ้า ท่านมหาสิริ ฐานยุตฺโต ก็เป็นคนบ้านเดียวกัน คือ ท่านอยู่ บ้านห้วยพุด จะมีส่วนในการมาของพระพี่ชายของข้าพเจ้าด้วย หรือไม่ ข้าพเจ้าไม่ทราบ ท่านมหาสิริท่านนี้ต่อมาได้เป็นพระเทพ กิตติเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี (ธรรมยุต) ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้บวชเป็นสามเณรนั้น ข้าพเจ้า ปวดหัวอย่างรุนแรงทุกวัน ตัง้ แต่เช้าพระอาทิตย์ขน้ึ จนถึงเทีย่ งวัน ยาไม่มีกินเลยแม้แต่เม็ดเดียว ไม่รู้เป็นโรคอะไร หรือจะเป็น อย่างที่เขาเรียกกันว่า ‘ลมตะกัง’ กระมัง กำหนดวันบวชเณร เดือนกรกฎาคมก่อนเข้าพรรษา แต่จำไม่ได้ว่าวันที่เท่าใด เช้าวัน นั้นโกนผมแล้วยังมึนศีรษะอยู่ไม่ถึงกับปวด จำได้ว่าบวชตอน บ่าย เมื่อครองผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว บวชเสร็จแล้ว อาการปวด ศีรษะที่ต้องนอนร้องไห้ทุกวัน ไม่เป็นอีกเลยมาจนกระทั่งบัดนี้ (อายุ ๗๒)


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๗

เมื่อเป็นสามเณร v

v

ในการบวชเป็นสามเณรคราวนี้ ผู้อุปถัมภ์ที่เรียกกันใน สำนวนพระว่า โยมอุปัฏฐาก คือ คุณแม่ริ้ว สืบศิริ ซึ่งเป็นโยม อุปัฏฐายิกาของท่านมหาสิริ คุณแม่ริ้วเป็นพยาบาลผดุงครรภ์ มี สามีเป็นบุรุษพยาบาลอยู่ที่ซอยริ้วสืบศิริ ใกล้ๆ วงเวียนเล็กสมัย นั้น เวลานี้วงเวียนเล็กได้ถูกรื้อไปแล้ว ท่านที่ไม่ทันเห็นวงเวียน เล็ก ก็ให้นึกถึงเชิงสะพานพุทธฯฝั่งธนบุรีและโรงเรียนศึกษานารี วงเวียนเล็กอยู่ตรงหน้าโรงเรียนศึกษานารีพอดี คุณแม่ริ้วเป็น คหปตานีผู้มั่งคั่งคนหนึ่งในสมัยนั้น มีบ้านใหญ่โตไม้สักทั้งหลัง เป็นคนอ้วนแต่ก็เดินไปวัดบุปผารามได้ ข้าพเจ้าเมื่อบวชแล้วก็ไป บิณฑบาตที่บ้านคุณแม่ริ้วทุกวัน ตอนหลัง น้องสาวคือคล่องจิตรยังเด็กอยู่ คุณแม่ริ้วได้ขอให้มาอยู่ที่บ้านด้วยเห็นว่าเป็นน้อง ของข้าพเจ้า แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบ อยู่ได้ไม่นานก็กลับไปอยู่ กับป้าที่รัตภูมิ สมัยที่ข้าพเจ้าเป็นสามเณรอยู่นั้น มีพระที่ได้รับความนิยม ว่าเก่ง คือทั้งเรียนเก่งและเทศน์เก่งอยู่ ๒ รูป คือ ท่านมหาสิริ ป.ธ.๖ ท่านมหาอาคม ป.ธ.๕ ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระ ธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดบุปผารามต่อจากท่านเจ้าคุณพระธรรม วราลังการ (อนุภาโส) ผู้ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าในสมัยที่ดำรง


๑๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ สมณศักดิ์เป็นพระอโนมคุณมุนี ซึ่งเป็นผู้มีเมตตาสูงมาก และมี ปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส พูดถึงท่านอาจารย์ ท่านเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียนของ ข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง และเข้าใจว่าจุใจท่าน เพราะให้ท่องอะไรก็ ท่องได้ ให้เรียนอะไรก็เรียนได้ด้วยความตั้งอกตั้งใจ อย่างให้ ท่องสวดมนต์ตามหลักสูตรของวัด ท่านจะเรียกไปซ้อมทุกคืน หนังสือสวดมนต์ฉบับแรกที่ข้าพเจ้ามีก็คือ เอกเทศสวดมนต์ ต่อมาก็เป็นสวดมนต์ฉบับหลวงซึ่งเป็นหนังสือสวดมนต์เล่มใหญ่ ท่องไปสวดไปโดยที่ไม่รู้เรื่อง แต่ก็ชอบ เมื่อเริ่มเรียนนักธรรม ชัน้ ตรีในปีทบ่ี วชนัน้ ได้ทอ่ งพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑ จนตลอดเล่ม ๕๐๐ ข้อทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ช่างมีความสุขและความ พอใจเสียนี่กระไร รู้สึกซาบซึ้งในพระพุทธภาษิตเริ่มตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ยังได้อ่านพุทธประวัติซึ่งไม่เคยได้อ่านมาก่อน ได้ท่อง ธรรมะและวินัยในนวโกวาท ได้หัดเขียนเรียงความแก้กระทู้ ธรรม และอ่านวินัยมุขเล่ม ๑ ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายวินัยโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ล้วนแต่ เป็นของชอบทั้งนั้น ข้าพเจ้าจึงเรียนนักธรรม เรียนสวดมนต์ อย่างไม่รู้สึกเบื่อหน่าย แม้จะยากไปบ้างสำหรับบางเรื่อง เช่น วินัยมุข สำหรับข้าพเจ้าซึ่งอายุเพียง ๑๓ ในขณะนั้น แต่ก็

ชอบอ่านแม้จนกระทั่งบัดนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๙) เมื่อสอบนักธรรมชั้นตรีได้แล้ว ในปีนั้นท่านอาจารย์ให้เริ่ม ท่องบาลีไวยากรณ์จำนวน ๔ เล่ม คิดเป็นจำนวนหน้าถึง ๕๐๔


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๙

หน้า ตั้งใจท่องด้วยความอดทนเพราะอยากรู้ จำไม่ได้ว่าต้องไป ท่ อ งให้ อ าจารย์ ฟ ั ง หรื อ เปล่ า ไปเข้ า โรงเรี ย นฟั ง อธิ บ ายบาลี ไวยากรณ์ ดูเหมือนท่านมหาสิริ ฐานยุตฺโตเป็นผู้สอน ท่านเป็น อาจารย์ที่ค่อนข้างดุแต่ก็ทำให้พระเณรตั้งใจเรียนดี เหลือเวลาอีกประมาณ ๒ เดือนจะมีการสอบนักธรรม ชั ้ น โท ท่ า นอาจารย์ ย ั ง ไม่ อ ยากให้ ส อบ อยากให้ ท ่ อ งบาลี ไวยากรณ์ให้จบก่อน แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าไม่ควรปล่อยเวลาให้ว่าง ไป ๑ ปีโดยไม่ได้สอบอะไรเลย จึงเข้าไปเรียนท่านว่าจะขอเข้า สอบนักธรรมโท ท่านยังคงยืนยันไม่ให้สอบ ข้าพเจ้าไปได้ หนังสือธรรมวิภาคเล่ม ๒ ซึ่งเป็นหลักสูตรวิชาธรรมะสำหรับ

นักธรรมชั้นโท มานั่งท่องที่หน้าห้องทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านอาจารย์เดินไปเดินมาอยู่แถวนั้น ท่านจะเปิดมาหาข้าพเจ้า ก็ได้ เมื่อท่านได้ยินท่องธรรมวิภาคเล่ม ๒ บ่อยเข้า วันหนึ่ง ข้ า พเจ้ า นั ่ ง ท่ อ งอยู ่ ห น้ า ห้ อ งจนเหนื ่ อ ยแล้ ว จึ ง เข้ า ไปในห้ อ ง เห็นหนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นโทกองหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะของ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจว่าท่านยินยอมให้ข้าพเจ้าสอบแล้ว จึงเข้าไปกราบขอบคุณท่านพร้อมด้วยนวดให้ท่าน งานนวดท่าน อาจารย์ เ ป็ น งานประจำของข้ า พเจ้ า อยู ่ แ ล้ ว ประมาณคื น ละ ๒ ชั่วโมง เวลาประมาณ ๒ ทุ่มครึ่ง - ๔ ทุ่ม เมื่อถึงเวลาสอบ นักธรรมชั้นโท ข้าพเจ้าสอบได้ ท่านอาจารย์พูดกับใครต่อใคร เป็นเชิงล้อเลียนหรือยกย่องก็ไม่ทราบได้ว่าสอบได้มาอย่างไร ใช้เวลาเรียนเพียง ๒ เดือน ในเมื่อคนอื่นเรียนกันทั้งปีสอบได้

ก็มีสอบไม่ได้ก็มี


๒๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ หลักสูตรนักธรรมชั้นโทยังคงมี ๔ วิชาเหมือนนักธรรม ชั้นตรี แต่เนื้อหายากขึ้น พุทธศาสนสุภาษิตซึ่งข้าพเจ้าชอบ นักหนานั้น มีถึง ๒๐๑ ข้อ แต่ละข้อยาวกว่าของนักธรรมชั้นตรี ถึง ๓ เท่า เพราะเป็นคาถา ๔ บาท ของนักธรรมชั้นตรีมีบาท เดียว ข้าพเจ้าท่องหมดทุกข้อทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ไม่ได้ เลือกท่องเพื่อเก็งข้อสอบเลย เมื่อได้นักธรรมชั้นโทแล้ว และท่องบาลีไวยากรณ์ ๔ เล่ม จบแล้วก็เริ่มแปลหนังสือธรรมบทซึ่งเป็นหลักสูตรของเปรียญ ๓ ประโยค มีทั้งหมด ๘ ภาคด้วยกัน เป็นหนังสือขนาด ๘ หน้ายก จำนวนหน้าถึง ๑,๒๒๔ หน้า ไม่ใช่น้อยเลยสำหรับสามเณรอายุ ๑๕ หนังสือชุดนี้เป็นอรรถกถาธรรมบท ผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ชาวอินเดีย มาทำงานในศรีลังกา เป็นหนังสือที่น่าสนใจ มาก ยกคาถาพระพุทธภาษิตมาจากคัมภีร์ธรรมบทขุททกนิกาย พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ มาตั้งแล้วเล่าเรื่องประกอบ แล้วอธิบายคำ ยากในพระพุทธภาษิตเพียงเล็กน้อย ผู้เรียนได้เพลิดเพลินไปกับ นิทานประกอบเรื่อง ได้ธรรมะจากพระพุทธภาษิตและคำอธิบาย เล็กน้อย แต่นักเรียนจะกลัวคำอธิบายที่เรียกว่า ‘แก้ อ รรถ’ เพราะยากกว่าส่วนอื่นๆ ข้าพเจ้าเรียนด้วยความเพลิดเพลิน พร้อมด้วยพระอื่นๆ รวมทั้งพระพี่ชายด้วย กลางคืนมักจะไป รวมกันที่ห้องใดห้องหนึ่งแล้วช่วยกันแปล การไปเรียนบาลีที่ โรงเรียนมีไม่มากนัก ส่วนมากเรียนด้วยตนเอง เท่าที่จำได้รู้สึก ว่า พระมหาปลอด ปิยทสฺสี สอนอยู่ระยะหนึ่ง จำไม่ได้ว่ากี่เดือน


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ถึงเวลาสอบสนามหลวง (สนามใหญ่ของคณะสงฆ์) ข้าพเจ้าสอบได้ สร้างความตื่นเต้นพอใจให้กับท่านอาจารย์และสำนักเรียนมิใช่ น้อย ท่านอาจารย์เริ่มมั่นใจในตัวข้าพเจ้ามากขึ้น คุณแม่ริ้ว สืบศิริ ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐายิกาก็ดีใจ นำปากกาหมึกซึมมาถวายเป็น รางวัล โยมหรุ่นทางวงเวียนใหญ่ซึ่งได้ถวายอาหารบิณฑบาตอยู่ เป็นประจำ และคุณน้าลิ้ม วอนขอพร ผู้เป็นลูกสาว ก็ได้นำ ปากกาหมึกซึมมาถวายด้วย แต่คนละสีกัน ข้าพเจ้าเองก็รู้สึก ปลื้มใจและภาคภูมิใจอยู่มิใช่น้อย เพราะได้เปลี่ยนฐานะจาก สามเณรธรรมดาเป็นสามเณรเปรียญ แม้จะเพียง ๓ ประโยค ก็ตาม ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนว่ามีข้าพเจ้าเป็นสามเณรเปรียญอยู่ เพียงรูปเดียวในเวลานั้น ปีหลังๆ ต่อมาจึงมีสามเณรเปรียญ มากขึ ้ น พระพี ่ ช ายของข้ า พเจ้ า ก็ ส อบได้ ใ นปี น ั ้ น เหมื อ นกั น

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๓ ปีต่อมาเรียน ป.ธ.๔ ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนีพักหนึ่ง เป็นผลงานของพระสิริมังคลาจารย์ ชาวเชียงใหม่๑ แต่งอธิบาย มงคล ๓๘ ตั้งแต่มงคลที่ ๑ ถึงมงคลที่ ๑๒ คือ การไม่คบคน พาล ไปจนถึง การงานไม่คั่งค้าง เป็นหนังสืออธิบายธรรมะ มีนิทานประกอบ ข้าพเจ้าชอบมาก อ่านอย่างไม่อิ่มไม่เบื่อ เป็น หนังสือ ๘ หน้ายก ประมาณ ๓๗๕ หน้า ปีนั้นข้าพเจ้าสอบได้อีก ปีต่อมาเรียน ป.ธ.๕ ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกาภาค ๓ ที่ พระเณรเรียกกันสั้นๆ ว่า ‘สามนต์’ เป็นอรรถกถาวินัย แปลยาก มาก ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง หนาถึง ๕๗๐ หน้า เป็นหนังสือ ๑ เมื่อประมาณ ๕๐๐ ปีมาแล้ว

๒๑


๒๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ขนาดใหญ่ ๘ หน้ายกพิเศษ อ่านไม่สนุก แต่จำเป็นต้องเรียน เพราะเป็นหลักสูตร ปีนั้นสอบได้ ป.ธ.๕ ปีต่อมาเรียน ป.ธ.๖ ใช้หนังสือมังคลัตถทีปนีภาค ๒ หนา ๔๘๒ หน้า อธิบายมงคล ๓๘ ตั้งแต่มงคลที่ ๑๓ ถึงมงคลที่ ๓๘ อ่านสนุกเพลิดเพลิน ปี นั้นสอบ ป.ธ.๖ ได้ ปีที่ข้าพเจ้าได้ ป.ธ.๖ นั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพ กิตติเมธี (ฐานยุตฺโต) สมัยยังเป็นพระมหาสิริอยู่ สอบได้ ป.ธ.๗ ปีต่อมาข้าพเจ้าเรียน ป.ธ.๗ ใช้หนังสือสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยภาค ๑ และภาค ๒ ยากกว่าภาค ๓ ที่ใช้ เรียน ป.ธ.๕ แต่ก็ยังสอบได้ และได้นักธรรมเอกด้วยในปีนั้น ท่านอาจารย์และทางวัดตื่นเต้นและดีใจกันมาก รวมทั้งท่าน อุปัชฌาย์ด้วย เพราะมีสามเณรสอบได้เป็นเปรียญเอกเป็นองค์ แรกของวัด เล่าลือกันไปมากพอสมควรว่าเป็นคนเรียนเก่ง ใครๆ ก็หวังกันว่าข้าพเจ้าจะได้เปรียญ ๙ โดยไม่นานนัก แต่ผู้ที่ หวังก็ผิดหวังเพราะข้าพเจ้าหยุดอยู่เพียงเท่านี้ ตั้งใจว่าจะเรียน โดยการสอบเพียงเท่านี้ เวลานั้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้เปิดขึ้นแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ โดยชื่อว่า ‘สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย’ ตั้งอยู่ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ตึกที่เป็นสำนักงานแม่กองธรรมอยู่เวลานี้ มีพระภิกษุที่วัดบุปผารามไปเรียนหลายรูปด้วยกัน ข้าพเจ้าเอง ตั้งใจไว้ว่า เมื่อเรียนถึงเปรียญเอกแล้วก็จะเปลี่ยนไปเรียนใน ระบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ ด้วยหวังว่าจะได้วิชาสมัยใหม่ มาช่วย ส่งเสริมการอธิบายธรรมทางพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้าลืมเล่าไปว่า


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๒๓

ข้าพเจ้าสามารถเทศนาปากเปล่าที่เขาเรียกกันทางวัดว่า ‘เทศน์ ปฏิภาณ’ ตั้งแต่ได้นักธรรมโทแล้ว และก็ได้เทศน์ปฏิภาณเรื่อย มาทั้งในวัดและต่างจังหวัด ทางวัดก็ชื่นชมยินดีที่มีสามเณร เปรียญสามารถเทศน์ปฏิภาณได้ เพิ่มขึ้นมาอีกรูปหนึ่ง นอกจาก ท่านมหาสิริ ฐานยุตฺโต และท่านมหาอาคม อุตฺตโร บางคราวเมื่อ มีงานทางวัด มีเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ ท่านทั้งสองได้ดึงเอาข้าพเจ้า ซึ่งเป็นสามเณร ขึ้นไปนั่งเทศน์ด้วยรูปหนึ่ง ท่านมหาอาคมนั้น นิยมกันว่าเทศน์ดี เสียงดัง ท่านได้เปรียญ ๗ หลังจากข้าพเจ้า ๑ หรือ ๒ ปี จำได้ไม่แม่น


๒๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

เมื่อบวชเป็นพระ

v

v

พระพี่ชายของข้าพเจ้าชื่อสุเมธ ได้ลาสิกขาไปแล้วตั้งแต่ได้ ป.ธ.๕ ประมาณปี ๒๔๙๕ เมื ่ อ ข้ า พเจ้ า ได้ ป.ธ.๗ นั ้ น ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๗ อายุยังไม่เต็ม ๒๐ แต่ท่านอาจารย์จะให้ อุปสมบทก่อนเข้าพรรษานั้น อายุยังขาดอยู่ ๔ เดือน ทางวินัย อนุญาตให้นับในครรภ์ได้ถึง ๙ เดือน แต่นิยมนับกันเพียงแค่ ๗ เดือน ทั้งนี้เผื่อเอาไว้ว่าเด็กบางคนคลอดก่อนกำหนด จึงได้ อุปสมบทในปีนั้น ประมาณเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนจำได้ ไม่แม่น ท่านอาจารย์ตั้งใจไว้ว่า ในวันอุโบสถข้างหน้าให้สวด ปาติโมกข์ จึงให้เริ่มท่องปาติโมกข์ มีเวลา ๑๕ วัน แต่ข้าพเจ้า ท่องเพียง ๑๒ วันก็จำได้หมด ไปซ้อมกับท่านอาจารย์ทุกคืน เหลือเวลาอีก ๒ วันเป็นเวลาทบทวนให้คล่อง ท่านอาจารย์ ชมเชยว่าเท่าที่ท่านมีประสบการณ์ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นใครท่อง ปาติโมกข์จำได้ภายใน ๑๒ วัน ท่านดีใจมาก ถึงวันสวดเข้าจริง ก็สวดได้ดี เป็นที่ชื่นชมยินดีของอุปัชฌายอาจารย์ ข้าพเจ้าก็ปลื้ม ใจที่ทำให้ท่านยินดีได้ ตอนนั้นท่านอาจารย์มีสมณศักดิ์เป็น พระครูกิตติวิมล ต่อมาอีกหลายปีได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระกิตติวิมลเมธี และต่อมาอีกหลายปีได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่พระราชดิลก ท่านมหาอาคม อุตฺตโร


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๒๕

ต่อมาได้เป็นพระอมรเวธี และเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นไปจนถึงพระ ราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมรัตนดิลก มรณภาพแล้วเมื่ออายุ ๗๓ (ประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๓) ท่านอายุมากกว่าข้าพเจ้า ๗ ปี ท่านมหาสิริ ฐานยุตฺโต เมื่อเป็นเปรียญ ๗ อยู่ ได้รับคำสั่ง จากเจ้าคณะภาคคือ พระธรรมโกศาจารย์วัดราชาธิวาสฯ ให้ไป เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้รับ สมณศักดิ์เป็นพระธรรมภาณกวี แล้วเลื่อนเป็นพระราชธรรมกวี แล้วเลื่อนเป็นพระเทพกิตติเมธี มรณภาพประมาณ ๑๕ ปีมา แล้ว ข้าพเจ้าตั้งใจจะไปเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ สภาการ ศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้ไปกราบเรียนท่านอาจารย์เพื่อ ขอลาไปเรียน แต่ท่านห้ามไว้ บอกว่าเรียนให้จบเปรียญ ๙ เสีย ก่อนแล้วค่อยไปเรียนก็ยังไม่สาย เพราะอีก ๒ ปีเท่านั้นเอง ข้าพเจ้าจึงอนุโลมตามท่าน ท่านอุตส่าห์หาหนังสือเปรียญ ๘ มา ให้ คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ๓ ภาค บอกว่าเป็นการอนุเคราะห์ ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งท่านไปทำงานอยู่ที่สำนักงาน เป็นหัวหน้าแผนกปริยัติธรรมของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย สำนักงานอยู่ในวัดบวรนิเวศฯ ปัจจุบันเป็นสถานที่อบรมพระ ธรรมทูตไปต่างประเทศ คัมภีร์วิสุทธิมรรคเวลานั้นยังไม่มีฉบับภาษาไทย เป็น คัมภีร์ที่ยากมากทั้งภาษาและเนื้อหา โดยเฉพาะภาคที่ ๓ มีภาษา


๒๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ไทยบ้างเป็นบางตอน ซึ่งแปลคัดลอกต่อๆ กันมา ต่อมาภายหลัง จึงมีวิสุทธิมรรคแปล ฉบับของสำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี ต่อมา ภายหลังอีกหลายปีจึงมีวิสุทธิมรรคฉบับภาษาไทยของมูลนิธิ มหามกุฏฯ แปลโดย นาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต ป.ธ.๙ แห่งสำนักวัดเทพศิรินทราวาสฯ ผู้เรียน ป.ธ.๘ ในรุ่นหลังๆ จึงได้อาศัย ข้าพเจ้าเรียน ป.ธ.๘ ด้วยจิตใจเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่ง ไปอยู่ที่สภาการศึกษามหามกุฏฯเสียแล้ว จึงเรียนไม่เต็มที่ แต่ พยายามอ่านจนหมด ถึงเวลาสอบท่านอาจารย์เอาใจช่วยเต็มที่ ถึงกับเดินไปส่งข้าพเจ้าขึ้นรถสามล้อที่บ้านคุณน้าสำอาง ชูเกษ ซึ่งข้าพเจ้าจะได้พูดถึงในโอกาสต่อไป ซึ่งในปีก่อนๆ ท่านอาจารย์ ไม่เคยทำ ปีนั้นข้าพเจ้าสอบตก ไม่ได้เสียใจอะไรเพราะรู้ตัวอยู่ แล้วว่าเรียนด้วยใจเพียงครึ่งเดียว ได้เข้าไปขออนุญาตท่าน อาจารย์เพื่อเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์อีก คราวนี้ท่านอนุญาต แต่ รู้สึกท่านไม่ค่อยพอใจนิดๆ แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะตอนหลังเมื่อ ข้าพเจ้าเรียนจบแล้ว และได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัย สงฆ์มาประกอบการอธิบายธรรมะ ออกมาเป็นหนังสือมากมาย ประจักษ์แก่ท่าน ท่านรู้สึกปีติและภาคภูมิใจจนพูดออกมาว่า “ได้ ตัดสินใจถูกแล้วที่ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ เพราะได้ใช้ความรู้ วิชาสมัยใหม่มาประกอบความรู้ทางธรรม เป็นประโยชน์มาก” บางคราวในการฉลองสมณศักดิ์ของท่าน ท่านได้พิมพ์ หนังสือแจก เช่น หนังสือ ‘โลกอื่น’ (เล่าเรื่องตายแล้วเกิด) ขอ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๒๗

ให้ข้าพเจ้าเขียนคำนำในนามของศิษยานุศิษย์ ข้าพเจ้าเขียนคำนำ เรื่อง ‘ตายแล้วเกิด’ ได้ยกเอาข้อความในหนังสือที่ฝรั่งเขียน และหนังสือหลายเล่มที่ฝรั่งเขียนเกี่ยวกับเรื่อง ‘ตายแล้วเกิด’ ท่านอ่านแล้วชอบใจมาก นี่ก็เป็นเพราะได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัย สงฆ์ มิฉะนั้นจะไม่รู้ตำราที่เป็นภาษาอังกฤษเลย หลังจากได้สอบตกเปรียญ ๘ แล้ว และได้เข้าศึกษาใน มหาวิทยาลัยสงฆ์แล้ว ข้าพเจ้าไม่คิดจะสอบบาลีอีกเลย แต่ได้นำ หนังสือหลักสูตรเปรียญ ๙ มาอ่านดูหมดทั้งเล่มแล้ว เป็นคัมภีร์ อธิบายอภิธรรมชื่อ อภิธัมมัตถวิภาวินี๑ เป็นหนังสือชั้นฎีกา การศึกษาในระยะนี้มุ่งไปทางพระไตรปิฎก ข้าพเจ้าเริ่ม อ่านพระไตรปิฎกตั้งแต่เรียนอยู่ ป.ธ.๔ เพราะหนังสือหลักสูตร คือ มังคลัตถทีปนีได้อ้างพระไตรปิฎกไว้มาก ยกข้อความมาบาง ส่วนแล้วบอกว่า ถ้าอยากได้ความพิสดารหรือข้อความละเอียด ให้ ดู ใ นเรื ่ อ งนั ้ น เรื ่ อ งนี ้ เช่ น เรื ่ อ งพระเจ้ า อชาตศั ต รู ใ ห้ ดู ร าย ละเอียดในสามัญญผลสูตร ทีฆนิกาย เป็นต้น ข้าพเจ้าก็ตามไป ดู แต่ตอนนั้นยังไม่มีพระไตรปิฎกเป็นส่วนตัว ได้ไปขอยืมจาก อาคารโรงเรียนของวัด มาอ่านดูทีละเล่มสองเล่ม แต่หนังสือยัง ติดกันเป็นปึกคือยังไม่ได้ตัด ข้าพเจ้าจึงต้องนำมาตัดเองทั้งเล่ม จึ ง อ่ า นได้ แสดงว่ า หนั ง สื อ ยั ง ไม่ ม ี ใ ครใช้ ข้ า พเจ้ า รู ้ ส ึ ก ติ ด พระไตรปิฎกตั้งแต่นั้นมา เมื่อมาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ วิชา พระสูตรใช้พระไตรปิฎกเป็นหลักชั้นละเล่ม ได้เพิ่มความรู้ ให้กว้างขวางออกไปอีก ซึ่งจะเล่าข้างหน้า ๑ พระสุมังคลาจารย์ รจนาขึ้นในประเทศศรีลังกา พ.ศ. ๑๖๙๖


๒๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ตามที่เล่ามานี้ เหมือนว่าข้าพเจ้าจะไม่มีข้อบกพร่องอะไร แต่ความจริงแล้วข้าพเจ้ามีข้อบกพร่องเป็นอันมาก เหตุหนึ่งก็มา จากโรคภัยเบียดเบียน ทำให้ลำบากในการปฏิบัติหน้าที่ แทบทุก ปีที่มีการสอบบาลี ข้าพเจ้าต้องป่วยก่อนเสมอ หรือมิฉะนั้น ก็ตอนสอบเสร็จแล้ว เพราะได้ทุ่มเทเรียนหนังสืออย่างหนัก นอนตี ๑ ตี ๒ แทบทุกคืน จนอาจารย์ต้องเปิดประตูออกมา เตือนบ่อยๆ ว่าให้นอนพักผ่อนเสียบ้าง แต่ข้าพเจ้ายิ่งอยู่ดึก สมองยิ่งแจ่มใสจึงหยุดไม่ค่อยได้ อีกอย่างหนึ่งความเพลิดเพลิน ในการที่ได้ความรู้เพิ่มทั้งในด้านภาษาบาลีและเนื้อหาธรรมะใน การอ่าน เป็นแรงกระตุ้นให้อ่านและเรียนอย่างหนักอยู่หลายปี คิดว่าอาหารคงไม่ค่อยพอด้วย เพราะหลังจากฉันเพลแล้ว ก็ไม่มี อะไรตกถึงท้องอีกเลย นอกจากน้ำเปล่าจนกว่าจะถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ต้องออกไปบิณฑบาตก่อนแล้วจึงจะกลับมาฉันเช้ารวมกันที่ศาลา โรงฉันของท่านอาจารย์ นี่พูดถึงสมัยที่เป็นสามเณร จำได้ว่า เมื่อพระพี่ชายสึกแล้วได้ย้ายไปอยู่กุฏิที่พระพี่ชาย เคยอยู่๒ ซึ่งอยู่เดี่ยวโดดใกล้โบสถ์มีกำแพงกั้น และใกล้กับกุฏิ ท่านเจ้าคุณพระเทพกิตติเมธี สมัยเมื่อท่านยังเป็นพระมหาสิริ ความเจ็บป่วยเป็นสิ่งบั่นทอนกำลังกายและกำลังความสามารถ เป็นอันมาก ต้องเข้าโรงพยาบาลก็หลายครั้ง เมื่อไปเรียนที่สภา การศึกษามหามกุฏฯแล้ว บางคราวก็ป่วยหนัก ท่านอาจารย์ไป เฝ้าดูแลด้วยความห่วงใยและพูดด้วยความเป็นห่วงว่า “คุณอย่า เอาชีวิตไปทิ้งเสียที่สภาการศึกษาฯเลย” ข้าพเจ้านิ่งฟังด้วยความ ๒ ปัจจุบันทางวัดได้รื้อออกหมดแล้ว


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๒๙

รู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจของท่าน แต่นึกในใจว่า “เราได้ก้าวไปแล้ว ย่อมมีคติเป็นสองคือสำเร็จหรือตาย” ความมีโรคภัยไข้เจ็บมากและห่วงใยในการศึกษาเล่าเรียน จึงทำให้บกพร่องไปบ้างในกิจวัตรประจำวัน เช่น การสวดมนต์ ไหว้พระเช้า-เย็น ที่พระสงฆ์ไปร่วมกันทำในโบสถ์ ตอนเย็นทำไม่ ได้อยู่แล้วเพราะไปเรียนหนังสือกลับมาค่ำ แต่ตอนเช้าก็อยาก สงวนเวลาไว้อ่านหนังสือโดยเฉพาะพระไตรปิฎก และหนังสือ อื่นๆ ที่เป็นความรู้ เพราะพอหลังเที่ยงก็ต้องเดินทางไปเรียน หนังสือที่สภาการศึกษาฯ จิตใจมุ่งมั่นอยู่ว่าจะหาความรู้ใส่ตัวไว้ ให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทำงานเผยแผ่พระธรรมในโอกาสหน้า ซึ่ง จะต้องใช้ความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำ ท่านอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าคือ ท่านเจ้าคุณพระอโนมคุณมุนี ซึ่งต่อมาได้เป็นพระธรรมวราลังการนั้น เป็นพระเถระที่มี เมตตาสูง ท่านอาจารย์ก็เข้าใจข้าพเจ้าจึงให้อภัยไม่ถือสาต่อ ความบกพร่องของข้าพเจ้าในเรื่องนี้ มีอยู่คราวหนึ่งอายุประมาณ ๒๓ หรือ ๒๔ ข้าพเจ้าป่วย หนัก ฝันไปว่ามีบุรุษสองคนลักษณะเหมือนยมทูตมาพาข้าพเจ้า ไป ให้ข้าพเจ้านั่งเรือตรงกลางลำ เขาสองคนพายหัวพายท้าย พา ข้าพเจ้าไป ณ ที่แห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าพบท่านผู้หนึ่งเหมือนยมบาล ในฝันว่าข้าพเจ้าเป็นพระ พอเห็นข้าพเจ้า ท่านผู้นั้นก็ดุบุรุษสอง คนที่พาข้าพเจ้าไปว่า “พาท่านมาทำไม? ให้ท่านอยู่ประกาศ


๓๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ศาสนาสั่งสอนประชาชน” บุรุษสองคนนั้นจึงรีบพาข้าพเจ้ากลับ โดยทางเรืออย่างเดิม ข้าพเจ้าตื่นขึ้นจึงรู้ว่าฝันไป และคิดว่าเป็น นิมิตหมายที่ดี กิจนิมนต์ต่างๆ เช่น สวดมนต์ฉันเพลนอกวัด ไม่ค่อยได้ไปเพราะเสียดายเวลาและเหตุที่ไม่ค่อยสบาย ส่วนกิจ นิมนต์ในวัดนั้น ถ้ามีผู้มานิมนต์ก็จะถามว่า พระอื่นที่ยังไม่ได้ นิมนต์มีหรือไม่ ถ้าเขาบอกว่ามีก็จะให้ไปนิมนต์พระอื่นก่อน จนกว่ามีพระไม่พอแล้วจึงจะรับนิมนต์ การสวดศพไม่เคยไป เพราะที่วัดไม่มีเมรุ ชีวิตจึงขลุกอยู่กับตำราและหนังสือต่างๆ เมื่อบวชเป็นพระแล้วไม่ค่อยได้ออกบิณฑบาต มีคุณน้าสำอาง ชูเกษ และคุณแม่เติม กล้วยไม้ ณ อยุธยา ส่งเสียอุปถัมภ์อยู่ คุณน้าสำอางนั้นให้ลูกบุญธรรมชื่อ จิตยา ประดิษฐ์ อายุเท่ากับ ข้าพเจ้ามาส่งอาหารทั้งเช้าและเพล ตอนเย็นก็จะมีน้ำปานะมา ถวายตามฤดูกาลของผลไม้ บางวันคุณน้าสำอางก็มาเองและถือ โอกาสสนทนาธรรมด้วย คุณน้าสำอางมีเพื่อนสนิทอยู่คนหนึ่งชื่อ คุณน้าทิพวรรณ มาฟังธรรมที่วัดด้วยกันเสมอๆ โดยเฉพาะใน วันพระ คุณแม่เติมนั้นส่วนมากจะมาตอนเพล มีอาหารมาเพียง พอสำหรับพวกเราที่อยู่ที่นั้นประมาณ ๓-๔ รูปและเด็กๆ ด้วย ข้าพเจ้ารู้จักคุณน้าสำอางเมื่อประมาณอายุ ๑๘ ยังเป็น สามเณรอยู่ เสียงเล่าลือที่ว่าข้าพเจ้าเป็นสามเณรที่เรียนเก่ง ทำให้คุณน้าสนใจ จึงได้นิมนต์ให้รับบิณฑบาตที่บ้านเป็นประจำ ข้ า พเจ้ า ก็ ไ ด้ ไ ปเยี ่ ย มเยี ย นคุ ณ น้ า เสมอเมื ่ อ ว่ า ง คุ ณ น้ า ย้ า ย ครอบครัวมาจากนครปฐมด้วยความจำเป็นบางประการ ลูกคุณ น้า ๓ คน ชาย ๑ หญิง ๒ ล้วนแต่เรียนหนังสือดีๆ จบจาก


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสามคน เมื่อลูกเรียนจบแล้วได้ ทำงานแล้ว คุณน้าค่อยสบายขึ้น คุณแม่เติมนั้นเป็นพยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อนกับคุณแม่ริ้ว สืบศิริ คุณแม่เติมแต่งงานกับหม่อมหลวงปาน กล้วยไม้ มาเป็น โยมอุปัฏฐายิกาคือเป็นเจ้าภาพ๓ เมื่อข้าพเจ้าบวชพระ โดยคำ แนะนำของท่านเจ้าคุณพระเทพกิตติเมธี (สิริ ฐานยุตฺโต) เมื่อได้ เป็นเจ้าภาพบวชข้าพเจ้าแล้ว ชอบใจที่ข้าพเจ้าเป็นคนเฉยๆ นิ่งๆ คุณแม่เรียกข้าพเจ้าว่าเป็น ‘พระไม่ยิ้ม’ พูดเสียงเบา ท่านเจ้าคุณ ธรรมรัตนดิลก (อาคม) เคยพูดถึงข้าพเจ้าให้ข้าพเจ้าได้ยินว่า “อยู่กันมา ๗ ปี ไม่เคยได้ยินเสียงเขาหัวเราะเลย” ส่วนท่านเอง นั้นหัวเราะเสียงดัง จนบางคราวคนจีนที่ขายของอยู่ข้างวัด วิ่งมา ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นี่เป็นคำเล่าของท่านเอง ไม่ใช่ข้าพเจ้าเพิ่ม เติมเสริมต่อแต่ประการใด คุณแม่เติม บ้านอยู่ปากคลองตลาดใกล้โรงเรียนราชินี อุตส่าห์ข้ามเรือจากปากคลองตลาดมาวัดบุปผารามแทบทุกวัน พร้อมด้วยอาหารอันค่อนข้างมาก บางวันก็นั่งรถสามล้อมา ตลอดเวลา ๑๐ ปีที่ข้าพเจ้าบวชเป็นพระ ท่านทั้งสองได้ทำกิจที่ ทำได้ยากแก่ข้าพเจ้า ผู้ซึ่งมิใช่ลูกหลานและพงศ์พันธุ์แต่ประการ ใด จึงขอจารึกพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย คุณแม่เติมมีลูกชาย ๒ คน คนหนึ่งคือคุณทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นนักวิชา การที่สังคมส่วนมากรู้จักและยังติดต่อกับข้าพเจ้าอยู่จนกระทั่ง บัดนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ๓ ตอนนั้นคุณแม่ริ้ว สืบศิริ มีปัญหาชีวิตหลายอย่าง ฐานะจึงเปลี่ยนแปลงไป

