โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
2 โอ ริ งา มิ เล่ม
01
กระดาษพับ...อัศจรรย์ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ และ เอกสิทธิ ์ เข้มงวด
“ลูกเป็ด” (ดูหน้า 66)
“ปักษาช่างจ�ำนรรจา”
“กระต่าย”
(ดูหน้า 34)
(ดูหน้า 47)
“ปลา”
(ดูหน้า 33)
1-52=AW 01.indd 1
12/3/2554 13:08
08
จากผู้เขียน หลังจากที่หนังสือโอริงามิ พับกระดาษ...ฝึกสมอง ได้รับการตอบรับอย่างดี ประกอบกับกิจกรรมโอริงามิที่ได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางในบ้านเรา ผมก็มีก�ำลังใจจัดท�ำหนังสือเล่มนี้ โดยหวังว่าข้อมูลที่ ให้ ไว้จะมีประโยชน์ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจศาสตร์ และศิลป์ของการพับกระดาษ หนังสือเล่มนี้ยังได้รับเกียรติจากคุณเอกสิทธิ์ เข้มงวด (ปอม) นัก พับกระดาษชั้นแนวหน้าและผู้ร่วมก่อตั้งชมรมนักพับกระดาษไทย มาร่วม เขียนเนือ้ หาถึงสามบท ได้แก่ การเดินทางของโอริงามิ อากิระ โยชิซาวะ บิดา แห่งโอริงามิสมัยใหม่ และการดัดแปลงแบบพับพื้นฐานเพื่อออกแบบโมเดล ใหม่ จึงขอขอบคุณคุณปอม-นักพับกระดาษ ไว้ ณ ที่นี้ คุณผู้อ่านที่สนใจเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโอริงามิสามารถท�ำได้ดังนี้ • เว็บโอริงามิ : http://portal.in.th/origami • เว็บของชมรมนักพับกระดาษไทย : ค้น Google ด้วยค�ำว่า ชมรม นักพับกระดาษไทย • กลุ่มโอริงามิใน facebook • กลุ่มชมรมนักพับกระดาษไทยใน facebook ขอให้สนุกกับการพับกระดาษครับ ^__^ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ พุธ 1 ธันวาคม 2553 buncha2509@gmail.com http://portal.in.th/origami กลุ่มโอริงามิใน facebook
1-52=AW 01.indd 8
12/3/2554 13:08
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
09
สารบัญ
10 การเดินทางของโอริงามิ 22 อากิระ โยชิซาวะ บิดาแห่งโอริงามิสมัยใหม่ 30 การดัดแปลง “แบบพับพื้นฐาน” เพื่อออกแบบโมเดลใหม่ 41 โมเดล “ใบหน้า” สไตล์ปรมาจารย์โยชิซาวะ 47 หัดพับ “กระต่าย” สไตล์ปรมาจารย์โยชิซาวะ 53 ชวนพับไดโนเสาร์สุดเท่ “สไปโนซอรัส” 62 โอริงามิเรียบง่ายสไตล์เฟรอเบิล 66 “ลูกเป็ด” ในก�ำมือ 74 “ลุงซานต้า” ยืนหนาว 88 วิธีพับ “แผนที่สไตล์ตุรกี” 90 คิริงามิ : ศาสตร์ & ศิลป์ของการตัดกระดาษ 96 “ปราสาท” โอริงามิ 104 โอริงามิกับการออกแบบลวดลายเสื้อผ้า 111 “กุหลาบแรกแย้ม” แสนน่ารัก 120 โอริงามิกับการออกแบบ “สเต็นต์”
1-52=AW 01.indd 9
12/3/2554 13:08
10
การเดินทางของโอริงามิ
การเดินทาง ของโอริงามิ เรื่อง : เอกสิทธิ์ เข้มงวด
