จากผู้เขียน
4
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังคมไทยให้ความสนใจกับเรื่องสภาวะแวดล้อม กันมากขึ้น สาเหตุหลักน่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า โลกร้อน อย่างไรก็ดีหนังสือและแหล่งข้อมูล พื้นฐานที่อธิบายแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศสำ�หรับคนทั่วไปที่อ่าน ง่ายและมีเนื้อหาร่วมสมัยยังมีไม่มากนัก จึงเกิดช่องว่างทางความรู้ที่เปิด โอกาสให้มายาคติในประเด็นต่างๆ (เช่น ฟ้าผ่าและสตอร์มเซิร์จ) เข้ามา ปะปนได้โดยง่าย หนังสือเล่มนี้พัฒนามาจากหนังสือ Know How & Know Why ลมฟ้าอากาศ โดยเพิ่มเนื้อหาในหลายเรื่องที่ส�ำ คัญ และแยกบางเรื่องออก ไปจัดทำ�ใหม่ในอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ที่สนใจได้ข้อมูลอย่างเต็ม อรรถรส คุณผู้อ่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ สามารถสมัคร เข้าร่วมกลุ่ม ชมรมคนรักมวลเมฆ ใน Facebook และสามารถสืบค้นภาพ ข้อมูล และเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจได้จากเว็บของชมรมฯ ที่ http:// www.CloudLoverClub.com อีกด้วย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
บัญชา ธนบุญสมบัติ พุธ 6 ตุลาคม 2553
คำ�นำ�จากหนังสือ Know How & Know Why ลมฟ้าอากาศ
สำ�หรับคนในเมืองใหญ่แล้ว เรื่อง “ลมฟ้าอากาศ” นั้น ดูเผินๆ อาจจะไม่ สำ�คัญเท่ากับเรื่องปากท้อง หรือปัญหาใหญ่ๆ ในทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ถ้าวันไหนฝนตกหนักทำ�ให้นํ้าท่วมแถมรถติด หรืออากาศร้อนอบอ้าว จนไม่อยากออกไปไหน ก็คงจะรู้สึกได้ทันทีว่าเรื่องนี้ก็สำ�คัญไม่เบา ส่วน คนที่มีวิถีชีวิตและอาชีพการงานผูกพันกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และชาวเรือ เรื่อง “ลมฟ้าอากาศ” นั้นนับเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจำ�วันและอาจเป็นปัจจัยที่กำ�หนดความกินดีอยู่ดีได้เลยทีเดียว ลมฟ้าอากาศนั้นมีความงดงามไม่น้อย เด็กๆ อาจชอบมองกลุ่ม เมฆรูปร่างแปลกที่ล่องลอยไปในท้องฟ้าแล้วจินตนาการไปถึงสิ่งต่างๆ ที่ พวกเขารู้จัก หลายท่านก็คงจะชอบมองสายรุ้งแสนสวยในฟ้าหลังฝน และก็คงมีอีกหลายท่านที่ฉงนกับสีสันอันแสนวิจิตรของท้องฟ้าทั้งในยาม เช้าและยามเย็น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า สภาวะของบรรยากาศในระยะ ยาว หรือที่เรียกว่า “ภูมิอากาศ” นั้น ได้มีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนดวิถีชีวิต ของคนและวัฒนธรรมของอารยธรรมต่างๆ มาตั้งแต่มนุษย์เริ่มเดินบนผิว โลก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศยังมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับเส้นทาง วิวัฒนาการของสรรพชีวิตบนโลกอีกด้วย หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะช่ ว ยให้ คุ ณ ได้ สั ม ผั ส ทั้ ง แง่ บ วกและแง่ ล บของ ลมฟ้าอากาศ และจะช่วยให้คุณเข้าใจการพยากรณ์อากาศได้ชัดเจนขึ้น รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
5
เพื่อว่าคุณจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่าง ทันท่วงที ผมมีความหวังลึกๆ ว่า เมื่อคุณได้เข้าใจพื้นฐาน และได้เห็น ตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างหลากหลายแล้ว คุณก็คงจะพยักหน้าเมื่อได้ฟังคำ� พยากรณ์อากาศจบ และเตรียมตัวให้ถูกต้องตามสภาพลมฟ้าอากาศที่คุณ แม่ธรรมชาติได้ก�ำ หนดไว้ ไม่แน่ว่าเมื่อได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างถึงแก่นแล้ว คุณ อาจจะยิ้มอย่างอารมณ์ดีให้กับท้องฟ้าแสนสวยก็เป็นได้ !
