สุเจน กรรพฤทธิ์
ค�ำนิยม : รศ.ดร. บรู๊ซ ล็อกฮาร์ต
(Associate Professor Bruce Lockhart) ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
9
coverThonburi.indd 184
๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
งานสารคดีของ สุเจน กรรพฤทธิ์ เรื่องพระเจ้าตากสิน เตือนให้เรารู้ว่า “หลักฐานชั้นต้น” ที่บันทึกประวัติ ศาสตร์ มิได้อยู่แค่ในหอจดหมายเหตุ เอกสารเย็บ เล่ม มัดใบลาน พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมิได้มี แค่เรื่องการศึกและเหตุการณ์ต่างๆ แต่ยังมี “ห่วงโซ่ ของสถานที่และความทรงจ�ำ” อยู่ด้วย สุเจนใช้เวลาหลายเดือนค้นหา สถานที่และ ความทรงจ�ำเหล่านั้น ทั้งในและนอกประเทศไทย น�ำ มาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เล่าเรื่องราวของพระเจ้าตากสิน และน�ำเราเข้าสู่ชีวิตของพระองค์อย่างลึกซึ้งและมีมิติ มากขึ้น
เรื่องของ “พระเจ้าตาก” ที่ไม่มีใน ประวัติศาสตร์ไทย
786164
650022
หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-002-2 ราคา ๒๕๐ บาท
กรุงธนบุรผ ี งาด สุเจน กรรพฤทธิ์
๒๕๐.26/03/2018 18:26
ISBN 978-616-465-002-2
หนังสือ ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด ผู้เขียน สุเจน กรรพฤทธิ์ © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที ่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑ จ�ำนวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ศรัณย์ ทองปาน ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ, ชาญศักดิ์ สุขประชา ภาพปก : จิตรกรรมฝาผนังที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดย ศ. ปรีชา เถาทอง ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม 2ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
สารบัญ จากส�ำนักพิมพ์ .............................................................................................................................................................. ๔ จากบรรณาธิการ ศรัณย์ ทองปาน.......................................................................................................... ๖ ค�ำนิยม ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์.................................................................................................. ๘ ค�ำนิยม รศ. ดร. บรู๊ซ ล็อกฮาร์ต ............................................................................................................. ๑๑ คิดต่าง (เสมือนค�ำน�ำผู้เขียน) ..................................................................................................................... ๑๔ ภาคที่ ๑ - “สิน” ลูกจีนอพยพ ................................................................................................................... ๒๒ ภาคที่ ๒ - จาก “พ่อค้า” สู่ “พระยาตาก (สิน)” ................................................................. ๔๑ ภาคที่ ๓ - “ความหวัง” ทาง “ทิศตะวันออก” ......................................................................... ๖๒ ภาคที ่ ๔ - “ทัพเรือ” กู้บ้านกู้เมือง ........................................................................................................ ๘๕ ภาคที่ ๕ - รื้อฟื้น “ราชอาณาจักรอยุธยา” ................................................................................. ๑๐๖ ภาคที ่ ๖ - ธนบุรี VS ฮาเตียน “แต้จิ๋ว” ปะทะ “กวางตุ้ง” .................................... ๑๔๔ ภาคที่ ๗ - สมรภูมิฮาเตียน ............................................................................................................................ ๑๘๑ ภาคที ่ ๘ - ศึกเชียงใหม่-บางแก้ว ............................................................................................................. ๒๐๒ ภาคที ่ ๙ - ศึกอะแซหวุ่นกี้ .............................................................................................................................. ๒๒๓ ภาคที่ ๑๐ - แนวรบตะวันออกและ “รัฐประหาร” ............................................................ ๒๓๖ ภาคที ่ ๑๑ - อวสานพระเจ้าตาก ............................................................................................................ ๒๕๙ เอกสารและการอ้างอิง ........................................................................................................................................ ๒๙๐
3 สุเจน กรรพฤทธิ์
จากบรรณาธิการ ศรัณย์ ทองปาน บางกระสอ, นนทบุรีศรีอุทยาน พ็อกเกตบุก๊ เล่มก่อนหน้าของคุณสุเจน กรรพฤทธิ ์ ทีจ่ ดั พิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ สารคดี ตัง้ แต่ จากวังจันทน์สเู่ วียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราช (๒๕๕๑/ ๒๕๕๘) ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลีป่ มประวัตศิ าสตร์ไทย-ลาว (๒๕๕๕/๒๕๕๙) จนถึง ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ (๒๕๖๐/๒๕๖๑) ล้วนมีต้นทางเป็น “สกู๊ป” (scoop) คือบทความในนิตยสารสารคดี รายเดือน มาก่อนทั้งสิ้น และ ผลงานล่าสุดในมือของผู้อ่านคือ ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด ซึ่งมีชื่อรองว่า “ตากสินมหาราช” ประวัติศาสตร์นอกต�ำรา ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยชื่อเรื่องว่า “กรุงแตก พระเจ้าตาก และศึก ฮาเตียน” ในนิตยสารสารคดี ฉบับที่ ๓๘๖ เดือนเมษายน ๒๕๖๐ สกู๊ป ของคุณสุเจนเป็นบทความขนาดไม่ยาวนัก เน้นหนักเฉพาะเรื่องศึกฮาเตียน ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกทัพไปตีเมืองพุทไธมาศหรือเมือง ฮาเตียน เป็นหลัก แต่หลังจากนั้นผู้เขียนได้ไป “ท�ำการบ้าน” ค้นคว้า เพิ่มเติม จนเรื่องราวขยายตัวออกมาเป็นหนังสือเล่มหนาดังที่เห็นอยู่นี้ แต่ที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้นก็คือครั้งนี้ดูเหมือนว่าคุณสุเจนได้ทะลุขีดจ�ำกัด ของตัวเองไปอีกขั้นหนึ่ง ขณะทีห่ นังสือรุน่ แรกๆ ของเขา เช่น จากวังจันทน์สเู่ วียงแหงฯ และ ตาม รอยเจ้าอนุวงศ์ฯ เน้นการ “ตามรอย” บุคคลส�ำคัญในหน้าประวัตศิ าสตร์ คือ 6 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริยล์ า้ นช้าง ว่าแต่ละคน เกิด เติบโต และผ่านเหตุการณ์ส�ำคัญในชีวิตมาอย่างไร โดยมุ่งเน้นการ เดินทางลงพื้นที่ “สถานที่เกิดเหตุ” ว่ายังคงเหลือร่องรอยอะไร สืบเนื่องกับ อดีตตรงไหนหรือไม่ จากนั้นใน ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ ผู้เขียนขยับปรับมุมมอง แทนที่จะ ศึ ก ษาจากตั ว บุ ค คลก็ หั น ไปศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร์ ช ่ ว งสุ ด ท้ า ยของยุ ค กรุ ง ศรีอยุธยา ผ่าน timeline ของเหตุการณ์ทคี่ อ่ ยๆ คลีค่ ลายไป ผูอ้ า่ นจึงเหมือน ได้ร่วมอยู่ในวันสุดท้ายของสงครามเสียกรุง ราวกับได้เห็นราชธานีศรีอยุธยา ค่อยๆ ผุกร่อน พังทลาย และถึงกาลอวสานลงไปต่อหน้าต่อตา แต่ในงานชิ้นล่าสุดนี้คุณสุเจนมิได้เพียง “ตามรอย” ไปดูให้เห็นสถานที่ จริงด้วยตา หรือร้อยเรียงล�ำดับเหตุการณ์ในชีวติ ของบุคคลหรือบ้านเมืองอย่าง ที่เคยท�ำเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้ข้อมูลมหาศาล ประมวลขึ้นเป็น “ชีวิต” ของมนุษย์คนหนึง่ ผ่าน “กาละ” และ “เทศะ” ของเขา ซึง่ ผสานเป็นเนือ้ เดียว กับ “ชีวิต” ของราชธานีใหม่ที่ซ้อนทับอยู่บนเมืองซึ่งเคยมีนามว่า “ธนบุรี ศรีมหาสมุทร” ทัง้ ยังยึดโยงกับภาพความเคลือ่ นไหวทางเศรษฐกิจ สังคม และ ภูมิศาสตร์การเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์ ตั้งแต่เวิ้งน�้ำของทะเลจีนใต้และ อ่าวไทย จนถึงผืนแผ่นดินใหญ่ ทั้งหุบเขาและทุ่งราบลุ่มแม่น�้ำ ในทัศนะของผมซึ่งรับหน้าที่บรรณาธิการหนังสือที่คุณสุเจนพิมพ์กับ ทางส�ำนักพิมพ์สารคดีมาทุกเล่มตั้งแต่ต้น ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาดฯ ถือ เป็นเฟส (phase) ใหม่ในงานของผูเ้ ขียน ทีข่ ณะนีช้ ชี้ วนผูอ้ า่ นมายืนอยูต่ อ่ หน้า ประตูบานใหม่ที่เปิดออกสู่มุมมองอันแลเห็นไปได้กว้างไกลสุดตากว่าที่เคย น่าตืน่ เต้นเพียงใดทีจ่ ะได้เห็นผลงานอันดับต่อๆ ไปของเขา ว่าจะมีอะไร ใหม่ๆ มาน�ำเสนอแก่โลกหนังสือและโลกวิชาการอีก 7 สุเจน กรรพฤทธิ์
ค�ำนิยม ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า หนังสือเรือ่ ง ๒๓๑๐ กรุงธนบุรผี งาด “ตากสินมหาราช” ประวัตศิ าสตร์นอก ต�ำรา ไม่ได้ “นอกต�ำรา” หรือเป็น “กระแสรอง” อย่างชื่อ หากแต่เป็นอีก ทางเลือกทีค่ อประวัตศิ าสตร์ธนบุรไี ม่อาจมองข้ามได้ ความน่าสนใจอันดับต้น ของหนังสือ เห็นจะอยู่ที่มิติที่ผู้เขียนน�ำเสนอ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า หนังสือมีหลายมิติ ในมิติแรกเป็นการน�ำเสนอพระราชประวัติของสมเด็จ พระเจ้าตากสินอย่างครบถ้วนกระบวนความ ไม่วา่ จะเป็นชาติกำ� เนิด ชีวติ ก่อน รับราชการ การเข้าสูว่ งจรอ�ำนาจรัฐ การกอบกูบ้ า้ นเมือง สงครามปราบชุมนุม และเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรอยุธยาเดิม และสงครามรบพม่า ที่ ส�ำคัญคือพระราชประวัตชิ ว่ งปลายรัชกาลนับแต่สนิ้ ศึกอะแซหวุน่ กี้ โดยเฉพาะ เบื้องลึกเบื้องหลังการสวรรคต นับว่าครบเครื่องเรื่องพระราชประวัติ กระนัน้ หนังสือ ๒๓๑๐ กรุงธนบุรผี งาด “ตากสินมหาราช” ประวัตศิ าสตร์ นอกต�ำรา หาได้เพียงมุ่งเล่าพระราชประวัติเจ้าแผ่นดินผู้ครองกรุงธนบุรีเช่น หนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป หากแต่ได้เปิดประเด็นให้ผู้อ่านได้ทราบว่าทุก จังหวะชีวิตของมหาราชพระองค์นี้ แวดล้อมไปด้วยข้อมูลที่หลากหลายที่จะ ฉายภาพข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไป ประเด็นทีเ่ ชือ่ สืบกันมาตามกระแสหลักอาจไม่เป็นดัง่ ทีค่ ดิ ไม่วา่ จะเป็น พระนามเดิ ม ตลอดรวมถึ ง “ชื่ อ แซ่ ” ของผู ้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด สถานที่ เ กิ ด ทั้ ง 8 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
ยศถาบรรดาศักดิท์ ไี่ ด้รบั ผูเ้ ขียนค�ำนิยมเห็นว่าการตีแผ่ขอ้ มูลทีห่ ลากหลายนี้ มีตลอดเรื่อง เป็นมิติที่ไม่สู้เห็นบ่อยครั้งนักในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จ พระเจ้าตากสินฯ ที่ผู้เขียนมุ่งแต่จะเฉลิมพระเกียรติ ขนานกันไปกับการตีแผ่ให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย คือการ น�ำเสนอ “การตีความ” ของนักประวัตศิ าสตร์ ซึง่ มีทงั้ การให้ความหมายและ เลือกใช้ข้อมูลบางชุดในการประกอบสร้างประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี ท�ำให้ ผูอ้ า่ นได้รบั ความเห็นทีแ่ ตกต่าง เปิดประเด็นหัวข้อถกเถียงทีน่ า่ สนใจ ช่วยเปิด ทางให้ศึกษาค้นคว้าต่อยอด อาทิ บทบาทและตัวตนของพระยาสรรค์ หรือ ความน่าจะเป็นต่อประเด็นสัญญาวิปลาสของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็นต้น พร้อมกันไปผู้เขียนก็ได้เสนอการตีความของตนเองเพื่อเสนอข้อยุติให้กับ ข้อถกเถียง ซึง่ ก็สนองความต้องการของผูอ้ า่ นบางกลุม่ ทีป่ ระสงค์จะได้คำ� ตอบ ต่อข้อกังขาแบบ “ฟันธง” ลักษณะเด่นอีกประการอันกล่าวได้วา่ เป็นมิตทิ ชี่ ว่ ยเพิม่ ทัง้ สีสนั และความ น่าเชือ่ ถือของงาน คือค่าทีส่ เุ จนเป็นมากกว่า “arm chair historian” เพราะ สุเจนไม่เคยท้อถอยที่จะออกภาคสนาม ประมาณว่าเมื่อศึกษาจากเอกสาร แล้วก็ตอ้ งไปให้เห็นกับตา ท�ำให้งานมีขอ้ มูลภาคสนามมาประกอบตลอดเรือ่ ง เช่น ศึกบางกุ้ง ศึกฮาเตียน เป็นต้น ข้อมูลภาคสนามที่สุเจนน�ำเสนอท�ำให้ ผู้อ่านสามารถจินตนาการภาพเหตุการณ์ที่ผ่านมากว่า ๒๐๐ ปีได้ชัดเจนขึ้น พร้อมกันไปผู้เขียนก็บรรยายให้ผู้อ่านได้ทราบถึง “สภาพที่เป็นอยู่จริง” ใน ปัจจุบัน ซึ่งบ่อยครั้งแทบจะไม่ทิ้งร่องรอยของอดีตยุคกรุงธนบุรี อาทิ วัด ทีถ่ กู แปลงโฉม ควบคูก่ บั การสร้างต�ำนานใหม่เพือ่ เรียกศรัทธาผูน้ ยิ มในสมเด็จ พระเจ้าตากสินได้เข้ามาท�ำบุญ อดีตอันยาวไกล วีรกรรมอันกล้าแกร่ง และ ปัจจุบนั ทีอ่ าศัยร่มเงาของอดีตเติมคุณค่า เป็นอีกหน้าหนึง่ ของประวัตศิ าสตร์ 9 สุเจน กรรพฤทธิ์
การสถาปนากรุงธนบุร ี ทัง้ หมดได้ถกู น�ำมาประมวลรวมไว้ในหนังสือ ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด “ตากสินมหาราช” ประวัติศาสตร์นอกต�ำรา อย่างลงตัว ผูเ้ ขียนให้อะไรใหม่กบั ประวัตศิ าสตร์ยคุ ธนบุร ี นัน่ คือความคาดหวังของ ผู้เขียนค�ำนิยม แน่นอนการเปิดมิติหลายๆ มิติ นับเป็นคุณลักษณะเด่นของ หนังสือ แต่ในที่นี้ผู้เขียนค�ำนิยมหมายถึงเหตุการณ์ส�ำคัญที่ขยายความรับรู้ และความเข้าใจในประวัติศาสตร์ยุคนี้ที่นอกเหนือจากเหตุการณ์พื้นฐานที่ ผู้สนใจในประวัติศาสตร์ยุคนี้คุ้นชิน เมื่ออ่านไปที่ “ภาคที่ ๖ ศึกฮาเตียน” ท�ำให้ต้องยอมรับสุเจนมี “อะไรใหม่ๆ” มาน�ำเสนอให้ไม่ผิดหวัง ศึกที่นัก ประวัตศิ าสตร์ทวั่ ไปมักมองข้าม ได้ถกู น�ำมาพลิกฟืน้ ให้ความหมายทีช่ ว่ ยให้ ผูอ้ า่ นได้เข้าถึงประเด็นปัญหาส�ำคัญและกุศโลบายทางการทหารและการเมือง ของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ไม่เคยถูกน�ำออกตีแผ่อย่างละเอียดมาก่อน เฉพาะ บทนี้ ก็ คุ ้ ม ค่ า ที่ ผู ้ อ ่ า นจะลงทุ น เพื่ อ แลกมาซึ่ ง ความรู ้ ที่ จ ะช่ ว ยเปิ ด หน้ า ประวัติศาสตร์ยุคเปลี่ยนผ่านขึ้นมาอีกหน้าหนึ่ง สุเจน กรรพฤทธิ ์ ยังคงมาตรฐานงานเขียนทางประวัตศิ าสตร์ไว้ได้ดงั่ เดิม ผลงานเรื่อง ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด “ตากสินมหาราช” ประวัติศาสตร์นอก ต�ำรา แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในทางความรู้ ประสบการณ์ และความเฉียบ คมในการพลิกฟื้นอดีตให้โลดเต้นในบรรณพิภพแห่งปัจจุบันสมัย เรื่อง “เจ้า ตาก” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ แต่สุเจนสามารถท�ำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ชวน ติดตามทุกบททุกตอน สุเจนอาจไม่สามารถตอบโจทย์ทกุ โจทย์ทเี่ ป็นข้อกังขา แต่ได้พยายามตอบโจทย์และเปิดโจทย์ซึ่งนับเป็นอีกพลังหนึ่งที่ช่วยเติมลม หายใจให้ประวัตศิ าสตร์ยคุ นีค้ งอยู ่ และยืนหยัดคูส่ งั คมไทยไปอีกนานเท่านาน
10 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
ค�ำนิยม รศ. ดร. บรู๊ซ ล็อกฮาร์ต (Associate Professor Bruce Lockhart) ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ History Dept., National University of Singapore
พระเจ้าตากสินทรงเป็นหนึ่งในบุรุษที่ลึกลับและมีความสลับซับซ้อน ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ปมน่าสงสัยหลายประเด็นเกี่ยวกับ พระองค์ยังไม่ได้รับการคลี่คลาย อาณาจักรกรุงธนบุรีของพระองค์มีอายุ น้อยทีส่ ดุ (๑๕ ปี) เมือ่ เทียบกับราชวงศ์อนื่ ๆ ถึงกระนัน้ ความส�ำเร็จในเวลา อันน้อยนิดก็ได้รบั การยอมรับ ชัยชนะทางการเมืองการทหารของพระองค์ ไม่เพียงแค่รวบรวมอาณาจักรของอยุธยาทีแ่ ตกสลาย แต่ยงั เป็นต้นเค้าและ รากฐานส� ำ หรั บ การผนึ ก ก� ำ ลั ง และการขยายดิ น แดนให้ กั บ กรุ ง เทพฯ (ราชวงศ์จักรี) งานเขี ย นและหลั ก ฐานเกี่ ย วกั บ พระเจ้ า ตากสิ น มี จ� ำ นวนน้ อ ย ศาสตราจารย์นธิ ิ เอียวศรีวงศ์ แสดงให้เราเห็นแล้วใน การเมืองไทย สมัย พระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าเราควรพิจารณาศึกษาหลักฐานอย่างระมัดระวัง กระทั่งตั้งข้อสงสัยต่อหลักฐาน หลักฐานบาทหลวงฝรั่งเศสและหลักฐาน 11 สุเจน กรรพฤทธิ์