๓๑


๓๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เมื่อข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่ มีลูกศิษย์มากแล้วทั้งพระและ ฆราวาส เขามักจะพูดกันว่าข้าพเจ้าเป็นผู้มีเมตตาและให้อภัยแก่ ผู้น้อย ทั้งนี้ข้าพเจ้าคิดและระลึกอยู่เสมอว่า เมื่อข้าพเจ้ามีข้อ บกพร่องมากมายสมัยยังหนุ่มนั้น ได้อาศัยเมตตาและการให้ อภัยของท่านอุปัชฌายอาจารย์ จึงได้นำพาชีวิตให้ตลอดรอดฝั่ง มาได้จนเป็นอยู่ได้เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ข้าพเจ้าระลึกถึง ท่านมหาตมะคานธีซึ่งเป็นผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาและการให้อภัย เพราะเหตุที่คราวหนึ่งท่านทำผิด เข้าไปขอโทษคุณพ่อ คุณพ่อ ของท่านโอบกอดท่านพร้อมด้วยน้ำตาซึมและให้อภัย สิ่งนั้น ประทับใจท่านคานธีตลอดมา ข้าพเจ้ามั่นใจว่าเมตตาและการให้ อภัยจะชนะทุกสิ่งในระยะยาว ข้าพเจ้าระลึกถึงสุภาษิตอังกฤษ บทหนึ่งอยู่เสมอ คือ To err is human, to forgive devine. แปลว่า การทำผิดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นเรื่อง ของเทวดา หมายความว่า เมื่อใดเราให้อภัยแก่ผู้อื่น เมื่อนั้น

เราเป็นเทวดา เราควรให้อภัยแก่ตัวเองบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ บ่อยนัก เพื่อไม่ซ้ำเติมตัวเองมากเกินไป เมื่อบวชเป็นพระแล้ว ความเป็นอยู่ค่อยดีขึ้น จากการ อุปถัมภ์ดูแลของคุณแม่เติม กล้วยไม้ ณ อยุธยา และคุณน้า สำอาง ชูเกษ และญาติโยมคนอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อนๆ ผู้ ไปมาหาสู่มักจะทักว่า มีน้ำมีนวลดีขึ้นกว่าสมัยเป็นสามเณร เมื่อ เป็นสามเณรนั้นผอมมาก-ผอมจนตัวเขียว แก้มตอบ เมื่อแขม่ว ท้องท้องจะลึกโบ๋ลงไปเหมือนรูปเคียวด้านคม ถ้าคนอ้วนลงพุงก็ จะตรงกันข้าม เพราะความผอมและบอบบางจึงมักนุ่งสบง ๒


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๓๓

ชั้นเพื่อให้ดูไม่ผอมเกินไป ใครๆ มักจะทักว่าแก่เกินวัย และดูแก่ กว่าพระพี่ชายเสียอีก ซึ่งอายุห่างกันประมาณ ๑๐ ปี ท่าน อาจารย์ก็เป็นคนผอมเหมือนกัน แต่ท่านอายุมากแล้วจึงไม่ เป็นการแปลก ช่วงระยะอายุ ๒๐ กว่าๆ นี้ มีเด็กลูกศิษย์มาอยู่ด้วย ๓-๔ คน คือ นิวิต หะนนท์ มาเรียนโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อจบแล้วกลับ ไปจังหวัดสงขลา เป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่โรงเรียนวรนารีเฉลิม จนเกษียณอายุ ปัจจุบนั อายุ ๖๗ อันทีจ่ ริงนิวติ หะนนท์ มา อยู่กับข้าพเจ้าตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ข้าพเจ้าเป็นเด็กรุ่นพี่อยู่ที่วัดภูต บรรพตตอนเรียนชั้น ป.๓ ป.๔ แยกกันเมื่อข้าพเจ้ามากรุงเทพฯ โฆษิต นามสกุลอะไรจำไม่ได้ มาเรียนที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ จะเรียนจนจบหรือไม่ จำไม่ได้ เพราะเขาไม่ค่อย สบาย เป็นคนขี้วิตกกังวล กลับไปอยู่สงขลา ทราบว่าเสียชีวิต

ตั้งแต่ยังหนุ่ม ผดุง ชฎารัตน์ มาเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ ต่อมาเข้าแพทย์ศิริราชได้ จบแพทย์ศิริราชแล้วไปอยู่อเมริกานาน ปี ตอนนี้กลับมาอยู่เมืองไทยแล้ว สร้างบ้านอยู่ที่เกาะยอสงขลา วิจิตร ชฎารัตน์ น้องชายของผดุง มาเข้าเรียนโรงเรียน อำนวยศิลป์เหมือนกัน หลังจากผดุงปีหรือสองปีจำไม่แม่น ถ้าจำ ไม่ ผ ิ ด เรี ย นจบกฎหมายที ่ ธ รรมศาสตร์ แ ล้ ว ไปอยู ่ อ เมริ ก า


๓๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ จนบัดนี้ ลูกศิษย์รุ่นนั้นมาถึงบัดนี้อายุ ๖๐ กว่ากันแล้วทั้งนั้น คุณเกรียงศักดิ์ แสงเจริญ และคุณสุวรรณ ปุ่นอภิรัตน์ สนิทสนมกับข้าพเจ้าตั้งแต่เป็นสามเณรด้วยกัน และเป็นพระ ด้วยกัน รุ่นราวคราวเดียวกัน เกิดปีเดียวกัน คุณสุวรรณเรียน จบมหาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ มหามกุ ฏ ฯ แล้ ว สึ ก ไปทำงานกรม ประชาสงเคราะห์ จนได้ เ ป็ น ประชาสงเคราะห์ จ ั ง หวั ด คุ ณ เกรียงศักดิ์นั้นเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ มหามกุฏฯได้เพียงเตรียม ปีที่ ๒ แล้วสอบ ม.๘ ได้ไปเข้าเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จบแล้วเป็นอัยการจนเกษียณอายุ ทั้งสองคนนี้ สอบบาลีได้เปรียญ ๕ เขามักจะมาคุยกับข้าพเจ้าเสมอที่กุฏิของ ข้าพเจ้า คุณเกรียงศักดิ์นั้นมาฉันอยู่ด้วยเลย ส่วนมากเขาเป็น คนคุยข้าพเจ้าเป็นคนฟัง เวลามีเรื่องขัดแย้งกันบ้างเกี่ยวกับ เหตุการณ์บ้านเมือง เขามักจะพูดกันว่าข้าพเจ้าจะรู้อะไร มัวอ่าน แต่พระไตรปิฎก ข้าพเจ้าก็ได้แต่หัวเราะเบาๆ เห็นว่าจริงของเขา เหมือนกัน การเรียนบาลีในยุคนั้นสนุกสนานครื้นเครง เพราะมีผู้ เรียนมากทั้งพระและสามเณรจนสำนักเรียนบุปผารามมีชื่อเสียง กระฉ่อนไปไกล จึงมีพระภิกษุสามเณรมาอยู่กันมากขึ้น


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๓๕

เมื่อมาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ v

v

ข้าพเจ้าขอเล่าเรื่องที่ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ เมื่อได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์แล้วก็ไปสอบเข้าเรียน ปรากฏ ว่า สอบเข้ าได้ มีพ ระภิก ษุ สามเณรที ่ส อบเข้า ได้ คราวนั้ น ดู เหมือน ๙๑ รูป ใช้เวลาเรียน ๗ ปี ชั้นบุรพศึกษา ๑ ปี เตรียม ๒ ปี เป็นนักศึกษา ๔ ปี เรียนที่ตึกมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็น ตึก ๒ ชั้นหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ปัจจุบันนี้เป็นสำนักงานแม่กอง ธรรมสนามหลวง และดูเหมือนจะเป็นสมาคมโหรฯด้วย ปีนั้นจะ เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษารุ่นที่ ๑๐ มหาวิทยาลัย สงฆ์ เปิดเรียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เรียนอยู่ที่หน้าวัด ๒ ปี พอถึงปี ๒๕๐๑ ตึกมหาวิทยาลัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็สร้างเสร็จ เป็นตึก ๓ ชั้น และย้ายมาเรียนที่ตึกนี้ กว้างขวางสะดวกสบาย ขึ้น ที่สภาการศึกษาฯนี้นอกจากได้เรียนวิชาต่างๆ มากมายแล้ว ยังได้มีเพื่อนฝูงจากวัดต่างๆ มากมาย ทั้งธรรมยุตและมหา นิกาย หูตากว้างขวางขึ้น รู้สึกเพลิดเพลินต่อการศึกษาเล่าเรียน ได้ความรู้ใหม่ๆ แปลกๆ ได้พบครูบาอาจารย์มากมาย เช่น อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ อาจารย์นาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต อาจารย์เสถียร โพธินันทะ อาจารย์ศิริ พุทธศุกร์ เป็นต้น อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ บรรยายวิชาพระสูตร ในชั้น ต้นคือชั้นบุรพศึกษา และชั้นสุดท้ายคือชั้นปีที่ ๔


๓๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ อาจารย์นาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต สอนวิชาพระสูตร ในชั้นปีที่ ๑ และ ๒ ฯลฯ อาจารย์เสถียร โพธินันทะ บรรยายวิชาพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ลีลาของท่าน สนุกสนานตื่นเต้น เสียงดัง จำแม่นอย่างหาใครเสมอเหมือนได้ ยาก เข้าห้องสอนไม่เคยนั่ง ไม่เคยมีตำราติดมือเข้ามาเลย อาศัย ความจำของท่านอย่างเดียว พูดได้ตลอด ๑ ชั่วโมงหรือ ๒ ชั่วโมง เป็นผู้ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่อย่างปอนๆ การแต่งกาย ไม่เคยตามโลกเลย นุ่งกางเกงเก่าๆ ใส่เสื้อฮาวาย เท่านี้ก็ไปได้ ทุกหนทุกแห่ง แต่ไม่เคยมีใครรังเกียจท่านเพราะการแต่งตัวของ ท่าน เคยมีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งเชิญท่านไปปาฐกถา ขอร้องให้ ท่านแต่งชุดสากลไป ท่านบอกว่า “จะฟังผมหรือจะฟังชุดสากล” จำไม่ได้ว่าผู้เชิญตอบอย่างไร ตกลงคงไม่ได้ไป สมัยนั้นอาจารย์ มหาวิทยาลัยมักนิยมแต่งชุดสากลเวลาไปบรรยายในห้องเรียน หรือปาฐกถาในห้องประชุม ความรู้ของอาจารย์เสถียรหลั่งไหล เหมือนเกลียวน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำน่าอัศจรรย์จริงๆ ไม่เคยเรียน ในมหาวิทยาลัยใด ไม่มีปริญญาใดๆ น่าเสียดายที่ท่านอายุสั้น เพียง ๓๘ เท่านั้น คืนหนึ่งอาบน้ำสระผมเข้านอน แล้วไม่ตื่น

อีกเลย ไม่ได้เป็นโรคอะไร ข้าพเจ้าได้เรียนกับท่านอยู่ ๒ ปี ต่อ มาเมื่อข้าพเจ้าเขียนหนังสือเรื่อง ‘พุทธปรัชญามหายาน’ ได้อุทิศ ส่วนดีของหนังสือเรื่องนี้ให้แก่ท่าน เพื่อเป็นเครื่องบูชาพระคุณ ของท่านบ้างตามสมควร อาจารย์เสถียร โพธินันทะ อายุมากกว่า ข้าพเจ้า ๘ ปี ถ้ายังมีชีวิตอยู่ถึงเวลานี้ อายุท่านก็ ๘๐ พอดี


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๓๗

อาจารย์ศิริ พุทธศุกร์ สอนวิชาภาษาอังกฤษ เป็นผู้อยู่ อย่างเรียบง่ายและปอนเหมือนกัน รูปร่างผอมบาง ชอบนุ่ง กางเกงสีกากีใส่เสื้อขาวแขนยาว เข็มขัดผ้า (ไม่ใช่เข็มขัดหนัง) รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาล ถุงเท้าสีน้ำตาลพับลงมาครึ่งหนึ่ง เครื่อง แต่งตัวของท่านมีเท่านี้ทุกวัน บ้านท่านอยู่บางพลัดฝั่งธนบุรี ท่าน เดินจากบางพลัดข้ามสะพานกรุงธนฯไปวัดบวรนิเวศฯ ระยะทาง ไม่ น ้ อ ยเลย ทุ ก วั น ที ่ ม ี ก ารสอน ท่ า นไม่ เ คยเข้ า เรี ย นใน มหาวิทยาลัยใด ไม่เคยมีปริญญา ที่เรียนในโรงเรียนจริงๆ ก็คือ ชั้น ม.๗ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล แต่ความรู้ภาษาอังกฤษของ ท่านมากมายเหลือเกิน ทั้งกว้างขวางและลึกซึ้ง ท่านแปลหนังสือ ธรรมะภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษมากมาย ตั้งแต่หนังสือของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หนังสือ ของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และแม้หนังสือของข้าพเจ้าผู้เป็น ศิษย์ของท่าน คือเรื่อง ‘หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา (พุทธปรัชญาเถรวาท)’ เมื่อองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ได้ออกหนังสือวารสารภาษาอังกฤษชื่อหนังสือ W.F.B. (The World Fellowship of Buddhists) ได้เชิญท่าน ไปเป็นบรรณาธิการ นับว่าภาษาอังกฤษของท่านอยู่ในระดับโลก ทีเดียว ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกในระยะนั้น

ก็คือ ท่านหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล และต่อมาก็เป็นศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ข้าพเจ้าเรียนภาษาอังกฤษกับท่านอยู่ ๔ ปี ตั้งแต่เป็นนัก ศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๔ ได้ความรู้ที่เป็นหลักและเป็นเนื้อเป็นหนัง


๓๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ จนใช้ภาษาอังกฤษได้บ้าง ก็เพราะได้อาศัยการสั่งสอนอย่างเอา จริงเอาจังและหวังความเจริญในวิชาการทางภาษาอังกฤษของ ท่าน ต่ อ มาภายหลั ง เมื ่ อ ข้ า พเจ้ า จบปริ ญ ญาโทจากประเทศ อินเดียแล้ว ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งคือ ‘จริยศาสตร์’ ได้อาศัย ตำราภาษาอังกฤษเป็นหลักสำคัญเวลาเขียน จึงได้อุทิศส่วนดี ของหนังสือเล่มนั้นให้อาจารย์ศิริ พุทธศุกร์ ในฐานะผู้ประสาท ความรู้ภาษาอังกฤษแก่ข้าพเจ้า จนสามารถอาศัยตำราภาษา อังกฤษเป็นหลักเขียน ‘จริยศาสตร์’ ขึ้นมาได้ พูดได้ว่าเป็น หนังสือจริยศาสตร์เล่มแรกในวงการศึกษาไทย วิธีสอน อาจารย์ศิริมักจะพิมพ์ข้อความ ซึ่งมีเนื้อหาเป็น ความรู้ทั่วไปบ้าง มีเนื้อหาเป็นธรรมะบ้าง มาแจกให้นักศึกษา แปลในห้องเรียน เมื่อนานวันเข้าชีตก็ค่อยๆ หนาขึ้นมากขึ้น เพื่อนร่วมชั้นของข้าพเจ้าหลายท่านไปหาข้าพเจ้าที่วัดบุปผาราม เพื่อช่วยกันแปลข้อความต่างๆ ในชีตที่ได้รับแจกนั้น เพื่อว่าเมื่อ ถึงเวลาอาจารย์ให้แปลในชั้นเรียนก็จะแปลได้โดยไม่ถูกอาจารย์ ดุ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจว่าจะแปลบทเรียนทั้งหมดด้วยตัวเอง แล้วพิมพ์แจกเพื่อนนักศึกษาด้วยกัน เพื่อเพื่อนๆ จะได้ไม่เสีย เวลาเดิ น ทางไปที ่ ว ั ด บุ ป ผาราม ในการนี ้ ต ้ อ งได้ ร ั บ รองจาก อาจารย์ก่อน เมื่อแปลแล้วจึงได้ส่งให้อาจารย์ตรวจ บางคราวก็ ไปหาท่านที่บ้านตั้งแต่เช้าและฉันเพลที่นั่น


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๓๙

เพือ่ นนักศึกษารูส้ กึ สบายใจทีไ่ ด้อาศัยคูม่ อื ซึง่ ข้าพเจ้าได้ทำ ด้วยความพากเพียร และข้าพเจ้าก็ภมู ใิ จทีไ่ ด้ทำงานนี้ เพือ่ นๆ ชมว่า ข้าพเจ้าแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยได้ดี ทัง้ นีน้ า่ จะเป็นเพราะข้าพเจ้า รู้จักใช้ภาษาไทยให้สละสลวย และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ แต่งหนังสือในระยะต่อมา แต่ในทางตรงกันข้ามคือการแปลภาษา ไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นข้าพเจ้าทำได้ไม่ค่อยดี คิดว่าเป็นเพราะ ความรูใ้ นภาษาอังกฤษยังไม่แข็งพอนัน่ เอง จึงสูเ้ พือ่ นบางคนไม่ได้ท่ี ชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษ พูดและเขียนได้คล่อง มีบางท่านที่ พูดและเขียนได้คล่องเหมือนกันแต่ไม่ถกู จึงถูกอาจารย์ดเุ อาบ่อยๆ ทำให้ไม่ค่อยชอบใจอาจารย์นัก ทั้งนี้เพราะคิดเอาเองว่าเพราะตัว เขียนและพูดถูกแล้ว การเรียนภาษาอังกฤษกับท่านอาจารย์ศริ ิ ทัง้ หนักและเหน็ด

เหนือ่ ย หลายคนท้อแท้ หมดความพยายาม ออกไปเสียก็มี หลาย ท่านพอใจเพราะได้ความรูเ้ พิม่ ขึน้ ทุกครัง้ ทีไ่ ด้เรียน ข้าพเจ้าอยูใ่ น ประเภทหลังนี้ แม้จะไม่เก่งเท่าเพือ่ นบางคน แต่กพ็ อใจทีไ่ ด้ความรู้ เพิม่ ขึน้ บางคราวข้าพเจ้าฝีมอื ตกลงได้คะแนนน้อย ท่านจะออกมา เตือนทีห่ น้าห้องเป็นส่วนตัว ท่านหวังดีตอ่ ข้าพเจ้าเสมอมา ซึง่ จะเล่า อีกข้างหน้า สำหรับวิชาพระสุตตันตปิฎกและวิชาที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ข้าพเจ้าได้คะแนนดีพอสมควรเสมอ เมื่อเป็นนักศึกษาปีที่ ๓ ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยซึ่งท่านศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกสมาคมฯอยู่ ได้ขอมาทางมหาวิทยาลัยสงฆ์


๔๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เพื่อได้พระนักศึกษาสักรูปหนึ่งไปสอนพระสูตรที่พุทธสมาคมฯ แก่ชาวบ้านผู้สนใจที่ห้องประชุมของพุทธสมาคมฯ ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งข้าพเจ้าไปสอนในตอนเย็นวันพุธ อาจารย์สัญญา มานั่งฟังด้วยเสมอถ้าท่านว่าง จากผู้ฟังกลุ่มน้อยๆ ค่อยๆ เพิ่ม มากขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านไปจนเกือบเต็มห้องประชุม ข้าพเจ้าใช้ พระไตรปิฎกเป็นหลักในการสอน สอนอยู่ประมาณ ๓ ปี เมื่อ ข้าพเจ้าลาสิกขาแล้วจึงได้เลิกไป ในปีที่ ๒ ที่ไปสอน ทางพุทธสมาคมฯขอให้เปิดสอนวิชาบาลีขึ้นด้วย แต่ทำอยู่ได้ไม่นานก็ ต้องปิดลง ด้วยเหตุอะไรจำไม่ได้เสียแล้ว ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย นอกจากได้รู้จักอาจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ แล้วยังได้รู้จักผู้พิพากษาอื่นๆ อีกหลายท่าน ได้รู้จักนักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ เช่น คุณประมูล อุณหธูป และภริยา คือ ครูประยงค์ศรี อุณหธูป อาจารย์โรงเรียนราชินี ต่ อมาได้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี และคุณอบ ไชยวสุ

คุ ณ ประมู ล เป็ น นั ก เขี ย น นั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ อยู ่ ท ี ่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐทั้งรายวันและรายสัปดาห์ มีหนังสือเล่ม หนึ่งของคุณประมูล เป็นเรื่องแปลให้ชื่อว่า ‘จ้าวแม่ทองดำ (โอเพียม เวนเจอร์)’ โดย เจอรัลด์ สแปร์โรว์ คุณประมูลได้มอบ หนังสือเล่มนั้นให้ข้าพเจ้า พร้อมด้วยเขียนว่า “ขอน้อมให้อาจารย์วศิน อินทสระ ผู้พาผมไปถึงพระธรรม ด้วยความเอิบอิ่มเป็นท่านแรก ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๕ ”


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔๑

๗ ปีในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ข้าพเจ้าเทียวไปเทียวมาระหว่าง วัดบุปผารามกับวัดบวรนิเวศฯซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ด้วย ความยากลำบาก ด้วยความอดทน โรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียน การเดินทางก็ลำบาก เพราะต้องขึ้นรถเมล์ทั้งไปและกลับ นานๆ ครั้งจึงจะได้อาศัยรถแท็กซี่ของอาจารย์เรียบ รังษีพงศ์ นักศึกษา รุ่นพี่ซึ่งได้สำเร็จไปก่อนแล้วไปทำงานที่มหาวิทยาลัย มีสิทธิ์เบิก ค่ารถได้ รถแท็กซี่เวลานั้นเป็นรถออสตินท้ายตัด นั่งไม่สบาย เหมือนรถแท็กซี่เวลานี้ แต่ก็ดีกว่าขึ้นรถเมล์ ซ้ำรองเท้าก็ไม่ได้ สวมเพราะวัดธรรมยุตห้ามสวมรองเท้าออกนอกวัด จึงต้องเดิน เท้าเปล่ามาขึ้นรถเมล์ที่ถนนใหญ่เชิงสะพานพุทธฯ เที่ยงๆ ร้อน เท้าน่าดู ขากลับมาขึ้นรถที่บางลำพู ก็ยากลำบากเหมือนกัน เพราะพระมากด้วยกัน ต้องคอยให้เก้าอี้หลังสุดว่างจึงขึ้นไปได้ เวลาฝนตกยิ่งลำบากใหญ่ บางคราวก็เดินข้ามสะพานพุทธฯ จำไม่ได้ว่าเพราะอะไร ได้กลิ่นไก่ย่างที่เขาย่างขายอยู่ใต้สะพาน ฝั่งธนฯ ยวนนาสิกเสียนี่กระไร ความหิวซึ่งมีอยู่บ้างแล้ว กลิ่น ไก่ย่างกระตุ้นให้หิวมากขึ้น ช่วงหลังๆ นี้ตอนเย็นหิวทุกวันเพราะ สุขภาพไม่ดี แต่พอเช้าขึ้นมาก็หาย ได้อาศัยน้ำปานะที่คุณน้า สำอางให้เด็กนำไปถวาย พอประทังไปได้บ้าง แต่ถ้าหิวตอนดึกก็ เป็นอันสิ้นหวัง บางคืนหิวจนนอนไม่หลับ นมหรือโอวัลตินไม่ ต้องพูดถึง เพราะพระธรรมยุตห้ามฉันในเวลาวิกาล คือตั้งแต่ เที่ยงไปแล้ว น้ำหวานพอฉันได้แต่ไม่มีจะฉัน ที่กุฏิเกลี้ยงเกลา จากสิ่งบริโภค ตั้งแต่เพลแล้วก็ไม่ได้ฉันอะไรอีก ที่มหาวิทยาลัย สมัยนั้นก็ยังไม่มีอะไรเลยแม้แต่น้ำเปล่า


๔๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

นี ่ ค ื อ ความลำบากยากเข็ ญ ในสมั ย เป็ น พระนั ก ศึ ก ษา เพราะเคยมีประสบการณ์แบบนี้ เมื่อข้าพเจ้าเป็นอาจารย์อยู่ใน มหาวิทยาลัยสงฆ์จะถวายน้ำดื่มพระและผู้เรียนทุกครั้งที่เข้าสอน เมื่อเรียนจบแล้วและเป็นอาจารย์บรรยายวิชาแล้วจึงมักพูดให้ กำลังใจนักศึกษาเสมอว่า “เรียนไปให้จบเถิด จะไม่ตกต่ำถ้า ความประพฤติไม่เสีย เพราะความเพียรและความอดทนที่ท่าน ต้องใช้ระหว่างเรียนอยู่ที่นี่มีมากพอที่จะเป็นพื้นฐานของชีวิตให้ เจริ ญงอกงามต่อไป”

จำได้ ว ่ า เมื ่ อ เรี ย นอยู ่ ป ี ท ี ่ ๔ ได้ ร ั บ นิ ม นต์ ใ ห้ ไ ปทำ พจนานุกรมบาลี-ไทย-อังกฤษ โครงการของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรฯ เขาให้ชื่อ หน่วยงานว่า หน่วยวิจัยทางพระพุทธศาสนา กรมการศาสนา ทำงานช่วงเช้าตั้งแต่ ๐๙.๐๐ น. ไปถึง ๑๑.๐๐ น. ทุกวัน จะเว้น วันพระหรือวันอาทิตย์ จำไม่ได้ ให้นิตยภัตเดือนละ ๓๐๐ บาท นั่งแท็กซี่ไป-กลับเที่ยวละ ๗ บาท กลับมาฉันเพลที่วัด บ่ายก็ไป เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัย จะทำได้ถึงปีหรือไม่จำไม่ได้ กรม การศาสนาเปลี่ยนอธิบดีคนใหม่ คือ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์ ท่านสั่งให้เลิกงานหน่วยนี้ด้วยเหตุผลว่า งานอย่างนี้ไม่ใช่งาน วิจัยทางพระพุทธศาสนา คณะทำงานไปจากมหาวิทยาลัยมหา มกุฏฯบ้าง จากมหาจุฬาฯบ้าง เท่าที่มีเอกสารอยู่ในมือเวลานี้ ทำไปได้ถึงเล่มที่ ๖ คิดเป็นหน้าได้ ๙๖๐ หน้า หนังสือขนาด ๘ หน้ายกตัดสั้น (ยาว ๒๑ ซม. กว้าง ๑๕.๕ ซม.) คิดแล้วน่า เสียดาย ดูเหมือนว่ามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งก็ไม่ได้สานต่องาน นี้ หรือทางมหาจุฬาฯจะเอาไปทำต่อก็ไม่ทราบ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔๓

อาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ยังไม่ได้พูดถึง และควรจะพูดไว้ใน ที่นี้ก็คือ อาจารย์แสง จันทร์งาม เมื่อข้าพเจ้าเข้าศึกษานั้นท่านยัง เป็นพระอยู่ เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเก่งทางภาษาอังกฤษ เคย เข้าสอนข้าพเจ้าไม่กี่ครั้งเพราะงานท่านมากในตำแหน่งผู้บริหาร ท่านพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วและสำเนียงดีมาก ท่านสอบ ชิงทุนของบริติช เคาน์ซิลได้ ลาสิกขาแล้วไปเรียนต่อที่ประเทศ อั ง กฤษแล้ ว ไปต่ อ ปริ ญ ญาโทที ่ ม หาวิ ท ยาลั ย มิ ช ิ แ กน สหรัฐอเมริกา จบแล้วได้กลับมาทำงานที่มหามกุฏฯระยะหนึ่ง หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย อาจารย์วิชาจิตวิทยาของมหามกุฏฯ ได้ ย้ายไปเป็นคณบดีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ชวนอาจารย์แสง ไปด้วย อาจารย์แสงจึงไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะ มนุษยศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา จนได้เป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และเป็นศาสตราจารย์ มีศิษย์จากมหามกุฏฯหลายท่านไปทำงาน อยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์แสง จันทร์งาม ได้เขียน หนังสือไว้หลายเล่ม ที่รู้จักกันมากก็คือ ลีลาวดี ข้าพเจ้าเรียนจบในปีการศึกษา ๒๕๐๕ และได้รับปริญญา ในปี ๒๕๐๖ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต เวลานั้นยังไม่มีการ แยกคณะ เมื่อเข้าเรียนปีแรกประมาณ ๙๑ รูป เรียนไปค่อยๆ ออกกันไป เหลือปีสุดท้ายที่ได้รับปริญญาประมาณ ๒๔ รูป องค์ที่ชวนข้าพเจ้าว่าขอให้เรียนกันให้จบนะ ดูเหมือนออกไป ตั้งแต่เรียนได้ปีที่ ๒ ของ ๗ ปี การรับปริญญานั้นยังคงรับใน โบสถ์ของวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชฯเป็นผู้ประทาน ปริญญา


๔๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ข้าพเจ้าได้รับบรรจุให้เป็นอาจารย์สอนวิชาพระสุตตันตปิ ฎ ก ตั ้ ง แต่ ส อบเทอมสุ ด ท้ า ยเสร็ จ ยั ง ไม่ ป ระกาศผลสอบ ข้าพเจ้ารู้สึกประหลาดใจว่าเหตุไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ทบทวนไปมา ก็เข้าใจได้ว่า ท่านผู้ใหญ่ผู้จัดการศึกษาคงจะมั่นใจในตัวข้าพเจ้า จึงได้ทำไปเช่นนั้น ทำให้รู้สึกภูมิใจนิดๆ ว่า ท่านให้เกียรติเราถึง ปานนี้ มีเรื่องจะเล่าไว้เสียตอนนี้เลยก็ได้ว่า เมื่อข้าพเจ้าเรียนจบ และได้รับปริญญาแล้ว ก็ยังคงไปสอนพระสูตรอยู่ที่พุทธสมาคม แห่งประเทศไทย ทางประเทศเยอรมนีได้ติดต่อผ่านมาทาง ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ว่าขอพระไทยไปอยู่เยอรมนี สักรูปหนึ่ง ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ทาบทามขอให้ ข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าก็เต็มใจที่จะไป เรื่องถึงคณะธรรมยุต ผู้ใหญ่ ทางคณะธรรมยุตประชุมกัน มีสมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฺฐายี) ขณะนั้นดูเหมือนจะดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหา วี ร วงศ์ เป็ น ประธานประชุ ม ที ่ ห ้ อ งประชุ ม ของมหาวิ ท ยาลั ย ข้าพเจ้าไปนั่งฟังอยู่ด้วย มติที่ประชุมไม่อนุญาตให้ไป เหตุผลว่า ไปอยู่รูปเดียวจะอยู่ได้อย่างไร จะทำอุโบสถสังฆกรรมได้อย่างไร จะปลงอาบัติกับใคร เข้าใจว่าเวลานั้นพระสงฆ์ไทยในเยอรมนี

คงยังไม่มีเลย เป็นอันว่าการไปเยอรมนีเป็นอันยกเลิก


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔๕

เมื่อลาสิกขาและการงาน v

v

ข้าพเจ้าตัดสินใจลาสิกขาในเดือนมกราคม ๒๕๐๗ ได้ลา ท่านอุปัชฌาย์และท่านอาจารย์ ท่านไม่พูดอะไร ท่านอาจารย์ได้ กำหนดวันให้เป็นวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ดูเหมือนจะ เป็นเวลาเช้าหลังจากพระฉันอาหารแล้ว มีเสียงเล่าลือกันไปว่า ข้าพเจ้าน้อยใจที่ไม่ได้ไปเยอรมนีจึงสึก ความจริงไม่ใช่ ข้าพเจ้า ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะบวชอยู่เพียงเท่านี้ เมื่อมีผู้ถามว่าทำไมจึงสึก ข้าพเจ้าตอบอยู่ประโยคเดียวซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “ไม่อยากอยู่แล้ว” มีพระนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยจำนวนมากเสียดาย และบอกว่า พวกอาตมาสึกสักสิบองค์ยังดีกว่าอาจารย์สึกองค์เดียว แต่ ข้าพเจ้าคิดว่า น่าจะลองมาหาประสบการณ์ทางโลกดูบ้าง เพราะ บวชตั้งแต่เด็ก ไม่เคยใช้ชีวิตแบบฆราวาสมาเลย ยังไปสอนที่ มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯอยู่เป็นรายชั่วโมง ท่านเลขาธิการในสมัย นั้นคือ ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี หรือพระราชสุมนมุนีจำไม่ได้ แม่น คือสมเด็จพระญาณวโรดมองค์ปัจจุบัน ได้ถามข้าพเจ้า ด้วยความห่วงใยว่า หางานทำได้แล้วหรือยัง ข้าพเจ้าบอกว่ายัง ท่านบอกว่าควรจะหางานให้ได้เสียก่อนแล้วจึงค่อยสึก เพราะเรา เป็นผู้ใหญ่แล้ว ตกงานแล้วอายเขา แต่ข้าพเจ้าไม่ได้คิดอย่างนั้น ข้าพเจ้าไม่กล้าไปหางานตอนเป็นพระ แต่ก็รู้สึกขอบคุณท่านที่ หวังดี


๔๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ข้าพเจ้าพักอยู่ที่วัดที่กุฏิเดิมไม่กี่วัน ไปเยี่ยมคุณน้าลิ้ม วอนขอพร ที่วงเวียนใหญ่ มีบ้านหลังโตกว้างขวาง คุณน้าทราบ ว่ายังไม่มีที่อยู่จึงชวนให้มาอยู่ด้วย ให้ห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งเป็น ที่พักอาศัย สิ่งที่ข้าพเจ้ากลัวที่สุดในช่วงนั้น คือกลัวจะไม่มี สตางค์เสียค่ารถเมล์ เพราะสึกออกมาตัวเปล่าจริงๆ ไม่ได้สะสม เงินทองอะไรไว้เลย อาศัยรายได้เพียงเล็กน้อยที่ไปสอนพิเศษที่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ดูเหมือนจะชั่วโมงละ ๒๐ หรือ ๓๐ บาท จำไม่ได้ แต่ก็อยู่ในประมาณนั้น มหาวิทยาลัยสงฆ์เวลานั้นยัง ยากจนอยู่มาก รัฐบาลยังไม่รับรอง ยังไม่ได้งบประมาณช่วย เหลือจากรัฐบาล คงได้บ้างจากมูลนิธิมหามกุฏฯ และจากกรม การศาสนา อยู่ที่บ้านคุณน้าลิ้มไม่กี่เดือน ๒ หรือ ๓ เดือนจำไม่ ได้แม่น ย้ายไปเช่าบ้านที่ถนนนครไชยศรีระยะหนึ่ง แล้วย้ายไป ที่ถนนพิชัย ช่วงนั้นนอกจากสอนที่มหามกุฏฯแล้วยังได้ไปสอนที่ โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด โดยการเชิญของครูประยงค์ศรี และได้เขียนหนังสือลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ โดย การชักชวนของคุณประมูล อุณหธูป พอมีรายได้เพิ่มขึ้นบ้าง หนังสือที่เป็นเล่มตอนนั้นก็พิมพ์แล้ว ๒ เล่ม คือ ‘แสงเทียน’ และ ‘ชีวิตนี้มีอะไร’ อันที่จริงหนังสือ ๒ เล่มนี้ ข้าพเจ้าเคยเขียน ลงเป็นตอนๆ ในนิตยสารศุภมิตรรายเดือนมาแล้วตั้งแต่สมัยที่ เป็นพระ ข้าพเจ้าเขียนเรื่อง ‘พระอานนท์พุทธอนุชา’ ลงใน หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์อยู่นานหลายเดือน (๓๓ สัปดาห์) และต่อด้วยจอมจักรพรรดิอโศก


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔๗

ตอนที่เช่าบ้านอยู่ที่ถนนพิชัยนั้น เช่าอยู่คนละห้องกับ คุณไว ตาทิพย์ (ปรีชา ทิพยเนตร) ผู้เป็นเพื่อนนักศึกษารุ่น เดียวกันกับข้าพเจ้าที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ เขาชอบทำงาน หนังสือพิมพ์ สึกแล้วได้ทำงานหนังสือพิมพ์สมใจหมาย อยู่ สยามรัฐบ้าง ไทยรัฐบ้าง บางเช้าก็ออกไปวิ่งด้วยกันที่ลาน พระบรมรูปทรงม้า อยู่ที่บ้านเช่าได้ไม่นานนัก ทางโรงเรียนพาณิชยการสีลม ของอาจารย์ประชุม รัตนเพียร ต้องการอาจารย์ผู้ปกครอง จึง ติดต่อมาทางท่านเจ้าคุณมหานายก (แจ่ม อภิบาลศรี) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นพระบ้านเดียวกันกับอาจารย์ประชุม คือ จังหวัดตาก ท่านเจ้าคุณมองเห็นข้าพเจ้าว่าจะไปเป็นอาจารย์

ผู้ปกครองได้ จึงเสนอข้าพเจ้าแก่อาจารย์ประชุม ได้เงินเดือน ๙๐๐ บาท ระหว่างที่สอนอยู่ที่โรงเรียนพาณิชยการสีลมนั้น ทาง โรงเรียนเตรียมทหารต้องการอาจารย์สอนวิชาศีลธรรม ได้ติดต่อ ขออาจารย์สอนวิชาศีลธรรม ทราบว่าผ่านมาทางนาวาอากาศเอก ประยงค์ สุวรรณบุปผา อนุศาสนาจารย์กองทัพอากาศ ข้าพเจ้า ไม่ทราบยศในขณะนั้นของท่าน ว่าเป็นยศชั้นอะไร อาจารย์ ประยงค์ได้เสนอข้าพเจ้าไป อาจารย์ประยงค์เป็นศิษย์เก่ามหา มกุฏฯ รุ่น ๒ สำนักวัดราชประดิษฐ์ฯ ข้าพเจ้าได้ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปให้โรงเรียนเตรียมทหาร ข้าพเจ้าไม่ได้กระตือรือร้น แต่ประการใด นึกว่าได้ก็ดีไม่ได้ก็ไม่เป็นไรเพราะไม่ได้ไปสอบคัด


๔๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เลือก อยู่โรงเรียนพาณิชยการสีลมได้ ๑ เทอม ทางโรงเรียน เตรี ย มทหารก็ เ รี ย กตั ว นาวาเอก ประชุ ม อารี ร อบ รองผู ้ บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร ได้ไปตามข้าพเจ้าถึงที่อยู่ที่ ถนนพิ ชัย ต่อมาข้าพเจ้าได้ย้ายไปอยู่ที่หอพักธรรมนิวาสของวัด มกุฏกษัตริยารามฯ ตั้งอยู่ท้ายวัดมกุฏฯ ติดกับสถาบันโรค ผิวหนังของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน เป็นหอพักที่รับเด็ก นักศึกษาซึ่งมาจากต่างจังหวัดไม่มีที่พักมาสมัครเพื่อเข้าอยู่ เมื่อ ผ่านคณะกรรมการแล้วก็เข้าอยู่ได้ ทางวัดต้องการผู้ปกครอง บรรณาธิการนิตยสารศุภมิตร คือ คุณมนูญ ธารานุมาศ ได้เสนอ ข้าพเจ้า เมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้วจึงได้ติดต่อขอให้ข้าพเจ้า ไปอยู่เป็นผู้ปกครองนักศึกษา เท่ า ที ่ จ ำได้ นั ก ศึ ก ษาเวลานั ้ น ก็ ม ี จ ากจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น เช่น โกมล คีมทอง, สวัสดิ์ อมรสิทธิ์ ทางธรรมศาสตร์ เช่น สถิตย์ อรรถบลยุคล, วินัย ภักดี เป็นต้น นักเรียนแพทย์ศิริราชก็มี นักศึกษา อยู่ที่นั่นไม่ต้องเสียเงินค่าหอพัก แต่ต้องหากินเอง ข้าพเจ้าอยู่ ที่นั่นด้วยความรู้สึกมีความสุขสดชื่น อยู่ใกล้ท่านเจ้าคุณเทพ ปัญญากวี (บรรจง กลฺลิโต) ผู้ช่วยเลขาฯ สมเด็จพระสังฆราชฯ ในขณะนั้นเลขาฯสมเด็จพระสังฆราชฯ คือ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ในปัจจุบัน ขณะนั้นเป็นพระราชาคณะที่พระกิตติสารมุนี (ประจวบ กนฺตาจาโร) ข้าพเจ้าสนิทสนมกับท่านทั้งสองมาเป็น เวลานาน


