The Rise of Bangkok
I'æ 4= /> /D I#*; I(.I&CR9 1B '/<3Ģ!@4>6!/ó /D /=!%K 6@%#/ó > 71= >%L7-ï
6DI % //*0#$ęU
ISBN 978-616-465-049-7 หนังสือ ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ The Rise of Bangkok ผู้เขียน สุเจน กรรพฤทธิ์ © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด
ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ราคา ๓๙๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการต้นฉบับ : ศรัณย์ ทองปาน ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ภาพ : สุเจน กรรพฤทธิ์ และฝ่ายภาพนิตยสาร สารคดี ออกแบบปกและรูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ 2
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 2
12/3/21 9:12 PM
ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 3
3
12/3/21 9:12 PM
สารบัญ บทที่ ๑ ปฐมวัย : ทองด้วง บุญมา พระยาตาก (สิน).......................... ๒๒ บทที่ ๒ “การรอ” ของพระยาจักรี.................................................................. ๗๑ บทที่ ๓ องเชียงสือ และพระยาจักรี............................................................. ๙๐ บทที่ ๔ ก�ำเนิด “กรุงรัตนโกสินทร์”............................................................... ๑๑๖ บทที่ ๕ “องเชียงสือ” ในบางกอก.................................................................. ๑๓๐ บทที่ ๖ รุกตะวันออก.......................................................................................... ๑๔๖ บทที่ ๗ เค้า “ศึกในบ้าน”.................................................................................. ๑๖๒ บทที่ ๘ สงครามเก้าทัพ..................................................................................... ๑๖๘ บทที่ ๙ ศึกท่าดินแดง ศึกทวาย และค�ำอ�ำลาของ “องเชียงสือ”........................................................................................... ๒๓๒ บทที่ ๑๐ ศึกชิงหัวเมืองอันดามัน..................................................................... ๒๕๘ บทที่ ๑๑ “จิ้มก้องจีน” และศึกพิทักษ์ “มันดาละ”.................................... ๒๖๒ บทที่ ๑๒ ศึกรักษาล้านนา วิกฤตวังหน้า แนวรบบูรพาที่เปลี่ยนแปลง........................................................... ๒๙๖ ภาคผนวก ๑ : บุคคลส�ำคัญจากอาณาจักรข้างเคียง ที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ ๑........................................................ ๓๒๒ ภาคผนวก ๒ : เหตุการณ์ส�ำคัญในช่วงรอยต่อ กรุงศรีอยุธยา-กรุงธนบุรี-กรุงเทพฯ..................................... ๓๒๘
4
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 4
12/3/21 9:12 PM
ค�ำนิยม
ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
สุเจน กรรพฤทธิ์ ไม่ใช่นักวิชาการหน้าใหม่ ที่ผ่านมาเขามีงานเขียน ด้านประวัติศาสตร์เผยแพร่ในบรรณพิภพหลายต่อหลายเรื่อง ทั้งงาน เขียนสารคดี หนังสือเล่มแนวประวัติศาสตร์ ที่ดูเป็นความช�ำนาญของ สุเจนคือ “ประวัติศาสตร์ยุคจารีต” ครอบคลุมจากรัชกาลสมเด็จพระ นเรศวรมาจนถึงยุคกรุงธนบุรี ผลงาน ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ เป็นเรือ่ งสืบทอดต่อเนือ่ งจาก ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ -๒๓๑๐ กรุงธนบุรผี งาด หากพิจารณาในกรอบ ของเวลา เพราะงานนิพนธ์เล่มนี ้ ส่วนหลักว่าด้วยพระราชประวัตสิ มเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เช่นเดียวกับอีกหลายชิ้นที่ผ่านมา เป็นงานค้นคว้าที่ละเอียดลออ ทั้งด้านการเรียงร้อยและเล่าเรื่องราวที่ มุ่งแสดงผ่านข้อมูลหลักฐานหลากประเภท
The Rise of Bangkok
p1-167.indd 5
5
12/9/21 1:58 PM
ข้อเด่นประการหนึ่งเช่นเดียวกับงานหลายชิ้นที่ผ่านมาคือ การ น�ำเสนอข้อมูลจากฝั่งเวียดนาม สะท้อนความสนใจและความสัมพันธ์ อันลึกซึ้งที่ผู้น�ำสยามยุคจารีตมีต่อภูมิภาคเบื้องบุรพทิศ ไม่ว่าล้านช้าง กัมพูชา หรือเวียดนาม ในหนังสือเล่มนี้ บทบาทและความส�ำคัญของ องเชียงสือถูกน�ำมาตีแผ่ ท�ำให้ทราบว่ากองทัพญวนถูกเกณฑ์มาร่วมรบ ในคราวศึกเก้าทัพด้วย ที่ผ่านมาผู้เขียนค�ำนิยมได้รับเกียรติและความไว้วางใจให้เขียนบท น�ำให้หนังสือที่เป็นงานนิพนธ์สุเจนหลายต่อหลายเล่ม ส�ำหรับหนังสือ เล่มนี้เป็นหนังสือที่น่าสนใจและเปี่ยมด้วยคุณภาพ ผู้เขียนใคร่ขอร่วม “เติมเต็ม” ประเด็นที่เห็นว่าส�ำคัญ แต่ไม่ได้ถูกเน้นย�้ำหรืออาจถูกมอง ข้าม แต่ทั้งนี้มิอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อบกพร่องของสุเจน เพราะผู้เขียน แต่ละคนย่อมมีมิติมุมมองต่ออดีตที่แตกต่างกัน ผูเ้ ขียนค�ำนิยมต้องยอมรับว่าได้เรียนรูข้ อ้ เท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ เพิ่มเติมอันเป็นผลจากการวิจัยค้นคว้าของสุเจนที่ตีแผ่ให้เห็นว่าสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ แต่ครัง้ รับราชการยุคธนบุร ี ได้ถวายงานในศึกส�ำคัญ หลายครัง้ รายละเอียดมีปรากฏใน “ฉากที ่ ๒” ของหนังสือ ตอนทีว่ า่ ด้วย “แม่ทัพแห่งกรุงธนบุรี” ผู้เขียนค�ำนิยมเรียนรู้อะไรจากความตอนนี้ ? ความตอนนี้ช่วยให้ ผูเ้ ขียนเกิดภาพ เข้าใจชัดเจนขึน้ ในความส�ำเร็จอันยิง่ ใหญ่ (great achievement) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยผู้เขียนค�ำนิยมเชื่อเสมอมาว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่เคย “กอบกูเ้ อกราช” ดังทีเ่ ข้าใจกัน ทัง้ นีก้ เ็ พราะในสงครามคราวเสียกรุงครัง้
6
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 6
