เปรม ปราณ ปัญจาบ

Page 1

บันทึกการเดินทางกับภาคสนามอินเดียศึกษาในรัฐปัญจาบ อภิรัฐ คำวัง

อภิรัฐ คำวัง

ศูนย์ภารตะศึกษา Centre for Bharat Studies สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล Research Institute for Languages and Cultures of Asia. Mahidol University


เปรม ปราณ ปัญจาบ Prem Pran Punjab (The Spirit of Punjab) บันทึกการเดินทางกับภาคสนามอินเดียศึกษาในรัฐปัญจาบ อภิรฐั คำวัง

จัดทำโดย

ศูนย์ภารตะศึกษา Centre for Bharat Studies สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย Research Institute for Languages and Cultures of Asia มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol University

ร่วมสนับสนุนโดย ชมรมไทยซิกข์อปุ ถัมภ์


ผูเ้ ขียน/ภาพประกอบ

อภิรฐั คำวัง

ทีป่ รึกษา

Amarjiva Lochan สุเทพ สุรยิ าอมฤทธิ ์

บรรณาธิการ

โสภนา ศรีจำปา

พิมพ์ครัง้ แรก

กรกฎาคม 2554

จำนวน

1,000 เล่ม

จัดพิมพ์โดย

ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล Centre for Bharat Studies Research Institute for Languages and Cultures of Asia Mahidol University

E-mail

bharatmahidol@hotmail.com

พิมพ์ท ี่ บริษทั สร้างสือ่ จำกัด 17/118 ซ.ประดิพทั ธ์ 1 ถ.ประดิพทั ธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ---------------------------------------------------------------------------------------------- ข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ ISBN ----------------------------------------------------------------------------------------------


คำนิยม ข้ า พเจ้ า มี ค วามยิ น ดี ที่ ไ ด้ มี โ อกาส เขียนคำนิยมให้ คุณอภิรฐั คำวัง นักศึกษา ม.มหิดล ที่มีความสนใจและพยายามศึกษา วิ ถี ชี วิ ต ของชาวไทยซิ ก ข์ จนกระทั่ ง ได้ มี โ อกาสไปเยี่ ย มชม คารวะศาสนสถาน อันศักดิส์ ทิ ธิข์ องชาวซิกข์ ศิรฮิ รั มันดิรซาฮิบ

ณ นครอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ แล้วนำมา ถ่ายทอดเป็นหนังสือ เปรม ปราณ ปัญจาบ ทีท่ า่ นทัง้ หลายได้อา่ นอยูข่ ณะนี ้ ศาสนิกชนแห่งศาสนาซิกข์เข้ามา พึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในประเทศไทยกว่า 100 ปี แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อย และยังคงมีชาวซิกข์ ดั้ ง เดิ ม ที่ อ พยพมาจากอิ น เดี ย อยู่ แต่ ไ ด้ แสดงออกซึ่งอัธยาศัยอันดีงามให้ศาสนิกชน นานาศาสนาเห็นประจักษ์ว่าเป็นผู้รักความ สงบ ส่งเสริมความสามัคคี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แก่มวลมนุษย์ ได้ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ แก่สังคมอเนกประการ จริยธรรมดังกล่าว แสดงให้ เ ห็ น คุ ณ ความดี แ ห่ ง ศาสนซิ ก ข์

ซึ่งมีพระศาสดาคุรุนานัก ซาฮิบ ทรงเป็น พระปฐมศาสดา

คุ ณ อภิ รั ฐ ได้ ม าร่ ว มใช้ ชี วิ ต ใน ศาสนสถานคุรุดวารา ของชาวไทยซิกข์ใน ช่วงเช้าเป็นเวลานานพอสมควร ได้ซึมซับ มิตรไมตรีทนี่ า่ ชืน่ ชมของชาวไทยซิกข์กบั ชาว ไทยทั่วไป เมื่อมีโอกาสไปศึกษาภาคสนามที่ ปัญจาบ ได้มโี อกาสสัมผัสชีวติ ความเป็นอยู่ ความนึกคิด ความเชื่อถือของชาวซิกข์ที่แท้ จริง จึงนำมาถ่ายทอดให้ศาสนิกชนชาวไทย ซิกข์และชาวไทยอ่านอย่างละเอียด มีสารัตถะ ที่ น่ า อ่ า น เป็ น การส่ ง เสริ ม สั ม พั น ธไมตรี ความสามัคคีในหมูค่ ณะ กระผมขอแสดงความยินดี ชมชอบ ในผลงานดั ง กล่ า วนี้ และตั้ ง จิ ต ภาวนา (อัรดาส) ขอให้พระศาสดาคุรุนานัก ซาฮิบ โปรดประทานพรให้คุณอภิรัฐและครอบครัว จงประสพความสุ ข ความเจริ ญ มี ค วาม ก้าวหน้าในการศึกษา การงานตลอดไป นายสุเทพ สุรยิ าอมฤทธิ ์ นายกสมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา 2549-2550 (สถาบันศาสนาซิกข์แห่งประเทศไทย) กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ 2550-2554


ความนำ ศู น ย์ ภ ารตะศึ ก ษา (อิ น เดี ย ศึกษา) มีภารกิจหนึ่งคือการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ และนำความรู้มาใช้ ในการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเดีย ศึ ก ษา (หลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรมหา บั ณ ฑิ ต สาขาวั ฒ นธรรมและการ พั ฒ นา วิ ช าเอกอิ น เดี ย ศึ ก ษา) และ เผยแพร่สสู่ าธารณะในรูปแบบต่างๆ เปรม ปราณ ปัญจาบ เป็น อีกหนึ่งในผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ และความสนใจของนักศึกษา (คุณอภิรัฐ คำวั ง ) ที่ ฝึ ก ฝนตนเองให้ เ ป็ น นั ก วิ จั ย แบบ “คนใน” เริม่ ต้นจากการทำความ เข้ า ใจในสิ่ ง ใกล้ ตั ว ณ ศาสนสถาน- คุ รุ ด วาราของชาวไทยซิ ก ข์ ที่ พ าหุ รั ด โดยเข้าไปมีสว่ นร่วมและสังเกตกิจกรรม ต่างๆ จนเมื่อต้องออกฝึกภาคสนามใน วิ ช าระเบี ย บวิ ธี วิ จั ย จึ ง เลื อ กพื้ น ที่ รั ฐ ปั ญ จาบในประเทศอิ น เดี ย เป็ น พื้ น ที ่ เป้ า หมาย เพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ยอดจาก พาหุรัด เนื่องจากบรรพบุรุษของชาว ไทยซิกข์สว่ นใหญ่มาจากปัญจาบ โดยมี เมืองอมฤตสาร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของศิริฮัร

มันดิรซาฮิบ (สุวรรณวิหาร) ที่สวยงาม เป็นศูนย์รวมใจและศรัทธาของชาวซิกข์ รวมถึ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั่ ว โลก การได้ มี โ อกาสไปใช้ ชี วิ ต ในเขตศาสนสถาน ดั ง กล่ า ว การได้ เ ดิ น ทางไปสั ม ผั ส บรรยากาศชายแดนอินเดีย-ปากีสถาน และการได้ใช้ชีวิตในชนบทเป็นการเปิด โลกทัศน์ให้กับนักศึกษาไทยได้เรียนรู้วิถี ความเป็นอินเดียทางภาคเหนือส่วนหนึ่ง อย่างแท้จริง ประสบการณ์อันมีค่าจาก การออกฝึกภาคสนามเป็นเวลา 1 เดือน ทำให้ ไ ด้ ร ายงานเชิ ง สารคดี ที่ เ จาะลึ ก

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ศูนย์ภารตะศึกษา จึงสนับสนุนให้ผลงานของนักศึกษาซึง่ ได้ ปรับรูปแบบให้เป็นหนังสือสารคดีเล่ม แรกนีไ้ ด้พมิ พ์เผยแพร่สสู่ าธารณะ สำหรับการออกฝึกภาคสนาม ในอินเดียของนักศึกษาครั้งนี้ ศูนย์ภารตะ ศึ ก ษาได้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อ ด้ า นต่ า งๆ ทัง้ จากฝ่ายอินเดียและฝ่ายไทย โดยฝ่าย อิ น เดี ย ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก Dr. Amarjiva Lochan อาจารย์ผู้ประสาน งานที่ได้ช่วยเตรียมบุคลากร สถานที่ใน


ความนำ รัฐปัญจาบ และติดตามดูแลนักศึกษาเป็น อย่างดี ตลอดจนเพือ่ นๆ ชาวอินเดียซิกข์ ในรัฐปัญจาบที่เป็นเจ้าบ้านที่อบอุ่นให้กับ นั ก ศึ ก ษาในระหว่ า งการศึ ก ษาเรี ย นรู้ สำหรับฝ่ายไทย ได้รับการสนับสนุนจาก คุณสุเทพ สุริยาอมฤทธิ์ ชมรมไทยซิกข์ อุ ป ถั ม ภ์ และชาวไทยซิ ก ข์ ใ นกรุ ง เทพมหานคร ซึ่งให้ความเมตตาและให้การ สนั บ สนุ น ทางการศึ ก ษานอกสถานที่ (พาหุรดั ) อย่างต่อเนือ่ ง และได้สนับสนุน การจัดพิมพ์บางส่วนในครั้งนี้ ศูนย์ภารตะ ศึกษาขอขอบพระคุณทุกท่านมา ณ ทีน่ ี้

เปรม ปราณ ปัญจาบ ไม่ได้วาง จำหน่าย หากท่านอ่านแล้วเห็นว่าสนุก ได้ รับความรู้ และทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อ มิตรประเทศ ทัง้ ชาวอินเดียและชาวไทยซิกข์ และต้องการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัยทางด้านภารตะศึกษาให้เจริญก้าวหน้า ยิง่ ขึน้ ไป ท่านสามารถมีสว่ นร่วมบริจาคเพือ่ ภารกิจดังกล่าวได้ ดังรายละเอียดที่แนบใน หนั ง สื อ นี้ และขออนุ โ มทนาในจิ ต อั น เป็ น กุศลของท่านในครั้งนี้ด้วยความคารวะเป็น อย่างยิง่ ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจยั ภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล พฤษภาคม 2554/2011


เปรม ปราณ ปัญจาบ ไปอิ น เดี ย คราวใด มักจะมีเรือ่ งสนุกๆ เกิดขึน้ อยู่ เสมอๆ ชวนให้คน้ หาต่อไปว่า สิ่ ง นี้ คื อ อะไรและสิ่ ง นั้ น เป็ น อย่างไร ในขณะเดียวกันก็ได้ พบมิตรใหม่มากมายระหว่าง การเดินทาง เรื่องน้ำใจไทย กั บ แขกเกิ ด การแลกเปลี่ ย น กั น อยู่ ร่ ำ ไป และมี ม าอย่ า ง ยาวนานแล้ว เมื่อขึ้นชื่อว่าอนุทวีป อิ น เดี ย ย่ อ มเป็ น ดิ น แดนที ่ มีความกว้างใหญ่ไพศาล ใน แต่ ล ะรั ฐ มี ค วามแตกต่ า งกั น ทำให้ อิ น เดี ย มี ค วามหลาก หลายทั้ ง ชาติ พั น ธุ์ ภาษา วั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ ศ า ส น า สำหรับ เปรม ปราณ ปัญจาบ ได้ ห ยิ บ ยกเรื่ อ งราววิ ถี ชี วิ ต และวิถีชุมชนจากวัฒนธรรม ชาว “ซิ ก ข์ ” จากดิ น แดน “ปัญจาบ” ในบางแง่มุมมาเล่า และร้อยเรียง

เปรม ปราณ ปั ญ จาบ เป็ น การ หยิ บ เอารายงานการลงพื้ น ที่ ภ าคสนาม อินเดียศึกษามาคลุกเคล้าใหม่เพื่อเผยแพร่สู่ สาธารณะ และคาดหวังว่าจะช่วยเสริมสร้าง ความเข้าใจในความคล้ายและความต่างของ มวลชน ในการพรรณนาถิน่ ปัญจาบและชาว ซิ ก ข์ เ กิ ด จากสู ต รส่ ว นผสมสามสิ่ ง นั่ น คื อ ภารกิจทางการศึกษาของสถาบันวิจัยภาษา และวัฒนธรรมเอเชีย การเบิกทางเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ในดินแดนภารตะซึ่งเป็นก้าว แรกของศูนย์ภารตะศึกษา ม.มหิดล และ ปะปนกั บ การท่ อ งเที่ ย วของนั ก เดิ น ทางที่ อยากจะค้นหาสิง่ แปลกใหม่ให้กบั ชีวติ บันทึกการเดินทาง โดยเรื่องราว ทั้ ง หมดเกิ ด ขึ้ น ในช่ ว งฤดู ที่ เ ปลี่ ย นผ่ า น ปั ญ จาบกำลั ง เข้ า สู่ ฤ ดู ร้ อ นเดื อ นเมษายน (2553/2010) ซึ่งเป็นเดือนแห่งเทศกาล วิสาขีของชาวซิกข์ และขณะเดียวกันบรรดา ชาวนาในหมู่บ้านก็กำลังขมีขมันกับการเก็บ เกีย่ วข้าวสาลี อภิรฐั คำวัง ศูนย์ภารตะศึกษา ม.มหิดล ธันวาคม 2553/2010 (Poh 542)


ควรคารวะ กว่าจะได้ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่อง ราวในคราวนี้ เพราะมีผู้ใหญ่ใจดีหลายท่าน คอยเป็นกำลังใจและให้ความช่วยเหลืออยู่ ตลอดเวลา ขอขอบพระคุณ รศ.ดร.โสภนา ศรีจำปา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.อมรชีพ โลจั น มหาวิ ท ยาลั ย เดลี (Dr.Amarjiva Lochan, University of Delhi) ทั้งสอง ท่านกรุณาประสานงานให้สามารถยาตราไป ตามเส้นทางพันไมล์ และช่วยเตรียมมุมมอง ดีๆ เอาไว้ให้ ขอขอบพระคุณ คุณบาลบิน (Mr. Balbir Singh) คุณแฮปปี้ (Mr.Varinder Vir Singh) และมิ ต รใหม่ อี ก หลายท่ า นจาก มหาวิทยาลัยคุรุนานักเดว (Guru Nanak Dev University) โดยทัง้ สองท่านเป็นผูด้ แู ล อย่างใกล้ตวั ขณะทีย่ าตราไปอมฤตสาร์ คอย เป็นห่วงเป็นใยตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย ในปัญจาบ ขอขอบพระคุณครอบครัวครูแจ็คกี้ (Mr.Jarmanjit Singh) และเครือญาติใน

หมู่บ้านจันนันเก้ ที่ให้ความกรุณาต้อนรับ ขั บ สู้ อ ย่ า งอบอุ่ น ช่ ว ยเสริ ม สร้ า งประสบการณ์ชีวิตอย่างชาวปัญจาบีซึ่งไม่มีในตำรา ใด และครอบครั ว ดร.ภู ปิ น เดอร์ ภั ต ตี (Dr.Bhupinder Bhatti) หมู่บ้านโกฏเคฮ์รา ที่ ก รุ ณ าดู แ ลสารทุ ก ข์ สุ ก ดิ บ ก่ อ นเดิ น ทาง ออกจากอมฤตสาร์ ขอขอบพระคุณ สมาคมศรีคุรุสิงห์ สภา และคุณสุเทพ สุรยิ าอมฤทธิ์ ทีป่ รึกษา ซึ่ ง คอยให้ ค ำแนะนำและคอยไขปริ ศ นา สร้ า งความกระจ่ า งทั้ ง คำศั พ ท์ เรื่ อ งราว และการศาสนา สุ ด ท้ า ยขอขอบพระคุ ณ อาจารย์ สมพร คำวัง ผู้เป็นกองหนุนที่เฝ้าหนุนและ คอยให้กำลังใจอยูต่ ลอดเวลา ท้ายที่สุด ยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้ เอ่ยนาม ณ ที่นี้ ทั้งชาวไทยซิกข์และชาว ปัญจาบี ซึง่ มีสว่ นช่วยเติมเต็มสาระนานารส จนสามารถนำมาประมวลเป็ น สารั ต ถะใน เปรม ปราณ ปัญจาบ ให้มาถึงจุดบรรจบ อย่างครบครัน


ผูอ้ ปุ ถัมภ์ ศูนย์ภารตะศึกษาได้รบั การสนับสนุนการจัดพิมพ์จากชมรมไทยซิกข์อปุ ถัมภ์ เพือ่ เผยแพร่เรือ่ งราวเกีย่ วกับปัญจาบและชาวซิกข์ โดยมีรายนามดังนี ้ คุณกมล สังห์สจั จกุล (Kulwant Singh Kukreja) อดีตนายกสมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา คุณสุเทพ สุรยิ าอมฤทธิ์ (Dildar Sinhg Gorowara) อดีตนายกสมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา คุณสุวรรณ สิงห์สจั จกุล อดีตนายกสมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา คุณศักดา สัจจะมิตร (Darshan Singh Sachdev) ROYAL SIAM TEXTILE LTD., PART คุณอนันต์ สัจจะเดว์ (Avtar Singh Sachdev) Royal King Infant Products Co., Ltd. คุณจันทรา ดาวาร์ (Joginder Kaur Dawar) คุณโมฮิน เดอร์ ซิงห์ (Hohinder Singh Kumar) คุณนรินทร์ สัจจะกุล ห้างหุน้ ส่วนจำกัด ศรีทกั ราล เอ็นเตอร์ไพรส์ คุณสุวรรณ์ โกกนุทพงศ์ชยั (Suwan Koghai) คุณสุรศักดิ์ สัจจะเดว (ยัสบีร ซิงห์ สัจเดว) ร้าน เจ.ปี.สตาร์ คุณอดิศร สัจจะศิร ิ คุณนรินทร์ ดูวา

และชาวไทยซิกข์ 5,100 บาท 10,000 บาท 3,100 บาท 10,000 บาท 10,000 บาท 10,000 บาท 5,100 บาท 5,100 บาท 5,100 บาท 5,100 บาท 2,000 บาท 2,000 บาท 2,000 บาท


สารบัญ มุง่ ไปในทางไกล เยือนถิน่ มุสลิมลุม่ แม่นำ้ ยมุนา ก้าวแรกทีอ่ มฤตสาร์ ดินแดนทีเ่ รียกว่า “ปัญจาบ” ชาวปัญจาบีคอื ใคร อมตะนครา นานักและศิษยะ เมือ่ แสงทองสาดส่องสระอมฤต วิสาขี : 5ก ในวันทีเ่ ปลีย่ นฤดู ศาตราวุธบนผืนธงชัย ครัวพระศาสดา สะอาดด้วยพลังใจในครัวพระศาสดา คนเล็กในครัวใหญ่ ร่วมแรงแข็งขัน บ่อน้ำดับกระหาย ก้าวอิสระรอบสระรอบทิศ ศิษยะศรัทธา สัมผัสน้ำอมฤต รองเท้าไม่ใช่รองเท้า รืน่ รมณ์ศลิ ปะรอบขอบสระ สีสนั ทีส่ งสัย วาเฮ่ครุ ุ วาเฮ่ครุ ุ วาเฮ่ครุ ุ

2 7 21 27 35 38 43 47 55 63 65 75 77 80 91 94 101 104 111 117 123 125

กีรตัน เสียงเพลงแห่งศรัทธา ใสและสะอาด ใครๆ ก็มาเมืองอมฤตสาร์ ย่ำตรอกตามตลาดในย่านเก่า ขาโจ๋ในเมืองใหม่ ชม ชิม ช้อป ในชัว่ โมงสบายๆ คนไทยกับใครอืน่ ? จิบชาและอ่านหนังสือ ปัญจาบสองแผ่นดิน ปัญจาบกับการเมือง ลาแสงสี สูช่ วี ติ เสรีในชนบท โลกใบเล็กในยามเย็นทีจ่ นั นันเก้ จันนันเก้บา้ นทีอ่ บอุน่ ชีวติ ช่วงเช้า สถานศึกษา ศาสนสถาน สัญจรตอนบ่าย ราตรีใต้แสงดาว หน้าปากซอยชัว่ โมงเช้า สัมผัสชีวติ ชาวนา จำใจจากลาบ้านนาน้องพี ่ สาระสุดท้ายจากปัญจาบ (สาระเพิม่ เติม)

129 132 135 138 146 150 157 163 172 182 186 189 199 202 212 214 224 227 234 244 249 252



เปรม ปราณ ปัญจาบ

11

Waheguru ji ka Khalsa, Waheguru ji ki Fateh วาเฮ่ครุ ุ ญี กา คาลซา, วาเฮ่ครุ ุ ญี กี ฟาเต้

Khalsa belongs to God and to God alone belongs the victory. คาลซาเป็นของพระองค์วาเฮ่ครุ ุ ชัยชนะและความรุง่ โรจน์เป็นของพระองค์วาเฮ่ครุ ุ


12

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มุง่ ไปในทางไกล การเดินทางไกลครั้งนี้ได้เริ่มต้นขึ้น ในวันสุดท้ายของเดือนมีนาคม สัมภาระและ ข้าวของถูกหอบหิ้วออกจากห้องพักบนถนน พระอาทิ ต ย์ ก่ อ นที่ จ ะได้ สั ม ผั ส กั บ แสงแรก ของพระอาทิ ต ย์ ลมเย็ น ๆ ยามรุ่ ง อรุ ณ ริมเจ้าพระยาช่วยพาใจให้สงบ และคิดว่า คงจะเป็นเพราะลมเย็นๆ ริมน้ำนี่เองกระมัง ทีช่ ว่ ยหอบเอาตัวกับใจปอนๆ ไปถึงสนามบิน สุวรรณภูมดิ ว้ ยความรวดเร็วและราบรืน่ รอ จนได้เห็นแสงแรกของเช้าวันใหม่ผ่านมวล กระจกหนาของสนามบินก่อนจะลัดฟ้าข้าม สมุทรไปยังชมพูทวีป เลื อ กนั่ ง แอร์ อิ น เดี ย ไปอิ น เดี ย หมายความว่าได้เลือกใช้บริการสายการบิน แห่ ง ชาติ อิ น เดี ย ซึ่ ง บิ น ตรงจากกรุ ง เทพมหานครถึงกรุงนิวเดลี ตอนนี้ใช้ E-ticket ระบุอกั ษรย่อทีใ่ ช้วงการบิน 2 ตัวคือ BKK คือ Bangkok กับ DEL มาจาก Delhi

อันที่จริงแล้ว ตอนแรกวางแผนจะ เดินทางในวันแรกของเดือนเมษายน แต่ดว้ ย เหตุผลเกี่ยวกับราคาตั๋ว ถ้าเดินทางในวัน สุดท้ายของเดือนมีนาคมราคาตั๋วจะลงตัว กว่ า มาก นี่ จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลสำคั ญ ของการ เลือกวันเดินทาง โดยถือเอาฤกษ์สะดวก นั่งหงษ์แดงเที่ยวบิน IC854 จาก สนามบิ น สุ ว รรณภู มิ ใ นเวลา 08:55 น. ตามเวลาในประเทศไทย (GMT +7) หากได้ รหัสเที่ยวบิน IC คือ Indian Airlines แต่ หากเป็น AI คือ Air India เหตุใดในสายการบินเดียวกันจึงมี รหัส 2 ตัว IC กับ AI และเหตุใดจึงเป็น ตราหงษ์ กล่าวอย่างย่อๆ ได้วา่ สายการบิน แอร์อินเดียเป็นสายการบินที่เก่าแก่และเป็น สายการบินรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย เดิม เป็ น บริ ษั ท ในเครื อ Tata Group เริ่ ม ให้


เปรม ปราณ ปัญจาบ

บริ ก ารตั้ ง แต่ ปี 2475/1932 มี น ามว่ า Tata Airlines หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2489/1946 ได้กลายเป็นบริษัท มหาชนจำกัด และมีนามใหม่ว่า Air India แต่หลังจากที่อินเดียประกาศได้เอกราชจาก อังกฤษ ในปี 2490/1947 รัฐบาลอินเดีย เข้ า ถื อ หุ้ น เป็ น ส่ ว นใหญ่ แ ละได้ เ ปลี่ ย นนาม เป็น Air India International ต่อมาในปี 2496/1953 ทุกสายการบินของอินเดียถูก ผนวกเข้าด้วยกันเป็นสายการบินแห่งชาติ ในนาม Indian Airlines Corporation พอ อีก 1 ปีถัดมาคือปี 2497/1954 ได้เปิด บริการสาขาทีก่ รุงเทพมหานคร จนกระทัง่ ปี 2550/2007 รัฐบาลอินเดียได้รวม Indian Airlines เข้ า กั บ Air India ในนาม National Company of India Limited (NACIL) แต่ยังคงใช้นามสายการบิน Air India ข้อนีท้ ำให้เทีย่ วบินมีทงั้ IC กับ AI1 โลโก้ ข องแอร์ อ ิ น เดี ย จะเห็ น ตัวอักษรเทวนาครี ภาษาฮินดี ถ้ า อ่ า นที ล ะพยางค์ จ ะอ่ า นได้ ว ่ า “แอร์ อินดิยา” หากอ่านแบบปกติตามที่คุ้นเคยก็ จะเป็น “แอร์ อินเดีย”

13

หางของเครื่องบินเป็นรูปหงส์และ จักร ในศาสนาฮินดูนนั้ หงส์ถอื เป็นพาหนะ ของพระพรหมผู้ ส ร้ า งโลก ส่ ว นจั ก รหรื อ จักรา มาจากล้อจักราที่มีนามว่า โคนาร์ก (Konark Chakra)2 หรือจักรแห่งวัดสุริยะ ตั้ ง อยู่ ใ นรั ฐ โอริ ส สา เทวสถานสร้ า งเป็ น ราชรถขององค์สุริยะ โลโก้มีความลึกซึ้งสม กับเป็นสายการบินของประเทศที่เป็นแหล่ง อารยธรรมเก่าแก่ของโลกจริงๆ เที่ยวบินเช้านี้ดูจะมีเด็กๆ มากเป็น พิเศษ ส่งเสียงเจีย๊ วจ๊าว สร้างสีสนั และความ คึกคักให้กับการเดินทางในช่วงเวลาปิดเทอม อยู่มิใช่น้อย ครอบครัวชาวไทยอินเดียมัก พาลูกๆ หลานๆ ไปเที่ยวหรือไปเยี่ยมญาติ ในมาตุภมู ภิ ารตะ จากกรุงเทพมหานครถึงกรุงนิวเดลี ใช้เวลาบิน 3 ชัว่ โมง 45 นาที ด้วยระยะ ทางประมาณ 1,800 ไมล์ หรือประมาณ 2,900 กิ โ ลเมตร นั่ ง เครื่ อ งนานครึ่ ง วั น ถื อ เป็ น จั ง หวะที่ ดี แ ก่ ก ารพั ก ผ่ อ น หลั ง

จากอิ่มหนำสำราญกับของอร่อยๆ แล้ว ผู้ โดยสารแทบจะทัง้ ลำ หากไม่หลับใหล ก็

(ดิลลี) กรุง “เดลี”, ภ.อังกฤษ : Delhi, ภ.ฮินดี : กรุง “นิวเดลี”, ภ.อังกฤษ : New Delhi, ภ.ฮินดี :

(นิวดิลลี)


14

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สายการบิน “แอร์อนิ เดีย”, ภ.อังกฤษ : Air India, ภ.ฮินดี : 1

2

3

4

1. โลโก้แอร์อนิ เดีย ทีม่ า : www.airindia.com, [พ.ค. 2553/2010] 2. ล้อโคนาร์ก วัดสุรยิ ะในรัฐโอริสสา ทีม่ า : http://orissafoundation.org, [พ.ค. 2553/2010] 3. การตกแต่งลำบินของแอร์อนิ เดีย 4. ทีน่ งั่ ในเทีย่ วบินแอร์อนิ เดีย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เอนกายดูหนังฟังเพลง มีให้เลือกระหว่าง ฮอลลีวดู้ กับบอลลีวดู้ จนกระทั่ง เมื่อหงษ์ร่อนลงที่สนาม บินอินทิราคานธี ในเวลา 11.55 น. ตาม เวลาท้องถิน่ ในอินเดีย (GMT +5:30) เวลา อิ น เดี ย เดิ น ช้ า กว่ า ไทยชั่ ว โมงครึ่ ง เมื่ อ ถึ ง อิ น เดี ย แล้ ว จำต้ อ งปรั บ เข็ ม นาฬิ ก ากั น เล็ ก น้ อ ย (แต่ ท้ อ งยั ง หิ ว ตามเวลาไทยเหมื อ น เดิม?) สนามบิ น อิ น ทิ ร าคานธี เ ป็ น สนาม บินที่ตั้งอยู่ในกรุงนิวเดลี ภายใต้การดูแล ของท่าอากาศยานอินเดีย (Airport Authority of India) นามของสนามบินแห่งนี้คงเป็น ที่ คุ้ น กั น ดี เพราะเป็ น นามของอดี ต นายก รั ฐ มนตรี ห ญิ ง คนแรกและคนเดี ย วของ อินเดีย คือ นางอินทิรา คานธี แต่เดิมนาม ของสนามบินคือ Palam Airport สร้างขึน้ ในช่ ว งสงครามโลกครั้ ง ที่ 2 ต่ อ มาในปี 2529/1986 ได้เปลี่ยนมาเป็นนามใหม่ดัง กล่าว3

15

พอเครื่ อ งลงจอดได้ สั ก นาที เ ดี ย ว เท่านั้น บรรดาผู้โดยสารส่วนใหญ่ต่างก็พา กันลุกและเตรียมสัมภาระกันยกใหญ่ ทว่า เครื่ อ งยั ง ไม่ ไ ด้ จ อดในจุ ด ที่ เ หมาะสม จึ ง ประกาศแจ้ ง ขอให้ ทุ ก คนนั่ ง ประจำที่ ก่ อ น แต่ว่าเสียงประกาศดูเหมือนจะยังไม่ได้ผล ทำให้ต้องประกาศซ้ำอีกรอบหนึ่ง คนที่ลุก จำต้องนัง่ ลงก่อนแต่โดยดี เลยวุน่ วายกันเล็ก น้อย จนกระทั่งเครื่องบินเคลื่อนตัวลงจอด อย่างนิ่งสนิท ณ จุดจอดแล้ว พอบันไดมา เทียบยังประตูเครือ่ ง ผมก็กลายเป็นคนกลุม่ แรกทีเ่ ดินลงจากเครือ่ ง ก่ อ นจะขึ้ น รถเวี ย นเข้ า อาคารผู้ โดยสาร ได้เอามือแตะผงธุลีบนพื้นแล้วนำ มาแตะที่หน้าผาก ถือเป็นธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ ของการเดินทาง อันเป็นการแสดง ความเคารพเสมือนได้กราบพระแม่ธรณีแห่ง ชมพูทวีป

สนามบินนานาชาติ อินทิรา คานธี ภ.อังกฤษ : Indira Gandhi International Airport (IGIA) ภ.ฮินดี :


16

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พอเข้าสู่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ได้ ใช้เวลานานมากกับการตรวจเอกสารการ เดินทาง กว่าจะเรียบร้อย ก็กลายเป็นคน สุ ด ท้ า ย เล่ น เอาเหงื่ อ ตกที เ ดี ย ว จากนั้ น

ออกมารับกระเป๋า กลับมองไม่เห็นกระเป๋า ของตนเอง กระเป๋าที่หมุนไปหมุนมาอยู่บน สายพานเพียงไม่กี่ใบก็ไม่ใช่ เอาละซิ... เริ่ม มืดแปดทิศแล้วคิดในใจว่าอาจจะมีใครหยิบ ผิดเป็นแน่ๆ จนกระทั่งอีกสิบนาทีต่อมา มี

เจ้าหน้าที่เดินมาบอกว่าหากหากระเป๋าไม่ เจอขอให้ไปดูตรงที่ใกล้ๆ ต้นสายพาน มี กระเป๋าบางส่วนทีเ่ จ้าหน้าทีเ่ อาไปกองไว้ตรง นัน้ พอวิง่ ไปดูกโ็ ล่งใจ หลังจากผ่านด่านของสนามบินได้ แล้ว ก็ตั้งหลักเดินทางต่อ เพราะถนนเบื้อง หน้ากำลังรออยู่ ยังจะต้องเผชิญอีกหลาย ด่าน และจะต้องไปลุยอีกหลายรูปแบบ

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://en.wikipedia.org/wiki/Tata_Airlines, [พ.ค. 2553/2010] 2. http://en.wikipedia.org/wiki/Air_India, [พ.ค. 2553/2010] 3. http://en.wikipedia. org/wiki/Indian_Airlines, [พ.ค. 2553/2010] http://www.ashanet.org/frankfurt/images/tarana/Air%20India_Logo.jpg, [พ.ค. 2553/2010] 4. http://www.airindia.com, [พ.ค. 2553/2010] 5. http://home.airindia.in/SBCMS/Webpages/Logo-Livery.aspx?MID=196#, [พ.ค. 2553/2010] 6. http://en.wikipedia.org/wiki/Indira_Gandhi_International_Airport, [พ.ค. 2553/2010] 7. http://www.newdelhiairport.in/traveller.aspx, [พ.ค. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

17

เยือนถิน่ มุสลิมลุม่ แม่นำ้ ยมุนา ในช่วงสองสามวันแรกก่อนทีจ่ ะเดิน ทางขึ้นไปยังภาคเหนือของอินเดีย อันเป็น เป้ า หมายหลั ก ของการเดิ น ทางครั้ ง นี้ ได้ แวะไปเที่ ย วชมตาช-มฮั ล ก่ อ น เพราะเป็ น สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากและโด่งดัง ไปทั่ ว โลก และอยู่ ไ ม่ ห่ า งจากเมื อ งหลวง นิวเดลีมากนัก ตาช-มฮั ล หรื อ นามที่ ค นไทยคุ้ น เคยคือ ทัชมาฮาล ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมุนาใน เมืองอัครา รัฐอุตตระประเทศ รัฐนีเ้ ป็นรัฐที่ ใหญ่มาก ประกอบไปด้วยเมืองต่างๆ ถึง 70 เมืองเลยทีเดียว

ผมเดิ น ทางมาถึ ง เมื อ งมุ ส ลิ ม แห่ ง อั ค ราในเวลากลางคื น ด้ ว ยความมื ด หลั ง สามทุ่ ม จึ ง ทำให้ ไ ม่ ส ามารถมองเห็ น ได้ ว่ า อะไรคืออะไร และอะไรอยู่ตรงไหน รอจน กระทัง่ เช้าของวันใหม่ จะได้เดินสำรวจเมือง รุ่งเช้าวันแรกของเดือนเมษายนใน เมื อ งอั ค รา แม้ ว่ า ท้ อ งถิ่ น จะเข้ า สู่ ฤ ดู ร้ อ น แล้ ว ก็ ต าม แต่ อ ากาศในยามเช้ า ริ ม แม่ น้ ำ ยมุนายังคงมีอากาศเย็นเล็กน้อย ทว่าตอน กลางวันและบ่าย อากาศร้อนและแดดแรง แถมยังมีลมร้อนพัดแรงๆ มาเป็นระยะๆ พัด เอาพวกเศษทรายปลิวมาด้วย

“ตาช-มฮัล”, ภ.อังกฤษ : Taj Mahal, ภ.ฮินดี : แม่นำ้ “ยมุนา”, ภ.อังกฤษ : Yamuna, ภ.ฮินดี : เมือง “อัครา”, ภ.อังกฤษ : Agra, ภ.ฮินดี : รัฐ “อุตตระประเทศ”, ภ.อังกฤษ : Uttar Pradesh (UP), ภ.ฮินดี :


18

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เมื่ อ มาถึ ง เมื อ งอั ค ราแล้ ว ก็ ควรต้องเที่ยวชมความยิ่งใหญ่อลังการ ของสถานที่สำคัญอย่างน้อยสองแห่งใน ทางประวัติศาสตร์ นั่นคือ ตาช-มฮัล กับ ป้อมอัครา ส่วนเวลาที่เหลือเป็นการสำรวจ บ้านเมืองตามมุมต่างๆ เท่าทีจ่ ะไปได้ มี เวลาเพียงนิดเดียว คงเป็นการเที่ยวชม สำรวจอย่างผิวเผิน เติมเต็มข้อมูลจากที่ ได้ศกึ ษามา ยามเช้ามีเวลาพอสมควรที่จะ เดินเตร็ดเตร่แถวๆ ย่านตาชกันจ์ (Taj Ganj) เป็ น ชุ ม ชนชาวมุ ส ลิ ม บริ เ วณ ตาช-มฮั ล ถนนหนทางในย่ า นนี้ ค่ อ น ข้ า งคั บ แคบ และแน่ น ขนั ด ไปด้ ว ยตึ ก รามบ้ า นช่ อ ง ทำเลในย่ า นท่ อ งเที่ ย ว สำคั ญ แห่ ง นี้ บ รรดาตึ ก น้ อ ยใหญ่ ไ ด้ ดั ด แปลงเป็ น ห้ อ งพั ก โรงแรมและร้ า น อาหาร ตึ ก ที่ สู ง ๆ หน่ อ ย ก็ เ ปิ ด ร้ า น อาหารบนชั้นดาดฟ้า สามารถเรียกนัก ท่องเทีย่ วชาวต่างชาติได้ดที เี ดียว ขึน้ ไป นั่งกินข้าวหรือจิบชาพร้อมๆ กับชมวิว ตาช-มฮัล

วั น นี้ เ ป็ น วั น พฤหั ส บดี ที่ 1 เมษายน ส่วนวันพรุง่ นีเ้ ป็นวันศุกร์ เหตุ ที่ ก ล่ า วเช่ น นี้ ก็ เ พราะว่ า ถ้ า จะชมตาชมฮั ล ต้ อ งเข้ า ในวั น นี้ ส่ ว นวั น ศุ ก ร์ ปิ ด ทำการหนึ่ ง วั น ยั ง ถื อ ว่ า โชคดี ที่ ม าวั น ทำการ ทำให้ ไ ม่ ต้ อ งรี บ เร่ ง เพราะมี เวลาเหลือพอ เลือกเวลาเข้าเที่ยวชมตาช-มฮัล ในเวลาสายๆ หน่ อ ย รอแสงแดดให้ สว่างจ้า รอลมไล่เมฆหมอกยามเช้าไป ก่อน จะได้รปู ถ่ายสวยๆ งานนีแ้ ม้รอ้ นก็ ต้องยอม ตอนที่เดินเที่ยวแถวๆ ทางเข้า ตาช-มฮั ล แล้ ว เกิ ด อาการงงเล็ ก น้ อ ย สงสัยว่าทางเข้าอยู่ตรงไหนกันแน่ จะ เป็นทางเข้าตาช-มฮัลหรือทางเข้าร้านค้า เนื่ อ งจากบริ เ วณนี้ จ ะเต็ ม ไปด้ ว ยร้ า น ค้าขายของที่ระลึก ถ้าไม่สังเกตจริงๆ ก็ จะมองไม่เห็น จึงต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ ว่าเป็นทางเข้าใช่หรือไม่ พอรู้ชัดเจนแล้วว่าเป็นทางเข้าก็ ไปซือ้ บัตรผ่านประตู


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

เบือ้ งหน้าของตาช-มฮัล ภาพยอดฮิตจากสารคดีทอ่ งเทีย่ ว ตาช-มฮัล ณ ลุม่ แม่นำ้ ยมุนา ชมตาช-มฮัลจากมุมแม่นำ้ ชาวอินเดียนัง่ หลบแดดตามร่มเงาบนลานริมแม่นำ้ ยมุนา

19


20

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4

1. 2. 3. 4.

สถาปัตยกรรมของป้อมอัครา ตาช-มฮัลริมแม่นำ้ ยมุนา อลังการงานสร้างภายในป้อมอัครา ไก่อบโอ่งหรือทันดูรซี กิ เก้น อันขึน้ ชือ่ ของเมืองอัครา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เมื่ อ เห็ น ป้ า ย BIMSTEC ที่ ห น้ า ห้ อ งจำหน่ า ยบั ต รแล้ ว บอกเจ้ า หน้ า ที่ ว่ า

มาจากกลุ่ ม ประเทศนี้ เขาก็ ข อให้ แ สดง หนั ง สื อ เดิ น ทาง แล้ ว แจ้ ง จำนวนเงิ น ที่ จ ะ ต้ อ งชำระ ค่ า บั ต รผ่ า นประตู 510 รู ปี (ประมาณ 350 บาท) ราคานีแ้ ถมน้ำเปล่า ให้ ห นึ่ ง ขวดพร้ อ มใส่ ถุ ง กระดาษอย่ า งดี สวยงาม เนื่องจากตาช-มฮัลไม่อนุญาตให้ เอาสัมภาระใดๆ เข้าไป (สถานที่ท่องเที่ยว ในอินเดีย มักจะไม่อนุญาตให้นำสัมภาระ เข้าไป) เขาจะแจ้งว่ากรุณาฝากกระเป๋าก่อน ที่ ห้ อ งรั บ ฝาก แต่ เ ฉพาะกล้ อ งถ่ า ยรู ป เอา เข้าไปได้

21

เที่ยวชมภายในตาช-มฮัลนานกว่า 3 ชั่ ว โมง แต่ ยั ง ดู ไ ด้ ไ ม่ ทั่ ว ทุ ก ซอกทุ ก มุ ม เพราะอากาศร้อนเกินไป เดินเท้าเปล่าบน ลานพื้นหินอ่อนนานๆ ชักไม่ไหว แม้จะหา มุมเหมาะๆ นั่งหลบแดด ตรงไหนมีร่มเงา ตรงนั้ น มั ก จะมี ผู้ ค นจั บ จองที่ นั่ ง ใครๆ ก็ อยากจะหลบแดดด้วยกันทั้งนั้น แต่บางคน นอนหลับไปเลยเพราะได้มุมดีมาก ส่วนผม นัง่ ชมแม่นำ้ ยมุนาในฤดูแล้ง พอบ่ า ยแล้ ว จึ ง กลั บ โรงแรมก่ อ น พักผ่อนสักหน่อย แล้วจึงไปเที่ยวชมแห่งอื่น ต่อ บ่ายแก่ๆ แดดจัดๆ ทำให้ใจอ่อนจนเท้า ไม่อยากก้าวเดินบนถนนเลย แต่ตั้งใจเอาไว้ แล้วว่าจะต้องไปให้ได้... ก็ตอ้ งลุย

BIMSTEC (บิมสเทค) คือ Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation ในปี 2540/1997 เป็นการรวมกลุม่ 4 ประเทศ คือ บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลงั กา และไทย โดย BIST-EC ย่อมาจาก Bangladesh, India, Sri Lanka, and Thailand Economic Cooperation และปี 2546/2003 เป็นการ รวมกลุม่ ของ 7 ประเทศ โดยเพิม่ ภูฏาน พม่า และเนปาล ทีม่ า : http://www.bimstec.org, [1 มิ.ย. 2553/2010]


22

เปรม ปราณ ปัญจาบ

บ่ายๆ นั่งรถออโต้ริกชอว์ (auto rickshaw) ซึง่ เป็นรถอย่างเดียวกับรถตุก๊ ตุก๊ ของเมืองไทยเรา นั่งจากย่านตาชกันจ์ไป ป้ อ มอั ค ราใช้ เ วลาประมาณสิ บ นาที แล้ ว เดิ น มุ่ ง ตรงเข้ า ไปยั ง ประตู ท างเข้ า บอก กับเจ้าหน้าที่ว่ามีบัตรผ่านประตูซึ่งมาจาก ตาช-มฮั ล แล้ ว ตอนแรกเขาชี้ ใ ห้ ไ ปที่ ห้ อ ง ข้างๆ แต่ห้องนั้นไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ จึงกลับ มาหาเจ้ า หน้ า ที่ ค นเดิ ม อี ก รอบ เขาเก็ บ ค่ า บั ต รผ่ า นประตู เ พี ย ง 10 รู ปี เ ท่ า นั้ น (ประมาณ 7 บาท) เท่ากับชาวอินเดียทัว่ ไป ระหว่ า งเดิ น เข้ า ไปยั ง ประตู ใ หญ่ เกิดลมพายุหมุนขึน้ อย่างทันทีทนั ใด พายุพดั พาเอาเศษทรายหมุ น ไปหมุ น มาด้ า นหน้ า ทางเข้า คิดในใจว่าสงสัยจะมีการต้อนรับ จากองครักษ์เฝ้าป้อมเสียแล้วกระมัง ทุกคน ต่างหาที่หลบมุมกันยกใหญ่ โชคดีที่ผมใส่ หมวกและสวมแว่นกันแดดเรียบร้อย แถมยัง มีผา้ ปิดจมูกอีกต่างหาก ทำให้รอดตัวไปจาก ฝุ่นเศษทราย ธรรมชาติในเมืองอัคราเป็น อย่างนี้นี่เอง... มิน่าเล่า ทำให้เห็นสัจธรรม ว่าชาวอินเดียแต่งกายอย่างมิดชิด ต้องมีผ้า คลุ ม หน้ า และโพกศี ร ษะ เพราะเหตุ แ ห่ ง ธรรมชาตินี่แหละบังคับและกำหนดลักษณะ การแต่งกาย เพื่อให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติ ซึง่ พายุทรายไม่มใี นเมืองไทย

ป้อมอัครา (Agra Fort) อยูร่ มิ ฝัง่ แม่น้ำยมุนาเช่นเดียวกับตาช-มฮัล แต่ตั้ง อยู่ อี ก ด้ า นหนึ่ ง และห่ า งจากตาช-มฮั ล พอสมควร ป้ อ มเป็ น สี แ ดงซึ่ ง เป็ น สี ต าม ธรรมชาติของหินที่นำมาสร้างป้อมนั่นเอง ความยิ่งใหญ่ของป้อมแห่งนี้สะท้อนให้เห็น ถึงแสนยานุภาพหรือพลังกองทัพมุสลิมแห่ง ราชวงศ์โมกุลได้อย่างชัดเจน เป็นรองจาก ความยิ่ ง ใหญ่ ข องสุ ส านแห่ ง รั ก ตาช-มฮั ล ความซับซ้อนภายในป้อมชวนทำให้เดินแล้ว หลงคล้ายหลงกล เห็นประตูทางเข้าเป็น ช่องเล็กๆ ก็คดิ ว่าไม่นา่ จะใช่ทางเข้า แต่เมือ่ ก้าวเท้าเข้าไปแล้ว ก็ไปทะลุเจอลานหรือโถง กว้างใหญ่ภายในอีกหลายชั้น เรียกว่าซ่อน รู ป มาก หากย้ อ นยุ ค กลั บ ไปในสมั ย นั้ น คนนอกแอบเข้ามาสืบข่าว คงหลงกลทาง เข้าทางออกจนถูกจับตัวได้งา่ ยๆ จากป้อมอัคราสามารถมองเห็นวิว แม่น้ำยมุนาคู่กับตาช-มฮัลในระยะไกลตาได้ อย่างชัดเจน ถ้านัง่ อยูน่ านๆ ก็จะได้ยนิ เสียง รถไฟวิ่งผ่าน เพราะป้อมปราการอยู่ที่ทาง เข้าออกของเมือง เช่นใครก็ตามที่เดินทาง โดยรถไฟจากเมืองโกลกัลตาเข้าสูเ่ มืองหลวง นิ ว เดลี จ ะต้ อ งผ่ า นเมื อ งอั ค ราก่ อ น และ แน่นอนว่าจะเห็นตาช-มฮัลและป้อมอัคราได้ ในระยะไกลตา นี่จึงเป็นเสน่ห์ของการเดิน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทางไกลเมื่ อ ผ่ า นมาถึ ง เมื อ งอั ค ราในรั ฐ

อุตตระประเทศ เดิ น เที่ ย วท่ า มกลางแดดร้ อ นจั ด และเดินขึน้ ๆ ลงๆ ตามบันไดทีซ่ บั ซ้อน หาก เตรียมตัวไม่ดีก็อาจจะเกิดอาการอันไม่พึง ปรารถนาได้ อย่างเช่นอาการหมดแรงและ เวียนศีรษะ พบหลายคนเป็นเช่นนี ้ ในระหว่างการเดินชมและถ่ายภาพ ไปเรื่อยๆ ก็ได้ยินเสียงบรรยายเป็นภาษา ต่ า งๆ หลายภาษาจากคนนำเที่ ย ว รวม ทั้ ง ภาษาไทยด้ ว ย เลยหาดู ว่ า อยู่ ต รงไหน ปรากฏว่ามีคนไทยกลุม่ ใหญ่มาเทีย่ วด้วย ซึง่ ก็ไม่แปลกใจนัก เพราะคนไทยมาเที่ยวเมือง อัคราอยูเ่ รือ่ ยๆ ป้อมอัครามีเสน่ห์ทางศิลปะซึ่งชวน ให้ผมเดินไปเดินมาได้นานเกือบ 2 ชั่วโมง แต่แล้วก็จึงจำใจจากลา หากจะรอชมพระอาทิตย์ตกดินริมแม่น้ำยมุนาก็คงจะรออีก นานมาก เป็นอันว่ากลับโรงแรมก่อน ยาม เย็นจะได้มีเรี่ยวแรงเดินสำรวจเมืองในมุม อืน่ ๆ อีก หลบอยู่ในห้องเพียงระยะเวลาสั้นๆ รอจนกระทั่ ง พระอาทิ ต ย์ ก ำลั ง จะสิ้ น แสง ความร้อนของอุณหภูมิลดแรงลงไปบ้าง จึง โผล่ออกจากห้องไปเดินเทีย่ วก่อนราตรี

23

การเทีย่ วแบบไม่วางแผนก่อนสร้าง บทเรียนให้ได้เรียนรู้อีกบทหนึ่ง เรื่องของ เรื่องก็คือว่า อยากจะไปเดินตลาดเก่ากับ ห้างสรรพสินค้า เดินตลาดเก่าใครๆ ก็รจู้ กั เพราะเป็นย่านที่คนทั่วไปเดินกัน ข้อนี้ไม่มี ปัญหา แต่จะเดินห้าง... ข้อนี้สร้างปัญหา สอบถามผู้ ค นแต่ ก ลั บ ไม่ ใ ครจะรู้ จั ก ลอง ถามกั บ พวกเจ้ า ของร้ า นค้ า เผื่ อ จะรู้ จั ก กั น บ้ า ง ก็ ป รากฏว่ า ถามห้ า คนก็ ไ ด้ ชื่ อ มาห้ า ตลาดทีไ่ ม่ซำ้ กัน ไปถามกับพวกรถโดยสารก็ พาไปอีกตลาดหนึ่ง ตอนนี้หมดเงินไปเกิน ร้อยรูปีแล้วและเวลาก็ล่วงเลยมาหลังสอง ทุ่ม ยังไม่ได้เห็นห้างสรรพสินค้าเลย แต่ก็ ทำให้ได้ไปเห็นตลาดคนเดินหลายแห่ง จน กระทั่งมาโผล่ที่ป้อมอัคราอีกรอบหนึ่ง จึง คิดว่าคืนนี้พอแค่นี้แหละ เสียเวลาและเสีย เงินโดยใช่เหตุ สิ่ ง ที่ ก ลายเป็ น บทเรี ย นก็ คื อ ถ้ า บอกชื่อสถานที่ที่ต้องการไปไม่ชัดเจนว่าจะ ไปลงตรงไหน จะเป็นเหตุให้เสียเงินไปโดย เปล่าประโยชน์ พลอยทำให้การตกลงราคา ค่ารถจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งสร้างความไม่ ชั ด เจน พวกรถรั บ จ้ า งสามารถเรี ย กค่ า โดยสารจากนักท่องเที่ยวได้มากเลยทีเดียว พวกเขามักจะเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอเพราะไป


24

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ลงไกลเกินกว่าที่บอกราคาครั้งแรก สำหรับ การไปในระยะใกล้ๆ สามารถเรียกใช้บริการ สามล้อถีบได้ หากไปในระยะไกลควรจะเรียก รถสามล้ อ เครื่ อ งหรื อ รถออโต้ ริ ช อว์ การ หลุ ด ปากบอกพวกรถรั บ จ้ า งว่ า จะไปเที่ ย ว พวกเขามักจะเลือกเส้นทางที่ผ่านร้านค้าที่ พวกเขารู้จักก่อนที่จะพาไปถึงจุดที่ต้องการ ไป พวกเขาจะชักจูงให้ไปแวะดูสักนาทีหนึ่ง ก่อน หากนักท่องเที่ยวไม่เห็นด้วย ก็มักจะ อ้อนวอนให้แวะดูก่อน แต่พอดีผมบอกว่า ไม่... เพียงคำเดียว และไม่ยนิ ดีทจี่ ะลงจากรถ หากยั ง ไม่ พ าไปถึ ง สถานที่ ที่ ต้ อ งการ คิ ด ว่ า ขอเปลี่ ย นรถแล้ ว จ่ า ยเงิ น ให้ ส่ ว นหนึ่ ง แน่นอนแหละว่าพวกเขายอมกลับลำเพื่อไม่ ให้นกั ท่องเทีย่ วรำคาญ ตอนที่ผมเดินตลาดนานสักชั่วโมง หนึ่ง มีคนขับรถรับจ้างคนหนึ่งเข้ามาสอบ ถามว่าจะไปไหน แต่ได้ตอบปฏิเสธไป ทว่า เขากลับรอให้นักท่องเที่ยวอย่างผมไปเที่ยว นานสั ก ระยะหนึ่ ง ก่ อ น แล้ ว เขาก็ จ ะป้ ว น เปี้ ย นอยู่ แ ถวนั้ น บอกให้ ผ มรู้ ตั ว และให้ เห็นว่า... จะเป็นลูกค้าของเขาในเร็วๆ นี้... ถ้าต้องการไปทีอ่ นื่ ผมก็เห็นๆ อยู่ แต่ตอนที่ ผมจะไปที่อื่นจริงๆ ผมกลับไปเรียกรถคัน

อื่ น แทน เพราะจอดอยู่ ใ กล้ ก ว่ า แต่ ก าร หมายตาของเขา ทำให้เขาต้องรีบเข้ามาหา ผมทันที ก่อนที่จะเสียลูกค้าที่เฝ้ารอนานนับ

ชั่วโมงไป เขาคุยกับคนขับรถที่ผมเพิ่งเรียก มาใหม่ คุยกันเป็นภาษาท้องถิ่น เดาว่า... นักท่องเที่ยวคนนี้เป็นลูกค้าของเขานะ ไม่ ควรจะขึน้ รถคันอืน่ ... อะไรประมาณนี้ พวก เขาตกลงกั น อย่ า งไรก็ ไ ม่ อ าจจะทราบได้ สุดท้ายแล้วคนที่ผมเรียกมาใหม่นี้ขอให้ผม ไปกับเขาคนนั้นในราคาที่เท่ากัน (ไม่รู้ว่า ใครแย่งลูกค้าใคร?) อย่าลืมซิว่า! ผมกับเขากลายเป็น เพือ่ นกันแล้ว... ในตอนทีเ่ ขามาถามว่าผมจะ ไปไหน การที่ผมปฏิเสธว่ายังไม่ไป เขาได้ แนะนำตัวต่อผมแล้ว ซึ่งต่อมาผมจึงเข้าใจ ว่า... นี่คือการจองตัว เพราะเขาก็ถามนาม ของผมเหมือนกัน... ตอนนีต้ า่ งฝ่ายต่างรูจ้ กั กันแล้ว เป็นเหตุให้ผมควรจะต้องใช้บริการ ของเขามากกว่าที่จะไปหาคนอื่น (คงเป็น กันอย่างนี)้ ช่วงเพียงระยะเวลาวันสองวันที่มา เที่ยวเมืองอัคราจะพบแบบนี้อยู่ร่ำไป จน ทำให้คิดว่าที่นี่พวกเขาคงเป็นกันอย่างนี้เอง แต่ผมก็ใจแข็งต่อสู้กับด่านต่างๆ ระหว่าง ทาง จะได้สูญเสียเงินให้น้อยที่สุดหรือจ่าย เท่าทีจ่ ำเป็น คืนนี้กลับไปนอนพักด้วยบทเรียน ตามทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วข้างต้น สนุกไปอีกแบบ หนึง่ พร้อมๆ กับการเรียนรูช้ วี ติ บนท้องถนน ด้วย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พอเช้าวันใหม่ ซึง่ เป็นวันทีส่ ามของ การอยู่ในอินเดีย และเป็นวันที่สองของการ อยูใ่ นเมืองอัครา แต่การเทีย่ วในวันนีไ้ ม่คอ่ ย คล่อง ต้องวกไปวนมาระหว่างโรงแรมกับ สถานีรถไฟ เป็นเพราะว่ามีสถานีรถไฟ 2 แห่ง แล้วก็ไม่ทราบว่าตั๋วที่มีอยู่นี้หมายถึง สถานีใด ทำให้ตอนสายๆ ต้องลุยหาข้อมูล อีก แต่เจ้าของโรงแรมให้ข้อมูลเป็นประโยชน์ มาก ทำให้หาข้อมูลได้เร็วขึน้ เมือ่ ไปถึงสถานีรถไฟ ก็สำรวจสถานที่ทันที สอบถามเจ้าหน้าที่ซึ่งพวกเขาใจดี มากทั้ ง ให้ ค ำตอบอย่ า งชั ด เจนและสร้ า ง ความอุน่ ใจให้กบั นักท่องเทีย่ ว จนมัน่ ใจว่าจะ ต้องทำอย่างไร แล้วจึงกลับโรงแรมเพื่อนำ สัมภาระต่างๆ มาฝากไว้ที่สถานีรถไฟ ซึ่ง ต้ อ งแสดงตั๋ ว นั่ น หมายความว่ า จะมี ก าร เดินทางในช่วงเวลาที่ไม่ห่างจากเวลาฝาก กระเป๋ามากนัก และจากเวลานีไ้ ปจนถึงตอน เย็น... ก็สามารถเทีย่ วได้แล้ว ด้ า นหน้ า ของสถานี ร ถไฟเป็ น คิ ว จอดรถเมล์ เห็นรถเมล์สภาพใหม่มากๆ จ่าย 10 รูปตี ลอดสาย ฉะไหนเลยจะมองข้ามไป ต้องทดลองนั่งดูสักเที่ยว จะไปไหนก็ยังไม่รู้ คิดว่านัง่ ไปดูไป ตรงไหนน่าดูกค็ อ่ ยลง ตอน นี้รู้แล้วว่าที่ไหนคือที่ไหนและอยู่ห่างไกลกัน แค่ ไ หน ทราบเงื่ อ นไขนี้ แ ล้ ว ก็ น ำไปตกลง ราคากับรถรับจ้างได้

25

ตอนบ่ายๆ เดินตามตลาด ได้พบ กั บ กลุ่ ม วั ย รุ่ น จึ ง ลองถามดู ว่ า พอจะรู้ จั ก ห้างสรรพสินค้าบ้างหรือเปล่า ปรากฏว่าได้ คำตอบดีมาก พวกน้องๆ ถามว่าต้องการ ไปซื้ อ อะไรหรื อ เดิ น ตลาดแบบไหน แบบ ติดแอร์ก็มีนะ เลยอยากไปห้างติดแอร์ที่มี โรงหนังด้วย พวกเขาจดชื่อห้างพร้อมชื่อ ถนนให้เสร็จสรรพ แล้วเอาชื่อนี้ไปบอกกับ พวกรถออโต้รกิ ชอว์ พวกเขายังบอกราคาที่ ควรจะต้องจ่ายให้ด้วย อย่างนี้เรียกว่าถาม ถูกเรือ่ งถูกคนแล้ว ห้างสรรพสินค้าที่กล่าวถึงนี้อยู่ไกล จากตัวเมืองเก่ามาก มินา่ ล่ะ... ใครๆ จึงไม่ ค่อยไปกัน คนที่มีรถส่วนตัวเท่านั้นจึงจะไป ได้ หากนั่งรถรับจ้างไปก็แพงทีเดียว ห้าง สรรพสินค้าไม่ได้อยูใ่ นตัวเมืองแบบเมืองไทย บ้านเรา นั่งรถรับจ้างจากตัวเมืองเก่าไป ห้างสรรพสินค้านานเกือบชัว่ โมง ถนนค่อน ข้างโล่งและรถไม่ตดิ ไปเดินห้างสรรพสินค้าเพราะอยาก จะดูหนังบอลลีวู้ด แต่เรื่องที่อยากดูมีรอบ เย็น แล้วยังมีปญ ั หาเรือ่ งกระเป๋าเป้ทไี่ ม่ให้ เอาเข้ า ไปในโรงหนั ง อี ก ต้ อ งฝากไว้ ด้ า น นอกสถาน สรุปว่าไม่ดูจะดีกว่า เอ้อระเหย ลอยชายอยู่ในห้างสรรพสินค้านานหลาย ชัว่ โมง แม้วา่ จะได้ชอื่ ว่าเป็นห้างสรรพสินค้า ใหญ่แต่ไม่ใหญ่มากแบบเมืองไทย


26

เปรม ปราณ ปัญจาบ

จากห้างสรรพสินค้าก็กลับไปตลาด เพื่อหาอะไรอร่อยๆ และไม่แพงมากนัก แต่ ไปเดิ น ตลาดเก่ า ก็ ดั น ไปเจอกั บ พวกรถ รับจ้างรายเดิมอีก (เมื่อวานนี้) แต่คราวนี้ ผมไม่สนใจ เขาก็เข้ามาทัก เผลอบอกไปว่า จะเลื อ กใช้ บ ริ ก ารจากคุ ณ ถ้ า ยั ง เจอกั น อยู่ แถวๆ นี้ ก็ ไ ม่ คิ ด ว่ า จะเกิ ด อะไรขึ้ น แต่ ปรากฏว่าผมคาดการณ์ผิด เขารอให้เรียก จริงๆ พอผมออกจากร้านหนึ่ง ก็ปรากฏว่า เขามารอหน้าร้านแล้ว ผมก็บอกว่ายังไม่ไป ตอนนี้ ห รอก แม้ ว่ า จะมี ลู ก ค้ า ชาวอิ น เดี ย หลายรายมาเรียกให้เขาไปส่ง เขาก็ไม่ยอม ไป (แอบมองเล็กน้อย) จะรอจนได้ผมเป็น ลูกค้าเสียก่อน (เขาคงท่องคาถา... ลูกค้าคือ พระเจ้า) ผมเดิ น หาอาหารสำหรั บ มื้ อ เย็ น เป็ น การส่ ง ท้ า ยอำลาอั ค ราด้ ว ยการชิ ม อาหารขึ้นชื่อลือชาประจำเมือง นั่นคือไก่ เสียบอบโอ่ง (ผมตัง้ ชือ่ ให้เอง) สองสามวันนี้ ได้กินไก่ตลอดเลย เช้ากลางวันและเย็นกิน ข้าวผัดไก่กบั ซุบไก่ ตกเย็นนีก้ นิ ไก่ไม่กนิ ข้าว เพราะร้านขายไก่ไม่ขายข้าว ไม่เช่นนั้นต้อง ซื้อข้าวร้านหนึ่งซื้อไก่ร้านหนึ่ง ดูจะวุ่นวาย ไปหน่อย

ดูเมนูแล้วน่าสนใจหลายรายการ ก็ ไ ปยื น ดู วิ ธี ท ำก่ อ น ยั ง ไม่ สั่ ง เลยที เ ดี ย ว ร้านที่ว่านี้เป็นร้านริมถนน แต่ถือว่าเป็น ร้านมียหี่ อ้ ในช่วงเวลานีพ้ วกขอทานก็จะมา ป้วนเปีย้ นรอบๆ ตัว ร้องขอส่วนแบ่ง พวก เขามักจะทำท่ากินกับท่าลูบท้องให้ดู ผม ต้องทำเป็นไม่สนใจ ถ้าสนใจแล้วเรื่องยาว และเป็นเรื่อง เพราะพวกเขามีเกินสิบคน ให้คนหนึ่งก็ต้องให้อีกหลายคนด้วย มีทุก เพศทุ ก วั ย ผมต้ อ งขอบคุ ณ พนั ก งานของ ร้านขายไก่เขาก็รใู้ จ เขาบอกให้พวกขอทาน ไปที่อื่น มายืนจ้องนักท่องเที่ยวนานเกินไป ผมยิ้มขอบคุณพนักงาน เขารู้ว่าผมโล่งใจ ผมจึงขอถ่ายรูปพวกเขาเป็นที่ระลึก พวก เขาดีใจมาก ถ้าเป็นมิตรอย่างนีก้ พ็ อคุยได้ หลังจากที่ได้เห็นลีลาการทำไก่อบ โอ่งแล้ว ก็เห็นทีจะทนไม่ไหวอีกต่อไป ต้อง ขอหนึง่ จาน ไก่อบโอ่งทีว่ า่ นีเ้ รียกว่า ทันดูรี ซิกเก้น (Tandoori Chicken) เป็นไก่ชิ้น เล็กๆ ทีห่ มักจนได้ที่ แล้วนำไปเสียบไม้หรือ เหล็กก่อนทีจ่ ะเอาไปอบในโอ่ง นีเ่ ป็นอาหาร ทีข่ นึ้ ชือ่ ลือชาของเมืองอัครา ไม่ชมิ ก็ไม่รวู้ า่ มีรสชาติเป็นอย่างไร ขออร่อยก่อนเดินทาง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

จวบจนเวลาที่ คิ ด ว่ า จะต้ อ งออก จากตลาดไปสถานีรถไฟแล้ว เจ้ารถรับจ้าง คนเดิมก็เข้ามาโดยไว คิดว่าสองชัว่ โมงทีผ่ ม อยู่แถวตลาด เขาไม่ไปส่งลูกค้าชาวอินเดีย เลย รอผมเป็นลูกค้าอยู่คนเดียว เมื่อบอก ว่าจะไปสถานีรถไฟ ซึ่งอยู่ไกลจากตลาดนี้ มากๆ เขาคิดหนักเลย รถเขาไปไม่ได้ ดู ท่าทางเขาผิดหวังอย่างมาก ผมบอกว่าขา มาจ่ า ยไปเท่ า นี้ ขากลั บ ก็ จ ะจ่ า ยเท่ า นี้ เพราะรู้ราคาแล้ว สุดท้ายแล้วเขาแก้ไขด้วย การให้ผมรอสักหนึ่งนาที เขาไปตามพรรค พวกเขามา เอารถที่แรงๆ วิ่งไกลมา ด้วย ราคาที่ผมแจ้งไป เขาขอเพิ่มนิดหน่อยอ้าง ว่ า เป็ น รถใหม่ วิ่ ง แรง ผมจึ ง ตอบตกลง เพราะอย่ า งไรเสี ย เงิ น ก้ อ นเล็ ก ๆ นี้ ก็ เ ข้ า กระเป๋าพวกเดียวกัน คิดว่าเงินที่ขอเพิ่มนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเป็นรถใหม่หรอก แต่เป็นค่า เสียเวลาให้เขา 10 รูป ี ยั ง เหลื อ เวลาอี ก ราวหนึ่ ง ชั่ ว โมง ก่อนจะขึน้ รถไฟจากเมืองอัครากลับสูน่ วิ เดลี

27

กลับไปรับกระเป๋าคืน ซึ่งชำระเงิน ค่าธรรมเนียมไปแล้วเพียงนิดหน่อย แล้วมา หาที่ นั่ ง พั ก เพื่ อ นั่ ง ดู ผู้ ค นเดิ น ทางไปมา มี ขอทานมาขอเงินขออาหารอยู่เรื่อยๆ ต้อง นิง่ ... หากใจดีกจ็ ะเรือ่ งยาว นอกจากนี้ ยังมี พวกขัดรองเท้า บอกว่ารองเท้าคุณสกปรก ควรต้องทำความสะอาด เขาบอกว่าสกปรก นิ ด หน่ อ ยก็ คื อ สกปรก ผมก็ บ อกว่ า ไม่ เ อา เขายังยืนรอสักครู่ คงเห็นว่าผมไม่มีเยื่อใย สุดท้ายเขาก็เดินจากไป มีพวกที่มาขอเย็บ กระเป๋าที่ขาดอีก พวกขายกุญแจ โซ่ล็อก กระเป๋ า บนรถไฟ ซึ่ ง ผมต้ อ งปฏิ เ สธหมด พวกเขามักจะร้องทักก่อนว่า ฮัลโหล คุณมา จากไหน การตอบคำถามพวกนี้หมายความ ว่าคุณให้ความสนใจแก่พวกเขาแล้วนะ ซึ่ง

จะเป็นเหตุให้ต้องคุยกับเขาต่อไปอีกหลาย ประโยค และมีโอกาสเป็นลูกค้าของเขาด้วย สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้นึกถึงคำเตือน ของเจ้าของโรงแรมที่ผมพักในย่านตาชกันจ์ ซึง่ นับถือท่านสัตยไสบาบา คำพูดนัน้ ... ตอน

ท่านสัตยไสบาบา (Sathya Sai Baba), ภ.ฮินดี : เป็นผูน้ ำทางจิตวิญญาณบุคคลสำคัญและมีชอื่ เสียงของอินเดียในยุคปัจจุบนั ท่านทำงานเพือ่ สังคมโดยเน้นด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล ฯลฯ


28

เปรม ปราณ ปัญจาบ

นีล้ อยอยูใ่ กล้หอู กี ครัง้ คุณลุงเตือนว่า ABC! มาจาก Avoid Bad Company! (จงหลีก เลี่ยงพวกบริษัทเลวๆ!) ซึ่งจะเข้ามาใกล้ตัว ด้วยทุกรูปแบบ หากรู้ตัวแล้วจงรีบปฏิเสธ หรือแก้ไข ห้ามคุยนานหรือตอบคำถามคน แปลกหน้ า พวกมิ จ ฉาชี พ ที่ เ ป็ น ชาวต่ า ง ประเทศซึ่งมาอยู่ในอินเดียนานๆ ก็อาจจะ เป็นเหตุให้คุณเสียเงินเสียเวลา พวกนี้มักจะ

อ้ า งว่ า รู้ ร ะบบอิ น เดี ย ดี ส ามารถช่ ว ยอะไร ต่างๆ ให้ได้ด้วยราคาถูก คำว่า ABC! นี้ น่าสนใจมาก และแล้วรถไฟขบวนกลับเมืองหลวง ก็มาจอดเทียบชานชลาตามเวลาที่ระบุ จึง กล่าวคำอาลาอัคราอย่างเบาๆ เจ้าทีเ่ จ้าทาง คงจะได้ยนิ กระมัง

1. เมือ่ ก้าวเข้าสูส่ วุ รรณวิหารแห่งเมืองอมฤตสาร์ 1


เปรม ปราณ ปัญจาบ

29


เปรม ปราณ ปัญจาบ

30

1

2

3 4 5

1. สถานีรถไฟเมืองอมฤตสาร์ มีสวุ รรณวิหารจำลองตัง้ แสดงอยูท่ ดี่ า้ นหน้าสถานี 2. นิวาสสถาน ทีพ่ กั ในเขตอภัยทานสุวรรณวิหาร (ทีพ่ กั ของผูเ้ ขียน) 3.–4. คุณบาลบินและคุณแฮปปี้ มิตรชาวปัญจาบี ผูด้ แู ลนักศึกษาไทยในปัญจาบ 5. ป้ายทะเบียนรถในรัฐปัญจาบใช้ตวั อักษรย่อ PB คือ PunjaB (ป้ายทะเบียนรถ ในอินเดียใช้ตวั อักษรย่อภาษาอังกฤษ 2 ตัว บอกรัฐ)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

31

ก้าวแรกทีอ่ มฤตสาร์ ราวห้ า โมงเย็ น เห็ น จะได้ ขบวน รถไฟที่แล่นมาตลอดทั้งวันจากเมืองหลวง นิวเดลีกำลังจะมาจอดที่สถานีอมฤตสาร์แล้ว มี ผู้ โ ดยสารเตรี ย มตั ว ลงสถานี นี้ ม ากพอ สมควร เพราะอมฤตสาร์ เ ป็ น เมื อ งใหญ่ ที่ ใครๆ ต่างก็มากัน รถไฟขบวนทีผ่ มนัง่ มาอมฤตสาร์ มี สถานีต้นทางที่เมืองดาดัรในรัฐมหาราษฎระ (Dadar ตัวย่อในตัว๋ DR) และมีสถานีปลาย ทางในรัฐปัญจาบ รวมระยะทาง 2,037 กิโลเมตร ผมขึ้นระหว่างทางที่สถานีนิวเดลี (NDLS) กิโลเมตรที่ 1,535 เพื่อมาลงที่ อมฤตสาร์ (ASR) ด้ ว ยระยะทาง 502 กิโลเมตร ราคาตั๋วนอนปรับอากาศ 822 รูปี (ประมาณ 575 บาท) ซึง่ ดร.อมรชีพ กรุณาช่วยซื้อให้ โดยซื้อผ่านระบบบริการ จำหน่ า ยตั๋ ว อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (Electronic Reservation Slip) เป็นการจำหน่ายตั๋ว

รถไฟผ่านทางอินเทอร์เน็ต (E-Ticketing Service) แต่ ต อนขึ้ น รถไฟจริ ง ๆ ปรากฏ ว่ า ขบวนนี้ มี ปั ญ หาอะไรสั ก อย่ า งหนึ่ ง มี ประกาศแจ้งเปลี่ยน ให้ไปขึ้นอีกขบวนหนึ่ง แทน แต่ยงั คงใช้ตวั๋ เดิมและทีน่ งั่ เดิมทัง้ หมด ในนาทีที่รถไฟกำลังจะจอดที่สถานี อมฤตสาร์ ผมก็กุลีกุจอเตรียมตัวจะลงเช่น เดียวกับอีกหลายคน แต่ผมอยู่ด้านในทำให้ เกิดความไม่สะดวก แล้วอยูๆ่ ก็มคี ณ ุ ลุงชาว ซิกข์คนหนึ่งบอกว่าไม่ต้องรีบหรอก... รถไฟ จอดให้คุณลงแน่ๆ ผมเลยถอยมาก้าวหนึ่ง พร้ อ มยิ้ ม กลั บ ไปอย่ า งไทยๆ เอาเถอะ... อยากจะลงจากรถไฟใจจะขาดอยู่แล้ว เหตุที่ รีบเร่งก็เพราะว่าสถานีอมฤตสาร์ไม่ใช่เป็น สถานีปลายทางของรถไฟขบวนนี้ จะจอดที่ สถานีนี้เพียงไม่กี่นาที ทำให้การรีบขึ้นลง รถไฟกลายเป็ น ภาพที่ เ ห็ น จนชิ น ตาไปเสี ย แล้ว


32

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทันทีที่ลงจากรถไฟ ยังไม่ทันจะได้ ตัง้ หลักเลย คุณแฮปปี้ (Mr.Happy) มายืน รอรับทีห่ น้าตูโ้ บกีเ้ สียแล้ว (ตูร้ หัส A2) เขา เดินเข้ามาทักและถามว่ามาจากเมืองไทยใช่ ไหม พอตอบว่าใช่ เขาก็แนะนำตัวว่ามารับ แทนคุณบาลบิน (Mr.Balbin) แล้วพวกเขาก็ โทรศัพท์คยุ กัน เนือ่ งจากเป็นการพบปะกัน ครั้งแรกของพวกเรา ซึ่งรู้จักกันเฉพาะชื่อ เท่านั้น แต่หลังจากที่ได้คุยกันแล้วก็เป็นที่ กระจ่าง สรุปได้วา่ พวกเราเป็นคนกันเองทัง้ นั้น ผมต้องระวังตัวมาก เพราะได้รับการ กำชับอยูเ่ สมอว่า โปรดระวัง ทีส่ ถานีรถไฟ ไม่ควรจะไว้ใจใครทั้งนั้น มีพวกมิจฉาชีพ ชอบมาตีสนิทกับนักท่องเทีย่ ว สำหรับเรือ่ ง การจัดการใดๆ ในเมืองอมฤตสาร์นั้น คุณ บาลบินจะเป็นคนหลักคอยดำเนินการให้ พวกเราเริ่ ม ต้ น ผู ก มิ ต รกั น คุ ณ แฮปปีจ้ ะยกสัมภาระต่างๆ ให้กบั ผม ซึง่ ผม เกรงใจมาก จึงไม่ยอมให้เขาช่วย แต่เขา อธิบายว่าในขณะนี้ผมเป็นแขกของเขาแล้ว ต้องให้เขาดูแลจึงจะถูกต้องตามธรรมเนียม เป็นอันว่าต้องมอบสัมภาระให้เขาดูแล ช่วย ทำให้ผมโล่งตัวโล่งใจ พวกเราเดินออกจากบริเวณชานชลา มาที่ ด้ า นหน้ า ของสถานี ซึ่ ง เป็ น โถง ใหญ่ บริเวณนี้มีสุวรรณวิหารจำลองให้ชม

