ราคา ๑๙๐ บาท coverPISARN.indd 184
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง : เขียน
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง : เขียน
หมวดศาสนา ISBN 978-616-7767-87-1
พระไพศาล วิสาโล พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะอยู ่ ใน ทุกส่ ิงทุกอย่าง อยู่ ในชี วิตประจ�ำวัน ไม่ ใช่แต่ ในคัมภีร์ ทุกส่ ิงรอบตัว สอนธรรมะเรา อยู่ตลอดเวลา อยากน�ำเสนอธรรมะ ในมุมมองแบบนี้
๑๙๐.4/21/17 5:08 PM
ISBN 978-616-7767-87-1
หนังสือ สติสู่สมัย พระไพศาล วิสาโล ผู้เขียน วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
© สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จ�ำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๙๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและรูปเล่ม : บุญส่ง สามารถ ภาพปก : ประเวช ตันตราภิรมย์ พิสูจน์อักษร : จีรนันทน์ วีรวรรณ ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�ำ้ ) ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมี2ส่วนผสมของน�ำ้ มันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
จากส�ำนักพิมพ์
เดินสู้ทุกข์ ยิ้มได้แม้พา่ ยแพ้ ในเคราะห์มีโชค เพื่อนร่วมโลก ฯลฯ คือชื่อหนังสือรวมบทความของพระไพศาล วิสาโล ที่ส�ำนักพิมพ์ “สารคดี” เคยจัดพิมพ์มาแล้วหลายเล่ม และทุกเล่มได้รบั การตอบรับอย่างดี จากผู้สนใจใฝ่ “ธรรม” โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผลงานทีถ่ า่ ยทอดโดย “พระไพศาล วิสาโล” เป็น การน�ำหลักธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอธิบายสิ่งที่ผู้อ่านมัก ประสบในชีวติ ประจ�ำวัน ด้วยการยกตัวอย่างชีวติ ของบุคคลจริงๆ ความ ทุกข์ ความวุ่นวายสับสนในสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น มาเล่าเรียงด้วย ถ้อยค�ำภาษาที่น่าอ่านน่าติดตามราวกับการอ่านงานเขียนสารคดีดีๆ ชิ้น หนึ่ง แทนการสอนสั่งอย่างการบรรยายธรรมทั่วไป หากเปิดอ่านหนังสือโดยไม่รมู้ าก่อนว่าใครเขียนก็อาจคิดว่าเป็นผลงาน ของนักคิดหรือนักเขียนที่มิใช่พระภิกษุสงฆ์ ที่ส�ำคัญคือการชักชวนให้ผู้อ่านใคร่ครวญต่อปัญหาจากหลากแง่ หลายมุมมอง และค้นหาความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งที่สุดแล้วการจะ เข้าถึงความจริงนั้นก็คือความเข้าใจใน “ธรรม” 3 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
“พระไพศาล วิสาโล” คือใคร ท่านเดินทางบนเส้นทางธรรมมา อย่างไร อาจเป็ น ค� ำ ถามส� ำคั ญ ที่ เ ราควรสนใจในท่ า มกลางปั ญ หาความ เสื่อมโทรมของพุทธศาสนกิจในประเทศไทย ที่เต็มไปด้วยพุทธพาณิชย์ ล่อลวงผูค้ นด้วยความเชือ่ ความหลงเพือ่ หวังพ้นจากทุกข์ มุง่ ไขว่คว้าความ ส�ำเร็จความร�่ำรวยในชาตินี้และชาติหน้าผ่านการบริจาคทรัพย์สินให้ทาน มากกว่าการมุ่งปฏิบัติตามหลักค�ำสอนของพระศากยมุนี เพื่อการเปลี่ยน แปลงในใจตน