๓ อริยสงฆ์ แห่งสยามประเทศ

Page 1


ISBN 978-616-7767-61-1 นิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ : ๓ อริยสงฆ์แห่งสยามประเทศ เรื่อง : วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง  ภาพ : สกล เกษมพันธุ์ ออกแบบปก : จ�ำนงค์  ศรีนวล ชาญศักดิ์ สุขประชา จัดรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : เกษณี วิลาวัลย์เดช จ�ำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม  ราคา ๑๖๙ บาท

๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐   โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ)  กองบรรณาธิการ ต่อ ๑๑๘ สั่งซื้อหนังสือ/ฝ่ายสมาชิก ต่อ ๑๐๕  ศูนย์ข้อมูล ต่อ ๑๒๗  ห้องสไลด์  ต่อ ๑๒๘ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์  ต่อ ๑๑๒, ๑๑๔  แฟกซ์  ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓

เจ้าของและผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ในนามบริษทั วิรยิ ะธุรกิจ จ�ำกัด  บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา : สุวพร ทองธิว  ที่ปรึกษาบริษัทฯ : ไพบูลย์  บริบรู ณ์ลาภ  ผู้จัดการทั่วไป/ฝ่ายศิลป์/ผลิต : จ�ำนงค์  ศรีนวล  รองผู้จัดการทั่วไป : สุวัฒน์  อัศวไชยชาญ   บรรณาธิการบริหาร : สุวัฒน์  อัศวไชยชาญ  ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร : วีระศักดิ์  จันทร์ส่งแสง  บรรณาธิการสร้างสรรค์ : ศรัณย์  ทองปาน  บรรณาธิการ ต้นฉบับ : นฤมล สุวรรณอ่อน  ผ้ชู ว่ ยบรรณาธิการต้นฉบับ : กรองแก้ว ทรงกุล กองบรรณาธิการ : สุเจน กรรพฤทธิ ์  ฐิตพิ นั ธ์  พัฒนมงคล  สุชาดา ลิมปนาทไพศาล  เลขากองบรรณาธิการ : วีรวัลย์  สุขใจ พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก เว็บมาสเตอร์ : ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง  ฝ่ายวิชาการ : ปณต ไกรโรจนานันท์   รุ่งโรจน์  จุกมงคล  อนุรัตน์  วัฒนาวงศ์สว่าง  ผู้จัดการศูนย์ข้อมูลวิริยะธุรกิจ : จริยาภรณ์  กระบวนแสง  บรรณารักษ์ : จริยาภรณ์  กระบวนแสง  เจ้าหน้าที่สไลด์ :  จุฑารัตน์  เหลืองสง่างาม บรรณาธิการศิลปะ : บุญส่ง สามารถ  ผู้ช่วยบรรณาธิการศิลปะ : ณิชา แจ่มประพันธ์กุล  หัวหน้าฝ่ายผลิต : ธนา วาสิกศิริ   ฝ่ายออกแบบและคอมพิวเตอร์ กราฟิก : วันทนี  เจริญวานิช  วัลลภา สะบูม่ ว่ ง  สุรศักดิ ์ เทศขจร  นัทธิน ี สังข์สขุ   ณิลณา หุตะเศรณี   ชาญศักดิ ์ สุขประชา  อนุกลู  บุญโยทก  บรรณาธิการภาพ :  สกล เกษมพันธุ์   ผู้ช่วยบรรณาธิการภาพ : บันสิทธิ์  บุณยะรัตเวช  ฝ่ายภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์   วิจิตต์  แซ่เฮ้ง ผูจ้ ดั การอาวุโสฝ่ายโฆษณา : ธนพร ยงค์ธรี ะพันธ์   ผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา : ดวงใจ เสาวัฒนะ  ฝ่ายโฆษณา :  แดง  เกตุ ส ะอาด    ประสานงานฝ่ า ยโฆษณา :  สุ ภ าภรณ์   พั ฒ นะพิ ชั ย     การเงิ น ฝ่ า ยโฆษณา :  ชั ช พร  ตรี ท ศกุ ล   event  :  กฤตนั ด ตา  หนู ไ ชยะ  ธนพร ยงค์ธีระพันธ์   ฝ่ า ยประชาสั ม พั น ธ์ แ ละกิ จ กรรมพิ เ ศษ : ชมพจน์พงศ์  ฤทธิ์รณศักดิ์   ฝ่ า ยสมาชิ ก  : ชัชพร ตรีทศกุล  จีรพันธุ์  ท้วมสม  สุพจน์  ข�ำค�ำ  ผู้จัดการฝ่ายจัดจ�ำหน่าย (กรุงเทพฯ) : พิเชษฐ ยิม้ ถิน  ผู้จัดการฝ่ายจัดจ�ำหน่าย (ต่างจังหวัด) : บังอร ท้วมสม  ฝ่ายจัดจ�ำหน่าย : สุนนั ท์  ภวังคะนันท์   สุภัทรา  ศรีฤกษ์   การเงินฝ่ายจัดจ�ำหน่าย : อาทิตย์  แย้มเผือก  นุชจรี  โพธิ์พัฒน์   สมลักษณ์  กล้าหาญ  จีรพงค์  ท้วมสม  รุ่งลัดดา ยิ้มเปรม ผูจ้ ดั การฝ่ายบัญชี/ส�ำนักงาน : เพ็ญศรี  ศรีสำ� ราญร่งุ เรือง  ฝ่ายบัญชี : รุง่ ลาวัลย์  ตันทการณ์   อาภารัตน์  กิจสัมพันธ์วงค์   เกศแก้ว วงศ์ธรี โรจน์   ฝ่ายส�ำนักงาน : ฉัตรชัย งามถิ่น  จิรันดร ราชมนตรี   ศุภวัชร ค�ำนึง  กอปรธรรม นุตะศรินทร์   อรวรรณ เอกะ  จักรพันธุ์  วรรณวินัย  ธนา ศรีทอง บรรณาธิการทีป่ รึกษา : วันชัย ตันติวทิ ยาพิทกั ษ์   คณะทีป่ รึกษา : ศรีศกั ร วัลลิโภดม  สรรพสิร ิ วิรยศิร ิ  ชัยวัฒน์  คุประตกุล  พล.ต.ท. เผ่าไทย ทองธิว  ธิดา สาระยา นิธิ  เอียวศรีวงศ์   ชาญวิทย์  เกษตรศิริ   เอนก นาวิกมูล  กาญจนา ศรีอังกูร บุนนาค  น�ำชัย ชีววิวรรธน์   สุดารา สุจฉายา  ประวิทย์  สุวณิชย์   นิรมล มูนจินดา   ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์  เจียมพานทอง  พิเศษ จียาศักดิ์ จัดพิมพ์ : บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (นิตยสารสารคดี)  จัดจ�ำหน่าย : บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด  โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐  เพลต-แยกสี : กนกศิลป์   โทร. ๐-๒๒๑๕-๑๕๘๘  พิมพ์ท ี่ : บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (๑๙๘๔) จ�ำกัด  โทร. ๐-๒๒๔๗-๑๙๔๐-๗

จัดพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์เพื่อสิ่งแวดล้อม VOC Free ซึ่งในส่วนผสมของตัวพาหมึก (solvent) ใช้น�้ำมันพืช  โดยปลอดสารปิโตรเคมี  ๑๐๐ % (ส�ำหรับหมึกพิมพ์ถั่วเหลืองยังมีสารปิโตรเคมีผสม ๑๕-๒๕ %)

2 p1-43_3 ��������.indd 2

10/7/15 12:06 PM


๕ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

๕๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

สารบัญ

๘๗ หลวงพ่อทวด

เหยียบนํ้าทะเลจืด

3 p1-43_3 ��������.indd 3

10/5/15 1:50 PM


6 p1-43_3 ��������.indd 6

10/5/15 1:50 PM


พระอาจารย์มน ั่  ภูรท ิ ต ั โต นีแ่ หละ พระอรหั น ต์ ที่ พุ ท ธศาสนิ ก ชน  คนไทยในยุ ค ก่ อ นกึ่ ง พุ ท ธกาล  ได้พบเห็นตัวจริง  เป็น “หลวงปู”่   ที่ ใ กล้ ชิ ด อยู ่ กั บ สั ง คมชาวบ้ า น โดยเฉพาะสาธุชนชาวอีสาน

บนรอยทางธรรมอันยาวไกลตลอด ๕๗ พรรษา ในเพศบรรพชิตของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โดยในแต่ละปี ท่านไม่เคยจ�ำพรรษาซ�้ำสถานที่เดิมเลย เว้นแต่ในช่วงปัจฉิมวัย ตามเส้นทางธุดงคกัมมัฏฐานของท่านแทบไม่ปรากฏร่องรอย ในเชิงถาวรวัตถุ เพราะท่านไม่นิยมการปลูกสร้างที่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่ความปราดเปรื่องแตกฉานในทางธรรมของท่าน กับอุบายวิธีในการสั่งสอนอบรมธรรมอันแยบคาย ได้สร้างศิษย์บรรพชิตที่เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไว้ทั่วแผ่นดิน

