ตามรอย"รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา"

Page 1

ที่ระลึกเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปีแห่งการสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต : ค้นคว้าและเรียบเรียง

หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๒๕๐ บาท

ISBN 978-974-8459-01-1

cover Java3_Ok.indd 1

“รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”

อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต

อิม่ ทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต ผูค้ น้ คว้าเรียบเรียง “ตามรอย รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา” เป็นคนไทยที่สมรสกับศาสตราจารย์ ดร. โจโก้ ซูฮาร์โต ชาวอินโดนีเซีย จึงพำ�นักอยู่ที่เกาะชวามากว่า ๓๐ ปี ได้ศึกษาภาษาอินโดนีเซีย จนสามารถเรียบเรียงปทานุกรม ภาษาไทย-อินโดนีเซียและอินโดเซีย-ไทย ทำ�ให้กระทรวงวัฒนธรรม มอบโล่ป ระกาศเกีย รติ คุณผู้ ทำ� คุณประโยชน์ใ นการส่ งเสริ มความสั มพั นธ์ ระหว่ า ง ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เนื่องใน การฉลองครบรอบ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ อิ่มทิพย์มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมชวาด้วยตัวเองโดยตรง และสนใจศึกษา ตามรอยเสด็จประพาสชวาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นที่มา ของหนังสือเล่มนี้ นอกจากนั้นยังเคยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการวิจัยและเขียนภาคภาษาอังกฤษในชื่อเรื่อง “Journeys to Java by a Siamese King” ที่แพร่หลายทั้งในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย จาก “คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์”

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”

...เรียบเรียงใหม่โดยนำ�เสนอเนื้อหาในรูปแบบบันทึกความทรงจำ�โดยใช้วันเดือนปี ทางสุริยคติทั้งหมดแทนที่การลำ�ดับเวลาแบบจันทรคติที่ใช้ในหนังสือจดหมายเหตุ เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งแรก ทำ�ให้สะดวกในการอ่าน นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ อิ่มทิพย์ยังได้แทรกรูปภาพใหม่จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย ที่ ไ ม่ เ คยเห็ น ในหนั ง สื อ จดหมายเหตุ ที่ ตี พิ ม พ์ โ ดยกรมศิ ล ปากร พร้ อ มทั้ ง ให้ คำ � อธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ผู้ ที่ คุ้ น เคยกั บ หนั ง สื อ จดหมายเหตุ เ สด็ จ ประพาสชวาในรั ช กาล ที่ ๕ ทั้ง ๓ ครั้ง สมควรอ่านหนังสือเล่มนี้พราะจะได้ความรู้เพิ่มเติมจากทั้งรูปภาพ และคำ�อธิบาย... คำ�นิยม : ดร.หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร

ตามรอย

สำ�นักพิมพ์ บัวสรวง

สำ�นักพิมพ์บัวสรวง

4/5/12 3:12 PM


ISBN 978-974-8459-01-1 ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา” ค้นคว้าและเรียบเรียง อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท บรรณาธิการ กัลยาณี บัวสรวง วสุวานิช ออกแบบปก/รูปเล่ม จำ�นงค์ ศรีนวล จัดรูปเล่ม นฤมล ต่วนภูษา ดูแลการผลิต ธนา วาสิกศิริ พิมพ์ที่ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐ จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต (Imtip Pattajoti Suharto) ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา” (Journeys to Java by a Siamese King). -- กรุงเทพฯ : บัวสรวง, ๒๕๕๕. ๑๙๒ หน้า ๑. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓-เสด็จประพาสต้น. ๒. เกาะชวา-ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว. ๓. เกาะชวา-ความเป็นอยู่และประเพณี. I. ชื่อเรื่อง. 915.982 ISBN 978-974-8459-01-1

สำ�นักพิมพ์บัวสรวง ๔๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ ถนนประชาชื่น แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ ๑๐๘๐๐ โทร. ๐-๒๙๑๐-๐๔๕๕ โทรสาร ๐-๒๙๑๐-๐๙๒๘ ผู้จัดการทั่วไป กวิภัฎ วสุวานิช บรรณาธิการสร้างสรรค์ ทรรศิน วสุวานิช บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ กัลยาณี บัวสรวง วสุวานิช ที่ปรึกษาศิลปกรรม จำ�นงค์ ศรีนวล คณะที่ปรึกษา จินตนา บัวสรวง, มาลินี พวงนัดดา, ศิวิไลซ์ บัวสรวง, รำ�ไพพรรณ ทองสวัสดิ์, ธรรมนูญ วสุวานิช

2  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


ตามรอย

“รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  3


คำ�นำ�ผู้เรียบเรียง

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสชวาและแวะ  สิงคโปร์เนือ่ งจากเป็นทางผ่านทัง้ ไปและกลับถึงสามครัง้  บ่งถึงความสนพระทัยอีกทัง้   พอพระทัยเกาะชวาเป็นพิเศษ ชวาและสิงคโปร์ในสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองเกิน  หน้าใครๆ ในย่านนี ้ เปรียบได้ราวกับจำ�ลองวิวฒ ั นาการใหม่ๆ และความสะดวกสบาย  ในยุโรปมาไว้ที่เอเชีย การเสด็จประพาสชวาครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม-  เกล้าเจ้าอยูห่ วั  ยังทรงเป็นยุวกษัตริย ์ มีพระชนมายุเพียง ๑๗ พรรษา โดยมีเจ้าพระยา  ศรีสรุ ยิ วงศ์ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ - ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหมเป็น  ผู้สำ�เร็จราชการแผ่นดิน พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะเสด็จมาทอดพระเนตรวิธีการ  บริหารบ้านเมืองของชาวยุโรป เพื่อเตรียมพระองค์ในการปกครองประเทศสยาม  เมื่อทรงครองราชย์โดยสมบูรณ์หลังจากทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ ขณะนั้นชวาอยู่  ใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ ส่วนสิงคโปร์เป็นของอังกฤษ การเสด็จประพาสชวาครัง้ ทีส่ อง เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๓๙ สมเด็จกรมพระยาดำ�รง-  ราชานุภาพทรงบันทึกว่า “เพือ่ สำ�ราญพระราชอิรยิ าบท” มีพระบรมวงศานุวงศ์รว่ ม  ตามเสด็จหลายพระองค์ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั   ได้ทรงนำ�หลายสิ่งที่ได้ทอดพระเนตรในระหว่างการเสด็จประพาสไปปรับปรุง  ประเทศด้วย การเสด็จประพาสชวาครัง้ ทีส่ าม เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ สมเด็จกรมพระยาดำ�รง-  ราชานุภาพทรงบันทึกว่า “เพือ่ สำ�ราญพระราชอิรยิ าบทเหมือนครัง้ ทีส่ อง ด้วยเหตุวา่   ที่ในเกาะชวายังมีของที่น่าดู” ทรงมีพระราชประสงค์จะมาทอดพระเนตรเพิ่มเติม  ตามความเห็นส่วนตัวแล้วผูค้ น้ คว้าและเรียบเรียงเชือ่ ว่า พระองค์ทรงเตรียมมอบหมาย  กิจการบ้านเมืองให้พระราชโอรสช่วยกันดูแล การเสด็จประพาสคราวนี้จึงมีพระ-