ด้วย บอกให้ทราบว่าคุณมาถึงอมฤต-สาร์ แล้ว พวกเรารอให้ทุกคนในคณะมารวมตัว จนพร้ อ มหน้ า พร้ อ มตากั น พู ด คุ ย กั น เล็ ก น้อยพอหอมปากหอมคอ ตอนนี้รอบข้างตัว ผมเริ่ ม มี ค นมาดู ค นหน้ า แปลกแล้ ว คงจะ เป็ น เพราะหน้ า ตาของเผ่ า พั น ธุ์ ส ยามไม่ เหมือนทางอินเดียกระมัง ผู้คนพากันสงสัย และอยากมอง พวกเขาเดินเข้ามามองกัน จะๆ (เจอแขกขี้สงสัย) สักพักหนึ่งมีคนมา ถามว่าต้องการแท็กซีไ่ หม สามล้อไหม และ สิ่ ง อื่ น ๆ อี ก สารพั ด เป็ น เหตุ ใ ห้ พ วกเรา รำคาญ ต้องหยุดคุยเพื่อหันไปโต้ตอบ จน กระทั่งพวกเราตัดสินใจพากันไปขึ้นรถเพื่อ เดินทางเข้าทีพ่ กั รถสี่ ล้ อ คั น เล็ ก วิ่ ง ออกจากสถานี รถไฟ เปิดกระจกรับลมและชมวิว มุง่ หน้าสู่ ถนนย่านการค้าในเขตเมืองเก่า ถนนสายนี้ มีชื่อว่า ฮอลล์บาซาร์ (Hall Bazar) เส้น ทางสู่สุวรรณวิหาร ตลอดทางเป็นตึกแถว ยาวเปิดขายของสารพัดอย่าง สมกับเป็น ตลาด เพราะบาซาร์แปลว่าตลาด ในเมือง เก่าพลุกพล่านไปด้วยผู้คนและจอแจไปด้วย รถรา เข้าออกตามซอกซอยเป็นใยแมงมุม ดู แล้วชักเริ่มเวียนหัว สงสัยอยากจะพักผ่อน เสียแล้ว


เปรม ปราณ ปัญจาบ

จากฮอลล์บาซาร์ไปที่สุวรรณวิหาร นัน้ ใกล้นดิ เดียว ทีพ่ กั อยูใ่ นเขตอภัยทานของ สุวรรณวิหาร จะขนสัมภาระเข้าไปด้านใน ก็ จะต้องผ่านซุ้มประตูใหญ่ (เป็นเขตรอบนอก สุวรรณวิหาร) จังหวะก้าวผ่านซุม้ ประตูผคู้ น มักจะก้มตัวลงเพื่อใช้มือสัมผัสพื้นแล้วนำเศษ ธุลีมาสัมผัสที่หน้าผาก ปฏิบัติเช่นนี้เป็นการ แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนก่อนเข้าสู่ศาสนสถาน ที่ พั ก ไม่ ไ ด้ เ รี ย กว่ า โรงแรมหรื อ โฮเต็ล แต่เรียกว่า นิวาส (niwas) ทำให้ นึกถึงคำว่านิวาสในภาษาไทยซึ่งแปลว่าที่พัก หรือที่อยู่อาศัย สำหรับที่พักแห่งนี้มีนามว่า ศรีคุรุอรยันเดวนิวาส เป็นพระนามของพระ ศาสดาพระองค์ที่ 5 ในศาสนาซิกข์ ป้ายชือ่ ของนิวาสใช้เพียงสองภาษาคือภาษาปัญจาบี กับภาษาอังกฤษ ได้ห้องพักหมายเลข 60 ช่างจำ ง่ายดีจริงๆ ห้องอยู่บนชั้น 3 (นับตามชั้น)

33

แต่ อั น ที่ จ ริ ง พวกเขาเรี ย ก the second floor นับแบบอังกฤษ (สำหรับชั้น 2 คือ the first floor ส่วนชั้นแรก คือ ชั้น G หรือ the ground floor ตามลำดับ) พวก เราพากันขนข้าวของขึ้นบันได เพราะมีลิฟท์ เพียงแค่ตัวเดียว ผู้คนมากมายรอลิฟท์อยู่ ครั้นจะไปยืนสมทบให้จำนวนคนมากเข้าไป อีก ก็ดจู ะเสียเวลามาก สรุปว่าเดินขึน้ บันได ดีกว่า ห้องพักเป็นห้องที่กว้างขวาง อากาศ ถ่ า ยเทดี ทำให้ พ วกเราได้ นั่ ง คุ ย ต่ อ กั น อี ก หน่อย ทางคุณบาลบินกับคุณแฮปปี้พยายาม ย้ำเรื่องความปลอดภัยในทรัพย์สิน ย้ำว่าถ้า ออกห้องทุกครัง้ ต้องปิดประตูและล็อกกุญแจ ทันที หากมีใครมาคุยเรื่องการเงินหรือแจ้ง ให้ยา้ ยห้อง ขอให้โทรกลับทันที คุณบาลบิน จะเป็นธุระให้ แต่ถ้ามีคนมาขอเงินประเภท ขอทานหรือขอทิป อย่าให้เป็นอันขาด เพราะ สถานทีแ่ ห่งนีไ้ ม่มเี รือ่ งประเภทนี ้

ภ.ฮินดี : ตลาด เรียกว่า “บาซาร์” (bazar), ภ.ปัญจาบี : ทีพ่ กั เรียกว่า “นิวาส” (niwas), ภ.ปัญจาบี : ภ.ฮินดี : “ศรีครุ อุ รยันเดว นิวาส” (Shri Guru Arjan Dev Niwas), ภ.ปัญจาบี :


34

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เรื่ อ งการขอพั ก ในนิ ว าส จะขอ ขยายความให้กระจ่างว่า ห้องพักภายใน สุวรรณวิหารมีความแตกต่างจากการพัก ตามโรงแรม กล่าวคือ ห้องพักเน้นรองรับ สำหรั บ ผู้ ค นที่ เ ดิ น ทางไกลเพื่ อ มาปฏิ บั ติ ศาสนกิจ ปกติจะให้พักค้างแรมได้ครั้งละ สั ก สามคื น เท่ า นั้ น ไม่ ใ ช่ ก ารพั ก นานเกิ น สัปดาห์ คุณบาลบินหาทางออกด้วยการขอ พักเพียงสีค่ นื ต่อครัง้ ซึง่ หมายความว่าทุกสี่ วันจะต้องกลับมาแจ้งความจำนงขอพักใหม่ อีกรอบหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง นิวาส แห่งนีส้ ำหรับรองรับเฉพาะชาวอินเดีย หาก เป็นชาวต่างชาติจะต้องไปพักที่นิวาสแห่ง อืน่ ซึง่ อยูใ่ กล้ๆ แต่การได้พกั ทีน่ กี่ เ็ ป็นเพราะ นามผู้ จ องห้ อ งเป็ น นามของมิ ต รใหม่ ช าว ซิกข์นนั่ เอง เมื่อจบเรื่องหนึ่ง ก็มาคุยต่อเรื่อง การพั ก อาศั ย และกฎระเบี ย บต่ า งๆ ซึ่ ง

เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากนิวาสอยู ่ ในเขตอภัยทาน จึงไม่สามารถนำอาหาร ประเภทเนือ้ สัตว์ตา่ งๆ เข้ามาบริโภคภายใน นิวาสได้ แต่ไม่มปี ญ ั หาหากจะออกไปหากิน ข้างนอกให้เสร็จเรียบร้อย ข้อนีร้ วมถึงเรือ่ ง เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์และการสูบ บุหรีด่ ว้ ย ด้ ว ยความเป็ น ห่ ว งเป็ น ใย ทั้ ง

คู่ได้กำชับเรื่องความปลอดภัย จะไปที่ใด

ก็ตาม ให้พกหนังสือเดินทางไปด้วย รวมทัง้ กล้องถ่ายรูป เงินทองของมีค่าทั้งหลายให้ นำติดตัวไป ไม่ควรจะวางทิ้งเอาไว้ในห้อง แม้วา่ ในห้องของนิวาสจะถือว่าปลอดภัยทีส่ ดุ และไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่อย่างไรก็ดี ต้อง เผื่ อ ใจไว้ สั ก หน่ อ ย... ยั ง มี โ อกาสเกิ ด เหตุ

ขึน้ ได้หากประมาท หลังจากที่พูดคุยและซักซ้อมความ เข้าใจให้ถูกต้องตรงกันแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็ ต้องการพักผ่อน จึงกล่าวลากันในราวทุ่ม เศษๆ พอแยกย้ายกันแล้วผมก็ทิ้งตัวลงนอน สักพักใหญ่ ก็ต้องวางทุกอย่างไว้ในห้องเพื่อ ออกไปข้างนอก เพราะท้องร้องเสียงดังใหญ่ เลย เดินไปเรือ่ ยๆ บนถนนในยามราตรี ของค่ ำ คื น แรก เน้ น ไปตามเส้ น ทางหลั ก เห็นร้านใดดูดีและน่ากินก็แวะสอบถามว่ามี อาหารอะไรบ้าง ร้านอาหารเรียกว่า ตาบา คำถามแรกที่จะต้องสอบถามก่อนก็คือเป็น ร้านประเภท veg. (vegetarian) หรือ non veg. (non vegetarian) หมายความว่ า จำหน่ า ยอาหารประเภทมั ง สวิ รั ติ ห รื อ เนื้ อ สัตว์ สำหรั บ ร้ า นอาหารในรั ศ มี ส อง กิ โ ลเมตรรอบทิ ศ ของสุ ว รรณวิ ห ารจะ จำหน่ า ยเฉพาะอาหารประเภทมั ง สวิ รั ติ เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นเขตปลอดเนื้อสัตว์


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ เรียก ได้ว่าเป็นเขตพิเศษที่ไม่มีการจำหน่ายและ บริโภค หากอยากลิ้มรสอาหารประเภทเนื้อ สัตว์กต็ อ้ งเดินไกลออกไปอีกหน่อย เรื่ อ งดั ง กล่ า วถื อ เป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี มาก ประชาคมชาวอมฤตสาร์เอาจริง ผม ลองแวะสุ่มถามดูสักสองสามร้านว่า มีไก่ ทอดขายไหม (ถ้าหน้าร้านไม่มี แล้วหลัง ร้ า นมี ไ หม) แต่ ล ะร้ า นต่ า งตอบเป็ น เสี ย ง เดียวกันว่าไม่มี แถมยังยอมเสียเวลาอธิบาย ให้ชาวต่างชาติผมู้ าเยือนได้รบั ทราบถึงกติกา ทางสังคมอีกด้วย เรื่องนี้ต้องกล่าวชื่นชม การจัดระเบียบทางสังคมของเมืองอมฤตสาร์ ความพร้อมใจกันร่วมรักษากติกาเป็น เรือ่ งสำคัญ พอดีระหว่างเดิน มีคุณลุงคนหนึ่ง ถี บ สามล้ อ หาลู ก ค้ า ตะโกนถามผมว่ า จะ ไปไหน เลยบอกว่ า อยากกิ น อะไรอร่ อ ยๆ เหมือนเขาจะรู้ใจ เขาบอกว่าได้เลย... เดี๋ยว พาไป (ตกลงกันที่ 20 รูปี หรือประมาณ 14 บาท) นั่งสามล้อ ซึ่งพาเลี้ยวซ้ายทีเลี้ยว ขวาที เพียงอึดใจเดียวก็ถึงร้านที่ว่าอร่อย แล้ว คงออกมาเกินสองกิโลเมตรแล้ว ร้าน

35

อาหารแอบอยู่ในซอย เข้าไปไม่ลึกนัก ร้าน ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ช่วงเวลานี้ใครๆ ก็หิว กัน ลูกค้าจึงเต็มร้าน แต่โชคดียงั พอมีโต๊ะให้ นัง่ สบายๆ อยูช่ นั้ บน อาหารมื้อค่ำมื้อแรกที่เมืองอมฤตสาร์ ก็คือข้าวหมกไก่ นั่งรอสักครู่อาหาร จานเด็ดก็ถูกนำมาวางต่อหน้าต่อตา กลิ่น หอมเรี ย กน้ ำ ย่ อ ยได้ ดี ที เ ดี ย ว ข้ า วหมกไก่ เสิ ร์ ฟ พร้ อ มแตงกวากั บ หั ว หอมสดๆ หนึ่ ง จานใหญ่ คิดว่าหากนั่งคนเดียว สั่งมาหนึ่ง จานอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ปัญหาที่ว่านี้ก็ คื อ กิ น ไม่ ห มด หนึ่ ง จานสามารถกิ น ได้ ถึ ง สองคน ขณะที่ ก ำลั ง ลิ้ ม รสความอร่ อ ย ก็ ปรากฏว่าลูกค้าแน่นขนัดเต็มร้านไปเสียแล้ว มองดูข้างๆ โต๊ะมีครอบครัวหนึ่งมายืนรอ แล้ว พอหันไปดูรอบๆ ก็เห็นว่าไม่มที วี่ า่ งเลย แม้ที่จะให้ยืนรอก็ไม่มี ทำให้ใครอยากจะนั่ง โต๊ะไหนก็ไปยืนรอหน้าโต๊ะนัน้ เลย เมือ่ มีกลุม่ คนมารอในระยะประชิดตัวขนาดนี้แล้วทำให้ คนนัง่ กินอย่างผมจะค่อยๆ กินอยูไ่ ด้อย่างไร กัน รู้สึกเกรงใจผู้คนทั้งหลายที่ยืนรอ จน ต้องเร่งฝีปากเพือ่ จะได้อมิ่ เร็วๆ (ต้องต่อสูก้ บั ความร้อนแรงของเครือ่ งเทศ)

ร้านอาหาร เรียกว่า “ตาบา” (dhaba), ภ.ฮินดี : มิตรสหาย : ภ.ปัญจาบี : (met, มีต), ภ.ฮินดี : (metr, มิตร)


36

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มื้อแรกของอมฤตสาร์ต้องขอบคุณ คุณลุงสามล้อ เพราะทำให้อีกหลายมื้อต้อง เดินมาเป็นลูกค้าของร้านนี้อีก ทั้งนี้คงเป็น เพราะว่าความอร่อย ความสะอาด ราคา ปริมาณ และการบริการของร้าน เกิดความ ลงตั ว ที่ ร้ า นนี้ อ ย่ า งไม่ น่ า เชื่ อ จนต้ อ งขอ นามบัตรไว้ เดิ น ออกจากร้ า นนี้ ด้ ว ยความอิ่ ม และเดินอย่างไม่กลัวหลง เพราะใครๆ ต่างก็ เดินไปในทิศเดียวกัน คือเดินไปสุวรรณวิหาร แม้ในยามราตรีเช่นนี้ยังมีผู้คนเดินทางมา

จากทั่วทุกสารทิศ ทำให้ถนนทุกสายที่มุ่งสู่ สุวรรณวิหารนั้นจอแจและคับคั่งอยู่ตลอด เวลา บรรดาสามล้อถีบอีกหลายคนก็ร้อง ตะโกนหาลูกค้า “Golden Temple …” เดิ น กิ น ลมยามราตรี ไ ปได้ เ กื อ บ ชั่ ว โมง เมื่ อ หนั ง ท้ อ งตึ ง หนั ง ตาซิ . .. เริ่ ม หย่อ น ความเหน็ ด เหนื่ อ ยที่ ส ะสมมาแบบ ข้ามวันข้ามคืนก็สมควรแก่เวลาที่จะต้องพัก ผ่อนแล้ว ในห้วงเวลาสู่นิทราเช่นนี้จะเอา ช้างมาฉุดก็ไม่อยู ่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

37

ดินแดนทีเ่ รียกว่า “ปัญจาบ” เมื่อกล่าวถึงปัญจาบแล้ว คนไทย โดยทั่วไปอาจจะสงสัยว่าดินแดนดังกล่าวนี้ ตัง้ อยู่ ณ แห่งหนตำบลใด หากสงสัยเช่นนี้ จึงจะขอเริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัวในเมืองไทย ก่อน เราๆ ท่านๆ คงพอจะรู้จักพาหุรัดกัน บ้างไหม หลายคนคงกำลังนึกถึงตลาดขาย ผ้าที่เก่าแก่ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางพระนคร คงคุ้น เคยหรื อ เคยเห็ น ภาพชาวอิ น เดี ย เปิ ด ร้ า น ขายผ้าในย่านนี้ จนกระทั่งมีคนตั้งฉายาให้ พาหุรัดว่าเป็นอินเดียน้อยหรือ The Little India สิ่งต่างๆ ที่คุ้นหูคุ้นตาในย่านพาหุรัด มาจากอินเดีย พาหุรัดจึงกลายเป็นปลาย ทางของเรื่องราวที่เดินทางมาจากอินเดีย ซึ่งมีต้นทางสายหลักมาจากดินแดนที่เรียก ว่าปัญจาบนัน่ เอง ความเป็นวัฒนธรรมปัญจาบีมาลง หลักปักฐานและเจริญงอกงามในไทยนาน นับศตวรรษ ส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมที่มา

พร้อมกับศาสนา เพราะเมือ่ กล่าวถึงปัญจาบ มักกล่าวถึงศาสนาซิกข์คู่กัน เช่นเดียวกับ วัฒนธรรมจากดินแดนส่วนอืน่ ๆ ของอินเดีย ทีเ่ ข้ามาไทยโดยมาพร้อมกับศาสนา ศาสนา ฮินดูมากับกลุม่ พราหมณ์ ศาสนาพุทธมากับ การเผยแพร่ พ ระธรรมสมั ย พระเจ้ า อโศก ดินแดนที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันจึง กลายเป็ น ปลายทางแหล่ ง ใหญ่ ที่ รั บ เอา วัฒนธรรมอันหลากหลายซึ่งมีต้นกำเนิดมา จากอินเดีย แต่ในสังคมไทยเรามักจะกล่าว ถึ ง พุ ท ธกั บ ฮิ น ดู เ สี ย เป็ น ส่ ว นใหญ่ ทั้ ง นี้ ก็ เพราะในวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่นับถือ พุทธ ส่วนฮินดูก็เข้ามาอยู่เก่าก่อนเช่นกัน รับอิทธิพลทัง้ ทางตรงและทางอ้อม คราวนี้ ผมจะพาเราๆ ท่านๆ ทำ ความรู้จักกับปัญจาบกันบ้าง และทำความ รู้จักกับศาสนาซิกข์ ถึงแม้ว่าปัญจาบจะเป็น ดินแดนที่อยู่ห่างไกลจากไทย แต่ความเป็น


38

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัญจาบีเข้ามาอยูใ่ นไทยนานแล้ว ทำให้พวก เรากลายเป็นญาติมติ รกันไปโดยปริยาย ปัญจาบ (Punjab) นามของดินแดน ได้ บ่ ง บอกถึ ง ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศไว้ อ ย่ า ง ชัดเจน ลองมาทำความรู้จักในเชิงภาษาศาสตร์กันสักเล็กน้อย คำว่า ปัญจ (punj) แปลว่า ห้า (5) ยกตัวอย่างเช่นปัญจวัคคีย์ มี 5 คน ดังนัน้ ปัญจ ในคำว่า ปัญจาบ ก็ มีความหมายอย่างเดียวกันคือห้า ส่วนคำว่า จาบ (jab) เดิมอ่านว่า อาบ (aab) แปลว่า แม่น้ำ (water/river) พอเสียงนี้ไปต่อกับคำ ว่า ปัญจ เลยออกเสียง ปัญจ-อาบ (punjaab) เป็น ปัญจาบ (punjab) ปั ญ จาบจึ ง หมายถึ ง แม่ น้ ำ ทั้ ง ห้ า (five waters) หรือความหมายว่าดินแดน แห่ ง แม่ น้ ำ ห้ า สาย (The Land of Five Waters) บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์และ ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศของดิ น แดนแถบนี

้ แม่นำ้ 5 สาย คือ แม่นำ้ เฌลัม (Jhelum) แม่น้ำเจนาบ (Chenab) แม่น้ำราวี (Ravi) แม่ น้ ำ สั ต ลั ช (Sutlej) และแม่ น้ ำ บี อ าส

(Beas) ซึ่ ง มี ต้ น กำเนิ ด มาจากทะเลสาบ ขนาดเล็กบนเทือกเขาหิมาลัย (Himalayas) ปั ญ จาบเป็ น ดิ น แดนในแถบเดี ย วกั บ แม่ น้ ำ

อินดัส (Indus) หรือที่คนไทยเรารู้จักกันใน นามแม่นำ้ สินธุ (Sindhu) นัน่ เอง ดิ น แดนปั ญ จาบเป็ น แหล่ ง กำเนิ ด อารยธรรมลุ่ ม น้ ำ สิ น ธุ (Indus valley civilization) จากหลักฐานทางโบราณคดี จำนวนมาก ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐาน ว่า บริเวณปัญจาบมีประวัติศาสตร์มากว่า 6,000 ปี ถือว่าได้ปัญจาบเป็นแหล่งสร้าง วัฒนธรรมอินเดีย จากการค้นพบอาณาจักร โบราณฮารัปปา (Harappa) และโมเฮน- โจดาโร (Mohenjodaro) ปั จ จุ บั น อยู่ ใ น ปากีสถาน ดิ น แดนแห่ ง แม่ น้ ำ ห้ า สายในอดี ต นั้นได้ผ่านร้อนผ่านหนาวกับเรื่องราวและ เหตุการณ์สำคัญอย่างมากมายทั้งเรื่องทาง ประวัติศาสตร์ อารยธรรม ศาสนา และ การต่อสู ้

รัฐ “ปัญจาบ” : ภ.อังกฤษ : Punjab, ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัญจาบ (ปากีสถาน)

39

ปัญจาบ (อินเดีย) ลาฮอร์ อมฤตสาร์ ปากีสถาน อินเดีย

2 1

1. แผนที่แสดงพื้นที่ในการปกครองของอังกฤษ ปี 2490/1947 (ดินแดน ปัญจาบ) ที่มา : http://wapedia.mobi/en/File:BritishIndia1947a.jpg, [ก.พ. 2553/2010] 2. แผนที่แสดงพื้นที่ดินแดนปัญจาบในอินเดียและปากีสถาน (ปัจจุบัน) ที่มา : http://news.bbc.co.uk/2/hi/5216786.stm, [เม.ย. 2554/2011]


40

เปรม ปราณ ปัญจาบ

รัฐปัญจาบ กรุงเดลี

เมืองอมฤตสาร์ ศูนย์กลางศาสนาซิกข์

เมืองจันฑีครห์ เมืองหลวงรัฐปัญจาบ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

สำหรับปัญจาบในปัจจุบันเป็นพื้นที่ ที่ ตั้ ง อยู่ ใ นสองประเทศคื อ อิ น เดี ย กั บ ปากี สถาน กล่าวคือส่วนหนึ่งเป็นรัฐปัญจาบใน อินเดียหรือฮินดูสตาน (Hindustan) และ อี ก ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น รั ฐ ปั ญ จาบอยู่ ใ นรั ฐ อิ ส ลาม สาธารณรั ฐ อิ ส ลามปากี ส ถาน (Islamic Republic of Pakistan) การแยกออกเป็ น สองประเทศนี ้ สืบเนือ่ งมาจากการทีอ่ นิ เดียประกาศเอกราช จากอาณานิคมอังกฤษในปี 2490/1947 ทำให้ปากีสถานขอแยกเป็นประเทศใหม่ จึง ส่งผลทำให้ในฤดูร้อนของปีดังกล่าวกลาย เป็นความร้อนที่มาจากอุณหภูมิตามฤดูกาล กับอุณหภูมิทางการเมือง มีการเคลื่อนย้าย ประชาชนข้ า มฝั่ ง เปลี่ ย นดิ น แดนของสอง ประเทศนับล้านๆ คน กล่าวคือ ประชาชน นั บ ล้ า นคนจากอิ น เดี ย เดิ น ทางข้ า มไป ปากีสถาน และอีกนับล้านคนจากปากีสถาน เข้าสูอ่ นิ เดีย ความโกลาหลและความรุนแรง ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น อย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ มี ผู้ ค น บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมากจากเหตุ-

1 2

41

การณ์การปะทะกันระหว่างเส้นทางเข้ากับ เส้นทางออก ดิ น แดนปั ญ จาบฝั่ ง ตะวั น ออกกั บ แม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำสัตเลชกับแม่น้ำ บีแอสอยู่ในอินเดีย และปัญจาบฝั่งตะวันตก ซึง่ เป็นพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ถงึ 60% กับแม่นำ้ สาม สายอยู่ในปากีสถาน ทำให้รัฐปัญจาบอินเดีย เป็นพื้นที่ชายแดนอินเดีย–ปากีสถานไปโดย ปริยาย ในช่วงระยะเวลาที่มีการเรียกร้อง เรือ่ งการเมืองการปกครอง เรือ่ งศาสนา ซึง่ ยังไม่เกิดความชัดเจนนั้น กินเวลายาวนาน นับทศวรรษ ทำให้ชาวปัญจาบีบางส่วน (ชาว ปัญจาบีที่อาศัยอยู่ในอินเดียและปากีสถาน ในสมั ย ที่ ยั ง ไม่ แ บ่ ง แยกประเทศ มี ทั้ ง ชาว ปัญจาบีทเี่ ป็นชาวซิกข์ ชาวฮินดู ชาวมุสลิม) เกิดความไม่มั่นใจในการครองชีพ จึงเลือก เดินทางออกจากบ้านเกิด อพยพย้ายถิน่ ออก จากดินแดนปัญจาบโดยไปแสวงหาถิ่นที่อยู่ ใหม่โพ้นทะเล ถิน่ ใหม่ในแถบอุษาคเนย์ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย การออกจากอินเดีย

1. แผนทีส่ าธารณรัฐอินเดีย (รัฐปัญจาบ) ในปัจจุบนั ทีม่ า : Compare Infobase Limited, [ก.พ. 2553/2010] 2. แผนทีแ่ สดงพืน้ ทีร่ ฐั ปัญจาบในปัจจุบนั (หลังปี 2509/1966) ทีม่ า : travelmadeeasy.in, [ก.พ. 2553/2010]


42

เปรม ปราณ ปัญจาบ

และปากีสถานระลอกนี้เป็นการเดินทางตาม เข้ามาหาชุมชนที่เคยมีชาวอินเดียอาศัยอยู่ ก่อนหน้านั้นแล้ว (ในไทย เช่น กรุงเทพมหานคร (พาหุรดั ) เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี (พัทยา) เป็นต้น) ต่ อ มา ในสมั ย ที่ ท่ า นยวาหะราล เนห์ รู นายกรั ฐ มนตรี ค นแรกของอิ น เดี ย รัฐบาลอินเดียได้จัดการแบ่งพื้นที่ “มณฑล” ใหม่ เรี ย กว่ า “รั ฐ ” (state) 1 เนื่ อ งจาก อิ น เดี ย มี ค วามหลากหลายทั้ ง ด้ า นภู มิ ภ าค และภาษา จึ ง มี ก ารเรี ย กร้ อ งการวางเขต แดนของรั ฐ ขึ้ น ใหม่ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ พรมแดนทางภาษา พรรคคองเกรสจึงประกาศการกำหนดความเป็ น รั ฐ ด้ ว ยลั ก ษณะ ทางภาษาย้อนหลังไปได้ถึงปี 2460/1917 ดั ง นั้ น ทำให้ ช่ ว งหลั ง จากที่ อิ น เดี ย ได้ รั บ เอกราชแล้ว จึงได้เริ่มมีการแบ่งรัฐกันมา เป็นระยะๆ สำหรับรัฐปัญจาบถือเป็นสังคมพหุภาษาเช่นเดียวกับรัฐอืน่ ๆ ในอินเดีย และได้ มีการเรียกร้องอย่างยาวนานร่วมทศวรรษ เพื่ อ ให้ มี รั ฐ ของชาวซิ ก ข์ ซึ่ ง เป็ น พลเมื อ ง

ส่ ว นใหญ่ ข องรั ฐ จนกระทั่ ง เมื่ อ วั น ที่ 1 พฤศจิกายน 2509/1966 ได้สถาปนารัฐ ปัญจาบ หรือเรียกว่า ปัญจาบี ซูบา สำหรับ ผู้พูดภาษาปัญจาบี ขณะเดียวกันก็ได้แบ่งผู ้ ที่พูดภาษาฮินดีที่อาศัยอยู่ในเขตทางตะวัน ออกและทางใต้ ข องปั ญ จาบแยกเป็ น รั ฐ หิมาจัลประเทศและรัฐหรยาณะ รั ฐ ปั ญ จาบหลั ง จากที่ ไ ด้ ผ่ า นการ จัดระเบียบทางการเมืองการปกครองแล้ว ทำให้ มี พื้ น ที่ 50,362 ตารางกิ โ ลเมตร 2 หรื อ เพี ย งประมาณ 1.5% ของอนุ ท วี ป อินเดีย ในขณะทีอ่ นิ เดียมีพนื้ ที่ 3,287,263 ตารางกิโลเมตร รั ฐ ปั ญ จาบมี เ มื อ งหลวงนามว่ า

จันฑีครห์ (Chandigarh) โดยมีอาณาเขต ติ ด ต่ อ ทางตะวั น ตกกั บ รั ฐ ปั ญ จาบของ ปากี ส ถาน ทางทิ ศ เหนื อ กั บ รั ฐ จั ม มู แ ละ กั ศ มี ร์ ส่ ว นทางทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ติดต่อกับรัฐหิมาจัลประเทศ สำหรับทางทิศ ใต้ตดิ ต่อกับรัฐหรยาณะและรัฐราชสถาน จากประวัติศาสตร์ของปัญจาบบาง ส่วนทีห่ ยิบยกมานี้ คงพอจะทำให้ได้ทราบว่า

“ปัญจาบี ซูบา” (Punjab Suba), ภ.ปัญจาบี : แปลว่า รัฐปัญจาบ (Punjab state)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ดิ น แดนดั ง กล่ า วเป็ น ทั้ ง แหล่ ง หลอมรวม ปรัชญาและแหล่งสะสมความขัดแย้ง เพราะ มีความขัดแย้ง มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ ปรัชญา และวิธีปฏิบัติ จึงทำให้ม ี ผู้ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ ขนบธรรมเนี ย มแบบเดิ ม ต้ อ งการปรั บ เปลี่ ย นขนบธรรมเนี ย มใหม่ เพื่อต่อต้านสิ่งเดิมและต้องการหาทางออก ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า จนทำให้เกิดการแยก ออกเป็นนิกายใหม่และศาสนาใหม่ เพื่อช่วย ให้หมู่คณะมีทางเลือกหรือสามารถปกป้อง ผลประโยชน์ของกลุม่ ท่ามกลางความขัดแย้ง ทางศาสนา ปัญจาบจึงกลายเป็นพื้นที่ทาง ประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาในหลายเรื่อง โดย เฉพาะศาสนาซิกข์และชาวซิกข์ รัฐปัญจาบในปี 2553/2010 มี พลเมื อ งกว่ า 24 ล้ า นคน 3 หรื อ เพี ย ง ประมาณ 2% ของพลเมืองอินเดีย ในขณะ ที่อินเดียทั้งประเทศมีพลเมืองกว่า 1,197 ล้านคน ในเดือนมีนาคม 2554/20114 รั ฐ บาลแห่ ง รั ฐ ปั ญ จาบ ระบุ ว่ า พลเมืองในรัฐปัญจาบ 34% อาศัยอยู่ใน เมือง แต่พลเมืองส่วนใหญ่ 66% อาศัยอยู่ ในชนบท และพลเมื อ งส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาซิกข์หรือเป็นชาวซิกข์ 60% มีชาว ฮิ น ดู 37% นอกจากนี้ อี ก 3% เป็ น ผู้ ที่

43

นับถือศาสนาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวมุสลิม ชาวคริสเตียน ชาวพุทธ ชาวเชน ในขณะที่ รัฐบาลอินเดีย ระบุว่า พลเมืองส่วนใหญ่ ของอินเดียเป็นชาวฮินดู 80.5% และชาว มุสลิม 13.4% ทราบหรื อ ไม่ ว่ า รั ฐ ปั ญ จาบของ อิ น เดี ย ในทศวรรษปั จ จุ บั น หรื อ ในยุ ค ปี 2000 เป็นอย่างไรบ้าง รัฐบาลแห่งรัฐปัญจาบ ระบุวา่ ชาว ปั ญ จาบี เ ป็ น คนที่ กิ น ดี แ ละแต่ ง กายดี (to

eat well, dress well) ขณะทีผ่ ลการศึกษา ของธนาคารโลก (the World Bank) ในปี 2552/2009 ระบุว่า ปัญจาบเป็นรัฐที่ดี ที่สุดสำหรับการทำธุรกิจในอินเดียในช่วงปี 2546/2003–2547/20045 จากสาระที่กล่าวมาคงจะพอทำให้ เราๆ ท่ า นๆ ได้ รู้ จั ก ดิ น แดนปั ญ จาบและ รั ฐ ปั ญ จาบมากขึ้ น พอประมาณ ถึ ง แม้ ว่ า ดินแดนทีก่ ำลังกล่าวถึงอยูท่ นี่ จี้ ะห่างไกลจาก ไทยเรามากกว่ า สามพั น กิ โ ลเมตร แต่ ทั้ ง พวกเขาและพวกเราต่างเชื่อมสัมพันธ์กันมา นมนานแล้ว และจากนี้ต่อไป ก็จะนำความ เป็นปัญจาบในบางแง่มุม มาย่อส่วนให้ได้ รูจ้ กั กันมากขึน้


44

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. หนังสือแปล “ล้างแค้นกับสมานฉันท์ : สูค่ วามเข้าใจประวัตศิ าสตร์เอเชียใต้”, (2551/2008) โดย ราชโมฮาน คานธี, แปลโดย ทวีศกั ดิ์ เผือกสม และคณะ หน้า 432–433 2. http://india.gov.in/knowindia/profile.php, [พ.ค. 2553/2010] 3. India 2010-A Reference Annual, http://india.gov.in/knowindia/st_punjab.php, [ก.พ. 2553/2010] 4. http://www.indiastat.com/default.aspx, [มี.ค. 2554/2011] 5. http://punjabgovt.nic.in/stateprofile1.html, [ก.พ. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

45

ชาวปัญจาบีคอื ใคร

เมื่ อ ได้ ก ล่ า วถึ ง ดิ น แดนที่ เ รี ย กว่ า “ปัญจาบ” แล้ว หากไม่กล่าวถึงกลุม่ ชนชาว “ปัญจาบี” คู่กับชาว “ซิกข์” ก็ดูจะกล่าวถึง ปัญจาบไม่สมบูรณ์ ชาวปัญจาบีคอื ใคร ชาวปัญจาบี คือผู้ที่พูดภาษาปัญจาบี เป็ น ภาษาแม่ หรื อ ผู้ เ กิ ด และอาศั ย อยู่ ใ น ดินแดนปัญจาบ หากถามว่าชาวปัญจาบีเป็น ชาวอินเดียหรือไม่ ส่วนหนึ่งเป็นชาวอินเดีย และส่วนหนึง่ ไม่ใช่ เพราะว่าชาวปัญจาบีสว่ น หนึ่งยังคงหมายถึงชาวปัญจาบีในปากีสถาน ซึง่ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะชาวปัญจาบีในอินเดีย เพียงอย่างเดียว นี่เป็นการแบ่งกลุ่มชนตาม ภาษา หากถามว่าใครคือชาวปัญจาบีบา้ ง ก็

ต้ อ งขอให้ ผู้ นั้ น พู ด ภาษาปั ญ จาบี ใ ห้ ฟั ง สั ก หน่อย คราวนี้กลุ่มชนที่เป็นชาวปัญจาบีก็ นับถือศาสนาหลายๆ ศาสนา ดังนั้นจึงมี ชาวปั ญ จาบี ที่ นั บ ถื อ ศาสนาซิ ก ข์ เรี ย กว่ า ชาวซิกข์ ส่วนชาวปัญจาบีที่นับถือศาสนา ฮินดู ก็เรียกว่า ชาวฮินดู แต่เป็นทีท่ ราบกัน โดยทั่ ว ไป ทั้ ง ตามความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด และ มี ส ถิ ติ ที่ ชั ด เจนยื น ยั น ว่ า ชาวปั ญ จาบี ส่ ว นใหญ่ นั บ ถื อ ศาสนาซิ ก ข์ หรื อ กล่ า วว่ า ชาวปัญจาบีส่วนใหญ่เป็นชาวซิกข์นั่นเอง นี่ เป็นการแบ่งกลุม่ ชนด้วยศาสนา ทำให้ในรัฐ ปัญจาบมีทั้งชาวปัญจาบีซิกข์ ชาวปัญจาบี ฮินดู และอืน่ ๆ ตามทีพ่ วกเขานับถือ

ชาว “ปัญจาบี” และภาษา “ปัญจาบี” ภ.อังกฤษ : Punjabi, ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี :


46

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในปั ญ จาบ หากพบคนสั ก สิ บ คน หกในสิบคนนั้นเป็นชาวซิกข์ เพราะร้อยละ 60 ของพลเมืองในปัญจาบนับถือศาสนา ซิกข์ (เก้าคนในสิบคนนั้นเป็นชาวปัญจาบี ส่ ว นอี ก คนหนึ่ ง เผื่ อ ว่ า อาจจะเป็ น ชาวอื่ น ๆ ซึง่ เข้ามาทำงานหรืออาศัยอยูใ่ นรัฐปัญจาบ) มักจะพบกับกลุ่มเด็กชายที่โพกผ้า และสวมกำไลกันทัง้ กลุม่ แน่นอนว่าพวกเขา เป็นชาวซิกข์ทงั้ หมด แต่บางคราวก็พบผูช้ าย บางคนไม่โพกผ้า แถมยังไว้ผมทรงสุดฮิต แบบดาราเสียอีก เขาบอกว่าเป็นชาวซิกข์ เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าชาวซิกข์บางส่วน อาจจะไม่ได้เคร่งครัดกับการถือศาสนสัญลักษณ์ หากเดินเที่ยวในเมืองหลวงอาจจะ พบชาวซิกข์เดินปะปนอยู่ในฝูงชนซึ่งเมือง หลวงก็รวมกลุ่มชนที่มากหน้าหลายตา แต่ ในรัฐอื่นๆ ของอินเดียจะได้พบกับชาวซิกข์ น้อย สำหรับในเมืองไทยมีชาวอินเดียเข้ามา อยูห่ ลายกลุม่ ชน ยกตัวอย่างเช่น ชาวเหนือ อย่ า งชาวปั ญ จาบี แ ละชาวซิ ก ข์ จ ะพบได้ ท ี่ ย่านพาหุรดั เป็นทีต่ งั้ คุรดุ วารา ส่วนชาวใต้ อย่างชาวทมิฬ (รัฐทมิฬนาฑู) และชาวฮินดู จะพบได้แถวสีลม เป็นที่ตั้งวัดพระศรีมหา- อุมาเทวี (วัดแขกสีลม)

ชาวปัญจาบีเป็นผู้ที่พูดภาษาปัญจาบี อินเดียเป็นประเทศพหุสังคม หลากหลาย ศาสนาลัทธิความเชือ่ ต่างๆ หลากหลายด้วย กลุ่มชนที่พูดภาษาต่างๆ จึงทำให้อินเดียมี ภาษาราชการ 22 ภาษา ภาษาปัญจาบีถอื เป็ น หนึ่ ง ในภาษาราชการของอิ น เดี ย ด้ ว ย นอกจากนี้ ยังมีภาษาถิ่นอีกนับร้อยภาษา สำหรั บ ภาษากลางหรื อ ภาษาหลั ก ของคน อินเดียทั้งประเทศคือภาษาฮินดี แต่ในรัฐ ปัญจาบ ชาวปัญจาบีย่อมพูดภาษาปัญจาบี และฟั ง เพลงสไตล์ ปั ญ จาบี ตามสถานที่ ราชการและตามร้ า นค้ า ต่ า งๆ ใช้ ภ าษา ปัญจาบีเป็นหลัก ป้ายบอกทางก็เช่นกัน ถ้า ป้ายจะแสดงเป็นสองภาษา มักเป็นปัญจาบี คูก่ บั อังกฤษ (แต่กใ็ ช่วา่ ทุกคนจะเก่งอังกฤษ) ที่ อิ น เดี ย นี้ ภ าษาอั ง กฤษถื อ เป็ น ภาษากลางเช่นกัน เคยพบชาวอินเดียสอง คน คนหนึ่งเป็นชาวทมิฬ อีกคนหนึ่งเป็น ชาวอัสสัม พวกเขาคุยกันด้วยภาษาอังกฤษ สงสัยว่าทำไมไม่พูดฮินดี คำตอบก็คือว่าพูด ภาษาอั ง กฤษตามความเคยชิ น นี่ จึ ง เป็ น เรือ่ งปกติในอินเดีย ภาษาฮินดีกับภาษาปัญจาบีต่างกัน ที่ ตั ว อั ก ขระ ส่ ว นคำศั พ ท์ แ ละไวยากรณ์ คล้ายคลึงกัน (ฉัน + ข้าว + กิน คือ ฉัน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

กินข้าว) หากรูภ้ าษาฮินดีบา้ งแล้ว ก็จะเรียน ต่อภาษาปัญจาบีได้เร็วขึน้ ภาษาราชการของอินเดีย 22 ภาษา1 (เรียงตามอักษรภาษาอังกฤษ) : อัสสัม (Assamese) โกน-กณี (Konkani) ปัญจาบี (Punjabi) เบงกาลี (Bengali) ไมถิลี (Maithili) สันสกฤต (Sanskrit) โบโด (Bodo) มาลายาลัม (Malayalam) สันถาลี (Santhali) โดครี (Dogri) มณีปรุ /ี ไมไต (Manipuri/Meitei) สินธี (Sindhi) คุชราตี (Gujarati) มราฐี (Marathi) ทมิฬ (Tamil) ฮินดี (Hindi) เนปาลี (Nepali) เตลูกู (Telugu) กันนาดา (Kannada) โอริยา (Oriya) อูรดู (Urdu) กัศมีรี (Kashmiri)

47

สำหรั บ ชาวไทย เมื่ อ ได้ ฟั ง ภาษา ปัญจาบีแล้ว บางครัง้ อาจจะรูส้ กึ คุน้ ๆ หู แต่ ไม่ รู้ จ ะแปลว่ า อะไร ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะชาวไทย มักคุ้นอยู่กับศัพท์ภาษาสันสกฤต มีผู้รู้ทาง ภาษาบอกว่าภาษาปัญจาบีเมื่อเขียนคำพูด เป็ น ภาษาไทยแล้ ว ก็ ไ ปลงตั ว ในภาษาสั น - สกฤต เพราะภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่เก่า แก่มาก ชาวปั ญ จาบี ใ นรั ฐ ปั ญ จาบพู ด ได้ หลายภาษา คนที่ได้เรียนหนังสือในระบบ ใหม่ จะสามารถพูดได้อย่างน้อย 3 ภาษา คือ ภาษาปัญจาบี ภาษาฮินดี และภาษา อังกฤษ พวกเด็กๆ พูดภาษาอังกฤษกันได้ แต่ ผู้ สู ง วั ย อาจจะพู ด ได้ เ พี ย งภาษาเดี ย ว คือภาษาปัญจาบี หรืออาจจะได้ 2 ภาษา คือ ภาษาปัญจาบีกบั ภาษาฮินดี อย่างไรก็ดี ชาวซิ ก ข์ เ น้ น พู ด ภาษาปั ญ จาบี เ ป็ น หลั ก เพราะเป็ น ภาษาที่ ใ ช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น และ เป็นภาษาที่ใช้ในบทสวดบทร้องสรรเสริญใน ศาสนาซิกข์ ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://languages.iloveindia.com, [ก.พ. 2553/2010]


48

เปรม ปราณ ปัญจาบ

อมตะนครา กล่าวกันว่า หากไปปัญจาบแล้ว ไม่ ไปเมื อ งอมฤตสาร์ ก็ แ สดงว่ า ยั ง มาไม่ ถึ ง ปัญจาบ เพราะถ้าบอกใครๆ ว่าไปปัญจาบ ผู้ ค นส่ ว นใหญ่ มั ก จะหมายถึ ง การไปเมื อ ง อมฤตสาร์ กิ ต ติ ศั พ ท์ ข องเมื อ งนี้ ไ ด้ ยิ น มา ตั้งแต่ตอนไปเที่ยวแถวย่านพาหุรัดแล้ว จน เมื่อมีโอกาสมาเยือนถิ่นอมฤตสาร์ ก็ได้เห็น เป็นประจักษ์ว่าเสียงลือเสียงเล่าอ้าง... เป็น ไปเช่นนัน้ จริงๆ อมฤตสาร์เป็นเมืองเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของรัฐปัญจาบ อยู่ห่างจาก ชายแดนอินเดีย–ปากีสถานในทางตะวันออก

25 กิโลเมตร1 อมฤตสาร์เป็นเมืองสำคัญ ของปั ญ จาบ เป็ น ศู น ย์ ก ลางทางการค้ า วัฒนธรรม การเดินทาง ที่สำคัญที่สุดคือ เป็ น ศู น ย์ ก ลางศาสนาซิ ก ข์ เป็ น ที่ ตั้ ง ของ สุวรรณวิหารศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ทั่ว โลก จนมีผู้คนกล่าวว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ คลื่นมหาชนมุ่งหน้าสู่อมฤตสาร์อย่างมิขาด สาย เพือ่ เข้าไปสักการะในสุวรรณวิหาร นามของเมืองคือ อมฤตสาร์ คำว่า อมฤต คื อ อมตะ และ สาร์ ก็ คื อ สระน้ ำ เมื่อสองคำนี้มารวมกัน อมฤตสาร์ จึงแปล ว่า สระแห่งความเป็นอมตะ (the pool of

เมือง “อมฤตสาร์” ภ.อังกฤษ : Amritsar, ภ.ปัญจาบี :

1

1. ชาวซิกข์แห่งดินแดนปัญจาบ

, ภ.ฮินดี


เปรม ปราณ ปัญจาบ

49


50

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชายแดนวาคา ระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน

1

ตัวเมืองอมฤตสาร์

1. แผนทีแ่ สดงพืน้ ทีเ่ มืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบในปัจจุบนั ทีม่ า : map of India, [ก.พ. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

immortality) สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่บรรดาชาว ซิกข์ทั้งหลายเมื่อไปถึงสุวรรณวิหารแล้วจะ ต้องลงไปอาบน้ำ สภาพภูมิอากาศในเมืองอมฤตสาร์ โดยทัว่ ไปมักจะมีลกั ษณะอากาศแห้ง เมืองนี้ มีสฤี่ ดูเช่นเดียวกับเมืองต่างๆ ในอินเดีย แต่ อาจจะแตกต่ า งกั น ไปบ้ า งในช่ ว งเวลาและ ความรุนแรงของสภาพอากาศ ลมมรสุ ม ตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ที่ พั ด ผ่านอมฤตสาร์ ทำให้มีทั้งอากาศร้อนและ หนาว ฤดูหนาวอยูร่ ะหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึ ง มี น าคม ฤดู ร้ อ นระหว่ า งเมษายนถึ ง มิถุนายน ลมมรสุมประจำปีจะเริ่มในเดือน กรกฎาคมถึ ง ต้ น สั ป ดาห์ ใ นเดื อ นกั น ยายน จนถึ ง เดื อ นตุ ล าคมจะเป็ น ช่ ว งเปลี่ ย นฤดู อุ ณ หภู มิ ข องอากาศในฤดู ร้ อ นประมาณ 25 องศาเซลเซี ย ส ทำให้ ช าวไทยอย่ า ง เราๆ เดินเที่ยวในฤดูร้อนได้สบาย อุณหภูมิ ไม่แตกต่างกันมาก ผู้คนในเมืองอมฤตสาร์มักจะพูดกัน 4 ภาษา ได้ แ ก่ ภาษาปั ญ จาบี เ ป็ น ภาษา ประจำรัฐ ภาษาฮินดีเป็นภาษากลางอินเดีย ภาษาอูรดูเป็นภาษาชาวมุสลิม และภาษา อังกฤษ หากจะค้าขายที่นี่น่าจะต้องพูดได้ หลายภาษา มี ห ลายกลุ่ ม ชนอาศั ย อยู่ แ ละ ค้าขายร่วมกัน

51

ชาวเมื อ งอมฤตสาร์ ใ นสายตาคน นอกอย่างผม พวกเขาเป็นคนที่น่ารักและ ใจดีมาก ยินดีให้การช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ แก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวต่ า งประเทศ สำหรั บ พวกเขา (ผูช้ าย) อาจจะดูทา่ ทางน่ากลัวหรือ หน้าตาดุๆ ไปสักหน่อย เพราะพวกเขารูปร่างสูงใหญ่ ไว้หนวดเครา แต่บนใบหน้า ของพวกเขาเต็มไปด้วยรอยยิ้มและอารมณ์ดี อยูเ่ สมอ บนท้ อ งถนนนั้ น หากพวกพ่ อ ค้ า หรือพวกหาลูกค้าเดินเข้ามาถามคุณว่าอยาก ได้สินค้าหรือบริการจากพวกเขาไหม เพียง แค่ใครสักคนตอบปฏิเสธไป พวกเขาอาจจะ เดินตามพูดคุยอีกเพียงนิดหน่อย เมื่อพวก เขาเห็นแล้วว่าท่าทางจะขายให้กับคุณไม่ได้ พวกเขาก็ จ ะไม่ เ ดิ น ตื๊ อ จนเป็ น เงาตามตั ว เพราะพวกเขามีลูกค้ามากมายที่จะต้องคุย ด้วย ผู้คนมาเมืองนี้เป็นจำนวนหมื่นต่อวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเดินเข้าไปในสุวรรณวิหาร ใครคนใดคนหนึ่งในนาทีต่อมาคงจะกลาย เป็นลูกค้าสักคน การเดินตื๊อนักท่องเที่ยว นานๆ โดยไม่ยอมเป็นลูกค้าของพวกเขาสัก ที พวกเขาจะไม่คุยด้วยนานๆ ข้อนี้ทำให้

นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและรวมถึงชาว ไทยเราสามารถเดิ น ในเมื อ งอมฤตสาร์ ไ ด้ อย่างสบายใจ หายห่วงได้ในระดับหนึง่ แต่ก็


52

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ตอ้ งระวังอะไร พวก พ่อค้าบนท้องถนนอาจจะไม่ใช่ชาวอมฤตสาร์ ตัวจริง มักจะเป็นชาวเมืองอื่นๆ ที่เข้ามา แสวงโชคทำกำไรทางการค้า หรือไม่ก็มา เป็นลูกจ้างตามร้านรวงต่างๆ ที่มีมากมาย ในเมืองเก่า เมือ่ ผมได้เดินเทีย่ วตามบริเวณต่างๆ ของเมืองแล้ว พอจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นสาม ส่วน คือ เมืองเก่า เมืองใหม่ และชนบท ตั ว เมื อ งเก่ า หมายถึ ง ในเมื อ งอมฤตสาร์ ที่ มีสุวรรณวิหารเป็นศูนย์กลาง ถนนทุกสาย มุง่ ตรงสูส่ วุ รรณวิหาร ไม่วา่ จะเป็นทางรถไฟ หรือถนน และรวมถึงเครือ่ งบินด้วย ต่างหัน หน้านำผู้คนสู่สุวรรณวิหาร ถนนและซอก ซอยในเมืองเก่านี้ไม่ต่างอะไรกับใยแมงมุม จะขุดเจาะอะไรดูจะลำบาก

ส่วนเมืองใหม่เป็นการขยายเมือง ออกมาจากเมืองเก่าที่คับแคบและแออัด ทำ ให้เมืองใหม่มตี กึ ใหญ่ แต่ไม่สงู มีหา้ งสรรพสินค้าชัน้ นำ มีบา้ นจัดสรรแบบสมัยใหม่หรือ แบบยุโรปผสมอินเดีย การขยายเมืองก็เพื่อ รองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน ทศวรรษ ตอนนี้เห็นมีการขยายถนนทั่วทั้ง เมืองใหม่ อาคารพาณิชย์และร้านค้าผุดขึ้น ราวกับดอกเห็ด และสำหรั บ ชนบทแล้ ว หมายถึ ง พื้นที่ส่วนใหญ่และกว้างใหญ่ ย่อมเป็นพื้นที่ ทางกสิกรรม จากสายตาของผมนัน้ เมืองกับ ชนบทที่อมฤตสาร์ดูแล้วเห็นความแตกต่าง กันอย่างชัดเจน

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://amritsar.nic.in/html/about_district.htm#Location, [ก.พ. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

53

นานักและศิษยะ

พระศาสดาคุรนุ านักเดวญี (Guru Nanak Dev Ji) ภ.ปัญจาบี : (ปี 2012/1469–2082/1539) 1

หากย้อนเวลากลับไปกว่า 500 ปี ดินแดนปัญจาบเป็นถิน่ กำเนิดศาสนาซิกข์ ความเป็นมาของศาสนาซิกข์1 ฉบับ ย่อ ขอเริ่มต้นด้วยประวัติของพระศาสดา ผู้ ก่ อ ตั้ ง ศาสนาซิ ก ข์ คื อ พระศาสดาคุ ร ุ นานั ก เดวญี พระองค์ ป ระสู ติ ปี 2012/ 1469 ที่ ห มู่ บ้ า นตั ล วั น ดี (Raibhoidi Talwandi) ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหมู่บ้านนันกา นาซาฮิบ (Nankana Sahib) ตำบลเชคุปรุ ะ (Sheikhupura) ในปากีสถาน หมู่บ้านอยู่ ห่างจากเมืองลาฮอร์ (Lahore) เมืองหลวง ของรัฐปัญจาบในปากีสถานประมาณ 65 กิโลเมตร

1. พระศาสดาคุรนุ านักเดวญี (1) ทีม่ า : http://www.dollsofindia.com/product/QH95, [เม.ย. 2554/2011]


54

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ด้านครอบครัวของพระองค์ พระบิ ด ามี พ ระนามว่ า เมทธากั ล หยั น ดาส (Mehta Kalyan Das) หรือ เมทธากาลู (Mehta Kalu) เป็นเจ้าหน้าทีก่ รมสรรพากร ประจำอำเภอ ส่วนพระมารดามีพระนามว่า มาตาธริ พ ตาญี (Mata Tripta Ji) เป็ น

ผู้ เ คร่ ง ศาสนามาก และพระองค์ มี พี่ ส าว พระนามว่า เบบินานกิ (Bebe Nanki) ในปี 2030/1487 พระองค์สมรสกับพระนางศรี สุลกั คานิญี (Sri Sulakhani Ji) และมีบตุ ร 2 คน คือ บาบาศรีจันทร์ญี (Baba Sri Chand Ji) และบาบาลักษมีดาสญี (Baba Lakhami Das Ji) ในช่วงทีพ่ ระองค์อายุ 7 ปี ได้เริม่ ศึกษาภาษาฮินดีและภาษาสันสกฤต พออายุ 13 ปี เริ่มศึกษาภาษาเปอร์เซียและภาษา อาหรั บ พออายุ ไ ด้ เ พี ย ง 16 ปี พระองค์ กลายเป็ น ผู้ ที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถมาก ทีส่ ดุ ในเมือง ในปี 2047/1504 (อายุ 35 ปี) พี่สาวของพระองค์พาพระองค์ไปอยู่ในเมือง สุลตานปูรโลดฮิ (Sultanpurlodhi) ซึ่งสามี ของพี่สาวหางานให้พระองค์ทำได้ เป็นงาน เฝ้าร้านในตลาดโมดิคานา (Modikhana)

ในเมืองนาวาบ (Nawab) อำเภอโดลัทคาน โลดฮิ (Daulat Khan Lodhi) ต่ อ มาในปี 2050/1507 (อายุ 38 ปี) พระองค์ได้อาบน้ำชำระร่างกายใน แม่น้ำเวน (Vain Nadi) ใกล้ตัวเมือง หลัง จากที่อาบน้ำแล้ว พระองค์ได้ยินเสียงจาก พระเจ้ า รั บ สั่ ง ให้ พ ระองค์ อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ ช่ ว ย เหลือมวลมนุษย์ แล้วพระองค์ได้เปล่งเสียง เป็นประโยคแรกออกมาว่า “There is no Hindu, no Musalman” “ตัง้ แต่บดั นีจ้ ะไม่มี ชาวฮิ น ดู แ ละชาวมุ ส ลิ ม อี ก ต่ อ ไป” ดั ง นั้ น พระองค์ จึ ง ได้ เ ริ่ ม ออกเดิ น ทางเผยแพร่

คำสอนในปัญจาบและเมืองต่างๆ ใกล้ไกล ทั้งสี่ทิศ ใช้เวลานานรวม 25 ปี เพื่อให้ ปุถุชนได้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต หลักธรรม และคำสอนของพระองค์ได้ถกู จารึกขึน้ มาจน กลายเป็นศาสนาซิกข์ ต่อมา พระองค์ได้พำนักและใช้ชวี ติ ในช่วงปลายของชีวติ ในช่วงปี 2065/1522 –2082/1539 ในเมืองที่พระองค์สร้างขึ้น เองในปี 2065/1522 คือเมืองการ์ตาร์ปรู (Kartarpur) แปลว่าเมืองแห่งพระเจ้า (the city of God) ปัจจุบนั อยูใ่ นปากีสถาน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในปี 2082/1539 พระองค์ ไ ด้ ทดสอบบุ ต รทั้ ง สองและศิ ษ ย์ ที่ มี ค วาม สามารถเพื่ อ คั ด เลื อ กผู้ สื บ ทอด ในที่ สุ ด พระองค์ ไ ด้ แ ต่ ง ตั้ ง ไภเลห์ น าญี (Bhai Lehna Ji) เป็นพระศาสดาพระองค์ที่ 2 (พระศาสดาคุ รุ อั ง ขั ด เดวญี ) และจากนั้ น เพียง 2–3 วัน พระองค์ได้จากโลกไปใน เดือนกันยายน

55

เหตุ ใ ดศาสนานี้ จึ ง มี น ามว่ า ซิ ก ข์ (Sikh) เพราะในยุ ค นั้ น มี บ รรดาผู้ ค น จำนวนมากมาฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาคุรุนานักเดวญี และเหล่าผู้ติดตาม พระองค์ ไ ด้ ด ำเนิ น ชี วิ ต และปฏิ บั ติ กิ จ วั ต ร อย่างเคร่งครัดตามแบบอย่างพระองค์ จน ต่ อ มาผู้ ติ ด ตามทั้ ง หลายได้ ก ลายเป็ น ศิษยานุศิษย์หรือเรียกตามภาษาปัญจาบีว่า ซิกข์

2012/1469 2030/1487 2047/1504 2050/1507 2065/1522 2082/1539 ประสูต ิ ตัลวันดี (ปากีสถาน)

สมรส (18 ปี)

ทำงาน (35 ปี)

(32 ปี) ได้ยนิ เสียง สร้างเมือง จากพระเจ้า การาตาร์ปรู เริม่ เผยแพร่ (ปากีสถาน) คำสอน (38 ปี) (53 ปี)

พระศาสดา “คุรอุ งั ขัดเดวญี” (Guru Angad Dew Ji), ภ.ปัญจาบี : พระศาสดาองค์ที่ 2 (ปี 2082/1539–2095/1552)

ทดสอบ ผูส้ บื ทอด สิน้ พระชนม์ (70 ปี) พระศาสดา องค์ที่ 2


56

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ศาสนาซิกข์ หรือ Sikh มาจากคำ ศัพท์ในภาษาสันสกฤตว่า ศิษยะ มีความ หมายว่า ลูกศิษย์ (disciple) หรือศึกษา หรือคำสั่งสอน ซึ่งตรงกับคำศัพท์ในภาษา บาลี ว่ า สิ ก ขา (Sikkha) หมายถึ ง การ ศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้ ดังนั้นซิกข์ จึงหมายถึงศิษย์หรือสาวก ซิ ก ข์ หรื อ ศิ ษ ย์ หรื อ สิ ก ข์ ใน หมายความทางศาสนาคื อ ผู้ มี ค วามรั ก ศรัทธาเชือ่ มัน่ ใน วาเฮ่ครุ ุ (Waheguru) คือ

ภาษาปัญจาบี : “ซิกข์” ภ.ปัญจาบี : (Skin)

พระเจ้าพระองค์เดียว และพระศาสโนวาท ของพระศาสดาทั้งสิบพระองค์ใน พระมหา คัมภีรศ์ รีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ–พระศาสดานิรนั ดร์ กาลของซิกข์ ศาสนิ ก ชนที่ นั บ ถื อ ศาสนาซิ ก ข์ เรียกว่าชาวซิกข์ หรือ Sikh (หรือ Sikhism) สำหรับในภาษาไทยนั้น บางแห่งก็ใช้คำว่า สิกข์ ตามคำศัพท์ในภาษาบาลีทอี่ อกเสียงว่า สิ ก ขา สำหรั บ ในที่ นี้ ใ ช้ ค ำว่ า ซิ ก ข์ ตาม สมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา

ภาษาสันสกฤต : “ศิษยะ” ภ.ฮินดี (sisya) แปลว่า ลูกศิษย์ ศึกษาคำสัง่ สอน “ศึกษา” ภ.ฮินดี (siksa)

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.thaisikh.org/sikhism/gurunanakdevji_th.php, [ก.พ. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

57

เมือ่ แสงทองสาดส่องสระอมฤต คลื่ น มหาชนหลั่ ง ไหลมาทำบุ ญ

ที่สุวรรณวิหารในเมืองอมฤตสาร์ คงเป็น

เช่นนี้มาหลายศตวรรษแล้ว การเดินทาง มาสักการะที่ศาสนสถานสุวรรณวิหาร ซึ่ง ผู้คนทั่วโลกรู้จักกันในนาม The Golden Temple ในภาษาไทยตอนนี้ เ รี ย กกั น 3 นาม คือ สุวรรณวิหาร วิหารทองคำ และ วัดทองคำ สุวรรณวิหารมีนามในภาษาปัญจาบี ว่า ฮัรมันดิรซาฮิบ1 หรือสามารถเรียกอีก นามหนึง่ ว่า ดัรบาร์ซาฮิบ (Darbar Sahib)

ขอขยายนาม ฮั ร มั น ดิ ร ซาฮิ บ 2

สักเล็กน้อย คำว่า ฮัร แปลว่า พระผู้เป็น เจ้า ส่วน มันดิร แปลว่า มณเฑียร สำหรับ คำว่า ซาฮิบ เป็นคำใช้ที่แทนความเคารพ ผู้ สู ง ส่ ง หรื อ ศาสนสถาน คำนี้ ใ ช้ ส ำหรั บ พระศาสดา พระมหาคั ม ภี ร์ และศาสนสถาน ในภาษาอังกฤษแปลว่า Temple of God สำหรับไทยเราคุน้ กับคำว่า เทพมณเฑียร หรื อ ไม่ ก็ เ รี ย กว่ า วั ด ซิ ก ข์ (ตามความคุ้ น

เคยของการเรียกศาสนสถานว่าวัด) แต่ใน ศาสนาซิกข์ไม่มนี กั บวชและพระ

สุวรรณวิหาร : “ฮัรมันดิรซาฮิบ” (Harmandir Sahib), ภ.ปัญจาบี : ภ.ฮินดี “ดัรบาร์ซาฮิบ” (Darbar Sahib), ภ.ปัญจาบี :

,


58

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ศาสนสถานของชาวซิ ก ข์ เ รี ย กว่ า

คุ รุ ด วารา ในภาษาไทยเขี ย นหลายคำ คุรุดวาร กับ คุรุทวาร แปลเป็นไทยได้ว่า ประตูหรือทางทีท่ อดไปสูพ่ ระศาสดา3 คำว่ า คุ รุ (Guru) ที่ ไ ทยเราใช้

กัน ในภาษาปัญจาบีอา่ นว่า คุรู ภาษาฮินดี

อ่านว่า คูรู ส่วนในภาษาไทยใช้ตามภาษา สั น สกฤตคื อ คุ รุ ซึ่ ง ทั้ ง หมดแปลว่ า ครู หมายความว่า เป็นผู้นำไปสู่แสงสว่าง หรือ เป็นผู้เอาออกจากความมืดมนแห่งอวิชชา หรื อ หมายความว่ า เป็ น ผู้ ใ ห้ ปั ญ ญา ส่ ว น ดวารา หรือ ทวาร (Dwara) ภาษาฮินดี อ่านว่า ดวารา ส่วนภาษาสันกฤตอ่านว่า

ทวาร แปลว่า ประตู (ภ.สันสกฤต : คุรุ ทวาร) สุ ว รรณวิ ห ารมี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ที่ ยาวนานหลายศตวรรษ สถานทีแ่ ห่งนีม้ เี รือ่ ง ราวและเกี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ ค น โดยจะขอเล่ า ประวั ติ ศ าสตร์ ฉ บั บ ย่ อ ๆ เริ่ ม ต้ น ที่ ใ นยุ ค ราชวงศ์ โ มกุ ล อาณาจั ก รชาวมุ ส ลิ ม ในปี 2117/15744 พระเจ้าอักบาร์พระราชทาน ที่ ดิ น ให้ กั บ Bibi Bhani บุ ต รี ข องพระ ศาสดาคุ รุ อ ามั ร ดาสญี (3) เพื่ อ เป็ น ของ กำนัลสำหรับการแต่งงานกับ Jetha (ซึง่ ต่อ มาได้กลายเป็นพระศาสดาพระองค์ที่ 4 คือ พระศาสดาคุรรุ ามดาสญี)

คุรดุ วารา (Gurdwara), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : แปลว่า ประตูหรือทางทีท่ อดไปสูพ่ ระศาสดา the doorway to the Guru หรือ the gate of God

คุรุ (Guru), ภ.ปัญจาบี : (คุร)ู , ภ.ฮินดี (คูร)ู แปลว่า เป็นผูน้ ำไปสูแ่ สงสว่าง เป็นผูเ้ อาออกจากความมืดมน แห่งอวิชชา เป็นผูใ้ ห้ปญ ั ญา ดวารา (Dwara), ภ.ปัญจาบี : (ดวารา), ภ.ฮินดี : (ดวารา) แปลว่า ประตู


เปรม ปราณ ปัญจาบ

59


60

เปรม ปราณ ปัญจาบ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

61


62

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2

1. ภาพจำลองสุวรรณวิหารจำลอง ทีม่ า : http://www.sikhmuseum.com/ bluestar/chronology.html, [พ.ค. 2553/2010] 2. แผนผังภายในสุวรรณวิหาร ทีม่ า : http://www.goldentempleamritsar. org, [พ.ค. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พระศาสดาคุ รุ อ ามั ร ดาสญี (3) 5 เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างศาสนสถานขึ้น และในปี 2120/1577 พระศาสดาคุรรุ ามดาสญี (4) ได้ เ ริ่ ม ก่ อ สร้ า งศาสนสถานและขุ ด สระน้ ำ

2 สระ คือ ซันโตคซาร์ (Santokhsar) และ อัมริตโซราวอร์ (Amrit Sarowar) เมือ่ สร้าง สระเสร็จแล้ว ได้จัดงานเฉลิมฉลอง พระองค์ ได้ประพันธ์บทเพลงสรรเสริญสระน้ำและได้ ให้ศิษย์ทุกคนลงไปอาบน้ำในสระแล้วทำการ สวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิ เพื่อระลึกถึง

63

พระนามของพระเจ้า จากนัน้ ก็ขนานนามว่า เป็นสถานทีอ่ นั ศักดิส์ ทิ ธิ ์ ในปี 2124/1581 พระศาสดาคุรุ อรยันเดวญี (5) ได้ทำการปฏิสังขรณ์สระ ด้ ว ยการก่ อ อิ ฐ รอบสระ และสร้ า งศาสนสถานไว้ตรงกลางสระเพื่อจะได้เป็นศูนย์กลาง ของชาวซิกข์ ต่อมาสระน้ำได้รับการขนาน นามว่า อมฤตโซราวอร์ หรือ อมฤต ทำให้ เมืองนี้ได้เปลี่ยนนามของเมืองมาเป็น อมฤตสาร์ ตามนามของสระน้ำ

พระศาสดา “คุรรุ ามดาสญี” (Guru Ram Das Ji), ภ.ปัญจาบี : พระศาสดาองค์ที่ 4 (ปี 2117/1574–2124/1581) พระศาสดา “คุรอุ รยันเดวญี” (Guru Arjan Dev Ji), ภ.ปัญจาบี : พระศาสดาพระองค์ที่ 5 (ปี 2124/1581–2149/1606)

กษัตริย์ “อักบาร์” (King Akbar หรือ Jalaluddin Muhammad Akbar) (ปี 2085/1542–2148/1605) กษัตริยม์ สุ ลิมพระองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมกุล


64

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในปี 2131/1588 พระองค์ได้ขอ ให้นักบวชชาวมุสลิมนาม ฮัซรัตเมียนมีรญี (Hazrat Mian Mir Ji) เป็นผูว้ างศิลาฤกษ์ ของฮั ร มั น ดิ ร ซาฮิ บ (สุ ว รรณวิ ห าร) เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ว่ า พระเจ้ า มิ ไ ด้ ท รงแบ่ ง แยก ชนชั้ น วรรณะ เชื้ อ ชาติ และศาสนา จน กระทั่งฮัรมันดิรซาฮิบได้สร้างแล้วเสร็จใน ปี 2144/1601 และในปี 2147/1604 ได้อัญเชิญพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบเข้า สู่ ฮัรมันดิรซาฮิบ จึงทำให้สถานที่แห่งนี้ได้

กลายมาเป็ น ศู น ย์ ก ลางทางศาสนาของ ศาสนาซิกข์มาจนถึงกาลปัจจุบนั และในปี 2373/1830 มหาราชา รั น ยิ ต ซิ ง ห์ (Maharaja Ranji Singh 2323/1780-2382/1839) โปรดให้ ก่ อ สร้ า งต่ อ เติ ม ตั ว วิ ห ารด้ ว ยการติ ด แผ่ น ทองคำบนโดมและส่ ว นบนของวิ ห าร ตกแต่งด้วยหินอ่อนแกะสลักภายในตัววิหาร เพิ่มเติม จนทำให้ฮัรมันดิรซาฮิบได้รับการ ขนานนามสุวรรณวิหาร

2095/1552 2117/1574 2120/1577 2124/1581 2131/1588 2144/1601 2147/1604 พระศาสดา พระศาสดา เริม่ สร้าง พระศาสดา วางศิลาฤกษ์ สร้างฮัรมันดิร อัญเชิญ องค์ที่ 3 องค์ที่ 4 ศาสนสถาน องค์ที่ 5 ฮัรมันดิรซาฮิบ ซาฮิบแล้วเสร็จ พระมหาคัมภีรค์ รุ ุ พระเจ้าอักบาร์ ขุดสระน้ำ สร้างศาสนสถาน (สุวรรณวิหาร) ครันถ์ซาฮิบเข้าสู่ มอบทีด่ นิ 2 สระ ไว้กลางน้ำ โดยนักบวช ฮัรมันดิรซาฮิบ มุสลิม

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://sikhism.about.com/od/history/a/Golden_Temple.htm, [ก.พ. 2553/2010] 2.,3. สมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา 3. http://sikhism.about.com/od/history/a/Golden_Temple.htm, [ก.พ. 2553/2010] 4. http://www.thaisikh.org/sikhism/harmandirsahib.php, [ก.พ. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

65

วิสาขี : 5ก ในวันทีเ่ ปลีย่ นฤดู ในวั น ที่ 14 เมษายนของทุ ก ปี เป็นวันวิสาขีของชาวซิกข์ วิสาขี เป็นภาษาปัญจาบี อ่านตาม ตัวตรงกับภาษาไทยว่าวิสาขี แต่ถ้าพูดแบบ ชาวอินเดียทั่วไปที่ไม่ใช่ชาวปัญจาบีจะเรียก ว่า ไบสาขี ชื่อของวันเทศกาลอาจจะดูคล้ายๆ กับวันวิสาขบูชาของชาวพุทธ เพราะนำชื่อ ของเดื อ นตามปฏิ ทิ น ฮิ น ดู ม าใช้ เ หมื อ นกั น ทว่ามีประวัติและรายละเอียดที่แตกต่างกัน (ชาวพุทธถือว่าวันวิสาขบูชาเป็นการบูชาใน เดือนวิสาขะ ซึ่งเป็นเดือนที่สองตามปฏิทิน ฮินดู อยูใ่ นช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม)

ก่ อ นจะรู้ จั ก กั บ วั น วิ ส าขี มาทำ ความรู้จักกับปฏิทินของชาวซิกข์กันสักเล็ก น้อย ปฏิทนิ ของชาวซิกข์ เรียกว่า นานัก 1 ซาฮี ปฏิทินนานักซาฮี คำว่า นานัก มา จากพระนามของพระศาสดาคุรุนานักเดวญี ผู้ก่อกำเนิดศาสนาซิกข์ โดยศักราชแรกเริ่ม นับจากปีประสูติของพระองค์คือปี 2012/ 1469 เป็นปีที่ 1 ซึง่ ปฏิทนิ เริม่ ใช้ครัง้ แรก ในสมั ย ของพระศาสดาคุ รุ โ ควิ น ท์ สิ ง ห์ ญี (10) ในปี 2242/1699 (หรือนับย้อนหลัง กลับไป 230 ปี)

(ชาวซิกข์) “วิสาขี” (Vesakhi), ภ.ปัญจาบี : (ชาวฮินดู) “ไบสาขี” (Baisakhi), ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

66

ปฏิทนิ “นานักซาฮี”, ภ.อังกฤษ : the “Nanakshahi” calendar, ภ.ปัญจาบี : พระศาสดา “คุรโุ ควินท์สงิ ห์ญ”ี (Guru Gobind Singh Ji), ภ.ปัญจาบี :

พระศาสดาพระองค์ที่ 10 (ปี 2218/1675–2251/1708)

ปฏิทนิ นานักซาฮี

ชือ่ เดือนตามปฏิทนิ นานักซาฮี เทียบวันทีต่ ามปฏิทนิ สากล ปัญจาบี อังกฤษ ไทย จำนวนวัน (วันที่ 1 ของเดือนตามปฏิทนิ นานักซาฮี) Chet เจตัร 31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม Vaisakh แวซาค 31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 14 เมษายน Jeth เยธ 31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม Harh ฮารฺ 31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 15 มิถนุ ายน Sawan ซาวัน่ 31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม Bhadon ปาดโร้ห ์ 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 16 สิงหาคม Asu อัสสู ้ 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 15 กันยายน Katik กัตตัก 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม Maghar มฆัร 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน Poh โปฮห์ 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม Magh ม่างค์ 30 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 13 มกราคม Phagan พัฆฆันห์ 30/31 วันที่ 1 ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์


เปรม ปราณ ปัญจาบ

วั น ขึ้ น ปี ใ หม่ ข องชาวซิ ก ข์ คื อ วั น ที ่ 1 เดือนเจตฺ คือวันที่ 14 เดือนมีนาคม

ตามปฏิทินสากล สำหรับวันวิสาขีคือวันที ่ 1 เดื อ นแวซาคฺ ตรงกั บ วั น ที่ 14 เดื อ น เมษายนตามปฏิทนิ สากล วันวิสาขีเป็นวันสำคัญอย่างไรสำหรับ ชาวซิกข์ ในปี 2110/1567 ในสมั ย ของ พระศาสดาคุรุอามัรดาสญี (3) พระองค์ ทรงบั ญ ชาให้ ช าวซิ ก ข์ ม าชุ ม นุ ม ประจำปี2

ที่เมืองโคอินด์วัล (Goindwal) ในวันสำคัญ 14 เมษายน และกำหนดให้เป็นวันพิเศษ

คือวันวิสาขี (วันวิสาขีของชาวซิกข์ตรงกับ เทศกาลสงกรานต์ของไทย) ต่อมาปี 2242/1699 ในสมัยของ พระศาสดาคุรโุ ควินท์สงิ ห์ญี (10) ถือเป็นปี ของการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของ ศาสนาซิ ก ข์ ที่ ส่ ง ผลสื บ เนื่ อ งมาจนถึ ง ยุ ค ปัจจุบัน เพราะในสมัยนั้นได้จัดระบบทาง

67

สั ง คมและศาสนา เพื่ อ ให้ ช าวซิ ก ข์ ห รื อ

สานุศษิ ย์ทงั้ หลายได้แสดงตนว่าเป็นชาวซิกข์ หรื อ เป็ น พวกเดี ย วกั น โดยมี เ หตุ ผ ลหลั ก

