อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

Page 1

ราคา 380 บาท

ISBN 978-974-7385-53-3

อินเดียเริ่มที่นี่

หมวด ท่องเที่ยวต่างประเทศ

อย่าบอกว่ารู้จักอินเดีย หากยังไม่ได้อ่าน “อินเดียเริ่มที่น่ ี ทมิฬนาฑู”

ทมิฬนาฑู

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

ส� ำ หรั บ  “มื อ ใหม่ อิ น เดี ย ” แล้ ว  อินเดียใต้ โดยเฉพาะ  ทมิฬนาฑู น่าจะเป็นปฐมบทแห่งการเดินทางทีด่ ที สี่ ดุ  เพราะสภาพ ภูมิประเทศ อากาศ คล้ายกับประเทศไทยมาก  ผู้คนในดินแดน แถบนี้ก็ไม่น่ากลัวและ “ตุกติก” เท่ากับภูมิภาคอื่นๆ “...แนะน�ำให้ตั้งต้นจากมหานครเจนไน แวะนมัสการ  เทวาลัยที่กาญจีปุรัม  เที่ยวชมมรดกโลกแห่ง มามัลละปุรัม หย่อนใจ ณ พูดชุ เชอรี เมืองชายทะเลทีไ่ ด้ชอื่ ว่า “ฝรัง่ เศสน้อย”  นมัสการสถานก�ำเนิดศิวนาฏราชแห่งจิตัมพรัม กราบนารายณ์-  บรรทมสิ น ธุ ์ ที่ ศ รี รั ง คาม (ตริ ชี่ )  ชมเทวาลั ย พฤหธิ ศ วรแห่ ง  ตั ญ ชาวู ร ์   และขอพรพระแม่ มีนั ก ษีแ ห่ ง มธุ ไ ร เท่ า นี้ก็ นับ ว่ า  เพียงพอส�ำหรับปฐมบทในการท�ำความรู้จักอินเดีย”

380.-

Tamil Nadu

ฉ บั บ พิ เ ศ ษ

ศรัณย์ ทองปาน • วิชญดา ทองแดง


ฉ บั บ พิ เ ศ ษ ISBN  978-974-7385-53-3 หนังสือ  อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู ผู้เขียน  ศรัณย์ ทองปาน  วิชญดา ทองแดง ผู้ถ่ายภาพ  จ�ำนงค์ ศรีนวล  ศรัณย์ ทองปาน  วิชญดา ทองแดง พิมพ์ครั้งแรก  ตุลาคม 2553 จ�ำนวนพิมพ์  4,000 เล่ม ราคา  380 บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยวารสารเมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ศรัณย์ ทองปาน. อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2553 400 หน้า. 1. อินเดีย.  2. ทมิฬนาฑู. I. วิชญดา ทองแดง, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 954 ISBN 978-974-7385-53-3

บรรณาธิการเล่ม  วิชญดา ทองแดง ออกแบบปก / รูปเล่ม  นฤมล ต่วนภูษา คอมพิวเตอร์  วิจิตต์ แซ่เฮ้ง ควบคุมการผลิต  ธนา วาสิกศิริ แยกสี / เพลท  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ที่  ด่านสุทธาการพิมพ์  โทร. 0-2966-1600-6 จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110, 0-2281-6240-2 โทรสาร 0-2281-7003 วารสารเมืองโบราณ (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) ผู้อ�ำนวยการ สุวพร ทองธิว  สรณบุคคล เล็ก - ประไพ วิริยะพันธุ์  มานิต วัลลิโภดม ประยูร อุลชุ าฎะ  ม.จ.สุภทั รดิศ ดิศกุล  ทีป่ รึกษา เสนอ นิลเดช  พล.ต.ท.เผ่าไทย ทองธิว พิริยะ ไกรฤกษ์  อนุวิทย์ เจริญศุภกุล  สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  ธิดา สาระยา  พรชัย สุจิตต์  ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์  ศิริรักษ์ รังสิกลัส  แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย  ที่ปรึกษา ฝ่ายศิลปกรรมและการผลิต จ�ำนงค์ ศรีนวล  ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาและการตลาด ปฏิมา หนูไชยะ  ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง  พิเศษ จียาศักดิ์ www.MuangBoranJournal.com

6 AW Intro ��������.indd 6

12/23/10 9:23 AM


ค�ำน�ำเสนอ มีค�ำกล่าวล้อกันอยู่ว่า การได้ไปเยือน “ดินแดนใหม่”

เพียงไม่กี่วัน ความตื่นตาตื่นใจอาจผลักดันให้เกิดเป็นหนังสือเล่มโต  หากจะ กล่าวว่า อินเดียเริม่ ทีน่  ี่ ทมิฬนาฑู เป็นไปตามค�ำสัพยอกข้างต้นก็คงไม่ผดิ นัก เพราะความ “ไม่ร”ู้  “เพิง่ รู”้  ทีต่ ดิ ค้างมาจากการเยือน “ทมิฬนาฑู” กลายเป็น แรงผลักให้ผู้เขียนศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆ เพื่อแปรความ “ไม่รู้” ให้เป็น “เข้าใจ” สิง่ ทีป่ รากฏอยูใ่ นหนังสือเล่มนี ้ ไม่ได้มเี พียงแต่เรือ่ งราวของ “ทมิฬนาฑู” เท่านั้น แต่เนื่องไปถึงภาคส่วนอื่นๆ ของอินเดีย และยังสะท้อนกลับมายัง อิทธิพลอินเดียในวิถีชีวิตแบบไทยๆ ด้วย อินเดียเริม่ ทีน่  ี่ ทมิฬนาฑู เริม่ ด้วยการแนะน�ำ “ทมิฬนาฑู จากอดีตสู่ ปัจจุบัน” ต่อด้วย “รู้จักทมิฬนาฑู” ในมิติต่างๆ จากนั้นน�ำชมสถานที่ในภาค “รู้รอบเมืองส�ำคัญ” ก่อนจะปิดท้ายด้วย “รู้จริงเมืองแขก” รวมสารพันเกร็ด และเรื่องราวที่มักเป็นข้อสงสัย ในฐานะบรรณาธิการ เพือ่ ให้ได้หนังสือทีห่ ยิบจับเหมาะมือ ในเวลาอันควร หลายหัวข้อ อาทิ ส่วนที่ว่าด้วยอาหาร ต้องถูกตัดทอนลง (ส�ำหรับ “ร่างแรก” ของเรื่องอาหาร กรมส่งเสริมการส่งออกได้น�ำเผยแพร่บนเว็บไซต์ หลังจากที่ บรรณาธิการส่งเรื่องให้ช่วยตรวจสอบ) หลายเรื่องที่ยังไม่สนิทใจก็ยังคงรอการ สอบทานซ�้ำเมื่อโอกาสอ�ำนวย หากผู้อ่านพบความคลาดเคลื่อนหรือเห็นต่าง บรรณาธิการและผูเ้ ขียนยินดีนอ้ มรับความผิดพลาดทีเ่ กิดขึน้ และความปรารถนาดี ที่จะชี้แนะกลับมา อิ น เดี ย ไม่ ใ ช่ ดิ น แดนแปลกใหม่ ส� ำ หรั บ คนไทยและบรรณพิ ภ พไทย หากแต่ อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู อาจเป็นหนังสือเล่มแรกที่ผู้ปรารถนา “ปฐมบทของการเดินทางในอินเดีย” ไม่ควรพลาด  ขณะเดียวกันก็มิหวงห้าม ให้ผู้หนึ่งผู้ใดมีไว้ในครอบครอง อย่าบอกว่ารู้จักอินเดีย ถ้ายังไม่ได้อ่าน “อินเดียเริ่มที่น ี่ ทมิฬนาฑู” บรรณาธิการเล่ม อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 7

7

12/23/10 9:23 AM


ค�ำน�ำผู้เขียน

มัทราสอาจจะถือเอาเป็นจุดเริม่ ต้นของการเดินทาง

ตระเวนชมสถานที่น่าเที่ยวบรรดาที่มีอยู่ในภาคใต้ของอินเดียได้เป็นอย่างดี ห่างเมืองนีไ้ ป 60 กิโลเมตร (37 ไมล์) ก็จะถึงมหาบาลีปรุ าม เทวสถานศักดิส์ ทิ ธิ์ สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 7  สถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งได้แก่วิหารชายหาด ชอร์เทมเปิล ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นก�ำเนิดของสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบ อินเดียภาคใต้… “ใต้ลงไปอีกก็จะถึงติรูจีรปาติ ซึ่งเป็นเมืองน่าเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง...ห่าง เมืองนี้ออกไป 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) มีเกาะๆ หนึ่ง ชื่อ ศรีรังคาม อันเป็นที่ตั้ง ของวิหารใหญ่โตแห่งหนึ่งในภาคใต้ มีกำ� แพงล้อมรอบ 7 ชั้น วิหารแห่งนี้และ บริเวณซึ่งประกอบด้วยลานสนาม มีเสาขนาดใหญ่สลักลวดลายงามวิจิตร เรียงรายอยูโ่ ดยรอบนัน้   กล่าวโดยแท้จริงแล้วก็เท่ากับเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึง่ นั่นเอง  ใต้ลงไปจากมัทราสอีก 345 กิโลเมตร (214 ไมล์) ...ก็คือตันชอร์ ซึ่ง มีชื่อเสียงรู้จักกันดี เพราะเป็นที่ตั้งของโบสถ์พระศิวะ มียอดชลูด สูงวัดได้ถึง 82 เมตร (270 ฟุต) ยอดแหลมของโบสถ์แห่งนีเ้ ป็นฝีมอื ก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม ที่จัดว่างามยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่ง “อย่างไรก็ดี สถานที่ที่ดูเหมือนจะรู้จักกันแพร่หลายยิ่งกว่าเทวสถาน ศักดิ์สิทธิ์ที่ตันชอร์ ก็น่าจะได้แก่วิหารมีนักสี​ี ซึ่งอยู่ห่างจากมัทราสไปทางใต้ 552 กิโลเมตร (343 ไมล์)  วิหารมีนักสีประกอบด้วยห้องโถง มีเสาระเบียง เรียงรายอยูโ่ ดยรอบนับจ�ำนวนได้ 1,000 ต้น  และยังภาพแกะสลักเป็นลวดลาย และรูปมนุษย์ขนาดเท่าคนจริงอย่างวิจิตรพิสดาร ชวนให้เกิดจินตนาการ น่า ประทับใจในแง่ความอุตสาหะวิริยะ และความช�ำนาญสามารถทางศิลปฝีมือ ที่ศิลปินผู้แกะสลักได้ทุ่มเทให้แก่ประดิษฐกรรมชิ้นนี้ของเขายิ่งนัก...

