ดร. ธิดา สาระยา
การนําเสนอประวัติศาสตร พม าที่สะท อนสู การขยาย โลกทัศน ของการรับรู ประวัติศาสตร ไทยและอุษาอาคเนย พร อมกันไปในคราวเดียวตามกล าว ส งผล ให หนังสือ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย กลางแห ง จักรวาล เป นมากกว าหนังสือที่ว าด วยประวัติศาสตร พม าที่น าสนใจเล มหนึ่ง จาก คํานิยม ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท
ดร. ธิดา สาระยา
อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน าภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)
เมืองมัณฑะเล แม จะไม ใช เมืองสวรรค แต ก็เป นเมืองมนุษย และควรค าแก การร ูจัก ทั้งในฐานะนักท องเที่ยว ผ ูไปเยี่ยมเยือน ผ ูใฝ หาความร ู ต องการเข าใจการเปลี่ยนแปลง สังคมมนุษย หนึ่งๆ ตลอดจนผ ูแสวงหาความเข าใจ เกี่ยวกับชีวิตวัฒนธรรม ของมนุษยชาติ จาก คํานําเสนอ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม
มะเยนานเปียตั๊ต ของมหาปราสาทในพระราชวังมัณฑะเล
4
ดร. ธิดา สาระยา
เขตพระราชฐานชั้นนอก ของพระราชวังมัณฑะเล
หอคอย พระที่นั่งน้ำ�พุ และซาโมะใต้ พระราชวังมัณฑะเล
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
5
การออกว่าราชการของกษัตริย์พม่า ในพระราชวังมัณฑะเล
บรรยากาศแห่งความสงบ ในพุทธสถานพม่า
6
ดร. ธิดา สาระยา
พระเจดีย์วัดกุโตดอ ในกรุงมัณฑะเล
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
7
ISBN 978-974-7385-58-8 มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล หนังสือ ผู้เขียน ดร. ธิดา สาระยา ภาพ จำ�นงค์ ศรีนวล, สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ, ศูนย์ข้อมูลสารคดี พิมพ์ครั้งที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ปรับปรุงใหม่) ๓,๐๐๐ เล่ม จำ�นวนพิมพ์ ราคา ๒๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบ/จัดรูปเล่ม คอมพิวเตอร์ ควบคุมการผลิต
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นฤมล ต่วนภูษา วัลลภา สะบู่ม่วง ธนา วาสิกศิริ
แยกสี/เพลท พิมพ์ท ี่
เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖
จัดจำ�หน่าย
บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ธิดา สาระยา. มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล.- พิมพ์ครั้งที่ ๒.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔. ๒๒๔ หน้า. ๑. พม่า--ประวัติศาสตร์. ๒. พม่า--ความเป็นอยู่และประเพณี. I. ชื่อเรื่อง. ๙๕๙.๑
ISBN : 978-974-7385-58-8
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐, ๐-๒๒๘๑-๖๒๔๐-๒ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ผู้อ�ำ นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
10
ดร. ธิดา สาระยา
สารบัญ คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�เสนอ โดย รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม คำ�นิยม หนังสือมัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล โดย ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ คำ�นำ�ของผู้เขียน
๑๓ ๑๕ ๑๙ ๒๕
สังเขปประวัตศิ าสตร์พม่า ๓๒ บูรณาการทางสังคมของคนหลายเผ่าพันธุ์ อาณาจักรพุกาม ๓๔ อาณาจักรตองอู-หงสาวดี ๓๙ อาณาจักรอังวะ ๔๒ บูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรม ๖๐ สู่ศตวรรษใหม่ ๖๓ มัณฑะเล ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ๖๕ ความนำ� ๖๕ สภาพภูมิประเทศพม่าตอนบน ๖๘ ภูมิภาคชะเวโบ ๗๘ มัณฑะเล นครราชธานี ๘๔ ศาสนสถานก่อนสร้างเมืองมัณฑะเล ๙๒ ศาสนสถานสมัยพระเจ้าเมงดง ๙๖ ศาสนสถานหลังสมัยพระเจ้าเมงดง ๑๑๒ ศาสนสถานในเขตปริมณฑลของมัณฑะเล ๑๑๓ อมรปุระ ๑๑๔ อังวะ ๑๑๖ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
11
สะกาย เมงกุน พระราชวังมัณฑะเล กลุ่มอาคารด้านทิศตะวันออก กลุ่มอาคารฝ่ายในด้านทิศตะวันตก กลุ่มอาคารด้านทิศตะวันตก
๑๑๗ ๑๑๙ ๑๓๐ ๑๕๙ ๑๖๕ ๑๖๕
ชีวิตในมัณฑะเล วิถีที่แปรเปลี่ยนกับคนพม่า ๑๖๙ วิถีชีวิตกับประเพณี ๑๖๙ อาชีพชาวพม่า ๑๙๕ หมายเหตุมัณฑะเล อู่อารยธรรมคนพม่า ๒๐๑ NOTES FROM MANDALAY บรรณานุกรม ภาคผนวก ทำ�เนียบคำ�ภาษาพม่า
12
ดร. ธิดา สาระยา
๒๑๐ ๒๑๘ ๒๒๐