8  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


ราชโอรสหลายพระองค์ที่เพิ่งสำ�เร็จการศึกษาจากยุโรปร่วมโดยเสด็จ การเสด็จประพาสชวาทั้งสามครั้งนี้ ผู้ค้นคว้าฯ ใช้หลักฐานอ้างอิงจากหนังสือ  จดหมายเหตุเสด็จประพาสเกาะชวา ในรัชกาลที ่ ๕ ทัง้  ๓ คราว ประกอบกับหนังสือ  พระราชนิพนธ์เรือ่ ง ระยะทางเทีย่ วชวากว่าสองเดือน เมือ่ รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ และ  เสด็จประพาสชวา คราวที่ ๓ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๐ ซึ่งรวบรวมโดยสมเด็จ  กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพในวาระต่างๆ กัน ตัวสะกดของชื่อคนหรือชื่อเมืองในหนังสือเล่มนี้ ผู้ค้นคว้าฯ พยายามคงภาษา  ไว้ตามทีต่ พี มิ พ์ในเล่มต้นฉบับดัง้ เดิม จะสังเกตได้วา่ หลายคำ�ใช้ทบั ศัพท์ภาษาต่างชาติ  เนื่องจากยังไม่ได้บัญญัติคำ�ในภาษาไทย จึงได้กำ�กับคำ�อ่านออกเสียงหรือแทรกตัว  สะกดด้วยตัวอักษรละตินไว้เผือ่ จะเป็นประโยชน์ตอ่ ผูอ้ ่านทีอ่ าจจะสนใจศึกษาเพิม่ เติม  หรือจะมาทัศนศึกษาสำ�รวจเส้นทางตามรอยเสด็จประพาส ดังที่บันทึกไว้ในหนังสือ  เล่มนี ้ โดยเฉพาะชือ่ เมืองค่อนข้างเพีย้ นทัง้ นีค้ งเป็นเพราะบันทึกตามคำ�ออกเสียงของ  ฝรั่งที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้โดยเสด็จระหว่างการเสด็จประพาสก็เป็นได้ อนึง่  หนังสือเล่มนีจ้ ดั พิมพ์ขนึ้ เพือ่ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอม-  เกล้าเจ้าอยูห่ วั  เพือ่ เป็นการรำ�ลึกในวาระครบรอบร้อยปีการสวรรคตของพระองค์ วันที ่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ บันทึกการเสด็จประพาสชวาทั้งในหนังสือพระราชนิพนธ์  และหนังสือจดหมายเหตุบง่ ชีถ้ งึ การทรงงานหนักเพือ่ ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ  เป็นหลัก และเพื่อนำ�ประเทศสยามให้คงเอกราชรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของ  คนต่างชาติ  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรจะภูมิใจให้มากแต่ถ้าใครไม่เคยสัมผัสการ  ถูกมีดบาด ก็ย่อมไม่รู้ว่าความเจ็บปวดจากคมมีดนั้นเป็นเช่นไร ผู้ค้นคว้าฯ พำ�นัก  อยู่ที่เกาะชวามาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ได้ร้ไู ด้เห็นพอที่จะเชื่อได้ว่าคนไทยเราโชคดีท่มี ี  พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ ทำ�ให้เราไม่ต้องรับรู้ถึงความไม่เป็นธรรม  ในรูปแบบต่างๆ เมื่อประเทศถูกผู้อื่นมาเข้าครอบครอง ขอให้เราคงความสามัคคีไว้  เพื่อช่วยกันนำ�ชาติให้รอดปลอดภัยสมดังพระราชประสงค์ของพระองค์ตลอดไป

อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต บันดุง, สิงหาคม ๒๕๕๓

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  9


คำ�ขอบคุณ

• พ่อแม่ครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่มีส่วนทำ�ให้งานนี้สำ�เร็จได้ • พี่นก ‘ขนิษฐา วงศ์พานิช’ อดีตผู้อำ�นวยการสำ�นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ที่ช่วยในการค้นคว้าเรียบเรียงผลงานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • สามีและลูกที่นำ�ให้ได้พบประสบการณ์ชีวิตในเกาะชวา • สำ�นักพิมพ์บัวสรวงที่ช่วยปั้นหนังสือนี้ให้เป็นเล่ม • เพื่อนๆ ที่เป็นกำ�ลังใจอย่างมาก • โดยเฉพาะอาจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร ที่ได้เมตตาสละเวลาของ ท่านเพื่อเขียนคำ�นิยมที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำ�หรับหนังสือเล่มนี้

10  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


สารบัญ

บทนำ�.................................................................................... ๑๒ เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งแรก........................................................ ๑๙ เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สอง...................................................... ๔๑ เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สาม.................................................... ๑๒๕ บรรณานุกรม......................................................................... ๑๘๕ ภาคผนวก............................................................................. ๑๘๗

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  11


12  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


บทน�ำ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติย่อ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระมหาจักรี  บรมราชวงศ์ ทรงพระราชสมภพเมือ่ วันอังคารที ่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ พระองค์  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล  ที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระนางเจ้าร�ำเพยภมราภิรมย์) ทรงมี  พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ และมีพระนามที่สมเด็จพระบรมชนกนาถ  เรียกขานว่า “พ่อใหญ่” สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชโอรสทีส่ มเด็จพระบรมชนกนาถ  รักและทรงอบรมเลีย้ งดูอย่างใกล้ชดิ มากทีส่ ดุ  พระองค์โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เสด็จออกรับแขกเมืองด้วย อีกทั้งตามเสด็จพระราชด�ำเนินไปในขบวนพระราชพิธี  ตลอดจนขบวนเสด็จประพาสในที่ต่างๆ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ทรงได้รับการศึกษาหลากหลายสาขาวิชาการ  ตามขัตติยโบราณราชประเพณี อันได้แก่ภาษาไทย ภาษามคธ วรรณคดี ทรงได้  รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีในด้านวิชาศิลปะการยิงปืนไฟ มวยปล�้ำ กระบี่กระบอง วิชา  อัศวกรรม วิชาคชกรรม ส่วนในด้านศาสนา การปกครอง ราชประเพณี และโบราณคดี  ทรงได้รับการฝึกและสอนโดยตรงจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ (ระหว่างการเสด็จ  ประพาสชวา ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในด้านศาสนา ศิลปะ โบราณคดี วรรณคดี  จนเป็นที่ยอมรับนับถือจากผู้ทรงคุณวุฒิชาวต่างชาติ) พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พ ระวิ สั ย ทั ศ น์ อั น กว้ า งไกล  พระองค์ตระหนักดีถงึ ความส�ำคัญของการศึกษาจึงได้ทรงจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์  ตามรอย “รัชกาลที ่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  13


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (ที่มา: สมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระเจ้ากรุงสยาม)

ชาวอังกฤษจากเมืองสิงคโปร์ มาถวายการสอนภาษาอังกฤษและวิทยาการสมัยใหม่  ในพระบรมมหาราชวัง เพือ่ เตรียมความพร้อมแก่พระราชโอรสในการปกครอง ปฏิรปู   และพัฒนาประเทศให้เท่าทันนานาอารยประเทศ เนื่องจากในขณะนั้นเป็นยุคล่า  อาณานิคมของชาวตะวันตก ประเทศเพื่อนบ้านรอบข้างของเราตกเป็นเมืองขึ้นหมด  แล้ว ประเทศสยามก็ล่อแหลมต่อการถูกยึดครองเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินติ ประชานาถ

14  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


นางแอนนา เลียวโนเวนส์ (ที่มา: สมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระเจ้ากรุงสยาม)

