ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

Page 1


ISBN  978-974-484-322-7 หนังสือ  ของเก่า เรา (ไม่) ลืม  ผู้เขียน  สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า) © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที ่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔  จ�ำนวนพิมพ์ ๔,๐๐๐  เล่ม ราคา ๒๒๐ บาท   ข้อมูลบรรณานุกรม

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า). ของเก่า เรา (ไม่) ลืม.--กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๕๔. ๒๒๔ หน้า. ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์--รวมเรื่อง.I. ชื่อเรื่อง. II. ชื่อผู้แต่ง. ๐๘๙.๙๕๙๑๑ ISBN  978-974-484-322-7

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ศรุต บวรธีรภัค   คอมพิวเตอร์และจัดรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา  ศรุต บวรธีรภัค พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์   โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์  โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๐๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา  บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ


ร�ำลึกถึง สรศัลย์ แพ่งสภา

“เก่าเก่าไม่เป็นสนิมหรอกครับ” ปลายปี   พ.ศ. ๒๕๕๒ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ส ารคดี ไ ด้ มี โ อกาสไปเยี่ ย ม คุณตาสรศัลย์  แพ่งสภา ที่ก�ำลังป่วยหนักด้วยโรคภัยของคนชรา อายุกว่า ๘๐ ต้องพักรักษาตัวทีโ่ รงพยาบาลมาเป็นเวลาหลายเดือน เมือ่ เราแจ้งแก่คณ ุ ตาว่าจะขอจัดพิมพ์หนังสือชุดของเก่าเราลืม เล่ม รถไฟ-เรือเมล์-ทะเล-รถราง และ ล�ำคู  รูคลอง ดวงตาของคุณตา เป็ น ประกายและยิ้ ม กว้ า งด้ ว ยความดี ใ จ...จากวั น นั้ น ถึ ง วั น นี้ นักเขียนสารคดีเรื่องเก่ามือหนึ่งของเมืองไทย ก็ได้จากพวกเราสู่ สุขคติไปแล้ว ไม่มีโอกาสเขียนค�ำน�ำทักทายผู้อ่านอย่างในเล่มที่ตี พิมพ์ครั้งแรก ค�ำน�ำของผู้เขียนในหนังสือ รถไฟ-เรือเมล์-ทะเล-รถราง ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เล่าว่า “รถไฟ เรือเมล์  ทะเล รถราง นี่ผมเขียนไปอีกแนวหนึ่ง  จับเอาแต่ส่วนที่ผมไปคลุกคลีอยู่สมัยหนึ่งด้วยความซน อ่านเอา สนุกดีกว่า อย่าถืออะไรเป็นหลักเป็นฐานเลยนะครับ ตอนผมอายุนอ้ ย ของมันราคาหนึ่ง อายุมากขึ้นของมันก็ยิ่งลด ไม่ใช่ของขึ้นราคา ตะพึดอย่างเดี๋ยวนี้... “แผ่นดินไทยเราสมัยหนึง่ ร่มเย็นอยูส่ ขุ บรรเจิด เมือ่ ไม่นาน มานี้เอง ส่วนส�ำบัดส�ำนวนของผมนั้นกรุณาอย่าถือสาเลยนะครับ นายโปลิศใหญ่ท่านนึงบอกว่าไม่ได้เล่าเรื่อง แต่มัน “หล้าว” คือ เล่า+เหล้า...”


คุณตาคงไม่ทราบว่าเรือ่ งเล่าทีไ่ ม่เป็นหลักเป็นฐานนี ้ กลับ เป็นหลักเป็นฐานอย่างดีให้กับคนสมัยนี้  และส�ำบัดส�ำนวนของ คุณตานัน้  ส�ำนักพิมพ์สารคดีพยายามรักษาคงไว้มากทีส่ ดุ  ส�ำหรับ การจัดพิมพ์ครัง้ ใหม่ในชือ่  ของเก่า เรา (ไม่) ลืม ซึง่ เป็นการคัดเลือก เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางของคนไทย ตั้งแต่  รถ รถราง รถไฟ ถนน เรือ คลอง จากหนังสือเล่ม รถไฟ-เรือเมล์-ทะเล-รถราง และ ล�ำคู รูคลอง มารวมเข้าด้วยกัน คุณตาเขียนในค�ำน�ำเล่มล�ำคู  รูคลอง เตือนสติคนไทยไว้ อย่างน่าคิดว่า “ของเก่ายังดีทั้งนั้น เราท่านท�ำท่าจะลืมกันเอง หรือไม่ก็ พ้นรุ่นมาแล้วเลยไม่สน ลองมองย้อนหลังไปไม่ต้องมาก เอาแค่ ซัก ๕๐ ปีกพ็ อ กรุงเทพฯ มีคลองเท่าเท่ากับถนน น�ำ้ ใสอาบกินได้ ซะด้วย... “โบราณท่านว่า สนิมเหล็กเกิดแต่เนือ้  ในตน ...มนุษย์เป็น ตัวท�ำปฏิกริ ยิ ากับธรรมชาติแวดล้อมป่าเขาล�ำเนาไพรจนเกิดสนิม กัดกร่อนบรรลัยจักรไปทั้งบ้านทั้งเมือง  สิ่งเหล่านั้นมันท�ำลายตัว เองได้เมือ่ ไหร่ละ่ ครับ ถ้ามนุษย์ไม่เลิกท�ำตัวเป็นอ๊อกซิเจนกับเหล็ก ไม่นานหรอกครับ เราคงต้องไปเรียนวิธียังชีพในทะเลทรายแน่ “อ่านหนังสือเล่มนีเ้ ถอะครับ สนุกแน่ ของเก่าไม่เป็นสนิม” ขอบุญกุศลและคุณความดีของหนังสือเล่มนี ้ จงมีแด่คุณ สรศัลย์ แพ่งสภา ผู้สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ด้วยเทอญ ส�ำนักพิมพ์สารคดี


