วิชาสารคดี

Page 1

m ´ t û ÷s© s

v p


หนังสือ วิชาสารคดี ผู้เขียน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต ข้อมูลบรรณานุกรม วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. วิชาสารคดี.--นนทบุรี : สารคดี, 256๒.  304 หน้า. ๑. การเขียนสารคดี.  I. วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. ๘๐๘.๐๖๖ ISBN 978-616-465-024-4

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม 2562  จ�ำนวนพิมพ์ ๒,000 เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ  ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : เกษณี วิลาวัลย์เดช  ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 3 ซอยนนทบุรี 22 ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี  11000 โทร. 0-2547-2700 โทรสาร 0-2547-2721 แยกสี/เพลต  เอ็น.อาร์.ฟิล์ม  โทร. 0-2215-7559 พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด  โทร. 0-2๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

Aw101-thai5.indd 2

20/09/2019 20:58


จากส�ำนักพิมพ์ วิชาสารคดี  เป็นหนังสือว่าด้วยหลักการและวิธีเขียนวรรณกรรมแนว  สารคดี  รวบรวมจากประสบการณ์ของ วีระศักดิ์  จันทร์ส่งแสง นักเขียน  สารคดีที่ฝึกฝนพัฒนาตัวเองมายาวนาน  มีผลงานมากมายในรูปเล่ม  พ็อกเกตบุ๊ก และโดยเฉพาะในนิตยสารสารคดี ที่เขาสังกัดอยู   ่ ผลงานของวีระศักดิ์ได้รับรางวัลจากหลายเวที  และยังได้รับ  รางวัล “วรรณกรรมแม่น�้ำโขง” ปี ๒๕๖๐ เฉพาะช่วงหลายปีหลัง  ชื่อของเขาปรากฏเป็นวิทยากรอบรม  การเขียนงานสารคดีในแทบทุกค่ายการเขียนที่จัดโดยองค์กรต่าง ๆ   หนังสือเล่มนี้เหมาะแก่ใคร นักอยากเขียน ไม่ว่าอยากเขียนเรื่องประเภทไหน จะเผยแพร่  ออกสื่อใด ทั้งออฟไลน์  ออนไลน์   หลักการและเคล็ดลับของงานสารคดี  จะช่วยวางพื้นฐานให้อย่างแน่นหนา รอบด้าน ที่นักอยากเขียนสามารถ  หยิบฉวยไปใช้ได้ทันที  หรือน�ำไปต่อยอดได้อย่างมั่นใจ นักอ่าน  การถอดรื้อองค์ประกอบงานสารคดีและตัวอย่างงาน  จ�ำนวนมากทีผ่ ู้เขียนคัดมาไว้ในแต่ละบท จะมอบความเพลิดเพลินราวกับ  อ่านบทความหรือเรื่องสั้นสนุก ๆ จนผู้อ่านอาจอยากลุกขึ้นมาเขียนงาน  เองบ้างก็เป็นได้ บรรณาธิการ ทัง้ ในโลกออฟไลน์  ออนไลน์  สามารถเก็บประเด็น  ไปวิจารณ์หรือแนะน�ำแก่นักเขียน เพื่อพัฒนางานเขียนให้ดียิ่งขึ้น  นาทีนี้  “คอนเทนต์” กลายเป็นค�ำยอดนิยมแทน “เรื่อง” หรือ  “งานเขียน” ส�ำนักพิมพ์เชื่อมั่นว่า  วิชาสารคดี เป็นหนึ่งในประตูสู่ฝันส�ำหรับ  ทุกคนที่เชื่อว่า  “คอนเทนต์ดี ๆ ไม่มีวันตาย” ส�ำนักพิมพ์สารคดี