ได้รับการถวายราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบราชสันตติวงศ์แห่งพระมหาจักรี  บรมราชวงศ์ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕  พรรษาเท่านั้น พระราชพิธบี รมราชาภิเษก ครัง้ แรกมีขนึ้ ในวันที ่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑  โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหกลาโหม ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ส�ำเร็จ  ราชการแผ่นดิน ช่วยแบ่งเบาพระราชภารกิจในการบริหารบ้านเมืองไปจนกว่าจะทรง  บรรลุพระราชนิตภิ าวะ ๒๐ พรรษา ระหว่างนัน้ ได้ทรงเตรียมพระองค์ในการปกครอง  ประเทศสยามโดยเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ภายใต้การปกครองของ  ชาวยุโรปเพื่อทอดพระเนตรการบริหารการปกครองตลอดจนกิจการในด้านต่างๆ  ทีช่ ดั เจนคือด้านการศึกษา การทหาร โรงพยาบาลและการก่อสร้าง การเสด็จประพาส  ต่างประเทศครัง้ แรกของพระองค์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๑๔ มีจดุ มุง่ หมายทีเ่ กาะชวา  (ส่วนหนึง่ ของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบนั ) และทรงแวะสิงคโปร์ซงึ่ เป็นทางผ่านทัง้   ไปและกลับ หลังจากนัน้ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จประพาส  พม่าและอินเดีย ทรงแวะสิงคโปร์และปีนังของประเทศมลายูด้วย ประเทศเพื่อนบ้าน  ทั้งหลายนี้ เ ป็ น ประเทศราชของอั ง กฤษยกเว้ น เกาะชวาอยู ่ ใ ต้ ก ารปกครองของ  เนเธอร์แลนด์ ระหว่างเส้นทางเสด็จประพาส พระองค์ได้มีโอกาสแวะเยี่ยมศึกษา  มณฑลต่างๆ ทางทิศใต้ทั้งสองชายฝั่งทะเลในพระราชอาณาเขตไปในตัว ภายหลัง  จากการเสด็จประพาสต่างประเทศสองครั้งแรกนี้ ได้ทรงเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลง  ตามรอย “รัชกาลที ่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  15


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่สอง (ที่มา: สมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระเจ้ากรุงสยาม)

เรื่องทรงผมและการแต่งกายให้ทันสมัยขึ้น มีการก่อสร้างอาคารตึกแถวแบบที่มี  ในเมืองสิงคโปร์และมีการท�ำเขื่อนริมคลองหลอดซึ่งมีถนนขนาบแบบที่มีในเมือง  บาตาเวีย (ปัจจุบันคือกรุงจาการ์ตา นครหลวงของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย) พระราชพิธบี รมราชาภิเษกครัง้ ทีส่ อง มีขนึ้ เมือ่ วันที ่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖  ในโอกาสนีเ้ จ้าพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผูส้ �ำเร็จราชการแผ่นดิน ได้รบั พระ-  ราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดในฝ่ายขุนนางเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  เพือ่ ตอบแทนคุณความดีทที่ า่ นได้ชว่ ยปฏิบตั ริ าชการแทนพระองค์ มาจนกระทัง่ ทรงบรรลุ

16  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


พระราชนิตภิ าวะ ในพระราชพิธสี �ำคัญนีไ้ ด้มกี ารเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ดว้ ย คือ พระองค์  ทรงมีพระราชด�ำรัสให้ผู้ที่มาหมอบเฝ้าอยู่ในพระราชพิธีให้ลุกขึ้นยืนทั้งหมดเป็นการ  เลิกธรรมเนียมดังกล่าวนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เมือ่ ทรงเสด็จขึน้ ครองราชย์โดยสมบูรณ์แล้ว พระองค์ได้ทรงเริม่ พัฒนาประเทศ  ให้เห็นเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ นอกจากการปรับปรุง  ด้านสาธารณูปโภค เช่นกิจการรถไฟ รถราง ไปรษณียโ์ ทรเลข โรงพยาบาล โรงเรียน  แล้วภายหลังได้เสด็จประพาสต่างประเทศอีกหลายครั้ง เพื่อทอดพระเนตรการศาล  การทหารแล้วน�ำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้กับสังคมไทย พระอัจฉริยภาพอันสูงส่งคือ  ทรงประกาศการเลิกทาสได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อีกทั้งทรงน�ำประเทศให้รอด  ปลอดภัยจากการคุกคามของระบบอาณานิคมจากชาติตะวันตก สยามเป็นประเทศ  เดียวในย่านอุษาคเนย์ที่คงเอกราชของประเทศได้ส�ำเร็จ ในการบริหารประเทศนั้น ทรงปลอมพระองค์เสด็จประพาสหัวเมืองหลายครัง้   เพื่อทรงทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของประชาชนพร้อมทั้งทรงตรวจดูการปกครอง  ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นด้วยพระองค์เอง การที่พระองค์ทรงค�ำนึงถึงประโยชน์สุขของชาวสยามโดยแท้ เปรียบได้ดั่ง  พ่อดูแลลูก สร้างความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อันใหญ่หลวงจากปวงชน เนือ่ งใน  วโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เสด็จด�ำรงราชสมบัตยิ าวนานกว่าพระมหากษัตริย์  พระองค์ใดๆ ในประวัตศิ าสตร์ มีงานพระราชพิธรี ชั มังคลาภิเษกเพือ่ เฉลิมฉลองใหญ่  ระหว่างวันที ่ ๑๑ - ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ราษฎรทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติ  ทีเ่ ข้ามาพึง่ พระบรมโพธิสมภารได้พร้อมใจกันบริจาคเงินกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพือ่   สร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเป็นอนุสรณ์ทแี่ สดงให้ประจักษ์ถงึ ความรักของพสกนิกร  ที่มีต่อพระองค์ อีกทั้งยังพากันถวายพระนามว่า “พระปิยมหาราช” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั  เสด็จสวรรคตเมือ่ วันที ่ ๒๓ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงมีพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา ทันทีทขี่ า่ วการเสด็จสวรรคตแพร่ออก  ไป ประชาชนต่างก็ร้องไห้กันระงมไปทั่วทุกสารทิศ วันนั้นเป็นวันสูญเสียอันยิ่งใหญ่  ของชาติ เป็นวันที่ชาวสยามสูญเสียพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เทิดทูนและรักยิ่งไป

ตามรอย “รัชกาลที ่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  17


แผนที่อุษาคเนย์

18  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งแรก

๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๔๑ การเสด็จประพาสชวาครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  นับว่าเป็นการเสด็จประพาสต่างประเทศครัง้ แรกของพระองค์ดว้ ย เมืองทีเ่ สด็จประพาส  อย่างเป็นทางการ คือ สิงคโปร์ บาตาเวีย๒ และ สมารัง๓ ราชบริพารผูต้ ามเสด็จในครัง้ นีเ้ ป็นชายล้วน มีจำ� นวนทัง้ หมด ๒๐๘ คน หลวง  วิสูตรสาครดิฐ (กัปตัน จอห์น บุช)๔ เป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวที่ได้รับพระมหา-  กรุณาธิคุณให้ตามเสด็จ ***

๙ มีนาคม

เวลา ๑๑.๐๐ น. เรือพระที่นั่งพิทธยัมรณยุทธที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ประทับในการเสด็จประพาส เคลื่อนออกจากท่าราชวรดิษฐ เวลา ๑๔.๐๐ น. เศษ เรือพระทีน่ งั่ ฯ ถึงหน้าเมืองสมุทรปราการ จอดทอดสมอ  เหนือหาดพระเจดีย์กลางน�ำ้  เสด็จลงเรือบตขึ้นไปนมัสการพระสมุทรเจดีย์ ๑

