ทิพยนิยายจากปราสาทหิน

Page 1

#@*.%ฤ .>. > '/>6>#7@%

9/D 4= @U @รง - ฤ


ประติมากรรมนูนสูง สลักเป็นภาพทวารบาลอยู่ภายในซุ้ม ตามปรกติหากปราสาทหินแห่งใด มีภาพสลักทวารบาล มักจะท�ำเป็นเทพทวารบาลอยู่ทั้งสองข้างของประตูทางเข้า มีลักษณะที่ต่างกัน กล่าวคือ ด้านหนึ่งเป็นเทพบุรุษที่มีลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีนามว่า มหากาล ส่วนอีกด้านเป็น เทพบุรุษที่งดงาม มีนามว่า นนทิเกศวร ทวารบาลทั้งสองมีหน้าที่เฝ้าปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้าย เข้าไปภายในเทวาลัย


ภาพสลักบนหน้าบันที่ปราสาทบันทายสรี กัมพูชา สลักภาพพระอินทร์ประทับนั่งบนหลังช้างสามเศียร (เอราวัณ) ที่อยู่เหนือลายหน้ากาลอีกชั้นหนึ่ง


ISBN  978-616-465-019-0 หนังสือ  ทิพยนิยายจากปราสาทหิน ผู้เขียน  อรุณศักดิ ์ กิ่งมณี พิมพ์ครั้งแรก  มีนาคม ๒๕๕๕ พิมพ์ครั้งที่ ๒  กันยายน ๒๕๖๒ (ปรับปรุงใหม่) จ�ำนวนพิมพ์  ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา  ๓๕๕ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด

บรรณาธิการเล่ม  อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ภาพ  อรุณศักดิ ์ กิ่งมณี  ผอ. สมบูรณ์ บุณยเวทย์  ประภาพรรณ ศรีสุข สุรศักดิ ์ ศรีสำ�อาง  จำ�นงค์ ศรีนวล ออกแบบปก / รูปเล่ม  นัทธิน ี สังข์สุข ควบคุมการผลิต  ธนา วาสิกศิริ แยกสี / เพลท  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ พิมพ์ที่  ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐ จัดพิมพ์โดย  สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุ รี   ๒๒ ถนนนนทบุ รี   (สนามบิ น นํ้ า ) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมื อ งนนทบุ รี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยนิยายจากปราสาทหิน.--นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. ๒๘๐ หน้า. ๑. เทพปกรณัมฮินดู.  ๒. พุทธศาสนา--มหายาน. ๓. ปราสาทหิน. I. ชื่อผู้แต่ง. ๒๙๔.๕๑๓ ISBN 978-616-465-019-0

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผูอ้ ำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  ผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง 2

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

ปราสาทหิน เป็นโบราณสถานในศิลปะขอมทีพ่ บมากในภาคตะวันออก  เฉียงเหนือของไทย ความโดดเด่นของปราสาทหินคือ เป็นศาสนสถานที่  ก่อสร้างด้วยการน�ำอิฐแต่ละก้อนมาก่อเป็นอาคาร ซึ่งหลายแห่งมีขนาด  ใหญ่โต  สิง่ ทีน่ า่ ชมอันเป็นจุดเด่นของปราสาทหินคือ ภาพจ�ำหลักหินทีต่ กแต่ง  ส่วนต่างๆ ของปราสาทหิน  ภาพเหล่านี้ไม่เพียงแสดงถึงฝีมือช่าง แต่ยัง  สะท้อนคติความเชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะเรื่องเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและ  พุทธศาสนามหายาน อันเป็นแนวคิดพืน้ ฐานของการสร้างปราสาทหิน  ดังนัน้   หากได้รู้เรื่องราวความหมายของภาพสลักตามปราสาทหินเหล่านี้ จะช่วย  เพิ่มอรรถรสในการเที่ยวชมปราสาทหินให้สนุกและเข้าใจยิ่งขึ้น หนังสือ ทิพยนิยายจากปราสาทหิน ของคุณอรุณศักดิ ์ กิง่ มณี เล่มนี้  จึงเหมาะอย่างยิง่ ส�ำหรับผูอ้ ยากรูเ้ รือ่ งราวของภาพสลักทีป่ ราสาทหิน  ผูเ้ ขียน  ได้ถ่ายทอดเรื่องของเทพปกรณัมฮินดูและพุทธศาสนามหายาน ซึ่งนิยม  สลักเป็นภาพตกแต่งปราสาทหิน ให้อ่านง่ายๆ สนุกๆ อย่างมีสาระ พร้อม  ภาพประกอบที่ช่วยอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ดี  ส�ำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๒  (พ.ศ. ๒๕๖๒) ผูเ้ ขียนได้ปรับปรุงภาพประกอบและเนือ้ หาบางส่วนให้เหมาะสม  ยิ่งขึ้น นอกจากนี ้ หากผูอ้ า่ นสนใจเรือ่ งราวเกีย่ วกับเทพเจ้าฮินดู สามารถ  อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู อันเป็นผลงาน  ที่อ่านสนุกอีกเล่มของคุณอรุณศักดิ์ กิ่งมณี ซึ่งส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณได้  จัดพิมพ์และปรับปรุงใหม่ใน พ.ศ. ๒๕๖๒ เช่นกัน

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ กันยายน ๒๕๖๒ อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