มาจากปัญหาข้อพิพาทอย่างรุนแรงกับชาว มุสลิม พระเจ้าเอารังซีบ (King Aurangzeb 2161/1618–2250/1707) กษัตริย์องค์ ที่ 6 แห่งราชวงศ์โมกุล ทำให้ ใ นวั น วิ ส าขี ข องปี 2242/ 1699 มีการสถาปนา ประชาคมซิกข์ เรียก ว่า คาลซาปันท์ (Khalsa Panth) พิธคี าลซา เป็นพิธีรับอมฤต (Amrit ceremony) หรือ พิธศี ลี จุม่ (the Sikh Baptism) เป็นพิธที ใี่ ห้ ชาวซิกข์หรือผู้เข้ามาเป็นสานุศิษย์ด้วยพิธี พรมน้ำมนต์ ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่มีดาบแช่ไว้ เป็นเครือ่ งหมายว่า ผูด้ มื่ ต้องเป็นผูก้ ล้าหาญ ผูท้ ดี่ มื่ น้ำอมฤตเท่ากับถึงความบริสทุ ธิ์ คาลซา (Khalsa) ของชาวซิกข์เป็น คำที่มาจากภาษาอารบิคคือ Khalisa3 มี ความหมายว่า บริสทุ ธิ์ หรือไม่มมี ลทิน

พระศาสดา “คุรอุ ามัรดาสญี” (Guru Amar Das Ji), ภ.ปัญจาบี : พระศาสดาพระองค์ที่ 3 (ปี 2095/1552–2117/1574) “คาลซา” (Khalsa), ภ.ปัญจาบี : แปลว่า บริสทุ ธิ์ (pure) หรือ ไม่มมี ลทิน (unsullied)


68

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชาวซิกข์ดำรงรักษาศาสนสัญลักษณ์ 5 ประการ เรียกว่า ปัญจ กะการ (Panj Kakaar) หรือเรียกง่ายๆ ว่า 5ก (the 5Ks) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเข้มแข็งและ ความเป็นหนึง่ เดียวของประชาคมซิกข์ ชาวซิ ก ข์ 5 ท่ า นแรกที่ ผ่ า นการ บรรพชาได้รับการขนานนามว่า ปัญจปิอาเร่ (Panj Piaras) แปลว่า ผู้เป็นที่รักยิ่งทั้งห้า แล้ ว พระองค์ ท รงขอให้ ปั ญ จปิ อ าเร่ ท ำพิ ธี บรรพชาให้แก่พระองค์ อันเป็นการแสดงให้

เห็นว่าไม่มขี อ้ แตกต่างใดๆ ระหว่างพระองค์ ผู้ เ ป็ น พระศาสดาและศิ ษ ย์ ข องพระองค์ กล่าวกันว่าเป็นการแสดงออกถึงความเป็น ประชาธิปไตยของพระองค์ เหตุที่เรียกว่า 5ก เพราะตัวอักษร แรกของคำศัพท์ทั้งห้าในภาษาปัญจาบีเป็น (ก/K) ได้แก่ เกศา กังฆะ การ่า กาซ่า

และ กิรปาน (เริ่มในวันวิสาขี ปี 2242/ 1699)

ภาษาไทย เกศา กังฆะ การ่า กาซ่า กิรปาน

ภาษาปัญจาบี (Kesh)

ความหมาย ผมยาวทีบ่ ำรุงรักษาอย่างสะอาด สมบูรณ์ และ ไม่ตดั หรือโกนอย่างเด็ดขาด (hair–uncut hair) (Kangha) หวีไม้ (wooden comb) สำหรับเสียบผม (Kara) กำไลข้อมือเหล็กกล้า (steel bracelet) (Kachehra) กางเกงในขาสัน้ (cotton underwear) (Kirpan) กริช (small sword) เป็นอาวุธคูก่ ายของชาวซิกข์ ใช้ปกป้องตนเองและผูท้ อี่ อ่ นแอ

การประกาศหรื อ การถื อ ศาสนสัญลักษณ์มีที่มามีเหตุผลจากประวัติศาสตร์ ในสมัยพระศาสดาพระองค์ที่ 10 ขณะนัน้ มี สงคราม มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ดังนัน้ การ ถือกริชเพื่อใช้เป็นอาวุธประจำกายพร้อมเข้า สู้สงครามในเวลาจำเป็น และการใส่กางเกง

ในขาสั้นก็เช่นกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในการเคลือ่ นไหว เมื่ อ ชาวซิ ก ข์ ไ ด้ รั บ บรรพชาเป็ น

คาลซาโดยการรับอมฤตตามศาสนวินัยของ ซิกข์แล้ว บุรุษจะได้รับการขนานนามเป็น สิงห์ หรือ ซิงห์ แปลว่า ราชสีห์ ส่วนสตรี


เปรม ปราณ ปัญจาบ

จะได้รบั การขนานนามเป็น กอร์ แปลว่า ผู้ เก่งกล้าสง่างามดุจเจ้าชาย เพือ่ ให้สตรีซกิ ข์มี ความเข้ ม แข็ ง และรั บ ผิ ด ชอบเช่ น เจ้ า ชาย การขนานนามเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความ เสมอภาคของบุรษุ สตรีในหมูช่ าวซิกข์ ถือได้ ว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ทันสมัยทั้งในสมัยนั้นและ ปัจจุบนั ชาวซิกข์จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ให้ละเว้นจากการกระทำ 4 ประการทีเ่ รียก ว่า กุราเฮ็ต (Kurahats) ได้แก่ (1) ห้าม การกระทำใดที่ล่วงเกินต่อเกศา ไม่การตัด ถอน โกนเกศาหรือขนตามร่างกาย พร้อม ทั้ ง รั ก ษาศาสนสั ญ ลั ก ษณ์ 5ก (2) ห้ า ม

รับประทานอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่า

โดยวิธีทรมาน (3) ห้ามล่วงเกินหรือมีเพศ สัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยา ของตน และ (4) ห้ามเสพยาสูบหรือใช้ยา เสพติดทุกชนิดทุกรูปแบบ

69

จนกระทั่ง ปี 2251/1708 พระ ศาสดาคุ รุ โ ควิ น ท์ สิ ง ห์ ญี (10) สถาปนา พระมหาคัมภีร์ อาดิครันธ์ เป็น พระศาสดา ศรี คุ รุ ค รั น ถ์ ซ าฮิ บ ถื อ เป็ น พระศาสดา

นิรันดร์กาล ประกอบด้วยบทสวดภาวนา บทสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าสูงสุดที่มีความ เปี่ ย มล้ น ด้ ว ยบทแห่ ง ความรั ก สั จ ธรรม ความถ่อมตน มนุษยธรรม ความเมตตา ขององค์ พ ระผู้ เ ป็ น เจ้ า ความรั ก ในเพื่ อ น มนุษย์ การควบคุมกิเลส ความเมตตาต่อ มวลชีวิตทั้งปวง ความบริสุทธิ์ของกายและ ใจ การค้ น หาตนเองและพั ฒ นาจิ ต ใจให้ สู ง ส่ ง ความเสมอภาคระหว่ า งชายหญิ ง การรับใช้ผู้อื่น แนวทางดำรงชีวิตอย่างมี

สัจธรรม และหนทางที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียว กับ อกาลปุรขุ (ความดับศูนย์)

สถาปนาพระมหาคัมภีร์ “อาดิครันถ์” (Adi Granth), ภ.ปัญจาบี : (พระมหาคัมภีรฉ์ บับปฐม 1,430 หน้า รวบรวมโดยพระศาสดา ปี 2147/1604) เป็นพระศาสดา “ศรีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ” (Shri Guru Granth Sahib), ภ.ปัญจาบี : กล่าวคือ พระศาสดานิรนั ดร์กาล (ตัง้ แต่ปี 2251/1708-ตลอดกาล)


70

เปรม ปราณ ปัญจาบ

วันวิสาขีจงึ เป็นวันสำคัญอย่างยิง่ ใน วิธีการปฏิบัติตนของชาวซิกข์สืบมาจนถึงทุก ทางศาสนาซิกข์ เป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลให้มี วันนี ้ 2012/1469 2030/1487 2047/1504 2050/1507 2065/1522 2082/1539 พระศาสดา กำหนด สถาปนา องค์ที่ 3 14 เม.ย. เป็น พระมหาคัมภีร์ วันวิสาขี อาดิครันถ์ (พระศาสดา องค์ที่ 5)

พระศาสดา องค์ที่ 10

สถาปนา สถาปนา ประชาคมซิกข์ พระมหาคัมภีร์ (คาลซาปันท์) อาดิครันถ์เป็นพระ พิธรี บั น้ำอมฤต ศาสดา ศาสนสัญลักษณ์ ศรีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ 5ก นาม:สิงห์/ ซิงห์, กอร์

นามบุรษุ ชาวซิกข์ : “สิงห์” หรือ “ซิงห์” (Singh), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : แปลว่า ราชสีห์ (lion) นามสตรีชาวซิกข์ : “กอร์” (Kaur), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : แปลว่า ผูเ้ ก่งกล้าสง่างามดุจเจ้าชาย (prince


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 4

2 3 5

71

1. พระศาสดาคุรโุ ควินท์สงิ ห์ญี (10) ทีม่ า : http://dev.sikhnet.com/news/multifaced- personailty-guru-gobind-singh, [พ.ค. 2554/2011] 2. พระศาสดาศรีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ ทีม่ า : http://www.sikhnet.com/news/guru-granth- sahib-guru-eternal-dr-mohinder-singh-0, [ก.พ. 2554/2011] 3. ประชาคมคาลซา ทีม่ า : http://www.sikharchives.com/?p=2549, [พ.ค. 2554/2011] 4-5. ศาสนาสัญลักษณ์ของชาวซิกข์ ทีม่ า : http://www.indianetzone.com/20/concept_sikhism.htm, http://www.satnamnetwork.com/Vaisakhi/5ksikh.htm, [พ.ค. 2554/2011]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

72

คันด้า (ดาบสองคม) พลังสร้างสรรค์ แห่งพระเจ้า

กิรปาน (กริชด้านซ้าย) “มีร”ี อำนาจทางจิตวิญญาณ ทางธรรม

3

กิรปาน (กริชด้านขวา) “ปีร”ี อำนาจการปกครอง ทางโลก

1. สัญลักษณ์คนั ด้าของชาวซิกข์ 2.–4. ธงนิชานซาฮิบ (ภายในสุวรรณวิหาร) ในมุมต่างๆ (ทีเ่ ดียวกัน)

1 2

จักรา ความเป็นหนึง่ เดียว

4


เปรม ปราณ ปัญจาบ

73

ศาตราวุธบนผืนธงชัย เหนื อ ยอดโดมทองของคุ รุ ด วารา จะสามารถเห็นธงสีสม้ โบกสะพัด ธงผืนนีถ้ อื เป็ น ธงชั ย ของชาวซิ ก ข์ มี น ามว่ า นิ ช าน

ซาฮิบ (Nishan Sahib) เป็นธงรูปสามเหลีย่ ม จะสามารถมองเห็ น ได้ จ ากตำแหน่ ง สู ง สุ ด ของคุรดุ วาราทุกแห่งทัว่ โลก ในปั จ จุ บั น ใช้ ธ งสี ส้ ม (saffron) 1

สื่อความหมายว่า ความกล้าหาญ (courage) และเสียสละ (sacrifice) ในอดีตเคยใช้สอี นื่ ๆ มาก่อน เช่น สีแดง สีนำ้ เงิน เป็นต้น นามของธงชัยชาวซิกข์และสัญลักษณ์ ทีป่ รากฏบนธงเป็นอย่างไร คำว่า นิชาน (Nishan) เป็นภาษา เปอร์เซีย2 แปลว่า ธง มาตรฐาน (คำนี ้

มี ห ลายความหมาย) ส่ ว นคำว่ า ซาฮิ บ (Sahib) เป็นภาษาอารบิค แปลว่า คำใช้ที่ แทนความเคารพผูส้ งู ส่งหรือศาสนสถาน สัญลักษณ์บนผืนธงเป็นสัญลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ อันประกอบด้วยรูป ศาสตราวุธ 3 อย่าง คือ อย่างแรกเป็น ดาบสองคม (two edged sword) ภาษา ปัญจาบีเรียกว่า คันด้า วางอยู่ตรงกลาง (คั น ด้ า ออกเสี ย งคล้ า ยกั บ ขรรค์ ห รื อ พระ ขรรค์ ข องไทย) และล้ อ มรอบด้ ว ยวงกลม เรียกว่า จักรา หรือจักร ส่วนด้านข้างทั้ง สองประกอบคู่ด้วยกริช ภาษาปัญจาบีเรียก ว่า กิรปาน หนึ่งในห้าของศาสนสัญลักษณ์ 5ก โดยวางกริชคูไ่ ขว้กนั

“คันด้า” (Khanda), ภ.ปัญจาบี : แปลว่า ดาบสองคม (two edged sword)


74

เปรม ปราณ ปัญจาบ

คั น ด้ า หรื อ ดาบสองคมถื อ เป็ น

ศาตราวุธปกติทั่วไปที่ใช้สู้รบในอดีต ชาว ซิกข์นำสัญลักษณ์นี้มาใช้โดยสื่อความหมาย ว่า เป็นพลังสร้างสรรค์แห่งพระเจ้า (the Creative Power of God) สำหรับจักรา เป็ น ศาสตราวุ ธ อี ก ชนิ ด หนึ่ ง ลั ก ษณะเป็ น วงกลมสื่ อ ความหมายว่ า ความเป็ น หนึ่ ง เดียว

ส่วนกริชคูท่ งั้ สองข้าง กริชข้างซ้าย เรียกว่า มีรี (Miri) หมายถึง อำนาจทางจิต วิญญาณหรือทางธรรม (spiritual sovereignty) กริชข้างขวาเรียกว่า ปีรี (Piri) หมายถึง อำนาจการปกครองหรือทางโลก (political sovereignty) เมื่อนำกริชทั้งสองข้างวางคู่ อย่างเสมอกันเพื่อสื่อความหมายว่า อำนาจ ทัง้ สองอย่างจะต้องมีอย่างสมดุล

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.sikh-history.co.uk/nishan_sahib.htm, [ต.ค 2553/2010] 2. http://www.sikhiwiki.org/index.php/Nishan_Sahib, [ต.ค. 2553/2010] 3. http://www.sikhiwiki.org/index.php/Khanda, [ต.ค. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

75

ครัวพระศาสดา หนึ่งในปัจจัยสี่พื้นฐานที่มนุษย์เรา ต้ อ งการเพื่ อ การดำรงชี พ นั่ น คื อ อาหาร เพราะความหิวไม่เคยปราณีใคร จากสภาพ ความหิวความอดอยาก ทำให้พระศาสดา

คุรุนานักเดวญีคำนึงถึงเรื่องนี้ และเป็นที ่ มาของการตั้ ง โรงครั ว เพื่ อ บรรเทาความ

อดอยากและมีนยั ทางสังคม ครัวพระศาสดา คำนี้เป็นการเรียก ของชาวไทยซิกข์ ซึ่งแปลตามภาษาปัญจาบี เรียกว่า ลังกัร หรือ คุรุกาลังกัร1 มีความ หมายในลักษณะโรงเจหรือโรงทานตามทีค่ น

ไทยเรารู้จั กนั่น เอง ในภาษาอัง กฤษเรีย ก ครัวพระศาสดาว่า the free kitchen หรือ the free community kitchen ตามคุรดุ วารา ทุกแห่งจะมีการบริการอาหารฟรีสำหรับทุก คน ครัวพระศาสดาเกิดขึ้นได้อย่างไร สื บ เนื่ อ งมาจากประวั ติ ข องพระศาสดา

คุรนุ านักเดวญี (1) ในสมัยตอนอายุ 12 ปี พระบิดา2 ได้มอบเงินให้พระองค์ 20 รูปี เพื่อให้ไปทำการค้าทำกำไร แต่พระองค์ได้ นำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้ออาหาร เพื่อนำ

ภ.ไทย : “ครัวพระศาสดา”, ภ.ปัญจาบี : “ลังกัร” หรือ “คุรกุ าลังกัร” ภ.อังกฤษ : the free kitchen หรือ the free community kitchen “ลังกัร” (Langar), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : หรือ “คุรกุ าลังกัร” (Guru ka Langar), ภ.ปัญจาบี :


76

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ไปแจกจ่ายให้กับบรรดานักบวชที่อดอาหาร เมือ่ พระบิดาสอบถามถึงการใช้เงินทำการค้า พระองค์ ต อบว่ า ได้ ท ำ “การค้ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ธุรกิจที่เปี่ยมด้วยสัจธรรม” (True business) ด้ ว ยการมอบอาหารให้ นั ก บวช คำตอบนี้ ทำให้พระบิดาโกรธและโมโหที่ใช้เงินไปอย่าง เปล่าประโยชน์ ทว่าเหตุการณ์ได้คลีค่ ลายไป ด้วยดีเพราะพีส่ าวของพระองค์ชว่ ยปกป้อง ในช่วงที่พระองค์ออกเผยแพร่หลัก ธรรมคำสอนนั้ น ได้ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ต กทุ ก ข์

ได้ยากโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา พระองค์รว่ มรับประทานอาหารและ อยูอ่ าศัยกับชนทุกชัน้ อย่างไม่ถอื ตัว เป็นการ ปฏิบัติสวนทางกับขนบของระบบวรรณะใน สังคม ครั้งหนึ่งของการเดินทาง ได้พบกับ หนุ่มมุสลิมยากจนชนชั้นต่ำนาม มารดานา (Mardana) พระองค์ได้มอบสิ่งของที่ได้รับ มาให้แก่ชายผู้นั้น และส่วนที่เหลือได้มอบ

ให้ กั บ เจ้ า ของบ้ า นที่ พั ก อาศั ย ด้ ว ย เพื่ อ ใช้

ในครัวเรือน ลักษณะการบริจาคและการ

รับประทานดังกล่าวนี้ได้กลายมาเป็นหลัก การครัวพระศาสดาหรือลังกัรที่สืบทอดต่อ มาจนถึงปัจจุบนั เมื่อผมได้สัมผัสกับครัวพระศาสดา ที่สุวรรณวิหารแล้วก็รู้สึกประทับใจเป็นอย่าง มาก จึ ง พยายามศึ ก ษาถึ ง หลั ก การที่ มี

มากว่า 500 ปี และเมื่อได้เห็นการแสดง ออกของชาวซิกข์รุ่นปัจจุบันแล้วก็เห็นได้ว่า หลักคำสอนของพระศาสดายังคงมีชีวิตอยู่ ยังคงมีลูกหลานชาวซิกข์จำนวนมากเดินเข้า มาสู่ ค รั ว พระศาสดาเพื่ อ ร่ ว มไม้ ร่ ว มมื อ ทำ งานอาสาสมัคร เมื่อมองครัวพระศาสดาแล้ว สิ่งที่ สามารถสัมผัสได้มี 2 มิติ มิติหนึ่งสำหรับ การเป็นผูใ้ ห้ และอีกมิตหิ นึง่ สำหรับการเป็น ผูร้ บั อะไรเอ่ยชวนทำให้เห็นเป็นเช่นนัน้ ในศาสนาซิกข์ การที่มีชาวซิกข์มา ร่ ว มกั น ทำงานเพื่ อ สั ง คม เช่ น ในครั ว พระ ศาสดาหรื อ ในงานกิ จ กรรมอื่ น ๆ อย่ า งนี้ ภาษาปัญจาบีเรียกว่า เซว่า การทำเซว่านีม้ ี ความหมายลึกซึ้งมาก การกระทำดังกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นไปในลักษณะจิตอาสา แต่เซว่าเน้นการทำกิจกรรมทางสังคมด้วย ความรูส้ กึ เสียสละ ไม่หวังผลตอบแทนอันใด ไม่มีการชมเชย และรวมถึงการไม่ประกาศ ประชาสัมพันธ์วา่ ตนมาช่วยงาน ชาวซิกข์ที่ทำเซว่าเรียกว่า เซว่าดาร์ เป็นภาษาปัญจาบี แปลง่ายๆ ได้ว่าอาสา สมัคร3 เซว่าดาร์ตามหลักปรัชญาคือชาว ซิ ก ข์ ที่ รั บ ใช้ ใ นคุ รุ ด วาราหรื อ ที่ อื่ น ๆ ถื อ

เป็ น หน้ า ที่ โ ดยตรง เป็ น การปฏิ บั ติ โ ดยมี

เป้าหมายเพื่อลดความเห็นแก่ตัว บำเพ็ญ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ประโยชน์แก่ส่วนรวมโดยการลงมือบริการ ด้วยกำลังกาย กระทำด้วยจิตใจ ไม่หวังผล ประโยชน์ตอบแทน ในคำสอนของศาสนาซิกข์ การทีจ่ ะ ทำให้มนุษย์ดำรงตนอย่างมีความสุขคือการ เอาชนะศัตรูทั้ง 5 (five cardinal vices) คือ กาม โกรธ โลภ โมหะ และอหังการ ทัง้ ห้าสิง่ นีอ้ ยูใ่ นตัวเราทุกคน แต่สงิ่ ทีน่ า่ กลัว ที่ สุ ด คื อ ความอหั ง การ ถื อ ว่ า เป็ น ศั ต รู ตั ว สำคัญที่สุดที่มีในมนุษย์ ตรงนี้นี่เองที่ทำให้ มนุษย์ตา่ งไปจากสัตว์ทวั่ ไปซึง่ มีเฉพาะ 4 สิง่ แรก ชาวซิกข์มักจะหาเวลาว่างมาร่วม กั น ทำเซว่ า เช่ น งานในครั ว พระศาสดา กิ จ กรรมในครั ว มี ทั้ ง การหั่ น ผั ก นวดแป้ ง ทำโรตี ปรุงอาหาร ตักอาหารแจก ล้าง ถาด ถูพื้น เก็บขยะ งานเหล่านี้ผู้คนทั่วไป มักมองว่าเป็นงานทีต่ อ้ ยต่ำ เป็นงานของคน งาน แต่ บ รรดาชาวซิ ก ข์ ก ลั บ บอกว่ า งาน อย่ า งนี้ แ หละที่ จ ะช่ ว ยยกระดั บ จิ ต ใจและ ความเป็นมนุษย์ให้สงู ขึน้

“เซว่า” (sewa หรือ seva), ภ.ปัญจาบี : “เซว่าดาร์” (sewadar), ภ.ปัญจาบี :

77

เซว่าจึงเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่ง ทีช่ าวซิกข์ใช้เป็นเครือ่ งมือขจัดความอหังการ ด้วยการปฏิบัติตนรับใช้สังคมอย่างอ่อนน้อม ถ่อมตน และนอกจากนี้ เซว่ายังเป็นเครื่อง มือที่สำคัญในการช่วยเหลือคนยากจน และ เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มชนเพื่อลด การแบ่งแยกทางศาสนาและวรรณะ เน้น สร้างความเสมอภาคระหว่างคนทุกชนชัน้ ทุก วรรณะและทุกเพศวัย ครั ว พระศาสดามี นั ย เพื่ อ สอนให้

ชาวซิกข์ได้เรียนรู้ถึงการทำเซว่าเพื่อลบล้าง ความเชื่อถือเกี่ยวกับการแบ่งชั้นวรรณะและ ความสูงต่ำในสังคม ริเริ่มโดยพระศาสดา

คุรุนานักเดวญี (1) ในสังคมชาวฮินดูที่มี การแบ่งวรรณะกันอย่างสุดโต่งและรุนแรง ครั ว พระศาสดาจึ ง เป็ น พื้ น ที่ ห รื อ เป็ น สถานที่ แ ห่ ง หนึ่ ง สำหรั บ ชาวซิ ก ข์ ที่ จ ะ แสดงออกอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อรับใช้ สังคม โดยเน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ดังนั้น จะได้เห็นชาวซิกข์ช่วยกันประกอบ อาหาร เสิร์ฟอาหาร เสิร์ฟน้ำ ทำความ สะอาด , ภ.ฮินดี :


78

เปรม ปราณ ปัญจาบ

อะไรคืออาหารในครัวพระศาสดา ครั ว พระศาสดาให้ บ ริ ก ารอาหาร เพื่อสุขภาพ เป็นอาหารมังสวิรัติ และเป็น อาหารปกติ ที่ รั บ ประทานกั น ในสั ง คมชาว ซิกข์ อย่างเช่น โรตี แกงถัว่ อาหารลักษณะ เช่นนี้เหมาะสำหรับผู้คนทั่วไป ผู้คนที่นับถือ ลัทธิศาสนาต่างๆ สามารถเข้าร่วมรับประทาน อาหารในครัวพระศาสดาได้ ในเช้าวันแรกของการสัมผัสสุวรรณ วิหาร ผมจึงไปเริ่มต้นที่เรื่องอาหารการกิน ก่อนเลย โปรดอย่าได้สงสัยว่าทำไมไปเริ่มที่ ครัว คำตอบก็คอื เพราะว่านิวาสทีพ่ กั อยูต่ รง ข้ามกับครัวพระศาสดาพอดิบพอดี เพียงแค่ เดินข้ามถนนไปก็ถงึ แล้ว ครัวพระศาสดาตั้ง อยู่เขตอภัยทาน อยู่ติดกับกำแพงชั้นในของ สุวรรณวิหาร สร้างเป็นอาคารใหญ่โตแต่ กลับคับคัง่ ไปด้วยผูค้ น จนอาจสามารถกล่าว ได้วา่ ทุกตารางนิว้ มีการใช้ประโยชน์อยูต่ ลอด เวลา ใครก็ตามที่ก้าวเท้าเดินเข้ามาสู่ครัว พระศาสดา จะได้รับการต้อนรับอันอบอุ่น เสมือนเป็นคนกันเอง เพราะหลักปรัชญาที่ ว่าด้วยความเท่าเทียมกันในสิทธิ์ของคนทุก คน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง เด็กหรือผู้ อาวุ โ ส เศรษฐี ห รื อ ยาจก มี ต ำแหน่ ง เป็ น อะไร นับถือศาสนาใดก็ตาม ครัวพระศาสดา จะบริการอาหารให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

หมด สถานภาพต่างๆ ทีเ่ ราๆ ท่านๆ ดำรง อยู่ จึ ง ต้ อ งวางเอาไว้ ข้ า งนอก คงเหลื อ แต่ ความเป็นมนุษย์และความประสงค์ที่จะได้รับ อาหารอย่างเพียงพอเพื่อการดำรงอยู่ ครัว พระศาสดาเป็ น จุ ด หนึ่ ง ที่ ส ำคั ญ มากของ ศาสนาซิกข์ ซึ่งช่วยสอนให้ชาวซิกข์ไม่แบ่ง แยกด้วยเงื่อนไขใดๆ และด้วยเหตุที่ยกมาก ล่าวนีจ้ งึ ต้องมาเริม่ ต้นทีค่ รัวก่อน พืน้ ทีภ่ ายในครัวพระศาสดา สามารถ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ อาคารโรง อาหารสำหรับบริการอาหาร พื้นที่สำหรับ หั่นผัก พื้นที่สำหรับประกอบอาหารและเก็บ เสบียง และพื้นที่สำหรับล้างถาด หากจะ เข้ า ไปรั บ อาหารก็ เ ดิ น ตรงเข้ า ไปในโรง อาหาร แต่หากจะทำเซว่าก็เดินเข้าไปนัง่ ร่วม วงหัน่ ผัก หรือล้างถาด หรืออะไรก็ได้ บริ เ วณทางเข้ า จะมี ก ลุ่ ม เซว่ า ดาร์ ยืนอยู่และคอยยื่นถาด ขันน้ำ และช้อนให้ กับทุกคนที่มารับบริการ (ภาชนะเป็นสแตนเลส) เมื่ อ ได้ รั บ อุ ป กรณ์ ทั้ ง สามครบแล้ ว

จะเดินขึ้นไปในตัวอาคาร เดินไปตามทาง

ที่ ก ำหนด ซึ่ ง บางครั้ ง อาจจะต้ อ งรอช่ ว ง จั ง หวะหรื อ รอบที่ พ วกเขาจะเปิ ด ให้ เ ข้ า ถือว่าจัดระบบแรกรับได้ดีมาก เป็นระเบียบ เรียบร้อยดีจริงๆ ต้องจัดระบบให้ดีเพราะมี ผู้รับบริการจำนวนหลายร้อยรายในแต่ละ รอบ นับพันรายในช่วงหนึง่ ชัว่ โมง และเป็น


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เรือนหมื่นรายต่อวัน โรงอาหารเป็นอาคาร สองชั้น ช่วงเวลาที่คนมากๆ ซึ่งเป็นเวลา อาหารมื้ อ หลั ก จะเปิ ด ให้ ขึ้ น ไปที่ ชั้ น บน แม้ว่าจะเปิดให้บริการทั้งสองชั้นแต่ผู้คนก็ยัง เนืองแน่นมาก ผมเคยเข้าไปในช่วงจังหวะเวลาที่ คนแน่นมาก เช่นตอนสายๆ อันเป็นเวลาที่ ผู้คนไปรับอาหารเช้ากัน ก็จำต้องรอรอบ ใหม่ นัง่ รอกันทีป่ ระตูหรือทางเดิน พวกเขา จะมีเชือกขึงกั้นไว้ ให้ถือเอาแนวเชือกเป็น เขตของการยืนรอ เมื่อคลื่นมหาชนทั้งหลายไหลเข้าสู่ ห้องอาหารใหญ่แล้ว ต่างคนก็ต่างหาที่นั่ง พวกเขาให้เลือกที่นั่งได้อย่างอิสระ นั่งตรง ไหนก็ได้ที่จัดเตรียมไว้ให้ การนั่งคือการนั่ง บนเสือ่ บนพืน้ เสือ่ ผืนยาวเรียงรายหลายผืน รองรับทุกสถานะตามหลักปรัชญา คนนั่ง ข้างๆ อาจจะเป็นมหาเศรษฐีก็ได้ หรือเป็น ยาจกก็ เ ป็ น ได้ เ ช่ น กั น การนั่ ง พื้ น เดี ย วกั น หรือนัง่ บนเสือ่ ผืนเดียวกัน สือ่ หมายความว่า ไม่มชี นชัน้ ระดับสูงต่ำ ไม่มวี รรณะ ไม่มชี าย หญิง ไม่มีศาสนา ทุกคนเท่าเทียมกันหมด (รวมถึ ง ไม่ มี ที่ นั่ ง พิ เ ศษสำหรั บ แขกวี ไ อพี หรือคนดัง) อยากนั่งตรงไหนก็สามารถเลือกได้ พวกมิตรสหายหรือบรรดาครอบครัวต่างๆ ก็รวมกลุม่ กันนัง่ เรียงราย ก็เป็นโอกาสดีของ

79

ผมทีจ่ ะได้นงั่ ในหลายๆ บริเวณในช่วงเวลาที่ แตกต่างกันไป (หามุมกล้องถ่ายรูปไปด้วย) พอนั่ ง กั น เป็ น แถวเป็ น แนวแล้ ว เหล่ า เซว่ า ดาร์ จ ะทยอยนำโรตี ข้ า ว แกง และน้ำดืม่ มาให้บริการ ขึ้นอยูก่ ับว่าใครจะ มาถึงก่อนกัน ก็รบั สิง่ นัน้ ไปก่อน บางคราว ก็มีเรื่องขำๆ เกิดขึ้น แกงมาถึงก่อน... กว่า ข้าวจะมา... ก็กนิ แกงจวนจะหมดแล้ว พอได้ ข้าวก็ตอ้ งขอแกงใหม่ การรับโรตีดูจะมีจุดเด่นเป็นพิเศษ กล่าวคือ ในฐานะผู้รับจะต้องยื่นมือขึ้นรับ ด้วยสองมือ ผมมีเรื่องเล่าหนึ่งเรื่อง ครั้ง หนึ่งมีฝรั่งผมทองเข้ามานั่งกินข้าวด้วย เธอ ยื่นมือจะรับโรตีเพียงมือเดียว คนรอบข้าง ต่างก็ชว่ ยกันบอกและทำท่าให้ดู เธอก็รบี ทำ ตาม เห็นแล้วก็อดยิม้ ให้ไม่ได้ การช่วยเหลือ เกิดขึน้ ได้ทกุ ขณะ การให้โรตี ผูใ้ ห้มกั ให้ครัง้ ละสองแผ่น แต่ขอเพิ่มได้หากต้องการอีก เคยเห็ น คนนั่ ง ข้ า งๆ ขอที เ ดี ย วห้ า แผ่ น เพราะเขาไม่กนิ ข้าว กินโรตีกบั แกงถัว่ ส่วนข้าวกับแกง บรรดาเซว่าดาร์ จะตักให้ พวกเขาจะตะโกนบอกว่าเป็นแกง อะไร เพราะดูหม้อแล้วก็มองไม่ออกว่าเป็น แกงอะไร บางคนไม่ เ อาก็ บ อกปฏิ เ สธไป สำหรับน้ำดืม่ เป็นน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ก็ ทยอยรินให้เช่นกัน เซว่าดาร์ต้องตักข้าวตัก แกงอย่างรวดเร็ว อ้อยอิง่ ไม่ได้เลย มีผรู้ อรับ


80

เปรม ปราณ ปัญจาบ

บริการมหาศาล ต้องทำเวลาสุดๆ ถ้าแกง หมดหม้อระหว่างทาง ก็จ้ำเท้ากลับไปตัก เพิม่ อีก บรรยากาศเป็นเช่นนี้ การทำเซว่ า เป็ น ความสุ ข ใจของ

เซว่าดาร์ชาวซิกข์ ซึ่งนำหลักปรัชญาของ

องค์พระศาสดามาปฏิบัติในชีวิตจริง การ เรียนรูเ้ ซว่าเป็นสาระและเป็นหัวใจสำคัญของ ชาวซิกข์ และการเรียนรู้ครัวพระศาสดาก็ เป็นสาระสำคัญในศาสนาซิกข์เช่นกัน

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.thaisikh.org/sikhism/glossary_th.php?PageID=4, [ก.พ. 2553/2010] 2. http://www.thaisikh.org/sikhism/gurunanakdevji_th.php, [ก.พ. 2553/2010] 3. http://www.sikhiwiki.org/index.php/Langar, [ก.พ. 2553/2010]

1. ชาวซิกข์ในครัวพระศาสดา (การยืนแจกถาด ช้อน ขันน้ำ) 1


เปรม ปราณ ปัญจาบ

81


82

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. การทำความสะอาดพืน้ ด้วยเครือ่ ง (รถคันสีเหลือง) 2. บริเวณด้านหน้าอาคารครัวพระศาสดา 3. กองถาดทีจ่ ดั เตรียมสำหรับการให้บริการ 4. ทางเดินเข้าไปในตัวอาคารเพือ่ จะเข้าไปนัง่ รับประทานอาหาร


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. บรรยากาศในครัวพระศาสดา : นัง่ บนพืน้ เดียวกัน 2,4. การบริการอาหาร (ตักข้าวตักแกง) 3. แจกโรตี ให้อย่างน้อย 2 แผ่นต่อครัง้

83


เปรม ปราณ ปัญจาบ

84

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

เก็บภาชนะเพือ่ ส่งไปล้าง ร้อยแรงร่วมล้างภาชนะในครัวพระศาสดา อ่างล้างภาชนะในครัวพระศาสดา น้องลักกี้ เด็กชายชาวซิกข์กบั การทำเซว่า


เปรม ปราณ ปัญจาบ

85

สะอาดด้วยพลังใจในครัวพระศาสดา ด้ ว ยความเป็ น มิ ต รไมตรี ข องชาว ซิกข์ในครัวพระศาสดา ทำให้ผมรู้สึกสนุกที่ ได้สัมผัสกิจกรรมอาสาสมัครและได้เรียนรู้ ชีวติ อีกมิตหิ นึง่ ในจั ง หวะที่ เ ดิ น ถ่ า ยรู ป ผมเข้ า

ไปด้อมๆ มองๆ การทำเซว่าของพวกเขา อยู่ๆ ก็มีชายชาวซิกข์คนหนึ่งโบกไม้โบกมือ ให้ ชวนเข้าไปถ่ายรูปใกล้ๆ ด้านใน เขาไม่ พูดอะไรแต่พาผมไปทีอ่ า่ งล้างถาด เขาอยาก ให้ผมร่วมล้างถาดด้วย ชายคนนี้พูดไม่ได้ เพราะเป็นใบ้แต่เขาใจดีมาก เขาพยายามจะ สื่อสารว่าล้างถาดสักครู่แล้วถ่ายรูปเก็บไว้ เป็นทีร่ ะลึก ผมทำตามทีเ่ ขาแนะนำ ทว่าผม ไม่ตอ้ งการล้างถาดเพียงเพือ่ ได้ถา่ ยรูป สิง่ ที่ ผมต้องการก็คอื ขอร่วมทำเซว่ากับพวกเขาไป เรื่อยๆ จนกว่าจะเหนื่อย เขาฟังแล้วก็ดีใจ ไม่คิดว่าจะมีชาวต่างประเทศมาร่วมล้างถาด กับพวกเขานานกว่าหนึง่ ชัว่ โมง

ระหว่างที่ยืนล้างถาดอยู่นั้น ผมได้ รู้จักมิตรใหม่หลายคน คนหนึ่งที่ต้องกล่าว ถึงคือน้องลักกี้ เด็กชายวัยเรียน พวกเราทัง้ สองยืนติดกัน น้องลักกี้จึงคอยช่วยเหลือผม ตลอดหนึ่งชั่วโมงของการทำเซว่าล้างถาด เหตุ ที่ ก ล่ า วว่ า เป็ น การช่ ว ยเหลื อ กั น นี้ แ ปล ว่าอะไร ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า เวลาที่ แผนกเก็บภาชนะ ได้ลำเลียงภาชนะมาใส่ใน อ่ า งน้ ำ แล้ ว ปริ ม าณภาชนะจะมี น้ อ ยกว่ า จำนวนคนล้าง จึงทำให้เกิดการแย่งภาชนะ กั น เป็ น การแย่ ง กั น อย่ า งสุ ภ าพและเรี ย บ ร้อย มือของแต่ละคนต่างรีบหยิบหรือคว้า ถาดเพื่อตนเองจะได้ล้าง ใครคว้าได้ก็ยิ้มให้ กั น แน่ น อนว่ า ผมแย่ ง ไม่ ค่ อ ยทั น พวกเขา หรอก น้องลักกี้คนนี้คอยคว้าถาดมาให้ผม ล้าง น้องลักกีย้ อมสละถาดทีค่ ว้ามาได้... ให้ ผมล้าง ทุกห้านาทีแผนกเก็บภาชนะจะนำ


86

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ภาชนะมาใส่ในอ่าง แล้วพวกเราเป็นแผนก ล้างก็แย่งกันล้าง แล้วอย่างนีจ้ ะไม่ให้เรียกว่า สนุกได้อย่างไรล่ะ เวลาล้ า งภาชนะนั้ น เพี ย งชั่ ว โมง เดียว แต่สำหรับผมถือว่าเวลานัน้ ผ่านไปเร็ว มาก เมือ่ ถึงเวลาพัก ผมรูส้ กึ เสียดายทีเดียว เวลาพั ก มั ก หมายถึ ง การเปลี่ ย นน้ ำ เทผง ซักฟอกใหม่ลงในอ่างน้ำ ส่วนเหล่าเซว่าดาร์ ทั้งหลายก็พักผ่อน ช่วงเวลาดีอย่างนี้มีคน ใจดีพาผมไปดืม่ ชาร้อนๆ เรียกว่า ค-รัมจาย แปลว่ า ชาร้ อ น (ค-รั ม แปลว่ า ร้ อ น จาย แปลว่าชา ในภาษาฮินดีคำคุณศัพท์วางไว้ หน้าคำนาม) พวกเขาพาผมหลบมุมเข้าไปด้านใน ผมจึงมีโอกาสได้เข้าไปนั่งคุยกับคนอื่นๆ อีก หลายคน ผู้ซึ่งเป็นเบื้องหลังการทำงานใน ครัวพระศาสดา มีคนเสิร์ฟชาร้อนให้โดยที่ ไม่ต้องถามว่าต้องการหรือไม่ ชาร้อนช่วย เป็นสื่อกลางสร้างมิตรใหม่ได้ดีทีเดียว ผม สอบถามชายชาวซิกข์สองสามคนที่นั่งร่วม วงเดียวกัน ถามว่ามาทีน่ ที่ กุ วันไหม พวกเขา น้ำชา, ภ.ปัญจาบี : ชาร้อน, ภ.ปัญจาบี :

ตอบว่าไม่ได้มาทุกวัน แต่ถอื ว่ามาบ่อยเพราะ บ้ า นอยู่ ไ ม่ ห่ า งจากสุ ว รรณวิ ห ารมากนั ก พวกเขาบอกชื่อหมู่บ้าน (ซึ่งไม่ทราบว่าอยู่ ตรงไหน) แต่คำพูดประโยคหนึ่งที่ผมยังคง จำได้ พวกเขาบอกว่า การมาล้างถาดทีค่ รัว พระศาสดาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (แปล ว่าไม่มา... ไม่ได้) ส่วนคนอื่นๆ อีกเกือบร้อยคนที่มา ล้างภาชนะในชั่วโมงนั้น ในเวลาพักเช่นนี้ พวกเขาก็พากันมานั่งพักหรือนอนพักตาม บริเวณทีว่ า่ งของโรงครัว คนส่วนใหญ่มกั จะ มีถุงหรือกระเป๋าใส่ของกินหรือของใช้เล็กๆ น้ อ ยๆ ติ ด ไม้ ติ ด มื อ มาด้ ว ย เวลาพั ก กลุ่ ม ผูช้ ายจะมานัง่ ด้วยกัน ในขณะทีก่ ลุม่ ผูห้ ญิงก็ จะไปนัง่ รวมกลุม่ กันต่างหาก และหลั ง จากที่ เ วลาน้ ำ ชาจบลง ต่างฝ่ายก็ต่างแยกย้ายกันไป บางคนก็ไป ล้างต่อ แต่บางก็ถือว่าทำเซว่าเพียงพอแล้ว จึงถือโอกาสหยุดภารกิจไปโดยปริยาย แต่ น้องลักกี้ยังคงทำเซว่าต่อไปอีก อดยิ้มให้ไม่ ได้ มิตรภาพและความสุขเกิดขึน้ ได้งา่ ยมากๆ

(“จ้าฮฺ”), ภ.ฮินดี : (“จาย”) (“ค-รัมจ้าฮฺ”), ภ.ฮินดี :

(“ค-รัมจาย”)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

87

คนเล็กในครัวใหญ่ เมื่อเข้าไปรับบริการอาหารในครัว พระศาสดาหลายมื้อแล้ว ผมจึงพยายามจะ หาโอกาสเข้าไปสู่ในครัวใหญ่หรือเบื้องหลัง การทำอาหารในครัว ด้วยความอยากรู้ว่ามี ใครบ้าง มาทำอะไรกันบ้าง และเป็นอย่างไร จนกระทั่งเวลาผ่านไปได้สี่ห้าวัน เหมือนจะ ฟ้ารู้ จึงให้โอกาสผ่านเข้าไปในวงใน... ในทีส่ ดุ ครั ว ใหญ่ ตั้ ง อยู่ ร อบนอกของครั ว พระศาสดาและอยู่ด้านริมถนนใหญ่ คงจะ ด้วยความสะดวกต่อการลำเลียงเสบียงและ ฟืนไม้ซึ่งต้องขนเข้ามาทุกวัน นอกจากนี้ยัง คำนึงถึงเรื่องฟืนไฟ ควัน และกลิ่นอาหาร อีกด้วย พวกหนุ่ ม ๆ กลุ่ ม หนึ่ ง ช่ ว ยกั น ยก หม้อแกงหม้อใหญ่ออกมาจากครัวใหญ่ ต้อง ใช้ แ รงถึ ง สองคนยกหนึ่ ง หม้ อ ลำเลี ย ง อาหารจากเตาเข้าไปในห้องเตรียมบริการ

อาหาร ซึง่ เป็นห้องทีอ่ ยูด่ า้ นหลังของโถงโรง อาหาร หม้อแกงของครัวพระศาสดาขนาด ใหญ่พอๆ กับหม้อแกงงานวัดบ้านเรา ถ้า หากใครสงสั ย ว่ า เตาหรื อ หม้ อ หุ ง ต้ ม จะมี ขนาดใหญ่แค่ไหน เดีย๋ วอีกสักครูก่ จ็ ะได้เฉลย คำตอบกัน เมื่อเดินตามพวกแผนกยกหม้อแกง เข้ า ไปในห้ อ งเตรี ย มอาหารแล้ ว จึ ง ได้ ค ำ ตอบว่าข้าวและแกงจากหม้อใหญ่จะถูกเทลง ในถังข้าวถังแกง ก่อนที่จะนำไปบริการ ถัง ข้าวถังแกงที่กล่าวถึงนี้มีขนาดใหญ่ประมาณ แท็งก์น้ำ เพียงแค่เดินผ่านแบบเฉียดๆ ก็ยัง ได้รับพลังจากไอความร้อนที่อยู่ในถังแล้ว มี คนเตือนว่าจงระวังเมื่อเดินผ่านถังแกง ไม่ ต่างอะไรจากการยืนหน้าเตาไฟเลย และพื้น ห้องลืน่ มาก ต้องเดินอย่างระมัดระวัง


88

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มี ค นชวนไปดื่ ม ค-รั ม จายหรื อ ชา ร้อนตามธรรมเนียมอีกเช่นเคย จึงรับมิตร ไมตรีและเดินไปกับพวกเขาแต่โดยดี นั่งจิบ ชากันไปคุยกันไป ใช่วา่ จะรูเ้ รือ่ งอะไรกับพวก เขา เพราะพวกเขาคุยกันเป็นภาษาปัญจาบี ไม่หลุดภาษาอังกฤษออกมาสักคำ ครู่ใหญ่ พวกเขาดืม่ ชากันหมด แล้วต่างคนก็ตา่ งแยก ย้ายกันไป ผมจึงเดินไปดูตามมุมต่างๆ ตาม ประสาคนอยากรู้ พบห้องเล็กๆ อีกห้องหนึง่ อยู่ ต รงมุ ม โถงใหญ่ เป็ น ห้ อ งทำงานของ แผนกทำความสะอาด เท่ า ที่ สั ง เกตเห็ น แผนกทำความ สะอาดมีด้วยกันสองทีม ทีมหนึ่งทำความ สะอาดด้ ว ยเครื่ อ ง อี ก ที ม หนึ่ ง ทำความ สะอาดด้ ว ยวิ ธี แ บบดั้ ง เดิ ม คื อ ใช้ ผ้ า ถู บั ง เอิ ญ ที่ มี ห นุ่ ม คนหนึ่ ง ขั บ รถทำความ สะอาดสี เ หลื อ งมาจอดใกล้ ๆ เขาขั บ ด้ ว ย ความชำนาญ ผมจึ ง ขอถ่ า ยรู ป สั ก หน่ อ ย และแซวเขาว่ารถคันนี้แรงดีจริงๆ ผลิตใน อินเดียหรือเปล่า อีกคนหนึ่งเขาตอบว่ารถ คั น นี้ ม าจากเยอรมั น เขาอธิ บ ายเกี่ ย วกั บ เครื่องยนต์ซึ่งผมไม่เข้าใจ ผมเห็นมีสองคัน วิง่ ทำความสะอาดอยูใ่ นครัวพระศาสดา ผมออกจากห้องเตรียมงานบริการ แล้ว ตามพวกเขาเข้าไปในครัวใหญ่ ในครัว ใหญ่ซงึ่ ใหญ่สมชือ่ ผมพอจะแบ่งพืน้ ทีใ่ นครัว ใหญ่ได้สกั สามส่วน

ส่วนแรกเป็นพื้นที่ของการทำโรตี มีสองกลุ่มย่อย กลุ่มหนึ่งนั่งนวดแป้ง กลุ่ม หนึ่ ง นั่ ง ปิ้ ง โรตี มี ค นนั่ ง นวดแป้ ง ราวสิ บ

คนทั้ ง ชายหญิ ง มี ตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ ไปจนถึ ง ผูส้ งู อายุ อย่างนีบ้ ง่ บอกว่างานนวดแป้งโรตี ไม่ใช่เป็นเรื่องของแม่บ้านเพียงอย่างเดียว ผมพบกั บ เด็ ก ชายคนหนึ่ ง ทำโรตี เ ก่ ง มาก ท่าทางชำนาญน่าดู แถมยังทำอย่างรวดเร็ว เสียด้วย พอถ่ายรูปก็ชอบ ขอถ่ายรูปใหญ่ เลย เด็ ก ชายคนนี้ ม ากั บ คุ ณ ปู่ ทั้ ง ปู่ แ ละ หลานนัง่ นวดแป้งด้วยกัน ช่างเป็นภาพทีน่ า่ รั ก มาก กิ จ กรรมอย่ า งนี้ ส่ ง เสริ ม ความ สัมพันธ์ของคนในครอบครัวและสมาชิกใน สังคมได้เป็นอย่างดี สำหรับเตาปิง้ โรตีกใ็ หญ่มาก น่าจะ สามารถวางโรตีได้ถึงสามสิบแผ่น มีคุณลุง สองคนช่วยกันปิ้ง ด้านข้างมีคุณป้าคนหนึ่ง คอยเก็ บ โรตี ที่ สุ ก ได้ ที่ แ ล้ ว ออกจากเตา เตรียมส่งให้แผนกบริการอีกต่อหนึง่ นัง่ หน้า เตาต้องคลุมผ้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันไอ ความร้อน เตาปิง้ โรตีเป็นเตาแก๊ส ส่วนที่สองเป็นพื้นที่สำหรับประกอบ อาหาร โดยมีเตาหุงต้มเป็นจุดหลัก เตาหุง ต้มก่อด้วยอิฐยกพืน้ สูงเกือบเมตร เมือ่ ได้เห็น เตาของจริงกับตาตนเองแล้วก็รู้สึกตกใจ ไม่ คิดว่าเตาจะใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ หม้อที่ ตั้งบนเตาเหมือนสระน้ำสำหรับเด็กว่ายน้ำ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เล่นเลย ทัง้ เตาและหม้อแกงใหญ่โตพอๆ กัน มีทั้งหมดสามเตา ตอนที่เข้าไปดูนั้นเปิดใช้ เพียงสองเตา มีพ่อครัวคอยดูแลเตาละหนึ่ง คน ทั้งคู่นั่งในจุดที่ลมพัดผ่าน ทำเลดีมาก พอได้จังหวะก็ลุกคนแกงในหม้อ พวกเขา ใช้พายด้ามยาวเดินคนแกง ทำท่าทำทาง ราวกับว่าพายเรือ ต้องออกแรงมากทีเดียว ส่ ว นที่ ส ามเป็ น พื้ น ที่ เ ก็ บ เชื้ อ เพลิ ง และพืชผัก เห็นกองฟืนและกระสอบบรรจุพชื ผักมากมายหลายประเภท เตาใหญ่ใช้ไม้ฟืน เป็นเชื้อเพลิง พวกฟืนเป็นท่อนไม้ใหญ่ที่ตัด

89

ได้ขนาดพอดีสำหรับโยนใส่เตาได้ทันที ผม สั ง เกตเห็ น ว่ า ทุ ก วั น ไม่ เ ช้ า ก็ บ่ า ยจะมี ร ถ บรรทุกสิบล้อนำฟืนไม้เข้ามาส่งทางประตู ด้านนิวาสทีผ่ มพัก ทั้งสามส่วนต่างเป็นส่วนประสานที่ สำคัญ แต่ละส่วนมีบรรดาเซว่าดาร์เข้าร่วม ภารกิจอย่างแข็งขัน พวกเขาสามารถธำรง คำสอนควบคู่กับการลงมือปฏิบัติ การทำ เซว่ า ตามหลั ก ปรั ช ญาของพระศาสดาคง ดำรงอยูค่ ดู่ นิ แดนแห่งลุม่ แม่นำ้ ทัง้ ห้าสืบไป


90

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ร่วมแรงแข็งขัน ใครก็ตามที่จะเดินเข้าไปรับบริการ อาหารในครัวพระศาสดา ก็จะต้องเดินผ่าน ลานหัน่ ผักเสียก่อน บนพืน้ หินอ่อนด้านหน้า ครัวพระศาสดาแทบจะไม่มีที่ว่างเลย เพราะ หากไม่เนือ่ งแน่นด้วยคนมารับบริการอาหาร ก็แน่นขนัดไปด้วยคนมาทำเซว่า เซว่ า ดาร์ ทุ ก รุ่ น ทุ ก เพศทุ ก สถานะ ต่างมาร่วมแรงเตรียมประกอบอาหารในครัว พระศาสดา จะสามารถเห็นเด็กชายหญิงมา นั่ ง หั่ น แครอทกั บ คุ ณ แม่ ห รื อ กั บ คุ ณ ตาคุ ณ ยาย การเตรียมวัตถุดิบของครัวพระศาสดา ซึ่ ง ขอเรี ย กง่ า ยๆ ว่ า แผนกผั ก (ปอก หั่ น ซอย)

บนลานกว้าง คนทำเซว่าจะนั่งกัน เป็นกลุ่มๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง บางกลุ่มนั่ง ปอกเปลือกมันฝรัง่ หรือมันอาลู บางกลุม่ นัง่ ซอยขิง แกะหัวหอม หั่นฟักทอง และอื่นๆ อี ก มากมาย ขึ้ น อยู่ กั บ ว่ า รายการอาหาร แต่ละมือ้ จะเป็นอะไร ผมเองได้เข้าไปร่วมแรงช่วยพวกเขา ซอยขิง จับกลุ่มกับวงผู้ชายที่นั่งกันสามคน ตอนแรกก็ เ ขิ น ๆ ได้ แ ต่ ถ่ า ยรู ป ไปพลางๆ ก่ อ นพวกเขาก็ ยิ้ ม ให้ แล้ ว ผมจึ ง ขอร่ ว มวง ด้วยคน พวกเขายินดี เปิดทางให้นงั่ อีกหนึง่ ที่ พร้อมยกเขียงให้และหามีดมาให้ ทั้งนี้

มันฝรัง่ /มันอาลู เรียกว่า “อาลู” (alu), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : ขิง เรียกว่า “อัดดรัก” (adarak), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เป็นไปตามหลักการทีว่ า่ ไม่มใี ครบังคับให้คณ ุ มาทำ และไม่มีใครจะสามารถบังคับให้คุณ เลิกทำ ภารกิจของกลุม่ นีค้ อื คัดขิงทีด่ มี าขูด เอาเปลือกออกแล้วซอยเป็นชิ้นเล็กสำหรับใส่ แกง พอซอยขิงได้สกั ครูก่ ร็ สู้ กึ ว่าเมือ่ ยมือ นั่นเป็นเพราะว่ามีดไม่คมเอาเสียเลย ทำให้ ซอยได้ชา้ กว่าทีป่ กติ แต่คนใกล้ๆ ตัวกลับนัง่ ซอยขิงอย่างสบายใจเฉิบ เหตุฉะไหนจึงเป็น อย่างนัน้ ผมคุยปัญหาให้พวกเขาฟังว่ามีดไม่ คม บางคนก็พยักหน้าว่าเห็นด้วย แต่มิตร ใหม่คนหนึง่ ยืน่ มีดด้ามหนึง่ มาให้ ลองซอยดู แล้ว... คมดีจริง จึงซอยไปเรือ่ ยๆ จนขิงหมด เข่ง (เล็ก) จากนั้นพากันพักยก ผมเลยวาง มีดลง มิตรใหม่ก็หยิบมีดกลับคืน เช็ดแล้ว เก็บใส่กระเป๋า สงสัย... เลยถามว่ามีดของ เขาหรือ เขาก็พยักหน้า มิน่าล่ะจึงคมกว่า มีดสาธารณะ จึงได้ทราบว่าบางคนพกมีด ประจำตัวเพื่อการทำเซว่า นี่คือความตั้งใจ และความจริงใจของการทำเซว่า อ้าว!... มีคนยกขิงเข่งใหม่มาให้หลัง พักยกไปยกใหญ่ ผมใช้มีดสาธารณะก็แล้ว กัน ไม่ยืมมีดของเขาอีก… เกรงใจ พอดีมี คนใจบุญเอามีดใหม่มาให้ มีดสาธารณะมา จากการบริ จ าคของผู้ ค นทั่ ว ไป เพราะคน

91

ส่ ว นหนึ่ ง ไม่ ส ามารถมาทำเซว่ า ด้ ว ยการ ลงมื อ ปฏิ บั ติ ไ ด้ จึ ง หาทางออกด้ ว ยการ บริจาคเครื่องครัวแทน ถือเป็นการทำเซว่า เช่นกัน แม้จะเป็นมีดใหม่เอีย่ มก็ตาม แต่มดี สาธารณะซึ่งผู้ใจบุญซื้อมาจากร้านค้าทั่วไป มันไม่คมเอาเสียเลย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มาช่วย งานหัน่ ผักเป็นประจำจะพกมีดมาเอง คิดว่า มี ด บริ จ าคคงซื้ อ มาด้ ว ยราคาธรรมดา ผู้ บริจาคก็ได้ชื่อว่าบริจาคแล้ว เห็นบางคน หยิบมีดใหม่มาลองใช้ดูแล้วก็เอาวางลง คิด ว่าเก็บเอาไปหั่นผักอย่างอื่นอาจจะเหมาะสม กว่ากระมัง พวกเราคุยไปเรื่อยๆ พวกเขาสนใจ ว่าผมมาจากไหน มาทำอะไร ผมก็เล่าเรื่อง ไป แล้วก็สอบถามพวกเขาบ้าง ทำให้ทราบ ว่าบางคนมาหั่นผักเป็นประจำ มาทำเฉพาะ วั น ที่ ว่ า ง พวกเขามาสุ ว รรณวิ ห ารเพื่ อ มา สักการะและทำเซว่าในครัวพระศาสดา คน กลุ่ ม นี้ ม าเพื่ อ หั่ น ผั ก โดยเฉพาะ แปลว่ า ไม่ สนใจที่จะไปทำอย่างอื่น คล้ายกับว่างานนี้ เป็นวิถีชีวิตเป็นกิจวัตรที่ต้องมาทำ ไม่ทำ… ไม่ได้ และราวกับว่าแต่ละคนจะถูกคัดสรร จากจริตส่วนบุคคล ประสงค์จะล้างถาด จะ หั่นผัก จะนวดแป้ง ทำเซว่าด้วยใจบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้ได้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูล กันในสังคมชาวซิกข์ ซึง่ ยากทีจ่ ะบรรยาย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

92

1 3

2 4

1. 2. 3. 4. 5.

สองแรงยกหนึง่ หม้อ หม้อใหญ่จากเตายักษ์ ถังแกงจัดเตรียมไว้รอตักบริการ ตักแบ่งข้าวเตรียมบริการในครัวพระศาสดา ข้าวกับแกงในถังใบเล็กสำหรับหนึง่ แรงยกตักบริการ เด็กชายชาวซิกข์กำลังทำโรตีในครัวพระศาสดา

5


เปรม ปราณ ปัญจาบ

93


เปรม ปราณ ปัญจาบ

94

1 3

2 4

1.–2. กลุม่ นวดแป้งและทำโรตีในครัวพระศาสดา 3. ปิง้ โรตีดว้ ยเตาแก๊ส 4. ปรุงแกงในหม้อยักษ์ 5. เด็กชายและแม่กำลังปอกแครอทในครัวพระศาสดา

5


เปรม ปราณ ปัญจาบ

95


เปรม ปราณ ปัญจาบ

96

1

2

3

4

1. กลุม่ แม่บา้ นร่วมกันหัน่ ผัก (มันฝรัง่ หัวหอม) 2. เด็กหญิงและเด็กชายร่วมทำเซว่าในครัวพระศาสดา (ปอกมันฝรัง่ หรือมันอาลู) 3. กลุม่ พ่อบ้านช่วยกันซอยขิง 4. ฟักทองสำหรับเตรียมทำอาหารในครัวพระศาสดา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

97

ราวสองสั ป ดาห์ ที่ ไ ด้ เ ก็ บ เกี่ ย ว ศาสนาซิกข์ พอจะสรุปลำดับเรื่องราวอย่าง ประสบการณ์เรื่องการทำเซว่าในครัวพระ ย่อๆ เพือ่ ให้เราๆ ท่านๆ ได้เห็นภาพโดยรวม ศาสดาของชาวซิกข์ ณ สุวรรณวิหาร ใน ของครัวพระศาสดา (ตามลำดับ ดังนี)้ เมื อ งอมฤตสาร์ ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางของ

ทางเข้าสุวรรณวิหาร

รับถาด ช้อน ขันน้ำ

ด้านหน้าครัวพระศาสดา

ทางเข้าครัวพระศาสดา

ทางเข้าห้องโถง (รับอาหาร)

ในห้องโถง (รับอาหาร)


98

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทำความสะอาดพืน้

ส่งภาชนะคืน (นำไปล้าง)

รวบรวมภาชนะ (นำไปล้าง)

ล้างภาชนะ

ตากภาชนะ

เตรียมแจกภาชนะ

ในครัว : วัตถุดบิ (อาหาร)

ปอก หัน่ ซอย (พืชผัก)

ในครัว : เตรียมปรุงอาหาร


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในครัว : ปรุงอาหาร

ในครัว : นวดแป้งโรตี

99

ในครัว : ปิง้ โรตี

บริการอาหาร มีผใู้ ห้-ผูร้ บั

ยกหม้อแกงเตรียมบริการ

ข้าวทีเ่ ตรียมบริการ

รถบรรทุกขนฟืนมาส่ง

กองฟืนและวัตถุดบิ ในครัว

กองฟืนด้านนอก


เปรม ปราณ ปัญจาบ

100

1 4

2

3 5

1,2,5. บุรษุ และสตรีตา่ งร่วมกันขัดขันน้ำด้วยผงถ่าน 3. ขันน้ำทีข่ ดั เสร็จแล้วนำมาใส่ในตะกร้าเหล็กก่อนส่งไปล้างน้ำ 4. ผงถ่านสำหรับขัดขันน้ำ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

101

บ่อน้ำดับกระหาย ในระหว่างที่ทุกคนเดินไปเดินมาอยู่ ภายในสุวรรณวิหารนั้น หากกระหายน้ำก็ สามารถเข้าไปรับน้ำดื่มได้ที่หัวมุมระเบียง อาคาร ซึง่ มีจดุ บริการด้วยกันสองแห่ง น้ ำ ดื่ ม สะอาดๆ ไหลมาตามท่ อ

แล้วไหลลงในบ่อหินอ่อนสีขาวที่มีขนาดพอ ดี เซว่าดาร์สามสี่คนทยอยตักน้ำใส่ขันน้ำ

สแตนเลสแจกจ่ายผู้กระหาย… ให้ได้ดื่มน้ำ ดับกระหาย ณ จุดบริการน้ำดื่มมีกลุ่มเซว่าดาร์ มาร่วมทำเซว่าหลายคน สามารถแบ่งออก เป็นสองกลุม่ คือ กลุม่ บริการน้ำดืม่ กับกลุม่ ขั ด ขั น กลุ่ ม บริ ก ารน้ ำ ดื่ ม อาศั ย คนไม่ ม าก สามสี่ ค นคอยตั ก น้ ำ วางบนแท่ น เพื่ อ ให้ ผู้ กระหายหยิบดื่มเอง เมื่อดื่มเสร็จแล้วจะส่ง ขันน้ำกลับคืน ขันน้ำทีใ่ ช้แล้วจะถูกลำเลียงส่งมาให้ แก่กลุม่ ขัดขัน เซว่าดาร์ทงั้ หลายทัง้ ชายหญิง

ในกลุ่มจะทำหน้าที่ขัดขันให้สะอาด กลุ่มจะ นั่งอยู่ด้านในหรือข้างหลัง เสมือนเป็นเบื้อง หลัง เมื่อขัดขันจนขึ้นเงาวาววาบแล้ว ก็ส่ง กลับไปให้กลุ่มบริการน้ำ เพื่อนำไปบริการ ต่อ หมุนเวียนไปมาเช่นนีอ้ ยูต่ ลอดเวลา การทำความสะอาดขันน้ำ โดยใช้ วิธกี ารโบราณ ขัดด้วยขีเ้ ถา ซึง่ เป็นผงขีเ้ ถ้า หรื อ ผงถ่ า นบดละเอี ย ด ผงถ่ า นบรรจุ ใ น กระบะ การขั ด ขั น ก็ ไ ม่ ย ากหากชำนาญ เพียงใช้นิ้วมือถูขันด้วยผงถ่าน ถูไปถูมาสัก ครู่ก็วาวหรือขึ้นมัน โดยไม่ต้องใช้แปรงหรือ เครื่องมืออย่างอื่นเลย แล้วจึงล้างด้วยน้ำ เปล่าเพื่อเอาเศษผงออกก่อนส่งไปตักน้ำดื่ม เห็นวิธขี ดั ขันด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างนี้ ต้อง ยกนิ้วให้ว่าเป็นเศรษฐกิจพอเพียงและเป็น

ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เซว่าดาร์หลายคนขัดขันด้วยความ ชำนาญ เห็นขัดกันแป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว ใน


102

เปรม ปราณ ปัญจาบ

บางเวลามี ค นมาทำเซว่ า ขั ด ขั น กั น กว่ า สามสิบสี่สิบคน แต่ในบางเวลาก็เห็นมีเพียง สิบกว่าคน ช่วงกลางวันแดดร้อนๆ มีผู้คน มามาก น้ำดืม่ ก็ถกู ถามหาอยูเ่ รือ่ ยๆ แต่ตอน เช้า เย็น และค่ำ อาจจะมีคนไม่อยากดืม่ น้ำ สักเท่าใด ในเวลาบ่ า ยๆ หลั ง จากที่ ผ มเดิ น เข้ า ไปดื่ ม น้ ำ แล้ ว จึ ง ขออนุ ญ าตเหล่ า

เซว่าดาร์ศกึ ษาวิธกี ารขัดขัน เมือ่ ดูเข้าใจแล้ว ก็ควรจะต้องลงมือปฏิบตั ิ จึงขอร่วมวงขัดขัน ด้ ว ยคน คุ ณ ลุ ง หลายคนที่ นั่ ง อยู่ ก่ อ นแล้ ว ยินดีให้ผมนั่งด้วย แต่พอผมทำจริงๆ ก็ทำ ไม่ เ ป็ น ต้ อ งขอให้ มี ค นสอน และแล้ ว คุ ณ

อัมมาร์หนุ่มซิกข์อารมณ์ดีนั่งอยู่ไม่ห่างจาก ผม ก็บอกผมว่าต้องทำอย่างนีๆ้ คุณอัมมาร์ พูดภาษาอังกฤษได้คนเดียว คุณลุงคุณป้า แถวนี้พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ก็ยิ้มให้กัน เป็นระยะๆ พวกเราจึงขัดขันกันไปอย่างสนุก สนาน

คนร่วมวงทำเซว่าต่างก็สงสัยว่าผม คือใคร และแล้วคำถามราวหนึ่งโหลก็เปิด ฉากขึน้ ก็เป็นคำถามทัว่ ไปเหมือนกับใครอีก หลายคนชอบถาม เมื่อตอบคำถามจบทุก อย่างตามที่ท่านทั้งหลายสงสัย มิตรภาพก็ เกิดขึน้ เริม่ มีคนแบ่งขนมส่งมาให้ชมิ แต่ละ คนน่ารักมาก บางคนพกขนมมาด้วยเอาไว้ กินเวลาพัก เวลาราวสองชั่ ว โมงที่ ผ มร่ ว มขั ด ขัน... ช่างผ่านไปเร็วเสียเหลือเกิน ผมคุยกับ คุณอัมมาร์เพียงคนเดียวเพราะเป็นคนเดียว ทีค่ ยุ รูเ้ รือ่ ง แต่กค็ ยุ ได้ไม่มากนัก คุณอัมมาร์ ก็เป็นเช่นเดียวกับชาวซิกข์คนอื่นๆ เขาบอก ว่ามาทำเซว่าเป็นประจำ มาบ่อยเพราะบ้าน อยูใ่ กล้ๆแถวนี้ แต่พอได้เวลากลับคุณอัมมาร์ ก็ขอตัวไปก่อน ขณะที่ผมเองยังสนุกกับการ ขัดขันและช่วยขัดต่อไปอีกเรื่อยๆ เรียกว่า เครื่องกำลังแรง ไม่ควรจะทิ้งภารกิจ ท่า ทางจะได้บญ ุ เยอะก็คราวนีแ้ หละ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 3

2 4

1. 2. 3. 4.

