พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าแผ่นดินสยาม

Page 1

ดร. ธิดา สาระยา

หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๕๐๐ บาท ISBN 978-616-465-003-9

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม

มัยรัชกาลที ่ ๕ เป็นสมัยแห่งการเปลีย่ นแปลงอันใหญ่หลวง ทั้ง โดยปัจจัยจากเงื่อนไขสภาพแวดล้อม และโดยตัวบุคคลส�ำคัญ ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง...โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงเป็ น ผู ้ น�ำ ในการเปลี่ ย นแปลงและ ทรงสร้างกลุ่มผู้นำ� รุ่นใหม่ขึ้น ในทางด้านการเมืองการปกครอง เกิดระบบราชการเป็นกลไก ส�ำคัญในการดึงอ�ำนาจท้องถิ่น-ภูมภิ าคเข้าสูศ่ น ู ย์กลาง  คนส่วนใหญ่ ของประเทศที่ ศึ ก ษาหาความรู ้ มุ ่ ง เข้ า รั บ ราชการจนกลายเป็ น ชนชั้นใหม่ในสังคม  ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศถูกปลดปล่อย จากระบบไพร่-ทาส ถูกสร้างให้เป็นพลเมืองดีของชาติ   ในทางด้าน เศรษฐกิจ เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า ซึ่ง น�ำ ไปสู ่ ร ะบบเศรษฐกิ จ แบบเงิน ตรา  ในทางสั ง คม สมั ย นี้แ ม้ จ ะ หลุดจากสังคมศักดินาในระบบเดิม แต่ปรากฏความต่างทางฐานะ และสถานภาพของกลุ่มคนซึ่งแบ่งได้เป็นเจ้านาย ข้าราชการ นายทุน ผู้ประกอบการ และสามัญชนทั่วไป ซึ่งประกอบอาชีพต่าง ๆ กัน การเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นการถึงซึ่งพระชนม์ชีพก่อน เวลาอันควรโดยแท้  ด้วยพระราชกรณียกิจมากมายอันส�ำคัญยิ่งใน ฐานะผู้น�ำแห่งการสร้างสยามใหม่และเป็นยุคแห่งการเข้าใจเหตุผลเชิง วิทยาศาสตร์  กระนั้นก็ดคี วามรูค้ วามเข้าใจเหล่านี้มไิ ด้ดบั โศกให้เหือด หายในการสูญเสียองค์พระประมุขของสยามใหม่

พระบาท

สมเด็จ

พระจุล จอมเกล้าฯ-

เจ้าแผ่นดิน

สยาม ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ISBN 978-616-465-003-9 หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม ผู้เขียน ดร. ธิดา สาระยา พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน ๒๕๔๐ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ จ�ำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม ราคา ๕๐๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลต พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่าย

อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ณิลณา หุตะเศรณี ธนา วาสิกศิริ เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. ๐ ๒๙๖๖ ๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ)  ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ธิดา สาระยา. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม. - - นนทบุร ี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๑. ๔๑๖ หน้า. ๑. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓ . ๒. ไทย -- ประวัติศาสตร์.  I. ชื่อเรื่อง. ๙๒๓.๑๕๙๓ ISBN 978-616-465-003-9

ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนามบริษั ทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด)  ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๐๐ โทรสาร ๐ ๒๕๔๗ ๒๗๒๑  ที่ ป รึ ก ษา ศรี ศั ก ร วั ล ลิ โ ภดม  ธิ ด า สาระยา  เสนอ นิ ล เดช สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์  จ�ำนงค์ ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด/ประชาสัมพันธ์ กฤตนัดตา หนูไชยะ  บรรณาธิการ  ส�ำนักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง 2 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

วันที ่ ๒๓ ตุลาคมของทุกปี ถูกก�ำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพือ่ น้อมร�ำลึกถึงพระ มหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  รัชกาลที ่ ๕ นับถึง ปัจจุบันเป็นเวลา ๑๐๘ ปีแล้วที่พระองค์เสด็จสวรรคต หากแต่พระราชกรณียกิจ ในช่วง ๔๒ ปีแห่งการครองราชย์ได้รับการบอกเล่าสืบต่อมาทั้งในแบบเรียน งาน วิจัย หนังสือ งานสัมมนา รวมถึงเรื่องเล่าต่าง ๆ จวบจนปัจจุบัน หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม เล่มนี้ เป็น ผลงานที่ ผู ้ เ ขี ย น ดร. ธิ ด า สาระยา เขี ย นขึ้ น ด้ ว ยความรั ก และเทิ ด ทู น องค์ พระปิยมหาราช  น�ำพาผู้อ่านรู้จักพระปิยมหาราชของปวงชนชาวไทยด้วยแนวคิด ส�ำคัญคือ การพัฒนาราษฎรของพระองค์ด้วยการให้สิทธิในชีวิตและสิทธิในที่ดิน ท�ำกิน  อีกประการคือ การที่พระองค์น�ำพาประเทศสยามเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ ประชาคมโลกในช่วงเวลาทีล่ ัทธิจกั รวรรดินยิ มจากประเทศตะวันตกก�ำลังแผ่ขยาย อ�ำนาจไปทัว่ โลก  สิง่ ที ่ ดร. ธิดาน�ำเสนอแก่ผอู้ า่ นท�ำให้เรารับรูถ้ งึ สภาวการณ์จาก ภายในและภายนอกประเทศทีร่ ชั กาลที ่ ๕ ต้องเผชิญนับแต่ยงั ทรงพระเยาว์จวบจน สิ้นพระชนม์  เป็นภาวการณ์ที่มนุษย์ผู้อยู่ในสถานะพระมหากษัตริย์ ผู้ต้องรับผิด ชอบต่อชีวติ ของราษฎร ต้องทรงแบกรับ  จากเอกสารหลายชิน้ ทีผ่ เู้ ขียนอ้างอิงถึง ในหนังสือเล่มนี ้ โดยเฉพาะเอกสารประเภทพระราชหัตถเลขาของพระองค์ สะท้อน ถึงความเป็นมนุษย์สามัญของพระองค์ท่าน ที่มีความทดท้อ เสียพระทัย เหนื่อย เบื่อ หากแต่พระองค์ทรงอดทน ตรากตร�ำพระวรกายเพื่อผลส�ำเร็จที่ท้ายสุดแล้ว เพื่อราษฎรและเพื่อประเทศของพระองค์ 3 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


