7%= 6C9 9Ď>%%9 I31> 6>/< >/I/A.%/Eď ,>5>M#.
Ğ Ē ę Ħ Ė čʀ ġ Ė
%-
”źìĊęĔÙøźėźÖĘßĂïÖĉîź đøČęĂÜ×ĂÜź“ ĒêŠĕöŠđÙ÷øĎšìĊęöćźĒúą×îöēïøćèìĊęĂćÝĀúÜúČöÖĆîĕðĒúšü
หนังสือ ขนมแม่เอ๊ย (ฉบับปรับปรุง) ผู้เขียน ส. พลายน้อย © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ราคา ๑๙๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ส. พลายน้อย. ขนมแม่เอ๊ย.- -พิมพ์ครั้งที่ ๑- -นนทบุรี : สารคดี, ๒๕๖๔. ๑๖๐ หน้า. ขนม. I. ชื่อเรื่อง. ๖๔๑.๘๖ ISBN 978-616-465-044-2
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ประวิทย์ สุวณิชย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นฤมล สุวรรณอ่อน ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ประวัติการพิมพ์
จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๗ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยส�ำนักพิมพ์บ�ำรุงสาส์น จัดพิมพ์กับส�ำนักพิมพ์สารคดีครั้งที่ ๓ ถึงปัจจุบัน โดยการพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๔ เปลี่ยนปกและเลข ISBN และมีการพิมพ์ซ�้ำครั้งที่ ๕-๑๒ ในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๒ และในการพิมพ์ล่าสุด พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ออกแบบปกและจัดรูปเล่มใหม่ รวมทั้งผู้เขียนได้ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนให้สมบูรณ์ขึ้น
AW5.indd 2
26/04/2021 17:55
จากส�ำนักพิมพ์
“ขนมแม่เอ๊ย...” เสี ย งร้ อ งของแม่ ค ้ า ที่ พ รรณนาถึ ง ขนมที่ ต นหาบมาขาย ดู จ ะ แผ่วจางไปจากชุมชน ด้วยปัจจุบันวิธีการขายและสถานที่ขายขนม เปลีย่ นแปลงไป พวกพ่อค้าแม่ขายทีเ่ ข้าจ�ำพวก “เร่” ก็เปลีย่ นจากหาบ มาใช้รถถีบ รถยนต์และเครือ่ งขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ท�ำมาหากิน ขนม ที่น�ำมาขายก็ไม่หลากหลายอย่างสมัยก่อน คงมีแต่ขนมหวานพื้นๆ อยู่ สี่ห้าอย่างจ�ำพวกขนมชั้น ฝอยทอง เม็ดขนุน การณ์คล้ายจะเป็นว่าคน ไทยรู้จักขนมไทยน้อยลง เพราะไม่มีให้เลือกกิน และถึงจะมีให้เลือก ก็อาจจะกินไม่เป็นก็ได้ หนังสือขนมแม่เอ๊ย ของ ส. พลายน้อย เล่มนี้มุ่งหมายให้ผู้อ่าน รู้จักขนมมากขึ้น ได้บันทึกถึงเกร็ดประวัติของขนมไทยชนิดต่างๆ ไว้ มากที่สุดเท่าที่เคยเขียนกันมา ผู้ที่ศึกษาหรือเขียนถึงเรื่องขนมในชั้น หลังล้วนต้องอ้างอิงหนังสือเล่มนี ้ ด้วยเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับขนม ไทยมีไม่มากนัก คงเพราะเป็นเรือ่ งใกล้ตวั จึงมองข้ามไป ประวัตศิ าสตร์ ฉบับทางการเองมักจะเน้นแต่เรื่องวัด วัง และชนชั้นปกครอง เราไม่ ค่อยรู้ว่าชาวบ้านร้านตลาดนั้นกินและอยู่กันอย่างไร ไม่ต้องถึงขนาด เจาะลึกลงไปในรายละเอียดเรื่องชนิดของขนม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ จึงต้องแกะรอยเรือ่ งขนมจากวรรณคดี ประวัตศิ าสตร์ นิทานต่างๆ รวม ทั้งประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมาด้วยตนเอง ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 3
3
26/04/2021 17:55
หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงขนมชนิดต่างๆ ที่เรากินกันมาแต่โบราณ ทั้งขนมชาวบ้าน ขนมในเทศกาลงานบุญ รวมทั้งขนมแบบจีนที่คนไทย คุน้ ลิน้ กันดี นอกจากความรูเ้ รือ่ งขนมแล้ว ผูอ้ า่ นยังจะได้ความรูใ้ นด้าน ประวัตศิ าสตร์ ประเพณีและความเชือ่ ซึง่ เกีย่ วพันกับการท�ำและการกิน ขนมอย่างแยกไม่ออก ด้วยเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ ขนมแม่เอ๊ย จึงได้รับเลือกเป็น หนังสืออ่านนอกเวลา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๑-๓ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และได้รับการพิมพ์ซ�้ำกว่า ๑๐ ครั้ง ส�ำหรับฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุดนี้ ส. พลายน้อย ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าฉบับ ก่อนๆ และทางส�ำนักพิมพ์ออกแบบปกและจัดรูปเล่มใหม่ให้ดูน่าอ่าน ขึ้น ส�ำนักพิมพ์เชื่อว่านี่จะเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ผู้อ่านชื่นชอบ
4 AW5.indd 4
ส�ำนักพิมพ์สารคดี
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:55
ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๕)
หนั ง สื อ ขนมแม่ เ อ๊ ย เล่ ม นี้ มิ ใ ช่ ต�ำราท�ำขนม แต่ เ ป็ น หนั ง สื อ ที่ เ ล่ า เกร็ดประวัติความเป็นมาและเรื่องราวที่เกาะเกี่ยวกับขนมทั้งในด้าน ประวัติศาสตร์หรือนิยายนิทานตลอดจนประเพณีความเชื่อ ประสงค์ จะให้อ่านเล่นสนุกๆ เท่านั้น และอันที่จริงเรากินขนมกันแทบทุกวัน และกินกันมาตั้งแต่เด็กจนแก่ แต่เมื่อถามถึงประวัติความเป็นมาของ ขนมก็หาคนอธิบายได้ยาก ปัญหาเรื่องชื่อขนมบางอย่างก็ยังไม่ยุติ เพราะคนหนึ่งก็ว่าไปอย่างหนึ่ง แม้วิธีท�ำก็ยังต่างกันไป เรื่องขนมของไทยเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเกี่ยวกับความ เป็นอยู่ของคนไทยสมัยโบราณ ขนมจึงเข้ามาพัวพันกับขนบประเพณี ความเชื่อต่างๆ และขนมบางอย่างของไทยในสมัยโบราณเป็นขนมที่ ท�ำตามฤดูกาล เมื่อหมดฤดูกาลนั้นๆ แล้วก็หากินได้ยาก สมัยก่อน เมื่อเห็นกระยาสารทมีขายมากๆ ก็รู้ได้ว่าถึงเวลาที่จะท�ำบุญสารท สิน้ เดือน ๑๐ แล้ว หรือเห็นชาวบ้านท�ำข้าวต้มมัดข้าวต้มลูกโยนกันมากๆ ก็รู้ว่าจะท�ำบุญออกพรรษา ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้นถ้าเราได้ค้นคว้าเก็บ รวบรวมเรื่องของขนมต่างๆ ไว้ ก็อาจเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่เรียน วรรณคดีและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในอดีตต่อไปภายหน้า
ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 5
5
26/04/2021 17:55
เหตุทผี่ เู้ ขียนจะสนใจค้นคว้าเกีย่ วกับขนม ก็โดยได้รบั ลายพระหัตถ์ ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งมีไปถึงผู้เขียนเรื่องขนมไทย ท�ำให้ ผู ้ เ ขี ย นได้ รั บ ความรู ้ เ กี่ ยวกั บ หม่ อ มเจ้ า หญิ ง พู น พิ ศ มั ย ดิ ศ กุ ล อีกอย่างหนึ่งว่า นอกจากจะทรงรอบรู้ในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และศาสนาเป็นอย่างดีแล้ว ยังมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาหารคาว หวานเป็นอย่างเอกอีกด้วย และเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ทรงใส่พระทัยใน เรื่องนี้เพียงไร จะขอคัดลายพระหัตถ์มาให้ผู้อ่านได้พิจารณาดังต่อไปนี้ “...