ประวัติ ศาสตราจารย นายแพทย เฉลียว ป ยะชน
“
งานชิ้นนี้เมื่อได ผ านสายตาละเอียด ข าพเจ าตระหนักดีว าเป นงานที่มีคุณค า มาก เป นผลงานค นคว าของคุณหมอ มิเสียทีที่ทุ มเทจิตใจมาทางศิลปวัฒนธรรม ไทยอย างเนิ่นนานและมิได ทิ้ง เป นที่สรรเสริญอย างยิ่ง เรือนกาแลทางเหนือเป นมรดกทางวัฒนธรรมของล านนาซึ่งเหลือตกทอด ให เราได ศึกษา รอวันที่ผู สนใจจะเจาะลึกลงไปทำความเข าใจให ถ องแท น. ณ ปากน้ำ
ราคา ๓๐๐ บาท ISBN 978-974-7385-43-4
หมวด ศิลปะและสถาป ตยกรรม
๓๐๐.-
”
ป จจุบัน • ศาสตราจารย เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม • ประธานมูลนิธิต อต านโรคมะเร็งภาคเหนือ • รังสีแพทย โรงพยาบาลลานนา • ป จจุบันเป นที่ปรึกษาที่จีรัง เฮลท วิลเลจ เชียงใหม ศ. นพ. เฉลียว ป ยะชน มีความสนใจในด านศิลปกรรมไทย มาโดยตลอด หนังสือ เรือนกาแล เล มนี้เกิดขึ้นจากการใช เวลาว าง จากหน าที่การงานประจำออกสำรวจเก็บข อมูลเรือนกาแลในเมือง เชี ย งใหม แ ละใกล เ คี ย ง เป น ผลงานด า นศิ ล ปะสถาป ต ยกรรม อันทรงคุณค าเล มหนึ่ง
เฉลียว ป ยะชน
การศึกษาและตำแหน งทางวิชาการ • แพทยศาสตร บัณฑิต (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร ) คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย • Diplomate American Board of Radiology University of Pittsburgh, USA • รองศาสตราจารย คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย • ศาสตราจารย คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม
เฉลี ย ว ป ย ะชน
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
ISBN 978-974-7385-43-4 หนังสือ เรือนกาแล ผู้เขียน เฉลียว ปิยะชน พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ (โดยสำนักพิมพ์เมืองโบราณ) จำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๓๐๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์เมืองโบราณ ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด บรรณาธิการเล่ม อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ภาพ เฉลียว ปิยะชน ออกแบบปก/รูปเล่ม นฤมล ต่วนภูษา ควบคุมการผลิต ธนา วาสิกศิริ แยกสี/เพลท เอ็น. อาร์. ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ที่ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ จัดจำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
เฉลียว ปิยะชน เรือนกาแล. --กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๒. ๒๒๔ หน้า. ๑. เรือนกาแล (เชียงใหม่) ๒. สถาปัตยกรรม I. ชื่อเรื่อง. ๗๒๘ ISBN 978-974-7385-43-4
สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ในนาม บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม
เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิโภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช พิชัย วาศนาส่ง สุวรรณา เกรียงไกร-
เพ็ชร์ ผูอ้ ำนวยการ สุวพร ทองธิว ผูจ้ ดั การทัว่ ไป/ผูอ้ ำนวยการฝ่ายศิลป์ จำนงค์ ศรีนวล ผูอ้ ำนวย-
การฝ่ายการตลาดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ อภิวันทน์
อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
aw kalae intro.indd 2
10/7/09 3:38:55 PM
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์ คำนำโดย น. ณ ปากน้ำ คำนิยมโดย อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ คำนำจากผู้เขียน ภาค ๑ การศึกษา สำรวจ และวิจัย บทที่ ๑ บทนำ
วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา
บทที่ ๒ ผลของการศึกษาวิจัย
๕ ๖ ๗ ๘ ๑๑ ๑๒
๑๓ ๑๔ ๑๖ ๑๖ ๑๗ ๑๗ ๑๙ ๓๕ ๔๐ ๔๑ ๔๑
พื้นที่ที่พบเรือนกาแล สถานภาพของเรือนกาแล ลักษณะรูปร่างของเรือนกาแล ส่วนประกอบและโครงสร้างของเรือนกาแล การตกแต่งประตู-หน้าต่าง ลักษณะสถานที่ตั้งและองค์ประกอบของบ้าน ทิศที่ตั้งของเรือนกาแล แผนผังพื้นอาคารเรือนกาแลแต่ละหลัง และรูปถ่ายประกอบ ภาค ๒ วิเคราะห์วิจารณ์เรือนกาแล
๗๙
๘๔ ๘๔
บทที่ ๓ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของล้านนา (โดยสังเขป) ๘๐ บทที่ ๔ พิธีกรรมในการปลูกเรือน ๘๓
aw kalae intro.indd 3
การหาฤกษ์ยามและช่วงเวลาที่เหมาะสม การหาวัสดุและเตรียมการ
การหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกเรือนและเตรียมการ พิธีปก (ยก) เสาเรือนลงหลุม
เสา เสาดั้ง-ใบดั้ง แวง-ตง พื้นเรือน แป้นท่อง เครื่องบน ขื่อและแปหัวเสา ขื่อกว้าน (ขื่อคัด) เสาม้าต่างไหม เสาป็อก (เสาตุ๊กตา) ตั่งโย แปจอง คาบ กลอน, กอน (กลอน) และก้านฝ้า (ไม้ระแนง) ดินขอ (กระเบื้องดินเผา) แป้นน้ำย้อย (เชิงชาย) ขัวอย้าน เธิง (ฝ้าหรือเพดาน) ปั้นลม ลักษณะทรงหลังคา
บทที่ ๕ ไทยยวนและที่มาของเรือนกาแล หรือเรือนแบบ “เชียงแสน” บทที่ ๖ ลักษณะทั่วไปและการแบ่งชนิดเรือนกาแล บทที่ ๗ สัดส่วนของเรือน บทที่ ๘ ส่วนประกอบโครงสร้างและลักษณะเฉพาะของเรือนกาแล
๘๕ ๘๗
๘๙ ๙๓ ๑๐๔ ๑๐๖
๑๐๖ ๑๐๘ ๑๐๘ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๐๙ ๑๑๑ ๑๑๑ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๒ ๑๑๔ ๑๑๔ ๑๑๔ ๑๑๕
10/7/09 3:38:55 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
แหนบ (จั่ว) ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและความสูงของจั่ว แหนบเติน ฝา
ประตูเรือน บานประตูและข่มตู แซว่ ปล่อง, ป่อง, ประตูป่อง ยาง (เต้า) ยางค้ำ, ปีกยาง ฮางริน (รางน้ำ) ขัวอย้าน ฅวั่น ชาน เหล็กกน (ตะปู, ตะปูจีน) ขั้นได (บันได) และเสาแหล่งหมา ร้านน้ำ หิ้งพระ, หิ้งพระเจ้า หิ้งผีปู่ย่า
บทที่ ๙ ส่วนประกอบอื่นๆ ของเรือนกาแล
บทที่ ๑๐ การตกแต่ง
กาแล รูปทรงกาแล ลวดลายแกะสลักของกาแล ที่มาของกาแล หัมยนต์, หำยนต์
aw kalae intro.indd 4
๑๑๖ ๑๒๑ ๑๒๓ ๑๒๔
๑๔๐
๑๔๐ ๑๔๓ ๑๔๔ ๑๔๔ ๑๔๗ ๑๔๗ ๑๕๑ ๑๕๒ ๑๕๒ ๑๕๒ ๑๕๓ ๑๕๔ ๑๕๕ ๑๕๗ ๑๕๙
๑๖๐
๑๖๐ ๑๖๑ ๑๖๑ ๑๖๙ ๑๗๑
ลวดลายการแกะสลักของหัมยนต์ ลายแกะสลัก “ซุ้ม” กระดูกงู การโค้งเว้าขอบล่าง เอกลักษณ์ของลวดลายล้านนา ไม้ปิดหัวแป ไม้ปิดหัวอกไก่
๑๗๒ ๑๘๕ ๑๘๗ ๑๘๗ ๑๘๘ ๑๘๙
บทที่ ๑๑ การจัดแบ่งส่วนใช้สอย บทที่ ๑๒ เครื่องใช้ประจำบ้านและสิ่งประดับอื่นๆ บทที่ ๑๓ องค์ประกอบอื่นๆ ของบ้าน
๑๙๑ ๑๙๔ ๑๙๗
บทที่ ๑๔ เรือนกาแลและอาคารร่วมสมัยในล้านนา บทที่ ๑๕ ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเรือนกาแลและอายุเรือน
๒๐๒ ๒๐๕
หลองเข้า, หลองข้าว (ยุ้งข้าว) ท้อมน้ำ, ท้อมอาบน้ำ ข่วงบ้าน (บริเวณบ้าน) และรั้วบ้าน
ลักษณะเรือนกาแลและอายุของเรือน ภาค ๓ สรุป
บทที่ ๑๖ การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเรือนกาแล และเรือนไทยเดิมภาคกลาง บทที่ ๑๗ บทสรุป บทที่ ๑๘ บทส่งท้าย
บรรณานุกรม ดัชนี
๑๙๗ ๒๐๑ ๒๐๑ ๒๐๕
๒๐๗ ๒๐๘ ๒๑๔ ๒๑๖
๒๑๙ ๒๒๐
10/7/09 3:38:56 PM
คำนำสำนักพิมพ์
aw kalae intro.indd 5
เรือนกาแล เป็นชื่อเรียกเรือนไม้พื้นถิ่นของชาวเหนือ ที่มีรูปแบบ องค์ประกอบ วิธีการปลูกเรือน และคติ
ความเชื่อเกี่ยวกับเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ เรือนกาแลแต่ละหลังจึงมีความหมายมากกว่าการเป็นเรือนพักอาศัย เพราะนี่คือผลงาน
สร้างสรรค์ที่สะท้อนภูมิปัญญาในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของมนุษย์ ผสานกับความเชื่อในวิถีชีวิตของคนล้านนา
ทว่าสำหรับยุคปัจจุบันที่มีโลกทัศน์และค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เรือนกาแลไม้เก่าแก่ถูกรื้อลง
เป็นจำนวนมากในช่วง ๓๐ ปีมานี้ แม้เรือนบางหลังจะได้รับการซ่อมแซมและอนุรักษ์จากหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนที่ทำงาน
ด้านศิลปะและวัฒนธรรมอยู่บ้าง กระนั้นก็ยังยากที่จะพบเห็นเรือนกาแลที่ยังคงสภาพการเป็นที่พักอาศัย คงเหลือร่องรอยเพียง
ไม้ไขว้กากบาทที่เรียกว่า กาแล ติดอยู่ที่หน้าจั่วของอาคารหรือตึกแถวสมัยใหม่ อันสะท้อนถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ
เรือนกาแลของคนปัจจุบัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลียว ปิยะชน คุณหมอผู้สนใจศึกษางานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยมานานนับปี ได้ทำการ
สำรวจ ศึกษาวิเคราะห์ และบันทึกภาพเรือนกาแลในเขตเมืองเชียงใหม่และอำเภอใกล้เคียงเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๐ ในช่วง
เวลาที่เรือนกาแลเริ่มถูกรื้อถอน ข้อมูลอันทรงคุณค่านี้ได้รับการเผยแพร่เป็นหนังสือ เรือนกาแล เล่มนี้ งานชิ้นนี้ทำให้เราได้รู้จัก
เรือนกาแลอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของเรือน ลักษณะพิเศษของเรือนกาแลที่ต่างจากเรือนไทยฝาปะกน
หรือเรือนไทยเดิมของทางภาคกลาง ความรู้ของช่างพื้นถิ่นในการปลูกเรือนที่แฝงด้วยคติความเชื่ออันสะท้อนโลกทัศน์ของ
ชาวล้านนาที่สำคัญคือ เรือนกาแลเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย ที่ผู้คนในแต่ละ
ท้องถิ่นต่างมีคตินิยมทางสังคมและแบบแผนประเพณีที่สืบทอดจากบรรพบุรุษแตกต่างกันไป แต่ก็อยู่ร่วมกันได้ในดินแดนไทย
และดำรงความเป็นคนไทยเหมือนกัน เรื่องราวของเรือนกาแลจึงมิใช่เรื่องเฉพาะทางสถาปัตยกรรมหรือเรื่องของชาวล้านนาเท่านั้น แต่นี่คือสิ่งเล็กๆ ที่นำพา
ให้เราได้เข้าใจถึงศิลปะและวัฒนธรรมที่มีในสังคมไทยมากขึ้น สำนักพิมพ์เมืองโบราณ ตุลาคม ๒๕๕๒
10/7/09 3:38:57 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
คำนำโดย
อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ
aw kalae intro.indd 6
คุณหมอเฉลียว ปิยะชน กับข้าพเจ้าและคุณหมอวิชัย โปษยจินดา เคยออกตระเวนถ่ายรูปไปตามวัดต่างๆ
