3 minute read
CAN’T MISS
มีแต่สองล้อคู่กาย กับใจถึง ๆ ของคุณลุงนิมิต เนตรพรหม สารถีประจ�าเมืองมากว่า 3 ทศวรรษ Uncle Nimit Netphrom's buddy tricycle and bold heart over three decades.
หยาดเหงื่อ แรงถีบ กับอานเก่า
Advertisement
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมบนถนน ของคนสมุทรปราการ
Sweat, pedal stroke, and vintage Saddles Cultural identity on Samutprakan road
สามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ กำาลังจะกลายเป็นของหายาก และรอการอนุรักษ์ให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ เพราะปัจจุบันนี้ มีเหลืออยู่เพียงไม่กี่คัน และเป็นหนึ่งในไม่กี่จังหวัดของประเทศไทย ที่ยัง คงมีให้เห็นและให้ใช้บริการ ตามประวัติที่มีบันทึกไว้ ระบุว่า ต้นกำาเนิดสามล้อคันแรกของไทย มาจากคราวที่ “นายเลื่อน” หรือ นาวาอากาศเอก เลื่อน พงษ์โสภณ เห็นคนลากรถบรรทุกโดยใช้แรงงานคน จึงคิดว่าน่าจะมีเครื่องอำานวย ความสะดวกที่ไม่ต้องติดเครื่องยนต์ให้ยุ่งยาก และได้นำาแนวคิด
Nowadays, pedal tricycles in Samutprakan are becoming so rare and waiting for proper preservation. Yet, Samutprakan is among a few provinces in Thailand that can still see them in service. Historical records indicate that the first pedal tricycle in Thailand originated when “Mr. Luean” or Group Captain Luean Phongsophon saw trucks towed by men, he figured there could
พาหนะคู่ใจคนไทยมานานกว่า 90 ปี ปัจจุบันก�าลังจะกลายเป็นของหายาก The 90-year long vehicles of Thai people are now turning rare.
มาจากรถสามล้อในเมืองไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ตนไป พบเห็นสมัยที่สมัครเป็นทหารอาสาไปรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ฝรั่งเศส มาประดิษฐ์สามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่โคราช ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สามล้อถีบของนายเลื่อนนั้น เมื่อประกอบเสร็จแล้วได้นำา ไปให้ หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำารวจ ทดลองนั่งไป-กลับ กระทั่งต่อมาก็ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียน แต่เมื่อผลิตเพิ่มกลับไม่มี ใครสนใจเช่า ไม่มีใครกล้านั่ง กว่าคนจะยอมรับ ก็กลายเป็นว่า ถูกเอาต้นแบบไปลอกเลียนแบบ ทำาออกมาวิ่งกันทั่ว จนเจ้าตัวถอดใจ วางมือไป แต่ถึงตอนนั้นสามล้อถีบที่เกิดจากไอเดียการประดิษฐ์ของ นายเลื่อนก็ระบาดไปทั่วบ้านทั่วเมือง รวมทั้งที่สมุทรปราการ จังหวัด ที่เคยมีสามล้อถีบมากติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยแห่งนี้ด้วย คนจีนเมืองปากนาเรียกสามล้อว่า “ซาลุ้ง”, “ซาเหล็งเชีย” แปลว่า รถสามล้อ (แบบใช้เท้าถีบ) แต่คนไทยอาจจะออกเสียงหรือ ฟังเพี้ยนกันไป จนกลายเป็น “ซาเล้ง” ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนเมืองนี้ มาโดยตลอดตั้งแต่อดีต “เฉพาะในปากนานี่ เมื่อก่อนวิ่งกันสามร้อยคันนะ อย่าลืมว่า สมัยนั้นยังไม่มีรถตุ๊กตุ๊ก ไม่มีวินมอเตอร์ไซค์ คนจะไปตลาด ไปรับ ลูกที่โรงเรียน หนุ่มจีบสาวชวนกันไปดูหนังที่ราชา ปากนาราม่า สเตท (โรงหนังสแตนด์อโลนแห่งสุดท้ายในจังหวัดสมุทรปราการ) ก็สามล้อถีบทั้งนั้น แล้วมีการแข่งถีบรถสามล้อบริเวณแยกไฟแดง หน้าหอนาฬิกาจนถึงหน้าโรงพักด้วย” have been some facilities without complicated engines installation. Inspired by the tricycle in Miami, USA, when he was a volunteer soldier to fight in World War I in France, he invented the first Thai tricycle in Korat around 1932. After fully assembled, Mr. Luean’s pedal tricycle was brought to Police Chief Luang Aduldejajaras for a test ride and later permitted to register. Sadly, when produced more, no one was interested to rent or ride. By the time it was accepted, the prototype had been widely cloned that the man was disheartened and retired. Even so, tricycles from Mr. Luean’s invention were all over, including Samutprakan with one of the topmost amounts in Thailand. Paknam Chinese people called the pedal tricycle “Sa Lung” or “Sa Leng Chia”. Thais might have mispronounced or misheard, and it was gradually distorted to “Sa Leng”, long bonded with the local lifestyle. “In Paknam alone, there were 300 of them running. Without a Tuk Tuk or motorcycle taxi, when going to the market, picking up kids from school, or going on a movie date at Racha, Paknam Rama, or State (last standalone cinema in Samutprakan), everyone took a pedal tricycle taxi. Also, a pedal tricycle race started from the intersection before the clock tower to the front of the police station.”
