ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู

Page 1

!/ø-E/!@

9,@-7>I#* 9 :@% E

9/D 4= @U @ç - ă


ประติมากรรมสลักภาพพระวิษณุประทับนอน (โยคะนิทรา) บนหลังพญาอนันตนาคราช (วิษณุอนันตศายินปัทมนาภิณ) เทวสถานเทวคฤหะ อินเดีย ทางด้านขวาล่าง (ปลายเท้าของพระวิษณุ) มีรูปอสูรสองตน ได้แก่ มธุและไกฏภะ ซึ่งเกิดออกมาจากพระกรรณของพระวิษณุ ก�ำลังท�ำท่าคุกคามองค์เทพ ส่วนบุคคลอีกสี่คน ที่เรียงต่อกันและหันหน้าเข้าสู้อสูร ได้แก่ กลุ่มอายุทธปุรุษ (ภาคปรากฏของอาวุธ ในร่างของบุคคล) เข้ามาท�ำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระวิษณุและพระพรหม จากภาพสลักสังเกตกลุ่มอายุทธปุรุษทั้งสี่ได้จากบริเวณกึ่งกลางของมวยผม จะมีรูปอาวุธปรากฏอยู่ ได้แก่ ปัทมบุรุษ สังขบุรุษ จักรบุรุษ และคทาเทวี


ประติมากรรมสลักภาพ “กูรมาวตาร” พระวิษณุอวตารเป็นเต่าเพื่อรองรับเขามันทระ ในพิธีกวนเกษียรสมุทร ศิลปะอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ จัดแสดงที่ Gujari mahal เมือง Gwalior อินเดีย


ISBN  978-616-465-020-6 หนังสือ  ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู ผู้เขียน  อรุณศักดิ ์ กิ่งมณี พิมพ์ครั้งแรก  สิงหาคม ๒๕๕๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒  กันยายน ๒๕๖๒ (ปรับปรุงใหม่) จ�ำนวนพิมพ์  ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา  ๓๕๕ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด

บรรณาธิการเล่ม  อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ภาพ  อรุ ณ ศั ก ดิ์   กิ่ ง มณี    ศ.ดร. ศั ก ดิ์ ชั ย  สายสิ ง ห์    รศ.ดร. เชษฐ์   ติ ง สั ญ ชลี    รศ.ดร. จีราวรรณ แสงเพ็ชร์  ชินณวุฒ ิ วิลยาลัย  ธารทิพย์ ภิรมย์อนุกลู   วิลาสิน ี แช่มสะอาด  สุภมาศ ดวงสกุล  ประพิศ พงศ์มาศ  ประภัสสร โพธิศ์ รีทอง  มนต์จนั ทร์ วงศ์จตุรภัทร  สำ�นักศิลปากร ที่ ๒ สุพรรณบุรี  กฤช เหลือลมัย  ศรัณย์ ทองปาน  ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ออกแบบปก / รูปเล่ม  นฤมล ต่วนภูษา ควบคุมการผลิต  ธนา วาสิกศิริ แยกสี / เพลท  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ พิมพ์ที่  ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐ จัดพิมพ์โดย  สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุ รี   ๒๒ ถนนนนทบุ รี   (สนามบิ น นํ้ า ) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมื อ งนนทบุ รี นนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู.--นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. ๒๘๐ หน้า. ๑. เทพปกรณัมฮินดู.  I. ชื่อผู้เรื่อง. ๒๙๔.๕๑๓ ISBN 978-616-465-020-6

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผูอ้ ำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  ผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง 2

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์

หนังสือ ตรีมรู ติ อภิมหาเทพของฮินดู ผลงานของคุณอรุณศักดิ ์ กิง่ มณี เล่มนี้ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ ผ่านมา ๑ ทศวรรษ ในปัจจุบัน  (พ.ศ. ๒๕๖๒) ผู้คนในสังคมไทยดูจะรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนา  ฮินดูมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากละครหรือซีรีส์อินเดียที่เผยแพร่ทาง  โทรทัศน์อย่างแพร่หลาย  สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณเห็นสมควรที่จะจัดพิมพ์  หนังสือเล่มนี้อีกครั้ง เนื่องจากหนังสือเล่มนี้จำ�หน่ายหมดไปเป็นเวลานาน  แต่ทสี่ ำ�คัญคือ เนือ้ หาของหนังสือทีผ่ เู้ ขียนเล่าเรือ่ งเทพของอินเดียได้กระชับ  อ่านสนุก เข้าใจง่าย  ทั้งนี้คุณอรุณศักดิ์ กิ่งมณี มีความสนใจและเชี่ยวชาญ  เรื่องเทวตำ�นานและปกรณัมเทพเจ้าในศาสนาฮินดู รวมถึงหน้าที่การงาน  ในแวดวงโบราณคดี ส่งเสริมให้ผู้เขียนสั่งสมความรู้ด้านนี้มายาวนาน ดังที่  ปรากฏเป็นผลงานทัง้ บทความทางวิชาการและหนังสือหลายเล่มของผูเ้ ขียน สำ�หรับผูอ้ า่ นทีอ่ ยากรูเ้ รือ่ งราวของเทพเจ้าองค์สำ�คัญในศาสนาฮินดู  ขอแนะนำ�ให้เริ่มอ่านจากหนังสือเล่มนี้ที่ว่าด้วยเรื่อง “ตรีมูรติ” อันเป็น  ภาพปรากฏของเทพเจ้าสูงสุดทั้งสามองค์ ได้แก่ พระพรหม (เทพผู้สร้าง)  พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (เทพผูร้ กั ษา) และพระศิวะ (เทพผูท้ ำ�ลาย) พร้อม  ภาพประกอบเกีย่ วกับเทพทัง้ สามทีป่ รากฏในศิลปะอินเดีย ไทย เขมร สะท้อน  ให้เห็นอิทธิพลของศาสนาฮินดูท่ีปรากฏหลายดินแดนในเอเชียตะวันออก  เฉียงใต้  สำ�หรับการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ ผู้เขียนได้ปรับเปลี่ยน  ภาพประกอบและเนื้อหาบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู  จึงเป็นหนังสือที่ผู้สนใจเรื่องราว เทพปกรณัมอินเดียไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ กันยายน ๒๕๖๒ อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