12/3/21 9:12 PM
หลัง (พ.ศ. ๒๓๑๐) พม่ามิได้ประสงค์จะรักษากรุงศรีอยุธยาไว้เป็น เมืองประเทศราชเช่นสงครามตีกรุงครั้งก่อน (ปี ๒๑๐๖ และ ๒๑๑๒) กรุงศรีอยุธยาจึงถูกท�ำลายย่อยยับ อาณาประชาราษฎร์ถูกกวาดต้อน กลับไปเป็นเชลย ภายใต้สภาวะนัน้ ผูน้ ำ� แต่ละทิศ แต่ละที ่ ต่างคิดแยกตัวเป็นอิสระ มีเพียงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรที นี่ ำ� ก�ำลังกลับมากูก้ รุง ทรงมีเจตนาอัน แรงกล้าทีจ่ ะฟืน้ ฟูราชธานีและราชอาณาจักรขึน้ มาอีกครัง้ หนึง่ ซึง่ ก็ทรง ท�ำได้สำ� เร็จ แต่ความส�ำเร็จนัน้ ก็ได้มาด้วยการเปิดศึกต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะ ปราบชุมนุมต่าง ๆ ขับไล่กองก�ำลังพม่าออกจากล้านนา รับศึกพม่า อาทิ ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้ ตีคืนเมืองประเทศราชที่เคยขึ้นกับอยุธยา ความส�ำเร็จอันยิง่ ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรคี อื การสถาปนา อาณาจักรขึ้นแทนอยุธยาที่ล่มสลาย งานนิพนธ์ของสุเจนยืนยันข้อเท็จ จริงทีว่ า่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเป็นขุนศึกคนส�ำคัญทีช่ ว่ ยพระเจ้า กรุงธนบุรสี ถาปนาอาณาจักรใหม่ แต่ทงั้ นีม้ ไิ ด้หมายความว่าทัง้ สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรแี ละสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ครัง้ ด�ำรงพระยศพระยา จักรีจะไม่เคยเพลี่ยงพล�้ำต่อข้าศึก แต่ถงึ แม้วา่ สุเจนได้นำ� เสนอรายละเอียดศึกอะแซหวุน่ กีไ้ ว้ในหนังสือ อย่างน่าชื่นชม แต่มิได้ให้ความเห็นว่าเหตุใดสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงถอนก�ำลังจากเมืองพิษณุโลกไปตั้งอยู่ที่เพชรบูรณ์ มิน�ำก�ำลังลงมา ช่วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรบพม่าที่กรุงธนบุรี ถึงแม้จะไม่มหี ลักฐานถึงสาเหตุทแี่ น่ชดั แต่อาจอนุมานได้วา่ ก�ำลังของ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทีถ่ อยลงมารักษากรุงขณะนัน้ มีเพียง ๑๐,๐๐๐
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 7
7
12/3/21 9:12 PM
ขณะทีก่ องทัพอะแซหวุน่ กีม้ พี ลถึง ๓๕,๐๐๐ พลทัง้ สิน้ นัน้ แยกลงใต้มาตี กรุงธนฯ ออกเป็นสีท่ าง สามทัพยกแยกกันไปก่อน ส่วนอะแซหวุ่นกี้เตรียม คุมทัพหลวงตามสมทบ ซึ่งนับเป็นยุทธวิธีที่รัดกุมยากแก่การเอาชัย ขณะนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงมีก�ำลังคนเพียง ๒ หมื่นที่ อดอยากและบอบช�ำ้ จากศึกป้องกันพิษณุโลกอยูน่ าน จึงเป็นไปได้อย่าง ยิ่งว่าทางที่ปลอดภัยคือถอยไปหาที่มั่นบ�ำรุงไพร่พลในพื้นที่ที่กองก�ำลัง พม่าขยายอิทธิพลไปไม่ถงึ เมือ่ สบโอกาสจึงน�ำก�ำลังกลับไปกูก้ รุง ซึง่ จะ มากจะน้อยก็เป็นยุทธวิธีเดียวกับที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีครั้งรั้ง ต�ำแหน่งพระยาตากน�ำก�ำลังตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากอยุธยาไปตั้งมั่น ที่เมืองจันทบุรี เมื่อสบโอกาสจึงน�ำก�ำลังกลับมากู้กรุง อีกประเด็นที่ผ้เู ขียนค�ำนิยมเห็นว่าถูกให้ความส�ำคัญเกินกว่าที่ควร เป็นคือ การผลัดเปลี่ยนรัชกาล น่าสนใจว่ามีกเ็ พียงการผลัดเปลีย่ นรัชกาลจากกรุงธนฯ สูก่ รุงเทพฯ ถูกนักประวัตศิ าสตร์ให้ความสนใจและตัดสินด้วยมาตรฐานทางศีลธรรม ขณะที่ทัศนะเช่นเดียวกันไม่เคยถูกใช้ประเมินพระมหากษัตริย์จ�ำนวน มากทีป่ ราบดาภิเษกขึน้ เสวยราชย์ ทีส่ ำ� คัญคือคุณค่าทีค่ นรุน่ หลังน�ำมาใช้ ตัดสินความผิดชอบชัว่ ดี เป็นคุณค่า “คนละชุด” กับความคิดความเชือ่ ที่คนในยุคสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ มี สุเจนได้น�ำเสนอข้อเท็จจริงอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ผลัดเปลี่ยน รัชกาล กระนั้นผู้เขียนค�ำนิยมใคร่ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า เกิดอะไรขึ้น กับกษัตริย์นักรบอย่างสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหลังศึกอะแซหวุ่นกี้ในปี ๒๓๑๘ เพราะหลังศึกนี้ ถึงแม้ธนบุรีจะยังมีศึกทุกขวบปีจนสิ้นรัชกาล
8
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 8
12/3/21 9:12 PM
แต่ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ ทรงน�ำทัพเข้าสมรภูมิใดอีกเลย แม้แต่ครั้งเดียว อีกประเด็นที่สุเจนไม่ได้ให้น�้ำหนักคือ การย้ายราชธานีของสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ ที่นับเป็นพระราชกรณียกิจส�ำคัญแสดงนัยทางการ เมืองของการ “ผลัดเปลี่ยนยุคสมัย” แสดงการสิ้นสุดกลียุค “เบิกยุค ใหม่” ของพระโพธิสตั ว์ทเี่ สด็จฯ มาปราบยุคเข็ญและสืบสานพระศาสนา ให้ถว้ นพุทธท�ำนาย พิจารณาให้ดกี จ็ ะเห็นว่า การย้ายกรุงครัง้ นัน้ หัวใจ หลักคือย้ายพระบรมมหาราชวัง ธนบุรียังถูกรักษาไว้เป็นส่วนหนึ่งของ กรุงใหม่ (กรุงเทพฯ) การย้ายเป็นการย้ายทีป่ ระทับของพระมหากษัตริย์ จากพืน้ ทีอ่ วมงคลไปสูพ่ นื้ ทีอ่ นั ควรแก่การลงรากปักฐานศูนย์กลางจักรวาล ใหม่ ทีส่ มบูรณ์ สง่า เป็นสิรมิ งคล เป็นสัญลักษณ์แห่งการ “เบิกยุคใหม่” จารีตการย้ายวัง ย้ายเมือง หรือแม้แต่สร้างพระทีน่ งั่ ทีป่ ระทับขึน้ ใหม่ ปรากฏมาตัง้ แต่สมัยเขมรยุคพระนครหลวงคือการสร้างกรุงพระนครธม แทนที่กรุงศรียโสธรปุระซึ่งกลายเป็นเมืองอวมงคลจากการพ่ายแพ้ สงคราม และเกิดสงครามกลางเมือง หรือกรณีสมเด็จพระรามาธิบดีท ี่ ๑ (อู ่ ท อง) ทรงย้ า ยพระบรมมหาราชวั ง พร้ อ มสถาปนากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา เป็นราชธานี ซึง่ เป็นการ “เบิกยุคใหม่” ให้บา้ นเมืองในแว่นแคว้นลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยาตอนล่าง หรือการย้ายราชธานีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลั ง จากที่ ป ระจั ก ษ์ แ ล้ ว ถึ ง การล่ ม สลายและเป็ น อวมงคลของ กรุงศรีอยุธยา การย้ายเมืองในลักษณะเดียวกันยังปรากฏในแดนพุกาม ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายจากชเวโบ (กรุงรัตนสิงห์) ไปยังเมือง อังวะ จากอังวะไปอมรปุระ สลับไปมา ก่อนย้ายไปกรุงมัณฑะเลย์