เป็นที่รู้กันดีว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น ช่วงเปลีย่ นผ่านทีส่ �ำคัญในประวัตศิ าสตร์ไทย เรียกได้วา่ เป็นการเปลีย่ นจากสยาม เก่าที่สืบทอดขนบและคติจากสมัยกรุงศรีอยุธยา มาสู่การเป็นสยามใหม่ เพื่อก้าว ทันโลกตะวันตกที่รุกเข้าสู่สยามอย่างรวดเร็ว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องด�ำเนิน ไปตามครรลองโลกย์ทมี่ อิ าจหลีกเลีย่ งได้ เป็นการเปลีย่ นแปลงทัง้ ในระดับรัฐ และ ระดับปัจเจกบุคคลที่ส่งผลต่อวิธีคิด ค่านิยม วิถีชีวิต คติความเชื่อ ของผู้คนใน รัชสมัยของพระองค์  พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวสะท้อนถึงสายพระเนตรอันยาวไกล การที่ทรงได้รับการศึกษาทั้งวิชา ความรู้ของไทยและตะวันตกเป็นพื้นฐานให้พระองค์ทรงรู้จักรากขององค์ความรู้ แบบไทย พร้อมกับรู้จักโลกที่กว้างไกล  เห็นได้จากพระราชกรณียกิจเมื่อทรง ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ คือ โปรดเกล้าฯ ยกเลิกธรรมเนียมการหมอบคลานเข้า เฝ้าฯ และที่ส�ำคัญคือ การยกเลิกระบบไพร่-ทาส ที่ ใช้เวลาเกือบ ๓๐ ปี ในการ ค่อย ๆ ปลดปล่อยราษฎรจากพันธนาการต่อมูลนาย สู่การสร้าง “ราษฎร” ผู้มีหน้าที่ ในการท�ำนุบ�ำรุงประเทศและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  พระองค์ ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จต่างประเทศ ทั้งเพื่อออกไป เรียนรู้โลกและเพื่อน�ำโลกให้รู้จักสยาม  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก ที่เสด็จ “ประพาสต้น” อันเป็นการท่องเที่ยวในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อส�ำรวจวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร (และราษฎรได้รู้จักพระองค์) และยังมีอีกหลายสิ่งอย่าง ที่ทรงริเริ่มปฏิบัติเป็นพระองค์แรก อย่างไรก็ตามแม้พระราชกรณียกิจหลายประการให้ผลดี แต่ก็มีหลายสิ่งที่ ให้ผลผิดไปจากพระราชประสงค์ แต่ที่มิอาจปฏิเสธได้คือ รัชสมัยของพระองค์คือ การวางรากฐานของการพัฒนาประเทศ แม้ในช่วงที่ทรงมีพระชนม์ชีพทุกอย่าง เพิง่ เริม่ ต้น ยังไม่บรรลุผลชัดเจน  แต่พระองค์สามารถน�ำพาสยามและราษฎรเข้า เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ด้วยความตั้งพระทัยที่จะให้เกิดปัญหาหรือการ สูญเสียน้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้  ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงมีพระชนม์ชีพพระองค์จึงเป็น ที่รักและเทิดทูนของราษฎร ดังเรื่องราวต่าง ๆ ที่บันทึกในการเสด็จประพาสต้น ทีส่ ำ� คัญคือ “พระบรมรูปทรงม้า” พระบรมราชานุสาวรียท์ รี่ าษฎรร่วมกันเรีย่ ไรเงิน สร้างขึน้ ตัง้ แต่ยงั ทรงมีพระชนม์ชพี  แสดงถึงความรักทีร่ าษฎรมีตอ่ พระมหากษัตริย์ 4 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ของพวกเขา สมดังที่ทรงรักและดูแลราษฎรประหนึ่งบิดาดูแลบุตร  และนับว่า เป็นค่านิยมใหม่ ในสังคมไทยที่สร้างอนุสาวรีย์เพื่อร�ำลึกถึงบุคคลในขณะที่ยังมี ชีวิตอยู่  ที่น่าสนใจคือ ความรักและเทิดทูนรัชกาลที่ ๕ ของราษฎรยังเจือด้วย ความศักดิ์สิทธิ์ ดัง “เสมา” ที่พระองค์พระราชทานราษฎรในยามเสด็จประพาส กลายเป็นวัตถุมงคลที่สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยไข้ได้  จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในยามทีพ่ ระองค์เสด็จสวรรคตแล้วจะทรงได้รบั การยกย่องประดุจเทพผูท้ สี่ ามารถ ช่วยแก้ปญ ั หาหรือดลบันดาลให้เกิดสิง่ ดีแก่ผทู้ สี่ กั การบูชาพระบรมรูปหรือพระบรม ราชานุสาวรีย์ของท่าน  ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามพระ “ปิยมหาราชที่รักของมหาชน ทั่วไป” ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สถิตย์ในใจของชาวไทยตราบนานเท่านาน ในวาระทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ ๑๕๐ ปี   ใน พ.ศ. ๒๕๖๑ นี้   ส� ำ นั ก พิ ม พ์ เ มื อ งโบราณขอน้ อ มร� ำ ลึ ก ถึ ง พระองค์ด้วยการจัดพิมพ์หนังสือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดิน  สยาม สู่ผู้อ่านอีกครั้ง  หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยแบ่ง เป็น ๓ เล่มคือ “สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย” “ราษฎรในครรลอง แห่งความเจริญของสยาม” และ”บ้าน เมือง และประเทศในสายพระเนตร” ส�ำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๒ นี้ได้รวมเนื้อหาทั้งสามเล่มอยู่ในเล่มเดียวกันเพื่อความ สะดวกส�ำหรับผู้อ่าน โดยแบ่งเป็นสามภาค มีการปรับปรุงภาพประกอบบาง ส่วน ออกแบบจัดวางรูปเล่มและหน้าปกใหม่  เพิ่มเนื้อหาส่วนการล�ำดับเวลาทาง ประวัติศาสตร์ที่สรุปเหตุการณ์สำ� คัญในสมัยรัชกาลที ่ ๕ เทียบเคียงกับเหตุการณ์ ส�ำคัญที่เกิดในประวัติศาสตร์โลกในช่วงรัชสมัยของพระองค์ ที่จะช่วยให้ผู้อ่านได้ เข้าใจบริบทภายในและภายนอกที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์อันเป็นช่วง เวลาหนึ่งที่ส�ำคัญและน่าสนใจของประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ ตุลาคม ๒๕๖๑

5 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที ๑ ่ )

หนังสือชุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม แบ่งออกเป็น ๓ เล่ม โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกัน เล่มที่ ๑ สยามมินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย ให้ภาพในมิติที่ลึกเกี่ยว กับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มตั้งแต่ขึ้น ครองราชย์สมบัติเมื่อครั้งเยาว์พระชันษา จนถึงวาระเสด็จสวรรคต พระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์จักรีที่มิได้ทรงรับการศึกษาอบรมใน ต่างประเทศ ทรงใกล้ชิดถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและความรู้จากสมเด็จ พระราชบิดาอย่างใกล้ชิดด้วยทรงก�ำพร้าพระชนนีมาแต่วัยอันน้อยนิด  “ชาย จุฬาลงกรณ์” เป็นที่สนิทของสมเด็จพระราชบิดายิ่งนัก  ทรงตั้งพระราชประสงค์ ไว้ส่วนหนึ่งหวังให้พระราชโอรสได้เป็นกษัตริย์สืบแทนพระองค์  ท่ามกลางความ หวัน่ ไหวของสถานการณ์แวดล้อมในหมูเ่ จ้านาย-ขุนนางสยามในสมัยนัน้  ทีย่ งั มิได้ มีกฎเกณฑ์ตายตัววางไว้ส�ำหรับผู้ที่จะขึ้นครองราชย์  ขณะที่โลกทัศน์และสังคม ก�ำลังเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วในทุกด้าน  การเข้ามาและติดต่อของผู้คนจากโลกแห่ง อารยธรรมตะวันตกท�ำให้ความสมดุลทีเ่ คยมีในชีวติ ของชาวสยามเปลีย่ นแปร หลัง จากทรงขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์กลับทรงเป็นผู้น�ำความเปลี่ยนแปลงเสียเอง โลกทัศน์และชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย สอดคล้องกับการเปลี่ยนกรุงเทพฯ เป็นราชธานี ในสายตาประชาคมโลก เป็น ศูนย์รวมแห่งความเจริญทางวัตถุและความทันสมัยแบบนานาอารยประเทศ พระปรีชาญาณอันชาญฉลาด  ทรงท�ำความเข้าใจและรู้จักสถานการณ์ ความ 6 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ถ่อมพระองค์ อันเป็นคุณสมบัติเด่นของพระมหากษัตริย์องค์นี้ น�ำพระองค์ไป สู ่ พ ระราชอ� ำ นาจอั น สู ง สุ ดในแผ่ น ดิ น อย่ า งแท้ จ ริ ง   ประกอบด้ ว ยพระราช อัธยาศัยเมตตากรุณา ทรงทิง้ รอยร�ำลึกไว้ในดวงใจประชาราษฎร์ และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อทรงเปลี่ยนมโนทัศน์เกี่ยวกับการปกครองให้มุ่งไปสู่การท�ำความ รู้จักและสัมพันธ์ใกล้ชิดราษฎรมากขึ้นและได้เสด็จประพาสไปในหลายท้องที่ เล่ม ๒ ราษฎรในครรลองแห่งความเจริญของสยาม  ในสังคมศักดินาเดิม ชาวสยามทุกคนมีพนั ธะทางการเมืองและสังคมอยูด่ ว้ ยเงือ่ นไขของระบบไพร่-ทาส โดยผิวเผินแล้วโซ่ตรวนที่ร้อยรัดนี้เหมือนเครื่องพันธนาการชีวิตทางสังคมของทุก คนให้มีหน้าที่อย่างเคร่งครัดต่อการเมืองและส่งผลต่อเศรษฐกิจ  แต่ในมุมมอง ด้านลึกระบบนี้เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่อย่างคล่องตัวพอสมควรของไพร่-ทาสภายใต้ มูลนาย ซึง่ โยงใยภายใต้ความอุปถัมภ์ให้แก่กนั และระหว่างกัน  ความเปลีย่ นแปลง ของเศรษฐกิจทีเ่ งินตรากลายมาเป็นสือ่ กลางอันส�ำคัญได้เปลีย่ นโฉมหน้าของสังคม ทีละน้อย กัดกร่อนก�ำแพงหนาของการถูกเกณฑ์แรงงาน-ส่วยในหมู่ไพร่ข้าทาส และแน่นอนรูปแบบความสัมพันธ์กบั มูลนายย่อมเปลีย่ นไป  ภายใต้สถานการณ์เช่น นี้เองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกระบบทาส-ไพร่ อย่างค่อยเป็นค่อยไป  เริ่มต้นพันธะใหม่ของชาวไทยและสิ้นสุดด้วย “พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร พ.ศ. ๒๔๔๘”  ชายไทยทุกคนหลุดจากพันธะการผูกพันกับ มูลนาย  ถูกเกณฑ์เป็นทหารของรัฐ  ราษฎรทัง้ ชาย-หญิงกลายเป็นพสกนิกรแห่ง องค์พระมหากษัตริย์ปกเกศคุ้มเกล้าด้วยพระบารมี และเริ่มมีกฎหมายคุ้มครอง ชีวิต  “สิทธิ” นั้นกินเวลาอีกยาวนานกว่าจะได้มา แต่รัฐก�ำหนด ”หน้าที่” มาแล้ว ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ตั้งแต่การจ่ายภาษีอากรแก่รัฐ และสั่งสมให้เกิดความรู้ และคุณสมบัตอิ นื่ อีกหลายประการ  ชีวติ อันแร้นแค้นขัดสนของชาวนา ความสับสน ที่ต้องปรับตัวของชาวเมือง ตลอดจนความใหม่ของมโนทัศน์ต่าง ๆ แบบตะวันตก คละเคล้าเป็นบรรยากาศของประวัตศิ าสตร์ชว่ งนัน้  ช่วงทีส่ ยามถูกสร้างให้ทนั สมัย มุ่งไปสู่ความเจริญของโลกย์สมัยใหม่ กระนั้นก็ดี ในวิถีแห่งความเจริญนี ้ ราษฎร อยู่ในสายพระเนตรของพระองค์-พระสยามินทร์ เล่ม ๓ บ้าน เมือง และประเทศในสายพระเนตร  เป็นที่เข้าใจและรับรู้กัน ทัว่ ไปว่า ภัยแห่งลัทธิจกั รวรรดินยิ มของประเทศมหาอ�ำนาจได้คกุ คามสยามอยูร่ อบ 7 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ด้าน  ผู้น�ำสยามขณะนั้นดูจะเห็นพ้องต้องกันว่า  การด�ำเนินวิถีการทูตแบบใหม่ และปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยไปพร้อมกัน เป็นทางออกที่ดีส�ำหรับสยาม  นั่น หมายถึงการเปลี่ยนโลกทัศน์ในการติดต่อกับบ้านใกล้เรือนเคียงและประเทศที่ อยู่ไกลออกไป  การท�ำสงครามกับพม่าก็ไม่มีอีกต่อไปแล้ว  รูปแบบพันธไมตรี ทางการเมืองและการค้าที่มีต่อจีนอันเป็นประเทศใหญ่ ทั้งโดยความเปลี่ยนแปร ของเหตุการณ์ที่จีนแพ้ฝรั่งในการรบและโดยการเปลี่ยนท่าทีของสยามที่ ไม่ยอม ไป “จิม้ ก้อง” ดังก่อน  การเจริญพระราชไมตรีแบบเดิมทีอ่ งค์พระมหากษัตริยเ์ ป็น ประดุจพระจักรพรรดิราช ศูนย์กลางแห่งโลก-จักรวาล ในปริมณฑลหรือวงแห่ง อ�ำนาจของพระมหากษัตริยแ์ ต่ละองค์ซงึ่ ติดต่อสัมพันธ์กนั มานมนานแล้วนัน้  ก�ำลัง เสียสมดุลอันเนือ่ งจากการเข้ามาของอ�ำนาจตะวันตก  พระมหากษัตริยส์ ยามตัง้ แต่ สมัยรัชกาลที ่ ๓ ทรงเริม่ ส�ำนึกถึงความเปลีย่ นแปลงนี้ แต่ผทู้ เี่ ริม่ ปรับตัวเข้าสูว่ งจร ของการเปลีย่ นแปลงทางการทูตอย่างแท้จริงคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั และบรรดาเสนาบดีตระกูลบุนนาค ที่ได้สง่ ลูกหลานไปเรียนทีย่ โุ รปตัง้ แต่ สมัยนั้น  ความเปลี่ยนแปลงที่ได้เริ่มต้นมาแล้วนี้เป็นพื้นฐานที่มีความหมายยิ่งต่อ การสร้างสยามใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ และปัญญาชนทั้งหลายของสยามใหม่ได้น�ำรัฐนาวาออกไปเผชิญโลก ทรงเปลี่ยน ลักษณะการเจริญพระราชไมตรีแบบเดิมเป็นวิถที างการทูตสมัยใหม่ ยอมรับกติกา ของประชาคมโลกเท่า ๆ กับที่พยายามสร้างไมตรีอันสนิทสนมกับบรรดาเจ้านาย และราชส�ำนักยุโรปในสมัยนั้น  ความรู้จักถ่อมพระองค์ ทรงรู้จักสถานการณ์ และพระราชอัธยาศัยละมุนละม่อมอ่อนหวานผูกน�้ำพระทัยราชวงศ์ยุโรปโดยส่วน พระองค์ สามารถส่งเสริมนโยบายการติดต่อกับต่างประเทศและการเจรจาความ ให้ผลอันหนักนั้นกลายเป็นเบาได้  ส่วนหนึ่งการเสด็จประพาสยุโรปของพระองค์ จึงมีความหมายตามนัยดังกล่าวมานี้ ในการเขียนหนังสือชุดนี้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจอยู่สองประการ ประการแรก ข้าพเจ้าต้องการเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับบุคคลส�ำคัญให้สัมพันธ์กับสภาวะ แวดล้อมและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์  ด้วยหวังว่าจะท�ำให้คนรุ่นหลังเข้าใจชีวิต และอารมณ์ของบุคคลนั้น ตลอดจนเหตุการณ์แวดล้อมที่ส่งผลต่อการด�ำเนินงาน การตัดสินใจ และอืน่  ๆ  ข้าพเจ้ามิใช่ผตู้ ดั สินประวัตศิ าสตร์ และด้วยเหตุนขี้ า้ พเจ้า 8 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