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔๙

โรงเรียนเตรียมทหาร v

v

ที่โรงเรียนเตรียมทหาร ข้าพเจ้าได้พบ นาวาเอก ประชุม อารีรอบ ได้พบ พลตรี ปิยะ สุวรรณพิมพ์ (ยศในขณะนั้น) และ นายทหารอื่นๆ อีกมากมาย พลตรีปิยะและนาวาเอกประชุม เป็นนายทหารที่สุภาพและสง่างาม ตอนนั้นข้าพเจ้ายังแต่งกาย พลเรือนอยู่นานเท่าไรจำไม่ได้ ถูกไปฝึกทหารที่กรมการรักษา ดินแดนใกล้วัดโพธิ์ท่าเตียน พร้อมกับอาจารย์อุทัย ทันตสุวรรณ ซึ่ ง จบมาจากจุ ฬาลงกรณ์ ม หาวิท ยาลั ยสอนวิ ชาคณิ ตศาสตร์ ตอนหลังพลตรีปิยะได้ย้ายไปเป็นเจ้ากรมศึกษาวิจัย ได้เลื่อนยศ เป็นพลโทและพลเอกตามลำดับ ข้าพเจ้าไปฝึกวิชาทหารอยู่กี่วัน จำไม่ ไ ด้ คิ ด ว่ า ไม่ ถ ึ ง เดื อ น ตอนเย็ น ยั ง กลั บ ไปสอนที ่ ม หา วิทยาลัยมหามกุฏฯ ข้าพเจ้าคิดว่าข้าพเจ้าเป็นผู้มีร่างกายอ่อนแอ แต่มีบางคน อ่อนแอกว่าข้าพเจ้าอีกที่ไปฝึกทหารพร้อมกันจากหน่วยอื่นๆ ด้วย คิดว่าประมาณ ๓๐ คนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อรับยศเป็น ร้อยตรี ครูฝึกซึ่งเป็นนายสิบบ้างจ่าบ้างไม่ได้เข้มงวดอะไร เวลา วิ่งรอบสนามเขาจะบอกว่า “ใครไม่ไหวให้วิ่งออกจากแถว” มี หลายคนวิ่งออกจากแถวบ่อยๆ ข้าพเจ้าซึ่งคิดว่าตัวเองมีร่างกาย อ่อนแอ ไม่เคยวิ่งออกจากแถวเลย เวลาให้ยิงปืนทั้งปืนสั้นและ ปืนยาว ข้าพเจ้าไม่เคยยิงถูกเป้าเลย คงจะไม่ได้เกิดมาเพื่อถือปืน


๕๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เป็นทหารถือชอล์กและปากกา เป็นอันว่าฝึกทหารเสร็จเรียบร้อย ก็ได้ติดยศเป็นร้อยตรี เคยถามรองฯประชุม อารีรอบ ว่า “ไม่ต้องแต่งกายเครื่องแบบ ไม่ต้องติดยศได้ไหม?” ท่านบอกว่า “ไม่ได้” ท่านถามว่า “มียศไม่ดีหรือ? ไปไหนก็มีคนให้เกียรติและ เกรงใจ” ข้าพเจ้านิ่ง อัตราที่กองทัพเรือว่างข้าพเจ้าจึงได้รับบรรจุให้เป็นทหาร เรือ แต่พอข้าพเจ้ามาคุยกับพลตรีปิยะ ท่านถามว่า “อยากเป็นทหารบกหรือทหารเรือ” ข้าพเจ้าตอบว่า “อยาก เป็นทหารบก” ท่านจึงให้โอนมาเป็นทหารบก ท่านทำโดยวิธีใด ข้าพเจ้าไม่ทราบ ท่านเป็นผู้ใหญ่ในวงการทหารเรื่องทำนองนี้คง ทำได้ไม่ยาก รู้สึกว่ารองฯประชุมจะน้อยใจอยู่หน่อยๆ แต่เสร็จ แล้ ว ก็ แ ล้ ว กั น ไปท่ า นไม่ ไ ด้ เ อามาเป็ น อารมณ์ ที ่ น ั ่ น มี ร อง ผู้บัญชาการอยู่ ๓ ท่าน คือ นาวาเอก ประชุม อารีรอบ เป็นทหาร เรือ นาวาอากาศเอก สิงห์ ศิริคุปต์ เป็นทหารอากาศ พันตำรวจ โท เจือ จันทร์เพ็ญ เป็นรองฯฝ่ายตำรวจ เพราะที่นั่นเป็น นักเรียนรวมเมื่อจบแล้วต้องแยกย้ายกันไปเรียนในโรงเรียนนาย ร้อยทหารบก โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศและ นายร้อยตำรวจ ข้าพเจ้าเข้าไปสอนเมื่อปี ๒๕๐๘ เป็นนักเรียน เตรียมทหารรุ่นที่ ๘ เพราะโรงเรียนเตรียมทหารตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๐ พอดี ข้าพเจ้าสอนอยู่ที่นั่น ๔ ปี นอกจากงานสอนแล้วท่านผู้ บัญชาการยังให้เป็นหัวหน้ากองบังคับการ (หัวหน้า บก.) ซึ่งเป็น


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๕๑

เหมือนกองกลางของโรงเรียน คือ หนังสือราชการทุกฉบับจะเข้า หรือออกต้องผ่านมาทางหัวหน้า บก. ฟังดูเหมือนใหญ่แต่ความ จริงไม่ได้ใหญ่ เพราะข้าพเจ้ามียศเป็นเพียงร้อยตรีเท่านั้นเอง หัวหน้ากองวิชาการ หัวหน้ากองการปกครอง ท่านเป็นพันเอกกัน ทั้งนั้น หัวหน้า บก. ในความหมายของข้าพเจ้าที่ข้าพเจ้าทำอยู่ เท่ากับหัวหน้าแผนกสารบัญกระมัง? และก็น่าจะเป็นอย่างนั้น นอกจากงานเกี่ยวกับหนังสือนี้แล้ว ข้าพเจ้ายังได้รับมอบหมาย จากท่านผู้บัญชาการให้ร่างสุนทรพจน์สำหรับท่านปราศรัยใน โอกาสต่างๆ เช่น โอวาทนักเรียนเตรียมทหารในห้องประชุม เป็นต้น ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานนี้ ท่านผู้บัญชาการจะ ไม่อ่านสุนทรพจน์ในที่ประชุม แต่จะจับสาระสำคัญไปพูดปาก เปล่าโดยไม่ดูต้นฉบับ การเข้าไปอยู่ในโรงเรียนเตรียมทหาร ข้าพเจ้ารู้สึกว่าได้เข้า มหาวิ ท ยาลั ย ที ่ ส ำคั ญ อี ก แห่ ง หนึ ่ ง ทำให้ ข ้ า พเจ้ า ได้ ม ี ประสบการณ์มากมายในอาณาจักรที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เข้าไปอยู่ และไม่เคยขวนขวาย พลเอกปิยะนั้นมีบุคลิกที่น่าประทับใจอย่าง ยิ่ง สมเป็นผู้นำ คำสั่งของท่านชัดเจนและรู้จักให้เกียรติผู้น้อย ท่ า นเป็ น นายทหารที ่ เ ป็ น นั ก การศึ ก ษาและเป็ น นั ก จิ ต วิ ท ยา ข้าพเจ้ายังนึกถึงภาพของท่านได้อยู่ เมื่อข้าพเจ้านำงานเข้าไปส่ง ท่านจะกล่าวคำ “ขอบคุณ” ทุกครั้งและไม่เคยรุกรานผู้น้อย ข้าพเจ้าน่าจะเป็นคนโชคดีในเรื่องนี้ คือเจอแต่ผู้ใหญ่ที่ดีๆ มี ความเอ็นดูและความปรานีต่อข้าพเจ้าอย่างดีเสมอมา


๕๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ปี ๒๕๑๑ ข้าพเจ้าได้เลื่อนยศเป็นร้อยโท ไปติดยศที่ กระทรวงกลาโหมพร้อมกับอาจารย์อุทัย ทันตสุวรรณ และนาย ทหารจากที่อื่นๆ ด้วย แม้ข้าพเจ้าจะคิดว่าการเป็นทหารอยู่ที่นี่ดี แต่คิดอยู่เสมอว่า นี่ไม่ใช่ทางของเรา จึงคิดจะลาออกอยู่เสมอ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๕๓

เมื่อแต่งงาน v

v

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๒ ข้าพเจ้าแต่งงานกับ สมจิตต์ นุ่มบุญนำ ซึ่งตอนนั้นเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ เชิ ง สะพานกรุ ง ธนฯฝั ่ ง ธนบุ ร ี แต่ ง ที ่ โ รงเรี ย นเตรี ย มทหาร ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ให้เกียรติไปสวมมงคล พลเอก ปิยะ สุวรรณพิมพ์ เป็นผู้ถอดมงคล เชิญแขกแต่

พอสมควร เลี้ยงที่สโมสรโรงเรียนเตรียมทหาร ปลายปี ๒๕๑๒ ข้าพเจ้าตัดสินใจลาออกและขอลาออก ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ เมื่อส่งใบลาออกแล้วได้เข้าไป คุยกับผู้บัญชาการ ท่านพูดกับข้าพเจ้าหลายอย่าง มีบางประโยค ที่จับใจไม่รู้ลืม ระลึกอยู่เสมอ และเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตที ่

ดีงาม ไม่ให้ท่านผู้ใหญ่เสียความตั้งใจ ลืมเล่าไปอย่างหนึ่งว่า เมื่อข้าพเจ้าแต่งงานแล้วได้ย้ายจาก หอพักธรรมนิวาสไปอยู่ที่อาคารสงเคราะห์กองทัพบก ซึ่งอยู่ที่ ถนนประชาธิปไตย ตรงกันข้ามกับหอพักธรรมนิวาสนั่นเอง นาย ทหารคนหนึ่งเขามีสิทธิ์อยู่ แต่เขาไม่ได้อยู่จึงให้ข้าพเจ้าไปอยู่ เสียเงินเพียงเล็กน้อย


๕๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ข้าพเจ้าขอย้อนกลับมาที่หอธรรมนิวาสอีกนิดหนึ่ง คือเมื่อ ตอนทำงานอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหารนั้น ข้าพเจ้ายังพักอยู่ที่หอ ธรรมนิวาส มีรถเล็กๆ คันหนึ่งขับไปทำงาน จอดที่ซอกตึก ระหว่างหอธรรมนิวาสกับสถาบันโรคผิวหนัง ตรงกันข้ามกับ หอธรรมนิวาสเป็นตำหนักสมเด็จพระสังฆราชฯ หลังตำหนัก สมเด็ จ พระสั ง ฆราชฯเป็ น สำนั ก งานนิ ต ยสารศุ ภ มิ ต ร ใกล้ สำนักงานนิตยสารศุภมิตรมีป้อมยามตำรวจอยู่อารักขาสมเด็จ พระสังฆราชฯ คืนหนึ่งประมาณตีสามมีขโมยมาขโมยรถของข้าพเจ้า กำลังเข็นออกไป ตำรวจชื่อเบ็ญจาเล่าให้ฟังว่า เขากำลังหลับ ได้ยินเสียงเหมือนมีคนปลุกว่า “เบ็ญจา เบ็ญจา ลุกขึ้น มีคนมา ขโมยรถ” เขาลุกขึ้นมาดูก็เห็นขโมยกำลังเข็นรถอยู่ แต่ไม่เห็น ใครอื่นจึงจับไว้ได้คนหนึ่ง อีกคนหนึ่งจะจับได้ต่อมาหรือไม่จำไม่ ได้ สมเด็จพระสังฆราชฯก็เสด็จลงมาดูด้วย ตำรวจส่งเรื่องฟ้อง ศาล ข้าพเจ้าในฐานะเป็นเจ้าของรถจึงต้องไปให้การที่ศาลด้วย เป็นครั้งแรกที่ขึ้นศาลและไม่เคยขึ้นอีกเลย ปรากฏว่าขโมยซึ่ง เป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งติดคุก เมื่อไปศาลข้าพเจ้ายังเห็นเขาถูก ล่ามโซ่มาให้การต่อหน้าผู้พิพากษา ก่อนหน้าที่จะเกิดเรื่องนี้ ไม่ทราบกี่วันหรือกี่เดือน ข้าพเจ้า ฝันไปว่าตอนเช้าลงมาเปิดกระโปรงรถเพื่อจะดูหม้อน้ำ ดูน้ำกลั่น เป็นต้น มองไปที่เครื่องปรากฏว่า เครื่องรถเป็นพระพุทธรูปทั้ง องค์ พระพักตร์หันไปทางหน้ารถ เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ สวยงามมากแถมยังตรัสได้เสียอีก ท่านตรัสว่า “ใช้ไปเถอะรถคัน นี้ ไม่เป็นไรหรอก”


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๕๕

ไม่กี่วันต่อมา ข้าพเจ้าขับรถไปทางสะพานควาย มีเด็กคน หนึ่งวิ่งตัดหน้ารถอย่างกะทันหัน เด็กอายุประมาณ ๑๕ ข้าพเจ้า มองไปที่หน้ารถไม่เห็นเด็ก เข้าใจว่าเด็กคงเข้าไปอยู่ใต้ท้องรถ เสี ย แล้ ว รี บ เปิ ด ประตู ร ถออกไปดู เด็ ก ลุ ก ขึ ้ น จากตรงไหน ไม่ทราบปัดฝุ่นแล้ววิ่งไป มีผู้คนจับตาดูกันมาก ตำรวจก็มาถึง ข้าพเจ้าได้ให้นามบัตรตำรวจไว้ บอกว่าถ้าเด็กเป็นอะไรให้ตาม ข้าพเจ้าตามนามบัตรนี้ วันเวลาล่วงไปปรากฏว่าเงียบหายไปเลย แต่ในที่สุดข้าพเจ้าก็จำเป็นต้องขายรถคันนี้ ตอนที่ข้าพเจ้า ไปศึกษาที่อินเดียเป็นเวลา ๒ ปี เพราะแม่บ้านยังขับรถไม่ได้


๕๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

เมื่อไปศึกษาต่อที่อินเดีย v

v

โชคดีที่ตอนนั้นเมื่อข้าพเจ้าอยู่ที่อาคารสงเคราะห์กองทัพ บกชั้น ๒ ผลงานการเขียนหนังสือของข้าพเจ้าได้แพร่หลายไป มากแล้ว มีรายได้พอเลี้ยงตัวได้ ประกอบกับรายได้จากการสอน พิเศษก็ยังพอมีอยู่ ข้าพเจ้าคิดว่าไหนๆ ก็ลาออกมาแล้ว ควรจะ ไปเรี ย นต่ อ จึ ง ตั ด สิ น ใจว่ า จะไปเรี ย นต่ อ ที ่ ป ระเทศอิ น เดี ย ระหว่างนั้นนอกจากเขียนหนังสือ, สอนพิเศษแล้ว ก็เตรียมตัว เพื่อไปอินเดีย ข้าพเจ้าแต่งงานเมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๑๒ พอ ๒๗ เมษายน ๒๕๑๓ ข้าพเจ้ามีลูกชาย ๑ คน คือ วรัตต์ หรือ โก้ ข้าพเจ้าจำเป็นต้องไปอินเดียประมาณ สิงหาคม ๒๕๑๓ จึงจำเป็นต้องให้แม่บ้านและลูกไปอยู่กับพี่ชายของเขาชั่วคราว ที่ ถนนพิบูลสงคราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี คือที่บ้านพี่จำนงค์ นุ่มบุญนำ ซึ่งเป็นพี่คนโตของแม่บ้าน ได้ย้าย มาปลูกบ้านใหม่ ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในการช่วยปลูกด้วย พี่ จำนงค์บอกว่าถ้าย้ายออกเมื่อไหร่ก็จะคืนเงินให้และก็ได้ทำตาม นั้นเมื่อข้าพเจ้าและแม่บ้านได้ย้ายออกไปจากที่นั่น จำไม่ได้ว่าได้ ย้ายมาอยู่ที่บ้านพี่จำนงค์คืนอาคารสงเคราะห์เขาไปในเดือนใด


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๕๗

คงประมาณสัก ๒ เดือนก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางไปอินเดีย ที่ บ้านนี้อยู่กันหลายคนพอช่วยกันเลี้ยงเด็กได้ และมีพี่น้องของ แม่บ้านปลูกบ้านอยู่ใกล้กันอีก ๒ หลัง นับว่าอบอุ่นสำหรับ

แม่บ้านและลูกชายพอสมควร


๕๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

มหาวิทยาลัยพาราณสี v

v

ข้าพเจ้าและคณะ มีอาจารย์เที่ยง นันโท และคุณประสิทธิ์ ประถมของ เป็นต้น กับพระอีกหลายรูป ออกเดินทางในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๓ โดยเครื่องบินของการบินไทย (ไทยอิน- เตอร์) ไปลงที่กัลกัตตา พักอยู่ที่กัลกัตตาชั่วระยะหนึ่งแล้วนั่ง รถไฟไปมหาวิ ท ยาลั ย พาราณสี หรื อ เรี ย กเป็ น ทางการว่ า Banaras Hindu University หรือใช้อักษรย่อว่า B.H.U. เรื ่ อ งไปเรี ย นที ่ อ ิ น เดี ย นี ้ ข้ า พเจ้ า ได้ เ ขี ย นไว้ ค ่ อ นข้ า ง ละเอียดแล้ว ในหนังสือชื่อ ‘อันความกรุณาปรานี’ หนา ๓๖๘ หน้า ซึ่งในหนังสือนั้นต้องขอเรียนท่านทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ข้าพเจ้าเขียนเป็นทำนองสารคดีอิงนิยาย หรือจะเรียกว่านิยายอิง สารคดีก็คงจะได้ เพราะฉะนั้นจึงมีเรื่องที่จริงบ้าง เรื่องที่สร้างขึ้น มาบ้าง๑ ไม่ใช่จริงทั้งหมดและไม่ใช่สร้างขึ้นมาทั้งหมด ถ้าท่านทั้ง หลายเข้าใจตามนี้ ข้าพเจ้าก็สบายใจที่จะแนะนำให้ท่านอ่าน มหาวิทยาลัยพาราณสีนั้นสะอาดและสวยงามมาก ต้นไม้ ร่ ม ครึ ้ ม ไปหมด กว้ า งขวางใหญ่ โ ต ข้ า พเจ้ า ได้ พ ั ก ที ่ ห อพั ก

นักศึกษานานาชาติ ห้องที่ ๓๗ เลข ๗ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง กับข้าพเจ้าเป็นอันมาก เช่น เกิด พ.ศ. ๒๔๗๗ เรียนบาลีได้ ๑ เช่น เปรม สุจินดา ซึ่งเป็นผู้เล่าเรื่อง เรียนไม่จบ แต่ข้าพเจ้าเรียนจบ เป็นต้น


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๕๙

เปรียญ ๗ บวชพระ พ.ศ. ๒๔๙๗ ลาสิกขาปี ๒๕๐๗ เรียน มหาวิทยาลัยสงฆ์อยู่ ๗ ปี ฯลฯ ๒ ปีที่มหาวิทยาลัยพาราณสีและที่อินเดีย ได้ให้ความรู้ และประสบการณ์แก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก ไม่เสียทีที่ตัดสินใจไป แม้ตอนแรกๆ จะขลุกขลักเดือดร้อนอยู่บ้าง แต่ก็ลงตัวได้ใน ที่สุด รศ.สุวรรณ เพชรนิล ได้เขียนจดหมายไปให้กำลังใจกับ ข้าพเจ้าว่า เมื่อเรียนจบแล้ว ข้าพเจ้าจะนำวิชาความรู้มาใช้ ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนาและในประเทศไทยได้มากที่สุด เนื่องจากตอนที่เดินทางไปนั้น ข้าพเจ้ามีเงินติดตัวไปเพียง เล็กน้อย เงินที่เสียค่าเครื่องบินก็ดูเหมือนจะยืมมหาวิทยาลัย สงฆ์ไป จำไม่ได้ว่าจำนวนเท่าไรแต่คงจะไม่ถึงหมื่น คิดว่ากลับมา แล้วจะผ่อนส่งให้ ข้าพเจ้าไปเรียนด้วยทุนของตนเอง แต่ก็ไม่มี ทุน จึงจำเป็นต้องเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย งานของข้าพเจ้าก็ คือเขียนหนังสือส่งมาพิมพ์ในประเทศไทย ได้เงินแล้วทางบ้านก็ จะเอาไว้ใช้บ้าง ส่งไปให้ข้าพเจ้าบ้าง เวลานั้นพิมพ์อยู่สำนักพิมพ์ เดียวคือสำนักพิมพ์บรรณาคาร ส่งต้นฉบับมาเท่าไร เรื่องอะไร เขารับพิมพ์หมด ขอขอบคุณสำนักพิมพ์บรรณาคารไว้ ณ ที่นี้ ด้วย ข้าพเจ้าเขียนหนังสือได้ประมาณ ๗ หรือ ๘ เล่ม แต่ละเล่ม ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ หน้าโดยเฉลี่ย บางเล่มก็เกือบ ๖๐๐ หน้า เช่น ทางแห่งความดี เล่ม ๑ เป็นงานหนักมิใช่น้อย เพียงแต่เรียนอย่างเดียวก็หนักมาก อยู่แล้ว เพราะตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจารย์สอน


๖๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เป็นภาษาอังกฤษ ฟังรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ต้องจำหัวข้อว่าท่าน พูดเรื่องอะไร แล้วมาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือ ตำรา พร้อม ทั้งทำโน้ตย่อไว้ด้วย ข้าพเจ้ารู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากเพราะทั้งสอง อย่างเป็นงานหนักทั้งนั้น เวลานั้นข้าพเจ้าอายุ ๓๕ แล้ว สุขภาพ ก็ไม่ได้แข็งแรง บางวันตอนเช้าๆ ได้ออกไปวิ่งบ้าง ตอนเย็น ตีแบดมินตันบ้าง แต่กท็ ำได้เล็กๆ น้อยๆ นักเรียนไทยในพาราณสี มีมากพอสมควรทั้งพระ ฆราวาสและผู้หญิงด้วย ที่ไปเรียน ปริญญาตรีก็มี ปริญญาโทก็มี ที่ทำปริญญาเอกอยู่ก็มี เท่าที่ จำได้เมื่อข้าพเจ้าไปนั้น สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตา จาโร) ขณะนั้นเป็นพระกิตติสารมุนีทำปริญญาเอกอยู่ จากมหาจุฬาฯก็มี คือ ท่านมหาสังวร พรหมเสน ทำปริญญาเอกอยู่ จบ ปริ ญ ญาเอกแล้ ว ลาสิ ก ขาไปเป็ น อาจารย์ ท ี ่ ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ข้าพเจ้าทั้งเรียนและทั้งเขียนหนังสือเพื่อหาทุนในการ ศึกษา ค่าหอพัก และค่าอาหารจนนิ้วบางนิ้ว คือ นิ้วกลางมือขวา เป็นตุ่มแข็งขึ้นมาและเจ็บเล็กน้อยจึงต้องใช้ปลาสเตอร์พันไว้ ตลอดเวลา ๒ ปี กลับมาอยู่เมืองไทยแล้วก็ยังไม่หาย แต่ตอนนี้ (๒๕๔๙) ได้หายแล้ว หนังสือที่เขียนในระยะนั้น เช่น ‘ทางแห่ง ความดี’ บางเล่ม ‘สาระสำคัญแห่งมงคล ๓๘’ (๒ เล่ม) ‘อัน ความกรุณาปรานี’ ‘ธรรมและชีวิต’ เป็นต้น เพื่อนผู้หวังดีบางคนได้เตือนข้าพเจ้าว่า มัวมานั่งเขียน หนังสืออยู่เดี๋ยวสอบตกไม่ได้กลับเมืองไทย ข้าพเจ้ารับคำเตือน


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

เพียงแต่ยิ้มให้เขา แต่ในใจก็นึกว่า เขาไม่รู้ถึงความจำเป็นของเรา ถึงอย่างไรก็ขอบคุณที่หวังดี สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เขียนหนังสือก็คือ ชอบที่จะ เขียน ได้ความรู้อะไรแล้วก็อยากจะเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้รู้ด้วย ขอ สารภาพไว้ในที่นี้ว่า ไฟคือความอยากรู้และการเผื่อแผ่ความรู้ ลุกโพลงอยู่เสมอในจิตใจของข้าพเจ้าไม่เคยมอดดับไปเลย แม้ จนกระทั่งบัดนี้ (๒๕๔๙) เมื่อข้าพเจ้าอายุถึง ๗๒ แล้ว

๖๑


๖๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

กลับเมืองไทย v

v

เมื่อสอบปลายปีของปีที่ ๒ เสร็จแล้ว รอฟังผลสอบอยู่ชั่ว ระยะเวลาหนึ่ง ประกาศผลออกมาว่าสอบได้หมดทุกวิชา ก็ เตรียมตัวเดินทางกลับ ข้าพเจ้าจำได้ว่ามาถึงเมืองไทยเดือน กรกฎาคม ๒๕๑๕ วันที่เท่าไรจำไม่ได้ แต่จำความรู้สึกได้ว่า เมื่อ เครื่องบินร่อนลงที่สนามบินดอนเมืองนั้น รู้สึกอบอุ่นและมีความ สุขเสียนี่กระไร การไปอยู่ต่างประเทศเสีย ๒ ปี ทำให้รู้สึกรัก เมืองไทยขึ้นอีกมาก แม่บ้านไปคอยรับที่สนามบินดอนเมือง มา พักที่บ้านพี่จำนงค์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง ลูกชายอายุ ๒ ขวบกว่าอบอุ่น อยู่ในหมู่ญาติ ข้าพเจ้ายังไม่มีอะไรทำเป็นชิ้นเป็นอัน ก็เขียน หนังสือไปเรื่อยๆ จำได้ว่าจับเขียน ‘ทางแห่งความดี’ เล่ม ๒ ใน ตอนนี้ ไปสอนพิเศษที่มหามกุฏฯบ้าง เขียนหนังสือบ้าง ก็พอยัง อัตภาพให้เป็นไปได้ เช้าวันหนึ่งนั่งรถเมล์ไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีจุดหมายปลาย ทาง ไปถึงหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งใจว่าจะนั่งเล่นใน มหาวิทยาลัยสักพักหนึ่ง พอลงรถก็ได้ยินเสียงเรียกข้างหลัง เหลียวไปดู เห็นคุณจำ ธรรมฤทธิ์ เป็นรุ่นลูกศิษย์ เคยเกื้อกูล เขามาบ้างพอสมควร เขาชวนคุยเรื่องนั่นเรื่องนี่อยู่พักหนึ่ง เขาทำงานขับรถทัวร์บริษัทอะไรจำไม่ได้ เอาสมุดบัญชีธนาคาร


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

๖๓

ให้ดู บอกว่าตอนนี้เขาพอมีสตางค์ขึ้นบ้างแล้ว ถ้าข้าพเจ้าจะใช้ก็ ยินดีให้ยืม ข้าพเจ้าตกลงยืมเขา ๑ หมื่น ตกลงจะผ่อนส่งคืน เขาเดือนละเท่าไรจำไม่ได้ เงิน ๑ หมื่นสมัย พ.ศ. นั้นก็ไม่น้อย สำหรับข้าพเจ้า ให้ดอกเบี้ยเขาบ้างเล็กน้อย ได้เงินค่าเขียน หนังสือ ‘ทางแห่งความดี’ เล่ม ๒ มา ๘ พัน รวมกันเป็น ๑ หมื่น ๘ พันบาท พอจะปลูกบ้านเล็กๆ ได้ในสมัยนั้น (๒๕๑๖) พอดี ตอนที่ข้าพเจ้ายังอยู่ที่อินเดียนั้น แม่บ้านได้เช่าที่ไว้แปลงหนึ่ง ๕๔ ตารางวา จึงเอาเงินดังกล่าวมาปลูกบ้านชั้นเดียวเล็กๆ อยู่ได้ ๓ คนพ่อ-แม่-ลูก เป็นบ้านหลังแรกที่ข้าพเจ้ามีและคิดว่าคงจะ เป็นหลังสุดท้าย รู้สึกมีความสุขขึ้นพอประมาณ บ้านห่างจาก บ้านพี่จำนงค์เพียงมีคูคลองเล็กๆ คั่นกลาง มีสะพานไม้ข้ามเดิน ถึงกันได้ เมื่อปลูกบ้านเสร็จแล้วอยู่อาศัยได้แล้ว ได้เชิญคุณจำ ธรรมฤทธิ์ และเพื่อนของเขามาเลี้ยงอาหารเย็นเพื่อตอบแทนเขา ในน้ำใจอันดีงาม๑ มิฉะนั้นข้าพเจ้าคงไม่มีทางสร้างบ้านได้ใน ระยะนี้ คุณน้าสำอาง ชูเกษ ได้ทราบข่าวว่าสร้างบ้านก็มาเยี่ยม ชมว่าข้าพเจ้าเก่ง กลับจากอินเดียไม่กี่วันก็ปลูกบ้านได้ ข้าพเจ้า ก็ได้แต่หัวเราะเบาๆ รั้วรอบบ้านยังเป็นไม้ระแนงอยู่ ด้านตะวัน ตกเป็นท้องร่องสวนซึ่งปัจจุบันนี้เป็นลานที่จอดรถของโรงเรียน อนุบาลเพื่อนเด็ก งูเงี้ยวก็เลื้อยเข้าออกได้ ห้องอาบน้ำอยู่นอก ตัวบ้านติดกับรั้ว พื้นห้องอาบน้ำเป็นพื้นระดับเดียวกับพื้น บริเวณบ้าน ตัวบ้านยกพื้นสูงขึ้น ตักน้ำจากตุ่มอาบ ๑ คุณจำบอกว่า ข้าพเจ้าเคยเกื้อกูลเขาหลายครั้งเมื่อเขาขาดแคลน สมัยที่ข้าพเจ้าพักอยู่ที่

หอพักธรรมนิวาส


๖๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ มีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้ารู้สึกร้อนรนกระวนกระวายที่จะไปให้ เลือดแก่โรงพยาบาล จึงได้ไปที่โรงพยาบาลวชิระ เขาแนะนำให้ ไปให้ที่สภากาชาดฯ แต่จำไม่ได้แม่นว่าได้ให้ที่นั่นหรือไปที่สภา กาชาดฯ แต่จำได้ว่าได้ให้เลือดแล้วแน่นอน กลับมาสบายใจ เพราะได้ทำสิ่งที่อยากทำ วันรุ่งขึ้นตอนสายๆ ข้าพเจ้าลงไป อาบน้ำ งูสีน้ำตาลตัวใหญ่โผล่หัวออกมาจากใต้ตุ่มใกล้ขาของ ข้าพเจ้าประมาณ ๒ คืบ ข้าพเจ้าขึ้นจากห้องอาบน้ำเอาไม้ยาวไป แหย่ๆ ดู มันก็เลื้อยไปยังท้องร่องสวน ข้าพเจ้านึกทบทวนดู โยงไปถึงเหตุการณ์เมื่อวันวานว่า ทำไมข้าพเจ้าจึงร้อนรนกระวนกระวายนักในการที่จะไปให้เลือด ถ้าไม่ได้เอาเลือดออกเสียตั้งแต่เมื่อวาน วันนี้คงถูกงูกัดเอาเลือด ออกแน่ และแถวนี้มีงูพิษเช่น งูกะปะ เป็นต้น งูตัวนั้นคงเป็น งู ก ะปะและตั ว ใหญ่ เ สี ย ด้ ว ย โบราณท่ า นบอกว่ า ให้ เ ชื ่ อ แรง สังหรณ์ไว้บ้าง ข้าพเจ้าคิดว่าแรงสังหรณ์ก็คือ อานุภาพของ จิตใต้สำนึกนั่นเอง วันหนึ่งข้าพเจ้าตื่นแต่เช้าประมาณตีห้า นึกอะไรขึ้นมาก็ไม่ ทราบ บอกแม่บ้านให้จัดของใส่บาตรสักสองสามองค์ ธรรมดา ไม่ได้ใส่ทุกวัน ใส่บ้างเว้นบ้าง แต่วันนั้นบอกว่าให้จัดของใส่ บาตร เมื่อแม่บ้านถามว่า ทำไม ข้าพเจ้าก็คงยืนยันอยู่อย่างเดิม และให้เขาเป็นคนใส่บาตรด้วย เขาก็ทำตาม เสร็จแล้วนั่งรถ สองแถวไปทำงาน กลับมาตอนเย็นเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า เมื่อรถไป ถึงหน้าวัดปากน้ำ รถชนกัน เขานั่งคู่ไปกับคนขับ กระจกแตกลง


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

มาท่วมตัว แต่ไม่เป็นอะไร ไม่บาดเจ็บ เขาเลยเข้าใจว่าทำไม เมื่อเช้าจึงรุกเร้าให้เขาไปใส่บาตร เกี่ยวกับเรื่องศาลพระภูมิ ที่บ้านไม่ได้ตั้งศาลพระภูมิ เมื่อ สร้างบ้านเสร็จแล้วข้าพเจ้าก็จุดธูปบูชาเทวดา และน้อมนึกว่า ถ้ามีเทวดาอารักษ์อยู่บริเวณนี้ ท่านจะอยู่ตรงไหนในบ้านนี้ก็ได้ ทั้งนั้น ไม่ได้ทำบ้านเล็กๆ ให้อยู่ แต่ใครจะสร้างศาลพระภูมิไว้ใน บ้าน ข้าพเจ้าก็ไม่คัดค้าน ไม่ว่าอะไร

๖๕


๖๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ที่หอสมุดแห่งชาติ v

v

วันหนึ่ง ไปหานาวาเอก สมภพ ภิรมย์ อธิบดีกรมศิลปากร ที่กรมศิลปากร ท่านมีท่าทีดีใจที่ได้พบ ถามว่าได้งานที่ไหน ทำแล้วหรือยัง เรียนท่านว่ายังไม่มีแต่สนใจงานหอสมุดแห่งชาติ ท่ า นหยิ บ กระดาษสมุ ด ฉี ก ขึ ้ น มาแล้ ว เขี ย นจดหมายถึ ง ผู ้

อำนวยการหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเวลานั้นคืออาจารย์แม้นมาศ ชวลิต ให้พิจารณารับข้าพเจ้าไว้ นาวาเอกสมภพรู้จักกับข้าพเจ้า ตั้งแต่สมัยที่ข้าพเจ้าอยู่ โรงเรียนเตรียมทหาร ท่านเป็นสถาปนิกออกแบบก่อสร้างตึก โรงเรียนเตรียมทหารที่ถนนพระรามสี่ ใกล้สวนลุมพินี ท่านมา เยี่ยมโรงเรียนเตรียมทหารบ่อย ชอบอ่านหนังสือของข้าพเจ้าโดย เฉพาะเรื ่ อ งพระอานนท์ ฯ ทราบว่ า ข้ า พเจ้ า มาอยู ่ โ รงเรี ย น เตรียมทหารแล้ว มีโอกาสได้พบกันและคุ้นเคยกันตั้งแต่นั้นมา เมื่อข้าพเจ้าเรียนอยู่ที่อินเดีย ท่านไปทำธุระที่อินเดียแล้วแวะมา ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี ได้พบกันอีก คุยกันอยู่นาน มีอยู่ ประโยคหนึ่งซึ่งท่านพอใจที่ข้าพเจ้าพูด คือ ข้าพเจ้าพูดว่า “เมื่อ อยู่อินเดียได้ กลับไปเมืองไทยอยู่ที่ไหนก็ได้” อธิ บ ดี ก รมศิ ล ปากรเป็ น ผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชาระดั บ สู ง ของ หอสมุดแห่งชาติ ข้าพเจ้าไปสมัครงานที่หอสมุดแห่งชาติ ทางหอ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

สมุดฯมีท่าทียินดีรับไว้ แต่ต้องสอบตามระเบียบของข้าราชการ พลเรือน ข้าพเจ้าสอบได้เพราะสอบคนเดียว ข้อสอบเท่าที่จำได้ คือ ให้เขียนบทความสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่า เป็นเรื่องอะไร ตอนนั้นกลับจากอินเดียใหม่ๆ ยังพอเขียนได้ เพราะเขียนตอบข้อสอบภาษาอังกฤษที่อินเดียมาพอสมควรและ ยังใหม่อยู่ ถ้าให้มาเขียนเดี๋ยวนี้คงเขียนไม่ได้ เพราะเป็นเวลาถึง ๓๕ ปีมาแล้วเกือบจะไม่ได้เขียนภาษาอังกฤษเลย ได้อ่านบ้าง ตามสมควร แต่ตอนนี้ก็อ่านไม่ได้เพราะตาไม่ดี ข้าพเจ้าเขียน บันทึกนี้เมื่ออายุ ๗๒ แล้ว ตอนที่เข้าทำงานที่หอสมุดแห่งชาติ นั้นอายุ ๓๗ ตำแหน่งเป็นวิทยากรโท งานแรกๆ ที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ทำ คือ การทำ บัญชีหนังสือ เดือนเดียวข้าพเจ้าก็ลาออก ผู้อำนวยการบอกว่า มาอยู่เดือนเดียวลาออกเดี๋ยวอธิบดีจะตำหนิท่าน ข้าพเจ้าจึง ยับยั้งอยู่ ท่านบอกว่า ชอบอยู่ห้องไหนแผนกไหนให้เลือกเอง ข้าพเจ้าจึงเลือกเอาห้องศาสนาและปรัชญา ซึ่งคิดว่าถูกกับนิสัย ของตัว แต่ไม่ได้ทำอะไรมากนอกจากดูแลหนังสือ แนะนำผู้มาใช้ บริการ อยู่มาได้ ๖ เดือนข้าพเจ้าก็ขอลาออกอีก ตอนนี้ตั้งใจ แน่นอนว่าจะต้องออกเด็ดขาด รู้สึกว่าข้าพเจ้าเสียเวลาไปทั้งวัน ในการมาทำราชการ ถ้าเป็นอย่างนี้ข้าพเจ้าไปทำงานของข้าพเจ้า เองน่าจะเหมาะกว่า เพราะเวลานั้นข้าพเจ้าก็ยังเขียนหนังสือออก เผยแพร่อยู่ ทั้งยังไปสอนพิเศษอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ ข้าพเจ้าไปหาท่านอธิบดีกรมศิลปากร เล่าให้ท่านฟังถึงการงานที่