การเปลี่ยนพุทธศักราชขึ้นปีใหม่ของประเทศสยามในสมัยนั้น เริ่มวันที่ ๑ เมษายน ของทุกปี  ภายหลังจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ตามแบบสากล เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓  เป็น ทุกวันที่ ๑ มกราคม ๒  บาตาเวีย (Batavia) ปัจจุบนั คือกรุงจาการ์ตา นครหลวงของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตัง้   อยู่ทางด้านเหนือของเกาะชวาภาคตะวันตก ชื่อเมืองนี้ในภาษาไทยสะกดกันต่างๆ เช่น เบตาเวีย   ปัตเวีย บะเตเวีย ฯลฯ ๓  สมารัง (Semarang) เป็นเมืองท่าสำ�คัญและเป็นเมืองหลวงของภาค ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้าน  เหนือของเกาะชวาภาคกลาง ปัจจุบนั เป็นเมืองใหญ่อนั ดับที ่ ๕ ของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย  (ในต้นฉบับเดิมบางทีสะกดว่า สำ�มารัง) ๔  ชาวอังกฤษ (๔ ส.ค. ๒๓๖๒ – ๓ เม.ย. ๒๔๔๘) รับราชการในตำ�แหน่งเจ้าท่าในสมัยรัชกาล  ที่ ๔  บรรดาศักดิ์สูงสุดคือ พระยาวิสูตรสาครดิฐ

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  19


เรือพระที่นั่งพิทธยัมรณยุทธ (ที่มา: สมเด็จพระจุลจอมเกล้า พระเจ้ากรุงสยาม)

เวลา ๑๖.๐๐ น. เรือพระที่นั่งฯ ออกเดินทางต่อมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ คาดว่า  ถึงหน้าเมืองปราณ ประมาณ ๒ ยาม

๑๐ มีนาคม

เรือพระทีน่ งั่ ฯ แล่นกลางทะเลลึกมองไม่เห็นฝัง่  ย�ำ่ ค�ำ่ ถึงแขวงเมืองชุมพร เห็น  เกาะเต่าเขียวๆ มาแต่ไกล

๑๑ มีนาคม

เวลาย�ำ่ รุ่งเห็นเกาะกระหน้าเมืองนครศรีธรรมราช เวลา ๑๓.๒๐ น. เรือพระที่น่ังฯ จอดทอดสมอที่ปากอ่าวเมืองสงขลา พระยา  สงขลาคือเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)๕ และบุตร คือ พระสุนทรานุรักษ์ (พระยาสุน-  ทรานุรักษ์ - เนตร์) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา มาเฝ้าที่เรือพระที่นั่งฯ เวลา ๑๔.๐๐ น. เสด็จขึ้นประทับที่พลับพลาแหลมทราย แล้วเสด็จทรงรถ ประพาสตามตลาดที่เมืองสงขลา หลังจากนั้นเสด็จกลับเรือพระที่นั่งฯ ประมาณบ่าย ๕ โมงเศษ ๕

ผู้สำ�เร็จราชการเมืองสงขลา (คนที่ ๖) พ.ศ.๒๔๐๘ - ๒๔๒๗

20  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


๑๒ มีนาคม

เวลา ๑๓.๐๐ น. เศษ เสด็จประพาสตามสวนของราษฎรริมเกาะยอ ทอด  พระเนตรโรงงานผลิตอ่างไหของชาวจีน แล้วเสด็จกลับเรือพระทีน่ งั่ ฯ เวลา ๑๙.๐๐ น. กลางดึก เวลา ๗ ทุ่ม เรือพระที่นั่งฯ เดินเครื่องออกจากท่าทอดสมอเมือง  สงขลา

๑๓ มีนาคม

รุ่งเช้าถึงแหลมตานี แล้วถึงแหลมงูซึ่งเป็นพรมแดนต่อกับเมืองกลันตัน๖  เมื่อเวลา ๐๘.๐๐ น. หลังจากนั้นเรือแล่นในทะเลลึกมองไม่เห็นฝั่ง คะเนว่าถึงหน้า  เมืองกลันตันเวลาเที่ยง เวลา ๑๕.๐๐ น. เห็นเกาะปรินเตียน๗ ย�่ำค�่ำมองเห็นเกาะริดัง เวลายามเศษ  ถึงหน้าเมืองตรังกานู แล้วเห็นเกาะบราลาตอนกลางดึก

๑๔ มีนาคม

ย�ำ่ รุง่  เรือพระทีน่ งั่ แล่นพ้นเกาะบราลา ตอนเทีย่ งเห็นเกาะนาค หรือทีช่ าวท้องถิน่   เรียกว่าเกาะเทียวมัน เวลาบ่าย ๔ โมงเห็นเกาะปูลูปิสัง ปูลูอ่อ ปูลูติงงิ พร้อมกัน  ทั้ง ๔ เกาะ๘

กลันตันขณะนัน้ เป็นส่วนหนึง่ ของแผ่นดินสยาม ไทยเสียดินแดนบริเวณนีพ้ ร้อมกับเคดะห์ เปรฺลสิ   และตรังกานูให้กับอังกฤษในปี พ.ศ.๒๔๕๒ ปัจจุบันกลันตันเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ๗  เกาะเปอรฺเฮินติอัน (Pulau Perhentian) อยู่นอกฝั่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย   เกาะเปอรฺเฮินติอัน เกาะเรอดัง (Pulau Redang) และ เกาะบราลา (Pulau Brala) อยู่ในทะเล  จีนใต้ ๘  ทั้งสี่เกาะ/ปูโลว คือ เกาะตีโอมัน (Pulau Tioman), เกาะปีซั่ง (Pulau Pisang), เกาะอาอูรฺ  (Pulau Aur) และเกาะติงกี (Pulau Tinggi)

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  21


เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สอง

๙ พฤษภาคม - ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๙

เรื่องเกี่ยวกับการเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สอง สมเด็จกรมพระยาด�ำรง  ราชานุภาพ ทรงรวบรวมและบอกเล่าไว้วา่  “มีทง้ั จดหมายเหตุทกี่ รมพระสมมตอมรพันธุ์  ทรงแต่งลงราชกิจจานุเบกษา และมีพระราชนิพนธ์ (ระยะทางเทีย่ วชวากว่าสองเดือน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระราชนิพนธ์ เมือ่ รัตนโกสินทรศก ๑๑๕)  ทรงแต่งเปนรายวันตามระยะทาง” ผู้ค้นคว้าฯ ได้น�ำข้อความจากหนังสือทั้งสองเล่ม  ดังกล่าวข้างต้นมาน�ำเสนอประกอบกันในหนังสือเล่มนี้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

40  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


หนังสือเรือ่ งระยะทางเทีย่ วชวากว่าสองเดือน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า  เจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๑๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ  เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พิมพ์ครั้งแรก เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘ เพื่อเป็นของพระราชทาน  ในงานพระเมรุพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (สมเด็จ  เจ้าฟ้าพระองค์นี้เคยตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเกาะชวา  ถึงสองครัง้  เมือ่ ยังทรงพระเยาว์) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช  ทรงโปรดให้พิมพ์ครั้งที่สอง เมื่อพ.ศ.๒๕๑๖ เพื่อพระราชทานในงานพระราชทาน  เพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ผู้ซึ่งเคยตามเสด็จสมเด็จพระ  เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพตั รสุขมุ พันธุ ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ มาประทับทีเ่ มือง  บันดุง เกาะชวาเป็นเวลานานถึง ๑๓ ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ณ พระต�ำหนักที่เมืองบันดุง (จากซ้ายไปขวาพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา) (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)