ณ ปัจจุบันขณะ ไม่นับข่าวคราวมากมายของพระสงฆ์ที่ ปฏิบัติตนในทางเสื่อมเสีย สร้างความเสื่อมศรัทธาให้แก่พุทธศาสนิกชน สติสสู่ มัย พระไพศาล วิสาโล เล่มนีเ้ ขียนโดย วีระศักดิ ์ จันทร์สง่ แสง นักเขียนประจ�ำกองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ผูม้ งุ่ มัน่ กับการสร้างสรรค์ งานเขียนสารคดีเพื่อบอกเล่าชีวิตผู้คน ตั้งแต่สามัญชนคนธรรมดาจนถึง พระอริยสงฆ์เปี่ยมด้วยบารมีธรรมผู้ได้ล่วงลับไปแล้ว เรื่องราวในเล่มนี้ถ่ายทอดจากการที่ผู้เขียนได้ร่วมปฏิบัติเรียนรู้ โดยตรงกับพระไพศาล วิสาโล ร่วมเดินเท้าในขบวนธรรมยาตรา ผ่านการ อ่านศึกษาบทความมากมาย และพูดคุยกับบุคคลต่างๆ ที่แวดล้อม เพื่อ ถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้รู้จักกับวิธีคิด วิธีถ่ายทอดธรรม และตัวตนของพระ สงฆ์ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะพระนักคิดนักเขียน และได้รับความศรัทธาใน ฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสังคมสมัยที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและ ความขัดแย้งทางความคิด ในบทความงานเขียนของพระไพศาล วิสาโล ท่านมักยกตัวอย่างชีวติ 4
ของผู้คนมากมายมาให้ผู้อ่านเรียนรู้ ส�ำหรับ สติสู่สมัย พระไพศาล วิสาโล วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง น�ำ เรื่องราวชีวิตของพระไพศาล วิสาโล เองมาให้เราได้ศึกษาเข้าถึง “ธรรม” แต่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ คงอยู่ที่ “สติ” เพียงค�ำเดียว
5 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ส�ำนักพิมพ์สารคดี
จากผู้เขียน
สติกับ (ตัว) หนังสือ ตามประวัติว่าหลังสังคายนาครั้งแรกเกือบ ๕๐๐ ปี จึงมีพระไตรปิฎก ฉบับที่เป็นตัวหนังสือ ก่อนนั้นการบันทึกพุทธวจนะใช้การจ�ำและบอกเล่า ด้วยปากต่อกันมา จนในการสังคายนาครั้งหลังๆ ต่อมา ด้วยความหวั่นเกรงว่าสติ สมาธิปัญญาของอนุชนที่ถูกกัดกร่อนด้วยยุคสมัยจะท� ำให้การทรงจ� ำ พระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงให้มีการจารเนื้อหาพระไตรปิฎกลง ใบลานมาแต่นั้น และต่อมาค�ำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ได้รับการ บันทึกในรูปเล่มหนังสือ เป็นคัมภีร์หลักแห่งพระพุทธศาสนาที่ทุกคน สามารถเปิดอ่านหรือค้นหาข้อธรรมเรื่องใดได้ทุกเวลา 6
สติหรือความรูส้ กึ ตัว เป็นอีกสิง่ ทีน่ บั วันจะตกหล่นเลือนห่างออกไป จากวิถีชีวิตของผู้คนแห่งยุคสมัย แต่พระไพศาล วิสาโล พยายามจะหยิบ น�ำกลับมาสู่สังคม ด้วยวิธีฝึกปฏิบัติการเจริญสติ สอนผ่านการบรรยาย ธรรม และผ่านงานเขียนทั้งในสื่อออนไลน์และรูปเล่มหนังสือ จึงตามความจริงงานเขียนเล่าเรื่องราวและค�ำสอนของพระไพศาล อย่าง สติสู่สมัย พระไพศาล วิสาโล อาจไม่มีความจ�ำเป็นอย่างใดเลย เว้นแต่กับผู้ที่อยากได้รู้ชาติภูมิความเป็นมา กิจกรรมสังคมที่ท่านท� ำมา ตัง้ แต่สมัยเป็นนักเรียนจนถึงยุคสมัยทีบ่ า้ นเมืองตกอยูใ่ นยุคมืดทางการเมือง จุดเปลี่ยนที่ท�ำให้ท่านเดินเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เส้นทางการฝึกตน บนหนทางธรรม ฯลฯ เรือ่ งเหล่านีอ้ าจหาอ่านได้ยากสักหน่อยในงานเขียน ของท่าน เนื่องด้วยท่านไม่ได้พูดถึงตนเองบ่อยนัก กับเนื้อหาอีกส่วนเป็นแก่นธรรมค�ำสอนหลักของท่านที่สรรมาพอ สังเขป ซึง่ ผูใ้ ฝ่ธรรมสามารถเข้าถึงหัวใจค�ำสอนแบบละเอียดได้จากหนังสือ ธรรมะของท่านตามหัวข้อเรือ่ งทีส่ นใจ ซึง่ ปัจจุบนั มีการจัดพิมพ์ออกมาแล้ว มากกว่า ๒๐๐ เล่ม แต่ถึงที่สุดแล้วก็อย่างที่ท่านเขียนไว้ในค�ำน�ำหนังสือเล่มหนึ่งว่า ข้อธรรมความรู้ทั้งหลายจะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้อ่านได้น� ำไป ทดลองปฏิบัติ เพราะถึงตอนนั้นธรรมะหรือความรู้ที่เกิดขึ้นจะกลายเป็น ของตนเองอย่างแท้จริง หาไม่แล้วสิ่งที่ได้อ่านได้ฟังมาก็ยังเป็นความรู้ “มือสอง” อยู่นั่นเอง 7 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
เฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องสติหรือความรู้สึกตัวนั้น ท่านว่าต้องฝึกซ�้ำๆ อยู่เสมอ ให้อยู่กับอิริยาบถในชีวิตประจ�ำวัน โดยมีใจอันผ่องแผ้วไม่กระเพือ่ มไหวต่อสิง่ ทีม่ ากระทบเป็นปลายทาง วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง ขึ้น ๑๕ ค�่ำ เดือน ๕ พ.ศ. ๒๕๖๐
8
คุณความดีใดในหนังสือเล่มนี้หากพึงมี ขออุทิศให้เป็นกุศลหนุนน�ำแม่เฒ่าแดง คงหวัง สู่ภพภูมิที่ดีนิรันดร์เทอญ
9 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
สารบัญ
๒๐ สติส่ ูสมัย ๒๒ สามทศวรรษ พระไพศาล วิสาโล ๒๕ มี ใจเป็นมิตร มิจิตเป็นเพื่อน ๓๒ รุ่งอรุณที่สุคะโต ๓๖ ตื่นรู้ที่ภูหลง ๕๖ พุทธศาสนากับคุณค่าต่อชีวิต ๗๑ แสวงหารากฐานของชีวิต ในโลกแห่งกิจกรรม ๗๕ เดินสู้ ทุกข์ ๘๘ ประตูส่ ูสภาวะใหม่ ๙๒ ส่องสว่างทางไท 10
๑๒๐ วรรคธรรมวรรคทอง ๑๓๖ ปุจฉา-วิสัชนา (ภาคพิเศษ) ๑๔๖ นิทานพระไพศาล ๑๖๒ กราบพระ
๙๖ บอกต่อ ๑๐๑ ๖๐ ปี พระไพศาล วิสาโล ๑๑๒ ในร่ม ผ้า (เหลือง) 11
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ทุกรอบปีในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม พุทธบริษัทกลุ่มหนึ่งจะมารวมตัวกันที่ลุ่มน�ำ้ ล�ำปะทาว เพื่อภารกิจธรรมยาตรา--เดินเท้าเพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อปฏิบัติธรรม
12
13 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
คนเราหนีเวทนาไม่พ้น เจอแล้วเจออีก อย่างน้อยก็ ตอนใกล้ตาย มาฝึกจิตใจว่า ท�ำอย่างไรกายทุกข์ แต่ ใจไม่ทุกข์ ก็จะพบว่า ความสุขหาได้ง่าย อยู่ ที่ ใจเรา
ห้องท�ำงานบนกุฏิที่วัดป่ามหาวัน แน่นขนัดด้วยหนังสือส�ำหรับอ่านและค้นคว้า ขณะที่ใต้ถุนกุฏิเต็มด้วยหนังสือผลงานเขียนของท่าน14 ที่เตรียมไว้แจกญาติโยม
15 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ไ