ขึ้นรถ

ถนนรนแคม-ฮก ลก ซิ่ว ม้าลาก รถราง ค.ร.ร. รถจักรไอน�้ำ รถไฟ อาหารรถไฟ คนรถไฟใจดี รถถ่านไทยประดิษฐ์

ลงเรือ

ล�ำคูล�ำคลอง ท่ารถท่าเรือ เรือข้าว เรือโยง เรือเมล์ เรือเขียว เรือแดง เรือเหลือง เรือขาว เรือเดินทะเล เรือซิ่ง

๘ ๒๑ ๓๐ ๔๓ ๕๕ ๖๙ ๘๑ ๙๒ ๑๐๕

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

สารบัญ

5 ๑๑๖ ๑๓๐ ๑๔๕ ๑๕๕ ๑๖๖ ๑​๗๙ ๑๘๙ ๑๙๙ ๒๑๓


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

ขึ้น

6

รถ


7

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

ถนนรนแคมฮก ลก ซิ่ว

8

ไม่ใช่เรื่องจีนก�ำลังภายใน กระโจนถีบหน้าฟันกันจนจอแก้วร้าว นะครับ  สามค�ำ ฮก ลก ซิ่ว เป็นค�ำสิริมงคลของชาวจีน ว่ากันว่า ในพิธีขึ้นบ้านใหม่หรือพิธีมงคลอย่างอื่น ลงแบกอักษรนี่ไปซูฮก เจ้าภาพไม่ผดิ หวัง ได้องั่ เปาแน่  เมือ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่  ๕ ทรงขยายข่ายถนนในกรุงเทพฯ ฮก ลก ซิ่ว เคยเป็น ชื่ อ ถนนสามสาย  สมัยนั้นก� ำลังเล่น เครื่องลายคราม ชื่อถนน หนทางจึงเป็นไปในทางเครื่องลายคราม และชื่อจีน ๆ หลายสาย เรือ่ งชือ่ ถนนเก่า ๆ นีก่ ลายเป็นไม่ใช่ของเก่าเราลืมซะแล้ว เป็นของ เก่าเราไม่รู้จักเลยทีเดียวละ อยู่ที่ไหนมั่ง เดี๋ยวครับ


