ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า

Page 1

ISBN 978-616-465-039-8 9

786164

สุกัญญา หาญตระกูล

หมวดสารคดี / ประวั ติ ศ าสตร์

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

ลายลักษณ์อักขระจีนแต่ละเส้น แต่ละขีด แต่ละจุด แต่ละแต้ม คล้าย ๆ ก�ำลังจะไหวตัวและเคลื่อนอย่างมีลมหายใจของตัวเอง ไม่ยอมถูกตรึงไว้ติดก�ำแพงอีกต่อไป เริ่มขยับตัวออกโบยบิน เริงร่าใต้หลังคาโรงเรือนที่เคยเป็นโรงสี ความเคลื่อนไหวตรงหน้าคือคนกับเครื่องจักรซึ่งก�ำลัง เปลี่ยนแปรสีเหลืองทองของข้าวเปลือกในครกออกมาเป็น สีขาวนวลของเมล็ดข้าวสาร โลดแล่นอยู่เต็มจักษุ ก้องอยู่ใน โสตประสาท คือโรงสีที่ฟื้นคืนชีพเดินเครื่องขึ้นมาใหม่

ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

๑ ปี ๑๒ เดือน ต้นปีวางแผนทํา ๑ วันแต่เช้า ก็คิดออกมาแล้ว ครอบครัวอยู่ที่รักกัน ไม่ทะเลาะกัน ขยัน น้ําไหลแรง เหลือแต่ทรายหยาบ ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

650398

ราคา ๔๙๙ บาท

๔๙๙.-

ลมพัด มิรู้ ล่วงหน้า

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

สุกัญญา หาญตระกูล


ลมพัด มิรู้ ล่วงหน้า จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

สุกัญญา หาญตระกูล


ISBN 978-616-465-039-8

หนังสือ ลมพัดมิรู้ล่วงหน้า : จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล ผู้เขียน สุกัญญา หาญตระกูล © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต

พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ราคา ๔๙๙ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : วิชญดา ทองแดง นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔-๘ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


เงื่อนไขของสามี  กวี  จงกิจถาวร ที่มีให้ตลอดมา  ล�ำธาร หาญตระกูล  ที่ ค อยให้ ก� ำ ลั ง ใจและอ� ำ นวยความสะดวกด้ า นเครื่ อ งมื อ ดิ จิ ทั ล ใน  การเขี ย นและถ่ า ยภาพ  จั ด รวมภาพของครอบครั ว ที่ คั ด เลื อ กไว้ ใ ห้  เป็นหมวดหมู่ในระหว่างที่ยังศึกษาปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ประยุกต์  คู ่ ข นานกั บ การประพั น ธ์ ด นตรี ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เยล  เคยได้ ใ ช้ ข ้ อ มู ล  และภาพบ้านพะเยาทวีผลฝีมือถ่ายภาพของ “กง” เขียนงานแบบฝึกหัด  ส่งอาจารย์ในรายวิชาการเขียนสารคดีด้วยวิธีการเล่าเรื่องและภาษา  ของวรรณกรรมเรื่องแต่ง  (creative  non-fiction  writing)  และต่อมา  นิตยสารวรรณกรรมระดับรางวัลในสหรัฐอเมริกา  The  Common.  A Modern  Sense  of  Place  ได้ตีพิมพ์ข้อเขียนดังกล่าวในชื่อ  “The  Teak  House”  ฉบั บ เดื อ นธั น วาคม  ค.ศ.  ๒๐๑๔  และเผยแพร่ ใ น  เว็ บ ไซต์ ข องนิ ต ยสาร  (http://www.thecommononline.org/the-  teak-house/)  จึ ง เป็ น การเผยแพร่ เ รื่ อ งราวความเป็ น มาของบ้ า น  ครอบครัวต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษ  ซึ่งได้เกิดขึ้น  อย่างที่เราแม่ลูกมิได้ตั้งใจหรือวางแผนล่วงหน้า ขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ส ารคดี อ ย่ า งยิ่ ง   โดยเฉพาะ  สุ วั ฒ น์  อัศวไชยชาญ บรรณาธิการผูอ้ า่ นต้นฉบับอย่างละเอียดลออ ให้คำ� ชีแ้ นะ  ตลอดจนท�ำงานตรวจทานแก้ไขร่วมกับ วิชญดา ทองแดง อย่างพิถพี ถิ นั   ในถ้อยค�ำส�ำนวนและโดยเฉพาะการล�ำดับเรื่อง  ความผิดพลาดใดผู้เขียนขอน้อมรับ สุกัญญา หาญตระกูล หนองระบู, ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑

13


ในวัย ๓๐ ต้นๆ บิดาผู้เขียนยืนเคียงจักรยานคู่ใจอยู่หน้าประตูทางเข้า “เรือนหอ” ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งร่วมหลังคาเดียวกับโรงเรือนยุ้งฉาง หลังแรก ม่านหน้าต่างเป็นฝีมือคู่ชีวิต 16


สามเดือนก่อนแต่งงาน ๒๐ สิงหาคม ๒๔๙๐ ว่าที่เจ้าบ่าวได้ถ่ายภาพ ว่าที่เจ้าสาวโดยน่าจะตั้งใจเก็บภาพฉากหลังไว้เป็นส�ำคัญด้วย คือ สะพานแขวน “สะพานโยง” แห่งเดียวในสยาม อ�ำเภองาว จังหวัดล�ำปาง วิศวกรชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบ เปิดใช้เมื่อ ปี ๒๔๗๑ 17


ช้างกับควาญของครอบครัวสารสมบูรณ์ก�ำลังท�ำงานเคลื่อนย้าย ปรับต�ำแหน่งซุงไม้สัก ริมน�้ำแม่หวด (หรืออาจเป็นน�้ำแม่งาว) อ�ำเภองาว จังหวัดล�ำปาง ชายชุดขาวนั่งกับควาญบนคอช้างคือ ภักดี สารสมบูรณ์ น้องชายของมารดาผู้เขียน (บันทึกภาพช่วงปี ๒๔๘๕-๒๔๙๐) 22


คลาคล�่ำด้วยชาวนา เกวียน วัว และข้าวเปลือกที่กองไว้เป็นกลุ่มๆ รอการชั่งน�้ำหนักอยู่ในลานกว้างของร้านพะเยาทวีผลในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ หนุ่มน้อยเสื้อขาวสวมหมวกยืนอยู่ข้างเกวียนก้มหน้าเล็กน้อย ดูของในมือคือนายแก้ว 23


โรงเรือนยุ้งฉางหลังแรกของครอบครัวและหลังที่ ๒ อยู่ถัดไปทางด้านหลัง สร้างในช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ คนที่ ๓ จากซ้ายมือคือบิดาผู้เขียน

นามบัตรที่บิดาผู้เขียน ให้พิมพ์ชื่อมารดาเคียงคู่กัน หมายเลขโทรศัพท์ บอกให้รู้ว่านามบัตรนี้ พิมพ์เมื่อพะเยามีโทรศัพท์ บ้านใช้แล้ว ปี ๒๕๑๘ 24


สังกะสีฉลุลายและตัวอักษรที่เขียนและ วาดโดยบิดาผู้เขียน ส�ำหรับท�ำ "สเตนซิล" ลงบนกระสอบป่าน 25


ภาพถ่ายด้านหน้าโรงสีขนาดกลางพะเยาทวีผลช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ บิดากับมารดาผู้เขียนยืนขนาบลูกสาวคนโต (พี่สาวของผู้เขียน) ซึ่งนั่ง อยู่บนเครื่องคัดขนาดด้วยลูกกลิ้งหมุน ใต้ลงมาเห็นล�ำรางทางล�ำเลียง ข้าวสารลงกระสอบตามประเภทข้าวสาร ที่เห็นเหมือนเป็นเสา สี่เหลี่ยมตั้งตรงจากพื้นขึ้นสู่ด้านบนสุดในมุมซ้ายของภาพคือ ต้นกระพ้อ ภายในมีกระพ้อล�ำเลียง 28


เปรียบเทียบภาพขาวด�ำและภาพสีที่บิดาผู้เขียนใช้พู่กันแต้มสีตกแต่ง ภาพขึ้นเอง แม้จะตัดสินใจท�ำการค้าพืชผลเกษตรและมีลูกคนแรกแล้ว บิดาก็ยังมีใจภักดิ์อยู่กับการถ่ายภาพและตกแต่งภาพถ่าย 29


อักษรจีนแปดแถวแรกนับจากขวามือคือบทกวีภูเขาฝ่ามือห้านิ้ว (五指山) ลายมือบิดาผู้เขียนจารึกไว้บนก�ำแพงซีเมนต์เปลือย ของครกโรงสีพะเยาทวีผล ประมาณปี ๒๕๓๗ หลังจากโรงสี หยุดท�ำการเมื่อปี ๒๕๓๑ 34


สังกะสีหลังคาโรงเรือนของโรงสีพะเยาทวีผลเสียหายทะลุเป็นรู น้อยใหญ่จากพายุฝนลูกเห็บครั้งใหญ่ปี ๒๕๕๔ อักษรจีนประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ตัวที่บิดาผู้เขียนบรรจงคัดลายมือ ด้วยชอล์กสีขาวไว้บนก�ำแพงซีเมนต์เปลือยของครกโรงสี  (มุมซ้าย) ลบเลือนไปเกือบหมด (ณรงค์ศักดิ์ กาจารี บันทึกภาพเมื่อ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) 35


บ้านพะเยาทวีผลด้านหน้าบ้านซึ่งหันไปทางทิศใต้ มีหน้าร้านเปิดสู่ ถนนพหลโยธินทางทิศตะวันออก เห็นถนนพหลโยธินอยู่หลังแนวรั้ว (ล�ำธาร หาญตระกูล บันทึกภาพเมื่อสิงหาคม ๒๕๕๗) 36


37


“บ้านคือกายาที่ใหญ่ขึ้นของกายเธอ เติบโตในแสงแดดและนอนหลับในความนิ่งสงัดของราตรี  ; และหาได้ไร้ความฝันไม่” คาลิล ยิบราน

“Your house is your larger body, It grows in the sun and sleeps in the stillness of the night; and it is not dreamless.”

Kahlil Gibran


ภาค

เมล็ดข้าว ในกระแสชาวจีน โพ้นทะเล


พ่อกับแม่เฝ้าแต่รับฟังท�ำนุบ�ำรุงความใฝ่ฝันของลูก ไม่เคยร�ำพึงร�ำพัน  ความใฝ่ฝันของตัวเองให้ลูกได้ฟังบ้างเลย จนกระทัง่ เมือ่ ทัง้ สองจากไป บ้านของครอบครัวทีพ่ อ่ กับแม่ปลูกขึน้   ในถิน่ โรงสีแห่งเมืองพะเยาจึงค่อยๆ เผยตัวตนออกมาในความเงียบเหงา กระซิบบอกเรื่องราวเก่าๆ ที่ไม่เล่าก็ลืม ชี้ชวนให้ลูกหยิบจับพินิจพิจารณาข้าวของในบ้าน กุลกี จุ อช่วยปะติดปะต่อร้อยเรียงภาพถ่ายขาวด�ำใบเล็กๆ มากมาย  เข้าด้วยกัน แล้วแย้มพรายให้รู้ถึงความใฝ่ฝันในวัยหนุ่มวัยสาวของพ่อกับแม่ ...นับจากตัวอักษรนี้ไป... ลูกขออนุญาตเล่าเรื่องราว ของพ่อผู้ใฝ่ฝันจะเปิดร้านถ่ายรูปเป็นงานอาชีพ ของแม่ผู้ซึ่งความใฝ่ฝันจะเป็นครูอยู่แค่เอื้อม สองความใฝ่ฝันที่โบยบินข้ามหลายล�ำน�้ำหลายขุนเขาด้วยหัวใจ  ลุกโชน แต่แล้วกลับมอดลง  มอดลงจนดับสนิทบนถนนสายยาวที่สุดใน  สยาม ศิโรราบให้แก่เมล็ดข้าวเปลือกข้าวสารบนลุม่ น�้ำอิงแห่งเมืองพะเยา 102


๑. ในถิ่นโรงสีลุ่มน�้ำอิง ด้วยระยะทางเกือบ  ๑,๐๐๐  กิโลเมตร  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑  ที่ เ รารู ้ จั ก กั น มากกว่ า ในชื่ อ ถนนพหลโยธิ น เป็ น ถนนสายยาวที่ สุ ด  รองจากถนนเพชรเกษม แรกเริม่ ตัง้ ชือ่ ว่าถนนประชาธิปตั ย์  หมายความ  ว่าประชาชนเป็นใหญ่  นับหลักกิโลเมตรที่  ๐  เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์  ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ  ไปทางทิศเหนือ  ตัดถึงดอนเมืองปี  ๒๔๗๙  ถึงลพบุรีปี  ๒๔๘๓  และขยายเส้นทางขึ้นไปเรื่อยๆ  จนสิ้นสุดที่อ�ำเภอ  แม่สาย จังหวัดเชียงราย ติดกับท่าขี้เหล็กของพม่า การตั ด ถนนสายนี้ ไ ด้ ค วบรวมทางหลวงหลายสายที่ มี ม าก่ อ น  รวมทั้งทางหลวงสายล�ำปาง-เชียงรายซึ่งจ�ำเป็นต้องท�ำนุบ�ำรุงไว้ให้ดี  พอใช้การได้เสมอ  โดยเฉพาะตั้งแต่แน่ชัดว่ามีงบประมาณไม่พอสร้าง  ทางรถไฟต่อจากเมืองแพร่แยกมาทางเมืองเชียงรายเมื่อครั้งก่อสร้าง  ทางรถไฟสายเหนือมาถึงเมืองแพร่ปี  ๒๔๕๒  มาถึงเมืองล�ำปางเมื่อ  ปี  ๒๔๕๘ การเดินทางแต่ไหนแต่ไรโดยเฉพาะการขนส่งสินค้าจากหัวเมือง  ชายแดนอย่างเมืองเชียงแสนและเมืองเชียงรายอันอุดมด้วยของป่ารวม  ทั้งไม้ลงใต้ไปถึงกรุงเทพฯ  ต้องอาศัยทางหลวงสายล�ำปาง-เชียงราย  เส้นนี้เส้นเดียวเชื่อมต่อกับการขนส่งทางน�้ำวัง  น�้ำยมไหลไปสู่แม่น�้ำ  เจ้าพระยา และสถานีรถไฟนครล�ำปางเมื่อเปิดใช้  ๑ เมษายน ๒๔๕๘  ภาค ๑

103


ทั้งน�้ำกก  น�้ำอิง  สองสายน�้ำส�ำคัญของเมืองเชียงรายและเมืองพะเยา  ไหลสู่แม่น�้ำโขง จนขึ้นทศวรรษ  ๒๕๖๐  ก็ยังไม่มีทางรถไฟแยกจากเมืองแพร่  มาถึ ง เมื อ งเชี ย งรายอยู ่ นั่ น เอง  แม้ ท างการจะเคยด� ำ ริ แ ล้ ว ด� ำ ริ อี ก  ทางหลวงสายล�ำปาง-เชียงรายจึงคงความส�ำคัญ  ขาดไม่ได้  บางช่วง  ขยายเป็นถนนสี่ช่องทางวิ่งลาดยางอย่างดี  ต่างจากสมัยก่อนลิบลับ  ที่ลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดเส้นทาง ในราวทศวรรษ ๒๔๙๐ นั้นหรือ สภาพทางหลวงสายนี้เป็นเพียง  ถนนสายเล็กๆ แคบๆ กว้างขนาดพอให้รถวิ่งสวนกันได้อย่างหมิ่นเหม่  หลายช่วงเป็นทางลูกรังดินแดง  ยิ่งช่วงที่ลัดเลาะป่าเขาระหว่างเมือง  ต่อเมือง  อันรวมถึงช่วงออกจากเมืองงาวขึ้นเหนือมาในความเงียบงัน  ของป่าเบญจพรรณที่ระงมด้วยเสียงจักจั่นในบางเวลา  เป็นระยะทาง  อีก ๓๐-๔๐ กิโลเมตร ก่อนจะพาดผ่านเป็นสะพานข้ามน�ำ้ อิงสู่ตัวเมือง  พะเยาเพื่อมุ่งหน้าต่อไปสู่เมืองเชียงราย จนถึงจุดเหนือสุดในสยาม ถนนพหลโยธิ น ช่ ว งสะพานข้ า มน�้ ำ อิ ง ตรงนี้ ห ากผ่ า นไปช้ า ๆ  เป็นต้นว่า เดิน นั่งเกวียน ถีบจักรยาน นั่งสามล้อ และโดยสารรถสี่ล้อ  วิ่ ง ไม่ เ กิ น   ๕๐  กิ โ ลเมตรต่ อ ชั่ ว โมง  เช่ น รถเมล์ สี เ ขี ย ววิ่ ง ประจ� ำ บน  เส้นทาง เป็นจุดชมวิวสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองพะเยาเลยทีเดียว  โดยเฉพาะนับแต่ปี  ๒๔๘๔  เป็นต้นมา  เมื่อการสร้างท�ำนบและประตู  กัน้ น�้ำอิงเสร็จสิน้ ลง ท�ำให้เกิดน�้ำท่วมขังสะสมอย่างถาวร เปลีย่ นสภาพ  พื้นที่ลุ่มต�่ำริมน�้ำอิงให้เป็นอ่างเก็บน�้ำขนาดใหญ่กินอาณาเขต ๑๒,๘๓๑  ไร่  ซึ่งก็คือกว๊านพะเยาที่เราเห็นทุกวันนี้นั่นเอง ทิวเขาผีปันน�้ำทอดตัวเป็นแนวยาวอยู่สุดขอบฟ้าทางทิศตะวันตก  ท�ำให้น�้ำกว๊านดูงดงามยิ่งขึ้นไปอีกในยามดวงอาทิตย์ค่อยๆ  คล้อยต�่ำ  ลงเมื่อมองจากฝั่งทิศตะวันออกอันเป็นที่ตั้งของเวียงเมืองพะเยา 104


ทางทิศตะวันออกของสะพานข้ามน�้ำอิงนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานี  ประมงน�้ำจืดพะเยา  อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตร  ๗๓๔-๗๓๕  นับตาม  หลักกิโลเมตรเดิม  หรือตรงกับหลักกิโลเมตรใหม่  ๘๓๘-๘๓๙    แม้จะ  เป็นสถานีประมงน�้ำจืดเล็กๆ  แต่ก็สร้างชื่อเสียงขจรขจายเมื่อประสบ  ผลส�ำเร็จครั้งแรกของโลกในการผสมเทียมปลาบึกโดยใช้พ่อแม่พันธุ์  จากแม่น�้ำโขงเมื่อวันที่  ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ณ บ้านหาดไคร้  ต�ำบล  เวียง  อ�ำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย  ท�ำให้มีการเพาะพันธุ์ปลาบึก  เลี้ยงปลาบึก  ต่อมาจึงสร้างพิพิธภัณฑ์ปลาบึกจัดแสดงเกี่ยวกับการ  ผสมเทียมปลาบึกจากแม่น�้ำโขงและการเพาะพันธุ์ปลาบึกไว้ที่สถานี  ประมงน�้ำจืดแห่งนี้ ปลาน�้ำโขงกับปลาน�้ำอิงจึงมิใช่อื่นไกล  อิงแอบแนบอยู่เป็นวัง  ปลาเดี ย วกั น     จุ ด ส� ำ คั ญ ที่ บ ริ เ วณปากน�้ ำ อิ ง จดกั บ น�้ ำ โขง  ณ  บ้ า น  ปากอิง อ�ำเภอเชียงของ  ค�ำเมืองภาษาถิ่นเรียกบริเวณปากแม่น�้ำเช่นนี้  ว่ า   “สบ”  เคยมี ป ลามากมายที่ ส บอิ ง   เป็ น อาหารและสิ น ค้ า ให้ ค น  ชาติพันธุ์ลาวบ้านปากอิงอย่างอุดมสมบูรณ์มานาน  จนกระทั่งเวียง  พะเยาเริ่ ม สร้างท� ำนบและประตูกั้นแม่น�้ ำ อิงเมื่อปี  ๒๔๘๒  ติดตาม  ด้วยการสร้างท�ำนบกั้นน�้ำขนาดเล็กกั้นล�ำน�้ำอื่นๆ  อีกจนเกิดน�้ำกว๊าน  เกิดผลกระทบถึงการเดินทางเทีย่ วล่องของฝูงปลาต่างๆ  คนบ้านปากอิง  ที่แต่เก่าก่อนเคยท�ำอาชีพหาปลาอย่างเดียวก็ต้องหันมาท�ำนาท�ำสวน  ด้วย นี่ยังไม่นับรวมการสูญเสียพื้นที่ไร่นาสาโท ชุมชนหมู่บ้าน วัดวา  อารามจ�ำนวนเป็นสิบๆ  แห่ง  และน�้ำตาของผู้สูญเสียที่จมหายไปกับ  ทัศนียภาพอันงดงามของกว๊านพะเยาตั้งแต่ปี  ๒๔๘๔ ควรอย่ า งยิ่ ง แล้ ว ที่ ค นริ ม อิ ง เริ่ ม ตระหนั ก เมื่ อ ย่ า งเข้ า ทศวรรษ  ๒๕๔๐  กับข่าวการผันน�้ำกกน�้ำอิงลงสู่น�้ำน่าน  โดยเฉพาะการพัฒนา  ภาค ๑

105


ล�ำน�้ำโขง  เพราะน�้ำอิงก็เชื่อมต่อเป็นสาขาของแม่น�้ำโขง  มีความยาว  ๒๕๐  กิ โ ลเมตร  นั บ จากสบอิ ง เข้ า มาถึ ง ดอยหลวงเทื อ กเขาผี ป ั น น�้ ำ  ที่เป็นแหล่งต้นน�้ำ เรากลับมาที่หัวสะพานข้ามน�้ำอิงด้านทิศใต้ที่มีหลักกิโลเมตร  ๗๓๔ (๘๓๘) ของถนนพหลโยธินปักอยู่  ข้ามสะพานเข้ามาตามถนนอีกประมาณ  ๓๐๐  เมตรก็ถึงโค้งที่  ชาวเมืองพะเยาในอดีตเรียกสืบต่อกันมาว่า โค้งประตูปยู่  ี่ หรือโค้งประตู  ออมปอม ชื่อหลังนี้คนรุ่นผู้เขียนเริ่มไม่รู้จักกันแล้ว ค่อยๆ แผ่วหายไป  เรื่อยๆ  หากว่าชื่อแรกยังพอได้ยินเรียกขานอยู่บ้างในหมู่คนเก่าคนแก่  ของชุมชน   ช่วงทศวรรษ  ๒๔๕๐  โค้งประตูปู่ยี่เป็นแหล่งที่ตั้งของโรงสีเมื่อ  เริ่ ม แรกมี ใ นเมื อ งพะเยา  คื อ โรงสี สุ ท ธภั ก ติ แ ละโรงสี ห ยุ ้ ย พงหล่ ง  ที่ร่วมรั้วเดียวกัน  แต่แรกตั้งโรงสีสุทธภักติก่อน  ส่วนโรงสีหยุ้ยพงหล่ง  สร้างทีหลังทางทิศเหนือของโรงสีสุทธภักติ  จากนั้นก็ตามมาด้วยโรง  ที่  ๓  ทางทิศใต้ของโรงสีสุทธภักติ  และโรงที่  ๔  สร้างเมื่อปี  ๒๔๙๕  บนท�ำเลที่ค่อนไปทางทิศใต้  ใกล้สะพานข้ามน�้ำอิงเข้าไปอีก เท่ากับว่าเพียงระยะ  ๓๐๐-๔๐๐  เมตรบนถนนช่วงนี้ตั้งแต่ก่อน  ปี  ๒๕๐๐  เคยมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ถึงสี่โรงตั้งเรียงรายกันอยู่  หนึ่ง  ในนั้นยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้ในชื่อโรงสีแสงพะเยา  (หยุ้ยพงหล่งเดิม)  อยู ่ ต รงประตู ปู ่ ยี่ พ อดี   จั ด ว่ า เป็ น หั ว แถวทางทิ ศ เหนื อ ของโรงสี สี่ โ รง  เป็นละแวกทีช่ าวพะเยาเรียกว่า หนองระบู  ซึง่ ชือ่ ก็บอกถึงอดีตหนองน�้ำ  หนึ่งในพื้นที่ลุ่มน�้ำอิงนี้  ละแวกหนองระบูกินบริเวณตั้งแต่พื้นที่ถิ่นโรงสีไล่ไปตามสอง  ฟากถนนพหลโยธินที่มุ่งหน้าขึ้นเหนือ  ผ่านสามแยกหนองระบู  โดย  แยกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือน�ำไปสู่ประตูเหล็ก  และแยกทางทิศ  106


