นิตยสารสารคดี ฉบับ 307 -20 ปี สืบทอดเจตนา สืบ นาคะเสถียร

Page 1

๓๐๗

กั น ย า ย น ๒ ๕ ๕ ๓

๒๐ ป สืบทอดเจตนา

๒๐ ป สืบ นาคะเสถียร

สืบ นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียร ในความทรงจํา

ปาฐกถา เสกสรรค ประเสริฐกุล

คนกับธรรมชาติ ตองอยูรวมจึงอยูรอด

โรงเรียนธรรมชาติชิราคาวา-โก

ปาฐกถาโดย ดร. เสกสรรค ประเสริฐกุล

ราคา ๑๒๐ บาท

ป ที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓ ราคา ๑๒๐ บาท

www.sarakadee.com

ปกพิมพเคลือบนํ้ามันกันนํ้า ไมเคลือบพีวีซี เพื่อลดการใชพลาสติก


๒๐ ปี หลังเสียงปืน วีระศักร  จันทร์ส่งแสง  :  เรื่อง

58 นิตยสารสารคดี

ฉบัฉบั บทีบ่ ที๓๐๗ ่ ๓๐๗กันกัยายน นยายน๒๕๕๓ ๒๕๕๓


จุดเทียนร�ำลึกถึง สืบ นาคะเสถียร ในคืนวันที่ ๓๑ สิงหาคม  ณ ที่ ท�ำการเขตฯ ห้วยขาแข้ง  บริเวณ หน้าอนุสาวรีย์ของเขา--อนุสรณ์ ทีส่ ะท้อนถึงตัวตนของ สืบ นาคะ-

เสถียร ในความเป็นคนช่างเรียนรู้ คนทีไ่ ด้เจอตัวจริงของเขาจะคุน้ ตา กับภาพหัวหน้าสืบที่ต้องมีกล้อง สมุด ปากกา ติดตัวเสมอยามเดิน เข้าสู่ป่า ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท์

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

59


สภาพความสมบูรณ์ของป่าบริเวณ ล�ำห้วยขาแข้ง ใจกลางของผืนป่า ตะวันตก ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช

60 นิตยสารสารคดี

ฉบัฉบั บทีบ่ ที๓๐๗ ่ ๓๐๗กันกัยายน นยายน๒๕๕๓ ๒๕๕๓


ป่าตะวันตกเป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดของประเทศไทยและในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ครอบคลุมพื้นที่  ๑๑.๗ ล้านไร่    สืบเคยพูดว่า หากจะรักษาป่าทุ่งใหญ่ฯ -ห้วยขาแข้งให้ยั่งยืนได้  ต้องรักษาผืนป่า ตะวันตก

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

61


ในป่า

ภาพอดีตเมือ่ ปี ๒๕๓๑  สืบ นาคะเสถียร นัง่ ลงคุยกับผูน้ ำ� ชาวกะเหรีย่ ง แถบลุ่มน�้ำแม่จัน (อุ้มผาง)  เช่น เดียวกับในทุกวันนี้ (ภาพใหญ่) ที่ การประชุมประจ�ำเดือนของชุมชน กะเหรี่ยงในเขตฯ อุ้มผางจะมีเจ้า-

62 นิตยสารสารคดี

หน้าที่ปา่ ไม้เข้าร่วมพูดคุยแลกเปลีย่ น ด้วยทุกครัง้   (บน) บ้านกุยเคลอะ ตัง้ ชุมชนอยู่ช่วงกลางของล�ำน�้ำแม่จัน ข้ามสะพานไม้ไผ่นไี้ ปก็เป็นเขตพืน้ ที่ ใช้ประโยชน์ของชุมชน ซึ่งมีทั้งไร่ หมุนเวียนและป่าใช้สอย   ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

(บนซ้าย) จุดสกัดกุยเลอตอ “ประตู ป่า” ของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ อ�ำเภออุ้มผาง ตาก  พื้นที่ทางตอน เหนือของผืนป่าตะวันตก ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท์


“ผมคิดว่าป่าไม้จะอยู่ได้  คนจะต้องอยู่ได้ก่อน  เพราะว่าคนที่ด้อยโอกาสในสังคม เขาไม่สามารถจะไปเรียกร้องอะไร เขาไม่มีอ�ำนาจ   คนพวกนี้อยู่กับธรรมชาติ  ผมคิดว่าป่าจะอยู่หรือจะไปอยู่กับคนกลุ่มนี้ด้วย”

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

63


ป่า การเดินแนวเขตท�ำกันอย่างละเอียด เดินเท้าและบันทึกลงแผนที่ระบบ จีพีเอส  หย่อมป่าที่แม้จะถูกล้อม ด้วยที่ท�ำกินก็จะไม่ถูกบุกเบิกเพิ่ม ในภาพนี้ เ ป็ น ป่ า ชุ ม ชนของบ้ า น ปางสัก อ�ำเภอแม่เปิน นครสวรรค์ ริมป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ทีเ่ ห็น ทิวเขาเขียวเข้มห่างออกไป (ล่าง) รูปธรรมหนึง่ ของการประสาน พลังของสามฝ่ายในผืนป่าตะวันตก หน้าสุด-ตะวันฉาย หงษ์วลิ ยั  เอ็นจีโอ มูลนิธสิ บื นาคะเสถียร  คนยืน-จงจิตร์

มุ้งทอง เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ แม่วงก์  และ ศุทรา เมืองเจริญ ชาว บ้านปางสักที่อยู่ในเครื่องแบบคณะ กรรมการป่าชุมชนชุดสีดำ� พวกเขา จั บ มื อ กั น ดู แ ลป่ า ในแถบแม่ เ ปิ น แม่วงก์ ชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และเชื่ อ มประสานกั บ เครื อ ข่ า ย ป่าชุมชนอืน่ รวม ๖ จังหวัดซึง่ ล้วนแต่ ใช้รปู แบบในการประสานความร่วมมือ ของทั้งสามฝ่าย เจ้าหน้าที่-เอ็นจีโอ -ชาวบ้าน เช่นเดียวกันทั่วทั้งผืนป่า ตะวันตก ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท์

64 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓


“ผมเห็นใจคนที่ไม่มีโอกาสในสังคม  ถูกบีบคั้นถูกเอาเปรียบทุกอย่าง   ประเทศไทยจะดีขึ้นถ้าคนที่มีโอกาส  ยอมสละโอกาสบ้าง”

การปลูกป่า กิจกรรมหนึ่งของชุมชน ที่ดูแลป่า ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่ม ต้ น ไม้ ใ นพื้ น ที่  ยั ง เป็ น การปลู ก จิ ต ส�ำนึกเรือ่ งความรักป่าลงในใจคนด้วย

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี 65


กระทิ ง เป็ น สั ต ว์ กี บ ขนาดใหญ่   มี พื้ น ที่ ห ากิ น ประมาณ ๔๐ ตาราง กิโลเมตร พบเห็นได้มากขึ้นในช่วง หลายปีมานี้

66 นิตยสารสารคดี

(หน้ า ขวา) ในผื น ป่ า ตะวั น ตกมี ประชากรช้างป่ามากกว่า ๕๐๐ ตัว เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศ ภาพ : WCS  (Wildlife Conservation Society)

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓


ป่าตะวันตกมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก  อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์และพืชมากกว่า ๔,๐๐๐ ชนิด  มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นหัวใจของผืนป่าตะวันตกจ�ำนวนมาก  อันเป็นผลมาจากการท�ำงานหนักของคนกลุ่มหนึ่ง ที่เสี่ยงเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อรักษาป่าผืนนี้ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ท�ำให้ผืนป่าแห่งนี้มีสภาพเป็น “สัตว์ใหญ่  ไพรกว้าง”

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

67


กับงานวิจัย

เสื อ โคร่ ง ถื อ เป็ น ดั ช นี ชี้ วั ด ความ อุดมสมบูรณ์ของป่า ในฐานะนักล่า อันดับ ๑  ปัจจุบันในผืนป่าตะวัน ตกมี ป ระชากรเสื อ โคร่ ง ประมาณ ๒๐๐ ตัว มากทีส่ ดุ ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้  ในภาพนักวิจัยก�ำลังเก็บ ข้อมูลเสือโคร่งตัวหนึ่งที่ถูกวางยา สลบในป่าห้วยขาแข้ง

68 นิตยสารสารคดี

(หน้าขวา) สัตว์ป่าหายากและใกล้ สู ญ พั น ธุ ์   อาทิ   วั ว แดง ควายป่ า สมเสร็ จ  สามารถพบเห็ น ได้ ม าก และบ่อยขึ้นในผืนป่าห้วยขาแข้ง  ภาพ : WCS  (Wildlife Conservation Society)

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓


“ผมสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะไปวิ่งจับคน  เพราะว่าจับได้แค่ตัวเล็ก ๆ  ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้    ก็เลยอึดอัดว่า กฎหมายบ้านเมืองนี้มันใช้ไม่ได้กับทุกคน”

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

69


พิทักษ์ป่า

70 นิตยสารสารคดี

ฉบัฉบั บทีบ่ ที๓๐๗ ่ ๓๐๗กันกัยายน นยายน๒๕๕๓ ๒๕๕๓


“ผมพูดได้เลย มันมีการยิงกันทุกวัน   เจ้าหน้าที่ยิงก่อนก็ไม่ได้  ถือว่าเกินกว่าเหตุ    ลูกน้องผมถูกนายพรานยิงตายสองคน เรามีค่าเหรอ  ตายไปอย่างดีก็เอาชื่อมาติดที่อนุสาวรีย์หน้ากรมป่าไม้”

สืบ นาคะเสถียร เป็นหัวหน้าที่ให้ ความใส่ใจกับชีวิตความเป็นอยู่และ สวัสดิภาพของเจ้าหน้าทีพ่ ทิ กั ษ์ปา ่ ที่ เป็นแนวหน้าในการรักษาป่าแต่มัก จะถูกละเลยจากหน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด  ปัจจุบัน มีหลายหน่วยงานได้เข้ามาปรับปรุง

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

ประสิ ท ธิ ภ าพการท� ำ งาน ทั้ ง การ ลาดตระเวน การเป็นผูช้ ว่ ยนักวิจยั สัตว์ปา ่ และการตัง้ กองทุนเพือ่ เป็น สวัสดิการแก่เจ้าหน้าที่เหล่านี้  ภาพ : WCS  (Wildlife Conservation Society)

นิตยสารสารคดี

71


เส้นลำยมือของ สืบ นำคะเสถียร ทีข่ ดี ก�ำหนดขอบเขตของผืนป่ำตะวันตก ลงบนแผนที่ ก่อนเขำจะเสียสละ ชีวติ ไม่นำน ด้วยเจตนำรมณ์วำ่ จะต้อง รักษำผืนป่ำนี้ ให้ ได้ อันประกอบด้วย พื้นที่ป่ำอนุรักษ์ ๑๗ แห่งที่มีพื้นที่

ต่อเนือ่ งกัน ทัง้ ทีเ่ ป็นอุทยำนแห่งชำติ และเขตรักษำพันธุ์สัตว์ป่ำ ต่อมำ แนวคิดของเขำได้รบั กำรสำนต่อจำก ทุ ก ฝ่ ำ ยในกำรจั ด กำรดู แ ลผื น ป่ ำ ตะวันตกแบบมีส่วนร่วม ระหว่ำง เจ้ำหน้ำที่รัฐ เอ็นจีโอ และชำวบ้ำน

ผืนป าตะวันตก Western Forest Complex ๑๗ ๑๖ ค�ำอธิบำยสัญลักษณ์ ที่ตั้งหมู บ าน เส นทางคมนาคม เส นทางนํ้า แนวเขตประเทศไทย แนวเขตสํารวจเพื่อเสนอ จัดตั้งป าชุมชน แนวเขตสํารวจการใช ประโยชน์ ของชุมชนและพื้นที่ป าภายใน แนวเขตป าตะวันตก แนวเขตจังหวัด

๑๕

๑๔

๒ ๑๓

๓ ๔

๑๒

๕ ๖ ๑๑

๑๐

๑. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป าอุ มผาง ๒. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป าทุ งใหญ นเรศวรด านตะวันออก ๓. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป าทุ งใหญ นเรศวรด านตะวันตก ๔. อุทยานแห งชาติทองผาภูมิ ๕. อุทยานแห งชาติเขาแหลม ๖. อุทยานแห งชาติลําคลองงู ๗. อุทยานแห งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ๘. อุทยานแห งชาติไทรโยค ๙. อุทยานแห งชาติเอราวัณ ๑๐. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป าสลักพระ ๑๑. อุทยานแห งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ๑๒. อุทยานแห งชาติพุเตย ๑๓. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป าห วยขาแข ง ๑๔. อุทยานแห งชาติแม วงก์ ยสารสารคดี ฉบังบเจ ทีา่ ๓๐๗ กันยายน ๗๒ ๑๕. อุนิทตยานแห งชาติคลองลาน ๑๖. อุทยานแห งชาติคลองวั ๑๗. เขตรั กษาพัน๒55๓ ธุ์สัตว์ป าเขาสนามเพรียง


ภาพ สืบ นาคะเสถียร โถมตัวปัม๊ หัวใจกวางตัวเขือ่ งทีน่ อน  แน่นิ่งอยู่ในท้องเรือ กระทบใจนริศอย่างแรงและเขายังได้ใช้ วีดิทัศน์ชุดนี้ปลุกใจตัวเองเสมอในยามท้อแท้จากการงาน   นริศเป็นหัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เขตพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีด้านตะวันออกของล�ำน�้ำ  แควใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ป่าตะวันตก” ที่หัวหน้าสืบ ขีดวงไว้ในแผนที่ ในช่วงที่เขาเป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์  สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ผืนป่าซึ่งเขาเห็นว่าเป็นหัวใจของผืนป่า  ในเมืองไทย เขาพูดไว้แต่ครัง้ นั้นว่า “การทีจ่ ะรักษาป่าทุง่ ใหญ่ฯ-ห้วย ขาแข้งให้ยงั่ ยืนได้จริง ต้องคิดทัง้ ระบบนิเวศผืนป่าตะวันตก” ถึงวันนี ้ ๒๐ ปีเต็มนับแต่วนั ทีเ่ ขาจากไป งานรักษาผืนป่า  ตะวันตกเกิดความตื่นตัวคืบหน้าไปเป็นล�ำดับ  ป่าได้รับการ  ปกปักรักษา สัตว์ปา่ ได้มที อี่ าศัย ทีส่ �ำคัญ คนในป่า--ทีถ่ อื เป็น

ส่วนหนึ่งของผืนป่าก็ได้รับการดูแลด้วย โดยความเห็นชอบ ของส่วนราชการด้านป่าไม้ จากการประสานของมูลนิธิสืบ  นาคะเสถียร ซึ่งอาจถือเป็นปรากฏการณ์พิเศษที่จะนับว่า เป็นต้นแบบของเมืองไทยก็คงว่าได้ ทีเ่ จ้าหน้าทีป่ า่ ไม้-ชาวบ้าน  -เอ็นจีโอ สามารถสร้างความร่วมมือกันได้แทนการทะเลาะ เบาะแว้งเผชิญหน้ากัน จึงป่าตะวันตกในวันนี้ มีคน-ต้นไม้-สัตว์ป่า อยู่ร่วมกัน ได้ และโดยเฉพาะผู้คนในถิ่นเหล่านั้นนอกจากไม่ต้องเป็น ปฏิปกั ษ์กบั เจ้าหน้าทีป่ า่ ไม้แล้ว ยังได้เข้ามีสว่ นร่วมในการดูแล รักษาป่าด้วย ภายใต้โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่าง  มี ส ่ ว นร่ ว มในผื น ป่ า ตะวั น ตก ที่ ด� ำ เนิ น การโดยมู ล นิ ธิ สื บ  นาคะเสถียร องค์กรเอกชนทีถ่ กู ก่อตัง้ ขึน้ หลัง สืบ นาคะเสถียร  เสียสละชีวติ  ๑๘ วัน เพือ่ เป็นก�ำลังในการสืบเจตนารมณ์ของ ชายผู้ปกป้องผืนป่าด้วยชีวิตของตัวเอง

๒๐ ปี หลังเสียงปืน

วีระศักร จันทร์ส่งแสง : เรื่อง บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ : ภาพ ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