Aw101-thai5.indd 3

20/09/2019 20:58


สู่เส้นทาง... อาจฟังดูย้อนแย้งหากจะบอกว่าผมเขียนหนังสือเล่มนี้โดย  ไม่อ้างอิงต�ำราเล่มใดเลย เพราะนี่ไม่ใช่ต�ำราตามหลักวิชาการ หาก  เป็นเพียงบันทึกจากการสรุปประสบการณ์ท�ำงานสารคดีมา ๒๐ กว่าปี  ของนักเขียนบ้านนอกคนหนึง่  ซึง่ วิถเี รียนรูข้ องเขาก็ผา่ นทางมาอย่างนี... ้   ไม่เคยมีโอกาสได้ผ่านห้องเรียนการเขียน ไม่มีคัมภีร์น�ำทาง  หนทางการเรียนรู้ของผมมาจากการได้ร่วมเดินทาง พูดคุย ไต่ถาม  ตามอ่านงาน กับนักเขียนชัน้ ครูผเู้ ดินมาก่อน  ได้คลุกคลีทำ� งานร่วมกับ  พี่ ๆ และมิ่งมิตรที่สารคดี   เรียนรู้ดูแบบแอบจ�ำจากการได้ใช้ชีวิตด้วย  กัน ผ่านการงานภาคปฏิบัติการจริง โดยไม่ได้อิงต�ำราเล่มใดกันมาเลย และโดยวิธีการเรียนรู้ดังที่ว่ามานี้ที่บันดาลใจให้อยากบันทึก  บทสรุปส่วนตน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ประมวลมาจากหลักการและองค์ความรู้  ของนักสารคดีชั้นครูผู้เดินมาก่อนบนเส้นทางสายสารคดี  จากการ  เรียนรู้ผ่านวิธีการดังที่เล่าข้างต้น ด้ ว ยความตระหนั ก ชั ด ด้ ว ยตั ว เองเช่ น กั น ว่ า  ในภาคของ  หลักการพื้นฐานเบื้องต้น หากได้ท�ำความเข้าใจ ได้รับการชี้แนะ จะมี  ส่วนช่วยให้นักเขียนใหม่ก้าวขึ้นบันไดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้อง  เสียเวลาคล�ำทางลองผิดลองถูกกับสิ่งที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว เปรียบ  ว่าหากบันไดที่ทอดไปสู่การเป็นนักเขียนสารคดีมีอยู่  ๑๐  ขั้น  ราว  ครึง่ แรกของเส้นทางเป็นส่วนทีย่ งั พอบอกสอนกันได้  ส่วนในขัน้ ปลาย ๆ  ขึ้นไปเป็นช่วงชั้นที่นักเขียนแต่ละคนต้องบุกเบิกปีนป่ายกันไปเอง ซึ่ง  เมื่อถึงตรงนั้นต�ำราก็ละทิ้งได้ อาจเปรียบคล้ายวาทะทางธรรมที่ว่า  แพมีไว้ข้ามล�ำน�้ำ เมื่อถึงฝั่งก็ไม่จ�ำเป็นต้องแบกแพไปด้วย

Aw101-thai5.indd 4

20/09/2019 20:58


ผมประทับใจค�ำกล่าวที่ว่า  เวลาดูหนัง ๒ ชั่วโมงเราไม่ได้จด  อะไร แต่จ�ำเรื่องราวและเล่าถึงสิ่งที่เราประทับใจได้   การเรียนรู้เรื่อง  การเขียนก็ควรเป็นเช่นนัน้   จดจ�ำวิธกี ารต่าง ๆ ไว้ในใจ และน�ำออกมา  ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่าได้ในทุกเรื่องเมื่อถึงเวลา อย่างไรก็ตามหนังสือแนะน�ำหลักวิธกี ารเขียนสารคดี  (feature)  เบื้องต้นเล่มนี้  คงไม่อาจเอื้อมนิยามว่าเป็นต�ำรา  หลักทฤษฎี  หรือ  อื่นใดในท�ำนองนั้น นอกจากเพียงลายแทงบอกทางเบื้องต้นแก่คนหัด  เขียนสารคดีมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ต่อเมื่อเข้าลู่สู่เส้นทางได้อย่าง “รู้ทัน” หลักพื้นฐานของงาน  เขียนสารคดีแล้ว ก็จะก้าวต่อได้อย่างมั่นคง ถางทางสร้างสรรค์งาน  ของตนจนได้ชื่อว่า  “มีลายมือของตัวเอง” ขอให้โชคดีในการเดินทาง แล้วพบกันใหม่  - บนเส้นทางสายนี้ วีระศักดิ์  จันทร์ส่งแสง ๑๔ กันยายน ๒๕๖๒

Aw101-thai5.indd 5

20/09/2019 20:58


สารบัญ ๙ ขั้นบันได สู่หัวใจงานสารคดี

9

ในโลกการอ่าน-การเขียน 16

สองสายธารใหญ่ในบรรณพิภพ 19 แต่ง / ไม่แต่ง : เส้นแบ่ง fiction / non-fiction  22 สารคดี  คือ... 25 เรียงความ - ความเรียง - เรื่องเล่า 2๘

องค์ประกอบของสารคดี

36

ข้อมูล

44

วิธีการน�ำเสนอ

60

แขนทั้งสองของงานสารคดี

เตรียมการ “สัมผัส” หลักการ “สัมภาษณ์” “ค้นคว้า” เป็นที่พึ่ง : หากต้องเขียนโดยไม่มีโอกาสลงพื้นที่ “รู้ทัน” (แหล่ง) ข้อมูล

