Stephen Fr น� ำ มาเล่ าใหม่ อย่ างสนุ ก สนาน
MYTHΘS เล่าขาน ต�ำนาน เทพกรีก
อรสิริ พลเดช พรวิภา วัฒรัชนากูล แปล
หนังสือ Mythos เล่าขานต�ำนานเทพกรีก ผู้เขียน Stephen Fry ผู้แปล อรสิริ พลเดช และ พรวิภา วัฒรัชนากูล Mythos © Stephen Fry, 2017 © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2565 ราคา 499 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม Stephen Fry. Mythos เล่าขานต�ำนานเทพกรีก.-- นนทบุรี : สารคดี, 2565. 488 หน้า. 1. ต�ำนาน. 2. เทพปกรณัมกรีก. I. ชื่อเรื่อง. II. อรสิริ พลเดช, พรวิภา วัฒรัชนากูล. 398.2 ISBN 978-616-465-051-0
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : วันทนี เจริญวานิช พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลต เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 0-2966-1600 จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด เลขที่ 3 ซอยนนทบุรี 22 ถนนนนทบุรี (ถนนสนามบินน�้ำ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2547-2700 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2547-2721 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่าย ศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ΓΙΑ ΤΟΝ ΈΛΛΙΟΤΤ ΜΕ ΑΓΆΠΗ แด่เอลเลียตด้วยรัก
จากส�ำนักพิมพ์
4
ต�ำนานเทพของชาวกรีกมีผู้น�ำมาเล่าในหลายฉบับหลากส�ำนวนนาน นับพันปีแล้ว เช่น กวีโฮเมอร์อ้างถึงต�ำนานเทพกรีกในการเล่าเรื่อง สงครามกรุงทรอยในมหากาพย์อิเลียดและโอดิสซี กวีเฮซิโอดบรรยาย การสร้างจักรวาล การก�ำเนิดเทพไททันและเทพโอลิมปัสใน Theogony (ก�ำเนิดเหล่าเทพ) หรือกวีโอวิดเล่าเรื่องราวของมนุษย์ นางพราย และอื่น ๆ ที่ถูกทวยเทพเปลี่ยนร่างเป็นสิ่งต่าง ๆ เพื่อลงโทษหรือด้วย ความสงสารใน Metamorphoses (การกลายร่าง) ทุกวันนี้ก็ยังมีผู้น�ำ ต�ำนานเทพมาเล่าในรูปแบบใหม่อกี มากมาย ทัง้ หนังสืออ่านสนุก หนังสือ วิชาการ เกมกระดาน เกมคอมพิวเตอร์ และภาพยนตร์ เหตุ ใ ดต� ำ นานเทพของชาวกรี ก จึ ง ท� ำ ให้ ค นทั่ ว โลกหลงใหล มานานนับพันปีเช่นนี้ อาจเป็นเพราะต�ำนานเหล่านี้ล้วนเป็นการสรรค์สร้างขึ้นจาก จินตนาการอันน่าทึ่งของชาวกรีกโบราณ ซึ่งบางเรื่องอาจมีเศษเสี้ยว ของความจริงอยู่บ้าง บางเรื่องมีเค้าโครงจากบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติ ศาสตร์ เมื่อเวลาผ่านไปต�ำนานเหล่านี้ได้รับการเพิ่มเติมเสริมแต่งจน กลายเป็นเรือ่ งราวสุดบรรเจิด เปีย่ มด้วยชีวติ ชีวา สีสนั และรายละเอียด ที่สนุกสนานชวนหลงใหลมาหลายยุคหลายสมัยจวบจนปัจจุบัน
Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
ส�ำหรับ Mythos เล่าขานต�ำนานเทพกรีก เล่มนี้ สตีเฟน ฟราย ผู้เป็นนักแสดง นักแสดงตลก ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ อีกทั้งยังเป็นนักเขียน บทละคร บทภาพยนตร์ นิยาย เรือ่ งชวนหัว และหนังสือสาระ น�ำต�ำนาน เทพกรีกมาเล่าใหม่อีกครั้ง โดยอ้างอิงข้อมูลจากนักเขียนนักวิชาการ ในปัจจุบันและกวีผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ทั้งโฮเมอร์ เฮซิโอด และโอวิด แต่ เรียงล�ำดับเวลาขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกัน และแบ่งยุคออกชัดเจนเป็น ยุคของเทพและยุคของมนุษย์ แต่เขาออกตัวไว้ก่อนว่า หนังสือเล่มนี้จะ บอกเล่าเรือ่ งราว ของทวยเทพเท่านัน้ ไม่มกี ารอธิบายหรือตีความต�ำนาน เทพใด ๆ ให้มากไปกว่าการอ่านสนุก ๆ ขอเชิญคุณผูอ้ า่ นพลิกหน้าหนังสือไปพบเรือ่ งราวสนุก ๆ อันแสน วุย่ วาย น่าประหลาดใจ โศกเศร้า สุขสม โรแมนติกของเหล่าเทพเจ้ากรีก กันได้แล้ว ส�ำนักพิมพ์สารคดี
Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
5
สารบัญ
อารัมภบท โลกในเทพปกรณัมกรีก แผนภูมิเทพล�ำดับที่ 2 แผนภูมิเทพแห่งโอลิมปัส
8 12 14 15
ปฐมกาล ภาคที่ 1
16 18 20 22
• จากเคออส • เทพล�ำดับที่ 1 • เทพล�ำดับที่ 2
ปฐมกาล ภาคที่ 2 • มหาสงครามไททัน • เทพล�ำดับที่ 3
ของเล่นของซูส ภาคที่ 1 • โพรมีเทียส • การลงทัณฑ์ • เพอร์เซโฟนีและราชรถ • คิวปิดและไซคี