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 9
9
12/3/21 9:12 PM
การสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี สะท้อนผ่านการสร้างพระบรมมหา ราชวังอันโอฬารตามผังพระบรมมหาราชวังครัง้ กรุงศรีอยุธยา จึงมีความ หมายเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองคูข่ นานไปกับการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ยังมีประเด็นส�ำคัญทีค่ วรเติมเต็มให้งานชิน้ นีม้ คี วามสมบูรณ์ขน้ึ อีก ประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม เพราะมีนัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางการ เมืองคืองานพระศาสนา ด้วยต้องไม่ลมื ว่าช่วงเปลีย่ นผ่าน นับแต่สนิ้ กรุง ศรีอยุธยาจนถึงช่วงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ปัญหาส�ำคัญที่ผู้น�ำยุคกู้ แผ่นดินเผชิญคือปัญหา “ความชอบธรรมทางอ�ำนาจ” เพราะทัง้ สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุร ี และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ต่างก็มไิ ด้สบื สันตติวงศ์ กษัตริย์มาจากยุคปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อมิอาจแสดงความชอบธรรม ทางสายโลหิต ทางเดียวที่กระท�ำได้คือแสดงความชอบธรรมในฐานะผู้ “อุปถัมภกยอยกพระพุทธศาสนา” ซึ่งล่มสลายเสื่อมทรุด พระราชกรณียกิจสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและยกระดับศีลธรรมสังคมจึงเป็นพันธกิจส�ำคัญของผู้ปกครอง ทีแ่ สดง “ความชอบธรรมทางอ�ำนาจ” โดยมิตอ้ งอาศัยจารีตการสืบสาย โลหิต แต่ยืนยันสถานะ “ผู้มีบุญ” เทียบเท่าพระโพธิสัตว์ ซึ่งเสวยชาติ ช่วงบ้านเมืองเป็นกลียคุ และศาสนาเสือ่ มทราม พระราชกรณียกิจลงโทษ พระราชาคณะที่ประพฤติมิชอบและสถาปนาพระราชาคณะที่ถูกถอด สมณศักดิช์ ว่ งปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรใี ห้คนื คงสถานะเดิม ยังไม่รวมการจัดระเบียบวินยั สงฆ์ดว้ ยการออกกฎพระสงฆ์ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือสังคายนาพระไตรปิฎก ทั้งหมดทั้งสิ้นล้วนแสดงนัยทางการเมือง กระนัน้ ก็ดถี งึ แม้วา่ งานนิพนธ์สเุ จนอาจข้ามประเด็นพระราชกรณีย-
10
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 10
12/3/21 9:12 PM
กิจส�ำคัญอันมีนยั ทางการเมืองไปบ้าง แต่งานนิพนธ์นกี้ ค็ รอบคลุมสาระ ส�ำคัญ เป็นคุณูปการในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ที่สัมพันธ์โดยตรงต่อการปกป้องและรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยของรัฐใหม่ที่ สถาปนาขึน้ แทนทีก่ รุงศรีอยุธยา การกระชับพระราชอ�ำนาจ ฟืน้ ฟูสถานะ ราชอาณาจักรที่ทรงอ�ำนาจและบารมีเช่นเดียวกับอยุธยา ผ่านการท�ำ สงครามขยายพระราชอาณาเขต คืนครองบ้านเมืองทีเ่ คยเป็นประเทศราช งานนิพนธ์ของสุเจนยังน�ำเสนอรายละเอียดราชการสงครามทั้งใน เชิงรับและรุกกับพม่ายุคราชวงศ์คองบอง ไม่ว่าศึกเก้าทัพ ศึกรบพม่า ทีท่ า่ ดินแดง ศึกถลาง รวมถึงศึกเมืองทวาย ซึง่ นักวิชาการน้อยคนนักจะ กล่าวถึง ทัง้ นีย้ งั ไม่รวมราชการสงครามในทิศตะวันออกทีน่ ำ� มาตีแผ่ได้ อย่างน่าสนใจ ข้อสรุปส�ำคัญที่ผู้เขียนค�ำนิยมได้จากงานนิพนธ์สุเจน คือพระราชกรณียกิจส�ำคัญของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คือทรง เป็นก�ำลังส�ำคัญของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในการสถาปนาราชธานี และราชอาณาจักรใหม่แทนที่กรุงศรีอยุธยาที่ล่มสลาย ที่ส�ำคัญคือพระราชกรณียกิจการสถาปนาราชอาณาจักรอันมั่นคง หยัดยืนต่อเนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั สมัย คือราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ที่ เปรียบเสมือนการวางเสาเอกให้เกิดการพัฒนาต่อยอดคูข่ นานไปกับอีก สองอาณาจักร คือ พุกามประเทศยุคราชวงศ์คองบองและเวียดนาม ยุคราชวงศ์เหงวียน ทั้งหมดเป็นสามอาณาจักรใหญ่ที่อยู่รอดและ หยัดยืน ก่อนทีภ่ มู ภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แผ่นดินใหญ่) จะเผชิญ หน้ากับการขยายอิทธิพลของมหาอ�ำนาจตะวันตก
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 11
11
12/3/21 9:12 PM
ผูเ้ ขียนค�ำนิยมใคร่สนับสนุนให้นกั เลงประวัตศิ าสตร์ รวมงานนิพนธ์ เรื่ อ ง ๒๓๒๕ เปิ ด ศั ก ราชกรุ ง เทพฯ ไว้ ใ นชุ ด หนั ง สื อ สะสม ความ ละเอียดลออ ความแปลกใหม่ในการน�ำเสนอ ลีลาการเขียนทีน่ า่ อ่านใน แบบสุเจน จะช่วยเปิดความรับรูแ้ ละความน่าสนใจของประวัตศิ าสตร์ยคุ ต้นรัตนโกสินทร์ได้เกินกว่าที่เราจะคาดคิด
สุเนตร ชุตินธรานนท์ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๔
หมายเหตุจากผู้เขียน (สุเจน กรรพฤทธิ์) ค�ำนิยมนี้ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตรเขียนขึ้นหลังจากได้อ่าน “ร่างแรก” ของ ต้นฉบับที่ผู้เขียนน�ำไปขอความกรุณาให้เขียนค�ำนิยมให้ ดังนั้นข้อบกพร่องบาง ประการทีอ่ าจารย์ทกั ท้วงมาจึงได้รบั การแก้ไขในต้นฉบับร่างถัดมา โดยในการแก้ไข ยังรวมถึงการปรับปรุงตามค�ำแนะน�ำและข้อติติงของบรรณาธิการต้นฉบับ (คุณ ศรัณย์ ทองปาน) ก่อนที่จะกลายเป็นหนังสือในมือท่านผู้อ่านนี้ด้วย ข้อมูลหลาย เรื่องจึงปรากฏอยู่ในเนื้อหาเรียบร้อยแล้วตามค�ำชี้แนะของอาจารย์สุเนตร ผู้เขียนเจตนารักษาค�ำนิยมของอาจารย์สุเนตรไว้ตามต้นฉบับเดิม เพื่อบันทึก ว่างานเขียนสารคดีชนิ้ หนึง่ ย่อมมีผอู้ ยูเ่ บือ้ งหลังมากมาย เช่นกรณีนมี้ ที งั้ บรรณาธิการ ต้นฉบับ และผูเ้ ขียนค�ำนิยม เป็นเสมือนผูอ้ า่ นกลุม่ แรก ค�ำแนะน�ำของทุกท่านเหล่า นีม้ สี ว่ นส�ำคัญยิง่ ทีจ่ ะท�ำให้งานเขียนทีอ่ อกสูส่ ายตาผูอ้ า่ นมีความสมบูรณ์มากทีส่ ดุ เท่าที่ผู้เขียนจะสามารถกระท�ำได้ แต่ในขั้นตอนการเขียน ทุกคนล้วนมีข้อบกพร่อง เป็นธรรมดา และผู้เขียนก็หนีไม่พ้นภาวะเช่นนั้น