ตะวันออกเฉียงเหนือน�ำไปสู่ประตูชัยบนเนินสูงที่เห็นได้ชัด ประตูทั้งสามคือ  ประตูปู่ยี่  ประตูเหล็ก  และประตูชัย  เป็นสาม  ในแปดประตูของเวียงเก่าเมืองพะเยาซึ่งเป็นเวียงแฝด  อันประกอบ  ด้วยเวียงเก่าดัง้ เดิมทีเ่ ป็นเวียงรูปน�้ำเต้าอยูบ่ นพืน้ ทีเ่ นินทางทิศตะวันออก  เฉี ย งเหนื อ   และเวี ย งลู ก รู ป สี่ เ หลี่ ย มทางทิ ศ ตะวั น ตกเฉี ย งใต้   แฝด  สองเวียงนี้ถือเป็นเวียงหลักเก่าแก่  และยังมีเวียงโบราณอื่นๆ อีก เช่น  เวียงพระธาตุจอมทอง เวียงปู่ล่าม เป็นต้น ด้ ว ยประตู ปู ่ ยี่ อ ยู ่ ท างทิ ศ ใต้ ข องเวี ย งลู ก รู ป สี่ เ หลี่ ย มใกล้ พื้ น ที่  ลุ่ม  มีน�้ำอิงไหลผ่าน  โรงสีเครื่องจักรไอน�้ำจึงต้องประเดิมตั้งที่บริเวณ  ประตูปยู่ ตี่ งั้ แต่แรกทีม่ าถึง แล้วอีกสามโรงก็ตดิ ตามมาตัง้ เรียงรายออกัน  อยู่บริเวณนี้ ก่อนจะเริ่มสร้างท�ำนบและประตูกั้นน�้ำแม่อิงปี  ๒๔๘๒  พ่อเล่า  ว่ า สามารถเดิ น ข้ า มพื้ น ที่ ลุ ่ ม ต�่ ำ ด้ า นหลั ง โรงสี ทั้ ง สี่ โ รงในฤดู แ ล้ ง ที่  น�้ำแห้งลงมากจริงๆ  ในฤดูฝนจะมีน�้ำขังเป็นบริเวณกว้างใหญ่เรียกว่า  หนอง  หากน�ำ้ ขังเป็นบริเวณเล็กก็เรียกว่าบวก  บนสองฝัง่ น�ำ้ อิงมีหนอง  และบวกอยู่ทั่วไป  มีชื่อเรียกเช่น  หนองเอี้ยง  หนองหญ้าม้า  หนอง  วัวแดง หนองเหนียว บวกผักจิก บวกกุ้ง ฯลฯ  หนองและบวกเหล่านี้  มีล�ำรางเชื่อมถึงกันและกับน�้ำอิง เช่น ร่องเหี้ย ร่องเรือ ร่องแม่ไฮ  น�้ำ  ที่ขึ้นสูงในฤดูฝนท�ำให้น�้ำในบวกและหนองไหลล้นรวมกันเป็นพื้นน�้ ำ  กว้างใหญ่สองผืนเรียกว่า “กว๊านหลวง” อยู่ติดน�้ำอิงฝั่งตะวันตก อีกผืน  หนึ่งเรียก  “กว๊านน้อย”  และมีร่องน้อยห่างเป็นตัวเชื่อมกว๊านทั้งสอง  พอพ้นฤดูฝน น�้ำถึงจะลดลง แต่ก็ยังเห็นบวกหนอง ร่องน�้ำต่างๆ อยู่  ทั่วไป ท�ำเลชัยภูมิอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นสวรรค์น้อยๆ  ก็ไม่รู้จะเรียก  อะไรแล้วส�ำหรับชาวจีนโพ้นทะเลที่ทยอยเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองพะเยา  ภาค ๑

107


และท�ำกิจการโรงสีข้าวแบบใช้เครื่องจักรไอน�้ำ    อีกส่วนหนึ่งที่เลือก  ท�ำอาชีพค้าขาย  ช่างฝีมือต่างๆ  และปลูกผักก็ไปอาศัยอยู่ในท�ำเลใกล้  ประตูเหล็กและประตูกลอง โรงสีทั้งสี่โรงในละแวกหนองระบู  รวมทั้งอีกหนึ่งโรงที่คนพะเยา  เรียกกันติดปากว่า “โรงสีประตูเหล็ก” แทนชือ่ จริงของโรงสีวา่ ไทฟงหล่ง  มีเจ้าของเป็นคนจีนโพ้นทะเลทั้งสิ้น  นายช่ า งผู ้ ม าติ ด ตั้ ง เครื่ อ งจั ก รไอน�้ ำ โรงสี ทั้ ง สี่ โ รงล้ ว นเป็ น คน  จี น โพ้ น ทะเลด้ ว ยเช่ น กั น   เป็ น เครื่ อ งจั ก รไอน�้ ำ แบบเดี ย วกั บ ที่ น าย  เอ.  มาร์กวาลด์  (A.  Markwald)  ชาวอเมริกันน�ำเข้ามาติดตั้งบนฝั่ง  แม่น�้ำเจ้าพระยาครั้งแรกเมื่อปี  ๒๔๐๑  (ค.ศ.  ๑๘๕๘)  หลังจากนั้นมี  โรงสีอื่นๆ ทยอยติดตั้งกันอีกหลายโรง ไม่เพียงบนฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา  บนฝั่งแม่น�้ำท่าจีนก็เพิ่มจ�ำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว  ติดตามมาด้วยบนฝั่ง  แม่น�้ำสายอื่นๆ เหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป จนวันหนึ่งก็ได้มาถึงพื้นที่ลุ่มต�่ำใกล้น�้ำอิงแห่งเมืองพะเยา ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน คือใช้เครื่องจักรสีข้าว  แทนการซ้อมสีข้าวหรือต�ำข้าวด้วยมือและการใช้โรงสีครกกระเดื่อง  ซึ่งตั้งกระจายอยู่ตามชุมชนต่างๆ ในสยามตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา อัน  เนือ่ งจากความส�ำคัญทีม่ ากขึน้ เรือ่ ยๆ ในฐานะสินค้าส่งออก สร้างความ  เปลี่ยนแปลงให้ชีวิตของผู้คนในสยามประเทศตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ค้าข้าว  เปลือกข้าวสารทั้งระดับในประเทศและส่งออกต่างประเทศ แม้ เ ครื่ อ งจั ก รไอน�้ ำ จะเป็ น นวั ต กรรมฟั น เฟื อ งที่ พ าโลกเข้ า สู ่  ยุคปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม เมือ่ สามารถใช้เครือ่ งจักรแทนแรงงานคน  เริม่ ต้น  ที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่  ๒๔  (ราวทศวรรษ  ๒๓๐๐)  กระทั่งส�ำหรับชาวเมืองพะเยาบางคนที่ล่วงลุถึงทศวรรษ  ๒๔๕๐ ก็ยัง  ไม่เคยเห็นเครื่องจักรไอน�้ำที่ใช้ลากขบวนรถไฟบนเส้นทางสายเหนือ  108


ไม่ เ คยนั่ ง รถไฟทั้ ง ที่ ใช้ เครื่ องจั ก รไอน�้ำ หรือ ดี เ ซล  แต่ ก ารมี โ รงสี ข้ า ว  ของชาวจีนโพ้นทะเลบนพื้นที่ต�่ ำลุ่มน�้ ำอิงนี่เองท� ำให้พวกเขาได้เห็น  ได้สัมผัสกับเครื่องจักรไอน�้ำ กลิ่นอายความเจริญดูจะตลบอบอวลมากขึ้นในหัวเมืองเหนือ  เมื่อถนนสายเชื่อมตรงกับเมืองหลวงซึ่งยังมีหลายช่วงเป็นลูกรังดินแดง  ได้ รั บ การขนานนามใหม่ ด ้ ว ยมติ คณะรัฐมนตรี  ๑๐  ธันวาคม ๒๔๙๓  ให้ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ สายกรุงเทพมหานคร-แม่สาย  (เขตแดน)  เป็นอนุสรณ์แก่พันเอก  พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์  พหลโยธิ น )  ผู ้ ถึ ง แก่ อ นิ จ กรรมด้ ว ยโรคเส้ น โลหิ ต ในสมองแตกขณะ อายุ  ๕๙  ปี  ในฐานะอดีตผู้น�ำฝ่ายทหารบกของคณะราษฎรในการ เปลีย่ นแปลงการปกครองปี  ๒๔๗๕ และเคยด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่  ๒ จากนั้นเป็นต้นมาชื่อถนนพหลโยธินก็ติดปากคนมากขึ้นเรื่อยๆ  ตามความคึกคักของยานพาหนะและผู้คนใช้เส้นทางสัญจรไปมา ทุกวัน  นี้จะมีใครเรียกขานนามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ก็เพียงบนแผนที่  ช่วงระหว่างเมืองต่อเมือง จังหวัดต่อจังหวัดบ้างเท่านั้นเอง จะมีสักกี่คนกันจดจ�ำได้ว่าถนนพหลโยธินที่เป็นถนนสายยาว  ที่ สุ ด ในประเทศเมื่ อ แรกเริ่ ม ได้ ตั้ ง ชื่ อ ให้ มี ค วามหมายว่ า   ประชาชน  เป็นใหญ่ โรงสีข้าวที่ภาษาทางการเรียกว่าโรงสีไฟ ภาษาพูดทั่วๆ ไปเรียก  โรงสีหรือโรงสีใหญ่  ใช้เครื่องจักรอย่างที่นาย  เอ.  มาร์กวาลด์  น�ำเข้า  มาในสยามประเทศ  สามารถร่นระยะเวลาการแปรรูปข้าวเปลือกเป็น  ข้าวสารได้ผลิตภัณฑ์ข้าวสารเร็วขึ้น ขาวขึ้นกว่าการแปรรูปด้วยครกต�ำ  ข้าวด้วยมือและโรงสีครกกระเดื่อง ภาค ๑

109


ย่ อ มไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งบั ง เอิ ญ แต่ อ ย่ า งใดที่ น าย  เอ.  มาร์ ก วาลด์   น� ำ  เครื่องจักรไอน�้ำโรงสีข้าวเข้ามาในสยามเมื่อปี  ๒๔๐๘  เพียง  ๑๐  ปี  ให้หลังนับจากการท�ำสนธิสัญญาเบาว์ริง ๒๓๙๘  ต้องไม่ลืมว่าข้าวยังเป็นสินค้ายกเว้นอยู่ในครั้งที่อังกฤษส่งนาย  เฮนรี  เบอร์นีย์  อดีตนายทหารในกองทัพอังกฤษ  ผู้แทนการค้าบริษัท  อีสต์อินเดียของจักรวรรดินิยมอังกฤษในพม่าเข้ามาท� ำสัญญาเปิดเสรี  ทางการค้าอังกฤษ-ไทยครั้งแรกในรัชกาลที่  ๓ หรือสนธิสัญญาเบอร์นีย์  ๒๓๖๙  กว่าข้าวจะไม่เป็นสินค้ายกเว้น  และเปิด  “เสรี”  การค้าข้าวส่ง  ออกก็อีกเกือบ ๓๐ ปีให้หลังเมื่ออังกฤษส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เข้ามา  ท�ำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่  ๔    เปิดโอกาสให้ชาวตะวันตก  เช่ น  อั ง กฤษ  อเมริ กั น   ดั ต ช์   โปรตุ เ กส  ฯลฯ  พากั น ค้ า ข้ า วแข่ ง กั บ  ราชส�ำนักที่เคยมีอ�ำนาจผูกขาดการค้าข้าวโดยกรมพระคลังสินค้าและ  พ่อค้าจีนกลุ่มหนึ่งในเมืองหลวง ข้าวไทยส่งไปขายที่สิงคโปร์  มาเลเซีย  จีน  โดยเฉพาะฮ่องกง  ที่นิยมข้าวไทยคุณภาพสูง จนถึงตลาดยุโรป เมื่อการผูกขาดการค้าข้าวโดยราชส�ำนักลดลง  ภาษีที่เรียกเก็บ  ก็ต�่ำลง  ส่งผลให้ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น  มูลค่าการค้าของสยามเพิ่ม  จาก  ๕.๖  ล้านบาทในสมัยรัชกาลที่  ๓  ปี  ๒๓๙๓  เป็น  ๑๐  ล้านบาท  ในปี  ๒๔๕๑ หรือ ๒ ปีก่อนรัชกาลที่  ๕ สวรรคต  สินค้าส่งออกส่วน  ใหญ่คือข้าวที่กะเทาะเปลือกขัดสีแล้ว คือข้าวสารไม่ใช่ข้าวเปลือก  ใน  ช่วงดังกล่าวถึงปี  ๒๔๕๑  มีการใช้เครื่องจักรไอน�้ำมาสีข้าวแล้วนับได้  ๔๓ ปีหลังจากที่นาย เอ. มาร์กวาลด์  น�ำมาติดตั้งเป็นครั้งแรก มีบันทึกในปี  ๒๔๔๓ ว่าข้าวท�ำรายได้ร้อยละ ๘๐ ของมูลค่าการ  ส่งออกของไทย มีมูลค่าจากไม้สักเป็นอันดับ ๒ ที่ท�ำรายได้ร้อยละ  ๑๐  110


ของมูลค่าการส่งออก เกิดการเพิ่มเนื้อที่ปลูกข้าว ขุดคลองชลประทาน  แปดคลองที่ฉะเชิงเทราและชานเมืองกรุงเทพฯ  ราคาที่ดินแพงขึ้นจาก  ไร่ละ ๕ บาท เมื่อปี  ๒๔๓๕ มาเป็นไร่ละ ๓๗.๕ บาท ในปี  ๒๔๔๗ อย่างไรก็ดีกว่าจะมีบันทึกว่าข้าวจากภาคเหนือเดินทางลงมา  สมทบมูลค่าการส่งออกข้าวของสยามและราคาที่ดินที่นาในภาคเหนือ  สูงขึ้น  ก็ต้องรอจนถึงทศวรรษ  ๒๔๘๐  ที่เส้นทางการคมนาคมทางบก  คื อ ทางรถไฟและถนนหนทางขยายมากขึ้ น   แม้ ส ภาพถนนจะดี บ ้ า ง  ไม่ดีบ้างในแต่ละช่วง โรงสี ไ ฟรุ ่ น แรกๆ  บนสองฝั ่ ง เจ้ า พระยาและต่ อ มาบนสองฝั ่ ง  แม่ น�้ ำ ท่ า จี น สมั ย ต้ น รั ต นโกสิ น ทร์ มี เ จ้ า ของเป็ น ชาวตะวั น ตกกั น  ทั้งนั้น  ใช้เครื่องสีข้าวเป็นเครื่องจักรไอน�้ำประดิษฐ์จากตะวันตก  เช่น  อั ง กฤษ  เยอรมนี   ใช้ ท างน�้ ำ เป็ น เส้ น ทางคมนาคมขนส่ ง ข้ า วเปลื อ ก  เข้ า โกดั ง และโรงสี จ ากแหล่ ง ผลิ ต ทางทิ ศ เหนื อ ของกรุ ง เทพฯ  ตั้ ง แต่  ปากน�้ำโพลงมา ข้ า วเปลื อ กที่ โ รงสี แ ปรรู ป เป็ น ข้ า วสารแล้ ว ส่ ง ออกจากปาก  แม่น�้ำเจ้าพระยาและแม่น�้ำท่าจีนทางอ่าวไทย  ส่วนหนึ่งผ่านเส้นทาง  ทะเลจีนใต้ขึ้นไปฮ่องกงและจีน  อีกส่วนหนึ่งลงใต้ไปยังบรรดาเหล่า  เมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมตะวันตก  อังกฤษ  สเปน  และฮอลันดา  ที่  เป็นกลุ่มประชากรกินข้าว ได้แก่  มลายา ฟิลิปปินส์  และอินโดนีเซีย สองฝั่งเจ้าพระยาในช่วงสมัยรัชกาลที่  ๕  เป็นท� ำเลเยี่ยมยอด  ที่สุดส�ำหรับผู้ประกอบการโรงสีไฟซึ่งมักจะควบกิจการส่งออกข้าวด้วย การลดการผูกขาดค้าข้าวเนื่องจากสนธิสัญญาเบาว์ริงอ� ำนวย  ประโยชน์ให้แก่พ่อค้าชาวจีนในบางกอกอย่างมหาศาลเช่นกัน ต่างเริ่ม  หันมาท�ำกิจการส่งออกข้าวเป็นล�่ำเป็นสัน   บนสองฝั่งเจ้าพระยาเจ้าสัวหรือเจ๊สัวสยามผู้ส่งออกข้าวรุ่นแรกๆ  ภาค ๑

111


ล้วนเป็นผู้ประกอบกิจการโรงสีมาก่อน    จีนสัวสยามเชื้อสายฮกเกี้ยน  และแต้จิ๋วบางคนท�ำกิจการโรงสีข้าวเครื่องจักรไอน�้ำถึงสองถึงสามโรง  พร้อมกันก็มี  จนในที่สุดชาวจีนโพ้นทะเลผู้ตั้งหลักแหล่งในสยามมาแล้ว  หลายชั่วคนนี่เองที่ท�ำให้ยุคทองของชาวตะวันตกผู้ส่งออกข้าวต้องเสื่อม  ถอยถึงกาลอวสานในเวลาไม่นาน จี.  วิลเลียม  สกินเนอร์  นักวิชาการชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญเรื่อง  ชาวจีนโพ้นทะเล  มีชื่อเสียงอย่างยิ่งจากงานวิจัยเศรษฐกิจสังคมเชิง  มานุษยวิทยา  ได้อธิบายความส�ำเร็จของพ่อค้าจีนสยามในการเข้ายึด  ครองกิจการค้าข้าวส่งออกจากมือของผู้ประกอบการชาวตะวันตกว่า  เป็นเพราะมีชาวจีนโพ้นทะเลอพยพเข้ามาอยู่ในสยามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ในราวกลางพุทธศตวรรษที ่ ๒๕  จ�ำนวนมากในนีไ้ ด้บกุ เบิกตัง้ หลักแหล่ง  นอกเมืองหลวง  ลงหลักปักฐานในพื้นที่การเกษตร  ซื้อขายข้าวเปลือก  จากเกษตรกรชาวนาโดยตรง  สร้างเครือข่ายความสามารถทางการค้า  โดยเฉพาะการประกอบกิจการโรงสีข้าว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝีมือการค้า  ขายของชาวจีนไหหล�ำ มีชาวจีนแต้จิ๋วรองลงมา ชาวจีนโพ้นทะเลใช้ความอุตสาหะขยันขันแข็งท�ำหน้าที่รวบรวม  ซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาผู้ผลิตข้าวในพื้นที่รอบนอกเมืองหลวงเรื่อย  ขึ้นไปถึงที่ราบลุ่มภาคกลาง  จนถึงปากน�้ำโพซึ่งอยู่ระหว่างตอนเหนือ  ของภาคกลางและตอนล่างของภาคเหนือ  ถึงพิจิตรในภาคเหนือตอน  ล่ า ง  ขยายขึ้ น ไปจนถึ ง ภาคเหนื อ ตอนกลางและตอนบน  ใช้ รู ป แบบ  การซื้อข้าวเปลือกหลากหลาย ตั้งแต่อยู่กับที่รับซื้อจากชาวนา ออกไป  รุกซื้อถึงไร่นา  มีเรือเร่ออกไปซื้อพร้อมกับน�ำสินค้าอุปโภคบริโภคไป  ขายด้วย เป็นต้น ผู้ส่งออกข้าวชาวจีนสยามในบางกอกพึ่งพาเครือข่ายคนกลาง  เหล่านี้อย่างแทบจะเป็นการผูกขาดโดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับ 112


ผลก็คือเครือข่ายพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลที่ซื้อข้าวเปลือกและอาจ  ควบกิจการโรงสีเข้าด้วยกันนี้เติบโตกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่ปาก  อ่าวไทยจนถึงภาคเหนือ  ท�ำให้กิจการค้าข้าวส่งออกของชาวตะวันตก  ซวนเซอย่างรวดเร็ว๑  เพราะเมื่อไร้ข้าวเปลือกมาหล่อเลี้ยง  เครื่องจักร  โรงสีวิเศษยอดเยี่ยมขนาดไหนก็ไร้ค่า ชาวตะวันตกดูจะรู้ดีอยู่แก่ใจว่าชะตากรรมใดก�ำลังรออยู่ข้างหน้า  เมื่อชาวจีนสยามเริ่มท�ำกิจการส่งออกข้าวและค้าข้าว  มีกงสุลอังกฤษ  เขียนรายงานร�ำพึงร�ำพันไว้เมื่อปี  ๒๔๒๒ ว่าต่อไปธุรกิจค้าข้าวชาวยุโรป  คงจะไม่มีทางสู้พวกคนจีนผู้พราวเหลี่ยมการค้าเป็นแน่แท้๒ ช่างแม่นย�ำราวกับตาเห็น โรงสีของชาวตะวันตกค่อยๆ  ทยอยขายออกไป  ลุถึงปี  ๒๔๓๒  โรงสีไอน�้ำ  ๒๗  โรงในกรุงเทพฯ ๑๗  โรงเป็นของคนจีน  ถึงปี  ๒๔๕๕  (ค.ศ. ๑๙๑๒) มีโรงสีเพียงสามโรงอยูใ่ นมือชาวตะวันตก อีก ๗ ปีตอ่ มา  เมื่อปี  ๒๔๖๒ โรงสีในกรุงเทพฯ ๖๖ โรง เป็นของจีนสยามถึง ๕๖ โรง ด้ ว ยโรงสี ข ้ า วใช้ เ ครื่ อ งจั ก รไอน�้ ำ มี ร ะบบเครื่ อ งยนต์ ก ลไกไม่  ซับซ้อน  เรียนรู้ดูแลไม่ยากนัก  เทียบกับกิจการอุตสาหกรรมแปรรูป  พื้นฐานอย่างอื่นในขณะนั้น เช่น โรงเลื่อย โรงแร่  โรงเหล้า ฯลฯ  ไหน  จะต้องพึ่งพิงสัมปทานจากทางการแล้วเครื่องจักรการผลิตยังซับซ้อน  กว่ามาก  โรงสีไอน�ำ้ ยังใช้ตน้ ทุนไม่สงู เท่า ใช้แรงคนน้อยกว่า และท�ำงาน  ล�ำบากน้อยกว่าโรงเลื่อย  โรงแร่    ขอเพียงมีแหล่งน�้ำพอใช้ตลอดปี  จะเป็นล�ำน�้ำสายเล็กสายใหญ่  แคว  บึง  หนองบวกก็ได้ทั้งนั้น  เพื่อจะ  ได้ สู บ น�้ ำ ขึ้ น มาหล่ อ เลี้ ย งเครื่ อ งจั ก รที่ ใ ช้ แ กลบ  (เปลื อ กข้ า ว)  เป็ น  เชื้ อ เพลิ ง เผาไหม้ ใ นเตาขนาดใหญ่     เถ้ า สี ด� ำ จากแกลบที่ วั ด ขนาด  ได้ ๑-๒  กระเบียดนิ้วอันเกิดจากการเผาไหม้ก็จัดการระบายทิ้งลงใน  แหล่งน�้ำโดยตรง ไร้ต้นทุนค่าใช้จ่ายก�ำจัดของเสียใดๆ อีกต่างหาก  ภาค ๑

113


“หากเจ้าวางแผนไว้ ๑ ปี จงปลูกข้าว หากเจ้าวางแผนไว้ ๑๐ ปี จงปลูกต้นไม้ หากเจ้าวางแผนไว้ ๑๐๐ ปี จงให้ความรู้แก่บุตรหลาน” ขงจื่อ (๕๔๑-๔๗๘ ปีก่อนคริสต์ศักราช)


ภาค

๒ "ปลาบ่อไหน ก็เอาไปปล่อยบ่อนั้น"