66 68 88 152 154 171 192 201
ของเล่นของซูส ภาคที่ 2 • มนุษย์ ผู้ไม่เป็นอมตะ • เฟทัน • แคดมัส • ทวิก�ำเนิด • โฉมงามและนางปีศาจ • แพทย์และอีกา • อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ • ซิซีฟุส • ความโอหัง • อะรากนี • การกลายร่างอื่นๆ • อีออสกับทิโทนุส • วัยเยาว์ที่เบ่งบาน • เอ็กโคกับนาร์ซิสซัส • คู่รัก • กาลาเทีย • แอเรียนกับโลมา • ฟิลมี อนกับบอซิส หรือรางวัลแด่ไมตรีจติ แห่งเจ้าบ้าน • ฟรีเจียและปมเชือกของกษัตริย์กอร์เดียส • ไมดาส
ภาคผนวก ปัจฉิมบท กิตติกรรมประกาศ เกี่ยวกับผู้เขียน/เกี่ยวกับผู้แปล
232 234 241 258 280 294 300 307 316 336 346 355 372 380 386 402 406 421 432 440 444 456 466 486 487
อารัมภบท
8
ผมโชคดีมากที่ตอนเด็กได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ นิทานกรีกโบราณ อ่านแล้วรักเลย แม้ว่าผมจะชอบอ่านความเชื่อปรัมปราและต�ำนาน นานาชาติหลากประเทศ ทว่าต�ำนานของชาวกรีกมีอะไรบางอย่างที่ จุดประกายลุกโชนในตัวผม ความมีชีวิตชีวา ความตลกขบขัน ความ ปรารถนา ความจ�ำเพาะเจาะจง และรายละเอียดที่ฟังแล้วน่าเชื่อในโลก ของชาวกรีกโบราณ ท�ำให้ผมลุ่มหลงตั้งแต่แรก ผมคิดว่าผู้อ่านก็ เหมือนกัน คุณอาจรู้บางเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปนี้แล้วก็เป็นได้ แต่ผม ก็ยินดีมากที่จะเล่าให้คนที่ไม่เคยได้ยินหรือรู้จักตัวละครในต�ำนานของ ชาวกรีกมาก่อน คุณไม่จ�ำเป็นต้องรู้อะไรมาก่อนที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ เพราะมันเริ่มจากจักรวาลอันว่างเปล่า คุณไม่ต้องเรียน “วิชากรีก โบราณ” มาก่อนหรอก ไม่ต้องรู้ความแตกต่างระหว่างนางไม้และ นางพราย ไม่ต้องแยกให้ออกระหว่างเซเทอร์ (satyr) เทพครึ่งแพะและ เซนทอร์ (centaur) เทพครึ่งม้า หรือสับสนระหว่างเฟตส์ (Fates) Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
เหล่าภคินเี ทพีแห่งโชคชะตาและฟิวรีส์ (Furies) เหล่าภคินเี ทพีแห่งทัณฑ์ ชะตา ในเทพปกรณัมกรีก ไม่มอี ะไรเชิงเชาวน์หรือวิชาการอย่างแท้จริง ต่างก็เป็นมนุษย์ที่มีรักโลภโกรธหลงอย่างเราท่านนี่แหละ แล้วต�ำนานของชาวกรีกโบราณมาจากไหนกัน ในประวัตศิ าสตร์ มนุ ษ ยชาติ เราอาจสื บ เสาะย้ อ นหาอดี ต ได้ แต่ ห ากเจาะไปที่ แ หล่ ง อารยธรรมที่ใดที่หนึ่งซึ่งมีเรื่องเล่า เราอาจคิดว่าค้นพบแหล่งที่มาแห่ง ต�ำนานทีแ่ ท้จริงแล้วเป็นแน่แท้ คนสมัยก่อนก็คงสงสัยเหมือนกันว่าพลัง อ�ำนาจใดท�ำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด ฟ้าร้องฟ้าผ่า คลื่นยักษ์ในมหาสมุทร และแผ่นดินไหวได้ คนโบราณพากันเฉลิมฉลองและนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามฤดูกาล รวมทั้งปรากฏการณ์บนท้องฟ้าทั้งกลางวันและกลางคืน พวกเขาสงสัยใคร่รวู้ า่ สรรพสิง่ เกิดขึน้ ได้อย่างไร จิตไร้สำ� นึกร่วม (collective unconscious-ส่วนที่ลึกที่สุดและมีพลังที่สุดสั่งสมมาข้ามภพข้าม ชาติ) แห่งอารยธรรมทั้งหลายได้บอกเล่าผ่านเรื่องราวของเทพที่พิโรธ เทพที่สิ้นชีพและคืนชีพ เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เหล่าเทวดาและ ปีศาจ รวมทั้งภูตแห่งไฟ โลก และน�้ำ จริง ๆ แล้วชาวกรีกมิใช่เพียงผู้เดียวที่ถักทอผืนผ้าต�ำนานและ ความเชื่อปรัมปราแล้วน�ำออกไปโบกสะบัดให้โลกตะลึงว่ามีอยู่จริง ถ้า เราเรียนโบราณคดีและบรรพมานุษยวิทยา ก็จะสืบค้นเรื่องเทพกรีกได้ ไม่วา่ จะเป็นเทพแห่งฟ้า จันทราเทพ และปีศาจแห่ง “ดินแดนวงพระจันทร์ เสี้ยวไพบูลย์” (fertile crescent) ในเมโสโปเตเมีย ปัจจุบันคือ อิรัก ซีเรีย และตุรกี ชาวบาบิโลน สุเมเรีย อักคาเดีย และอาณาจักรโบราณ อืน่ ๆ ทีม่ อี ารยธรรมเก่าแก่มาก่อนกรีก ล้วนสรรค์สร้างเรือ่ งเล่าและนิทาน พื้นบ้าน ซึ่งเช่นเดียวกับภาษาที่ใช้บอกเล่า อาจมีรากเหง้าในอินเดีย ข้ามฝั่งตะวันตกย้อนไปยุคก่อนประวัติศาสตร์ แอฟริกา และต้นก�ำเนิด แห่งสปีชีส์ของเรา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราบอกเล่าเรื่องราวใด ๆ เราต้องไปฟังเรื่อง เขาเล่าต่อกันมาเพื่อหาจุดเริ่มต้น ซึ่งถ้าเป็นเรื่องเทพปกรณัมกรีกแล้ว Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