6
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
บัญชา ธนบุญสมบัติ 9 มิถุนายน 2546
คำ�นิยม
มนุษย์พันธุ์พิเศษ ดิฉันเติบโตมาในสังคมไทย ยุคเดียวกับหลายๆ คน ที่ตระหนัก ว่าความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์จะเป็นแม่บทของการมีชีวิตของเรา ตลอดไป ทำ�ให้จำ�ได้ว่าพื้นฐานการอ่าน มักอยู่บนโจทย์แห่งความ “อยากรู้ อยากเห็น” จึงอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ของ ไอแซก อาซิมอฟ เป็นแบบ ฉบับ อ่านเรื่องผจญภัยของ โรบินสัน ครูโซ อย่างสนุกสนานเพราะมีคำ� อธิบายปรากฏการณ์หลายเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน เมื่ออยากอ่านเรื่อง เกี่ยวกับวงการแพทย์ก็ไม่มีวันมองข้าม โรบิน คุก และเมื่อชอบนิยายแนว สืบสวนสนุกตื่นเต้น เราจะไม่พลาด อากาทา คริสตี้ การอ่านเรื่องแต่งที่ทำ�โดยผู้มีความรู้ด้าน “ความจริง” นั้นแทบ จะสิ้นสุดลง เมื่อต้องมาทำ�งานหนังสือพิมพ์ เวลาที่มีอยู่ต้องจัดสรรให้กับ การอ่านหนังสือประเภทเรื่องจริง (นอนฟิกชั่น) มากกว่าเรื่องแต่ง (ฟิกชั่น) ในที่สุด ในความทรงจำ�หลายปีที่ผ่านมานี้ ดิฉันพยายามจะหางานเขียน ใหม่ๆ มาแทนที่ความประทับใจที่เคยมีต่อ เจ้าชายน้อย ของ อังตวน เดอ แซงแตก ซูปรี หรือ ร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ของ กาเบรียล กาเซีย มาเควซ จนมาพบแนวการเขียนนวนิยายแนวการเมืองของ เจฟเฟอรี อาชเชอร์ ก็รู้ว่านี่คือแนวการเขียนหนังสือที่ตัวเองชอบ เพราะเต็มไปด้วย รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
7
8
รีเสิร์ชข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสังคม สร้างเหตุการณ์ละม้ายเรื่อง จริง มาผูกเป็นพล็อต พบว่าในที่สุดตัวเองได้หันไปสนใจงานเขียนแนววิทยาศาสตร์มาก ขึ้นแทน…ถึงกับสนุกมากกับการอ่าน Arabian night ของ เซอร์ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน อีกหลายครั้ง เพราะจับไต๋ได้ว่าคนเขียนให้ความสนใจ กับความสงสัยในวิทยาศาสตร์และปรัชญามาก่อน จึงได้เกิดจินตนาการ พิสดารพันลึกเรื่องเวทมนตร์ได้ถึงขนาดนั้น วันหนึ่งดิฉันได้อ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักวิทยาศาสตร์หน้าใหม่ ชื่อ บัญชา ธนบุญสมบัติ ในคอลัมน์ประจำ�หน้าวิทยาศาสตร์ของเซ็กชั่น จุดประกาย ทุกวันพุธ เป็นการอธิบายประเด็นและศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย จากข่าว จากผลพวงในกระแสนิยม บริโภคในชีวิตประจำ�วัน ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นกับ “มุมมอง” และ “แง่คิด” จากคอลัมน์นี้มาก ในฐานะคนอ่านเรื่องนอนฟิกชั่นมากกว่าฟิกชั่น ดิฉัน เชื่อว่าคุณบัญชามีแววและมีแนวโน้มว่าสามารถเป็นนักเขียนนิยายวิทยา ศาสตร์คนใหม่ของไทยได้อย่างงดงาม ถ้าเขาให้เวลากับงานเขียนมากขึ้น ในอนาคต ที่ดิฉันมองเช่นนั้น เพราะเห็นว่า มุมมองของนักวิทยาศาสตร์ หนุ่มคนนี้ เป็นมุมมองของคนที่อยากรู้อยากเห็น และดูเหมือนเขามักจะมี พื้นที่เหลือเฟือสำ�หรับให้คนร่วมสังคมได้ “คิด” ร่วมกับเขาด้วย นี่คือคุณสมบัติที่ดีของคนทำ�งานด้านเขียน คือ เว้นที่ว่างสำ�หรับ จินตนาการของคนอื่น คุณบัญชาแจ้งเกิดในฐานะนักเขียนโดยฝีมือและมุมมอง “ซนๆ แปลกๆ” ของคนหนุ่มที่มีข้อมูลเต็มที่ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคม เมื่อ รวมกับแนวคิดและความอยากรู้อยากเห็น อยากหาคำ�ตอบให้กับข้อสงสัย แบบสื่อมวลชน ทำ�ให้ข้อเขียนของเขามีพลัง มีความสดและไม่เลื่อนลอย ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ในทุกๆ โจทย์ที่เขาตั้งขึ้น