๑๐๑ วัดวัง และสถานที่สำคัญพม่า

Page 1

ศิลปะ  สถาปัตยกรรม  พม่า

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล เป็นชาวนครสวรรค์ สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

หนังสือให้ความรู้และความเข้าใจ

ในการเที่ยวชม วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่าได้อย่างสมบูรณ์

หมวดศิลปะ ราคา ๖๗๕ บาท ISBN 978-616-465-001-5

• เมืองปะยินอูละวิน • ทะเลสาบอินเล • เมืองตองจี • เมืองกาลอว์ • เมืองสีป่อ

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล

• เมืองย่างกุ้ง • เมืองหงสาวดี • เมืองพุกาม • เมืองมัณฑะเลย์ • เมืองอังวะ

๑๐๑ วัด วัง

และสถานที่สําคัญในพม่า

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล

เป็นผู้มีประสบการณ์ในวิชาชีพมัคคุเทศก์ มากว่า ๓๐ ปี ในบริษัททัวร์ชั้นนำ� ในเมืองไทย เช่น เถกิงทัวร์และ สวัสดีฮอลิเดย์ ที่นำ�เที่ยวไปแล้ว เกือบทั่วโลก ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร บริษัทสวัสดีฮอลิเดย์ จำ�กัด และ เป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ฯลฯ จากประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญในการนำ�ชม โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ  ผู้เขียนได้นำ�เรื่องราวบางส่วน มาถ่ายทอดเป็นหนังสือที่ท่านถืออยู่เล่มนี้


ISBN 978-616-465-001-5 หนังสือ ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า ผู้เขียน ภภพพล จันทร์วัฒนกุล พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน ๒๕๕๓ พิมพ์ครั้งที่ ๒  (ปรับปรุงใหม่) มีนาคม ๒๕๖๑ จำ�นวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ๖๗๕ บาท ราคา  สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ภาพประกอบ ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจำ�หน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ภภพพล จันทร์วัฒนกุล นัทธินี สังข์สุข ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐  โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ภภพพล จันทร์วัฒนกุล. ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า.- -นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๑. ๕๙๒ หน้า. ๑. พม่า- -ประวัติศาสตร์.  ๒. ศิลปะ- -พม่า- -ประวัติศาสตร์.   ๓. พม่า- -โบราณสถาน.  I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๑ ISBN 978-616-465-001-5

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินนํ้า) ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมืองนนทบุร ี จังหวัดนนทบุร ี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม  ธิดา สาระยา  เสนอ นิลเดช  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/โฆษณา กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง

2   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


คํานิยม อาจารย์สรศักดิ์  จันทร์วัฒนกุล เปลี่ยนชื่อเป็น ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล หลังจากใช้ความรู้ความสามารถของมหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ  ประกอบ  กับความชำ�นาญด้านงานมัคคุเทศก์ ทั้งงานบริหารจัดการและงานภาคสนามของบริษัทสวัสดี  ฮอลิเดย์ จำ�กัด  รวมทั้งการใช้ประสบการณ์ที่หาได้ยากยิ่งในหมู่มัคคุเทศก์ด้านศิลปวัฒนธรรม  โบราณให้เกิดประโยชน์  โดยเป็นอาจารย์พิเศษในภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว  อาจารย์ภภพพลยังได้ปลีกเวลาเขียนหนังสือท่องเที่ยวเชิงวิชาการ  ก่อนหน้านี้คือ ชุดศิลปะ สถาปัตยกรรม เมืองพระนคร ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์และศิลปะ แห่งอาณาจักรขอมโบราณ  และ ๓๐ ปราสาทขอมในเมืองพระนคร รวมสองเล่มที่สำ�นักพิมพ์ เมืองโบราณจัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๕๑  สำ�หรับปีนี้คือชุดที่อยู่ในมือท่าน คือชุดศิลปะพม่า อดีตอันยาวนานกว่าพันปีของดินแดนก่อนจะมาเป็นประเทศไทยนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่   กับศิลปวัฒนธรรมของประเทศใกล้เคียงเช่นที่ประเทศกัมพูชา ประเทศพม่าในปัจจุบัน  ด้วยเหตุ  ดังกล่าว หากศึกษาศิลปะเขมรโบราณที่พบในประเทศไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ย่อมขาดไม่ได้ที่จะต้อง  รู้ที่มาที่ไปที่มีอยู่ในประเทศกัมพูชา  เพราะล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน  โดยสืบเนื่องมาเป็นส่วน  ของความเข้าใจศิลปะทวารวดี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยาของเรา  และในทางกลับกัน หากจะ  ศึกษาศิลปะเขมรปัจจุบันให้เข้าใจได้ง่ายก็ต้องมองมาที่ศิลปะไทยสมัยกรุงเทพฯ หรือที่เรียกว่า  ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย และหากจะศึกษาศิลปะโบราณนับพันปีลงมาทางภาคเหนือ คือศิลปะหริภุญไชยซึ่ง  มีศูนย์กลางอยู่ที่ลำ�พูน และหลังจากนั้นคือศิลปะล้านนา ศูนย์กลางอยู่ที่เชียงใหม่ โดยรวมทั้ง  ทางตอนล่างคือศิลปะสุโขทัยอีกด้วย  ก็มีส่วนเชื่อมโยงอยู่กับศิลปะพม่าโบราณตั้งแต่สมัยพุกาม  เป็นต้นมา ศิลปะของพม่าและของเขมรจึงเป็ นกระจกสะท้ อ นเอกลั ก ษณ์ ข องศิ ล ปะไทยให้ เด่ น  ชัดเจนยิ่งขึ้น  งานเรียบเรียงหนังสือชุดศิลปะพม่าของอาจารย์ภภพพล และรวมทั้งชุดก่อนคือ  ศิลปะ สถาปัตยกรรม เมืองพระนคร จึงเป็นประโยชน์ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจพร้อมอารมณ์ แห่ ง การท่ อ งเที่ ย วพั ก ผ่ อ น  ผ่ า นความเรี ย งสั้ นที่ มี ส าระ ผู้ อ่ า นจะพิ จ ารณาไปพร้ อ มกั บ ภาพ  ประกอบจำ�นวนมากที่ผู้เรียบเรียงถ่ายมาด้วยตัวเองเกือบทั้งหมด

ศ.ดร. สันติ  เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    3


คํานําสํานักพิมพ์ หนังสือ “๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า” เล่มนี้ เป็นการแก้ไขและปรับปรุงจากหนังสือ  ชุด ศิลปะพม่า ประกอบด้วยหนังสือสองเล่มคือ “ประวัตศิ าสตร์และศิลปะพม่า” และ “๖๐ วัด วัง  และสถานที่สำ�คัญในพม่า” ผลงานของอาจารย์ ภภพพล จันทร์วัฒนกุล  มัคคุเทศก์ผู้เชี่ยวชาญ  ในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย  ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ ใน  พ.ศ. ๒๕๖๑ สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณและผู้เขียนเห็นพ้องกันว่าจะปรับปรุงใหม่โดยรวมหนังสือ  สองเล่มดังกล่าวมาเป็นเล่มเดียว และเพิ่มเติมสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของพม่าที่ปัจจุบันมี   เพิ่มขึ้นในอีกหลายเมือง โดยอาจารย์ภภพพลได้เลือกสถานที่ที่น่าสนใจและกำ�ลังได้รับความ  นิยม เช่น เมืองปะยินอูละวิน เมืองตองจี เมืองกาลอว์ เมืองสีป่อ รวมทั้งแนะนำ�เที่ยวชมอาคาร  ศิลปะยุคโคโลเนียลในย่างกุ้ง ทำ�ให้มีจำ�นวนสถานที่นำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้เพิ่มขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อ  หนังสือให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่มีการปรับปรุงดังกล่าว  และในการนี้เมื่อต้นปี ๒๕๖๑ ผู้เขียน  เดินทางไปพม่าเพื่อบันทึกภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่เพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงต้นฉบับหนังสือเล่มนี ้ สู่ผู้อ่านให้สมบูรณ์ที่สุด ด้วยความตั้งใจให้หนังสือ “๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า”  เป็นแหล่งข้อมูลสำ�หรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพม่าและผู้ที่วางแผนจะเดินทางท่องเที่ยวพม่า ได้รู้จัก  ประเทศเพื่อนบ้านทางด้านตะวันตกของไทยที่มีเอกลักษณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และมีเสน่ห์  ที่ทำ�ให้ผู้เขียนประทับใจ...และหวังว่าผู้อ่านจะพบเสน่ห์ของพม่าในมุมมองของตัวท่านเองเช่นกัน