3


คำ�นำ�ผู้เขียน

(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒) หนังสือ ตรีมูรติ  อภิมหาเทพของฮินดู  เล่มนี้  เคยจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ  ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ในนามของวารสารเมืองโบราณฉบับพิเศษ ซึ่งได้ทราบว่า  มีการจ�ำหน่ายหมดแล้ว  บัดนีเ้ มือ่ ทางผูเ้ ขียนได้รบั การติดต่อจากส�ำนักพิมพ์  เมืองโบราณ เพื่อขอจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ จึงถือโอกาสในการปรับแก้เนื้อหา  บางส่วนทีม่ คี วามคลาดเคลือ่ น  อีกทัง้ ยังได้เพิม่ และเปลีย่ นภาพประกอบใหม่  เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหามากขึ้น  ซึ่งในการนี้ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ให้  ความอนุเคราะห์ภาพถ่ายเพิ่มเติม ได้แก่ ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์  รศ.ดร.  เชษฐ์ ติงสัญชลี  รศ.ดร. จีราวรรณ แสงเพ็ชร์  คุณชินณวุฒิ วิลยาลัย  คุณธารทิพย์ ภิรมย์อนุกูล  รวมถึงต้องขอบคุณผู้อนุเคราะห์ภาพถ่ายเมื่อ  การจัดพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึง่ ยังได้ใช้ต่อมาในการพิมพ์ครั้งนีด้ ้วย ได้แก่  คุ ณ วิ ล าสิ นี  แช่ ม สะอาด  คุ ณ สุ ภ มาศ ดวงสกุ ล   คุ ณ ประพิ ศ  พงศ์ ม าศ  คุณประภัสสร โพธิ์ศรีทอง และคุณมนต์จันทร์ วงศ์จตุรภัทร ขอกราบขอบคุณอาจารย์ผสู้ งั่ สอนวิชาประติมานวิทยาให้กบั ผูเ้ ขียน  ได้แก่ อาจารย์คงเดช ประพัฒน์ทอง  อาจารย์นนั ทนา ชุตวิ งศ์  ศ.ดร. ผาสุก  อินทราวุธ  รวมถึงต้องขอบคุณ คุณบัณฑิต ลิ่วชัยชาญ  คุณด� ำรงฤทธิ์  สมบูรณ์ศริ  ิ และ รศ.ดร. สุรตั น์ เลิศล�ำ้  ทีพ่ าผูเ้ ขียนไปศึกษางานศิลปะทีป่ ระเทศ  อินเดีย ลังกา และพม่า ท�ำให้มคี วามเข้าใจในศาสนศิลป์ของฮินดูเพิม่ มากขึน้ และท้ายสุดขอขอบคุณ คุณอภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ แห่งส�ำนักพิมพ์  เมืองโบราณ ทีช่ ว่ ยประสานงาน และแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับให้มคี วามสมบูรณ์  ยิง่ ขึน้ 4

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี กรมศิลปากร กรุงเทพฯ มิถุนายน ๒๕๖๒


คำ�นำ�ผู้เขียน

(ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูนนั้ เป็นศาสนาเก่าแก่ศาสนาหนึง่ ของโลก มีพนื้ ฐาน  มาจากการยกย่องและนับถือธรรมชาติประดุจดั่งเทพเจ้าผู้ให้คุณและโทษ  ต่อมวลมนุษย์ และต่อมาได้พัฒนาจนกลายเป็นคณะเหล่าทวยเทพต่างๆ  ผู้ทรงฤทธิ์อ�ำนาจและมีกรณียกิจที่แตกต่างกันออกไป ส�ำหรับเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดสามองค์ของฮินดูนนั้  รู้จักกันในพระนาม  พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ผูม้ หี น้าทีใ่ นการสร้างโลก ดูแลรักษาโลก  และท�ำลายล้างโลกตามล�ำดับ เทพทั้งสามองค์นี้เมื่ออยู่รวมกันเรียกว่า ตรีมูรติ ซึ่งแปลได้ว่า มี  รูปสาม เรื่องราวของเทพในศาสนาฮินดูนั้น ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปุราณะ  ตลอดจนคัมภีร์ต่างๆ หลายเล่ม และยังรวมถึงต�ำนานเรื่องเล่าจากสถานที่  ต่างๆ อีกเป็นจ�ำนวนมาก ซึง่ ก็มที งั้ ความทีส่ อดคล้องและแตกต่างกันออกไป  อันเป็นเรื่องปรกติของเทวต�ำนาน  เนื่องจากถึงแม้ว่าในแต่ละสถานที่จะมี  ความเชื่อหลักที่เหมือนกัน  แต่ก็มีความนิยมในความเชื่อย่อยที่ต่างกันออก  ไปบ้ า ง  ด้ ว ยเหตุ นี้จึ ง มี ก ารเขี ย นเสริ ม เพิ่ ม แต่ ง  และขยายความกั นจน  หลากหลายยิ่งขึ้น ข้อเขียนชิ้นนี้ได้ประมวลเรื่องราวบางส่วนมาน�ำเสนอเอาไว้ และ  พยายามจัดหาภาพถ่ายจากสถานทีต่ า่ งๆ มาใช้ประกอบเรือ่ งเพือ่ ให้สามารถ  ท�ำความเข้าใจได้โดยง่าย ภาพประกอบในหนังสือเล่มนี้ ส่วนหนึง่ ได้รับความอนุเคราะห์จาก  ส�ำนักศิลปากรที ่ ๒ สุพรรณบุร ี  คุณวิลาสิน ี แช่มสะอาด  คุณสุภมาศ ดวงสกุล  คุ ณ ประพิ ศ  พงศ์ ม าศ  คุ ณ ประภั ส สร โพธิ์ ศ รี ท อง และคุ ณ มนต์ จั นทร์  วงศ์จตุรภัทร ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