9
10
นับว่าง่าย เพราะมีรายละเอียดเข้มข้นมากมาย มีชวี ติ ชีวา สีสนั แตกต่าง จากต�ำนานอืน่ ๆ กวียคุ แรก ๆ สัง่ สมเรือ่ งราวเหล่านีม้ าเล่าให้เราฟังต่อ ๆ กันมาอย่างไม่ขาดตอนแทบจะตั้งแต่ยุคเริ่มต้นที่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร จนถึงปัจจุบัน แม้ต�ำนานของชาวกรีกมีอะไรเหมือนกับต�ำนานของจีน อิหร่าน อินเดีย มายา แอฟริกา รัสเซีย อเมริกนั อินเดียนแดง ฮีบรู และ นอร์ส หากแต่ละต�ำนานก็โดดเด่นแตกต่างกัน ดังเช่นที่ อีดทิ แฮมิลตัน (Edith Hamilton) นักประพันธ์และนักเขียนเรือ่ งเทพปกรณัม กล่าวไว้วา่ ต�ำนานของชาวกรีกเป็น “การสร้างสรรค์กวีเอก” ชาวกรีกเป็นพวกแรก ทีส่ ร้างสรรค์เรือ่ งเล่าทีส่ อดคล้องเชือ่ มโยงกันเกีย่ วกับเทพเจ้า สัตว์ประหลาด และวีรบุรุษ เทียบชั้นวรรณกรรมเลยทีเดียว วิวัฒนาการของเทพปกรณัมกรีกเป็นผลมาจากการลุกฮือของ มนุษยชาติ อันเป็นสงครามที่จะปลดปล่อยเราจากการแทรกแซงของ เทพเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการข่มเหง การก้าวก่าย การปกครองกดขี่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรม ชาวกรีกไม่หมอบกราบต่อหน้าเทพเจ้าของตน แม้ ชาวกรีกหยิ่งทะนง อยากได้รับการเคารพ แต่พวกเขาก็เชื่อว่า มนุษย์ ทุกคนเท่าเทียมกัน ต�ำนานของชาวกรีกรู้ดีว่า ใครก็ตามที่สร้างโลก อันสับสนวุน่ วายนีใ้ ห้มคี วามโหดร้าย ความน่าพิศวง การท�ำตามอ�ำเภอใจ ความงาม ความบ้าคลัง่ และความอยุตธิ รรมแล้วไซร้ คนผูส้ ร้างนัน้ ย่อม มีความหฤโหด น่าพิศวง เอาแต่ใจ งดงาม บ้าบิน่ และไร้ซงึ่ ความยุตธิ รรม เช่นกัน ชาวกรีกสร้างเทพเจ้าจากมโนภาพของตนเอง อันได้แก่ ชวนรบ แต่สร้างสรรค์ ฉลาด แต่อำ� มหิต น่ารัก แต่รษิ ยา อ่อนโยน แต่เหีย้ มโหด เห็นอกเห็นใจ แต่อาฆาตแค้น Mythos เล่าขานต�ำนานเทพกรีก เริ่มเรื่องตั้งแต่ยุคเริ่มต้น แต่ไม่จบลงที่ตอนจบ ถ้าผมกล่าวถึงวีรบุรุษ เช่น อีดิปุส (Oedipus) เพอร์เซียส (Perseus) ทีซอี สุ (Theseus) เจสัน (Jason) และเฮราคลีส (Herakles) ตลอดจนเรื่ อ งราวแห่ ง สงครามทรอย หนั ง สื อ เล่ ม นี้ คงจะหนาเกิ น กว่ า ที่ เ ทพไททั น จะหยิ บ ขึ้ น มาอ่ า นได้ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
ผมรับผิดชอบในการเล่าเรือ่ งเท่านัน้ ไม่ได้มาอธิบายเรือ่ งของวีรบุรษุ หรือ สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์หรือความคิดจิตใจเบื้องหลังชีวิต พวกเขา ต�ำนานของชาวกรีกเองน่าทึ่งพอเพียงแล้วในรายละเอียดที่ แสนวุ่นวาย น่าประหลาดใจ โรแมนติก ตลก โศกเศร้า โหดร้าย และ ชวนลุ่มหลง ในแต่ละเรื่องราว ถ้าคุณได้อ่านแล้วอดทึ่งไม่ได้ว่าอะไร ดลใจให้ชาวกรีกสร้างโลกทีม่ ตี วั ละครและเหตุการณ์มากมายและอลังการ ได้ขนาดนี้ และคุณพร้อ มจะด�ำดิ่ง ลงไปพบกับ ความจริง เบื้อ งลึกใน เทพปกรณัมแล้วละก็ แสดงว่าคุณได้ก้าวเข้าสู่ความบันเทิงแล้วแน่นอน ความบันเทิงนี้เองจะน�ำพาคุณไปสู่โลกแห่งเทพปกรณัมกรีก สตีเฟน ฟราย
11
Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
I
อิ ล
L
L
t ia d rะ เ Aท
รี ย
Y
R I
L
ุส
A
อิ ต า ลี Y
บoอsสpปorอu B รs
IT
ea S
ดร ียต ิก
A
อเ
ic
ลเ
ลี เ
ทาเรนทัม Tarentum
เ ท ส ซ า ลี อี เ รี ย ไ พPIERIA
T H E S S A LY
ทาซอส Thasos Sestos ซาโมเทรซ เซสทอส Samothrace
Olympus โอลิม�ส ออสซา Ossa ยน Pelion G R E E C E เพเลี
อLเIAล เ AอEโO
เฮลเลสปอนต ทรอยHellespont Troy เลมนอส Lemnos ASIA MINOR Methymna เมทิมนา LY เลสบอส Lesbos D I ไซพิ ลัส Larissa Sipylus ลาริ ส ซา แทนทาลิส A Tantalis ทAegean ะเล
ก รี ซ
ท ะ Ionian เล ไ อ โ อ เSea นี ย
M
ีย
เอตนา Etna
Othrys โอทริส Parnassus พาร นัสซุส
เ อ เ ชี ย ไ ม เ น อ ร ลิ เ ด ีย
เ อ เ Sea จี ย น
เอเธนส
lus
o ส ทีTmolus โมลัส แพกโทลั Pact ไฮไพพา Colophon คอลอฟอน Hypaepae
อrร เมMียaนeaเดnde
เดลอส Delos คอส Cos
ซิเทอรา Cythera
แลตมอส Latmos Halicarnassus ฮาลิ คาร นาสซุส เทลมิสซัส Telmissus
Crete ครีต