73


“หลังคุณสืบเสียชีวิต ๑๘ วัน เพื่อนพ้องน้องพี่ก็มา ประชุมกันว่าการจะให้เกิดความยั่งยืนต้องตั้งเป็นมูลนิธิ”  รตยา จันทรเทียร ยังจ�ำเหตุการณ์ช่วงนั้นได้ดี แม้ผ่านมา  ๒๐ ปีเต็มแล้ว  ตอนนั้นเธอรับราชการอยู่เป็นปีสุดท้ายก่อน เกษียณจากต�ำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ซึ่งครั้งหนึ่ง สืบในวัยเพิง่ จบปริญญาตรีใหม่ๆ ก็เคยมาท�ำงานอยูใ่ นองค์กร นี้ แต่รตยาบอกว่ายังไม่ได้รู้จักกันเป็นส่วนตัวในช่วงนั้น ที่ประชุมก่อตั้งมูลนิธิฯ มีฉันทานุมัติให้เธอเป็นประธาน  คนแรก และยังคงเป็นอยู่จนปัจจุบัน “คนน�ำผลการประชุมมาบอกว่า ที่ประชุมแต่งตั้งให้  อาจารย์รตยาเป็นประธาน ต้องเป็นนะ  ดิฉันก็บอกว่า คุณ สืบเขาเสียสละทั้งชีวิตเพื่อรักษาผืนป่าและสัตว์ป่า แล้วรตยา เป็นใครถึงจะไม่รับ  แค่นี้ หรือมากกว่าก็ท�ำได้  ก็รับเป็น ประธานมูลนิธิฯ มาตั้งแต่นั้น” ๒๐ ปีกอ่ น สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่   ห้วยขาแข้ง ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองเพื่อประกาศกับโลกว่า  ผืนป่าแห่งนีก้ ำ� ลังถูกคุกคามและต้องการการดูแลอย่างจริงจัง  มากกว่าที่เป็นอยู่ เสียงปืนนัดเดียวนั้นกึกก้องขึ้นก่อนรุ่งสางของวันที่ ๑  กันยายน ๒๕๓๓ และคืนสู่ความเงียบที่กลางป่าห้วยขาแข้ง   แต่มันได้ส่งผลสะท้อนสะเทือนออกมาถึงในเมือง ถึงนานา ประเทศ ผูค้ นทัว่ ประเทศเสียดายอาลัยต่อการจากไปของเขา และ จากนัน้ ชือ่ นามของเขาได้รบั การสดุดแี ละกล่าวขานถึงในฐานะ วีรบุรุษที่เป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์ป่า  แม้ล่วงผ่านกาล เวลามาร่วมสองศตวรรษ ชือ่ ของเขายังจ�ำหลักมัน่ อยูใ่ นใจคน และน่าเชื่อได้ว่าชื่อของลูกผู้ชายคนนี้จะอยู่ในความรับรู้ของ ผู้คนไปยาวนานกว่าชั่วชีวิตของคนเรา เขาฆ่าตัวตาย แต่ตัวเขาไม่ตายไปจากใจคน  ประธาน  มูลนิธสิ บื ฯ ในปัจจุบนั  ทีอ่ อกตัวว่าความจริงเธอไม่ได้สนิทสนม  เป็นการส่วนตัวกับคุณสืบเลย แต่มีแนวคิดเดียวกัน และที่ ท�ำงานอยู่ในทุกวันนี้ก็ด้วยศรัทธาในสิ่งเดียวกัน พูดถึงนาม  ที่ยังคงยืนยงอยู่หลังความตายของชายชื่อ สืบ นาคะเสถียร  ว่า คงไม่ใช่เพราะวิธีที่เขาฆ่าตัวตาย แต่สิ่งส�ำคัญอยู่ที่คุณค่า และความเป็นคนจริงในตัวเขา

74 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

สืบ นาคะเสถียร เป็นคนจริง ทั้งในค�ำเล่าของคนที่ได้  ท�ำงานร่วมยุคกับเขา และจากหลักฐานที่มีให้เห็น อย่างใน  วีดิทัศน์ประวัติศาสตร์ที่เป็นที่สุดความประทับใจของนริศนั้น ก็เป็นตัวอย่างหนึง่  นัน่ เป็นเหตุการณ์ในคราวอพยพช่วยชีวติ สัตว์ป่าที่ก�ำลังจะจมน�้ำจากการปิดเขื่อนเชี่ยวหลาน ช่วงนั้นสืบท�ำงานวันละ ๑๖ ชั่วโมง แข่งกับระดับน�้ำที่ ท่วมสูงขึน้ ทุกวันกับงบประมาณอันจ�ำกัด  ยามออกสูก่ ารงาน ในภาคสนาม เขาจะน�ำหน้าลูกน้องเสมอ วันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์ ทีไ่ ด้รว่ มติดตามไปดูการท�ำงาน ของเขาในช่วงปี ๒๕๒๙ ด้วยในฐานะสือ่ มวลชน เล่าเหตุการณ์  หนึง่ ว่า ระหว่างเข้าช่วยชะนีตวั หนึง่  งูจงอางตัวยาวราว ๓ เมตร  ก็พุ่งจากโพรงไม้ลงไปในน�้ำ หัวหน้าสืบสั่งให้แล่นเรือตาม  ไปจับตัวมัน เพราะปล่อยไปมันก็ไม่มีทางว่ายไปถึงฝั่งที่อยู่  ห่างไกลได้ ต้องหมดแรงจมน�้ำตายในที่สุด แล้วจงอางก็ถูกสวิงช้อนขึ้นมาอยู่บนเรือ “คราวนี้ทุกคนมองหน้ากันเลิ่กลั่ก ใครจะเสี่ยงตายเป็น คนจับงูยัดใส่กระสอบ...ยังไม่ทันไรสืบก็ใช้มือกดหัวจงอาง เจ้าจงอางใช้เขี้ยวพิษกัดสวิงอย่างแรงพร้อมทั้งปล่อยน�ำ้ พิษ  สีเหลืองใสๆ ไหลเยิม้ ออกมาจนหมด จากนัน้ พวกเราช่วยกัน จับงูออกจากสวิงยัดใส่กระสอบ” ความจริงเขาจะสั่งให้คนอื่นท�ำงานที่เสี่ยงนั้นแทนก็ได้ เพราะเขาอยู่ในฐานะหัวหน้าโครงการ แต่เขาเลือกที่จะไม่ทำ� อย่างนั้น  กับงานที่ต้องเสี่ยงอันตรายเขาจะเป็นคนแรกที่ ลงมือ  เขาไม่นงั่ ดูคนอืน่ ท�ำงาน แต่จะน�ำไปก่อนเสมอ  เมือ่ เจอสัตว์ป่าว่ายอยู่ในน�้ำ เขาจะโดดน�้ำลงไปเอง เขาบอกว่าถ้าผู้น�ำท�ำงานหนัก ท�ำงานที่ล�ำบาก ทุกคน  จะมีก�ำลังใจท�ำงานมากขึ้น  หัวหน้าเสียสละได้ ทุกคนก็จะ  เสียสละได้ นัน่ เป็นความคิดจิตใจของหัวหน้าสืบ ขณะอยูใ่ นช่วงหนุม่ ใหญ่วยั  ๓๗ ปี เมือ่ ปี ๒๕๒๙ ทีเ่ ขาท�ำหน้าทีห่ วั หน้าโครงการ อพยพสัตว์ป่าฯ แต่ย้อนกลับไป ๒๐-๓๐ ปีก่อนหน้านั้น ครั้งเขายังเป็น เด็กอยูท่ ปี่ ราจีนบุร ี เด็กชายสืบยศ (ชือ่ เดิม) ก็เคยเป็นนักยิงนก  ตกปลาตัวยง  เมื่อโตขึ้นมาหน่อยเขาท�ำปืนเถื่อนขึ้นใช้เอง และเป็นที่รับรู้กันในละแวกนั้นว่าเขายิงปืนแม่นมาก จนพ่อ ที่ในขณะนั้นเป็นนายอ�ำเภอ (ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด


ปราจีนบุรี) ขู่ว่าถ้าไม่เลิกเล่นปืนจะจับตัวส่งโรงพัก เขากับ น้องชายจึงเอาปืนไปทิ้งคลอง... มีวาทะหนึ่งของเขาที่พูดกับเพื่อนในเวลาต่อมาว่า “เรา ทุกคนล้วนเคยท�าความผิดมาก่อน” หลั ง จบชั้ น มั ธ ยมปลายจากโรงเรี ย นเซนต์ ห ลุ ย ส์ ฉะเชิงเทรา สืบสอบติดคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จบแล้วยังไม่มีต�าแหน่งว่าง เขาจึงไปท�างานปลูก ต้นไม้อยู่กับส่วนสาธารณะ การเคหะแห่งชาติ  ก่อนจะออก ไปเรียนต่อปริญญาโทด้านวนวัฒนวิทยาที่คณะวนศาสตร์  และสอบเข้ากรมป่าไม้ได้อันดับที่ ๓ แต่เขากลับเลือกไปอยู่ กองอนุรกั ษ์สัตว์ป่า แทนที่จะเลือกเป็นป่าไม้อย่างที่นิยมกัน มากที่สุด โดยเขาได้ไปประจ�าอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ในปี ๒๕๑๘ หลังจากนั้นเขาสอบได้ทุนไปเรียนต่อด้านอนุรักษ์วิทยา  ทีม่ หาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ อยูป่ หี นึง่  แล้วกลับ มาเป็นหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ปา่ บางพระ  ไม่นานก็ยา้ ยตัวเอง มาท�างานวิชาการในกองอนุรกั ษ์สตั ว์ปา่  ท�างานวิจยั ศึกษาการ ท�ารังวางไข่ของนกบางชนิด ที่อ่างเก็บน�้าบางพระ ชลบุรี  ศึกษาวิจยั ชีวติ กวางผาทีด่ อยม่อนจอง จนสูญเสียลูกน้องทีร่ กั ไปคนหนึ่ง จากการตกเขาเนื่องจากอุบัติเหตุไฟป่า  รวมทั้ง การวิจัยสัตว์ป่าในป่าห้วยขาแข้ง ที่ท�าให้เขามาได้ยินเสียงปืน ในผืนป่าที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ปี ๒๕๒๙ สืบไปปฏิบตั หิ น้าทีห่ วั หน้าโครงการอพยพสัตว์ปา่ ตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน�้าเขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน)  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งผลจากการสร้างเขื่อนกลางป่าดิบ ท�าให้ปา่ แสนกว่าไร่กลายเป็นทะเลสาบ เกิดเกาะแก่งใหญ่นอ้ ย  ๑๖๒ เกาะ สัตว์ป่ากว่า ๓๐๐ ชนิดติดค้างอยู่ตามเกาะและ พุ่มไม้ รอวันอดตายหรือไม่ก็จมน�้า งานของสืบครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในเมืองไทยด้วย  เขา ต้องศึกษาวิธีการจากต่างประเทศ ผ่านหนังสือและวิดีโอ รายการซิงเกอร์ เวิลด์ ซึง่ มีสารคดีชว่ ยชีวติ สัตว์จากการสร้าง เขื่อนในประเทศเวเนซุเอลา  และเมื่อเขาท�ารายงานเรื่อง  “การประเมินผลงานช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่าง เก็บน�้าเขื่อนเชี่ยวหลาน” ออกมาก็ถือเป็นครั้งแรกของการ ศึกษาผลกระทบด้านสัตว์ปา่ จากการสร้างเขือ่ นในประเทศไทย และรายงานเรื่องนี้ยังเป็นข้อมูลทางวิชาการชิ้นส�าคัญ ที่ท�าให้เขื่อนอีกแห่งที่ก�าลังจะสร้างกลางป่าทุ่งใหญ่นเรศวร  ถูกระงับไป สืบสรุปประสบการณ์จากการท�างานครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่ง ว่า “การสร้างเขื่อนเป็นกระบวนการท�าลายแหล่งพันธุกรรม  ตลอดจนแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยและแหล่งอาหารทีส่ า� คัญของสัตว์ปา่   ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจของผืนป่าทั้งหมดที่มนุษย์มิอาจสร้าง ขึ้นมาใหม่ได้” โครงการอพยพฯ ของเขาช่วยชีวติ สัตว์ปา่ ได้ ๑,๓๖๔ ตัว

รตยา จันทรเทียร

อดีต ผูวาการการเคหะแหงชาติ ปจจุบัน ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียรคนแรก-ปจจุบัน “คุณสืบ นาคะเสถียร เคยไปทํางานที่การเคหะแหงชาติอยูปกวาๆ แตไมไดเจอตัวกัน ตอนตอสูเรื่องเขื่อนนํ้าโจน คุณสืบไดทําขอมูลเรื่องคุณคาของปาทุงใหญฯ และผลที่จะเกิดขึ้น หากโดนนํ้าทวม เราก็เอาขอมูลนั้นมาเผยแพร นั่นแหละที่ไดรูจักคุณสืบ เราไมไดสนิทสนม กันนัก แตแนวคิดเดียวกัน ที่ทํางานอยูในทุกวันนี้ก็ดวยศรัทธาเดียวกัน ก็ตั้งใจวาจะทําไป จนเทวดาเขาไมให หรือทําไมไหว “มูลนิธิสืบนาคะเสถียรเขาไปทํางานในผืนปาตะวันตกโดยไดรับความรวมมือจากราชการ ตามกฎหมายมูลนิธิฯ ไมมีอํานาจหนาที่ จะเขาไปทํางานในปา หลังจากพูดคุยกันเขาใจ เห็นดวยตรงกันแลว ก็มาดูกัน ณ วันนี้วาทําอยางไรใหปาอยูได สัตวปาอยูได คนอยูได ในเมื่อชาวบานเขาทําไรหมุนเวียนก็ทําแนวเขตกัน ไรหมุนเวียน ถางปลูกขาว แลวปลอยใหปาฟนตัว ๔-๕ ปก็เวียน กลับมาทําที่เดิม ถือเปนปาแตไมใชปาดิบที่ไมมีคน หลายคนในกรมอุทยานฯ ยังไมยอมรับเรื่องไรหมุนเวียน แตถาทําเวียนอยูใน แนวเขตไมออกขางนอกก็ยอมรับได เราก็ทําเทานี้กันกอน” ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

7๕


ศศิน เฉลิมลาภ

อดีต อาจารยคณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยรังสิต ปจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร, ผูจัดการโครงการจัดการพื้นที่คุมครองอยางมีสวนรวมในผืนปาตะวันตก (จอมปา) “เราตองแกะแนวความคิดคุณสืบออกมา คุณสืบบอกวาปาอยูได คนตองอยูไดดวย บอกวาเราตองเห็นใจคนที่ไมมีโอกาสใน สังคม เขาจึงเปนขาราชการที่มีความเปนมนุษยสูง และเขาวางบประมาณมีไมพอ ตองทําสิ่งที่เปนไปได รักษาปาตะวันตกกอน ตอนนี้เราก็กําลังทําตรงนี้ “แตมูลนิธิสืบฯ ไมใชเจาหนาที่ เราก็มาหาชองทางที่จะทํางานรวมกับราชการซึ่งมีอํานาจตามกฎหมาย เราตองทํากระบวนการ เยอะมาก ในการเขาพบตั้งแตรัฐมนตรี อธิบดี บางคนเขาไมเอาดวยเราก็หลีกเลี่ยง อธิบดีคนใหมมาเราก็เขาไป เราตองหาวิธี ทําใหนโยบายมันเปด เราไมไดเขาไปทํางานในปาแบบลอยๆ แตมีขอตกลงรวมกับกรมอุทยานฯ มาตั้งแตตน ลงไปทําให ๑๗ เขตปาอนุรักษ พื้นที่ไหนทําไดเราทํากอน ที่ยังทําไมไดพอหัวหนาใหมมาเราก็คุย ในที่สุดก็ประสบความสําเร็จ เพราะเราไมหยุด เราทําขอมูล หาหลักฐานทางวิทยาศาสตรที่เปนที่ยอมรับไดดวย “การจัดการปาตองทําอยางเปนธรรมทั้งกับปาและคน คือรักษาปาของวันนี้ไมใชตั้งแตกอนประกาศเขตปาอนุรักษ การที่เราทําไมใหมีการเปดพื้นที่ปาเพิ่มก็คือการอนุรักษ วันนี้มูลนิธิสืบฯ ก็ยังเปนองคกรอนุรักษสีเขียว การทําปาชุมชนเปาหมายหลักก็เพื่อรักษาผืนปา คือถาใหชาวบานเขารวมแลวรักษาปาไวได เราก็เอา”

ซึ่งเขาเห็นว่าไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ป่าที่จมน�้าตาย ในช่วงเวลาเดียวกันนัน้ ก็มโี ครงการสร้างเขือ่ นน�า้ โจนของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปิดแม่นา�้ แควใหญ่ หรือแม่น�้าแม่กลองตอนบน ซึ่งจะท�าให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จมน�้า ๑.๔ แสนไร่ และรัฐบาลมีแนวโน้มจะอนุมัติโครงการ ในช่วงปี ๒๕๓๐  สืบเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมต่อสู้คัดค้าน  ทั้งที่เขาก็อยู่ในฐานะข้าราชการกรมป่าไม้ และรายงานการ ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่เขื่อนเชี่ยวหลานที่เขาท�าไว้ ก็มีผลอย่าง มากที่ท�าให้โครงการถูกพิจารณาระงับไป นับแต่นั้นมาสืบก็ได้พัฒนาตัวเองจากบทบาทนักวิจัย มาสู่การเป็นนักเคลื่อนไหวไปด้วย เขาใช้พื้นฐานความรู้ทาง วิชาการออกไปพูดท�าความเข้าใจเรื่องป่าไม้และสัตว์ป่าตาม เวทีสาธารณะต่างๆ ทุกครั้ง เขาจะเริ่มด้วยประโยคที่ออกมาจากใจว่า “ผม พูดในนามของสัตว์ป่า...” ปลายปี ๒๕๓๒ สืบอยู่ในช่วงของการตัดสินใจระหว่าง รับทุนไปเรียนต่อปริญญาเอกที่อังกฤษ กับไปด�ารงต�าแหน่ง

76 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

หัวหน้าเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ห้วยขาแข้ง  จนในเดือนธันวาคม ปีนั้น เขาก็ตกลงใจเลือกอย่างหลัง เขาบอกกับคนรอบข้างว่า “ผมสามารถให้ทุกสิ่งกับ ห้วยขาแข้งได้” ซึง่ ช่วงนัน้  ห้วยขาแข้งก�าลังถูกคุกคามอย่างหนักทัง้ การ ลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้  สืบเองยังออกปากว่า พูดได้เลยว่า มีการฆ่าสัตว์ป่ากันอยู่ทุกวัน เขาพยายามน�าเรื่องนี้เสนอต่อผู้ใหญ่ แต่ไม่ได้รับความ สนใจอย่างจริงจัง กรมป่าไม้เองก็ไม่ได้สนับสนุนสิ่งใด  เขา เริม่ มองเห็นว่าหนทางเดียวทีจ่ ะท�าให้ปา่ ห้วยขาแข้งได้รบั การ คุ้มครอง คือต้องผลักดันให้ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก ทางธรรมชาติ  งานหนักของเขาจึงอยูท่ กี่ ารเร่งท�าข้อมูลเสนอ องค์การยูเนสโก เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๓ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในเวลานัน้ ไปตรวจพืน้ ทีจ่ งั หวัดอุทยั ธานี  สืบถูก กลัน่ แกล้งจากบริษทั ท�าไม้แห่งหนึง่  ด้วยการแจ้งกับรัฐมนตรี คนนั้นว่ามีการลักลอบตัดไม้ในป่าห้วยขาแข้ง ต่อมาสืบถูก


