สอนแม่หัดปฏิบัติธรรม ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม ๒๕๕๐ จัดพิมพ์ โดย : ห้องหนังสือเรือนธรรม ๒๙๐/๑ ถ.พิชัย ข.ดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ : ๐๒-๒๔๓-๑๒๗๙ โทรสาร : ๐๒-๒๔๑-๖๖๒๒ www.ruendham.com
อันความตายใช่บอกกล่าวเราล่วงหน้า ทุกเวลาค่าควรตรองอย่ามองเฉย ฝึกสติรู้กายใจไม่ละเลย ฝึกให้เคยเผยรู้จริงสิ่งทั้งปวง
สารบัญ
วันแม่....................................................๖ คุยกับผู้อ่าน...................................................๘ อารัมภบท..............................................................๑๔ อาภัพ..............................................๑๘ พุทโธ....................................................๒๔ หลานฉงน.............................................................๒๘ อานิสงส์พุทโธ...............................................๓๒ ดูกาย...................................................๓๖ ดูใจ..............................................๔๐ ไม้เท้า.....................................................๔๖ ไม่ ให้ดี ใจ.......................................................๕๐ เรือรั่ว..........................................๕๔ แบกน้ำตาลทราย...................................๕๘ ลื่นล้ม................................................................๖๒ มันจากเรา....................................................๖๕ สอบผ่าน....................................๖๙ ๔
ธรรมะโอสถ....................................................๗๓ ฟังแล้วขนลุก.........................................๗๘ เกรงใจพระพุทธเจ้า.................................................๘๒ รู้ โดยไม่บังคับ...............................................๘๖ ดี ใจใจดี...........................................................๙๐ คำสัญญา..................................................๙๓ ของฝากจากผู้เขียน...............................................๙๖ ข้อสรุปจากผู้เขียน.................................๑๐๑
๕
วันแม่
วันแม่นั้น ใช่มีเพียง แค่วันนี้ ใช่วันที่ มี ใครมอบ ดอกไม้หอม ใช่เป็นวัน ที่ลูกหลาน พร้อมยินยอม มานอบน้อม ล้อมหน้าหลัง ฟังดูดี แท้ที่จริง ทุกวัน เป็นวันแม่ วันเหลียวแล ให้ท่าน นั้นสุขศรี ทั้งกายใจ ทำไป ด้วยภักดี เพื่อเป็นที่ พึ่งพิง สิ่งบั้นปลาย ท่านเลี้ยงเรา เราเลี้ยงท่าน นั้นสิ่งถูก ให้เร่งปลูก จิตแทนคุณ ก่อนจะสาย อย่าทำตัว ลืมตน จนน่าอาย ทำแหนงหน่าย ร้ายกับท่าน นั้นไม่ควร ๖
วันที่ท่าน อยู่กับเรา นั้นไม่มาก ยามท่านจาก อย่ามาร้อง ทำโหยหวน เมื่อท่านอยู่ รู้เอาใจ ใช่ยียวน เวลาล้วน ทวนไม่กลับ ลับลาไป ท่านเลี้ยงเรา ให้เติบใหญ่ ใคร่ครวญคิด แม้ชีวิต คิดให้ ได้ อย่าสงสัย จะเหนื่อยยาก ลำบาก สักปานใด ไม่แหนงหน่าย ให้แต่สุข ทุกคืนวัน แม่จ๋าแม่ ใครรักแท้ เท่าแม่รัก ลูกประจักษ์ รักจากแม่ ไม่แปรผัน จะดูแล ให้แม่สุข ทุกคืนวัน จนถึงวัน แม่ลาลับ ไม่กลับเอย... ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ๗
คุยกับผู้อ่าน
ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ท่านเคยคิดบ้างมั้ยครับว่า เราเรียนหนังสือไปเพื่ออะไร บางท่านอาจจะบอกว่าไม่น่า ถาม ก็เรียนเพื่อให้ ได้ความรู้น่ะสิ ถูกต้องครับ แล้วเรา เรียนเพื่อให้ ได้ความรู้ ไปเพื่ออะไรครับ คำตอบก็คือ ก็เพื่อ จะได้ทำงานที่ดี แล้วทำงานไปเพื่ออะไรครับ ท่านอย่าเพิ่ง หาว่าผมถามยวนๆ กวนๆ นะครับ ผมถามจริงๆ ไม่ ได้ กวนเลยครับ ก็ทุกคนทำงานก็เพื่อให้ ได้เงินใช่มั้ยครับ แล้ว ได้เงินมาเพื่ออะไรล่ะครับ ก็เพื่อเอามาเลี้ยงชีวิตจริงมั้ย ครับ แล้วเงินที่หามาได้ทุกบาททุกสตางค์นำมาเลี้ยงชีวิต ส่วนไหนล่ะครับ ส่วนกายหรือส่วนใจ ในเมื่อชีวิตเรา ประกอบด้วยกายกับใจ ๘
บางท่านอาจจะตอบว่าส่วนใจ บางท่านอาจจะตอบว่า ทั้งกายทั้งใจ แล้วท่านล่ะครับจะตอบว่าส่วนใด หรือไม่แน่ ใจ แท้ที่จริงเงินที่เราหามาได้ เรานำมาเลี้ยงชีวิตส่วนกายเท่านั้น ส่วนใจเงินเลี้ยงไม่ ได้อย่างที่เราคิดเลย ยกตัวอย่าง ถ้าเงินเลี้ยงชีวิตส่วนใจให้มีความสุขได้ อย่างแท้จริง และทำให้เราไม่ทุกข์ ใจเลย นั่นหมายถึงว่า เศรษฐีมีเงินเป็นหมื่นล้านแสนล้านจะไม่ทุกข์ ใจเลย ท่าน ว่ามันเป็นไปได้มั้ยครับ ท่านเหล่านั้น สามารถซื้อเก้าอี้ ราคาร้อยล้านนั่งได้ ถ้านั่งแล้วใจไม่เป็นทุกข์ ท่าน สามารถซื้อเตียงนอนราคาพันล้านได้ ถ้านอนแล้วหลับ สบายใจไม่เป็นทุกข์ แต่สุดท้ายเงินก็ซื้อความหายทุกข์ ไม่ ได้เลย เงินจึง คับแคบเหลือเกิน ไม่ว่าเราจะมีเงินมากแค่ ไหน มันก็ ใช้ ได้แค่ชาติเดียวเท่านั้น ตายแล้วก็หมดกัน เอาติดตัว ไปก็ ไม่ ได้ เห็นมั้ยครับ เงินมันใช้เลี้ยงได้แต่ส่วนกาย มี ไว้เพียงแค่ซื้อหาอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และให้เพียงแค่ ความสะดวก สนุก สบายในส่วนกายเท่านั้น ๙
ท่านเคยสังเกตบ้างมั้ยครับ หากคิดย้อนไปในอดีต ตอนสมัยเราเด็กๆ อยากกินสิ่งนี้ก็กินไม่ ได้ อยากกินสิ่งนั้นก็ กินไม่ ได้ อยากกินสิ่งนู้นก็ยิ่งกินไม่ ได้ ใหญ่เลย ถามว่าทำไม เพราะว่ามันไม่มีเงินจะซื้อกิน แต่ตอนนี้เราเติบโตเป็นผู้ ใหญ่แล้ว มีการมีงานทำ มี เงินทองมากพอที่จะซื้ออะไรกินได้ แต่ทำไม สิ่งนี้ก็กินไม่ ได้ สิ่งนั้นก็กินไม่ ได้ ยิ่งสิ่งโน้นยิ่งกินไม่ ได้ ใหญ่เลย ถามว่า เพราะอะไร คำตอบก็คือ หมอห้ามกิน เห็นมั้ยครับ มิ ใช่ เพราะเราบำรุงบำเรอกายมันมากเกินไปหรือเปล่า จึงเกิด โรคภัย จนหมอห้ามกินไปเสียทุกอย่าง ที่อยากจะกินแต่ก็ กินไม่ ได้ น่าคิดมั้ยครับ แท้ที่จริง ใจเขามีอาหารของเขา แต่เราไม่เคยให้เขา กิน ถ้าหากใจมันพูดได้ มันคงพูดประท้วงด้วยความน้อย เนื้อต่ำใจว่า “เธอบอกว่า เธอรักชีวิต ชีวิตเธอ ประกอบด้วยกาย กับใจ แต่ทุกวันนี้ เธอดูแลแต่เฉพาะกาย แต่ ใจเธอไม่เคย ๑๐
เหลียวแลเลย ไม่ดูแล ไม่เหลียวแล ฉันก็ ไม่ว่า แต่อย่าซ้ำ เติมใจได้มั้ย” “เวลาโกรธก็เหมือนเอาน้ำกรดมารดราดหัวใจฉัน” “เวลาโลภก็เหมือนเอามลทินมาฉาบทาหัวใจฉัน” “เวลาหลงก็เหมือนเอาม่านบังตามาปิดบังหัวใจฉัน” “นี่ละหรือที่เธอบอกว่ารักชีวิต แต่เธอไม่เคยคิดรัก ทะนุถนอมใจเลย แล้วเธอก็บ่นว่าอยากมีความสุข มันจะสุข ไปได้ยังไง ในเมื่อเอาแต่ทำร้ายทำลายใจอยู่ทุกวี่ ทุกวัน” เป็นยังไงครับ ฟังใจมันบ่นประท้วงแล้ว ท่านว่ามัน จริงมั้ยครับ เมื่อกายมีอาหารหล่อเลี้ยง ใจก็ต้องการอาหาร หล่อเลี้ยงเช่นกัน แล้วอะไรล่ะที่เรียกว่าอาหารใจ อาหาร ใจมิ ใช่อื่นไกล แต่เป็นเรื่องของคุณธรรม ศีลธรรม และอาหารสุดยอดนั่นคือ การที่ ใจมีสติรู้สึกตัวเป็น รู้ สิ่งใดไม่หลงไปยินดียินร้ายกับสิ่งนั้น รู้แล้วไม่ทำอะไรหลัง จากรู้ เพียงแค่เป็นผู้รู้ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ รู้แล้วไม่หลง เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ๑๑
ชีวิตจำเป็นต้องมีอาหารหล่อเลี้ยง อาหารเลี้ยงกาย ก็คือปัจจัยสี่ ซึ่งมีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยา รักษาโรค อาหารใจ ก็คือ ธรรมะที่เกิดจากการมี สติสัมปชัญญะเข้าไปรู้กาย รู้ ใจตามความเป็นจริงนั่นเอง คิดว่าทุกท่านคงทำบุญทำทานมาไม่น้อยเช่น การ ทำบุญตักบาตร การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การสร้างโบสถ์ วิหารลานเจดีย์ ก็เปรียบเสมือนเอาบุญใส่กระบุงแบกไว้ ข้างหลัง หากท่านไม่ก้าวย่างเดินก็มิอาจถึงจุดหมาย ปลายทางนั้นได้ การเดินทางก็คือ การเจริญสติรู้กายรู้ ใจนั่นเอง การศึ ก ษาเปรี ย บเสมื อ นเป็ น แผนที่ ใ นการเดิ น ทาง แต่การปฏิบัติก็เปรียบเสมือนการเดินทาง การปฏิบัติ ธรรมจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ และต้องปฏิบัติเพื่อให้ ธรรมะเข้าไปอยู่ ในใจ จึงจะชัดแจ้งใจ ไม่หลงใหลงมงาย การเรียนปริยัติเป็นเพียงแค่รู้จำ แต่การปฏิบัติเป็น การรู้จัก เมื่อรู้จักบ่อยครั้ง ก็จะกลายเป็นรู้แจ้ง เมื่อรู้ แจ้งบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นรู้จริง และเมื่อรู้จริง ก็จะละ ๑๒
ความเห็นผิด และคลายความยึดมั่นในธรรมทั้งปวง จนที่ สุ ด จิ ต จะสลั ด คื น กายใจให้ กั บ ธรรมชาติ โ ดยไม่ อ าลั ย อาวรณ์อีกต่อไป ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีดวงตาปัญญาเห็นแจ้งในพระธรรม แสงไฟสว่างทาง แสงธรรมสว่างใจ ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ ๑๓
อารัมภบท
หญิงชราวัย ๘๕ ปีท่านหนึ่ง บ่นรำพึงถึงชีวิตตัวเอง ชีวิตนี้ เราเกิดมามันอาภัพนัก ไม่มี โอกาสได้เรียนหนังสือ เหมือน คนอื่นเขา เห็นเด็กไปโรงเรียนก็ดี ใจ เห็นใครอ่านออก เขียนได้ก็ชื่นชม แต่ก็ตรอมตรมตรงที่ตนอ่านไม่ออกเขียน ไม่เป็น เฝ้าคิดว่าตนเกิดมานั้นมันบุญน้อยนัก ชาติก่อนคง ทำบุญมาไม่มาก จึงต้องลำบาก ขาดโอกาสในการศึกษา หากแม้ ใครเชิญชวนให้ทำบุญสร้างโรงเรียน ท่านจะเร่งรีบ ทำโดยไม่รีรอ เพียงเพื่อขอให้เกิดมาในชาติหน้า บุญที่ ได้ ทำมา จงได้หนุนนำทำให้ตนได้มี โอกาสเล่าเรียนศึกษากับ เขาบ้าง ๑๔