มุมบริการน้ำดืม่ เพือ่ ดับกระหายในสุวรรณวิหาร น้ำสะอาดตักใส่ขนั วางเรียงรายรอให้บริการ ล้างขันให้สะอาดก่อนนำไปใช้บริการ ตักน้ำสะอาดสำหรับบริการแก่ผกู้ ระหาย

103


104

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ก้าวอิสระรอบสระรอบทิศ ผู้คนมากมายเข้าออกสุวรรณวิหาร จากประตู ร อบทิ ศ ทุ ก นาที ที่ ม องไปทาง ประตูเหมือนมองกระแสน้ำ เป็นอย่างนี้มิ ขาดสายทั้ ง ในเวลากลางวั น และกลางคื น ประตูสุวรรณวิหารขนาดใหญ่อ้าแขนเปิดรับ ชนทุกกลุม่ ประตูทางเข้าออกมีทั้งสี่ทิศแสดง การยินดีตอ้ นรับผูค้ นจากทัว่ ทุกสารทิศ ไม่มี การบังคับว่าต้องเข้าทางใดทางหนึ่ง มาถึง ณ ทิศใดก็มุ่งตรงเข้าสู่ศาสนสถาน ณ ทิศ นั้นได้เลย ความกว้างใหญ่ของประตูแสดง ความใจกว้างและเปิดอิสระ ทำให้ใครต่อใคร สามารถเดินไปมาได้อย่างสบายๆ โดยไม่มี เครือ่ งกีดขวาง ก่อนก้าวเข้าสูส่ วุ รรณวิหาร ต้องนำ รองเท้าไปฝากทีห่ อ้ งดูแลรับฝากรองเท้า ไม่ สามารถสวมใส่หรือนำรองเท้าเข้าไปข้างใน

ได้ แต่สำหรับถุงเท้าไม่ได้มขี อ้ กำหนด ผูค้ น มักจะเดินเท้าเปล่ากันเป็นปกติ ถ้ามาเดี่ยวๆ ก็ฝากไว้คเู่ ดียว ถ้ามาเป็นกลุม่ ก็ฝากหมูใ่ ส่ถงุ ใหญ่ ที่นี่มีถุงกระสอบไว้สำหรับใส่รองเท้า คราวละมากๆ โปรดอย่าได้ถอดทิ้งไว้โดย ไม่มีใครดูแล จะเกะกะและไม่เป็นระเบียบ แต่รองเท้าจะหายหรือไม่ คิดว่าไม่นา่ จะหาย (แต่โอกาสหายมี) เมื่อถึงบริเวณประตู ก็ทำการโพก หรือพันผ้าที่ศีรษะ ถ้าสวมหมวกก็ต้องถอด แล้วโพกผ้าแทน นักท่องเที่ยวทั้งชาวอินเดีย และชาวต่างชาติมักไม่มีผ้าโพกติดตัวมาด้วย ก็ ไ ม่ ต้ อ งกั ง วล เพราะมี ผ้ า โพกศี ร ษะไว้ ใ ห้

ยืมชั่วคราว ทุกประตูจะมีถังหรือตะกร้าใส่ ผ้าโพกไว้บริการ เลือกหยิบตามใจชอบ มี

ผ้ า โพกหลายแบบและหลากสี ผื น เล็ ก ผื น ใหญ่ปะปนกัน ผ้าโพกเหล่านี้ใช้หมุนเวียน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ตลอดเวลา บางคนอาจจะคิดว่าผ้าไม่สะอาด หรือเปล่า เท่าที่สุ่มดูก็ไม่พบว่าผ้าเหล่านี้จะ สกปรก หากต้องการความเป็นส่วนตัว (ผม เองก็เช่นกัน) อย่างนี้ก็ต้องเลือกหาซื้อผ้า โพกที่มีขายอยู่เกลื่อนเมือง จะเอาแบบไหน สีอะไร แบบถูกใจวัยรุ่นก็มี อันที่จริงแล้วใช้ ผ้ า เช็ ด ผ้ า ก็ ไ ด้ ผู้ ช ายหลายคนใช้ โ พกปิ ด เฉพาะด้านหน้าแล้วเอาปลายผ้าแนบหู เท่า นีก้ ถ็ อื ว่าผ่านแล้ว (แต่หลุดง่าย) ประตู ท างเข้ า ออกเป็ น ลั ก ษณะที่ ต้องขึ้นลงบันได เฉพาะประตูด้านครัวพระ ศาสดา ทางเดินจะเป็นทางเดินลาดเข้าไป แล้วค่อยลงบันได (ผมใช้ทางนี้เป็นประจำ) ประมาณสิบก้าวก่อนก้าวถึงประตู มีร่องน้ำ สำหรับล้างเท้า จุดบังคับล้างเท้าซึง่ ต้องเดิน ลง หรือพูดง่ายๆ ว่าทั้งขาเข้าและออกต้อง เดิ น ลุ ย น้ ำ ร่ อ งน้ ำ กว้ า งเกื อ บเมตร แม้ อากาศจะร้อนแต่น้ำกลับเย็น บ่อยๆ ครั้ง ที เ ดี ย วที่ มี น้ ำ กระจายบนพื้ น จนชื้ น แฉะ เจ้าหน้าที่เอาพรมพลาสติกมาวางเรียงเป็น แนวให้เดิน ป้องกันไม่ให้เหยียบพื้นหินอ่อน แล้วลืน่ ล้ม เด็กและผูส้ งู วัยมีโอกาสลืน่ ได้งา่ ย ใครๆ อาจจะคิดว่าร่องน้ำล้างเท้านี้ มีคนมากหน้าหลายตาเดินเข้าออกทั้งวันทั้ง คืนนับหมืน่ ๆ คน น้ำล้างเท้าจะสกปรกไหม ซึง่ สามารถตอบได้คำเดียวว่าไม่เคยเห็นน้ำใน

105

ร่ อ งสกปรก ต้ อ งยกนิ้ ว ให้ กั บ ระบบการ จัดการน้ำที่ดีเยี่ยม เป็นระบบน้ำไหลวน มี การบำบัดน้ำและการทำความสะอาด เรื่อง สุขอนามัยเป็นเรื่องหลักและเป็นเรื่องสำคัญ ของศาสนสถานแห่งชาวซิกข์ ทำให้น้ำใส ไหลเย็นอยู่เสมอ เห็นบางคนยังวักน้ำล้าง เท้ามาล้างมือเสียด้วยซ้ำ ก่อนผ่านประตู จะพบกับเซว่าดาร์ผู้ รั ก ษาความปลอดภั ย ภายในสุ ว รรณวิ ห าร การแต่ ง กายมี ลั ก ษณะโดดเด่ น สะดุ ด ตา พร้อมถืออาวุธเป็นหอกปลายแหลม พวกเขา จะยื น ประจำประตู คอยดู ว่ า ใครทำผิ ด ธรรมเนียมปฏิบัติบ้าง ก็จะเดินเข้าไปบอก หรือตักเตือน พวกเขามักจะถามชาวต่างชาติ ว่าคุณพกบุหรี่หรือไฟแช็กหรือไม่ เข้าใจว่า ชาวต่างชาตินยิ มสูบบุหรี่ พวกเขาพูดอังกฤษ ด้วยวาจาน้ำเสียงที่นุ่มนวลมาก ไม่ได้แสดง ความขึงขังแต่อย่างใด แม้หน้าตาอาจจะไม่ ยิ้มแย้ม หากมีสิ่งไม่พึงประสงค์ ก็ขอให้เอา ออกจากตัว ไม่ให้พกเข้าไป เมือ่ ยืนอยูห่ น้าบันได ชาวซิกข์มกั จะ ก้มตัวลงพร้อมเอามือแตะพื้นแล้วมาแตะที่ หน้าผาก แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน รับ เศษธุลีที่อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดมาใส่หน้าผากซึ่ง อยู่สูงกว่า ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องกระทำใน บริเวณนี้ เพราะหลายคนก็กระทำทุกจุดที่ เป็นประตู


106

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทันใดที่เท้าแตะบันได ต้องดึงสติ

กลับมาอยูก่ บั ตัว... ถ้าหากไม่มสี มาธิ เพราะ เมื่อเท้าเหยียบบันไดซึ่งเป็นหินอ่อน แต่ละ ขัน้ มีขนาดใหญ่ มีความแข็งแกร่ง แต่ละขัน้ มีการทำร่องเป็นตารางรูปข้าวหลามตัด น่า จะสามารถช่วยป้องกันการเหยียบพื้นที่แล้ว ลื่นล้มได้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าเดินไม่ดูก็ล้มได้ง่ายๆ … เดินไม่มสี ติยงิ่ ล้มลงอย่างง่ายดาย พอเข้าสู่เขตภายในแล้วอาจจะต้อง วางแผนสั ก เล็ ก น้ อ ยว่ า อยากจะไปทางใด ทางเดิ น พอจะแบ่ ง ออกได้ เ ป็ น สองส่ ว นคื อ ทางเดินที่เป็นระเบียงของอาคาร มีหลังคา และซุม้ เสา กับลานทางเดินโล่งแจ้ง ซึง่ เชือ่ ม ระหว่างขอบสระกับอาคาร สำหรับชาวต่าง ชาติจะเดินไปทางใดก่อนก็ได้ ไม่มขี อ้ กำหนด กำกั บ การเดิ น ทำให้ ส ามารถเดิ น ชมใน สุวรรณวิหารได้อย่างอิสระ อิสระทีจ่ ะเดินไป ดูในจุดต่างๆ จะนัง่ พักนานๆ นีเ่ ป็นอิสระต่อ กาลเวลา หลายวันที่ได้ชมสุวรรณวิหาร ก็ ก่ อ เกิ ด ความรู้ สึ ก อิ ส ระอย่ า งบอกไม่ ถู ก ชั่ ว โมงรี บ เร่ ง หายไป บทสวดของเหล่ า บรรดาศาสนศิ ล ปิ น ช่ ว ยขั บ กล่ อ มให้ จิ ต ใจ สงบได้มากโข เดินได้ทกุ ทีจ่ ริงหรือ ? ค่อนข้างจะ เดินได้แทบทุกบริเวณทีเดียว ในบางจุดอาจ จะขอสงวนไว้สำหรับเฉพาะเจ้าหน้าที่ นัก

ท่องเที่ยวชาวต่างชาติสามารถเดินชมและ ถ่ายรูปได้คอ่ นข้างอิสระ จะเดินหรือจะนัง่ ได้ ทั้งนั้น ขอเพียงไม่กีดขวางเกะกะใครก็ใช้ได้ แล้ว ในช่วงเวลาสายๆ บ่ายๆ มักจะเห็น ผู้สูงวัยหลายคนนั่งๆ นอนๆ จนหลับกันไป เลย (แต่ เ ห็ น จะมี ไ ม่ ม ากนั ก ) โดยเฉพาะ บริเวณทางเดินที่ระเบียงอาคาร มีหลังคามี ร่มเงาพร้อม เป็นมุมที่เอื้อต่อการเอนหลัง พักผ่อนได้อย่างสบายๆ ในบางครัง้ ก็เห็นเด็ก เล็กนอนบนตักแม่ คาดว่าพ่อกำลังปฏิบัติ ศาสนกิจอยู่กระมัง มีคนมากก็ต้องรอนาน เด็กอาจจะรอไม่ไหว เลือกนั่งที่มุมอาคาร เอาตัวชิดแนวกำแพง แล้วก็ (ผู้ชาย) นอน บนพื้นที่เย็นสบาย ใช้ผ้าปิดหน้าเอาไว้ไม่ให้ เห็นใครและไม่ให้ใครเห็น สบายในชั่วโมง สบายๆ ผมยังนึกอิจฉา มีลมโกรกเย็น มี เสียงเพลงเพราะๆ แม้จะสับสนวุ่นวายด้วย ผู้คนจำนวนมหาศาล ก็คงไม่เป็นไรหากจะ งีบสักหน่อย ที่น่าสังเกตก็คือไม่เห็นมีสตรี นางใดนอนเลย ลองคิดดูว่าหากมีสตรีนอน อยู่ อาจจะว่าไม่งามนัก คงมีคำนินทา บุรษุ ใดปล่ อ ยให้ ศ รี ภ รรยาหรื อ บุ ต รี ม านอนใน สถานทีส่ าธารณะ ยามราตรี มีแสงดาวแสงเดือนส่อง มากระทบพืน้ หินอ่อนและน้ำในสระ ผูค้ นมัก


เปรม ปราณ ปัญจาบ

มานั่งเกาะกลุ่มกันตามขอบสระ เสียงเพลง สรรเสริ ญ พระเจ้ า ยั ง ดั ง ก้ อ งกระทบโสต ประสาท ลมเย็นๆ ยังพัดมากระทบผิวกาย อยูเ่ ป็นระลอกๆ สายตาเหม่อมองไปทางสระ ทีก่ ระทบแสงระยิบระยับ พลอยทำให้การนัง่ นิ่งๆ ริมขอบสระดูจะเป็นทางเลือกที่ลงตัว ที่สุด มีคนนอนดูดาวด้วย แต่มีอยู่คืนหนึ่ง เจอฝรั่งผมทองนอนเล่นโยกขาส่ายเท้า เจ้า หน้าที่ขอให้ลุกขึ้นนั่งจะดีกว่า ฝรั่งคนนั้นก็ ยอมโดยดี มีชาวอินเดียก็นอนอยู่ใกล้ๆ เช่น

1 2 3

107

กัน แต่นอนด้วยอาการสงบนิง่ ความอิสระอย่างหนึ่งสำหรับชาว ต่างประเทศในการเดินชมสุวรรณวิหารก็คือ อิสรภาพในการถ่ายภาพ บอกได้อย่างตรง ไปตรงมาเลยว่ามีอิสระพอสมควร (เว้นแต่ จะไปในจุ ด ที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ ธรรมเนี ย ม ปฏิ บั ติ ) ในบางจุ ด อาจจะขออนุ ญ าตตาม มารยาทก่ อ น อย่ า งเช่ น ในห้ อ งสวดมนต์ แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งพวกเขาใจดี… ยิ้มให้ พร้อมกับตอบว่าโอเค

1. ก่อนเข้าต้องโพกผ้าศีรษะ มีถงั ใส่ผา้ โพกตัง้ อยูท่ ปี่ ระตูทางเข้า 2. ล้างเท้าก่อนก้าวสูส่ วุ รรณวิหาร 3. นัง่ สวดมนต์บนลานกว้างภายในสุวรรณวิหาร


108

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในบริ เ วณใดที่ ค นเข้ า ออกได้ เ ป็ น ปกตินนั้ ย่อมสามารถถ่ายรูปได้ทงั้ หมด แต่ บางคนอาจจะไม่ ยิ น ดี ใ ห้ ถ่ า ยขณะที่ ก ำลั ง ปฏิบัติศาสนกิจ เขาจะโบกมือร้องขอว่าอย่า ถ่าย ผู้คนส่วนใหญ่ยินดีให้ถ่ายได้ บางคนก็ เล่นกล้องเสียด้วยซ้ำ… เป็นกันเองระหว่าง คนไม่รจู้ กั กัน ชาวซิกข์มักมีลำดับในการเดิน เมื่อ เข้ามาถึงด้านในแล้วจะไหว้ ณ จุดใดจุดหนึง่ ที่ ข อบสระ ถ้ า เข้ า ทางเดี ย วกั บ ครั ว พระ ศาสดา ก็จะได้ไหว้ตรงข้ามกับจุดกลางสระ พอดี แล้วจึงลงไปอาบน้ำในสระ จากนัน้ เข้า ไปสักการะพระศาสดาศรีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ การสักการะและการปฏิบัติศาสนกิจ จะใช้เวลาสั้นหรือยาวนานแค่ไหน คงขึ้นอยู่ กับแต่ละบุคคลมีเวลามากแค่ไหน บางคนก็ อยู่ได้ทั้งวัน แต่สักการะในตัวสุวรรณวิหาร นั้ น สามารถกระทำได้ เ พี ย งช่ ว งเวลาสั้ น ๆ

เพราะคนรอเข้าสักการะมหาศาลขณะทีพ่ นื้ ที่ มีจำกัด โลกเล็กๆ ในสุวรรณวิหารต่างจาก โลกใหญ่ภายนอกทีเ่ ผชิญอยู่ ก้าวอย่างอิสระ ในสุวรรณวิหารน่าจะช่วยสามารถปรับจิตใจ ให้ผคู้ นได้ไม่มากก็นอ้ ย โลกเล็กๆ เป็นอีกมิติ หนึง่ ทีถ่ กู ออกแบบไว้คอยประโลมใจผูต้ กทุกข์ ได้ยากจากโลกภายนอก บางคนทุกข์เพราะ ไม่ มี ท รั พ ย์ แต่ บ างคนก็ ก ลั บ ทุ ก ข์ เ พราะมี ทรัพย์มากไป แต่คดิ ว่าอย่างน้อยความอิสระ เพี ย งไม่ กี่ น าที ใ นสุ ว รรณวิ ห ารจะสามารถ ปลอบใจ ให้สติ ให้ความเข้มแข็งกับบรรดา ผู้คนทั้งหลายได้ ให้หยุดให้ทิ้งเรื่องทุกข์ไว้ ข้างนอก แล้วทำใจให้สบาย สติอาจจะกลับ คืนมาได้เมื่อก้าวเท้าเดินออกไปด้วยอาการ อิ่มบุญและเบิกบานใจเพื่อก้าวเดินไปสู้ชีวิต ต่ออย่างมีสติ

1. การสักการะของชาวซิกข์ ณ สุวรรณวิหาร 1


เปรม ปราณ ปัญจาบ

109


110

เปรม ปราณ ปัญจาบ

2 1

3 4

1. อีกมุมหนึง่ ในสุวรรณวิหาร 2.–4. ชมสุวรรณวิหารและบรรดาซาวซิกข์ทเี่ ข้าแถวยาว 3. ประตูสใู่ จกลาง แถวรอเข้าไปสักการะด้านในใจกลางสระ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

111

ศิษยะศรัทธา ใครก็ตามที่มีโอกาสเยือนสุวรรณวิหาร ย่อมจะสัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของ เหล่าชาวซิกข์หรือศิษยะ จนทำให้นึกถึงคำ กล่าวที่ว่าสุวรรณวิหารเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ด้ ว ยพลั ง ศรั ท ธาอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข อง ศิษยะทั้งหลายในจากอดีตสู่ปัจจุบัน บริเวณ ใดในสุวรรณวิหารบ้างทีจ่ ะไม่เห็นชาวซิกข์กม้ กราบสักการะ ไม่ว่าจะเดินไปทางใดก็ตาม ดูเหมือนจะมีแต่ความศักดิส์ ทิ ธิท์ กุ บริเวณ ภายในสุวรรณวิหารมีจุดสักการะ ถึง 14 แห่ง แต่ละแห่งต่างมีประวัติความ เป็นมาและเรื่องราวความสำคัญนานาสาระ ผมขอยกบางแห่งมากล่าวสักเล็กน้อย พอ เป็นข้อสนับสนุนว่า อะไรคือแรงศรัทธาของ ศิษยะชาวซิกข์ บริ เ วณแรก เมื่ อ ก้ า วเท้ า เข้ า มา ภายในสุวรรณวิหารก็จะมองเห็นใจกลางของ

สุวรรณวิหาร สายตาย่อมจับจ้องไปยังสีทอง อร่ามกลางสระอมฤต พอเข้ามาแล้วก็พากัน พนมมือและก้มศีรษะสัมผัสพื้นเพื่อสักการะ สิง่ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหน้า ณ ต้นไม้เก่าแก่ริมสระอมฤต คือ ศรีดุคภันจานีเบรี (Shri Dukh Bhanjani Beri) ซึ่งปลูกมากว่าสี่ศตวรรษแล้ว คำว่า ดุ ค ก็ คื อ ทุ ก ข์ หมายความว่ า เป็ น ต้ น ไม้ ที่ ขจัดความทุกข์ ต้นเบรีที่ว่านี้เป็นต้นพลัม บริเวณดังกล่าวชาวซิกข์จะนิยมมายืนสักการะ ภาวนา และอาบน้ำมากที่สดุ กว่าบริเวณใดๆ ชาวซิกข์เชือ่ ว่าเป็นต้นไม้ศกั ดิส์ ทิ ธิ ์ (เขาเล่ากันว่า…) ผู้ที่สักการะจะได้ รับพลังพิเศษ เช่นความเป็นหนุ่มสาว โดย เฉพาะหญิงที่ไม่มีบุตร หากมาขอพรก็จะได้ บุตรสมปรารถนา1


112

เปรม ปราณ ปัญจาบ

และ ณ ใต้ร่มไม้ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ตั้ง ของ คุรุดวาราดุคภันจานีเบร์ (Gurdwara Dukh Bhanjani Ber) และภายใต้ร่มไม้ เดียวกันเป็นทีต่ งั้ ของ อัตสัธติรธั (Ath Sath Tirath) เป็นจุดที่พระศาสดาหลายพระองค์ เคยประทับเพือ่ ตรวจการขุดสระอมฤต คำว่า อัตสัธ เป็นตัวเลข แปลว่า 68 (อัต คือ 8, สัธ คือ 60) ส่วน คำว่า ติรัธ เป็นสถานที่ไปแสวงบุญ ความหมาย โดยรวมแปลว่าสถานที่ที่ชาวฮินดูไปแสวง บุ ญ หรื อ ขจั ด ทุ ก ข์ ข องตน 68 แห่ ง แต่

1 2 3

สำหรับชาวซิกข์แล้ว การมาทำความเคารพ และสั ก การะ ณ สถานที่ เ พี ย งแห่ ง เดี ย ว เท่ากับได้ผลบุญของการไปสักการะสถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นศาสนาฮิ น ดู 68 แห่ ง ทั่ ว ประเทศอินเดีย เหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะ เป็นพระประสงค์ของพระศาสดาคุรุอรยัน เดวญี (5) ซึง่ จะชีใ้ ห้เห็นว่า ศาสนสถานของ พระเจ้ า หากได้ ไ ปทำบุ ญ หรื อ ทำความ เคารพด้ ว ยศรั ท ธาด้ ว ยความเชื่ อ มั่ น อย่ า ง แท้ จ ริ ง แล้ ว ไปเพี ย งแห่ ง เดี ย วก็ จ ะได้ บุ ญ เท่ า กั บ ไปสั ก การะถึ ง 68 แห่ ง (โดยไม่

1. ชาวซิกข์มกั จะสักการะกันทีเ่ บือ้ งหน้าสุวรรณวิหาร 2. การสักการะธงนิชานซาฮิบ ณ บริเวณฐานของเสาธง 3. สักการะ ณ อัตสัธติรธั


เปรม ปราณ ปัญจาบ

จำเป็นต้องไปทัง้ 68 แห่ง) อี ก บ ริ เ ว ณ ห นึ่ ง คื อ ศ รี อ ก า ล

ทากฮาตซาฮิบ (Sri Akal Takhat Sahib) เป็ น บั ล ลั ง ก์ ที่ ป ระทั บ ของพระศาสดาคุ ร ุ ฮั ร โควิ น ท์ ญี (6) สร้ า งขึ้ น ในปี 2152/ 16092 สำหรับในปัจจุบนั ยังมีการสวดมนต์ อยู่ เ ป็ น ประจำ ชาวซิ ก ข์ มั ก จะสั ก การะทั้ ง บริเวณด้านหน้าคุรดุ วารา และด้านใน เมือ่ เข้าไปก็จะพบชาวซิกข์นงั่ สวดมนต์กนั ใกล้ ๆ กั น เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานธง นิชานซาฮิบ ธงทีพ่ ระศาสดาคุรฮุ รั โควินท์ญี

113

(6) ได้นำศาสตราวุธมาเป็นสัญลักษณ์บน พื้ น ธง สำหรั บ ธงนิ ช านซาฮิ บ ในสุ ว รรณวิหารมี 2 ผืนคูก่ นั ผืนหนึง่ นาม “ปีร”ี และ อี ก ผื น หนึ่ ง นาม “มี รี ” ชาวซิ ก ข์ ที่ ม าถึ ง บริ เ วณนี้ จ ะต้ อ งทำการสั ก การะธงนิ ช าน ซาฮิบ โดยการใช้สองมือและก้มศีรษะสัมผัส กับฐานของธงเป็นรูปแบบการสักการะ หากยังอยู่ในเขตเมืองเก่า ไม่ว่าจะ อยูต่ รงไหนก็ยงั สามารถมองเห็นธงสองผืนนี้ โบกสะบัดอย่างโดดเด่น เป็นการประกาศ ความเกรียงไกรในดินแดนแห่งแม่นำ้ ห้าสาย

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.vikramasentamritsar.com/amritsar.html, [พ.ค. 2553/2010] 2. The Sikh Reference Book, (1997), Dr.Harjinder Singh Dilgeer


114

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สัมผัสน้ำอมฤต ดูเหมือนจะเป็นประเพณีนิยมของ ชาวอิ น เดี ย ที่ ช อบอาบน้ ำ และประกอบ พิธีกรรมบางอย่างตามท่าน้ำ สระน้ำ หรือ แม่นำ้ ซึง่ กล่าวอ้างว่ามีความศักดิส์ ทิ ธิต์ า่ งๆ นานา สำหรั บ ชาวซิ ก ข์ เ องการอาบน้ ำ ก็ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเช่นกัน แต่เน้นการ อาบเพื่อชำระกายเท่านั้น ไม่มีการประกอบ พิธที างศาสนา

ดั ง คำสอนของพระศาสดาคุ รุ นานักเดวญี (1)3 แสดงไว้วา่ ผูฟ้ งั ธรรมด้วย ความตัง้ ใจและรักษาธรรมไว้ในหัวใจ ปฏิบตั ิ ตนตามหลั ก ธรรมที่ แ สดงไว้ จะประสบ มรรคผล มีผลบุญเทียบเท่ากับการไปอาบ น้ ำ ตามท่ า น้ ำ ที่ ว่ า ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทั้ ง หกสิ บ แปด สถาน เพราะการภาวนานั้นได้สร้างให้ตัว เองกลายเป็นท่าน้ำทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิไ์ ปเสียแล้ว จะ ต้องไปหาทีอ่ นื่ กันอีกทำไมให้เสียเวลาเปล่าๆ

Sune-ai athsath kaa isnaan สุเนแอ อัท ซัท กา อิสนาน Spiritual benefit of the bath at sixty eight holy places is obtained by hearing the Name of Gold. ผูฟ้ งั ธรรมและภาวนาในธรรมนัน้ ด้วยจิตทีบ่ ริสทุ ธิแ์ ละศรัทธาอย่างมัน่ คง เปรียบเสมือนได้อาบน้ำทีท่ า่ น้ำศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หกสิบแปดสถาน

Japji Sahib, Pauri 10 ชัปญี ซาฮิบ, เปารีที่ 10, วรรคที่ 2 (ฉบับแปลภาษาไทย)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

การอาบน้ำเป็นเพียงการทำความ สะอาดร่างกาย การอาบน้ำที่สระอมฤตก็ เช่นกัน จะพบเห็นชาวซิกข์ทยอยลงสระน้ำใจ กลางสุ ว รรณวิ ห าร การอาบน้ ำ เรี ย กว่ า สนาน ชาวซิกข์บางส่วนอาบน้ำพร้อมกับ ภาวนาในเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ก็น่าจะเป็นเพราะ ว่ า จิ ต เมื่ อ กระทบกั บ ความเย็ น ของน้ ำ แล้ ว ช่วยทำให้เกิดความสงบ สระน้ำที่กำลังกล่าวถึงนี้มีนามว่า สระ ซาโรวัร (Sarovar) เป็นภาษาปัญจาบี คำว่า ซโรวัร แปลว่า สระน้ำ (pool) หรือ ทะเล (sea) คำนี้ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า สาร์ (sar)1 ในภาษาไทยเราเรียก สระ จะ เห็นได้ว่าออกเสียงคล้ายกันมาก แสดงที่มา ได้วา่ มาจากภาษาสันสกฤตโบราณ เมื่ อ ซาโรวั ร หรื อ สระน้ ำ ตั้ ง อยู่

ในสุ ว รรณวิ ห าร (และในเมื อ งอมฤตสาร์ ) จึ ง พาเรี ย กกั น ว่ า อมฤตซาโรวั ร (Amrit Sarovar) ทั้งนามของสระน้ำและนครต่างมี ความหมายผูกพันกัน พอแปลคำว่าอมฤต ซาโรวัรกลับมาเป็นภาษาไทยก็คือ สระน้ำ

115

อมฤต (The pool of Nectar) นั่ นเอง ส่วนนามของนครอมฤตสาร์หรืออมฤตซาร์ (Amrit sar) ถ้าอธิบายให้เข้าใจแบบภาษา ไทยจะสามารถเรียกได้วา่ เมืองอมฤตสระ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวซิกข์ ทุ ก รุ่ น ที่ ม าสั ก การะและปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ ภายในสุ ว รรณวิ ห าร มั ก จะลงอาบน้ ำ ใน ซาโรวัร ผมพบหลายครอบครัวนิยมอุ้มหนู น้อยมาด้วย พ่อหรือแม่มกั จะอุม้ หรือจับให้ น้ ำ อาบ ณ ริ ม ขอบสระ คงถื อ ว่ า เป็ น สิ ริ มงคลกับลูกหลาน หรือจะได้บุญ หนูน้อย บางคนก็แผดเสียงร้องดังลั่นเลย พ่อกับแม่ ต้องช่วยกันกล่อมน่าดู ส่วนเด็กชายที่โตพอ จะรูค้ วามบ้างแล้ว ก็จะเดินลงสระน้ำกับคุณ พ่ อ หรื อ คุ ณ ปู่ เ พื่ อ อาบน้ ำ พร้ อ มกั น ยั ง พบ เด็กชายพี่น้องอาบน้ำด้วยกัน ก็เล่นสาดน้ำ กันบ้างท่ามกลางแดดร้อน ทุ ก คนสามารถลงสระน้ ำ ได้ ซึ่ ง หมายความว่ า คนทุ ก เพศทุ ก วั ย ทุ ก สถานะ ทุ ก เชื้ อ ชาติ ส ามารถลงอาบน้ ำ ในสระแห่ ง สุวรรณวิหารได้ แต่ตามริมสระมักจะเห็น

อาบน้ำ เรียกว่า “สนาน” (snan), ภ.ปัญจาบี : สระน้ำ เรียกว่า “ซโรวัร” (sarovar), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี : , ภ.ฮินดี :


116

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เฉพาะพวกผู้ ช ายเท่ า นั้ น ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า ผู้ชายสามารถถอดเสื้อผ้าอาบน้ำได้สะดวก กว่าผู้หญิง ผู้ชายที่ลงอาบน้ำในสระมักจะ สวมเพียงกางเกงชั้นในเพียงตัวเดียว เมื่อ เป็นเช่นนี้การที่จะให้ผู้หญิงลงอาบน้ำในที่ สาธารณะโดยมีผู้คนจับจ้อง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ เหมาะสม จึงมีการจัดพื้นที่หรือเป็นห้องริม สระสำหรับผูห้ ญิงอาบน้ำโดยเฉพาะ อย่างนี้ ทำให้ทุกคนสามารถลงสระน้ำได้โดยหลัก การเสมอภาคตามปรัชญาของศาสนา ในอดี ต มี เ รื่ อ งน่ า อั ศ จรรย์ เ กิ ด ขึ้ น

ที่สระอมฤต เป็นเรื่องเล่าซึ่งเล่ากันว่า มี คหบดี ค นหนึ่ ง นามดุ นี จั น ด์ ค าตี (Duni Chand Khati) อาศัยอยูใ่ นเมืองปัตตี (Patti) มีบตุ รีทสี่ วยและฉลาด 5 คน วันหนึง่ คหบดี ถามลูกสาวว่าใครคือผู้เลี้ยงดูลูกๆ แต่ละคน ต่างตอบว่าบิดา เว้นแต่บตุ รีคนเล็กนามรัชนี (Rajni) กลับตอบว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทาน พอคหบดีได้ยินอย่างนั้นก็มีความโกรธ หา ว่าไม่รู้บุญคุณของบิดามารดาที่เลี้ยงมา จึง ลงโทษด้วยการให้รชั นีไปแต่งงานกับชายโรค เรื้อน ซึ่งนางก็เป็นภรรยาที่คอยปรนนิบัติ สามีดว้ ยความรัก ต่ อ มาในช่ ว งหนึ่ ง ที่ พ ระศาสดา คุรรุ ามดาสญี (4) กำลังสร้างเมืองใหม่ พอ นางทราบก็ พ าสามี ม าที่ อ มฤตสาร์ ด้ ว ย สภาพของทั้งคู่เป็นผู้ที่น่าสงสาร จึงได้ห้อง

พักและอาศัยอยู่ที่นั้น นางได้ร่วมทำเซว่าใน ครัวพระศาสดา จนกระทั่งในวันหนึ่งสามีของนาง นอนหลับใต้ต้นไม้ (Shri Bukh Bhanjani Beri) ส่วนนางก็ไปในครัวพระศาสดาเป็น ปกติ เมือ่ สามีโรคเรือ้ นนัง่ อยูร่ มิ สระน้ำ ก็ได้ เห็นอีกาคู่หนึ่งจุ่มตัวลงไปสระและบินไป สี ดำของอีกาได้เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อเขาเห็น ดังนั้นจึงลงอาบน้ำในสระ พอขึ้นจากสระ เขาก็หายป่วยจากโรคเรื้อน กลายเป็นบุรุษ ดังเช่นคนปกติ แต่ในขณะที่อาบน้ำนั้น เขา เกรงว่าภรรยาจะจำตนไม่ได้ จึงเหลือนิ้วมือ ไว้เพื่อแสดงตนต่อภรรยาว่าเป็นคนๆ เดียว กัน พออาบน้ำเสร็จแล้วก็กลับมานัง่ ใต้ตน้ ไม้ เหมือนเดิม2 ครัน้ พอรัชนีกลับมาตามหาสามีโรค เรื้ อ นก็ ไ ม่ พ บ กลั บ พบชายคนหนึ่ ง นั่ ง อยู่ เมื่อเขาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้นางฟังพร้อม กับให้ดูนิ้วมือที่ยังคงเป็นโรคเรื้อนอยู่ จน นางเชื่อว่าเป็นคนๆ เดียวกัน จากนั้นเขาก็ จุ่มนิ้วมือนั้นลงในสระน้ำเพื่อให้นิ้วมือกลาย เป็นเช่นคนปกติ ภรรยาก็ดใี จมาก แล้วทัง้ คู่ ได้เข้าพบและเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้กับพระ ศาสดา และเมื่ อ ผู้ ค นทั้ ง หลายได้ ยิ น เรื่ อ ง เล่าดังกล่าวนี้ จึงพากันมาอาบน้ำที่สระใน สุวรรณวิหาร โดยเฉพาะบริเวณเดียวกับที่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

สามี โ รคเรื้ อ นของรั ช นี เ คยลงอาบมาก่ อ น การลงอาบน้ ำ ในสระจึ ง กลายเป็ น เสมื อ น ธรรมเนียมของชาวซิกข์จากบัดนั้นจนมาถึง ปัจจุบนั นี ้ ความธรรมดาและความไม่ธรรมดา มักจะเกิดขึน้ ปะปนกันอยูเ่ สมอๆ ในทุกวันนีม้ ี ชาวซิกข์และชาวอืน่ ๆ ทีท่ ราบเรือ่ งราวความ ศักดิ์สิทธิ์ของการอาบน้ำในสระอมฤตก็ต่าง มาสักการะและลงอาบน้ำจนดูจะกลายเป็น ธรรมเนียมปฏิบตั ทิ จี่ ะขาดเสียมิได้ ใครก็ตามที่ลงอาบน้ำในสระจะลง ไปได้เฉพาะริมขอบสระเท่านั้น มีรั้วกั้นเป็น เขตกันไม่ให้เข้าไปยังกลางสระ ทีร่ มิ ขอบสระ จะมีโซ่เส้นยาวสำหรับให้ยึดถือเวลาเดินลง สระ เพราะทั้งเด็กและผู้สูงวัยต่างสามารถ เดิ น พลาดหรื อ ลื่ น ล้ ม ได้ ยึ ด โซ่ เ อาไว้ ก่ อ น เป็นดีทสี่ ดุ ในบางครั้ ง มี พ วกวั ย รุ่ น มากั น เป็นกลุ่มๆ พอถอดเสื้อถอดกางเกงเสร็จก็ กระโจนลงสระ พวกเขามากั น กลุ่ ม ย่ อ ม สนุกสนานตามวัย แน่นอนว่าการเล่นน้ำและ เสียงดังจนเกินความพอดีกลายเป็นสิ่งที่ไม่ เหมาะสม เพราะไม่ใช่สระว่ายน้ำ และแล้ว ในนาทีต่อมาก็จะมีเจ้าหน้าที่รีบเข้ามาเตือน และห้ า มปราบ ดั ง นั้ น การทำอะไรที่ ไ ม่ เหมาะสมหรื อ เกิ น ความพอดี บรรดา เจ้าหน้าที่จะขอร้องให้หยุดการกระทำเช่น

117

นั้ น แล้ ว อธิ บ ายว่ า ไม่ ค วรทำเพราะอะไร เน้นการใช้เหตุผล ไม่ได้จับกุม หรือพูดไม่ สุภาพ หรือไล่คนออกไปข้างนอก ผมคิดว่า เจ้ า หน้ า ที่ ค งจะมี ขั้ น ตอนในการปฏิ บั ติ ต่ อ กรณี ต่ า งๆ ผู้ ค นส่ ว นใหญ่ มั ก จะหยุ ด การ กระทำเมือ่ มีการเตือนเกิดขึน้ หากไม่เช่นนัน้ ก็จะมีผู้คนมากมายหันมามอง จะทำให้เกิด ความอับอายมากขึน้ เวลากับการอาบน้ำในสระดูจะไม่ เกีย่ วข้องกัน นัน่ หมายความว่า การลงอาบ น้ำในสระไม่อาศัยฤกษ์ยามใดๆ ใครมาถึงใน เวลาใดก็พากันมาอาบได้เลย เป็นไปตาม หลักคำสอนขององค์พระศาสดา จึงทำให้ ตั้งแต่รุ่งเช้าจนราตรี จะมีชาวซิกข์ทยอยลง อาบน้ำอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง การอาบน้ำที่กล่าวมานี้ถือเป็นการ ล้างกายด้วยน้ำสะอาด โดยไม่มีการใช้สบู่ การอาบน้ำส่วนใหญ่จะเดินลงสระ ซึ่งจะลง ไปประมาณระดับเอวหรืออกของแต่ละคน เป็ น อย่ า งมาก แล้ ว ใช้ มื อ วั ก น้ ำ ยั ง เห็ น มี พวกเด็ ก ๆ พกขั น พลาสติ ก มาตั ก อาบด้ ว ย การอาบน้ำนี้ไม่รวมการสระผม ชาวซิกข์ที่ รักษาศาสนสัญลักษณ์จึงไม่ถอดผ้าโพก แต่ นำกิ ร ปานหรื อ กริ ช วางไว้ ที่ บ นศี ร ษะหรื อ สอดแนบทีผ่ า้ โพก น้ ำ ในสระไม่ นิ ย มนำออกไปภาย นอก กล่าวคือ ไม่มกี ารตักน้ำใส่ขวดแล้วนำ


118

เปรม ปราณ ปัญจาบ

กลับไปบูชาที่บ้านหรือนำออกไปผสมน้ำอาบ ส่วนจะมีคนแอบทำหรือไม่นั้น… ก็ไม่อาจจะ ทราบได้ ชาวซิกข์และชาวอืน่ ๆ เรือนหมืน่ คน ต่อวันลงอาบน้ำในสระซาโรวัร แน่นอนว่า ย่อมมีสิ่งสกปรกตกลงในสระอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีปัญหาสำหรับการจัดการน้ำในสระ

ของสุ ว รรณวิ ห าร เพราะมี ก ารออกแบบ ระบบการกรองน้ำอย่างต่อเนือ่ ง (the continuous riltering) ไว้อย่างยอดเยีย่ มทีเดียว ทำให้สระซาโรวัรเป็นสระที่มีความสะอาด สิ่งที่สะท้อนได้ว่าสะอาดคงจะเห็นได้จากฝูง ปลาตั ว เบ้ อ เริ่ ม ที่ เ วี ย นว่ า ยไปมาอย่ า งน่ า เอ็นดูอยูใ่ นสระน้ำใส

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.thesikhencyclopedia.com/architecture/sarovar.html, [ก.ย. 2553/2010] 2. http://www.sikhiwiki.org/index.php/Shri_Dukh_Bhanjani_Beri, [ก.ย. 2553/2010] 3. ชัปญี ซาฮิบ ฉบับแปลภาษาไทย (เปารีที่ 10, ส่วนบรรยาย) หน้า 37, 59 4. http://www.sikhs.org/japji/jp10.htm, [ก.ย. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

ความสงบและความนิง่ โซ่รมิ ขอบสระ มีไว้ให้จบั ขณะเดินลงสระ ป้องกันการลืน่ ล้ม ภาวนาระหว่างการอาบน้ำในสระทีส่ วุ รรณวิหาร หลังจากการอาบน้ำ ณ ริมสระอมฤต

119


120

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2

1. เด็กๆ สนุกกับการอาบน้ำในสระทีส่ วุ รรณวิหาร 2. เหล่ามัจฉาในสระ คราวใดทีไ่ ม่มคี นอาบน้ำ คราวนัน้ ก็จะเห็นฝูงมัจฉา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

121

รองเท้าไม่ใช่รองเท้า ก่อนที่จะก้าวเท้าเข้าสู่สุวรรณวิหาร นั้ น ทุ ก คนต้ อ งปฏิ บั ติ ต นตามธรรมเนี ย ม ด้ ว ยการถอดรองเท้ า ไว้ ด้ า นนอก ซึ่ ง เป็ น ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ ป กติ ส ำหรั บ การเข้ า ไป ภายในศาสนสถานทุกแห่งในอินเดีย ทว่า สุ ว รรณวิ ห ารได้ จั ด ทำห้ อ งรั บ ฝากดู แ ล รองเท้าไว้โดยเฉพาะภายใต้หลักคำสอนที่ว่า ด้วยการรับใช้สังคม ดังนั้น หากรองเท้า ไม่ใช่รองเท้า แล้วรองเท้าจะคืออะไร ต้ อ งยอมรั บ ว่ า สุ ว รรณวิ ห ารจั ด ระบบเรื่องรองเท้าไว้ดีมาก ห้องดังกล่าวมี หลายจุด แต่ทกี่ ำลังจะกล่าวถึงในทีน่ เี้ ป็นจุด หลักซึง่ ตัง้ อยูด่ า้ นหน้าของสุวรรณวิหาร อัน ที่จริงจะเรียกว่าห้อง ก็คิดว่าไม่ค่อยจะเข้า ท่านักและดูไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงสัก เท่าใด ควรจะต้องเรียกว่าอาคารจึงจะถูก ต้องมากกว่า เพราะสร้างเป็นอาคารสำหรับ รองรับรองเท้ากว่าพันคู่ (เช่นเดียวกับอาคาร

หอสมุดที่เก็บหนังสือไว้สักพันเล่ม) มีชั้นวาง รองเท้า มีการรับฝากและส่งคืนอย่างเป็น ระบบและมีระเบียบมาก ด้านหน้าของอาคาร จะเห็นป้าย บอกไว้ชดั เจนว่า “keep your shoes here” (ฝากรองเท้ า ไว้ ที่ นี่ ) ป้ า ยใช้ ส องภาษาคื อ ภาษาอั ง กฤษกั บ ภาษาปั ญ จาบี ส่ ว นด้ า น ในอาคาร ทำเป็ น ชั้ น ใต้ ดิ น เพี ย งชั้ น เดี ย ว ดั ง นั้ น รองเท้ า จะถู ก เก็ บ ไว้ ใ นชั้ น ใต้ ดิ น นี ่ จึงเป็นลักษณะเด่นของสุวรรณวิหาร เฉพาะในอาคาร มีห้องรับฝาก 8 ห้ อ ง จั ด ทางเดิ น เข้ า และออกอย่ า งเป็ น ระเบียบ แต่ละห้องจะแสดงหมายเลขเป็น ตัวเลขอารบิคไว้ชัดเจน ฝากรองเท้าไว้กับ ห้องใดก็ตอ้ งมารับทีห่ อ้ งนัน้ สำหรั บ ชั้ น วางรองเท้ า ทำด้ ว ยไม้ จัดเป็นช่องๆ ถ้าฝากเป็นถุงก็วางเรียงกันบน พื้ น โดยเขี ย นหมายเลขกำกั บ ด้ ว ยชอล์ ค


122

เปรม ปราณ ปัญจาบ

การเขียนด้วยชอล์คมีเสน่ห์มากเลยทีเดียว (ถ้าใช้กระดาษคงจะสิ้นเปลืองน่าดู แล้วก็ กลายเป็นขยะไป) ทุกคนที่นำรองเท้าไปฝากไว้จะได้ รับหมายเลข เพื่อที่จะนำหมายเลขดังกล่าว ไปรับรองเท้าของตนกลับคืน ถ้ามากันเป็น หมู่ การรวบรวมรองเท้าไปฝากเป็นกลุ่มน่า จะดีกว่า ช่วยลดจำนวนคนที่ยืนรอเข้าคิว ฝากหรือรับคืน บางกลุม่ หิว้ ถุงกระสอบมาใส่ รองเท้านับสิบคู ่ ผู้ ค นมั ก จะถอดทั้ ง รองเท้ า และ ถุงเท้า การเดินเท้าเปล่าในศาสนสถานเป็น เรือ่ งธรรมดาของคนอินเดีย เป็นธรรมเนียม โบราณทีย่ งั สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับ การปฏิ บั ติ ต นของชาวซิ ก ข์ นั้ น เน้ น ความ เสมอภาคเป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นมหา ราชาหรือยาจกจะเดินเข้าสุวรรณวิหารก็ตอ้ ง ปฏิ บั ติ ต นเหมื อ นกั น กล่ า วคื อ ต้ อ งถอด รองเท้าไว้ดา้ นนอก เหตุใดจึงต้องถอดรองเท้า คำถามสามัญข้อนี้หลายคนอาจจะ มองว่าเป็นเรื่องผิวเผิน แต่กลับเป็นเรื่องที่ ตอบยากอยู่เหมือนกัน การปฏิบัติเช่นนี้พอ จะทำความเข้าใจได้ว่า ในสมัยก่อนการเดิน ทางจากบ้านหรือหมู่บ้านมายังศาสนสถาน ของปุถชุ นทัว่ ไปเป็นการเดินทางด้วยเดินเท้า

ถนนหนทางก็คงไม่ได้ราบเรียบ มักต้องเดิน เหยี ย บโคลน เหยี ย บวั ช พื ช สิ่ ง สกปรก ทำให้ ร องเท้ า สกปรกและมี ก ลิ่ น ที่ ไ ม่ พึ ง ประสงค์ การถอดรองเท้าไว้ด้านนอกน่าจะ เป็ น การปฏิ บั ติ ที่ เ หมาะสมที่ สุ ด แล้ ว และ นอกจากนี้ ยังควรจะต้องล้างไม้ล้างมืออีก ด้วย เพื่อทำให้เกิดความสะอาดและบริสุทธิ์ ก่อนจะเข้าไปปฏิบตั ศิ าสนกิจ การถอดรองเท้าและการทำความ สะอาดร่ า งกาย รวมถึ ง การแต่ ง กายให้ เหมาะสมก่ อ นเข้ า ศาสนสถานเป็ น เสมื อ น สั ญ ญาณของการเตรี ย มตั ว เตรี ย มใจ เตรียมความพร้อมเพื่อจะไปปฏิบัติตนตาม ธรรมะ ควรสลัดเอาความโกรธ โลภ หลง หรือสารพัดอารมณ์ทิ้งไว้ด้านนอก เมื่อเข้า มาด้านในแล้วควรจะหยุดอารมณ์เหล่านั้น เอาไว้กอ่ น เรื่องรองเท้ากลายเป็นเรื่องสำคัญ กับการปฏิบตั ติ นของชาวซิกข์ มีเรือ่ งเล่ากัน ว่า ในสมัยพระศาสดาคุรุนานักเดวญี (1) นั้น พระองค์ให้ความสำคัญกับเรื่องรองเท้า เป็นอย่างมาก กล่าวกันว่ามีบรรดาผูศ้ รัทธา พระองค์เดินทางจากที่ไกลๆ จนมาถึงสถาน ที่ในตอนกลางคืน พระองค์ก็ออกไปต้อนรับ และดูแลรองเท้าของแต่ละคนให้เป็นอย่างดี ครั น พอรุ่ ง เช้ า ผู้ ศ รั ท ธาทั้ ง หลายอยากจะ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2

1. อาคารดูแลรับฝากรองเท้า ด้านหน้าสุวรรณวิหาร 2. หนึง่ ครอบครัวกับการถอด/สวมรองเท้าด้านหน้าสุวรรณวิหาร

123


124

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พบพระศาสดา แต่ ไ ม่ รู้ ตั ว ว่ า แต่ ล ะคนได้ พบพระองค์ไปแล้วในตอนกลางคืน เพราะ ไม่มีใครทราบว่าพระศาสดาคือใครและไม่ เคยพบกั น มาก่ อ น จึ ง ไม่ ท ราบว่ า ผู้ ที่ ดู แ ล รองเท้ า ให้ ใ นตอนกลางคื น นั้ น ก็ คื อ พระ ศาสดานัน่ เอง การเดินทางจนมาถึงศาสนสถาน รองเท้ามักสกปรกหรือไม่น่าดู พระศาสดา ได้ทำความสะอาดให้ เพือ่ ทีจ่ ะให้ในตอนเดิน ทางกลับบ้าน ทุกคนจะได้สวมรองเท้าคู่เดิม ที่สะอาดกลับไป และรองเท้าไม่ควรจะหาย ถ้ า รองเท้ า หายแล้ ว ยิ่ ง สร้ า งความลำบาก หนักกว่าเดิม ดังนั้น รองเท้าที่ถอดไว้ก่อน เข้ า ไปปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ ต้ อ งไม่ ห ายและต้ อ ง สะอาด จากเรื่องราวแสดงให้เห็นว่า พระ ศาสดาคุ รุ น านั ก เดวญี เ ป็ น ผู้ ที่ ส มถะมาก ปฏิบัติตนอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่แสดง ตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ และด้วยการปฏิบัติตน อย่างนี้นี่เองที่ทำให้ชาวซิกข์ปฏิบัติตนตาม แบบอย่ า งพระองค์ ด้ ว ยการดู แ ลรองเท้ า ของผูท้ มี่ าปฏิบตั ศิ าสนกิจ นีค่ อื ภารกิจทีใ่ ครๆ อาจจะดูวา่ เป็น เรื่องเล็กๆ น้อยๆ และไม่น่าใส่ใจ แต่กลับ สร้างความยิ่งใหญ่แก่จิตวิญญาณ กิจกรรม รับฝากและดูแลรองเท้าจึงเกิดขึ้น ถือเป็น ส่วนหนึง่ ในการทำเซว่าของชาวซิกข์

เหล่าบรรดาชาวซิกข์จะหาเวลาว่าง หรื อ สละเวลาบางส่ ว นเพื่ อ มาทำเซว่ า ใน สุวรรณวิหาร กล่าวกันว่ายิง่ ร่ำรวยมากหรือ ยิ่ ง มี ย ศฐาบรรดาศั ก ดิ์ สู ง มากเท่ า ใด ยิ่ ง ต้องหาเวลามาทำเซว่าด้วยการบริการสังคม ให้ ม ากๆ เหตุ ที่ ก ล่ า วกั น อย่ า งนี้ เ พราะ ต้องการสือ่ ความหมายว่า เมือ่ มีอำนาจหรือ มีเงินมากแล้วควรจะต้องกดใจให้อ่อนน้อม หนักกว่าเดิม เพราะทั้งสองสิ่งนี้จะพาให้คน เสี ย คนได้ ง่ า ย เช่ น เกิ ด ความหยิ่ ง ยโส พูดจาดูถูกคนที่ด้อยกว่า แต่การมาทำเซว่า จะเป็นเวทีของการเตือนสติว่าอันตัวเราก็คือ คนธรรมดาๆ คนหนึ่ง หากมีอำนาจหรือมี เงินแล้วควรใช้ให้ถกู ต้อง จะได้เกิดประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และคนทั่วไปใน สังคม สำหรับตัวผมเอง ไม่ได้พึ่งพาการ รับฝากดูแลรองเท้า เพราะว่าพักอยู่ในเขต อภัยทานของสุวรรณวิหาร รองเท้าจึงวางไว้ อยูอ่ ย่างสงบนิง่ ในห้องพัก เดินเท้าเปล่าออก จากห้องแล้วเดินเข้าเขตชั้นในของสุวรรณวิหารเลย ด้านข้างอาคารเป็นห้องน้ำ ฝาก รองเท้าแล้วก็สามารถไปล้างมือล้างหน้าและ โพกผ้าได้เลยอย่างทันที ห้องน้ำมีป้ายและ สัญลักษณ์บอกชายและหญิงไว้อย่างชัดเจน สำหรับภาษาอังกฤษนั้น ห้องน้ำชายเขียน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

บรรยากาศภายในอาคารรับฝากดูแลรองเท้า เต็นท์ชวั่ คราวรองรับการถอด/สวมรองเท้าของมหาชนในวันหยุด ช่องสำหรับรับฝากและคืนรองเท้า ห้องน้ำด้านหน้าสุวรรณวิหาร ป้ายหน้าห้องน้ำเขียนไว้วา่ “Free Sewa”

125


126

เปรม ปราณ ปัญจาบ

“Gents” ห้องน้ำหญิงเขียน “Ladies” แต่

ที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าห้องของชายหรือหญิง ที่ ส ำคั ญ มากที่ สุ ด ก็ คื อ ข้ อ ความที่ เ ขี ย นว่ า “Free Sewa” นั่ น หมายความว่ า เป็ น ห้องน้ำที่ให้บริการฟรีเพื่อการทำเซว่าของ ชาวซิกข์ เป็นห้องน้ำที่สะอาด มีกลิ่นหอม

มีน้ำสะอาดให้ล้างหน้าล้างมือ มีสบู่ให้ใช้ถู มือ มีคนคอยทำความสะอาดให้สะอาดอยู่ เสมอ สิ่งเหล่านี้อยู่ภายใต้แนวคิดของการ ทำเซว่ า ซึ่ ง ทำให้ ร องเท้ า ไม่ ใ ช่ ร องเท้ า คู่ ธรรมดา แต่เป็นรองเท้าคูก่ ารทำเซว่า


เปรม ปราณ ปัญจาบ

127

รืน่ รมณ์ศลิ ปะรอบขอบสระ ลานหิ น อ่ อ นพื้ น ขาวรอบสระน้ ำ อมฤตของสุวรรณวิหาร เป็นพื้นที่โล่งกว้าง กลางแจ้ ง เป็ น ที่ ก้ า วย่ า งของชนทุ ก กลุ่ ม พวกเด็ ก ๆ วิ่ ง เล่ น วิ่ ง ไล่ กั น ได้ อ ย่ า งสบายๆ ทางเดินภายในทั้งสี่ทิศรอบสระดูเหมือนจะ เป็นกรอบให้กับสระน้ำไปในตัว ดั่งกรอบรูป ทีม่ รี ปู สระน้ำอยูต่ รงกลาง พื้ น หิ น อ่ อ นประดั บ ประดาอย่ า ง สวยงามและวิจิตรบรรจง ลวดลายในแต่ละ มุมมีให้ยลอย่างไม่ซ้ำแบบ ราวกับว่าให้คน ร้อยคนมาทำลวดลายจนได้ร้อยลายออกมา บางบริ เ วณทำเป็ น ลายเรี ย บง่ า ยด้ ว ยทรง เลขาคณิต โดยใช้รปู ทรงและเฉดสีตดั กันเป็น ลาย แต่บางบริเวณรังสรรค์ลวดลายเป็น ศิลปะอันอ่อนช้อย ทำให้นึกถึงภาพวาดบน

ผนัง แต่สิ่งที่พบเป็นลวดลายบนพื้นหินอ่อน พลอยทำให้รู้สึกว่าตนเองกำลังเดินบนพรม ผืนใหญ่อย่างไม่รตู้ วั ลวดลายที่สวยงามเป็นการนำหินสี ต่ า งๆ มาวางลงบนพื้ น หิ น อ่ อ น ทางเดิ น ออกแบบด้วยลวดลายที่เรียบง่าย บริเวณ ลานกิจกรรมได้ออกแบบให้แตกต่างกันไป บนพื้นดูจะลายดอกไม้มากรองจากลวดลาย ทรงเลขาคณิ ต ดอกไม้ มี กิ่ ง ก้ า นใบที่ อ่ อ น ช้อย ดอกไม้มใี ห้ดหู ลายพันธุ์ แต่ทผี่ มดูออก ว่าเป็นดอกอะไร ก็มีดอกบัวกลีบทองหรือ ผสมหลายสี ดอกมะลิ บางพันธุต์ อ้ งเดาเอา เองว่าน่าจะเป็นดอกอัญชัญ ส่วนพันธุ์อื่นๆ ไม่ทราบว่าเป็นดอกอะไร

เสือ เรียกว่า “เชร์” หรือ “เชรฺ” (sehr), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี :


128

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ตามเสาและระเบียงก็ประดับเป็น รูปดอกไม้ทสี่ วยงามเช่นกัน มีเครือเถาพันไป ตามความยาวของเสาหรือหลังคา และยัง พบรูปสัตว์อีกไม่น้อยเช่นกัน เห็นได้ในบาง บริเวณ โดยเฉพาะรูปสิงห์โตกับช้าง เจอรูป สิงห์โตกำลังกระโจนเข้าใส่ชา้ ง จะตีความว่า อย่างไรดี สิ ง ห์ โ ตหรื อ ราชสี ห์ มี ค วามหมาย พิเศษในหมู่ชาวซิกข์ เพราะสิงห์โตคือนาม “ซิงห์” หรือ “สิงห์” ต่อท้ายนามของชาย ชาวซิ ก ข์ มี ค วามหมายว่ า เป็ น บุ รุ ษ ผู้ รั บ อมฤต เมื่อได้เข้าไปภายในอาคารเช่นใน ห้องสวดมนต์ ก็มีการตกแต่งอย่างงดงาม และอลังการด้วยหินอ่อนพร้อมประดับลวด ลายสวยงาม ขณะนัง่ อยูบ่ นพืน้ ก็พยายามจะ ดูลวดลายบนพื้น พอๆ กับการแหงนมอง บนเพดานซึ่งตกแต่งเป็นลายดอกไม้เป็นสีๆ แดง เขียว น้ำเงิน โดยตัดด้วยลายเส้นสี ทอง ใช้สีขาวเป็นพื้น นอกจากนี้ ยังมีอีก หลายจุดที่น่าชม เพียงแต่ว่าไม่สามารถปืน ป่ายขึน้ ไปชมได้ จึงต้องกล่าวคำว่าเสียดาย ภายในห้องหรือในอาคาร ในเวลา

ที่พระอาทิตย์ยังคงส่องแสงอยู่นั้น สถาปัตยกรรมถู ก ออกแบบให้ แ สงแดดลอดเข้ า ไป สาดส่องภายในห้องได้ เมื่อแสงกระทบกับ ลวดลาย ก็ดแู ล้วขลังเอาเรือ่ งทีเดียว คลาสสิค ไปอีกแบบหนึง่ แต่มกี ารใช้แสงไฟจากหลอด นีออนบ้างเพือ่ ให้เกิดความสว่างภายใน ให้ผู้ สูงวัยสามารถนัง่ อ่านบทสวดได้อย่างปกติ การเดินรอบๆ สระก็มิวายจะต้อง เดินก้มดูลายบนพืน้ หรือไม่กแ็ หงนมองดูตวั อาคารชมสถาปัตยกรรม พอดีช่วงฤดูร้อน มีปรับปรุงสถานที่ จะว่าไปแล้วมีทั้งข้อดีข้อ เสีย ที่ว่าเป็นข้อเสียก็เพราะไม่ได้เห็นความ สมบูรณ์ ถ้าตกแต่งเสร็จแล้วจะสวยงามมาก แต่กลับเป็นข้อดีเพราะทำให้ได้เห็นวิธีการ ตกแต่ง ได้เห็นการซ่อนสายไฟไว้ในผนังปูน การซ่อมแซมมุมเสาและเพดานมีกรรมวิธีที่ แตกต่างไปจากไทย (แต่บรรดาคนงานเดา ว่าน่าจะมาจากรัฐอืน่ ) มองศิ ล ปะในสุ ว รรณวิ ห ารแล้ ว ชวนให้ ห ลงใหลในความสวยงามของลวด ลายซึ่ ง เน้ น ความเป็ น ธรรมชาติ และเน้ น ความเรี ย บง่ า ย แต่ อ ลั ง การสมนามศรี สุวรรณวิหาร

ช้าง เรียกว่า “ฮาธี”่ (hathi), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : (ในภาษาไทย คุน้ เคยกับคำว่า ยุทธหัตถี หรือการรบบนหลังช้าง)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

2 1

3 4

1. 2. 3. 4.

ลวดลายสวยงามบนพืน้ หินอ่อน ดุจพรมผืนใหญ่ ลวดลายทรงเลขาคณิต บันไดทำเป็นร่องเป็นลายข้าวหลามตัด ช่วยป้องกันการลืน่ ระหว่างเดิน ลายดอกไม้สลับสีดว้ ยหินสีตา่ งๆ

129


130

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

1. ศิลปะบนเพดาน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

2 1

3 4

1. 2. 3. 4.

กลางโถงใหญ่ ชมศิลปะและลายผ้า ศิลปะบนเพดาน ศิลปะทีบ่ นั ได ลวดลายตามระเบียงหินอ่อน

131


เปรม ปราณ ปัญจาบ

132

1 2 3 4 5

6

1. โพกแบบเด็ก 2. โพกแบบผูใ้ หญ่ ด้วยสีสนั สะดุดตา 3. โพกแบบไม่ธรรมดา 4. แต่งกายด้วยสีขาว และโพกแบบปกติในศาสนถาน 5.-6. พวกหนุม่ ๆ กับสีผา้ โพกศีรษะ เป็นสีปกติทใี่ ช้กนั โดยทัว่ ไป


เปรม ปราณ ปัญจาบ

133

สีสนั ทีส่ งสัย หลายคนอาจจะสงสัยว่า ชาวซิกข์ โพกผ้าสีต่างๆ นั้น สีจะมีความหมายอะไร เป็นพิเศษหรือเปล่า บรรดาพี่น้องชาวซิกข์ ในอินเดียหรือชาวไทยซิกข์โพกผ้าแต่ละสีมี ความหมายว่ากระไร มีข้อกำหนดเรื่องสีผ้า โพกด้วยหรือไม่ ใช้สแี บ่งกลุม่ หรือเปล่า โพก สีนนั้ หรือสีนถี้ อื เคล็ดอะไรหรือเปล่า ในตอนแรกที่ได้รู้จักชาวไทยซิกข์ก็ สงสัยเช่นกัน สอบถามคนคุน้ เคยทัง้ ชาวไทย ซิกข์และชาวปัญจาบีซิกข์ ทุกคนต่างให้คำ ตอบในทิศทางอย่างเดียวกันว่าไม่มีข้อบังคับ เรือ่ งสีผา้ โพกศีรษะ ก่อนจะคุยเรื่องสี หันมาคุยเรื่องผ้า โพกกันก่อน ผ้าโพกศีรษะของชายซิกข์ผใู้ หญ่

มีสองชั้น โพกชั้นในด้วยวิธีง่ายๆ ก่อนแล้ว โพกผ้ า ให้ ส วยงามเป็ น ชั้ น สองหรื อ เป็ น ชั้ น นอก ตามทีเ่ ห็นกันอยู่ ผ้าโพกศีรษะในภาษา ปัญจาบีเรียกว่า ดัสตาร หรือ ปัครี ทีก่ ล่าว ว่าเป็นผ้าโพกของผู้ใหญ่ เพราะชายซิกข์จะ โพกผ้าศีรษะครั้งแรกในวัยหนุ่ม ถือว่าเป็น ผูใ้ หญ่หรือกล่าวได้วา่ เป็นผูม้ คี วามรับผิดชอบ แล้ว ส่วนตอนยังเป็นเด็กชายจะใช้เพียงผ้า คลุมผมจุกเท่านั้น หลังจากที่เข้าสู่วัยหนุ่ม แล้วชายซิกข์จะเข้าพิธโี พกศีรษะ การโพกผ้าสีไม่ได้มีข้อปฏิบัติหรือ ข้อกำหนดเรื่องการใช้สี สามารถเลือกใช้สี ต่างๆ ได้อย่างเปิดกว้างและเสรี

ผ้าโพกศีรษะ : “ดัสตาร” (dastar), ภ.ปัญจาบี : “ปัครี” (pagri), ภ.ปัญจาบี :


134

เปรม ปราณ ปัญจาบ

บางคนโพกผ้าตามสีของเสื้อที่สวม ใส่ให้ดสู อดคล้อง บางคนโพกสีทเี่ ด่นๆ บาง คนชอบบางสีเป็นพิเศษก็โพกสีนนั้ บางคนใช้ สีตามวัน ใช้สีตามวาระโอกาส เช่น โพก สีชมพูไปงานแต่งงาน ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าโพก ผ้าสีดำคือการไว้ทกุ ข์หรือมีความเศร้าโศกแต่ อย่างใด การโพกผ้ า เป็ น หนึ่ ง ในวิ ถี ชี วิ ต ประจำวันของชายซิกข์ การโพกผ้าที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันอยู่นั้นทำให้ชายซิกข์แต่ละคน แสนจะดู ดี ดู เ ป็ น ระเบี ย บ จั ด ริ้ ว ลายผ้ า สวยงาม แต่ พ วกเขาจะโพกผ้ า อย่ า งนั้ น เฉพาะตอนออกนอกบ้านไปธุระ ไปทำงาน ไปงานต่างๆ ขณะที่อยู่กันในบ้านก็ถอดผ้า โพกชั้นนอกออก หรือบางคนไม่เคร่งครัดก็ ไม่ ไ ด้ โ พกเลย ต่ า งคนต่ า งบอกว่ า ไม่ ไ ด้ หมายความว่าจะต้องโพกทั้งวันทั้งคืน เมื่อ กลับมาถึงบ้านก็ถอดผ้าโพกออกโดยไม่นิยม รื้อโครง ถอดออกให้คงเป็นรูปทรงอยู่อย่าง นั้น เพราะถ้าจะออกจากบ้านอีกก็นำผ้าโพก ที่เป็นรูปทรงนั้นกลับมาสวมใหม่ ตกแต่งให้ ดูดีดั่งเดิม การโพกผืนใหม่มักจะเริ่มในตอน เช้า บางคนก็เปลี่ยนสีใหม่ให้เข้ากับเสื้อเพื่อ ไปงานรืน่ เริงในตอนเย็น

ในบรรดาสี ต่ า งๆ ดู เ หมื อ นว่ า สี ที่ หลายๆ คนนิยมใช้กนั คือสีสม้ เพราะเป็นสีที่ สำคั ญ ในศาสนาซิ ก ข์ จึ ง พบเห็ น ชาวซิ ก ข์ นิยมโพกสีสม้ กันมาก (ผ้าสีนอี้ าจจะหาซือ้ ได้ ง่ายกระมัง) ผ้าโพกมักจะเป็นสีเดีย่ วใช้สใี ดสีหนึง่ หรือเป็นสีเดียวล้วนทั้งผืน นานๆ จะได้เห็น คนผ้าโพกลายบ้าง แต่กเ็ ป็นลายพืน้ ๆ มักไม่ ใช้ ป ระเภทผ้ า พิ ม พ์ ล าย หรื อ ลายการ์ ตู น หรือลายแฟนซี แม้ในกลุม่ เด็กหรือวัยรุน่ ก็ไม่ เห็นมี (อาจจะมี แต่ไม่เห็น) ทั้งนี้คงจะเป็น เพราะการใช้สีใดสีหนึ่งเป็นแบบดั้งเดิม การ ให้ความหมายแก่ศาสนสัญลักษณ์ เพราะ การโพกผ้ า อย่ า งชาวซิ ก ข์ คื อ การผ่ า น พิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นชาวซิกข์ที่พร้อม และสมบูรณ์ การโพกผ้าที่ศีรษะของบุรุษจึง มีความหมาย มีความสำคัญ และมีความ ศักดิส์ ทิ ธิ ์ โดยส่ ว นตั ว แล้ ว ผมคิ ด ว่ า ถ้ า โพก ผ้าลายๆ จะทำให้คนอื่นดูแล้วลายตาจนเกิด อาการตาลาย แต่ชาวซิกข์ทผี่ มรูจ้ กั หลายคน ก็ นิ ย มโพกผ้ า ด้ ว ยสี ส ดๆ คู่ กั บ สวมเสื้ อ สี ฉูดฉาด เห็นแล้วต้องบอกเลยว่า… สมกับ เป็นชาวอินเดียจริงๆ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

135

วาเฮ่ครุ ุ วาเฮ่ครุ ุ วาเฮ่ครุ ุ ตามธรรมเนี ย มของการกล่ า ว ถ้อยคำในหมูช่ าวซิกข์ดว้ ยภาษาปัญจาบี มัก จะได้ยนิ คำกล่าว 2 อย่าง คำกล่าวอย่างแรก เป็นการกล่าว ทักทายด้วยคำว่า “สัตย์ ศรี อกาล” โดยที่ คำว่า สัตย์ แปลว่า ความจริง (truth) ส่วน คำว่า ศรี แปลว่า ยาวนาน สำคัญ เหนือ ศีรษะ ผูย้ งิ่ ใหญ่ (great) และ อกาล แปล ว่า ไม่อยูใ่ ต้กำหนดของกาลเวลา (Timeless being) สรุปโดยรวมแปลได้วา่ พระผูเ้ ป็นเจ้า ทรงสัตย์จริง (Immortal God is Truth) ชาวซิ ก ข์ จ ะกล่ า วพร้ อ มกั บ การ ยกมื อ ไหว้ เ ช่ น เดี ย วกั บ คนไทย และถ้ า คู่ สนทนาเป็นผู้อาวุโสหรือผู้สูงอายุ ชาวซิกข์ จะก้มตัวลงและใช้มือไปสัมผัสที่เท้าของท่าน

นัน้ ด้วย ซึง่ เป็นประเพณีนยิ มหรือเป็นธรรมเนียมของชาวอินเดียทัว่ ไป (ไม่เฉพาะชาวซิกข์) การกล่าวคำว่า “สัตย์ ศรี อกาล” ของชาวซิ ก ข์ ก็ เ ช่ น เดี ย วกั บ คนไทยกล่ า ว ทักทายด้วยคำว่า “สวัสดี” สำหรับในอินเดีย ทั่วไป ชาวฮินดูจะทักทายด้วยคำว่า “นมัสเต” และชาวมุสลิมจะทักทายด้วยวลี “อัส สลามุ อะลัยกุม” (As Salamu Alaykum) เป็น ภาษาอาหรับ แปลว่า ขอความสันติสุขจงมี แด่ทา่ น (Peace be upon you) ส่วนอีกคำกล่าวอีกอย่างหนึ่ง เป็น ประโยคที่สำคัญมากของชาวซิกข์ และจะ ได้ยินชาวซิกข์เปล่งเสียงนี้ในคุรุดวาราขณะ กำลังประกอบพิธกี รรม โดยจะกล่าวทุกครัง้ ในตอนเริม่ และสิน้ สุดพิธที างศาสนา

ชาวซิกข์ : “สัตย์ ศรี อกาล” (Sat Sri Akal), ภ.ปัญจาบี : ชาวฮินดู : “นมัสเต” (Namaste), ภ.ฮินดี :


136

เปรม ปราณ ปัญจาบ

Waheguru ji ka Khalsa, Waheguru ji ki Fateh วาเฮ่ครุ ุ ญี กา คาลซา, วาเฮ่ครุ ุ ญี กี ฟาเต้ Khalsa belongs to God and to God alone belongs the victory. คาลซาเป็นของพระองค์วาเฮ่ครุ ุ ชัยชนะและความรุง่ โรจน์เป็นของพระองค์วาเฮ่ครุ ุ วาเฮ่คุรุ1 คำว่า วาฮ์ หรือ วาหะ (Wah) เป็นการแสดงออกด้วยความชื่นชอบ ในอัศจรรย์ (wonder) ของพระผูเ้ ป็นผูส้ ร้าง ทุ ก สรรพสิ่ ง และสถิ ต อยู่ ใ นทุ ก สรรพสิ่ ง (คล้ า ยคำอุ ท าน) ส่ ว น คุ รุ (Guru) เป็ น ภาษาสันสกฤต แปลว่า ครู (teacher) ใน ศาสนาซิ ก ข์ ห มายถึ ง ผู้ ใ ห้ แ สงสว่ า งแห่ ง ปัญญา (enlightener) การกล่าว วาเฮ่ครุ ุ แปลว่า พระผู้ เป็ น เจ้ า ผู้ ส ร้ า งเป็ น นามที่ ก ล่ า วขานแทน พระผู้เป็นเจ้ามากที่สุดในซิกข์ เช่นเดียวกับ คำอื่ น เช่ น “อกาลปุ รุ ข ” “อกาลมู รั ต ” “สัตย์คุรุ” ขณะเดียวกันเป็นคำสวดภาวนา

“วาเฮ่ครุ ”ุ (Waheguru), ภ.ปัญจาบี :

“นาม” ในการทำสมาธิรำลึกถึงผูส้ ร้าง เช่น เดียวกับ “พุทโธ” (ของชาวพุทธ) ดังนั้น หากอยู่ในคุรุดวาราก็มักจะ ได้ยินเสียงชาวซิกข์เปล่งวาจาว่า “วาเฮ่คุรุ ญี กา คาลซา, วาเฮ่ครุ ุ ญี กิ ฟาเต้” และ เมือ่ ชาวซิกข์พบปะกันก็จะกล่าวว่า “สัตย์ ศรี อกาล” ในปัจจุบัน ผู้คนทั้งหลายต่างก็ใช้ โทรศัพท์มือถือกัน ทราบกันหรือไม่ว่าชาว ซิ ก ข์ นิ ย มโหลดเพลงริ ง โทนเพลงใดมาก คำตอบนั่ น ก็ คื อ คำสวดภาวนาวาเฮ่ คุ ร ุ ซึ่ ง มี ห ลายเวอร์ ชั่ น ให้ เ ลื อ กตามความชอบ หากเดินทางในอินเดียและโดยเฉพาะในรัฐ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

ศาสนจารย์กบั พระศาสดาศรีครุ คุ รันธ์ซาฮิบ สักการะภายในศรีอกาลทากฮาตซาฮิบ ใกล้กบั ธงนิชานซาฮิบ ชาวซิกข์นงั่ ฟังศาสนจารย์สวดมนต์ในศรีอกาลทากฮาตซาฮิบ สักการะ ณ คุรดุ วาราดุคภันจานีเบรี

137


138

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัญจาบ ไม่วา่ จะนัง่ ในรถไฟ หรือนัง่ ในร้านค้า ใหญ่มักจะเป็นเสียงโทรศัพท์มือถือของชาว ร้านอาหาร หรือเดินตามถนน ก็มกั จะได้ยนิ ซิกข์ เสี ย งเพลงริ ง โทนวาเฮ่ คุ รุ อ ยู่ เ สมอๆ ส่ ว น ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.thaisikh.org/sikhism/whatissikhism_th.php, [ก.ย. 2553/2010] 2. http://www.thaisikh.org/sikhism/glossary_th.php?Letter=W&PageID=, [ก.ย. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

139

กีรตัน เสียงเพลงแห่งศรัทธา ไม่มีบทเพลงที่จะงดงามและสามารถ กล่ อ มจิ ต ใจให้ เ ป็ น สุ ข ได้ เ ท่ า กั บ บทเพลง สรรเสริ ญ พระเจ้ า ในศาสนาซิ ก ข์ เ รี ย ก บทเพลงแห่ ง ศรั ท ธาว่ า กี ร ตั น (Kirtan) หรื อ เรี ย กอี ก อย่ า งหนึ่ ง ว่ า คุ ร มั ต สั ง กี ต (Gurmat Sangeet) เป็ น การร้ อ งเพลง สรรเสริญพระศาสดาและการอธิบายเนื้อหา คำสอนที่ ดี ง ามเป็ น ท่ ว งทำนองที่ ไ พเราะ เพราะพริ้ง ชาวซิกข์ขับขานกีรตันในคุรุดวารา กีรตันจึงเป็นการร้องเพลงแห่งจิตวิญญาณชาว ซิกข์ การขับร้องกีรตันปกติจะประกอบ ด้วยผู้เล่นดนตรีและผู้ขับร้องสามหรือสี่คน คนหนึง่ เล่นหีบเพลง คนหนึง่ ตีกลองคู่ ส่วน อีกคนเป็นผู้ขับร้อง ดูแล้วในคณะแบ่งออก เป็นสองฝ่ายคือฝ่ายให้ทำนอง จะเล่นดนตรี ให้จงั หวะ กับฝ่ายขับร้อง จะพรรณนาความ หมายและข้อความต่างๆ1 แต่บางครั้งหนึ่ง

คณะก็มีเพียงสองคน คนที่เล่นหีบเพลงจะ ทำหน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ขั บ ร้ อ งด้ ว ย ผมคิ ด ว่ า เขา กลายเป็นพระเอกในวง นั่งฟังกีรตันคราวใดก็รู้สึกว่าตนเอง ตกอยูใ่ นภวังค์ อาจจะเป็นเพราะความเพราะ พริง้ หรืออาจจะเป็นเพราะคลืน่ พลังของเสียง สวดที่กล่อมให้โบยบินไปหามิติแห่งศรัทธา… ของอย่างนี้มิเกิดขึ้นกับตนเองก็ไม่รู้หรอก และยากจะอธิบายเป็นภาษาให้เข้าใจได้ ถึง แม้วา่ จะฟังไม่ออกว่าอะไรคืออะไร แต่ดนตรี ไม่มีภาษา สามารถรับรู้ได้ถึงท่วงทำนอง นั้ น ๆ อย่ า งจั บ จิ ต จั บ ใจ ดนตรี เ ป็ น ภาษา สากล ฟังได้โดยไม่ตอ้ งแปล เครื่ อ งดนตรี ข องกี ร ตั น ประกอบ ด้วยเครื่องเคาะตีกับเครื่องคีย์บอร์ด ซึ่งผม รู้จักเพียงสามชนิดเท่านั้น ก็จะขอหยิบยก และนำมาเล่าเพียงสามชนิด


140

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เครื่ อ งดนตรี ช นิ ด แรก ถื อ ว่ า เป็ น พระเอกของกีรตัน นั่นคือ บาจา (Baja) หรือ เปตี (Peti) คือหีบเพลง (Harmonium)2 เครือ่ งดนตรีชนิดนีม้ าจากทางตะวันตก และ เข้ า ไปแพร่ ห ลายในอิ น เดี ย ช่ ว งศตวรรษที่ 19 จนกลายมาเป็ น เครื่ อ งดนตรี ที่ ไ ด้ รั บ ความนิยมในดนตรีอินเดีย โดยเฉพาะนำมา ใช้ในศาสนาสถาน ทั้งชาวฮินดูและชาวซิกข์ นำมาใช้เป็นเครือ่ งดนตรีหลัก สำหรับเครือ่ งดนตรีชนิดที่สอง ถือ ได้ว่าสำคัญมากเช่นกัน และดูขาดเสียงของ เครื่องดนตรีชนิดนี้ไม่ได้เลย นั่นคือ ตับล่า คือ กลอง เป็นกลองคู่ คำว่าตับล่ามาจาก ภาษาอารบิค ในคุรุดวารานั้นอย่างน้อยที่ สุดก็จะพบการบรรเลงบาจาคูก่ ับตับล่า (หีบ เพลงกับกลองคู)่ ส่วนเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง พบ

เป็นบางครั้งบางคราวคือ กัรทาล (Kartal) เป็นประเภทเคาะหรือตี เพือ่ ให้จงั หวะในการ บรรเลงเพลงและการเต้นรำ โดยเฉพาะการ เต้นรำในปัญจาบ คำว่า กัรทาล มาจาก kara หมายถึง มือ และ tala หมายถึง ปรบมือ หรือเขย่า ในภาษาอังกฤษเรียกเครือ่ งดนตรี ชนิดนีว้ า่ Shaker หรือเครือ่ งเขย่า ทราบมาว่าใครจะเป็นนักร้องและ นักดนตรีกีรตันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องมีการ ฝึกฝนอย่างหนักและต้องสอบผ่านด้วยจึงจะ สามารถเล่ น กี ร ตั น ในคุ รุ ด วาราได้ เรื่ อ ง พรสวรรค์กเ็ ป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีช่ ว่ ยทำให้นกั ร้อง และนักดนตรีมชี ยั ในการบรรเลงบทเพลง หากใครอยากจะรู้ จั ก กี ร ตั น ว่ า มี ความเพราะพริ้งจับใจอย่างไร ก็สามารถไป นั่งฟังได้ที่คุรุดวาราพาหุรัดซึ่งมีการขับขาน ทุกวัน

กลองคู่ เรียกว่า “ตับล่า” (table), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี :

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.sikhfoundation.org/2010/people-events/music-of-our-gurus-gurmat-sangeet-by-dr.hakam-singh/, [ก.ย. 2553/2010] 2. http://indianbaja.wordpress.com/indianbaja/, [ก.ย. 2553/2010] 3. http://www.amazon.com/Kara-Kartal-India-Musical-Instruments/dp/B0013PC98W, [ก.ย. 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4

1-3. บรรยากาศกีรตันในสุวรรณวิหาร ณ ลานกว้างริมสระ 4. ภาพเครือ่ งดนตรีทใี่ ช้ในกีรตัน (นิทรรศการทีส่ วุ รรณวิหาร)

141


142

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ใสและสะอาด คนนับพันนับหมื่นคนต่อวันทยอย เดินลงสระอมฤตในสุวรรณวิหารเพื่ออาบน้ำ ชำระกาย แน่นอนว่าย่อมมีสิ่งสกปรกนานา ลงในสระน้ำ คราบส่วนหนึ่งจึงมาจากแต่ละ คน และอีกส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติ ลม มักพัดเอาเศษใบไม้และผงธุลีตกลงในสระ เมื่อสระน้ำเกิดความสกปรกขึ้นไม่ว่าจะจาก เหตุใดก็ตาม ถือเป็นเรื่องธรรมดาและจะ ห้ามไม่ให้สกปรกได้อย่างไร แต่สิ่งสำคัญคง อยู่ที่ว่า… จะจัดการกับคราบสกปรกเหล่า นัน้ อย่างไร สระอมฤตเป็ น สระน้ ำ ที่ ใ สสะอาด มาก… สมชื่ อ ทั้ ง นี้ เ ป็ น เพราะว่ า มี ก าร ทำความสะอาดอยูเ่ สมอ ทราบมาว่ามีการใช้ ระบบบำบัดน้ำเสีย (พยายามจะค้นหาว่าอยู่ ตรงไหน) ในแต่ละวัน จะมีกลุ่มเซว่าดาร์ลง สระเพื่อเก็บเศษกิ่งไม้ใบไม้ที่ตกลงไป พวก

เขาใช้ตะแกรงช้อนจำพวกเศษต่างๆ ใส่ถัง ส่วนคราบสกปรกที่ลอยเหนือน้ำ พวกเขา ทำความสะอาดด้วยวิธกี ารง่ายๆ ทว่าได้ผลดี เทคโนโลยีดงั้ เดิมยังคงใช้การได้ดเี ยีย่ ม พวก เขาเพียงแต่ใช้ลำไม้ไผ่เท่านัน้ ซึง่ มีคณ ุ สมบัติ ทีส่ ามารถลอยน้ำได้ เพียงหาไผ่ลำพอเหมาะ มือ ไล่ต้อนคราบสกปรกที่ลอยเหนือน้ำให้ มาจนมุม พอเข้ามุมแล้วก็ตักคราบเหล่านั้น ดูแล้วก็… ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย คนที่ทำหน้าที่ นี้ตอ้ งเป็นคนใจเย็นมาก (จะใจเย็นเพราะอยู่ ในน้ ำ นานๆ หรื อ เพราะเป็ น คนใจเย็ น อยู่ แล้ว… ก็ไม่ทราบ) พวกเขาค่อยๆ ต้อนคราบสกปรก ซึ่งมักถูกคลื่นซัดไปมา จังหวะใดที่คลื่นมา แรงก็นา่ เห็นใจ พวกคราบสกปรกจะกระจาย ตัวออกไปตามธรรมชาติ พอคลื่นสงบแล้วก็ ไล่ต้อนใหม่ ในขณะที่กลุ่มเซว่าดาร์กำลังทำ หน้าที่อยู่นั้น พวกเขาต้องขอให้ผู้คนที่จะลง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

อาบน้ำไปลงในบริเวณอืน่ ๆ มิเช่นนัน้ การตัก คราบสกปรกออกก็จะทำไม่ได้ คนส่วนใหญ่ ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ในสระอมฤตมี ก ารเลี้ ย งปลาด้ ว ย ปลาตัวโตๆ เป็นฝูงพากันแหวกว่ายในน้ำใส ท่าทางมีความสุขน่าดู ดูปลาไม่ค่อยจะกลัว คนเลย คิดว่าปลาพวกนีน้ า่ จะคุน้ เคยกับการ อยูก่ บั คนไปเสียแล้ว ชอบว่ายมาแถวๆ ขอบ สระเสียด้วย พวกเด็กๆ เมื่อได้เห็นฝูงปลา ว่ า ยไปมาแล้ ว ก็ ต ะโกนบอกพ่ อ แม่ อ ย่ า ง ตื่นเต้นสนุกสนาน ปลาสามารถว่ายน้ำใน สระได้ ย่ อ มเป็ น สิ่ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า น้ ำ ในสระ

143

สะอาดแค่ไหน และยิ่งได้เห็นตัวปลาอย่าง ชัดๆ ก็ยิ่งบ่งบอกถึงระดับความสะอาดของ น้ำได้เป็นอย่างดี พอกล่ า วถึ ง เรื่ อ งปลาแล้ ว (ตาม ธรรมชาติ อ าศั ย อยู่ ใ นน้ ำ ) ทำให้ นึ ก ถึ ง คำ สอนของพระศาสดาคุ รุ น านั ก เดวญี (1) 1 แสดงไว้ว่า ผู้ที่บำเพ็ญด้วยการอาบน้ำจะไม่ สามารถบรรลุมรรคผลอะไรได้เลย และถ้า การอาบน้ำมีผลบุญจริงแล้ว สัตว์น้ำ อาทิ เช่ น ปลา เต่ า ย่ อ มได้ บุ ญ ก่ อ นเป็ น แน่ เพราะอยูใ่ นน้ำ

(machi มัชชี)่ , ภ.ฮินดี : ปลา : ภ.ปัญจาบี : (ภาษาไทยเราคุน้ คำว่า มัจฉา) ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. ชัปญี ซาฮิบ ฉบับแปลภาษาไทย (เปารีที่ 1 ส่วนบรรยาย)

(machli, มัฉลี)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

144

1

2

3

4

1.-2. การเก็บเศษใบไม้ทลี่ อยในสระ 3. เซว่าดาร์ไล่คราบสกปรกริมขอบสระด้วยวิธกี ารดัง้ เดิม 4. เหล่ามัจฉาแหวกว่ายในน้ำใส แสดงให้เห็นว่าน้ำในสระใสและสะอาด


เปรม ปราณ ปัญจาบ

145

ใครๆ ก็มาเมืองอมฤตสาร์ ผู้ ค นเดิ น ทางมาเมื อ งอมฤตสาร์ อย่างไม่ขาดสาย และเดินทางมากันทุกวัน เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวเกินจริงเลย ทั้งนี้ก็เพราะ ว่ า เมื อ งอมฤตสาร์ เ ป็ น ที่ ตั้ ง สุ ว รรณวิ ห าร ชาวซิกข์เดินทางมาเพือ่ ปฏิบตั ศิ าสนกิจ ส่วน ชาวอืน่ ๆ และชาวต่างประเทศมักจะเทีย่ วชม สถานทีส่ ำคัญ ผู้ ค นเดิ น ทางมากั น หลากหลาย รูปแบบ บ้างมาจากถิน่ ไกล ก็โดยสารมากับ รถไฟ ซึ่งรถไฟอินเดียเป็นการขนส่งมวลชน ของชาวอินเดียทุกระดับ ชาวบ้านที่มาจาก ชนบท ซึ่งมักจะมากันเป็นหมู่คณะ ก็เลือก เดินทางมาเป็นคาราวานเล็กๆ หากโดยสารรถไฟ เมื่ อ มาถึ ง ที่ สถานีอมฤตสาร์แล้ว จะสามารถนั่งรถเวียน จากสถานีรถไฟมายังสุวรรณวิหารได้เลย มี รถบริการฟรี ซึ่งบริการตั้งแต่เช้าจรดเย็น เรี ย กได้ ว่ า มี ต ลอดทั้ ง วั น ทั้ ง ขามาและขา

กลับ การเดินทางออกจากสุวรรณวิหารก็ สามารถนั่งรถเวียนให้ไปส่งที่สถานีรถไฟได้ แต่ผมไม่ได้ใช้บริการรถเวียนสีส้มคันนี้ เห็น คนแน่นเต็มรถแล้วไม่รู้ว่าจะไปยืนตรงไหนดี อันทีจ่ ริงแล้ว ไปกลับระหว่างสถานีรถไฟกับ สุวรรณวิหารไม่ไกลมากนัก รถของชาวบ้ า นซึ่ ง เดิ น ทางจาก ชนบทไกลและมาหลายครอบครัว หรือจะ เรี ย กได้ ว่ า พากั น มาทั้ ง หมู่ บ้ า นเลยก็ ว่ า ได้ เห็นแล้วสนุกสนานไปกับพวกเขาด้วย บ้าง เหมารถสิบล้อคันใหญ่ ดัดแปลงเป็นที่นั่ง ทีน่ อน สามารถจุคนได้เป็นร้อย... ไม่นา่ เชือ่ เลย รถสิ บ ล้ อ ที่ ม าจากหมู่ บ้ า นมั ก จะนำ ข้ า วสารหรื อ พื ช ผั ก มาทำเซว่ า ที่ ค รั ว พระ ศาสดาด้วย นำมาบริจาคหลายสิบกระสอบ เพราะแรงศรัทธาที่มีต่อพระศาสดาและการ ยึ ด ถื อ หลั ก ปฏิ บั ติ ต ามแบอย่ า งของพระ ศาสดาคุรนุ านักเดวญี (1)


146

เปรม ปราณ ปัญจาบ

หากเดินทางมากันเพียงไม่กี่ครอบครัว รถพ่วงคล้ายรถอีแต๋นแถวอีสานเมือง ไทยเราก็มใี ห้เห็นอยูเ่ หมือนกัน โดยชาวบ้าน นำกระบะไม้มาพ่วงกับรถไถ แค่นี้ก็เดินทาง ไกลได้แล้ว เข้าข่ายทีว่ า่ ... ขับได้ชา้ หน่อยแต่ ไปถึงทีห่ มายแน่ๆ ส่วนบางครอบครัวที่อาจจะมากัน ไม่ถึงสิบคนก็อาศัยรถสี่ล้อคล้ายรถสองแถว มาดัดแปลง สามารถเดินทางและนอนใน กระบะท้ายได้ แต่สำหรับครอบครัวที่มีฐานะดีและ มีรถยนต์สว่ นตัว... เรือ่ งนีส้ บายมาก รถแต่ ล ะคั น จะออกจากหมู่ บ้ า นกี่ โมงยามก็ไม่อาจจะทราบได้ ทว่าแต่ละคันจะ ต้องกะเวลาให้ถึงสุวรรณวิหารในตอนรุ่งเช้า เพื่อนำมวลชนจากชนบทมาเข้าพิธีร่วมสวด มนต์ในภาคเช้าตอนตีหา้ เมื่ อ มาถึ ง สุ ว รรณวิ ห ารแล้ ว ทุ ก อย่างหายห่วง เพราะไม่ว่าจะเรื่องห้องน้ำ ห้ อ งท่ า อาหารการกิ น ที่ พั ก ผ่ อ น ทาง สุวรรณวิหารเตรียมพร้อมให้ทุกคน รองรับ สำหรับคนเป็นหมื่น จัดไว้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ และอย่างดีดว้ ย

สำหรับตัวผมเอง ทุกเช้าในช่วงที่ อยู่ในเมืองอมฤตสาร์ จะได้พบปะผู้คนไม่ซ้ำ หน้ า จำนวนมหาศาลเดิ น ในสุ ว รรณวิ ห าร รถสารพัดรูปแบบพาผู้คนมาเยือนสุวรรณวิหารทุกวัน บางวันผมลองนับจำนวนรถ เล่นๆ พบว่ามีมากถึงยี่สิบคัน... นี่นับเฉพาะ บริเวณด้านหน้าอาคารนิวาสเพียงแห่งเดียว เท่านัน้ ซึง่ ยังมีบริเวณอืน่ ๆ อีก ในบรรดารถสารพัดประเภททีก่ ล่าว มานี้ ผมค่อนข้างจะชื่นชอบรถของพวกเขา เป็นพิเศษ ชอบตรงทีพ่ วกเขาจะตกแต่งรถให้ โดดเด่น ด้วยธงสีสม้ (ธงนิชานซาฮิบ) ด้วย ป้ายผ้าสีส้มที่มีข้อความเกี่ยวกับการเดินทาง ของพวกเขา หรือการแสดงตัวตนว่าพวกเขา คือผู้ศรัทธาในหลักศาสนาและมาเพื่อปฏิบัติ ศาสนกิจ ชาวซิกข์เน้นการตกแต่งโดยใช้สี ส้มเป็นหลัก ส่วนตัวอักษรนิยมใช้สนี ำ้ เงิน ทุกเช้าจะได้เห็นรถของชาวบ้านมา จอดเป็นแถวแนวยาว ผมขอเรียกพวกเขาว่า คาราวานผู้ศรัทธา พวกเขาสร้างความรู้สึก ที่ดีต่อการเดินทางและเป็นนักสร้างสีสันให้ กับสุวรรณวิหารได้ดจี ริงๆ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

รถบริการรับส่งมหาชนจากสถานีรถไฟ–สุวรรณวิหาร โดยไม่เสียค่าบริการ คาราวานชาวซิกข์จากหมูบ่ า้ นสูศ่ นู ย์กลางแห่งศาสนาซิกข์ ชาวบ้านดัดแปลงเอารถไถพ่วงกับกระบะไม้เพือ่ นำญาติมติ รมาสุวรรณวิหาร รถของหนึง่ ครอบครัวใหญ่ทมี่ าจากชนบท

147


เปรม ปราณ ปัญจาบ

148

ย่ำตรอกตามตลาดในย่านเก่า ทุกวันที่พักอยู่ในเมืองอมฤตสาร์จะ ต้องเดินเที่ยวตลาดจนเป็นกิจวัตรชั่วคราว หากไม่ ไ ปเช้ า ก็ ไ ปบ่ า ย หากไม่ บ่ า ยก็ เ ย็ น เพราะมี สิ่ ง ของและมี เ รื่ อ งราวที่ จ ะต้ อ งให้ ค้นหาอยูเ่ สมอ ในเมืองเก่ามีหลายย่านให้เลือกเดิน วันแรกที่มาถึงอมฤตสาร์เป็นเวลาตอนเย็น และยังรู้จักเพียงย่านเดียวคือย่านถนนฮอลล์บาซาร์ อันเป็นถนนเส้นที่มุ่งสู่สุวรรณวิหาร ส่ ว นสถานที่ แ ห่ ง อื่ น ๆ ค่ อ ยขยั บ ขยายไป ทำความรูจ้ กั ในภายหลัง 1 2 3

4

5

6

1. 2. 3. 4. 5. 6.