๖๗


๖๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ทำและความรู้สึกนึกคิดของข้าพเจ้า ท่านไม่ว่าอะไร ท่านเข้าใจ และพูดอะไรบางอย่างที่ข้าพเจ้าปลื้มใจและภูมิใจ ลืมเล่าไปเรื่องหนึ่งว่า ในขณะที่ข้าพเจ้าทำราชการอยู่ที่ หอสมุดแห่งชาตินั้น ท่านอธิบดีสมภพ ภิรมย์ ได้มอบหนังสือ ภาษาอังกฤษ ‘รามเกียรติ์สำหรับเยาวชน’ มาให้เล่มหนึ่ง บอกว่า ช่วยแปลให้ด้วย ข้าพเจ้าแปลจนจบ เสียดายว่าข้าพเจ้าไม่ได้ถ่าย เอกสารไว้ พอส่งต้นฉบับให้ท่านอธิบดีแล้วก็เป็นอันหมดไปเลย หนังสือต้นฉบับเห็นอยู่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เอง แต่ตอนนี้หาไม่เจอ หนังสือขนาด ๘ หน้ายก ความหนาไม่เกิน ๑๐๐ หน้า


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ประจำที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ v

v

ระหว่างที่ข้าพเจ้าลาออกจากหอสมุดฯแล้วแต่ยังไม่ถึงวัน กำหนดออกนั้น ทางมหาวิทยาลัยสงฆ์ทราบข่าว จึงได้ส่งพระให้ มาติดต่อที่หอสมุดฯ คือ พระมหาอภิชาญ๑ เลขานุการสำนักงาน อธิการบดี ซึ่งในเวลานั้นเรียกสำนักงานเลขาธิการ ให้มาติดต่อ ขอให้ไปอยู่เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งเวลานั้น ท่านเจ้าคุณพระเทพโมลี (ประจวบ กนฺตาจาโร) เป็นเลขาธิการ อยู ่ ปั จ จุ บ ั น คื อ สมเด็ จ พระพุ ท ธชิ น วงศ์ ๒ ข้ า พเจ้ า ออกจาก หอสมุดแห่งชาติก็ไปเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทันที คิดว่าประมาณเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๗ การไปทำงานที ่ ม หาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ น ั ้ น เฉพาะตอนบ่ า ย ประมาณบ่ายโมงถึงหกโมงเย็น ไม่มีงานอื่นนอกจากงานสอน สอนวิ ช าปรั ช ญา ศาสนา ตรรกศาสตร์ พุ ท ธฯ จริ ย ศาสตร์ เป็นต้น ช่วงเช้ามีเวลาว่างได้เขียนหนังสือและเขียนได้มาก ส่วน มากเริ่มตั้งแต่ตีห้าจนถึงห้าโมงเช้า แล้วเตรียมตัวไปสอนที่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ ทำอยู่อย่างนี้นานปี ๑ ปัจจุบันคือ ผศ.อภิชาญ ปานเจริญ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒ มรณภาพแล้ว เมื่อ ๓ มกราคม ๒๕๕๑

๖๙


๗๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ดูเหมือนปี ๒๕๑๗ นั้นเอง ทางโรงเรียนราชินีได้เชิญ มาอี ก ได้ ไ ปสอนที ่ โ รงเรี ย นราชิ น ี เ ป็ น บางวั น เฉพาะช่ ว งเช้ า สอน ม.ศ.๔, ม.ศ.๕ วิชาศีลธรรม มีชั่วโมงสำหรับครูด้วย มีครู ๑๐-๑๕ คนสมัครใจที่จะเรียนวิชาพระพุทธศาสนา ทางโรงเรียน ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าช่วยสอนด้วย จึงเป็นอันสอนทั้งครูและ นักเรียน ครูแยกต่างหากไม่รวมกับนักเรียน ข้าพเจ้าขาดหาย จากโรงเรี ย นราชิ น ี ท ี ่ ป ากคลองตลาดไป เมื ่ อ ไปอยู ่ โ รงเรี ย น พาณิชยการสีลมและโรงเรียนเตรียมทหาร ตลอดถึงช่วงที่ไปอยู่ อินเดีย เมื่อกลับมาแล้วทางโรงเรียนก็เชิญไปอีก ดูเหมือนจะ สอนติดต่อกันประมาณ ๑๐ ปี ทั้งครูและนักเรียนที่ติดต่อกันมา จนถึงปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ ล้วนแต่เป็นผู้ใหญ่และผู้ชรากันไปหมด แล้ว ศาสตราจารย์ ดร. ปรี ด ี เกษมทรั พ ย์ อธิ ก ารบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากได้อ่านหนังสือบางเล่มของ ข้าพเจ้าแล้ว วันหนึ่งได้ชวนข้าพเจ้าให้ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เป็นอาจารย์ประจำ แต่ข้าพเจ้าขอไม่ไปเป็นอาจารย์ ประจำเพราะไม่คิดจะรับราชการอีก


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๗๑

ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง v

v

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ รศ.สุวรรณ เพชรนิล ได้ชวนไป อยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ ดูเหมือน อาจารย์สุวรรณจะเป็นหัวหน้าภาควิชาปรัชญาอยู่ในตอนนั้น ได้ นำหนังสือของข้าพเจ้าจำนวนหลายเล่มไปเสนอคณบดี เพื่อให้ เห็นว่าควรจะรับข้าพเจ้าไปอยู่ สอนวิชาศาสนา หรือ ปรัชญา พอ ข้าพเจ้ารู้เข้าก็รีบปฏิเสธด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ อาจารย์สุวรรณขอโทษที่ได้ทำไปโดยพลการ แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงก็ยังยินดีเชิญข้าพเจ้าไปเป็น อาจารย์พิเศษ สอนวิชาพุทธปรัชญาทั้งเถรวาทและมหายาน ข้าพเจ้าเขียนตำราให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๓ เล่ม คือ พุทธปรัชญาเถรวาท ๒ เล่มคือ เล่มที่เป็นหลักกับเล่มที่เป็นหนังสือ อ่านประกอบ พุทธปรัชญามหายาน ๑ เล่ม ดูเหมือนยังใช้อยู่ จนบัดนี้ หลังจากที่ข้าพเจ้าลาออกมาแล้วเป็นเวลานานปี เพราะ ข้าพเจ้ายังได้รับเงินค่าตำราอยู่สม่ำเสมอทุกปีมา ที่ต้องเขียนพุทธปรัชญาเถรวาทเป็น ๒ เล่มนั้น ทีแรก ข้าพเจ้าใช้พุทธปรัชญาเถรวาทเล่มใหญ่หนาถึง ๖๘๘ หน้า ขนาด ๑๖ หน้ายก ต่อมาทางภาควิชาปรัชญาเห็นว่าเล่มใหญ่เกินไป


๗๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ สำหรับนักศึกษา ขอให้ข้าพเจ้าเขียนใหม่อีกสักเล่มหนึ่ง เพื่อ เหมาะกับที่นักศึกษาจะเรียนในภาคเรียน ข้าพเจ้าจึงเขียนใหม่ใน ปี ๒๕๒๕ เป็นหนังสือ ๙๙ หน้าขนาด ๘ หน้ายกพิเศษ ซึ่งเป็น แบบของหนังสือตำราในมหาวิทยาลัยทั่วไป ข้าพเจ้าเริ่มไปสอนที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๑ เข้าใจว่า สอนเฉพาะพุทธปรัชญาเถรวาทอย่างเดียว พอปี ๒๕๒๕ จึงได้ สอนพุทธปรัชญามหายานเพิ่มขึ้นอีกวิชาหนึ่ง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่หัวหมาก เป็นมหาวิทยาลัยใหญ่ มีบริเวณกว้างขวาง เป็นตลาดวิชาจริงๆ นักศึกษาที่นั่นต้อง รั บ ผิ ด ชอบตั ว เองสู ง เพราะไม่ ม ี ก ารบั ง คั บ เรี ย น ใครมาก็ ด ี ใครไม่มาก็ได้ ลงทะเบียนแล้วไปสอบอย่างเดียวก็ได้ นักศึกษา บางคนมี ภ ารกิ จ ที ่ จ ะต้ อ งทำมาก ไม่ ส ามารถมาเข้ า เรี ย นได้ ถึงกระนั้นในมหาวิทยาลัยก็ยังคลาคล่ำไปด้วยนักศึกษาจำนวน มาก อยู่ที่นั่นสบายใจ มีความเป็นกันเองสูงทั้งกับครูบาอาจารย์ และกับนักศึกษา ข้าพเจ้าเดินทางไปสอนโดยรถเมล์ประจำทาง ขึ้นรถจาก บ้านที่นนทบุรีไปลงที่เทเวศร์แล้วขึ้นรถสาย ๙๐ ไปลงที่หน้า ม.รามฯ ขากลับมักจะขึ้นรถจากหน้ารามไปลงที่สนามหลวงแล้ว ขึ้นรถต้นทางสาย ๖๔ กลับบ้าน บางวันออกจาก ม.รามฯ ๑๖.๓๐ น. กว่าจะกลับถึงบ้านก็ประมาณ ๒๐.๓๐ น. ๔ ชั่วโมง พอดี ก็เป็นช่วงเวลาที่การจราจรหนาแน่น วันไหนฝนตกเข้าด้วย ก็จะใช้เวลามากกว่านี้ ขาไปใช้เวลาน้อยหน่อยประมาณชั่วโมง


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๗๓

ครึ่งถึงสองชั่วโมง เพราะเป็นช่วงเวลาที่การจราจรไม่หนาแน่น วันไหนข้าพเจ้ากลับผิดเวลามาก แม่บ้านจะแต่งตัวรออยู่ที่บ้าน เผื่อว่ามีปัญหาอะไร จะได้ออกไปได้ทันที เวลานั้นโทรศัพท์ มือถือก็ยังไม่มีใครใช้กัน ข้าพเจ้าลำบากในการเดินทางอย่างนี้อยู่ หลายปี ประมาณปี ๒๕๒๖ จึงได้ซื้อรถส่วนตัว เป็นโตโยต้า

ดีเอ็กซ์ มือสอง เขาใช้มาแล้ว ๑ ปี ซื้อมาด้วยราคา ๑ แสนบาท เจ้าของรถเป็นเพื่อนของแม่บ้าน จึงซื้อได้ในราคานี้ ผ่อนส่งเขา ๑๐ เดือน การเดินทางค่อยสะดวกสบายขึ้น ปีต่อมาได้ซื้อรถอีก คันหนึ่ง โตโยต้าเหมือนกัน สำหรับแม่บ้านใช้ รถเก่าเหมือนกัน เก่ า กว่ า คั น ที ่ ข ้ า พเจ้ า ใช้ เ พราะไปไม่ ไ กล ไปแค่ ว ิ ท ยาลั ย ครู สวนดุสิตและกลับบ้าน ระยะทางประมาณวันละ ๒๐ กิโลเมตร จำได้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ข้าพเจ้าได้ซื้อที่ดินซึ่งปลูกบ้าน อยู่แล้วในราคา ๒ แสน ๗ หมื่น๑ ๕๔ ตารางวา และได้ขอกู้ เพื่อนบ้านเขา ๒ แสน จ่ายดอกเบี้ยเท่ากับที่เขาได้รับจาก ธนาคารบัญชีออมทรัพย์ โดยที่เขาได้มาบอกให้เอง คือคุณนงนุช และคุณวราวุธ โชติกเสถียร ข้าพเจ้าขอบันทึกขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ถ้าไม่ได้ท่านทั้งสองนี้ข้าพเจ้าคงต้องกู้เงินธนาคาร ดอกเบี้ยแพงกว่านี้มาก ท่านทั้งหลายก็ทราบอยู่แล้วว่าดอกเบี้ย เงินกู้แพงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก คุณวราวุธและคุณนงนุชทำงาน อยู่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตั้งบ้านเรือนอยู่ในซอยเดียวกัน คือ ซอยเขมานนท์ ถนนพิบูลสงครามซอย ๑๒

๑ จำเป็นต้องซื้อ เพราะปลูกบ้านอยู่ในที่เช่าและเจ้าของที่เขามาบอกขาย


๗๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ข้าพเจ้าและภรรยาได้เงินมาเท่าใด เหลือจากค่าใช้จ่าย ประจำเดือนแล้วก็ระดมใช้หนี้ ใช้หนี้หมดภายใน ๑๐ เดือน จะ ว่าเป็นชะตาของข้าพเจ้าก็ได้ คราวใดจำเป็นต้องใช้เงิน-เงินก็จะ หลั่งไหลมา เมื่อหมดความจำเป็นแล้วก็จะหยุด ถ้าจะไหลมาบ้าง ก็ เ อื ่ อ ยๆ เรื ่ อ ยๆ เหมื อ นตั ว ข้ า พเจ้ า เอง ซึ ่ ง เป็ น คนไม่ กระตือรือร้นในเรื่องการหาเงิน เพราะเหตุที่ใช้หนี้ได้อย่างรวดเร็ว เจ้าของเงินอดใจไม่ได้จึงถามด้วยความเกรงใจว่า ไปกู้ที่อื่นมา หรือเปล่า ไม่ต้องเกรงใจ ใช้หมดเมื่อไรก็ได้ เพราะตกลงกันไว้ว่า จะใช้เดือนละ ๕ พัน เป็นเวลานานถึง ๓ ปีกับ ๔ เดือน เมื่อใช้หนี้หมดแล้ว ปีต่อมาคือปี ๒๕๒๕ ได้ปรับปรุงบ้าน ใหม่ทั้งตัวบ้านและรั้ว ทั้งพื้นบริเวณบ้านด้วย รั้วนั้นได้รื้อ

ระแนงออกทั้งหมด ทำเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนโดยรอบ ปรับปรุง ครัวใหม่อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ (เฉพาะห้องน้ำและห้องครัว) ห้องครัวนั้นลมโกรกแทบทั้งวัน เป็นที่ที่ข้าพเจ้าชอบนำเตียง ผ้าใบไปนอนเล่น เหมือนเตียงที่เขานอนเล่นชายทะเล ตอนปี ๒๕๑๘ ข้าพเจ้าได้ขยายห้องไป ๑ ห้อง เพราะมี ลูกชายคนที่สองคือ วโรตม์ (โจ้) ทำให้มีเนื้อที่ในตัวบ้านกว้าง ออกไป สะดวกสบายขึ้น ทำเท่าที่จำเป็นและเท่าที่เงินมี แต่มา ปรับปรุงบ้านเมื่อปี ๒๕๒๕ นี้ต้องจ่ายเงินไปถึง ๒ แสน โชคดีที่ ไม่ต้องเป็นหนี้ เมื่อตอนซื้อที่นั้นเป็นหนี้ด้วยความจำเป็นจริงๆ ข้าพเจ้าไม่ชอบเป็นหนี้และแม่บ้านก็อนุโลมตาม ไม่เคยขัดใจ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๗๕

การเขียนหนังสือก็ยังคงดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ มีรายได้ พอสมควร มีเงินเดือนประจำและรายได้จากการสอนพิเศษ แม่บ้านก็มีรายได้จากการไปเป็นอาจารย์ เป็นข้าราชการประจำที่ วิทยาลัยครูสวนดุสิต ลูกกำลังเรียนหนังสือทั้งสองคน แต่ไม่ เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย ฐานะความเป็นอยู่ค่อยๆ มั่นคงขึ้น


๗๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

หลักสูตรพิเศษ v

v

ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๕ หรือ ๒๕๒๖ ทางโรงเรียน พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้ติดต่อขอให้ข้าพเจ้าช่วยไปสอน โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ระดับพุทธศาสนา ๙ มี ๒ ปี คือ ๙ ปีที่ ๑ และ ๙ ปีที่ ๒ พุทธศาสนา ๙ คือ รับนักศึกษาและ ประชาชนทั่วไปเข้าเรียน เป็นโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งมาหลายปีแล้ว ข้าพเจ้าเคยสอนอยู่ ๑ ปี หรือ ๒ ปีสมัยที่ยังเป็นพระนักศึกษา อยู่ แล้วก็ขาดหายไป มาถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๕ หรือปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ทางเลขานุการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ถ้าจำไม่ผิดคือ พระมหาอุทัย อุทโย ป.ธ.๙ แห่งวัดพระพิเรนทร์ ได้เชิญข้าพเจ้า ไปสอนในชั้นพุทธศาสนา ๙ ให้เหตุผลอันน่าชื่นใจว่า “ปีนี้ชั้นพุทธศาสนา ๙ มีนักศึกษาและผู้หลักผู้ใหญ่มา เรียนกันมาก อยากจะได้อาจารย์ที่ทรงความรู้จริงๆ มาสอน” พระมหาอุทัย อุทโย รูปนี้ปัจจุบันเป็นพระราชาคณะที่ พระปิฎกโกศล เจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ข้าพเจ้าได้ไปสอน โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่บัดนั้นมาจนกระทั่ง บัดนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๙)


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๗๗

อันที่จริงชั้นพุทธศาสนา ๙ ตามหลักสูตรมีเรียนเพียง ๒ ปี คือ ๙ ปีที่ ๑ และ ๙ ปีที่ ๒ แต่พอจบปีที่ ๒ แล้ว มีนักศึกษา ผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีคุณสมโภช เสขะนันทน์ เป็นต้น ได้ขอร้อง ข้าพเจ้าว่า อาจารย์ช่วยสอนต่ออีกได้ไหม ข้าพเจ้าตอบตกลง จึงได้แยกกลุ่มมาสอนต่างหาก คราวนี้ข้าพเจ้าใช้พระไตรปิฎกที่ ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ก่อนแล้วเป็นหลักในการสอน สถานที่ ใช้ห้อง สมุดของมหาวิทยาลัยบ้าง ใช้ห้องอื่นๆ บ้าง เริ่มต้นจาก ๕-๖ คน นักศึกษาค่อยๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ออกไปบ้างเพิ่มเข้ามาใหม่บ้าง จนมาถึงบัดนี้ (๒๕๔๙) มีนักศึกษาอยู่ประมาณ ๔๐-๕๐ คน เป็นดอกเตอร์ก็หลายคน เมื่อเห็นว่าเรียนแล้วดีก็ชวนกันมา ข้าพเจ้าสอนมาโดยไม่มีการปิดเทอมเลยเป็นเวลา ๒๐ ปีเศษแล้ว ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้าพเจ้าป่วยหนักจึงขอหยุดพักไป ประมาณ ๒ เดือน พอทุเลาแล้วก็เริ่มสอนต่อมาจนถึงบัดนี้ ที่ว่าป่วยหนักนั้นคือ ความดันโลหิตสูงและเป็นโรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจเส้นหนึ่งตีบเล็กน้อย บางวันถึงกับเอาเก้าอี้นอน มานอนสอนในห้องเรียน ถ้าความดันสูงมากๆ เช่น ๑๗๐, ๑๘๐ ประมาณ ๒ ปีมาแล้วได้ยาที่คุมความดันได้จึงค่อยสบายขึ้น บางวันความดันค่อนข้างต่ำด้วยซ้ำไป ถ้าต่ำมากจนถึงลุกขึ้นแล้ว งงก็ละลายน้ำเกลือดื่ม สักพักหนึ่งก็หาย ข้าพเจ้าสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงประมาณ ๑๒ ปี วันหนึ่งฝนตกหนักรถติดมาก ข้าพเจ้าขับรถกลับจากรามคำแหง ประมาณ ๖ ชั่วโมง รู้สึกว่าอายุมากขึ้น ความเหนื่อยก็มากขึ้น


๗๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

การจราจรก็หนาแน่นมากโดยเฉพาะขากลับ ไม่มีทางด่วนเหมือน ปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจลาออกเมื่อหมดเทอม สิ้นปีการ ศึกษาแล้ว คิดว่าประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๔


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๗๙

ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ v

v

หลังจากนั้น ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภาควิชา ปรัชญา ได้เชิญข้าพเจ้าไปสอนที่มหาวิทยาลัย โดยอาจารย์

สุเชาว์ พลอยชุม ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอยู่เวลานั้น อาจารย์ สุเชาว์ พลอยชุม เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหามกุฏฯรุ่นหลัง

ข้าพเจ้าหลายปี ตอนที่ข้าพเจ้าไปสอนที่ ม.เกษตรฯ มีศิษย์เก่า มหามกุฏฯเป็นอาจารย์ประจำอยู่หลายคนแล้ว ทีแรกสอนวิชา ‘พระพุทธศาสนาในประเทศไทย’ โดยที่ข้าพเจ้าได้เขียนตำราเรื่อง นี้ไว้ก่อนแล้ว ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นสอนจริยศาสตร์ เดินทาง ไป-มาสะดวก มีทางยกระดับ ใช้เวลาเดินทางเพียง ๑๕-๒๐ นาที ก็ถึงแล้ว มีอยู่ระยะหนึ่งที่ผลสำรวจออกมาว่า นิสิตมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์มีสุขภาพจิตดีที่สุดในบรรดานิสิตนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ข้าพเจ้าไปสอนที่นั่นอยู่ ประมาณ ๑๐ ปี ในระยะแรกๆ ก็เห็นด้วยกับผลสำรวจอันนัน้ แต่ พอระยะปลายคือ ประมาณ ๒ ปีหลังข้าพเจ้าไม่แน่ใจ ข้าพเจ้าสอน เฉพาะนักศึกษาปี ๔ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา มีนัก ศึกษาจากภาคอืน่ และคณะอืน่ ทีเ่ ลือกเรียนวิชาปรัชญามาเรียนด้วย ข้าพเจ้าขอลาออกจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยเหตุผลทาง


๘๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

สุขภาพ ตอนนัน้ ข้าพเจ้าอายุ ๖๗ แล้ว เริม่ มีอาการทางโรคหัวใจ และความดันสูง แต่ขา้ พเจ้าไม่รู้ เข้าใจเป็นเรือ่ งอืน่ เช่น อายุมาก ทำงานมากจนเหน็ดเหนือ่ ย ต้องกินยาหอมอยูเ่ ป็นประจำ ตอนนัน้ ข้าพเจ้าได้ทำงานทางวิทยุดว้ ยแล้ว


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๘๑

ทำรายการวิทยุ v

v

การทำงานวิทยุนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยคิดไม่เคยใฝ่ฝันมาก่อน เลยว่าจะได้ทำ คิดว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยสำหรับข้าพเจ้า เพราะ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะหาเงินมาจ่ายค่าสถานีได้เดือนละ ๘ พัน หรือ ๑ หมื่น, ๒ หมื่น จึงไม่เคยคิดเลยจริงๆ ถ้าจะให้หาเงินค่า สถานีไปด้วยทำรายการวิทยุไปด้วย ข้าพเจ้าขอไม่ทำ เหตุที่ได้ทำ ก็คือ คุณศยามล สีนิลแท้ ผู้ทำรายการวิทยุอยู่ที่ FM ๙๖ MHz. คลื่นสังคมไทย ได้นำเอาหนังสือของข้าพเจ้าไปอ่านบ่อยๆ ใน รายการธรรมะเวลา ๐๖.๐๐-๐๖.๔๕ น. คุณศยามลอายุยังน้อย เพิ่งจบจากจุฬาฯมาหมาดๆ แต่เป็นคนเสียงดีชวนฟัง เมื่ออ่าน หนังสือธรรมะบ่อยๆ เข้าก็เป็นคนติดธรรมะ รู้สึกปลื้มใจที่ได้อ่าน คุณสุพร มณีเวทยพันธ์ ผู้เป็นหัวหน้ารายการจึงพูดกับคุณ ศยามลว่ า เอาหนั ง สื อ อาจารย์ ม าอ่ า นบ่ อ ยๆ เชิ ญ ท่ า นออก รายการเสียเลยไม่ดีหรือ คุณศยามลจึงติดต่อขอให้ข้าพเจ้า ช่วยออกรายการ โดยพูดจากที่บ้าน สนทนากับเขาซึ่งอยู่ที่ สถานี ข้าพเจ้าตกลง จึงได้เริ่มทำรายการวิทยุเป็นครั้งแรก ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๙ รายการนี้ดีและมีคนฟังมาก ข้าพเจ้าได้รับเชิญไปพูดที่วัดมเหยงค์ของท่านพระครู เกษมธรรมทัต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเชิญคุณศยามล


๘๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ไปด้วย เพราะได้ฟังทางวิทยุตอนเช้า และเปิดกระจายเสียงให้ อุบาสกอุบาสิกาฟังด้วย ที่นั่นเป็นสำนักกรรมฐาน ทำรายการ วิทยุคลื่นนี้อยู่นานเท่าใดจำไม่ได้ จนรายการเขาเลิกไปด้วยเหตุ จำเป็นบางประการ ใกล้ๆ กับที่ทำรายการนี้ก็มาทำรายการ ‘วิเคราะห์ธรรม’ ทางสถานีวิทยุ AM ๙๖๓ KHz. เวลา ๒๐.๐๐-๒๐.๓๐ น. ในนามของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการจัดของ ท่านมหามงคล ขนฺติธีโร วัดชนะสงครามฯ แบ่งกันพูดคนละวัน ข้าพเจ้าได้วันอังคาร นอกจากนี้ก็มีท่านเจ้าคุณพระเทพดิลก ท่านเจ้าคุณพระธรรมวิสุทธิกวี เป็นต้น ทำอยู่นานเหมือนกันจน รายการถูกยุบเลิกไป ท่านมหามงคลจึงทำแต่ผู้เดียวโดยการหา ทุนเองมาจนกระทั่งบัดนี้ ใกล้ๆ กันนี้ คุณวรรณา กาญจนภิญโญวงศ์ ศิษย์ผู้หนึ่ง ของข้าพเจ้าได้ฟังข้าพเจ้าบรรยายทางวิทยุบ่อยๆ และไปฟังที่ ข้ า พเจ้ า สอนที ่ ว ั ด บวรนิ เ วศฯด้ ว ย ได้ ต ิ ด ต่ อ กั บ คุ ณ เพ็ ญ ศรี อินทรทัต ผู้ซึ่งทำรายการวิทยุหลายสถานีอยู่แล้ว ให้ช่วยหา สถานีและเวลาให้ข้าพเจ้า คุณเพ็ญศรีติดต่อทางสถานี AM ๙๖๓ KHz. ได้รายการธรรมโอสถซึ่งเป็นรายการของสถานีไม่ต้อง จ่ายเงิน ออกอากาศเวลา ๐๖.๐๐-๐๖.๔๕ น. ทั้งวันเสาร์และ วันอาทิตย์ คงจะพูดอยู่ประมาณ ๑ ปีรายการก็เปลี่ยนไป คุณวรรณาอีกนั่นแหละได้ขอร้องคุณเพ็ญศรีให้หาคลื่น อื ่ น ให้ ใ นเวลาที ่ เ หมาะสม ไปได้ ค ลื ่ น AM ๗๔๗ เวลา


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๘๓

๒๑.๓๐-๒๒.๐๐ น. ชื่อรายการว่า ‘ธรรมและทรรศนะชีวิต’ โดยคุณวรรณาเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ ทำอยู่นานเท่าไรจำไม่ได้ ย้ายไปคลื่น AM ๑๔๒๒ เพราะดูเหมือนราคาจะถูกกว่า ตอน นั้นคุณบุษรา เรืองแสง หรือ คุณการะเกด แทนกิจการกุล

เป็นผู้รับเหมารายการแล้วแจกจ่ายกันไป ประมาณปี ๒๕๔๑ พลตรี ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์ ผู้จัด รายการ ‘ธรรมะร่วมสมัย’ อยู่ที่สถานีวิทยุ อสมท FM ๑๐๐.๕ MHz. ได้เชิญข้าพเจ้าให้เป็นวิทยากรในรายการ ‘ธรรมะร่วม สมัย’ เวลาตี ๑ ถึงตี ๒ วันพฤหัสฯเว้นพฤหัสฯ สลับกับท่าน อาจารย์วัลลภ ชวนปญฺโญ ต่อมาท่านอาจารย์วัลลภของดด้วย ความจำเป็นบางประการ ท่านผู้จัดรายการและผู้ฟังบางส่วน จึงขอให้ข้าพเจ้าออกทุกวันพฤหัสฯ ทำติดต่อเรื่อยมาจนปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้าพเจ้าจึงขอหยุดเพราะป่วย แต่อาจารย์ทองขาวนำเทป ของข้าพเจ้าไปเปิดแทนอยู่จนกระทั่งบัดนี้ แม้รายการธรรมะร่วม สมัยจะย้ายคลื่นไปแล้วก็ตาม


๘๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

ทำนิตยสาร v

v

ย้อนไปเมื่อปี ๒๕๒๙ (๒๐ ปีมาแล้ว) ข้าพเจ้าได้รับ

แต่งตั้งโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ให้เป็น บรรณาธิการนิตยสาร ‘ธรรมจักษุ’ ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยการนำเสนอของท่านเจ้าคุณพระเทพดิลก ในสมัย ที่ยังเป็นพระราชธรรมนิเทศหรือพระโศภณคณาภรณ์ จำได้ไม่ แม่น (ระแบบ ฐิตญาโณ) นิตยสารธรรมจักษุมีอายุยาวนานที่สุด ฉบับหนึ่ง คู่มากับยุทธโกษของกระทรวงกลาโหม ธรรมจักษุเริ่ม ออกฉบับแรกเมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๓๙ โดยสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตอนที่ข้าพเจ้ามารับ ตำแหน่งบรรณาธิการนั้น ธรรมจักษุอายุยาวนานถึง ๙๐ ปีแล้ว ข้าพเจ้าไม่เคยนึกฝันมาก่อนเลยว่าจะได้เป็นบรรณาธิการหนังสือ ฉบับนี้ เพราะรู้สึกว่าสูงเกินเอื้อม ผู้ที่เคยเป็นบรรณาธิการมา ก็ล้วนแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งนั้น เช่น ก่อนจะถึงข้าพเจ้า ท่าน อาจารย์นาวาอากาศเอก เมฆ อำไพจริต ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ของ ข้าพเจ้า เป็นบรรณาธิการจนท่านสิ้นชีวิตลง ในขณะที ่ ข ้ า พเจ้ า เป็ น บรรณาธิ ก ารธรรมจั ก ษุ อ ยู ่ น ั ้ น บรรณาธิการนิตยสารศุภมิตรของมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนา และมนุษยธรรม (กศม.) ว่างลง ทางคณะกรรมการ มีสมเด็จ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๘๕

พระพุทธชินวงศ์เป็นต้น สมัยที่ยังเป็นพระธรรมปัญญาจารย์ ได้มีหนังสือขอให้ข้าพเจ้าไปเป็นบรรณาธิการศุภมิตร ข้าพเจ้าได้ รั บ ตำแหน่ ง บรรณาธิ ก ารนิ ต ยสาร ‘ศุ ภ มิ ต ร’ เมื ่ อ เดื อ น พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หลังจากเป็นบรรณาธิการธรรมจักษุมาแล้ว ๕ ปี ข้าพเจ้าเป็นบรรณาธิการนิตยสารทางพระพุทธศาสนาควบคู่ กันมา ๒ ฉบับ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้าพเจ้าจึงออกจากตำแหน่ง บรรณาธิ ก ารนิ ต ยสารธรรมจั ก ษุ ตำแหน่ ง นี ้ จ ึ ง ไปตกอยู ่ ท ี ่ ศาสตราจารย์ แสง จันทร์งาม ซึ่งอยู่ถึงเชียงใหม่ ซึ่งท่านก็ ชราภาพมากแล้วแต่จำเป็นต้องรับไว้ด้วยเหตุผลบางประการ ข้าพเจ้าจึงทำนิตยสารฉบับเดียวต่อมาจนกระทั่งบัดนี้ มีบางคราว ที่นิตยสารศุภมิตรเกิดมรสุมหนักจะล้มไม่ล้มแหล่เหมือนเรือ โดนคลื่นมรสุม จะล้มแหล่ไม่ล้มแหล่แต่ก็ช่วยกันจนรอดมาได้ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะบารมีของสมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุ ฏ ฺ ฐ ายี ม หาเถระ) ซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ก ่ อ ตั ้ ง นิ ต ยสารศุ ภ มิ ต รเมื ่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ สมเด็จพระสังฆราชฯองค์นี้ได้ไปบุกเบิกวิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่อำเภอวังน้อย จังหวัด พระนครศรีอยุธยาไว้ด้วย เจริญมั่นคงมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เป็นวัดด้วยชื่อวัดชูจิตธรรมาราม ข้าพเจ้าเดินทางไปสอนอยู่ที่นี่ หลายปี มีรถจากวัดมกุฏฯมารับที่บ้านเสร็จแล้วก็มาส่ง มีศิษย์ที่ เคยเรียนที่วังน้อยมาได้ดีอยู่ที่กรุงเทพฯก็มาก สำเร็จปริญญา เอกก็มี


๘๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

พูดถึงปริญญาเอก ข้าพเจ้าขอกราบขอบพระคุณคณะ กรรมการสภามหาวิ ท ยาลั ย มหามกุ ฏ ฯ ที ่ ไ ด้ อ นุ ม ั ต ิ ป ริ ญ ญา ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พุทธศาสตร์) ให้แก่ ข้าพเจ้า เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๘๗

เทปและซีดี v

v

ตอนนี้ คือ หมายถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ ข้าพเจ้าอยู่บ้าน พักผ่อนเป็นส่วนมาก เพราะอายุมากขึ้นและกำลังลดถอยลงมาก มีงานทำเล็กๆ น้อยๆ ตามความสมัครใจ เช่น ไปสอนปริญญาตรี บ้าง ปริญญาโทบ้าง สำหรับปริญญาเอกนั้นไปสอนเป็นครั้งคราว ไปสอนนักศึกษาวันอาทิตย์หลักสูตรพิเศษทุกอาทิตย์เว้นอาทิตย์ ต้นเดือน ผู้เรียนมีหลายวัยหลายระดับความรู้เรียนรวมกัน แต่ก็ เป็นไปได้ดี เป็นกันเองและสงบร่มเย็น อบอุ่น มีความสุขที่ได้ เรียนได้สอนและได้พบกัน ทัง้ ๆ ทีบ่ างคนจบปริญญาเอก บางคน ปริญญาโท บางคนปริญญาตรี บางคนไม่มีปริญญา สำหรับวัย นั้นมีตั้งแต่อายุ ๒๐ ขึ้นไปถึง ๗๕ แต่ก็ประพฤติปฏิบัติต่อกัน เหมือนคนในครอบครัวเดียวกันที่รักใคร่ปรองดองกัน ข้าพเจ้า รู้สึกภูมิใจในชั้นเรียนนี้ ผู้เรียนก็ภูมิใจเหมือนกัน (เท่าที่ได้ฟังมา) สำหรับการออกอากาศทางวิทยุนั้น ทำได้บ้างโดยวิธีอัด เทปล่วงหน้า มีผู้สนทนาด้วยทางโทรศัพท์ เขาอยู่ที่ห้องอัดเสียง (สตูดิโอ) ข้าพเจ้าพูดไปจากบ้าน เช่น รายการ ‘ธรรมะกับชีวิต’ ของคุณอริยาภรณ์ สิทธิธรรมพิชัย นอกจากนี้เอาเทปเก่าไปเปิด บ้างบางสถานี เช่น ร.ด.๗๔๗ รายการ ‘แสงเทียนเสียงธรรม’ ของคุณเพ็ญศรี อินทรทัต


๘๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

สมัยก่อนเมื่อข้าพเจ้ายังสบายอยู่ ข้าพเจ้าจะพูดสดแล้ว อัดเทปไว้ คุณวรรณา กาญจนภิญโญวงศ์ จะอัดไว้ทุกรายการ ต่อมาได้ทำเทปออกจำหน่ายในราคาถูกประมาณ ๖๐ ชื่อเรื่อง คิดเป็นม้วนเทปคาสเซ็ทได้ ๑๙๖ ม้วน ม้วนละ ๖๐ นาทีบ้าง ๙๐ นาทีบ้าง ที่ไม่ได้ทำจำหน่ายก็มีอีกไม่น้อย ต่อมามีผู้ศรัทธาไป ถ่ายจากเทปคาสเซ็ทลงในซีดีบ้าง MP3 บ้าง ที่มีผู้อ่านจาก หนังสือลงซีดีก็มี ตอนนี้มีมากจนจำไม่ไหว รู้สึกดีใจที่มีผู้สืบต่อ งานให้แพร่หลายออกไปสู่มหาชน เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธ ศาสนาและสังคม


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๘๙

ชีวิตปัจจุบัน v

v

อาหารการกินไม่เดือดร้อน มีผู้คอยดูแล เป็นลูกศิษย์บ้าง ญาติบ้าง ลูกศิษย์ที่ดูแลอยู่เป็นประจำก็มี บางคนทำอาหารส่ง สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง (คือคุณวิรัช และคุณนวลน้อย ชูประดิษฐ์) ที่เป็นหลานลูกของพี่สาวซึ่งเสียชีวิตไปแล้วทำอาหารมาส่งให้ เสมอๆ ก็มี (ประดับ หรือ สุชาดา) โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันอาทิตย์ ที่ไปสอน ลูกศิษย์หลายๆ คนจะนำของมาให้ รวมความว่าไม่ ลำบากเรื่องอาหารการกิน ที ่ อ ยู ่ อ าศั ย ก็ พ ออยู ่ ไ ด้ ไ ม่ เ ดื อ ดร้ อ น ยารั ก ษาโรคก็ ม ี

