คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในอยุธยา

Page 1

“คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา” หนังสือที่จะน�ำพาท่านทั้งหลายให้หวนร�ำลึกกลับ ไปสู่ห้วงเวลาแห่งอดีตอันรุ่งเรือง ผ่านงานศิลปกรรมที่ช่างและผู้สร้างพระราชวัง วัดวาอาราม ต่าง ๆ ได้รังสรรค์ความยิ่งใหญ่อลังการที่เปี่ยมไป ด้วยพลังศรั ทธา  กอปรด้วยประวัติความเป็นมา ลักษณะรูปแบบ อายุสมัย แนวคิด คติการสร้าง ที่แฝงไว้ ในงานศิลปกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ความ ส�ำคัญ คุณค่า ของแหล่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ผู้คนในสมัยอยุธยา”

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

คู่มือนำ�ชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา

รูจ้ กั ศิลปะอยุธยาผ่านการชมพระราชวังโบราณ วัดในและนอกเกาะเมืองอยุธยา ๔๕ วัด และ ๓ หมู่บ้านชาวต่างชาติ  ให้รายละเอียดข้อมูลรูปแบบงานศิลปะและ สถาปัตยกรรม พัฒนาการของศิลปะในแต่ละสมัย และเอกลักษณ์ของศิลปะอยุธยาในแต่ละยุค  คู ่ มื อ ส� ำ หรั บ เที่ ย วชมอยุ ธ ยาได้ ด ้ ว ยตนเอง อย่างเข้าใจ และส�ำหรับมัคคุเทศก์ ใช้เป็นคู่มือน�ำ ชมได้อย่างเหมาะสม

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๖๘๐ บาท ISBN 978-616-465-046-6

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

อยุธยา คู่มือน�ำชม  ศิลปกรรมโบราณใน

ศ  า  ส  ต  ร  า  จ  า  ร  ย์    ด  ร  .  ศั  ก  ดิ ์ ชั  ย   ส  า  ย  สิ  ง  ห์


วัดธรรมิกราช  เจดีย์ประธานมีชุดรองรับองค์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม  มีสิงห์ล้อมรอบฐานประทักษิณ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น


เจดีย์ประธานสามองค์ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง


สิงห์ประดับฐานเจดีย์ วัดแม่นางปลื้ม  พบว่าลวดลายแผงคอสิงห์มีทั้งงานในศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นและสมัยอยุธยาตอนปลาย

ลวดลายปูนปั้นประดับปรางค์ที่วัดส้ม หลักฐานส�ำคัญที่แสดงถึงลักษณะที่สืบทอด มาจากวัฒนธรรมเขมร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น


ประติมากรรมปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติที่เมรุมุม วัดไชยวัฒนาราม ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย


พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิ  พระประธานภายในวิหารวัดใหม่ประชุมพล ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย


พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลี ศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ  เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิที่มีขนาดใหญ่และงดงามมาก  ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย


จิตรกรรมภายในกรุชั้นที่ ๑ พระปรางค์วัดราชบูรณะ  ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุข  วัดใหม่ประชุมพล ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย

จิตรกรรมเรื่องพระพุทธโฆษาจารย์ ไปบูชารอยพระพุทธบาท  ภายในพระต�ำหนักพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์  ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย


อยุธยา คู่มือน�ำชม  ศิลปกรรมโบราณใน

ศ  า  ส  ต  ร  า  จ  า  ร  ย์    ด  ร  .  ศั  ก  ดิ ์ ชั  ย   ส  า  ย  สิ  ง  ห์

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

17


ISBN 978-616-465-046-6 หนังสือ คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา ผู้เขียน ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม ๒๕๖๔ จ�ำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคา ๖๘๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด  โทร. ๐ ๒๗๒๐ ๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุร ี ๒๒ ถนนนนทบุร ี (สนามบินน�้ำ)  ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗  ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา. - - นนทบุร ี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๔. ๕๐๔ หน้า. ๑. ศิลปกรรมไทย--ไทย--สมัยอยุธยา. ๒. ศิลปกรรมพุทธศาสนา. I. ชื่อเรื่อง ๒๙๔.๓๑๘๗ ISBN 978-616-465-046-6

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุร ี นนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑   ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช   ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์ จ�ำนงค์ ศรีนวล   ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ   บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์   ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

18

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ หากนึกถึงเมืองทีน่ กั ท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างประเทศนิยมไป เยือน ย่อมมีชื่อของอยุธยาในค�ำตอบของหลายท่าน  ในอดีต อยุธยาหรือ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในลุ่มน�้ำเจ้าพระยาที่มีความรุ่งเรืองยาวนานถึง ๔๑๗ ปี เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง การค้า และสัง่ สมงานศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ   ในปัจจุบัน อยุธยาคือหนึ่งในเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย เป็นจังหวัดที่ผู้คนนิยมเดินทางไปเที่ยวไหว้พระและชมวัดวต่าง ๆ ทั้งที่ เป็นโบราณสถานและที่ยังมีสถานะเป็นวัดของชุมชน วัดและโบราณสถาน เหล่านีเ้ ป็นมรดกจากอดีตทีส่ อื่ ถึงเอกลักษณ์ของงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา หากได้ ไปเทีย่ วชมด้วยความรูแ้ ละเข้าใจ จะยิง่ เสริมประสบการณ์การชมวัด ในอยุธยาให้สนุกและประทับใจมากขึ้น คูม่ อื น�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา ของศาสตราจารย์ ดร. ศักดิช์ ยั สายสิงห์ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่อาจารย์ตั้งใจเขียนเพื่อให้เป็นคู่มือที่ผู้อ่าน ใช้เที่ยวโบราณสถานในอยุธยาได้อย่างเข้าใจ  ด้วยลักษณะการเขียนของ อาจารย์ที่จะอธิบายรูปแบบศิลปะของเจดีย์หรืออาคารสถานต่าง ๆ โดย เชื่อมโยงให้เห็นว่าส่วนไหนมีพัฒนาการมาจากศิลปะแบบใด ส่วนไหนเป็น ลักษณะเฉพาะที่ช่างอยุธยาได้สร้างสรรค์รูปแบบใหม่ขึ้นจนเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงเจดีย์บางกลุ่มบางแบบยังอาจสามารถบอกให้รู้ว่าคนกลุ่มไหนเป็น ผู้สร้างเมื่อศึกษาร่วมกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา จึงมิได้บอกแต่เพียง ว่าเมื่อไปถึงวัดนี้จะพบเจดีย์รูปทรงใดเท่านั้น  แต่จะให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้อา่ น เข้าใจรูปแบบศิลปะของเจดีย์ วิหาร อุโบสถ เข้าใจลักษณะที่โดดเด่นของ งานศิลปะสมัยอยุธยาที่ปรากฏในแต่ละวัด เห็นความเชื่อมโยงจากศิลปะ สมัยอยุธยายุคต้น มาสู่ยุคกลางและยุคปลาย ผ่านวัดต่าง ๆ ๔๕ วัด รวม ถึงพระราชวังโบราณและหมู่บ้านชาวต่างชาติ ๓ แห่งในหนังสือเล่มนี้ กล่าวได้ว่าเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะช่วยให้เราเที่ยวชมวัดในอยุธยา อย่างรู้และเข้าใจยิ่งขึ้น

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ตุลาคม ๒๕๖๔ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

