Journal
ฉบับที่
ธุ ร กิ จ กั บ สั ง คม 20 Business & Society
We care ปาฐกถาพิ เ ศษ โดย อดี ต นายกรั ฐ มนตรี อานันท์ ปันยารชุน SVN Talk ถึงเวลา “ปฏิรูป” ประเทศไทย สัมภาษณ์พิเศษ ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี ถึงความแตกแยกในสังคม กับ CSR สัมพันธ์กันอย่างไร
เมษายน-มิถุนายน 2553
SVN Asia (Thailand)
SVN Asia (Thailand)
Social Venture Network Asia (Thailand) เ ค รื อ ข่ า ย ธุ ร กิ จ เ พื่ อ สั ง ค ม แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม
Honorary Advisor
SVN Asia (Thailand) เครือข่ายนักธุรกิจ นักวิชาการ และบุคคล ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจังตลอด 12 ปีที่ผ่านมา SVN ตระหนักถึงความ สำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจด้วยจิตวิญญาณแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) โดยประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ บนความสมดุลของหลักพื้นฐาน 3P คือ People, Planet, Profit กิจกรรมหลักของ SVN ประกอบด้วย SVN Talk, SVN College, SVN Visit, SVN Award, Annual Conference และการผลิตวารสาร CSR Journal SVN มุ่งมั่นนำสมาชิกก้าวไป เพื่อสานพลังเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ สู่เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อความสมดุล ยั่งยืน เพื่อให้อนุชน รุ่นหลังมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี Our Contributor
ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน H.E. Anand Panyarachun Former Prime Minister
คณะกรรมการเครือข่ายเอสวีเอ็น เอเชีย (ประเทศไทย) 2553 ที่ปรึกษา คุณอานันท์ ปันยารชุน / ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี / อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ / คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม / คุณโสภณ สุภาพงษ์ / คุณปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการ คุณสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง รองประธานกรรมการ คุณวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ / คุณจงเกียรติ อนันตอัมพร เลขาธิการ คุณสมลักษณ์ หุตานุวัตร เหรัญญิก คุณประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข กรรมการ คุณดารณี เรียนศรีวิไล / ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี / คุณวิเชียร เจษฎากานต์ / คุณอภิชาติ การุณกรสกุล / คุณวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา / คุณโสภณ เหล่าสุวรรณ / คุณวิสันต์ กรัณฑรัตน / คุณศศมน ศุพุทธมงคล / คุณสุริยน เภกะสุต / คุณปัญญา ฉัททันต์รัศมี / คุณสันติ คุณพิ ส ิ ฐ วงศ์ / คุ ณ เลิ ศ ตั น ติ ส ุ ก ฤต / คุณบุญเลิศ คณาธนสาร / คุณรวิวรรณ โฮริโนอุชิ / คุณกานดา วัฒนายิง่ สมสุข / คุณขุนกลาง ขุขนั ธิน
Editorial สินค้าที่ดีต้องผลิตจากบริษัทที่ดี มีมาตรฐานเท่านั้นในการส่ง ออก ถ้าบริษัทผู้ซื้อและผู้ขายยังไม่รู้จักกัน จะต้องมีการตรวจสอบ กระบวนการผลิตและกระบวนการบริหารก่อนจะทำการซื้อ-ขายกัน ขณะนี้ การเมือง เรื่องอำนาจ ได้นำสินค้าอันเป็นที่ต้องการใน การตลาดอย่างสูงคือ ความเป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ซึ่ง ขาดตลาดมานาน นำมาโฆษณาขายเป็นความหวังของประชาชนผู้ด้อย โอกาส โดยเชื่อว่าถ้ามาเรียกร้องที่กรุงเทพฯ ให้รัฐบาลยุบสภาแล้วจะได้ สินค้าดังที่กล่าวมา เราดูบริษัทที่โฆษณาก็จะเห็นว่า โครงสร้างองค์กรไม่ชัดเจน กระบวนการผลิตไม่ถูกกล่าวถึง ประวัติผู้บริหารไม่โปร่งใส และไม่เคยสอบผ่านเรื่องความเป็นธรรมเลย ด้วยซ้ำ เช่นนี้แล้วสินค้าเหล่านี้จะถูกป้อนตลาดให้ประชาชนได้อย่างไรเห็นทีจะต้องให้ประชาชนโดย เครือข่ายภาคประชาชนรวมตัวกัน เพื่อผลิตสินค้าเหล่านี้เอง โดยไม่ผ่านนักการเมืองหรือแกนนำใดๆ ทั้ง สิ้น ส่งผ่านความต้องการโดยร่วมกับรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ใช้กลไกผ่านระบบบริหารราชการออกมาในรูปสภา ประชาชน และคณะปฏิรูปความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งองค์กรธุรกิจเองควรให้ความใส่ใจและร่วมมือเป็น กลไกด้วย เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศไทยในทุกมิติ ขอประเทศไทย สังคมไทยจงผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ และเกิดการปฏิรูปเพื่อไม่ต้องพบวิกฤต อีกในครั้งต่อไป
สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เอเชีย (ประเทศไทย)
บรรณาธิการบริหาร: สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง บรรณาธิการ: บังอร ไทรเกตุ บรรณาธิการบทความ: พิมพร ศิริวรรณ บรรณาธิการศิลปกรรม: สิรัญญา วิศาลศักดิ์ กองบรรณาธิการ: ชฎาพันธุ์ มลิพันธุ์ ศิริพร แสงแก้ว กันตินันท์ เพียสุพรรณ ศิลปกรรม: สมลักษณ์ รามโคกกรวด ดลฤดี อินทมาตย์ พิมพ์ที่: พิมพ์ดี ติดต่อกองบรรณาธิการ: บริษัท สร้างสื่อ จำกัด 17/118 ซ.ประดิพัทธ์ 1 ถ.ประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2271 4339, 0 2279 9636 โทรสาร 0 2618 7838 ติดต่อเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม: คุณจันทร์ทิญา สพัดรัมย์ 08 7930 2238 ติดต่อโฆษณาหรือสนับสนุน: บริษัท สร้างสื่อ จำกัด / คุณจันทร์ทิญา สพัดรัมย์
contents 6
Cover Story เชิ ด ชู อ งค์ ก รทำดี SVN Awards 2552
16
Special Report ธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คนกระตุ้ น การศึกษาไทย สูก ่ ารเปลีย ่ นแปลง
21
เลือกมาเล่า จากดรั ก เกอร์ ถึ ง ลาสโซโลและลอเรนซ์ : กระดานหกจะไปตกข้ า งไหน?
27 25
SVN Talk Opinion ถึ ง เวลา “ปฏิ รู ป ” In Governance We Trust ประเทศไทย
31
36
Special Interview
Get Idea
4 เหตุ ปั จ จั ย ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ธุ ร กิ จ ที่ ไร้ ค วาม รั บ ผิ ด ชอบ Take a Break โรงงานผลิ ต สี สามารถดู แ ล สิ่ ง แวดล้ อ มควบคู่ กั บ การผลิ ต ได้ อ ย่ า งไร?
40
Cover Story
ชฎาพันธุ์ มลิพันธุ์
ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ที่ปรึกษาคณะกรรมการ เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เชิดชูองค์กรทำดี SVN Awards SVN Awards เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมทั่วไป โดยเครือข่าย ธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN: Social Venture Network Asia (Thailand)) จัดประกาศรางวัลดังกล่าวทุกปี ซึ่งในปีนี้แบ่งประเภทของ รางวัลออกเป็นภาคธุรกิจ ภาคสังคม และภาคเยาวชน โดยได้มีการ ประกาศ SVN Awards ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ณ อาคารไม้ทรงไทยงดงามของสยามสมาคม ในพระบรมราชูปภัมถ์ การเปิดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ในฐานะที่ปรึกษาเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขึ้นมา กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ธุรกิจกับสังคม : การอยู่ร่วมกันอย่างห่วงใย” ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจ เพราะได้สะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้งในสังคม ไทยวันนี้ กองบรรณาธิการจึงขอนำสาระที่สำคัญของปาฐกถามาดังนี้
ปาฐกถาพิเศษ โดย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน “ธุ ร กิ จ กั บ สั ง คม : การอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า ง ห่วงใย” มองที่เหตุของปัญหา ปัญหาสังคมของเราเป็นปัญหาเดียวกันกับ ทุกประเทศในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเหลื่อม ล้ ำ ปั ญ หาการครองชี พ ปั ญ หาความด้ อ ยโอกาส ปัญหาความยุติธรรม ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหายื้อแย่งทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาเอาเปรียบ สิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพของมนุษย์ ปัญหาการ ศึกษา ปัญหาร้อยแปดนีเ่ ป็นปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในทุกสังคม แม้แต่ในประเทศที่มีประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบหรือ ประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีประเทศใดสังคม ใดแก้ไขได้ทะลุปรุโปร่งได้หมด ดังนั้น เราต้องมองว่าปัญหาไหนแก้ได้หรือไม่ ได้ และไม่ ใ ช่ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาของคน 20 ล้ า นคน เท่านั้น แต่เป็นคนไทย 65 ล้านคน แม้ประชาธิปไตย อาจบอกว่าต้องฟังเสียงข้างมาก แต่ในทางกลับกัน เสียงข้างมากอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ประเมินและกำหนด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรามองโลกของเรา มองประเทศ ไทยและเพือ่ นคนไทยอย่างไร ทุกสังคมจะมีวาระวิปริต เป็ น ครั้งเป็นคราวในประวัติศาสตร์ ทุกประเทศจะ ทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสแต่จะสามารถดำเนินการ ต่อไปได้ เมืองไทยกำลังจะผ่านวิกฤตนั้น โดยการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน มองด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ ในการพู ด ถึ ง ธุ ร กิ จ เพื ่ อ สั ง คม เรื ่ อ งปั ญ หา มาบตาพุด ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะ
กรรมการ 4 ฝ่ าย ซึ ่ง เข้าไปดูปั ญหามาบตาพุด และพบว่าปัญหาเกิดจากองค์กรไม่ไว้วางใจกัน ชุมชนไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งก็มีเหตุผล เพียงพอที่เขาไม่ไว้ใจ ส่วนชุมชนก็ไม่ไว้วางใจนัก ธุรกิจเพราะมองว่านายทุนมองหาแต่ผลประโยชน์ ไม่สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรม ฝ่ายธุรกิจก็ไม่ไว้ใจชาว บ้านหาว่ารับเงิน ไม่มีความรู้ มักง่าย เอาแต่เดิน ประท้วง ชาวบ้านก็ขัดแย้งกันเองกับพวกได้รับ ประโยชน์จากร้านอาหารบ้านเช่า จะว่าธุรกิจเชื่อ ใจรั ฐ บาลก็ ไ ม่ ค งไม่ เ ชิ ง เพราะมองว่ า รั ฐ บาล โกงกิน ธุรกิจเองมีข้อบกพร่องที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ รัฐไม่มองประชาชนหรือชาวบ้านเป็นมนุษย์ เพราะ เคยชินกับระบบอุปถัมภ์ ฉะนั ้ น สั ง คมไทยต้ อ งมองเขาเป็ น เพื ่ อ น มนุษย์ ไม่ใช่เพราะรวย อาวุโส หรือเขาทำบุญคุณ อะไรมาให้เราบ้าง หรือทำให้เราเจ็บใจอย่างไร ผม ว่าสิง่ เหล่านีต้ อ้ งมองข้าม แม้แต่ในกรณีมาบตาพุด รั ฐ ธรรมนู ญ มาตรา 67 วรรค 2 1 เป็ น ระเบียบแบบแผน แต่ก็เป็นเพียงแผนพิมพ์เขียว เท่านั้น สุดท้ายพิมพ์เขียวก็ต้องถูกนำไปใช้แต่ก็จะ มี ป ั ญ หาอี ก คื อ ผู ้ ร ั บ เหมาได้ ส ร้ า งบ้ า นตาม พิมพ์เขียวหรือไม่ สุดท้ายก็ขึ้นกับเจ้าหน้าที่รัฐว่า สามารถปฏิบัติตามพิมพ์เขียวถูกต้องสมบูรณ์และ เป็นธรรมหรือไม่ ประเด็นทีผ่ มอยากพูดคือ แม้แต่รฐั ธรรมนูญ ที่คนไทยเรียกร้องอยากได้ ผมเป็นคนหนึ่งทีม่ องว่า รัฐธรรมนูญเป็นเพียงเครือ่ งมือ ไม่มรี ฐั ธรรมนูญฉบับ ไหนในโลกที่จะมีความสมบูรณ์แบบ สิง่ ทีเ่ ราลืมก็คอื รัฐธรรมนูญจะมีประสิทธิภาพอย่างไรขึน้ กับผูใ้ ช้ โดย เฉพาะผูท้ ม่ี อี ำนาจจะใช้อย่างไร ในโลกเรานี้ กฎ ระเบียบ แบบแผน กติกา กฎหมาย ทั้งหมดเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น แต่
มาตรา 67 วรรคสอง ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุว่า “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้ง ทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว” 1
ผู้รับรางวัล SNV Award ประจำปี 2552 และคณะกรรมการเครือข่ายเอสวีเอ็น เอเชีย (ประเทศไทย)
รูปธรรมมีความสำคัญมากกว่า ขึ้นกับตัวบุคคล ผู้ใช้ ผู้ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ ถ้าได้คนดีมา โอกาส ทำให้มันสมบูรณ์ก็มีมาก แต่ถ้าคนไม่ดี ให้เขียนมาดี ยังไงก็ไม่สัมฤทธิผล สิ่งที่ผมเรียนรู้ในชีวิตก็คือระเบียบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือกติกา สิง่ ทีเ่ รียกว่าจริยธรรม มันขึ้นกับตัวบุคคลทั้งนั้น ทำให้ผมคิดได้ว่าสังคมยัง ขัดกันอยู่มาก ผมไม่มีคำตอบว่าจะทำยังไง แต่สิ่ง แรกที่จะปรับคือครอบครัว หากลูกเกิดในครอบครัว อบอุ่น มีคุณธรรม จริยธรรม ลูกก็จะมีสิ่งเหล่านี้ แต่ ถ้าเกิดในครอบครัวทะเลาะเบาะแว้ง พ่อกินเหล้า แม่ เล่นไพ่เล่นหวย สำมะเลเทเมา ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย หลง ระเริงกับวัตถุ สิ่งแวดล้อมโทสะ โมหะ จาคะ เหล่านี้ ทำให้จิตใจเด็กที่บริสุทธิ์ต้องเสียหายมาก ทำอย่างไรให้อุปสรรคเหล่านี้ลดทอนลงไป ได้และให้คนอยู่กับธุรกิจ คนอยู่กับอำนาจรัฐ คนอยู่ กับคนได้ เราอาจต้องปรับ ต้องให้ความสำคัญกับผู้ ปฏิบัติ แต่สิ่งที่ผมเห็นว่าเราขาดมากคือเราไม่มอง เห็นเพื่อนคนไทยด้วยกันเป็นมนุษย์ ต้องไม่ลืมว่าเขา เป็นคนไทย จะสีอะไรก็ต้องฟังด้วยความจริงใจ ฟัง แล้วไปคิด คิดแล้วพูด พูดแล้วจึงทำ
ต้ อ งร่ ว มกั น ปรั บ โครงสร้ า งทั้ ง 3 เส้ า ธุรกิจ รัฐ ประชาชน ปัญหาของมนุษย์ต้องอาศัยนักธุรกิจ รัฐ ประชาชน จึงต้องปรับทัศนคติเร่งสร้างความร่วมใจ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ต้องเชื่อมั่นใน ความดีของมนุษย์ สิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยนคือทัศนคติ
ที่ว่าปุถุชนไม่มีใครสมบูรณ์ ไม่มีคนเลว 100% แม้ บางครั้งจะลืมไปเหมือนกันว่าอาจมีคนเลว 100% เมื่อตอนที่ผมยังเด็กและหนุ่ม คนไทยเอื้อ อาทร ใจดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ลึกๆ เรามีสิ่งที่เรียก ว่าความห่วงใยเพื่อนในสังคมของเรา ในวงแคบ หน่อยคือห่วงใยทุกข์สุขของญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นคนรับใช้ในบ้าน หรือคนที่ อาจไม่รู้จักแต่ได้สัมผัสบ้างเป็นครั้งคราว อย่างมาบตาพุด ผมก็แนะนำให้คนที่ร่วม ประชุมด้วยว่าถ้าหากไม่เปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีต่อกัน โอกาสที่จะแก้ไขปัญหาด้วยความยั่งยืนมีน้อยมาก ซึ่งผมก็แนะนำไปว่า เราต้องแสดงให้คนรู้สึกว่าเรา ห่วงใยในการที่เขาด้อยโอกาส ไม่ว่าจะเป็นการด้อย โอกาสทางการศึ ก ษา รั ก ษาดู แ ลสุ ข ภาพ ด้ อ ย