จึงพยายามใช้หลักฐานเท่าที่หาได้รื้อฟื้นภาพรวมทางประวัติศาสตร์ให้เกิดขึ้น ความตั้งใจประการที่ ๒ ของข้าพเจ้า มุ่งสร้างต�ำราให้เป็นพื้นฐานส�ำหรับเข้าใจ ประวัติศาสตร์ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งให้มาต่อ-ตอบกับค�ำถามในปัจจุบันได้  ใน ส่วนนีข้ า้ พเจ้าหวังว่าหนังสือชุดนีจ้ ะเป็นพืน้ ฐานความรูใ้ นช่วงการเปลีย่ นแปลงทาง ภูมิปัญญาของสังคมกรุงรัตนโกสินทร์ได้บ้าง การค้นคว้าส�ำหรับเขียนหนังสือชุดนี้ ใช้เวลานานมาก และเมื่อท�ำต้นฉบับ เสร็จแล้วข้าพเจ้าไม่อาจลืมน�้ำใจและความช่วยเหลือจากหลายท่าน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งทุกคนในกองบรรณาธิการอันมีประสิทธิภาพของส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ บรรณาธิการและผู้ช่วยบรรณาธิการของหนังสือชุดนี้ “บอบช�้ำ” ไม่น้อยในการ ตรวจแก้ความขรุขระของการด�ำเนินเรื่องและการติดตามต้นฉบับ ข้าพเจ้าขอ ขอบคุณ ดร. ธิดา  สาระยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  สิงหาคม ๒๕๔๐

9 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


สารบัญ

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้เขียน (ในการพิมพ์ครั้งที ่ ๑) สารบัญ

๓ ๖ ๑๐

ภาค ๑ สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย เสวยราชสมบัติ พระราชอ�ำนาจสูงส่ง วิวัฒนาการไปตามครรลอง “โลกย์” เสด็จสู่สวรรคาลัย

๒๐ ๒๖ ๕๑ ๘๕ ๑๒๘

ภาค ๒ ราษฎรในครรลองแห่งความเจริญของสยาม การเลิกทาส อุดมคติเกี่ยวกับทาส กระบวนการสลายตัวของระบบทาส ชาวนา พลเมืองดีของชาติ

๑๖๐ ๑๖๗ ๑๗๔ ๑๘๖ ๑๙๙ ๒๑๒

10 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ภาค ๓ บ้าน เมือง และประเทศในสายพระเนตร พื้นฐานความคิดเกี่ยวกับประเพณีการทูตสยาม “การเจริญพระราชไมตรี” นโยบาย”ข่มตนยกท่าน” เสด็จประพาสยุโรป

๒๓๖ ๒๔๑ ๒๖๒ ๒๘๘ ๓๐๗

ภาคผนวก ภาคผนวก ๑ ร่างพระราชกฤษฎีกาที ่ ๑ ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม ภาคผนวก ๒ ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ เรื่องการศึกษาของประเทศสยาม ภาคผนวก ๓ สนธิสัญญาเบอร์นี ภาคผนวก ๔ สนธิสัญญาบาวริง บรรณานุกรม

๓๕๐ ๓๕๐ ๓๖๐

11 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า

๓๖๓ ๓๗๓ ๓๙๖


ภาค

สยามินทร์

ปิ่นธเรศเจ้า

จุลจอม

จักรเอย 20 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ภาค

สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า  จุลจอม จักรเอย

“สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า จุลจอม จักรเอย นึกพระนามความหอม ห่อหุ้ม อวลอบกระหลบออม ใจอิ่ม เพราะพระองค์ทรงอุ้ม โอบเอื้อเหลือหลายฯ” (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง.)