3


คำ�นำ�ผู้เขียน

(ฉบับพิมพ์ครั้งที ่ ๒) หนังสือ ทิพยนิยายจากปราสาทหิน เป็นหนังสือทีพ่ ยายามเรียบเรียง  อย่างสั้นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านสามารถน�ำไปใช้เป็นคู่มือในการ  ชมปราสาทหินทัง้ ทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทยและเขมร  โดยหนังสือเล่มนีเ้ คยจัดพิมพ์  เผยแพร่ในนาม วารสารเมืองโบราณ ฉบับพิเศษ มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึง่ ทางส�ำนักพิมพ์ฯ ได้แจ้งว่าได้จ�ำหน่ายหมดแล้ว และประสงค์  จัดพิมพ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในการพิมพ์ครั้งที่ ๒ นี้ ผู้เขียนได้แก้ไขข้อมูลบางส่วนที่มีความ  คลาดเคลื่อน รวมถึงปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติม อันเนื่องมาจากมีผลการศึกษา  ใหม่ในบางประเด็นหลังจากที่ตีพิมพ์ครั้งแรกแล้ว นอกจากนี้ยังได้เปลี่ยน  ภาพประกอบใหม่ส่วนหนึ่งด้วย โดยได้รับความอนุเคราะห์ภาพถ่ายเพิ่มเติม  จาก ผอ. สมบู ร ณ์   บุ ณ ยเวทย์    คุ ณ ประภาพรรณ ศรี สุ ข   คุ ณ สุ ร ศั ก ดิ์  ศรีสำ� อาง ซึง่ ต้องขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี  ้ รวมถึงต้องขอบคุณผูอ้ นุเคราะห์  ภาพถ่ายที่ตีพิมพ์ในครั้งแรกซึ่งส่วนใหญ่ได้น�ำมาใช้ในการพิมพ์ครั้งนี้ด้วย ขอขอบคุณ คุณอภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ แห่งส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ  ที่ช่วยประสานงานและปรับปรุงต้นฉบับให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี กรมศิลปากร กรุงเทพฯ มิถุนายน ๒๕๖๒


คำ�นำ�ผู้เขียน

(ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ปัจจุบัน มีหนังสือแนะน�ำเรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทหินมากมาย  ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นข้อมูลด้านการ  ท่องเที่ยว หรือศึกษาเจาะลึกเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ ทั้งด้านศิลปกรรม  และสถาปัตยกรรม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่านิยมชมชอบเรื่องราวด้านใด หนังสือเล่มนี้เป็นข้อเขียนเชิงเล่าเรื่อง เพื่ออธิบายความหมาย  เรื่องราวที่ปรากฏในตัวอาคารปราสาทหิน  ทั้งที่เป็นประติมากรรม ภาพ  สลักเล่าเรื่อง ตลอดจนงานศิลปกรรมประดับตกแต่งอาคาร รวมถึงงาน  ศิลปกรรมที่เคยอยู่ร่วมกับปราสาทหิน แต่ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาในที่  อื่น ๆ  งานศิลปกรรมเหล่านี้เกิดจากเรื่องราวทางศาสนาเป็นส�ำคัญ ทั้ง  ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ซึ่งเป็นเรื่องของทิพยบุคคล ผู้  เป็นศาสดา หรือเกี่ยวข้องกับองค์ศาสดา เหล่าทวยเทพเทวา และผู้มีฤทธิ์  ต่าง ๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นที่มาของชื่อหนังสือ “ทิพยนิยายจากปราสาทหิน” อัน  หมายถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทิพยบุคคลที่สถิตอยู่ในปราสาทหินนัน่ เอง  โดยได้พยายามรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาเรียงร้อยไว้ด้วยกัน  โดยมิได้ให้เชิงอรรถอ้างอิงในแต่ละหน้าเอาไว้ ด้วยไม่ประสงค์จะให้เป็น  วิชาการจนเกินไป ผู้สนใจอาจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรายชื่อหนังสือ  อ้างอิงท้ายเล่ม หนังสือเล่มนี้เกิดจากการรวบรวมความรู้ที่ได้รับจากครูบาอาจารย์  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในเบื้องต้นต้องขอกราบขอบพระทัย  และขอบพระคุณศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และอาจารย์  คงเดช ประพัฒน์ทอง ผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากนี้ ก็ขอกราบขอบพระคุณ  คณาจารย์ผสู้ งั่ สอนวิชาความรูด้ า้ นประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะและประติมานวิทยา   อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

5


คื อ  อาจารย์  ดร.นันทนา ชุ ติ ว งศ์  ศาสตราจารย์  ดร.ผาสุ ข  อิ นทราวุ ธ  ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม และศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว .สุริยวุฒิ  สุขสวัสดิ์ ภาพประกอบในหนังสือเล่มนี้ ส่วนหนึง่ ได้รับความอนุเคราะห์จาก  เหล่าพี่ ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ จากส�ำนักโบราณคดี กรมศิลปากร คือคุณ  ประพิศ พงศ์มาศ คุณขจร มุกมีคา่  คุณมนต์จนั ทร์ วงศ์จตุรภัทร คุณศิรพิ นั ธ์  ตาบเพ็ ช ร์  คุ ณดุ สิ ต  ทุ ม มาภรณ์  คุ ณ วสุ  โปษยนันท์  และคุ ณ พิ ม พ์ น ารา  กิจโชติประเสริฐ ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้  ขอขอบคุณคุณกฤช เหลือลมัย กองบรรณาธิการวารสารเมือง โบราณ ที่ช่วยตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ หวังว่าหนังสือเล่มนีค้ งยังประโยชน์ตอ่ ผูช้ นื่ ชอบเทีย่ วชมปราสาทหิน  บ้าง ไม่มากก็น้อย