๘. สองภาษา สองวัฒนธรรม สองอัตลักษณ์ ปี  ๒๔๗๓  สยามที่พ่อจากไปอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่  ขณะเมื่อเดินทางกลับมาถึงท่าเรือที่บางกอกปี  ๒๔๘๐  สยามเปลี่ยน  การปกครองแล้วเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้  รัฐธรรมนูญ ก้าวแรกลงจากเรือกลไฟ  ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองหลวง  อนุเคราะห์ผลู้ งเรือมาใหม่ๆ มีทพี่ กั ทีก่ นิ ในย่านเยาวราชให้ตงั้ หลัก จาก  นั้นเด็กหนุ่มโดยสารรถไฟขึ้นที่สถานีหัวล�ำโพงไปลงที่สถานีพิชัย ระยะ  ทาง ๔๘๕ กิโลเมตร ความสุขความดีใจทีไ่ ด้พบหน้าแม่ดอกไม้นนั้ สุดจะบรรยาย แผ่นดิน  เกิด ที่เกิด บ้านเกิดเคยกินเคยนอนในวัยเด็กกับพ่อแม่มีความหมายลึก  ซึ้งเสมอกับมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม กระทั่งลูกจีนเกิดเมืองสยามถูกพ่อแม่เลือกส่งกลับไปดูแลอากง  อาม่าทีเ่ กาะไหหล�ำแล้วไม่สบโอกาสกลับมาสยามอีกเลยทีผ่ เู้ ขียนรูจ้ กั คน  หนึง่  เขาอายุ  ๗ ขวบตอนถูกส่งไปเกาะไหหล�ำ เติบโตเรียนหนังสือทีน่ คร  ไหโข่ว ต่อมาท�ำงานเป็นอาจารย์สอนอยูท่ วี่ ทิ ยาลัยการท่องเทีย่ ว แต่งงาน  มีลูกมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์อยู่เมืองจีนแล้ว แต่ตลอดชีวิตโหยหาเฝ้า  รอโอกาสจะกลับสยาม จึงไม่รีรอเลยเมื่อโอกาสครั้งแรกมาถึงกับการมา  200


เคารพฮวงซุ้ยบิดามารดาที่เขาไม่เคยพบอีกหลังพรากจากในวัยเด็ก   ทุกวันนีใ้ นวัยเกือบ ๙๐ ยังเดินทางกลับมา “บ้านเกิด” ทีเ่ มืองพาน  ทุ ก ครั้ ง ที่ มี โ อกาส  ไม่ เ พี ย งเฉพาะตั้ ง ใจมาในเทศกาลเคารพฮวงซุ ้ ย  บรรพชนในต้นฤดูใบไม้ผลิ  เขาพูดค�ำเมืองสื่อสารได้ชัดเจน ส�ำหรับหั่นเหลี่ยงต่นความปีติสุขอบอุ่นใจที่ได้กลับมาอยู่กับแม่  เหลือล้นจนบรรยายไม่จบไม่สนิ้  อย่างทีเ่ ราลูกๆ ได้ยนิ เสมอจากปากพ่อ  แต่มชิ า้ มินานเด็กหนุม่ ผูร้ หู้ นังสือ ดีดลูกคิดได้เยีย่ ม ทักษะค�ำนวณ  แข็งแกร่ง เคยข้ามน�้ำข้ามทะเลได้เห็นและเริ่มเข้าใจโลกที่กว้างกว่าบ้าน  ในเรือกสวนริมคลองกะชีก็เริ่มรู้สึกไร้หนทางสร้างอาชีพเลี้ยงตน สมาชิกครอบครัวทัง้ หมดแปดคน ได้แก่  แม่ดอกไม้  มีเขาเป็นลูกชาย  คนโต  มีพี่สาว  น้องสาว  และแม่ใจผู้มีลูกสาวสามคนและลูกชายหนึ่ง  คน ทุกคนเลีย้ งชีพอยูด่ ว้ ยการท�ำสวนมะพร้าว ปลูกพืชไร่บนเนือ้ ที ่ ๓๐ ไร่  ที่เคยมีมาแต่เดิม ซึ่ง ณ บัดนี้มีตัวเขามาเพิ่มอีกหนึ่งปากหนึ่งท้อง เด็กหนุ่มรู้สถานการณ์ดีว่าเขาควรจะต้องมาท� ำหน้าที่อุปการะ  ไม่ใช่มาเป็นภาระให้กับครอบครัวที่หลายปากหลายท้องอยู่แล้ว  แต่  เขาจะท�ำอาชีพอะไรหรือไปทางไหนเล่า เมืองพิชัยในเวลานั้นนับว่าถดถอยไปมากจากที่เคยมีความส�ำคัญ  ระดับเมืองหน้าด่านตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีต้าน  การรุกรานจากล้านนาและพม่า สร้างต�ำนานวีรบุรุษเก่งกล้าจงรักภักดี  อย่างพระยาพิชยั ดาบหัก มีวดั มหาธาตุเป็นวัดใหญ่  เคยเป็นทีต่ งั้ ของชุมชน  บ้านช้างบ้านม้า แนวก�ำแพงดินล้อมรอบตัวเมืองบางส่วนที่ยังเหลืออยู่  บอกถึงความส�ำคัญของเมืองพิชัยในอดีตที่ผ่านมา ไหนจะยังมีเมืองใหม่แห่งหนึ่งเติบโตขึ้นริมแม่นำ�้ น่าน ชื่อบางโพธิ์  ท่าอิฐ เป็นแหล่งรวมสินค้าจากเมืองหลวงพระบาง แพร่  น่าน ทั้งจาก  สิบสองปันนาซึ่งลงมาทางบก  และกลายเป็นเมืองท่าส่งผ่านข้าว  ของ  ภาค ๒

201


ป่า สินค้าอุปโภคบริโภคที่คับคั่งจอแจขึ้น  จนในสมัยรัชกาลที่  ๕  ปี  ๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ขนานนามเมืองให้ใหม่ว่า อุตรดิตถ์  หมายถึงเมือง  ท่าทางทิศเหนือ  กระทั่งปี  ๒๔๔๒ ศาลากลางของเมืองพิชัยก็ถูกทาง  การย้ายไปอยู่ที่เมืองนี้    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมือง  อุตรดิตถ์ปี  ๒๔๔๔  จนในที่สุดก็ได้มีศาลากลางของจังหวัดอุตรดิตถ์  อย่างเต็มรูปแบบในปี  ๒๔๕๘ ในเวลานั้นเมืองพิชัยที่ถดถอยมาแล้วก็ดูมีแต่จะถดถอยมากขึ้น  กับความเจริญเติบโตของเมืองอุตรดิตถ์ที่รุ่งเรืองไม่หยุดฉุดไม่อยู่  ตั้งแต่  มีกิจการตัดไม้ขนส่งขอนไม้สักไม้เบญจพรรณเข้าเมืองหลวงมาได้ระยะ  หนึง่ แล้วและยังด�ำเนินอยูแ่ ม้จะซาลงไปบ้าง เด็กหนุม่ ผูเ้ พิง่ กลับบ้านเกิด  ที่เมืองพิชัยรู้สึกอับจนหนทาง อีกทั้งไร้ผู้ใดจะพึ่งพิงในยามที่ก�ำลังต้อง  แสวงหาช่องทางท�ำมาหาเลี้ยงชีพ ศาลเจ้าแม่ทับทิม เมืองพิชัย ที่มีคนจีนเคารพนับถือเหนียวแน่น  เป็นศูนย์รวมทางใจ ความสมัครสมานสามัคคีของชาวจีนโพ้นทะเล  ชุมชน  สัมพันธ์เครือข่ายนี้พอเป็นที่ให้เขาพึ่งพิงได้บ้าง แต่ว่าชาวจีนกลุ่มภาษา  ไหหล�ำเน้นการสมาคมรักษาประเพณีไหว้เจ้าแม่  มากกว่าเน้นธุรกิจ  การค้าแบบชาวจีนกลุ่มภาษาอื่นเช่นแต้จิ๋ว  เขาเองก็ออกจากเมืองพิชัย  ตั้งแต่ยังเด็กไม่รู้ประสีประสา  เพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันหรือก็มีกันไม่กี่คน  พลัดพรากไปหมด  กลับมาครั้งนี้เขาเป็นเด็กหนุ่มไร้บิดาผู้จะประคับ  ประคองเชื่อมประสานกับสังคมนอกบ้าน ทั้งแม่ดอกไม้และแม่ใจไม่รู้หนังสือ ไม่ได้รู้จักใครกว้างไกลไปกว่า  สวนมะพร้าวและไร่นา ๓๐ ไร่ที่อยู่ติดคลองกะชีนั้นเลย ในภาวะทีเ่ หลียวไปทางไหนก็ไม่คอ่ ยพบใครทีร่ จู้ กั นี ้ ช่างน่าแปลก  แต่กไ็ ด้เกิดขึน้ จริง เหลีย่ งต่นยังอุตส่าห์พบผูท้ จี่ ะมาเป็นพีน่ อ้ งร่วมสาบาน  202


กันไปตลอดชีวติ  คือก๊กผู ่ ดารางิว้ ไหหล�ำมืออาชีพผูม้ ฝี มี อื ตัดเย็บเสือ้ ผ้า  และต่อมาเปิดร้านตัดเสื้อกางเกงที่กรุงเทพฯ สองหนุ่มเคยได้รู้จักกันตั้งแต่ยังอยู่เกาะไหหล�ำและต่างคนต่าง  ต้องแยกไปคนละทางตามจังหวะชีวิต การมาพบกันอีกอย่างไม่คาดฝัน  เกิดขึ้นเมื่อก๊กผู่มาเล่นงิ้วที่อ�ำเภอพิชัยและเหลี่ยงต่นก็ได้ไปชมศิลปะ  การแสดงที่เขารู้จักและชื่นชอบมากในช่วงเวลาเติบโตอยู่เกาะไหหล� ำ  ทั้งสองจึงดีใจเป็นที่สุด ด้ ว ยอายุ ห ่ า งกั น เล็ ก น้ อ ยจึ ง ตั ด สิ น ใจเป็ น พี่ น ้ อ งร่ ว มสาบาน  มิตรภาพ ภราดรภาพ   ความรู้สึกผูกพันของคนทั้งสองที่มีความรักในศิลปะการแสดง  งิ้วอย่างเดียวกันนี้ด�ำเนินมาตลอดชีวิต มีความลึกซึ้งทางจิตใจมากกว่า  เพียงเพราะเป็นคนจีนจากเกาะไหหล�ำด้วยกัน หรือว่าหันเข้าหากันเพียง  เพื่อแสวงหาความช่วยเหลือพึ่งพิงกันเพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน  พบกันครั้งใดคือความชื่นบานและการให้เกียรติซึ่งกันและกันอย่างยิ่ง ก๊กผูพ่ ดู คุยกับพ่อเสียงเบาๆ ในบรรยากาศสงบผ่อนคลาย ไม่เคย  ได้ยนิ การพูดเร็วๆ เสียงดังไร้จงั หวะทีม่ กั จะล้อกันว่าบอกยีห่ อ้ คนไหหล�ำ  จากก๊กผูผ่ นู้ เี้ ลยตลอดเวลาทีเ่ ขามาพักทีบ่ า้ นพะเยาทวีผลระหว่างมาเล่น  งิ้วที่เมืองพะเยาแทบทุกปีช่วงที่ผู้เขียนยังเรียนหนังสือชั้นประถมฯ และ  มัธยมฯ อยู่ที่เมืองพะเยา ในขณะที่ชาวจีนโพ้นทะเลและผู้อพยพไม่ว่าที่ไหนในโลกมักรวม  กลุม่ หันหน้าเข้าหากลุม่ ชาติพนั ธุเ์ ดียวกัน ลึกๆ ลงไปหาใช่เพราะมีความ  คิดอ่านชื่นชอบสิ่งเดียวกันเหมือนกันดังเช่นพ่อกับก๊กผู่ แต่เพราะใน  ฐานะผู้อพยพพวกเขาไร้ทางเลือกอื่นใดจริงๆ เพราะไม่มีและไม่รู้จะหัน  หน้าไปพึง่ พาใครอืน่ ในฐานะมนุษย์ดว้ ยกันได้นอกจากคนในกลุม่ เชือ้ ชาติ  เดียวกัน กลุม่ ภาษาเดียวกัน และตระกูลแซ่เดียวกันตามแบบฉบับสืบต่อ  ภาค ๒

203


กันมาที่เมืองจีน ลึกลงไปภายใต้การเกาะกลุม่ อย่างทัง้ เหนียวแน่นและหลวมๆ นัน้   ก็มีความซับซ้อน ไม่ได้ผูกพันรักกันสามัคคีกันอย่างไม่มีข้อขัดแย้งดังที่  คนภายนอกอาจรู้สึกและเข้าใจกันไปเช่นนั้น แม้ในความสัมพันธ์ผูกพันนับญาติกันตามตระกูลแซ่  แต่ละแซ่  มีแยกเป็นหลายชุดบอกล�ำดับรุ่นดังที่ผู้เขียนเคยกล่าวถึงแล้วในตอน  ต้น  แซ่เดียวต่างเมืองต่างสาแหรกก็มศี กั ดิศ์ รีตา่ งกัน ใช้คำ� บอกล�ำดับรุน่   คนละชุดกัน พวกทีใ่ ช้ชดุ เดียวกันจึงนับญาติกนั ได้คมชัด ช่วยเหลือเกือ้ กูลกันดี    ถ้าต่างสาแหรกใช้ต่างชุดล�ำดับรุ่น  ไม่เพียงแต่จะห่างเหินไม่รัก  ใคร่กัน อาจดูถูกกันเองด้วยอีก กล่าวกันอย่างติดตลกด้วยซ�ำ้ ไปว่า ถ้าจะดูวา่ คนจีนต่างกันแค่ไหน  ขัดแย้งกันแค่ไหน ให้ไปดูการรวมกลุ่มที่ศาลเจ้าก็แล้วกัน ส�ำหรับก๊กผู ่ บุรษุ ผูเ้ ล่นบทตัวนางบนเวทีงวิ้ ไหหล�ำคนนี ้ กว่าผูเ้ ขียน  จะมาส�ำนึกรูก้ อ็ กี นานต่อมาในภายหลังว่า เขาคือผูท้ ที่ ำ� ให้ผเู้ ขียนในวัยเด็ก  รูส้ กึ ถึงความมหัศจรรย์ใจอย่างยิง่ ของศิลปะการแสดงบนเวที  โดยเฉพาะ  เสี ยงดนตรี ข องงิ้ ว ที่ เ ล่นสดข้างเวทีเสริมเรื่องราวอารมณ์ค�ำ ร้องของ  นั ก แสดง  ได้ ส ร้ า งความประทั บ ใจที่ ผู ้ เ ขี ย นมี ต ่ อ การแสดงดนตรี ส ด  อย่างไม่รู้ลืมว่าช่างต่างจากการได้ยินทางวิทยุหรือเทป ด้วยการได้ฟังวงดนตรีเล่นสดเป็นเรื่องยากในวัยเด็กต่างจังหวัด  ของผูเ้ ขียน ไม่วา่ จะเป็นดนตรีประเภทไหน แม้แต่วงสะล้อซอซึงพืน้ บ้าน  ก็ตาม  ศิลปะการแสดงงิ้วจีนไหหล�ำที่ผู้เขียนในวัยเด็กได้ชมสม�่ำเสมอ  ทุกปีนี่เองที่ได้สอนให้ผู้เขียนรู้จักรสดนตรีบรรเลงสดทั้งวง ในที่สุดถึงจะไร้บิดาและเครือข่ายญาติทางบิดาช่วยแนะน�ำตัวให้  เหลี่ยงต่นก็ได้หันหน้าเข้าหาเครือข่ายของชาวจีนโพ้นทะเลในเมืองพิชัย  204


ที่ศาลเจ้าแม่ทับทิมด้วยตนเอง ด้ ว ยหน้ า ตาผิ ว พรรณและความรู ้ ภ าษาจี น ที่ ดี พ อตั ว   ลายมื อ  สวยงาม ไม่เป็นรองใครในวิชาดีดลูกคิดในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล บุคลิก  หน้าตาพ่อก็คือหนุ่มไหหล�ำเพิ่งมาจากเกาะไหหล�ำคนหนึ่งดีๆ  นี่เอง  ถ้าหากไม่รู้มาก่อนว่าเขามีชื่อไทย พูดไทยชัดเจนแม้จะอ่านเขียนไทยยัง  ไม่คล่องนักในขณะนั้นเพราะเพิ่งกลับจากเมืองจีนมาไม่นาน เครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของชาวจีนกลุ่มภาษาไหหล�ำส่งข่าวสาร  ติดต่อถึงกันทั้งเพื่อการค้า  ขอค�ำแนะน�ำปรึกษา  ขอความอนุเคราะห์  ท�ำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน สอบถามติดต่อสืบค้นหาญาติมติ รในหมูต่ ระกูล  แซ่เดียวกัน มาจากหมูบ่ า้ นต�ำบลเดียวกันหรือใกล้กนั  โยงใยถึงกันทัว่ ไป  หมดทุกภาคในสยามโดยเฉพาะในกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน ทั้งด้วยการฝาก  บอกฝากถามทางวาจาปากต่อปาก  ทั้งอาศัยวัฒนธรรมลายลักษณ์ที่  คนจีนส่งสารสือ่ กันได้ดว้ ยอักษรชุดเดียวกัน เพียงออกเสียงภาษาพูดต่าง  กันตามแต่ละกลุ่มเท่านั้นเอง เพียงไม่กี่เดือนการพึ่งพาเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ของชาวจีนโพ้น  ทะเลในกลุ่มภาษาไหหล�ำโดยเฉพาะแซ่เดียวกันก็เป็นผล เด็กหนุ่มเดินทางจากอ�ำเภอพิชัยไปเมืองล�ำปาง พบลูกพี่ลูกน้อง  ผู้มีศักดิ์เป็นพี่ชายท�ำอาชีพตัดผม ซึ่งเด็กหนุ่มไม่ได้สนใจจึงเดินทางขึ้น  เหนืออีก  ๗๐  กว่ากิโลเมตรถึงเมืองงาว  อาศัยอยู่กับนายเหลี่ยนเย็ก  แซ่ห่าน นายเหลี่ยนเย็กยินดีอุปการะเหลี่ยงต่นเด็กหนุ่มวัย  ๑๖-๑๗  ปี  ให้มา  “ฝึกหัดงาน”  ด้วย  ชายชาวจีนโพ้นทะเลไหหล�ำผู้นี้ตั้งรกรากมี  อาชีพขายข้าวสาร ของช�ำ อาชีพเสริมคือเลี้ยงหมู  อยู่ใกล้ตลาดอ�ำเภอ  งาว จังหวัดล�ำปาง เด็กหนุม่ เมือ่ มาถึงก็พบว่าทีอ่ ยูอ่ าศัยมีหลังคามุงด้วย “ใบตองตึง”  ภาค ๒

205


แบบเดียวกับบ้านเรือนชาวบ้านทั่วไปในเมืองงาว  ใบตองตึงนี้ได้จาก  ต้นตองตึงที่เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในตระกูลสัก  มีมากในภาคเหนือ  ใบใหญ่และหนา  ใช้ห่อของเช่นข้าวเหนียวนึ่ง  พืชผักต่างๆ  ได้ดี  แห้ง  แล้วน�ำมาเย็บเป็นตับมุงหลังคา เหลี่ยงต่นได้พักนอนในห้องเล็กๆ ภรรยาของนายเหลี่ยนเย็กจัด  หาอาหารให้กิน มีต�ำแหน่ง “ฝึกหัดงาน” คือช่วยท�ำงานทุกอย่าง ไม่มี  ค่าจ้าง แล้วแต่เจ้าของกิจการจะเอ็นดูหยิบยื่นเงินให้ตามสมควร  นาย  เหลี่ยนเย็กมีจักรยานคันหนึ่งที่ไม่เคยหวง อนุญาตให้เด็กฝึกหัดงานยืม ขี่ได้ ไม่ตอ้ งสงสัยเลย นับแต่วนั แรกทีเ่ มืองงาว การรูห้ นังสือคือทุนความ  สามารถในตัวส�ำหรับประเดิมใช้อย่างมีข้อได้เปรียบชัดเจน ด้วยว่าการ  ศึกษาของพลเมืองสยามโดยเฉพาะนอกเมืองหลวง ล้าหลังอย่างยิ่ง คน  ในภาคเหนือส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ไม่ว่าภาษาใด  มิหน�ำซ�้ำตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๔๐ เป็นต้นมาที่รัฐบาลกลางสยามพยายาม  ให้สอนภาษาไทยกลางในวัดแทนภาษาล้านนา และต่อมาก็ได้ระงับการ  ใช้ภาษาล้านนาเป็นภาษาสื่อการสอนอย่างที่เคยมีมาแต่เดิมในโรงเรียน  มิชชันนารีและวัด กับให้ใช้ภาษาไทยกลางเป็นภาษาราชการภาษาเดียว  ผลทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื คนพืน้ เมืองในภาคเหนือทัง้ ผูใ้ หญ่ทงั้ เด็กทีย่ งั มีวฒ ั นธรรม  ลายลักษณ์  พอรู้หนังสือท้องถิ่นใช้ตัวเมืองอยู่บ้างก็เสียหลัก เมื่อผนวก  กับการขาดแคลนไปเสียทุกอย่าง ทั้งสถานที่เรียน ครูผู้สอน และต�ำรับ  ต�ำรา คนล้านนาจ�ำนวนมากในทันทีทนั ใดกลายเป็น “คนไม่รหู้ นังสือ” ใน  ชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจ ส่งผลต่อมาอีกอย่างน้อยหนึ่งชั่วอายุคนที่คนล้านนาจ�ำนวนมาก  ภาษาไทยกลางก็ไม่ได้  ภาษาไทยถิ่นที่ถูกลดความส�ำคัญลงไปฉับพลัน  ก็ไม่ดี 206


ประมาณว่าทีเ่ มืองเชียงใหม่ในช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ มีคนพืน้ เมือง  เพียงร้อยละ ๑๐ เท่านัน้ ทีอ่ า่ นอักษรไทยกลางได้  รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕  ทีน่ ำ� มาเผยแพร่ถงึ เชียงใหม่เมือ่ ปี  ๒๔๗๗ จึงต้องตีพมิ พ์เป็นภาษาพืน้ เมือง  จากโรงพิมพาสาลาวของมิชชันนารีในท้องถิ่นนั้นเอง ขณะที่ ใ นหมู ่ ช าวจี น พวกเขามี วั ฒ นธรรมลายลั ก ษณ์ ใ ช้ อั ก ษร  ชุดเดียวที่มีวิวัฒนาการยาวนานถึง ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีอย่างไม่ขาดตอน  ตั้งแต่ก่อนยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในวันนี้  คนจีนสามารถใช้ตัวอักษร  เขียนด้วยมือสร้างเครือข่ายข่าวสารข้ามหมูบ่ า้ น อ�ำเภอ จังหวัด ภูมภิ าค  ข้ามประเทศ ข้ามพรมแดนแล้ว ไม่วา่ จะอพยพไปอยูไ่ หน พูดกันคนละระบบเสียง แต่ดว้ ยตัวอักษร  ลายลักษณ์  ชาวจีนสือ่ สารสือ่ ความกันได้เสมอ  หากจะมีบา้ งทีน่ ำ� ส�ำเนียง  ภาษาพูดของบางกลุ่มภาษามาล้อกัน อย่างเช่นผู้เขียนเคยได้ยินบ่อยๆ  ที่ส�ำเนียงจีนไหหล�ำมักถูกจีนแต้จิ๋วจีนแคะล้อเลียนว่าช่างน่าขบขัน ซึ่ง  หน้าตาท่าทางในการล้อเลียนก็ดูจะ “ทีจริง” มากกว่า “ทีเล่น” ชาวจีนยังให้ความส�ำคัญผูกพันยกย่องวัฒนธรรมลายลักษณ์อกั ขระ  อย่างมาก  ด้วยตัวเขียนแม้เพียงหนึ่งตัวเมื่อใช้อย่างถูกสถานการณ์  และหากเขียนด้วยลายมืออย่างมีท่วงทีลีลาถึงขั้นวิจิตร  (calligraphy)  แม้จะเพิ่งหัดใหม่ไม่ช�ำนาญก็อาจเข้าใจผูกมิตรได้ทันทีเมื่อถูกใจกันใน  ความหมายลึกซึ้งของถ้อยค�ำที่มากับความงดงามของตัวอักขระที่เขียน  สื่อกัน เหลี่ยงต่นบอกเสมอว่า นับแต่ลงเรือกลไฟจากเมืองจีนมาสยาม  กลับมาหาแม่ดอกไม้และพี่น้องที่เมืองพิชัย เขาไม่มีแม้กระทั่ง “เสื่อผืน  หมอนใบ” ในกระเป๋ามีเสือ้ ผ้าสีห่ า้ ตัว หนังสือจีนและต�ำราลูกคิดสองสาม  เล่มเท่านัน้  แต่วา่ ในทีส่ ดุ  ความรูห้ นังสือจีนก็ท�ำให้หา “เสือ่ ผืนหมอนใบ”  ให้ตัวเองได้ทันทีเมื่อต้องการ เช่นยอมมาเป็นเด็กฝึกหัดงานไม่มีค่าจ้าง  ภาค ๒