39

4๘ 51 53 57

เรื่องธรรมดาน่าสนใจขึ้นได้ด้วยกลวิธีการเล่า 63 อ่านแบบเลาะตะเข็บเสื้อผ้า  เขียนอย่างช่างเย็บผ้าบนหน้ากระดาษ 75 เขียนสารคดีอย่างเรื่องแต่ง : อีกหนึ่งกลวิธีการน�ำเสนอ 77 ศิลป์ส่องทางกัน 81

Aw101-thai5.indd 6

20/09/2019 20:58


ล�ำดับขั้นการท�ำงาน : ขั้นบันไดวิชาสารคดี

88

การเลือกประเด็น และวางโครงเรื่อง 93 ประเด็นดี  มีชัยไปครึ่ง 93 โครงเรื่อง เหมือนสร้างบ้านอย่างมีแปลน 95 เลาะตะเข็บการคิดโครงเรื่อง : กอด ก็เป็นประเด็น (ได้) 100 หากต้องท�ำซ�้ำ 104 ลงพื้นที่ 108 สีสันและความสดใหม่ในงานสารคดี (๑) 108 สีสันและความสดใหม่ในงานสารคดี (๒) 111 แตกต่างด้วยการสังเกตการณ์ ๑๑๔ แปรข้อมูลให้เป็นเรื่องเล่า 117 การเขียนข้อมูลค้นคว้า 118 การเขียนข้อมูลสัมภาษณ์ / อ้างตรง - อ้างอ้อม 122 127 การเขียนข้อมูลสัมผัส / ความเห็น ความรู้สึกของผู้เขียน การบรรณาธิกรต้นฉบับ 1๓5

โครงสร้างสารคดี

138

ประเภทของงานสารคดี

158

Aw101-thai5.indd 7

โครงสร้าง ๔ ของสารคดีวรรณศิลป์ ชื่อ (เรื่อง) นั้นส�ำคัญไฉน เคาะประตูบ้านผู้อ่านด้วยการ-เปิดเรื่อง จบให้ดี  หาที่ลงให้ได้

141 143 146 150

รู้จักประเภทเพื่อชัดประเด็น ๑๖๑

23/09/2019 18:07


วิธีสร้างเสน่ห์ในงานสารคดี 168

ผู้เล่าเรื่อง ๑๗๑ เล่าโดยผู้เขียนไม่อยู่ในเรื่อง ๑๗๑ เล่าเรื่องผ่านสรรพนามบุรุษที่ ๒  ๑๘๑ พหุผู้เล่าเรื่อง ๑๘๗ เล่าผ่านจดหมาย (ถึงใครสักคน) ๑๙๓ มุมมองแบบบุคลาธิษฐานก็ใช้ได้ ๒๐๖ ซ้อนชั้นผู้เล่าเรื่อง ๒๐๘ ฉาก และการบรรยาย ๒๑๑ ตัวละคร ๒๑๙ บทสนทนา ๒๒๓ สรรพนาม แทนซ�้ำชื่อ ๒๒๙ วรรคเล็ก-ใหญ่  และย่อหน้า ๒๓๑ เคาะกะโหลกผู้อ่านด้วย “วรรคทอง” ๒๓๖ ส�ำนวนภาษา เปรียบเป็นเน้นความ ๒๔๒ ความสมจริง ๒๔๕ ปัจจัยของความสมจริง ๒๔๕ เรื่องแต่ง เรื่องจริง และความสมจริง ๒๔๙

การประเมินค่างานสารคดี ๒๕๖ ของฝากจากผู้ผ่านทางมาก่อน ๒๖๕

ธีรภาพ โลหิตกุล ๒๖๖ วันชัย ตัน ๒๗๕ อรสม สุทธิสาคร ๒๗๙ ประมวล เพ็งจันทร์ ๒๘๓ วิวัฒน์  พันธวุฒิยานนท์ ๒๘๖ สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ๒๙๓

Aw101-thai5.indd 8

20/09/2019 20:59


ขั้นบันได สู่หัวใจงานสารคดี

วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 9

9

20/09/2019 20:59


ในโลกการอ่าน-การเขียน เรื่องจริง (non-fiction)

เรื่องแต่ง (fiction)

ข่าว เรียงความ ความเรียง บทความ ต�ำรา งานวิจัย สารคดี (feature) ฯลฯ

เรื่องสั้น นิยาย บทกวี บทละคร, บทภาพยนตร์ ต�ำนาน นิทาน วรรณคดี ฯลฯ

๒ องค์ประกอบของสารคดี ข้อมูล

ค้นคว้า สัมผัส สัมภาษณ์

วิธีการน�ำเสนอ

เขียนแบบบันทึก ลงลึกในประเด็น เลือกเฟ้นวิธีการน�ำเสนอ เจอเส้นทางของตัวเอง

10 Aw101-thai5.indd 10

20/09/2019 20:59


ข้อมูล ข้อมูลค้นคว้า หรือข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลสัมผัส หรือสังเกตการณ์