ด้ฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล มาแล้ว แต่ยังรู้สึกล�ำบากที่จะเขียนอะไรออกไป ด้วยยังไม่ได้รู้เห็นอะไรนักในทางธรรม แต่หาก รอให้ท�ำได้ถึงปลายทางก็ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้เล่า แต่ด้วยการได้เริ่มฝึกปฏิบัติเช่นกันที่ท�ำให้รู้ว่ามรรคผล บนหนทางธรรมเป็นเรื่องยาวไกล ซึ่งต้องค่อยเป็นค่อยท�ำไปและไม่มีทางลัด และเช่นเดียวกับหน้าที่การงานอื่น การแสวงหาทางธรรม ก็ต้องการแรงบันดาลใจและปัจจัยหนุนส่ง จึงหวังว่าการบอก เล่าและแบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านพบ กับเรื่องราวของสมณะ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่พากเพียรท�ำมาก่อน จะเป็นแบบอย่าง และเป็นแสงส่องน�ำทางให้ผู้ ใฝ่ ในธรรมได้บ้าง ส่วนว่าใครจะท�ำได้มากน้อยและต้องใช้เวลายาวนาน เท่าใด ก็สุดแท้แต่บุญบารมีของแต่ละคน แต่จะอย่างไรสิ่งที่ได้พากเพียรปฏิบัติย่อมจักไม่สูญเปล่า ดังพุทธพจน์ที่กล่าวเปรียบถึงการฝึกฝนจิตใจว่าเสมือน ด้ามจอบด้ามขวาน จับใช้งานไปนาน ๆ ที่เคยสากกร้าน ก็ย่อมเรียบลื่นขึ้นได้ 21 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
สามทศวรรษ พระไพศาล วิสาโล พรรษา ๓๐ กว่าแล้ว แต่พระไพศาล วิสาโล ยังบอกใครๆ เสมอว่าท่าน ยังเป็นปุถุชน และใครต่อใครก็ยังเรียกขานท่านในนาม พระ ไม่มีสมณศักดิ์ใด น�ำหน้าชื่อ แม้ว่าตามความเป็นจริงท่านเป็นพระอธิการ ซึ่งได้มาพร้อม ต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโตเมือ่ ร่วม ๒๐ ปีมาแล้ว แต่ทา่ นยังสะดวกที่ จะใช้เพียงพระน�ำหน้าชื่อ และมุ่งไปที่การสร้างความงอกงามด้านศาสนธรรมในใจตนและผู้คนในสังคม มากกว่าการไต่เต้าหาความก้าวหน้าด้าน สมณศักดิ์ 22
จากพื้นฐานวัยเด็กที่เรียนเก่ง สนใจกิจกรรมสังคมมาแต่เป็นวัยรุ่น ร่วมชะตากรรมในเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในวัยหนุ่ม ได้ร่วมยุค คลุกคลีกับนักคิดนักทฤษฎี นักสันติวิธี กวี นักศาสนา นักพัฒนา นักการ ศึกษา ครูบาอาจารย์ ขลุกอยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง ที่ล่อแหลมสุ่มเสี่ยงในยุคที่การปะทะทางอุดมการณ์รุนแรงสุดขั้ว ทั้งหมด นี้คงมีส่วนสร้างและหล่อหลอมให้เกิดภิกษุที่มีคุณลักษณะเฉพาะรูปหนึ่ง ที่จริงจังกับเรื่องสังคม ตระหนักในความสงบเย็นและเป็นประโยชน์ - ทั้ง ประโยชน์ตนและประโยชน์ทา่ น พระนักคิดนักปฏิบตั ทิ มี่ งุ่ เรือ่ งการน�ำหลัก ศาสนธรรมกลับสู่วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันอย่างสมสมัยและก่อประโยชน์ เกื้อกูล พร้อมกับเป็นนักภาวนา เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามแนวทาง การเจริญสติให้รู้สึกอยู่กับปัจจุบันขณะ พระสงฆ์ธรรมดาที่อาจหาได้ยากในยุคสมัย พระเมืองที่อยู่ป่า พระ ปัญญาชนที่ใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้เดินตามค�ำสอนอันแสนสมถะ และเรียบง่ายของหลวงพ่อค�ำเขียน สุวณ.