ราคา ๘๕๐ บาท ISBN 978-616-7767-92-5
เจดีย์ในประเทศไทย
หมวดศิลปะไทย
เจดีย์ในประเทศไทย
รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๘๕๐.-
รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ISBN 978-616-7767-92-5 หนังสือ ผูเ้ ขียน พิมพ์ครัง้ แรก จ�ำนวนพิมพ์ ราคา
© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด
บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย
เจดียใ์ นประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ ตุลาคม ๒๕๖๐ ๒,๐๐๐ เล่ม ๘๕๐ บาท อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์. ฟิลม์ โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. --นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๐. ๘๔๔ หน้า. ๑. เจดีย์--ไทย. ๒. สถาปัตยกรรมพุทธศาสนา--ไทย I. ชื่อเรื่อง. ๗๒๐.๑๔๓ ISBN 978-616-7767-92-5
ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด) ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑ ทีป่ รึกษา ศรีศกั ร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผูอ้ ำ� นวยการ สุวพร ทองธิว ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล ผูจ้ ดั การฝ่ายการตลาด/โฆษณา กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวนั ทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ทีป่ รึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
จากส�ำนักพิมพ์ เจดีย ์ เป็นหนึง่ ในองค์ประกอบส�ำคัญทีม่ กั พบภายในเขตพุทธสถาน วัตถุ- ประสงค์ของการสร้างเจดียค์ อื เพือ่ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมสารีรกิ ธาตุ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ชา่ งไทยโบราณรับคติและแนวคิดในการ สร้างเจดีย์จากหลายแหล่ง เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า เป็นต้น แต่ได้มี การเลือกรับและปรับใช้รูปแบบเจดีย์ ผสานกับการสร้างสรรค์เกิดเป็น เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานศิลปะแต่ละสมัย นับตั้งแต่สมัย ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของเจดียแ์ ต่ละยุคสะท้อนคตินยิ ม ภูมปิ ญ ั ญาของช่าง ความ สัมพันธ์ของผู้คน และพลังศรัทธาต่อพุทธศาสนา ที่น่าสนใจคือ เจดีย์ ยังเป็นหลักฐานอีกประเภทหนีง่ ทีส่ ามารถน�ำมาใช้ศกึ ษาทางประวัตศิ าสตร์ ควบคู่กับหลักฐานลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจช่วยไขปริศนาบางประเด็น ในประวัติศาสตร์ไทยได้ เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากความสนใจที่มีมายาวนานของ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ ท่านได้อตุ สาหะค้นคว้าและวิเคราะห์เรือ่ งราวของ เจดีย์ในศิลปะไทย พร้อมข้อมูลภาพถ่ายและภาพลายเส้นเจดีย์รูปแบบ ต่างๆ จ�ำนวนมาก กล่าวได้วา่ หนังสือเล่มนีร้ วบรวมรูปแบบและเรือ่ งราว ของเจดีย์ในศิลปะไทยไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่ง ซึ่งส�ำนักพิมพ์ เมืองโบราณเชื่อว่าสาระจากหนังสือเล่มนี้จะท�ำให้ผู้อ่านได้ความรู้และ ความเข้าใจเกีย่ วกับเจดียม์ ากขึน้ และเชือ่ มโยงสูค่ วามเข้าใจในคุณค่าและ ความหมายของงานพุทธศิลป์ไทย ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ตุลาคม ๒๕๖๐
จากผู้เขียน หนังสือเล่มนี ้ ปรับปรุงมาจากงานวิจยั เรือ่ ง “เจดียใ์ นประเทศไทย : แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบ และการวิเคราะห์ทางประวัตศิ าสตร์” โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัย ศิลปากรประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๖ ผูเ้ ขียนมีความสนใจเจดียม์ าตัง้ แต่เมือ่ เริม่ เข้าเรียนทีค่ ณะโบราณคดี และให้ความสนใจเป็นพิเศษในเรือ่ งของรูปแบบ พัฒนาการ แนวคิด และ คติการสร้าง ว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมทั้งหลักฐานดังกล่าวสามารถ บอกถึงความเป็นมาของคนได้อย่างไร โดยเริม่ ต้นเรียนรูร้ ปู แบบการส�ำรวจ ฝึกเขียนลายเส้น ท�ำแผนผัง จากอาจารย์ผมู้ คี วามรูค้ วามเข้าใจทางด้าน รูปแบบงานสถาปัตยกรรม การอ่านแนวความคิดของช่างผูส้ ร้างงานได้ดี ที่สุด รวมถึงวิธีการวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ซึ่งถือว่าเป็นครูของผู้เขียนอย่างแท้จริง อันสืบเนื่องมาจากผู้เขียนได้ท�ำการศึกษาเรื่อง พระพุทธรูป รูปแบบ พัฒนาการ และศรัทธาของคนไทย ส�ำเร็จลงแล้ว จึงมีความ ปรารถนาที่จะท�ำเรื่องเจดีย์ เพื่อการตรวจสอบหลักฐานทางศิลปกรรม ทัง้ สองอย่างนีว้ า่ มีความสัมพันธ์กนั ของงานช่างและบอกความเป็นมาทาง ประวัตศิ าสตร์ได้อย่างไร โดยมีวตั ถุประสงค์ทสี่ ำ� คัญ เพือ่ เป็นคูม่ อื ในการ ศึกษาเรียนรู้ส�ำหรับนักศึกษาและผู้สนใจโดยทั่วไป ส�ำหรับเป็นพื้นฐาน ในการศึ ก ษา การท�ำ ความเข้ า ใจ และพั ฒ นาต่ อ ยอดการเรี ย นรู ้ ใ ห้ กว้างขว้างยิ่งขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคที่ส�ำคัญของการศึกษาเรื่องนี้ คือ พื้นที่ ครอบคลุมทัว่ ประเทศและช่วงระยะเวลาทุกยุคทุกสมัย และในแต่ละยุคสมัย ก็มีเจดีย์ที่หลากหลายรูปแบบ ท�ำให้ยากต่อการค้นคว้าซึ่งต้องใช้เวลา ค่อนข้างมาก รวมทัง้ ข้อมูลส่วนหนึง่ ยังขาดความสมบูรณ์ทางด้านรูปแบบ ท�ำให้ผลการศึกษายังไม่ชัดเจนนัก ผูว้ จิ ยั ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ดร. สันติ เล็กสุขมุ เป็นอย่างสูง ส�ำหรับการประสิทธิป์ ระสาทความรูว้ ชิ าประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ และลายเส้นส่วนหนึ่งที่ใช้ประกอบ ขอขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลืองานเอื้อเฟื้อข้อมูลและช่วยตรวจ สอบข้อมูล ภาพประกอบ ได้แก่คณาจารย์ในภาคประวัติศาสตร์ศิลปะ กรมศิลปากร คุณภภพพล จันทร์วฒ ั นกุล รองศาสตราจารย์ ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช อาจารย์ กวิฎ ตัง้ จรัสวงศ์ คุณภัทราวรรณ บุญจันทร์ คุณศิรพิ ร วงศ์แดง คุณ พิชิต อังคศุภรกุล คุณชนิสา นาคน้อย และท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้เอ่ยนาม ขอขอบคุณ คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ เมืองโบราณและบรรณาธิการ ที่เห็นความส�ำคัญของงานประวัติศาสตร์ ศิลปะและการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ท้ายทีส่ ดุ ขอขอบคุณสถาบันวิจยั และพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้สนับสนุนทุนการวิจัยในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์ จากผู้เขียน ความหมาย ความส�ำคัญในการศึกษาเรื่องเจดีย์
๓ ๔ ๑๑
บทที่ ๑ แหล่งบันดาลใจจากอินเดีย ศรีลังกา และพม่า
๑๗
ศิลปะอินเดีย : ต้นก�ำเนิดเจดีย ์
สถูปทรงโอคว�่ำ สถูปต้นแบบเจดีย์ สถูปสมัยอมราวดี ต้นแบบเจดีย์สมัยทวารวดีและศรีเกษตร สถูปสมัยคุปตะ ต้นแบบเจดีย์สมัยทวารวดีและศรีเกษตร สถูปแบบปาละ ต้นแบบเจดีย์ในศิลปะพุกามและศิลปะในประเทศไทย ปราสาทต้นแบบเจติยวิหารและเจดีย์ทรงปราสาทยอด สถูปในศิลปะลังกา พัฒนาการจากสถูปสาญจีมาเป็นสถูปทรงฟองน�้ำในศิลปะลังกา เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะลังกาที่ใช้ชุดบัวถลา ต้นแบบเจดีย์สมัยสุโขทัย เจดีย์ในศิลปะพม่า เจดีย์ในวัฒนธรรมปยู (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕) เจดีย์ศิลปะพุกาม (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙) สรุป สรุปรูปแบบเจดีย์ในศิลปะไทยแต่ละยุคสมัย
๑๘ ๑๘ ๒๐ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๒๘ ๓๔ ๓๔ ๔๑ ๕๕ ๖๕
บทที ่ ๒ เจดีย์สมัยทวารวดี
๗๙
ศาสนสถานสมัยทวารวดี เจดีย์สมัยทวารวดี การค้นหารูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดี
๗๙ ๘๑ ๘๑ ๘๗ ๙๖
รูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดี : ศึกษาจากหลักฐานต่างๆ เจดีย์จ�ำลองทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปดเหลี่ยมแบบปาละ
เจดีย์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ เจดีย์ที่มีผังแปดแหลี่ยม อาคารที่มีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สรุป
๙๘ ๑๒๕ ๑๒๖ ๑๓๓
บทที่ ๓ เจดีย์ในศิลปะศรีวิชัยและศิลปะภาคใต้
๑๓๘
เจดีย ์ (ปราสาท) ในศิลปะศรีวิชัย
พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยา อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี วัดแก้ว อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี วัดหลง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี เจดีย์ในศิลปะภาคใต้พุทธศตวรรษที ่ ๑๘ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ. นครศรีธรรมราช สรุป
๑๔๐ ๑๔๑ ๑๔๖ ๑๔๙ ๑๕๓ ๑๕๓ ๑๕๗
บทที่ ๔ ปราสาทเขมรในประเทศไทย
๑๖๐
ที่มาของปราสาทเขมร ปราสาทเขมรและพัฒนาการในดินแดนไทย
ปราสาทเขมรในประเทศไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ปราสาทเขมรในประเทศไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ปราสาทเขมรในประเทศไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ปราสาทเขมรในประเทศไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ปราสาทเขมรในประเทศไทยสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การสืบทอดของปราสาทเขมรในศิลปะไทย สรุป
๑๖๑ ๑๖๖ ๑๖๖ ๑๖๙ ๑๗๑ ๑๗๔ ๑๘๒ ๑๘๘ ๑๘๘
บทที่ ๕ เจดีย์สมัยลพบุร ี
๑๙๓
เจดีย์สมัยลพบุร ี
๑๙๔ ๑๙๔ ๒๐๖
ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ปรางค์หมายเลข ๑๖ ค. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี : ต้นแบบของปรางค์สมัยลพบุรีที่ยังคงแบบแผนสมบูรณ์ เจดีย์ทรงปรางค์ วัดนครโกษา หนึ่งในสามของปรางค์ที่จัดอยู่ในศิลปะสมัยลพบุรี สรุป
๒๑๓ ๒๑๙
บทที่ ๖ เจดีย์สมัยหริภุญชัย
๒๒๑
เจดีย์สมัยหริภุญชัย
๒๒๒ ๒๒๒
เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี เมืองล�ำพูน
สุวรรณเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย รัตนเจดีย์ วัดจามเทวี เมืองล�ำพูน กู่ช้าง เมืองล�ำพูน เจดีย์ทรงลอมฟางแบบปยู เจดีย์ทรงปราสาทยอดที่รับอิทธิพลเจติยวิหารในศิลปะพุกาม สรุป
๒๒๘ ๒๓๐ ๒๓๔ ๒๓๖ ๒๔๓
บทที่ ๗ เจดีย์สมัยสุโขทัย
๒๔๗
ความเป็นมาของดินแดนก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
๒๔๘ ๒๔๙ ๒๕๐ ๒๕๑ ๒๕๒ ๒๕๔ ๒๕๖ ๒๕๙
หลักฐานศิลปกรรมในวัฒนธรรมเขมร (พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘) ประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยสังเขป เจดีย์ในยุคแรกเริ่มของสุโขทัย (ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที ่ ๑๙) เจดีย์ที่มีพื้นฐานจากวัฒนธรรมเขมร แหล่งบันดาลใจจากศิลปะพุกาม แหล่งบันดาลใจจากศิลปะหริภุญชัย เอกลักษณ์ของเจดีย์สมัยสุโขทัย (ระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที ่ ๒๐) เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย สัญลักษณ์ของการรับศาสนาพุทธแบบเถรวาท และความสัมพันธ์ทางศาสนากับลังกา เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยที่มีหลักฐานการก�ำหนดอายุที่แน่นอน เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์สมัยสุโขทัยตอนปลาย (ระหว่างกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๐) เจดีย์ทรงระฆังระยะสุดท้ายในสมัยสุโขทัย : เจดีย์ที่มีฐานบัวหลายชั้นและมีฐานที่ซับซ้อน เจดีย์ทรงระฆังที่เป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ในผังกลม เจดีย์ทรงระฆังหลังสมัยสุโขทัย สรุป
๒๖๐ ๒๗๒ ๒๘๐ ๓๐๕ ๓๒๕ ๓๒๕ ๓๒๙ ๓๓๐ ๓๓๑
บทที่ ๘ เจดีย์สมัยล้านนา
๓๓๙
ประวัติศาสตร์ล้านนาโดยสังเขป เจดีย์สมัยล้านนา
๓๓๙ ๓๔๐ ๓๔๒
เจดีย์ระยะแรก แหล่งบันดาลใจจากศิลปะพุกามและศิลปะหริภุญชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙) เจดีย์ระยะที่ ๒ การสืบเนื่องจากศิลปะหริภุญชัยและ แหล่งบันดาลใจใหม่จากศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) เจดีย์ระยะที่ ๓ ศิลปะในยุคทองของล้านนา ยุคแห่งความหลากหลาย ทางศิลปกรรม (ระหว่างต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑) เจดีย์ระยะที่ ๔ ศิลปะล้านนาระยะหลัง (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒)
๓๕๔ ๓๗๗ ๔๒๓
สรุป
๔๓๕
บทที่ ๙ เจดีย์สมัยอยุธยา
๔๔๕
เจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐)
๔๔๗
เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงปรางค์ยอดกลีบมะเฟือง เจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุซ้อนกัน ๒ ชั้น (สี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยม) เจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังที่มีชุดรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย เจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยาที่สุโขทัย (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑) เจดีย์ทรงระฆังที่ใช้มาลัยเถาในสมัยอยุธยาตอนต้น เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย-อยุธยา (สมัยอยุธยาตอนต้น) เจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลาง (ต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๑ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒) เจดีย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของอยุธยา เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยา สมัยอยุธยาตอนกลาง เจดีย์เพิ่มมุม (เพิ่มมุมไม้สิบสอง) เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาในศิลปะอยุธยา เจดีย์สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๒ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓) เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ย่อมุม เพิ่มมุม เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรงเครื่อง สรุป
๔๔๗ ๔๗๘ ๔๘๗ ๔๙๐ ๔๙๓ ๕๐๗ ๕๑๒ ๕๑๖ ๕๒๐ ๕๒๖ ๕๒๗ ๕๒๘ ๕๓๐ ๕๔๘ ๕๕๔ ๕๕๗ ๕๕๘ ๕๖๔ ๕๖๘ ๕๗๐ ๕๗๘
บทที่ ๑๐ เจดีย์ในศิลปะลาว-ล้านช้าง
๕๙๔
เจดีย์หรือธาตุในศิลปะลาว-ล้านช้าง
๕๙๔ ๕๙๕ ๕๙๗ ๕๙๗ ๖๐๑ ๖๐๕ ๖๐๕ ๖๒๑
ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างอาณาจักรล้านช้างและล้านนา เจดีย์ในศิลปะล้านช้างที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนา เจดีย์ทรงระฆัง เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธาตุลาว เจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม (เจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยม) เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมที่พัฒนามาจากเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม
เจดีย์ทรงปราสาทยอด
เจดีย์ศิลปะลาว-ล้านช้างในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๒๔-๒๕
กลุ่มที่ ๑ เจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยมที่สืบทอดมาจากศิลปะล้านช้าง ในยุคก่อนหน้านี้ กลุ่มที่ ๒ เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยม กลุ่มที่ ๓ เจดีย์ทรงระฆังเพิ่มมุมและเจดีย์ทรงเครื่อง ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจดีย์ทรงระฆังอิทธิพลเจดีย์พม่า-มอญ สรุป
๖๒๒ ๖๓๘ ๖๓๙ ๖๔๑ ๖๔๒ ๖๔๕ ๖๔๗
บทที่ ๑๑ เจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์
๖๕๔
เจดีย์สมัยรัชกาลที ่ ๑ ถึงรัชกาลที ่ ๓
๖๕๕ ๖๕๕ ๖๗๔ ๖๘๗ ๖๘๘ ๗๑๑
เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์สมัยรัชกาลที ่ ๔ ถึงรัชกาลที ่ ๕ เจดีย์ทรงระฆัง เจดีย์เพิ่มมุม (เพิ่มมุมไม้สิบสอง) เจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นกรณีพิเศษในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจดีย์สมัยรัชกาลที ่ ๕ เจดีย์แบบร่วมสมัยตั้งแต่รัชกาลที ่ ๖ ถึงปัจจุบัน เจดีย์ที่ออกแบบและสร้างโดยหน่วยงานราชการ เจดีย์ที่สร้างโดยราษฎร วิเคราะห์ที่มาของการสร้างเจดีย์ที่มีความแปลกใหม่ การน�ำรูปแบบเจดีย์ใช้ในงานประดับตกแต่ง ที่ไม่ใช่ทั้งหน้าที่ และความหมายตามคติดั้งเดิม สรุป
๗๑๓ ๗๑๗ ๗๑๘ ๗๒๕ ๗๓๘ ๗๓๙ ๗๔๕
บทที่ ๑๒ พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในดินแดนไทย
๗๕๔
มหาธาตุหรือจอมเจดีย ์ ๘ แห่งในดินแดนไทย พระธาตุศักดิ์สิทธิ์และส�ำคัญประจ�ำเมืองตามล�ำดับยุคสมัย
๗๕๕ ๗๖๗
บทที่ ๑๓ บทสรุป
๘๐๘
เจดีย์ในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงปัจจุบัน คตินิยมการสร้างเจดีย์จากอดีตสู่ปัจจุบัน บทส่งท้าย
๘๐๘ ๘๐๙ ๘๑๐
ภาคผนวก พัฒนาการของเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ ในแต่ละสมัยของงานช่าง บรรณานุกรม
๘๑๔ ๘๒๑
ความหมาย ความส�ำคัญ ในการศึกษาเรื่องเจดีย์ ค�ำว่า “เจดีย์” มีที่มาจากศัพท์เดิมคือ สตูปะหรือสถูป (sth pa) ค�ำว่า th pa เป็นค�ำภาษาสันสกฤตตรงกับค�ำว่า st pa ในภาษาบาลี หมายถึง “พูนดิน” คือเนินดินเหนือหลุมฝังศพหรือกระดูกผู้วายชนม์ของบุคคล ที่ควรแก่การเคารพบูชา สถูปปรากฏมาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล ชาวพุทธได้น�ำมาปรับใช้เพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า หรือพระอัฐิธาตุของพระสาวกองค์ส�ำคัญๆ และเรียกต่างกันไป เช่น เจติยะ (chetiya) (ภาษาบาลี) หรือไจตยะ (chaitaya) (ภาษาสันสกฤต) หมายถึงสิ่งเตือนใจ (ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า) ในประเทศศรีลังกา เรียกว่า ดาโกบา (dagoba) ในประเทศเนปาลและเขตการปกครอง ทิเบตเรียกว่า ไจตยะ (chaitaya) ส่วนในประเทศไทยเรียกว่า สถูป (sth pa) เจดีย์ (chedi) หรือสถูปเจดีย์ ลักษณะสถูปในยุคแรกเริ่มที่ พัฒนามาจากเนินดินหลุมฝังศพมีรูปทรงโอคว�่ ำ มีส่วนฐานที่มาจาก เขื่อนกั้นดินไม่ ให้เนินดินพังทลายกลายเป็นฐานเจดีย์เรียกว่า “เวที” ส่วนเนินดินพัฒนามาเป็นองค์สถูปส�ำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เรียกว่า “อัณฑะ” ส่วนบัลลังก์คือรั้วล้อมรอบฉัตรเรียกว่า “หรรมิกา” ส่วนยอดคือ ฉัตรที่แสดงฐานะผู้ตายเรียกว่า “ฉัตรวารี” ต่อมาสถูป ได้มีวิวัฒนาการสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง อัณฑะมีลักษณะคล้ายระฆัง จึงนิยมเรียกว่า ทรงระฆัง ส่วนยอดที่เป็นฉัตรได้พัฒนามาเป็นปล้อง คล้ายปี่ไฉนจึงเรียกว่า ปล้องไฉน “เจดีย์” ในที่นี้ ใช้ ในความหมายของสิ่งก่อสร้างในพระพุทธ 11 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