เรียกตัวไปชีแ้ จงทีก่ รุงเทพฯ  เรือ่ งนีเ้ องทีอ่ าจเป็นต้นเค้าของ ข่าวลือกระแสหนึง่ ภายหลังเขาเสียชีวติ ว่า หัวหน้าสืบก็มสี ว่ น เกี่ยวพันกับการตัดไม้ ต่อข้อร้องเรียน สืบเตรียมข้อมูลอย่างดีเพื่อชี้แจงว่านั่น เป็นการท�ำไม้นอกเขตรักษาพันธุ์ฯ และชาวบ้านแอบตัดโดย มีผใู้ หญ่ในอ�ำเภอลานสัก อุทยั ธานี หนุนหลัง  ทัง้ ยังพยายาม บอกถึงปัญหาอันหนักอึ้งที่เขาและลูกน้องต้องประสบ แต่กลับได้รับค�ำตอบจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรฯ เพียงสัน้ ๆ ว่า “คุณต้องท�ำงานหนักขึน้ กว่าเดิมอีก” เหตุการณ์นที้ ำ� ให้เขายิง่ เชือ่ ว่าความพยายามอย่างเอาเป็น เอาตายของเขาไม่ได้รับการตอบสนองเลย  เขาสิ้นหวังกับ ระบบราชการ และรู้สึกว่าไม่อาจท�ำอะไรได้มากกว่านี้แล้ว คนใกล้ชิดเริ่มสังเกตเห็นว่าหลังเหตุการณ์นั้นเขาเครียด และกดดันมากขึ้น  สัปดาห์สุดท้ายในชีวิตเขา เจ้าหน้าที่  น�ำตัวพรานล่าสัตว์ที่ถูกจับได้พร้อมซากสัตว์และอาวุธมาที่  ส�ำนักงานเขตฯ  สืบลงมาดูด้วยความเครียดสุดขีด เพราะ ก่อนหน้านั้นลูกน้องคนหนึ่งที่ออกลาดตระเวนตามค�ำสั่งเขา ถูกลอบยิง  เขาตะโกนต่อหน้าพรานที่ถูกจับกุมว่า “ถ้ามึง  จะยิงลูกน้องกู มึงมายิงกูดีกว่า” ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๓ สืบไปท�ำงานในส�ำนักงานตาม ปรกติ กระทั่งบ่ายจึงเริ่มเอาของที่เคยหยิบยืมใครมากลับคืน เจ้าของ  ตกเย็นเขาชวนลูกน้องทีส่ นิทให้เอาเหล้าออกมากินกัน ซึ่งคนหนึ่งในนั้นได้เล่าในภายหลังว่า “กินไปคุยไปจนประมาณสองทุ่ม แกบอกให้พี่ยงยุทธ วิทยุไปที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าจะไม่ไปแล้ว จะส่งวิดีโอ  ไปให้แทน” ลูกน้องชือ่  หม่อง หรือ จิตประพันธ์ กฤตาคม ซึง่ ได้คยุ กับหัวหน้าสืบเป็นคนสุดท้าย เล่าถึงนาทีทา้ ยๆ ทีเ่ ขาได้อยูก่ บั หัวหน้าที่ก�ำลังจะจากเขาไปตลอดกาล “จนประมาณห้าทุม่  ผมก็ขอแยกตัวไปเข้าเวร สักประมาณ  ครึง่ ชัว่ โมงพีส่ บื ก็เดินตามออกมาขอบุหรีส่ บู  และนัง่ คุยกับยาม  ถามทุกข์สขุ  ซึง่ ก็แปลกเพราะยามคนนีท้ ำ� งานมานานแล้ว แต่ แกถามเหมือนคนไม่เคยรู้จักกัน  คุยได้ไม่นานแกก็บอกว่า  เดีย๋ วพีก่ ลับไปบ้าน ผมอาสาจะไปส่ง แกบอกไม่ตอ้ ง แล้วหัน มายิม้ เหมือนกับคนทีม่ คี วามสุขทีส่ ดุ  พร้อมกับยกมือขึน้ แล้ว บอกว่า หม่อง พี่ไปแล้วนะ” ราวตีสี่ของวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๓ ยามที่ส�ำนักงาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งได้ยินเสียงปืนนัดหนึ่ง แต่ ไม่ได้คิดอะไร ช่วงนั้นเสียงปืนในป่าห้วยขาแข้งมีให้ได้ยิน  เป็นธรรมดา

จนล่วงสิบโมงเช้า เจ้าหน้าที่เริ่มแปลกใจที่หัวหน้าสืบ  ยังไม่ลงมากินข้าว หม่องจึงอาสาเดินไปตาม ก็พบร่างที่ไร้  ลมหายใจของหัวหน้าสืบนอนอยู่บนเตียง กับกระดาษแผ่น หนึ่งที่เขาเซ็นลงชื่อไว้ใต้ข้อความที่เขียนเองว่า “ผมมีเจตนาทีจ่ ะฆ่าตัวเอง โดยไม่มผี ใู้ ดเกีย่ วข้องในกรณี นี้ทั้งสิ้น”

ความตายของ สืบ นาคะเสถียร เป็นข่าวใหญ่ไปทัว่ ประเทศ  คนไทยทัว่ ไปทีอ่ ยูใ่ นวัย ๒๐ กว่าขึน้ ไปในตอนนีค้ งจ�ำข่าวสาร และกระแสความตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ในช่วงนั้นได้ ตอนนั้น ตะวันฉาย หงษ์วิลัย เด็กหนุ่มบ้านนอกจาก หมู่บ้านชายป่าแม่วงก์ นครสวรรค์ ท�ำงานเป็นพนักงาน  ขายของในร้านสะดวกซื้ออยู่กรุงเทพฯ และโดยพื้นเพเขา สนใจเพลงเพือ่ ชีวติ และประวัตชิ วี ติ ของคนทีต่ อ่ สูเ้ พือ่ อุดมคติ เขาชืน่ ชอบเพลงคาราวานและอ่านหนังสือของ จิตร ภูมศิ กั ดิ์ “ตอนที่ได้ยินข่าวคุณสืบยิงตัวตาย ท�ำให้ผมนึกไปถึง จิตร ภูมิศักดิ์ ในความแน่วแน่ต่อสิ่งที่ตนตั้งใจมั่น มันไม่น่า เชื่อว่ามนุษย์คนหนึ่งจะยอมเสียสละตัวเองเพื่อธรรมชาติ ใน สังคมเราจะมีสักกี่คนที่มีจิตใจแบบนี้ ก็ท�ำให้เราตั้งใจมั่นว่า อยากจะท�ำงานแบบนีบ้ า้ ง โดยทีย่ งั ไม่แน่ใจว่าจะท�ำได้แค่ไหน แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผมคิดมาตลอด” แต่ชีวิตยังซัดเซเขาไปอีกไกล จนเหน็ดเหนื่อยกับงาน ลูกจ้างในเมืองกรุงจึงหันกลับบ้านเกิด มาเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้าน ท�ำกิจกรรมเยาวชนเรือ่ งสิง่ แวดล้อม จนได้รจู้ กั กับมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร  ความตัง้ ใจแต่เดิมทีจ่ ะได้ทำ� อะไรตามแนวทาง  ของสืบก็หวนกลับมาอีกครั้ง “ในทีส่ ดุ  ภาณุเดช เกิดมะลิ ผูจ้ ดั การฝ่ายปฏิบตั กิ ารภาค สนามฯ ของมูลนิธิสืบฯ ก็ชวนว่า ไปท�ำงานกับผมไหม ?” ตะวันฉายย้อนตอนเริม่ ต้นทีท่ ำ� ให้เขาได้รว่ มงานกับมูลนิธสิ บื ฯ หลั ง จากนั้ น เขาลงไปอยู ่ กั บ ชุ ม ชนปกากะญอในเขต อุทยานแห่งชาติพุเตย ๒ ปี ท�ำให้ได้เห็นวิธีคิดและวิถีของ  ชนเผ่า กระทัง่ เปลีย่ นวิธคี ดิ และสร้างความเข้าใจใหม่เกีย่ วกับ เรื่องคนกับป่าในตัวเขาเองด้วย  จากนั้นตะวันฉายก็กลับมา ท�ำเรื่องป่าชุมชนในแถบบ้านเกิดที่นครสวรรค์ จนกลายเป็น จุดตั้งต้นของการขยายเครือข่ายออกไปใน ๖ จังหวัดทั่ว  ผืนป่าตะวันตก ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

77


“ป่าตะวันตก ค�านีบ้ ญ ั ญัตโิ ดยคุณสืบ” รตยา จันทรเทียร  ยืนยันด้วยหลักฐาน “เขาขีดเส้นวงลงบนแผนที ่ และเขียนไว้ ด้วยว่า จะรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ป่าห้วยขาแข้งไว้ได้ ต้อง รักษาป่าตะวันตกไว้ทั้งผืน เข้าใจว่าท�าในช่วงรวบรวมข้อมูล ให้คณะกรรมการมรดกโลก  คุณสืบเสียสละชีวิตวันที่ ๑  กันยายน ๒๕๓๓ ทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้งได้เป็นมรดกโลก ทางธรรมชาติในเดือนธันวาคม ๒๕๓๔ ซึ่งคุณสืบได้เสนอ เรื่องไว้ก่อนแล้ว” ทุกวันนีแ้ ผนทีผ่ นื ป่าตะวันตกที ่ สืบ นาคะเสถียร ขีดวง ไว้ดว้ ยลายมือ ใส่กรอบแขวนอยูบ่ นผนังห้องท�างานของเธอที่ ส�านักงานมูลนิธสิ บื นาคะเสถียร มุมแยกกษัตริยศ์ กึ  กรุงเทพฯ แนวเขตในแผนที่นั้นกินคลุมพื้นที่ของ ๖ จังหวัดทาง ตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่กาญจนบุรี สุพรรณบุรี  อุทยั ธานี นครสวรรค์ ก�าแพงเพชร จนถึงตอนล่างของจังหวัด ตาก ตอนกลางของแผนทีจ่ ะเห็นเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ทุง่ ใหญ่ นเรศวรกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นเหมือน ไข่แดงที่ถูกล้อมด้วยอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยาน แห่ ง ชาติ เ ขาแหลม อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ล� า คลองงู   อุ ท ยาน แห่งชาติเขือ่ นศรีนครินทร์  อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยาน แห่งชาติเอราวัณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อุทยาน แห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติพุเตย  โดยมี อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า และเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ อุม้ ผาง ขนาบ อยู่ด้านเหนือ  ส่วนด้านตะวันตกจดพรมแดนประเทศพม่า รวมเนื้อที่ ๑๑,๗๐๖,๕๘๖ ไร่ หรือ ๑๘,๗๓๑ ตาราง กิโลเมตรจากเขตป่าอนุรกั ษ์ ๑๗ แห่งทีต่ อ่ เนือ่ งเป็นผืนเดียวกัน  ยกเว้นเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ เขาสนามเพรียงทีแ่ ยกขาดออกไป ทางด้านเหนือ  แต่ตอนนีป้ ระธานมูลนิธสิ บื ฯ บอกว่าผืนป่าได้ เชื่อมต่อถึงกันด้วยป่าชุมชนที่ชาวบ้านช่วยกันท�าและดูแลอยู่ เป็นผืนป่าอนุรักษ์ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ทีเ่ ป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติหล่อเลีย้ งคนภาคกลาง และภาคตะวันตก  เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนขนาดใหญ่แห่งหนึง่ ของโลก  เป็นต้นน�า้ ของแม่นา�้ เจ้าพระยา สาละวิน แม่กลอง  ท่าจีน  เป็นที่มาของธาตุอาหารตามธรรมชาติส�าหรับพื้นที่ เกษตรกรรมในแถบลุม่ น�า้ ตอนล่าง  รวมทัง้ เป็นแหล่งพันธุกรรม ของพืชและสัตว์ ที่มีการส�ารวจพบพันธุ์พืชมากกว่า ๔,๐๐๐

78 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

ภาณุเดช เกิดมะลิ อดีต ผูชวยผูจัดการรานอาหาร ปจจุบัน ผูจัดการฝายปฏิบัติการ ภาคสนามในผืนปาตะวันตก

“ครั้งหนึ่งคุณสืบ นาคะเสถียร กลาวไว วา ‘ผมคิดวาปาไมจะอยูได คนจะตอง อยูไดกอน เพราะวาคนที่ดอยโอกาสใน สังคมเขาไมสามารถจะไปเรียกรองอะไร เขาไมมีอํานาจ ไมมีอิทธิพลอะไร คนพวกนี้อยูกับธรรมชาติ อยูกับปาไม เขาควรที่จะไดใชประโยชนจากปา พวกนี้รักปาอยูแลว ผมคิดวาปาจะอยูหรือจะไปอยูกับคนกลุมนี้ดวย’ หากคนของรัฐเขาใจปญหานี้ แลวกําหนดนโยบายออกมา เพื่อคนกลุมนี้บาง ปญหาก็จะหมดไป “โครงการจัดการพื้นที่คุมครองอยางมีสวนรวมที่เราทํากันอยูใน ทุกวันนี้ คืออีกหนึ่งภารกิจที่มูลนิธิสืบฯ ไดทําเพื่อสืบสาน เจตนารมณของคุณสืบ โดยการทํางานรวมกับชุมชนและ หนวยงานอนุรักษเพื่อการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในผืนปา ตะวันตก ตลอดระยะเวลาการดําเนินโครงการ มูลนิธิฯ มั่นใจวา ทุกคนตางมุงมั่นที่จะทํางานรวมกันอยางเต็มศักยภาพจนเกิดผล เปนรูปธรรมในพื้นที่ ซึ่งมูลนิธิฯ ก็ตองขอขอบคุณทุกหนวยงาน อยางรัฐบาลประเทศเดนมารก สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน กรมอุทยานแหงชาติฯ ฯลฯ รวมถึงคนไทยทุกๆ คนที่ รวมสนับสนุนการดําเนินงาน ผมเชื่อวาทุกวันนี้เราเอาทรัพยากร ของรุนลูกรุนหลานของเรามาใชอยู สิ่งที่เราควรทํามากที่สุดคือ ใชแตพอเหมาะ และดูแลฟนฟูใหคงสภาพไวมากที่สุด เราจะได ภาคภูมิใจเมื่อสงมอบไปใหเจาของที่แทจริง”


ตะวันฉาย  หงษวิลัย

อดีต ผูชวยผูใหญบาน คนงานกอสราง คนสวน พนักงาน รานสะดวกซื้อ ฯลฯ ปจจุบัน หัวหนาภาคสนามมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร พื้นที่นครสวรรค-กําแพงเพชร, หัวหนาโครงการภูมินิเวศผืนปาตะวันตก “การทําปาชุมชนในทุกวันนี้ถามองในเชิงขอกฎหมาย ยังมีที่ติดขัดอยูหลายแหงที่เปนที่ถกเถียงกันอยู ซึ่งผมมองวา นอกจากทําใหงานเดินไปไมได ยังเปนการบั่นทอนกําลังใจ ของพี่นองที่รักษาปาดวย คนเหลานี้รักษาปาโดยไมมี คาตอบแทนอะไร สิ่งที่เขาตองการเพียงการใชประโยชน เก็บหาของปาตามฤดูกาล สวนที่ทางการจะไดรับก็คือกําลัง ของชุมชนที่จะเขามาชวยดูแลรักษาปา “เดิมคนทั่วไปมองวากะเหรี่ยงทําไรเลื่อนลอย เปนพวกทํา ไรปา แตชุมชนกะเหรี่ยงที่ผมไดไปสัมผัส อายุเปนรอยป แตรอบชุมชนยังเต็มไปดวยปา อยางแถวบานเรานี้ เมื่อกอน เปนปาตั้งแตตัวอําเภอเขามาจนถึงตีนเขา ผานมา ๔๐ ป เตียนโลงไปหมดแลว แลวทําไมสังคมถึงบอกวากะเหรี่ยงเปน ผูทําลายปา ไมใชวาแคฟงเขาพูดแลวเราเชื่อ เราไปเห็นที่เขา อยูกันจริงๆ เขามีความเชื่อความศรัทธาตอธรรมชาติ”

อุดม กลับสวาง

อดีต คนอนุรักษเตาทะเลที่ระนอง ปจจุบัน เจาหนาที่ภาคสนามมูลนิธิ สืบนาคะเสถียร พื้นที่กาญจนบุรี “เราอาสาเขามาชวยพีน่ อ ง ซึง่ การแกปญ  หา ตองคอยๆ เปน คอยๆ ไป เพราะ รากของปญหามันยาวนานหลายสิบป สิ่งหนึ่งที่เราบอกกับพี่นองชาวบานไดอยาง จริงใจ คือ เราไมมีผลประโยชนอะไรของตัวเอง เราทําเพื่อ พี่นองทั้งหมด เราเขามาโดยไมเคยเอาอะไรออกไป มาขอ พีน่ อ งกินชัว่ ครัง้ ชัว่ คราว ทําบนพืน้ ฐานของการชวยเหลืออยาง ไมมีผลประโยชนใดๆ ทั้งสิ้น ไมมีที่ดินของตัวเองอยูในปา พี่นองทําเรื่องการเกษตร เราก็ไมไดเปนพอคา สามารถ พูดไดอยางเต็มปากวาเราไมมีผลประโยชนใดในพื้นที่”