e d ไอดา Ida Phaestos ไฟส ทอส i t ท ะe เ r r ล เ มa n e ดิ เ ต อ a n ร เ ร เ S e a
นี ย น
ลิ เ บี ย
LIBYA
โลกใน The World
เทพปกรฌั ม of the กรีก Myths Greek
ไ น ซั ส
NYSUS
อีE ยิG ปY Pต T
Cauca
c
เ ทื อ uกsเ ขMาo u n t a i n s ค อ เ ค ซั ส
k Sea Bทl aะ cเ ล ดํ า
ฟ รี เ จี ย
PHRYGIA
กอร เดียม Gordium
Eumenria ยูเมนเรีย
ทLake ะเลสาบ อAulocrene อ โ ล ค รี นี
ส
ไTทigr กis ร ิ
ซิ ลิ เ ซี ย
CILICIA
ส us
อั ส Yซี เ
Iี ย Rร
Paphos พาโฟส
A S S
Cyprus ไซปรัส
อามาทัส Amathus
ท
ีส
A
Eยu ูpเhrฟat eรs
เม
โ Eส
M
โป
SO
เ ตT เAมMี ยI A
PO
ไนNลi ัสlu
s
PHO
ENI
� นี Cเ ซI ี
Tyre ไทร
A
ย
Babylon บาบิโลน
ทะเล แ Red ด งSea อะไบดอส Abydos
แผนภูมิ เทพล�ำดับที่ 2 ไกอา
อูรานอส
โอเชียนุส ครีอุส เอพีทุส รีอา นีโมซีนี โคยุส ไฮเพอเรียน เทีย ทีมิส
เททิส ฟีบี โครนอส
ไซคลอปส์ (บรอนเตส, สเตโรพิส, อาร์จิส) เฮคาทอนคิเรส (คอตตุส, ไกจิส, อีจีออน) เลือดของ อูรานอส
อวัยวะเพศ ของอูรานอส
ไจแกนทีส เมเลีย
อะโฟรไดที
ไกอา
เอรีนีส
แผนภูมิ เทพแห่งโอลิมปัส โครนอส
รีอา
ไมอา เฮอร์มีส เลโท
ซูส
เฮรา โพไซดอน ดีมีเทอร์
เฮดีส*
เฮสเทีย
อะทีนา อะพอลโล อาร์ทีมิส แอรีส ฮีเฟสตุส
อวัยวะเพศ ของอูรานอส
อะโฟรไดที *เฮดีสไม่เชิงเป็นเทพโอลิมปัสเสียทีเดียว เพราะพระองค์ประทับในยมโลกตลอดเวลา
ปฐมกาล ภาคที่ 1
จากเคออส
18
ปัจจุบนั นีก้ ำ� เนิดจักรวาลอธิบายได้ดว้ ยทฤษฎีบกิ แบง เหตุการณ์หนึง่ เดียว ที่น�ำไปสู่ก�ำเนิดสรรพสิ่งและสรรพชน ชาวกรีกโบราณมีความคิดทีต่ า่ งไปจากชาวโลกปัจจุบนั คือสรรพสิง่ มิได้ถอื ก�ำเนิดจากบิกแบง แต่เกิดจากเคออส (Chaos) หรือความยุง่ เหยิง เคออสคือพระเจ้าหรือเทพเจ้าหรืออย่างไร หรือเป็นเพียงสภาวะ ไร้รปู หรือเป็น “เคออส” อย่างทีเ่ ราเรียกกันทัว่ ไป หรือเป็นความโกลาหล วุ่นวายราวกับห้องนอนรก ๆ ของวัยรุ่น แต่รุงรังยิ่งกว่า บางทีเคออสอาจเป็นเพียงหาวหวอดใหญ่ของจักรภพ เช่นเดียว กับหุบเหวที่ก�ำลังเปิดกว้าง หรือความเวิ้งว้างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าเคออสจะสร้างชีวิตหรือแก่นสารจากความไร้สิ่ง หรือหาว สิง่ มีชวี ติ ออกมา หรือสร้างจากฝัน หรือดลบันดาลอย่างไร ใครรูไ้ ด้ แต่ ผมหรือคุณผู้อ่านก็มิได้อยู่รู้เห็น ณ ตอนนั้น แต่ในทางใดทางหนึ่งเรา อยู่ที่นั่น ณ ตอนนั้น เนื่องจากสิ่งที่ก่อก�ำเนิดเราอยู่ที่นั่น ณ ตอนนั้น เพียงพอที่จะกล่าวได้ว่า ชาวกรีกคิดว่าเคออสคือก้อนมหึมา เป็นอะไร ใหญ่โตที่โผล่ออกมา เหมือนการสะอึกหรือส�ำรอกหรือจามโฮกใหญ่ กลายเป็นบ่อเกิดของห่วงโซ่ยาวซึ่งไปสิ้นสุดที่นกกระทุง เพนิซิลลิน เห็ดพิษ สิงโตทะเล แมวน�้ำ สิงโต มนุษย์ ดอกแดฟโฟดิล ฆาตกรรม ศิลปะ ความรัก ความวุน่ วาย ความตาย ความบ้าบอ และขนมปังกรอบ ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นใด ตามความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ ณ ปัจจุบัน ทุกสิ่งถูกลิขิตให้กลับมายังเคออส เราเรียกชะตาที่เลี่ยง Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
ไม่ได้นี้ว่า เอนโทรปี (entropy) เป็นวัฏจักรยิ่งใหญ่ สั่งการจากเคออส และกลับไปยังเคออสอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น กางเกงที่คุณสวมใส่ เริ่มจากอะตอมที่วิ่งอลวน รวมตัวกันเป็นสสาร ซึ่งสั่งตัวมันเองให้อิออน กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการเป็นต้นฝ้าย แล้วถักทอเป็นใยสวยงาม น�ำมาห่อหุม้ เรียวขาเพรียวงามของท่าน เมือ่ ถึงเวลาทีท่ า่ นจะทิง้ กางเกง ไป ซึ่งผมหวังว่าไม่ใช่ตอนนี้ กางเกงของคุณก็จะไปเปื่อยยุ่ยในโรงขยะ และถูกเผา ในกรณีนี้มันกลายเป็นสสารซึ่งถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ กลายเป็นส่วนหนึง่ ของดาวดวงนี้ และเมือ่ ดวงอาทิตย์ระเบิด เผาผลาญ โลกเป็นจุณ รวมทัง้ ทุกอณูของกางเกงทีท่ า่ นเคยสวมใส่ เจ้าอะตอมก็จะ กลับคืนสู่เคออสอันหนาวเหน็บ ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงกับกางเกง มันก็ เกิดกับคุณได้เหมือนกัน ดังนัน้ เคออสซึง่ เป็นจุดก�ำเนิดทุกสิง่ ทุกอย่างก็จะกลายเป็นจุดจบ ของทุกสิ่งทุกอย่างได้เช่นกัน มาถึงตอนนีท้ า่ นอาจเป็นคนทีถ่ ามว่า “ถ้าอย่างนัน้ ใครหรืออะไร ที่เกิดก่อนเคออส” หรือ “ใครหรืออะไรเกิดก่อนบิกแบง” มันจะต้องมี อะไรบางอย่างสิ อ๋อ ไม่มีหรอก เราจะต้องยอมรับว่า ไม่มี “ก่อน” เพราะกาล หรือเวลายังไม่ถอื ก�ำเนิด ยังไม่มใี ครกดปุม่ กาล ไม่มใี ครร้องตะโกนว่า บัดนี้ ! และเพราะกาลยังไม่เกิด ค�ำว่า “ระหว่างนี”้ “ขณะที”่ “และแล้ว” “หลังมือ้ เทีย่ ง” “พุธทีแ่ ล้ว” จึงไม่มคี วามหมายใด ๆ ฟังดูปวดขมอง แต่ มันเป็นเช่นนั้น ค�ำกรีกที่หมายถึง “ทุกสิ่ง ที่เป็นจริง ” หรือ สิ่ง ที่เราเรียกว่า จักรวาล คือ คอสมอส (cosmos) และในขณะนี้แม้ว่า “ชั่วขณะ” เป็น ค�ำบอกเวลาและไม่มีความหมายอะไรในตอนนี้ (ไม่มีค�ำว่า “ในตอนนี้” ด้วย) ขณะนีค้ อสมอสคือเคออส และมีเพียงเคออสเท่านัน้ เพราะเคออส คือสิ่งเดียวที่เป็นจริง เหมือนวงออร์เคสตราก�ำลังตั้งเสียงเครื่องดนตรี... แต่สรรพสิ่งก�ำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ปฐมกาล ภาคที่ 1
19
เทพล�ำดับที่ 1
20
เคออสผูไ้ ร้รปู ได้ให้กำ� เนิดสิง่ มีชวี ติ คือ เพศชาย แอเรบุส (Erebus) หรือ ความมืด และเพศหญิง นิกซ์ (Nyx) หรือกลางคืน ทัง้ สองสมสูก่ นั ในทันที แล้วให้ก�ำเนิดบุตรในทันใด ได้แก่ เฮเมอรา (Hemera-กลางวัน) และ อีเทอร์ (Aether-แสงสว่าง) เนื่องด้วยสรรพสิ่งจะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันจนกว่ากาล (เวลา) จะถือก�ำเนิดเพือ่ แบ่งช่วงเหตุการณ์ ขณะเดียวกันนัน้ เองเคออสให้กำ� เนิด บุตรอีกสององค์ ได้แก่ ไกอา (Gaia-พิภพโลก) และทาร์ทารุส (Tartarus -ส่วนลึกและถ�้ำใต้พิภพ) ผมทายว่าท่านผูอ้ า่ นคงคิดว่า สรรพสิง่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ มานีด้ นู า่ ทึง่ ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน กลางคืน แสงสว่าง ส่วนลึกและถ�้ำใต้พิภพ หากแต่พวกเขาไม่ใช่เทพและเทพี ไม่มีแม้กระทั่งรูปลักษณ์ และคุณ อาจตกตะลึงว่าไม่มเี รือ่ งเล่าใดๆ เนือ่ งจากไม่มกี ารระบุเวลา เพราะเรือ่ งราว ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ “กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” และเรื่องที่จะเกิดขึ้นต่อไป Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
ถ้าผู้อ่านคิดดังนี้ก็อาจจะถูก สิ่งที่ผุดขึ้นมาจากเคออสคือสิ่ง ก�ำเนิดแรกเริ่ม ดั้งเดิม ปราศจากสีสัน ตัวตน หรือความน่าดึงดูดใด ๆ โดยแท้จริง สิง่ ก�ำเนิดเหล่านีค้ อื ปฐมเทพ คือทวยเทพกลุม่ แรกผูใ้ ห้กำ� เนิด เทพเจ้าทั้งปวง วีรบุรุษ และสัตว์ประหลาดในต�ำนานกรีก ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้ล้วนถูกกกไว้และนอนนิ่งภายใต้สรรพสิ่ง... รอคอย ความว่างเปล่าอันเงียบงันของโลกใบนี้ได้รับการเติมเต็มเมื่อ ไกอาให้ก�ำเนิดโอรสสององค์โดยล�ำพังผู้เดียว1 โอรสองค์โตมีนามว่า พอนทุส (Pontus) เทพแห่งทะเล และโอรสองค์ที่ 2 มีนามว่า อูรานอส (Ouranos) เทพแห่งท้องฟ้า หรือทีเ่ รารูจ้ กั กันดีวา่ ยูเรนัส (Uranus) ซึง่ การเรียกชือ่ เทพองค์นสี้ ร้างความปรีดาให้แก่เด็กตัง้ แต่ 9 ขวบไปจนถึง 90 ส่ ว นเฮเมอราและอี เ ทอร์ ก็ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด ทายาทเช่ น กั น คื อ ทาลาสซา (Thalassa) ผู้เปรียบว่าเป็นพอนทุสหญิง เจ้าสมุทร อูรานอสผู้ชมชอบให้เอ่ยชื่อตนว่า โอรานอส คือ ท้องฟ้าและ สวรรค์ในปฐมบท หรือปฐมเทพผู้เป็นตัวแทนสรรพสิ่งและผู้ปกครอง2 ท่านอาจกล่าวว่า ไกอาเป็นพระแม่ธรณีแห่งภูเขา หุบเขา ถ�ำ้ และเทือกเขา ซึง่ สามารถรวมตนเองให้อยูใ่ นรูปกายทีพ่ ดู คุยได้ กลุม่ เมฆแห่งอูรานอส เทพแห่งท้องฟ้า ม้วนตัวแสดงความพิโรธเหนือพระแม่ แต่ทั้งสองก็ สามารถรวมตัวกันเป็นรูปร่างได้อย่างทีเ่ รารูจ้ กั ชีวติ ของสรรพสิง่ ยังอยู่ ในยุคเริ่มต้น แทบจะไม่มีสิ่งใดลงหลักปักฐานเลย
1