ท่านเป็นคนใจดี โอบอ้อมอารี มี ใจเมตตา รูปร่าง ขาวท้วม ไม่สูงไม่ต่ำ เป็นคนน่ารัก ขี้เกรงอกเกรงใจ ไม่ เอาเปรียบใคร ชอบทำบุญทำทาน อยากจะฟังธรรมแต่ก็ ฟังไม่เข้าใจ อยากปฏิบัติธรรมก็ ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ท่าน ผู้นี้มิ ใช่คนอื่นไกลที่ ไหนเลย ท่านเป็น แม่ยายของผมเอง หนังสือเล่มนี้ เป็นการบันทึกเรื่องราวเล่าเรื่อง การ สอนแม่ฝึกหัดปฏิบัติธรรม จึงเป็นเรื่องเล่าเบาๆ ไม่ เครียด จบเป็นตอนๆ ไม่สั้นไม่ยาว พอไม่ ให้ง่วงเหงา หาวนอน และแล้วแม่ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้อย่างไม่อาย ใคร เพราะใจศรัทธามาเต็มร้อย ชีวิตที่ผ่านโลกมามาก เจอทั้งสิ่งที่รักที่ชัง เจอะทั้งสิ่งที่พลัดที่พราก ที่จากกัน จึง อยากหาที่พึ่งที่แท้จริงให้กับชีวิตและเป็นช่วงสุดท้าย ท้าย สุดของชีวิต ธรรมะของพระพุทธองค์ แท้จริง มิ ได้ยากจนเกิน ความสามารถของมนุษย์ที่สมควรฝึกได้ แต่ที่ยากเพราะ เราไม่เข้าใจ ที่ ไม่เข้าใจ ก็เพราะไม่ ใส่ ใจเข้าไปศึกษา การศึกษาก็มิ ใช่ต้องไปเข้าห้องนั่งเรียน ตามที่ท่านจัด ๑๕
หลักสูตรไว้สอนกันอย่างนั้นมันก็ดี และมีประโยชน์ มิ ใช่น้อย แต่การศึกษาที่แท้จริงต้องเป็นการศึกษา จากกายจากใจเรานี้เอง นั่นแหละ....จึงจะใช่ ของแท้ ของจริง การศึกษาในเบื้องต้น ต้องฟังให้เข้าใจ ต่อไปต้อง พิ จ ารณาใคร่ ค รวญในสิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นได้ ฟั ง มาด้ ว ยเหตุ ผ ล สุดท้ายต้องลงมือศึกษาเรียนรู้ความจริง ที่เกิดขึ้นในกาย ในใจเรานี้ ท่านเรียกว่า ภาวนา หรือการปฏิบัติธรรม และสิ่งที่สำคัญ ต้องมีความจริงใจในการปฏิบัติแบบ ประจำสม่ำเสมอทุกวัน มิ ใช่นานๆ วันค่อยปฏิบัติ อย่าเอาแต่มีความจริงจัง คือเห็นว่าสิ่งนี้ดีมีประโยชน์ แล้วก็เร่งปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง วูบเดียวก็แฟบดับ ขอให้มี ความจริงใจในการฝึกตน จงมีสติฝึก รู้กาย รู้ ใจ ทุกวัน และในระหว่างวันอย่าได้ขาด ผลที่ท่านจะได้ จะเป็น อะไรอย่างไรก็ตาม ขอเพียงท่านรู้ตามที่มันเป็น โดยไม่ คาดหวังใดๆทั้งสิ้น ท่านก็จะพบกับความเปลี่ยนแปลง แบบไม่เคยคาดคิดมาก่อนเช่นกัน สัจธรรมทั้งหลายจะเกิด ขึ้นให้ท่านได้รู้เห็นเองในวันหนึ่ง ๑๖
คุณแม่ท่านนี้ ได้ฝึกตนแล้ว บัดนี้ถึงแม้ท่านจะยังไม่ ได้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลชั้นใดๆเลยก็ตาม แต่ความทุกข์ ก็ ได้ลดน้อย เบาบางลงมิ ใช่น้อย ท่านล่ะครับ อาจเป็นผู้หนึ่งที่ ไม่มี โอกาสได้รับการ ศึ ก ษาหรื อ มี โ อกาสได้ รั บ การศึ ก ษาทั้ ง ทางโลกและทาง ธรรมมามากกว่าคุณแม่ผู้สูงวัยท่านนี้ก็ ได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังครับ ที่เราจะหวนกลับมารู้จัก ตัวเองและให้เวลากับตัวเอง เรียนรู้และเข้าใจความเป็น จริงของชีวิตตัวเราเองให้มากขึ้นกว่านี้ ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มี โอกาส เพียงแต่ขอให้ท่านจริงใจ ต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และหมั่นฝึกฝน ตนอย่างสม่ำเสมอ วันหนึ่งผลจะปรากฏขึ้นกับตัวท่านเอง จงอย่าดูถูกตัวเอง จงให้โอกาสตัวเอง แล้วโอกาส ทองก็จะเป็นของท่านในวันหนึ่ง ขอเป็นกำลังใจและอนุโมทนาล่วงหน้านะครับ ๑๗
อาภัพ
“ชีวิตแม่นี้อาภัพนัก อ่านหนังสือก็ ไม่ออก เขียน หนังสือก็ ไม่ ได้ จะไปไหนมาไหนก็ต้องอาศัยคนอื่น เห็น เขาอ่านหนังสือธรรมะก็อยากจะอ่านกับเขาบ้าง แต่ก็อ่าน ไม่เป็น ฟังพระท่านเทศน์สอนทางโทรทัศน์ บางคำก็ฟัง ไม่รู้เรื่อง เห็นเขานุ่งขาวห่มขาวเข้าวัดปฏิบัติธรรมก็ทำไม่ เป็น เกิดมาชาตินี้ เกิดมาน่าเสียดาย ตายเปล่าไม่รู้จัก ธรรมะ” นี่คือคำบ่นน้อยใจที่ออกจากใจของแม่ผู้อาภัพ แต่ เป็นความอาภัพที่ ไม่ ได้รับการศึกษา จึงคิดว่าหมดปัญญา หมดโอกาส หมดบุญวาสนาที่ตนจะศึกษาปฏิบัติธรรมได้ ๑๘
“แม่ครับ... แม่อยากปฏิบัติธรรมจริงๆหรือครับ” ผมเอ่ยถามขึ้นด้วยความเห็นใจ แม่ตอบหนักแน่นจริงจัง “จริงซิ ปฏิบัติธรรม พระท่านก็สอนว่าดี จะได้ มีที่พึ่ง ใครๆก็บอกว่าดี แล้วมันจะดี ไปได้ยังไง ใครๆ เขาก็อ่านหนังสือเป็น แต่แม่...มันอ่านไม่เป็น เพราะ ไม่ ได้เรียนหนังสือเหมือนคนอื่นเขา” “แม่ครับ... การปฏิบัติธรรมไม่เกี่ยวกับเรื่องการอ่าน ออกเขียนได้ แต่มันขึ้นอยู่กับใจที่เปิดรับ พระพุทธเจ้าท่าน ทรงสอนเราให้รู้จักอ่านกายอ่านใจตัวเอง ไม่ ใช่ ไปอ่าน สิ่งภายนอก” “จริงหรือ...” แม่เอ่ยถาม ดูท่าทางแม่ตื่นเต้น “ปฏิบัติธรรมอ่านหนังสือไม่ออก ก็ทำได้จริงหรือ” “ได้ซิครับ” ผมตอบด้วยความมั่นใจ “ไหนสอนแม่หน่อยซิทำยังไง” “ง่ายนิดเดียว แม่ตั้งใจฟังนะครับ พระพุทธเจ้าท่าน สอนว่า ชีวิตเราประกอบด้วย กายกับ.... กับอะไรนะแม่” แม่หยุดคิดอยู่นิดนึง ๑๙
“ก็ ใจไง” “ถูกต้องแล้วครับ แม่เก่งมาก พระพุทธองค์ยังสอน ต่อนะว่า ความทุกข์เวลามันเกิด มันเกิดที่ ไหนได้บ้าง แม่ ทราบมั้ยครับ” “ก็ที่กาย ที่ ใจไงล่ะ” แม่ตอบอย่างมั่นใจและจริงจัง “แม่รู้ธรรมะเยอะเหมือนกันนี่ครับ” “แม่ครับ... ชีวิตเราประกอบด้วย กายกับใจ ความ ทุกข์เวลามันเกิดก็เกิดที่กายที่ ใจนี้แหละ แล้วอะไรเป็น สาเหตุ ที่ทำให้มันเกิดทุกข์ล่ะแม่” ตอนนี้แม่เริ่มทำ หน้างองูสองตัว...งง “คิดไม่ออกใช่มั้ยครับ...ไม่เป็นไร พระพุทธเจ้าท่าน สอนว่า ตัณหา คือความอยาก เป็นเหตุทำให้เราเกิดทุกข์” “แม่ทราบไหมว่า ทำไมความอยากเป็นเหตุทำให้ เราเกิดทุกข์” แม่อมยิ้ม แล้วตอบออกมาอย่างชัดเจน “ไม่รู้” ๒๐
“ผมจะลองสมมุ ติ เ หตุ ก ารณ์ เ ป็ น ตั ว อย่ า งให้ แ ม่ ฟั ง นะครับ ถ้าแม่คิดอยากกินหมูสะเต๊ะรสเด็ดร้านอร่อย แล้ว ขอให้ผมไปช่วยซื้อให้ แต่ผมบอกว่าไม่ว่าง หรือขี้เกียจไป เพราะมันไกล แม่ยัวะมั้ยครับ” “ก็ ไม่ถึงกับยัวะ... แต่ ไม่ค่อยพอใจ” “นั่นแหละครับ ยัวะหรือไม่พอใจ มันก็มี โทสะ เหมือนกัน แม่เห็นมั้ยครับ การที่แม่ ไม่พอใจเพราะเกิด จากความอยากก่อนใช่มั้ยครับ เมื่อไม่สมอยากมันจึง กลายเป็นความโกรธ หรือความไม่พอใจภายหลัง” ....แม่เริ่มพยักหน้าคล้อยตาม “แม่เห็นมั้ยครับ ความอยากเป็นตัณหาทำให้เกิด ทุกข์ ถ้าหมดอยากก็หมดทุกข์ แต่คนส่วนใหญ่ มักเป็น คนประเภทเบื่อๆ อยากๆ เบื่อสิ่งหนึ่งแล้วอยากได้อีกสิ่ง หนึ่ง เบื่อสิ่งนั้นแล้วก็อยากจะได้สิ่งนี้อยู่ร่ำไป ใจมันจึงต้อง ดิ้นรนแสวงหา แสวงหาอะไร แม่ทราบไหมครับ”... แม่คิด นิดนึง แล้วจึงตอบว่า… ๒๑
“ก็แสวงหาความสุขไง” “ถูกต้องแล้วครับ แต่เราก็มักจะต้องแสวงหาสุข อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะสุขที่ ได้มา มันก็สุขเดี๋ยวเดียว สุขแบบจิ้มดูด สุขแป๊บเดียวก็จืดจาง” “แล้วเราจะทำยังไง” แม่ถาม “พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า เราต้องมีสติรู้กาย รู้ ใจ ตามความเป็นจริง” “รู้กาย รู้ ใจ รู้ยังไง” แม่ชักสนใจ “เอาอย่างนี้ ได้ ไหมครับแม่ พรุ่งนี้ผมจะมาสอนต่อ เบื้องต้นต้องมีอุปกรณ์ช่วย ถ้าผมสอนมากกว่านี้ เดี๋ยวแม่ จะงง” “ดีเหมือนกัน แม่ก็อยากจะเข้าห้องน้ำอยู่พอดี” “แม่ครับ... แม่เข้าห้องน้ำทำไม” “อ้าว...ถามได้ ก็คนมันปวดท้องฉี่นะซี” “แล้วที่ปวดท้องนี้ มันปวดที่กายหรือใจ” “ก็ปวดที่กายนะซี” “เห็นไหมครับ พระพุทธเจ้าสอนว่า กาย-ใจ คือ ๒๒
ตัวทุกข์ เอามันเข้าแล้ว ยังต้องเอามันออกอีก เอามัน ออกแล้ว เดี๋ยวก็ต้องเอามันเข้าอีก ต้องบำรุงบำเรอกายนี้ มากมายเหลือเกินในแต่ละวัน” “ทุกวันด้วย” แม่พูดเสริม “จริงๆครับ พรุ่งนี้เรียนกันใหม่นะครับ” “ขอบใจนะ” แม่พูดพลาง...แล้วค่อยๆลุกขึ้น เดิน เข้าห้องน้ำ ด้วยความคิดที่หวังว่าคงได้มี โอกาสปฏิบัติธรรม เป็นเหมือนคนอื่นเขาบ้าง นี่แหละครับ... ชีวิต บางคนมี โอกาสก็ ไม่ปฏิบัติ ไม่ ศึกษา บางคนไม่มี โอกาสศึกษาแต่ก็อยากจะปฏิบัติ แต่ บางคนมี โอกาสทั้งได้ศึกษาและได้ปฏิบัติ แต่สุดท้ายก็สลัด ทิ้ง... เพราะขี้เกียจปฏิบัติ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม ใครทำเหตุอย่างใด ก็ย่อมได้รับผลอย่างนั้น
๒๓
พุทโธ
ปกติแม่จะเป็นคนมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย โดย เฉพาะที่บ้านมีหลานสาวตัวเล็กที่กำลังซนตามประสาเด็ก วัย ๔ ขวบ “อย่าซน... อย่ากระโดด...อย่าวิ่ง... อย่า จับเดี๋ยวแตก” เจ้าหลานก็ดี ใจเพราะนึกว่าอาม่ากำลังเล่น ด้วย อาม่าวัย ๘๕ ปี ก็เหนื่อยที่คอยร้องห้ามปรามหลาน เจ้าหลานสาวก็ยิ่งสนุกใหญ่เพราะเห็นอาม่านั่งหอบ สุด ท้ายอาม่าก็เครียด ความดันขึ้นสูง ต้องพึ่งยาพาราแก้ปวด เศียรเวียนเกล้า ผมเองจึงคิดหาอุบายหาอุปกรณ์ช่วยภาวนา จึงได้ ๒๔
หาลูกประคำมาเส้นหนึ่ง แล้วเดินเข้าไปหาแม่ “แม่ครับ... วันนี้เป็นยังไงบ้าง” “ปวดหัว ปวดหัว” เสียงบ่นรำคาญ จากอาม่าผู้มี ใบหน้าอันเหี่ยวย่น,ยู่ย่น ที่บ่นออกมาเพราะความเครียด ไปกับเจ้าหลานน้อยตัวดี “แม่ครับ...ธรรมชาติของเด็กก็อย่างนี้แหละ เด็กซน บ้างก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเด็กนั่งเศร้าเหงาหงอย แบบนี้มัน น่าเป็นห่วงมากกว่านะครับ เรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรมกันต่อ ดีกว่าไหมครับ” “เออ...ดีเหมือนกัน” แม่เริ่มมีสีหน้าดีขึ้น “ลูกประคำเส้นนี้หลวงพ่อท่านให้มา ผมเก็บไว้บน หิ้งพระเสียนาน เมื่อวานก็ลองไปค้นดู ก็ ได้มาเส้นหนึ่ง แม้จะดูเก่าไปหน่อย แต่ก็ดูขลังดีนะแม่นะ แม่ลองจับดูซิ ครับ หนึ่งเส้นจะมี ๑๐๘ ลูก แม่นับทีละลูกนะครับ นับลูก แรกให้พูดว่า “พุท” นับลูกต่อไปให้พูดว่า “โธ” สลับกัน ไป จนกว่าจะครบหมดเส้น พอเข้าใจมั้ยครับ” “เข้าใจ” แม่ตอบอย่างมั่นใจ ๒๕
“เวลาใดที่แม่เริ่มหลงเข้าไปวุ่นยุ่งอยู่กับหลาน ก็ ให้ แม่กลับมาหาลูกประคำ ภาวนา “พุทโธ” โดยไม่ต้องไป สนใจหลาน ภาวนาไปใจคิด รู้สึกตัวว่าใจมันคิดแล้ว กลับมารู้ มาอยู่กับ พุทโธ นะครับแม่ วันหนึ่งแม่ทำ 2-3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นก็ ได้ ใจแม่จะสงบ ร่มเย็นขึ้น แม่ลอง ฝึกดู ฟังเฉยๆ ไม่ลองไม่รู้นะครับแม่” “พรุ่งนี้ผมจะมาตรวจการบ้านนะครับว่าปฏิบัติแล้ว เป็นอย่างไรบ้าง” “การบ้านอะไร” แม่ถาม “ก็การปฏิบัติ ไงครับ ว่าแม่ภาวนา พุทโธ แล้วใจ แม่เป็นอย่างไร ฟุ้งหรือสงบ เบื่อหรือชอบ เบาหรือ หนัก รู้หรือเผลอ ทำเองก็รู้เองครับ กลับก่อนนะครับ พรุ่งนี้ผมจะมาพูดธรรมะวัน ละคำ กับแม่ ใหม่ สวัสดีครับ” ชี วิ ต เราหากไม่ มี อ ารมณ์ ฝ่ า ยกุ ศ ลเป็ น ที่ ร ะลึ ก ชีวิตก็มักจะนึกถึงแต่อารมณ์ฝ่ายอกุศล จึงทำให้จิตใจ ไม่ปกติเป็นทุกข์เดือดร้อนกันทั่วบ้านทั่วเมือง ๒๖