เมือ่ ได้ยนิ ค�ำว่า “พับกระดาษ” หลายคนมักนึกถึงการพับนก พับจรวด ซึง่ เป็น เพียงของเล่นส�ำหรับเด็กๆ ที่ไม่ค่อยมีประโยชน์จริงจังสักเท่าไร แต่หาก เราศึกษาให้ลึกลงไป ก็จะพบว่าการพับกระดาษเป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ ได้อย่างหลากหลาย และมีอีกหลายแง่มุมที่ยังไม่เป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง การพับกระดาษมีชื่อเป็นทางการว่า โอริงามิ (origami) ซึ่งเดาได้ ไม่ยากว่าเป็นภาษาญีป่ นุ่ ค�ำว่า โอริงามิ เกิดจากค�ำสองค�ำมาเชือ่ มกัน ได้แก่ “โอรุ” (oru) แปลว่า พับ และ “คามิ” (kami) แปลว่า กระดาษ เมื่อค�ำ มาเชื่อมกันแล้วจะเกิดเป็นค�ำใหม่ที่อ่านออกเสียงว่า “โอริงามิ” อย่างไรก็ดีชื่อเรียกนี้มีการใช้กันเมื่อประมาณ 100 ปีมานี้เอง ถือ เป็นระยะเวลาแสนสั้นเมื่อเทียบกับประวัติอันยาวนาน ซึ่งปะปนกันไปทั้ง ข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานชัดเจนและข้อสันนิษฐานในกรณีที่เรื่องยังคลุมเครือ แม้แต่ประวัติของกระดาษเองก็ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ ว่าใคร กันแน่เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นคนแรก และเมื่อใด บุคคลที่ได้รับการอ้างถึง บ่อยครัง้ คือ ไช่หลุน (Tsai Lun) ขันทีแห่งราชวงศ์ฮนั่ ตะวันออก (ค.ศ. 25-220) ผู้ค้นคว้าและพัฒนาวิธีการผลิตกระดาษ โดยน�ำเปลือกไม้มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จากนั้นก็บด ทุบ และน�ำเยื่อไม้ที่ได้มาตากไว้บนตะแกรงที่ท�ำจากตาข่าย จับปลา วิธีการนี้ท�ำให้ ได้กระดาษคุณภาพดี ราคาถูก เนื่องจากวัตถุดิบหา ง่าย และเหมาะส�ำหรับการเขียนมากขึ้น ท�ำให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
1-52=AW 01.indd 10
12/3/2554 13:08
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
11
กระดาษวาชิ
อย่างไรก็ตามกระดาษที่มีอายุมากกว่ากระดาษของไช่หลุน และ อาจจะเก่าแก่ที่สุดในโลก ค้นพบที่มณฑลกานซูทางภาคตะวันตกของจีน นักโบราณคดีคาดว่ากระดาษเหล่านี้ผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ราว 200 ปีก่อนคริสตกาล กระดาษโบราณอายุ 2,000 ปีนี้มักใช้เขียนพระสูตร ในพุทธศาสนา หรือบันทึกค�ำสอนของลัทธิขงจื๊อ บ้างก็ใช้ห่อสิ่งของ เช่น ห่อกระจก ห่อยา คล้ายกับที่เราเห็นในภาพยนตร์จีน บางคนเชื่อว่าเมื่อเริ่มมีกระดาษในยุคบุกเบิก ก็น่าจะมีใครสักคน เคยซุกซนทดลองน�ำกระดาษมาพับเป็นรูปร่างอะไรสักอย่างบ้างแล้ว แต่ ในปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบหลักฐานใดๆ ที่สนับสนุนความคิดนี้ นักพับกระดาษชาวญี่ปุ่นจ�ำนวนหนึ่งเชื่อว่าการพับกระดาษเกิดขึ้น ครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่ศาลเจ้าอิเซะ จิงงู ในจังหวัดอิเซะ เพื่อ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาชินโต แต่ค�ำกล่าวอ้างนี้ก็มีข้อโต้แย้ง เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 การผลิต กระดาษเพิ่ ง มี ก ารถ่ า ยทอดจากจี น ไปยั ง เกาหลี เพื่ อ ใช้ เขี ย นคั ม ภี ร ์ ท าง พุทธศาสนาเป็นหลัก และยังไม่ได้เผยแพร่ไปยังหมู่เกาะญี่ปุ่นจวบจนกระทั่ง ปี ค.ศ. 610 โดยพระชาวเกาหลีเป็นผู้นำ� กระดาษเข้าไปสู่ญี่ปุ่นนั่นเอง หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็พัฒนาวิธีการผลิตกระดาษให้ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี เฉพาะตัว โดยเรียกกระดาษนั้นว่า “วาชิ” (washi) ในระยะแรกนั้นกระดาษ