ในธนบุรีและอยุธยาเพื่อเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลป์ เมื่อสิบกว่าปีมานี้เราเคยร่วมถ่ายรูปด้วยกันหลายครั้ง บางครั้ง
อวบ สาณะเสนก็ไปร่วมด้วย พร้อมทั้งคุณกมล ฉายาวัฒนะ โดยที่คณะแพทย์แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ร่วมกันตั้งชมรม
ศึกษาค้นคว้าศิลปกรรมไทยโบราณขึ้น บางครั้งก็มีการฉายสไลด์ดูผลงานที่ถ่ายกันมา หลังจากนั้นคุณหมอทั้งหลายก็แยกย้ายกันไปตามหน้าที่ บ้างก็ขึ้นไปควบคุมทางโครงการแพทย์ในที่ไกลๆ เป็นระยะเวลา
นาน คุณหมอเฉลียวเองก็ย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่ ทำให้การพบปะกันห่างเหินไป เราไม่ได้พบกันทศวรรษเศษๆ จนบัดนี้คุณหมอเฉลียวไปเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่เชียงใหม่
และได้ส่งต้นฉบับที่คุณหมอแต่งเรื่อง เรือนกาแล ซึ่งเป็นหนังสือการค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมไทยทางล้านนาอันสำคัญมาก ข้าพเจ้า
รู้สึกซาบซึ้ง และยังได้เห็นภาพถ่ายประกอบกับภาพลายเส้นซึ่งประกอบคำอธิบายอย่างละเอียด แสดงว่าระยะที่ไม่ได้พบกัน
คุณหมอยังคงจับการค้นคว้าทางศิลปะไทยและถ่ายรูปอย่างไม่ละเว้น งานชิน้ นีเ้ มือ่ ได้ผา่ นสายตาละเอียด ข้าพเจ้าตระหนักดีวา่ เป็นงานทีม่ คี ณุ ค่ามาก เป็นผลงานการค้นคว้าของคุณหมอ มิเสียที
ที่ทุ่มเทจิตใจมาทางศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างเนิ่นนานและมิได้ทิ้ง เป็นที่สรรเสริญอย่างยิ่ง เรือนกาแลทางเหนือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา ซึ่งเหลือตกทอดให้เราได้ศึกษา รอวันที่ผู้สนใจจะเจาะลึกลงไป
ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ บัดนี้ก็ได้มีผู้พยายามเข้าถึงแก่นทางวัฒนธรรมทางเหนือได้ศึกษาค้นคว้า ใช้เวลาขณะที่ขึ้นมารับราชการประจำทางแถบ
เหนือ ทำงานอันสำคัญยิ่งใหญ่ของท้องถิ่นให้เป็นแก่นสารของประวัติศาสตร์ศิลปะทางล้านนา ซึ่งยากที่คนจะหาคนสนใจใยดี
นอกจากแตะต้องกันอย่างฉาบฉวยเท่านั้น ข้าพเจ้าเชื่อว่า เรือนกาแล ของคุณหมอเฉลียวจะเป็นเอกสารสำคัญและเป็นอนุสาวรีย์ของผู้เขียนที่จะอยู่ยั้งยืนยง
โดยมอบให้เป็นสมบัติอันน่าภาคภูมิของชาวล้านนาโดยทั่วไป ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นผลงานที่มีค่ามาก น.ณ ปากน้ำ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการเมืองโบราณ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๑
10/7/09 3:39:01 PM
คำนิยมโดย
อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเรขการ
aw kalae intro.indd 7
ในบรรดามรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยอันอุดมหลากหลายในภาคเหนือของไทยเรานั้น สิ่งหนึ่งซึ่งเด่นเป็น
เอกลักษณ์ของดินแดนล้านนาไทยได้แก่ เรือนไม้ที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่าเรือนกาแล นอกจากไม้กาแลที่ประดับเป็นสัญลักษณ์
อยู่บนส่วนยอดหลังคาแลเด่นสะดุดตาแล้ว เรือนกาแลยังมีลักษณะเฉพาะตัวอีกมากมาย นับตั้งแต่แบบแปลน แผนผัง การใช้
วัสดุ และโครงสร้าง ไปจนถึงส่วนประกอบอื่นๆ เช่น หำยนต์ ร้านน้ำ ควั่น เสาแหล่งหมา ฯลฯ นับเป็นเคหะสถาปัตยกรรม
ที่พัฒนามาจนถึงขั้นสมบูรณ์แบบทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและในด้านสุนทรียภาพอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามสมบัติวัฒนธรรมอันน่าภาคภูมิใจของล้านนาและของประเทศไทย สิ่งเหล่านี้กำลังสูญหายไปอย่างน่า
เสียดายยิ่ง เรือนกาแลที่มีอายุระหว่างแปดสิบปีถึงหนึ่งร้อยยี่สิบปียังคงหลงเหลืออยู่ประมาณยี่สิบหลังเท่านั้น และจำนวนที่ว่านี้
กำลังลดลงทุกปี การปล่อยปละละเลยในทางอนุรักษ์ศิลปกรรมของทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้เรือนกาแลตกเป็นเหยื่อของ
กาลเวลาและการพัฒนาที่มุ่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับสมบัติทางศิลปวัฒนธรรมไทยอื่นๆ อีกมากมาย ด้วยความอาทรห่วงใยต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมอันมีค่าและกำลังเสื่อมสูญไปอย่างรวดเร็วนี้ นายแพทย์เฉลียว ปิยะชน
ซึ่งเป็นผู้รักในศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง ได้อุทิศแรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ส่วนตัว สำรวจและวินิจฉัยบรรดาเรือนกาแล
เท่าที่จะค้นพบได้ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ผลงานที่ปรากฏในรูปเอกสารชื่อ เรือนกาแล มีคุณค่าทางวิชาการสูงยิ่ง
เพราะผู้สำรวจวิจัยได้ใช้ทั้งความรักความสนใจทางศิลปะ และความละเอียดลออเป็นระบบทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
เอกสารฉบับนี้เมื่อได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จะมีฐานะเป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการที่มีค่าอย่างยิ่งต่อสถาปนิก นักประวัติศาสตร์-
ศิลป์ นักอนุรักษ์ศิลปกรรม และผู้สนใจจริงจังต่อศิลปวัฒนธรรมไทยทุกคน นายแพทย์เฉลียว ปิยะชน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอาชีพ หน้าที่การงานใดๆ มิได้เป็นอุปสรรคต่อความสนใจ ความรักต่อ
ศิลปวัฒนธรรม ตราบเท่าที่บุคคลนั้นๆ มีตาที่เห็นสุนทรียรส มีความอาทรใคร่ให้เพื่อนร่วมโลกร่วมสังคมได้ชื่นชมสิ่งดีงาม
และมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้าพเจ้าขอชมเชยและสนับสนุนการเผยแพร่เอกสารอันมีคุณค่าฉบับนี้ด้วยความจริงใจ นายศิริชัย นฤมิตรเรขการ อาจารย์พิเศษ วิชาอนุรักษ์ศิลปกรรม สาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และรองนายกสมาคม
10/7/09 3:39:05 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
คำนำจากผู้เขียน
aw kalae intro.indd 8
การวิจัยค้นคว้าเป็นกระบวนการวิธีหนึ่ง ที่มุ่งเพื่อตอบปัญหาและ/หรือเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะ
ข้อมูลใหม่หรือเป็นข้อมูลเก่าที่ยังไม่เคยมีการกล่าวถึง สำหรับงานที่เสนอชิ้นนี้ตั้งใจที่จะตอบความต้องการดังกล่าวของตัวเอง
แต่เมื่อเริ่มดำเนินการมากขึ้น ก็พบว่าน่าจะทำให้เป็นระบบเพื่อที่จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถให้ผู้สนใจได้รับทราบหรือศึกษา
ได้ ผลงานใดก็ตามไม่สามารถเกิดขึ้นเองหรือผลิตขึ้นมาเองด้วยปัจเจกบุคคลได้ อย่างน้อยสังคม-สิ่งแวดล้อมย่อมมีส่วน
ผลักดันไม่มากก็น้อย ในทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับเรือนไทยอย่างกว้างขวางและเห็นได้ชัด ยังผลให้มีการศึกษา
กันมากขึ้น ยอมรับว่าเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับแรงผลักดันนี้ ในระยะแรกก็เป็นเพียงแต่สนใจ ต่อมาก็เริ่มเกิดความต้องการอยากอยู่
เรือนไทย อันนำมาซึ่งการศึกษาหาข้อมูลโดยเฉพาะเรือนไทยเดิมภาคกลางและเรือนล้านนาตามลำดับ เมื่อมีความสนใจแต่
ผิวเผินก็เหมาเอาว่าไม่มีอะไรมากนักที่ควรศึกษา และคาดการณ์ว่าได้มีผู้ศึกษาไว้แล้ว หลายปีผ่านไปโดยไม่ค่อยได้ทำอะไร
เกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก จวบจนกระทั่งวันหนึ่งก็พบเรือนกาแลในตัวเมืองเชียงใหม่โดยบังเอิญ (เรือนหลังที่ ๑) ประกอบกับเรือน
กาแลหลายหลังที่เคยเห็นได้ถูกรื้อถอนไป จึงเกิดความบันดาลใจว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะหมดไป และต้องทำการศึกษาอย่างจริงจัง
เสียที ในเวลานี้ก็เกือบจะสายเสียแล้ว การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มุ่งหวังที่จะให้ละเอียดมากที่สุด อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าเรือนกาแลนั้นมีรายละเอียดมากมายต่างจาก
ที่เข้าใจหรือเคยรู้มา เนื่องจากการเป็นแพทย์และทำการวิจัยมาแล้วในสาขาวิชาแพทย์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในสายวิทยาศาสตร์
จึงนำประสบการณ์ในวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ รูปแบบการวิจัยจึงประกอบด้วยการหาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ให้มากที่สุดที่จะ
มากได้ นำมาวิเคราะห์ วิจารณ์ และสรุปในที่สุด โดยใช้เอกสารข้อมูลกับวิจารณญาณของตัวเองประกอบ แต่ยึดถือผลสรุปข้อมูล
ทางเอกสารและการค้นสำรวจพบสำคัญสุด การนำเสนอในครั้งนี้ปรากฏในรูปแบบของรายงานการวิจัยหรือเอกสารทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางการ
แพทย์ต่างๆ เช่น ประกอบด้วยบทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผล วิจารณ์ สรุป เป็นต้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้สะดวกในการอ่าน
จึงบรรจุข้อมูลพื้นฐานและคำอธิบายไว้ด้วย ข้อมูลเหล่านี้คงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจและยังไม่รู้ แต่สำหรับผู้รู้แล้วก็คงจะ
ไม่จำเป็น เช่นเดียวกันเมื่อถึงตอนวิจารณ์ ก็นำมากล่าวอีกแต่เป็นในแง่มุมการวิจารณ์เป็นหลัก ข้อความบางตอนจึงซ้ำซ้อนกัน
บ้าง หวังใจว่าผู้อ่านคงจะอ่านได้ความโดยไม่ลำบากนัก ข้อมูลที่รวบรวมประกอบการวิจารณ์และสรุปทั้งหมดนี้นับได้ว่าเป็น
การเสนอสมบัติศิลปวัฒนธรรมของล้านนา และจงใจเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ในด้านนี้ให้ก้าวหน้าและผดุงรักษาไว้ตลอดไป ศิลปะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนแต่กล่อมเกลาจิตใจได้เป็นอย่างดี ได้สนใจมานานและเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งชมรมศิลปไทย