4   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า

สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๖๑


คํานําผู้เขียน ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณที่ทำ�โครงการแก้ไขปรับปรุงหนังสือ ชุด ๖๐ วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า ของผม จากเดิมซึ่งพบข้อบกพร่องหลายประการ ผมจึงได้ถือโอกาสแก้ไขปรับปรุงข้อมูลใหม่และเพิ่มเติมสถานที่ท่องเที่ยวที่พบใหม่ลงไปในหนังสือ  เล่มนี้ด้วย พม่าเป็นประเทศใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายทั้งทางวัฒนธรรม ทางธรรมชาติ   และทางด้านความเพลิดเพลิน  ซึ่งยังมีอีกหลายแหล่งที่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนถึง เช่น เส้นทาง  ภาคตะวันตกในรัฐยะไข่ที่เมืองมะเย่าอู (มรอกอู) และเมืองชิตตเว (ชิตตุ่ย)  เส้นทางภาคใต้ใน  รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญที่เมืองสะเทิม ปะอาน มะละแหม่ง ทวาย เส้นทางภาคเหนือในรัฐกะฉิ่นที่   เมืองมิตจีนา แถวเทือกเขาพม่า-ธิเบตที่ภูตาโอ เป็นต้น ซึ่งต้องขอเขียนเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป   ส่วนในรัฐฉานผมเว้นไม่ได้กล่าวถึงเมืองเชียงตุง ด้วยเห็นว่าเมืองเชียงตุงมาผูกโยงทางด้านการ  ท่องเที่ยวที่ผ่านจากภาคเหนือของไทยทาง อ. แม่สายและด่านท่าขี้เหล็กของพม่า ซึ่งเส้นทางนี้จะ  ไปผนวกกับเส้นทางท่องเที่ยวพม่าส่วนอื่นๆ ได้ลำ�บาก ทั้งการเดินทางและระบบการเข้าออกเมือง  (ณ ปัจจุบันที่เขียนหนังสือเล่มนี้) ประกอบกับมีหนังสือที่เขียนถึงเมืองเชียงตุงทั้งด้านวิชาการ  ด้านประวัติศาสตร์ และเชิงท่องเที่ยวอย่างละเอียดอยู่แล้ว จึงขอเว้นไว้ไม่ได้เขียนถึง สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณคุณบัวหอม มัคคุเทศก์ชาวพม่า ที่ช่วยทั้งหาเอกสารทางฝั่ง  พม่า (ยังไม่พบในภาษาอื่น) และช่วยแปลถ่ายความจากภาษาพม่าเป็นไทยให้ผมมาใช้เป็นข้อมูล  ในการเขียนถึงบางสถานที่ในหนังสือเล่มนี้  และยังช่วยเข้าไปถ่ายรูปในบางสถานที่มาให้ ซึ่งบาง  แห่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปได้  ช่วงนี้ประเทศพม่ากำ�ลังพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เชื่อว่าเมื่อหนังสือเล่มนี ้ ออกมาอาจจะมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก ซึ่งคงต้องแก้ไขปรับปรุงเมื่อมีโอกาสในคราวต่อไป   ขอขอบพระคุณสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณและคุณบัวหอมอีกครั้งหนึ่งครับ

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล กุมภาพันธ์  ๒๕๖๑

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    5


สารบัญ

คำ�นิยม จาก ศาสตราจารย์ ดร. สันติ  เล็กสุขุม คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน คำ�นำ�ผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑)

๓ ๔ ๕ ๖

เกริ่นนำ�

๑๖

บทที่ ๑ สังเขปประวัติศาสตร์พม่าเพื่อการท่องเที่ยว

๒๓

สมัยที่ ๑ ก่อนประวัติศาสตร์ สมัยที่ ๒ แรกเริ่มรับอารยธรรมอินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๑) สมัยที่ ๓ ปยู มอญโบราณ และอาระคัน (ยะไข่) (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕) สมัยที่ ๔ จักรวรรดิที่ ๑ : พุกาม พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ (พ.ศ. ๑๕๘๗-๑๘๓๐) สมัยที่ ๕ จักรวรรดิที่ ๒ : สมัยหลังพุกามจนถึงสิ้นราชวงศ์ตองอู  (พ.ศ. ๑๘๓๐-๒๒๙๕) สมัยที่ ๖ จักรวรรดิที่ ๓ : ราชวงศ์กองบอง (อลองพระ)  ถึงสมัยอังกฤษปกครอง (พ.ศ. ๒๒๙๕-๒๔๒๘) สมัยที่ ๗ อังกฤษปกครองพม่าจนถึงได้รับเอกราช (พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๙๑) สมัยที่ ๘ หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ (พ.ศ. ๒๔๙๑-ปัจจุบัน)

๒๓ ๒๔ ๒๔ ๒๖

บทที่ ๒ ศิลปะพม่า

๕๐

ศิลปะพม่าก่อนพุกาม (อดีต-พ.ศ. ๑๕๘๗) ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะแรกเริ่มรับอารยธรรมอินเดีย พุทธศตวรรษที​ี่ ๗-๑๑

๕๐ ๕๐ ๕๑

10   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า

๓๔ ๓๖ ๔๐ ๔๕


ศิลปะพุกาม (ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๕๘๗-๑๘๓๐) สถาปัตยกรรม ลวดลายประดับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม พุทธศิลป์สมัยพุกาม จิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะพม่าสมัยหลังพุกาม (หลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙-ปัจจุบัน) สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมฝาผนัง

๕๗ ๕๘ ๖๖ ๗๐ ๗๑ ๗๓ ๘๑ ๘๓ ๘๖ ๘๖

บทที่ ๓ พุทธศาสนาและศิลปะพม่า

๙๐

๙๐ ๙๓ ๙๕ ๙๖

อดีตพระพุทธเจ้าในศิลปะพม่า พระอุปคุต ตำ�นานสิงห์ในวัดพม่า มนุษย์สิงห์ในพม่า

นำ�ชม วัด พระราชวัง และสถานที่สำ�คัญในพม่า

๙๗

บทที่ ๔ วัด พระราชวัง และสถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้

๙๘

ย่างกุ้ง

ตำ�นานและประวัติเมืองย่างกุ้ง • พระธาตุชเวดากอง (Shwe Dagon) • สุสานพระนางสุปะยาลัต • สุสานกษัตริย์ Baha Dur Shah Zafar • สถูปที่ฝังศพอู ถั่น • เจดีย์สุเล (Sule) • วัดพระนอนเจ้าทัดจี (Chauk Htat Gyi) พระตาหวาน • วัดเทพทันใจ โบตาถ่อง (Bo Ta Taung) • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติย่างกุ้ง (National Museum) • อาคารแบบโคโลเนียลในย่างกุ้ง

๑๐๑ ๑๐๑ ๑๐๓ ๑๑๖ ๑๑๗ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๒ ๑๒๗ ๑๓๓ ๑๓๖

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    11


หงสาวดี

ตำ�นานและประวัติเมืองหงสาวดี • พระธาตุอินทร์แขวน (ไจ้ติโย-Kyaik Ti Yo) • พระธาตุมุเตา (Shwe Maw Daw) • วัดพระนอนชเวทัลเยือง (Shwe Thal Yaung) • มหาเจดีย์ (Maha Zedi) • วัดกัลยาณี (Kalyani Sima) • พระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง (Kan Baw Zathadi)

๑๕๗ ๑๕๗ ๑๖๑ ๑๗๑ ๑๘๓ ๑๙๑ ๑๙๗ ๒๐๐

บทที่ ๕ วัด พระราชวัง และสถานที่ท่องเที่ยวในภาคเหนือ

๒๐๔

มัณฑะเลย์

๒๐๗ ๒๐๘ ๒๑๑ ๒๒๓ ๒๓๐ ๒๓๕ ๒๔๑ ๒๕๐ ๒๕๓ ๒๕๘

อังวะและสะกาย

๒๖๐ ๒๖๐

เมืองอังวะ

๒๖๓ ๒๖๓ ๒๖๗ ๒๖๙ ๒๗๓ ๒๗๕

จ๊อกเซ

๒๘๑ ๒๘๑

ตำ�นานและประวัติเมืองมัณฑะเลย์ และพระราชวังมัณฑะเลย์ • พระราชวังมัณฑะเลย์หรือเมืองมัณฑะเลย์ • วัดชเวนันดอ จอง (Shwe Nan Daw Kyaung) วัดวิหารไม้ทองคำ� • วัดกุโสดอ  (Ku Tho Daw) • วัดเขามัณฑะเลย์ (Mandalay Hill Temple) • วัดมหามัยมุณี  (Maha Muni Temple) • สะพานอูเบียง  (U Bieng Bridge) • เจดีย์ที่กล่าวกันว่าเป็นที่ฝังพระอัฐิพระเจ้าอุทุมพร • วัดมินกุน  (Mingun)

ประวัติศาสตร์ก่อนการตั้งราชธานีมัณฑะเลย์

ประวัติเมืองอังวะ • พระราชวังโบราณที่อังวะ • วัดมหาอองมเยบองซาน (Maha Aung Mye Bon San) • วัดไม้สักบากะยา (Bagaya Kyaung)  • วัดมหาเตงดอจี (Maha Thien Thaw Gyi)

• วัดตาม็อก ชเวกูจี (Tamok Swe Gu Gyi)

12   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


ปะยินอูละวิน

๒๘๙ ๒๙๔ ๒๙๖ ๒๙๗ ๒๙๘ ๓๐๐ ๓๐๑ ๓๐๒ ๓๐๓ ๓๐๕

บทที่ ๖ วัดและพระราชวังในอดีตราชธานีพุกาม

๓๐๖

เมืองพุกาม

๓๐๖ ๓๑๒ ๓๑๕ ๓๒๔ ๓๒๙ ๓๓๗ ๓๔๕ ๓๕๙ ๓๖๗ ๓๗๕ ๓๗๙ ๓๘๓ ๓๙๔ ๓๙๗ ๓๙๙ ๔๐๓ ๔๐๗ ๔๑๒ ๔๑๙ ๔๒๗

• บ้านพักผู้ว่าราชการอังกฤษประจำ�พม่า (Governor House) • สวนพฤกษศาสตร์กันดอว์จี (National Kandawgyi Botanical gardens) • Candacraig House • บ้านเจ้าหญิงสาม • Purcell Clock Tower • วิหารพระศิวะ (Shiva Temple)  • Immaculate Conception Church  • วัดมหาอองทูกัณฑะ (Maha Ant Htoo Kan Thar)  • พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์

• เจดีย์ฉปัต (Sapada) • พระธาตุชเวซิกอง (Shwezigon) • วิหารกยันสิตอูมิน (Kyansitha Umin) • วิหารติโลมินโล (Htilominlo) • วิหารอุบาลีเต็ง (Ubali Thien) • อนันทเจดีย์ (Ananda Zedi) • วิหารธรรมยางยี (Dhammayangyi) • วิหารสุลามณี (Sula Mani) • เจดีย์ชเวสันดอว์ (Shwesandaw) • วิหารชินบินทัลยวง (Shin Bin Thal Yaung) • วิหารโลกะเตคปาน (Loka Taik Pan) • ประตูตาราบะ หรือสรภา (Tharaba Gate)  • ปิตะกะไต้ (Pitaka Taik) • พระราชวังเมืองพุกาม • เจดีย์บูปะยา (Bupaya) • มหาโพธิ์เจดีย์ (Maha Bodhi Zedi) • วิหารสัพพัญญู (Thatpyinnyu) • วิหารปะโตตาเมียะ (Pah To Tha Mya) • วิหารนัตลองจอง (Nath Laung Kyaung)

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    13


• เจดีย์งะจเวนะตาว (Nga Kywe Na Daung) • วิหารกอว์ดอว์ปะลิน (Gawdaw Palin) หรือกะเด๊อะปะลิน • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพุกาม (Bagan Archaeological Museum) • มิงกาลาเจดีย์ (Mingala Zedi) หรือมงคลเจดีย์ • วิหารกู่เป้าจี (Gu Byauk Gyi) มยินกบา • วัดมะยะเจดีย์ (Mya Zedi) • วิหารนันปะยา (Nanpya) หรือนันปยะ • วิหารมนูหะ (Manuha) • วิหารนากายน (Nagayon) • วิหารอเภยะทะนะ (Apeyadana) • เสียนเยียตอัมมา เสียนเยียตยีมา (Seinyetn-Ama Seinyetn-Yima) • เจดีย์เปตเลคตะวันตกและตะวันออก (Hpet Leik Ashe and Anauk) • เจดีย์โลกะนันทะ (Loka Nanda, Law Kananda) • เจดีย์ซิตานาจี (Sitana Gyi) • วัดปะยาตองสู (Payathonzu) • เจดีย์ธรรมยะสิกะ (Dhammayazika Pagoda)

๔๓๐ ๔๓๓ ๔๓๖ ๔๔๐ ๔๔๖ ๔๕๓ ๔๕๙ ๔๖๘ ๔๗๕ ๔๘๕ ๔๙๐ ๔๙๖ ๕๐๕ ๕๐๘ ๕๑๕ ๕๒๓

บทที่ ๗ รัฐฉาน

๕๓๐

ตองจี

๕๓๗ ๕๓๙ ๕๔๑ ๕๔๓ ๕๔๕ ๕๔๕ ๕๔๗ ๕๕๓ ๕๕๖

กาลอว์

๕๖๑ ๕๖๓ ๕๖๔ ๕๖๖

• วัดชเว พ้ง พวิ้น (Shwe Pone Pwint) • ย่าน Ye Aye Kwin บนถนน Wun Gyi • พิพิธภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ตองจี รัฐฉาน • มหาวิทยาลัยทางการแพทย์เมืองตองจี • โรงเรียนมัธยม กัมโบว์ซะร์ (Kam Baw Zar) ทะเลสาบอินเล (Inle Lake) • วัดพองดออู (Paung Daw U) • วัดงะเพจวง (Nga Phe Chaung) วัดแมวกระโดด

• วัดเต็งตวง (Thein Taung) • บ้านเซนติเนล เฮาส์ (The Sentinel House) • บ้านนายพล สมิทธิ์ ดัน

14   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


• สถานีรถไฟเมืองกาลอว์ • โรงแรมกาลอว์ เฮอริเทจ • High school convent • โบสถ์ของเมืองกาลอว์  • โรงพยาบาลเมืองกาลอว์

๕๖๘ ๕๖๙ ๕๗๑ ๕๗๒ ๕๗๓

สีป่อ

๕๗๕ ๕๗๘ ๕๘๓ ๕๘๖ ๕๘๗ ๕๘๙ ๕๙๐

บรรณานุกรม

๕๙๑

• หอคำ�หลังใหม่ • สถานีรถไฟและการเดินทางโดยรถไฟ • วัดมหามัยมุณี (จำ�ลอง) (Maha Myat Muni Paya) • วัดโปว์จอ (Paw Kyo หรือ Baw Gyo Paya) • ตลาดเช้าเมืองสีป่อ • แม่นํ้ามยิตแหง่ (Myit-Nge)

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    15


22   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


บทที่ ๑

สังเขปประวัติศาสตร์พม่า เพื่อการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์พม่าที่นำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการสรุปยุคสมัยเพื่อ  ประกอบข้อมูลการท่องเที่ยว จึงขอแบ่งประวัติศาสตร์พม่าออกเป็น ๘ สมัย  โดยสังเขปดังนี้

สมัยที่ ๑

ก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่ยุคโบราณ (สมัยสังคมการล่าสัตว์ที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะ  มีอายุราว ๗ ล้านปีมาแล้ว๑) จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ (ก่อน พ.ศ. ๗๐๐) เป็นช่วงเวลาก่อนมีการใช้ตัวหนังสือ เรียกว่า สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในพม่ามีการค้นพบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำ�นวน  มากกระจายอยู่ทั่วไป เนื่องจากพม่ามีภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่น  ที่อยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยภูเขา ถํ้า เพิงผา ที่ราบ  เชิ ง เขา แม่ นํ้ า ขนาดใหญ่ ห ลายสาย และที่ ร าบลุ่ ม แม่ นํ้ า อั น อุ ด มสมบู ร ณ์   จากหลักฐานที่ค้นพบส่วนมากอยู่ในบริเวณภาคเหนือแถบลุ่มแม่นํ้าสาละวิน  แม่น้าํ อิรวดี แม่น้าํ ชินด์วิน ที่ราบสูงในรัฐฉาน และบางส่วนทางตอนใต้บริเวณ  รอบอ่าวเมาะตะมะ เป็นต้น  หลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์  ที่ค้นพบ เช่น ขวานหินขัด ลูกปัด เครื่องประดับ  งานสำ�ริดที่ยังเป็นแบบ  เรียบง่ายเหมาะกับการใช้สอยทั่วไป เป็นต้น ส่วนภาชนะดินเผาของยุคนี้ที่พบ  ในพม่าผลิตด้วยเทคนิคพื้นๆ มีความคล้ายคลึงกับแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ใน  ภูมิภาคใกล้เคียงกัน หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้มีการจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน  แห่งชาติย่างกุ้ง ในห้องจัดแสดงชั้นที่ ๒ ท่านสามารถเข้าชมได้โดยเสียค่าเข้า  ชมในอัตราคนละ ๕,๐๐๐ จ๊าด เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น.

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    23


สมัยที่ ๒

แรกเริ่มรับอารยธรรมอินเดีย  (พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๑) หลั ง จากการค้ น พบศิ ล าจารึ ก ที่ เมื อ งนาตรั ง  (ยาจรั ง ) ประเทศ  เวี ย ดนาม ๒ และกำ � หนดอายุ ว่ า ประมาณพุ ท ธศตวรรษที่   ๗  นั ก วิ ช าการ ทางด้านประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สรุปว่า อารยธรรมอินเดียเริ่มแพร่เข้ามา  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗-๘  เมืองท่าโบราณที่สำ�คัญในพม่าคือ เมืองสะเทิม เมืองพะโคที่อยู่ใน  แถบอ่าวเมาะตะมะ เมืองธัญญวดีและเมืองเวสาลีในรัฐยะไข่ซึ่งตั้งติดทาง  ด้านอ่าวเบงกอล  พบหลักฐานหลายอย่างทำ �ให้เชื่อได้ว่ามีการติดต่อกับ  อินเดียแล้ว๓  ที่สำ�คัญคือ ที่เมืองธัญญวดีและเมืองเวสาลีในรัฐยะไข่ พบ หลักฐานจำ�นวนมาก ทั้งที่เป็นจดหมายเหตุของชาวกรีก ศิลาจารึก โบราณ  สถาน และศิลปกรรมต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความเป็นเมืองท่าที่สำ�คัญที่มี  การติดต่อค้าขายกับอินเดียมาก่อน  และเป็นจุดแรกรับอารยธรรมอินเดียใน  แผ่นดินของพม่าปัจจุบัน ก่อนที่จะส่งผ่านต่อไปยังส่วนอื่นๆ อาจเป็นเพราะ  มีทำ�เลที่ตั้งที่เหมาะสมอยู่ติดกับอ่าวเบงกอล ไม่ไกลจากอินเดีย เป็นอ่าวเว้า  เข้าไปในแผ่นดิน ใช้กำ �บังลมมรสุมได้ดี และมีเทือกเขาอาระคันโยมาเป็น  กำ�แพงธรรมชาติปอ้ งกันข้าศึกจากทิศตะวันออกได้อย่างดี  อีกทัง้ จากหลักฐาน  โบราณเชือ่ ว่าบริเวณนีอ้ าจเป็นศูนย์กลางของการค้าขายแร่เงินทีเ่ รียกว่า Argyre  ซึ่งระบุอยู่ในจดหมายของชาวกรีกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (Alexander) ที่  เขียนรายละเอียดและมีแผนที่ประกอบโดยปโตเลมี (Ptoleme)๔