ขอขอบใจเรื่องขนมไทยซึ่งเป็นความจริงดังที่เธอกล่าว แต่ยัง มีอกี นะเจ้าคะ เช่น สอดไส้ ขนมตาลฯ หลักขนมไทยอยูท่ มี่ ะพร้าวน�ำ้ ตาล ปึกนั้นเป็นแน่ เราเคยท�ำเครื่องต้นถวายในงานแซยิดเสด็จพ่อ และ เอาบทเห่เรือของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ที่ว่า มัสหมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กินแกง แรงอยากได้ใฝ่ฝันหา... และมี เมนูให้ตอ่ กลอนนัน้ ด้วย เสด็จพ่อตรัสให้เราค้นท�ำอาหารในนัน้ จนหมด บัญชี แต่ก็ยังติดเหมือนกัน เช่น มัสกอด กอดอย่างไร - เป็นชื่อขนม เที่ยวถามใครๆ ว่าขนมมัสกอดเป็นอย่างไร ไม่มีใครบอกได้ จน วันหนึ่งไปดูหนังเรื่องเมืองเปอร์เซีย จึงเห็นเด็กเดินขายขนมเรียกว่า Muscot เราจึงร้องกันเอะอะ จนคนอื่นแทบตกใจว่าอะไรกัน...” จากลายพระหัตถ์ฉบับนี้ท�ำให้ผู้เขียนนึกสนุกอยากรู้เรื่องขนม ต่างๆ ของไทยสมัยโบราณ จึงได้ค้นชื่อขนมและเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยว กับขนมท�ำเป็นบันทึกขึน้ ไว้ เพราะต่อไปเข้าใจว่าขนมบางอย่างอาจไม่มี โอกาสได้เห็น หรือได้ยินชื่ออีกแล้ว
6 AW5.indd 6
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:55
เรือ่ งขนมแม่เอ๊ย นีไ้ ด้เขียนเป็นตอนๆ ลงพิมพ์ในหนังสือวัฒนธรรม ไทย มาก่อน แล้วรวมเป็นเล่มจ�ำหน่ายมาแล้วสองครั้ง ระหว่างนั้นได้ เขียนเรื่องของขนมลงพิมพ์ในนิตยสารแม่บ้านทันสมัย อีกบ้าง เมื่อ คุณประวิทย์ สุวณิชย์ มาแจ้งว่าจะขอพิมพ์ใหม่ จึงได้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ หมดทั้งเล่ม เพิ่มเติมข้อมูลใหม่และรวมเรื่องที่เขียนใหม่ไว้ด้วย (แต่ ไม่หมด เพราะบางเรื่องไปรวมอยู่ในหนังสือ กระยานิยาย เช่น ข้าว หมาก, ข้าวหลาม) จึงถือได้ว่าเป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด และอาจกล่าวได้ ว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับขนมเล่มแรกที่เขียนในแนวนี้ ยังไม่เคยมีใครคิด เขียนมาก่อนเลย
๑๓ เมษายน ๒๕๔๕
ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 7
7
26/04/2021 17:55
สารบัญ
AW5.indd 8
๑. ที่มาของคำ�ว่าขนม ๒. ประเภทของขนม ๓. ชื่อของขนม ๔. ชื่อขนมโบราณ ๕. ขนมหม้อแกง-แชงมา ๖. กินสามถ้วย-กินสี่ถ้วย ๗. ขนมต้ม ๘. ข้าวตอก-ข้าวเม่า ๙. ข้าวตู-ข้าวตัง ๑๐. ขนมครั้งพุทธกาล ๑๑. ขนมกระทะ ๑๒. ขนมฝรั่ง ๑๓. ขนมกวน ๑๔. ขนมสารทชาวใต้ ๑๕. กระยาสารท ๑๖. ขนมเดือน ๑๑ ๑๗. ขนมในประเพณีแต่งงาน ๑๘. ขนมเลี้ยงพระ ๑๙. ขนมแบบจีน ๒๐. ของหวานเบ็ดเตล็ด ๒๑. วิธีขายขนม
๑๗ ๒๐ ๒๕ ๓๒ ๔๒ ๔๘ ๕๔ ๖๐ ๖๗ ๗๒ ๗๘ ๘๓ ๙๐ ๙๖ ๑๐๓ ๑๐๙ ๑๑๖ ๑๒๒ ๑๒๗ ๑๓๘ ๑๔๓
ภาคผนวก ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ข้าวปายาส ขว้างข้าวเม่า
๑๔๖ ๑๔๖ ๑๕๒ ๑๕๔ ๑๕๖
ดัชนี
๑๕๗
26/04/2021 17:55
ฝอยทอง
ขนมฝรั่ง
ทองม้วน
ขนมไป๋ (ถาดเกษร)
ขนมสัมปันนี
ขนมทองเอก
ขนมผิง ขนมทองโปร่ง (หน้านวล)
ทองหยอด
ขนมเต่า เม็ดขนุน
ขนมหม้อแกง
ทองหยิบ
สังขยาเผือก ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 9
9
26/04/2021 17:55
ขนมละมุด
ขนมใส่ไส้ (สอดไส้)
ขนมเทียน (นมสาว)
ขนมสามเกลอ