7 p1-43_3 ��������.indd 7

10/5/15 1:50 PM


รอยธรรมบนเส้นทางหลวงปู่มั่น ๑. บรรพชาที่วัดศรีบุญเรืองบ้านค�ำบง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี ขณะมีอายุได้ ๑๕ ปี ๒. ๒๔๓๖ ๑๒ มิถุนายน อุปสมบทที่วัดศรีทอง อุบลราชธานี ๓. จ�ำพรรษาแรกที่วัดเลียบ ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ๔. เดินธุดงค์แสวงหาความวิเวกทางฝั่งซ้ายแม่นำ�้ โขง แถวปากเซ ๕. เมื่อกลับสู่ฝั่งไทย ชักชวนชาวบ้านละแวกนั้นบูรณะองค์พระธาตุพนม ซึ่งเวลานั้นรกร้างมีเถาวัลย์คลุมเหลือแต่ยอด ๖. พรรษาที ่ ๓ ส�ำเร็จเป็นอริยบุคคล โสดาบัน ที่วัดเลียบ อุบลราชธานี ๗. ๒๔๔๐ บ�ำเพ็ญสมณธรรมที่ภูหล่น อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ อุบลราชธานี และท่านได้ปฏิญาณตนต่อหน้าพระอาจารย์ว่า “ตั้งแต่วันนี้

๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒.

เป็นต้นไปผมขอถวายชีวิตนี้ต่อพรหมจรรย์ ขอให้ครูบาอาจารย์เสาร์เป็นพยานด้วย” พรรษาที ่ ๘ จ�ำพรรษาทีว่ ดั ปทุมวนาราม กรุงเทพฯ  ส�ำเร็จเป็นอริยบุคคล สกทาคามี บนทางเดินแถวหน้าวังกรมพระสวัสดิ์ หรือสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันในปัจจุบัน ธุดงค์ผ่านป่าเขาเข้าเขตพม่า ไปจนถึงพระธาตุชเวดากอง จ�ำพรรษาที่สำ� นักสงฆ์แห่งหนึ่งในเมืองมะละแหม่ง บ�ำเพ็ญสมณธรรมที่ถ�้ำสาริกา นครนายก  ส�ำเร็จเป็นพระอนาคามี ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานที่ถำ�้ ไผ่ขวาง เขาพระงาม ลพบุรี ๑๓. ๒๔๕๘ จ�ำพรรษาที่วัดบูรพา อุบลราชธานี และมีพระภิกษุสามเณรมารับการศึกษาอบรมธรรมอยู่ด้วย ๑๔. ๒๔๖๑ จ�ำพรรษาที่ถำ�้ ผาบิ้ง อ�ำเภอวังสะพุง เลย ซึ่งท่านเคยมาบ�ำเพ็ญสมณธรรมที่นี่แล้ว เมื่อปี ๒๔๕๔ ๑๕. ๒๔๖๒ จ�ำพรรษาที่บ้านค้อ อ�ำเภอบ้านผือ อุดรธานี และกลับมาจ�ำพรรษาที่นี่อีกครั้งในปี ๒๔๖๗ ๑๖. ๒๔๖๔ จ�ำพรรษาที่บ้านห้วยทราย อ�ำเภอค�ำชะอี มุกดาหาร โดยมีพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล จ�ำพรรษาอยู่ด้วย ๑๗. ๒๔๖๖ จ�ำพรรษาทีเ่ สนาสนะป่าบ้านหนองบัวล�ำภู (วัดมหาชัย) หนองบัวล�ำภู  นับเป็นปีท ี่ ๘ แห่งการแนะน�ำการปฏิบตั ธิ รรมของท่าน ๑๘. ๒๔๖๘ จ�ำพรรษาทีว่ ดั อรัญญวาสี ในปัจจุบนั  อ�ำเภอท่าบ่อ หนองคาย ซึง่ ท่านเคยจ�ำพรรษาทีท่ า่ บ่อมาก่อนครัง้ หนึง่ แล้ว เมือ่ ปี ๒๔๖๓ ๑๙. ๒๔๖๙ จ�ำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง (วัดโพธิ์ชัย) อ�ำเภอศรีสงคราม นครพนม ๒๐. ๒๔๗๑ จ�ำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ๒๑. ๒๔๗๒ เดินทางไปเชียงใหม่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโท) ที่มาสถาปนาวัดเจดีย์หลวงซึ่งเดิมเป็นวัดร้างขึ้นเป็นวัด ธรรมยุตแห่งแรกในเชียงใหม่  พระอาจารย์มั่นไปจ�ำพรรษานี้ที่ถ�้ำเชียงดาว ๒๒. ๒๔๗๕ จ�ำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งในปีนี้ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส  หลังออกพรรษานั้นท่านออกธุดงค์ไปล�ำพัง และบรรลุธรรมในเวลาดึกสงัดคืนหนึ่งที่โคนต้นไม้ใหญ่ร่มหนา และกลับมาจ�ำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงอีกครั้งในปี ๒๔๘๑ ๒๓. ๒๔๘๐ จ�ำพรรษาที่วัดพระธาตุจอมแจ้ง อ�ำเภอแม่สรวย เชียงราย ๒๔. ๒๔๘๒ จ�ำพรรษาที่บ้านแม่กอย ปัจจุบันคือวัดป่าพระอาจารย์มั่น อ�ำเภอพร้าว เชียงใหม่  ออกพรรษาแล้วเดินทางกลับอีสานตาม การอาราธนาของพระธรรมเจดีย ์ (จูม พนธุโล) ๒๕. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ จ�ำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ อุดรธานี ๒๖. ๒๔๘๕ จ�ำพรรษาที่วัดป่าบ้านโคก (วัดป่าวิสุทธิธรรม) อ�ำเภอโคกศรีสุพรรณ สกลนคร และกลับมาจ�ำพรรษาที่นี่ในปี ๒๔๘๗ ๒๗. ๒๔๘๖ จ�ำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน (วัดป่านาคนิมิตต์) อ�ำเภอโคกศรีสุพรรณ สกลนคร ๒๘. ๒๔๘๘ มาจ�ำพรรษาทีว่ ดั ป่าบ้านหนองผือ อ�ำเภอพรรณานิคม สกลนคร ๕ ปี และรอยเท้าแห่งการธุดงคกัมมัฏฐานของท่านก็สนิ้ สุด ที่นี่ ๒๙. ๒๔๙๒ ๑๑ พฤศจิกายน เวลา ๐๒.๒๓ น. มรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