วิธีการให้ก�ำเนิดแบบบริสุทธิ์หรือการสืบพันธุ์แบบไม่อ าศัยเพศ (parthenogenesis) ยัง พบได้ในธรรมชาติ เช่น เพลี้ย กิ้งก่าบางชนิด และแม้แต่ฉลามก็ยังสืบพันธุ์ด้วยวิธีนี้กันเป็น เรือ่ งปกติ ไม่ตอ้ งมีความหลากหลายจากยีนทีต่ า่ งกันสองชุด เช่นเดียวกับการก�ำเนิดเทพเจ้า กรีก ผู้ที่น่าสนใจคือทายาทที่ถือก�ำเนิดจากทั้งพ่อและแม่ ไม่ใช่จากพ่อหรือแม่ผู้ใดผู้หนึ่ง 2 อันที่จริง อูรานอสเป็นค�ำภาษากรีก หมายถึง ท้องฟ้า จนถึงทุกวันนี้
ปฐมกาล ภาคที่ 1
21
พระแม่ไกอา เทพียุคแรกเริ่ม ทรงถือก�ำเนิดขึ้นมาจากเคออส ที่มา Anselm Feuerbach : Gaea (1875). Ceiling painting, Academy of Fine Arts Vienna
26
ทีมิส เทพีแห่งกฎหมายและความ ยุติธรรม นั่งบนม้านั่งสามขา ที่มา Attic Red-Figure Cup, bpk/ Antikensammlung Berlin Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
27
ฮิปนอส เทพแห่งการนอนหลับ บิดาของมอร์เฟียสผู้สร้างความฝัน ที่มา British Museum. Dept. of Greek and Roman Antiquities; Walters, Henry Beauchamp, 1867-1944 (1915)
ไซคลอปส์ผู้มีตาดวงเดียวบนหน้าผาก ที่มา Polyphemus, by Johann Heinrich Wilhelm Tischbein, 1802 (Landesmuseum Oldenburg) ปฐมกาล ภาคที่ 1
มหาสงครามไททัน
68
ณ ยอดเขาโอทริส โครนอสทรงนอนแผ่หลาไม่ได้สติอยูบ่ นพืน้ ไททันองค์ อืน่ ๆ ยังไม่รวู้ า่ ซูสช่วยพีน่ อ้ งออกมาแล้ว แต่เป็นไปได้วา่ ถ้ารูเ้ มือ่ ใด เหล่า ไททันคงจะส�ำแดงความโกรธแค้นอย่างที่สุด รีอาและโอรสธิดาทั้งหก อาศัยความมืดยามค�่ำคืนก�ำบังตัว หลบหนีออกมาให้ห่างจากอาณาจักร ของเหล่าไททันให้ไกลที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ซูสรู้ดีว่า สงครามจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน โครนอสจะไม่ยอม อยู่เฉยตราบเท่าที่เลือดเนื้อเชื้อไขของตนยังมีชีวิตอยู่ ส่วนซูสก็มุ่งมั่น พอๆ กันที่จะโค่นบัลลังก์บิดาให้จงได้ องค์เทพทรงได้ยินเสียงที่ดัง กว่าเสียงทีเ่ คยได้ยนิ ภายในกายนับตัง้ แต่เป็นทารก เป็นเสียงกระซิบนุม่ ทุ้มครั้งแล้วครั้งเล่าของโมรอสบอกว่าเป็นโชคชะตาของพระองค์ที่จะได้ ปกครอง Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
ศึกหฤโหดนองเลือดเต็มไปด้วยการท�ำลายล้างครัง้ นี้ นักประวัต-ิ ศาสตร์เรียกว่า มหาสงครามไททัน (Titanomachy)1 แม้เราอาจไม่มวี นั รูร้ ายละเอียดเกีย่ วกับสงครามทีย่ าวนาน 10 ปีครัง้ นี้ แต่เรารูไ้ ด้ถงึ ความ รุนแรงและความดุเดือด พลังอ�ำนาจและพลังงานมหาศาลที่ปลดปล่อย ออกมาระหว่างการต่อสูข้ องเหล่าไททัน เทพเจ้า และอสูร ส่งผลให้ภเู ขา ปะทุและพืน้ พิภพสัน่ ไหวและแยกออก หมูเ่ กาะน้อยใหญ่และแผ่นดินผืน ใหญ่ผดุ ขึน้ มาจากผลพวงของสงคราม ทวีปทัง้ ผืนเลือ่ นและแปรเปลีย่ น รูปทรงไป แว่นแคว้นดินแดนทวีปบนโลกมีภูมิประเทศดังเช่นที่เราท่าน รู้จักในทุกวันนี้ล้วนถือก�ำเนิดจากสงครามสะเทือนปฐพีครั้งนี้ ในการศึกครัง้ นี้ เป็นทีแ่ น่ชดั ว่าเหล่าไททันทีผ่ นึกก�ำลังกันมีพลัง อ�ำนาจเหนือศัตรูทอี่ อ่ นเยาว์กว่า พวกเขาแข็งแกร่งกว่าและโหดเหีย้ มไร้ ความปรานีมากกว่า นอกจากบุตรของคลีเมนีนามว่า โพรมีเทียสและ เอพิมเี ทียสแล้ว ไททันทุกองค์อยูฝ่ า่ ยโครนอส รวมแล้วมีจำ� นวนมากกว่า ฝ่ายทีเ่ รียกตนเองว่าเทพเจ้ากลุม่ เล็กๆ ภายใต้การน�ำของซูส แต่อาจหาญ มาต่อกรด้วย ทว่าดังเช่นอูรานอสต้องชดใช้กรรมอย่างสาสมที่จองจ�ำ ไซคลอปส์และเฮคาทอนคิเรสภายในกายของไกอาฉันใด โครนอสก็จะต้อง ชดใช้กรรมที่จองจ�ำพวกเขาในโถงถ�้ำแห่งตรุทาร์ทารุสฉันนั้น
1
เฮสิโอด (Hesiod) กวีในสมัยศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศกั ราช ร่ายบทกวีพรรณนาเรือ่ งนี้ และกวี คนอืน่ ก็ยงั ขับล�ำน�ำเพลงด้วย เช่น มหากาพย์มหาสงครามไททัน (Titanomachia) ประพันธ์โดย ยูเมลุสแห่งคอรินท์ในศตวรรษที่ 8 (หรือตามทีเ่ ล่าขานกันมา อาจเป็นกวีตาบอดนามว่า ทามีรสิ แห่งเทรซ) ได้รบั การอ้างถึงในบทประพันธ์อนื่ แต่สญ ู หายไปแล้ว เฮสิโอดบรรยายสงครามทีท่ ำ� ให้ พิภพสะเทือนดังนี้ “ท้องนทีกว้างไกล คลื่นใหญ่ปั่นป่วน ปะทะปฐพีเสียงสนั่นลั่นเลื่อน สวรรค์ สั่นสะเทือน และ...สรรพสิ่งหมุนเคลื่อนด้วยฤทธาแห่งอมตเทพ บังเกิดพสุธาไหวไกลถึง นรกทาร์ทารุสอันมืดมิด และเสียงฝีเท้าหนักรุกไล่ล่ายามท�ำศึกรบพุ่งอาวุธเกรียวกราว ยิงธนู พุ่งหลาวใส่กัน ต่างร้องโห่เสียงดังทั้งสองทัพราวจะให้เสียงสะท้านไปถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วชิงชัยกันท่ามกลางเสียงกู่ร้องออกศึก”
