รื่นรมย์์ ชมเมฆ
รื่นรมย์ ชมเมฆ
รื่นรมย์ ชมเมฆ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
รู้จักปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเมฆ และดื่มดํ่ากับความงามของเมฆและท้องฟ้า จากเหล่าผู้ตกหลุมรักมวลเมฆ
หมวดวิทยาศาสตร์ ISBN 978-974-7727-65-4 ราคา 250 บาท
250.-
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ชมรมคนรักมวลเมฆ
เมฆคิวมูลัส เมฆเต้านม ความสุขจากฟากฟ้าที่ ใคร ๆ ก็สัมผัสได้ เมฆทีปราตรี เมฆลายพลิ้ว เมฆกันชน เมฆม้วนกลิ้ง
4
จากผู้เขียน หนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 4 จากชมรมคนรักมวลเมฆ ซึ่งเน้นให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เมฆที่น่าสนใจโดยเฉพาะ คุณผู้อ่านที่สนใจแง่มุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับลมฟ้าอากาศ สามารถศึกษาได้จากเล่มแรก คือ รู้ทันฝนฟ้าอากาศ ซึ่งกล่าวถึงอุตุนิยมวิทยา พื้นฐาน เช่น การพยากรณ์อากาศ และปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น พายุไต้ฝุ่น ฟ้าผ่า และสตอร์มเซิร์จ เล่มที่ 2 คือ มหัศจรรย์ฟ้าฝน ซึ่งเน้นเกี่ยวกับแสงสีบนท้องฟ้า เช่น รุ้ง โคโรนา และการทรงกลด รวมทั้งแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับพายุนาคเล่นนํ้า และเล่มที่ 3 คือ Cloud Guidebook คู่มือเมฆและปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ซึ่งให้ ภาพรวมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับเมฆและปรากฏการณ์ต่างๆ คุณผู้อ่านที่สนใจเมฆและท้องฟ้า สามารถเข้าร่วมกลุ่มชมรมคนรักมวล เมฆใน facebook ได้ โดยค้นชือ่ ชมรมฯ ซึง่ จะมีสองที ่ ทีแ่ รกเป็นกลุม่ (ใต้ไอคอนมี คำ�ว่า Group) ส่วนอีกที่หนึ่งเป็นเพจ (ใต้ไอคอนมีคำ�ว่า Community) นอกจากนี้ ยังสามารถค้นคว้าข้อมูลวิชาการได้จากเว็บของชมรมที่ www.CloudLoverClub อีกด้วย ขอให้สนุกและรื่นรมย์ ในการชมเมฆครับ ^__^ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ buncha2509@gmail.com CloudLoverClub@gmail.com www.facebook.com/CloudLoverClub อังคาร 22 พฤศจิกายน 2554
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
5
สารบัญ ภาค 1 : เมฆ & ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเมฆ
ลุก โฮเวิร์ด ชายผู้หลงรักมวลเมฆ รู้จักเมฆคิวมูลัสให้ถึงแก่น หมวกเมฆเกิดขึ้นได้อย่างไร ? จาก “เมฆสีรุ้ง” ... สู ่ “เมฆมุก” สีสันอันน่าทึ่งของธรรมชาติ ปรากฏการณ์ “หมวกเมฆสีรุ้ง” แสนประทับใจ ปริศนาเมฆจานบิน เมฆลายพลิ้วเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ชวนดู “เมฆเต้านม” สุดพิศวง ปริศนาแห่ง “เมฆทีปราตรี” “เมฆลายคลื่น” ไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว “ฟ้าลายปลาแมกเคอเรล” เป็นอย่างไรกันแน่ UFO แท้ หรือ ... คือ รูเมฆ ! คอนเทรล & ดิสเทรล คู่ตรงข้ามฝีมือมนุษย์ พลังแห่ง “ลมเฟิน” “เมฆป้าย” เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ลมใกล้ภูเขาทำ�ให้อากาศยานตกได้อย่างไร ? “เมฆกันชน” สุดอลังการในเมืองฟ้าอมร “เมฆม้วนกลิ้ง” แสนพิศวง “มอร์นิ่งกลอรี่” เมฆม้วนกลิ้งที่ยาวที่สุดในโลก แอสเพอเรตัส (ว่าที่) เมฆรูปแบบใหม่ของโลก !