ขอเล่าถึงในวันแรกๆ ของการเดิน ลุยเมืองเก่า เริ่มเดินจากสุวรรณวิหารออก ไปเรือ่ ยๆ จะเดินเทีย่ วเมืองทีไ่ ม่รจู้ กั ครัง้ แรก ด้วยตนเองอย่างมืออาชีพต้องตามหาแผนที่ เสี ย ก่ อ นเป็ น อั น ดั บ แรก ซึ่ ง จะต้ อ งตาม หาร้ า นหนั ง สื อ เพื่ อ ซื้ อ แผนที่ พร้ อ มซื้ อ โปสต์การ์ด ทำให้ลำดับต่อมาต้องคอยสอด สายตาตามหาที่ทำการไปรษณีย์ และร้าน อินเทอร์เน็ตเพือ่ ส่งอีเมล์ ตามหาร้ า นหนั ง สื อ จนแทบพลิ ก เมืองเก่า แล้วกลายเป็นเรือ่ งน่าเศร้าของผม

พ่อค้ายืนขายขนมพืน้ บ้าน Panipuri มีขายกันทัว่ บ้านทัว่ เมือง ข้าวโพดคัว่ ร้อนๆ เริม่ ต้นทีถ่ งุ ละ 10 รูปี (ประมาณ 7 บาท) บนถนนฮอลล์บาซาร์ใจกลางเมืองเก่า ร้านซ่อมรองเท้าริมทาง แผงลอยขายเสือ้ ผ้าราคาถูก มีเฉพาะตอนกลางวัน รถเข็นขายผลไม้รมิ ทาง (กล้วยหอมกับองุน่ )


เปรม ปราณ ปัญจาบ

149


150

เปรม ปราณ ปัญจาบ

2 1

3 4

1. 2. 3. 4.

สามล้อมาแล้ว สองแถวหลบหน่อย รถม้า ขนของจากตลาดกลับหมูบ่ า้ น สามล้อในเมืองเก่าอมฤตสาร์ รถเมล์ทอ้ งถิน่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เอง เพราะแผนที่ เ มื อ งอมฤตสาร์ ฉ บั บ ที่ อยากได้ไม่มขี าย มีขายแต่แบบอืน่ ๆ ซึง่ ช่วย ได้เพียงนิดหน่อย ไม่ถูกใจแต่ก็จำต้องซื้อมา ก่อน ร้านต่างๆ มีเหมือนกัน ส่วนโปสต์การ์ด เลือกซื้อภาพสุวรรณวิหารยอดฮิตเพื่อส่งให้ บรรดามิตรสหาย ซือ้ ได้ราคาใบละ 10 รูปี (ประมาณ 7 บาท) ในวันแรกๆ อาศัยเดินแต่บนถนน หลัก จากนั้นก็เริ่มอยากจะเดินตามตรอก ซอกซอย พอเดินเข้าไปในซอยหนึ่งๆ ก็พบ ว่ า มี เ ป็ น ตรอกเล็ ก ตรอกน้ อ ยอี ก มากมาย เดิ น ไปมาก็ เ ริ่ ม ลายตา เพราะเหมื อ นเดิ น เข้าไปในใยแมงมุม อย่างนี้เรียกว่าหลงทาง แล้ว แผนที่ที่มีอยู่ในมือไม่ช่วยอะไรเลย แต่ พอคาดเดาว่ า อยู่ ไ ม่ ห่ า งจากสุ ว รรณวิ ห าร มากนัก พอถามทางกับผู้คนแถวๆ นั้นเพื่อ หาทางออกไปถนนใหญ่ ก็ปรากฏว่าคนหนึง่ ชี้ ไ ปทางหนึ่ ง อี ก คนหนึ่ ง ก็ ชี้ ไ ปทางหนึ่ ง บังเอิญมีคุณลุงสามล้อผ่านมาตะโกนถามว่า จะไปสุวรรณวิหารไหม ก็ดันบอกปฏิเสธเขา ไป เพราะอยากเดินกลับเอง เพียงแต่เดิน กลับไม่ถกู จากนัน้ เลยเปลีย่ นคำถามใหม่ ถาม ว่าเดินไปสุวรรณวิหารต้องไปทางไหน คราว นี้ทุกคนชี้ไปทางเดียวกันหมด สักครู่ก็เดิน ออกจากตรอกได้สำเร็จ เห็นแสงไฟจากโดม ทองอยูร่ ำไรก็โล่งอกโล่งใจ

151

เดินแค่นี้... ก็หลงเสียแล้ว ผมเดิน ไปและวาดแผนที่กับวางจุดเอาไว้อย่างคร่าวๆ... ก็ชวนให้ขำตัวเองอยูไ่ ม่นอ้ ย เพราะกลับมาดู แล้วยิง่ ไม่รเู้ รือ่ ง จึงกลับมาคิดว่าเมืองเก่าไม่ ทำแผนที่ เ มื อ งขายก็ เ พราะว่ า ใครมากาง แผนที่ ดู แ ล้ ว ก็ ต าลาย จะเต็ ม ไปด้ ว ยใย แมงมุมของตรอกซอยที่ละเอียดถี่ยิบ คงจะ เป็ น เพราะเหตุ นี้ ก ระมั ง จึ ง ไม่ มี แ ผนที่ ฉ บั บ สมบูรณ์ เที่ ย วในวั น แรกก็ ไ ด้ บ ทเรี ย นมา เพี ย บที เ ดี ย ว จำต้ อ งปรั บ แผนการสำรวจ เมืองเสียใหม่ จะเดินเฉพาะถนนหลัก หาก จะเดิ น ตามตรอกซอย เข้ า ทางไหนก็ ย้ อ น ออกทางเดิม ไม่เดินเข้าไปลึกมาก เดินในซอยตอนเย็นๆ หรือตอนค่ำๆ เห็นจะไม่เข้าที เพราะทางในตรอกแคบมาก ต้ อ งระวั ง มอเตอร์ ไ ซค์ แ ละสามล้ อ ซึ่ ง มี โอกาสเฉียดแขนเฉียดขาได้ อันที่จริง แค่ เดินบนถนนหลักอย่างเดียวก็เที่ยวไม่หมด ตอนนี้รู้แล้วว่าสภาพถนนหนทางของเมือง เก่าแห่งนีเ้ ป็นอย่างไร ถนนรอบนอกเมืองเก่า จะสามารถ เห็นรถราหลากหลายรูปแบบสัญจรไปมาบน ถนน วันดีคืนดีก็จะได้เห็นรถม้าลากของวิ่ง แซงรถเก๋งคันสวยๆ รถสามล้อแรงคนถีบวิ่ง คูก่ บั รถสามล้อเครือ่ งหรือรถออโต้รกิ ชอว์


152

เปรม ปราณ ปัญจาบ

แต่บนถนนหลักเส้นทางสู่สุวรรณวิ ห ารถื อ ว่ า เป็ น เส้ น ทางที่ จ อแจมากที่ สุ ด เพราะใครๆ ก็มาทีน่ ี่ รวมทัง้ พวกพ่อค้าด้วย ก็ในเมื่อที่นี่มีลูกค้านับพันนับหมื่น อย่างไร เสียก็จะต้องมีคนจำนวนหนึง่ กลายเป็นลูกค้า ในทีส่ ดุ บริเวณริมถนนและบนทางเท้าจะมี บรรดาพ่อค้าขายของสารพัดรายการ ยืน บ้างและเดินเร่ขายบ้าง บนถนนมีแต่พ่อค้า ไม่มีแม่ค้า เพราะผู้ชายเป็นฝ่ายหาเงินเข้า บ้าน ส่วนภรรยาเป็นแม่บ้านที่ต้องอยู่บ้าน นานๆ จะเห็นบิดากับบุตร สองคนมายืน ขายของคู่กัน ก็เห็นได้ว่าบิดาฝึกบุตรให้ทำ มาหากินตัง้ แต่เยาว์ สินค้าหลักในย่านนี้มักจะเป็นสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับศาสนสัญลักษณ์และของที่ระลึก อันได้แก่ มีดดาบ กริช กำไล หวี รูปพระ ศาสดา รู ป สุ ว รรณวิ ห าร ผ้ า โพกศี ร ษะ เสื้ อ ผ้ า ต่ า งๆ แต่ สิ่ ง ของที่ จ ำเป็ น มากที่ สุ ด หรือควรจะต้องซือ้ ในลำดับแรกหากจะเข้าไป ในสุวรรณวิหารคือผ้าโพกศีรษะ ซึ่งมีหลาย คอลเลคชัน่ ให้เลือกซือ้ มีหลายราคา หลาย สี หลายเกรด หากในตอนขากลับ ทุกอย่าง ก็ ดู น่ า ซื้ อ เป็ น ของที่ ร ะลึ ก ไปเสี ย หมด โดย เฉพาะรูปพระศาสดากับรูปสุวรรณวิหาร ทัง้ รู ป กระดาษและรู ป ที่ ใ ส่ ก รอบพร้ อ มติ ด ไฟ กระพริบสวยงาม... เป็นไปตามราคา

บนถนนหลักเขตสุวรรณวิหารมีข้อ จำกั ด เรื่ อ งการขนส่ ง หรื อ จำกั ด รถขาเข้ า บางเวลาเปิดให้รถวิง่ เข้าไปได้ บางเวลาไม่ให้ เข้า พวกเขาคงมีเวลากำหนดไว้และเป็นที่ ทราบกั น ทั่ ว แต่ ผ มยั ง ค่ อ นข้ า งสั บ สนกั บ เวลาเข้าได้หรือเข้าไม่ได้ ในตอนกลางคืน หากนั่งรถสามล้อกลับก็จะมาส่งแค่ปากทาง ส่วนที่เหลือก็เดินเข้าไปเอง ซึ่งใครๆ เขาก็ เดินกัน ส่วนใครปั่นจักรยานก็เข้าได้สบาย ไม่มหี า้ ม พวกพ่อค้าที่เร่ขายสินค้าทั้งหลาย ขยันมาก... ยืนเร่ขายกันทั้งวัน แม้แต่ตอน กลางคืนก็ยังเร่ขายไม่รู้จักเหนื่อย คงขายได้ เรือ่ ยๆ เพราะมีคนเดินบนถนนอยูต่ ลอด พ่อค้าเร่ในเมืองเก่านีม้ ขี อ้ ดีอยูอ่ ย่าง หนึง่ คือไม่ตอื๊ ลูกค้ามากนัก ไม่เกาะแกะให้ซอื้ สินค้า ถ้าลูกค้าปฏิเสธบอกว่าไม่เอา พวก เขาอาจจะถามต่ออีกนิดหน่อยว่าไม่เอาจริง หรือ มีแบบอืน่ อีกนะ ถ้ามีเสียงยืนยันปฏิเสธ อีก พวกเขาก็จะยุตกิ ารขายทันที แล้วไปหา ลูกค้ารายอื่น จะไม่เสียเวลามาเดินตื๊อเดิน ตามลูกค้าที่ปฏิเสธหรือรอให้ลูกค้าเปลี่ยน ใจ... อย่างนี้ก็จะขายได้ช้า พวกเขาเอาเวลา เดียวกันนั้นไปหาลูกค้าคนใหม่ดีกว่า เผื่อจะ ขายได้ คนเดินบนถนนตั้งหมื่นคนเชียวนะ จะขายของเพียงสิบชิ้นที่มีอยู่ในมือไม่ได้เชียว หรื อ เพี ย งแต่ ต้ อ งขยั น เดิ น เข้ า ไปถามว่ า


เปรม ปราณ ปัญจาบ

สนใจสินค้าชิ้นนี้ไหม เพราะคนที่จะซื้อจริงๆ อาจจะรออยูก่ ไ็ ด้ แม้แต่พวกสามล้อเองก็เช่นเดียวกัน พวกเขาจะถามว่าจะไปไหนและจะไปกับเขา ไหม ถ้าบอกปฏิเสธไป... เพียงเท่านั้นแหละ พวกเขาก็หายตัวไปเลย จะมาเสียแรงเสีย เวลากับคนที่บอกปฏิเสธทำไมกัน นี่แหละ เป็นบรรยากาศทีช่ อบ รูส้ กึ ว่าเดินบนถนนได้ สบายตัว ใครมาถามอะไรก็บอกปฏิเสธไป เดี๋ ย วก็ ห ายไปเอง เดิ น บนถนนตามตลาด เมื อ งเก่ า อมฤตสาร์ นี้ . .. ไม่ มี ใ ครมาสร้ า ง ความรำคาญรอบกาย แต่ก็ระวังตัวไม่ต่าง จากเดินในทีไ่ หนๆ ร้านค้าตามตึกแถว นายห้างส่วน ใหญ่เป็นชาวซิกข์ และก็ยงั มีชาวฮินดูอกี มิใช่ น้ อ ย แต่ ลู ก จ้ า งมาจากต่ า งถิ่ น ดู ไ ด้ จ าก บุคลิกผิวพรรณ ตามร้านเสื้อและรองเท้า เด็กหน้าร้านเป็นชาวเนปาลี พวกเขาสามารถ พูดได้หลายภาษา ค่าจ้างคงได้พอเลี้ยงตัว เรียกว่าเด็กหน้าร้านเพราะว่าเป็นเด็กวัยรุ่น จริงๆ มักรอลูกค้าหน้าร้าน ใครสนใจสินค้า ก็ เ ชิ ญ เข้ า ไปดู ด้ า นใน เด็ ก หน้ า ร้ า นจะนำ สินค้าที่มีอยู่มากระจายให้เลือกดู และหลัง จากนั้ น ก็ เ ก็ บ เข้ า ที่ เ หมื อ นเดิ ม ร้ า นหนึ่ ง ๆ จะมี เ ด็ ก หน้ า ร้ า นสั ก คนสองคน เมื อ งนี้ เศรษฐกิจดี สามารถขายของได้ทกุ วัน

153

ผมเดินหาร้านอินเทอร์เน็ต หาได้ ไม่ยากนัก ร้านอินเทอร์เน็ตมักคูก่ บั โทรศัพท์ ทางไกลและส่งแฟกซ์ มักเป็นร้านเล็กๆ ซ่อน ตัวอยู่ตามตึกตามซอกซอย พวกเขาจะปัก ป้ายไว้รมิ ทางเดิน ชัว่ โมงละประมาณ 20– 30 รูปี (14–21 บาท) แต่สว่ นใหญ่ผมใช้ บริการอินเทอร์เน็ตในนิวาสที่พัก เจ้าหน้าที่ จะบันทึกข้อมูลผู้ใช้บริการโดยขอดูหนังสือ เดินทาง (ไม่ง่ายเหมือนเล่นอินเทอร์เน็ตใน เมืองไทย) ที่ทำการไปรษณีย์ก็สำคัญ เพราะ ผมต้องส่งโปสต์การ์ด ส่งจากอินเดียกลับ ไทยและประเทศในภูมภิ าคนี้ ติดแสตมป์ 15 รูปี (10.5 บาท) แสตมป์มีจำหน่ายเฉพาะ ที่ทำการไปรษณีย์ (ตามร้านค้าทั่วไปไม่มี ขาย) ส่ ว นโปสต์ ก าร์ ด มี ว างขายตามร้ า น หนังสือและของที่ระลึกเป็นหลัก (ที่ทำการ ไปรษณีย์ไม่มีขาย) โชคดีที่มีที่ทำการไปรษณีย์ ตั้ ง อยู่ ใ กล้ กั บ นิ ว าสที่ พั ก ถ้ า อยากจะได้ แสตมป์สวยๆ หลากหลายลายยิ่งต้องทำใจ จำต้องซือ้ อะไรก็ได้เท่าทีม่ ี ตามปากซอย มั ก จะเป็ น ที่ ตั้ ง

แผงลอยหรือจุดจอดรถกระบะไม้ขายผักผล ไม้ กล้วยหอมและองุ่นดูจะมีมากเป็นพิเศษ ในเดือนเมษายน ซือ้ องุน่ ไร้เม็ดครึง่ กิโลกรัม 30–40 รูปี (21–28 บาท) อร่อยหวาน


154

เปรม ปราณ ปัญจาบ

กรอบถู ก ใจนั ก ชิ ม ที เ ดี ย ว หากขอซื้ อ องุ่ น เพียงพวงเดียว พ่อค้าจะเกิดอาการงงเล็ก น้อย ปกติขายเป็นกิโลกรัม องุน่ พวงใหญ่ที่ ลองชั่งดูหนักเกินครึ่งกิโลกรัมไปนิดหน่อย พ่อค้ายังอุตส่าห์เอามีดตัดลูกองุ่นออกเกือบ สิบลูก (ก็ทำไม... ไม่ขายหกขีดไปเลย) เรื่องราวบนท้องถนนและตามซอก ซอยก็ทำให้ผมได้เดินไปอย่างสนุกๆ และได้ เรียนรู้ผู้คนไปด้วยในเวลาเดียวกัน เจอผู้คน ก็เจอเรือ่ งราว

ผูค้ นเดินทางมาทีน่ จี่ ำนวนมหาศาล คิดว่าเมื่อสักหลายร้อยปีที่แล้วก็คงจะเป็น เช่นวันปัจจุบัน ตึกรามบ้านช่องในเมืองเก่า ในสภาพปั จ จุ บั น สุ ด แสนแออั ด บนถนนก็ จอแจไปด้วยรถรา ร้านค้าร้านอาหารและ โรงแรมต่ า งก็ ต้ อ งการตั้ ง ทำเลให้ อ ยู่ ใ กล้ สุวรรณวิหารให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำได้ จึงไม่ น่าแปลกใจเลยว่าเมืองเก่ากลายเป็นถนนใย แมงมุมคูก่ บั ร้านรวงผึง้


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

สถานทีร่ าชการในเมืองอมฤตสาร์ บรรยากาศในทีท่ ำการไปรษณีย์ (ใกล้กบั สุวรรณวิหาร) บรรยากาศอีกมุมหนึง่ ของเมืองเก่าอมฤตสาร์ บริเวณ Gandhi Gate แทงค์นำ้ ประปาสำหรับทุกคน (ไม่วา่ จะยากจนแค่ไหน ก็มนี ำ้ สะอาดให้ดมื่ ฟรี)

155


156

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ขาโจ๋ในเมืองใหม่ เมื่อกล่าวถึงเมืองอมฤตสาร์ในทาง เศรษฐกิจแล้ว ผมลองแบ่งเมืองออกเป็นสอง ส่ ว น จะได้ ดู ง่ า ยๆ ว่ า มี อ ะไรเกิ ด ขึ้ น บ้ า ง พื้นที่เมืองเก่านี้ ตัวเมืองเป็นพื้นที่ที่ขยายไม่ ได้แล้ว ข้อจำกัดนีจ้ งึ ทำให้มกี ารพัฒนาพืน้ ที่ บริเวณอื่นๆ ให้เป็นเมืองใหม่ รองรับการ เติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองอมฤตสาร์ เมื อ งเก่ า กั บ เมื อ งใหม่ ดู กั น ง่ า ยๆ จากสองสามสิ่งอันได้แก่ ความเป็นอาคาร ลักษณะถนน และความใหม่หรือความทัน สมัยของสถานที่ เมืองเก่ามักเป็นอาคารทรง เก่าบนถนนแคบ แต่เมืองใหม่ก็จะตรงกัน ข้ า ม กลุ่ ม ธุ ร กิ จ มั ก จะสร้ า งเป็ น อาคารสู ง ใหญ่ เน้นประดับด้วยกระจก ติดเครือ่ งปรับ อากาศ มีสินค้ายี่ห้อดังจากต่างประเทศวาง ขาย

เมื อ งใหม่ ก็ มี ห ลายย่ า น อยู่ กั น คนละทิศกับเมืองเก่า ผมได้ไปเดินเล่นมา แล้วสามย่าน จึงอยากจะบรรยายให้อา่ นพอ สนุก ไปย่านแรกเพราะอยากดูหนังบอลลีวู้ด พอสอบถามใครๆ จนได้ขอ้ มูลมาว่าต้องไปที่ ห้าง The Celebration Mall บนถนนบาตาลา (Batala) อยูไ่ ม่หา่ งจากสุวรรณวิหารมากนัก จึงนั่งสามล้อเครื่องไป เอากระดาษที่จดชื่อ ซึ่งมีคนเขาเขียนให้ พวกสามล้อดูแล้วก็บอก ว่ารู้จัก แจ้งราคามาว่าร้อยรูปี (ประมาณ 70 บาท) ตัวเลขช่างสวยดีแท้ แต่ผมบอก ว่ า แพงไป เขายอมลดเหลื อ 80 รู ปี (ประมาณ 56 บาท) ราคานี้พอรับได้ นั่ง ไปนานทีเดียวเพราะไปทางลัดซึ่งผ่านชุมชน ถนนแคบ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ห้างสรรพสินค้าใหญ่ตั้งนอกเมือง ในส่วนที่ขยายเมืองใหม่ออกไป พอไปถึงก็ สัมผัสได้ว่าเป็นห้างใหม่จริงๆ มีหกชั้นและ ติดแอร์เย็นฉ่ำ ความใหญ่โตประมาณห้าง พาต้าปิน่ เกล้า มีโรงหนังอยูช่ นั้ บน เมื่ อ ขึ้ น ไปชั้ น บนแล้ ว ก็ ป รากฏว่ า โปรแกรมหนังอยู่ชั้นล่าง ต้องกลับลงมาดู รายละเอียดยังชั้นล่างก่อน เสร็จแล้วขึ้นไป อีกรอบหนึ่ง เล่นเอางงกับเหนื่อยไปเปล่าๆ ปรากฏว่ า ก่ อ นเข้ า ในเขตโรงหนั ง เจ้ า หน้ า ที่ รั ก ษาความปลอดภั ย แจ้ ง ว่ า ต้ อ งนำ กระเป๋าไปฝากไว้ก่อน จะเอาเข้าไปในโรง หนังไม่ได้ หรือพูดง่ายๆ ว่าต้องเดินตัวเปล่า เข้าไปดูหนัง (เช่นเดียวกับทีอ่ นื่ ๆ) สรุปว่าไม่ ได้ดูหนัง สรุปอีกรอบหนึ่งว่าเอาไว้วันอื่น ค่อยมาใหม่ (โดยไม่ตอ้ งเอาอะไรมาเลย) พออีกวันหนึง่ ไปในย่านทีส่ อง ย่าน นี้เป็นย่านที่กำลังเจริญเติบโต เพราะเป็น เส้นทางจากตัวเมืองเก่าไปสู่ชายแดนอินเดีย

–ปากี ส ถาน มี ก ารขยายถนนและมี ก าร ก่อสร้างต่างๆ มากมาย จนเรียกได้ว่าฝุ่น ตลบเมืองเพราะการสร้างเมืองใหม่นี่แหละ แต่ ย่ า นนี้ มี ตึ ก แถวหรื อ อาคารพาณิ ช ย์ มากมาย ไม่มหี า้ งใหญ่

157

เสียดายที่จำชื่อพื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้ เดิ น เที่ ย วชมบ้ า นสวยๆ ของคนมี ส ตางค์ (อาจต้องเรียกว่าเป็นเรื่องของคนมีรูปี) ขอ ให้ความเห็นว่าแค่ประตูบ้านก็ดูรู้แล้วว่าบ้าน เศรษฐี พื้นที่ส่วนนี้ล้วนแต่เป็นบ้านจัดสรร หลังใหญ่ที่สร้างแบบสมัยใหม่ คล้ายบ้าน จัดสรรอย่างเมืองไทยเรา... จะหลังละกี่ล้าน รูปกี ต็ อ้ งไปสืบดูในภายหลัง เดิ น แถวนี้ ม ากก็ จ ะกิ น ฝุ่ น ได้ ม าก เมื่ออาการเหนื่อยเริ่มขึ้น อากาศร้อนและ ฝุน่ ไล่ให้กลับสุวรรณวิหารโดยเร็ว และหลายวันต่อมา ได้ไปเที่ยวใน ย่านที่สาม ซึ่งออกจากเมืองเก่าไปไกลมาก ชื่อห้าง Alpha One อยู่บนถนนจีที (G.T. Road หรื อ Grand Trunk Road) แต่ ถือว่าคุ้มค่ากับค่าสามล้อเครื่องที่จ่ายไปร้อย รูปี ย่านใหม่กใ็ หม่สมชือ่ มีทางด่วนตัดผ่าน ด้ ว ย แต่ ยั ง สร้ า งไม่ เ สร็ จ ... จะลองขึ้ น ได้ อย่างไร คนจะมาเดินช้อปปิ้งที่ห้างนี้น่าจะ ต้องมีรถส่วนตัวจึงจะเข้าท่าหน่อย ระหว่าง ทางทุกระยะจะมองเห็นตึกใหม่ๆ หรือกำลัง สร้างตึกใหม่ บ้างก็เห็นเป็นโรงแรม หรือ สำนั ก งานบริ ษั ท เอกชน แต่ ยั ง มี พื้ น ที่ ว่ า ง และโล่งกว้างอีกมาก


เปรม ปราณ ปัญจาบ

158

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

The Celebration Mall ห้างสรรพสินค้าบนถนนบาตาลา Alpha One ห้างสรรพสินค้าชัน้ นำบนถนนจีท ี ย่านบ้านสมัยใหม่ตงั้ บริเวณอยูช่ านเมือง ซูเปอร์มาร์เก็ต มีทวั่ เมือง (นอกเมือง)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เมื่อถึงห้างใหญ่ตามที่บรรดาวัยรุ่น กล่ า วขานกั น แล้ ว พอประมาณกั บ ห้ า ง ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต มีทุกสิ่งที่ต้องการเลือก ซื้อ ผมเดินดูผู้คนที่มาจับจ่ายและเดินเที่ยว ห้าง บ้างมากันเป็นครอบครัว พวกวัยรุ่น ชายมักมากันเป็นกลุ่มๆ ตอนที่ผมเดินเที่ยว นัน้ เป็นยามเย็นย่ำ เป็นเวลาทีใ่ ครๆ ก็อยาก จะพักผ่อน ผู้คนเดินเที่ยวห้างอย่างสบายใจ (ต้องกระเป๋าหนักสักหน่อย) ห้างนี้มีข้อดีอยู่ตรงที่ไม่มีด่านตรวจ ค้นอะไรมากนัก ทำให้สามารถเดินเข้าร้าน หนึ่งออกร้านหนึ่งโดยไม่ต้องตรวจกระเป๋า หรือกล้องถ่ายรูป ผมเดินลงไปยังชั้นใต้ดิน เดิ น ตามคนจำนวนมาก คิ ด ว่ า คงมี อ ะไร พิเศษหรือเปล่า ที่แท้เป็นซูปเปอร์มาร์เก็ต เลยกะจะซื้อผลไม้ แต่กลับไปเจอกับแครอท พันธุ์หนึ่ง แครอทที่รู้จักคือแครอทสีส้ม แต่ แครอทที่พบนี้คือแครอทสีดำ ตอนแรกไม่

159

แน่ใจว่าจะเป็นแครอท แต่พออ่านป้ายบอก ไว้ชัดเจน กระบะแครอทสีดำกับสีส้มอยู่ติด กัน ก็ยนื จับดู... นานทีเดียว กลายเป็นบ้าน นอกเข้ า เมื อ งไปเสี ย แล้ ว อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว ใน ตลาดสดทัว่ ไปก็พบแครอทสีดำเช่นกัน แต่ไม่ ได้สังเกตมาก่อน (ฮา... ฮา... เจอเรื่องใหม่ อีกแล้ว) การเดินเที่ยวชมเมืองใหม่เท่าที่เล่า มากลายเป็นการเดินห้างติดแอร์เป็นหลัก ทั้งนี้เพราะเมืองใหม่จะมีห้างใหญ่ๆ เสมือน เป็ น ศู น ย์ ก ลางของผู้ ค นย่ า นชานเมื อ ง สามารถหาซื้อหากิน เรียกรถได้ง่าย ข้อนี้ ช่ ว ยสะท้ อ นเศรษฐกิ จ ของเมื อ งใหม่ เ มื อ ง สร้างขึ้นเพื่อรองรับความเจริญเติบโตในกาล ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งต้องจับตามอง สม กับทีท่ างธนาคารโลกระบุวา่ ปัญจาบเป็นรัฐที่ ดีทสี่ ดุ สำหรับการทำธุรกิจในอินเดีย

แครอท : ภ.ปัญจาบี เรียกว่า “กาญร่านํ” (gajara), ภ.ปัญจาบี : ภ.ฮินดี เรียกว่า “คาชัร” (gajar), ภ.ฮินดี :


160

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชม ชิม ช้อปในชัว่ โมงสบายๆ พอจะกล่าวถึงเรื่องการกินก็รู้สึกว่า สร้างความยุง่ ยากขึน้ มานิดหน่อย เพราะสิง่ ทีช่ มิ ไปแล้ว กลับไม่คอ่ ยจะรูเ้ รือ่ งเครือ่ งปรุง เพราะเข้ า ครั ว นั บ ครั้ ง ได้ แต่ อ ย่ า งไรก็ ยั ง สามารถสืบเสาะของกินอินเดียแถวๆ ปัญจาบ ได้อย่างสบาย อาหารจานหลักของผมแบ่งออก 2 จานหลัก หากมือ้ ใดเป็นแบบมังสวิรตั ิ (veg.) ก็จะกินโรตีกบั แกงถัว่ และซับซีเป็นหลัก หาก มือ้ ใดเป็นแบบเนือ้ สัตว์ (non veg.) ก็จะกิน ไก่เป็นหลัก (ประเภทข้าวหมกไก่)

โรตี แกงถัว่ ซับซี คืออะไร ทัง้ สาม อย่างนีเ้ ป็นอาหารพืน้ ๆ และเป็นอาหารหลัก ของชาวอิ น เดี ย หาซื้ อ ง่ า ยหรื อ ทำได้ ง่ า ย โรตี อาจจะไม่ต้องอธิบายมาก อาหารชนิด นีค้ นไทยเราคุน้ เคยดี แต่โรตีตามตลาดไทยก็ แตกต่างจากโรตีของอินเดีย ต่างกันคือโรตี ไทยเป็นแบบทอด แต่อนิ เดียใช้วธิ กี ารปิง้ บน กระทะ จึงไม่มันมาก ส่วนแกงถั่วเรียกว่า ดาล เป็นแกงถัว่ เหลืองทีเ่ ข้มข้นด้วยน้ำซุปใส่ นม สำหรับซับซีเป็นผัดมันฝรั่งผสมถั่วและ แครอท เวลากินแกงถั่วหรือซับซีก็จะกินกับ

โรตี เรียกว่า “โรฏี” (roti), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : แกงถัว่ เรียกว่า “ดาล” (dal), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : ผัดผัก เรียกว่า “ซับซี” / “ซับยี” (sabzi), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

โรตี โดยฉีกโรตีพอเหมาะคำ จิ้มลงไปในน้ำ แกง หยิบถัว่ ขึน้ มาพร้อมกับโรตี... อร่อยอย่า บอกใครเชียว ถ้ากินข้าวก็เลือกข้าวหมกไก่เรียกว่า ซิกเก้นไบร์ยานี (Chicken Biryani) คำว่า Biryani เดิมเป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่าทอด หรือย่าง เข้าร้านอาหารตอนแรกๆ สั่งข้าว ผัดไก่ไป พวกพ่อครัวหลายร้านฟังแล้วไม่ เข้าใจว่าจะกินอะไร ต้องสั่งแบบบ้านเขาจึง จะได้กนิ อร่อยๆ เช่น ซิกเก้นไบร์ยานี มักทำ ด้วยข้าวบาส-มตี ข้าวเมล็ดยาวอันขึน้ ชือ่ ของ อินเดียและโลก เช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ ของไทยเรา สั่ ง ซิ ก เก้ น ไบร์ ย านี ต ามร้ า น อาหารแถวปัญจาบ (และบางรัฐ) มักจะมีผกั สดเสิร์ฟคู่กันด้วย ผักสดที่ว่านี้เรียกว่าสลัด มักมีแตงกวากับหัวหอมเป็นคู่หูในสลัด โรย ด้วยผงวิเศษมัสซาร่า (Masala) สุดพิเศษคู่ จานอาหารอินเดีย แล้วบีบมะนาวเปรี้ยวๆ ลงไปคลุกเคล้า เอาไว้กนิ แก้เลีย่ น สำหรั บ เครื่ อ งดื่ ม ที่ ดื่ ม เป็ น ประจำ ขอยืนพื้นที่น้ำเปล่า เรียกว่า ปานี น้ำดื่ม

161

บรรจุ ข วดพลาสติ ก ใสมี ข วดหลายขนาด หลายยี่ห้อเช่นเดียวกับไทยเรา แต่ซื้อขวด ขนาดลิ ต ร ราคา 12–15 รู ปี (8.50– 10.50 บาท) ถูกแพงตามยี่ห้อ ซึ่งราคานี้ จะประหยัดกว่าซือ้ ขวดเล็ก 2 ขวด (ขอบอก ว่าน้ำเปล่าอินเดีย น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ ผู้คนต้องซื้อต้องดื่ม มีราคาถูกกว่าน้ำเปล่า เมืองไทย) นอกจากน้ำเปล่าก็คงเป็นน้ำมะนาว โซดา เพราะหาซื้อได้ง่ายและมีขายอยู่ทั่วไป ราคากันเอง (มะนาวหาง่าย) สามารถเลือก ซื้อได้สองแบบ แบบที่ชาวบ้านทำขายตาม ท้องตลาด มักจะใส่แก้วยกดื่ม ดื่มแล้วก็คืน แก้วให้ร้านไป ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 10 รูปี (ประมาณ 7 บาท) แต่ถา้ ต้องการแบบขวด ก็จะเป็นแบบน้ำอัดลมของบริษทั ชัน้ นำ หาก ซือ้ แบบเปิดขวดแล้วยกดืม่ พวกเขาจะเปิดฝา ขวดแล้วยื่นให้ ซึ่งก็ต้องคืนขวดให้ร้านเช่น กัน ในราคา 10 รูปี แต่หากต้องการแบบ พกพาก็ซอื้ เป็นขวดพลาสติก ราคา 35 รูปี (24.50 บาท)

ข้าว “บาส-มตี” (basmati), ภ.ฮินดี : น้ำ เรียกว่า “ปานี” (pani), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : มะนาว เรียกว่า “นีมบู”้ (nimbu), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี :


162

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 5 6 4 7 8

1. โปสเตอร์ภาพยนตร์บอลลีวดู้ เรือ่ ง Singh is Kinng ที่ ม า : http://www.bollywoodhungama.com/movies/cast/13720/ index.html, [พ.ค 2553/2010] 2. เสือ้ ยืดแบบต่างๆ สไตล์ชาวซิกข์ ทีม่ วี างขายทัว่ เมืองอมฤตสาร์ 3. กำไลข้อมือ (ศาสนสัญลักษณ์) ทำด้วยโลหะชนิดต่างๆ 4. กริชหรือกิรปาน (ศาสนสัญลักษณ์) 5. ผ้าโพกศีรษะ มีสแี ละสไตล์ตา่ งๆ 6. เครือ่ งประดับต่างๆ แบบชาวซิกข์ 7. แครอทสีดำ 8. รองเท้าหนังคูส่ วยๆ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

การจะขอน้ำแข็งเปล่า ขอบอกได้ คำเดียวว่ายาก แต่อาจจะสามารถขอน้ำแข็ง เปล่าสักแก้วหนึ่งได้เฉพาะร้านอาหารใหญ่ๆ หากซื้อกับชาวบ้านนั้น ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง ความเย็น พวกเขาแช่เย็นด้วยน้ำแข็งมือใน โอ่งอยูแ่ ล้ว อยู่เมืองอมฤตสาร์ได้สามสี่วัน ผม ได้รับการติดต่อจากมิตรชาวอินเดียคนหนึ่ง เขาอยากให้ ไ ปพบมิ ต รใหม่ ค นหนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น ชาวปัญจาบีฮนิ ดู เปิดร้านขายอาหารอยูบ่ น ถนนใกล้สวุ รรณวิหาร พวกเขาคุยกันแล้วจึง อยากให้ ผ มไปรู้ จั ก พอได้ ชื่ อ ร้ า นกั บ เบอร์ โทรศัพท์มอื ถือก็ออกตามหา แล้วมาสะดุดที่ ชื่อร้านว่าคุ้นๆ สุดท้ายแล้วก็ปรากฏว่าเป็น ร้ า นเดี ย วกั บ ที่ เ คยเข้ า ไปชิ ม เมื่ อ วานก่ อ น มิตรใหม่คนนี้เป็นเจ้าของร้านอาหารชื่อร้าน Virsa เรียนจบที่มหาวิทยาลัยเดลี ร้านของ เขาจัดได้ทันสมัย มีซุปเห็ดที่อร่อย ราคา เหมาะสม รายการอาหารของเขาระบุว่ามี อาหารไทยด้วย พอสอบถามดูแล้วก็ได้ความ ว่าเขาจัดอยูใ่ นกลุม่ อาหารจีน ยั ง มี อี ก ร้ า นหนึ่ ง ซึ่ ง เป็ น ร้ า นที่ ผ ม ไปนั่งสั่งซิกเก้นไบร์ยานีหลายมื้อ เพราะว่า เป็นร้านอาหารที่เข้าตากรรมการ นั่นคือ อาหารต้องอร่อย ร้านต้องสะอาด ราคาถูก สถานทีล่ งตัว บริการประทับใจ มีลกู ค้ามาก

163

แน่ น อนว่ า ร้ า นนี้ อ ยู่ ห่ า งออกมาจากเขต สุวรรณวิหารเกิน 2 กิโลเมตร สามารถ จำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ เจ้าของ ร้านเป็นชาวซิกข์อารณ์ดี นามของร้านจำ ง่าย คือ ร้าน Punjab Dhaba ในตรอกบน ถนนฮอลล์บาซาร์ เมือ่ อิม่ กับเรือ่ งของกินแล้ว ก็มาฟัง เพลงกันบ้าง นักร้องเพลงแร็พชาวปัญจาบีที่ มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนี้คงหนีไม่พ้นหนุ่ม Bohemia (หรือ Born Roger David) เขา เกิดที่เมืองลาฮอร์ รัฐปัญจาบในปากีสถาน แต่ครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่เขาอายุได้ 14 ปี เขาจึงได้เติบโตใน สหรั ฐ อเมริ ก าเช่ น เดี ย วกั บ ชาวอิ น เดี ย และ ชาวเอเชียคนอืน่ ๆ ดนตรีและเพลงของเขาจึง ผสมผสานระหว่างความเป็นตัวตนของหนุ่ม ชาวปัญจาบีกับความเป็นแร็พของชาวอเมริกัน จนได้ รั บ ฉายาว่ า เป็ น “นั ก แร็ พ ปั ญ จาบี ” (Punjabi rapper) จากอั ล บั้ ม แรกเมื่ อ ปี 2545/2002 ในอัลบัม้ ชุด “Vich Pardesan De” (In The Foreign Lands–ในต่างแดน) ซึ่ ง เพลงในอั ล บั้ ม นี้ ติ ด อั น ดั บ ในคลื่ น วิ ท ยุ BBC อังกฤษ1 ล่าสุดเมื่อปี 2552/2009 ที่ผ่าน มา Bohemia ออกอัลบั้มใหม่เป็นชุดที่ 3 “Da Rap Star” ซึ่งเป็นชุดที่ผมเดินหาซื้อ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

164

ตามแผงซีดีเพลงในเมืองอมฤตสาร์ หาได้ ง่ายมากๆ แค่เอ่ยนามของนักแร็พ... เจ้าของ ร้านก็หยิบมาให้ทันใจ ได้มาเฉพาะอัลบั้ม ล่ า สุ ด ผมรู้ จั ก เพลงของเขาเพราะค้ น หา เพลงในอินเทอร์เน็ต พอได้ฟังบางเพลงแล้ว ก็รสู้ กึ ว่าโดนใจวัยรุน่ จังเลย พอทำความรู้จักนักร้องไกลถิ่นแล้ว ก็เห็นมิติอะไรบางอย่าง หลายสิ่งมีความน่า สนใจจากความคิดและความรู้สึกของตัวเขา เอง (ในฐานะที่เขาคือชาวปัญจาบีหรือชาว อเมริกนั ?)

1

“I am from Punjab, where my great-grandfather converted from Sikhism to Christianity for some reason, however in my house, the Granth Sahib and the Bible were both there, though I was raised as a Christian. As for me, I believe in God, but I am not religious.” says Bohemia.2 “ผมมาจากปัญจาบ เมืองทีป่ ยู่ า่ ตายายของผมเปลี่ ย นศาสนาจากซิ ก ข์ เป็ น คริ ส ต์ ด้ ว ยเหตุ ผ ลบางอย่ า ง แต่ อย่ า งไรก็ ต ามในบ้ า นของผมมี ทั้ ง พระ ศาสดาศรี คุ รุ ค รั น ถ์ ซ าฮิ บ และคั ม ภี ร์ ไบเบิ้ลอยู่ด้วยกัน ถึงแม้ว่าผมจะได้รับ การปลูกฝังให้เป็น คริสเตียน สำหรับผม แล้ ว ผมเชื่ อ ในพระเจ้ า แต่ ผ มไม่ มี ศาสนา” Bohemia กล่าว

1. หน้าปกอัลบัม้ ชุดที่ 3 “Da Rap Star” ของ Bohemia


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ตอนนี้เพลงสนุกๆ ของเขาเข้ามา อยู่ ใ นบอลลี วู้ ด เรี ย บร้ อ ยแล้ ว ทั้ ง ในฐานะ เพลงประกอบหนังบางเรือ่ ง และในฐานะนัก ร้องแร็พด้วยอัลบัม้ ชุดที่ 3 ทำให้ Bohemia เป็ น ที่ รู้ จั ก อย่ า งกว้ า งขวางในกลุ่ ม วั ย รุ่ น อินเดีย โดยเฉพาะวัยรุน่ ในปัญจาบ พอได้กินอิ่มอยู่สบาย มีทรัพย์นิด หน่อยอยู่ในมือ สักพักก็ใคร่สรรหาสรรพสิ่ง มาไว้ ค รอบครอง จึ ง หาซื้ อ เสื้ อ ยื ด สั ก สอง สามตัวใส่เดินเทีย่ วไปในหมูช่ าวปัญจาบี เสือ้ ตั ว แรกต้ อ งซื้ อ ให้ ไ ด้ คื อ เสื้ อ ที่ ส กรี น เป็ น ตั ว อักษรภาษาปัญจาบี มีไว้ติดตัว จะได้ฝึกหัด คัดภาษาปัญจาบี ในภาษาไทย ที่ท่องกันตอนเด็กๆ เช่ น ก.ไก่ ข.ไข่ ค.ควาย ส่ ว นทางภาษา ปัญจาบี เด็กๆ จะท่อง อูร่า (Ura) แอร่า (Araa) อีรี่ (Eri) ขอแนะนำเพียงสามตัวแรก เท่านั้นก่อน เพื่อพอให้เห็นว่าภาษาปัญจาบี นัน้ เป็นอย่างไร (ดูเพิม่ เติมในท้ายเล่ม)

165

ตั ว อั ก ษรภาษาปั ญ จาบี เ รี ย กว่ า

คุรมุคี มีตวั อักขระ 41 ตัว แต่ลายบนเสือ้ ยื ด ที่ ข ายกั น ตามตลาดจะมี เ พี ย ง 35 ตั ว อั ก ขระ (ถ้ า เรี ย งแถว คื อ แถวละ 5 ตั ว อักขระ) ทั้งนี้ก็เพราะตัวอักขระส่วนที่เหลือ เป็นการนำเอาอักขระที่มีอยู่มาใช้โดยเพิ่มจุด เข้าไปแล้วทำให้กลายเป็นเสียงใหม่

อักษรภาษาปัญจาบี “คุรมุค”ี (Gurmukhi), ภ.ปัญจาบี :


166

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ส่วนเสื้อตัวที่สอง... ต้องบอกว่าไม่ ซือ้ ไม่ได้ เพราะวัยรุน่ เขาใส่กนั นัน่ คือเสือ้ ยืด ที่ปักว่า “Singh is King” คู่กับสัญลักษณ์ คาลซา ประโยคดังกล่าวนี้มาจากหนังบอลลีวดู้ เรือ่ ง Singh is Kinng (คำว่า Kinng ใช้ nng ไม่ใช้ ng) ตอนนี้มีพากย์ไทยแล้ว เรียกว่า “มาเฟียรามซิงห์” Singh is King ถือได้ว่าเป็นหนัง ดังของปี 2551/2008 ซึ่งถือเอาฤกษ์วัน เข้าฉายเป็นตัวเลขเดียวกับโอลิมปิคเกมส์ที่ ปักกิง่ นัน่ คือ วันที่ 8 เดือน 8 ปี 08 (วัน ที่ 8 สิงหาคม 2551/2008) ฉากส่วน ใหญ่ ถ่ า ยทำในต่ า งประเทศ (ออสเตรเลี ย กับอียีปต์) ผู้กำกับหนังเรื่องนี้คือ Anees Bazmee พระเอกคือ Aksay Kumar เป็น หนุม่ ชาวปัญจาบี เกิดทีเ่ มืองอมฤตสาร์ เขา

เคยมาเรี ย นศิ ล ปะการต่ อ สู้ ที่ ก รุ ง เทพมหานครด้ ว ย อย่ า งนี้ ก็ ถื อ ว่ า ไม่ ธ รรมดา ส่ ว นนางเอกสาวลู ก ครึ่ ง อั ง กฤษอิ น เดี ย คื อ Katrina Kaif และหนังเรื่องนี้เคยมาฉายที่ กรุงเทพมหานครด้วย ในเทศกาลภาพยนตร์ ตลกโลก ปี 2552/2009 ตามหาเสื้อทั้งสองตัวที่ว่านี้ ก็ด้วย เพราะเหตุต ามที่ แ ถลงไข ซึ่ งหาซื้อ ได้ง่ า ย มากๆ ตามตลาดตามถนนมีแขวนโชว์ล่อใจ ชวนใคร่ซื้อ ราคาตกตัวละ 100 รูปี (70 บาท) ราคาอืน่ ก็ม.ี .. ว่ากันตามเนือ้ ผ้า ร้าน ขายเสื้อผ้ามักแจ้งราคาชัดเจน ไม่สามารถ ต่อรองได้เลย แม้จะซือ้ หลายตัวก็ตาม ใส่เสื้อทั้งสองตัวสลับกันบ่อยทีเดียว คิดว่าเก๋ไปอีกแบบ เพราะไปที่ไหนก็มีแต่คน ทัก

หนังบอลลีวดู้ เรือ่ ง “Singh is Kinng” ภ.ปัญจาบี : ฮินดี :

,

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.facebook.com/bohemiadarapstar?v=info, [มี.ค. 2553/2010] 2. http://panjabirapper.blogspot.com/, [มี.ค. 2553/2010]

คนไทยกับใครอื่น


เปรม ปราณ ปัญจาบ

167

?

เด็กๆ แถวนีก้ ล้าแสดงออกมากและ ชอบคุยกับคนแปลกหน้า ผมกลายเป็นคนที่ มีหน้าตาแปลกสำหรับพวกเด็กชาวซิกข์ไป เสียแล้ว ทุ ก เช้ า ผมมั ก จะไปยื น ชมบรรยาย กาศบริเวณด้านหน้าอาคารนิวาส ดูผคู้ น ดู รถราที่มาจากชนบท แต่ในขณะเดียวกันก็มี คนดูผมเช่นกัน ตกเป็นเป้าสายตาของพวก เด็กๆ บางคนใช้ เ พี ย งสายตาจั บ จ้ อ งคน แปลกหน้าผู้มาเยือนอย่างครุ่นคิด คงสงสัย อยู่ในใจแต่ไม่อยากยุ่งอะไรด้วย มองแล้วก็ เดินผ่านไป แต่บางคนเดินผ่านไปแล้ว ยังมิ วายลากตัวถอยกลับมาทัก “Hello” จนได้ บางคนก็ ม องเห็ น ผมอยู่ ห่ า งๆ ยั ง อุ ต ส่ า ห์ ตะโกนพร้ อ มโบกไม้ โ บกมื อ ทั ก ทาย จึ ง ไม่ แน่ใจว่าจะสามารถเรียกว่าเป็นการต้อนรับ

อย่างอบอุ่นได้หรือไม่ แต่เด็กโตหลายคนให้ ความสนใจคนแปลกหน้ า อย่ า งผมเป็ น อั น มาก เดินเข้ามาขอคุยด้วย หลังจากที่ถูกทักว่า “Hello” แล้ว ผมทักกลับไปว่า “นมัสเต” ตอบกลับเป็น ภาษาฮิ น ดี ซึ่ ง ก็ ท ำให้ ถู ก ใจชาวประชาทั้ ง หลายอยู่มิใช่น้อย ผมไม่คิดว่าพวกเขาจะให้ ความสนใจกับคนไทยอย่างผม พวกเขาคิด ว่าผมเป็นชาวญีป่ นุ่ พอผมบอกว่าไม่ใช่ พวก เขาก็เดาว่าเป็นชาวเกาหลี ผมก็บอกว่าไม่ใช่ อีก สุดท้ายแล้วพวกเขาก็นึกถึงเพื่อนบ้าน ใกล้ตัว ถ้าอย่างนั้นคุณคงเป็นชาวเนปาลีแน่ๆ เลย ผมก็หวั เราะและตอบว่าไม่ใช่อกี เหตุใดคนแถวนีจ้ งึ คิดว่าผมน่าจะมา จากสองสามประเทศเหล่านี้ สำหรับชาวต่าง ชาติที่เป็นชาวเอเชียที่ชาวเมืองอมฤตสาร์ รูจ้ กั มักคุน้ ในลำดับแรกคือชาวญีป่ นุ่ ผมเห็น


168

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พวกชาวญี่ปุ่นมาเที่ยวอมฤตสาร์เยอะมาก รองลงมาเป็นชาวเกาหลี ทั้งสองชาตินี้มา สุวรรณวิหารกันมากจนกระทั่งชาวอมฤตสาร์รู้จัก จนทำให้ชาวอมฤตสาร์นิยมคาด เดาว่านักท่องเที่ยวเอเชียที่เดินผ่านถ้าไม่ใช่ ชาวญีป่ นุ่ ก็คงเป็นชาวเกาหลี ผมแปลกใจอยู่ นิดหน่อยว่าไม่คิดว่าชาวเกาหลีจะกลายมา เป็นนักท่องเที่ยวตัวยงในอินเดียเหมือนกับ ชาวญีป่ นุ่ ส่ ว นชาวเนปาลี อั น เป็ น เพื่ อ นบ้ า น ของชาวอินเดียนัน้ ส่วนใหญ่คงจะมาทำงาน รับจ้างหรือเป็นลูกจ้าง ซึ่งสามารถพบปะ ชาวเนปาลีตามร้านตามตลาดได้ไม่ยากนัก พวกเขาใช้ ภ าษาอั ง กฤษและภาษาฮิ น ดี ไ ด้ อย่างคล่องแคล่ว ควบคู่กับความขยันและ อดทน ทำให้พบลูกจ้างชาวเนปาลีตามแหล่ง ท่องเทีย่ วต่างๆ (รวมทัง้ ในเมืองไทยเราด้วย) คำถามที่ ต ามมาหลั ง จากการ ทั ก ทาย พวกเขานิ ย มถามว่ า which country ? โปรดอย่าได้งงว่านี่คือคำถาม หรื อ เป็ น สำนวนแบบไหน ชาวอิ น เดี ย ต้องการทราบว่าคุณมาจากไหนนัน่ เอง พวก เขาไม่ ถ ามว่ า Where are you come from ? ตามทีค่ นุ้ เคย แต่เมือ่ ตอบกลับไปว่า ไทยแลนด์ เรือ่ งก็ยงั ไม่จบ เพราะชาวอมฤตสาร์แทบจะไม่คุ้นไทยแลนด์ ยิ่งพวกเด็กๆ

ทำหน้างงกัน ต้องอธิบายต่อว่าอยูต่ รงไหน แต่ผมโชคดีนดิ หน่อย พอดีในช่วงนี้ (เมษายน 2553/2010) มีหนังบอลลีวู้ด เรื่ อ งหนึ่ ง คื อ Badmaash Company ภาษาไทยแปลได้ว่า บริษัทอันธพาล กำลัง โฆษณาหนังในทีวี มีหลายฉากทีเ่ ข้ามาทำใน เมืองไทย ผมเลยจัดการจับแพะชนแกะไป เสียเลย หนังเรื่องนี้เป็นฝีมือผู้กำกับอย่าง ปาร์มิตเชธิ (Parmeet Sethi) กับค่ายหนัง ยัศราชฟิล์ม (Yash Raj Film–YRF) และ มี ห นุ่ ม ซาฮิ ด กะปู ร์ (Sahid Kapoor) ซู ป เปอร์ ส ตาร์ ค นดั ง ของบอลลี วู้ ด เป็ น พระเอก ผมสบโอกาสคุยโม้ได้ยาวหน่อย นี่ คือกรุงเทพมหานครนะ... จะบอกให้ และยัง มีมวิ สิควิดโี อเพลงหนึง่ คือ Jingle Jingle ใช้ฉากสวยๆ ในกรุงเทพมหานครกับพัทยา ตลอดเพลง เน้นฉากที่สนามบินสุวรรณภูมิ สยามพารากอน เซ็นเตอร์พอยด์ ถนนสาธร และสี ล ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยาบริ เ วณสะพาน พระรามแปด นั่งเรือหางยาว และหาดชาย สวยๆ ทีพ่ ทั ยา เห็นไหมว่าบอลลีวดู้ มาเมือง ไทยด้วย หนังเรือ่ งนีม้ กี ำหนดฉายทัว่ อินเดีย ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2553/2010 (หลัง จากทีผ่ มกลับเมืองไทย)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2

169

1. โปสเตอร์หนัง Badmassh Company 2. ฉากหนังทีเ่ ข้ามาถ่ายทำในกรุงเทพมหานคร (แม่นำ้ เจ้าพระยา) ทีม่ า :http://www.badmaashcompany.com, http://www.bollyupdates.com, [พ.ค. 2553/2010]

หนังบอลลีวดู้ เรือ่ ง “Badmaash Company” ภ.อังกฤษ : Rogue Company, ภ.ฮินดี : ผมเคยคุยกับเจ้าของโรงแรมเล็กๆ แห่งหนึ่งในอมฤตสาร์ เขาบอกว่าชอบเมือง ไทยมาก เขาติ ด ใจความสวยงามของ ชายหาดบ้ า นเรา พอคุ ย กั น ได้ สั ก ครู่ เ ขาก็ เรียกลูกสาววัยประถม ออกมาทักทายกับผม เข้าใจว่าอยากให้ลูกสาวได้รู้จักชาวต่างชาติ...

อะไรประมาณนั้น เขาบอกว่าดีใจมากที่พบ คนไทยในอมฤตสาร์ มี ค นเพี ย งจำนวนหยิ บ มื อ เดี ย วที่ รู้จักเมืองไทย เพราะคนเหล่านี้เคยมาเที่ยว ไทยแล้ว คนที่เคยมาเที่ยวนั้นก็จะรู้จักสาม นครนีเ้ ป็นอย่างดี นัน่ คือ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต


170

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในช่ ว งสองวั น แรก ขณะที่ ผ มชม ตลาดใกล้ๆ กับสุวรรณวิหาร ก็บังเอิญได้ พบปะกับผู้ชายคนหนึ่ง เขากำลังยืนเร่ขาย สินค้าอยู่ริมทาง พ่อค้าคนนี้กับผมได้กลาย เป็นเรื่องบังเอิญไปจนได้ เขาได้ยินผมพูด ภาษาไทย เขาเลยเดิ น เข้ า มาทั ก ผมด้ ว ย ภาษาไทย โอ้... คนนี้เก่งไม่ธรรมดาจริงๆ พูดไทยได้หลายประโยคเสียด้วย เขาบอกว่า เคยมาเทีย่ วเมืองไทยและชอบเมืองไทยมากๆ (แต่ผมชักจะสงสัยว่ามาเที่ยวหรือมาทำงาน เพราะสามารถโต้ตอบเป็นภาษาไทยได้มาก ขนาดนี)้ ขณะเดียวกัน รู้ไหมว่าพวกเด็กวัย รุ่นแถวๆ นี้... ทันสมัยมาก พกโทรศัพท์มือ ถือทีม่ กี ล้องถ่ายรูป พอๆ กับเด็กไทยเราเลย อาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว พวก เด็กชายชาวซิกข์หลายคนที่มาทักทายและ พูดคุยกับผม มักจะขอถ่ายรูปคู่กับผมด้วย เด็กๆ บอกว่าขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกและก็จะ เอาไปอวดมิตรสหาย สงสัยว่าตัวผมเองนีค่ ง เป็นของแปลกจริงๆ นานทีปีหนที่พวกเด็กๆ กับผมจะโคจรมาเจอกัน ก็ไม่ทราบว่าควรจะ ภูมใิ จดีไหม แต่อย่างไรก็ดี เด็กคนไหนมาขอ ถ่ายรูปด้วยก็ยินดีทั้งนั้น ก็มาอยู่เมืองของ เขา... เจ้าทีอ่ ยากรูจ้ กั

กล้องถ่ายรูปกับคนแถวๆ นีด้ จู ะเข้า กันได้ดี จะเรียกว่าบ้ากล้อง... ก็ว่าได้ ใน แต่ละครั้งที่ผมเดินถ่ายรูปตามบริเวณต่างๆ ก็มักจะมีคนใจกล้าเข้ามาทัก แล้วขอให้ผม ถ่ายรูปพวกเขา บางคนก็ชักชวนว่า “คุณมี กล้องถ่ายรูปใช่ไหม ถ่ายพวกเราหน่อยซิ” พอผมบอกว่า “ได้เลย จะถ่ายรูปคุณ” เพียง เท่านี้แหละ พวกเขาก็ได้สนุกกับคนแปลก หน้ า แล้ ว และไม่ ใ ช่ เ ฉพาะพวกเด็ ก วั ย รุ่ น เท่านั้น พวกผู้ใหญ่และผู้สูงวัยทั้งหลายก็ไม่ ธรรมดาเหมือนกัน หลายครัง้ ทีม่ คี ณ ุ ลุงหรือ คุณปูม่ ากระซิบบอกว่า “คุณช่วยถ่ายรูปพวก หลานๆ หน่อยได้ไหม” หรือ “ถ่ายรูปผมกับ ภรรยาหน่อยซิ... ได้ไหม” และหลังจากที่ ถ่ายรูปไปแล้ว ทุกคนก็ขอบคุณที่ผมถ่ายรูป พวกเขา แต่ละคนไม่ได้เรียกร้องขอให้ผมส่ง รูปไปให้แต่อย่างใด ผมคิดว่าน่าจะเป็นความ สุขเล็กๆ น้อยๆ เป็นความสนุกสนานอย่าง หนึ่งกับการถ่ายรูปของพวกเขา และน่าจะ ช่วยสะท้อนได้ว่า มิตรภาพจากคนที่ไม่รู้จัก กัน... ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน แต่สามารถ สร้างความสนุกร่วมกันได้ ในเมือ่ อยูอ่ มฤตสาร์หลายวัน ความ ช่ำชองเกี่ยวกับเส้นทางและพื้นที่เริ่มมีมาก ขึ้น เพราะนับจากชั่วโมงเดินถนนและเที่ยว


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชมสถานที่ ต่ า งๆ จนกระทั่ ง ได้ เ วลาแสดง ความเก๋ า กลายเป็ น ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล กั บ บรรดา มิตรนักเดินทางชาวต่างชาติดว้ ยกัน และผม เองได้ ข อข้ อ มู ล จากพวกเขาด้ ว ยเช่ น กั น เป็นการแลกข้อมูลระหว่างกัน บั ง เอิ ญ ที่ ไ ด้ พ บกั บ ชาวญี่ ปุ่ น บ่ อ ย กว่าใคร แต่ถือเป็นเรื่องธรรมดาของผมที่ เจออย่ า งนี้ ส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว จะเป็ น การแลก ข้อมูลซึง่ กันและกัน มักมีคำถามราวครึง่ โหล อย่างเช่น มาจากเมืองไหนของอินเดียและ จะไปเมืองไหนต่อ อยู่นานกี่วันในเมืองนั้น อยู่นานกี่เดือนในอินเดีย สภาพอากาศที่เพิ่ง ผ่านพบมา แลกเงินที่ไหนดี โรงแรมราคา ถูก ร้านอาหารอร่อยๆ ไปขึน้ รถทีไ่ หน และ ประสบการณ์การถูกหลอกถูกโกงระหว่าง การเดินทาง อะไรประมาณนี ้ เท่ า ที่ ไ ด้ ส อบถามกั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ชาวต่ า งชาติ ห ลายๆ คนซึ่ ง พบที่ สุ ว รรณวิหาร หลายคนต่างบอกไปทางเดียวกันว่า เมืองอมฤตสาร์นแี้ ม้จะจอแจด้วยผูค้ นจำนวน มหาศาล แต่ว่าเดินเที่ยวได้อย่างสนุก ไม่ ค่อยจะมีใครมาวุ่นวายหรือเกาะแกะมากนัก สิ่งที่สำคัญก็คือพูดจาตกลงอะไรกันแล้วค่อน ข้างจะลงตัว ค่อนข้างจะคำไหนคำนัน้

171

มีเรื่องตลกแต่ไม่ค่อยน่าขำสักเท่า ไหร่ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าถ้าเวลาใดที่ไม่มี ชาวต่ า งประเทศประเภทผมทองตั ว ใหญ่ ๆ อยู่ใกล้ๆ ที่ผมยืนอยู่ ผมนี่แหละจะตกเป็น เป้ า สายตาของมหาชนทั้ ง หลายไปโดย ปริยาย โดยเฉพาะในครัวพระศาสดา เวลาที่ ผมเข้าไปนั่งรับบริการอาหาร ผมก็มักจะถูก จับจ้องอยู่บ่อยๆ พวกเขาชาวอินเดียอาจจะ คิดในใจว่า... เจ้าคนนี้มาจากที่ไหน กินโรตี แบบอินเดียก็เป็นเสียด้วย... อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าคราวใดที่มีฝรั่งสักคนหนึ่ง... นั่นแหละ เป้าสายตาของมหาชนก็จะไม่มองมาที่ผม เพราะไปมองคนผมสีทองแทน ขนาดตัวผม เองยังมองเลย... ก็อยากจะรู้ว่าฝรั่งกินแบบ อินเดียเป็นไหม มีบางคนกินไม่เป็นก็ดูเก้ๆ กังๆ แต่ตัวผมนี้ฝึกมาดีหน่อยจึงทำให้ลีลา การฉีกแผ่นโรตีจิ้มดาลผ่านฉลุย ราวกับคน อินเดียเข้าทรงเลย มีหลายคนถามว่าอินเดียของพวก เขาเป็นอย่างไร ผมร้องเพลงตอบพวกเขาไป ว่า “I love my India.” “ฉันรักอินเดียของ ฉั น ” (ผมหยิ บ ประโยคเด็ ด มาจากเพลง ประกอบภาพยนตร์บอลลีวดู้ ) แต่เวลาร้องจะ ออกเสียงว่า “I love my Indiya.” ตอน


172

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ท้ายๆ ก็ลากเสียงนิดหน่อย เป็นคำตอบทีถ่ กู อกถูกใจเจ้าทีท่ ไี่ ด้ยนิ ชาวซิกข์หลายคนที่พบผมในอมฤตสาร์ ห รื อ สุ ว รรณวิ ห าร พวกเขามั ก จะขอ ความคิดเห็นหรือขอให้ผมช่วยเล่าว่าอมฤตสาร์ทผี่ มได้สมั ผัสนัน้ เป็นอย่างไร เพราะพวก เขาอยากจะรู้ ว่ า ชาวต่ า งชาติ คิ ด อะไร ผม บอกพวกเขาไปว่าการมาอมฤตสาร์เป็นเรื่อง การข้ามวัฒนธรรม (cross culture) เพราะ

ไม่ ว่ า จะเป็ น ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศ ลั ก ษณะ พฤติกรรมผูค้ น ศาสนา ภาษา อาหารการ กิน เงินตรา ล้วนต่างไปจากทีเ่ มืองไทย ผม ก็ได้แค่เป็นคนนอกที่อยากจะรู้จักกับคนใน อยากจะทำความรู้จักและอยากจะทำความ เข้ า ใจว่ า ชาวซิ ก ข์ แ ห่ ง ดิ น แดนปั ญ จาบเป็ น อย่างไร แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผมบอก กับทุกคนว่า “เปรม ปัญจาบ”


เปรม ปราณ ปัญจาบ

173

จิบชาและอ่านหนังสือ ในรัฐปัญจาบมีสถาบันการศึกษาที่ มีชื่อเสียงหลายแห่ง เฉพาะในเมืองอมฤตสาร์มีสถาบันการศึกษาสำคัญและมีชื่อเสียง 2 แห่ง ซึง่ ผมได้มโี อกาสไปเทีย่ วชม นัน่ คือ วิทยาลัยคาลซากับมหาวิทยาลัยคุรนุ านักเดว เพียงแค่นามของสถาบันก็แสดงความเป็น ชาวซิกข์แล้ว สถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งตั้งอยู่ เขตชานเมือง ออกจากตัวเมืองอมฤตสาร์

ไปทางทิ ศ ตะวั น ตก บนเส้ น ทางระหว่ า ง เมื อ งอมฤตสาร์ ใ นอิ น เดี ย ไปเมื อ งลาฮอร์ ใ น ปากีสถาน หรือเส้นทางไปชายแดนอินเดีย– ปากีสถาน ถนนสายนีม้ นี ามว่า G.T. Road ย่อมาจาก Grand Trunk Road ถือได้ว่า เป็นถนนสายเก่าแก่ที่สุดและยาวที่สุดอีกสาย หนึ่ง จากตัวเมืองจะต้องนั่งรถโดยสารออก มา ใช้เวลากว่ายี่สิบนาที แม้ไม่ได้ไกลมาก แต่รถมักแวะรับส่งผูค้ น

การวางแผนแบบขาดๆ เกิ น ๆ พลอยทำให้ได้ไปทัง้ สองแห่งต่างวันต่างวาระ ทั้ ง ๆ ที่ ตั้ ง อยู่ ใ กล้ กั น ในครั้ ง แรกได้ ไ ป วิทยาลัยคาลซา โบกรถโดยสารไปเอง ต่อ มาอี ก สั ป ดาห์ ห นึ่ ง ได้ ไ ปที่ ม หาวิ ท ยาลั ย