ลูกศิษย์บางคนที่เป็นเภสัชกรช่วยจัดให้ (นันทวรรณ ตั้งชัยสุข) เสื้อผ้าก็มีเพียงพอแก่ความต้องการ รวมความว่าเรื่องปัจจัยสี่ ไม่ขาดแคลนไม่เดือดร้อน เวลาใดต้องการเขียนหนังสือก็มี ลูกศิษย์บางคนคอยจดบันทึกให้ (ยุวดี อึ๊งศรีวงษ์) อย่างที่กำลัง เขียนบันทึกอยู่นี้ก็มีลูกศิษย์ช่วยเขียนให้ ข้าพเจ้ายังฉงนอยู่ว่า เพราะเหตุไรเมื่อยังเขียนหนังสือได้ ด้วยตนเองและสามารถเขียนได้มากจึงไม่เขียนประวัติไว้ มาเริ่ม เขียนเมื่ออายุ ๗๒ แล้วและไม่สามารถจะเขียนได้ด้วยตนเอง ต้องนั่งบอกให้ลูกศิษย์ช่วยเขียน เท่าที่คิดได้ตอนนี้น่าจะเป็น เพราะ


๙๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑. ข้าพเจ้าลังเลว่าจะเขียนดีหรือไม่ดี คิดไปในทางไม่ เขียนมากกว่า จึงปล่อยเลยตามเลยมาจนถึงบัดนี้ ๒. เมื่อยังมีกำลังและมีความพร้อมที่จะเขียนได้เองอยู่ ข้าพเจ้าก็ใช้เวลาให้หมดไปด้วยการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ และ เขียนเรื่องต่างๆ ไม่รู้จักหมดสิ้น เพราะว่าวัตถุดิบที่จะนำมาเขียน ได้มีมากเหลือเกิน สาเหตุจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจเขียนในเวลานี้คือ มีผู้ขอประวัติเพื่อไปทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับผลงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ถ่ายเอกสารประวัติที่มีผู้สัมภาษณ์ไปออกอากาศทาง วิทยุแล้วและพิมพ์เป็นหนังสือแล้ว รู้สึกว่ายังผิดอยู่มาก ต้อง แก้ไขกันมาก จึงคิดว่าถ้าข้าพเจ้าไม่เขียนไว้เอง ต่อไปภายหน้า เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตแล้วเรื่องราวต่างๆ จะผิดเพี้ยนไปสักเพียงไร ผู ้ ท ี ่ เ กิ ด ภายหลั ง ไม่ ไ ด้ ท ราบความจริ ง ก็ จ ะถื อ เอาอย่ า งผิ ด ๆ ไม่ตรงตามความเป็นจริง ขอย้อนกล่าวถึงการศึกษาพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์ที่ ข้าพเจ้าสอนมาเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้ว มีนักศึกษาออกไปบ้างเข้ามา ใหม่บ้างตามที่ได้กล่าวไว้บ้างแล้ว ตอนนี้ได้รองศาสตราจารย์ ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร เป็นกำลังสำคัญ ได้รับฉันทานุมัติ จากเพื่อนร่วมห้องเรียนให้เป็นหัวหน้า ดร. สายฤดีเข้ามาเพราะ ได้อ่านหนังสือ ‘ธรรมะรอบกองไฟ’ ของ คุณขวัญ เพียงหทัย หรือพรจิตต์ พงศ์วราภา ซึ่งได้เขียนถึงข้าพเจ้าว่า ได้ไปเรียน ธรรมะกับข้าพเจ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร ดร. สายฤดีจึงได้ตามมา


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๙๑

ฟังเมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้ชวนพรรคพวกมาอีก หลายคน ล้วนแต่อยู่ยั่งยืนกันมาจนบัดนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนมี อานุภาพของตน แต่มีอานุภาพต่างกันเท่านั้น ถ้าได้รับมอบหมาย ให้ทำงานตามที่เขาถนัดหรือตามอานุภาพที่เขามี เขาย่อมทำได้ดี คุณสุธี พึ่งพรพรหม กับ คุณธีรนุช ปัญญารัตนบุญ ได้ทำอาหาร และเครื่องดื่มมานานปีโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ในห้องเรียนวัน อาทิตย์ก็เช่นเดียวกัน แต่ละคนต่างช่วยกันทำงานตามอานุภาพ ของตนอย่างน่าปลื้มใจและน่าสรรเสริญ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ กล่าวถึงคนทุกคนได้ แต่ขอกล่าวรวมๆ ไปเช่นนี้ การไปต่างประเทศนั้น ข้าพเจ้าไม่ค่อยได้ไปนัก หลังจาก กลั บ จากอิ น เดี ย แล้ ว ก็ ไ ม่ ไ ด้ ไ ปอิ น เดี ย อี ก เลย และไม่ ไ ด้ ไ ป ประเทศไหนจนถึง พ.ศ. ๒๕๓๖ ข้าพเจ้าได้รับอนุมัติจากมหา มกุฏราชวิทยาลัยให้ไปดูการประชุมสงฆ์ในสหรัฐอเมริกา ภรรยา ของข้าพเจ้าขอติดตามไปด้วยเพียงเพื่อช่วยเหลือข้าพเจ้าในการ เดินทางไกล เมื่อการประชุมสงฆ์ที่สหรัฐอเมริกาเสร็จแล้ว ได้เดิน ทางไปอีกหลายประเทศในยุโรป กล่าวคือ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นอร์เวย์ ใช้เวลาทั้งหมดเพียง ๒๐ กว่าวัน หลังจากนั้นข้าพเจ้าไม่ เคยไปประเทศไหนอีกเลย เรื่องไปอเมริกาและยุโรปนี้ ข้าพเจ้า ได้เขียนไว้ค่อนข้างละเอียดแล้ว ในหนังสือเรื่อง ‘อันสืบเนื่องมา จากการไปดูการประชุมสงฆ์ ณ สหรัฐอเมริกา’ พ.ศ. ๒๕๓๖ ต่อมาประมาณอีก ๑๐ ปี คือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ ข้าพเจ้าได้ปรับปรุงบ้านครั้งใหญ่ห่างจากครั้งแรกถึง


๙๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๒๐ ปี จ่ายเงินไปประมาณ ๖ แสน ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่ใช่น้อย สำหรับข้าพเจ้า ดีที่ไม่ได้เป็นหนี้เลย พอถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ ข้าพเจ้าก็สูญเสียเพื่อน ร่วมเดินทางชีวิตไป คือ ผศ.สมจิตต์ อินทสระ ผู้เป็นภรรยา ได้ เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งตับ ข้าพเจ้าได้เขียนเล่าเรื่องของ สมจิตต์กับข้าพเจ้าไว้พอสมควรในหนังสือพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ลูกชาย ๒ คนก็ได้ทำงานเป็นหลักฐานแล้ว วรัตต์เป็น อาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กำลังทำปริญญาเอก อยู่ด้วยที่สวนดุสิตเหมือนกัน๑ วโรตม์ทำงานอยู่การบินไทย จะ ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศครั้งละนานๆ หลายปี เกี่ยวกับหนังสือ เทป หรือซีดี วรรณา กาญจนภิญโญวงศ์ ได้รับผิดชอบ แจกบ้าง ฝากจำหน่ายบ้าง จำหน่ายเองบ้างตาม ความเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้ช่วยจัดอาหารกลางวันในวันที่ ข้าพเจ้าไปสอนที่ มมร. คือในวันอังคารและวันพฤหัสฯ ชีวิตของข้าพเจ้าบัดนี้ได้มายืนอยู่ในขณะปัจจุบันแล้ว จะ เป็นอย่างไรต่อไปก็ไม่อาจจะคาดเดาได้ ไม่กล้าหวังอะไร เพียง แต่พยายามทำเหตุให้ดีไว้ ผลจะเป็นอย่างไรก็สุดแล้วแต่เหตุ บันดาลให้เป็นไป ข้าพเจ้ามีคติอยู่ว่า ‘ได้มอบตนให้แก่ธรรมไป แล้ว จะสุขหรือทุกข์ เจริญหรือเสื่อมอย่างไรก็สุดแล้วแต่ธรรม จะอำนวยผลให้’ ๑ ตอนนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ได้จบปริญญาเอกแล้ว


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๙๓

มาในระยะหลังนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๐) มีผู้ส่งอาหารเพิ่มขึ้นคือ คุณแหม่ม (จุฑาภา เจริญวรรณ) ส่ง ๒ วัน คุณปนัดดา เลิศล้ำอำไพ ส่ง ๑ วัน ทำอยู่ระยะหนึ่งแล้วข้าพเจ้าได้ขอร้องให้หยุดไป เพราะเหตุที่มีอาหารเพียงพอที่จะยังชีพได้แล้ว เกี่ยวกับเรื่องเงินทองใช้สอยนั้นไม่ได้ขาดแคลน เพราะ ข้าพเจ้าได้เก็บออมไว้เองบ้าง นอกจากนี้ยังมีลูกศิษย์หลายคนได้ ช่วยเหลือมอบให้เป็นรายเดือน ลูกศิษย์บางคนได้ปวารณาที่จะ ออกค่ารักษาพยาบาลให้เมื่อเจ็บป่วย ทำให้รู้สึกตื้นตันใจ ขอบใจ ทุกๆ คนที่มีน้ำใจต่อข้าพเจ้า มีนายแพทย์บางคนชอบอ่าน หนังสือที่ข้าพเจ้าเขียน บอกว่ารู้สึกภูมิใจที่ได้ดูแลข้าพเจ้าบ้าง ตามโอกาสที ่มาถึงเข้า และให้ติดต่อได้ตลอดเวลา

มาระยะหลังนี้ (ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๑) ร่างกายของ ข้าพเจ้าทรุดโทรมลงมากเนื่องด้วยโรคหลายอย่าง มีโรคหัวใจ เป็นต้น ทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีกำลัง ทำงานได้น้อย สอนหนังสือ เพียงเล็กน้อยก็เหนื่อย ในที่สุดคงต้องหยุดสอนไปเอง ข้าพเจ้าเป็นโรคนั่นโรคนี่อยู่เสมอตั้งแต่วัยเด็ก ที่เรียกโดย ทั ่ ว ไปว่ า เป็ น คนขี ้ โ รคเรื ่ อ ยมาทุ ก วั ย จนถึ ง ปั จ ฉิ ม วั ย บั ด นี ้ (พ.ศ. ๒๕๕๑) อายุ ๗๕ แล้ว โรคยิ่งระดมกันเข้ามาเบียดเบียน บีบคั้นมากขึ้น ไม่รู้จะรอดไปได้สักเพียงใด ข้าพเจ้าลองนึก ทบทวนดู เข้าใจว่าสาเหตุของโรคมาจากความไม่รู้บ้าง ความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์บ้าง รู้ผิดบ้าง นี่เป็นเหตุในชาตินี้ สำหรับเหตุใน ชาติก่อนไม่อาจทราบได้


๙๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ข้าพเจ้าเขียนเรื่องโรคภัยไข้เจ็บไว้ ณ ที่นี้ เพื่อจะเตือนคน รุ่นหลังว่า ขอให้เอาใจใส่ดูแลสุขภาพให้ดีอย่าได้ประมาท เพราะ มันเป็นปัจจัยหนึ่งแห่งความสุขที่สำคัญของชีวิตซึ่งข้าพเจ้าไม่เคย นึก ในวัยต้นๆ มุ่งแต่การเรียนและการงาน ไม่เคยคำนึงว่า สุขภาพกายที่สมบูรณ์ไร้โรคมีความสำคัญเพียงใด มาสำนึกอย่าง ถ่องแท้เมื่อมีโรคมากเสียแล้ว ยากต่อการแก้ไข ทำให้ความ สามารถในการค้นคว้าหาความรู้และความสามารถในการงาน ลดน้อยลงอย่างน่าใจหายอย่างที่จะเรียกคืนไม่ได้อีก ความชรา อย่างเดียวก็ทำให้บุคคลทุพพลภาพไปมากแล้ว ถ้ามีโรคภัย ไข้เจ็บเบียดเบียนรุมล้อมเข้ามาอีกจะทุพพลภาพสักเพียงใด ท่านลองนึกดูเถิด ยิ่งอยู่ไปนานปี ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในพระคุณของ พระศาสนามากขึ้นๆ เพราะระลึกว่าฐานะของข้าพเจ้าที่เป็นอยู่ได้ อย่างปัจจุบันนี้เป็นเพราะอานุภาพแห่งพระศาสนาคุ้มครองโดย แท้ ไปติดต่อเกี่ยวข้องกับบุคคลใดๆ ในที่ใดๆ ก็ได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างดียิ่ง ทั้งนี้คิดว่าเป็นเพราะอานุภาพแห่งพระธรรม ซึ่งข้าพเจ้าเคารพ เผยแพร่และถือเป็นธงมาตลอดชีวิต ความ แตกดับแห่งชีวิตย่อมมีเป็นแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง เหมือนเรือ ที่แล่นมาไกลจนเห็นฝั่งแล้ว-ฝั่งคือความตาย ซึ่งมองเห็นอยู่ เบื้องหน้า ลุถึงปลายปี ๒๕๕๑ เมื่อข้าพเจ้ามีอายุเข้าปีที่ ๗๕ โรคร้าย ไข้เจ็บรุมล้อมมากขึ้น ร่างกายทรุดโทรมและทุรพล (ไม่มีกำลัง)


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๙๕

จึงได้หยุดสอนหนังสือไปชั่วคราว ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ มมร. และทั ้ ง ศิ ษ ย์ ผู ้ ศ ึ ก ษาธรรมวั น อาทิ ต ย์ จำได้ ว ่ า ตั ้ ง แต่ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ เมื่อรู้ว่าข้าพเจ้าป่วยจนไม่สามารถ สอนหนังสือได้ ก็มีศิษย์ผู้ศึกษาธรรมวันอาทิตย์มาเยี่ยมเยือน กันเสมอ มีรองศาสตราจารย์ ดร. สายฤดี วรกิจโภคาทร เป็นต้น พอดีเป็นเทศกาลปีใหม่ด้วย ความเป็นอยู่ของข้าพเจ้าเวลานี้ (มกราคม ๒๕๕๒) ล่อแหลมต่ออันตรายแห่งการสูญเสียชีวิต ข้าพเจ้าอยู่ไปวันต่อวันคือนึกอยู่เสมอว่าจะอยู่ถึงพรุ่งนี้หรือไม่ พรุ่งนี้กับชาติหน้าอะไรจะมาถึงก่อน พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ คณะผู้ศึกษา ธรรมวันอาทิตย์ และศิษย์ผู้สนใจในธรรมได้ร่วมกันจัดตั้ง กองทุนเพื่อการรักษาพยาบาลข้าพเจ้า โดยเอาเงินเข้าธนาคาร เบิกใช้ได้ตามประสงค์เมื่อต้องการ ขอบใจคณะศิษย์ทุกคน อันที่ จริงข้าพเจ้ามีเงินพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เมื่อคณะศิษย์ อ้อนวอนและมีเจตจำนงอันแน่วแน่ ข้าพเจ้าก็ปลื้มใจ และ อนุโมทนา ขออวยพรให้ทุกคนเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ได้เริ่มไปสอนใหม่สำหรับ ผู้ศึกษาธรรมวันอาทิตย์ที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ แต่จะสอนไป ได้นานเท่าใดไม่แน่ใจ เพราะรู้สึกว่าสุขภาพทรุดโทรมลงทุกวัน


๙๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

บุพการี v

v

เมื่อข้าพเจ้าเริ่มตั้งตัว ได้ทราบข่าวว่าป้ากลับผู้เป็นบุพการี ต่อพี่น้องของข้าพเจ้าทุกคนรวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ท่านชรามากแล้ว ยังต้องนำของไปขายที่ตลาดนัด ข้าพเจ้าถามไปว่า “เดือนหนึ่งๆ ต้องใช้เงินสักเท่าใด?” เมื่อทราบจำนวนแล้ว ข้าพเจ้าบอกว่า ให้ป้าหยุดค้าขาย เงินจำนวนนั้นจะส่งไปให้เอง ข้าพเจ้าได้ส่งเงิน ให้ป้าเสมอมาจนป้าเสียชีวิตประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ต่อมาได้ทราบข่าวว่าท่านเจ้าคุณอาจารย์ (พระราชดิลก) ป่วย ท่านอยู่ที่วัดบุปผาราม ฝั่งธนบุรี ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ต้องใช้เงินในการรักษาพยาบาล ในการซื้อยา นึกเอาเองว่าท่าน คงพอมีอยู่บ้าง วันหนึ่งได้ทราบว่าท่านให้คนถือจดหมายไปขอ เงินหลานที่หาดใหญ่ รู้สึกสลดใจว่า เราอยู่ที่ใกล้ไม่รู้ถึงความ ขาดแคลนของท่าน จึงปวารณาว่าตั้งแต่นี้ต่อไปถ้าเผื่อท่าน ต้องการปัจจัยจำนวนเท่าใดขอให้บอก และได้ถวายเป็นนิตยภัต ประจำเดือน ท่านขอให้เปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้ ท่านต้องการเมื่อ ใดก็จะให้เด็กลูกศิษย์มารับไป ตั้งแต่ปี ๒๕๒๖ จนท่านสิ้นชีวิต เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ปี ๒๕๓๔ เนื่องจากท่านมอบศพให้แก่ โรงพยาบาลศิริราช จึงได้มาทำการพระราชทานเพลิงศพเมื่อ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๗


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๙๗

ต่อมาพี่สุเมธได้มาหาที่บ้าน หลังจากคุยเรื่องอื่นกันแล้ว ตอนนั้นพี่สุเมธไม่ค่อยสบายป่วยกระเสาะกระแสะ ข้าพเจ้าได้ ถามว่า “มีลูกหลายคน เขาได้ส่งเงินให้ประจำหรือไม่” พี่สุเมธ ตอบว่า “ส่งบ้าง ไม่ส่งบ้าง ไม่แน่นอน” ข้าพเจ้าจึงได้ส่งเงินให้พี่ สุเมธทุกเดือน จนพี่สุเมธเสียชีวิตที่จังหวัดสงขลาเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ต่อมาวันหนึ่ง อาจารย์ศิริ พุทธศุกร์ ได้โทรฯทางไกลจาก เชียงใหม่มาหาข้าพเจ้า ตอนนั้นท่านไปอยู่เชียงใหม่กับลูกชาย ซึ่งสอนอยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านบอกว่าเงินที่มหาวิทยาลัย มหามกุฏฯจะให้ท่านจำนวนเท่าใด ให้ข้าพเจ้าช่วยนำฝากธนาคาร ด้วย แล้วบอกเลขที่บัญชีธนาคารให้ ข้าพเจ้าได้รู้เลขที่บัญชีของ ท่านแล้ว ก็เลยถือโอกาสฝากเงินของข้าพเจ้าให้ท่านเป็นประจำ เดือนด้วยจนท่านเสียชีวิตเมื่อเร็วๆ นี้เอง


๙๘ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ

บันทึกเบ็ดเตล็ด v

v

๑. เมื่ออายุประมาณ ๔ ขวบ จำได้ว่าไปวัดกับแม่ (วัด ห้วยพุด) ขากลับวิ่งออกหน้าแม่มาก่อน ตกลงไปในสระน้ำ ริมทาง ป๋อมแป๋มๆ ทำท่าจะจมน้ำ พอดีแม่เดินมาทันจึงช่วยไว้ได้ ๒. เมื่ออายุประมาณ ๑๑ ขวบ พี่ชายอีกคนหนึ่งมาบวช เป็นสามเณรอยู่ที่วัดภูตบรรพต เมื่อเป็นเด็กเขาอยู่ที่อำเภอ รัตภูมิ ที่มาบวชเป็นสามเณรอยู่ที่นี่ก็เพราะมีพี่ชายคนโตบวชเป็น พระอยู่ เขาคิดถึงบ้านที่รัตภูมิจึงอยากจะกลับบ้าน ชวนข้าพเจ้า ไปด้วย ต้องเดินไปไกลมากกว่าจะถึงริมทะเลที่บ้านตากลม (อ่าน ว่า ตาก-ลม) ลงเรือใบเล็กๆ จากบ้านตากลมไปขึ้นที่ปากบาง อำเภอรัตภูมิ เป็นทะเลสาบสงขลา ดูเหมือนจะมีชาวบ้านที่ บ้านตากลมไปส่ง แต่เมื่อไปถึงกลางทะเลฝนตกหนัก ลมแรง มาก สามเณรพี่ชายและเจ้าของเรือต้องลงจากเรือแล้วประคับ ประคองเรือไป ข้าพเจ้าเป็นเด็กช่วยอะไรเขาไม่ได้ ได้แต่ร้องไห้ นึกในใจว่าเราคงตายคราวนี้ แต่ก็รอดไปได้เพราะลมและฝน หยุดลง ๓. เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว อายุประมาณ ๑๔ ได้เดิน ทางจากกรุงเทพฯไปสงขลาโดยเรือสินค้าของนายเพ้ง คหบดีคน หนึ่งของจังหวัดสงขลา มีเรือสินค้าจากสงขลามากรุงเทพฯเสมอ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๙๙

เที่ยวกลับคราวนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ฝากข้าพเจ้าไปกับเรือ สินค้าของนายเพ้งกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง จำไม่ได้ว่าเป็นใคร พระภิกษุอีกรูปหนึ่งชื่อพระจรูญ อโสโก (บัดนี้เสียชีวิตแล้วใน เพศฆราวาส) เรือสินค้าโดนคลื่นหนักมาก ข้าพเจ้าเมาคลื่นอย่าง รุนแรงตลอดเวลา อาเจียนจนไม่มีอะไรเหลือ เพลียมาก นอน แบ็บอยู่ในเรือจนพระที่ไปด้วยกลัวว่าข้าพเจ้าจะตาย เพราะเมา คลื่นอยู่หลายวันหลายคืน ฉันอะไรก็ไม่ได้ ไปถึงเกาะสมุยจึง ค่อยสบายขึ้น เป็นอันรอดตายในคราวนั้น จากเกาะสมุยไป สงขลาไม่เป็นไร ๔. เมื่อถึงสงขลาแล้วไปพักที่วัดห้วยพุด ท่านเจ้าคุณ อาจารย์ไปคุมงานก่อสร้างอยู่ที่นั่น ท่านให้พระเณรที่วัดห้วยพุด แจวเรือไปบรรทุกทรายที่ตำบลปากบาง อำเภอรัตภูมิ พอเรือ ออกทะเลสาบสงขลาไปสักพักหนึ่ง แล่นใบไปได้ไม่นานเท่าไร เมฆทะมึนก็ตั้งขึ้น ฝนตกหนักต้องเก็บใบเรือเพราะมืดมิดไป หมดเลยไม่รู้ทิศทาง ปล่อยให้เรือถูกคลื่นซัดไปตามที่มันจะไป ทุกคนนั่งเฉยๆ เรือถูกคลื่นซัดอยู่ทั้งคืน โชคดีว่าเป็นเรือเปล่า ยั ง ไม่ ไ ด้ บ รรทุ ก ทราย ถ้ า บรรทุ ก ทรายมาแล้ ว เรื อ คงจมแน่ ข้าพเจ้าคงไม่มีชีวิตมาจนถึงบัดนี้ ตอนเช้า พอสว่างก็มองเห็น ทิศทาง ปรากฏว่าเรือไปติดอยู่ที่เกาะยอ ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งใน ทะเลสาบสงขลา ต้องเดินทางอีกไกลกว่าจะถึงรัตภูมิ ๕. เมื่อเป็นเด็กอยู่กับน้า อาหารการกินค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะพวกเนื้อสัตว์ ที่มีอยู่มากก็คือเนื้อปลา เพราะหาได้เอง ตามท้องทุ่ง เนื้อวัวเนื้อหมูหากินได้ยากไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ตอนนี้


๑๐๐ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ฟันไม่ค่อยดี เมื่อเจอเนื้อเหนียวๆ เข้าก็มักจะคายทิ้ง ทำให้ระลึก ถึงสมัยเป็นเด็ก ได้เนื้อสักชิ้นหนึ่ง คำหนึ่ง กินข้าวได้ ๑ จาน เพราะกลืนแต่ข้าวไม่ยอมกลืนเนื้อ กลืนต่อเมื่อข้าวคำสุดท้าย ๖. เมื่อเป็นสามเณรอายุประมาณ ๑๔ หรือ ๑๕ พระจรูญ อโสโก ชวนมาชมวัดเขมาภิรตารามฯ อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี ขากลับค่อนข้างเย็นไปหน่อย ไม่มีรถกลับ สมัยนั้น รถเมล์ไม่ได้มากมายเหมือนเวลานี้ จึงต้องเดินกลับจากวัดเขมาฯ ไปถึงวัดบุปผาราม ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ๗. เมื่อเป็นสามเณรอายุ ๑๔ หรือ ๑๕ จำไม่แม่น ตรง น่องเหนือตาตุ่มข้างขวา มีอาการบวมปูดขึ้นมา เจ็บด้วย ได้ไปที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หมอตรวจแล้วได้ทำการผ่าตัด ฉีดยาชา แล้วผ่าตัดเลย ได้ยินเสียงหมอขูดกระดูกดังแกรกๆ เสร็จแล้ว ใส่ยาเอาผ้ากอซพันแผล ข้าพเจ้าคนเดียวขึ้นรถเมล์กลับ เลย เวลาเพลแล้ว วันนั้นอดฉันเพล หลังจากนั้นแผลไม่หาย มีเนื้อ ปูดออกมาประมาณเท่าผลสมอ ข้าพเจ้าได้แต่ใส่ยาเหลือง นาน กี่เดือนจำไม่ได้ ออกบิณฑบาตก็ไม่ได้ ดีที่อยู่กันหลายรูป ได้ อาศัยอาหารบิณฑบาตที่ภิกษุสามเณรรูปอื่นได้มา ได้คุณหมอ ไพฑูรย์ สืบศิริ ลูกชายคุณแม่ริ้ว สืบศิริ มาฉีดยาให้ ๒ เข็ม แผลค่อยๆ ยุบหายไป ตอนนี้รอยแผลยังปรากฏชัดเจน จำได้ แม่นว่ายาที่ฉีดนั้นชื่อ ‘บิสมัท’ ถ้าได้ยาได้หมอที่ถูกกับโรคเสีย แต่แรกก็คงไม่เป็นแผลยืดเยื้อยาวนาน จนบางครั้งหวั่นวิตกว่า จะถูกตัดขาทิ้ง นี่คือความเป็นอยู่ในสมัยนั้น คือ จนและเจ็บ


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๐๑

๘. ความตรึกบางส่วน ข้าพเจ้านอนเล่นอยู่บนเก้าอี้โยกผ้าใบใต้ต้นวาสนาซึ่งไม่โต นัก และต้นไม้อื่นๆ เช่น ยางอินเดียและมะม่วง ซึ่งสูงพ้นรั้วบ้าน ขึ้นไปมาก ลมพัดเย็นสบาย เมื่อเห็นนานพอสมควรแล้ว ข้าพเจ้า ก็จะลุกขึ้นเดิน มีไม้เท้าเป็นเพื่อนป้องกันการเซล้มซึ่งอาจจะเกิด ขึ้นได้ เดินดูต้นโมกในกระถางสูงประมาณแค่คอของข้าพเจ้า เรียงรายอยู่หลายต้น ต้นข่อยซึ่งอยู่นอกรั้ว นานๆ จะหยุดยืนดู ต้นหูกวาง ต้นมะม่วงใหญ่ร่มครึ้มซึ่งอยู่นอกบ้านของข้าพเจ้า แต่ ข้ า พเจ้ า มี ส ิ ท ธิ ์ ท ี ่ จ ะยื น ดู แ ละชมมั น เหมื อ นของข้ า พเจ้ า เอง ข้าพเจ้ารู้สึกพอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ได้แม้เพียงเท่านี้ มี ศ ิ ษ ย์ ห ลายคนผู ้ ห วั ง ดี ช วนไปนั ่ น ไปนี ่ เ พื ่ อ เปลี ่ ย น บรรยากาศเสียบ้าง แต่เงื่อนไขแห่งโรคภัยไข้เจ็บอย่างข้าพเจ้า ทำให้ต้องปฏิเสธความหวังดีเหล่านั้น เพียงแต่ได้อยู่กับธรรมชาติ น้อยๆ เช่น ต้นไม้ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว และมีผู้ช่วยอ่านหนังสือให้ ฟัง ช่วยเขียนหนังสือให้บ้างเมื่อต้องการข้าพเจ้าก็พอใจแล้ว เปลี่ยนเป็นฟังวิทยุบ้าง ดูเรื่องที่มีประโยชน์ทางทีวีบ้าง ทำให้รู้สึก ว่าแต่ละวันผ่านไปอย่างมีความหมาย เกี่ยวกับปัจจัยสี่อันเป็นสิ่ง เกื้อกูลชีวิตก็ไม่มีอะไรขัดข้อง คนอายุ ๗๑ อย่างข้าพเจ้า

จะต้องการอะไรอีกเล่า ข้าพเจ้ามักหวนระลึกถึงเพื่อนร่วมโลก-เพื่อนร่วมเกิดแก่ เจ็บตายของข้าพเจ้าเสมอๆ ทั้งมนุษย์และดิรัจฉาน บางคนเป็น อัมพาตทั้งตัวลุกไปไหนไม่ได้ นอนอย่างเดียว เงินจะรักษาตัวก็


๑๐๒ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ไม่มี ลูกก็ยังเล็ก คู่ครองก็หนีจากไป ฯลฯ ข้าพเจ้าได้เห็นกอง ทุกข์มหึมาของมวลมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งดิ้นรนแม้เพียง เพื่อหาอาหารมาเลี้ยงชีพให้ชีวิตนี้เป็นอยู่ได้ ทำให้ข้าพเจ้าคราง เบาๆ ว่า “เพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ มวลมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายจะ ต้องดิ้นรนถึงเพียงนี้เชียวหรือ” ทำให้ระลึกต่อไปถึงบทสวดมนต์ ที่ว่า “ทุกฺโขติณฺณา ทุกฺขปเรตา แปลว่า เราทั้งหลายหยั่งลงสู่ทุกข์ แล้ว และมีทุกข์อยู่เบื้องหน้า ทำไฉนหนอความสิ้นทุกข์จะพึง ปรากฏแก่เรา” ความทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด (นตฺถิ ทุกฺขํ อชาตสฺส) ทราบมาว่า บางคนแต่งงานแล้วไม่มีลูก อยากมีลูกเป็นนักหนา พยายามขวนขวายเป็นสิบปีด้วยความยากลำบากเพื่อให้มีลูก ทั้ง อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ สำเร็จ ดูแล้วรู้สึกว่าเขาขวนขวายแสวงหาทุกข์จริงๆ น่าสงสาร สังเวชเสียนี่กระไร บางพวกทำแท้งครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อไม่ให้ลูก มีชีวิตอยู่ มองดูให้ดีเถิด สภาพชีวิตช่างหน้าสังเวชเพียงไร พระพุทธเจ้าตรัสว่า เกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์บ่อยๆ (ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ) ดังนั้น ผู้หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อความแก่ ความเจ็บไข้ และความตาย จึงควรขวนขวายเพื่อการไม่เกิด เป็นการดับภพ ดับชาติ เป็นบรมสุข ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “การดับภพเสียได้ เป็นนิพพาน-นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ)” วศิน อินทสระ ๕ สิงหาคม ๒๕๔๘


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๐๓

๙. เมื่ออายุ ๗๑ ช่วงเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่ไม่มากนักนี้ ข้าพเจ้าไม่อยาก สนใจเรื่องอะไร นอกจากเรื่องบุญกุศลและการมนสิการธรรมะ หรือกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันจะทำให้จิตใจสงบและสว่าง ด้วยปัญญา เรื่องยุ่งๆ ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในขอให้พ้นไป จากวงชีวิตของข้าพเจ้าโดยสิ้นเชิง ขอให้ข้าพเจ้ามีชีวิตที่สงบสุข เยือกเย็น เพื่อว่าสิ่งนี้จักแผ่ไปเป็นประโยชน์แก่มวลชนในวง กว้าง ขออย่าได้มีสิ่งใดหรือใครๆ เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อความ ตั้งใจนี้เลย (ความคิดปรารภของคนชราคนหนึ่ง)


๑๐๔ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ โล่และเกียรติบัตร ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับโล่รางวัลชมเชยจากคณะกรรมการ จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ประเภทสารคดี หนังสือเรื่อง จริยาบถ ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ หนังสือเรื่องจริยศาสตร์ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒ ได้รับโล่พุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณและเกียรติบัตรในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและ วัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ ร ั บ รางวั ล พระราชทานเสาเสมา ธรรมจั ก ร เป็ น รางวั ล ในฐานะผู ้ บ ำเพ็ ญ คุ ณ ประโยชน์ แ ก่ พระพุทธศาสนาประเภทวรรณกรรม เนื่องในโอกาสสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับเกียรติคุณบัตรจากกระทรวง ศึกษาธิการในฐานะเป็นรางวัลชมเชย ประเภทสร้างสรรค์ด้าน ศาสนาจากบทความเรื่อง ‘หลักกรรมกับการพึ่งตนเอง’ กองทุนและการให้ทุน - ได้ตั้งกองทุนเป็นค่าภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรที่ มหาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ มหามกุ ฏ ฯ วิ ท ยาเขตวั ง น้ อ ย-วิ ท ยาเขต อ้อมน้อย


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๐๕

- ตั้งทุนไว้ที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ดอกผลบำรุง การศึ ก ษาแก่ พ ระภิ ก ษุ ส ามเณร นั ก ศึ ก ษาที ่ ม หาวิ ท ยาลั ย มหามกุฏฯ วัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ได้ตั้งทุนในชื่อของ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ คือ ท่านเจ้าคุณพระราชดิลก 1 ทุนด้วย - ตั ้ ง กองทุ น เพื ่ อ นั ก เรี ย นพระพุ ท ธศาสนาวั น อาทิ ต ย์ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสงเคราะห์เด็กที่ควรช่วยเหลือ - ให้ทุนนักศึกษาปริญญาตรีผู้สอบได้คะแนนดีในวิชาที่ ข้าพเจ้าสอนที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏฯ - ตั้งทุนที่มูลนิธิมหามกุฏฯ ดอกผลถวายแก่พระภิกษุ สามเณรผู้อาพาธที่วัดบุปผาราม เขตธนบุรี กรุงเทพฯ - ตั้งทุนเพื่อพระภิกษุสามเณรผู้อาพาธที่โรงพยาบาลสงฆ์ - ถวายปัจจัยพระสวดปาติโมกข์วัดบุปผารามและวัดเขมา ภิรตารามฯ (อ.เมือง จ.นนทบุรี) เดือนละ ๑,๐๐๐ บาทต่อวัด ปีละ ๑๒,๐๐๐ บาทต่อวัด เกี่ยวกับเสนาสนะ ๑. ช่วยสร้างโรงครัวที่วัดภูตบรรพต ตำบลชะแล้ อำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา บริจาค ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท) ๒. ช่วยสร้างศาลาที่พักคนมาทำบุญที่วัดห้วยพุด ตำบล รำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บริจาค ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท) ๓. ช่วยสร้างห้องสุขาที่วัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัด นนทบุรี บริจาค ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาท)


๑๐๖ อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๔. ช่วยสร้างกุฏิวัดป่าภาวนาวิเวก อำเภอจอมบึง จังหวัด ราชบุรี (จำนวนเงินจำไม่ได้) ๕. ช่วยสร้างห้องสุขาให้วัด... ที่จังหวัดกระบี่ บริจาค ๓๕,๐๐๐ บาท (สามหมื่นห้าพันบาท) ๖. บริจาคช่วยในการตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา ของ ศูนย์พิทักษ์พุทธศาสนา ณ วัดราชาธิวาสฯ ถนนสามเสน เขต ดุสิต กรุงเทพฯ บริจาค ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาท)

ฯลฯ เรื่องการตั้งกองทุนและการสร้างเสนาสนะนี้ดูเป็นเรื่อง เล็กน้อย แต่ข้าพเจ้าบันทึกไว้เพื่อเป็นจาคานุสติแก่ข้าพเจ้าเอง และเพื่อลูกหลานรู้แล้วจักได้อนุโมทนา


อั ต ชี ว ป ร ะ วั ติ ข อ ง ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๐๗

เกี่ยวกับหนังสือ ได้เขียนหนังสือไว้หลายแบบหลายรส เช่น นวนิยายอิง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บทความทางวิชาการ หนังสือ ตำราเรียน หนังสือสำหรับประชาชนทั่วไป ย่อความและขยาย ความพระไตรปิฏก ฯลฯ ประมาณ ๑๓๐ เรื่อง (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง ๒๕๕๒) โดยเฉพาะเรื่องพระอานนท์พุทธอนุชานั้น นอกจากจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสังคมไทยแล้ว สารานุกรมวรรณกรรมโลกในศตวรรษที่ ๒๐ (Encyclopedia of World Literature in 20th Century) ได้นำเรื่องพระอานนท์ พุทธอนุชาไปสดุดีไว้ในหนังสือดังกล่าวนั้น เป็นทำนองว่าได้ชี้ ทางออกให้แก่สังคมไทยที่สับสนวุ่นวายอยู่ด้วยปัญหานานัปการ


ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง


ความคิดที่ถูกต้อง


๑๑๐ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง

v

ความคิดที่ถูกต้อง v

กล่าวโดยปริยายเบื้องต่ำ (เหฏฐิมปริยาย) หรือโดยทั่วไป ความดำริชอบก็คือความคิดชอบ (Right Thought) คิดในทาง มีคุณประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น วางแนวจิตของตนไว้ใน ทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ จิตวิทยาบอกเราว่าความคิดของคน มีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของเขาเป็นอันมาก คนคิดอย่างใดบ่อยๆ ในที่สุดก็จะเป็นอย่างที่เขาคิด (All that we are is the result of what we have thought.) ทั้งนี้เพราะพลังจิตของเขา นั่นเองผลักดันให้เป็นไป บุคคลมีกระแสจิตพุ่งแรงไปในทางใด วิถีชีวิตของเขาย่อมหันเหไปทางนั้น ในทางเดียวกันนั้นย่อมมี บุคคลเดินอยู่มากด้วยกัน ใครมีกระแสความคิดแรง ย่อมมี ความพยายามสูง ความพยายามสูงประกอบด้วยสติปัญญาที่เขา มีอยู่ย่อมก้าวล้ำหน้าผู้ที่เดินอยู่ในแนวเดียวกัน หรือในทาง เดียวกัน เหมือนม้าฝีเท้าดี สามารถวิ่งล้ำหน้าม้าฝีเท้าไม่ดีไป เมื่อเรารู้ว่าความคิดของเรามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต และอนาคตของเรามากอย่างนี้ ควรหรือไม่ที่เราจะสร้างความคิด ของเราให้ดี วางแนวจิตของเราให้ถูกต้อง เพื่อให้เข้าใจง่ายและ เพื่อผลในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ข้าพเจ้าขอแยกกล่าวเป็น เรื่องๆ พอเป็นแนวทางดังนี้