อ้างอิง : - ๙๖ ปี ศรีสงฆ์ธ�ำรงศาสน์ มหาปุญโญวาท เล่ม ๓, วัดป่าวิเวกวัฒนาราม จัดพิมพ์ - ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ฉบับสมบูรณ์ และใต้สามัญส�ำนึก ของพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร - ร�ำลึกวันวาน, กองทุนแสงตะวัน วัดปทุมวนาราม จัดพิมพ์ - www.luangpumun.org

20 p1-43_3 ��������.indd 20

10/5/15 1:51 PM


ภาพถ่ายหลวงปู่มั่น

ภาพพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่เห็นเผยแพร่อยู่โดยทั่วไปในทุกวันนี้ มีอยู่แปดภาพเท่านั้น

ทั้งหมดเป็นภาพในช่วงปัจฉิมวัยและดูรู้ว่าเป็นภาพที่ท่านตั้งใจให้ถ่าย เล่ากันว่าถ้าท่านไม่ให้ ไม่มใี ครถ่ายติด  ครัง้ หนึง่ หมอทีเ่ คยรักษาท่านเอาช่างภาพมาจะถ่าย ท่านว่า “ไม่ได้ดอกโยม อาตมาไม่ให้ เพราะโยมหมอถ่ายภาพของอาตมาไปเพื่อจะ  ท�ำการซื้อขาย หาอยู่หากิน กลัวโยมจะเป็นบาป อาตมาไม่ให้” เขากราบอ้อนวอนท่านก็ไม่ยอม  จนเช้ามาเขาไปตั้งกล้องในที่ลับ ถ่ายภาพขณะท่านนั่ง  ให้พรตอนบิณฑบาต ถ่ายไปหลายม้วนแต่เมื่อเอาไปล้างในตัวอ�ำเภอไม่มีภาพติดเลย ภาพทีถ่ า่ ยได้ ถ้ามีใครน�ำไปถวาย ท่านก็จะตะเพิดเอา  ท่านว่า “ลูบ ๆ คล�ำ ๆ จับ ๆ วาง ๆ  มันจะได้ประโยชน์อะไร”

อ้างอิงจาก บันทึกเรื่อง “การถ่ายรูปท่านพระอาจารย์มั่น” ของหลวงตาทองค�ำ จารุวณฺโณ

25 p1-43_3 ��������.indd 25

10/5/15 2:09 PM


พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

วันสุดท้ายของเดือนมกราคมปี ๒๔๙๓ เป็นวันถวายเพลิงสรีระหลวงปูม่ นั่  ภูรทิ ตั โต ทีว่ ดั ป่า-