คำ�นำ�เสนอ โดย รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม
ข้าพเจ้าไปพม่าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ ๔-๕ ปีที่แล้วมา* ก่อนหน้าที่ จะเกิดการจลาจลจนเป็นเหตุให้เกิดรัฐบาลสลอร์กเล็กน้อย เหตุที่ ไปก็ คือไปประชุมสัมมนาในโครงการเมืองประวัติศาสตร์ขององค์การยูเนสโก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่กรุงมัณฑะเลและเมืองพุกาม แต่การเดินทางจาก กรุงเทพฯ โดยเครื่องบินนั้นต้องไปลงที่กรุงย่างกุ้งก่อน แล้วจึงต่อไป พุกามและมัณฑะเลภายหลัง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำ�ให้ข้าพเจ้ามี โอกาส ได้ เ ที่ ย วศึ ก ษาเมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ สำ � คั ญ ของพม่ า ถึ ง ๓ แห่ ง ด้ ว ยกั น คือ ย่างกุ้ง มัณฑะเล และพุกาม ที่ย่างกุ้งได้เห็นถึงลักษณะและความ เป็ น ไปของเมื อ งหลวงในปั จ จุ บั น ที่ ดู ค ล้ า ยๆ กั บ กรุ ง เทพฯ ในสมั ย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ เมืองมัณฑะเลและเมืองพุกาม แม้จะเป็นเมืองประวัติศาสตร์ด้วยกัน ทั้งคู่แต่ก็มีความต่างกัน เมืองแรกเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะมีคนอยู่ แลเห็นคนเห็นถนนและการเดินทางสัญจรไปมา ตลอด จนการค้าขายและการอยู่อาศัย ในขณะที่เมืองหลังเป็นเมืองที่ตายแล้ว แลไม่เห็นผู้คนและถนนหนทางที่เคยมีมาแต่อดีต แต่ก็เหลือสิ่งก่อสร้าง ทางศาสนามากมายเหลือคณานับ ซึ่งถ้าหากมองแต่เพียงสิ่งก่อสร้าง ดังกล่าวแล้ว อาจหลงไปได้ว่าเมืองพุกามเป็นเมืองวัดไป แต่ถ้าหากจะ มองพุ ก ามให้ แ ลเห็ น คนเห็ น บ้ า นเมื อ งที่ ใ กล้ กั บ ความเป็ น จริ ง แล้ ว ก็ จำ�เป็นต้องหันมองใหม่ในเชิงที่สัมพันธ์กับเมืองมัณฑะเลซึ่งเป็นเมือง ที่ มี ชี วิ ต เพราะฉะนั้ น ถ้ า จะเข้ า ใจพุ ก ามก็ จำ� เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ต้ อ งเห็ น มัณฑะเลเสียก่อน เพราะยังมีทั้งโครงสร้างทางกายภาพของเมือง และ *นับจากปี พ.ศ. ๒๕๓๘ -บ.ก.
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
15
วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของพม่า นั่นก็คือ การนับถือพระพุทธศาสนา ทั้งพม่าและไทยเป็นสังคมที่นับถือพุทธศาสนาเก่าแก่ร่วมกันมาแต่สมัย ศรีเกษตรและทวารวดีซึ่งก็กว่าพันปีมาแล้ว พุทธศาสนามีบทบาทอย่าง มากทั้งในด้านบูรณาการทางวัฒนธรรมและการเมือง ที่สร้างความเป็น ปึกแผ่นให้แก่สังคมและประเทศชาติเสมอมา แต่ที่สำ�คัญก็คือ สร้าง ความสงบทางจิตใจและการรู้จักความพอดีพอควรในการดำ�รงชีวิต สิ่งนี้ ได้เลือนไปจากสังคมไทยไม่น้อยกว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมา ทำ�ให้เมืองไทย เป็นเมืองพุทธแต่มีลักษณะเชิงวัตถุนิยมค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นได้ จากภาพพจน์ของเมือง บ้าน และวัดที่มีแต่ความแออัด ไม่เป็นระเบียบ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผิดธรรมชาติ แต่ในพม่าที่เมืองมัณฑะเลหรือ เมืองอื่นๆ ยังคงสภาพการเป็นบ้านเป็นเมืองที่มนุษย์อยู่ มีความพอดี และสมดุลกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยเฉพาะวัดพม่ายังดำ�รงความเป็น ที่รวมทางวัฒนธรรมทั้งทางวัตถุและจิตใจเป็นอย่างดี ปัจจุบันคนพม่า อาจจะพึ่งรัฐไม่ได้แต่ก็พึ่งวัดได้ เพราะฉะนั้นเมื่ออ่านงานของอาจารย์ธิดาเรื่องนี้แล้วทำ�ให้มอง ตนเองได้ดีขึ้นอีกมาก ในที่สุดนี้ข้าพเจ้าอยากจะพูดว่า เมืองมัณฑะเล แม้จะไม่ใช่เมืองสวรรค์ แต่ก็เป็นเมืองมนุษย์ และควรค่าแก่การรู้จัก ทั้งในฐานะนักท่องเที่ยวผู้ไปเยี่ยมเยือน ผู้ใฝ่หาความรู้ ต้องการเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์หนึ่งๆ ตลอดจนผู้แสวงหาความเข้าใจ เกี่ยวกับชีวิตวัฒนธรรมของมนุษยชาติ พร้อมกันนี้อยากขอแสดงความชื่นชมที่สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ได้จัดทำ�หนังสือชุด เมืองประวัติศาสตร์เพื่อนบ้าน เผยแพร่ เพื่อให้ เข้ า ใจถึ ง กระแสแห่ ง การสรรค์ ส ร้ า งและเปลี่ ย นแปลงวั ฒ นธรรมอารยธรรม ซึ่งที่จริงแล้วเป็นผลิตผลโดยรวมของมนุษยชาติอันควร ใฝ่รักร่วมกัน ข้ามพ้นความเป็นชาติและประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกแห่งการสื่อสารกว้างขวางรวดเร็วฉับไวนี้ ก็หวังว่าความพยายาม ของสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจะมิสูญเปล่า 18