โอกาสในความเป็นอยู่ ห่วงใยทุกข์-สุขของเขา ว่ามีอุปสรรคในชีวิตอย่างไร ห่วงใยในความ บกพร่อง หากเราสามารถแสดงความรู้สึกได้ ว่าห่วงใยจริงๆ ไม่ได้สร้างภาพเพื่อทำเป็นพิธี มันต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราว่าเราแคร์ เมื่อนั้นจะเป็นการวางพื้นฐานของการนำไปสู่ การอยู่ร่วมกัน ร่วมมือกันโดยสันติ เพราะถ้า ห่วงใยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะมีจิตอาสาโดย อัตโนมัติ อยากช่วย ซึ่งไม่ได้ช่วยโดยการให้ เงิน แต่มีส่วนร่วมในชีวิตทุกอย่างในตัวเขา ถ้าชาวบ้านรู้สึกว่านักธุรกิจที่มาบตาพุด ไม่ได้คิดแต่เรื่องเพิ่มพูนรายได้ของตัวเอง ชาวบ้านอยากได้อะไร อยากได้ข้อมูลว่าจะ สร้างโรงงานที่ไหน ใช้พื้นที่เท่าไหร่ จะมีผล อย่างไร มีมลพิษออกมามากน้อยเพียงใด มี มาตรฐานความปลอดภัยอย่างไร ต้องประกาศ ออกไปให้เขารู้ข้อมูล ให้รู้เห็น ตรวจสอบได้ และโปร่งใส หากเรามีความห่วงใย มีจิตอาสา ก็ต้องอาสาให้ข้อมูลนี้กับชาวบ้าน อะไรที่เป็น ความผิดพลาด อุบัติเหตุ ชาวบ้านก็ต้องรู้ ให้ เขามาร่วมด้วยตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ชาวบ้านจะ ได้ เ ห็ น ว่ า อุ ต สาหกรรมเหล่านี้ไม่ได้มองแต่ ผลกำไร แต่ ม ี ค วามห่ ว งใยในทุ ก ข์ ส ุ ข ของ ชาวบ้าน ฉันใดฉันนั้น ชาวบ้านก็ต้องปรับตัว เองด้วย ไม่ใช่มีปัญหาโรคแคนเซอร์ (มะเร็ง) หรืออะไรก็แล้วแต่ก็โทษธุรกิจ ซึ่งองค์กรหรือ สถาบั น ที ่ ช ่ ว ยชาวบ้ า นก็ ไ ม่ เ ข้ ม แข็ ง พอว่ า ขอบเขตของโรคเป็นอย่างไร มาจากโรงงาน อะไร หากเป็นประเทศที่เจริญแล้วจะมีภาค ประชาสั ง คมเข้ ม แข็ ง ส่ ว นรั ฐ ก็ ไ ม่ เ อาใจใส่ ละเลยต่ อ หน้ า ที ่ เบี ่ ย งเบนกติ ก า ให้ ใ บ อนุญาตที่ไม่ถูกต้อง รุกพื้นที่ที่เรียกว่าเขต กันชน ข้อผูกพันอุตสาหกรรมที่ต้องทำก่อน ออกใบอนุญาตก็ไม่มีการตรวจตราหรือการ ติดตามเฝ้าระวัง ยิ่งเป็นรัฐยิ่งไม่ให้ข้อมูลกับ
เราต้ อ งตั้ ง ปณิ ธ านว่ า ให้ ค นรู้ สึ ก ว่ า เรา ห่ ว งใยในการที่ เ ขาด้ อ ยโอกาส ไม่ ว่ า จะ เป็นการด้อยโอกาสทางการศึกษา รักษา ดู แ ลสุ ข ภาพ ด้ อ ยโอกาสในความเป็ น อยู่ ห่วงใยทุกข์-สุขของเขาว่ามีอุปสรรคในชีวิต อย่างไร ห่วงใยในความบกพร่อง หากเรา สามารถแสดงความรู้สึกได้ว่าห่วงใยจริงๆ ไม่ ได้สร้างภาพเพื่อทำเป็นพิธี มันต้องอยู่ ใน จิตใต้สำนึกของเราว่าเราแคร์
ชาวบ้าน เป็นความสัมพันธ์ที่มีมาช้านาน ข้าราชการเป็น นาย ชาวบ้านเป็นผู้รับคำสั่ง ไม่แสดงความห่วงใยทุกข์สุข ประชาชน หลีกเลี่ยงปัญหา ไม่โปร่งใส สิ่งเหล่านี้ต้องปรับ ต่างฝ่ายต้องปรับทัศนคติ วิธีทำงาน โปร่งใส ห่วงใยทุกข์ สุขซึ่งกันและกัน สร้างสำนึกและความห่วงใย แด่สังคมไทย ทำไมต้องให้ความสำคัญกับชาวบ้าน? เพราะเขา เป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงและด้อยโอกาส ไม่ได้รับ ความยุติธรรม ชีวิตทั้งชีวิตอยู่ตรงนี้ เป็นพื้นที่ที่เขาเป็น เจ้าของอาศัยอยู่ อากาศ น้ำ ดิน อาชีพ ตรงนี้ไม่ได้เป็นของ รัฐ แต่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เขาเป็นฝ่ายที่ได้รบั ผล กระทบ สิง่ แวดล้อมเสีย อาชีพเสีย ตอนที่ผมไปมาบตาพุด พบเด็กผู้หญิงอายุ 22-23 ปี ได้ถามด้วยน้ำเสียงที่ดังฟังชัดว่าท่านนายกฯ คะ หนูเกิด ที่นี่ เรียนที่นี่ ตอนนี้ก็มีอาชีพที่นี่ ครอบครัวหนูอยู่มาบ- ตาพุดมาหลายชั่วคน คุณตาของหนูอายุ 77 ปีเท่าท่าน นายกฯ แต่สุขภาพเสียไปมาก พวกโรงงานบอกว่าเพราะ
ท่านอายุมากแล้ว ดังนั้นคนในครอบครัวคิดจะ ให้คุณตาย้ายไปเมืองจันทร์ (จันทบุรี) เพื่อให้ได้ สูดอากาศบริสุทธิ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่านี้ แต่ คุ ณ ตาของหนูบอกว่าท่านไม่อยากย้ายไป ที่ไหนเพราะอยู่ที่นี่มานาน ถ้าจะตายก็ขอตายที่ นี่ ทำให้หนูคิดว่าคุณตาของหนูอาจจะตายก่อน ท่านนายกฯ ครับ ช่วงเวลากว่า 20 นาทีที่เด็กผู้หญิง พูดในที่ประชุมนั้นมันเงียบมาก ทุกคนตั้งใจฟัง กัน และแน่นอนว่าทุกคนก็คงมีความรู้สึกที่ไม่ แตกต่างไปจากผม มันเป็นความทุกข์ของเด็กผู้ หญิงคนหนึ่งที่ต้องการให้คนรับฟังและช่วยแก้ไข ปัญหาของเขา
10
จริงอยู่ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี 100% แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งแน่นอน ผมก็ไม่รู้จะ ตอบยังไงเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาว่ามา เป็นประสบการณ์ ชีวิตของเขาจริงๆ จะบอกให้คุณตาย้ายไปเมืองจันทร์ผม ก็ทำไม่ได้ ผมก็เลยตอบไปว่าผมเข้าใจปัญหาของหนู แม้ผมจะอายุเท่าคุณตาของหนูแต่อาจตายก่อนก็ได้ เพราะมลพิษที่กรุงเทพฯ ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน เป็นการ ตอบแบบเอาสีข้างเข้าถู สิ่งเหล่านี้เตือนสติพวกเรา ถ้าเราแสดงความ ห่ ว งใยที ่ ม าจากจิ ต ใจ จิ ต สำนึ ก สั ง คมก็ ม ี ส ุ ข เพราะ ทุกคนมองเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม กัน... C
11
SVN Awards ประจำปี 2552 แบ่งรางวัลออกเป็นภาคธุรกิจ ภาคสังคม และภาค เยาวชน โดยมีผู้ ได้รับรางวัลดังนี ้ รางวัล SVN Awards ภาคธุรกิจ - รางวัลประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิต แห่งแรกของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 จุดเด่นของบริษัทฯ ที่ทำให้ได้รับรางวัลในครั้งนี้ คือ นโยบายการดำเนินงานที่ “ไม่มุ่งแสวงหา กำไรสูงสุด หากแต่แสวงหากำไรที่เหมาะสม” โดยบริษัทฯ มีการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณค่าต่อ สังคม เช่น กรมธรรม์ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่บริษัทประกันชีวิตโดยทั่วไปมักละเลย พร้อมกับนำนวัตกรรมที่ เป็นประโยชน์ต่อสังคมมาสร้างเสริมงานบริการ เช่น บริการสายด่วน (Hotline) และเฮลิคอปเตอร์ขนย้ายผู้ ป่วยในกรณีฉุกเฉินโดยไม่คิดค่าบริการเพิ่ม เป็นต้น ขณะเดียวกันก็พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ สร้างขวัญและกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี และจัดสรรผลกำไรส่วนหนึ่งสู่สังคม นอกจากนี้ยังดำเนิน โครงการเพื่อสังคมมากมาย อาทิ “หนึ่งคนให้ หลายคนรับ” โดยร่วมมือกับสภากาชาดไทย มากว่า 10 ปี แล้ว และครอบคลุมส่วนอื่นๆ เช่น บ้านโฮมฮัก อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทย ฯลฯ “เราทำมานานแล้วตั้งแต่เป็นบริษัทเล็กๆ ในตอนนั้นไม่ได้เรียกว่าซีเอสอาร์แต่เป็นกิจกรรมเพื่อ สังคม” คุณไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวโดยให้ข้อคิดเพิ่มเติมว่ากิจกรรมเพื่อสังคมของ องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สำหรับรางวัลที่ได้รับ คุณไชยกล่าวว่า “รางวัลที่ได้รับนี้ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของ
พนักงานไทยประกันชีวิตทุกคนให้มีจิตมุ่งมั่นในการช่วยเหลือสังคมและยกระดับสังคม สังคมไทยจะ
เข้มแข็งได้ถ้าเราร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กับสังคม” - รางวัลประเภทธุรกิจขนาดเล็ก ได้แก่ บริษัทดอคคิวเมนท์ พาร์เซล เอ็กเพรส จำกัด ซึ่งดำเนิน ธุรกิจขนส่งและเอกสารด่วนระหว่างประเทศ มาตั้งแต่ปี 2531 โดยเน้นคืนกำไรสู่สังคมด้วยการศึกษาและ ยึดแนวทางธรรมะ บริษัทฯ เปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อ พั ฒ นาพนั ก งานให้ ม ี จ ิ ต อาสา ช่ ว ยเหลื อ ดู แ ลเพื ่ อ นมนุ ษ ย์ ลดความเห็ น แก่ ต ั ว และรณรงค์
ให้พนักงานริเริ่มกิจกรรมที่มีประโยชน์ด้วยตนเอง เช่น โครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โครงการคัดแยกขยะ และกิจกรรมปลูกป่าชายเลน เป็นต้น ขณะเดียวกันบริษัทฯ ปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมด้วย เช่น การนำถุงพลาสติกผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ย่อยสลายได้ภายใน 2 ปี มาใช้ในการขนส่ง พัสดุ ทั้งนี้ คุณรวิวรรณ โฮริโนอุชิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เปิดใจต่อรางวัลที่ได้รับว่า “รางวัลที่ได้ สร้างความภาคภูมิใจยิ่งใหญ่ เพราะรางวัลอื่นเป็นเรื่องผลตอบแทนธุรกิจ แต่รางวัลนี้เราใช้แรงใจของ
พนักงานทุกคน เป็นความสุขใจที่พนักงานและผู้บริหารร่วมแรงใจในการนำพาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี และจะคงให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พนักงานพัฒนาครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป” 12
2 2 คุณรวิวรรณ โฮริโนอุชิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทดอคคิวเมนท์ พาร์เซล เอ็กเพรส จำกัด รับมอบรางวัล SVN Awards ภาคธุรกิจ ประเภทธุรกิจขนาดเล็ก
1 1 คุณไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด รับมอบรางวัล SVN Awards ภาคธุรกิจ ประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ 3 ตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรชาวบ้านชุมชนป่าหนองเยาะ
รับมอบรางวัล SVN Awards ภาคสังคม
4 4 ตัวแทนกลุ่มเยาวชนบ้านสกอร์คลี ตำบลแม่วนิ อำเภอ
แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ รับมอบรางวัล SVN Awards ภาคเยาวชน (รางวัลพรชัย นิตย์ผลประเสริฐ) 3 13
รางวัล SVN Awards ภาคสังคม - เครือข่ายองค์กรชาวบ้านป่าชุมชนหนองเยาะ เป็นเครือข่ายของชุมชน 7 หมู่บ้าน 2 ตำบลคือ ตำบลตาดง และตำบลพระแก้ว ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่อาศัยในพื้นที่ป่า หนองเยาะ ทัง้ นี้ ป่าหนองเยาะ เคยเป็นป่าธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ก่อนที่รัฐบาลจะให้สัมปทานเอกชนเข้าไปตัด ไม้ทำหมอนรถไฟ แต่เมื่อมีการเปิดป่าก็ทำให้ป่าเสื่อมโทรมและมีพื้นที่ลดน้อยลงอย่างมาก จากเก้าหมื่น ไร่ในปี 2522 เหลือเพียงประมาณหนึ่งพันห้าร้อยไร่ในปัจจุบัน ต่อมาองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เข้าไป ปลูกต้นยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นไม้เศรษฐกิจที่ทำลายความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากทำให้พืชใกล้เคียงไม่สามารถเติบโตได้ดี ปัญหาจึงลุกลามบานปลายจนเป็นความขัดแย้ง ระหว่างคนในชุมชนและเจ้าหน้าที่ จนมีการก่อตั้งเครือข่ายดังกล่าวโดยนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน อาสาสมัคร และแกนนำในชุมชน โดยมุ่งมั่นในการฟื้นฟูผืนป่าให้คืนสู่ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และร่วม ดูแลรักษาป่าอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน “เราเรียกร้องสิทธิในป่าชุมชนมา 24 ปี เพิ่งได้รับรางวัลแบบนี้เป็นครั้งแรก เพราะพวกเราเป็นคน บ้านนอก ดังนั้น รางวัลที่ได้จะเป็นขวัญและกำลังใจในการดูแลรักษาป่าให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป” ตัวแทน เครือข่ายองค์กรชาวบ้านป่าชุมชนหนองเยาะกล่าว รางวัล SVN Awards ภาคเยาวชน (รางวัลพรชัย นิตย์ผลประเสริฐ) “พรชัย นิตย์ผลประเสริฐ” เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะ กรรมการเครือข่ายฯ ได้กำหนดให้นามนี้เป็นรางวัล SVN ภาคเยาวชน โดยในปีนี้มอบให้แก่กลุ่มเยาวชน บ้านสกอร์คลี ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ จิรัญ มั่นสุขเจริญวงศ์ หนึ่งในผู้นำกลุ่ม สกอร์คลีกล่าวว่า “รางวัลนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเราจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนและสังคมต่อไป ขอ ขอบคุณคุณพรชัยที่ล่วงลับไปแล้ว เราได้ยินเรื่องของท่านแล้วมีกำลังใจทำงานเพื่อสังคมโดยไม่หวังผล ตอบแทน ท่านจะเป็นแบบอย่างของพวกหนูตลอดไป” ทั้งนี้ “สกอร์คลี” หมายถึงเมล็ดพันธุ์แห่งปกาเกอะญอ (กระเหรี่ยง) ขณะที่สกอร์เป็นชื่อของหนึ่ง ในชนเผ่าปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยง) จึงเป็นอีกนัยหนึ่งของพลังจากชาวปกาเกอะญอรุ่นใหม่ในการสืบสาน 14
วัฒนธรรมและผืนป่าให้คงอยู่ต่อไป สำหรั บ แรงบั น ดาลใจที ่ ท ำให้ ก ลุ ่ ม สกอร์คลีรวมตัวกันทำงานเพื่อชุมชนนั้น จิรัญ เปิดเผยว่า “เราพบว่าเด็กๆ ในหมู่บ้านมักจะ ใช้เวลาว่างไปกับการดูโทรทัศน์และกินขนม ซึง่ ไม่มปี ระโยชน์ เราจึงชวนพวกเขามาทำกิจกรรม ที่จะช่วยให้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรม และป่า เช่น เรียนรู้สมุนไพรในป่า เก็บขยะ และแยกขยะในชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดการ ทรัพยากรและใช้ประโยชน์จากผืนป่าอย่างยั่ง ยืนในอนาคต” กลุ ่ ม เยาวชนบ้ า นสกอร์ ค ลี ด ำเนิ น กิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมา ได้ 3 ปี แล้ว แม้จะมีอุปสรรคในช่วงแรกบ้าง เนือ่ งจากผู้ปกครองของเยาวชนบางคนมองว่า สิ่งที่พวกเขาทำค่อนข้างล้าหลังและเสียเวลา เรียน แต่ในที่สุดจากการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ และนักพัฒนาในชุมชน ทำให้พวกเขาดำเนิน กิ จ กรรมอย่ า งมั ่ น ใจและต่ อ เนื ่ อ ง ส่ ง ผลให้ เยาวชนภาคภู ม ิ ใ จในวั ฒ นธรรมชนเผ่ า ของ ตนเองและประจักษ์ในชีวิตเรียบง่ายใกล้ชิด ธรรมชาติที่เปี่ยมล้นไปด้วยความสุข ไม่รู้สึก ขาดแคลนเมื่อเทียบกับวิถีชีวิต ดิน้ รนไขว่คว้า วัตถุในสังคมเมือง จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้ เยาวชนปกาเกอะญอรู้เท่าทันตัวเอง และสังคม อย่างแท้จริง C
อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการเครือข่าย ธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวปิดงาน
เกณฑ์ ในการตัดสินรางวัล SVN Awards - ความโดดเด่ น และความแตกต่ า งของนวั ต กรรมหรื อ แนวคิ ด ซึ่ ง อาจหมายถึ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ กระบวนการผลิ ต กระบวนการทางธุรกิจ หรือกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่องค์กรนั้นนำมาใช้ ทั้งนี้ โดยเปรียบเทียบกับ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต หรือกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ - ศักยภาพของนวัตกรรมหรือแนวคิดข้างต้น ที่จะมีความยั่งยืนและขยายตัวทั้งแนวกว้างและแนวลึก - ผลกระทบและความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภค คู่ค้า และต่อรัฐ - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - ผลกระทบต่อบุคคล และวัฒนธรรมภายในองค์กร 15
Special Report ชฎาพันธุ์ มลิพันธุ์
ธุรกิจกระตุ เพื้น่อการศึสักงษาไทยสู คม ่การเปลี่ยนแปลง
ทีมชนะเลิศ FreeHap จากประเทศไทย