สุทธาวาส สกลนคร แต่จนบัดนี้ชื่อของท่านยังคงจ� ำหลักมั่นอยู่ในความศรัทธาของมหาชน  ชาวพุทธ ก่อนหน้านั้นท่านจ�ำพรรษา ๕ ปีสุดท้ายอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อ�ำเภอพรรณานิคม  สกลนคร ซึ่งก่อนนั้นขึ้นไปท่านไม่เคยจ�ำพรรษาซ�้ำปีในที่ใดเลย แต่จะออกธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ​  ทัว่ ภาคอีสานจนถึงฝัง่ ลาว และหลายจังหวัดในภาคเหนือจนถึงพม่า บนรอยทางเหล่านัน้ แทบไม่มอี นุสรณ์สถานในรูปของถาวรวัตถุ เพราะท่านไม่นยิ มให้มี การปลูกสร้างที่ใหญ่โตโอ่อ่า ทว่าค�ำสอนและวัตรปฏิบัติที่ท่านได้วางแนวทางไว้ยังคงได้รับการ สืบต่อ  อาจจะทุกจังหวัดในภาคอีสาน หลายจังหวัดในภาคเหนือ บางจังหวัดในภาคกลางและ ภาคใต้ จะมีวดั ป่าฝ่ายวิปสั สนากัมมัฏฐานทีถ่ อื หลวงปูม่ นั่  ภูรทิ ตั โต เป็น “ท่านพระอาจารย์ใหญ่” ท่านเป็นอริยสงฆ์ที่ดำ� เนินตามหลักธรรมวินัยในปฏิปทาของพระธุดงคกัมมัฏฐานอย่าง เคร่งครัด บ�ำเพ็ญภาวนาอย่างอุกฤษฏ์จนบรรลุธรรมขั้นสูงสุด จนมีการกล่าวว่านอกเหนือจาก  พระอรหันต์ทชี่ าวพุทธได้รไู้ ด้ยนิ จากในพุทธประวัตแิ ล้ว ก็มพี ระอาจารย์มนั่  ภูรทิ ตั โต นีแ่ หละคือ  องค์พระอรหันต์ทพี่ ทุ ธศาสนิกชนคนไทยในยุคก่อนกึง่ พุทธกาลได้พบเห็นตัวจริง  เป็น “หลวงปู”่   ที่ใกล้ชิดอยู่กับสังคมชาวบ้าน โดยเฉพาะสาธุชนชาวอีสาน

26 p1-43_3 ��������.indd 26

10/5/15 2:09 PM


หนังสือสุทธิ แสดงสถานะเดิม ของหลวงปู่มั่น  ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ บริขารพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ   วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร  (ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์)

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เกิดในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕

และมีชวี ติ อยูใ่ นยุคทีเ่ ทคโนโลยีเกีย่ วกับการบันทึกยังไม่แพร่ หลายเช่นทุกวันนี้  ภาพถ่ายท่านมีไม่มากและเกือบทั้งหมด เป็นภาพในช่วงปัจฉิมวัย  ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียง ธรรมเทศนาของท่านเอาไว้ ทีท่ า่ นเขียนไว้เองก็มอี ยูน่ อ้ ยชิน้ นับได้  การสอนธรรมในสมัยนั้นเน้นการเทศนาสั่งสอนกัน โดยตรง และการศึกษาสืบค้นกันต่อมาจึงต้องอาศัยการอ้างอิง  จากค�ำเล่าหรือข้อเขียนของศิษย์ใกล้ชดิ หรือทีไ่ ด้ศกึ ษาปฏิบตั ิ กับท่านมาโดยตรง ชีวประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้รับการบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกสุด น่าจะเป็นฉบับที่พมิ พ์แจก เป็นธรรมบรรณาการในงานถวายเพลิงสรีระของท่านที่วัด ป่าสุทธาวาส เมื่อต้นปี ๒๔๙๓ ประวัติท่านพระอาจารย์ใหญ่ของพระป่าสายวิปัสสนา กัมมัฏฐานทีเ่ ขียนโดยพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโ ส) เล่าถึง ชาติสกุลของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ว่า ท่านเกิดในสกุล ขุนนาง ปู่เป็นพระยาชื่อแก่นท้าว เป็นบุตรนายค�ำด้วง-นาง จันทร์ แก่นแก้ว  สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ  “เกิดวัน พฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓  ณ บ้านค�ำบง ต�ำบลโขงเจียม อ�ำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี” การอ้างถึงวันเดือนปีเกิดของท่านในทีอ่ นื่ ต่อ ๆ มาก็มกั ถือตามนั้น