ช่วงที่มีข่าวเรื่องการก่อการร้ายด้วยระเบิดพาวเวอร์เจลที่ภาคใต้ มี ค นอธิ บ ายเรื่ อ งนี้ ต่ อ สั ง คมน้ อ ยมาก ดั ง นั้ น เมื่ อ คุ ณ บั ญ ชาจั บ เรื่ อ ง พาวเวอร์ เ จลมาพู ด ในคอลั ม น์ ข องเขา เท่ า กั บ เขาได้ จู น หน้ า ที่ ข องนั ก วิทยาศาสตร์ ให้มาอยู่ในสื่ออย่างทันเหตุการณ์ หาคนอย่างเขาไม่พบบ่อยนักหรอกที่เมื่อเริ่มต้นคุยแล้วจะสนุก กับความสงสัยใคร่รู้ สนุกที่เขากระตือรือร้นอธิบายได้กระจ่างแทบทุก เรื่อง เช่น เมื่อเราคุยกันถึงเรื่องยาอีและผลของมัน เสื้อเกราะกันกระสุน กันกระสุนได้อย่างไร ลูกเสิร์ฟเทนนิสของภราดรรุนแรงแค่ไหน ไปจนถึง สาเหตุที่ท�ำ ให้ยานโคลัมเบียระเบิด ฯลฯ ดิฉันยินดีอย่างยิ่งที่วงการสื่อมวลชนได้ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์ มาเป็นผู้รายงานความจริงในอีกแง่มุมซึ่งเราขาดแคลน สังคมไทยต้องการ ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาอาชีพมาเป็นผู้ตอบคำ �ถามแก่คนในสังคม อย่างผู้รู้ ไม่ใช่ผู้คาดเดา เมื่อเรากำ�ลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แทบ ไม่มีทางออกอื่นใดให้เรา นอกจากทำ�ความเข้าใจกับเหตุผลที่มา เพื่อเรา จะได้รู้เท่าทันปัญหา แม้ว่าทุกวันนี้การรู้เท่าทันปัญหาอาจไม่เหลือทางออก สำ�หรับการแก้หรือป้องกันได้เลย... นอกจากเต็มใจเผชิญหน้าและยอมรับความจริง แม้จะเจ็บปวด ก็ตาม แม้เราจะรอคอยมนุษย์พันธุ์ ใหม่มาช่วยเรากู้ โลก เช่นในนิยาย วิทยาศาสตร์หลายเรื่อง แต่อย่างหนึ่งที่เราไม่ควรหลอกตัวเองหรือหนี ความจริงคือ เพราะโลกของเราใบนี้ถูกมนุษย์สร้าง และกำ�ลังจะถูกมนุษย์เอง นั่นแหละทำ�ลาย ! รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
9
ทั้งสิ้นทั้งปวงทำ�ให้ดิฉันระลึกได้ว่า การมีนักเขียนและคอลัมนิสต์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนมีความหมายอย่างยิ่งในวงการสื่อสารมวลชน โดย เฉพาะนักเขียนที่สามารถปรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยอธิบายข้อ เท็จจริงในสังคมให้กระจ่างขึ้นได้ ในหลายๆ คำ�ถาม อีกครั้งที่จะยํ้าว่า…ในฐานะคนทำ�หนังสือ… พวกเราขอต้อนรับ คุณบัญชา ธนบุญสมบัต ิ ด้วยความปราโมทย์ ! 10
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
จิราภรณ์ เจริญเดช บ.ก. เซ็กชั่นจุดประกาย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 3 มีนาคม 2546
สารบัญ 12 30 38 50 58 74 98 106 112 144 156 162 180 190
มาฟัง “พยากรณ์อากาศ” ให้ถึงแก่นกันเถอะ ! ความชื้นสัมพัทธ์คืออะไร ? เรื่องใกล้ตัวที่เราต้องรู้ ! ฝนเอยทำ�ไมจึงตก ? ฝนตกหนักเกี่ยวกับ “ร่องความกดอากาศตํ่า” อย่างไร ? เรื่องวุ่น ๆ ของพายุหมุนเขตร้อน 10 แง่มุมควรรู้เกี่ยวกับสตอร์มเซิร์จ วินด์เชียร์ & ไมโครเบิสต์...เมื่อเครื่องบินโดนเล่นงาน ระวัง “พายุฤดูร้อน” โจมตีช่วงปิดเทอม 20 คำ�ถามกับภัย “ฟ้าผ่า” ทำ�ตัวอย่างไร...เมื่อเจอภัยนํ้าท่วม ? จะรับมือ “ฮีตสโตรก” (โรคลมเหตุร้อน) กันอย่างไรดี ? ถ้าหิมะจะตกในเมืองไทย อากาศต้องเป็นอย่างไร ? พยากรณ์อากาศกันอย่างไร ทำ�ไมเดี๋ยวก็แม่น-เดี๋ยวก็มั่ว ? คำ�พังเพยเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศมีส่วนจริงแค่ไหน ? ภาคผนวก อยากรู้ข่าวเกี่ยวกับ “ลมฟ้าอากาศ” สามารถติดต่อที่ไหนได้บ้าง ? รายชือ่ พายุหมุนเขตร้อนในแถบทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟกิ ตอนบน เอกสารอ้างอิงทั่วไป ดัชนี
202 204 216 217
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
11
มาฟัง
“พยากรณ์อากาศ” ให้ถึงแก่นกันเถอะ!