เมื่อมี “พุทโธ”เป็นอารมณ์ ให้สติมาระลึก จิตก็ มีความสงบร่มเย็นใจก็มีความสุข ทุกข์ก็บรรเทา นี่แหละครับความสุขที่ ไม่ต้องรอขอจากใคร แต่ เกิดขึ้นได้ด้วยใจที่รู้ละวางเป็น
๒๗
หลานฉงน
เมื่ออาม่ามีพุทโธเป็นเพื่อน หลานจะซนอาม่าก็ ไม่ สนใจ ครั้นอาม่าอยากจะบ่นอยากจะว่า ก็มิรอช้าหันมา หาลูกประคำ นับเม็ดประคำ ท่องบ่นภาวนา พุทโธ... พุทโธ...พุทโธดีกว่า เจ้าหลานน่ารักทำหน้าฉงน ปกติ ชอบวิ่งซน อาม่าต้องมาร่วมสาละวนห้ามปราม แต่มา วันนี้อาม่าไม่บ่นไม่ว่า หันหาลูกประคำ ภาวนา พุทโธ แปลกอยากรู้อยากเห็นจังเลย หลานนึกในใจ หลานน้อย เดินย่องแอบมองด้านหลังอาม่า เห็น เม็ดกลมๆ ถูกเลื่อนไปทีละเม็ดๆ เห็นปากอาม่าขมุบขมิบ ๒๘
พุทโธ...พุทโธ...พุทโธ หลานน้อยก็พลอยหยุดซนหันมา สนใจของเล่นชิ้นใหม่ สะกิดแขนอาม่า “อาม่าทำอะไร ขอหนูเล่นด้วยคน” อาม่าบอกว่า “เล่นไม่ ได้ ของพระ หนูอยู่เงียบๆ อาม่าจะว่าพุทโธ ให้ฟัง” หลานก็สงบอาม่าก็สงัด อาม่าว่าพุทโธหลานก็ฟัง จนเคลิ้มหลับ มินานนัก อาม่าก็เริ่มสงบเย็นใจ ที่วุ่นก็ กลายเป็นว่าง ว่างจากความหงุดหงิดจิตฟุ้งซ่าน ตกเย็นผมเดินไปเยี่ยมแม่ “แม่เป็นยังไงบ้างครับ พุทโธ อยู่กับลูกประคำ หรือ พุทโท่ อยู่กับหลาน” แม่ยิ้มแล้วเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง “ต่อนี้ ไปแม่จะภาวนาพุทโธ ทุกวัน” แม่เน้นเสียง คำว่า ทุกวัน ด้วยใบหน้าที่ชื่นบาน ด้วยแววตาที่มีความสุข “แม่ส่งการบ้านหน่อยซิครับ ภาวนาพุทโธ เป็นยัง ไงบ้าง” “เวลาแม่พุทโธ แรกๆ ใจก็มาอยู่กับพุทโธดี แต่ พอไม่นานมันก็ฟุ้งไปคิด ปากก็ว่าพุทโธ แต่ ใจมันไม่ ได้อยู่กับพุทโธ มันฟุ้งบ่อยมาก บางทีก็นึกโกรธตัวเอง ทำไมมันฟุ้งบ่อยจัง” ๒๙
“นั่นแหละครับ...ดีแล้ว แม่เริ่มปฏิบัติธรรมเป็นแล้ว” “อ้าว ฟุ้งอย่างงี้นะหรือปฏิบัติธรรมเป็น” “เป็นตรงที่แม่รู้ว่ามันฟุ้งบ่อย ตอนฟุ้งแสดงว่า แม่ เผลอสติ แต่ตอนรู้ว่าฟุ้ง ตอนนั้นแม่มีสติ แต่พอมีสติ แป๊บเดียว มันก็เผลอสติครั้งใหม่ ดีแล้วครับ ฝึกแบบนี้ต่อ ไปนะครับ ถ้าแม่ฝึกบ่อยๆ อาการฟุ้งจะน้อยลงไปเอง เวลาฟุ้งก็ฟุ้งไม่นาน เดี๋ยวก็มีสติรู้ตัวขึ้นมา เพียงแต่ว่า แม่ อย่าไปโกรธฟุ้งนะครับ เพราะฟุ้งก็เป็นธรรมะ” “ฟุ้งเป็นธรรมะตรงไหน” แม่ถาม “เป็นตรงที่เห็นว่า มันบังคับไม่ ได้ จิตใจมนุษย์มัน คิดโน่นคิดนี่อยู่ ไม่หยุด เดี๋ยวก็ ไปรับรู้สิ่งนั้น เดี๋ยวก็มารับรู้ สิ่งนี้ ห้ามก็ ไม่ ได้ บังคับก็ ไม่ ได้ หากเราฝึกสติรู้ตัวบ่อยๆ สุดท้ายจิตใจก็จะตั้งมั่นไม่ซัดส่ายเผลอเพลิน ออกนอก กาย นอกใจ” “แม่ฝึกต่อไปนะครับ อยู่กับ “พุทโธ” นะครับ มี “พุทโธ” เป็นที่พึ่งให้ ได้นะครับ ผมกลับบ้านก่อนนะครับ มันมืดค่ำแล้ว พรุ่งนี้ค่อยมาคุยกันต่อดีมั้ยครับ” ๓๐
“เออ... ดีๆ ไปอาบน้ำอาบท่าแล้วรีบเข้านอนเถอะ พรุ่งนี้ต้องตื่นแต่เช้าไปทำงาน” “ครับ” ราตรีสวัสดิ์ นี่ผมพูดในใจ เพราะเห็นว่า นี่เป็น ราตรีแห่งความสวัสดี สวัสดีตรงที่แม่เริ่มรู้จักธรรมะ เริ่มรู้จักความฟุ้ง ความสงบ รู้จักสังเกตถึงสภาวธรรม ต่างๆ หรืออาการต่างๆ ที่มันปรากฏขึ้นที่กาย ที่ ใจได้ บ้างแล้ว ๓๑
อานิสงส์พุทโธ
กาลเวลาผ่านไปรวดเร็วยังกับละคร แม่ฝึก พุทโธ อยู่ทุกวัน วันละหลายรอบ นับจากวันนั้นจนถึงวันที่เกิด เหตุ แม่ฝึกภาวนา พุทโธ มาประมาณ ๒ ปี เห็นจะได้ บ่ายวันพุธของเดือนเมษายนปี๒๕๔๘ อากาศค่อน ข้างร้อน แม่รู้สึกเหนียวเนื้อเหนียวตัวอยากจะอาบน้ำสระ ผม พี่สาวจึงพาไปสระผมในห้องน้ำ พอสระผมเสร็จก็พา แม่มายังห้องนอนชั้นล่าง เป็นทั้งห้องนอนและห้องรับแขก ไปในตัว เพื่อจะเป่าผมที่เปียกอยู่ ให้แห้ง พอเดินออกมา ๓๒
จากห้องน้ำ ก็พบป้าอ้อย(เรียกตามหลาน) หมอนวด ประจำตัวคุณแม่ ปกติป้าอ้อยจะมานวดให้แม่ทุกวันพฤหัส แม่จึงร้องถามว่า “วันนี้มาทำไม” ป้าอ้อยก็บอกว่ามานวด ให้แม่ ไง “วันนี้ ไม่ ใช่วันพฤหัส วันนี้เป็นวันพุธ” แม่พูดตอบ อ้าว... ป้าอ้อยทำเสียงงงๆ จำวันผิดไม่เป็นไร พรุ่งนี้ มาใหม่ก็ ได้ “ไหนๆ มาแล้ว ก็ดื่มน้ำดื่มท่า พอให้ ได้คลาย ร้อนคลายเหนื่อยเสียก่อนแล้วค่อยไป”แม่เอ่ยเชิญชวน ขณะที่พี่สาวก็กำลังใช้ ไดร์เป่าผมให้แม่ ครั้นเป่าไป ไม่นาน เส้นผมก็ยังไม่แห้งดี จู่ๆ แม่ก็คอพับ ปากเขียว หมดสติ ไป พี่สาวก็ตกใจ ป้าอ้อยก็รีบเข้ามาช่วยกันหายา อมยาดมยาหม่องเท่าที่จะหาได้ ในขณะนั้น มาบีบมานวด มาทาให้แม่ เพื่อให้แม่ฟื้นคืนมา ช่วยกันนวดอยู่ ไม่นานนัก แม่ก็เริ่มรู้สึกตัว คำพูดแรก ที่ป้าอ้อยได้ยินคือ พุทโธ...พุทโธ ออกจากปากแม่ ป้าอ้อย เล่าว่าได้ยินแล้วขนลุก แม่เริ่มลืมตาขึ้น แล้วมองไปรอบๆ ๓๓
“แม่..แม่..แม่..เป็นอะไรหรือเปล่า” พี่สาวร้องเรียก ถาม แม่ตอบว่า “ไม่เป็นไร มันมืดไปหมดแล้วก็ ไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกที เหมือนมีเสียงแต่ ไกลๆ” “เสียงอะไรคะแม่” ทุกคนตื่นเต้นอยากจะรู้ “เสียง พุทโธ...พุทโธ แล้วแม่ก็ตื่นฟื้นขึ้นมา” สาธุ...สาธุ...สาธุ... ถ้าแม่ ไปตอนนั้น แม่ก็ ไปกับ พุทโธ มีพุทโธเป็นที่พึ่ง มีพุทโธเป็นผู้นำทาง ท่านจะ เชื่อเหมือนผมมั้ยครับว่า ถ้าแม่ ไปตอนนั้น แม่ต้องไปดี ด้วยอานิสงส์การภาวนาพุทโธ ๒ ปี จนพุทโธแรกๆ ที่ฝึกเพียงอยู่ที่ปาก แต่บัดนี้ พุทโธ ได้เข้าไปประทับอยู่ ใน ใจของแม่แล้ว แม่มี พุทโธ เป็นที่พึ่งแล้ว ก่อนหน้านี้ แม่เคยสั่งพี่ๆ น้องๆ ว่าอายุแม่ก็แก่มาก แล้วจะตายวันตายพรุ่งเมื่อไหร่ก็ ไม่รู้ ถ้าวันไหนแม่ ใกล้จะ ตายให้รีบไปตามธีรยุทธมาด้วย ผมถามแม่ว่าไปตามผมมา ทำไมครับ แม่บอกว่า “ตามมานำทาง” ผมจึงบอกกับแม่ ไปว่า “ตอนนี้ แม่ ไม่ต้องตามผมแล้ว เพราะแม่มี พุทโธ เป็นผู้นำทางแล้ว” ๓๔
ชีวิตนี้ถ้าใครมีพุทโธมีพระธรรมมีสติสัมปชัญญะ เป็นที่พึ่งก็นับว่าประเสริฐยิ่งนัก เราฝึกทุกวันนี้ก็เพื่อวัน สุดท้ายของชีวิตนั่นเอง
๓๕
ดูกาย
หลังจากแม่ฝึกภาวนาพุทโธ มาได้ประมาณ ๒ ปี ผมก็เริ่มฝึกให้แม่มาหัดดูกาย ดูใจ ตัวเองบ้าง “แม่ครับ... ชีวิตเราประกอบด้วย กายและใจ การ ฝึกสติ ก็ต้องฝึกมารู้ที่กายที่ ใจ สติคือการระลึกได้ ระลึก รู้ที่กายที่ ใจ รู้ด้วยความรู้สึกตัวตามความเป็นจริงตาม ที่มันปรากฏ ตรงลงขณะปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะ หน้าหรือต่อหน้าต่อตา โดยไม่เข้าไปแทรกแซงจัดแจง แก้ ไขใดๆทั้งสิ้น อะไรเกิดก็รู้มันตามความเป็นจริง ไม่ ต้องแก้ ไขดัดแปลงมัน มันจะเป็นอย่างไร ก็รู้ว่ามันเป็น อย่างนั้น รู้เห็นอะไรในกายในใจนี้ ก็ ไม่ต้องเข้าไปหลง ๓๖
ยินดียินร้ายกับมัน กายมีอาการอย่างไร ใจมีอาการ อย่างไร ก็รู้มันเฉยๆ รู้ด้วยใจเป็นกลางๆ รู้แบบไม่มี ส่วนได้เสียกับมัน พอเข้าใจมั้ยครับ” แม่ฟังแล้วยิ้มๆ “เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่จำไม่ ค่อยได้” “ไม่เป็นไรครับ ค่อยๆศึกษาเรียนรู้ ไป สิ่งที่ผมพูดไม่ ต้องจำให้ ได้หมด ไม่ต้องกังวลใจฝึกทำไปเดี๋ยวก็เข้าใจเอง” “แม่ครับ... ตอนนี้แม่นั่งอยู่หรือยืนอยู่ครับ” “นั่งอยู่” แม่ตอบอย่างไม่ลังเล “กายที่นั่งอยู่มัน นิ่งๆ หรือเคลื่อนไหวครับ” “นิ่งๆ อยู่” “กายที่นั่งนิ่งๆอยู่นี้ มีส่วนใดของกายบ้าง ที่ ไม่นิ่ง แม่สังเกตดูที่กายแม่ซิครับ” “ลมหายใจเข้า-ออก” “ถูกต้องแล้วครับ ลมหายใจเข้า กับลมหายใจออก อันเดียวกัน หรือคนละอัน” “คนละอันกัน” แม่ตอบ “ลมหายใจเข้า กับลมหายใจออก อันไหนผ่อน คลายกว่ากัน” ๓๗
แม่ตอบว่า “ลมหายใจออก ผ่อนคลายกว่า” “เก่งมากครับ แม่ลองสังเกตต่อไปอีกหน่อยซิครับ ว่า มีอะไรเคลื่อนไหวอีก” แม่เริ่มทำหน้างงๆ ผมจึงพูดนำว่า “แม่ลองสังเกตท้องดูสิครับ เป็นยังไงบ้าง” “มันพองออก มันยุบเข้า” “มีอะไรอีกมั้ยครับ” “หน้าอกมันกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง ตามัน กะพริบ” “เก่งมาก แม่สังเกตกายได้หลายอย่างทีเดียว แม่ ลองขยับกายหน่อยสิครับ รู้สึกยังไง” “กายมันเคลื่อนไหว” “กายเคลื่อนไหวกับกายนิ่ง เหมือนกันหรือไม่” “ไม่เหมือนกัน” “เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่” “คนละอย่างกัน” “นี่แหละครับแม่ ท่านสอนให้สังเกตดูกายแบบนี้ กายนิ่งๆ ให้รู้สึกว่ากายนิ่งๆ กายเคลื่อนไหวให้รู้สึกว่า กายเคลื่อนไหว ชีวิตเราทั้งวันมันก็มีแต่กายนิ่งกับกาย ๓๘
เคลื่อนไหวเท่านั้นเอง เวลานั่งเวลายืน กายนิ่งหรือ เคลื่อนไหว” “กายนิ่ง” “เวลาเดินกายเคลื่อนไหว หรือนิ่งๆ” “กายเคลื่อนไหว” “เวลานอน กายนิ่ง หรือเคลื่อนไหว” “นิ่งๆ แต่ถ้าพลิกตัวมันก็เคลื่อนไหวนะ” “แม่สังเกตกายนิ่งกายไหวแบบนี้พอได้มั้ยครับ” “ได้ ได้ แม่ทำได้” “ดีครับ แล้ววันหน้า ผมจะมาสอนการดูใจให้เพิ่ม เติมนะครับ กายไหว...กายนิ่งให้ฝึกรู้ ฝึกดู แค่สองอย่าง รู้ ด้วยความรู้สึกตัว ไม่ ใช่คิดเอานึกเอานะครับแม่” “ไม่ยาก...ไม่ยาก” แม่พูดทบทวนความเข้าใจ ธรรมะแท้ จ ริ ง ไม่ ใช่ เ รื่ อ งยากแต่ ที่ ย ากเพราะ ไม่เข้าใจ พอเข้าใจก็ ไม่ฝึกฝนใจ จึงได้แต่บ่น ว่ายาก…ยาก…ยาก “การปฏิบัติธรรมนั้นมันไม่ยาก แต่ที่ยากเพราะไม่ปฏิบัติ” นี่คือคำกล่าวของหลวงปู่ ดูลย์ อตุโล ๓๙
ดูใจ
“แม่ครับ... วันนี้อากาศเย็นดีนะครับ เมื่อวานนี้ ร้อนมาก แต่วันนี้กลับมาเย็นไม่มีอะไรแน่นอนเลยนะแม่ มีร้อนก็มีหนาว มีสาวก็มีแก่ มีแย่ก็มีดี แต่ที่สำคัญคือ เห็น ว่าไม่มีอะไรแน่ จริงมั้ยครับ” แม่พยักหน้า ยอมรับ “วันนี้ เราจะมาเรียนรู้ ใจกันหน่อย ดีมั้ยครับ แม่ ครับ...ใจเรานี้ เราสามารถรู้อะไรมันได้บ้างครับ” แม่ถามว่า “รู้อะไร” “ก็รู้ว่ามีอะไรสามารถเกิดขึ้นที่ ใจเราได้บ้าง” แม่นั่งคิด ๔๐