ชนิด และสัตว์มกี ระดูกสันหลังมากกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด ซึง่ ถือ เป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งที่พบในประเทศไทย ผืนป่าแห่งนี้เป็นที่รวมความหลากหลายของสัตว์ป่าที่ กระจายพันธุ์มาจากหลายเขตสัตวภูมิศาสตร์ มีการอ้างอิงตัวอย่างสัตว์ป่าที่เป็นตัวแทนจากเขตสัตวภูมิศาสตร์ต่างๆ ที่พบในผืนป่าตะวันตก (Western Forest  Complex) อาทิ นกเงือกคอแดง ที่กระจายพันธุ์มาตั้งแต่ป่าดิบเชิงเทือก เขาหิมาลัย กระทิง กระจายพันธุ์มาจากอินเดีย สมเสร็จ กระจายพันธุ์มาตั้งแต่คาบสมุทรมลายู ทั้งโดยขนาดและที่ตั้งอันเป็นจุดบรรจบของเขตสัตวภูมศิ าสตร์ต่างๆ นั้น ท�าให้ป่าตะวันตกเต็มไปด้วยสถิติตัวเลข ที่แสดงถึงความหลากหลายและปริมาณของสัตว์ป่าอันน่า ตื่นตา ในหลายบรรทัดข้างล่าง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า ๑๕๐ ชนิด นกมากกว่า ๔๙๐ ชนิด สัตว์เลื้อยคลานมากกว่า ๙๐ ชนิด สัตว์สะเทินน�้าสะเทินบกมากกว่า ๔๐ ชนิด ปลามากกว่า ๑๐๘ ชนิด โดยมีศูนย์กลางอยู่แถบตอนกลางของผืนป่าตะวันตก อันได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่ ได้รับการประกาศให้เป็น “มรดกโลกทาง ธรรมชาติ” แห่งแรกของประเทศไทย โดย องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก หน่วยงาน ภายใต้สงั กัดของสหประชาชาติทมี่ หี น้าทีห่ ลัก ในการให้ความรู้ เป็นสื่อกลางในการสร้าง ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก ป่าห้วยขาแข้ง-ทุง่ ใหญ่นเรศวรได้รบั การ ยอมรับในความส�าคัญระดับโลก ด้วยสภาพ พืน้ ทีอ่ นั เป็นตัวแทนของระบบนิเวศป่าเขตร้อนทีม่ คี วามหลาก หลายของภูมปิ ระเทศ ภูมอิ ากาศ และสภาพป่า  มีทงั้ เนินเขา  เทือกเขา ทุง่ หญ้า ทีเ่ หมาะต่อการด�ารงชีพของสิง่ มีชวี ติ   ส่ง ผลให้ผนื ป่าแห่งนีม้ คี วามอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และถือเป็นตัวแทนของ ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

79


ผืนป่าใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังด�ารงสภาพทาง ชีววิทยาของความเป็นป่าไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ข้อมูลจากการส�ารวจทางวิชาการระบุว่า ในจ�านวนสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่พบในผืนป่าอุษาคเนย์ มีอยู่ในป่า แห่งนี้ถึงร้อยละ ๓๓  ป่าทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้งจึงถือเป็น แหล่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้  และ จากสัดส่วนดังกล่าว มีอยู่ถึง ๒๘ ชนิดที่อยู่ในกลุ่มสัตว์ป่า หายากยิ่งของโลก ซึ่งอยู่ในภาวะถูกคุกคาม  ยกตัวอย่าง บางชนิดได้แก่ เสือโคร่ง ควายป่า วัวแดง สมเสร็จ นกยูง  นกเงือกคอแดง ในผืนป่าที่ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกแห่งนี้ สัตว์ ขนาดใหญ่หลายชนิดยังมีประชากรอยู่ในระดับที่ถือว่ามั่นคง ช้างป่ามากกว่า ๕๐๐ ตัว เสือโคร่งมากกว่า ๑๐ ตัว ควายป่า (ที่พบเป็นฝูงสุดท้ายของประเทศ) ๔๐ ตัว นกเงือก พบถึง ๖ ชนิด จากที่มีอยู่ในประเทศไทย ๑๓  ชนิด (ทั่วโลกมี ๕๔ ชนิด ในป่าเขตร้อนของเอเชียและ แอฟริกา) ได้แก่ นกแก๊ก นกเงือกสีนา�้ ตาล นกเงือกคอแดง  นกเงือกกรามช้างปากเรียบ ซึ่งมีประชากรชนิดละมากกว่า  ๕๐ ตั ว   และนกกกกั บ นกเงื อ กกรามช้ า ง มี ป ระชากร ชนิดละมากกว่า ๑๐๐ ตัว

นกยูง ประเมินว่ามีอยู่ราว ๔๐๐ ตัว ถือเป็นแหล่งใหญ่ ที่สุดในเมืองไทย ตัวเลขในหลายบรรทัดข้างต้น เป็นสถิตจิ ากการประเมิน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๕  แต่ผ่านมาถึงปี ๒๕๕๓ นี้ ที่ผืนป่าได้รับ การดูแลและมีการจัดการในแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้อง  ก็เป็นที่แน่ชัดว่าจ�านวนจริงของสัตว์ในผืนป่าย่อมต้องสูงกว่า ตัวเลขที่แสดงอยู่บนบัญชรนี้ ถ้อยค�าที ่ สืบ นาคะเสถียร เคยปรารภไว้เมือ่  ๒๐ ปีกอ่ น ว่า การจะรักษาป่าทุ่งใหญ่ฯ-ห้วยขาแข้งให้ยั่งยืนได้จริง ต้อง คิดทัง้ ระบบนิเวศผืนป่าตะวันตก ได้ปรากฏอย่างเป็นรูปธรรม แล้วในวันนี้  รตยา จันทรเทียร เล่าถึงการท�างานเพือ่ รักษาป่าตะวันตก ทั้งผืนว่า เริ่มจากการที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียรได้มีโอกาสเข้า ถวายรายงานต่อเจ้าชายนักอนุรักษ์จากประเทศเดนมาร์ก ที่ เสด็จมาประเทศไทยเมื่อปี ๒๕๓๙  พระองค์มีพระประสงค์ จะให้การสนับสนุน  ปีถดั มาคณะกรรมการมูลนิธฯิ  จึงน�าเรือ่ ง เข้าหารือกับกรมป่าไม้ กระทัง่ น�าไปสูก่ ารแต่งตัง้ คณะกรรมการ ที่มาจากตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอยู่ในป่าตะวันตกทั้ง  ๖ จังหวัด  และตั้งอนุกรรมการขึ้นมาท�างานข้อมูลและการ มีสว่ นร่วมของประชาชน  ส�ารวจข้อมูลชุมชน สัตว์ปา่  ลักษณะ ของผืนป่า และกิจกรรมในผืนป่า  กระทั่งได้ผลการศึกษา ออกมาชุดหนึ่ง ที่เธอบอกว่าน่าจะเป็นครั้งแรกของประเทศ ไทยที่ผืนป่าขนาดใหญ่ได้มีข้อมูลอย่างละเอียดรอบด้าน เพื่อ เป็นฐานในการวางแผนการดูแลรักษา

พงษศักดิ์  มวงงาม

อดีต เด็กหนุมเสเพลที่รูสึกวาตัวเองเปนคนไมมีคา แตชีวิตพลิกเปลี่ยนเมื่อไดลงไปอยูกับชุมชน ปจจุบัน หัวหนาภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พื้นที่กาญจนบุรี “พอเราลงทํางานชุมชนก็พบวาชาวบานเขาไมรูวาแนวเขตปาอนุรักษอยูตรงไหน เลยมาสูการกําหนดแนวเขตอยางมีสวนรวม เราก็โดนโจมตีมากวามูลนิธิสืบฯ ไปยกปาใหชาวบาน ความจริงไมใช เราไมมีอํานาจจะทําอยางนี้อยูแลว เพียงแตประสานให เจาหนาที่กับชาวบานไดทํากิจกรรมรวมกัน เพราะกอนนั้นมีการจับกุมดําเนินคดีทุกป โดยเฉพาะเรื่องไรหมุนเวียนของพี่นอง กะเหรี่ยง เราตองยุติเรื่องนี้กอน พอทําใหสองฝายคุยกันได โดยการเดินหมายแนวเขตรวมกัน เราจะเดินแบบซายเปนปา ขวาเปนไร ไมมีมั่ว ปกหลัก ติดปาย ซึ่งที่จริงผิดกฎหมาย แตดําเนินการไดโดยหัวหนาอุทยานฯ จากนั้นก็ตองมีคณะกรรมการ ปาชุมชนขึ้นมาดูแลการใชประโยชนในแนวเขต”

8๐ นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3


หญิงอาวุโสประธานมูลนิธิสืบฯ เล่าถึงงานที่ด�าเนินต่อ จากนั้นว่า “แนวคิดส�าคัญคือต้องจัดการอย่างมีสว่ นร่วม จึงจะท�าให้ ผืนป่า สัตว์ป่า และคนอยู่ได้  โดยมีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับป่า  ก็คดิ กันว่าต้องมีคนกลาง  เอ็นจีโอเป็นคนกลางระหว่างชาวบ้าน กับเจ้าหน้าที่รัฐ  มูลนิธิสืบฯ ไม่เคยท�างานชุมชนมาก่อนเลย  แต่เราเชือ่ ว่าเราเข้าใจประชาชน เข้าใจป่า เข้าใจสัตว์ปา่   และ เพื่อจะรักษาผืนป่านี้ไว้ มูลนิธิสืบฯ ยินดีรับเป็นคนกลางใน การจัดการป่าอย่างมีสว่ นร่วม จึงท�าข้อตกลงร่วมกัน ตัง้ แต่ปี  ๒๕๔๗”

ในชื่อโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วมใน ผื น ป่ า ตะวั น ตก (Joint Management of Protected  Areas) หรือ JoMPA ทีแ่ ปลงเสียงเป็นภาษาไทยว่า จอมป่า  ได้อย่างเหมาะเจาะและได้ความหมาย “ตอนเริม่ โครงการเราคิดว่าท�าแค่ ๑๐ ชุมชน ใน ๔ เขต ป่าอนุรักษ์ โดยในข้อตกลงเขียนไว้ว่าจะเผยแพร่แนวคิดนี้ ไปยังป่าอนุรกั ษ์อนื่ ๆ ด้วย  คือหลังจากพูดคุยเป้าหมายเป็นที่ เข้าใจกันแล้วก็เห็นด้วยตรงกันว่า ชาวบ้านแค่อยากอยูด่ มี สี ขุ   ไม่ได้ตอ้ งการอะไรมากกว่านัน้  ไม่ได้ตอ้ งการโฉนดสิทธิ ์  แล้ว ท�าอย่างไรถึงจะให้เขาอยู่ได้ ในเมื่อเขาท�าไร่หมุนเวียน ก็ทา�

นริศ บานเนิน

อดีต คนทํางานอนุรักษปาชายเลนทะเลตะวันออก ปจจุบัน หัวหนาภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พื้นที่สุพรรณบุรี “บางกิจกรรมอยางการเอาคนมาปลูกตนไมเปนแคกระบวนการ เราไมแนใจหรอกวาตนไมมันจะ โตอยูรอดไหม แตมันสรางการเรียนรูจากพื้นที่จริง มูลนิธิฯ ไมมีสิทธิ์ไปครอบครองหรือใหชาวบาน ใชประโยชนในเขตปา เราก็ตองคิดเครื่องมือหลายๆ อยาง เชนใหหัวหนารับรอง บางทีหัวหนารับแลว หัวหนาสายตรวจก็ไมรับ เพราะมุมมองที่ตางกัน บางทีไมเนื้อออนในไรเกาที่อยูริมนํ้า แคปเดียวตนก็โต เจาหนาที่วาเปนปาแลว แตชาวบานบอกนั่น ไมเนือ้ ออนตนมันโตเร็ว ความสําเร็จของการจัดการปาสวนหนึง่ จึงเกีย่ วกับความรูส กึ ดวย อยางการใหเจาหนาทีร่ จู กั ไรหมุนเวียน ตองสรางความเชื่อมั่นใหทางราชการ และใหชุมชนเขาใจเจาหนาที่ดวย”

ยุทธชัย บุตรแกว อดีต ชวงวัยรุนเคยฝนอยากเปนเจาพอ แตหันเหความสนใจมาสูเรื่องกิจกรรมสังคมไดเพราะพระสงฆรูปหนึ่ง ปจจุบัน หัวหนาภาคสนามมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พื้นที่อุมผาง “พระเอาวิดีโอเหตุการณพฤษภาทมิฬใหดู ก็คิดอยากทําอะไรดีๆ ชีวิตเราที่ผานมาเสียสละ กับสิ่งไมดีมาเยอะ จะมาสละกับสิ่งดีๆ บางไมไดเหรอ พระพาไปทํากิจกรรมที่หวยขาแขง ตอนนั้นเปนชวงหลังคุณสืบเพิ่งเสีย เกิดความตื่นตัวเรื่องการอนุรักษมาก คนหนุมสาวรูสึกวาเขาเปนวีรบุรุษ แตมีชวงหนึ่งมูลนิธิ สืบฯ และหวยขาแขงคิดวาตองเอาคนออกจากปา เลยเห็นไมตรงกัน ผมก็ถอนตัวออกไป “จนผมกลับมาอยูบานที่อุมผาง เจาหนาที่มูลนิธิฯ คนกอนลาออก ผมก็ลองสมัครดู มูลนิธิสืบฯ เองก็ไมเคยมีคนทํางาน ภาคสนามลงมาทํางานจริงๆ สวนใหญสนับสนุนงานอนุรักษ ผมเปนภาคสนามมาโดดเดี่ยวอยูในพื้นที่ มีคูมือเลมหนึ่ง เขาไปศึกษาชุมชน ก็มาฝกหัดใหมกันทั้งหมด งานสํานักงาน งานแผนที่ เริ่มคนเดียวเลย ตั้งแตกุยเลอตอถึงหมองกั๊วะ ใชเวลา ๑ ปในการสรางความไวใจใหเกิดงานตามแผน ซึ่งกวาจะทําใหชาวบานกับเจาหนาที่รวมเวทีเดียวกันไดไมใชเรื่องงาย” ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

81


แนวเขตกัน วางกติการ่วมกันว่าจะไม่ขยายออกไปนอกเขต  ขณะเดียวกันก็จะช่วยดูแลด้วย  แม้หลายคนในกรมอุทยานฯ จะยังไม่ยอมรับเรื่องไร่หมุนเวียน แต่ถ้าชาวบ้านท�ากินอยู่ ภายในแนวเขตก็ยอมรับได้ ก็ท�ากันในระดับนั้นก่อน  ที่ท�า ไม่ใช่ว่าเราเก่งเราดี แต่มาช่วยกันว่าท�าอย่างไรให้ป่าอยู่ได้  สัตว์ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ด้วย” หลังท�ามา ๖ ปี จนจบโครงการระยะที่ ๑ เมื่อเดือน กันยายน ๒๕๕๒ มูลนิธิสืบนาคะเสถียรสามารถเข้าท�างาน ในป่าได้ทั้งหมดที่มีอยู่ ๑๒๙ ชุมชน  หญิงอาวุโสประธาน มูลนิธิสืบนาคะเสถียรผู้ได้ฉายาว่า นางสิงห์เฝ้าป่า บอกว่า ในจ�านวนดังกล่าวมีอยู ่ ๔ ชุมชนเท่านัน้ ทีย่ งั ต้องท�างานหนัก ต่อไป

“ต้องยกเครดิตให้เจ้าหน้าทีภ่ าคสนามของเรา ทีเ่ ขาตัง้ ใจ ท�างานแล้วท�าให้เกิดปรากฏการณ์ กลายเป็นรูปแบบวิธีการ จัดการผืนป่าที่คนในท้องถิ่นดั้งเดิมเข้ามีส่วนร่วมในการ อนุรกั ษ์ปา่ ” ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธสิ บื นาคะเสถียร  พูดถึงผลของโครงการจอมป่า  แล้วย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น “เราก็ไม่ได้คิดว่ามันจะมา ได้ ถึ ง ขั้ น นี้   ท� า ไปเรี ย นรู ้ ไ ป  ตอนแรกว่าจะเข้าไปแก้ปัญหา การขยายที่ ท� า กิ น ในเขตป่ า  เพื่อรักษาพื้นที่ป่าให้ได้ คิดแค่ การหมายแนวเขต แต่มาไกล กว่าที่คิดไว้ ท�าๆ ไปปรากฏว่า กลายเป็นรูปแบบในการจัดการ ป่าแบบใหม่ ให้คนที่อยู่ในป่ามาร่วมอนุรักษ์ด้วย ไม่ขยาย พื้นที่เข้าไปในเขตป่าเพื่อไม่ต้องมีข้อขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ ป่าไม้  ให้คนที่อยู่ในป่าที่เคยเป็นคู่ขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ หัน มาเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์” เขาเล่าถึงสิ่งที่มูลนิธิฯ ท�าว่า คือการแก้ปัญหาภายใต้ แนวทางทีเ่ ป็นไปได้ และเป็นธรรมกับทัง้ ป่าและคน  ตัง้ แต่การ เข้าพบรัฐมนตรี อธิบดีทเี่ กีย่ วข้อง เพือ่ ผลักดันให้เกิดนโยบาย ทีเ่ อือ้ ในการเข้าท�างาน  และการลงไปท�าประชาคม สร้างเวที พูดคุยเพื่อท�าความเข้าใจ สร้างระบบของชุมชน รวมทั้ง

8๒ นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

เดช เขียวเขตวิทย ผูใหญบานคลองหวยหวาย ประธานเครือขายปาชุมชน แมเปน-แมวงก-ชุมตาบง

“ปาชุมชนที่นี่เริ่มทํากันมาตั้งป ๒๕๓๔ แตบางชวงออนลา วางเวนไปบาง เปนประธานเครือขายฯ คนที่ ๓ เพิ่งเขามา เปนเมื่อเดือนมีนาคมปนี้ มีมูลนิธิสืบฯ เขามาเปนพี่เลี้ยง ชวยแนะนําการทํางาน เชื่อมประสานกับเครือขายปาชุมชนอื่น ทั่วทั้ง ๖ จังหวัด เปนเครือขายภูมินิเวศผืนปาตะวันตก “กอนตั้งจุดสกัดประตูปา ชวงหนึ่งมีกลุมวิสาหกิจชุมชน ทําตอไม คนแถวๆ นี้แหละรวมกลุมกันแลวขออนุญาตจาก ทางการนําตอไมมาแปรรูปเปนเฟอรนิเจอร พอขางนอกหมด ก็เขาไปเอาในปา เอาตนสดดวย เราก็เขาแกไข ตอนนี้ก็ดีขึ้น”