ของรัฐเพือ่ นบ้านได้ชว่ ยให้ภาพต่อของข้อสงสัยเหล่านัน้ ถึงแม้วา่ หลักฐาน เหล่านีย้ อ่ มมีขอ้ บกพร่องและ “มีฝา่ ย” เป็นธรรมดา ตัวเอกสารไม่ใช่ขอ้ มูล ทางประวัตศิ าสตร์เพียงหนึง่ เดียว หนังสือเล่มทีท่ า่ นถืออยูน่ กี้ แ็ สดงให้เห็น เช่นนั้น งานสารคดีของ สุเจน กรรพฤทธิ ์ เรือ่ งพระเจ้าตากสินเตือนให้เรารูว้ า่ “หลักฐานชั้นต้น” ที่บันทึกประวัติศาสตร์มิได้อยู่แค่ในหอจดหมายเหตุ กองเอกสาร มัดใบลาน พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมิได้มีแค่เรื่องการ ศึกและเหตุการณ์ต่างๆ แต่ยังมี “ห่วงโซ่ของสถานที่และความทรงจ�ำ” อยู่ด้วย สุเจนใช้เวลาหลายเดือนค้นหาสถานทีแ่ ละความทรงจ�ำเหล่านัน้ ทัง้ ใน และนอกประเทศไทย น�ำมันมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เล่าเรื่องราวของ พระเจ้าตากสินและน�ำเราเข้าสู่ชีวิตของพระเจ้าตากอย่างลึกซึ้งและมีมิติ มากขึน้ เมือ่ อ่านบทต่างๆ ในหนังสือเล่มนีผ้ มนึกถึงนักประวัตศิ าสตร์ชาว เวียดนามผูล้ ว่ งลับท่านหนึง่ คือศาสตราจารย์เจิน่ ก๊วกเหวือ่ ง (Trần Quốc Vượng) ผูเ้ ดินทางรวบรวมเอกสารหลักฐาน ความทรงจ�ำ และร่องรอยทาง วัฒนธรรมที่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ จากเหนือสุดถึงใต้สุดปลาย ประเทศเพือ่ น�ำมาเติมเต็มบนหน้าหนังสือและบทความทางประวัตศิ าสตร์ ของเขา ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสจากส�ำนักอานนาล (Annales School) น�ำโดยศาสตราจารย์ปแี อร์ นอรา (Professor Pierre Nora) ได้นำ� เสนอแนวคิดทีเ่ ป็นทีแ่ พร่หลายคือ lieux de mémoire (sites of memory/สถานที่แห่งความทรงจ�ำ) “สถานที่” ที่ว่านี้อาจเป็นสถานที่ 12 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
ในความหมายของสถานทีจ่ ริงหรือเหตุการณ์ หนังสือ เพลง หรืออะไรก็ตาม ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งและกลายเป็นจุดส�ำคัญเกีย่ วกับความทรงจ�ำทีก่ ว้างขวางเหล่า นั้น สถานที่แห่งความทรงจ�ำเหล่านี้ท�ำให้เรามีมุมมองใหม่ๆ ส�ำหรับ ประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมอีกด้วย หนังสือเล่มนี้ได้ใช้แนวคิดนั้นกับพระราชประวัติของพระเจ้าตากสิน พาเราไปยังสถานที่แห่งความทรงจ�ำจ�ำนวนมากที่เกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ เราเข้าใจชีวิตและกรณียกิจของบุคคลส�ำคัญในประวัติศาสตร์ไทยท่านนี้
13 สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาคที่ ๑
“สิน” ลูกจีนอพยพ “พระยาตากเป็นชาติจีนครึ่งหนึ่ง”
จดหมายเหตุคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ประชุมพงศาวดารภาคที ่ ๓๙
นักประวัติศาสตร์หลายท่านมองว่า เรื่องราวช่วงต้นพระชนม์ชีพ หรือ ประวัติชีวิตในวัยเด็กของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นมีลักษณะ เป็น “ต�ำนาน” มากกว่าจะตั้งอยู่บนข้อมูลหลักฐานที่พิสูจน์ได้ เรื่องเล่าเวอร์ชันที่แพร่หลายที่สุดในเมืองไทยมีที่มาจากหนังสือ อภินิหารบรรพบุรุษ ตีพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ หม่อมเจ้า ปิยภักดีนารถ สุประดิษฐ์ เมื่อปี ๒๔๗๓/ค.ศ. ๑๙๓๐ (หลังสิ้นรัชกาล พระเจ้าตากสิน ๑๔๘ ปี) ก่อนที่ภายหลังจะค้นพบต้นฉบับสมุดไทยที่ หอสมุดแห่งชาติในปี ๒๕๔๕/ค.ศ. ๒๐๐๒ ในชื่อปฐมวงศ์ เล่ม ๑-๓ โดย ค�ำอธิบายที่หน้าแรกของสมุดไทยบอกว่า “เป็ น เรื่ อ งราวกล่ า วด้ ว ยมู ล เหตุ อ ภิ นิ ห ารท่ า นผู ้ เ ป็ น บรรพบุ รุ ษ ต้นฉบับนั้นได้คัดแต่หนังสือหอหลวง นายกุหลาบทูลเกล้าฯ ถวาย นาย กุหลาบว่าคัดแต่ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน” นายกุหลาบในที่นี้ คือ “ก.ศ.ร. กุหลาบ” (กุหลาบ ตฤษณานนท์) ปัญญาชนคนส�ำคัญของสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้น�ำต้นฉบับสมุดไทยมา มอบให้หอพระสมุดวชิรญาณ โดยอ้างว่าเป็นฉบับคัดลอกจากต้นฉบับเดิม ของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส จึงเกิดข้อสันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจ เป็นสมเด็จกรมพระปรมานุชิตฯ ก็ได้