แพทย์จุฬาฯ ตั้งแต่สมัยเป็นอาจารย์อยู่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ราวปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้เริ่มทำกิจกรรมกันมาตลอดจวบจนปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงได้ย้ายมาอยู่เชียงใหม่ ในครั้งนั้นมีอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ อาจารย์อวบ สาณะเสน และนายแพทย์วิชัย
10/7/09 3:39:06 PM
โปษยะจินดา เป็นผู้ให้วิทยาทาน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นวิทยากรประจำ กิจกรรมส่วนใหญ่คือ เที่ยวดู เสาะแสวงหาศิลปะไทย
ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ตามวัด เป็นภาพเขียนฝาผนัง งานแกะสลัก งานปูนปั้น เป็นต้น พวกเรามีนับสิบกว่าคน เที่ยวดูกันทั่วประเทศ
บันทึกภาพไว้หลายพันภาพ ถ้าจะนับก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เข้าใจสิ่งเหล่านี้ดีขึ้น และนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นซึ่งทำให้มีวันนี้และ
ผลงานที่ปรากฏนี้ ขอรับว่าวิธีการสืบเสาะหาข้อมูลทางศิลปะนั้นส่วนหนึ่งได้เรียนรู้มาจากอาจารย์ประยูร เพราะท่านเป็น
ตัวอย่างที่ดีมาก ผมขอน้อมคารวะท่านอาจารย์ที่กล่าวนามมาเป็นอย่างสูง และขอขอบคุณสมาชิกในชมรมฯ ด้วยหวังใจว่า
เรื่องราวต่อไปนี้คงจะมีประโยชน์บ้าง เฉลียว ปิยะชน
aw kalae intro.indd 9
10/7/09 3:39:07 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
12
บทที่ ๑
บทนำ เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควรผดุงรักษาไว้
เพราะนอกจากเป็นสิ่งดีงามของชนชาติแล้ว ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิ เป็นจุดรวม
ด้านจิตใจของชนชาติในอันจะนำมาซึ่งความสามัคคี เหนือสิ่งอื่นใดถ้าปราศจาก ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติเสียแล้ว เราก็ไปรับหรือยึดถือศิลปวัฒนธรรมของชาติอื่น
ความเป็นไทยคงจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป เหตุเนื่องจากปัจจุบันยังมีคนหลงผิดเป็น
จำนวนมาก อย่าว่าแต่การสร้างบ้านให้เป็นไทยไทยเลย แม้แต่ชื่อหมู่บ้านยังใช้คำ
ฝรั่ง เมื่อการนิยมศิลปวัฒนธรรมต่างด้าว ภาษาต่างด้าวมากขึ้น ความเป็นไทยย่อม
ลดน้อยลงไป นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวไทยขาดความภาคภูมิในความเป็นไทย
เมื่อเราไม่ภาคภูมิในความเป็นไทยของตัวเราเองแล้ว ก็เหมือนขาดการหลักที่ยึดมั่น
ขาดจิตสำนึกที่ถูกต้องดีงามแน่นอน กิจการงานที่เราทำ รวมทั้งการดำเนินชีวิต
ย่อมเป็นไปอย่างไร้จุดหมายที่ดี อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ส่งผลให้
ประเทศชาติพัฒนาไปทางไม่ถูกต้อง นั่นคือมีโอกาสพัฒนาไปในทางเสื่อมได้ง่าย
ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาศึกษาทุกสิ่งที่เป็นของเราเอง นำความภาคภูมิใจกลับ
มาสู่คนไทยเหมือนเดิม สติสัมปชัญญะและจิตสำนึกที่บริสุทธิ์จะเกิดขึ้น การพัฒนา
จะเป็นไปในทางที่ดี การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของชาติ
แน่นอนสถาปัตยกรรมที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรอนุรักษ์ทำนุบำรุง
*การถ่ายทอดศัพท์ภาษาถิ่นล้านนาในผลงานชิ้นนี้ ใช้ระบบการเขียนแบบปริวัตรอักษรให้สอดคล้อง
กับการเขียนด้วยอักษรธรรมล้านนา โดยดำเนินตาม พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง และพิ ทั ก ษ์ รั ก ษา การวิ จั ย ศึ ก ษา เรื อ นกาแล (อ่ า น “เฮื อ นกาแล”)* จึ ง เกิ ด ขึ้ น
พร้อมนี้ได้เขียนวิธีการอ่านออกเสียงไว้ด้วยในจุดที่ปรากฏคำนั้นๆ เป็นครั้งแรก ด้วยเหตุดังกล่าว
aw kalae 1.indd 12
10/7/09 3:40:45 PM
13
เรือนกาแลเป็นเรือนไม้ที่มีลักษณะเฉพาะของล้านนา ปลูกสร้างมากในสมัย
ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีเหลือให้เห็นได้ในปัจจุบันมาก
กว่าจังหวัดอื่นในภาคเหนือ ซึ่งบางจังหวัดอาจจะไม่มีเหลืออยู่เลย บางจังหวัดใน
ภาคเหนืออาจจะไม่นิยมปลูกสร้างเรือนลักษณะนี้ก็ได้ ที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นปัจจัย
สำคั ญ ของการดำรงชี วิ ต อย่ า งหนึ่ ง ของมนุ ษ ย์ ซึ่ ง ได้ วิ วั ฒ นาการเป็ น บ้ า นเรื อ น
ลักษณะเฉพาะของชาติหรือกลุ่มชนนั้นๆ ลักษณะบ้านเรือนจึงเป็นผลรวมของการ
ดำเนินชีวิตอย่างหนึ่งที่เจริญต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าเรือน
กาแลเป็นสัญลักษณ์ของวิวัฒนาการของชนในล้านนาโดยเฉพาะเชียงใหม่ ได้มีการ
กล่าวถึงและตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับเรือนกาแล และได้มีการศึกษาในรายละเอียดอยู่
บ้าง๑ ท่านศาสตราจารย์อัน นิมมานเหมินทร์ นับว่าเป็นท่านแรกที่ลงบทความเกี่ยว
กับเรือนกาแล เรื่อง “เรือนไทยแบบดั้งเดิม” ในวารสารอาษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒๒
ซึ่งบรรยายถึงเรือนไทยดั้งเดิมลักษณะต่างๆ รวมทั้งวิวัฒนาการด้วย ต่อมาท่าน
รองศาสตราจารย์เสนอ นิลเดช ได้ลงบทความเกี่ยวกับเรือนกาแลชื่อ “เรือนไทย โบราณในภาคเหนือ” ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ทำให้เกิดความสนใจโดยทั่วไปมาก
ขึ้น นับเป็นท่านแรกที่ได้ศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้ นอกจากนี้ท่านยังได้แสดง
ความห่วงใยให้ช่วยกันผดุงรักษาไว้๓ ท่านศาสตราจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์
ก็ได้เขียนบทความเรื่อง “เรือนแบบลานนาไทย” ซึ่งได้บอกลักษณะและให้ทัศนะ
เกี่ยวกับรูปร่างของเรือนกาแลไว้๔ เนื่องจากงานที่กล่าวถึงส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นงานวิจัย
เพื่อหารายละเอียดเกี่ยวกับเรือนกาแลได้ ตัวอย่างเช่น การที่จะรู้ว่าเรือนกาแลมี
ขนาดอย่างไร ส่วนประกอบใช้ไม้ขนาดเท่าไร วิธีที่ดีที่สุดคือการวิจัยสำรวจจากเรือน
ที่มีอยู่จริงๆ นอกจากนี้ส่วนประกอบโครงสร้างของเรือนกาแลหลายอย่างที่ยังไม่มี
ผู้กล่าวถึง เช่น แปหัวเสาวางร้อยหัวเทียนซ้อนบนขื่อ มิได้วางบนขื่อนอกหัวเทียน
เช่นเรือนฝาปะกน ตงวางบนรอดตามหน้ากว้าง โครงสร้างที่พบได้ในเรือนกาแล ไม่
พบที่อื่นหรือพบน้อยมาก เช่น แปลอยและกอนก้อย ไม่มีไม้เชิงชาย ถ้ามีก็ขนาดเล็ก
กว่าและยึดติดกับกลอนตามแนวตั้งฉากไม่ใช่แนวดิ่ง เรือนกาแลที่ไม่มีหน้าต่างเลย
aw kalae 1.indd 13
ก็พบได้ นอกจากนี้เรือนกาแลขนาดเล็กๆ ๓ ห้องก็ไม่มีผู้กล่าวถึง หิ้งพระของ
เรือนกาแลทุกหลังทำเป็นชั้นติดไว้กับฝาด้านตะวันออกเสมอ และข้อปลีกย่อย
อื่นๆ อีกมาก เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับเรือนไทยเดิมของภาคกลาง ปรากฏว่าเรือนไทยเดิมภาค
กลางได้มีผู้กล่าวถึงค้นคว้าตีพิมพ์อยู่มาก โดยเฉพาะได้มีหนังสือที่ทำการวิจัยศึกษา
ที่สมบูรณ์อยู่หลายเล่ม๕ ปัจจุบันปรากฏว่าเรือนไทยเดิมภาคกลาง เรือนฝาปะกน
เป็นที่นิยมปลูกสร้างใหม่มากขึ้น จนมีโรงงานผลิตเรือนฝาปะกนหลายแห่งที่อยุธยา๖
และที่อื่นๆ ในจังหวัดภาคกลาง จึงเป็นที่มั่นใจว่าเรือนฝาปะกนคงจะได้รับการ
สืบต่ออนุรักษ์ไว้ต่อไป แต่ในทางตรงกันข้ามปรากฏว่าเรือนกาแลได้ถูกรื้อถอน
เปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยเองได้พบว่ามีการรื้อถอนเรือน
กาแล ๕ แห่งในเขตเชียงใหม่ ในระยะ ๗ ปีที่ผ่านมา และที่ถูกรื้อถอนโดยที่ผู้วิจัย
ไม่สามารถทราบได้และคงมีที่ถูกรื้อถอนไปก่อนหน้านั้นจำนวนมาก เรือนกาแลที่
เหลืออยู่มีจำนวนน้อยมากในปัจจุบันแต่ยังมีพอที่จะศึกษาวิจัยได้ จึงเห็นควรที่จะ
ศึกษาวิจัยในรายละเอียดต่างๆ ไว้เป็นหลักฐานก่อนที่เรือนเหล่านี้จะหมดไปเสีย
ประกอบกับปัจจุบันนี้มีผู้นิยมสร้างเรือนขึ้นใหม่โดยใช้รูปแบบเดิมอยู่บ้าง ถ้าได้
ศึกษาไว้การก่อสร้างใหม่จะได้รักษาเอกลักษณ์ที่ดีไว้สืบต่อไป อนึ่ง “นพบุรีศรี
นครพิ ง ค์ เ ชี ย งใหม่ ” มี อ ายุ ค รบ ๗๐๐ ปี ใ นปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๓๙ หลั ง จากการ
สถาปนาโดยพญามังรายแต่โบราณกาล การศึกษาวิจัยนี้จึงขอถือว่าเป็นการแสดง
ออกของการร่วมเฉลิมฉลอง ๗๐๐ ปีของเชียงใหม่
วัตถุประสงค์
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑. เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรม อันจะนำมาซึ่ง
การรักษาภาพลักษณ์และเกียรติภูมิของวัฒนธรรมไทยไว้
10/7/09 3:40:47 PM
๑
เเรืรืออนนกห า แลัล ง ทีเฉลี ่ ยว ปิยะชน
42
บ้านเลขที่ ๕๘ ตรอกวัดแขก ถนนช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อายุเรือนประมาณ ๙๐-๑๐๐ ปี
ทิศเหนือ
ห้องนอน ๒
๑.๔๓
ครัว ชานซักล้าง
๒.๕๐
๑.๗๒
ชาน
๑.๔๓
ร้านน้ำ
เติ๋น
ห้องนอน ๑
บ่อน้ำ ๒.๕๐
ที่นั่ง
เรือนน้ำต้น
หิ้งพระ
พื้นที่ (ตารางเมตร)
นอน ๑ นอน ๒ เติ๋น ครัว ชาน ๒๔.๗๕ ๙.๔๔ ๓๑.๖๑ ๑๕.๑๑ ๑๕.๘๐
๑.๖๕
aw kalae 2.indd 42
๑.๖๕
๑.๖๕
๑.๖๕
๑.๖๕
๑.๖๕
๑.๖๕
๑.๑๐ ๑.๑๐ ๑.๑๐
ผังพื้นอาคาร ๑ : ๑๐๐
10/7/09 4:02:02 PM
43
รูปที่ ๒๖
เรือนกาแลหลังที่ ๑
aw kalae 2.indd 43
10/7/09 4:02:09 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
80
บทที่ ๓
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของล้านนา (โดยสังเขป) ดินแดนล้านนาหมายถึงอาณาบริเวณ ๘ จังหวัดภาคเหนือของประเทศ
ไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ใน
อดีตกาลล้านนามีอาณาเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบัน โดยรวมไปถึงสิบสองปันนาและ
บางส่วนของรัฐฉานในประเทศพม่า โดยแยกปกครองเป็นเมืองต่างๆ นับตั้งแต่
พญามังรายได้รวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วสถาปนา “นพบุรีศรีนครพิงค์
เชียงใหม่” ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๙ เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางของดินแดนแถบนี้
จนถึงปัจจุบัน มีกษัตริย์ปกครองล้านนาต่อมารวมทั้งหมด ๑๘ องค์ ตั้งแต่ พ.ศ.