9

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

10

เริ่ ม ในสมั ย รั ช กาลที่   ๔ ก็ มี ถ นนเจริ ญ กรุ ง  บ� ำ รุ ง เมื อ ง เฟือ่ งนคร เป็นถนนหลัก  ความกว้างตามทีก่ นั ทีด่ นิ ไว้เท่าทีเ่ ป็นอยู่ ในปัจจุบันนี่แหละ ชาวบ้านโวยวายหาว่าถนนกว้างยังงั้นจะเอา ม้าช้างที่ไหนมาวิ่ง  ถนนเจริญกรุงเมื่อแรกมีผิวจราจรกว้างเพียง รถม้าคันเดียว ปูดว้ ยอิฐเอาสันขึน้ เป็นลายก้างปลา  ส่วนบ�ำรุงเมือง เฟื่องนคร ใช้อิฐหักกากปูนเทแล้วใช้หัวไม้ขอนกระทุ้งให้แน่น ถมทรายทับหน้า  คุณครูวชิ าประวัตศิ าสตร์สมัยผมเรียนชัน้ มัธยม เล่าว่า เมื่อสร้างถนนราชด�ำเนินในรัชกาลที่ ๕ เขาใช้กุลีขนดินมา ถมปรับระดับถนนให้สูงขึ้น ต้อนควายเป็นฝูงเดินย�่ำไปมาให้ดิน แน่นเป็นชัน้  ๆ แล้วเราก็มาตืน่ เต้นกันตอนบริษทั รับเหมาสร้างถนน มิ ต รภาพน� ำ ลู ก กลิ้ ง  “ตี น แกะ” มาใช้   เรี ย กอย่ า งฝรั่ ง ฟั ง โก้ ว ่ า ชี้ปฟุต รอลเลอร์  โธ่ เราเคยใช้บัฟฟาโล่ฟุต “ตีนควาย” มาแล้ว ต่อมาเราน�ำวิธสี ร้างถนนแบบอังกฤษมาใช้ และก็ใช้อยูเ่ ป็น ระยะเวลายาวนาน คือปรับผิวดินเรียบแล้ววางเรียงหินใหญ่เป็น ชั้นพื้นรับน�้ำหนัก ใช้รถบดขนาด ๒-๔ ตันบดทับให้เรียบ  อายุใช้ งานของผิวจราจรค่อนข้างสั้น ผ่านฤดูฝนเดียวก็เป็นหลุมเป็นบ่อ แบบเบ้าขนมครก  แม้ระยะหลังจะมีวิธีทับหน้าด้วยยาง แอสฟัลต์ (asphalt คือยางมะตอย) ก็ยงั ไม่สามารถท�ำให้ผวิ จราจรคงทนแบบ คอนกรีตได้  รถบดถนนรุน่ คุณปูค่ นั ใหญ่เบ้อเร่อ ใช้เครือ่ งจักรไอน�ำ้ มีปล่องสูง ล้อหลังสองล้อเป็นเหล็กหน้ากว้างและวงก็ใหญ่มากด้วย ล้อหน้าเป็นลูกกลิ้งเหล็กขนาดใหญ่ มีถนนก็ต้องมีชื่อเป็นของธรรมดา เมื่อมีรถรางรถประจ�ำ ทางก็ตอ้ งมีจดุ หยุดรับส่งผูโ้ ดยสาร  ทีเ่ หล่านีบ้ างแห่งเรียกไปเรียก มาว่ากันจนเพีย้ น เลือนไปจากของเก่าดัง้ เดิมไปเลยก็ม  ี ส่วนถนน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน


ชื่ อ เสี ย บางสายและบางตอนส่ ว นใหญ่ จ ะอยู ่ ใ นเขตเหนื อ ของ พระนคร  - ถนนราชวิถี  เดิมเป็นถนนสามช่วงคือ ถนนซางฮี้นอก (จากแม่น�้ำเจ้าพระยาถึงถนนสามเสน) ถนนซางฮี้ใน (จากถนน สามเสนถึ ง คลองเปรมประชากร) ถนนซางฮี้ ห น้ า  (จากคลอง เปรมประชากรถึงถนนราชปรารภ)  ปัจจุบันค�ำว่าซางฮี้ยังเหลือ เรียกขานกันอยูบ่ า้ ง อย่างเช่นยังเรียกสะพานกรุงธนฯ ว่า สะพาน ซางฮี ้ สี่แยกซางฮี้  ซางฮี้ แปลว่า โชคดี - ถนนศรีอยุธยา เดิมเป็นถนนสามช่วงคือ ถนนดวงตะวัน นอก (จากวัดเทวราชกุญชรถึงถนนสามเสน) ถนนดวงตะวันใน (จากถนนสามเสนถึงคลองเปรมประชากร) ถนนดวงตะวันหน้า (จากคลองเปรมประชากรถึงถนนสวรรคโลก และช่วงที่ต่อไป) - ถนนราชด� ำ เนิ น  เดิ ม ชื่ อ ถนนเบญจมาศนอก ตั้ ง แต่ สะพานมัฆวานรังสรรค์ถึงถนนหน้าพระลาน - ถนนพิษณุโลก เดิมชื่อถนนคอเสื้อ ตั้งแต่ถนนสามเสน ถึงสะพานยมราช - ถนนนครปฐม เดิมชื่อถนนฮก ตั้งแต่ถนนลูกหลวงถึง

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

ถนนบ�ำรุงเมืองในสมัยรัชกาลที่  ๕  มองเห็นภูเขาทองที่มุมซ้ายบนและวัดสุทัศนเทพวราราม

11


20

ของเก่า เรา (ไม่) ลืม


ช่ ว งเวลานั้ น นะครั บ  อี ต อนที่ ผ มยั ง เป็ น คนละคนกั บ ผมคนนี้ คือยังไม่ได้ตายมาเกิดใหม่นี่แหละ  กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรแห่งนี้ เป็นเมืองคลอง มีข่ายคลองขึงเชื่อมโยงถึงกันเหมือนใยแมงมุม ไปมาค้าขายก็แจวเรือพายเรือตะพึด  ชุมชนในพระนครมีลักษณะ ยาวยึดเกาะริมฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา ประมาณจากแถวบางล�ำพู ไปจดบางคอแหลม  ที่หนาแน่นที่สุดก็ส�ำเพ็งย่านคนจีน ย่าน ค้าขาย  ส่วนฝรั่งมังค่ามีบ้านช่องห้องหอ โรงเลื่อย โรงสี  ร้านค้า อยู่แถวบางรัก บางคอแหลม  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาป่าโปร่ง ใกล้ก�ำแพงพระนครเป็นสวนผลหมากรากไม้  ยังมีคนพบเนื้อสมัน วิ่งหากินอยู่แถวทุ่งบางเขนนี่เอง