คุรุนานักเดว ซึ่งครั้งนี้ได้ไปกับมิตรชาวซิกข์ พวกเขาเป็นศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัย แห่งนี้ และพวกเขาก็พาเที่ยวชมพาซอกแซก ไปตามมุมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เหตุทไี่ ปชมวิทยาลัยคาลซานัน้ เป็น เพราะเขาล่ำลือกันว่ากลุ่มอาคารของวิทยาลัย แห่งนีม้ สี ถาปัตยกรรมเก่าแก่ พอหาข้อมูลได้ แล้วจึงไม่รอช้า มุง่ หน้าออกนอกเมืองทันที วิทยาลัยคาลซา (Khalsa Collage)1 เป็นวิทยาลัยที่เก่าแก่ ก่อตั้งเมื่อปี 2435/ 1892 ดูปีที่ก่อตั้งแล้วจึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่ า เหตุ ใ ดอาคารเรี ย นจึ ง เก่ า แก่ ขึ้ น ชื่ อ ติ ด อันดับ ที่ทำการวิทยาลัยและอาคารเรียน


174

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สร้ า งด้ ว ยสถาปั ต ยกรรมโบราณประยุ ก ต์ โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสีพื้นของก้อนอิฐซึ่งเป็น สี ช มพู ตั ด กั บ สี เ ขี ย วของลานสนามหญ้ า และสีฟา้ ครามของท้องฟ้า วิ ท ยาลั ย แห่ ง นี้ ก่ อ ตั้ ง ในยุ ค อาณา นิคมอังกฤษในศตวรรษที่ 19 ทำให้สถาปั ต ยกรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในอิ น เดี ย ช่ ว งนั้ น เป็ น ศิ ล ปะหรื อ สถาปั ต ยกรรมแบบ Indo– Saracenic หรื อ Indo–Islamic 2 อั น เป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะสามสาย คื อ ศิ ล ปะอิ น เดี ย ศิ ล ปะอิ ส ลามยุ ค โมกุ ล และศิลปะตะวันตกโกธิค พอผมลงจากรถโดยสารแล้ว เพียง แค่ยนื อยูร่ มิ ถนนก็เห็นตัวอาคารใหญ่โตล่อใจ ให้เดินเข้าไปดูใกล้ๆ แต่กว่าจะฝ่าด่านรักษา ความปลอดภั ย ที่ ป ระตู ใ หญ่ ห น้ า วิ ท ยาลั ย เข้าไปได้ ก็ตอ้ งอาศัยวิธกี ารนิดหน่อย เมือ่ มี คนแปลกหน้าโผล่มา พวกเจ้าหน้าทีม่ าดเข้ม ของด่านรักษาความปลอดภัยยิงคำถามมา มากมาย แต่ พ อบอกว่ า จะเข้ า ไปหามิ ต ร สหายที่เรียนอยู่ข้างใน มาดของผมคงดูแก่ เรียนหรือไร พวกเขาก็ยอมให้ผ่านเข้าไปได้ ด้วยดี ผมมุ่ ง ตรงไปที่ ก ลุ่ ม อาคารเก่ า แก่ อย่างรวดเร็ว เดินมองแต่ด้านนอก ไม่กล้า เข้าไปในตัวอาคาร รอจนกระทั่งมีนักศึกษา เดินเข้าไป จึงเดินตามเข้าไปด้วย อาคาร

ด้ า นหน้ า ของกลุ่ ม อาคารทั้ ง หมดเป็ น สำนักงานอธิการบดี ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นอาคารและประตูเป็นไม้ ขัดจนมันเงาวับ สง่างาม เมื่ อ ได้ เ ข้ า ไปในห้ อ งที่ ท ำการแล้ ว จึงขอสอบถามข้อมูลเรื่องการศึกษา ทาง เจ้าหน้าที่เขาก็ใจดีพาไปพบกับอาจารย์ชาว ซิกข์ท่านหนึ่ง ทำให้ทราบว่าวิทยาลัยมีสอน ทั้งสายวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ แต่มี สอนเฉพาะระดับปริญญาตรีกับปริญญาโท หากจะเรี ย นต่ อ ปริ ญ ญาเอกต้ อ งไปที่ ม หาวิทยาลัยคุรนุ านักเดวซึง่ อยูใ่ กล้ๆ กัน ถ้าใคร สนใจอยากรู้รายละเอียดสามารถเข้าไปดูใน เว็บไซต์ http://www.khalsacollegeamrit sar.org หลังจากออกจากอาคารใหญ่ ก็พบ กั บ กลุ่ ม อาคารชั้ น เดี ย ว อาคารแรกที่ อ ยู่ ใกล้ ๆ เป็ น ฝ่ า ยสวั ส ดิ ก ารเยาวชนและ กิจกรรมทางวัฒนธรรม แต่ประตูปิดเพราะ ปิดเทอม ไปชมอีกอาคารหนึ่งมีป้ายบอกว่า ห้องเรียนภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา แต่ไม่เห็นใครเช่นกัน การได้ชมและสัมผัสบรรยากาศใน สถาบันการศึกษาอันเก่าแก่กว่าหนึง่ ศตวรรษ ในฤดูกาลปิดเทอม ก็ชว่ ยเติมเต็มความรูท้ าง ด้านสถาปัตยกรรมอินเดียในอีกมิตหิ นึง่ ได้รู้ และสนุกพอหอมปากหอมคอ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

วิทยาลัยคาลซา (Khalsa Collage) ก่อตัง้ เมือ่ ปี 2435/1892

1 2

3

4

5

1. ตราสัญลักษณ์ของวิทยาลัยคาลซา ทีม่ า : http://www.khalsacollegeamritsar.org, [พ.ค. 2553/2010] 2. ประตูทางเข้าวิทยาลัยคาลซา 3. สถาปัตยกรรมแบบ Indo–Saracenic 4. กลุม่ อาคารทีท่ ำการของวิทยาลัยคาลซา 5. ความสง่างามของตัวอาคาร

175


176

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4 5

1. อาคารหอสมุด สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ เป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยฯ 2. ตราประจำมหาวิทยาลัยฯ ทีม่ า : http://www.gndu.ac.in, [พ.ค. 2553/2010] 3. อาคารคุรนุ านักเดว 4. บรรยากาศในรัว้ มหาวิทยาลัย นักศึกษานัง่ จิบชาใต้ตน้ ไทร 5. กลุม่ นักศึกษา ซึง่ นักศึกษาหญิงจะแต่งกายด้วยชุดซาลวาร กมีซ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

177

มหาวิทยาลัยคุรนุ านักเดว (Guru Nanak Dev University หรือ GNDU) ภ.ปัญจาบี : ก่อตัง้ เมือ่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2512/1969 เพือ่ ฉลองครบรอบ 500 ปี ศาสนาซิกข์ (ปี 2012/1469–2512/1969)

ต่อมา ผมได้ไปเทีย่ วชมสถาบันการ ศึ ก ษาแห่ ง ที่ ขึ้ น ชื่ อ ลื อ ชา นั่ น คื อ มหา- วิทยาลัยคุรุนานักเดว แม้ว่าจะเป็นช่วงปิด เทอมก็ตาม ยังมีพวกนักศึกษารวมกลุ่มกัน ทำกิ จ กรรมต่ า งๆ อย่ า งคึ ก คั ก เพราะ เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ใหญ่ ข องรั ฐ ปั ญ จาบที่ มี

นักศึกษาทุกระดับรวมกว่าห้าพันคน มหาวิทยาลัยคุรุนานักเดว3 (GNDU) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2512/ 1969 นามของมหาวิทยาลัยใช้พระนาม ของพระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ เพื่อให้ เป็นสัญลักษณ์ของปีเฉลิมฉลอง 5 ศตวรรษ ของพระศาสดาคุรนุ านักเดวญี (1)

GNDU มี ค ำขวั ญ ประจำมหา- วิทยาลัยว่า “Guru’s wisdom illumies” ขอ แปลอย่ า งสวยๆ ว่ า “กระจ่ า งแจ้ ง ด้ ว ย ปัญญาแห่งองค์พระศาสดา” เมื่ อ มี น ามว่ า “มหาวิ ท ยาลั ย คุ ร ุ นานักเดว” แล้ว จึงทำให้จดุ เด่นของสถาบัน การศึกษาแห่งนี้เน้นการศึกษาวิจัยทางด้าน ชี วิ ต และหลั ก คำสอนของพระศาสดาคุ รุ นานั ก เดวญี และการสอนภาษาปั ญ จาบี

โดยเปิ ด การเรี ย นการสอนตั้ ง แต่ ร ะดั บ ประกาศนียบัตรบัณฑิตจนถึงปริญญาเอก ผู้ ใ ดสนใจอยากรู้ ร ายละเอี ย ด สามารถเข้ า ไปดู ใ นเว็ บ ไซต์ http://www. gndu.ac.in


178

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มิตรชาวซิกข์พาเดินชมตามอาคาร และคณะต่างๆ อาคารของ GNDU เน้น สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ ราย ล้อมด้วยพืน้ ทีส่ เี ขียวทีเ่ ต็มไปด้วยแมกไม้นอ้ ย ใหญ่ เนื้ อ ที่ ก ว้ า งขวางถึ ง 500 เอเคอร์ ตัวเลขนี้มีนัยสำคัญมากเพราะมาจากการ ฉลองครบ 500 ปีนนั่ เอง แดดในยามบ่ายๆ ร้อนแรงทีเดียว แต่พอได้เดินชมบรรยากาศในรั้วมหาวิทยาลัย เดินใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ ก็ช่วยทำให้คลายความ ร้อนได้ดี ดูไม้ผลัดใบที่เป็นไปตามฤดูกาล จากใบสีเขียวเปลีย่ นเป็นสีแดงและสีนำ้ ตาล ดูๆ ไปแล้วนักศึกษาที่นี่ไม่ต้องรีบ ร้อน รวมกลุ่มกันเล็กๆ สักสามสี่คน ลาก เก้าอี้มาเปิดวงคุยกัน นั่งจิบชาไปคุยไป ทั้ง เรือ่ งการเรียนและการชีวติ (และรวมถึงเรือ่ ง ของชาวบ้ า นทั้ ง หลาย?) ใต้ ร่ ม เงาของไม้ ใหญ่อย่างต้นไทร ลมพัดมาเบาๆ พาเอาเศษ ไม้ ใบ และดอกไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดินให้ ปลิวกระจายไปทั่วตามแรงลม มองพวกเขา อย่างอิจฉาเล็กน้อย เพราะเห็นชีวติ นักศึกษา กับการจิบชาใต้ต้นไม้แล้ว อะไรจะน่าเรียน น่าอยูอ่ ย่างนี ้

พวกเราเดิ น ลั ด เลาะไปตามคณะ ต่างๆ อย่างเช่นคณะนิตศิ าสตร์ จำได้เพราะ ป้ า ยใหญ่ ชั ด เจน ไปเรื่ อ ยๆ จนถึ ง บริ เ วณ หอพักนักศึกษา เพื่อนั่งกินมื้อเที่ยงในเวลา บ่ายๆ อาหารเป็นลักษณะอาหารถาด เน้น การบริการด้วยตนเอง โดยมีข้าวสวยหม้อ ใหญ่แบ่งตักอยู่กลางโต๊ะ ตักเองได้เรื่อยๆ ส่วนโรตีรอ้ นๆ แจกให้เป็นระยะๆ ถ้าทำแล้ว วางเอาไว้ก็จะเย็นหมด ต้องทำร้อนๆ เจ้า หน้าที่จะทำให้เมื่อมีคนมานั่งกิน กับข้าวมี แกงถั่ว ผัดผัก และผัดสด โรงอาหารของ นักศึกษาเป็นประเภทมังสวิรตั ิ อิ่ ม อาหารแล้ ว ก็ เ ดิ น มาอี ก อาคาร หนึ่ ง ซึ่ ง อยู่ ไ ม่ ห่ า งกั น นั ก มาที่ ร้ า นขาย จำพวกเครื่องดื่ม เนื่องจากร้านอาหารกับ ร้านชาแยกกันอยู่คนละทีคนละทาง ทำให้ ต้ อ งกิ น ข้ า วที่ ห นึ่ ง แล้ ว มาจิ บ ชาอี ก ที่ ห นึ่ ง พวกเรานั่งจิบชาร้อนๆ กับขนมปังกรอบๆ โดยร้านอยู่บนชั้นสามทำให้มองดูวิวทิวทัศน์ ได้โดยรอบ มองเห็นแต่ต้นไม้ ส่วนใต้ต้นไม้ ตามอาคารก็กลายเป็นที่จอดมอเตอร์ไซค์ไป โดยปริยาย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

นั ก ศึ ก ษาแต่ ง กายกั น เรี ย บร้ อ ย นักศึกษาชายนิยมใส่เสือ้ เชิรต์ ส่วนนักศึกษา หญิงแต่งกายด้วยชุด ซัลวาร กมีซ ทีม่ สี สี นั ชุดซัลวาร์ กามีซ เป็นที่นิยมของ ชาวปัญจาบี รวมถึงชาวปากีสถานีและชาว อัฟกันด้วย ซัลวาร คือกางเกงแบบหลวม ส่ ว น กมี ซ คื อ เสื้ อ ที่ มี ค วามยาวลงมาถึ ง ระดับเข่า และคล้องผ้า ซึ่งจะใช้พันคอหรือ คลุมศีรษะ เรียกว่า ดุปัตตา พวกเขาแต่ง กายมีลักษณะเฉพาะ เลยทำให้รู้สึกว่าตัวเรา เริม่ เป็นคนแปลกกว่า เสือ้ ยืดกับกางเกงยีนส์ ไม่ เ ข้ า พวกกั บ ใครเลย อย่ า งนี้ บ อกบ่ ง ถึ ง วัฒนธรรมและรสนิยมที่แตกต่างในการแต่ง กายของเราและเขา

179

พวกเรามาที่ ด้ า นข้ า งอาคารหอ สมุด เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด ใหญ่ โ ตโดดเด่ น เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องมหาวิทยาลัย ดูจากป้ายจารึกของอาคารบอกว่า ทำพิ ธี เ ปิ ด ไปเมื่ อ วั น ที่ 24 พฤศจิ ก ายน 2522/1979 ชมบรรยากาศภายในห้องสมุดตาม มุมต่างๆ ขึ้นลิฟท์ไปชั้นใดชั้นหนึ่ง (จำไม่ได้ มีคนกดปุ่มให้) ภายในอาคารไม่เน้นตกแต่ง อะไรมากนัก หน้าต่างมีขนาดใหญ่มากเป็น กระจก เปิดรับแสงสว่าง ทำให้ตอนกลางวัน ไม่ต้องเปิดไฟและไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ พอเข้ า ไปในห้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ พบ นักศึกษานั่งอ่านหนังสือพิมพ์กันพอสมควร

ชุดซัลวาร กมีซ (Salwar Kameez) : , ภ.ฮินดี : ซัลวาร (salwar), ภ.ปัญจาบี : คือ กางเกงแบบหลวม กมีซ (kameez), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : คือ เสือ้ ซึง่ มีความยาวลงมาถึงระดับเข่า ดุปตั ตา (dupatta), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : คือ คล้องผ้า ใช้พนั คอหรือคลุมศีรษะ


180

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มีหนังสือพิมพ์หลายภาษา แต่ไม่มภี าษาไทย เปิดดูฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษสองสามฉบับก็ มี ข่ า วของบ้ า นเราด้ ว ยในกรอบข่ า วเอเชี ย เป็นข่าวปัญหาทางการเมือง เมื่อลงบันไดมาอีกชั้นหนึ่ง เข้าไป ในห้องอ่านหนังสือ ในห้องนี้มีนักศึกษาเต็ม ห้องเลย หาทีน่ งั่ ว่างยากมาก คงเป็นเพราะ ว่ามีการเปิดไฟและเปิดเครื่องปรับอากาศ นักศึกษาส่วนใหญ่จงึ มานัง่ กัน นักศึกษารวม กลุม่ นัง่ ทำการบ้านอ่านหนังสือ พวกทีน่ งั่ คุย กันเห็นจะมีนอ้ ย หอสมุ ด ใช้ โ ต๊ ะ ไม้ เ ป็ น หลั ก ส่ ว น เก้าอี้มีทั้งพลาสติกและไม้ เก้าอี้มีลักษณะ เฉพาะแบบอิ น เดี ย ส่ ว นของที่ นั่ ง ทำเป็ น ตาข่ า ยแบบจั ก สาน ถ้ า ที่ นั่ ง สึ ก กร่ อ นก็ เปลี่ยนเฉพาะตาข่าย ส่วนตัวเก้าอี้เป็นโครง ไม้หรือเหล็กสามารถใช้งานได้นานหลายปี พอลองนัง่ เก้าอีด้ ู คิดว่าเข้าท่าดี ยืดหยุน่ ไป ตามน้ ำ หนั ก ตั ว ของผู้ นั่ ง ทำให้ นั่ ง แล้ ว ไม่ เมือ่ ยง่ายๆ ในช่วงที่นั่งอยู่ในหอสมุดนานกว่า หนึ่งชั่วโมง ปรากฏว่าเกิดไฟตกและไฟดับ หลายครัง้ นีแ่ หละทีพ่ วกเขาหลีกเลีย่ งการใช้ ลิ ฟ ท์ หั น มาใช้ บั น ไดแทน ในห้ อ งอ่ า น

หนั ง สื อ แม้ ว่ า ไฟจะดั บ แต่ นั ก ศึ ก ษาคงจะ เคยชินกับสภาพแบบนี้ ดูจะไม่ตกใจกันเลย ทุ ก คนยั ง นั่ ง อ่ า นหนั ง สื อ กั น ต่ อ ไปเรื่ อ ยๆ เดีย๋ วเดียวไฟก็มา... เป็นกันอย่างนี ้ ช่วงเวลารอรวมกลุ่มใต้ต้นไม้ใหญ่ ก็ได้พบปะมิตรของมิตร ก็ทักทายพูดคุยกัน ไป พวกเขาพู ด ภาษาปั ญ จาบี ป นอั ง กฤษ แน่นอนว่าผมก็ฟงั ออกบ้างไม่ออกบ้าง มิตรบางคนศึกษาวิชาเอกประวัติศาสตร์ เน้นยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช บางคนศึกษาการกำเนิดศาสนาและการเผย แพร่ศาสนาต่างๆ แน่นอนว่านักศึกษาด้านนี้ จะต้องรู้จักประเทศไทย เพราะเป็นปลาย ทางของเส้ น ทางการเผยแพร่ พ ระพุ ท ธ ศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ขณะที่ ก ลุ่ ม ของพวกเรายื น คุ ย กั น อย่ า งออกรสที่ ด้ า นหน้ า อาคารหอสมุ ด ท่ามกลางนักศึกษากลุ่มเล็กๆ ที่นั่งกระจาย ตามใต้ต้นไทรอันร่มเย็น ผมลองคาดเดาว่า พวกเขาคงคุยกันเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาใดวิชา หนึ่งเป็นแน่ เพราะผมเล่นเอาสิ่งที่กลุ่มของ พวกเราคุยกันไปใช้เป็นบรรทัดฐานกับกลุ่ม อืน่ ๆ เสียแล้ว


เปรม ปราณ ปัญจาบ

181

บรรยากาศอันเงียบสงบใต้ร่มไม้ใน ทบทวนสิ่งต่างๆ สามารถสัมผัสได้ถึงความ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ น่าจะช่วยทำให้ชวี ติ ของ สมถะและความเรียบง่ายอย่างมาก แต่พวก นั ก ศึ ก ษามี จิ ต ใจที่ ส งบได้ แ ละมี เ วลานั่ ง คิ ด นักศึกษาต่างจริงจังกับการเรียนมาก ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.khalsacollegeamritsar.org, [พ.ค. 2553/2010] 2. http://en.wikipedia.org/wiki/Indo-Sarcenic, [พ.ค. 2553/2010] 3. http://www.gndu.ac.in, [พ.ค. 2553/2010]


182

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัญจาบสองแผ่นดิน ดิ น แดนปั ญ จาบกลายเป็ น สอง แผ่ น ดิ น สองประเทศหลั ง จากที่ อิ น เดี ย ประกาศเอกราชจากอาณานิคมอังกฤษในปี 2490/1947 ซึ่งทำให้ทางปากีสถานขอ แยกตัวของรัฐอิสลามปากีสถาน จึงทำให้ ดินแดนปัญจาบคือบริเวณแบ่งพื้นที่ของทั้ง สองประเทศ เมื อ งอมฤตสาร์ ถื อ เป็ น เมื อ งใหญ่ และเป็นเมืองเก่าแก่ของปัญจาบ และยังเป็น เมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเมือง การปกครองของทัง้ อินเดียและปากีสถานอีก ด้ ว ย จากประเด็ น นี้ ท ำให้ ผ มอยากจะไป สั ม ผั ส ลั ก ษณะความเป็ น ชายแดนว่ า เป็ น อย่างไร ชายแดน “วาคา” (Wagah), ภ.ปัญจาบี :

ผมไปชายแดนอินเดีย–ปากีสถานถึง สองครัง้ (สัปดาห์ละครัง้ ) ครัง้ แรกผมไปเอง โดยซื้อทัวร์กับพวกรถนำเที่ยว ส่วนอีกครั้ง ได้ไปกับมิตรชาวซิกข์ การไปทั้งสองครั้งได้ พบกับบรรยากาศ 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน หลายประการ พื้นที่ชายแดนที่กำลังกล่าวถึงนี้คือ ชายแดนวาคา เป็นหมู่บ้านและเป็นถนนที่ เชื่อมระหว่างเมืองอมฤตสาร์ของรัฐปัญจาบ ในอินเดียกับเมืองลาฮอร์ของรัฐปัญจาบใน ปากีสถาน วาคาห่างจากตัวเมืองอมฤตสาร์ 27 กิโลเมตร และห่างจากเมืองลาฮอร์ 29 กิโลเมตร1

, ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ ขึ้นชื่อ หากมาเที่ยวอมฤตสาร์แล้วก็ต้องมา เที่ยวชายแดนด้วยจึงจะเรียกได้ว่ามาครบ สูตรการท่องเทีย่ วในแถบนี ้ ช่วงที่ไปเที่ยวนี้ถนนอยู่ในระหว่าง ก่ อ สร้ า งเพื่ อ ขยายจากสองเลนเป็ น สี่ เ ลน เมือ่ มีกอ่ สร้างถนนทีไ่ หนก็ยอ่ มมีฝนุ่ ทีน่ นั้ เป็น ของคู่ กั น พวกเรานั่ ง ปิ ด จมู ก กั น นานพอ สมควร ซึง่ ตอนทีร่ ถเด้งกระดอน... พวกเรา ก็สนุกกันใหญ่ มือหนึ่งปิดจมูก อีกมือหนึ่ง จับราว ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ก่อนทีจ่ ะถึง บริเวณชายแดน จะพบเห็นรถบรรทุกสิบล้อ บรรทุกผลผลิตทางการเกษตรจอดเรียงราย อย่างยาวเหยียดนับร้อยๆ คัน ตอนแรกลอง นับจำนวนดูเล่นๆ ว่าจะมีสักกี่คัน แต่นับไป นับมาก็ตาลายเสียเอง เป็นอันว่าเลิกนับ หัว รถหันหน้ามุ่งตรงไปยังชายแดนสู่ปากีสถาน ในแต่ละวันทางอินเดียคงจะส่งหัวหอมใหญ่ มั น อาลู ข้ า วสาลี และอื่ น ๆ ไปขายยั ง ปากีสถานเป็นจำนวนมาก เวลาที่ เ หมาะสมกั บ การไปเที่ ย ว ชายแดนมีช่วงเวลาเดียวคือตอนบ่าย แล้ว กลับเข้าตัวเมืองในตอนค่ำ การไปเที่ยวชาย

183

แดนคือการไปดูพธิ อี นั เชิญธงชาติลงจากยอด เสาในเวลาประมาณ 16.00–18.00 น. พิธี ดังกล่าวมีทกุ วัน รถส่วนใหญ่ต้องจอดตามบริเวณที่ กำหนดให้เท่านั้น รถโดยสารที่รับนักท่อง เที่ยวมาจากในเมืองอมฤตสาร์จะจอดรอรับ คนกลับที่บริเวณตลาด พวกรถส่วนตัว รถ นำเที่ยวของบริษัททัวร์สามารถเข้าไปจอด ด้ า นในได้ (รอบนอก) ส่ ว นรถวี ไ อพี เ ห็ น เข้าไปได้ถงึ ด้านใน จากจุดจอดรถที่บริเวณตลาดต้อง เดินเข้าไปอีกราวสองสามกิโลเมตร ก่อนเข้า ถึงจุดชายแดนหรือสถานที่เข้าชมพิธี จะมี การตรวจอย่างเข้มงวดมาก เริ่มจากด่าน แรก ทหารจะขอดูหนังสือเดินทางของชาว ต่า งประเทศ แยกแถวชายหญิ งเพื่อ ตรวจ สิ่ ง ของตามกระเป๋ า และเครื่ อ งแต่ ง กาย ทหารทีต่ รวจค่อนข้างจะสุภาพ ทว่าเด็ดขาด มาก สำหรับผูห้ ญิงจะมีหอ้ งตรวจโดยเฉพาะ และมีทหารหญิงคอยตรวจ ทุ ก คนต่ า งเตื อ นและย้ ำ ว่ า ให้ เ อา เฉพาะสิ่งของที่จำเป็นจริงๆ เข้าไปเท่านั้น และหลีกเลีย่ งนำประเภทกระเป๋าเป้เข้าไป นี่ เป็นเรื่องความปลอดภัยของสถานที่สำคัญ


184

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ประเภทกล้ อ งทั้ ง หลายเอาเข้ า ไปได้ อยู่แล้ว แต่ต้องถูกตรวจก่อน เช่น ให้

เปิดกล้อง ลองถ่ายภาพให้ทหารดูก่อน (ตรวจแบบนี้อีกหลายแห่ง) หากเครื่อง มืออะไรที่ทหารไม่รู้จักก็จะขอให้เปิดใช้ งานให้ดูก่อน ด่านแรกนี้ห้ามนำน้ำดื่ม และอาหารเข้าไปโดยเด็ดขาด (แต่ภายใน มีนำ้ ดืม่ ขาย) นีเ่ ป็นเพียงด่านแรกเท่านัน้ ระหว่างทางเดิน พบป้ายบอก ว่ า ที่ นี่ คื อ ชายแดน และมี ป้ า ยประเภท คำขวัญต่างๆ พยายามจะบอกว่าอินเดีย เป็นอย่างไร มีอยู่ป้ายหนึ่งน่าสนใจมาก เขี ย นเป็ น 3 ภาษา (ภาษาปั ญ จาบี ภาษาอั ง กฤษ และภาษาอู ร ดู ) “India the largest democracy in the world welcome you.” (ยินดีต้อนรับสู่อินเดีย ประเทศประชาธิปไตยทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก) ในด่านที่สอง ก่อนเข้าไปนั่งชม ด่ า นนี้ ต รวจคล้ า ยกั น แต่ มี สุ นั ข ทหาร คอยดมกลิน่ ด้วย (ผมรูส้ กึ ว่าสุนขั ทหารดู จะเป็นมิตร ไม่ดุเท่าทหาร?) ณ ด่านที่ สองนี่ เ องจะแบ่ ง คนออกเป็ น สองกลุ่ ม คื อ กลุ่ ม คนทั่ ว ไปให้ เ ดิ น ขึ้ น ไปนั่ ง บน อัฒจันทร์ (แบบสนามกีฬา มีถนนตัดผ่า

กลาง) สามารถเลือกที่นั่งได้อย่างอิสระ ใครไปก่อนก็ได้นั่งในจุดที่ดีกว่า ส่วนอีก กลุ่ ม หนึ่ ง เป็ น กลุ่ ม วี ไ อพี จะต้ อ งตรวจ รายชื่อกับเจ้าหน้าที่ก่อน จึงจะเข้านั่งได้ ที่นั่งจะอยู่ใกล้กับจุดพิธีซึ่งจะเห็นพิธีได้ อย่างชัดเจนและใกล้ชิดกว่า ผมมีโอกาส ได้ไปนั่งทั้งสองแบบมาแล้ว ได้บรรยากาศ แตกต่างกันไป (บอกไม่ได้ว่าอย่างไหนดี กว่า เพราะมีทงั้ ข้อดีและข้อเสียคูก่ นั ) จากการสังเกต พบว่า มีผคู้ นที่ ไปเที่ยวชมในฝั่งของอินเดียเป็นหลักพัน มี ทั้ ง ชาวอิ น เดี ย และชาวต่ า งประเทศ ขณะที่ทางฝั่งปากีสถานมีคนน้อย ไม่แน่ ใจว่าวันนีจ้ ะมีถงึ หลักพันหรือไม่ ระหว่ า งที่ ร อเข้ า สู่ ช่ ว งพิ ธี ก าร ของทางการทหาร ในฝัง่ อินเดียจะคึกคัก เป็ น อย่ า งมากด้ ว ยการเปิ ด เพลงดั ง กระหึ่ม ทั้งเพลงปลุกใจให้รักชาติและ เพลงบอลลี วู้ ด ยอดฮิ ต จั ง หวะพาเด็ ก

และสาวๆ กระโดดลงมาโยกย้ า ยส่ า ย สะโพกกั น เพราะมี ก ารเปิ ด พื้ น ที่ ถ นน หน้าอัฒจันทร์ ให้กลายเป็นลานเต้นรำ ของผู้รักในเสียงเพลง เกิดความสนุกสนาน นอกจากนี้ ยังมีพวกเด็กๆ ผูห้ ญิง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

บนอัฒจันทร์ในถิน่ อินเดีย (ผูค้ นนัง่ คละชายหญิง) ทางเดินและด่านตรวจก่อนเข้าไปถึงอัฒจันทร์ ทางขึน้ อัฒจันทร์ (ทีน่ งั่ แบบธรรมดา) บรรดารถบรรทุกสินค้าทีช่ ายแดนวาคา มุง่ หน้าสูป่ ากีสถาน

185


186

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

เด็กชาวอินเดียถือธงชาติอนิ เดียวิง่ ไปมาตามจังหวะเพลง ป้าย : อินเดียเป็นประเทศประชาธิปไตยทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก บรรยากาศบนลานถนน เด็กและสตรีตา่ งลุกขึน้ มาเต้นรำ ธงชาติปากีสถานในปากีสถาน ทีม่ องเข้าไปจากทางอินเดีย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4

1. 2. 3. 4.

ชมเครือ่ งแบบทหารอินเดียในระหว่างพิธกี ารตรวจพล ทหารแสดงพลังเสียง (ตะโกนอย่างเต็มเสียง) กำลังตรวจพล ทหารทีท่ ำหน้าทีด่ แู ลความเรียบร้อยของผูช้ มบนอัฒจันทร์

187


188

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

พิธอี นั เชิญธงชาติลงจากยอดเสาทีช่ ายแดนอินเดียปากีสถาน ในนาทีสดุ ท้าย หลังจากอันเชิญธงชาติลงจากยอดเสา ประตูชายแดนปิดแล้วในถิน่ อินเดีย ในถิน่ ปากีสถาน บนอัฒจันทร์มกี ารแยกทีน่ งั่ ชายหญิง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

และผูส้ งู วัยถือธงชาติอนิ เดียวิง่ ไปมา วิง่ ผ่านจุดใดผู้คนบริเวณนั้นก็จะปรบมือให้ ดูแล้วสรุปได้ว่านี่คือคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ดีๆ นีเ่ อง ขณะที่ ท างฝั่ ง ปากี ส ถานค่ อ น ข้างจะเงียบสงบ อัฒจันทร์แยกกลุม่ ชาย หญิ ง อย่ า งชั ด เจนตามประเพณี ป ฏิ บั ติ ของชาวมุสลิม มิตรชาวซิกข์คนหนึ่งใน กลุ่มของพวกเราแสดงความเห็นว่า ดิน แดนทั้งสองแผ่นดินในตอนนี้ช่างมีความ แตกต่างกันอย่างมากมาย บ่งบอกว่า หลักปฏิบัติในสองประเทศมีความแตก ต่างกันหลายประการ โดยเฉพาะเรื่อง ศาสนากับเรือ่ งการเมือง ทีมทหารของอินเดียมีสองชุด ดูได้จากเครื่องแต่งกายต่างกัน ทีมหนึ่ง เป็ น ชุ ด ทหารพราน อี ก ที ม หนึ่ ง ชุ ด เต็มยศ เครื่องแบบของทหารน่าสนใจ มาก ทหารอินเดียเป็นชุดสีกากี สวม หมวกสี แ ดงขลิ บ เหลื อ ง ส่ ว นทหาร ปากีสถานเป็นชุดดำ สวมหมวกสีดำเช่น กัน เครือ่ งแต่งกายของทหารดูดที หี่ มวก เพราะปีกหมวกสวยจับใจ ที ม ทหารทั้ ง สองชุ ด ต้ อ งคอย ควบคุ ม ผู้ ค นในทุ ก จุ ด ทั้ ง การเดิ น เข้ า

ออกและการลุกนั่งของผู้คนนับพัน จะ ได้ ยิ น เสี ย งนกหวี ด ดั ง ขึ้ น เป็ น ระยะๆ พร้ อ มกั บ การขอให้ ป ระชาชนนั่ ง ลง ต้องคอยบอกให้นั่งลงอยู่เสมอเพราะมี คนลุกขึ้นยืนอยู่ตลอดเวลา เหมือนจับ ปูใส่กระด้ง ที่ลุกขึ้นยืนก็เพราะอยาก เห็นชัดๆ อยากถ่ายรูป แต่ถ้าไม่บอก ให้นงั่ ลง ก็วนุ่ น่าดูเพราะคนหนึง่ ยืนขึน้ ก็จะบังคนอื่นๆ (นี่... มาชายแดนนะ ไม่ใช่มางานเลี้ยง?) ผมรู้สึกว่าทหาร หญิงมีสายตาทีด่ ุ คงด้วยเพราะภารกิจ ทีต่ อ้ งทำมาดเข้ม ในขณะทีท่ หารชายมี ความนุม่ นวลกว่ามาก หลังจากที่เสียงเพลงเงียบลง ทหารฝ่ายพิธีการเริ่มต้นด้วยการแสดง พลังเสียงและฝีเท้า โดยตะโกนเสียงดัง ลากยาว (เรียกว่าสุขภาพปอดดี) และ เดินสวนสนามด้วยการตบเท้าดังๆ ใช้ เวลานานพอสมควร เสียงของทหาร ทัง้ ฝ่ายอินเดียและปากีสถานสลับกันดัง บางจังหวะก็ดังพร้อมกัน เฉพาะฝ่าย อินเดีย พอมีตน้ เสียงตะโกนว่า “วันเด” ประชาชนก็ตะโกนขานรับต่อว่า “มาตะ รัม”

189


190

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เมือ่ มองดูทปี่ ระตูชายแดน ก็เห็นธง ของทั้ ง สองประเทศโบกสบั ด ธงติ รั ง คา (Triranga) หรือธงไตรรงค์ของอินเดีย กับ ธงแห่งพระจันทร์เสี้ยวและดวงดาว (Parcham e Sitara o Hilal) ของปากีสถาน อีกสักครู่ คงจะถูกอันเชิญลง ตอนนี้ประตูชายแดนยัง เปิ ด อยู่ มี ท หารประจำการตามจุ ด ต่ า งๆ เต็มไปหมด จากนัน้ เพียงไม่กนี่ าที ก็เข้าสูพ่ ธิ อี นั เชิ ญ ธงลงจากยอดเสาจากประตู ช ายแดน เวลานี้พระอาทิตย์กำลังอัสดงพอดี 18.00 น. โดยประมาณ ประตูชายแดนของอินเดีย อยูท่ างทิศตะวันตก จนกระทั่ ง ประตู ช ายแดนปิ ด ลง พิ ธี ก ารดั ง กล่ า วเป็ น อั น ยุ ติ เปิ ด โอกาสให้

ผู้ ค นลงจากอั ฒ จั น ทร์ เ พื่ อ ถ่ า ยรู ป ตรง บริเวณประตูเหล็กนี้ กลุ่มวีไอพีเท่านั้นที่จะ สามารถเข้าไปใกล้ๆ ได้ ขณะทีก่ ลุม่ ผูช้ มส่วน ใหญ่นั่งที่ธรรมดา จะสามารถถ่ายรูปได้แต่ รอบนอกเท่านั้น แบ่งแยกกันชัดเจน ทาง ทหารเปิ ด เวลาอิ ส ระตรงนี้ เ พี ย งไม่ กี่ น าที แล้วก็ขอเชิญทุกคนออกจากพืน้ ที ่ ระหว่างเดินกลับไปทีร่ ถ พวกพ่อค้า จะนำของที่ ร ะลึ ก มาเร่ ข าย ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ดีวดี พี ธิ อี นั เชิญธง ภาพถ่าย โปสต์การ์ด ถ้า ประเภทเสื้อยืดและของอื่นๆ สามารถหาซื้อ ได้ในตัวเมืองอมฤตสาร์ พวกเราไม่มีใครซื้อ อะไร แต่ลกู ค้าตัวจริงก็คอื ชาวอินเดียจากถิน่ อื่ น ที่ ม าเที่ ย วนั่ น เอง เห็ น มี ค นไปยื น ชม ตัวอย่างดีวดี แี ละซือ้ กลับบ้าน

“วันเด มาตะรัม” (Vande Mataram), ภ.ฮินดี : แปลว่า ข้าพเจ้าขอคารวะแด่มาตุภมู ิ (I do homage to the mother land.) ธง “ติรงั คา” (Triranga), ภ.ฮินดี : แปลว่า ธงไตรรงค์ หรือ ธงสามสี


เปรม ปราณ ปัญจาบ

น้ำดื่มและขนมต่างๆ ตามแผงลอย ริมถนนทางเข้าออกชายแดนมีราคาแพงมาก เห็นจะซื้อไม่ไหว และเห็นชาวอินเดียหลาย คนพกน้ำดืม่ และขนมมาเอง ส่วนพวกเรารีบ กลั บ ตั ว เมื อ งกั น ขั บ รถตอนค่ ำ อั น ตราย ถนนกำลังก่อสร้าง ต้องใช้ความระมัดระวัง เป็นอย่างมาก

191

ขณะนั่งรถกลับในตัวเมือง ผมแว๊บ คิดขึ้นมาว่าสักวันหนึ่งคงจะได้มีโอกาสไปนั่ง บนอัฒจันทร์ในฝั่งประเทศปากีสถาน แล้ว มองเข้ามาในฝัง่ ประเทศอินเดียบ้าง

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://wikitravel.org/en/Wagah, [พ.ค. 2553/2010]


192

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ปัญจาบกับการเมือง เอ่ ย ถึ ง ปั ญ จาบกั บ การเมื อ งแล้ ว เรื่องราวที่สามารถเขย่าวงการเมืองซึ่งผูก โยงกั บ เรื่ อ งศาสนาในห้ ว งทศวรรษที่ ผ่ า น มาของอิ น เดี ย ก็ คื อ ปฏิ บั ติ ก ารบลู ส ตาร์ (Operation Blue Star) มี ก ารปิ ด ล้ อ ม สุวรรณวิหารในช่วงสัปดาห์แรกของมิถุนายน 2527/1984 โดยกองกำลั ง ทหารของ รัฐบาลอินเดียบุกเข้าไปในสุวรรณวิหารเพื่อ ตามจับกุมกลุ่มชาวซิกข์หัวรุนแรงที่หลบหนี เข้าไปพักในสุวรรณวิหาร ในสมั ย นั้ น มี น างอิ น ทิ ร า คานธี เป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย เป็นผู้สั่งการ ให้ทหารบุกจับกุมชาวซิกข์ในสุวรรณวิหาร โดยใช้ปฏิบตั กิ ารบลูสตาร์ ซึง่ เป็นปฏิบตั กิ าร ขั้นเด็ดขาด หลังจากที่ใช้วิธีการต่างๆ มา แล้วแต่ไม่ได้ผล

จัรแนล ซิงห์ ภินดราวาเล (Jarnail Singh Bhindranwale) คือนามของผูน้ ำคน สำคั ญ ของกลุ่ ม ดั ม ดามิ ตั ก สั ล (Damdami Taksal) ทีร่ ฐั บาลอินเดียในขณะนัน้ ต้องการ ตัว การจู่โจมบุกถล่มในสุวรรณวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ครั้งนั้น ทำให้ เกิดการนองเลือดในสุวรรณวิหารและทำให้ สถานที่ภายในได้รับความเสียหายอย่างหนัก เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจอย่าง ทีส่ ดุ ให้กบั ชาวซิกข์ทวั่ โลก และเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วได้ น ำไปสู่ แผนการลอบสังหารนางอินทิรา คานธี ใน วันที่ 31 ตุลาคม 2527/1984 โดยคน ใกล้ตัวของนาง คือ Beant Singh และ Satwant Singh องครักษ์ชาวซิกข์นนั่ เอง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 3

2

1. จัรแนล ซิงห์ ภินดราวาเล (คนทีร่ ฐั บาลอินเดียต้องการตัวในปฏิบตั กิ ารบลูสตาร์) ทีม่ า : http://www.sikhsangatofva.org, [ต.ค. 2553/2010] 2. ภาพวาดของ Amrit และ Rabindra Singh สองพี่น้องชาวซิกข์ที่เกิดใน ลอนดอน ทีม่ า : http://www.outlookindia.com/article.aspx?262214, [ต.ค. 2553/ 2010] 3. สภาพสุวรรณวิหารหลังจากปฏิบตั กิ ารบลูสตาร์ 1984 ทีม่ า : http://worldsikhnews.com, [ต.ค. 2553/2010]

193


194

เปรม ปราณ ปัญจาบ

นำเรื่ อ งราวดั ง กล่ า วมาเล่ า อย่ า ง ย่ อ ๆ สั้ น ๆ พอให้ เ ห็ น ว่ า มี อ ะไรเกิ ด ขึ้ น ใน ปัญจาบ แต่ละบุคคลและแต่ละเรือ่ งราวย่อม มีตน้ เหตุทซี่ บั ซ้อนซ่อนเงือ่ น ก่อนทีจ่ ะผกผัน เข้าไปสู่เหตุการณ์และปฏิบัติการบลูสตาร์ และนั่นก็เป็นเรื่องที่ร้อนที่สุดในทศวรรษที่ 80 ของอินเดีย พอข้ามทศวรรษ ปัญจาบกับการ เมืองก็ยังคงมีสิ่งผูกโยงกันอีกครั้ง เพราะ ผู้นำแผ่นดินอินเดียในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาจากปัญจาบและเป็นชาวซิกข์ ผู้ที่โดดเด่นในวงการเมืองและมีชื่อ เสียงโด่งดังมากที่สุดของอินเดียในทศวรรษ นี้ ค งจะหนี ไ ม่ พ้ น บุ รุ ษ นาม ดร.มั น โมหั น ซิ ง ห์ ท่ า นเป็ น นายกรั ฐ มนตรี ค นปั จ จุ บั น และเป็นคนที่ 14 ของอินเดีย ท่านเป็นชาว ซิกข์ที่มาจากหมู่บ้านในรัฐปัญจาบ (เราๆ ท่านๆ สามารถพิจารณาจากนามของบุรุษ ซิงห์หรือสิงห์ จะทำให้ทราบว่าท่านเป็นชาว ซิกข์) ท่ า นสำเร็ จ การศึ ก ษาปริ ญ ญาตรี จากมหาวิทยาลัยปัญจาบ (Punjab University) ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และ ปริ ญ ญาเอกทางด้ า นเศรษฐศาสตร์ จ าก

มหาวิ ท ยาลั ย อ๊ อ กฟอร์ ด 1 ท่ า นเคยเป็ น อาจารย์มหาวิทยาลัยมาก่อน ก่อนที่จะผัน ตัวก้าวเข้าสู่วงการเมืองในปี 2514/1971 ในฐานะที่ ป รึ ก ษารั ฐ มนตรี และก้ า วเข้ า สู่ ตำแหน่ ง รั ฐ มนตรี ก ระทรวงการคลั ง ในปี 2534/1991–2539/1996 จนกระทั่ ง ก้าวขึ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในพิธีสาบาน ตนเข้ารับตำแหน่งเมือ่ วันที่ 22 พฤษภาคม 2547/2004 (หลังจากผ่านการเลือกตั้ง ทั่วไป) และได้เข้าพิธีสาบานตนอีกครั้งเป็น นายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2552/2009 ท่ า นเป็ น นายกรั ฐ มนตรี ที่ ม าจาก พรรคใหญ่และเก่าแก่ของอินเดียคือ พรรค คองเกรส ทำให้ทา่ นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของพรรคคองเกรส ซึง่ เป็นพรรคเดียวกับ นางอินทิรา คานธี นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 (และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคน เดียวของอินเดีย) หยิบยกเอาบางเรือ่ งราวมากล่าวถึง เพราะถื อ เป็ น เรื่ อ งเด่ น ที่ สุ ด ในปั ญ จาบกั บ การเมือง เรือ่ งหนึง่ เป็นอดีตในความทรงจำ เรื่องหนึ่งเป็นภาพปัจจุบัน... ซึ่งก็เป็นเช่นนี้ เอง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2

195

1. ดร.มันโมหัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีอนิ เดีย เป็นชาวซิกข์จากรัฐปัญจาบ ทีม่ า : http://www.newsweekindia.com, [ต.ค. 2553/2010] 2. การ์ตนู ล้อนักการเมืองตามหน้าหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ ทีม่ า : http://indiatoday.intoday.in/site/Cartoon?cId=15, [ต.ค. 2553/2010]

ดร.มันโมหัน ซิงห์ (Dr.Manmohan Singh), ภ.ฮินดี : ภ.ปัญจาบี : นายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของสาธารณรัฐอินเดีย พรรคคองเกรส (The Indian National Congress), ภ.ฮินดี : (เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ทีม่ าจากพรรคคองเกรส)

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://pmindia.nic.in/meet.htm, [ต.ค. 2553/2010]

,


196

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ลาแสงสี สูช่ วี ติ เสรีในชนบท กลางเดื อ นเมษายนในดิ น แดน ปั ญ จาบ เป็ น ช่ ว งเทศกาลวั น วิ ส าขี ข อง ประชาคมชาวซิกข์ ทำให้เช้าของวันที่ 14 เมษายน ทั่วเมืองเก่าอมฤตสาร์ถูกตกแต่ง ประดับประดาอย่างสวยงาม มองไปทางมุม ใดก็ เ ห็ น แต่ ค วามคึ ก คั ก พลอยทำให้ ผู้ ม า เยือนจากเมืองไทยตื่นเต้นไปด้วย เพราะใน วันนีท้ เี่ มืองไทยเป็นเทศกาลสงกรานต์ คลื่ น มหาชนชาวซิ ก ข์ จ ากทั่ ว ทุ ก สารทิศเดินทางมาชุมนุมร่วมกัน ณ ศูนย์กลางแห่งประชาคมคาลซา ผู้คนเนื่องแน่น ไปเสียทุกซอกมุมเลย โดยเฉพาะในสุวรรณวิหาร ทำให้การเดินของผมและคนอีกนับ หมืน่ ... เพียงสิบก้าวสัน้ ๆ ต่อนาทีเท่านัน้ เอง เพี ย งแต่ เ สี ย ดายที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า ไปในครั ว พระ ศาสดาอีกครั้ง เข้าไปไม่ได้เลยเพราะคนเกิน พันรอรับบริการอาหาร แต่อย่างไรก็รู้สึกดี

กับทุกขณะย่างก้าว ถือเป็นชัว่ โมงสุดท้ายใน สุวรรณวิหาร ฤกษ์ ง ามยามดี อ ย่ า งนี้ ผมถื อ โอกาสเดิ น ทางมุ่ ง หน้ า สู่ บ้ า นหลั ง เล็ ก ใน ชนบท พร้อมกล่าวคำอำลาสุวรรณวิหาร และก้ า วออกจากความเป็ น เมื อ งที่ มี ค วาม พลุ ก พล่ า น หั น หน้ า เข้ า สู่ ค วามเงี ย บใน หมูบ่ า้ นชนบท หลังเที่ยงวันของกลางเดือน พวก เรากลั บ มารวมกลุ่ ม กั น ที่ ห้ อ งพั ก ในนิ ว าส คุณบาลบินกับคุณแฮปปีพ้ าญาติจากหมู่บา้ น มาแนะนำให้รู้จัก เพราะจากนี้ไปพวกเราจะ ต้ อ งอยู่ ร่ ว มกั น อี ก หลายวั น ผมได้ รู้ จั ก กั บ ลูกพีล่ กู น้องของคุณบาลบินคือ คุณครูแจ็คกี้ นามจริงคือ จาร์มานจิต สิงห์ (Mr.Jarmanjit Singh) และน้องของครูแจ็คกี้คือ คุณราฮุล (Mr.Rahul) กับคุณลาล่า (Mr.Lala) ตำรวจ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

หนุม่ หุน่ สูง ทัง้ สามคนเข้าเมืองเพือ่ มารับผม เข้าหมู่บ้าน เวลาราวบ่ายเศษๆ พวกเราจึง กล่าวคำอำลาและขอบคุณคุณบาลบิน คุณ แฮปปี้ และโบกมือลาสุวรรณวิหาร พวกเรา ใช้ ม อเตอร์ ไ ซค์ เ ป็ น พาหนะหลั ก มุ่ ง หน้ า สู่ หมู่บ้าน ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุ พวก เราจะต้องฝ่าอุปสรรคทั้งแดดแรง ลมแรง ฝุน่ ละออง ซึง่ เป็นเรือ่ งธรรมดาของการเดิน ทาง มอเตอร์ไซค์คันเก่งมีสองคัน คันหนึ่ง ครูแจ็คกี้เป็นสารถี นั่งอัดกันสามคน โชคดี ทีไ่ ม่เจอใบสัง่ คุณราฮุลบอกว่าพวกเรากำลัง ฝ่าฝืนกฎจราจร แต่จะกังวลเฉพาะในเขต เมือง พอออกนอกเมืองแล้วก็อิสระ แต่ก็จะ ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะมีคุณลาล่าอยู่ทั้งคน อย่ า ลื ม ซิ ว่ า พวกเรามี ต ำรวจและเป็ น ผู้ ขี่ นำทางอยู่ในขณะนี้ (โอ้โฮ้... พวกเราเส้น ใหญ่ขนาดนัน้ เชียว) พวกเราค่อยๆ ไปกัน แดดเปรี้ยง มาก ครูแจ็คกีโ้ พกผ้าตามแบบอย่างชาวซิกข์ ซึ่งคลุมศีรษะได้ดี บรรพบุรุษของพวกเขา ช่างออกแบบการโพกผ้าซึ่งมีประโยชน์อย่าง นี้นี่เอง ขณะที่ผมเพียงแต่สวมหมวกกับแว่น กันแดด หมวกไม่ได้ชว่ ยอะไรมากนัก เพียงไม่กี่นาทีมอเตอร์ไซค์คันเก่งก็ พาออกมานอกเมือง ความแตกต่างเห็นได้ ชัดสามอย่าง กล่าวคือ อย่างแรกเป็นสภาพ ถนนและสภาพการจราจร ถนนในเมืองมี

197

สภาพที่ ดี ก ว่ า มี ส ภาพการจราจรที่ แ ออั ด คั บ คั่ ง ไปด้ ว ยรถราและผู้ ค น พอออกเขต เมืองก็รู้สึกได้เลยว่าถนนเริ่มขรุขระ มีรถ บรรทุกมาก เพราะในเมืองห้ามรถบรรทุกวิง่ ส่วนอย่างที่สองเป็นทิวทัศน์ ตึกรามบ้าน ใหญ่ๆ เริม่ หายไป นอกเมืองจะพบกับทิวทุง่ ข้าวสาลี และบ้านก่ออิฐหลังเล็กๆ และอย่าง ที่ ส าม สามารถสั ม ผั ส บรรยากาศและรั บ กลิ่นไอของชนบทที่ลอยมาตามลม เห็นคน กำลังเกีย่ วข้าวสาลีเป็นระยะๆ บนถนนลาดยางที่เชื่อมระหว่างตัว เมืองกับชนบท พวกเราเลี้ยวเข้าถนนทาง แยกสู่หมู่บ้าน หลีกหนีจากรถบรรทุกขนาด ใหญ่และควันดำ ถนนสู่หมู่บ้านมีเพียงสอง เลน ผิ ว ถนนยั ง มี ส ภาพดี เ พราะมี ก าร ลาดยางใหม่เสริมขอบถนน ขับขี่สบายๆ มี รถวิ่งน้อย บางช่วงก็พบทิวต้นยูคาลิปตัสสูง ใหญ่ให้รม่ ได้พอสมควร มีชาวนาพาวัวควาย มาปล่อยไว้ริมทาง ให้เล็มหญ้าใต้ต้นไม้ ก็ เป็นความสุขที่เรียบง่ายของคนกับสัตว์เลี้ยง ซึง่ พบโดยทัว่ ไปในอินเดีย ในเมื่ออากาศร้อนดีนัก ก็พักและ หลบมุมชั่วขณะ หลังจากออกจากตัวเมือง มาได้สักสิบนาที ต้องเติมน้ำมันให้เต็มถัง ก่อนเข้าหมูบ่ า้ น คุณราฮุลชวนไปล้างหน้าที่ บ่ อ น้ ำ ด้ า นหลั ง ปั๊ ม น้ ำ มั น น้ ำ เย็ น และไหล แรงดี พวกเด็กปั๊มสงสัยว่าหน้าตาแบบผมนี้


198

เปรม ปราณ ปัญจาบ

มาจากไหน มีคนหนึง่ ถึงกับอดใจไม่ไหว จึง เข้ามาถาม พวกเด็กปัม๊ แต่งชุดทีมคล้ายแบบ บ้านเรา พวกเขาเป็นคนท้องถิน่ พวกเขาไม่ คิดว่าจะมีชาวต่างชาติมาโผล่แถวๆ นี ้ ระหว่างทางท่ามกลางทุ่งข้าวสาลี เหลืองอร่ามทั้งสองฟากฝั่งของถนน ถนน ลาดยางเป็ น ทางแคบและขรุ ข ระเล็ ก น้ อ ย ตัดทุ่งข้าวสาลีราวสี่ห้ากิโลเมตร แล้วอยู่ๆ มอเตอร์ไซค์คันเก่งของพวกเราเกิดอาการ สะดุ ด นิ ด หน่ อ ย มาเล่ น งานพวกเราเอา จังหวะที่อยู่กลางแดดเสียด้วย แค่สปริงของ ขาตั้งรถหลุด ครูแจ็คกี้เลยสละผ้าเช็ดหน้า เพื่ อ เอาไปมั ด ขาตั้ ง แทน หนุ่ ม อารมณ์ ดี ทดสอบรถคันเก่าสักครู่ พอเห็นแล้วว่าแค่ ผ้าเช็ดหน้าก็เอาอยู่ พวกเราจึงไปต่อกัน

ผ่านหมู่บ้านต่างๆ น้อยใหญ่ จน กระทั่ ง ถึ ง ตั ว หมู่ บ้ า นของพวกเรา ตอนนี้ อธิบายไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหน ใช้เวลาเดินทาง ราวครึง่ ชัว่ โมง เพียง 30-40 กิโลเมตรจาก ตัวเมืองอมฤตสาร์ ระยะทางไม่ห่างกันมาก แต่ระยะห่างของความเจริญห่างกันมากโข แต่ทแี่ น่ๆ บอกว่าตัวเองว่าตอนนีอ้ ยูใ่ นชนบท อินเดียของแท้แล้ว ถนนเส้นทางหลักที่เชื่อมจุดต่างๆ เป็นถนนลาดยาง ส่วนถนนภายในหมู่บ้าน เป็นถนนลูกรัง บางบริเวณเป็นถนนลาดยาง พวกเราผ่านถนนฝุ่นเสียมากกว่าที่ จะผ่านถนนลาดยาง เมื่อพอถึงบ้านของครู แจ็คกี้ การพักผ่อนจึงเริม่ ต้นขึน้


เปรม ปราณ ปัญจาบ

199

โลกใบเล็กในยามเย็นทีจ่ นั นันเก้ พอได้ น้ ำ เย็ น ๆ มาลู บ หน้ า ลู บ ตั ว แล้ว ความสดชืน่ ก็กลับคืนมา หลังจากผ่าน แดดผ่านร้อนมาหมาดๆ บ้ า นยามบ่ า ยตกอยู่ ใ นความเงี ย บ แต่ผมตื่นเต้นกับสิ่งแวดล้อมใหม่ คุณราฮุล พาผมมาดูห้องนอน บอกว่ายกเตียงใหญ่ให้ เลย พวกเราน่าจะฟังเพลงดีกว่าไหม... ผม เสนอ และแล้ ว เสี ย งเพลงปั ญ จาบี ก็ ดั ง ขึ้ น เปิดมิวสิควิดีโอจากรายการทีวียอดฮิตของ สถานี โ ทรทั ศ น์ ท้ อ งถิ่ น เสี ย งเพลงพลอย ทำให้พวกเราได้ผอ่ นคลายมากขึน้ เมื่อเจ้าของบ้านเดินเข้ามา ครูแจ็คกี้ ก็รีบแนะนำให้รู้จักกับคุณแม่ ด้วยความเป็น แม่บ้าน... คุณแม่สอบถามเรื่องการกินของผู้ มาเยือนก่อนเรื่องอื่นใด จะกินอะไรได้บ้าง คุณแม่พูดภาษาปัญจาบี ครูแจ็คกี้คอยแปล ให้ ผมบอกว่าทำอาหารตามปกติ โดยไม่ ต้องมีอะไรพิเศษ คุณแม่ถามว่าอาหารเช้าจะ

กินอะไรดี ไข่ ขนมปัง และชาพอไหม ผม ตอบโอเค ส่วนมื้อต่างๆ จะเป็นอะไรก็ได้ ตามแต่คณ ุ แม่จะเลือกทำ คุณแม่ตอ้ งถามให้ ละเอียดเพราะต้องดูแลอาหารให้กับทุกท้อง ในบ้าน ห้องนอนของผมในสองราตรีนี้เป็น ห้องของครูแจ็คกี้กับน้อง มีเตียงไม้ขนาด ใหญ่ เ พราะนอนหลายคน ในห้ อ งมี ที วี จ อ ใหญ่ ซึ่งเป็นเครื่องเดียวประจำบ้าน หมาย ความว่าเตียงไม้เป็นจุดที่ทุกคนในครอบครัว มานั่ ง ดู ที วี ร่ ว มกั น และยั ง กลายเป็ น ห้ อ ง รับแขกไปในตัวอีกด้วย ทำให้ในเวลากลาง วันและเย็นจะมีคนเดินเข้าเดินออกในห้องนี้ อยู่เสมอ พอตกตอนกลางคืนก็จะกลายเป็น ห้องนอนที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว จนกระทั่งรุ่ง เช้าห้องนีจ้ ะกลับไปเป็นห้องทีท่ กุ คนสามารถ เดินเข้าออกได้อกี ครัง้ ห้ อ งนี้ ถื อ เป็ น ห้ อ งของพวกผู้ ช าย


200

เปรม ปราณ ปัญจาบ

กลุ่ ม ผู้ ห ญิ ง คื อ แม่ แ ละน้ อ งสาวจะอยู่ อี ก ห้องหนึง่ ในห้องของคุณแม่ไม่มอี ะไรมาก นัก ดูโล่งๆ มีเตียงนอน โต๊ะวางสิ่งของ และตู้เสื้อผ้า ต่างจากห้องของพวกเราซึ่ง มีขา้ วของมากมายจนทำให้หอ้ งดูแคบลง คงจะเป็ น เพราะว่ า บ้ า นจะถู ก สร้ า งเสริ ม เติ ม แต่ ง ไปเรื่ อ ยๆ ตามแรง ทรัพย์ ทำให้สภาพของบ้านในตอนนี้ยังมี อีกหลายส่วนที่จะยังไม่เรียบร้อย แต่ละ ห้องในบ้านเปิดโล่ง ใช้เพียงผ้าม่านปิดกัน้ ระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับส่วนรวม ผ้าม่าน ที่ประตูห้องและหน้าต่างมักจะปิดในตอน กลางคืน ใครที่เข้าไปในบ้านแล้วก็จะเห็น กันหมด บรรดาเครือญาติเริ่มทยอยแวะ มาหา คงเป็นไปตามกระแสข่าวปากต่อ ปากที่ ว่ า มี ค นไทยมาแล้ ว ผมเริ่ ม รู้ จั ก ญาติๆ ทีละคนสองคน ตอนนี้พบกับคุณ กากันดีป (Mr.Gagandeep) พี่ใหญ่ของ บ้าน เพราะเป็นคนที่คอยดูแลส่วนขาด เหลือต่างๆ ของบ้าน จะเรียกว่าเป็นพ่อ บ้านก็ว่าได้ ลูกชายบ้านนี้ยังไม่ออกเรือน กันเลย สักครู่ใหญ่ ก็มีอีกคนหนึ่งเข้ามา ทัก คือ คุณกากันดีป โกปี (Mr.Gagandeep Gopi) เรียกสัน้ ๆ ว่าคุณโกปี เป็น

ลูกชายของอีกบ้านหนึ่ง ซึ่งรั้วอยู่ติดกัน และหนุ่ ม คนนี้ แ หละที่ จ ะพาผมเที่ ย ว หมูบ่ า้ น ในช่วงทีห่ ลายคนพักผ่อน ผมไป เที่ยวบ้านคุณโกปี เดินไปได้สักสิบก้าว เองกระมัง บ้านอยูใ่ นซอยเดียวกัน (บ้าน ครูแจ็คกีเ้ ป็นบ้านแรกหน้าปากซอย) บ้ า นคุ ณ โกปี ห ลั ง เล็ ก กว่ า นิ ด หน่ อ ย แต่ ก ลั บ มี พื้ น ที่ ว่ า งมากกว่ า สภาพบ้านคล้ายๆ กัน กล่าวคือ เป็น บ้านชั้นเดียว สร้างด้วยอิฐที่ทำจากดิน เผา มีหอ้ งนอน 2–3 ห้อง มีหอ้ งครัวที่ สะอาด ห้องเก็บของขนาดเล็ก ห้องน้ำ อยู่นอกบ้าน ทีวีประจำบ้านจะตั้งอยู่ใน ห้องหลักของบ้าน อาจจะเป็นห้องของ พ่อหรือห้องของพี่ชาย (อย่างไรก็ตาม ห้องของแม่หรือลูกสาวจะไม่เป็นทีต่ งั้ ของ ทีว)ี คุณโกปีแนะนำให้รู้จักคุณพ่อกับ คุณแม่ คุณพ่อเป็นคนอารมณ์ดี ส่วนคุณ แม่ เ ป็ น คนยิ้ ม เก่ ง และยิ้ ม สวย คุ ณ แม่ กำลังดูแลทารกน้อย เพิง่ เกิดได้ไม่กเี่ ดือน เอง ตัวเล็กมากและตัวแดงมาก และยังมี เด็กชายตัวน้อยอีกหนึ่งคน บ้านนี้มีเด็ก เล็กหลายคน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เจ้ า ของบ้ า นชวนมานั่ ง ที่ ห น้ า บ้ า น นั่ ง ที่ เ ตี ย งสาน ประตู บ้ า นใช้ สังกะสีตีเข้าติดกับโครงไม้ ประตูบ้านมี ขนาดเล็ก (เพราะไม่ใช้รถยนต์) คุณแม่ ของคุณโกปีนำมะละกอสุกสดๆ มาให้ ชิม เอาเกลือโรยใส่นดิ หน่อยพลอยทำให้ รสชาติยิ่งดีขึ้น มีคนถามว่าเมืองไทยมี มะละกอไหม ผมก็ตอบไปว่ามี แต่รู้สึก ว่ารสชาติจะแตกต่างกัน คงขึ้นอยู่กับ พันธุ์กระมัง คำถามต่อมาก็คือ... แล้ว มะละกอปัญจาบรสชาติดีไหม เลยต้อง ตอบว่ า มี ร สชาติ ใ ช้ ไ ด้ ถ้ า คำตอบเป็ น อย่างอื่นก็สงสัยเขาจะเก็บมะละกอกลับ ครัวแน่ๆ เตียงสานที่พวกเรากำลังนั่งกัน อยู่ นี้ สานด้ ว ยเชื อ ก นั่ ง สบายดี จ ริ ง โครงเตี ย งทำด้ ว ยไม้ แต่ ถ้ า เป็ น เตี ย ง สมัยใหม่โครงของเตียงจะทำด้วยเหล็ก แล้วสานด้วยเชือกซึง่ ทำจากหญ้าโบราณ

201

อันมีนามว่าหญ้า มุนจ์ แต่เห็นหลายบ้าน สานด้วยเชือกพลาสติกแทน ก็เข้าใจว่า เป็ น ไปตามยุ ค ตามสมั ย โดยทั่ ว ไปใน ชนบทแถวนี้ ยั ง คงใช้ เ ตี ย งไม้ ที่ ส านด้ ว ย หญ้ า มุ น จ์ ซึ่ ง สานเป็ น ลายต่ า งๆ ส่ ว น ความเหนียวของเชือกนี้ไม่ต้องพูดถึง มี ท้ า ว่ า หากคนตั ว โตๆ มานั่ ง จนคั บ เตี ย ง ก็ ยั ง สามารถรั บ น้ ำ หนั ก ได้ อ ย่ า งสบาย (... ไม่เชือ่ ก็คงจะต้องเชือ่ ?) ในชุ ม ชนใช้ เ ตี ย งนี้ คุ้ ม ค่ า มาก คาดเดาว่าสักระยะหนึง่ อาจจะสองสามปี จึงจะเปลี่ยนเชือกสักครั้ง แต่โครงไม้หรือ เหล็กยังอยูไ่ ด้นานเกินสิบปี ตอนกลางวัน ใช้เตียงนี้รับแขก สามารถวางถ้วยน้ำชา ได้ พอตกตอนกลางคืนก็ทำเป็นเตียงนอน อรรถประโยชน์ทเี ดียว ตอนไหนไม่ใช้กย็ ก พิงไว้ข้างฝา พวกเขาไม่ใช้ชุดโซฟา ชีวิต อย่างนีค้ อ่ นข้างเรียบง่ายมาก

หญ้า “มุนจ์” (munj), ภ.ฮินดี : มะละกอ เรียกว่า “ปปีตา” (papita), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี :


202

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พวกเด็กๆ มาจากบ้านไหนบ้างก็ ไม่ทราบ โผล่หน้ามาจากขอบประตูบ้าน ขอดูคนแปลกหน้าสักหน่อย คุณโกปีแซว ผมว่าเด็กๆ มาดูดารา ผมเลยบอกว่าถ้า ผมเป็นดาราก็ต้องแจกลายเซ็น ว่าแล้วก็ เรียกเด็กๆ ให้เข้ามาในบ้านได้ เจ้าของ บ้านอนุญาตแล้ว เด็กบางคนอาย ก็วิ่ง หนีไปเลย ส่วนเด็กที่กล้าหน่อยก็เดินเข้า มาในบ้าน ทยอยเข้ามาจนกลายเป็นกลุม่ ใหญ่ เด็กบางคนตัดผม แต่บางคนก็คงไว้ ซึง่ ศาสนสัญลักษณ์ พวกเด็กๆ ยังไม่ผา่ น พิธรี บั อมฤต เด็กสนุกสนานกันน่าดู หัวเราะ กันคิกๆ คักๆ เพราะได้จับตัวเป็นๆ ของ คนแปลกหน้า พวกเด็กๆ ซื่อและใสมาก เวลาทีพ่ วกเขาอาย หน้าแดงมาก จะถ่าย รูปเด็กบางคนก็บิดตัวอายเขิน รอยยิ้มที่ ยิ้ ม อย่ า งสนุ ก สนานทำให้ ห มู่ บ้ า นเล็ ก ๆ และโลกของเรานีม้ ชี วี ติ ชีวามากขึน้ ผมเข้าห้องน้ำ ซึ่งห้องน้ำจะอยู่ ด้านนอก แยกกับตัวบ้าน ห้องน้ำจะแบ่ง เป็น 2 ห้อง คือ ห้องส้วมกับห้องอาบ น้ำ ในห้องส้วมมักจะไม่มกี อ๊ กน้ำ เวลาจะ ใช้เข้าห้องนี้ต้องหิ้วถังน้ำเข้าไปด้วย ผม เองก็ไม่ทราบ จึงไม่มีน้ำไปเทลาด คุณโกปี

นี่แหละคอยจัดการให้ ผมอายมาก ขั้น ตอนในการใช้ห้องส้วมคือ ต้องโยกน้ำใส่ กระป๋อง หิว้ เข้าห้องส้วม ตัวโยกน้ำนีบ้ าง บ้านก็ตั้งอยู่ที่ลานบ้านใกล้ห้องน้ำ บาง บ้านเอาไปตั้งไว้ในห้องอาบน้ำ เมื่อเสร็จ กิจแล้วก็ออกมาโยกน้ำอีกครั้งเพื่อล้างมือ ด้วยสบู่ หลังจากพบเหตุการณ์อย่างนีแ้ ล้ว ทำให้ได้เรียนรูส้ ภาพชีวติ ชนบท วิธกี ารใช้ น้ำในหมูบ่ า้ น สุ ข ลั ก ษณะที่ ดี คื อ ออกจากห้ อ ง ส้วมมาแล้วต้องล้างมือทันที พวกเขามัก วางเศษสบู่ก้อนเล็กๆ ไว้ที่ก้อนอิฐข้างตัว โยกน้ำ กลิ่นสบู่ติดมือเหมือนกลิ่นสบู่ลาย ของบ้านเราเลย ใกล้ ห้ อ งน้ ำ มี ผั ก และหญ้ า ขึ้ น สวยงามทีเดียว เห็นมีมะเขือสีขาว ผลดก ที เ ดี ย ว ใบสี เ ขี ย วของมั น พลางหนาม แหลมๆ เอาไว้ และยังมีตน้ สาระแหน่ดว้ ย ผักสองชนิดนี้เป็นผักสวนครัวประจำบ้าน เป็นทีน่ ยิ มของชาวอินเดีย พวกเราเลยคุย เรือ่ งผักสวนครัวกันยกใหญ่ ผมมาด้อมๆ มองๆ ที่กองเชื้อเพลิง มูลวัว ภาษาอังกฤษเรียกว่า cow dung เมืองไทยเราไม่มี (ไม่ใช้เชื้อเพลิงประเภท นี้) เชื้อเพลิงทำจากมูลวัวนี้ถือว่าเป็นสิ่งคู่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ครัวชาวอินเดีย พวกเขาเก็บส่วนหนึ่งไว้ ในกระสอบ เป็นส่วนทีพ่ ร้อมใช้ในประจำ วัน ซึง่ ตัง้ เรียงรายอยูร่ มิ กำแพงหลังบ้าน และเอาไว้ใกล้ๆ เตา พอดี วั น นี้ ผ มใส่ เ สื้ อ ที่ มี สั ญ ลักษณ์คาลซาของชาวซิกข์ คุณโกปีมอง ผมแล้วก็บอกว่าคุณยังไม่เหมือนชาวซิกข์ นะ เอาอย่างนีแ้ ล้วกัน ต้องแปลงโฉมกัน หน่อย ว่าแล้วก็เอาผ้าสีส้ม ความยาว ประมาณเมตรเศษๆ ครูแจ็คกีก้ บั คุณโกปี ช่วยกันโพกผ้าให้กับผม ลีลาการโพกผ้า ก็ไม่เบา พันไปมาสักครูก่ ไ็ ด้เป็นรูปทรงที่ เหมาะสม ครู แ จ็ ค กี้ ถึ ง กั บ ร้ อ ง... อ้ า ! ออกมาด้วยความพึงพอใจ คุณโกปีดีด นิ้ ว เสี ย งดั ง แสดงว่ า ใช้ ไ ด้ แ ล้ ว ตอนนี ้ ดู ก ลมกลื น มาก ให้ ส มกั บ การอยู่ ใ น หมู่ บ้ า นชาวซิ ก ข์ แปลงโฉมให้ เ ข้ า กั บ บรรยากาศ แม้วา่ หน้าตาจะไม่ให้ พอแดดเริ่มลับตา พวกเราชวน กันก้าวออกจากบ้านเพือ่ เดินเทีย่ วในซอย ทันทีที่พวกเด็กๆ เห็นต่างหันมามองกัน ใหญ่ แล้วก็ชกั ชวนเดินตามกันเป็นขบวน เอาเถอะ... ดีกว่าเดินตามลำพัง ผมเดิน ไปทางใดก็โบกมือทักทายชาวบ้านไปทั่ว ราวกับว่าเป็นดาราบอลลีวู้ด ทั้งนี้เป็น

เพราะชาวบ้ า นมี อั ธ ยาศั ย ดี ต่ า งหาก ต้อนรับขับสูก้ นั อย่างอบอุน่ พวกเราได้ พ บกั บ คุ ณ นิ ช าน หนุ่มนักศึกษาเรียนหนังสือที่วิทยาลัย ในเมือง เป็นลูกพีล่ กู น้องอีกคนหนึง่ ซึง่ อยูใ่ นซอยเดียวกัน คุณแม่คณ ุ นิชานนำ นมวัวสดๆ ร้อนๆ มาให้ดมื่ เป็นธรรมเนียมการต้อนรับ นมวัวมีรสชาติเป็น ธรรมชาติมาก หวานมันดี เจ้าของ บ้านชวนขึ้นไปนั่งข้างบน (ชั้นดาดฟ้า) ตอนนี้ เ ป็ น เวลาใกล้ พ ลบค่ ำ แล้ ว อากาศดี จากชั้นบนสามารถมองเห็น วิ ว หมู่ บ้ า น ควั น ไฟคอยๆ ลอยขึ้ น เหนือหลังคา แต่ละบ้านเตรียมทำมื้อ เย็นกันแล้ว ออกจากบ้ า นคุ ณ นิ ช าน ก็ ต้องเข้าไปเยี่ยมบ้านคุณลาล่าอีก ซอย เดียวกันทั้งนั้น ถ้าแวะบ้านหลังหนึ่ง แล้ ว ไม่ ไ ปแวะอี ก หลั ง หนึ่ ง คงมี ค น น้อยใจน่าดู ด้วยเหตุฉะนีเ้ อง จึงทำให้ ต้องเข้าไปคารวะเกือบทุกบ้าน คุณแม่ ของตำรวจหนุ่ ม หาชาร้ อ นมาให้ ดื่ ม เป็นธรรมเนียมการต้อนรับอีกเช่นกัน คุ ณ แม่ ท่ า ทางใจดี แ ละอารมณ์ ดี ม าก คุ ณ แม่ กั บ คุ ณ ลู ก มี ค วามสู ง พอๆ กั น

203


204

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เลย ผมต้ อ งขอบคุ ณ คุ ณ ลาล่ า ที่ ดู แ ล สั ม ภาระของผมตลอดการเข้ า ออก หมูบ่ า้ น หลั ง จากที่ เ ข้ า บ้ า นหนึ่ ง ออก บ้ า นหนึ่ ง จนจำไม่ ไ ด้ ว่ า หลั ง ไหนเป็ น บ้ า นของใครกั น แน่ จากนั้ น ได้ แ วะดู ร้านค้าเล็กๆ 2–3 ร้าน อยากจะรูแ้ ละดู ซิว่ามีอะไรขายบ้าง ก็เห็นว่าส่วนใหญ่ เป็ น ข้ า วของที่ ใ ช้ ใ นครั ว เรื อ นเป็ น หลั ก ข้าวสารและธัญพืชประเภทต่างๆ อยู่ใน กระสอบ ผักสดก็มบี า้ ง หอมหัวใหญ่กบั มันฝรั่งดูจะมีเยอะหน่อย เป็นสิ่งจำเป็น ในครัวเรือน นอกจากนี้ก็มีจำพวกสบู่ ยาสีฟนั ผงซักฟอก แต่ขนมขบเคี้ยวมีน้อย คิดว่า พวกเด็กๆ ไม่คอ่ ยจะได้กนิ ขนมถุงสักเท่า ไหร่ สำหรับกลุ่มผู้ชาย อันนี้ไม่ต้องพูด ถึ ง ทุ ก ร้ า นจะมี ห มากสำเร็ จ รู ป บรรจุ ซองขาย หมากที่กล่าวถึงนี้ก็คือหมากที่ กินกับพลูแบบไทย แต่ตอนนี้ชาวอินเดีย ทัง้ หนุม่ น้อยและหนุม่ เหลือน้อยต่างนิยม กินหมากผงบรรจุซอง เป็นซองขนาด เล็กๆ คล้ายยาอม สามารถพบเห็นได้ ทั่ ว ไปในอิ น เดี ย และในหมู่ บ้ า นก็ เ ป็ น ปลายทางของการค้าหมากซองนี้ด้วย

ราคาซองละ 1 รูปี จะถูกจะแพงขึน้ อยู่ กับยีห่ อ้ และส่วนผสม ระหว่ า งทางเจอวั ว หลายตั ว กำลั ง ยื น กิ น หญ้ า วั ว ฝู ง เล็ ก เพี ย งสอง ส า ม ซึ่ ง ห นึ่ ง ฝู ง นี้ ห ม า ย ถึ ง ห นึ่ ง ครอบครัว หากมีวัวอย่างน้อยหนึ่งตัว ครอบครัวก็จะรู้สึกอุ่นใจมาก เพราะวัว ในสังคมอินเดียมีประโยชน์หลายประการ วัวแต่ละตัวจึงถูกขุนอย่างดี อ้วนพีและ ผิวพรรณมันขลับ ถ้าคิดในทางเศรษฐศาสตร์ แ ล้ ว ก็ ถื อ ได้ ว่ า เป็ น สิ น ทรั พ ย์ ประจำครอบครั ว ที่ มี มู ล ค่ า สู ง และมี คุณค่ามาก ค่ำคืนแรกในหมู่บ้าน พวกเรา มาจบปิดท้ายที่คุรุดวารา ตั้งอยู่ริมถนน สายหลักของหมู่บ้าน อยู่ท่ามกลางทุ่ง ข้าวสาลี ใครก็ตามทีเ่ ข้าออกหมูบ่ า้ นก็จะ ต้องเห็น ครูแจ็คกี้เข้าไปพูดคุยกับท่าน ศาสนจารย์ก่อน แล้วแนะนำผู้มาเยือน จากเมืองไทยให้เป็นที่รู้จัก จากนั้นขอ อนุญาตให้พวกเราเข้าไปชมด้านในและ ถ่ายรูป ท่านทั้งหลายยินดีและใจดี ให้ ความเป็นกันเอง แม้ว่าจะสื่อสารกันไม่ ได้ ท่านพูดภาษาปัญจาบี ครูแจ็คกีค้ อย แปลให้เช่นเคย


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

สภาพหมูบ่ า้ น มุมหนึง่ ในจันนันเก้ ภาพมุมสูง มองเห็นหมูบ่ า้ นและพืน้ ทีท่ ำการเกษตร บ้านของครูแจ็คกี้ ทีพ่ กั ของนักศึกษาไทย วัวประจำบ้าน

205


206

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

บรรดาญาติพนี่ อ้ งรวมกลุม่ กินมะละกอ เตียงสานทีท่ ำจากหญ้ามุนจ์ เชือ้ เพลิงมูลวัว ตากเรียงรายริมทุง่ นา เชือ้ เพลิงมูลวัวทีแ่ บ่งออกเป็นชิน้ เล็กชิน้ น้อย เตรียมใส่เตาไฟ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

207

ขณะนี้ ภ ายในมี ช าวบ้ า นมาปฏิ บั ติ อีกกลุ่มหนึ่งกำลังทำโรตีในครัวพระศาสดา ศาสนกิจอยูบ่ า้ ง ส่วนใหญ่เป็นแม่บา้ น ด้าน แต่ ต อนนี้ ค่ ำ แล้ ว จึ ง มองอะไรไม่ ค่ อ ยเห็ น ในเป็ น โถงกว้ า งพอสมควร สถานที่ ดู แ ล้ ว เป็นอันว่าวันพรุง่ นีพ้ วกเราจะพากันใหม สบายตา ส่วนด้านนอก พบว่ามีกลุม่ แม่บา้ น

วัว : ภ.ปัญจาบี เรียกว่า “กานํ” (kan), ภ.ปัญจาบี : ภ.ฮินดี เรียกว่า “โค” (go), ภ.ฮินดี : (คนไทยคุน้ เคยกับคำว่า “โค”)


208

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

3

2

4

สีห่ นุม่ สีม่ มุ : 1. ครูแจ็คกีก้ บั มอเตอร์ไซค์คนั เก่ง 2.–4. มิตรสหายและครอบครัวทีค่ อยช่วยเหลือการเก็บข้อมูลในหมูบ่ า้ น


เปรม ปราณ ปัญจาบ

209

จันนันเก้บา้ นทีอ่ บอุน่ แสงไฟของทุ ก ครั ว เรื อ นเริ่ ม ส่ อ ง สว่างเมือ่ ความมืดคืบคลานมาถึงอีกคราหนึง่ บิดาหรือบุตรที่ออกไปทำงานนอกบ้านทั้ง ใกล้ไกลต่างก็ทยอยกลับมารวมตัวกันในบ้าน เวลาอันสนุกสนานในครอบครัวเริ่มขึ้นอีก รอบหนึ่ง เสียงเพลงดังลอยมาให้ได้ยินเป็น ครั้ ง คราว เพลงสนุ ก ๆ จากรายการที วี ท ี่ ชื่นชอบและจากแผ่นดีวีดีที่ซื้อมาจากในเมือง เสียงหัวเราะเบาๆ ปะปนมากับเสียงร้องไห้ ของเด็กน้อยขี้แย เสียงทั้งหลายเหล่านี้บอก ให้รู้ว่าทุกคนอยู่ที่บ้าน แม้ว่าเวลาจะเพียง หนึ่ ง ทุ่ ม เศษๆ ทว่ า ทั่ ว หมู่ บ้ า นก็ มื ด มิ ด เสี ย แล้ว พวกเรากลั บ เข้ า บ้ า น คุ ณ แม่ แ ละ น้องสาวครูแจ็คกี้รออยู่ รอพวกเราพร้อม อาหารมื้ อ อร่ อ ยๆ ตามแบบฉบั บ ชาวบ้ า น ปัญจาบี อาหารมื้อเย็น ซึ่งเป็นมื้อแรกของ

การอยูใ่ นหมูบ่ า้ นคืออะไรเอ่ย คุ ณ แม่ หุ ง ข้ า วเจ้ า ให้ ห นึ่ ง หม้ อ เพราะบอกไปว่าคนไทยกินข้าวเป็นหลัก แต่ ยังปิ้งโรตีแผ่นใหญ่ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวสาลี ส่วนกับข้าวมีสองอย่าง เป็นแกงถัว่ กับผัดผัก แกงถั่วเป็นอาหารหลักประจำบ้าน น้ำแกง เข้มข้นอย่าบอกใครเชียว ส่วนผัดก็อร่อยไม่ แพ้กนั ถัว่ พลูออ่ นผัดใส่ไข่ไก่ ใส่หวั หอมและ พริก การกินโรตีกับกินข้าวมีการปฏิบัติที่ ต่างกัน กินข้าวสะดวกกว่า เพียงหุงข้าวไว้ จะกิ น เมื่ อ ไหร่ ก็ ตั ก เมื่ อ นั้ น ส่ ว นกิ น โรตี จ ะ ต้องทำร้อนๆ ปิง้ บนเตาแล้วส่งให้กนิ เลย จึง จะอร่อยและเป็นไปตามธรรมเนียมของการ กิน ไม่นิยมทำเก็บไว้ การกินข้าวนั้นไม่ใช่ เป็นอาหารหลักประจำครัว ทำโรตีง่ายกว่า ง่ายตามวิถีการกินของชาวบ้านปัญจาบี ถ้า พวกเราหิวกันแล้ว ก็บอกคุณแม่ล่วงหน้าสัก


210

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สิบนาที รอเพื่อให้แม่ทำโรตีใหม่ๆ ร้อนๆ กินกับแกง ไม่ว่าจะกินข้าวหรือกินโรตีก็จะต้อง ใช้มอื เปิบ แต่มชี อ้ นให้ คงเกรงว่าคนไทยจะ ไม่คุ้นเคย แต่การกินด้วยมืออร่อยกว่าเยอะ เลย กินโรตีจะฉีกโรตีเป็นชิ้นเล็ก แล้วนำไป หยิบแกงหรือผัดผัก (แล้วก็ใส่ปาก...) ปกติคง มีเทคนิคการกิน แต่ผมใช้เทคนิคส่วนตัว คือ กินครบหมดทั้งสิบนิ้ว จนมีคนส่งผ้าเช็ดมือ มาให้ เหมือนรูล้ ว่ งหน้าว่าจะต้องใช้ วงอาหารกิ น เวลาไปนานชั่ ว โมง กว่าๆ เพราะกินไปบ่นไป ผมกินได้น้อยกว่า ใครๆ ทำให้ เ จ้ า บ้ า นไม่ ย อม เพราะกิ น ได้ น้ อ ยกว่ า เกณฑ์ ที่ ช าวปั ญ จาบี กิ น กั น จนมี คำถามว่าอาหารไม่ถูกปากหรือเปล่า หรือ ไม่อร่อย แต่ผมพยายามอธิบายว่าอาหาร อร่อย แต่กนิ ได้ไม่มากนัก อิ่มอาหารแล้ว มักจะตามด้วยชา หรือขนม แน่นอนแหละว่าผมกินอะไรต่อไม่ ได้อีกแล้ว จึงขอยุติการกินไว้แต่เพียงเท่านี้ ช่วงย่อยอาหาร เลยชวนออกไปเดินเล่นหน้า ปากซอย ตอนนี้ราวสามทุ่ม หมู่บ้านเงียบ มาก พวกเราเดินอย่างช้าๆ สัมผัสอากาศ ริมทุ่ง เดินไปคุยไปใต้แสงไฟ นานๆ จะมี มอเตอร์ไซค์สักคันวิ่งผ่านมา ลมเย็นๆ ช่วย ทำให้รสู้ กึ สบายมากขึน้ กลิน่ ฟางข้าวสาลียงั ลอยติดจมูก

สั ก พั ก ใหญ่ ก็ ก ลั บ เข้ า บ้ า น ให้ ผิ ว กายกระทบน้ำก่อนนอน ห้องอาบน้ำของ บ้านมีตัวโยกน้ำตั้งอยู่ภายใน สบายหน่อย เพราะไม่ต้องหิ้วถังน้ำ คุณนิชานจะโยกน้ำ ให้ผมอาบ แต่ผมปฏิเสธเพราะผมจะอาบเอง ก็ต้องโยกน้ำเอง คุณนิชานงงเล็กน้อย คิด ว่ า คนไทยทำไม่ เ ป็ น ผมโยกน้ ำ ให้ ดู เ พื่ อ ยื น ยั น ว่ า ทำเป็ น คุ ณ นิ ช านไม่ ย อม จึ ง ไป ตามคุณโกปีมาคุยด้วยอีกคน จนกลายเป็น เรื่องใหญ่ในบ้าน ผมยังยืนยันว่าจะโยกน้ำ อาบด้วยตนเอง ทุกคนจึงยอมแพ้ และเมื่อ น้ำเต็มถังพลาสติกใบใหญ่ จึงอาบสบาย น้ำ บาดาลทีน่ ไี่ หลแรงดีและเย็นดีแม้ในฤดูรอ้ น มิตรใหม่แยกย้ายกันกลับบ้าน น้อง สาวครูแจ็คกี้จัดที่นอนให้ ส่งผ้าห่มให้หนึ่ง ผืน สงสัยว่าทำไมผืนหนาจัง อากาศออกจะ ร้อน เขาบอกว่าตอนเช้าอากาศเย็น เลยรับ มาไว้กอ่ น เกือบสี่ทุ่ม สมาชิกในบ้านยังคงยุ่ง อยูก่ บั เรือ่ งต่างๆ แต่ผมหลับไปในตอนไหนก็ ไม่ทราบ จนใกล้แจ้ง อากาศเย็นพอสมควร ผ้าห่มผืนหนาข้างกายจึงถูกหยิบใช้ตามคำ บอกกล่าว ความอบอุ่นที่ทุกคนมอบให้ และ น้ำใจไมตรีที่มีให้กับผู้มาเยือนเป็นสิ่งที่ทำให้ รู้สึกว่าที่นี่... ปัญจาบ ก็เหมือนบ้านอีกหลัง หนึง่ เป็นบ้านทีอ่ บอุน่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2

3

4

1. 2. 3. 4.