คุณลุงนิมิตร เนตรพรหม ตัวเล็กแต่น่องเหล็กวัย ๖๒ ปี เล่าย้อนอดีตถึงสมัยสัก ๓๕ ปีที่แล้ว ซึ่งเจ้าตัวตกงานมาจากกรุงเทพฯ พอพี่ชายชวนมาถีบสามล้อก็เลยตั้งใจว่าจะแค่ลองดู แต่ใครจะรู้ว่า รายได้จากสามล้อถีบสมัยนั้นสามารถทำาเงินได้ถึงวันละหลายร้อย ในยุคที่ก๋วยเตี๋ยวชามละแค่ ๘ บาท แต่เมื่อถามถึงทุกวันนี้ สามล้อถีบเหลือน้อยจนนับนิ้วมือได้ ลูกค้าหน้าใหม่แทบไม่มี เหลือเพียงคนเก่าคนแก่ที่คุ้นเคยกัน อาศัย ว่ายังมีบางบ้านที่ผูกปิ่นโตให้รับ-ส่งลูกตั้งแต่วัยอนุบาลจนลูกเข้า มหาวิทยาลัย และที่เพิ่มมาเป็นลูกค้าใหม่ บางครั้งก็เป็นนักท่องเที่ยว ต่างถิ่น ที่หวังจะกินบรรยากาศของการนั่งชมวิวไปบนอานเก่า ๆ และเสียงดังออดแอดของล้อยางที่บดไปบนถนน เวลาสารถีโถมตัว พารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า “เขาก็ให้พาไปดูวัดบ้าง ไปไหว้พระบ้าง นักท่องเที่ยวบางคน ก็มาถามหาจุดถ่ายรูป ให้เราแนะนำามุมสวย ๆ หรือมาถามว่าร้านดัง ร้านอร่อยอยู่ตรงไหน สามล้อเรารู้หมดนะ บอกได้ด้วยว่าร้านไหน อร่อยไม่อร่อย ก่อนโควิด-๑๙ ระบาด จะมีทัวร์พานักท่องเที่ยวฝรั่ง นั่งสามล้อเป็นขบวนยาว ให้ขี่วนไปรอบเมือง รอบตลาด ส่วนค่ารถ จะเท่าไร แล้วแต่เขาจะให้ เพราะผมก็ถือว่าดีกว่าจอดรถแช่อยู่ เฉย ๆ” คุณลุงสามล้อถีบยิ้มกว้างเปิดใจ ก่อนจะโบกมือลาเราไป พร้อมกับพาหนะสุดคลาสสิกที่กำาลังค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกไปอย่าง ช้า ๆ ในขณะที่โลกกลับหมุนเร็วขึ้น...ทุกวัน Uncle Nimit NetPhrom, a 62-year-old small man with thighs of steel, traced back to 35 years ago. When he lost his job in Bangkok, his brother introduced him to a pedal tricycle taxi. He was just going to give it a try, but who knew pedal tricycle taxi could make hundreds a day when a bowl of noodles was 8 baht? These days, pedal tricycles become so scarce, hardly any new customer, and only old familiar faces, who have been using their kid pick-up and delivery services since kindergarten to university. Occasionally, new customers are non-local tourists who wish to admire the city while absorbing the vintage vibe on an old saddle with a squeaking sound as wheels press against the road when the rider plunges the vehicle forward. “Some tourists asked us to bring them to the temples or make merits. Some asked for photo spots and the direction to famous restaurants. We, riders, know them all and can
even recommend the true gems. Before the COVID-19 outbreak, travel agents led foreign tourists on a parade of pedal tricycles around town and markets. The charge was up to them because, to me, it was better than parking still.” The pedal-tricycle uncle gave us a big smile and waved his hands in farewell as his classic ride slowly spinning away when the world was spinning faster every day.