๑๘๓๙-๒๑๐๑ แล้วจึงตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพม่ารวม ๒๑๖ ปี ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๑๐๑-๒๓๑๗ ในสมัยธนบุรแี ละรัตนโกสินทร์ เชียงใหม่ได้ขนึ้ กับอาณาจักรไทย
ตราบเท่าทุกวันนี๑ ้ ภูมิประเทศของล้านนาประกอบด้วยป่าเขามากกว่าภาคกลาง เป็นต้นน้ำ
ลำธารมีที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำสายสำคัญ อากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น พลเมืองที่
อาศัยอยู่ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเป็นพวกลัวะและไทยเผ่าต่างๆ เช่น ไทยยวน
ไทยเขิน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ เป็นต้น ถึงแม้ว่าได้ถูกปกครองโดยพม่ากว่า ๒๐๐ ปี
แต่ชนเชื้อชาติพม่ามีหลงเหลือน้อยกว่าไทยเผ่าต่างๆ ในยุครัตนโกสินทร์มีชาวจีน
ปะปนอยู่มากขึ้นเป็นลำดับ สถาปัตยกรรมโบราณที่เหลืออยู่ในปัจจุบันเป็นศิลปะ
ล้านนาจำนวนมาก บางแห่งมีอิทธิพลของพม่าปรากฏให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะอาราม
aw kalae 3-5.indd 80
10/7/09 4:07:33 PM
น. อิรวดี
81
น. อิรวดี
เดียนเบียนฟู
แผนที่ดินแดนรอบล้านนา
มาตราส่วน ๑ : ๖,๐๐๐,๐๐๐ ที่มา : นวลศิริ วงศ์ทางสวัสดิ์, ชุมชนโบราณในเขตล้านนา, (เชียงใหม่ : ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๒๘, หน้า ๑๑)
aw kalae 3-5.indd 81
ย่างกุ้ง
10/7/09 4:07:34 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างระยะหลังในสมัยรัตนโกสินทร์เสียส่วนใหญ่ ฮันส์ เพนธ์
กล่าวว่า การยึดครองล้านนาของพม่าไม่มีอิทธิพลหรือมีอิทธิพลน้อยต่อศิลปกรรม
แห่งล้านนา๒ อย่างไรก็ตามการผสมผสานกลมกลืนของศิลปะสกุลต่างๆ เช่น
ละว้า จีน มอญ (ทวารวดี) เชียงแสน สุโขทัย เชียงใหม่ พม่า รัตนโกสินทร์ และแม้
กระทั่งศิลปะจากยุโรปก็มี ศิลปะเหล่านี้จึงน่าจะมีอิทธิพลต่อเรือนกาแลบ้างไม่มาก
ก็น้อย ทั้งนี้ย่อมรวมถึงอิทธิพลของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ด้วย
การกล่าวต่อไปนี้ย่อมมีเหตุผลที่น่าฟังคือ “สรรพสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันย่อมเป็น
ผลจากวิวัฒน์มาแต่อดีต” สถาปัตยกรรมก็เช่นกันย่อมเกี่ยวเนื่องมาแต่กาลก่อน รูป
ของเรือนกาแลที่ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันจึงเป็นผลของวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณ
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน จากรูปแบบเรือนหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นแบบง่ายๆ จนมาเป็นรูปแบบที่เห็นอยู่นี้ ย่อมขึ้นกับปัจจัยหรืออิทธิพล
หลายๆ อย่างรวมทั้งที่ได้กล่าวมาแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ คนที่สร้างสรรค์
สิ่งนี้ขึ้นมา เศรษฐกิจ ภูมิประเทศ การเมือง และสังคมโดยส่วนรวม ภาวะเหล่านี้
เป็นเหตุให้เกิดการผสมผสานรวมตัวเข้าเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อมิได้ขาด
ตอนจนวาระปัจจุบัน เช่น การบูชาเสาอินทขีล และการนับถือปู่แสะย่าแสะ เป็นต้น
ซึง่ คงมีมาตัง้ แต่กอ่ นสมัยพญามังรายหรือก่อนหน้านัน้ อีก๓ ในขณะทีว่ ฒั นธรรมสุโขทัย
ซึ่งเคยคู่ขนานกันเหลือเป็นเพียงประวัติศาสตร์เท่านั้น๔ เรื อ นกาแลซึ่ ง มี ม าแต่ โ บราณจึ ง เป็ น รู ป ธรรมชนิ ด หนึ่ ง ที่ ส ะท้ อ นถึ ง พื้ น เพ
ประเพณี วัฒนธรรม อันเป็นลักษณะท้องถิ่นของล้านนามาแต่โบราณ และแสดงออก
ในรูปแบบของสถาปัตยกรรม ฉะนั้นเรือนกาแลซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางสถาปัตย-
กรรมแล้ว ยังมีคณุ ค่าทางประวัตศิ าสตร์ ประเพณี วัฒนธรรมด้วย ทัง้ นีเ้ รือนลักษณะ
อื่นๆ ในล้านนาก็ย่อมมีคุณค่าดังกล่าวเช่นกัน
aw kalae 3-5.indd 82
82
เชิงอรรถ บทที่ ๓ ๑
สรั ส วดี อ๋ อ งสกุ ล , ประวั ติ ศ าสตร์ ล้ า นนา,
เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชาประวัติ-
ศาสตร์ ๓๗๒ ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ คณะ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๒๘,
หน้า ๑-๕๖. ๒ ฮั น ส์ เพนธ์ , ความเป็ น มาของล้ า นนาไทย,
อนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์
สามกษัตริย์ (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
๒๔๒๖) หน้า ๒๑-๒. ๓ กิติ แก่นจำปี, “ความเชื่อเรื่องผีปู่แสะย่าแสะ,”
ใน ศึกษาศาสตร์, (กันยายน-ตุลาคม ๒๕๒๔),
หน้า ๑๒๑-๑๓๓. ๔ อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, “เรือนลานนาไทย,” ใน
บ้าน, กรกฎาคม ๒๕๑๘, หน้า ๑๔-๑๕.