5


หวังว่าผู้อ่านคงได้รับประโยชน์จากข้อเขียนชิ้นนีต้ ามสมควร ขอ  ขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยเหลือจนหนังสือเล่มนี้ส�ำเร็จเป็น  รูปเล่มออกมา และต้องขอขอบคุณเป็นพิเศษส�ำหรับคุณกฤช เหลือลมัย  แห่งกองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ที่ช่วยเหลือในการตรวจทาน  ต้นฉบับและปรับปรุงเนื้อหาให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

6

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี ส�ำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี


สารบัญ

รู้จักศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู)

ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) ศาสนาฮินดู (Hindunism) ลัทธิศักติและตันตระ

๑๐ ๒๑ ๒๔

ตรีมูรติ ภาพปรากฏของเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม

๒๙

พระทัตตาเตรยะ : การอวตารของตรีมูรติ

๓๓

พระพรหม เทพผู้สร้างและรังสรรค์

๔๗

พระวิษณุ เทพผู้ปกป้องและคุ้มครอง

๗๗ ๗๘ ๑๔๑

พระพรหม พระนางสรัสวดี : ชายาของพระพรหม เกร็ดเรื่องราวเกี่ยวกับพระพรหม หงส์ : เทพพาหนะ สาเหตุที่พระพรหมแต่งงานกับนางคายตรี

พระวิษณุ พระนางลักษมี : ชายาของพระวิษณุ เกร็ดเรื่องราวเกี่ยวกับพระวิษณุ พญาครุฑ : เทพพาหนะ พญานาค : เทพบัลลังก์

๔๘ ๖๕ ๗๐ ๗๐ ๗๒

๑๔๗ ๑๔๗ ๑๕๐

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

7


พระศิวะ มหาเทพผู้ทำ�ลายล้าง

พระศิวะ พระนางปารวตี : ชายาของพระศิวะ โอรสของพระศิวะ สกันทกุมาร พระคเณศ เกร็ดเรื่องราวเกี่ยวกับพระศิวะ พระนางมนสาเทวี : ธิดาของพระศิวะ การต่อสู้กับชลันธร และกำ�เนิดหน้ากาล (เกียรติมุข)

ร่องรอยการนับถือศาสนาฮินดูในประเทศไทย บรรณานุกรม

8

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู

๑๕๕

๑๕๖ ๒๑๕ ๒๒๖ ๒๒๖ ๒๓๕ ๒๔๗ ๒๔๗ ๒๔๙

๒๖๑ ๒๗๗


รู้จักศาสนาฮินดู (ศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู) “...ขอความนอบน้อมจงมีแก่พระศัมภู ผู้ยังทิศตะวันออกให้สว่างด้วยฤคเวท ที่ปรากฏด้วยการแผ่ไปแห่งลำ�แสงของพระอคนิ ยังทิศใต้ให้โชติช่วงด้วยยชุรเวท เพราะลมที่เกิดขึ้น ยังทิศตะวันตกให้สว่างด้วยสามเวท เพราะการรวมรังษีที่แจ่มใสของพระจันทร์ และยังทิศเหนือให้สว่าง ด้วยการรวมพระเวททั้งสามเหล่านั้น...”

จารึกปราสาทแปรรูป

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

9


ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) กล่าวได้ว่าเป็นรากฐาน หรือคัมภีร์เก่า  ของศาสนาฮินดู (Hindunism) แต่หากถือว่าศาสนาทัง้ สองแยกออกจากกัน ก็อาจแบ่งได้วา่  สมัยแรก  คือศาสนาพราหมณ์ เริม่ ต้นตัง้ แต่เมือ่  ๔,๕๐๐ ปีมาแล้วจนถึงต้นสมัยพุทธกาล  (ประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว) จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่สมัยศาสนาฮินดู

ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism)

๑. สมัยดัง้ เดิม หรือทีเ่ รียกว่า ศาสนาพราหมณ์ (หมายถึงศาสนา  ของพระพรหม หรือศาสนาที่ก�ำเนิดจากพระพรหม) เชื่อว่าศาสนาพราหมณ์  เป็นศาสนาของชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo-European) ซึง่ เดิม  อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางทวีปเอเชีย (Central Asia) ชนเผ่านี้เป็นกลุ่มชนเร่ร่อน จึงอพยพแยกย้ายไปหลายแห่ง ส�ำหรับยุคเริม่ แรกของชาวอารยัน (ตามศัพท์มาจากค�ำว่า “อารยะ”  แปลว่า เจริญหรือประเสริฐ) แยกออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ๑ กลุ่มที่ ๑ แยกไปทางตะวันตก เข้าสู่ทวีปยุโรป กลุ ่ ม ที่  ๒ แยกไปทางตะวั น ออกเฉี ย งใต้  (เป็ น บรรพบุ รุ ษ ของ  ชาวอิหร่านในเปอร์เซีย) กลุ่มที่ ๓ แยกลงมาทางใต้ ตามแม่น�้ำสินธุ (Sindhu) เป็นกลุ่ม  ที่ส�ำคัญที่สุด เมื่อชาวอารยันกลุ่มที่ ๓ อพยพเข้าสู่ลุ่มน�้ำสินธุ ได้น�ำวัฒนธรรม  ของตนเข้ า ไปผสมผสานกั บ คติ ค วามเชื่ อ ของชนพื้ น เมื อ ง [พวกดราวิ ท  (Dravidian) หรือมิลักขะ (คนป่า)] ที่นับถือเรื่องธรรมชาติ เทพประจ�ำ  ครอบครัว และเทพประจ�ำหมู่บ้าน การก�ำเนิดของศาสนาดัง้ เดิมนัน้  ชาวอารยันยกย่องธรรมชาติตา่ งๆ  ประดุจเทพเจ้า (เทวะ) ซึ่งสามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ได้ ในชั้นต้น ชาวอารยันแบ่งกลุ่มเทวะออกเป็นหมวดสูงต�่ำสามกลุ่ม  เพื่อสะดวกต่อการนับถือและบัตรพลีบูชา คือ 10