12 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 12
12/3/21 9:12 PM
“ประวัติศาสตร์” ในมือเรา เสมือนค�ำน�ำผู้เขียน
“ทุกอย่างเลือนรางในหมอกควัน อดีตถูกลบเลือน การลบนั้นถูกลืม ค�ำโกหกกลายเป็นความจริง”
จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) 1984
บางทีประวัติศาสตร์ก็เล่นตลกกับประชาชาติหนึ่งอย่างยาวนาน ในทีน่ ผี้ มหมายถึงประวัตศิ าสตร์ในฐานะ “เครือ่ งมือ” ทบทวนอดีต ของประชาชาติ/ประเทศนั้น เหตุการณ์ที่อ้างว่าเป็น “ชีวิตประชาชาติ/ชีวิตประเทศ” เกิดขึ้นจริง อย่างไร คนทีเ่ คยเรียนวิธวี จิ ยั ทางประวัตศิ าสตร์ ย่อมทราบว่าสิง่ ทีผ่ า่ นไป แล้ว เราไม่มวี นั เข้าถึง “ความจริงสมบูรณ์แบบ” (absolutely truth) ท�ำได้ เพียงเข้าถึง “ความจริงบางส่วน” (partially truth) แถมยังต้องตรวจสอบ ว่าใครบันทึก ฝ่ายไหนเขียน มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เชื่อถือได้แค่ไหน ? ผู้ที่มาทีหลังจ�ำต้องใช้หลักฐานจ�ำกัดจ�ำเขี่ยปะติดปะต่อภาพเหตุ การณ์ในอดีตให้มีชีวิต ตราบใดที่เรายังไม่มีไทม์แมชชีนย้อนกลับไปดู เหตุการณ์สด ๆ ได้
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 13
13
12/3/21 9:12 PM
นับตั้งแต่ผมทดลองเขียนสารคดีแนวประวัติศาสตร์ จาก ๒๓๑๐ อวสานกรุงศรีฯ, ๒๓๑๐ กรุงธนบุรีผงาด มาจนถึง ๒๓๒๕ เปิดศักราช กรุงเทพฯ เล่มที่อยู่ในมือท่านผู้อ่านนี้ ผมหลีกหนีสภาวะดังกล่าวไปไม่ พ้น และพบความจริงอีกประการหนึ่งว่าประวัติศาสตร์ยังมีสิ่งที่เรียกว่า “อุบัติเหตุ” อีกด้วย ผมพบว่า ในห้วงปัจจุบันบางทีคนที่ได้รับยกย่องว่าเป็น “วีรบุรุษ” เป็นบุคคลส�ำคัญ บางครั้งก็เป็น “ผู้ร้าย” ในเวลาเดียวกัน ขึ้นกับใคร บันทึก บันทึกมีความหลากหลายแค่ไหน และมีใครที่จะ “กล้าหาญ” เขียนทุกมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนั้นเอาไว้ ใช้สมการเดียวกัน พูดให้โหดร้ายยิง่ ขึน้ ผูค้ นในบันทึกประวัตศิ าสตร์ ตัวจริงของเขาอาจไม่เหมือนกับข้อมูลทีเ่ ราได้รบั ส่งต่อมา ลองจินตนาการ ดูวา่ นาย ก. ถูกบันทึกว่ามีคณ ุ งามความดีมากมาย แต่เพือ่ น ๆ ของเขา ทีอ่ ยู ่ “ร่วมช่วงชีวติ ” ในกาลเวลาเดียวกัน ทราบอยูแ่ ก่ใจว่ายังมีอกี หลาย ส่วนของนาย ก. ที่ไม่ได้ถูกบันทึก และพวกเขาก็ไม่คิดหรือไม่มีเวลา ที่จะเขียนถึงเรื่องราวเหล่านั้น หรือถ้ามีการบันทึกก็สูญหายไปกับกาล เวลา แล้วเวลาก็ผ่านไป เมือ่ คนรุน่ หลังมาอ่านบันทึก “เท่าทีม่ ”ี ภาพของนาย ก. ก็เหลือเพียง มุมเดียว ยิง่ เกิดสถานการณ์ทรี่ ฐั ใช้เรือ่ งราวของนาย ก. ภายใต้แรงผลัก ดันทางการเมือง เรื่องของนาย ก. ก็จะถูกเติมแต่งมากยิ่งขึ้น
14
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 14
12/3/21 9:12 PM
คนอ่านในยุคหลังไม่มีวันเข้าถึงความจริงที่เพื่อน ๆ ของนาย ก. รู้ นี่คือ “ข้อจ�ำกัดทางประวัติศาสตร์” และเป็น “หลุมพราง” ของ นักประวัติศาสตร์ ที่อาจอันตรายยิ่งกว่าคือ ในรัฐประเภทที่มิได้ส่งเสริมการศึกษา ประวัติศาสตร์ในฐานะศาสตร์ที่จะท�ำให้คนในสังคมมีการคิดอย่างเป็น ระบบ รู้เท่าทัน และเป็นตัวของตัวเอง หลุมพรางนี้อาจถูกรัฐน�ำไปใช้ หรือกระทั่งถูกกลุ่มการเมืองน�ำไปใช้เพื่อรับใช้วาระของพวกเขาเองโดย วางข้อสรุปแบบใดแบบหนึ่งลงไป แล้วบอกว่านั่นคือความจริงอันมิอาจโต้แย้งได้ ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ คือความพยายามจะหนีขอ้ จ�ำกัดและ ก้าวข้ามกับดักที่ว่านั้น ผมลอง “จัดระเบียบ” ข้อมูลอันกระจัดกระจายทัง้ ภาคเอกสารและ ภาคสนาม จากการเดินทางไปทัว่ แผ่นดินใหญ่อษุ าคเนย์ในช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ จนถึงต้นทศวรรษ ๒๕๖๐ ก่อนโรคโควิด ๑๙ ระบาดจนกลาย เป็นอุปสรรค เป็นข้อจ�ำกัดต่อการเดินทางทัง้ หมด (อย่างน้อยก็นานนับปี) นีค่ อื ความพยายามตัง้ ค�ำถาม ทดลองเล่าเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ จากการ ใช้หลักฐานชิ้นล่าสุดเท่าที่หาได้ (ในปี ๒๕๖๔) และแน่นอนว่าต่างกับ ประวัติศาสตร์ฉบับ “ราชาชาตินิยม” ของรัฐไทย แต่ไม่วา่ จะใช้หลักฐานมากมายเพียงใด ผมก็ยงั คงเข้าไม่ถงึ “ความ จริงสมบูรณ์” และนี่ยังมิใช่ความจริงทางประวัติศาสตร์ เพราะหลาย
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 15
15
12/3/21 9:12 PM
เรื่องยังคงต้องการการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ ต่อยอดต่อไปอีกใน อนาคตอย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด ตราบใดทีเ่ รายังไม่มไี ทม์แมชชีนย้อนเวลาไป ดูเหตุการณ์จริงได้ ทีเ่ ล่ามาทัง้ หมด ผมก�ำลังพยายามสือ่ ว่า บางทีนอี่ าจเป็นจุดหมาย สูงสุดของวิชาประวัติศาสตร์ นั่นคือการเข้าถึงส�ำนึกที่ว่า ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ไม่มองอะไรเป็นขาวด�ำ ถึงที่สุดคือ ต้องพิสูจน์ทุกเรื่องด้วยหลักฐานและเหตุผล ผมยืนยันอย่างเต็มเปี่ยมว่า ทุกบทของหนังสือเล่มนี้ คือความ พยายามของผูเ้ ขียนในการน�ำเสนอวิธมี องประวัตศิ าสตร์ของประชาชาติ ไทยในยุคก่อนสมัยใหม่ (pre-modern) ในแบบที่ผู้เขียนพอท�ำได้ ด้วยหวังว่า แม้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงทางประวัติศาสตร์ได้ อย่างสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยเราก็น่าจะศึกษาประวัติศาสตร์อย่างรอบ ด้าน ให้ประวัติศาสตร์เป็นบทเรียนของปัจจุบัน และคนรุ่นปัจจุบันน�ำ บทเรียนนั้นมาปรับใช้อย่างรู้เท่าทัน ถึงที่สุดผมหวังว่าวิชาประวัติศาสตร์ในแบบที่เป็นสากลจะท�ำให้ เมือ่ เวลาผ่านไปหลายสิง่ หลายอย่างในบ้านเมืองของเราจะพัฒนาไปใน ทางที่มีเสรีภาพมากขึ้น ในอีก ๑ ศตวรรษ หรือครึง่ ศตวรรษ ถ้าคนจ�ำนวนมากเรียนประวัต-ิ ศาสตร์แบบรู้เท่าทัน