6

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี akmanee2013@gmail.com


สารบัญ รู้จักปราสาทหิน และศิลปะเขมรโบราณ

๑๐

อาณาจักรเขมรโบราณ (ขอม) และอิทธิพลที่แพร่เข้ามา ในดินแดนประเทศไทย รูปแบบและอายุสมัยของศิลปะเขมรโบราณโดยสังเขป องค์ประกอบและความหมายของปราสาทหิน ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับปราสาทหิน

๑๑ ๒๓ ๒๔ ๓๔

ลวดลายและภาพเล่าเรื่อง

๔๒

รู้จักศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์ - ศาสนาฮินดู)

๖๗

ดอกบัว หน้ากาล หงส์ นาค ครุฑ สิงห์ ช้าง ฤๅษี นางอัปสร มหาภารตะ พิธีอัศวเมธ

ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู พระศิวะ ศิวลึงค์ ศิวนาฏราช ราวัณนะนุครหมูรติ คชาสุรสังหารมูรติ กามานตกะมูรติ

๔๓ ๔๔ ๔๗ ๔๙ ๕๑ ๕๓ ๕๕ ๕๕ ๕๘ ๖๑ ๖๕

๖๘ ๗๐ ๗๖ ๗๘ ๘๒ ๘๔ ๘๕ ๘๘

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

7


กิราตารชุนนะ หริหระ พระนางอุมา อรรธนารีศวร พระวิษณุ วิษณุอนันตศายิน หรือนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทศอวตาร (นารายณ์สิบปาง) มัสยาวตาร กูรมาวตาร วราหวตาร นรสิงหาวตาร วามนาวตาร ปรศุรามาวตาร รามาวตาร กฤษณาวตาร พุทธาวตาร กัลกิยาวตาร วัชชีมุข พระนางลักษมี พระพรหม พระอินทร์ พระคเณศ สกันทกุมาร พระวิษวกรรม พระอัศวิน เทพผู้รักษาทิศ พระวรุณ พระกุเวร พระอัคนี พระพาย พระยม พระนิรฤติ 8

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน

๘๘ ๘๙ ๙๔ ๙๗ ๙๙ ๑๐๒ ๑๐๖ ๑๐๗ ๑๐๘ ๑๑๐ ๑๑๐ ๑๑๑ ๑๑๕ ๑๑๖ ๑๓๑ ๑๔๔ ๑๔๘ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๔ ๑๕๗ ๑๖๑ ๑๖๕ ๑๖๗ ๑๖๙ ๑๗๑ ๑๗๒ ๑๗๔ ๑๗๕ ๑๗๗ ๑๗๙ ๑๘๐


เทพพระเคราะห์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู - พระเกตุ

๑๘๔ ๑๘๖ ๑๘๘ ๑๘๙ ๑๘๙ ๑๙๒ ๑๙๒ ๑๙๓ ๑๙๔

รู้จักพุทธศาสนา

๑๙๖

รู้จักพุทธมหายาน

๒๑๘

บรรณานุกรม

๒๗๘

พุทธประวัต ิ พุทธประวัติ (๑) ประสูต ิ พุทธประวัติ (๒) มหาภิเนษกรมณ์ พุทธประวัติ (๓) มอบเครื่องทรง ตัดพระเมาฬี พุทธประวัติ (๔) มารวิชัย พุทธประวัติ (๕) ตรัสรู ้ พุทธประวัติ (๖) ปรินิพพาน กลุ่มเทพผู้พิทักษ์ วัชรธร วัชรสัตว์ พระไภษัชยคุร ุ พระโพธิสัตว์เมตไตรย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เทพีปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์วัชรปาณี พระไตรโลกยวิชัย สังวร เหวัชระ หาริติและปัญจิกา

๒๐๒ ๒๐๓ ๒๐๖ ๒๐๙ ๒๑๑ ๒๑๔ ๒๑๔

๒๓๕ ๒๔๑ ๒๔๓ ๒๔๕ ๒๔๙ ๒๕๒ ๒๖๐ ๒๖๒ ๒๖๔ ๒๖๕ ๒๖๘ ๒๗๔

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

9


รู้จักปราสาทหิน และศิลปะเขมรโบราณ

10

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


อาณาจักรเขมรโบราณ (ขอม) และอิทธิพลที่แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทย

จดหมายเหตุจีนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นต้นมา ให้ข้อมูลเกี่ยว  กับอาณาจักรเขมรโบราณ หรือขอม ไว้ว่า พื้นที่แถบนี้ได้รับอิทธิพลจาก  อารยธรรมอินเดีย รวมถึงอิทธิพลของประเทศตะวันตก เช่น โรมัน กรีก  รุ่นหลัง หรือเฮเลนนิสติก และอิหร่าน ตลอดจนเปอร์เซียที่ส่งผ่านมาตาม  เส้นทางเดินเรือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จดหมายเหตุจีนบันทึกว่า ดินแดนเขมร  แบ่งแยกเป็นสองอาณาจักร คือ ฟูนันและเจนละ อย่างไรก็ดี ช่วงปลายศตวรรษนั้น พระเจ้าภววรมันที่ ๑ และ  พระเจ้ามเหนทรวรมัน หรือเจ้าชายจิตรเสนแห่งเจนละก็ยึดครองอาณาจักร  ฟูนันไว้ได้ พระเจ้าอีสานวรมันที่ ๑ ทรงสถาปนาเมืองอีสานปุระเป็นราชธานี  เมื่ อ ราวกลางพุ ท ธศตวรรษที่   ๑๒ หลั ง รวมอาณาจั ก รเจนละและฟู นั น  เข้าด้วยกันแล้ว ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๓ อาณาจักรเขมรโบราณแบ่งแยกเป็น  สองแคว้นใหญ่ คือ เจนละบกและเจนละนํ้า จนกระทั่งเจ้าชายชัยวรมัน  ทรงรวมแคว้นทั้งสองเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเสด็จขึ้นเสวยราชย์  ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒  พระองค์ทรงสถาปนาเมืองหริหราลัยเป็นราชธานี และทรงวาง  รากฐานพระราชอ�ำนาจไว้อย่างมั่นคงด้วยการประดิษฐานลัทธิเทวราชา  เหนื อ มเหนทรบรรพต คื อ เขาพนมกุ เ ลน ท� ำ ให้ ท รงมี พ ระราชอ� ำ นาจ  ที่แข็งแกร่งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อศาสนาฮินดูในขณะนั้น ต่อมา ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๕ พระเจ้ายโศวรมันที ่ ๑ ทรงสถาปนา  เมืองพระนคร หรือยโศธรปุระขึ้นเป็นราชธานี  อย่างไรก็ตาม ภายหลังรัชกาลของพระองค์ ราชธานีก็ย้ายไป  ตั้งที่โฉกครรยาร์  ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลสาบใหญ่  อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

11


(บน) ปราสาทเยียปวน (Yeay Poeun) ปราสาทอิฐทรงแปดเหลี่ยมในกลุ่มปราสาท สมโบร์ไพรกุก เมืองกัมปงธม กัมพูชา เป็นปราสาทรุ่นแรก ๆ ของสถาปัตยกรรม เขมรโบราณ (ขวา) ลวดลายจำ�หลักอิฐรูปอาคารซึ่งมี แถวของสัตว์มีปีกอยู่ด้านล่าง ประดับตกแต่ง ปราสาทหินในกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก น่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทิพยบุคคล บนสวรรค์

12

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

13


ก่อเกิดพลังแก่รูปเคารพที่ประดิษฐานอยู่ภายในด้วย เครื่ อ งบนของปราสาทหิ น ในส่ ว นของวิ ม านต่ อ จากเรื อ นธาตุ  ขึ้นไปนั้น ประกอบด้วยชั้นเชิงบาตรห้าชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป มุมเชิงบาตร  แต่ ล ะชั้ น ประดั บ ด้ ว ยกลี บ ขนุ น ทรงสามเหลี่ ย ม เรี ย กว่ านาคปั ก  ส่ ว น  ปราสาทหินที่มีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประดับด้วยรูปจ�ำลองปราสาท  อยู่ที่มุมเชิงบาตรแต่ละชั้น ส่วนกลีบขนุนตรงต�ำแหน่งกึง่ กลางแต่ละด้านอาจเรียกว่าบันแถลง ก็ได้ บันแถลงส่วนมากสลักภาพเทพประทับในซุ้มวิมาน มักเป็นเทพ  รั ก ษาทิ ศ นั้ น  ๆ นอกจากนี้  ส่ ว นของเชิ ง บาตรที่ ท� ำ เลี ย นแบบเรื อ นธาตุ  ซ้อนขึ้นไปมักท�ำเป็นซุ้มบัญชร แต่ละชั้นมีขนาดลดหลั่นขึ้นไปด้วย ส่วนบนสุดท�ำเป็นบัวยอด หรือกลศ คือหม้อนํา้ มนตร์ มีตรีศลู หรือ  ปัญจศูลปักอยู่

ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับปราสาทหิน

ปราสาท สถาปั ต ยกรรมประเภทหนึ่ ง ของศิ ล ปะเขมรโบราณ  เป็นอาคารมีเรือนยอดซ้อนกันหลายชั้น มีห้องครรภคฤหะอยู่ภายในนั้น  ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมอินเดียใต้ ภาษาสันสกฤตเรียกว่าปราสาท  (Prasada) บรรณาลัย อาคารขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาก่อเหลื่อม  โค้ง หันหน้าเข้าสู่ปราสาทประธาน ส่วนใหญ่อยู่บริเวณมุมของลานด้าน  หน้าปราสาทประธาน ภายในก�ำแพงแก้ว อาจมีหลังเดียวหรือสองหลัง  ถ้ามีหลังเดียวมักอยู่ด้านทิศใต้ อาคารเช่นนี้อาจเรียกว่าบรรณศาลา หอสมุด วิหาร หรือหอเก็บ  คัมภีร์ ซึ่งแม้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์แน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นที่เก็บคัมภีร์  หรือวิหารประดิษฐานเทพชั้นรอง 34

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


ชื่อเรียกส่วนต่าง ๆ ของปราสาทหิน

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

35


พิธีอัศวเมธ สลักบนทับหลังปราสาทหินพิมาย เป็นตอนที่กษัตริย์มอบม้าแก่พราหมณ์ เพื่อน�ำไปประกอบพิธีกรรม อนึ่ง ท่ายกมือ ข้างหนึ่งทาบอก มืออีกข้างรองใต้ศอกของ บุคคลในภาพนั้น เป็นท่าแสดงความเคารพ อย่างหนึ่ง มักพบเสมอในงานศิลปกรรมอินเดีย และเขมรโบราณ

66

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


รู้จักศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์ -  ศาสนาฮินดู)