1-52=AW 01.indd 11
12/3/2554 13:08
30
การดัดแปลง “แบบพับพื้นฐาน” เพื่อออกแบบโมเดลใหม่
การดัดแปลง
“แบบพับพื้นฐาน” เพื่อออกแบบโมเดลใหม่ เรื่อง : เอกสิทธิ์ เข้มงวด
ตามปรกติแล้วเรามักจะพับกระดาษตามแบบพับ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกคล้าย กับการถอดปริศนาลายแทง อย่างไรก็ดีการพับตามแบบที่มีอยู่แล้วเช่นนี้ อาจท�ำให้เราคุ้นชินจนคิดไปว่าโอริงามิเป็นการพับกระดาษที่มีขั้นตอนตายตัว ทั้งที่จริงๆ แล้วการพับกระดาษไม่มีกรอบหรือกฎเกณฑ์เช่นนั้น เราเองก็ สามารถสร้างสรรค์โมเดลใหม่ๆ ในแบบที่เป็นของตัวเราได้ โดยวิธีการหนึ่ง ที่ง่ายและเริ่มได้ทันทีก็คือ การดัดแปลงแบบพับพื้นฐาน แบบพับพื้นฐานคือ แบบพับที่ผ่านขั้นตอนการพับมาแล้วบางส่วน ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด แต่ก็อาจเห็นเป็นรูปร่างคร่าวๆ ของผลลัพธ์ แบบ พับพื้นฐานที่รู้จักกันดี ได้แก่ แบบพับพื้นฐานนก (bird base) ซึ่งแม้ว่าจะ ยังไม่เห็นรูปร่างของนกได้อย่างชัดเจน แต่ก็พอจะเห็น “กายวิภาค” ได้บ้าง โดยการพับเพิ่มเติมจะท�ำให้อวัยวะหลักค่อยๆ โผล่ขึ้นมาชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ปีกซ้าย ปีกขวา
หางนก หัวนก แบบพับพื้นฐาน และองค์ประกอบหลัก
1-52=AW 01.indd 30
หัวนก
ปีกขวา
หางนก
เมื่อเทียบกับนกกระดาษแล้ว เราจะเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
ปีกซ้าย
โมเดลนกที่พับเสร็จแล้ว
12/3/2554 13:08
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
31
ในบทความนี้จะขอแนะน�ำแบบพับพื้นฐานง่ายๆ อีกแบบหนึ่ง ได้แก่
แบบพับพื้นฐานปลา
1-52=AW 01.indd 31
1
สร้างรอยเส้นทแยงมุม โดยการพับครึ่งแล้วคลี่ออก
2
พับชิ้นซ้ายบนและชิ้นขวาบน เข้ามาพบกันที่เส้นทแยงมุม
3
พับชิ้นซ้ายล่างและชิ้นขวาล่าง เข้ามาพบกันที่เส้นกึ่งกลาง
12/3/2554 13:08
32
การดัดแปลง “แบบพับพื้นฐาน” เพื่อออกแบบโมเดลใหม่
4
ล้วงมุมกระดาษ ที่อยู่ด้านในออกมา
5
พับครึ่งมุมที่เกิดขึ้นใหม่ดังรูป
หัวปลา ครีบปลา
6
พับชิ้นที่เหลืออีกด้านในลักษณะเดียวกัน นี่คือ แบบพับพื้นฐานปลา (fish base) และ “กายวิภาค” ของปลา
ครีบปลา
หางปลา
1-52=AW 01.indd 32
12/3/2554 13:08
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
33
โมเดล “ปลา”
ลองพับโมเดลแรกสุดก่อน นั่นคือ ปลา (อย่างง่าย)
1
เริ่มจากพื้นฐานปลา
4
พับครึ่งตาม ความยาวล�ำตัวปลา
2
5 6
1-52=AW 01.indd 33
คว�ำ่ โมเดลลง เหมือนการพลิก หน้าหนังสือ
3
พับมุมบนสุดมา ที่จุดกึ่งกลางโมเดล
หมุนตัวปลาให้อยู่ ในแนวระดับ พับครีบ ทั้งสองไปทางด้านหางปลา
หักส่วนหางปลาขึ้น โมเดลปลาเสร็จสมบูรณ์ !