การทีพ่ ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเลือกเสด็จประพาสเกาะชวา  ในครัง้ นี ้ มีเหตุผลส�ำคัญหลายประการ เป็นต้นว่า มีแพทย์ทลู แนะน�ำให้เสด็จไปพักผ่อน  เนื่องจากเพิ่งทรงหายประชวร ชวามีความเหมาะสมเพราะ “ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง  ทีอ่ ยูใ่ กล้ประเทศเรามากทีส่ ดุ ” ทรงร�ำลึกเพิม่ เติมว่า “ได้เคยรูจ้ กั ใจพวกวิลนั ดาทัง้ ปวง  ว่าเปนผู้ที่มีนำ�้ ใจดีในการต้อนรับ” อีกทั้ง “ทางไมตรีของเรากับวิลันดาย่อมมีแต่การ  เรียบร้อยรักใคร่กนั  ไม่มเี หตุอนั ใดในระหว่างสองพระนครซึง่ จะมีราชการเกีย่ วพันกัน  ตามรอย “รัชกาลที ่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  41


ส่วนการปกครองบ้านเมืองในเกาะชวานั้น เขาปกครองอย่างดีที่ควรจะพิศวง ไม่  เหมือนกับประเทศอื่น” เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ พระองค์มีพระราชประสงค์จะ  ส่งเสด็จสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ๒๑ “ลูกชาย  เล็กอันเปนที่รักอย่างยิ่ง” ไปขึ้นเรือที่สิงคโปร์ “ด้วยมีอายุสมควรจะไปเล่าเรียนใน  ประเทศยุโรปเพื่อความดีแก่ตัวเขาต่อไปในภายน่า” ทรงตระหนักว่าการเสด็จประพาสครั้งแรกค่อนข้างจะมีพิธีรีตองมาก “เพราะ  เปนคราวแรกที่เจ้าแผ่นดินไทยจะได้ออกนอกอาณาเขตรเมื่อไม่มีการศึกสงคราม”  คราวนีม้ พี ระราชประสงค์จะเสด็จไปเป็นการส่วนพระองค์ ด้วยเหตุผลสองประการคือ  “จะทนเหน็ดเหนื่อยในการรับรองไม่ไหว อีกข้อหนึ่งเขาก็เคยได้รับรองคราวก่อน  อย่างดีที่สุดอยู่แล้ว” จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาชลยุทธ๒๒ เดินทางไปจัดเตรียมการ  เสด็จประพาสล่วงหน้า เมื่อทางเกาะชวาทราบข่าว ผู้ส�ำเร็จราชการเมืองขึ้นของ  ฮอลันดาได้มีโทรเลขมาถวายดังที่มีข้อความในพระราชนิพนธ์ว่า “ก่อนเวลาที่เรา  จะได้ตระเตรียมตัวพร้อม ก็ได้รับโทรเลขเกาวเนอเยเนอราล (Governor-General)  มีมาต้อนรับถึงบางกอกด้วยถ้อยค�ำอันไพเราะ ท�ำให้มีความพอใจที่จะไปมากขึ้น” ***

๘ พฤษภาคม ปีวอก

เวลา ๒๑.๐๐ น. เศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออก  โปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะผู้ใหญ่ ๑๐ รูป ประกอบพิธีสงฆ์ในพระที่นั่ง  บรมราชสถิตย์มโหฬาร

๒๑

ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลก  ประชานาถ ในรัชกาลที่ ๖ ๒๒  นายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธินทร์ (Andr  du Plesis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก  ผู้ที่ได้ช่วยก่อตั้งราชนาวีไทย

42  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


๙ พฤษภาคม

เวลาเช้า เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะผูใ้ หญ่ชดุ เดียวกันกับเมือ่ วันวาน  เข้าไปในพระทีน่ งั่ บรมราชสถิตย์มโหฬาร โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นาถฯ  และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรง  แสดงปฏิญญาณพระองค์เป็นอุบาสกต่อหน้าพระสงฆ์ในที่ประชุมเจ้านายและขุนนาง  จ�ำนวนมาก พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมืน่ วชิรญาณวโรรสประทานศีลและโอวาทเนือ่ ง  ในโอกาสที่ทั้งสองพระองค์จะเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการที่ยุโรป เวลา ๐๙.๔๑ น. ได้พระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่ที่สรง  มุรธาภิเศกสนาน มีพธิ สี งฆ์จนเสร็จพิธสี รง หลังจากนัน้ เสด็จพระราชด�ำเนินไปประทับ  ท่าราชวรดิษฐ มีพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางตลอดจนบรรดาราชทูตผูแ้ ทนรัฐบาล  ต่างประเทศมารอส่งเสด็จ มีที่ตามลงไปในเรือพระที่นั่งมหาจักรีด้วยเป็นจ�ำนวนมาก เวลา ๑๐.๐๐ น. เศษ เรือพระที่นั่งเคลื่อนออกจากท่าแล่นขึ้นไปกลับล�ำที่ท่า  หน้าวัดเทวราชกุญชร แล้วล่องลงไปตามล�ำแม่นำ�้ เวลาเทีย่ งโปรดให้ผทู้ ตี่ ามมาส่งเสด็จในเรือร่วมโต๊ะเสวยรับพระราชทานอาหาร  กลางวันด้วยกัน เวลา ๑๔.๐๐ น. เศษ ถึงเมืองสมุทรปราการ ทอดสมอเรือทีป่ อ้ มผีเสือ้ สมุทร  ทีป่ อ้ มนัน้ ยิงสลุตถวายค�ำนับ ๒๑ นัด พระราชทานเครือ่ งราชสักการะให้เจ้าพนักงาน  เชิญไปนมัสการพระสมุทรเจดีย ์ แล้วพระองค์เสด็จพระราชด�ำเนินโดยเรือกลไฟล�ำเล็ก  ไปยังบ้านพระยาสมุทรบุรานุรกั ษ์ (สิน) ผูว้ า่ ราชการเมืองสมุทรปราการ ประทับโต๊ะเสวย  เครื่องว่างบนเรือนที่สร้างใหม่ พร้อมด้วยผู้ที่ร่วมในขบวนเสด็จและผู้ที่ตามมาส่ง  เสด็จจากกรุงเทพฯ จวนเวลาประมาณ ๑๕.๓๐ น. พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง  ตลอดจนบรรดาราชทูตผูแ้ ทนรัฐบาลต่างประเทศทีล่ งไปส่งเสด็จนัน้  ต่างถวายพระพร  แด่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช๒๓ สมเด็จพระเจ้า  ลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอที่จะเสด็จไปยุโรป แล้วกราบถวายบังคมลาขึ้นรถไฟ  กลับกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับเรือพระที่นั่งมหาจักรี

๒๓

ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชปิตลุ าบรมพงศาภิมขุ  เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์-  วรเดช ในรัชกาลที่ ๗

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  43


เรือพระที่นั่งมหาจักรี (ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

เวลา ๑๕.๕๐ น. เรือพระที่นั่งออกจากหน้าเมืองสมุทรปราการไปประมาณ  หนึ่งชั่วโมงก็ต้องจอดทอดสมอรอน�้ำขึ้นจนถึงเวลา ๐๒.๐๐ น. แล้วจึงถอนสมอ  เดินเรือตรงลงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้