“ความสุข ความทุกข์” “แล้วอะไรอีกครับ เฉยๆ มีมั้ยครับ” “มี แต่บางทีมันก็มี ความโกรธ ความโลภอยาก ได้ ความฟุ้ง ความรำคาญ” “มีอีกมั้ยครับ ถ้าแม่ยังนึกไม่ออก ผมช่วยนะครับ หงุดหงิด เบื่อ เหงา เศร้า เซ็ง อิจฉา พยาบาท เกลียด กลัว หึง หวง ห่วง สงบ สบายใจ สงสาร เมตตา และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งจิตที่เป็นกุศลและ อกุศล” แม่พยักหน้าว่า “จริง...จริง...จริง อย่างที่พูดมา ทั้งหมด” “นี่แหละครับแม่ การเรียนรู้ ใจก็คือการเรียนรู้ อาการที่ปรากฏที่ ใจ เช่นมีคนมาว่าแม่แล้ว แม่โกรธ ถามว่าในใจแม่มีตัวหนังสือ “โ ก ร ธ” หรือไม่ มัน จะมีเพียงแค่อาการโกรธปรากฏที่ ใจ จะเรียกว่าอะไร ก็ช่าง มันแค่มีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นที่ ใจเท่านั้นเอง เพียงแค่เป็นผู้รู้ผู้ดู อย่าไปทำมัน อย่าไปแก้ ไขมัน เห็น แล้วรู้แล้ว อย่าไปหลงรัก อย่าไปหลงชอบมัน และ ก็ ไม่ต้องไปเกลียดชังมันด้วย” ๔๑
“สมมุติว่ามีคนเอาขนมเค้กมาให้แม่ แม่ดี ใจมั้ยครับ” “ดี ใจซิ” “ดี ใจมันเกิดที่ ไหน” “มันเกิดที่ ใจ” “ดี ใจให้รู้ว่าดี ใจ คือรู้สึกว่ามีสิ่งหนึ่งมันเกิดขึ้นที่ ใจ นั่นคืออาการดี ใจนั่นเอง พอได้ขนมเค้กมา แม่อยาก กินมั้ย” “อยากกิน” “อยากกินให้รู้ว่าใจอยากกิน อยากกินมันเกิดที่ ไหน” “มันเกิดที่ ใจ เพราะใจมันชอบ” แม่ตอบ เก่ง มาก แม่เริ่มเรียนรู้อาการของใจได้มากขึ้นแล้ว “แม่ครับ... เมื่ออยากกิน กินมั้ยครับ กินได้มั้ย กิน ได้ครับ ท่านไม่ ได้ห้ามกิน แต่การกินก็ควรพิจารณาด้วย เหมือนกันนะแม่ ว่าสิ่งที่กินนั้นเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็น ประโยชน์ เราสมควรกินหรือไม่สมควรกิน เช่น ถ้าแม่เป็น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดมาก ก็ ไม่ควรกินใช่ มั้ยครับ แต่ถ้าจะกินก็กินแต่พอประมาณนานๆครั้ง ๔๒
แม่พูดแทรก “จริงๆ ขนมเค้กมันก็ ไม่ค่อยได้กินสัก เท่าไหร่นะ ส่วนมากปี ใหม่ ถึงจะมี โอกาสได้กินเสียที” “แม่ครับ... ถ้าสมมุติว่า แม่เอามีดมาตัดเค้ก พอตัด ออกมาปรากฏว่า ขนมเค้กขึ้นรา เขียวอื๋อเลย แม่จะรู้สึกยังไง” “รู้สึกไม่ค่อยพอใจ ที่เอาของบูดเน่าเก่าเก็บมาให้เรา” “เห็นมั้ยครับ...ตอนแรกเขาเอาเค้กมาให้ก็ดี ใจ ให้ รู้ว่าดี ใจ พอเปิดกล่องเค้ก อยากกินรู้ว่าใจมันอยาก พอ ตัดเค้กเห็นเค้กขึ้นรา ไม่พอใจก็ ให้รู้ว่ามันไม่พอใจ ไม่ พอใจนี้เป็นเราไม่พอใจหรืออะไรไม่พอใจครับ” แม่นั่งคิด “ก็เราไม่พอใจ” “ไม่ ใช่ครับ แม่ต้องรู้สึกว่ามีอาการหนึ่งมันเกิดขึ้น ที่ ใจ อาการนั้นมันไม่ ใช่เรา แต่มันเป็นความรู้สึกอย่าง หนึ่งที่เกิดขึ้น อาการนั้นเขาสมมุติเรียกว่า ไม่พอใจ แม่ ไม่จำเป็นต้องรู้ชื่อมันก็ ได้ครับ รู้เพียงแต่ว่ามันมีสิ่งแปลก ปลอมอะไรบางอย่างเกิดขึ้นที่ ใจแล้ว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้เพิ่งมีอาการดี ใจเกิดขึ้นหยกๆ แต่ พอเห็นเค้กขึ้นรา อาการของใจก็เปลี่ยนไปเป็นไม่พอใจ เห็น ๔๓
มั้ยครับ จิตใจมนุษย์เปลี่ยนแปลงง่าย เปลี่ยนแปรเร็วเป็น คนหลายใจ เดี๋ยวพอใจ เดี๋ยวไม่พอใจ แม่จะสังเกตเห็นว่า อาการเหล่านั้น เราไม่ ได้ทำให้มันเกิด เราไม่ ได้ทำให้มันดับ หรือหายไป มันเกิดเองดับเอง เราบังคับมันไม่ ได้ แต่เรารู้ เท่าทันมันได้ ถ้าเรารู้ทัน เราก็จะไม่ ไปคิดว่าเขาเอาของเน่า เสียมาให้เรา เขาไปซื้อเค้กที่ร้าน เขาอาจจะไม่รู้ว่ามันเก่า เน่าบูดก็ ได้ แต่เขามีเจตนาดีคิดถึงเรา จึงซื้อมาฝาก ถ้าเรารู้ว่า ความไม่พอใจเกิดขึ้น ก็ ให้รู้ว่าจิตไม่ พอใจไม่ ใช่เราไม่พอใจ อาการไม่พอใจก็จะเริ่มคลายตัว ลง แต่ถ้าเราไปคิดถึงคนที่เขาเอาเค้กเน่ามาให้เรา มันก็จะ หลงปรุงแต่งคิดว่าเขาไม่ดี เขาแกล้งเรา เขาดูถูกเรา มันก็ มีแต่จิตที่คิดไปเพ่งโทษผู้อื่น พระท่านเรียกว่า “ส่งจิตออก นอก”ไปรู้เรื่องข้างนอก แทนที่จะรู้ว่าใจตัวเองขณะนั้นเป็น อย่างไร เกิดอะไรขึ้นในขณะปัจจุบันนั้น ก็พอแล้ว” แม่ฟัง พร้อมพยักหน้า และพูดว่า “ลึกซึ้ง ท่านสอนละเอียดดีนะ” “แม่ฟังแล้วเบื่อมั้ย” “ไม่เบื่อๆ แม่ชอบ” “ถ้าชอบรู้ว่าอย่างไรครับ” ๔๔
“รู้ว่าใจมันชอบ” “เก่งมากครับ พรุ่งนี้เรามาเรียนกันต่อนะครับ ตอน นี้แม่ก็ฝึกรู้กาย รู้ ใจไปก่อน รู้ ได้แค่ ไหนก็เอาแค่นั้นนะครับ อย่าไปบังคับให้มันรู้ตลอดเพราะมันบังคับไม่ ได้หรอก” เรียนรู้แล้ว ไม่ฝึกรู้ ฝึกดู ก็ ไม่รู้ ไม่เป็น ธรรมะ ก็ ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
๔๕
ไม้เท้า
“แม่ครับ...ไม้เท้าของแม่มี ไว้ทำอะไร” แม่ทำหน้า งงๆ พลันตอบว่า “ก็เอาไว้ค้ำยันกาย ไม่ ให้ล้มนะสิ” “จริงครับ แล้วไม้เท้า ที่ค้ำยันใจไม่ ให้ล้ม หรือไม่ ให้ล่มสลาย มีขายมั้ยครับ” แม่ ได้แต่อมยิ้ม แล้วตอบว่า “ไม่มี” “แม่ครับ ไม้เท้าค้ำยันกายหาซื้อได้ทั่วไป แต่ ไม้ เท้าค้ำยันใจ ต้องฝึกทำเองไม่มีขาย ไม้เท้าค้ำยันใจ ก็ คือ “สติ”นั่นเอง” ๔๖
“หากแม่ฝึกสติรู้สึกตัวที่กายบ้างที่ ใจบ้าง สุดแท้แต่ ว่าใจมันจะรู้สึกที่ ไหน กายแม่เคลื่อนไหวก็ ให้รู้สึกตัว กายปวดก็ ให้รู้ว่ากายมันปวดไม่ ใช่เราปวด ความปวด มันก็อยู่ส่วนหนึ่ง กายมันก็อยู่ส่วนหนึ่ง ใจที่มันไปรู้ปวด มันก็อยู่ส่วนหนึ่ง ปวดแล้วรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่ายนั้นก็เป็น อาการบางอย่างที่เกิดกับใจ ก็ ให้รู้ว่ามันมีบางสิ่งบางอย่าง เกิดขึ้นกับใจ แล้วรู้ตามที่มันเป็น พอเข้าใจมั้ยครับแม่” แม่คิดนิดนึง...แล้วถามขึ้นว่า “แต่ความปวดมันเกิดที่กาย แล้วมันไม่ ใช่อัน เดียวกันหรือ” “ไม่ ใช่ครับ”...ผมเริ่มอธิบายเพิ่มเติม “กายกับความปวดคนละอย่างกัน ถ้ามันเป็นอย่าง เดียวกัน นั่นหมายความว่า ขณะนี้ ใครก็ตามที่มีร่างกาย มันต้องปวดตลอดเวลา ใช่มั้ยครับ ตอนแรกๆ เรานั่งใหม่ๆ ปวดเมื่อยมั้ยครับ” แม่ตอบว่า “ไม่ปวด” “แต่พอนั่งไปนานๆ มันกลับมีปวด เข้ามาแทรก อยู่ ในกาย ฉะนั้นความปวดก็อย่างหนึ่ง กายก็อย่าง หนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้มันเป็นสิ่งที่ถูกรู้ แต่มันก็มีสิ่ง ๔๗
หนึ่งที่ ไปรู้อาการปวดที่กำลังปรากฏที่กาย นั่นเขา เรียกว่าจิตผู้รู้หรือใจ ที่มันทำหน้าที่รับรู้นั่นเอง” “จริงนะ ถ้าเธอไม่บอก แม่ก็คงยังไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่ มันก็เกิดขึ้นอยู่กับกายใจเรานี้มาตั้งแต่เกิด แต่เราไม่ เคยเข้าไปสังเกตเห็นมันเลย” “จริงครับ... แท้ที่จริงไม่ ใช่ผมเป็นผู้บอก แต่ พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านเป็นผู้บอก แล้วพระองค์ท่าน ยังบอกต่อไปด้วยว่า อาการปวดมันก็ ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็ ปวดมาก เดี๋ยวก็ปวดน้อย เดี๋ยวก็หายปวด จะบังคับมัน ให้เป็นไปดั่งใจเราก็ ไม่ ได้ มันเป็นเพียงธรรมชาติ หรืออาการอย่างหนึ่งที่ปรากฏที่กาย แล้วมี ใจเข้าไปรู้ เข้าหรือรู้สึกได้ ทั้งกาย ทั้งใจ มันไม่ ใช่เรา ถ้ามันใช่ เราหรือเป็นของเรา เราต้องบังคับมันได้ แต่นี่เราบังคับ อะไรมันไม่ ได้เลย มันจึงไม่ ใช่เราและไม่ ใช่ของเรา ถ้าเรา เห็นถูกต้องตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน เราจะได้ ไม่ทุกข์ ไง ล่ะครับ” ๔๘
“พระพุทธเจ้าเก่งจริงๆ” ...แม่เอ่ย พร้อมยกมือ พนมกล่าว “สาธุ สาธุ สาธุ” ชีวิตเราจำเป็นต้องมีที่พึ่งทางใจ ลองถามตัวเราเอง ซิว่า เรามีที่พึ่งทางใจแล้วหรือยัง ร่างกายก็นับวันจะชรา ทรุดโทรมผุพังไปเรื่อย ถ้ามัวแต่เอื่อยเฉื่อยไม่ฝึกตนแล้วจะ พ้นทุกข์ ได้อย่างไร
๔๙
ไม่ ให้ดี ใจ
เช้าวันนี้ อากาศค่อนข้างดี เย็นสบายมีลมโชย อ่อนๆ พัดผ่านกิ่งใบยอดอ่อนของดอกเฟื่องฟ้าหน้าบ้าน แม่นั่งอมยิ้มเพื่อรอตักบาตร ผมถามแม่ว่า “วันนี้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไรบ้างครับ” แม่ตอบว่า “รู้สึกดี ใจ แต่เห็นธีรยุทธบอกว่า ไม่ ให้ดี ใจก็ เลยพยายามไม่ดี ใจ” “ไม่ ใช่อย่างนั้นครับ ดี ใจก็ ให้รู้ว่าดี ใจ เพียงแค่ รู้ว่า อาการดี ใจมันปรากฏขึ้นที่ ใจ ขณะนั้นแม่ก็มีสติ มาระลึกรู้ที่ ใจได้แล้ว อะไรทำให้แม่ดี ใจละครับ” ๕๐
ผมเอ่ยถาม...ด้วยความสนใจ “เมื่อเช้านี้ แม่ตื่นประมาณตีสี่ ก็นั่งดูลมหายใจ ดู ร่างกายมันหายใจ บางทีมันก็หายใจเข้าแรง บางทีมันก็ หายใจออกแรง บางทีมันก็เบา บางทีมันก็หนัก บางทีมัน ก็หนี ไปคิด พอรู้ว่ามันคิด มันก็กลับมารู้สึกการหายใจ บาง ครั้งมันก็รู้สึกเฉย ๆ บางครั้งมันก็ฟุ้ง แต่สังเกตว่ามันฟุ้ง บ่อยจังเลย” “แม่ฟุ้งบ่อย แล้วรู้สึกยังไงครับ” “รู้สึกไม่ชอบ อยากให้มันสงบ ไม่อยากให้มันฟุ้ง” “แล้วมันเชื่อแม่มั้ย” “ไม่เชื่อ ยิ่งทำให้มันสงบ ยิ่งบังคับมัน มันยิ่งฟุ้ง ใหญ่เลย แม่เลยปล่อยมัน ตามรู้ตามดูมันอย่างที่เธอบอก” “ดีแล้วครับ แล้วต่อจากนั้นมันมีอาการอะไรอีกบ้าง มั้ยครับ” “มี แต่พอจิตมันสงบลง ปรากฏว่ากายมันเบา ใจมันเบา ใจมันมีความสุข ใจมันโล่งๆ โปร่งๆ สว่างๆ แผ่ออกไปกว้างๆ แม่ ไม่เคยมีความสุขแบบนี้มาก่อน เลยในชีวิต แม่รู้สึกดี ใจมาก แต่นึกขึ้นได้ว่า เธอบอก ว่าอย่าดี ใจ ก็เลยบังคับไม่ ให้มันดี ใจมาก” ๕๑
“แม่ฝึกได้ดี มีสติตามรู้กายใจได้มากขึ้นแล้วครับ เพียงแต่ว่ามันดี ใจ แค่รู้ว่ามันมีความรู้สึกดี ใจ ไม่ ต้องไปห้ามไปบังคับมัน ปล่อยให้มันเกิดขึ้นแบบอิสระ แล้วเราก็แค่ตามรู้ตามดูมันไป แม่จะสังเกตเห็นได้ว่า ความฟุ้งเราก็ ไม่ ได้เชิญมันมา มันมาของมันเอง ความ สุขความสงบเราก็ ไม่ ได้เชิญมันมา มันก็มาของมันเอง สุดท้าย ทั้งฟุ้งทั้งสุขสงบมันก็อยู่ ไม่นานแล้วมันก็เปลี่ยน ไป จึงเห็นว่าเราบังคับอะไรมันไม่ ได้เลย ความฟุ้งเราไม่ ชอบจึงอยากขับไสไล่ส่งมัน มันก็ ไม่ ไป ยิ่งบังคับก็ยิ่งฟุ้ง ความสุ ข สงบเราชอบจะรั ก ษาให้ มั น อยู่ กั บ เรานานๆก็ ไ ม่ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันจึงเกิดขึ้นดับไปตามเหตุตาม ปัจจัยบังคับอะไรไม่ ได้เลยจริงๆ” แม่พยักหน้ารับทราบและยอมรับความจริงว่า “ใช่ ใช่ บังคับไม่ ได้จริงๆ” “ถ้ า แม่ ค่ อ ยๆสั ง เกตมั น ไป โดยไม่ เ ข้ า ไปบั ง คั บ จัดแจงแก้ ไขมัน แม่จะเห็นว่าความดี ใจเดี๋ยวมันก็คลาย ตั ว ลงหรื อ หมดไปเองโดยที่ เ ราไม่ ได้ ท ำอะไรมั น เลย เพราะมันไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ต้องดับ” ๕๒