เฉียงใต้ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียจะมีรูปแบบและคติการสร้างแบบเดียว กับอินเดีย แต่จะมีพัฒนาการและเกิดเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่นขึ้น ทัง้ รูปแบบและงานประดับตกแต่ง เช่น ปราสาทในศิลปะชวา ศิลปะเขมร ศิลปะจาม เป็นต้น เนือ่ งมาจากรสนิยมของช่างท้องถิน่ ทีค่ ดิ ขึน้ บนพืน้ ฐาน งานช่างของตัวเอง รวมถึงวัสดุและความเคยชิน เช่น รูปแบบอาคารแบบ ท้องถิ่น ลวดลาย เป็นต้น บทบาทของปราสาทในศิลปะอินเดียที่เป็นแหล่งบันดาลใจให้ เจดีย์ในพุทธศาสนาได้แก่ ส่วนหนึ่งของปราสาทในพุทธศาสนามหายาน เช่น ปราสาทในศิลปะชวาภาคกลางที่เรียกว่า จันทิ มีทั้งจันทิในศาสนา ฮินดูและจันทิในพุทธศาสนามหายานซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน อาจจะมีส่วน ที่แตกต่างกันในเรื่องของภาพสลักเท่านั้น ในศิลปะเขมรก็เช่นเดียวกัน มีการใช้ปราสาทในศาสนสถานของพุทธศาสนามหายาน เช่น ปราสาท สมัยบายนทีเ่ ป็นแบบมหายานทัง้ หมด และศิลปะเขมรนีเ่ องทีเ่ ป็นต้นแบบ ให้กับเจดีย์ทรงปรางค์ในพุทธศาสนาในศิลปะสมัยลพบุรีและอยุธยา ส่วนในพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่น�ำรูปแบบและคติเรื่องเรือน ชัน้ ซ้อนของอินเดียมาใช้ได้แก่ ศิลปะพม่า โดยน�ำแนวความคิดเรือ่ งอาคาร ที่มีหลังคาเป็นเรือนชั้นซ้อนมาผสมกับเจดีย์เกิดเป็นอาคารที่เรียกว่า เจติยวิหาร คืออาคารที่มีเจดีย์อยู่ส่วนบน เป็นทั้งวิหารและมีเจดีย์ใน อาคารเดียวกัน เกิดเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด คือเจดีย์ที่มีเรือนธาตุ และยอดเป็นเจดีย์ และได้ให้อิทธิพลมายังเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่พบ ในประเทศไทย (ดูรายละเอียดในหัวข้อ เจดีย์ในศิลปะพม่า หน้า ๓๔)
สถูปในศิลปะลังกา
เจดียท์ รงระฆังในศิลปะลังกาพัฒนามาจากการสร้างสถูปรุน่ แรก ในศิลปะอินเดีย โดยพบว่ามีการสร้างเจดียข์ นาดใหญ่ตามแบบอย่างสถูป สาญจี น่าจะเริม่ ตัง้ แต่พทุ ธศาสนาเดินทางมายังศรีลงั กาในสมัยอนุราธปุระ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๕ มีหลักฐานการประดิษฐานพระพุทธศาสนาใน ลังกากล่าวว่า พระมหินทร์เถระ พระราชโอรสในพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้น�ำพระพุทธศาสนามาสู่ศรีลังกาเป็นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษ ที ่ ๕ พระองค์ทรงพบพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ผูค้ รองลังกา ทรงยอมรับ 26 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑.๙ เจดีย์รุวัลเวลิเสยะ ศรีลังกา (ภาพ : รศ. ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี)
นับถือพระพุทธศาสนา สถานทีแ่ ห่งแรกทีม่ กี ารสร้างพุทธสถานได้แก่ ภูเขา มหินตาเล และเชื่อว่ามีการสร้างสถูปแห่งแรกขึ้นที่นี่ด้วย รูปแบบสถูป ที่มหินตาเลมีลกั ษณะเดียวกับสถูปสาญจี คือเป็นทรงโอคว�่ำและมีขนาด ใหญ่ ปัจจุบนั สถูปได้พงั ทลายลงมาเหลือเฉพาะส่วนฐานและส่วนล่างของ องค์ระฆัง สถูปรุ่นแรกในศิลปะลังกาคือสมัยอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษ ที่ ๖-๑๖) โดยเฉพาะในสมัยอนุราธปุระตอนต้น ช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๖-๙ เป็นสถูปขนาดใหญ่และมีรูปแบบเดียวกับสถูปสาญจีในศิลปะ อินเดีย คือเป็นทรงโอคว�่ำ สถูปที่มีความส�ำคัญที่สุดคือ รุวัลเวลิเสยะ ซึ่งเป็นมหาวิหารศูนย์กลางทางศาสนาพุทธของชาวลังกา สร้างขึ้นใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ (รูปที่ ๑.๙) และสถูปที่มีความส�ำคัญรองลงมา เป็นสถูปขนาดใหญ่ทมี่ รี ปู แบบเดียวกันได้แก่ สถูปทีเ่ ชตวันวิหาร สร้างขึน้ ในพุทธศตวรรษที่ ๘ และอภัยคีรีวิหารที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๙ ในศิลปะลังกานิยมเรียกสถูปขนาดใหญ่เช่นนี้ว่า “ทรงฟองน�้ำ” 27 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พัฒนาการจากสถูปสาญจี มาเป็นสถูปทรงฟองน�้ำในศิลปะลังกา
สถูปทรงฟองน�ำ้ มีสว่ นฐาน ๓ ฐานทีเ่ รียกว่า ตรีมาลา เช่นเดียว กับในศิลปะอินเดียและมีรูปแบบเดียวกัน คือยังเป็นฐานเขียง ไม่เป็น ฐานบัว พัฒนาการครั้งส�ำคัญของส่วนตรีมาลาน่าจะสอดคล้องกับ พัฒนาการของสถูป คือ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นต้นมาสถูป ของลังกาจะมีขนาดเล็กลง ต่อมาพัฒนามาเป็นเจดีย์ทรงระฆัง จาก พัฒนาการดังกล่าวพบว่าส่วนของตรีมาลาได้พัฒนาด้วยคือ กลายเป็น ฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงาย ๓ ฐาน ลักษณะของฐานยังเตีย้ ๆ อยูใ่ นสัดส่วนของ ฐานเขียงเดิมแต่แทรกลวดบัวทีเ่ ป็นบัวคว�ำ่ และบัวหงายเข้าไป ต่อมาจึง มีการขยายให้สงู ขึน้ สอดคล้องกับขนาดเจดียท์ เี่ ล็กลงจึงต้องการส่วนฐาน ที่สูงขึ้น องค์ระฆังจากทรงฟองน�้ำก็ปรับเป็นทรงระฆังเพราะท�ำให้สูงขึ้น ส่วนขององค์ระฆังและส่วนรองรับองค์ระฆัง ๓ ฐานที่เป็นฐานบัวคว�่ำบัวหงายนีเ่ องทีใ่ ห้อทิ ธิพลแก่ศลิ ปะสุโขทัย ล้านนา อยุธยา และในศิลปะ พุกาม เช่น สถูปถูปารามทีส่ ร้างขึน้ ในสมัยอนุราธปุระ ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๐ ต่อมาได้พบในสมัยโปลนนารุวะ ส่วนใหญ่ชุดฐานส่วนนี้เป็นฐาน บัวคว�่ำ-บัวหงายทั้งหมด เช่นสถูปคิริวิหาระ
เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะลังกาที่ใช้ชุดบัวถลา ต้นแบบเจดีย์สมัยสุโขทัย
ในศิลปะลังกามีสถูปรุ่นเก่าที่มีการท�ำชุดฐานส่วนนี้โดยมีเพียง บัวคว�ำ่ (บัวถลา) ๓ ชัน้ ทีเ่ หลือหลักฐานอยูเ่ ช่นเจดียป์ ระธานทีอ่ ทุ มุ พรคีรี (Udumbalagiri) (รูปที่ ๑.๑๐) ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่ไม่ได้พอกปูนทับ แสดงให้เห็นถึงส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นก้อนอิฐที่ถากเป็นบัวคว�่ ำ ไม่มี บั ว หงาย (รู ป ที่ ๑.๑๑) รู ป แบบเดี ย วกั บ บั ว ถลา ในศิ ล ปะสุ โ ขทั ย นอกจากนี้พบว่าสถูปอุทุมพรคีรีนี้มี ฐานประทักษิณ (ฐานที่ยกสูงและ สามารถขึ้นไปเดินประทักษิณได้) ลักษณะเดียวกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสชั นาลัย (รูปที ่ ๑.๑๒) ส�ำหรับอุทมุ พรคีรมี จี ารึกกล่าวถึงผูส้ ร้าง สถูปคือ พระนางลีลาวดี พระมเหสีของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ ในสมัย 28 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑.๑๐ สถูปอุทุมพรคีรี ศรีลังกา (ภาพ : ธนธร กิตติกานต์)
รูปที่ ๑.๑๑
รูปที่ ๑.๑๒
ชุดฐานบัวคว�่ำ (บัวถลา) สถูปอุทุมพรคีรี (ภาพ : ธนธร กิตติกานต์)
บัวถลา เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย
29 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
เจดีย์ ในศิลปะพม่า
เจดี ย ์ ใ นศิ ล ปะพม่ า พบในวั ฒ นธรรมพม่ า สมั ย โบราณ ซึ่ ง มี หลักฐานส�ำคัญปรากฏในสามอาณาจักร ในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๐-๑๕ ได้แก่ วัฒนธรรมปยู มอญโบราณ และอาระคัน (ยะไข่)
เจดีย์ในวัฒนธรรมปยู (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕)
วัฒนธรรมปยู (Pyu) อยูบ่ ริเวณภาคกลางของประเทศพม่าปัจจุบนั คือบริเวณตอนกลางของแม่น�้ำอิรวดี โดยมีอายุอยูร่ ะหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๑๑-๑๕ ที่เรียกเป็นวัฒนธรรมเพราะพบหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของดินแดนแถบนี้ที่มีลักษณะเดียวกัน อยูห่ ลายแห่ง ดังพบทีเ่ มืองโบราณทีม่ กี ารศึกษาแล้ว ได้แก่ เมืองศรีเกษตร (Srikasetra) เมืองไบก์ถาโน (Beikthano) และเมืองฮาลิน (Halin) หลักฐานทางด้านศิลปกรรมในวัฒนธรรมปยู ถือเป็นศิลปกรรม ที่ส�ำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมสมัยกับวัฒนธรรม ทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยและอีศานปุระในประเทศกัมพูชา ตรงกับบันทึกของพระภิกษุเฮี้ยนจังหรือพระถังซ� ำจั๋งที่เดินทางไปสืบ ศาสนาในอินเดียราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้ ว่ามีอาณาจักรหนึ่งชื่อว่า “โถ-โล-โป-ตี” (ทวารวดี) ตั้งอยู่ระหว่าง อาณาจักรศรีเกษตรและอาณาจักรอีศานปุระ หลักฐานทางโบราณคดี ทีส่ ำ� คัญทีแ่ สดงถึงวัฒนธรรมปยู คือเมืองโบราณทีม่ คี นู �้ำคันดินล้อมรอบ มีระบบการวางผังเมือง มีตวั อักษรใช้เพราะมีการพบจารึก มีระบบกษัตริย์ มี ศ าสนสถานและศาสนวั ต ถุ โดยพบหลั ก ฐานทางศิ ล ปกรรมทั้ ง ใน ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานและ ศิลปวัตถุเนื่องในพุทธศาสนา หลักฐานทางโบราณคดีที่ส�ำคัญได้แก่ ศาสนสถาน เจดีย ์ และสถูปจ�ำลอง งานประติมากรรมเนือ่ งในพุทธศาสนา และศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ เหรียญเงิน และจารึก ที่ส�ำคัญคือพบจารึกที่ระบุชื่อและราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักร และ มีศาสนสถานขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา คือ เจดีย์และ เจติยวิหารทีย่ งั คงรูปแบบให้ศกึ ษาอีกเป็นจ�ำนวนมาก และถือเป็นต้นแบบ ให้กับเจดีย์ในสมัยหลัง เช่นในศิลปะพุกาม 34 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ทีเ่ มืองศรีเกษตรยังคงเหลือหลักฐานทางศิลปกรรมทีส่ ำ� คัญให้ศกึ ษา รูปแบบอยูห่ ลายแห่ง ในขณะทีศ่ าสนสถานในเมืองอืน่ ๆ ส่วนใหญ่พงั ทลาย ไปหมดแล้ว จากหลักฐานเจดียท์ เี่ หลืออยูส่ ามารถแบ่งเป็น ๒ กลุม่ ได้แก่
กลุ่มที่ ๑ เจดีย์ทรงลอมฟาง (รูปที่ ๑.๑๘) ภาพสลักสถูปจ�ำลองที่พบที่เมืองศรีเกษตร กับต้นแบบเจดีย์ในศิลปะปยู
ทีเ่ มืองศรีเกษตรพบภาพสลักสถูปจ�ำลองเป็นจ�ำนวนมาก ลักษณะ ของสถูปจ�ำลองมีรูปแบบเดียวกัน แต่มีการประดับตกแต่งที่แตกต่างกัน บ้างเล็กน้อย องค์หนึ่งพบที่เนินขิ่นบา (Khinba) ในเมืองศรีเกษตร เป็น สถูปจ�ำลองสลักบนแผ่นหิน ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศรีเกษตร (รูปที ่ ๑.๑๙) ลักษณะของสถูปมีองค์ระฆังเป็นทรงโอคว�่ำทีส่ งู แล้ว ส่วน ฐานประดับพระพุทธรูปในจระน�ำซุม้ เรียงเป็นแถว ๕ พระองค์ เหนือองค์ ระฆังเป็นบัลลังก์รองรับฉัตรวลี มีธงยาวผูกทีย่ อดฉัตร และด้านล่างของ
รูปที่ ๑.๑๘
รูปที่ ๑.๑๙
ปยาจี เมืองแปร พม่า (ภาพ : ภภพพล จันทร์วัฒนกุล)
แผ่นศิลาสลักรูปสถูป พิพิธภัณฑ์เมืองศรีเกษตร พม่า
35 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สถูปทัง้ สองด้านมีบคุ คลถือฉัตรประกอบอยูท่ งั้ สองข้าง จากรูปแบบสถูป และการประดับตกแต่งฉัตรและการผูกธงน่าจะมีความสัมพันธ์กับศิลปะ อมราวดี และอาจจัดเป็นรูปแบบเจดียใ์ นระยะแรกทีพ่ บในเมืองศรีเกษตร รวมทัง้ ท�ำให้อาจสันนิษฐานได้วา่ เจดียบ์ างองค์ในเมืองศรีเกษตรและเมือง ไบก์ถาโนที่เหลือเพียงส่วนฐานนั้นอาจมีรูปแบบเช่นเดียวกันนี้ ๔ แม้ว่าสถูปดังกล่าวมีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะอมราวดี แต่มี ส่วนที่แสดงให้เห็นถึงงานช่างที่เกิดขึ้นของศรีเกษตรเอง เช่น สถูปที่ เมืองศรีเกษตรไม่มีการตกแต่งองค์ระฆัง บัลลังก์เป็นฐานบัวแล้วไม่ได้ เป็นรัว้ (หรรมิกา) แบบอมราวดี เป็นต้น สถูปนีน้ า่ จะมีอายุรว่ มสมัยกับ ศิลปะอมราวดีหรือหลังกว่าเล็กน้อย ส่วนการประดับพระพุทธรูปน่าจะ หมายถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัป และอาจจะเป็นหลักฐานที่ มีการประดับพระพุทธรูปที่เจดีย์ที่เก่าที่สุดในศิลปะพม่า ก่อนจะน�ำไป ประดิษฐานไว้ภายในเจติยวิหาร ๕
เจดีย์จ�ำลองทรงหม้อปูรณฆฏะ เหมือนกับที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี
ทีเ่ มืองศรีเกษตรพบเจดียจ์ ำ� ลองกลุม่ หนึง่ อาจเป็นเจดียจ์ ำ� ลอง หรือเป็นส่วนยอดของเจดีย์จริง จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เมืองศรีเกษตร (รูปที ่ ๑.๒๐) มีลกั ษณะทีส่ ำ� คัญคือ ส่วนองค์ระฆังทีเ่ ป็นทรงหม้อปูรณฆฏะ แต่พบเฉพาะส่วนองค์ระฆังที่มีรูปทรงเป็นหม้อน�้ำ รูปแบบและขนาด ดังกล่าวเหมือนกับที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศ ไทย เช่น องค์หนึ่งพบที่นครปฐม ปัจจุบันจัดแสดงให้พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร พิจารณาจากรูปแบบแล้วจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กนั เช่นเดียวกับงานประติมากรรมหลายชิน้ ในศิลปะทวารวดีทมี่ ี ลักษณะเหมือนกับศิลปะที่ศรีเกษตร
เจดีย์ทรงลอมฟาง
เจดีย์ทรงลอมฟาง คือเจดีย์ที่มีรูปแบบขององค์ระฆังลักษณะ คล้ายกับลอมฟางหรือกองฟาง ถือได้วา่ เป็นเอกลักษณ์ของเจดียใ์ นศิลปะ ศรีเกษตร เพราะมีรปู แบบทีแ่ ตกต่างจากเจดียท์ รงระฆังในศิลปะแห่งอืน่ ๆ 36 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑.๒๐ สถูปจ�ำลอง พิพิธภัณฑ์เมืองศรีเกษตร พม่า
รูปแบบของเจดีย์ประกอบด้วย ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานเขียงหรือฐานประทักษิณในผังสีเ่ หลีย่ ม จัตรุ สั ๑ ฐาน มีสว่ นทางเดินขึน้ เพือ่ ท�ำประทักษิณรอบเจดีย ์ แล้วจึงเป็น ส่วนฐานของเจดีย์หรือส่วนรองรับองค์ระฆังในผังกลม ๓ ชั้น กลุ่มหนึ่ง ท�ำเป็นเพียงฐานเขียง ๓ ชั้นไม่ประดับลวดบัว คือ เจดีย์ปยามา (รูป ที่ ๑.๒๑) แต่อีกกลุ่มหนึ่งท�ำเป็นฐานบัวที่มีเฉพาะบัวคว�่ำ ไม่มีบัวหงาย มีการประดับลวดบัวที่มีลูกแก้วขนาดใหญ่ประดับที่ท้องไม้ ๑ เส้น การ ประดับลูกแก้วขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายก�ำไลจึงเรียกว่า ฐานบัววลัย ๖ ส่วนท้องไม้ทำ� เป็นช่องสีเ่ หลีย่ มลักษณะเดียวกับฐานอาคารในศิลปะทวารวดี น่าจะใช้ส�ำหรับประดับประติมากรรม เช่น เจดีย์ปยาจีและเจดีย์บอบอจี ลักษณะของฐานเขียงหรือส่วนรองรับองค์ระฆังนีป้ รากฏในศิลปะ อินเดียมาตัง้ แต่สมัยโบราณ เช่นทีส่ ถูปสาญจี มีฐานเขียงเพียงฐานเดียว ที่ยังไม่มีลวดบัวประดับ ต่อมาพบสถูปรุ่นแรกๆ ของศิลปะลังกาสมัย อนุราธปุระในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นสถูปทรงโอคว�่ำหรือทรง ฟองน�้ำ เป็นฐานเขียงที่ยังไม่มีลวดบัวประดับแต่เพิ่มเป็น ๓ ชั้นเรียกว่า ตรีมาลา หรือบุปผาสนะ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นต้นมาชุดฐาน ส่วนนีจ้ งึ เริม่ พัฒนาเป็นฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงายแต่ยงั คงมี ๓ ชัน้ มาโดยตลอด ส่วนการท�ำบัววลัย น่าจะมีตน้ แบบจากศิลปะอินเดียทีน่ ยิ มท�ำฐานอาคาร ให้ซบั ซ้อนมาก โดยส่วนนีน้ า่ จะพัฒนาและลดรูปมาจากฐานทีเ่ ป็นหม้อน�ำ้ ที่เรียกว่า “กุมภะ-กลศ” ๗ 37 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
สรุปรูปแบบเจดีย์ ในศิลปะไทยแต่ละยุคสมัย เจดีย์สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) เจดีย์ในสมัยทวารวดีไม่เหลือหลักฐานเจดียเ์ ต็มองค์ สันนิษฐานว่ามี ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นเจดียท์ รงระฆัง (ไม่มเี รือนธาตุ) และกลุม่ เจดียท์ รงปราสาท (มีเรือนธาตุ) ลักษณะเฉพาะของเจดีย์สมัยทวารวดี คือ ส่วน ฐานบัวที่เรียกว่า บัววลัย และระบบแผนผังที่นิยมการ ยกเก็จ โดยสันนิษฐานเจดียย์ คุ นี้ได้จากสถูปจ�ำลองและ ภาพสลัก มีรูปแบบตามอิทธิพลที่ปรากฏ คือ กลุ ่ ม ที่ มี อิทธิพลศิลปะอินเดียแบบอมราวดีและ คุปตะ เป็นเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาท เจดีย์ ทรงระฆังมีขนาดเล็ก มีฐานเรียบง่าย อยู่ในผังสีเ่ หลีย่ ม จัตรุ สั และผังกลม องค์ระฆังทรงหม้อน�้ำ ส่วนเจดียท์ รง ปราสาทยอด มีเรือนธาตุทงั้ สีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั และแปดเหลีย่ ม เหนือเรือนธาตุเป็นเจดียท์ รงหม้อน�ำ้ และส่วนยอดเป็นฉัตร กลุ่มที่มีอิทธิพลศิลปะอินเดียภาคใต้หรือในแคว้น เบงกอล เป็นอาคารปราสาทรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าทีม่ สี ว่ นล่าง เป็นเรือนก่อตัน ผนังแบ่งเป็นห้องๆ มีจระน�ำซุม้ ประดับ งานประติมากรรม ด้านหน้ามีมขุ และบันได ส่วนบนน่าจะ ประกอบด้วยปราสาทประธานทีต่ งั้ รูปเคารพและด้านหน้า เป็นมณฑปส�ำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เขาคลังใน เมืองศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ กลุ่มที่มีอิทธิพลศิลปะชวาภาคกลาง เป็นเจดีย์ ทรงปราสาทยอดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังซับซ้อน มีฐาน ประทักษิณ ๑-๒ ชั้น ในผังยกเก็จและยกกระเปาะ ออกมาเป็นมุขหรือจระน�ำซุม้ ประดับงานประติมากรรม อาจประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในจระน�ำซุม้ หรือ 65 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
มุขทั้งสี่ด้าน ประดับสถูปิกะในแต่ละมุมและแต่ละด้าน ส่วนยอดน่าจะเป็นเจดียท์ รงระฆัง ทรงหม้อน�ำ้ เช่น วัด พระเมรุ พระประโทณ จ. นครปฐม
เจดีย์สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘) ศิลปะศรีวิชัยและศิลปะที่พบทางภาคใต้ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ ส่วนใหญ่เป็นงานศิลปกรรม เนือ่ งในพุทธศาสนามหายาน เจดียเ์ ป็นทรงปราสาททีม่ ี แหล่งบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียโดยตรง เช่น ระบบ ฐานทีเ่ ป็นแบบบัววลัย ประดับขือ่ ปลอม ระบบแผนผังแบบ ยกเก็จ ผนังประดับปราสาทจ�ำลอง เป็นต้น อีกส่วนหนึง่ มาจาก “จันทิ” ในศิลปะชวาภาคกลางและน่าจะเป็น แหล่งบันดาลใจส�ำคัญทีท่ �ำให้เกิดรูปแบบปราสาททีพ่ บ ในศิลปะศรีวิชัย เช่นพระบรมธาตุไชยา ที่มีระบบของ แผนผังแบบยกเก็จ ฐานแบบบัววลัย และประดับขือ่ ปลอม ที่ได้รับมาจากอินเดีย ส่วนที่เหมือนกับศิลปะชวาภาค กลาง คือ ส่วนยอดที่เป็นเรือนชั้นซ้อน ประดับสถูปกิ ะ ทีม่ มุ ทุกมุมและทีด่ า้ นทุกด้านของทุกชัน้ จากรูปแบบฐาน และระบบแผนผังน่าจะสัมพันธ์กับเจดีย์สมัยทวารวดี ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย โดยเชื่อว่าเจดีย์ กลุ่มหนึ่งในสมัยทวารวดีรับรูปแบบมาจากจันทิ และมี ความสัมพันธ์กับศิลปะศรีวิชัยด้วย
ศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย ปราสาทแบบเขมรรุ ่ น แรกที่ พ บในดิ น แดนไทย ตรงกับสมัยสมโบร์ ไพรกุกและไพรกเมง (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๒-๑๔) ปราสาทในระยะแรกเหลื อ หลั ก ฐานอยู่ 66 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
น้อยมาก ก�ำหนดอายุได้จากเครื่องประกอบสถาปัตย- กรรม เช่น ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู มีรูปแบบของปราสาทที่ใช้ระบบเรือนชั้นซ้อน ประดับ ปราสาทจ�ำลองที่ผนัง มีส่วนฐานแบบบัววลัยคล้ายกับ เจดีย์ ในวัฒนธรรมทวารวดี ลักษณะลวดลายมีความ สัมพันธ์กบั วัฒนธรรมเขมรรุน่ แรกและวัฒนธรรมทวารวดี ตัวอย่างปราสาททีเ่ หลืออยูค่ อื ปราสาทภูมิโปน (ภูมิโพน) จ. สุรินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ พบปราสาทเหลืออยู่ เพียงแห่งเดียว คือ เทวสถานปรางค์แขก เมืองลพบุรี มีรูปแบบที่สืบทอดมาจากสมัยก่อนเมืองพระนคร คื อ การก่ออิฐแบบไม่สอปูน มีลักษณะที่แสดงความเป็น พื้นเมืองแล้ว เช่นการประดับลายปูนปั้น พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ตรงกับศิลปะสมัยบาปวน ปราสาทมี รู ป แบบและแผนผั ง ที่ มี แบบแผนเดียวกับ ในศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนครและเป็นศาสนสถาน ขนาดใหญ่ ลักษณะส�ำคัญ คือ มีระบบเรือนชั้นซ้อนที่ เริม่ ปรับระบบการประดับปราสาทจ�ำลอง (ทรงสีเ่ หลีย่ ม) ทีม่ มุ ทัง้ สี่ในแต่ละชัน้ มาเป็นกรอบสามเหลีย่ มทีก่ ลายเป็น นาคปัก ซึ่งนิยมมากในสมัยนครวัด ส่วนยอดปราสาท จึงเริ่มเป็นทรงพุ่ม ตัวอย่างเช่น ปราสาทสด็กก็อกธม จ. สระแก้ว พุทธศตวรรษที ่ ๑๗ ตรงกับสมัยนครวัด พบปราสาท จ�ำนวนมากและส่วนหนึง่ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ มีรปู แบบ สืบต่อมาจากสมัยบาปวน การประดับชั้นหลังคาที่มุม ในแต่ละชั้นเปลี่ยนจากปราสาทจ�ำลองมาเป็นนาคปัก ท�ำให้ยอดปราสาทเป็นทรงพุ่ม และกลายเป็นกลีบขนุน ปรางค์ ในศิลปะไทยในเวลาต่อมา เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง เป็นต้น 67 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๒ เจดีย์สมัยทวารวดี
ศาสนสถานสมัยทวารวดี
สถาปัตยกรรมเนื่องศาสนาในสมัยทวารวดีอาจจ�ำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ศาสนสถานทีอ่ ยูใ่ นถ�ำ้ น่าจะเกิดจากความต้องการใช้พนื้ ทีธ่ รรม- ชาติประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพียงดัดแปลงถ�้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยการสร้างประติมากรรมรูปเคารพไว้ภายใน หรือสลักเป็นภาพนูนต�ำ่ ไว้บนผนังถ�ำ้ ก็ถอื ว่าเป็นศาสนสถานได้ หรืออาจเป็นการสืบทอดวัฒนธรรม จากกลุ่มชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่ใช้ถ�้ำส�ำหรับประกอบ พิธีกรรม หรือได้รับอิทธิพลมาจากการใช้ถำ�้ เป็นศาสนสถานของอินเดีย ที่เรียกว่า เจติยสถาน ซึ่งเป็นถ�้ำที่เจาะเข้าไปโดยฝีมือมนุษย์ พบแล้ว ตัง้ แต่สมัยอินเดียโบราณ (พุทธศตวรรษที ่ ๓-๖) และพบเป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในสมัยคุปตะ เช่น ถ�้ ำอชันตา ถ�้ำเอลโลรา เป็นต้น ศาสนสถานที่อยู่ในถ�้ำสมัยทวารวดีพบที่เขางู จ. ราชบุรี (รูป ที่ ๒.๑), ถ�้ำพระโพธิสัตว์ จ. สระบุรี, เขาถมอรัตน์ จ. เพชรบูรณ์ ถ�้ำ คูหาสวรรค์ จ. สุราษฏร์ธานี 79 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ศาสนสถานกลางแจ้ง คือสถาปัตยกรรมที่พบอยู่ทั่วไปในทุก เมืองโบราณสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพุทธเหลือ เพียงส่วนฐานเท่านั้น อาจเป็นส่วนฐานของสถูปหรือเจดีย์ ส่วนใหญ่มี แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีรูปแบบพิเศษพบบ้าง แต่จ�ำนวนน้อย ได้แก่ ผังแปดเหลี่ยมและผังกลม
วัสดุและเทคนิคการก่อสร้าง
สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่เป็นอาคารก่ออิฐสอด้วย ดิน (ดินเหนียวดิบผสมน�ำ้ อ้อย) อิฐจะมีลกั ษณะแตกต่างจากอิฐเขมรและ อิฐจามทัง้ ลักษณะเนือ้ ดินและวิธที ำ� มีขนาดใหญ่ประมาณ ๓๔ x ๑๘ x ๘ เซนติเมตร หรืออาจมีขนาดใหญ่กว่านี้ ดินที่ใช้ท�ำอิฐมักผสมกับข้าว เปลือกซึง่ จะช่วยให้เผาได้อย่างสม�่ำเสมอแต่สว่ นใหญ่จะสุกเฉพาะข้างนอก
รูปที่ ๒.๑ ถ�้ำฤๅษีเขางู จ. ราชบุรี 80 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
การผสมข้าวเปลือกลงในดินเช่นนี้ท�ำให้อิฐแบบทวารวดีมีลักษณะพิเศษ ในการก่อสร้างบางครัง้ จะใช้ศลิ าแลงก่อร่วมกับอิฐโดยก่อเฉพาะฐานส่วนหนึง่ หรือฐานทั้งหมด ผนังของศาสนสถานมักตกแต่งด้วยลวดลายประดับที่ ท�ำด้วยปูนปั้นหรือดินเผา ๑
ลักษณะแผนผังและรูปแบบ
เจดียส์ มัยทวารวดีประกอบด้วย ฐานชัน้ ล่างสุดเรียกว่า ฐานเขียง หรือฐานหน้ากระดาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม บางแห่งจะมีบันได ทางขึน้ สองหรือสีด่ า้ น ฐานชัน้ ถัดขึน้ มาประกอบด้วยชุดฐานทีม่ ลี กั ษณะ คล้ายกับกลีบบัวและลูกแก้วผสมกันจนเกิดเป็นลักษณะโค้งมน เรียกว่า ฐานบัววลัย ถือเป็นลักษณะเฉพาะของฐานเจดียส์ มัยทวารวดี ฐานบัววลัย นีอ้ าจอยูใ่ นผังสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั หรือแปดเหลีย่ ม ท�ำยกเก็จหรือยกกระเปาะ ส่วนที่เป็นท้องไม้ของฐานชุดนี้นิยมแบ่งเป็นช่องๆ และประดับภาพ ประติมากรรมดินเผาหรือปูนปั้นเป็นภาพเล่าเรื่อง รูปบุคคล คนแคระ หรือรูปสัตว์ (รูปที่ ๒.๒) เหนือฐานชุดนี้อาจเป็นลานประทักษิณ ๑-๒ ชั้น (รูปที่ ๒.๓) แล้วจึงเป็นส่วนขององค์เจดีย์ซึ่งมักจะพังทลายลงไป หมดแล้ว ไม่สามารถศึกษารูปแบบได้ ทีเ่ จดียห์ มายเลข ๑ และหมายเลข ๔๐ เมืองคูบัว จ. ราชบุรี พบว่ามีการยกเก็จที่มุมทั้งสี่ท�ำให้มีลักษณะ คล้ายกับเสาประดับมุม
เจดีย์สมัยทวารวดี
การค้นหารูปแบบเจดีย์สมัยทวารวดี
เนื่องจากเจดีย์สมัยทวารวดีที่พบส่วนใหญ่เหลือเพียงส่วนฐาน ไม่เคยพบหลักฐานเต็มองค์ ดังนั้นการศึกษารูปแบบของเจดีย์จึงท�ำได้ เพียงการสันนิษฐาน โดยใช้วธิ ศี กึ ษาเปรียบเทียบกับต้นแบบศิลปะอินเดีย และศิลปะในประเทศใกล้เคียงที่มีอายุร่วมสมัยกัน และวิเคราะห์โดยใช้ รูปแบบของสถูปจ�ำลองในสมัยเดียวกันที่ค้นพบ กับประการสุดท้าย เปรียบเทียบกับหลักฐานงานศิลปกรรมอื่นๆ เช่น รูปสถูปในพระพิมพ์ ภาพสลักนูนต�่ำ เป็นต้น การเปรียบเทียบกับสถูปในศิลปะอินเดีย ถือว่าเป็นข้อมูลเบือ้ งต้น ในการสันนิษฐาน ได้แก่ กลุม่ เจดียท์ มี่ ฐี านยกเก็จและนิยมเจาะเป็นช่องๆ 81 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๓ เจดีย์ในศิลปะศรีวิชัยและศิลปะภาคใต้
ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดส์ (George C d s) เป็นผูบ้ ญ ั ญัตนิ าม “ศรีวชิ ยั ” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ จากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ มีศักราชตรงกับ พ.ศ. ๑๓๑๘ โดยในจารึกระบุชอื่ “พระเจ้ากรุงศรีวชิ ยั ” แต่ไม่ทราบแน่ชดั ว่าศิลาจารึกหลักนีพ้ บทีว่ ดั เสมาเมือง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช หรือ ที่วัดหัวเวียง (วัดเวียง) อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี อีกทั้งมีบันทึกของ พระภิกษุอี้จิง (I-tsing) ที่กล่าวถึงอาณาจักรในบริเวณภาคใต้ของไทย นามว่า “ซิลิโฟชิ” (Shih-Li-Fo-Shih) แปลความหมายได้ว่า ศรีวิชัย ๑ มีข้อสันนิษฐานว่าศรีวิชัยเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอ�ำนาจทางการ เมืองมัน่ คง มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมหมูเ่ กาะต่างๆ ทางตอนใต้ คาบสมุทรมลายูและดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร ส่วนศูนย์กลางของ อาณาจักรยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู ่ โดยนักวิชาการกลุม่ หนึง่ เชือ่ ว่าศรีวชิ ยั อยู่ที่ปาเล็มบัง (Palembang) หรือจัมบี (Jambi) บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เนือ่ งจากพบศิลาจารึกหลายหลักทีก่ ล่าวถึงกรุงศรีวชิ ยั แต่ไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีหรือสถาปัตยกรรมมากนัก อีกกลุม่ หนึง่ เชื่อว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณคาบสมุทรไชยาและครอบคลุมไปถึง 138 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
นครศรีธรรมราช เนือ่ งจากหลักฐานทางโบราณคดีจ�ำนวนมากโดยเฉพาะ ที่เมืองไชยา ได้พบทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถาน และจารึกที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ปัจจุบันมีความเห็นร่วมกันว่าอาณาจักรศรีวิชัยไม่มี ศูนย์กลางทางการเมืองที่แน่นอนและถาวร อาจเปลี่ยนไปตามความ เข้มแข็งของผูน้ ำ� ทีส่ ามารถควบคุมอ�ำนาจทางการค้าไว้ได้ ศูนย์กลางของ อ� ำ นาจจะเปลี่ ย นแปลงไปตามความผั น แปรทางการเมื อ งเศรษฐกิ จ โดยมีรูปแบบทางวัฒนธรรมร่วมกัน ได้แก่ศาสนาพุทธมหายาน และมี ศิลปกรรมร่วมกันเรียกว่า ศิลปะศรีวิชัย จากหลักฐานทางศิลปกรรมบอกให้รู้ว่าศาสนาในสมัยศรีวิชัย คือ “ศาสนาพุทธมหายาน” ประติมากรรมสมัยศรีวิชัยส่วนมากได้แก่ พระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร ในระยะแรกเป็นประติมากรรมทีไ่ ด้รบั รูปแบบ มาจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะ (พุทธ- ศตวรรษที ่ ๑๒-๑๓) ร่วมสมัยกับทวารวดีทางภาคกลาง ต่อมาลักษณะ ประติมากรรมจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคกลางของอินโดนีเซียระหว่าง พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยกันอยู่ อาจเป็นเพราะ มีความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ระหว่างเจ้าผู้ครองนครศรีวิชัยกับ กษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร์ที่ปกครองชวา และส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์ ทางด้านศิลปกรรมกับศิลปะจามในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ และ ในระยะสุดท้ายมีอทิ ธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ ส่วนงานสถาปัตยกรรม ปรากฏหลักฐานทางศิลปกรรมของ ศิลปะศรีวชิ ยั ทีบ่ ริเวณเมืองเมืองไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ซีง่ เป็นเมืองโบราณ ที่ค้นพบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากที่สุดแห่งหนึ่ง จนมีนักวิชาการ เสนอว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวชิ ยั น่าจะเคยอยูท่ ไี่ ชยา จากหลักฐาน เท่าที่เหลืออยู่พอจะสามารถกล่าวได้ในชั้นต้นว่า ศิลปะศรีวิชัยในความ หมายของศิลปะทีพ่ บทางภาคใต้ระหว่างพุทธศตวรรษที ่ ๑๓-๑๘ และใน ความหมายของการศึกษาเป็นเรือ่ งของพุทธศาสนามหายาน รูปแบบของ เจดีย์เป็นทรงปราสาทที่เชื่อว่าได้แหล่งบันดาลใจมาจากอินเดียส่วนหนึ่ง และจากจันทิในศิลปะชวาภาคกลางที่เป็นแหล่งบันดาลใจส�ำคัญที่สุดใน การสร้างปราสาท รูปแบบฐานและระบบแผนผังน่าจะมีความสัมพันธ์กบั 139 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
เจดีย์สมัยทวารวดีที่พบในภาคกลางของประเทศไทย โดยเชื่อว่าเจดีย์ กลุ่มหนึ่งในสมัยทวารวดีรับรูปแบบมาจากจันทิในศิลปะชวาภาคกลาง และมีความสัมพันธ์กบั ศิลปะศรีวชิ ยั และมีลกั ษณะบางประการแสดงถึง ความสัมพันธ์กับศิลปะจามด้วย อย่างไรก็ตามในราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๗-๑๘ ดินแดนในภาคใต้ ส่วนหนึง่ มีวฒ ั นธรรมพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุง่ เรืองขึน้ และได้รบั ศาสนา และรูปแบบศิลปกรรมมาจากลังกาจึงมีการสร้างเจดีย ์ ตัวอย่างส�ำคัญคือ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช แม้อาจไม่เกีย่ วข้องกับศรีวชิ ยั ในความหมาย ของศิลปะในพุทธศาสนามหายาน เพราะจากหลักฐานศิลปะศรีวิชัยและ พุทธศาสนามหายานรุง่ เรืองในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๓-๑๖ เท่านัน้ ส่วน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ ดินแดนในภาคใต้เกิดงานศิลปกรรม อย่ า งใหม่ ที่ เ ป็ น ของตนเอง เช่ น พระพุ ท ธรู ป สกุ ล ช่ า งไชยา รวมทั้ ง พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชก็นา่ จะเป็นงานศิลปกรรมทีเ่ กิดใหม่ทไี่ ม่ใช่ ศิลปะศรีวิชัย ซึ่งน่าจะเรียกว่า ศิลปะภาคใต้ระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๙ ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเจดีย์ในสองกลุ่มงานศิลปะ คือ
เจดีย์ (ปราสาท) ในศิลปะศรีวิชัย
งานสถาปั ต ยกรรมในศิ ล ปะศรี วิ ชั ย เหลื อ หลั ก ฐานให้ ศึ ก ษา รูปแบบศิลปะเพียง ๓-๔ แห่งเท่านั้นและสภาพไม่สมบูรณ์ทั้งองค์ และ บางองค์ได้รบั การบูรณปฏิสงั ขรณ์ในภายหลัง ดังนัน้ ในการศึกษารูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมของศิลปะศรีวิชัยจึงยังมีความคลุมเครือไม่สามารถ กล่าวอะไรได้ชัดนัก แต่จากรูปแบบที่ปรากฏอยู่สามารถสันนิษฐานถึง ทีม่ าของรูปแบบ แหล่งบันดาลใจในการสร้าง และความสัมพันธ์กบั ศิลปะ ใกล้เคียง อันสัมพันธ์กับประติมากรรมที่พบและอายุสมัยได้ระดับหนึ่ง สถาปัตยกรรมในศิลปะศรีวิชัยที่ปรากฏน่าจะเป็นอาคารทรง ปราสาททั้งหมด คือเจดีย์ทรงปราสาทและปราสาท พิจารณารูปแบบ แล้วน่าจะใกล้เคียงกับปราสาทหรือจันทิในศิลปะชวาภาคกลางมาก เช่น พระบรมธาตุไชยาและวัดหลง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะ พระบรมธาตุไชยาที่มีระบบของการประดับสถูปองค์เล็กๆ (สถูปิกะ) ที่ 140 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๓.๑ พระบรมธาตุไชยา จ. สุราษฎร์ธานี
มุมและที่ด้านแต่ละชั้นซึ่งเป็นแบบเฉพาะของศรีวิชัย ต่างจากระบบการ ประดับสถูปิกะของศิลปะพุกามที่จะมีเฉพาะที่มุมของแต่ละชั้นเท่านั้น นอกจากนี้พบงานสถาปัตยกรรมอีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง อิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับศิลปะจาม เช่นโบราณสถานที่วัดแก้ว อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ที่มีตกแต่งผนังภายนอกด้วยเสาอิงที่ก่อจาก อิฐและเสาเซาะเป็นร่อง อันเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะจามในเวียดนาม
พระบรมธาตุไชยา วัดพระบรมธาตุไชยา อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี
พระบรมธาตุไชยา (รูปที่ ๓.๑) มีหลักฐานการบูรณะซ่อมแซม ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และใน พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยกรมศิลปากร ลักษณะของเจดีย์เป็นทรงปราสาทแบบจันทิในศิลปะชวาภาคกลาง ประกอบด้วย 141 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๕ เจดีย์สมัยลพบุรี
“ศิลปะสมัยลพบุร”ี มีความแตกต่างกับ “ศิลปะเขมรทีพ่ บในประเทศไทย” ด้วยขอบเขตทางวัฒนธรรม ลักษณะทางศิลปกรรม และระยะเวลา ผู้ เขียนจึงมีความเห็นว่าควรแยกการน�ำเสนอเนือ่ งจาก ประการแรก เรือ่ ง ขอบเขตของระยะเวลาที่ได้พบวัฒนธรรมเขมรเก่าไปถึงพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๒ ถ้าก�ำหนดว่า “ศิลปะลพบุร”ี ในความหมายเดิมเพียงพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๖ จะไม่ครอบคลุม ประการที ่ ๒ ในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๒-๑๖ ที่ เมืองลพบุรมี หี ลักฐานเกีย่ วกับวัฒนธรรมทวารวดี มีสว่ นทีเ่ ป็นวัฒนธรรม เขมรอยูน่ อ้ ยมาก จึงท�ำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันหรือเกิดความสับสน ได้ ประการที่ ๓ เรื่องพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ถ้าใช้ค�ำว่า “ศิลปะลพบุรี” หรือ “สมัยลพบุร”ี ในฐานะทีล่ พบุรเี ป็นศูนย์กลางของเขมรช่วงเวลาหนึง่ (เฉพาะทางภาคกลางช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๖-๑๘) แต่ดว้ ยเหตุทหี่ ลักฐาน ทางศิลปกรรมทีเ่ ป็นศิลปะเขมรส่วนใหญ่อยูใ่ นภาคอีสานโดยเฉพาะอีสาน ใต้ และมีอายุเก่าไปถึงพุทธศตวรรษที ่ ๑๒ พบช่วงระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖-๑๘ มากกว่าแถบภาคกลางโดยเฉพาะที่เมืองลพบุรี ดังนั้นการ ก�ำหนดเรียกศิลปะลพบุรกี บั ศิลปะเขมรทีพ่ บในภาคอีสานจึงไม่ครอบคลุม 193 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พื้นที่ทางวัฒนธรรม อ�ำนาจทางการเมืองและอิทธิพลทางศิลปะของเขมรได้ลดน้อยลง โดยเฉพาะในภาคกลางของประเทศไทยทีเ่ มืองลพบุร ี ในช่วงหลังสมัยบายน และก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอย่างน้อยเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี ประกอบกับการค้นพบหลักฐานทางศิลปกรรมทีม่ รี ปู แบบเฉพาะ แม้วา่ จะอยูบ่ นพืน้ ฐานของวัฒนธรรมเขมร เช่น พระปรางค์ประธานและ ปรางค์หมายเลข ๑๖ ค. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นต้น กลุ่ม พระพุทธรูปที่มพี ฒ ั นาการต่างจากพระพุทธรูปเขมร และพบหลักฐานว่า เมืองละโว้เคยส่งทูตไปยังเมืองจีนระหว่าง พ.ศ. ๑๘๓๒-๑๘๔๒ ๑ แสดง ถึงสถานภาพของความเป็นรัฐอิสระด้วย ด้วยเหตุนี้จึงขอเสนอให้เรียก ชือ่ ศิลปะในช่วงนีใ้ หม่ เช่นอาจเรียกว่า ศิลปะลพบุร ี (ทีเ่ มืองลพบุร)ี และ ก�ำหนดระยะเวลาที่อยู่ในช่วงระหว่างการสิ้นสุดอ�ำนาจทางการเมืองของ เขมรและก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (ระหว่างกลางพุทธ- ศตวรรษที่ ๑๘ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙) ศิลปะสมัยลพบุรีเกิดขึ้นบริเวณภาคกลางของประเทศไทยที่มี ศูนย์กลางอยูท่ เี่ มืองลพบุรแี ละบริเวณใกล้เคียง ส่วนหนึง่ ยังมีววิ ฒ ั นาการ มาจากอิทธิพลท้องถิ่นเดิมได้แก่วัฒนธรรมทวารวดี แต่พบอยู่น้อยมาก ส่วนส�ำคัญได้แก่ การสืบต่อมาจากศิลปะเขมรโดยเฉพาะแบบนครวัดและ บายน ทีส่ บื ต่อไปจนถึงสมัยอยุธยาตอนต้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ ที่เกิดขึ้นที่เมืองลพบุรี
เจดีย์สมัยลพบุรี
ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
แผนผังวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ ลพบุร ี (รูปที ่ ๕.๑) แสดงให้เห็น ถึงการก่อสร้างซ�ำ้ ซ้อนหลายสมัยซึง่ สามารถล�ำดับการสร้างจากการศึกษา รูปแบบศิลปกรรมได้ดังต่อไปนี้ ระบบแผนผังประกอบด้วยปรางค์ประธานทีเ่ ป็นปรางค์สามหลัง คือ มีปีกปรางค์ทั้งสองข้าง มีตรีมุขที่มีทางขึ้นทั้งสามทาง มีระเบียงคด (ชั้นใน) รอบปรางค์ประธาน มีวิหารหลวง (หมายเลข ๑ ค.) ด้านหน้า 194 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๕.๑ ปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
รูปที่ ๕.๒ แผนผังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี (ที่มา : กรมศิลปากร) 195 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๖ เจดีย์สมัยหริภุญชัย
“หริภญ ุ ชัย” เป็นชือ่ ของแคว้นหรืออาณาจักรโบราณในภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง ล�ำพูน ๑ อาณาจักรหริภุญชัยปรากฏในต�ำนานที่กล่าวถึงการสร้างบ้าน แปงเมืองของชาวหริภุญชัยและอัญเชิญพระนางจามเทวีจากกรุงละโว้ ขึ้นมาปกครองใน พ.ศ. ๑๒๐๔ ๒ ศิลปะหริภญ ุ ชัยมีพนื้ ฐานทางด้านรูปแบบมาจากการรับวัฒนธรรม ทางพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีจากภาคกลางของประเทศไทย ดังจะเห็น ได้จากงานศิลปกรรมในระยะแรกทีเ่ หมือนกับศิลปะทวารวดีโดยเริม่ ตัง้ แต่ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา สัมพันธ์กับต�ำนานที่กล่าวถึงการ เสด็จมาของพระนางจามเทวีจากเมืองลพบุรพี ร้อมกับการน�ำศาสนาและ รูปแบบศิลปกรรมขึน้ มาด้วย อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางศิลปกรรมในยุคนี้ พบไม่มากนัก ศิลปะสมัยหริภุญชัยที่พบหลักฐานมากที่สุดอยู่ในช่วงพุทธ- ศตวรรษที ่ ๑๗-๑๘ เป็นยุคทีง่ านศิลปกรรมเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเอง อย่างแท้จริง มีหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์คอ่ นข้างชัดเจน คือ ศิลาจารึก 221 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ทีร่ ะบุศกั ราชและพระนามพระมหากษัตริย ์ แหล่งศิลปกรรมทีม่ บี ทบาท ส�ำคัญ คือ ศิลปะจากพุกามหรือเมืองมอญทางตอนใต้ของพม่า สอดคล้อง กับจารึกที่ใช้ภาษามอญและความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏ ในต�ำนาน และลักษณะเด่นชัดที่ปรากฏในงานประติมากรรมและงาน ประดับสถาปัตยกรรม อาณาจักรหริภญ ุ ชัยถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนาในช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในสมัยพญามังราย ผู้สถาปนาอาณาจักรใหม่นาม “อาณาจักรล้านนา” และสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่คือเมืองเชียงใหม่ใน ุ ชัย (ล�ำพูน) กลายเป็นเมืองทีม่ คี วามส�ำคัญใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ๓ เมืองหริภญ ฐานะศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของอาณาจักรล้านนานับแต่นนั้ ถึงปัจจุบนั
เจดีย์สมัยหริภุญชัย
หลักฐานทางสถาปัตยกรรมเหลืออยู่น้อยมาก แม้หลักฐาน ต�ำนาน พงศาวดาร และงานประติมากรรมแสดงให้เห็นว่า การเริ่มต้น ของงานศิลปกรรมเนือ่ งในพุทธศาสนาของหริภญ ุ ชัยสัมพันธ์กบั วัฒนธรรม ทวารวดีจากภาคกลางของประเทศไทย แต่หลักฐานสถาปัตยกรรมเหลือ ให้ศึกษาอยู่เฉพาะในยุครุ่งเรืองของศิลปะหริภุญชัยในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗-๑๘ ซึ่งมีแหล่งบันดาลใจมาจากศิลปะปยูและศิลปะพุกามใน ประเทศพม่าเป็นส�ำคัญ เนื่องจากงานสถาปัตยกรรมที่เหลือหลักฐาน เพียงเจดีย์ไม่กี่องค์ ดังนั้นในการศึกษารูปแบบจึงไม่สามารถจัดกลุ่มได้ จึงจะกล่าวรายละเอียดเจดีย์บางองค์ตามอิทธิพลทางศิลปะที่ปรากฏ ได้แก่ เจดีย์กู่กุด (รูปที่ ๖.๑) และรัตนเจดีย์ วัดจามเทวี (วัดกู่กุด) สุวรรณเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย จ. ล�ำพูน เจดีย์แบบพิเศษ ได้แก่ กูช่ า้ ง ทีม่ รี ปู เหมือนกับเจดียท์ รงลอมฟางในศิลปะปยู และงานสถาปัตยกรรม ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะพุกามในช่วงปลายสมัยหริภุญชัยหรือสมัยล้านนา ตอนต้น ได้แก่ เจดียป์ ระธานวัดเกาะกลาง อ. ป่าซาง และเจดียเ์ ชียงยืน บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย
เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี เมืองล�ำพูน
ตามประวัติเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช
222 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๖.๑ เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี อ. เมือง จ. ล�ำพูน
ใน พ.ศ. ๑๖๑๖ เมื่ อ คราวที่ ก องทั พ หริ ภุ ญ ชั ย รบชนะกองทั พ ละโว้ ชาวละโว้จึงถูกเกณฑ์ให้สร้างเจดีย์และเรียกว่า “เจดีย์มหาพล” ๔ ซึ่ง สันนิษฐานว่าหมายถึงเจดีย์กู่กุดองค์นี้ ต่อมาได้พบจารึกในบริเวณวัด กู่กุดกล่าวถึงการสร้างหรือการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์ในสมัยของพระเจ้า สววาธิสิทธิ (สัพสิทธิ์) ใน พ.ศ. ๑๗๖๑ ซึ่งมีผู้วิเคราะห์รูปแบบเจดีย์ และวิวฒ ั นาการของตัวอักษรของจารึกเชือ่ ว่าน่าจะอยูใ่ นราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗ ๕ จึงอาจกล่าวได้ว่ารูปแบบของเจดีย์ที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นองค์ เดียวกับที่จารึกกล่าวว่าสร้างหรือบูรณะในสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ 223 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ปลี ชั้นวงแหวน บัวทรงคลุ่ม ชั้นวงแหวน บัวทรงคลุ่ม
จระน�ำซุ้ม
สถูปิกะ
ส่วนยอด
จระน�ำซุ้ม
สถูปิกะ
จระน�ำซุ้ม สถูปิกะ เรือนธาตุ ในผังสี่เหลี่ยม ประดิษฐาน พระพุทธรูป
จระน�ำซุ้ม สถูปิกะ
ส่วน เรือนธาตุ
จระน�ำซุ้ม
ฐานรองรับ เรือนธาตุ ชั้นเขียง ฐานเขียง ๐
๑
๒
๓
๔
๕ ม. (M.)
รูปที่ ๖.๒ ลายเส้นเจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี
224 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ส่วนฐาน
เจดีย์องค์นี้มีลักษณะพิเศษ (รูปที่ ๖.๒) คือ เป็นทรงปราสาท ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม เรือนธาตุท�ำซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นประดิษฐาน พระพุทธรูปในจระน�ำซุ้มด้านละ ๓ องค์จึงมีชั้นละ ๑๒ องค์ ทั้งหมด มีห้าชั้น ดังนั้นจึงมีพระพุทธรูปประดิษฐานรวมทั้งหมด ๖๐ องค์ (รูป ที่ ๖.๓) ที่มุมเจดีย์ในแต่ละชั้นประดับเจดีย์จ�ำลองขนาดเล็กเรียกว่า สถูปิกะ ส่วนยอดของเจดีย์หักหายไปอันกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก เจดีย์ว่า “กู่กุด” ข้อสันนิษฐานคือ ส่วนยอดน่าจะเป็นยอดทรงกรวย เหลี่ยม ประดับชั้นลูกแก้วอกไก่เป็นชุด และคั่นจังหวะด้วยแถวกลีบบัว หงาย ๖ โดยเปรียบเทียบกับสุวรรณเจดีย์ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงเดียวกันที่ยังมีส่วนยอดปรากฏอยู่ ส่วนจ� ำนวนพระ พุทธรูปทั้ง ๖๐ องค์อาจหมายถึงพระอดีตพุทธเจ้าที่ทรงตรัสรู้แล้วใน โลกมนุษย์ หรืออาจหมายถึงปัจเจกพุทธเจ้าทีม่ จี ำ� นวนมากจนนับไม่ถว้ น ๗ สิ่งส�ำคัญคือที่มาของรูปแบบเจดีย์ อาจจะสัมพันธ์กับสัตตมหา ปราสาทในศิลปะลังกาสมัยโปลนนารุวะ ซึง่ มีรปู แบบและระยะเวลาทีใ่ กล้ เคียงกันมาก อาจมีอทิ ธิพลให้แก่กนั หรือทัง้ สองแห่งเกิดขึน้ โดยมีรปู แบบ
รูปที่ ๖.๓ พระพุทธรูปในจระน�ำซุ้ม เจดีย์วัดกู่กุด วัดจามเทวี 225 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๗ เจดีย์สมัยสุโขทัย
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ชัดเจนนัก ด้วยเหตุที่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหลืออยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่ เป็นศิลาจารึกซึง่ เกือบทัง้ หมดมักจะกล่าวถึงการสร้างถาวรวัตถุเพือ่ ความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและการสืบทอดพระศาสนา จึงต้องวิเคราะห์ หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดีร่วมกับจารึก จะช่วยท�ำให้ความ เป็นมาของอาณาจักรสุโขทัยชัดเจนขึ้น ตั้งแต่การเริ่มต้น ยุครุ่งเรือง และการเสื่อมสลาย โดยเฉพาะหลักฐานเครื่องถ้วยที่ได้จากการขุดค้น แสดงถึงล�ำดับการอยู่อาศัยของคนในสมัยสุโขทัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ สมัยก่อนสุโขทัย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ยุคที่พบหลักฐานการอยู่ อาศัยหนาแน่นน่าจะเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙- ๒๐ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ หลั ก ฐานทางด้ า นศิ ล ปกรรมที่ พ บบนพื้ น ดิ น รวมทั้งวิเคราะห์จากศิลาจารึกที่บอกศักราชว่าอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ศิลาจารึกส่วนหนึ่งระบุเหตุการณ์และศักราชในช่วงปลายพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จนมาถึงสมัยเมืองถูกทิ้งร้างใน ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ เครื่องถ้วยทีอ่ ยูร่ ว่ มสมัยกัน และการไม่พบ 247 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
งานศิลปกรรมสมัยหลังพุทธศตวรรษที ่ ๒๒ แสดงว่าสุโขทัยถูกทิง้ ร้างหรือ ไม่ใช่เมืองส�ำคัญอีกต่อไป ๑
ความเป็นมาของดินแดน ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีบอกให้รวู้ า่ ในดินแดนอันเป็นทีต่ งั้ ของ อาณาจักรสุโขทัยมีคนอยูอ่ าศัยมาแล้วตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ โดย เฉพาะในยุคโลหะตอนปลาย เช่นหลุมขุดค้นวัดชมชืน่ เมืองศรีสชั นาลัย ๒ พบโครงกระดูกมนุษย์จ�ำนวนมากพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรม ส�ำหรับผูต้ าย (รูปที่ ๗.๑) จนเข้าสูส่ มัยประวัตศิ าสตร์สมัยทวารวดี เช่น การขุดค้นทางโบราณคดีทวี่ ดั พระศรีรตั นมหาธาตุเชลียง ๓ หลุมขุดค้นวัด ชมชืน่ และแหล่งโบราณคดีบา้ นวังหาด อ. บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย ๔ หลักฐานส�ำคัญที่วัดชมชื่นแสดงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจากสมัยก่อน ประวัตศิ าสตร์สอู่ ารยธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร และเข้าสูย่ คุ สุโขทัย
รูปที่ ๗.๑ โครงกระดูกมนุษย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลุมขุดค้นวัดชมชื่น เมืองศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย
248 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๗.๒ ศาลตาผาแดง เมืองเก่าสุโขทัย
บ่งบอกว่ามีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมีการรับอารยธรรมทางศาสนา จากภายนอกเข้ามาจึงท�ำให้ชมุ ชนแห่งนีม้ พี ฒ ั นาการโดยเฉพาะพุทธศาสนา ในสมัยทวารวดี ผู้คนปรับเปลี่ยนมาสู่อารยธรรมแบบใหม่และเข้าสู่ยุค ประวัติศาสตร์ จนกระทั่งมีกระแสวัฒนธรรมเขมรที่มีอิทธิพลมากกว่าใน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ จึงมีการสร้างงานศิลปะตามวัฒนธรรมนี้ จนกระทั่งถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เขมรเริ่มหมดอ�ำนาจลง ชุมชน กลุม่ นีจ้ งึ ตัง้ รัฐของตัวเอง หลักฐานดังกล่าวเป็นค�ำตอบว่าคนไทยหรือคน สุโขทัยไม่ได้มาจากไหน แต่เขาอยู่กันที่นี่มานานแล้ว
หลักฐานศิลปกรรมในวัฒนธรรมเขมร (พุทธศตวรรษที ่ ๑๗-๑๘)
ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๗-๑๘ อาณาจักรกัมพูชาเจริญรุง่ เรืองและ มีบทบาทในภาคอีสานและภาคกลางของประเทศไทย และส่วนหนึง่ น่าจะ ขึ้นมาถึงสุโขทัยตัวอย่างหลักฐานทางศิลปกรรมที่พบในวัฒนธรรมเขมร เช่น ปราสาทเขาปูจ่ า่ (หรือปูจา มาจากค�ำว่า “บูชา”) บ้านนาเชิง ต. เชิงคิรี อ. คีรมี าศ จ. สุโขทัย ๕ ก�ำหนดอายุได้อย่างช้าสุดในราวปลายพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๗ ถึงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๑๘ ศาลตาผาแดง (รูปที ่ ๗.๒) วัดพระพาย หลวง เมืองเก่าสุโขทัย และวัดเจ้าจันทร์ เมืองศรีสัชนาลัย ๖ ซึ่งทั้งหมด จัดอยูใ่ นศิลปะเขมรในสมัยบายน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ๗ 249 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พุกามมีเจดีย์ทรงระฆังกลุ่มหนึ่งที่รับรูปแบบมาจากลังกา คือกลุ่มเจดีย์ ฉปัฏ ท�ำเป็นชุดฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงายรองรับองค์ระฆังเหมือนลังกา แต่มี การตกแต่งประดับลูกแก้วเพิ่มเติมที่ท้องไม้ การที่เจดีย์ในกลุ่มนี้เหมือนกับต้นแบบในศิลปะลังกามากที่สุด น่าจะสะท้อนความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างสุโขทัยกับลังกา อาจเป็นไปได้วา่ เจดียท์ รงระฆังแบบสุโขทัยได้รบั ความนิยมมากในสมัยพญาลิไทเป็นต้นมา อันถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองของอาณาจักรสุโขทัยโดยเฉพาะด้านศาสนา ดัง พบจากศิลาจารึกบอกถึงการสร้างวัดส่วนใหญ่ปรากฏในยุคนี ้ โดยเฉพาะ เจดียก์ ลุม่ นีพ้ บมากในเขตอรัญญิก อาจเกีย่ วข้องกับศิลาจารึกวัดป่าแดง ที่กล่าวถึงมหาสังฆราชา พระบรมครูติโลกดิลกฯ มาพ�ำนักยังเมือง ศรีสัชนาลัยและสุโขทัยในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ราวรัชกาลพระ มหาธรรมราชาลิไท การที่เรียกว่า “นิกายลังกาใหม่” หรือ “นิกายวัด ป่าแดง” ซึ่งเป็นกลุ่มภิกษุที่อยู่ป่า แสดงว่าในยุคนี้มีการติดต่อกับลังกา อาจโดยทางตรงหรือผ่านมาทางเมืองมอญทางตอนใต้ของพม่า อาจจะ คนละกลุ่มกับพระสุมนเถรที่มาจากส�ำนักอุทุมพรมหาสวามีที่นิยมสร้าง เจดียท์ รงระฆังทีใ่ ช้บวั ถลารองรับองค์ระฆัง ซึง่ เป็นเรือ่ งของรูปแบบทีเ่ ข้ามา ปรากฏพร้อมๆ กันในสมัยพญาลิไท เจดียก์ ลุม่ นีจ้ งึ น่าจะเกีย่ วข้องกับภิกษุนกิ ายวัดป่าแดง เพราะพบ อยู่นอกเมืองศรีสัชนาลัยโดยเฉพาะกลุ่มวัดบนเขาที่อยู่ในเขตอรัญญิก นอกจากนี้ยังพบที่เมืองก�ำแพงเพชรและเมืองเชียงแสน โดยที่เมือง เชียงแสนอยู่บนเขาในเขตอรัญญิกนอกเมืองเช่นเดียวกัน
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม (รูปที่ ๗.๒๔-๗.๒๕) ถือเป็นรูปแบบ เฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัยอย่างแท้จริง มีที่มาขององค์ประกอบ จากแหล่งต่างๆ และช่างสุโขทัยได้พฒ ั นาจนเป็นรูปแบบของตนเองดังมี รายละเอียดขององค์ประกอบแบ่งเป็นสามส่วนคือ ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงในผัง สีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ไม่เพิม่ มุมหรือยกเก็จ ๔-๕ ชัน้ รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ 280 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๗.๒๔ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ วัดมหาธาตุ สุโขทัย
(บัวคว�ำ่ -บัวหงาย) ในผังสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ๑ ฐาน และเป็นฐานบัวทีย่ ดื ท้องไม้ สูงประดับลูกแก้วอกไก่สองเส้น ซึ่งส่วนฐานบัวนี้อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่เพิ่มมุมหรือยกเก็จ ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน ๒ ฐาน ส่วน ใหญ่อยูใ่ นผังเพิม่ มุมไม้ยสี่ บิ นิยมเรียกชุดฐานบัวสองฐานนีว้ า่ ชัน้ แว่นฟ้า ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐาน มีสองรูปแบบคือ ไม่มีจระน�ำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งพบมากที่สุด และมีจระน�ำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้านซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์ ส่วนยอด ส่วนทีเ่ ชือ่ มต่อเหนือเรือนธาตุมชี นั้ ซ้อน ๑ ชัน้ ประดับ บรรพแถลงและกลีบขนุน ต่อด้วยส่วนยอดคือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบ ด้วยองค์ระฆังทีเ่ ป็นทรงพุม่ คล้ายดอกบัวตูม จึงเรียกว่า พุม่ ข้าวบิณฑ์ หรือ 281 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ปลี ปล้องไฉน ส่วนยอด
กลีบขนุน บรรพแถลง
องค์ระฆัง (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์)
เรือนธาตุ ส่วน เรือนธาตุ ฐานบัวลูกฟัก ๒ ชั้น (ชั้นแว่นฟ้า)
ฐานบัวลูกแก้วอกไก่
ส่วนฐาน ชั้นเขียง ฐานเขียง/ ฐานหน้ากระดาน
รูปที่ ๗.๒๕ ลายเส้นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ที่มา : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม)) 282 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ทรงยอดดอกบัวตูม ๔๐ เหนือส่วนยอดดอกบัวตูมท�ำเป็นวงแหวนซ้อนกัน เป็นชัน้ ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดียท์ รงระฆัง ส่วนยอดสุดคือปลี ทัง้ นีพ้ บเจดียท์ รงยอดดอกบัวตูมกลุม่ หนึง่ ทีม่ ขี นาดใหญ่และเป็น เจดียป์ ระธานของวัดทีม่ คี วามส�ำคัญมากทีส่ ดุ จะมีการท�ำบันไดด้านหน้า น่าจะเป็นทางขึน้ ส�ำหรับกระท�ำพิธกี รรมบางครัง้ บางคราว เช่น การประดิษ- ฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และน่าจะใช้ ส�ำหรับพระมหากษัตริยแ์ ละพระบรมวงศานุวงศ์ เพราะพบเฉพาะวัดส�ำคัญ ที่น่าจะเป็นวัดหลวง นอกจากนี้ที่ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมัก ประดับหน้ากาลเต็มพืน้ ที ่ เช่นทีเ่ จดียป์ ระธานวัดเจดียเ์ จ็ดแถว ส่วนของ หน้ากาลมาพร้อมกับซุ้มกรอบหน้านางที่รับมาจากลังกาที่เรียกว่า “ซุ้ม มกรโตรณะ” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม เสนอว่า เจดีย์ ทรงยอดดอกบัวตูมมีทมี่ าจากศิลปกรรมต่างๆ คือ ส่วนฐานมาจากศิลปะ ล้านนา ส่วนเรือนธาตุมาจากปราสาทของศิลปะเขมร และส่วนยอดที่ เป็นทรงยอดดอกบัวตูมน่าจะมาจากศิลปะพุกามที่นิยมสร้างเจดีย์แบบ ไม่มีบัลลังก์ และสามารถอธิบายที่มาของแต่ละส่วนได้ รวมทั้งได้เสนอ แนวความคิดของพัฒนาการทางด้านรูปแบบและการก�ำหนดอายุไว้เป็น อย่างดี ๔๑ แนวความคิดนีอ้ ธิบายทีม่ าของรูปแบบศิลปกรรมได้อย่างเป็น เหตุเป็นผลมากที่สุด จึงได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย การตรวจสอบแนวคิด ที่มา และข้อสันนิษฐาน