นักวิชาการหลายท่านต่างมีความเห็นพ้องกันว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระ  จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขึน้ เสวยราชสมบัตนิ นั้  มีอ�ำนาจของกลุม่ การเมืองเก่าอยูห่ ลาย  กลุม่  และในการบริหารราชการแผ่นดินพระองค์ตอ้ ง “ขจัด” เสียซึง่ อ�ำนาจเหล่านี้  เพื่อจะได้น�ำรัฐนาวาก้าวล่วงพ้นความล้าหลัง และหลบหลีกการเสียดินแดน  ให้ต่างประเทศหรือหากต้องเสียดินแดนก็ให้เสียน้อยที่สุดอย่างละมุนละม่อมที่สุด  เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ อย่างไรก็ตามสิง่ หนึง่ ที่ไม่ควรละเลยในการพิจารณาเหตุการณ์ประวัตศิ าสตร์  ช่วงรัชสมัยนี้คือ พระราชวิจารณญาณที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  พระอุปนิสัย  อันอ่อนโยนละมุนละไมและอ่อนหวานดังสะท้อนอยู่ ในบทพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ  ยังแฝงด้วยการถ่อมพระองค์ที่จะก้าวขึ้นสู่ชัยชนะในวันหน้าอีกด้วย  เห็นได้ชัด  จากพระราชด� ำ รั ส ตอบค� ำ กราบบั ง คมทู ล ของขุ น นางข้ า ราชการกลุ ่ ม หนึ่ ง ที่  ต้องการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขการปกครองแผ่นดินตอนหนึ่ง เท้าความถึงเมื่อเริ่ม  21 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


เสวยราชสมบัติจนกระทั่งมาถึงเมื่อเวลาที่พระองค์ทรงได้พระราชอ�ำนาจพอที่จะ  เริ่มเปลี่ยนแปลงและปกครองบ้านเมือง “...เพราะเราเป็ น คนอ่ อ น ไม่ ส ามารถจะหั ก หาญเอาแก่ ผู ้ ห นึ่ ง ผู ้ ใ ด... ดูเหมือนเราเป็นผู้ท�ำให้เสียอ�ำนาจพระเจ้าแผ่นดินไปเพราะความอ่อนแอของตัว ในความข้อนี้เราไม่อยากจะซัดโทษให้แก่ท่านเลย แต่เป็นการจ�ำเป็นที่จะต้อง พูดว่า อ�ำนาจเสนาบดี ได้เจริญขึ้นเพราะมีอ�ำนาจได้ตั้งเจ้าแผ่นดิน มาแต่ก่อน มากนักแล้ว จนตลอดถึงเวลาเราได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินขึ้นก็เป็นเวลาเคราะห์ ร้ายที่ตั ว เราเป็ น เด็ ก เป็นโอกาสยิ่งใหญ่ที่จะถอนอ�ำนาจเจ้าแผ่นดินได้หมด เหมือนว่าวที่ปล่อยจนหมดสายป่านไม่มีเหลือเลยยังเหลือแต่ธุระที่เราจะท�ำอยู่ เพียงจะชั่งก�ำลังตัวว่าเมื่อเราเป็นเด็กอยู่มีก�ำลังเพียงเท่านี้จะรั้งว่าวนั้นไว้ไม่หกล้ม  ฤาจะปล่อยให้ว่าวหลุดลอยไปเสีย  แต่เดชะบุญเราเป็นเด็กก�ำลังเดียวเท่านั้น ได้อาศัยป่านพัน หลักค่อย ๆ สาวเข้ามา จนไม่มีอันตรายหลุดลอยไปได้ แต่ก็  ยังเป็นพนักงานอย่างเดียวที่จะสาวสายป่านให้สั้นเข้ามาทุกที เมื่อเหลือก�ำลังก็  หย่อนไป เมื่อพอที่จะสาวก็สาวเข้ามาพันหลักไว้ เมื่อผู้ใดได้รู้การเก่า ผู้นั้นจะ เห็นได้ว่าความยากล�ำบากของเราเป็นประการใด... แต่เวลาปีหนึ่งสองปีนี้ดูเป็น โอกาสดีขึ้นมากที่ควรจะจัดการต่อไปอีกได้...” (พระราชด�ำรัสตอบความเห็นของผู้จะให้เปลี่ยนการปกครอง จ.ศ. ๑๒๔๗) ๑ จากพระราชด�ำรัสนี้จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงอ่อนโอนถ่อมพระองค์ลงเพื่อ ชัยชนะในบั้นปลาย เหตุการณ์หลายอย่างได้พิสูจน์พระราชวิจารณญาณอันชาญ  ฉลาดและพระราชอัธยาศัยอันละมุนละม่อม  หากพิเคราะห์แนวทางของพระองค์  ในการสร้างพระราชอ�ำนาจเพื่อปกครองทุกด้านแล้ว จะเห็นยุทธวิธีแห่งการได้มา  ซึ่งพระราชอ�ำนาจ ๓ แนวทางหลักคือ แนวทางที่ ๑ ทรงรู้สถานะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมอย่างดียิ่ง  และพิเคราะห์วา่ เงินตราเป็นสือ่ ส�ำคัญในการสร้างบุญบารมีให้ผนู้ ำ�  ซึง่ จะสามารถ  ลดบารมี ผู ้ อื่ น  น� ำ มาซึ่ ง พระราชอ� ำ นาจของพระองค์   ตลอดจนสร้ า งโอกาส  ให้เกิดในการท�ำนุบ�ำรุงบ้านเมือง ด้วยเหตุดังนั้นพระองค์จึงเริ่มพระราชกรณียกิจ  ส�ำคัญคือ การปฏิรูปการเงินการคลัง และน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการ 22 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


บริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งการลดอ�ำนาจของกลุ่มอ�ำนาจเดิม ซึ่งมีมาก  เสียจนกระทั่งในระยะแรกพระองค์ทรงกระท�ำได้เพียง “รั้งว่าวนั้นไว้ไม่หกล้ม...”  เท่านั้น (ซึ่งพระราชกรณียกิจส่วนนี้จะกล่าวถึงโดยรายละเอียดต่อไปในหนังสือ  เล่มนี้) แนวทางที่   ๒ ทรงมี พ ระราชหฤทั ย อ่ อ นโยนการุ ญ  ทรงมองเห็ น ความ  ทุกข์ยากของราษฎร  แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมใน  เวลานั้น การเกิดชนชั้น นายทุนใหม่ การสูญอ� ำนาจของขุน นางที่ ไ ม่รู้เท่าทัน  สถานการณ์ ตลอดจนการสลายตัวของระบบไพร่-ทาส  โดยปัจจัยแห่งการ  เปลี่ยนแปลงในสังคมเหล่านี้ส่วนหนึ่งทรงเล็งเห็นว่าการปลดปล่อยราษฎรให้  เป็นไทเป็นการกระท�ำที่เหมาะแก่สถานการณ์  พระองค์มุ่งหวังสร้างคุณภาพ  ของราษฎรให้เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง  การตัดสินพระทัย  ดังนี้เท่ากับเป็นการลดอ�ำนาจขุนนางและเปลี่ยนสภาวะกินเมืองให้หมดไป กลุ่ม  การเมืองในภูมิภาคและท้องถิ่นจะถูกดึงเข้ามาอยู่ใต้อ�ำนาจรัฐส่วนกลาง เพราะ  ทรงเล็งเห็นว่าราษฎรเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในครรลองการพัฒนาสยามใหม่  นี้เอง พระองค์จึงด�ำเนินพระราโชบายด้วยความรอบคอบและเมตตา ทรงออก  ประกาศ “พระราชบัญญัติเลิกทาส” ๒ แนวทางที่ ๓ ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลว่าสยามไม่สามารถหลีกพ้นจากการ  ติดต่อกับต่างประเทศ ต้องปรับเปลีย่ นวิธกี ารเจริญพระราชไมตรีให้เป็นแบบสากล  ขณะนั้นโลกทัศน์ทางด้านการทูตของสยามได้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปรไปแล้ว และยัง  ต้องเผชิญกับความจริงอย่างหนึ่งว่า มหาอ�ำนาจตะวันตกหวังประโยชน์ทุกด้าน  จากสยามรวมทั้งการครอบครองดินแดน วิถีการทูตในยุคนั้นจึงเป็นวิถีการทูต  ทีม่ งุ่ ประโยชน์ของชาติเป็นหลักใหญ่ แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั   ทรงเห็นว่าการเปิดตัวเองออกสู่ประชาคมโลกด้วยความถ่อมตน พร้อมที่จะ  เรียนรู้ความทันสมัยจะเป็นวิธีดีที่สุด สยามจึงด� ำเนินนโยบายต่างประเทศด้วย  การ “ข่มตนยกท่าน” และองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้  ทรงตัดสินพระทัยเสด็จประพาสยุโรป ๓ เสมือนสัญลักษณ์แห่งการเปิดประเทศ  สู่กติกาสากลของประชาคมโลกด้วยสถานภาพแห่งการเป็นประเทศเอกราชที่  มิได้ขึ้นแก่ ใคร และทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่น ที่จะให้โลกเห็นว่า สยามเป็น  23 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ลงจับฝูงใดก็ลม้ ตายเหลืออยูแ่ ต่ ๑ ตัว ๒ ตัวเท่านัน้  โรคนีม้ กั จะเกิดชุกชุมทัว่ ไปไม่ ใคร่เว้นหมู่บ้าน ปีนี้ราษฎรถึงแก่ทำ� นาด้วยพร้าด้วยมีดโดยมาก” ๙๙ ลักษณะเป้าหมาย ตลอดจนค่านิยมในการท่องเที่ยวที่เดิมอยู่ในการศาสนา ความเชื่อ มาเป็นการโลกดังกล่าวมาล�ำดับนี้ ท�ำให้เห็นว่าการท่องเที่ยวได้กลาย เป็นวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์ทั้งโดยส่วนตนผู้ท่องเที่ยว และเป็นแนวทางในการ ท�ำความรู้จักและปกครองราษฎรในสมัยรัชกาลที ่ ๕ ด้วย