10/7/09 4:07:36 PM
83
บทที่ ๔
พิธีกรรมในการปลูกเรือน ด้วยความเชื่อถือที่สืบต่อกันมาแต่โบราณกาล การประกอบกิจกรรมที่
สำคัญจึงมีพิธีกรรมเกิดขึ้น ประเพณีการปลูกเรือนของชาวล้านนานั้นกล่าวได้ว่า
สืบต่อและวิวัฒนาการมาแต่โบราณ เมื่อมาถึงระยะเวลาหนึ่งได้เป็นที่ยอมรับและ
ถือปฏิบัติจนเป็นประเพณีโดยได้มีการบันทึกไว้เป็นตำรา มีอายุนับร้อยๆ ปี กล่าว
ได้ว่าการปลูกเรือนกาแลซึ่งในอดีตมีมากมายนั้นคงจะยึดถือประเพณีนี้ จวบเมื่อการ
ปลูกสร้างเรือนกาแลได้ลดน้อยลงจนไม่มีอีกเลย ประเพณีนี้จึงหยุดชะงักลงเสียส่วน
ใหญ่ จะมีพิธีกรรมถือปฏิบัติในบางส่วนที่ยังใช้ในการปลูกสร้างบ้านเรือนชนิดอื่นสืบ
ต่อมาในล้านนาประเทศนี้อยู่บ้าง ประเพณีการปลูกเรือนล้านนามีพื้นฐานจากปัจจัยหลายอย่างที่สืบต่อมาจาก
สังคมบรรพกาล เช่น การเชื่อความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจแห่งธรรมชาติ ซึ่งหลาย
ท่านอาจจะถือว่าเป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ ภูตผี หรือโชคลางก็ตาม ในส่วนลึก
แล้วความเชื่อเหล่านี้คือความเชื่อในอิทธิพลของธรรมชาติ ผนวกกับการเคารพบูชา
ธรรมชาติประดุจดังเทพเจ้านั่นเอง โหราศาสตร์ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งที่แปรค่าอิทธิพล
ของธรรมชาติให้สัมพันธ์กับกิจกรรมของมนุษย์จึงนับได้ว่าเป็นปัจจัยในการนำมา
เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมการปลูกเรือนด้วย นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆ เช่น อิทธิพลของ
สภาพแวดล้อม สภาพดินฟ้าอากาศ และอิทธิพลของวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งวิธีการ
ก่อสร้างเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพิธีกรรมการปลูกสร้างเรือนล้านนาขึ้น เมื่อถือปฏิบัติ
aw kalae 3-5.indd 83
10/7/09 4:07:37 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
กันมากขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง สิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดธรรมเนียมประเพณี กล่าวได้ว่า
ประเพณีการปลูกเรือนล้านนาเป็นไปเพื่อประสานชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อสัมฤทธิผลแห่งการมีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุข รุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์
เป็นสุขสวัสดิ์แก่ผู้อยู่อาศัยตลอดไป อนึ่งการปลูกสร้างเรือนใหม่นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อชายหญิงแต่งงานกัน
และได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิงระยะหนึ่ง หรือปลูกเรือนขนาดเล็กที่ภาค
กลางเรียกว่า เรือนไม้เครื่องสับ และล้านนาเรียกว่าเรือน “เสาดั้งจ้ำดิน” ก่อน อย่าง
น้อยก็จนมีลูกคนแรกแล้ว นับได้ว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของล้านนา พิธีกรรมใน
การปลูกเรือนของล้านนานั้นมีหลายขั้นตอนดังนี้
การหาฤกษ์ยาม และช่วงเวลาที่เหมาะสม
การหาฤกษ์งามยามดีนั้นถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจะลงมือปลูกเรือน
โดยใช้หลักโหราศาสตร์ การกำหนดฤกษ์ยามจึงเป็นไปตามอาจารย์หรือหมอดูที่มี
ความรู้ในวิชานี้ อาจเป็นพระภิกษุหรือฆราวาสซึ่งมักเป็นผู้ที่เคยบวชเรียนมาก่อน
พิธีส่วนใหญ่จะเริ่มในเวลาเช้าตรู่ตามเวลาฤกษ์ที่กำหนดไว้สำหรับการปลูกเรือน
ฤกษ์ที่กำหนดก็คือฤกษ์การ “ปกเฮือน” หรือการยกเสาเรือนลงหลุมนั่นเอง โดย
ถือว่านี้เป็นขั้นตอนแรกสุดของการสร้างบ้านเรือน ส่วนมากแล้วการปลูกสร้างเรือนนิยมทำในเดือนคู่ ยกเว้นเดือน ๑๐ เพราะ
ถือว่าเป็นเดือนอัปมงคลในการทำพิธีต่างๆ แต่คัมภีร์โลกสมมติราชได้กล่าวไว้แตก
ต่างกันบ้าง ดังนี้ “สิทธิการจักกล่าวแปงเรือน เดือน ๗ เป็นทุกข์จักพลันตาย บ่ดีแล เดือน ๘
จักมีข้าวของดี เดือน ๙ อยู่ดีมีสุข เดือน ๑๐ จักฉิบหาย เดือน ๑๑ จักสมฤทธิ์ดีแล
เดือน ๑๒ เดือนเกี๋ยง (อ้าย) มักผิดกันบ่ดี เดือนยี่จักสมฤทธิ์ดี เดือน ๓ จักฉิบหาย
aw kalae 3-5.indd 84
84
เดือน ๔ จักมีข้าวของดี เดือน ๕ ไฟจักไหม้ เดือน ๖ จักสมฤทธิ์ด้วยข้าวของอยู่ด ี มีสุข...” สำหรับวันที่จะทำการนั้น ตามตำราได้บอกวันดี วันเสีย (วันไม่ดี-อัปมงคล)
สำหรับกระทำการมงคลต่างๆ ไว้ดังนี้ เดือนเกี๋ยง (เดือนอ้าย) เดือน ๕ เดือน ๙ วันเสียคือวันอาทิตย์และ
วันจันทร์ เดือนยี่ เดือน ๖ เดือน ๑๐ วันเสียคือวันอังคาร เดือน ๓ เดือน ๗ เดือน ๑๑ วันเสียคือวันเสาร์และวันพฤหัสบดี เดือน ๘ เดือน ๔ เดือน ๑๒ วันเสียคือวันศุกร์และพุธ ทัง้ นีก้ ารนับเดือนของล้านนานัน้ นับเร็วกว่าภาคกลาง ๒ เดือน เช่น เดือน ๑๒
ของภาคกลางจะตรงกับเดือนยี่ของภาคเหนือ เป็นต้น
การหาวัสดุและเตรียมการ
การปลูกเรือนในสมัยโบราณนั้นต้องไปดำเนินการตัดไม้เอาเองจากป่าซึ่งมีอยู่
มากมายและไม่ไกลจากหมู่บ้าน “ตามตำราโบราณท่านกล่าวว่า การไปแสวงหา
ตัดไม้เสาเรือนนั้นให้แสวงหา แลตัดฟันในเดือนเกี๋ยง เดือนยี่ เดือน ๓ เดือน ๔
เดือน ๕ เดือน ๖ นี้ดีนักแล” เมื่อได้ไม้จากป่าตามต้องการแล้วก็นำมาปรุงเครื่อง
เรือนชนิดต่างๆ เหตุด้วยเรือนกาแลนั้นมีลักษณะกึ่งสำเร็จรูป สล่าหรือช่างจะปรุง
ส่วนประกอบต่างๆ เช่น เสา ขื่อ แป แวง และฝาให้เรียบร้อยก่อน การปรุงเสาเรือนนั้นสำคัญ ท่านให้ทำตามลำดับคือ ตัดตีนเสาก่อน แล้วสิ่ว
(เจาะ) รูแวง (รูรอด) และตัดแต่งปลายเสา ทำเป็นลำดับขึ้นไปห้ามทำลง นอกจาก
นี้เสานั้นจะตกแต่ง เกลา หรือที่ภาษาเหนือเรียกว่า ซ้อม ให้เรียบร้อยงามตาเสีย
ก่อนโดยเฉพาะเสามงคล (เสาเอก) และเสานาง (เสาโท) ต้องหาไม้ดีและงาม เพื่อ
ให้เสามงคลเป็นเสาที่มีอาถรรพณ์ ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคล และเพื่อกันมิให้เสา
10/7/09 4:07:38 PM
85
ตกมันจึงต้องมีพิธีการทำโดยช่างไม้ที่ชำนาญในทางศาสตรเพทที่จะแก้เสนียดจัญไร
(ภาษาเหนือเรียกว่า ขึด) อันเกิดจากเสาไม้นั้น ก่อนที่จะลงมือตัดไม้ทำเสามงคลก็ต้องมีการ ตั้งขัน ตามธรรมเนียม ซึ่ง
เหมือนกับการยกครูของภาคกลาง การตั้งขันจะต้องเตรียมสิ่งของใส่ใน ขัน (พาน)
คือ หมากแห้งเสียบเป็นสายๆ ๑ หัว (พวง) ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวสาร ๑ แครง
(ภาชนะตวงของชาวเหนือ) ดอกไม้ธูปเทียน และสตางค์แดง ๑ วิ่น (๑๒ สตางค์)
นอกจากนี้ก็มีสุรา บางรายก็มีไก่ต้มหรือไข่ต้ม เมื่อตั้งขันตามธรรมเนียมแล้ว สล่าก็
ทำพิธีตัดเสาตามตำรา คือ เสกขวานหรือมีดที่จะใช้ฟัน ขณะฟันก็ว่าคาถากำกับ
ด้วย เป็นการ “ข่มนางไม้” เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็เอาไม้นั้นมาทำเป็นเสามงคลได้โดย
ไม่ต้องกลัวเสนียดแต่อย่างใด การปรุงเสานั้นมีวิธีที่เรียกว่า โฉลกเสาเรือน โดยการใช้ขนาดของไม้ที่จะมา
ทำแวงหรือรอดเป็นตัวกำหนด กล่าวคือ ใช้ความยาวเท่าขนาดของแวงมาวัดตั้งแต่
ต้นเสาขึ้นไปจนถึงท้องรูวง ให้ได้คำโฉลกที่ดีๆ คำโฉลกมีดังนี้ “สิทธิกิจจัง สิทธิ
กัมมัง สิทธิธนัง สิทธิลาภัง สิทธิมัจจุ” มี ๕ คำ เมื่อจบ ๕ ทบแล้วก็ขึ้นต้นใหม่ ถ้า
ได้สิทธิกิจจัง มักเป็นถ้อยร้อยความ อยู่ไม่ค่อยวุฒิจำเริญ หามิตรหาเพื่อนมิได้เลย
ถ้าได้สิทธิกัมมัง มักเจ็บไข้ได้พยาธิมิได้ขาด ถ้าได้สิทธิธนัง พอปานกลาง ร้ายดี
เสมอกันแล ถ้าได้สิทธิลาภัง ดีนัก จักมีเดชมีศรี มีมิตรสหายดีๆ นำสารมาหามิได้
ขาดแล ถ้าได้สิทธิมัจจุ ไม่ดี พ่อแม่จักได้หนีตายจากไป จักได้แตกระแหงพลัดพราก