ไพโรจน  จิตรจําเริญ

กํานันตําบลปล็อก อําเภอทองผาภูมิ กาญจนบุรี “ผมเคยไปเห็นชาวบานที่แมแตง เชียงใหม เดือดรอนเรื่องการประกาศ อุทยานฯ ทับที่ชาวบาน เราตอสู คัดคานไมใหประกาศ แตสุดทายก็ประกาศ จากเชียงใหม ผมมาเจอที่นี่ คนทั้งอําเภอคัดคาน ผูใหญบานที่เปนเพื่อนกัน มาตั้งแตเด็ก ขอใหผมมาชวย ผมเสนอวาทําอยางไรใหเขา ผอนปรนใหเราอยูดีกวา ผมคิดอยางนั้น ไดประสบการณจาก เชียงใหมมาแลว แตเพื่อนขอใหชวยผมก็ชวย แตใจผมเชื่อวา ใชการประสานดีกวา ซึ่งตอนหลังนี้เราก็ไดรับการอนุเคราะห จากหนวยงานในพืน้ ทีพ่ อสมควร เจาหนาทีไ่ มมาไลจบั กลาวหา ชาวบานแลว จนเมื่อมีมูลนิธิสืบฯ เขามาชวยประสาน ก็เกิดความกลมเกลียวกันมากขึ้น”


ประวัติ  ศรีกนกสายชล แกนนํารุนใหมของชุมชนกะเหรี่ยงในปาอุมผาง

“ที่เราทํางานกันอยูทุกวันนี้ เหมือนนิทานกะเหรี่ยงเรื่อง กระดูกไก ที่เลาวาชายคนหนึ่ง ไปเจอปาที่ถูกใจผืนหนึ่ง ก็เสีย่ งกระดูกไกวา จะทําไรไดไหม ตามประเพณีของคนกะเหรี่ยง กระดูกไกบอกวาทําได จะไดกิน มีความสุข แกก็ไปถางปา ถึงเวลาเผาก็เผา พอลงขาวเจาที่มาบอกวาตรงนี้ ทําไมได ถาจะทําตองเอาเมียมาใหเรา คนนั้นบอกผมเชื่อ กระดูกไก แตเจาที่ยืนยันวาจะเอาเมีย แกก็ใหเมียไป ขาวโตขึ้นไดเกี่ยว เจาที่มาอีก แกบอก ก็กระดูกไกบอกวา ตรงนี้ทําไรไดดี จะไดกินไดอยูกับลูกเมีย มีความสุข เจาที่ บอกวาจะเอาลูกอีกคน เขาก็ใหไป ลูกก็หาย เมียก็หาย แกก็ไปถามกระดูกไก กระดูกไกบอกวาดี ลูกเมียจะกลับ มา ไดกินขาวกันทุกคน เขาเหลือตัวคนเดียว ตีขาวขึ้นยุง เจาที่ก็มาอีก แกบอกเมื่อคืนกระดูกไกยังบอกวาดี เจาที่ บอกวาจะเอาขาขางหนึ่ง แกวาเอาไปก็เอาไป เจาที่ก็เอา ลูกเมียกลับมาสงใหอยูกันพรอมหนา เพราะยอมในความ เชื่อมั่นของชายคนนี้ “คนเราจะเชื่อในอะไรตองเชื่อใหจริง เหมือนที่เราดูแลปา ทุกวันนี้ เราจะโดนทหาร โดนนายอําเภอ ผูว า ฯ ตอวาอยางไร หรือโดนอะไรตออะไร ก็เหมือนมาจบที่กระดูกไกนี่แหละ ทําอะไรก็ไมหนี อยูกับงานอนุรักษนี่แหละ เราจะไมทํา ไรขาวโพด ไมทําคาขาย อยูกับวิถีเดิม ๆ อยางนี้ เชื่อใน วัฒนธรรมดั้งเดิมของเราอยูอยางนี้”

การสื่อสารความส�าเร็จของการจัดการป่าแบบมีส่วนร่วม ออกสู่สาธารณะ โดยกฎหมายภาคเอกชนไม่มีอ�านาจที่จะเข้าไปท�างาน ในป่า แต่มูลนิธิสืบฯ อาศัยช่องทางตามข้อตกลงในบันทึก ความเข้าใจเพือ่ ความร่วมมือในโครงการจัดการพืน้ ทีค่ มุ้ ครอง อย่างมีส่วนร่วม ที่ท�าร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช ลงนามโดยอธิบดี ประธานมูลนิธิสืบฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   จากนั้นมูลนิธิฯ ก็สร้างเจ้าหน้าที่ท�างานในภาคสนาม “ผมเองก็เข้ามาในโครงการจอมป่า ก่อนนั้นมูลนิธิสืบฯ  ไม่เคยมีผบู้ ริหารแบบเต็มเวลา”  ศศินเป็นเลขาธิการคนที ่ ๖  แต่เป็นคนแรกทีท่ า� งานแบบเต็มเวลา และเป็นเหมือนหัวหน้า ทีมของเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ท�างานอยู่ในพื้นที่ ซึ่งแบ่งออก เป็น ๕ เขตงานครอบคลุมทั่วผืนป่าตะวันตก “วันแรกพี่ศศินพาเข้าชุมชน แล้วก็ปล่อยผมไว้ให้อยู่กับ ชาวบ้านเลย” นริศ บ้านเนิน เล่าจุดเริ่มต้นของเขากับงานในฐานะ เจ้าหน้าทีภ่ าคสนามมูลนิธสิ บื นาคะเสถียร  เขาเคยมีประสบการณ์ ท�างานกับเยาวชนและชุมชนป่าชายเลนที่บ้านเกิดในจังหวัด จันทบุรมี าก่อนบ้าง แล้วมาท�าอยูก่ บั ชุมชนแถบสุพรรณบุรเี มือ่ ปี ๒๕๔๗ กระทั่งต่อมาก็ได้ร่วมงานกับโครงการจอมป่า “ท�างานทุกวัน อยู่กับชาวบ้านสนุกมาก  ต่างคนต่าง ช่วยกัน มันมีกา� ลังใจมาก  เข้าป่า เหนือ่ ย บางทีกถ็ กู ชาวบ้าน หลอกมัง่  แต่ทา� งานร่วมกัน เวลาแก้ปญั หาได้มนั ภูมใิ จ ยิง่ ท�า ก็ยงิ่ มันมากขึน้ เรือ่ ย  ไม่ใช่แค่ทา� งานให้มลู นิธฯิ  แต่เหมือนว่า เราเป็นคนในชุมชนไปแล้ว” นริศเล่าภาพงานทีเ่ ขาคลุกคลีอยูใ่ นช่วง ๔-๕ ปีทผี่ า่ นมา “ขีม่ อเตอร์ไซค์เข้าชุมชน ไปท�าความรูจ้ กั ผูน้ า�  ปรับทุกข์ ผูกมิตร ท�ากิจกรรมร่วมกัน  แต่ก่อนชาวบ้านมีปัญหากับ เจ้าหน้าที่มาก ผมก็ไปเสนอ ผมมีทางออก-เอาไหม ?” พื้นที่ท�างานของนริศอยู่ที่ชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ พุเตย อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ใน จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีด้านตะวันออก “อย่างที่บ้านตีนตก” เขายกตัวอย่างบางชุมชน “บ้าน เดียวแต่ถกู แบ่งเป็น ๓ ส่วน อยูใ่ นเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติเขือ่ นศรีนครินทร์ และอีกส่วน หนึ่งอยู่ในเขตป่าสงวน  คนในชุมชนเป็นพี่น้องกะเหรี่ยง  ต้องฟันป่าท�าไร่หมุนเวียน ก็เกิดความขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ มายาวนาน” ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

83


“พอเจ้าหน้าที่เข้ามาในหมู่บ้าน ไม่เหลือชาวบ้านสักคน แล้ว วิ่งหนีหมด” สมชาย บ้านกลางสมภพ ชาวบ้านตีนตก  ที่นั่งอยู่ข้างๆ พูดเสริมขึ้น “เพราะเขามาจับอย่างเดียว ดายหญ้าในไร่ที่ยังมีตอซัง อยู่ก็จับ ถางหญ้าข้างบ้านก็โดนจับ ถือว่าอยู่ในเขตอุทยานฯ  พอเป็นคดีชาวบ้านก็แพ้ เพราะผิดกฎหมายอยูแ่ ล้ว ติดตะราง  สถานเดียว” “เราก็เริ่มจากการท�ำแนวเขตรอบพื้นที่ใช้ประโยชน์ของ ชุมชน แกนน�ำชุมชนและเจ้าหน้าที่อุทยานเดินท�ำแผนที่  ร่ ว มกั น โดยใช้ ร ะบบจี พี เ อส แล้ ว เอาข้ อ มู ล มาพู ด คุ ย ท� ำ ประชาคมแบบมีส่วนร่วม แล้วยึดเป็นข้อตกลงเบื้องต้น  อย่างของบ้านตีนตกพื้นที่ในแนวเขตตกราวพันไร่ แต่เขา  ไม่ได้เปิดโล่งทั้งหมด  มีป่า ไร่หมุนเวียน เฉพาะไร่ประจ�ำ เท่านั้นที่เปิดโล่ง” นริศเล่าทางออกของปัญหา “ชาวบ้านเขาไม่ได้ใช้ปุ๋ย จึงปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นโต ดิน  ฟื้นตัว จึงค่อยเวียนกลับมาท�ำไร่ใหม่” สมชาย คนหนุ่ม  สายเลือดกะเหรี่ยงเล่าถึงวิถีไร่หมุนเวียนของคนในเผ่า ก�ำพล สวัสดิ์บริรักษ์ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเฉลิม-  รัตนโกสินทร์ ซึง่ นัง่ อยูใ่ นทีน่ นั้ ด้วยเล่าว่า “เดินส�ำรวจร่วมกัน ว่าทีท่ ำ� กินของชาวบ้านอยูต่ รงไหนบ้าง ได้รบั ข้อมูลมาก็เอามา ท�ำงานร่วมกันต่อ ตอนนี้ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเฉลิม-  รัตนโกสินทร์ไม่มีความขัดแย้งแล้ว” “เป้าหมายต่อไปคือท�ำอย่างไรให้ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่  รู้สึกเป็นเพื่อนกันอย่างสนิทใจ” นริศพูดถึงจังหวะก้าวของ การท�ำงานต่อ “ให้คยุ กันได้ มีกจิ กรรมร่วมกัน เวลามีประชุม ประจ�ำเดือนของชุมชน ก็เชิญเจ้าหน้าที่เข้าร่วมบ้าง เชิญ  ชาวบ้านมาอบรมที่อุทยานฯ บ้าง ถึงตอนนี้พอมีปัญหาอะไร  ผู้น� ำชุมชนสามารถยกหูโทรศัพท์โทร. หาหัวหน้าอุทยาน  แห่งชาติได้  ในชุมชนก็ใช้ประโยชน์กันอยู่ในแนวผ่อนปรน ตามที่ตกลงกัน และช่วยกันควบคุมดูแลไม่ให้ขยายออกไป” “ลาดตระเวนก็รว่ มกับชาวบ้าน” สยาม จ้อยร่อย เจ้าหน้าที่  อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ให้ภาพปัจจุบันระหว่าง  เจ้าหน้าที่ป่าไม้อย่างเขากับชาวบ้านตีนตก “มีเหตุอะไร เกิด ไฟไหม้ มีการบุกรุกป่า ชาวบ้านจะแจ้งมา บางทีมีเสือลงมา กินวัวควายชาวบ้าน ผมก็จะไปดู” “สองปีมานี้ไม่มีความขัดแย้งหรือการจับกุมสักคดีแล้ว” สมชายรายงานสถานการณ์ในผืนป่า ภายหลังการเข้ามาของ โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม ท�ำให้พวกเขา  ได้อยู่ดีมีสุขกันตามอัตภาพ ไม่เฉพาะแต่ทางซีกตะวันออกของแม่นำ�้ แควใหญ่  จังหวัด

84 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

กาญจนบุรี ที่เกิดการเชื่อมประสานรอยร้าวความบาดหมาง ระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานาน จน คลี่คลายไปในทางที่ดี ในผืนป่าทางฟากตะวันตกของแม่น�้ำ แควใหญ่ กิจกรรมท�ำนองเดียวกันนีก้ ก็ �ำลังด�ำเนินอยูเ่ ช่นกัน เจ้ า หน้ า ที่ ภ าคสนามมู ล นิ ธิ สื บ นาคะเสถี ย รชื่ อ  อุ ด ม  กลับสว่าง ท�ำงานอยู่กับหลายชุมชนที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติ  หลายแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี อย่างที่บ้านปอสามต้น หรือ บ้านใหม่ไร่ป้า ในต�ำบลปิล็อก อ�ำเภอทองผาภูมิ ซึ่งเป็น หมู ่ บ ้ า นที่ ก ่ อ ตั้ ง ใหม่ เ มื่ อ ปี   ๒๕๓๓ แทนบ้ า นไร่ ป ้ า ที่ ถู ก  น�้ ำ ท่ ว มหลั ง การปิ ด เขื่ อ นเขาแหลม แล้ ว ปี ต ่ อ มาก็ มี ก าร ประกาศอุทยานแห่งชาติเขาแหลม นับแต่นั้นการกระทบ กระทั่งระหว่างเจ้าหน้าที่กับคนในหมู่บ้านก็ด�ำเนินมาตลอด จนมีโครงการจอมป่าเข้ามาเมื่อ ๖-๗ ปีก่อน “เราเป็นเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิสืบฯ เกาะติดอยู่ ในพื้นที่กับพี่น้องชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน   จากข้อมูลท�ำให้เห็นแล้วว่ามีชุมชนอยู่ในป่าตะวันตก ๑๒๙ แห่ง การจะย้ายออกเป็นเรื่องยาก จึงต้องหาวิธีจัดการ ท�ำ อย่างไรให้คนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ และสัตว์ป่าอยู่ได้  หัวใจมีอยู่ เท่านี้” อุดมเล่าแนวคิดก่อนเข้าสูเ่ นือ้ งานทีท่ ำ�  ไล่มาแต่การส�ำรวจ  ข้อมูลชุมชน ทั้งในด้านประวัติการก่อตั้ง ผู้คน วัฒนธรรม และการท�ำแผนทีเ่ ดินดินให้รจู้ กั บ้านทุกหลังในชุมชน  จากนัน้   ไปสู่การส�ำรวจพื้นที่ใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยทั้งเจ้าหน้าที่  ป่าไม้ ชาวบ้าน และเจ้าหน้าทีม่ ลู นิธสิ บื ฯ เดินส�ำรวจแนวเขต ร่วมกัน ทั้งนี้การกันพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชน จะถือตาม การใช้จริงอย่างเคร่งครัด  หย่อมป่าที่อยู่ในพื้นที่ท�ำกินก็ต้อง ถูกวงกันเอาไว้ด้วย นี่เป็นวิธีการที่ใช้เป็นแบบแผนหลักในการท�ำงานกับทั้ง ๔๘ ชุมชนในพื้นที่กาญจนบุรี และทุกชุมชนในป่าตะวันตก “เมื่อก่อนเจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติงานจะไม่ได้รับความ  ร่วมมือจากชุมชน เวลาเกิดการท�ำลายป่าเจ้าหน้าทีก่ เ็ ข้ามาจับ จับแล้วแทบออกจากหมู่บ้านไม่ได้ เพราะถูกล้อมไม่ให้เอา  ผู้ต้องหาออก” อุดมเล่าย้อนสภาพปัญหาเดิม จนมีเอ็นจีโอเข้ามาเป็น คนกลาง “นัดเจอกันครั้งแรก เราขอชาวบ้านว่าอย่าด่าเจ้าหน้าที่  เขาต้องท�ำไปตามหน้าที ่ ชาวบ้านก็ท�ำเพือ่ มีชวี ติ รอด ก็ขอทาง เจ้าหน้าที่ว่าอย่าโทษชาวบ้าน รากของปัญหามันยาวนาน  ถ้าพีน่ อ้ งจะเอาประโยชน์อย่างเดียว และเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั ติ าม กฎหมายอย่างเดียวก็แตกหัก มันต้องมีถอยคนละก้าว ไม่