19


ก่อนน�ำชม...จากผู้เขียน พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีอันยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรสยาม อย่างยาวนานรวม ๔๑๗ ปี เป็นทัง้ ศูนย์กลางการปกครองศูนย์กลางการค้า ระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีนานาชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขาย เจริญ สัมพันธไมตรี และส่วนหนึ่งได้ตั้งรกรากอยู่ก็มี ในช่วงเวลาอันยาวนาน นั้น  กรุงศรีอยุธยาผ่านความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสู่ความเสื่อม ล่มสลาย ลง และถูกทิ้งร้างไปในที่สุด เหลือแต่เพียงซากความเจริญรุ่งเรืองแห่ง อดีตไว้ ให้แก่รุ่นเราท่านทั้งหลายได้พิจารณาถึงความเป็นมาในอดีตนั้น ผ่านร่องรอยของอารยธรรมเป็นเครื่องเตือนใจซากปรักหักพังของบ้าน เมือง ก�ำแพงเมือง พระราชวัง และวัดวาอารามต่าง ๆ กลายเป็นโบราณ สถานที่อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร เพื่อรักษาคุณค่าและความส�ำคัญ นั้นไว้จนได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลก” ในฐานะนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ค�ำถามจึงย้อนกลับมายังเราท่านทัง้ หลายว่า ซากปรักหักพังทีบ่ รรพชนท่านได้ร่วมกันสร้างไว้นั้น พวกเราได้ท�ำความเข้าใจต่อหลักฐานทาง โบราณคดีและงานศิลปกรรม เห็นถึงคุณค่าในมรดกวัฒนธรรมเหล่านี ้ รวม ทั้งได้มีส่วนช่วยท�ำนุบ�ำรุง ดูแลรักษามากน้อยเพียงใด หนังสือ คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา จึงเปรียบเสมือน “สื่อ” ที่จะน�ำพาท่านทั้งหลายให้หวนร�ำลึกกลับไปสู่ห้วงเวลาแห่งอดีต อันรุ่งเรือง ผ่านงานศิลปกรรมที่ช่างและผู้สร้างพระราชวัง วัดวาอาราม ต่าง ๆ ได้รังสรรค์ความยิ่งใหญ่อลังการที่เปี่ยมไปด้วยพลังศรัทธา  กอปร ด้วยประวัติความเป็นมา ลักษณะรูปแบบ อายุสมัยแนวคิด คติการสร้าง ที่แฝงไว้ในงานศิลปกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ความส�ำคัญ คุณค่า ของแหล่ง ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ผู้คนในสมัยอยุธยา  ด้วยปรารถนาอันยิ่งใหญ่ให้เราท่านทั้งหลายเกิดความรู้ความเข้าใจ ในประวัตศิ าสตร์ชาติ ความส�ำคัญของมรดกวัฒนธรรม การเกิดความเจริญ รุง่ เรืองและการล่มสลายของอารยธรรมหนึง่  ล้วนเป็นธรรมชาติทเี่ กิดขึน้ ทุก ยุคสมัย เหลือไว้เพียงซากแห่งอดีตเป็นเครื่องเตือนใจให้เราท่านทั้งหลาย ได้เรียนรู้ ตระหนักในคุณค่าและมูลค่ามรดกวัฒนธรรมนั้น  อย่างน้อย เพียงการได้เรียนรู้ ได้เข้าถึง ก็จะก่อเกิดความภาคภูมิ ใจในความเป็นมา ของบ้านเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตได้  เมื่อเข้าใจเราก็จะช่วย กันปกปักรักษา อนุรักษ์ ไว้ ให้คงอยู่  ไม่เพียงแต่ความเป็นซากโบราณ 20

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


สถาน แต่ ให้มองย้อนลึกไปถึงบรรพบุรุษผู้สร้าง เพื่อการสืบสานและส่ง ต่อไปยังอนาคตของลูกหลานเราสืบไป ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา  เมธีวิจัยอาวุโส สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ

ค�ำขอบคุณ ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ผู้ศึกษา ค้นคว้าวิจัย ประวัติศาสตร์ศิลปะสมัยอยุธยาไว้มากที่สุด และได้ถ่ายทอด ความรู้เรื่องศิลปะสมัยอยุธยาให้กับผู้เขียน ได้เอื้อเฟื้อภาพสามมิติรูปทรง สันนิษ ฐานพระที่นั่งต่าง ๆ ในพระราชวังโบราณอยุธยา รวมทั้งลายเส้น เจดีย ์ เพื่อใช้ประกอบในหนังสือเล่มนี้ ขอขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนและอ�ำนวยความสะดวก ในงานค้นคว้าในครั้งนี้ ประกอบด้วย อธิบดีกรมศิลปากร (นายประทีป เพ็งตะโก)  รองอธิบดี กรมศิลปากร (นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี)  ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักศิลปากรที่ ๓ ผู้อ�ำนวยการ อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา  รวมทั้งนักโบราณคดี ที่ได้ ให้ ข้อมูลแผนผังพระราชวังและวัดต่าง ๆ รวมทั้งอ�ำนวยความสะดวกในการ เข้าถึงข้อมูล อาจารย์ ดร. กวิฏ ตัง้ จรัสวงศ์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ คณะโบราณคดี เอื้อเฟื้อภาพประกอบ ขอบคุณผูม้ สี วนร่วมในการสืบค้น ตรวจแก้ขอ้ ผิดพลาดต้นฉบับ ได้แก่ คุ ณ ณรั ณ ฐ์   อั ค รนิ ธิ พิ ร กุ ล  นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาเอก และคุ ณ สร้ อ ยสรวง แสนสุรศิลป์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ขอบคุณ คุณอภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ บรรณาธิการเล่ม ที่ช่วยตรวจ สอบแก้ ไขและน�ำเสนอรูปเล่มหนังสือ ท้ายทีส่ ดุ ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ทีเ่ ล็งเห็นคุณค่า ความ ส�ำคัญของหนังสือ และได้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ในครั้งนี้ ด้วยความขอบคุณ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

21


สารบัญ ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ๑๙ ก่อนน�ำชม...จากผู้เขียน ๒๐ บทที ๑  ่ ศิลปกรรมสมัยอยุธยา ๒๕ สรุปรูปแบบเจดีย์ในศิลปะอยุธยา ๖๙ สรุปรูปแบบพระพุทธรูปในศิลปะอยุธยา ๗๗ สังเขปประวัติศาสตร์อยุธยาในแต่ละรัชสมัยที่ ๘๑ สัมพันธ์กับการสร้างงานศิลปกรรม บทที ๒  ่ ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา ๙๕ ชมพระราชวังโบราณ ๑๐๐ บทที ่ ๓ ชมศิลปกรรมโบราณในเกาะเมืองอยุธยา ๑๓๐ วัดส�ำคัญสมัยอยุธยาตอนต้นในเกาะเมืองอยุธยา ๑๓๒ วัดมหาธาตุ  ๑๓๒ วัดพระราม ๑๕๑ วัดราชบูรณะ ๑๖๓ กลุ่มวัดที่มีเจดีย์ทรงปรางค์ ในสมัยอยุธยาตอนต้น ๑๘๖ วัดส้ม ๑๘๖ วัดลังกา ๑๙๒ วัดนก ๑๙๕ วัดโลกยสุธา ๑๙๘ กลุ่มวัดที่มีเจดีย์ทรงระฆังซึ่งมีชุดฐานในผังแปดเหลี่ยม  ๒๐๔ สายสุพรรณภูมิ วัดขุนเมืองใจ ๒๐๔ วัดธรรมิกราช ๒๐๗ วัดในเกาะเมืองที่มีเจดีย์ทรงระฆังซึ่งมีชุดฐานแปดเหลี่ยม ๒๑๖ เป็นประธาน วัดหลังคาขาว ๒๑๘ วัดหลังคาด�ำ ๒๑๘ 22