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

67


อาจกล่าวได้ว่า ศาสนาพราหมณ์นั้นเป็นรากฐานหรือคัมภีร์เก่า  ของศาสนาฮินดู แต่ถ้าถือว่าศาสนาทั้งสองแยกออกจากกัน ก็ถือว่าสมัยแรก คือ  ศาสนาพราหมณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ ปีมาแล้ว มาจนถึง  ต้นสมัยพุทธกาล คือประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่สมัย  ศาสนาฮินดู

ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism)

๑. สมัยดั้งเดิม หรือที่เรียกว่าศาสนาพราหมณ์ (อันหมายถึง  ศาสนาของพระพรหม หรือศาสนาทีก่ �ำเนิดจากพระพรหม) เชือ่ กันว่าศาสนา  พราหมณ์เป็นศาสนาของชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo - Euro-  pean) ซึ่งเดิมอาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปเอเชีย และส่วนหนึ่ง  ได้เคลื่อนย้ายเข้ามายังลุ่มนํ้าสินธุ พร้อมทั้งน�ำวัฒนธรรมของตนเข้ามา  ผสมผสานกั บ คติ ค วามเชื่ อ ของชนเผ่ า พื้ น เมื อ งที่ นั บ ถื อ ธรรมชาติ  เทพ  ประจ�ำครอบครัว และเทพประจ�ำหมู่บ้าน การก�ำเนิดของศาสนาอย่างดั้งเดิมนั้น ชาวอารยันมีการยกย่อง  ธรรมชาติต่าง ๆ เปรียบประดุจเทพเจ้าซึ่งสามารถให้คุณและโทษต่อมนุษย์  ได้ โดยในชั้นต้น ชาวอารยันแบ่งกลุ่มเทวะออกเป็นหมวดสูงตํ่าสามกลุ่ม  เพื่อสะดวกต่อการนับถือและกระท�ำบัดพลีบูชา คือ กลุ่มเทวะบนสวรรค์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ กลุ่มเทวะบนอากาศ เช่น พายุ วรุณ (ฝน) กลุ่มเทวะบนพื้นโลก เช่น ไฟ (อัคนี) แผ่นดิน (ธรณี) ๒. สมัยพระเวท  ในระยะต่อมา ประมาณ ๓,๕๐๐ ปีถงึ  ๓,๐๐๐ ปี  มาแล้ว ชาวอารยันได้รวบรวมบทสวดอ้อนวอนเทพที่ใช้ในกลุ่มวงศ์ตระกูล  ขึ้นมาเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์เหล่านี้เรียกว่าเวท หรือวิทยา อันได้แก่ความรู้  ที่ถือเป็นศรุติ หรือวิทยาที่รับฟังมาจากเทพผู้สูงศักดิ์ คือพรหม ในลักษณะ  68

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


“สวยัมภูลึงค์” (หินธรรมชาติที่สลักแต่ง ให้คล้ายรูปลึงค์) นับถือกันว่าเป็นศิวลึงค์ ที่เกิดเองตามธรรมชาติ อยู่ตรงกลางของ ปราสาทตาเมือนธม สุรินทร์ และจะเห็นว่า มีประติมากรรมโคนนทิ (เทพพาหนะของ พระศิวะ) ประดิษฐานอยู่ในห้องด้านหน้า อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

69


ทักษิณามูรติ สลักบนหน้าบันปราสาทพนมรุ้ง ภาคนี้ พระศิวะถือเป็นครูแห่งจักรวาล ผู้สั่งสอนศาสตร์ทั้งปวง ในเทวาลัยอินเดียใต้ มักพบภาพนี้ที่ซุ้มด้านทิศใต้ ถือกันว่า ทิศใต้เป็นทิศของครูและความเป็นมงคล จึงมีชื่อว่าทักษิณามูรติ

นอกจากรูปเคารพที่เป็นรูปบุคคลแล้ว พระองค์ยังมีศิวลึงค์เป็น  สัญลักษณ์แทนองค์ ซึ่งมักพบในปราสาทหินของเขมร

ศิวลึงค์

ศิวลึงค์ถอื เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ ท�ำเป็นรูปอวัยวะเพศชาย คตินี้สืบมาจากความเชื่อดั้งเดิมตั้งแต่สมัยอารยธรรมอินเดียแถบ  ลุ่มนํ้าสินธุ แสดงสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ และบ่อเกิดของสิ่งมีชีวิต  ทั้ ง ปวงในโลก มั ก ประดิ ษ ฐานบนแท่ น โยนิ โ ทรณะ อั น เป็ น เครื่ อ งหมาย  เครื่องเพศหญิง ซึ่งก็คือพระนางอุมา ชายาของพระองค์ 78