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๑๑

๑. ความตั้งใจในทางดี คือคนที่จะทำอะไรให้ได้ดีนั้น เบื้องแรกต้องมีความตั้งใจเสียก่อน อันนี้หลังจากที่มีความเห็น อันถูกต้องแล้วว่าสิ่งนั้นดี ก็เริ่มตั้งใจ, คนทุกคนต้องมีความ ตั้งใจ ถ้าไม่ตั้งใจในทางดีก็ต้องตั้งใจในทางชั่ว แต่ทุกคนยอมรับ ว่า การตั้งใจในทางดีย่อมจะดีกว่าการตั้งใจในทางชั่ว พยายาม ให้กระแสจิตของเราพุ่งไปในทางดี จะมองคนอื่นก็พยายามมอง ให้เห็นแง่ดีของเขา ถึงเขาจะมีความชั่วอยู่บ้างก็ตาม ความตั้งใจในทางดีนี้ เช่น ตั้งใจอยู่เสมอว่าจะเป็นคนดี เป็นพระดี เป็นสามี หรือเป็นภรรยาที่ดี และตั้งใจจะทำความดี การที่เราจะเป็นคนดีนั้น ไม่ต้องเอาตัวไปเทียบกับใคร และไม่ ต้องเอาใครมาเทียบกับตัว แต่เราใช้วิธีเทียบกับตัวเราเอง คือตัว เราวันนี้ กับตัวเราเมื่อวานนี้เป็นอย่างไร ตัวเราเดือนนี้กับเดือน ก่อน ปีนี้กับปีก่อน เราดีขึ้นหรือเลวลง หรือเหมือนเดิม เราอาจ เอาเรื ่ อ งหลายๆ เรื ่ อ งที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ตั ว เราโดยตรงยกขึ ้ น พิจารณา เช่น เศรษฐกิจ สุขภาพทางกาย-ทางจิต ความรู้ ความ สามารถ มนุษยสัมพันธ์ ความก้าวหน้าในการงานที่ประสงค์ ฯลฯ ความก้าวหน้า-ถอยหลังของเรื่องเหล่านั้นอาจกลมกลืน กัน หรือขัดแย้งกันก็ได้ ในกรณีที่กลมกลืนกัน ไม่มีปัญหา แต่ ปัญหาจะเกิดขึ้นแก่เราในกรณีที่มันขัดแย้งกัน ซึ่งเราจะต้อง เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจกับ สุขภาพจิต เมื่อเกิดขัดแย้งกันขึ้น พวกที่ยึดปรัชญาชีวิตในแง่


๑๑๒ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง วัตถุนิยมจะเลือกเอาความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ยอมให้สุขภาพ จิตเสื่อม ส่วนผู้ยึดปรัชญาชีวิตในแง่จิตนิยม จะเลือกเอาความ ก้าวหน้าทางสุขภาพจิต ยอมให้เรื่องเศรษฐกิจเสื่อมไป ดังนี้ เป็นต้น การเลือก หรือทางเลือกนี้ คนสมัยใหม่เรียกค่านิยม (Value) คนมีจิตสำนึกให้ค่านิยมในสิ่งใด ย่อมตีค่าของสิ่งนั้นสูง กว่าอีกสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง เมื่อจำเป็นต้องเลือก ตัวอย่างเช่น

ก. มีค่านิยมทางวิชาการ ข. มีค่านิยมทางตำแหน่ง ยศศักดิ์ เมื่อ ถึงคราวต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง ก. ย่อมปัดเรื่องตำแหน่งและยศศักดิ์ทิ้งไป เลือกเอาความก้าวหน้า ทางวิชาการ ถ้ามีอีกคนหนึ่งคือ ค. ให้ค่านิยมแก่ทรัพย์สินหรือ ความมั่งคั่ง ค. ย่อมปัดยศศักดิ์และวิชาการทิ้ง ยึดเอาทรัพย์สิน ไว้, ทั้ง ๓ สิ่งดังกล่าวมา เป็นการยากที่คนคนเดียวจะสามารถยึด ไว้ได้ทั้งหมด มนุษย์ในสังคม โดยเฉพาะในสังคมใหญ่ๆ จึงมัก ต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออย่างมากก็ได้เพียง ๒ อย่าง เมื่อความคิดของบุคคลพุ่งไปทางใด กระแสจิตของเขา เดินอยู่ทางใด วิถีชีวิตของเขาก็ย่อมเป็นไปทางนั้น ความคิด เปรียบเหมือนนายท้ายเรือ ส่วนวิถีชีวิตเปรียบเหมือนหัวเรือ พวงมาลัยหมุนไปทางใด หัวเรือย่อมหมุนไปทางนั้น เปรียบด้วย รถก็ได้ ความคิดเปรียบเหมือนพวงมาลัยรถ ส่วนวิถีชีวิตเปรียบ เหมือนด้านหน้าของรถ


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๑๓

พอจะเห็นได้แล้วว่า ความคิดมีความสำคัญเพียงใด จึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งความคิดไว้ในทางที่ดีที่ชอบ วิถีชีวิต ของคน การดำเนินชีวิตของเขาจะเปลี่ยนไปทันที ถ้าความคิด ของเขาเปลี่ยนไปไม่ว่าทางดีหรือทางชั่ว ๒. ความคิดในการต่อสู้อุปสรรค ชีวิตทุกชีวิตย่อมได้พบ กับอุปสรรคมากบ้าง น้อยบ้าง ถ้าเติบโตขึ้นมีตำแหน่งยศศักดิ์สูง ขึ้นอุปสรรคก็ย่อมใหญ่ขึ้นตามกัน งานใหญ่ อุปสรรคก็ใหญ่ เหมือนเรือใหญ่ต้องคลื่นใหญ่ คนที่จะฝ่าฟันอุปสรรคไปได้นั้น ต้องมีความคิดในทางต่อสู้ ที่เรียกในภาษาวิชาการว่า Positive Thinking ไม่ใช่คิดในทางเลี่ยงหนี หรือ Negative Thinking เมื่อบุคคลคิดในทางสู้ พลังจิตนั้นเองจะช่วยหนุนให้พลังกาย พร้อมในการที่จะต่อสู้ ตัวอย่าง สุนัขที่เห็นสุนัขอีกตัวหนึ่งวางท่า จะกัดมัน ถ้ามันคิดสู้ พลังที่จะต่อสู้ย่อมทำให้ท่าทางของมัน องอาจขึ้น กล้ามเนื้อของมันแข็งและเหนียวขึ้น แต่ถ้ามันไม่คิดสู้ มันกลัว พลังที่จะต่อสู้ก็ไม่มี กล้ามเนื้อหย่อน ท่าทางหงอย บางทีถึงกับคลานเข้าไปหมอบลงต่อหน้าอีกตัวหนึ่ง จิตวิทยาบอกเราว่า ความไม่กลัวนั้นมีประโยชน์แก่กล้าม เนื้อ, สมอง และหัวใจของเรามาก ตรงกันข้ามกับความกลัวซึ่งจะ ทำลายเราทุกอย่าง มนุษย์ที่จะต้องต่อสู้ ก็ต้องใช้พลังความคิด กำลังใจเป็น อั น มาก เราจำเป็ น ต้ อ งสร้ า งความคิ ด ในการต่ อ สู ้ อุ ป สรรค


๑๑๔ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง รอบด้าน คนที่ประสบความสำเร็จรุ่งโรจน์นั้นล้วนเป็นผู้มีกำลัง ความคิดแข็ง สามารถเอาชนะอุปสรรคได้ทั้งสิ้น เพราะอุปสรรค ขวางหน้าผลสำเร็จทุกๆ อย่างอยู่ เหมือนของดีอยู่ในตู้กระจก เราจะต้องเปิดกระจก หรือทุบกระจกเข้าไปหยิบเอา ความจริงอุปสรรคนั้นเป็นเครื่องทดลองกำลังใจ กำลัง ความสามารถของคน มันเหมือนเทพธิดาที่มาในรูปของมารร้าย เมื่อเห็นเราสู้จะแพ้หรือชนะไม่สำคัญ ความสำคัญอยู่ที่เราสู้

เทพธิดาก็จะเผยตัวจริงให้เห็น ทำให้เราชื่นใจ เมื่ออุปสรรคอันหนักหน่วงได้ผ่านพ้นไปแล้ว เหลือไว้แต่ ความทรงจำในความสำเร็จของเรา-เราจะชื่นใจไปตลอดชีวิต เมื่อ นึกถึงมัน, ถ้าไม่สำเร็จ ก็เป็นบทเรียนอันดียิ่งของชีวิตให้เราได้ เรียนรู้ว่า ทำไมเราจึงไม่ประสบผลสำเร็จในเรื่องนั้น ทำให้เรา ต้องหาข้อบกพร่องของเราให้ได้ ค้นหาวิธีการใหม่เพื่อความ สำเร็จในก้าวต่อไป และเพราะบทเรียนแห่งความล้มเหลวอันนั้น เอง อาจนำเราไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่กว่า ดีกว่า มีคุณค่า มากกว่า เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นทางดีแล้ว จึงไม่ควรย่อท้อต่อ อุปสรรค ต้องมีความคิดในการต่อสู้ ความคิดของคนมีความ สำคัญต่อชีวิตทั้งชีวิตของเขา เขาจะเป็นอย่างไรก็สุดแล้วแต่ ความคิดของเขา


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๑๕

v

ความสำคัญของความคิด v

เพื่อให้ท่านได้เห็นว่า ความคิดของคนมีความสำคัญต่อตัว เขาอย่างไร ข้าพเจ้าขอนำแนวคิดของปราชญ์ต่างๆ มาให้ท่าน พิจารณา ขอยกเอาของพระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า มากล่ า วก่ อ น พระองค์ทรงย้ำเรื่องความสำคัญของจิตหรือความคิดไว้มาก เหลือเกิน นักปรัชญาทั้งหลายเมื่อศึกษาแนวคิดของพระองค์ แล้ว ก็จัดพระองค์ไว้ในประเภทนักปรัชญาจิตวาท หรือจิตนิยม (Idealist) คำสอนของพระองค์ท่าน ที่บ่งบอกถึงความสำคัญของ ความคิดมีมากมายด้วยกัน ขอยกมาเพียงเล็กน้อยดังนี้ ๑. ในคัมภีร์ธรรมบท (ขุททกนิกาย พระไตรปิฎก ๒๕/ ๑๕) ตรัสไว้ว่า “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺ า มโนมยา มนสา เจ ปทุฏฺเ น ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ จกฺกํว วหโต ปทํ


๑๑๖ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีความคิดเป็นประธาน สำคัญที่ความ คิด ย่อมสำเร็จได้ด้วยความคิด ถ้าคนคิดไม่ดี ย่อมพูดไม่ดี และทำไม่ดี หลังจากนั้นความทุกข์ก็ตามมา เหมือนล้อเกวียน ตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป” ดร. ราธกฤษนัน* นักปรัชญานามอุโฆษแห่งอินเดีย ได้ กล่าวส่งเสริมพระพุทธภาษิตนี้ไว้ว่า “ความคิดมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ ต่อชีวิตและสังคมของมวลมนุษย์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราเป็นอยู่ เป็นผลแห่งความคิดของเรา ในปริยายหนึ่ง เป็นความจริงที่ว่า เราอยู่ในโลกแห่งวัตถุ แต่กล่าวโดยปริยายที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เราอยู่ในโลกแห่งความคิด ถ้าเราเปลี่ยนความคิดได้ ชีวิตของเรา ก็จะเปลี่ยนไป และลักษณะความเป็นอยู่ของโลกก็จะพลอย เปลี่ยนไปด้วย” ความหมายของพระพุทธภาษิต และคำส่งเสริมของ ดร.

ราธกฤษนัน ก็คือ ความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดซึ่งมีอิทธิพลในการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน เปลี่ยนแปลงสังคมและโลก เมื่อ ความคิดเปลี่ยนไปการดำเนินชีวิตของคนย่อมเปลี่ยนไป การ เปลี ่ ย นไปแห่ ง การดำเนิ น ชี ว ิ ต ของคน ย่ อ มหมายถึ ง การ เปลี่ยนแปลงของสังคม เมื่อสังคมเปลี่ยนไปโลกก็ย่อมเปลี่ยนไป ด้วย เพราะสังคมประกอบขึ้นเป็นโลกมนุษย์ ขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อย เมื่อแนวคิดของคนเพ่งเล็งไป ในความก้าวหน้าทางวัตถุเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต พวก * Radhakrishnan : The Dhammapada : Oxford University Press


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๑๗

เขาย่อมมุ่งแสวงหาวัตถุเป็นจุดสำคัญ เอาวัตถุมาเป็นเครื่องวัด ความสำเร็จแห่งชีวิต สังคมโลกก็เปลี่ยนแปลงโน้มเอียงไปในทาง วั ต ถุ วุ ่ น วายอยู ่ ก ั บ วั ต ถุ แต่ ถ ้ า แนวคิ ด ของคน (Mental Attitude) พุ่งไปในทางความเจริญก้าวหน้าทางจิตใจ พวกเขา ย่อมมุ่งไปในทางพัฒนาจิตใจ (Mental Development) เป็น สำคัญ แข่งขันกันพัฒนาจิตใจว่าใครจะใจสูงกว่าใคร คนที่จะได้ รับการยกย่องนับถือมากที่สุดคือคนที่ใจสูงที่สุด ความวุ่นวาย ย่อมไม่มี เพราะการพัฒนาจิตใจ มีความสงบเป็นปัจจัยสำคัญ ๒. มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า “อะไรนำโลกไป? อะไรทำให้ โลกต้องดิ้นรน? สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจของอะไร ?” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ความคิดนำโลกไป ความคิด ทำให้โลกดิ้นรน สิ่งทั้งปวงตกอยู่ใต้อำนาจของความคิดนั่น

แหละ๑” อธิบายว่า โลกจะไปทางไหน (โลกในที่นี้หมายถึงหมู่ มนุษย์) ก็สุดแล้วแต่ความคิดของมนุษย์จะนำไป จะไปทางดี หรือทางชั่ว ทางสงบหรือทางวุ่นวาย ทางสงเคราะห์เมตตากัน หรือทางเบียดเบียนกัน ก็สุดแล้วแต่ผู้นำโลกคือความคิด หรือ จิตมนุษย์นั่นเอง

๑ เทวตาสังยุต สังยุตนิกาย ๑๕/๕๔


๑๑๘ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง โลกคือหมู่มนุษย์ดิ้นรนก็เพราะจิตดิ้นรน หรือความคิด ของเขานั่นเองดิ้นรน พอความคิดของเขาสงบโลกก็สงบ สิ่งทั้ง ปวงจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความคิดอย่างแท้จริง ถ้าความ คิดของมนุษย์อยู่ในภาวะที่สงบ โลกนี้จะสงบลงทันที ความสุขก็ เกิดตามขึ้นมาทันทีเหมือนกัน ๓. มีเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล คือ พระรูปหนึ่ง กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า สิกขาบทบัญญัติ คือพระวินัยและธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้นมีมากเหลือเกิน รักษาให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ไม่ไหว เหยียดมือเหยียดเท้าไม่ค่อยได้ ดูจะผิดไปเสีย หมด จะบวชอยู่ต่อไปไม่ไหวแน่ อยากจะขอลาสึกไปประพฤติ ธรรมในเพศฆราวาส พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ถ้าเธอสามารถรักษาสิ่งสิ่งหนึ่งได้ ก็ ไม่ต้องรักษาอะไรอื่นอีก ธรรมและวินัยเป็นอันมาก เป็นอันเธอ รักษาได้หมด และมีความสุขเป็นผลด้วย” พระรูปนัน้ ทูลถามว่า สิง่ สิง่ นัน้ คืออะไร? ตรัสตอบว่า คือ ความคิด ถ้ารักษาความคิดได้ อย่างอื่นก็เป็นอันรักษาได้หมด ภิกษุนน้ั รับว่า พอรักษาได้ ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของพระพุทธเจ้า โดยพยายาม รักษาความคิดให้อยู่ในร่องรอยที่ดีที่ชอบ ไม่ช้าก็ได้สำเร็จ

อรหัตผล ฯลฯ


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๑๙

พระพุทธภาษิตที่ยกมา ๓ เรื่องนี้พอเป็นตัวอย่าง ยังมีอีก มากมายเหลือเกินที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เห็นความสำคัญของ ความคิด ความสำคัญแห่งความคิดนั้นควรจะเป็นบทเรียนอัน

ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ทีเดียว หมายความว่ามนุษย์ควรจะได้เรียนรู้ ความสำคั ญ อั น ยิ ่ ง ใหญ่ ข องสิ ่ ง นี ้ ต ั ้ ง แต่ ห นุ ่ ม สาว มัน จะเป็ น ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเขาไปตลอดชาติ ช่วยให้เขามี ความสุขสดชื่น ช่วยลดทุกข์ที่มนุษย์ชอบสร้างขึ้นมาหลอกตัวเอง เจ. เอ. แฮดฟีลด์ จิตแพทย์เรืองนามชาวอังกฤษได้เล่าไว้ ในหนังสือเรื่อง จิตตานุภาพ (Psychology of Power) ของเขา ว่า เขาได้ทดสอบชาย ๓ คน เพื่อหาข้อเท็จจริงว่าจิตใจจะทำให้ กำลังทางกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ เขาให้ชาย ๓ คน บีบเครื่องวัดกำลังแรงของกล้ามเนื้อ (ไดนาโมมิเตอร์) ให้แรง ที่สุดเท่าที่จะแรงได้ เขาทดสอบ ๓ วาระ วาระแรกในห้องทดลองในขณะปกติธรรมดา ผลปรากฏ ออกมาว่า โดยส่วนเฉลี่ยคนหนึ่งบีบได้แรง ๑๐๑ ปอนด์ พอถึงวาระที่สอง เขาสะกดจิตคนทั้ง ๓ แล้วทดลอง โดย บอกให้พวกเขาทราบว่าเวลานี้ทั้ง ๓ คนเป็นผู้อ่อนแอมาก กำลัง อ่อนเพลียเต็มที แล้วให้บีบไดนาโมมิเตอร์ ปรากฏผลการบีบ เฉลี่ยแล้วได้คนละ ๒๙ ปอนด์ น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของการ ทดลองครั้งแรก


๑๒๐ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง

ความจริงใน ๓ คนนั้น คนหนึ่งเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียง หลังจากถูกสะกดจิตแล้ว พอได้ยินนายแพทย์บอกว่าเขาเป็นคน ไม่มีแรง เขาพูดขึ้นว่ารู้สึกแขนของเขาเล็กจิ๋วคล้ายแขนของเด็ก ทารก พอถึงวาระแห่งการทดลองครั้งที่สาม ขณะที่ชายทั้ง ๓ ถูกสะกดจิตเช่นเดียวกัน นายแพทย์แฮดฟีลด์บอกคนทั้ง ๓ ว่า พวกเขามีกำลังแข็งแรงพิเศษทีเดียว ผลการบีบไดนาโมมิเตอร์ คิดเฉลี่ยแล้วคนละ ๑๔๒ ปอนด์ น่าแปลกจริงๆ ในขณะที่

คนทั้ง ๓ คิดว่าเขามีกำลังแข็งแรงเป็นพิเศษนั้น กำลังกายของ เขาสูงขึ้นกว่าในยามที่คิดว่าตนอ่อนเพลียเกือบ ๕๐๐% นี่คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งให้เห็นว่า แนวความคิดมีอำนาจ น่าพิศวงเพียงใด มันช่วยเปลี่ยนแปลงพลังกายได้ถึงเกือบ ๕๐๐% ชายคนหนึ่งวิตกกังวลมาก-วิตกโดยไร้เหตุผล จนเป็น โรคประสาทพิการ ต้องลางานไปพักผ่อน พ่อได้เขียนหนังสือ

ไม่กี่ตัวใส่ซองให้เขา บอกว่าให้เปิดอ่าน เมื่อเขาไปถึงที่พักผ่อน ณ เมืองชายทะเลอันมีชื่อเสียง ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย เขาคงวิตก หมกมุ่นอยู่อย่างเดิม และดูเหมือนจะมากกว่าเก่าเสียอีก เขาเปิด จดหมายของพ่อขึ้นอ่าน ข้อความในจดหมายเขียนว่า “คนคิดใน ใจเขาว่าเป็นอย่างไร เขาก็จะเป็นอย่างนั้น - As a man thinks in his heart, so is he.”


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๒๑

ทีแรกเขาโกรธพ่อมากที่ไม่เข้าใจเขา แต่ในที่สุดเมื่อการ พักผ่อนที่เมืองชายทะเลไม่ช่วยอะไรเขาได้เลย เขาก็กลับมา

ทบทวนคำพูดของพ่ออีกครั้ง อีกครั้ง และอีกครั้ง...ประกอบกับ วั น หนึ ่ ง เดิ น เข้ า ไปในวั ด ด้ ว ยความกลุ ้ ม ใจ ได้ ย ิ น เสี ย งพระ

(ในคริสต์ศาสนา) เทศนาในทำนองเดียวกับที่พ่อสอนอีก จึงเห็น จริงว่า ความทุกข์ความกังวลทั้งหลายนั้นเป็นเพราะความคิดของ ตนเองสร้างมันขึ้นมาทั้งสิ้น เขากลับบ้านพร้อมด้วยบทเรียนอัน

ยิง่ ใหญ่ คือความสำคัญแห่งความคิด เขาเปลีย่ นแนวคิดใหม่ ไม่ วิตกกังวลหมกมุน่ ทำใจให้แจ่มใส มีชวี ติ ผาสุกและรุง่ เรืองดีอย่าง ทีเ่ ขาไม่เคยคาดหวังมาก่อนเลย แต่นา่ อัศจรรย์ คือสิง่ ทีเ่ คยหวาด กลัวว่าจะเกิดขึน้ แก่เขา จนเขาต้องเป็นโรคประสาทพิการหมดกำลัง นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแก่เขาเลยแม้สักอย่างเดียว เขากลัวไปเปล่าๆ

สร้างภาพลวงขึน้ มาหลอกตัวเองเปล่าๆ ด้วยเหตุนี้เอง เอเมอร์สันจึงกล่าวว่า “มนุษย์เราจะเป็น อย่างที่เขาคิดตลอดทั้งวัน - A man is what he thinks about all day long.” มาร์คุส ออเรลิอุส มหาจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน

ก็กล่าวไว้ทำนองเดียวกันนี้ว่า “ชีวิตของเราก็จะเป็นไปตามความ คิดของเรา - Our life is what our thoughts make it.”


๑๒๒ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง มองตาญ (Montaigne) ปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้แสดง ความเห็ น ไว้ เ หมื อ นกั น ว่ า “มนุ ษ ย์ ไ ม่ ป วดร้ า วอะไรนั ก ต่ อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ปวดร้าวเพราะเอามาคิดต่างหาก - A man is not hurt so much by what happens as by what opinion of what happens.” และการที่จะคิดถึงเหตุการณ์นั้นๆ ให้เป็นไปในรูปใด ก็ สุดแล้วแต่ตัวของเราเอง ในหนังสือเรื่อง เป็นไปตามความคิดของตนเอง (As A Man Think) โดย เจมส์ อัลเลน (James Allen) ผู้ประพันธ์

ได้เขียนไว้ว่า “คนเราไม่ติดเนื้อต้องใจสิ่งใดมากไปกว่าตัวของตัวเอง เทพเจ้าผู้กำหนดโชคชะตาของเราคือตัวเราเอง ความสำเร็จทุก ประการของมนุ ษ ย์ เ ป็ น ผลโดยตรงแห่ ง ความคิ ด ของเขาเอง มนุษย์จะก้าวหน้า จะได้รับชัยชนะและประสบความสำเร็จ ก็โดย การยกความคิ ด ของเขาให้ สู ง ขึ ้ น (By Lifting Up His Thoughts) ผู้อ่อนแอ ต่ำต้อยและประสบความทุกข์ยากก็เนื่อง มาจากไม่ยอมยกความคิดของตนให้สูงขึ้น” อย่างไรเรียกว่า ยกความคิดของตนให้สูงขึ้น? พูดให้สั้น คือไม่ยอมแพ้แก่อำนาจฝ่ายต่ำ เช่น ความเกียจคร้าน ยกความ


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๒๓

คิดของตนให้อยู่เหนืออำนาจแห่งความเกียจคร้าน เหนืออำนาจ แห่งความลังเลไม่แน่นอน ตรงกันข้าม ความคิดของเราจะต้อง สู ง และมั ่ น อยู ่ ใ นอุ ด มคติ ในทางดี แน่ น อนมั ่ น คง ไม่ คลอนแคลน ความคิดของเราไม่จม แต่เป็นความคิดที่เฟื่องฟู เรื่องทำนองนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้เหมือนกัน เช่น “คนยังหนุ่มมีกำลังแต่เกียจคร้าน ไม่ลุกในกาลที่ควรลุก เป็นผู้มีความคิดจม (สํสนฺนสงฺกปฺปมโน) และเกียจคร้าน ย่อม ไม่พบทางแห่งปัญญา๒” คำว่า สํสนฺนสงฺกปฺปมโน - มีความดำริจม หรือความคิด จมนั้น คือ ไม่ได้ยกความคิดขึ้น ไม่ริเริ่มที่จะทำอะไร เมื่อไม่มี การริเริ่มและไม่มีความบากบั่น ก็ไม่มีทางที่จะประสบความ สำเร็จอะไรได้ ที่ว่าคนเช่นนั้นย่อมไม่พบทางแห่งปัญญานั้น เพราะคนไม่ ทำงานปัญญาย่อมไม่เกิด ที่มีอยู่บ้างแล้วก็หดหายไป แต่เมื่อ ทำงาน ย่อมมีอุปสรรค อุปสรรคทำให้คนหาช่องทางเอาชนะ อุปสรรค อาการเช่นนี้แหละก่อให้เกิดปัญญา เมื่อบ่อยเข้าก็เป็น ผู้มากด้วยปัญญา ๒ ธรรมบท ขุททกนิกาย ๒๕/๕๒


๑๒๔ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ศาสตราจารย์ วิลเลียม เจมส์ ผู้สูงส่งทางด้านวิชาการใน การปฏิบัติทางจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า “เคราะห์กรรมของเรา - เราสามารถเปลี่ยนให้เป็นสิ่งน่ารัก และเป็นกำลังใจของเราได้ด้วยการเปลี่ยนแนวคิดจากหวาดกลัว มาเป็นการต่อสู้” มหาบุรุษอีกท่านหนึ่ง คือ ลินคอล์น ได้พูดถึงความสำคัญ แห่งความคิดไว้ว่า “คนทุกคนจะมีความสุขได้มากน้อยก็สุดแล้ว แต่ใจของเขาเอง - Most folk are about as happy as they make up their minds to be.” ทำนองเดียวกันนี้ เอเมอร์สัน กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะนำ ความสงบสุขมาให้ นอกจากตัวท่านเอง - Nothing can bring you peace but yourself.” เท่าที่ยกเอาวาทะของปราชญ์ต่างๆ มาเสนอไว้ในที่นี้เพียง เล็กน้อยนี้ ก็น่าจะเพียงพอสำหรับให้เราได้มองเห็นความสำคัญ แห่งความคิด จริงอยู่สภาพการณ์ภายนอก เช่น บ้านเรือน อาหาร และ คนย่อมมีส่วนในความสุขหรือทุกข์ของเราเหมือนกัน แต่ไม่มาก เท่าความคิดของเรา ถ้าเราคิดเป็น ทุกอย่างย่อมแปรสภาพมา


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๒๕

เป็นประโยชน์แก่เรา แม้ความปราชัยแห่งชีวิตในบางครั้งบาง คราว มันก็จะเป็นเพียงตอนหนึ่งแห่งกีฬาชีวิต ทั้งเป็นบทเรียน อันล้นค่าในการที่จะเสริมสร้างเราให้สูงเด่นยิ่งขึ้น ขออย่างเดียว ขอให้เราคิดให้เป็น รู้จักคิด และคิดให้ชอบ ให้ถูกทาง ที่ พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า ‘จิต หรือความคิดที่ตั้งไว้ชอบ’ ความ คิดเช่นนั้นย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลผู้นั้นอย่างประมาณ มิได้ และใครๆ ก็ทำให้เขาไม่ได้นอกจากตัวของเขาเอง มหาตมะคานธี กล่าวว่า “คุณสมบัติเป็นสิ่งซ่อนเร้นมิได้ ย่อมประจักษ์แจ้งอยู่บนใบหน้าแห่งบุคคลผู้เป็นเจ้าของเสมอ” อธิบายว่าใบหน้าของบุคคล ย่อมแสดงถึงความคิดภายใน จิตใจของเขา พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ความคิดภายในของบุคคล แสดงออกมาให้ เ ราเห็ น ทางใบหน้ า ของเขานั ่ น เองว่ า เป็ น คน อย่างไร เช่น ซื่อ ไว้ใจได้ หรือไม่ซื่อ ไม่น่าไว้ใจ, เฉลียวฉลาด หรือโง่ทื่อ อย่างที่เรามักได้ยินคนพูดกันอยู่เสมอว่า คนนั้น หน้าตาท่าทางซื่อ คนนี้หน้าตาท่าทางไม่น่าไว้ใจ ความคิดของเขานั่นเองสร้างใบหน้าและดวงตาของเขาให้ คนอื่นดูออกว่าเขาเป็นคนอย่างไร ความคิดอันยั่งยืนของเขา สร้างอุปนิสัยของเขา อุปนิสัยสร้างวิถีชีวิต เกี่ยวกับเรื่องนี้ขอนำ คำในภาษาอังกฤษมาประกอบการพิจารณาดังนี้


๑๒๖ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง

Sow a thought, reap an act; Sow an act, reap a habit; Sow a habit, reap a character; Sow a character, reap a destiny.๓

ความคิดก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำก่อให้เกิดนิสัย นิสัยหลอมเข้าเป็นอุปนิสัย อุปนิสัยสร้างวิถีชีวิตของบุคคล อธิบายว่า คนจะเป็นอย่างไร เป็นอะไร ดำเนินชีวิต อย่างไร ก็สุดแล้วแต่อุปนิสัยของเขา อุปนิสัยมาจากนิสัยที่สั่งสม ไว้นานๆ นิสัยมาจากการกระทำบ่อยๆ จนเคยชิน (อย่างที่ฝรั่ง เขาว่า Thirty times make a habit = ๓o ครั้งเป็นนิสัย) การ กระทำมาจากความคิด (Thought) ท่านจะเห็นว่า ต้นตอแห่ง โชคชะตาหรือวิถีชีวิตคน ก็คือ ความคิดของเขานั่นเอง มหาตมะคานธี ได้กล่าวไว้อีกว่า “การเล่าเรียนทุกอย่าง

จะเป็นการเรียนพระเวท เรียนภาษาสันสกฤต กรีกหรือละติน อย่างถูกต้อง ไม่ทำให้เรามีอะไรดีขึ้นมาเลย ถ้าการเรียนนั้นๆ ไม่ ช่วยทำให้ใจบริสุทธิ์ขึ้น บั้นปลายของความรู้ทุกชนิด ควรจะอยู่ที่ การสร้างอุปนิสัย” และ “ความมุ่งหมายอันเด็ดเดี่ยวของมนุษย์ก็ คือ เอาชนะนิสัยเก่าๆ ของตน เอาชนะความชั่วที่มีในตน และคง ๓ Christmas Humphreys : Buddhism หน้า ๑๐๒


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๒๗

คืนความดีให้ไปสู่ทางที่ถูก ถ้าศาสนาไม่ได้สอนเราให้สำเร็จผล ดังกล่าว ศาสนานั้นย่อมไม่ได้สอนอะไรให้แก่เราเลย” นี้เป็นแนวแห่งความคิดชอบอีกประการหนึ่ง คือความคิด ในการเอาชนะนิสัยเก่าๆ อันชั่วร้ายของตน เอาชนะความชั่วที่มี ในตน ซึ่งเป็นการยากมาก คนแทบทุกคนรู้ว่ามีอะไรชั่วอยู่บ้างใน ตน แต่เอาชนะมันไม่ค่อยสำเร็จ เพราะเหตุหลายประการที่ต่าง กัน บางทีเป็นเพราะเขาคิดเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ ถ้าคนอื่นทำ อย่างนั้นเขาจะเห็นเป็นโทษร้ายแรง แต่พอตัวเขาเองทำเข้าบ้าง ความคิดแบบอคติเข้าข้างตัวเองก็คอยออกรับ และให้อภัยอยู่ เสมอว่า เพราะอย่างนั้นอย่างนี้จึงเอาชนะตัวเองไม่ได้ เพราะ ความคิดเข้าข้างตัวเอง ถ้าเขาทำใจเป็นกลาง ลองสมมุติตัวขึ้นอีก ตั ว หนึ ่ ง ให้ เ ป็ น ผู ้ พ ิ พ ากษาการกระทำของตนเอง ก็ จ ะได้ ค ำ

พิพากษาที่ถูกต้องเหมาะสม แต่แล้วเขาจะถอยคืนมายืนอยู่ที่ ความดีหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อย่างไรก็ตาม คนที่คิดอยู่เสมอว่าจะเอาชนะตนเองใน เรื่องใดแม้จะแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า ถ้าเขาไม่สละความคิดนั้นเสียก็ ต้องชนะเข้าวันหนึ่ง และถ้าเขาสามารถรักษาชัยชนะนั้นไว้ได้ ก็ จะเป็นชัยชนะที่ถาวรตลอดชีวิต และจะชนะสืบต่อไปในภพหน้า อีกด้วย


๑๒๘ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง กล่าวโดยปริยายเบื้องสูง (อุปริมปริยาย) ได้กล่าวถึง สัมมาสังกัปปะ โดยเหฏฐิมปริยายหรือปริยายเบื้องต่ำมาพอ สมควรแล้ว ต่อไปนี้จะกล่าวถึงสัมมาสังกัปปะโดยปริยายเบื้อง สูง หรืออย่างละเอียดซึ่งมีพระพุทธพจน์เป็นอุเทศดังนี้ “กตโม จ ภิ ก ฺ ข เว สมฺ ม าสงฺ ก ปฺ โ ป โย โข ภิ ก ฺ ข เว เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป อพฺยาปาทสงฺกปฺโป อวิหึสาสงฺกปฺโป อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป” แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบคืออย่างไร? ภิกษุ ทั้งหลาย คือ ความดำริในการออกจากกาม, ความดำริในการไม่ ปองร้าย, ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้แลเราเรียกว่า ความ ดำริชอบ” แบ่งเป็น ๓ หัวข้อ คือ ความดำริในการออกจากกาม, ความดำริในการไม่พยาบาท, ความดำริในการไม่เบียดเบียน ๑. ความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปปะ) กามได้กล่าวมาโดยละเอียดพอสมควรแล้วในข้อสมุทัย

อริยสัจ หากท่านผู้อ่านต้องการ โปรดอ่านในหนังสือ ‘อริยสัจ ๔’ ในที่นั้นได้กล่าวถึงโทษของกามตัณหา พร้อมทั้งวิธีละกามไว้ด้วย แล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเรื่อง ทำไมจึงต้องมีความดำริในการ ออกจากกาม และคุณของการหลีกออกจากกามเสียได้นั้นเป็น อย่างไร


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๒๙

(ก) ทำไมจึงต้องมีความดำริในการออกจากกาม เบื้องแรกต้องทราบก่อนว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ โดยอุปริม ปริยายนี้ เป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพื่อ ความดับภพทั้งปวง ทั้งกามภพ รูปภพ และอรูปภพ การที่จะพ้น จากกามเป็นต้น นั้นต้องมีความดำริในการออกจากกามเสียก่อน ความดำรินั้นเมื่อเกิดขึ้นเนืองๆ (เพราะได้เห็นโทษของกาม ต้องการจะปลีกตนไปเสียจากกาม) ย่อมจะชักนำผู้ดำริให้พ้นไป เสียจากบ่วงของกาม (กามปาสะ) ซึ่งมีลักษณะคล้องสัตว์ไว้ใน กามภพ ให้วนเวียนอยู่ในกามภพ ต้องสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ร้องไห้ บ้าง หัวเราะบ้าง เพราะกามนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย ถ้าคนใดไม่ เคยดำริในการออกจากกามเลย มีปกติพัวพันหมกมุ่นอยู่ในกาม ที่เรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยคแล้ว ก็เป็นการยากที่จะหลุดพ้นออก ไปจากบ่วงของกามได้ แม้ผู้มีความดำริอยู่เนืองนิตย์ก็ยังยากอยู่ แล้ว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “กามา หิ โลเก น หิ

สุปฺปหายา - กามในโลกนี้มิใช่สิ่งที่จะละได้โดยง่ายเลย” เมื่อเป็น ดังนี้จะกล่าวไยกับผู้ที่ไม่มีความดำริในการออกจากกาม ยิ่ง หมกมุ่นพัวพันมากเท่าใด อารมณ์แห่งกามก็พอกพูนหนาแน่น มากขึ้นเท่านั้น และพยายามแสวงหาวัตถุกาม (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ใหม่ๆ เรื่อยไป เพื่อมาปรนเปรอความกระหาย ในกาม (ปรนเปรอกิเลสกาม) ให้อ้วนพีขึ้น มีกำลังมากขึ้น เรื่องที่ จะให้ เ บื ่ อ กามโดยวิ ธ ี ป รนเปรอนั ้ น ไม่ ม ี ท างจะเป็ น ไปได้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่องนี้ไว้เหมือนกันว่า


๑๓๐ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง “น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ” “แม้ฝนจะตกลงมาเป็นเงินเป็นทอง ก็หาทำให้คนอิ่มใน กามได้ไม่” อธิบายว่า ทรัพย์สมบัติก็เป็นวัตถุกามอย่างหนึ่งของคน คนส่วนมากได้เท่าไร มักไม่ค่อยพอ มักขยายขอบเขตแห่งความ ต้องการออกไปเรื่อยๆ เหมือนไฟได้เชื้อ แม้ฝนจะตกมาเป็นเงิน เป็นทองก็หาสามารถทำให้คนพอใจได้ไม่ คงต้องแย่งชิง รบราฆ่า ฟันกันอีกเพราะแย่งเงินทองนั้นกัน พระพุทธเจ้าเคยทรงปรารภ ว่า “แม้ภูเขาใหญ่สัก ๒ ภูเขาจะกลายเป็นทองไปก็คงไม่พอความ ต้องการของคนคนเดียว บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติตน อยู่ในสุจริต (ไม่พึงทุจริตในการหาทรัพย์) บุคคลรู้แล้วเห็นแล้ว ว่าความทุกข์มีมาเพราะกาม ทำไมจึงน้อมใจไปในกามอีกเล่า เขา รู้จักอุปธิ (กิเลส) ว่าสิ่งที่ทำให้ข้องอยู่ในโลกแล้ว พึงศึกษาปฏิบัติ เพื่อนำอุปธินั้นออกเสีย๑” ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้มีเหตุมาว่า สมัยหนึ่งพระองค์ ประทับอยู่ที่กระท่อมน้อยในป่าใกล้ภูเขาหิมวันต์ (หิมาลัย) สมัย นั ้ น พระราชาทั ้ ง หลายครองราชย์ โ ดยมิ ไ ด้ ต ั ้ ง อยู ่ ใ นธรรม เบียดเบียนราษฎรให้เดือดร้อน พระผู้มีพระภาคทรงเห็นมนุษย์ ทั้งหลายถูกเบียดเบียนอยู่เช่นนั้น จึงทรงดำริด้วยพระมหากรุณา ว่า