ปฐมกาล ภาคที่ 2
69
70
เทพีเมทิสผูช้ าญฉลาดแนะให้ซสู ลงไปยังทาร์ทารุสเพือ่ ปลดปล่อย พี่ ๆ ยักษ์ตาเดียวสามตนและผู้มี 300 มือสามตน ซูสทรงยื่นขอเสนอ ว่าจะให้อิสรภาพแก่พี่ยักษ์แลกกับการช่วยต่อกรกับโครนอสและเทพ ไททัน พวกเขาไม่ตอ้ งการข้อเสนออืน่ เพิม่ เติมแล้ว ยักษ์ไจแกนทีสตกลง เลือกอยู่ข้างซูสเช่นกันและพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาเป็นนักสู้ที่กล้าหาญ และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย2 ในศึกชี้ชะตาครั้งสุดท้าย ความดุร้ายไร้ความปรานีของเฮคาทอนคิเรส ขนาดที่ยังไม่นับจ�ำนวนหัวและมือที่มีมากล้น ผนึกก�ำลัง เข้าขากันได้ดีอย่างน่าพิศวงกับไซคลอปส์ท่ีมีพลังไฟฟ้ารุนแรง ซึ่งหาก ยังจ�ำกันได้มีชื่อว่า อาร์จิส ฟ้าสว่าง สเตโรพิส ฟ้าแลบ และบรอนเตส ฟ้าผ่า ช่างตีอาวุธฝีมือเยี่ยมทั้งสามน�ำพายุสายฟ้ามาหล่อหลอมเป็น อสนีบาตให้ซสู ทรงใช้เป็นอาวุธ ซึง่ พระองค์กข็ ว้างไปสังหารศัตรูได้อย่าง แม่นย�ำ เผาผลาญอริเป็นจุณ ภายใต้การบัญชาของซูส เหล่าเฮคาทอนคิเรสขว้างก้อนหินออกไปด้วยความเร็วสูง ในขณะทีไ่ ซคลอปส์โจมตีศตั รู ด้วยสายฟ้าและเสียงฟ้าผ่าอันน่าสยองขวัญ เฮคาทอนคิเรสใช้หลายร้อย มือกอบเอาหินก้อนโต ๆ นับไม่ถว้ นขว้างปาไปยังทัพศัตรูราวกับเครือ่ งยิง กระสุนระดมยิงก้อนหินรัว ๆ จนเทพไททันผู้บอบช�้ำต้องขอพักรบ เราจะปล่อยพวกเขาให้ก้มศีรษะโชกเลือดยอมรับความปราชัย ในท้ายที่สุดไว้ตรงนี้ก่อน แล้วมาดูกันว่าขณะที่สงครามด�ำเนินไปอย่าง ดุเดือดในช่วง 10 ปีนี้ เกิดอะไรขึ้นบ้างบนโลกใบนี้
2
ดูภาคผนวก หน้า 463 Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
การขยายเผ่าพันธุ์
เพลิงและพิโรธแห่งสงครามทัง้ แผดเผาและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้โลก สิง่ มีชวี ติ ใหม่ ๆ เจริญงอกงามขึน้ กลายเป็นโลกทีส่ ดใสเขียวขจีให้เทพเจ้า ผู้มีชัยได้สืบทอดทายาท จ�ำได้ไหมว่า ครัง้ หนึง่ จักรวาลเคยมีเพียงเคออส จากนัน้ เคออส ส�ำรอกสิ่งมีชีวิตแรกสุดออกมา ได้แก่ ปฐมเทพและหลักการของความ สว่างและความมืด จากนั้นเทพแต่ละรุ่นก็ถือก�ำเนิดแล้วสืบเผ่าพันธุ์ ความสลับซับซ้อนจึงเพิ่มมากขึ้น หลักการพื้นฐานแรกเริ่มนี้ให้ก�ำเนิด ชีวติ รูปแบบต่าง ๆ ทีม่ คี วามหลากหลายและอุดมยิง่ กว่า แต่ละชีวติ ล้วน มีลักษณะและอัตลักษณ์แตกต่างกันไปน้อยบ้างมากบ้าง พูดเป็นภาษา คอมพิวเตอร์กร็ าวกับว่าชีวติ ทวีคณ ู จาก 2 บิตเป็น 4 บิต 8 บิต 16 บิต 32 บิต 64 บิตไปเรื่อย ๆ การทวีคูณแต่ละครั้งแสดงถึงการจัดเรียง สับเปลีย่ นใหม่ ๆ เป็นล้านเป็นพันล้านครัง้ ของขนาด รูปแบบ และสิง่ ทีเ่ รา อาจเรียกว่า ความละเอียด ชีวิตที่มีความละเอียดสูงอย่างพวกเราซึ่ง ทะนงตนว่าเป็นมนุษย์สมัยใหม่ มีตัวตนขึ้นมา และเมื่อมีชีวิตรูปแบบ ใหม่เกิดขึน้ มา ก็มกี ารเกิดสิง่ ทีน่ กั ชีววิทยาเรียกว่า การเกิดสายพันธุใ์ หม่ ผมชอบมองว่าขั้นตอนแรกในการสรรค์สร้างชีวิตเป็นเหมือน จอทีวีขาวด�ำรุ่นคุณทวดที่เอาไว้เล่นเกมปอง (Pong) จ�ำเกมชื่อปอง ได้ไหม เกมนี้มีสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาวสองอันเป็นไม้และจุดสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นลูกบอล ลักษณะเป็นเกมตีโต้กันแบบเทนนิสในรูปแบบดิจิทัลยุค โบราณ ประมาณ 35 หรือ 40 ปีตอ่ มา เกมนีไ้ ด้รบั การพัฒนาให้กราฟิก เป็นสามมิติระดับความละเอียดสูงระดับอัลทราพร้อมเทคโนโลยีความ จริงเสมือน (virtual reality) และความจริงผสมผสานความจริงเสมือน (augmented reality) เช่นเดียวกับจักรวาลของกรีก สรรพสิ่งซึ่งเริ่ม จากรูปแบบพื้น ๆ เชื่องช้า ความละเอียดต�่ำ ปะทุเป็นสิ่งมีชีวิตที่หลาก หลายรุ่มรวยในทุกวันนี้ ปฐมกาล ภาคที่ 2
71
74
(บน) นวกัญญามิวส์ เทพีแห่งศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่มา The Dance of the Muses, Joseph Paelinck, 1832. Private Collection.