อย่างนั้นก็เดินต่อไปไม่ได้” จากนัน้ ก็นา� ไปสูก่ ารตัง้ คณะกรรมการป่าชุมชนขึน้ มาดูแล ป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางราชการ “พอเกิดคณะกรรมการป่าชุมชน มีการวางกรอบกติกา  มีขอ้ ตกลงและการท�าความเข้าใจกันก็ทา� ให้นงั่ กินข้าวกินเหล้า ด้วยกันได้ เดี๋ยวนี้ถ้ามีการบุกรุกท�าลาย ชาวบ้านจะแจ้ง เจ้าหน้าที่เองเลย เกิดกระบวนการท�างานร่วมกัน ความ ขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ก็ลดลง” “มูลนิธสิ บื ฯ เข้ามาแนะน�าว่าให้เข้าใจกับอุทยานฯ ให้ตงั้ คณะกรรมการหมู่บ้านขึ้นมาช่วยกันดูแลป่า ตั้งกฎกติกา ขึ้นมา”  ชวน นาโห้ เป็นคนหนึ่งในคณะกรรมการป่าชุมชน ของหมูบ่ า้ นปอสามต้นทีท่ า� งานมาตัง้ แต่ตน้  “ชาวบ้านส่วนหนึง่ ก็เห็นด้วย บางส่วนก็ไม่เห็นด้วย ว่ากรรมการตั้งขึ้นมาเพื่อ โจมตีชาวบ้าน ไม่ให้ทา� ไร่ในป่า ไม่ให้ขายที ่  ความจริงเราแค่ ไม่ต้องการให้ป่าถูกท�าลายไปมากกว่านี้ เรามีกติกาว่าการ ขายทีท่ า� ได้เฉพาะเมือ่ จะย้ายถิน่ เท่านัน้  ใครขายต้องย้ายออก จากหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่นเลย ต้องกันการบุกรุกเอาที่ขาย เรา ต้องชี้แจงว่าป่ามันจะหมดแล้ว ถ้ายังปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้  น�้ามีแต่จะน้อยลง ปีนี้น�้าในเขื่อนลดลงเยอะ ห้วยหลายสาย หายไป เราเป็นคนอยู่ในป่า น�้าเป็นสิ่งจ�าเป็นที่สุด  เราต้อง รักษาป่าต้นน�้า ไม่ใช่เฉพาะเพื่อเรา แต่เพื่อคนข้างล่างด้วย”

เขากับเพื่อนอีก ๒ คนคือ ชัยยศ ประดับทองผา และ  ค�าอ้าย ทองผาประวัตร อยู่ในชุดเสื้อแขนยาวและกางเกง ขายาวแบบมีหลายกระเป๋า คล้ายชุดสนามของทหาร แต่เป็น สีด�าทั้งชุด มีตราติดแขนและหน้าอกพร้อมป้ายชื่อ ซึ่งเป็น ชุดเครื่องแบบของกรรมการป่าชุมชนที่ใช้แบบเดียวกันทั้งป่า ตะวันตก แกนน�าชุมชนในเครื่องแบบชุดด�านี้จะท�าหน้าที่ออกลาด ตระเวนร่วมกับเจ้าหน้าทีเ่ ดือนละครัง้ เป็นอย่างน้อย และคอย ดูแลรักษาป่า  ใครจะปลูกบ้านใหม่ตอ้ งแจ้งกรรมการหมูบ่ า้ น  เพื่อประสานกับเจ้าหน้าที่  ถ้าต้องการใช้ไม้ไผ่ จะได้รับการ แนะน�าไม่ให้ตัดยกกอ  หากเป็นไม้ให้ใช้ไม้ที่ล้มเอง หรือที่ เรียกว่า ไม้ล้มหมอนนอนไพร แต่อย่างไรก็ตามการครอบครองพื้นที่ในเขตอุทยานฯ  ตามกฎหมายเป็นเรื่องที่ท�าไม่ได้  การติดป้ายหมายแนวเขต อาจท�าให้ถูกมองว่าเป็นการยึดครองพื้นที่ พวกเขาจึงเลือก ที่จะใช้หลักเขตเชิงสัญลักษณ์ อย่างการปลูกต้นไม้ “เริ่มจากบ้านหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว จนเดี๋ยวนี้ยังไม่มี การล�้าออกไปนอกแนวต้นสักที่ปลูกเลย ก็หมดปัญหาเรื่อง ความขัดแย้งกับอุทยานฯ  ภายในแนวเขตก็ให้พนี่ อ้ งชาวบ้าน จัดการกันเอง  ตอนนี้ที่หมู่บ้านลิเจีย ผมเอากล้าสะตอไปให้ พี่น้องปลูกเป็นแนวเขต ๓,๐๐๐ ต้น” อุดมเล่าถึงงานที่ท�า

สมเกิด คําปาน ชิดชัย นิ่มเลห

เจาหนาที่พิทักษปา เขตรักษาพันธุส ตั วปา ทุง ใหญนเรศวรดานตะวันออก “โดยหนาที่เราทําอยูแลว เมื่อกอนการทําไรกระจายอยางไมมีขอบเขต ถาเราไมจํากัดพื้นที่ พืชไรเชิงเดี่ยวอยางไรขาวโพดอาจ เขาไปได พอโครงการจอมปาเขามาจึงไดทาํ งานรวมกันมากขึน้ กอนทํางานกรมอุทยานฯ กับมูลนิธสิ บื ฯ ไดทาํ เอ็มโอยูกนั ขึน้ มา เปนขอตกลงความรวมมือ มันขึ้นอยูกับหัวหนาดวยวาเขามีแนวทางอยางไร เราเปนลูกนอง ตองทํางานภายใตนโยบาย เราสํารวจพื้นที่ใชประโยชนของชุมชนแบบเขมขน เดินเทาดวยกันทั้งหมด บางคนวาเมื่อเขาไปเห็นโปง เขาจะไมไปดักลาสัตว หรือ ความจริงแลวเรามาอยูไมกี่ป แตเขาอยูมาตั้งแตเกิด เขารูจักพื้นที่มากกวาเราหลายเทา เราลาดตระเวนดวยกันเพื่อการ มีสวนรวม นี่คือสิ่งที่ได แตในชุมชนก็ไมใชเห็นดวยกับเราทั้งหมด” ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

8๕


มาก่อน ส่วนที่บ้านปอสามต้น กิจกรรมปลูกป่าในเขตป่าได้มีขึ้น เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ “เราคิดกันมานานแล้ว แต่ยังรวมคนไม่ได้ พอคณะ  กรรมการป่าชุมชนเกิดขึ้น ชาวบ้านก็เข้ามาร่วมมือ ก�ำนันก็ ติดต่อหากล้าไม้มาและก�ำหนดวันปลูกป่า” ชวน นาโห้ พูด หลังกล้าไม้ต้นสุดท้ายในจ�ำนวน ๒,๕๐๐ ต้นถูกปลูกลงดิน ไพโรจน์ จิตรจ�ำเริญ ชาวบ้านปอสามต้น และเป็นก�ำนัน ต�ำบลปิล็อกคนปัจจุบัน บอกว่า “หลังประกาศอุทยานแห่ง ชาติเขาแหลม เราต่อสู้ด้วยการประท้วง ๘ ครั้ง ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔-๒๕๔๐ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปอย่างใด  ตอนจะอพยพ หมูบ่ า้ นออกเรายินดีจะไปถ้ามีทรี่ องรับ แต่ทางการไม่มที ที่ ำ� กิน  ให้ จนมีมติ ครม. ๓๐ มิ.ย. ๒๕๔๑ ที่เปิดช่องให้ชุมชน อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมได้ ชาวบ้านจึงต่อรองขออยู่อาศัยในช่วง ๘ กิโลเมตรตามเส้นทางท�ำไม้เดิมที่ยาว ๑๖ กิโลเมตร  ที่ ประชุมเห็นชอบ และมูลนิธิสืบฯ เข้ามาเป็นคนกลางในการ เดินแนวเขตที่ท�ำกินร่วมกันของเจ้าหน้าที่กับชาวบ้าน เป็น ความพอใจของทัง้ สองฝ่าย ตอนนีก้ ารบุกรุกป่าแทบไม่มแี ล้ว  เนื่องจากชาวบ้านได้มีส่วนร่วมดูแลด้วย” ส่วนกิจกรรมปลูกป่านั้นก�ำนันไพโรจน์เล่าว่า คิดขึ้นมา เนื่องจากปีนี้น�้ำในเขื่อนเขาแหลมแห้งลงอย่างวิกฤต ก็คิดว่า  การปลูกสร้างป่าเพิ่มของชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ จะมีส่วนช่วย  ลดโลกร้อนบ้าง กล้าไม้ยางนา สีเสียด ประดู ่ ขีเ้ หล็ก สะเดา มะขามป้อม จ�ำนวนราว ๒,๕๐๐ ต้นถูกล�ำเลียงจากแปลงเพาะภายนอก เข้ามาตามเส้นทางกลางป่าสายเล็ก จนจดริมเขื่อนก็ถูก  ขนย้ายต่อลงเรือ เนื่องจากหมู่บ้านปอสามต้นตั้งอยู่ลึกเข้าไป ตามร่องห้วย ไม่มที างรถไปถึง และหย่อมบ้านบางส่วนก็เป็น เรือนแพอยู่กลางน�้ำ ในการน�ำกล้าลงปลูก นอกจากคนในหมูบ่ า้ นทีเ่ ป็นก�ำลัง หลักแล้ว ยังมีอาสาสมัครหนุม่ สาวจากในเมืองเกือบ ๑๐ คน ที่รวมตัวกันในชื่อกลุ่มกลมกลิ้ง ได้มาลงแรงร่วมในกิจกรรม นี้ด้วย และเรื่องพิเศษที่เป็นความตื่นเต้นของคนในหมู่บ้าน  ลึกสุดหลังเขื่อนก็คือ นายอ�ำเภอทองผาภูมิเดินทางมาร่วม  งานนี้ด้วย ก�ำนันต�ำบลปิลอ็ กพูดในนามชาวบ้านปอสามต้นว่า “ตัง้ แต่  ตั้งหมู่บ้านมาเมื่อปี ๒๕๓๓ ยังไม่เคยมีข้าราชการผู้ใหญ่  เข้ามาเลย  นีเ่ ป็นครัง้ แรกในรอบ ๒๐ ปีนบั ตัง้ แต่ตงั้ หมูบ่ า้ น มา ท่านนายอ�ำเภอถาวร ลีลาพันธุ ์ ทีม่ ารับต�ำแหน่งนายอ�ำเภอ

86 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

ทองผาภูมิได้ไม่ถึงปี ได้เข้ามาเป็นคนแรก” ทุกคนจึงหวังว่าทุกอย่างจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  พงษ์ศักดิ์ ม่วงงาม หัวหน้าภาคสนามมูลนิธิสืบฯ เขตพื้นที่ กาญจนบุรีที่เป็นผู้ประสานมาตั้งแต่ต้น จนเจ้าหน้าที่กับ  ชาวบ้านหันหน้าเข้าหากันได้ พูดถึงความส�ำเร็จที่เกิดขึ้น  อย่างยินดีว่า “ที่ผ่านมาทะเลาะกันเพราะคุยกันคนละที และคุยกัน ปากเปล่า พอท�ำให้สองฝ่ายคุยกันได้ เดินหมายแนวเขต  ร่วมกัน เจ้าหน้าทีไ่ ด้มาดูดว้ ยตัวเองว่าตอนนีช้ มุ ชนท�ำประโยชน์  ถึงไหน ชาวบ้านก็ได้เรียนรูเ้ รือ่ งจีพเี อสด้วย ใช้เครือ่ งมือเป็น  ได้แผนที่มาก็เอาแผนที่นั้นขึ้นเวทีประชาคมร่วมกัน จากนั้น ก็ตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนขึ้นมาดูแล มีกติกาที่ผ่านการ ประชาคม และต้องรับข้อตกลงไม่ออกนอกแนวเขต” เป็นรูปแบบวิธีการเดียวกันที่เป็นแนวทางในการจัดการ พื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชนทั้ง ๔๘ แห่งในเขตจังหวัด กาญจนบุรี และทั้ง ๑๒๙ ชุมชนที่อยู่ในเขตป่าตะวันตก ยกเว้นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งกับเขตรักษาพันธุ์  สัตว์ป่าสลักพระที่ไม่มีชุมชนอยู่ในเขตป่า

หลังประสบความส�ำเร็จกับชุมชนในป่า ก็เกิดแนวคิดใน  การขยายงานออกมาสู่ชุมชนที่อยู่ตามขอบป่าด้วย ในรูปของ ป่ากันชนที่จะเป็นกันชนให้กับผืนป่าอนุรักษ์ “ตรงไหนมีภเู ขาหรือทีว่ า่ งทีย่ งั เป็นป่าธรรมชาติอยู ่ ก็ชวน ชาวบ้านมาช่วยกันรักษาไว้ ช่วยกันดูแลเพื่อใช้ประโยชน์  ตั้งแต่ขนาดพื้นที่สัก ๒๐ ไร่ ไปจนถึงเป็นหมื่นไร่แล้วแต่ สภาพ หรือบางที่ชาวบ้านเขาดูแลอยู่แล้ว แต่อยากให้มัน  เป็นทางการ มีขอ้ ก�ำหนดชัดเจน ให้กรมอุทยานฯ รับรอง เขา ก็เข้ามาร่วม” รตยา จันทรเทียร อ้างถึงชื่อ สมบัติ ชูมา หัวหน้าภาค สนามมูลนิธิสืบฯ เขตอุทัยธานี เมื่อเล่าถึงเรื่องนี้ “เราเริ่มป่าชุมชนริมห้วยขาแข้ง ๓๐ ป่า  สมบัติ ชูมา  เขาเสนอแนวคิด ๓๐ ป่ารักษาทุกโรค ท�ำแบบป่ารุกบ้าน คือ แทนที่จะเข้าหาของป่า อยากได้อะไรก็เอามาปลูกไว้ริมบ้าน   เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ตอนนี้ท�ำในชื่อโครงการภูมินิเวศ  ผืนป่าตะวันตก”


ปราโมทย  ราตรี

หัวหนาเขตรักษาพันธุสัตวปาอุมผาง “เขตรักษาพันธุสัตวปาอุมผางพื้นที่ ๑.๖ ลานไร มีพนักงานราชการและลูกจางรวม ๑๓๐ กวาคน ดูแลพื้นที่ตกคนละหมื่นกวาไร การที่จะดูใหทั่วมันยากมาก และพอดูไปมันมีชุมชนอยู ในพื้นที่ ๒๒ ชุมชน และสวนใหญทําไรหมุนเวียน ซึ่งตรวจสอบยากมาก เพราะหมุนไปเรื่อย การดําเนินการตามกฎหมายทําไดยาก เจาหนาที่กับชาวบานก็กระทบกระทั่งกันมาตลอด แนวทางการเจรจาเราทําอยูแลว แตภาพชัดเจนขึ้นเมื่อมีมูลนิธิสืบฯ เขามาเปนคนกลาง ซึ่งตนกําเนิดของมูลนิธิฯ คือพี่สืบ ก็อยูหวยขาแขงมากอน เปาหมายคือเอาปาอยูแลว อยางนั้นมูลนิธิสืบฯ มาเปาหมายก็คือการรักษาปาอยูแลว”

ที่ มี   ตะวั น ฉาย หงษ์ วิ ลั ย  เป็ น หั ว หน้ า โครงการ ซึ่ ง บางส่วนก็ครอบคลุมไปถึงชุมชนในป่าด้วย  เขาให้ภาพกว้าง ของงานในความรับผิดชอบว่า “โครงการภู มิ นิ เ วศผื น ป่ า ตะวั น ตก มี   ๒๖๔ ชุ ม ชน  รวมกันเป็นเครือข่าย เป็นชุมชนขอบป่า ๑๓๕ ชุมชน ชุมชน ในป่า ๑๒๙ ชุมชน  ๑๕ กลุ่มชาติพันธุ์ ใน ๖ จังหวัด  ทุก  ๓ เดือนตัวแทนกรรมการจังหวัดละ ๑๕ คนจะมาประชุม ร่วมกัน ใช้พลังของเครือข่ายในการขับเคลือ่ นนโยบาย ในช่วง เวลาปรกติแต่ละเครือข่ายย่อยก็ท�างานของตัวเองไป” ตะวันฉายเองอยู่ในเครือข่ายป่าชุมชนแม่เปิน-แม่วงก์ -ชุมตาบง ซึ่งมีพื้นที่ท�างานอยู่ในเขต ๓ อ�าเภอดังกล่าวของ จังหวัดนครสวรรค์  สมาชิกจากทุกป่าชุมชนจะมาประชุมกัน ทุกวันที่ ๒๒ ของเดือน  แต่ในการประชุมประจ�าวันที่ ๒๒  กรกฎาคม ๒๕๕๓  มีความพิเศษที่ต่างจากการประชุมครั้ง อื่นคือ เป็นวันท�าพิธีเปิดจุดสกัดของชุมชนบ้านปางสักด้วย บ้านปางสัก หมู ่ ๑๒  ต�าบลแม่เปิน อ�าเภอแม่เปิน ตัง้ อยู่ ประชิดเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึง่ มีปา่ ชุมชนขนาด ๘๐๐  ไร่เป็นจุดเชื่อม ป้อมยามจุดสกัดถูกสร้างขึ้นที่ท้ายหมู่บ้าน  บริเวณปากทางเข้าผืนป่าชุมชน เป้าหมายหลักของเราอยากได้การร่วมแรงใจของชาวบ้าน  ไม่ใช่กีดกันใคร  ศุทรา เมืองเจริญ ประธานป่าชุมชนบ้าน ปางสัก พูดถึงที่มาของการตั้งจุดสกัด “ถึงฤดูเห็ด หน่อไม้ จะมีคนไม่ได้ร่วมดูแลป่าเลยเข้ามา เยอะมาก กลุ่มคนที่ดูแลป่าแทบไม่ทันเขา เคยได้ยินเรื่อง การท�าจุดสกัด เลยพากันไปดูงาน ไม่อยากให้เกิดผิดพลาด