โณ พระนักปฏิบัติกรรมฐาน นัก อนุรักษ์ และนักพัฒนาแห่งชัยภูมิ ผู้เป็นพระอาจารย์ และตลอด ๓๐ กว่าพรรษาของท่านก็ด�ำเนินมาตามแนวทางดังว่า นั้น หนทางแห่งสติและน�ำการปฏิบัติเจริญสติภาวนากลับสู่ยุคสมัย พระไพศาล วิสาโล ไม่ใช่ภิกษุที่พบตัวได้ง่าย ไม่ใช่ด้วยความเจ้ายศ เจ้าอย่างหรือหวงตัว-อย่างมากพิธกี าร ตรงกันข้ามท่านด�ำรงวิถสี มณะอย่าง สมถะสันโดษที่สุด ไม่มียศ ไม่มีรถ ไม่มีบริวารห้อมล้อม พืน้ เพท่านเป็นคนเมืองและยังคงเชือ่ มโยงกับคนในเมืองผ่านค�ำสอน ทีส่ ง่ อิทธิพลต่อวิถธี รรมและวิถชี วี ติ ของชาวเมือง แต่เวลาส่วนใหญ่ของท่าน 23 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
รุ่งอรุณที่สุคะโต มองในแผนที ่ แถบตอนเหนือด้านตะวันตกของจังหวัดชัยภูมจิ ะเห็นภูเขา รูปเกือกม้าเป็นแนวโค้งกินคลุมพื้นที่อ�ำเภอแก้งคร้อ อ�ำเภอภูเขียว อ�ำเภอ เกษตรสมบูรณ์ และอ�ำเภอเมืองชัยภูมิ อันประกอบขึ้นจากภูหลายลูกซึ่ง ชาวบ้านเรียกรวมๆ ว่าภูโค้ง หรือภูแลนคา โดยมีแม่น�้ำล�ำปะทาวไหลอยู่ กลางหุบ ผ่านช่องเขาน�้ำตกตาดโตนลงไปสู่ที่ราบของเมืองชัยภูมิ ถ้าแผนที่นั้นแสดงภาพถ่ายดาวเทียมจากทางอากาศด้วยก็จะเห็น เขื่อนล�ำปะทาวบนและล่างเป็นที่หมายตาอยู่แถบตอนกลาง ล้อมด้วยทุ่ง 32
ไร่สีแห้งๆ กับหลังคาบ้านเรือนของแต่ละชุมชนกระจุกกันอยู่เป็นกลุ่ม เห็นสีเขียวของผืนป่าสองสามหย่อมทางตอนบน นั่นคือผืนป่า ๕๐๐ ไร่ ของวัดป่าสุคะโต และถัดขึ้นคือป่าใหญ่ ๕,๐๐๐ ไร่ของภูหลง วัดป่าสุคะโตที่พระไพศาลมาเห็นในเดือนกรกฎาคม ๒๕๒๖ นั้นมี “ศาลาไก่” หลังเดียว เป็นทั้งที่ท�ำวัตรสวดมนต์และหอฉัน บางครั้งมีไก่ป่า ออกมากินอาหารด้วย เป็นที่มาของชื่อศาลาไก่ วัดตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ โดยหลวงพ่อบุญธรรม อุตฺตมธมฺโม เดิมชื่อวัดป่าเอราวัณ อยู่บนพื้นที่ บริจาคถวายของชาวบ้านใหม่ไทยเจริญ ต่อมาหลวงพ่อค�ำเขียนได้ขึ้นมา อยูก่ บั หลวงพ่อบุญธรรม แต่อยูไ่ ด้ไม่นานชาวบ้านท่ามะไฟหวานก็มานิมนต์ หลวงพ่อค�ำเขียนไปเป็นเจ้าอาวาส บ้านท่ามะไฟหวาน อ�ำเภอแก้งคร้อ สมัยก่อนได้ชื่อว่าเป็นดงเลือด ที่คนหนีคุกตะรางมาอยู่กันด้วยกฎป่าไม่มี ขือ่ มีแป เต็มไปด้วยอบายมุขทัง้ เหล้ายาและการพนัน ต่อมาหลวงพ่อค�ำเขียน เข้ามาท�ำกิจกรรมช่วยเหลือชาวบ้าน จัดตั้งศูนย์เด็ก-ซึ่งถือเป็นแห่งแรกใน จังหวัดชัยภูม ิ จัดระเบียบวางผังหมูบ่ า้ นจนชุมชนบ้านท่ามะไฟหวานมีแนว ถนนตัดกันเป็นตาหมากรุกราวผังเมืองสมัยใหม่ เป็นหลักให้ชาวบ้านในการ ปกป้องป่าจากการท�ำไม้ และหลวงพ่อก็ใช้ธรรมชาตินั้นเป็นที่สอนปฏิบัติ ธรรมกรรมฐาน ซึ่งในตอนหลังมีภิกษุจากที่ต่างๆ จาริกมาร่วมปฏิบัติด้วย ท่านจึงเรียกชื่อวัดใหม่ว่า วัดป่าสุคะโต ในความหมายว่า มาดี อยู่ดี ไปดี เป็นผู้ไปดีจนถึงนิพพาน ตอนพระไพศาลมาจ�ำพรรษาแรกยังไม่มีกุฏิ พระพักอยู่ร่วมกับโยม ชายโดยแบ่งส่วนกัน อาหารการขบฉันก็ตามที่ชาวบ้านกินอยู่ ข้าวเหนียว จิ้มแจ่ว ปลานึ่ง “ข้าวเหนียวพอเย็นจะแข็ง เคี้ยวจนเมื่อยกราม วันไหน 33 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