12
ฝรั่งในยุโรปมีคำ�พังเพยอยู่ว่า ถ้ากบหรือเป็ดร้องติดๆ กันไม่หยุดเมื่อใด แสดงว่าในไม่ช้าจะมีฝนตกตามมา เรื่องนี้เลยเถิดไปถึงกับมีอยู่ยุคหนึ่ง ที่พ่อค้าหัวใสประดิษฐ์กรงแก้วขึ้นมา ใส่กบลงไปสามตัว แล้วอ้างว่านี่คือ เครื่องพยากรณ์อากาศชั้นเยี่ยม ! ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ซื้อหรือไม่ซื้อ ก็ตามอัธยาศัยละครับ ลมฟ้ า อากาศนั้ น เป็ น เรื่ อ งใกล้ ตั ว เราเหลื อ เกิ น คนที่ มี อ าชี พ เกี่ยวข้องกับลมฟ้าอากาศ อย่างเช่น เกษตรกร หรือนักบิน เขาจะรู้สึกได้ดี แต่คนในเมืองส่วนใหญ่อาจจะไม่นึกถึง จนกว่าฝนตกหนักจนนํ้าท่วมซอย หรือรถติดหนึบ ดังนั้นการพยากรณ์อากาศจึงมีประโยชน์แน่ แต่ถ้าจะให้ดี ก็ต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อน และถ้าเอาไปใช้ ในการตัดสินใจได้ด้วยก็ยิ่งแจ๋ว ลองดูตัวอย่างจริงกันหน่อย อย่างคำ�พยากรณ์ส�ำ หรับภาคเหนือที่ เคยออกประกาศไปแล้วนั้นมีความว่า “ท้องฟ้ามีเมฆมากปกคลุม และมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป กับมี ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ฝนตกหนักบางพื้นที่” ฟังดูเผินๆ ก็ง่ายดี และคงจะเข้าใจได้ ไม่ยากว่า ในวันที่กล่าวถึง นั้น กรมอุตุฯ เขาเตือนให้ระวังฝนในภาคเหนือ แต่ถ้าถามว่าที่ว่าเมฆมาก นั้น มากแค่ไหนกัน ? หรือที่ว่าฝนตกหนักนี่ หนักอย่างไร ? ด้วยเหตุนี้ละครับ ผู้รู้จึงต้องให้ความหมายเฉพาะกับคำ�ที่ดูง่ายๆ อย่าง “เมฆมาก” “ฝนฟ้าคะนอง” “เกือบทั่วไป” “ฝนหนัก” และ “บาง พื้นที่” (หรือ “บางแห่ง”) ให้มีความแม่นยำ�แบบคิดเป็นตัวเลขได้ ปริมาณเมฆในท้องฟ้านั้น นักอุตุนิยมวิทยาท่านให้สมมติว่าพื้นที่ เต็มท้องฟ้าเท่ากับ 10 ส่วน (บางตำ�ราก็ว่า 8 ส่วน) เมื่อตกลงกันแบบนี้ แล้ว พอมองขึ้นไปบนฟ้า ถ้าหากท้องฟ้าไร้เมฆหรือมีเมฆน้อยกว่า 1 ส่วน ก็จะเรียกว่า “ท้องฟ้าแจ่มใส” (fine) (แต่ไม่มี “ท้องฟ้าบรรหาร” นะคร้าบ !) ผมเลยขอเรียงลำ�ดับให้ดูกันจะจะว่า ปริมาณเมฆแค่ไหนเรียกว่าอย่างไร ตามเกณฑ์จ�ำ นวนเมฆในท้องฟ้า ดังนี้
ท้องฟ้าโปร่ง
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
13
ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน 14
ท้องฟ้ามีเมฆมาก
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ท้องฟ้าแจ่มใส (fine) ท้องฟ้าโปร่ง (fair) เมฆบางส่วน (partly cloudy sky) เมฆเป็นส่วนมาก (cloudy sky) เมฆมาก (very cloudy sky) เมฆเต็มท้องฟ้า (overcast sky)
: ไม่มีเมฆ หรือมีน้อยกว่า 1 ส่วน : มีเมฆ 1 ส่วน ถึง 3 ส่วน : มีเมฆเกินกว่า 3 ส่วน ถึง 5 ส่วน : มีเมฆเกินกว่า 5 ส่วน ถึง 8 ส่วน : มีเมฆเกินกว่า 8 ส่วน ถึง 9 ส่วน : มีเมฆเกินกว่า 9 ส่วน ถึง 10 ส่วน
ส่วน “ฝนฟ้าคะนอง” (thundery rain) หมายถึง ฝนที่ตกลงมา เป็นครั้งคราว หรือเป็นระยะ ประเดี๋ยวก็แรง ประเดี๋ยวก็ค่อย แถมมักมี ฟ้าแลบหรือฟ้าคะนองร่วมด้วย (ในความหมายกว้างๆ ฝนฟ้าคะนองจะรวม ลูกเห็บและหิมะด้วย)
ท้องฟ้ามืดครึ้ม เพราะฝนกำ�ลังจะมา
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
15
ความชื้นสัมพัทธ์ คืออะไร? เรื่องใกล้ตัวที่เราต้องรู้!