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


วัดสุวรรณาวาส ๒๑๗ กลุ่มวัดขนาดกลางสมัยอยุธยาตอนต้นในเขตบึงพระราม ๒๒๑ และบริเวณใกล้เคียง วัดโพง ๒๒๑ วัดสังขปัด ๒๒๔ วัดสังขแท้ ๒๒๖ วัดส�ำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางในเกาะเมืองอยุธยา ๒๓๐ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ๒๓๐ พระมงคลบพิตร ๒๕๑ วัดส�ำคัญสมัยอยุธยาตอนกลางที่มีงานศิลปกรรมรูปแบบใหม่ ๒๕๔ และมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ วัดวรเชษฐาราม ๒๕๔ วัดสมัยอยุธยาตอนกลางที่ใช้เจดีย์เพิ่มมุมเป็นประธาน ๒๖๐ วัดสบสวรรค์และเจดีย์ศรีสุริโยทัย ๒๖๐ วัดญาณเสน ๒๖๔ วัดส�ำคัญสมัยอยุธยาตอนปลายในเกาะเมืองอยุธยา ๒๖๗ วัดบรมพุทธาราม ๒๖๗ บทที ่ ๔ ชมศิลปกรรมโบราณนอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันออก ๒๘๔ เจดีย์ที่แสดงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนจากสุพรรณบุร  ๒๘ ี ๖ และสรรคบุรี (สายสุพรรณภูมิ) วัดอโยธยาหรือวัดเดิม ๒๘๗ วัดใหญ่ชัยมงคล ๒๙๓ ๓๐๒ วัดสามปลื้ม กลุ่มวัดที่มีเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยที่สัมพันธ์สาย ๓๐๔ ราชวงศ์สุโขทัย วัดมเหยงคณ์ ๓๐๕ วัดกุฎีดาว ๓๑๖ วัดสมณโกฏฐาราม ๓๒๕ วัดช้าง ๓๓๑ วัดสีกาสมุด ๓๓๕ วัดสมัยอยุธยาตอนปลายในเขตอ�ำเภอนครหลวง ปราสาทนครหลวง ๓๓๘ วัดใหม่ประชุมพล ๓๔๒ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

23


บทที ่ ๕ ชมศิลปกรรมโบราณวัดนอกเกาะเมืองด้านทิศใต้  วัดพุทไธศวรรย์ วัดพนัญเชิง วัดบางกะจะและวัดนางกุย : เจดีย์ล้านนาในอยุธยา กับข้อสันนิษฐานเรื่องชุมชนชาวล้านนาในอยุธยา วัดบางกะจะ วัดนางกุย

๓๕๒ ๓๕๕ ๓๗๒ ๓๗๖ ๓๗๖ ๓๗๙

บทที่ ๖ ชมศิลปกรรมโบราณวัดนอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก ๓๘๒ วัดวรเชษฐ์ (วรเชตุเทพบ�ำรุง) ๓๘๔ วัดไชยวัฒนาราม ๓๙๓ บทที่ ๗ ชมศิลปกรรมโบราณวัดนอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ วัดหน้าพระเมรุ วัดเชิงท่า วัดแม่นางปลื้ม วัดสามวิหาร วัดแค (ร้าง) วัดภูเขาทอง วัดพระยาแมน วัดโคกพระยา

๔๑๔ ๔๑๗ ๔๒๕ ๔๓๖ ๔๔๑ ๔๔๖ ๔๕๑ ๔๖๑ ๔๖๔

บทที่ ๘ ชมหมู่บ้านชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา หมู่บ้านโปรตุเกส หมู่บ้านฮอลันดา หมู่บ้านญี่ปุ่น

๔๗๒ ๔๘๐ ๔๘๔ ๔๘๗

บรรณานุกรม

๔๙๓

24

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


ศิลปกรรมสมัยอยุธยา

(ปลายพุทธศตวรรษที่  ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่  ๒๔)

อาณาจักรอยุธยาเกิดขึ้นภายหลังการล่มสลายของอาณาจักร กัมพูชา  ตามข้อสันนิษฐานจากหลักฐานทางศิลปกรรมเชื่อว่า ลพบุรี หรือละโว้น่าจะกลายเป็นศูนย์กลางของกลุ่มคนภาคกลางอยู่ช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการย้ายราชธานี โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๑๘๙๓  เมื่อ อาณาจักรอยุธยามีอ�ำนาจมากขึ้นจึงไปตีอาณาจักรกัมพูชาได้ส�ำเร็จ ต่อมาสามารถผนวกอาณาจักรสุโขทัยไว้ ในอ�ำนาจ และค่อย ๆ ขยาย อ�ำนาจและอาณาเขตไปจนเกือบทุกภูมภิ าคของประเทศไทย เช่น ภาค อีสาน ภาคใต้ และบางช่วงเวลายังได้ปกครองดินแดนในภาคเหนือ จวบจนกระทัง่  พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกท�ำลายโดยกองทัพพม่า และสิ้นสุดความเป็นราชธานี นับเป็นราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนาน ถึง ๔๑๗ ปี ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางซึ่งตั้งอยู่ในภาคกลางอัน เป็นแอ่งวัฒนธรรมทีส่ �ำคัญ รวมทัง้ สามารถผนวกดินแดนต่าง ๆ ไว้ใน อ�ำนาจได้ ท�ำให้ราชธานีแห่งนี้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายของงาน ศิลปกรรม โดยอยู่บนพื้นฐานของสองสายวัฒนธรรมหลัก ได้แก่ (๑) วัฒนธรรมเขมรและลพบุรีในภูมิภาคตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา และ (๒) สายวัฒนธรรมสุโขทัยและล้านนา ซึ่งปรากฏหลักฐานอยู่ใน ภูมิภาคตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยาคือสุพรรณบุรีและสรรคบุรี  ดัง ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

25


นัน้ งานศิลปกรรมในยุคแรกเริม่ ของอยุธยาจึงพัฒนามาจากวัฒนธรรม เขมร เช่น เจดียท์ รงปรางค์ซงึ่ พัฒนามาจากปราสาทเขมร พระพุทธรูป แบบอูท่ อง ทีพ่ ฒ ั นามาจากพระพุทธรูปในสมัยนครวัดและบายนซึง่ เกิด ขึ้นมาก่อนแล้วตั้งแต่สมัยลพบุรีที่เมืองลพบุร๑ี   และรูปแบบเจดีย์ทรง ปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุแปดเหลี่ยมพบอยู่ ในแถบเมืองสรรคบุรี สุพรรณบุรี ที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนา รวมทั้งเจดีย์ทรงระฆังและพระ พุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย เป็นต้น ศิลปะอยุธยาแบ่งออกเป็น ๓ สมัย๒ โดยใช้พัฒนาการทางด้าน ศิลปกรรมเป็นหลักในการแบ่ง เช่น สมัยอยุธยาตอนต้นมีแหล่งบันดาล ใจมาจากศิลปะเขมร ได้แก่การสร้างเจดีย์ทรงปรางค์เป็นหลัก  สมัย อยุธยาตอนกลางมีแหล่งบันดาลใจมาจากสุโขทัย เช่น การสร้างเจดีย์ ทรงระฆังและพระพุทธรูปแบบสุโขทัย และมีงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้น ใหม่ที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น เจดีย์เพิ่มมุม พระพุทธรูปทรงเครื่อง น้อย เป็นต้น และในสมัยอยุธยาตอนปลายนิยมสร้างเจดียท์ มี่ ลี กั ษณะ เฉพาะของตัวเอง เช่น เจดีย์ทรงเครื่อง พระพุทธรูปทรงเครื่องอย่าง ใหญ่ เป็นต้น ๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงปลายพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐) ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้า อู่ทอง) ถึงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๓๑) ๒. สมัยอยุธยาตอนกลาง (ต้นพุทธศตวรรษที ๒ ่ ๑ ถึงกลางพุทธ ศตวรรษที่ ๒๒) ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ถึง สมเด็จพระเจ้าอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. ๒๐๓๑-๒๑๗๒) ๓. สมัยอยุธยาตอนปลาย (ปลายพุทธศตวรรษที ๒๒  ่ ถึงต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๒๔) ระหว่างรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนสิ้นสุด อาณาจักรอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๓๑๐)

26

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


สถาปัตยกรรม สมัยอยุธยาตอนต้น  (ปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๙ ถึงปลายพุทธศตวรรษที ่ ๒๐)

สมัยอยุธยาพบว่าเป็นยุคที่มีการสร้างเจดีย์หลากหลายรูปแบบ มากที่สุด โดยแต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงแหล่งอารยธรรมอันเป็น ที่มาของเจดีย์ และส่วนหนึ่งอยุธยาได้พัฒนาผสมผสานจนเกิดเป็น รูปแบบใหม่ เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงปราสาทยอด เจดีย์ทรง ระฆังที่มีชุดฐานและส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นแปดเหลี่ยม เป็นต้น