8 AW Intro ��������.indd 8

12/23/10 9:23 AM


เมื่อราว 40 ปีมาแล้ว หนังสือ อินเดีย ที่ส�ำนักงานท่องเที่ยวของ รัฐบาลอินเดียจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย แนะน�ำเกีย่ วกับรัฐทมิฬนาฑูไว้อย่าง ที่ยกมาข้างต้น  ทุกวันนี้ เมืองมัทราสเปลี่ยนชื่อเป็น “เจนไน” แล้ว ทว่า โบราณสถาน เทวสถาน และบ้านเมืองที่ออกนามมานั้น ก็ยังคง ความน่าสนใจ น่าตื่นตาตื่นใจส�ำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่เช่นเดิม แม้แต่ผจู้ ดั พิมพ์หนังสือไกด์บคุ๊ ระดับโลก เช่น Lonely Planet, Rough Guide และ Footprint ต่างก็ล้วนมีหนังสือคู่มือท่องเที่ยวอินเดียภาคใต้ (South India) – ซึ่งรวมถึงทมิฬนาฑู – เป็นเล่มต่างหากโดยเฉพาะ แต่ส�ำหรับโลกหนังสือภาษาไทย จนถึงบัดนี้ ทมิฬนาฑูก็ยังคงเป็น พื้นที่ “ตกส�ำรวจ” ดังที่จะพบว่าแทบไม่มีหนังสือภาษาไทยที่พูดถึงเลย ทั้งที่เส้นทางการบินตรงจากประเทศไทยไปนครเจนไน เมืองเอกของรัฐ ทมิฬนาฑูก็เปิดให้บริการมาหลายปีแล้ว  สถานกงสุลไทยที่นครเจนไน ก็เพิ่งเปิดท�ำการเป็นแห่งล่าสุดในอินเดีย  นอกจากนั้น พระสงฆ์และ นั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาไทยก็ เ ดิ น ทางไปเรี ย นต่ อ ในทมิ ฬ นาฑู กั น ไม่ น ้ อ ย รวมทั้งมีการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจและการลงทุนระหว่างไทยกับ ทมิฬนาฑูอย่างแข็งขัน อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑูมาจาก ประสบการณ์ระยะสั้นๆ ในทมิฬนาฑูของ ผู ้ เ ขี ย นทั้ ง สอง โดยศรั ณ ย์ มี โ อกาสติ ด ตาม คณะทั ว ร์ ไ ทยระดั บ ห้ า ดาว น� ำ โดยคุ ณ วี ร ะ ธีระภัทรานนท์ เดินทางไปทมิฬนาฑูช่วง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ถัดมาอีกครึ่งปี วิ ช ญดาไปถึ ง ทมิ ฬ นาฑู กั บ ที ม เล็ ก แบบ “แบ็คแพ็ค” ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 หลังจากเข้าร่วมอบรม อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 9

9

12/23/10 9:23 AM


กับโครงการบริการชุมชนทางวิชาการด้านภาษาทมิฬ ณ มหาวิทยาลัย ศิลปากร  ประสบการณ์สองชนิดในพื้นที่และเวลาใกล้เคียงกันจึงถูก ประมวลออกมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน แน่ น อนว่ า  เวลาเพี ย งไม่ กี่ วั น คงไม่ อ าจท� ำ ให้ เ รา (หรื อ ใคร !) อวดอ้างว่ารู้จักทมิฬนาฑูเป็นอย่างดี  สิ่งที่ติดตัวเรากลับมาย่อมไม่ใช่ “ความรู้” หากแต่เป็น “ความรู้สึก” เสียมากกว่า (และบ่อยครั้งเพียงไร ที่ความรู้สึกของเราจะเจือด้วยอคติสารพัด !!) สิง่ ทีเ่ ราในฐานะผูเ้ ขียน มุง่ หวังส�ำหรับ อินเดียเริม่ ทีน่  ี่ ทมิฬนาฑู ก็ คื อ  การแนะน� ำ ทมิ ฬ นาฑู ใ ห้ แ ก่ ค นไทยโดยเฉพาะ จึ ง จะมี ป ระเด็ น ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของไทย ประวัติศาสตร์ไทย รวมถึงการเทียบเคียง กับสิ่งที่พบเห็นในเมืองไทยด้วย เนื่องเพราะเราเห็นว่าแผ่นดินทั้งสอง ฟากอ่าวเบงกอลคือทมิฬนาฑูและประเทศไทยนั้น มีทั้ง “อดีต” และ “อนาคต” ร่วมกัน นอกจากนั้น เนื่องจากทมิฬนาฑูไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนโลกใบนี้ แม้เราจะตั้งใจเล่าเรื่องทมิฬนาฑูเป็นหลัก แต่ก็ย่อมต้องมีภาพเงาของ รัฐเพือ่ นบ้านข้างเคียง ภาพรวมของอินเดีย  ชุมชนชาวทมิฬในฐานถิน่ อืน่ ๆ หรือแม้แต่เรื่องความสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์ระหว่างบ้านเมืองในสยาม ประเทศกับดินแดนของชาวทมิฬเข้ามาเสริม หรือแทรกสลับ ข้ อ เขี ย นบางส่ ว นในหนั ง สื อ เล่ ม นี้   ปรั บ ปรุ ง จากบทความเรื่ อ ง “ทมิฬนาฑู 101” ของศรัณย์ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร สารคดี ฉบับเดือน กั น ยายน พ.ศ. 2551  บทความเรื่ อ งนั้ น เขี ย นในสไตล์ ข อง “สารคดี ท่องเที่ยว” แต่เมื่อต้องมาอยู่ในรูปเล่มหนังสือ ผู้เขียนทั้งสองเห็นพ้อง ต้องกันว่า อยากให้ อินเดียเริม่ ทีน่  ี่ ทมิฬนาฑู เป็นเหมือนคูม่ อื เบือ้ งต้น ส�ำหรับคนที่สนใจหรือตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวในแถบอินเดียใต้ ซึ่งอาจอยากได้หนังสือที่ใช้ประโยชน์ได้จริงจังกว่าสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป 10 AW Intro ��������.indd 10

12/23/10 9:23 AM


จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คกึ่งไกด์บุ๊คแทน อย่างไรก็ตาม ทมิฬนาฑูมีขนาดถึงหนึ่งในสามของประเทศไทย และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างยิง่  จึงเป็นไปไม่ได้ทผี่ เู้ ขียนซึง่ อยูใ่ นทมิฬนาฑู เพียงช่วงสัน้ ๆ จะสามารถเดินทางเทีย่ วชมให้ได้หมด  โดยเฉพาะเมือ่ บวก กับความตั้งใจที่จะเขียนถึงสิ่งที่ได้พบเห็นด้วยตัวเองเป็นหลัก คือเป็น ประสบการณ์ “จริง” และ “ตรง” โดยจะค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ มาเสริมเท่าทีค่ ดิ ว่าจ�ำเป็นส�ำหรับผูท้ จี่ ะไปเทีย่ วดูบา้ ง  ดังนัน้  สิง่ ทีเ่ ขียนถึง ในหนังสือเล่มนี้ ย่อมไม่สามารถครอบคลุมครบถ้วน หากผู้อ่านมีโอกาส เดินทางไป หรือเห็นว่าข้อมูลในหนังสือยังคลาดเคลื่อน ก็สามารถแจ้ง มายังผู้เขียนหรือส�ำนักพิมพ์ได้  จะได้แก้ไขหากมีการตีพิมพ์ครั้งต่อไป รวมทั้งผู้เขียนเองก็คิดว่าถ้ามีโอกาสคงต้องเดินทางไปส�ำรวจตรวจสอบ ซ�้ำ หรือเพิ่มเติมข้อมูลให้มากขึ้น สิ่งน่าทึ่งส�ำหรับผู้เขียนทั้งสองก็คือ เมื่อกลับมาแล้ว ยิ่งค้นคว้า ก็ยงิ่ พบข้อมูลน่าตืน่ เต้นไม่รจู้ บ มิหน�ำซ�ำ้  ยังท�ำให้เราได้เปรียบเทียบวิธคี ดิ แบบ “ไท้...ไทย” ขนานไปกับการรู้จักทมิฬนาฑู หรืออาจถือได้ว่านี่เป็นเพียงสัปดาห์แรกของรายวิชา “ทมิฬ นาฑู 101” เท่านั้น วิชญดา  ทองแดง และ ศรัณย์  ทองปาน thyada@hotmail.com, tongpanui@hotmail.com

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 11

11

12/23/10 9:23 AM


12 AW Intro ��������.indd 12

12/23/10 9:23 AM


ข้อตกลงที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ การถ่ายอักษรชื่อเฉพาะภาษาทมิฬ ปัจจุบันยังไม่มีระบบการถ่ายอักษรจากภาษาทมิฬเป็นภาษาไทย อย่างเป็นทางการ  ชื่อเมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู และชื่อรัฐหรือเมือง ส�ำคัญในอินเดียที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ อ้างอิงตามการถ่ายอักษรของ ราชบัณฑิตยสภา ใน ประกาศส�ำนักนายกรัฐมนตรีและประกาศ ราชบัณฑิตยสถาน เรื่องการก�ำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการ ปกครอง และเมืองหลวง (พ.ศ. 2545) ส่วนชื่อเฉพาะอื่นๆ เช่นชื่อเมืองที่ไม่ปรากฏในเอกสารข้างต้น ชื่อเทวาลัย ชื่อบุคคลตามต�ำนานและประวัติศาสตร์ ฯลฯ  ผู้เขียนถ่าย จากตัวสะกดตามอักษรโรมัน (และอักษรทมิฬในกรณีที่ท�ำได้) โดยอิงกับ ความคุ้นตาและความสะดวกในการออกเสียงภาษาไทยเป็นหลัก ซึ่ง ส่วนใหญ่แตกต่างไปจากการออกเสียงจริงในภาษาทมิฬเล็กน้อย  (อาทิ กปาลีศวร – กะ ปา ลี สวน / ภาษาทมิฬว่า กะ ปา ลี สะ วา รา) ทั้งนี้ ผู้เขียนพยายามก�ำกับตัวอักษรโรมันของชื่อเฉพาะต่างๆ ไว้ด้วยเสมอ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเทียบเคียง ชือ่ เฉพาะในหนังสือเล่มนีจ้ งึ อาจแตกต่างไปจากหนังสือหรือเอกสาร ที่เขียนโดยบุคคลอื่นๆ การระบุศักราช การระบุปีในหนังสือเล่มนี้จะใช้ทั้งพุทธศักราชและคริสต์ศักราช เพื่อ ความสะดวกในการเทียบเคียง โดยจะเขียนปีพทุ ธศักราชน�ำหน้า คัน่ ด้วย เครื่องหมาย [ / ] ก่อนตามด้วยคริสต์ศักราช เช่น “พ.ศ. 2552 / 2009”

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 13

13

12/23/10 9:23 AM


สารบัญ ทมิฬนาฑู จากอดีตสู่ปัจจุบัน

16

รู้จักทมิฬนาฑู

38

แผนที่รัฐทมิฬนาฑู

ภูมิหลังและความสัมพันธ์ทมิฬ - ไทย เทวสถานและเทพเจ้า วิถีชีวิตในแดนทมิฬ

รู้รอบเมืองส�ำคัญ

เจนไน (มัทราส) กาญจีปุรัม มามัลละปุรัม พูดุชเชอรี / พอนดิเชอร์รี (ปอนดี้) จิตัมพรัม ตัญชาวูร์ (ตัญชอร์) ติรุชชิรัปปัลลิ (ตริชี่) มธุไร

37 40 50 94

132 134 170 206 252 278 298 326 348

14 AW Intro ��������.indd 14

12/23/10 9:23 AM


รู้จริงเมืองแขก

ก่อนจะถึงทมิฬนาฑู ชีวิตสบายๆ ในทมิฬนาฑู ของฝากประทับใจ ต่อยอดความรู้ ค้นหาสถานที่ ชื่อเขตปกครองในรัฐทมิฬนาฑู