แต่ในหนังสือสุทธิที่เก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริขารพระ อาจารย์มนั่  ภูรทิ ตั ตเถระ ทีว่ ดั ป่าสุทธาวาส ระบุวา่ ท่านเกิด วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๓ ส่วนหมูบ่ า้ นค�ำบงบ้านเกิดของหลวงปูน่ นั้  ภายหลังการ แบ่งเขตการปกครองใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขตต�ำบลสงยาง อ�ำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ถนนลาดยางสายเล็กที่ตั้งต้นจากวงเวียนใจกลางตัว อ�ำเภอ ขีดตรงออกไปทางทิศเหนือ ทอดผ่านบ้านนาค�ำ บ้าน ป่ากุงน้อย บ้านหนองผักแพว บ้านส�ำโรง บ้านสงยาง และ ผ่านไปกลางบ้านค�ำบง สู่หมู่บ้านถัดไป  บ้านเกิดและวัดที่ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๕ ปี ตั้งอยู่คนละฟาก ของถนนกลางหมู่บ้านค�ำบง ร้อยกว่าปีผ่าน บ้านหลังที่หลวงปู่เกิดผุพังและถูกรื้อ ออกไปหลายปีแล้ว แต่จุดที่ตั้งบ้านยังคงถูกปล่อยโล่งอยู่  ใต้ร่มพุ่มมะพร้าว  มีศาลาหลังเล็ก ๆ ปลูกคร่อมหลักหิน อนุสรณ์สถานบ้านเกิด อยู่ด้านในสุดของแนวรั้วไม้ไผ่ที่กั้น ล้อมพื้นที่ราว ๒ ไร่ของบริเวณบ้าน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความ ครอบครองของหลานห่าง ๆ หญิงเจ้าของบ้านวัย ๗๐ ปีเล่าว่า นางเองก็ไม่เคยเห็น  หน้าหลวงปูม่ นั่  ได้รเู้ รือ่ งของหลวงปูก่ จ็ ากทีเ่ ขาเล่าขานหรือ  ที่มีผู้เขียนเอาไว้ บุคลิกลักษณะของหลวงปูต่ ามทีพ่ ระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโ ส) เขียนเล่าไว้ใน “ชีวประวัต ิ ท่านพระอาจารย์มนั่  ภูร-ิ 27

p1-43_3 ��������.indd 27

10/5/15 2:09 PM


p54-85_3 ��������.indd 54

10/5/15 3:00 PM


สมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ศรีอริยสงฆ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

p54-85_3 ��������.indd 55

10/5/15 3:00 PM


56 p54-85_3 ��������.indd 56

10/5/15 3:00 PM


จิตรกรรมฝาผนังวัดอินทรวิหาร เล่าประวัติตอนก�ำเนิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)   ในภาพไม่ปรากฏผู้เป็นบิดา และเรื่องนี้เป็นปริศนามาโดยตลอด   แต่เล่ากันว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของรัชกาลที่ ๑  หรือไม่ก็รัชกาลที่ ๒  ส่วนภาพหน้าซ้าย เป็นรูปสลักหินอ่อนด้านหลังอุโบสถ  ที่อาศัยแบบมาจากภาพถ่ายในช่วงปัจฉิมวัยของท่าน

57 p54-85_3 ��������.indd 57

10/5/15 3:00 PM


พระนอน วัดขุนอินทประมูล  อ�ำเภอโพธิ์ทอง อ่างทอง   ถ่ายเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔   วันสุดท้ายของงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนาของจังหวัดอ่างทอง  ซึ่งใช้พุทธมณฑลบริเวณวัดขุนอินทประมูล เป็นที่จัดงาน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ 66 p54-85_3 ��������.indd 66