30
บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินว่า ความชื้นสัมพัทธ์ ในวันหนึ่งๆ เป็นเท่านั้นเท่านี้ แต่ ที่ น่ า สนใจกว่ า ก็ คื อ เมื่ อ ใดก็ ต ามที่ อ ากาศร้ อนและชื้น คุ ณก็จะรู้สึก เหนียวหนึบหนับ ไม่ค่อยสบายตัว จึงน่าจะมาดูกันใกล้ๆ หน่อยว่า เจ้า ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศคืออะไร ? สัมพัทธ์กับอะไร ? และเกี่ยวกับ ความรู้สึกสบายตัว ไม่สบายตัวของเราได้อย่างไร ? ก่อนที่จะตอบปัญหาข้างต้น คงต้องถอยกลับไปตั้งหลักที่องค์ ประกอบของอากาศกันก่อน อากาศที่เราหายใจเข้าไปตลอดเวลาประกอบ ด้วยแก๊สหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน (N2) และออกซิเจน (O2) ส่วนที่เหลือ เป็นไอนํ้า และแก๊สอื่นๆ เล็กน้อย สำ�หรับไอนํ้า (หรือความชื้น) ก็มีได้ สูงสุดราว 4-5% โดยอากาศที่ไม่มีไอนํ้าปะปนอยู่เลย (นั่นคือมีไอนํ้า 0%) เรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอนํ้าปนอยู่เรียกว่า อากาศชื้น ถ้ามี ไอนํ้าน้อยก็ชื้นน้อย ถ้ามีมากก็ชื้นมาก แต่ความชื้นหรือปริมาณไอนํ้าในอากาศยังขึ้นกับอุณหภูมิของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
อากาศอีกด้วย ที่อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ อากาศจะสามารถจุไอนํ้า สูงสุด ณ สภาวะสมดุล ได้แค่ปริมาณหนึ่งเท่านั้น เช่น ที่ความดันบรรยากาศที่ระดับเฉลี่ยของนํ้าทะเล อากาศหนัก 1 กิโลกรัม ที่มีอุณหภูมิ 0 ํC, 10 ํC, 20 ํC และ 30 ํC จะจุไอนํ้าได้สูงสุด 3.5 กรัม, 7 กรัม, 14 กรัม และ 26.5 กรัม ตามลำ�ดับ พูดง่ายๆ คือ อากาศอุ่นจุไอนํ้าได้มากกว่า อากาศเย็น ถ้ามีความดันเท่าๆ กัน ซึ่งก็คล้ายกับการที่นํ้าอุ่น (หรือนํ้า ร้อน) สามารถละลายเกลือหรือนํ้าตาลได้มากกว่านํ้าเย็นนั่นเอง เพราะ อากาศก็เป็นสารละลาย (ของแก๊สชนิดต่างๆ) ส่วนนํ้าเกลือหรือนํ้าเชื่อม (นํ้าผสมนํ้าตาล) นั้นเป็นสารละลายของเหลว โดยเมื่อใดที่อากาศจุไอนํ้า ได้สูงสุด ณ สภาวะสมดุล ก็จะเรียกว่า อากาศอิ่มตัว (saturated air) หลักการนี้อาจมองย้อนกลับได้ว่า อากาศเย็นจุไอนํ้าได้น้อยกว่า อากาศอุ่น ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราทำ�ให้อากาศชื้นที่มีไอนํ้าอยู่ปริมาณ หนึ่งเย็นตัวลงเรื่อยๆ จนถึงอุณหภูมิเฉพาะค่าหนึ่ง อากาศจะอุ้มไอนํ้าไว้
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
31
ฝนเอยทำ�ไมจึงตก?