จึงต้องไปดูให้เห็นรูปธรรมก่อน  ตะวันฉายแนะน�าให้ไปดู ที่อ�าเภอไพศาลี ดูแล้วเอามาปรับเป็นของเรา  ความคิดเรื่อง การท�าจุดสกัดก็เพือ่ ให้คนข้างนอกได้มสี ว่ นร่วมในการดูแลป่า ท�านุบ�ารุงป่าบ้าง อาจเสียค่าธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ ให้ ชุมชนได้ใช้เป็นกองทุนในการปลูกป่า ท�าแนวกันไฟ” ตะวันฉายพูดเรื่องเดียวกันนี้ว่า “จุดสกัดถือเป็นทีท่ า� งานร่วม คนเฝ้าจะเป็นคณะกรรมการ ป่าชุมชน ที่ใส่ชุดเครื่องแบบสีด�า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ มา อยู่ด้วยกันเพื่อป้องกันการกระท�าผิด ประชาสัมพันธ์ให้คน เข้าใจเรื่องการใช้ประโยชน์จากป่า ไม่ใช่เพื่อการเอาเปรียบ รังแกกัน  แต่เพือ่ สร้างการมีสว่ นร่วม ให้ทกุ คนได้ใช้ทรัพยากร อย่างเท่าเทียม และมีส่วนร่วมในการรักษา” งานพิธเี ปิดจุดสกัดบ้านปางสัก มีเพือ่ นสมาชิกจากชุมชน ต่างๆ ในเครือข่ายฯ แม่เปิน-แม่วงก์-ชุมตาบง มาร่วมกัน อย่างอบอุ่น รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ “ผมเป็นหัวหน้าชุดปราบปราม มาอยู่อุทยานแห่งชาติ แม่วงก์ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗  แต่เพิ่งมาอยู่ที่ห้วยแม่กะสี ต�าบล แม่เปิน เมื่อปี ๒๕๔๙” จงจิตร์ มุ้งทอง พนักงานราชการ ป่าไม้ แนะน�าตัว  “งานหลักคือออกตรวจ ปราบปราม  ยาม ว่างก็พัฒนาน�้าตกให้งามตา  กับชุมชนก็ร่วมกิจกรรมตาม หมูบ่ า้ น และร่วมประชุมกับเครือข่ายป่าชุมชนทุกเดือน มีงาน อะไรก็เข้าร่วม  ชาวบ้านเจอการกระท�าผิดก็มาแจ้งที่หน่วย  เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมก็มีการลักลอบโค่นไม้ ไปจับได้แต่ เครื่องมือ คนท�าหนีไปได้” “ลาดตระเวนเจอการกระท�าผิดก็ประสานเจ้าหน้าที่”  ฉบับที่ 3๐7 กันยายน ๒๕๕3

นิตยสารสารคดี

87


เดช เขียวเขตวิทย์ ผู้ใหญ่บ้านคลองห้วยหวาย ประธาน  เครือข่ายป่าชุมชนแม่เปิน-แม่วงก์-ชุมตาบง และเป็นหนึง่ ใน คณะกรรมการเครื อ ข่ า ยภู มิ นิ เ วศผื น ป่ า ตะวั น ตก พู ด ถึ ง กิจกรรมของชุมชน “ชาวบ้านแถวนี้ดูแลรักษาป่ากันมานาน แล้ว คนข้างนอกเข้ามาใช้แล้วเกิดความเสียหาย เราก็เริ่ม สร้างกติกาขึ้นมา ตรงไหนเสื่อมโทรมก็ปลูกเพิ่ม หน้าแล้งท�ำ แนวกันไฟ ลาดตระเวนป่า เชิญหน่วยงานมาร่วมท�ำประชาคม ชาวบ้าน ตัง้ คณะกรรมการป่าชุมชน และได้รบั การอนุมตั จิ าก อธิบดีกรมป่าไม้” เมื่อพูดถึง สืบ นาคะเสถียร ผู้ใหญ่บ้านวัยหนุ่มใหญ่  บอกว่า “คนแถวนีร้ จู้ กั ดี โดยเฉพาะตัวผมทีบ่ า้ นเกิดอยูอ่ ทุ ยั ธานี ตอนผมยังเด็กเวลาท่านมาประชุมชาวบ้านผมก็เคยเห็น ท่าน ไม่ใช่คนถือเนื้อถือตัว พูดคุยกับชาวบ้านเป็นกันเอง” และพูดถึงความเชือ่ มโยงจากสิง่ ทีเ่ ขาเห็นสืบท�ำในวันนัน้ มาถึงตัวเขาในวันนี้ว่า “คนอื่นเขาจะมองอย่างไรผมไม่รู้นะ แต่ผมเองยึดถือ อุดมการณ์ตามแนวทางนั้น  ที่เราท�ำคนอื่นอาจมองไม่เห็น  แต่เราก็ไม่ได้หวังตรงนัน้  เพียงแต่วา่ ท�ำอย่างไรจึงจะสามารถ สานต่ออุดมการณ์ตามแนวทางของท่านไว้ให้ได้” นี้คงเป็นประจักษ์หลักฐานหนึ่งว่าสิ่งที่สืบลงแรงทุ่มเท  ท�ำมา ยังคงอยู่ในใจคนและส่งผลอยู่ไม่รู้วาย เครื อข่ า ยภูมินิเวศผืนป่าตะวันตก เริ่มจากโครงการ  ๓๐ ป่ า รั ก ษาทุ ก โรคที่ อุ ทั ย ธานี   ขึ้ น มาทางนครสวรรค์  -ก�ำแพงเพชร ทีต่ ะวันฉายดูแลอยู ่ และต่อมาก็ตอ่ เนือ่ งไปถึง อุม้ ผาง  ส่วนทางใต้กข็ ยายไปถึงสุพรรณบุร ี กาญจนบุร ี พืน้ ที่ ท�ำงานของ นริศ บ้านเนิน นอกจากชุมชนในป่า ๓๓ ชุมชนที่อยู่ในเขตอุทยาน  แห่งชาติ ๓ แห่งในจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี นริศ  ยังท�ำงานกับชุมชนขอบป่าด้วย รวมทั้งสิ้นแล้วตกราว ๘๐ ชุมชน มีคณะกรรมการป่าชุมชน (ชุดเครื่องแบบสีด�ำ) ราว ๘๐๐ คนอยู่รายรอบขอบป่าในช่วงรอยต่อของสองจังหวัด ที่สามแยกทางขึ้นเขาเหล็ก ซึ่งปลายทางของทางหลวง ชนบทที่ทอดจากริมเขื่อนศรีนครินทร์ อ�ำเภอศรีสวัสดิ์ ผ่าน พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และอุทยานแห่งชาติ  เฉลิมรัตนโกสินทร์ มาบรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๓๔๘๐  ทีต่ ำ� บลสมเด็จเจริญ อ�ำเภอหนองปรือ ซึง่ เป็นทีต่ งั้ จุดสกัด ที่ ชาวชุมชนถือว่าเป็นประตูป่า ป้อมจุดสกัดตั้งอยู่บนที่ดินส่วนตัวของเอกชนรายหนึ่ง  ที่เจียดพื้นที่ส่วนตัวให้กับการอนุรักษ์

88 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

“คุณนริศมาว่าจะอนุรักษ์ทรัพยากรป่า หาสถานที่ ผม  ไม่เคยอยู่ป่ามาก่อน ลูกชายมาซื้อที่ดินที่นี่ไว้ ผมมาดูแลให้ มาอยูแ่ ล้วก็อยากร่วมอนุรกั ษ์  พอเขามาขอทีต่ งั้ ป้อม ผมก็ให้ ไม่ลังเล การลงทุนสร้างป้อมมูลนิธิสืบฯ เป็นผู้ออกทุน”  นาวาโท เสน่ห์ แสงเพชร ข้าราชการบ�ำนาญที่เพิ่งมาเป็น สมาชิกใหม่ของต�ำบลสมเด็จเจริญ พูดถึงป้อมจุดสกัดทีต่ งั้ อยู่ หน้าบ้านของตัวเอง และพูดต่อว่า “แต่ชาวบ้านบางคนก็ตอ่ ว่า ว่าจะหาภัยใส่ตัวเอง...” “บางทีคนเขาไม่เข้าใจ ว่าท�ำไมเราไม่อยากให้คนมาใช้ ประโยชน์ในพื้นที่” นริศเล่ารายละเอียด “เป็นงานป้องปราม คนทีท่ ำ� ลายทรัพยากร ถนนเส้นนีเ้ ป็นถนนเส้นใหญ่ทเี่ ข้าสูป่ า่ เราคิดว่าถ้าท�ำประตูป่าป้องปรามถนนเส้นนี้ได้ จะช่วยป่าได้ มาก  หรือบางทีเมื่อถึงฤดูก็มาเก็บเกี่ยวประโยชน์ แล้วคนที่ เขาดูแลล่ะ ตอนดูแลคุณมาช่วยปลูกป่าไหม มาช่วยดับไฟป่า ไหม เวลาเขาท�ำกิจกรรมอะไรกันได้มาช่วยไหม  แต่พอถึง หน้าเก็บหาผลประโยชน์คนข้างนอกมากันเต็มเลย จะให้  คนที่ดูแลท�ำอย่างไรล่ะ เขาท�ำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ แต่ คนข้างนอก เขาไม่รู้ระบบ ไม่รู้กติกานี่ เขามาใช้ประโยชน์  เต็มที่ เจออะไรเอาหมด” ต่อเนื่องขึ้นทางเหนือในพื้นที่สมเด็จเจริญจนถึงต�ำบล  วังยาวของอ�ำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มีป่าชุมชนของ บ้านต่างๆ อยู่ตลอดแนวป่าอุทยานแห่งชาติ เฉพาะในต�ำบลสมเด็จเจริญมีป่าชุมชนของ ๓ หมู่บ้าน ต่อกันเป็นผืนใหญ่รว่ ม ๓ หมืน่ ไร่ ทีก่ อ่ ตัง้ และด�ำเนินไปโดย การน�ำของก�ำนันสุรสิทธิ์ รุ่งรัตนพงษ์พร “เมื่อปี ๒๕๕๑ รัฐบาลมีงบอยู่ดีมีสุขให้แต่ละหมู่บ้าน  ท�ำโครงการเสนอไป หลายหมู่บ้านท�ำเรื่องส่งเสริมอาชีพ  เลีย้ งปลาเลีย้ งไก่  อย่างนัน้ ได้กนิ ครัง้ เดียว หมดปีกจ็ บ หาย หมด  เราจึงปรึกษากันว่าจะเอามาท�ำเรือ่ งอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ถ้าเราช่วยกันดูแลป่าก็จะเป็นมรดกของหมู่บ้าน หาเห็ด หา หน่อไม้ สมุนไพร หรือจะซ่อมแซมบ้าน ท�ำได้หมด ใช้ไม่หมด   ชาวบ้านเห็นด้วย จึงของบมาตัง้ กลุม่ อาสาสมัครพิทกั ษ์ปา่  จัด อบรม สร้างป้อมจุดสกัด หน้าแล้งท�ำแนวกันไฟ เดินลาด ตระเวนป่าเดือนละ ๑-๒ ครั้ง อยู่เวรยามที่ป้อม ที่มูลนิธิฯ  ช่วยเอาวัสดุมาให้สร้างประตูปา่   ถ้าป่ายังอยูก่ บั เรา เราอยูไ่ ด้” “งานนีม้ นั ใหญ่มาก แต่ในเมือ่ เราถูกเลือกแล้ว...” นริศ พูดขึ้นมาในช่วงหนึ่ง “คนท�ำงานทุกคนคิดว่า เราถูกเลือก  จากคุณสืบ จากป่าแล้ว ถูกเลือกจากชุมชนอีก เราเลิกไม่ได้  ส่วนหนึ่งมันเป็นความหวังของชุมชน เป็นความหวังของ  มูลนิธิฯ ที่จะรักษาป่าที่เหลืออยู่เอาไว้ให้ได้  เราท�ำงานนี้


โดยมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า คุณสืบยังอยู่กับเรา เวลาท�ำ อะไรทีย่ ากๆ เราต้องยกมือไปทางป่า บอกพ่อปูฤ่ ๅษีทงุ่ ใหญ่ฯ  บอกคุณสืบให้ช่วยเรา ช่วยดลบันดาลให้เรามีก�ำลังใจ” นริศบอกว่าความจริงตัวสืบนั้นเขาไม่เคยรู้จักมาก่อน มี อยู่ปีหนึ่งก่อนเข้ามาท�ำงานนี้ เขาได้ไปร่วมงานที่ห้วยขาแข้ง แล้วได้ดูวีดิทัศน์การช่วยชีวิตสัตว์ป่าที่เขื่อนเชี่ยวหลาน ได้ เห็นบทสัมภาษณ์สดของคุณสืบ รวมทั้งภาพตอนที่สืบปั๊ม หัวใจกวาง เขาลุกไปเปิดเครื่องเล่นให้ดูภาพเคลื่อนไหวประกอบ  ค�ำเล่า เป็นภาพทีมช่วยชีวิตสัตว์ป่าที่น�ำโดย สืบ นาคะเสถียร  แล่นเรือหางยาวไปกลางเวิ้งน�้ำกว้าง ประกบกวางตัวเขื่อง  ทีเ่ ขาข้างหนึง่ หักหายไปแล้ว คนบนเรือพยายามโยนบ่วงเชือก คล้องจับตัวมัน แต่ยังไม่ส�ำเร็จ จนช่วงหนึ่งสืบกระโดดลงไป ในน�้ำด้วย  ภาพตัดกลับมาเมื่อกวางถูกจับขึ้นมานอนแน่นิ่ง อยู่กลางท้องเรือ สืบซึ่งเพิ่งว่ายน�้ำกลับมาเกาะกราบเรือ ปีน กลับขึน้ เรือไปยืนคร่อมตัวกวาง วางสองฝ่ามือลงแถวชายโครง แล้วโถมตัวลงกดซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า “ผมยืนดูอยู่นานมาก” นริศเล่าถึงคราวที่เขาดูครั้งแรก  “ตั้งแต่แกโดดลงจากเรือ ว่ายน�้ำในเขื่อนเชี่ยวหลานไปจับ กวาง ว่ายๆๆๆ ไปจับ เหนื่อยมากเลย กลับมายืนหอบ เหนือ่ ย ถ่มน�ำ้ ลายทิง้  ปาดเหงือ่  แล้วปัม๊ หัวใจให้มนั อีก ดูแล้ว โอ้โห  แล้วตอนที่แกไปนั่งตากฝน รอสัตว์ที่แกจะช่วย พอ มันมาติดตาข่าย แกโดดไปกอดมันก่อนเลย แล้วช่วยกันจับ มันเห็นความมุ่งมั่นของแก” เวลาลงไปหาชาวบ้านตามชุมชน นริศจึงมักพาวีดิทัศน์  ชุดนีไ้ ปแบ่งปันให้ชาวบ้านได้ดดู ว้ ย  ทีเ่ ป็นความประทับใจเขา มากที่สุดก็ในคราวงานวันมรดกโลกที่ตลาดบ้านไร่ อุทัยธานี  เขายกโทรทัศน์ไปเปิดให้คนดู แล้วมีป้าคนหนึ่งมานั่งร้องไห้ อยูห่ น้าจอ  หญิงชาวบ้านคนนัน้ พูดกับเขาว่า เธอรูจ้ กั หัวหน้า สืบ แต่ไม่เคยรู้ว่าท่านท�ำอะไรมามากมายอย่างนั้น ส่วนตัวเองนริศบอกว่าเขาเก็บวีดทิ ศั น์ชดุ นีไ้ ว้กบั ตัวเสมอ และเอามาเปิดดูทุกครั้งที่รู้สึกท้อกับการงาน “เห็นความทุม่ เทของแกก็ยงิ่ รูส้ กึ ว่าเราท�ำน้อย ทีบ่ อกว่า เราเหน็ดเหนือ่ ย แกเหนือ่ ยยิง่ กว่าเราเยอะ เจ็บปวดมากกว่า เราเยอะ” ท้ายสุดชายหนุ่มที่ท�ำงานอยู่กับป่าและคนในป่าพูดถึง วีรบุรุษในใจเขาว่า “ทุกคนรักชีวติ  แต่คนทีย่ อมให้ตวั เองเป็นเครือ่ งมือท�ำให้ สังคมเปลีย่ นแปลงมีนอ้ ยมาก แต่หลังจากหัวหน้าสืบเสียสละ

ชีวิตก็เริ่มมีมากขึ้น”

บนฝาผนังด้านหนึง่ ของบ้านโบราณทีเ่ ป็นส�ำนักงานมูลนิธิ  สืบนาคะเสถียร พืน้ ทีอ่ มุ้ ผาง เป็นแผนผังโครงสร้างการท�ำงาน  และแนะน�ำคนท�ำงานในองค์กร โดยมีรูป สืบ นาคะเสถียร แผ่นใหญ่ติดอยู่บนสุด กับข้อความว่า หัวหน้าใหญ่ของ  พวกเรา ซึง่  ยุทธชัย บุตรแก้ว ทีเ่ ป็นหัวหน้าภาคสนามมูลนิธสิ บื ฯ  พืน้ ทีอ่ มุ้ ผาง ก็ไม่เคยรูจ้ กั ตัวจริงของสืบ แต่เขาชืน่ ชมยกย่อง ในแนวทาง และทุกวันนี้เขาก�ำลังเดินตามรอยทางของ สืบ  นาคะเสถียร อยู่จริงๆ หนึ่งในภาพถ่ายของ สืบ นาคะเสถียร ที่ติดตาคนมาก ที่สุด คือภาพที่เขานั่งคุยอย่างใกล้ชิดเป็นกันเองกับผู้เฒ่า กะเหรี่ยง บนพื้นดินกลางป่า  ตามข้อมูลว่าสถานที่ในภาพ  อยู่แถวแม่จันทะ อ�ำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งสืบเคย  เดินเท้าส�ำรวจสัตว์ป่า จากป่าอุ้มผางข้ามภูก่องก๊องที่เป็นสัน ปันเขตจังหวัด เข้าสูป่ า่ ทุง่ ใหญ่นเรศวรเขตจังหวัดกาญจนบุรี ตามที่มีคนรุ่นน้องเขาบันทึกว่า “พี่สืบใช้เวลาเดินป่า  ครั้งนี้นานกว่าสองสัปดาห์ เราได้เห็นธาตุแท้ของความทรหด แม้วา่ เท้าทัง้ สองจะเจ็บ เดินล้มลุกคลุกคลาน ถูกหนามเกีย่ ว ตามล�ำตัวและหู ดูเหมือนว่าพี่สืบจะไม่สนใจกับสิ่งเหล่านี ้ แคมป์ที่หลับนอนในป่าก็ใช้ผ้าพลาสติกปูลงบนพื้นดิน และ มุงผ้าพลาสติกผืนใหญ่เพื่อกันน�้ำค้าง  อาหารที่เตรียมไป  แม้วา่ จะไม่พอเพียง ความล�ำบากต่างๆ ก็ประสบ  ดูเหมือนว่า  พี่สืบไม่เคยปริปากบ่นด้วยค�ำพูดใดๆ เลย” ปัจจุบนั ป่าของอ�ำเภออุม้ ผางอยูใ่ นเขตของ ๒ ป่าอนุรกั ษ์ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก ซึ่งเชื่อมต่ออยู่กับเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ในเขตจังหวัด กาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทยั ธานี  ภายใน ๒ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ของอ�ำเภออุม้ ผาง มีชุมชนอยู่ในป่ากว่า ๓๐ ชุมชน เป็นคนกะเหรี่ยง (โพล่) และปกากะญอ ยุทธชัยบอกว่าเขาเข้าไปในพื้นที่ในช่วงที่ความขัดแย้ง ก�ำลังคุกรุ่น ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