16
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 16
12/3/21 9:12 PM
สถานที่ทางประวัติศาสตร์จะไม่ใช่ที่ส�ำหรับจุดธูปวางน�้ำแดงบูชา ขอหวย หากแต่เป็นอนุสาวรีย์ที่เตือนถึงเหตุการณ์ในอดีต อีกทั้งสังคม ยังสามารถให้ความหมายกับสถานทีเ่ หล่านัน้ ใหม่เมือ่ เกิดการค้นพบหลัก ฐานใหม่และมีการตีความใหม่ วัฒนธรรมที่ท�ำให้คนไม่เท่ากันทั้งทาง ความคิด ทางกฎหมายจะมลายไป การฉวยโอกาสจะหมดพื้นที่จากสังคมไทย การตรวจสอบข้อเท็จจริงจะตัง้ มัน่ วิชาประวัตศิ าสตร์จะไม่ม ี “เพดาน” ในการคิดและวิเคราะห์อีกต่อไป ข้อเขียนในทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๖๐ จะถูกคนรุ่นต่อไปมองด้วย ความงุนงง (ถึงข้อจ�ำกัด) ภายใต้สถานการณ์ที่สื่อสิ่งพิมพ์ซบเซาลง วัฒนธรรมการอ่าน เปลีย่ นแปลงไปบนออนไลน์ เศรษฐกิจดิง่ เหว โรคระบาดทีย่ งั ไม่มที ที า่ ว่า จะจบง่าย ๆ ยังไม่นับว่าสถานการณ์การเมืองของไทยมาถึงจุดหัวเลี้ยว หัวต่อ หลังวิกฤตการณ์ทางการเมืองด�ำเนินมา ๑๕ ปีเต็ม (ตั้งแต่หลัง รัฐประหารปี ๒๕๔๙) ผมไม่แน่ใจว่างานทีอ่ าจเรียกได้วา่ “ภาคที่ ๓” ของ ซีรสี ง์ านเขียนสารคดีประวัตศิ าสตร์ชดุ ๒๓๑๐ จะถึงมือผูอ้ า่ นสักกีท่ า่ น มันอาจจะไปกองฝุ่นจับอยู่ในร้านหนังสือเก่า ร้านหนังสือมือสอง (ถ้ายังคงมีเหลือ) ซึ่งผมก็ยินดีว่าหากถึงจุดนั้น มันจะได้รับการเหลียว แลบ้างในราคาที่จับต้องได้มากขึ้น เพราะรางวัลทีด่ ที สี่ ดุ ของคนเขียนสารคดี คือการต้อนรับจากผูอ้ า่ น ไม่ว่าเขาจะเห็นด้วยกับผู้เขียนหรือไม่ก็ตาม
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 17
17
12/3/21 9:12 PM
ด้วยเชื่อว่าการ “เขียน/บันทึก ประวัติศาสตร์” ในยุคปัจจุบัน เป็น เรื่องของประชาชนทุกคน จนกว่าเราจะพบกันอีก สุเจน กรรพฤทธิ์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา มีนาคม ๒๕๖๓
* ค�ำน�ำนี้ร่างขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ผู้เขียนเดินทางไปเก็บข้อมูลในสหรัฐอเมริกาในช่วง ต้นปี ๒๕๖๓ และถูกปรับรายละเอียดบางอย่างอีกครัง้ ก่อนทีห่ นังสือจะออกวางแผง ในช่วงปลายปี ๒๕๖๔ หลังโรคโควิด ๑๙ ระบาดหนักในเมืองไทย
18
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 18
12/3/21 9:12 PM
แด่...อนุชนรุ่นหลัง และประชาธิปไตย
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 19
19
12/3/21 9:12 PM
“ครั้งนี้จะตั้งอยู่ฝั่งฟากตะวันตกก็เปนที่คุ้งน�้ำเซราะ มีแต่จะช�ำรุด จะภังไป ไม่มั่นคงถาวรยืนอยู่ได้นาน แลเปนที่พม่าฆ่าศึกมาแล้ว จะตั้ ง ประชิ ต ติ ด ชานพระนครได้ โ ดยง่ า ย อนึ่ ง พระราชนิ เ วศน์ มณเฑียรสฐานตั้งอยู่ในอุปจาร ระหว่างวัดทั้งสองกระหนาบอยู่ ดูไม่สมควรนัก ควรจะยักย้ายสร้างขึ้นไหม่ ให้พ้นข้อเหตุที่รังเกียจ ต่าง ๆ ก็ในฝั่งฟากตะวันออก...ไชยภูมดีเปนที่แหลมจะสร้างเปน พระมหานครขึ้นให้กว้างใหญ่ถึงจะเปนที่ลุ่มก็คิดถมขึ้นดีกว่า โดย จะมีการศึกสงครามมาหักหารก็จะได้โดยยาก ด้วยล�ำแม่น�้ำเปน คูอยู่กว่าครึ่งแล้ว...”
20
พระราชปรารภในรัชกาลที่ ๑ เมื่อมีพระราชด�ำริสร้างพระนครใหม่ ในปี ๒๓๒๕/ค.ศ. ๑๗๘๒ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ฯ
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 20
12/3/21 9:12 PM
๖ เมษายน ๒๓๒๕/ค.ศ. ๑๗๘๒ หลังศึกกลางเมืองและรัฐประหารในกรุงธนบุรีจบลง คืนนั้นเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) พักอยู่หน้าพระอุโบสถวัดแจ้ง ใกล้พระราชวังหลวงกรุงธนบุรี การตัดสินใจเรื่องแรกของเจ้าพระยาจักรี วัย ๔๖ ปีที่ก�ำลังจะเป็น กษัตริย์คือ “ย้ายราชธานี” ไปฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา แต่น้อยคนจะทราบว่านี่เป็นแค่ “ส่วนหนึ่ง” ของโครงการฟื้นฟู “อาณาจักรอยุธยาในเชิงรูปแบบ” ทีว่ างไว้ตงั้ แต่ป ี ๒๓๒๒/ค.ศ. ๑๗๗๙ เจ้าพระยาจักรีทราบดีว่า อุปสรรคที่เหลือคือ “ต่อรองอ�ำนาจ” กับ “ขุนนางผูด้ ”ี ทีช่ ว่ ยให้การยึดอ�ำนาจส�ำเร็จ โดยต้องร่วมมือกับเจ้าพระยา สุรสีห ์ (บุญมา) น้องชาย ในการสานต่อภารกิจ ยังไม่นบั ว่ามี “ศึกตะวัน ตก” ที่รอคุกคามความอยู่รอดของราชธานีใหม่อยู่ร�ำไร แต่ไม่ว่าจะเป็นไปในแนวทางใด เส้นทางแห่งโชคชะตานับแต่นี้ต่อไป ไม่มี “เจ้าตากสิน” อีกแล้ว มีเพียง “ทองด้วง” กับ “บุญมา” เท่านัน้ ทีจ่ ะน�ำพา “กรุงเทพฯ” ไป ข้างหน้า
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 21
21
12/3/21 9:12 PM
บทที่ ๑ ปฐมวัย ❖❖❖
ทองด้วง บุญมา พระยาตาก (สิน) ❖❖❖
“...มีพี่น้องสองคน เป็นบุตรของขุนนางระดับสูงผู้รักษาตราพระ ราชลัญจกร ในรัชกาลสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา คนโตเกิดในเดือน เมษายน ๒๒๗๙/ค.ศ. ๑๗๓๖ คนรองเกิดในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๗๔๓ สองพี่น้องมีพรสวรรค์และความกล้าหาญ เป็นผู้มั่งคั่ง ได้รับความเคารพนับถือจากชาวกรุงเก่า บุตรชายคนโตแต่งงานกับบุตรีของชนชั้นสูงแห่งเมืองราชบุรี...” หนังสือพิมพ์ Siam Repository ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๖๙
> พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งติดตั้งไว้ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ วาดในสมัยรัชกาลที่ ๕ น่าจะวาดไม่ช้าไปกว่า ค.ศ. ๑๙๑๐ 22