ในยุ ค ที ่ ท ุ ก ฝ่ า ยต้ อ งร่ ว มมื อ กั น แก้ ไ ข ปัญหาเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมโดยใช้หลักซีเอสอาร์แล้ว ยังมี กลุ ่ ม ผู ้ ป ระกอบการที ่ เ รี ย กตั ว เองว่ า “ผู้ ประกอบการสังคม” (Social Entrepreneur) อันมีโมเดลทำธุรกิจที่ไม่ได้มีกำไรเป็นตัวตั้ง หากแต่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่สามารถตอบ โจทย์ของสังคมได้ 16
ทีมชนะเล
ิศ Amand
es จากอิน
โดนีเซีย
ปัจจุบันทิศทางการเกิด Social Entrepreneur มีอัตราการเติบโตมากขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะในซีกโลกตะวันออก สำหรับในไทยนั้นมีการสนับสนุนคนรุ่น ใหม่ให้ก้าวขึ้นมาทำธุรกิจเพื่อสังคมมาก ขึ้น เช่น การขยายแนวคิดเข้าไปสู่สถาบัน การศึกษาภายใต้หลักสูตร “ธุรกิจเพื่อ สังคม” ในการศึกษาระดับปริญญาโท ภายใต้ โ ครงการปริ ญ ญาโทนานาชาติ ด้านการบริหารธุรกิจ (International MBA) ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยัง ได้จัดให้มีการแข่งขันเสนอแผนธุรกิจเพื่อ สั ง คม (Global Social Venture Competition) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื ่ อ กระตุ ้ น ให้ น ั ก ศึ ก ษาริ เ ริ ่ ม โครงการ ธุรกิจใหม่ๆ โดยการแข่งขันครั้งล่าสุดเกิด ขึ้นเมื่อ 18 มีนาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ผู้เข้ารอบสุดท้ายในการแข่งขัน ดั ง กล่ า วมี ท ั ้ ง หมด 12 ที ม จาก 8 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม มี 3 ทีม คือ ECO-FEED ธุ รกิจอาหารสัตว์เพื่อสิ่งแวดล้อม, Greenie ธุรกิจการท่องเที่ยว เชิงเกษตร และ ESES ผลิตภัณฑ์ทดแทนถ่านหิน ด้านฟิลิปปินส์มี 1 ทีม คือ Puno ช่องทางจำหน่ายสินค้าไร้บรรจุ ภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีทีมจากสิงคโปร์ 2 ทีมคือ Plastic to Paper วัตถุดิบทดแทนกระดาษและ 2nd Innings บริการผู้สูง อายุ ค รบวงจร ขณะที ่ ม ี ท ี ม จากอิ น โดนีเซียเข้ารอบ 2 ทีมเช่นกัน คือ Amandes ธุรกิจกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำดื่มด้วยแสง อาทิตย์ และ AcquaTech นวัตกรรม กรองน้ำในครัวเรือน สำหรับไทยเข้ารอบ
รางวั ล พิ เ ศษ “ประเมิ น กระทบต่ อ สั ง คมยอดเยี่ ย ม” (Best Social Impact Assessment) ทีม Puno จากฟิลิปปินส์ 3 ทีมคือ Freehap เครือข่ายสังคมออนไลน์เน้นความสุขและ ความเป็นอยู่ที่ดี, AquaReal ผลิตภัณฑ์บำบัดน้ำในฟาร์มสัตว์น้ำ และ PolymerR นวัตกรรมลดการใช้ปุ๋ย ส่วนลาวมี 1 ทีม คือ Yai Sin เทคโนโลยีผลิตกระดาษจากต้นกล้วย ทว่าน่าเสียดายทีมนี้ สละสิทธิ์ในการแข่งขันรอบสุดท้าย เนื่องจากไม่มั่นใจในเหตุการณ์ ทางการเมืองของไทย ผลการตัดสินพบว่ามีผู้ครองรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน แผนธุรกิจเพื่อสังคมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกัน 2 ทีม คือ Amandes จากอินโดนีเซีย และ FreeHap จากประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มอบรางวัลพิเศษ “ประเมินกระทบต่อสังคม ยอดเยี่ยม” (Best Social Impact Assessment) ให้แก่ Puno จาก ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ โดยผู ้ ช นะเหล่ า นี ้ จ ะเดิ น ทางไปชิ ง ชั ย ระดั บ โลกที ่ สหรัฐอเมริกาต่อไปในวันที่ 22 เมษายนนี้ ...จะเห็นได้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมเหล่านี้มีความหลากหลาย แต่ทุกธุรกิจล้วนเกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม... จุดกำเนิดแผนธุรกิจของ Freehap เกิดจากความจริงที่ขัด แย้ง โดยพบว่ามนุษย์มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่ความสุขกลับไม่เพิ่มตาม Freehap จึงมุ่งไปยังเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เน้นกลุ่มเป้าหมายคน รุ่นใหม่ในสังคมเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เจริญ ทางวัตถุแต่มีความสุขในชีวิตน้อยลง โดยพัฒนาเว็บไซต์ของตัว เอง คือ www.freehap.com ควบคู่ไปกับแอพพลิเคชั่นในเครือข่าย สั ง คมออนไลน์ เ ฟชบุ ๊ ค (facebook) เพื ่ อ ให้ ผู ้ ใ ช้ แ ลกเปลี ่ ย น ประสบการณ์ความสุขและช่วยเหลือผู้อื่นที่กำลังตกอยู่ในความ ทุกข์ รองรับด้วยการทำโพลล์ จัดกิจกรรมและบริการข้อมูลช่วย 17
เพิ่มความสุข ขณะเดียวกันก็จะส่งผ่านข้อมูลที่ ได้เหล่านี้ไปยังนักวิจัยทางสังคมและการตลาด ต่อไป ทั้งนี้ แม้คณะกรรมการจะวิจารณ์ว่า กระบวนการค่อนข้างผิวเผินไปบ้างและควร เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้สูงอายุด้วย แต่ก็โดดเด่นใน เชิงนวัตกรรม ซึ่งนักพัฒนาซอฟท์แวร์ในทีม มองว่าหลักการสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่าง รับผิดชอบต่อสังคมคือการปฏิบัติที่ใส่ใจในผู้ที่ มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร Amandes ก็ไม่แตกต่าง เนื่องด้วยภูมิประเทศของอินโดนีเซียเต็มไปด้วยเกาะน้อย ใหญ่ บางแห่งไม่มีแหล่งน้ำจืดอยู่เลย ดังนั้น นวัตกรรมเปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืดดื่มได้ของ Amandes จึงตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างยิ่ง ส่ ว นธุ ร กิ จ ของ Puno มาจากภั ย ธรรมชาติที่ชาวฟิลิปปินส์ต้องเผชิญอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพายุไต้ฝุ่นลูกล่า สุ ด “กิ ส นา” (Ketsana) ที ่ โ หมกระหน่ ำ จน ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่ง ข้อมูลระบุว่าถุงพลาสติกเป็นตัวการทำให้น้ำ ท่วม เพราะอุดตันตามท่อระบายน้ำ จึงเป็นแรง บันดาลใจให้ริเริ่มแผนธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากบรรจุ ภัณฑ์ (Packaging) โดยโรเบอร์โต คริสโตโม (Roberto Crisostomo) สมาชิกในทีมเปิดเผยว่า Puno เน้นจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ตามน้ำหนัก โดยลูกค้าต้องนำบรรจุภัณฑ์มาเองและจับมือ กับพันธมิตร Happynoi ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านค้า ตั้งอยู่ในชุมชนที่มีรายได้ต่ำ (ไม่เกิน 4 ดอลลาร์ ต่อวัน) ซึ่งมีสัดส่วน 64% ของประชากรทั้ง หมดของประเทศ พร้อมกับประสานงานกับ องค์กรเอกชน (เอ็นจีโอ) ในท้องถิ่น เพื่อโน้ม น้าวให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นความสำคัญของ การซื้อที่ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมไปด้วย 18
Mr. Edward Pubesch
ผู้อำนวยการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสังคมแห่งเอเชีย ซึ่งโรเบอร์โตกล่าวว่า “ลูกค้าจะได้สินค้าในราคาถูกลง ขณะ เดียวกันก็จะช่วยลดขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น เราใช้ระบบสะสมแต้ม ที ่ เ ป็ น ทั ้ ง ส่ ว นลดและคำนวณให้ เ ห็ น ภาพว่ า พวกเขาช่ ว ยสิ ่ ง แวดล้อมและลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้มากขนาดไหน” หากไม่นับเฉพาะการแข่งขันครั้งนี้ สมควรยกย่อง Rural Light ในฐานะที่เป็นหนึ่งเดียวในผู้ร่วมการแข่งขันที่สามารถ ดำเนินธุรกิจได้จริง แม้จะไม่ได้รางวัลอะไรเลยจากการประกวด เมื่อ 2 ปีก่อน ธุรกิจของ Rural Light เกิดจากปัญหาเช่นกัน หลัง จากที่อเล็คซานเดอร์ เรเยส (Alexander Reyes) พบว่าชุมชนใน ชนบทห่างไกลกว่า 2,400 แห่งในฟิลิปปินส์ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ อัน จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ทำให้มีแนวคิดสร้างธุรกิจช่วยเหลือชุมชนด้วยพลังงานทางเลือก และส่งเสริมให้ชุมชนมีผลผลิตหลากหลาย เวทีการประกวดแผนธุรกิจฯ คือสะพานเชื่อมช่วยพลิก ฝันให้เป็นจริง ซึ่งเรเยสยอมรับว่า “ทำให้ผมมีโอกาสพบกับผู้ให้ ทุนผ่านทางกรรมการเป็นผู้แนะนำ” โดยขณะนี้ Rural Light ดำเนินการในพื้นที่ทดลองด้วยการติดตั้งแผงวงจรแสงอาทิตย์ให้ กับชุมชน 3 แห่ง ร่วมมือกับพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันตะไคร้ จูงใจให้ ชุมชนหันมาปลูกพืชผสมผสาน โดยปลูกตะไคร้เสริมการปลูก อ้อยเป็นพืชเชิงเดี่ยวซึ่งสร้างรายได้ให้พวกเขาเพียงปีละครั้ง เท่านั้น จึงถือได้ว่า Rural Light ผลิตไฟฟ้าแลกกับน้ำมันตะไคร้ที่
ผลิตโดยชาวบ้าน ทำให้ชุมชนได้ใช้ไฟฟ้าและ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการสกัดน้ำมันตะไคร้ราว 18.45 ดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม แม้เขา จะยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่ได้กำไรไม่มากแต่ก็ ไม่ขาดทุน ขณะเดียวกันก็มีรายได้อื่นมารอง รับ โดยเป็นที่ปรึกษาด้านวางแผนกลยุทธ์ให้ กับองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น คณะกรรมการ โอลิมปิคแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา โครงสร้ า งพื ้ น ฐาน “ผมทำงานทุ ก อย่ า งใน ลั ก ษณะเป็ น งานประจำและไม่ ป ระจำไป พร้อมๆ กัน ซึ่งพนักงานอื่นๆ ใน Rural Light
แต่สำหรับภูมิภาคนี้ มีเพียง 1 แผนธุรกิจเท่านั้น ที่เจ้าของดำเนินการเปิดบริษัทจริง ซึ่งเอ็ดเวิร์ด รูเปซ (Edward Rubesch) ผู ้ อ ำนวยการแข่ ง ขั น แผนธุ ร กิ จ เพื ่ อ สังคมแห่งเอเชียบอกว่า “จากที่แข่งขันมาเพียง 3 ปี มี ทั้งหมด 30 ทีม อัตรา 1 ใน 30 ถือว่าเยอะ และปัจจัย สำคัญคงเป็นเพราะผู้ประกอบการเก่ง ตั้งใจจริง” นั่นก็คือ Rural Light ที่ไม่ได้รับรางวัลในการประกวด ส่วนแผนธุรกิจ นอกเหนือจากนั้นเป็นการขายต่อไปให้บริษัทอื่นดำเนิน การบ้าง หรือขายเฉพาะนวัตกรรมทีป่ ระกอบแผนธุรกิจนัน้ ๆ ทีมที่เข้าแข่งขันต้องผ่านการคัดกรองอย่างเข้ม งวดโดยคณะกรรมการหลากหลายสาขากว่า 100 คนใน
บรรยากาศภายในงาน
อีก 7 คนเป็นพนักงานไม่เต็มเวลาทั้งหมด”
เรเยสกล่าว ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการแข่งขันแผน ธุรกิจเพื่อสังคมเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อน โดยนัก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทด้ า นการบริ ห ารธุ ร กิ จ (Master of Business Administration: MBA) ที่ มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง แคลิ ฟ อร์ เ นี ย เบิ ร ์ ค เลย์ (University of California, Berkeley) ผลที่ได้คือ ธุรกิจเพื่อสังคมเกิดใหม่กว่า 70 บริษัท นำมา สู ่ ก ารแข่ ง ขั น ในภู ม ิ ภ าคเอเชี ย อาคเนย์ จ ั ด โดยโครงการปริญญาโทนานาชาติด้านการ บริหารธุรกิจของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รอบแรก จนมาถึงรอบสุดท้ายที่แม้มีจำนวนกรรมการน้อย ลง แต่เต็มไปด้วยผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจที่จะสร้างผล กระทบด้านบวกต่อสังคม โดยเอ็ดเวิร์ดเปิดเผยถึงเกณฑ์ ในการตั ด สิ น ว่ า “กรรมการจะพิ จ ารณาวิ ธ ี ก ารและผล กระทบต่อสังคม โดยมีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันต้องเป็นธุรกิจที่ทำได้จริง ไปรอดไม่ขาดทุน ไม่เช่นนั้นถือว่าไม่ยั่งยืน” ธุรกิจเพื่อสังคมจึงไม่ได้เน้นการลดต้นทุนให้ได้ มากที่สุดเพื่อแสวงหากำไรสูงสุดเหมือนตำราวิชาธุรกิจ ดั้งเดิมแต่เน้นในเชิงเพิ่มมูลค่าให้กับสังคม ซึ่งเอ็ดเวิร์ดเชื่อ ว่าการเรียนการสอนวิชาธุรกิจของ International MBA มุ่ง ปรับเปลี่ยนทัศนคติของนักศึกษาในเรื่องนี้ “กำไรสูงสุด 19
ต้นทุนต่ำสุดเป็นโมเดลธุรกิจเมื่อ 10 กว่าปีที่ แล้ ว อย่ า งเซ็ น ทรั ล เมื ่ อ ก่ อ นเน้ น แต่ ก ำไร สูงสุด แต่เดี๋ยวนี้มุ่งเป็นศูนย์สรรพสินค้าที่ดี ที่สุดในเอเชียเพราะเป็นการดำเนินงานที่
มี ค ุ ณ ค่ า และเพิ ่ ม มู ล ค่ า ในแง่ ก ารศึ ก ษา ปัจจุบันเราสอนธุรกิจที่เน้นคุณค่า โดยส่ง เสริมให้นักศึกษาเน้นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ สังคม” ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้อง อาศั ย การปรั บ โครงสร้ า งด้ ว ย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบุคลากรในสถาบัน “เราคัดสรรแต่
20
นับตั้งแต่มีการส่งเสริมแผนธุรกิจเพื่อสังคม เอ็ดเวิร์ด เชื่อว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแล้ว 3 ระดับในสังคม “ข้อแรกคือการปลุกจิตสำนึก ทำให้เกิดคนมีจิตใจที่ทำธุรกิจ เพื่อสังคม นอกจากนี้ถือเป็นการสร้างโอกาสให้นักลงทุน ใหม่ๆ ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่มีคุณค่าต่อสังคม และข้อ สุดท้าย เป็นกระบวนการช่วยสร้างบริษัทและสิ่งแวดล้อม ใหม่ๆ ที่ดีขึ้น” เขาสรุป C
ที ม งานคนรุ ่ น ใหม่ที่มีแนวคิดสมัย V C ร ะ ด ั บ โล ก ท ี ่ S G ์ ป ม ช แ ง ิ ช ร า ก ใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่าผมแก่ที่สุดในทีม ห ม า ย เห ตุ : ใน า สองทีมชนะเลิศ ม น า ่ ผ ่ ี ท น ย า ษ เม 3 -2 งานขณะนี้” Freehap ก็ ะ สหรัฐอเมริกา เมื่อ 22 ล แ s de an m A อ ื ค ้ ต นออกเฉียงใ สำหรั บ ความเหมื อ นและ GSVC ระดับเอเชียตะวั แตนฟอร์ด ซึ่ง ส ย ั าล ย ท ิ าว ห ม าก จ Designs ความต่างระหว่าง “ธุรกิจเพือ่ สังคม” พ่ายแพ้ให้กับ Motion ศกำลังพัฒนา เท ระ ป บ รั ำห ส ม ย ี ท าเ ำหรับข กั บ “ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม” เป็นธุรกิจผลิตข้อเข่าส uma ธุรกิจเติมเงิน R ่ ก แ ้ ได ศ ิ เล ะ น งช (ซีเอสอาร์) เอ็ดเวิร์ดคิดว่า “มีความ สำหรับรางวัลรอ ้กระดาษ จากมหาช รใ า ก ด ล ะ ล แ น ิ เง ด ั ย แตกต่ า งในรายละเอี ย ด บริ ษ ั ท ใหญ่ s of Hope ag โทรศัพท์มือถือประห B อ ื ค าม ส บ ั ด น ั งอ มาด้วยรอ บางแห่ ง ทำซี เ อสอาร์ เ พื ่ อ สร้ า งภาพ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตาม ชนบทให้มีทุน ใน น จ ก า ย ง ิ ญ ห ้ ู ผ ย ว ่ ินค้าช เท่านัน้ แต่จะมีเป้าหมายเดียวกันได้ หาก ซึ่งนำกองฟางมาทำส ะปลดปล่อยก๊าซ ล แ ย ๋ ุ ำป ท อ ่ ื พ าเ เผ ก ู ถ ดการ บริ ษ ั ท ที ่ ท ำซี เ อสอาร์ ส ามารถผนวก ยังชีพ พร้อมกับช่วยล ระทบต่อสังคม คือ ก ล ผ ล ั งว รา น ว ่ ส ว ั ต ใน กิ จ กรรมทุ ก ระดั บ ในองค์ ก รให้ เ กิ ด คาร์บอนไดออกไซด์ไป นแสงอาทิตย์ จาก
งา ง ั ล พ ก า จ า ้ ฟ ไฟ ต ิ ล ผ ิจ ประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมก็จะ WE CARE Solar ธุรก ์ ไม่ใช่การสร้างภาพ” มหาวิทยาลัยเบิร์คเลย
เลื อ กมาเล่ า ดร.ไสว บุญมา
จากดรักเกอร์ ถึงลาสโซโลและลอเรนซ์: กระดานหกจะไป ตกข้างไหน?
วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดนี้เป็นกระสุน ชั ้ น ดี ส ำหรั บ ผู ้ ต ่ อ ต้ า นแนวคิ ด พื ้ น ฐานของระบบ ตลาดเสรีที่จะใช้โจมตีระบบนี้ได้อย่างสะใจอีกครั้ง แต่ผู้โจมตีมักไม่มีทางเลือกมาเสนออย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพราะระบบตรงข้ามคือคอมมิวนิสต์ได้ พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าใช้ไม่ได้ ระบบตลาดเสรีแม้จะมี จุดอ่อนก็ยังจะอยู่ต่อไปเพราะมันสะท้อนธรรมชาติ ของมนุษย์สองอย่าง นั่นคือ เมื่อมีอะไรเหลือกิน เหลือใช้ก็สมัครใจนำมาแลกเปลี่ยนกัน และทุกคน ต้องการความเป็นอิสระที่จะทำอะไรๆ ได้อย่างเสรี กฎเกณฑ์ของระบบตลาดเสรีมีอยู่ว่า ภาค รัฐเป็นกรรมการให้ภาคเอกชนแข่งขันกันผลิตสินค้า และบริการให้มีประสิทธิภาพ ในบางกรณีภาครัฐ
อาจเข้าไปมีบทบาทโดยตรงในการผลิตสินค้าและ บริการบ้าง แต่ยังต้องคงไว้ซึ่งการทำหน้าที่ของผู้ รักษากฎเกณฑ์ นั่นคือ พนักงานของรัฐจะต้องไม่มี ผลพลอยได้จากนโยบายและมาตรการของรัฐ ภาค รัฐจะมีบทบาทเท่าไรก็แล้วแต่สังคมที่นำไปใช้จะเห็น เหมาะสม ภาครัฐมีบทบาทต่ำมากหากการประยุกต์ ใช้เป็นไปในแนว “ฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน” ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในขณะนี้ใช้ ระบบตลาดเสรีที่รัฐมีบทบาทสูงบ้างต่ำบ้าง เช่น ใน ฝรั่งเศสและอีกหลายประเทศในยุโรป รัฐมีบทบาท สูงกว่าในสหรัฐอเมริกา แม้จะก้าวหน้ามาก แต่ย่อม เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ผู้ใช้ระบบตลาดเสรีก็ยังมี ปัญหาไม่ว่าจะใช้แนวที่ภาครัฐมีบทบาทต่ำหรือสูง 21
ในสภาพเช่นนี้จึงมีผู้เสนอ “ภาคที่สาม” ขึ้นมาแก้ ปัญหาของสังคม พีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นหนึ่งใน บรรดาผู้ต้องการพัฒนาภาคนี้ การเอ่ยชื่อพีเตอร์ ดรักเกอร์ คงทำให้ผู้อ่าน ส่วนใหญ่นึกถึงกูรูผู้บุกเบิกและเผยแพร่วิชาบริหาร จัดการยุคใหม่ไปทั่วโลก วิชาบริหารจัดการที่มัก นึกถึงกัน ได้แก่ ด้านการแสวงหากำไรของภาคเอกชน น้อยคนนักจะนึกถึงด้านสำคัญที่อาจารย์ดรักเกอร์ ทุ่มเทให้ในตอนปลายชีวิตของท่าน นั่นคือ ด้านการ กุศลอันเป็นภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง การกุศลที่อาจารย์ดรักเกอร์ทุ่มเทให้ไม่ได้หมายถึง ชนิดที่ผู้สูงอายุไทยไปถือศีลกินเจ หากเป็นการช่วย องค์กรเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจาก ท่านมองว่า ในอนาคตบทบาทของการกุศลจะต้องมี ความสำคัญทัดเทียมกับของภาครัฐและของภาค เอกชนที ่ ม ุ ่ ง แสวงหากำไร สั ง คมมนุ ษ ย์ จ ึ ง จะแก้ ปัญหาอันเกิดจากจุดอ่อนของระบบตลาดเสรีได้ ดัง เป็นที่ทราบกันดี อาจารย์ดรักเกอร์มีแนวคิดหลาก หลายและส่วนใหญ่มีความเป็นอมตะ ในฐานะที่เคย เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในระหว่างที่ท่าน สอนอยู่และได้สัมผัสแนวคิดของท่านอย่างต่อเนื่อง ขอนำเรื่องเกี่ยวกับการกุศลมาเล่าคร่าวๆ สำหรับผู้ที่ มี เ วลา อาจไปอ่านบทที่ 25 ของหนังสือชื่อ The Essential Drucker ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2544 หรือ 4 ปีก่อน ที่ท่านจะถึงแก่กรรม อาจารย์ดรักเกอร์มองว่า ในช่วงเวลาที่จะ มาถึ ง ปั ญ หาของโลกจะหนั ก หนาสาหั ส มาก เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนคนชราจะ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและโรคภัยไข้เจ็บจะต้องการ การรักษาพยาบาลที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น อาจารย์มอง ว่า ปัญหาที่ระบบตลาดเสรีไม่สามารถแก้ได้ซึ่งจะ ต้องอาศัยการกุศลเข้าช่วยมีอยู่ด้วยกันสองด้านคือ ด้านแรก จำนวนคนจน คนทุพพลภาพ คนที่ได้รับ ผลกระทบจากสงครามและความขัดแย้งต่างๆ รวม ทั้งความชั่วร้ายของรัฐบาล และการเปลี่ยนแปลง 22
ทางโครงสร้างของเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น ด้านที่สอง เป็นของใหม่ซึ่งเกิดจากจิตใจที่โหยหาความหมาย และความอบอุน่ ความโหยหามีทม่ี าจากวิวฒ ั นาการ สองทางคือ ทางแรกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ภาครัฐกับบทบาทของบุคคล ในปัจจุบันนี้บุคคล รู ้ ส ึ ก ว่ า ตั ว เองมี บ ทบาทในสั ง คมน้ อ ยลงจนไม่ สามารถทำอะไรที่มีความหมายในฐานะพลเมืองได้ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ในประเทศใหญ่ ห รื อ ในประเทศเล็ ก ทางที่สองเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสังคมเมืองและ การโยกย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนบ่อยๆ ยังผลให้ชุมชน ดั้งเดิมถูกทำลาย ชุมชนเป็นศูนย์รวมทางร่างกาย และจิตใจของบุคคลซึ่งมีผลในการสร้างความอบอุ่น และมั่นคง ปราศจากชุมชน บุคคลย่อมรู้สึกว้าเหว่ เนื่องจากภาคเอกชนในระบบตลาดเสรีที่มุ่ง แสวงหาเฉพาะกำไรและภาครั ฐ ไม่ ส ามารถแก้ ปั ญ หาดั ง กล่ า วได้ ชาวโลกโดยทั ่ ว ไปจึ ง มองว่ า องค์กรการกุศลซึ่งเป็นภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร จะสามารถแก้ ป ั ญ หาทั ้ ง สองด้ า นได้ เ ป็ น อย่ า งดี องค์กรจำพวกนีจ้ งึ ผุดขึน้ ทัว่ โลก แต่มกั มีประสิทธิภาพ ต่ ำ เพราะขาดความสามารถทางด้ า นการบริ ห าร จัดการ อาจารย์ดรักเกอร์จึงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ใน ตอนปลายชี ว ิ ต อั น ยื น ยาวถึ ง 95 ปี ข องท่ า นช่ ว ย องค์กรทางด้านนี้ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น แต่ใน ขณะนี้ดูจะยังไม่มีการประเมินกันอย่างจริงจังว่า องค์กรการกุศลโดยทั่วไปมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามที่ อาจารย์ดรักเกอร์คาดหวังหรือไม่ หากมองเรื่องราว ของสองอภิมหาเศรษฐีบิลล์ เกตส์ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นตัวอย่าง องค์กรจำพวกนีม้ ปี ระสิทธิภาพ เป็นบางแห่งเท่านั้น เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า บิลล์ เกตส์ ได้สละ ทรัพย์สินส่วนตัวกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อการ กุศลผ่านการก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมาบริหารจัดการและใน อนาคตเขาจะสละเพิ่มอีก เมื่อกลางปี 2551 เขา เกษียณจากบริษัทไมโครซอฟท์ด้วยอายุเพียง 53 ปี เพื่อทุ่มเทเวลาบริหารมูลนิธิให้มีประสิทธิภาพสูง
เช่ น เดี ย วกั บ ไมโครซอฟท์ วอร์ เ รน บั ฟ เฟตต์ ก็ ต้องการสละทรัพย์สินกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อ การกุศลเช่นกัน แต่เขาจะไม่ตั้งมูลนิธิในแนวนั้นขึ้น มาเอง หลังจากมองหาช่องทางอยู่นาน เขาตัดสินใจ จะบริจาคทรัพย์สินให้มูลนิธิของบิล เกตส์ เนื่องจาก เขามั่นใจในประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของ มูลนิธินั้น ตัวอย่างนี้น่าจะชี้บ่งว่า ทั้งที่สหรัฐอเมริกา มีมูลนิธิมากมาย แต่โดยทั่วไปยังขาดประสิทธิภาพ ดังที่อาจารย์ดรักเกอร์ประเมินไว้ สำหรับในเมือง ไทย ผู้อ่านบทความนี้คงมีความประทับใจอยูบ่ า้ งแล้ว ว่าไม่นา่ จะมีประสิทธิภาพมากนัก หากองค์กรการกุศลยังขาดประสิทธิภาพจน ไม่สามารถมีบทบาททัดเทียมกับภาครัฐและภาค เอกชนที่มุ่งแสวงหากำไรได้ โลกอาจเดินเข้าสู่ทาง แห่งความล่มสลายเมื่อเกิดจุดพลิกผันสำคัญยิ่งใน อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เออร์วิน ลาสซโล ปราชญ์ชาว ฮังกาเรียน อธิบายเรื่องจุดพลิกผันสำคัญยิ่งนี้ไว้ใน หนั ง สื อ ชื ่ อ The Chaos Point: The World at the Crossroads ซึ ่ ง มี บ ทคั ด ย่ อ เป็ น ภาษาไทยอยู ่ ใ น หนังสือชื่อ “กะลาภิวัตน์” จากมุมมองของลาสซโล จุดพลิกผันสำคัญยิ่งจะเกิดในปี 2555 ทั้งนี้เพราะเท่า ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นด้านจรรยาบรรณ ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ แนว โน้มบ่งไปในทางเลวร้ายซึ่งจะพาโลกเข้าสู่ทางแห่ง ความล่ ม สลายหากไม่ ม ี ก ารเปลี ่ ย นแปลงอย่ า ง แท้จริง แต่เขามองว่ามันยังไม่สายเกินไปและหาก ชาวโลกร่วมกันแก้แนวโน้มเหล่านั้นได้ โลกก็จะเดิน เข้าทางแห่งความยั่งยืน ณ วันนี้ โลกจึงอยู่ในภาวะ กระดานหกที่ยังมีโอกาสไปตกข้างไหนก็ได้ ส่วนจะ ไปตกข้างไหนแบบถาวร ขึ้นอยู่กับการกระทำของ ชาวโลกจากวันนี้ถึงปี 2555 อาจเป็นเหตุบังเอิญที่ปี 2555 เป็นปีที่ชาว มายา นอสตราดามุสและหลวงปู่ฐิติลาโภ ภิกขุ ต่าง ทำนายไว้ ว ่ า จะเกิ ด เหตุ ก ารณ์ ส ำคั ญ ยิ ่ ง ต่ อ โลก มนุษย์ อาณาจักรมายาอยู่ในแถบอเมริกากลางซึ่ง
มีความเชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และได้ล่มสลาย ไปราว 1,000 ปีแล้ว ภาพยนตร์เรื่อง “วันสิ้นโลก 2012” วางอยู่บนสมมติฐานที่ตีคำทำนายของชาว มายาว่า ในปี 2555 ดวงอาทิตย์จะปะทุขนานใหญ่ ยั ง ผลให้ แ ผ่ น ดิ น ไหวและภู เ ขาไฟระเบิ ด จนก่ อ ให้
เกิ ด คลื ่ น ยั ก ษ์ ท ำลายเกื อ บทุ ก อย่ า งบนผิ ว โลก นอสตราดามุสเป็นโหรชื่อดังชาวฝรั่งเศสซึ่งทำนาย ไว้เมื่อราว 500 ปีที่ผ่านมา ส่วนหลวงปู่ฐิติลาโภ ภิกขุ เป็นพระที่ก่อนจะสละทางโลกไปยึดทางธรรม ใช้ชีวิตรับราชการอยู่นานหลังเรียนจบปริญญาจาก มหาวิ ท ยาลั ย ฮาร์ ว าร์ ด ท่ า นทำนายเมื ่ อ ปี 2552 ตอนนัน้ ท่านอายุ 108 ปี ทัง้ ชาวมายา นอสตราดามุส และหลวงปู่ฐิติลาโภ ภิกขุ ดูจะเห็นอะไรที่คนทั่วไป มองไม่เห็น เรามี เ วลาไม่ ม ากหากมองจากมุ ม ของคำ ทำนายดังกล่าว แล้วเราจะทำอย่างไร ? จากมุมมองของอาจารย์ดรักเกอร์ คำตอบ คงเป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัดว่า กระบวนการและ องค์กรการกุศลต้องเพิ่มทั้งจำนวนคนที่มีส่วนร่วม และประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน สำหรับในเมืองไทย ภาระขององค์ ก รดั ง กล่ า วยากลำบากกว่ า ของใน ประเทศก้าวหน้า ทั้งนี้เพราะแนวโน้มในเมืองไทย เลวร้ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านจรรยาบรรณ ด้านสิ่ง แวดล้อม และด้านความขัดแย้งของคน ยิ่งกว่านั้น ปัญหาของเมืองไทยเลวร้ายยิ่งขึ้นเพราะภาครัฐกับ ภาคเอกชนแยกกันไม่ออกเมื่อนักธุรกิจการเมืองและ นักเลือกตั้งได้เข้าไปควบคุมกระบวนการทำงานของ รัฐแล้วเป็นส่วนใหญ่ จากมุมมองนี้ โอกาสที่เมือง ไทยจะเดินไปสู่ทางแห่งความยั่งยืนดูแทบไม่มีเลย แน่ละ หากคนไทยส่วนใหญ่คิดเช่นนั้น กระดานหก ย่ อ มไปตกทางด้ า นความล่ ม สลายในปี 2555 แน่นอน ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ จะทำอย่างไรเพื่อมิให้คนส่วนใหญ่ไม่คิดเช่นนั้น ทางออกมีส่วนประกอบหลากหลาย แต่ขอ สรุปง่ายๆ โดยการแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วน 23
การปฏิบัติและส่วนความเชื่อมั่น ในเบื้องแรก คงไม่ แปลกถ้าจะตั้งสมมติฐานว่าผู้ทำงานด้านการกุศล ในปัจจุบันนี้เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและยึด ความถูกต้องไว้เหนือผลประโยชน์ส่วนตน เช่น หาก รัฐบาลต้องการเก็บภาษีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการ พั ฒ นารวมทั ้ ง ภาษี ท ี ่ ด ิ น และภาษี เ พื ่ อ จำกั ด การ บริโภคสินค้าและบริการที่ไม่ค่อยมีอรรถประโยชน์ เขาจะสนับสนุนแม้ตัวเองจะได้รับผลกระทบในทาง ลบก็ตาม งานสำคัญด้านหนึ่งของผู้ปฏิบัติซึ่งอาจ เรียกว่าผู้มีจิตสาธารณะจะต้องเป็นการมุ่งขยาย เครือข่ายด้วยวิธีขายตรงให้กว้างออกไปเรื่อยๆ อนึ่ง การจะชักชวนผู้อื่นมาร่วมได้ ตัวเอง ต้องมีทั้งความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติไปตามนั้น เป็นตัวอย่าง เช่น ผู้มีจิตสาธารณะจะต้องเข้าใจว่า ต้ น ตอของแนวโน้ ม ต่ า งๆ ที ่ ก ำลั ง สร้ า งปั ญ หาใน ปัจจุบันเกิดจากการเดินสวนทางกันของทรัพยากร ซึ ่ ง กำลั ง ลดลงและความต้ อ งการที ่ ก ำลั ง เพิ ่ ม “ทรัพยากรโลกมีจำกัด” เป็นสัจพจน์และไม่สามารถ เพิ่มได้นอกจากจะไปเอามาจากโลกอื่น ฉะนั้น ทาง ที ่ เ ราจะทำให้ เ กิ ด การสวนทางกั น หมดไปคื อ การ จำกัดการใช้ทรัพยากร การจำกัดอาจเกิดได้ง่ายๆ จากสองทางคือ ถ้ายังไม่สายเกินไปก็จำกัดการมีลูก และใช้ทรัพยากรบนฐานของความจำเป็น เมื่อไร ทรัพยากรและการใช้กลับอยู่ในภาวะสมดุล หรือไม่ สวนทางกัน การขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติและ ระหว่างคนกับคนย่อมลดลงยังผลให้ปัญหาสารพัด อย่างรวมทั้งที่อ้างถึงข้างต้นลดลงด้วย เนื่องจากแนวโน้มในเมืองไทยดูจะเลวร้าย กว่าในประเทศก้าวหน้า เป็นไปได้สงู ว่าผูม้ จี ติ สาธารณะ จะท้ อ ถอยเมื ่ อ ต้ อ งประสบกั บ อุ ป สรรคหนั ก หนา สาหัส การไม่ถอดใจจะไม่เกิดขึ้นหากเขาเชื่อมั่นว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนแนวโน้มให้ไปในทาง แห่งความยั่งยืน การเชื่อมั่นนี้ควรมีทฤษฎีผีเสื้อ กระพื อ ปี ก เป็ น หลั ก ยึ ด ทฤษฎี ผ ี เ สื ้ อ กระพื อ ปี ก ประยุกต์มาจากทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) 24
(ในโลกแห่ ง ความอลวน ความแตกต่ า ง ระหว่ า งภาวะเบื้ อ งต้ น เพี ย งเท่ า เศษผงอาจ วิวัฒน์ ไปเป็นปรากฏการณ์ที่มีรูปร่างคล้าย ผีเสื้อขนาดยักษ์)
ซึ่งเอ็ดเวอร์ด ลอเรนซ์ เป็นหัวจักรใหญ่ในการก่อ ตั้งและเออร์วิน ลาสซโล นำมาประยุกต์ใช้ในการ วิจัยและเขียนหนังสือที่อ้างถึง ทฤษฎีนี้สามารถ พิสูจน์ได้ว่าในภาวะที่เหมาะสม แรงลมจากปีกผีเสื้อ เพียงตัวเดียวในเมืองไทยจะทำให้เกิดพายุใหญ่ใน อเมริกา ฉะนั ้ น ผู ้ ท ี ่ ม ี ค วามรู ้ ค วามเข้ า ใจและจิ ต สาธารณะจะต้องบุกบั่นต่อไปแม้ตนจะทำไม่ได้มาก เท่ า พี เ ตอร์ ดรั ก เกอร์ บิ ล ล์ เกตส์ และวอร์ เ รน บัฟเฟตต์ เพื่อรอภาวะที่เหมาะสมซึ่งจะทำแรงลม จากปีกผีเสื้อน้อยๆ ของตนให้มีผลเป็นลมพายุ C
Opinion Alex Mavro, “The Responsibilitator,” is a full-time CSR and Sustainability consultant based in Thailand. Reach him at almavro@siv-asia.org.