ข้อมูลสัมภาษณ์

ข้อมูลที่มีการจัดท�ำ รวบรวมไว้แล้ว ทั้งในรูปของเอกสาร หนังสือ สื่อออนไลน์ เทป วีดิทัศน์ บทเพลง ภาพยนตร์ ฯลฯ ได้จากการเข้าไปมีส่วนร่วม รู้เห็น ในการงาน กิจกรรม โดยการสัมผัสจริง ทั้งด้วยตา ใจ ความรู้สึก รวมทั้งการพา ตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการงาน หรือกิจกรรมนั้นด้วย

ได้จากการสอบถาม พูดคุยแบบเจาะลึก จากผู้รู้ แหล่งข้อมูล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับเรื่องนั้น ๆ

วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 11

11

20/09/2019 20:59


๑ Aw101-thai5.indd 16

20/09/2019 20:59


ในโลกการอ่านการเขียน

Aw101-thai5.indd 17

20/09/2019 20:59


ความเข้าใจ ต่อบรรณพิภพในภาพกว้าง จะเป็นดั่งฐานราก ให้นักเขียนใหม่ก้าวขึ้นบันได งานเขียนแต่ละสาย ได้อย่างมั่นคงต่อไป

Aw101-thai5.indd 18

20/09/2019 20:59


๑.๑ สองสายธารใหญ่ในบรรณพิภพ ยามที่หยิบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมา ผู้อ่านทั่วไปอาจไม่ได้สนใจ  ว่ามันจะอยู่ในหมวดหมู่ใด เป้าหมายหลักมักอยู่ที่เนื้อหามากกว่าการ  จ�ำแนกแยกแยะประเภทที่สังกัด แต่นักเขียนฝึกหัดควรรู้  เพราะการรู้จักหมวดหมู่จะท�ำให้  เขียนงานได้อย่างตรงเป้าหมายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเข้าสู่โลกของงานวรรณกรรม หยิบหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง  ไม่ ว ่ า จากร้ า นหนั ง สื อ   บนชั้ น ในห้ อ งสมุ ด   สลาก-ต� ำ รายา  หรื อ  แม้กระทั่งหน้าหนังสือที่ถูกพับแปลงเป็นถุงกระดาษไปแล้ว เรื่องราว  ในหน้าหนังสือเหล่านั้นสามารถแยกได้เป็นสองหมวดหมู่  คือ  เรื่อง  จริง กับเรื่องแต่ง ไม่พ้นไปจากปริมณฑลนี้ อาจตรงตามความจริงมากกว่าถ้าอิงตามศัพท์ภาษาอังกฤษ  ที่ ใ ช้ ค� ำ ว่ า  fiction  ส� ำ หรั บ งานเขี ย นเรื่ อ งแต่ ง  กั บ อี ก กลุ ่ ม ตรงกั น  ข้ามเรียกว่า  non-fiction แปลตามตัวคือเรื่องไม่แต่ง ซึ่งบอกความ  หมายได้ ต รงกว่ า ค� ำ ว่ า เรื่ อ งจริ ง  เพราะถึ ง ที่ สุ ด แล้ ว   non-fiction  ที่เรามักแปลกันอย่างคล่องปากว่าเรื่องจริงนั้น อาจไม่ใช่ความจริงแท้  ก็ได้ เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนรับรู้มา และเขียนเล่าตามที่รู้และ  เป็นอยู่จริง โดยไม่แต่งเติมบิดเบือนไปตามใจ งานเขียนเรื่องหนึ่งแม้ต้นเค้าเป็นเรื่องจริง  แต่หากมีส่วนที่  ผู้เขียนแต่งเติมเพิ่มต่อเรื่องราวเข้าไป งานเขียนชิ้นนั้นก็จะข้ามเส้นคั่น  จาก non-fiction เข้าสู่พรมแดนเรื่องแต่งไปแล้ว วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 19