(ซ้าย) มอยรายหรือเฟตส์ทั้งสาม ได้แก่ คลอโท แลเชซิส และอะโทรพอส ที่มา Relief of the Three Moirai. Alte Nationalgalerie, Berlin. Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
75
(บนสุด) เหล่าเทพเจ้าต่อสู้กับเทพไททันในมหาสงครามไททันซึ่งกินเวลานาน 10 ปี ที่มา The Battle Between the Gods and the Giants, Joachim Antonisz Wtewael, c.1608. Art Institute of Chicago (บน) ชัยชนะของเทพเจ้าแห่งโอลิมปัส ที่มา The Gods of Olympus, Sala dei Giganti, c.1528. Palazzo del Te. ปฐมกาล ภาคที่ 2
คลีโอ
เทพีคลีโอ (Clio หรือ Kleio-มีชอื่ เสียง) ซึง่ ปัจจุบนั นีถ้ กู ลดชัน้ เป็นเพียง รุน่ หนึง่ ของรถยนต์ยหี่ อ้ เรโนลด์และเป็นชือ่ รางวัลในวงการธุรกิจโฆษณา แท้จริงเป็นมิวส์แห่งประวัตศิ าสตร์ มีหน้าทีป่ า่ วประกาศ ปล่อยข่าว และ เผยแพร่ชื่อเสียงคุณงามความดีของผู้ยิ่งใหญ่ สมาพันธ์โต้วาทีของ อเมริกาที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งก่อตั้งที่พรินซ์ตันโดย เจมส์ เมดิสัน (James Madison) แอรอน เบอร์ (Aaron Burr) และคนอืน่ ๆ ได้รบั การตัง้ ชือ่ เพือ่ เป็นเกียรติแก่เทพีคลีโอว่า สมาคมคลีโอโซฟิเคิล (Cliosophical Society) เอราโต 76
เอราโต (Erato) เป็นมิวส์แห่งกวีนพิ นธ์และล�ำน�ำเพลงความรัก นามของ เทพีเกี่ยวข้องกับอีรอส เทพแห่งความรัก และค�ำว่า erotic ความใคร่ บางครั้งในงานศิลปะจะให้เอราโตถือลูกศรทองค�ำเพื่อแสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมโยงกัน และมีนกเขา ดอกเมอร์เทิล และเครื่องดนตรีลูตเป็น สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทพี ยูเทอร์พี
มิวส์แห่งดนตรีนาม ยูเทอร์พี (Euterpe) เป็นเทพีแห่งความรืน่ เริงบันเทิงใจ ผูม้ คี วามสัมพันธ์กบั สไตรมอน (Strymon) เทพแห่งแม่นำ�้ แล้วให้กำ� เนิด กษัตริยร์ ซี สั (Rhesus) แห่งแคว้นเทรซ ผูม้ บี ทบาทไม่มากนักในสงคราม ทรอย ส่วนในข้อที่ว่ากษัตริย์รีซัสยกชื่อให้ตั้งเป็นชื่อลิงซึ่งต่อมาผันเป็น ชื่อประเภทของเลือดมนุษย์นั้น ยังไม่ฟันธงว่าจริงตามนั้นหรือไม่ Mythos
เล่ าขานต� ำ นานเทพกรี ก
เมลพอเมนี
มิวส์ผู้โศกเศร้า เมลพอเมนี (Melpomene) (ผู้มีนามมาจากค�ำกริยา กรีก หมายถึงเฉลิมฉลองด้วยการเต้นร�ำและร้องเพลง) เป็นเทพีแห่ง การร้องประสานเสียงและละครโศกนาฏกรรม ซึ่งรวมศาสตร์แห่งดนตรี กวีนิพนธ์ ละครร้อง ละครหน้ากาก การร้องร�ำท�ำเพลง และการเฉลิม ฉลองทางศาสนา นักแสดงเอกโศกนาฏกรรมนีส้ วมรองเท้าหุม้ ข้อหนา ๆ แบบกรีก4 ทีเ่ รียกว่า “บัสกิน” (buskin) ในภาษาอังกฤษ และคอทูรน์ สั (cothurnus) ในภาษากรีก และเมลพอเมนีเองก็มีภาพลักษณ์ถือหรือ สวมใส่รองเท้าแบบนี้และถือหน้ากากคนหน้าเศร้าที่มีรูปปากแบะลงมา แบบคนไม่มคี วามสุข เช่นเดียวกับภคินเี ทิรป์ ซิคอรี (Terpsichore) เทพี เป็นมารดาของเหล่าไซเรน ซึ่งจะได้เล่าให้ฟังในกาลต่อไป โพลีฮิมเนีย
hymnos เป็นภาษากรีก แปลว่าสรรเสริญ โพลีฮิมเนีย (Polyhymnia) เป็นมิวส์แห่งเพลงสวด (hymn) ดนตรีที่เกี่ยวกับศาสนา ระบ�ำร�ำฟ้อน กวีนิพนธ์ ตลอดจนวาทศิลป์ ซึ่งบ้างอาจเหมารวมไปถึงเกษตรกรรม ละครใบ้ เรขาคณิต และการท�ำสมาธิ ผมคิดว่า ปัจจุบนั นีน้ า่ จะให้สมญา เทพีว่าเป็น “มิวส์แห่งการฝึกจิต” เสียเลย ปกติเทพีฮิมนอสได้รับการ พรรณนาว่ามีหน้าตาออกจะเคร่งเครียด นิว้ แตะทีป่ ากในท่าครุน่ คิดเคร่ง ขรึม เทพีเป็นอีกองค์หนึ่งที่เป็นมารดาของวีรบุรุษดนตรีนามว่า ออร์เฟียส (องค์หนึ่งคือเทพีคัลลิโอพี) 4
เพื่อให้นักแสดงเอกเพิ่มความสูงและเป็นการใช้เชิงอุปมาด้วย
ปฐมกาล ภาคที่ 2
77
ต�ำนานเทพของชาวกรีกนีน้ า่ ทึง่ ในรายละเอียดทีแ่ สนวุน่ วาย น่าประหลาดใจ โรแมนติก ตลก โศกเศร้า โหดร้าย และชวน ลุม่ หลง ในแต่ละเรือ่ งราว ถ้าคุณได้อา่ นแล้วจะอดทึง่ ไม่ได้ ว่าอะไรดลใจให้ชาวกรีกสร้างโลกทีม่ ตี วั ละครและเหตุการณ์ มากมายและอลังการได้ขนาดนี้ หากคุณพร้อมจะด�ำดิง่ ลงไปพบกับความจริงเบือ้ งลึก ในต�ำนานเทพกรีกแล้วละก็ แสดงว่าคุณได้ก้าวเข้าสู่ความ บันเทิงแล้วแน่นอน ความบันเทิงนี้เองจะน�ำพาคุณไปสู่โลกแห่งต�ำนาน เทพกรีก สตีเฟน ฟราย
หมวดต�ำนาน/เรื่องเล่า ราคา 499 บาท ISBN 978-616-465-051-0 สั่งซื้อออนไลน์ที่
@sarakadeemag