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


เรื่องเล่าเกี่ยวกับก�ำเนิดการบูชาศิวลึงค์ต่างกันไปในแต่ละคัมภีร์  เช่น ครั้งหนึ่งพระพรหมและพระวิษณุทรงถกเถียงกันว่าใครยิ่งใหญ่กว่ากัน  และใครเป็นผู้สร้างจักรวาล แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จนเกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์  คือมีวัตถุรูปเสาขนาดมหึมาเป็นเปลวไฟอันร้อนแรงผุดขึ้นจากพื้นโลก พุ่ง  ขึ้นสู่ท้องฟ้าจนมองไม่เห็นยอด พระวิษณุและพระพรหมสงสัยว่าสิ่งนี้คือ  อะไร มีจุดตั้งต้นและจุดจบที่ไหน พระวิษณุทรงแปลงเป็นหมูป่าขุดตามเสา  ไปดูเบื้องล่าง ส่วนพระพรหมทรงแปลงเป็นหงส์ (ต�ำราบางเล่มว่าขี่หงส์)  เพื่อไปดูส่วนยอดของเสา ในการนี้ใช้เวลาหลายกัลป์ พระวิษณุขุดลึกลงไปเพียงใดก็ไม่พบจุดตั้งต้น จึงทรงยอมแพ้ พระ  พรหมก็เช่นเดียวกัน พระองค์หาจุดสิ้นสุดไม่พบ แต่ระหว่างทางทรงพบ  ดอกเกตกีดอกหนึ่งหล่นลงมาจากฟ้า พระพรหมทรงถามว่าหล่นมาจาก  ที่ใด ดอกเกตกีบอกว่าตกมาจากเครื่องประดับเศียรพระศิวะ ซึ่งก็ใช้เวลา  นานหลายกัลป์กว่าจะร่วงลงมาถึงที่พระพรหมประทับอยู่  เมือ่ พระพรหมเสด็จกลับลงมา ก็ทรงกล่าวเท็จในท�ำนองว่าทรงพบ  จุดสิ้นสุดแล้ว ทันใดนั้น เสาเพลิงก็ระเบิดออก พระศิวะปรากฏพระวรกาย  ขึ้นมากลางเสา ทรงประกาศว่าสิ่งนี้คือพลังอ�ำนาจของพระองค์เอง เป็น  พลังที่ไม่อาจวัดได้ ไม่มีจุดตั้งต้น ไม่มีจุดจบ และจะด�ำรงอยู่เป็นนิรันดร์  เพื่ อ เป็ น แกนของโลกทั้งหลายทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง พระวิษณุและ  พระพรหมจึงทรงยอมรับในพลังอ�ำนาจของพระศิวะ คัมภีร์บางเล่มเล่าเรื่องนี้ต่อไปว่า พระศิวะทรงลงโทษพระพรหม  ทีก่ ล่าวเท็จโดยตัดเศียรทีห่ า้ ออก ท�ำให้พระพรหมซึง่ เดิมมีหา้ เศียรเหลือเพียง  สี่เศียร ภาคนี้ของพระศิวะเรียกว่าลิงคอุทภวมูรติ หรือภาคปรากฏอัน  แสดงก�ำเนิดศิวลึงค์ แต่ต�ำนานบางเล่มก็เล่าก�ำเนิดศิวลึงค์ต่างไปว่า ครั้งหนึ่ง เทพเจ้า  บนสรวงสวรรค์ ไ ปเข้ า เฝ้ า พระศิ ว ะบนเขาไกลาส ขณะนั้ น พระศิ ว ะกั บ  พระนางอุมาก�ำลังเสพสมกันอยู่ในท้องพระโรง เมื่อเทพทั้งหลายเข้าไป  อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

79


ศิวลึงค์บนฐานโยนิโทรณะ พิพิธภัณฑ์กรุง พนมเปญ ศิวลึงค์ลักษณะนี้เป็นแบบประเพณี นิยม ถือเป็นการรวมเทพส�ำคัญที่สุดสามองค์ ของฮินดูเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนบนสุดทรงโค้งมน เรียกว่ารุทรภาค หมายถึงพระศิวะ ส่วนกลางทรงแปดเหลี่ยม เรียกว่า วิษณุภาค หมายถึงพระวิษณุ ส่วนล่างทรงสี่เหลี่ยม เรียกว่าพรหมภาค หมายถึงพระพรหม 80

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


(บน) ลิงคอุทภวมูรติ หรือภาคแสดงก�ำเนิด ศิวลึงค์ สลักบนทับหลังปราสาทอังขนา กัมพูชา ด้านขวามีหงส์บินสู่เบื้องบน ส่วนด้านซ้าย เป็นรูปหมูป่า (วราหะ) ขุดหาจุดเริ่มต้นเบื้องล่าง (ภาพจากหนังสือ ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม ของ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล) (ขวา) เอกมุขลึงค์ (ลึงค์ที่มีพระพักตร์พระศิวะ หนึ่งพักตร์) พบที่พระธาตุบ่อพันขัน ร้อยเอ็ด ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

81


รู้จักพุทธศาสนา

196

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


พระพุทธศาสนาถือก�ำเนิดในดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย  ราว ๔๕ ปีก่อนพุทธกาล โดยมีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรม  ศาสดา พระองค์มีพระนามเดิมว่าเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นโอรสของ  พระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ตรัสรู้  พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา จากนั้นเสด็จ  สั่งสอนพุทธศาสนิกชนเป็นเวลา ๔๕ ปี เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่เมือง  กุสินารา เมื่อพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา หลังจากพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานแล้วจึงเริ่มต้นนับปีพุทธ-  ศักราช พระองค์ถือก�ำเนิดในช่วงที่คัมภีร์อุปนิษัทก�ำลังเจริญรุ่งเรือง ทรง  ประกาศหนทางสู่พระนิพพานโดยมุ่งเน้นกฎแห่งกรรม และถือว่าหนทาง  สู่นิพพานเกิดขึ้นด้วยความเพียรพยายามของตนเอง ทรงมุ่งเน้นความ  สมดุล อันได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งต้องสอดคล้องกันทั้งร่างกายและ  จิตใจ หลักปรัชญาที่ส�ำคัญของพุทธศาสนาได้แก่อริยสัจสี่ หรือความ  จริงอันประเสริฐสี่ประการ ได้แก่ ทุกข์ คือความไม่สบายกาย/ใจ สมุทัย คือเหตุท�ำให้เกิดทุกข์ นิโรธ คือความดับทุกข์ มรรค คือทางปฏิบัติเพื่อบรรลุการดับทุกข์ นอกจากนี้ ยังมีวงล้อของการสืบต่อภพชาติ กระบวนแห่งทุกข์  และการเกิดทุกข์ ที่เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท อันเป็นวิธีหลุดพ้นโดยก� ำจัด  ต้นตอ คืออวิชชา หรือความไม่รู้ให้หมดสิ้นไป ในระยะเริ่มแรกนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นหลักยึดถือและก�ำจัด  มิจฉาทิฐิ ตลอดจนความฟั่นเฟือนในการปฏิบัติของเหล่าสาวก แต่หลังจาก  เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนาก็เริ่มแตกแยก จนกระทั่งหลังการ  อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