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


เทวสถานเอกัมปเรศวร เมืองกาญจีปุรัม อินเดีย

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

11


เชิงอรรถ เสถียร พันธรังษี, ศาสนาเปรียบเทียบ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย,  ๒๕๓๔), หน้า ๕๓-๕๔. ๒  อุดม รุง่ เรืองศรี, เทวดาพระเวท, เอกสารอัดส�ำเนาของภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๒๓, หน้า ๑-๑๕. ๓  อาศรมแห่งการบ�ำเพ็ญเพียรและประพฤติตนเพื่อเป็นพราหมณ์ตามคัมภีร์อารัณยกะ มีอยู่  ๔ อาศรม (หรือสี่ลำ� ดับแห่งการบ�ำเพ็ญเพียร) คือ      ๑. พรหมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ได้แก่ เยาว์วัยต้องศึกษาหาความรู้      ๒. คฤหัสถ์ แปลว่า ผู้ครองเรือน ได้แก่ วัยผู้ใหญ่ควรมีเหย้าเรือนและสร้างความมั่นคง  ให้กับตนเองและครอบครัว      ๓. วนปรัสถ์ แปลว่า ผู้อยู่ป่า ได้แก่ วัยสูงอายุต้องบ�ำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม      ๔. สันยาสี แปลว่า ผู้แสวงหาธรรม ได้แก่ วัยชราต้องบ�ำเพ็ญพรตและจาริกสอนผู้อื่น ๔  ช่วงระยะเวลาการเข้าสูย่ คุ ศาสนาฮินดูนนั้  เอกสารต่างๆ ยังไม่เป็นทีย่ ตุ ติ รงกัน ต�ำราบางเล่ม  อาจก�ำหนดไว้ราวพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา โดยถือเป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ได้พัฒนา  ค�ำสอนจนเป็นศาสนาฮินดู หรืออาจเรียกยุคนี้ว่า “ยุคสูตร” เนื่องจากเป็นการรวบรวมและ  เรียบเรียงหลักปรัชญาในพระเวท ด้วยการย่อความหรือจับประเด็นหลักมาเพื่อให้สามารถ  จดจ�ำได้ง่าย ดูใน สุมาลี มหณรงค์ชัย, ฮินดู-พุทธ จุดยืนที่แตกต่าง, (กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  ๒๕๔๖), หน้า ๒๗, ๓๐-๓๒. ๕  ไวษณพนิกายหรือลัทธิไวษณวะ หมายถึงลัทธิทนี่ บั ถือพระวิษณุเป็นเทพสูงสุด ซึง่ โดยหลักการ  ของลัทธินี้พระวิษณุมิได้เป็นเพียงเทพผู้ดูแลรักษาเท่านั้น แต่พระองค์ทรงเป็นทั้งผู้สร้างและ  ผู้ท�ำลายด้วย ผู้น�ำคนแรกของลัทธิไวษณวะคือท่านนาถมุนี (พ.ศ. ๑๓๖๗-๑๔๖๗) หลังจากนั้น  ก็มีอาจารย์อื่นๆ เป็นผู้น�ำต่อมา ดังเช่น ท่านยามุนาจารย์ ท่านรามานุชาจารย์ เป็นต้น ๖  ไศวนิกายหรือลัทธิไศวะ หมายถึงลัทธิทนี่ บั ถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ตามหลักของลัทธินถี้ อื ว่า  พระศิวะเป็นผู้สร้างและเป็นแก่นแท้ของสากลโลก ๑

28

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


ตรีมูรติ ภาพปรากฏของ เทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม “...ขอความนอบน้อมจงมีแด่ พระศิวะ ผู้ทรงทัดปิ่นคือดวงจันทร์อ่อนแสง พระวิษณุ ผู้มีดวงเนตรงามดังดอกบัว และ พระพรหม ผู้มีดอกบัวเป็นแดนเกิด...”