ดร. ธิดา สาระยา
ศรีศักร วัลลิโภดม ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๘
คำ�นิยม หนังสือมัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล โดย ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์
หนังสือ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ของ รศ.ดร. ธิดา สาระยา เคยได้รับการตีพิมพ์มาแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ครั้งนั้น นั บ เป็ น การพิ ม พ์ ค รั้ ง แรกซึ่ ง ทิ้ ง ช่ ว งจั ง หวะเวลาเพี ย ง ๗ ปี หลั ง จาก อุบัติการณ์ทางการเมืองในสหภาพพม่าปี พ.ศ. ๒๕๓๑ การเคลื่อนไหว ภาคประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารในปีนั้นเป็นชนวนนำ�สู่ความพลิก ผันของประเทศ หลังเหตุการณ์ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมา พม่าซึ่งถูก ขนานนามว่าเป็นแผ่นดินแห่งฤๅษีด้วยปิดประเทศมานานปีก็ ได้เริ่มเปิด ประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ครั้งนั้นคนไทยยังรู้จักบ้านเมืองแห่งเบื้อง ตะวันตกของเทือกเขาตะนาวศรี ไม่มากนัก หรือจะรู้ก็รู้ผ่านตำ�ราประวัติศาสตร์และงานวรรณกรรมระบือนาม เช่น ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ ที่เล่ามาเสียยืดยาวก็ด้วยประสงค์จะท้าวความให้ทราบว่าหนังสือของ ดร. ธิดา เป็นงานเขียนอันเป็นประหนึ่งกุญแจดอกสำ�คัญดอกแรกๆ ที่ ไขแสงส่องทางให้คนไทยได้ “รู้จักพม่า” ในแง่มุมที่ผิดแผกไปจากเดิม ด้วยเป็นการนำ�คนไทยซึง่ ปรกติกแ็ สนจะสนใจพม่าแต่กร็ จู้ กั พม่าอย่างทีพ่ ม่า เป็นน้อยเต็มที ให้ได้รู้จักพม่าจากมุมที่เป็น “ตัวตน” ของพม่า หรือจาก มิติภายในของพม่าเอง งานเขียนของ ดร. ธิดาจึงเป็นมากกว่าหนังสือ นำ�เที่ยวพม่าอย่างผิวเผิน ค่าที่เป็นนักประวัติศาสตร์ ดร. ธิดาได้เปิดมุม ประวัติศาสตร์ของพม่า เพื่อยึดโยงคุณค่าแห่งอดีตเข้ากับปัจจุบันของ พม่าขณะนั้น ผ่านการตีแผ่ “มัณฑะเล” ราชธานีสุดท้ายของรัฐจารีต พม่า การตีแผ่อดีตเพื่อนำ�สู่ความเข้าใจในความเป็นพม่าในปัจจุบันนับ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
19
ที่จะให้รายละเอียดอันเป็นประโยชน์ด้วยลีลาที่กลืนกลายไปกับการเล่า เรื่องอย่างไม่เคอะเขิน โดยเฉพาะการใช้คำ�พม่าควบคู่ไปกับคำ�ไทยที่คน ไทยคุ้นหู เพื่อให้ผู้อ่านได้ทั้งอรรถรสและรู้ชัดในต้นตอและความหมาย ของคำ� นับเป็นการ “เปิดมิติ” ให้ผู้อ่านได้รู้จักพม่าเบื้องลึก โดยไม่รู้สึก เหมือนถูกยัดเยียดด้วยข้อมูลที่หนาหนักและแปลกปลอม ในจังหวะเวลาที่ “ความเป็นพม่า” ได้ก้าวล่วงจากโลกอันลี้ลับ ด้วยปิดประเทศมานานมาสู่การเป็นจุดศูนย์รวมความสนใจของคนไทย และประชาคมบนเวทีโลก อันเป็นผลมาจากปัญหาการเมืองภายในของ พม่าที่ควบคู่ไปกับการเปิดประเทศและปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนา และนโยบายต่างประเทศ นับแต่นี้ ไทยคงไม่อาจอยู่กันไปกับพม่าอย่าง แยกส่วน ชนิดต่างคนต่างอยู่ จำ�เป็นอย่างยิ่งที่คนไทยทั้งในภาครัฐและ เอกชนจะต้องเรียนรู้และรู้จักพม่าให้มากขึ้น ที่สำ�คัญคือมิได้รู้จักอย่าง ผิวเผินผ่านการ “จูงจมูก” ของมหาอำ�นาจตะวันตก หรือกระแสการเมือง ที่ถูกนำ�เสนอผ่านสื่อรายวัน หนังสือ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลาง แห่งจักรวาล เป็นคลังปัญญาที่ตีแผ่ความเป็นพม่าจากมิติภายในของพม่า ครอบคลุมและร้อยรัดอดีตเข้าเป็นเนื้อหนึ่งกับปัจจุบัน โดยศึกษาผ่าน กระบวนการบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่ยึด “คน” กับ “เมือง” เป็นศูนย์กลางการศึกษา มิ ใช่ระบบหรือนโยบาย คุณค่า สาระ และ ขอบเขตของหนังสือ “กินลึก” คลุมมิติแห่งเวลาและพื้นที่ทั้งในส่วนของ สหภาพพม่าและคนพม่า ขณะเดียวกันก็ทอภาพผ่านแผ่ให้เข้าใจไทยและ อุษาคเนย์โดยรวมพร้อมกันไป นับเป็นเสน่ห์ทางวิชาการที่ยากจะหาเห็น สุเนตร ชุตินธรานนท์ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๒
24
ดร. ธิดา สาระยา
คำ�นำ�ของผู้เขียน