207


ที่ตลาดเมืองงาว และโอกาสต่างๆ ที่จะติดตามมาอีกหากเสาะแสวงหา นอกจากใช้ตัวอักษรสื่อความหมายในฐานะภาษา เหล่าคนจีนยัง  สร้างระบบการ  “ธนาคาร”  ขึ้นมาใช้ในหมู่พวกเขาอีกด้วยในระบบที่  เรียกกันว่า “ตัว๋ เงิน”  ด้วยการเขียน “ตัว๋ เงิน” ระบุจำ� นวนลงบนกระดาษ  แผ่นหนึ่ง  ผู้ถือตั๋วเงินใบนี้ไม่ว่าจะเป็นใครเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ใน  สยามประเทศจนกระทั่งข้ามไปลาว  พม่า  กัมพูชา  มาเลเซีย  สิงคโปร์  สามารถเบิกเป็นเงินสดในสกุลเงินประเทศนั้นได้ทันที  ไม่ว่าจะในสยาม  และกว้างไกลออกไปในอุษาคเนย์ขนึ้ ไปจนถึงเกาะฮ่องกงและนครเซีย่ งไฮ้  บนผืนแผ่นดินใหญ่ หากจ� ำ เป็ น   จดหมายสั ก ฉบั บ หรื อ ตั๋ ว เงิ น พร้ อ มด้ ว ยหนั ง สื อ  แนะน�ำตัว ผู้ถือก็อุ่นใจได้ว่าไปถึงที่ไหนก็จะมีใครสักคนให้ไปหา จะไม่  ถูกทอดทิ้งแบบไร้ญาติขาดมิตรง่ายๆ    ถ้ามาจากภูมิล� ำเนาเดียวกัน  แซ่เดียวกัน ยิ่งเพิ่มความมั่นใจ ชุมชนสัมพันธ์  เครือข่ายทางธุรกิจและ  สังคมของชาวจีนโพ้นทะเลอพยพจึงเกิดและเติบโตได้ในทุกที่ตามเหตุ  ปัจจัย เพียงระยะเวลาสั้นๆ การได้ใช้ทั้งชื่อจีนและชื่อไทยในชีวิตประจ�ำ  วันทั้งในภาษาพูดภาษาเขียน  การอ่านออกเขียนได้ที่ดีอยู่แล้วในหนึ่ง  ภาษา  ช่วยให้เด็กหนุ่มเรียนรู้อีกภาษาหนึ่งได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ    เกิดการ  เทียบโอนส่งผ่านความรู้โดยอัตโนมัติ   ยิ่งเป็นภาษาใกล้เคียงกันทางใด  ทางหนึง่  เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน อยูใ่ นตระกูล ไต (Tai) หรือ ไท-กะได  ซึง่ นักภาษาศาสตร์จดั ให้ภาษาไทยอยูใ่ นตระกูลภาษาจีน-ออสโตรเนเซียน  (Sino-Austronesian) เดียวกันด้วย แม้จะมีชุดหน่วยเสียงต่างกัน ตัว  เขียนคนละชุด แต่ในทางโครงสร้างภาษาถือว่าเป็นภาษาค�ำโดดเหมือนกัน  ไวยากรณ์และการสร้างประโยคคล้ายกัน การเทียบโอนส่งผ่านก็จะเร็ว  อีกทัง้ ถูกความจ�ำเป็นบังคับ และมีความตัง้ ใจเรียนรู ้ ฝึกอ่านเขียน  208


ด้วยตนเอง อาศัยความรูภ้ าษาไทยทีเ่ คยเรียนถึงประถมฯ ๒ ครึง่ ๆ กลางๆ  เป็นบาทฐาน ไต่ถามคนทีร่  ู้ ลักจ�ำจากผูร้ ทู้ ไี่ ด้รจู้ กั  ได้คบหาสมาคม และ  จากสิ่ ง แวดล้ อ มทุ ก อย่ า งรอบๆ  ตั ว   ไม่ น านเด็ ก หนุ ่ ม ที่ ล งเรื อ กลไฟ  กลับถึงสยามเมื่อ ๒-๓ ปีก่อนก็เซ็นชื่อไทยอ่านภาษาไทยในชีวิตประจ�ำ  วัน อ่านหนังสือพิมพ์ไทย เขียนข้อความเขียนจดหมายภาษาไทยสือ่ สาร  ดีขึ้นเรื่อยๆ เกินความพอเพียงในชีวิตประจ�ำวัน ผูเ้ ขียนยังมีเก็บไว้ดอู ย่างทึง่ ในความสามารถด้านภาษาไทยของพ่อ  ทัง้ ในการประพันธ์และตัวอักษรทีบ่ รรจงเขียนสวยงามอย่างมีชอ่ งไฟ  นัน่   คือสุนทรพจน์ภาษาไทยที่พ่อร่างเองเพื่อกล่าวในฐานะตัวแทนสมาคม  จีนในงานต่างๆ เช่น ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ข้าราชการไทย การเปิด  งานกล่าวอวยพร  แม้จะมีตัวสะกดการันต์ค�ำไทยที่มาจากภาษาบาลี-  สันสกฤตไม่แม่นย�ำบ้าง แต่ในด้านการประพันธ์ตวั บทถือเป็นสุนทรพจน์  ทีส่ ละสลวยถูกต้องตามแบบฉบับและถูกกาลเทศะอย่างยิง่  ด้วยการเรียน  ภาษาไทยในโรงเรียนเพียงเริ่มขึ้นชั้นประถมฯ ๒ นอกจากชีวิตการฝึกหัดงานกับนายเหลี่ยนเย็กเปิดโอกาสให้พ่อ  ได้ใช้ความรู้เขียนอ่านการคิดค�ำนวณมากกว่าที่จะท�ำสวนมะพร้าวอยู่  เมืองพิชัย อัตลักษณ์เป็นคนไทยในชื่อนายสุมิตร แซ่ห่าน เป็นไปอย่าง  รวดเร็วราบรื่น เมืองงาวท�ำให้หนุม่ สองภาษาสองวัฒนธรรมเริม่ หัดฟังหัดพูดภาษา  ไทยถิน่ หรือค�ำเมืองอีกภาษาหนึง่  เริม่ ฟังค�ำเมืองออก สามารถพูดค�ำเมือง  ผสมผสานเข้ากับภาษาไทยกลางเมื่อต้องการสื่อสารกับคนเมือง อาศัย  จักรยานนายเหลี่ยนเย็กขี่ไปไหนมาไหน เข้านอกออกในทั้งบ้าน ร้านค้า  ตลาด วัดวาอาราม สถานที่ราชการทุกแห่งได้อย่างกลมกลืนกับคนใน  พื้นที่  มีโอกาสท�ำตัวเป็นคนไทยคนหนึ่งตามสัญชาติอย่างไม่ล�ำบากใจ  หรือมีสิ่งใดขัดเขิน ภาค ๒

209


“ยิ่งเป๋นลูกแม่ญิง ยิ่งต้องเฮียนหนังสือนัก ๆ เปิ้งตั๋วเก่าได้” บัวหยี หาญตระกูล (๒๔๖๔-๒๕๕๔)

“ยิ่งเป็นลูกผู้หญิง ยิ่งต้องเรียนหนังสือมากๆ พึ่งตัวเองได้”


ภาค

ข้าวสาร สื่อรัก


๑๐. ณ “สะพานโยง” แห่งเดียวของสยาม นานๆ  ที จึ ง จะมี ร ถยนต์ วิ่ ง ผ่ า นมาสั ก คั น บนถนนลู ก รั ง สายล�ำ ปาง-  งาว ที่กรมทางหลวงได้ขยายการสร้างทางหลวงช่วงจังหวัดล�ำปางไปยัง  จังหวัดเชียงรายเมื่อปี  ๒๔๕๘  ครั้นสร้างผ่านมาถึงชุมชนอ�ำเภองาวมีแม่น�้ำงาวไหลผ่านขวางกั้น  อยูจ่ งึ ต้องสร้างสะพานจากบ้านน�ำ้ ล้อม ต�ำบลหลวงใต้  ข้ามมายังฝัง่ ตลาด  บ้านหลวงเหนือ ต�ำบลหลวงเหนือ ผูอ้ อกแบบสะพานเป็นวิศวกรเยอรมัน  ผู้ควบคุมการก่อสร้างคือขุนเจนจบทิศ (ชื้น ยงใจยุทธ) และหม่อมเจ้า  เจริญใจ จิตรพงศ์  เริ่มสร้างปี  ๒๔๖๙ ใช้เวลาสร้าง ๑๘ เดือน สะพานกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘๐ เมตรนี้ถูกใจชาวเมืองงาวยิ่งนัก  ตัง้ แต่เริม่ เปิดใช้ป ี ๒๔๗๑ คนเดิน คนถีบจักรยานตลอดจนงัวล้อ (เกวียน  เทียมวัว) ใช้สัญจรข้ามล�ำน�้ำงาวไปมาสะดวกสบาย รถยนต์ก็วิ่งผ่านได้  พากันเรียกชื่อสะพานนี้จนติดปากว่า “สะพานโยง” ตามรูปลักษณ์ของ  สะพานเหล็กแขวน๑ที่สร้างโดยไม่มีเสารับน�้ำหนักด้านล่าง มีเสากระโดง  สูง ๑๔ เมตรบนหัวสะพานสองฝัง่ ทีใ่ ช้รอกดึงสายโยงไว้โดยไม่มเี สากลาง  พืน้ สะพานเป็นหมอนไม้วางบนรางเหล็กเหมือนทางรถไฟ ไม้หมอนเรียง  เป็นลูกระนาด  ปูไม้กระดานทับเฉพาะช่วงล้อรถยนต์  เหลือพื้นที่เป็น  ทางเท้า นับเป็นสะพานแขวน “สะพานโยง” แห่งเดียวในสยาม 232


เล่ากันว่าช่วงสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดอย่างหนัก  ปี  ๒๔๘๕-๒๔๘๘ ชาวบ้านชาวเมืองเป็นห่วงสะพานโยงมาก พร้อมใจลงมือ  ช่วยกันกับทหารญีป่ นุ่ อ�ำพรางสะพานด้วยกิง่ ไม้ใบไม้รอดพ้นมาได้  กลาย  เป็นสัญลักษณ์ของเมืองงาวจนถึงทุกวันนี้ หัวสะพานโยงตรงฝั่งบ้านหลวงเหนือนั้น เป็นบริเวณสามแยกจุด  พบกันของถนนสายเล็กสามสายในชุมชนเมืองงาว เมื่อมีทางหลวงสาย  ล�ำปาง-งาวผ่านเข้ามาบรรจบชิดใกล้แล้วจะหักซ้ายตรงขึน้ ไปทางทิศเหนือ สูเ่ มืองพะเยา  ณ จุดบรรจบหัวสะพานโยงตรงนีเ้ กิดเป็นท�ำเลค้าขาย มี  กาด  (ตลาดสด)  ขนาดย่อม  ค�ำเมืองเรียกกาดก้อม  ซึ่งเป็นค�ำที่เลือน หายไปมากแล้วในปัจจุบัน  มีพืชผักผลไม้  อาหาร ขนม ของกิน ของ ใช้เล็กๆ  น้อยๆ  ที่พ่อค้าแม่ขายหาบหรือต่างล้อ  (บรรทุกเกวียน)  มา วางขาย  บ้านเรือนร้านค้ารายรอบก็ขายของใช้ของกินด้วย ตกสายก็วาย   บ้างเรียกกาดนีว้ า่  กาดเจ้า (ตลาดเช้า) ในความหมายเทียบกับ กาด  หมัว้ ใหญ่  หรือกาดใหญ่  หรือเรียกค�ำเดียวว่า กาด ก็เป็นทีเ่ ข้าใจกัน ซึง่   ต้องขึ้นเหนือมาอีกตามทางหลวงสายล�ำปาง-งาวประมาณ ๒๐๐ เมตร  มีของกินของใช้ขายมากชนิด ตามปรกติขายช่วงเช้า แต่กเ็ ข้าออกกันตลอด  วันได้   ในช่วงบ่ายจ�ำนวนพ่อค้าแม่คา้ โดยเฉพาะของสดอาจลดลงบ้าง   ด้วยท�ำเลที่ตั้ง กาดหมั้วใหญ่  อยู่หน้าโฮงพัก (สถานีต�ำรวจ) มี  สถานที่ราชการอื่นตั้งอยู่ในละแวกนี้ด้วย เช่น ที่ว่าการอ�ำเภอ โรงเรียน  งาวภาณุนิยม ก่อตั้งเมื่อปี  ๒๔๕๗ จึงเป็นจุดคึกคักที่สุดของ “ในเวียง”  ซึ่งหมายถึงบริเวณในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างมาก จากจุดบรรจบหัวสะพานโยงถึงกาด และบริเวณสถานที่ราชการ  บนทางหลวงสายล�ำปาง-งาว  ช่วงประมาณ  ๒๐๐  เมตร  ได้ใช้ชื่อถนน  ประชาธิปตั ย์อยูร่ ะยะหนึง่  เมือ่ กรมทางหลวงขยายการสร้างทางหลวงจาก  ภาค ๓

233


จังหวัดล�ำปางไปจังหวัดเชียงรายเมือ่ ปี  ๒๔๕๘ แล้วจึงเปลีย่ นชือ่ เป็นถนน  พหลโยธินอย่างที่เรียกในปัจจุบัน ถนนช่วงนีส้ องฟากถนนเรียงรายด้วยบ้านช่องเรือนแถวร้านค้า ขาย  สินค้าอุปโภคบริโภค ร้านให้บริการต่างๆ เช่น ร้านตัดเย็บ ร้านทอง ร้าน  ขายเสือ้ ผ้า รวมทัง้ มีรา้ นถ่ายรูปอัดขยายรูปร้านหนึง่ ชือ่  ว. หมัน่  คนเมือง  งาวรุ่นพ่อแม่ของผู้เขียนเรียกจีนกวางตุ้งผู้สืบทอดกิจการร้านมาอีกทอด  หนึ่งว่า โกหมั่น นัยว่ามีฝีมือดี  ท�ำกิจการเลี้ยงตัวได้  เมืองงาวแม้เป็นเมืองเล็กๆ นอกจากมีลกู ค้าคนในท้องถิน่  ในช่วง  ปี  ๒๔๓๐-๒๔๘๐  ยังมีชาวตะวันตกและคนไทยมีการศึกษาพอรู้ภาษา  อังกฤษมาท�ำงานอยู่ในส�ำนักงานของบริษัทต่างชาติที่ได้สัมปทานป่าไม้  ในป่าเมืองงาว อีกทัง้ มีผคู้ นอีกจ�ำนวนหนึง่ ทีผ่ า่ นเข้าออก มาพ�ำนักระยะ  สั้นบ้างยาวบ้าง  ส�ำนักงานก็ตั้งอยู่บนถนนหลวงสายนี้  เพียงขึ้นเหนือ  ต่อไปจากบริเวณทีต่ งั้ สถานทีร่ าชการอีกประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ เมตรเท่านัน้   เอง  เล่ากันว่าในส�ำนักงานมีฝรัง่ นายห้างป่าไม้ทำ� งานอยูส่ องถึงสามคน  ในช่วงหลังๆ มีฝรั่งบางคนพูดค�ำเมืองได้ ผูเ้ ขียนเดินส�ำรวจในละแวกนีซ้ งึ่ ปัจจุบนั มีโรงเรียนมัธยมฯ เอกชน  ตั้งอยู่  รวมทั้งอาคารที่ว่าการอ�ำเภอแห่งใหม่  ได้ปากค�ำจากคนในชุมชน  น้อยมากเกี่ยวกับส�ำนักงานนายห้างป่าไม้  แทบไม่มีใครรู้   อย่างไรก็ดี  ที่น่าสังเกตอย่างยิ่งคือในบริเวณโรงเรียนมีบ้านพักไม้สักตั้งเรียงกันสอง  หลัง สภาพเก่า แต่เห็นชัดว่ามีโครงสร้างได้สดั ส่วน  ในโรงเรียนและบ้าน  เรือนหลายหลังใกล้เคียงมีเครื่องเรือนไม้สักเก่าๆ รูปทรงแบบตะวันตก  วางอยู่หลายต่อหลายชิ้น เช่น โต๊ะสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างยาวแบบโต๊ะ  ประชุมหรือโต๊ะดินเนอร์ของชาวตะวันตก โต๊ะท�ำงานมีลิ้นชักเดียวหรือ  สองลิน้ ชัก รูปทรงโปร่ง ขาโต๊ะงามประณีต ตูล้ นิ้ ชักกว้างและสูงประมาณ  ๑ เมตร เก้าอีม้ พี นัก บางตัวมีทวี่ างแขน เป็นต้น  ผูเ้ ป็นเจ้าของใช้สอย 234


อยูต่ อบไม่ได้วา่ มาจากไหน รูแ้ ต่วา่ มีการซือ้ ขายเปลีย่ นมือกันใช้ในละแวก นั้น ด้วยสะพานโยงอ�ำนวยให้ผคู้ นยวดยานสัญจรไปมาคับคัง่ ขึน้  ตัง้ แต่  เริ่มมีตลาดค้าขายบริเวณสามแยกหัวสะพานโยงทางฝั่งบ้านหลวงเหนือ  ชุมชนจึงเติบโตขึน้ อีกแห่งหนึง่  มีคหบดีคา้ ไม้ทงั้ ชาวพม่าและชาวพืน้ เมือง  มาสร้างเรือนห้องแถว๒ไว้ให้เช่า เช่นเรือนไม้หอ้ งแถวชัน้ เดียวของแม่เลีย้ ง  เต่า  สามีเป็นชาวพม่า    ประตูบานเฟี้ยมลูกฟักของห้องแถวเหล่านี้ใช้  ไม้สักทองที่ว่ากันว่าเอามาจากพม่า บานสูงถึง ๒.๒๐ เมตร หน้ากว้าง  ครึง่ เมตรหย่อนไม่ถงึ  ๑ เซนติเมตร มีคนสนใจมาเช่าห้องแถวเหล่านีต้ งั้ แต่  สร้างยังไม่เสร็จ การสร้างทางรถไฟในภาคเหนือของสยามช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อใน  คริสต์ศตวรรษที ๑ ่ ๙-๒๐ (ทศวรรษ ๒๔๔๐-๒๔๖๐) พร้อมๆ กับการต้อง  สร้างปรับปรุงทางหลวงสายล�ำปาง-งาว-เชียงรายให้อยู่ในสภาพดีตลอด  สายเมื่อไม่สามารถสร้างทางรถไฟจากเด่นชัยขึ้นไปถึงเชียงราย ก็ทำ� ให้  ชาวจีนโพ้นทะเลค่อยๆ พากันอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งมากขึ้นเรื่อยๆ  บนพื้นที่ตามเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน ทุกวันนี้สองฟากถนนทางหลวงสายล� ำปาง-งาวหรือในชื่อถนน  พหลโยธินทีต่ ดั ผ่านตัวเมืองงาวแม้โดยทัว่ ไปจะยังคล้ายๆ เมือ่ เกือบร้อย  ปีก่อน  คือยังเป็นถนนสายหลักของเมืองไปโดยปริยายตามแบบฉบับ  การเติบโตของชุมชนเมืองต่างจังหวัด ที่ถนนตัดไปถึงไหนก็มีการขยาย  และสร้างชุมชนขึ้นใหม่ตามสองข้างทาง เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าเมืองไป  ถึงนั่น  ชุมชนในเวียงหนาแน่นขึ้นมาก  จากสามแยกสะพานโยงทางฝั่ง  บ้านหลวงเหนือขึ้นไปทางทิศเหนือสู่สถานีตำ� รวจและโรงเรียนงาวภาณุ-  นิยม  รายเรียงแน่นด้วยอาคารตึกแถวร้านค้าที่บางช่วงยังพอมีเรือน  แถวไม้หลงเหลืออยู่บ้าง ขายสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด ทั้งเครื่องใช้  ภาค ๓

235


ไฟฟ้า  อุปกรณ์การเกษตร  มีร้านทอง  ร้านแว่นตา  ร้านเครื่องส� ำอาง  ร้านอาหาร ฯลฯ  สามแยกสะพานโยงเติบโตมีอาคารตึกแถวคอนกรีต  สร้างขึ้นใหม่มากมายกว่าแต่ก่อน มีธนาคาร ร้านค้าต่างๆ ตลาดคึกคัก  คลาคล�่ำ มีร้านช�ำเปิดขายทั้งวัน ร้านช�ำของนายเหลี่ยนเย็กสมัยที่เหลี่ยงต่นมาเป็นหนุ่มฝึกงาน  เมื่อออกจากเมืองพิชัยก็ตั้งอยู่ในละแวกสามแยกสะพานโยงนี้เอง   หนุ่มจากเมืองพิชัยมาอยู่ไม่นานได้รู้จักกับแม่ลูกคู่หนึ่งผู้เช่าเรือน  ห้องแถวชั้นเดียวของแม่เลี้ยงเต่าหนึ่งคูหา ค่าเช่าเดือนละ  ๓.๕๐ บาท  เปิดเป็นร้านขายของช�ำจ�ำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค จ�ำพวกสบู่  ไม้ขีด  ไฟ เทียนไข เกลือ น�ำ้ ตาล น�้ำมันก๊าด น�้ำมันหมู  ถ่าน เข็ม ด้าย ฯลฯ  รวมทั้งต่อมาขายลอตเตอรี่ด้วย  ดูแล้วข้าวสารน่าจะเป็นรายได้หลัก  ทั้งข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว มีตั้งแต่ข้าวสารชั้นหนึ่ง ข้าวท่อน จนถึง  ปลายข้าว  บางวันมีอาหารพื้นเมืองประเภทใช้เนื้อสัตว์ปรุง  เช่น  ลาบ  ส้า แกงอ่อม น�ำ้ พริกอ่อง แกงฮังเล “ขนมเส้น” (ขนมจีน) น�ำ้ เงีย้ วทีผ่ เู้ ป็น  แม่ปรุงมาขายที่หน้าร้าน หญิงหม้ายคนพื้นเมืองวัยแม่คนนี้เองที่ท� ำให้เขาเด็กหนุ่มผู้ยัง  ไม่ประสีประสาเรื่องข้าวเปลือกข้าวสารในภาคเหนือ ได้รู้ว่าค�ำไทใหญ่  ว่า “เจ้า” (ออกเสียงยาว) หมายความว่า ร่วน ไม่เหนียว เช่น ดิน “เจ้า”  ก็หมายถึงว่าเป็นดินร่วนซุย  ไม่เกาะกันแน่นเหนียว  เนื้อดินไม่เหนียว  ติดกัน ค�ำว่า “ข้าวเจ้า” จึงมีความหมายว่า เมือ่ สุกจะร่วน ไม่เหนียวติด  กันแบบข้าวเหนียว เธอชือ่ นางอึง่  สามีแซ่จางตามเสียงอ่านจีนไหหล�ำ (จีนกลางออก  เสียงจัง หรือแซ่เตียวในสยาม) ผู้ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วหลายปี  เป็นคนจีน  ไหหล�ำโพ้นทะเล  ส่วนเธอเป็นลูกสาวคนโตของพ่อเลีย้ งช้างชาวไทใหญ่  236


และแม่เลี้ยงช้างชาวไทยวนหรือไตยวน  ชื่อพ่อเฒ่าสารและแม่เฒ่าค�ำ  สารสมบูรณ์  เจ้าของปางช้างรับเหมาช่วงชักลากไม้  ตั้งบ้านเรือนอยู่  ที่ต�ำบลบ้านหวด  อ�ำเภองาว  ซึ่งอยู่ห่างจากต�ำบลบ้านหลวงใต้ไปทาง  ทิศใต้อีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ต�ำบลบ้านหวดมีล�ำน�้ำสาขาของแม่น�้ำงาวคือล�ำน�้ำหวดไหลผ่าน แม่น�้ำงาวนี้มีต้นก�ำเนิดจากดอยสูงในเขตขุนแม่งาว  ต�ำบลบ้าน-  ร้อง อ�ำเภองาว ไหลบรรจบสู่แม่น�้ำยมที่อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่   นับ  เป็นแม่น�้ำสาขาสายหลักของแม่น�้ำยมซึ่งมีล�ำน�้ำสาขาแตกแขนงคล้าย  กิ่งไม้ถึง ๗๗ สาย จากอ�ำเภอสอง  แม่น�้ำยมไหลไปบรรจบกับแม่น�้ำน่านที่อ�ำเภอ  ชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์  ก่อนแม่น�้ำน่านจะไหลไปรวมกับแม่น�้ำปิง  ที่ ต� ำ บลปากน�้ ำ โพ  อ� ำ เภอเมื อ งนครสวรรค์   จั ง หวั ด นครสวรรค์   ซึ่ ง  แม่น�้ำปิงนี้ไหลรวมมากับแม่น�้ำวังตั้งแต่บรรจบกันที่จังหวัดตาก   ณ จุดบรรจบกันของปิง วัง ยม น่าน ทีป่ ากน�ำ้ โพจึงเกิดเป็นสาย  น�้ำใหญ่  แม่น�้ำเจ้าพระยา เส้นทางน�ำ้ นีใ้ นอดีตเป็นเส้นทางล่องขอนไม้สกั จากป่าเชียงรายมา  สมทบกับขอนไม้สกั จากป่าเมืองงาว เมืองล�ำปาง เมืองแพร่  เมืองเชียงใหม่  และเมืองล�ำพูนที่ปากน�้ำโพ ล่องมาจนถึงเมืองหลวงในที่สุดนั่นเอง ในฤดูฝน ระดับน�ำ้ แม่นำ�้ ยมขึน้ สูงมาก กระแสน�ำ้ ไหลแรง พืชใต้นำ�้   และบนผิวน�้ำถูกพัดพากระจัดกระจายไปทัว่   ไม้ซงุ จากจังหวัดเหนือสุด  ในสยามจึงล่องได้เร็วและสะดวกดายไร้สิ่งกีดขวาง  พืชใต้นำ�้ เพียงชนิด  เดียวที่แม่น�้ำยมมีคือสาหร่ายหางกระรอกซึ่งเติบโตดีที่สุดในฤดูร้อนที่  ระดับน�้ำไม่สูง แสงแดดส่องถึงใต้ผิวน�้ำได้ดี ที่ต�ำบลบ้านหวด พ่อเฒ่าสารและแม่เฒ่าค�ำ สารสมบูรณ์  เลือก  ท�ำเลตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนบ้านหวด แต่ค่อนมาใกล้กับคุ้งน�ำ้ แม่หวด  ภาค ๓