สมัยที่ ๓

ปยู มอญโบราณ และอาระคัน (ยะไข่)  (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕) พวกปยู (Pyu) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพม่าในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ ๑๑-๑๕ แถบตอนกลางของลุ่มแม่นํ้าอิรวดี คำ�ว่า “ปยู” ตามเอกสารจีนออกเสียงว่า “เปียว” (P-iao) นักวิชาการ  มี ค วามเห็ น แตกต่ า งกั น   บางท่ า นเชื่ อ ว่ า ปยู เป็ น บรรพบุ รุ ษ ของชาวพม่ า  ปัจจุบัน  บางท่านเชื่อว่าเป็นคนละเผ่าพันธุ์เนื่องจากใช้คนละภาษา และมี   หลักฐานว่าในสมัยหลังพวกปยู-พม่าได้เริ่มอพยพลงมาจากเทือกเขาทิเบตที่

24   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สาํ คัญในพม่า


อยู่ทางตอนเหนือ ชนกลุ่มนี้เป็นเชื้อสายอินโดทิเบเตียน สมัยปยูนอกจากมีการใช้ตัวหนังสือที่เป็นจารึกแล้ว ยังพบหลักฐาน  เกี่ยวกับพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ การสร้างเมืองที่มีผังเป็นรูปวงกลม  การปกครองที่มีระบบกษัตริย์ และศิลปกรรมจำ�นวนมากอันแสดงถึงความ  สัมพันธ์กับอินเดีย นักวิชาการรวมเรียกว่า วัฒนธรรมของพวกปยู๕ เมืองศรีเกษตรเป็นราชธานีแห่งแรก มีหลักฐานว่ามีกษัตริย์ราชวงศ์วิกรม (VIKARAMA) เป็นผู้ปกครอง  เมืองเบคทาโน่ (Beikthano) เป็น ราชธานีแห่งที่ ๒ เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ จึงได้ย้ายราชธานี  ไปอยู่ ที่ ฮ าลิ น  (Ha-lin) ซึ่ ง อยู่ ท างทิ ศ เหนื อ  (เหนื อ เมื อ งมั ณฑะเลย์ )  จนถึ ง พุทธศตวรรษที่ ๑๔ จึงเสื่อมลงเนื่องจากการรุกรานของอาณาจักรน่านเจ้า  ที่แผ่อิทธิพลลงมาจากภาคเหนือแถวมณฑลยูนนาน ได้กวาดต้อนชาวปยู   ๓,๐๐๐ ครอบครัวจากเมืองฮาลินไปอยู่อาศัยบริเวณที่ตั้งของเมืองคุนหมิง  ปัจจุบัน๖ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำ�ให้มีชาวปยูบางส่วนหนีไปตั้งหลักแหล่ง  อยู่ที่บริเวณเมืองพุกามปัจจุบัน อันเป็นบริเวณเดียวกับชาวพม่าที่อพยพลง  มาจากทิเบตในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันมาตั้งถิ่นฐาน เพราะเหตุผลทางการเมือง  ที่ จี น และทิเบตกำ �ลั งต่อสู้กันอย่างรุนแรง ๗ บริ เวณนี้ ป ระกอบด้ ว ยหมู่ บ้ า น จำ�นวน ๑๙ หมู่บ้านและได้รวมตัวกันตั้งเป็นราชธานีมีชื่อเรียกว่า เมืองอริมั ธ ทนะ (ชื่ อ ในพงศาวดาร) มี พ ระนามของกษั ต ริ ย์ เป็ น ผู้ ป กครองหลาย พระองค์  เมืองอริมัธทนะหรือเมืองพุกามตั้งอยู่บริเวณที่แม่นํ้าชินด์วินและ  สาละวินมาบรรจบกัน ทำ�ให้นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นชุมทางที่ใช้  ติดต่อกับภาคตะวันออกของอินเดีย (แคว้นอัสสัม เบงกอล) และภาคใต้ของ  จีน (แถวยูนนาน)  บริเวณใกล้เคียงกันยังเป็นที่ราบแหล่งเกษตรกรรมที่สำ�คัญ  คือที่ราบจ๊อกเซ (Kyauk Se) หรือเจ๊าเซในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ด้วย มอญโบราณ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕) เป็นชนชาติอีกกลุ่มหนึ่งที่ พบหลักฐานว่าอาศัยอยู่ในแถบอ่าวเมาะตะมะ เช่นที่เมืองสะเทิม เมืองทวาย  เมืองมะริด และเมืองใกล้เคียง บริเวณเมืองท่าชายฝั่งเหล่านี้ได้พบหลักฐาน  ทางโบราณคดีของกลุ่มชนชาติมอญโบราณกระจายอยู่ประปราย อาระคัน (ยะไข่) โบราณ (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖) พบหลักฐาน จำ�นวนมากว่าในช่วงเวลานี้ชาวอาระคันโบราณได้ติดต่อค้าขายกับอินเดีย  รับอารยธรรมอินเดียผ่านพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เข้ามาในราช-  อาณาจั ก ร มี พ ระเจ้ า แผ่ นดิ น ปกครอง จากหลั ก ฐานที่ เป็ นจารึ ก กล่ า วว่ า  กษัตริย์ในราชวงศ์จันทราปกครองต่อเนื่องมาตั้งแต่ที่เมืองธัญญวดี (Dhanภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    25


บทที่ ๓

พุทธศาสนาและศิลปะพม่า

อดีตพระพุทธเจ้าในศิลปะพม่า

เรื่องราวของอดีตพระพุทธเจ้าเชื่อว่าเริ่มแต่งก่อนในคัมภีร์ของฝ่าย  พุทธมหายาน ต่อมานิกายเถรวาทได้หยิบยืมมาใช้และใช้ปนเปกันจนยาก  จะสืบได้ว่าแต่ละคัมภีร์มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เรื่องอดีตพระพุทธเจ้าที่  ปรากฏในพม่ามี ๔ แนวคิดหลักคือ ๑. แนวคิดที่ว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายทุกหนทุกแห่ง มีมากมายเท่า  เม็ดทรายในมหาสมุทร จึงมีการวาดและสร้างพระพุทธเจ้า (อดีตพระพุทธเจ้า)  ประดับไว้ตามศาสนสถานต่างๆ ในพม่า ทั้งศาสนสถานในอดีตและปัจจุบัน

รูปอดีตพระพุทธเจ้าประทับนั่งเรียงกัน ตามคติอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ จากจิตรกรรมที่เพดานของซุ้มหลังคา ของระเบียงทางเดินด้านทิศตะวันออก วัดมหามัยมุณี อมรปุระ

จิตรกรรมแถว อดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ องค์  ที่วิหารโลกะเตคปาน พุกาม

90   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


รูปอดีตพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์  แสดงการเสด็จออกผนวช  จิตรกรรมฝาผนัง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓  ที่วิหารอุบาลีเต็ง พุกาม

จิตรกรรมฝาผนังที่วิหารโลกะเตคปาน  รูปสุเมธดาบสนอนทาบนํ้าครำ� ให้พระพุทธเจ้าทีปังกรและพระสาวก อีก ๓ แสนองค์เดินเหยียบหลังข้ามไป  เป็นการสร้างบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ จนพระพุทธเจ้าทีปังกรได้ตั้งพุทธทำ�นายว่า สุเมธดาบสจะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

๒. แนวคิดที่เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่ ๑.  พระพุทธเจ้าตัณหังกโร  ๒. พระพุทธเจ้าเมธังกโร ๓. พระพุทธเจ้าสรณังกโร   ๔. พระพุทธเจ้าทีปังกโร  ๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญโณ ตามลำ�ดับเรื่อยมา  จนถึ ง พระพุ ท ธเจ้ า โคตมะ เป็ น ลำ�ดั บ ที่  ๒๘ ดู ร ายละเอี ย ดในตารางอดี ต  พระพุทธเจ้า หน้า ๙๐-๙๑ เหตุนี้จึงมีการวาดและสร้างอดีตพระพุทธเจ้าตามจำ�นวนดังกล่าว  เช่นทีว่ หิ ารนากายน วิหารอเภยะทะนะ วิหารโลกะเตคปาน และวิหารอุบาลีเต็ง ๓. แนวคิดเรื่องมีอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์โดยเริ่มนับตั้งแต่  พระพุทธทีปังกโรเป็นลำ�ดับที่ ๑ โดยกล่าวว่าเป็นอดีตพระพุทธเจ้าพระองค์  แรกที่ได้ตั้งพุทธทำ�นายให้กับสุเมธดาบสที่นอนทาบนํ้าครำ�ให้พระพุทธเจ้า  ทีปังกโรพร้อมพระสาวกเหยียบข้ามไปว่า  สุเมธดาบสจะได้เสวยชาติเป็น  พระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)  และมีพระพุทธเจ้า  อีกหลายพระองค์สืบต่อมาจนถึงพระพุทธเจ้าโคตมะ จึงพบการวาดและสร้าง  อดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ในศิลปะพม่า ตัวอย่างเช่นที่วิหารนากายน ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    91