ผู้เขียนเชื่ออยู่เสมอมาว่านักประวัติศาสตร์เป็นผู้ใช้ข้อมูล ขอให้มีข้อมูล หลักฐานให้มากพอ พร้อมความละเอียดรอบคอบในการวินิจฉัยเทียบ เคียงข้อมูล พูดง่ายๆ ก็คือ ความสามารถที่จะพิสูจน์ข้อมูลหลักฐาน เหล่ า นั้ น บวกกั บ มุ ม มองที่ แ หลมคม เราจะได้ มุ ม มองมาอย่ า งไรนั้ น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เท่านี้ก็น่าจะพอสำ �หรับขั้นเริ่มต้นของการเป็นนัก ประวัติศาสตร์สามารถเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้ จนเมื่อ มาเขี ย นเกี่ ย วกั บ เมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ แ ละต้ อ งการเสนอให้ เ ห็ น เมื อ ง ประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตและโลดแล่น มิ ใช่เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นจบลงตายตัวแล้ว ผู้เขียนก็เผชิญกับปัญหาในการเขียนประวัติศาสตร์ มัณฑะเล เมืองประวัติศาสตร์อันต่างจากซากเมืองปรักหักพังของอังวะ อมรปุระ และแม้แต่บากาน (หรือพุกาม) ถ้ามองดูเฉพาะโครงสร้างวัตถุ มัณฑะเลเกือบไม่เหลืออะไรนัก แม้แต่พระราชวังก็เป็นของสร้างใหม่ วั ด วาอาราม เช่ น วั ด มหาเมี ย ะมุ นี ก็ อ ายุ เ พี ย งประมาณ ๑๐๐ กว่ า ปี เหมือนเจติยสถานเก่าอื่นๆ ในเมือง แต่คนมัณฑะเลยังอยู่ที่นั่น เขา ภูมิ ใจในความเป็นมัณฑะเล สำ�เนียง การพูดจา ท่าทาง ทำ�ให้เราเห็น ได้ว่าเขาต่างจากคนย่างกุ้ง คนมัณฑะเลยังพันผูกกับอดีตของมัณฑะเล อดีตนั้นอยู่ในสายเลือด อดีตของคนที่ครั้งหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นคนเมือง หลวง พลเมืองของนครราชธานี หลายตระกูลสืบมาจากเชื้อสายในราช สำ � นั ก หลายตระกู ล มาจากขุ น นาง ข้ า ราชบริ พ ารผู้ ใ หญ่ ท รงอำ � นาจ ประวัติของมัณฑะเลมิ ใช่อยู่ที่การวางเสาหลักเมือง แล้วสร้างเมืองสร้าง พระบรมมหาราชวังเท่านั้น เราในฐานะนั ก เดิ น ทางผู้ อ ยากรู้ จั ก อดี ต ต้ อ งการหาความมี
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
25
สังเขปประวัติศาสตร์พม่า บูรณาการทางสังคม ของคนหลายเผ่าพันธุ์
ประวัติศาสตร์พม่าเริ่มต้นไม่ต่างอะไรจากประวัติศาสตร์ของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาติพันธุ์กลุ่ม ต่างๆ อพยพโยกย้ายหาที่ทำ�กิน มนุษย์เป็นเช่นนั้น วิถีทางของกลุ่ม คนเหล่านี้บ้างก็ผสมผสานและขัดแย้ง จนในที่สุดสามารถรวมตัวกันเป็น ชนชาติตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมือง ประวัติศาสตร์พม่าก็อยู่ในวังวน กระแสนี้ ไม่ว่าเขาจะมีชื่อเรียกอย่างใด พม่า มรัมมา เมียนมาร์ เมี่ยน หมายถึง ชนกลุ่มแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในโลก นั่นคือโลกทัศน์เริ่มแรก ของชาวเมียนมาร์หรือชนพม่า แต่ในการศึกษาทางมานุษยวิทยาว่า ชนชาตินี้สืบเชื้อสายมาจากทางเหนือ ในขณะที่พวกมอญเป็นชนกลุ่ม แรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น�้ำ อิรวดี (เอยาวดี) และพวกนี้ ใช้ภาษาในกลุ่มภาษามอญ-ขแมร์ ในขณะที่พวกเผี่ยวหรือปะยู ต้นกำ�เนิดของพวกพม่า ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า พวกเผี่ยวได้ตั้งบ้านเมืองที่ศรีเกษตรใกล้เมืองโปรมหรือปะเย ไทยเราเพี้ยนเสียงเรียกเมืองแปรในปัจจุบัน จนประมาณพุทธศตวรรษ ที่ ๑๔ จึงย้ายไปที่เมืองฮาลิน ในภูมิภาคชะเวโบปัจจุบัน ก่อนที่จะเสีย เมื อ งแก่ พ วกน่ า นเจ้ า เมื่ อ พ.ศ. ๑๓๗๕ ต่ อ มาในสมั ย พุุ ท ธศตวรรษ ที่ ๑๕ พวกพม่าก็ปรากฏตัวตรงชายเขตของจีน-ทิเบต ลงมาตามแม่น้ำ� 32
ดร. ธิดา สาระยา
อิรวดีเข้าสู่ทุ่งเจ๊าเซ เป็นพวกที่ปลูกข้าวเลี้ยงชีวิตอยู่ในที่ราบลุ่มของพม่า ตอนบน พวกนี้ เ องต่ อ มาขยายตั ว จากเมื อ งบากานหรื อ พุ ก าม เป็ น อาณาจักรยิ่งใหญ่ที่เราเรียกว่า อาณาจักรพุกาม พระเจ้าแผ่นดินของ อาณาจักรนี้องค์หนึ่งมีอานุภาพมาก พยายามรวมผู้คนบ้านเมืองเข้า ด้วยกัน รู้จักกันในนาม พระเจ้าอโนรธา ตำ�นาน และเอกสารเก่าของเรา เรียก พระเจ้าอนิรุทธ์ การต่อสู้ของชนชาติ ในแผ่นดินพม่าทั้งระหว่างกันเองและกับ เผ่าพันธ์ุใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดเมืองสำ�คัญเป็นศูนย์อำ�นาจหลายเมือง ด้ ว ยกั น ดั ง เช่ น พวกมอญในพม่ า ตอนล่ า งอยู่ บ ริ เ วณสามเหลี่ ย มปาก แม่ น้ำ � อิ ร วดี มี ศู น ย์ ก ลางอยู่ ที่ เ มื อ งตาโทม (เราเรี ย กสะเทิ ม ) พะโค หงสาวดี พวกฉาน หรือไตใหญ่ในลุ่มน้ำ�สาละวิน ยะไข่อยู่แถบอาระกัน กะฉิ่นอยู่ทางเหนือ กะเหรี่ยงอยู่บริเวณลุ่มน้ำ�สาละวินตอนล่าง ในหมู่ พวกพม่าก็ตั้งตนอยู่ตามเมืองสำ�คัญ เช่น ตองอู อังวะ ในอดีตกาลที่ผ่านมา วีรบุรุษของพม่าพยายามรวมดินแดนของ ชนเผ่าและชนชาติเข้าด้วยกัน สื่อประสานความสมานฉันท์ นอกจาก ผ่านวีรกรรมกษัตริย์นักรบแล้ว ยังพึ่งพิงอิงพุทธศาสนาประสานใจคน หลายกลุ่มเหล่าเข้าเพื่อให้กษัตริย์สามารถรวมบ้านเมืองเป็นแว่นแคว้น อาณาจักร ประวัติศาสตร์พม่าก่อนสมัยอังกฤษยึดครอง พ.