Governance We Trust
No matter how many times I explain that for organizations – businesses, government agencies, or volunteer service organizations – acting responsibly is not simply desirable; it is the key to longterm survival, people still regularly ask me why responsibility matters. The short answer is that if your business model is to make a quick killing and then disappear, then acting responsibly may not be a priority. But for the majority of us who would like to plan on remaining in business for the foreseeable future, we can only do so by acting responsibly. What organizations do while “acting responsibly” falls under corporate social responsibility (CSR) strategy. I am the first to admit that the CSR moniker can be off-putting, and for many reasons. Not every organization is a corporate entity; there is much more involved than what social implies; and most of us prefer to see what we are doing as rising to internally generated opportunities rather than reacting to any externally mandated responsibility. The thrust of CSR is broad. Aside from the very obvious “do no harm,” it is based on building the trusting relationships that permit your audience to develop faith in what you say. All relations, including those between companies and their audiences, are based on trust. At the same time, the biggest single problem facing the world today is the breakdown of this very trust. Complicating efforts to spawn trust is the overarching immediacy of communication, in today’s world. Among other implications, immediate communication is of necessity two-way. No longer are constituents satisfied with passively receiving our repeated message to be slowly digested over time. People now demand the ability to comment, respond, and even contribute to the message we’re trying to convey. While my colleagues in the public relations field might disagree, there is no way around this new reality: social networking has marginalized every other form of stakeholder or audience communication. Without generous interactive communication, an enterprise will find it challenging to build the trust it needs to be successful. Look at it in context: In what institutions do people trust, or have faith? Some look to religion. But one major sect is identified with suicide bombers and another with pedophilia. Are these the role models we seek? 25
Others look to governments. But governments stood by as the first financial crisis of the new millennium built up and then came crashing down on everyone. How much confidence does that inspire in governments? Some have claimed that business contains the seeds of salvation. But businesses (banks and lending institutions, mostly, but we are all tarred with the same brush) played fast and free with investor money. We know that now, too late. There remain few heroes – individuals or institutions – on whom to model our behavior. All have fallen by the wayside. Think Bernard Maddox; think Tiger Woods. An additional hurdle is that trust has never been in oversupply here in Asia. Traditionally, it rarely extends beyond the family, which remains the cornerstone of all enterprise. Insofar as outsiders can be trusted, pre-economic crisis research shows that unlike many in western countries, Asians generally trust government more than any other institution. More recent surveys in Asia show that the collapse of trust on just about all fronts notwithstanding, the quality of the product or service is the primary measure of trust in a business. On another level, it’s in how the enterprise interacts with the community – not simply by handing over checks or cash, but by how it involves itself in community work. And third, it’s about employee treatment and transparency: governance, that is. Let’s look at these three yardsticks for just a moment. First, the quality of your product or service: no amount of CSR can compensate for poor performance. CSR will not correct the fallout from a disfunctioning system. If you don’t believe me, just ask BP, who may never live down the recent Gulf of Mexico oil spill! Fulfilling a need, and fulfilling it well, is fundamental to your business plan and to your CSR strategy... which are always in alignment. Right? Second, interacting with the community, near and far, and doing so in a way that demonstrates commitment. Writing checks is not a commitment. Meaningful interaction involves sounding out community priorities, finding out where community and company needs overlap, and then acting based on that analysis. Finally, governance – and when I talk about governance, I am not speaking of the narrow definition which limits it to board level management issues. I mean the governance that takes place daily at every level of an organization’s operation. The area of governance is where most companies need to begin their CSR assessments and planning. The result of enlightened governance is a motivated team working relentlessly to produce top-notch output. As part of their efforts, this motivated team will seek constant feedback from their greater audience, the company’s stakeholders. The team will incorporate this input into the next planning cycle, leading to further improvements. You can look at governance as being the heartbeat of all CSR planning, anywhere. Good, consistent, and transparent governance builds trust – trust within the organization; trust within the marketplace; and trust within the wider community. In the end, this is what CSR is all about: being trusted to act responsibly in order to be able to continue our activities profitably and indefinitely. C 26
SVN Talk
ถึงเวลา “ปฏิรปู ” ประเทศไทย ส า ม า ร ถ ดู แ ล สิ่ ง แวดล้ อ มควบคู่ กั บ
บทเรียนจากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ไม่ใช่ เพียงแค่การสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้งทางการ เมืองที่ว่าด้วยเรื่อง “ทักษิณ ชินวัตร” หรือ “ยุบสภา” เท่านั้น แต่เป็นปรากฏการณ์ปลุกเร้าให้สิ่งที่ซ่อนอยู่เผยตัวออกมา ได้ส่ง สัญญาณบ่งบอกว่าสังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ และจำเป็นต้องร่วมกันหาทางออกเพื่อปฏิรูปประเทศไทยก่อนที่จะ ยากจะเยียวยาแก้ไขไปมากกว่านี้ จากวงสัมมนา “ร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน สถานการณ์วิกฤตบ้านเมืองเรา เพื่อหา ทางออกให้กับประเทศไทย” เมื่อวันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2553 จัดโดย เครือข่ายธุรกิจเพื่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม (SVN) ผู้ร่วมสัมมนาได้สะท้อนถึงรากเหง้าของปัญหาสังคมไทยที่สะสม หมักหมมมายาวนาน แต่ใช่ว่าจะหมดหวังเยียวยา เพราะยังมีการนำเสนอทางออกของประเทศ เพื่อให้พ้นวิกฤต จากผู้นำการสนทนา 2 ท่าน คือคุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานครฯ และดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย และจากตัวแทน ของเครือข่ายสังคมกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ การชุมนุมของคนเสื้อแดง อันมีบริบทของการเรียกร้องตั้งแต่เรื่องของความเหลื่อมล้ำทาง สังคม เรื่องของชนชั้นอย่างไพร่กับอำมาตย์ เรื่องของสองมาตรฐาน ที่สามารถสะกิดไฟให้จุดติด จนมีผเู้ ข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก (ในช่วงแรก) บริเวณพืน้ ทีส่ ะพานผ่านฟ้าลีลาศ บนถนนราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 มาจนถึงการยึดพื้นที่ใจกลางธุรกิจของประเทศอย่างย่านราชประสงค์นานนับเดือน ด้วยการชูประเด็นเรื่องของยุบสภาจนนำมาสู่กลุ่มคนต่างๆ ในสังคม กระทั่งเกิดการแบ่งสีแบ่งฝ่ายกันมากยิ่งขึ้น อย่างที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า “พวกเสื้อแดง” และที่ซ้ำ ร้ายกว่านั้นคือ ความแตกแยกได้ลุกลามไปยังสถาบันครอบครัว 27
นี่คือปรากฏการณ์ที่กำลังบอกกับทุกคนว่าสังคม กำลัง “แตกแยก” รุนแรง
เร่งลดช่องว่างรายได้-การศึกษา
“ดร.ธวัชชัย” คือเสียงจากธุรกิจกระแสหลัก ที่บอก เล่าข้อมูลได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาต่างๆ ของสังคมไทย ดังกล่าวนั้นมีอยู่จริงๆ เขาได้เน้นย้ำในช่วงต้นก่อนว่าที่มา พูดในสัมมนาครั้งนี้ไม่ได้ต้องการสร้างกลุ่มใหม่ สี หรือไม่มี สี ใ ดๆ ขึ ้ น มา แต่ เ พื ่ อ ร่ ว มหาทางออกเพื ่ อ ประเทศชาติ ร่วมกัน ดร.ธวั ช ชั ย กล่ า วว่ า วิ ก ฤตที ่ เ กิ ด ขึ ้ น มี ต ้ น เหตุ ชัดเจนคือ ความไม่ชอบธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลนี้บริหารประเทศโดยไม่ชอบธรรม การติดต่อกับภาครัฐได้รับความไม่เป็นธรรม หรือแม้กระทั่ง ถูกข่มขู่ ประชาชนอยู่ในภาวะของช่องว่างรายได้ที่ห่างกัน มากขึ้น ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ของประชากรไทยพบว่า ยังเหลื่อมล้ำกันมาก แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานแล้วก็ตาม คือเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519-2520 กลุ่มประชากรที่มีราย ได้ สู ง ซึ ่ ง มี จ ำนวนร้อยละ 20 ของประชากรทั ้ ง หมดของ ประเทศ เป็ น เจ้ า ของรายได้ ถ ึ ง ร้ อ ยละ 50 ของรายได้ ทั ้ ง หมดของประเทศ ขณะที ่ ค นจนมี ร ายได้ ป ระมาณ ร้อยละ 10 ของรายได้ของประเทศเท่านั้น หรือมีความ เหลื่อมล้ำต่างกันถึง 4 เท่า ความเหลื่อมล้ำนี้ห่างมากขึ้น และปัจจุบันพบว่า กลุ่มผู้มีรายได้สูง มีรายได้ถึงร้อยละ 60-70 ของรายได้ ทั้งหมดของประเทศ ส่วนกลุ่มคนจน มีรายได้เหลือเพียง ร้ อ ยละ 2-3 เท่ า นั ้ น ดั ง นั ้ น ในช่ ว งของรั ฐ บาลที ่ ผ ่ า นมา (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) ที่บอกว่าคนจน มี ร ายได้ ด ี ข ึ ้ น นั ้ น สวนทางกั บ ตั ว เลขที ่ ป รากฏและไม่ สามารถยืนยันได้ ช่องว่างของรายได้ที่แตกต่างมากขึ้นนี้จะส่งผล ทำให้คนไทยแตกต่างกันมากขึ้น และจะกลายเป็นสังคมที่ จะคุยกันไม่รู้เรื่องในอนาคต เพราะรายได้ที่แตกต่างจะส่ง ต่อโอกาสการรับการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นรัฐบาล 28
จะต้องเร่งพัฒนาระบบการศึกษาที่ดีให้กับ ประเทศให้ได้ “ระบบการศึกษา เป็นหน้าที่ที่การ เมืองต้องทำแต่กลับไม่ทำ ดังนั้นประชาชน
ก็ ต ้ อ งช่ ว ยตั ว เอง เพราะไม่ เ ชื ่ อ ระบบการ ศึกษาของรัฐ จึงเห็นว่าโรงเรียนอินเตอร์เกิด ขึ้นเต็มไปหมด ... ดังนั้นอีก 10 ปีข้างหน้าลูก หลานจะพูดกันไม่รู้เรื่อง เพราะอีกกลุ่มหนึ่ง ไปโรงเรียนอินเตอร์ อีกกลุ่มเรียนแบบเดิม นี้ คือความเหลือ่ มล้ำทีม่ ใี ห้เห็นชัดๆ แล้วในเวลานี”้ สำหรับสิ่งที่ ดร.ธวัชชัย นำเสนอเพื่อ แก้ปัญหาคือ 1. ต้องตั้งเป้าหมายไว้ให้ชัดเจน ไว้เลยว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะเพิ่มรายได้ให้ คนจนอย่างไร รัฐบาลต้องกำหนดเป็นวาระ แห่งชาติ แก้ไขความเหลื่อมล้ำของสังคมให้ ได้ และ 2. วาระแห่งชาตินี้ต้องตั้งกรรมการ เพื่อระดมความเห็น โดยมีกรรมการจากทุก ภาคส่ ว นเพื ่ อ ฟั ง ว่ า เขาอยากได้ อยากเห็ น อะไร เพื่อกำหนดทิศทางร่วมกัน “เรามาคุยกันเรื่องความไม่ยุติธรรม ในสั ง คมว่ า จะแก้ อ ย่ า งไร และต้ อ งทำให้ ผู ้ ชุมนุมรู้สึกว่าเวทีการพูดคุยไม่มีใครมีส่วนได้ ส่วนเสียเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ซึ่งหากเรา สามารถดึงคนเหล่านี้มาร่วมหารือได้ ก็น่าจะ มีโอกาสคุยกัน อย่างน้อยก็สามารถลดความ รุนแรงได้” ดร.ธวัชชัยกล่าว
ดร.ธวัชชัย สรุปในตอนท้ายว่า “วิกฤต ขณะนี้ เป็น Beginning of the end จึงขอเชื้อ เชิญทุกคนให้ออกมาแสดงตน เราต้องการ ความคิดเห็นอื่นๆ อีก เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา ของประเทศไทย”
ทุกภาคส่วนร่วมกัน “ปฏิรูป”
คุณรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นแสดงความคิด เห็นสอดคล้องกับ ดร.ธวัชชัย ว่า ความเหลือ่ มล้ำ ทางสังคมนั้นมีอยู่จริง แต่ก็ไม่เคยคิดว่าความ เหลื ่ อ มล้ ำ นั ้ น จะกลายเป็ น ความเกลี ย ดชั ง และความรุนแรง คุณรสนา กล่าวต่อว่าก่อน วันที่ 12 มีนาคม 2553 ที่กลุ่มเสื้อแดงจะเริ่ม ชุมนุมยืดเยื้อนั้น ได้มีการส่งสัญญาณเรื่อง ความเหลื่อมล้ำต่อทีมงานของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบ รั บ มากนั ก เพราะรั ฐ บาลต้ อ งการจั ด การ ปัญหาเรื่องม็อบก่อน ซึ่งขณะนี้พิสูจน์แล้ว ว่าการจัดการปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำนั้น ไม่ทันการณ์ เพราะ Tomorrow never come หรือกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้อย่างที่เห็น ความเกลียดชังที่เกิดขึ้นในสังคมคือ อั น ตราย “พลั ง เกลี ย ดเป็ น พลั ง มหาศาล
เพราะเรายังไม่ได้ฝึกพลังความรักมาต้านความเกลียด ซึ่ง ในที่สุดความเสียหายทางเศรษฐกิจ อาจเหนี่ยวนำให้เกิด ความไม่พอใจของภาคธุรกิจ และสังคม คนเสื้อแดงเหนี่ยว นำความเกลียดของคน กทม. ดังนั้นจึงต้องมาร่วมกันหา ทางเพื่อไปสู่ทางที่ดีกว่า” คุณรสนา กล่าว จากวิกฤตการณ์ที่ผ่านมา เป็นการบอกทุกคนว่า ต้องปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเป็นอีกครั้งที่นักธุรกิจเองก็บอก เช่นกันว่าต้องปฏิรูปประเทศไทย ดังนั้นทั้งภาคเอกชน ภาค ธุรกิจ เครือข่ายทางสังคม ทุกคนต้องช่วยกัน เพราะหวังพึ่ง รัฐบาลอาจไม่ทัน เนื่องจากรัฐบาลก็มีวาระของรัฐบาลเอง คือเรื่องการเมือง ดังนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้ในการเป็นจุดหัว เลี้ยวมาช่วยกันทำให้บ้านเมืองดีขึ้น คุณรสนา สรุปว่าเครือข่ายภาคประชาชน และ ภาคธุรกิจต้องช่วยกันหาทางออก เพราะเชื่อว่านักการเมือง ไม่สามารถทำอะไรได้ เวลานี้เป็นเรื่องของทุกคนมาร่วมกัน หาทางออกให้ ส ั ง คม สลายความเกลี ย ดชั ง และความ เหลื่อมล้ำทางสังคม “เราเชื่อว่าคนไทยมีความเมตตา กรุณา สิ่งเหล่านี้ ถูกทำลายด้วยการสร้างความเกลียดชัง จะทำอย่างไรให้ เกิดอภัยวิถีในชีวิต เราต้องยอมรับสิ่งนี้ว่า บางครั้งเราต้อง ยอมเสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียสละอวัยวะเพื่อ รั ก ษาชี ว ิ ต และเสี ย สละส่ ว นน้ อ ยเพื ่ อ รั ก ษาส่ ว นใหญ่ ” คุณรสนากล่าวในท้ายที่สุด C 29
สรุปความเห็นจากเครือข่ายสังคมกลุ่มต่างๆ ที่เข้าร่วมสัมมนาเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ที่จัดโดย SVN
ที่มาของวิกฤตการณ์ มีดังนี ้ 1. ความเหลื่อมล้ำของรายได้และโอกาสในสังคม 2. ความไม่เป็นธรรมในสังคม และระบบสองมาตรฐาน 3. ความไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง 4. ผู้นำของรัฐเกิดภาวะ Failed State 5. มีการปลุกปั่นมวลชนให้เกิดความเกลียดชังด้วยข้อมูลซ่อนเร้น อำพราง 6. สื่อไม่มีความเป็นกลางในการเสนอข่าว 7. การแย่งชิงอำนาจรัฐด้วยกันเองของฝ่ายการเมือง 8. กลุ่มที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยใช้ประชาชนเป็นเหยื่อ สรุปข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ของสังคมไทย ดังนี ้ 1. หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันที่ทำให้เกิดความรุนแรง และหยุดการยุยงทุกรูปแบบ 2. ต่อต้านการใช้กำลังของทุกฝ่ายเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ต้องการความเปลี่ยนแปลง 3. ทำให้คนกลุ่มต่างๆ สามารถแยกแยะปัญหาและข้อมูลที่ได้รับมา โดยไม่ตกเป็นเหยื่อและถูก ปลุกปั่นได้ง่าย 4. การแก้ปัญหาความไม่ชอบธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยภาคประชาชนจัดสมัชชา หมู่บ้านไปจนถึงระดับประเทศ ให้นำปัญหาของกลุ่มตนมาเสนอให้ภาครัฐแก้ปัญหาและช่วยเหลืออย่าง เข้าถึงผู้เดือดร้อนโดยตรง 5. การให้การศึกษาและให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ที่ไม่ใช่ เพียงการนึกถึงเพียงเรื่องเสียงข้างมาก หรือการเลือกตั้งอย่างเดียวเท่านั้น แต่แท้ที่จริงต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการ คือ 1. นิติรัฐ 2. ความซื่อสัตย์ 3. หลักสิทธิมนุษยชน ที่ประกอบด้วยการคำนึงถึงประชาชนเป็น หลัก ด้วยคุณธรรมและศีลธรรม 6. หาจุดร่วมของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ขัดแย้งกันอยู่ 7. กระตุ้นสื่อให้เสนอข่าวที่เป็นกลาง และเป็นธรรมเพื่อช่วยให้สังคมเดินไปได้อย่างถูกต้อง 8. ประชาชนทุกภาคส่วนต้องออกมาแสดงความคิดเห็นนำไปสู่การปฏิรูป เพื่อแก้ไขปัญหาใน ทุกๆ ด้าน
30
Special Interview
ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ไกรสรสุธาสินี อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปรากฏการณ์ ค วามขั ด แย้ ง ของ สังคมไทยที่เกิดขึ้นนี้นับเป็นวิกฤตการณ์ขั้น รุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยอย่างน่า เป็ น ห่ ว งยิ ่ ง แต่ ก ็ เ ป็ น โอกาสอั น ดี ใ นการ ทบทวนให้ ล ึ ก ลงไปถึ ง มู ล เหตุ ข องปั ญ หา สำคัญที่ถูกละเลยมานาน หนึ ่ ง ในนั ้ น ก็ ค ื อ การขยายตั ว ของ ช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมความเหลือ่ ม- ล้ำระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในหลายยุคสมัยที่ผ่านมา ที่น่าเสียใจคือ ประเด็นนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กัน ทางการเมือง แทนที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการ ร่ ว มมื อ ร่ ว มใจกั น ทุ ก ฝ่ า ยทั ้ ง ภาครั ฐ ภาค เอกชน และภาคประชาสังคม ในการปฏิรูป สร้างความเป็นธรรมบนพื้นฐานของสันติวิธี อย่างแท้จริง ในสภาพที่ดำรงอยู่นี้ หากมองใน 31
มุมของซีเอสอาร์ (CSR : Corporate Social Responsibility) อาจ ช่วยอธิบายความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันนี้ด้วยตรรกะง่ายๆ ว่า ธุรกิจบางกลุ่มขาดความรับผิดชอบ มุ่งแสวงหาแต่กำไรเป็นเป้า หมายสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนรวม แต่เพื่อให้ เห็นภาพชัดเจนว่าซีเอสอาร์เกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งใน สั ง คมไทยนี ้ อ ย่ า งไร ผศ.ดร.สุ ท ธิ ศั ก ดิ์ ไกรสรสุ ธ าสิ นี อาจารย์ ป ระจำคณะพาณิ ช ยศาสตร์ แ ละการบั ญ ชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ได้เคยอธิบายความหมายของซีเอ สอาร์ ไว้ว่า “CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมที่แท้จริงของ องค์กร อยู่ที่การแสดงความรับผิดชอบด้วยความสมัครใจต่อผล กระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกขั้น ตอนของกระบวนการดำเนิ น ธุ ร กิ จ ต่ อ ผู ้ ม ี ส ่ ว นได้ เ สี ย (Stakeholders) โดยผู้ที่มีส่วนได้เสียนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ผู้ถือ หุ้น พนักงาน ชุมชน ลูกค้า คู่ค้า ไปจนถึงสังคมส่วนรวม”
สาเหตุ ห นึ่ ง ของความขั ด แย้ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ ส่ ว น หนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาคธุรกิจไม่ ได้ดำเนิน งานด้านซีเอสอาร์หรือไม่ อย่างไร?
ผมมองวิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคธุรกิจจะอาสา เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปสังคมร่วมกับภาคประชาชนและ ภาครัฐ โดยย้อนกลับมาพิจารณาและแก้ไขผลกระทบที่เกิด จากกระบวนการทำธุรกิจเอง หากข้ามเรื่องข้อขัดแย้งในผล ประโยชน์ทางการเมืองออกไปแล้วเราจะเห็นว่า ส่วนหนึ่งของ ปัญหาครั้งนี้อยู่ที่ช่องว่างและความไม่เป็นธรรม ถ้าธุรกิจทำ ซีเอสอาร์หรือมีความรับผิดชอบอย่างจริงจังแล้ว น่าจะช่วย ให้ช่องว่างระหว่างคนมีและคนไม่มีนั้นแคบลง ขณะที่การทำ ธุรกิจแบบที่ไม่ใส่ใจต่อผลกระทบถึงผู้อื่น ได้ทำให้ช่องว่างห่าง ขึ้นๆ รวมถึงความไม่เป็นธรรมอื่นๆ อีกมาก วิกฤตการณ์ใน สังคมไทยครั้งนี้จึงปฏิเสธได้ยากว่าภาคธุรกิจไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ผ่านมานักธุรกิจบางกลุ่มที่ขาดความรับผิดชอบก็ เติบโตขึ้นมาแบบอันธพาลด้วยการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เช่น กดค่าแรงคนงาน ลิดรอนสิทธิ์ชาวบ้าน กลั่นแกล้งคู่แข่ง หลอก ลวงผู้บริโภค ค้ากำไรเกินควร ทำลายสิ่งแวดล้อม และการที่ทำ สิ่งเหล่านี้ได้ก็โดยการร่วมกับผู้ที่ขาดความซื่อสัตย์สุจริตในภาค รัฐตามที่เราเห็นได้ในข่าว โดยการกระทำทั้งหมดนี้เพื่อที่จะ สร้างผลกำไรให้สูงขึ้น สร้างความมั่งคั่งให้เจ้าของ ผู้ถือหุ้นและ
ผู้บริหารมากขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นกำไรที่ได้จากการเบียดเบียนผู้อื่น เป็นกำไรที่ได้มาโดยมิชอบ ในทางกลับกันหากภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบ ทำ ธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ก็อาจมี ต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง อาจได้กำไรต่อหน่วยน้อยลงบ้างแต่ก็เป็น กำไรที่สมควรจะได้รับ ธุรกิจดีๆ แบบนี้อาจเติบโตช้าแต่จะยั่ง ยืนและจะช่วยให้สังคมยั่งยืนไปด้วย
เมือ่ ธุรกิจแบบเก่าไม่มซี เี อสอาร์ แล้วธุรกิจแบบใหม่ ทีน่ ำซีเอสอาร์มาใช้ ในขณะนี้ ได้เข้าถึงแนวทางซี เอสอาร์ทแี่ ท้จริงหรือยัง
สำหรับกรณีบ้านเรา ผมคิดว่าซีเอสอาร์เข้ามาใน เมืองไทยและมีคนพูดถึงมากจนเป็นกระแส แต่น่าสังเกตว่า พอพบข่าวการปล่อยมลพิษ การผลิตสินค้าไม่มีคุณภาพ การ กดขี่ชาวบ้าน หรือแม้แต่การคอร์รัปชั่นระหว่างภาครัฐและ เอกชน ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่ค่อยมีใครมองว่านี่คือประเด็น
ซีเอสอาร์ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่การพูดถึงซีเอสอาร์โดยส่วนใหญ่มักจะนึกภาพ เป็นเพียงการส่งเสริมสังคม ในลักษณะกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ ที่ถูกตั้งชื่อใหม่ (Rebranding) ให้ดูทันสมัยขึ้น งานซีเอสอาร์ ทั้งหมดจึงถูกนำไปฝากไว้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือชุมชน สัมพันธ์ของบริษัทให้ดูแล ทั้งที่มันเกินขอบเขตที่เขาจะทำได้ โดยเพิ่มงานในลักษณะสร้างภาพให้บริษัทดูดี แต่นั่นเป็นแค่ เปลือกไม่ใช่แก่น ถึงอย่างนั้นผมไม่ได้หมายความว่าเปลือก เป็นสิง่ ไม่ดี เพราะเปลือกก็ยงั มีความจำเป็น อย่างน้อยสำหรับ ประเทศกำลั ง พั ฒ นาซึ ่ ง ยั ง มี ผู ้ ด ้ อ ยโอกาสส่ ว นหนึ ่ ง ที ่ ร ั ฐ เอื้อมไปไม่ถึง ถ้าบริษัทใดสามารถไปช่วยยกระดับส่งเสริม คุณภาพชีวิตให้แก่กลุ่มคนด้อยโอกาส ถือเป็นสิ่งที่ดี เป็นการ ช่วยรัฐช่วยสังคมในอีกทางหนึ่ง แต่ขอให้บริษัทนั้นต้องไม่ หยุดแค่เปลือก มิฉะนั้นสังคมอาจได้รับแต่สิ่งที่ผิวเผินเท่านั้น ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น บริษัท ก. เป็น บริษัทที่ช่วยเหลือสังคมมากมายทั้งการบริจาค แจกทุนการ ศึกษา แล้วอ้างว่ามีนโยบายซีเอสอาร์ แต่สังคมเคยตั้งคำถาม หรือไม่ว่า เบื้องหลังของเงินที่บริษัท ก. บริจาคนั้นมีที่มา อย่างไร? ฉะนั้นการจะบอกว่าบริษัทไหนรับผิดชอบมากน้อย แค่ไหน ต้องดูถึงที่มาของรายได้ วิธีการ ผลการดำเนินงาน
และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ด้วย ถ้างานซีเอสอาร์ของบริษัทหลายแห่งที่ทำ กันอยู่ส่วนใหญ่มันไม่ใช่แก่น และบริษัทเหล่า นั้นก็ยังทำธุรกิจแบบไม่รับผิดชอบเหมือนเดิม กระบวนการก็เหมือนเดิม มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้น สังคมก็ไม่น่าจะดีขึ้นไปกว่าเดิม
แก่ น ของซี เ อสอาร์ ที่ ว่ า นี้ ต้ อ งมี องค์ประกอบหรือสาระเช่นไร
ในบริ บ ทเก่ า ความรั บ ผิ ด ชอบของ ธุรกิจมีเพียงการเร่งสร้างผลตอบแทนสูงสุดต่อ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน แต่ในบริบทใหม่มองว่า การคิดแบบนั้นมันคับแคบเกินไป เพราะในการ ดำเนินกิจการนั้นยังมีคนอื่นอีกมากที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย เช่น ผู้บริโภค พนักงาน คู่ค้า หรือแม้ กระทั่งชุมชน และคู่แข่ง ก็มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นบริษัทจึงต้องรับผิดชอบ มากกว่าที่ผ่านมา แก่นของซีเอสอาร์จึงอยู่ที่การสมัครใจ แสดงความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดจาก การดำเนินกิจการของบริษัทเอง ต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียต่างๆ เหล่านั้นด้วยความสุจริตและ เป็นธรรม การทำซีเอสอาร์จริงจังจึงต้องเปลี่ยน โครงสร้ า งทั ้ ง ตั ว องค์ ก รตั ้ ง แต่ ห ั ว ลงไป โดย อาศัยหลักการสำคัญๆ ของการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) ที่ประกอบด้วย 1. ความ รับผิดชอบ (Accountability) ต่อการตัดสินใจ และการกระทำใดๆ เช่น ใครเป็นผู้ตัดสินใจ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาใครคือผู้ที่ออกมา รับผิดชอบ 2. ความโปร่งใส (Transparency) ตรงไปตรงมา เช่น ถ้าบริษัทอ้างว่ารับผิดชอบ ดูแลสิ่งแวดล้อม รักธรรมชาติ รับผิดชอบชุมชน ก็ ต ้ อ งมี ห ลั ก ฐานสามารถตรวจสอบได้ ว ่ า ใน กระบวนการดำเนินงานนั้น ได้ลดการปล่อย ของเสียไปสู่สิ่งแวดล้อมเท่าไร หรือก่อนเข้าไป 32
ตั้งโรงงานในชุมชนนั้น ได้มีการชี้แจงข้อมูลเรื่องผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ แก่ชุมชนหรือไม่ และสุดท้ายคือ 3. การมีส่วนร่วม (Engagement) อันเป็นการถ่วง ดุลการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ เช่น การให้ตัวแทนชุมชนหรือพนักงาน ชั้นผู้น้อยเข้ามามีส่วนร่วม โดยการรับฟัง การพูดคุย การแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันและลดความขัดแย้งหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ฉะนั้นหากมองในมุมนี้การทำซีเอสอาร์คือ การขยายบริบทของการกำกับ ดูแลกิจการ จากบริบทด้านการเงินไปสู่สิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย นั่นคือมีความ ตรงไปตรงมาและเป็นธรรม ไม่เพียงต่อผู้ถือหุ้น แต่รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้บริโภค ชุมชน ลูกค้า จะเห็นว่ากระบวนการซีเอสอาร์ต้องเปลี่ยนทั้ง โครงสร้างในการดำเนินธุรกิจ ฉะนั้นถ้าการทำซีเอสอาร์ที่เข้าถึงแก่น กำไรที่ได้มา ต้องสะอาด อย่างน้อยก็สะอาดกว่าเดิม และแม้จะเป็นกำไรที่ไม่มาก แต่เป็นกำไรที่ ยั่งยืนและค่อยเป็นค่อยไป ที่สำคัญต้องไม่มีใครไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการ ดำเนินธุรกิจของเรา หากธุรกิจมีความรับผิดชอบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ไม่น่าจะรุนแรงเท่านี้ วันนี้เราพบแล้วว่าการพัฒนาแบบสุดโต่งมีปัญหา เพราะการพัฒนาแบบนี้จะมีคน กลุ่มหนึ่งเดือดร้อน ถูกเอาเปรียบจากการพัฒนาอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามเราจะ หยุดพัฒนาก็ไม่ได้โลกจะไม่เดินเพราะยังมีประชากรเพิ่มขึ้น การพัฒนาจึงจำเป็น แต่เราจะสามารถหาทางสายกลางได้อย่างไร โดยพัฒนาในแบบที่ไม่เอาเปรียบ สังคม สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ที่มีชีวิตในปัจจุบันและมนุษย์ที่จะเกิดในอนาคต ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจในวิถีซีเอสอาร์ ปัญหาต่างๆ อาจบรรเทาลง สังคมจะน่าอยู่กว่าเดิม แต่ธุรกิจจะลงมือทำได้หรือไม่นั้น เริ่มจากผู้บริหารเป็น อย่างไร มีความรับผิดชอบหรือไม่ มีความสุจริต จริงจังมากน้อยเพียงใด
ที่ผ่านมานอกจากวิธีการทำซีเอสอาร์ที่ ไม่เข้าถึงแก่นแล้ว ยังมี ปัจจัยอื่นอีกหรือไม่
แน่นอนการจะให้เกิดซีเอสอาร์ที่เป็นแก่นให้ได้ผลดีนั้น นอกจากตัวธุรกิจ เองแล้วยังต้องมีตัวช่วยส่งเสริม ผมมองว่าปัจจัยแรกคือ ภาครัฐ ต้องเข้าใจก่อนว่า ซีเอสอาร์คืออะไร ถ้ารัฐยังเข้าใจว่าซีเอสอาร์เป็นเพียงการบริจาคหรือกิจกรรมส่ง เสริมสังคมเท่านั้นคงไปได้ไม่ไกล แต่ถ้ารัฐเข้าใจอย่างลึกซึ้งและได้ทำหน้าที่ตรงไป ตรงมาซีเอสอาร์จะไปได้ไกลกว่านี้เพราะ 1. ในฐานะผู้คุมกฎ รัฐควรออกและใช้ อำนาจตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม เช่น ถ้าผู้ประกอบการรายใด เข้าไปรบกวนการดำเนินชีวิตชุมชนดั้งเดิมในพื้นที่ รัฐก็ต้องเข้าไปจัดการตาม กฎหมายโดยไม่ละเว้น หรือเลือกปฏิบัติ ที่สำคัญคือรัฐต้องไม่ร่วมมือกับธุรกิจที่ ขาดความรับผิดชอบผ่านการคอร์รัปชั่นเสียเอง และ 2. ในฐานะผู้ส่งเสริม เช่น หากบริษัท ก. อยากแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งอาจต้องมีการปรับ 33
กระบวนการผลิตและเปลี่ยนเครื่องจักร รัฐอาจเข้ามาช่วยเหลือโดย ผ่านมาตรการภาษีในรูปแบบต่างๆ เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรที่ ลดมลพิษในการผลิต หรือลดหย่อนภาษีแก่บริษัทที่ไม่สร้างความ เดือนร้อนให้กับชุมชน ปัจจัยที่ 2 ซึ่งน่าจะส่งผลได้มากกว่าภาครัฐคือ ผู้บริโภค ตามหลักการตลาดนั้น หากผู้บริโภคต้องการอะไรธุรกิจจะพัฒนา ความสามารถสนองความต้องการนั้นได้เสมอ ฉะนั้นถ้าผู้บริโภคไม่ สนใจว่าธุรกิจจะรับผิดชอบหรือไม่ก็ตาม ผู้ประกอบการนั้นก็จะไม่ เห็นความจำเป็นในการแสดงความรับผิดชอบ แม้จะถูกบังคับด้วย กฎหมายก็จะปฏิบัติตามให้น้อยที่สุดเท่าที่กฎหมายกำหนด เพื่อลด ต้นทุนและเพิ่มผลกำไร แต่ถ้าผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบของธุรกิจ อย่างน้อยใช้เป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจซื้อสินค้า รู้จักเลือก และตรวจสอบกระบวนการที่มาของสินค้า เช่น ได้พยายามลดผล กระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หรือมีการกดขี่แรงงานหรือไม่ ซึ่งหาก ธุรกิจรายใดทำดีผู้บริโภคก็ต้องสนับสนุนด้วยการซื้อสินค้าของเขา ไม่ใช่เมื่อเขาทำดีแล้วกลับไปซื้อสินค้าคู่แข่งที่หรูหรากว่าหรือถูกกว่า แต่ ไ ม่ ร ั บ ผิ ด ชอบ หากบริ ษ ั ท ที ่ ด ี ไ ม่ ไ ด้ ร ั บ การสนับสนุนจะอยู่ได้ อย่างไร สังคมส่วนรวมจะอยู่อย่างไร ผู้บริโภคจึงต้องเข้าใจใน ซีเอสอาร์ และมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมจากการซื้อของตนเองด้วย ปัจจัยที่ 3 ในความเห็นผม คือ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน คนกลุ่ม นี้มีอิทธิพลมากที่สุดเพราะเป็นเจ้าของกิจการ ถ้าตราบใดที่นัก ลงทุนต้องการผลตอบแทนสูงสุดโดยไม่แคร์ว่าใครจะเดือดร้อนตรง นี้ก็ลำบาก และปัจจัยที่ 4 ที่ขาดไม่ได้คือภาคธุรกิจควรเปิดโอกาส ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น นั่นคือนอกเหนือจากการ บริจาคหรือร่วมงานกับองค์กรไม่แสวงหากำไรในการส่งเสริมสังคม ช่วยเหลือผู้ยากไร้แล้ว ก็น่าจะร่วมงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนใน กลุ่มที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค สิทธิมนุษยชนต่างๆ ด้วย โดย องค์กรเหล่านี้ควรเพิ่มบทบาทตนเองจาก Reactive ในลักษณะผู้ ตรวจสอบหรื อ คั ด ค้ า นหลั ง พบผลกระทบแง่ ล บจากการดำเนิ น กิจการของภาคธุรกิจมาเป็น Proactive ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการ ช่ ว ยภาคธุ ร กิ จ มองปั ญ หาเชิ ง ป้ อ งกั น และช่ ว ยหาทางออกจาก ปัญหาอันเป็นการทำงานเชิงบวกร่วมกันมากขึ้น ฉะนั้นทั้ง 4 ส่วนนี้จะต้องเคลื่อนไปพร้อมกัน แต่การที่ทั้ง 4 ส่วนยังไม่เคลื่อนไปด้วยกันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ซีเอสอาร์เป็น ได้แค่เปลือกเท่านั้น สุดท้ายก็กลับมาที่ตัวบุคคลในภาคส่วนต่างๆ เพราะมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะเห็นคนอื่นเป็นมนุษย์ได้ ถ้ามนุษย์ไม่
เห็ น ความเป็ น มนุ ษ ย์ ข องคนอื ่ น ก็ จ บ บางคนเห็นเพียงว่ามนุษย์เป็นนักธุรกิจ เป็นลูกค้า เป็นลูกจ้าง เป็นคู่ค้า เป็นคู่ แข่ง เป็นคนในชุมชนข้างโรงงาน แต่ อาจลืมไปว่าทุกคนก็เป็นมนุษย์เหมือน กัน เขาอาจมีความเดือดร้อน มีความ ยากลำบาก มีข้อขัดแย้งกับเราบ้างแต่ เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน หากต่างฝ่าย ต่างเห็นแก่ตัว ยึดแต่ผลประโยชน์ตัวเอง ไม่ห่วงใยกัน เห็นใจกัน กลไกทั้งหมดก็ ไม่เดิน เพราะทุกอย่างมันเชื่อมกัน
แสดงว่าซีเอสอาร์มีจังหวะก้าว เป็นขั้นเป็นตอน
แนวทางการพั ฒ นาซี เ อสอาร์ เหมื อ นกั บ ภาพพี ร ะมิ ด ฐานล่ า งคื อ ธุรกิจที่รับผิดชอบต้องทำตามกฎหมาย ก่อน (Compliance) ถ้าเพียงกฎหมายยัง หาทางหลีกเลี่ยงอย่างอื่นก็ไม่ต้องพูดถึง แต่การทำแค่ตามที่กฎหมายกำหนดยัง ไม่ พ อ เพราะเป็ น เพี ย งพื ้ น ฐานที ่ ท ุ ก บริษัทต้องทำอยู่แล้ว การแสดงความรับ ผิดชอบต้องเหนือไปกว่านั้น ขั้นแรกคือ การช่วยเหลือคนอื่น (Altruistic) หรือที่ คุ้นเคยกันว่าเป็นการอาสาที่จะคืนกำไร ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมคนยากไร้ ด ้ อ ยโอกาส เท่าที่จะช่วยได้ ขณะที่ยังทำธุรกิจแบบ เดิมๆ ที่แม้ไม่ผิดกฎหมายแต่ก็อาจยังมี ผู้เดือดร้อนได้ เช่น การจ่ายค่าแรงขั้นต่ำ เท่าที่กฎหมายกำหนด และการตั้งราคา เกินควร ความรับผิดชอบสูงขึ้นมาอีกขั้น คื อ ย้ อ นกลั บ มาพิ จ ารณาภาพรวม (Holistic) ตลอดกระบวนการทำงานทั่ว ทั ้ ง องค์ ก รของตนเองว่ า ส่ ง ผลกระทบ อย่างไรบ้างและจะป้องกันแก้ไขอย่างไร 34
ธุรกิจที่ดีควรอาสาที่จะแสดงความรับผิดชอบอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมให้ได้ดี กว่าที่ถูกบังคับจากข้อกำหนดกฎหมาย ทั้งเรื่องการผลิต การตลาด การดูแล แรงงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น คู่ค้า หรือแม้แต่คู่แข่งขัน ตลอด จนการระมัดระวังในการร่วมกับภาครัฐหรือนักการเมืองละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น นี่ คือระดับองค์รวม สุดท้ายระดับยุทธศาสตร์ (Strategic) คือ การนำเอาความรับผิดชอบมา พัฒนาเป็นความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น สร้างความแตกต่าง ลด ความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม อันถือได้ว่าเป็นการแข่งกันรับผิดชอบซึ่ง ต่างจากการแข่งกันสร้างแต่ผลกำไรดังที่ผ่านมา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารจาก เกษตรอินทรีย์ (Organic) ที่ดูแลตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงผู้บริโภค การพัฒนา ระบบขนส่ ง มวลชนที ่ ช ่ ว ยลดผลกระทบต่ อ ภาวะโลกร้ อ น หรื อ ตั ว อย่ า งผล กระทบต่อสังคม เช่น การขายยาและเวชภัณฑ์จำเป็นในราคาต่ำเพื่อให้เข้าถึงผู้ ป่วยยากไร้จำนวนมาก แม้ทำให้บริษัทผู้ผลิตได้กำไรต่อหน่วยน้อยลงแต่การ ขายในปริมาณมากก็ยังเพียงพอต่อการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไป ฉะนั้นท้าย ที่สุด ทุกฝ่ายในสังคมจะได้ประโยชน์ร่วมกัน สำหรั บ ธุ ร กิ จ ขนาดเล็ ก ที่ มี ผ ลกำไรไม่ ม าก สามารถใช้ แ นวทาง