10/5/15 3:01 PM


ในหมู่คนไทยทั่วทุกหัวระแหง ไม่เป็นที่กังขาเลยว่านี่คือยอดอริยสงฆ์ของสยาม  ท่านเกิดในยุคต้น  กรุงรัตนโกสินทร์  มีชีวิตอยู่ในช่วงห้ารัชกาลแรกแห่งราชวงศ์จักรี  เป็นภิกษุผู้เป็นที่เคารพเลื่อมใสของ  พุทธบริษัทตั้งแต่ชั้นชาวบ้านไปจนถึงเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์  แต่ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่กระทั่งบัดนี้   วัด  หลายแห่งซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับชีวิตของท่าน มีการผูกเป็นค�ำคล้องว่าท่าน “นอนอยู่อยุธยา มานั่งที่ไชโย  โตที่วัดอินทร์  จ�ำศีลที่วัดระฆัง”  จนในทุกวันนี้ทุกวัดเหล่านี้ยังคงมีการจัดงานบุญใหญ่ในวันร�ำลึกถึงท่าน  เป็นประจ�ำทุกปี   รูปของสมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต พรหมรังสี) เป็นรูปเคารพที่มีอยู่ในแทบทุกบ้าน  พระ  สมเด็จฯ เป็นพระเครื่องที่มีมูลค่าสูงสุดในวงการยุคปัจจุบัน ตามประวัตวิ า่ สมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต พรหมรังสี) ถือก�ำเนิดอย่างธรรมดาสามัญในครอบครัว ชาวบ้าน ศึกษาเล่าเรียนในหลายส�ำนักของหลายบูรพาจารย์  ครั้นถือสมณเพศอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ก็  ครองตนอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ติดต�ำแหน่งลาภยศ ไม่สะสมยึดติดอามิสวัตถุ   เทศน์โปรดคนทุกชนชั้น  ด้วยอุบายธรรมที่แยบยล ในน�้ำเสียงที่มีเสน่ห์   ท่านยินดีรับนิมนต์ไปเทศน์ตามบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านคน ยากจนเข็ญใจ คหบดี  เจ้าขุนมูลนาย ราชนิกุล จนถึงในพระบรมมหาราชวัง

กระทั่งถึงกาลละสังขาร การมรณภาพของท่านได้ถูกบันทึกไว้ด้วยค� ำว่า สิ้นชีพตักษัย เป็นปมปริศนาให้ชนรุ่นหลังรู้โดยนัยว่า ท่านต้องเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข  ของกษัตริย์ ?

(โต พรหมรังสี)

ศรีอริยสงฆ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

p54-85_3 ��������.indd 67

67

10/5/15 3:01 PM


86 p86-120_3��������.indd 86

10/5/15 3:15 PM


หลวงพ่อ

ทวด เหยียบน�ำ้ ทะเลจืด พระเครื่อง เรื่องเล่า ต�ำนานความศักดิ์สิทธิ์

87 p86-120_3��������.indd 87

10/5/15 3:15 PM


นอกจากพระเครื่องแขวนคอและบูชาตามบ้านเรือน  ในช่วงหลังมานี้ยังมีการสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ขึ้นในที่ต่างๆ   เป็นที่นิยมแวะสักการะของบรรดากลุ่มทัวร์  อย่างที่วัดห้วยมงคล อ�ำเภอหัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์)   หรือที่พุทธอุทยานมหาราช ริมถนนสายเอเชีย ในอ�ำเภอมหาราช  (อยุธยา) ในภาพบน 100 p86-120_3��������.indd 100

10/5/15 3:16 PM


ตามต�ำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า หลวงพ่อทวด หรือ สมเด็จพระราชมุนีฯ เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก  เป็นพระสงฆ์ผู้มีบทบาทส�ำคัญในการสร้างชุมชนพุทธแถบรอบ ทะเลสาบสงขลา เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวบ้าน และเป็น ผู้น�ำส�ำคัญในการบูรณะวัดและก่อสร้างศาสนสถานในแถบสอง ฟากฝั่งทะเลสาบ  อีกทั้งยังเชื่อกันว่าท่านคือองค์พระโพธิสัตว์ ศรีอารยเมตไตรย

101 p86-120_3��������.indd 101

10/5/15 3:16 PM


รูปหล่อหลวงพ่อทวด ริมแม่น�้ำลพบุรี ที่วัดแค (ราชานุวาส)   พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

๘ วัดใหญ่ชัยมงคล  ซึ่งตามต�ำนานว่า หลวงพ่อทวดเคยมา เรียนพระปริยัติธรรม  แต่ในทุกวันนี้ ไม่ปรากฏร่องรอย อย่างใด