ศ. ๒๔๒๘ แบ่ง ออกได้เป็น ๓ ยุคด้วยกัน แต่ละยุคสมัยปรากฏวีรกรรมของพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจโดดเด่นเห็นชัดเจน นอกเหนือจากผู้คน พลเมืองหลายเผ่า ต่างผสมผสานถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่กันและกัน ยุคแรก พระเจ้าอโนรธาตั้งอาณาจักรพุกามหรือบากาน ยุ ค ที่ ๒ พระเจ้ า บายิ น นองหรื อ บุ เ รงนองกยอดิ น นรธาจาก ตองอู รวมหัวเมืองทางตอนล่างและบ้านเมืองพม่าตอนบนเข้าด้วยกัน ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองหงสาวดี เรามักเรียกพระเจ้าแผ่นดินพม่าในช่วงนี้ ว่าพระเจ้าหงสาวดี ยุคนี้จึงเป็นยุคของอาณาจักรตองอู-หงสาวดี ยุ ค ที่ ๓ การรวมอาณาจั ก รพม่ า ครั้ ง ที่ ๓ เป็ น ภาระอั น หนั ก มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
33
อานันทเจดีย์ วิหารสำ�คัญแห่งพุกาม สร้างโดยพระเจ้าจันสิตตา เมื่อ พ.ศ. ๑๖๓๔ (ภาพ : จำ�นงค์ ศรีนวล)
วิหารธรรมยางยี วิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพุกาม สร้างในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ภาพ : จำ�นงค์ ศรีนวล)
56
ดร. ธิดา สาระยา
ภาพถ่ายเก่าพระเจดีย์ชเวดากอง (ภาพจาก Noel F. Singer, Burmah: A Photographic Journey 1855-1925, p. 36.)
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
57
ประเทศตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนวินเข้า กุมบังเหียนการเมืองในพม่าตลอดช่วงสองทศวรรษ ท่านนายพลก้าวลง จากตำ�แหน่งประธานาธิบดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ แม้กระนั้นก็ยังมีอำ�นาจอยู่ เบื้องหลังรัฐบาล ทิศทางการเมืองของพม่านั้นมุ่งสู่สังคมนิยม พม่า ดำ�เนินการปิดประเทศ ปฏิเสธความช่วยเหลือจากต่างประเทศจนกระทั่ง ปัจจุบัน แม้มีการติดต่อทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น จีน พม่าก็ยังมิได้มีท่าที ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายเรื่องสังคมนิยมของประเทศ
64
ดร. ธิดา สาระยา
มัณฑะเล ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
ความน�ำ “มัณฑะเล” มาจากค�ำว่า “มณฑล” ความหมายดัง้ เดิม
เดิมก็คือ วงกลมซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาล ปริมณฑลแห่งอ�ำนาจและ บุญญาบารมีของพระเจ้าแผ่นดินอันหาขอบเขตมิ ได้ พระเจ้าแผ่นดิน ของพม่าในประวัติศาสตร์ ประทับอยู่ ณ พระบรมมหาราชวัง มีพระ มหาปราสาทเป็นศูนย์กลาง เปรียบพระองค์ประดุจพระจักรพรรดิราช ทรงอานุภาพไพศาลแผ่ไปทั่วปริมณฑลนครราชธานีอันเป็นมหานคร ใหญ่-ศูนย์กลางแห่งจักรวาล “นครราชธานี” ตามแนวคิดแบบอินเดีย ดั้งเดิม “มัณฑะเล” นครราชธานีมีพระมหาปราสาท แสดงถึงสัญลักษณ์ แห่งพระบารมี ไพศาลและความเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลของพระเจ้า แผ่นดินพม่า พระเจ้าเมงดง กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพระ สร้าง มัณฑะเลและพระมหาปราสาทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ราชธานีมีอายุเพียง ๒๘ ปี ก็สูญสิ้นในเงื้อมพลังแห่งการไขว่คว้าหาผลประโยชน์แสวงหา อาณานิคมของอังกฤษในช่วงนั้น นับเป็นราชธานีสุดท้ายของราชอาณาจักรพม่า แต่เป็นราชธานีที่มีลักษณะพิเศษต่างจากราชธานีอื่นของพม่า และเป็นเพียงราชธานีเดียวที่ยังคงมีมหาปราสาทราชมณเฑียรหลงเหลือ อยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากพระราชวังบุเรงนองที่หงสาวดี ซึ่งรัฐบาล เมียนมาร์ก�ำลังให้นักโบราณคดีขุดค้นเพื่อสร้างขึ้นใหม่* ความหมายของชื่อเมืองมีนัยถึงพระราชอ�ำนาจของกษัตริย์ ณ *ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๔) พระราชวังดังกล่าวสร้างเสร็จแล้ว-บ.ก.