บทที่ ๔

วัด พระราชวัง และสถานที่ท่องเที่ยวในภาคใต้ ประเทศพม่าแบ่งตามภูมิศาสตร์การปกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณได้เป็นสองภูมิภาค  คือ พม่าภาคใต้และพม่าภาคเหนือ พม่าภาคใต้ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มปากแม่นํ้า มีแม่นํ้าสายใหญ่ที่สำ�คัญ ๓ สาย ไหลมาออกทะเลที่อ่าวเมาะตะมะคือ แม่นํ้าอิรวดี แม่นํ้าสะโตง และแม่นํ้าสาละวิน ก่อนที่ออก ทะเลแม่นํ้าทั้งสามสายไหลแยกเป็นลักษณะที่เรียกว่าตีนกา ก่อเกิดลำ�นํ้าแตกแขนงออกไปอีก หลายสาขา ทำ�ให้มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล เหมาะสำ�หรับทำ�การเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าว ภูมิภาคนี้มีเมืองใหญ่ที่สำ�คัญมาตั้งแต่สมัยโบราณหลายเมือง คือ เมืองสะเทิม หรือ เมืองทะถน ตั้งอยู่ทางตอนใต้เหนือเมืองมะละแหม่งขึ้นมาเล็กน้อย ไม่ห่างจากทะเลมากนัก นักวิชาการพม่าเชื่อว่านี่เป็นเมืองแรกเริ่มรับอารยธรรมอินเดีย เมืองหงสาวดี หรือ เมืองพะโค มีแม่นา้ํ หงสาวดีหรือแม่นา้ํ พะโคไหลผ่าน เป็นเมืองหลวง ของมอญมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปัจจุบันยังเป็นเมืองสำ�คัญที่มีชาวพม่าเชื้อสายมอญ อาศัยอยู่หนาแน่นมากกว่าเมืองใดๆ และเป็นเมืองที่ประดิษฐานพระธาตุมุเตา ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า มหาสถานของชาวพม่าทั่วประเทศ เมืองย่างกุ้ง เคยเป็นเมืองที่ชาวมอญอาศัยอยู่มาก่อน ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าย่างกุ้ง (สาขา หนึ่ ง ของแม่ นํ้ า อิ ร วดี ) เดิ ม ชื่ อ ดากองหรื อ ตาโกง เมื่ อ ราวพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ ถู ก พระเจ้ า อลองพญานำ�กองทัพเข้าตีและสามารถเอาชนะชาวมอญได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น ย่างกุ้ง ที่ แปลว่าจุดจบของศัตรู ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เมื่ออังกฤษเริ่มเข้ามายึดครองประเทศ พม่า อังกฤษใช้เมืองย่างกุ้งเป็นสถานีการค้า เพราะอยู่ริมแม่นํ้าย่างกุ้งที่มีขนาดใหญ่และลึก เพียงพอที่เรือของอังกฤษสามารถเข้ามาจอดขนถ่ายสินค้าได้ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๒๘ เมื่ออังกฤษ ยึดครองประเทศพม่าได้ทั้งหมด ได้ใช้ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงตั้งแต่นั้นมา และหลังจากอังกฤษ ให้ เ อกราชกั บ ชาวพม่าแล้ว ย่างกุ้งยังคงเป็นเมืองหลวงจนถึ ง พ.ศ. ๒๕๔๘ จึ ง ได้ ย้ า ยไปที่ เมืองหลวงใหม่ชื่อ เนปิดอว์ ย่างกุ้งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในพม่าคือประมาณ ๔ ล้าน

98   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


เขต มาเกว

มรุกอู

รัฐฉาน

มัณฑะเลย

พุกาม

น. สาละวิน

น. โข

ตองยี

เฮโฮ

ทะเลสาบอินเล

ทาขี้เหล็ก

มาเกว

ชิตตเว

แมสาย

หลอยกอ

รัฐยะไข

น. อิรวดี ตองอู

อล

เชียงใหม

เขต พะโค น. อิรวดี

พะสิม

าก

เขต อิรวดี

น. สะโตง

พะโค (หงสาวดี) ยางกุง

น ํ้ า อ ิ ร ว ด ี

อ า

เขต ยางกุง

วเ

แมฮองสอน

รัฐคะยา

มาะ

ท ะ เ ล อั น ด า มั น

น. สาละวิน ไจโต (ที่ตั้งพระธาตุอินทรแขวน)

ปะอาน เมียวดี

แมสอด

รัฐมอญ มะละแหมง รัฐกะเหรี่ยง

ตะมะ

ไทย

สังขละบุรี

ทวาย

เขต ตะนาวศรี

กาญจนบุรี

กว่าคน เมืองย่างกุ้งมีความสำ�คัญมากอีกประการหนึ่งคือเป็นที่ต้ังของพระธาตุชเวดากอง ศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่าทั้งมวลและเป็นหนึ่งในห้ามหาสถาน เมืองแปร ตั้งอยู่ริมแม่น้ําอิรวดี เหนือเมืองย่างกุ้งขึ้นไปราว ๓๐๐ กิโลเมตร ในบริเวณ ที่เป็นเมืองโบราณเดิมของพวกปยูช่อื ศรีเกษตร พวกปยูเคยอาศัยอยู่ท่นี ่ตี ้งั แต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ และทิ้งร้างไปเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ต่อมาชาวพม่าเข้ามาอยู่แทนที่ และได้กลายเป็น เมืองสำ�คัญทางการค้าของพม่าในส่วนที่มีการเดินทางขนส่งสินค้าตามแม่นํ้าอิรวดีมาตั้งแต่   สมัยโบราณ ศาสนสถานที่สำ�คัญของเมืองแปรคือพระธาตุชเวสันดอว์ เป็นหนึ่งในห้ามหาสถาน ของชาวพม่า

ส มุ ท ร อิ น เ ดี ย

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    99

อย

อ า ว


Uwi sara

Sh

Rd.

วัดพระนอนเจาทัดจี

Rd. ndine o g we

R Pyay

Nat Malik Rd.

d. พระธาตุชเวดากอง

d. aR

d. on R

i s ar

g eda Shw

UW

Rd. Pyay

. Ahlone Rd

ทะเลสาบกันดอจี Kan Yeiktha Rd.

พิพิธภัณฑสถานแหงชาติยางกุง

สถานีรถไฟ

Sule Rd.

ตลาดโบโจก Bogyoke Aung San Rd. โรงพยาบาลยางกุง

Anawratha Rd.

เจดียสุเล

แ ม นํ้ า ย า ง กุ ง

100   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า

Maha Bandola Rd. Merchant Rd.

วัดเท


ย่างกุ้ง

ตำ�นานและประวัติเมืองย่างกุ้ง

. ung Rd Botata . ung Rd Botata

ย่างกุ้ง ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าย่างกุ้ง เดิมชื่อเมือง ดากอง หรือ ตาโกง เคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ มาก่อน ต่อมาได้มีการก่อสร้างพระธาตุ ชเวดากอง (ทองแห่งเมืองดากอง) จึงเจริญรุ่งเรืองเป็นเมือง จนถึงเมื่อราว พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๐ มี ห ลั ก ฐานชั ด เจนว่ า พระยาอู่ ได้ ม าบู ร ณะและขยาย พระธาตุชเวดากอง ดากองจึงกลายเป็นเมืองสำ�คัญทางตอนใต้ของมอญ อีกเมืองนอกเหนือจากเมืองหงสาวดี ในสมัยพระนางชินสอบูได้ทำ�การบูรณะพระธาตุชเวดากองใหม่เมือง  ดากองจึงมีความสำ�คัญมากขึ้นเรื่อยๆ ใน พ.ศ. ๒๒๙๕ พระเจ้าอลองพญา ยกกองทัพมารบเอาชนะพวกมอญที่นี่ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นย่างกุ้ง ที่แปล ว่า จุดจบของศัตรู ต่อมาเมื่ออังกฤษทำ�สงครามรบชนะพม่าในช่วงปี พ.ศ. StrandStRradn. d Rd. ๒๓๖๙ และ พ.ศ. ๒๓๙๖ อังกฤษใช้เมืองย่างกุ้งเป็นสถานีการค้าและเป็น เมืองหลวงของพม่าทางตอนใต้ ในขณะที่พม่าใช้เมืองมัณฑะเลย์เป็นเมือง วัดเทพทั นใจ โบตาถ อง อง วัดเทพทั นใจ โบตาถ หลวงทางภาคเหนือ หลังจากยึดพม่าได้เบ็ดเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๒๘ อังกฤษใช้ย่างกุ้งเป็น เมื อ งหลวงปกครองพม่ า ทั้ ง มวลแทนมั ณฑะเลย์ และเปลี่ ย นชื่ อ ใหม่ เป็ น ร่างกุ้ง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๑ พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ยังคงใช้เมือง ร่างกุ้งเป็นเมืองหลวงจนถึง พ.ศ. ๒๕๐๕ นายพล เน วินได้เปลี่ยนชื่อเมือง กลับมาเป็นย่างกุ้งอีกครั้ง จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้ย้ายเมืองหลวงไปที่ เมืองเนปิดอว์