38
ในช่วงฤดูฝน หลายท่านคงจะเคยได้ยินเพื่อนๆ รอบตัวเปรยว่า ทำ�ไมฝน ถึงได้ชอบตกหลังเลิกงานซะจริงๆ ก็เลยคิดว่าน่าจะลองคิดต่ออีกสักนิด ว่า มีเบื้องหลังอะไรซุกซ่อนอยู่ในคำ�พูดทำ�นองนี้บ้างไหม ข้อสังเกตที่ว่า “ฝนชอบตกหลังเลิกงาน” น่าจะมาจากความรู้สึก ของคนในเมืองใหญ่เป็นหลัก โดยพูดปนๆ ไปกับความรู้สึกว่าฝนหลังเลิก งานทำ�ให้กลับบ้านไม่สะดวก อะไรทำ�นองนี้ อย่างไรก็ดีเรื่องนี้มีเหตุผลตรงไปตรงมา เพราะในเวลากลางวัน พื้นดินได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำ�ให้อากาศผิวพื้นร้อนและลอยตัว ขึ้น เมื่ออากาศลอยตัวสูงขึ้นก็จะเย็นตัวลงตามกฎ “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ใน บรรยากาศชั้นล่างสุด หากอากาศเย็นลงจนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่เรียกว่า จุดนํ้าค้าง (dew point) ก็จะทำ�ให้ ไอนํ้ากลายเป็นหยดนํ้าเล็กๆ จำ�นวน มาก ถ้ามองภาพรวมก็คือเมฆนั่นเอง ถ้าหยดนํ้าในเมฆเติบโตมีขนาด ใหญ่มากขึ้นจนถึงจุดหนึ่งซึ่งหนักเกินไปจนกระแสลมพยุงเอาไว้ ไม่ไหว ก็ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
จะตกลงมาเป็นฝน
Solar heating = แสงอาทิตย์ทำ�ให้พื้นดินและอากาศร้อนขึ้น Rising thermal = อากาศร้อนลอยตัวขึ้น Condensation level = ระดับกลั่นตัว
การเกิดเมฆด้วยกลไกการพาความร้อน เมื่ออากาศบริเวณพื้นดินร้อนก็จะลอยตัว สูงขึ้น จนกระทั่งไอนํ้าในอากาศลอยถึง ระดับกลั่นตัวก็จะกลายเป็นหยดนํ้าและเมฆ
“ฝนหลังเลิกงาน” จึงมีชื่อเรียกตามสาเหตุการเกิดว่า ฝนที่เกิด จากการพาความร้อน (convective rain) โดยอาจตกเป็นแห่งๆ ได้ทุกวัน ตลอดหน้าฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงเวลา
เมฆคิวมูลัสคอนเจสทัส (Cumulus Congestus) เป็นตัวอย่างเมฆที่เกิดจากการพาความร้อน
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
39
ฝนตกหนักเกี่ยวกับ
“ร่องความกดอากาศตํ่า” อย่างไร?
50
ในช่วงหน้าฝน ถ้าฟังข่าวรายงานสภาพลมฟ้าอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ก็อาจจะได้ยินคำ�อธิบายทำ�นองนี้ “แนวร่องความกดอากาศตํ่า ตัวการฝนตก เลื่อนจากภาคเหนือ ตอนบนลงมาอยู่แถวภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนแล้ว สถานการณ์ล่าสุดเมื่อเช้าวันศุกร์ ร่องความกดอากาศตํ่ายังพาดเข้าไปสู่หย่อม ความกดอากาศตํ่า ที่อยู่ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง...” จึงน่าสงสัยว่า เจ้า “ร่อง” และ “หย่อม” ความกดอากาศตํ่านี่ หน้าตาเป็นอย่างไร และทำ�ไมถึงถูกกล่าวหาว่าทำ�ให้ฝนตก (จนอาจเกิด นํ้าท่วมได้) แต่ถ้าจะตอบคำ�ถามนี้ ก็ต้องถอยไปตั้งหลักที่แนวคิดพื้นฐาน ด้านลมฟ้าอากาศสักหน่อย อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่นี้ประกอบด้วยแก๊สชนิดต่างๆ เจ้าแก๊ส เหล่านี้ถูกโลกดึงดูดทำ�ให้มีนํ้าหนักกดลงในแนวดิ่ง ซึ่งจะมีนํ้าหนักมาก ที่สุดที่ผิวโลก และค่อยๆ ลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น ถ้าเอานํ้าหนักที่กด ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