ในการก�ำหนดอายุเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม (รูปที่ ๗.๒๖) เป็นพัฒนาการด้าน รูปแบบของศิลปะในประเทศไทย และเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นใน ศิลปะสุโขทัยเท่านั้น เมื่อตรวจสอบลักษณะองค์ประกอบทางสถาปัตย- กรรมสามารถอธิบายที่มาของรูปแบบได้ดังนี้ ส่วนฐาน เป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ทยี่ ดื ท้องไม้สงู ประดับลูกแก้ว อกไก่ ๒ เส้น น่าจะมีแหล่งบันดาลใจมาจากศิลปะพุกามและล้านนา แต่ ศิลปะพุกามนิยมเส้นลวด ๒ เส้นที่ท้องไม้เป็นแบบลูกแก้ว (คือโค้งมน) ไม่ใช่ลูกแก้วอกไก่แบบล้านนา (แหลมเป็นสามเหลี่ยม) ขณะที่ในศิลปะ 283 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ลักษณะที ่ ๒ เป็นบัวถลาหรือหลังคาเอนลาด มีสว่ นยอดเป็นทรง อมลกะ ยอดสุดเป็นกลีบบัวและปลี ตัวอย่างที่เจดีย์หมายเลข ๑๙ วัด เจดีย์เจ็ดแถว (รูปที่ ๗.๕๖) และพบอีกหลายแห่ง เช่น เจดีย์รายวัด ชนะสงคราม เจดียร์ ายวัดตระพังเงิน มณฑปวัดพระเชตุพน เมืองสุโขทัย เป็นต้น ส่วนที่เมืองศรีสัชนาลัย นอกจากพบที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวแล้วยัง พบเป็นเจดีย์รายขนาดเล็กที่วัดหัวโขน
มณฑปยอดเจดีย์
อาคารหรือเจดีย์ประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานรูปแบบ ระหว่างอาคารและมียอดเป็นเจดีย์ มีลักษณะรูปแบบ คือ ส่วนเรือน คือมณฑปทีเ่ ป็นห้องสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ประดิษฐานพระ พุทธรูปไว้ภายใน สามารถเดินเข้าไปภายในได้ ส่วนยอด เป็นเจดีย์ซึ่งมีรูปแบบแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เป็น เจดียท์ รงปราสาทยอดทีม่ เี รือน มีการประดับซุม้ และประดับสถูปจ�ำลอง ไว้ตามมุมและเหนือส่วนหลังคาซุ้ม ส�ำหรับแนวความคิดของการท�ำมณฑปยอดเจดียน์ า่ จะมีทมี่ าจาก เจติยวิหารของพม่า ผสมผสานกับแนวความคิดเรื่องเจดีย์ทรงปราสาท ยอดที่ช่างสุโขทัยท�ำเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีส่วนเรือนและส่วนยอดที่ เป็นเจดีย์แบบต่างๆ ดังนั้นช่างสุโขทัยจึงน�ำอาคารประเภทมณฑปมา ต่อยอดด้วยเจดีย ์ จึงเกิดเป็นมณฑปยอดเจดีย ์ โดยมีการประดับตกแต่ง สถูปิกะเพิ่มเติมทั้งที่มุมและที่เหนือสันหลังคาซุ้ม ลักษณะพิเศษของ เจดีย์กลุ่มนี้จึงมีหลายยอด เช่น เก้ายอด สิบเอ็ดยอด เป็นต้น
• มณฑปยอดเจดีย์ เจดีย์ทรงปราสาทสิบเอ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดแถว
รูปแบบของมณฑปยอดเจดีย์ (รูปที่ ๗.๕๗) มีฐานบัวลูกแก้ว อกไก่สองเส้น ยกฐานสูงมาก ตัวเรือนเป็นมณฑป ด้านหน้ามีทางเข้าไป ภายใน ส่วนด้านอืน่ ๆ เป็นจระน�ำซุม้ ประดิษฐานพระพุทธรูป หลังคาเป็น ทรงโรงหรือทรงจัว่ และมีหลังคาลดชัน้ ด้านข้างเป็นกรอบรอบสามเหลีย่ ม ที่เรียกว่า หลังคาปีกนก ซึ่งน่าจะรับรูปแบบมาจากศิลปะพุกาม และพบ 322 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๗.๕๗ มณฑปยอดเจดีย์ เจดีย์บริวาร วัดเจดีย์เจ็ดแถว
อยู่ในภาพจารลายเส้นที่เพดานอุโมงค์ วัดศรีชุม ๘๔ ส่วนยอดเป็นเจดียท์ รงปราสาทยอด เพราะมีเรือนธาตุอกี ชัน้ หนึง่ ต่อยอดด้วยเจดียท์ รงระฆัง ทีม่ มุ ฐานประดับสถูปกิ ะทุกชัน้ คือทีช่ นั้ หลังคา ที่ฐานเจดีย์รวมเป็นแปดองค์ และที่เหนือสันหลังคาด้านหน้าและหลัง สององค์ รวมกับยอดประธานจึงเป็นสิบเอ็ดยอด มณฑปยอดเจดีย ์ วัดเจดียเ์ จ็ดแถว เป็นเจดียบ์ ริวารประจ�ำด้าน ทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ย่อมต้องสร้างพร้อมกับเจดีย์ประธาน ตามที่ได้มีการก�ำหนดอายุแล้ว เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ที่มีความส�ำคัญ องค์หนึง่ เนือ่ งจากทีผ่ นังภายในคูหามีงานจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลืออยู่ ซึ่งปัจจุบันลบเลือนไปมาก เขียนเรื่องอดีตพุทธเจ้าประกอบด้วยแถว พระอดีตพุทธเจ้าที่แบ่งเป็นช่องๆ พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ประทับนั่ง ใต้ต้นไม้ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ มีพระสาวกหรือเทวดาขนาบทั้งสองข้าง องค์ประกอบภาพเหล่านี้ปรากฏอยู่ในจิตรกรรมสมัยพุกามของพม่า ๘๕
323 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
รูปที่ ๗.๕๘ มณฑปวัดเก้ายอด เมืองศรีสัชนาลัย
• เจดีย์ทรงปราสาทเก้ายอด วัดเก้ายอด
วั ด เก้ า ยอด (รู ป ที่ ๗.๕๘) ตั้ ง อยู ่ บ นเขานอกก� ำ แพงเมื อ ง ศรีสัชนาลัยด้านทิศตะวันตก เป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษอีกองค์หนึ่งคล้าย กับเจดียท์ รงปราสาทสิบเอ็ดยอด (เจดียห์ มายเลข ๑๗ วัดเจดียเ์ จ็ดแถว) คือส่วนล่างเป็นมณฑป ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปและสามารถ เดินเข้าไปภายในได้ ที่เรือนธาตุทำ� ซุ้มปีกนกเช่นเดียวกับเจดีย์หมายเลข ๑๗ ซึ่งน่าจะรับรูปแบบมาจากศิลปะพุกาม ความส�ำคัญของเจดียอ์ งค์นคี้ อื ทีส่ ว่ นยอดท�ำเป็นเรือนธาตุของ เจดีย์อีกชั้นหนึ่ง ประดับสถูปิกะที่มุมทุกมุมซึ่งมี ๒ ชั้น (มุมหลังคา และมุมฐานเจดีย)์ ทัง้ หมดแปดยอดและรวมยอดประธานจึงเป็นเก้ายอด ส่วนยอดที่เป็นองค์ระฆังมีรูปแบบพิเศษ คือยกเก็จและแบ่งเป็นชั้นๆ คล้ายกับทรงศิขรยอดเจติยวิหารในศิลปะพุกาม แต่นา่ เสียดายว่าส่วนนี้ พังทลายลงมาเหลือหลักฐานเพียงเล็กน้อย แต่มคี วามเป็นไปได้วา่ คล้าย กับยอดทรงศิขรในเจติยวิหารของพุกาม น่าจะเป็นตัวอย่างส�ำคัญทีเ่ หลือ หรือมีเพียงแห่งเดียวในศิลปะสุโขทัย และอาจเป็นส่วนหนึ่งของแหล่ง บันดาลใจที่ท�ำให้เกิดเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม 324 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
เจดีย์สมัยสุโขทัยตอนปลาย (ระหว่างกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) เจดีย์ทรงระฆังระยะสุดท้ายในสมัยสุโขทัย : เจดียท์ มี่ ฐี านบัวหลายชัน้ และมีฐานทีซ่ บั ซ้อน
เจดียใ์ นกลุม่ นีม้ รี ปู แบบและพัฒนาการเด่นชัดมาก คือเป็นเจดีย์ ทรงระฆังสูงมาก โดยการเพิ่มฐานบัวมากกว่า ๑ ฐาน เพราะแต่เดิมมัก มีฐานบัวเพียงฐานเดียว และฐานบัวสลับซับซ้อนมากขึ้น เช่นการขยาย ท้องไม้ให้สูงขึ้นมากจนบางครั้งเหมือนเรือนธาตุ ประดับลูกแก้วอกไก่ ๒ เส้นหรือบางฐานใช้ระบบยกเก็จ เป็นต้น โดยอยู่เหนือฐานเขียงอีก ๒ ฐาน ส่วนท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างขยายสูงมากจนเกือบเท่าสัดส่วน ของเรือนธาตุหรือมณฑปท�ำให้ดูแล้วคล้ายกับมณฑปยอดเจดีย์ อันเป็น รูปแบบของเจติยวิหารของพุกาม เจดีย์ในกลุ่มนี้พบไม่มากนักในตัวเมืองสุโขทัยจะพบอยู่ในส่วน ทีม่ กี ารขยายตัวเมืองใหม่ คือนอกตัวเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เช่น วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม วัดเจดีย์สูง เป็นต้น จากรูปแบบ แผนผัง และการพบศิลาจารึกที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่กล่าวถึงผู้สร้าง ระบุ พ.ศ. ๑๙๔๗ จึงน�ำมาเป็นแนวทางในการก�ำหนดอายุ รูปแบบ และ พัฒนาการของเจดียใ์ นกลุม่ นีว้ า่ เป็นงานทีส่ ร้างขึน้ ในระยะหลังของศิลปะ สุโขทัย คือในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แล้ว
วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม
วัดศรีพจิ ติ รกิรติกลั ยาราม (รูปที ่ ๗.๕๙-๗.๖๐) เป็นชือ่ ทีป่ รากฏ ตามจารึก (เดิมเรียกว่า วัดตาเถรขึงหนัง) บริเวณวัดนี้พบศิลาจารึก หลักที่ ๘ ค หรือหลักที่ ๔๖ โดยนายชิน อยู่ดี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ จารึก ด้วยอักษรขอมและสุโขทัย ภาษาบาลีและภาษาไทยระบุ พ.ศ. ๑๙๔๗ กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาและสมเด็จมหาธรรม- ราชาธิบดี ราชโอรส (พญาไสลือไท) ขึ้นครองราชย์ในนครศรีสัชนาลัย สุโขทัย ได้อาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกริ ติจากเมืองก�ำแพงเพชรมาสร้าง พระอาราม “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” ๘๖ 325 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๘ เจดีย์สมัยล้านนา
ประวัติศาสตร์ล้านนาโดยสังเขป
ประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคที่เป็นอาณาจักรมีหลักฐานให้ศึกษา ค่อนข้างมาก ทั้งต�ำนาน พงศาวดาร และศิลาจารึก โดยแบ่งยุคสมัยได้ ดังนี้ ยุคแห่งการสร้างบ้านแปงเมือง (พ.ศ. ๑๘๓๙-๑๘๙๘) กษัตริย์ องค์สำ� คัญคือ พญามังราย ผูส้ ถาปนาอาณาจักรล้านนา เป็นผูท้ รี่ วมแคว้น โยนกและแคว้นปิงเข้าด้วยกัน สร้างเมืองใหม่นาม “นพบุรศี รีนครเชียงใหม่” และกลายเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา ๑ กษัตริย์ ส�ำคัญในยุคนี้คือ พระเจ้าแสนภู พระเจ้าค�ำฟู และพระเจ้าผายู ยุคแห่งการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากสุโขทัย (พ.ศ. ๑๘๙๘-๑๙๘๕) พระเจ้ากือนาทรงน�ำพุทธศาสนาและรูปแบบศิลปกรรม จากสุโขทัยสู่ล้านนาเมื่อพระสุมนเถรขึ้นมาในล้านนา ๒ ถือเป็นยุคของ การเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญของงานศิลปกรรมในล้านนาที่มีอิทธิพลของ ศิลปะสุโขทัยในทุกๆ ด้าน พระเจ้ากือนามีบทบาทส�ำคัญในการพระพุทธ- ศาสนา รวมทั้งท้าวมหาพรหม พระอนุชาที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพระ 339 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พุทธรูปส�ำคัญคือ พระแก้วมรกตและพระพุทธสิหงิ ค์ในล้านนา กษัตริย์ ส�ำคัญองค์อื่นคือ พระเจ้าแสนเมืองมาและพระเจ้าสามฝั่งแกน ที่มีการ ค้นพบพระแก้วมรกตในรัชกาลนี้ที่เมืองเชียงราย ยุคทองของล้านนา (พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๖๙) กษัตริย์ที่มีบทบาท ส�ำคัญคือ พระเจ้าติโลกราช ทรงมีพระราชอ�ำนาจมากในล้านนา และ ทรงขยายขอบเขตของอาณาจักรออกไปกว้างขวางมากที่สุด คือรวม เมืองน่าน เมืองแพร่ จนลงมาถึงศรีสัชนาลัย ๓ ท�ำสงครามกับอยุธยาใน สมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ๔ ทรงสร้างวิหารวัดมหาโพธาราม ท�ำการสังคายนาพระไตรปิฎก สร้างวัดป่าแดงหลวง สร้างเจดีย์หลวง และโปรดให้อญ ั เชิญพระแก้วมรกตจากล�ำปางมาประดิษฐานในจระน�ำซุม้ เจดีย์หลวง ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากทั้งอ�ำนาจทางการเมืองและการ พระพุทธศาสนา กษัตริย์อีกสองพระองค์ในยุคนี้คือ พระยอดเชียงราย และพระเมืองแก้ว มีบทบาทส�ำคัญในด้านพระพุทธศาสนา ทรงสร้างและ บูรณะวัดวาอารามเป็นจ�ำนวนมาก ยุคเสือ่ มของล้านนา (พ.ศ. ๒๐๖๘-๒๑๐๑) สมัยของพระเมือง เกษเกล้าอาณาจักรล้านนาเริม่ เสือ่ มลงเนือ่ งจากเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ พระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ ขุนนางแย่งชิงอ�ำนาจกันและ มีบทบาทเหนือพระมหากษัตริย ์ หลังจากนัน้ จึงอัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐา- ธิราชจากอาณาจักรล้านช้างมาปกครองล้านนาประมาณ ๒ ปี ๕ หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาเสด็จกลับไปครองอาณาจักรล้านช้างและได้อัญเชิญ พระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรล้านช้างด้วย ท้าวเมกุ ครองราชย์ตอ่ มาเป็น กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรล้านนา ตรงกับสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ๖ เป็นต้นมา อาณาจักรล้านนาตกอยู่ ภายใต้การปกครองของพม่าเกือบ ๒๐๐ ปี และมาขึน้ ต่ออาณาจักรไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๗ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เจดีย์สมัยล้านนา
การจัดล�ำดับยุคสมัยทางประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะของล้านนา นอกจาก พิจารณารูปแบบและวิวฒ ั นาการแล้วยังใช้หลักฐานเอกสาร ได้แก่ ต�ำนาน พงศาวดาร และจารึก มาประกอบ การแบ่งยุคสมัยจึงอิงอยู่กับการจัด 340 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ล�ำดับยุคทางประวัตศิ าสตร์ เนือ่ งจากในล้านนามีหลักฐานทางด้านเอกสาร ยืนยันได้ สามารถแบ่งระยะเวลาของเจดีย์ในศิลปะล้านนาได้ดังนี้ ระยะแรก การสืบทอดงานศิลปะหริภุญชัยและแหล่งบันดาลใจ จากศิลปะพุกาม (พุทธศตวรรษที ่ ๑๙) ยุคเริม่ ต้นของอาณาจักรล้านนา งานสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานีม้ แี หล่งบันดาลใจและพืน้ ฐานมาจากแหล่ง วัฒนธรรมส�ำคัญคือ ศิลปะหริภุญชัยและศิลปะพุกามจากประเทศพม่า ระยะที ่ ๒ การสืบทอดงานศิลปะในระยะแรกและอิทธิพลศิลปะ สุโขทัย (พุทธศตวรรษที ่ ๒๐) ยุคนีม้ กี ารรับพุทธศาสนาและงานศิลปกรรม มาจากสุโขทัย รูปแบบเจดียส์ ว่ นหนึง่ เป็นการสืบทอดมาจากยุคแรก ได้แก่ เจดียท์ รงปราสาทยอด ซึง่ มีทมี่ าจากอิทธิพลของศิลปะพุกามและหริภญ ุ ชัย และเกิดเจดียร์ ปู แบบใหม่ทเี่ ป็นลักษณะเฉพาะของเจดียใ์ นล้านนา ได้แก่ เจดียท์ รงระฆังแบบล้านนา ซึง่ มีแรงบันดาลใจจากศิลปะพุกาม และเจดีย์ ทรงระฆังที่มีแหล่งบันดาลใจจากศิลปะสุโขทัย ระยะที่ ๓ ยุคทองของล้านนา : ความหลากหลายทางด้าน รูปแบบของงานศิลปกรรม (ต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑) จัดเป็นยุค ทีอ่ าณาจักรล้านนาเจริญรุง่ เรืองมากทัง้ อ�ำนาจทางการเมืองและการพระ ศาสนา มีการสร้างวัดและพระพุทธรูปเป็นจ�ำนวนมาก รวมทัง้ วัดทีส่ ร้าง นั้นจะมีขนาดใหญ่ ได้เกิดเจดีย์รูปแบบใหม่ที่ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของ เจดีย์ในล้านนา คือ เจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียว ระยะที ่ ๔ ศิลปะล้านนาระยะหลัง ตัง้ แต่สมัยพระเมืองเกษเกล้า ถึงล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า (กลางถึงปลายพุทธ- ศตวรรษที ่ ๒๑) ถือเป็นยุคเสือ่ มของอาณาจักรล้านนา งานสถาปัตยกรรม ยังสืบทอดมาจากยุคทองของล้านนา มีส่วนที่เป็นงานสร้างสรรค์หรือ ดัดแปลงรูปแบบเจดีย์ที่มีมาก่อนจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะอย่างใหม่ มี ความนิยมเจดียส์ องรูปแบบ ได้แก่ เจดียท์ รงปราสาทแบบล้านนาระยะหลัง และเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา ที่มีส่วนขององค์ระฆังและชุดฐานบัวที่ อยู่ในผังหลายเหลี่ยม
341 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ทีเ่ ป็นเจดียท์ รงระฆังขนาดเล็กและมีบลั ลังก์ในผังกลม ซึง่ ปรกติสว่ นนีต้ อ้ ง เป็นทรงดอกบัวตูมและไม่มบี ลั ลังก์ แสดงว่าเจดียท์ วี่ ดั ธาตุกลางอาจมีการ บูรณะในภายหลังโดยทีช่ า่ งไม่เข้าใจรูปแบบเจดียย์ อดทรงดอกบัวตูมแล้ว จากลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นงานที่รับมาจากเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ของสุโขทัย แต่มีวิวัฒนาการแตกต่างจากต้นแบบมาก คงเป็นความพยายามที่จะสร้างเลียนแบบแต่ช่างขาดความช�ำนาญหรือ ความเข้าใจทางด้านรูปแบบ เจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างในช่วงพุทธศตวรรษ ที ่ ๒๑ ซึง่ เป็นยุคแห่งความหลากหลายทางด้านรูปแบบศิลปะของล้านนา นอกจากนีม้ เี จดียท์ รงยอดดอกบัวตูมในล้านนาอีกอย่างน้อย ๒ องค์คือ ธาตุค�ำ บ้านสบแจ่ม อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ และซากเจดีย์ใน บริเวณวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เมืองล�ำปาง โดยธาตุคำ� เป็นเจดีย์ ทีร่ กั ษารูปแบบแบบสุโขทัยได้ใกล้เคียงและยังคงสภาพเจดียด์ ที สี่ ดุ (ดูรปู ในบทที่ ๗ เจดีย์ในศิลปะสุโขทัย หน้า ๓๐๔-๓๐๕)
เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา (พุทธศตวรรษที ่ ๒๐)
เจดียท์ รงระฆังพบทัว่ ไปเกือบทุกยุคทุกสมัย จากความนิยมใน การสร้างท�ำให้ชา่ งในแต่ละสมัยจะสร้างสรรค์รปู แบบตามความเข้าใจของ ตนจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิน่ และแต่ละสกุลช่าง เจดีย์ ทรงระฆังแบบล้านนามีองค์มีองค์ประกอบหลัก คือ ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานเขียงในผังสีเ่ หลีย่ ม ๒-๓ ฐานรองรับ ชุดฐานบัว ๒ ฐานซ้อนกันในผังเพิ่มมุมหรือยกเก็จแบบล้านนา ๒๙ เหนือ ชุดฐานบัวชุดนี้เป็นชุดฐานบัวในผังกลม ๓ ฐานรองรับองค์ระฆัง ซึ่งใน แต่ละชุดจะประกอบด้วยฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงายและท้องไม้ทนี่ ยิ มประดับด้วย ลูกแก้วอกไก่ ส่วนองค์ระฆัง ด้วยเหตุทเี่ จดียท์ รงระฆังในล้านนานิยมสร้างส่วน ฐานสูงมาก ท�ำให้สว่ นขององค์ระฆังมีขนาดเล็กจนเหมือนกับถูกลดความ ส�ำคัญลง เหนือองค์ระฆังมีบลั ลังก์สเี่ หลีย่ มเพิม่ มุมไม้สบิ สอง ซึง่ ต่างจาก สุโขทัยและลังกาที่นิยมบัลลังก์อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ส่วนยอด มีก้านฉัตร บัวฝาละมีรองรับปล้องไฉน และปลียอด ตามล�ำดับ ส่วนยอดของเจดีย์ที่ยังใช้งานอยู่นิยมประดับด้วยทองจังโก 362 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
(แผ่นทองแดงหรือส�ำริดบุรอบองค์เจดีย)์ และประดับฉัตรซึง่ อาจเกิดขึน้ ในสมัยพม่าปกครองล้านนา เจดียท์ รงระฆังเป็นรูปแบบทีน่ ยิ มแพร่หลายมากในอาณาจักรล้านนา น่าจะมีตน้ แบบทีส่ ำ� คัญมาจากพระธาตุหริภญ ุ ชัย ดังนัน้ การศึกษารูปแบบ ของเจดียท์ รงระฆังแบบล้านนาจึงน่าจะศึกษาจากพระธาตุหริภญ ุ ชัยเป็น เบื้องต้น
• พระธาตุหริภุญชัย ต้นแบบเจดีย์ทรงระฆังในล้านนา ๓๐
พระธาตุหริภุญชัย (รูปที่ ๘.๑๗) เป็นพระธาตุส�ำคัญของชาว ล้านนาอันมีประวัตแิ ละต�ำนานทีส่ บื ทอดมายาวนาน จากเอกสารทีม่ กี าร บันทึกไว้กล่าวว่าสร้างขึน้ ตัง้ แต่สมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริยข์ อง หริภญ ุ ชัยเมือ่ พ.ศ. ๑๖๐๗ ๓๑ และเจดียอ์ งค์นไี้ ด้รบั การบูรณะในสมัยของ พระเจ้าสววาธิสิทธิระหว่าง พ.ศ. ๑๗๔๓-๑๗๖๓ ๓๒ จนกระทั่งถึงสมัย
รูปที่ ๘.๑๗ พระธาตุหริภุญชัย จ. ล�ำพูน
363 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ฉัตร ปลี
ส่วนยอด
ปล้องไฉน ก้านฉัตร บัลลังก์ องค์ระฆัง
ส่วน เรือนธาตุ
ชุดฐานบัว ๓ ฐาน รองรับองค์ระฆัง
ฐานบัว ๒ ฐาน ซ้อนกัน ฐานเขียงในผังยกเก็จ ฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยม ส่วนยอด องค์ระฆัง
ส่วนฐาน
บัลลังก์ (ย่อมุมไม้สิบสอง)
ชุดฐานรองรับองค์ระฆัง ฐานบัว ๒ ฐานซ้อนกัน (ส่วนฐานในผังยกเก็จ) ฐานเขียง ๐
๑
๒
๓
๔
๕ ม. (M.)