366 368 374 390 392 396 398

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 15

15

12/23/10 9:23 AM


ทมิฬนาฑู จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ผู้คนบนสองฝั่งอ่าวเบงกอล คือดินแดนที่ปัจจุบันเป็น อินเดียและแหลมมลายู มีการเดินทางไปมาหาสู่กัน ยาวนานนับพันๆ ปีแล้ว นักปราชญ์รนุ่ ก่อน เช่นสมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าชาว อินเดียพวกแรกๆ ที่เข้ามาสู่สุวรรณภูมิ ก็คงมาจาก อินเดียใต้ และคนพวกนี้เองที่น�ำเอาลัทธิศาสนาจาก อินเดีย ทั้งพุทธและพราหมณ์ (ฮินดู) เข้ามาเผยแผ่ 16 AW Intro ��������.indd 16

12/23/10 9:23 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 17

17

12/23/10 9:23 AM


18 AW Intro ��������.indd 18

12/23/10 9:23 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 19

19

12/23/10 9:23 AM


20 AW Intro ��������.indd 20

12/23/10 9:23 AM


จ�น ปากีสถาน นิวเดลี

เนปาล

ภูฏาน บังคลาเทศ

อินเดีย

โกลกาตา

พม า

มุมไบ

ไทย เจนไน

อาวเบงกอล

กรุงเทพมหานคร

รัฐทมิฬนาฑู ศร�ลังกา มหาสมุทรอินเดีย

มาเลเซีย อินโดนีเซีย

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 21

21

12/23/10 9:23 AM


สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India)

พื้นที่ 3,287,240 ตร.กม. (อันดับ 7 ของโลก / ใหญ่กว่าไทยราว 6 เท่า) ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเอเชีย ทิศตะวันออกติดบังคลาเทศ พม่า และอ่าวเบงกอล ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกติดปากีสถาน และทะเลอาระเบีย ทิศเหนือติดเนปาล จีน และภูฏาน เมืองหลวงของประเทศ  นิวเดลี ประชากร  ราว 1,148 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 2 ของโลก ภาษาราชการของประเทศ 22 ภาษา (จากราว 1,600 ภาษา) รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ  มีรัฐในปกครอง 28 รัฐ  1 เมือง และ 6 เขตปกครองพิเศษ ศาสนา ไม่มีศาสนาประจ�ำชาติ (มีอิสระในการนับถือศาสนา) โดยมีผู้นับถือศาสนาฮินดูมากที่สุดราวร้อยละ 80 ได้รับเอกราช  (จากอังกฤษ) 15 สิงหาคม พ.ศ. 2490 / 1947 สถาปนาเป็นสาธารณรัฐ 26 มกราคม พ.ศ. 2493 / 1950 ประธานาธิบดี นางประติภา เทวีสิงห์ ปาฎีล  (เกิด พ.ศ. 2477 / 1934) ด�ำรงต�ำแหน่ง พ.ศ. 2550 / 2007 – ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี นายมานโมฮัน ซิงห์  (เกิด พ.ศ. 2475 / 1932) ด�ำรงต�ำแหน่ง พ.ศ. 2547 / 2004 – ปัจจุบัน

22 AW Intro ��������.indd 22

12/23/10 9:23 AM


ทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) 1 ใน 28 รัฐ ของสาธารณรัฐอินเดีย เจนไน

พื้นที่ 130,058 ตร.กม. (อันดับที่ 11 ของอินเดีย / ราว 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย) ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ทิศตะวันออกติดอ่าวเบงกอล ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกติดรัฐเกรละ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดรัฐกรณาฏกะ ทิศเหนือติดรัฐอานธรประเทศ เมืองหลวงของรัฐ  เจนไน (มัทราส) ประชากร  66.396 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ภาษาราชการของรัฐ  ภาษาทมิฬ รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตย  มีเขตปกครอง 32 เขต ศาสนา ไม่มีศาสนาประจ�ำรัฐ (มีอิสระในการนับถือศาสนา) โดยมีผู้นับถือศาสนาฮินดูมากที่สุดราวร้อยละ 82 สถาปนาเป็นรัฐ  1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 / 1956 ผู้ว่าราชการรัฐ นายสุรจิต ซิงห์ บารนาลา  (เกิด พ.ศ. 2468 / 1925) ด�ำรงต�ำแหน่ง พ.ศ. 2547 / 2004 – ปัจจุบัน มุขมนตรี นายกรุณานิธิ  (เกิด พ.ศ. 2467 / 1924) ด�ำรงต�ำแหน่ง พ.ศ. 2549 / 2006 – ปัจจุบัน

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 23

23

12/23/10 9:23 AM


ดินแดนทมิฬนาฑู : จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ช่วง 400,000 – 10,000 ปีก่อน มีการค้นพบเครื่องมือหินกะเทาะ แบบยุ ค หิ น เก่ า   ท� ำ ให้ สั น นิ ษ ฐานว่ า ตั้ ง แต่ เ มื่ อ หลายแสนปี ก ่ อ น มี ชุ ม ชน มนุษย์ดึกด�ำบรรพ์ (Homo erectus) ที่ เก็บของป่าล่าสัตว์ ด�ำรงชีวติ อยูใ่ นพืน้ ที่ อินเดียใต้  จนเมื่อราว 50,000 ปีก่อน มนุษย์ปจั จุบนั  (Homo sapiens sapiens) จึงเริ่มอพยพเข้ามาแทน  ร่องรอยของ มนุษย์สืบเนื่องลงมาถึงยุคหินใหม่ที่ใช้ เครื่องมือหินขัด ช่วง 4,000 ปีก่อน จากการศึกษาด้านภาษา เชื่อกัน ว่ากลุม่ คนทีพ่ ดู ภาษาตระกูลดราวิเดียน (Dravidian) หรื อ ชาวฑราวิ ต  อพยพ เคลื่อนย้ายมาจากแถบพื้นที่ชายแดน ปากีสถาน – อิหร่าน เข้ามาในดินแดน ที่เป็นประเทศอินเดียปัจจุบัน  ก่อนถูก รุกไล่โดยชาวอารยันผู้พูดภาษาตระกูล อินโด – ยุโรเปียน (Indo – European) ซึ่งอพยพมาจากแถบเทือกเขาคอเคซัส

กลุ่มดราวิเดียนจึงถอยร่นลงมาตั้งหลัก แหล่งอยู่ในเขตอินเดียใต้ในทุกวันนี้ เชื่อกันว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นี้กลายเป็นที่มาของมหากาพย์ รามายณะ (Ramayana) ดินแดนอินเดีย ใต้จึงเปรียบเสมือนบ้านเมืองของฝ่าย ยักษ์หรือทศกัณฐ์ โดยมีพระราชวังอยู่ที่ กรุงลงกา หรือประเทศศรีลงั กาในปัจจุบนั

ยุคประวัติศาสตร์ ยุ ค แรกเริ่ ม ของอารยธรรรมใน ดิ น แดนนี้ ใ นห้ ว งเวลา 300 ปี ก ่ อ น คริสตกาลถึ ง  ค.ศ. 200 มี ชื่ อ เรี ย กว่ า “ยุคสังกัม” ซึ่งถือเป็นยุคคลาสสิกของ ทมิฬในทุกทาง ชาวดราวิเดียนในอินเดียใต้ไม่ได้ อยู่ล�ำพังอย่างตัดขาดกับพวกอารยัน อิทธิพลของวัฒนธรรมจากภาคเหนือ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ภาษาสั น สกฤต ศาสนา พราหมณ์  หรื อ ระบบวรรณะเผยแผ่ ลงไปในดินแดนอินเดียใต้ด้วยเช่นกัน บ้านเมืองเริ่มรวมตัวกันเป็นแว่นแคว้น ติดต่อค้าขายกัน

26 AW Intro ��������.indd 26

12/23/10 9:23 AM


จากนั้น ประวัติศาสตร์ของอินเดีย ใต้ก็คล้ายคลึงกับบ้านเมืองเก่าแก่อื่นๆ ในโลก  ราชวงศ์ต่างๆ อันมีฐานที่มั่น อยู ่ ใ นถิ่ น ของตน เอาชนะบ้ า นเล็ ก เมืองน้อย รวบรวมแคว้นต่างๆ ขยาย แสนยานุ ภ าพ ก่ อ ตั ว เป็ น อาณาจั ก ร ผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นกั น ขึ้ น มาครอง ความเป็นใหญ่  ก่อนจะถูกท้าทาย และ ช่วงชิงอ�ำนาจต่อกันไปเป็นทอดๆ ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (พุ ท ธศตวรรษที่   3 / ราว 200 ปี ก ่ อ น คริสตกาล) ระบุพระราชอาณาเขตว่า ด้านทิศใต้จรดแดนของราชวงศ์ปาณฑยะ และโจฬะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 13 ราชวงศ์ปัลลวะ (Pallava – ร่วม เวลากับ “ยุคทวารวดี” ของไทย) ปกครองครึง่ บนของทมิฬนาฑู  ตัว อักษรของปัลลวะได้กลายมาเป็นต้น ก�ำ เนิ ด ตัว อัก ษรยุค โบราณในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งมอญและเขมร โบราณ ซึ่งส่งอิทธิพลให้กับอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 12 - 20 ราชวงศ์ปาณฑยะ (Pandya – ร่วม ยุคกับปัลลวะ) มีอ�ำนาจในซีกล่างของ ทมิฬนาฑู  แม้จะเคยพ่ายแพ้ตอ่ ปัลลวะ แต่ต่อมาก็กลับเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง และ ครองอ�ำนาจต่อมาถึงพุทธศตวรรษที ่ 20

พุทธศตวรรษที ่ 15 - 17 ราชวงศ์โจฬะ (Chola – ตรงกับสมัย อาณาจั ก รขอมหรื อ กั ม พู ช าโบราณ ที่ เ มื อ งพระนคร) เป็ น ยุ ค ของการแผ่ แสนยานุภาพทางการทหาร  กองทัพ เรือโจฬะยกข้ามอ่าวเบงกอล มาโจมตี และยึดครองดินแดนแถบ คาบสมุ ท รมลายู แ ละ หมูเ่ กาะ (บริเวณภาคใต้ ของไทย มาเลเซีย และ บางส่วนของอินโดนีเซีย ปัจจุบัน) ไว้ในอ�ำนาจอยู่ระยะหนึ่ง พุทธศตวรรษที ่ 19 - 21 ราชวงศ์วิชัยนคร (Vijayanagar – ตรงกับสมัยอยุธยา) มีศูนย์กลางอยู่ที่ วิชัยนคร (ปัจจุบันคือเมืองฮัมปิ Hampi ในรัฐกรณาฏกะ) แผ่ขยายแสนยานุภาพ ครอบครองทั่วทั้งอินเดียใต้ รวมถึงดินแดนที่เป็นทมิฬนาฑูปัจจุบัน

พุทธศตวรรษที ่ 22 - 23 ยุ ค นายกะ (Nayaka – ช่ ว งสมั ย อยุธยาตอนปลายต่อกับรัตนโกสินทร์ ตอนต้น) หลังการล่มสลายของวิชยั นคร อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 27