237


ติ ด กั บ คุ ้ ง น�้ ำ แม่ ห วดนี้ เ ป็ น ที่ ตั้ ง ของบ้ า นเรื อ นชั่ ว คราว  ค� ำ เมื อ งเรี ย ก  ป๋าง  สมัยนั้นเรียกบริเวณชุมชนนี้ว่าบ้านถานป๋างไม้  (บ้านฐานปางไม้)  หมายความว่าเป็นทีพ่ กั อาศัยของกลุม่ คนมีอาชีพท�ำป่าไม้ซงึ่ มีหลากหลาย  หน้าที่ตามชนิดงาน  ส�ำหรับบ้านถานป๋างไม้แห่งนี้เป็นฐานของเจ้าของปางช้างรับเหมา  ช่วงลากขอนไม้หลายครอบครัว    ส�ำคัญมากขาดไม่ได้เลยคือต้องอยู่  ใกล้แหล่งน�้ำธรรมชาติ  เพราะช้างท�ำงานชักลากขอนไม้ที่เลี้ยงดูไว้ใน  ครอบครอง  นอกจากมี ค วาญ  มี ค นเลี้ ย งให้ อ าหารและพาไปหา  อาหารกินในป่าแล้ว ต้องมีคนพาไปอาบน�้ำเล่นน�้ำทุกวัน   การท�ำป่าไม้ลดลงเรือ่ ยๆ ตัง้ แต่ทศวรรษ ๒๔๘๐ จนปิดป่าในทีส่ ดุ   เมื่อปี  ๒๕๐๐    บ้านถานป๋างไม้ที่ค่อยๆ  ซบเซาลงก็สิ้นสูญตามกันไป  มีแต่คนรุ่นนั้นที่ยังจ�ำอดีตและชื่อบ้านถานป๋างไม้ได้ บ้ า นเก๊ า   (บ้ า นหลังเดิมเริ่มแรก)  ที่สาวอึ่งเคยอยู่กับพ่อแม่ที่  บ้านหวด ก่อนจะมาเปิดร้านขายของช�ำทีเ่ รือนแถวไม้  ณ สามแยกสะพาน  โยง เป็นเรือนไม้  มีใต้ถุนสูงกว่าปรกติของบ้านเรือนทั่วไป เรียกว่าพอ  ก้าวออกจากชานเรือนก็ขนึ้ หลังช้างได้พอดี   หน้าบ้านมีลานว่างล่ามช้าง  ไว้ได้   ทีข่ าดไม่ได้สำ� หรับทัง้ ช้างและคน ในบริเวณบ้านบนทีด่ นิ กว่า ๑๐๐  ตารางวาของลูกหลานสกุลสารสมบูรณ์ที่ยังสืบเชื้อสายกันต่อมา คือบ่อ  น�้ำที่ยังคงรูปอยู่จนถึงวันนี้ นอกจากช้าง ม้าเป็นพาหนะอีกชนิดหนึ่งที่จะพาคนในครอบครัว  สารสมบูรณ์เดินทางไปไหนต่อไหน รวมทัง้ ส่งเด็ก เช่นหลานของพ่อเลีย้ ง  ช้างแม่เลี้ยงช้างไปโรงเรียน หลานคนแรกของพ่อเฒ่าสารแม่เฒ่าค�ำก็คือ  ผู้จะมาเป็นแม่ของผู้เขียนนั่นเอง พ่อเฒ่าสาร บิดาของสาวอึ่งแต่งกายแบบไทใหญ่เหนือ คือกลุ่ม  คนไทใหญ่อยูท่ างตอนเหนือของรัฐฉานในพม่าทีม่ พี รมแดนทางตะวันออก  238


ติดจีน นิยมโพกหัวด้วยผ้าสีขาวหรือด�ำ ต่างจากกลุ่มคนไทใหญ่ทางใต้  ของรัฐฉานทีไ่ ม่นยิ มโพกผ้า  แม่เล่าให้ผเู้ ขียนฟังว่า “ป้อเฒ่าเปิน้ หัวเคียน  ผ้าขาว” (พ่อเฒ่าท่านหัวโพกผ้าขาว)  ส่วนแม่เฒ่าค�ำมารดาของสาวอึ่ง  นุ่งซิ่น สวมเสื้อขาวแบบคนพื้นเมืองทั่วไป ใครๆ ก็เรียกพ่อเฒ่าสารว่าเฮ้ดแมน๓ (headman) คือ ต�ำแหน่ง  หัวหน้า ใช้เรียกกันในหมูค่ นพม่าในประเทศพม่าและสยาม ส่วนมากเป็น  ชาวไทใหญ่ผมู้ กั เป็นเจ้าของโขลงช้างรับท�ำงานชักลากขอนไม้สกั ให้บริษทั   ท�ำไม้ของอังกฤษที่ได้สัมปทานป่าไม้จากสยามมากที่สุดถึงร้อยละ ๘๐  ในบรรดาบริษัทต่างชาติค้าขอนไม้  ผู้เฒ่าทั้งสองอพยพจากเมืองแพร่มา  ตั้งบ้านเรือนท�ำงานรับเหมาช่วงชักลากไม้ซุงอยู่ที่บ้านหวด ดังทีบ่ า้ นหวดมีลำ� น�ำ้ หวดไหลผ่านไปสูแ่ ม่นำ�้ งาวอันเป็นเส้นทางน�ำ้   ส�ำคัญในฤดูนำ�้ หลากทีจ่ ะพาขอนไม้สกั ไปบรรจบสูแ่ ม่นำ�้ ยม  และน�ำ้ หวด  สายนีน้ นั่ หรือ ก็ไหลออกมาจากป่าลึก คือป่าปางหละทีเ่ ป็นผืนป่าสมบูรณ์  เปรียบเสมือน “เหมืองทองค�ำ” ของกิจการสัมปทานป่าไม้เลยทีเดียว ต้นสักทองขึ้นตามธรรมชาติในป่าภาคเหนือได้ชื่อว่าเป็นไม้สักดี  ที่ สุ ด ในโลกพั น ธุ ์ ห นึ่ ง   ดิ น ที่ เ หมาะอย่ า งยิ่ ง ส�ำ หรั บ ต้ น สั ก ทองคื อ ดิ น  ปนทรายเกิดจากหินปูนเช่นดินเมืองงาวนี่เอง  ในช่วงปี  ๒๔๒๐-๒๔๖๐  จังหวัดล�ำปางเป็นหัวเมืองมณฑลพายัพที่เป็นศูนย์กลางส�ำคัญในการค้า  และส่งออกไม้สัก    ป่าเมืองงาวให้ผลผลิตขอนไม้สักในอันดับต้นของ  สามป่าสัมปทานในเชียงราย    อีกสองป่านั้นคือป่าเมืองฝางของเมือง  เชียงใหม่และป่าเมืองจุนของเมืองเชียงราย ตกปีละกว่าหรือเกิน ๑ แสน  ไม้ซุงให้แก่บริษัทสัมปทานป่าไม้  แองโกล-สยาม ต้นสักป่าเมืองงาวเมือ่ ตัดแล้วแห้งแล้วอยูใ่ นสภาพขอนไม้ซงุ จะต้อง  รอฤดูฝนที่น�้ำหลากเพียงครั้งเดียวเท่านั้นต่อปี  ใช้ช้างชักลากขอนไม้สัก  ลงสู่น�้ำงาวที่จะพาขอนไม้สักหรือไม้ซุงหลายพันหรือหมื่นต้นไปบรรจบ  ภาค ๓

239


ขบวนไม้ซงุ จากป่าเชียงรายในแม่นำ�้ ยม ทีอ่ ำ� เภอสอง จังหวัดแพร่  ล่องน�ำ้   ตามกันไปบรรจบกับแม่น�้ำน่านทีอ่ �ำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  แล้ว  ล่องต่อไปอีกจนถึงปากน�้ำโพ  อันเป็นจุดสมทบใหญ่ของขอนไม้สักไม้  ซุงทีล่ อ่ งมากับแม่นำ�้ ยมและแม่นำ�้ ปิง โดยขบวนไม้ซงุ จากป่าเมืองเชียงใหม่  เมืองล�ำพูนในแม่น�้ำปิงจะมีขบวนขอนไม้ซุงจากป่าจังหวัดตากไหลล่อง  ตามแม่น�้ำวังมาสมทบกับแม่น�้ำปิงช่วงไหลผ่านจังหวัดตาก ขอนไม้ซงุ จ�ำนวนหลายหมืน่ ต้นทีไ่ หลล่องตามน�ำ้  ปิง วัง ยม น่าน  มาพบกันที่ปากน�้ำโพนี้รวมกันเข้าก็เป็นขบวนขอนไม้ซุงสายใหญ่และ  ยาวทีไ่ หลตามแม่น�้ำเจ้าพระยาไปสูจ่ ดุ หมายยังเมืองหลวง ขึน้ เรือบรรทุก  ออกไปในมหาสมุทรใหญ่จนถึงยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทีเ่ กาะ  อังกฤษอันเป็นจุดหมายปลายทางของขอนไม้สกั จ�ำนวนเหลือคณานับจาก  ป่าอันอุดมของอินเดียและพม่า  ระยะหลังๆ มีการแปรรูปเป็นไม้กระดาน  เพื่อส่งออกบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย การล�ำเลียงขนส่งขอนไม้ซงุ ทางน�ำ้ อย่างเป็นอุตสาหกรรมเช่นนีเ้ ริม่   ด�ำเนินในสยามประมาณทศวรรษ  ๒๓๔๐  (ต้นคริสต์ศตวรรษที่  ๑๙)  เมื่อจักรวรรดิอังกฤษเข้ายึดครองอินเดียเป็นเมืองขึ้น  และต่อมาพม่า  ซึ่งเป็นประเทศที่มีป่าไม้สักใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งแต่ปี  ๒๓๖๗ จักรวรรดินิยมอังกฤษโดยหน่วยงานอีสต์อินเดีย  เริ่มยาตราทัพ ใช้ทั้งทหารอังกฤษและทหารอินเดียบุกเข้าพม่าทางด้าน  ตะวันออกของอินเดียที่มีพรมแดนร่วมกันเป็นป่าทึบ  ในปี  ๒๓๙๘ นั้น  เองจักรวรรดินิยมอังกฤษประกาศพื้นที่ป่าทางตอนเหนือของพม่ารวม  เข้ากับอินเดีย  กองทัพทหารผสมของจักรวรรดินยิ มท�ำให้ประเทศพม่าที่  เคยเป็นอาณาจักรใหญ่ทสี่ ดุ ระดับ “จักรวรรดินยิ ม” เลยก็วา่ ได้ในภูมภิ าค  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  สมัยพระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (๒๐๕๙-  ๒๑๒๔)  ที่มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกแผ่ขยายถึงอาณาจักรล้านนา  240


อาณาจักรล้านช้าง  อาณาจักรอยุธยา  และทางตะวันตกถึงรัฐมณีปุ ร ะ  ต้องตกเป็นอาณานิคมเมืองขึ้นของจักรวรรดินิยมอังกฤษอย่างหมด  หนทางสู้  หลังสงครามนองเลือดระหว่างอังกฤษกับพม่าครั้งที่  ๓  ปี  ๒๔๒๘  จักรวรรดินิยมนั้นต้องการวัตถุดิบราคาถูก  ตลาดระบายสินค้า  จัดหาสินค้าหายากซึ่งเป็นที่ต้องการในประเทศตะวันตก  และแสวงหา  ประโยชน์จากแรงงานราคาถูก เนื้อไม้สักทองจากป่าพม่าและไทยถือว่าเกรดดีกว่าไม้สักอินเดีย  นอกจากเนื้อละเอียดสีเหลืองทองสวยงาม  มีวงปีบ่งบอกอายุชัดเจน  ความแข็งเปราะก�ำลังดี  แปรรูปและแกะสลักได้ง่าย  แข็งแรงทนทาน  เป็นเลิศ แมลงไม่กดั กิน ดูแลรักษาง่ายเพียงเช็ดถูดว้ ยน�้ำเปล่าหรือแม้แต่  น�้ำทะเลก็ใช้ได้    รายงานวิจยั ตีพมิ พ์ในยุโรปเมือ่ ปี  ๒๓๖๔ พบว่าไม้สกั จากป่าเมือง  บอมเบย์ช่วยยืดอายุเรือของกองทัพราชนาวีอังกฤษอันเกรียงไกรที่เป็น  เครื่องมือส�ำคัญล่าอาณานิคมไปทั่วทุกทวีปได้นานขึ้นอีก มากกว่าเรือที่  ใช้ไม้โอ๊กจากป่าของอังกฤษถึง ๔๐ ปี   เนือ้ ไม้สกั มีน�้ำมันชนิดหนึง่ ทีช่ ว่ ย  รักษาตะปูไม่ให้เป็นสนิมเมื่อถูกน�้ำ จึงเป็นที่ต้องการของจักรวรรดินิยม  อังกฤษพอๆ กับเหล็ก  กระทัง่ นักล่าอาณานิคมชาวดัตช์กพ็ บด้วยว่า ที่  คมใบเลื่อยโรงเลื่อยของพวกเขาสึกหรอเร็วและสิ้นเปลืองมาก ก็เพราะ  ซุงไม้สักจากเกาะชวาอาณานิคมของตนเนื้อแข็งกว่าซุงไม้สักจากแถบ  พม่าและไทย จนเมื่อป่าสักของพม่าในบริเวณที่ขนส่งล�ำเลียงขอนไม้ซุงสะดวก  จากเหนือลงใต้ด้วยล�ำน�้ำอิรวดีเริ่มร่อยหรอ อังกฤษจึงเริ่มเข้ามาตัดไม้  ในป่าทางใต้โดยอาศัยแม่น�้ำสาละวินขนส่งออกทะเลอันดามัน   วิเทโศบายแสวงหาไม้สักอย่างไม่จ�ำกัดจ�ำนวนของจักรวรรดินิยม  ภาค ๓

241


อังกฤษท�ำให้ต้องค่อยๆ ลามเข้ามาท�ำป่าไม้ในภาคเหนือของสยามหลัง  จากส่งคนเข้ามาส�ำรวจแล้วว่ามีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ดีมาก   ในเบื้องต้นรุกเข้ามาขอสัมปทานกับเจ้านครเมืองเหนือผู้มีสิทธิ์ให้  สัมปทาน ขณะเดียวกันก็เริ่มเข้ามาอาศัยรัฐบาลกลางสยามควบคุมเจ้า  นครเมืองเหนือให้สทิ ธิส์ มั ปทาน  มีหลักฐานว่าทีแ่ ม่ฮอ่ งสอน ล�ำพูน และ  เชียงใหม่นนั้ น�ำชาวไทใหญ่มาช่วยและฝึกสอนแรงงานทัง้ คนและช้างเพื่อ  ท�ำงานให้บริษทั สัมปทานป่าไม้ของคนในบังคับอังกฤษ คืบคลานมาจนถึง  เมืองปง ล�ำปาง และแพร่  มีทงั้ น�ำ้ ปิง น�ำ้ วัง น�ำ้ ยม ให้ใช้เป็นเส้นทางการ  ขนส่งล่องซุงมาจนถึงเมืองท่าบางกอก หรือถ้าน�ำขอนไม้สกั จากป่าสยาม  ไป “ใส่โสร่ง” ล่องออกทางแม่นำ�้ สาละวินได้กย็ งิ่ ดี  เพราะไม่ตอ้ งผ่านด่าน  ภาษีสยามทีน่ ครสวรรค์   เส้นทางหลังนีแ้ ม้หลังจากบริษทั อังกฤษถอนตัว  ไปนานแล้วก็ยังคึกคักมีชีวิตอยู่เสมอมาอีกนาน ด้วยฝีมือผู้ค้าไม้ทั้งชาว  ไทยและพม่าภายใต้รัฐบาลทั้งทหารและพลเรือนของสองประเทศ ด้วยงานชักลากขอนไม้มที ำ� เป็นช่วงๆ ในป่าปางหละทีอ่ ยูล่ กึ เข้าไป  อีกจากบ้านหวด ตลอดปีเหล่าครอบครัวคชาชีพพ่อเฒ่าสารและแม่เฒ่า  ค�ำผูอ้ พยพมาจึงใช้คงุ้ น�้ำหวดใกล้บา้ นเป็นฐานทีต่ งั้ ปางช้างทีเ่ รียกว่าบ้าน  ถานป๋างไม้ร่วมกับครอบครัวคชาชีพอื่นอีกสองถึงสามครอบครัว    ที่นี่  อุดมด้วยน�ำ้ หญ้าป่าไผ่ปา่ ละเมาะแหล่งอาหารของช้าง  ถึงเวลางานทัง้ คน  และช้างจึงเข้าไปปักหลักท�ำงานชักลากไม้ซงุ ทีบ่ ริษทั สัมปทานป่าไม้ลม้ ไว้  ในป่าก่อนหน้านานเป็นปี  น�ำไปส่งลงสายน�ำ้ หวดที่จะพาขอนไม้ซุงออก  สู่น�้ำงาวและน�้ำยมจนถึงแม่น�้ำเจ้าพระยา  เสร็จงานช่วงนั้นแล้วทั้งคน  ทั้งช้างก็กลับมาพักอาศัยที่บ้านถานป๋างไม้  ณ คุ้งน�้ำหวดได้  ไม่จ�ำเป็น  ต้องอยู่ในป่าลึกตลอดปี สาวอึ่ ง ในฐานะลู ก สาวคนโตช่ ว ยงานพ่ อ แม่ อ ย่ า งขยั น ขั น แข็ ง  เจ้าของปางช้างโดยเฉพาะฝ่ายหญิงต้องดูแลชีวติ ความเป็นอยูข่ องคนงาน  242


เหล่าคชาชีพในสังกัด ทั้งดูแลอาหารการกิน ติดตามพ่อแม่ที่ต้องเข้ามา  ซื้อข้าวของที่กาดหมั้วใหญ่ในเมืองงาว ติดสอยห้อยตามพ่อสารช่วยเป็น  หูเป็นตาให้เวลามาติดต่อนายห้างป่าไม้และทางราชการ ซึ่งก็อยู่ไม่ไกล  กันนักบนถนนสายเดียวกัน ขณะนัน้ ในครอบครัวคงไม่มใี ครเลยแม้แต่ตวั สาวอึง่ เองทีจ่ ะเฉลียว  ใจว่า  ในวันหนึ่งข้างหน้าชีวิตเธอจะเดินออกจากปางช้างอ้อมอกของ  พ่อแม่มาสร้างชีวิตใหม่กับครอบครัวที่เรือนห้องแถว ณ ตลาดสามแยก  สะพานโยง ร้านช�ำของหม้ายอึ่งมีสินค้าหลากหลาย อยู่ในท�ำเลดี  ด้วยสภาพ  ภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะใช้เส้นทางใดจากกรุงเทพฯ ถึงเมืองเชียงราย มาจาก  เด่นชัย-อุตรดิตถ์  แพร่  หรือล�ำปางต้องผ่านเมืองงาวทัง้ นัน้  จุดตัดสามแยก  น�ำไปสูส่ ามถึงสีจ่ งั หวัดนีอ้ ยูต่ รงช่วงระหว่างกิโลเมตรที ่ ๖๘๘-๗๐๐ ตามหลัก  กิโลเมตรเดิมบนทางหลวงถนนลูกรังล�ำปาง-งาว เส้นทีพ่ าดผ่านเข้าตลาด  เมืองงาวนัน่ เอง  เมืองงาวจึงมีคนผ่านไปมาตลอดปี  หม้ายอึง่ สบโอกาส  บรรจงท�ำอาหารสุดฝีมือออกขายเพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง เมือ่ เข้ากลางๆ ปี  ๒๔๘๐ ร้านของหม้ายอึง่ มีชวี ติ ชีวาขึน้ ด้วยผูช้ ว่ ย  มาใหม่  คือลูกสาวคนโตของเธอนัน่ เอง เพิง่ จะถูกแม่เรียกตัวกลับจากเมือง  เชียงใหม่ ทีแ่ ม่สง่ เธอไปเรียนหนังสือทัง้ ภาษาไทย (กลาง) และจีนตัง้ แต่  อายุ   ๙ ถึ ง  ๑๐  ขวบจนอายุ   ๑๖  ปี   จบชั้ น   ๖  ตามการนั บ ชั้ น ของ  โรงเรียนฮั่วเคี้ยวหรือหัวเฉียว  เทียบได้กับระดับชั้นมัธยมฯ  ๖  ในสมัย  ผู้เขียนหรือระดับมัธยมฯ  ๓  ปัจจุบัน    สมัยนั้นประกาศนียบัตรชั้น  ๖  ของโรงเรียนฮั่วเคี้ยวใช้สมัครเป็นครูได้แล้ว การมาถึงของสาวน้อยมีการศึกษา ฉลาดเฉลียว แต่งกายทันสมัย  สะอาดสะอ้านท�ำให้รา้ นสดใสขึน้ ทันที  หนุม่ ๆ ในเมืองงาวพากันแวะเวียน  ภาค ๓

243


มา เป็นต้นว่าข้าราชการเพิง่ ย้ายมาใหม่  ลูกคหบดีโรงบ่มใบยา ลูกคหบดี  ค้าไม้  กระทั่งหนุ่มต่างถิ่นเช่นหนุ่มลูกเถ้าแก่โรงสีจากเมืองพาน  หนุ่ม  ลูกจีนสยามครอบครัวค้าขายจากเมืองอืน่ ๆ เช่น ล�ำปาง แพร่  อุตรดิตถ์  เชียงใหม่  ฯลฯ ทีท่ งั้ ตัง้ ใจแวะมาเป็นครัง้ คราวและมาแสวงโชคสร้างอาชีพ  รวมถึงนายทหารหนุ่มๆ จากกองทัพเมืองหลวงที่ต้องมาประจ�ำการคุม  กองทัพในภาคเหนือในช่วงนัน้ ทีไ่ อสงครามมหาเอเชียบูรพาคุกรุน่ ขึน้ แล้ว ส�ำหรับกองทหารไทย เมืองงาวเป็นทัง้ จุดผ่านจุดพักรอเวลาปฏิบตั ิ  การยกพลทหารไทยขึ้นไปสมทบกับอีกส่วนหนึ่งที่ไปถึงเชียงตุง แต่แล้วเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามจึงเกิดภาวะที่เรียกว่าลอยแพทหาร  กลางสนามรบ ปล่อยให้ทหารไทยจากเชียงตุงเดินเท้ากลับบ้าน พอมาถึงเมืองงาว เหล่าทหารหาญก็คอ่ ยยิม้ ออกเห็นโอกาสจะกลับ  ถึงเมืองหลวงอยู่เบื้องหน้า นายทหารผู้ผ่านความยากล�ำบากแสนสาหัส  ช่วงนีห้ ลายคนก้าวหน้าในชีวติ ราชการ บ้างได้เป็นนายพล บ้างมีต�ำแหน่ง  ถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด๔ สุภาพสตรีผู้ได้เป็นคุณหญิงตามฐานานุรูป  ของสามีนายทหารกลุ่มนี้บ้างก็คือคนสวยของเมืองงาวรุ่นราวคราวเดียว  กับลูกสาวหม้ายอึง่ นีเ่ อง  เมืองพะเยาในช่วงเวลานัน้ ก็มกี องทหารไทยเช่น  กัน จึงหนีไม่พน้ เรือ่ งราวความรักระหว่างทหารหนุม่ และสาวต่างถิน่   หลัง  จากทีก่ องทัพถอนออกไปแล้วนายทหารหลายคนได้หวนกลับมาแต่งงาน  ตัง้ ครอบครัวกับสาวท้องถิน่  แต่บางคนก็ไม่ได้กลับมา มีสาวบางคนทีไ่ ม่ร้ ู ด้วยซ�ำ้ ไปว่าเกิดปฏิสนธิตงั้ ครรภ์แล้ว เมือ่ กองทหารถอนออกไป ลูกทีเ่ กิด  มาจึงไม่มีพ่อ เติบโตเป็นคนเมืองงาวคนเมืองพะเยาโดยใช้นามสกุลแม่  ผูป้ ดิ ปากสนิทไม่ยอมบอกครอบครัวเลยว่าท้องกับใคร อาจเป็นเพราะเกรง  ว่าหนุ่มแฟนทหารจะถูกลงโทษทางวินัยหากเกิดการติดตามไต่สวนขึ้น สงครามความตึงเครียดในพม่าระหว่างอังกฤษฝ่ายสัมพันธมิตร  กับญี่ปุ่นและการที่ไทยเข้าร่วมกับญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพาท�ำให้  244