19

20/09/2019 20:59


เส้นแบ่งนี้ช่วยให้ง่ายต่อการจัดกลุ่มของงานเขียนตามเนื้อหา ย�้ำว่าหลักนี้ใช้กับด้าน “เนื้อหา” เท่านั้น  ส่วนด้าน “รูปแบบ  การน�ำเสนอ”  ไม่ว่าลีลาภาษา  กลวิธีการเล่าเรื่อง งานเขียนทั้งสอง  กลุม่ สามารถสร้างสรรค์วธิ กี ารสือ่ เรือ่ งราวได้อย่างอิสระเหมือน ๆ กัน   จนท�ำให้บางทีก็กล่าวกันว่า  เส้นแบ่งระหว่างเรื่องแต่งกับเรื่อง  ไม่แต่งดูจะพร่าเลือนจนแทบแยกกันไม่ได้อีกแล้ว  นี้ก็คงหมายความ  ในแง่วธิ กี ารเล่าเรือ่ ง  ส่วนในแง่เนือ้ หานัน้ ยังแยกได้อย่างแจ่มชัดเสมอ  ด้วยเส้นคั่นการแต่งเติมและไม่แต่งเติมของผู้เขียน   หากมีส่วนที่  ผูเ้ ขียนแต่งเติมเข้าไปจะมากจะน้อย หากมีการ “แต่ง” เติมต่อก็ชดั เจน  ว่าเป็น fiction ทันที   ในซีกของ fiction อาจมีหมวดหมู่ย่อยน้อยกว่า  แต่ชัดเจน  และกินคลุมกว้างไกล  ที่คนอ่านรู้จักกันดีโดยทั่วไปก็ได้แก่  เรื่องสั้น  นิยาย บทกวี ซึ่งประเภทหลังสุดนั้นมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เรื่องแต่งกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในวิถีชีวิตคนไทยยังได้แก่  นิทาน  วรรณคดี  ต�ำนาน รวมทั้งบทละคร บทภาพยนตร์  และอื่น ๆ ส่วนหมวดหมู่ย่อยของงานเขียนในกลุ่ม non-fiction ก็ไล่มา  ตั้งแต่ข่าว เรียงความ ความเรียง บทความ ต�ำรา งานวิจัย สารคดี  ฯลฯ ------

20 Aw101-thai5.indd 20

20/09/2019 20:59


แม่นำ�้ ใหญ่ทงั้ สองสายหรือสองหมวดหมูห่ ลักของโลกวรรณกรรม  เป็นเรื่องส�ำคัญที่นักเขียนใหม่ควรได้ท�ำความเข้าใจ เพราะเมื่อจะ  ลงมือเล่าเรื่องหนึ่งด้วยภาษาเขียนจะได้มีเป้าชัดเจนว่าจะเล่าเรื่อง  นั้นในรูปแบบใด  และผู้อ่านก็จะอ่าน-ตีความ-ประเมินค่าตามกรอบ  เกณฑ์ของงานกลุ่มนั้น ต่อเรือ่ งหนึง่ เรือ่ งใดก็ตาม ผูเ้ ขียนสามารถเลือกทีจ่ ะเขียนเล่าได้  ทั้งในแบบเรื่องแต่งหรือเรื่องไม่แต่งก็ได้ อาจใช้รูปแบบร้อยแก้วหรือ  ร้อยกรอง จะเล่าแบบอ้างอิงจริงจังหรือแบบเล่าสู่กันฟังอย่างสบาย ๆ  ก็ได้ทั้งสิ้น   แต่ต ้อ งให้ ผู ้อ่า นรู ้ ว่า งานเขี ยนชิ้ น นั้น อยู่ ใ นกลุ ่ มใด  เพราะ  งานเขียนแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตน  มีที่มา  เป้าหมาย  และ  ตอบโจทย์การสื่อสารต่างกันไป เอาเรื่องจริงมาเขียนเป็นเรื่องสั้น  หรือแม้กระทั่งเขียนเป็น  บทกวี  ไม่มีใครมาตามตรวจสอบความถูกผิดของข้อมูล เพราะอ่าน  มุง่ หมายเอารสอย่างอืน่  ต่างจากเรือ่ งไม่แต่ง (non-fiction) ทีถ่ อื ความ  ถูกตรงของข้อมูลข้อเท็จจริงเป็นหลักใหญ่ อย่างงานเขียนชิ้นหนึ่ง ผู้เขียนใช้รูปแบบบทกวีเขียนเล่าเรื่อง  จริง พรรณนาการเป็นอยู ่ ความเป็นไป สรรเสริญเกียรติ  สดุดกี ารต่อสู้  หรือแม้กระทั่งเล่ าการสัญจรรอนแรมอย่ างนิราศในสมัยก่อน แล้ว  เขียนบรรยายความบรรยายภาพเกินจริงไปบ้าง คนอ่านก็ยัง “รับได้”  เพราะรู้และเข้าใจร่วมกันดีวา่ ด้านหนึ่งของงานบทกวีเป็นอารมณ์ความ  รู้สึกของผู้เขียน คนอ่านบทกวีจึงอ่านเพื่อรับอารมณ์และความรู้สึก  นั้น มากกว่าการตามตรวจสอบข้อมูลความจริงแบบคร�่ำเคร่งจริงจัง

วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 21

21

20/09/2019 20:59


๒ Aw101-thai5.indd 36

20/09/2019 20:59


องค์ประกอบ ของสารคดี

Aw101-thai5.indd 37

20/09/2019 20:59


ถ้าจะให้เป็นสารคดี ที่ครบเครื่อง ก็จ�ำต้องท�ำให้ สมบูรณ์ทั้ง “ข้อมูล” และ “กลวิธีการน�ำเสนอ” ซึ่งเปรียบเสมือนแขนสองข้าง ของงานเขียน

Aw101-thai5.indd 38

20/09/2019 20:59


แขนทั้งสองของงานสารคดี งานสารคดีเป็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับวิธีการน�ำเสนอ สารคดีเป็นการเล่าเรือ่ งจริง ถ้าเพียงแต่เราเขียนเล่าข้อมูลออก  ไป ก็นับเป็นสารคดีขั้นพื้นฐานได้แบบสบาย ๆ แต่หากเราได้สร้างสรรค์กลวิธีในการ “เล่า” และให้ความใส่ใจ  ในส�ำนวนภาษาด้วย ก็จะเป็นเรื่องเล่าที่เร้าใจ ให้ความรื่นรมย์  เป็น  สารคดี  (feature) ที่ให้รสทางวรรณศิลป์ด้วย ถ้าจะให้งานเขียนของเราเป็นสารคดีที่ครบเครื่อง  ก็จ�ำต้อง  ท�ำให้สมบูรณ์ทั้ง “ข้อมูล” และ “กลวิธีการน�ำเสนอ” ซึ่งเปรียบเสมือน  แขนสองข้างของงานเขียน ท�ำให้สารคดีเรือ่ งนัน้ สมบูรณ์  สมดุล สมาร์ต  ----- งานเขียนเรื่องเล่า  (narrative) ในกลุ่มเรื่องจริง (non-fiction)  “ข้อมูล” เป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ ข้อมูลเป็นครึ่งหนึ่งของงานสารคดี   ข้อมูลดีก็อาจนับได้ว่า  ส�ำเร็จไปครึ่ง   อีกครึ่งที่เหลือคือกลวิธีการน�ำเสนอ  หรือเทคนิควิธี  ในการเล่าเรื่องให้ได้รสรื่นรมย์  ชวนติดตาม เพื่อให้ได้ชิ้นงานสารคดีที่กลมกล่อม ง่ายต่อการเข้าใจและน�ำ  ไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายส�ำหรับมือใหม่ สูตรหรือทฤษฎีต้องระบุให้ชัดเจน  ว่า  ข้อมูลในงานสารคดีมีสามกลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลค้นคว้า เป็นการศึกษารวบรวมจากแหล่งที่มีผู้ท�ำไว้แล้ว  ในหลากหลายแหล่ง หนังสือ สิ่งพิมพ์  จารึก ใบลาน บอร์ด แผ่นพับ  วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 39

39

20/09/2019 20:59


๓ Aw101-thai5.indd 44

20/09/2019 20:59


ข้อมูล

Aw101-thai5.indd 45

20/09/2019 20:59


การเติบโตบนเส้นทาง อยู่ที่การได้ฝึกฝนซ�ำ  ้ ๆ แล้วจะมองเห็นพัฒนาการ ของตนเอง หัวใจส�ำคัญ ส�ำหรับคนที่มุ่งมั่นตั้งใจ จะเอาดีทางนี้ คือการฝึกฝน พัฒนาต่อให้ถึงขนาดที่ว่า “หายใจเข้าออกอยู่กับมัน” จนกระทั่ง “มีลายมือ ของตัวเอง”