เจดีย์ประธานและระบบแผนผัง

วัดในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มพี นื้ ทีข่ นาดใหญ่มาก มีระบบ ของแผนผังที่ใช้เป็นข้อก�ำหนดได้ว่าเป็นแผนผังของวัดในสมัยอยุธยา ตอนต้น ได้แก่  เจดีย์ หมายเลข ๘

ปรางค์ประธาน ฐานไพที วิหารราย

เจดีย์บริวาร ล้อมฐานไพที

เจดีย์ประจ�ำมุม บนฐานไพที

ทิศเหนือ

เจดีย์ราย วิหารหลวง

วิหารราย

ระเบียงคด

พระอุโบสถ

เจดีย์ประจ�ำมุม ในระเบียงคด

แผนผังวัดในสมัยอยุธยาตอนต้น วัดมหาธาตุ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

27


ชมพระราชวังโบราณ วัดเชิงท่า

แนวก�ำแพงพระราชวัง

เขตพระราชวัง

แม่นํ้าลพบุรี

ถนนป่าตะกั่ว

สระ หนองหวาย สระโอ

แนวก�ำแพง พระราชวัง ถนนเจ้าพรหม (หน้าพรหม)

สระแก้ว

คลองท่อ

วัดธรรมิกราช

สระระฆัง

แนวก�ำแพง พระราชวัง

วัดพระมงคลบพิตร

วิหารแกลบ

ถนนมหารัถยา (ถนนป่าตอง)

วัดพระศรีสรรเพชญ์

บริเวณสร้าง พระเมรุกลางเมือง แผนผังแสดงพระราชวังกรุงศรีอยุธยา

100

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

บึง พระราม

วัดพระราม


พระราชวังโบราณ

พระราชวังโบราณตัง้ อยูบ่ ริเวณใจกลางเมืองค่อนไปทางทิศเหนือ ติดแม่น�้ำลพบุรี รวมวัดพระศรีสรรเพชญ์และทุ่งพระเมรุหรือท้อง สนามหลวง  พระราชวังมีประวัติการสร้างและการปรับปรุงหลายยุค สมัย ปรากฏหลักฐานการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพครั้งใหญ่ราว ๓ ครั้ง๑  คือ  ครัง้ ที ๑  ่ การสถาปนาพระราชวังในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ใน พระราชพงศาวดาร ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ) และ พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ และโปรดให้สร้าง พระทีน่ งั่  ๓ องค์ ได้แก่ พระทีน่ งั่ ไพรทูนมหาปราสาท พระทีน่ งั่ ไพรชล มหาปราสาท และพระที่นั่งไอสวันมหาปราสาท๒  ส่วนใน ค�ำให้การ  ของชาวกรุงเก่า กล่าวว่า สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีท ี่ ๑ มีการก่อสร้าง พระราชวังชั้นใน มีต�ำหนักน้อยใหญ่ คลังเงิน คลังทอง  ด้านนอกมี โรงช้าง โรงม้า สวนราชอุทยาน ขุดสระ ขุดบ่อ และให้สร้างถนนและ เส้นทางหลายสาย คนเดินไปมาบรรจบถึงกันได้๓ ขอบเขตของพระราชวังในระยะแรกอยูบ่ ริเวณต�ำแหน่งพระราชวัง หลวงโดยรวมก�ำแพงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ดังพบหลักฐานคือ แนว ก�ำแพงรอบพระราชวังหลวงซึง่ ยังคงเหลือทีเ่ ป็นก�ำแพงวัดพระศรีสรรเพชญ์  เป็นก�ำแพงก่อด้วยอิฐ ก�ำแพงหนา ๑.๕๐ เมตร บนสันก�ำแพง

แผนผังสันนิษฐาน แสดงอาคาร ในพระราชวัง กรุงศรีอยุธยา  ระยะที่ ๑

สระโอ ถนนเจ้าพรหม (หน้าพรหม)

สระแก้ว สระระฆัง วัดพระศรีสรรเพชญ์

บึง พระราม

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

101


ทุงขวัญ

ชมศิลปกรรมโบราณ ในเกาะเมืองอยุธยา แม

น้ำเ

อูเรือหลวง

คลอ งมห จา พ านา ระย ค าให ม ( คล องเ กา )

วัดธรรมมิกราช•

วัดวรเชษฐาราม

คลองฝาง

พระราชวัง

วัดพระศรีสรรเพชญ์ • วัดมงคลบพิตร

วัดโลกยสุทธา

ทุงประเชด

วัดพระราม •

คลองฉางมหาไชย

ถ. คลองทอ ถ. คลองทอ

ถ. ศรีสรรเพชญ

• เจดีย์ศรีสุริโยทัย วังหลัง

วัดบรมพุทธาราม • คลองปามอ

ทุงปากกราน

130

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

ะ ูจาม (ป คลองค

ถ. อูทอง

• วัดส้ม

คลองฉะไกรนอย

วัดสังขแท้

คลองทอ

คลองแกลบ

บ คลองแกล


วังหนา

ลพ แมน ้ำ

วัดญาณเสน

คลองมหาไชย

วัดสุวรรณาวาส

วัดราชบูรณะ

ถ. หอรัตนไชย

ถ. เลียบคลองมะขามเรีเรียง)ยง คลองในไก (คลองมะขาม

•วัดหลังคาขาว วั•ดมหาธาตุ วัดหลังคาด�ำ• วัดนก วัดสังขปัด • • วัดโพง •

คลองประตูขาวเปลือก

ถ. นเรศวร

ถ. ปาเจียน

ถ. ปาโทน คลองประตูใน

คลองประตูเทพหมี

ขอื่ หนา (แมน้ำปา สกั ใหม)

คลองน้ำเชี่ยว

า บรุ เี ก

วัดขุนเมืองใจ

วัดพนั• ญเชิง

ลู

คลองสวนพ

บานฮอลันดา

ะจาม) ูจาม (ป คลองค

บานโปรตุเกส บานอังกฤษ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

131


วัดส�ำคัญสมัยอยุธยาตอนต้นในเกาะเมืองอยุธยา วัดมหาธาตุ

ที่ตั้ง ใกล้วัดราชบูรณะ ถนนชีกุน

ประวัติการสร้างวัดมหาธาตุปรากฏในพระราชพงศาวดารเกือบ  ทุกฉบับกล่าวว่าวัดนี้สถาปนาขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชา-  ธิราชที ่ ๑ (ขุนหลวงพะงัว่ ) เมือ่  พ.ศ. ๑๙๑๗๑  ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวโดยละเอียดว่า เมื่อครั้งสมเด็จ  พระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๑๗ “เสด็จ ออกทรงศีลยังพระที่นั่งมังคลาภิเษก เพลา ๑๐ ทุ่ม ทอดพระเนตรไป โดยฝ่ายทิศบูรพ์ เห็นพระสารีริกบรมธาตุเสด็จปาฏิหาริย์ เรียกปลัด วังให้เอาพระราชยานทรงเสด็จออกไป ให้เอากรุยปักขึ้นไว้ สถาปนา มหาธาตุนั้น สูง ๑๙ วา ยอดสูง ๓ วา ให้ชื่อว่า มหาธาตุ แล้วให้ท�ำ พระราชพิธีประเวศพระนครและเฉลิมพระราชมณเฑียร” ๒

132

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

วัดมหาธาตุ


วัดมหาธาตุ  รูปถ่ายเก่าสมัย รัชกาลที่ ๕  (ที่มา : ส�ำนัก หอจดหมายเหตุ แห่งชาติ)