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 22
12/3/21 9:12 PM
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 23
23
12/3/21 9:12 PM
หลายคนอาจจะมีค�ำถามว่า “ทองด้วง” (รัชกาลที่ ๑) เป็นใคร มา จากไหน เท่าทีส่ ำ� รวจได้ ในจ�ำนวนหลักฐานมากมายทีเ่ กีย่ วข้องกับพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ อภินิหารบรรพบุรุษ ถูก อ้างอิงและใช้อธิบายความเป็นมาของพระราชประวัติมากที่สุด “โครงเรือ่ ง” ตามเอกสารฉบับนี ้ เล่าว่ารัชกาลที ่ ๑ สืบสายจากเจ้าแม่ วัดดุสิต พระนม (แม่นม) ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหา กษัตริย์องค์ที่ ๒๘ ของอยุธยา เริ่มจากบุตรคนเล็กของเจ้าแม่ คือเจ้า พระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ (สมัยอยุธยาตอนกลาง) โดยเมื่อถึงช่วง ปลายกรุงศรีอยุธยา ผูส้ บื สายส�ำคัญคือ “หลวงพินจิ อักษร” เสมียนตรา มหาดไทยที่มี “ทองด้วง” (รัชกาลที่ ๑) เป็นบุตรล�ำดับที่ ๔ เกิดใน รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ส่วนล�ำดับที่ ๕ คือ “บุญมา” น้องชาย โครงเรือ่ งนีค้ อื “ประวัตศิ าสตร์กระแสหลัก” ทีเ่ ล่าต่อกันมา อย่างไร ก็ตามนักประวัติศาสตร์ก็ยังตั้งค�ำถามถึงความน่าเชื่อถือของ อภินิหาร บรรพบุรุษ อยู่มาก ศาสตราจารย์ ดร. นิธ ิ เอียวศรีวงศ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญประวัตศิ าสตร์ไทย เขียนใน การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร ี ว่า หากตรวจสอบกับหลักฐาน ร่วมสมัย อภินิหารบรรพบุรุษ “ผิดพลาดเกือบทุกตอน” และน่าจะเป็น จินตนาการของคนสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ อันเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี หลังเหตุการณ์จริง
24
๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 24
12/3/21 9:12 PM
ซึ่ง “แทบจะไม่มีเค้ามูลจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้” มิหน�ำซ�้ำรายละเอียดในหลักฐานชิ้นนี้บางส่วนยังเคยปรากฏใน นิตยสาร สยามประเภท ของ “ก.ศ.ร. กุหลาบ” ตัง้ แต่ป ี ร.ศ. ๑๑๗ (๒๔๔๑/ ค.ศ. ๑๘๙๘) อย่างไรก็ตามเราก็ยงั ไม่อาจละเลยหลักฐานชิน้ นี ้ ด้วยเป็นทีร่ กู้ นั ว่า “ก.ศ.ร. กุหลาบ” ชอบใช้เอกสารเก่า เพียงแต่ทำ� ตามขนบคนรุน่ ก่อน คือ ต่อเติมข้อความเพื่ออธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น (ซึ่งผิดหลักของงาน ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพราะไปท�ำให้หลักฐานยุ่งเหยิง) ในช่วงชีวติ วัยผูใ้ หญ่ ปฐมวงศ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที ่ ๔ กล่าว ถึงรัชกาลที ่ ๑ ว่า “หาท�ำราชการในหลวงไม่” และ “เปนแต่เข้าแอบอิง อาไศรยมีสังกัดอยู่ในพระองค์เจ้าอาทิตย์” พระราชนัดดาในพระเจ้า เอกทัศน์ ก่อนไปอยูก่ บั “สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ณ ต�ำบลอัมพวา” ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นตระกูลคหบดีชาวมอญ ซึ่งหมายถึง แม้ว่าจะเป็นบุตรของขุนนาง แต่เขาก็ไม่รับราชการ เพียงแต่ขึ้นสังกัดกับเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ไม่ได้มีความส�ำคัญมากนัก ก่อนที่จะแต่งงานกับคุณนาค ซึ่งว่ากันว่าเป็นบุตรีคหบดีเชื้อสายมอญ จากนั้นก็ย้ายไปอยู่บ้านภรรยาที่อัมพวา (คือจังหวัดสมุทรสงครามใน ปัจจุบัน) ตามธรรมเนียมเก่าที่ลูกเขยจะไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ส่วน “บุญมา” เป็นผู้เดียวที่เข้ารับราชการในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ต่างจากสายตระกูลคนอื่นที่สัมพันธ์กับเจ้าฟ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) มากกว่า
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 25
25
12/3/21 9:12 PM
ยึดกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่าระหว่างที่ทัพ เจ้าพระยาจักรีเคลื่อนกลับกรุงธนบุรี ก�ำลังของพระยาสุริยอภัยก็ไปถึง กรุงธนบุรี (ที่ตกอยู่ในมือของพระยาสรรค์) ก่อน พระยาสรรค์กล่าวกับพระยาสุรยิ อภัย (คนสนิทของเจ้าพระยาจักรี) ว่า “จัดแจงบ้านเมืองไว้ จะถวายแก่เจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ ให้ครอบ ครองแผ่นดินสืบไป” จึงปรึกษากันให้ “สึกเจ้าแผ่นดินออก แล้วพันธนาการด้วยเครื่อง สังขลิกพันธ์ (เครือ่ งพันธนาการ) และพระยาสุรยิ อภัยก็ไปตัง้ กองทัพอยู่ ณ บ้านเดิม ที่บ้านปูนเหนือสวนมังคุด” ทุกวันนีพ้ ระราชวังหลวงของพระเจ้าตากสินอยูใ่ นเขตกองบัญชาการ กองทัพเรือ เปิดให้ประชาชนทัว่ ไปเข้าชมได้แบบไม่ตอ้ งขออนุญาตเพียง วันเดียวคือ ๒๘ ธันวาคมของทุกปีที่ถือเป็น “วันตากสินมหาราช” โดย ตั้งแต่เช้ามืดจะมีพิธีบวงสรวงพระเจ้าตากสิน ทั้งที่วัดอรุณราชวราราม และที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี พระราชวังเดิมซึ่งเป็นท้องพระโรงและที่ประทับของสมเด็จพระเจ้า ตากสินอันเป็นฉากเหตุการณ์สำ� คัญช่วงปลายรัชกาลยังอยูใ่ นต�ำแหน่งเดิม ปี ๒๕๔๑/ค.ศ. ๑๙๙๘ มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้า ตากสินขนาดใหญ่กว่าคนจริงเล็กน้อยเอาไว้ที่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้ กับประตูพระราชวังเดิม
106 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 106
12/3/21 9:12 PM
พระบวรฉายาสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๑) ภายในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ก�ำลังส�ำคัญของ “คณะรัฐประหาร” ที่โค่นพระเจ้าตากสิน
The Rise of Bangkok
p1-167.indd 107
107
12/7/21 4:41 PM
บทที่ ๔ ❖❖❖
ก�ำเนิด “กรุงรัตนโกสินทร์” ❖❖❖