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

ม้าลาก

21


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

รถม้าเทียมคู่มีทั้งที่เป็นพาหนะส่วนตัวและรถม้ารับจ้าง

22

ฝรัง่ ทีว่ า่ จะมาติดต่อราชการงานเมืองต้องมาเรือ ขึน้ ทีท่ า่ น�ำ้ วัดโพธิ์บ้าง ท่าช้างบ้าง ไม่สะดวกนัก กับทั้งไม่มีทางขยับขยาย ทางบก จึงร่วมกันกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานให้ ตัดถนน  นี่แหละครับ เป็นจุดเริ่มของถนนเจริญกรุง และต่อมา ด้วยบ�ำรุงเมือง เฟื่องนคร  ถนนเจริญกรุงช่วยให้ฝรั่งเข้ามาใน ก�ำแพงพระนครสะดวกขึ้น ใช้รถเทียมบ้าง ขี่ม้าบ้าง ก็ดีไปอย่าง ปู่เล่าถึงสภาพถนนเจริญกรุงยุคบุกเบิกว่า ผิวจราจรจริง ๆ กว้าง ราว ๓ เมตรเท่านัน้   การสร้างใช้วธิ ปี รับหน้าดินให้เรียบ แล้วใช้อฐิ มอญเรียงตะแคงอัดแน่นด้วยทรายหรือดินนั่นแหละ  กลางผิว จราจรนูนเหมือนหลังเต่า สองข้างมีรางระบายน�้ำ  ก่ออิฐกว้าง ราว ๓๐ เซนติเมตร ลึกราว ๕๐ เซนติเมตร  ถนนแบบนี้คงจะไม่ คงทนถาวรเท่าไหร่นัก มีรถม้าไม่ก่ีคัน ม้าไม่กี่ตัว แต่ก็ทรุดโทรม เร็วมาก  ต่อมาวิธกี ารสร้างถนนเปลีย่ นเป็นทุบอัดหน้าดินให้เรียบ แน่น ลงหินแล้วบดอัดอีกชัน้ หนึง่   สภาพถนนดีขนึ้  ผิวจราจรยังคง แคบอย่างเดิม สองข้างที่เป็นพื้นที่กันส�ำหรับขยายนั้นหญ้าขึ้น รกรุงรัง


สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

ถนนเจริญกรุงยาวประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จากศาลหลัก เมืองถึงถนนตก ยาวที่สุดส�ำหรับยุคนั้น และก็เป็นถนนที่เจริญ ทีส่ ดุ   มีบริษทั ห้างร้าน สถานทูต สถานกงสุล บ้านพักของชาวต่าง ประเทศ มีทา่ เทียบเรือสินค้าจากโพ้นทะเล  จุดทีส่ วยทีส่ ดุ ของถนน สายนีอ้ ยูต่ รงประตูสามยอด เชิงสะพานด�ำรงสถิตฝัง่ ตะวันตก  ชาว บ้านทัว่ ไปชอบเรียกว่า “สะพานเหล็กบน” ส่วน “สะพานเหล็กล่าง” คือสะพานทิพยเสถียรตรงห้างนายเลิศ  ประตูสามยอดมีรูปแบบ เป็นสถาปัตยกรรมไทย มีสามช่องประตู แต่ละช่องมียอด บานประตู เป็นเหล็กแข็งแรงแบบสองบาน ยานพาหนะลอดได้ทงั้ สามช่องทาง ต่อมาเมื่อมีรถรางก็ให้รถรางผ่านทางช่องด้านใต้ มี การสร้า งถนนเพิ่มเป็น การต่อเนื่องอีกหลายสาย ก็มี เรื่องพิลึกพิลั่นเกี่ยวอยู่มั่งละครับ ไม่พูดก็คงนอนไม่หลับแน่  เป็น เรือ่ งเครือ่ งทุน่ แรงประเภทแทรกเตอร์ทเี่ ป็น “ช้างพลาย” น่าสนอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ท่านเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์แห่งวังบ้านหม้อ เลีย้ งช้างพลายไว้เชือกนึง ตัง้ แต่เป็นลูกช้างน้อยเล่นหัวคลุกคลีกบั เด็กเล็กผู้คนในวังมาตลอด เชื่อง ฉลาด สามารถหัดให้เล่นโขนได้ จนเป็นดาราขวัญใจผูช้ ม เล่นเป็นตัวช้างเอราวัณ แนบเนียนเหมือน ช้างจริง ๆ ละครับ  ท่านเจ้าพระยาฯ ตั้งชื่อว่า “พลายมงคล”  คน เลี้ยงหรือควาญชื่อนายภู่  รักใคร่สนิทใจไม่ท้ิงห่าง  นายภู่มีกิจ ปฏิบัติเหมือนใครไม่ร้เู ปี๊ยบเลยละ คือต้องล่อน�ำ้ พรรค์ยังงั้นไม่เว้น วันพระวันโกน ขาดบ่ได้   คนเลี้ยงจอกนึงก็เผื่อแผ่เด็กในปกครอง นิด ๆ หน่อย ๆ ด้วยเสมอไป ก็คงดีไปด้วยกันทัง้ คูน่ ะ่ แหละ  การณ์ เป็นไปอย่างสม�่ำเสมอจนพลายมงคลโตสูงใหญ่  งายาว หุ่นหล่อ เหลาสมช้าง  พลายมงคลเป็นหนุม่ หล่อก็อยากท�ำอะไรทีล่ กู ผูช้ าย เค้าอยากท�ำ  อยู่เดียวเปลี่ยวกายให้หงุดหงิดงุ่นง่าน ที่เรียกว่า