“ต่อไปแม่อย่าบังคับมันนะครับ ให้ทุกอย่างมัน เกิดขึ้นโดยอิสระ แล้วแค่ตามรู้ตามดูมันไป มันจะเป็น อย่างไร จะสุข ทุกข์ เฉยๆ เศร้า ซึม ดี ใจ เสียใจ สงบ สว่าง สบาย ก็แค่ดูมันไป แล้วมันจะแสดงธาตุแท้ ของมันให้แม่เห็นว่า มันไม่เที่ยง มันทนอยู่นาน ๆ ไม่ ได้ เราบังคับมันไม่ ได้” “ผมไปทำงานก่ อ นนะครั บ ...เดี๋ ย วจะสายรถ ช่วงนี้ติดมาก พรุ่งนี้ค่อยคุยกันใหม่นะครับ” ดี ใจเสียใจล้วนเป็นธรรมะที่เกิดกับใจ เกิดแล้ว ก็ดับไปหากใครรู้ทันมันก็เท่านั้นเอง
๕๓
เรือรั่ว
เช้าวันนี้ ดูหน้าตาแม่ ไม่ค่อยสดใสนัก “แม่เป็น อะไรหรือเปล่าครับ” “แม่ปวดหัวเข่า เดินไม่ค่อยไหว ไม่รู้จะเดินได้ หรือเปล่า ถ้าเดินไม่ ได้ต่อไปจะทำยังไง กลัวจะต้อง นอนบนเตียง ขยับเขยื้อนเคลื่อนกายไปไหนมาไหนไม่ ได้ ต้องกินต้องฉี่ ต้องอึบนเตียงช่วยตัวเองไม่ ได้ ต่อไปก็ยิ่ง เป็นภาระให้กับลูกหลาน เมื่อไหร่มันจะตายๆ ไปเสียที” แม่ เ ล่ น ระบายความรู้ สึ ก ที่ อึ ด อั ด อั ด อั้ น ตั น อุ ร า ออกมาเสียชุดใหญ่ ผมจึงพูดปลอบใจแม่ว่า ๕๔
“พระพุทธองค์เปรียบคนแก่เหมือนดั่งเรือรั่ว แม่ ก็เหมือนเรือรั่ว นับวันมันก็จะค่อยๆจมลง” แม่พูดแทรกขึ้นว่า “แล้วเมื่อไหร่ เรือลำนี้รูมันจะใหญ่ๆ จะได้จม ไวๆไปๆเสียที” แม่พูดเหมือนโลกนี้มันไม่โสภาไม่น่า อยู่เสียแล้ว “แม่ครับ...แม่เคยได้ยิน คำโบราณท่านว่าไว้ มั้ยครับ ยามเจ็บไข้ ใครใคร ก็อยากหาย เจ็บเจียนตาย ใครใคร ไม่อยากอยู่ ต้องหาใคร เยียวยา คอยเฝ้าดู แต่พอรู้ ว่าใกล้หาย ลืมตายเลย” แม่อมยิ้ม แล้วตอบว่า “จริง...จริง” “เห็นมั้ยครับที่แม่อยากตาย เพราะกายมันเจ็บ พอ กายหายเจ็บมันก็อยากอยู่ต่อ แม่ดูแบบนี้สิครับ ความเจ็บ อยู่ที่หัวเข่า ใจมันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ใจมันไม่มีหัวเข่า แข้งขา แต่ทำไมปวดเข่าต้องปวดใจทุกข์ ใจด้วย เพราะเรา เข้าใจผิด เห็นผิดว่าเข่าฉัน ขาฉัน เรายึดว่ามันเป็นของเรา ๕๕
ทีเข่าขาคนอื่นปวดเจ็บ หรือขาดกระเด็น เราไม่เห็นต้องทุกข์ ร้อนเลย เพราะนั่นมันไม่ ใช่ขาของฉัน” “เห็ นมั้ ย ครั บ...มี ฉัน จึ ง ต้ องแสวงหาความสุ ข ให้ ฉั น และต้องพยายามหาทุกอย่าง เพื่อมาบำรุงบำเรอฉัน เพื่อ ให้ฉันได้มี ได้เป็นอย่างที่ต้องการ” “แท้ที่จริง อาการปวด ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันกำลังทำหน้าที่ของมันไป เดี๋ยวก็ปวดมาก เดี๋ยวก็ปวด น้อย เดี๋ยวก็ปวดถี่ ๆ เดี๋ยวก็ปวดห่าง ๆ บังคับมันไม่ ได้ ส่วนใจก็มีหน้าที่รู้ มีหน้าที่ดูตามที่มันเป็น ถ้าแม่เพียง แค่เฝ้ารู้เฝ้าดู ด้วยใจที่เป็นกลางโดยไม่หลงเข้าไป ยินดียินร้ายกับมัน แม่ก็จะไม่ทุกข์ ใจ แต่กายยังทุกข์ ยั ง ปวดอยู่ น ะครั บ และถ้ า สั ง เกตดี ๆ ก็ จ ะเห็ น ว่ า ไอ้ เ จ้ า ความปวดมันก็ ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงเสมอ” “ไม่ ใช่ฝึกสติเพื่อให้กายไม่ทุกข์นะครับ แต่ฝึกสติ เพื่อให้เห็นความจริงว่า ทุกอย่างมันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างมันทนอยู่สภาพเดิม ๕๖
นานๆไม่ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันบังคับไม่ ได้ จะได้คลาย ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเรา จะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นของเรา จะได้รู้ความจริงแบบเข้าใจถูกและวางใจเป็น จะได้ ไม่ ไปทุกข์กับมัน สิ่งทั้งหลายที่มันกำลังเกิดขึ้น มันก็ ทำตามหน้าที่ของใครของมันไป” แม่พยักหน้า แล้วพูดว่า “มันก็จริงนะ” “แม่คิดใหม่ซิครับว่า ตอนนี้ยังไม่ตาย แม่ก็ขอยืม กายยืมใจฝึกสติก่อน ตอนตายจะได้ตายไปกับสติ ดีมั้ย ครับ” เห็นรอยยิ้มของแม่แล้ว ก็ค่อยสบายใจขึ้นหน่อย นี่แหละหนามนุษย์เรา รักตัวกลัวตาย แต่ ไย ไม่ยักกะกลัวเกิดกันบ้างหนอ มีเกิดมิ ใช่หรือ มันจึงมี แก่ เจ็บ ตายในที่สุด ๕๗
แบกน้ำตาลทราย
วันนี้แม่ทำอะไรให้ผมตกใจ จู่ๆ ก็ยกมือไหว้ผม พร้อมกล่าวว่า “แม่ ต้ อ งขอบคุ ณ ธี ร ยุ ท ธมากนะที่ ม าช่ ว ยสอนแม่ ปฏิบัติธรรม สอนแล้วสอนอีก แม่ก็จำไม่ค่อยจะได้ บาง อย่างบางเรื่องแม่ถามซ้ำไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง ธีรยุทธก็ ไม่รู้ จักเบื่อ ก็ยังอธิบายซ้ำแล้วซ้ำอีกให้ฟังทุกครั้งไป” “แม่ถือว่าธีรยุทธเป็นอาจารย์ของแม่นะ ที่แม่ ไหว้ แม่ ไหว้อาจารย์ หากไม่มีอาจารย์คนนี้มาสอนถึงที่บ้าน ๕๘
แล้วแม่จะมี โอกาสวาสนาไปเรียนกับเขาได้ที่ ไหน อ่านก็ ไม่ออกเขียนก็ ไม่ ได้ฟังก็ยังเข้าใจยาก ฟังแล้วก็ยังลืมง่าย อีกต่างหาก” “แม่ครับ...แม่อย่าไหว้ผมเลย ถ้าแม่จะไหว้ ขอให้ ไหว้พระพุทธเจ้า เพราะสิ่งที่ผมพูดให้แม่ฟังเป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้า ไม่ ใช่คำสอนของผม แต่ถ้าแม่ ไหว้ผม ก็อย่า ได้ติดที่ตัวผม ขอให้ทะลุตัวผม ไปหาพระพุทธเจ้า นะครับ” ฟังแล้ว ก็น่าปลื้มใจครับ ที่แม่ผู้คิดว่าตนเอง เป็นผู้อาภัพ ไม่ ได้เรียนหนังสืออ่านไม่ออกเขียนไม่ ได้ แต่จิตใจใฝ่ธรรมสามารถฝึกปฏิบัติตนทุกวันไม่มีขาด จน สามารถสัมผัสรสพระธรรมที่ทำให้ ใจชุ่มฉ่ำเย็น จนแม่ กล่าวประโยคหนึ่งออกมาว่า “เมื่อก่อน แม่เหมือนคนแบกความทุกข์ เปรียบ เสมือนแบกน้ำตาลทรายหนัก ๑๐ กิโล บัดนี้ทุกข์ของแม่ ลดลง เหมือนแบกน้ำตาลทรายเหลือเพียงแค่ ๓ กิโล” แม่ยกมือพนมไว้กลางระหว่างอก แล้วกล่าวว่า ๕๙
“ลูกมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าเป็นที่ พึ่งของลูก” “แม่ครับ ผมดี ใจครับ ที่แม่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม่อย่าทิ้งพระพุทธเจ้านะครับ เพราะ พระพุทธเจ้าไม่เคยทิ้งเรา คนส่วนใหญ่พอทุกข์ก็คิดถึง พระพุทธเจ้า พอสุขก็ลืมพระพุทธเจ้า” “แม่ ไม่ทิ้ง แม่ ไม่ทิ้ง ถ้าแม่ทิ้ง แม่คงไม่ ไหว้ พระ สมาทานศีล ๕ ปฏิบัติธรรมทุกวัน แม่เห็นคุณ เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับใจแม่แล้ว ใครคิดจะทิ้งก็ เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย น่าเสียใจและเสียโอกาส แต่แม่ ไม่ทิ้งแน่นอน...แม่สัญญา” “แม่ครับ พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านเป็นเพียงผู้ชี้ ทาง ส่วนการเดินทางเป็นหน้าที่ของเราทุกคนนะครับ” “พรุ่งนี้เช้า ผมจะมาคุยกับแม่ ใหม่นะครับช่วงสายๆ หรือบ่ายๆ ที่แม่ว่างสะดวกก็กลับมารู้กายรู้ ใจบ่อยๆนะ ครับ ทุกครั้งที่รู้กายรู้ ใจ ให้แม่จำไว้นะครับว่า ขณะ นั้นแม่กำลังเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แม่กำลังปฏิบัติบูชา พระพุทธองค์นะครับ” ๖๐
ชีวิตเราเกิดมาล้วนมีทุกข์ หากใครหลงเพลิน หลงสนุก ไม่นานเราก็จะพบกับความทุกข์ที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลาย หากใครรู้เท่าทัน ความจริง รู้จักละวางเสียบ้าง จิตที่เคยวุ่นก็จะกลาย เป็นว่างถ้าวางเป็น
๖๑
ลื่นล้ม
บ่ายวันหนึ่ง อากาศค่อนข้างอบอ้าว เมื่อก่อนแม่ จะเดินไปไหนมาไหน แม่ต้องใช้ ไม้เท้า แต่ตอนนี้แม่ ไม่ ได้ ใช้ ไม้เท้าแล้วครับ ท่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่า แม่ปฏิบัติธรรมแล้วเดินปร๋อ โดยไม่ต้องใช้ ไม้เท้า ไม่ ใช่อย่างนั้นเลยครับ สังขารล่วงวัยไปไม่หยุดยั้ง จากใช้ ไม้เท้าเปลี่ยนมาใช้ WALKER สี่ขา เพราะไม้เท้า พยุงร่างกายไว้ ไม่ ไหวแล้วครับ แต่แม่ก็บอกว่า ดีเหมือน กัน เวลาเดินไปรู้สึกมั่นคง และมีสติรู้สึกตัวได้ดี ในขณะ ที่ค่อย ๆ ก้าวเดินไปอย่างช้าๆ ๖๒
วั น นี้ เ ป็ น วั น หยุ ด ปิ ด เทอมของหลานสาววั ย ห้ า ขวบ หลานนั่งเล่นของเล่นอยู่บนโซฟาขณะที่แม่ (อาม่าของ หลาน)กำลั ง จะพยุ ง กายลุ ก ขึ้ น จากเตี ย งนอนโดยใช้ เ จ้ า สี่ ขา WALKERเป็นตัวช่วยพยุง แต่เผอิญกางเกง ขอบยาง ยืดมันหลวมจนเกือบจะหลุด อาม่าจึงเรียกหลานสาวที่ กำลังสนุกอยู่กับของเล่นชิ้นใหม่ว่า “น้องพีช ดึงกางเกงให้อาม่าหน่อย กางเกงมันจะ หลุดแล้ว” หลานสาวที่น่ารักมิรอช้า เมื่อสิ้นเสียงอาม่าก็วิ่ง อ้ อ มมาด้ า นหลั ง ดึ ง หั ว กางเกงยื ด พรวดเดี ย วเข้ า ที่ เ ลย แล้วจึงวิ่งกระโดดขึ้นบนโซฟาเพื่อไปเล่นของเล่นต่อ ทันใดนั้นอาม่าเผลอสติเหลียวไปดูหลาน กายที่ ยืนอยู่ก็เลยเซเสียหลัก ขณะนั้นสติก็กลับมารู้สึกตัว เห็นกายค่อยๆ ล้มลงช้าๆ เห็นกายอยู่อีกส่วนหนึ่ง ใจกำลังรู้ว่ากายกำลังล้มอยู่อีกส่วนหนึ่ง ใจเห็นกาย กำลังล้มลง อย่างนุ่มนวล ศีรษะค่อยๆ คล้อยต่ำลง นอนราบกับพื้น โดยศีรษะไม่กระแทกสิ่งใด เพราะ ขณะนั้นมีสติ จึงไม่มีอาการตกใจใดๆ ปรากฏขึ้น ๖๓
เจ้ า หลานสาวตั ว น้ อ ยเห็ น อาม่ า ล้ ม จึ ง รี บ วิ่ ง เข้ า มา หวังจะช่วยพยุง แต่ก็เห็นว่าเกินกำลังของตนจึงร้องเรียก ตะโกนว่า “ซาโกว ซาโกว อาม่าล้ม” ซาโกวคือลูกสาว คนที่สามที่อยู่คอยดูแลแม่ วิ่งลงมาจากบันไดชั้นบนอย่าง เร่งรีบเพื่อช่วยพยุงร่างกายแม่ที่กำลังนอนราบกับพื้นห้อง แม่บอกลูกสาวว่า “ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ ไม่เป็นอะไร” อานิสงส์ของการเจริญสติ เมื่อยามคับขัน สติที่เราฝึก กลับมารักษาดูแลกายใจไม่ ให้ตื่นตระหนกตกใจจนเกินไป กับเหตุการณ์ยามฉุกเฉิน จึงทำให้จิตไม่กระเจิงเผลอ ตกใจกลัวจนช็อกหมดสติ ไป อย่าดูถูกสติเพียงน้อยนิด ถ้าฝึกประจำสม่ำเสมอ ท่านจะพบเห็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่เมื่อภัยมา เมื่อพบ เหตุคับขันจะได้ ไม่เผลอขาดสติ เมื่อใดมีสติเมื่อนั้นก็ ไม่ประมาท เมื่อใดขาดสติเมื่อนั้นเราก็ยังประมาทอยู่ ท่านว่าจริงมั้ยครับ ๖๔