พุทธศาสนา กับคุณค่าต่อชีวิต ภาคแรก ดาษดาวทอแสงจ้าจนฟ้าสว่างขาว ราวโดมแก้วครอบอยูเ่ หนือทิวป่า และหลังคาเต็นท์ เป็นของขวัญอย่างน้อยทีส่ ดุ ของการได้ตนื่ เช้าก่อนรุง่ สาง ในที่ไม่มีแสงไฟ-สิ่งธรรมดาที่หาได้ยากยิ่งแล้วในยุคนี้ หลังโดนปลวกรุกเต็นท์ตงั้ แต่คนื แรก คืนต่อมาจึงตัดสินใจย้ายเต็นท์ ขึ้นไปอยู่บนพลาญหิน และตื่นนอนแต่ตี ๔ เมื่อคุ้นที่มากขึ้นความรู้สึก หวาดหวัน่ เหว่วา้ คลีค่ ลาย ขณะยืนมองหมูด่ าวบนฟ้าผ่านช่องว่างระหว่าง พุ่มไม้ หูพลันได้ยินเสียงน�้ำตกไหลซู่แว่วมาจากเชิงเขาต้นห้วยซับไทรงาม 56
ซึ่งก่อนนี้มันก็ดังอยู่ตลอดเวลา แต่เราเพิ่งได้ฟังเอาตอนก่อนรุ่งสางวันนี้ บางทีกม็ เี สียงแปลกๆ ของสัตว์ไพรทีม่ องไม่เห็นตัว อาจเป็นพวกกบ เขียด ปาด กับเสียงนกเมื่อใกล้รุ่ง ข้าพเจ้าลุกมาเดินจงกรมคนเดียวก่อนถึงเวลาท�ำวัตรเช้า ผืนป่านอก รัศมีแสงเทียนที่จุดวางไว้ปลายทางจงกรมทั้งสองด้านยังห่อด้วยความมืด อันสงัด เป็นความสงบอย่างน่าหลงติดสุข เป็นห้วงเวลาที่ดีจนรู้สึกขึ้นมา เป็นครั้งแรกในชีวิตว่าถ้าจะให้บวชก็บวชได้เลย ด้วยวัยเยาว์ที่โตมาในชุมชนห่างไกลวัดวา ในครอบครัวก็ไม่เคยเอ่ย ว่าต้องอาศัยเกาะชายผ้าเหลือง เมือ่ ได้ยนิ เพือ่ นทีผ่ า่ นเพศบรรพชิตมาแล้ว บอกว่าบวชแล้วดี ข้าพเจ้ารับฟังเพียงผ่านๆ ไม่เห็นเป็นเรื่องสลักส�ำคัญ หรือปล่อยผ่านไม่ได้ กับความคุน้ เคยมาแต่เด็กว่าจะตกยากล�ำบากอย่างไร ก็ต้องมีกินอิ่มท้องครบสามมื้อ เมื่อนึกไปถึงว่าหากมื้ออาหารเย็นต้องหาย ไปก็เป็นความกังวลที่ใจไม่อยากรับ แต่ปา่ อันสัปปายะกับการได้ลงมือปฏิบตั ภิ าวนาเจริญสติ ท�ำให้มนั่ ใจ และตัดสินใจได้ อาจเป็นท�ำนองเดียวกับที่พระไพศาลเล่าว่าท่านไปตัดสินใจได้ที่ เกาะลันตา ช่วงนัน้ ท่านท�ำงานในกลุม่ ประสานงานศาสนาเพือ่ สังคม (กศส.) มา ๗ ปีแล้ว หลังโดนกวาดจับพร้อมเพื่อนนักศึกษาร่วม ๓,๐๐๐ คน ในการ ล้อมปราบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ พ่อแม่ มาประกันตัวได้กลับไปเรียนต่อจนจบ ช่วงเป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ ท่านเป็นสมาชิกชมรมพุทธศาสตร์ 57 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ปุ จ ฉา
“ปุจฉา-วิสัชนา” คอลัมน์ตอบปัญหาธรรมะ โดยพระไพศาล วิสาโล ผ่านเว็บไซต์ www.visalo.org ติดอันดับคอลัมน์ยอดนิยมในโลกออนไลน์ จนบางช่วง ถึงกับมีการน�ำมาเผยแพร่ต่อในหน้าธรรมะของหนังสือพิมพ์รายวัน ด้วยค�ำตอบอันกระชับสั้น คมคาย เข้าใจชีวิต ลึกซึ้งในแก่นธรรม น�ำมาใช้ได้จริง และพุ่งตรงสู่การไขข้อกังขาติดค้างใจของบรรดาสาธุชนที่ถามปัญหาธรรมกันมา ส�ำหรับปุจฉา-วิสัชนาภาคพิเศษนี้ เป็นการเจาะจงค�ำถามที่หวังว่าจะเป็นการถามแทนใจ คนอ่าน เป็นข้อธรรมที่หมายใจว่าเป็นเรื่องคาใจใคร่รู้ของศาสนิกชนกลุ่มใหญ่ หรือหากว่าไม่ตรงใจก็ให้ถือเสียว่าเป็นเรื่องที่รู้ไว้ใช่ว่า...