ข้าวเหนียวแก้ว ขนมเสน่ห์จันทร์
ขนมพระพาย
ขนมเทียนแก้ว
ขนมโพรงแสม ขนมทอง
ขนมชั้น
ขนมหันตรา ขนมปุยฝ้าย ขนมหน่อไม้
10 AW5.indd 10
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
ขนมฝักบัว
ขนมถ้วยฟู
26/04/2021 17:55
ขนมชะมด
ขนมกง
ขนมจ่ามงกุฎ เม็ดแมงลัก
ข้าวเม่า, ข้าวตอก
AW5.indd 11
ลอดช่อง
ข้าวเหนียวด�ำ
ส. พ ล า ย น้ อ ย
11
26/04/2021 17:55
ขนมเบื้อง
วุ้นกะทิ
วุ้นสังขยา
วุ้นใบเตย
ขนมไข่เหี้ย
ขนมลูกชุบ
ขนมหม้อตาล
16 AW5.indd 16
ขนมหม้อตาล (แบบเก่า) ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
๑
ที่มาของค�ำว่าขนม เมื่อพูดถึงขนม ก็เกิดสงสัยเสียแต่แรกแล้วว่า ท�ำไมเราจึงเรียกของ หวานว่า “ขนม” ความจริงปัญหาอย่างนี้เป็นเรื่องยากเหมือนกับหา เหตุผลว่าท�ำไมจึงเรียกว่า คน ต้นไม้ ปลา ฯลฯ แต่ถึงกระนั้นคนก็ อยากรู้ พยายามตรวจค้นกันมาช้านานแล้ว ที่พบเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ทรงสันนิษฐาน ไว้ว่า “ขนม ค�ำเดิมเห็นจะมาจาก เข้าหนม เป็นแน่ เพราะหนมแปลว่า หวาน เข้าหนม แปลว่า เข้าหวาน คือเข้าที่ผสมกับน�ำ้ อ้อย น�้ำตาล ให้ รสหวานขึ้นแล้วจึงเรียกว่า เข้าหนม ที่เรียกขนมนั้น เป็นค�ำเพี้ยนไป ค�ำตรงต้องเรียกเข้าหนม” บางท่านก็วา่ ค�ำนีน้ า่ จะมาจากภาษามอญว่า “คนุม” หรือ “คนอม” เช่นชาวรามัญเรียกขนมจีนว่า คนอมตรุก แต่ขนมจีนไม่ใช่ของหวาน เป็น แต่ชื่อเรียกเท่านั้น ขนมของมอญเรียกว่า “หวาน” เมื่อเรียกกินขนม เขาพูดว่า “เจี๊ยะหวาน” ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 17
17
26/04/2021 17:56
ขนมไทยส่วนใหญ่ประกอบด้วย ส่วนผสมหลักสามอย่างคือ แป้ง น�้ำตาล และมะพร้าว
แต่เมื่อตรวจภาษาถิ่นต่างๆ ดูแล้ว ได้พบค�ำที่ใช้เรียกขนมมีเค้า ที่น่าสนใจอยู่มาก เช่นภาษาถิ่นแถวอ�ำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และบ้านเซบัง้ ไฟ ประเทศลาว มีคำ� ว่า “หนม” เป็นค�ำกริยา แปลว่า นวด เช่นนวดแป้ง นวดดิน ก็ว่า หนมแป้ง หนมดิน ในพงศาวดารเมืองน่าน (ประชุมพงศาวดาร ภาค ๑๐) เรียกขนมว่า “เข้าหนม” ซึ่งตรงกับ ชาวไทยลื้อที่เรียกว่า “เข้าหนม” เหมือนกัน ดังนี้แสดงว่าค�ำ “ขนม” ที่ เรียกกันในปัจจุบันจะกร่อนเสียงมาจาก “เข้าหนม” มากกว่าอย่างอื่น ค�ำว่า “เข้า” เขียนตามแบบโบราณ ในปัจจุบนั เขียนว่า “ข้าว” ข้าว หนมก็คอื ข้าวทีน่ ำ� มานวดหรือบดเป็นแป้งท�ำเป็นของหวานแล้วนัน่ เอง
18 AW5.indd 18
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
หลักฐานที่เก่าที่สุดที่พบค�ำว่าขนมก็คือ ไตรภูมิพระร่วง เสียดาย ที่ไม่ทราบว่าในฉบับเดิมเขียนว่าอย่างไร แต่ก็เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งว่า คนไทยกินขนมหรือของหวานมาแต่โบราณนานมาก ของที่เรียกว่าขนมในสมัยโบราณหรือในสมัยที่มีค�ำว่าขนมเกิดขึ้น นั้น เข้าใจว่าจะเป็นของที่เกิดจากข้าว ซึ่งต�ำหรือโม่บดจนป่นละเอียด ซึง่ เรียกว่าแป้ง แล้วเอาไปผสมกับน�ำ้ ตาลเพียงสองสิง่ เท่านัน้ ก่อน ต่อมา จึงมีมะพร้าวเข้าไปผสม ขนมไทยรุ่นแรกแบบโบราณจึงหนีไม่พ้นแป้ง น�ำ้ ตาล และมะพร้าวไปได้ ของสามสิง่ นีเ้ ป็นของพืน้ บ้านพืน้ เมืองทีพ่ อ หาและมีปลูกมีท�ำกันทั่วไป ขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น�้ำตาล และ มะพร้าว คงจะมีมาแต่สมัยสุโขทัย และในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีตลาด ขายขนมเหมือนกัน เรียกกันว่า ป่าขนม ภายหลังความหมายของค�ำว่า “ขนม” ได้คลีค่ ลายขยายความมาก ขึ้น จ�ำนวนของขนมที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ก็ทวีจ�ำนวนมากขึ้นจนสุดที่จะ จดจ�ำ และในขณะเดียวกันขนมเก่าดัง้ เดิมก็สญ ู หายไปเรือ่ ยๆ เพือ่ เป็น อนุสรณ์ถึงวัฒนธรรมการกินขนมของคนไทยและประเพณีที่เกี่ยวข้อง จะได้บันทึกไว้เท่าที่จะสอบค้นได้ต่อไป
ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 19
19
26/04/2021 17:56
๑๐
ขนมครั้งพุทธกาล มีผู้ที่นับถือพระคเณศแวะมาหาและซื้อขนมลัดดูมาฝาก เพื่อจะได้ สังเวยพระคเณศ เขาเล่าให้ฟังว่าคนอินเดียท�ำขนมลัดดูมาขายให้ คนที่บูชาพระคเณศซื้อไปถวาย ขนมลัดดูนี้ท�ำจากถั่ว จะเป็นถั่วทอง หรือถั่วอะไรไม่ทราบแน่ ปั้นเป็นรูปกลมๆ ขนาดลูกปิงปอง เมื่อถวาย พระคเณศแล้วสักพักหนึ่งก็ “ลา” ขออนุญาตยกขนมมาลองชิมดู รู้สึก ว่าเป็นถั่วผสมน�้ำตาลทรายนั่นเอง ขนมที่เป็นของโปรดของพระคเณศ เท่าทีท่ ราบมาเป็นรูปกลมๆ ทัง้ นัน้ เช่น ขนมโมทกตามทีเ่ คยเล่ามาแล้ว ในเรื่องขนมต้ม ขนมลูกกลมๆ อย่างนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ในคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนามีกล่าวถึงขนมต้ม แต่จะเป็นอย่างใดไม่ทราบ ใน หนังสือสารัตถสมุจจัย อัตถกถาภาณวาร มีกล่าวถึงพระว่าไม่ควรกล่าว ขอหรือท�ำอาการให้ฆราวาสรู้ว่าต้องการอะไร ได้ยกตัวอย่างว่า “เจ้า ภิกษุนั้นอย่าพึงกระท� ำซึ่งกายวิการเป็นต้นว่าเขียนวงกลมๆ ให้คน ทั้งปวงเห็นว่าจะฉันขนมต้ม กระท�ำเป็นแผ่นให้คนทั้งปวงเห็นว่าจะฉัน ขนมเบื้อง” ดังนี้แสดงว่า ขนมต้มกับขนมเบื้องเป็นขนมมีมาแต่ครั้ง
72 AW5.indd 72
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
พุทธกาลแล้ว แต่จะมีรสชาติและส่วนผสมอย่างไรบ้างไม่ทราบ ขนมต้มกับขนมเบื้องก็เป็นขนมเก่าแก่ของไทย เท่าที่พบหลักฐาน เป็นลายลักษณ์อักษร ขนมต้มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ขนมเบื้องมีกล่าว ถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยามีคู่กันมากับขนมครก เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีคนเผย แพร่ว่ามีผู้เฒ่าอายุเท่าไรไม่ทราบบอกว่า แต่เดิมขนมครกท�ำเป็นแผ่น แบบขนมเบื้อง แล้วภายหลังจึงท�ำเป็นฝา เรื่องนี้ไม่มีหลักฐาน น่าจะ เชื่อตามจดหมายเหตุสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือที่เรียกกันว่า ค�ำให้การ ขุนหลวงหาวัด มากกว่า เพราะได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า “บ้านหม้อปั้นหม้อ ข้าวหม้อแกงใหญ่เล็กและกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง” แสดงว่า มีการท�ำขนมครก ขนมเบือ้ ง กินกันมาแต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยาแล้ว ฉะนัน้ ที่กล่าวกันว่าขนมครกเคยท�ำเป็นแผ่นมาก่อนจึงเป็นเรื่องเกินอายุที่จะ กล่าวถึง ขนมเบื้องที่กล่าวถึงในคัมภีร์พระพุทธศาสนาข้างต้นนั้นจะเป็น อย่างไรก็ไม่ทราบอีก