มันจากเรา
กลางดึกคืนวันหนึ่ง แม่ตื่นขึ้นมาเพื่อจะเข้าห้องน้ำ เผอิ ญ มื อ ไปปั ด โดนกระติ ก น้ ำ ร้ อ นแตกกระจายไปทั่ ว ห้ อ ง กระติกนี้ ใบนี้ ใช้มานานถนัดไม้ถนัดมือ ถือเบาสะดวก สบาย ใช้ทนทาน เก็บน้ำร้อนได้ดี ใช้เทดื่มกินอยู่ทุกวัน วันนี้มันแตกเสียแล้ว โดยปกติ ถ้าของสิ่งใดของแม่ที่ ใช้อยู่เป็นประจำ แม่ จะรักจะหวงแหนมาก ครั้นมีสิ่งใดแตกหักเสียหายไป ต้อง รีบหาซื้อมาคืนให้ ที่สำคัญต้องเอาแบบเดิม แล้วมันจะไป ๖๕
หาแบบเดิมได้ที่ ไหน ของมันซื้อมาตั้งหลายปี หรือร่วมสิบ ปีแล้ว แม่ก็จะบ่นเสียดาย และตำหนิติตัวเองว่าซุ่มซ่ามแก่ แล้วก็เป็นอย่างนี้ แล้วก็จะบ่นไปอีกนานหลายวัน คราวนี้ดีหน่อย แม่เฉยๆ ไม่เรียกร้องให้รีบไปซื้อ หามาให้ มีอะไรก็ ใช้อันที่มีนั้นไปก่อน ครั้นลองถามแม่ดู ว่า กระติกน้ำแตกครั้งนี้ทำไมใจแม่ ไม่กระวนกระวาย แม่ตอบว่า “ก็ธีรยุทธเคยบอกว่า ของทุกสิ่งมันไม่ จากเรา เราก็ต้องจากมัน นี่ดีนะ ที่มันจากเราไปเสีย ก่อน ไม่ ใช่เราจากมัน” แม่พูดแล้วก็หัวเราะแบบอายๆ ผมจึงพูดต่อไปว่า “ของแตกแล้วก็หาใหม่ มีก็ดี ไม่มีก็ ไม่เป็นไร แท้ที่จริงเราทุกข์เพราะอยากได้ อยากมี อยากเป็น อยากให้มันได้ดั่งใจ อยากให้มันไม่พรากจากเรา แต่ สุดท้ายเราก็ห้ามมันไม่ ได้ แม้แต่ตัวเราเอง จะไปเมื่อ ไหร่ก็ยังไม่รู้ สู้รักษาใจไม่ ให้ทุกข์จะดีกว่า เสียดายก็ ให้รู้ว่าเสียดาย เสียใจก็ ให้รู้ว่าเสียใจ แต่ที่สำคัญอย่า ทำให้ ใจเสีย” ๖๖
ฟังแม่พูดแล้วก็สบายใจ ธรรมะประเสริฐนัก ทุกข์ หนักก็ผ่อนให้เป็นเบา แม้มีความเศร้าก็ทำให้เศร้าได้ ไม่นาน หากมีสติรู้ทันมันก็สบาย เพราะวางใจได้ก็คลายทุกข์ ได้เร็ว “แม่ครับ ถามจริงๆนะครับ กระติกน้ำแตกครั้งนี้ แม่เสียใจมั้ยครับ” “ธรรมดานะ” แม่ตอบ “ของมันแตกหักเสียหาย ได้ แต่ก็แปลกทำไมมันไม่ทุกข์ ถ้าเป็นแต่ก่อนคงเสียดาย และทุกข์ ใจไม่น้อย” “แม่อยากจะรู้มั้ยครับ ที่แม่ ไม่ทุกข์ก็เพราะแม่ ได้ เข้าใจความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มี ชีวิตมากขึ้นว่า ทุกอย่างที่มีสุดท้ายมันก็กลายเป็นไม่มี ทุกสิ่งที่เกิดเดี๋ยวมันก็ต้องดับ ถ้าไปหลงยึดติดมันไว้ เมื่อมันจากไปมันก็ต้องทุกข์ มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น ถ้าวางใจเป็นก็ ไม่เป็นทุกข์” “แม่ดี ใจนะ ที่ ได้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก ขึ้น แม่จะฝึกเจริญสติทุกวันเพื่อบูชาพระองค์ท่าน” ๖๗
หญิงชราที่เปล่งวาจาออกมาด้วยใจศรัทธายิ่งนัก ศรัทธาด้วยความเชื่อที่ตนได้สัมผัสถึงรสพระธรรม ที่ ทำให้จิตใจท่าน โปร่งโล่ง เบา สบาย ไม่ ไปทุกข์ กังวลกับสิ่งที่จากไป ด้วยความเข้าใจและมีธรรมะ เข้าไปอยู่ ในใจท่านนั่นเอง
๖๘
สอบผ่าน
ท่ า นอย่ า เพิ่ ง แปลกใจนะครั บ ว่ า แม่ ไ ปสอบที่ ไ หน เพราะแม่ ไม่เคยเข้าโรงเรียน แต่ที่แม่สอบแม่ ไปสอบที่ โรงพยาบาลวชิระและก็มิ ใช่ ไปสอบเป็นพยาบาลด้วย โดยปกติ แ ม่ จ ะไปหาหมอทุ ก สองเดื อ นมี ค รั้ ง หนึ่ ง แม่ ไปหาหมอที่ โรงพยาบาลวชิระ ปรากฏว่าวันนั้นคนไข้ มากเหลือเกิน มากจนไม่เกรงใจหมอ ยังกะนัดกันป่วย ยังกะถูกหวย รวยทรัพย์ จึงนัดกันเอาเงินมาให้หมอ ๖๙
แม่ต้องนั่งรอคิวนานถึง ๔ ช.ม. ถ้าเป็นเมื่อก่อน เพี ย งแค่ เ ห็ น คนเยอะแม่ ก็ เ ริ่ ม หงุ ด หงิ ด ปวดเศี ย รเวี ย น เกล้าแล้ว ต้องร้องขอยาพารา กินแก้ปวดไว้ก่อน แต่ครั้ง นี้แปลก แม่นั่งเฉย เฉยจนคนไข้ท่านหนึ่งเดินเข้ามาหา และทักถามว่า “อาม่าไม่เบื่อหรือคะ เห็นนั่งรอตั้ง หลายชั่ ว โมงแล้ ว ไม่ เ ห็ น แสดงสี ห น้ า อาการหงุ ด หงิ ด ออก มาเลย ขนาดตัวหนูเองยังเบื่อและเซ็ง หงุดหงิดกับการ รอคอยอันยาวนานนี้จังเลย ถ้าเป็นแม่หนูแล้วล่ะก็ ป่าน นี้คงบ่นไม่หยุด คงผุดลุกผุดนั่ง จนตัวเองต้องมึนงงไป แล้วล่ะค่ะ” แม่ ได้แต่อมยิ้ม เมื่อถึงคิวตัวเองเข้าไปพบหมอ ใช้ เวลาไม่นานหมอก็ตรวจเสร็จ เจ้าหน้าที่ก็เข็นรถที่แม่นั่งไป ยังรถพี่ชายที่จอดรออยู่ คนไข้ท่านนี้ยังเดินมาส่งถึงรถ และบอกว่า “อาม่าดูสงบ ดูใจเย็นนะคะ อยากให้แม่หนู เหมือนอาม่าจัง สวัสดีค่ะ” แล้วเธอก็เดินจากไป พี่ชายก็เป็นงง ที่เห็นแม่ ไม่ขอยาพาราเหมือนเมื่อ ก่อน ทั้งๆที่คนพาไปยังอยากจะได้ยาพาราสักเม็ดสองเม็ด ๗๐
มากินแก้เซ็งที่รอนาน พี่ชายโทรศัพท์กลับมาถามพี่สาวว่า แม่เป็นอะไรหรือเปล่า พี่ชายบอกว่าเที่ยวนี้แม่ ไม่หงุดหงิด เลย อีกทั้งไม่ขอยาพาราดังที่เคยด้วย เห็นมั้ยครับ ไม่ หงุดหงิด กลับกลายเป็นเรื่องผิดปกติ เพราะปกติ รอ นานแบบนี้ต้องหงุดหงิด พอผมทราบเรื่องราวจากพี่สาวเล่าให้ฟัง จึงถามแม่ว่า “ทำไมแม่ถึงไม่หงุดหงิดละครับและช่วงที่แม่รอหมอ แม่ทำอะไร” แม่บอกว่า “แรกๆ ก็นั่งเจริญสติรู้กายที่นั่งอยู่ แต่เดี๋ยว เดี ย วจิ ต มั น ก็ ไ ปสนใจที่ ล มหายใจเข้ า ลมหายใจออก เดี๋ยวเดียวมันก็แอบไปคิด ก็เพียงรู้ตามที่มันเป็น พอรู้ ว่าคิด ความคิดก็หยุดลง แล้วมันก็กลับมารู้ตัวเอง” “เห็นมั้ยครับแม่ การที่เราเจริญสติ มันเหมือนมี งานให้ทำ งานที่มีสติรู้กายรู้ ใจ มันมีอะไรให้เรารู้ ให้เราดู เยอะแยะไปหมด รู้อยู่กับกายใจเรานี้แหละ มันเลยไม่มี เวลาไปคิดหงุดหงิดเรื่องรอหมอนาน เพราะมันมีงานทำจึง ไม่ว่างไปคิด” ๗๑
สอบผ่าน...ผมบอกว่า แม่สอบผ่านแล้ว สอบผ่าน ที่แม่มีสติรู้ตัวอยู่กับกายกับใจ ใจมันเลยไม่ ไหลออกนอก ไปปรุงแต่งทำให้ทุกข์ร้อนใจ สิ่งภายนอกจะเป็นอย่างไร สำคัญที่ ใจที่ ไม่เป็นทุกข์ นี่แหละครับ...เห็นมั้ย อย่าดูถูกการฝึกสติ แม้วัน ละนิดในชีวิตประจำวันนะครับ มีสติวันละนิด ยังดีกว่า คิดที่จะฝึกสติ น้ำหยดลงตุ่มวันละหยดทำให้น้ำเต็มตุ่ม ได้ฉันใด การมีสติวันละนิด จิตก็มีสติรักษาใจไม่ ให้หลง เข้าไปจมแช่ ในความทุกข์ ได้ฉันนั้น พูดได้คำเดียวว่า “ชื่นใจและเคารพในพระธรรม” จริงๆ เลยนะครับท่าน ๗๒
ธรรมะโอสถ
เช้ า วั น เสาร์ แ ม่ รู้ สึ ก ปวดหั ว ครั่ น เนื้ อ ครั่ น ตั ว เหมื อ น จะเป็นไข้ โดยปกติผมจะไปสนทนาธรรมให้แม่ฟังทุกวัน เรียกตามภาษาที่เข้าใจกันว่า ธรรมะวันละคำ วันนี้ แม่ดูหน้าตาไม่ค่อยดี เมื่อเห็นผม แม่จึงพูด ขึ้นว่า “แม่ขอนอนฟังได้มั้ย แม่ ไม่ค่อยสบาย” แม่ รู้สึกเกรงใจ ที่ต้องนอนฟัง ผมจึงบอกไปว่า “ไม่เป็นไรครับ แม่นอนฟังก็ ได้ครับ ผมจะพูด ธรรมะให้ฟัง แม่ฟังไปถ้าง่วงก็หลับไปเลยนะครับ” ๗๓
ชีวิตเราก็เท่านี้แหละ เกิดแล้วก็ต้องแก่ แก่แล้วก็ ต้องเจ็บ เจ็บแล้วก็ต้องตาย ร่างกายสังขารใช้มันมานาน แล้ว มันก็เริ่มเสื่อมโทรมไปเป็นธรรมดา ชีวิตนี้ ไม่แน่นอน ความป่วยไข้มันจะมา มันก็ ไม่บอกเราล่วงหน้า ความตาย จะมาเมื่อไร มันก็ ไม่บอกเราล่วงหน้า โรคทางกายก็ต้องให้หมอรักษา โรคทางใจก็ต้อง ให้ธรรมะพระพุทธเจ้ารักษา พระพุทธเจ้าท่านก็ยังมีทุกข์ กาย ท่านยังต้องปวดหัวตัวร้อนเหมือนเรา แต่พระองค์ ท่านต่างกับเราตรงที่ว่า ทุกข์กายแต่ ไม่ทุกข์ ใจ “แม่สังเกตสิครับ ความปวดอยู่ที่หัว ทำไมมันต้อง ปวดหัว ก็เพราะมันมีหัว ทำไมต้องปวดเข่า ก็เพราะมันมี เข่า พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า กายใจเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ ที่มันต้องแปรปรวนเปลี่ยนไป ทุกข์เพราะมันทนอยู่สภาพ เดิมนานๆ ไม่ ได้ ทุกข์เพราะมันบังคับบัญชาไม่ ได้ ทุกข์เพราะเราเห็นผิดว่า กายใจเป็นเรา ทุกข์เพราะ เราเข้าไปยึดมั่นว่า กายใจเป็นตัวเราของเรา” ๗๔
จู่ๆ แม่ก็พลันลุกขึ้นมานั่ง แล้วก็ตั้งใจฟัง ผมเริ่ม สังเกตเห็นว่า แม่มีหน้าตาที่สดชื่นขึ้น “แม่หายปวดหัวแล้วหรือครับ” แม่บอกว่า “หายแล้ว ตะกี้มันยังปวดตุ๊บๆ อยู่ เลย แต่ตอนนี้ ไม่รู้มันหายไปไหน” “แม่เห็นมั้ยครับ มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงออก มาให้แม่เห็น” “นี่แหละ เขาเรียกว่า ธรรมะโอสถ” “ธรรมะโอสถ” แม่ทวนคำพูดผม “แม่เคยได้ยิน แต่แม่ ไม่เข้าใจ” “ธรรมะโอสถ เปรียบเหมือนดั่งยาทางใจ พอฟัง ธรรมก็รู้สึกสุขใจ ชื่นใจ ปลื้มใจ พอใจสบาย กายก็เลย พลอยสบายไปด้วย” “อ้อ…แม่เข้าใจแล้ว ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก เพิ่งเข้าใจ วันนี้เอง” “ไม่ ใช่เพียงแค่เข้าใจนะครับ แม่ ได้กินยาธรรมะ โอสถเข้าไปแล้วด้วย หน้าตาจึงดูสดใสเบิกบานขึ้นตั้งเยอะ” “วันหน้า มาพูดธรรมะให้แม่ฟังอีกนะแม่ชอบ” “ชอบให้รู้อะไรครับแม่” ผมลองถาม ๗๕
“ชอบให้รู้ว่าใจมันชอบ ไม่ ใช่เราชอบ” แม่ตอบ พร้อมอมยิ้ม “ถูกต้องแล้วครับ” ชีวิตเราก็เท่านี้ ตั้งแต่เล็กก็เรียนหนังสือ ครั้นเติบ ใหญ่ก็หางานทำ หาเงินหาทองไว้เลี้ยงชีวิต แต่เงินทุก บาททุกสตางค์ที่หามาได้ ก็เลี้ยงได้แต่เฉพาะร่างกาย ได้ เ พี ย งแค่ เ ลี้ ย งปากเลี้ ย งท้ อ งเป็ น อาหารกายเท่ า นั้ น ส่วนอาหารใจ มันถูกลืม ไม่ค่อยมี ใครใส่ ใจเหลียวแลมัน อาหารใจก็คือ คุณธรรม ศีลธรรม หรือธรรมะนั่นเอง นับตั้งแต่ ทานกุศล ศีลกุศลและภาวนากุศล สิ่งสูงสุด นั้นคือวิปัสสนากุศล หรือการเจริญสติ ตามรู้รูปธรรม นามธรรม ที่เกิดขึ้นที่กาย ที่ ใจเรานั่นเอง” “โดยให้เห็น ความเป็นจริงว่า รูปนาม กายใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ทนอยู่สภาพเดิมนั้นไม่ ได้ มัน บังคับบัญชาให้เป็นไปดั่งใจเราไม่ ได้เลย” ท่านผู้อ่านอย่ากังวลว่ามันยากเลย แท้ที่จริงพ่อ แม่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวสอนไว้ว่า ๗๖
“การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ยาก ไม่ปฏิบัติเท่านั้น”
แต่ยากสำหรับผู้ที่