23


ตัวอย่างรูปช้างบดถนน จากในภาพโปสต์การ์ดเก่า  สมัยปลายรัชกาลที่  ๕ (ภาพ : Postcards of Old Siam)

ตกมันนั่นน่ะ  ซ�้ำพี่เลี้ยงชวนก๊งเข้าไปด้วย ชาวบ้านแฟนโขน สมทบเลี้ยงด้วย  พูดจาพาทีขัดอารมณ์ท่าไหนไม่รู้ ก็ในวงเหล้านี่ พลายมงคลลุกขึน้ อัดนายภูก่ บั ลูกน้องอีกสองเลิกหายใจไป เลยตก เป็นจ�ำเลยในคดีอาญาฐานฆ่าคนตาย  ศาลตัดสินให้จ�ำคุกตลอด ชีวิตและให้ท�ำงานหนัก ยุคนั้นยังไม่มีกรมราชทัณฑ์  มีแต่กรมพัศดีกลาง ซึ่งก็คง หมดปั ญ ญาในการควบคุ ม พลายมงคล จึ ง โอนไปให้ ก ระทรวง โยธาธิการ ให้เอาไปท�ำงานสร้างถนน ลากจูงกระบะล้อเลือ่ นขนาด ใหญ่บรรทุกหิน  มีผลงานน่าทึ่ง สามารถล�ำเลียงหินได้เป็นเจ็ด แปดเท่าของเลือ่ นระแทะวัวลาก  เจ้าหน้าทีค่ วบคุมการสร้างทีเ่ รียก ว่าขุนถนน ได้รบั ค�ำชมเชยว่าท�ำงานได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาได้มาก เลยมองเห็นไหล่ของพลายมงคลเป็นขั้นเหยียบขึ้นไปสู่ยศศักดิ์


*รูปที่น�ำมาลงนี้เป็นรูปช้างบดถนน ไม่ทราบสถานที่  เป็นคนละรูปกับที่คุณสรศัลย์ กล่าวถึง - บ.ก.