ปุจฉา : ชีวิตประจ�ำวันท่านอยู่กับโลกออนไลน์มากน้อยเท่าใด วิสัชนา : ถ้าอยู่วัดวันหนึ่งออนไลน์ไม่เกิน ๑ ชั่วโมง เพราะมีโควตา
ไม่เกิน ๔๐ เมก แต่ถ้าอยู่นอกวัดหากมีไวไฟก็ชั่วโมงครึ่งเป็นอย่างมาก ปุจฉา : ท่านเชื่อเรื่องภพชาติตายแล้วเกิดใหม่หรือไม่ จากประสบการณ์ท่านพบเห็น เรื่องอะไรพวกนี้บ้างไหม หรือกระทั่งจดจ�ำอะไรได้อย่างการระลึกชาติของพระลามะทิเบต วิสัชนา : อาตมาไม่เคยมีประสบการณ์ประเภทระลึกชาติได้ อาตมา
เชือ่ แต่ไม่คดิ ว่าเป็นวิญญาณเดิมไปเกิดในร่างใหม่ การคิดเช่นนัน้ เป็นมิจฉา- ทิฏฐิอย่างหนึง่ คือเห็นว่ายังมีตวั ตนทีเ่ ทีย่ งแท้ ซึง่ ไม่ใช่ความเห็นแบบพุทธ 136
วิ ส ช ั นา (ภาคพิเศษ)
เรื่องนี้เคยตอบแล้วแก่คนที่มาถาม การเกิดใหม่นั้นไม่ได้แปลว่ามีกรรมที่ต้องชดใช้เสมอไป ถ้าจะพูดให้ ถูกก็คอื เกิดใหม่เพราะมีกรรมเป็นปัจจัยหนุนส่ง ไม่วา่ จะเป็นกรรมชัว่ หรือ กรรมดีก็ตาม กล่าวคือกรรมดีก็หนุนส่งให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีและเสวยผล แห่งกรรมดีนั้น (เช่น เทวดา หรือพรหม) ตราบใดที่ยังมีอวิชชา คือความ หลงว่ามีตัวกูของกู จะท�ำอะไรก็เป็น “กรรม” เสมอ ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม คือยังมีความส�ำคัญผิดว่า “กูทำ� ดี” หรือ “กูท�ำชั่ว” ต่อเมื่ออวิชชานั้นดับไป เกิดวิชชาหรือปัญญาว่า ตัวกูของกูนั้นไม่มีจริง ไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นเป็น ตัวกูของกูได้เลย ถึงตอนนั้นทุกอย่างที่ท�ำก็ไม่ใช่กรรมอีกต่อไป เป็นแค่ 137 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
นิ พระ ทาน
สไตล์การสอนธรรมของ พระไพศาล วิสาโล ไม่ว่าการบรรยายหรือการเขียน มักมีการหยิบยกเรื่องราว มาเป็นอุปมาเทียบเคียง ท่านว่า “เพราะชอบเรื่องเล่า และคิดว่า คนฟังก็คงชอบ ไม่อยากท�ำให้คนรู้สึก ว่าธรรมะเป็นเรื่องน่าเบื่อและไกลตัว บางครั้งคนฟังจ�ำเรื่องเล่าได้ มากกว่าเนื้อหาที่พูดเสียอีก” ท่านสนุกกับการประยุกต์เชื่อมโยง ให้คนเห็นว่าธรรมะเป็นเรื่องอยู่ใน ชีวิตจริงประจ�ำวัน ดังบางเรื่องที่ขอยกมาเล่าต่อ ในที่นี้
146
ไพศาล 147 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ลุงหมาน
ลุงหมานบ้านอยู่นอกเมืองแถวควนกาหลง จังหวัดสตูล แกเป็นคน มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือผู้คน และสมถะสันโดษ อยู่คนเดียว ค่อนข้างยากจน แต่ก็มีความสุข วันหนึ่งแกฝันถึงต้นไม้ใหญ่เป็นต้นไทร ในฝันบอกว่าอยู่ในอ�ำเภอ แก้งคร้อ และในฝันว่าใต้ต้นไม้มีขุมทรัพย์ แกก็ไม่เอะใจอะไร แต่วันรุ่งขึ้น ก็ฝันอีก และฝันต่อมาอีก ๓-๔ วัน แกก็ชักเอะใจ จริงๆ แกไม่ใช่คนโลภ แกก็สงสัยว่าเทวดาคงจะบอกอะไรแกสักอย่าง