๑๐ พฤษภาคม

รุง่ เช้า เรือพระทีน่ งั่ ถึงตรงแขวงเมืองประจวบคีรขี นั ธ์ มองเห็นเขาสามร้อยยอด  บนฝั่ง ทะเลไม่มีคลื่นลมเลย ท�ำให้อากาศค่อนข้างร้อน เวลากลางวันออกแล่นใน  ทะเลลึกแลไม่เห็นฝั่ง ตอนกลางคืนลมแรงมีคลื่นท�ำให้บางคนเมาเรือ

๑๑ พฤษภาคม

เวลาบ่ายมีคลืน่ ลมบ้าง เวลาค�ำ่ เรือพระทีน่ งั่ ถึงตรงแหลมตานี ทรงตัง้ ข้อสังเกต  ว่า ในบริเวณนั้น “แผนที่เรือรบอังกฤษท�ำไม่ถูกเลย ท�ำเปนอ่าวเปนแหลมต่างๆ ที ่ หาไม่พบได้ ที่แท้เปนหาดยาวไปถึง ๓๐ ไมล์ แผนที่ทหารเรือเราท�ำเปนคนละอย่าง  ทีเดียว ถ้าฤดูคลื่นหาที่แอบไม่ได้”

44  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


แผนที่เกาะชวา (ที่มา: google.com)

๑๒ พฤษภาคม

เวลารุง่ เช้าถึงแขวงเมืองตรังกานู เวลาค�ำ่ ถึงเมืองปาหัง วันนีไ้ ม่มคี ลืน่ เลย เนือ่ ง  จากวันนีต้ รงกับวันคล้ายวันประสูตใิ นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มงี านเลีย้ งบนดาดฟ้าเวลาค�ำ่ ในเรือพระทีน่ งั่ ด้วย

๑๓ พฤษภาคม

เวลาย�่ำรุ่งถึงเมืองโยโฮร์ หลังจากนั้นตอนเวลา ๑๐.๐๐ น. เห็นประภาคารที ่ ต�ำบล(เกาะ)ศิลาขาวปากช่องเข้าไปเมืองสิงคโปร์ แล้วจอดทอดสมอห่างจากท่า  เมืองสิงคโปร์ประมาณ ๔๐๐ เส้น หรือ ๑๐ ไมล์ เมื่อเวลา ๑๔.๓๐ น. พระยารัษฎานุประดิษฐ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ผู้ว่าราชการเมืองตรัง ซึ่งเป็น  ผู้มาจัดการรับเสด็จ ลงมาเฝ้าในเรือพระที่นั่งพร้อมกับมิสเตอร์ยอนแอนเดอซัน  กงสุลสยามที่เมืองสิงคโปร์ และตันบูเลียด (หลวงอนุกูลสยามกิจ)๒๔ ตอนค�่ ำ บนเรื อ พระที่ นั่ ง มี ง านเลี้ ย งส่ ง เสด็ จ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ สมเด็ จ -  พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกยาเธอซึง่ จะเสด็จไปยุโรป เป็นงานแบบแต่งชุดแฟนซี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งครึ่งยศแบบรัชกาลที่ ๔ เด็กผู้ชายแต่งเป็น  ๒๔

เป็นหลานของพระยาอัษฎงคตทิศรักษา (พระยาอนุกูลสยามกิจ - ตันกิมเจ๋ง) อดีตกงสุล  สยามที่สิงคโปร์

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  45


๑๒ สิงหาคม

เวลา ๐๗.๐๐ น. เรือพระที่นั่งมหาจักรีออกเดินเครื่องมาตามล�ำน�้ำ เมื่อเรือ  พระที่นั่งผ่านป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมวิไชย  ประสิทธิ ทหารที่ป้อมนั้นๆ ยิงสลุตถวายค�ำนับโดยล�ำดับ ทุกแห่งแต่งธงและมีคน  ยืนทุกป้อม เวลา ๑๑.๐๐ น. เศษ เรือพระทีน่ งั่ มหาจักรีเทียบท่าราชวรดิษฐ ทีเ่ จ้าพนักงาน  ได้จัดการตกแต่งให้วิจิตรด้วยดอกไม้ใบไม้สด พันผ้าผูกและประดับธงงดงาม พระ  บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมพลทหารบกประดับ  เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์ ขณะทีเ่ สด็จลงจากเรือพระทีน่ งั่ นัน้  ทหาร  เรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อเสด็จขึ้นที่สะพานท่าน�้ำ ทหารมหาดเล็ก  ท�ำเพลงแตรถวายอาวุธค�ำนับ กองทหารปืนใหญ่ยิงปืนถวายค�ำนับที่สนามเหนือท่า  ราชวรดิษฐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จหยุดรับสั่งกับพระบรมวงศานุวงศ์  ซึ่งรอรับเสด็จอยู่แล้วที่สะพาน เมื่ อ ประทั บ พระที่ นั่ ง ราชกิ จ วิ นิ จ ฉั ย ซึ่ ง ประดั บ ประดาไว้ อ ย่ า งงดงามแล้ ว  มิสเตอร์ยอนแบแรต ราชทูตอเมริกา เป็นตัวแทนบรรดาทูตานุทูตต่างประเทศกล่าว  ถวายชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�ำรัสตอบ มีพระราชด�ำรัส  ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนขุนนางข้าราชการทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มา  ชุมนุมรับเสด็จ ณ ที่นั้นตามสมควรแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้แจกเงินรมไอก�ำมะถันจาก  ปล่องภูเขาไฟในเมืองชวาเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชด�ำเนินในครั้งนี้ การเสด็จนิวัติพระนครในครั้งนี้ อาคารวัดวังบ้านเรือนตลอดจนสถานที่ต่างๆ  และเรือตามล�ำน�้ำเจ้าพระยา ได้รับการตกแต่งตลอดทางที่เสด็จผ่านมาทุกแห่งทุก  ต�ำบล รวมเวลาตั้งแต่เสด็จไปจนถึงวันเสด็จกลับมาถึงพระนคร ทั้งสิ้น ๙๘ วัน ย่อหน้าสุดท้ายในหนังสือพระราชนิพนธ์มีความว่า “การที่ไปเที่ยวเปนสุดสิ้น  เรือ่ งเพียงเท่านี ้ มีแต่ทจี่ ะรฦกถึงผูซ้ งึ่ ได้พบปะกัน ทีม่ ไี มตรีสนิทสนมกันและได้รบั รอง  ให้มีความสุข ในเวลาไปจากบ้านเมือง แลทั้งประเทศที่ได้ไปเห็นเปนที่สนุกสบาย  ทั้งเปนที่ควรสรรเสริญในการปกครองแลความน�้ำใจดีของคนทั้งปวง เปนเครื่อง  ประกอบให้เราได้ความสุขสบายจนคืนมาบ้านเมืองเหมือนอย่างแต่กอ่ น มีอย่างเดียว  แต่ที่จะต้องนึกถึงด้วยความขอบใจแลความพอใจจนตลอดเวลาที่เรามีชีวิต”