7 8 22 32 38 50 56 62 66 72 80 88 94 100 108 114 120 126 132 136 144 รื่นรมย์ ชมเมฆ
6
กำ�เนิด “หมอก” นานาพรรณ ไขปริศนา “อาทิตย์ทรงกลด” ด้วยแบบจำ�ลอง เมฆกับภาษาและวรรณกรรม “ยกเมฆ” วิชาทำ�นายทายทักในสมัยโบราณ
150 164 182 190
ภาค 2 : เมฆ & ท้องฟ้าจากชมรมคนรักมวลเมฆ
197 198 209 215 230 240
เมฆแห่งจินตนาการ พบผ่านพิรุณโปรยปราย เฉิดฉายแสงสีแสนสวย รุ่มรวยฟ้าหลากอารมณ์ ชื่นชมเมฆจากท้องนภา
ภาคผนวก แบบทดสอบ คุณ “ตกหลุมรัก” เมฆ & ท้องฟ้า เข้าแล้ว - ใช่หรือไม่ ? ดัชนี
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
252 256
ภาค 1 :
เมฆ & ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเมฆ
8
ลุก โฮเวิร์ด
ชายผู้หลงรักมวลเมฆ
หลายคนที่ชื่นชอบการมองดูเมฆแล้วจินตนาการเป็นรูปร่างต่าง ๆ คงจะ รู้ดีว่าภาพที่เห็นจะไม่คงที่อยู่บนท้องฟ้าเป็นเวลานานนัก เพราะเมฆจะ เคลื่อนที่และแปรเปลี่ยนลักษณะไปเรื่อย ๆ ช้าบ้าง เร็วบ้าง ขึ้นอยู่กับ สภาวะลมฟ้าอากาศในขณะนั้น ๆ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
9
ด้วยความทีเ่ มฆมีรปู ร่างแปลก ๆ และดูเหมือนว่าไม่มรี ะเบียบนีเ้ อง ที่ทำ�ให้การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ในอดีตเป็นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องอื่น ๆ ที่มีระบบระเบียบมากกว่า เช่น ดวงดาวบน ท้องฟ้าซึ่งโคจรไปอย่างมีหลักเกณฑ์คำ�นวณได้ อันเป็นต้นกำ�เนิดของวิชา ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เป็นต้น จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ก็มีชายสองคนที่เชื่อว่าเราน่าจะ จัดระเบียบลักษณะเมฆได้ คนแรกเป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อ ชอง บัปตีสต์ เดอ ลามาร์ก (Jean Baptiste de Lamarck) ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นชาวอังกฤษ ชื่อ ลุก โฮเวิร์ด (Luke Howard) ในปี ค.ศ. 1802 ลามาร์กตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการเกิดเมฆ ในวารสาร Annuaire Méteorologique เล่ม 3 ว่า เมฆอาจจัดแบ่งได้เป็น ห้าประเภท ได้แก่ en forme de voile (เมฆที่มีลักษณะเหมือนผ้าม่าน) attroupés (เมฆก้อนขนาดใหญ่) pommelés (เมฆก้อน) en balayeurs (เมฆลักษณะคล้ายไม้กวาด) groupés (เมฆรวมตัวเป็นกลุ่ม) อีกราว 3 ปีตอ่ มา เขาแบ่งลักษณะของเมฆละเอียดขึน้ อีก จนทำ�ให้ ได้เมฆทั้งสิ้น 12 แบบ แต่แนวคิดของลามาร์กไม่ได้รบั ความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์และ นักธรรมชาตินยิ มร่วมสมัยมากนัก ทัง้ นีใ้ นคำ�นำ�ของหนังสือ International Cloud Atlas จัดพิมพ์โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ฉบับปี ค.ศ. 1939 สั น นิ ษ ฐานว่ า เป็ น เพราะเขาตั้ ง ชื่ อ เมฆเป็ น ภาษาฝรั่ ง เศส ซึ่ ง ทำ � ให้ นั ก วิทยาศาสตร์ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษานี้ไม่ยอมรับ อีกทั้งวารสาร Annuaire Méteorologique ฉบับที่มีบทความของเขาตีพิมพ์นั้น ปรากฏบทความ รื่นรมย์ ชมเมฆ