จากกันแล จะเห็นได้วา่ ควรโฉลกให้ได้ “สิทธิลาภัง” ซึง่ ดีทสี่ ดุ ฉะนัน้ วิธกี ารทำโฉลก
จึงเท่ากับเป็นการกำหนดความสูงของเรือนด้วย
aw kalae 3-5.indd 85
การหาสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับการปลูกเรือนและเตรียมการ
ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ลักษณะสถานที่ที่จะปลูกเรือนนั้นเหมาะสม ดี
หรือไม่ดี มีกล่าวไว้คือ - เนื้อที่บ้านใดทิศตะวันตกเฉียงใต้สูง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือต่ำ
และทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ต่ำ สถานที่นั้นปลูก
บ้านจักดีนักแลฯ - บ้านใดมีต้นไม้ใหญ่ทางทิศหัวนอน ไม่ดี จะฉิบหายทั้งคน ทั้งทรัพย์
และสัตว์สิ่งเลี้ยงแล - เนื้อที่บ้านนั้นหมายเอาบริเวณในรั้วบ้านทั้งหมดนั้นแล เมื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมได้แล้วก็ถึงพิธีเสี่ยงทายในการตั้งเรือนใหม่ เพื่อหา
ตำแหน่งที่จะปลูกเรือนใหม่ในส่วนที่นับว่าเป็นมงคล โดยการเสี่ยงทายเพื่อขอ
อำนาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น เทวดาให้ช่วยดลใจในการเสี่ยงทายเพื่อจะได้เลือกที่ตำแหน่ง
ดี โดยใช้ใบผาแป้งจำนวน ๘ ใบ แล้วเอาใบผาแป้งนี้ห่อดินใบหนึ่ง ห่อเปลือกไม้
ใบหนึ่ง ห่อข้าวเปลือกใบหนึ่ง ห่อถ่านไฟใบหนึ่ง ห่อลูกหินใบหนึ่ง ห่อเปลือกไข่
ใบหนึ่ง ห่อดอกไม้หอมใบหนึ่ง ห่อผมยุ่งใบหนึ่ง แล้วให้จัดพานข้าวตอกดอกไม้ใส่
ธูป ๕ คู่ เทียน ๕ คู่ แล้วนำห่อใบผาแป้งใส่ในพานนั้นพร้อมกับเงิน ๑ แถบ (๑ รูปี)
ผู้ เ สี่ ย งทายให้ อ าบน้ ำ ชำระกาย นุ่ ง ผ้ า ไหมใส่ ผ้ า ดี แล้ ว นำเอาพานนั้ น ไปยั ง ที่ ที่
ต้องการจะปลูกเรือน พอไปถึงก็นั่งคุกเข่าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แล้วอุ้มพาน
นั้นยกขึ้น แล้วกล่าวคำอธิษฐานด้วยสัจจะ ด้วยจริง อาราธนาอัญเชิญพระอินทร์
พระพรหม เทพบุตร เทพยดา แม่ธรณี เจ้าที่ รุกขเทวดา ปัพพตเทวดา อากาส
เทวดา แล้วตั้งอธิษฐานปรารถนาว่า “บัดนี้ข้าทั้งหลาย อันมี พ่อ แม่ ลูก และ
พี่น้องทุกๆ คน มีจำนวน...คน จักมาตั้งบ้านปลูกเรือนอยู่ในฐานที่นี้ ยังจักอยู ่ วุฒิจำเริญดีสุขบานหวานใจ มั่งมูลด้วยโภคะสมบัติร่ำรวยดีด้วยประการใด ก็ขอให้
จั บ สิ่ ง ของอั น ดี นั้ น หากว่ า สถานที่ นี้ จั ก อยู่ ไ ม่ ดี ก็ ข อให้ ไ ด้ ห่ อ สิ่ ง ของอั น ไม่ ดี นั้ น
10/7/09 4:07:40 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
106
บทที่ ๘
ส่วนประกอบโครงสร้างและ ลักษณะเฉพาะของเรือนกาแล จากผลการสำรวจพบว่า โครงสร้างของเรือนกาแลใช้ไม้เป็นโครงสร้าง
ชนิดต่างๆ แต่ละชนิดมีขนาดความกว้างเท่าๆ กับเรือนไม้ชนิดอื่น แต่จะมีความ
หนามากกว่า ประกอบเป็นโครงสร้างทีแ่ ข็งแรง ในบทนีจ้ ะนำส่วนประกอบโครงสร้าง
ที่สำคัญของเรือนกาแลจากภาค ๑ (การศึกษา สำรวจและวิจัย) มาวิเคราะห์วิจารณ์ ดังต่อไปนี้
เสา
เรือนกาแลใช้เสาจำนวนมากกว่าเรือนไทยประเภทอื่นๆ ตามที่ได้กล่าวไว้ใน
บทที่ ๒ ผลของการวิจัย ว่าส่วนใหญ่ใช้เสาแปดเหลี่ยม แต่มีบางหลังใช้เสากลม
ที่ใช้เสาสี่เหลี่ยมมีเพียง ๒ หลังคือ หลังที่ ๔ และ ๖ สำหรับหลังที่ ๔ พบว่า
เสาหลายต้นช่วงล่าง (เดี่ยวล่าง) เป็นแปดเหลี่ยม แต่ช่วงบนเป็นสี่เหลี่ยม ส่วน
หลังที่ ๖ มีทั้งเสาสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมปนกัน เป็นการแก้ไขเสาจากของเดิมเมื่อ
มีการปลูกสร้างใหม่เมื่อประมาณ ๘๕ ปีมาแล้ว (นับจากปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ทำการ
วิจัย) ขนาดของเสานั้นพบว่ามีความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันตลอด ไม่
แต่งให้เรียวเล็กลงเหมือนเรือนฝาปะกน จะเรียวเล็กลงบ้างก็เป็นไปตามธรรมชาติ
คือส่วนปลายย่อมเล็กกว่าโคนเล็กน้อย เสามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดเรือนโดย
เฉลี่ย มีขนาดความกว้างประมาณ ๒๐-๒๒.๕๐ ซม. (๘-๙ นิ้ว) ที่มีขนาดใหญ่สุดคือ
aw kalae 7-8.indd 106
10/7/09 4:09:45 PM
107
๓๐ ซม. (๑๒ นิ้ว) ก็พบได้บ้าง ขนาดและจำนวนของเสาประกอบกับสัดส่วนของ
เรือนทำให้มีลักษณะดูแข็งแรง ไม่เพรียว เนื่องจากด้านสกัดของเรือนมีขนาดใหญ่คือกว้างกว่า โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ
เรือนฝาปะกน จึงจำเป็นต้องมีเสาตอม่ออยูร่ ะหว่างกึง่ กลาง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึง่
ว่า การมีเสาตอม่ออยู่กลางทำให้ช่วงระหว่างต้นแต่ละเสาในแนวสกัดแคบ จึงไม่
จำเป็นต้องใช้แวงขนาดหน้ากว้างนัก ในทางตรงกันข้ามอาจกล่าวได้ว่า เนื่องจาก
ใช้แวงที่มีขนาดเล็ก (หน้าแคบ) จึงจำเป็นต้องมีเสาตอม่อรับที่จุดกึ่งกลาง (รูปที่ ๓) อนึ่งการปลูกเรือนนั้นมีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณดังได้กล่าวแล้วใน
บทที่ ๔ อย่างไรก็ตามขอกล่าวถึงพอสังเขปคือ เมื่อเตรียมการต่างๆ ตามประเพณี
นิยมแล้วจะมีการปกเสาเฮือน โดยการยกเสามงคล (เสาเอก) ลงหลุมเป็นเสาแรก
และตามด้วยเสานาง (เสาโท) เสามงคลคือเสาที่ ๒ นับจากทางด้านหลังของเรือน
ด้านหัวนอนซึ่งส่วนใหญ่คือเสาที่ ๒ จากด้านทิศตะวันออก ส่วนเสานางคือเสาที่อยู่
ตรงกันข้าม (รูปที่ ๕๑) อาจารย์วิวัฒน์ เตมียพันธ์๑ กล่าวว่า ในการทำพิธีฝังเสา
มงคลหรือเสานาง ในสมัยก่อนจะต้องหาชาวบ้านที่มีชื่อ แก้ว คำ เงิน ทอง มั่น
แก่น มาเป็นคนช่วยหามเสาและยกเสาลงหลุม เพื่อจะได้เป็นมงคลแก่เจ้าของบ้าน
ตามประเพณีแล้วเสามงคลเปรียบเสมือนเสาพ่อ ส่วนเสานางเปรียบเสมือนเสาแม่
คนโบราณถือกันว่าต้องปฏิบัติดูแลรักษาเสาสำคัญทั้งสองเพื่อสิริมงคลของผู้อยู่อาศัย
ประเพณีเหล่านี้คงมีผู้สืบต่อ แต่น่าเป็นห่วงว่าจะสูญสิ้นไปในที่สุด ประเพณีการปลูกเรือนของภาคกลางก็มีคล้ายๆ กันคือ มีเสาเอก โท ตรี
และเสาพล เสาเอกคือเสาต้นแรกที่ปักลงหลุมตามฤกษ์ ส่วนจะเป็นต้นใดอาจารย์
ผู้ให้ฤกษ์จะเป็นผู้เลือกทิศทางให้ เสาโท ตรี และพลจะยกลงหลุมตามลำดับโดย
ยกลงหลุมเวียนขวาเสมอ๒ เสาเอก เสาโทจึงไม่อยู่ในตำแหน่งคงที่เหมือนของเรือน
กาแล
เสามงคล (เสาเอก) ทิศเหนือ
ทิศตะวันออก
เสานาง (เสาโท)
ทิศตะวันตก
ทิศใต้
รูปที่ ๕๑
เสามงคล คือเสาที่ ๒ นับจากด้านหลังของเรือนทางทิศตะวันออก ส่วนเสานางอยู่ตรงกันข้าม (เสาตอม่อละไว้ ไม่ได้เขียน)
aw kalae 7-8.indd 107
10/7/09 4:09:46 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
108
เสาดั้ง-ใบดั้ง
เช่นเดียวกับเรือนไทยภาคกลาง เรือนกาแลมีเสาดั้งเป็นเสาอยู่กึ่งกลางของ
ด้านสกัด มีจำนวน ๓ ต้น เสาดัง้ ของเรือนกาแลส่วนใหญ่จะวางต่อบนตอม่อ อมแวง
ต่างจากเรือนฝาปะกนซึ่งไม่มีตอม่อรับ และเสาดั้งจะยาวขึ้นไปรับขื่อ สอดผ่านรูที่ขื่อ
โดยการบากให้แบนลง ปลายสุดไปรับอกไก่ เสาดั้งส่วนใหญ่เป็นเสาสี่เหลี่ยมขนาด
เล็กกว่าเสาอื่น ที่จำเป็นต้องมี ๓ ต้น เพราะจั่วของเรือนกาแลมี ๓ ชุด นอกจากนี้
ยังทำหน้าที่รับอกไก่ ขื่อ ฝาด้านสกัด และจั่วด้วย บางแห่งที่เสาดั้งยาวเพียงเพื่อ
รับขื่อ จะใช้ใบดั้งซึ่งเป็นไม้เหลี่ยมแบนปักกับขื่อยาวขึ้นไปรับอกไก่ทน เรียกว่า
ดั้งแขวน (ดูรูป ๔ และ ๕ ประกอบ)
แวง-ตง
แวง-ตง รวมทั้งเครื่องไม้ชนิดอื่นๆ จะยาวตลอดช่วงเท่ากับช่วงความยาว
ที่ใช้งาน ไม่มีการต่อ แวง (รอด) จะยาวตลอดเท่ากับความกว้างของเรือนและ
ปลายทั้งสองโผล่เลยเสาไปเล็กน้อย เช่นเดียวกับตงซึ่งวางบนแวงตามแนวยาวของ