๑ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๗ มารวัตถุ หน้า ๑๖๔ หรือ ทางแห่งความดี (ของ วศิน อินทสระ) เล่ม ๔ ว่าด้วยเรื่องมาร เรื่องที่ ๘ ในนาควรรควรรณนา


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๓๑

“เราสามารถหรือไม่หนอที่จะครองราชย์โดยธรรม ไม่ เบียดเบียนเอง ไม่ให้คนอื่นเบียดเบียนกัน ไม่รบราฆ่าฟันกัน ไม่ ต้องแพ้ต้องชนะกัน ไม่ให้มีความเศร้าโศกเกิดขึ้นในหมู่ชนอย่าง ที่เป็นอยู่เวลานี้” ตำนานเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงดำริดังนี้ มารผู้ใจ บาปก็เข้ามาเสนอหน้ากราบทูลหนุนให้พระศาสดามีอุตสาหะใน การครองราชย์ เพราะเห็นว่าการครองราชย์เป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประมาทอยู่ มารย่อมได้โอกาส เอาชนะพระองค์ได้ พระศาสดาตรัสถามมารว่า เห็นอย่างไรจึง สนับสนุนให้ครองราชย์ มารทูลว่า “พระองค์ทรงมีอิทธิบาท (คุณธรรมเครื่องให้ สำเร็จความประสงค์) ครบบริบูรณ์ หากทรงหวัง เพียงแต่น้อม นึกเท่านั้นว่า ‘ภูเขาหลวงนี้จงเป็นทองเถิด’ ภูเขานั้นจะกลายเป็น ทองทันที แม้ข้าพระองค์ก็จะช่วยเหลือพระองค์บ้างในการครอง ราชย์” มารในจังหวะนี้ ถ้าไม่ใช่มารเป็นตัวเป็นตน ก็น่าจะหมาย ถึงความนึกคิดในพระทัยของพระศาสดานั่นเอง คือทรงนึกคิด ไปว่า ในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้ถ้าพระองค์ครองราชย์ ก็จะ ครองได้โดยธรรม ไม่เบียดเบียนให้ใครเดือดร้อน และจะใช้วิธี การไม่ให้คนเบียดเบียนกัน แต่แล้วพระองค์ก็หักพระทัยเสียได้


๑๓๒ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง สมพระนาม ‘ภควา’ = ผู้มีพระภาค หรือพระผู้มี ภคธรรม๒ ทรงเป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่ง ความปรารถนาอันมิใช่ธรรมของพุทธะ มารที่พระองค์ทรงชนะ ได้แล้วก็เป็นอันชนะได้อย่างเด็ดขาด ไม่ทรงกลับแพ้อีก ดังนั้น พระองค์จึงตรัสกับมารว่า “ภูเขาทองคำสัก ๒ ภูเขาก็ยังไม่พอแก่ความต้องการของ คนคนเดียว...” เรื่องนี้น่าจะสะกิดใจของผู้ที่ต้องการแก้ปัญหาสังคมโดย มุ่งแต่ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่นำพาต่อจิตใจของคนในสังคม ว่าจะเป็นอย่างไร ความจริงถ้าเราแก้จิตใจของคนได้ ปัญหา

เรื่องเศรษฐกิจก็แก้ได้ และแก้ได้ง่ายด้วย แต่ถ้าแก้ใจของคนไม่ ได้ เป็นการยากเหลือเกินที่จะให้สังคมสงบเรียบร้อยลงได้ เพราะเรื่องยุ่งทั้งหลายไปจากใจคนนั่นเอง จริงอยู่สิ่งแวดล้อมมี ส่วนสำคัญ แต่ไม่สำคัญเท่าใจเขาเอง ขอกล่าวถึงเรื่องการหลีกออกจากกามต่อไป ในสมัยพุทธกาลมีพระสาวกของพระพุทธเจ้าหลายท่านที่ มีอัธยาศัยน้อมไปในการหลีกออกจากกาม เช่น พระมหากัสสป เมื่อสมัยเป็นหนุ่มชื่อ ปิปผลิมาณพ ไม่ปรารถนาเกี่ยวข้องด้วย ๒ ภคธรรม ๖ คือ ๑. อิสริยะ ความเป็นใหญ่ในจิตของพระองค์ ๒. ยสะ ยศ หมายถึง เกียรติยศ ๓. สิริ ความงามแห่งองคาพยพ ๔. กามะ คุณที่พระองค์ทรงปรารถนา ๕. ปยัตตะ ความเพียร ๖. ธรรม ทรงมีโลกุตรธรรม (ดู สาระสำคัญแห่งวิสุทธิมรรค หน้า ๑๐๐ โดย วศิน อินทสระ)


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๓๓

กาม เพราะเห็นว่าเป็นภาระ เป็นความเศร้าหมอง ต้องนั่งรับบาป ที่คนอื่นทำแม้จะแต่งงานแล้วก็แยกกันนอนกับคู่ครอง ในที่สุดก็ ชวนกันออกแสวงหาความปลอดโปร่งหลุดพ้นจนได้มาพบกับ พระพุทธเจ้า ได้บวชสลัดตนออกจากกามอย่างเด็ดขาด-สบาย พระเรวัต น้องชายพระสารีบุตรเป็นน้องชายคนสุดท้อง ญาติๆ เกรงว่าพระสารีบุตรจะชักนำไปบวชเสียอีก จึงให้แต่งงาน เสียแต่เยาว์วัย หวังว่าจะเป็นเครื่องผูกไว้ในเรือน ในวันแต่งงาน ญาติทางฝ่ายหญิงเข้ามาอวยพรว่า “จงเห็น ธรรมที่ยายของเจ้าได้เห็นแล้ว จงมีอายุยืนเหมือนยายของเจ้า” เรวัตกุมารสงสัยว่า อะไรคือธรรมที่ยายเห็นแล้ว? คนไหน คือยายของกุมารีคู่ครองของตน เขาถามญาติทางฝ่ายหญิง พวก ญาติให้เขารู้จักหญิงแก่อายุ ๑๒๐ ปีคนหนึ่ง ซึ่งฟันหัก ผมหงอก หนังหดเหี่ยว ตัวตกกระ หลังโกง บอกเรวัตว่านี่แหละคือยาย ของกุมารี เรวัตถามว่า กุมารีของเขาต่อไปจะเป็นอย่างนี้หรือไม่ พวกญาติตอบว่า ถ้าอยู่ไปนานจนแก่อย่างนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ น้องชายพระสารีบุตรสลดใจว่า “สรีระนี้ แม้จะดูงามในวัย สาว แต่ไม่นานนักชราก็มากลืนเอาความงามเหล่านั้นไปเสียหมด สิ้น พี่ชายของเราคงเห็นอย่างนี้จึงบวช ไม่ไยดีด้วยสรีระอันไม่

ยั่งยืน มีความเจ็บ ความแก่เป็นธรรมดา เราเองก็ควรจะหนี ออกบวชเพื่อให้พ้นจากวงเวียนชีวิตเสีย ควรหนีในวันนี้ทีเดียว”


๑๓๔ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง

เมื่อพิธีแต่งงานเสร็จแล้ว พาเจ้าสาวกลับบ้านของเขา พร้อมด้วยหมู่ญาติทั้งสองฝ่าย ขณะเดินทางมาด้วยเกวียน

เขาแกล้งบอกว่าปวดอุจจาระบ่อยๆ และต้องลงจากเกวียนบ่อย จนญาติไม่สนใจ ในวาระสุดท้ายเขาบอกพวกญาติให้พาเจ้าสาว ล่วงหน้าไปก่อน ตัวเขาเองเสร็จธุระแล้วจะตามไป พวกญาติ

เชื่อใจจึงขับเกวียนพากุมารีล่วงหน้าไปก่อน เรวัตได้ที จึงหนีเข้าป่าไปพบสำนักสงฆ์ในป่าจึงขอบวช ภิกษุทั้งหลายทราบว่าเป็นน้องชายพระสารีบุตรจึงให้บวชด้วย ความเต็มใจ เพราะพระสารีบุตรได้เคยสั่งไว้แล้วว่า ถ้าน้องชาย มาขอบวชจงอนุเคราะห์ให้บวชด้วย พระสารีบุตรคงได้ทราบ

ล่วงหน้าด้วยญาณของท่านแล้ว ฝ่ายสาวิกาผู้เป็นภิกษุณีของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มีหลาย ท่านสละกามสุขออกบวช เช่น พระอุบลวรรณาเถรีและพระเถรี มารดาพระกุมารกัสสป เป็นอาทิ พระอุบลวรรณาเถรีนั้น เป็นบุตรของเศรษฐีชาวเมือง สาวัตถี นางมีผิวงามเหมือนกลีบอุบล จึงได้ชื่อว่า อุบลวรรณา ความสวยของนางเป็นที่เลื่องลือ แต่นางไม่หลงใหลในความ สวยงาม เมื่อเป็นสาวพวกเศรษฐี คหบดี เสนาบดี และอำมาตย์ มาสู่ขอกันมาก เศรษฐีบิดาของนางเห็นว่า ไม่อาจเอาใจคน ทั้งหมดได้ ต้องการให้พ้นความยุ่งยาก จึงถามลูกสาวว่าบวชเสีย ดีไหม ?


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๓๕

อุบลวรรณาผู้มีบารมีธรรมมาเต็มที่แล้ว พอได้ยินข้อเสนอ แนะของบิดาก็ดีใจ รีบตอบตกลงทันที ไปบวชกับภิกษุณีในเมือง สาวัตถี นั่นเอง บวชแล้วไม่นานได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อีกท่านหนึ่ง คือ ภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสป เป็นบุตรีเศรษฐีเหมือนกัน แต่อยู่เมืองราชคฤห์ รูปสวย แต่ไม่ เคยพอใจในการครองเรือน คือไม่ปรารถนามีคู่ครองเหมือนสตรี สาวอื่นๆ เคยขออนุญาตมารดาบิดาหลายครั้งเพื่อออกบวชเป็น ภิกษุณี แต่พ่อแม่ไม่อนุญาตเพราะห่วงลูกสาว เกรงจะลำบาก และต้องการให้ลูกสาวครองเรือนมีบุตรหลานต่อไป นางเห็นว่า วิธีนั้นไม่ได้ผล เห็นจะต้องยอมแต่งงาน ทำตนให้สามีรักแล้ว ค่อยอ้อนวอนสามีขอบวช นางตกลงใจอย่างนั้น เมื่อแต่งงานแล้วก็ปรนนิบัติสามีอย่างดีจนสามีรักใคร่ นับถือ วันหนึ่ง มีงานนักขัตฤกษ์ในกรุงราชคฤห์ พวกหญิงสาว ต่างก็ตกแต่งประดับประดาร่างกายกันอย่างสวยงามเพื่อไปเที่ยว ชมงาน แต่ธิดาเศรษฐีผู้นี้มิได้แต่งกายเลย คงอยู่อย่างเดิม สามีสงสัย จึงถามว่าเหตุไรจึงไม่ประดับตกแต่งเหมือน หญิงอื่น นางได้พรรณนาโทษแห่งร่างกายให้สามีฟังว่า โดยปกติ เป็นของปฏิกูลไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ตกแต่งไปก็อย่างนั้น ไม่ ทำให้วิเศษอะไรขึ้นมา เหมือนประดับหม้อดินที่เต็มด้วยมูตรและ คูถ


๑๓๖ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง สามีถามว่า เมื่อมีจิตสำนึกอยู่อย่างนี้ ทำไมจึงไม่บวชเสีย เมื่อสามีเปิดโอกาสด้วยความจริงใจเช่นนั้น นางจึงขอ อนุญาตสามีออกบวช แต่เนื่องจากเวลานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี นางอยู่เมืองราชคฤห์ ที่เมืองราชคฤห์มี พรรคพวกของพระเทวทัตตั้งสำนักอยู่ นางไม่ทราบเรื่องอะไรอื่น จึงบวชในสำนักภิกษุณีฝ่ายของพระเทวทัต บวชแล้วไม่นาน ครรภ์ของนางโตขึ้น เพราะติดท้องมา

ตั้งแต่ก่อนบวช แต่นางไม่รู้ พวกภิกษุณีนำเรื่องไปเรียนให้พระ เทวทัตทราบ พระเทวทัตกลัวเสียชื่อ ไม่ทันได้สอบให้รอบคอบ ไล่ให้นางสึกเสีย แต่ภิกษุณีทั้งหลายไม่นำพาต่อคำสั่งของพระ เทวทัต คือยังเห็นใจสงสารภิกษุณีผู้มีครรภ์อยู่ และเชื่อว่านางมี ครรภ์มาก่อนบวช กลับจากสำนักพระเทวทัตแล้ว ภิกษุณีนั้นเสียใจมาก รู้ดี ด้วยตนเองว่า พรหมจรรย์ของตนบริสุทธิ์ จึงขอร้องภิกษุณีบาง รูปให้พาไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวัน เมืองสาวัตถี ต้อง ลำบากด้วยการเดินทางเป็นนักหนา เพราะจากราชคฤห์ไปสาวัตถี ไม่ใช่ระยะใกล้, ไกลถึง ๔๕ โยชน์๓ ขณะนั้นกำลังมีครรภ์ด้วย การเดินทางก็โดยเกวียนบ้าง เดินบ้าง เมื่อมาถึงเชตวันได้เฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลเรื่องทั้ง ปวงให้ทรงทราบ พระศาสดา แม้ทรงทราบความจริงด้วยพระ ญาณของพระองค์แล้ว แต่เพื่อเปลื้องคำตำหนิของผู้อื่น จึงรับสั่ง

๓ ประมาณ ๗๒๐ กม. ประมาณจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๓๗

ให้คนสำคัญในเมืองสาวัตถีเข้าเฝ้า เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้นแล้ว ทรงมอบหมายให้ พระอุบาลีผู้เลิศทางวินัยเป็นประธานในการพิจารณาว่าภิกษุณี นั้นมีครรภ์ก่อนบวชหรือหลังบวช ท่านประธานขอให้นางวิสาขา ช่วยตรวจตราดูปลายมือ ปลายเท้า ท้อง นับวันเดือนปีที่นางเข้ามาบวช รู้ได้ด้วยความรู้ ความชำนาญว่า นางตั้งครรภ์ก่อนอุปสมบท เมื่อคณะกรรมการสอบดูแล้วเห็นว่า นางเป็นผู้บริสุทธิ์ หมดมลทิน จึงกราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์จึง ให้นางอยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลายได้ต่อไป เมื่อนางคลอดบุตรแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงรับไว้ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทรงให้นำไปเลี้ยงไว้อย่างลูกหลวงในราช สำนักกุมารนั้น ต่อมาได้ออกบวชสำเร็จอรหัตผล มีนามว่า

พระกุมารกัสสป๔ ฝ่ายภิกษุณีผู้เป็นมารดาก็ได้สำเร็จอรหัตผล เหมือนกัน แต่สำเร็จภายหลังพระกุมารกัสสป เพราะมัวเป็นห่วง ลูก แม้ลูกจะเติบโตและบวชแล้วก็ตาม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ตั้งแต่สมัยเป็นราช กุมารก็ทรงมีความดำริในการจะออกจากกามอยู่เสมอ แม้เป็นผู้ หากามได้ง่าย บริบูรณ์อยู่ด้วยกามวัตถุอันน่าใคร่น่าปรารถนา ๔ โปรดดูรายละเอียดใน อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ อัตตวรรค เรื่อง มารดาของพระกุมารกัสสป หรือ ทางแห่งความดี เล่ม ๓ ว่าด้วยตน เรื่องที่ ๔


๑๓๘ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง แทบทุกอย่าง แต่ก็ไม่ทรงติดในกาม เป็นผู้มีอัธยาศัยประณีต

ซึ่งหาได้ยากในคนทั้งหลายอื่น เหตุที่ทรงมีความดำริในการออก จากกามนั้น ได้ตรัสเล่าไว้ดังนี้ “เรา๕ ตถาคตเคยสงสัยเมื่อก่อนตรัสรู้ ว่า อะไรหนอเป็น รสอร่อยในโลก? อะไรเป็นโทษในโลก? อะไรเป็นอุบายเครื่อง ออกจากโลก? ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสที่เกิดขึ้น เพราะปรารภโลกนี ้ เ องเป็ น รสอร่ อ ยในโลก แต่ โ ลกไม่ เ ที ่ ย ง ทรมาน มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา นี่เองเป็นโทษในโลก การนำออกเสียโดยสิ้นเชิงซึ่งความกำหนัด เพราะความเพลินใน โลกนี้เองเป็นอุบายเครื่องออกจากโลก...” รวมความว่า ที่ทรงดำริออกจากกามก็เพราะทรงเห็นโทษ ของกามว่าไม่เที่ยง ทรมาน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การ ลงทุนลงแรงแสวงหากามนั้นผลได้ไม่คุ้มเหนื่อย เป็นไปเพื่อ ความทุกข์ ความเศร้าหมอง กังวล ไม่เป็นไปเพื่อปัญญา และ ความรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต (ข) คุณของการหลีกหนีออกจากกาม ผู้มีปรีชาญาณได้พิจารณาเห็นโทษของกามตามความเป็น จริงแล้ว ปลีกตนออกจากกาม คือไม่ให้จิตใจตกอยู่ใต้อำนาจ ครอบงำของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และความกำหนัด ๕ นัย ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก ๒๐/๓๓๒


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๓๙

เพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆ แล้ว ได้พบกับความสะอาด สว่าง สงบ ความปลอดโปร่งใจเป็นอย่างยิ่ง เกษมจากเครื่องร้อยรัดทั้ง ปวง (โยคักเขมะ) ย่อมรู้สึกตนว่าได้ประสบภาวะใหม่ ชีวิตใหม่ อยู่ในโลกใหม่อันเรืองรองด้วยปัญญา ชุ่มฉ่ำด้วยปีติปราโมชอัน เกิดแต่วิเวก ได้พบความจริงว่า โลกใหม่นี้ ดีกว่า สะดวกกว่า มี ความสุขกว่าโลกเก่าเป็นอันมาก รู้สึกโล่งใจ โปร่งใจ เหมือนคน ถูกจองจำแล้วพ้นจากเครื่องจองจำ คนมีหนี้พ้นจากหนี้ เป็นโรค ร้ายแล้วหายโรค มีความเบิกบานใจ สูงส่งในความนึกคิด อนึ่ง ความทุกข์อันใดเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาม แก่บุคคล

ผู้ยังหมกมุ่นพัวพันด้วยกาม เช่น ความทุกข์เพราะต้องพลัด พรากจากบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความริษยาอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยกาม ไฟคือโทสะอันเกิดเพราะอาศัยกาม ความทุกข์ อย่างนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปลีกตนออกจากกามแล้ว ไม่มีอาลัย

ในกาม เพราะมองเห็นกามเป็นแดนอันตราย เป็นที่ตั้งแห่งความ ทุกข์ โศก และภัย สมจริงดังพระดำรัสของพระบรมศาสดาที่ว่า “กามโต ชายเต โสโก กามโต ชายเต ภยํ กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ๖” แปลว่า ‘ความโศกและภัยเกิดขึ้นจากกาม พ้นจากกาม แล้วความโศกและภัยย่อมไม่มี’ ๖ ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๕/๔๓ หรือ อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ ปิยวรรค เรื่อง อนิตถิคันธกุมาร


๑๔๐ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ทำไมคนส่วนมากจึงไม่มีความดำริในการออกจากกาม

แต่กลับพอใจหมกมุ่นพัวพันอยู่ในกาม ? คำว่า กาม ได้กล่าวไว้แล้วว่ามีความหมายกว้าง คือ หมายถึงสิ่งอันน่าใคร่ น่าปรารถนาทั้งปวง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันน่าใคร่ น่าปรารถนา (วัตถุกาม) และความใคร่ ความพอใจในรูปเสียงเป็นต้น (กิเลสกาม) สิ่งเหล่านั้นเป็นโลกามิส กล่าวคือเหยื่อของโลก เครื่องล่อของโลก บ่วงของมาร พวง ดอกไม้ของมาร มีอานุภาพล่อให้คนเพลิน หลงติดอยู่ แล้วนำ ทุกข์มาให้ภายหลัง ทำนองเดียวกับสิ่งเสพติดให้โทษและการ พนันมันมีอำนาจยั่วยวนให้เพลิน ให้คนหลงติดมันแล้วมอบทุกข์ โทษให้ในภายหลัง คนส่วนมากไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้ศึกษาคำสอนของพระ อริยเจ้า ว่า กามมีโทษอย่างไร เขาเรียนรู้แต่คำสอน คำแนะนำ ชักชวนของปุถุชนผู้หมกมุ่นอยู่ในกามด้วยกัน พลันคุณของกาม ชักชวนให้แสวงหากาม สรรเสริญบุคคลผู้มั่งคั่งพรั่งพร้อมไป ด้วยกาม คนทั้งหลายผู้ตกอยู่ภายใต้อำนาจครอบงำของสังคม

ก็พลอยหมกมุ่นพัวพันเห็นดีเห็นงามไปด้วย พอต้องประสบทุกข์ เพราะกามเข้าก็ไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าทุกข์นั้นเพราะกาม จึงต้อง เที ่ ย วโทษคนนั ้ น คนนี ้ แ ล้ ว ปองร้ า ยกั น เบี ย ดเบี ย นประหั ต ประหารกันให้สังคมวุ่นวาย อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๔๑

อี ก พวกหนึ ่ ง แม้ ไ ด้ ย ิ น ได้ ฟ ั ง คำสอนของพระอริ ย เจ้ า

เห็นโทษของกามอยู่ แต่ยังไม่อาจปลีกตนออกจากกามได้เพราะ เหตุผลอื่น เช่น ภาระความรับผิดชอบในครอบครัวบ้าง กำลังใจ ยังไม่แข็งพอที่จะต่อสู้เอาชนะอำนาจของความยั่วยวนได้บ้าง เห็นแก่ความสุขเล็กน้อยอันกามนั้นหยิบยื่นให้เป็นเหยื่อเหมือน เหยื่อที่เบ็ดเกี่ยวไว้บ้าง จึงยังไม่สามารถปลีกตนออกจากอำนาจ ครอบงำของกามได้ เปรียบเหมือนคนที่เป็นทาสเขา เห็นโทษของ ความเป็นทาสแล้วอยากอิสระแต่กำลังไม่พอที่จะเป็นอิสระได้ หรือประเทศที่เป็นเมืองขึ้นเขา เห็นโทษของการเป็นเมืองขึ้นเขา และคุณของเสรีภาพอยู่อย่างชัดเจน แต่ยังไม่มีกำลังพอที่จะถอน ตนออกเป็นอิสระได้ จึงต้องตกอยู่ในอำนาจครอบงำของประเทศ ที่มีอำนาจเหนือกว่าต่อไป ในความเป็นทาสทางใจ คือการเป็นทาสของกิเลสนั้น ผู้ ต้องการเสรีภาพจะต้องอาศัยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว กล้าทำใน สิ่งที่คนทั้งหลายอื่นไม่กล้าทำ กล้าเสียสละในสิ่งที่คนทั้งหลายอื่น หวงแหน นั่นแหละจึงจะถอนตนออกมาจากอำนาจครอบงำของ กิเลสเช่นกามเป็นต้นได้ ความดำริ ใ นการออกจากกามเป็ น มรรคหนึ ่ ง ที ่ น ำไปสู ่ ความหลุดพ้นจากบ่วงกามอันมีลักษณะผูกพันบุคคลไว้ในโลก ในภพ แม้มันจะผูกหย่อนๆ แต่แก้ได้ยากอย่างยิ่ง มีน้อยคนนัก


๑๔๒ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ที่จะพ้นไปจากอำนาจครอบงำของกาม แต่ผู้พ้นก็มีอยู่ ผู้ใดพ้น ได้ ผู้นั้นย่อมประจักษ์ด้วยตนเองว่า สภาวะที่อยู่เหนือกามนั้น เป็นความปลอดโปร่ง ผาสุก ร่มเย็น ห่างจากภัยอันตราย สะอาด สว่าง และสงบ ความดำริเนืองๆ ในการออกจากกามนี่แหละ ที่พระ ศาสดาตรัสเรียกว่า ‘เนกขัมมสังกัปปะ’


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๔๓

๒. ความดำริในการไม่พยาบาท (อัพยาปาทสังกัปปะ) ก. ความหมายของความไม่พยาบาท พยาบาท คือความปองร้าย มุ่งหมายให้ผู้อื่นถึงความ พินาศ เช่น คิดอยู่ในใจว่า เมื่อไรหนอคนนั้นจะถูกรถชนตาย

ตกน้ำตาย ถูกฆ่าตาย ทรัพย์สมบัติพินาศฉิบหายเพราะไฟไหม้ หรือถูกปล้น อย่างนี้แหละเรียกพยาบาท ความไม่พยาบาท ก็คือ ความไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น ไม่ปรารถนาร้ายต่อเขา กล่าวอย่างสั้น คือความปรารถนาดีต่อเขา มิฉะนั้นก็ความวางเฉย (อุเบกขา) หรือให้อภัยเสีย ความพยาบาทไม่เหมือนความโกรธ และความผูกโกรธ (อุปนาหะ) ความโกรธ คือความขุ่นใจ ส่วนผูกโกรธ คือความผูก ใจเจ็บ แต่ไม่ถึงกับปองร้าย เพียงแต่ผูกโกรธไว้เฉยๆ เช่น ไม่ พูดด้วย ไม่คบหาสมาคมด้วย ไม่ทำร้าย ไม่ช่วยเหลือ อย่างนี้ เรียกว่า อุปนาหะ คนที่จะพอใจในความไม่พยาบาทนั้น เบื้องแรกจะต้อง พิจารณาให้เห็นโทษของความพยาบาทเสียก่อน ข. โทษของความพยาบาท ความพยาบาทเป็นไฟภายในอย่างหนึ่งที่มีอานุภาพเผาลน จิตใจของผู้สั่งสมมันไว้ ยิ่งมากเท่าใดก็จะเผาเจ้าตัวให้เร่าร้อน มากเท่านั้น เมื่อออกจากตนก็ไปเผาผู้อื่นให้เร่าร้อน สังคม เร่าร้อน


๑๔๔ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง

จริงอยู่ คนเราย่อมต้องมีศัตรู หรืออย่างน้อยก็มีผู้ไม่ชอบ เราบ้าง อาจเป็นเพราะผลประโยชน์ขัดกัน หรือเพราะกิริยาวาจา ท่าทางของเราไม่ถูกใจเขา ทำนองเดียวกับที่กิริยาท่าทางของคน บางคนไม่ถูกใจเรา ทั้งๆ ที่ว่าโดยส่วนตัวแล้ว เขาไม่เคยทำอะไร ให้เราเดือดร้อน เมื่อความจริงเป็นอยู่อย่างนี้ เราจึงไม่ควรปล่อย ใจของเราให้ จ งเกลี ย ดจงชั ง ผู ้ อ ื ่ น จนถึ ง พยาบาทปองร้ า ยเขา เพราะมันเท่ากับลงโทษตัวเราเอง นำไฟมาสุมอกเราเอง ยิ่งเขาทำ เป็นไม่รู้ไม่เห็น เขาไม่เดือดไม่ร้อนด้วยแล้ว เราจะยิ่งเดือดร้อน ใหญ่ เดือดร้อนไปข้างเดียว ก่อนนอนทุกคืนเราควรตั้งใจให้อภัยทุกสิ่งทุกอย่างและ แก่ทุกคน ทำเสมือนหนึ่งว่าเราจะไม่ตื่นขึ้นมาอีก ความตั้งใจ อย่างนี้ ทำให้ใจของเราสงบและเราจะหลับไปอย่างเป็นสุข ตื่นขึ้น พร้อมด้วยความสดชื่น แจ่มใส ขอจงท่องจำไว้ว่า เมื่อใดเรา

ผูกเวร เมื่อนั้นมองไปทางใดก็พบแต่ศัตรู แต่เมื่อใดใจของเรามี เมตตา มองไปทางใดก็เจอแต่มิตรไมตรี เราควรฝังตัวอยู่กับการงานและอุดมคติของเราจนไม่มี เวลาไปนึกคิดพยาบาทปองร้ายใคร ไม่มีเวลาเหลือเฟือสำหรับ คิ ด ถึ ง เรื ่ อ งอั น ไร้ ส าระ งานของเราที ่ จ ะต้ อ งทำเพื ่ อ บรรลุ ถ ึ ง อุดมคติก็ไม่มีเวลาพอที่จะจ่ายให้อยู่แล้ว จะมีเวลาไหนมานั่งนึก เคียดแค้นชิงชังคนนั้นคนนี้


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๔๕

อนึ่ง จิตใจที่สะอาด ไม่หมักหมมรุงรังด้วยความพยาบาท เคียดแค้น ย่อมช่วยแต่งใบหน้าให้มีสง่าราศี งาม น่าเคารพกราบ ไหว้ เป็นเสน่ห์ดึงดูดคนให้มองดูแล้วเกิดความรู้สึกชื่นฉ่ำขึ้นมา ในดวงใจ เพื่อสุขภาพอนามัยของเราเอง เราควรนำความปองร้าย

ผู้อื่นออกไปให้ห่างไกลจากจิตใจของเรา ปกติภาพของจิตไม่ ต้องการสิ่งนี้ เหมือนปกติภาพของร่างกายไม่ต้องการอาหารเสีย หรือสิ่งเสพติดให้โทษใดๆ สังเกตได้ว่า เมื่ออาหารเสียเข้าสู่ ร่างกาย ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านทันที พยายามให้ออกมา โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น อาเจียนหรือท้องเสีย ส่วนสิ่งเสพติดให้ โทษทั้งหลายเมื่อเข้าสู่ร่างกายใหม่ๆ ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้าน เหมือนกัน แต่พอหลายครั้งเข้าเพราะความดื้อของคนผู้ชอบของ อย่างนั้น ความเคยชินก็เกิดขึ้นแก่ร่างกายจึงไปกันได้ เมื่อขาดก็ เรียกร้องหาเพราะได้ตกเป็นทาสของสิ่งนั้นเสียแล้ว ปกติภาพของจิตนั้นสะอาดผ่องใส ไม่ต้องการความเศร้า หมองใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เมื่อสิ่งเศร้าหมองมากระทบจิต จิตจึงมีอาการดิ้นรน มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ต้องการคายสิ่งเศร้า หมองนั้นออก แต่เมื่อสิ่งเศร้าหมองนั้นมากระทบบ่อยๆ และจิต ไม่มีกำลังใดมาช่วยกำจัดสิ่งเศร้าหมอง จิตจึงตกอยู่ใต้อำนาจ ของสิ่งเศร้าหมองที่เรียกว่า กิเลส เมื่อนานเข้าก็กลายเป็นทาส


๑๔๖ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ของความเคยชินอันนั้นไป เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยาพยาบาท พวกนี้ล้วนเป็นสิ่งเศร้าหมองของจิต เป็น ของเสียที่เข้าสู่จิต ทำให้จิตเสียปกติภาพไป ส่วนคุณธรรมคือ การให้อภัย เมตตา กรุณา ความเสียสละ ความเห็นแจ้งตาม ความเป็นจริงในสิ่งทั้งปวง เหล่านี้เป็นยาจิต เป็นเครื่องฟอก ชำระล้างสิ่งเศร้าหมองของจิต เมื่อจิตได้เสพโอสถคือธรรม สม่ำเสมอและได้คุณภาพปริมาณพอที่จะกำจัดโรคคือกิเลสแล้ว โอสถคือธรรมนั้นก็จะทำลายโรคคือกิเลสโดยสิ้นเชิง ไม่ให้หวน กลับมารบกวนจิตอีก จิตก็จะดำรงอยู่อย่างสะอาดผ่องใส สงบ และสว่างตามปกติภาพเดิมของตน รวมความว่า ความพยาบาทนั้นเป็นสิ่งที่จิตไม่ต้องการ เพราะเป็นของเน่าเสียสำหรับจิต เมื่อเห็นโทษของพยาบาทอย่างนี้แล้ว จึงดำริในความไม่ พยาบาทปองร้ายผู้ใด


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๔๗

ค. คุณของความไม่พยาบาท ได้กล่าวถึงโทษของความพยาบาทมาแล้วว่านำความทุกข์ ความเดือดร้อนมาสู่ตนและสังคมอย่างไร เมื่อต่างคนต่างคิด พยาบาทจองเวรกัน ไม่ให้อภัยในความผิดพลาดของกันและกัน เอาไฟพยาบาทออกมาเผาลนกันอยู่ ตนก็เดือดร้อน คนอื่นก็ เดือดร้อน ญาติพี่น้องลูกเมียพ่อแม่เพื่อนฝูงพลอยเดือดร้อนกัน ไปหมด ความร้อนเหล่านั้นต่อเนื่องถึงกัน เสมือนเปลวไฟที่เริ่ม ต้นจากจุดเล็กจุดหนึ่งแล้ว เมื่อไม่อาจดับได้ มันก็ลุกลามแผ่เป็น บริเวณกว้างออกไป-ออกไป จนเมืองทั้งเมืองช่วงไปด้วยเปลว เพลิง นี่ไฟภายนอก ไฟพยาบาทอันเป็นไฟภายในก็เหมือนกัน เมื่อปล่อยไว้ไม่ดับเสีย ก็ลุกลามเรื่อยไป เวรไม่ระงับด้วยการ จองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร ผู้มีปัญญา เห็นแจ้งดังนี้ จึงดำริในการไม่พยาบาท คืออยู่ ด้วยการให้อภัย-ให้อภัยในชีวิต ในทรัพย์สิน และในความรู้สึก ของผู้อื่นคือไม่ทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และความรู้สึกของเขา การ ให้อภัยเป็นทานอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งท่านเรียกว่าอภัยทาน เป็นทางดำเนินของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระพุทธเจ้า พระ อรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า พระเยซู และมหาตมะคานธี เป็น อาทิ คนทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย ยอมคุ ก เข่ า ลงบู ช าสั ก การะผู ้ ม ี ใ จ ประเสริฐ เช่นองค์พระพุทธเจ้าผู้มีพระทัยบริสุทธิ์ ไม่มีความ


๑๔๘ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง พยาบาทปองร้ายผู้ใด แม้ผู้นั้นจะเบียดเบียนพระองค์ปานใด ก็ตาม, พระเทวทัต นางจิญจมาณวิกา ช้างนาฬาคิรี คนแม่นธนู พวกเดี ย รถี ย ์ น ิ ค รนถ์ ท ี ่ พ ยายามใส่ ร ้ า ยพระองค์ บ ้ า ง ความ พยาบาทสักนิดหนึ่งมิได้เกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ ตรงกัน ข้ามทรงหวังประโยชน์แก่คนเหล่านั้น ทรงแผ่พระเมตตาให้โดย สม่ำเสมอกัน ทรงหวังประโยชน์แก่เขาเท่ากับที่ทรงหวังให้แก่พระ ราหุ ล พุ ท ธโอรส พระองค์ ท รงเป็ น นั ก ศาสนาแท้ ถ้ า ทรง เคียดแค้นปองร้ายตอบผู้ปองร้าย พระองค์ชื่อว่าเดินตามทางที่ โลกียชนทั้งหลายเดินกันอยู่แล้ว ใครจะเคารพกราบไหว้หรือเห็น พระคุณเป็นอัศจรรย์ ทรงไม่จองเวรปองร้ายด้วยพระองค์เอง และทรงแนะนำพร่ำสอนพุทธสาวกให้ดำเนินเช่นนั้นด้วย เช่น ตรัสว่า “ถ้ามีโจรใจเหี้ยมเอาเลื่อยมาเลื่อยเธอทั้งหลายให้เป็น ท่อนเล็กท่อนน้อย ถ้าใจของพวกเธอยังคิดประทุษร้ายในโจรนั้น อยู่ ชื่อว่าไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของเราผู้เป็นศาสดา๑” นอกจากนี้ ยังตรัสสอนไว้อีกมาก อาทิ “ผู้โกรธตอบ ชื่อว่าเลวกว่าผู้โกรธทีแรก ผู้ไม่โกรธตอบ ชื่อว่าชนะสงครามซึ่งชนะได้แสนยาก ผู้ที่รู้ว่าคนอื่นเขาโกรธตน แล้ ว ประพฤติ ต นสงบเสงี ่ ย มอยู ่ ไ ด้ ชื ่ อ ว่ า ได้ ป ระพฤติ เ ป็ น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น๒” ๑ นัย กกจูปมสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑๒/๓๕๑ ๒ สังยุตนิกาย สคาถวรรค ๑๕/๓๒๕


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๔๙

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านแนะวิธีปราบพยาบาทไว้หลาย อย่าง ท่านผู้ปรารถนาความพิสดารโปรดดูจากวิสุทธิมรรคตอน พรหมวิหารนิเทศนั้นเถิด พระเยซู ศาสดาคริสต์ศาสนา ทรงสอนให้รักศัตรูของท่าน มหาตมะคานธี บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ทางอหิงสาสอนให้ทำประโยชน์แก่ ผู้ปองร้าย ท่านเหล่านี้ล้วนมีพระทัยและใจสูง มอบตนไว้กับอุดมคติ จนไม่มีเวลามาคิดปองร้ายใคร และความปองร้ายก็ไม่มีโอกาส เข้าไปมีบทบาทมีอิทธิพลในใจของท่านเหล่านั้นด้วย กล่าวเฉพาะสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ ศาสดาแห่งพระพุทธศาสนานั้น๓ “ทรงใช้ความรู้เป็นเครื่อง คุ้มครองพระองค์ให้คงอยู่ในความบริสุทธิ์ทั้งทางพระกาย ทาง พระวาจาและทางพระมนัสยั่งยืนไม่กลับกลาย เป็นผู้มีพระ อัธยาศัยเบิกบานด้วยพระคุณสมบัติพื้นเดิมของพระองค์ทรงมี พระอัธยาศัยเผื่อแผ่ มีพระมรรยาทอันงาม มีพระมนัสไม่ติดใน กามคุณ ถึงเป็นเหตุห่วงใยไม่อาจจาก มีพระปัญญาพอจะไม่หลง หมกมุ่นอยู่ในกามสุข มีพระวิริยะพอจะกล้าหาญบากบั่นเพื่อ สำเร็จผลที่ทรงมุ่งหมาย มีพระขันติพอจะประคองพระวิริยะมิให้ ถอยหลัง ทรงรักษาสัตย์มั่นคง สามารถจะผูกไมตรี มีพระ อัธยาศัยมั่นคงในกิจที่ปลงพระมนัสจะทำ ไม่จืดจางเร็ว มีพระ เมตตาพอจะพร่าสุขประโยชน์ของพระองค์เพื่อผู้อื่น ทรงรู้จักวาง ๓ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : ธรรมคดี มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๑๔ บทพระพุทธคุณ อรห๐ สมฺมาสมฺพุทโธ หน้า ๕