51
ร่องความกดอากาศตํ่าทำ�ให้เกิดฝนตกหนัก
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
แผนภาพต่อไปนี้แสดงขั้นตอนการเกิดฟ้าผ่าแบบลบ
ขั้นตอนของการเกิดฟ้าผ่าแบบลบ 1) อิ เ ล็ ก ตรอน (ซึ่ ง มี ป ระจุ ล บ) กลุ่ ม แรก เคลื่อนที่ออกจากบริเวณฐานเมฆลงมา เรียก ว่า กระแสนำ�กรุยทาง (pilot leader) ตามมา ด้ ว ยอิ เ ล็ ก ตรอนอื่ น ๆ ที่ เ คลื่ อ นที่ ล งมาใน ลักษณะซิกแซ็กและแตกแขนงเป็นขั้นๆ เรียก ว่า กระแสนำ�แบบขั้น (stepped leader) กระแสนำ�แบบขั้นแต่ละขั้นยาวประมาณ 50 เมตร และจะคงอยู่นานราว 1 ไมโครวินาที (1 ไมโครวิ น าที = 1 ในล้ า นของวิ น าที ) ระหว่างกระแสแต่ละขั้นจะมีช่วงหยุดสั้นๆ ราว 50 ไมโครวินาที โดยกระแสจะเลือกทิศทาง ใหม่ทจ่ี ะพุง่ ออกไป นีเ่ องทำ�ให้สายฟ้ามีลกั ษณะ ซิกแซ็ก
118
2) เมื่ อ กระแสนำ � แบบขั้ น ลงมาใกล้ พื้ น มั น จะดึงดูดให้ประจุบวกบนพื้นไหลขึ้นมาใกล้ๆ โดยในรูปนี้ประจุบวกไหลขึ้นมาตามต้นไม้และ หลังคาบ้าน กระแสไฟที่เกิดจากประจุบวกนี้เรียกว่า กระแสสตรีมเมอร์ (streamer)
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
3) เมื่ อ กระแสนำ � แบบขั้ น (ประจุ ล บ) และ กระแสสตรี ม เมอร์ (ประจุ บ วก) เคลื่ อ นมา พบกัน (ที่ความสูงจากพื้นดินในช่วง 30-100 เมตร) ก็จะทำ�ให้ประจุลบเคลื่อนที่ลงไป ในขณะเดี ย วกั น ประจุ บ วกก็ เ ริ่ ม ไหล จากพื้นดินสวนขึ้นไปตามช่องทางที่ประจุลบ เคลื่อนที่ลงมาก่อนหน้านี้แล้ว 4) กระแสไฟฟ้าประจุบวกที่ไหลขึ้นนี้เรียกว่ า กระแสโต้กลับ (return stroke) ประจุบวก ในกระแสโต้ ก ลั บ เคลื่ อ นที่ ด้ ว ยอั ต ราเร็ ว สู ง มากถึง 96,000 กิโลเมตร/วินาที (ประมาณ 1/3 ของอัตราเร็วแสงในสุญญากาศ) น่ารู้ ไว้ว่าแสงสว่างของสายฟ้าที่เราเห็น ขณะเกิดฟ้าผ่าคือกระแสโต้กลับนี้เอง 5) หากภายในก้อนเมฆยังมีประจุลบเหลืออยู่ ก็เป็นไปได้ว่า ประจุเหล่านี้จะถ่ายเทลงมาอีก แต่ ค ราวนี้ เ รี ย กว่ า กระแสนำ � ฉั บ พลั น (dart leader) เพราะไหลลงมาตามช่องทางเดิมที่ มีอยู่ก่อนแล้ว (ไม่ซิกแซ็กแตกแขนงเหมือน กระแสนำ�แบบขั้น) เมื่อกระแสนำ�ฉับพลันลงมาใกล้พื้น จะ
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
119
ทำ�ตัวอย่างไร
...เมื่อเจอภัยนํ้าท่วม?
144
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัวเมื่อไร ก็จะมีข่าวนํ้าท่วมที่นั่นที่นี่เป็นระยะ ถ้าครั้ง ไหนนํ้าท่วมซอยหน้าบ้านหรือในบ้านคุณ ก็จะทำ�ให้ ไม่สะดวกไปพักใหญ่ และถ้าครั้งไหนนํ้าท่วมสร้างความเสียหายรุนแรงก็จะเป็นเรื่องใหญ่ระดับ ประเทศ อย่างเช่นนํ้าท่วมที่อำ�เภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และนํ้าท่วมหาดใหญ่ในช่วง 21-26 พฤศจิกายน 2543 ที่หลายท่าน คงจะจำ� (ความขมขื่น) กันได้ดี แต่ก่อนที่จะรู้ว่าควรทำ�ตัวอย่างไรเมื่อต้องเจอภัยนํ้าท่วม เราลอง มาศึกษากันก่อนว่า ทำ�ไมนํ้าจึงท่วม จะได้เข้าใจที่มา-ที่ไปรอบด้านยิ่งขึ้น ดีไหมครับ ?
ทำ�ไมนํ้าจึงท่วม ?