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พงศาวดารบันทึกเหตุการณ์  ส�ำคัญคือ พระปรางค์มหาธาตุได้พังทลายลงมาจนถึงชั้นครุฑพื้น  อัษ ฎางค์๓ จนมาถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงได้มีการ  บูรณปฏิสังขรณ์ โดยในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า ใน พ.ศ. ๒๑๗๖  พระองค์ โปรดให้บูรณะยอดมหาธาตุที่พังทลายลงมา โดยให้มีความ  สูงกว่าเดิม “เดิมองค์เก่า สูง ๑๙ วา (ราว ๓๘ เมตร) ยอดนภศูล ๓ วา ทรงเก่าล�่ำนัก ก่อใหม่ให้สูง ๑ เส้น ๒ วา (ราว ๔๔ เมตร) ยอด นภศูลคงไว้ เข้ากันเป็น ๑ เส้น ๕ วา ก่อแล้วเห็นเพียวอยู่ ให้เอาไม้ มะค่ามาแทรกตามอิฐ เอาปูนบวก ๙ เดือนส�ำเร็จกระท�ำการฉลอง เป็นอันมาก” ๔ ปรางค์วัดมหาธาตุนี้ปรากฏอยู่ ในภาพถ่ายเก่าสมัย รัชกาลที ่ ๕ จนกระทัง่ ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ มีบนั ทึกเอกสารในหอจดหมาย  เหตุแห่งชาติเรื่อง “พระปรางค์วัดมหาธาตุกรุงเก่าหักพัง”๕  ปรางค์  ประธานวัดมหาธาตุได้พังทลายลงอีกครั้งหนึ่งจนเหลือสภาพดังที่  ปรากฏในปัจจุบัน คือเหลือเฉพาะส่วนฐานปรางค์

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

133


กลุม่ วัดทีม่ เี จดียท์ รงปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้น

วัดในกลุ่มนี้เป็นวัดที่มีขนาดเล็กหรือไม่มีกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารมากนัก เพราะไม่มีประวัติการสร้างที่ชัดเจน  บางวัดอาจ สันนิษฐานเรื่องชื่อเรียกในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีประวัติความเป็นมา แต่มีงานศิลปกรรมที่สำ� คัญน่าชมอย่างยิ่ง

วัดส้ม

ที่ตั้ง ถนนคลองท่อ

วัดส้มเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ในเกาะเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ ริมคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) ไม่พบประวัติการก่อสร้าง ส่วนชื่อวัด เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกในภายหลังเพราะไม่ปรากฏในสารบบของชื่อ วัดในท�ำเนียบกรุงเก่า  มีการสันนิษ ฐานว่าวัดนี้อาจจะตรงกับชื่อ “วัดกุฎีฉลัก” ตามการอธิบายเรื่องแผนที่โบราณของพระยาโบราณ-

วัดส้ม

สวนสมเด็จ อู่ทอง ๔

ทิศเหนือ

ถนนคลองท่อ

คลองท่อ

เจดีย์บริวาร วิหารหลวง

ปรางค์ประธาน

ผังวัดส้ม

186

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


ราชธานินทร์ ซึ่งกล่าวถึงย่านวัดส้มว่าเป็นบริเวณคลองประตูปากท่อ มาออกประตูฉะไกรใหญ่ มีสะพานไม้ตรงถนนวัดขวิดข้ามไปวัดกุฎีฉลัก จึงมีผู้สันนิษฐานว่าวัดส้มที่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าวและตรงข้ามกับ วัดขวิดอาจหมายถึงวัดกุฎีฉลัก และสอดคล้องกับการที่ปรางค์วัดส้ม มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามพ้องกับชื่อวัด๖๐ วัดส้มมีเจดียท์ รงปรางค์เป็นประธานของวัด มีเจดียบ์ ริวารทีเ่ ป็น เจดียท์ รงระฆังฐานแปดเหลีย่ มล้อมรอบทัง้ แปดทิศ จากการขุดค้นและ ขุดแต่งทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรพบว่า รากฐานเดิมของเจดีย์ ทั้งหมดถูกพอกและลึกลงไปในดินประมาณ ๑.๕๐ เมตร โดยเจดีย์ แต่ละองค์ ทั้งปรางค์ประธานและเจดีย์บริวาร มีฐานเดิมปรากฏอยู่ ส่วนที่เห็นในปัจจุบันเป็นส่วนที่พอกทับและปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบาง องค์  ส�ำหรับปรางค์ประธานมีฐานเดิมเป็นฐานบัวลูกฟักอีก ๑ ฐาน ส่วนเจดีย์บริวารเป็นฐานแบบแปดเหลี่ยม๖๑

ปรางค์ประธาน

โดยรูปแบบของปรางค์และลวดลายจัดเป็นงานศิลปะในสมัย อยุธยาตอนต้นอย่างแท้จริง ประกอบด้วย ส่วนฐาน  เป็นฐานบัวลูกฟัก ๓ ชั้นในผังเพิ่มมุม มีมุมประธาน

(ซ้าย) ปรางค์ ประธานวัดส้ม (ขวา) ส่วนฐาน ปรางค์ประธาน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

187


ขนาดใหญ่กว่ามุมขนาบ ฐานบัวลูกฟักยังมีขนาดใหญ่และลูกฟักเต็ม ท้องไม้ใกล้เคียงกับปราสาทเขมร ส่วนเรือนธาตุ  ใช้ระบบเพิม่ มุม มีมมุ ประธานขนาดใหญ่และมุม ขนาบเล็กกว่า ผนังของเรือนตั้งฉากกับแนวระนาบแบบปราสาทเขมร ต่างจากเรือนธาตุในรุ่นหลังที่ผนังจะสอบเข้า แต่ปรางค์มีขนาดเล็ก จึงไม่มีตรีมุขด้านหน้า ส่วนผนังด้านบนประดับลายเฟื่องอุบะ ผนัง ด้านล่างประดับลายกรวยเชิงและยังคงเป็นลายประดิษฐ์แบบเขมร ส่วนยอด  คือส่วนเรือนชั้นซ้อน เป็นส่วนส�ำคัญที่กำ� หนดว่าเป็น งานที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น คือ รูปทรงปรางค์ยังคงเป็นพุ่ม เตีย้  ๆ มีระบบของเรือนชัน้ ซ้อนแบบปราสาทเขมร ในแต่ละชัน้ ยังแสดง แนวความคิดของการท�ำเรือนชั้นซ้อน คือมีการเจาะช่องประตู มีเสา และคานทีเ่ รียกว่าระบบ “เสาตัง้ คานทับ” ส่วนของประตูเรียกว่า “ช่อง วิมาน” มีซุ้มประตูเรียกว่า “ซุ้มวิมาน” ด้านหน้าประตูมีบรรพแถลง มาปิด ส่วนหนึ่งมาจากบรรพแถลงซึ่งประดิษ ฐานเทพประจ�ำทิศใน ปราสาทเขมร  ทุกมุมของแต่ละชั้นประดับกลีบขนุนปรางค์ที่พัฒนา มาจากนาคปักของเขมรซึ่งยังปักห่างจากผนังเรือนอย่างมาก และ ประดับลวดลายทัง้ หมด แตกต่างจากปราสาทเขมรทีป่ ระดับประติมากรรมทุกมุมและทุกชั้น  ั นาการทางด้านรูปแบบและลักษณะลวดลาย ปรางค์วดั จากวิวฒ ส้มน่าจะจัดเป็นปรางค์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในศิลปะอยุธยาเท่าที่เหลือ

188

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

ส่วนยอดหรือ เรือนซ้อนชั้น

(ซ้าย) ลายปูนปั้น ที่ซุ้มวิมานของ ส่วนยอด (ขวา) หน้ากาล ประดับที่ซุ้มวิมาน ของส่วนยอด


หลักฐานให้ศึกษารูปแบบได้ โดยเฉพาะระเบียบของเรือนชั้นซ้อนที่ยัง คงชัดเจนมาก  ยอดปรางค์ยังป้อม ๆ เตี้ย  ๆ มีเสาตั้งคานทับ ที่เสา แต่ละต้นแต่ละชั้นประดับลวดลาย กลีบขนุนแต่ละชั้นยังตั้งห่างมาก ลักษณะดังกล่าวใกล้เคียงกับปรางค์หมายเลข ๑๖ ค. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี ซึง่ จัดอยู่ในสมัยลพบุรี  ทีส่ ำ� คัญคือ ยังมีการท�ำ ทับหลังที่ประดับลวดลายอยู ่ ซึ่งการท�ำลวดลายที่ทับหลังนี้ปรากฏใน ปราสาทเขมร แต่ไม่พบในปรางค์สมัยอยุธยาเลย๖๒