๑๕๐ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง พระทัยเป็นกลางไม่ให้ตกไปในฝ่ายความยินดีหรือความยินร้าย ความรู้ของพระองค์อบรมพระคุณเหล่านี้ให้ไพบูลย์ พระองค์จึง ทรงน้ อ มพระชนม์ ข องพระองค์ เ พื ่ อ ทรงบำเพ็ ญ ประโยชน์ ใ ห้ สำเร็จแก่สัตว์โลกด้วยอำนาจพระเมตตาพระกรุณา มีพระมนัส ปลอดโปร่ง ไม่ติดอยู่ในลาภสักการะในถิ่นฐานหรือในบุคคล อาจเสด็จไปไหนไปได้ มีพระอัธยาศัยมั่นคงในอันจะโปรดสัตว์ ทรงพระอุตสาหะอดทนในการเสด็จเที่ยวจาริกและสั่งสอน กล้า หาญไม่พรั่นพรึงต่ออันตรายอันจะพึงมีแต่เวไนยผู้มีอัธยาศัย ดุ ร ้ า ย อดทนได้ ซ ึ ่ ง คำหยาบช้ า ของคนเช่ น นั ้ น ทรงฉลาดรู ้ อั ธ ยาศั ย ของเวไนยนิ ก ร และผ่ อ นปรนเทศนาให้ ถู ก เหมาะ อนุโลมตามกาลเทศะและอุบัติเหตุ๔ มั่นในศีลในธรรมอันจะนำ ให้เห็นเป็นตัวอย่าง รักษาพระมนัสเป็นกลางไม่อ่อนแอด้วย อำนาจความยินดียินร้าย อันใครๆ ไม่สามารถล่อหรือขู่ให้

สมประสงค์ ทรงประพฤติจริงเป็นที่เชื่อถือได้ จึงได้คุมคณะติด ความรู้อบรมพระคุณเหล่านี้ ย่อมส่งพระองค์ให้เป็นผู้สมควร อย่างสูงสุด คนผู้ควรเป็นที่เคารพนับถือของเขา อันเขาจะพึงไหว้ และอ่อนน้อม ย่อมเป็นผู้มีพื้นมา คือมีกำเนิดสูงมีอายุมาก หรือ มีคุณธรรม โดยที่สุดสักอย่างหนึ่ง...” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าตามที่ยกมานี้ ชี้ ให้เห็นว่า พระหฤทัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็น อย่างไร น่าเคารพกราบไหว้เพียงใด

๔ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๕๑

ความดำริ หรือความคิดในการไม่พยาบาท ทำใจของตน ให้ผ่องใส มีความสุขอยู่ด้วยเมตตาธรรม จะส่งบุคคลผู้เช่นนั้น ให้ขึ้นสู่แท่นอภิปูชนียบุคคล ครุฐานิยบุคคลดังพรรณนามาฉะนี้ ความดำริในการไม่พยาบาทจึงเป็นมรรคหนึ่งไปสู่ความพ้นทุกข์


๑๕๒ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ๓. ความดำริในการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ) ก. ความหมาย ความเบียดเบียน คือการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพื่อความ สุขหรือเพื่อประโยชน์ของตน มีสาเหตุมาจากความโลภบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง ต่างกับพยาบาทตรงที่ว่า พยาบาท นั้นเป็นการผูกเวร จองเวร ผูกใจเจ็บ กระทำตอบแก่ผู้ที่ทำตน ก่อน ส่วนความเบียดเบียนนั้นอาจทำได้แม้แก่ผู้ที่ไม่เคยทำอะไร ให้ตนเดือดร้อน เบียดเบียนสัตว์เพื่อความสนุกเพลิดเพลินก็มี เช่น ยิงนก ตกปลา เพื่อความเพลิดเพลินของตน เห็นสุนัขเดิน อยู่ก็จับฉวยก้อนดินก้อนหิน ขว้างปาด้วยความคะนองมือ เอา เชือกผูกหางสุนัขแล้วเอาไฟจุดที่ปลายเชือกให้ลามไปไหม้หางมัน ทำนองนี ้ เ รี ย กว่ า เบี ย ดเบี ย นเพราะคะนองเพื ่ อ ความสนุ ก เพลิดเพลินของตน ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของสัตว์อื่น พวกชนไก่ กัดปลา ดักนกมาขายให้เขาปล่อย ก็จัดอยู่ใน พวกเบียดเบียนเหมือนกัน บางคนเลี้ยงชีพด้วยการลักขโมย ปล้นเขา เมื่อเจ้าทรัพย์ขัดขวางเพราะหวงแหนตามวิสัยของ ปุถุชนก็ทำร้ายร่างกายถึงชีวิตก็มี บางคนใครขัดใจหน่อยก็พุ่งเข้า ใช้กำลังทำร้าย มองตากันชะตาไม่กินกันก็ตีรันฟันแทงกัน ยิงกัน อย่างนี้ก็เบียดเบียน การไม่กระทำดังกล่าวมา คือเว้นกระทำการเบียดเบียน เรียกว่าความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา - Non-Violence) คุณธรรมที่ประคับประคอง อุดหนุนความไม่เบียดเบียนคือ ความ


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๕๓

กรุณา และ มุทิตา กล่าวคือหวั่นใจในความทุกข์ของผู้อื่น, สัตว์ อื่น, ไม่อยากเห็นเขามีทุกข์ แต่พอใจ พลอยยินดีในความสุข ความสมปรารถนาของผู้อื่น ข. โทษของการเบียดเบียน โลภ โกรธ หลง เป็นอกุศลมูล คือต้นตอหรือต้นเหตุแห่ง ความชั่ว บุคคลย่อมเบียดเบียนผู้อื่นเพราะมีโลภ หรือโกรธ หรือ หลง อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจ หรือเพราะทั้ง ๓ อย่างรวมกัน เมื่อคิดเบียดเบียนเขา ใจของตนก็เศร้าหมองเร่าร้อน เป็นทุกข์ ประการหนึ่งแล้ว เมื่อเขาที่ถูกเบียดเบียนทำตอบเอาบ้าง ตนก็ ย่อมเดือดร้อนเหมือนกัน ลูกเมีย ญาติพี่น้องก็พลอยเดือดร้อน กันอีก บางทีถึงกับรวมกลุ่มเบียดเบียนกัน ทั้งสองฝ่ายต่างก็ เดือดร้อนเท่าๆ กัน นอกจากเบียดเบียนผู้อื่นแล้ว มนุษย์ยังมีการเบียดเบียน ตนเอง ทำตนเองให้เดือดร้อนอีกด้วย เช่น การติดยาเสพติดให้ โทษ ทำลายสุขภาพอนามัยของตน ความจริงเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ เบียดเบียนตนเองเท่านั้น ยังชื่อว่าเบียดเบียนพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อนที่รักอีกด้วย เพราะทำให้คนเหล่านั้นพลอยเดือดร้อน เฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่อาจเดือดร้อนเพราะการติดยาเสพติดของ ลูกยิ่งกว่าตัวผู้ติดยาเสียอีก


๑๕๔ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง ความวิตกกังวล หมกมุ่นโดยไม่มีเหตุผล คิดมากไปเอง เกรงนั่นเกรงนี่จนดูอะไรๆ มันร้ายไปหมด จนต้องกลายเป็นคน หวาดผวา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นโรคประสาทพิการ นี่ก็ เป็นการเบียดเบียนตนเอง การมี โ ลภ โกรธ หลง ริ ษ ยา พยาบาท มิ จ ฉาทิ ฐ ิ

แล้วไม่รู้จักระงับให้บรรเทาเบาบาง ปล่อยให้มันเผาลนอยู่ใน จิตใจ จนต้องกระวนกระวายไม่มีอันเป็นสุข อย่างนี้ก็เป็นการ เบียดเบียนเหมือนกัน การเบียดเบียนตนเองกับการเบียดเบียนผู้อื่นนั้นเมื่อ พิ จ ารณาด้ ว ยดี แ ล้ ว จะเห็ น ว่ า แยกกั น ไม่ อ อก คื อ อั น ใด เบียดเบียนผู้อื่น อันนั้นก็เบียดเบียนตนเองไปด้วย อันใด เบียดเบียนตนเอง อันนั้นเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นไปด้วย มีผล กระทบกระเทือนถึงกันเหมือนร่างกายกับใจ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายคุณธรรม อันใดเกื้อหนุนตนโดยธรรม อันนั้นเป็นการช่วย เกื้อหนุนผู้อื่นด้วย อันใดเกื้อหนุนผู้อื่นโดยธรรม อันนั้นเป็นการ เกื้อหนุนตนเองไปด้วย พูดอย่างสั้นว่า การสงเคราะห์ผู้อื่นก็เท่ากับสงเคราะห์ ตนเอง การเบียดเบียนผู้อื่นเท่ากับการเบียดเบียนตนเอง


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๕๕

ค. คุณของความไม่เบียดเบียน ความไม่เบียดเบียนคือความกรุณานั้น มีคุณอันไพศาล

ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น ในส่วนตนทำให้เป็นผู้มีใจอ่อนโยน เห็นซึ้ง ลงไปในทุกข์ของผู้อื่น ความรู้สึกอันนั้นย่อมฉายออกมาทาง ใบหน้า แววตา เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้อื่นมีความรักใคร่ เคารพ นับถือ มีความสุข ความปราโมชเมื่อได้พบได้เห็น เป็นแบบฉบับ ที่ประทับใจ แม้ผู้มีใจกระด้าง เมื่อได้สัมผัสกับความกรุณาของ คนเช่นนั้นเข้าก็คลายความกระด้างลง กลายเป็นผู้มีใจอ่อนโยน ควรแก่การปลูกฝังคุณธรรมอื่นๆ ลงไป ขอยกตัวอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระทัยอัน เปี่ยมด้วยพระกรุณา สามารถกลับคนร้ายให้กลายเป็นดีเสีย มากมาย ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ เช่น อาฬวกยักษ์ พระเทวทัต โจร องคุลิมาล เป็นอาทิ ใครได้เห็นได้เข้าใกล้พระองค์ก็มีความ เย็นใจ มหาตมะคานธี ผู้ยึดหลักอหิงสาเป็นทางดำเนิน มีความ กรุณาประจำใจนั้น ปรากฏว่าเป็นผู้มีเสน่ห์รุนแรงมาก ทั้งๆ ที่รูป ก็ไม่งาม เสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับกายใดๆ ที่สวยงามก็ไม่มี ท่านเนห์รู ผู้เป็นทั้งศิษย์และสหายของท่านคานธี ได้ พรรณนาให้เราทราบไว้ดังนี้


๑๕๖ ค ว า ม คิ ด ที่ ถู ก ต้ อ ง “แม้ท่าน (มหาตมะคานธี) จะมีร่างกายบอบบาง แต่จิตใจ ของท่านเป็นเหล็กกล้าไม่รู้จักจำนนต่ออำนาจใดๆ ภายในเครื่อง แต่งกาย ผ้าเตี่ยวพันรอบสะเอว และเปลือยครึ่งท่อน (บน) ก็ยัง คงไว้ ซ ึ ่ ง บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะของความเป็ น เจ้ า และเป็ น กษั ต ริ ย ์ สามารถโน้มน้าวใจคนทั้งหลายให้คล้อยตามคำสั่งอย่างเต็มอก เต็มใจ แม้จะเป็นผู้ไม่ถือยศถือศักดิ์ แต่เป็นผู้เปี่ยมด้วยปณิธาน อันเด็ดเดี่ยว บางคราวต้องเดินบทบาทอย่างมหาจักรพรรดิ แวว ตาสงบซึ้ง แต่เมื่อจ้องมองผู้ใดแล้วก็ทะลุลึกเข้าไปในวิถีประสาท เสียงกังวานแจ่มใสก้องอยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แม้ผู้ฟังจะมีเพียง คนเดียวหรือพันคนก็จะต้องหลงใหลเคลิบเคลิ้มไปตามกระแส จิ ต ของท่ า น ท่ า นสามารถมั ด ใจคนด้ ว ยถ้ อ ยคำอั น นุ ่ ม นวล อำนาจอันยิ่งใหญ่ของท่านคือการเอาชนะศัตรู หรืออย่างน้อยก็ ให้ศัตรูวางอาวุธ ซึ่งบางทีก็กลับกลายเป็นมิตร “อากัปกิริยาของท่านทุกอิริยาบถ ล้วนมีความหมายและ เป็นสง่า ท่านไม่มีมรรยาทของคนต่ำช้าแฝงอยู่เลย แม้เท่า ปรมาณูหนึ่ง ซึ่งตามธรรมดามักจะมีอยู่ในพวกชนชั้นกลางเช่น เรา เมื่อใดที่ท่านมีความสงบทางใจ ท่านจะส่งกระแสความสุขนั้น ไปยังผู้อื่นด้วย ท่านก้าวไปในชีวิตอันเต็มไปด้วยความทรมาน แต่เป็นก้าวที่มั่นคงไม่หวั่นไหวต่ออะไรเลย๑” ได้กล่าวถึงสัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ หรือความดำริ ชอบมาพอสมควร เป็นแนวแห่งความเข้าใจอันถูกต้อง และการ ๑ จากเรื่อง เนห์รู หน้า ๒๙o โดย เลียง ไชยกาล


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๕๗

ปฏิบัติชอบในชีวิตประจำวัน ตลอดถึงการอบรมตนเองให้ก้าวขึ้น สู่มรรคาแห่งความหลุดพ้นจากทุกข์ต่างๆ ตั้งแต่อย่างหยาบถึง อย่างละเอียด สัมมาสังกัปปะเป็นองค์มรรคองค์หนึ่ง ที่มีความสำคัญไม่ น้อยกว่าองค์มรรคอื่นๆ มีอานุภาพกำจัดทุกข์ก่อให้เกิดสุข ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติตามสมควรแก่การปฏิบัติ การอบรมสัมมา สังกัปปะจึงเท่ากับการพัฒนาตนให้สมบูรณ์ อันมีความหลุดพ้น จากทุกข์ต่างๆ เป็นผล



การเลือกวิถีชีวิต และการคิดในโลกที่สับสน


๑๖๐ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น

การเลือกวิถีชีวิต และการคิดในโลกที่สับสน* v v

๑. ทำไมโลกจึงสับสน? คำว่าโลกในที่นี้หมายถึงหมู่ สัตว์หรือหมู่มนุษย์ที่รวมเรียกว่า สัตว์โลก ซึ่งในทางพุทธศาสนา แบ่งไว้ ๓ ประเภท คือ ก. โอกาสโลก หมายถึงพื้นดินที่เราอาศัยอยู่หรือจักรวาล ทั้งหมด ข. สังขารโลก หมายถึงสิ่งปรุงแต่งที่มีตามเหตุปัจจัย (The World of Formation) สิ่งที่มนุษย์ก่อสร้างขึ้น ค. สัตว์โลก หมายถึงหมู่สัตว์ (The World of Beings) ในโลกทั้งปวงทั้ง ๓๑ ภูมิ (อบายภูมิ ๔ มนุษย์ ๑ เทวดา ๖ พรหม ๒๐) (วิสุทธิมรรค ๑/๒๖๒, ที.อ. ๑/๒๑๕, ม.อ. ๒/๒๖๙) คำว่า สังขาร ในภาษาทางศาสนามีความหมาย ๒ อย่าง คือ (๑) สังขารภายนอกคือสิง่ ปรุงแต่งทัง้ ปวง (Compounded Things) หรือสารประกอบทั้งปวง *แนวคำบรรยาย ณ ตึกอเนกประสงค์ ชั้น ๔ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการจัดของชมรมคุณภาพชีวิตและสังคม วันจันทร์ที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๖ เวลา ๑๐.๑๕-๑๒.๐๐ น. (ผู้ฟังคืออาจารย์คณะต่างๆ นักศึกษาและประชาชนทั่วไป)


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๖๑

(๒) สังขารภายในคือความคิดปรุงแต่ง; สภาพปรุงแต่ง จิตให้ดีให้ชั่ว กล่าวคือ กิเกสและคุณธรรม ตัวอย่างสังขารที่ กล่าวไว้ในขันธ์ ๕ ทำไมโลกจึงสับสน? ทำไมมนุษย์จึงวุ่นวาย? ถ้าตอบ

ตามแนวพุทธวิทยาก็น่าจะตอบได้ว่า เพราะจิตสับสน เพราะจิต วุ่นวาย ทั้งนี้เพราะสิ่งที่นำโลกก็คือจิต ตามพระพุทธภาษิตที่ว่า จิตฺเตน นียติ โลโก โลกอันจิตย่อมนำไป หรือจิตนำโลกไป ความ คิดหรือจิตทำให้โลกดิ้นรน, สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจของจิตนั่น แหละ ถ้ า เราจะเปลี ่ ย นแปลงโลกเปลี ่ ย นแปลงสั ง คมต้ อ ง เปลี่ยนแปลงคนก่อน, การเปลี่ยนแปลงคนต้องเปลี่ยนที่จิตของ เขาก่อน ถ้าเปลี่ยนความคิดเขาไม่ได้ก็เปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ มองเผินๆ มนุษย์เราเหมือนอยู่ในโลกแห่งวัตถุ แต่พอมองลึก

ลงไป มนุษย์อยู่ในโลกของความคิด-ความคิดมีอิทธิพลยิ่งใหญ่ ต่อวิถีชีวิตของปัจเจกชนและสังคมของมวลมนุษย์ สังคมจะ เปลี่ยนไปถ้าความคิดโดยรวมของมนุษย์เปลี่ยนไป

๒. การคิดหรือความคิดที่ตรงกับคำว่า สังกัปปะ หรือ Thought ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของจิต

เป็นเจตสิกธรรม สิ่งที่เกิดกับจิต อยู่กับจิต จะอยู่โดยลำพังไม่ได้


๑๖๒ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น จิตเป็นธรรมชาติผ่องใสและไม่ดี ไม่ชั่ว กลับเป็นเศร้าหมอง เพราะมีเจตสิกธรรมอันเศร้าหมองเข้ามาผสม มีเจตสิกธรรมฝ่าย ดีมาทำให้ดีให้ผ่องแผ้วขึ้นตามสภาพเดิม สัมมาสังกัปปะ หรือ Right Thought จะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากตรงนี้คือ ความ คิดที่ถูกต้องดีงาม ไม่เป็นไปเพื่อความเศร้าหมอง แต่เป็นไปเพื่อ ความผ่องแผ้ว

๓. ตัวอย่างความคิดที่เป็นไปเพื่อความเศร้าหมอง เพื่อทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมรรควิภังคสูตร คือความ คิ ด ในทางหมกมุ ่ น หลงใหลในสิ ่ ง ยั ่ ว ยวน ความคิ ด ในทาง พยาบาทชิงชังปองร้าย ความคิดในทางเบียดเบียน ที่ตรงกันข้าม ย่อมเป็นไปเพื่อความผ่องแผ้ว เพื่อสุข คือความคิดในการปลีก ตนออกจากสิ่งยั่วยวน ความคิดในทางเมตตากรุณา ความคิดใน ทางไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น - คนเราวันหนึ่งๆ คิดมากไปใน ทางเบียดเบียนตนเองบ้าง ในทางเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง บางคนไม่ เพียงคิดอย่างเดียว ทำด้วย ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นมากมาย ทำให้โลกสับสนยิ่งขึ้น


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๖๓

๔. วิถีชีวิตเป็นสิ่งที่เราเลือกได้หรือไม่? ตอบว่าเลือก ได้ เลือกโดยการสร้างแนวคิดให้ถูกต้อง วิถีชีวิตก็จะดำเนินไป ในทางที่ถูกต้อง ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “จิตที่ตั้งไว้ถูกย่อมให้คุณ ให้สมบัติยิ่งกว่าที่มารดา-บิดาหรือญาติพี่น้องจะให้ได้ ส่วนจิตที่ ตั้งไว้ผิดย่อมให้โทษมากกว่าที่โจรและคนมีเวรต่อกันจะพึงทำแก่ กัน” คริสต์มัส ฮัมฟรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Buddhism หน้า ๑๐๒ (ในหัวข้อเรื่องกรรมและสังสารวัฏ) ว่า Sow a thought, reap an act; Sow an act, reap a habit; Sow a habit, reap a character; Sow a character, reap a destiny. แปลว่า ‘ความคิดก่อให้เกิดการกระทำ การกระทำก่อให้ เกิดนิสัย นิสัยหลอมเข้าเป็นอุปนิสัย อุปนิสัยสร้างวิถีชีวิตของ บุคคล’ ตามนัยนี้ จะเห็นว่า คนเราเลือกวิถีชีวิตได้ด้วยการเลือก คิดเลือกทำ เหมือนเราเลือกเมล็ดพืชก่อนจะหว่านลงดิน ถ้าเรา รู้จักเมล็ดพืชและรู้จักผลของมันดี เรารู้ล่วงหน้าแล้วว่าเมล็ดพืช นี้จะมีผลอย่างไร เราก็เลือกแต่เมล็ดพืชที่เราต้องการ เว้นเมล็ด พืชที่ไม่ต้องการเสีย


๑๖๔ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น แต่ในชีวิตจริง คนเราทำได้ยาก เพราะอะไร? เพราะกิเลส หรืออารมณ์ชั่วคอยบังคับให้ทำสิ่งที่มีผลเป็นความทุกข์และเรา พ่ายแพ้แก่มัน เราพ่ายแพ้ตัวเอง ทุกครั้งที่พ่ายแพ้ตัวเอง เรา เสียใจ แต่ถ้ากำลังใจเราไม่เพียงพอเผชิญหน้ากันอีก เราก็แพ้อีก และเราก็เสียใจอีก...เสียใจไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชนะสิ่งนั้นได้ อย่างเด็ดขาด ถ้าเราสร้างแนวคิดไว้ผิด วิถีชีวิตจะดำเนินไปผิดและผิด ไปเรื่อยๆ บางเรื่องก็ถอนตัวยาก เช่นผู้ที่อยากรวยเร็วเข้าไป เกี่ยวข้องกับวงการค้ายาเสพติดให้โทษ จะเดินหน้าก็มองเห็นแต่ ภัยพิบัติ ถอยหลังก็อันตราย เหมือนด้านหน้าเป็นผาชัน ด้าน หลังเป็นหุบเหว ๕. ความคิดอันตราย ๓ ประเภท ๕.๑ ไม่มองดู ไม่พูดถึงความผิดพลาดของตนเอง คอย มองดูพูดถึงแต่ความผิดพลาดของคนอื่น ในครอบครัวมักมีปัญหาพ่อ - แม่ - ลูก ท่านสอนว่า ก่อน แต่งงานควรลืมตาทั้ง ๒ ข้าง แต่งงานแล้วปิดเสียข้างหนึ่งเพื่อไม่ ต้ อ งมองดู ข ้ อ ผิ ด พลาดบกพร่ อ งของอี ก ฝ่ า ยหนึ ่ ง มากเกิ น ไป นอกจากเพื่อปรับปรุงแก้ไขด้วยความสุภาพอ่อนโยนและเห็นใจ - พ่อแม่ไม่เข้าใจลูก ลูกไม่เข้าใจพ่อแม่ ถ้าทุกคนถือเอาตนเป็น


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๖๕

จุดศูนย์กลางของความถูกต้อง ย่อมต้องรุกรานเสรีภาพของผู้อื่น และผู้อื่นก็จะรุกรานเสรีภาพของผู้อื่นต่อๆ กันไป ต่างคนต่างก็ เป็นนรกของกันและกันอย่างที่ ฌอง ปอล ซาร์ตร์ นักปรัชญา ฝรั่งเศส กล่าวว่า “นรกคือผู้อื่น” (ในบทละครเรื่อง No Exit = ไม่มีทางออก) ในที่ทำงานมีปัญหาเรื่องเพื่อนร่วมงาน นายกับลูกน้อง... ในวัดมีปัญหาเรื่องสมภารกับพระลูกวัด เรื่องพระกับพระ เณร กับเณรหรือเด็กวัดกับพระกับเณร ตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกากับ พระ ดูสับสนชอบกล ความคิดมันสับสนก่อน เรื่องสับสนต่างๆ ก็ตามมา ๕.๒ ทำผิดจนเป็นนิสัย เข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนเลวเพราะโชค ไม่ดี เพราะชะตาชีวิตกำหนดมาให้เขาเป็นคนเช่นนั้น จึงปล่อย ไม่ยกตนเองขึ้นจากหล่มเลนแห่งความบกพร่องผิดพลาด มาถึงตรงนี้ ใคร่จะตั้งปัญหาว่า สิ่งที่เรียกว่า ชะตาชีวิต ของคนเรานั้นมีหรือไม่? ถ้ามีอะไรเป็นตัวกำหนด? แก้ไขได้หรือ ไม่ ? ตอบสัน้ ๆ ว่า มี มันเป็นร่องรอยของอดีตกรรมทีเ่ ราเคยสัง่ สม มา กรรมของเรานัน่ แหละเป็นตัวกำหนด ทีเ่ รียก ยถากัมมูปคา สัตตา สัตว์ทง้ั หลายเข้าถึงสภาพต่างๆ ตามกรรมของตน แต่เป็นสิง่ ทีแ่ ก้ไขได้ โดยการทำกรรมใหม่เพือ่ ละลายกรรมเก่า สร้างกรรมใหม่ทด่ี กี ว่า


๑๖๖ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เพราะความผิดพลาดบางอย่าง ต่อมารูส้ กึ ตัว กลับตัวใหม่ สั่งสมทรัพย์ใช้หนี้เก่าหมด ยังมีทรัพย์เหลือและ

เพิม่ พูนขึน้ อีก เพราะเว้นขาดจากการทำผิดเก่าๆ สร้างนิสยั ดีงาม

ใหม่ๆ ขึน้ มาแทน ท่านมหาตมะคานธี กล่าวว่า “…บั้นปลายของความรู้ทุก ชนิดควรจะอยู่ที่การสร้างอุปนิสัย...ความมุ่งหมายอันเด็ดเดี่ยว ของมนุษย์ก็คือเอาชนะนิสัย (อันไม่ดี) เก่าๆ ของตน เอาชนะ ความชั่วที่มีในตนและคงคืนความดีให้ไปสู่ทางที่ถูกต้อง...” ๕.๓ ทำร้ายตนเอง อ่อนแอ วิ่งหนีปัญหา ไม่เคยคิดแก้ ปัญหา คนที่มีความรู้ และอาจมีความสามารถ แต่ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถให้สมกับที่มี ย่อมไม่ได้รับการยกย่องและอาจอยู ่ ไม่ได้ในโลกอันสับสนนี ้ หญิงคนหนึ่ง มีลูกออกมาปากแหว่ง เป็นทุกข์จนคลั่ง ฆ่า ลูกตายและฆ่าตัวตามไปด้วย ทั้งๆ ที่หมอก็ยืนยันว่า ปากแหว่ง อย่างนี้ด้วยความรู้ทางศัลยกรรมของแพทย์สมัยใหม่ๆ สามารถ ทำให้หายเป็นปกติได้ แต่เธอไม่ฟังเสียงใคร เธอเป็นทุกข์อย่าง หนัก เสียใจ อับอาย ในที่สุดก็ทำร้ายตัวเอง หนีปัญหา ความ จริงปัญหาอย่างนี้แก้ไม่ยาก ถ้าเธออดทนเสียหน่อย ใจเย็นเสีย หน่อย ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกเป็นอันมากที่เราสามารถแก้ได้ด้วย ความอดทน มี ป ั ญ หาและคิ ด สู ้ ป ั ญ หาที ่ เ รี ย กว่ า Positive


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๖๗

Thinking เพราะตามความเป็นจริงแล้ว อุปสรรคจะมีมากแค่ ไหนก็ยังน้อยกว่าที่เราเก็บมาคิดกังวลใจ ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า คน ๒ คน ทำความชั่วเหมือนกันได้รับผลไม่เท่ากัน คนหนึ่งได้รับมาก คน หนึ่งได้รับน้อย เพราะคน ๒ คนนี้ต่างกัน กล่าวคือ คนที่รับผล มากเพราะเป็นผูไ้ ม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิตใจ ไม่ได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย มีจิตใจคับแคบ มีปกติอยู่ เป็นทุกข์แม้ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย (อปฺปทุกฺขวิหารี - คืออะไร นิดอะไรหน่อยก็เก็บมาทุกข์ มากังวลใจ เผาตัวเอง ทำร้ายตัว เอง) ส่วนคนที่ทำชั่วเหมือนกัน แต่ได้รับผลชั่วน้อยก็เพราะเป็น คนได้อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรม มาก มีจิตใจกว้างขวาง ใจใหญ่ (มหตฺตา, มหาตฺมา) มีปกติอยู่ ด้วยธรรม มีเมตตาเป็นต้นอันหาประมาณมิได้ (อปฺปมาณวิหารี) คนอย่างนี้ถ้าทำดีเท่ากันกับคนแบบข้างต้นย่อมได้ดีมากกว่า เพราะเครื่องรองรับความดีมีมากกว่า (๒๐/๓๒๐/๕๔๐) ความลับอย่างหนึ่งของการดำเนินชีวิตที่ดีก็คือความฉลาด และความกล้าหาญที่จะเอาชนะความทุกข์และความผิดพลาด

มีบางคราวที่เราต้องทิ้งปัญหาไว้ก่อน แล้วหันไปทำสาธารณประโยชน์ ปล่อยปัญหาที่เหลืออยู่ให้คลี่คลายไปเอง


๑๖๘ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น หัวเราะเยาะตัวเองเสียบ้าง สมน้ำหน้าตัวเองเสียบ้าง พร้อมด้วยเสียงหัวเราะเบาๆ ของเราเอง บางคราวจำเป็นต้อง

นึกว่า เราเป็นเพียงตัวตลกตัวหนึ่งของโลกเท่านั้นเอง ๖. รางวัลอันประเสริฐอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา ถ้า ทำได้คือ ฝึกนิสัยให้เป็นคนหัดคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง

ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า โยนิโสมนสิการในที่นี้ขอกล่าวถึง มนสิการ ๔ อย่างก่อนคือ (๑) อุปายมนสิการ พิจารณาโดยอุบายอย่างมีระบบเพื่อ

ให้รู้ความจริง ให้เข้าถึงสัจจะ เช่น เข้าถึงความจริงว่าสิ่งทั้งปวง ตกอยู่ภายใต้อำนาจอันเฉียบขาดของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอุบายคิดให้เป็นสุขแม้ในเหตุอันน่าจะทุกข์ ปัญญา มองหาแง่ดีของสิ่งร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว คนเช่นนี้ต้องเป็นคนมี ปัญญา สมภาษิตที่ว่า ‘ปญฺญา สหิโต นโร อิธ อปิทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ - ผู้มีปัญญาในโลกนี้ย่อมหาความสุขได้แม้ในเหตุที่น่าจะ ทุกข์’ (๒) ปถมนสิการ คิดถูกทาง คิดต่อเนื่องเป็นลำดับตาม แนวเหตุผล แม้ในทางที่ดีด้วยกันแล้วก็ยังพิจารณาหาทางว่าควร จะดำเนินทางไหนจึงจะดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด นี่คือการเลือก ชีวิต ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เราจะเลือกได้และเหมาะสมแก่ตัวเราตาม แนวของปรัชญาเอ็กซิสต์ (Existentialism)


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๖๙

(๓) การณมนสิการ คิดตามเหตุ เป็นไปตามอำนาจแห่ง เหตุ ไม่ดอ้ื รัน้ ดันทุรงั ในสิง่ อันไม่สมควร ยอมรับผิดเมือ่ เห็นว่าได้ ทำผิดไป ไม่อา้ งเหตุผลเข้าข้างตนเองเพือ่ ให้ตนถูกหรือไถลไปข้างๆ คูๆ คิดยืดหยุน่ ตามเหตุการณ์ (Flexible) ไม่แข็งทือ่ ตายตัวจนไม่ คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็น ประกอบด้วยคุณคือการณวสิกตา (Conditionality or If-Then-Law) สมควรได้รบั ยกย่องว่า เป็นการณวสิโก ดำเนินชีวิตถูกต้องตามเหตุการณ์อันควร แต่ ไม่ใช่อ่อนแอหรือขาดหลักการ (๔) อุปปาทกมนสิการ คิดในเชิงเร้ากุศลธรรม ให้เกิด ความเพียรชอบ ให้หายกลัวในสิ่งที่เคยกลัวหรือในสิ่งอันไม่ควร กลัว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลอันพึงประสงค์ พระพุทธเจ้าทรงประทาน แนวคิดข้อนี้แก่พระสาวกเสมอ ผู้ท้อถอยในความเพียร ผู้ย่อ หย่อนในกุศลธรรม ให้กลับดำเนินไปพอดีในความเพียรและใน กุศลธรรม บางทีทรงเล่าเรื่องในอดีตของเขาบ้าง ของพระองค์ เองบ้าง ที่เรียกว่า ‘ชาดก’ มนสิการ ทั้ง ๔ นี้ แตกออกเป็นโยนิโสมนสิการ ๑๐ ประการ คือ (๑) คิดแบบสาวหาเหตุปัจจัย เช่น แนวคิดในปฏิจจ-

สมุปบาท (๒) คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ เช่น แนวคิดเรื่อง

ขันธ์ ๕


๑๗๐ ก า ร เ ลื อ ก วิ ถี ชี วิ ต แ ล ะ ก า ร คิ ด ใ น โ ล ก ที่ สั บ ส น (๓) คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เช่น คิดเรื่องไตรลักษณ์ (๔) คิดแบบแก้ปัญหา เช่น แนวคิดตามแบบอริยสัจ ๔ (๕) คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ ข้อนี้เกี่ยวกับหลักการ และจุดมุ่งหมาย (ธรรม หลักการ อรรถ ความหมายหรือจุดมุ่ง หมาย) เช่น เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและ สังคม เราก็มีหลักการและวิธีดำเนินการไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น

ในพุทธศาสนามีคำหนึ่ง คือ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เราแปลกันมา ว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความหมายก็คือ ปฏิบัติ ถูกต้องตามหลักการและจุดมุ่งหมายนั่นเอง (๖) คิดแบบหาคุณโทษและทางออก คือ อะไรเป็นคุณ ของมัน อะไรเป็นโทษของมัน และทางออกจากโทษนั้นมีอยู่ อย่างไร (๗) คิดแบบหาคุณค่าแท้คุณค่าเทียม (๘) คิ ด แบบเป็ น อุ บ ายเร้ า คุ ณ ธรรม (ดั ง กล่ า วแล้ ว ใน

อุปปาทกมนสิการ) (๙) คิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน ตามแนวสติปัฏฐาน (๑o) คิดแบบวิภัชวาท คือ แยกประเด็นปัญหา ไม่มอง ปัญหาด้านเดียว ๗. ชีวิตที่เรียบง่ายที่สุดเป็นชีวิตที่ดีที่สุด ศีลธรรม เป็นวิถีชีวิตที่ดีที่สุด (The simplest life is the best life,


อ. ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ๑๗๑

morality is the best way of life. - สุภาษิตทางจริยศาสตร์) มี ผู ้ เ คยถามพระพุ ท ธเจ้ า ว่ า ชี ว ิ ต อย่ า งไรเป็ น ชี ว ิ ต ที ่ ด ี ท ี ่ สุ ด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ผู้อยู่ด้วยปัญญาเป็นชีวิตที่ดีที่สุด (ปญฺ ญ าชี ว ึ ชี ว ิ ต มาหุ เสฏฺ ) ควรเป็ น ชี ว ิ ต ที ่ ส งบและมี

ประโยชน์ที่เรียกว่า Peaceful and Useful Life กฎหมายอาจ ลดหย่อนผ่อนโทษแก่อาชญากรผู้ประกอบอาชญากรรมโดยไม่รู้ ว่าตนทำผิด แต่ในชีวิตจริงทั่วไป คนที่ทำผิดโดยไม่รู้จะก่อผล เสียหายอย่างมากแก่สังคม เช่นคนเป็นโรคติดต่อ ไม่รู้ว่าตนเป็น โรคติดต่อหรือไม่รู้วิธีป้องกัน ย่อมแพร่เชื้อได้มาก โสกราตีสจึง กล่าวว่า คนทำชั่วโดยไม่รู้ควรได้รับโทษเป็น ๒ เท่า หรือ ๒ สถาน คือ ๑ ทำผิด ๒ โง่เขลา หรือไม่รู้ ความไม่รู้ หรือ อวิชชา เป็นบ่อเกิดแห่งความผิดและความ ทุกข์นานาประการ แม้ความรักซึ่งเป็นสิ่งอ่อนโยนโดยธรรมชาติ ถ้าปราศจากความรู้ก็จะเป็นพิษ ก่อให้เกิดการทำผิดมากมายเช่น การทำแท้ง ริษยา อาชญากรรม ฆาตกรรม จริงอยู่ความรักเป็น เพื่อนที่ดีของมนุษย์แต่ต้องประกอบด้วยความรู้ มีความคิดที่ถูก ต้อง ปัญญาเป็นสภาพตรงกันข้ามกับอวิชชา การเลือกวิถีชีวิต ทางปัญญาด้วยศีลธรรม มีความคิดที่ถูกต้องจึงเป็นการเลือกที่ เหมาะสมที่สุดในโลกอันสับสนนี้


หัวเราะเยาะตัวเองเสียบ้าง สมน้ำหน้าตัวเองเสียบ้าง พร้อมด้วยเสียงหัวเราะเบาๆ ของตัวเอง บางคราวจำเป็นต้องนึกว่า เราเป็นเพียงตัวตลก ตัวหนึ่งของโลกเท่านั้นเอง







Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.