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
65
มัณฑะเล นครราชธานี
มัณฑะเล มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ชเวมโยดอจี หรือ
ชเวเมียวดอจี หมายถึง สุวรรณนคร อีกชื่อหนึ่งเรียก ยาดานาโบง มัณฑะเลมีแม่น�้ำอิรวดีีอยู่ทางด้านตะวันตก ตัวเมืองนั้นตั้งอยู่ ห่างจากฝั่งน�้ำมาทางที่ดอน บนพื้นที่ลาดชันเข้าสู่เขตเชิงเขาของที่ราบ สูงฉานทางตะวันออก นอกจากแม่น�้ำอิรวดีีแล้วยังมีแม่น�้ำอีก ๒ สาย คือ ชองมาจี และ เมียะเหง่ แม่น�้ำชองมาจีเป็นพรมแดนระหว่างมัณฑะเลและดิน แดนที่ตั้งถิ่นฐานของพวกไตใหญ่ซึ่งเรียกแม่น�้ำนี้ว่า น�้ำไผ ส่วนแม่น�้ำ เมียะเหง่พวกไตใหญ่เรียกว่า น�้ำตู ซึ่งไหลไปทางใต้ถึงท้องทุ่งเจ๊าเซ รวมกับแม่น�้ำอิรวดีีที่ตอนเหนือเมืองอังวะ บริเวณมัณฑะเลและปริมณฑลมีทะเลสาบ ๒ แห่ง คือ ทะเล สาบชเวจี อยู่ทางตะวันออกของตองยี และทะเลสาบตองตะมาน อยู่ใกล้ อมรปุระ แต่แหล่งน�้ำหล่อเลี้ยงมัณฑะเลโดยตรงคือ ทะเลสาบนานดา อันเป็นทะเลสาบขุด มีล�ำคลองเชื่อมส่งน�้ำเข้าคูเมืองมัณฑะเลอีกต่อหนึ่ง ที่ราบอันเป็นที่ตั้งเมืองมัณฑะเลมีเขาส�ำคัญอยู่ ๔ แห่ง คือ เขา สะกาย แยกลุ่มอิรวดีจากพื้นที่ทางด้านตะวันออก เขายางเกงตองและ กาลามาตอง ทางตะวันตกเฉียงใต้ เขาส�ำคัญที่เป็นชัยภูมิของเมือง มัณฑะเล คือ ดอยมัณฑะเล เสมือนดอยสุเทพเป็นชัยภูมิของเชียงใหม่ ตระหง่านอยู่เหนือพื้นที่ชนบทของมัณฑะเล มีความสูงถึง ๒๓๖ เมตร (ประมาณ ๙๕๔ ฟุต) มีบันไดทางขึ้น ๑,๗๒๙ ขั้นอยู่ทางทิศใต้ ตลอด ทางขึ้นไปสู่ยอดเขาภาพอันเจนตาของทุกผู้ที่ ไปเยือน คือ ศาสนสถาน พระพุทธรูปอยู่ตรงนั้น โบสถ์ วิหารอยู่ตรงนี้ และซากปรักหักพังของ 84
ดร. ธิดา สาระยา
แหล่งโบราณคดีบางแห่ง นั่นคือดอยมัณฑะเล ดอยศักดิ์สิทธิ์ ในโลก พุทธะ ด้วยเงื่อนไขทางสภาพภูมิประเทศดังกล่าว ท�ำให้ด้านตะวันตก ของเมืองมัณฑะเลตอนใกล้ล�ำน�้ำอิรวดีลุ่มต�่ำกว่าทางด้านตะวันออก น�้ำ หลากท่วมเสมอ แต่เมืองมัณฑะเลตั้งอยู่ในที่ค่อนข้างดอนห่างฝั่งมา ทางด้านตะวันออกจึงอยู่ห่างล�ำน�้ำ เพราะฉะนั้นต้องอาศัยระบบชลประทาน น�ำน�้ำจากทะเลสาบนันทะหรืออองปินเลอยู่ทางตอนเหนือของ เมือง (เข้าใจว่าเป็นทะเลสาบขุดส�ำหรับการชลประทาน) เข้าคูเมืองแล้ว ไขเข้าไปใช้ในเมือง ส่วนด้านตะวันตกให้ถมดินยกเป็นคันกัน้ น�ำ้ ตลอดแนว มัณฑะเลเป็นเมืองใหม่สร้างสมัยพระเจ้าเมงดงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงโปรดให้วางผังเมืองอย่างเมืองอมรปุระอันเป็นราชธานีก่อน สัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีพระราชวังตั้งอยู่กลางเมือง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า พระเจ้าปดุงถ่ายแบบเมือง หงสาวดีของพระเจ้าบุเรงนองไปสร้างเมืองอมรปุระ ตัวเมืองมัณฑะเลเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางแนวก�ำแพงตรงตาม ทิศทั้งสี่เท่ากันทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านยาวประมาณ ๒,๒๕๕ หลา (๖,๗๖๕ ฟุต) มีประตูซุ้มยอดด้านละ ๓ ประตู ประตูกลางของแต่ละด้านอยู่ ตรงตามทิศทั้งสี่ โดยมีพระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลาง ประตูกลาง ท�ำหลังคาทรงปราสาทเจ็ดยอด ประตูอื่นๆ เป็นหลังคาห้ายอด หอ ที่มีหลังคาทรงปราสาทนี้พม่าเรียก เปียตั๊ต มีหอรบรายก�ำแพงทุกระยะ ๘๙ วา (๑๗๘ เมตร) ลักษณะหลังคาเป็นทรงปราสาททุกหอ ตามประตู หลักและสี่มุมเมืองตั้งศาลเทพารักษ์และผีแน้ตส�ำหรับสักการะ ก�ำแพงเมืองก่อด้วยอิฐสอดิน สูง ๒๐ ฟุต กว้าง ๑๐ ฟุต บน ก�ำแพงก่อทางปืนสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๗ ฟุต รวมแล้วก�ำแพงสูง ๒๗ ฟุต ด้านในก�ำแพงมีเชิงเทินดินจากการขุดคูเมือง คูเมืองอยู่ห่างจาก ก�ำแพง ๑๓๕ ฟุต กว้าง ๒๕๐ ฟุต ลึก ๑๑ ฟุต ตรงประตูเมืองข้างนอก เป็นลับแลอิฐสูงเท่าก�ำแพงเมืองส�ำหรับบังทางปืน มิ ให้ยิงกรอกช่อง ประตู ระยะทางจากก�ำแพงถึงคูเมืองเป็นถนนรอบก�ำแพงเมือง มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