27

12/23/10 9:23 AM


โยคะและอายุรเวท

“เทรนด์” ล่าสุดที่เพิ่งเริ่มปรากฏขึ้นไม่นาน คือการไปทมิฬนาฑู เพื่อเข้าคอร์สโยคะระยะสั้น หรือไปรับการบ� ำบัดรักษา ฟื้นฟูร่างกาย ด้วยแนวทางการแพทย์แผนอินเดีย อย่างที่เรียกว่า “อายุรเวท” มี ข ้ อ เขี ย นในหนั ง สื อ พิ ม พ์ ไ ทยว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งนี้ ห ลายชิ้ น ในต้ น ปี พ.ศ. 2552 / 2009 แต่พร้อมกันนั้น ก็มีข่าวจากทางกงสุลไทยที่เจนไน ว่า “สปา” แบบไทย ก�ำลังได้รบั ความนิยมอย่างยิง่  รวมถึงมีความต้องการ หมอนวดชาวไทยไปท�ำงานในสปาตามโรงแรมหรูต่างๆ อีกมาก  แม้ โฆษณาของบริษัททัวร์หลายแห่งในอินเดียใต้จะมุ่งเน้นไปที่อายุรเวท ต้นต�ำรับที่เกรละ รัฐเพื่อนบ้าน แต่สิ่งเหล่านี้ก็หาได้ที่ทมิฬนาฑูเช่นกัน ส่วนโรงเรียนสอนโยคะหรือคลาสเรียนโยคะมีอยู่มากมายตาม เมืองใหญ่ๆ อาทิ เจนไน พูดุชเชอรี ตริชี่ มธุไร ฯลฯ เทศกาลโยคะสากล (International Yoga Festival) ในเดือนมกราคม ณ เมืองพูดุชเชอรี มี ครูโยคะจากทัว่ โลกมาร่วมงานเป็นจ�ำนวนมากทุกปี  อาศรมสักสิตานันทะ (Saccidananda Ashram) เขตกะรูร ทางตะวันตกของตริชี่ก็เป็นอีกสถานที่ หนึ่งที่ชาวคริสเตียนและชาวฮินดู ทั่วโลกรู้จักดี

36 AW Intro ��������.indd 36

12/23/10 9:23 AM


NH 5

รัฐูอานธรประเทศ

แผนที่รัฐทมิฬนาฑู

Andhra Pradesh

เจนไน

Chennai

บังคาลอร Bangalore

NH

NH 7

ไมซอร Mysore

กาญจ�ปุรัม

46

Kanchipuram

มามัลละปุรัม

Mamallapuram

รัฐกรณาฏกะ Karnataka

พูดุชเชอร�

47

าเวริ ำเก

แมน ้

NH

รัฐูเกรละ Kerala

วไก น ำ้ ไ แม

NH

NH 7

วริ เกาเ นำ้

แม

รัฐทมิฬนาฑู

Puducherry 45

อาวเบงกอล

จ�ตัมพรัม

Chidambaram

Tamil Nadu ิ แมน้ำเกาเวร

ติรุชชิรัปป ลลิ

ตัญชาวูร

Tiruchirapalli

Thanjavur

มธุไร

Madurai

NH 49 ราเมศวรัม Ramashwaram

อาวมันนาร

ศร�ลังกา

กันนิยากุมาร� Kanniyakumari

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Intro ��������.indd 37

37

12/23/10 9:23 AM


รู้จัก ทมิฬนาฑู

มี ช าวทมิ ฬ นาฑู ทั้ ง ในภาครั ฐ และเอกชน ตลอดจน  บุคคลทั่วไปจ�ำนวนมากที่รู้จักและเคยมาเยือนประเทศ  ไทย ในลั ก ษณะของธุ ร กิ จ การค้ า  การศึ ก ษา และ  การท่องเที่ยว จนอาจกล่าวได้ว่าทุกวันนี้เรา “รู้เขา”  น้อยกว่าที่เขา “รู้เรา” 38 AW Part 1 ��������.indd 38

12/23/10 9:19 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 39

39

12/23/10 9:19 AM


ภูมิหลังและ ความสัมพันธ์ทมิฬ–ไทย

การค้าสองฝั่งทะเล

ในอดีต การค้าขายระหว่างสองฝัง่ อ่าวเบงกอลคงคึกคักมาก  ตาม  ชุมชนเมืองท่าโบราณฝั่งทะเลตะวันตกของไทย มีร่องรอยของอารยธรรม  อินเดียต่อเนื่องมาตลอด เมื่ อ ราวสองพั น ปี ก ่ อ นในยุ ค ที่ เ มื อ งอริ ก เมฑุ  (Arikamedu ใกล้เมืองพูดชุ เชอรีปจั จุบนั ) เป็นศูนย์กลาง  การค้าส�ำคัญของภูมภิ าค ติดต่อค้าขายกับพวกโรมัน  ก็คงมีเส้นทางเชือ่ มโยงมายังดินแดนประเทศไทย  ปั จ จุบัน ด้ ว ย  ยืน ยัน ได้ จ ากรู ป แบบของเศษ  ภาชนะดิ น เผาประทั บ ลวดลายที่ เ รี ย กว่ า  รูเล็ตแวร์ (Rouletted wares) พบที่  แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัด ชุมพร มีลักษณะเดียวกันกับที่ขุดพบ  ในอริกเมฑุ นอกจากนั้ น  ลู ก ปั ด แก้ ว ก็ เ ป็ น  สินค้าอีกชนิดหนึ่งที่มีทั้งการค้าขายแลกเปลี่ยน

“รูเล็ตแวร์” จากเขาสามแก้ว (ซ้าย) ที่พบในอริกเมฑุ (ขวา)

40 AW Part 1 ��������.indd 40

12/23/10 9:19 AM


และการน�ำเอาเทคโนโลยีจากอินเดียมาผลิตลูกปัดขึ้นตามเมืองท่าใน  ภาคใต้  แหล่งโบราณคดีทพี่ บลูกปัดจ�ำนวนมากได้แก่ คลองท่อม จังหวัด  กระบี่ เขาสามแก้ว และเกาะคอเขา จังหวัดชุมพร ในสมัยราชวงศ์ปลั ลวะของอินเดียใต้อนั เป็นยุคทีก่ ารค้า  เฟื่องฟู เทวรูปแบบปัลลวะหลายองค์ที่พบในภาคใต้ของ  ไทยในเวลาต่อมา อาทิ เทวรูปพระวิษณุและบริวารจาก  ตะกัว่ ป่า จังหวัดพังงา (ภาพซ้าย) ก็มผี สู้ นั นิษฐานว่ามา  แต่กาลครั้งนั้น รวมทั้งยังยืนยันได้ด้วยศิลาจารึกภาษา  ทมิฬที่มีอายุร่วมยุคกัน ว่าด้วยการขุดสระน�้ำ ให้อยู่ใน  ความคุม้ กันของกองทัพและสมาชิก “มณิคราม” อันเป็น  ชื่อสมาคมพ่อค้าทมิฬในสมัยนั้นด้วย ถัดมาในยุคราชวงศ์โจฬะ ซึ่ง  สนับสนุนการค้าทางทะเล และ  เชื่ อ กั น ว่ า มี ก องทั พ เรื อ แผ่  แสนยานุภ าพมายัง ดิน แดน  เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้   ก็ ค ง  รวมถึงดินแดนไทยในปัจจุบัน เพราะเราพบ  เทวรู ป ฮิ น ดู ต ามแบบศิ ล ปะโจฬะอี ก หลาย  องค์ เช่น พระศิวไภรวะ (ภาพขวา)

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 41

41

12/23/10 9:19 AM


กรีกแห่งอุษาคเนย์

ดร.ชาญวิ ท ย์   เกษตรศิ ริ   นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ค นส� ำ คั ญ ของไทย  เคยเขียนไว้ว่า บทบาทของชาวทมิฬจากอินเดียใต้ที่มีต่อดินแดนเอเชีย  ตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อุษาคเนย์” นั้น มีมากมาย เทียบเคียงได้กับ  สิ่งที่ชาวกรีกทิ้งไว้ให้แก่อารยธรรมตะวันตกทีเดียว อาจารย์ชาญวิทย์  ถึงกับระบุว่าอารยธรรมทมิฬนั้น “...เป็นต้นแบบของอารยธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ  พูดให้ง่ายเข้าก็คือ ตัวอักษรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ไม่ว่าจะ  เป็นชวา บาหลี มอญ พม่า เขมร ไทย (เผ่าต่างๆ รวมทัง้ ลาว) นัน้ มีก�ำเนิด  มาจากอักษรปัลลวะในอินเดียใต้ทั้งสิ้น หรือการสร้างปราสาทหินของ  ชวาอย่างปรัมบานัน โบโรบูดูร์ (บรมพุทโธ) ปราสาทหินนครวัดนครธม  พนมรุ้ง เขาพระวิหาร ก็มีอิทธิพลของทมิฬทั้งสิ้นเช่นกัน” อักษรคฤนถ์ (Grantha) แบบที่พวกปัลลวะใช้ ได้กลายมาเป็น  ต้ น แบบของอั ก ษรยุ ค แรกในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้    ศิ ล าจารึ ก รุ ่ น  แรกๆ ในเมืองไทย ก็จารด้วยอักษรปัลลวะ แม้แต่ตัวอักษรพม่า มอญ  ไทย ลาว เขมร ปัจจุบัน ล้วนสามารถสืบต้นสายวิวัฒนาการกลับไปยัง  อักษรปัลลวะได้ รวมทั้งกษัตริย์ขอมที่เมืองพระนครก็ยังเฉลิมพระนามด้วยสร้อย  ต่อท้ายว่า “วรมัน” (เช่น  ชั ย วรมั น ) เช่ น เดีย วกับ  พระนามกษัตริย์ปัลลวะ  สืบต่อมาอีกหลายร้อยปี จารึกคาถาเยธัมมา อักษรปัลลวะ ภาษาบาลี “เตสังเหตุง ตถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ...” พบที่นครปฐม

42 AW Part 1 ��������.indd 42

12/23/10 9:19 AM


พราหมณ์รามราช

ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับที่นายฟานฟลีต (Van Vliet บาง  ครัง้ เรียกว่าวันวลิต) หัวหน้าสถานีการค้าบริษทั อินเดียตะวันออกของดัตช์  ทีก่ รุงศรีอยุธยาสืบสวนไว้ เล่า “ความทรงจ�ำ” ว่ากษัตริยแ์ ห่งเมืองรามราช  ในอินเดียใต้ส่งพราหมณ์มาถวายกษัตริย์อยุธยา เมืองรามราชนี ้  ไมเคิล ไรท (พ.ศ. 2483 – 2552 / 1940 – 2009)  สันนิษฐานว่าคือเมืองราเมศวรัม พราหมณ์รามราชได้น�ำลัทธิประเพณี  ต่ า งๆ เข้ า มาเป็ น จ� ำ นวนมาก รวมถึ ง พิ ธ ี โล้ชิงช้าที่ราชส�ำนักสยามให้ปฏิบัติสืบทอด  มาจนเพิ่งเลิกไปเมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. 2475 / 1932 สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือพระมหา  ราชครูทกี่ ล่าวกันว่าเป็นพราหมณ์และกวีสมัยสมเด็จ  พระนารายณ์ ได้ใช้ชื่อหนังสือที่ได้รับการยกย่อง  ว่าเป็นหนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรกเช่นเดียวกับ  ค�ำเรียกต�ำราอักษรศาสตร์ของอินเดียใต้ นั่นคือ  จินดามณี ส่ ว นทางนครศรี ธ รรมราชซึ่ ง เป็ น หั ว เมื อ ง  ส�ำคัญในภาคใต้ ก็มีตระกูลพราหมณ์ เทวสถาน  พระอิศวร พระนารายณ์ และเคยมีเสาชิงช้าเช่นกัน  นอกจากนี้ยังค้นพบบัวหัวเสาหินสลักจ�ำนวนมาก  ที่ดูคล้ายศิลปะสมัยราชวงศ์วิชัยนคร  บริเวณวัดโพธิ ์ (ร้าง) ในเขตอ�ำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคือ  อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 43

