4 minute read
WALKING IN THE NATURE เที่ยวธรรมชาติ
WALKING IN THE NATURE
ธรรมชาติบ�าบัด ที่วัดอโศการาม
Advertisement
Nature Therapy at Wat Asokaram
พระธุตังคเจดีย์ หมู่เจดีย์สีขาว ๑๓ องค์ ภายในประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอริยสงฆ์ สงบงามท่ามกลาง ท้องฟ้าที่ต่างไป ในแต่ละช่วงเวลาของวันและฤดูกาล เป็นภาพจ�าของ ผู้คนที่นึกถึงเป็นสิ่งแรกเมื่อเอ่ยชื่อ “วัดอโศการาม” ซึ่งพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ หรือ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เจ้าอาวาสองค์แรก ด�าริสร้างขึ้นโดยแฝงความหมายถึงธุดงควัตร ๑๓ ข้อ ตามหลักพระพุทธศาสนา Phra Thu Tangka Chedi (a group of 13 white chedis) that enshrines relics of the Lord Buddha and noble monks, standing peacefully and magnificently, first comes to mind when speaking of “Wat Asokaram”. Phra Sutthi Thamma Rangsi Khamphira Methachan or Father Lee Thammatharo, the first abbot, initiated it to represent the 13 duties of a Buddhist monk.
ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน จาริกแสวง ธรรมไปตามป่าเขา เมื่อท่านมาจ�าพรรษาที่วัดอโศการาม ก็ได้เก็บรักษา ความเป็นธรรมชาติของป่าชายเลนดั้งเดิมไว้ และปลูกป่าบกเพิ่มเติม บริเวณเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส จึงร่มรื่นไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด เป็นสัปปายะสถานเกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรม กราบสักการะสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ หรือมาพักผ่อนเดินทอดน่องท่องวัด เพลินตาเพลินใจ ในท่ามกลางพื้นที่สีเขียวและความสงบร่มเย็น พื้นที่กว่าครึ่งของวัดมีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าชายเลน การเติบโตของสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรม สภาวะแวดล้อมที่ เปลี่ยนไป ได้สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลน ทางวัดจึงร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน จัดท�าโครงการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่จัดตั้งเป็น “ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมวัดอโศการาม” ร่วมกันเก็บขยะและวัสดุ เหลือทิ้งต่าง ๆ ซึ่งถูกกระแสน�้าพัดพาเข้ามา จัดหาต้นกล้าพันธุ์ไม้ ส�าหรับน�ามาปลูกทดแทน โดยมีชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ตลอดจน อุบาสก อุบาสิกา เข้ามาช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา เดินผ่านส�านักงานของวัดจนสุดทางที่ปากซอย ๑ เลี้ยวซ้าย เข้าไปจะพบทางปูนเล็ก ๆ ของเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ทอดเป็นเส้นตรงขนาบด้วยเสนาสนะของพระสงฆ์ แทรกตัวใต้เงาไม้ ร่มครึ้มและร่มเย็นของผืนป่า ปลาตีนหลายตัวใช้ครีบอกที่แข็งแรง Father Lee Thammatharo was a meditation master monk on a pilgrimage in forests and mountains. During his time at Wat Asokaram, he preserved the mangrove forest in its original nature and grew more terrestrial forest. Such lush greenery at both the Buddha and the monk’s quarters made a suitable environment for Dhamma practice, worshipping, and strolling among the serenity. Over half of the temple area was the mangrove forest. Having realized the impact of the city and industrial sector growth on the mangrove ecosystem, the temple united with the government sector, local administrative organization, and private enterprises to establish the “Mangrove Forest and Environment Education Center”.
To restore the ecological abundance, the Center encourages villagers in neighboring areas, laymen, and laywomen to collectively collect garbage and waste materials carried by the sea current and provided seedlings for reforestation.
At the entrance of Soi 1, turn left and follow a small
mortar mangrove nature trail, flanked by the monk’s quarter
นอกจากค้ำายันลำาต้น รากของต้นโกงกางยังเป็นแนวกั้นคลื่นลมอย่างดี The mangrove roots support the trunks and serve as wave barriers.