เลยตัดสินใจออกเดินทาง การเดินทางค่อนข้างทุลักทุเลก็เพราะว่าบ้านแกอยู่ไกล ต้องเข้า อ�ำเภอ จากอ�ำเภอต้องเข้าจังหวัด นั่งรถมาต่อรถไฟมากรุงเทพฯ และนั่ง รถ บขส. มาชัยภูมิ แกไม่รู้ว่ามีรถตรงมาแก้งคร้อได้เลย จึงต้องต่อจาก ชัยภูมิเข้ามาแก้งคร้ออีกทอดหนึ่ง เดินไปสักพักตามที่เห็นในฝันก็พบว่าไปเจอต้นไทรจริงๆ อยู่ใกล้ๆ โรงเจ มันเหมือนในฝันทุกอย่าง ยกเว้นอย่างเดียวคือมียามนั่งอยู่ใกล้ๆ เป็นยามโรงพยาบาล เดิมทีแกเตรียมเสียมจะไปขุดว่าตรงใต้ตน้ ไม้มสี มบัตเิ หมือนทีเ่ ห็นใน ฝันหรือเปล่า แต่แกก็ไม่สบโอกาสสักทีเพราะยามก็เดินป้วนเปี้ยนอยู่แถว นั้น แกก็รอจนเย็น ค�ำ่ ก็เลยไปพักที่โรงพยาบาล ตอนเช้ามาใหม่ก็ยังเห็น ยามคนเดิม ยามคนนี้อยู่แถวนั้นทั้งวัน ระหว่างทีแ่ กตัดสินใจจะกลับดีหรือเปล่า ยามก็มาเห็นแก เห็นอยู ่ ๒ วันแล้ว แปลกใจก็เลยมาถามว่าลุงมาท�ำอะไร แกก็เล่าความจริงให้ฟังว่า 148
แกมาจากภาคใต้ ฝันว่าได้เจอต้นไทรนี้แหละ และมันมีทรัพย์สมบัติฝัง ดินอยู่ ยามก็บอกว่า โอ๊ย...ลุงไปเชื่ออะไรความฝัน ผมก็ฝันเหมือนกันนะ หลายวันก่อนผมฝันว่าที่จังหวัดสตูลมีชายแก่คนหนึ่งชื่อลุงหมาน มีสมบัติ ฝังไว้ในบ้านเยอะแยะ ถ้าผมเชื่อความฝันผมไม่ต้องถ่อไปถึงโน่นเลยเหรอ สตูลมันไกลมากเลยใช่ไหมลุง ลุงหมานฟังก็เอะใจ ยามรู้ชื่อแก และแกก็ไม่ได้บอกว่าอยู่สตูล เอ๊ะ ดูมันพ้องกันเหลือเกิน แกตัดสินใจกลับบ้าน พอถึงบ้านก็เริ่มขุดหน้าบ้าน ปรากฏว่ามีขุม ทรัพย์ฝังอยู่ใต้ดินเต็มไปหมดเลย แกอุตส่าห์ไปหาสมบัติถึงแก้งคร้อ แต่ที่จริงสมบัติมันอยู่ใกล้แกนิด เดียว อยู่บ้านแก มันอยู่กับแกมานานตั้งแต่เกิดแกไม่เคยรู้ (นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า) : คนส่วนใหญ่ไม่ได้เฉลียวใจว่ามีของดีมีค่า
เหมือนทรัพย์อนั ประเสริฐอยูก่ บั ตัว ความสุข ความสงบ หรือพุทธศาสนา เรียกว่าอริยทรัพย์ มันอยูก่ บั เราตลอดเวลา แต่ผคู้ นก็ไปแสวงหาทรัพย์สมบัติ กันข้างนอก เดินทางไกลแสนไกลเพียงเพื่อจะพบว่าของดีของวิเศษอยู่กับ ตัวเองแล้ว ธรรมบรรยายที่ภูหลง ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
149 วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
ราคา ๑๙๐ บาท coverPISARN.indd 184
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง : เขียน
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง : เขียน
หมวดศาสนา ISBN 978-616-7767-87-1
พระไพศาล วิสาโล พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะอยู ่ ใน ทุกส่ ิงทุกอย่าง อยู่ ในชี วิตประจ�ำวัน ไม่ ใช่แต่ ในคัมภีร์ ทุกส่ ิงรอบตัว สอนธรรมะเรา อยู่ตลอดเวลา อยากน�ำเสนอธรรมะ ในมุมมองแบบนี้
๑๙๐.4/21/17 5:08 PM