23 สุเจน กรรพฤทธิ์
เอกสารหลักฐาน
ที่เกี่ยวข้องกับยุคกรุงธนบุรีมีอยู่จำ� นวนหนึ่ง เล่มหลักคือพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารจดหมายเหตุรายวันทัพ อย่างไรก็ตามเรื่องราวของยุคนี้ ยังกระจัดกระจายอยู่ในหลักฐานชั้นต้นของประเทศเพื่อนบ้านด้วย
ภาพลายรดน�้ำ
< ที่พระวิหารน้อย วัดอินทารามวรวิหาร ฝั่งธนบุรี เล่าเรื่องการพระราชสมภพของพระเจ้าตากสิน ตามท้องเรื่องที่ได้จาก อภินิหารบรรพบุรุษ
25 สุเจน กรรพฤทธิ์
สถานะพ่อค้ากองเกวียนนีเ้ องท�ำให้สนิ มีชอ่ งทางเข้าสูร่ ะบบราชการ สยาม โดย “สินน่าจะมีความสัมพันธ์กบั พระยาตากคนเดิม คือจัดการเรือ่ งธุรกิจ การพนันให้เมือ่ เจ้าเมืองตากเสียชีวติ จึงเสนอตัวเข้าเป็นเจ้าเมืองตากแทนที่ สหาย” ถ้าข้อสันนิษฐานนี้มีน�้ำหนัก นั่นหมายถึงสินมีความเชี่ยวชาญใน กิจการเดียวกับบิดาคือเป็นนายอากรควบคุมบ่อนพนัน หลักฐานชั้นต้นจ�ำนวนหนึ่งยังปรากฏทักษะทางภาษาของสินให้ เห็นชัดเจนด้วย เราคาดการณ์ได้ว่าสินย่อมพูดภาษาจีนแต้จิ๋วและภาษาไทยได้ แต่ ยิง่ ไปกว่านัน้ จดหมายเหตุรายวันทัพครัง้ ตีเมืองพุทไธมาศ (ฮาเตียน) บอก ว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสามารถพระราชทานพระบรมราโชวาทเป็น ภาษาญวน (เวียด) แก่พระสงฆ์ในฮาเตียน และยัง “เว้า (พูด) ลาว” ได้ดว้ ย เพราะทรง “ซักไซ้ไถ่ถามลาวมีชื่อด้วยภาษาลาว” อาจารย์นธิ ชิ วี้ า่ ทักษะด้านภาษาท�ำนองนีไ้ ม่มที างได้มาจากการเป็น บุตรบุญธรรมเจ้าพระยาจักรี แต่เป็นสิง่ จ�ำเป็นแก่ “พ่อค้าเกวียนลูกจีน ซึง่ ต้องระเหเร่รอ่ นไปอย่างกว้างขวางทัว่ ไปเพือ่ ธุรกิจของตนเอง” กระทัง่ ความ สามารถทางการรบก็น่าจะเกิดจากเหตุที่นายกองเกวียนต้อง “ป้องกันตน จากโจรผู้ร้าย” นีค่ อื ภูมหิ ลังของ “สิน” ก่อนจะเป็น “พระยาตาก (สิน)” อีกเวอร์ชนั หนึ่ง ที่หลายคนคงคาดไม่ถึง
40 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
ภาคที่ ๒
จาก “พ่อค้า” สู่ “พระยาตาก (สิน)”
“จีนมีชื่อผู้นั้นก็ตัดผมเป็นไทยลงมา ณ กรุงศรีอยุธยา จะเดินเป็นเจ้าเมืองตาก” พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก ๒/ก๑๐๑
ภาคที่ ๓
“ความหวัง” ทาง “ทิศตะวันออก” “จึงให้ยกพลพยุหกองทัพออกจากวัดพิชัยฝ่ากองทัพพะม่า ออกมาเป็นเพลาย�ำ่ ฆ้องยามเสาร์ ได้รบกันกับพะม่าเป็นสามารถ”
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุร ี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
มกราคม ๒๓๐๙/ค.ศ. ๑๗๖๗ อยุธยาแทบไม่เหลือข้อได้เปรียบทาง ยุทธศาสตร์ “ก�ำลังเสริมจากหัวเมืองเหนือ” ถูกท�ำลายลงหมดสิน้ ตัง้ แต่ป ี ๒๓๐๘/ ค.ศ. ๑๗๖๕ เมื่อทัพ เนเมียวสีหบดี ปราบหัวเมืองเหนือได้ทั้งหมด ครั้น อยุธยาหันไปพึ่ง “ฤดูน�้ำหลาก” ตามแบบอย่างที่เคยใช้มา กลศึกก็ถูกแก้ โดยทัพอังวะผูกเรือแพยึดที่ดอนเป็นที่มั่น และปักหลักล้อมอยุธยาโดย ไม่ยอมถอยกลับไปแต่อย่างใด ตัวช่วยสุดท้ายคือ “ก�ำแพงพระนคร สูง ๓ วา หนา ๖ ศอก” ก็กำ� ลัง ถูกบ่อนเซาะด้วย “แผนมโหสถขุดอุโมงค์” เมือ่ ทัพอังวะส่งคนขุดดินเข้ามา เผารากก�ำแพงบริเวณหัวรอ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือใกล้ป้อมมหาชัย ก่ อ นกรุ ง แตกไม่ น าน ในคื น วั น เสาร์ เ ดื อ นยี่ ขึ้ น ๔ ค�่ ำ ปี จ อ (๓ มกราคม ๒๓๐๙/ค.ศ. ๑๗๖๗) พระยาตาก (สิน) ขุนนางหัวเมืองเชื้อสาย จีน วัย ๓๒ ปี พร้อมทหารคนสนิท ตัดสินใจยกก�ำลังราว ๕๐๐-๑,๐๐๐ คน ออกจากวัดพิชัย มุ่งหน้าตีฝ่าไปทางตะวันออก อาจารย์นิธิอธิบายในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่า ถึงระยะนี้การคุมก�ำลังเป็นกลุ่มก้อนแล้วแยกตัวจากอยุธยากลายเป็น เรื่องปรกติ
63 สุเจน กรรพฤทธิ์