จารึกอุบมุง

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

29


ตรีมูรติ (ภาษาสันสกฤตเขียนว่า ตริมูรติ) แปลตามรูปศัพท์ว่า มีรูปสาม ๑  หรืออาจแปลได้วา่  ภาพปรากฏของเทพทัง้ สาม โดยค�ำว่า ตรี หมายถึง สาม  มูรติ หมายถึง ภาพปรากฏ หรือภาพที่แสดงให้เห็นได้ด้วยตา แต่ เ ดิ ม นั้ น  ข้ อ ความในคั ม ภี ร ์ พ ระเวทแสดงให้ เ ห็ น ว่ า  ศาสนา  พราหมณ์เก่าเป็นศาสนาที่นับถือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว หรือเรียกว่า ลัทธิ  เอกเทวนิยม (Monotheism) ต่อมาได้พัฒนาเป็นลัทธิสัพพัตถเทวนิยม  (Pantheism) ซึ่งเชื่อว่ามีเทพเจ้าอยู่ทุกแห่งหน ๒ ในยุคพระเวทตอนต้น การนับถือเทพล้วนผูกพันกับปรากฏการณ์  ธรรมชาติ หรือถือว่าเทพเหล่านัน้ เป็นบุคลาธิษฐานจากธรรมชาติ ทีม่ อี ำ� นาจ  เหนือมนุษย์ อย่างไรก็ดีในยุคนี้ก็ปรากฏร่องรอยการนับถือเทพตามคติ  ตรีมูรติบ้างแล้ว โดยมีพื้นฐานเกี่ยวเนื่องกับการบูชากลุ่มอาทิตยเทพ ซึ่ง  มีหน้าที่ควบคุมดูแลแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ ลม น�ำ้  และฤดูกาล เทพทั้งสามหรือตรีมูรติในยุคแรก ได้แก่ - เทพมิตระ (สหาย เพื่อนพ้อง) เทพผู้ดูแลโลกในเวลากลางวัน - เทพวรุณ (ผู้ควบคุม) เทพผู้ดูแลโลกในเวลากลางคืน - เทพอารยมัน (ความมีจิตใจสูง) เทพแห่งสวรรค์ ๓ ในยุคพระเวทตอนปลาย อ�ำนาจของกลุ่มเทพแห่งอาทิตย์เดิม  ลดบทบาทลง กลุม่ เทพของชาวอารยันเริม่ ได้รบั การนับถือมากขึน้  กลุม่ เทพ  ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพตรีมูรติในระยะนี ้ ๔ ได้แก่ - พระอัคนี (ไฟ) เทพแห่งพื้นดิน - พระวายุ (ลม) หรือพระอินทร์ เทพแห่งบรรยากาศ - พระสุริยะ (พระอาทิตย์) เทพแห่งท้องฟ้า ๕ อย่างไรก็ตามคติตรีมูรติในยุคพระเวทยังไม่ค่อยชัดเจนนัก มาเริ่ม  ปรากฏมากขึ้นในระยะเริ่มแรกของศาสนาฮินดู ซึ่งมีพื้นฐานมาจากศาสนา  พราหมณ์นนั่ เอง แนวความคิดเกีย่ วกับตรีมรู ติในศาสนาฮินดูน ี้ นักปราชญ์ของอินเดีย  บางท่านสันนิษฐานว่าอาจน�ำมาจากหลักลัทธิสางขยะ ๖ ที่อธิบายเกี่ยวกับ  30

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


ตรีมูรติ ประติมากรรมจากปราสาทไพรจรูก กัมพูชา ศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ (ภาพจากหนังสือ ศาสนาพราหมณ์ ในอาณาจักรขอม ของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล) อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

31


ก่องแก้ว วีระประจักษ์ อ้างถึง Sir Monier-Williams ในหนังสือ Sanskrit-English dictionary  ว่า อุ หมายถึงพระวิษณุ  อ หมายถึงพระศิวะ  ส่วน ม หมายถึงพระพรหม ดูใน ก่องแก้ว  วีระประจักษ์, “ภาพสัญลักษณ์โอม,” ใน ศิลปากร, ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (มี.ค.-เม.ย. ๒๕๔๘),  หน้า ๑๐๘-๑๐๙. ๑๖  Margaret Stutley, The illustrated dictionary of Hindu Iconography, p. 144.

46

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


พระพรหม เทพผู้สร้างและรังสรรค์

“...ขอพระพรหมจงคุ้มครองท่านทั้งหลาย พระองค์ทรงไว้ซึ่งหม้อนํ้า ที่งามเหมือนพระจันทร์ ที่ทำ�ด้วยแก้วผลึก อันเต็มด้วยนํ้าอมฤตแห่งทะเลนํ้าอมฤต คือความกรุณาในโลกทั้งหลาย...”

จารึกสด๊กก๊อกธม ๒

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

47


พระพรหม

พระพรหม (Brahma) เป็นหนึ่งในสามมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ (ตรีมูรติ)  ของศาสนาฮินดู พระองค์ทรงมีหลากหลายพระนาม เช่น ปิตามหา (บิดาผู้ยิ่งใหญ่)  ธาดาหรือวิธาดา (ผู้ทรงไว้) โลเกศ (จอมโลก) ปรเมษฐ์ (เป็นใหญ่ในสวรรค์)  ธาตริ-วิธาตริ (ผู้รักษา) อาทิกวี (กวีแรก) สนัท (โบราณ) ทุรฆณะ (ขวาน)  อาตมภู (ผู้เกิดเอง) ประชาบติ (เป็นใหญ่ในประชา) หิรัณยครรภ์ (เกิดจาก  ไข่ทอง) กมลาศน์ (นั่งบนดอกบัวหลวง) จัตุรมุข (สี่หน้า) เป็นต้น ๑ คัมภีร์พระเวทตอนต้นไม่ได้กล่าวนามพระพรหม พระนามของ  พระองค์เริ่มปรากฏในสมัยกลาง (พราหมณะ) โดยเฉพาะ คัมภีร์ศตปก  พราหมณะ ที่กล่าวว่า สิ่งนั้น (ไม่มีตนไม่มีเพศ) เป็นผู้สร้างเทวะทั้งปวง  ลักษณะของพระพรหมที่ไม่มีตัวตนและไม่มีเพศคล้ายคลึงกับพระพรหมของ  คัมภีร์อุปนิษัทบางประการ  พระองค์สร้างเทวะประจ�ำโลก ได้แก่ พระอัคนี  ประจ�ำพื้นดิน  พระวายุประจ�ำจักรวาล และพระสุริยะประจ�ำท้องฟ้า ๒ นอกจากนี ้ คัมภีรศ์ ตปกพราหมณะ ยังกล่าวถึงพระผูเ้ กิดเอง (อาตมภู)  ทรงเสกน�ำ้ ขึน้ มาเป็นครัง้ แรก และทรงโปรยพืชลงไปในน�ำ้ บังเกิดเป็นไข่ทอง  จากนั้นพระองค์ทรงแบ่งภาคลงไปถือก�ำเนิดในไข่ทองกลายเป็นพระพรหมา  ปฐมชนกแห่งโลก การทีท่ รงมีก�ำเนิดจากน�ำ้  (นะระ) จึงได้นามว่า นารายณ์ อันแปลว่า  ผู้สถิตย์ในน�้ำ (ต่อมาภายหลังพระนามนี้กลายเป็นพระนามของพระวิษณุ  ครั้งทรงบรรทมอยู่เหนือเกษียรสมุทร) ๓ คัมภีรร์ ามายณะ กล่าวว่า แต่เดิมเมือ่ โลกยังเป็นผืนน�ำ้ และแผ่นดิน  จมอยู่ใต้น�้ำนั้น พระอาตมภู (พระพรหม) ได้ทรงบังเกิดขึ้นมาพร้อมเหล่า  ทวยเทพ  พระพรหมได้ทรงแปลงเป็นหมูป่าลงไปขุดงัดแผ่นดินขึ้นมา และ  ทรงสร้างสิ่งต่างๆ ด้วยความช่วยเหลือของนักสิทธิ์ บุตรของพระองค์ ๔ คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อพระอาตมภูต้องการสร้าง  สิง่ ทัง้ หลาย ได้ทรงสร้างน�ำ้ ขึน้ มาก่อน แล้วทรงน�ำวีช (หรือเมล็ดพันธุ)์  หว่าน  48