124  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สาม

๕ พฤษภาคม– ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๔

การเสด็จประพาสเกาะชวาครั้งที่สาม ผู้เรียบเรียงขอน�ำข้อความจากหนังสือ  จดหมายเหตุรายวัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งหลัง พ.ศ. ๒๔๔๔ และ จดหมายเหตุที่กรมพระ  สมมตอมรพันธุ์ทรงแต่งลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งรวบรวมโดยสมเด็จฯ กรมพระยา  ด�ำรงราชานุภาพ มาผสมผสานประกอบกันในหนังสือเล่มนี้ หนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง จดหมายเหตุรายวัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอม-  เกล้าเจ้าอยูห่ วั  ทรงพระราชนิพนธ์เรือ่ ง เสด็จประพาสเกาะชวาครัง้ หลัง พ.ศ. ๒๔๔๔ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ  สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน สุขุมขัติยกัลยาวดี กรมหลวงศรี-  รัตนโกสินทร์ พระธิดาองค์เดียวของพระองค์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อเดือน  ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงเป็นผู้คัดเลือกหนังสือเล่มนี้ถวาย  ตามรับสัง่ ของพระนางเจ้าสุขมุ าลมารศรี พระราชเทวี เนือ่ งจากทรงเห็นว่าในสมัยนัน้   ทูลกระหม่อมหญิง (สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตนฯ) มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณ  สมเด็จพระบรมชนกนาถฯ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ในต�ำแหน่ง  ราชเลขาธิการฝ่ายใน อีกทัง้ ระหว่างการเสด็จประพาสเกาะชวาครัง้ ทีส่ ามนัน้  สมเด็จ-  เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตนฯ ได้โดยเสด็จและทรงเป็นพนักงานเขียนพระราชนิพนธ์เรื่องนี ้ อนึ่งพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีก็ได้โดยเสด็จประพาสเกาะชวาในครั้งนั้น  ด้วยเช่นกัน

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  125


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน สุขุมขัติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)

การเสด็จประพาสเกาะชวาครัง้ ทีส่ ามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั   โปรดเกล้าฯให้พระราชโอรสรุ่นใหญ่ที่เพิ่งส�ำเร็จการศึกษาจากยุโรปโดยเสด็จด้วย  หลายพระองค์ พระราชประสงค์ทเี่ ห็นได้ชดั เจนคือ ทรงพามาดูงานในด้านต่างๆ เพือ่   น�ำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรปู ประเทศสยามให้เจริญเท่าเทียมชาติอนื่ ๆ พระราชโอรส  ที่โดยเสด็จเพื่อการนี้ได้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช) พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ (กรมหมืน่ ชุมพรเขตรอุดม-  ศักดิ์) หมายเหตุ จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินติ  พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-  เจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วม  พระมารดาเพียงพระองค์เดียวของ สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตนฯ ภายหลัง  การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เสด็จมาประทับที่เมือง  บันดุง เกาะชวา จนถึงสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗

126  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านิภานภดล พระราชธิดาพระองค์หนึ่งใน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โดยเสด็จประพาสเกาะชวาใน  ครัง้ ทีส่ ามด้วย ภายหลังการเปลีย่ นแปลงการปกครองได้เสด็จตามมาสมทบ กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพตั รฯ มาประทับทีเ่ มืองบันดุง เกาะ  ชวา จนถึงสิ้นพระชนม์เช่นกัน (ภาพหน้า ๔๑)

๔ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐

เวลา ๒๐.๐๐ น. โปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีสงฆ์ ๑๐ รูป โดยนิมนต์พระเจ้าน้อง-  ยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรสเป็นประธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ  ประทับ ณ พระทีน่ งั่ ราชปรีดวี โรทัย ทรงจุดเทียนนมัสการทรงศีลแล้ว พระสงฆ์เจริญ  พระพุทธมนต์จบ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เวลา ๒๒.๐๐ น. เศษ พระบาท  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้น

๕ พฤษภาคม

เวลา ๐๘.๐๐ น. เศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ทรงจุดเทียน  นมัสการ พระสงฆ์ถวายพระพรแล้วทรงประเคนอาหารบิณฑบาตพระสงฆ์ เมื่อ  พระสงฆ์ฉันเสร็จถวายพระพรลาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่ที่สรง  พระมุรธาภิเศกสนาน เมื่อเสร็จการสรงแล้ว เวลา ๐๙.๐๐ น. เศษ เสด็จออกทาง  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงรถไปประทับ ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย มีพระราช-  ด�ำรัสด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่มาส่งเสด็จ แล้วเสด็จพระราชด�ำเนิน  ลงประทับเรือพระที่นั่งมหาจักรีที่ท่าราชวรดิษฐ เรือมกุฎราชกุมารและเรือสุครีพ  ยิงสลุตส่งเสด็จถวาย ฝนตกตั้งแต่วันวาน หยุดตกเวลาเสด็จลงเรือแล้วฝนตกอีก  เมื่อจะออกเรือ เรือพระที่นั่งแล่นขึ้นไปกลับล�ำที่สามเสน เมื่อมาเกือบถึงออเรียนตัล  โฮเต็ล มีอุบัติเหตุเล็กน้อยเนื่องจากมีเรือขวางหน้า เรือพระที่นั่งหลบไปทางซ้าย  เฉียดฝั่งใกล้เรือแพ๕๔ ๕๔

ตัง้ แต่นน้ั มา มีระเบียบใหม่ให้เรือกลไฟนครบาลแล่นนำ�หน้าเรือพระทีน่ ง่ั เสมอ

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  127


เวลาเที่ยงเศษ เรือพระที่นั่งถึงเมืองสมุทรปราการ หยุดทอดสมอที่หน้าเมือง  รอน�้ำขึ้น พระสมุทรบุรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองและข้าราชการเมืองนั้น มาเฝ้า  ทูลละอองธุลพี ระบาทบนเรือ โปรดเกล้าฯ พระราชทานดอกไม้ธปู เทียนให้พระสมุทร-  บุรานุรักษ์นำ� ไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ เวลา ๑๗.๐๐ น. เศษ น�้ำขึ้นเต็มฝั่ง เรือพระที่นั่งถอนสมอเดินเครื่องออก  จากเมืองสมุทรปราการ ป้อมผีเสื้อสมุทร และป้อมพระจุลจอมเกล้ายิงสลุตถวาย  ค�ำนับป้อมละ ๒๑ นัด ข้ามสันดอน เวลา ๑๙.๐๐ น. เศษ ลมเย็นสบาย เรือตาม  เสด็จคือ พาลี สุครีพ จ�ำเริญ

๖ พฤษภาคม

ทะเลไม่มีคลื่นแต่มีลม แลเห็นเขาที่ฝั่ง เวลาบ่าย ๑๗.๐๐ น. เศษ เรือพระ  ที่นั่งหยุดทอดสมอที่ปากอ่าวเมืองชุมพร พระยาด�ำรงสุจริต (คอซิมก๊อง ณ ระนอง)  ข้าหลวงเทศาภิบาลชุมพร และพระยาวรสิทธิเสวีวัตร (ไต้ฮัก) ข้าหลวงเทศาภิบาล  ภูเก็ต มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทบนเรือพระที่นั่ง เวลา ๒๒.๐๐ น. เศษ เรือพระ  ที่นั่งถอนสมอออกจากปากอ่าวเมืองชุมพร

๗ พฤษภาคม

เวลาเช้า เรือพระที่นั่งถึงหน้าเกาะพงันแต่ธารเสด็จน�้ำแห้งจึงไม่ได้หยุดเสด็จ  ประพาสขึ้นบนเกาะ ตอนกลางวันผ่านเมืองนครศรีธรรมราช เวลาค�่ำผ่านเกาะกระ

๘ พฤษภาคม

วันนี้เวลากลางวันเรือพระที่นั่งผ่านเมืองสาย เมืองกลันตัน เวลาเย็นผ่านเกาะ  ริดังแขวงเมืองตรังกานู มีพายุฝน