นํา้ ท่วม หรืออุทกภัย (flood) เป็นสภาวะทีร่ ะดับนํา้ ในบริเวณหนึง่ ๆ สูงกว่าปกติ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน และอาจเป็นอันตรายต่อ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
คน สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อยู่ในบริเวณที่นํ้าท่วมบุกรุกไปถึง ที่ เพิ่งเลกเชอร์ ไปนี้เป็นแค่ความหมายกว้างๆ เท่านั้น เวลาเราฟังข่าวมัก มีศัพท์เฉพาะ เช่น นํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก นํ้าล้นตลิ่ง และอีก หลายๆ คำ�ที่คุ้นหู มาดูกันทีละคำ�ดีกว่าว่า นํ้าท่วมแต่ละอย่างคืออะไร และ เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
145
นํ้าท่วมหาดใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543
สมมติว่าบริเวณที่คุณอาศัยอยู่ วันร้ายคืนร้ายเกิดฝนตกหนักต่อ เนื่องนานๆ จนผิวดินชุ่มและระดับนํ้าใต้ดินสูง ทำ�ให้เกิดนํ้าท่วมขัง แบบนี้ ก็เรียกตรงไปตรงมาว่า นํ้าท่วมจากฝนตกหนัก (rainwater flood) และถ้า บริเวณดังกล่าวเป็นเมืองใหญ่ ซึ่งแผ่นดินทรุดหรือท่อระบายนํ้าอุดตัน ก็ย่งิ เสี่ยงต่อสภาวะนํ้าท่วม ซึ่งบางท่านเรียกเน้นว่า นํ้าท่วมเมือง ทีนี้ถ้าหนีไปอยู่แถวๆ ริมแม่นํ้า (โดยเฉพาะแถวๆ ปลายแม่นํ้า) เพราะคิดว่าถ้าฝนตก นํ้าระบายลงแม่นํ้าไป คุณก็ยังเสี่ยงอยู่ เพราะถ้าเกิด รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
จะรับมือ
“ฮีตสโตรก” (โรคลมเหตุร้อน) กันอย่างไรดี?
156
ฝรั่งเคยแซวไว้ว่า เมืองไทยเรานั้นมีสามฤดู คือ ฤดูร้อน ร้อนมาก และ ร้อนที่สุด (แปลแบบนุ่มๆ นะครับ) ซึ่งบางปีก็เป็นช่วงที่ร้อนแบบสุดๆ จริงๆ คุณหมอหลายท่านก็เลยออกมาเตือนให้ระวังอาการและโรคต่างๆ ที่มักจะตามพ่วงมากับความร้อน อย่างปี พ.ศ. 2545 นั้น แม้แต่สำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็ออกมาเตือนเป็นข่าวใหญ่พอสมควรว่า “สกว. เตือนร้อนเกิดโรค ‘ฮีตสโตรก’ ทหารเกณฑ์-เกษตรกร กลุ่มเสี่ยง” จึงน่าสนใจว่าเจ้าโรคฮีตสโตรกเป็นอย่างไร และมีอาการไม่พึง ประสงค์อื่นๆ อีกไหมที่เกิดจากความร้อน อาการผิดปกติหรือโรคที่เกิดจากความร้อนนั้นแบ่งได้เป็นสาม ระดับ ตั้งแต่ระดับรุนแรงน้อย ได้แก่ ตะคริวชักเหตุร้อน (heat cramp) ซึ่ง ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต รุนแรงปานกลาง ได้แก่ การหมดแรงเพราะร้อน (heat exhaustion) ไปจนถึงรุนแรงที่สุด คือ โรคลมเหตุร้อน หรือฮีตดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
สโตรก (heat stroke) ที่ สกว. เตือนมานั่นเอง ตามปกติ ร่ า งกายของเราจะใช้ เ หงื่ อ และปั ส สาวะเป็ น ตั ว ปรั บ อุณหภูมิ เมื่ออากาศร้อน ร่างกายจะคายความร้อนออกมาพร้อมกับนํ้าใน รูปของเหงื่อ แถมยังสูญเสียเกลือแร่ไปด้วยพร้อมๆ กัน ถ้าอากาศร้อนมากๆ ร่างกายจะสูญเสียนํ้าอย่างรวดเร็วและอาจ ขาดนํ้า พอความร้อนระบายออกไม่ได้ เราก็อาจจะมีอาการหนักกว่าที่ สำ�นวนไทยบอกว่า “ร้อนตับแลบ” เพราะเครื่องในของเราหลายอย่าง ไม่ ว่าจะเป็น ตับ ปอด ม้าม หัวใจ หรือสมอง ก็จะ “สุก” และทำ�งานผิดปกติ ไปได้ ถ้าไปเจอใครที่มีไข้สูง (อาจถึง 41 องศาเซลเซียส หรือกว่านั้น) ผิวหนังเป็นผื่นแดง เหงื่อไม่ค่อยออก ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และ ชีพจรเต้นเร็ว ก็ให้สงสัยว่าน่าจะเป็นฮีตสโตรกเข้าให้แล้ว และถ้าทิ้งไว้เขา อาจจะชักและหมดสติด้วย
รู้ทัน ฝนฟ้า อากาศ
157