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


พระพรหม ศิลปะอินโดนีเซีย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

49


๒๒

อุดม รุ่งเรืองศรี, เทวดาพระเวท, หน้า ๕๗.  กิตติ วัฒนะมหาตย์, ตรีเทวปกรณ์, (กรุงเทพฯ : บริษทั สร้างสรรค์บคุ๊ ส์, ๒๕๔๒), หน้า ๑๕๐. ๒๔  เชือ่ กันว่า พระนางสรัสวดีเป็นผูป้ ระดิษฐ์วณ ี า และมักพบภาพของพระนางสรัสวดีทรงถือวีณา  อยู่ในพระหัตถ์เป็นปรกติ ซึ่ง “วีณา” เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง คนอินเดียจะใช้เป็นค�ำเรียก  เครื่องดีดทุกชนิดที่เป็นเครื่องสาย ดูใน กิตติ วัฒนะมหาตย์, ตรีเทวปกรณ์, หน้า ๑๖๘-๑๗๓. ๒๕  กิตติ วัฒนะมหาตย์, ตรีเทวปกรณ์, หน้า ๑๖๒. ๒๖  Kanailal Bhattacharyya, Sarasvati, (Calcutta : Saraswat library, 1983), p. 48. ๒๗  Ibid, pp. 61-62. ๒๘  Balram Srivastava, Iconography of Sakti : A Study based on Sritattvanidhi,  (Varanasi : Vidya Vilas press, 1978), p. 99. และดูใน Bhagwant Sahai, Iconography of Minor Hindu and Buddhist deities, (New Delhi : Abhinav publications, 1975),  pp. 142-143. ๒๙  กัญญารัตน์ เวชชศาสตร์, การศึกษาเรือ่ งหงส์ จากศิลปกรรมในประเทศไทย, (กรุงเทพฯ :  บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จ�ำกัด, ๒๕๓๔), หน้า ๔๑-๔๒. ๓๐  วิสุทธ์ บุษยกุล, วิสุทธ์นิพนธ์, หน้า ๘๓-๘๖. ๒๓

76

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


พระวิษณุ เทพผู้ปกป้องและคุ้มครอง

“...พระวิษณุผู้ทรงมีสะดือบัว ทรงมีพระสรีระอันแบ่งแยกได้หลายอย่าง อันเทวดาทั้งหลายนอบน้อมแล้ว ภายในมณเฑียรใหญ่ (ทรงชนะผู้ยิ่งใหญ่ คือองค์มเหศวร)...”

จารึกอุบมุง

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

77


พระวิษณุ

พระวิษณุ (Vishnu) ทรงเป็นเทพเจ้าส�ำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งใน  ศาสนาฮินดู พระองค์ทรงถือเป็นหนึ่งในสามของมหาเทพส�ำคัญ (ตรีมูรติ) อัน  ได้แก่ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม  ทรงได้รับการเคารพบูชาจน  เกิดเป็นลัทธิเอกเทศ คือ ลัทธิไวษณพนิกาย  ซึ่งบูชาพระวิษณุเหนือเทพ  องค์อื่นๆ พระวิ ษ ณุ เ ป็ น เทพเก่ า แก่ ตั้ ง แต่ ยุ ค พระเวท เดิ ม จั ด อยู ่ ใ นกลุ ่ ม  พระอาทิตย์ ๑  พระองค์ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และ  อถรรพเวทว่า ทรงเกี่ยวพันกับการก้าวสามก้าวของพระอาทิตย์ (การโคจร  ของเทพแห่งแสงอาทิตย์ตอนเช้า กลางวัน และเย็น)  นอกจากนี้ยังทรง  เกี่ยวข้องกับไฟ แสงสว่างบนโลก และท้องฟ้า  พระองค์จึงได้รับการเคารพ  บูชาจากผู้คน เพื่อให้ปกป้องดูแลมวลมนุษย์มาตั้งแต่เริ่มแรก คัมภีรบ์ างเล่มยังกล่าวว่า พระองค์ทรงได้รบั นับถือร่วมกับพระอินทร์  (ในนาม “วสวะ”) พระรุทร และทรงมีความสัมพันธ์กับวีรบุรุษพื้นเมือง  ของอินเดีย เช่น อรชุน กฤษณะ รามะ ต่อมาวีรบุรุษเหล่านี้ได้กลายเป็นอวตารต่างๆ ของพระองค์ ส่ ว นค� ำ ว่ า  “นารายณะ” (Narayana) นั้ น มาจากค� ำ ว่ า  “นร”  (แปลว่า น�้ำ) กับค�ำว่า “อยานะ” (แปลว่า การเคลื่อนไหว) เมื่อรวมกันแล้ว  หมายถึงผู้เคลื่อนไหวในน�ำ  ้ ๒ นาม “นารายณะ” นี้เดิมเป็นพระนามของพระพรหม สืบเนื่อง  จากคัมภีร์บางเล่มกล่าวถึงรายละเอียดครั้งสร้างโลกว่า พระพรหมทรง  ถื อ ก� ำ เนิ ด จากหิ รั ณ ยครรภ์  (ไข่ ท อง) ที่ ล อยอยู ่ เ หนื อ น�้ำ เป็ น อั น ดั บ แรก  หลังจากนั้นพระองค์ทรงออกมาจากไข่ทอง สร้างโลกตลอดจนสรรพสิ่ง  ในล�ำดับต่อมา