จิตรกรรมฝาผนังที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ ฉายภาพกองทหารของพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าออกจากวัดพิชัยไปทางทิศตะวันออกก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตก ไม่กี่เดือน นายทหารที่ขี่ม้าขาวด้านขวาสุดของภาพคือพระยาตาก (สิน) ภาพนี้วาดโดย ศ. ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ (ภาพถ่าย : สุเจน กรรพฤทธิ์)
64 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
65 สุเจน กรรพฤทธิ์
เคยเชื่อกันมา เพราะต่อมายังได้รับการสนับสนุนจากเจ้าเมืองนครนายก ขณะที่อาจารย์สุเนตรให้ความเห็นต่อข้อเสนอเรื่องนี้ว่า “ข้อเสนอที่พระเจ้าเอกทัศน์ส่งพระยาตาก (สิน) ไปตั้งมั่นที่จันทบุรี นัน้ หากเราลองนึกถึงสถานการณ์จริงย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างสิน้ เชิง พระเจ้า เอกทัศน์จะทรงท�ำเช่นนั้นไปเพื่ออะไร กรุงก�ำลังจะแตก แต่ต้องเสียทหาร ฝีมือดีไปเกือบ ๑,๐๐๐ คน เรื่องนี้ในทางปฏิบัติจึงเป็นไปได้ยากมาก” นอกจากนั้นแล้วผมยังพบประเด็นที่อาจคัดค้านได้เพิ่มเติมอีกว่า หากข้อมูลเรื่องพระยาตาก (สิน) ได้รับพระบรมราชโองการจากราชส�ำนัก อยุธยาให้ไปรวบรวมก�ำลังพลฝั่งตะวันออกมาช่วย เหตุใดจึงมีการต่อต้าน จากเจ้าเมืองหลายเมืองทางภาคตะวันออก ส่วนกรณีของเจ้าเมืองนครนายกนั้น อาจเพียงแต่ “เลือกข้าง” เพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์เฉพาะ หน้าเท่านั้น ยังไม่นับว่าหลักฐานชิ้นนี้เขียนขึ้นในช่วงที่พระเจ้าตากสินทรงก่อตั้ง กรุงธนบุรีแล้วและเมื่อทรงต้องการยืนยันถึงสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ พระองค์อาจต้องน�ำเสนอ “ค�ำอธิบาย” ที่สมเหตุสมผลส�ำหรับ สังคมนานาชาติในภูมิภาค เรื่องนี้จึงยังต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
84 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
ภาคที่ ๔
“ทัพเรือ” กู้บ้านกู้เมือง “...ทรงพระเศาวนาการกิตติศัพท์ว่า กรุงเทพมหานครถึงแก่ พินาศแล้วสมณพราหมณาจารย์ขัติยวงศาเสนาพฤฒามาตย์ ราษฎรได้รับความทุกข์ล�ำบากนัก...จึงทรงพระราชอุตสาหะยก พลทหารสรรพด้วยเครื่องสาตราวุธเป็นอันมาก ออกจากเมือง จันทบูรมาโดยทางชลมารค” พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
การ “กู้บ้านกู้เมือง” ของพระยาตาก (สิน) ได้ประโยชน์เต็มที่จากความ เป็น “เมืองท่านานาชาติ” ของจันทบุรี โดยเฉพาะการเพิ่มก�ำลังทางเรือ ที่เขา “ยับยั้งอยู่ต่อเรือรบได้ ๑๐๐ เศษ” กามนิต ดิเรกศิลป์ ประธานชมรมหอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี อดีตนักโบราณคดีในกองโบราณคดีใต้น�้ำ กรมศิลปากร ยืนยันเรื่องนี้ เมื่อผมไปดู “อู่ต่อเรือพระเจ้าตากฯ” ที่จังหวัดจันทบุร ี เอิบเปรม วัชรางกูร อดีตหัวหน้ากองโบราณคดีใต้นำ �้ กรมศิลปากร ก็ยืนยันว่าในอดีตเคยมีอุตสาหกรรมต่อเรือที่จันทบุรีกระจายตัวอยู่สอง ฝั่งแม่น�้ำเป็นระยะทางราว ๖ กิโลเมตร ตั้งแต่บริเวณปากน�้ำแหลมสิงห์ (จุดทีแ่ ม่นำ�้ จันทบุรไี หลลงอ่าวไทย) มาจนถึงตัวเมืองจันทบุร ี เขาชีป้ ระเด็น ส�ำคัญว่า “จันทบุรมี ีศกั ยภาพต่อเรือ มีแหล่งไม้เนือ้ แข็ง มีเวิง้ อ่าวหลบพายุ มี น�ำ้ จืด มีเส้นทางการค้าทางบกเข้าไปในแผ่นดิน ซึง่ หมายถึงมีแหล่งเสบียง” หากใช้โปรแกรม Google Earth มองดู จะพบว่าปากแม่น�้ำจันทบุรี ก่อนไหลลงทะเลมีลกั ษณะแผ่กว้างเป็นอ่าวรูปคล้าย “ทะเลสาบในแผ่นดิน” (lagoon) ภู มิ ป ระเทศเช่ น นี้ เ หมาะเป็ น ที่ จ อดเรื อ หลบลม และการที่ จั น ทบุ รี มี พื้ น ที่ ร าบเหมาะแก่ ก ารเพาะปลู ก ที่ นี่ จึ ง สามารถเป็ น แหล่ ง เสบียงให้แก่เรือส�ำเภาที่มาเทียบท่าได้อย่างบริบูรณ์
86 ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