ไถลตัวไปตามพื้นเลน ออกหากินอย่างเป็นอิสระในเวลาน�้าลด บ้างก็ใช้ ดวงตาคู่โตโผล่พ่นน�้าเพื่อสังเกตการณ์ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยจึง เคลื่อนไหวออกจากที่ซ่อน เป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตแสนมหัศจรรย์ อยู่ได้ ทั้งบนบกและในน�้า ทั้งยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศป่าชายเลนอีกด้วย ป้ายสื่อความหมายที่ทางวัดจัดท�าไว้ตลอดทาง ช่วยให้เรารู้จัก ชื่อเสียงเรียงนามของต้นไม้ สรรพคุณทางสมุนไพร เข้าใจล�าดับชั้น ตามธรรมชาติของพืชพรรณ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ เป็นสกุลพืช ซึ่งเติบโตตามแนวริมฝั่ง รากที่แตกแขนงยึดกับพื้นเลน นอกจาก ท�าหน้าที่ค�้ายันล�าต้น ยังเป็นก�าแพงกั้นคลื่นลม ดักตะกอน กักเก็บ ธาตุอาหาร ถัดเข้ามาเป็นพืชตระกูลแสมขาว แสมด�า โพทะเล แนวเขต ซึ่งเป็นพื้นดินเลนค่อนข้างแข็ง ตะบูน โปรง พืชสมุนไพรอย่าง เหงือกปลาหมอ จะเติบโตอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณนั้น ระยะทางประมาณ ๒๗๐ เมตร สิ้นสุดตรงประตูเล็ก ๆ เส้นทางผ่านเข้า-ออกที่พระภิกษุใช้ส�าหรับเดินบิณฑบาตไปยังชุมชน ใกล้เคียง รวมถึงชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจร ทั้งยังเป็นจุดชมวิวบน เส้นทางเลียบชายทะเลบางปู ที่ปรับปรุงอย่างสวยงาม ติดตั้งโคมไฟ ส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ หนึ่งในเส้นทางจักรยานที่มีชื่อเสียงของ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งนักปั่นมักจอดแวะพัก รื่นรมย์กับความร่มรื่น ของศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมวัดอโศการาม ก่อนออกเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง amidst the cool and shady forest. Some mudskippers glide on the mud with their pectoral fins, freely searching for food during low tide, while some pop their eyes above the water to make sure it is safe enough to leave their hiding places. They can marvelously live both on land and in the water and are indicators of the quality and abundance of the mangrove ecosystem. Information panels along the trail helped us learn about the trees, their names, medicinal properties, and the
ปลาตีน หนึ่งในห่วงโซ่ของระบบนิเวศป่าชายเลน Mudskipper, an integral part of mangrove forest ecosystem
คติธรรมคำาสอน ที่สอดแทรกไว้ตลอดเส้นทาง Dhamma teachings along the trail
natural hierarchy of plants. Rhizophora apiculata Blume and Rhizophora mucronata Poir are coastal plants with prop roots on the muddy ground, which support the trunks, serve as a wave barrier, filter sediment, and gather nutrients. Then, there were Avicennia alba, Avicennia officinalis, and Portia
trees. The firm mud border was abundant with Xylocarpus granatum, Ceriops, and herbs like Sea holly.
The 270-meter-long trail ended at a small entrance used by monks to set out to receive alms in the neighboring communities and by villagers to commute. Besides, it serves as a beautifully renovated scenic point on Bangpu Beach Road with solar-powered street lights. The road is one of Samutprakan’s famous cycling routes where cyclists pull over to admire Mangrove Forest and Environment Education Center at Wat Asokaram before continuing their journey.
บรรยากาศอันร่มรื่น จึงเป็นจุดแวะพักของนักปั่น The pleasant greenery where cyclists stop over
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมวัดอโศการาม
เลขที่ ๑๓๖ หมู่ ๒ ซอยเทศบาลบางปู ๖๐ ถนนสุขุมวิท ตำาบลท้ายบ้าน อำาเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ประตูเข้า-ออกหลังวัด เปิดทุกวัน : เวลา ๐๖.๓๐-๑๘.๓๐ นาฬิกา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๑๔๘ ๙๒๘๕, ๐ ๒๓๘๙ ๒๒๙๙ เว็บไซต์ : www.watasokaram.org
Wat Asokaram Mangrove Forest and Environment Education Center
136 Moo 2, Soi Thetsaban Bangpu 60, Sukhumvit Road, Thai Ban Sub-District, Mueang Samutprakan District, Samutprakan The temple’s back gate opens daily from 06:30 am – 06.30 pm Tel. 08 1148 9285, 0 2389 2299 Website: www.watasokaram.org
ความท้าทายในสนามซึ่้อมจักรยาน BMX ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่อยเทศบาลบางป ๔๖ ตำาบลท้ายบ้าน อำาเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ The challenges in Samutprakan PAO BMX Training Track Soi Thetsaban Bangpu 46, Thai Baan Sub-District, Mueang Samutprakan District, Samutprakan