120 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงเปิดสะพานเฉลิมโลก ๕๕   เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างสิ่งสาธารณูปโภค  ต่าง ๆ ตามแบบแผนของเมืองสมัยใหม่ ทั้งถนน สะพาน อาคารต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอย  ของประชาชน และท�ำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่เกี่ยวข้องกับทางโลก สะท้อนการ  เปลี่ยนแปลงคติการสร้างเมืองในโลกตะวันออก

121 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ย่านถนนบ�ำรุงเมือง หนึ่งในย่านการค้าส�ำคัญของกรุงเทพฯ ยุครัชกาลที่ ๕   เป็นย่านจ�ำหน่ายเครื่องอัฐบริขารมาจนถึงปัจจุบัน

122 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ถนนและรถยนต์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ยุคนี้การคมนาคมทางบกกลายเป็นเส้นทางสัญจรหลัก  ของชาวกรุง แทนที่เส้นทางน�ำ้ ตามล�ำคลอง โดยพาหนะมีทั้งรถลากที่ใช้แรงงานคน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกุลีชาวจีน รถรางซึ่งเป็นรถสาธารณะ และรถยนต์ซึ่งเป็นพาหนะ  ของผู้มีฐานะดี

123 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ภาค

ราษฎร

ในครรลอง  แห่งความเจริญ  ของสยาม 160 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ภาค

ราษฎรในครรลอง แห่งความเจริญของสยาม เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราชเสวยราชสมบั ติ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเปิดออกสู่การ ติดต่อกับโลกภายนอกยิ่งกว่าเมืองใด ๆ ในสยามประเทศ-กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ  ในด้านเศรษฐกิจ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางและเมืองท่าค้าขายที่ ส�ำคัญ  และในด้านการเมือง กรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมแห่งอ�ำนาจทางการปกครอง ภายใต้องค์พระมหากษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์จกั รีและกลุม่ ขุนนางตระกูลบุนนาคซึง่ ทรง อิทธิพลในสมัยนัน้   นอกจากนีก้ รุงเทพฯ ยังถูกสถาปนาให้เป็นเสมือนศูนย์รวมแห่ง ความเชื่อทั้งมวลโดยมีพระพุทธศาสนาเป็นแก่นหลัก และเป็นสถานที่ซึ่งองค์พระ มหาพุทธมหามณีรตั นปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ประดิษฐาน ณ พระอารามหลวง ในเขตพระบรมมหาราชวัง เป็นสัญลักษณ์แห่งรัฐใต้ร่มบารมีของพระพุทธศาสนา ที่พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ก่อนที่ประเทศมหาอ�ำนาจยุโรปตะวันตกจะแพร่อิทธิพลทางการเมืองเข้าสู่ ภูมิภาคนี้ กษัตริย์ราชวงศ์จักรีสมัยเริ่มแรก ตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ มา จนถึงสมเด็จพระรามาธิบดีท ี่ ๓ ๑ ทรงท�ำนุบำ� รุงประเทศในทุกด้าน และสร้างความ มั่นคงให้แก่ดินแดนในพระราชอาณาเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบปรามพม่า ซึง่ สยามถือว่าเป็นปัจจามิตรให้พน้ ไปจากแผ่นดินสยาม และแผ่พระราชอาณาเขต ครอบครองดินแดนเขมรและลาว ตลอดจนบ้านเล็กเมืองน้อยในปริมณฑลทาง อ�ำนาจของเขมรและลาว  สภาวะอันสมดุลทางอ�ำนาจการเมืองในภูมภิ าคนี้ได้แปร 161 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


เปลีย่ นไป  เมือ่ อังกฤษสามารถมีชยั ชนะเหนือพม่าในสงครามทีภ่ าษาอังกฤษเรียก ว่า Anglo-Burmese War (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๖๙) พลังแห่งอ�ำนาจใหม่จากฝรั่ง ชาติตะวันตกเป็นสิ่งซึ่งสยามในสมัยรัชกาลที่ ๓  ได้รับรู้แม้จะมิได้เผชิญหน้ากับ อ�ำนาจนี้ทางการสงครามโดยตรง  ประเทศตะวันตกเช่นอังกฤษจึงถือเป็นองค์ ประกอบใหม่ในมวลรวมแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในพื้นภูมิภาคนี้ พ.ศ. ๒๓๖๔ สยามต้องลงนามสัญญาฉบับแรกกับอังกฤษเรียกว่า สนธิ สัญญาเบอร์นี พ.ศ. ๒๓๖๔ เป็นสัญญาที่ว่าด้วยการค้าขายและปัญหาพรมแดน บางประการ ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนี ้ พวกหมอสอนศาสนาหรือคณะมิชชันนารีกเ็ ริม่ ปรากฏตัวตนเป็นโฉมหน้าใหม่ของประวัตศิ าสตร์สยาม  คณะมิชชันนารีทมี่ ใิ ช่เข้า มาเพียงเพือ่ การเผยแผ่ศาสนาตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทตี่ งั้ ไว้ แต่ได้นำ� ความ รูค้ วามเจริญทางด้านวัตถุจากตะวันตกมาเป็นสือ่ ในการเผยแผ่ความรูค้ วามคิดเกีย่ ว กับพระเป็นเจ้า ในเส้นทางความรูอ้ ย่างใหม่นเี้ องทีป่ ญ ั ญาชนชาวไทยหลายคนรวม ทั้ง เจ้าฟ้ามงกุฎ เริ่มคุ้นเคย  ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์ พระองค์เป็นที่รู้จักกัน ทัว่ ไปในพระนามว่า พระจอมเกล้า การเริม่ ต้นรัชสมัยของพระองค์ขณะนัน้  สยาม ประเทศก�ำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของ “ความเก่า” และ “ความใหม่” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๓๙๔๒๔๑๑ พระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงขึ้นครองราชย์สืบ ต่อมาในพระนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  ตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๑๑๒๔๕๓ ช่วงสมัยนี้สยามประเทศต้องเผชิญกับลั ทธิจักรวรรดินิยม อันเป็นการล่า ดินแดนหาเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก ในเส้นทางแห่งการเผชิญหน้าและการเจรจาทั้งทางตรงและทางอ้อมนี้เอง ที่สยามได้เริ่มปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นประเทศสมัยใหม่ ซึ่งในหมู่นักวิชาการ เรียกกันว่า รัฐชาติ (Nation State) แม้สยามประเทศจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการ ปกครองอย่างมากตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา  จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติ เปลีย่ นแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อนั มีพระมหากษัตริย์ 162 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ทรงอ�ำนาจเด็ดขาด มาเป็นระบอบประชาธิปไตยทีม่ รี ฐั ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่สยามได้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ระบบ ศักดินาเดิมที่มี ไพร่-ข้า-ทาสอยู่ ใต้อาณัติของมูลนาย และมีพระมหากษัตริย์ เป็นประธานสูงสุดมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา เกิด “ไพร่มั่งมี” ที่น�ำมาก่อนการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะเกิดกลุ่มนายทุนทาง เศรษฐกิจ และไพร่-ทาสที่หลุดจากระบบการควบคุมแบบเดิม ระเบียบการควบคุมสังคมแต่เก่าก่อน ไพร่-ทาสภายใต้มูลนายเป็นแรงงาน ทีห่ ล่อเลีย้ งชีวติ ของรัฐ  หรืออีกนัยหนึง่ แรงงานไพร่-ทาสเป็นต้นเค้าของรายได้และ ภาษีอากร  เพราะบุคคลเหล่านีต้ อ้ งถูกเกณฑ์แรงงานและส่งของเป็นส่วยให้แก่รฐั รายได้ของรัฐมาจากการผูกขาดการค้า สินค้าจากส่วยจึงเป็นส่วนส�ำคัญในการค้า ของรัฐ  ขณะเดียวกันแรงงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนาก็เป็นแรงงานที่หล่อเลี้ยงรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แรงงานชาวนาเหล่านี้ยังไม่ได้ถูกดึงเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจโลกโดยตรงจน กระทั่งหลังสนธิสัญญาบาวริง พ.ศ. ๒๓๙๘  เมื่อชาวนาไทยต้องใช้เงินตราแทน การแลกเปลี่ยนแบบเดิม แม้แต่ในการเกณฑ์ส่วยแรงงาน ชาวนาก็สามารถใช้เงิน ตราจ่ายทดแทนแรงงานได้ สมัยรัชกาลที่ ๔-รัชกาลที่ ๕ ข้อก�ำหนดในสนธิสัญญาบาวริงส่งผลกระทบ ต่อการเงินการคลังของรัฐเป็นอันมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐเสียสิทธิในการ ผูกขาดทางการค้า  รัฐจึงต้องจัดระบบภาษีอากรใหม่  นอกจากการเก็บภาษีทาง ตรงแล้วรัฐยังเก็บภาษีทางอ้อมจากประชาชนด้วย ได้แก่ ภาษีฝิ่น สุรา การพนัน และหวยซึ่งนับเป็นจ�ำนวนครึ่งหนึ่งของภาษีทั้งหมดที่รัฐเก็บได้ ในส่วนที่เกี่ยวกับชาวนา ผลกระทบที่ส�ำคัญประการหนึ่งของสนธิสัญญา บาวริงคือ สยามกลายเป็นประเทศทีป่ ลูกข้าวเพือ่ ส่งออกเป็นสินค้าส�ำคัญในตลาด โลก  ระยะเริ่มแรกชาวนาในภาคกลางเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของกิจการนี้  รัฐส่ง เสริมให้ชาวนาขยายพื้นที่การเพาะปลูกท�ำนาควบคู่ไปกับการขุดคลอง แต่ไม่ได้ ช่วยเหลือทางด้านชลประทานเพื่อให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น  การ ขยายพืน้ ทีป่ ลูกข้าวต้องใช้แรงงานชาวนาจากภาคเหนือและโดยเฉพาะอย่างยิง่ จาก 163 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ภาค