น่าสนใจว่าอ่าวส่วนในของจันทบุรีประกอบด้วยเครือข่ายล�ำคลอง หลายสายที่เกิดจากการแยกสาขาของแม่น�้ำจันทบุรีก่อนไหลลงอ่าวไทย โดยเฉพาะคลองอ่าวขุนไชย ซึ่งมีการค้นพบซากเรือโบราณบริเวณป่าชาย เลนริมคลองเป็นจ�ำนวนมาก เรื่องราวการค้นพบอู่เรือโบราณเหล่านี้มีสีสันมาก กามนิตเล่าว่า “เล่ากันมาว่าเกิดจากมีคนฝันว่ามีผู้ชายมาบอกให้เอาเราขึ้นจากน�้ำ เสียที อยู่ในน�้ำนานแล้ว บอกด้วยว่าอยู่ตรงบริเวณป่าชายเลนปากแม่น�้ำ คนท้องถิ่นก็ไปหากันอยู่ ๓ วันแต่ไม่เจอ ปรากฏว่าไปเจอเมื่อคุณอุทิศ พลกิจ ไปอาบน�้ำก่อนจะกลับบ้าน แล้วไปเหยียบหัวเรือโบราณที่โผล่ พ้นขึ้นมาจากเลนเข้า” ระหว่างไปเยือน “อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก” กามนิตเล่าว่าบริเวณนี้ เดิมคนท้องถิ่นเรียกว่า “บ้านเกาะเสม็ดงาม” อยู่ในเขตต�ำบลหนองบัว อ�ำเภอเมือง การค้นพบซากเรือเกิดขึ้นในปี ๒๕๒๓/ค.ศ. ๑๙๘๐ และมีผู้ มาแจ้งกรมศิลปากรช่วงปลายปี ๒๕๒๔/ค.ศ. ๑๙๘๑ จากนัน้ กลุม่ โบราณคดี ใต้นำ �้ (ปัจจุบันคือกองโบราณคดีใต้น�้ำ) กรมศิลปากร จึงเริ่มเข้ามาส�ำรวจ และท�ำการขุดค้นบริเวณดังกล่าว เอิบเปรมอธิบายเพิ่มเติมว่าการสร้างอู่เรือสมัยโบราณจะขุดดินริม ตลิ่งเข้าไปเป็นช่องจอดเรือ ทว่า
87 สุเจน กรรพฤทธิ์
ปั จ จุ บั น ประชาชนทั่ ว ไปที่ อ ยากเข้ า ชมพระราชวั ง หลวงของสมเด็ จ พระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องรอให้ถงึ วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี ทีท่ าง กองทัพเรือ เจ้าของพืน้ ที ่ เปิดโอกาสให้เข้าไปได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ ต้องท�ำหนังสือราชการขออนุญาตตามขั้นตอนจาก “มูลนิธิอนุรักษ์โบราณ สถานและพระราชวังเดิม” และต้องรอการอนุมัติให้เข้าชม ซึ่งใช้เวลา ค่อนข้างนาน ผมเดินปะปนเข้ามากับประชาชนจ� ำนวนมากในวันนั้น บริเวณ พระราชวังหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุร ี ปัจจุบนั เรียกกันว่า “พระราชวังเดิม” อยู่ในเขตกองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย “ฝั่งธนบุรี” โดย ทางกองทัพเรือได้กันพื้นที่ส่วนนี้เอาไว้ในฐานะเขตโบราณสถาน มีอาคาร ที่กองทัพเรือยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือตึกกองบัญชาการกองทัพเรือ และตึกกรมสารบรรณทหารเรือ ส่วนทีเ่ ป็นโบราณสถานจากยุคของสมเด็จพระเจ้าตากสินจริงๆ คือ ท้องพระโรง ที่สร้างขึ้นในปี ๒๓๑๑/ค.ศ. ๑๗๖๘ นอกนั้นเป็นอาคารที่คง สร้างในสมัยต้นกรุงเทพฯ ลงมา ได้แก่ ต�ำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ หัว และต�ำหนักเก๋งคู่
107 สุเจน กรรพฤทธิ์
จิตรกรรมสีฝุ่น
ในพระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฝีมือของนายอ่อน วาดเมื่อปี ๒๓๔๐ ตามพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี ตอนเสด็จฯ ตีค่ายโพธิ์สามต้น
สุเจน กรรพฤทธิ์
ค�ำนิยม : รศ.ดร. บรู๊ซ ล็อกฮาร์ต
(Associate Professor Bruce Lockhart) ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
9
coverThonburi.indd 184
๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด
งานสารคดีของ สุเจน กรรพฤทธิ์ เรื่องพระเจ้าตากสิน เตือนให้เรารู้ว่า “หลักฐานชั้นต้น” ที่บันทึกประวัติ ศาสตร์ มิได้อยู่แค่ในหอจดหมายเหตุ เอกสารเย็บ เล่ม มัดใบลาน พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมิได้มี แค่เรื่องการศึกและเหตุการณ์ต่างๆ แต่ยังมี “ห่วงโซ่ ของสถานที่และความทรงจ�ำ” อยู่ด้วย สุเจนใช้เวลาหลายเดือนค้นหา สถานที่และ ความทรงจ�ำเหล่านั้น ทั้งในและนอกประเทศไทย น�ำ มาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน เล่าเรื่องราวของพระเจ้าตากสิน และน�ำเราเข้าสู่ชีวิตของพระองค์อย่างลึกซึ้งและมีมิติ มากขึ้น
เรื่องของ “พระเจ้าตาก” ที่ไม่มีใน ประวัติศาสตร์ไทย
786164
650022
หมวดประวัติศาสตร์ ISBN 978-616-465-002-2 ราคา ๒๕๐ บาท
กรุงธนบุรผ ี งาด สุเจน กรรพฤทธิ์
๒๕๐.26/03/2018 18:26