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

อัครฐาน  ก็ความโลภของมนุษย์ทกุ ยุคทุกสมัยละครับ ท�ำให้พลาย มงคลล้ม (ช้างตายเขาเรียกว่าช้างล้มนะครับ) สาเหตุเพราะท�ำงาน หนักเกินไป พักผ่อนน้อยไป อาหารไม่พอ  รูป*ที่ผมน�ำมาให้ดู ไม่รู้เหมือนกันว่าพลายอะไร สถานที่แน่ ๆ ก็สี่กั๊กพระยาศรี   สี่กั๊ก ที่ว่าเป็นสี่แยกนะครับ ไม่ใช่กลม-แฮ่ะ ตานีก้ ลับมาถนนเจริญกรุง ฝุน่ ตลบฤดูแล้ง เป็นโคลนฤดูฝน ฝรัง่ กลุม่ นึงขอเปิดระบบขนส่งมวลชน  นัน่ แน่ะ ทันสมัยซะด้วย คือ ขอเปิดเดินรถรางสายหลักเมือง-ถนนตก  ตอนนั้นเป็นรถราง เทียมม้าครับ ก็วุ่นอยู่ไม่น้อย เทียมม้าแปด เอ๊ย สี่คู่  แบ่งเป็น สองพวง พวงละสองคู  ่ พวงหน้าไม่ลากตลอดทาง แต่เอาไปเตรียม ไว้ฉดุ ลากขึน้ สะพาน รถข้ามไปแล้วก็ปลดออก  ตัวรถโดยสารหนัก มาก ต้องเปลีย่ นม้าเป็นระยะ ๆ มีมา้ เตรียมไว้ตามสถานีเปลีย่ นม้า ฝรั่งยกเอาแบบรถรางบ้านเมืองตัวมาสร้างทั้งแท่ง ตัวรถ หนักบรรทุกผู้โดยสารก็ยิ่งหนักขึ้นไปอีก  ม้าไทยตัวกระเปี๊ยกเอา แรงที่ไหนมาลาก  ม้าที่ใช้ในยุโรปตัวโตกว่าม้าเทศ ปกติเป็นม้าที่ ใช้ไถนาใช้เกือกเบอร์ใหญ่กว่า  รถรางเทียมม้าสายเจริญกรุงไม่ใคร่ มีคนนิยม เพราะมันช้า ซ�ำ้ ต้องหยุดเปลีย่ นม้า หยุดเพิม่ ม้าตอนจะ ขึ้นสะพาน ข้ามสะพานแล้วหยุดปลดม้า  ต่อมาเมื่อมีไฟฟ้าก็ เปลีย่ นเป็นรถรางไฟฟ้าสบายไปแปดอย่าง  ม้าไทยตัวเล็ก ๆ ผอม นับซี่โครงได้รอดตัวจากการเฆี่ยนตีไปด้วย พาหนะอีกแบบหนึ่งก็คือรถม้าโดยสาร จะว่าเป็นแท็กซี่ ก็ไม่ผิด มีสองแบบ รถกูบและรถเก๋ง  รถกูบเป็นรถสี่ล้อ โดยสาร

25


54

ของเก่า เรา (ไม่) ลืม


สมั ย เด็ ก ขึ้ น รถไฟสายเหนื อ ไปลพบุ รี   เห็ น ว่ า รางรถไฟสายนี้ แปลกดี  มีรางถึงสามเส้นแทนที่จะเป็นรางคู่เดียวตามปกติ   รางที่ เกินเข้ามานี้วางใกล้กับรางเดิมข้างหนึ่ง จะว่ารถไฟใช้ล้อแถวละ สามแทนล้อคู่ ก็ดูไม่สมประกอบทางปัญญา  ถึงบางอ้อเอาเมื่อได้ รับค�ำอธิบายว่า รัฐบาลตัดสินใจเปลีย่ นใช้รถไฟขนาดเล็กลง จึงวาง รางแทรกลงไปอีกเส้นหนึง่ ให้เป็นรางส�ำหรับรถแบบใหม่ คิดว่าก็ดี เหมือนกัน ใช้ได้ทั้งรถใหญ่รถเล็ก แต่ยังสงสัยไม่เลิกว่าท�ำไมต้อง เปลี่ยน ของใช้กันมาไม่มีข้อขัดข้องอันใด

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

รถจักรไอน�้ำ

55


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

56

รัชกาลที่  ๕ และพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมา ซึ่งเป็นทางรถไฟสายแรก


สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

เคยเล่ามาแล้วว่าเมื่อเริ่มสร้างรถไฟในสยามนั้น เราใช้ รถไฟสองขนาดไม่เท่ากัน  สายที่เดินด้านตะวันออกของแม่น�้ำ เจ้าพระยา-สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ขนาดรางกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร ที่จัดไว้ว่าเป็นมาตรฐานรถไฟยุโรป เป็นรถไฟที่ใช้ ในชาติมหาอ�ำนาจ อัครฐานทีเดียวเชียว รางกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร (วัดจริง) บางแห่งนิยมเรียกว่ารางเมตรสี่สิบ บางแห่งเมตรห้าสิบ แล้วแต่ใครจะอยากใหญ่   รัฐบาลสยามกู้เงินเยอรมนีมาลงทุน จึงใช้ช่างเยอรมัน องค์ประกอบเป็นเยอรมันหมด ไอ้ราง ๑.๔๓๕ เมตรนี่ก็พิลึก ท�ำมั้ยไม่ท�ำให้มันลงตัวง่าย ๆ เป็น ๑.๔๐ เมตร หรือ ๑.๕๐ เมตรซะเลยก็ไม่รู้  เล่นคาบลูกคาบดอกครึ่ง ๆ กลาง ๆ อยู่ได้ สายใต้  หรือสายทางฝั่งตะวันตกแม่น้�ำเจ้าพระยาใช้ขนาด รางกว้าง ๑ เมตร มหาอ�ำนาจยุโรปจัดไว้ว่าเป็น “รถไฟส�ำหรับ เมืองขึ้น”  ด้านนี้เรากู้เงินจากอังกฤษ ใช้ช่างอังกฤษ  อังกฤษคง เสนอแนะว่าให้ใช้รถไฟขนาดราง ๑ เมตรเถอะน่ะดีแน่  จะได้ต่อ เชื่อมกับรถไฟมลายู  เมืองขึ้นของตนได้  ค้าขายไปมาหาสู่กัน สะดวก  แต่ไม่ได้บอกว่าถ้าจะขนทหารเข้ามาเล่นงานภาคใต้ ของไทยก็สะดวกอีก  เป็นอันว่าขบวนรถไฟที่ออกจากสถานีทุ่ง  วัวล�ำพองเป็นรถขนาดใหญ่มาตรฐาน  สยามมีสทิ ธิใ์ ช้เต็มภาคภูมิ ฐานะชาติเอกราชท่ามกลางอาณานิคมของอังกฤษฝรัง่ เศส  ขบวน รถออกจากสถานีปากคลองบางกอกน้อย เป็นรถขนาดเล็กขนาด เมืองขึ้น ส�ำหรับคนอยู่กลางแม่น�้ำเจ้าพระยาก็เห็นว่าแปลกดี  แต่ คนละฝั่งแม่นำ�้ ใช้รถไฟคนละขนาด รถไฟแผ่นดินสยามทนใช้รถสองขนาดอยูไ่ ด้ระยะเวลาหนึง่ สับเปลี่ยนอุปกรณ์หรืออะไร ๆ สนับสนุนระหว่างกันไม่ได้   ฝั่งนึง