บ้าน เมือง และ    ประเทศ ในสายพระเนตร 236 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ภาค

บ้าน เมือง และ  ประเทศในสายพระเนตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาท อย่างมากในการเปลี่ยนวิถีทางการทูตของสยาม  ในสายพระเนตรของพระองค์ บ้านและเมืองต่างมีความส�ำคัญ มีความหมายต่อการสร้างความมั่นคงให้เป็นอัน หนึง่ อันเดียวกัน ทรงจัดระบบราชการทีค่ วบคุมปกครองบ้านเมืองในระดับภูมภิ าค อันประกอบด้วยผู้คนชนชาติต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้อ�ำนาจรัฐที่ศูนย์กลาง ซึ่งเริ่มต้น ด้วยการจัดการแบบมณฑลเทศาภิบาล  พร้อมทั้งพยายามสถาปนาอ�ำนาจสูงสุด ของสถาบันพระมหากษัตริยเ์ หนือมณฑลหรืออาณาจักรอันมีขอบเขตดินแดน เป็น รัฐของชาติสยามอันทันสมัยแบบตะวันตก  รัฐในยุคของพระองค์จงึ เรียกได้วา่ เป็น “รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช” ทีพ่ ระเจ้าแผ่นดินทรงอ�ำนาจสูงสุด ควบคุมการบริหาร ผ่านระบบราชการในการปกครองชาติและแผ่นดิน ยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคที่สยามเปิด ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ได้เข้าร่วมในวงจรของเหตุการณ์กิจกรรม ของโลก และในกติกาสากล เช่น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาอุณาโลมแดง การ ไปรษณียโ์ ทรเลขสากล สมาชิกศาลโลก และเปิดออกสูก่ ารติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ด้วยวิธีทางการทูตโดยการท�ำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ  สยามจึงเปลี่ยน โลกทัศน์ในการเจริญพระราชไมตรีและประเพณีการทูตที่ต่างไปจากเดิม ก้าว ออกไปสู่ศูนย์กลางใหม่แห่งความเจริญของโลก โลกใหม่ที่ประกอบด้วยประเทศ ของชาติต่าง ๆ  237 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงปรารถนาที่จะยกสถานภาพ ของกษัตริยแ์ ละราชธานีอนั สง่างามให้เป็นหนึง่ ในโลก “เป็นคนชาติหนึง่  รูจ้ กั ความ  ดีความชอบ และตั้งใจให้บ้านเมืองของตนเจริญดียิ่งขึ้นจริง”  ด้วยเหตุนี้นอกจาก ด�ำเนินวิถที างการทูตแล้วพระองค์จงึ เป็นกษัตริยจ์ ากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทเี่ สด็จ ประพาสยุโรปถึงสองครั้ง ครั้งแรกที่เสด็จฯ อย่างเป็นทางการรวมเวลาประมาณ ๘ เดือน ตัง้ แต่วนั ที ่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ เมื่อเรือพระที่นั่งกลับถึงเกาะสีชัง การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น กรณีหนึง่ ทีช่ ี้ให้เห็นโลกทัศน์ทเี่ ปลีย่ นไปของปัญญาชนสยามในการมองโลก ตลอด จนความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน เมือง ประเทศ และระหว่างประเทศ  ขณะเดียวกัน พระมหากษัตริย์นอกจากสร้างสัมพันธ์กับราชส�ำนักกษัตริย์ในเวลานั้นแล้ว ยัง ประพฤติตนเป็นผูท้ รงคุณธรรม ประกอบการบุญแผ่ไปในหมูค่ นทัง้ หลายนอกเหนือ จากในหมู่ชาติสยาม  ทรงบริจาคเงินช่วยเหลือในกิจการสังคมของประเทศอื่น เช่น ห้องสมุดและโรงพยาบาล การรวมพระเกียรติยศในหมู่กษัตริย์และข้าราช ส�ำนัก ข้าราชบริพาร และบุคคลที่มีบทบาทส�ำคัญในการพระราชทานและรับ เหรียญตราแสดงเกียรติคุณและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประเภทต่าง ๆ กระนัน้ ก็ด ี ในหมูช่ นชาติสยามแห่งสยามรัฐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงด�ำรงฐานะ พระสยามินทร์ พระเจ้าแผ่นดินปรมินทรมหาราชาธิราช  แต่ในสายตาประชาคมโลก วิถีทางการทูตสมัยใหม่ได้เปลี่ยนสถานภาพขององค์ พระจักรพรรดิราชในประเพณีการทูตแบบเดิม เป็นพระมหากษัตริยแ์ ห่งชาติสยาม ในโลกสมัยใหม่และทรงเริม่ ด�ำเนินนโยบายแบบ “ข่มตนยกท่าน” ในการติดต่อต่าง ประเทศ  สยามมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามแนวความคิดเดิมอีกต่อไป แต่ ก�ำลังย่างก้าวเข้าสู่ศูนย์กลางแห่งความเจริญของโลก  ความสัมพันธ์ของบ้านเมืองในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์วางรากฐานอยู่บนแนว ความคิดที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงอ�ำนาจสูงสุดในโลกนี้และทรงเป็นศูนย์ กลางของจักรวาล อ�ำนาจขององค์พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์กับพลังอ�ำนาจ อันลี้ลับในสากลจักรวาล  รูปแบบของพระมหากษัตริยซ์ งึ่ แพร่หลายอยู่ในภาคพืน้ เอเชียอาคเนย์มอี ย่าง 238 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


น้อยสามรูปแบบคือ พระมหากษัตริย์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ พระธรรมราชาผู้ถึง พร้อมด้วยทศพิธราชธรรม และพระจักรพรรดิราชผูค้ รอบครองรัตนะ ๗ ประการ อ�ำนาจของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวเป็นอ�ำนาจเชิงสมมุติที่ ไม่อาจก�ำหนด ขอบเขตบนพื้นที่จริงได้  ดังนั้นวงแห่งอ�ำนาจของกษัตริย์ในภูมิภาคนี้จึงมักซ้อน ทับกัน  และเมือ่ วงของอ�ำนาจกระทบกันจึงส่งผลให้เกิดสงครามเพือ่ แย่งชิงอ�ำนาจ เชิงสมมุตินั้น อีกประการหนึ่ง โครงสร้างของอ�ำนาจที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ ในอ�ำนาจบุญบารมีและกฤษฎาภินิหารประกอบกัน อีกทั้งเป็นการดึงอ�ำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลาง  คตินิยมดังกล่าวส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งฝรั่งชาติ ตะวันตกผู้ถือว่าตัวเองมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการมากกว่าชาติตะวัน ออก ยากจะยอมรับได้ ในภาคพืน้ เอเชีย จีนถือว่าตัวเองเป็นประเทศใหญ่ มีบทบาทในด้านการเมือง การปกครอง และการค้า  บรรดาเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในภูมิภาคนี้ต่างมีความ สัมพันธ์ในรูปแบบที่ยอมรับความเหนือกว่าของจีน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชียเรียกว่า “การเจริญพระราชไมตรี”  ขณะทีส่ ยามถือว่าการติดต่อกับจีนเป็นเรือ่ ง “จิม้ ก้อง” แต่เมื่อลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่ขยายเข้าคุกคามภูมิภาคนี้ บรรดาประเทศ ต่าง ๆ ต้องเผชิญหน้ากับอ�ำนาจใหม่คือพวกฝรั่ง ซึ่งมีความก้าวหน้าทางวิทยาการ และมีอ�ำนาจทางทหารที่เหนือกว่าเพื่อนบ้านของสยามคือพม่า ซึ่งยังยึดถือคติ เดิมและพยายามที่จะต้านกระแสดังกล่าว  ในที่สุดพม่าก็ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ ส่วนอินโดจีนตกเป็นของฝรั่งเศส และชาติมหาอ�ำนาจอย่างจีนต้องพ่าย แพ้แก่อังกฤษ ในท่ามกลางสภาวะดังกล่าว สยามภายใต้การน�ำขององค์พระประมุข ตระหนักว่า สยามจ�ำต้องเปิดประเทศรับวิทยาการสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้ มีความทันสมัย และทีส่ ำ� คัญคือ เปลีย่ นแปลงโลกทัศน์ทางการทูตใหม่ จัดระเบียบ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้สอดคล้องและไม่ขัดกับวงจรอ�ำนาจแบบใหม่ สยามต้องรับรู้ว่าศูนย์อ�ำนาจแห่งใหม่ในประชาคมโลกได้บังเกิดขึ้นแล้วใน ซีกโลกตะวันตก  สยามต้องยอมรับกฎเกณฑ์ กติกาสากลในการก�ำหนดพื้นที่ 239 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ชม เมืองยูในเตศเตด เพียงแห่งเดียว แม้มีความเจริญเป็นหนึ่งในโลกก็ตาม ทั้ง  ที่ราชทูตอเมริกันได้มีหนังสือถึงพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  เสนาบดีวา่ การต่างประเทศว่า “ถ้าหากว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระราชด�ำริห์ว่าจะพึงเปน ได้หรือบางทีจะเปนได้ ทีจ่ ะเสด็จไปเทีย่ วเมืองอเมริกาแล้ว ไม่ใช่แต่เพียงจะได้ทรง รับความเชื้อเชิญเสด็จโดยความตั้งใจเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าทรงรับการเชิญนั้นแล้ว ก็คงจะได้ทรงรับการรับรองโดยความยินดีและสมควรกับพระเกียรติยศที่เป็น พระเจ้าแผ่นดินของเมืองที่มีอ�ำนาจซึ่งมีทางพระราชไมตรีนั้นด้วย” ๓๙ การปฏิเสธครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจอันใหญ่หลวงในการเสด็จประพาส  อยู่ที่ยุโรป และมีความต้องการที่จะจัดระเบียบสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศเสีย  ใหม่ คือสร้างมิตรกับบรรดาประเทศใหญ่อื่นนอกจากอังกฤษและฝรั่งเศส เป็น  วิถีการทูตที่ก้าวไปสู่ “โลกย์” ใหม่แห่งความเจริญขณะนั้น

306 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


เสด็จประพาสยุโรป

๔๐

นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้เสด็จประพาสต่างประเทศถึง เมืองใหญ่น้อยนอกพระราชอาณาเขตร อาทิ อินเดีย  พม่า รามัญ ชวา และแหลมมลายู เพือ่ เลือกสรรแบบแผนขนบธรรมเนียมในบ้านเมือง  เหล่านัน้ มาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บา้ นเมืองและอาณาประชาราษฎรสยาม แม้เมืองเหล่า  นั้นเป็นเมืองขึ้นของประเทศยุโรป แต่ “...ก็ยังเป็นเหตุให้เกิดการเจริญรุ่งเรืองแก่พระราชอาณาจักรได้เปนอันมาก ถ้า  เสด็จได้ถึงมหาประเทศเหล่านั้นเอง ประโยชน์ย่อมจะมีทวีขึ้นอีกหลายเท่า ทั้งที่จะได้  ทรงตรวจตราแบบแผนราชการบ้านเมือง และจะได้ทรงวิสาสะคุ้นเคยกับพระมหา  กระษัตริย์รัฐบาลแห่งนานาประเทศใหญ่น้อยในประเทศยุโรป เจริญทางพระราชไมตรี  ซึ่งมีต่อกรุงสยามให้เรียบร้อยรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วย...” ๔๑

ด้วยเหตุนจี้ งึ โปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการเสด็จฯ และ “...ให้แจ้งข่าวไปยังนานา  ประเทศที่จะได้เสด็จไปประพาสให้ทราบทั่วกัน ต่างประเทศก็ได้ตอบแสดงความ  ยินดีที่จะรับเสด็จให้สมเกียรติยศทุกเมือง” ๔๒  นี่จึงเป็นเป้าหมายของการเสด็จ  ประพาสที่ปรากฏอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรในบันทึก จดหมายเหตุเสด็จประพาส  ยุโรป นอกไปจากการเปลี่ยนโลกทัศน์ในการเจริญพระราชไมตรี ดังได้กล่าวมา  แล้วในตอนก่อน วันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖ เป็นวันพระฤกษ์เสด็จฯ ออกจากพระนครไป  ประเทศยุโรป 307 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


วาระนัน้ พระองค์ทา่ นทรงมีพระปริวติ กว่า “ข้าทูลลอองธุลพี ระบาทและอาณา  ประชาราษฎรข้าขอบขันธเสมาทั้งปวงจะพากันเปลี่ยวเปล่าหรือเข้าใจผิดไปต่าง ๆ  จะเปนเหตุให้เสื่อมเสียราชการและให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ความเดือดร้อน...” ๔๓  เพราะเป็นการเสด็จฯ ออกนอกพระราชอาณาเขตนานวันกว่าที่เคย ไม่เคยปรากฏธรรมเนียมมาก่อนที่ทรงจัดให้มีพระราชพิธีสโมสรสันนิบาต  ประกาศกระแสพระราชด�ำริและพระราชก�ำหนดมอบกิจการการปกครองพระนคร  แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ให้เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินต่าง  พระองค์ พระองค์ทรงมีกระแสพระราชด�ำรัสให้ทุกคนพร้อมใจกันประพฤติปฏิบัติ  ราชการ “เราทราบว่าท่านทั้งหลาย ย่อมมีความรักใคร่ซื่อตรงต่อตัวเรายิ่งนัก จึง  เชื่อว่าท่านทั้งปวงคงจะเต็มใจพร้อมกันรับปฏิบัติประพฤติ์ตามพระราชก�ำหนดซึ่ง  เราได้ตั้งขึ้นไว้แล้ว มีความนับถือรักใคร่พระอรรคราชเทวี อันเราได้ตั้งไว้เปนผู้  ส�ำเร็จราชการแผ่นดินเหมือนที่ท่านทั้งหลายมีความรักใคร่นับถือตัวเราดองนั้นจง  ทุกประการ” ๔๔ คณะที่ปรึกษาผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดินในคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก  ประกอบด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์  วรเดช พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นด�ำรงราชานุภาพ เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลัง ยัคมินส์) ในครั้งนั้นได้มีการก�ำหนดค�ำที่กราบทูลและกราบบังคมทูลทั้งปวง ตรา  ประทับก�ำกับศุภอักษรแลสารตรา และในส่วนของกระทรวงมหาดไทยทีม่ ศี ภุ อักษร  และสารตราไปยังเจ้าหัวเมืองประเทศราชและข้าหลวงเทศาภิบาลนั้นได้จำ� แนกค�ำ  เริ่มต้น ตอนหนึ่งมีนัยถึงสถานภาพขององค์พระมหากษัตริย์และราชธานีอันสง่า  งามเป็นหนึ่งในโลก 308 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


“ศุภอักษรบวรมงคลวิมลโลกยมกุฎ...สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถซึ่งส�ำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ พระบาทสมเด็จพระ  ปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์...จาตุรนั ตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหา ราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  ผูท้ รงพระคุณธรรมอันมหา  ประเสริฐ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ณะกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหิน-  ทรายุทธยา บรมราชธานีศรีสยามโลกย์พิไสย...” ๔๕ ในเวลาเสด็จพระราชด�ำเนินทรงได้รับการปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบยุโรป  เช่น ธรรมเนียมการยิงปืนต้อนรับ เมื่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีถึงสิงคโปร์ เรือรบ  อังกฤษชือ่  อิฟยิ เิ นีย (Iphiginia) เรือรบฝรัง่ เศสชือ่  เอเกลเรอร์ (Eeclireur) และ  ป้อมแคนนิงในเมืองสิงคโปร์ยิงปืนใหญ่ถวายค�ำนับ แล้วเรือพระที่นั่งยิงปืนใหญ่  ต้อนรับเมื่อเสด็จฯ ขึ้นท่าเมืองสิงคโปร์ บรรดาเรือรบได้ยิงปืนใหญ่ถวายค�ำนับ  เมื่อเรือกรรเชียงพระที่นั่งผ่านเรือรบอังกฤษ นายเรือและนายทหารในเรือพร้อม  ทั้งกลาสีเรือเข้าแถวถวายค�ำนับ และเมื่อถึงท่ายอนสะตันเปียเสด็จฯ ขึ้นจาก  ท่า กรมการมารับเสด็จฯ ทหารแตรเป่าเพลงแตรสรรเสริญพระบารมี เสด็จ  พระราชด�ำเนินทอดพระเนตรแถวทหาร แล้วเสด็จทรงรถพระทีน่ งั่ ไปเยีย่ มผูส้ ำ� เร็จ  ราชการสิงคโปร์ที่บ้านซึ่งจัดถวายการต้อนรับอย่างเป็นทางการ และประทับแรม  ที่เฮอริเกนส์เฮาส์  การเสด็จฯ ครั้งนี้มีการรับรองเป็นทางการและออกประกาศ  ในหนังสือพิมพ์  ในวาระนี้ พาณิชย์กงสุลเยเนราลสยามได้นำ� ลอร์ดและเลดี้เข้า  เฝ้าฯ แล้วนายเรือรบฝรั่งเศสและกงสุลฝรั่งเศสเมืองสิงคโปร์มาจดรายชื่อการ  เฝ้าเยี่ยมเยียนตามธรรมเนียม หลังจากนั้นเสด็จประพาสที่ต่าง ๆ ตามรายการ  เช่น เสด็จพระราชด�ำเนินทอดพระเนตรโรงพยาบาลที่ซึ่งมีห้องสมุดจารึกอักษร  เป็นภาษาอังกฤษว่า ห้องสมุดของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินนี าถกรุงสยาม แม้แต่การเปรียบเทียบพิกัดเวลาขณะที่เรือเดินทางก็มีการจดบันทึกไว้ว่า “…วันที่ ๑๔ เมษายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๖ เรือพระที่นั่งใช้จักรต่อมาแล  เห็นเขาสูงในเกาะสุมาตราไกลลิบอยู่ทางซ้ายมือ เขานั้นดูเหมือนจะสูงถึง ๕๐๐๐  ฟิศ มาเวลาเที่ยงนายค� ำณวนดวงอาทิตย์ได้แลติจุตเหนือ ๕ ดีกรี ๓๔ มินิต  ลองติจตุ ตะวันออก ๙๗ ดีกรี ๒๗ มินติ  ระยะทางมาจากเมืองสิงคโปร์ ๕๖๘ ไมล์  (๒๕๕๖๐ เส้น) รวมระยะทางจากท่าราชวรดิษฐกรุงเทพฯ ๑๔๔๔ ไมล์ (๖๔๙๘๐  309 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


แห่งสยามรัฐ และด้วยเหตุที่เป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งธรรมจึงทรงบุญญานุภาพและ  ประชาชนสรรเสริญ ดังความว่า “...ด้วยอานุภาพบุญบารมีของพระเจ้าปัถพีธรรมิกมหาราชาธิราช อันพระ  บุญญานุภาพให้โชติชว่ ง เพราะเหตุนนั้ ประชุมชนจึงได้สรรเสริญพระเจ้าปถพีสยา-  มินทร์นั้น...” ๘๗ การคาดหวังให้พระองค์เป็นกษัตริย์ประหนึ่งบิดาปกครองบุตรก็เป็นอีก  ลักษณะหนึง่ ของกษัตริย ์ ซึง่ ได้รบั การส่งเสริมเผยแผ่เป็นความคิดอยู่ในสมัยนี ้ ทัง้   โดยทางปฏิบัติ เช่นการเสด็จประพาสต้นเพื่อพบปะราษฎร และในงานเขียนหรือ  การประกาศเจตจ�ำนงให้ปรากฏแก่สงั คมโดยคนหลายกลุม่  ดัง “ค�ำถวายไชยมงคล  กลอนร่ายในนามของชนชาติสยาม” ตอนหนึ่งกล่าวว่า “สรวมชีพสรมบังคมบาท สรวมสุรโอกาศใส่เกล้าฯ ข้าบทรัชเจ้าทรงธรรม์...  บรมนารถบรมบพิตร์ เจ้าดวงจิตร์เจ้าชีวาตม์ จอมบิตรุ าษฎร์สยามประชา ชนานิยม  บรมมหาคุณาธิราช...ทนทุกข์เทวศข้ามทวีป รีบจรดลหนไกล พ้นพิไสยสุรกระษัตริย์  ปสวปางขัติยประเพณี บมีคู่เคียงคง ตั้งแต่องค์รามราช ก็เคยประพาศเพียงลังกา  แต่ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท สามารถได้เสด็จประเวศ ทุกประเทศทั่วปัจจิมทิศ...” ๘๘ พระจักรพรรดิราชมิได้มีอีกแล้วในประวัติศาสตร์สยามนับแต่นี้ ตั้งแต่เมื่อ เกิดรัฐชาติและโลกทัศน์เกี่ยวกับการเจริญพระราชไมตรีที่เริ่มเปลี่ยนแปรไปถึงที่ สุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับจากยุโรป ค�ำมงคลคาถาจุดเทียนเบิกบายศรีของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯ กลับจากยุโรป จึงเป็นเพียงเสียง สะท้อนของอดีตเท่านั้น “พระอาทิตย์ ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ในกลางคืน พระมหากระ-  ษัตริย์ทรงเครื่องพิไชยยุทธ ขัดพระแสงขรรค์เผยเดชานุภาพในสมรภูมิ์ ด้วยสัตย  วาจานี ้ ขอจงมีไชยทุกเมือ่  ข้าพระพุทธเจ้าจุดประทีปดวงนี ้ เพือ่ ประสิทธิ์ไชยมงคล  ศุภวิบุลย์ผล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาราชาธิราช...” ๘๙

330 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐   เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศยุโรปด้วยพระองค์เอง และเพื่อน�ำสยามสู่การรับรู้ของ  ประชาคมโลก ก่อนหน้านี้พระองค์เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านคือ ชวา สิงคโปร์   อินเดีย 331 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


(บน) พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายพระรูปร่วมกับ พระอนุชาและข้าราชการที่ ตามเสด็จประพาสอินเดีย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ (ซ้าย) พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙

332 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปขณะอยู่ในทะเลทรายที่ภูเขาไฟ  โบรโมบนเกาะชวา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๙

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ   ทรงฉายพระรูปร่วมกับสุลต่านเมืองยะโฮร์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๙   ในคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 333 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปร่วมกับคณะผู้ตามเสด็จประพาส สิงคโปร์และชวา พ.ศ. ๒๔๓๙

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปด้วยเรือพระที่นั่งจักรี  ในการเสด็จครั้งนี้พระองค์ทรงไปในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศเอกราชที่ด�ำเนิน นโยบายอิสระไม่ขึ้นกับประเทศใด และทรงใช้โอกาสนี้สร้างความคุ้นเคยกับราชส�ำนัก ส�ำคัญในยุโรปยุคนั้น โดยทรงมุ่งหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดประดุจเครือญาติ กับพระราชวงศ์ต่าง ๆ ในภาคพื้นยุโรป 334 พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ จุ ล จ อ ม เ ก ล้ า ฯ - เ จ้ า แ ผ่ น ดิ น ส ย า ม


ในการเสด็จประพาสยุโรป พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ  เป็นผู้ส�ำเร็จราชการ แทนพระองค์

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงประชุมกับเสนาบดี เมื่อครั้งทรงได้รับ มอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นผู้สำ� เร็จราชการ แทนพระองค์ในคราวที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปทั้งสองครั้ง 335 ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


ดร. ธิดา สาระยา

หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๕๐๐ บาท ISBN 978-616-465-003-9

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ-เจ้าแผ่นดินสยาม

มัยรัชกาลที ่ ๕ เป็นสมัยแห่งการเปลีย่ นแปลงอันใหญ่หลวง ทั้ง โดยปัจจัยจากเงื่อนไขสภาพแวดล้อม และโดยตัวบุคคลส�ำคัญ ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลง...โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงเป็ น ผู ้ น�ำ ในการเปลี่ ย นแปลงและ ทรงสร้างกลุ่มผู้นำ� รุ่นใหม่ขึ้น ในทางด้านการเมืองการปกครอง เกิดระบบราชการเป็นกลไก ส�ำคัญในการดึงอ�ำนาจท้องถิ่น-ภูมภิ าคเข้าสูศ่ น ู ย์กลาง  คนส่วนใหญ่ ของประเทศที่ ศึ ก ษาหาความรู ้ มุ ่ ง เข้ า รั บ ราชการจนกลายเป็ น ชนชั้นใหม่ในสังคม  ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศถูกปลดปล่อย จากระบบไพร่-ทาส ถูกสร้างให้เป็นพลเมืองดีของชาติ   ในทางด้าน เศรษฐกิจ เปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า ซึ่ง น�ำ ไปสู ่ ร ะบบเศรษฐกิ จ แบบเงิน ตรา  ในทางสั ง คม สมั ย นี้แ ม้ จ ะ หลุดจากสังคมศักดินาในระบบเดิม แต่ปรากฏความต่างทางฐานะ และสถานภาพของกลุ่มคนซึ่งแบ่งได้เป็นเจ้านาย ข้าราชการ นายทุน ผู้ประกอบการ และสามัญชนทั่วไป ซึ่งประกอบอาชีพต่าง ๆ กัน การเสด็จสวรรคตของพระองค์เป็นการถึงซึ่งพระชนม์ชีพก่อน เวลาอันควรโดยแท้  ด้วยพระราชกรณียกิจมากมายอันส�ำคัญยิ่งใน ฐานะผู้น�ำแห่งการสร้างสยามใหม่และเป็นยุคแห่งการเข้าใจเหตุผลเชิง วิทยาศาสตร์  กระนั้นก็ดคี วามรูค้ วามเข้าใจเหล่านี้มไิ ด้ดบั โศกให้เหือด หายในการสูญเสียองค์พระประมุขของสยามใหม่

พระบาท

สมเด็จ

พระจุล จอมเกล้าฯ-

เจ้าแผ่นดิน

สยาม ด ร . ธิ ด า ส า ร ะ ย า


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.