การท�ำไม้ของบริษัทสัมปทานป่าไม้ซึ่งเบาบางลงอยู่แล้วต้องชะงักงันจน  แทบจะหยุดไปเลย โดยเฉพาะเมือ่ รัฐบาลไทยสมัยจอมพล แปลก พิบลู -  สงคราม เพิกถอนสัมปทานไม้สกั ในภาคเหนือ  สัง่ ยึดกิจการและทรัพย์สนิ   รวมขอนสักจากบริษทั อังกฤษสีบ่ ริษทั  เพราะอังกฤษเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร  ส่วนบริษัทท�ำไม้สักที่มิใช่คู่กรณีสงคราม เช่น บริษัทอีสต์เอเชียติกของ  เดนมาร์กยังด�ำเนินกิจการได้  แต่ว่าหลังสงครามเพียงปีเดียว ปี  ๒๔๘๙  รัฐบาลไทยนอกจากต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามดังที่ทราบกันดี  ยังต้อง  คืนสัมปทานและชดใช้ค่าเสียหายระหว่างสงครามให้บริษัทอังกฤษที่เคย  ได้สัมปทานป่าไม้เหล่านี้ด้วย มณฑลพายัพขณะนั้นมีเมืองล�ำปางเป็นหัวเมืองใหญ่และเป็นจุด  ยุทธศาสตร์ส�ำคัญสนับสนุนปฏิบตั กิ ารกองทัพญีป่ นุ่ ในภาคเหนือทีจ่ ะเข้า  พม่า เช่นมีกองทหารญีป่ นุ่ มาอยูท่ นี่ ครล�ำปาง  ญีป่ นุ่ มีแผนใช้โรงพยาบาล  เอกชนชั้นดีคือโรงพยาบาลแวนแซนต์วูร์ดของมิชชันนารีเป็นฐานการ  แพทย์ส�ำหรับกองทัพญี่ปุ่น๕ การทหารและการค้าน�ำพาผู้คนทั้งฝ่ายทหาร  พลเรือน  รถยนต์  รถบรรทุก และขบวนล้อต่างบรรทุกสัมภาระสินค้าผ่านเข้าผ่านออกเมือง  งาวไม่เว้นแต่ละวัน สินค้าอุปโภคบริโภคซื้อขายไหลเวียนไม่ขาดสาย  คลาคล�่ำทั้งที่  บริเวณกาดหน้าโฮงพัก และท�ำเลค้าขายก�ำลังรุ่งแห่งใหม่  ณ สามแยก  สะพานโยง ส�ำหรับโรงสีข้าวในเมืองพะเยาและเมืองพานจนถึงเมืองเชียงราย  ไม่มที ใี่ ดน่าจะส่งคนไปท�ำการตลาดนอกพืน้ ทีย่ งิ่ ไปกว่าเมืองงาวอีกแล้ว   โรงสีที่พะเยาได้เปรียบค่าขนส่งอย่างมากเมื่อเทียบกับโรงสีที่อยู่  เหนือขึน้ ไปอีก เพียงแต่วา่ งานหาตลาดขายข้าวสารเป็นงานละเอียดอ่อน  ภาค ๓

245


ตลาดนอกพื้นที่เช่นนี้มีภาระบริหารจัดการและท�ำบัญชีเพิ่มขึ้นกับผู้ซื้อ  ข้าวสารจากโรงสีมาขายต่อที่เรียกกันด้วยภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “ยี่ปั๊วโรงสี”  ต้องมีคนเดินทางไปๆ มาๆ ติดต่อดูแลลูกค้า เก็บเงิน เก็บกระสอบคืน  ในสภาพเดิมและครบจ�ำนวน อย่ากระไรเลยเพียงแค่กระสอบถูกสอดไส้เปลี่ยนกระสอบใหม่  เป็นกระสอบเก่าโดยคืนจ�ำนวนถูกต้อง โรงสีกข็ าดทุนไปแล้วล่วงหน้าไม่ร้ ู ตัว    โรงสีจึงต้องมีคนละเอียดถี่ถ้วนไว้ใจได้ท�ำทุกหน้าที่อย่างซื่อสัตย์  ไม่กินนอกกินใน จึงจะคุ้มทุนและมีก�ำไร ในหน้าที่คุณสมบัติทุกอย่างดังกล่าวนี้เหลี่ยงต่นได้หวนคืนสู่เมือง  งาวอีก นับแต่วนั แรกทีห่ วนคืน นอกจากตัง้ ใจพิสจู น์ตนเองกับเถ้าแก่พนี่ อ้ ง  โรงสีหยุ้ยพงหล่งเรื่องการตลาดการค้า เสร็จธุระติดต่อซื้อขายข้าวสารที่  กาดหมัว้ ใหญ่แล้ว เขาตรงดิง่ มาทีส่ ามแยกสะพานโยงทันที  หมายมัน่ จะ  กระชับไมตรีได้ความไว้วางใจจากสองแม่ลกู แห่งเรือนแถวร้านช�ำสามแยก  สะพานโยงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เทียบกับเมื่อก่อนตอนมาถึงเมืองงาวใหม่ๆ  จากเมืองพิชัยมา  “ฝึกงาน”  ฐานานุรูปที่ก�ำลังไต่เต้าขึ้นเป็นเสมียนของโรงสีใหญ่ขณะนี้  ย่อมดีกว่าเดิมมาก กระนั้นหนุ่มน้อยที่หม้ายอึ่งเรียกขานเขาด้วยชื่อจีน  ตัง้ แต่แรกรูจ้ กั  ยังคงเป็นเหลีย่ งต่นคนเดิม ไม่ถอื ว่าตัวเองมาจากโรงสีใหญ่  เคยเคารพนับถือหญิงหม้ายวัยแม่อย่างไรก็อย่างนั้น ไปลามาไหว้คารวะ  เธอตามธรรมเนียมจีนและไทย บางทีมขี องป่าเล็กๆ น้อยๆ ติดมือมาฝาก  เช่น น�้ำผึ้ง สมุนไพร ดีหมี  ส้มสูกลูกไม้ในท้องถิ่น ฯลฯ  มิ ช ้ า มิ น านเมื่ อ แม่ ลู ก คู ่ นี้ สั่ ง ข้ า วสารแต่ ล ะครั้ ง หลายกระสอบ  สม�่ำเสมอ ช�ำระเงินตรงเวลาไม่เคยผิดนัด พร้อมคืนกระสอบสภาพเดิม  สะอาดเอี่ยมชนิดที่ว่าสะบัดแล้วไม่มีแม้แต่ปลายข้าวน้อยหนึ่งหลุดลงมา  246


พับหรือม้วนคืนเป็นมัดอย่างเรียบร้อย เหลีย่ งต่นย่อมจัดสองแม่ลกู อยูใ่ น  กลุ่มคู่ค้าชั้นดีของโรงสีหยุ้ยพงหล่ง หมายความว่าได้รับผ่อนผันอนุโลมหลายอย่าง เช่นสั่งซื้อข้าวสาร  ในบัญชีเชือ่ ได้  “เครดิต” นานขึน้  นอกจากไม่ตอ้ งจ่ายสด ไม่ก�ำหนดเวลา  ตายตัวในการจ่ายเงินค่าข้าวสาร เหลีย่ งต่นยังคัดเลือกข้าวสารดีเมล็ดสวย  สุดให้เสมอ ส่งข่าวสารการค้าขายข้าวสารทีค่ นวงในเท่านัน้ จะรู ้ เช่นภาวะ  ราคาตลาด    ข้าวสารที่สีจากข้าวเปลือกชั้นดี  ข้าวใหม่ดีๆ  ที่เพิ่งออก  ส่งข้าวให้ตรงเวลา  ไม่เคยช้า  ไม่เคยผิดนัดขาดส่ง  ยิ่งในสถานการณ์  สงครามสยามเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์กบั กองทัพญีป่ นุ่  ข้าวสารเป็นทีต่ อ้ งการ  มากขึ้นทั้งที่เมืองงาวและเมืองล�ำปาง ยิ่งจะต้องก�ำชับก�ำชาเป็นพิเศษ ถ้าเป็นรถบรรทุกข้าวสารตัวถังไม้ทเี่ รียกว่า รถคอกหมู  ของคนรูจ้ กั   กันละก็  สารถีย่อมได้รับฝากสารแจ้งรายละเอียดสินค้าและจดหมาย  น้อยที่เสมียนโรงสีหนุ่มก�ำชับก�ำชาว่าต้องส่งถึงมือแม่ลูกทุกครั้งก่อนจะ  เอาข้าวสารลง บางครั้งแม้ไม่มีข้าวสารมาลง จดหมายน้อยก็ยังมีมาถึง แรกสุดเมื่อพบเห็น เสมียนหนุ่มจ�ำได้เสมอว่าสองแม่ลูกดูไม่ต่าง  จากหญิงพื้นเมืองภาคเหนือทั่วไป นุ่งผ้าซิ่น พูดค�ำเมือง ลูกสาวอาจมี  แต่งกระโปรงแต่งกางเกงบ้างก็เฉพาะตอนออกนอกบ้านบางโอกาส  ดู  ท่าทางทันสมัย  คิดว่าเป็นเพราะเมืองงาวเคยคึกคักด้วยการสัมปทาน  ป่าไม้ของบริษทั คนในบังคับอังกฤษ ตลอดจนมีพอ่ เลีย้ งป่าไม้ชาวพม่ามา  ตั้งถิ่นฐานนานก่อนปี  ๒๔๒๐ และในช่วงปี  ๒๔๒๐-๒๔๖๐ เมืองล�ำปาง  เป็นศูนย์การค้าไม้สกั ส�ำคัญในภาคเหนือแต่ละฤดูนำ�้ หลากขอนไม้ซงุ ในน�ำ้   วังนับได้เป็นหมืน่ เป็นแสนต้น ดึงดูดให้คนจ�ำนวนมากหลายอาชีพหลาย  สถานภาพไม่เพียงเหล่าคชาชีพเข้ามาอาศัยอยูแ่ ละเข้าๆ ออกๆ ผ่านไป  มา เมืองงาวเมืองผ่านเล็กๆ นี้มีสิ่งประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้เทคโนโลยี  ภาค ๓

247


ใหม่ๆ เข้ามาถึง เช่น รถยนต์  รถเก๋ง ร้านถ่ายรูป จักรเย็บผ้า เป็นต้น จึง  ไม่นา่ แปลกทีส่ องแม่ลกู จะเห็นเป็นโอกาสเปิดร้านขายของอุปโภคบริโภค  ข้าวสาร อาหารสองสามอย่างท�ำมาหาเลี้ยงชีพไปวันๆ ตามประสา แต่เมื่อได้ไปมาหาสู่พูดคุยกับหญิงหม้ายวัยแม่คนนี้ไม่กี่ครั้ง เขา  กลับแปลกใจและทึ่งมาก  ทั้งสายเลือดและวัฒนธรรมหน้าตาท่าทาง  ทุกกระเบียดนิ้ว บ่งบอกชาติก�ำเนิดหญิงพื้นเมืองเต็มร้อย ไม่รู้หนังสือ  ไทยกลาง รูต้ วั เมืองและตัวเลขมาตราชัง่ ตวงวัดแบบล้านนาพอติดต่อท�ำ  มาค้าขายได้เท่านั้น แต่ทำ� ไมเธอจึงพูดภาษาจีนไหหล�ำสื่อสารกับเขาใน  ชีวติ ประจ�ำวันได้อย่างคล่องแคล่ว รูจ้ กั ใช้ตะเกียงลาน ถีบจักรเหล็กหล่อ  คันงามเย็บซ่อมแซมเสือ้ ผ้า เย็บผ้าม่านหารายได้เสริม ตราตัวแมงมุมตัว  อั ก ษรฝรั่ ง ที่ ป รากฏบนหั ว จั ก รและใต้ ท ้ อ งจั ก รบ่ ง ว่ า มาจากประเทศ  ตะวันตกที่เธอออกเสียงว่า “เยรมัน” ทีส่ ำ� คัญเขารูส้ กึ ว่าหญิงหม้ายวัยแม่ชอบใจมากๆ ทีจ่ ะได้พดู ภาษา  จีนไหหล�ำกับเขาทุกครั้งที่มาหา อีกทั้งแสดงความชื่นชมวัฒนธรรมการ  รู้หนังสือจีนอย่างเต็มเปี่ยม หนุ่มจากเมืองพิชัยจึงเอะใจสงสัยอยู่คราม ครัน วันหนึ่งสบโอกาสถามถึงจักรเย็บผ้า๖ที่เขาเห็นใช้งานได้ดี  ตั้งข้อ  สังเกตว่าเวลาถีบจักรดูเบาแรง ควบคุมการหยุดได้เที่ยง เสียงไม่ดังนัก  เขาสนใจเครือ่ งไม้เครือ่ งมือเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นกัน หัดซ่อมจักรยานเอง  เห็นเมืองงาวมีร้านถ่ายรูปอัดรูป ซึ่งก็อาจเนื่องจากมีชาวตะวันตกเข้ามา  อาศัยอยูด่ ว้ ยกิจการสัมปทานป่าไม้  ก็สนใจใคร่รอู้ ยากฝึกหัด เขาอยากรู้  ว่าจักรเย็บผ้าคันนี้ได้มาอย่างไรเพราะไม่เห็นมีขายในเมืองงาว ค�ำตอบทีไ่ ด้ในวันนัน้  คือกุญแจดอกส�ำคัญทีใ่ ช้ไขปริศนาทัง้ หมดที่  เขามีเกี่ยวกับชีวิตสองแม่ลูก ได้เข้าใจทันทีว่าเหตุใดหญิงพื้นเมืองตกพุ่มหม้ายตั้งแต่วัยกลาง  248


คน รูเ้ พียงหนังสือตัวเมืองและตัวเลขมาตราชัง่ ตวงวัดอีกบ้างเล็กน้อย จึง  สามารถท�ำมาค้าขายด้วยล�ำแข้งตัวเอง อยูบ่ า้ นกลางป่าก็จริง แต่มคี วาม  คิดอ่านกว้างไกลเลี้ยงดูลูกสาวให้รู้หนังสือ กล้าส่งและกล้าสู้ค่าใช้จ่าย  โรงเรียนสองภาษา จีนกลาง-ไทย ที่เมืองเชียงใหม่  เพื่อลูกสาวจะได้เล่า  เรียนเขียนอ่านภาษาจีนเพิ่มขึ้นจากเพียงแค่ภาษาไทยที่โรงเรียนในเมือง  งาวมีให้ รวมทั้งได้ไขปริศนาที่ใครหลายๆ คนก็อยากรู้ค�ำตอบ โดยเฉพาะ  คนนอกครอบครัว รวมถึงตัวเขาเอง นั่นก็คือเหตุใดในเมื่อลูกสาวแม่อึ่ง  มีคณ ุ สมบัตทิ งั้ พูดอ่านเขียนทัง้ ไทยกลางและจีนกลาง อักษรอังกฤษก็พอ  อ่านได้  มีทักษะตัวเลขวิชาค�ำนวณดีเยี่ยม มีต�ำแหน่งครูรออยู่  ท�ำไมจึงหันหลังให้อาชีพที่ปรารถนา มาทุ่มตัวช่วยแม่ขายของอยู่  ในเรือนแถวร้านขายของช�ำ

ภาค ๓

249


“คนเราไม่รู้สึกผูกพันกับที่ใด จนกว่าเขาจะมีใครสักคนนอนตายอยู่ใต้ธรณี” หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ

“A person does not belong to a place  until there is someone dead under the ground.” One Hundred Years of Solitude  Gabriel Garcia Marquez


ภาค

๔ บ้านอยู่ เมืองนอน


สูตรวิธีท�ำ “หลนกระชาย” ของแม่ดอกไม้ เครือ่ งปรุง  หมูเนือ้ แดงชัน้ ดีบดพอกลางๆ ไม่ละเอียดหรือหยาบ เกินไป  ประมาณ  ๔๐๐  กรัม  มะพร้าวขูด  ๕๐๐  กรัม  เครื่องปรุงน�้ ำ พริกต�ำจนเนื้อเนียนละเอียด ได้แก่  หอมแดงแกะเปลือก ๑๐ หัวย่อมๆ  กระเทียมแกะเปลือก  ๑๐ กลีบ เกลือเล็กน้อย ตะไคร้อ่อน ๔ ต้นหั่น เป็นแว่นบางๆ กระชายไม่แก่เกินไปจนมีเสี้ยนแข็งและไม่อ่อนเกินไปจน ไม่ค่อยมีกลิ่น ขูดเปลือกนอกให้สะอาด ประมาณ ๑๐  ราก  พริกชี้ฟ้า สดสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวแก่ก็ได้ผ่าไส้เอาเมล็ดออก  ๔-๖  เม็ดแล้วแต่ ชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อยหัน่ เป็นท่อน กะปิเล็กน้อยใส่เมือ่ ตอนน�ำ้ พริกแหลก ละเอียดดีแล้ว น�้ำปลา และผักสดรับประทานกับหลน ได้แก่  แตงกวา  ผักชี  ผักกาดขาว ถั่วพู วิธีท�ำ  ๑. คัน้ กะทิให้ได้ปริมาณสักสองเท่าของปริมาณเนือ้ หมูบด ใส่กะทิ ลงในกระทะเปิดไฟอ่อน เคีย่ วจนแตกมันลดปริมาณลงพอสมควรแล้วจึง ใส่น�้ำพริกที่ต�ำไว้  คนเบาๆ ให้ส่วนผสมเข้ากัน   ๒. เมือ่ กะทิเดือดอ่อนๆ อีกครัง้ จึงใส่หมูบดลงไป ค่อยๆ ขยีแ้ ละ คนให้เข้ากับส่วนผสมในกระทะจนหมูสุกและเดือดอีกครั้ง   ๓. น�ำ้ กะทิควรจะขลุกขลิก ชิมให้มรี สเผ็ดของพริกและรสเข้มกลิน่ หอมของกระชายน�ำ มีรสเค็มด้วยเกลือหรือน�ำ้ ปลาพอปะแล่ม ไม่เค็มเกิน ไป ควรมีรสหวานหอมของกะทิเด่นกว่ารสเค็ม  ๔. เสร็จแล้วปิดไฟ ตักใส่ถ้วยโรยหน้าด้วยผักชี  อาจโรยพริกชี้ฟ้า สีเขียวสดหั่นแฉลบสักเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม

348


๑๗. บ้านอยู่ เมืองนอน ย้ อ นไปในอดี ต เมื่ อ แม่ ค ลอดลู ก คนที่   ๒ ต้ น ปี   ๒๔๙๖  คื อ ผู ้ เ ขี ย นที่  โรงพยาบาลคุณหมอตวงธรรม  สุริยค� ำ  เมืองล�ำปาง  พ่อพาแม่และ  ทารกน้อยอายุครบ  ๑  สัปดาห์กลับมาบ้านหลังแรกของครอบครัวที่  ยังเป็นโรงเรือนยุ้งฉางแบ่งพื้นที่เพียงหนึ่งในห้าเป็นที่พักอาศัย นิตยา วณิชอนุกูล เพื่อนบ้านอยู่เยื้องกันผู้ใส่ใจความเคลื่อนไหว  ของบ้านพะเยาทวีผลอยู่เสมอ เล่าราวกับเพิ่งเห็นภาพเมื่อไม่นานว่า  “...เมื่อเห็นรถเก๋งสีตองอ่อนแล่นมาจากทิศใต้บนถนนพหลโยธิน  แล้วเลี้ยวเข้าประตูรั้วบานใหญ่ของร้านพะเยาทวีผล ก็รู้ว่าเดเหลี่ยงต่น  พาเจ๊บวั หยีกบั ลูกคนที ่ ๒ กลับจากโรงพยาบาลทีเ่ มืองล�ำปางแล้ว  ตอน  ลูกคนแรกก็รถเก๋งคันเดียวกันนี้แหละที่มาส่ง...” คาดว่าน่าจะเป็นรถของคุณหมอตวงธรรมนั่นเอง เก๋งสีตองอ่อน  คันนั้น แม่บอกว่าส�ำหรับครอบครัวทีม่ กี นั สีค่ นแล้ว ห้องหับเดิมคับแคบไป  ถนัดใจ ผูเ้ ขียนได้เติบโตทีเ่ รือนยุง้ ฉางหลังนีถ้ งึ  ๓ ขวบ มีความทรงจ�ำน้อย  มาก จ�ำภาพได้คลับคล้ายคลับคลาว่ามีเปลหลังใหญ่แขวนกับเชือกห้อย  ลงมาจากหลังคาสูงมาก ซึง่ ในความเป็นจริงคือหลังคาสูงตามระดับความ  สูงของเสากลมไม้เนื้อแข็ง ๖-๘ เมตรของตัวโรงเรือนนั่นเอง อีกภาพหนึ่งที่จ�ำตัวเองได้คือนั่งรอนมที่แม่บอกว่าจะชงให้  แต่ใน  ที่สุดแม่ก็ลืมไปนานมากเพราะมีงานค้าขายอื่นเต็มมือ เมื่อนึกขึ้นได้วิ่ง  ภาค ๔

349


กลับมา เด็กน้อยยังนั่งรออยู่ที่เดิม ไม่ลุกไปไหนและไม่ร้องงอแงอันใด  ปรารภกันในหมู่ผู้ใหญ่ว่า ความอดทนรอคอยจะเป็นสมบัติของเด็กน้อย  คนนี้แบบเดียวกับมารดา ส่วนอีกภาพหนึ่งที่เล่าขานไม่จบในครอบครัว  แต่ผู้เขียนไม่มีอยู่  ในความทรงจ�ำวัยเด็กเลย  คือในทีเผลอของยาย  หรืออุ๊ยอึ่ง  หลานใน  วัยเพิ่งคลานได้ตรงดิ่งไปหาสีแดงสดของพริกขี้หนูตากแดดอยู่ในกระด้ง  มือเล็กๆ ก�ำพริกได้เท่าไรก็ใส่ปาก ผูเ้ ป็นยายตกใจแทบสิน้ สติเมือ่ เหลือบ  เห็นพร้อมๆ กับได้ยนิ เสียงร้องไห้จา้  รีบคว้ากระป๋องน�้ำตาลทรายหวังให้  ความหวานคลายความเผ็ดร้อน อุม้ หลานขึน้ มามือสัน่ หยิบน�ำ้ ตาลใส่ปาก  หลานทีพ่ น่ คายพริกออกมาไม่เป็นกระบวน แต่แล้วน�้ำตาลทรายเกิดติดคอ  เด็กน้อยตาเหลือกตาค้าง ตกใจขวัญหนีดีฝ่อกันกว่าจะช่วยให้เด็กน้อย  จิบน�้ำทีละช้อนชาค่อยๆ กลืนอย่างไม่ให้ส�ำลัก จึงผ่านวิกฤตมาได้ ไม่มีใครนึกถึงเลยที่จะชงนมให้ดื่ม รสหวานจากนมจะช่วยสลาย  ฤทธิ์เผ็ดได้ชะงัด ทัง้ อุย๊ อึง่ และญาติลกู พีล่ กู น้องจากบ้านหวด เมืองงาว ผูค้ อยผลัด  เปลีย่ นหมุนเวียนมาอยูด่ ว้ ยช่วยดูแลสมาชิกใหม่ตวั น้อยๆ ของครอบครัว  ก็อาศัยอยู่ในพื้นที่เพียงหนึ่งในห้าของโรงเรือนยุ้งฉางหลังนี้ด้วยกัน สิ่งปลูกสร้างอันดับ  ๒  ที่สร้างไปแล้วนั้นหรือคือโรงเรือนยุ้งฉาง  ใหญ่ เ ต็ ม พื้ น ที่   ปลู ก อยู ่ ชิ ด เรื อ นหลั ง แรกทอดตั ว ยาวไปทางด้ า นทิ ศ  ตะวันตก ขนาดใหญ่พอๆ กับหลังแรก มีหลังคาจั่วมุงกระเบื้อง เสาใช้  ไม้สักไม้แดง สูง ๖ เมตร ต้นสูงที่สุดตรงบริเวณจั่ว คือ ๘ เมตร ฝาใช้  ไม้ฟากคือไม้ไผ่ซี่เล็ก ระบายอากาศได้ดี  ราคาถูก แข็งแรงทนทานมาก  ถ้าไม่เปียกชื้น   ด้วยการค้าขายเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆ  พ่อกับแม่จึงเริ่มคิดขยับ  ขยายทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็นบ้านหลังถาวรของครอบครัว ได้เริม่  “ฮิบ” ไม้  ตัง้ ใจว่า  350