รูปที่ ๘.๑๘ ลายเส้นพระธาตุหริภุญชัย 364 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ของพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนาใน พ.ศ. ๑๘๒๖-๑๘๕๙ ๓๓ โดย กล่าวว่าเจดีย์องค์เดิมเป็นทรงปราสาทและปฏิสังขรณ์ให้เป็นเจดีย์ทรง กลม ๓๔ (ทรงระฆัง) ในสมัยล้านนา มีการซ่อมแซมสืบต่อกันมาหลายครัง้ เช่น รัชสมัยของพระเจ้าแสนภู (พ.ศ. ๑๘๖๘-๑๘๗๗) พระเจ้าค�ำฟู (พ.ศ. ๑๘๗๗-๑๘๗๙) พระเจ้าแสนเมืองมา (พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๕๔) ต�ำนานกล่าวว่าพระองค์ได้ปฏิสงั ขรณ์โดยการปิดทองใหม่ดว้ ยแผ่นทองค�ำ หนักสองแสนหนึง่ หมืน่ ๓๕ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชมีการบูรณะครัง้ ใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๐ โดยพระมหาเมธังกรเป็นผู้ควบคุมการบูรณะ ๓๖ และ ในสมัยพระเมืองแก้วใน พ.ศ. ๒๐๗๘ ๓๗ มีการต่อเติมส่วนอื่นๆ ของวัด เช่นพระวิหารหลวง มีนักวิชาการเสนอแนวความคิดในการก�ำหนดอายุจากรูปแบบ พระธาตุหริภญ ุ ชัย ได้แก่ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ก�ำหนดว่าเป็นเจดียท์ รงกลม พื้นเมืองเชียงแสน ๓๘ และความเห็นของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขมุ เชือ่ ว่าเป็นรูปแบบคราวซ่อมแซมครัง้ ใหญ่ในสมัยพระเจ้า ติโลกราชในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ๓๙
วิเคราะห์รูปแบบพระธาตุหริภุญชัย
พระธาตุหริภุญชัยจัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา มี องค์ประกอบที่สำ� คัญดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ข้อก�ำหนดรูปแบบเฉพาะ ของเจดียท์ รงระฆังแบบล้านนามีองค์ประกอบส�ำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วน ฐานทีเ่ ป็นฐานบัว ๒ ฐานซ้อนกัน และชุดฐานบัว ๓ ฐานรองรับองค์ระฆัง ซึ่งจะวิเคราะห์ที่มาทางด้านรูปแบบของทั้งสองส่วนดังนี้ ส่วนที่ ๑ ฐานบัว ๒ ฐานซ้อนกัน (รูปที่ ๘.๑๘) ประกอบด้วย ฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยม ๒-๓ ฐานรองรับชุดฐานบัว ๒ ฐานซ้อนกัน ผัง ยกเก็จแบบล้านนา ส่วนนี้น่าจะมีที่มาจากการน�ำฐานบัวคว�่ำ-บัวหงาย ซึง่ ซ้อนลดหลัน่ กัน ๒ ฐานมาปรับปรุงและคัน่ กลางด้วยท้องไม้ ๔๐ ดังกล่าว นีค้ อื การลดรูปของฐานบัวคว�ำ่ (ของฐานบน) และบัวหงาย (ของฐานล่าง) ให้เล็กลงจนเหมือนกับเป็นงานประดับในลักษณะเดียวกับลูกแก้วอกไก่ (รูปที ่ ๘.๑๙-๘.๒๐) เพราะฐานส่วนนีย้ งั มีการประดับลูกแก้วอกไก่ระหว่าง ฐานบัวคว�่ำ-บัวหงายทั้งสองฐานอยู่ ท�ำให้สามารถกล่าวได้ว่ามีที่มาจาก การน�ำฐานบัว ๒ ฐานมาซ้อนกัน และส่วนนีจ้ ะมีววิ ฒ ั นาการต่อไปคือ การ 365 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๙ เจดีย์สมัยอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาเกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรกัมพูชา ตามข้อสันนิษฐานจากหลักฐานทางศิลปกรรมเชือ่ ว่าลพบุรหี รือละโว้นา่ จะ กลายเป็นศูนย์กลางของกลุ่มคนภาคกลางอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต่อมา จึงมีการย้ายราชธานีมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่ออาณาจักรอยุธยามีอำ� นาจ มากขึ้นจึงยกทัพไปตีอาณาจักรกัมพูชาได้และผนวกอาณาจักรสุโขทัย ไว้ในอ�ำนาจ และค่อยๆ ขยายอาณาเขตไปเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ เช่น ภาคอีสาน ภาคใต้ และบางช่วงเวลามีอำ� นาจเหนือบ้านเมืองภาคเหนือ อยุธยาเป็นราชธานีของไทยยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ด้วยเหตุทกี่ รุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทีต่ งั้ อยูใ่ นภาคกลางทีเ่ ป็น แอ่งวัฒนธรรมส�ำคัญ รวมทัง้ สามารถผนวกดินแดนต่างๆ อยูใ่ ต้อำ� นาจได้ ท�ำให้ราชธานีแห่งนีเ้ ป็นทีร่ วมงานศิลปกรรมหลากหลายโดยอยูบ่ นพืน้ ฐาน ของวัฒนธรรมหลัก คือ วัฒนธรรมเขมรและลพบุรีในซีกตะวันออกของ แม่น�้ำเจ้าพระยา กับอีกสายวัฒนธรรมหนึ่งคือ สุโขทัยและล้านนา ที่ ปรากฏหลักฐานอยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยาที่สุพรรณบุรี และสรรคบุรี ดังนั้นงานศิลปกรรมที่ปรากฏในยุคแรกเริ่มของอยุธยาจึง 445 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ที่พัฒนามาจากปราสาทเขมร และพระพุทธรูปแบบ อู่ทองรุ่นที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้วตั้งแต่สมัยลพบุรีที่เมืองลพบุรี ๑ และ สายเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปดเหลี่ยมพบอยู่ในแถบเมือง สรรคบุรีและสุพรรณบุรีที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนา รวมทั้งเจดีย์ทรงระฆัง แบบสุโขทัย และพระพุทธรูปแบบอูท่ องรุน่ ที ่ ๓ ทีม่ อี ทิ ธิพลศิลปะสุโขทัย ในการศึกษางานศิลปกรรมสมัยอยุธยาโดยเฉพาะเจดียไ์ ด้จดั ระบบ ตามยุคสมัยเป็นหลัก ไม่ได้ลำ� ดับตามวิวฒ ั นาการของเจดียแ์ ต่ละรูปแบบ โดยแบ่งเป็นอยุธยาตอนต้น อยุธยาตอนกลาง และอยุธยาตอนปลาย เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าในแต่ละยุคสมัยนิยมเจดียร์ ปู แบบใด แบบใด ไม่นยิ ม แบบใดเกิดขึน้ ใหม่ และมีพฒ ั นาการเกีย่ วข้องกันอย่างไร นอกจาก นี้รูปแบบเจดีย์ยังสามารถบอกความเป็นมาของกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของ วัฒนธรรมได้ว่าเป็นกลุ่มชนใด เมืองใด รูปแบบของเจดีย์ที่แตกต่างกัน สะท้อนความหลากหลายของผูค้ น และอาจแสดงถึงบทบาททางการเมือง ที่อยุธยามีอิทธิพลเหนือชนชาติอื่นหรือมีความสัมพันธ์กับดินแดนอื่นๆ ดังนัน้ จึงขอเสนอแนวความคิดวิเคราะห์ในเรือ่ งของรูปแบบเจดียท์ สี่ ะท้อน เชื้อชาติหรือกลุ่มคนในสมัยอยุธยา คือความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เช่น เจดียท์ รงปรางค์ทพี่ บในสมัยอยุธยาตอนต้นแสดงให้เห็นถึงกลุม่ คน ที่มาจากเมืองลพบุรี เพราะฉะนั้นจากหลักฐานทางศิลปกรรมอาจกล่าว ได้วา่ พระเจ้าอูท่ องมาจากเมืองลพบุร ี หรือกลุม่ เจดียท์ รงปราสาทยอดทีม่ ี เรือนธาตุแปดเหลีย่ มหรือทรงระฆังแปดเหลีย่ มเป็นสายของคนสุพรรณบุรี สรรคบุร ี คือขุนหลวงพะงัว่ หรือเจดียท์ รงระฆังแบบสุโขทัยแสดงว่ามีชาว สุโขทัยทีถ่ กู ผนวกเข้ากับอยุธยาและมาอยูท่ อี่ ยุธยา หรือเจดียแ์ บบล้านนา แสดงถึงชาวล้านนาที่ถูกเกณฑ์มาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เป็นต้น
เจดีย์สมัยอยุธยา
ในการศึกษาเจดียส์ มัยอยุธยาสามารถแบ่งเป็น ๓ สมัย ๒ ได้แก่ สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษ ๑๙ ถึงปลายพุทธ- ศตวรรษที ่ ๒๐) ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีท ี่ ๑ (พระเจ้าอูท่ อง) ถึงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) สมัยอยุธยาตอนกลาง (ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงกลางพุทธ-
446 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ศตวรรษที ่ ๒๒) ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที ่ ๓ ถึงพระเจ้า อาทิตยวงศ์ (พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๑๗๒) สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงปลาย พุทธศตวรรษที ่ ๒๓) ระหว่างรัชกาลพระเจ้าปราสาททองถึงสิน้ สุดอาณาจักร อยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระทีน่ งั่ สุรยิ าสน์อมรินทร์ (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๓๑๐)
เจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐) เจดีย์ทรงปรางค์
เจดียท์ รงปรางค์มวี วิ ฒ ั นาการมาจากปราสาทเขมรซึง่ เป็นทีส่ ถิต ของเทพเจ้า ถือเป็นการจ�ำลองเขาพระสุเมรุมาสร้างบนโลกมนุษย์ตาม ความเชือ่ ของศาสนาพราหมณ์ซงึ่ มีมาแล้วในศิลปะอินเดีย และถ่ายทอด มาสูเ่ อเชียตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับการรับศาสนาและอารยธรรมอินเดีย ของดินแดนในแถบนี้ โดยเฉพาะในอาณาจักรชวา จัมปา กัมพูชา และ ไทย ภายหลังจากอาณาจักรกัมพูชายุคโบราณล่มสลายลง อิทธิพลทาง ศิลปกรรมเสือ่ มลงไปจากภาคกลางของประเทศไทย ในสมัยก่อนอยุธยา ศาสนสถานส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมเขมรถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธ- ศาสนาแบบเถรวาท และบางครัง้ ตัวปราสาทสร้างขึน้ เพือ่ บรรจุพระบรม- สารีริกธาตุแทนการตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์หรือพุทธศาสนา มหายาน รวมทั้งการปรับรูปทรงของสถาปัตยกรรมประเภทนี้ให้สูงขึ้น จึงเรียกว่า “ปรางค์” หากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง ปรางค์จึงหมายถึงเจดีย์รูปแบบหนึ่ง ๓ เจดีย์ทรงปรางค์ได้รับความนิยมมากในสมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลางมีการสร้างน้อยลง และกลับมานิยมอีกครั้งสมัย อยุธยาตอนปลาย ปรางค์นอกจากจะหมายถึงเจดีย์ที่บรรจุพระบรม- สารีริกธาตุแล้ว อาจมีคติเรื่องเขาพระสุเมรุหรือศูนย์กลางของจักรวาล เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เป็นการสร้างขึ้นตามความเชื่อของพุทธศาสนา แบบเถรวาทแล้ว 447 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ระบบการท�ำเรือนชั้นซ้อนเริ่มไม่ชัดเจน ส่วนส�ำคัญคือ ช่องวิมานและ บรรพแถลงกลายเป็นส่วนเดียวกัน คือก่อเป็นวงโค้งของบรรพแถลงแทน ต�ำแหน่งของช่องวิมาน (ปรกติตวั บรรพแถลงต้องเป็นแผ่นทีต่ งั้ ปิดด้านหน้า ช่องวิมาน) ส่วนซุม้ วิมานไม่ชดั เจน ท�ำเพียงกรอบสีเ่ หลีย่ มเท่านัน้ แสดง ว่าช่างรุน่ หลังไม่เข้าใจแนวคิดและคติการสร้างเดิมว่าส่วนนีม้ าจากการท�ำ เรือนชัน้ ซ้อนในศิลปะเขมรอันแสดงการเป็นเรือนฐานันดรสูง เรือนแต่ละ ชัน้ จึงต้องแสดงสัญลักษณ์ประดับเสมอ อีกส่วนหนึง่ คือระบบการเพิม่ มุม ที่มุมประธานเล็กลง ล้อกับส่วนฐานและเรือนธาตุ และกลีบขนุนชิดกับ ตัวเรือนแล้ว ส่วนหนึ่งที่หายไปคือ ไม่มีการประดับงานประติมากรรม จ�ำพวกครุฑแบกและทวารบาลที่ชั้นเชิงบาตร และประดับลวดลาย จึงสรุปได้วา่ ปรางค์ประธานวัดวรเชตุเทพบ�ำรุงมีพฒ ั นาการแตกต่าง จากงานสมัยอยุธยาตอนต้นตัง้ แต่สว่ นฐานจนถึงยอด ถ้าเปรียบเทียบกับ ปรางค์ขนาดใหญ่ทสี่ ร้างขึน้ ในสมัยอยุธยาตอนปลายทีม่ ปี ระวัตกิ ารสร้าง ชัดเจน คือปรางค์ประธานวัดไชยวัฒนารามแล้ว ปรางค์วดั วรเชตุเทพบ�ำรุง มีรูปแบบที่เก่ากว่า จัดเป็นตัวอย่างของปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ทีต่ รงกับข้อสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ และ เนื่องจากการสร้างปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนกลางมีน้อย จึงไม่มีงานให้ ศึกษาเปรียบเทียบมากนัก ในการก�ำหนดอายุจงึ ต้องอิงกับหลักฐานทาง ประวัตศิ าสตร์เพราะน่าจะเป็นการสร้างขึน้ เป็นกรณีพเิ ศษ รวมทัง้ ปรางค์ วัดไชยวัฒนารามก็ถอื ว่าสร้างขึน้ เป็นกรณีพเิ ศษและเป็นงานย้อนยุคเช่น เดียวกัน
เจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยา สมัยอยุธยาตอนกลาง
เจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยาหรืออาจเรียกว่า “แบบอยุธยาแท้” (รูปที ่ ๙.๗๐-๙.๗๑) คือ เจดียท์ มี่ อี งค์ประกอบทีส่ ำ� คัญและเป็นเอกลักษณ์ สองส่วน ได้แก่ ชุดรองรับองค์ระฆังแบบมาลัยเถาและมีเสาหารล้อมรอบ ก้านฉัตร มีรูปแบบที่ส�ำคัญคือ ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานเขียงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม จัตรุ สั เตีย้ ๆ ๑ ชัน้ ต่อด้วยชัน้ เขียง ๒-๓ ชัน้ อาจอยูใ่ นผังสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั หรือผังกลม ถัดขึน้ ไปจึงเป็นฐานบัวคว�ำ่ -บัวหงายในผังกลมเตีย้ ๆ ๑ ฐาน 530 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ปลี
ปล้องไฉน
เสาหาร
ก้านฉัตร บัลลังก์
เจดีย์ยอด
บัวฝาละมี
องค์ระฆัง บัวปากระฆัง
มุข
ชุดฐานมาลัยเถา ๓ ฐาน ฐานบัวคว�่ำ-บัวหงาย ชั้นเขียง
รูปที่ ๙.๗๐
ฐานเขียง ฐานไพที (ฐานบัวคว�่ำบัวหงาย)
ลายเส้นเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยาตอนกลาง (ที่มา : ปรับปรุงจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม)
ท้องไม้ไม่ประดับลวดบัว ฐานส่วนนี้รองรับชุดมาลัยเถา ส่วนกลาง คือส่วนรองรับองค์ระฆังและองค์ระฆัง ประกอบด้วย ส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดมาลัยเถา ๓ ชัน้ ได้แก่ ลูกแก้วขนาดใหญ่ที่ วางซ้อนกัน ๓ วง ดูแล้วคล้ายพวงมาลัยวางซ้อนกันจึงเรียกว่า มาลัยเถา อยู่ในผังกลม ต่อด้วยบัวปากระฆังที่มีลวดลายกลีบบัวคว�ำ่ และบัวหงาย รองรับองค์ระฆังขนาดใหญ่และเตี้ย 531 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
รูปที่ ๙.๗๑ เจดีย์ประธานวัดพระศรีสรรเพชญ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
ส่วนยอด มีบัลลังก์ในผังสี่เหลี่ยม ต่อด้วยก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน และปลีตามระเบียบของเจดีย์ทรงระฆังทั่วไป แต่มีลักษณะ แตกต่างและจัดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์สมัยอยุธยาคือ ที่ก้านฉัตร มีเสาหาร (หรือเสาหาน คือเสาเล็กๆ ล้อมรอบก้านฉัตร) และปล้องไฉน แต่ละปล้องมีเส้นลวดประดับและมีท้องไม้จึงเกิดจังหวะห่าง ต่างจาก เจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัยหรือล้านนาที่แต่ละปล้องจะชิดกัน
วิเคราะห์ที่มาของรูปแบบเจดีย์
เจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ที่นิยมสร้างแพร่หลายทั่วไปพร้อมกับ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ลังกา พม่า และ เข้ามายังดินแดนไทย แม้วา่ องค์ประกอบโดยรวมของเจดียท์ รงระฆังจะ ดูเหมือนใกล้เคียงกัน คือมีส่วนฐาน องค์ระฆัง บัลลังก์ ปล้องไฉน และ ปลี แต่มีลักษณะส�ำคัญที่มักปรากฏคู่มาด้วยกันเสมอ คือ ส่วนรองรับ องค์ระฆังมักมี ๓ ชั้นเสมอตั้งแต่สถูปในศิลปะลังกาเป็นต้นมา เพราะ ในศิลปะอินเดียมีเพียงชัน้ เดียว ส่วนนีใ้ นศิลปะลังกาเรียกว่า “ตรีมาลา” หรือ “บุปผาสนะ” หมายถึง ฐานทีว่ างดอกไม้ โดยท�ำเป็นฐานเขียงธรรมดา 532 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
๓ ชั้น ต่อมาจึงพัฒนาเป็นชุดบัวคว�่ำ-บัวหงาย ๓ ชั้น และให้อิทธิพล มายังศิลปะพุกามและล้านนาที่พัฒนาต่อมาด้วยการท�ำลวดบัวประดับ ท้องไม้ ในศิลปะพุกามนิยมประดับลวดบัวลูกแก้ว ๒ เส้น ในศิลปะ ล้านนานิยมประดับลูกแก้วอกไก่ ๒ เส้น ส�ำหรับในสมัยสุโขทัยใช้เพียง บัวคว�ำ่ อย่างเดียว ๓ ชัน้ น่าจะมีแหล่งบันดาลใจมาจากลังกาทีพ่ บอยูใ่ น กลุ่มเจดีย์ที่อุทุมพรคีรีวิหาร เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าเจดีย์แบบอยุธยา ทีเ่ ป็นมาลัยเถามีลกั ษณะใกล้เคียงกับบัวถลาของสุโขทัยมากทีส่ ดุ ทัง้ สัดส่วน ของเจดีย ์ พัฒนาการของมาลัยเถา และมีความสัมพันธ์ทางประวัตศิ าสตร์ กันอีกด้วย ๗๕
การปรับเปลี่ยนจากชุดบัวถลามาเป็นมาลัยเถา
สันนิษฐานว่าช่างอยุธยาได้ปรับจากบัวถลาที่มีเฉพาะส่วนลาด ลงมาอย่างเดียว โดยการท�ำอีกส่วนในลักษณะเดียวกันไปรองรับด้านล่าง และปั้นให้กลมจนกลายเป็นลูกแก้วขนาดใหญ่ เหมือนหวายผ่าซีกหรือ เหมือนก�ำไล อาจมีสาเหตุมาจากเจดียท์ รงระฆังสมัยอยุธยามีขนาดใหญ่ มาก ถ้าท�ำบัวคว�ำ่ อย่างเดียวพืน้ ทีด่ า้ นล่างจะกว้างมากและคงพังทลายลงมา ได้ง่าย เพราะเจดีย์อยุธยาใช้อิฐในการก่อสร้างเกือบทั้งหมด ช่างอยุธยา จึงแก้ปัญหาด้วยการท�ำส่วนที่มารองรับบัวคว�่ำนี้และดัดแปลงให้กลม เป็นลูกแก้วขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายกับการท�ำเสาหารเพือ่ มารับน�ำ้ หนัก บัวฝาละมีไม่ให้พังทลายลงมานั่นเอง ส�ำหรับช่างสุโขทัยแก้ปัญหาใน ส่วนนีโ้ ดยการใช้แผ่นหินชนวนหรือศิลาแลงมารับน�้ำหนัก แต่ชา่ งอยุธยา อาจไม่มีวัสดุดังกล่าวจึงแก้ปัญหาด้วยการปั้นเป็นลูกแก้วแทน จึงเป็น ทีม่ าของลูกแก้วขนาดใหญ่แทนบัวถลา ๓ ชัน้ และเรียกว่า มาลัยเถา ส่วน บัวถลาจึงหายไปจากเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา (รูปที่ ๙.๗๒-๙.๗๓)
เสาหาร
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเจดีย์ทรงระฆังแบบอยุธยาที่ศิลปะ อื่นไม่มีคือ การมีเสาหารล้อมรอบก้านฉัตร ยังไม่สามารถหาที่มาและ ค�ำอธิบายได้ชัดเจนว่ามาจากที่ใด มีนักวิชาการเสนอว่าส่วนนี้อาจได้รับ อิทธิพลมาจากเสาติดแกนฉัตรในศิลปะลังกาที่เรียกว่า “เทวดาโกฏุวะ” (davata kotuva) ๗๖ อย่างไรก็ตามค�ำว่า “เสาหาร” ในทางศัพท์ศลิ ปกรรม โดยทัว่ ไปสะกดด้วย “น” ซึง่ จากการตรวจสอบแล้วหาความหมายทีเ่ กีย่ วข้อง 533 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ศิลาแลงหรือแผ่นหินชนวน เป็นตัวรับน�้ำหนัก
ศิลาแลงหรือ แผ่นหินชนวน เป็นตัวรับน�้ำหนัก
รูปที่ ๙.๗๒ ลายเส้นเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย แสดงบัวถลาใช้ศิลาแลง หรือหินชนวนรับน�้ำหนัก
มาลัยเถา บัวถลา แนวก่ออิฐของ ฐานมาลัยเถา
รูปที่ ๙.๗๓ ลายเส้นเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา แสดงมาลัยเถาที่น่าจะ ปรับเปลี่ยนมาจากบัวถลา 534 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
๑.๐๐-๑.๕๐ ม.