ซีเอสอาร์ ได้หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนมากมายก็ทำได้ เพียงเริ่มที่ความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ไม่เอาเปรียบลูกค้า พนักงาน คู่ค้า หรือชาวบ้านข้างเคียง แล้ว ค่อยๆ หาทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่ทำได้ หากมีกำไรเหลืออยาก ช่วยคนอื่นก็ทำตามกำลัง ที่สำคัญต้องตั้งใจจริง ปัจจุบันนี้นักการตลาดมักชอบ หาทางสร้างความแตกต่าง (Differentiation) กันไปไกล จนอาจละเลยพื้นฐาน การค้าที่สำคัญ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต เมื่อคู่แข่งส่วนใหญ่ละเลยสิ่งนี้ ธุรกิจ เล็กๆ ก็สามารถใช้แนวทางซีเอสอาร์สร้างความแตกต่างได้จากความซื่อสัตย์ สุจริต นี่เอง สำหรับแนวโน้มของซีเอสอาร์ในไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้น ผม เชื่อว่าบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ และบริษัทไทยที่ค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรปและญี่ปุ่น จะเป็นผู้เริ่มทำซีเอสอาร์ก่อนและก่อให้เกิด แรงเหวี่ยงที่แรงมากพอที่จะให้ซีเอสอาร์ในประเทศไทยขยายวงกว้างขึ้นและ เคลื่อนไปข้างหน้า แน่นอนว่าเราอาจต้องใช้เวลานาน 10 ปี 20 ปีหรือมากกว่า นั้นกว่าจะเห็นว่าความรับผิดชอบเป็นแนวทางปฏิบัติพื้นฐานของธุรกิจทั่วไป แต่ เมื่อถึงวันนั้นโลกและสังคมไทยก็จะน่าอยู่มากกว่าในวันนี้... C
35
Get Idea
แปลจากบทความของ Mallen Baker ผู้เชี่ยวชาญด้าน CSR จากประเทศอังกฤษ
4
เหตุปัจจัยที่ก่อ
ให้เกิดธุรกิจที่ ไร้ความรับผิดชอบ มันเป็นไปได้ว่าผู้คนทั้งหลาย ได้กลายเป็นผู้นำธุรกิจหลักที่ตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะ กอบโกยเงินทองด้วยวิถีทางที่ไร้ซึ่งจรรยาบรรณ เสื่อมเสียชื่อเสียงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ แต่ก็ยังคงมีอยู่อีกเป็นส่วนมากที่พวกเขาไม่ทำเช่นนั้น หลายๆ บริษัทที่ในท้ายที่สุดได้กระทำผิดมากมายด้วยหลากหลายเหตุผล และบาง เหตุผลก็ไม่ได้เริ่มมาจากเจตนาที่เลวร้าย
สี่เหตุปัจจัยที่มักจะเป็นบ่อเกิดของธุรกิจที่ ไร้ความผิดชอบ
1. ความเชื่อที่ว่าพวกเขาได้รับการป้องกันจากผลสืบเนื่องที่จะตามมา วลีที่ว่า “ใหญ่เกินกว่าจะล้มเหลว” นั้นเป็นสิ่งลวงตาล่าสุดของเหตุปัจจัยนี้ มัน มาจากความเชื่อที่ปราศจากเหตุผล ซึ่งจากสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมันกลับถูก กำหนดให้ยึดถืออย่างมั่นคงมากยิ่งกว่าเหตุผลอันสมควร และนั่นจะทำให้การตัดสินใจ สมเหตุสมผลได้ ตราบใดที่สถานะเดิมของความเชื่อนั้นยังคงมีอยู่ มันน่าเย้ยหยันที่ว่าธุรกิจในทางทฤษฎีคือจำแนกหนึ่งของมวลมนุษย์ที่สามารถปรับ เปลี่ยนตนเองได้มากที่สุด และส่วนมากได้ประสบความสำเร็จจากการแสวงประโยชน์อย่าง ไม่เป็นธรรม หรือการสร้างความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นเข้ายึด ครองบริษัทซึ่งเคลื่อนไหวช้ากว่า และที่ยิ่งไปกว่านี้ก็คือธรรมชาติของมนุษย์ที่ต่อต้านความ เปลี่ยนแปลง ที่มักเข้ามากีดขวางทางก้าวหน้าของทุกธุรกิจอยู่ตลอดเวลา มันเป็นความแตกต่างระหว่างการมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ซึ่งมี เหตุผลถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ขณะที่สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจการเปลี่ยนแปลงกำลังมุ่งไปใน ทางที่รุนแรงและไร้กฎเกณฑ์ใดๆ อย่างต่อเนื่องในอีกหลายปีที่กำลังจะมาถึง โดยการใช้ การคุกคามและช่องทางต่างๆ อย่างเต็มที่ หรือการเล็งเห็นว่ามันอาจเป็นค่าโสหุ้ยที่จะเพิ่ม 36
มากขึ้นจากการจัดเก็บภาษีตามกฎหมาย วิธีแก้ไขก็คือการ โน้มน้าวผู้มีอิทธิพลทางการเมืองมิให้มีการออกกฎหมาย เรียกเก็บภาษีนั้นๆ เมือ่ ยุคฟองสบูข่ องบริษทั ดอทคอมกำลังเฟือ่ งฟูเต็มที่ มีผู้คนมากพอที่จะชี้ให้เห็นชัดว่าความมีจิตสำนึกของตลาด กำลังเลื่อนลอยไปในแดนที่ปราศจากเหตุผล วิถีทางที่บาง บริษัทถูกกำหนดค่านิยมขึ้นมานั้นมิได้สมเหตุสมผลทาง ธรรมเนียมมาตรฐานใดเลย แต่ผู้คนทั้งหลายก็ไม่ต้องการถูก ทอดทิ้ง เพราะตามหนทางนั้นเหตุผลดูเหมือนว่าจะใช้งานได้ สิ่งที่พวกคุณต้องทำคือไต่ขึ้นสู่เวทีอาชีพอันหอมหวานที่จะ ทำเงินได้มากมายโดยไม่ต้องใช้ความสามารถใดๆ เพื่อให้ ร่ำรวยอย่างล้นเหลือ เช่นเดียวกัน การใช้สติปัญญาตามตรรกะนี้ กับ วิกฤตการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนั้น ใช้ร่วมกันได้อย่าง ดีที่สุดกับคำกล่าวอ้างที่กำลังนิยมกันอยู่ในปัจจุบันของ ชัค พริ้นซ์ อดีตผู้นำสูงสุด (ซี อี โอ) ของซิตี้กรุ๊ป ผู้ซึ่งกล่าว ในเวลานัน้ ว่า “เมือ่ ดนตรีหยุดลง ในสภาพคล่อง สถานการณ์
ทั้งหลายจะถูกทำให้ซับซ้อนยุ่งเหยิง แต่ทว่าตราบใดที่ดนตรี ยังคงเล่นอยู่ เราทั้งหลายจะต้องลุกขึ้นมาเต้นรำต่อไป เรายัง คงเต้นรำอยู่ได้” เมื่อดนตรีหยุดลง เขาสูญเสียงาน เช่นเดียวกับอีก หลายๆ คนที่ต้องสูญเสียงานเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเข้าไปมีส่วนร่วมในเดิมพันนี้ควร จะเป็นเพียงหนึ่งในหนทางที่พวกคุณเลือกใช้เพื่อกล่าวถึง ปัญหานี้ การต่อสู้อย่างมีคุณภาพที่ดีของผู้มีส่วนได้เสียใน เดิมพันนี้คือการนำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องรับรู้ถึงผลกระทบที่อาจ จะเป็นไปได้จากการตัดสินใจทั้งหลายของท่านทั้งหลาย อย่างไรก็ดีมันก็มิได้ถูกกระทำเป็นกิจวัตรเสมอไป 2. การสร้างแบบแผนทางธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับความ ไม่รู้ของลูกค้า ธนาคารและบริ ษ ั ท ประกั น ภั ย ได้ ท ำกำไรอย่ า ง มหาศาลในหลายทศวรรษที่ผ่านมาไม่นาน ภายใต้กฎเกณฑ์ ที่ว่าลูกค้าของพวกเขานั้นไม่เข้าใจรายละเอียดที่ซับซ้อน
เบื้องหลังสินค้าที่พวกเขาซื้อไป ดังนั้นจึงไม่มี แรงกดดันมากนักในเรื่องการตั้งราคาสินค้า และลูกค้ามักจะไม่เลือกสินค้าที่มีสภาพเหมาะ สมมากที่สุดเท่าที่พวกเขาต้องการจริงๆ ในประเทศอั ง กฤษ สิ ่ ง นี ้ ไ ด้ น ำพาให้ รัฐบาลและผู้ออกกฎหมายไปสู่การค้นหาอันไม่ จบสิ ้ น ในการเลื อ กสรรเครื ่ อ งมื อ ที ่ ถู ก ต้ อ ง เหมาะสม เพื ่ อ บี บ บั ง คั บ ให้ บ ริ ษ ั ท ชำระล้ า ง ทำความสะอาดองค์กร นี่เป็นความคิดริเริ่ม ของการปฏิบัติตนต่อลูกค้าอย่างยุติธรรมมาใช้ เป็นแบบอย่าง ความยุ่งยากของกระบวนการนี้ ก็คือมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหลีกเลี่ยง สถานการณ์ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งอาจจะขาย สินค้าคุณภาพต่ำกว่าสมควร และตรรกะของ ชัค พริ้นซ์ ได้ถูกนำมา ประยุกต์ใช้ในที่นี้เช่นกัน ในโอกาสที่มีอยู่น้อย นิด หากทั้งหลายสามารถให้ผู้บริหารอาวุโส จากหนึ่งในบริษัทเหล่านี้พูดคุยอย่างตรงไปตรง มาเกี่ยวกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ พวกเขาจะยอมรับว่าตราบนานเท่านานที่ภาค อุตสาหกรรมที่เหลืออยู่ยังคงทำกำไรได้จาก ความไม่รู้ของลูกค้า พวกเขาก็จะไม่มีตรรกวิ ท ยาการตลาดใดๆ ที ่ จ ะนำมาใช้ ใ นเวลา ปฏิบัติการณ์ มันเป็นหนึ่งสิ่งที่แท้จริงในหลายๆ ขอบข่ายที่ถูกตลาดเพิกเฉยในการให้รางวัลกับ พฤติกรรมที่ดี ดังนั้นพวกเขาจึงยังคงเต้นรำต่อ ไปจนกว่าหน่วยงานภายนอกจะดึงปลั๊กไฟออก การกระทำสิ่งผิดตามหลักเกณฑ์ที่ว่า มันยากที่จะมองเห็น วิธีซึ่งสามารถนำมาใช้ จับผิดพวกคุณได้มันล้วนแต่สามารถปฏิเสธได้ ทั้งสิ้น รวมไปถึงความจริงที่ว่าทุกๆ คนกำลัง ทำในสิ่งเดียวกันอยู่ ดังนั้นมันจึงมีพลังขึ้นตาม จำนวน นั่นมันเป็นชนิดของเหตุผลที่ให้การ ช่วยเหลือแก่บริษัททั้งหลายที่ได้ลื่นไถลไปสู่ ธุรกิจที่ไร้ความรับผิดชอบเอาใจใส่ไปแล้ว 37
3. การเปลี่ยนมาหมกมุ่นกับสิ่งที่เป็นจริงอันน้อยนิด ในธุรกิจ ทำให้ท่านพลาดการมองเห็นภาพรวมที่ยิ่ง ใหญ่กว่า พวกท่านคงจะได้ยินทุกคนบ่นเกี่ยวกับการที่นักการ ธนาคารดูเสมือนไร้ซึ่งการสัมผัสรับรู้ถึงความเป็นจริงอันเนื่อง มาจากความหลงใหลได้ปลื้มกับโบนัสก้อนโตจนน้ำตาคลอ ใช่ แ ล้ ว พวกเขาเป็ น เช่ น นั ้ น จริ ง ๆ คนส่ ว นใหญ่ ท ี ่ ด ำรง ตำแหน่งสูงๆ ในภาคธุรกิจของเขาเหล่านั้น ยังคงจะไปไม่ ไกลนั ก จากสิ ่ ง ที ่ ดู เ หมื อนสมเหตุ ส มผลที่ ก ว้า งกว่ า ในหมู ่ ประชาชน ประชาชนทั้งหลายยังยึดติดอยู่กับโลกใบหนึ่งซึ่งถูก สร้างขึ้นมาจากความเชื่อของพวกเขา จากสิ่งที่พวกเขามอง เห็น จากกฎเกณฑ์อ้างอิง ที่สมเหตุสมผลต่อคุณค่าที่พวก เขายึดถือ พวกคุณไม่จำเป็นต้องไปอยู่ในวงการธุรกิจเพื่อ ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น แต่สำหรับผู้นำธุรกิจอาวุโสทั้งหลาย ผลกระทบนั้นมี พลังแรงกว่า เพราะพวกเขาไปทำงานในรถยนต์สามตอนที่มี พลขับ เพราะจดหมายโต้ตอบได้ผ่านการกลั่นกรองก่อนส่ง มาถึงมือพวกเขา เพราะพวกเขาจัดการเกี่ยวกับตัวเลขโดย รวม และเขาจะได้ไปร่วมงานต่างๆ แต่ในเครือข่ายของพวก เขา ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นได้พบปะแต่เฉพาะกับพวกที่อยู่ใน อุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นโดยมุมมองของผู้บริหารธนาคารอาวุโส กฎ เกณฑ์ที่กล่าวว่าพวกคุณจ่ายโบนัสจำนวนมากมายราวเลข หมายในเบอร์โทรศัพท์ เพียงเพื่อเก็บรักษาความฉลาดสูงสุด ของพวกเขาไว้นั้น–กฎเกณฑ์นั้นจะยังคงเป็นจริงอยู่อย่างมิ อาจถูกทำลายได้ และยังคงรักษาไว้ใช้ได้อยู่เสมอเหมือนดัง เช่นกฎแห่งแรงโน้มถ่วง ฉะนั้นการสำนึกได้ว่าสิ่งนี้จะใช้ได้ เฉพาะกับการบริหารจัดการในบางบริบทแห่งสภาวะแวดล้อมหนึ่งเท่านั้น – และบริบทอันนั้นก็ได้รับผลกระทบอย่าง รุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน – นี่เป็นสิ่งอยู่นอกเหนือ กฎเกณฑ์อ้างอิงของพวกเขา 38
บุคคลผู้ที่สามารถปฏิบัติงานได้รับ การจ่ายอย่างงาม บุคคลผู้ล้มเหลวถูกไล่ ออก และนั่นดูเหมือนว่าเป็นการปฏิบัติที่ ถูกต้องอย่างชัดเจนด้วยความเชื่อส่วนตน ของพวกเขา แต่หากว่ามีใครบางคนเชื่อว่า สิ่งนี้ถูกแปรเปลี่ยนไปด้วยความจริงที่ว่าคน หลายล้ า นได้ สู ญ เสี ย งานของพวกเขาไป องค์กรการเงินทั้งหลายถือเป็นผู้ที่ต้องรับ ผิ ด ชอบในสิ ่ ง ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น นี ้ และการที ่ พ วก เขายังคงสามารถดำเนินการอยู่ต่อไปเพียง เพราะรัฐบาลเข้ามาช่วยค้ำจุน – อย่างไร ก็ตาม บุคคลเหล่านั้นเพียงแต่ยังไม่เข้าใจ แน่ น อนว่ า บุ ค คลเหล่ า นั ้ น จะ สามารถเกิดอารมณ์ต่อสู้อย่างรุนแรงกับ อุ ป สรรคอั น เป็ น โครงสร้ า งหิ น ที ่ ซ ั บ ซ้ อ น สะท้อนแสงแผดจ้าของพวกท่าน หากว่า พวกเขาถู ก ผลั ก ดั น ให้ ท ำมั น ในขณะนี ้ หลายๆ รัฐบาลทั่วโลกกำลังเริ่มตรวจสอบ กระบวนการนี้ด้วยวิถีทางที่เที่ยงตรงเพื่อ เป็นการลงทัณฑ์ธนาคารทั้งหลายมากกว่า เดิม ซึ่งควรได้คิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อสองสามปี ก่อนหน้านี้ การดำเนินการและผลสืบเนื่อง คงจะไม่สวยงามน่าดูเสมอไป
4. ความเชื่อในความจริง ที่ว่ามันสบายที่สุดที่จะเชื่อ
ในสองสามทศวรรษที ่ ผ ่ า นมาผู ้ ผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาเชื่อมั่นว่าข้อ กำหนดเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่สูงยิ่งของ รถยนต์นั้น มันจะสามารถและควรจะถูก ขจัดออกไป และพวกเขาก็เชื่ออีกเช่นกันว่า
ผู้บริโภคชาวอเมริกันมักจะนิยมรถยนต์ซดน้ำมันขนาด ใหญ่ ม ากกว่ า ซึ ่ ง จะไม่ เ ป็ น ปั ญ หาเลยเพราะราคา น้ำมันจะยังถูกอยู่เสมอ มันไม่ใช่การวิเคราะห์ที่ชอบด้วยเหตุผลใดๆ ของอนาคตที่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปในโลกแห่งตลาด พลังงาน หรือกำหนดการโดยธรรมชาติที่จะมาเกื้อ หนุนให้กับสิ่งนี้ แต่มันเป็นรูปแบบความจริงที่เข้ากันได้ ดีที่สุดกับแผนธุรกิจ ซึ่งนั่นคือรูปแบบความจริงที่พวก เขาต้องการจะเชื่อ ธุรกิจมากมายที่กำลังเชื่อในถ้อยคำหลอกลวง ปลอบประโลมอย่ า งเกี ย จคร้ า น พวกเขามั ก จะถู ก กระตุ้นโดยคู่แข่งขันผู้ก้าวร้าวใหม่ๆ ให้มุ่งไปสู่การใช้ การสาธยายที่ยิ่งใหญ่กว่าเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการ ตลาด – พอดีทีเดียวกับสิ่งที่บริษัทโตโยต้าและฮอนด้า ได้ทำไปแล้วเป็นกรณีตัวอย่าง แต่ถ้าหากความจริงที่ พวกท่านกำลังทำเป็นไม่รู้อยู่นั้นเป็นหนึ่งในการกระทำ ของความโง่เขลา มันจะมีผลสืบเนื่องต่อสังคมเป็น อย่างมาก – การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเข้ามา สู่จิตสำนึก – ตามมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น และแล้ว การเชื่อในถ้อยคำหลอกลวงปลอบประโลมอย่างเกียจ คร้านจะผลักดันพวกคุณออกไปนอกกรอบสู่การวิธี ปฏิบัติการทางธุรกิจที่ปราศจากความรับผิดชอบ ความเชื่อในคำลวงหลอกปลอบประโลมอย่าง เกียจคร้านสามารถจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้าของพวกท่าน ท่านสามารถสันนิษฐาน ไว้ ก ่ อ นว่ า ไม่ ม ี แ รงงานเด็ ก ในสายการผลิ ต ของท่ า น ท่ า นสามารถสั น นิ ษ ฐานไว้ ก ่ อ นว่ า ไม่ ม ี ผ ลกระทบที ่
เลวร้ า ยต่ อ สุ ข ภาพในสิ น ค้ า ของท่ า น ท่ า นสามารถ สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้าของท่านเป็นสินค้าสีเขียว มากกว่าคู่แข่ง ผมมีบทสนทนาที่หนักแน่นมากพอกับ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทคู่แข่งของพวกเขา ผู้ซึ่ง ได้สาบานด้วยจริงใจบนขอบเขตแห่งความเชื่อมั่นทาง ศาสนาว่าบริษัทของพวกเขาได้ล้ำหน้าไปไกลกว่าคู่แข่ง ในเหตุปัจจัยเหล่านี้
มันคล้ายกับเมื่อถูกสำรวจความคิดเห็น คนส่วนใหญ่จะให้การยืนยันเป็นพยานให้ตนเอง ว่ า เป็ น คนขั บ รถที ่ ม ี ค วามสามารถโดยเฉลี ่ ย เหนือกว่าความสามารถโดยเฉลี่ยของคนอื่นๆ ไม่มีธุรกิจใดที่ได้กำไรจากการมองเห็น ความเป็นจริงผ่านเลนส์ที่บิดเบือน คุณอาจจะถูกที่คิดว่าเหตุปัจจัยทั้งสี่นี้มี หลายส่วนประกอบร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดทั้งหลาย นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุปัจจัยที่ล่อลวงให้บริษัท เหล่านั้นมุ่งไปสู่การตัดสินใจที่ให้ผลสืบเนื่องอัน เลวร้ายอย่างไม่ตั้งใจ และอีกครั้งสิ่งที่พวกเขาได้ กระทำไปเช่ น นั ้ น เพี ย งแค่ ก ารหลุ ด ลอยจาก ความเป็นจริงว่าพวกเขาไม่อาจมองเห็นผลที่จะ ตามมา-หรื อ พวกเขาได้ ร ั บ การสื บ ทอดจาก ระบอบทางธุรกิจที่กำลังสร้างพวกเขาอยู่ ทำให้ พวกเขาเชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากการ ทำเช่นนั้นต่อไป พวกเขาสามารถรับฟังได้ว่า – ด้วยการ เป็นผู้นำที่ดี ด้วยพลังอันมั่นคงที่จะนำพาให้เรา เปิดออกไปพบเห็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง สิ่งที่ เป็นผลสืบเนื่องที่อาจจะเกิดขึ้น และวิธีต่างๆ ที่ ปัญหานั้นๆ สามารถถูกแก้ไขได้ ประเด็นปัญหาที่สำคัญก็คือธุรกิจที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคมไม่สามารถเป็นสิ่งที่จะ ยืนหยัดอดทน ท่านทั้งหลายจะต้องทำงานอย่าง แข็งขันเพื่อให้บรรลุถึงสิ่งนี้ มันดูราวกับว่ากำลังเข้มแข็ง การรักษา ความเข้มแข็งนั้น – อย่างน้อยสำหรับใครก็ตาม ในช่วงอายุ 25 ปี – ที่ยังไม่บรรลุจากการหลีก เลี่ยงผู้คนที่มีเชื้อโรคร้าย มันจะสำเร็จได้ด้วย การเลือกความสมดุลที่ถูกต้องของอาหารและ การออกกำลั ง กายอย่ า งหนั ก แม้ น ว่ า ความ สมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเมื่อได้รับแล้วนั้น คุณก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งได้... C 39
Take a Break
โรงงานผลิตสี