บ้านหลังที่ก�ำลังจะสร้างใหม่นี้จะต้องแยกออกจากเรือนยุ้งฉางโกดัง  อย่างเด็ดขาด จะต้องดีและกว้างขวางกว่าเดิม มีทที่ างห้องหับเพียงพอให้  ลูกๆ ที่ดูจะถือก�ำเนิดเกิดตามกันมาทีละคนทุก ๒ ปีหลังแต่งงาน ขึน้ ปี  ๒๔๙๗ แม่มลี กู คนที ่ ๓ เป็นคัพภะอยูใ่ นท้องแล้ว ท่ามกลาง  ความปรีดาของผัวหนุม่ เมียสาวทีจ่ ะมีลกู อีกคน เสร็จท�ำขวัญเดือนลูกคน  ที่  ๓ ต้นเดือนพฤศจิกายน ก็ได้ฤกษ์ท�ำพิธีลงเสาเอกเรือนหลังใหม่ที่จะ  เป็นบ้านอยู่อาศัยจริงๆ ของครอบครัว บ้านหลังนี้จะหันหน้าไปทางทิศใต้สู่น�้ำกว๊าน ห้องนอนใหญ่ของ  เจ้าบ้านก�ำหนดวางให้อยู่ด้านนี้ชั้นบน มองเห็นน�้ำกว๊านอยู่แค่เอื้อม มี  มุข มีหน้าต่างเปิดรับลม เป็นห้องนอนทีส่ บายทีส่ ดุ ของบ้านชัน้ บนจนถึง  ทุกวันนี ้ ซึง่ ก็ไม่รจู้ ะเหลืออีกกีว่ นั  ขึน้ อยูก่ บั ว่าการวางผังและการออกแบบ  เมืองน�ำ “ความเจริญ” มาสู่พื้นที่ลุ่มต�่ำน�้ำอิงน�้ำกว๊านทางทิศใต้และทิศ  ตะวันตกของบ้าน  จะเคารพหลักเกณฑ์การเติบโตของเมืองอย่างชาญ  ฉลาดเพียงไหน ระหว่างลงเสาเรือน แม่เล่าว่าพ่อเกิดความรู้สึกว่าบ้านอาจเล็กไป  ส�ำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่เพิ่มทุก ๒ ปี  จึงให้เหล่าสล่าขยายฐาน  ของบ้านออกด้านละ ๑ เมตรจากผังเดิม ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่ใจพ่อคงจะ  จดจ่อรอลูกคนที่  ๔  คนที่  ๕  อีกเป็นแม่นมั่น  คาดหวังให้เป็นลูกชาย  สักคนสองคนมาเป็นน้องเล็กๆ ของลูกสาวสามคน แม่เล่าว่าอันที่จริงตั้งแต่เมื่อแม่ตั้งท้องสอง  พ่อก็ได้เริ่มตั้งตารอ  ลูกชายแล้ว  แม่บอกให้สังเกตชื่อจีนที่พ่อตั้งให้ผู้เขียนว่าน่าจะเป็นชื่อ  เด็กชายมากกว่า  韓艶 จีนไหหล�ำออกเสียงหัน ่ เอีย้ น (จีนกลางออกเสียงหานเยีย่ น)  หมายถึงลักษณะพึงประสงค์ว่าชั้นยอดอย่างยิ่ง  ชื่อจีนของน้องสาวก็มี  ความหมายถึงพละก�ำลังแสงสว่างอย่างแรงกล้า คือดวงอาทิตย์ ภาค ๔

351


ไม่แปลกใจดอกหรือ แม่บอกในตอนท้าย ทีช่ อื่ จีนของผูเ้ ขียนมีตวั   อักษรล�ำดับรุน่ หรือล�ำดับชัน้   豐 เป็นส่วนแรกในชือ่ ตัวด้วย เฉพาะส่วนนี้  ออกเสียงไหหล�ำว่า พง จีนกลางออกเสียง เฟิง หมายถึงความสมบูรณ์  ตามปรกติลกู ชายของบิดาผูเ้ ป็นล�ำดับชัน้  ต่น เท่านัน้ จึงจะมีอกั ษร  ล�ำดับรุ่นหรือล�ำดับชั้นนี้ในชื่อได้ จนถึงทุกวันนี้บ้านเคยเป็นมาอย่างไรตลอดอายุขัยของพ่อกับแม่ก็  คงรักษาเป็นอย่างนั้น   พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดถนนพหลโยธินที่พ่อกันไว้เป็น  สวนไม้ผลตามหลักฮวงจุ้ยมาตั้งแต่เริ่มลงหลักปักฐานสร้างโรงเรือน  หลังแรก สวนนีเ้ คยปลูกต้นมะไฟจีน สตาร์แอปเปิล ล�ำไย พุทรา น้อยหน่า  พันธุ์พื้นเมือง ทับทิม ซึ่งเป็นไม้ผลมงคลในคติจีน   ต้นทับทิมถือเป็นต้นไม้วเิ ศษ เชือ่ ว่าใบทับทิมปกป้องคุม้ ครองจาก  ภูตผีปีศาจและเคราะห์ร้าย นอกจากนี้ภาษาจีนกลางเรียกเมล็ดว่า จื่อ  มีเสียงพ้องความหมายเดียวกับ จื่อ (子) ที่หมายถึงเด็กๆ  ผลทับทิม  ที่เปลือกเปิดออกให้เห็นเมล็ดมากมายในผล มีความหมายเป็นมงคลว่า  เปิดทับทิมร้อยเมล็ดก็คือมีลูกหลานนับร้อย  ค� ำจีนไหหล�ำออกเสียง  เจอวเหล่าคุยเบ๊ะเกี้ย  榴開百子  จีนกลางอ่านหลิวไคไป่จื่อ  จึงเป็น  เคล็ดตามคติจีนที่บ้านควรปลูกทับทิมไว้เพื่อจะได้เมล็ดพันธุ์สืบทอดมี  ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง  ลูกชายสืบสกุลเชื้อสายเป็นสุดยอดความปรารถนาเมื่อแต่งงาน  สร้างครอบครัว  คาดหวังให้ลูกชายคนโตเป็นผู้ถือกระถางธูปในพิธีฝัง  ศพบิดามารดา  บนผืนแผ่นดินใหญ่จีนถึงขนาดว่าถ้าไม่มีบุตรชาย  นอกจากการ  ขอเด็กในหมู่ญาติสนิทมาเป็นลูกบุญธรรม  ให้ถือว่าหลานชายคนโต  นับเสมอเทียบได้กบั บุตรคนหนึง่  ท�ำหน้าทีถ่ อื กระถางธูปในพิธฝี งั ศพปูย่ า่   352


อันเสมือนบิดามารดาบุญธรรมได้    ในการแบ่งมรดก  หลานชายคนโตสามารถรับมรดกได้เสมือน  เป็นลูก    พระนางซูสีไทเฮาผู้ไร้โอรสเป็นกรณีหนึ่งที่เข้าข่าย  ทรงเลี้ยง  ดูยกย่องบุตรชายคนโตของน้องสาวพระนางกับจุนอ๋องในฐานะ  “บุตร  บุญธรรม” มาตั้งแต่เยาว์วัย  จักรพรรดิกวางสูที่พระนางสถาปนาเป็น  ฮ่องเต้ตั้งแต่พระชนมายุได้  ๓ พรรษา โดยพระนางกุมอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ  อยู่เบื้องหลัง ก็คือ “บุตรบุญธรรม” พระองค์นี้นี่เอง เราพี่ น ้ อ งลู ก สาวสามใบเถาหลั ง จากพ่ อ แม่ พ าเข้ า มาอยู ่ บ ้ า น  หลังใหม่ได้หลายปีก็ยังมีกันอยู่สามคน  ไม่ได้รู้สึกรู้สาเลยว่าพ่อกับแม่  ได้รอคอยมาอย่างเงียบๆ ลูกชายสักคนที่จะมาเกิดในบ้านหลังใหญ่ ถึงจะมารู้เมื่อโตแล้วก็มองไม่เห็นเลยว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่  “เดกับ  มา” ท�ำมาทั้งหมดเพื่อเราลูกสามคนจะมีอันเปลี่ยนแปลงไป เพราะการ  รอคอยอย่างเงียบๆ อันแสนนานนี้ โดยเฉพาะความตั้งใจแน่วแน่ที่จะส่งเสียลูกทั้งสามให้ได้เรียนวิชา  ทีป่ รารถนาจนถึงขัน้ สูงสุดทีส่ ามารถ ไม่วา่ จะวิชาไหนด้านใด วิทยาศาสตร์  หรืออักษรศาสตร์  พ่อกับแม่ไม่สร้างเงือ่ นไขใดๆ เพียงเพราะเป็นลูกสาว  ที่ตามวิถีจีนไม่เห็นประโยชน์อันใดนักให้ได้เรียนหนังสือสูงๆ  แม่กลับคิดต่าง บอกเสมอว่า “ยิ่งเป๋นลูกแม่ญิงยิ่งต้องเฮียนนักๆ  เปิ้งตั๋วเก่าได้” พ่อกับแม่ดใี จภูมใิ จเหลือล้นทีล่ กู ทัง้ สามคนสอบเข้าโรงเรียนเตรียม-  อุดมศึกษาได้  ทั้งชื่อเสียงสอนดีและค่าเล่าเรียนต�ำ่ เพราะเป็นโรงเรียน  รัฐบาล ยอมสู้ค่าหอพักค่ากินอยู่ในเมืองหลวงที่เป็นภาระหนักมากเมื่อ  ช่วงหนึ่งส่งเสียพร้อมกันสามคน ผูเ้ ขียนนัน้ แต่แรกก็ขอแม่ตามเพือ่ นๆ ไปสอบเข้าเรียนวิทยาลัยครู  ภาค ๔

353


ทีเ่ มืองเชียงใหม่  ๒ ปีกจ็ บประกาศนียบัตรท�ำงานเป็นครูได้  พ่อกับแม่จะ  ได้ไม่ตอ้ งล�ำบากหาเงินส่งลูกเรียนหนังสือนานกว่านี ้ แต่แล้วพีส่ าวผูก้ ำ� ลัง  เรียนจบมัธยมฯ ปลายทีโ่ รงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้วอนขอพ่อแม่  จัดการ  ให้นอ้ งเข้ากรุงเทพฯ พาไปเรียนกวดวิชาดูแลจนได้เดินตามรอย น้องสาว  คนเล็กต่อมาก็เช่นกัน ปราศจากพีส่ าวนักบุกเบิกชีวติ การเรียนของเราน้องสองคนจะออก  หัวออกก้อยอย่างไรก็ไม่ร ู้ พ่อกับแม่กว็ างใจให้พดี่ แู ลน้อง จะคิดถึงห่วงใย  โหยหาอาลัยอาวรณ์อย่างไร  ถึงเวลาลูกต้องออกจากบ้าน  จะไปเรียน  ที่ไหน ที่กรุงเทพฯ ที่เชียงใหม่  หรือสอบชิงทุนได้เรียนต่อต่างประเทศก็  ไม่เคยปริปากให้ลกู ชะงักงัน กระทัง่ ท�ำการท�ำงานประกอบอาชีพ แต่งงาน  อยู่ใกล้ไกลจากบ้านและเมืองพะเยา พ่อกับแม่ถือเอาความพอใจความ  สุขของลูกเป็นหลัก และแล้วในระหว่างการรอคอยอย่างเงียบๆ และแสนนาน เด็กชาย  สักคนที่จะมาเกิดเป็นลูกของพ่อกับแม่  ทั้งยายและย่าผู้มาจากบ้านเกิด  คนละแห่งหนก็ได้ฝากร่างไว้ที่ใต้ธรณีเมืองพะเยานี้เอง การจัดสร้าง “บ้านใหม่” หรือฮวงซุ้ยให้ทั้งยายและย่าของหลาน  พ่อกับแม่ทำ� ลุลว่ งไปอย่างดีสดุ ความสามารถ ในฐานะลูกชายคนโต พ่อ  หยุดงานค้าขายเป็นเดือนเพื่อจัดพิธีศพและสร้างฮวงซุ้ยให้  “แม่ย่า”  เราเด็กๆ ตอนกลางคืนได้นอนกับ “เด” ด้านหลังโลงศพแม่ยา่ ตัง้ ไว้ทโี่ ถง  สามคูหาหน้าบ้าน  ๑๐๐ คืนโดยไม่รู้สึกกลัวอะไรเลย  พ่อเฝ้าดูแลการ  ก่อสร้างฮวงซุย้ ของแม่ดอกไม้ทสี่ สุ านประตูเหล็กอย่างเอาใจใส่  มีลกั ษณะ  เป็นช่วงเสาสามห้องหรือสามคูหา จีนไหหล�ำเรียก ตาคุยกัณ (三開間 จีนกลางออกเสียงซานไคเจียน ภาษาอังกฤษใช้ค�ำว่า three-bay tomb)  ตามแบบฉบับฮวงซุ้ยจีนมาแต่โบราณ  354


ในช่วงต้นเดือนเมษายนทีเ่ ปลีย่ นแปลงราศีตามปฏิทนิ ทางจันทรคติ  ซึ่งวิถีไทยเรามีสงกรานต์  ในเมืองจีนตรงกับต้นฤดูใบไม้ผลิ  สัญลักษณ์  แห่งความสดชื่น  เฉลิมฉลองฤดูกาลแห่งความงอกงามชีวิตใหม่  มีพิธี  ส�ำหรับคนตายทีเ่ ราคนไทยคุน้ เคย ในจีนแต้จวิ๋ คือเชงเม้ง จีนไหหล�ำออก  เสียง เซ็งเหม่ง (清明 จีนกลางออกเสียง ชิงหมิง) อยูใ่ กล้ไกลเพียงไหน  ลูกๆ หลานๆ ต้องพยายามกลับไปร่วมท�ำพิธีให้ได้ ด้วยเราไม่มีฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษฝ่ายชายในเมืองไทย  พิธีเซ็ง-  เหม่ง ณ ฮวงซุย้  ของแม่องึ่ และแม่ดอกไม้เป็นพิธสี �ำคัญ พีน่ อ้ งสาแหรก  ตระกูลเดียวกันทัง้ จากทีใ่ กล้ในเมืองพะเยาและจังหวัดอืน่ ไกลออกไป เช่น  พิษณุโลก เชียงราย ฯลฯ จะมาร่วมพิธดี ว้ ย แม่กบั พ่อจะจัดเตรียมบอก  กล่าวพี่น้องแต่เนิ่นๆ ในยามพ่อต้องนั่งรถเข็นแล้วก็ไปท�ำพิธีกับลูกๆ  หลานๆ  เสมอ  แม่ในวัยหลัง ๗๐ ทีใ่ ช้เข่าเทียมทัง้ สองข้างก็คอ่ ยๆ เดินกับขบวนลูกหลาน  ท�ำนุบ�ำรุงเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามวิถีจีนสม�่ำเสมอไม่เคยขาด ในภาคปฏิบัติเซ็งเหม่งที่ว่าเป็นพิธีส�ำหรับบรรพบุรุษ  “คนตาย”  ที่จริงเป็นการรวมญาติ  “คนเป็น”  ร่วมตระกูลร่วมสาแหรกครอบครัว  เดียวกันพร้อมหน้าพร้อมตาที่สุดครั้งส�ำคัญแห่งปีทีเดียว หลังเทศกาลเซ็งเหม่งผ่านพ้นไปประมาณ ๑๐ กว่าวันก็ถงึ เทศกาล  สงกรานต์การเฉลิมฉลองปีใหม่แบบคนพื้นเมือง คราวนีแ้ ม่จดั เตรียมปิน่ โตข้าวปลาอาหารคาวหวานสองเถา เขียน  ค�ำอุทิศและชื่อบรรพบุรุษปู่ย่าตายายของแม่และของพ่อบนกระดาษขาว  เสียบติดไว้กับกระสวยดอกไม้ธูปเทียนคู่ไปกับขวดน�้ ำเล็กๆ  สองขวด  ส�ำหรับกรวดน�้ำ  เช้าตรู่ในวันพญาวันคือวันที่  ๑๕ เมษายน ก่อนเวลา ๐๗.๐๐ น.  เราจะพากันเดินไปวัดหัวข่วงแก้วใกล้บ้าน เพื่อ “ตานขันข้าว” ค�ำเมือง  ภาค ๔

355


ตาน  คือ  ทาน  หมายถึงการน�ำข้าว  อาหารหวานคาว  ส้มสูกลูกไม้ไป  ท�ำทานทีว่ ดั  อุทศิ ส่วนกุศลให้ผลู้ ว่ งลับ อันรวมทัง้ เจ้ากรรมนายเวรซึง่ ท�ำ  ได้ตลอดปี  และจะขาดเสียมิได้ตอนเทศกาลสงกรานต์ เป็นอันว่าทัง้ วิถจี นี ในเทศกาลเฉลิมฉลองชีวติ ใหม่และวิถพี นื้ เมือง  ในเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่เปลี่ยนราศีตามปฏิทินจันทรคติ  ล้วนมีการ  ร�ำลึกและท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับด้วยเหมือนๆ กัน ในเรื่องวาระสุดท้ายของชีวิต  ชัดเจนว่าส� ำนึกต่อคติจีนวิถีจีนที่  เหนียวแน่นของพ่อและแม่  เป็นส�ำนึกทางความรู้สึกนึกคิดจิตใจที่ไม่  ผูกติดแนบแน่นอยู่กับพื้นที่ภูมิศาสตร์ประเทศจีนแล้ว ต่างจากชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นแรก เช่นหั่นซวงเย็กและจางติวเจียง  “เด” ของคนทัง้ สองทีม่ ตี อ่ เกาะไหหล�ำ ซึง่ ทัง้ พ่อและแม่ตระหนักดี  มาตร  ว่า “เด” ทัง้ สองผูเ้ ป็น “กง” ของหลาน ไม่ได้ถกู สถานการณ์ทำ� ให้ตอ้ งเสีย  ชีวิตอย่างไม่คาดฝันที่เกาะไหหล�ำ แต่ได้อยู่ที่สยามจนแก่เฒ่าก็คงเลือก  กลับไปอยู่เกาะไหหล�ำในบั้นปลายของชีวิต   เกาะไหหล�ำเป็นที่เกิดและ “บ้านเกิด” ที่ท่านมีส�ำนึกผูกพันและ  ปรารถนาฝั ง ร่ า งใต้ ธ รณีที่นั่นในที่สุด  เช่นเดียวกับชาวจีนโพ้นทะเล  รุ่นแรกๆ จ�ำนวนมากในอุษาคเนย์ที่หลังจากลงหลักปักฐานมั่นคงถึงจะ  มีครอบครัวมีลูกมีหลานแล้ว ก็ยังปรารถนาจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่  เมืองจีน เพราะเป็นทีเ่ กิดบ้านเกิด ได้เกิด และอยูจ่ นโตกับครอบครัว มี  บิดามารดาปู่ย่าตายายที่อาจมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตอยู่ใต้ธรณีที่นั่น  มี  การสืบเนื่องสืบสายตระกูลตามวิถีจีนจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งบน  พื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน  ซึ่งอาจสืบสายไปได้ถึงบรรพบุรุษบรรพชนรุ่น  ก่อนๆ ณ ที่ตรงนั้น ถึงขั้นว่าหากไม่ได้กลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายและ “ตาย” ที่บ้านเกิด  ดังใจหมาย พวกเขาชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นแรกๆ แสดงความปรารถนาให้  356


ส่งร่างไร้วิญญาณ  หรือแม้เพียงเถ้ากระดูกกลับไปเมืองจีน  มีพิธีฝัง  แบบจีน ณ ที่เป็น “บ้านเกิด” ค�ำว่า  “บ้านเกิด”  จีนไหหล�ำเรียก  “โกวเฮียว”  (故郷  จีนกลาง  ออกเสียงกูเ้ ซียง guxiang/native place) ในความหมายลึกซึง้ ถึง “ชาติ  ภูมิ”  ที่เป็นความสัมพันธ์ความผูกพันทับซ้อนกันของพื้นที่กายภาพ  ทางภูมิศาสตร์  ซึ่งเป็นที่เกิดของตัวบุคคลทางร่างกาย  กับการสืบสาน  ทางเชือ้ ชาติ  ภาษา ขนบ ธรรมเนียมวิถวี ฒ ั นธรรมต่างๆ ของบรรพบุรษุ   ณ ที่นั่นด้วย ซึ่งก็หมายความว่าต้องสืบต่อมาอย่างน้อยหนึ่งหรือหลาย  ชั่วอายุคน๖ ส�ำหรับคนจีน “บ้านเกิด” จึงหมายถึง “บ้านเก่า” บ้านเกิดเมืองนอน  ที่หมายถึงส�ำนึกระลึกถึงบ้านบรรพบุรุษ  (ancestral  home)  มีความ  ขลัง  มีความศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษในปรโลก  สถาปัตยกรรมฮวงซุ้ย  แสดงถึงความเชื่อในที่พ�ำนักหรือ “บ้าน” หลังใหม่ของคนตายตลอดไป  ฮวงซุ้ยจะอยู่ในปริมณฑลแห่งสายตระกูลและในหมู่บ้านคนถือสกุลหรือ  ตระกูลแซ่เดียวกัน (clan) ลูกหลานญาติมิตรจะได้มาดูแล ป้ายจารึกชื่อหน้าหลุมฝังหรือฮวงซุ้ยของคนจีนที่ระบุที่เกิด บ้าน  เกิด ชือ่ หมูบ่ า้ นชุมชนของบรรพบุรษุ บรรพชน รวมทัง้ ชือ่ คูส่ มรส ลูกหลาน  รวมอยู่ด้วย ท�ำให้สืบสาวได้ว่าเป็นใครมาจากไหน ชื่อแซ่ใด หมู่บ้านใด  อันเป็นอัตลักษณ์ส�ำคัญของคนจีนทั้งในและนอกแผ่นดินจีน    ชาวจีน  โพ้นทะเลรุ่นหลานเหลนอย่างผู้เขียนจึงสามารถสืบสาวสายตระกูลและ  บรรพบุรุษที่เมืองจีนได้ไม่ยากนักด้วยอาศัยส�ำนึกในชาติภูมิอันเหนียว  แน่นแบบนี้นี่เอง  ขอเพียงรู้ชื่อแซ่และชื่อตัวของพ่อแม่ของอากงและ  หมู่บ้านที่เคยอาศัยอยู่ ด้ ว ยค� ำ สอนของขงจื่ อ ที่ เ น้ น คติ ก ตั ญ ญู พ ่ อ แม่   บู ช าบรรพบุ รุ ษ  การสืบวงศ์ตระกูล  มีประเพณีพิธีกรรมฝังศพที่ลูกหลานควรท�ำแสดง  ภาค ๔