ปล้องไฉน บัวฝาละมี
บัวฝาละมี
ศิลาแลงหรือ แผ่นหินชนวน เป็นตัวรับน�้ำหนัก ก้านฉัตร
ก้านฉัตร เสาหาร บัลลังก์
บัลลังก์
รูปที่ ๙.๗๔
รูปที่ ๙.๗๕
ลายเส้นเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย แสดงการใช้ศิลาแลงหรือหินชนวน รับน�้ำหนักบัวฝาละมี
ลายเส้นเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยา แสดงการใช้เสาหาร รับน�้ำหนักบัวฝาละมี
กับงานช่างไม่ได้จึงน่าจะสะกดด้วย “ร” มากกว่า ซึ่งหมายถึงการหาร คือการแบ่งน�้ำหนัก ๗๗ จากการตรวจสอบเจดีย์ที่พังลงมาหลายแห่ง ผู้ เขียนเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานประการหลังว่าน่าจะเป็นเรื่องของเทคนิค การก่อสร้างเพื่อต้องการรับน�้ำหนักมากกว่า เพราะเสาหารเป็นส่วนรับ บัวฝาละมีซงึ่ จะเป็นบัวคว�ำ่ อย่างเดียว และเจดียท์ รงระฆังสมัยอยุธยามี ขนาดใหญ่มาก พื้นที่ใต้บัวมีความกว้างมาก (ประมาณ ๑.๐๐-๑.๕๐ เมตร) น่าจะเป็นส่วนทีพ่ งั ทลายได้งา่ ย ดังนัน้ ช่างจึงแก้ปญ ั หาโดยการใช้ เสามาค�้ำรับน�้ำหนักส่วนนี้ไว้ (รูปที่ ๙.๗๔-๙.๗๕) ส�ำหรับพัฒนาการทางด้านรูปแบบของเจดียท์ รงระฆังแบบอยุธยา ดังกล่าวน่าจะสอดคล้องกับตัวอย่างที่พบว่าการสร้างเจดีย์สมัยอยุธยา ตอนต้นกลุ่มวัดมเหยงคณ์ วัดช้าง วัดสมณโกฏฐาราม และวัดกุฎีดาว ยังมีการใช้บวั ถลาอยู ่ พร้อมกับยุคทีม่ กี ารซ่อมแซมมีการใช้ทงั้ สองระบบ 535 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๑๐ เจดีย์ในศิลปะลาว-ล้านช้าง
“ศิลปะลาว” ใช้ในความหมายศิลปะของชนชาติลาวทัง้ ทีพ่ บในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวและในประเทศไทย โดยใช้ครอบคลุมตั้งแต่ แรกเริ่มที่มีหลักฐานทางศิลปกรรมมาจนถึงปัจจุบัน “ศิลปะล้านช้าง” เป็นชือ่ เรียกศิลปะอาณาจักรโบราณของลาวคือ “อาณาจักรล้านช้าง” มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธ- ศตวรรษที่ ๒๔ แต่ในปัจจุบันบางครั้งยังเรียกอาณาจักรหรือคนลาวว่า “ล้านช้าง” ด้วยเช่นกัน ค�ำเรียก “ศิลปะล้านช้าง” ยังใช้กบั หลักฐานทาง ศิลปกรรมทีพ่ บในประเทศไทยส่วนหนึง่ ในอดีตทีเ่ คยรวมอยู่ในอาณาจักร ล้านช้าง ดังนัน้ ในการศึกษาศิลปะจึงเรียกรวมว่า “ศิลปะลาว-ล้านช้าง” เพื่อสื่อความหมายในสองนัยดังกล่าว
เจดีย์หรือธาตุในศิลปะลาว-ล้านช้าง
งานสถาปัตยกรรมในศิลปะลาวเกือบทัง้ หมดเป็นงานศิลปกรรม เนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท มีเพียงบางส่วนที่เกิดขึ้นก่อนพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ ที่เป็นวัฒนธรรมเขมร มีศาสนสถานสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู 594 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
และอาจมีศาสนาพุทธมหายานบางส่วน แต่พอเริ่มเข้าสู่พุทธศตวรรษ ที ่ ๑๙ เป็นต้นมา ในดินแดนล้านช้างมีหลักฐานการรับศาสนาพุทธเถรวาท เพราะฉะนัน้ รูปแบบของวัดจึงเหมือนกับศิลปะทีพ่ บในประเทศไทย เปรียบ เทียบได้กบั ศิลปะสมัยสุโขทัย ล้านนา และอยุธยา สถาปัตยกรรมประกอบ ด้วยเจดีย์ พระวิหาร พระอุโบสถ และอาคารอื่นๆ ชาวลาวนิยมเรียกเจดียว์ า่ ทาด ตามภาษาบาลี “ธาตุ” (dh tu) เป็นสิง่ ทีร่ ะลึกร่วมกับอัฐ ิ มีทมี่ าจาก ธาตุเจดีย ์ หมายถึง อนุสาวรียท์ บี่ รรจุ อัฐขิ องคน ๑ เป็นการเรียกแบบเดียวกับชาวล้านนา ส่วนในประเทศไทย ทัว่ ไปเรียกว่า เจดีย ์ ดังนัน้ ทีเ่ รียกเจดียว์ า่ ธาตุ จึงหมายถึงเจดียท์ บี่ รรจุ พระธาตุ ล้วนมีที่มาจากที่เดียวกันคือเป็นที่บรรจุพระธาตุหรือพระบรม- สารีรกิ ธาตุ อันมีทมี่ าจากชือ่ เดิมคือ “สถูป” ซึง่ หมายถึง สถานทีอ่ นั ควร แก่การเคารพบูชา ธาตุหรือพระธาตุในศิลปกรรมลาว-ล้านช้างมีววิ ฒ ั นาการทางด้าน รูปแบบจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง แตกต่างจากประเทศเพือ่ นบ้าน คือ เจดีย์มีทรงระฆังอยู่ในผังสี่เหลี่ยมหรือที่เรียกว่า เจดีย์ทรงดอกบัว เหลีย่ ม ๒ ในศิลปะลาวเรียกว่า หัวน�ำ้ เต้า หรือ แบบหมากปลี ๓ ส่วนนัก วิชาการฝรั่งเศสเรียกว่า “ทรงเหยือกน�้ำ” (La frome en carafe) หรือ เป็นตุ่มหรือยอดอ่อนของดอกไม้ทรงเหยือกน�้ำ (Le buble en Joyaux) ๔ จากหลักฐานทางศิลปกรรมและประวัติศาสตร์พบว่างานใน อาณาจักรล้านช้างมีพื้นฐานมาจากศิลปะทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร แต่พอเข้าสู่สมัยอาณาจักรล้านช้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึง มีแหล่งบันดาลใจใหม่คือ ศิลปะสุโขทัย ซึ่งพบหลักฐานเหลืออยู่เฉพาะ งานประติมากรรมคือพระพุทธรูปเท่านัน้ ต่อมามีแหล่งบันดาลใจมาจาก ศิลปะล้านนา สอดคล้องกับหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ของสองอาณาจักร ที่มีความสัมพันธ์กันด้านเครือญาติและศาสนาเป็นอย่างดี
ความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ระหว่างอาณาจักรล้านช้างและล้านนา
อาณาจักรล้านช้างและล้านนามีความสัมพันธ์กนั ในฐานะเครือญาติ อย่างน้อยตัง้ แต่รชั กาลของพระเจ้าสามแสนไทไตรภูวนาถ (พ.ศ. ๑๙๑๕- 595 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๑๙๖๑) ๕ เป็นต้นมา ด้วยเหตุที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองมากใน รัชสมัยพระเจ้าติโลกราชจนถึงสมัยพระเมืองแก้ว ดังทีป่ รากฏในเอกสาร กล่าวว่า พระเจ้าโพธิสารราช มีพระอัครมเหสีคือพระนางยอดค�ำทิพย์ เป็นพระราชธิดาของพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์ล้านนา และในเอกสาร ฝ่ายลาวและล้านนากล่าวตรงกันว่า พระเจ้าโพธิสารราชได้ส่งคณะทูต จากลาวไปขอพระไตรปิฎกจากล้านนา ตรงกับสมัยพระเมืองเกษเกล้า ครองล้านนา ใน พ.ศ. ๒๐๖๘ กษัตริย์ล้านนาได้ส่งพระไตรปิฎกพร้อม พระสงฆ์จ�ำนวน ๖๐ รูปมายังอาณาจักรล้านช้าง ๖ มีเหตุการณ์ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์อีกเรื่องคือ ปลายรัชสมัย ของพระเจ้าโพธิสารราชอาณาจักรล้านนาเกิดความแตกแยกและไม่มี พระมหากษัตริย์ปกครอง ราชส�ำนักล้านนาจึงได้ขอพระมหาอุปราชจาก อาณาจักรล้านช้างซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดาของพระเมืองเกษเกล้า คือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชไปปกครองล้านนาเป็นเวลา ๒ ปีระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๒-๒๐๙๓ แต่หลังจากพระเจ้าโพธิสารราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๐๙๓ พระเจ้าไชยเชษฐาจึงเสด็จกลับมาครองอาณาจักรล้านช้าง ๗ ต�ำนานกล่าวว่าในการเสด็จกลับครั้งนี้พระองค์ ได้อัญเชิญพระพุทธรูป ส�ำคัญคือ พระแก้วมรกต พระพุทธสิหิงค์ พระแซกค�ำ และพระพุทธรูป ส�ำคัญอื่นๆ มายังล้านช้างด้วย ๘ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ราว ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๐ ถึงปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๑ อาณาจักรล้านช้าง และล้านนามีความสัมพันธ์กนั และอาณาจักรล้านช้างน่าจะได้รบั อิทธิพล ทางศาสนาและงานศิลปกรรมมาจากล้านนา เนื่องจากล้านนาในช่วง เวลานัน้ คือระหว่างรัชกาลพระเจ้าติโลกราชถึงพระเมืองแก้ว ศาสนาและ งานศิลปกรรมรุง่ เรืองสูงสุด เป็นยุคทองของล้านนา ๙ เชือ่ ว่าช่วงเวลานี้ ศิลปะล้านนาแพร่หลายและมีบทบาทต่อศิลปะล้านช้าง จากหลักฐาน งานศิลปกรรมโดยเฉพาะพระพุทธรูป พบว่าส่วนหนึง่ เป็นกลุม่ พระพุทธ- รูปที่น�ำมาจากล้านนาโดยตรง และอีกส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลที่ปรากฏใน พระพุทธรูปล้านช้าง
596 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
เจดีย์ ในศิลปะล้านช้าง ที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนา
ในศิลปะล้านช้างพบเจดียท์ มี่ อี ทิ ธิพลศิลปะล้านนาอยู่ในยุคแรกๆ ตัง้ แต่ราวปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที ่ ๒๒ ส่วนใหญ่ พบอยูท่ เี่ มืองหลวงพระบางและในแขวงหลวงพระบาง ส่วนทีน่ ครเวียง- จันทน์พบน้อยมาก อาจเนือ่ งด้วยอิทธิพลศิลปะล้านนาปรากฏในล้านช้าง ในช่วงที่ศูนย์กลางของอาณาจักรอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง จนมาถึงสมัย พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงย้ายเมืองหลวงมายังนครเวียงจันทน์ ในสมัยนี้ อาณาจักรล้านนาเสื่อมลงและอาณาจักรล้านช้างได้ติดต่อกับอาณาจักร อยุธยาแทน จึงเกิดเจดีย์รูปแบบใหม่คือ เจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยมหรือ เจดีย์ทรงดอกบัวเหลี่ยมแทน เจดีย์ที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนาได้พบสอง รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงปราสาทยอด
เจดีย์ทรงระฆัง
เจดียท์ รงระฆังทีม่ อี งค์ระฆังในผังกลมนิยมสร้างในศิลปะทุกยุค ทุกสมัยและเกือบทุกศิลปะที่พุทธศาสนาเดินทางไปถึง แต่จะมีรูปแบบ และลักษณะเฉพาะของงานช่างแต่ละท้องที่ ในศิลปะล้านช้างพบเจดีย์ ทรงระฆังทีม่ อี งค์ระฆังอยู่ในผังกลมน้อยมาก เจดียท์ สี่ ำ� คัญคือ พระธาตุ หมากโม วัดวิชุลราช (วิชุนละลาด) เมืองหลวงพระบาง และพบบางวัด ในเมืองหลวงพระบาง
พระธาตุหมากโม (เจดีย์ปทุม) วัดวิชุลราช เมืองหลวงพระบาง
พระธาตุหมากโม (รูปที่ ๑๐.๑) ในต�ำนานเรียกว่า “ธาตุปทุม” แต่นยิ มเรียกว่า “ธาตุหมากโม” เพราะมีลักษณะคล้ายผลแตงโม ตาม ต�ำนานกล่าวว่าสร้างโดยพระนางพันตีนเชียง พระมเหสีห์ของพระเจ้า วิชุลราช ใน พ.ศ. ๒๐๕๗ มีการบูรณะครั้งส� ำคัญเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ และอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ๑๐ อันเป็นรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน ออกแบบบูรณะโดยนายอองรี มาร์คชาล (Henri Marchall) นักวิชาการ 597 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๑๑ เจดีย์สมัยรัตนโกสินทร์
กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงทีส่ ถาปนาใหม่ จึงต้องมีการสร้างสิง่ ปลูก สร้างจ�ำนวนมากทัง้ พระราชวังและวัดวาอารามต่างๆ ตามหลักฐานพบว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๑-๒ ถือเป็นยุคสร้างบ้านแปงเมือง สร้างพระบรม- มหาราชวังเป็นส่วนใหญ่ ส่วนวัดมีการสถาปนาขึ้นเพียงไม่กี่วัด เช่นใน สมัยรัชกาลที่ ๑ คือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราช- รังสฤษฎิ ์ ส่วนในรัชกาลที ่ ๒ สถาปนาวัดอรุณราชวราราม เป็นต้น นอกนัน้ เป็นวัดที่มีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีการสร้างวัดวา อารามต่างๆ ใหม่และมีการบูรณปฏิสงั ขรณ์ครัง้ ส�ำคัญในสมัยรัชกาลที ่ ๓ ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๕ การสร้างวัด ลดน้อยลงอาจจะเนือ่ งด้วยมีวดั เพียงพอต่อพุทธศาสนิกชนแล้ว พระองค์ มุง่ ทีจ่ ะสร้างสิง่ ใหม่ให้กบั ประชาชนเช่นโรงเรียนและสาธารณูปโภคต่างๆ ทัง้ นีพ้ บว่าในสมัยอยุธยาตอนปลายคติการสร้างเจดียท์ เี่ ป็นประธาน ของวัดลดน้อยลง มีเพียงวัดขนาดใหญ่ที่มีการสร้างเจดีย์เป็นประธาน ของวัด การสร้างวัดให้ความส�ำคัญกับอุโบสถเป็นหลัก อาจจะมีเจดียห์ รือ ไม่มกี ไ็ ด้ หรือหากมีกจ็ ะขนาดเล็ก เป็นเจดียท์ ตี่ งั้ อยูด่ า้ นหน้าหรือส่วนใด 654 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ส่วนหนึ่งของวัดที่ไม่ใช่ในแนวแกนหลัก ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงรับความเชื่อและประเพณีนิยมนี้สืบต่อมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดส�ำคัญอาจมีระบบเจดียป์ ระธานขนาดใหญ่ทตี่ งั้ อยูใ่ นแนวแกนหลัก คือ มีเจดีย์ประธานและมีวิหารด้านหน้า แต่บางแห่งถ้ามีเจดีย์ประธานอาจ ไม่จำ� เป็นต้องอยูใ่ นแนวแกนหลัก นอกนัน้ เป็นเจดียบ์ ริวารหรือเจดียร์ าย รูปแบบเจดีย์ที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ ๑-๓ คือเจดีย์ทรงปรางค์และ เจดีย์ทรงเครื่อง ส่วนในสมัยรัชกาลที่ ๔ น�ำแบบแผนวัดแบบประเพณี นิยมกลับมาสร้าง ได้แก่ การมีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธานของวัดที่อยู่ ในแนวแกนหลัก คือ เจดีย์เป็นประธาน มีวิหารอยู่ด้านหน้า และมี พระอุโบสถอยู่ด้านหลัง หรืออาจสลับต�ำแหน่งกันระหว่างพระวิหารกับ พระอุโบสถ พอมาถึงรัชกาลที ่ ๕ เนือ่ งจากการสร้างวัดน้อยลง การสร้าง เจดียจ์ ึงหมดไป
เจดีย์สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ มีเจดีย์ที่ได้รับความนิยมอยู่ ๒ รูปแบบหลัก ได้แก่ เจดีย์ทรงปรางค์และเจดีย์ทรงเครื่อง
เจดีย์ทรงปรางค์
เจดีย์ทรงปรางค์ (รูปที่ ๑๑.๑-๑๑.๒) ได้รับความนิยมมากใน งานสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น และกลับมานิยมอีกครั้งหนึ่งใน สมัยอยุธยาตอนปลายสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาล ที่ ๑-๓) และคงหมดความนิยมไปเมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๓ เพราะในสมัย รัชกาลที่ ๔ ไม่มีการสร้างเจดีย์ทรงปรางค์ เนื่องจากพระองค์ทรงโปรด เจดียท์ รงระฆัง แม้จะมีการสร้างปรางค์คอื ปราสาทพระเทพบิดร แต่เป็น การน�ำเจดียท์ รงปรางค์ไปต่อเป็นส่วนบนของหลังคาจัตรุ มุข ดังนัน้ ถือว่า เจดีย์ทรงปรางค์เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมในสมัย รัชกาลที ่ ๓ และเป็นการสร้างปรางค์ในยุคสุดท้ายของสถาปัตยกรรมไทย อย่างแท้จริง การสร้างปรางค์ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นนอกจาก ใช้แทนความหมายของเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว อาจมีคติ
655 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
รูปที่ ๑๑.๑ พระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
ในเรือ่ งเขาพระสุเมรุหรือจักรวาลด้วย แต่เป็นการสร้างขึน้ ตามความเชือ่ ของพุทธศาสนาแบบเถรวาทแล้ว เช่นพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (รูปที่ ๑๑.๑)
องค์ประกอบของเจดีย์ทรงปรางค์
ส่วนฐาน ส่วนใหญ่เป็นชุดฐานสิงห์ ๓ ฐานในผังย่อมุมหรือเพิม่ มุมหลายมุม เช่น ย่อมุมไม้ยี่สิบ แต่ละมุมมีขนาดเท่ากัน เป็นต้น ส่วนกลาง ประกอบด้วยเรือนธาตุในผังย่อมุมทีท่ กุ มุมมีขนาดเท่า กัน ที่เรือนธาตุมีจระน�ำซุ้มทั้งสี่ด้าน มีข้อสังเกตคือ ตามประเพณีนิยม โดยทั่วไปตั้งแต่สมัยอยุธยา ในจระน�ำซุ้มมักประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ปรับเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งยังคงประดิษฐาน พระพุทธรูปปางต่างๆ แต่อีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นพระสาวก พระอินทร์ เทวดา หรือยักษ์ ได้แก่ทา้ วจัตโุ ลกบาล แสดงถึงต�ำแหน่งและหน้าทีข่ อง ปรางค์ที่ปรับเปลี่ยนไป ส่วนบน เหนือเรือนธาตุขนึ้ ไปทีเ่ ป็นชัน้ เชิงบาตรมักท�ำเป็นชัน้ ครุฑ 656 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