78

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


(บน) พระวิษณุ พบที่เมืองโมกติ ทวาย เมียนมา (ขวา) พระวิษณุสำ�ริด ศิลปะสุโขทัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

79


Iconography, p. 166. R.S. Gupte, Iconography of the Hindus Buddhists and Jains, p. 34. ๔๑  ดูรายละเอียดใน จิรพัฒน์ ประพันธ์วทิ ยา, “ตรีมรู ติ วิวฒ ั นาการด้านความคิด,” ใน พระตรีมรู ติ,  (หนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลวโรกาสทรงพระเจริญ  พระชนมายุ ๗๕ พรรษา), (ม.ป.ท, ๒๕๔๖), หน้า ๓-๒๐. ๔๒  A.B.L. Awasthi, Studies in Skanda-Purana Part IV : Brahmanical art and Iconography, p. 166. ๔๓  Ibid. ๔๔  Ibid, pp. 193-194. ๔๕  กิตติ วัฒนะมหาตย์, ตรีเทวปกรณ์, (กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บคุ ส์ จ�ำกัด, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๐. ๔๖  เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๐-๑๑๑. ๔๗  บางคัมภีร์ว่า มีสิ่งของส�ำคัญเกิดขึ้นมา ๑๐ หรือ ๑๔ ประการ ๔๘  อ้างจาก มณีปน่ิ  พรหมสุทธิรกั ษ์, “เรือ่ งชักนาคดึกด�ำบรรพ์,” ใน มณีปน่ิ นิพนธ์, (กรุงเทพฯ :  ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๗), หน้า ๒๓๒ ๔๙  T.A. Gopinatha Rao, Elements of Hindu Iconography 4 Volume, p. 374. ๕๐  กิตติ วัฒนะมหาตย์, ตรีเทวปกรณ์, หน้า ๑๑๓-๑๑๔. ส�ำหรับนกแสกนั้น เกษตรกรอินเดีย  เชื่อว่าช่วยก�ำจัดหนู ซึ่งเป็นศัตรูต่อการท�ำนาข้าว จึงท�ำให้ผลผลิตมีความอุดมสมบูรณ์ ในงาน  ศิลปกรรม เทวรูปธัญญลักษมีมกั ประทับอยูก่ บั นกฮูก แต่ในชีวติ ประจ�ำวันของชาวอินเดียถือว่า  นกแสกเป็นบริวารของพระนางลักษมี ๕๑  ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา, ภารตะนิยาย, (กรุงเทพฯ : แม่ค�ำผาง, ๒๕๔๔), หน้า ๑๗๗-๑๘๗. ๔๐

154

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


พระศิวะ มหาเทพผู้ทำ�ลายล้าง

“...ความนอบน้อมของท่านทั้งหลาย จงมีแด่พระศิวะเจ้า ผู้มีพระเนตรส่องแสงดุจดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงไฟอย่างน่ากลัว พระองค์ประทับอยู่บนเขาไกลาส อันน่าอัศจรรย์...”

จารึกปราสาทพนมรุ้ง ๙

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

155


พระศิวะ

“พระศิวะ” (Siva) แปลว่า ดี งาม เป็นมงคล พระองค์ทรงเป็นมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามของศาสนาฮินดู  นับถือกันว่าทรงเป็นเทพแห่งการท�ำลายล้าง (เพื่อให้มีการสร้างขึ้นใหม่)  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงได้รับยกย่องเป็นเทพสูงสุดในลัทธิไศวนิกายด้วย พระองค์ทรงมีพระนามมากมาย เช่น นิลกัณฐ์ หมายถึง ผู้มีพระศอสีด�ำ เนื่องจากทรงกลืนยาพิษที่เกิด  จากการกวนเกษียรสมุทร แต่พระนางอุมาทรงเกรงว่าพระองค์จะได้รับ  อันตรายจึงทรงจับพระศอไว้ พิษจึงค้างที่พระศอ ท�ำให้พระศอด�ำ ตรีเนตร มีพระเนตรที่สามอยู่ระหว่างพระขนง จันทรเศขร มีพระจันทร์ประดับอยู่ที่พระเกศา วิศวนาถ เจ้าแห่งจักรวาล ผู้ทรงเป็นที่พึ่งแห่งโลก มหาเทวะ ผู้ยิ่งใหญ่เหนือเหล่าเทวดา คีรีศะ ผู้เป็นใหญ่แห่งขุนเขาหิมาลัย คงคาธร ผู้ทรงไว้ซึ่งพระคงคา อิสานะ ผู้ครอบครอง สัมภู ผู้เกิดเอง มเหศวร ผู้เป็นใหญ่ กาละ เวลาหรือความตาย มหากาล เวลาอันยาวนาน ภูเตศวร เจ้าแห่งภูตผีปีศาจ มหาโยคี ผู้ทรงเป็นโยคีที่ยิ่งใหญ่ (เจ้าแห่งโยคี) หระ ผู้น�ำไป ผู้จับ ปัญจนน ผู้มีห้าหน้า กปาลมาลิน ผู้สวมมาลัยกะโหลก ไภรวะ ผู้ดุร้ายน่ากลัว ชฎาธร ผู้ทรงไว้ซึ่งมุ่นมวยผมบนจอมศีรษะ ฯลฯ 156