“จึงท้าวพระยามุขมนตรีกวีชาติ และราษฎรทั้งหลาย ก็พร้อมกัน กราบทูลวิงวอน อัญเชิญเสด็จ...ขึ้นครองพิภพเสวยสวรรยาธิปัตย์ถวัลยราชย์ ด�ำรง แผ่นดินสืบไป สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ภาพ” พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
> จิตรกรรมฝาผนังวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม หนึ่งในหลายภาพระหว่างช่องหน้าต่างอุโบสถ แสดงสภาพกรุงธนบุรีที่ครอบคลุมสองฝั่งน�ำ้ ด้านบนของภาพคือพื้นที่ที่จะกลายเป็นพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 116
12/3/21 9:12 PM
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 117
117
12/3/21 9:12 PM
๖ เมษายน ๒๓๒๕/ค.ศ. ๑๗๘๒ คืนแรกของ (ยุค) กรุงรัตนโกสินทร์ หลังขึ้นครองราชย์ พระราชกรณียกิจอย่างแรกของรัชกาลที่ ๑ พระชนมายุ ๔๖ พรรษา คือเสด็จฯ “ไปถวายนมัสการพระพุทธปฏิมากร แก้วมรกต” จากนั้นประทับค้างแรม ณ พลับพลา “หน้าโรงพระแก้ว” วันที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้ “ช�ำระโทษ” คนรอบตัวพระเจ้าตากสิน เริ่มจากกรมหลวงอนุรักษ์สงคราม “กับพรรคพวก ๓๙ คน” ภาย หลังกรมหลวงอนุรกั ษ์สงครามให้การ “ซัดถึงพระยาสรรค์และหลวงเทพ ผู้น้อง” กับพวก ทั้งหมดจึงถูกประหารชีวิต เมื่อทัพพระยาธรรมา กองทัพสุดท้ายที่เดินทัพกลับจากกัมพูชามา ถึง กรมขุนรามภูเบศ หนึง่ ในแม่ทพั ทีย่ กออกไปรบกับกรุงกัมพูชา ก่อน จะถูกล้อมและคุมตัวกลับมา ก็ถกู ประหารชีวติ พร้อมกับ “ญาติวงศ์เจ้า ตากสิน บรรดาที่เป็นชายนั้นทั้งสิ้น ยังเหลือแต่ราชบุตรและบุตรีน้อย ๆ มีเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์อันเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ เป็นต้น และเจ้า ฮั้นซึ่งเป็นน้าของเจ้าตากสิน และเจ้าส่อนหอกลาง ซึ่งเป็นกรมหลวง บาทบริจาอัครมเหสี กับญาติวงศ์ซึ่งเป็นหญิงนั้น ให้จ�ำไว้ทั้งสิ้น” ต่อมาคือปูนบ�ำเหน็จให้กับ “ข้าราชการผู้มีความชอบ กับทั้งพรรค พวกข้าหลวงเดิมทั้งปวง” อาจารย์นิธินับจ�ำนวนขุนนางและเจ้านายผู้จงรักภักดีกับพระเจ้า ตากสินทีถ่ กู ประหารชีวติ ว่ามีถงึ ๑๕๐ คน ขณะที ่ ปรามินทร์ เครือทอง นับจ�ำนวนได้อีกกว่าเท่าตัว คือ ๓๓๘ คน พร้อมกันนัน้ อาจารย์นธิ วิ จิ ารณ์วา่ นีค่ อื การรัฐประหารที ่ “นองเลือด ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์” เพราะ “เป็นผลบั้นปลายของการต่อสู้
118 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 118
12/3/21 9:12 PM
ทางอุดมการณ์ (ระหว่างอุดมการณ์แบบ “ชุมนุม” ของพระเจ้าตากสิน กับ “ผู้ดีเก่าอยุธยา” ของพระยาจักรี-ผู้เขียน) หลายปี “การรัฐประหารท�ำให้รัฐบาลใหม่อ้างนโยบายใหม่ หันไปให้ความ อุดหนุนแก่คนกลุ่มใหม่ซึ่งเคยตกอับมาเป็นเวลานานในรัชสมัยพระเจ้า กรุงธนบุร”ี เป็นการ “ปิดฉากบทบาทของคนทีไ่ ม่รหู้ วั นอนปลายตีน” ท�ำ ให้ “ราชอาณาจักรอยุธยาที่แท้จริงก�ำลังอุบัติขึ้นใหม่” การฟื้นฟูระเบียบแบบกรุงศรีอยุธยากลับมาในทางรูปธรรมพบได้ ชัดเจน ด้วยตั้งแต่ทรงได้อ�ำนาจไม่กี่วัน ก็มีพระราชด�ำริย้ายราชธานีไป ยังฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงพระราชด�ำริ รัชกาลที่ ๑ ว่า “พระราชคฤหฐาน (วังเดิมของพระเจ้าตากสิน) ใกล้ อุปจารพระอารามทั้งสองข้าง คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณ) และวัดท้ายตลาด (วัดระฆัง) มิบังควรยิ่งนัก” เรือ่ งนีย้ งั ถูกอธิบายใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาล ที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า
“ทรงพระปรารภจะสร้ า งพระราชวั ง ใหม่ จึ่ ง ด� ำ รั ศ ว่าฟาก ตวันออกเปนที่ไชยภูมดีแต่เปนที่ลุ่ม เจ้ากรุงธนบุรีจึ่งได้มาตั้งอยู่ฟาก ตวันตกเปนที่ดอน ครั้งนี้จะตั้งอยู่ฟากตะวันตกก็เปนที่คุ้งน�้ำเซราะ มี แต่จะช�ำรุดจะภังไปไม่มนั่ คงถาวรยืนอยูไ่ ด้นาน และเปนทีพ่ ม่าฆ่าศึก มาแล้วจะตั้งประชิตติดชานพระนครได้โดยง่าย...”
The Rise of Bangkok
p1-167.indd 119
119
12/7/21 4:41 PM
บทที่ ๖ ❖❖❖
รุกตะวันออก ❖❖❖
แม้อดุ มการณ์ของรัชกาลที ่ ๑ อาจแตกต่างจากพระเจ้าตากสินใน แง่ของระเบียบการเมือง แต่นโยบายหนึง่ ทีท่ รงรับมาจากพระเจ้าตากสิน คือการขยาย “มันดาละ” อิทธิพลสยามไปทางตะวันออก นักประวัติศาสตร์อุษาคเนย์จ�ำนวนมากยอมรับแล้วว่า สงครามใน ยุคอดีตไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศในยุคปัจจุบันแต่อย่างใด
> อนุสรณ์สถานวีรชนในสมรภูมิแส็กเกิ่ม-สว่ายมู้ด มีพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมเล่าถึงชัยชนะของทัพเต็ยเซินเหนือทัพสยาม ที่ส่งมาโจมตีไซ่ง่อนในสมัยรัชกาลที่ ๑
146 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 146
12/3/21 9:12 PM
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 147
147
12/3/21 9:12 PM
ด้วยจุดหมายหลักของสงคราม ไม่ใช่การได้ดนิ แดน หากมุง่ ชิงก�ำลัง คน ทรัพยากร และยึดมั่นแนวคิด “จักรพรรดิราช” (chakravatin) มหาราชที่ยิ่งใหญ่ตามคติพุทธศาสนาสี่แบบ โดยเฉพาะจักรพรรดิราช ทีเ่ ป็นมนุษย์ในชมพูทวีป (ทวีปทีอ่ าศัยของมนุษย์) จะต้องขยายอ�ำนาจ ด้วยก�ำลังทหาร ต้นแบบจักรพรรดิราชส�ำหรับกษัตริยอ์ ษุ าคเนย์ ได้แก่พระเจ้าอโศก มหาราช (๒๔๐-๓๑๒/๓๐๓-๒๓๑ ปีก่อน ค.ศ.) แห่งราชวงศ์โมริยะ (อินเดีย) ซึ่งท�ำสงครามได้ชัยทั่วอนุทวีป เป็นธรรมราชาผู้ทรงอุปถัมภ์ พุทธศาสนา อีกพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงศ์ตองอู (พม่า) (๒๐๕๙-๒๑๒๔/ค.ศ. ๑๕๑๖-๑๕๘๑) ผู้ได้รับฉายาว่า “ผู้ชนะสิบทิศ” ตามคติ “จักรพรรดิราช” หรือ “ราชาเหนือราชา” โลกทัศน์ของ กษัตริยร์ ฐั ทีน่ บั ถือพุทธศาสนาบนแผ่นดินใหญ่อษุ าคเนย์ กษัตริยแ์ ต่ละ องค์วาง “เขตอ�ำนาจ” (วงแหวนแห่งอ�ำนาจ-มันดาละ) แตกต่างกัน รัชกาลที่ ๑ ทรงเห็นเช่นเดียวกับพระเจ้าตากสิน ว่าเขตอิทธิพล สยามควรครอบคลุมถึงล้านนา ล้านช้าง กัมพูชา และบริเวณปากแม่นำ�้ โขง สิ่งที่ชัดเจนที่สุด คือการมี “องค์ประกัน” จากอาณาจักรทางตะวัน ออก ไม่ว่าจะเป็นล้านช้างเวียงจันทน์ กัมพูชา หรือกระทั่งเชื้อสายของ อ๋องตระกูลเหงวียน ประทับ ณ กรุงเทพฯ