สามารถดูแลสิ่งแวดล้อมควบคู่ กับการผลิตได้อย่างไร? เมื่อเร็วนี้ๆ ทางทีม CSR Journal มีโอกาสไป เยี่ยมชม โรงงานผลิตสีน้ำทาอาคาร (ส่วนขยาย) ของ บริ ษ ั ท ที โ อเอ เพ้ น ท์ (ประเทศไทย) จำกั ด ที ่ ถ นน บางนา–ตราด กิโลเมตรที่ 23 อำเภอบางเสาธง จังหวัด สมุทรปราการ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงงานที่ทันสมัย และ เป็ น มิ ต รกั บ สิ ่ ง แวดล้ อ มมากที ่ ส ุ ด แห่ ง หนึ ่ ง โดยถู ก ออกแบบเป็ น “ระบบปิ ด ” และควบคุ ม ด้ ว ยระบบ คอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ (Emulsion paint plant with fully automation under a computerized control system) ซึ่งการลงทุน พัฒนาโรงงานผลิตใหม่นี้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมน้อย ลดขั้นตอนการทำงานของคน โดยเฉพาะ ในกระบวนการที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ลดการ สูญเสียระหว่างการผลิต ใช้น้ำน้อยลง และไม่มีน้ำเสีย จากกระบวนการผลิต เนื่องจากไม่มีขั้นตอนการล้าง ชำระหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลทางเคมีที่เป็นมลพิษ คุณมนัส
เพ็ชรบัวศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงแนวคิดใน
40
การพั ฒ นาโรงงาน ผลิตสีนำ้ ทาอาคาร ที่ นับเป็นอี ก หนึ ่ ง Green Factory ของไทยว่า การ ทำธุรกิจ สมั ย ใหม่ จ ะต้ อ งออกแบบให้ ค รอบคลุ ม ถึ ง ประสิทธิภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยตั้งแต่ต้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นหัวใจหลักของธุรกิจสมัยใหม่ “สำหรับการ จัดการการผลิตสมัยใหม่จะเน้น Effective+Quality+ Environment+Safety บางคนบอกว่าการออกแบบให้มี ระบบความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีค่าใช้ จ่ายเพิ่ม ซึ่งนั่นเป็น Old fashion แล้ว การบริหารธุรกิจ สมัยใหม่ ต้องมองในเรื่องของ “Sustainable Growth” ก็ คือ การเติบโตอย่างยัง่ ยืน ซึง่ การเติบโตอย่างยัง่ ยืนจะทำได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง คือ คน ต้องมีศักยภาพมีการ พัฒนาความสามารถ ชอบการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ เพื่อ พัฒนาองค์กร และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในด้าน อาชีพ และส่วนที่สอง คือ เครื่องจักรกลหรือโรงงาน เรา ลงทุนสร้างโรงใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถ
เพิ่มกำลังการผลิตได้ถึง 4 เท่าจากเดิม คือ 240,000 แกลลอนต่อวัน โดยที่เราต้องมีการออกแบบระบบการ ผลิตตั้งแต่กระบวนการแรกจนถึงกระบวนการสุดท้าย เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถึงแม้ต้องใช้เงินในการ ลงทุนสูงในเบื้องต้นถึง 1,200 ล้านบาท แต่มั่นใจว่า โรงงานนี้จะสามารถเพิ่มมูลค่า (Value Added) ให้กับ ธุ ร กิ จ ในระยะยาว” คุ ณ มนั ส ระบุ ว ่ า การพั ฒ นา กระบวนการผลิตสีครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งยิ่งใหญ่ (Big Change) ในการผลิตสีจากระบบการ ผลิตสีแบบธรรมดาเป็น Full Automation ซึ่งเป็นการยก ระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมผลิตสีในประเทศไทยให้ เทียบเท่ากับประเทศชั้นนำทั่วโลก “เรามีแผนการที่จะ ขยายตัวไปต่างประเทศ เราจึงเริ่มนำเทคโนโลยีชั้นสูง มาใช้ในประเทศไทยก่อน เพื่อเป็นแม่แบบของระบบการ จัดการ ก่อนที่จะนำรูปแบบเดียวกันนี้ไปใช้กับโรงงานใน ต่างประเทศ” C
รู้จักกระบวนการผลิตแบบปิด ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่ 1 การส่งวัตถุดิบชนิดผง (Powder Raw Mater) เข้าไปจัดเก็บในคลังวัตถุดิบ (Silo) และ การส่งวัตถุดิบชนิดเหลว (Liquid Raw Mater) เข้าไปจัดเก็บในถังบรรจุ (Tank Farm) เพื่อรอการเรียกใช้จากระบบ คอมพิวเตอร์ที่ถูกสั่งการโดยเจ้าหน้าที่ควบคุมกระบวนการผลิต เจ้าหน้าที่สามารถตั้งค่าคำสั่งเพื่อกำหนดประเภท วัตถุดิบที่จะใช้ ปริมาณที่จะผลิต กำหนดสีที่จะผสม ทำให้ไม่มีฝุ่น กระบวนการที่ 2 ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป (Slurry Storage) เป็นกระบวนการผสมให้วัตถุดิบกระจายตัว เป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ความเร็วรอบสูงจากด้วยระบบ High Speed Disperser เพื่อให้การผสมมีความสมบูรณ์และ ใช้เวลาที่สั้นที่สุด กระบวนการที่ 3 การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ด้วยเครื่องผสมเฉดสี (Mixing Tank) เป็นขั้นตอนของการ ผสมเฉดสี ไม่ว่าจะต้องการแต่งเติมเฉดสีใดก็ตาม สามารถใช้ระบบคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ เครื่องจะดำเนินการเติม แม่สีจากเครื่องจ่ายแม่สีอัตโนมัติ ตามชนิดและปริมาณที่กำหนด เพื่อให้ได้เฉดสีที่ต้องการ กระบวนการที่ 4 เครื่องบรรจุอัตโนมัติ (Filling Machine) โดยผ่านทางท่อและปั๊มที่เรียกว่าระบบ “Pigging” หรือ “ระบบลูกหนู” เป็นตัวดันโดยเคลื่อนที่ด้วยแรงอัด สามารถขจัดคราบของเหลวที่ตกค้างในท่อผลิตได้ หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์จะบรรจุลงถังสินค้าตามขนาดที่กำหนด ก่อนส่งไปยังคลังสินค้า สำหรับความเป็นมาของบริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยคุณประจักษ์ ตั้งคารวคุณ เป็นบริษัทของคนไทยล้วนๆ ซึ่งตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษ ของการก่อตั้ง จะ ให้ความสำคัญกับการคิดค้น สร้างสรรค์ และวิจัยพัฒนา นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิต ผลิตภัณฑ์สีที่ทันสมัยและมี ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวคิดด้านการดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมนั้น บริษัทได้ประกาศเป็นนโยบาย ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า 4Ps คือ People, Planet, Products และ Partnerships อย่างไรก็ตามแม้ว่าการพัฒนาโรงงานสีให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงิน แต่ผล ที่ได้นั้นคุ้มค่าทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และธุรกิจ และเมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าประหยัดต้นทุนในหลายๆ ส่วน ซึ่งคุ้มค่าและยั่งยืน และจากนี้ไปบริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำนวัตกรรมสีของเอเชียโดยมีฐานทำธุรกิจอย่างยั่ง ยืนเป็นแกนหลัก 41
News
School
for wellbeing studies and
กล่าวถึง โมดุลที่สาม ของ ซัมเมอร์ คอร์ส ทีภ่ ฏู าน ระหว่างวันที่ 8-20 สิงหาคม 2553 เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศที่สถาปนา เรื ่ อ งความสุ ข มวลรวมประชาชาติ ข ึ ้ น เมื ่ อ ปี
ค.ศ. 1972 ดังนั้น หัวข้อเรื่องความสุขมวลรวม ประชาชาติจึงได้ถูกบรรจุเข้าในหลักสูตรการ ศึกษาของประเทศ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังความรู้และ ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้แก่เด็กซึ่ง จะเป็นอนาคตของชาติ เพื่อสืบสานอุดมการณ์ นี้ให้ยั่งยืนต่อไป ดังนั้น เราจะนำผู้ร่วมเดินทาง ไปเยี่ยมดูการดำเนินการหรือภาคปฏิบัติของ การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ (จีเอ็น เอช) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักการพัฒนา 4 42ประการของรัฐบาลคือ
research
(1) การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค นั้นมิได้ปฏิเสธตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจแบบตะวันตกแต่อย่างใด เพียงแต่ ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นจะต้องกระทำไปตามแนว “ทางสายกลาง” โดยนำเอาปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและปัจจัยทางด้านจิตใจในส่วนลึก ของประชาชนเข้ามาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจ นั้นเป็นไปอย่างยั่งยืนและเสมอภาค บนพื้นฐานของสังคมที่เคารพ ประชาชนและวัฒนธรรมของตนเอง (2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้หลักประกัน ที ่ ว ่ า การพั ฒ นาใดๆ ไม่ ว ่ า จะมาจากรั ฐ บาล หรื อ ภาคเอกชน หรื อ ประเพณีท้องถิ่น หรือจากปัจเจกบุคคล จะต้องไม่ทำลายความสมดุล ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ชาวโลกจำเป็นจะต้องรับรู้ว่า โลกที่เรา อาศัยอยู่นี้มีสถานะเป็น “ชีวภาพที่อาจตายได้” (mortal organism) จำเป็นจะต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงและปกป้อง (3) การรักษาและส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ สำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน เพราะคุณค่าของมนุษย์ เช่น ความเมตตากรุณา ความมีน้ำใจ ความอ่อนโยน ความเสียสละ ความอ่อนน้อมถ่อมตน การ รู้จักให้อภัย การรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเอง เป็นต้น กำลังถูก กัดกร่อนจากโลภจริตหรือความโลภ อันเนื่องมาจากลัทธิบริโภคนิยมที่ กำลังครอบงำโลกในขณะนี้ อันที่จริงแล้วคุณค่ามนุษย์ดังกล่าว เป็นองค์ ประกอบสำคัญที่ช่วยให้สังคมมีความหมาย มีความเอื้ออาทรต่อกัน และทำให้สังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ (4) การส่ ง เสริ ม การปกครองที่ ดี หรื อ “ธรรมาภิ บ าล” (Good Governance) เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการนำพาประชาชนไปสู่ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ประเทศทั้งหลายในโลกจะโดยเต็มใจ หรือไม่ก็ตาม กำลังถูกแรงกดดันทั้งจากประชาชนท้องถิ่นและชุมชน ระหว่างประเทศ ให้เข้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยหรือ “ธรรมาภิบาล” (การปกครองที่ดี) C ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ คุณวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด ผู้ประกอบการสังคม โทร. 0 2622 0955, 0 2622 0966 อีเมล์ wallapa@suan-spirit.com
42
Event
คณะกรรมการ SVN เข้าพบที่ปรึกษาฯ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 คณะกรรมการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม Social Venture Network Asia (Thailand) ได้เข้าพบ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน ที่ปรึกษาคณะกร รมการฯ เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อแนะนำต่างๆ ซึ่งท่านอานันท์ ได้ให้แนวคิดซึ่งสรุปคร่าวๆ ดังนี้ เสนอให้ทาง SVN ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเงินแก่องค์กรภาคเอกชนที่มีศักยภาพโดยเฉพาะองค์กร ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ควรเร่งขยายแนวคิดการทำงานความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่ เพียงแค่การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรดังเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรจะเป็นบริษัทที่มี CSR ในการ แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ด้วยความห่วงใย (We Care) ทั้งความเป็นอยู่ ความเดือด ร้อน ความสุข ความทุกข์ของคนในสังคม เปิ ด ตั ว 30 โรงเรี ย นเครื อ ข่ า ย เชฟรอน พลังใจ พลังคน ปี 2 นายธารา ธีรธนากร ประธานกรรมการบริหารบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจ และผลิต จำกัด พร้อมด้วย ดร.ปัญญา แก้วกี ยู ร ที ่ ป รึ ก ษาสำนั ก งานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ร่ ว มเป็ น ประธานในงานแถลงข่ า วเปิ ด ตั ว 30 โรงเรียน ในโครงการโรงเรียนเครือข่ายเชฟรอน พลังใจ พลังคน ปี 2 ที่ทางบริษัทได้ร่วมกับสพฐ. ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื ่ อ สร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ในการแก้ ไ ข ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะ พร้อม
ขยายสู่ชุมชนทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าคัดเลือกให้ ครบ 84 โรงเรียน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงพระ-ชนมายุ 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2554 นี้ 43
ทู ต น้ อ ย ก ล่ อ ง วิ เ ศ ษ รักษ์โลก นายกฤษฎา โสภา ผู ้ จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ า ยกะทิ ช าวเกาะ เปิ ด โรงงานผลิ ต แผ่ น ชิ ป บอร์ ด ที ่ ไ ด้ จากการนำกล่ อ งยู เ อชที เ ข้ า สู ่ กระบวนการรีไซเคิล เพือ่ จัดกิจกรรม การชัง่ น้ำหนักและบันทึกสถิตกิ ล่อง ยูเอชที จากโครงการ “กล่องวิเศษ แผนดีกล่องมาก” โดยมีโรงเรียน 182 แห่งส่งเข้ามามากกว่า 8,000 กิ โ ลกรั ม หรื อ คิ ด เป็ น จำนวน 800,000 กล่อง นอก จากนี้ยังได้ สาธิ ต กระบวนการผลิ ต แผ่ น มู ล นิ ธิ ซิ เ มนต์ ไ ทย เปิ ด เวที เ ฟ้ น หาสุ ด ยอดนั ก ประพั น ธ์ ห นั ง สื อ ภาพ สำหรับเด็ก มูลนิธิซิเมนต์ไทย เปิดเวที เชิญชวนนักประพันธ์ นักวาดภาพ ประกอบหนังสือภาพสำหรับเด็ก ของเมื อ งไทย ส่ ง ผลงานเพื ่ อ คั ด เลือกและจัดพิมพ์ร่วมกับหนังสือ ภาพชั้นดี ระดับโลก ในโครงการ นำหนังสือดีสู่เด็กไทย ปีที่ 3 มุ่งส่ง เสริ ม วั ฒ นธรรมเลี ้ ย งลู ก ด้ ว ย หนั ง สื อ ต่ อ เนื ่ อ ง พร้ อ มยกระดั บ วงการหนังสือภาพสำหรับเด็กของ ไทยให้ทัดเทียมระดับสากล นักประพันธ์หนังสือภาพ สำหรับเด็กที่สนใจ สามารถส่งผล44
ชิปบอร์ดที่ได้จากการนำกล่องยูเอชทีมารีไซเคิล ซึ่งมีเด็กนักเรียนต่างตื่น เต้นและให้ความสนใจกับกระบวนการรีไซเคิลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก กล่องบรรจุภัณฑ์เหล่านี้สามารถนำมาผลิตเป็นโต๊ะเก้าอี้นักเรียนได้ และ ยังสามารถช่วยลดปริมาณการเผาไหม้ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ อีกด้วย
คุณสุรนุช ธงศิลา กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทย (กลางภาพ) งานไปที่ มูลนิธิซิเมนต์ไทย อาคาร 10 เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สอบถามราย ละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณธนาภรณ์ สืบสุข โทร. 0-2586-2547 E-mail ecd.scgfoundation@scg.co.th หรือเว็บไซต์ www.scgfoundation.org
ปตท.–สมาคมหนั ง สือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกอล์ฟชิงถ้วยพระราชทานฯ นายอรรถพล ฤกษ์ พิ บู ล ย์ ผู ้ ช ่ ว ยกรรมการผู ้ จ ั ด การ ใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อ สังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับนายทวยเทพ ไวทยานนท์ นายกสมาคมหนั ง สื อ พิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวการจัดแข่ง ขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภปร. ทองคำ ประจำปี 2553 ของ สมาคมฯ ที ่ จ ะมี ข ึ ้ น ในวั น ที ่ 13 พฤษภาคม 2553 ณ สนามกอล์ฟ วินเวอร์ปาร์ค แอนด์ กอล์ฟคลับ โดยรายได้ จ ะมอบเป็ น ทุ น การ ศึ ก ษาแก่ บ ุ ต รธิ ด าของสมาชิ ก สมาคมฯ และบำรุ ง พิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ หนังสือพิมพ์ไทยต่อไป
ดาว เคมี ค อล และเอสซี จี เคมี คอลส์ ร่วมกับสมาคมวิศวกรรม เคมีฯ มอบรางวัล “นวัต-กรรม วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี เ พื่ อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 ประจำปี 2553” ดร.มอลลี่ เพยฟาง ชาง (ที่สองจาก ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด รศ.ดร. เทอดไทย วัฒนธรรม (ที่ 1 จากซ้าย) นายกสมาคมวิศวกรรม เคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย รศ.ดร. วรพัฒน์ อรรถยุกติ (ที่ 1 จากขวา) ที่ปรึกษา กิ ต ติ ม ศั ก ดิ ์ ส มาคมวิ ศ วกรรมเคมี ฯ และนาย
สมหมาย ศิริเลิศสมบัติ (ที่ 2 จากซ้าย) รอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม มิตซุย พีทีเอ ร่ ว มมอบรางวั ล รองชนะเลิ ศ ในโครงการ “นวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3” แก่ทีมวิจัย จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้แก่ นายเทวารักษ์ ปานกลาง (ที่ 3 จากซ้าย) และทีมวิจัย เรื่อง “การปรับปรุง และเปลี่ ย นสี ไ ข่ มุ ก โดยการปลู ก อนุ ภ าค ระดั บ นาโนเมตรของโลหะมี ค่ า ” และนาย สรรพล วันทาศิลป์ (ที่ 4 จากซ้าย) เรื่อง “ชุด ทดสอบปริมาณ โปรตี นในนมด้ว ยอนุ ภ าค
นาโนของทอง” (ไม่ ม ี ผ ลงานใดได้ ร ั บ รางวั ล
ชนะเลิศ) C
45