197


ทับหลังสลักภาพเหตุการณ์ตอนมารวิชัย จากปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา (ภาพ : ภาพถ่ายเก่าของ ผอ. สมบูรณ์ บุณยเวทย์)

สังคายนาครั้งที่ ๒ ที่เมืองเวสาลี ก็เกิดแบ่งออกเป็นสองฝ่ายใหญ่ และยิ่ง  ชัดเจนขึ้นหลังการสังคายนาครั้งที่สี่ที่เมืองปุรุษปุระ ท�ำให้เกิดนิกายฝ่ายใต้  และฝ่ายเหนือ  นิกายฝ่ายใต้ยึดถือตามหลักวินัยค�ำสอนของพระพุทธเจ้าและพระ  เถระโดยไม่เปลี่ยนแปลง เรียกตนเองว่าฝ่ายเถรวาท หรือสถวีระวาท ส่วนนิกายฝ่ายเหนือมีการเปลี่ยนแปลงวินัยบัญญัติตามที่ตีความ  ใหม่ เป็นอาจาริยวาท - มหายาน หมายถึงยานอันยิ่งใหญ่ที่น�ำพาสรรพ-  สัตว์จ�ำนวนมากข้ามสังสารวัฏได้ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายฝ่ายใต้วา่ หินยาน หมายถึงยานอันคับแคบ  ที่น�ำเฉพาะตนเองข้ามสังสารวัฏเท่านั้น ต่อมา แนวคิดของทั้งสองนิกายก็มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสืบมา  ตามล�ำดับ 198

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


พระพุทธเจ้าประทับยืนระหว่างต้นไม้สองต้น มีนักบวชและเหล่ากษัตริย์อยู่ด้านข้าง สลักบนทับหลังจากปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

199


(บน) เวสสันดรชาดก อดีตชาติของพระพุทธเจ้า สลักบนทับหลังจากปราสาทตาพรหม โตนเลบาตี กัมพูชา (ขวาบน) บุคคลถือพัด หรือตาลปัตร ภาพสลักจากปราสาทป่าเลไลยก์ เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา (ขวาล่าง) พุทธประวัติตอนประสูติ แสดงภาพพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา ประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ ให้กำ� เนิดสิทธัตถะกุมาร มีพระพรหมน�ำพานทองมารองรับพระกุมาร สลักบนแท่งหิน ปัจจุบันอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

204

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

205


รู้จักพุทธมหายาน

218

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


หลักธรรมส�ำคัญของพุทธศาสนาระยะเริ่มแรกเน้นเรื่องกฎแห่ง  กรรม ถือว่าการหลุดพ้นอย่างแท้จริง หรือนิพพานนั้นเกิดจากความเพียร  ของแต่ละบุคคล โดยพระพุทธเจ้าทรงวางแนวทางไว้ให้แล้ว เป็นหน้าที่ของ  แต่ละบุคคลที่จะต้องสร้างความเพียรเพื่อบรรลุด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อหลักธรรมผ่านการตีความของอาจารย์แต่ละ  ส�ำนักตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ก็ย่อมผันแปรจากหลักการดั้งเดิมไปบ้าง  แม้ขณะพระพุทธเจ้ายังด�ำรงพระชนม์ชีพ ก็ยังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน  ดังเช่นที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก แต่ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลักก�ำจัด  มิจฉาทิฐิ ตลอดจนถึงความฟั่นเฟือนในการปฏิบัติได้ จึงยังไม่มีปัญหานัก ครั้นเมื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ความแตกแยกก็เริ่มบังเกิด  ขึ้น เนื่องจากแต่ละส�ำนักตีความหมายหลักธรรมแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้  พระมหากัสสปและพระเถระชั้นผู้ใหญ่จึงต้องจัดการปฐมสังคายนาครั้งแรก  ขึ้น เพื่อป้องกันมิให้หลักธรรมฟั่นเฟือนเปลี่ยนแปลงไป   อย่างไรก็ตาม การสังคายนามิได้มีเพียงครั้งเดียว แต่จัดขึ้นหลาย  ครั้งในต่างกรรมต่างวาระ ทั้งนี้ก็เพื่อช�ำระพระธรรมค�ำสอนให้ถูกต้องตาม  พระวินัยบัญญัตินั่นเอง พุทธศาสนาแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายใหญ่ ๆ ตัง้ แต่มหาสังคายนา  ครั้งที่ ๒ ที่เมืองเวสาลีแล้ว และยิ่งปรากฏชัดเจนหลังมหาสังคายนาครั้ง  ที่ ๔ ที่เมืองปุรุษปุระหรือเมืองเปชาวาร์ ซึ่งมีพระเจ้ากนิษกะเป็นประธาน  เมือ่ ราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยพุทธศาสนิกชนฝ่ายใต้ไม่ยอมรับการสังคายนาครัง้ นี้  เนื่องจากที่ประชุมได้ยอมรับนิกายต่าง ๆ ๑๘ นิกายของพุทธศาสนิกชน  ฝ่ายเหนือว่าถูกต้อง ทางนิกายฝ่ายใต้จึงแยกตัวออกจากการสังคายนา  โดยมีฝ่ายเถรวาท หรือสถวีระวาท ซึ่งก�ำหนดไว้โดยพระเถระหรือสถวีระ  เป็นแกนน�ำ ทั้งนี้ เนื่องจากฝ่ายเถรวาทถือว่าตนปฏิบัติและรักษากฎเกณฑ์  ของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด จึงไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงวินัยบัญญัติ  ตามที่นิกายฝ่ายเหนือตีความใหม่ การแตกแยกครั้งนี้มีผลมาก โดยนิกายฝ่ายเหนือจะเริ่มวิวัฒน์  อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