หลวงพ่อทวดปางธุดงค์  ที่วัดประสาทบุญญาวาส

นครศรีธรรมราช

สงขลา สตูล

ปตตานี ยะลา

รอยบาทสมเด็จเจ้าพะโคะ

๑ ต้นเลียบ  ส�ำนักสงฆ์ต้นเลียบ ต�ำบลดีหลวง อ�ำเภอสทิงพระ สงขลา  ที่ว่าเป็นสถานที่ฝังรกหลวงพ่อทวดแต่ครั้งยังเป็นเด็กชายปู ๒ ส�ำนักสงฆ์นาเปล  ต�ำบลชุมพล อ�ำเภอสทิงพระ  ท้องทุ่งในต�ำนานทวดบองหลาให้ดวงแก้ว ๓ วัดดีหลวง  ต�ำบลดีหลวง อ�ำเภอสทิงพระ  บรรพชาเป็นสามเณรและเริ่มการศึกษาเล่าเรียน ๔ วัดสีหยัง  ต�ำบลบ่อตรุ อ�ำเภอระโนด สงขลา  เรียนธรรมบททศชาติกับสมเด็จพระชินเสน ๕ วัดเสมาเมือง  อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  ศึกษาเล่าเรียนกับพระครูกาเดิม ๖ คลองท่าแพ  ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  สถานที่ญัตติพระภิกษุสามิรามในโบสถ์แพ ๗ วัดแค (ราชานุวาส)  ต�ำบลหัวรอ อ�ำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ที่พ�ำนักเมื่อเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ๘ วัดใหญ่ชัยมงคล  เมืองพระนครศรีอยุธยา  เรียนปริยัติธรรมและบาลีกับสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ๙ วัดประสาทบุญญาวาส  ถนนดาวข่าง เขตดุสิต กรุงเทพฯ  ที่ปักกลดบนเส้นทางจาริกรุกขมูล ๑๐ ศาลาหลวงพ่อทวด  บ้านหน้าโกฏิ อ�ำเภอปากพนัง นครศรีธรรมราช  ที่ปักกลดพักแรม ๑๑ วัดหัวล�ำภูใหญ่  อ�ำเภอหัวไทร นครศรีธรรมราช  เคยมาพักบ�ำเพ็ญวิปัสสนา ๑๒ วัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ หรือวัดราชประดิษฐานในปัจจุบัน  ต�ำบลชุมพล อ�ำเภอสทิงพระ   เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๔ บูรณะวัดและจ�ำพรรษาอยู่ยาวนาน ๑๓ ต้นยางไม้เท้า  ต�ำบลชุมพล อ�ำเภอสทิงพระ  ตามต�ำนานว่ากิ่งก้านคดงอเพราะหลวงพ่อทวดเอาไม้เท้าสามคดวางพิงไว้   ทุกวันนี้ต้นยางคู่โค่นลงแล้ว เหลือต้นโพกับต้นไทรงอกขึ้นเป็นหลักหมายแทน ๑๔ เขาตังเกียบ  อุทยานแห่งชาตินำ�้ ตกทรายขาว ปัตตานี  ที่แวะพักวิปัสสนา   มีพระพุทธรูปแกะไม้สององค์ที่ชาวบ้านเรียกหลวงพ่อตังเกียบเหยียบน�้ำทะเลจืด ๑๕ ถ�้ำหลอด  วัดถ�้ำตลอด ต�ำบลเขาแดง อ�ำเภอสะบ้าย้อย สงขลา  เคยมาพักวิปัสสนา ๑๖ วัดบันลือคชาวาส (ช้างให้ตก)  อ�ำเภอโคกโพธิ์ ปัตตานี  เป็นหนึ่งในจุดพักคราวหามศพท่านมาจากไทรบุรี ๑๗ วัดช้างให้  อ�ำเภอโคกโพธิ์ ปัตตานี  เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และเป็นที่ฌาปนกิจศพท่าน  มีสถูปบรรจุอัฐิที่ชาวบ้านเรียกว่าเขื่อนท่านช้างให้

p86-120_3��������.indd 102

10/5/15 3:16 PM


{ { เหยียบน�้ำทะเลจืด พระเครื่อง เรื่องเล่า ต�ำนานความศักดิ์สิทธิ์

พระอริยสงฆ์เก่าแก่แต่เป็นทีร่ จู้ กั และเป็นทีเ่ คารพบูชามากทีส่ ดุ รูปหนึง่ ของประเทศไทย ความเป็นมาเกี่ยวกับท่านไม่มีหลักฐานชัดเจนนัก ทั้งส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าเชิงต�ำนาน ปรัมปรา แต่หากปราศจากความจริงความดีเป็นที่มาแล้ว ก็คงยากที่จะอยู่ยงข้ามกาลเวลามาได้นับ  ร้อยๆ ปี ชีวประวัติของท่านฉบับหนึ่งมีปรากฏอยู่ในเอกสารราชส�ำนักสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้เพียงย่นย่อ  แต่กค็ งพอบ่งบอกได้ถงึ ความเป็นพระผูป้ ฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบกระทัง่ เป็นทีน่ บั ถือเลือ่ มใสของพระมหากษัตริย์ เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่ความเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ของท่านได้ปรากฏเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางก็เมื่อ  มีการท�ำพระเครื่อง “หลวงพ่อทวดเหยียบน�้ำทะเลจืด” ออกมา  นับแต่นั้นเรื่องราวชีวิต พระเครื่อง อภินิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ก็เป็นที่เล่าลือสู่กันมาจนทุกวันนี้ 107 p86-120_3��������.indd 107

10/5/15 3:18 PM



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.