12/3/2554 13:08
66
“ลูกเป็ด” ในก�ำมือ
“ลูกเป็ด” ในก�ำมือ
เรื่อง : ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ใครทีเ่ คยเห็น “เป็ดกระดาษ” ในโฆษณากระดาษยีห่ อ้ หนึง่ คงจะจ�ำความน่ารัก ของมันได้และอาจจะอยากพับดูบา้ ง โมเดลทีน่ ำ� เสนอนีอ้ อกแบบโดย สตีเฟน ไวส์ (Stephen Weiss) ซึ่งนอกจากจะมีสดั ส่วนสวยงามน่ารักแล้ว ยังมีลกู เล่น ในการใช้เทคนิคพับให้ตัวเป็ดเป็นสีหนึ่ง ส่วนปากและตีนเป็ดเป็นอีกสี จึงดูเท่ ไม่หยอก
วิธีพับ
ลักษณะกระดาษ : กระดาษหน้าหนึ่งสีเหลือง อีกหน้าสีส้ม ตัดเป็นสี่เหลี่ยม จัตุรัส หากเริ่มจากขนาด 26x26 เซนติเมตร จะได้เป็ดกระดาษยาว 13 เซนติเมตรจากปลายปากจดหาง ขนาดเหมาะมือ
1
53-95=AW 02.indd 66
หงายหน้าสีส้มขึ้น พับเส้นทแยงมุมทั้งสองเส้น
12/3/2554 13:10
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
2 3
4
พับชิ้นบนลงมา ตามเส้นแนวนอน
พับมุมซ้ายและมุมขวาด้านบนลงมาแตะมุมด้านล่าง รีดแนวพับให้คมชัด แล้วกางออก
พับชิ้นบนขวาให้ขอบบน ทาบกับแนวรอยพับในขั้นตอน ก่อนหน้านี้ แล้วกางออก
5
53-95=AW 02.indd 67
67
จัดชิ้นบนขวาให้มีลักษณะดังรูป
12/3/2554 13:10
68
“ลูกเป็ด” ในก�ำมือ
6 7
พับชิ้นบนซ้ายในลักษณะเดียวกัน
พับส่วนปลายของชิ้นทางซ้ายและขวา ให้แหลม สังเกตรูปแบบของสีที่ได้ ปลายแหลมสองชิ้นนี้จะกลายเป็นตีนเป็ด
8
พับเก็บตีนเป็ดให้มีลักษณะดังรูป
9
53-95=AW 02.indd 68
พับชิ้นทางขวามาตรงกลาง ให้ขอบขวาทาบเส้นแนวดิ่ง พับแบบเดียวกันกับชิ้นทางซ้าย
12/3/2554 13:10
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
10
พับชิ้นทางซ้ายไปทางซ้าย ให้รอยพับทีเ่ กิดใหม่ขนานกับขอบซ้าย พับชิ้นทางขวาในลักษณะเดียวกัน
11
พลิกโมเดลคว�ำ่ ลง จัดชิ้นส่วนมุมขวาบนให้มีลักษณะดังรูป
12
53-95=AW 02.indd 69
69
จัดชิ้นส่วนมุมซ้ายบน ในท�ำนองเดียวกับขั้นตอนที่แล้ว
12/3/2554 13:10
70
“ลูกเป็ด” ในก�ำมือ
13 14
15
หุบโมเดลตามแนวยาว จัดให้ขาทาบกัน
จัดส่วนคอและหัวเป็ดคร่าวๆ โดยพับให้ได้สัดส่วนที่ต้องการ รีดรอยพับให้เรียบ แล้วแกะออก ส�ำหรับตีนเป็ด ให้พับย้อนกลับไปทางด้านหัว
16
53-95=AW 02.indd 70
พลิกโมเดลหงายขึ้น พับย้อนกลับเข้าด้านใน ให้ส่วนขากางออก
พับส่วนคอและหัวเป็ด โดยใช้รอยพับในขั้นที่แล้ว
12/3/2554 13:10
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
17
53-95=AW 02.indd 71
71
ดึงชิ้นส่วนที่อยู่ภายในหัวเป็ด ออกมาทั้งสองด้าน
18
พับปากเป็ดโดยให้เกิดรอยขยัก (ดูภาพที่มองจากด้านหน้า)
19
พลิกสีด้านในของปากเป็ดชิ้นบนออกมาด้านนอก
20
แบะตีนเป็ดให้แบน พับปลายแหลมให้ยุบเข้าไปข้างใน
12/3/2554 13:10
88
วิธีพับ “แผนที่สไตล์ตุรกี”
วิธีพับ
“แผนที่ สไตล์ตุรกี”
เรื่อง : ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