ลวดลายประดับปรางค์

ลวดลายประดับปรางค์ที่วัดส้มเป็นตัวอย่างที่ดีมากที่สุดของ งานสมัยอยุธยาตอนต้นที่เหลือหลักฐานอยู่ ประกอบด้วยแม่ลาย หลัก ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากวัฒนธรรมเขมรและศิลปะลพบุรี เช่น ลาย กรวยเชิง เฟือ่ งอุบะ ลายกลีบบัว ลายดอกซีกดอกซ้อน ลายประจ�ำยาม ก้ามปูที่อยู่ในระเบียบของชุดลายดอกกลมสลับสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน นอกจากนี้มีประติมากรรมพิเศษ เช่น รูปหน้ากาล เทพนม เป็นต้น หลักฐานส�ำคัญทีแ่ สดงถึงลักษณะทีส่ บื ทอดมาจากวัฒนธรรมเขมร คือ มีร่องรอยของการประดับทับหลังเหนือกรอบซุ้มด้านทิศเหนือ  แสดง

ทับหลัง  ปรางค์ประธานวัดส้ม ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

189


ทิศเหนือ

วัดอโยธยา หน้า ๒๘๗ วัดประดู่ทรงธรรม •

• วัดกุฎีดาว

วัดสีกาสมุ•ด หน้า ๓๓๕

หน้า ๓๑๖ วัดมเหยงคณ์ หน้า ๓๐๕ • วัดช้าง หน้า ๓๓๑• วัดสมณโกฏฐาราม • หน้า ๓๒๕ ยธยา าลเมอื งอโ ถ. เทศบ

ชมศิลปกรรม โบราณวัด นอกเกาะเมือง ด้านทิศ ตะวันออก สถานีรถไฟ • ถ. อูทอง

ุธยา

เขาเกาะเมืองอย

วงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ๓๐๙ หน้า ๓๐๒

๓๔๗๗

วัดใหญ่ชัยมงคล

• หน้า ๒๙๓ •

284

วัดพนัญเชิง คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


วัดนอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันออก

ในเขตนอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศตะวันออกนับเป็นชัยภูมิที่ ส�ำคัญของพระนครศรีอยุธยาเพราะอยู่ติดแม่น�้ำเจ้าพระยา  พบว่ามี วัดขนาดใหญ่ตั้งอยู่เรียงราย หลายวัดมีประวัติการก่อสร้างและการ บูรณปฏิสังขรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์  มีข้อสันนิษฐานเดิม ที่เชื่อว่าบริเวณนี้มีชุมชนตั้งถิ่นฐานมาแล้วก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเรียกว่า “อโยธยา” และมีวัดหนึ่งชื่อว่า วัดอโยธยา (วัดเดิม) อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางศิลปกรรมพบว่าวัดในพื้นที่นี้ ส่ว นใหญ่มี อายุเก่าสุดอยู่ ในสมัยอยุธยาตอนต้นทั้งสิ้น  และเมื่อ พิจารณาจากหลักฐานเอกสารและพงศาวดารที่กล่าวถึงชื่อเดิมของ พระนครศรีอยุธยาว่า “อโยธยา” อันเป็นชื่อเมืองของพระรามใน รามายณะ  พบว่าชื่อนี้ถูกใช้มาจนถึงการเสียกรุงครั้งที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๑๑๒ หลังจากนั้นเอกสารได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นพระนครศรีอยุธยา แทน  อาจเป็นการแก้เคล็ดของบ้านเมือง ดังนั้นอโยธยาจึงไม่ ใช่ชื่อ ก่อนการตัง้ กรุงศรีอยุธยา แต่เป็นชือ่ ราชธานีกอ่ นการเสียกรุงครัง้ ที่ ๑๑ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดและงานศิลปกรรมที่พบในเขต นี้ว่า นอกจากเป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ แล้ว พบว่ามีงานศิลปกรรม ๒ รูปแบบหลักคือ กลุ่มหนึ่งใช้เจดีย์ทรง ระฆังที่มีชุดฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆัง  ซึ่งเป็นที่นิยมใน สมัยอยุธยาตอนต้น มีพัฒนาการมาจากกลุ่มเจดีย์เมืองสรรคบุรีและ สุพรรณบุร ี ได้แก่ วัดอโยธยา วัดสามปลื้ม วัดใหญ่ชัยมงคล  อีกกลุ่ม หนึ่งใช้เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยหรืออิทธิพลสุโขทัย เป็นประธาน เช่น วัดมเหยงคณ์ วัดช้าง วัดสีกาสมุด วัดสมณโกฏฐาราม เป็นต้น เมือ่ ผนวกกับหลักฐานการสร้างวัดบางแห่ง เช่น วัดมเหยงคณ์ทสี่ มเด็จ พระบรมราชาธิราชที ่ ๒ (สมเด็จเจ้าสามพระยา) สร้างให้พระมเหสีองค์ หนึ่งผู้เป็นเชื้อพระวงศ์สุโขทัย จากรูปแบบเจดีย์จึงอาจแสดงให้เห็น ความนิ ย มของกลุ่มชน คือกลุ่มที่ ใช้เจดีย์ทรงระฆังที่มีชุดฐานบัว แปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆังน่าจะเป็นกลุ่มชนที่มาจากเมืองสรรคบุรี สุพรรณบุรี คือสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ  ส่วนกลุ่มวัดที่ ใช้เจดีย์ทรง ระฆังน่าจะเป็นเชือ้ สายราชวงศ์สโุ ขทัยทีม่ าตัง้ บ้านเรือนอยู่ในบริเวณนี้ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

285


เจดีย์ที่แสดงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนจาก สุพรรณบุรีและสรรคบุรี (สายสุพรรณภูมิ)

ในสมัยอยุธยาตอนต้นนอกจากจะนิยมสร้างเจดียท์ รงปรางค์เป็น ประธานของวัดแล้ว ยังพบเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุสองชั้น และเจดียท์ รงระฆังทีม่ ชี ดุ รองรับองค์ระฆังแปดเหลีย่ ม  เจดีย์ในกลุม่ นี้ เป็นเจดียป์ ระธานขนาดใหญ่ มีระบบแผนผังวัดแบบเดียวกับกลุม่ เจดีย์ ทรงปรางค์ คือมีระเบียงคดล้อมรอบ มีวิหารอยู่ด้านหน้าและอุโบสถ อยูด่ า้ นหลัง แต่มขี อ้ สังเกตว่าเจดียก์ ลุม่ นีจ้ ะพบอยูน่ อกเกาะเมือง โดย พบมากบริเวณด้านทิศตะวันออกที่เรียกว่าเขตอโยธยา ได้แก่ วัด อโยธยา วัดสามปลื้ม วัดใหญ่ชัยมงคล  เจดี ย ์ ใ นกลุ ่ ม นี้ เ ป็ น รู ป แบบที่ พ บอยู ่ ใ นเมื อ งสุ พ รรณบุ รี แ ละ สรรคบุรี เกิดขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีพฒ ั นาการทางด้านรูปแบบมาจากเจดียส์ มัยหริภญ ุ ชัยและล้านนา มีการประดับตกแต่งลวดลาย และพระพุทธรูปมีอิทธิพลศิลปะสุโขทัย เจดีย์ในสายพัฒนาการนีจ้ งึ มีความสัมพันธ์กบั กลุม่ คนทางฝัง่ ตะวันตก ของแม่น�้ำเจ้าพระยา และน่าจะเป็นกลุ่มคนที่เป็นฐานอ�ำนาจของขุน หลวงพะงั่วแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิที่ปกครองอยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี

286

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


วัดอโยธยา หรือวัดเดิม

ที่ตั้ง ซอยวัดอโยธยา ถนนเทศบาลเมืองอโยธยา

วัดอโยธยาหรืออีกชือ่ หนึง่ ว่า “วัดเดิม” ชือ่ นีม้ าจากข้อสันนิษฐาน จากพงศาวดารเหนือ และ พงศาวดารโยนก (ซึ่งกล่าวถึงชื่อบุคคล สถานที่ และระยะเวลาที่ค่อนข้างสับสน) มีความที่กล่าวถึงล�ำดับ กษัตริยเ์ มืองละโว้ตงั้ แต่ราวพุทธศตวรรษที ่ ๑๕ โดยมีกษัตริยพ์ ระองค์ หนึ่งสืบเชื้อสายจากทางเหนือมาตั้งเมืองบริเวณริมหนองโสน ต่อมา พระนารายณ์ ราชโอรสแห่งกรุงละโว้ ทรงยกทัพมาตีได้และขึ้นครอง ราชสมบัต ิ เรียกชือ่ เมืองว่า “อโยธยา” จากนัน้ พระนารายณ์เสด็จกลับ ไปครองเมืองละโว้และถวายวังอโยธยาเป็นวัดเรียกว่า “วัดเดิม”๒ ชื่อ นี้มีปรากฏในข้อสันนิษฐานชั้นหลัง เช่น ในหนังสือ พระราชวังหลวง  กล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สร้างพระนครขึ้นที่ริมหนอง โสนและฝังหลักเมืองใน พ.ศ. ๑๘๓๙ โปรดให้สร้างวัดชื่อว่า “วัด อโยธยา” (วัดเดิม)๓ และในสมัยของกรมขุนพรพินิต (สมเด็จพระเจ้า อุทมุ พร) เสด็จพยุหยาตราแห่ออกไปผนวช ณ วัดเดิม แล้วเสด็จมาจ�ำ พรรษาอยู ่ ณ วัดประดู๔่ กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับวัดอโยธยา ในพระราชพงศาวดารกรุง ศรีอยุธยาเรียกว่าวัดเดิม ส่วนชื่อวัดอโยธยาน่าจะมาเรียกกันในสมัย

วัดอโยธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

287


ถ. โรจนะ

ถ. ศรีสรรเพชญ

ชมศิลปกรรมโบราณ วัดนอกเกาะเมือง ด้านทิศใต้

ูทอง

ถ. อ

ระยา

เจาพ แมนํ้า

๓๔๖๙

• วัดพุทไธศวรรย์ หน้า ๓๕๕

352

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


ที่วาการ อ. พระนครศรีอยุธยา

ถ. เลียบคลองมะขามเรียง

ทิศเหนือ

ถ. อูทอง

วัดนางกุย • หน้า ๓๗๙

• ปอมเพชร วัดบางกะจะ หน้า ๓๗๖ •

แมนํ้าปาสัก

• วัดพนัญเชิง หน้า ๓๗๒

๓๔๗๗

๓๔๖๙

• หมูบาน

โปรตุเกส

ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

353


วัดนอกเกาะเมืองด้านทิศใต้

กลุ่มวัดที่อยู่นอกเกาะเมืองทางด้านทิศใต้เป็นชุมชนที่มีความ ส�ำคัญมากกลุ่มหนึ่ง เพราะตามประวัติบริเวณนี้น่าจะมีผู้คนตั้งชุมชน อยู่อาศัยทั้งสองฝั่งของแม่น�้ำเจ้าพระยามาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ในพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าทางฝั่งตะวันออก เคยมี ชุ ม ชนตั้ ง มาก่ อ นการสถาปนากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา มี ก ารกล่ า วถึ ง หลวงพ่อพนัญเชิงว่าสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาราว ๒๖ ปี  บริเวณดังกล่าวนีต้ งั้ อยูร่ มิ แม่นำ�้ เจ้าพระยาส่วนทีเ่ ป็นแหลมเรียกว่า “แหลมบางกะจะ” เป็นต�ำแหน่งที่แม่น�้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเกาะเมือง มาบรรจบกับแม่น�้ำป่าสักรวมเป็นสายเดียวกันและไหลลงสู่ทิศใต้ บริเวณนี้จงึ เหมาะแก่การตัง้ ชุมชนและการติดต่อค้าขาย  นอกจากวัด พนัญเชิงแล้วยังมีวดั อืน่  ๆ ทีส่ ร้างขึน้ ในสมัยอยุธยาอีกเป็นจ�ำนวนมาก เช่น วัดบางกะจะ วัดนางกุย เป็นต้น ส่วนด้านตะวันตกคือต�ำบลเวียงเหล็กหรือเวียงเล็ก มีศูนย์กลาง ของชุมชนคือวัดพุทไธศวรรย์ ซึ่งในประวัติศาสตร์กล่าวว่าสมเด็จพระ รามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงตั้งชุมชนและทรงสร้างวัดพุทไธศวรรย์ขึ้นบริเวณนี้ ก่อนที่จะย้ายข้ามไปตั้งชุมชนในบริเวณเกาะเมือง แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฟากแม่น�้ำน่าจะเป็นชุมชนส�ำคัญที่ตั้งรกรากอยู่ ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ความส�ำคัญของบริเวณนี้น่าจะเนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทางการ ติดต่อค้าขายกับภายนอก คือ แม่น�้ำเจ้าพระยากับทางใต้ ต่อมาจึง มีการอนุญาตให้ตั้งชุมชนชาวต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชุมชนชาวจีน ชาวมุสลิม มีหมู่บ้านและโบสถ์คริสต์ ศาสนารวมอยูด่ ว้ ย เช่น บ้านโปรตุเกส บ้านฮอลันดา บ้านญีป่ นุ่  เป็นต้น

354

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


วัดพุทไธศวรรย์

ที่ตั้ง ริมแม่น�้ำเจ้าพระยานอกเกาะเมืองด้านทิศใต้ หมู่ที่ ๕ ต�ำบลส�ำเภาล่ม

วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า  “เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก” ปัจจุบันยังคงใช้เป็นวัดฝ่ายมหานิกาย  ประวัติการสร้างวัดปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่า พ.ศ. ๑๘๙๖ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (เจ้าอูท่ อง) โปรดให้สร้างวัดขึน้ บริเวณทีเ่ ป็น พระต�ำหนักเวียงเหล็ก สถาปนาวิหารและพระบรมธาตุเป็นพระอาราม และพระราชทานนามว่า “วัดพุทไธศวรรย์”๑ จากการตรวจสอบรูปแบบและประวัติการก่อสร้างพบว่าวัดนี้มี ขนาดใหญ่และมีความส�ำคัญ มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายยุคหลาย สมัย ท�ำให้รูปแบบของปรางค์ประธานเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่มี การบูรณะ ได้แก่ มีการบูรณะใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลายและในสมัย รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วัดพุทไธศวรรย์ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

355


ชมศิลปกรรมโบราณ วัดนอกเกาะเมือง ด้านทิศเหนือ

วัดพระยาแมน หน้า ๔๖๑

๓๐๙

พระบรมราชานุสาวรีย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วัดภูเขาทอง หน้า ๔๕๑

• แมน

ํ้าเจา

ไป อ. บางบาล

พระ

ยา

๓๔๑๒

414

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

วัดศาลาปูน


ทิศเหนือ

• วัดแค (ร้าง) หน้า ๔๔๖

วัดสามวิหาร หน้า ๔๔๑

• วัดแม่นางปลื้ม หน้า ๔๓๖

ตลาดหัวรอ

ถ. ช

ีกุน

• วัดโคกพระยา หน้า ๔๖๔

ท่า • วัหน้ดเชิา ง๔๒๕

วัดหน้าพระเมรุ หน้า ๔๑๗

• วัดเสนาสนาราม

สะพานมหาราช

ถ. ปามะพรา

ถ. อูทอง

พระราชวังโบราณ

วัดราชบูรณะ

วัดญาณเสน

บึงพระราม

วัดมหาธาตุ

ถ. หอรัตนไชย

วัดพระศรีสรรเพชญ สภ. พระนครศรีอยุธยา ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย • ส า ย สิ ง ห์