357


ความกตัญญูในฐานะลูกจีนสยาม  พ่อกับแม่มีส�ำนึกต่อบรรพบุรุษฝ่าย  บิดาตามคติจนี เปีย่ มล้น กตัญญูสง่ เงินทองตามก�ำลังกลับไปยังญาติพนี่ อ้ ง  ที่บ้านเกิดเพื่อช่วยเหลือชีวิตความเป็นอยู่และการดูแลเซ่นไหว้ฮวงซุ้ย  ของบรรพบุรษุ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ถงึ อย่างไรเมืองจีนไม่ใช่ทเี่ กิด  ทัง้ สองเกิดเมืองไทย ลงหลักปักฐานมีครอบครัวมีชวี ติ อยูใ่ นเมืองไทย ได้  รู้จักและอยู่อาศัยที่เมืองจีนเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ฮวงซุ้ยของแม่ดอกไม้และแม่อึ่งที่เมืองพะเยาได้ช่วยหยัดราก  ความรู้สึกผูกพันที่พ่อกับแม่มีกับเมืองพะเยาให้ลึกขึ้นอีกทุกคืนวัน อันบ้านทีเ่ มืองพิชยั และเมืองงาว ส�ำหรับพ่อกับแม่นนั้ เป็น “ทีเ่ กิด”  แต่ในส�ำนึกความรู้สึกก็ยังไม่ใช่  “บ้านเกิด” ที่มีความหมายลึกซึ้ง  ถึงสายสัมพันธ์ผูกพันทับซ้อนกันอยู่ของบรรพบุรุษสายตระกูล  ที่มีทั้ง  คนตายและคนเป็นผูส้ บื วงศ์วานบนพืน้ ทีก่ ายภาพทางภูมศิ าสตร์  รวมถึง  การสืบสานทางเชือ้ ชาติ  ภาษา ธรรมเนียม วิถวี ฒ ั นธรรมของครอบครัวใน  สายตระกูล “บ้านเกิด” ของคนเราจึงอาจไม่จ�ำเป็นต้องเป็น “ที่เกิด” ดู ไ ปแล้ ว เมื อ งพะเยานี่ เ องที่ ไ ด้ อ� ำ นวยให้ ส ามรุ ่ น สามวั ย ของ  ครอบครั ว ได้ อ ยู ่ พ ร้ อ มหน้ า พร้ อ มตาใต้ ห ลั ง คาเดี ย วกั น เป็ น ครั้ ง แรก  ส�ำหรับ “เดกับมา” มีการสืบเนื่องของครอบครัวของสายตระกูลสามถึง  สี่ชั่วคนบนพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน  เราลูกๆ  ได้ยิน  “เด”  ปรารภอยู่เสมอว่าเป็นยอดปรารถนาของ  ครอบครัวจีนทีจ่ ะอยูใ่ ต้หลังคาเดียวกันห้ารุน่ ห้าวัย ทัง้ สองตืน้ ตันใจยิง่ นัก  ทีไ่ ด้กลับไปเกาะไหหล�ำถึงสองครัง้  แต่ไม่เคยแสดงความปรารถนาว่าจะใช้  ชีวติ บัน้ ปลายกลับไปตายมีฮวงซุย้ ทีเ่ มืองจีน ดังเพือ่ นคนจีนทัง้ ไหหล�ำและ  กลุ่มภาษาอื่นในวัยเดียวกันบางคนทั้งที่ใกล้และไกลเมืองพะเยาออกไป 358


ครั้งแรกที่  “เดกับมา”  ไปเยี่ยมบ้านเกิดเคารพฮวงซุ้ยบรรพบุรุษ  ได้พบญาติพี่น้องผู้ยังท�ำการเกษตร  ไม่มีใครอดอยาก  แต่ก็หาเงินยาก  ขาดแคลนข้าวของ แม้แต่หลอดโรลม้วนผมของแม่  ญาติพี่น้องฝ่ายหญิง  ยังขอเก็บไว้ใช้   กลับไปอีกครั้ง “เดกับมา” ในวัย ๖๘ เข้าร่วมประชุม  สหพันธ์นานาชาติสมาคมไหหล�ำ ครั้งที่  ๓ ปี  ๒๕๓๒ “เด” ยังแข็งแรง  ทะมัดทะแมง  เดินเหินคล่องแคล่ว  มีกล้องถ่ายรูปติดตัวเสมอเช่นเคย  แต่อาการข้อเข่าเสื่อมของ  “มา”  หนักขึ้นเรื่อยๆ  ถือไม้เท้าตลอดเวลา  บางครั้งก็นั่งรถเข็น อีก ๔ ปีหลังจากที ่ “มา” เดินเหินได้ดหี ลังตัดสินใจรักษาด้วยการ  ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเข่าที่น้องสาวคนเล็กวางแผนกับแพทย์  ผู้ผ่าตัดอย่างรอบคอบ เราช่วยกันเฝ้าดูแลการพักฟื้น  ๓-๔ เดือนอย่าง  เต็มความสามารถ จากนี้  “เดกับมา” ก็ได้เดินทางเที่ยวเมืองอื่นๆ บน  ผืนแผ่นดินจีนอีกหลายครั้ง  ไปเที่ยวยุโรป  ตะวันออกกลาง  ท่องไปใน  ภูมิภาคอาเซียนอย่างเบิกบานโดยเฉพาะเมื่อไปกับลูกและหลาน แต่ไม่ว่าจะเดินทางไปเที่ยวถึงไหนต่อไหนในโลก “เดกับมา” รัก  และคิดถึงบ้านพะเยาเป็นที่สุดเสมอ ค�ำเมือง  เมีย  ใช้เป็นค�ำกริยาหมายความว่า  กลับ  ในช่วงวาระ  สุดท้ายของชีวิต  “มา” ของเราบนเตียงโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ อุตส่าห์บอกผ่าน  สายยางที่อยู่ในจมูกและล�ำคอว่า “อยากเมียบ้านพะเยา”

ภาค ๔

359


บันทึกท้ายเล่ม : ข้าวแห่งอนาคต การมาถึงของโรงสีขนาดเล็ก นับวันเครื่องสีข้าวใช้ไฟฟ้ามีขนาดเล็กลง ติดตั้งง่าย ราคาถูกลง  แต่ประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ลงทุนเพียงเงินพันเงินหมื่นชาวนารายย่อย  โดยเฉพาะเมื่อรวมเป็นกลุ่มสามารถเป็นผู้ประกอบการเป็นเจ้าของโรงสี  ผลิตข้าวครบวงจรในครัวเรือนและชุมชนได้ ปรากฏการณ์  “ขายข้าวช่วยชาวนา” ในปีเพาะปลูก ๒๕๕๙-๒๕๖๐  เปิดโฉมหน้าใหม่  ชาวนาสีข้าวสารขายตรงถึงผู้บริโภค  ค่อยๆ  ขยาย  ตัวอย่างน่าประทับใจด้วยนวัตกรรมอี-คอมเมิร์ซ    โรงสีกลุ่มวิสาหกิจ  ชุมชนของชาวนาหลายแห่งสามารถส่งข้าวไปขายถึงตลาดในต่างประเทศ  ได้แล้ว  ขึ้นอยู่กับคุณภาพข้าวที่ตรงความต้องการผู้บริโภคและความ  สามารถบริหารจัดการเข้าถึงตลาด นับเป็นครัง้ แรกเลยก็วา่ ได้ทคี่ นตัวเล็กทุนน้อยอย่างชาวนารายย่อย  สามารถสีข้าวขายข้าว “ท้าทาย” โรงสีใหญ่ที่ครองความเป็นเจ้าในการ  สีขา้ วเพือ่ การส่งออกมาโดยตลอด นับแต่นาย เอ. มาร์ควาลด์  น�ำเครือ่ ง  สีข้าวเครื่องจักรไอน�้ำมาสู่สยาม ปี  ๒๔๐๑ ยุครุ่งเรืองสุดยอดของโรงสีใหญ่ได้ผ่านไปแล้ว ที่ไม่เคยต้องวิตก  กังวลกับบรรดาโรงสีขนาดกลางขนาดเล็กมาก่อนเลยในอดีต  บัดนี้ได้  420


เริ่มรู้สึกวิตกกังวลบ้างแล้วกับ  “คู่แข่ง”  ที่เป็นโรงสีขนาดเล็ก  ด้วยว่า  ไม่ได้แข่งกันในศักยภาพ ประสิทธิภาพ และมาตรฐานเดียวของเครือ่ งจักร  ขนาดใหญ่  แต่เป็นการแข่งกันสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคและตลาด  ที่หลากหลายในท้องถิ่น ประเทศ และกว้างไกลออกไปอีก เครื่องสีข้าวขนาดเล็กมีความคล่องตัวที่จะสีข้าวพันธุ์ใด  เฉพาะ  จากแหล่งผลิตไหน ท�ำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกประเภทของข้าวได้มากขึ้น  ชาวนาเกิดความภูมิใจที่ได้ระบุแหล่งผลิตทางภูมิศาสตร์และสร้างความ  ผูกพันกับผู้บริโภค เป็นสายใยส�ำคัญในการผลิตอาหารปลอดภัย อร่อย  และยั่งยืน  จะสีเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาว หรือข้าวกึง่ ขัดขาวก็ท�ำได้ตามต้องการ  เพื่อเอาใจตลาดทางเลือกระดับบนของผู้บริโภคสมัยใหม่ที่ยอมจ่าย  ราคาข้าวสารสูงขึน้ ตามรสนิยม บ้างก็เพือ่ สุขภาพ บ้างก็เพือ่ ภาพลักษณ์  ชาวนาเริ่ ม มองเห็ น ลู ่ ท างการเก็ บ ข้ า วเปลื อ กหลั ง เก็ บ เกี่ ย วไว้  ไม่เพียงบริโภคในครอบครัว  ต้องการเก็บไว้เพื่อขายราคาสูงขึ้นนอก  ฤดูกาลแบบเดียวกับวิถีของพ่อค้าข้าวและโรงสีข้าวมานานแสนนาน การมีข้าวเปลือกอยู่ในบ้านในยุ้งฉางในชุมชนของตน ถือเป็นหลัก  ประกันชั้นหนึ่งด้านความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนและชุมชน ใครจะรู้ว่าในอนาคตซึ่งอาจไม่ไกลนัก ผู้บริโภคส่วนหนึ่งอาจยินดี  ซือ้ ข้าวเปลือกเก็บไว้ในบ้านเพือ่ สีเป็นข้าวสารตามความต้องการเฉพาะตน  ด้วยเครือ่ งสีขา้ วขนาดหม้อหุงข้าวไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าผลิตจากแผงพลังงาน  แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาเรือน ถึงวันนั้น ตลาดข้าวเปลือกจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอีก ทั้งโรงสีใหญ่และโรงสีเล็กคิดอ่านเตรียมการไว้บ้างหรือยัง

421


วิกฤตข้าวที่ชาวนาไม่ได้เป็นผู้ก่อ ไม่เป็นความจริงเลยทีเ่ คยเชือ่ กันว่าหลังการปฏิวตั เิ ขียวจะไม่มใี คร  ในโลกต้องหิว ต้องขาดอาหาร  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  นโยบายความมั่นคงของอาหาร  นโยบาย  พืชพรรณธัญญาหาร เช่น ข้าว ข้าวสาลี  ฯลฯ โดยเฉพาะระบบบริหาร  จัดการของประเทศผูผ้ ลิต ผูส้ ง่ ออก และผูน้ �ำเข้า การเพิม่ ของประชากร  ในเขตเมือง  การก่อการร้าย  สงคราม  ความไม่สงบต่างๆ  ตลอดจน  สภาพการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ  ส่งผลกระทบโดยตรง  ต่อการผลิตและราคาข้าวในตลาดโลกอย่างสุดจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้  อย่างแม่นย�ำ เมืองไทย “อู่ข้าวอู่น�้ำ” ในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ มีการรณรงค์แด่  น้องผู้หิวโหย เคยเกิ ด ขึ้ น แล้ ว ที่ มี ค นอดอยากไม่ มี อ าหารกิ น เป็ น ล้ า นๆ  คน  เนื่องจาก  “ความไม่เสมอภาค”  ในการเข้าถึงอาหาร  ทั้งที่ในพื้นที่นั้น  ไม่ได้มีภาวะขาดแคลนข้าวหรือเกิดภาวะผลผลิตตกต�่ำรุนแรงเนื่องจาก  ปัจจัยภูมิศาสตร์  แต่เป็นปัจจัยการบริหารจัดการอันเนื่องจากสภาพ  เศรษฐกิจสังคม อมารตยา เสน นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบล  สาขาเศรษฐศาสตร์  ปี  ๒๕๔๑ ตีพมิ พ์ผลงานวิจยั เมือ่ ปี  ๒๕๒๔ เกีย่ วกับ  ภาวะทุพภิกขภัยในแคว้นเบงกอลปี  ๒๔๘๖ ชี้ให้เห็นว่าที่ชาวเบงกาลี  ๓  ล้านคนอดอาหารตายในปีนั้นมิใช่เพราะบ้านเมืองขาดแคลนข้าวและ  อาหาร แต่เป็นเพราะ “ความไม่เสมอภาค” ในโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม แคว้นเบงกอลปีนั้นผลิตอาหารได้อุดมสมบูรณ์เพียงพอและมี  ผลผลิตสูงกว่าหลายๆ  ปีก่อนหน้า  แม้ว่าในปี  ๒๔๘๕  ผลผลิตลดลง  เล็กน้อย แต่เนือ่ งจากแคว้นเบงกอลสะสมปัญหาเศรษฐกิจสังคมมานาน  422


มากตั้งแต่ถูกจักรวรรดินิยมอังกฤษเข้าครอบครองโดยการรุกเข้ามาของ  บริษัทอีสต์อินเดียตั้งแต่ปี  ๒๒๖๐ เช่นเก็บภาษีการค้าและสินค้าสูงแม้  ในภาวะขาดแคลนอาหาร   ในปี  ๒๓๑๒  ตามการประมาณ เพราะไม่มีตัวเลขแน่ชัด  มีชาว  เบงกาลี  ๑-๑๐ ล้านคนอดอาหารตาย  การที่อังกฤษกดค่าจ้างคนงาน  ทอผ้าต�่ำมากๆ  บวกกับมาตรการอื่นๆ  ท�ำให้อุตสาหกรรมทอผ้าของ  เบงกอลทีร่ งุ่ เรืองขาดทุนล้มละลาย  ชาวเบงกาลีตอ้ งพึง่ พาสินค้าผ้าของ  อังกฤษ ปัญหาเดิมนีป้ ะทุขนึ้ อีกในปี  ๒๔๘๖ ประจวบกับการสูเ้ พือ่ เอกราช  ของอินเดียซึง่ ด�ำเนินมายาวนานและก�ำลังจะถึงหลักชัยในอีก ๔ ปีตอ่ มา  ท�ำให้เกิดการแตกตื่นสะสมอาหารของคนเมืองซึ่งประชากรขยายตัวขึ้น  มาก  เกิดการกักตุนสินค้า  การขึ้นราคาสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภคใน  ยามคับขัน  ประกอบกับรายได้ที่ต�่ำมากของชาวชนบท  ชนชั้นแรงงาน  ไร้ที่ดิน  แรงงานด้านบริการในเมือง  เช่น  ช่างตัดผม  คนท�ำงานซักรีด  ท�ำความสะอาด ฯลฯ  คนจ�ำนวนมากมีเงินไม่พอซือ้ อาหารทีร่ าคาสูงขึน้   ไม่หยุดยั้ง จึงเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ ทุกวันนี้ประชากรขาดแคลนอาหารในเอเชียร้อยละ  ๔๓  อยู่ใน  อินเดีย แม้ว่าจะเป็นประเทศส่งออกข้าวด้วย  ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ เมือ่ รัฐบาลอินเดียตัดสินใจห้ามการส่งออก  ข้าวกะทันหันเพื่อให้มีข้าวราคาถูกขายในประเทศอย่างพอเพียงตอบรับ  นโยบายให้คนอินเดียกินข้าวแทนข้าวสาลีที่ราคาขึ้นสูงในช่วงนั้น  ทันทีราคาข้าวในกรุงเทพฯ พุ่งพรวด ตลาดข้าวของโลกแตกตื่น สี่เดือนแรกต้นปี  ๒๕๕๑  ประเทศส่งออกข้าวอย่างเวียดนาม  ปากีสถาน อียปิ ต์  พากันกักตุนข้าวไว้ในประเทศ ท�ำให้มขี า้ วขายน้อยลง  ในตลาดโลกทันทีทันใด ทั้งๆ ที่ผลผลิตข้าวในโลกไม่ได้ขาดแคลน 423


ประเทศน�ำเข้าข้าวอยู่เป็นประจ�ำเช่นฟิลิปปินส์เดือดร้อนอย่าง  หนักกว่าวิกฤตจะค่อยๆ  คลายลงด้วยกลไกบริหารจัดการราคาข้าวใน  ตลาดโลก  โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริการ่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่นออกข่าวให้  โลกรู้ว่าจะมีการปล่อยสต๊อกข้าวสู่ตลาด เท่านั้นเองก็มีข้าวออกขายใน  ตลาดโลกและราคาปรับตัวลง  น่าคิดว่าในอนาคตอาเซียนจะมีบทบาทอย่างไรในด้านความมัน่ คง  ของอาหารอย่างข้าวส�ำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีทั้งประเทศผู้ส่งออก  และผู้น�ำเข้า  ด้วยอาหารเป็นได้ทั้งเหตุและผลของความขัดแย้งความ  ยุ่งยากอื่นๆ กอปรกับในทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศผู้ผลิตข้าวอย่างเวียดนาม  พม่า  อินเดีย  แสดงศักยภาพผลิตข้าวที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  ด้วยต้นทุนการ  ผลิตที่ต�่ำกว่าไทยในคุณภาพข้าวที่เสมอกันหรือคุณภาพดีกว่า  ถึงกับ  ท�ำให้ไทยซวดเซได้  ดังที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายจ�ำน�ำข้าว ท่ามกลางสถานการณ์ใหม่ๆ ทีซ่ บั ซ้อนมากขึน้ เช่นนี ้ ทุกภาคส่วน  ในองคาพยพเรื่องข้าวเราจะอยู่กันอย่างไร ประสบการณ์ทงั้ ของไทยในอดีตจนถึงวิกฤตร่วมสมัย “จ�ำน�ำข้าว”  และของฟิลิปปินส์ในวิกฤตข้าวปี  ๒๕๕๑ ยืนยันตรงกันว่าเกิดการทุจริต  ฉ้อฉลอย่างหนักเมื่อให้รัฐเข้าไปบริหารจัดการซื้อขายข้าว สี่สิบปีก่อนนโยบายจ�ำน�ำข้าว  หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๓๐  มีนาคม ๒๕๑๔ พาดหัวข่าวว่า “แฉ ‘เหลือบ’ ชาวนาเป็นข้าราชการโกง โควตาซื้อข้าว ท�ำบัญชี  ‘ผี’ แอบซื้อกันเอง แล้วรับเงินไปเสร็จ” สรุปข่าวจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติ  ๑  เมษายน  ๒๕๑๔  มีว่า  “๓  ส.ส.  เรียกประชุมนอกสภาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทั้งหมด ๗๑  คนผนึกก�ำลังเพื่อแก้ปัญหาเรื่องข้าว  เสนอปลดข้าราชการปราบ ทุจริต แก้ไขภาวะชาวนาด่วน เสนอขับไล่รัฐบาลถ้ารัฐบาลแก้ไขไม่ได้” 424


ช่วงมิถนุ ายน-สิงหาคม ๒๕๑๖ ข้าวขาดตลาด หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๒ สิงหาคม ๒๕๑๖ จัว่ หัวข่าวว่า “จะใช้  ม. ๑๗ จัดการพ่อค้าข้าวท�ำให้ ชาวกรุงปัน่ ป่วน ผิดฐานก่อความไม่สงบ เอาผิดข้าราชการร่วมมือพ่อค้า กักตุนข้าวด้วย รอง อตร. ต้องจับใส่คุกให้กินเงินแทน” “เหลือบ” ผูท้ จุ ริตฉ้อฉลประเภทนีไ้ ด้เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวาง  เป็นระบบยิ่งขึ้นภายใต้นโยบายรับจ�ำน�ำข้าวจนกลายเป็น  “พันธุ์ใหม่”  ที่สังคมไทยไม่เคยพบเห็นมาก่อนในภาคราชการ  ทั้งข้าราชการประจ�ำ  และข้าราชการการเมืองตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย  ระดับท้องถิ่น  ตลอดจนในภาคเอกชน  กลุ่มพ่อค้าข้าวผู้ประกอบการ  โรงสีข้าวตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงระดับพ่อค้าส่งออกอันรวมไปถึงการทุจริต  ในการส่งออกแบบใหม่ของรัฐบาล  “พันธุ์ใหม่”  ที่เรียกว่าระดับรัฐบาล  ต่อรัฐบาล (จีทูจี) จริงอยู่ที่ภายใต้นโยบายจ�ำน�ำข้าวก็มีโรงสีที่ได้ประโยชน์ได้ลาภ  ที่มิควรได้  แต่ข้อเท็จจริงคือโรงสีทุกแห่งที่ด�ำเนินกิจการมาก่อนนโยบาย  จ�ำน�ำข้าวไม่ได้ลงทุนในธุรกิจนี้เป็นล้านๆ เพื่อหรืออยากจะมารับจ้างรัฐ  หรือท�ำธุรกิจร่วมกับ “เจ้าหน้าที่รัฐ”  ทีม่ โี รงสีสว่ นหนึง่ ไป “ร้บจ้าง” รัฐบาลก็เพราะถูกนโยบายบีบด้วย  วิถีธุรกิจ    งบประมาณของรัฐได้แทรกแซงราคาตลาดรับ  “จ� ำน�ำซื้อ”  ข้าวเปลือกจนโรงสีเอกชนด�ำเนินธุรกิจต่อไปไม่ได้ ส่วนโรงสีตั้งใหม่ตลอดจนยุ้งฉางโกดังขนาดใหญ่สร้างด้วยแผ่น  โลหะเมทัลชีตเสร็จเร็วทันใจ  เพื่อให้รัฐบาลเช่าโดยไม่ต้องรับผิดชอบ  คุณภาพข้าวในโกดังตามนโยบายรับจ�ำน�ำข้าวนั้น    หากไปสอบถามดู  บรรดาโรงสีทตี่ งั้ มาเก่าก่อนนโยบายจ�ำน�ำข้าว พวกเขาไม่อยากนับยุง้ ฉาง  โกดังประเภทนี้เป็น “เครือญาติพี่น้อง” ในอาชีพแต่อย่างใด สภาพคนกินข้าวเล่าเป็นอย่างไร 425


เกี่ยวกับผู้เขียน

สุกัญญา หาญตระกูล จบปริญญาตรีอักษรศาสตร์ (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๑๖)  ปริญญาโทวรรณคดีเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยเอ๊กซ์-ออง-โพรวองซ์ ด้วยทุนการ  ศึกษารัฐบาลฝรั่งเศส  และปริญญาโทสังคมวิทยา  มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์  ด้วยทุนการศึกษาสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งเมืองบริสเบน ออสเตรเลีย เขียนและแปลหนังสือหลายเล่มด้านการศึกษาและวรรณคดีร่วมสมัย  ล่ า สุ ด ปั ญ ญาแห่ ง ยุ ค สมั ย   คุ ณ นิ ล วรรณ  ปิ ่ น ทอง  (ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ซิ ล ค์ เ วอร์ ม ,  ๒๕๕๘)  เป็นหนังสือสารคดีเล่มแรกที่พิมพ์เผยแพร่และได้รับคัดเลือกเข้ารอบ  สุดท้ายในการประกวดหนังสือดีเด่นประจ�ำปี  ๒๕๕๙    เป็นคอลัมนิสต์ประจ�ำ  กรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นเคยเป็นบรรณาธิการ  ร่วมนิตยสารสตรีสาร (๒๕๒๘-๒๕๓๔)

432


ISBN 978-616-465-039-8 9

786164

สุกัญญา หาญตระกูล

หมวดสารคดี / ประวั ติ ศ าสตร์

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

ลายลักษณ์อักขระจีนแต่ละเส้น แต่ละขีด แต่ละจุด แต่ละแต้ม คล้าย ๆ ก�ำลังจะไหวตัวและเคลื่อนอย่างมีลมหายใจของตัวเอง ไม่ยอมถูกตรึงไว้ติดก�ำแพงอีกต่อไป เริ่มขยับตัวออกโบยบิน เริงร่าใต้หลังคาโรงเรือนที่เคยเป็นโรงสี ความเคลื่อนไหวตรงหน้าคือคนกับเครื่องจักรซึ่งก�ำลัง เปลี่ยนแปรสีเหลืองทองของข้าวเปลือกในครกออกมาเป็น สีขาวนวลของเมล็ดข้าวสาร โลดแล่นอยู่เต็มจักษุ ก้องอยู่ใน โสตประสาท คือโรงสีที่ฟื้นคืนชีพเดินเครื่องขึ้นมาใหม่

ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

๑ ปี ๑๒ เดือน ต้นปีวางแผนทํา ๑ วันแต่เช้า ก็คิดออกมาแล้ว ครอบครัวอยู่ที่รักกัน ไม่ทะเลาะกัน ขยัน น้ําไหลแรง เหลือแต่ทรายหยาบ ลมพัด มิรู้ล่วงหน้า

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

650398

ราคา ๔๙๙ บาท

๔๙๙.-

ลมพัด มิรู้ ล่วงหน้า

จารึกโรงสี ลูกจีนโพ้นทะเล

สุกัญญา หาญตระกูล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.