เทคนิคการพับกระดาษมีการใช้งานในอีกรูปแบบหนึง่ ได้แก่ การท�ำให้กระดาษ แผ่ น แบนๆ มี ข นาดเล็ ก ลง โดยกรณี ที่ ใ ช้ ง านกั น มากคื อ การพั บ แผนที่ (map folding) แม้ว่าการพับในลักษณะนี้อาจใช้กับสิ่งอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน อย่างโบรชัวร์แนะน�ำสถานที่ หรือโฆษณาสินค้า เป็นอาทิ ในที่นี้ผมน�ำเสนอแบบพับแผนที่ของตุรกี (Turkish map fold) ซึ่ง เรียบง่าย แต่น่าสนใจ แบบพับแผนที่ของตุรกีนี้สามารถประยุกต์ได้หลายลักษณะ เช่น • บันทึกข้อมูลที่ต้องการบนกระดาษ (อาจเป็นนิทาน โคลงกลอน และภาพ เป็นต้น) จากนั้นพับกระดาษแผ่นนี้ แล้วน�ำไปแปะบนกระดาษอีก แผ่นหนึ่งซึ่งท�ำหน้าที่เป็นปก • พับแบบพับแผนที่ของตุรกีหลายชิ้นโดยใช้กระดาษสีสันสวยงาม แตกต่างกัน จากนั้นน�ำมาติดประกบกัน แล้วตกแต่งตามจินตนาการ ตัวอย่างการใช้งาน แบบพับแผนที่ของตุรกี
53-95=AW 02.indd 88
14/3/2554 17:51
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
89
วิธีพับ
ลักษณะกระดาษ : กระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากเป็นแผนที่ ให้หงายหน้าที่มีข้อมูล ในแผนที่ขึ้น
1 2
สร้างรอยพับภูเขา และหุบเขาดังภาพ
หุบโมเดลเข้ามาตรงกลาง ตามรอยพับ
3
แบบพับแผนที่ของตุรกีเสร็จสมบูรณ์ ! ซ้าย : มองจากด้านล่าง ขวา : มองจากด้านบน
ขุมทรัพย์ทางปัญญา คุณผู้อ่านสามารถค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบพับแผนที่ของตุรกีได้ทาง อินเทอร์เน็ตโดยค้นค�ำว่า Turkish map fold
53-95=AW 02.indd 89
12/3/2554 13:10
120
โอริงามิกับการออกแบบ “สเต็นต์”
โอริงามิ กับการออกแบบ
“สเต็นต์”
เรื่อง : ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ในบทนี้ ผมน� ำ เสนอโอริ ง ามิ ใ นแง่ มุ ม ที่ ไ ม่ ค ่ อ ยได้ ยิ น กั น บ่ อ ยนั ก นั่ น คื อ โอริ ง ามิ กั บ อุ ป กรณ์ ท างการแพทย์ ฟั ง เผิ น ๆ แล้ ว สองเรื่ อ งนี้ ไ ม่ น ่ า จะมี อะไรเกี่ยวข้องกัน แต่ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษ ย์มักจะมีอะไรให้เรา แปลกใจได้เสมอ ลองมาดูตัวอย่างจริงกันสักหน่อย ในวงการแพทย์มีข้อมูลชัดเจนว่า โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอด เลือดแดงโคโรนารีที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease, CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในปัจจุบัน วิธีการรักษาโรคนี้มีหลายวิธี โดยวิธีหนึ่ง ได้แก่ การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ (Balloon Angioplasty) วิธกี ารนีไ้ ด้รบั ความนิยม เนือ่ งจากไม่ตอ้ งผ่าตัดและมีความปลอดภัย ค่อนข้างสูง โดยแพทย์จะสอดสายสวนหัวใจ (guiding cathether) เข้าไป ในหลอดเลือด สายสวนหัวใจนีเ้ ป็นท่ออ่อนซึง่ มีบอลลูนขนาดจิว๋ ติดอยูต่ รงปลาย เมื่อปลายสายสอดเข้าถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบ แพทย์ก็จะท�ำให้บอลลูนนั้น พองออก เพือ่ เบียดคราบไขมัน (เรียกว่า plaque) ทีเ่ กาะอยูท่ ผี่ นังหลอดเลือด ให้ยุบแบนลง รวมทั้งช่วยขยายขนาดช่องภายในหลอดเลือดให้กว้างมากขึ้น ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้สะดวก หลังจากนั้นแพทย์ ก็จะท�ำให้บอลลูนแฟบลง แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย อย่างไรก็ดีในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบขยายยังไม่กว้างพอ ก็อาจ จะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กเรียกว่า สเต็นต์ (stent) ร่วมกับบอลลูนด้วย อุปกรณ์ นี้เป็นโครงลวดซึ่งมีรูปร่างคล้ายท่อ ในการใช้งานสเต็นต์จะถูกหุบให้มี ขนาดเล็กโดยมีบอลลูนอยู่ภายใน เพื่อให้แพทย์สามารถสอดอุปกรณ์ทั้งหมด
96-128_NEW 03.indd 120
14/3/2554 18:38
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
121
การท�ำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือด (แบบไม่ใช้สเต็นต์ร่วมด้วย)
เข้าไปในบริเวณที่ต้องการ แล้วท�ำให้บอลลูนพองออก โดยบอลลูนจะดัน ให้สเต็นต์กางออกไปถ่างหลอดเลือด จากนัน้ ก็จะท�ำการยุบบอลลูนให้แฟบลง แล้วน�ำบอลลูนออก และทิง้ สเต็นต์ไว้ในบริเวณทีม่ ปี ญั หาการตีบตันนัน้ น่ารู้ไว้ ด้วยว่า นอกจากหลอดเลือดแล้ว ยังมีการใช้งานสเต็นต์ในร่างกายส่วนที่ เป็นท่ออื่นๆ เช่น หลอดอาหาร ได้อีกด้วย
การใช้บอลลูนร่วมกับสเต็นต์ สังเกตว่าแพทย์จะทิ้งสเต็นต์ ไว้ในหลอดเลือด
96-128_NEW 03.indd 121
16/3/2554 11:37
124
โอริงามิกับการออกแบบ “สเต็นต์”
แบบพับโอริงามิสเต็นต์ ในการพับโอริงามิสเต็นต์ ควรใช้กระดาษที่แข็งและเหนียวพอสมควรเพื่อให้ได้โมเดล ที่แข็งแรง โดยเชื่อมต่อบริเวณ a1-b1, a2-b2 และ a3-b3 โดยเหลือขอบกระดาษ ไว้เล็กน้อยเพื่อติดกาวหรือสกอตเทป หากเริ่มจากกระดาษขนาด 12x24 เซนติเมตร จะได้โมเดลขณะหุบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร ยาว 8 เซนติเมตร
โมเดลของสเต็นต์ พับโดยผู้เขียน ซ้าย : มองด้านข้าง ขวา : มองเข้าไปด้านใน
96-128_NEW 03.indd 124
14/3/2554 18:38
โอริงามิ เล่ม 2 กระดาษพับ...อัศจรรย์
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ • เอกสิทธิ์ เข้มงวด
125
ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ทีมวิจยั ดังกล่าวและนักวิจยั ท่านอืน่ ๆ อีกจ�ำนวน หนึ่ง ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า ได้สร้างต้นแบบและท�ำการทดสอบแล้ว โดย ต้นแบบท�ำจากวัสดุฉลาดที่เรียกว่า โลหะจ�ำรูป (shape memory alloy) ซึ่ง มีความจ�ำแบบสองทิศทาง (two-way memory effect) ผลการท�ำงานนั้น เป็นที่น่าพอใจ เพราะชิ้นงานต้นแบบกางออกที่อุณหภูมิของร่างกายตามที่ได้ ออกแบบไว้ (ผูอ้ า่ นทีส่ นใจเรือ่ งโลหะจ�ำรูป โปรดอ่านได้จากหนังสือกฎพิสดาร ปรากฏการณ์พิศวง เล่ม 2 ส�ำนักพิมพ์สารคดี)
การทดสอบการกางออกของสเต็นต์ต้นแบบ ซึ่งท�ำจากโลหะจ�ำรูปแบบมีความจ�ำแบบสองทิศทาง
96-128_NEW 03.indd 125
16/3/2554 11:38