เพราะขนมที่ท�ำเป็นแผ่นๆ ของอินเดียมีหลาย อย่าง แต่เมือ่ ออกชือ่ ว่าเป็นขนมเบือ้ ง ก็จะเล่าไปตามเรือ่ ง คือในหนังสือ ธรรมบท มีเรื่องของเศรษฐีโกศิยะ ตาเศรษฐีคนนี้เป็นเศรษฐีขี้เหนียว ที่สุดในสมัยพุทธกาลทีเดียว คราวหนึ่งแกเห็นคนกินขนมเบื้องอยู่ข้าง ทางเดิน แกก็อยากกินขึ้นมาบ้าง ครั้นจะท�ำกินเองก็กลัวเปลือง นอน คิดถึงค่าข้าวสาร ค่าน�้ำตาล และอื่นๆ อยู่หลายวัน ก็ยังตัดสินใจไม่ได้ แต่ความอยากกินขนมเบื้องมีมาก ท�ำให้กระวนกระวายถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอม การเปลี่ยนแปลงของท่านเศรษฐีท�ำให้ภรรยาผิดสังเกต ยิ่งเห็น ร่างกายสามีทรุดโทรมลงไป ก็ยิ่งสงสัยว่าสามีจะเจ็บป่วย จึงได้ซักถาม ถึงสาเหตุ ท่านเศรษฐีก็ตอบอ้อมแอ้มไม่ตรงตามความจริง ข้างภรรยา ก็ไม่ยอมลดละซักไปซักมาว่าอยากกินอะไรก็จะท� ำให้ ในที่สุดท่าน เศรษฐีก็หลุดปากออกมาว่าอยากกินขนมเบื้องนั่นเอง แต่ไม่ต้องการที่ จะท�ำมากๆ ให้ทำ� เฉพาะกินคนเดียวเท่านัน้ เพราะใจแกตระหนี ่ แม้แต่ ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 73
73
26/04/2021 17:56
๑๗
ขนมในประเพณีแต่งงาน ขนมนอกจากจะรับประทานเพื่อความอร่อยแล้ว ขนมบางอย่างก็มี ความหมายและความเชื่ อ ถื อ เรื่ อ งมงคลอะไรต่ า งๆ เช่ น ขนมชั้ น หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองทวีสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นข้าราชการก็ให้ เลื่ อ นต� ำ แหน่ ง สู ง ๆ ขึ้ น ไป จึ ง นิ ย มให้ ข นมชั้ น ในโอกาสที่ เ ป็ น มงคล เช่นวันขึ้นปีใหม่ วันคล้ายวันเกิด และในประเพณีแต่งงานก็มีขนมชั้น ด้วย ขนมในประเพณี แ ต่ ง งานมี ห ลายอย่ า ง แต่ ที่ ถื อ เป็ น ขนมหลั ก ได้แก่ ขนมชะมด ขนมกง ขนมสามเกลอ เฉพาะขนมกงออกจะขึ้น หน้ า ขึ้ น ตาอยู ่ ม าก ถึ ง กั บ เอาไปใช้ พู ด เป็ น ส�ำ นวนกั น ก็ มี เช่ น มี ค น ถามว่า “เมือ่ ไรจะได้กนิ ขนมกงเสียที” อย่างนีก้ เ็ ป็นอันรูก้ นั ว่าเขาหมาย ถึง “เมื่อไรจะแต่งงานเสียที” เป็นเรื่องของคนโบราณที่รู้ว่าในการจัด ขันหมากในประเพณีแต่งงานต้องมีขนมกงและขนมต้มดังได้กล่าวมา แล้ว ขนมกง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า ขนมกงเกวียน เป็นการ เรี ย กตามลั ก ษณะ คื อ เป็ น รู ป เหมื อ นกงล้ อ เกวี ย น ตรงกลางเป็ น
116 AW5.indd 116
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
ขนมกง
ขนมละมุด
ขนมหันตรา
ขนมเสน่ห์จันทร์
ขนมทอง
ขนมรังนก
ขนมโพรงแสม
ขนมฝักบัว
ขนมหน่อไม้
ขนมสามเกลอ
ขนมพระพาย
ขนมเทียน
ขนมชะมด
ขนมใส่ไส้ ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 117
117
26/04/2021 17:56
๑๘
ขนมเลี้ยงพระ ตามคติคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ถือว่าของกินของใช้ที่จะถวาย พระต้องเป็นของที่ดี อาหารคาวหวานต้องจัดท�ำอย่างประณีตงดงาม กล่าวเฉพาะขนม คนโบราณได้จัดสรรไว้มากมายหลายชนิด ซึ่งถือ เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ข องขนมไทยได้ อ ย่ า งหนึ่ ง ที่ เ ราทราบได้ แ น่ ชั ด ก็คือในรัชกาลที่ ๑ ขนมที่ถวายพระได้แก่ ขนมฝอย ข้าวเหนียวแก้ว ขนมผิง ขนมไส้ไก่ กล้วยฉาบ หน้าเตียง หรุ่ม สังขยา