ห้องโถงในบ้านชัน้ เดียว ห้องครัวประจำบ้าน ห้องอาบน้ำและห้องส้วม (แยกสองห้อง) ตัง้ อยูน่ อกบ้าน ห้องอาบน้ำ มีทโี่ ยกน้ำพลังมือ

211


212

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชีวติ ช่วงเช้า

รุ่งเช้าของวันอากาศดี ลมโชยมา มิ ข าดสาย ทุ ก ชี วิ ต กำลั ง สาละวนกั บ เรื่ อ ง ของตนในเช้ า วั น ใหม่ เสี ย งสวดมนต์ จ าก เครื่ อ งกระจายเสี ย งของคุ รุ ด วาราประจำ หมูบ่ า้ นดังก้องไปทัว่ เสียงนีช้ ว่ ยปลุกชีวติ ให้ ตืน่ จากภวังค์ คนที่ ตื่ น เช้ า ที่ สุ ด น่ า จะเป็ น คุ ณ แม่ และน้องสาวครูแจ๊คกี้ ส่วนคนที่ตื่นทีหลัง เพือ่ นก็นา่ จะเป็นผมนีเ่ อง แต่ไม่ได้ตนื่ สายแต่ อย่างใด ผ้าม่านที่ประตูห้องยังปิดอยู่ บอก ให้รู้ว่าห้องนี้ยังไม่เปิดให้เป็นพื้นที่ส่วนรวม พี่ ๆ น้ อ งๆ แค่ เ ดิ น เข้ า มาหยิ บ เสื้ อ ผ้ า และ สิ่งของบางอย่าง... ก็เป็นห้องนอนของพวก เขา ครู แ จ็ ค กี้ ต้ อ งเตรี ย มพร้ อ มแต่ เ ช้ า

และจะเป็นคนแรกที่ออกจากบ้านไปทำงาน (สอนหนังสือ) คุ ณ แม่ อ ยู่ ใ นครั ว รี บ เร่ ง ชงชาปิ้ ง ขนมปั ง สำหรั บ มื้ อ เช้ า ส่ ว นคุ ณ กากั น ทำ

หน้ า ที่ พ่ อ บ้ า น เป็ น คนรี ด เสื้ อ ให้ ค รู แ จ็ ค กี้ เรื่องสีเสื้อกับสีผ้าโพกมักจะเลือกให้เข้ากัน พอครู แ จ็ ค กี้ แ ต่ ง ตั ว และดื่ ม ชาเสร็ จ เสี ย ง มอเตอร์ไซค์ดังขึ้น สักประเดี๋ยวเดียวเสียง นัน้ ก็หายไปพร้อมการไปโรงเรียน เรือ่ งในครัวยังดำเนินต่อไป คุณแม่ เจียวไข่มอื้ เช้าให้ผม เชือ้ เพลิงมูลวัวก้อนใหญ่ ถูกบิดให้เป็นก้อนเล็กแล้วเติมเชือ้ ลงในเตา ครั ว แยกออกเป็ น 2 ส่ ว น ส่ ว น แรกคงเรียกว่าห้องครัว เพราะเป็นห้องที่ เก็บข้าวของต่างๆ จำพวกจานชาม เครื่อง เทศ ผัก และตู้เย็นก็จะตั้งอยู่ในห้องนี้ อีก ส่วนหนึ่งจะเป็นมุมหลังบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ เปิดโล่ง บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเตาไฟและ ถุงกระสอบบรรจุเชือ้ เพลิงมูลวัว บริเวณนีจ้ งึ เป็นที่ประกอบอาหารนั่นเอง บางบ้านมีเตา แก๊สใช้ดว้ ย แต่กแ็ ทบจะไม่ได้ใช้ คิดว่าคงมีไว้ ใช้ในบางเวลาหรือยามฉุกเฉิน


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เตาไฟสูงราวหนึ่งฟุต เป็นความสูง ระดับพอดีกับที่แม่บ้านจะนั่งทำครัว กระทะ ทรงกลมและแบน ไม่เน้นความลึก ใช้ปงิ้ โรตี ปิง้ ขนมปัง และเจียวไข่ คุณแม่นงั่ ทำอาหาร หน้าเตา ไม้ฟืนท่อนยาวกับเชื้อเพลิงมูลวัว ทำให้ไฟในเตาลุกพอดีๆ พืน้ รอบๆ ตัวคุณแม่ มีจานชามและหม้อวางเกะกะ ครู่ใหญ่ทั้งชา และขนมปั ง ร้ อ นๆ และไข่ เ จี ย วหอมๆ ก็ พร้อมสำหรับมือ้ เช้า พอมื้ อ เช้ า ผ่ า นไปได้ สั ก อึ ด ใจเดี ย ว คุณโกปีชวนออกไปดูบรรยากาศตอนเช้าใน หมู่บ้าน จึงควบมอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่ซึ่งหน้า ปัดเป็นระบบดิจิตอล ระหว่างทางที่คุณโกปี พบปะกับญาติๆ ก็ชะลอความเร็วเพือ่ ทักทาย แต่ละคนมองผมมากกว่า ต่างสงสัยว่าพา ใครมาด้ ว ย การทั ก ทายจึ ง ยาวกว่ า ปกติ ทำให้รวู้ า่ บางคนกำลังจะไปเกีย่ วข้าวสาลีทไี่ ร่ ซึง่ อยูห่ า่ งจากตัวบ้านพอสมควร และบางคน กำลังจะไปทำธุระในตัวเมือง พบสามล้อถีบที่กำลังเคลื่อนตัวออก จากหมูบ่ า้ น ชาวบ้านส่วนหนึง่ มีมอเตอร์ไซค์ เป็นพาหนะคู่ใจ แต่บางคนมีข้อจำกัด ผู้สูง อายุและแม่บ้านมักไม่ใช่ผู้ที่จะขี่มอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซค์กลายเป็นเรื่องของผู้ชาย ถ้าทั้ง ผูส้ งู อายุและแม่บา้ นจะไปทำธุระนอกหมูบ่ า้ น และถ้าไม่มีใครไปส่ง ก็จะว่าจ้างสามล้อถีบ

213

ซึง่ จอดรอทีห่ น้าปากซอย คอยให้บริการจาก ตั ว หมู่ บ้ า นไปสู่ ถ นนหลั ก สั ก ห้ า กิ โ ลเมตร เห็ น จะได้ วิ่ ง ถนนดิ น ลู ก รั ง เลี ย บคลอง ชลประทานซึ่งแห้งขอด ถ้านั่งสามล้อถีบก็ ต้องมีผา้ ปิดจมูกกันฝุน่ จะดีทสี่ ดุ ผู้สูงอายุและแม่บ้านมักจะนิยมปั่น จักรยานไปในที่ใกล้ๆ พวกเด็กนักเรียนเป็น พวกที่จะปั่นระหว่างบ้านกับโรงเรียน ตอน เช้ า ๆ จะเห็ น เด็ ก โตในชุ ด นั ก เรี ย นปั่ น ไป โรงเรียนกันเป็นกลุม่ เล็กๆ ซึง่ โรงเรียนอยูใ่ น ละแวกนี้ และจะเห็นเด็กตัวโตซึ่งเป็นพี่ทำ หน้าที่ปั่นและเด็กตัวเล็กผู้น้องนั่งซ้อนท้าย มื อ ที่ จั บ จั ก รยานจะห้ อ ยปิ่ น โตมื้ อ เที่ ย งทั้ ง สองข้าง แถวนี้มีโรงเรียนเยอะทีเดียว ดูได้ จากชุดนักเรียนทีห่ ลากหลาย พอผ่านทุ่งข้าวสาลีจึงขอจอดแวะดู สักเล็กน้อย แวะดูไร่ที่เพิ่งเกี่ยวเสร็จ รวง ข้าวสาลีกองใหญ่ถูกมัดและกองไว้เรียงราย เป็นร้อยกอง ผมเดินเข้าไปถ่ายรูปในไร่ด้วย ความรีบเร่งเพราะคุณโกปีบอกว่าไม่รู้จักกับ เจ้าของไร่ผนื นี้ รีบกดชัตเตอร์และรีบจากไป ตราบใดที่ ยั ง พั ก อยู่ ใ นหมู่ บ้ า นก็ จ ะเห็ น สิ่ ง เหล่านี้อยู่เรื่อยๆ คุณโกปีชวนว่าครั้งหน้าให้ มาหมูบ่ า้ นในฤดูกาลเพาะปลูก ข้อเสนอนีน้ า่ สนใจมาก ถ้ามีโอกาสคงจะสนุกเป็นแน่


214

เปรม ปราณ ปัญจาบ

จากถนนในหมู่ บ้ า นก็ วิ่ ง ออกนอก หมูบ่ า้ นไปตามถนนลาดยางเส้นเดิมทีม่ าเมือ่ วาน เช้านี้เจอฝูงวัวควายถูกปล่อยให้เล็ม หญ้าอยู่ใต้ต้นไม้ริมทาง เจ้าของคงอยู่ใกล้ๆ กระมัง จอดรถแป๊บเดียวแล้วแอบถ่ายสัก หน่อย กลัวควายตกใจตืน่ และกลัวเจ้าของจะ มาเห็ น เดี๋ ย วจะถู ก ต้ อ งสงสั ย ว่ า มาขโมย ควาย พอตั้งท่าจะถ่ายควายเท่านั้นแหละ ควายตัวหนึ่งก็มองหน้ากล้องเลย เลยถูก แซว โอ้... นีค่ นกับควาย? มอเตอร์ไซค์รุ่นใหม่คันนี้แรงดีและ ช่างรวดเร็วเสียเหลือเกิน เลี้ยวเลาะเที่ยวไล่ แซงรถคั น ต่ า งๆ อย่ า งทิ้ ง ฝุ่ น เว้ น แต่ ร ถ บรรทุกที่ไม่ขอยุ่งด้วย บนท้องถนนที่แม้จะ ห่างจากตัวเมือง แต่ก็ยังจะมีรถเก๋งวิ่งผ่าน บ้าง เด็กๆ ใช้จักรยาน เด็กโตจริงๆ และ ผู้ใหญ่จะขี่มอเตอร์ไซค์ (ถ้ามีเงินซื้อ) ทำให้ คำว่าเด็กซิ่งกลายเป็นคำแปลกประหลาดไป

1

มีเด็กผู้ชายบางคนที่ขี่เร็ว แต่ไม่เข้าข่ายนัก บิด อาจจะเป็นเพราะในหมู่บ้านมีมอเตอร์ไซค์ ไม่มากและไม่มปี มั๊ น้ำมัน ก่ อ นกลั บ เข้ า บ้ า น ได้ แ วะในซอย ใกล้บ้าน ซึ่งมีบ้านเพียงไม่กี่หลัง พื้นที่ส่วน ใหญ่เป็นทุง่ ข้าวสาลี เมือ่ เดินเลาะเข้าไปตาม ซอยที่คดโค้งก็พบว่าเป็นบ้านของเครือญาติ ทั้งนั้น บริเวณหน้าบ้านเป็นลานกว้าง มี ต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงายามแดดร้อน มีกอง ฟางกองใหญ่ ส ำหรั บ วั ว สี่ ตั ว ตั ว บ้ า นเป็ น บ้านชัน้ เดียว ต้องเดินฝ่าฝูงวัวเข้าไป ขณะนี้ แม่กบั บุตรกำลังรีดนมวัวอยูอ่ ย่างขะมักเขม้น ได้นมสดๆ จากเต้า รีดนมวัวเป็นกิจวัตรเช้า ประจำวัน เวลาผ่านไปประมาณชั่วโมงก็พากัน กลั บ เข้ า บ้ า น ก่ อ นจะไปเยี่ ย มชมสถานที่ ต่างๆ

1. คุณแม่ครูแจ็คกีก้ ำลังชงชาสำหรับมือ้ เช้า


เปรม ปราณ ปัญจาบ

215


216

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4

1. 2. 3. 4.

แม่บา้ นกำลังรีดนมวัวในตอนเช้า ได้ดมื่ นมวัวสดๆ นวดแป้งทำโรตี ปิง้ โรตีดว้ ยความร้อนจากเชือ้ เพลิงมูลวัว คุณแม่ของครูแจ็คกีโ้ ชว์วธิ กี ารชงชา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

217

สถานศึกษา ศาสนสถาน แดดตอนสายๆ กำลังเริ่มร้อนแรง ขึ้น และการตะลอนไปตามแห่งที่ต่างๆ ก็ กำลังจะเริ่มขึ้นเช่นกัน แผนทัวร์หมู่บ้านใน ภาคเช้ามีอยูส่ กั 3 เรือ่ งหลักๆ คือ ดูสภาพ ทั่วไปของหมู่บ้าน เยี่ยมชมโรงเรียน และ เยี่ยมชมคุรุดวารา คนพาไปคือคุณโกปี ซึ่ง ไม่ได้พาไปแบบเรียงตามลำดับ เน้นความ สะดวกของคนนำทางเป็นหลัก ก่อนออกจากบ้าน ถูกเรียกร้องจาก คนรอบข้างว่าให้แปลงโฉมเสียก่อน คุณโกปี วิ่งหาผ้าสีส้มมาจัดแจงโพกศีรษะจนเรียบร้อย กลายเป็นหนุม่ ปัญจาบีไปเสียแล้ว สถานที่ ที่ ใ กล้ บ้ า นมากที่ สุ ด ก็ คื อ โรงเรียนประถม ตั้งอยู่ตรงข้ามกับบ้านครู แจ็คกี้นี่เอง มองเห็นอยู่ในระยะใกล้ๆ ตา แต่ถนนอ้อมทุ่งข้าวสาลี ทำให้ต้องเดินไกล กว่าทีต่ าเห็น

โรงเรียนขนาดเล็ก มีอาคารใหญ่ เพียงหลังเดียวชัน้ เดียว ก่ออิฐถือปูนซึง่ สร้าง ยั ง ไม่ เ สร็ จ แต่ ใ ช้ ก ารได้ แ ล้ ว อาคารและ โรงเรี ย นล้ อ มรอบไปด้ ว ยทุ่ ง ข้ า วสาลี โรงเรียนไม่มีรั้วกั้น ทั่วทุกทิศเป็นทุ่ง แล้ว เจาะที่ ว่ า งตรงกลางเป็ น โรงเรี ย น เด็ ก นั ก เรี ย นจะเดิ น ลั ด ทุ่ ง ตามถนนดิ น เข้ า โรงเรียน การนั่งเรียนท่ามกลางฤดูกาลเก็บ เกีย่ วนี้ เด็กๆ ได้เห็นชีวติ ชาวนาไปด้วย และ หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะรับกลิ่นไอดินหรือกลิ่น ฟาง (หากเรียนไม่รู้เรื่องก็ออกไปเกี่ยวข้าวดี กว่า?) ดูป้ายโรงเรียน เป็นภาษาปัญจาบี บอกว่า เป็ นสถานศึ กษาเอกชน สนั บสนุน โดยมูลนิธิแห่งหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นโรงเรียน ประถมขนาดเล็ ก ก็ ต าม แต่ ชื่ อ โรงเรี ย นดู ใหญ่โตมาก พวกเขาใช้คำว่า “สถาบันวิชา


218

เปรม ปราณ ปัญจาบ

การ” ไม่ใช้คำว่า “โรงเรียน” จึงทำให้ ดูหรูไม่เบาเลย ในโรงเรี ย นมี เ ด็ ก นั ก เรี ย น ประมาณ 30 คน มี ค รู น้ อ ยและครู ใหญ่ ร วม 3 คน ครู ใ หญ่ เ ป็ น ผู้ ช าย ส่วนครูนอ้ ยเป็นผูห้ ญิง ครู แ บ่ ง เด็ ก นั ก เรี ย นออกเป็ น กลุม่ ย่อย โดยทีก่ ลุม่ หนึง่ นัง่ ในห้อง อีก กลุ่มหนึ่งนั่งนอกห้องที่ระเบียง ครูใหญ่ อวดว่าเพิ่งจะได้รับคอมพิวเตอร์ใหม่มา หมาดๆ สำหรับการทำงาน แต่จริงๆ แล้วยังไม่ค่อยจะได้ใช้ เพราะเกิดไฟตก ไฟดับอยูบ่ อ่ ยครัง้ เด็ ก นั ก เรี ย นชายหญิ ง แต่ ง ตั ว กันน่ารักดี เครื่องแบบนักเรียนเป็นเสื้อ สีขาว กระโปรงหรือกางเกงสีนำ้ เงิน มี ทั้งขาสั้นและขายาว และผูกเน็คไทลาย สีนำ้ เงินขาวทัง้ ชายหญิง แต่เห็นบางคน ก็ไม่ผูก เลยไม่แน่ใจว่าจะอย่างไร ครู อาจจะไม่เข้มงวด แต่โดยรวมแล้วแต่ง กายกันเรียบร้อย เด็กบางคนขี้อายมาก ขอถ่ายรูปหน่อยก็เขินมากๆ จนครูแซว ว่า... ยิม้ หน่อย จากนั้ น พวกเราไปเยี่ ย มชม คุรุดวารา เพราะรับปากกับศาสนจารย์

ว่าจะไปพบท่านในวันนี ้ พอถึ ง คุ รุ ด วาราแล้ ว ต้ อ งเริ่ ม ต้นด้วยการทำความสะอาดมือเท้าและ ล้างหน้า น้ำเย็นจากใต้ดินทำให้พวกเรา รู้สึกดีขึ้น พอท่านศาสนจารย์เห็นว่ามา กันแล้วก็ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น แม้ จะพูดคุยกันคนละภาษา แต่กส็ ามารถรับ รู้ได้จากความรู้สึก พวกเราขอขึ้นไปยัง ชัน้ 3 เป็นหอกระจายเสียง ต้องการชม วิวของหมูบ่ า้ น ท่านก็หากุญแจมาให้และ พาขึน้ ไป ชั้นแรกเป็นโถงกว้างสำหรับการ ปฏิ บั ติ ศ าสนากิ จ ชั้ น สองเป็ น ห้ อ งเก็ บ ของ ทราบว่าถ้ามีงานกิจกรรมก็นำลงมา ใช้ มีนกพิราบมากเข้ามาทำรังอยูต่ ามมุม ห้ อ ง ตอนที่ เ ปิ ด ประตู จ ะขึ้ น ไปข้ า งบน ต่างฝ่ายต่างตกใจ พวกนกพิราบกระพือ ปีกบินหนีกนั จ้าระหวัน่ เดินข้างบนนีต้ อ้ ง ระวังมูลนก (ส่วนเดินบนถนนต้องระวัง มูลวัว) ข้างบนนี้ถือว่าเป็นจุดสูงสุดแล้ว ที่ จ ะสามารถชมวิ ว ทิ ว ทั ศ น์ นอกเหนื อ คุรดุ วาราแล้วก็ไม่ทอี่ นื่ เมื่อมองทิวทัศน์โดยรอบ จาก ระยะสายตาที่มองเห็นออกไปไกล ทำให้


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เห็ น ลั ก ษณะหมู่ บ้ า นได้ ชั ด มากขึ้ น หมู่บ้านประกอบไปด้วยหลายโซนหลาย กลุ่ ม พื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พื้ น ที่ ท างการ เกษตร ในตอนนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการ เพาะปลูกข้าวสาลี บางส่วนก็เก็บเกีย่ วไป แล้ว เลยกลายเป็นพื้นที่โล่งๆ สลับกับ บางพื้นที่ที่ยังไม่ได้เกี่ยว คงปลูกในระยะ เวลาทีไ่ ล่เรีย่ กัน ยังเห็นพืน้ ทีอ่ กี ส่วนหนึง่ เป็นสีเขียว จะปลูกต้นอะไรต้องตามไปดู ในชัว่ โมงอืน่ ลักษณะหมู่บ้านคล้ายกับชนบท ไทยหลายประการ เป็นลักษณะไข่ดาวที่ มีบา้ นอยูต่ รงกลาง และล้อมรอบด้วยทุง่ นา หมู่บ้านมีต้นไม้ขนาดใหญ่ๆ ไม่มาก นัก ต้นไม้สงู ก็เพียงระดับหลังคาบ้าน ใช้ เป็นร่มเงา สอบถามจากเครือญาติก็พบ ว่า ต้นไม้เหล่านี้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ได้พชื ทีป่ ลูกไว้เก็บกิน คุ รุ ด วาราตั้ ง อยู่ ร อบนอกของ หมู่ บ้ า นซึ่ ง เป็ น ด้ า นทางเข้ า หมู่ บ้ า น ทำเลดี ที เ ดี ย ว เดิ น ทางผ่ า นก็ ต้ อ งเห็ น

ศาสนสถานเป็นหลัก จากชมวิ ว ก็ ก ลั บ ลงมายั ง ชั้ น ล่าง ท่านศาสนจารย์ถามว่าถ่ายรูปท่าน หน่อยได้ไหม รู้สึกว่าท่านจะชอบการ ถ่ายรูปมากทีเดียว จึงเรียนท่านว่าจะ อัดรูปจากเมืองไทยส่งมาให้ในภายหลัง แต่ตอ้ งรอ... คุณโกปีชว่ ยจัดมุมให้ บอก ให้ท่านทำท่าต่างๆ หยิบสิ่งของสำคัญ มาให้ถือประกอบหลากหลายชิ้น ได้แก่ หอกโลหะ พู่ ไ ล่ แ มลง และขนเครื่ อ ง ดนตรีทเี่ อามาวางให้ดู ซึง่ มี 3 ชิน้ คือ หีบเพลง ตับล่าหรือกลองคู่ และจิมตา เครือ่ งดนตรี จิมตา (บางแห่ง เรียก ชิมพ์ถะ) ทำด้วยโลหะ มีลกั ษณะ ยาวราวกว่ า หนึ่ ง ศอก เป็ น เครื่ อ ง ดนตรี ที่ มี รู ป ร่ า งลั ก ษณะเช่ น เดี ย วกั บ เหล็กคีบไฟ จิมตาคล้ายกับชุดฉิ่ง นัก ดนตรีจะถือโดยจับหัวจับท้ายแล้วเขย่า ประกอบเพลง ผมลองยกจิ ม ตาดู ก็ ไ ด้ รู้ ว่ า มี น้ำหนักมาก แค่ยกถืออย่างเดียวก็พอ

เครือ่ งดนตรี “จิมตา” (Chimta), ภ.ปัญจาบี :

219


220

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

2 3 4

1. 2. 3. 4.

ห้องโถงของคุรดุ วารา สำหรับการปฏิบตั ศิ าสนกิจ ท่านศาสนจารย์สาธิตการเล่นหีบเพลง จิมตา เครือ่ งดนตรีพนื้ บ้านปัญจาบ ด้านหน้าทางเข้าคุรดุ วาราประจำหมูบ่ า้ น


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ทำเนา นึกถึงคนที่เล่นดนตรีชนิดนี้ว่าจะ ต้องมีร่างกายที่แข็งแรงโดยเฉพาะแขน และมื อ เพราะต้ อ งถื อ และต้ อ งเล่ น เข้ า จังหวะได้นานครั้งละชั่วโมง แค่ผมถือไว้ แป๊บเดียวก็ตอ้ งวางลง ขอยอมแพ้ พอออกมาด้านนอก มีต้นไม้ต้น ใหญ่และเก่าแก่ ต้องเอาเสาเหล็กมาช่วย ค้ำ ถัดจากต้นไม้เป็นสระน้ำ คล้ายสระ ว่ายน้ำขนาดเล็ก ทำให้นึกถึงต้นไม้และ สระน้ำที่สุวรรณวิหาร ส่วนคุรุดวาราใน หมู่บ้านจัดวางองค์ประกอบเช่นเดียวกับ สุวรรณวิหาร เจ้าหน้าที่เปิดห้องครัวและห้อง เสบียงให้ดู ซึ่งเก็บเครื่องครัวและเครื่อง เทศ กระสอบบรรจุธญ ั พืชเจอหนูกดั ต้อง แก้ไขด้วยการเอาเครือ่ งเทศใส่ในปีบ๊ แทน จากนั้นก็กลับไปพักเที่ยงที่บ้าน หามุ ม เหมาะๆ พั ก เอาแรง ฟั ง เพลง เพราะๆ ก่อนมือ้ เทีย่ ง คุณแม่ครูแจ็คกีช้ ง ชามาให้ พ ร้ อ มขนมปั ง (ที่ นี่ ไ ม่ มี ช าเย็ น แบบเมืองไทยเรา) อาหารมือ้ เทีย่ งเป็นไปอย่างง่ายๆ เสร็จแล้วพวกเราก็เยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก เดินไปนิดเดียว เพราะยังอยูใ่ นรัศมีที่

ใกล้บา้ น ศูนย์เด็กเล็กตั้งอยู่ริมถนน อาคาร ชั้นเดียว หน้าศูนย์เด็กเล็กมีต้นไม้ใหญ่ให้ ร่มเงาดีมาก เด็กเล็กนั่งกันที่ระเบียงหน้า ห้ อ งใต้ ต้ น ไม้ พ อดี เมื่ อ เดิ น เข้ า ไปก็ ร้ อ ง ว้าว... เลย คุณแม่คุณโกปีนี่เองที่เป็นครู ดูแลเด็กเล็ก แล้วก็ไม่บอกกันเลย พวกเรา จึ ง เป็ น คนกั น เองไปเลย คณะครู เ ป็ น ผู้ หญิง มีสามคน ดูแลเด็กประมาณ 20 คน เด็กแต่งตัวอิสระ ไม่บงั คับเครือ่ งแต่ง กาย เด็กๆ ค่อนข้างจะเรียบร้อยและมี มารยาทดี สุ ข ภาพร่ า งกายแข็ ง แรง สมบูรณ์กนั ถ้วนหน้า สภาพของศู น ย์ เ ด็ ก เล็ ก มี ค วาม สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย มีลาน เล็กๆ ให้เด็กได้เล่นเกมหรือทำกิจกรรมใต้ ร่มเงาไม้ใหญ่ แต่ตรงบริเวณนีม้ ขี อ้ เสียอยู่ อย่างหนึง่ นัน่ ก็คอื มีแมลงวันมาก ชอบบิน มาตอมอยู่เรื่อย ต้องคอยปัดไล่ด้วยความ รำคาญ เพราะตรงข้ามศูนย์เด็กเล็กเป็นที่ ตากเชือ้ เพลิงมูลวัวของชาวบ้าน ผมคิดว่า นีเ่ ป็นความไม่เคยชินของผมมากกว่า กิจกรรมยามบ่าย ครูให้เด็กเล็ก นัง่ ม้ายาวบนพืน้ ดิน แบ่งออกเป็นสองแถว

221


222

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

เด็กนักเรียนในโรงเรียน แต่งกายกันเรียบร้อยดี ครูใหญ่กบั เด็กนักเรียน ในอาคารเรียนใหม่ ครูพเี่ ลีย้ งกับเด็กเล็กในศูนย์เด็กเล็กประจำหมูบ่ า้ น เด็กเล็กนัง่ รอดืม่ นมวัวร้อนๆ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พอดีในจังหวะที่พวกเราเข้าไป ครูจึงหยุด กิจกรรม เพื่อจะได้พูดคุยกัน เมื่อกิจกรรม ของเด็กอยู่ด้านนอก จึงไม่ได้ขอเข้าไปดูใน อาคาร ผมเห็นเด็กบางคนก็เป็นที่คุ้นหน้า เพราะได้ พ บกั น ตั้ ง แต่ วั น แรกที่ ผ มมาถึ ง หมูบ่ า้ น

223

คุณแม่ของคุณโกปีเลีย้ งนมวัวร้อนๆ คนละแก้ว นมมีรสหวานทีเดียวและเข้มข้น ด้วยเพราะไม่ได้ผสมอะไรมาก เด็กๆ จะได้ ดื่ ม นมสดหลั ง มื้ อ เที่ ย งไปแล้ ว เรื่ อ งสาร อาหารคงไม่ตอ้ งพูดถึง


224

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สัญจรตอนบ่าย ในหมู่ บ้ า นมั ก มี เ รื่ อ งราวให้ ค้ น หา อย่างหลากหลาย และระหว่างทางมักจะเจอ เรื่องที่น่าสนใจอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อพวกเราเดิน เลาะเข้าหมู่บ้าน ไปตามซอกซอย ก็บังเอิญ ได้พบผู้สูงวัยคนหนึ่งเดินออกมาจากห้องๆ หนึง่ จึงสงสัยว่าทีน่ คี่ อื สถานทีอ่ ะไร ห้องเล็กๆ ซ่อนตัวอยู่ในซอย เป็น ห้องให้บริการทางสาธารณสุขขั้นมูลฐาน มี เจ้าหน้าที่ชายหนึ่งคนนั่งทำงานอยู่ เขาดีใจ ทีพ่ วกเราแวะมาคุยด้วยและสนใจการทำงาน ของเขา เมือ่ สอบถามข้อมูล ก็ได้รบั คำตอบ ว่า เขาไม่ได้เป็นหมอแต่อย่างใด แต่ได้รับ การฝึ ก อบรมในเบื้ อ งต้ น คล้ า ยกั บ อาสา สมั ค รสาธารณสุ ข แบบของไทยเรา มี ใ บ รับรองจากโรงพยาบาลซึ่งแสดงให้เห็นบน ผนัง หน้าที่หลักคือดูแลรักษาพยาบาล

เฉพาะการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น เป็นไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นแผล พอ สอบถามว่าใครป่วยบ่อยที่สุด เขาบอกว่า ส่วนใหญ่เป็นเด็กกับผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะเจ็บ ป่วยตามวัย ผู้ป่วยที่เป็นโรคยากๆ หรือมี อาการหนักก็จะให้ไปโรงพยาบาลในตัวเมือง โดยเขาจะแนะนำให้ ผมคิดว่าอย่างนี้ก็เป็น ข้ อ ดี ข องระบบการสาธารณสุ ข ในหมู่ บ้ า น อินเดีย อย่างน้อยช่วยให้การเจ็บป่วยทั่วไป ไม่ ต้ อ งไปแออั ด กั น ที่ โ รงพยาบาลและชาว บ้านไม่เสียเงินเสียเวลาเดินทางเข้าเมือง ด้านสถานที่ คิดว่าห้องนี้คับแคบ เกินไป เขาเองยอมรับว่าก็เป็นอย่างนี้แหละ ซึง่ เขาทำงานได้ลำบาก จำพวกยาที่เก็บเอาไว้ตามชั้นก็เจอ หนูกัดกล่องหรือถุงพลาสติกจนทำให้ยาดีๆ เสียหายไปส่วนหนึ่ง (หนูไม่ได้กินยา แต่กัด


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ถุงขาด ทำให้ยาเสีย) ตอนนี้แก้ไขด้วย การเอายาใส่กล่องเหล็ก แต่บางครั้งเขา เองไม่ได้ระมัดระวัง เขาชี้ให้ดูที่ด้านหลัง ของห้ อ งซึ่ ง เป็ น ห้ อ งเก็ บ ยา เห็ น มี ช่ อ ง ด้ า นบนซึ่ ง หนู เ ข้ า มาได้ พบปั ญ หานี้ เหมือนที่คุรุดวาราเช่นกัน นอกจากนี้เขา เองยังอยากจะได้เตียงนอนสำหรับให้ผู้ ป่วยนอนพัก จากห้ อ งบริ ก ารสาธารณสุ ข พวกเราพากันไปหลบแดดในสวนครัว ซึง่ เป็นเป้าหมายหลักของการสำรวจหมูบ่ า้ น ในภาคบ่ายของวันนี้ ผมพบเจ้าของสวน คนขยั น และใจดี พวกเรานั่ ง คุ ย ในสวน เป็นสวนครัวขนาดเล็กๆ แต่กลับมีพืชผัก มากจำนวน ภายในพื้ น ที่ สี่ เ หลี่ ย มล้ อ ม รอบด้วยกำแพงอิฐ บ้านกับสวนอยู่กัน คนละที่ เจ้าของสวนครัวเป็นพี่น้องสอง คน พวกเขาขยันขันแข็ง ช่วยกันปลูกพืช ผักและแบ่งผลผลิตร่วมกัน ผักที่ปลูก ได้แก่ มะเขือ พริก โหระพา สะระแหน่ ผักกาด กระเทียม และอื่นๆ และขณะที่พวกเราไปเยี่ยมนั้น ทั้งสองกำลังทำความสะอาดกระเทียมกัน อยู่ เก็บได้หนึ่งตะกร้าใหญ่ สอบถามว่า จะเอากระเทียมไปทำอะไรบ้าง คำตอบก็ คือจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน โดยแบ่ง

เป็นกองย่อยๆ เพื่อแจกจ่ายให้เครือญาติ พอถามว่ า จะเอาไปขายที่ ต ลาดไหม ก็ หัวเราะ (จะพอขายอะไร?) พวกเขาถาม ว่าอยากได้ไหม... จะแบ่งให้ พวกเราจึง ปฏิเสธ แต่แสดงความขอบคุณในน้ำใจที่ มอบให้ หมู่บ้ านในปัญจาบ น้ ำบาดาล ไหลแรงมาก พวกเขาสูบน้ำบาดาลขึ้นมา รดผั ก สวนครั ว ตอนนี้ ก ำลั ง ทำความ สะอาดกระเทียมที่เพิ่งถอนมาจากแปลง พบเห็นการใช้นำ้ ในฤดูกาลเก็บเกีย่ วหลาย แห่งแล้ว ทำให้เห็นได้ว่าหมู่บ้านยังคงมี ความอุดมสมบูรณ์อยูม่ าก สามารถใช้นำ้ ได้อย่างเต็มที่แม้ในหน้าแล้ง ขณะที่พวก เขาได้กระเทียมสดๆ แปลงเดิมก็จัดแจง ปรับดินใหม่เพื่อเตรียมปลูกผักชนิดอื่นต่อ ปลู ก พื ช หมุ น เวี ย นและปลู ก หลายอย่ า ง ช่างเข้าท่าดีเสียกระไร ปลูกในสิ่งที่กิน และกิ น ในสิ่ ง ที่ ป ลู ก เป็ น ครอบครั ว เศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าบ้านกับสวนจะอยู่กันคนละ ที่ และพวกเขาก็ ยุ่ ง อยู่ กั บ งานสวนครั ว ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ละเลยที่จะหาน้ำชามา ต้อนรับตามธรรมเนียม พวกเราจึงจิบดืม่ ชากลางสวนผัก ขณะเดียวกัน พวกเขา ขนฟางข้าว (ข้าวสาลี) เอามาแช่นำ้ ในถัง

225


226

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พวกเขาอธิบายว่าฟางข้าวแช่น้ำให้เปียก เมื่ อ อ่ อ นตั ว ลงแล้ ว จะทำเป็ น เชื อ กฟาง เอาไปมัดรวงข้าวสาลีที่เพิ่งเกี่ยวและตาก แดดไว้กลางทุ่ง ว่าแล้วก็เอาตัวอย่างมา ให้ดู นี่เป็นการนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ มาใช้ได้อย่างคุ้มค่าทีเดียว พวกเขาแทบ จะไม่ต้องซื้ออะไรในขั้นตอนการการทำ นาและปลูกผัก ชายสองคนพี่น้องต่างฝ่ายต่างมี ลูกน้อย เด็กกำลังน่ารักและซุกซนตามวัย แต่ พ อเจอคนแปลกหน้ า เท่ า นั้ น แหละ กลับนิ่งเงียบและไม่กระดุกกระดิก ผู้เป็น บิดาไม่รจู้ ะทำอย่างไร เลยจำต้องทิง้ งาน เอาไว้กอ่ น หันมาอุม้ ลูกแทน ดูแล้วก็รสู้ กึ ว่าพวกเขาช่างเป็นครอบครัวที่อบอุ่นดี เหลือเกิน พ่อแม่มีเวลาดูแลลูก มีเวลา อบรมสั่งสอน พอปรับอารมณ์ให้ลูกน้อย ได้แล้ว เด็กก็กลับมาเล่นกับสิ่งรอบกาย เหมือนเดิม ตอนนีค้ นแปลกหน้ายังยืนอยู่ ก็ไม่กลัวแล้ว จากบ้ า นสวน พวกเราก็ ก ลั บ บ้านกัน สักครู่ เสียงเพลงปัญจาบีก็ดัง ขึน้ เป็นเพลงจากทีวสี ถานีทอ้ งถิน่ คล้าย กับสถานีลูกทุ่งเมืองไทยเรา เพลงแนว ปัญจาบีมีจังหวะต่างไปจากเพลงของชาว อื่นๆ เพราะมีเครื่องดนตรีและลีลาการ

บรรเลงเพลงทีม่ เี อกลักษณ์เฉพาะตัว ฟังเพลงเย็นๆ แล้ว ก็มคี นยกน้ำ เย็ น จากตู้ เ ย็ น มาให้ บ้ า นทั่ ว ไปนิ ย มนำ ขวดน้ ำ อั ด ลมซึ่ ง เป็ น ขวดพลาสติ ก มา ใช้ใส่น้ำแช่ตู้เย็น ผมจิบน้ำเย็นและนั่งดู หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาษาปัญจาบี เปิดดู เล่นๆ เพราะอ่านไม่ออก เผือ่ จะมีอะไรน่า สนใจ และแล้วก็เจอะเจอภาพเล็กๆ ที่ คุ้นตาเข้าจนได้ เป็นภาพหญิงไทยในชุด ไทย ข่าวดังกล่าวอยูใ่ นคอลัมน์เอเชีย จึง เอาข่าวนี้ไปให้ทุกคนดู มีคนแปลให้ฟังว่า เป็นงานสงกรานต์ของไทย หนังสือพิมพ์ เป็นฉบับวันที่ 15 เมษายน รูปดังกล่าว เป็นการประกวดเทพีสงกรานต์ ข่าวนี้มา ไกลถึงปัญจาบเชียว อยู่ ๆ เสี ย งมอเตอร์ ไ ซค์ ดั ง ขึ้ น หน้าบ้าน คุณราฮุลนั่นเอง วันนี้เพิ่งจะ เจอตัว แม้จะร้อนอบอ้าวแต่คณ ุ ราฮุลก็ยงั ร่ า เริ ง แจ่ ม ใสอยู่ อ ย่ า งคนมาดเข้ ม และ อยู่ ๆ ก็ บ อกว่ า จะไปงานเลี้ ย งแต่ ง งาน บอกว่าผมควรจะต้องไปด้วย มีคนแซวว่า ไปงานแต่งจะชิมอาหารอร่อยๆ เพียบเลย นะ แต่ ต้ อ งรอให้ ค รู แ จ็ ค กี้ ก ลั บ มาก่ อ น เพราะเป็นคนรูจ้ กั เจ้าภาพ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

สวนครัวเล็กๆ ของครอบครัวอยูด่ มี สี ขุ เชือกมัด ทำจากฟางข้าวสาลี ร้านขายของชำในหมูบ่ า้ น ภาพข่าวจากเทศกาลสงกรานต์เมืองไทย มาไกลถึงปัญจาบ

227


228

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พวกเราเอามอเตอร์ไซค์ไปสอง คัน แต่อยู่ๆ ก็มีปัญหาจนได้ มอเตอร์ไซค์ คันเก่งคันเก่าของครูแจ็คกี้แสดงอาการ ให้ปวดหัวขึน้ มาอีกแล้ว เลยต้องเสียเวลา ซ่อมไปนิดหน่อย แต่เจ้าของกลับบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก เรื่องซ่อมมอเตอร์ไซค์ เป็น เรือ่ งธรรมดาของครูบา้ นนอก เมื่อมอเตอร์ไซค์ซ่อมพอใช้การ ได้ก็สามารถพาไปจนถึงที่จัดงานในเวลา ที่เหมาะสม เสียงเพลงกระหึ่มดังต้อนรับ สถานทีจ่ ดั งานเป็นของรีสอร์ทของเอกชน ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายกับหอประชุมที่ เรียกว่าฮอลล์ (hall) มีนามว่า Hargur Resort จุคนได้เป็นพัน เวลาที่ชาวบ้าน ในย่านนี้มีงานเลี้ยงโดยเฉพาะงานแต่งก็ มักจะมาจัดงานที่นี่ (มีคนกระซิบเบาๆ ว่าเป็นที่กินดื่มสำหรับพวกผู้ชายบางกลุ่ม ซึง่ เปิดช่องให้เฉพาะงานรืน่ เริง) ทางเข้างานจัดเป็นซุ้มด้วยสีสัน ทีฉ่ ดู ฉาดให้สมกับทีเ่ ป็นงานแต่ง ต้องเดิน เข้ า ไปอี ก หลายร้ อ ยเมตรจากซุ้ ม ประตู ผ่านสนามหญ้า เมือ่ เข้าไปในงานปุบ๊ คน ที่รู้จักโบกมือให้มานั่งด้วยกัน เสียงดัง มากจนคุ ย กั น ไม่ รู้ เ รื่ อ ง ก่ อ นอื่ น ต้ อ ง ทำความเข้าใจว่างานเลีย้ งหรืองานรืน่ เริง

ของชาวอินเดียจะเน้นเสียงเพลงพร้อม กับการเต้นรำ แน่นอนว่าการกินและดื่ม มั ก จะมาควบคู่ กั น ดั ว ย แต่ กิ น แล้ ว เลิ ก จบงานคือจบ ไม่มไี ปต่อข้างนอก เพราะ เห็นทีจะไม่มที ใี่ ห้ไปต่อ สำหรับงานเลี้ยงของชาวปัญจาบี ก็ จ ะเน้ น เสี ย งเพลงและดนตรี ต ามแบบ ฉบับของชาวปัญจาบี พวกเรานัง่ โต๊ะแถว หลัง ไกลจากเวทีพอสมควร พวกสร้าง ความบั น เทิ ง ก็ ร้ อ งและเต้ น กั น ไปอย่ า ง สนุกสนาน คนเต้นส่วนใหญ่เป็นพวกหนุ่ม สาว แต่เสียงเพลงและการเต้นรำของ ชาวอินเดียไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่หนุ่มสาว เท่านั้น ทุกวัยจะสนุกกับการเต้นรำ ถือ ว่าเป็นศิลปะของความบันเทิงอีกอย่างหนึง่ อาหารมากมายหลายประเภท ทยอยนำมาเสิ ร์ ฟ จั ด คล้ า ยโต๊ ะ จี น มี พนักงานคอยบริการ แต่คนชอบไปตัก เองมากกว่า ผมได้แต่นั่งและกินอาหาร ตามที่ใครต่อใครเอามาให้ มีโรตีกับแกง เป็นหลัก ซึง่ ก็ไม่ได้ตา่ งอะไรจากอาหารที่ บ้ า น เพี ย งแต่ ใ นงานเลี้ ย งจะมี แ กงให้ เลือกหลายอย่าง ใครไม่กินเนื้อสัตว์ก็จะ กินแกงถั่ว ใครเบื่อถั่วก็กินไก่หรือแพะ อาหารเนือ้ สัตว์มแี ค่สองรายการคือไก่กบั


เปรม ปราณ ปัญจาบ

แพะ มีประเภทแกงกับทอด รสชาติของ แกงแพะรู้ สึ ก ว่ า คล้ า ยกั บ แกงฮั ง เลแบบ ทางเหนือของไทย มี ค นเอาสลั ด ผั ก มาให้ ชาว อินเดียเรียกว่าสลัด แต่อย่างนี้บ้านเรา เรียกว่าผักสด เพราะเอาผักสดมาหัน่ รวม กัน ส่วนใหญ่มกั จะเป็นผักห้าอย่าง คล้าย ผักห้าสี ได้แก่ หัวหอม แตงกวา แครอท มะเขือเทศ หัวไซเท้า แต่บางทีกจ็ ะมีพริก ให้ด้วย ถ้าเป็นสลัดของบ้านเราจะต้องมี น้ำสลัดด้วย แต่ของอินเดียไม่มี จะมีก็ เพียงแค่ปีบมะนาวลงในผัก สลัดของเขา กับของเราจึงแตกต่างกัน พวกเรานั่ ง มุ ม ที่ ดี ม าก ห่ า งไป นิดหน่อยเป็นพัดลมแบบไอน้ำ หมุนมา คราวใดก็ ช่ ว ยลดอุ ณ หภู มิ ค วามร้ อ นได้ พอนั่ ง อย่ า งสบายๆ แล้ ว เท้ า ก็ ข ยั บ ไป ตามจังหวะเพลง จนไปแตะใส่ขวดใต้โต๊ะ เข้าอย่างจัง ก้มดูใต้โต๊ะจึงเห็นว่ามีแต่ขวด เครื่องดื่มประเภทต่างๆ (เอาไว้ให้พวกที่ ชอบชนแก้วเข้าสังคม) เลยเข้าใจถึงการ เปิดช่องหาวิธดี มื่ แบบทีม่ คี นกระซิบบอก บนโต๊ะก็เต็มไปด้วยอาหารที่ตัก มาแล้วกินไม่หมดกัน เพราะว่าแกงที่ตัก มาวางไว้กเ็ ย็นจืดไปหมด จึงไม่อร่อย คุย

กันไปได้สกั ระยะหนึง่ ก็หนั กลับมากินกัน อีกรอบ เลยไปตักมาใหม่อีก... เป็นกัน เสียอย่างนี ้ สักพักใหญ่ มีคนเอาขนมหวาน มาให้ชมิ คือ ขนม คุหลาบจามุน หรือ ขนมลู ก บอล เป็ น ขนมอั น ขึ้ น ชื่ อ ของ อิ น เดี ย ดั้ ง เดิ ม มาจากทางเปอร์ เ ซี ย นามของขนมมี ค วามหมายว่ า น้ ำ เชื่ อ ม จากดอกกุหลาบ ดังนั้นทั้งความหมาย และความหวานไม่ต้องบรรยาย... หวาน มาก ต้องค่อยๆ กินไปทีละหน่อย ยังมี คนอุ ต ส่ า ห์ เ อามาให้ อี ก ขนมหวานที่ หวานมากๆ เป็นเรื่องปกติของอินเดีย หวานน้อยไปคงไม่สมชือ่ กับชือ่ ขนม งาน เลีย้ งต้องมีขนมคุหลาบจามุน นั่ ง นานได้ ที่ ยั ง อุ ต ส่ า ห์ มี ค น ชวนให้ออกไปเต้น เขาบอกว่าทุกคนต้อง เต้น ไม่ได้บงั คับ แต่เป็นธรรมเนียมโดย เฉพาะมางานแต่ง พอบอกไปว่าเต้นแบบ ปัญจาบีไม่เป็น เขาก็บอกว่าไม่ยากหรอก เต้นนิดๆ หน่อยๆ ก็ได้ อ้าว... เต้นก็เต้น ให้สมกับมางานแต่งชาวปัญจาบี ดูๆ ไปแล้วใครๆ ก็เต้นโดยเน้น ท่ากระโดด ชีน้ วิ้ ขึน้ ก็เห็นว่าเต้นไม่ยาก นัก เต้นเอาสนุก สักพักหนึง่ เสียงดนตรี

229


230

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ก็ ห ยุ ด ลง เป็ น อั น ว่ า งานเลี้ ย งมี น าที เลิกรา จึงได้เข้าใจว่าช่วงสองสามเพลง สุดท้ายใครยังไม่ได้เต้นก็ควรจะออกไป เต้ น ก่ อ นกลั บ ตามธรรมเนี ย ม คนทั้ ง หลายเลยต้ อ งดึ ง ให้ ผ มได้ เ ต้ น เดี๋ ย ว เอาไปคุยต่อไม่ได้ว่ามางานแต่งงานชาว ปัญจาบีของจริง งานแต่ ง เสร็ จ สั ก หกโมงเย็ น พวกเราอยู่ในงานเพียงชั่วโมงเดียว ต่อ มาเพื่ อ นของครู แ จ็ ค กี้ ค นหนึ่ ง เป็ น เจ้ า ของฟาร์มผึ้งและเป็นพ่อค้า เชิญชวน พวกเราไปชมสวนผึง้ และบ้าน พอไปถึงสวนผึง้ แล้ว คุณลุงคน หนึ่งเข้าไปเปิดตู้แล้วหยิบรังผึ้งมาให้ดู จากทั้งหมดที่มีอยู่ราวร้อยตู้ เขาไม่ใช้ เครื่องป้องกันอะไรเลย แต่พวกเราต้อง ใส่ผา้ คลุม เจ้าของฟาร์มบอกว่าผึง้ จะกิน น้ำหวานจากเกสรผลไม้ รังผึ้งที่เอามา

ให้ดูนี้มีผึ้งกำลังทำรังจนเกือบจะเต็มแผง ผมบอกว่ า วิ ธี ก ารเลี้ ย งผึ้ ง เหมื อ นเมื อ ง ไทย น้ำผึง้ ทีไ่ ด้แต่ละครัง้ จะส่งไปรวม กับกลุม่ คล้ายกับชมรมผูเ้ ลีย้ งผึง้ น้ำผึง้ จะส่ ง ไปขายยั ง ต่ า งประเทศเป็ น หลั ก ส่วนใหญ่สง่ ไปทางยุโรป ประเทศทีส่ ง่ ไป เป็นประจำคืออังกฤษ เมื่ อ คุ ย กั น เรื่ อ งน้ ำ ผึ้ ง ฉะไหน เลยที่ ค นสวนผึ้ ง จะไม่ น ำน้ ำ ผึ้ ง มาให้ ชิม ก็ได้ชิมพอให้รู้ถึงความหวาน แล้วก็

ตามมาด้วยชาร้อนๆ พร้อมขนมปังตาม ธรรมเนียม รูส้ กึ ว่าเข้ากันได้ด ี จากนั้ น ก็ อ อกจากสวนผึ้ ง ครู แจ็ ค กี้ พ าไปบ้ า นคนรู้ จั ก หลั ง หนึ่ ง ก่ อ น (ก่อนที่จะไปบ้านของเจ้าของสวนผึ้ง ซึ่ง อยู่ใกล้บ้านของพวกเรา) เป็นบ้านหลัง เล็ ก ชั้ น เดี ย วทาสี ข าวทั้ ง หลั ง สร้ า ง กำแพงสูงป้องกันเสียงและฝุ่นจากถนน

ขนม “คุหลาบจามุน” (Gulab Jamun), , ภ.ฮินดี : ภ.ปัญจาบี : ผึง้ เรียกว่า “มัคคี”่ (makhi), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี : น้ำผึง้ เรียกว่า “ชแฮด” (sahid), ภ.ปัญจาบี : , ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พืน้ ทีไ่ ม่กว้างใหญ่แต่จดั ได้ลงตัว ยังมีพนื้ ที่เล็กๆ สำหรับเด็กได้เล่นสนุกๆ ครอบครัวอยูก่ นั สีค่ น เจ้ า ของบ้ า นเคยรั บ ราชการ ทหารมาก่อน ดูได้จากภาพถ่ายที่มีอยู่ เขาบอกว่าถ่ายในตอนที่ไปประจำการอยู่ กัศมีร์ (คนไทยรู้จักในนาม แคชเมียร์) และอยูน่ านกว่า 20 ปี ตอนสมัยทีเ่ ป็น หนุ่ ม ๆ ผมสนใจเรื่ อ งราวของเขาพอ สมควร จึ ง ขอสอบถามเกี่ ย วกั บ ความ รุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ในกัศมีร์ เขาบอกว่าไม่มี อะไร ใครๆ ก็ไปเที่ยวได้ ผมถามต่อว่า ในตอนทีเ่ ขาอยูท่ นี่ นั้ ไม่มอี ะไร... แล้วตอน นี้ ล่ ะ เขายื น ยั น ว่ า ทุ ก วั น นี้ ก็ ไ ม่ มี อ ะไร ตอนทีเ่ ขาประจำการอยูน่ นั้ สามารถเดิน ไปทั่วทุกที่ ตอนนี้เขาทราบความเคลื่อน ไหวอยู่เนื่องๆ มีญาติมิตรและเครือข่าย แวะเวียนไปมาเป็นระยะๆ เพราะเมือง อมฤตสาร์อยูไ่ ม่ไกลจากกัศมีร ์ ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ได้ ยิ น ข่ า วเกี่ ย ว กับเหตุการณ์ไม่ปกติอยู่เสมอ นักท่อง เที่ ย วชาวต่ า งชาติ อ ยากไปสั ม ผั ส วิ ว ทิวทัศน์ที่สวยงาม แต่ไม่กล้าไปเพราะ กลัวอันตราย เขาก็ส่ายหน้าคล้ายกับจะ บอกว่ า ประสบการณ์ ข องเขาที่ ผ่ า นมา

ต่างจากสิ่งที่ผมรับรู้จากสื่อ ข่าวคราว ตามหน้ า หนั ง สื อ พิ ม พ์ ดู แ ล้ ว ทำให้ ค น หวาดกลัวกัน แต่สำหรับเรื่องนี้ อดีต นายทหารผู้เคยประจำที่กัศมีร์ไม่ใช่เป็น คนแรกที่กล่าวออกมาในทำนองนี้ ชาว อินเดียอีกหลายคน แต่ละคนเคยอยู่ที่ นัน้ หรือทำงานอยูท่ นี่ นั้ ต่างพูดในทำนอง เดียวกัน นั่งคุยได้พักใหญ่ ตอนนี้เย็นย่ำ แล้ว ยังต้องไปบ้านเจ้าของสวนผึ้งตาม คำเชิญ ซึง่ บ้านหลังนีอ้ ยูใ่ กล้กบั บ้านของ ครูแจ็คกี้ (คนละซอย) บ้านของเขาหลัง ใหญ่ทีเดียว ในหมู่บ้านมีบ้านหลังใหญ่ เพี ย งไม่ กี่ ห ลั ง ตกแต่ ง สวยงามผสม ระหว่างความเป็นอินเดียกับยุโรป อาณาบริ เ วณของบ้ า นกว้ า ง ขวางมาก แยกพื้นที่ระหว่างห้องต่างๆ ชั ด เจน ห้ อ งน้ ำ เน้ น ความเป็ น ส่ ว นตั ว มาก เป็นห้องน้ำในห้องนอน ใช้สุขภัณฑ์ ยี่ห้อตะวันตก หากบ้านใดที่ทำห้องน้ำ แบบตะวันตก ก็จะไม่ใช้วิธีโยกน้ำด้วย กำลั ง แขนแล้ ว หั น มาใช้ เ ครื่ อ งสู บ น้ ำ แทน ตั้งแท็งก์น้ำไว้บนชั้นดาดฟ้า พอ กล่าวถึงเรื่องแท็งก์น้ำแล้ว ก็อดจะบอก ไม่ได้วา่ ทีอ่ นิ เดียมีแท็งก์นำ้ ให้เลือกหลาย

231


232

เปรม ปราณ ปัญจาบ

รู ป ทรง แท็ ง ก์ น้ ำ รู ป ลู ก บอล รู ป หมี และรูปอืน่ ๆ พวกเรานั่งคุยกันที่ห้องรับแขก (บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกด้วย) แต่แขก เป็นคนไทย มองดูรอบๆ แล้วก็ได้เห็นถึง ฐานะของพ่อค้าน้ำผึ้ง โซฟาสวยๆ เข้า กับผ้าม่านลายคลาสสิค ซึง่ ต่างจากบ้าน ของชาวบ้านทั่วไป อันที่จริงยังมีบ้าน หลังใหญ่มากๆ อีกหลังหนึง่ ในหมูบ่ า้ นนี้ แต่ไม่มโี อกาสได้แวะชม เดินชมบ้านเพียงบางส่วน เท่า ที่ ไ ด้ สั ม ผั ส เขาแบ่ ง บ้ า นออกเป็ น สอง ส่วนอย่างชัดเจน ส่วนหนึง่ เป็นส่วนของ ครอบครัวของเขาเอง เพราะเขาเป็นคน รุ่นใหม่ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ค่อน ข้างจะทันสมัย แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นของ คุณยาย (แม่เจ้าของบ้าน) ยังเน้นความ

เป็ น อิ น เดี ย มากกว่ า สอบถามดู จึ ง ทราบ ความว่าคุณยายยังคุ้นเคยอยู่กับวิถีชีวิตแบบ เดิม ไม่ต้องการจะเปลี่ยนอะไรมาก บ้าน หลังเดียวจึงกลายเป็นโลกสองส่วนเพราะมี คนสองยุค (สามรุน่ ) อาศัยอยูร่ ว่ มกัน คุณยายผูใ้ จดีอตุ ส่าห์ยกน้ำหวานมา ให้พวกเราดื่ม ความหวานและความสดของ น้ำดอกไม้ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้น มากอย่างไม่น่าเชื่อ น้ำหวานที่ดื่มนี้เป็นน้ำ ดอกไม้ ที่ทำมาจากดอกไม้สดๆ โดยไม่มี ส่วนผสมอย่างอืน่ เลย (ทำจากดอกไม้ลว้ นๆ) สีชมพูอ่อนหวานเป็นเสน่ห์จากดอกไม้... มัด ตรึงใจผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี กลิ่นหอมชวนให้ ดื่ม และนี่ก็เป็นเสน่ห์และเป็นฝีมือของแม่ บ้านแบบฉบับคุณยาย ซึ่งเป็นเคล็ดลับของ ผูห้ ญิงอินเดียทีน่ า่ สนใจ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 3

2 4

1. 2. 3. 4.