นภศูล
ชั้นรัดประคด (เรือนชั้นซ้อน) กลีบขนุน บรรพแถลง ชั้นเชิงบาตร ครุฑแบก เรือนธาตุ จระน�ำซุ้ม ชั้นบัวคว�่ำ-บัวหงาย
ชุดฐานสิงห์ ๓ ฐาน
ชั้นเขียง ฐานเขียง
รูปที่ ๑๑.๒ ลายเส้นพระปรางค์ประจ�ำมุม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม 657 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
คือ องค์ปรางค์ยงั รักษารูปแบบของอยุธยาอยูอ่ ย่างมาก ส่วนฐานเขียงยัง เป็นฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม (ไม่ใช่ฐานในผังแปดเหลี่ยม เจาะช่องหน้าต่าง เป็นวงโค้งอย่างวัดอื่น) ท�ำให้เชื่อว่าอาจมีมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ หรือ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ในยุคต้นรัชกาล
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
วัดอรุณราชวรารามเดิมชื่อว่า วัดแจ้ง เป็นวัดที่มีมาแล้วตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงบูรณะ วัดนี้ใน พ.ศ. ๒๓๑๖ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระอุโบสถและ พระปรางค์ขนึ้ ใหม่โดยมีกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์พระแม่กอง ๒ ได้เปลีย่ น พระอุโบสถเป็นพระวิหารและพระราชทานนามวัดนีใ้ หม่วา่ “วัดอรุณราช- วราราม” แต่การสร้างพระปรางค์ไม่แล้วเสร็จในรัชกาลและด�ำเนินการ ต่อในสมัยรัชกาลที ่ ๓ พระอุโบสถถูกไฟไหม้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ อุโบสถหลังใหม่และสร้างพระปรางค์ตอ่ จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๘๕ ใน หนังสือของนายวอลเตอร์ เอฟ. เวลลา กล่าวว่า ทรงบูรณะพระปรางค์เดิม ั เชิญ ของโบราณสูง ๘ วาให้กอ่ หุม้ ใหม่สงู ๓๕ วา ๓ และโปรดเกล้าฯ ให้อญ พระมหามงกุฎที่หล่อเตรียมไว้ส�ำหรับใช้การกับพระพุทธรูปทรงเครื่อง ประธานวัดนางนองมาประดับยอดเหนือล�ำภุขันธ์ (นภศูล) ซึ่งเป็นการ ประดับทีแ่ ปลกไปจากประเพณีทเี่ คยมีมา เป็นเหตุให้คนชอบกล่าวกันว่า ทรงพระราชด�ำริให้เป็นนิมิตเพื่อให้มหาชนนิยมในเจ้าฟ้ามงกุฎว่าเป็น รัชทายาท ๔ จึงถือว่ารูปแบบพระปรางค์ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเป็นงาน สถาปนาโดยรัชกาลที่ ๓ อย่างแท้จริง • ปรางค์ประธาน รูปแบบของปรางค์วัดอรุณราชวราราม (รูปที่ ๑๑.๔) ถือเป็น การวิวฒ ั นาการครัง้ ส�ำคัญทีส่ ดุ ของสายเจดียท์ รงปรางค์ เป็นรูปแบบเดียว ทีเ่ กิดขึน้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที ่ ๓) และไม่ปรากฏอีกเลยในสมัย ต่อมา จึงถือว่าเป็นวิวฒ ั นาการทางด้านรูปแบบทีเ่ กิดขึน้ และจบลงในเวลา เดียวกัน ในส่วนของวิวัฒนาการส�ำคัญ ได้แก่ เป็นปรางค์ขนาดที่ใหญ่ และสูงที่สุดในประเทศไทย มีการปรับเปลี่ยนคติในการสร้างปรางค์ที่มี มาแต่เดิมโดยการสอดแทรกแนวความคิดอย่างใหม่เข้าไป ทัง้ ในส่วนของ 662 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑๑.๔ พระปรางค์ประธาน วัดอรุณราชวราราม
รายละเอียดของงานประติมากรรมและการประดับกระเบือ้ งสีทอี่ งค์ปรางค์ ทั้งองค์ • วิเคราะห์รูปแบบพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ส่วนฐาน ประกอบด้วยโครงสร้างรวมคือ มีฐานไพทีรองรับอาคาร ทั้งหมดและเป็นลานประทักษิณชั้นที่ ๑ และมีลานประทักษิณอีก ๒ ชั้น โดยในแต่ละชั้นประกอบด้วย ชั้นที่ ๑ เหนือฐานประทักษิณเป็นชุดฐานสิงห์ ๓ ฐาน ซ้อน ลดหลั่นกัน ฐานสิงห์ส่วนกลางประดับด้วยยักษ์แบก จึงเรียกส่วนนี้ว่า “ฐานยักษ์แบก” ชั้นที่ ๒ มีลักษณะเดียวกับชั้นแรกคือเป็นชุดฐานสิงห์ ๓ ฐาน ฐานกลาง ประดับด้วยกระบี ่ เรียกฐาน “กระบีแ่ บก” ถัดจากฐานประทักษิณ ชั้นที่ ๒ ขึ้นไปคือส่วนกลางที่เป็นส่วนเรือนธาตุ ส่วนกลาง (ส่วนเรือนธาตุ) ประกอบด้วยชุดฐานสิงห์รองรับ 663 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
จ�ำนวน ๔ ฐาน ฐานสิงห์ชั้นล่างสุดประดับเทวดาแบกเรียก “ฐานเทวดา แบก” ถ้าดูภาพรวมของฐานจะแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ฐาน ล่างเป็นฐานยักษ์แบก ส่วนที่ ๒ เป็นฐานกระบี่แบก และส่วนที่ ๓ ส่วน รองรับเรือนธาตุเป็นฐานเทวดาแบก ส่วนเรือนธาตุมลี กั ษณะทีต่ า่ งจากปรางค์โดยทัว่ ไปคือ จระน�ำซุม้ ยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือสันหลังคาซุ้มประดับด้วยเจดีย์ทรงปรางค์ ขนาดเล็กทั้งสี่ด้าน การประดับเจดีย์เหนือสันหลังคาเช่นนี้เคยปรากฏ มาแล้วเหนือสันหลังคามุขด้านหน้าของปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นเจดียท์ รงระฆังทีเ่ รียกว่า เจดียย์ อด และมีเพียงด้านเดียว ส่วนทีเ่ ป็น เจดียย์ อดทรงปรางค์เคยมีการประดับเหนือมุขทีป่ รางค์ประธานวัดพระราม (ปรากฏในภาพถ่ายเก่า) ซึ่งมีการบูรณะในสมัยอยุธยาตอนปลาย ด้วย เหตุนกี้ ารประดับปรางค์เหนือซุม้ ทีว่ ดั อรุณราชวรารามคงมีทมี่ าจากอยุธยา แต่ส่วนที่เปลี่ยนไปคือท�ำทั้งสี่ด้านและไม่ได้ท�ำเป็นมุขยื่นออกมามาก เนือ่ งด้วยพืน้ ทีข่ องปรางค์วดั อรุณฯ มีเรือนธาตุทอี่ ยูส่ งู มากจึงไม่สามารถ ท�ำมุขยื่นออกมาได้ นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในการประดับประติมากรรม ในคูหาปรางค์ อันหมายความถึงมีคติในการก่อสร้างที่เปลี่ยนไปด้วย เช่นกัน กล่าวคือ ในช่องจระน�ำประดิษฐานรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทั้งสี่ด้าน (รูปที่ ๑๑.๕) ส่วนบน มีลักษณะเดียวกับส่วนบนของปรางค์ในสมัยรัชกาล ที ่ ๓ ทัว่ ไป คือเป็นเรือนชัน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ ประดับบรรพแถลงแนบติดกับองค์ ปรางค์ • พระปรางค์ประธานวัดอรุณราชวราราม
กับคติในการก่อสร้าง
จากการศึกษารูปแบบของปรางค์ประธานและปรางค์บริวารของ วัดอรุณราชวราราม ทีม่ กี ารปรับเปลีย่ นรูปแบบและงานประดับสถาปัตย- กรรม อันสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแนวความคิดในการออกแบบหรือ คติในการก่อสร้าง หรืออาจแสดงคติในการก่อสร้างเดิมชัดเจนเป็นรูปธรรม มากขึ้น ได้แก่ คติเรื่องภูมิจักรวาล คติเรือ่ งภูมจิ กั รวาลในเจดียท์ รงปรางค์นา่ จะสืบเนือ่ งมาจากการ 664 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑๑.๕ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับเรือนธาตุ พระปรางค์ประธาน วัดอรุณราชวราราม
สร้างปราสาทในวัฒนธรรมเขมร เพราะปราสาทในวัฒนธรรมเขมรมี สัญลักษณ์ต่างๆ อันแสดงถึงการเป็นเรือนฐานันดรสูงอันเป็นที่สถิตของ เทพเจ้า ได้แก่ เขาพระสุเมรุ การสร้างปราสาทขึน้ ในโลกมนุษย์จงึ เปรียบ เสมือนการจ�ำลองเขาพระสุเมรุจากสวรรค์มาไว้บนโลกมนุษย์ แต่เมื่อน�ำรูปแบบปราสาทจากศิลปะเขมรมาสร้างเป็นเจดีย์ ทรงปรางค์ในวัฒนธรรมพุทธศาสนาในไทย ดังที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัย ก่อนอยุธยา เช่นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี หน้าที่ของความเป็น ปราสาทเดิมจึงเปลีย่ นมาเป็นเจดียท์ หี่ มายถึงทีบ่ รรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุ อันเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า แต่รูปแบบของปรางค์และงานประดับ ส่วนหนึ่งน่าจะยังคงรักษาแนวความคิดเรื่องของเขาพระสุเมรุในศาสนา ฮินดูอันหมายถึงปราสาทบนสวรรค์ โดยปรับเปลี่ยนเป็นแกนกลางของ จักรวาลในความเชื่อเรื่องสวรรค์ของพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นการสร้าง 665 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
บทที่ ๑๒ พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในดินแดนไทย
เจดีย์ คือที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนั้นจึงเรียกเจดีย์ว่า พระธาตุ เมืองหรืออาณาจักรจึงต้องมีพระธาตุสำ� คัญประจ�ำเมือง ซึง่ สร้างตามคติ ของการเป็นศูนย์กลางจักรวาล ในความหมายที่ว่าเมืองหลวงและเมือง ส�ำคัญมีศูนย์กลางจักรวาลประจ�ำเมืองและพระนคร ความหมายของ ศูนย์กลางจักรวาลมักเข้าใจกันว่าเป็นการจ�ำลองเขาพระสุเมรุพร้อมด้วย เขาสัตตบริภัณฑ์มาสร้างบนโลกมนุษย์ตามคติของศาสนาฮินดูด้วยการ สร้างปราสาท ในทางพุทธศาสนาจะสร้างเจดียห์ รือพระธาตุ คือเจดียท์ ี่ บรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุเพือ่ เป็นศูนย์กลางจักรวาล เรียกว่า “มหาธาตุ” “พระศรีมหาธาตุ” “พระศรีรัตนมหาธาตุ” ในภาคเหนือจะเรียกว่า “พระธาตุ” มหาธาตุจึงมีความส�ำคัญส�ำหรับราชธานี ในความหมายของ ศูนย์กลางจักรวาลส�ำหรับพระนครและเมืองส�ำคัญ คือมีเจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุที่ส�ำคัญที่สุด ทั้งนี้อาจมีการออกแบบเจดีย์โดยมี เจดียบ์ ริวารในเชิงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุและเขาสัตตบริภณ ั ฑ์ หรือ อาจใช้เจดียแ์ ทนความหมายของเจดียจ์ ฬุ ามณีทอี่ ยูบ่ นสวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์ 754 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
เป็นสัญลักษณ์แทนศูนย์กลางจักรวาล หรืออาจใช้ทงั้ สองความหมายปนกัน เช่นวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยน่าจะใช้สญ ั ลักษณ์ทงั้ สองความหมายนีป้ ะปนกัน คือทัง้ เป็นศูนย์กลางจักรวาลทีม่ เี จดียป์ ระธานและมีเจดียบ์ ริวารประกอบ และเป็นเจดีย์ประธานที่หมายถึงเจดีย์จุฬามณี ดังที่พบจารึกหลายหลัก บริเวณวัดมหาธาตุที่มักกล่าวถึงมหาธาตุเสมอ ส�ำหรับมหาธาตุส�ำคัญในดินแดนไทยมีทั้งที่ยอมรับนับถือใน ระดับชุมชน ระดับเมือง และระดับประเทศ แต่ไม่เคยมีการประกาศ อย่างเป็นทางการว่าพระธาตุแห่งใดเป็นพระธาตุส�ำคัญของประเทศ น่าจะเนื่องจากความเคารพศรัทธาของแต่ละภูมิภาคเป็นส�ำคัญ ในการ กล่าวถึงพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในบทนี้ขออ้างอิงจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสติ วนาราม ทีส่ มเด็จฯ กรมพระยา ด�ำรงราชานุภาพทรงคัดเลือกมหาธาตุในประเทศไทยและให้เขียนขึ้น ๘ องค์ ทรงเรียกว่า “จอมเจดีย์” พร้อมด้วยค�ำบรรยายภาพสั้นๆ ถึง เหตุผลหรือความส�ำคัญของมหาธาตุที่ทรงคัดเลือกมา ซึ่งน่าจะถือเป็น เกณฑ์ก�ำหนดความส�ำคัญหรือความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุในขณะนั้น ดังนั้นในการคัดเลือกพระธาตุสำ� คัญหรือพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ใน ที่นี้ อันดับแรกจึงขอกล่าวถึงมหาธาตุหรือ จอมเจดีย์ ทั้งแปดแห่งตาม พระประสงค์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ จากนัน้ ขอน�ำเสนอ มหาธาตุสำ� คัญเรียงตามล�ำดับยุคสมัย โดยพิจารณาจากความเป็นมหาธาตุ ประจ�ำเมือง ความส�ำคัญ ความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นตัวแทนของรูปแบบ ศิลปกรรมของแต่ละยุคสมัย
มหาธาตุหรือจอมเจดีย ์ ๘ แห่ง ในดินแดนไทย
มหาธาตุหรือจอมเจดีย์ ๘ แห่งตามพระประสงค์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ จากจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดเบญจม- บพิตรดุสติ วนาราม มีปา้ ยค�ำบรรยายใต้ภาพทีท่ รงเรียกว่า “จอมเจดีย”์ ประกอบด้วย
755 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
พระมหาธาตุเมืองละโว้ คือปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
“คือปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สร้างเมื่อแรกพระพุทธศาสนาลัทธิ มหายานมาประดิษฐานในเมืองไทย แล้วแพร่หลายไปทางเมืองเขมรและ เมืองเหนือ” ปัจจุบันคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี (รูปที่ ๑๒.๑) เป็น วัดร้าง ปรางค์ประธานวัดพระศรีรตั นมหาธาตุ ลพบุร ี เป็นงานสถาปัตย- กรรมทีส่ บื เนือ่ งมาจากวัฒนธรรมเขมร ได้แก่ ระบบแผนผังทีม่ รี ะเบียงคด ล้อมรอบ เป็นปรางค์สามหลังมีที่มาจากปราสาทแบบเขมร เรือนธาตุใช้ ระบบการเพิม่ มุมทีม่ มี มุ ประธานขนาดใหญ่มาก เรือนธาตุตงั้ ฉากกับแนว ระนาบ ชั้นหลังคาประดับนาคปักหรือกลีบขนุนปรางค์ บรรพแถลง ซุ้ม วิมานเป็นซุม้ โค้งเข้าโค้งออกและประดับลวดลายทีย่ งั รักษาแบบแผนลาย ใกล้เคียงกับแม่แบบในวัฒนธรรมเขมร ส่วนทีพ่ ฒ ั นามาจากปราสาทเขมร คือ รูปทรงของปรางค์สูงชะลูดขึ้น การเพิ่มชั้นฐานบัวลูกฟักเป็น ๓ ชั้น การก�ำหนดอายุปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ดูจาก ทรวดทรงของปรางค์ทมี่ วี วิ ฒ ั นาการสูงขึน้ และลวดลายประดับทีพ่ ฒ ั นา ไปจากศิลปะเขมร รวมทัง้ ข้อสันนิษฐานทีเ่ ชือ่ ว่าหลังจากเขมรหมดอ�ำนาจ ไปจากเมืองลพบุรี ช่วงเวลาดังกล่าวเมืองลพบุรีน่าจะมีฐานะที่เทียบเท่า อาณาจักรหรือมีพระมหากษัตริย์ปกครอง เพราะมีเอกสารจีนกล่าวถึง ลพบุรีส่งคณะทูตไปจีนอย่างน้อยสามครั้ง จึงก�ำหนดอายุปรางค์วัดพระ ศรีรัตนมหาธาตุว่าไม่เกินกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก่อนการสถาปนา กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาประมาณ ๑๐๐ ปี และควรจั ด เป็ น ปรางค์ อ งค์ แ รก อย่างแท้จริง ๑
พระธาตุพนม นครพนม
“เก่าก่อนพระเจดีย์องค์อื่นหมดในแคว้นอีสาน” พระธาตุพนม (รูปที ่ ๑๒.๒) พระธาตุองค์สำ� คัญทีก่ ษัตริยล์ า้ นช้าง หลายพระองค์ทรงบูรณะ ๒ หลักฐานส�ำคัญคือ จารึกวัดพระธาตุพนม ๒ พบทีว่ ดั พระธาตุพนม ระบุ พ.ศ. ๒๑๕๗ กล่าวถึงพระยานครหลวงพิชติ ราชธานีฯ ซึ่งตรงกับกษัตริย์ล้านช้างคือพระยาบัณฑิตยโพธิสาราช ผู้ 756 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
รูปที่ ๑๒.๑ ปรางค์ประธาน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
รูปที่ ๑๒.๒ พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม จ. นครพนม บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ภายหลังจากที่เจดีย์พังทลาย ลงมาใน พ.ศ. ๒๕๑๘
757 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ภาคผนวก พัฒนาการของเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ ในแต่ละสมัยของงานช่าง เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะพุกาม
ปราสาทเขมร เรือนธาตุ
ฐาน ฐานแบบสุโขทัย
ฐานแบบล้านนา 814 เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศิลปะสุโขทัย
เจดีย์ทรงระฆังสุโขทัย
สถูปอินเดีย
สถูปลังกา
เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะสุโขทัย
ชุดบัวถลา สถูปลังกา
เจดีย์ทรงระฆัง สกุลช่างลำ�ปาง ศิลปะล้านนา
ชุดมาลัยเถา ศิลปะอยุธยา 815 ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
ราคา ๘๕๐ บาท ISBN 978-616-7767-92-5
เจดีย์ในประเทศไทย
หมวดศิลปะไทย
เจดีย์ในประเทศไทย
รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
๘๕๐.-
รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา
ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์