ถ. ปาโทน

415


วัดนอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือ

นอกเกาะเมืองด้านทิศเหนือมีแม่น�้ำลพบุรีไหลผ่านซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของคูเมือง จึงเรียกว่า คลองเมือง บริเวณนี้เป็นส่วนที่ ใกล้กับ พระราชวังมากทีส่ ดุ  จึงมีวดั อยูเ่ ป็นจ�ำนวนมากตัง้ อยู่ใกล้ ๆ กันและเป็น วัดที่มีขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่าชุมชนนี้น่าจะมีความส�ำคัญเกี่ยวข้อง กับเจ้านายผู้สร้างและอุปถัมภ์วัดเหล่านี้  นอกจากนี้ยังมีคลองสระบัว ไหลผ่านจากด้านทิศเหนือมาลงแม่นำ�้ ลพบุร  ี สองฝัง่ คลองจึงเป็นทีต่ งั้ ของชุมชนที่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ พบหลักฐานว่าบริเวณคลองสระบัว นี้น่าจะเป็นแหล่งช่างฝีมือ พบแหล่งเตาเผาเครื่องปั้นดินเผา เตาเผา กระเบื้อง และพบวัดอยู่เป็นจ�ำนวนมาก  ตัวอย่างวัดส�ำคัญด้านทิศ เหนือ เช่น วัดภูเขาทอง วัดเชิงท่า วัดหน้าพระเมรุ วัดแม่นางปลื้ม วัด สามวิหาร วัดแค วัดโคกพระยา วัดพระยาแมน เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณด้านทิศเหนือยังมีความเกี่ยวข้องกับสงคราม ในประวัติศาสตร์อยุธยา เพราะเป็นที่ตั้งค่ายของกองทัพพม่าและเป็น สมรภูมิรบ และมีเพนียดคล้องช้าง  บริเวณทุ่งหันตราที่เป็นสมรภูมิ รบนั้นมีวัดส�ำคัญคือวัดภูเขาทอง ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ในคราวทีพ่ ระองค์ทรงชนะศึกครัง้ ยิง่ ใหญ่ในการ กอบกู้เอกราช

416

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า


วัดหน้าพระเมรุ

ที่ตั้ง ซอยวัดหน้าพระเมรุ นอกเกาะเมืองทางทิศเหนือ

วัดหน้าพระเมรุตั้งอยู่ริมแม่น�้ำลพบุรี นอกเกาะเมือง  วัดนี้ ไม่ ปรากฏประวัติในพงศาวดาร สันนิษฐานว่าที่มาของชื่อวัดหน้าพระเมรุ เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับทุ่งพระเมรุ อันเป็นสถานที่ประกอบ พระราชพิธีออกพระเมรุของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ในพงศาวดารเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” วัดนี้ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายครั้ง เช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อคราว เกิดสงครามช้างเผือก พ.ศ. ๒๐๙๒ พระเจ้ากรุงหงสาวดียกทัพมาถึง กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ยกกองทัพออกไปเจรจา ขอสงบศึก พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปลูกพลับพลาขึ้น ณ ต�ำบลวัดพระ เมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาส๑  ส่วนใน ค�ำให้การของขุนหลวงหาวัด  กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนเดียวกันว่า ฝ่ายกรุงพระมหานครศรีอยุธยา ออกเป็นพระราชไมตรี และสมเด็จพระมหากษัตริย์ทั้งสองฝ่ายเสด็จ

วัดหน้าพระเมรุ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

417


ชมหมู่บ้านชาวต่างชาติ ในสมัยอยุธยา

ทิศเหนือ

วัดพนัญเชิง

หมู่บ้านฮอลันดา หน้า ๔๘๔

หมู่บ้านโปรตุเกส หน้า ๔๘๐

หมู่บ้านญี่ปุ่น หน้า ๔๘๗

๓๔๗๗

472

คู่ มื อ นํ า ช ม ศิ ล ป ก ร ร ม โ บ ร า ณ ใ น อ ยุ ธ ย า

ไป อ. บางปะอิน


ชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลา ยาวนาน จึงกลายเป็นศูนย์กลางการเมืองและการปกครอง ท�ำให้มี ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อติดต่อค้าขายและเข้ามาอยู่อาศัยโดย มีหลายสาเหตุ เช่น หนีภยั สงคราม เป็นเชลยศึก รับจ้างท�ำงาน ทหาร อาสา รับราชการ เผยแผ่ศาสนา เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีชุมชน หรือย่านที่มีชาวต่างชาติเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏอยู่ในเอกสารของชาวต่างชาติทบี่ นั ทึกเกีย่ วกับกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะบันทึกของชาวฝรั่งเศสคนส�ำคัญ คือ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loub re) ราชทูตพิเศษจากราชส�ำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางมายังราชส�ำนักสยามใน พ.ศ. ๒๒๓๐ และบั น ทึ ก เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาไว้ ใ นหนั ง สื อ Desscripttion du Royaume de Siam กล่าวว่า กรุงศรีอยุธยาในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนัน้ เป็นเมืองท่านานาชาติทมี่ ชี าวต่างชาติ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารถึง ๔๐ ชนชาติภาษา และในบันทึกดัง กล่าวได้แสดงแผนที่ที่ตั้งของชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาวมลายู ชุมชนชาวจีน ชุมชนชาวญีป่ นุ่  ชุมชนแขกมักกะสัน ชุมชนมอญ (พะโค) บ้านพักคณะทูตฝรั่งเศส๑ เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยและงานศิลปกรรมพบว่า ชนชาติทเี่ ข้ามาติดต่อค้าขายและตัง้ บ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตัง้ แต่ สมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่ ชาวจีนและชาวมุสลิม ตัวอย่างส�ำคัญคือ

พระพิมพ์ ด้านหลัง มีจารึกอักษรจีน ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ด ร . ศั ก ดิ์ ชั ย ส า ย สิ ง ห์

473


“คู่มือน�ำชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา” หนังสือที่จะน�ำพาท่านทั้งหลายให้หวนร�ำลึกกลับ ไปสู่ห้วงเวลาแห่งอดีตอันรุ่งเรือง ผ่านงานศิลปกรรมที่ช่างและผู้สร้างพระราชวัง วัดวาอาราม ต่าง ๆ ได้รังสรรค์ความยิ่งใหญ่อลังการที่เปี่ยมไป ด้วยพลังศรั ทธา  กอปรด้วยประวัติความเป็นมา ลักษณะรูปแบบ อายุสมัย แนวคิด คติการสร้าง ที่แฝงไว้ ในงานศิลปกรรม รวมทั้งวิเคราะห์ความ ส�ำคัญ คุณค่า ของแหล่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ผู้คนในสมัยอยุธยา”

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์

คู่มือนำ�ชม ศิลปกรรมโบราณในอยุธยา

รูจ้ กั ศิลปะอยุธยาผ่านการชมพระราชวังโบราณ วัดในและนอกเกาะเมืองอยุธยา ๔๕ วัด และ ๓ หมู่บ้านชาวต่างชาติ  ให้รายละเอียดข้อมูลรูปแบบงานศิลปะและ สถาปัตยกรรม พัฒนาการของศิลปะในแต่ละสมัย และเอกลักษณ์ของศิลปะอยุธยาในแต่ละยุค  คู ่ มื อ ส� ำ หรั บ เที่ ย วชมอยุ ธ ยาได้ ด ้ ว ยตนเอง อย่างเข้าใจ และส�ำหรับมัคคุเทศก์ ใช้เป็นคู่มือน�ำ ชมได้อย่างเหมาะสม

หมวดประวัติศาสตร์/ศิลปะ ราคา ๖๘๐ บาท ISBN 978-616-465-046-6

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

อยุธยา คู่มือน�ำชม  ศิลปกรรมโบราณใน

ศ  า  ส  ต  ร  า  จ  า  ร  ย์    ด  ร  .  ศั  ก  ดิ ์ ชั  ย   ส  า  ย  สิ  ง  ห์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.