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    101


102   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


พระธาตุชเวดากอง (Shwe Dagon)

คะแนน ***** ใช้เวลาในการชมประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง

ที่ตั้ง

อยู่บนยอดเนินใจกลางเมืองย่างกุ้ง

ชื่อและความหมาย

ชเว แปลว่า ทอง ดากอง เป็นชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง เรียก ตาโกง แปลรวมว่า ทอง แห่งเมืองดากองหรือตาโกง

พระธาตุ ชเวดากอง ตอนกลางคืน ถ่ายจากระยะไกล ด้านทิศตะวันตก เฉียงเหนือ

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    103


ตำ�นานและประวัติสถานที่

ตำ�นานเล่ า ว่ า ในสมั ย พุ ท ธกาลเมื อ งย่ า งกุ้ ง ปั จ จุ บั น เดิ ม ชื่ อ เมื อ งอสิ ตั นชนะหรื อ เมืองโอกกะละ๑ เป็นเมืองที่พ่อค้าหนุ่มสองพี่น้องชื่อ ตผุสสะและภัลลิกะ อาศัยอยู่ ทั้งสอง ได้เดินทางไปค้าขายยังประเทศอินเดีย อันเป็นช่วงเวลาที่พระพุทธองค์ตรัสรู้สำ�เร็จโพธิญาณ ได้ไม่นาน กำ�ลังเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๗ และประทับอยู่ใต้ต้นเกดสองพี่น้องตผุสสะ และภัลลิกะได้เดินทางผ่านไปพบเข้าเกิดเลื่อมใสศรัทธา นำ�ข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงไปถวาย พระพุ ท ธเจ้ า ทรงรั บ ไว้ ท้ า วจตุ โลกบาลทั้ ง สี่ นำ�บาตรสี่ ใบมาถวายสำ�หรั บ ใส่ ข้ า วสั ต ตุ พระพุทธองค์รับบาตรทั้งสี่มาประสานเป็นบาตรเดียวกันเพื่อรักษานํ้าใจท้าวจตุโลกบาล  แต่ละองค์ เมื่อเสวยข้าวสัตตุเสร็จ พ่อค้าสองคนพี่น้องปวารณาตนขอเป็นอุบาสกคู่แรกใน พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ประทานเส้นพระเกศาให้แปดเส้น ตผุสสะและภัลลิกะรับเส้นพระเกศาแล้วได้เดินทางกลับมาที่เมืองโอกกะละบ้านเกิด   ระหว่างทางกษัตริย์แห่งเมืองอเชตตะได้ขอแบ่งเส้นพระเกศาไปสองเส้น พญานาคที่เมือง บาดาลได้ขอแบ่งไปอีกสองเส้น จึงเหลือเส้นพระเกศาเพียงสี่เส้น เมื่อเดินทางกลับมาถึงเมืองโอกกะละ พระเจ้าโอกาลัปได้จัดพิธีถวายการต้อนรับ พระเกศาของพระพุทธเจ้าอย่างใหญ่โต มีเทวดา พระอินทร์มาชุมนุม ได้มีความเห็นว่า ควรจะสร้างเจดีย์บรรจุเส้นพระเกศาไว้ที่เนินเขาเสนคุตะระ นอกเมืองโอกกะละ ระหว่าง การสร้างพระเจดีย์เกิดอัศจรรย์ขุดพบเครื่องบริโภคเจดีย์ของอดีตพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือพระพุทธเจ้ากกุสันโธ โกนาคมนะ และกัสสปะ ได้แก่ ธารพระกร สบง และขันนํ้า เมื่ อ ก่ อ สร้ า งพระเจดี ย์ เ สร็ จ ได้ นำ�เครื่ อ งบริ โภคเจดี ย์ ที่ พ บบรรจุ ในพระเจดี ย์ ด้ ว ย ส่ ว น พระเกศาธาตุ ได้ แ สดงปาฏิ ห าริ ย์ มี ค รบแปดเส้ นดั ง เดิ ม บรรจุ ไว้ ในเจดี ย์ ที่ ทำ�จากทอง เงิน ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว หินอ่อน และเหล็กตามลำ�ดับ แล้วสร้างเจดีย์เป็นแบบก่ออิฐ ทับไว้ในชั้นแรก พระเจดีย์ดังกล่าวมีความสูงเพียง ๙ เมตร๒ ต่ อ มามี พ ระเจ้ า แผ่ นดิ นทั้ ง มอญและพม่ า หลายพระองค์ ได้ เ สด็ จ มานมั ส การและ  บูรณะต่อเติมพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ ที่มีบันทึกไว้ดังนี้ พ.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๒๘ พระเจ้าพินยะอุ หรือ พระยาอู่ แห่งเมืองหงสาวดี (บิดาพระเจ้า ราชาธิราช) ได้ต่อเติมพระเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๒๒ เมตร พ.ศ. ๑๙๙๓-๑๙๙๖ พระยาเกียรติจากเมืองหงสาวดีให้ต่อเติมพระเจดีย์สูงเป็น ๑๐๐ เมตร๓ พ.ศ. ๑๙๙๖-๒๐๑๕ พระนางชินสอบูได้บูรณะขยายพระเจดีย์ออกไปกว้างยาว ด้านละ ๒๕๐x๓๐๐ เมตร จนมีรูปร่างคล้ายปัจจุบัน และอุทิศทองเท่านํ้าหนักพระองค์

104   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


พระธาตุอินทร์แขวน (ไจ้ติโย - Kyaik Ti Yo) คะแนน ***** ใช้เวลาในการเข้าชม ๒ ชั่วโมง รวมไหว้พระธาตุและชมทัศนียภาพ

ที่ตั้ง

ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐมอญ ตรงเขตเมืองไจ้โต๋หรือไจ้โถ (คงได้อิทธิพลมาจาก พระธาตุไจ้ติโย)

การเดินทาง

นั่งรถยนต์จากย่างกุ้งประมาณ ๒ ชั่ ว โมง ผ่ า นเมื อ งหงสาวดี อี ก ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมงจึงถึงเมืองไจ้โต๋ (ระหว่างทางผ่านสะพานข้ามแม่นํ้าสะโตง ในภาษาพม่าเรียกว่า ซิ้ดตาว) แล้วต้องต่อรถบรรทุกเล็กไต่ภูเขาขึ้นไปอีก ๑ ชั่วโมง จึงถึงเชิงเขาที่ตั้งพระธาตุ อินทร์แขวน จากนั้นต้องเดินเท้าหรือจ้างเสลี่ยงหามแบกขึ้นเขาไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งของวัดพระธาตุอินทร์แขวน

ชื่อและความหมาย

ชื่ อ ภาษาไทยเรี ย ก พระธาตุ อิ น ทร์ แ ขวน ความหมายมี ที่ ม าจากความเชื่ อ ที่ ว่ า พระอิ น ทร์ นำ�ก้อนหินที่รองรับพระเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ  มาตั้งมาแขวนไว้ (ที่ตั้งเป็นหน้าผาที่หมิ่นเหม่) พระธาตุอินทร์แขวนยามคํ่าคืน มองเห็นชาวพม่ากำ�ลังไหว้บูชาพระธาตุอย่างศรัทธา ก้อนหินรองรับพระธาตุมีลักษณะคล้าย ผ้าโพกศีรษะของฤๅษีพม่า

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    161


ชื่อภาษาพม่าเรียก ไจ้ติโย ความหมายแปลว่าเจดีย์ผ้า โพกหัวฤๅษี คงหมายถึงก้อนหินที่รองรับเจดีย์ที่บรรจุพระเกศา ธาตุ มีลักษณะคล้ายผ้าโพกหัวของฤๅษีแบบพม่าตามตำ�นาน (อ่านตำ�นานพระธาตุ)

ตำ�นานและประวัติสถานที่

ลักษณะผ้าโพกศีรษะ ของฤๅษี

ตำ�นานพระธาตุเรื่องที่ ๑ เล่าว่าในสมัยก่อนเจ้าเมืองไจ้ติโยองค์หนึ่งมีโอรสสององค์ แต่ทั้งสองไม่อยากครอง ราชย์ต่อจากพระบิดาจึงหนีไปบวชเป็นฤๅษีอาศัยอยู่ในป่าตรงเชิงเขา (ไจ้ติโย) ใกล้ๆ เมือง ต่อมาได้มีนางนาคตนหนึ่งขึ้นมาจากเมืองบาดาลมาอยู่กับชายที่เป็นมนุษย์จนตั้งครรภ์   ออกมาเป็นไข่สองฟอง ชายมนุษย์ได้หนีจากไป ส่วนนางนาคก็กลับเมืองบาดาล ก่อนกลับ ได้นำ�ไข่ไปทิ้งไว้ที่ชายป่า ฤๅษีสองตนพี่น้องผู้เป็นโอรสเจ้าเมืองได้ไปพบเข้า จึงเก็บมาดูแล รักษา ต่อมาไข่ทั้งสองฟองแตกเกิดเป็นเด็กชายสองคนพี่น้อง ฤๅษีตนพี่เก็บเด็กคนพี่ไป เลี้ยงดู ส่วนคนน้องฤๅษีตนน้องเลี้ยงดู