ซุม้ ทางเข้างานเลีย้ งแต่งงานของชาวอินเดีย (ทัว่ ไป) รีสอร์ท “Hagur Resort” เป็นอาคารจัดงานเลีย้ งแต่งงาน ฟาร์มผึง้ ในสวนมะม่วง น้ำผึง้ ส่งไปขายยังอังกฤษ ผูช้ ำนาญการเลีย้ งผึง้ (ไม่ตอ้ งใช้เครือ่ งมือป้องกันเลย)

233


234

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ราตรีใต้แสงดาว พอพระอาทิตย์ค่อยๆ คล้อยต่ำลง จนลาจากขอบฟ้าแล้ว พวกเราก็เริม่ ตกอยูใ่ น ความมืด ความเงียบและความมืดในค่ำคืนนี้ กลายเป็นสิ่งคู่กันไปโดยปริยาย ในหมู่บ้าน ชนบทของอินเดียหลายหมูบ่ า้ นมักจะเป็นเช่น นีใ้ ช่ไหม ไฟดับตั้งแต่ตอนบ่ายจนถึงค่ำ กิน เวลานานหลายชั่วโมงแล้ว ไฟดับในหมู่บ้าน ถื อ เป็ น เรื่ อ งปกติ ข องชาวบ้ า น และไฟดั บ นานหลายชั่ ว โมงก็ ยิ่ ง เป็ น เรื่ อ งธรรมดาๆ เช่นกัน ก่อนหน้านีก้ เ็ คยเจอไฟตกหรือไฟดับ บ่อยครั้ง แต่คราวนี้ได้เผชิญกับไฟดับนานๆ ... เป็นตามคำล่ำลือ พอพวกเรากลับมาถึงบ้าน มีแต่คน บอกว่าไฟดับนานแล้ว ครูแจ็คกีจ้ งึ กุลกี จุ อหา เบอร์โทรศัพท์ของการไฟฟ้าทันที แม้จะค่ำ

มืดแล้วยังก็มีเจ้าหน้าที่อยู่รับสาย พอแจ้ง เรื่องราวไป เจ้าหน้าที่บอกว่าเพิ่งจะทราบ เรื่องเพราะพวกเราโทรไปนี่เอง ไฟดับเป็น ชั่วโมงๆ ทำไมไม่มีใครโทรมาแจ้งเลย เขา รั บ ปากว่ า จะดำเนิ น การแก้ ไ ขให้ แต่ ไ ม่ ไ ด้ บอกว่ า ไฟจะมาตอนไหน พวกเราก็ ร อไป เรื่อยๆ ครูแจ็คกี้โทรศัพท์ไปสอบถามญาติๆ ทีอ่ ยูห่ มูบ่ า้ นใกล้เคียงก็ปรากฏว่าไฟดับกันทัง้ บางเลย สงสัยว่าคงจะมีเหตุขดั ข้องทีต่ น้ ทาง เสียมากกว่า เวลาหนึ่ ง ทุ่ ม แล้ ว แสงไฟจาก เทียนไขและตะเกียงเริ่มสว่างขึ้นเป็นหย่อมๆ ทัง้ หมูบ่ า้ นเงียบมาก นานๆ จึงจะได้ยนิ เสียง คนหัวเราะหรือเด็กร้องไห้ดังๆ น้องสาวครู แจ็คกี้หาเทียนไขจุดทั่วบ้าน หลายคนกังวล กับการอยู่ของผม เสียงใครคนหนึ่งบอกว่า


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ชี วิ ต ในหมู่ บ้ า นก็ อ ย่ า งนี้ แ หละ แม้ ชี วิ ต ตก อยู่ ใ ต้ ค วามมื ด ก็ จ ริ ง แต่ พ วกเรายั ง คง สนุกสนานกัน มืดก็มืดไปแค่ทางกายภาพ เพราะชีวิต ไม่ได้ตกอยู่ในความมืดมนสักกะ หน่อย ไฟดั บ ไม่ เ กี่ ย วกั บ การทำอาหาร เพราะการทำครัวแบบอินเดียพื้นบ้านพึ่งพา ไฟฟ้าน้อยมาก เพียงแต่คุณแม่ครูแจ็คกี้ทำ ช้าลง... มองไม่ค่อยเห็นถนัดตา มื้อค่ำนี้มี มิตรคนหนึ่งเสนอให้ย้ายที่นั่งสำหรับมื้อค่ำ โดยขอให้ขนึ้ ไปบนดาดฟ้า พวกเราต่างก็เห็น ด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ ขึ้นไป รับลมชมความมืดของหมู่บ้านพร้อมๆ กับ กินโรตีใต้แสงดาว ระหว่ า งที่ ร อฝ่ า ยหญิ ง ทำอาหาร กลุ่ ม พวกชายเราก็ ร วมตั ว กั น ที่ บ นดาดฟ้ า เอาเสื่อมาปูแล้วนั่งคุยกัน คนหนึ่งเปิดเพลง จากโทรศัพท์มือถือเพื่อไม่ให้เกิดความเงียบ ในความมืด ในยุคนีโ้ ทรศัพท์มอื ถือกลายเป็น สิง่ ทีใ่ ครๆ ต่างก็มกี นั ในหมูบ่ า้ นแห่งนี้ เห็น ทุกบ้านมีใช้กันจนเป็นเรื่องปกติ ในวงของ พวกเรามีกันประมาณครึ่งโหลเลยตกลงกัน ว่าขอให้แต่ละคนเปิดเพลงที่ชื่นชอบที่มีอยู ่ ในโทรศัพท์มือถือ พอถึงคิวของผมก็ไม่น้อย

235

หน้า มีเพลงภาษาฮินดีอยูห่ ลายเพลงแถมยัง เพลงใหม่ๆ เสียด้วย ตอนนี้กังวลเกี่ยวกับเรื่องแบตเตอรี่ ของกล้องถ่ายรูปที่กำลังจะหมด หากคืนนี้ ไม่ได้ชาร์ต พรุง่ เช้าจะไม่ได้ถา่ ยรูปอะไรเลย เสียงหัวเราะและเสียงพูดคุยดังลั่น อย่างไม่ต้องเกรงใจใคร ลูกหลานรอบบ้าน มารวมตัวกันที่นี่หมด เป็นคืนที่พวกเราจะ รวมกลุ่ ม กั น เพี ย งคื น เดี ย ว (วั น พรุ่ ง นี้ มี โปรแกรมมีจะไปที่อื่นต่อ) เลยทำให้จำนวน เรื่ อ งที่ จ ะคุ ย ในเวลานี้ เ ห็ น จะมี ม ากกว่ า จำนวนคนเสียอีก... แย่งกันเล่าน่าดู เมื่ อ มื้ อ เย็ น ของคุ ณ แม่ พ ร้ อ มแล้ ว ความหอมของอาหารที่ลอยมากระทบโสต ทำให้ตอ่ มน้ำย่อยขยันทำงานเป็นพิเศษ โรตี แผ่ น ใหญ่ ๆ ร้ อ นๆ ข้ า วสวยอุ่ น ๆ แกงถั่ ว หอมๆ ทยอยลงสูท่ อ้ งน้อยๆ ของแต่ละคน มื้อนี้ผ่านไปด้วยความเชื่องช้า พูด มากกว่ า กิ น เกื อ บสามทุ่ ม แล้ ว ฝ่ า ยหญิ ง หายเข้าไปในครัว คงเหลือแต่พวกผูช้ ายทีย่ งั รวมกลุ่มกันต่อ แม่ๆ ของมิตรแต่คนทยอย ตะโกนเรียกให้บตุ รกลับบ้าน เมือ่ แม่เรียกชือ่ บุตร ถ้าบุตรได้ยินแล้วมักจะขานรับไปก่อน ว่า ฮาญี! (Ha Ji!) คล้ายกับ ครับ! แต่ใช้ได้


236

เปรม ปราณ ปัญจาบ

กั บ ทั้ ง ชายหญิ ง และใช้ ไ ด้ อี ก หลายบริ บ ท เป็ น การขานเพื่ อ แสดงการรั บ รู้ มิ ต รทั้ ง หลายขานรั บ แล้ ว ทยอยกั น กลั บ บ้ า นตาม เสียงเรียกของบรรดาแม่ๆ ครู แ จ็ ค กี้ ช วนผมนอนดู ด าวบน ดาดฟ้า บนดาดฟ้าของแต่ละบ้านมักจะมี เตียงสานแบบพื้นบ้าน เอาไว้นั่งๆ นอนๆ ทั้งในตอนเช้าและค่ำ หลายคนนิยมขึ้นมา นอนบนดาดฟ้าในยามราตรีเพราะอากาศดี แต่เวลาใกล้หัวรุ่งอากาศจะเย็นลงถึงขั้นต้อง ห่มผ้า เตียงบนดาดฟ้าในยามราตรีมักจะ เป็นที่นอนของฝ่ายชายคือบิดากับบุตรมาก

กว่า อาจจะดูไม่งามนักถ้าปล่อยให้บุตรีขึ้น มานอนบนดาดฟ้า พื้นที่ลักษณะอย่างนี้มี เรือ่ งความเป็นชายหญิงเข้ามาเกีย่ วข้องด้วย สี่ทุ่มแล้ว พลังงานในตัวหายไปกับ ความเหน็ดเหนือ่ ย จึงขอไปนอนในห้องตาม เดิ ม แม้ ว่ า อยากจะนอนคุ ย กั น บนดาดฟ้ า ก็ตาม เตรียมกำลังที่จะต้องไปอีกหลายแห่ง ในวั น พรุ่ ง นี้ การรั ก ษาสุ ข ภาพเป็ น เรื่ อ ง สำคัญมาก ปล่อยให้มิตรที่แสนดีนอนดูดาว ไปจนรุง่ เช้า หมอกบางๆ แผ่ปกคลุมหมู่บ้านใน ตอนรุ่งเช้า พลอยทำให้อากาศเย็นลงเล็ก


เปรม ปราณ ปัญจาบ

237

หน้าปากซอยชัว่ โมงเช้า น้อย เช่นเดียวกับอีกหลายวันทีผ่ า่ นมา โชคดี ที่ ไ ฟมาแล้ ว มาตอนไหนก็ ไม่ ท ราบ ได้ ยิ น มี เ สี ย งพั ด ลมดั ง หึ่ ง ๆ ได้ ชาร์ตแบตเตอรี่กล้องถ่ายรูป ยังเช้าอยู่เลย ผมออกมาสูดอากาศเช้าทีห่ น้าบ้าน ชี วิ ต ชี ว าที่ ห น้ า ปากซอยเริ่ ม จาก พวกเด็กๆ ไปโรงเรียน เด็กวัยประถมมารวม กลุม่ ยืนรอรถโรงเรียนทีห่ น้าปากซอย รถคัน สีเหลืองปิดป้ายหน้ารถชัดเจนว่ารถโรงเรียน ทยอยมารับเด็กนักเรียน พวกเด็กๆ สะพาย กระเป๋ากับหิ้วปิ่นโต เด็กเล็กจะมีแม่มาส่ง ขึน้ รถ โดยยืนรอให้ลกู ขึน้ รถไปก่อน แล้วจึง จะเดินกลับบ้าน มีรถโรงเรียนจากโรงเรียน ต่ า งๆ ทยอยมารั บ เด็ ก บางคั น ก็ จ อดรถ

สักครูเ่ พราะเด็กมาขึน้ รถยังไม่ครบ ชีวิตของชาวนา บรรดาลุงๆ ป้าๆ ทยอยออกจากบ้านไปนาไปไร่ รถไถเสียงดัง แต๊กๆ ขับผ่านหน้าปากซอยไป บางคนจำ คนแปลกหน้ า อย่ า งผมได้ ก็ โ บกไม้ โ บกมื อ ทักทาย ชาวนาเพียงไม่กี่คนหรอกที่มีรถไถ เป็นสมบัติชิ้นเอก บางคนมีนาอยู่ใกล้ๆ จึง เดินถือเคียวไปนา บ้านใดมีที่บ้านกับที่สวนอยู่ห่างกัน ก็ ปั่ น จั ก รยานหรื อ ขี่ ม อเตอร์ ไ ซค์ ยามเช้ า จะพบชีวิตของคนเลี้ยงวัวซึ่งปั่นจักรยานไป เกี่ยวหญ้า ขากลับก็บรรทุกหญ้าสดๆ กอง เบ้ อ เริ่ ม กลั บ บ้ า น ถ้ า ปั่ น ไม่ ไ หวก็ จู ง กลั บ ประคองกระสอบมุ่งตรงไปหาวัว ถึงบ้าน


238

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ก็ เ อาหญ้ า ใส่ เ ครื่ อ งย่ อ ยเพื่ อ ตั ด หรื อ ย่ อ ย หญ้าให้เป็นเศษเล็กๆ เครื่องย่อยหญ้าเป็น เครื่องมือประจำบ้าน โดยไม่ต้องมาใช้มีด หัน่ หญ้าให้เสียเวลา นีจ่ งึ เป็นวิถชี วี ติ ยามเช้า ของคนทีต่ อ้ งเลีย้ งวัว ส่วนคนส่งนมก็ค่อยๆ ปั่นจักรยาน ประคองถังไปส่งนมตามบ้าน จักรยานพ่วง ถังนมได้สามถัง แขวนถังอะลูมิเนียนใหญ่ ทั้งปีกซ้ายขวา ส่วนที่นั่งท้ายก็วางถังเล็ก มัดด้วยสายรัดทีท่ ำมาจากยางในรถยนต์ เช้านี้มีแดดส่องมาเร็วกว่าเมื่อวาน ผมขึ้ น ไปบนดาดฟ้ า เห็ น แม่ บ้ า นหลาย ครอบครัวนำเอาก้อนเชื้อเพลิงมูลวัวมาตาก แดดที่บนดาดฟ้า พอสายอีกหน่อยก็เห็นแม่ บ้ า นนำผ้ า มาตาก เรี ย กได้ ว่ า ดาดฟ้ า อเนกประสงค์ เป็นพื้นที่ที่สามารถทำอะไร ได้หลายอย่าง อาหารมื้ อ เช้ า ผ่ า นไปด้ ว ยความ เรียบง่ายเช่นเดียวกับเมื่อวาน ครูแจ็คกี้ไป โรงเรียนช้า ไม่รบี เท่าเมือ่ วาน สำหรับเช้านี้ ของผมถือเป็นวันสุดท้ายในหมูบ่ า้ น ครูแจ็คกี้ วางแผนให้ไปโรงเรียนประจำหมู่บ้านซึ่งเป็น ของรัฐบาล โดยคุณโกปีเป็นหัวหน้าพาไป

ตามเดิม โรงเรียนของหนูเป็นระดับประถม ศึกษา ตั้งอยู่ในใจกลางหมู่บ้าน ทำให้พื้นที่ ของโรงเรียนมีไม่มากนัก ตัวโรงเรียนสร้าง เป็นกลุ่มอาคารขนาดเล็กต่อๆ กัน อาคาร เรี ย นชั้ น เดี ย วทาสี ข าวทั้ ง หมด อาจจะ สะท้อนความรู้สึกที่ว่าเด็กๆ มีความบริสุทธิ ์ ก็ เ ป็ น ได้ มี ด อกไม้ ต้ น ไม้ ป ลู ก ในกระถาง ประดับให้มีชีวิตชีวา มีพื้นที่โล่งเป็นพื้นดิน สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง พวกเราไปโรงเรียนกันแต่เช้า ครู ใหญ่ยังกำลังเดินทาง แต่ได้พบกับครูหนุ่ม ซึ่งเป็นเพื่อนของครูแจ็คกี้ เขาบอกว่าอยาก จะพบกั บ ผมตั้ ง แต่ เ มื่ อ วานแล้ ว เพราะครู แจ็คกี้เล่าเรื่องการมาของผมให้เขาฟัง วันนี้ รู้สึกดีใจที่ได้พบ เขาทำหน้าที่สองอย่างทั้ง สอนและเป็นฝ่ายธุรการด้วย ทางครูผู้หญิง ซึ่งเป็นฝ่ายคหกรรมได้นำน้ำอัดลมมาเลี้ยง ต้อนรับ เมือ่ มีโอกาสได้นงั่ คุยกับคณะครู จึง สอบถามเรื่ อ งโรงเรี ย นกั บ เด็ ก นั ก เรี ย น พอได้ ค วามว่ า โรงเรี ย นมี พื้ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร เฉพาะในหมู่บ้านแห่งนี้เพียงแห่งเดียวเพราะ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เด็กนักเรียนมาเรียน ไม่ครบตามจำนวนทีข่ นึ้ ทะเบียนไว้ ส่วนใหญ่ เป็นเด็กที่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองดึงเด็ก ออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อไปช่วยงานใน ไร่ในนา แต่เด็กกลุ่มนี้มีไม่มากนัก ครูทั้ง หลายก็เป็นห่วง เคยคุยกับผู้ปกครอง ทว่า ไม่เป็นผล พอสอบถามว่าโรงเรียนมีการช่วย เหลือเด็กยากจนเหล่านัน้ อย่างไร ครูอธิบาย ว่า ทางโรงเรียนช่วยเหลือหลายอย่างเพราะ เป็นโรงเรียนของรัฐบาล เช่น มีการเลี้ยง อาหารกลางวันเด็ก จะเห็นว่ามีครูผู้หญิงที่ ทำหน้าทีด่ า้ นคหกรรมและโภชนาการ เมื่อสอบถามถึงเรื่องผลการเรียน ครูยงั ดีใจทีเ่ ด็กเรียนมีผลการเรียนทีน่ า่ พอใจ เด็กบางคนก็เก่งไปแข่งขันทักษะทางวิชาการ กับกลุ่มโรงเรียนสามารถคว้ารางวัลมาได้อยู่ เรื่ อ ยๆ ครู ทั้ ง หลายก็ ภู มิ ใ จ เด็ ก บางคน สามารถสอบแข่ ง ขั น กั บ โรงเรี ย นดั ง ในตั ว เมืองได้ ผมเดินดูนิทรรศการในห้องธุรการ ปกติ มั ก จะแสดงตั ว อย่ า งสื่ อ การเรี ย นการ สอน โล่ห์รางวัลและเกียรติบัตรต่างๆ รูป

239

ถ่ายกิจกรรมต่างๆ พอครูใหญ่มาถึงแล้ว ครูใหญ่เป็น ผู้ชาย พวกเราแนะนำตัวกันเล็กน้อยพอเป็น พิธี แล้วครูใหญ่พาชมโรงเรียน เริ่มจากที่ บริเวณโรงเรียน สะอาดมาก ไม่มีเศษขยะ เลย และยังตกแต่งสถานทีไ่ ด้อย่างลงตัว ครู ใหญ่บอกว่าตัวครูใหญ่ไม่ได้ทำหรอก ต้องยก ความดี ใ ห้ กั บ ครู น้ อ ยที่ ช่ ว ยกั น พั ฒ นา โรงเรียน บริเวณโดยรอบมีรปู ภาพและเขียน ข้ อ มู ล ต่ า งๆ เช่ น แผนที่ ป ระเทศอิ น เดี ย แผนที่ ห มู่ บ้ า น ประวั ติ แ ละเรื่ อ งราวบาง อย่าง (อ่านไม่บอกจึงบอกไม่ถูก) มีตาราง ตั ว เลขบอกจำนวนประชากรของหมู่ บ้ า น รวม 2,189 คน จำนวนเด็กนักเรียนใน โรงเรี ย น 67 คน ซึ่ ง เขี ย นด้ ว ยชอร์ ค เพราะจะเปลีย่ นตัวเลขบ่อยครัง้ เรื่ อ งการศึ ก ษาของเด็ ก นั ก เรี ย น สอบถามว่าเด็กนักเรียนต้องเรียนอะไรบ้าง ครูใหญ่อธิบายว่า ด้านภาษา จะต้องเรียน 3 ภาษา โดยเรียน 2 ภาษาเป็นภาษาหลัก โรงเรี ย นในรั ฐ ปั ญ จาบจะต้ อ งสอนภาษา ปัญจาบีเป็นอันดับหนึ่ง และต้องสอนภาษา ฮินดีควบคู่ด้วย ส่วนภาษาที่ 3 คือภาษา


240

เปรม ปราณ ปัญจาบ

อั ง กฤษ ซึ่ ง ก็ เ น้ น พอๆ กั น ผมจึ ง ถามว่ า เวลาสอนหรื อ พู ด คุ ย กั น จะใช้ ภ าษาอะไร ครู ใ หญ่ ต อบแบบไม่ ต้ อ งคิ ด เลย นั่ น ก็ คื อ ภาษาปัญจาบี ส่วนด้านอื่นๆ ก็ต้องเรียน วิ ช า พื้ น ฐ า น อั น ไ ด้ แ ก่ ค ณิ ต ศ า ส ต ร์ วิทยาศาสตร์ สังคมและสิง่ แวดล้อม ห้องเรียนนับได้สหี่ อ้ ง ได้เข้าไปสอง ห้อง เด็กนักเรียนในห้องแรกมีโต๊ะเก้าอี้เป็น ของตนเอง โต๊ะชุดใหม่เอี่ยม ไม่ยอมแกะ พลาสติกที่ห่อหุ้มออกเลย (และคิดว่าคงจะ ไม่แกะออก) แต่เห็นว่าชุดโต๊ะเก้าอีย้ งั ไม่เพียง พอต่อจำนวนเด็กนักเรียน ทำให้เด็กๆ ส่วน หนึ่งต้องนั่งบนไม้กระดาน โดยนำมาต่อๆ กั น ให้ ย าว ห้ อ งนี้ มี เ ด็ ก นั ก เรี ย นประมาณ 30 คน ส่วนอีกห้องหนึ่งเป็นเด็กโต มีสิบ กว่าคน ห้องนี้ไม่มีโต๊ะ มีแต่เก้าอี้พลาสติก ตัวใหญ่ (เก้าอี้แบบเดียวกับที่ใช้ในร้านค้า) ทำให้เด็กๆ นัง่ เรียนอย่างสบายๆ ห้องเรียนตกแต่งเป็นนิทรรศการให้ ความรู้ มีลักษณะเช่นเดียวกับเมืองไทยเรา เช่น มีรูปและคำสอนพระศาสดาในศาสนา ซิ ก ข์ สู ต รคณิ ต ศาสตร์ คำศั พ ท์ ภ าษา อั ง กฤษโดยแปลภาษาอั ง กฤษเป็ น ภาษา

ปั ญ จาบี พ ร้ อ มมี รู ป ประกอบ ภาพบุ ค คล สำคัญของอินเดียและของโลก ส่วนกระดาน ดำเป็นผนังปูนทีท่ าสีดำ (ยังไม่มใี ครขีดเขียน อะไรเลย) เด็กนักเรียนส่วนใหญ่แต่งกายตาม สบาย ไม่ ไ ด้ บั ง คั บ เครื่ อ งแต่ ง กาย เด็ ก นักเรียนกลุ่มหนึ่งแต่งกายเหมือนกันคือเสื้อ สี ฟ้ า กางเกงสี น้ ำ เงิ น ต้ อ งชื่ น ชมว่ า เด็ ก นักเรียนรักษาความสะอาดและเรียบร้อยมาก หรือกล่าวได้วา่ มีสขุ ลักษณะเยีย่ มยอด ครู ผู้ ห ญิ ง ชวนให้ เ ข้ า ไปดู ห้ อ งครั ว ครูคหกรรมมีสองคน ทำงานสลับกัน ห้อง ครัวเป็นห้องเล็กๆ ในครัวจัดเป็นครัวกับเป็น ทีเ่ ก็บของต่างๆ เช่น แป้ง ผัก ถัว่ เห็นมีมนั ฝรั่ ง กองอยู่ ที่ พื้ น มี ก ระสอบแป้ ง หลาย กระสอบ ครัวของโรงเรียนใช้เตาแก๊ส ตอน นีก้ ำลังต้มน้ำหม้อใหญ่ พวกเรามีเวลาเยีย่ มชมโรงเรียนแห่ง นี้นานเป็นพิเศษ เป็นเพราะผลพวงมาจาก ความเป็นมิตรสหายของครูแจ็คกี้ จนได้เวลา พอเหมาะก็ขอลาคณะครู ต้องคืนเวลาให้กับ ครูเพื่อจะได้ไปสอนนักเรียน ส่วนพวกเรายัง มีเรือ่ งสนุกอีกหลายอย่างรออยู ่


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

4

2

5

3

6

1. 2. 3. 4. 5. 6.

ชัว่ โมงเช้าของเด็กนักเรียน กำลังขึน้ รถไปโรงเรียน อาคารเรียนของโรงเรียนประจำหมูบ่ า้ น (โรงเรียนรัฐ) ครูใหญ่กบั เด็กนักเรียน ชัว่ โมงเช้าของชาวนา กำลังไปไร่ไปนา แผนทีห่ มูบ่ า้ น (ทีใ่ นโรงเรียน) เด็กๆ กำลังเรียนหนังสือ... โต๊ะใหม่เอีย่ มเลย

241


242

เปรม ปราณ ปัญจาบ


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พอมาถึงบ้านคุณโกปี ก็ขอแวะพัก ผ่ อ นสั ก เล็ ก น้ อ ย พี่ ส าวคุ ณ โกปี บ อกว่ า รอ สักครู่จะคั่วข้าวโพดให้ชิม อย่างนี้ต้องรีบ ตกลงทั น ที เอาข้ า วโพดจากครั ว ออกมา เตาไฟคล้ายเตาฮั้งโล่ตั้งอยู่ที่ลาน วางกะทะ แบน ใส่ ข้ า วโพดกั บ เกลื อ แล้ ว ก็ คั่ ว พอ

1

243

ข้าวโพดแตกตัวก็สนุกกันใหญ่เด้งออกนอก กะทะหมด ต้องวิง่ หาฝามาปิด และหลังจากที่แบ่งกันชิมจนถ้วนทั่ว แล้ว พวกเราจึงมุง่ ไปยังแปลงนา ต้องการดู การเกี่ยวข้าวสาลีและการเกษตรต่างๆ อัน เป็นเป้าหมายถัดไปในช่วงเช้านี ้

1. คัว่ ข้าวโพด กินเล่นๆ ในยามบ่ายๆ (ตัง้ เตาไฟทีล่ านบ้าน)


244

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สัมผัสชีวติ ชาวนา แม้ ว่ า อากาศจะร้ อ นอบอ้ า วและ อุ ณ หภู มิ จ ะร้ อ นแรงเพี ย งใดก็ ต าม พี่ น้ อ ง เกษตรกรชาวปัญจาบีก็ยังคงทำงานหนักใน ไร่ ใ นนา อั น เป็ น ชี วิ ต รากฐานของสั ง คม อินเดีย ทุ่งข้าวสาลีแปลงใหญ่อยู่ตรงหัวมุม ถนน เป็นแปลงแรกทีเ่ ข้าไปแวะ เจ้าของแจ้ง ให้พวกเราทราบว่าวันนี้เป็นวันแรกทีล่ งเกีย่ ว ซึ่งเกี่ยวด้วยเคียว อาศัยแรงงานพี่น้องชาย ล้วนรวมสี่คน เกี่ยวด้วยมือจะต้องนั่งยองๆ แล้วรวบเกีย่ วตรงทีต่ อ เกีย่ วแล้วก็นำมากอง รวมไว้ด้านข้างตัว จากนั้นจึงเดินหน้าหรือ เดินด้านข้างต่อไป ถ้าเดินหน้าก็ไม่ต้องลุก ขึน้ ยืนบ่อย เห็นบางแปลงเป็นข้าวสาลีตน้ สูง คงจะคนละพันธุ์ ซึง่ ใช้วธิ ยี นื เกีย่ ว ก้มตัวเล็ก น้อย ก้มๆ เงยๆ อย่างไรก็เมือ่ ยหลัง เรือ่ งนี้ สอดคล้องกับคำบอกกล่าวของอาสาสมัคร

สาธารณสุ ข ที่ บ อกว่ า ชาวบ้ า นทั่ ว ไปมั ก จะ ปวดเมือ่ ยกล้ามเนือ้ จากการทำงานหนักในไร่ นา จากนั้น เลี้ยวเลาะมาตามถนนอีก เส้นหนึ่ง ไปดูแปลงที่สอง เพิ่งจะเกี่ยวเสร็จ ไปสดๆ ร้อนๆ เมล็ดข้าวสาลีกองอยู่บนพื้น ข้ า วลารวงไปเสี ย แล้ ว อี ก กองหนึ่ ง ข้ า งๆ เป็นเศษฟางที่ย่อยละเอียดแล้ว แยกเมล็ด ออกจากรวงโดยใช้เครื่องจักร แปลงนี้มอง หาเจ้าของไม่เจอ ไปแปลงใกล้ๆ อีกแปลงหนึง่ มีคณ ุ ลุงสองคนกำลังวิดน้ำเข้าไร่ ต้นอ้อยสูงสัก ฟุ ต ซึ่ ง ต้ อ งการน้ ำ ในอากาศร้ อ น ทั้ ง สอง อารมณ์ดี ยืนใต้ร่มไม้ใหญ่ ช่วยกันควบคุม ปริมาณน้ำ เครื่องสูบน้ำแรงดีทำให้น้ำไหล เข้าไร่ดั่งใจ ใช้แต่จอบเป็นอาวุธคู่ใจ ดูจอบ ของชาวปัญจาบีแล้วก็ตกใจ เพราะมีขนาด


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ใหญ่ ก ว่ า จอบไทยสั ก เท่ า ตั ว แต่ รู ป ทรง คล้ายคลึงกัน ไม่หา่ งจากที่พวกเรากำลังยืนคุยกัน ฝูงนกกระยางตัวขาวกำลังยืนจับจ้องแมลง ในไร่อ้อย น้ำไหลจนเจิ่งนองไปทั่วไร่ พวก นกกระยางเลยไปยืนดักอยู่รอบๆ รอให้เจ้า พวกแมลงที่กำลังหนีน้ำออกมาจากรูใต้ดิน ลอยตั ว ขึ้ น มาเมื่ อ ไหร่ ก็ เ ข้ า ปากนกเมื่ อ นั้ น เป็นห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ... มันก็เป็น เช่นนัน้ เอง พวกเราไปอีกซอยหนึ่ง เป็นแปลง ที่ สี่ คราวนี้ ไ ด้ พ บกั บ ครอบครั ว หนึ่ ง กำลั ง

เกี่ยวข้าวสาลีกันอย่างขะมักเขม้น เมื่อทั้ง ครอบครัวเห็นพวกเราโบกมือให้ พวกเขาก็ หยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาคุยกับพวกเรา (แต่ ฝ่ า ยแม่ ยั ง คงถื อ เคี ย วอยู่ ใ นมื อ ?) ครอบครั ว ชาวนามี พ่ อ แม่ แ ละบุ ต รสองคน คนโตเป็นหนุ่มวัยรุ่น อีกคนหนึ่งเป็นยังเป็น เด็กราวเด็กประถม แม้จะอากาศร้อนอบอ้าวและแดดจะ แรง ทว่าทุกคนยังยิ้มต้อนรับด้วยไมตรีจิต ฝ่ า ยพ่ อ ใจดี หิ้ ว กระติ ก น้ ำ จากใต้ ต้ น ไม้ ม า ให้ พ วกเรา มี ห รื อ ที่ พ วกเราจะไม่ ดื่ ม ... ดั บ กระหาย ผมขอน้ ำ ใส่ ข วดพลาสติ ก

245

เพราะน้ ำ หมดเกลี้ ย งไปแล้ ว พวกเขาก็ หัวเราะเล็กน้อยแต่ยนิ ดีให้ ผื น นาข้ า วสาลี แ ปลงขนาดพอ เหมาะสำหรับแรงงานหนึ่งครอบครัว ช่วย กันเกี่ยวไปเรื่อยๆ ราวสัปดาห์จะแล้วเสร็จ ส่ ว นที่ เ กี่ ย วแล้ ว ก็ ก องพะเนิ น ให้ เ ห็ น อยู่ ปลายนา ผมรู้สึกดีที่ได้เห็นพ่อแม่ลูกช่วยกัน เกี่ยวข้าว สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่างอยู่ พร้อมหน้ากันและช่วยงานในครัวเรือน เป็น วิ ถี ชี วิ ต ชาวนาแบบพึ่ ง พาตนเอง ไม่ มี ใ คร ยอมทิ้ ง ที่ น าไปทำงานในเมื อ งในโรงงาน ผลผลิตทีไ่ ด้กเ็ ก็บไว้กนิ ในครัวเรือน ข้าวสาลี คืออาหารหลักของชาวนาปัญจาบี ก่อนจากครอบครัวนี้ไป พวกเขา บอกว่าดีใจที่มาแวะเยี่ยมถึงที่นาและถ่ายรูป พวกเขาไป พวกเขารู้สึกดีที่มีชาวต่างประเทศ ให้ความสนใจการเกี่ยวข้าวและมาพูดคุยกับ ชาวนา เพราะทีน่ ไี่ ม่ใช่แหล่งท่องเทีย่ ว แม้วา่ จะเป็นเพียงแค่สบิ นาทีสนั้ ๆ ที่ ได้พบปะกัน ต่างฝ่ายต่างไม่เคยรู้จักกันมา ก่อน และไม่ได้คาดว่าจะได้มาพบกัน แต่ ความรู้สึกดีๆ และมิตรภาพได้เกิดขึ้นแล้ว เบ่งบานไปทัว่ ทุง่ เลยทีเดียว


246

เปรม ปราณ ปัญจาบ

ในขณะเดี ย วกั น รถเกี่ ย วข้ า วคั น ใหญ่ก็ขับเข้ามาในแปลงตรงกันข้าม เสียง เพลงปัญจาบีจากวิทยุบนรถดังกระหึ่มแข่ง กับเสียงขับเคลื่อนของรถ เสียงเพลงจะชนะ เพราะเปิ ด ดั ง เต็ ม ที่ ชวนให้ คึ ก คั ก ในเวลา ลุยนา แต่เมือ่ รถวิง่ ใกล้เข้ามาแล้ววงสนทนา ก็ แ ตกพลั น แรงรถสองคั น ทำให้ ฝุ่ น ตลบ กระจายไปทั่ว ต้องแยกวิ่งไปกันคนละทิศ คนละทาง ทราบว่ า ทั้ ง สามคนเป็ น คนงาน รับจ้างเกี่ยวข้าว ส่วนรถคันที่ตามมาเป็นรถ แทรกเตอร์พวงท้ายด้วยกระบะบรรทุกข้าว ปกติเวลาเกี่ยวข้าวด้วยรถมักจะเห็นรถสอง คันคู่กัน คือรถเกี่ยวกับรถแทรกเตอร์พวง คนทีข่ บั รถแทรกเตอร์นนั่ แหละคือเจ้าของนา ตัวจริง ชาวนาเจ้าของนาแปลงใหญ่หรือคน พอมี ฐ านะหน่ อ ยมั ก จะมี ร ถแทรกเตอร์ ไ ว้ ครอบครอง รถแทรกเตอร์เครือ่ งยนตร์ดเี ซล ยี่ห้ออินเดียนาม มะฮินทรา กลายเป็นรถ ประจำครอบครัวของชาวนาไปโดยปริยาย สามารถนำไปใช้งานได้หลายอย่าง มะฮินทรา (Mahindra) เป็นบริษทั

อินเดีย มีนามเต็มว่า Mahindra & Mahindra หรือ M&M เป็นบริษัทในตระกูลมะฮินทรา (Mahindra group) เป็นกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ กลุม่ หนึง่ ของอินเดีย ผลิตรถแทรกเตอร์ราย ใหญ่ของอินเดียและมีชอื่ ติดอันดับโลก เมือ่ เครือ่ งจักรเริม่ หมุน กีน่ าทีเอง... ดูดข้าวไปแล้วหนึ่งแถบ พอหันกลับมามอง สี่แรงของหนึ่งครอบครัวซึ่งก็กำลังก้มหน้า เดินเกี่ยวเช่นกัน เกี่ยวได้นาทีละหนึ่งก้าว เทคโนโลยีดั้งเดิมกับเทคโนโลยีใหม่มีความ แตกต่างกันอย่างสิน้ เชิง นอกจากนี้ ยังพบรถดูดฟาง หลัง จากเกี่ยวข้าวสาลีเสร็จแล้ว ก็ได้ข้าวไป แต่ คงเหลือฟางไว้ ซึ่งจะนำไปย่อยอีกขั้นตอน หนึ่ง ถ้าเกี่ยวฟางในนาจะใช้รถแทรกเตอร์ พ่วงด้วยเครื่องเกี่ยวฟาง แล้วจะพ่วงด้วย กระบะอี ก ต่ อ หนึ่ ง เป็ น การพ่ ว งสองต่ อ เมื่อเครื่องเกี่ยวแล้วทำการย่อยฟางเป็นเศษ แล้ ว จะพ่ น ออกทางปล่ อ ง ซึ่ ง ต่ อ ท่ อ จาก ปล่องไปสูก่ ระบะด้านท้ายสุด หมดเรื่องการเกี่ยวข้าวสาลี พวก เราพากันไปเทีย่ วอีกด้านหนึง่ ของหมูบ่ า้ น


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1

3

2

4

1. 2. 3. 4.

ครอบครัวชาวนา พ่อแม่และลูกๆ เอาแรงเกีย่ วข้าวสาลี สูบน้ำใต้ดนิ เข้าสูแ่ ปลงข้าวโพดในฤดูแล้ง ครอบครัวชาวนาทีก่ ำลังเกีย่ วข้าวสาลีเสร็จ ตอนนีร้ อเก็บมะนาวขาย พ่อกับลูกชายบนรถแทรกเตอร์ (เกีย่ วข้าวสาลีดว้ ยเครือ่ ง)

247


248

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เราจอดมอเตอร์ไซค์ไว้ริมทาง แล้วพากัน เดินดุม่ ๆ เข้าไป เจ้าของบ้านออกมาต้อนรับ ทั น ที เ มื่ อ เห็ น พวกเรามาถึ ง ชั ก ชวนให้ นั่ ง หน้าบ้านใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ เป็นที่หลบ แดดอย่ า งดี พอลมโชยมาเย็ น ๆ ทำให้ ไ ม่ อยากไปไหนแล้ว ครอบครั ว นี้ มี สี่ ค นคื อ พ่ อ แม่ แ ละ ลู ก ชายกั บ ลู ก สาว ลู ก ชายคนโตเป็ น มิ ต ร คุณโกปี เป็นครอบครัวชาวนาชาวสวน พวก เขาเพิ่งเกี่ยวข้าวสาลีเสร็จ จึงได้พักหลังจาก ผ่านงานหนัก ตอนนีค้ อยดูแลสวนและฝูงวัว น้องสาวยกชาร้อนๆ มาเสิร์ฟตามธรรมเนียม ของการต้อนรับ พวกเขาพาไปที่สวนมะนาว กำลัง ออกผลเป็ น ปี แ รกเสี ย ด้ ว ย สวนมะนาว สามารถสร้ า งรายได้ เ สริ ม ให้ ช าวนาได้ อ ยู่ เรื่อยๆ เพราะชาวอินเดียนิยมดื่มน้ำมะนาว โซดาและปีบมะนาวในสลัด แถมยังนิยมทำ มะนาวดอง มะนาวจึงสามารถส่งตลาดขาย ได้เรื่อยๆ แต่ราคาก็คงขึ้นอยู่กับสภาวะทาง เศรษฐกิจ รอ้ น 1. ชาวนาในหมูบ่ า้ นกำลังเกีย่ วข้าวสาลีในฤดู

บิดมอเตอร์ไซค์มาไม่ไกลนัก ทว่า เหนื่อยเอาการ จึงพากันแวะที่หน้าปากซอย จอดตรงหน้ า ร้ า นค้ า เล็ ก ๆ พอดี เพราะ เจ้าของร้านเป็นหนุ่มคนขยัน เป็นมิตรวัย เดี ย วกั น ของคุ ณ โกปี แ ละคุ ณ นิ ช าน เขา แต่งตัวดีและเรียบร้อยมาก เขาฟังเพลงจาก เครื่องเล่นเอ็มพีอยู่ตลอดแม้จะคุยกันก็ตาม จะสามารถพบวั ย รุ่ น ทั่ ว ไปที่ พ อมี ร ายได้ หน่อยเป็นอย่างนี้กัน เขาบอกว่าร้านค้าอยู่ ได้เพราะมีเงินสดหมุนเวียนประจำวัน และ พอจะขายได้เรื่อยๆ ดีกว่าไปเป็นลูกจ้างใน เมือง พอสำรวจในร้านว่ามีอะไรขายบ้าง เน้ น เป็ น สิ น ค้ า สามกลุ่ ม กลุ่ ม ของกิ น เล่ น สำหรั บ ลู ก ค้ า เด็ ก ๆ ประเภทขนมนมเนย ลูกอม ยังมีหมากซองซึง่ เป็นทีน่ ยิ มกันในหมู่ ผูช้ าย กลุม่ ของใช้ในชีวติ ประจำวัน ประเภท สบู่ ยาสีฟัน เทียนไข และกลุ่มเครื่องเขียน ปากกา สี สมุด พวกเราออกจากตั ว หมู่ บ้ า นหลั ก จนกระทั่งถึงบ้านไร่ปลายนา แถวนี้มีบ้าน เพียงไม่กหี่ ลัง ส่วนใหญ่เป็นพืน้ ทีท่ งุ่ นา พวก

1


เปรม ปราณ ปัญจาบ

249


250

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

แม่บา้ นกำลังแบกฟางข้าวสาลี จากทุง่ สูบ่ า้ น ชาวนากำลังเกีย่ วข้าวสาลี (เป็นข้าวพันธุเ์ ตีย้ ต้องนัง่ เกีย่ ว) กองฟางข้าวสาลีกลางทุง่ ซึง่ เกีย่ วด้วยเคียว กองเมล็ดข้าวสาลี ตากแดดไว้ให้แห้ง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พวกเรานั่ ง คุ ย ที่ ท างเข้ า หน้ า บ้ า น เพราะอาศัยร่มของไม้ใหญ่ จึงไม่ได้เข้าไปใน บ้าน หน้าบ้านเต็มไปด้วยกองฟาง ตัวบ้าน เป็นบ้านชั้นเดียวสร้างด้วยอิฐไม่ฉาบปูนเช่น เดียวกับบ้านของชาวนาทั่วไป หน้าต่างเป็น โครงไม้เปิดช่องไว้เฉยๆ ไม่มีบานหน้าต่าง ป้ อ งกั น คนนอกมองเข้ า ไปด้ ว ยการปิ ด ผ้ า ม่านไว้ ตอนกลางคืนคงจะมืดน่าดูและก็คง เงียบมากทีเดียว แต่ทนี่ เี่ ป็นบ้านทีอ่ บอุน่ ของ พวกเขา เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของครอบครัว ที่มีชีวิตสมถะและเรียบง่าย มีความสันโดษ แต่ไม่โดดเดีย่ ว พอสมควรแก่เวลา พวกเราจึงกล่าว คำขอบคุณและอำลา เพื่อไปยังท้ายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นทุ่งนาและไร่ผัก เป็นเวิ้งกว้างใหญ่ที เดี ย ว พื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ ใ นเดื อ นเมษายนนี้ กลายเป็ น ไร่ ม ะเขื อ ซึ่ ง ชุ่ ม ฉ่ ำ ไปด้ ว ยน้ ำ เข้าใจว่าใช้น้ำบาดาลเช่นเดียวกับไร่อ้อยที่ เพิ่ ง ไปดู ม า พอผ่ า นไร่ ม ะเขื อ ก็ เ ข้ า สู่ ถ นน เลียบคลองชลประทาน จอดรถหยุดดูถนน

251

กั บ คลอง ผมเดิ น ลงไปในคลองซึ่ ง ตอนนี้ กลายเป็นถนนดีๆ นีเ่ อง ริมตลิง่ เป็นดงดอก พั ง พวยสี ช มพู ลั ก ษณะทางธรรมชาติ คล้ า ยๆ กั บ ทางบ้ า นเรา มี ค นบอกว่ า ถ้ า อยากเห็ น น้ ำ เต็ ม คลองต้ อ งมาหน้ า ฝน... ก็เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ อาจจะได้กลับมา อีกครัง้ ตอนทีฝ่ นตก ถนนเลี ย บคลองเชื่ อ มไปถนน ลาดยางเส้นหลักของหมู่บ้าน จึงได้รู้ว่าพวก เราวิง่ กันเป็นวงกลม เมือ่ ไปอีกด้านหนึง่ ของ หมู่บ้าน ได้พบกับการทำอิฐ ตอนแรกคุณ โกปีไม่อยากให้แวะเพราะไม่รู้จักกับคนงาน กลุ่ ม นี้ แต่ ก็ ต้ อ งแวะตามคำขอของคน อยากรู ้ คนงานรับจ้างทำก้อนอิฐเป็นคนมา จากรัฐอื่น มาอาศัยอยู่ชั่วคราวในหมู่บ้าน สีผิวและการแต่งกายแตกต่างจากชาวบ้าน แถวนี้ คนงานมีทงั้ ชายหญิง เท่าทีเ่ ห็นมีเกิน สิบคน

ข้าวสาลี เรียกว่า “กนัก” (kanak), ภ.ปัญจาบี : ชาวนา เรียกว่า “กีซาน” (kisan), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี : , ภ.ฮินดี :


252

เปรม ปราณ ปัญจาบ

การทำอิฐในหมู่บ้านเป็นการขุดเอา ดินขึน้ มา โดยขุดลงไปเป็นชัน้ ๆ ตอนนีข้ ดุ ลง ไปแล้วสองชั้น ทำให้พื้นที่ต่ำกว่าระดับพื้น ดิ น ปกติ ล งมาหลายฟุ ต ดิ น เหนี ย วแถบนี้ ค่อนข้างสวยและคงจะเหนียวดี คนงานเอาดินใส่แม่แบบแล้วถอด ออก แต่ ล ะก้ อ นจะต้ อ งมี อั ก ษรย่ อ ภาษา อั ง กฤษอั น เป็ น ตั ว ย่ อ ของบริ ษั ท การจ้ า ง แรงงานจะคิ ด ราคาตามจำนวนก้ อ นอิ ฐ ที่ ทำได้ อย่างเช่นทำได้พันก้อนจ่ายร้อยรูปี คนงานหนึ่งคนต้องทำทุกขั้นตอน อิฐจาก พื้นที่ต่างๆ ที่ตากแห้งแล้วจะนำไปส่งที่โรง เผาอิฐใกล้ๆ หากใครผ่านไปผ่านมาก็จะเห็น ว่ามีหลายโรง ดูได้จากควันดำที่ลอยออก จากปล่องทุกวัน

แต่สิ่งที่อดคิดไม่ได้คือ ขุดดินมาทำ อิฐจะทำให้พื้นที่นั้นกลายแอ่งลึก อย่างนี้ไม่ แตกต่างกับการขุดหน้าดินขาย จะทำให้ใน หมู่ บ้ า นมี แ ต่ ห ลุ ม บ่ อ ตอนที่ เ ดิ น ทางผ่ า น หมูบ่ า้ น เห็นมีสระน้ำกว้างหลายแห่ง ก็คาด เดาว่ า อาจจะเป็ น การขุ ด แหล่ ง น้ ำ หรื อ อย่ า งไร พอมาดู ก ารทำอิ ฐ แล้ ว จึ ง ได้ เ ห็ น คำตอบ กลัวว่าถ้าน้ำท่วมใหญ่ขนึ้ มาหมูบ่ า้ น จะเป็นอย่างไร พื้นที่กลายเป็นหลุมไปแล้ว จะนำไปใช้ประโยชน์อะไรต่อได้บ้าง จะปลูก พืชก็เห็นทีจะลำบาก ครึ่งวันของวันสุดท้ายในหมู่บ้านได้ เรื่ อ งมาหลายความ ตามที่ ไ ด้ เ ล่ า สู่ กั น ฟั ง การสำรวจและเก็บข้อมูลหมู่บ้านเห็นต้องยุติ ไว้ประมาณนี ้

ก้อนอิฐ เรียกว่า “อิฏ” (it), ภ.ปัญจาบี :

, ภ.ฮินดี :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 3

2 4

1. 2. 3. 4.

ถนนเลียบคลองในฤดูแล้ง มีสภาพพอๆ กับถนน ควันดำจากโรงเผาอิฐ มองใกล้จากตัวหมูบ่ า้ น ขุดดิน ทำอิฐ คนงานต่างถิน่ เข้ามารับจ้างทำอิฐในรัฐปัญจาบ

253


254

เปรม ปราณ ปัญจาบ

จำใจจากลาบ้านนาน้องพี ่ ยังคงพอมีเวลาอีกสองสามชั่วโมง ก่ อ นจากไป คุ ณ แม่ ค รู แ จ็ ค กี้ แ นะให้ ซั ก ผ้ า ก่อน ว่าแล้วก็พาไปดูเครื่องซักผ้าเสียก่อน ให้เห็นว่าซักและอบแห้งได้ แต่คนซักไม่ใช่ผม แต่เป็นน้องสาวครูแจ็คกีจ้ ะเป็นผูซ้ กั ให้ เมื่อครูแจ็คกี้กลับมา ขอขยับเวลา ออกจากหมู่บ้าน จากตอนบ่ายเป็นตอนเย็น จึงทำให้มีเวลาตากผ้าให้แห้ง ผมอาศัยเวลา นี้นั่งคุยกันใครอีกหลายคนที่แวะเข้ามาอำลา และมอบของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ จากเมือง ไทยแทนคำขอบคุณ จนเมื่อนายตำรวจหนุ่มของพวกเรา คือคุณลาล่ามาถึง ก็แสดงว่ายกพลยาตรา ออกจากหมู่บ้านได้แล้ว คืนนี้ผมจะไปพักอีก หมูบ่ า้ นหนึง่ ใกล้ตวั เมืองอมฤตสาร์ พวกเราใช้เส้นทางลัดที่เลาะไปตาม หมู่บ้านต่างๆ โดยไม่วิ่งบนถนนหลัก หลีก

หนีความพลุกพล่านบนท้องถนน พอเข้าใกล้ เขตเมืองแล้วก็ใจหายแว๊บ สภาพบ้านแตก ต่างกันมาก แม้ว่าหมู่บ้านใกล้เมืองจะยังมี เรือกสวนไร่นาก็ตาม แต่ความเป็นบ้านของ บ้านคนใกล้เมืองค่อนข้างดูดีกว่า บ้านฉาบ ด้วยปูน ไม่เห็นอิฐเรียงเป็นชั้นๆ รั้วบ้านสูง มีเหล็กดัดหนา หมู่บ้านสำหรับคืนนี้ถือว่าเป็นทาง ผ่าน เพราะเป็นคืนสุดท้ายในปัญจาบ พรุง่ นี้ เช้าจะต้องไปสถานีรถไฟเมืองอมฤตสาร์ คุณ บาลบินช่วยประสานงานกับญาติมิตรให้ผม ไปพักบ้าน ดีกว่าพักที่โรงแรม ตอนแรกจะ ขอพักทีโ่ รงแรม แต่ทางฝ่ายเจ้าภาพไม่มใี คร ยิ น ยอม เรี ย กว่ า ต้ อ งดู แ ลกั น จนถึ ง วิ น าที สุดท้ายเลยทีเดียว ครู แ จ็ ค กี้ แ ละตำรวจลาล่ า พามา ส่ ง ที่ บ้ า นของ ดร.ภู ปิ น เดอร์ ภั ต ตี (Dr.


เปรม ปราณ ปัญจาบ

Bhupinder Bhatti) ในหมู่บ้านโกฏเคฮ์รา (Kot Khehra) ห่างจากตัวเมืองอมฤตสาร์ เพียงเล็กน้อย ถ้านัง่ รถยนต์สว่ นตัวประมาณ ยี่สิบนาที พวกเรามาถึงที่บ้านหลังนี้ในตอน พลบค่ำ ดร.ภูรนิ เดอร์รอรับอยู่ ผมทำความ รู้ จั ก กั บ สมาชิ ก ในครอบครั ว ของบ้ า นหลั ง ใหม่ บ้านหลังนี้เป็นบ้านครอบครัวขยาย แบ่ ง เป็ น สี่ ส่ ว น คื อ ส่ ว นแรกเป็ น ของ ครอบครั ว ดร.ภู ริ น เดอร์ ส่ ว นที่ ส องเป็ น ครอบครัวของพี่ชาย ส่วนที่สี่เป็นส่วนของ คุณยาย (แม่เจ้าของบ้าน) และส่วนสุดท้าย เป็นของพีส่ าว หมู่บ้านโกฏเคฮ์ราในสภาพปัจจุบัน เป็ น หมู่ บ้ า นชาวซิ ก ข์ แต่ ห ลายศตวรรษที่ ผ่ า นมาเป็ น พื้ น ที่ ข องชาวมุ ส ลิ ม นามของ หมู่บ้านแปลว่า ประตูแห่งพระเจ้า นี่ก็เรื่อง ราวเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของปัญจาบ ในอดี ต เมื่ อ กาลเวลาและเรื่ อ งราวแปร เปลี่ยนไป ชาวบ้านยุคปัจจุบันยังคงเรียก ขานนามอย่างมุสลิมเดิมโดยไม่เปลีย่ น ตัวบ้านขนาดพอดี จัดพืน้ ทีไ่ ด้ลงตัว เป็นบ้านชั้นเดียวใช้สีขาว มีพื้นที่ว่างสำหรับ ออกกำลังกาย จัดงานเลีย้ ง ไม่มสี นามหญ้า เพราะเทปูนทั้งหมด ห้องน้ำมีสองส่วนคือ

255

ห้องน้ำส่วนตัวในห้องนอน กับห้องน้ำกลาง ซึ่งแยกอยู่นอกตัวบ้าน ห้องน้ำอินเดียจะตั้ง อยู่ น อกบ้ า น ทำให้ บ้ า นหลั ง นี้ ผ สมผสาน ระหว่ า งความเป็ น อิ น เดี ย เดิ ม กั บ สมั ย ใหม่ ห้องน้ำตกแต่งด้วยสุขภัณฑ์อย่างดี เป็นแบบ ตะวันตก ทางเดินเข้าออกต้องผ่านห้องนอน ทำให้ความเป็นส่วนตัวแบบตะวันตกหายไป ไม่เน้นใช้ประตู ใช้เพียงผ้าม่านกัน้ เท่านัน้ แม้ว่าจะเป็นห้องน้ำที่ทันสมัยก็ตาม แต่ยังคงเป็นแบบอินเดีย กล่าวคือทั้งห้อง อาบน้ ำ และห้ อ งสุ ข าไม่ มี ป ระตู ปิ ด แต่ เจ้าของบ้านบอกว่าไม่ต้องตกใจ ไม่มีใครใช้ ห้องน้ำนี้หรอก ทางพี่ชายเจ้าของบ้านรู้สึก ว่าควรจะต้องทำให้เรียบร้อยขึ้นสำหรับแขก ผู้เยือน (แขกที่เป็นคนไทย) เขาแก้ไขด้วย การยกเอาเตียงไม้มาตั้งปิดไว้ให้ดูมิดชิดมาก ขึน้ ... พากันหัวเราะ ครั้นเวลามื้อเย็น ชาวอินเดียมักจะ นิยมกินให้เสร็จก่อนแล้วค่อยมานั่งคุยพร้อม จิบชาไปด้วย ไม่ค่อยจะนิยมประเภทกินไป บ่นไป มื้อเย็นจึงใช้เวลาอย่างรวบรัด แล้ว ค่อยคุยกันต่อหลังเวลาอาหาร อาหารเป็นโรตีกับแกงไก่หนึ่งหม้อ เจ้าของบ้านต้องไปสั่งซื้อที่ร้านมาให้ เพราะ ว่ า สมาชิ ก ทั้ ง หมดเป็ น มั ง สวิ รั ติ ยกเว้ น


256

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เจ้าของบ้านคนเดียวที่จะกินไก่เป็นครั้งคราว โดยเพราะพี่ชายเจ้าของบ้านเป็นชาวซิกข์ที่ เคร่ ง ครั ด มาก ถื อ หลั ก ศาสนสั ญ ลั ก ษณ์ ปฏิบัติตัว อาหารการกิน สวดมนต์ ต่าง จากเจ้าของบ้านซึง่ เป็นน้องชาย คื น นี้ น อนหลั บ แต่ หั ว ค่ ำ จึ ง งดดู หนังฟังเพลง ก่อนนอนได้นงั่ คุยกับหนุม่ น้อย ซึ่งเป็นหลานของเจ้าของบ้าน ผมมีปัญหา เรื่องการออกเสียงเรียกนามของหนุ่มคนนี้ ออกเสียงไปในแนว จอชหรือยอช เขาก็ว่า ยังไม่ใช่ อนาคตของเขากำลั ง วางแผนไว้ อย่างสวยงาม ตอนนี้เพิ่งจะก้าวเข้าเรียนใน ระดับวิทยาลัย และเตรียมตัวไปเรียนต่อที่ อเมริกา ก่อนนอนเขาพาไปดูที่นอนของเขา ซึง่ อยูต่ ดิ กับห้องของผม เขานอนในห้องคุณ ยาย เขาเป็นหลานชายคนโต ชอบนอนใน ห้องคุณยาย และแล้วเมื่อเวลาราวสี่ทุ่มบ้านทั้ง บ้ า นก็ เ งี ย บลงและเหลื อ แต่ แ สงไฟนอกตั ว บ้านเท่านัน้ ทีส่ ว่างไปจนถึงรุง่ เช้า ตอนรุ่ ง เช้ า ราวตี ห้ า นอกบ้ า น อากาศเย็น พอหกโมงเช้าผมก็เก็บสัมภาระ เรียบร้อย อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะจากอมฤตสาร์ แล้ว เจ้าของบ้านเชิญจิบชาร้อนๆ ก่อนออก

จากบ้าน เขาจะเตรียมอาหารเช้าใส่ถุงให้ แต่ตอบปฏิเสธไป เดี๋ยวตอนสายๆ ถ้าหิวก็ หากินแถวสถานีรถไฟได้ ผมอยากจะกล่าวลาทุกคน แต่ยงั ไม่ ตื่ น กั น ผมจึ ง ถื อ วิ ส าสะย่ อ งเข้ า ไปในห้ อ ง นอนคุณยาย เพื่อปลุกและอำลาหนุ่มน้อยที่ ผมออกเสียงนามของเขาไม่ถูก จึงได้แค่จับ มื อ กล่ า วลา หนุ่ ม น้ อ ยขี้ เ ซาซุ ก ตั ว นอนต่ อ พอดีคณ ุ ยายเดินเข้ามา ท่านยิม้ ให้ ผมกล่าว ขอบคุณเป็นภาษาฮินดี แต่คุณยายไม่ได้ยิน พอออกมานอกตัวบ้าน ปรากฏว่าพี่ชายกับ ภรรยานอนนอกบ้ า น บนเตี ย งสานแบบ อินเดีย ผมกล่าวลาแล้วขึ้นรถออกจากบ้าน ไปก่อนเวลาเจ็ดโมง ดร.ภูรินเดอร์ พามาส่งที่บ้านคุณ บาลบินซึ่งอยู่รอบนอกของเขตในเมือง ทาง เข้าบ้านก็ซับซ้อนเข้าซอกออกซอยต่างๆ จน จำไม่ได้ คุณบาลบินรอคุณแฮปปี้มาที่บ้าน ก่อน แล้วก็พาไปส่งผมที่สถานีรถไฟ พวก เราร่ำลากันพอประมาณ เพราะทั้งคู่ต้องรีบ ไปทำงาน ส่ ว นผมกลายเป็ น คนว่ า งและ อิสระ รอขึน้ รถไฟอย่างเดียว ผมกำลั ง จะนั่ ง รถไฟลงที่ ส ถานี เมืองปฐานโกฎ เพื่อเดินทางไปรัฐหิมาจัล ประเทศ สองสถานีนหี้ า่ งกันเพียง 2 ชัว่ โมง


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ผมนัง่ รถไฟขบวน 8101 Tata Jat Express หมายถึงรถไฟมีสถานีต้นทางมาจากเมือง Tatanagar (Tata) ในรั ฐ ฌาร์ ขั ณ ฑ์ (Jharkhand) และมี ส ถานี ป ลายทางที่ Jammu Tawi (Jat) เมืองจัมมูในรัฐจัมมู และกัศมีร์ ขบวนนี้วิ่งยาวมากรวมระยะทาง 2,026 กิโลเมตร แต่ผมขึ้นที่สถานีเมือง อมฤตสาร์ กิโลเมตรที่ 1,820 และลงที่ ป ฐานโกฏ กิ โ ลเมตรที่ 1,927 ระยะทาง ระหว่างเมืองแค่ 107 กิโลเมตร ผมได้ตั๋ว นั่ ง ห้ อ งแอร์ ซึ่ ง คุ ณ บาลบิ น และคุ ณ แฮปปี้ กรุณาซื้อมาให้ 120 รูปี (ประมาณ 84 บาท) เมืองปฐานโกฏ ตัง้ อยูท่ างเหนือสุด ของรั ฐ ปั ญ จาบ เป็ น เมื อ งที่ มี ค วามสำคั ญ มากเพราะเป็นเมืองเชื่อมสามรัฐ คือ เมือง อมฤตสาร์ในรัฐปัญจาบ เมืองดรัมศาลาใน รัฐหิมาจัลประเทศ และเมืองจัมมูในรัฐจัมมู และกัศมีร ์

257

พื้นที่ของเมืองปฐานโกฎเป็นพื้นที่ เชิงเขา เชื่อมระหว่างพื้นราบกับภูเขา ใคร มาถึง ปฐานโกฎแล้วก็แสดงว่าเริ่มมาภูเขา แล้ว ในทางตรงกันข้าม หากมาจากทาง เหนือแล้วกำลังออกจากปฐานโกฎ ลงไปก็จะ เป็นพืน้ ราบ แม้ว่าปฐานโกฎจะเป็นเมืองใหญ่อีก เมื อ งหนึ่ ง ในรั ฐ ปั ญ จาบซึ่ ง เป็ น รั ฐ แห่ ง ชาว ซิกข์ แต่ชาวปฐานโกฎส่วนใหญ่นับถือฮินดู ส่วนชาวซิกข์กลับมีนอ้ ย เรื่องราวของการเดินทางสำหรับ การลงพื้นที่ภาคสนามในรัฐปัญจาบคงต้อง ขอยุตไิ ว้แต่เพียงเท่านี้ การเดินทางออกจาก รัฐปัญจาบทำให้ผมรู้สึกใจหาย แต่ปัญจาบ ยังอยู่ในความทรงจำ เพียงกล่าวคำลาดินแดน แห่งแม่นำ้ ห้าสาย

เมือง “ปฐานโกฎ”, ภ.อังกฤษ : Pathankot, ภ.ฮินดี :


258

เปรม ปราณ ปัญจาบ

Sanjog vijog du-e kaar chalaavaih laykhay aavaih bhaag ซันโยค วิโยค ดุย การ จลาแว เลเข อาแว ภาค The world’s ways are regulated by union and separation and the mortal gets his share according to his destiny.1 การพบปะและการพรากจากกันนัน้ ล้วนเป็นตามธรรมชาติและบุญวาสนาของแต่ละคน อย่าไปยึดถือดีใจ เมือ่ พบปะ และอย่าไปเศร้าโศกเมือ่ พรากจากกัน2 Japji Sahib, Pauri 29 ชัปญี ซาฮิบ, เปารีที่ 29 วรรคที่ 3 (ฉบับแปลภาษาไทย)

การพบหรือการจากกัน ถือว่าเป็น เรื่องยิ่งใหญ่เหลือเกิน ตามคำสอนของพระ ศาสนาคุรนุ านักเดวญี (1) แสดงไว้วา่ “ทุก สิ่งทุกอย่างที่มี ที่มา ที่เห็นทั้งหมด ย่อมมี อันต้องจากกันหมด ทุกสิ่งทุกอย่างต้องถึง

วาระสุดท้ายเช่นกันด้วยกันทั้งนั้น ไม่จีรัง ยั่งยืนแต่ประการใด” เวลาพบกันก็อย่าดีใจ เวลาจากกันก็อย่าเสียอกเสียใจ การทีค่ นเรา จะพบกัน หรือจากกันเป็นเรื่องของกฎแห่ง กรรมเท่านัน้ ทีท่ ำให้เป็นไป

ทีม่ า (ข้อมูล) : 1. http://www.sikhs.org/japji/jp29.htm, [เม.ย. 2554/2011] 2. ชัปญี ซาฮิบ ฉบับแปลภาษาไทย (เปารีที่ 29, ส่วนบรรยาย) หน้า 194


เปรม ปราณ ปัญจาบ

259

สาระสุดท้ายจากปัญจาบ สองสัปดาห์ในอมฤตสาร์ หรือสิบ วั น ในเมื อ งและสามวั น ในหมู่ บ้ า นชนบท เวลาทุกนาทีล้วนเป็นจังหวะของการค้นหา และเรี ย นรู้ ชี วิ ต จึ ง ดื่ ม ด่ ำ ไปกั บ สั ง คม วัฒนธรรมชาวซิกข์ในดินแดนแห่งแม่น้ำห้า สายหรือปัญจาบ การได้สัมผัสชาวซิกข์ที่อมฤตสาร์ก็ คื อ การได้ สั ม ผั ส กั บ คนอารมณ์ ดี แ ละคนมี น้ำใจ เพราะพวกเขายินดีจะช่วยเหลือ เป็น คนที่ผูกมิตรง่าย เป็นกันเอง และคุยรู้เรื่อง แต่ภายใต้รูปร่างที่ตัวโต ไว้หนวดเครายาว และโพกผ้า ทำให้ชายซิกข์ดนู า่ เกรงขามและ ดูลึกลับในสายตาของคนไทยทั่วไป ทว่าชาว ซิกข์จะมีรอยยิม้ ให้ได้สมั ผัสอยูเ่ สมอ การได้รู้จักกันและการได้เป็นมิตร กัน ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจาก พวกเขา ขอยกตั ว อย่ า งสั ก เรื่ อ งหนึ่ ง ใน

นิวาสทีพ่ กั ของสุวรรณวิหาร ผมพักอยูใ่ นนัน้ เกือบสองสัปดาห์ แต่เพียงแค่สกั สองสามวัน ผมก็เริ่มสนิทสนมกับเจ้าหน้าที่ดูแลห้องพัก อาจจะเป็นเพราะว่าต้องปะทะสังสรรค์กัน บ่อยครั้งในแต่ละวัน และอายุอานามไม่ห่าง กันนัก เลยคุยกันถูกคอ เมื่อผมได้รู้จักคน หนึง่ แล้ว คนๆ นีก้ เ็ ป็นกุญแจไขไปสูค่ นอืน่ ๆ อีก ผมมักจะมีผลไม้ไปร่วมวงนั่งคุยกับพวก เขาอยูเ่ สมอ มิตรภาพเกิดขึน้ ได้งา่ ยนิดเดียว จากนั้ น พวกเราต่ า งพยายาม สอบถามถึงชีวิตและเรื่องราวของกันและกัน ก็ คุ ย ได้ บ้ า ง... ไม่ ไ ด้ บ้ า ง แต่ มิ ต รภาพได้ เกิดขึน้ แล้ว พวกเขามักจะหาขนมพืน้ บ้านมา ให้ชิม พร้อมกับซักถามเรื่องราวจากผมว่า ในแต่ ล ะวั น ไปเจอะเจออะไรมาบ้ า ง ขณะ เดี ย วกั น ผมก็ อ ยากจะรู้ เ รื่ อ งราวของมิ ต ร แต่ ล ะคนเช่ น กั น ซึ่ ง พวกเขาก็ ยิ น ดี จ ะเล่ า


260

เปรม ปราณ ปัญจาบ

1 2 3 4

1. 2. 3. 4.

เด็กๆ ในหมูบ่ า้ นจันนันเก้ เด็กน้อยทีส่ วุ รรณวิหาร (พ่ออยากให้เข้ากล้องด้วย) เด็กโตทีส่ วุ รรณวิหาร (เดินเข้ามาขอเข้ากล้องด้วยคน) เด็กนักเรียนในโรงเรียนทีห่ มูบ่ า้ นจันนันเก้ (อายสุดๆ)


เปรม ปราณ ปัญจาบ

ให้ฟัง ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อน แม้ว่าจะเป็น วงพูดคุยกันเล่นๆ แต่กลับช่วยให้ผมได้เห็น ชีวิตบางส่วนของแต่ละคน นี่ก็เป็นความสุข เล็ ก ๆ น้ อ ยๆ ของคนรู้ จั ก กั น ใหม่ เพราะ ตอนทีผ่ มโบกมือลา... ใครกันหว่าทีต่ าแดงๆ ปัญจาบเป็นดินแดนที่มีความหมาย สำหรับชาวไทยซิกข์ เพราะเป็นถิ่นกำเนิด ศาสนาซิกข์และเป็นถิ่นฐานของบรรพบุรุษ ของชาวไทยอินเดียทั้งชาวซิกข์และชาวฮินดู สำหรับตัวผมแล้ว การรู้จักปัญจาบก็คือการ ได้ เ ข้ า ใจเรื่ อ งราวในย่ า นพาหุ รั ด มากขึ้ น เพราะพาหุรัดเป็นปลายทางซึ่งมีต้นทางมา จากปัญจาบนัน่ เอง แต่ในเมืองอมฤตสาร์ ไม่ค่อยจะได้ พบกับคนไทย อาจจะมีไปเที่ยวบ้างกระมัง

261

(หากไม่นับรวมชาวไทยซิกข์) ซึ่งไม่แปลก อะไร คงเป็นเพราะเมืองนีย้ งั ไกลจากการรับ รู้ ข องคนไทยทั่ ว ไป หากใครที่ ไ ด้ สั ม ผั ส ปัญจาบแล้ว ก็จะพบว่า “ชาวปัญจาบีเป็น คนที่กินดีและแต่งกายดี” นั้นเป็นไปตามคำ ล่ำลือ ร่ายเรื่องต่างๆ มากเสียยืดยาวทั้ง เรื่องเล็กและไม่เล็ก การนำมาเล่าสู่กันฟัง ครั้งนี้ เพื่ออยากจะสื่อสารว่า จริงๆ แล้ว ชาวอิ น เดี ย และประเทศอิ น เดี ย นั้ น เป็ น อย่างไร จากสิ่งที่พบปะและได้ไปสัมผัสมาก็ น่าจะพอทำให้เห็นว่าชาวซิกข์เป็นอย่างไร ในรัฐปัญจาบมีความเป็นอยูก่ นั อย่างไร หวัง ว่าน่าจะพอทำให้เราๆ ท่านๆ ได้รู้จักและ เข้าใจชาวซิกข์และดินแดนปัญจาบมากขึน้


262

เปรม ปราณ ปัญจาบ

31 มี.ค.

เมษาสัญจร (2553/2010) เดินทางจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสู่ลุ่มแม่น้ำยมุนา ใช้เส้นทางสุวรรณภูมิ–นิวเดลี โดยสารเครือ่ งบิน และจากนิวเดลีสอู่ คั ราโดยสารรถบัสท้องถิน่

31 มี.ค.–2 เม.ย. ค้างแรมที่โรงแรมในย่านตาชกันจ์ ลุ่มแม่น้ำยมุนา เมืองอัครา รัฐอุตตระ-

ประเทศและชมตาช-มฮัล 2–3 เม.ย. 3–13 เม.ย. 14–16 เม.ย. 17 เม.ย. 18 เม.ย.

18–21 เม.ย. 21–22 เม.ย. 22–24 เม.ย. 25 เม.ย. 25–26 เม.ย. 27 เม.ย. 28–29 เม.ย. 30 เม.ย.

เดินทางจากเมืองอัคราสูน่ วิ เดลี และนิวเดลีสอู่ มฤตสาร์ โดยสารรถไฟ ค้างแรมทีส่ วุ รรณวิหาร เมืองเก่าอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ ค้ า งแรมที่ บ้ า นของครอบครั ว ชาวปั ญ จาบี ใ นหมู่ บ้ า นจั น นั น เก้ (นอกเมื อ ง อมฤตสาร์) ค้างแรมทีบ่ า้ นของครอบครัวชาวปัญจาบีในหมูบ่ า้ นโกฏเครา (ชุมชนย่านชานเมือง ใกล้เมืองอมฤตสาร์) เดินทางจากเมืองอมฤตสาร์สู่เมืองดรัมศลา ใช้เส้นทางอมฤตสาร์–ปฐานโกฏ โดยสารรถไฟ จากนั้นโดยสารรถบัสท้องถิ่นจากเมืองปฐานโกฏในรัฐปัญจาบ สูเ่ มืองดรัมศาลาในรัฐหิมาจัลประเทศ ค้างแรมทีโ่ รงแรมในย่านแมคเวลบนหุบเขาในเมืองดรัมศาลา เดินทางจากเมืองดรัมศลาสูห่ มูบ่ า้ นมนาลี เมืองกุลลู รัฐหิมาจัลประเทศ โดยสาร รถบัสท้องถิน่ ค้างแรมทีโ่ รงแรมในหมูบ่ า้ นมนาลีแห่งลุม่ น้ำบีอาส เดินทางจากหมูบ่ า้ นมนาลีสเู่ มืองชิมลา เมืองหลวงของรัฐหิมาจัลประเทศ โดยสาร รถบัสท้องถิน่ ค้างแรมทีโ่ รงแรมในเมืองชิมลา และเทีย่ วชมสถานทีส่ ำคัญต่างๆ เดินทางจากเมืองซิมลากลับเมืองหลวงนิวเดลี โดยสารรถบัสวีไอพี และค้างแรม ทีโ่ รงแรมในย่านมุสลิมนิเชาว์มดุ ดิน ชานเมืองเก่าเดลี ค้างแรมทีบ่ า้ นพักย่านพิตมั ปุระ ชานเมืองเดลี และเทีย่ วชมสถานทีส่ ำคัญในเมือง หลวง เดินทางจากนิวเดลีกลับกรุงเทพมหานคร โดยใช้เส้นทางเดียวกับเทีย่ วมา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

เส้นทางเมษาสั ญ จร หมูบ่ า้ นจันนันเก้ เมืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ

เมืองอมฤตสาร์ รัฐปัญจาบ

เมืองดรัมศลา รัฐหิมาจัลประเทศ

เมืองหลวงนิวเดลี

เมืองอัครา รัฐอุตตระประเทศ เมืองซิมลา รัฐหิมาจัลประเทศ

หมูบ่ า้ นมนาลี รัฐหิมาจัลประเทศ

ทีม่ า (แผนที)่ : 1. http://panjabilok.net/upload/resource_editor_images/1290414787.jpg, [เม.ย. 2554/2011]

263


264

เปรม ปราณ ปัญจาบ

สาระเพิม่ เติม ชือ่ สถานทีต่ า่ งๆ ทีก่ ล่าวถึง (บางส่วน) อังกฤษ India Delhi New Delhi Uttar Pradesh (UP) Agra Taj Mahal Yamuna Punjab Amritsar Wagah Chananke Kot Khehra Pathankot Himacha Pradesh Shimla Dharamshala Dharamsala

ฮินดี

ปัญจาบี - - - - - -

- - -

ไทย (ทีป่ รากฏทัว่ ไป) อินเดีย, ภารต, ภารตะ เดลี, เดลลี นิวเดลี, นิวเดลลี อุตตระประเทศ อัครา, อักรา ทัชมาฮัล, ทัชมาฮาล, ตาช-มฮัล ยมุนา ปัญจาบ อมฤตสาร์, อมฤตสา, อมฤตสระ, อัมริตสา วาคา (ชายแดน) (หมูบ่ า้ น) (หมูบ่ า้ น) ปาทันโกฏ (เมือง) หิมะจัลประเทศ (รัฐ) ซิมลา, ชิมลา (เมือง) ธรรมศาลา, ดรัมศาลา (เมือง)

ในเล่มนีใ้ ช้ อินเดีย, ภารตะ เดลี นิวเดลี อุตตระประเทศ อัครา ตาช-มฮัล ยมุนา ปัญจาบ อมฤตสาร์, อมฤตสระ วาคา จันนันเก้ โกฏเคฮ์รา ปฐานโกฏ หิมะจัลประเทศ ซิมลา ดรัมศาลา


เปรม ปราณ ปัญจาบ

อังกฤษ The Golden Temple (Harmandir Sahib หรือ Darbar Sahib) Himalaya Beas Chenab Jehlum

ฮินดี

ปัญจาบี หรือ -

Ravi Sutlej Pakistan Lahore

265

ไทย (ทีป่ รากฏทัว่ ไป) สุวรรณวิหาร, วิหารทองคำ, วัดทองคำ (ฮัรมันดิรซาฮิบ) หิมาลัย บีอสั (แม่นำ้ ) ชีนาบ (แม่นำ้ ) เฌลัม, เชลัม, เชลุม (แม่นำ้ ) ราวี (แม่นำ้ ) สุตเลช (แม่นำ้ ) ปากีสถาน ละฮอร์, ลาฮอร์, ลาโฮร์

ในเล่มนีใ้ ช้ สุวรรณวิหาร (ฮัรมันดิรซาฮิบ, ดัรบาร์ซาฮิบ) หิมาลัย บีอาส เจนาบ เฌลัม

ไทย (ทีป่ รากฏทัว่ ไป) สิ ก , สิ ก ข์ , สิ ข , ซิ ก , ซิ ก ข์ , ศิ ก ข์ (ศาสนาชาว-) เทพ, เทว, เดว ยิ, ยี, ญี, จี (ท่าน) คุรทุ วาร, คุรดุ วาร, คุรดุ วารา (วัดซิกข์) ยัปยี สาฮิบ, ชัปญี ซาฮิบ (บทสวดภาวนา)

ในเล่มนีใ้ ช้ ซิกข์

ราวี สัตลัช ปากีสถาน ลาฮอร์

คำศัพท์ทใี่ ช้ในเล่มนี้ (บางส่วน) อังกฤษ Sikhism, Sikh Dev Ji Gurdwara (Sikh temple) Japji Sahib

ฮินดี

ปัญจาบี

-

เดว ญี คุรดุ วารา ชัปญี ซาฮิบ

หมายเหตุ : นามของบุคคล สถานที่ เรือ่ งราวในภาษาปัญจาบี ใช้ตามสมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภาเป็นหลัก


266

เปรม ปราณ ปัญจาบ

พระนามพระศาสดาในศาสนาซิกข์

Guru Nanak Dev Ji พระศาสดาคุรนุ านักเดวญี 2012/1469–2082/1539 Guru Angad Dev Ji พระศาสดาคุรอุ งั คัตเดวญี 2082/1539–2095/1552

Guru Har Gobind Ji พระศาสดาคุรฮุ รั โควินท์ญ ี 2149/1606–2187/1644 Guru Har Rai Ji พระศาสดาคุรฮุ รั รายญี 2187/1644–2204/1661

Guru Amar Das Ji พระศาสดาคุรอุ ามัรดาสญี 2095/1552–2117/1574

Guru Har Krishan Ji พระศาสดาคุรฮุ รั กฤษณญี 2204/1661–2207/1664

Guru Ram Das Ji พระศาสดาคุรรุ ามดาสญี 2117/1574–2124/1581

Guru Tegh Bhadur Ji พระศาสดาคุรเุ ตคบฮาดัรญี 2208/1665–2218/1675 Guru Gobind Singh Ji พระศาสดาคุรโุ ควินท์สงิ ห์ญ ี 2218/1675–2251/1708

Guru Arjan Dev Ji พระศาสดาคุรอุ รยันเดวญี 2124/1581–2149/1606


เปรม ปราณ ปัญจาบ

พระศาสดาศรีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ : Sri Guru Granth Sahib (SGGS), 2251/1708–ตลอดกาล (พระศาสดานิรนั ดร์กาล)

267

หมายเหตุ : ช่วงปี ค.ศ. ของการดำรงเป็นพระศาสดาในแต่ละแห่งไม่ตรงกัน คลาดเคลือ่ นประมาณ 10 ปี ทีม่ า : ภาพ : http://en.wikipedia.org/wiki/Sikh_gurus, http://singhsabhabrisbane.com, http://www.gurugranthsahib.com/, http://www.khalistan.net, http://www.sikhsikhism.com พระนามภาษาอังกฤษและไทย : สมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา ช่วงปี ค.ศ. : http://www.sikhiwiki.org/index.php/Ten_Sikh_Gurus, [ก.พ. 2553/2010]


268

เปรม ปราณ ปัญจาบ

เทศกาลและวันสำคัญในศาสนาซิกข์ วัน-เดือน ปฏิทนิ สากล 5 มกราคม

เทศกาลและวันสำคัญ เดือน ปฏิทนิ นานักซาฮี โปฮห์ (Poh) วันคล้ายวันประสูติ : พระศาสดาคุรโุ ควินท์สงิ ห์ญี (10) 14 เมษายน แวซาค (Vaisakh) วันวิสาขี และวันสถาปนาคาลซา ขึน้ 15 ค่ำ เดือน 12 แวซาค (Vaisakh) วันคล้ายวันประสูติ : (14/15 เมษายน) พระศาสดาคุรนุ านักเดวญี (1) 16 มิถนุ ายน ฮารฺ (Harh) วันสละชีพพิทกั ษ์ธรรม : พระศาสดาคุรอุ รยันเดวญี (5) 1 กันยายน (ปาดโร้ห)์ Bhadon วันปฐมปรากาศพระมหาคัมภีรศ์ รีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ (Parkash Sri Guru Granth Sahib) 20 ตุลาคม กัตตัก (Katik) วันสถาปนาพระมหาคัมภีรศ์ รีครุ คุ รันถ์ซาฮิบ เป็นพระศาสดานิรนั ดร์กาล 24 พฤศจิกายน มฆัร (Maghar) วันสละชีพพิทักษ์ธรรมและเสรีภาพแห่งความเชื่อ ถือ : พระศาสดาคุรเุ ตคบฮาดัรญี (9)

ชาวซิกข์มีการเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติและวันสิ้นชีพของพระศาสดาทั้งสิบพระองค์ โดยมีการเฉลิมฉลองเป็นพิเศษ คือ วันคล้ายวันประสูตพิ ระศาสดาคุรนุ านักเดวญี (1) และ พระศาสดาคุรโุ ควินท์สงิ ห์ญี (10) ทีม่ า (ข้อมูล) : สมาคมศรีครุ สุ งิ ห์สภา ดูวนั สำคัญต่างๆ ของแต่ละปี : http://www.sikhiwiki.org/index.php/On_This_Day หมายเหตุ :


เปรม ปราณ ปัญจาบ

269

แนะนำภาษาปัญจาบี (ธนบัตรรูปอี นิ เดีย) Assamese อัสสัม Bengali เบงกาลี Gujarati คุชาราตี Kannada กันนาดา Kashmiri กัศมีร ี Konkani โกน-กณี Malayalam มาลายาลัม Marathi มราฐี Nepali เนปาลี Oriya โอริยา Punjabi ปัญจาบี Sanskrit สันสกฤต Tamil ทมิฬ Telugu เตลูก ู Urdu อูรดู

1

2 3

1. ภาษาปัญจาบีและภาษาต่างๆ บนธนบัตรรูปี ที่มา : http://banks-india.com/ banking-system/different-languages-on-rupee-bank-notes/, [ก.พ 2554/ 2011] 2. ธนบัตรสกุลรูปขี องอินเดียในปัจจุบนั ทีม่ า : http://www.bizindia.net/news/ news.asp?newsid=505&catId=61&locID=42, [ก.พ. 2554/2011] 3. ภาษาต่างๆ 15 ภาษาบนธนบัตรรูป ี ทีม่ า : http://www.spiderpic.com, [ก.พ. 2553/2011]


270

เปรม ปราณ ปัญจาบ

แนะนำภาษาปัญจาบี (คุรมุค)ี

1

1. โปสเตอร์อกั ษร “คุรมุค”ี หรือภาษาปัญจาบี ทีม่ า : http://www.gurdwara.co/, [พ.ค 2553/2010]


เปรม ปราณ ปัญจาบ

271

อูรา่ ห์ Ura

แอร่า Araa

อีร ี่ Eri

ซัสซ่า Sassa

ฮาฮ้า Haha

ฐานเสียง กอ

กักก้า Kekka

คักค่า Khakka

ฆักฆ้า Gagga

ฆัคฆ่า Kegga

งังง่าห์ Ngenga

ฐานเสียง จอ

จัจจ้า Cecca

ชัชช่า Chhachha

ญัญญ่า Jejja

จัจญ่า Cejja

ญินญ่า Nyenya

ฐานเสียง ฏอ

แตงก้า Tainka

ธัดธ่า Thatha

ดัดด้า Dedda

ฎัดด้า Tedda

นานน่า Nahna

ฐานเสียง ตอ

ตัตต้า Tatta

ทัดท่าห์ Thatha

ดัดฎ้า Dadda

ฎัดด้า Teddaha

นันน่า Nenna

ฐานเสียง ปอ

ปัปป้า Pappa

พับพ้า Phapha

บับบ้า Bebba

ปัผบ้า Pebba

มัมม่า Nenna

ฐานเสียง ยอ

ยัยย่า Yaiya

ราร่าห์ Rara

ลัลล่าห์ Lalla

วาว์วา่ Wava

ร่าห์รา่ ห์ Rharha

ชัชช่า Shasha

คักค่าห์ Khakha

ฆักฆ่า Ghagga

ญัญญ่า Zazza

ฟัฟฟ่า Faffa

อักขระเพิม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.