10
ชอง บัปตีสต์ เดอ ลามาร์ก
เชิงพยากรณ์ที่อ้างอิงข้อมูลทางโหราศาสตร์อยู่ด้วย ส่งผลให้แนวคิดการ จัดแบ่งประเภทเมฆของลามาร์กถูกลดความน่าเชื่อถือลงไป ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1802 นัน้ เอง นักธุรกิจหนุม่ ชาวอังกฤษ อายุ 24 ปี ชือ่ ลุก โฮเวิรด์ ได้เสนอแนวคิดการจัดแบ่งประเภทเมฆต่อสมาคม แอสกีเซียน (the Askesian Society) ในหัวข้อว่า “On the Modifications
ลุก โฮเวิร์ด
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
11
of Clouds” หรือ “การจัดแบ่งประเภทของเมฆ” (คำ�ว่า modification ในที่นี้เป็นภาษาเก่าเมื่อกว่า 200 ปีก่อน หมายถึง classification หรือ การจัดแบ่งประเภท) ใจความหลักของการนำ�เสนอก็คือ เมฆทั้งมวลอาจจัดแบ่งเป็น แบบหลัก ๆ ได้เจ็ดแบบ โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาละติน ดังนี้ 1) คิวมูลัส (Cumulus) แปลว่า กอง (heap) : เมฆที่มีลักษณะ เป็นก้อนและมีฐานล่างค่อนข้างเรียบ 2) สเตรตัส (Stratus) แปลว่า ชั้น (layer) : เมฆที่มีลักษณะเป็น เป็นแผ่นบาง ๆ คลุมออกไปในแนวราบ 3) ซีร์รัส (Cirrus) แปลว่า ม้วนงอ (curl) : เมฆที่มีลักษณะเป็น เส้นริ้ว ๆ ยาว 4) คิ ว มู โ ล-ซี ร์ โ ร-สเตรตั ส (Cumulo-cirro-stratus) หรื อ นิมบัส (Nimbus) แปลว่า เมฆสีดํา (dark cloud) : เมฆที่ท�ำ ให้เกิดฝน 5) ซีร์โร-คิวมูลัส (Cirro-cumulus) : เมฆซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างซีร์รัสกับคิวมูลัส 6) ซีร์โร-สเตรตัส (Cirro-stratus) : เมฆซึ่งมีลักษณะผสมผสาน ระหว่างซีร์รัสกับสเตรตัส 7) คิวมูโล-สเตรตัส (Cumulo-stratus) : เมฆซึ่งมีลักษณะผสม ผสานระหว่างคิวมูลัสกับสเตรตัส (ภายหลังได้รับการปรับลำ�ดับคำ�เป็น สเตรโตคิวมูลสั (Strato-cumulus) เพือ่ เน้นลักษณะทีเ่ มฆชนิดนีแ้ ผ่กระจาย ออกไปในแนวนอน)
รื่นรมย์ ชมเมฆ
22
รู้จักเมฆคิวมูลัส ให้ถึงแก่น
ภาพของเมฆในใจคนส่วนใหญ่มักเป็นก้อน เรียกว่า คิวมูลัส (Cumulus) คำ�นี้มาจากภาษาละติน แปลว่า กอง (heap) เมฆคิวมูลัสเป็นเมฆพื้นฐาน ที่สำ�คัญ จึงน่าจะเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มขึ้นอีกหน่อย เริม่ จากภาพทัว่ ไปก่อน แสงอาทิตย์ทแ่ี ผดเผาพืน้ ดินจะทำ�ให้พน้ื ดิน ร้อน อากาศที่อยู่ติดพื้นก็จะร้อนตามและลอยตัวสูงขึ้น ไอน้าํ ที่อยู่ในอากาศ ก็ลอยตามขึน้ ไปด้วย เมือ่ ไอนา้ํ ไต่ระดับไปถึงจุดหนึง่ ซึง่ อุณหภูมเิ ย็นเพียงพอ เรียกว่า ระดับควบแน่น (condensation level) ไอนํ้า (ซึ่งเรามองไม่เห็น) ก็จะกลัน่ ตัวเป็นหยดนา้ํ เล็ก ๆ (ซึง่ เรามองเห็น) เมือ่ มีหยดนํา้ เล็ก ๆ จำ�นวน มากมาอยู่ด้วยกัน ก็คือ เมฆ นั่นเอง ในทางปฏิบตั ิ พืน้ ทีบ่ างบริเวณมักร้อนกว่าบริเวณทีอ่ ยูใ่ กล้เคียงกัน เช่น ภูเขาด้านทีม่ แี สงแดดส่องจะร้อนกว่าภูเขาด้านทีอ่ ยูใ่ นเงาแดด หรือหาก คิดถึงเกาะกลางทะเลในเวลากลางวัน พื้นดินบนเกาะจะร้อนกว่านํ้าทะเล โดยรอบ เป็นต้น ผลก็คือ เรามักเห็นเมฆก้อนลอยอยู่เป็นหย่อม ๆ เช่น ลอยอยู่เหนือเกาะ เป็นต้น ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
23
surface warms = พื้นดินอุ่นขึ้น warm air rises, expands, cools = อากาศอุ่น (และมีความชื้น) ลอยตัวขึ้น ขยายตัวออก และเย็นลง lifting condensation level = อากาศลอยตัวขึ้นถึงระดับควบแน่น
Convective Lifting and cooling = การให้ความร้อนทำ�ให้อากาศยกตัวสูงขึ้น และจากนั้นก็เย็นตัวลง Heated ground = พื้นร้อน ๆ
การเกิดเมฆเนื่องจากอากาศบริเวณใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจึงลอยตัวสูงขึ้น
รื่นรมย์ ชมเมฆ
26
หากคิวมูลัส มีดิโอคริส เติบโตต่อไปจนหนา ดังภาพข้างล่างที่ เห็นนี้จะเรียกว่า คิวมูลัส คอนเจสตัส (Cumulus congestus) หรือบางที ก็เรียกว่า คิวมูลัสที่ก่อตัวสูงเหมือนหอคอย (Towering Cumulus)
คิวมูลสั คอนเจสตัส
เมฆคิวมูลัส คอนเจสตัส เป็นเมฆที่อลังการ และอาจสูงขึ้นไป ได้ถึงราว 6 กิโลเมตร กล่าวคือ สูงขึ้นไปถึงระดับเมฆระดับกลาง (middle clouds) เลยทีเดียว เมฆชนิดนี้ยังอาจทำ�ให้ฝนตกกระหนํ่าอีกด้วย (แต่ ไม่มีฝนฟ้าคะนอง) ในชมรมคนรักมวลเมฆเรียก คิวมูลสั คอนเจสตัส ว่า เมฆคิวมูลสั แบบอวบระยะสุดท้าย เพราะหากเติบโตไปมากกว่านี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็น เมฆคิวมูโลนิมบัส (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
27
กลไกการเกิดเมฆก้อนที่เติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการอธิบายการเกิดเมฆตามหลักการทางอุตุนิยมวิทยา จำ�เป็นต้องใช้ แบบจำ�ลองที่มีตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำ�หรับกรณีที่เมฆก้อนเติบโต ขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ จะขอยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ เพื่อให้คุณผู้อ่านที่สนใจ ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองได้ สมมติว่าในบริเวณหนึ่ง อุณหภูมิของอากาศลดลงตามความสูง ด้วยอัตรา 12 องศาเซลเซียสต่อ 1 กิโลเมตร ค่านี้เรียกว่า อัตราการลด อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมตามความสูง (environmental lapse rate) ใน ภาพจะเห็นว่า ถ้าพื้นดินมีอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ที่ระยะสูงขึ้นไป ทุก ๆ 1 กิโลเมตร อากาศโดยรอบจะมีอุณหภูมิลดลงเหลือ 28, 16, 