Aw101-thai5.indd 46

20/09/2019 20:59


ดังทีก่ ล่าวแล้วว่า  สารคดีจะมีนำ�้ หนักน่าเชือ่ ถือและผูอ้ า่ นได้รบั   สาระความรู้คุ้มค่าการอ่าน  ต้องมาจากความครบถ้วนสมบูรณ์ของ  ข้อมูลสามส่วน • ข้อมูลค้นคว้า • ข้อมูลสัมผัส • ข้อมูลสัมภาษณ์ ข้อมูลค้นคว้า  บางทีเรียกข้อมูลแห้งหรือข้อมูลทุติยภูมิ  ไม่  ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด กล่าวง่าย ๆ ว่าเป็นข้อมูล “มือสอง” ที่ผู้อื่นท�ำ  ไว้  อาจผิด-ถูก จริง-ไม่จริง ก็เป็นที่ตายตัวแล้วส�ำหรับข้อมูลชิ้นนั้น  ใครกี่คนมาหยิบใช้ก็ได้ข้อมูลชุดเดิมที่นิ่งแล้วเหมือนกัน  หากน�ำมา  เขียนซ�้ำโดยไม่ปรับส�ำนวน น�้ำเสียง วิธีการเล่า  ก็ง่ายที่จะท�ำให้งาน  สารคดีที่เขียนขึ้นใหม่กลายเป็นเรื่องเล่า  “แห้ง ๆ” และซ�้ำกับงานเขียน  ที่มีผู้เขียนไว้แล้ว ประโยชน์ด้านหลักของข้อมูลค้นคว้า  คือเป็นข้อมูลเบื้องต้น  ให้ผู้เขียนแตกหน่อต่อยอดไปได้กว้างไกลขึ้นกว่าการไม่มีพื้นฐานอะไร  ในเรื่องนั้น ๆ  กับสารคดีแนวประวัติศาสตร์  การต้องย้อนอดีตในเรื่อง  ที่ผ่านไปแล้ว ข้อมูลค้นคว้าจะเป็นฐานหลักของสารคดีกลุ่มนี้ สองส่วนหลังนั้นบางทีเรียกว่าข้อมูลสด  เป็นความสดใหม่  เฉพาะหน้าที่ผู้เขียนต้องลงไปประสบเอง เป็นประสบการณ์เฉพาะที่  ไม่ซ�้ำและไม่เหมือนกับใครคนอื่น  หากจะให้ได้งานเขียนสารคดีที่มี  ชีวิตชีวา อาจกล่าวได้ว่าการลงสัมผัสพื้นที่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ สัมผัส พบเห็น สังเกตการณ์  มีสว่ นร่วม ซึมซับ แล้วน�ำมาเล่า  เป็นตัวหนังสือ ผ่านภาพติดตรา ความทรงจ�ำ มุมมอง และความรู้สึก  ความเห็นของผู้เขียน  ดังนั้นที่นักเขียนใหม่มักมีค�ำถามว่างานสารคดี  ใส่ความเห็นความรู้สึกของผู้เขียนได้หรือไม่ ก็มีค�ำตอบอยู่ในตัวเอง  วิชาสารคดี 47 Aw101-thai5.indd 47

20/09/2019 20:59


๔ Aw101-thai5.indd 60

20/09/2019 20:59


วิธีการน�ำเสนอ

Aw101-thai5.indd 61

20/09/2019 20:59


นอกจากเนื้อผ้า และลวดลาย-ซึ่งเป็นวัตถุดิบ การตัดเย็บต้องลงตัวพอดี ไม่ขาดไม่เกิน  อย่างหลังนี้ ขึ้นอยู่ที่ฝีมือของช่างตัดเย็บ ที่นั่งอยู่หลังจักรเย็บผ้า นักเขียนที่นั่งอยู่หลังโต๊ะท�ำงาน กับหน้ากระดาษว่างเปล่า ก็เช่นกัน

Aw101-thai5.indd 62

20/09/2019 20:59


อย่าคาดหวังสีสันหรือจุดหักมุมจากงานสารคดีมากเกินไป  เพราะการสะท้อนเรื่องจริงนั้นแต่งไม่ได้   สารคดีบางเรื่องอาจจ�ำต้อง  เรียบ ถ้าตัวเรื่องมันเรียบ นี้เป็นคล้ายค�ำเตือนอย่างจริงใจ  เมื่อใครคิดจะหยิบสารคดี  สักเรื่องขึ้นมาอ่าน แต่จะอย่างไรในแง่ของคนเขียน  ความพยายามที่จะท�ำงาน  สารคดีให้มีวรรณศิลป์  ครบรสถ้อยอักษร  ได้ความรื่นรมย์ยามเมื่อ  อ่าน ก็ยังควรเป็นเป้าหมายในการท�ำงานแต่ละชิ้น วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือ กลวิธีในการเล่า เนื้อหาในงานสารคดีมีหัวใจหลักอยู่ที่การยึดกุมอยู่กับข้อเท็จ  จริงโดยไม่แต่งเติม แต่ไม่มีกฎข้อใดเลยที่ห้ามสรรค์สร้างวิธีการน�ำ  เสนอ ซึ่งหากได้ปรับปรุงกลวิธีการเล่าขึ้นมา-แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะ  ท�ำให้เรื่องธรรมดาน่าสนใจขึ้นได้