85
ถนนสาย 73
เขามัณฑะเล วัดจอกตอจี
ถนนสาย 66
ถนนสาย 12
ถนนสาย 80
ถนนสาย 11
ถนนสาย 76
คลอง S
hwe T
a
ถนนสาย 26 (B Road)
ตลาดเซโจ
ถนนสาย 45
ถนนสาย 78
ถนนสาย 84
วัดมหามุนี
สาบ
ต
อ
ม งตะ
าน
ทะเล
ถนน
Myo
Patt
วัดชเวกูจี
เจติยสถานจอกตอจี สะพานอูแบน
ดร. ธิดา สาระยา
ถนนสาย 73
ถนนสาย 41
อง คล
Yay
Ni
คลอง Yay Ni
ถนนสาย 73
ถนนสาย 35 (A Street)
คลอง Ngwe Ta
คลอง Shwe Ta
ถนนสาย 41
ถนนสาย 34
คลอง Nadi
มัณฑะเล สถานีรถไฟเมียวฮอง ถนนสาย 80
เจติยสถานเซจาตีหะ
คลอง Nadi
ถนน Myo
ถนนสาย 26 (B Road)
ถนนสาย 62
Patt
เจดียชเวจีเมี่ยน
เอนดอยา
86
ถนนสาย 18
พระราชวังมัณฑะเล
ถนนสาย 22
อมรปุระ
วัดกุโตดอ วัดซานดามุนี วัดอตุมฉิ วัดชเวนานดอจอง
เดิมมีสะพานข้ามคูเมืองเข้าพระนครทางประตูกลางทุกด้าน ยกเว้นทางด้านตะวันตกมีสะพานข้ามคูอีกสะพานหนึ่งเชื่อมตามแนวทิศ ตะวันตก-ใต้ เป็นสะพาน “ประตูผี” คือทางส�ำหรับน�ำศพออกจากเมือง บั น ทึ ก ของฝรั่ ง ว่ า เมื่ อ พระเจ้ า ตี บ อและพระนางสุ ภ ยาลั ต ยอมแพ้ แ ก่ อังกฤษ เจ้าหน้าที่อังกฤษต้องการลบพระบารมีจึงให้เสด็จออกทางประตู นี้เพื่อลงเรือล่องน�้ำอิรวดี ไปเมืองย่างกุ้ง ตรงบริเวณที่สร้างพระบรมมหาราชวังมีระเนียดไม้สักล้อม มี ทางเข้าสี่ประตู ถัดจากระเนียดเข้าไปเป็นก�ำแพงอิฐล้อมวัง มีถนนใหญ่ จากประตูกลางเข้าไปถึงพระมหาราชวังทั้งสี่ด้าน เนื้อที่ ในพระนคร ระหว่างก�ำแพงเมืองและระเนียดใช้ส�ำหรับราชการและสร้างวังเจ้านาย บ้านขุนนาง ที่อยู่อาศัยของบ่าวไพร่ ในพื้นที่ส่วนนี้มีถนนซอยเล็กๆ ตัดเป็นตารางสี่เหลี่ยม แต่ไม่มีวัดหรือเจติยสถานภายในพื้นที่ก�ำแพง เมืองล้อมเลย ท� ำ เลที่ ตั้ ง อั น เหมาะสมของเมื อ งมั ณ ฑะเลนี้ อ ยู่ ใ นรั ศ มี ก าร ขยายอาณาจักรพุกามมาแต่โบราณแล้ว ดังปรากฏในต�ำนานนิทานซึ่ง ชี้ ให้เห็นถึงความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศในอันที่จะสร้างเมือง หม่อง ทิน อ่อง นักวิชาการพม่าและ ขิ่น เมียว ฉิต นักเขียนชาวพม่า ต่างบันทึกต�ำนาน นิทาน ดังกล่าวซึ่งเริ่มเรื่องตั้งแต่สร้างศาสนสถาน เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้วขยายบ้านเมืองออกไป เจติยสถานส่วนใหญ่ในเมืองมัณฑะเลเป็นของใหม่ทงั้ สิน้ ยกเว้น บางแห่งซึ่งมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปไกล รูปลักษณ์ทางโบราณคดีก็ ยืนยันถึงอดีตอันยาวนานนั้นด้วย อีกทั้งสาระจากต�ำนานยังบ่งชี้ว่า การสร้ า งเจติ ย สถานที่ ต รงบริ เ วณนี้ เ ป็ น เรื่ อ งของการขยายขอบเขต การตั้งถิ่นฐาน เจดีย์ชเวจีเมี่ยน ปัจจุบันตั้งอยู่ตรงย่านธุรกิจของเมือง เดิม บริเวณนี้เป็นพื้นที่ยังไม่ได้บุกเบิก ขณะนั้นพระเจ้าอลองสิตูปกครอง อาณาจักรพุกามซึ่งอยู่ไปทางใต้ พระเจ้าอลองสิตูทรงเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อโนรธาที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทั้งในด้านการบริหาร มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
87
เขามัณฑะเล ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อันเป็นชัยภูมิสำ�คัญของมัณฑะเล
ทะเลสาบตองตะมาน
98
ดร. ธิดา สาระยา
ภาพเก่าประตูพระราชวัง แนวกำ�แพง และคูน�้ำ ที่ล้อมรอบพระราชวังมัณฑะเล (ภาพจาก Noel F. Singer, Burmah: A Photographic Journey 1855-1925, p. 49.)
มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
99
NOTES FROM MANDALAY
Mandalay was established as the capital city
of the Konbaung Dynasty in 2400 B.E. Unlike other important towns in the lower Ayerawady River basin, such as Yangon (Rangoon), Thathon and Pathein (Bassein), it was not a trading port with access to the sea. Mandalay was, by contrast, the hub of various internal trade and communication routes. A prosperous inland city, Mandalay stood at a junction for overland caravans of different tribes and ethnic peoples from the highlands. This was an ancient and well-travelled road between India and China. King Mindon, who selected the site as his capital, appreciated its significance as an inland economic and cultural center, and wished to raise it to greatness. The geography of Burma’s upper region points to this location as the most advantageous spot. The king was also considering Burma’s strengths and weaknesses in the face of a menacing political situation. The shadow of imperial Britain had fallen over India on the west of Burma, and Lower Burma was already occupied. The foreigners were undeterred by the difficulties of travel along the Ayerawady. A British shipping company, Irawaddy Flotilla, journeyed regularly up and down the river between upper and lower Burma, loading and unloading cargo and passengers. 210
ดร. ธิดา สาระยา
The establishment of Mandalay was not a move to escape the British, but to lay the foundations for a revival of national glory. Historical development in Burma had taken place from the arid inner lands north of Bagan (Pagan) and Taung-xu, expanding upward. The Konbaung, the last dynasty to rule over Burma, had selected as their capitals the cities of Upper Burma: Sagaing, Ava and Amarapura. Rulers with military ambitions, such as King Alaung Phra and King Bodawphaya, tended to expand southward toward Yangon or north to the land of the Rakhine. The Ayerawady, which finds its way down from the cold Himalayas, represents the lifeblood of the people of Burma. The river is said to flow from one of the trunks of Erawan, the fabled, three-headed elephant which gives the waterway its name. Erawan is the vehicle of Indra, the god called Sakyameng in traditional Burmese worship. Mandalay is located about midway along the length of the river. The city was compared to the nation’s beating heart, circulating life via its arteries to different parts of the body. When the heart failed, Burma collapsed. The British seized Mandalay in 2428 B.E., during the reign of King Thibaw and Queen Supayalat, the last rulers of the Konbaung Dynasty. The monarchy was abolished, and Burma became an appendage of Britain’s Indian colony. Mandalay lies east of the Ayerawady in an area called the Mandalay region. The high mountains adjoining the Shan plateau can be seen rising further to the east. Since the city is not directly on the river, an irrigation system supplies water from มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย์กลางแห่งจักรวาล
211
ดร. ธิดา สาระยา
การนําเสนอประวัติศาสตร พม าที่สะท อนสู การขยาย โลกทัศน ของการรับรู ประวัติศาสตร ไทยและอุษาอาคเนย พร อมกันไปในคราวเดียวตามกล าว ส งผล ให หนังสือ มัณฑะเล นครราชธานี ศูนย กลางแห ง จักรวาล เป นมากกว าหนังสือที่ว าด วยประวัติศาสตร พม าที่น าสนใจเล มหนึ่ง จาก คํานิยม ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท
ดร. ธิดา สาระยา
อักษรศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาฯ) M.A. Chinese History (Minnesota) Ph.D Early Southeast Asian & Thai History (Sydney) หัวหน าภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตร Thai Studies คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๓๐-๒๕๓๗) ประธานคณะกรรมการบริหาร หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย (๒๕๔๒-๒๕๔๔)
เมืองมัณฑะเล แม จะไม ใช เมืองสวรรค แต ก็เป นเมืองมนุษย และควรค าแก การร ูจัก ทั้งในฐานะนักท องเที่ยว ผ ูไปเยี่ยมเยือน ผ ูใฝ หาความร ู ต องการเข าใจการเปลี่ยนแปลง สังคมมนุษย หนึ่งๆ ตลอดจนผ ูแสวงหาความเข าใจ เกี่ยวกับชีวิตวัฒนธรรม ของมนุษยชาติ จาก คํานําเสนอ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม