ชุดถาม-ตอบ
เสริมความรูสาระประวัติศาสตร
ฉบับ นักเรียน นักศึกษา
ชุ ด ถาม-ตอบ
เ ส ริ ม ค ว า ม รู ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร
ชุ ด ถ า ม - ต อ บ
เ ส ริ ม ค ว า ม รู ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ส มั ย
สุโขทัย
จารึกพอขุนรามคําแหงและจารึกวัดศรีชุมมีความสําคัญตอประวัติศาสตร สมัยสุโขทัยอยางไร ขอมสบาดโขลญลําพงเปนใคร เหตุใดพอขุนผาเมืองไมทรงครองเมืองสุโขทัยเอง ทั้ง ๆ ที่เปนผูยึดเมืองได และพระองค ยังเปนโอรสของพอขุนศรีนาวนําถม ซึ่งครองเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยมากอนดวย พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเปนเจา เปนใคร แควนสุโขทัยมีรูปแบบการปกครองแบบใด ไพรในสุโขทัยมีกี่ประเภท ชาวเมืองสุโขทัยแกปญหาเรื่องนํ้าอยางไร ชาวสุโขทัยรูจักการทําสังคโลกตั้งแตเมื่อไร สมัยสุโขทัยนับถือศาสนาอะไรบาง แควนสุโขทัยเสื่อมอํานาจลงอยางไร
ผูเขียน
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร บรรณาธิการวิชาการ
ดร. ธิดา สาระยา
ราคา ๒๔๐ บาท
ISBN 978-974-484-349-4
๒๔๐.-
เรียนรูจากหลักฐานและการวิเคราะห ของนักประวัติศาสตร เขาใจพัฒนาการและความเปลี่ยน แปลงสมัยสุโขทัย ความสัมพันธทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม พรอมภาพหลักฐานสําคัญกวารอยภาพ
ชุดถาม-ตอบ เสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์ ฉบับนักเรียน นักศึกษา หนังสือ ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ผู้เขียน กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร บรรณาธิการวิชาการ ดร. ธิดา สาระยา © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ จำ�นวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๔๐ บาท ข้อมูลบรรณานุกรม กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร. ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย.--กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๕๔. ๑๖๔ หน้า : ภาพประกอบ. ๑. ไทย--ประวัติศาสตร์--กรุงสุโขทัย, ๑๘๐๐-๑๙๐๐. ๒. ไทย--ประวัติศาสตร์--ทวารวดี. ๙๕๙.๓๐๒๒ ISBN 978-974-484-349-4
คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการผู้ช่วย : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ออกแบบปกและรูปเล่ม : วันทนี เจริญวานิช พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ สำ�นักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖
ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ
2
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
สารบัญ บทนำ� ๑๕
ภาค ๑
การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ๑๙ บทที่ ๑ หลักฐานทางลายลักษณ์อักษร ๒๑ บทที่ ๒ หลักฐานทางโบราณวัตถุ โบราณสถาน ๓๓ บทที่ ๓ หลักฐานก่อนสมัยสุโขทัย ๓๘
ภาค ๒
การเมืองการปกครอง ๔๕ บทที่ ๔ แรกเริ่มสุโขทัย ๔๗ บทที่ ๕ ราชวงศ์พระร่วง ๕๘ บทที่ ๖ ราชวงศ์ผาเมือง ๖๗ บทที่ ๗ อาณาเขตและการปกครอง ๗๒
ภาค ๓
สังคมและเศรษฐกิจ ๘๑ บทที่ ๘ กลุ่มคนในสังคม ๘๓ บทที่ ๙ การเกษตรกรรม ๘๖ บทที่ ๑๐ การค้าและสังคโลก ๙๓
ภาค ๔
ศาสนาและความเชื่อ ๑๐๗ บทที่ ๑๑ การนับถือผี พุทธ พราหมณ์ ๑๐๙ บทที่ ๑๒ การรับพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกา ๑๑๔ บทที่ ๑๓ กษัตริย์สุโขทัยกับพระราชกรณียกิจด้านศาสนา ๑๒๒
ภาค ๕
การเสื่อมอำ�นาจของแคว้นสุโขทัย ๑๒๗ บทที่ ๑๔ การเสื่อมอำ�นาจของแคว้นสุโขทัย ๑๒๙
ภาค ๖
มรดกวัฒนธรรมสุโขทัย ๑๓๕ บทที่ ๑๕ ไตรภูมิกถา ๑๓๗ บทที่ ๑๖ พระพุทธรูปและเจดีย์สุโขทัย ๑๔๓ บทที่ ๑๗ ประเพณี ๑๕๑ บทที่ ๑๘ อักษรไทย ๑๕๕
ภาคผนวก
ลำ�ดับเหตุการณ์สำ�คัญในสมัยสุโขทัย ๑๕๙ เอกสารประกอบการเขียน ๑๖๐ ดัชนี ๑๖๒ กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
3
จากสำ�นักพิมพ์ ในท่ามกลางความวิตกกังวลว่าทุกวันนี้นักเรียนมีชั่วโมงเรียนวิชาประวัติศาสตร์น้อยเกินไป หรือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ให้ความสำ�คัญกับวิชานี้มากเพียงพอ จนคนไทย ขาดความเข้าใจในความเป็นมาของชาติ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากจะหา นักเรียนที่ชอบวิชาประวัติศาสตร์ ก็คงพบว่ามีน้อยเต็มที การจัดการเรียนการสอนวิชา ประวัติศาสตร์ให้น่าสนใจจึงอาจเป็นประเด็นสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำ�นวนชั่วโมงเรียน ที่เหมาะสม หนังสือชุด ถาม-ตอบ เสริมความรู้สาระประวัติศาสตร์ ฉบับนักเรียน นักศึกษา เป็น ความพยายามของสำ�นักพิมพ์สารคดีในการนำ�เสนอเนื้อหาสาระวิชาประวัติศาสตร์ในอีก แนวทางหนึ่ง คือ การตั้งคำ�ถาม และการค้นหาคำ�ตอบ คำ�ถาม ทำ�หน้าทีเ่ ปิดประเด็นเข้าสูเ่ นือ้ หา และกระตุน้ ความสงสัยใคร่รใู้ ห้เกิดขึน้ อย่าง กว้างขวาง คำ�ตอบ หนังสือชุดนี้มิได้สรุปคำ�ตอบแบบสำ�เร็จรูป แต่พยายามชี้ให้เห็นถึงที่มาของ หลักฐาน และการตีความของนักประวัตศิ าสตร์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ สำ�หรับ ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ซึ่งตลอดเวลาเกือบ ๑ ศตวรรษที่ผ่านมา ได้รับการปลูกฝังด้วย แนวคิดของนักประวัติศาสตร์ในอดีตชุดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ปรากฏคำ�อธิบายพัฒนาการของ สังคมสมัยสุโขทัยแตกต่างไปอีกมากจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน ความน่าสนใจของวิชาประวัตศิ าสตร์จงึ อยูท่ กี่ ารไม่ยดึ ติดกับความรูท้ เี่ คยเชือ่ ว่าถูกต้อง ยิ่งมิใช่การท่องจำ�ตัวเลขปี พ.ศ. หรือลำ�ดับชื่อบุคคลสำ�คัญ หากแต่เป็นความพยายาม ทำ�ความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อในอดีต จากหลักฐานเท่าที่มีการค้นพบ ซึ่งยังมีเรื่องราว มากมายที่รอการตั้งคำ�ถามและค้นหาคำ�ตอบอย่างมีเหตุมีผล หนังสือชุดนี้จัดทำ�ได้สำ�เร็จโดยความเอาใจใส่อย่างยิ่งของ ดร. ธิดา สาระยา นัก ประวัติศาสตร์นักวิชาการผู้เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการเมืองไทยและต่างประเทศ ได้ช่วย ชีแ้ นะวางกรอบความคิด การนำ�เสนอประเด็น และการตรวจสอบความถูกต้อง ให้เหมาะสม สำ�หรับนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไป สำ�นักพิมพ์สารคดีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือชุดนี้จะมีส่วนช่วยให้การเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์มีความสนุก และเป็นที่สนใจของผู้เรียนเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย สำ�นักพิมพ์สารคดี 4
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
คำ�นำ�เสนอ ข้าพเจ้าได้รับเกียรติจากผู้จัดการส�ำนักพิมพ์สารคดีให้เขียนค�ำน�ำเกี่ยวกับหนังสือ ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย เขียนโดยคุณกนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร แม้ว่าโอกาส เช่นนี้ควรเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องขอบคุณ แต่ก็ค่อนข้างหนักใจในการเขียนหรือมี ความเห็นใด ๆ เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย ทัง้ นีท้ �ำให้ขา้ พเจ้าเห็นใจคุณกนกวรรณ เป็นอันมาก เพราะคาดได้ถึงความล�ำบากในอันที่จะเสนอประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยไม่ถกู ฉุดรัง้ ด้วยมายาภาพของประวัตศิ าสตร์ ว่าประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยเป็นอรุณรุง่ แห่งประวัติศาสตร์ไทย สมตามความหมายแห่งชื่อสุโขทัยนั้น เป็นอาณาจักรหรือ แว่นแคว้นแดน “ยูโทเปีย” อันมหัศจรรย์ตามจารึก “ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว” โครงสร้างของหนังสือประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยเล่มนี้เป็นการน�ำเสนอประวัต-ิ ศาสตร์ผ่านมิติต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เพื่อสร้าง ภาพรวมของประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยไม่เน้นที่การเรียงล�ำดับเวลาหรือเหตุการณ์ ขณะเดียวกันก็น�ำเสนอเรื่องหรือประเด็นส�ำคัญพร้อมรายละเอียดเป็นการพิเศษ เช่น เรื่องพระร่วง เรื่องจารึกหลักที่ ๑ เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าการน�ำเสนอประวัติศาสตร์ผ่านมิติต่าง ๆ นี้หลีกเลี่ยงความ สับสนในประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ถกเถียงกันมายาวนาน ด้วยเหตุที่ประวัติศาสตร์ ช่วงนี้ถูกพิจารณาว่าเป็นต้นประวัติศาสตร์ไทยและวิวัฒน์สืบเนื่องเป็นแนวตรงจาก สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตามล�ำดับ อันที่จริงถ้าเรามองประวัติศาสตร์เชิงโครงสร้าง คือท�ำความเข้าใจว่าประวัติ- ศาสตร์นั้นเป็นโครงสร้าง (structure) หนึ่ง ๆ ประกอบด้วยเรื่องราวที่น�ำมาเล่ากัน และวาทกรรมอีกมากหลายซึ่งยังเป็นเพียงชุดความคิด เล่ากันไปเล่ากันมา เรื่อง ซุบซิบ เรื่องนินทา ข่าวสารต่าง ๆ แล้วถูกหยิบยกมาถกกัน ถ้าท�ำได้เช่นนี้จะท�ำให้ ประวัติศาสตร์สุโขทัยน่าสนใจขึ้นอีกมาก ในความหมายทั้งที่ผิวเผินที่สุดและลึกที่สุด ประวัติศาสตร์ไม่ได้เป็นอะไรมาก ไปกว่าการบรรยายเรื่องหรือเล่าเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา เรื่องราว เหตุการณ์เกิดขึ้น ในบริบทหนึ่ง ๆ ในสภาวะแวดล้อมหนึ่ง ๆ ของประวัติศาสตร์ ถ้าเป็นในสังคมไทยก็ จะเห็นได้ว่า เนื้อหาเรื่องราวก็ปรากฏอยู่ในรูปลักษณ์ของต�ำนาน นิทาน เล่ากันไป
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
5
เล่ากันมา นั่นเป็นส่วนที่ ๑ ของประวัติศาสตร์ อีกส่วนหนึ่งคือวาทกรรม เป็นการ แสดงออกซึง่ เนือ้ หา เรือ่ งราวของส่วนทีก่ ล่าวมาแล้วและพ่วงไปด้วยความคิดเพิม่ เติม อันมี “นัย” เกีย่ วกับเรือ่ งนัน้ หรือขยายมุมมองเป็นอืน่ วาทกรรมมักท�ำให้เนือ้ หาและ เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์เปลีย่ นแปลง อาจเกิดชุดความคิดใหม่หรือเรือ่ งราวใหม่ขนึ้ ก็ได้ ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนีก้ เ็ พือ่ ให้เห็นว่า ประวัตศิ าสตร์นนั้ มิได้หยุดนิง่ (คือไม่ static) มีการเปลี่ยนไปได้เรื่อยตามเวลาและบริบทประวัติศาสตร์ เฉกเช่นเดียวกับประวัติ- ศาสตร์สุโขทัย เรามีวาทกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัยขึ้นมากหลายในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งวาทกรรมเรื่องจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามค�ำแหงเป็นจารึกเก่าครั้งสุโขทัย ซึ่ง ก็บอกแล้วว่าเป็นจารึกหลักที่ ๑ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าเป็นจารึกที่มีอายุเก่าที่สุด ในบรรดาจารึกสุโขทัย ทีส่ �ำคัญก็คอื ศิลาจารึกหลักนีเ้ ป็นตัวแทนของ “ภาษาสุโขทัย” ที่ (อาจจะ) มีอายุ “เก่าสุด” เพราะมีจารึกอีกหลายหลักที่ค้นพบในสุโขทัย ก�ำแพงเพชร พิษณุโลก (อยูใ่ นกลุม่ ทีเ่ รียกได้วา่ เป็นจารึกภาษาสุโขทัยเช่นเดียวกัน) ทีส่ �ำคัญ ยิง่ ไปกว่าก็คอื มีความเข้าใจแพร่ไปว่าจารึกสุโขทัยนีเ้ องเป็นจารึกอักษรไทยและภาษา ไทยที่เก่าที่สุด เพราะฉะนั้นบรรดาจารึกเหล่านี้จึงให้ข้อมูลหลักฐานและสื่อสาร เรือ่ งราวของต้นประวัตศิ าสตร์ไทยหรือประวัตศิ าสตร์ชนชาติไทย จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง จึงกลายเป็นจารึกภาษาไทยอันแรก มีความศักดิส์ ทิ ธิอ์ ยูใ่ นตัวเอง “ศักดิส์ ทิ ธิ”์ ตรงทีว่ า่ จารึกนี้ให้ความจริงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก เนื้อความในจารึกยังกล่าวถึงผู้คิดค้นประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเป็นคนแรกและครั้งแรก ได้แก่ พ่อขุนรามค�ำแหง ซึ่งได้กลายเป็น “มหาราช” ไปพร้อมกับกาลเวลาเคลื่อนที่ ของประวัติศาสตร์ไทย นอกจากเรือ่ งตัวอักษรและอักขรวิธ ี และปัญหาเรือ่ งอายุความเก่าแก่ของจารึก จนท�ำให้เกิดวาทกรรมเกีย่ วกับจารึกหลักนีห้ ลากหลายอย่างทีส่ ดุ เท่าทีเ่ คยปรากฏมา ในบรรดาหลักฐานประวัตศิ าสตร์ไทยแล้ว เนือ้ หาของจารึกพ่อขุนรามค�ำแหงยังกลาย เป็นเสมือนหลักหมาย (milestone) ในเส้นทางชีวิตของประวัติศาสตร์ไทย และ คงด�ำรงอยู่ไปอีกนานเท่านาน บ้านเมืองสมัยสุโขทัยเป็นเสมือนรัฐในอุดมคติ “ยูโทเปีย” ของความคิดไทย จนทีส่ ดุ “ยูโทเปีย” นีก้ ลายเป็น “ความจริง” ในส�ำนึกของคนไทยว่า แว่นแคว้นไทย ครั้งสุโขทัยนั้นอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง “ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว” จนแทบว่ามองข้าม ความส�ำคัญของสุโขทัยและชุมชนใกล้เคียงสมัยนั้นในฐานะเมืองค้าขายบนเส้นทาง ค้าไปเลยทีเดียว ความมั่งคั่งของบรรดาเมืองต่าง ๆ ครั้งสุโขทัยอันได้ทิ้งร่องรอย อย่างน้อยที่สุดในทางศาสนา-วัฒนธรรมเป็นมรดกอันงดงามให้แก่เราอนุชนรุ่นหลัง คงมิใช่เพียงเพราะ “ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว” เพียงเท่านั้นดอก ร่องรอยของความ ชาญฉลาดในการจัดการเรือ่ งน�ำ้ หรือทีช่ มุ ชนรูจ้ กั แบ่งปันน�ำนํา้ มาใช้ทงั้ ในชีวติ ประจ�ำวัน
6
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
และในการเพาะปลูก หรือท�ำนาโดยอาศัยน�้ำจากฟ้า เหล่านี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์คุณภาพ และคุณค่าของคนสมัยนั้นทั้งสิ้น พัฒนาการของสุโขทัยนั้นสัมพัน ธ์ กับ การเคลื่อ นไหวของโลกภายนอกมา โดยตลอด ตัง้ แต่อาณาบริเวณอันสัมพันธ์กบั การค้าในอ่าวเบงกอลและอ่าวไทย จะเห็น ได้ว่ามีร่องรอยของชุมชนทวารวดีอยู่ที่บ้านวังหาดและผลการขุดค้นทางโบราณคดี ที่วัดชมชื่นเป็นต้น จริงอยู่การติดต่อระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี มานมนานก่อนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี แต่ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ความเข้มแข็งทาง การค้าในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี-ศรีวชิ ยั (ตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที ่ ๖, ๗ โดยประมาณ) นั้นแผ่ขยายไปกว้างขวางมาก น่านน�้ำอ่าวเบงกอลและอ่าวไทยกลายเป็นพื้นที่ทาง การค้าที่มีพ่อค้าจากต่างประเทศแวะเวียน ผู้คนชุมชนทั้งตามเมืองชายฝั่งทะเล และชุมชนตอนในเปิดออกสู่การติดต่อหรืออยู่ในเส้นทางการติดต่อนี้ จากรายงาน การส�ำรวจเมืองโบราณในวัฒนธรรมสุโขทัยโดยรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้พบหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดีตามชุมชนหลายแห่งแสดงถึงเครือข่ายการติดต่อ ของผู้คนแต่ครั้งยุคกระนั้น ซึ่งเชื่อได้ว่าการติดต่อดังกล่าวเกิดขึ้นตามเส้นทางค้า เรือ่ งราวและเนือ้ หาของจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ทีเ่ ป็นประเด็นส�ำคัญอีกประการ หนึ่งคือ เราเสียเวลาถกเถียงกันมากเรื่อง “การปลอม” จารึกหลักที่ ๑ ทั้งนี้เพราะ เรามักหลงลืมละเลยความจริงประการหนึ่งว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ทุกชิ้นมีความ ส�ำคัญอยูใ่ นตัวเองและต้องท�ำความเข้าใจให้เข้ากับบริบทประวัตศิ าสตร์ทเี่ กีย่ วข้อง แล้วท่านจะมองเห็นว่า จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตร์ได้ ตอบอะไรแก่ท่านบ้าง อย่ากระโจนลงไปสู่บทสรุปโดยมิได้ท�ำการค้นคว้าและวิพากษ์ หลักฐานให้สัมพันธ์กับบริบทประวัติศาสตร์อันท่านต้องการศึกษา จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๘-๑๑ ว่า เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่ มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามค�ำแหงหาใคร่ใจ ในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ ไม่วา่ เราจะลงความเห็นว่าคนไทยมีอกั ษรไทยใช้มาก่อนสมัยพ่อขุนรามค�ำแหง หรือเราไม่เคยมีอกั ษรใช้มาก่อนก็ตาม หรือเราจะได้แบบอย่างลายสือไทยมาจากไหน ก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธความส�ำคัญประการหนึง่ ทีว่ า่ หลักฐานทีใ่ ช้ตวั อักษรไทยแต่ครัง้ สุโขทัยนี้และการแพร่หลายของภาษาไทยไปสู่ชุมชนบ้านเมือง เฉพาะอย่างยิ่งการ เขียนบันทึกเรื่องราวลงสมุดไทยและใบลานจ�ำนวนมากตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น ราชธานีในลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ตลอดจนสมุดข่อยใบลานอันเป็นต�ำนานเรื่องราวสรรพ- ความรูต้ า่ ง ๆ ทัว่ ทุกภูมภิ าคแต่ครัง้ โบราณของดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทยปัจจุบนั เป็น ความงดงามยิ่งแห่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมคนไทยที่ท�ำให้ข้าพเจ้า ภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมลายลักษณ์ของเรา ภาษามีส่วนอย่างส�ำคัญใน
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
7
กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและประวัติศาสตร์ ภาษา-อักษรเป็นมรดกร่วมทาง วัฒนธรรมของกลุ่มชน ตัวอักษร-ภาษาไม่ว่าของสังคมใดในโลกก็เป็นเรื่องของการผสมผสานทั้งนั้น เช่น ภาษาทมิฬของชนกลุม่ ใหญ่ในอินเดียใต้ ตัวอักษรเก่าสุดทีใ่ ช้กนั อยูค่ อื ตัวอักษร ทมิฬ-พราหมี เช่นที่จารึกถ�้ำใกล้เมืองมะฑุไร ตัวอักษรชนิดนี้บ้างก็ว่าเป็นตัวอักษร พืน้ เมือง บ้างก็วา่ เป็นตัวอักษรจากจารึกพระเจ้าอโศก ตัวอักษรพราหมีนวี้ วิ ฒ ั น์เป็น ตัวอักษรปัลลวะ ส่วนอักษรปัลลวะนั้นมีวิวัฒนาการสัมพันธ์กับตัวอักษรในภูมิภาค ต่าง ๆ ของอินเดียตอนใต้ แล้วถูกน�ำไปเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อกี ต่อหนึง่ ตัวอักษรและภาษาเป็นความภาคภูมิใจของสังคม ตัวอักษรไทยสมัยสุโขทัยอาจพัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ อักษรขอม โบราณ หรืออักษรปัลลวะแต่ครัง้ สมัยวัฒนธรรมทวารวดีกแ็ ล้วแต่ การแพร่หลายของ อักษรและหรือภาษาไทยไปตามทีต่ า่ ง ๆ อันเรายังคงเห็นร่องรอยอยูจ่ นปัจจุบนั ไม่วา่ ในเวียดนามเหนือ ในจีนตอนใต้ ลาว และบางส่วนของคาบสมุทรมลายู เหล่านี้มิได้ บอกให้เรารู้ดอกหรือว่า ผู้คนซึ่งใช้ภาษา-อักษรเหล่านี้ในอดีตละล้วนเคยสัมผัส เกีย่ วข้องกันมาไม่ทางใดก็ทางหนึง่ และแน่นอนว่าความสัมพันธ์เกีย่ วข้องนีเ้ ป็นเรือ่ ง ของวัฒนธรรมและเราต้องก้าวข้ามพ้นการแบ่งแยกของพรมแดนทางการเมือง เราพยายามท�ำให้ประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นท้องถิ่นและเป็น “ไทย” มากไป หรือเปล่า จนแทบไม่เหลืออะไรเลยนอกจากการเป็นส่วนหนึง่ ของประวัตศิ าสตร์ชาติ เท่านั้น นอกจากความเป็นชาติและเอกลักษณ์ไทยแล้ว เราไม่เห็นอะไร มองไม่เห็น ความเป็นสากลของประวัติศาสตร์สุโขทัย เช่น การติดต่อสัมพันธ์กับบ้านเมืองภาย นอกในวงจรการค้าและศาสนา ดูราวกับประวัติศาสตร์ไม่มีชีวิต มีเพียงศิลาจารึก จ�ำนวนหนึ่ง จารึกถ้อยค�ำอันเป็นหลักฐาน ถ้าไม่ถูกให้ความหมายให้เข้ากับบริบท ของประวัตศิ าสตร์ชว่ งสมัยนัน้ ๆ จารึกก็ไม่ตา่ งกับก้อนหินก้อนหนึง่ หรือก้อนหินหลาย ก้อนเท่านั้นเอง บริบทของประวัติศาสตร์เป็นเทอมซึ่งทุกคนคุ้นเคย แต่ถ้าให้หาแล้วอาจไม่พบ เพราะหายาก บริบทของประวัติศาสตร์อันแวดล้อมเรื่องราวเหตุการณ์ตอนใดตอน หนึ่ง อันประมวลมาจากหลักฐานข้อมูลมันไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศ ใครจะนึกหรือ หยิบยกมาอ้างอิงก็ได้ แท้จริงแล้วมันต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หลักฐานบางชิ้น อาจดูเสมือน “แปลกแยก” แต่เราก็ไม่อาจปฏิเสธเหมือนดังเช่นเราไม่อาจปฏิเสธ “จารึกสุโขทัยหลักที ่ ๑” อันเป็นเสมือนหลักฐาน “เจ้าปัญหา” ส�ำหรับการเข้าใจประวัต-ิ ศาสตร์สุโขทัย ประวัติศาสตร์ของเราจึงวนเวียนอยู่กับแนวคิดดังกล่าว ล้วนค้านกับหลักฐาน ข้อมูล ประวัตศิ าสตร์ไทยถูกแยกออกเป็นเอกเทศจากบริบทประวัตศิ าสตร์อนื่ ทัง้ มวล เรารอเวลาอยูน่ านกว่าทีจ่ ะยอมรับว่า “อโยธยาศรีรามเทพนคร” นัน้ เป็นส่วนหนึง่ แห่ง
8
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
จุดเริม่ ต้นของประวัตศิ าสตร์อยุธยา แม้วา่ ท่านอาจารย์ น. ณ ปากน�ำ้ และ อ. ศรีศกั ร วัลลิโภดม จะได้ค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณอโยธยาและหลักฐานทางศิลปะ สถาปัตยกรรมของอโยธยา (เดิม) มากมายนานมาแล้ว ประวัติศาสตร์ของเรายังคง ย�่ำอยู่กับที่เป็นจังหวะ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพฯ ในบรรดาจารึกเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยมีอยูส่ องสามหลักทีข่ า้ พเจ้าประทับใจ ทัง้ เนือ้ หาและภาษา เนือ้ หาซึง่ ท�ำให้ขา้ พเจ้ามองประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยต่างไปจากแค่ “เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว” แต่ “เนื้อหา” ท�ำให้ข้าพเจ้าเห็นเงื่อนง�ำ ของประวัติศาสตร์ซึ่งต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป (ใครจะบอกว่าไม่มีอะไรต้องศึกษา เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สุโขทัยแล้ว ข้าพเจ้าไม่เชื่อ ! ใช่ว่าอ่านจารึกจบทั้งหมด ประวัติศาสตร์สุโขทัยก็จบ) ข้าพเจ้าไม่มีความรู้มากนักเกี่ยวกับอักขรวิธี จึงไม่อาจ กล่าวได้ว่าจารึกหลักใดสมบูรณ์แบบ ส�ำหรับข้าพเจ้า ภาษาของจารึกบางหลัก มันให้อารมณ์ความรู้สึกหรือแม้แต่ “อหังการ” ของผู้บันทึก ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึง ชอบอ่านจารึก คุณกนกวรรณผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้พยายามเสนอประวัติศาสตร์สุโขทัยให้ สัมพันธ์กบั “ความเป็นสากลของโลก” ในตอนนัน้ มากทีส่ ดุ อะไรคือความเป็นสากล ในที่นี้หมายถึงการไปติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกขณะนั้นเอง แทบไม่น่าเชื่อว่า เราสามารถเห็นโลกทัศน์กว้างของประวัติศาสตร์สุโขทัยได้อย่างมีระบบ (แม้ยัง ไม่สมบูรณ์แบบ) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ประวัติศาสตร์สุโขทัยในหนังสือเล่มนี้ได้เสนอ ลักษณะอันเป็นสากลให้ปรากฏ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็ในเรือ่ งของการเปิดตัวออกสูก่ ารรับ พุทธศาสนาอย่างจริงจังผ่านมาทางทะเลทางอันดามัน อันเป็นเส้นทางค้าส�ำคัญเส้น ทางหนึ่ง สัมพันธ์จากฝั่งแอฟริกา-อินเดียใต้-อ่าวเบงกอล ดึงเอาพ่อค้าต่างประเทศ แต่ครัง้ กรีก-โรมัน-อาหรับ-เปอร์เซีย-โจฬะ-ศรีลงั กา เข้าสูน่ า่ นน�ำ้ เอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ สุโขทัยได้เป็นส่วนหนึ่งของวงจรการค้าและการผลิตอันกว้างขวางนี้ นอกเหนือ ไปจากการรับพุทธศาสนาเข้ามาพร้อมกับลัทธิบชู าต่าง ๆ เช่น การบูชาพระพุทธบาท และพระบรมธาตุ เป็นต้น ด้วยมุมมองอันกว้างขวางของคุณกนกวรรณในหนังสือเล่มนี้ เธอจึงสามารถ น�ำเสนอเบื้องต้นและการคลี่คลายประวัติศาสตร์สุโขทัยต่างออกไป ไม่ปรากฏการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัยโดยค�ำนึงถึงบริบททางประวัติศาสตร์มากนัก ช่วยให้การศึกษาประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยมีค�ำตอบแบบ “เทพประทาน” คือไม่มีที่ไปที่มา สุโขทัยเกิดเมือ่ ชนกลุม่ หนึง่ ซึง่ ต้องการปลดปล่อยจากอ�ำนาจของเขมรซึง่ ครอบง�ำ อยู่ เช่น การรบกับโขลญล�ำพงเป็นการประกาศเอกราชจากขอม (ผู้รู้บางท่านเช่น อ. นิธิว่าอาจเป็นสงครามการแผ่อ�ำนาจกันในหมู่ผู้น�ำท้องถิ่น; อ. ธิดาว่าสู้กับก�ำลัง เขมรป่าดง ซึ่งอาจเป็นข้าของศาสนสถาน) ทั้งสองประเด็นสะท้อนถึงกลุ่มอ�ำนาจ
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
9
ในระดับท้องถิ่น ซึ่งมักเกิดเมื่อมีชุมชนกลุ่มชนชาติเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ กระจายอยู่ หนึ่งในกลุ่มชนชาติเหล่านี้เป็นกลุ่มชนชาติไทยซึ่งกระจายอยู่ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ ของจีนเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ฉะนั้นบริบทของประวัติศาสตร์ ในทีน่ จี้ งึ กว้างมากทัง้ ทางบก-ทะเล เราจึงไม่ควรละเลยประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยในบริบท ของประวัตศิ าสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดว้ ย ขณะทีอ่ �ำนาจของ “ขอม” ก่อนเมือง พระนครหรือที่เมืองพระนครมีอยู่ในบริเวณอีสานลุ่มน�้ำโขง ตลอดลงไปออกสู่ทะเล (ในเขตน่านทะเลอ่าวไทย) ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับก�ำเนิดของแคว้นสุโขทัยและศรีสัชนาลัยไว้ อย่างน่าสนใจว่าในอดีตตามบริเวณลุ่มน�้ำต่าง ๆ ของดินแดนที่เป็นประเทศไทย ปัจจุบันนั้น ได้มีผู้คนรวมกันเป็นชุมชนทางการเมืองอยู่ตามท�ำเลที่เหมาะสม เช่น อยูใ่ นเส้นทางการค้าหรือเป็นชุมทางคมนาคม หลายชุมชนอยูต่ รงบริเวณทีม่ ที รัพยากร ธรรมชาติ หลายชุมชนมีวิวัฒนาการอย่างสืบเนื่องจนถึงสมัยเมื่อเกิดแคว้นสุโขทัย ในลุ่มน�้ำยม ชุมชนแรกเริ่มของแคว้นสุโขทัยอยู่ที่ “เมืองเชลียง” (หรือศรีสัชนาลัย) และ “เมืองสุโขทัยเดิม” ทีห่ ว้ ยแม่โจน ล่วงเข้าพุทธศตวรรษที ่ ๑๘ จึงเกิดเป็นแคว้น สุโขทัย และตามจารึกวัดศรีชมุ (ศิลาจารึกหลักที ่ ๒) กล่าวว่า “พ่อขุนศรีนาวน�ำถม” ปกครองเมืองคูค่ อื สุโขทัย-ศรีสชั นาลัย แต่ตอ่ มาพ่อขุนบางกลางหาวได้ปกครองเมือง สุโขทัยทรงพระนามว่า “พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์” นีค้ อื จุดเริม่ ต้นของ “ราชวงศ์พระร่วง” ตามที่นักวิชาการสมัยกรุงเทพฯ เรียกขาน ศิลาจารึกวัดศรีชุม (ประชุมจารึกภาคที่ ๑ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า “หลักที่ ๒”) เป็นจารึกซึง่ ก�ำหนดอายุกนั ว่าประมาณพุทธศตวรรษที ่ ๑๙-๒๐ แต่เนือ้ หาเรือ่ งราว ของจารึกย้อนไปไกลกว่า ศิลาจารึกกล่าวถึงชีวติ วีรบุรษุ ผูห้ นึง่ ของชุมชนทางการเมือง ซึง่ รวมตัวกันเป็นบ้านเมืองสมัยนัน้ กลุม่ หนึง่ มีหวั หน้าทีช่ อื่ “ขุนผาเมือง” อีกกลุม่ หนึง่ มีหวั หน้าชือ่ “ขุนบางกลางหาว” ฉะนัน้ แม้ไม่ใช่หลักที ่ ๑ แต่ “เรือ่ ง” ในจารึกนีย้ อ้ น ประวัติศาสตร์สุโขทัยไปได้อีกไกล พ่อขุนผาเมืองนั้นมีอ�ำนาจมาก (และคงจะมั่งคั่งจากการค้าแลกเปลี่ยนด้วย ดังปรากฏหลักฐานค�ำกล่าวในจารึกว่า ท่านน่าจะเป็นผูค้ า้ สินค้าส�ำคัญคือ “ช้าง”) ใน จารึกว่า “ลูกพ่อขุนศรีนาวน�ำถมผู้หนึ่งชื่อพระยาผาเมือง เป็นขุนในเมืองราดเมือง ลุมคุมลงแสนช้างมาฝากรอม บ้านเมืองออกหลวงหลายแก่ถม...” นอกจากมั่งคั่ง เพราะคุม “เมืองราด” “เมืองลุม” ตรงท�ำเลที่สามารถต้อนช้างมารวมกันเป็นสินค้า ส่งได้มากมาย แล้วยังมีเมืองออกอีกหลายเมืองด้วย ตามหลักฐานว่าเมืองส�ำคัญ เก่าแก่บริเวณนี้คือ เมืองนครไทย (เขต จ. เพชรบูรณ์ปัจจุบัน) ถ้ากล่าวโดยรวม ก็ว่ากลุ่มของพ่อขุนผาเมืองนั้นคุมเมืองในลุ่มน�้ำป่าสัก ประวัติชีวิตและพระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณี พระราชนัดดาของพ่อขุนผาเมืองตามทีป่ รากฏในศิลาจารึกหลักที ่ ๒ ใจความว่า ประสูติ
10
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
ที่เมืองสระหลวงสองแคว ทรงมีความสามารถเก่งกล้าในการรบพุ่ง ทรงออกผนวช เมือ่ พระชันษา ๒๙ ปี แล้วเสด็จจาริกแสวงบุญไปตามทีต่ า่ ง ๆ เฉพาะอย่างยิง่ ในเมือง ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ คือที่ล�ำพูนและนครปฐม (พระประธม) ทรงเดินทางไป ลังกาและอินเดีย ทรงสร้างพระธาตุและบูรณะวัดวาอารามตามเมืองต่าง ๆ สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของสุโขทัยในตอนนั้น (สมัยพ่อขุนศรีนาว- น�ำถม-สันนิษฐานกันว่าเป็น “ปู่” ของสมเด็จพระมหาเถรฯ) ต่อมาได้กล่าวถึงพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวรวมก�ำลังกันขับไล่ “ขอมสบาดโขลญล�ำพง” เมื่อได้ชัยชนะแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้ยกเมืองสุโขทัยให้ พ่อขุนบางกลางหาวพร้อมพระนามศรีอินทรบดินทราทิตย์ คงเป็นได้ว่ากลุ่มชนในอ�ำนาจของพ่อขุนผาเมืองที่สระหลวงสองแควและกิน เลยเข้าไปถึงลุ่มน�้ำป่าสักทางเพชรบูรณ์ อาจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอ�ำนาจที่ละโว้ (ลพบุร)ี และอยุธยา (หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร) ตามทีป่ รากฏในจารึกหลักที่ ๑๑ (หรือจารึกวัดเขากบ เมืองพระบางอยู่ในเขต จ. นครสวรรค์ปัจจุบัน) ด้านหนึ่งของ จารึกนีก้ ล่าวถึงบุคคลผูห้ นึง่ เดินทางไปตามเมืองส�ำคัญสมัยนัน้ ตลอดจนออกไปต่าง ประเทศยังศรีลงั กา อินเดีย ท่านผูน้ ไี้ ด้ท�ำบุญกุศลสร้างพระธาตุและปลูกต้นพระศรี- มหาโพธิในที่ต่าง ๆ เมื่อเดินทางกลับ ท่านผู้นี้ผ่านมาทางตะนาวศรี และเมืองอื่นที่ ปรากฏชื่อคือ “เพชรบุรี” “ราชบุรี” “อโยธยาศรีรามเทพนคร” เมืองเหล่านี้ล้วน เป็นเมืองท่าการค้าด้านหนึง่ ของอ่าวไทย เปิดออกสูก่ ารติดต่อกับจีนและพ่อค้าพืน้ ถิน่ ในท้องที่ได้แก่ จามปา มลายู และชนชาติชนเผ่าอื่น ๆ อีกหลากหลายกลุ่ม อันว่าลุ่มน�้ำลพบุรี-ป่าสัก นับเป็นบริเวณที่มีความส�ำคัญต่อพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ของผู้คนชุมชนทั้งในพื้นที่และที่มาจากนอกพื้นที่ มีความเป็นมาอัน เก่าแก่สัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวของชนชาติเผ่าพันธุ์ซึ่งจะมีส่วนหล่อหลอมความ เป็นมาของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย (ไต-ลาว) ตามเมืองบริเวณภูมิภาคส่วนใน ไม่ว่าสุโขทัย สระหลวงสองแคว (พิษณุโลก) แพร่ น่าน ศรีเทพ และละโว้-อโยธยาที่ ติดต่อออกสู่ทะเล เขตลุ่มน�้ำลพบุรี-ป่าสัก ซึ่งในอดีตเป็นหัวใจส�ำคัญของกลุ่มพ่อขุนผาเมืองนั้น อ�ำนาจของสุโขทัยมิอาจคุมลุม่ น�ำ้ นีไ้ ด้อย่างเสถียร อาจมีความพยายามเฉพาะบางยุค บางสมัยเท่านัน้ เช่นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงปกครองอยูท่ เี่ มืองพิษณุโลก จากเมืองนี้สามารถคุมหัวเมืองเหนือ แพร่-น่าน เลยตลอดถึง นครไทย (เพชรบูรณ์) ในลุ่มน�้ำป่าสัก ผูเ้ ขียนพยายามน�ำเสนอประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย “หลายมิต”ิ ซึง่ ได้แบ่งการน�ำเสนอ ออกเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ต่างออกไปจากลักษณะ ยูโทเปียของประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย “เมืองสุโขทัยนีด้ ี ในน�ำ้ มีปลา ในนามีขา้ ว” นัน้ ก็คอื พยายามเสนอภาพใหม่ของสุโขทัยอันเกี่ยวข้องกับชีวิตวัฒนธรรมของผู้คนมากขึ้น
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
11
ผูค้ นซึง่ ด�ำรงชีวติ หมุนเวียนเปลีย่ นไป มิได้หยุดอยูเ่ พียงแค่รอ่ งรอยอิฐหินดินทรายของ โบราณวัตถุสถานสมัยสุโขทัยเท่านั้น อย่างน้อยที่สุดการสืบเนื่องของเตาเผาเครื่อง สังคโลกจากสุโขทัยต่อเนื่องมาอย่างชัดเจน จนอยุธยาก็เป็นประจักษ์พยานได้ดีว่า ผู้เขียนมิได้มองเฉพาะการขึ้นการลงและเสื่อมของสุโขทัย แล้วต่อด้วยการขึ้นมามี อ�ำนาจของอยุธยาเท่านั้น แต่คนสุโขทัยได้มีส่วนช่วยต่อติดกับพัฒนาการของการ ผลิตอันส�ำคัญอยู่ช่วงเวลาหนึ่งของการค้าแถบนี้ ได้แก่ การผลิตและการค้าสังคโลก เป็นต้น ซึง่ ผูเ้ ขียนได้พยายามให้ภาพกว้าง กล่าวถึงเตาอันเป็นแหล่งผลิตตามทีต่ า่ ง ๆ สมัยนัน้ มิใช่เฉพาะเตาทีส่ โุ ขทัย-ศรีสชั นาลัย แต่แหล่งเตาอืน่ ร่วมสมัยเดียวกันในภาค เหนือและลุ่มน�้ำเจ้าพระยา เช่น เตาเวียงกาหลง เตาลุ่มน�้ำน้อย หนังสือเล่มนีแ้ บ่งเนือ้ หาของประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัยเป็นส่วนหรือเป็นภาค ภาค ที่ ๑ ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย ซึ่งผู้เขียนแสดงหลักฐานก่อนสมัย สุโขทัยและชีแ้ นะแนวทางการศึกษาของนักประวัตศิ าสตร์ปัจจุบนั เป็นหลัก พร้อมทัง้ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการใช้จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ ๑) ตลอด จนข้อโต้แย้งเรื่องการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยของพ่อขุนรามค�ำแหง เนือ้ หาด้านการเมืองการปกครองนัน้ อยู่ในภาคที ่ ๒ และภาคที ่ ๕ ผู้เขียนให้ น�้ำหนักทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งปรากฏอยู่ในรายละเอียดของ ภาคที่ ๓ ภาคที่ ๔ และภาคที่ ๖ และได้ชี้ให้เห็นว่าขนบธรรมเนียมประเพณี บางอย่างนัน้ สืบทอดผ่านจากสุโขทัยมาถึงปัจจุบนั ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นประเพณีทางด้าน ศาสนา เช่น ประเพณีการบวช นอกจากนั้นได้กล่าวถึงคตินิยมทางวัฒนธรรม บางอย่าง เช่น คตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ เป็นต้น ปรากฏความพยายามในส่วนของผู้เขียนที่จะชี้ให้เห็นว่าความเสื่อมของราช- อาณาจักรสุโขทัย ทัง้ เนือ่ งมาจากการแย่งชิงอ�ำนาจระหว่างบ้านเมืองต่าง ๆ ในแคว้น เดียวกัน และที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็แผ่อ�ำนาจเข้าแทรกแซงและผนวกสุโขทัยเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา โดยที่เชื้อสายของกษัตริย์จากราชอาณาจักร สุโขทัยได้เข้ามามีโอกาสปกครองอยุธยาต่างกรรมต่างสมัย หนึ่งในจ�ำนวนกษัตริย์ องค์ส�ำคัญซึ่งสืบเชื้อสายจากราชวงศ์สุโขทัยคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โอรส ของพระมหาธรรมราชา การให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูลเรื่องที่สุโขทัยสลายเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรอยุธยานี้นับว่าน่าสนใจและเฉียบแหลม ผู้เขียนสามารถดึงการน�ำเสนอ ให้หลุดพ้นจากกรอบความคิดที่ว่าการเสื่อมจากอาณาจักรหนึ่งสู่การเรืองรุ่งพุ่งโพลง ของอีกอาณาจักรหนึ่ง เข้าท�ำนองทฤษฎีตัวตายตัวแทนในการศึกษาประวัติศาสตร์ แบบเดิมซึ่งส่งต่อกันมา เพราะน่านเจ้าแตก กลุ่มคนไท (ไต) ก็อพยพลงใต้ลงมาสู่ บริเวณลุ่มน�้ำเจ้าพระยาและลุ่มน�้ำโขงปัจจุบัน เผชิญกับอ�ำนาจอันยิ่งใหญ่ของขอม ถูกปกครองโดยขอม บ้านเมืองไม่เป็นอิสระจนกระทัง่ มีวรี บุรษุ มาปลดแอกจากอ�ำนาจ
12
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
ขอม ขอมหมดอ�ำนาจเกิดช่องว่างของอ�ำนาจ เป็นโอกาสให้บา้ นเล็กเมืองน้อยเติบโต การมองประวัตศิ าสตร์เช่นนีท้ �ำให้ประวัตศิ าสตร์ไทยเสมือนไม่ม ี “ราก” ไร้อ�ำนาจใหญ่ ในบริเวณกรุงสุโขทัยก็เกิดหมดอ�ำนาจสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาก็เติบโต ในที่นี้ข้าพเจ้าเองอยากเพิ่มเติมถึงศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง พุทธศักราช ๑๙๔๗ (ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า “จารึกหลักที่ ๘ ค”, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ เรียกว่า “จารึกหลักที่ ๔๖”) ซึ่งกล่าวถึงมหาธรรมราชา ผู้หนึ่งน�ำก�ำลังพลสู้รบลงใต้ถึงเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์) ขึ้นไปทางเหนือถึง เมืองแพร่ ความในจารึกนีเ้ ป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีเ่ ราได้เห็นอ�ำนาจของสุโขทัยคุมปากทาง จนเข้าสู่ลุ่มน�้ำป่าสักเหนือเมืองพระบาง (หรือนครสวรรค์) ไว้ “...สมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์ (โอรส) ราชอ�ำนาจน้าวห้าวหาญ น�ำพ (ล) รบราคลาธรณีดล สกลกษัตริย ์ (หากขึน้ เสวยใน) มหามไหสวริยอัครราชเป็น ท้าวพระยามหากษัตริย ์ (นครศรีสชั นาลัย) สุโขทัย แกว กลอย ผลาญปรปักษ์ศตั รู นู พระราชสีมา... เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่าแสนสองหนองห้วยและแพร่...” นี้คือ “ราชอ�ำนาจน้าวห้าวหาญ น�ำพ (ล) รบราคลาธรณีดล สกลกษัตริย์” จากมุมมองของกรุงศรีอยุธยา นี้คืออ�ำนาจซึ่งต้องการความสมานฉันท์และ ปรองดอง หรือไม่ก็สลายอ�ำนาจนั้นลงเพื่อสร้างความเป็นศูนย์กลางอันยิ่งใหญ่ของ ราชธานีกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่ปัจจุบันนี้ผู้รู้และนักวิชาการหลายท่านต่างพากันแสดงความเห็นว่า ผู้คนในประเทศไทยพากันไม่สนใจประวัติศาสตร์ เพราะในช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมา ประวัตศิ าสตร์ไม่ได้ถกู บรรจุเป็นวิชาเรียนอยูใ่ นหลักสูตรของโรงเรียนโดยตรงในฐานะ วิชาประวัติศาสตร์ (หมายถึงว่าจ�ำนวนชั่วโมงเรียนส�ำหรับศึกษาประวัติศาสตร์อาจ น้อยเกินไป เพราะวิชาประวัติศาสตร์ไม่ได้ถูกศึกษาโดยเอกเทศ แต่เป็นวิชาที่อยู่ใน กลุม่ สาระการเรียนรู ้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นต้น) ส่วนเนือ้ หาเรือ่ งราว ของประวัติศาสตร์ไทยซึ่งปรากฏอยู่ในต�ำราเรียนนั้นเล่าช่างเต็มไปด้วยเรื่องราว รายละเอียดของประวัติศาสตร์จากทั่วโลก ยกเว้นเนื้อหาสาระหลักของสิ่งที่ทุกชาติ ทุกประเทศในโลกนีเ้ ขามีกนั คือ ประวัตศิ าสตร์เฉพาะของชาตินนั้ ประเทศนัน้ (ในมิต ิ แห่งความเป็นสากลของโลก) ข้อความในวงเล็บนี้มีไว้เพื่อเตือนใจว่า แม้เมื่อถึง เวลาใดเวลาหนึง่ ทีเ่ ราจะต้องศึกษาประวัตศิ าสตร์ไทยหรือมีต�ำรับต�ำราเฉพาะสักเล่ม หนึง่ แล้ว เราจะระวังไม่ให้ตก “หลุมด�ำ” แห่งความหลงชาติ หรือสร้างประวัตศิ าสตร์ อันถูกชี้ขาดโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ และขออย่าให้ประวัติศาสตร์ถูก ปิดกั้นด้วยหลักสูตรการศึกษาและโดยแนวคิดใด ๆ เลย ส่วนตัวข้าพเจ้าเองกลับรู้สึกว่า ไม่มียุคใดสมัยใดที่คนในทุกย่างก้าวของชีวิต สนใจในสิง่ ทีเ่ รียกว่า “ประวัตศิ าสตร์” เท่ากับในยุคนีส้ มัยนี ้ หรือกล่าวได้วา่ ไม่มสี มัยไหน ที่กระแสความอยากรู้ประวัติศาสตร์บีบคั้นและเร่งรัดเรา-ท่านมากเท่าสมัยนี้ ท�ำไม ?
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
13
โดยไม่รู้ตัว เรารู้สึกว่าเราก�ำลังเผชิญปัญหาของเหตุการณ์หรือนานาเหตุการณ์ซึ่ง เกิดขึ้น ท�ำให้เราพากันแสวงหาค�ำตอบอย่างเข้าใจความเป็นมาเป็นไป และเรา ตระหนักด้วยความตระหนกว่า เรื่องราวเหตุการณ์ที่ก�ำลังเกิดขึ้นรอบตัวไม่อยู่หรือ ไม่เคยอยู่ในต�ำราเรียนประวัติศาสตร์เล่มใดทั้งสิ้น ทั้งที่เราเคยได้รับการสั่งสอนกัน มาอย่างกระท่อนกระแท่นว่าประวัตศิ าสตร์คอื บทเรียนของปัจจุบนั และปัจจุบนั มีทมี่ า จากอดีต แต่อย่างไรก็ตามนี้คือสัญญาณเตือนภัยอันกลายเป็นนิมิตดี เพราะมัน ท�ำให้หลายคนรู้สึกว่าประวัติศาสตร์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในความอยากรู้ของเรา เหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นท�ำให้คนอยากรู้ “ความจริง” (truth) เราอยาก สัมผัสความจริงมากกว่าสิ่งที่เห็น อะไร ๆ ที่เห็นมันเป็นเพียงข้อเท็จจริงคือ “fact” ข้อเท็จ-จริงเกี่ยวกับความเป็นมาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เคยมีประโยชน์ สิ่งที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์” ท�ำนองนี้เคยมีประโยชน์ อย่างน้อยนักเรียนท่องจ�ำได้ส�ำหรับสอบ มัคคุเทศก์จ�ำเอาไว้เล่าเรื่องในฐานะไกด์น�ำเที่ยวที่ดี เป็นต้น เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในประเทศไทยเป็นเหตุการณ์ “ต่างสี” ของคนต่างกลุม่ ต่าง ความคิด การเข้าใจที่มาที่ไปอย่างยุติธรรมทางความคิดที่สุดเป็นสิ่งจ�ำเป็น เพราะ มันมิใช่เพียงแค่ว่าสีหลายสีรวมกันแล้วเป็นรุ้งหลากสี เราหารู้ว่าเบือ้ งหน้าเบือ้ งหลัง ของสีต่าง ๆ เป็นอย่างไร เมื่อครั้งข้าพเจ้าเป็นเด็กนักเรียนระดับประถม-มัธยม ครู วิทยาศาสตร์สอนเราว่า สีต่าง ๆ เจ็ดสีรวมกันแล้วเป็น “สีรุ้ง” เรียกว่า “วิบจีออ” (คือ สีมว่ ง คราม น�ำ้ เงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง รวมเรียกว่า “vibgyor” เท่ากับ violet, indico, blue, green, yellow, orange, red) ตอนนัน้ ข้าพเจ้ายังไม่รจู้ กั “พ่อมดแห่งออซ” มากพอที่จ ะถามถึง ว่ า some where over the Rainbow - มี อ ะไรอยู ่ เ หนื อ รุ ้ ง ที่ ปลายฟ้า? แต่ปัจจุบันข้าพเจ้าอยากถามและเรียกร้องให้มีการศึกษาประวัติศาสตร์ ในฐานะทีเ่ ป็นศาสตร์ทจี่ ะช่วยเอือ้ ให้คนรูค้ ดิ มากขึน้ เข้าใจอดีต ปัจจุบนั และอนาคต พอที่จะท�ำให้ข้าพเจ้ามองเห็นรุ้งที่ปลายฟ้า และตระหนักว่าแท้จริงแล้วรุ้งมีที่มาจาก หลากหลายสี หนังสือประวัตศิ าสตร์สมัยสุโขทัย โดยคุณกนกวรรณเล่มนีจ้ งึ เป็นความพยายาม ขั้นปฐมบทในอันจะท�ำความเข้าใจประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างทวนกระแส และเป็น “ประวัตศิ าสตร์สรี งุ้ ” ข้าพเจ้าหวังว่าจะอ�ำนวยประโยชน์ให้ผสู้ นใจใฝ่รทู้ กุ ท่านตามควร ขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ฯ ที่ช่วยสนับสนุน
ดร. ธิดา สาระยา พฤษภาคม ๒๕๕๓
14
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
บทนำ�
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและพื้นที่โดยรอบในเขตเมืองเก่าของ จ. สุโขทัย ในอดีตคือ “เมืองสุโขทัย” ซึ่งเป็นชื่อของเมืองศูนย์กลางการ ปกครองและชือ่ ยุคสมัยหนึง่ ทีส่ �ำ คัญของประวัตศิ าสตร์ไทยในช่วงพุทธศตวรรษ ที ่ ๑๘-๒๐ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่อาจรู้จักประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยแต่เพียง ว่าเป็น “อาณาจักรแรก” หรือ “ยุคสมัยแรก” ของไทยที่มีพ่อขุนรามคำ�แหง ประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย มีนางนพมาศและเทศกาลลอยกระทงเท่านั้น ทั้งที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์สมัยนี้ยังมีแง่มุมอื่นที่สำ �คัญและน่าสนใจ ซึ่งแทบไม่ได้ถูกกล่าวถึง การรับรูเ้ รือ่ งราวความเป็นมาของประวัต-ิ ศาสตร์สมัยสุโขทัยมาจากหลักฐานที่เป็นลาย ลักษณ์อักษร อันได้แก่ ศิลาจารึก ตำ�นาน ฯลฯ และหลักฐานโบราณสถาน โบราณวัตถุ ทำ�ให้ ทราบเรื่ อ งราวว่ า เมื อ งสุ โ ขทั ย ที่ เ ติ บ โตเป็ น แว่นแคว้นหรือกลุ่มเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เกิดจากการรวมกลุ่มของบ้านเมืองที่ กระจายกั น อยู่ ใ นบริ เ วณลุ่ ม นํ้ า ปิ ง ยม น่ า น ตอนล่ า ง ซึ่ ง มี พั ฒ นาการมานานแล้ ว และ ที่ สำ � คั ญ คื อ “แคว้ น สุ โ ขทั ย มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า ง
โดดเดีย่ ว” แต่ยงั มีเมืองอืน่ มาก่อนหรือร่วมสมัย กับเมืองสุโขทัยเกิดขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ของ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยอีกหลายเมือง ไม่ว่า จะเป็นลำ�พูน หริภุญไชย เชียงใหม่ เชียงแสน พะเยา ละโว้ อโยธยา สุพรรณภูมิ ซึ่งชื่อเมือง เหล่านีป้ รากฏอยูใ่ นจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลัก ในทางกายภาพตัวเมืองสุโขทัยตั้งอยู่บน ทีล่ าดเชิงเขาหลวงกับแม่นา้ํ ยม ห่างจากแม่นา้ํ ยม ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีเพียงลำ�นํ้าแม่ลำ�พัน ที่ไหลผ่านเมืองทางด้านตะวันออกเป็นแหล่งนํ้า
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
15
เดียวที่ช่วยหล่อเลี้ยงชาวเมือง ดังนั้นจึงวาง ผั ง เมื อ งให้ สั ม พั น ธ์ กั บ สภาพภู มิ ป ระเทศและ วางระบบจัดการนํา้ เพือ่ ระบายนํา้ ในฤดูนาํ้ หลาก และการนำ�นํ้ามาใช้ภายในเมืองในฤดูแล้ง ดัง ที่พบบ่อนํ้าและตระพังสำ�หรับกักเก็บนํ้าหลาย แห่ง รวมไปถึงการสร้างทำ�นบเบี่ยงเบนทางนํ้า เพื่อนำ�มาใช้ในการเพาะปลูก สร้างอ่างเก็บนํ้า นอกเมืองหรือที่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เรียกว่า “สรีดภงส์” ระบบการจัดการนํ้าดังกล่าวเป็น ลักษณะโดดเด่นของเมืองสุโขทัยอันสะท้อนถึง ภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยที่สามารถปรับตัวให้ เข้ากับสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้ ในส่วนของหลักฐานทางโบราณคดี และ ร่องรอยโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ได้จาก การขุดค้น สะท้อนถึงพัฒนาการของผู้คนใน บริเวณทีจ่ ะกลายเป็นแคว้นสุโขทัยในเวลาต่อมา โดยพบว่า อาณาบริเวณสุโขทัยและพืน้ ทีโ่ ดยรอบ อย่ า งศรี สั ช นาลั ย กำ � แพงเพชร เคยมี ม นุ ษ ย์ อยูอ่ าศัยมากว่าพันปีแล้ว อีกทัง้ ยังมีขอ้ มูลทีไ่ ด้ จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ชุมชนบ้านวังหาด อ. บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย ซึง่ อยูท่ าง ทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย แสดงให้เห็นว่า ในลุ่มนํ้ายมมีชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนหน้าสมัย สุโขทัยเป็นเวลานาน ชุมชนที่ว่านี้มีอายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว เป็นชุมชนถลุงเหล็กเพราะ พบเครื่องมือเครื่องใช้จำ�พวกเหล็ก ก้อนตะกรัน เหล็ก กำ�ไลสำ�ริด ลูกปัด เหรียญโบราณ ภาชนะ ดินเผา ฯลฯ และมีหลักฐานการอยู่อาศัยสืบ ต่อมาจนถึงสมัยทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๖ นอกจากนีย้ งั พบร่องรอยของโบราณสถาน และคู นํ้ า คั น ดิ น แสดงถึ ง การตั้ ง ถิ่ น ฐานของ 16
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
ผู้คนในระดับชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็นชุมชนระยะ เริ่มแรกของสุโขทัย คือ บริเวณที่มีวัดพระพาย- หลวงตัง้ เป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบนั อยูท่ าง ทิศเหนือนอกเขตกำ�แพงเมืองสุโขทัยเก่า และที ่ เมืองเชลียง ซึง่ อยูร่ มิ แม่นาํ้ ยมไปทางตะวันออก จากเมืองศรีสัชนาลัยเก่า ชุมชนทั้งสองแห่ง ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานในศาสนาฮินดู หรือพุทธมหายาน อันแสดงถึงความสัมพันธ์กบั บ้านเมืองอืน่ และการรับอิทธิพลศิลปะละโว้จาก เมืองในลุม่ นํา้ ป่าสัก และวัฒนธรรมขอมจากเมือง พระนคร เมื่อพิจารณาตำ�แหน่งที่ตั้งจะเห็นว่าเมือง สุโขทัยตัง้ อยูใ่ นเส้นทางคมนาคมโบราณภายใน ภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซงึ่ มีเส้นทางบก ติดต่อกันจากตะวันออกไปตะวันตก และจาก ใต้ขึ้นเหนือ โดยทางตะวันตกสามารถเดินทาง ไปสู่เมืองเมาะตะมะ อันเป็นเมืองท่าสำ�คัญใน อ่าวเบงกอล ส่วนทางตะวันออกมีเส้นทางไปสู่ ชุ ม ชนและบ้ า นเมื อ งในแถบแอ่ ง โคราช และ ไกลออกไปถึ ง ลุ่ ม แม่ นํ้ า โขง ด้ ว ยทำ � เลที่ ตั้ ง อันเหมาะสมเช่นนี้ส่งผลให้สุโขทัยเติบโตและ รุง่ เรืองขึน้ จากการเป็นชุมทางการค้าจนสามารถ รวบรวมกลุ่มเมืองที่กระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าปิง ยม และน่าน ขึ้นเป็นแคว้นสุโขทัย ในราวพุทธ- ศตวรรษที ่ ๑๘ โดยมีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง การเมืองการปกครอง ในทางประวัตศิ าสตร์ หลักฐานทางเอกสาร ทีม่ อี ยูย่ งั ไม่อาจระบุได้วา่ แคว้นสุโขทัยเริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ใด แต่เท่าทีพ่ บในปัจจุบนั ซึง่ มีเรือ่ งราวเก่าสุด คือ จารึกวัดศรีชมุ (ศิลาจารึกหลักที ่ ๒) กล่าวถึง เหตุการณ์การแย่งชิงอำ�นาจของผู้นำ�หลังจาก สิน้ “พ่อขุนศรีนาวนำ�ถม” ซึง่ ปกครองเมืองสุโขทัย
และเมืองศรีสชั นาลัย เป็นเหตุให้ “ขอมสบาด- โขลญลำ�พง” เข้ายึดอำ�นาจ จากนั้น “พ่อขุน ผาเมือง” เจ้าเมืองราดเมืองลุม บุตรของพ่อขุน ศรี น าวนำ � ถม ร่ ว มกั บ พระสหายคื อ “พ่ อ ขุ น บางกลางหาว” ช่วยกันขับไล่ขอมสบาดโขลญ- ลำ � พงได้ สำ � เร็ จ พ่ อ ขุ น ผาเมื อ งได้ อั ญ เชิ ญ พระสหายให้ ค รองเมื อ งสุ โ ขทั ย พร้ อ มกั บ ประทานนาม “ศรีอนิ ทรบดินทราทิตย์” พ่อขุน บางกลางหาวจึ ง ครองราชย์ เ ป็ น กษั ต ริ ย์ ข อง แคว้นสุโขทัย มีพระนามว่า พ่อขุนศรีอนิ ทราทิตย์ นับเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์พระร่วงที่ปกครอง แคว้นสุโขทัยมาตั้งแต่นั้น แคว้นสุโขทัยรุ่งเรืองมากในสมัยพ่อขุน รามคำ�แหงและพระยาลิไทย อำ�นาจของสุโขทัย ในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า วแพร่ ก ระจายอยู่ ใ นเขต ตอนล่างของลุม่ นํา้ ยม น่าน ปิง และตอนบนของ ลุ่ ม นํ้ า ป่ า สั ก กว่ า ๕๐ เมื อ ง ในเขต จ. ตาก กำ�แพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชร- บูรณ์ พิจิตร และนครสวรรค์ในปัจจุบัน ขณะ เดียวกันแคว้นสุโขทัยยังผูกสัมพันธไมตรีในด้าน ต่าง ๆ กับบ้านเมืองในลุ่มนํ้าอื่นโดยรอบ และ บ้านเมืองต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นดินแดนใน เขตแคว้นล้านนา นครพัน เมืองนครศรีธรรมราช เมืองลังกา เป็นต้น กล่าวได้ว่าความเจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย มิ ไ ด้ เ กิ ด อย่ า งฉั บ พลั น หากแต่ มี พั ฒ นาการ มาจากการสั่งสมผู้คน ทรัพยากร และความรู้ ต่าง ๆ มาก่อนหน้าแล้ว โดยเริม่ จากชุมชนขนาด เล็กแล้วค่อยพัฒนาเติบโตจนกลายเป็นเมือง ใหญ่ระดับรัฐในที่สุด ขณะเดียวกันก็มีปัจจัย ส่ ง เสริ ม หลายประการ นั บ ตั้ ง แต่ มีทำ�เลที่ ตั้ ง ซึง่ ส่งเสริมให้สโุ ขทัยมีขอ้ ได้เปรียบในทางการค้า
คือ เป็นจุดเชื่อมระหว่างการคมนาคมทางบก และทางนํ้ า ในเส้ น ทางการติ ด ต่ อ การค้ า ซึ่ ง สามารถแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้ากับบ้านเมือง ในทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นเมืองในลุ่มนํ้าโขง มอญ พุ ก าม ละโว้ ขอม ฯลฯ หรื อ การล่ ม สลายของอาณาจักรใหญ่อย่างเมืองพุกามและ อาณาจักรขอมเมืองพระนคร ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ชุมชนบ้านเมืองอื่น ๆ ในอาณาบริเวณนี้ ต่างเป็นอิสระและพยายามสั่งสมอำ�นาจบารมี รวมถึงสุโขทัยที่มีผู้นำ�เข้มแข็งและมีอำ�นาจทาง การเมืองการปกครองเหนือบ้านเมืองอืน่ รายรอบ ทำ�ให้สุโขทัยกลายเป็นเมืองศูนย์กลางในเวลา ต่อมา ในด้านศาสนา ชาวสุโขทัยนับถือทัง้ ศาสนา พุทธ ศาสนาพราหมณ์ และ “ผี” ดังปรากฏ คำ�ว่า “พระขผุงผี” ในจารึกพ่อขุนรามคำ�แหง (ศิลาจารึกหลักที ่ ๑) ต่อมาสุโขทัยรับพุทธศาสนา จากลั ง กาและได้ รั บ การส่ ง เสริ ม จากกษั ต ริ ย์ ทำ�ให้พุทธศาสนาจากลังการุ่งเรืองมาก ก่อให้ เกิดการสร้างพุทธสถาน และงานศิลปะที่เกี่ยว เนื่องกับพุทธศาสนา เช่น คติการบูชาพระบรม- ธาตุ คติการบูชาพระพุทธบาท เป็นต้น สมัยพระยาลิไทยเป็นช่วงเวลาที่สุโขทัย รุ่งเรืองในการเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา เป็นอันมาก ทัง้ การเผยแผ่พระศาสนา การสร้าง วัดและพระพุทธรูป การบูชาพระบรมธาตุ การ สักการะพระพุทธบาทซึ่งกลายเป็นธรรมเนียม ประเพณีทนี่ ยิ มปฏิบตั สิ บื มา นอกจากนีพ้ ระยา ลิ ไ ทยยั ง ทรงพระราชนิ พ นธ์ ไ ตรภู มิ พ ระร่ ว ง ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่สำ�คัญของ ไทยมาจนปัจจุบัน ความรุง่ เรืองทางศาสนายังสะท้อนออกมา
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
17
ในรู ป แบบของศิ ล ปะและสถาปั ต ยกรรมที่ มี รูปแบบเฉพาะอันเป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น เจดีย์หรือพระพุทธรูป โดยเฉพาะเจดีย์พุ่มข้าว- บิณฑ์ เจดีย์ช้างล้อม พระสี่อิริยาบถ พระพุทธ- รูปปางลีลาที่มีความงดงามยิ่ง การสรรค์สร้าง งานศิลปะดังกล่าวกลายเป็นสกุลช่างแขนงหนึง่ ในงานช่างศิลป์ของไทยที่เรียกกันว่า “ศิลปะ สุโขทัย” นอกจากนี้ ยั ง มี สิ น ค้ า สำ �คั ญ และขึ้ น ชื่ อ ของสุโขทัย ก็คือ สังคโลก ซึ่งเริ่มการผลิตมา ตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที ่ ๑๖ จากนัน้ จึงพัฒนาเทคนิค และวิธีการผลิตจนกลายเป็นสินค้าส่งขายใน ดินแดนใกล้เคียงและไกลออกไป เช่น ฟิลปิ ปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ป่นุ เป็นต้น แหล่งผลิตสังคโลก ที่สำ�คัญอยู่ที่ศรีสัชนาลัยซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่ง ผลิตรายใหญ่ในการส่งเป็นสินค้าออกที่สำ�คัญ ไปยังต่างเมือง ในช่วงเวลาของการค้าสังคโลก ทางทะเลที่รุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๒ การค้าสังคโลกในระดับอุตสาหกรรมและ การส่งเป็นสินค้าออกเกิดขึน้ ในช่วงทีก่ รุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีแล้ว โดยกรุงศรีอยุธยาซึ่งอยู่ใน ลุม่ นํา้ เจ้าพระยา เป็นเมืองทีม่ พี ฒ ั นาการมาจาก เมืองอโยธยาที่เติบโตมาไล่เลี่ยกับสุโขทัย เริ่มมี บทบาทและอำ�นาจขึ้นเป็นลำ�ดับ จนสามารถ แทรกซึมผ่านทางสายสัมพันธ์ทางเครือญาติใน ช่วงทีแ่ คว้นสุโขทัยเริม่ เสือ่ มอำ�นาจทางการเมือง ตั้งแต่หลังสมัยพระยาลิไทยเป็นต้นมา เมื่อสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรม- ราชาที ่ ๔ (บรมปาล) ในราว พ.ศ. ๑๙๘๑ กรุงศรี- อยุธยาก็สามารถผนวกแคว้นสุโขทัยให้เข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาได้สำ�เร็จ โดย กำ�หนดให้สุโขทัยมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโท 18
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
ปัจจุบันมีหนังสือหรือบทความที่นำ�เสนอ ประเด็นศึกษาใหม่ ๆ เกีย่ วกับเรือ่ งราวของสุโขทัย ตีพมิ พ์ออกมาอยูเ่ สมอ ไม่วา่ จะเป็นด้านศาสนา การเมือง พัฒนาการของสุโขทัย ฯลฯ หลาย ประเด็ น ช่ ว ยเปิ ด มุ ม มองใหม่ ที่ มี ต่ อ ประวั ติ - ศาสตร์สุโขทัยให้กว้างและชัดเจนขึ้น ขณะที่ ในบางประเด็ น ก็ ยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ ยุ ติ แ ละยั ง อยู่ ใ น การศึกษาค้นคว้ากันต่อไป เช่น กรณีเรือ่ งจารึก พ่อขุนรามคำ�แหง (ศิลาจารึกหลักที่ ๑) เป็นต้น
๑ ภ า ค
การศึกษา ประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
19
ภาค
๑
แ
การศึกษา ประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย
ต่ เ ดิ ม การศึ ก ษาประวั ติ ศาสตร์สมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ มักยึดถือหลักฐานประเภท “ศิลา จารึก” เป็นสำ�คัญ นอกเหนือจาก หลักฐานประเภทตำ�นานและพงศาวดารซึ่ ง มี เ นื้ อ หากล่ า วถึ ง สุ โ ขทั ย อยู่บ้าง ทั้งนี้เพราะศิลาจารึกเป็น บันทึกเรือ่ งราวร่วมสมัยหรือใกล้เหตุการณ์ทสี่ ดุ นอกจากนีก้ ารใช้วสั ดุทคี่ งทน กว่าหลักฐานประเภทอืน่ ทำ�ให้ขอ้ ความคงอยูม่ าถึงปัจจุบนั โดยมีการแก้ไขหรือ เปลี่ยนแปลงจากคนรุ่นหลังได้ยาก และไม่มีความผิดพลาดจากการคัดลอกที่ คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ตามเนื้อหาในจารึกส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวทางศาสนาใน สมัยสุโขทัย มีบางจารึกทีบ่ นั ทึกถึงเรือ่ งราวในด้านอืน่ ๆ แต่กเ็ ป็นเหตุการณ์ใน บางช่วงบางเวลาของประวัตศิ าสตร์สมัยสุโขทัยเท่านัน้ นอกจากนีเ้ นือ้ หาบาง ส่วนยังขาดหายไปเนื่องจากจารึกชำ�รุด ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยจึงมีความ หลักฐาน คลุมเครือในหลาย ๆ ประการ ทำ�ให้ต้องอาศัยหลักฐานอื่น ๆ เช่นโบราณวัตถุ และโบราณสถาน รวมถึงการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐาน นอกเหนือ จากหลักฐานลายลักษณ์อักษรอื่น ๆ เพื่อให้เห็นภาพพัฒนาการของบ้านเมือง ในสมัยสุโขทัยนี้ชัดเจนขึ้น ปัจจุบันแม้การศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัยจะก้าวหน้าไปมาก มีงาน ค้นคว้าซึง่ ได้วเิ คราะห์ตคี วามในหลาย ๆ ประเด็น ทำ�ให้การรับรูเ้ รือ่ งราวประวัต-ิ ศาสตร์สมัยสุโขทัยขยายวงกว้างขึ้น แต่ก็ยังมีบางปัญหาที่ยังไม่มีบทสรุป อย่างไรก็ตามการศึกษางานค้นคว้าของนักวิชาการที่ได้นำ �เสนอมุมมองไว้ หลากหลาย ตลอดจนติดตามหลักฐานการค้นพบใหม่ ๆ ก็จะช่วยให้เรามีความ เข้าใจในประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยรอบด้านมากยิ่งขึ้น
ก่อนสมัยสุโขทัย
20
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
หลักฐานทาง
๑
บ ท ที่
ลายลักษณ์อักษร
หลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ใช้ศึกษาประวัติ- ศาสตร์สมัยสุโขทัย มีอะไรบ้าง ในช่วงแรกที่เริ่มมีการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย หลักฐานลายลักษณ์ อักษรทีน่ �ำมาใช้ศกึ ษาประวัตศิ าสตร์สมัยนีย้ งั มีไม่หลากหลายนัก ได้แก่ จารึก ต�ำนาน และพงศาวดาร หลักฐานแต่ละประเภทที่กล่าวถึงสุโขทัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ศิลาจารึก เนื้อหาในศิลาจารึกส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติ และกิจกรรมทางศาสนาในสมัยสุโขทัย เช่น จารึกแสดงธรรมหรือคาถา จารึก ประวัตกิ ารท�ำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์ การท�ำสัตย์สาบานและค�ำสาปแช่ง เป็นต้น จารึกบางส่วนเป็นเรื่องราวและเหตุการณ์ ประวัตศิ าสตร์ ตัวอย่างจารึกสุโขทัยทีส่ �ำคัญ เช่น - จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง (ศิลาจารึก หลักที่ ๑*) กล่าวถึงเมืองสุโขทัยสมัยพ่อขุน รามค�ำแหง ตั้งแต่พระราชประวัติของพ่อขุน รามค�ำแหง อาณาเขตและสภาพเมืองสุโขทัย ความเจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย
จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง มีข้อความจารึกทั้งสี่ด้าน จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
* หนังสือเล่มนี้ใช้หนังสือจารึกสมัยสุโขทัย โดยกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นหลักในการ อ้างอิงเมื่อกล่าวถึงศิลาจารึกหลักต่าง ๆ
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
21
44
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
๒ ภ า ค
การเมือง การปกครอง
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
45
ภาค
๒
แ
คว้นสุโขทัยก่อกำ�เนิดขึ้นจาก การรวมตัวของเมืองต่าง ๆ ใน ลุม่ นํา้ ยม-น่าน มีกษัตริย ์ ราชวงศ์ และ ขุนนางเป็นชนชั้นปกครอง ในระยะ การเมือง แรกความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกษั ต ริ ย์ การปกครอง กับราษฎรใกล้ชิดกัน เนื่องจากผู้คน พลเมืองอาจมีไม่มากนัก มีลักษณะ คล้ายพ่อปกครองลูก แต่ในเวลาต่อมา กษัตริย์จึงยึดถือแนวคิดแบบธรรมราชาเป็นหลักปกครอง แคว้นสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพ่อขุนรามคำ�แหงและพระยาลิไทย กษัตริยท์ งั้ สองพระองค์มบี ทบาทโดดเด่นแตกต่างกัน พ่อขุนรามคำ�แหงเป็นกษัตริย์ ผูเ้ ก่งกล้าสามารถในทางการรบ ขณะทีพ่ ระยาลิไทยเป็นกษัตริยผ์ มู้ บี ทบาทอย่างมาก ในทางพระศาสนา อำ�นาจของสุโขทัยในช่วงเวลาดังกล่าวครอบคลุมไปถึงบริเวณ ตอนล่างของลุ่มนํ้ายม น่าน ปิง และตอนบนของลุ่มนํ้าป่าสัก แม้แคว้นสุโขทัยจะเป็นแคว้นอิสระและมีอำ�นาจเหนือดินแดนอื่นโดยรอบ ทว่าความไม่มนั่ คงทางการปกครองของแคว้นสุโขทัยกลับเกิดขึน้ บ่อยครัง้ และปรากฏ เด่นชัดหลังจากพระยาลิไทยสวรรคต เนื่องจากแคว้นสุโขทัยเกิดขึ้นจากการรวมตัว ของหลาย ๆ เมือง จึงยากทีจ่ ะหลีกเลีย่ งปัญหาความขัดแย้งอันเกิดจากเมืองเหล่านัน้ หลักฐาน านเมืองจากการแก่งแย่งอำ�นาจกันเป็นใหญ่ กลายเป็น ได้ ความแตกแยกของบ้ ช่องว่างให้กรุงศรีอยุธยาเข้าแทรกแซง จนกระทัง่ สามารถผนวกดินแดนของเขตแคว้น สุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาได้สำ�เร็จในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อย่างไรก็ตามเชื้อสายของราชวงศ์พระร่วงก็ยังมิได้สูญสิ้นไป หลายพระองค์ ยังได้สืบอำ�นาจต่อมาในฐานะกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้บรรดาขุนนาง ข้าราชการและไพร่พลเมืองของแคว้นสุโขทัยก็ได้อพยพโยกย้ายเข้ามารวมอยู่ใน กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ในสมัยพระมหาธรรมราชากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ก่อนสมัยสุโขทัย
46
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
แรกเริ่ม
๔
บ ท ที่
สุโขทัย นักวิชาการได้สรุปถึงการเกิดขึ้นของแคว้น สุโขทัยไว้อย่างไร จากหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี และเมืองโบราณ ร่วมสมัยกับสุโขทัย นักวิชาการได้สรุปความเป็นมาของแคว้นสุโขทัยไว้ดังนี้ บ้านเมืองในดินแดนประเทศไทยในช่วงราว ๙๐๐-๗๐๐ ปีก่อน มีการ ขยายตัวของชุมชนทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคใต้ ตามเส้นทางการค้าที่มสี ืบเนื่องมาจากสมัยทวารวดี ในส่วนของบ้าน เมืองในที่ราบลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยาภาคกลางแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกอยู่ใน ลุ่มนํ้าท่าจีน-แม่กลอง มีเมืองนครชัยศรีและเมืองสุพรรณภูมิเป็นเมืองส�ำคัญ อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในลุ่มนํ้าลพบุรี-ป่าสัก มีเมืองละโว้และเมืองศรีเทพเป็นเมือง ส�ำคัญ กลุม่ หลังนีม้ คี วามสัมพันธ์กบั อาณาจักรขอม ดังนัน้ จึงพบรูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกับศิลปกรรมขอมกระจายอยู่ทั่วบริเวณนี้ บ้านเมืองทั้งสองกลุ่มได้ท�ำการค้าขายกับบ้านเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปใน แผ่นดิน มีการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนก่อให้เกิดชุมชนใหม่และการขยายตัวของชุมชนตามเส้นทางการค้า ส�ำหรับในลุม่ นํา้ ยม-น่าน ในราวปลายพุทธศตวรรษที ่ ๑๗ หรือราว ๘๐๐ ปีกอ่ น ได้เกิดเมืองส�ำคัญขึ้นสองเมือง ซึ่งนักวิชาการสันนิษฐานว่าเป็นชุมชนแรกเริ่ม ของแคว้นสุโขทัย คือเมืองเชลียง และเมือง “สุโขทัยเดิม”* ทีห่ ว้ ยแม่โจน ทัง้ สอง เมืองมีท�ำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การเป็นชุมทางการค้าบนเส้นทางการค้าจาก ดินแดนทางตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ และจากทางตะวันออกไปสูท่ างตะวัน ตก ในเมืองทั้งสองพบศาสนสถานส�ำคัญเนื่องในพุทธศาสนานิกายมหายาน ตั้งอยู่ศูนย์กลางเมือง และมีเทวสถานและเทวรูปในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อยู่ด้วย จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่เมืองสุโขทัยเดิมที่ห้วยแม่โจนและเมืองเชลียง ก�ำเนิดขึ้นนั้น ก็มีชุมชนบ้านเมืองน้อยใหญ่กระจายอยู่ตามลุ่มนํ้าส�ำคัญอื่น ๆ ในดินแดนไทยแล้ว บางชุมชนหรือบางเมืองเกิดขึ้นก่อน บางเมืองเกิดขึ้นใน
* ตามการเรียกของนักวิชาการปัจจุบัน
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
47
อโยธยา หรืออโยธยาศรีรามเทพนคร ชื่อเมืองนี้ปรากฏในจารึกวัดเขากบ (ศิลาจารึกหลักที่ ๑๑) ในตอนที่พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ เดินทางกลับ จากการจาริกสืบพระศาสนาทีล่ งั กาและนครพัน โดยผ่านมาทางเมืองตะนาวศรี เพชรบุรี ราชบุรี จนมาถึงอโยธยาด้วย และได้ประดิษฐานพระมหาธาตุและ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิให้เป็นทีส่ กั การะหลายแห่ง เมืองอโยธยาถือเป็นเมือง ใหญ่แห่งหนึ่งในลุ่มนํ้าเจ้าพระยาร่วมสมัยกับสุโขทัย ซึ่งต่อมาได้เจริญเติบโต เป็นกรุงศรีอยุธยา
เศียรพระธรรมิกราช พระพุทธรูปแบบอโยธยา ปัจจุบันจัดแสดง อยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ เจ้าสามพระยา จ. พระนครศรีอยุธยา
สุพรรณภูม ิ เป็นเมืองเดียวกับเมืองสุพรรณบุร ี ชือ่ เมืองนีป้ รากฏในจารึก พ่อขุนรามค�ำแหง (ศิลาจารึกหลักที ่ ๑) และจารึกลานทองวัดส่องคบ (ศิลาจารึก หลักที่ ๔๘) หรือนักวิชาการชี้ว่าสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับสุพรรณภูมิอย่าง เด่นชัด ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการสร้างเมืองและลักษณะทางพุทธศิลป์ที่มี ความคล้ายคลึงกัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิกับทาง สุโขทัยซึ่งปรากฏในจารึกกฎหมายลักษณะโจร (ศิลาจารึกหลักที่ ๓๘) จารึก วัดสรศักดิ์ (ศิลาจารึกหลักที่ ๔๙) อันท�ำให้ตีความได้ว่ากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ในราชวงศ์สุพรรณภูมิมักมีเชื้อสายทางมารดามาจากราชวงศ์พระร่วงของ สุโขทัย จารึกวัดสรศักดิ์ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�ำแหง จ. สุโขทัย
80
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
๓ ภ า ค
สังคม และเศรษฐกิจ
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
81
ภาค
๓
สังคม และเศรษฐกิจ
สั
งคมสุ โ ขทั ย ประกอบด้ ว ย คนหลากหลายตัง้ แต่กษัตริย์ ลงมาถึงไพร่ทาสอยูร่ ว่ มกันในสังคม ชุ ม ชนเกษตรกรรม เห็ น ได้ จ าก ข้ อ ความในจารึก สุโ ขทัย บางหลัก อย่ า งจารึก วั ด สรศัก ดิ์ (ศิ ล าจารึก หลักที ่ ๔๙) จารึกนครชุม (ศิลาจารึก หลักที ่ ๓) ท�ำให้ทราบว่าชาวสุโขทัยมีการท�ำเกษตรและท�ำนาทีส่ ามารถเลีย้ งดูผคู้ น ในสังคมได้ ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาเรื่องนํ้าได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างคันดินหรือท�ำนบป้องกันนํ้าป่าไหลหลากท่วมเมืองในฤดูนํ้า หรือสร้างระบบ ชลประทานและแหล่งเก็บกักนํ้าเพือ่ แก้ปัญหาขาดแคลนนํ้าในฤดูแล้ง สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานให้เมืองสุโขทัยสามารถเลี้ยงตัวเอง และรองรับการ ขยายตัวของชุมชนซึ่งเป็นชุมทางการค้าที่สำ� คัญในช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกันสุโขทัยก็ยังเป็นสังคมที่มีการติดต่อค้าขายกันอย่างเข้มข้น ซึ่งเห็นได้จากจารึกสมัยพระยาลิไทยที่กล่าวถึงการขี่ม้าไปค้าขาย และข้อความ หลักฐาน ที่กล่าวถึงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น เบี้ย เงิน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าความ มั่งคั่งอันเกิดจากการค้านั้นส่วนหนึ่งมาจากท�ำเลที่ตั้งเหมาะสมของสุโขทัยนี่เอง นอกจากการค้าขายของป่าและแร่ธาตุแล้ว แคว้นสุโขทัยยังผลิตสินค้า ส�ำคัญคือเครือ่ งปัน้ ดินเผา ซึง่ ต่อมาได้พฒ ั นาฝีมอื จนสามารถผลิตเป็นเครือ่ งสังคโลก และขยายการผลิตออกไปในระดับที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรม และส่งออก ขายเป็นสินค้าส�ำคัญในสมัยอยุธยา แคว้นสุโขทัยเริม่ หมดบทบาทในการเป็นชุมทางการค้าลงเมือ่ อยุธยาเติบโต ขึ้น และมีบทบาทในการเป็นเมืองท่าทางการค้าอย่างโดดเด่นแทนที่สุโขทัย
ก่อนสมัยสุโขทัย
82
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
กลุ่มคน
๘
บ ท ที่
ในสังคม สังคมสมัยสุโขทัยมีการจัดแบ่งกลุ่มคนอย่างไร จากเนื้อความในจารึกสุโขทัย กล่าวถึงกลุ่มคนในสังคมซึ่งมีสถานะต่าง ๆ ไว้ ประกอบด้วย กษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง พระสงฆ์ ไพร่ ข้า-ทาส กลุ่มคนที่มีบทบาทในสังคมมีดังนี้ กษัตริย ์ ในจารึกสุโขทัยปรากฏค�ำเรียกกษัตริยไ์ ว้หลายแบบ เช่น พ่อขุน ศรีนาวน�ำถม พ่อขุนรามค�ำแหง พระยาลิไทย ธรรมราชา เป็นต้น พระราชวงศ์ เป็นกลุ่มที่มีบทบาทส�ำคัญทางการปกครอง เพราะได้รับ ความไว้ใจจากกษัตริย์ให้ไปปกครองเมืองต่าง ๆ ในจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษา เขมร (ศิลาจารึกหลักที่ ๔) พบค�ำว่า “ราชสกุล” ปรากฏในเรื่องที่กล่าวถึง พระยาลิไทยทรงให้ราชสกุลและเหล่าอ�ำมาตย์มนตรีไปต้อนรับพระมหาสามีสังฆราชจากนครพัน ดังค�ำแปลในจารึกด้านที ่ ๒ บรรทัดที ่ ๒๐-๒๒ ทีว่ า่ “ตลอด หนทาง ใช้ให้อ�ำมาตย์มนตรี ราชสกุลทั้งหลายไปต้อนรับ บูชาสักการะจาก เมืองฉอดมาถึงเมืองเชียงทอง ถึงเมืองบางจันทร์ บางพาน แล้วถึงเมืองสุโขทัย
ภาพปูนปั้นจากวัดพระพายหลวงและวัดเจดีย์สี่ห้อง รวมทั้งเศียรเทวดาสังคโลก เป็นหลักฐานที่อาจแสดงให้เห็นถึงการแต่งกายของกลุ่มคนในระดับกษัตริย์และพระราชวงศ์
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
83
๙
บ ท ที่
การเกษตรกรรม
พื้นที่ทำ�เกษตรของเมืองสุโขทัยมีลักษณะเช่นไร ตัวเมืองสุโขทัยตัง้ อยูบ่ นทีล่ าดระหว่างเขาหลวงกับแม่นํา้ ยม ห่างจากแม่นํา้ ยม ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร แม้ว่าทางเหนือและตะวันออกของตัวเมืองจะมีลำ� นํา้ แม่ล�ำพันไหลผ่านแต่ก็เป็นสายเล็ก ๆ เพียงสายเดียว เมืองสุโขทัยจึงค่อนข้าง แห้งแล้ง และมีปัญหาเรื่องนํ้า คือนํ้าน้อยในฤดูแล้ง และนํ้าหลากในฤดูนํ้า
ชาวเมืองสุโขทัยแก้ปัญหาเรื่องนํ้าอย่างไร ชาวสุโขทัยแก้ปญ ั หาเรือ่ งการขาดแคลนนํา้ ในการท�ำเกษตรด้วยการสร้างระบบ ชลประทาน ก่อแนวคันดินใหญ่เบี่ยงเบนเส้นทางนํ้าและท�ำเหมืองฝายเชื่อม ท่อส่งนํ้าเข้าทีน่ าในพื้นที่บริเวณศรีสัชนาลัย สุโขทัย และก�ำแพงเพชร ส่วนปัญหานํ้าป่าจากเทือกเขาหลวงทางตะวันตกของเมืองที่ไหลหลาก มาสร้างความเสียหายกับบ้านเรือนนั้น ชาวสุโขทัยใช้วิธีสร้างคันดินเพื่อเบี่ยง และชะลอนํ้าให้ไปลงคูน้ําสามชั้นที่ขุดไว้ล้อมรอบเมืองสุโขทัย แล้วให้น้าํ ไหล ไปตามแนวชักนํา้ ลงสู่สระนํา้ หรือทีเ่ รียกว่า “ตระพัง” ขนาดใหญ่หลายแห่งใน ตัวเมือง ตระพังเหล่านี้สร้างโดยการขุดบ่อขึ้นแล้วกรุอิฐหรือศิลาแลงไว้เพื่อ ป้องกันนํ้าซึมลงดิน เป็นวิธีเก็บกักนํ้าในฤดูฝนที่มีเกินความต้องการไว้ 86
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
ตามวัดส่วนใหญ่ในเมืองสุโขทัยจึงมีคนู าํ้ ล้อมรอบ และมีตระพัง เล็กใหญ่เป็นแหล่งกักเก็บนํ้าในฤดูฝนเอาไว้ใช้ทั้งปี ได้แก่ ตระพัง ตระกวน ตระพังสอ ตระพังเงิน ตระพังทอง ส่วนนอกเมืองมีตระพัง ช้างเผือก และตระพังทองหลาง นอกจากนี้ในย่านชุมชนยังพบบ่อนํ้ารูปกลมกรุด้วยอิฐและ สระนํา้ รูปสีเ่ หลีย่ มขนาดเล็กจ�ำนวนมาก คาดว่าน่าจะใช้กกั เก็บนํา้ ที่ ไหลซึมมาจากตระพังอีกทอดหนึ่ง นับได้ว่าเมืองสุโขทัยมีความโดดเด่นในเรื่องระบบการจัดการนํ้าอย่าง มาก สระ ตระพังเงิน สระ
บ่อน�้ำส�ำหรับใช้สอย ตั้งอยู่ในบริเวณที่ สันนิษฐานว่าเป็นเขต ตั้งบ้านเรือนของราษฎร
ตระพังวัดสระศรี
ภาพถ่ายทางอากาศอาณาบริเวณวัดมหาธาตุ จะเห็นสระและตระพังขนาดใหญ่น้อยกระจายอยู่ตามวัดต่าง ๆ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยในเรื่องการจัดการกับปัญหาเรื่องน�้ำมากน�ำ้ น้อย
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
87
สรีดภงส์
“สรีดภงส์” เป็นค�ำทีพ่ บในจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ด้านที ่ ๓ บรรทัดที ่ ๕ มีความว่า “...มีสรีดภงส มีปา่ พร้าวป่าลาง มีปา่ ม่วงป่าขาม...” นักวิชาการได้ให้ความหมายและค�ำอธิบาย ตลอดจนหาต�ำแหน่งทีต่ งั้ ของสรีดภงส์ โดยเฉพาะ บริเวณทิศใต้ของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีแนวท�ำนบและแนวคันดินเพื่อการชลประทานอยู่หลายแห่ง แต่ก็ยังมิอาจระบุ อย่างแน่ชัดได้ว่าคือบริเวณใด มีเพียงค�ำอธิบายถึงลักษณะและข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต�ำแหน่งของสรีดภงส์ ดังปรากฏอยู่ในหนังสือต่าง ๆ ดังนี้ หนังสือศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามค�ำแหง (หอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๒๐) ให้ความหมายว่า “สรีดภงส์ - ท�ำนบ (ภาษาสันสกฤตว่า สริทฺภงฺค)” ส่วนหนังสือสารานุกรมสุโขทัยศึกษา เล่ม ๒ (ผ-ฮ) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๙) ให้ค�ำอธิบาย ไว้ว่า “...ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณได้มีความเห็นว่า ค�ำนี้มีความหมายถึงท�ำนบ ดังนั้นในสมัยแรกของการ ศึกษาเกีย่ วกับเมืองสุโขทัยโบราณ นักวิชาการจึงมีความเห็นว่าร่องรอยโบราณสถานทีเ่ ป็นคันดินโบราณทีเ่ ป็นแนว ยาวอยู่ระหว่างเขาพระบาทใหญ่และเขากิ่วอ้ายมา...จึงลงความเห็นว่า ท�ำนบพระร่วง น่าจะตรงกับ สรีดภงส์ ใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั่นเอง ต่อมาเมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับเมืองสุโขทัยมากยิ่งขึ้น ได้พบว่ารอบ ๆ เมืองสุโขทัยนั้นมีร่องรอยคันดินเพื่อ การชลประทานมากมาย มิใช่มีเฉพาะตรงที่เรียกว่าท�ำนบพระร่วงเพียงแห่งเดียว...ด้วยเหตุนี้คันดินที่เรียกว่าท�ำนบ พระร่วงซึง่ อยูท่ างทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง ย่อมมิใช่สรีดภงส์ในศิลาจารึกหลักที ่ ๑ แต่อย่างไรก็ดจี นกระทัง่ บัดนีก้ ย็ งั มิได้มนี กั วิชาการคนใดระบุให้แน่นอนลงไปว่า คันดินเพือ่ การชลประทานในสมัยโบราณทีอ่ ยูท่ างทิศใต้ของ เมืองสุโขทัยนั้น ต�ำแหน่งใดควรเป็นสรีดภงส์ตามที่ศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึง” อ. ศรีศกั ร วัลลิโภดม ให้คำ� อธิบายในหนังสือเมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย (เมืองโบราณ, ๒๕๕๒) ไว้วา่ “...การทีห่ มายไปถึงบริเวณทีเ่ รียกว่าเขือ่ นพระร่วงนัน้ ก็เพราะในระยะนัน้ เป็นสิง่ ทีแ่ ลเห็นได้ชดั ด้วยตาเพียงแห่งเดียว อันทีจ่ ริงทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของเมืองสุโขทัยมีรอ่ งรอยของคันดินหรือเขือ่ นเช่นนีอ้ กี หลายแห่ง จึงไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เรียกว่าสรีดภงส์ในจารึกนั้นหมายถึงบริเวณเขื่อนพระร่วงหรือที่ไหนแน่...”
บริเวณที่เชื่อกันว่า คือสรีดภงส์ที่กล่าวถึง ในจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน�้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน�้ำทีส่ �ำคัญ ส�ำหรับเมืองสุโขทัย
88
ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย
พบหลักฐานเกี่ยวกับคันดินหรือทำ�นบบังคับ ทางนํ้าที่ชาวสุโขทัยสร้างขึ้นอยู่ที่ใดบ้าง หลักฐานเกี่ยวกับแนวคันดินหรือท�ำนบบังคับทางน�้ำที่ยังคงเหลืออยู่ ปัจจุบัน พบได้ทวั่ ไปตามพืน้ ทีซ่ งึ่ มีภมู ปิ ระเทศลาดเอียงรอบนอกเมืองสุโขทัย มีลกั ษณะ เป็นแนวคันดินทีท่ ำ� หน้าทีเ่ บีย่ งเบนน�ำ้ ไปยังทิศทางทีต่ อ้ งการ โดยเฉพาะบริเวณ เชิงเขาด้านทิศตะวันตกติดต่อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองจะพบ คันดินลักษณะนี้มากที่สุด หลักฐานส�ำคัญอันหนึ่ง คือแนวคันดินใหญ่ที่คนในท้องถิ่นปัจจุบัน เรียกว่า “ถนนพระร่วง” เป็นทางตรงเชื่อมระหว่างสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และ
บานพระฝาง
จ. อุตรดิตถ เขาเขน-เขากา
บานบอศาลา บอพระ
อ. ตรอน
แผนที่ปัจจุบันแสดง แนวถนนพระร่วง ที่เชื่อมระหว่างสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ก�ำแพงเพชร
บานถนนพระรวง
อ. พิชัย
อ. ทุงเสลี่ยม
บานวังหาด บานตลิ่งชัน
อ. เมืองบางขลัง
ัน
ลำพ
้ำ แมน
บานลาวมะครอ
อ. สวรรคโลก
ถนนพระรวง
ถ. พหลโยธิ
น
แมน้ำ ว
ัง
อ. ศรีสัชนาลัย
เมืองเกา สุโขทัย
บึงหลม
อ. ศรีสำโรง
บึงปลาเนา
จ. สุโขทัย
อย
ควน น้ำแ
ิถีถอง
ดว
ถ. จร
บานเขา สมอแครง
ระร
้ำป
ถน นพ
ม
น แม
้ำย แมน
วง
จ. ตาก ง
บานบึงพระ
บานนครชุม
จ. กำแพงเพชร
จ. พิจิตร บานอูตะเภา
บานทาเสลี่ยง
(แผนที่ : กฤช เหลือลมัย)
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร
89
ชุดถาม-ตอบ
เสริมความรูสาระประวัติศาสตร
ฉบับ นักเรียน นักศึกษา
ชุ ด ถาม-ตอบ
เ ส ริ ม ค ว า ม รู ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร
ชุ ด ถ า ม - ต อ บ
เ ส ริ ม ค ว า ม รู ส า ร ะ ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ส มั ย
สุโขทัย
จารึกพอขุนรามคําแหงและจารึกวัดศรีชุมมีความสําคัญตอประวัติศาสตร สมัยสุโขทัยอยางไร ขอมสบาดโขลญลําพงเปนใคร เหตุใดพอขุนผาเมืองไมทรงครองเมืองสุโขทัยเอง ทั้ง ๆ ที่เปนผูยึดเมืองได และพระองค ยังเปนโอรสของพอขุนศรีนาวนําถม ซึ่งครองเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยมากอนดวย พระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเปนเจา เปนใคร แควนสุโขทัยมีรูปแบบการปกครองแบบใด ไพรในสุโขทัยมีกี่ประเภท ชาวเมืองสุโขทัยแกปญหาเรื่องนํ้าอยางไร ชาวสุโขทัยรูจักการทําสังคโลกตั้งแตเมื่อไร สมัยสุโขทัยนับถือศาสนาอะไรบาง แควนสุโขทัยเสื่อมอํานาจลงอยางไร
ผูเขียน
กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร บรรณาธิการวิชาการ
ดร. ธิดา สาระยา
ราคา ๒๔๐ บาท
ISBN 978-974-484-349-4
๒๔๐.-
เรียนรูจากหลักฐานและการวิเคราะห ของนักประวัติศาสตร เขาใจพัฒนาการและความเปลี่ยน แปลงสมัยสุโขทัย ความสัมพันธทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม พรอมภาพหลักฐานสําคัญกวารอยภาพ