๙ พฤษภาคม

เวลาค�ำ่ เรือพระทีน่ งั่ เข้าแขวงเมืองปาหัง แล้วผ่านเกาะตีโอมัน (PulauTioman)  เกาะเปอมังกิล (Pulau Pemanggil) เกาะออ (Pulau Aur/อาอูรฺ) และเกาะติงกี  (PulauTinggi) ตรงไปจอดทอดสมอที่ท้ายเกาะเมืองสิงคโปร์ พักค้างคืนที่นั่นและ  ล้างท�ำความสะอาดเรือด้วย

128  อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเร่งทรงพระอักษรเพื่อเตรียมส่งจากสิงคโปร์ไป  ยุโรปในวันรุ่งขึ้น

๑๐ พฤษภาคม

ตอนเช้าเรือพระที่นั่งมหาจักรีเคลื่อนไปช้าๆ พร้อมด้วยขบวนเรือที่ตามเสด็จ  ๔ ล�ำ คือ เรือมกุฎราชกุมาร เรือพาลี เรือสุครีพ เรือจ�ำเริญ เวลา ๑๐.๐๐ น. เรือ  พระที่นั่งทอดสมอที่หน้าเมืองสิงคโปร์ เรือพาลียิงสลุต ๒๑ นัด ค�ำนับเมือง ป้อม  แคนนิงยิงสลุตตอบถวายค�ำนับ ๒๑ นัด พระพิเทศพานิชสยามวิชิตภักดี (มิสเตอร์  ยอน แอนเดอซัน) กงสุลสยามเมืองสิงคโปร์ พระทวีปสยามกิจ (มิสเตอร์นวิ บราวเนอ)  กงสุลสยามเมืองปีนัง มิสเตอร์รอสผู้ที่เคยว่าการแทนกงสุลสยามเมืองสิงคโปร์  รายามูดาเมืองไทรบุรี และข้าหลวงเมืองกลันตัน กับข้าหลวงเมืองตรังกานูตลอดจน  ขุนนางผู้ใหญ่อีกหลายคนฝ่ายไทย ได้มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทบนเรือพระที่นั่ง หลังจากนัน้ เซอร์แฟรงค์ เอ. สเวตเตนฮัมผูร้ กั ษาราชการแทนเจ้าเมืองสิงคโปร์และ  นายทหารคนสนิทลงมาเฝ้าบนเรือพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย  สมเด็จพระบรมราชินนี าถเสด็จออกทรงรับ เมือ่ เซอร์แฟรงค์ เอ. สเวตเตนฮัม กราบ  ถวายบังคมลากลับไปนัน้  ปืนใหญ่บนเรือพระทีน่ งั่ ยิงสลุตค�ำนับ ๑๗ นัดตามเกียรติยศ เวลา ๑๑.๐๐ น. เศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระ-  บรมราชินีนาถเสด็จทรงเรือกลไฟที่เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าจัดมารับเสด็จเพื่อไปยัง  ท่ายอนสตันสเปีย มีเจ้าหน้าทีแ่ ละทหารกองเกียรติยศตัง้ แถวรอรับเสด็จอยู ่ พอเสด็จ  ขึ้นที่ท่าเรือ ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วเสด็จพระราชด�ำเนินผ่าน  แถวทหารไปประทับรถม้าพระที่นั่งเพื่อเสด็จไปยังจวนเจ้าเมือง เซอร์แฟรงค์ เอ.  สเวตเตนฮัมผู้รักษาราชการแทนเจ้าเมืองสิงคโปร์ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน  รวมทัง้ กงสุลต่างประเทศรอรับเสด็จอยูท่ นี่ นั่  ระหว่างงานเลีย้ งรับรองอาหารกลางวัน  มีการดืม่ ถวายพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษและถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตลอดจน  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หลังอาหารกลางวันเสด็จไปที่เฉลียงกับเซอร์แฟรงค์เพื่อ   สนทนากันเรื่องงานที่เกี่ยวข้องกับเมืองมลายู ที่จะขอขยับเขตแดนที่ต่อกับแประ๕๕  ๕๕

เปรัก เป็นรัฐหนึง่ ของมลายูทางตอนเหนือขณะนัน้ เป็นอาณานิคมของอังกฤษ มีดนิ แดนต่อเนือ่ ง กับทางใต้ของเคดะห์ ซึง่ สมัยนัน้ ยังเป็นส่วนหนึง่ ของพระราชอาณาจักรสยาม

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”  129


ที่ระลึกเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปีแห่งการสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต : ค้นคว้าและเรียบเรียง

หมวดประวัติศาสตร์ ราคา ๒๕๐ บาท

ISBN 978-974-8459-01-1

cover Java3_Ok.indd 1

“รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”

อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต

อิม่ ทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต ผูค้ น้ คว้าเรียบเรียง “ตามรอย รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา” เป็นคนไทยที่สมรสกับศาสตราจารย์ ดร. โจโก้ ซูฮาร์โต ชาวอินโดนีเซีย จึงพำ�นักอยู่ที่เกาะชวามากว่า ๓๐ ปี ได้ศึกษาภาษาอินโดนีเซีย จนสามารถเรียบเรียงปทานุกรม ภาษาไทย-อินโดนีเซียและอินโดเซีย-ไทย ทำ�ให้กระทรวงวัฒนธรรม มอบโล่ป ระกาศเกีย รติ คุณผู้ ทำ� คุณประโยชน์ใ นการส่ งเสริ มความสั มพั นธ์ ระหว่ า ง ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ เนื่องใน การฉลองครบรอบ ๖๐ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ อิ่มทิพย์มีโอกาสสัมผัสวัฒนธรรมชวาด้วยตัวเองโดยตรง และสนใจศึกษา ตามรอยเสด็จประพาสชวาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นที่มา ของหนังสือเล่มนี้ นอกจากนั้นยังเคยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการวิจัยและเขียนภาคภาษาอังกฤษในชื่อเรื่อง “Journeys to Java by a Siamese King” ที่แพร่หลายทั้งในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย จาก “คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์”

ตามรอย “รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”

...เรียบเรียงใหม่โดยนำ�เสนอเนื้อหาในรูปแบบบันทึกความทรงจำ�โดยใช้วันเดือนปี ทางสุริยคติทั้งหมดแทนที่การลำ�ดับเวลาแบบจันทรคติที่ใช้ในหนังสือจดหมายเหตุ เสด็จประพาสเกาะชวาครั้งแรก ทำ�ให้สะดวกในการอ่าน นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ อิ่มทิพย์ยังได้แทรกรูปภาพใหม่จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย ที่ ไ ม่ เ คยเห็ น ในหนั ง สื อ จดหมายเหตุ ที่ ตี พิ ม พ์ โ ดยกรมศิ ล ปากร พร้ อ มทั้ ง ให้ คำ � อธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม ผู้ ที่ คุ้ น เคยกั บ หนั ง สื อ จดหมายเหตุ เ สด็ จ ประพาสชวาในรั ช กาล ที่ ๕ ทั้ง ๓ ครั้ง สมควรอ่านหนังสือเล่มนี้พราะจะได้ความรู้เพิ่มเติมจากทั้งรูปภาพ และคำ�อธิบาย... คำ�นิยม : ดร.หม่อมราชวงศ์รุจยา อาภากร

ตามรอย

สำ�นักพิมพ์ บัวสรวง

สำ�นักพิมพ์บัวสรวง

4/5/12 3:12 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.