ฝอยทอง และ ตะไล แต่ไม่ได้หมายความว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ จะมีของหวานเพียง ๑๐ อย่างเท่านี ้ เป็นแต่เพียงก�ำหนดให้ทำ� ถวายพระเฉพาะงานฉลองวัด พระศรีรัตนศาสดารามเท่านั้น ที่น่าสังเกตก็คือ ของหวานดังกล่าวเป็นขนมแห้งที่เหมาะส�ำหรับ บรรจุในกระทง ซึ่งในสมัยโบราณนิยมใช้กระทงใบตองบรรจุอาหาร หรือของคาวหวานเหมือนกันหมด เป็นการสะดวกส�ำหรับการเลีย้ งพระ จ�ำนวนมากๆ และมีหลายเจ้าของ ไม่เป็นภาระเรื่องถ้วยชาม ต่อมา นิ ย มใช้ ถ ้ ว ยชามที่ มี ล วดลายสวยงามขึ้ น การจั ด ส� ำ รั บ เลี้ ย งพระก็ เปลี่ ย นแปลงไป แต่ ลั ก ษณะของเครื่ อ งคาวหวานยั ง เป็ น แบบเดิ ม
122 AW5.indd 122
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
อยู่มาก จะมีชนิดที่เป็นน�้ำก็เพียงส่วนน้อย จะขอยกตัวอย่างการจัด ส� ำ รั บ เลี้ ย งพระในสมั ย รั ช กาลที่ ๕-๖ จากต� ำ ราแม่ ค รั ว หั ว ป่ า ก์ ข อง ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ในการที่ จ ะท� ำ ส� ำ รั บ เลี้ ย งพระนั้ น คื อ เลี้ ย ง ๕ องค์ ๗ องค์ ๙ องค์ ๑๐ องค์ ๒๕ องค์ ๕๑ องค์ ๗๑ องค์ ก็ดี ต้องมีส�ำรับพระพุทธ ต่างหาก จัดหาสิ่งของที่จะท�ำให้พอกับจ�ำนวนมี ที่ ๑ ข้าวบาตร หุ ง สุ ก แล้ ว คดลงขั น ข้ า วบาตร และมี ขั น เชิ ง เล็ ก ส� ำ หรั บ ข้ า ว พระพุทธ บางแห่งมีบาตรพระพุทธต่างหาก ที่ ๒ ของฝาบาตร มีไข่เค็มต้มแล้วจัดไว้ในโต๊ะประมาณฝาบาตรละ ๕ ฟอง หรือ ไส้กรอกขดในกระทงฝาบาตรละกระทง ขนมฝรัง่ อันใหญ่หรือข้าวเหนียว แก้ ว แผ่ บ นใบตองเจี ย นกลมเป็ น อั น ใหญ่ กล้ ว ยไม่ ว ่ า กล้ ว ยอะไร ตามแต่จะเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหวีตัดจุกด�ำที่หัวออกเสียให้หมด หรือถ้าเป็นฤดูหน้าส้มก็ใช้ส้ม ของเหล่านี้จัดลงโต๊ะหรือถาดไปวางไว้ เมื่อตักข้าวลงบาตรแล้ว ของฝาบาตรก็เอาจัดลงฝาบาตรเท่าๆ กัน มี ถ าดหรื อ ฝาบาตรส� ำ หรั บ พระพุ ท ธด้ ว ยเหมื อ นกั น ของฝาบาตรนี้ เป็นเสบียงกรังส�ำหรับพระไปฉันที่วัดเวลาอื่นต่อไป ที่ ๓ ส�ำรับคาว มีของจาน ๑. ไส้กรอก ๒. หมูแนม ๓. ย�ำยวน ๔. หรุ่ม ๕. พริกแดงผัด ๖. ม้าอ้วน ๗. ปลาแห้งผัด ๘. สับปะรดหรือแตงโม สิ่งหนึ่ง ๙. หมูย่างจิ้มน�ำ้ พริกเผา ๑๐. หมูหวาน ๑๑. เมี่ยงหมู ๑๒. หมูผัดโตนด ๑๓. หมูเปี๊ยะ จัดประดับจานเชิงให้สมุ่ เทียบบนโต๊ะแลปากโต๊ะ ถ้วยน�ำ้ พริกเผา อยู่กลาง ที่ ๔ ส�ำรับเคียง ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 123
123
26/04/2021 17:56
ขว้างข้าวเม่า ในตอนที่กล่าวถึงข้าวตอก-ข้าวเม่า ไม่ได้เล่าถึงประเพณีที่เกี่ยวกับข้าว เม่า เห็นว่าน่าจะรวมไว้ด้วย เพื่อให้เรื่องข้าวเม่าสมบูรณ์ขึ้น ประเพณี ขว้างข้าวเม่าอาจจะมีหลายท้องที่ หลายถิ่น และอาจไม่เหมือนกัน ที่ จะเล่าต่อไปนี้ฟังจากคนสุพรรณฯ เขาเล่าถึงประเพณีขว้างข้าวเม่าที่ ต�ำบลบ้านสระ อ�ำเภอสามชุก เขาว่าในเดือนสามข้างขึ้น พวกสาวๆ จะนัดกันมาต�ำข้าวเม่าที่ ลานบ้ า น จะเป็ น บ้ า นใครก็ ไ ด้ หรื อ ถ้ า บ้ า นไหนมี ลู ก สาวหลายคน ก็ไม่ต้องไปชวนใครมา งานนี้เป็นเรื่องของสาวๆ โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ ไม่เกี่ยว เสี