43

12/23/10 9:19 AM


โครงสร้างเทวาลัย

ในภาษาทมิฬ เรียกเทวาลัยว่าโกยิล (Koil / Koyil) โดยความหมาย  ก็คือ “วัด” วัดในศาสนาฮินดูไม่วา่ จะเป็นลัทธิไวษณพ (ไว-สะ-นบ) ทีน่ บั ถือพระ  วิษณุเป็นใหญ่ ลัทธิไศว (ไส-วะ) ที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ หรือแม้แต่วัด  ลัทธินกิ ายอืน่  ก็มอี งค์ประกอบพืน้ ฐานไม่ตา่ งกันนัก ด้วยมีความคิดพืน้ ฐาน  คือเทวาลัยเป็นที่ประทับของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ จึงมักสร้างเทวาลัย  เป็นการจ�ำลองรูปสวรรค์ หรือย่อส่วนจักรวาลลงมา แวดล้อมด้วยการ  ปฏิบตั บิ ชู าต่างๆ ทีล่ ว้ นเป็นไปเพือ่ สร้างความพึงพอใจให้แก่เทพเจ้า ให้มา  ประดิษฐานอยู่ใน “มูรติ” (รูปปรากฏ) ของพระองค์ อันได้แก่เทวรูป หรือ  สัญลักษณ์ เช่นศิวลึงค์ (แทนพระศิวะ) รูปปฏิมาของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูจงึ ถือเสมือนเป็นองค์เทวะ และ  ภารกิจหลักโดยแท้จริงของพราหมณ์ ก็คอื การตอบสนองต่อองค์เทพ โดย  มีหน้าที่ต่อศาสนิกชนอยู่ในความส�ำคัญอันดับรองลงมา ในเทวาลัยตัง้ แต่เช้าจรดค�ำ่  มีพธิ ปี รนนิบตั ติ อ่ เทวรูปด้วยความเคารพ  สูงสุดในระดับที่พึงกระท�ำต่อกษัตริย์ นับแต่ปลุกบรรทมตอนเช้า สรงน�้ำ  ลูบไล้เครื่องหอม แต่งองค์ทรงเครื่อง ถวายอาหาร สวดมนตร์บูชา ไป  จนถึงอัญเชิญเข้าบรรทมในเวลาค�ำ่  หรือแห่เข้าห้องหอร่วมกับชายา แม้แต่  ถ้อยค�ำที่ใช้กับเทพเจ้า ก็ต้องเป็น “ราชาศัพท์” (เช่นเดียวกับคนไทยพูด  ถึงพระพุทธเจ้าและพระพุทธรูป) การวางต�ำแหน่งอาคารต่างๆ ในเทวสถาน การวางศิลาฤกษ์ จ�ำนวน  ชัน้  ฯลฯ เหล่านีล้ ว้ นถูกก�ำหนดโดยคัมภีรอ์ าคมศาสตร์ (Agama Shastras)  ซึ่งอุปมาเทวาลัยกับกายมนุษย์ บางครั้งจะเปรียบแผนผังเทวาลัยเหมือน  เทพเจ้าในปางไสยาสน์ โดยไล่ลำ� ดับตัง้ แต่ศรี ษะจรดปลายเท้า เช่นครรภ-  คฤหะคือศีรษะ  วิมาน (หรือยอดของครรภคฤหะ) คือปลายจมูก  มณฑป  52 AW Part 1 ��������.indd 52

12/23/10 9:19 AM


สัญลักษณ์ไวษณพนิกาย

คือทรวงอก  พลีปีฐะเปรียบกับสะดือ  ธวัชสดมภ์คือลึงค์  โคปุระคือเท้า บางต�ำราก็จะอธิบายต่างไปเล็กน้อย อาทิ ต�ำแหน่งประดิษฐาน  เทพเจ้าคือระหว่างคิ้ว  ครรภคฤหะคือศีรษะ ท้องเทียบได้กับมณฑป  ธวัชสดมภ์คือลึงค์ และโคปุระคือเท้า เป็นต้น

แผนผังเปรียบเทียบเทวาลัยกับร่างกายมนุษย์

(ดัดแปลงจาก www.harekrsna.com และ www.salagnam.net)

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 53

53

12/23/10 9:19 AM


ตัวอย่างแผนผังเทวาลัยไศวนิกายแบบทมิฬ 1 วิมาน (วิมานัม) ประดิษฐานพระศิวลึงค์ ในห้องครรภคฤหะ 2 มณฑป (มณฑปัม) 3 รูปโคนนทิ พาหนะของพระศิวะ 4 ธวัชสดมภ์ (เสาธง) 5 พลีปีฐะ (บาลีปิตัม) 6 โคปุระ (โคปุรัม) ทิศตะวันออก 7 กัลยาณมณฑป 8 เทวาลัยพระศิวนาฏราช (พระศิวะปางฟ้อนร�ำ) 9 เทวาลัยพระนางปารวตี (ชายาพระศิวะ) 10 เทวาลัยพระขันทกุมาร (โอรสพระศิวะ) 11 เทวาลัยพระคเณศ (โอรสพระศิวะ) 12 สระน�้ำ 13 ก�ำแพง 14 โคปุระ (โคปุรัม) ทิศใต้

1

4 5

3 8

10

7

9 1

2

3 4 5

6

12

11 13

1

14

6 / 14

(ดัดแปลงจากแผนผังในหนังสือ Dravidian Architecture ของ G. Jouveau - Dubreuil ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2460 / 1917)

54 AW Part 1 ��������.indd 54

12/23/10 9:19 AM


โคปุรัม เทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร มธุไร

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 55

55

12/23/10 9:19 AM


องค์ประกอบเทวาลัย

องค์ประกอบพื้นฐานของเทวาลัย ที่มักพบเห็นทั่วไปในอินเดียใต้  (จากด้านนอกเข้าไปภายใน) ได้แก่

โคปุระ Gopura

(ท. โคปุรัม Gopuram) = ซุ้มประตูทางเข้า มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีช่องประตูอยู่กลางด้านยาว ติดบาน

56 AW Part 1 ��������.indd 56

12/23/10 9:19 AM


ประตูไม้  ขนาบด้วยรูป “ทวารบาล” ชั้นหลังคาซ้อนลดหลั่นในลักษณะ  รูปจ�ำลองชั้นล่าง บนสุดมักเป็นหลังคาทรงโค้งแบบประทุนเรือ แต่ละชั้น  ประดับรูปปัน้ เทพเจ้า ชายา บริวาร ฉากภาพจากเทวต�ำนาน  นิยมระบาย  สีสดใส  ทั้งนี้ โคปุรัมจะมีจ�ำนวนชั้นเป็นเลขคี่เสมอ โคปุรมั สูงใหญ่แบบทมิฬเป็นวิวฒ ั นาการของเทวสถานในอินเดียใต้  ช่วงพันปีที่ผ่านมา ในยุคเก่า เช่นสมัยปัลลวะ ซุ้มประตูจะยังไม่สูงใหญ่  นัก  แต่เมือ่ เวลาผ่านไปจะมีววิ ฒ ั นาการจนท�ำให้โคปุรมั กลายเป็นอาคาร  โดดเด่นทีส่ ดุ  (บ้างว่าเดิมวัตถุประสงค์เป็นป้อมสังเกตการณ์ขา้ ศึก) ขณะที่  ตัวเทวสถานมักมีขนาดเล็ก ค�ำอธิบายบางส�ำนวนมีว่าเมื่อกษัตริย์ใน  รั ช กาลก่ อ นๆ สร้ า งเทวาลั ย ประธานไว้ ส มบู ร ณ์ แ ล้ ว  กษัตริย์รัชกาลต่อมาก็สร้างโคปุรัมให้ใหญ่ขึ้น โคปุรัม  ในเทวสถานอายุหลายร้อยหลายพันปีจึงมักมีรูปแบบ  ศิลปะผสมกันตามช่วงการบูรณะปฏิสังขรณ์ โคปุรัมมักตั้งประจ�ำทิศทั้งสี่ บางแห่งอาจเพิ่ม  มากกว่านั้น  โคปุรัมทางเข้าหลักขนาดสูงใหญ่ที่สุด เรียกว่า  ราชาโคปุรัม (Rajagopuram)

ธวัชสดมภ์ Dwajasthamba

(ท. โกฑิมารัม Kodimaram) = เสาธง ใช้ชัก ธงประกาศงานเทศกาล เดิมคือสัญลักษณ์  กษัตริย์ที่ต้องตั้งเสาเครื่องหมายแทนตัวหรือชักธงประจ�ำ  ราชวงศ์ ในเทวาลัยใช้ประกาศความเป็น “เจ้าจักรวาล”  ขององค์เทวะ เสาธงเป็นเสาไม้ มักหุ้มโลหะเป็นปล้อง  ตอนปลายมีคานซ้อนกันสามคาน ยืน่ ออกไปเชือ่ มเสา ท่อนสั้น  ใต้เสาท่อนสั้นมักแขวนระฆัง อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 57

57

12/23/10 9:19 AM


เตรียมตัวเข้าเทวาลัย (ฉบับย่อ)

1) แต่งกายสุภาพมิดชิด เสื้อมีปก กางเกงขายาว / กระโปรงยาว แขนไม่กุด  บุรุษหากนุ่งโสร่ง ควรนุ่งขาว (เว็สตี้) 2) ปิดมือถือ เพื่อไม่ให้เสียงดังรบกวนความสงบ 3) ถอดรองเท้า (บางแห่งยอมให้ใส่ถงุ เท้า บางแห่งไม่อนุญาต อย่างไรก็ด ี เดิน  เท้าเปล่าสะดวกกว่า) 4) เตรียมเครื่องบูชา แผงจ�ำหน่ายเครื่องบูชาหน้าวัดสะดวกที่สุด  (มักจัด  ชุดใส่กระจาดราว 20 – 50 รูป)ี 5) จ่ายค่าเข้าวัดและค่าบันทึก  ภาพ (ถ้ า มี )  หลายแห่ ง ขาย  “ตั๋ ว ” ส่ ว นใหญ่ อ ยู ่ ร ะหว่ า ง  5 – 20 รูปี 6) เคารพแม่ธรณี  มื อ ขวา  แตะธรณีประตูตรงรูปดอกบัว  (มณฑลจักรวาล) แล้วแตะศีรษะ  ก่อนข้ามผ่าน 7) สักการะเทพรอบนอก ตามธรรมเนียมแล้วจะสักการะเทพด้านนอกก่อน  เทพประธานด้านใน 8) บูชาเทพ “ทรรศนะ”  หากเข้าถึงห้องชั้นใน พึงส�ำรวม ส่งเครื่องบูชาแก่  พราหมณ์ “เพ่งดู” เพื่อรับพลัง 9) รับพร ถวายทักษิณาทาน (เงิน) แด่พราหมณ์ อังมือแตะเปลวไฟทีพ่ ราหมณ์  น�ำกลับออกมา แล้วแตะตามศีรษะ หน้า ตัว เพื่อช�ำระล้างจิตวิญญาน  วาง  “ทักษิณาทาน” (เงิน) ลงถาด 10) คืนกระจาดบูชา หลังบูชา อาจเดินเวียนทักษิณาวรรต (เวียนขวา) ใน  ระเบียงคดสามรอบ  อย่าลืมคืนกระจาดเครือ่ งบูชาให้แผงทีเ่ ราซือ้ มา (เขาจะเก็บ  ไปใช้ใหม่) เขาจะถ่ายของใส่ถุงให้กลับไป (กิน) เป็นสิริมงคล 11) รับพรจากช้าง (ถ้ามี) ถ้ามีชา้ งอยู ่ ยืน่ ให้สกั  1 – 10 รูป ี ก็ได้ ช้างจะเอางวง  มาแตะเรา ถือเป็นการอวยพร

88 AW Part 1 ��������.indd 88

12/23/10 9:20 AM


มาลัยดอกไม้และกระจาดเครื่องบูชา ที่มีวางขายตามหน้าเทวสถาน

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 89

89

12/23/10 9:20 AM


วิถีชีวิตในแดนทมิฬ

ภาษาทมิฬ

แม้มหี ลายร้อยพันภาษาในอินเดีย แต่กจ็ ดั เข้ากลุม่ ได้สองกลุม่ ใหญ่  คือกลุม่ อินโด – ยุโรเปียน สาขาอินโด – อารยัน ทีใ่ ช้วงกว้างราวร้อยละ 70  และกลุม่ ดราวิเดียน ทีพ่ ดู ทางใต้ราวร้อยละ 20 ทีเ่ หลือจัดอยูใ่ นตระกูลอืน่ ๆ ภาษาทมิฬจัดอยู่ในตระกูลดราวิเดียน มีผู้พูดอยู่ทางตอนใต้ของ  อินเดียและตอนบนของศรีลงั กา ร่วมตระกูลเดียวกับภาษาเตลูก ู (Telugu –  รัฐอานธระประเทศ) ภาษากันนาดา (Kannada – รัฐกรณาฏกะ) และภาษา  มาลายาลัม (Malayalam – รัฐเกรละ) ภาษาทมิฬใช้เป็นภาษาราชการของ  รัฐทมิฬนาฑู จัดเป็นภาษาที่มีอายุราว 2,500 ปี เก่าแก่พอๆ กับภาษา  สันสกฤต แบ่งเป็น 3 สมัย คือภาษาทมิฬโบราณ ยุคกลาง และปัจจุบัน  (พุทธศตวรรษที่ 24 / คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา) ตัวอักษรภาษาทมิฬพัฒนามาจากอักษรปัลลวะ ปัจจุบนั มีพยัญชนะ  24 ตัว (อักษรแทนเสียงทมิฬ 18 ตัวและอักษรที่ใช้เขียนค� ำจากภาษา  อื่นอีก 6 ตัว คือ   = จ    = ส    = ฉ    = ห,ฮ    = กษ   = ศรี)  และมีพยัญชนะพิเศษคืออายตัม   ที่พบมากในภาษาทมิฬ  โบราณ พยัญชนะบางตัวออกเสียงได้หลายเสียงตามต�ำแหน่งในพยางค์  (เช่น   เทียบได้กับเสียง ก ข ค ห และ ฮ ในภาษาไทย)  พยัญชนะ  หลายเสียงไม่มีในภาษาไทย แต่เทียบเคียงได้กับรูปในอักษรไทย เช่น   = ฤ (ออกเสียงคล้าย ร)    = ฬ (ออกเสียงคล้าย ล) และมีพยัญชนะ  บางเสียงคล้ายกันจนหูคนไทยแทบแยกไม่ออก (เช่น   = น    = นฺ   = ณ    = ล    = ฬ) 94 AW Part 1 ��������.indd 94

12/23/10 9:20 AM


รูปสระลอย

พยัญชนะ แทนเสียงภาษาทมิฬ

พยัญชนะ แทนเสียงภาษาอื่น

ค�ำในภาษาทมิฬมักมีเสียงลงท้ายด้วย “อัม” เช่น โคปุรัม (โคปุระ  หรือซุ้มประตู)  จาฬรัม (หน้าต่าง – ไทยใช้ “จระน�ำ” ในความหมาย  ซุ้มประดิษฐานพุทธรูปหรือคูหาท้ายโบสถ์วิหาร) ภาษาทมิฬมีสระ 12 ตัว 12 เสียง มีทั้งรูปสระจมและสระลอย  สระเดี่ยวมีเสียงสั้นยาว 5 คู่ คือ เทียบได้กับ อะ อา อิ อี อุ อู เอะ เอ  และ โอะ โอ ในภาษาไทย  ส่วนสระผสมมี 2 เสียงคือ ไอ และ เอา การอ่านอักษรทมิฬที่ไม่มีสระหรือพยัญชนะประกอบจะออกเสียง  เหมือนผสมสระอะ เช่น   อ่านว่า ปะ ส่วนตัวอักษรมีจุดอยู่ข้างบน  (เป็นตัวสะกด) จะไม่ออกเสียงอะ เช่น   เทียบได้กบั รูปอักษรไทย  คือ “ปณม” ออกเสียงอย่างทมิฬว่า ปะ – น�ำ (แปลว่า เงินตรา) ประโยคในภาษาทมิฬจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปค�ำตามประธาน  กาล (Tense) และความสุภาพ อนึ่ง มักพบความไม่สม�่ำเสมอในการใช้อักษรภาษาอังกฤษถ่าย  เสียงภาษาทมิฬ ทั้งชื่อสถานที่และชื่อเฉพาะ กระทั่งเอกสารของทาง  อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 95

95

12/23/10 9:20 AM


อาหารและร้านอาหารในทมิฬนาฑู

ดินแดนทมิฬนาฑูนับถือฮินดูเป็นหลัก อาหารจึงแบ่งเป็นมังสวิรัต ิ (Vegetarian food) และไม่ใช่มังสวิรัติ (Non – Vegetarian Food) ซึ่งมีให้เรา  เลือกตั้งแต่บนเครื่องบิน การกินอาหารมักเปิบด้วยมือขวาข้างเดียว ตามร้านอาหารมักเสิรฟ์   อาหารถาด (Tali) มีใบตองปูรองทับ วางอาหารกลุ่มแป้ง (โดไซ วได อิดลี่  ฯลฯ) เคียงด้วยแกงผัก (ซัมบัร) และเครื่องจิ้ม (จัตนี) ในถ้วยเล็กๆ เสมอ  นักท่องเที่ยวมักได้รับช้อนส้อมหรือร้องขอได้ ในอินเดียใต้นยิ มถัว่ เลนทิล (Lentil) มากกว่าทางเหนือทีน่ ยิ มถัว่ ดาล  อาหารจะออกรสเปรีย้ วกว่า  แต่ทเี่ หมือนกันคือนิยมใส่ผงมาซาล่า (Masala)  ในอาหารแทบทุกชนิด อย่างที่เรามักคุ้นกลิ่นอาหารแขก หลังมือ้ อาหารอาจหาขนมสารพัดชนิดมาลองชิม ก่อนตบท้ายด้วย  ชา กาแฟ หรือไอศกรีมรสดี ราคาอาหารยังหามื้อละ 10 – 20 บาทตามรถเข็นหรือแผงลอยได้  ในร้านอาหารตกมื้อละ 25 – 35 บาท ร้านอาหารสาขาราว 35 – 70 บาท  เทียบกับอาหารอินเดียในเมืองไทยถูกกว่ากันราวครึ่ง หรือหนึ่งในสามก็มี

108 AW Part 1 ��������.indd 108

12/23/10 9:21 AM


โดไซฆี เสิร์ฟพร้อม จัตนี่หลากรส

ปกติชาวอินเดียจะ  กลั บ ไปกิ น ข้ า วกลางวั น  ที่บ้าน มีปิ่นโตติดมาหรือ  มีบริษทั รับจัดส่งปิน่ โตจาก  บ้านมาให้ช่วงใกล้เที่ยง  (เพือ่ อาหารจะได้ไม่เย็นชืด)  จึงอาจเห็นปิน่ โตใหญ่ตาม  สถานที่ราชการและห้าง  ร้านต่างๆ

อาหารชุด (อาหารถาด – Tali)

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 109

109

12/23/10 9:21 AM


ร้านนมสด ที่ต้มนมผสมเครื่องเทศในกระทะใบใหญ่

112 AW Part 1 ��������.indd 112

12/23/10 9:21 AM


อาหารเอกลักษณ์อินเดียใต้

อาหารกลุม่ แป้งของชาวทมิฬจะมีฐานคล้ายกันคือแป้ง  ข้าวโม่หรือบดผสมถั่วเลนทิล แต่ด้วยกรรมวิธีและ  ส่วนผสมท�ำให้ได้อาหารรูปร่างหน้าตาต่างกัน อาทิ โดไซ / โดซา (Dosai / Dosa) แป้งย่างแผ่น  กลมใหญ่ ม้วนหรือพับครึง่  นิยมบางกรอบ  มากกว่าหนานุ่ม หน้าตาชวนนึกถึงเครป  แต่รสชาติคล้ายขนมถังแตก กรอบเหมือน  ขนมเบื้อง อยากให้ลองโดไซฆีที่มักมา  ในรูปกรวยทรงสูง วได (Vadai / Vada) แป้งผสมถั่วบดทอด มีรูตรงกลางเหมือนโดนัท  รสเปรี้ยวนิดๆ ครั้งแรกขอให้ชิมจากร้านหรูหน่อย เพราะถ้าลองข้างทาง  อาจถึงกับบอกลา เสิร์ฟได้รวดเร็วเพราะทอดไว้แล้ว อิดลี่ (Idly) แป้งนึ่งสีขาวก้อนกลมราว 2 – 3 นิ้วฟุต รสคล้าย  ขนมจีนแป้งหมัก ความหยุ่นชวนให้นึกถึงขนมตาลหรือขนมถ้วยฟู อุตตะปัม (Uttapam / Oothappam) แป้งย่างกลมหนา มักมีหน้า  เป็นหัวหอมมะเขือเทศ มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าอินเดียนพิซซ่า อิดลีอ่ าปัม (Idlyappam) เส้นแป้งเล็กๆ สีขาวขดกลมแบน มีกะทิผสม ในอินเดียใต้ยงั หานาน (Naan – แป้งย่าง คล้ายโรตีบา้ นเรา) จาปาตี  (Chapathi – แป้งสาลีย่าง) ปะระท่า (Paratha – แป้งย่างมีเนื้อเป็นชั้นๆ)  และปูรี (Poori – แป้งทอดในน�้ำมันท่วมจนโป่งพอง) ได้ทั่วไป ชีสมังสวิรัติ ชาวฮินดูนิยมกินปานีร์ (Paneer) คือเนยแข็งหรือชีสมังสวิรัติ

เป็นแหล่งโปรตีนส�ำคัญของอาหารฮินดู มักหั่นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ คลุกกับ  ผงมาซาล่าก่อนน�ำไปปรุงอาหาร

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 1 ��������.indd 113

113

12/23/10 9:21 AM


รู้รอบ เมืองส�ำคัญ

“...แนะน�ำให้ตั้งต้นจากมหานครเจนไน แวะนมัสการ  เทวาลั ย ที่ ก าญจี ปุ รั ม  เที่ ย วชมมรดกโลกแห่ ง เมื อ ง  มามัลละปุรัม หย่อนใจ ณ พูดุชเชอรี เมืองชายทะเล  ทีเลือ่ งชือ่ ว่าเป็น “ฝรัง่ เศสน้อย”...นมัสการสถานก�ำเนิด  ศิวนาฏราชแห่งจิตัมพรัม กราบนารายณ์บรรทมสินธุ์  ที่ศรีรังคาม (ตริชี่) ชมเทวาลัยพฤหธิศวรแห่งตัญชาวูร์  และขอพรพระแม่มนี กั ษีแห่งมธุไร เท่านีก้ น็ บั ว่าเพียงพอ  ส�ำหรับปฐมบทในการท�ำความรู้จักอินเดีย” 132 AW Part 2-1 �����.indd 132