พระธาตุ อินทร์แขวน จากระยะไกล มองเห็นเหมือน ก้อนหินหมิ่นเหม่ ต่อการตกลง มาจากที่ตั้ง

162   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


ต่อมาเด็กชายคนน้องตายไปได้เกิดใหม่อยู่ในประเทศอินเดีย โตขึ้นได้บวชเรียนกับ พระพุทธเจ้าและระลึกชาติได้ว่าเคยอยู่กับฤๅษีที่เชิงเขานี้มาก่อน จึงได้กราบนิมนต์ให้ พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดฤๅษีสองตนพี่น้อง พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรด ก่อนเสด็จกลับ พระพุทธเจ้าได้ประทานเส้นพระเกศาให้ฤๅษีไว้ตนละหนึ่งเส้น ฤๅษีตนน้องนำ�ไปบรรจุไว้ใน เจดีย์ให้คนบูชาสืบไป แต่ฤๅษีตนพี่เก็บไว้ในหมวกของตนเอง (หมวกแบบฤๅษี) ต่อมาผู้คนอยากกราบไหว้บูชาเส้นพระเกศา จึงไปร้องขอฤๅษีตนพี่ให้นำ�เส้นพระเกศา ของพระพุทธเจ้าไปบรรจุไว้ในเจดีย์ ฤๅษีไม่ยินยอมและกล่าวว่าจะบรรจุในเจดีย์ที่ตั้งบน ก้อนหินที่มีรูปร่างเหมือนหมวกของตนเท่านั้น เมื่อพระอินทร์ทราบเรื่องจึงเหาะไปหาก้อนหิน ในมหาสมุทร ได้หินก้อนหนึ่งรูปร่างเหมือนหมวกฤๅษีจึงได้ยกมาตั้งไว้ที่ยอดเขา (ที่ตั้งของ พระธาตุในปัจจุบัน) ส่วนเด็กชายที่ฤๅษีตนพี่เลี้ยงไว้ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์เมืองไจ้ติโย พระองค์ได้เสด็จ มาเจาะรูก้อนหินแล้วนำ�เส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้าที่ฤๅษีตนพี่เก็บรักษาไว้มาบรรจุแล้ว  สร้างเจดีย์ครอบไว้อย่างที่เห็นปัจจุบัน เรียกว่าพระธาตุไจ้ติโย เจดีย์รูปร่างเหมือนหมวก ฤๅษี คนไทยเรียกว่า พระธาตุอินทร์แขวน (พระอินทร์ยกมาตั้งแขวน) ตำ�นานพระธาตุเรื่องที่ ๒ เรื่องของนางชเวนันจิน (Shwe Nan Guin) ที่เกิดจากนางนาคตนหนึ่งกับชายชาว มนุษย์ เมื่อครั้งออกมาเป็นไข่ ฤๅษีได้เก็บไปฟักเกิดเป็นเด็กผู้หญิง ฤๅษีจึงนำ�ไปให้ชาวบ้าน ในหมู่บ้านเลี้ยง เมื่อเติบโตเป็นสาวได้แต่งงานกับโอรสเจ้าเมืองสะเทิมที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าสิทธะธรรม ทีหะยารสาร (Teiktha Dhamma Thiha Yarzar) ต่อมานางชเวนันจิน ไม่สบายมาก มีคนมาบอกว่าเหตุเพราะทำ�ผิดที่ก่อนแต่งงานไม่ได้ไปไหว้ผีบรรพบุรุษ คือฤๅษี ผู้มีพระคุณเลี้ยงดู นางจึงออกเดินทางมาไหว้ฤๅษีและพระธาตุอินทร์แขวน แต่ระหว่างทาง ถูกเสือไล่ทำ�ร้าย นางอธิษฐานว่าถ้าหนีไม่ทันและต้องตายไป ขอให้เป็นวิญญาณที่วนเวียน อยู่แถวนี้คอยช่วยเหลือผู้คนท่ี่เดินทางมาไหว้พระธาตุอินทร์แขวน สุดท้ายนางหนีจนหมด แรงล้มลงนอนขาดใจตายตรงทางขึ้นวัด ปัจจุบันทางวัดได้ปั้นรูปจำ�ลองของนางนอนตรง เชิงบันไดทางขึ้น ผู้คนมักไปกราบไหว้รูปของนาง และมีความเชื่อว่าถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยตาม ร่างกายส่วนใด หากลูบอวัยวะส่วนทีต่ นเจ็บทีร่ ปู ปัน้ นางแล้วอธิษฐาน จะทำ�ให้อาการเจ็บป่วย บรรเทาหรือหายไปได้

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    163


บทที่ ๖

วัดและพระราชวัง ในอดีตราชธานีพุกาม เมืองพุกาม

“See Pagan and live, See Angkor Wat and die” “การได้เห็นพุกามย่อมมีชีวิตเป็นอมตะ การได้เห็นนครวัดย่อมนอนตายตาหลับ”

คำ�กล่าวข้างต้นนีเ้ ป็นคำ�พูดของ อาร์โนลด์ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักเดินทาง และนักประวัติศาตร์ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ “See Pagan and live” อาร์โนลด์ ทอยน์บี กล่าวไว้เมือ่ ตอนได้มาเห็นเมืองพุกามทีเ่ ต็มไปด้วย เจดีย์ วิหาร พุทธสถาน พระพุทธรูป และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามากมายเต็มไปหมด และ ได้รับรู้ถึงความศรัทธาของชาวพุกามที่มีต่อพุทธศาสนา ทำ�ให้อาร์โนลด์ ทอยน์บี เชื่อว่า ผู้ใดได้ เห็นเมืองพุกามย่อมได้เข้าถึงพระพุทธองค์ ผู้นั้นย่อมมีชีวิตเป็นอมตะ จึงได้กล่าวประโยคข้างต้น และเมื่อได้ไปเห็นนครวัดจึงได้กล่าวประโยคต่อไปอีกว่า “See Angkor Wat and die.” เมืองพุกามโบราณปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่นํ้าอิรวดี ในเขตการปกครอง ของมณฑลมัณฑะเลย์ ใจกลางของแผนที่พม่า ชุมชนปัจจุบันที่ตั้งรองรับเมืองพุกามชื่อ ยวงอู (Nyuang U) และเป็นที่ตั้งของสนามบินด้วย ยวงอูมีประชากรประมาณหมื่นกว่าคน อยู่ห่าง เมืองพุกามโบราณประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร พุกาม เป็นการเรียกแบบไทย ชาวพม่าปัจจุบันเรียก บะกัน (Bagan) สมัยอังกฤษเรียก พะกัน (Pagan) ชื่อในจารึกเรียกว่า อริมัทนะ (Arimaddana) ชื่อในจดหมายเหตุจีนเรียก ปูก้าน (P-ugan) ในที่นี้ขอเรียก เมืองพุกาม เพื่อความคุ้นเคยและสอดคล้องกับที่มีผู้เรียกไว้ ก่อนหน้านี้แล้ว พุกามเป็นราชธานีแห่งแรกของชนชาวพม่า แม้ว่าพงศาวดารฉบับหอแก้วได้กล่าวถึง อาณาจักรของชาวพม่าที่มีมาก่อนพุกามพร้อมชื่อลำ�ดับพระมหากษัตริย์ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่า เมืองพุกามน่าจะเป็นอาณาจักรและราชธานีแห่งแรกของชนชาวพม่ามากกว่า เพราะมีหลักฐาน

306   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


วิหารธรรมยางยี เจดีย์วิหารที่ใหญ่ที่สุดในเมืองพุกาม

ทางด้านจารึก โบราณคดี และหลักฐานทางด้านศิลปกรรมรองรับเป็นจำ�นวนมาก พุกามเริ่มเป็น ราชธานีแห่งแรกของชาวพม่าเมื่อ พ.ศ. ๑๕๘๗ จนถึง พ.ศ. ๑๘๓๐ จึงได้เสื่อมไปเพราะการ รุกรานของพวกมองโกล รวมระยะเวลาที่เป็นราชธานี ๒๔๓ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง ๑๑ พระองค์ดังนี้ ลำ�ดับพระมหากษัตริย์ในสมัยพุกาม๑ อนิรุทธ์ ANAWRAHTA SAWLU สอลู (ลูก) จันสิตตาหรือกยันสิต (น้อง) KYANZITTHA อลองสิทธู (หลาน) ALAUNGSITHU นรถู (ลูก) NARATHU นรสีห์ ลูก) NARATHEINKHA นรปติสิทธู (น้อง) NARAPATISITHU ติโลมินโล (ลูก) HTILOMINLO กยาสวา (ลูก) KYASWA อุซานะ (ลูก) UZANA นรสีหปติ (ลูก) NARATHIHAPATI

พ.ศ. ๑๕๘๗-๑๖๒๐ พ.ศ. ๑๖๒๐-๑๖๒๗ พ.ศ. ๑๖๒๗-๑๖๕๖ พ.ศ. ๑๖๕๖-๑๗๑๐ พ.ศ. ๑๗๑๐-๑๗๑๓ พ.ศ. ๑๗๑๓-๑๗๑๖ พ.ศ. ๑๗๑๗-๑๗๕๔ พ.ศ. ๑๗๕๔-๑๗๗๗ พ.ศ. ๑๗๗๗-๑๗๙๓ พ.ศ. ๑๗๙๓-๑๗๙๘ พ.ศ. ๑๗๙๘-๑๘๓๐ ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    307


308   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า วิหารติโลมินโล

d.

เสียนเยียตอัมมา เสียนเยียตยีมา

วิหารนากายน

Bagan-Chauk R

วิหารอเภยะทะนะ

Rd.

เจดียธรรมยะสิกะ

วิหารสุลามณี

hta wra Ana

วัดปะยาตองสู

d.

วิหารมนูหะ วิหารนันปะยา

พระราชวังเมืองพุกาม ประตูตาราบะ อนันทเจดีย ปตะกะไต วิหารปะโตตาเมียะ วิหารสัพพัญู พิพิธภัณฑสถาน วิหารนัตลองจอง แหงชาติพุกาม วิหารโลกะเตคปาน เจดียงะจเวนะตาว เจดียชเวสันดอว วิหารชินบินทัลยวง วิหารธรรมยางยี มิงกาลาเจดีย วิหารกูเปาจี วัดมะยะเจดีย

มหาโพธิ์เจดีย วิหารกอวดอวปะลิน

เจดียบูปะยา

d. UR

เจดียฉปต

u -Kya

วิหารอุบาลีเต็ง

g aun -Ny n a Bag

วิหารกยันสิตอูมิน

ดี ว ิ ร อ า ้ ํ น พระธาตุชเวซิกอง  แ ม ng U Nyau ng R dau a p k

สนามบิน


เจดียซิตานาจี

เจดียซิตานาจี

Bagan-CBagan-C d. d. hauk Rhauk R

เจดียโลกะนันทะ

เปตเลคตะวันตก เปตเลคตะวันออก เปตเลคตะวันตก เจดียโลกะนั นทะ นออก เปตเลคตะวั

เสียนเยียตอัมมา เสียนเยียตยีมา

เจดียธรรมยะสิกะ เสียนเยียตอัมมา เสียนเยียตยีมา

เจดียธรรมยะสิกะ

วิหารนากายน

วิหารอเภยะทะนะ

Myat LMayyaRt dL. ay Rd.

พุกามถือเป็นราชธานีแห่งแรกของชาวพม่าและ  เป็นราชธานีที่รุ่งเรืองสุดของชาวพม่าด้วย เพราะได้พบ หลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นเจดีย์ วิหาร และตัวอาคารที่ เชื่อว่ามีมากกว่า ๔,๐๐๐ แห่ง (สำ�รวจและเก็บข้อมูลแล้ว โดย Pierre Pichard มากกว่า ๒,๔๐๐ แห่ง) ที่เหลือยังมี อีกหลายส่วนที่จมดินอยู่ แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาเข้า มาปักหลักอย่างมั่นคงในเมืองพุกาม เหตุที่โบราณสถานในเมืองพุกามยังหลงเหลืออยู่  มากอาจเนื่องจากเหตุผลหลายประการเช่น ๑. อากาศที่แห้งแล้งของพุกามมีส่วนในการรักษา สภาพโบราณสถานของพุกามไว้ได้ดีกว่าอากาศที่ช้นื แบบ ของไทย ๒. คนพม่าดูแลและหวงแหนโบราณสถานที่เปรียบ เสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้าไว้อย่างดี ๓. รัฐบาลของพม่าเอาจริงกับบุคคลที่บุกรุกและ ทำ�ลายโบราณสถาน การบุกรุกและทำ�ลายโบราณสถาน จึงเกิดขึ้นน้อยกว่าในเมืองไทย ในพื้นที่ท่ีมีโบราณสถานตั้ง อยู่มีเนื้อ ที่ร าว ๑๐๐ ตารางกิโลเมตร โบราณสถานตั้งกระจายตัวกันอยู่ ใน ที่นี้ขอแบ่งเป็นกลุ่มได้ประมาณ ๑๑ กลุ่มดังนี้ ๑. กลุ่ ม ที่ เ ป็ น ถํ้ า วิ ห าร ที่ ส ร้ า งเลี ย นแบบ ถํ้ า ธรรมชาติ ตั้ ง อยู่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และ ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ข องเมื อ งยวงอู ที่ สำ�คั ญ เช่ น วั ด เจ้ากูอูมิน (Kyauku Umin) วัดมยัตทา อูมิน (Hmyatha Umin) เป็นต้น ๒. กลุม่ ยวงอู ทีต่ ง้ั อยูใ่ กล้ๆ เมืองยวงอู เช่น เจดีย์ ฉปั ต (Sapada) พระธาตุ ช เวซิ ก อง (Shwezigon) วิ ห าร กยันสิตอูมิน (Kyansitha Umin) เป็นต้น ๓. กลุ่ ม ที่ อ ยู่ ม าทางตะวั น ตกเฉี ย งใต้ ข อง เมืองยวงอู เล็กน้อย เช่น วิหารติโลมินโล (Htilominlo) วิหารอุบาลีเต็ง (Ubali Thien) เป็นต้น ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    309


สถานีรถไฟและการเดินทางโดยรถไฟ คะแนน *** ใช้เวลาในการชม ๑๕ นาที

ประวัติสถานที่

การคมนาคมทางรถไฟในพม่ า ถื อ กำ�เนิ ด ขึ้ น มาตั้ ง แต่  พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยอั ง กฤษมา  บุกเบิกสร้างไว้ โดยเริ่มจากทางภาคใต้ก่อน (ขณะนั้นอังกฤษยังไม่ได้มัณฑะเลย์และภาค  เหนือ) สายแรกเป็นเส้นทางจากย่างกุ้งไปเมืองแปร ระยะทาง ๒๖๒ กิโลเมตร แล้วขยับขยาย  ไปอีกหลายเส้นทาง  เส้นทางทางภาคเหนือโดยเฉพาะเส้นมัณฑเลย์ไปสีป่อและล่าเจียว เป็น  เส้นทางยุทธศาสตร์ที่อังกฤษสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ เพื่อใช้ควบคุมและปกครองรัฐฉาน  และพม่าภาคเหนือ  ปัจจุบันเส้นทางนี้เริ่มจากมัณฑะเลย์ไปสิ้นสุดที่เมืองล่าเจียว มีระยะ  ทาง ๒๘๐ กิโลเมตร

ป้ายชื่อสถานีรถไฟ เมืองสีป่อ

ภภพพล  จันทร์วัฒนกุล    583


หัวรถจักรลากขบวนรถไฟ  เข้าจอดที่สถานีสีป่อ  เตรียมออกเดินทางสู่เมืองมัณฑะเลย์

บรรยากาศในโบกี้รถไฟชั้นหนึ่งระหว่าง การเดินทาง

สะพานโครงเหล็กที่รองรับทางรถไฟ ยาว ๖๘๙ เมตร สูง ๑๐๒ เมตร ข้ามหุบเขา Goktiek  ตอนที่สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๓ ถือเป็นสะพานรถไฟที่สูงที่สุดในโลก

จุดที่มือชื่อเสียงที่สุดของเส้นทางคือที่หลักกิโลเมตรที่ ๑๐๐ (จากมัณฑะเลย์) เส้นทาง  จะต้องพาดผ่านข้ามหุบเขา Gokteik Gorge  อังกฤษได้สร้างสะพานโครงเหล็กขนาดใหญ่

584   ๑๐๑ วัด วัง และสถานที่สําคัญในพม่า


ศิลปะ  สถาปัตยกรรม  พม่า

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล เป็นชาวนครสวรรค์ สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

หนังสือให้ความรู้และความเข้าใจ

ในการเที่ยวชม วัด วัง และสถานที่สำ�คัญในพม่าได้อย่างสมบูรณ์

หมวดศิลปะ ราคา ๖๗๕ บาท ISBN 978-616-465-001-5

• เมืองปะยินอูละวิน • ทะเลสาบอินเล • เมืองตองจี • เมืองกาลอว์ • เมืองสีป่อ

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล

• เมืองย่างกุ้ง • เมืองหงสาวดี • เมืองพุกาม • เมืองมัณฑะเลย์ • เมืองอังวะ

๑๐๑ วัด วัง

และสถานที่สําคัญในพม่า

ภภพพล จันทร์วัฒนกุล

เป็นผู้มีประสบการณ์ในวิชาชีพมัคคุเทศก์ มากว่า ๓๐ ปี ในบริษัททัวร์ชั้นนำ� ในเมืองไทย เช่น เถกิงทัวร์และ สวัสดีฮอลิเดย์ ที่นำ�เที่ยวไปแล้ว เกือบทั่วโลก ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร บริษัทสวัสดีฮอลิเดย์ จำ�กัด และ เป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ฯลฯ จากประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญในการนำ�ชม โบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ  ผู้เขียนได้นำ�เรื่องราวบางส่วน มาถ่ายทอดเป็นหนังสือที่ท่านถืออยู่เล่มนี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.