เมื่อใดที่ท่านมีลมหายใจ เมื่อนั้นท่านก็ปฏิบัติธรรมได้แล้ว ขอแต่เพียงอย่าหายใจทิ้งขว้างไปเปล่าๆ เท่านั้นเอง
๗๗
ฟังแล้วขนลุก
โดยปกติทุกเช้า แม่จะต้องเดินไปหน้าหิ้งพระ เพื่อ สวดมนต์และสมาทานศีล ๕ ทุกวัน แต่มาวันนี้แม่ ไม่สามารถ ไปที่หิ้งพระได้อีกแล้ว เพราะปวดหัวเข่าเดินไม่ค่อยไหว เมื่อผมมาถึง แม่จึงถามผมว่า “วันนี้ยังไม่ ได้สวด มนต์ ไหว้พระ และยังไม่ ได้สมาทานศีล ๕ เลย” ผมจึง ถามว่า “ทำไมละครับแม่” แม่บอกว่าแม่เดินไม่ ไหวจึงไม่ ได้ ไปไหว้ที่หิ้งพระ ๗๘
ผมจึงบอกแม่ ไปว่า “การไหว้พระมิ ใช่เพียงแค่ ไป หน้าหิ้งพระ แล้วท่องจำคำสวดมนต์ ถ้าหากใจไม่ศรัทธา จิตไม่ตั้งมั่น ไม่ระลึกนึกถึง คุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ก็ยังไม่ถือว่าได้สวดมนต์ เพราะการสวดมนต์ ต้องให้มีพระอยู่ ในใจ ปากพูดสวดไปด้วย ใจน้อมเคารพ ด้วยความศรัทธา แม้จะอยู่ห่างไกลหิ้งพระ แต่ ใจระลึก นึกถึงก็เสมือนหนึ่งอยู่ต่อหน้าพระท่านแล้วครับ” แม่จึงเอ่ยถามว่า “ถ้าอย่างนั้นแม่สวดมนต์ ไหว้พระ บนเตียงนอนนี้เลยได้มั้ย” “ได้ซิครับ” แม่ยกมือสองข้างขึ้นพนมไว้กลางระหว่างอก เปล่ง เสียงเนิบๆ ช้า ๆ ออกจากลำคอด้วยความนอบน้อม อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ อีก ๓ จบ ต่อด้วย ไตรสรณคมน์ ๗๙
• พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ • ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ • สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ • ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ • ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ • ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ • ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ • ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ • ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ต่อด้วย สมาทานศีล ๕ • ลูกของดเว้น จากการ ฆ่าสัตว์ • ลูกของดเว้น จากการ ลักขโมย • ลูกของดเว้น จากการ ประพฤติผิดในกาม • ลูกของดเว้น จากการ พูดปด • ลูกของดเว้น จากการ ดื่มสุรายาเสพติด “ลูกมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของลูก” ๘๐
ท่านทราบมั้ยครับ ขณะที่แม่สวดมนต์ ผมกับคุณ แก้ ว ศรี ภ รรยาและพี่ ส าวพนมมื อ เพื่ อ ฟั ง แม่ ส วดมนต์ ด้ ว ย ความตั้งใจ และเกิดปีติจนขนลุกอันเนื่องจาก น้ำเสียงที่ แม่ เ ปล่ ง ออกมาแต่ ล ะคำเป็ น เสี ย งแห่ ง ความเคารพ นอบน้อมชัดถ้อยชัดคำ เปี่ยมด้วยความศรัทธา นี่แหละครับ เป็นความเพียรของหญิงชราผู้อ่าน หนังสือไม่ออกเขียนหนังสือไม่ ได้ แต่ ใจศรัทธาสามารถ สวดมนต์ข้างต้นได้ครบทั้งหมดโดยไม่ผิดเลย
๘๑
เกรงใจพระพุทธเจ้า
ย่างเข้าวัยชรา มา ๘๗ ปีแล้ว ลุกก็ โอย นั่งก็ โอย เหมือนดอกไม้ โรยไม่มีเกสร แม่ก็ ไม่ต่างอะไรกับดอกไม้ โรย นับวันร่างกายยิ่งร่วงโรยอ่อนแรงไปเต็มที ตอนนี้แม่ นั่งปฏิบัติธรรมนานนักไม่ค่อยได้ โดยปกติจะนั่งประมาณ ๒๐–๓๐ นาที บางวันก็นานถึงชั่วโมงไม่แน่นอน แต่วัน หนึ่งปฏิบัติธรรม ๒-๓ ครั้งแล้วแต่ โอกาส ขึ้นอยู่กับ ร่างกายจะเอื้ออำนวยให้หรือไม่เพียงใด ๘๒
ผมเริ่มสังเกตและเห็นว่า นับวันแม่เริ่มเข้าสู่วัย นอนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงให้แม่หัดภาวนา ในอิริยาบถนอน บ้าง โดยให้กำหนดลมหายใจเข้าออก พุทโธ และเฝ้า สังเกตว่าใจแอบไปคิดหรือฟุ้งไปหรือไม่แต่ ไม่ห้ามฟุ้ง ฟุ้ง เมื่อใดก็แค่ ให้รู้ว่าฟุ้งคิดไป สติจะกลับมารู้สึกที่ลมหายใจ เข้า-ออกได้เอง แม่ ไม่เคยฝึกในอิริยาบถนอนมาก่อน ส่วนใหญ่จะ เป็นอิริยาบถนั่ง แต่พอฝึกใหม่ๆ แม่ก็บอกว่าไม่ ได้ผลเลย คือรู้ลมหายใจไม่กี่ฟืดก็หลับแล้ว แม่บอกว่านอนทำมัน ไม่ค่อยถนัด มันมักจะเคลิ้มหลับอยู่เรื่อย และบางครั้ง ถ้าไม่หลับก็ฟุ้งมาก ผมจึงใช้อุบาย ให้แม่พูดคำว่า “ลูกมีพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของลูก” ที่ ให้พูดยาว เพราะเป็ น คำที่ แ ม่ พู ด ตอนสุ ด ท้ า ยของบทสวดมนต์ เ ป็ น ประจำทุกวัน เพื่อจะได้ ไม่หลับหรือไม่ฟุ้งคิดไปในเรื่อง อื่นๆ มากเกินไป นั่นเอง ๘๓
แม่บอกว่า “จะได้หรือ เกรงใจพระพุทธเจ้า เมื่ อ เช้ า ตอนสวดมนต์ ก็ พู ด บอกแบบนี้ กั บ ท่ า นไปแล้ ว มาตอนฝึกท่านอนก็จะพูดถึงท่านอีกหรือ เกรงใจท่าน รบกวนท่านเปล่าๆ” ท่านเห็นมั้ยครับคนซื่อ คนขี้เกรงใจ เกรงใจแม้กระทั่ง จะเอ่ยรบกวนถึงพระพุทธเจ้าบ่อยๆ ผมจึงบอกแม่ ไปว่า “แม่ ไม่ต้องเกรงใจพระพุทธเจ้าหรอกครับ ยิ่งเอ่ยถึง พระองค์ท่าน ระลึกถึงพระองค์ท่านวันละหลาย ๆ ครั้ง หรือจะร้อยครั้งได้ก็ยิ่งดี ดีตรงไหนรู้มั้ยครับ แม่” แม่ทำ หน้างง ๆ “แม่ลองสังเกตใจตัวเองนะครับ ทุกครั้งที่แม่เอ่ย ถึงพระพุทธเจ้า แม่มีความสุขหรือมีความทุกข์” “แม่มีความสุข” “มีความเย็นใจ หรือร้อนใจ” “เย็นใจ” แม่ตอบ “นั่นแหละครับ ทุกครั้งที่แม่คิดถึงพระพุทธเจ้า ขณะนั้นใจแม่เป็นกุศล ไม่คิดโลภ โกรธ เกลียด เครียด แค้นใคร มีแต่ความเคารพศรัทธา จิตใจจึงร่มเย็นเป็นสุข ฉะนั้นไม่ต้องเกรงใจพระพุทธเจ้านะครับ” ๘๔
“ถ้าจะเกรงใจ แม่จงเกรงใจที่ลืมเอ่ยถึงพระองค์ ท่านมากกว่านะแม่ ถ้าอย่างนั้นต่อไป แม่ ไม่ต้องเกรงใจอีกแล้วนะ ครับ ยิ่งเอ่ยถึงพระองค์ท่านบ่อย ๆ เอ่ยทุกที พูดทุก ครั้งแม่จะรู้สึกอบอุ่นใจ สบายใจเหมือนมีที่พึ่งทางใจ ยังไงยังงั้น แม่ว่าจริงมั้ยครับ” แม่พยักหน้าเห็นด้วย “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ตนตัวแรก หมายถึง พระ ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตนตัวหลัง หมายถึง รูปนาม กายใจนั่นเอง จะมีตนเป็นที่พึ่งได้ ก็ต้องรู้จัก ฝึกฝนตน ให้มีธรรมปรากฏขึ้นในใจให้ ได้ จะได้ ไม่ทุกข์ อีกต่อไป ท่านว่าจริงมั้ยครับ ๘๕
รู้ โดยไม่บังคับ
แม่เล่าให้ฟังว่า บางครั้งไปบังคับลมหายใจให้มัน เบา แต่ยิ่งไปบังคับมัน มันยิ่งหนัก ยิ่งอึดอัด จึงแค่ตาม รู้ตามดูมัน มันจะเบาก็รู้ มันจะหนัก จะแรงก็รู้ แค่รู้ตาม ที่มันเป็น กายก็รู้สึกเบา ใจก็รู้สึกโปร่ง โล่งเบาสบาย กายใจดูมันกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ว่องไวไปหมด เวลาหนึ่งชั่วโมงผ่านไปแป๊บเดียว แม่สังเกตเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่จงใจไปบังคับมัน มันก็จะอึดอัดหรือฟุ้งมาก ยิ่งอยากยิ่งไม่ ได้ ถ้าปล่อยมัน ๘๖
ตามธรรมชาติ ธรรมดา มันจะไม่ซัดส่ายมาก จิตจะตั้ง มั่นมากขึ้น บางครั้งรู้สึกว่า มันโปร่งโล่ง เบา สว่างกระจาย ไปทั่วโดยไร้ขอบเขต บางวันก็กลับคับแคบลง ไม่ โปร่ง โล่ง เบา เท่าวันก่อน รู้แต่เพียงว่าถ้ารู้สึกตัวโดยไม่หลง เผลอหรือหลงไปบังคับมันไว้ ใจมันจะเป็นกลางๆ แบบ ไม่มีความคิดเข้าไปแทรกแซง ดูมันอบอุ่นและมีความสุข แบบพูดไม่ถูก ฟังแม่เล่า ดูสีหน้าสดชื่น ปลื้มใจที่หญิงชราผู้สูง วัยกำลังส่งการบ้าน สิ่งที่ตนได้พบและรู้สึกถึงสภาวธรรม หรืออาการต่างๆ ที่ ใจมันเข้าไปสัมผัสรับรู้ ออกมาเป็นคำ พูด และแววตา อันบ่งบอกถึงความสุข แม่ยกมือขึ้นสาธุ “ขอมีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ตลอดไป” ผมบอกกับแม่ว่า “แม่ครับชีวิตเราจะตายวัน ตายพรุ่งก็ ไม่มี ใครรู้ แต่ตอนนี้เรายังมีชีวิตอยู่ ได้พบพระ พุทธศาสนา ได้เจอคำสอนของพระศาสดา ถ้าไม่ ๘๗
ขวนขวายฝึกฝนตนก็นับว่าเสียชาติเกิด เพราะเกิดชาติ หน้าไม่รู้ว่าจะได้เป็นมนุษย์หรือไม่ หรือแม้ ได้เกิดเป็น มนุษย์อีก ก็ ไม่รู้ว่าจะมีคำสอนของพระพุทธศาสนาหลง เหลืออยู่หรือไม่ อย่าได้ชะล่าใจเลย ฝึกฝนไว้ ให้ ได้สติ ปัญญาติดตัวไป ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกก็จะได้ฝึกต่อ ถ้าเกิดเป็นเทวดา ก็ ไปฝึกต่อบนสวรรค์ สำคัญตรงที่ว่า เราเตรียมเสบียงบุญ เสบียงใจไว้เดินทางต่อไปในภพ หน้า เพียงพอแล้วหรือยัง” “แม่ครับ นี่แหละครับ คือทรัพย์ภายใน ทรัพย์ที่ โจรจี้ปล้นไปไม่ ได้ ทรัพย์ภายนอก มันเป็นแค่สมบัติผลัด กันชม ตายไปแล้วก็เอาติดตัวไปไม่ ได้ ต้องตกเป็นสมบัติ ของคนอื่นต่อไป” แม่พยักหน้าเห็นด้วยและพูดว่า “ขอบใจนะ ที่มา ช่วยสอนแม่ทุกวัน แม่กลัวยุทธจะเบื่อเต็มที เพราะสอน แล้ว แม่ก็จำไม่ค่อยได้ ต้องพูดแล้วพูดอีก” ๘๘
“ไม่เบื่อหรอกครับ ถ้าแม่ยังไม่เบื่อฟัง และยังไม่ เบื่อปฏิบัติ ผู้อื่นก็เป็นเพียงผู้ชี้บอกชี้ทางให้ ส่วนการฝึก การเดินทาง มันเป็นหน้าที่ของเราแท้ๆ ใครจะมาเดิน แทนก็ ไม่ ได้ แม้เราหิวเราก็ต้องกินเอง มันจึงหายหิว จะ ให้ ใครมากินแทนก็ ไม่ ได้จริงมั้ยครับ” อาหารกายก็ต้องมี อาหารใจก็ต้องให้ ไม่เช่น นั้นชีวิตก็ ไม่สมบูรณ์ ๘๙
ดี ใจใจดี
“ดี ใจกับใจดี เหมือนกันมั้ยครับแม่” “ไม่เหมือนกัน” แม่ตอบ “ถูกต้องครับ บ่อยครั้งคนเราดี ใจกับเรื่องที่ ไม่ดีก็มี ไม่น้อย เช่นเล่นหวยรวยการพนันแล้วก็ดี ใจ เห็นคนที่เรา เกลียดขี้หน้าล่มจมก็ดี ใจ เห็นศัตรูพ่ายแพ้เราก็ดี ใจ ส่วน ใหญ่ก็มักหลงรัก หลงชอบ สิ่งที่ทำให้ตนเองพอใจแล้วก็ ดี ใจด้วยความสมใจ หรือสะใจด้วยความโกรธเกลียดชัง ๙๐
แต่นั่นไม่ ใช่ ใจดี ใจดีจะต้องเป็นผู้มีเมตตา เป็นผู้ที่ มีความซื่อสัตย์ มีความยุติธรรม มีจิตใจที่ โอบอ้อมอารี ไม่ เห็นแก่ตัว ไม่กลัวเสียเปรียบ จิตใจจะสงบเย็น ไม่กระเพื่อม ไหวไปยินดียินร้ายในสิ่งที่กระทบสัมผัสทั้งดีและไม่ดี” แม่พยักหน้าเห็นด้วย “จริง...จริง มีครั้งหนึ่ง แม่ ทราบข่าวจากยุทธว่าน้องสาวยุทธจะแต่งงาน แม่เห็น ความดี ใจปรากฏขึ้น จนรู้สึกว่ามันกระเพื่อมไหวอย่าง แรงขึ้นมาที่กลางอก แต่พอมีสติรู้ตัว อาการดี ใจก็ ค่อยๆ คลายตัวลง และอีกครั้งหนึ่งมีคนเคยทำให้แม่ ไม่พอใจ แม่ก็รู้สึกโกรธขึ้นมาทันที อาการโกรธก็ดัน ขึ้นที่กลางอกจนจุกเจ็บอย่างรุนแรง เห็นอาการใจที่สั่น อาการใจที่รุ่มร้อน อึดอัด จนรู้สึกได้อย่างชัดเจน เมื่อ มีสติรู้ทัน อาการนั้นก็ค่อยๆ หยุดลงเหมือนกัน” แม่ จึ ง เห็ น ประโยชน์ ข องสติ ที่ ฝึ ก ทุ ก วั น อย่ า งมาก แม้ความโกรธ ความโลภมิ ได้หมดไป แต่เมื่อมันเกิดขึ้น ครั้งใด ก็ยังมีสติเข้าไปรู้ทัน จึงทำให้ ไม่ถลำ จมแช่กับ อาการ หรืออารมณ์นั้นๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อน คงต้องแบก ๙๑