89


“พื้นที่แถวนี้เตรียมจะเหมือนชายแดนใต้ ก่อนสงคราม จะเกิดเราไปจบกันที่โต๊ะเจรจาก่อน ไม่อย่างนั้นสงครามเกิด แน่  ชุมชนอ้างเรื่องอยู่มาก่อน เจ้าหน้าที่อ้างหลักหมายอ้าง แผนที่  เราก้าวไปดักหน้าก่อนไม่ให้ความขัดแย้งไปถึงจุด แตกหัก เป็นแนวทางสันติและทุกฝ่ายไม่เสีย ป่าก็อยู่” เขาใช้ เ วลา ๑ ปี ใ นการสร้ า งความเข้ า ใจ พู ด คุ ย กั บ  ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ ท�ำข้อมูลชุมชนน�ำร่อง ๗ หมู่บ้านใน เขตปกครองต�ำบลแม่จัน และอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุม้ ผาง ได้แก่ บ้านกุยเลอตอ บ้านกุยต๊ะ บ้านกุยเคลอะ บ้าน พอกะทะ บ้านมอทะ บ้านหม่องกั๊วะ และบ้านไกบอทะ “ชาวบ้านบอก ตรงไหนให้ท�ำกินได้ก็บอกมา ตรงไหน  ไม่ให้ท�ำก็ไม่ว่า ให้บอกมาให้ชัดเจน  ส่วนเจ้าหน้าที่ก็บอก  ชาวบ้านอย่าขยายพื้นที่ อย่าไปรุกป่าเพิ่ม  ไม่ใช่ว่าจะให้อยู่ กันไม่ได้เลย” แลกเปลีย่ นและฟังความต้องการของแต่ละฝ่ายแล้วก็มา นั่งคุยกัน ซึ่งเขาต้องเข้าไปเตรียมแต่ละฝ่ายมาก่อนด้วย “ว่าชาวบ้านเขาจะคุยเรื่องนี้ๆ ให้ทางเจ้าหน้าที่เตรียม  ค�ำตอบไว้  กับทางชุมชนก็เตรียมว่า เจ้าหน้าที่เขามีข้อ กฎหมายอย่างนี้นะ เราพอจะมีช่องทางท� ำอย่างไรได้บ้าง  ต้องหาแนวทาง” คุยกันจนสามารถจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชน เมื่อตั้ง ได้จะถือเป็นจุดเปลี่ยน “จากนั้นก็เดินส�ำรวจพื้นที่ท�ำกินร่วมกัน เจ้าหน้าที่เอง ก็ได้เห็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ของชุมชนอย่างละเอียด ที่ยังเป็น หย่อมป่า ป่าตามริมห้วยก็ถกู กันไว้ มีการลงแผนที ่ แล้วน�ำมา วางกติกา” สมเกิด ค�ำปาน พนักงานราชการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุม้ ผาง พูดถึงกิจกรรมนีว้ า่  “การส�ำรวจพืน้ ทีห่ มูบ่ า้ นไหน เรา ใช้คณะกรรมการของบ้านนัน้ มาร่วมเดิน  การได้ลาดตระเวน ร่วมกัน ได้ความเป็นเพื่อนจากการได้เหนื่อยยากด้วยกัน  ต่อแพข้ามห้วยด้วยกัน ปีนผา กินข้าวเที่ยงตอน ๓-๔ โมง เย็นด้วยกัน ก็เกิดความไว้วางใจจากการได้เห็นน�้ำใจกัน” เจ้าหน้าทีเ่ ขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ อุม้ ผางอีกคนชือ่  ยงยุทธ  ตระหง่านกุลชัย ซึ่งเป็นชาวบ้านกุยต๊ะด้วย บอกว่าเขาเป็น คนในชุมชนแต่ก็ต้องท� ำตามที่นายสั่ง จนเมื่อมีโครงการ จัดการพืน้ ทีค่ มุ้ ครองอย่างมีสว่ นร่วมขึน้ มาจึงเริม่ คุยกันได้ เขา มาร่วมการประชุมของชุมชนทุกเดือน  “ท�ำความเข้าใจกับ ชาวบ้านให้ถือตามข้อตกลง อย่างการท�ำไร่หมุนเวียน ต้อง  ไม่ท�ำซ�้ำในไร่ซากที่เกิน ๕ ปี ไม่อย่างนั้นจะโดนจับ ซึ่ง  ตอนนีน้ อกจากมีความผิดทางอาญายังจะถูกฟ้องทางแพ่งด้วย

90 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

ซึ่งมีการค�ำนวณออกมาแล้วว่าไร่ละ ๑.๖ แสนบาท” “ตอนนี้ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่มี  น้อยมาก” ยุทธชัยสรุปภาพรวมสถานการณ์ในผืนป่าอุ้มผาง  “ทีม่ บี า้ งก็มกั เป็นเรือ่ งส่วนทีย่ งั ไม่เข้าใจ ไม่ท�ำตามข้อตกลง” เขาพูดแทนชาวบ้านว่า “การประกาศเขตรักษาพันธุ์  สัตว์ป่า ชุมชนไม่เคยรู้เรื่อง บางชุมชนอายุถึง ๒๐๐ ปี แต่ ทัง้ หมดอยูม่ าก่อนการประกาศ แต่ถา้ เอาแต่การเรียกร้องสิทธิ หรืออะไรต่างๆ มันก็ไม่จบไม่สิ้น จะมีแต่ความขัดแย้ง” และพูดถึงเจ้าหน้าที่ว่า การที่มีโครงการจอมป่าเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่เห็นด้วยมาก “เพราะถ้าไม่ท�ำอย่างนั้นก็มีแต่ต้อง  จับกันไม่มีที่สิ้นสุด มันเหมือนไม่มีทางเลือก แต่วิธีนี้ได้รับ  การพิสูจน์แล้วว่าลดความขัดแย้ง และชุมชนให้ความร่วมมือ เกิดผลดีมากกว่าผลเสียเยอะ จากเจ้าหน้าที่หลักร้อยคน  ตอนนี้มีชาวบ้านเป็นพันๆ คนมาช่วยดูแลรักษาป่า” ยุทธชัยค�ำนวณตัวเลขให้เห็นคร่าวๆ ว่า จาก ๗ ชุมชน น�ำร่องในตอนเริ่มต้น ขยายออกไปอีก ๒๐ ชุมชนในเขตฯ อุม้ ผาง  บวกกับอีก ๗ หมูบ่ า้ นในเขตฯ ทุง่ ใหญ่นเรศวรด้าน ตะวันออก รวม ๓๔ ชุมชน มีคณะกรรมการป่าชุมชนทั้งสิ้น ๕๔๑ คน รวมกับชุมชนในเขตป่าสงวนอีกร่วม ๕๐ กว่า ชุมชน ก็ตกเกือบ ๑,๐๐๐ คน ที่มาจากแกนน�ำชุมชน เข้า ร่วมเครือข่ายภูมนิ เิ วศผืนป่าตะวันตก ปิดวงรอบผืนป่าตะวันตก  ในเขตไทยรอบด้านพอดี สอดคล้องตามข้อมูลความเห็นของ ปราโมทย์ ราตรี หัวหน้าเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ อุม้ ผาง ทีบ่ อกว่า “เขตฯ อุม้ ผาง ติดต่อกับเขตฯ ทุ่งใหญ่ฯ และเขตฯ ห้วยขาแข้ง  เป็นทั้ง  ตัวเชื่อมและตัวป้องกันผืนป่ามรดกโลก และในป่าก็มีชุมชน อยู ่ ก็ตอ้ งท�ำให้ชมุ ชนเข้าใจว่าเรามาท�ำอะไรทีเ่ ป็นการป้องกัน ป่ามรดกโลก” เขายังเล่าจากประสบการณ์วา่  การอนุรกั ษ์ท�ำให้ชาวบ้าน แทบไม่ได้กนิ ข้าว เพราะการถางป่าท�ำไร่เจ้าหน้าทีต่ อ้ งจับ ซึง่   ชาวบ้านก็เป็นคนยากจน จึงมีเรือ่ งกระทบกระทัง่ กันมาตลอด “พอโครงการจอมป่ า เกิ ด ขึ้ น โดยองค์ ก รอื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่  หน่วยงานของรัฐ เป็นคนกลางเข้ามาเชื่อม เพื่อบอกว่า  เจ้าหน้าทีท่ ำ� อะไร ชาวบ้านท�ำอะไร ก็เกิดกระบวนการท�ำงาน ร่วมกันขึ้น” หัวหน้าเขตฯ อุ้มผางออกปากเองว่า “ถ้าเราไม่เอาชุมชนเป็นผู้ร่วมอนุรักษ์ ใช้เจ้าหน้าที่เป็น หมื่นคนก็เฝ้าไม่ได้ เพราะพื้นที่กว้างใหญ่มาก จึงต้องท�ำให้ ชาวบ้านเขาเข้าใจว่าเราเฝ้าป่านี้เพื่ออะไร เป็นการสร้าง  แนวร่วม สร้างจิตส�ำนึกร่วมกัน  แต่คนที่ไม่เข้าใจก็ยังมี


การใช้กฎหมายก็ยงั ต้องมีอยู ่ การเจรจานัน้ เราก็ทำ� อยูแ่ ล้ว แต่ ภาพชัดเจนขึ้นเมื่อมีคนกลางเข้ามา” เมื่อความขัดแย้งลดลง ทางฟากของชาวบ้านก็หันมา พัฒนาส่งเสริมเรื่องอาชีพและการฟื้นฟูวัฒนธรรม มีการรวมตัวกันไปดูงานเพื่อกลับมาท�ำป่าสวน ๔ ชั้น  กันในพืน้ ทีข่ องตัวเองอย่าง ประวัต ิ ศรีกนกสายชล ชาวบ้าน  กุยต๊ะ ต�ำบลแม่จัน รอบบ้านเขามีเนือ้ ทีไ่ ม่กว้างขวางนัก แต่การมีปา่ ซ้อนกัน อยู่ถึง ๔ ชั้นในที่แปลงเดียว ก็ท�ำให้มีกินอยู่อย่างเพียงพอ ชั้นล่างสุดเป็นผักหญ้าที่กินหัวและใบอย่าง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ หวาย ผักนานาชนิด  ถัดขึน้ มาเป็นไม้พมุ่ เตีย้ จ�ำพวก ผักหวาน ชะอม กระถิน  ชัน้ ที ่ ๓ เป็นไม้ผลยืนต้น มะม่วง ขนุน มังคุด มะยม มะขาม  และบนสุดเป็นไม้เรือนยอดสูง อาทิ หมาก มะพร้าว ยุทธชัยช่วยให้ค�ำอธิบายเสริมต่อพืชพรรณที่งอกงามอยู่ รอบๆ บ้านของประวัติว่า “มองเรื่องการกินอยู่ของคนปลูก  เป็นล�ำดับแรก  กิน แบ่งปัน ซึง่ เป็นวิถเี ดิมของพีน่ อ้ งกะเหรีย่ ง  อยู่แล้ว ส่วนที่เหลือจึงค่อยขาย” นอกจากนี้ใน ๗ ชุมชนกะเหรี่ยงในเขตฯ อุ้มผาง ยัง  รวมตัวกันตัง้ กลุม่ อนุรกั ษ์ทนี่ ำ� โดยผูอ้ าวุโสของชุมชน ชือ่ กลุม่ ต้นทะเล ในความหมายว่าต้นก�ำเนิดของหยดน�้ำในทะเลอยู่  ที่นี่ ป่าอุ้มผางที่คนกะเหรี่ยงดูแลรักษากันอยู่โดยวิถีชีวิต อย่างการท�ำไร่หมุนเวียน มีกฎข้อห้ามเกีย่ วกับการรักษาพืน้ ที่ และการห้ามท�ำลายชีวิตบางชนิดโดยเด็ดขาด อาทิ นกเงือก สมเสร็จ ชะนี เก้งหม้อ มีข้อตกลงเบื้องต้นในหมู่สมาชิกของกลุ่มต้นทะเลว่า  พวกเขาจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการท�ำเกษตร ท�ำงาน อนุรกั ษ์ดว้ ยความสามัคคีกนั  และการรักษาวัฒนธรรมของเผ่า ด้วยความตั้งใจว่าหากวิถีของชนเผ่าในหนแห่งใดหมดสิ้นไป ก็ให้คงเหลืออยู่กับสมาชิกในกลุ่มต้นทะเล ในการประชุมของชาวกะเหรี่ยงในเขตฯ อุ้มผางประจ�ำ เดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ เวียนมาจัดทีห่ มูบ่ า้ นกุยต๊ะ คนจากทัง้ ๗ ชุมชนทยอยมารวมตัวกันในศาลาประชาคมของหมู่บ้าน ตั้งแต่เช้า พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิสืบฯ การประชุมด�ำเนินไปตามวาระประเด็น ผ่านทัง้ ภาษาไทยและ ภาษากะเหรีย่ งตามถนัดของคนทีน่ ำ� เสนอแสดงความเห็น  ใน ส่วนทีจ่ ำ� เป็นจะมีการแปลให้ทกุ คนในวงได้เข้าใจร่วมกันอย่าง ถ้อยทีถ้อยอาศัย จนท้ายสุดของการประชุม ชายกะเหรีย่ งอาวุโสผูน้ ำ� สูงสุด ของชาวกะเหรี่ยงในแถบนั้น ถูกเชิญให้กล่าวฝากข้อคิดต่อ

ลูกหลานและคนเข้าร่วมประชุมได้น�ำไปท�ำงานต่อ โดยบทบาทตามธรรมชาติผู้อาวุโสวัย ๘๒ ปีคนนี้คงอยู่ ในฐานะไม่ต่างจากผู้น�ำกะเหรี่ยงในภาพถ่ายที่หัวหน้าสืบ  นั่งลงคุยด้วยเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน  นอกจากภาพถ่าย ไม่มี บันทึกว่าผู้เฒ่าในภาพบอกอะไรกับหัวหน้าสืบบ้าง แต่ทุกถ้อยค�ำของลุงพินิจ ดัชนีน�ำชัย ที่ให้ข้อคิดกับ  ที่ประชุมที่หมู่บ้านกุยต๊ะเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๓ นั้น  ทั้งหนักแน่น ลึกซึ้ง คมคาย ครอบคลุม อย่างสมศักดิ์ศรี ความเป็นปราชญ์แห่งป่า ผ่านการแปลที่ได้ทั้งเนื้อหาและ อารมณ์ของเด็กหนุ่มรุ่นหลานชื่อ ประวัติ ศรีกนกสายชล ค�ำของผู้เฒ่าบอกว่า หันหน้ากลับมาคุยกันเสีย รักกันให้มาก จ�ำกันให้แม่น ถ้าเราท�ำไม่ได้สงครามโลกครั้งที่ ๓ จะเกิดขึ้นแน่  ไม่ว่า  คนไทย ไม่ว่ากะเหรี่ยงหรือชนเผ่าไหน ให้รักกันเหมือนพี่ เหมือนน้อง  ทุกชาติทุกเผ่าถ้าไม่หันหน้ามารักกัน ทะเลาะ กัน ดวงอาทิตย์จะไม่ร้อน จันทร์จะไม่ส่องแสง ดาวจะร่วง หมดฟ้า ทุกวันนี้มีปัญหามาก เพราะเราเอาจากธรรมชาติมามาก ธรรมชาติจะเอาคืน ไฟพิโรธจะเกิดขึน้  ธรรมชาติจะลงโทษเรา สักวันหนึ่งเงินจะหาย ไม่กี่ปีธนาคารโลกจะล้ม ท�ำอย่างไรธรรมชาติจะไม่ลงโทษเรา ผู้เฒ่าขอฝากลูกหลานว่า อย่าทะเลาะกัน รู้จักพอ และ หันหน้ากลับมาคุยกัน

อ้างอิง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, “ห้วยขาแข้ง มรดกโลกทางธรรมชาติ”, ไม่ ระบุปีที่พิมพ์ เพ็ญพรรณ อินทปันตี, วิถีแห่งจอมป่า รักษาป่าตะวันตก, ๒๕๕๒ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์, “ร�ำลึก ๑๐ ปีการจากไปของ สืบ นาคะเสถียร”, สารคดี ฉบับสิงหาคม ๒๕๔๓ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บรรณาธิการ, ตะโกนก้องจากพงไพร, ๒๕๓๔ อนรรฆ พัฒนวิบูลย์, “บันทึกจากป่าตะวันตก กับการอยู่รอดของสัตว์ป่า”, สารคดี ฉบับพฤศจิกายน  ๒๕๔๕ ขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อ มูลนิธสิ บื นาคะเสถียร  เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ห้วยขาแข้ง  เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าอุ้มผาง  อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์  อุทยานแห่งชาติพุเตย

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓

นิตยสารสารคดี

91


92 นิตยสารสารคดี

ฉบับที่ ๓๐๗ กันยายน ๒๕๕๓


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.