ย งต� ำ ข้ า วเม่ า จะดั ง อยู ่ ไ ม่ น าน ก็ จ ะมี ห นุ ่ ม ๆ ที่ ไ ด้ ยิ น เสี ย ง ก็จะพากันมา และดูเหมือนทุกคนก็จะเตรียมพร้อมอยูแ่ ล้ว เพราะทุกคน จะมีมะพร้าวอ่อนห่อด้วยผ้าขาวม้าพาดไหล่มาด้วย เมื่อเดินเมียงมอง อยู่ครู่หนึ่ง พอเห็นหน้าเห็นตาคนที่หมายปองแล้ว ก็กลิ้งมะพร้าวไป ให้ถูกสาวคนนั้น การกระท�ำเช่นนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เขวี้ยงข้าว เม่า” หรือตามภาษาทั่วๆ ไปก็คือ “ขว้างข้าวเม่า” นั่นเอง ตามค�ำเล่าว่าหญิงสาวที่ถูกมะพร้าวกลิ้งมาโดนเท้าก็จะท� ำเป็น ตกใจร้องวี้ดว้าย แสดงอาการโกรธไล่จับเอาตัวหนุ่มเจ้าของมะพร้าวให้ มาช่ ว ยต� ำ ข้ า วเม่ า ซึ่ ง เจ้ า หนุ ่ ม ก็ ยิ น ยอมแต่ โ ดยดี เพื่ อจะได้ ใ กล้ ชิ ด สาว เขาว่าประเพณีนี้ท�ำให้หนุ่มสาวได้ร่วมหอลงโรงกันมามากต่อ มากแล้ว การที่ใช้มะพร้าวเป็นสื่อก็เพราะมะพร้าวเป็นของกินคู่กับข้าวเม่า ดังได้เล่ามาแล้ว
156 AW5.indd 156
ข น ม แ ม่ เ อ๊ ย
26/04/2021 17:56
ดัชนี ก กงเกวียน, ขนม ๒๑, ๒๕, ๓๓, ๑๑๖, ๑๒๐ กระยาสารท, ขนม ๖๐, ๖๒, ๑๐๓-๑๐๗ กล้วย, ขนมที่ทำ� จาก ๒๑, ๑๓๘ กวนลอดช่อง, ตลาด ๒๖ กอง, ขนม ๓๐ ก้องแหน, ขนม ๓๐ กะละแม, ขนม ๓๑, ๙๑-๙๕, ๑๒๑ กินข้าวเย็นเป็นพระยา ๖๘ กินข้าวร้อนนอนเหมือนหมา ๖๘ กินสี่ถ้วย ๔๘-๕๑, ๕๓ กิริบุท, ขนม ๔๗, ๑๔๐ กุมมาส, ขนม ๗๖, ๗๘ โกศิยะ, เศรษฐี ๗๓-๗๖ โก๋, ขนม ๑๒๙, ๑๓๑ ข ขว้างข้าวเม่า ๑๕๖ ของคาว, ค�ำว่า ๓๒ ของว่าง, ค�ำว่า ๒๐-๒๑ ของหวาน, ค�ำว่า ๒๐, ๓๒ ขันหมาก, ขนมในพิธี ๒๑, ๒๘, ๑๓๐ ข้าวแขก ๔๖ ข้าวตอก ๔๙-๕๒, ๖๐-๖๒, ๖๕-๖๖, ๗๑, ๙๖-๙๗, ๑๐๔, ๑๐๗, ๑๑๘, ๑๔๖, ๑๕๖ ข้าวตังกับหนังปลา ๗๐ ข้าวตาก ๖๔, ๖๗ ข้าวต้มผัด ๑๐๙, ๑๑๑-๑๑๕ ข้าวทิพย์ ๑๔๖-๑๕๒, ๑๕๔ ข้าวต้มมัด ๑๐๘, ๑๑๒-๑๑๕ ข้าวต้มมัดไต้ ๑๑๔ ข้าวต้มลูกโยน ๑๐๙, ๑๑๑
ข้าวตู ๖๔, ๖๗-๗๑ ข้าวแตน ๒๘ ข้าวประดับดิน ๑๐๗ ข้าวปายาส ๑๕๔-๑๕๕ ข้าวพอง ๓๑, ๖๔, ๑๐๘, ๑๒๘ ข้าวเม่า - ตัดสินคดีด้วย ๖๕ - วิธีกิน ๖๕ ข้าวเม่าคลุก ๖๒, ๙๗ ข้าวเม่าทอด ๖๒ ข้าวเม่าบด ๖๓-๖๔ ข้าวเม่าราง ๖๔, ๗๑ ข้าวมูนข่วย ๓๑ ข้าวมูนปาด ๓๑ ข้าวยาคู ๑๕๒-๑๕๓ ข้าวหมาก ๒๗ ข้าวเหนียวแก้ว ๓๓, ๓๙, ๙๕, ๑๒๑-๑๒๔ ขี้หนู, ขนม ๓๗-๓๙ เข้าหนม, ค�ำว่า ๑๗-๑๘ ไข่กบ ๔๙-๕๐, ๕๒ ไข่ปลา, ขนม ๙๖, ๑๐๐-๑๐๑ ไข่เหี้ย, ขนม ๓๐, ๔๐-๔๑ ค คเณศ, พระ ๕๔-๕๕, ๕๘, ๗๒ คนุม, ค�ำว่า ๑๗ ครก, ขนม ๒๔-๒๕, ๗๓, ๘๑ ครองแครง, ขนม ๒๓, ๒๘ คาวหวานแม่วาด ๓๒ เครื่องตั้งตาปาน ๓๒ โค, ขนม ๙๖-๙๗
ส. พ ล า ย น้ อ ย
AW5.indd 157
157
26/04/2021 17:56
ġĨĸĕġėɿġĖõĥĎİėīĸġûėĦěöčĕĴċĖčĦčĦþčĨĈ ċĥĹûċĩĸøĬćİøĖėĭʀüĥõıęĤĴĕɿėĭʀüĥõĕĦõɿġč
ċĩĸĕĦöġûøĽĦěɿĦöčĕ
ĔĦĝĦĊĨĸčıĊěġĽĦİĔġČĦĉĬĒčĕ üĥûğěĥĈčøėĒčĕ ıęĤĎʀĦčİÿĎĥĹûĴē ďėĤİċĜęĦě ĕĩøĽĦěɿĦ Ưğčĕư İďʇčøĽĦõėĨĖĦ ıďęěɿĦčěĈ İþɿččěĈıďɻû čěĈĈĨč õķěɿĦğčĕıďɻû ğčĕĈĨč
øĽĦ Ưöčĕư ċĩĸİėĩĖõõĥčijčďʅüĬĎĥč üĤõėɿġčİĞĩĖûĕĦüĦõ ƯİöʀĦğčĕư ĕĦõõěɿĦġĖɿĦûġīĸč øĽĦěɿĦ ƯİöʀĦư İöĩĖčĉĦĕıĎĎIJĎėĦć ijčďʅüüĬĎĥčİöĩĖčěɿĦ ƯöʀĦěư öʀĦěğčĕõķøīġöʀĦěċĩĸčĽĦĕĦčěĈğėīġĎĈİďʇčıďɻû ċĽĦİďʇčöġûğěĦčıęʀěčĥĸčİġû ĀöüéðøąüĆêĉýćÿêøŤ ÿĆÜÙö ISBN 978-616-465-044-2 9
786164
650442
øćÙćźĢĪġźïćì
ÿĆęÜàČĚĂĂĂîĕúîŤìĊę
@sarakadeemag