12/23/10 9:24 AM


ตึกแบบอาร์ตเดโก (Art Deco) ในนครเจนไน

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-1 �����.indd 133

133

12/23/10 9:24 AM


เจนไน Chennai

เจนไน : ตั้งอยู่ริมอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐทมิฬนาฑู เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู สถานที่เลื่องชื่อ : ป้อมเซนต์จอร์จ หาดมาริน่า พิพิธภัณฑสถาน ฯลฯ

134 AW Part 2-1 �����.indd 134

12/23/10 9:24 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-1 �����.indd 135

135

12/23/10 9:24 AM


พูดุชเชอรี Puducherry

พูดชุ เชอรี / พอนดิเชอร์ร ี : ห่างจากนครเจนไนทางใต้ราว 160 – 170 กิโลเมตร ดินแดนสหภาพหนึ่งในเจ็ดของสาธารณรัฐอินเดีย สถานที่เลื่องชื่อ : อาศรมศรีอรพินโทและชุมชนออโรวิลล์

หากมี ภ าพในใจว่ า อิ น เดี ย เป็ น สถานที่ น ่ า กลั ว เต็มไปด้วยความสกปรก ยากจน เมื่อมาถึงพูดุชเชอรี (Puducherry ชื่อเดิมคือพอนดิเชอร์ร ี / Pondicherry) หรือ “ฝรั่งเศสน้อย” ความคิดดังว่าย่อมเปลี่ยนจากหน้ามือ เป็นหลังมือในพริบตา เพราะเมืองพูดชุ เชอรีขนึ้ ชือ่ ลือชา ในความงามตามแบบยุโรป ซึ่งอาจตกหลุมรักได้ตั้งแต่ แรกเห็นในภาพถ่าย พูดชุ เชอรี / พอนดิเชอร์ร ี หรือ “ปอนดี”้  เป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะของเมือง ตากอากาศพอๆ กับเป็นทีใ่ ฝ่ฝนั ถึงในฐานะเมืองฮันนีมนู  แม้ชาวอินเดียเอง ก็คงมีจินตนาการถึงเมืองนี้ในเชิงบวก เพราะภาพโฆษณาการท่องเที่ยว มักน�ำเสนอว่าเมืองนี้พิเศษกว่าเมืองอื่นๆ ทั้งรูปร่างหน้าตาของเมืองและ ผู้คนนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงจินตนาการไม่ออกว่าชาวพูดุชเชอรีจะมี รูปร่างหน้าตาเช่นไร คนไทย (หรือไม่ว่าชาติไหนๆ) ที่ก�ำลังเดินเที่ยวอยู่ อาจถูกเรียกให้หยุดเพือ่ ถามทางด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นเจ้าถิน่ ได้ง่ายๆ 252 AW Part 2-4 ����������.indd 252

12/23/10 9:37 AM


วัดพระหฤทัย พูดุชเชอรี

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-4 ����������.indd 253

253

12/23/10 9:38 AM


วันนี้ที่จิตัมพรัม

จิตมั พรัมถือเป็น “ศาสนธานี” (Temple City) ขนาดใหญ่ มีเทวาลัย นาฏราชาเป็นศูนย์กลางเมือง ซ�ำ้ ตัวเมืองก็อยูใ่ นวงล้อมของก�ำแพงเทวาลัย จิ ตั ม พรั ม มี ส ถานะเป็ น เมื อ งเล็ ก ๆ (เที ย บได้ กั บ อ� ำ เภอ) ในเขต คัดดาลอร์ (Cuddalore) เมืองนีเ้ ติบโตขึน้ มาจากเทวสถาน อาคารบ้านเรือน ในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงอยู่รายรอบก�ำแพงเทวาลัย  ด้วยขนาดไม่ใหญ่โต ของเมือง ท�ำให้เดินเทีย่ วได้รอบโดยใช้เวลาไม่นาน แต่สว่ นใหญ่นกั ท่องเทีย่ ว จะแวะมานมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเที่ยวชมเทวาลัยเพียงไม่กี่ชั่วโมง จึง ไม่มีธุรกิจรองรับนักท่องเที่ยวหลากหลายเฉกเช่นเมืองอื่น  เมืองนี้หา ธนาคารหรือร้านแลกเปลี่ยนเงินตราล�ำบากหน่อย แต่ก็ยังมีที่ท�ำการ ไปรษณีย์ โรงพยาบาล รวมถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่ ทางตะวั น ออกของเมือ งมีม หาวิท ยาลัย อัน นามไล (Annamalai University) อยู่ห่างออกไปราว 2 – 3 กิโลเมตร มีนักศึกษานับพันคน จะ เรียกว่าเป็นศูนย์กลางของการศึกษาในภาคกลางของทมิฬนาฑูกพ็ อได้ ที่ เด่นอีกอย่างหนึ่งคือดนตรีพื้นเมืองอินเดียใต้ ที่เรียกว่า ดนตรีคาร์นาติก (Carnatic Music) งานเทศกาล งานใหญ่ที่มีคนมาชุมนุมกันมากที่สุดในรอบปีจะมีสองช่วงคือราว เดือนเมษายน – พฤษภาคมและช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ก�ำหนด จัดขึน้ ครัง้ ละ 10 วัน นอกจากนีใ้ นช่วงราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมจะมี เทศกาลเต้นร�ำจัดต่อเนือ่ งกันถึง 5 วัน โดยจะมีนาฏศิลปินจากทัว่ ประเทศ มาร่วมงาน การบูชาในเทวาลัยจะมีทุกวัน แต่ที่น่าดูน่าชมคือพิธีรอบค�่ ำใน ราวหกโมงเย็น และพิเศษในทุกค�่ำคืนวันศุกร์จะมีขบวนแห่นาฏราชาที่ ประดิษฐานบนคานหาม โดยมีพราหมณ์ถือตรีศูลและคบไฟร่วมขบวน 280 AW Part 2-5 ���������.indd 280

12/23/10 9:38 AM


โคปุรัมทิศตะวันออก

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-5 ���������.indd 281

281

12/23/10 9:38 AM


ในโคปุรัมจะมีต�ำรวจรักษาการณ์ตลอดเวลา

282 AW Part 2-5 ���������.indd 282

12/23/10 9:39 AM


เสาสลักท่าร�ำ 108 ท่า

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-5 ���������.indd 283

283

12/23/10 9:39 AM


ภาพสลักนายกะผู้อุปถัมภ์ แสดงคารวะต่อเทพเจ้าในครุฑมณฑป

336 AW Part 2-7 ���������������.indd 336

12/23/10 9:42 AM


สถานที่ควรเยือนในติรุชชิรัปปัลลิ

ศาสนธานีศรีรังคาม

ฝัง่ ตรงข้ามกับเมืองตริชตี่ อนกลาง มีเกาะกลางน�ำ้ อยูร่ ะหว่างแม่นำ�้ เกาเวริ (Kauveri / Cauvery กับแม่น�้ำคอลลิดัม เรียกกันว่า ศรีรังคาม บนเกาะแห่งนี้ มีสกั การสถานส�ำคัญอันดับต้นๆ ในอินเดียใต้สำ� หรับ ผูน้ บั ถือศาสนาฮินดูลทั ธิไวษณพนิกาย หรือฝ่ายทีบ่ ชู าพระวิษณุ (นารายณ์) เทวาลัยแห่งนีม้ ชี อื่ เรียกว่า “ศรีรงั คนาถสวามี” หรือ “ศรีรงั คนาถ” มีความ ส�ำคัญนีถ้ งึ ขนาดทีว่ ่า ส�ำหรับศาสนิกของไวษณพนิกายแล้ว  ล�ำพังค�ำว่า “โกยิล” (Koil – วัด) ค�ำเดียวย่อมหมายถึงที่นี่ (บ้างว่าที่นี่เป็นเทวาลัยใน ลัทธิไวษณพนิกายที่มีผู้มาสักการะมากเป็นอันดับสองรองจากเทวาลัย ติรุปติ ในรัฐอานธระประเทศ) ศรีรังคนาถ เป็น “ศาสนธานี”  มีขนาดมหึมา บางครั้งจึงเรียกกัน ว่า “วัดใหญ่” (Big Temple) และถือเป็นเทวาลัยฮินดูทใี่ หญ่ทสี่ ดุ ในอินเดีย (ชาวอินเดียบางคนเชื่อว่าเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยซ�้ำ)

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-7 ���������������.indd 337

337

12/23/10 9:42 AM


มธุไร Madurai

มธุไร : ห่างจากนครเจนไนทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 450 กิโลเมตร เมืองใหญ่อันดับสองของรัฐทมิฬนาฑู สถานที่เลื่องชื่อ : เทวาลัยมีนักษี (เทวสถานเทพฝ่ายหญิงที่โด่งดังที่สุดในอินเดียใต้)

ในแดนทมิฬนาฑูนนั้ ถือเป็นถิน่ พระศิวะ มีเทวาลัย ของพระองค์กระจายอยู่ทุกภาคในปริมาณมหาศาล เทวาลัยแทบทุกแห่งจะมีเทวาลัยของพระนางปารวตี ผูเ้ ป็นชายา และโอรสทัง้ สองคือพระขันทกุมาร (สกันทะ / สุพราหมัณยะ / มุรกุ นั  ฯลฯ) และพระคเณศ (วินายกะ / ปิลไลยาร์) อยูใ่ นบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียง น้อยแห่ง นักที่จะมีเทวาลัยฝ่ายหญิงเป็นหลัก  อาจกล่าวได้ว่า เทวาลัยฝ่ายหญิงทีม่ ชี อื่ เสียงในทมิฬนาฑูไม่มที ใี่ ดเทียบ เคียงได้เท่าเทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวรแห่งมธุไร นอกจากเทวาลัยมีนกั ษีอนั มีชอื่ เสียงในระดับสากลแล้ว เมืองมธุไร ก็ไ ด้ ชื่อ ว่ า เป็ น เมืองเก่าแก่กว่าสองพันปี มีหลักฐานว่าเคยติดต่อกับ กรีก – โรมัน มาเนิ่นนาน ในอีกทางหนึ่ง มธุไรได้รับการขนานนามว่าเป็น “เอเธนส์แห่งบูรพาทิศ” (Athens of the East) 348 AW Part 2-8 �����.indd 348

12/23/10 9:42 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-8 �����.indd 349