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


รูปสลัก “พระศิวะ” ที่ผนังเทวสถานกันดาริยะ เมืองขชุราโฮ อินเดีย

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

157


พระศิวะอาจจะทรงเป็นเทพองค์เดียวกับ “พระรุทร” ในยุคพระเวท  คัมภีร์พรหมานัส กล่าวว่า เมื่อแรกก�ำเนิดนั้น พระรุทรได้ทรงกรรแสง  (รุทรมาจากรากศัพท์ว่า “รุท” แปลว่า กรรแสง) ทูลขอพระนามจากพระ  ปชาบดี พระปชาบดีจงึ ทรงตัง้ นามให้วา่  “รุทร” แต่พระองค์ไม่ทรงพอพระทัย  เรียกร้องขอพระนามอื่นๆ อีก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีถึงแปดพระนาม คือ  รุทร ภพ สรรพ ปศุบดี อุคร มหาเทพ อีศาน และอศนี อย่างไรก็ตามคัมภีร์หลายเล่มกล่าวถึงก� ำเนิดพระรุทรแตกต่าง  กันออกไป บางเล่มเล่าว่า พระองค์ทรงมีก�ำเนิดจากเมื่อครั้งที่พระพรหมทรง  บ�ำเพ็ญตบะจนพระเสโทไหล จึงทรงเอาไม้ขูดที่พระขนง แต่คมไม้กลับ  บาดจนพระโลหิตหยดลงในกองเพลิง บังเกิดเทวบุตรองค์นี้ขึ้น นอกจากนี้คัมภีร์ในยุคพระเวทกล่าวว่า พระรุทรทรงเป็นเทพดุร้าย  มีฤทธิ์อ�ำนาจมาก ชอบอยู่ในป่าเขา ทรงเป็นที่พึ่งของพวกคนเลี้ยงโค โจร  และคนป่า ส�ำหรับพระศิวะ พระองค์ทรงเป็นมหาเทพที่มีวรรณะสีขาว (บาง  ต�ำราว่ามีสีแดง) ทรงแต่งองค์แบบโยคี นุ่งห่มหนังสัตว์ (หนังเสือ หนังช้าง  หนังกวาง) ประทับและบ�ำเพ็ญพรตในป่าช้า นอกจากนี้ยังทรงเปลือยร่าง  เอาขี้เถ้าทาตามพระวรกาย พระเกศายาวรุงรัง ทรงสวมลูกประค�ำกะโหลก  ศีรษะมนุษย์ มีสร้อยสังวาลเป็นงูพิษสามตัวพันอยู่ โดยตัวแรกอยู่ที่ครอบ  พระเกศา ตัวทีส่ องพันรอบพระศอและอังสา ตัวทีส่ ามอยูใ่ นลักษณะลูกประค�ำ  พระเกศาที่รุงรังนั้นบางครั้งเกล้าพันขึ้นไปเป็นทรงสูง เรียกว่า ชฎามกุฎ  ทรงมีพระจันทร์เสี้ยวทัดเป็นปิ่นปักผม วิมานพระศิวะอยู่ที่ยอดเขาไกลาส ในเทือกเขาหิมาลัย ตามคติ  ของชาวฮินดูถือว่าเขาไกลาสหมายถึงสวรรค์ชั้นสูงสุด สร้างบนยอดเขา  มีวิมานบนพื้นที่สามเหลี่ยม พระศิวะประทับอยู่บนวิมานนั้นร่วมกับชายา  คือ พระนางปารวตี (พระอุมา) ทรงมีมหาดเล็ก (คณะ) เป็นเหล่าคนแคระ  และภูตผีปิศาจ ผู้เฝ้ารักษาประตูวิมานคือเทพบุตรนนทิ ซึ่งเมื่อพระศิวะ  158

ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู


(บน) พระศิวะ ศิลปะจาม เวียดนาม (ภาพ : ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง) (ขวา) พระศิวะมหาเทพ พบที่วัดขนุน อำ�เภอเมือง สงขลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดมัชฌิมาวาส สงขลา อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

159


71= 3>-I ęĦ9 =è%6E 6D 9 >3:@% E"C93Ļ> I#*I ļ>6E 6D -AI*A. 7%Ąï I A.3 J!ĻI-CQ9-A7%Ď>#AQ B J&Ļ ,> '/> 99 I'ł%6>-,> C9 >/6/ļ> K1 */<*/7- >//= 5>K1 */<3÷5 Ā J1< >/#V>1>.K1 */<4@3< L% 3>-I'ł% /÷ J1ļ3 I#* = 1Ļ>3.Ļ9-I'ł%7%Ąï I A.3 I*A. J!ĻJ&Ļ ,> I*CQ9#V>7%Ď>#AQ!Ļ> =%

3)/ 0<-#8

ISBN 978-616-465-020-6

+: : WYY ":


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.