148 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p1-167_NR.indd 148
12/3/21 9:12 PM
ฐานทัพสยามที่ “พระตะบอง” หากมองดูเหตุการณ์ดา้ นกัมพูชาในสมัยรัชกาลที ่ ๑ จะพบว่า หลัง จากพระยายมราช (แบน) น�ำเชือ้ พระวงศ์กมั พูชา คือนักองค์เอง เข้ามา ประทับในกรุงเทพฯ ราชส�ำนักกัมพูชาตกอยู่ในสภาพสุญญากาศ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ฯ ระบุวา่ เกิดการ ชิงอ�ำนาจภายใน จนเจ้าฟ้าทะละหะ (แทน) ได้อ�ำนาจ และมีใบบอก “เข้ามาขอนักพระองค์เองออกไปเปนเจ้า” รัชกาลที ่ ๑ ทรงเห็นว่านักองค์เอง “ยังเยาว์นกั จะรักษาตนไปยังไม่ ได้...เชื้อวงษ์เจ้าแผ่นดินกัมภูชามีอยู่องค์เดียวเท่านี้ ดุจแก้วหาค่ามิได้ เมื่อเติบใหญ่จึ่งจะโปรดให้ออกไปทรงราชย์” พระวิเทโศบายคือ ทรงใช้งานพระยายมราช (แบน) โดยแต่งตั้ง ให้เป็น “เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์” แล้วส่ง “ออกไปว่าราชการพลางก่อน” ที่ เ มื อ งพระตะบอง นอกจากนั้ น ยั ง ส่ ง ทหารไปรั ก ษาเมื อ งโปริ ส าท (โพธิสัตว์) และเสียมราบ (เสียมเรียบ) พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา ฉบับพระองค์นพรัตน์ ไม่ได้กล่าว ถึงค�ำร้องขอให้นักองค์เองกลับไปครองกรุงกัมพูชาแต่อย่างใด กลับบอกว่ารัชกาลที ่ ๑ และวังหน้า ทรง “ให้เจ้าพระยาอภัยธิเบศร์ (อภัยภูเบศร์) ออกมาคิดราชการเมืองเขมร” ทีพ่ ระตะบอง ก่อนส่งก�ำลัง มาที่โพธิสัตว์และเสียมเรียบ
The Rise of Bangkok
p1-167_NR.indd 149
149
12/3/21 9:12 PM
บทที่ ๘ ❖❖❖
สงครามเก้าทัพ ❖❖❖
“...แลได้ทราบอึงกิติการกรุงเทพฯ ไปว่าผลัดแผ่นดินใหม่ จึ่งด�ำริห์การสงคราม ซึ่งจะรบรับกับกรุงเทพมหานคร...” พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑
ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน
> ทุ่งลาดหญ้า (ปี ๒๕๖๓) มีพระบวรราชานุสาวรีย์ของวังหน้าประดิษฐานอยู่
168 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p168-336_NR.indd 168
12/3/21 9:50 PM
p168-336_NR.indd 169
12/3/21 9:50 PM
“ตรงนี้เคยเป็นสนามรบ เขาชนไก่ที่พวกคุณเห็นอีกด้านน่าจะเคย เป็นจุดที่ทหารไทยเห็นกองทัพพม่าหลายแสนคนเข้ามา จ�ำไว้ว่าตรงนี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำ� คัญ มันรักษาชาติของเราไว้...” สายวันกลางเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ท่ามกลางความร้อน ระอุของแดด ใกล้วดั ป่าเลไลยก์ วัดร้างบริเวณ “เมืองโบราณ” กาญจน- บุรี นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) ที่ส่วนมากเรียนระดับมัธยมศึกษาตอน ปลาย บ้างก็นงั่ เหงือ่ ตก บ้างก็หลับ บ้างก็ฟงั ครูฝกึ ด้วยความเบือ่ หน่าย การบรรยายด�ำเนินต่อไป ปิดท้ายด้วยการเรี่ยไรบ�ำรุงวัดเก่าแห่งนี้ ด้วยการส่งหมวก นศท. ใบหนึ่งต่อกันไปตามแถวต่าง ๆ ให้ร่วมกัน บริจาคเงินตามจิตศรัทธา จากนั้นบรรดา นศท. ก็โดนต้อนขึ้นรถทัวร์ ปรับอากาศคันใหญ่ไปยังจุดอื่นใน “ค่ายเขาชนไก่” สถานที่ฝึกหฤโหด ส�ำหรับคนทีไ่ ม่ตอ้ งการเกณฑ์ทหารแล้วเลือกมาเรียนวิชารักษาดินแดน (รด.) หลายสิบปีก่อน ผมเคยฟังเรื่องเล่าเดียวกับพวกเขา (ต่างก็แต่รถ ทัวร์สมัยนั้นไม่ติดแอร์) ก่อนที่อีกหลายปีต่อมาจะพบว่ามีหลักฐานใหม่มากมาย “สงครามเก้าทัพ” ศึกที่ใหญ่ที่สุดหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี ๒๓๑๐/ค.ศ. ๑๗๖๗ ในมิติของการค้นคว้าใหม่ (ข้อมูลปี ๒๕๖๒/ค.ศ. ๒๐๑๙) จึงไม่ใช่แบบที่ครูฝึก นศท. เชื่อและไม่ใช่แบบที่ต�ำราเรียนเล่าอีก ต่อไป
170 ๒๓๒๕ เปิดศักราชกรุงเทพฯ
p168-336_NR.indd 170
12/3/21 9:50 PM
“ศึกเก้าทัพ” สงครามสมัยจารีต เรื่องเล่า “มาตรฐาน” ของ “สงครามเก้าทัพ” ที่ยังถูกเล่ามาจนถึง คนไทยรุ่นหลังมีอยู่ว่า พุทธศักราช ๒๓๒๘/ค.ศ. ๑๗๘๕ หลังจากรัชกาลที่ ๑ ทรงย้าย ราชธานีมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยาได้ ๔ ปี กรุงเทพฯ เพิง่ “เริม่ ต้น” สร้างเมือง ยังอยูใ่ นระยะตัง้ ตัวสภาพราช- ธานีใหม่ของสยามในปีท ี่ ๔ ปรากฏใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ฯ ว่าระยะนั้นพระบรมมหาราชวังบางส่วนยังคง “ล้อมด้วย ปราการระเนียดไม้” (คือการน�ำท่อนซุงมาปักเรียงรายต่อกันในลักษณะ เป็นรั้วล้อมค่ายทหาร หมู่บ้าน หรือเมือง) การขยายพระนครยังด�ำเนิน ต่อไป น�ำอิฐเก่าจากซากเมืองอยุธยามาสร้างเมืองใหม่ดว้ ยการ “เกณฑ์ เขมรหมื่นหนึ่ง” ขุดคลองรอบกรุง ขุดคลองหลอด คลองมหานาค ขุด รากก่อก�ำแพงพระนคร วางป้อมป้องกันเมืองด้วยแรงงานการ “เกณฑ์ ลาวเมืองเวียงจันทน์ห้าพัน” ถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน รัชกาลที ่ ๑ พระชนมพรรษา ๔๙ พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้ตงั้ การพระราชพิธบี รมราชาภิเษกครัง้ ที ่ ๒ ด้วยพระราชพิธปี ราบดาภิเษกครัง้ แรกนัน้ “ก็เปนแต่ทำ� ด้วยการรีบร้อนภอให้แล้วไป ยังไม่ครบครันบริบูรรณ์” จึงต้องท�ำใหม่อีกครั้งเพื่อ “เปนพระเกียรติยศ แลเปนศรีสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง เปนที่เจริญศุขแก่ใพร่ฟ้าประชา ราษฎรทั่วไปในพระราชอาณาเขตร”
The Rise of Bangkok
p168-336_NR.indd 171
171
12/3/21 9:50 PM
ĎĄĊ÷þĆēĊĔøėċĕčøĆŋ ISBN 978-616-465-049-7 +: : W]T ":
4>6!/> >/.Ĉ / 6DI%!/ D!@%$/>%%#Ĉ ÿĜňğëĘħąĊëĕîþĆēĊĔøėċĕčøĆŋĐěČĕåğüąŋ