4 และ -8 องศาเซลเซียส ตามลำ�ดับ ในการพิจารณาการเกิดเมฆ จะใช้ก้อนอากาศตัวแทน (a parcel of air) ที่ลอยขึ้นจากพื้น โดยก้อนอากาศนี้เมื่ออยู่ที่พื้นจะอยู่ในสมดุลทาง ความร้ อ นกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม และมี อุ ณ หภู มิ 40 องศาเซลเซี ย ส เท่ า กั บ อากาศโดยรอบ นอกจากนี้ยังกำ�หนดเงื่อนไขต่อไปอีกว่าไม่มีความร้อน ไหลเข้าหรือออกจากก้อนอากาศนี ้ กระบวนการดังกล่าวนีเ้ รียกว่า กระบวน การแอเดียแบติก (adiabatic process) หากมีสาเหตุใด ๆ ก็ตามที่ทำ�ให้ก้อนอากาศนี้ลอยตัวสูงขึ้นเล็ก น้อย ก้อนอากาศจะขยายตัวออกเนื่องจากความดันอากาศโดยรอบลดลง ผลจากการขยายตัวนี้จะทำ�ให้ก้อนอากาศเย็นลง อุณหภูมิของก้อนอากาศจะลดลงเร็วแค่ไหนขึ้นกับสภาพของ ไอนํ้าในอากาศว่าอิ่มตัว (saturated) หรือไม่ ดังนี้ - หากยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว ก็จะถือว่าเป็นอากาศแห้ง (แม้ว่า จะมีไอนํ้าปะปนอยู่ในอากาศจำ�นวนหนึ่งก็ตาม) ทั้งนี้อุณหภูมิจะลดลงตาม รื่นรมย์ ชมเมฆ
32
หมวกเมฆ
เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ใครที่ชอบมองท้องฟ้า บางทีโชคดีอาจจะเห็นเมฆลักษณะแปลก ๆ โดย บนเมฆก้อนใหญ่อย่าง คิวมูลัส คอนเจสตัส (Cumulus congestus) หรือ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ช่วงก่อตัวใหม่ ๆ จะมีเมฆบาง ๆ ปกคลุม อยู่ เมฆบาง ๆ นี้เรียกว่า หมวกเมฆ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า pileus (ไพลีอัส) คำ�ว่า pileus เป็นภาษาละติน แปลว่า cap (หมวก) และน่ารู้ ด้วยว่าในทางชีววิทยาก็มีการใช้คำ�ว่า pileus ซึ่งหมายถึงหมวกเห็ดด้วย เช่นกัน หมวกเมฆมีชื่อเรียกอื่น ๆ ด้วยเช่น เมฆผ้าคลุม (scarf cloud) และเมฆหมวกแก๊ป (cap cloud) อย่างไรก็ดีคำ�ว่า cap cloud มักจะใช้กับ เมฆที่ลอยอยู่เหนือภูเขาและมีกลไกการเกิดแตกต่างจากหมวกเมฆซึ่งลอย อยู่บนเมฆก้อนที่เรากำ�ลังสนใจอยู่นี้ แล้วหมวกเมฆเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน อธิบายโดยย่อก็คอื เมฆก้อนใหญ่ซง่ึ กำ�ลังเติบโตขึน้ ในแนวดิง่ อย่าง ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
33
หมวกเมฆ ภาพถ่ายโดย ผดุง แสงแก้ว สมาชิกชมรมคนรักมวลเมฆ
ชื่อเรียกส่วนต่าง ๆ ของเห็ด
รวดเร็ว จะทำ�ให้อากาศที่อยู่เหนือยอดเมฆก้อนถูกผลักให้พุ่งสูงขึ้นไปด้วย หากอากาศที่ถูกผลักขึ้นไปนี้มีความชื้นเพียงพอและมีอุณหภูมิลดตํ่าลงจน ถึงจุดนํ้าค้าง (dew point) ไอนํ้าในอากาศก็จะควบแน่นกลายเป็นหยดนํ้า ขนาดเล็ก ๆ จำ�นวนมาก ซึ่งเมื่อมองโดยรวมก็คือ หมวกเมฆ นั่นเอง รื่นรมย์ ชมเมฆ
38
จาก “เมฆสีรุ้ง” ... สู่ “เมฆมุก”
สีสันอันน่าทึ่งของธรรมชาติ