219


ไปเป็นลัทธิที่เรียกตนเองว่า มหายาน แปลว่ายานพาหนะอันกว้างใหญ่  ที่สามารถน�ำสัตว์โลกทั้งจักรวาลข้ามสังสารวัฏได้ และเรียกนิกายฝ่ายใต้  ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงว่าหินยาน หมายถึงยานอันคับแคบ ทั้งนี้เนื่องจาก  ฝ่ายใต้ถือหลักเดิมว่า การข้ามสังสารวัฏเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ต้องบ�ำเพ็ญ  เพียรด้วยตนเอง ไม่สามารถน�ำผู้ใดไปด้วยได้ ซึ่งนิกายฝ่ายเหนือเห็นว่า  เป็นการเห็นแก่ตัว เนื่องจากผู้มีปัญญาเหนือผู้อื่นควรช่วยเหลือสัตว์โลก  เข้าสู่ภพที่ประเสริฐกว่า อันได้แก่พระโพธิญาณที่มิใช่เพียงการหลุดพ้น  ของตนเองเท่านั้น พั ฒ นาการล� ำ ดั บ ต่ อ มาของลั ท ธิ ม หายานสื บ เนื่ อ งมาจากแนว  ความคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ว่าคือผู้มีพระโพธิญาณเป็นแก่นของชีวิต มี  อุดมคติมุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ผู้ร่วมทุกข์ทั้งหลายให้หลุดพ้นสังสารวัฏ  โดยพระโพธิสัตว์จงใจเลือกอยู่ในโลกนี้เพื่อช่วยเหลือสัตว์โลกอื่น  ๆ ก่อน  แล้วตนเองจึงจะเข้านิพพานในภายหลัง แนวความคิ ด นี้ ท�ำ ให้ เ กิ ด ความเชื่ อ ที่ ว ่ า  พระพุ ท ธเจ้ า ศากยมุ นี  น่าจะมีอุดมคติในความเป็นโพธิสัตว์เช่นเดียวกัน ดังนั้น การนิพพานของ  พระองค์คงเป็นการช่วยเหลือสรรพสัตว์ในสภาวะอื่นด้วย ความคิดดังกล่าว  ก่อให้เกิดทฤษฎีตรีกายขึ้นในเวลาต่อมา หลักทฤษฎีตรีกายเชื่อว่า อ�ำนาจสูงสุด หรือธรรมธาตุ (ธาตุแห่ง  สัจธรรม) ซึ่งถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ได้แก่ พระอาทิพุทธ คือพระ  พุทธเจ้าองค์แรกอันเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงมีภาวะเป็นกายสาม  ดังนี้ ธรรมกาย อาจแปลว่ากายอันเป็นแก่นสาร หรือธรรมชาติอัน  เป็นพุทธะ หมายถึงธาตุที่แท้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่บริสุทธิ์ ตัดขาด  จากโลกแล้ว รูปธรรมทีถ่ า่ ยทอดจากธรรมกายอยูใ่ นรูปของพระธยานิพทุ ธ หรือ  ชินะ (ผู้ชนะแล้ว) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโลก แต่เป็นผู้ให้กำ� เนิดกายอีกสองกาย  คือสัมโภคกายและนิรมาณกาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อสรรพสัตว์ 220

ทิพยนิยายจากปราสาทหิน


ปราสาทนาคพัน กัมพูชา เป็นเทวาลัย ตั้งบนฐานกลมอันเป็นขนดพญานาค ด้านข้างมีสระสี่เหลี่ยมระบายนํ้าออกทั้งสี่ทิศ ศาสนสถานนี้หมายแทนถึงสระอโนดาต สระนํ้าศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถรักษาอาการเจ็บป่วย ทั้งทางกายและทางจิต นอกจากนี้ ในบางกรณี ยังถือเป็นศูนย์กลางจักรวาล อันเป็นสถานที่อยู่ ของเหล่าเทพและปัจเจกพุทธด้วย

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

221


= /3>1-A#=è ļ>%-C J1<63Ä»> #=è 3>- ĚĮ3#AQI @ ->*/ļ9- 3>- A J!Ä»L%#AQ6D 3>- A!ļ9 %< 3>- ĚĮ3 K1 J1< = /3>1 B <6>->/" V>/ 9.EÄ»M ļ

3)/ 0<-#8

ISBN 978-616-465-019-0

+: : WYY ":


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.