ทุกข์ อมทุกข์ ไปอีกหลายวัน กว่ามันจะคลายตัว แต่ ครั้นหวนคิดขึ้นมาอีก มันก็พลันไม่พอใจขึ้นมาใหม่ ได้ เหมือนกัน นี่แหละ...ความคิดมักทำให้เกิดทุกข์ เพราะมันมักเข้าไปปรุงแต่งให้ ใจเสียความเป็นกลาง “แม่รู้แล้ว แม่เห็นแล้วว่า เมื่อเผลอสติไปหวน คิดอะไรในอดีตที่ผ่านมา หรือแม้แต่คิดถึงเรื่องอนาคต ที่ยังมาไม่ถึง มันจะดึงแม่ ให้เป็นทุกข์ ทุกข์ที่ ใจ กระเพื่อมเข้าไปยินดีหรือยินร้าย กับสิ่งที่กระทบสัมผัส นั่นเอง” แม่พูดออกมาจากการสังเกตใจแม่จริงๆ จงอยู่กับปัจจุบัน จงอยู่กับความจริง จงอยู่กับ ความรู้สึกตัว แล้วเราจะไม่เข้าไปเป็นทุกข์ จงอย่าเพิ่งเชื่อ แต่ควรพิสูจน์ดู แล้วท่านก็จะรู้ความจริงด้วยตัวท่านเอง ๙๒
คำสัญญา
แม่รับปากว่า แม่จะปฏิบัติธรรมทุกวัน มากบ้าง น้อยบ้างก็จะไม่ ให้ขาด แม่เหมือนไม้ ใกล้ฝั่ง จะไปวัน ไหนก็ยังไม่รู้ เมื่อก่อนแม่เป็นคนคิดมาก ห่วงลูกห่วง หลาน คิดครั้งใดใจมันทุกข์ทุกที คิดไปแม้กระทั่งว่า ทำไมลูกคนนั้นไม่มาเยี่ยมเรา บ้าง ลูกคนนี้บอกว่าจะมาจนป่านนี้แล้วทำไมยังไม่มา คิดไปใจก็เฝ้าแต่คอยรอ รอคอย ก็ ไม่เห็นมา ก็เริ่มบ่นว่า ให้ทุกข์ร้อนใจ รับปากแล้วก็ ไม่มา เป็นการตัดพ้อด้วย ความน้อยใจ ๙๓
แต่ตอนนี้ แม่วางใจใหม่ คิดใหม่ เขาว่างเขาก็มา เขาไม่ว่างเขาก็ ไม่มา ทุกคนทุกครอบครัว ทุกชีวิตก็ต้อง ดิ้นรนทำมาหากิน ต้องมีภาระรับผิดชอบครอบครัวตัว เองกันทั้งนั้น ตอนนี้เลิกคิดแล้ว คิดแต่เพียงว่า บุญกุศลใดที่แม่ ได้ทำมา ก็ขอให้ลูกหลานทุกคนเจริญรุ่งเรือง เป็นคนดี ของพ่อแม่ เป็นคนดีของสังคม เดินทางไปเหนือล่องใต้ ก็ขอให้ปลอดภัยกันทุกคน คิดแล้วให้ต้องหันกลับมามองตัวเองด้วยว่า เรา เตรียมเสบียงพร้อมแล้วหรือยัง เราจะต้องเดินทางอีกใน ไม่ช้านี้แล้ว ต้องเพียรฝึกหัด ปฏิบัติธรรมรู้กายใจ เพื่อ ให้ ได้เป็นเสบียงไว้เป็นทุนบุญกุศล ที่จะได้ติดตัวเราไป ในการเดินทางที่ยาวไกลดีกว่า แม่เปรยขึ้น “ธีรยุทธ เคยเล่าให้แม่ฟังว่า หลวง พ่อมนตรีท่านเปรียบ โลกนี้เสมือนโรงแรม เมื่อเรา เข้าไปพัก ผ้าห่ม ที่นอน หมอน ผ้าขนหนู ตู้ โต๊ะ เตียง นอน ทีวี มี ให้หมด เราสามารถใช้ ได้ แต่พอออกจาก โรงแรม เราจะเอาอะไรออกมา ไม่ ได้เลย” ๙๔
โลกมนุษย์ก็เหมือนโรงแรม เขาให้เรามาพักอาศัย อยู่ชั่วคราว ถึงเวลาก็ต้องจากไป สำคัญอยู่ที่ว่า เราจะพัก โรงแรมไหนต่อ โรงแรมสุคติภูมิ โลกสวรรค์ หรือ โรงแรมอบายภูมิ โลกนรก เปรต อสุรกาย สัตว์ เดรัจฉาน ขึ้นอยู่กับเสบียงบุญ เสบียงบาป ที่เราได้ สั่งสมมา คิดดูแล้วชีวิตช่างน่ากลัวนัก ใครจะรู้ว่าเรา จะไปไหนต่อ สถานที่ที่เราจะไปจะเป็นอย่างไร ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ “เส้นทางนี้เรามาคน เดียว เวลาไปก็ ไปคนเดียว เป็นทางสายเปลี่ยว ที่ ต้องเดินคนเดียว” ขณะที่ท่านอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ชีวิตของแม่อาจยังอยู่ หรือลาลับดับกายใจจากโลกนี้ ไปแล้ว ด้วยอาการหลับที่สงบ เป็นการหลับที่ ไม่ตื่น อีกต่อไปแล้วก็ ได้ เวลาของเราเหลือน้อยนัก น้อยจน มีความรู้สึกว่า จะมัวโอ้เอ้ ชักช้าอยู่ ไม่ ได้แล้ว “ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง จง ตั้งตนอยู่ ในความไม่ประมาทเถิด”
๙๕
ของฝากจากผู้เขียน
๑. ยามอยู่ ไม่รู้ค่า ครั้นจากลาจึงเรียกหา ทุกสิ่งที่ผ่านมา ให้เป็นค่าแห่งบทเรียน ๒. มีชีวิตอยู่เพียงแค่วันนี้ พรุ่งนี้ ไม่มีอะไรแน่นอน สิ่งทั้งหลายที่ควรทำ ทำหรือยัง ถ้อยคำที่ควรพูด พูดหรือยัง ความคิดที่ควรคิด คิดหรือยัง ๓. วันเกิดทุกปี ใกล้ โลงผีเข้าทุกวัน คนเราเกิดมา ก็มีแต่แก่ขึ้นกับแก่ลง ไม่นานก็ต้องไป ทิ้งไว้แต่ความชั่วดี ให้คนสรรเสริญ หรือนินทา ๙๖
๔. ไม่มี ก็มีทุกข์ มี ไม่พอ ก็เป็นทุกข์ รู้พอ จึงมีสุข มีพอ จึงไม่ทุกข์ ๕. อาหารกาย คือ อาหารที่ดื่มกินได้ อาหารใจ คือ คุณธรรมและปัญญา ๖. ชีวิตหนี ไม่พ้น ที่ต้องพบคนพาล เพียงแต่เรา อย่าไปคบคนพาลก็แล้วกัน ๗. มนุษย์เราทุกข์ ก็เพราะอยากให้เขาเป็นอย่างเรา หรือไม่ก็อยาก ให้เราเป็นอย่างเขา ๘. ทุกวันมี ๒๔ ชม. เท่ากัน แต่ทุกคนมีเวลาเหลือไม่เท่ากัน ๙. ผู้ที่รู้ว่าตนเองโง่ เพราะไปเจอสิ่งที่ ไม่รู้จึงได้รู้ นั่นแหละ คือ คนฉลาด ผู้ที่ ไม่รู้กลับอวดรู้ นึกว่าตัวฉลาด นั่นแหละ คือ คนโง่ ๙๗
๑๐. มนุษย์เจ็บป่วย เป็นเรื่องธรรมดา มนุษย์เจ็บใจ เป็นเรื่องผิดธรรมดา เจ็บกายไม่เจ็บใจ เป็นเรื่องไม่ธรรมดา ฝึกจิตฝึกใจได้ เป็นเรื่องเหนือธรรมดา ๑๑. องุ่นหวาน ไม่ชิม หรือจะรู้ สบู่ ไม่ถู หรือจะลื่น พื้น ไม่ขัด หรือจะเงา เรา ไม่ฝึก หรือจะเป็น ๑๒. ดวงจันทร์ ยังมีข้างขึ้น ข้างแรม เกิดเป็นคน ก็ต้องมีขึ้น มีลงเป็นธรรมดา ๑๓. ฟ้าฝน ตกกระหน่ำ คนทำนา พากันชอบ คนตากผ้า พากันชัง คนดูหนัง พากันเฉย เห็นไหมว่า เฉย ชัง ชอบ มันเป็นไปตามใจคน ๙๘
๑๔. ทุกข์วันใด ควรให้หมดไปในวันนั้น แล้วเราท่าน จะแบกมันข้ามวันทำไมเล่า ๑๕. ความสงบท่ามกลางความวุ่นวาย นั่นจึงเป็นความสงบที่แท้จริง ๑๖. ความพ้นทุกข์เกิดจาก ความรู้สึกตัว ขาดความรู้สึกตัว ก็อย่าหวังความพ้นทุกข์ ๑๗. ดวงดี ดีที่ทัก หรือที่ทำ ดวงต่ำ ต่ำที่ทำ ใครทำให้ ดวงดีชั่ว ที่ตัวทำ ใช่อื่นไกล อย่าสงสัย ใช่ ใครทำ ล้วนทำเอง ๑๘. คนรวย เขาเปรียบ คนชั้นสูง คนจน เขาเทียบ คนชั้นต่ำ ยามม้วย รวยจน ตายเหมือนกัน จะสูงต่ำ สุดท้ายตาย นอนใต้ดิน ๙๙
๑๙. คนตาย เพราะหมด ลมหายใจ คนเป็น เพราะยังมี ลมหายใจ ตายทั้งเป็น แม้มีลมหายใจ แต่ก็ ไร้อนาคต ผู้เห็นผิด หลงผิด คิดพูดทำแต่สิ่งผิด นี่แหละ คือ คนตายทั้งเป็น ๒๐. เวลามาเราก็มาคนเดียว เวลาไปเราก็ ไปคนเดียว ทางนั้นเป็นทางสายเปลี่ยว ที่จะต้องไปคนเดียว ในอีกไม่นาน ขอพระธรรมจงดำรงอยูในจิตใจของท่านตลอดไป
๑๐๐
ข้อสรุปจากผู้เขียน
ก่อนการปฏิบัติธรรม ควรเตรียมความพร้อมของใจ ให้รู้จักหัดไหว้พระสวดมนต์ สมาทานศีล ๕ เป็นประจำ ทุกวัน ศีล ๕ เป็นรากฐานของความเป็นมนุษย์ มนุษย์ ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ที่ประเสริฐได้เพราะมนุษย์เป็น ผู้มีศีลธรรม หากมนุษย์ขาดศีลธรรมประจำใจ ก็ ไม่มีอะไร แตกต่างไปกว่าสัตว์ โลกทั่วๆไป เราต้องตั้งเจตนางดเว้น และสำรวมระวังไม่ ให้ล่วงละเมิดศีล ๕ เพื่ออบรมกาย วาจาให้เป็นปกติ ให้ ใจมีความอ่อนน้อม อ่อนโยน นุ่ม นวล อดทนรู้จักให้อภัย ใจไม่กระด้างและพร้อมที่จะเป็น พานทองรองรับพระสัทธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป ๑๐๑
ให้มีสติระลึกรู้ที่กายรู้ด้วยความรู้สึกตัว รู้ด้วยใจที่ เป็นกลางต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นที่กาย เช่น เวลาเราเดินให้ รู้สึกถึงอาการเคลื่อนไหวของกาย เวลานั่ง เวลายืน เวลา นอน ให้รู้สึกในอาการที่กายทรงตัวอยู่ ในท่าทางนั้นๆ หากท่านถนัดดูลมหายใจเข้าออก ให้มีสติระลึกรู้ ถึงการเคลื่อนไหวของลมหายใจที่กำลังเคลื่อนเข้า เคลื่อน ออก ด้วยความรู้สึกตัว เสมือนหนึ่งเรากำลังดูร่างกายเขา หายใจ ลมหายใจเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ใจเป็นผู้รู้ บางท่านอาจจะถนัดดูอาการพองยุบที่หน้าท้อง ก็ ให้รู้ถึงอาการพอง อาการยุบ ที่ปรากฏที่กาย โดยเป็นผู้รู้ ผู้ดู โดยไม่ ไปบังคับ เพ่งจ้อง ให้รู้แบบสบายๆ ด้วยใจที่ เป็นกลาง ให้มีสติมาระลึกรู้ที่ ใจ รู้ด้วยความรู้สึกตัว ให้รู้ อาการที่ปรากฏที่ ใจ โดยไม่เข้าไปแทรกแซงจัดแจงแก้ ไข ใจมีอาการเป็นอย่างไร ก็ ให้รู้สึกถึงอาการนั้นๆ ตามความ เป็นจริงด้วยใจที่เป็นกลาง เช่น มีคนมาชื่นชมเราเกิด ๑๐๒
ความพอใจ ให้รู้สึกถึงความพอใจที่ปรากฏที่ ใจ หากมี ใคร มาด่าเรา เสียใจให้รู้สึกว่ามีอาการเสียใจปรากฏที่ ใจ รู้ แบบผู้สังเกตการณ์ ให้รู้สึกถึงปฏิกิริยาบางสิ่งบางอย่าง แปลกปลอมเข้ามาที่ ใจ เช่น โลภ โกรธ หลง สุข ทุกข์ เฉยๆ อิจฉา พยาบาท ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ หงุดหงิด ลังเล สงสัย เบื่อ เซ็ง รัก เกลียด เมตตา สงสาร สงบ จิตเป็น กุศล จิตเป็นอกุศล สิ่งที่ปรากฏขึ้นที่ ใจ ก็ ให้รู้สึกถึงอาการ นั้นๆ โดยไม่เข้าไปหลงยินดีกับสิ่งที่ชอบ หรือหลงยินร้าย กับสิ่งที่ชัง กายใจมีอาการอย่างไร ก็ ให้รู้ ในอาการอย่างนั้น รู้ ด้วยความรู้สึกตัวลงในปัจจุบัน ไม่ ใช่รู้ด้วยการนึกคิดเอา เช่น การกะพริบตาต้องรู้สึกถึงอาการที่ตากะพริบ ไม่ ใช่รู้ ด้ ว ยการนึ ก คิ ด ว่ า ที่ ฉั น กะพริ บ ตาเพราะมั น แสบตาระคาย เคืองตาแสงเข้าตา เห็นมั้ยครับว่าอาการกะพริบตาจบไปตั้ง นานแล้วแต่ความคิดยังไม่จบเลยเพราะความคิดมันไม่ทัน ปัจจุบัน ต้องใช้ความรู้สึกเอา กะพริบปุ๊บรู้สึกปั๊บมันถึงจะ ทันกัน ฉะนั้นต้องรู้แบบผู้ตามรู้ตามดูในสิ่งที่ปรากฏที่กาย บ้างที่ ใจบ้าง รู้แบบผู้สังเกตการณ์ รู้แบบผู้ ไม่มีส่วนได้เสีย ๑๐๓
ในการรู้นั้น เป็นแค่เพียงผู้เรียนรู้ ไม่ ใช่เรียนทำ รู้แล้วเห็น ว่ากายใจ หรือสิ่งที่ปรากฏที่กายที่ ใจ ไม่ ใช่เรา เป็นเพียง ธรรมชาติหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป มีแล้วกลับ ไม่มีแปรปรวนเปลี่ยนไป ดำรงคงอยู่สภาพเดิมนั้นนานๆ ไม่ ได้ บังคับบัญชาให้เป็นไปดังใจปรารถนาของเราไม่ ได้ ซึ่งภาษาธรรมะ เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คนเราเก่งเกินกันได้ แต่ ไม่มี ใครเก่งเกินกรรมได้เลย ขอความสุขสงบเย็น จงบังเกิดกับใจผู้ ใฝ่ธรรมทุกท่านเทอญ
๑๐๔