349

12/23/10 9:42 AM


สถานที่ควรเยือนในมธุไร

เทวาลัยมีนักษีสุนทเรศวร

Meenakshi Sundareswarar Temple ในแสงสลัวและหมอกยามเช้า โคปุระ (ซุ้มประตู) ของเทวาลัย มีนกั ษีทสี่ งู ตระหง่านขึน้ เหนืออาคารสิง่ ก่อสร้างอืน่ ใดในมธุไรทัง้ หมด สร้าง บรรยากาศแห่งความขรึมขลัง และน่าศรัทธา นักประวัติศาสตร์หลายคนเห็นพ้องกันว่าช่วงเวลาแห่งการสร้าง เทวาลัยมีนักษีตกอยู่ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต�ำนานของเทวาลัย มีหลายส�ำนวน  เรือ่ งหนึง่ กล่าวว่าในสมัยราชวงศ์ ปาณฑยะ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์ จึงกระท�ำยัญพิธี จน ได้พระธิดาผู้มีความงามยิ่ง แต่นางนั้นผิดแปลกไปจากสตรีเพศใด ด้วย ว่ามีหน้าอกสามข้าง นางจึงตั้งใจบูชาพระศิวะ อ้อนวอนขอให้กลับมามี ลักษณะเป็นดัง่ มนุษย์ปกติ  ด้วยศรัทธา พระศิวะจึงลงมาปรากฏพระองค์ เนรมิตสิง่ ทีน่ างประสงค์ แล้วสมรสกับนาง ด้วยว่านางนัน้ คือพระนางปารวตี ที่แบ่งภาคลงมาเกิดในโลกมนุษย์ ส�ำนวนที่สองกล่าวว่า นางกษัตริย์ผู้มีลักษณะพิเศษตามต�ำนาน แรกนั้น ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระบิดา และยกทัพไปปราบปราม บ้านเมืองต่างๆ จนราบคาบ แล้วจึงยกขึน้ ไปรบกับเทพบนเขาไกลาส แต่เมือ่ ได้พบกับพระศิวะ นางเกิดตกหลุมรัก ด้วยว่านางคือภาคหนึ่งของปารวตี จึงยอมสยบ เลิกทัพ และพระศิวะก็เสด็จมาสมรสกับนาง ณ นครมธุไร อีกส�ำนวนหนึ่งเล่าว่า เมื่อใดนางผู้มีลักษณะพิเศษนั้นได้พบบุคคล ทีจ่ ะเป็นคูค่ รองในอนาคต เมือ่ นัน้ หน้าอกข้างทีส่ ามจึงจะหายไป ครัน้ เติบ ใหญ่ นางได้พบพระศิวะแล้วบังเกิดปาฏิหาริย์ดังกล่าว ทั้งสองจึงครองคู่ กันแต่นั้นมา

356 AW Part 2-8 �����.indd 356

12/23/10 9:42 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW Part 2-8 �����.indd 357

357

12/23/10 9:42 AM


รู้จริง เมืองแขก

เวลาเพี ย งไม่ กี่ วั น ในทมิ ฬ นาฑู   คงไม่ อ าจท�ำ ให้ เ รา  อวดอ้างว่ารู้จักทมิฬนาฑูทุกซอกทุกมุม หากทั้งหมด  ที่ น� ำ เสนอคื อ ความรู ้ แ ละประสบการณ์ ที่ เ ราอยาก  แบ่งปัน สิ่งที่เราในฐานะผู้เขียน มุ่งหวัง ก็คือการแนะน�ำ  ทมิ ฬ นาฑู ใ ห้ แ ก่ ค นไทยโดยเฉพาะ เนื่ อ งเพราะเรา  เห็นว่าแผ่นดินทั้งสองฟากอ่าวเบงกอล คือทมิฬนาฑู  และประเทศไทยนั้น มีทั้ง “อดีต” และ “อนาคต”  ร่วมกัน 366 AW part 3 ���������������.indd 366

12/23/10 9:43 AM


อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW part 3 ���������������.indd 367

367

12/23/10 9:43 AM


ก่อนจะถึงทมิฬนาฑู

เวลาควรเที่ยว

สาธารณรั ฐ อิ น เดี ย มี อ ากาศร้ อ นเป็ น พื้ น  ควรหลี ก เลี่ ย งช่ ว ง  เมษายน – กรกฎาคม ซึ่งร้อนมากจนทนแทบไม่ไหว (ตั๋วเครื่องบินมัก  ลดราคาล่อใจ) จากนั้นจะเข้าสู่หน้าฝน เที่ยวไม่สนุกนัก ช่วงทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ของการเยือนทมิฬนาฑูคอื พฤศจิกายน – มีนาคม ในทุกฤดู อินเดียมีฝนุ่ อยูท่ วั่ ไป ควรมีผา้ ปิดจมูกหรือใส่เสือ้ ผ้ามิดชิด

เดินทางกับบริษัทน�ำเที่ยว

คนไทยยั ง ไม่ นิ ย มท่ อ งเที่ ย วอิ น เดี ย ใต้ นั ก  จึ ง ไม่ มี ร ายการทั ว ร์  ส�ำเร็จรูป แต่บริษัทน�ำเที่ยวก็จัดให้ได้ในลักษณะทัวร์เฉพาะกลุ่ม เช่น  ทัศนศึกษา ดูงาน หรือแสวงบุญ บริษทั น�ำเทีย่ วหลายแห่งเล่าตรงกันว่าต้นทุนในการท�ำทัวร์อนิ เดียใต้  สูงกว่าภูมิภาคอื่น และอาจจัดทัวร์ห้าดาวในระยะเวลา 7 – 10 วัน ด้วย  สนนราคาราว 5 – 7 หมื่นบาท / คน (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและรายละเอียด) หากสนใจเที่ยวอินเดียใต้ ควรรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป จะ  ได้ราคาพิเศษ ส่วนบริษัทที่เคยจัดทัวร์อินเดียใต้มีอาทิ สวัสดีฮอลิเดย์  (www.sawasdeeholidays.com โทร. 0-2644-9700) วันเดอร์แลนด์ ทราเวล  (โทร. 0-2934-8546-51) มายด์วาเคชัน่  (www.mindvacation.net โทร. 0-8186-  05361, 0-8188-09437) SPT Travel (www.spktravel.com โทร. 0-2719-2722) นอกจากนี ้ “ทัวร์เอือ้ งหลวง” ของการบินไทย มักมีบริการแพคเกจ  ทัวร์เจนไนเสมอ ดูได้ที่ www.thaitravelcenter.com 368 AW part 3 ���������������.indd 368

12/23/10 9:43 AM


เดินทางด้วยตนเอง (Backpacking)

ในทมิฬนาฑูเดินทางท่องเที่ยวเองได้ปลอดภัยและสะดวกพอควร  “ไกด์บุ๊คฝรั่ง” รู้จักดินแดนแถบนี้ดี หาตั๋วเครื่องบินไปกลับราวหมื่นต้นๆ  บวกค่าใช้จ่าย 600 – 1,000 บาท / วัน ก็เที่ยวชมทมิฬนาฑูได้สบาย ตัวอย่างรายการท่องเที่ยวทมิฬนาฑู

วันแรก กรุงเทพฯ – เจนไน : เดินทางช่วงเช้า ถึงเจนไนตอนสาย ชมสถานที่  ส�ำคัญในเจนไน อาทิ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ป้อมเซนต์จอร์จ ฯลฯ พักที่เจนไน วันทีส่ อง เจนไน – กาญจีปรุ มั  – มามัลละปุรมั  : เช้าไปกาญจีปรุ มั  ชมเทวาลัย  ไกลาสนาถ เทวลัยเอกัมพเรศวร ฯลฯ บ่ายไปมามัลละปุรัม ชมกลุ่มโบราณสถาน  มรดกโลก อาทิ ปัญจรถะ ภาพสลัก “อรชุนบ�ำเพ็ญตบะ” ฯลฯ พักที่มามัลละปุรัม วันทีส่ าม มามัลละปุรมั  – พูดชุ เชอรี : เช้าชมโบราณสถานในเมืองมามัลละปุรมั   บ่ายไปพูดุชเชอรี ชมอาศรมศรีอรพินโท ถนนเลียบชายทะเล ฯลฯ พักที่พูดุชเชอรี วันที่สี่ พูดุชเชอรี – จิตัมพรัม – ตัญชาวูร์ : เช้าไปจิตัมพรัม ชมศาสนธานี  บ่ายไปตัญชาวูร์ ชมเทวาลัยพฤหธิศวร พักค้างที่ตัญชาวูร์ วันที่ห้า ตัญชาวูร์ – ตริชี่ : เช้าชมหอศิลปะ (พิพิธภัณฑ์) ตัญชาวูร์ บ่ายไป  ติรุชชิรัปปัลลิ (ตริชี่) ชมเทวาลัยป้อมหิน พักค้างตริชี่ วันที่หก ตริช ี่ – มธุไร : เช้าชมศาสนธานีศรีรังคาม บ่ายไปมธุไร ชมเทวาลัย  มีนกั ษีสุนทเรศวร (รอบค�ำ่ ) พักค้างมธุไร วันที่เจ็ด มธุไร – เจนไน : ชมเทวาลัยมีนักษีฯ (รอบเช้า) กลับไปพักค้าง  เจนไน (ไม่แวะระหว่างทาง) วันทีแ่ ปด เจนไน – กรุงเทพฯ : เดินทางกลับช่วงเช้า ถึงสุวรรณภูมติ อนบ่าย หมายเหตุ 1. หากมีเวลา 5 – 7 วัน เที่ยวช้าๆ ในสี่เมือง คือเจนไน กาญจีปุรัม มามัล-  ละปุรัม พูดุชเชอรี ก็เพียงพอที่จะสัมผัสทมิฬนาฑูโดยไม่เหนื่อยมาก 2. จากมธุไรหรือตริชี่อาจโดยสารเครื่องบินกลับเจนไน เพื่อกลับไทยในวัน  รุ่งขึ้น หรือโดยสารเครื่องบินจากตริชี่มายังกัวลาลัมเปอร์ เพื่อต่อเครื่องบินกลับไทย  ก็ได้

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

AW part 3 ���������������.indd 369

369

12/23/10 9:43 AM


ราคา 380 บาท

ISBN 978-974-7385-53-3

อินเดียเริ่มที่นี่

หมวด ท่องเที่ยวต่างประเทศ

อย่าบอกว่ารู้จักอินเดีย หากยังไม่ได้อ่าน “อินเดียเริ่มที่น่ ี ทมิฬนาฑู”

ทมิฬนาฑู

อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู

ส� ำ หรั บ  “มื อ ใหม่ อิ น เดี ย ” แล้ ว  อินเดียใต้ โดยเฉพาะ  ทมิฬนาฑู น่าจะเป็นปฐมบทแห่งการเดินทางทีด่ ที สี่ ดุ  เพราะสภาพ ภูมิประเทศ อากาศ คล้ายกับประเทศไทยมาก  ผู้คนในดินแดน แถบนี้ก็ไม่น่ากลัวและ “ตุกติก” เท่ากับภูมิภาคอื่นๆ “...แนะน�ำให้ตั้งต้นจากมหานครเจนไน แวะนมัสการ  เทวาลัยที่กาญจีปุรัม  เที่ยวชมมรดกโลกแห่ง มามัลละปุรัม หย่อนใจ ณ พูดชุ เชอรี เมืองชายทะเลทีไ่ ด้ชอื่ ว่า “ฝรัง่ เศสน้อย”  นมัสการสถานก�ำเนิดศิวนาฏราชแห่งจิตัมพรัม กราบนารายณ์-  บรรทมสิ น ธุ ์ ที่ ศ รี รั ง คาม (ตริ ชี่ )  ชมเทวาลั ย พฤหธิ ศ วรแห่ ง  ตั ญ ชาวู ร ์   และขอพรพระแม่ มีนั ก ษีแ ห่ ง มธุ ไ ร เท่ า นี้ก็ นับ ว่ า  เพียงพอส�ำหรับปฐมบทในการท�ำความรู้จักอินเดีย”

380.-

Tamil Nadu

ฉ บั บ พิ เ ศ ษ

ศรัณย์ ทองปาน • วิชญดา ทองแดง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.