57


68

ของเก่า เรา (ไม่) ลืม


รถไฟ

“เวลา ๑๑ ก.ท. ได้ออกจากพลับพลาที่หาดเจ้า ส� ำ ราญไปขึ้ น รถไฟเล็ ก  แต่ ร ถคั น ที่ เ ราขึ้ น นั้ น หาได้ ใช้รถจักรลากไม่, ได้ใช้คนผลัดกันเป็นระยะ ๆ ลากและ รุ น , จึงเดินทางได้ส ะดวกตลอด, ถึงสถานีพ ระรามราช นิ เ วศน์ เ วลา ๑๒.๓๐ ล.ท. ขึ้ น รถไฟแผ่ น ดิ น จากที่ นั้ น , ถึงราชบุรีเวลา ๒ ล.ท. หยุดพักกินกลางวัน, เวลานั้นอ้าว ฝน, ฉะนั้นรู้สึกร้อนเต็มที, ไม่มีลมเสียเลยทีเดียว บ่าย ๓ นาฬิกาเศษ ขึ้นรถไฟเดินทางต่อ, ถึงสถานีสนามจันทร์ เวลาบ่าย ๔.๓๐ ส่งประไพและบริวารลงที่นั่น แล้วเราไป ต่อไป ถึงสถานีบางกอกน้อย ๖ ล.ท. ลงเรือยนต์จากที่นั้น ไปท่าวาสุกรี...”

สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

วารสารรายเดือนมานวสาร ได้อัญเชิญจดหมายเหตุรายวันของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั  พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นปีที่  ๑๔ ในรัชกาล วันศุกร์ท่ี  ๑ มิถุนายน ๒๔๖๖ มาลงพิมพ์ ความว่า

69


ของเก่า เรา (ไม่) ลืม

70

ตัวสะกดการันต์และเครื่องหมายวรรคตอน คงไว้ตาม ต้นฉบับเดิม เพราะเป็นพระราชบันทึกลายพระราชหัตถ์ในวันที่ เสด็จพระราชด�ำเนินเข้ามาบ�ำเพ็ญพระราชกุศลในงานพระศพ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์   ค�ำว่า “รถไฟเล็ก” คือรถไฟที่ใช้ ขนาดรางกว้าง ๖๐ เซนติเมตร เดินรับส่งสัมภาระและผู้โดยสาร ระหว่างค่ายหลวงหาดเจ้าส�ำราญกับสถานีพระรามราชนิเวศน์ (พระราชวังบ้านปืน) ซึ่งเป็นสถานีบนทางรถไฟสายใต้  ถัดจาก สถานี เ พชรบุ รี   สร้ า งขึ้ น เพื่ อ ใช้ ใ นกรณี เ สด็ จ พระราชด� ำ เนิ น โดยเฉพาะ  สถานีนี้อยู่ใกล้พระรามราชนิเวศน์  ย่นระยะทางจาก สถานีเพชรบุรี-หาดเจ้าส�ำราญครึ่งหนึ่ง “ใช้คนลากและรุน” เพราะรถจักรไอน�ำ้ ทีใ่ ช้ลากจูงขบวนรถ ไปได้ไม่เกิน ๓ กิโลเมตร  แรงดันไอน�ำ้ หมด อย่างทีเ่ รียกว่าหมดสตีม นั่นแหละ ต้องจอดรอให้มีแรงดันซักครึ่งค่อนชั่วโมงเป็นระยะไป ยังงี้ลงเดินหรือใช้คนลากและรุนเร็วกว่า ไม่กลุ้มใจด้วย เล่ากันว่า เดินถึงที่หมายก่อนรถไฟชั่วโมงกว่า ซ�้ำนั่งรถขณะรถจักรฉุดลาก นั้ น มั น ให้ ก ระแทกกระทั้ น โยกโคลงฟั ด เหวี่ ย งตามสภาพราง ทีไ่ ม่สมบูรณ์ เพราะ พ.ข.ร. พยายามเร่งความเร็วท�ำเวลา  เมือ่ เร่ง มากสตีมก็หมดเร็วเล่นงูกินหางกันไปตลอดทาง ใช้แรงคนลาก และรุนถวายเมื่อเสด็จพระราชด�ำเนินเป็นดีที่สุด  รถไฟเล็กสายนี้ เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์เจ้าของรถไฟสายบางยี่ขัน-บางบัวทอง สร้างถวาย ส่ ว น “ก.ท.” นั้ น หมายถึ ง เวลาที่ แ จ้ ง ว่ า  ก่ อ นเที่ ย งวั น “ล.ท.” ก๊อ หลังเที่ยงวัน ใช้แบบของอังกฤษ เอ.เอ็ม. และ พี.เอ็ม. ตอนนั้นคนไทยยังไม่ค่อยยอมรับ ๐๑.๐๐ น. เป็นวันใหม่ ยังเรียก ๑๒.๐๐ น. เป็นเที่ยงวัน และก็ยึดเหนียวแน่นมาจนบัดนี้   ยังมี


สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ. ผู้เฒ่า)

การยิงปืนใหญ่ที่ป้อมพระอาทิตย์บอกเวลาเที่ยงตรง ที่เรียกว่า “ปืนเทีย่ ง”  คนนอกเมืองมักจะถูกเรียกว่า คนไกลปืนเทีย่ ง เชย ๆ ยังนับ ๗ โมงเช้าเป็น ๑ โมงเช้า ๗ โมงเย็นเป็น ๑ ทุ่ม เรื่อยไป จนถึง ๑ ยาม หรือ ๓ ทุ่ม (๒๑.๐๐ น.) ๒ ยาม หรือเที่ยงคืน (๒๔.๐๐ น.) ๓ ยาม ก็ต ี ๓ เทือกนี ้ ท่านยังว่ากันอยู่ จะเห็ น ว่ า ทรงมี พ ระราชหั ต ถเลขาบั น ทึ ก ไว้ ว ่ า เสด็ จ พระราชด�ำเนินเข้ากรุงเทพฯ โดย “รถไฟแผ่นดิน” ฟังดูขลังจริง ๆ ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟหลวงขึ้น กรม พระก�ำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงเป็นผูบ้ ญ ั ชาการ  กรมรถไฟหลวง จึงใช้อกั ษรย่อ “ร.ฟ.ล.” เป็นยุคทีร่ ถไฟสยามเฟือ่ งฟูสงู สุด เลือ่ งลือ ระบือไกลไปถึงเมืองยุโรปโน่น  ดังนั้นการเดินรถบริการผู้โดยสาร และการโรงแรมเมือ่ เปลีย่ นตามการเมืองมาเป็น “ร.ฟ.ท.” ก็กนิ บุญ เก่าของรถไฟกรมพระก�ำแพงฯ พยุงตัวไปได้ระยะหนึ่ง ครั้นหมด บุญชึก่ ชัก่ มาจนถึงทุกวันนี ้ โนคอมเม้นต์ครับ เป็นยังไงดูกนั เอาเอง “สถานีสนามจันทร์” เป็นสถานีพเิ ศษใช้เฉพาะเมือ่ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๖ เสด็จพระราชด�ำเนินแปรพระ ราชฐานในการซ้อมรบเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์นครปฐม ตัวสถานีเป็นทรงพลับพลาในสถาปัตยกรรมไทยงดงามอยูถ่ ดั สถานี นครปฐมลงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร  ในจุดทีใ่ กล้พระราชวังสนามจันทร์  คุยกันว่า ร.ฟ.ท. น�ำชิ้นส่วนหรือส่วนใหญ่ของสถานีหลวง สนามจันทร์ไปประกอบเป็นพลับพลา ตั้งไว้ที่ชานชาลาด้านเหนือ ของสถานีรถไฟหัวหิน  เอาไปตั้งไว้ท�ำมั้ย ไม่เกี่ยวข้องกันซักนิด นั่ ง รถไฟผ่ า นยั ง เห็ น สถานี ส นามจั น ทร์ ยื น หยั ด อยู ่ อี ก หลายปี ปัจจุบันก�ำลังบูรณะเหล่าพระที่นั่งกันอยู่น่าจะน�ำพลับพลาและ สถานีสนามจันทร์กลับมาให้มีขึ้นดังเดิม เพื่อเป็นเครื่องระลึกว่า

71



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.