หลายคนอาจเคยเห็นเมฆสวย ๆ สีสันสดใสทั้งเขียว เหลือง ส้ม ชมพู ฯลฯ ปะปนกันไปงดงามดั่งภาพวาด บางคนคงจะอดสงสัยไม่ได้ว่า สีสันเหล่านี้ เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน เพื่อตอบคำ�ถามนี้ ก็ต้องย้อนไปดูรายละเอียดว่า เมื่อแสงสีขาว จากดวงอาทิตย์ตกกระทบหยดนํ้าในเมฆแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แสงสีขาวประกอบด้วยแสงสีรุ้งเจ็ดสี ได้แก่ ม่วง-คราม-นํ้าเงิน- เขียว-เหลือง-แสด-แดง (ตามรหัสช่วยจำ� “แม่คนนี้ขาลายสิ้นดี” หรือ “ม่วยคนนีข้ าวและสวยดี”) ซึง่ เมือ่ ตกกระทบหยดนํา้ ในเมฆ ก็จะมีบางส่วน สะท้อนออกมา บางส่วนทะลุเข้าไปในหยดนํ้า และบางส่วนกระเจิงออก จากผิวของหยดนํ้า หยดนํ้าในเมฆส่วนมากมักมีขนาดใหญ่กว่าความยาวคลื่นแสง หลายเท่ า ทำ � ให้ ส ามารถสะท้ อ นแสงได้ ดี แสงสี ข าวที่ ต กกระทบเมฆ จึงสะท้อนออกมาเป็นสีขาวเหมือนเดิม เราจึงเห็นเมฆส่วนมากมีสีขาว ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
39
เมฆสีรุ้งแบบธรรมดาที่เกิดในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ ถ่ายโดยผู้เขียนที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 เวลา 18.02 น.
ด้วยเหตุน ้ี (หยดนา้ํ ในเมฆมีขนาดเฉลีย่ 20 ไมโครเมตร ในขณะทีแ่ สงสีแดง มีความยาวคลื่น 0.75 ไมโครเมตร และแสงสีม่วงมีความยาวคลื่น 0.39 ไมโครเมตร นั่นคือ หยดนํ้ามีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าความยาวคลื่นของแสง สีแดงและแสงสีม่วงราว 27 เท่า และ 51 เท่า ตามลำ�ดับ) อย่างไรก็ดีมีกรณีพิเศษที่หยดนํ้าในเมฆอาจมีขนาดเล็กจิ๋วราว ๆ 1-2 ไมโครเมตร (ซึง่ ใกล้เคียงกับขนาดของความยาวคลืน่ แสง) และมีขนาด ไล่เลี่ยกันเกือบทั้งหมด เช่น ในขณะที่เมฆเพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ ๆ สภาพ เงื่อนไขอย่างนี้แหละที่จะทำ�ให้แสงสีขาวที่กระเจิงออกจากผิวของหยดนํ้า แตกออกเป็นสีต่าง ๆ เรียกว่า การเลี้ยวเบน (diffraction) แสงสีต่างกันจะเลี้ยวเบนไปในทิศทางต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับขนาด หยดนํ้า ทั้งนี้สำ�หรับหยดนํ้าขนาดหนึ่ง ๆ แสงสีแดงจะเลี้ยวเบนไปมาก กว่าสีอื่น ๆ แต่หากเทียบกันระหว่างหยดนํ้าสองหยด ก็จะพบว่า หยดนํ้า ที่มีขนาดเล็กกว่าจะทำ�ให้แสงสีหนึ่ง ๆ เลี้ยวเบนไปมากกว่า รื่นรมย์ ชมเมฆ
รื่นรมย์์ ชมเมฆ
รื่นรมย์ ชมเมฆ
รื่นรมย์ ชมเมฆ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
รู้จักปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับเมฆ และดื่มดํ่ากับความงามของเมฆและท้องฟ้า จากเหล่าผู้ตกหลุมรักมวลเมฆ
หมวดวิทยาศาสตร์ ISBN 978-974-7727-65-4 ราคา 250 บาท
250.-
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ชมรมคนรักมวลเมฆ
เมฆคิวมูลัส เมฆเต้านม ความสุขจากฟากฟ้าที่ ใคร ๆ ก็สัมผัสได้ เมฆทีปราตรี เมฆลายพลิ้ว เมฆกันชน เมฆม้วนกลิ้ง