๔.๑ เรื่องธรรมดาน่าสนใจขึ้นได้ด้วยกลวิธีการเล่า มีงานสารคดีง่าย ๆ มาให้ลองอ่านสองเรื่อง เป็นงานหัดเขียน  ของนักเรียนชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านใหม่ทุ่งดินขอ จังหวัดสระบุรี เรื่อง “สุนัขตัวโปรด” โดย เด็กหญิงกมลพร มะโนน้อม เช้าวันนั้นฉันได้ยินเสียงที่น่าตกใจ เมื่อลุกมาดูก็ได้พบว่ามัน  คือสุนัขที่ฉันเลี้ยงไว้นั่นเอง สุนัขมันร้องเรียกฉัน “บ๊อก บ๊อก”  สุ นั ข พั น ธุ ์ บ างแก้ ว ชื่ อ ส� ำ ลี   ตั ว สี ข าวลายด� ำ  หู ตั้ ง   ตาแป๋ ว  วิชาสารคดี Aw101-thai5.indd 63

63

20/09/2019 20:59


๙ Aw101-thai5.indd 256

20/09/2019 20:59


การประเมินค่า งานสารคดี

Aw101-thai5.indd 257

20/09/2019 20:59


ในแง่รูปแบบการน�ำเสนอ กลวิธีการเล่าเรื่อง ขาดเสียไม่ได้เลยที่ผู้เขียนสารคดี ก็จะต้อง “สร้างสรรค์” กลวิธีการน�ำเสนอ ไม่เช่นนั้นสารคดีเรื่องนั้น ก็จะเป็นเพียงรายงานข้อมูล ไม่ใช่งานวรรณศิลป์

Aw101-thai5.indd 258

20/09/2019 20:59


การประเมินค่าไม่ใช่หน้าที่ของผู้เขียน นั่นเป็นบทบาทของนัก  วิจารณ์  นักวิชาการวรรณกรรมมากกว่า  แต่หากคนเขียนจะท�ำความ  เข้าใจไว้ด้วยก็คงไม่เสียหลาย ในแง่ของการ “รู้ทัน” สารคดี คือรู้วา่ สารคดีที่ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร เมื่อรู้ทันก็ย่อมมีความหวังว่าจะเขียนได้เข้าทาง ความชื่นชมประทับใจในงานเขียนสักชิ้นหนึ่ง  ในระดับพื้น  ฐานที่สุดย่อมไม่พ้นต้องมาจากรสนิยมส่วนตัว แต่หากถามถึงกรอบ  เกณฑ์ร่วมที่ทุกคนยอมรับได้-ให้ค่ าต่องานเขียนสารคดีที่ดีสัก ชิ้น  หนึ่งนั้น อาจสามารถประเมินได้จากคุณสมบัติเหล่านี้ ๑. ประเด็น เนื้อหา ตามความจริงที่ว่า  ประเด็นดีมีชัยไปครึ่ง   ประเด็นที่แรง  ลึกเร้น แปลกใหม่  ร่วมสมัย อยูใ่ นความสนใจของผูค้ น หัวเรือ่ งทีอ่ ยูใ่ น  ขอบข่ายเหล่านี้  ถึงอย่างไรก็ย่อมเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ ได้รับความสนใจ  จากคนอ่านอยู่แล้ว   ส่วนในแง่เนื้อหา หลักส�ำคัญข้อหนึ่งของงานเขียนสารคดีคือ  ต้องให้ความรู้แก่ผู้อา่ น คุณค่าด้านหนึ่งจึงประเมินได้จากสารประโยชน์  ที่ผู้อ่านได้รับเมื่ออ่านเรื่องนั้นจบ “วันชัย ตัน” ผูร้ ว่ มก่อตัง้ และอดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี  พูดถึงการประเมินค่าในงานเขียนของเขาว่าต้อง “สะกิดใจคนให้ฉุกคิด  ไม่เคยคิดว่าจะต้องเป็นมาสเตอร์พีซอะไรอย่างนั้น แค่ว่าเมื่อเขามา  เสียเวลาอ่านงานเขียนของเรา ก็น่าจะได้อะไรไปบ้าง  มีหลักว่าต้อง  ครอบคลุม ใช้อ้างอิงได้ตลอดเวลา มีข้อมูลน่าเชื่อถือ”

วิชาสารคดี 259 Aw101-thai5.indd 259

20/09/2019 20:59


¨p ¯ m¨n ø ss p ÷ s ø s pû ª m¨n p ¢ s

p ¤ø ê ¬ p

p º½¸

,6%1 9

786164

650244


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.