เรือนแต่ขวางตัดกัน ก็มีความยาวเท่ากับความยาวของเรือน (รูปที่ ๕๒) เนื่องจาก
มีเสาและตอม่อถี่ แวงจึงใช้ไม้ขนาดหน้าไม่กว้างนักประมาณ ๑๕ ซม. และนิยมใช้
ไม้หนาประมาณ ๕ ซม. สำหรับตงพบว่าวางบนแวงนอนตามหน้ากว้างของไม้เสียส่วนใหญ่ เป็นข้อ
แตกต่างจากเรือนสมัยใหม่และเรือนไทยเดิมภาคกลางที่วางตงบนรอดตามความ
หนาของไม้ (รูปที่ ๑๐, ๕๗) ซึ่งการวางเช่นนี้ทำให้ตงรับน้ำหนักได้ดีกว่า ไม่อ่อนลง
การวางตงตามหน้ากว้างของไม้พบในเรือนกาแลทุกหลัง ยกเว้นหลังที่ ๑, ๖, ๙, ๑๑,
๑๓ และ ๑๗ ซึ่งอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายหลัง ตามหลักแล้วการวางตงนอน
ตามหน้ากว้างจะทำให้อ่อนได้มากกว่า อีกประการหนึ่งตงของเรือนกาแลใช้ไม้
หน้าไม่กว้าง คือประมาณ ๗.๕๐-๑๐ ซม. เท่านั้น และหนาประมาณ ๔ ซม. ถึงจะ
aw kalae 7-8.indd 108
รูปที่ ๕๒
มุมเรือนด้านหลังที่ฝาด้านยาวและด้านสกัดมาพบกัน ฝาด้านยาวหุ้มปิดด้านสกัด แวงสอดผ่านรูของเสาและโผล่เลยมาเล็กน้อย ตงวางบนแวงนอนตามหน้ากว้างของไม้เพื่อรับพื้นเรือน
วางตามความหนา ก็จะยังอ่อนได้มากกว่าตงที่หน้ากว้างกว่านี้ เพื่อแก้ไขจุดอ่อน
การวางตงของเรือนกาแล จึงเพิ่มจำนวนตงมากขึ้น คือทำให้ชิด เรือนหลังหนึ่ง
ใช้ตงประมาณ ๑๕-๒๐ ตัว ทำให้ระยะระหว่างตงแคบกว่าเรือนชนิดอืน่ คือประมาณ
๒๐ ซม. นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้เหล็กกน (ตะปู, ตะปูจีน) ตอกที่แวงเพื่อช่วย
ให้ตงตั้งตรง ไม่พลิก แต่พบไม่มาก สาเหตุหนึ่งที่ตงวางบนแวงตามหน้ากว้างนั้น
ผู้วิจัยมีความเห็นว่าทำให้วางได้ง่าย ไม่พลิก ถ้าวางบนแวงตามความหนาจะพลิกได้
ง่าย ต้องใช้ตะปูตอก แต่สมัยก่อนหาตะปูยาก จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วางตง
ตามหน้ากว้าง สรุปแล้วใช้ตงขนาดหน้ากว้าง ๗.๕๐-๑๐ ซม. และวางตามหน้ากว้าง
แม้ใช้จำนวนตงมาก แต่พื้นเรือนก็ปูได้แน่นหนาดี (ดูตารางที่ ๔ หน้า ๓๓)
10/7/09 4:09:51 PM
109
พื้นเรือน
เนื่องจากเรือนกาแลมีตงซึ่งวางตามความยาวของเรือน ฉะนั้นพื้นเรือนจึงต้อง
ปูตามแนวขวางของเรือน เท่าที่พบไม่ใช้ไม้หน้ากว้างนัก มักไม่เกิน ๒๐ ซม. ซึ่งเมื่อ
เทียบกับไม้ฝาแล้วปรากฏว่าหน้าแคบกว่ามาก มีข้อสังเกตคือ พื้นเรือนฝาปะกน
มักจะใช้ไม้ยาวกว่าเพราะนิยมปูตามความยาวของเรือนและหน้ากว้างกว่าด้วย แป้นท่อง (อ่าน “แป้นต้อง”)๓ แป้นท่องเป็นไม้เหลี่ยมแบน ขนาดกว้าง ๑๗-๒๐ ซม. และหนา ๗.๕๐-๑๐
ซม. ปูไปตามความยาวของเรือนตามแนวกลาง ห้องนอนของเรือนกาแลเกือบ
ทุกหลังที่สำรวจ (รูปที่ ๑๑) วางไม้แป้นท่องบนแวงเลย ไม่มีตงรับเหมือนพื้นเรือน
ผิวหน้าเสมอเรียบเท่าพื้นเรือน จึงเป็นไม้ที่หนา คือมีความหนาเท่ากับความหนาของ
ตงรวมกับพื้นไม้ ตรงบริเวณที่ปักเสาดั้งมีการเจาะรูที่แป้นต้องเป็นสี่เหลี่ยมขนาด
พอประมาณ เพื่อรับปลายเสาดั้งที่บากให้เข้ากันได้พอดี จึงมีประโยชน์คือเป็นที่ยึด
เสาดั้ง เรือนบางหลังมีเสาดั้งกลางห้องนอนเพิ่มอีก นอกจากนี้เมื่อตื่นนอนตอนเช้า
หรือตอนกลางคืน ผู้อาศัยก็จะเดินบนแป้นท่องเพื่อมิให้เกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ต่างจากเรือนฝาปะกนที่ใช้วิธีลดระดับพื้นระเบียงให้ต่ำกว่าห้องนอนกันสะเทือนแทน
แป้นท่อง ไม้แป้นท่องยังแบ่งพืน้ เรือนเป็น ๒ ฟาก ทำให้ไม่ตอ้ งใช้ไม้พนื้ ทีม่ คี วามยาว
มาก๔ และยังแบ่งอาณาเขตห้องนอนเป็น ๒ ซีก คือเป็นที่นอนครึ่งหนึ่งและใช้
ประโยชน์อื่นอีกครึ่งหนึ่ง เช่นเก็บของ เรือนกาแลน้อยหลังพบมีไม้แป้นท่องที่เติน
ด้วย ปลายแป้นท่องเว้นเป็นช่องไว้เรียก ช่องแมวลอด แป้นท่องเป็นส่วนประกอบ
ที่มีเฉพาะเรือนกาแลเท่านั้น
aw kalae 7-8.indd 109
เครื่องบน
เครื่องบนคือโครงสร้างที่ใช้เพื่อยึดเสาและรับน้ำหนักหลังคาเช่นเดียวกับเรือน
ชนิดอื่นๆ เฉพาะส่วนโครงสร้างที่สำคัญที่จะวิจารณ์ไว้คือ
ขื่อและแปหัวเสา
ขื่อทำหน้าที่ยึดหัวเสาตามแนวสกัด วางอยู่บนหัวเสาสวมหัวเทียน เรือน
แต่ละหลังมีขื่อ ๖ ตัว ส่วนแปหัวเสาเป็นไม้ยึดเสาตามแนวยาว โดยวางแปประกบ
เข้าตามที่บากไว้ซ้อนบนขื่ออีกชั้นหนึ่ง และมีความยาวเลยหัวเสาประมาณ ๗๐ ซม.
มี ๒ ตัว ข้อสังเกตที่สำคัญคือ แปพ่าง (อ่าน “แป๋ป๋าง”) หรือแปหัวเสา วางซ้อน
บนขื่อที่ศูนย์ของเสาพอดี เป็นข้อแตกต่างจากเรือนไทยเดิมภาคกลาง เช่น เรือนฝา
ปะกน ศูนย์กลางแปจะวางนอกศูนย์ของเสาประมาณ ๑๒-๑๕ ซม. จึงไม่ต้องร้อย
ผ่านหัวเทียน (รูปที่ ๕๓) ข้อแตกต่างการวางขื่อแประหว่างเรือนกาแลและเรือน
ไทยเดิมภาคกลางดังกล่าวยังไม่พบว่ามีผู้ใดกล่าวไว้เป็นหลักฐานเลย ลักษณะการ
วางเช่นนี้ส่งผลให้หลังคาเรือนกาแลคลุมชิดตัวเรือนมากกว่าเรือนไทยเดิมภาคกลาง
อีกประการหนึ่งหลังคาเรือนกาแลมีลักษณะตัดตรง ส่วนหลังคาเรือนไทยเดิมภาค
กลางมีลักษณะอ่อนช้อยโค้งงอน โดยเทลาดจากข้างบนค่อยๆ โค้งเว้าเข้าในและ
โค้งออกมากขึ้น เมื่อถึงบริเวณส่วนล่างซึ่งรับจังหวะพอดีกับแปหัวเสาซึ่งวางตามแนว
นอกศูนย์ของเสา ทำให้หลังคาอ่อนช้อยสวยงามขึ้น หลังคาโค้งอ่อนเช่นนี้ไม่พบใน
เรือนกาแลที่สำรวจเลย จะมีก็เป็นเรือนที่สร้างรุ่นหลังซึ่งนำเอาลักษณะเรือนไทยเดิม
ภาคกลางและหลังคาโบสถ์วิหารมาใช้
10/7/09 4:09:52 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
110
แปหัวเสา
หัวเทียน ขื่อ
แปหัวเสา
ก. เสา
ขื่อ
ก.
ข. เสา
รูปที่ ๕๓
การวางขื่อและแปหัวเสา ก. เรือนกาแล แปหัวเสาร้อยหัวเทียนซ้อนบนขื่อที่ศูนย์กลางเสา ข. เรือนฝาปะกน แปหัวเสาจะวางซ้อนบนขื่อนอกศูนย์กลางเสา และไม่ร้อยผ่านหัวเทียน
aw kalae 7-8.indd 110
รูปที่ ๕๔
เสาป็อก (เสาตุ๊กตา) เป็นเสาสั้น วางตั้งบนขื่อกว้าน (ขื่อคัด) ไปรับขื่อและแปหัวเสา ทำให้ไม่ต้องมีเสายาวถึงพื้นเรือน บริเวณเตินไม่มีเสาเกะกะ (ภาพ ก. - ข.)
10/7/09 4:09:57 PM
111
ข.
aw kalae 7-8.indd 111
ขือ่ กว้าน (ขือ่ คัด) เสาม้าต่างไหม เสาป็อก (เสาตุก๊ ตา)
ขื่อกว้านหรือขื่อคัดเป็นโครงสร้างของเครื่องบน ที่เป็นการปรับปรุงโครงสร้าง เพื่อที่จะลดเสาระหว่างกลางลงได้ต้นหนึ่ง เป็นโครงสร้างที่ใช้ประโยชน์เหมาะสม สำหรับเรือนไทยเดิมทั้งของภาคกลางและภาคเหนือ เป็นขื่อที่เพิ่มขึ้นจากปกติ โดย พาดทอดระหว่างเสา ๒ ต้น ทำให้ลดการใช้เสาจากพื้นดินถึงโครงหลังคาที่อยู่ ระหว่างกลางลงได้ ๑ ต้น และใช้เพียงเสาป็อก (ภาคกลางเรียกเสาตุ๊กตา) ซึ่งตั้ง รับควบบนขื่อคัดเพื่อไปรับโครงสร้างของหลังคาตามปกติ ประโยชน์ที่สำคัญคือ ทำให้ไม่มีเสาจากพื้นขึ้นไปเกะกะห้อง เนื้อที่ห้องนั้นๆ จะดูกว้างขึ้น พบเรือนกาแล ที่ใช้ขื่อคัด-เสาป็อกจำนวน ๓ หลัง (เรือนหลังที่ ๙, ๑๖ และ ๑๘) เป็นเรือนที่ใช้
ขื่อคัดยึดเกาะระหว่างเสาต้นที่ ๑ จากหน้าเรือนกับต้นที่ ๓ ฉะนั้นเสาต้นที่ ๒ จึงใช้
เสาป็อกหรือเสาม้าต่างไหมแทน (รูปที่ ๖, ๗, ๕๔) ส่วนที่เป็นเตินจึงดูกว้างขวาง เพราะไม่มีเสากลางห้อง ตั่งโย (อ่าน “ตั๋งโย” คือจันทัน) ตั่งโยหรือจันทันเป็นไม้เหลี่ยมแบนขนาด ๕x๒๐-๒๕ ซม. เป็นส่วนประกอบ ของโครงสร้างรูปสามเหลี่ยมของหลังคาซึ่งยึดอกไก่กับขื่อและแปหัวเสา ปลายล่าง อยู่ตรงบริเวณหัวเสาพอดี ทำหน้าที่รับน้ำหนักหลังคา โดยมีแปลานหลายตัววางอยู ่
จั น ทั น มี อ ยู่ เ ฉพาะส่ ว นของโครงหลั ง คาที่ ไ ม่ มี จั่ ว อยู่ โดยรั บ น้ ำ หนั ก หลั ง คาเช่ น เดียวกันโครงสร้างที่ประกอบรับน้ำหนักร่วมกับจันทันคือดั้งแขวน (รูปที่ ๑๒, ๑๔) ปลายล่างของจันทันจะบากประกบเข้ากับแปหัวเสา จันทันของเรือนกาแลเป็น จันทันตรง ไม่แอ่นเหมือนจันทันของเรือนไทยเดิมภาคกลาง เนื่องจากช่วงระหว่าง เสาตามแนวยาวของเรือนแคบ จึงไม่จำเป็นต้องมีจันทันลวงเหมือนเรือนฝาปะกน เพราะจันทันลวงช่วยรับแปลาน ทำให้ไม้ไม่อ่อน จันทันลวงคือจันทันที่อยู่ระหว่าง ช่วงเสา ส่วนจันทันจริงอยู่แนวเดียวกับเสา
10/7/09 4:10:34 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
140
บทที่ ๙
ส่วนประกอบอื่นๆ ของ เรือนกาแล บทต่อไปนี้เป็นการวิจารณ์ส่วนประกอบที่สำคัญของเรือนกาแล บาง
หัวข้ออาจซ้ำกับตอนต้นๆ แต่เป็นการกล่าววิเคราะห์เพื่อเน้นส่วนประกอบที่สำคัญ
เท่านั้น
ประตูเรือน
เรื อ นกาแลทุ ก ประเภทมี ป ระตู เ ข้ า ห้ อ งนอน ๑ ประตู โดยอยู่ ด้ า นหน้ า ที่
ฝากั้นห้องของเรือนเสมอ สำหรับเรือนกาแลขนาดเล็กส่วนใหญ่มี ๑ ประตูเท่านั้น
อย่างไรก็ตามพบว่ามีเรือนกาแลขนาดเล็ก ๑ หลังที่มีประตูเข้าห้องนอนจากด้าน
ข้างเพิ่มอีก ๑ ประตู นอกนั้นพบมีประตูด้านข้างเพิ่มขึ้นอีก ๑ ประตูเป็นส่วนใหญ่
ในเรือนกาแลประเภทที่เหลือ (ดูผังพื้นอาคาร) ในกรณีที่เป็นเรือนกาแลขนาดใหญ่
โดยที่ห้องนอนครอบคลุมเรือนกาแลทั้งสองหลังแฝด พบว่ามีประตูเข้าด้านหน้า
ห้ อ งนอน ๒ ประตู ประตู ล ะหลั ง ทั้ ง ๆ ที่ ห้ อ งนอนกว้ า งและไม่ ไ ด้ กั้ น แยกเป็ น
สองห้องก็ตาม (เรือนหลังที่ ๒, ๙) ตำแหน่งของประตูหน้านั้นพบว่า ประตูจะอยู่ช่วงในของฝาด้านสกัดของ
เรือนทุกหลัง ศูนย์กลางของประตูเกือบทุกหลังมิได้อยู่ที่จุดกึ่งกลางของครึ่งหนึ่ง
ของฝา แต่อยู่ค่อนข้างชิดเสาดั้งมากกว่า จึงปรากฏชัดว่าประตูหน้าไม่ได้อยู่ที่
กึ่งกลางของฝาด้านสกัด แต่อยู่ค่อนมาทางช่วงในของฝามากกว่า
aw kalae 9.indd 140
10/7/09 4:15:33 PM
141
สำหรับประตูข้างของห้องนอนนั้น พบได้ที่เรือนหลังที่ ๑, ๔, ๕, ๘, ๑๑,
๑๒, ๑๖, ๑๗ และ ๑๘ ส่วนใหญ่ประตูจะอยู่ที่ส่วนกลางของช่วงเสาห้องแรกของ
ห้องนอน ยกเว้นเรือนหลังที่ ๑๖ ประตูข้างอยู่ที่ห้องที่สอง และปรากฏว่าประตูข้าง
เป็นประตูที่เล็กกว่าประตูหน้าเสมอ ตำแหน่งของประตูนั้นสอดคล้องกับการใช้สอยของห้องนอนและเตินเป็น
อย่างดี กล่าวคือ ส่วนที่ใช้เป็นที่นอนนั้นอยู่ซีกตะวันออกของเรือนส่วนใหญ่ ฉะนั้น
ประตูซึ่งอยู่ค่อนข้างมาอีกซีกหนึ่งของห้องจึงสะดวกในการเข้าออก ประตูจึงอยู่
คนละซีกกับเนื้อที่ที่ใช้นอน ที่เกี่ยวกับเตินก็เช่นกัน ประตูหน้าอยู่ห่างจากส่วนที่มี
หิ้งพระ ซึ่งย่อมสะดวกกว่าถ้าประตูมาอยู่ชิดซีกที่มีหิ้งพระ รูปที่ ๘๗
กรอบประตู เรือนหลังนี้ใช้ไม้ลูกตั้งของฝาเป็นกรอบประตู ไม้แกะสลักชิ้นบนคือหัมยนต์ (ภาพ ก.) ไม้ขวางวางบนกรอบล่างคือข่มตู๋ (ธรณี) ซึ่งมีความสูงไม่มากเท่าเรือนไทยเดิมภาคกลาง (ภาพ ข.)
ก.
aw kalae 9.indd 141
ข.
10/7/09 4:15:40 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
142
ก.
ข.
รูปที่ ๘๘ ข.
แซว่ที่เลื่อนจากกรอบประตูมาขัดบานประตูไว้
รูปที่ ๘๘ ก.
ประตู มองจากภายในห้องนอน บานประตูเป็นบานเดี่ยว ใช้ไม้แผ่นเดียวพร้อมกรอบ เปิดจากซ้ายไปขวา แซว่ (สลัก, ดาน) ยึดติดกรอบประตู
aw kalae 9.indd 142
10/7/09 4:15:46 PM
143
สัดส่วนของประตู
เท่าที่สำรวจพบปรากฏว่า ความสูงของประตูสัมพันธ์กับความสูงของฝา
ช่องประตูจะมีกรอบล้อมรอบ ส่วนใหญ่กรอบด้านล่างและบนของประตูใช้กรอบ
ร่วมกันกับกรอบของฝา ส่วนด้านข้างจะมีไม้กรอบประตูเสริมเพิ่มจากไม้ฝา ซึ่ง
ปลายทั้งสองของกรอบด้านข้างเข้าสลักตอกเดือยยึดติดกับกรอบบนและล่างของ
ฝา เรือนทั้งหมดจะทำกรอบแบบนี้ (รูปที่ ๘๗) ยกเว้นเรือน ๖ แห่งคือ (๑) มีเรือน ๒ แห่งที่ประตูไม่มีหัมยนต์ กรอบบนไม่สูงจึงไม่ใช้กรอบฝาเป็น
กรอบประตู แต่ทำกรอบใหม่ต่างหากโดยอยู่ต่ำลงมา (รูปที่ ๘๘ ก.) (๒) มีเรือน ๑ หลัง คือเรือนหลังที่ ๑๖ ใช้ไม้กรอบฝาและไม้ลูกตั้งลูกนอน
ของฝาเป็นกรอบประตู เวลาปิดบานประตูทำให้มีลักษณะเป็นฝาที่เหมือนไม่มี
ช่องประตู (รูปที่ ๘๑) (๓) เรือนอีก ๓ แห่งที่ทำกรอบเช็ดหน้าประตู (วงกบ) ต่างหาก และนำไป
ติดกับฝาซึ่งเว้นช่องไว้พอดี เช่น เรือนหลังที่ ๕ กรอบเช็ดหน้าประตูมีขนาดไม้
ใหญ่มาก และสลักลายพร้อมมีคิ้วด้วย จะเห็นว่าส่วนที่เป็นประตูจะอยู่สูงเกือบเท่า
ฝา แต่ช่องของประตูจะสูงน้อยกว่า เพราะด้านล่างมักมีไม้มาเสริมกรอบติดไว้บน
ไม้กรอบล่างอีกทีหนึ่ง ส่วนด้านบนมีหัมยนต์ (จะกล่าวถึงหัมยนต์ต่างหากภายหลัง)
สำหรับไม้กรอบล่าง (ธรณี) หรือไม้เสริมกรอบล่างมีการแต่งให้โค้งเว้าและลบเหลี่ยม
เพื่อไม่ให้คม และเป็นการตกแต่งให้ดูสวยงามด้วย ความสูงของกรอบล่างไม่ว่าจะ
มีไม้เสริมหรือไม่จะไม่สูงนัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเรือนไทยเดิมภาคกลางซึ่ง
สูงกว่าความสูงของกรอบล่างประตูของเรือนกาแล เฉลี่ยได้ประมาณ ๒๐ ซม.
ซึ่งเป็นช่วงที่ก้าวข้ามพ้นได้อย่างสบาย (รูปที่ ๘๗-๘๘) ขนาดของช่องประตูมีแสดงในตารางที่ ๓ จะสังเกตว่าความสูงของช่อง
ประตูของเรือนแต่ละหลังไม่ต่างกันมากนัก ทั้งนี้เพราะสัมพันธ์กับความสูงของ
ฝาเรือน (ความสูงจากพื้นเรือนถึงขื่อ) ซึ่งใกล้เคียงกันเกือบทุกหลัง (ดูตารางที่ ๒
หน้า ๒๐-๒๑) คือมีสองขนาด ประมาณ ๕ ศอกและ ๖ ศอก และที่สำคัญที่สุด
aw kalae 9.indd 143
คือ สัมพันธ์กับความสูงที่เหมาะสำหรับการลอดเข้าออก คือสูงประมาณ ๑๘๐-
๒๐๐ ซม. ผู้วิจัยเข้าใจว่าเมื่อต้องการความสูงขนาดนี้แล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือ
เป็นความกว้างของหัมยนต์ อย่างไรก็ตามหากหัมยนต์กว้างมาก ก็จะทำให้ความ
สูงช่องประตูน้อยลงไปบ้าง (ดูตารางที่ ๓ หน้า ๒๖) โครงสร้างกรอบประตูของเรือนกาแลสรุปได้ว่ามี ๒ ชนิดคือ (๑) สร้างกรอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝา (๒) ทำกรอบต่างหากมายึดติดฝาภายหลัง จะเห็นว่าแตกต่างจากเรือน
ฝาปะกน เพราะกรอบเช็ดหน้า (วงกบ) ประตูเรือนฝาปะกนทำเป็นกรอบเสริมรอบ
ทั้งสี่ด้าน เซาะร่องด้านนอกของกรอบ ทั้งนี้เพื่อเข้าไม้อมส่วนของฝาที่เว้นช่องไว้
โดยรอบ กรอบเช็ ด หน้ า นี้ ยั ง นิ ย มทำคิ้ ว ลดหลั่ น กั น ไปและใช้ ไ ม้ ห น้ า กว้ า งกว่ า
นอกจากนี้ประตูเรือนฝาปะกนจะสอบด้านบนเล็กลงกว่าด้านล่างประมาณ ๒.๕%
ตามการล้มสอบของฝา๑ (รูปที่ ๘๙ ก.) ความกว้างของช่องประตูเท่าที่พบสรุปได้ว่ามี ๓ ขนาด คือประมาณ ๖๕,
๗๐ และ ๘๐ ซม. ซึ่งขนาดไม่กว้างนักเมื่อเทียบกับบ้านสมัยปัจจุบัน และเมื่อ
เทียบกับเรือนไทยเดิมภาคกลางแล้วมีขนาดเล็กกว่า ความกว้างของประตูเรือนได้
มีผู้กล่าวว่า ใช้ความยาวของเท้าชายหัวหน้าครอบครัวเป็นตัวกำหนด คือประมาณ
๔-๕ ช่วงเท้า๒ บานประตูและข่มตู (อ่าน “ข่มตู๋”) ประตูมีบานเดียวเสมอ ซึ่งใช้ทั้งไม้แผ่นเดียวและเป็นไม้หลายแผ่นต่อกันก็มี
พบว่าใช้ไม้แผ่นเดียวน้อยหลังกว่าใช้ไม้หลายแผ่น และที่เป็นบานที่มีกรอบรอบบรรจุ
ลูกกรุพบได้บ้างเหมือนกัน (รูปที่ ๘๘) บานประตูจะมีเดือยบนและล่างยื่นจากขอบ
ด้านหนึง่ ของประตูเพือ่ สวมลงรูของไม้ขม่ ตู (อ่าน “ข่มตู”๋ - ข่มประตูหรือธรณีประตู)
ซึ่งอยู่ด้านหลังกรอบล่างและลงรูข่มหัวตู (ข่มหัวประตู) อยู่ด้านหลังของกรอบบน
10/7/09 4:15:47 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
160
บทที่ ๑๐
การตกแต่ง แม้ว่ารูปทรงของเรือนกาแลจะงดงามแล้วก็ตาม แต่การตกแต่งต่างๆ
ก็ช่วยเสริมให้งามยิ่งขึ้น การตกแต่งที่สำคัญคือการแกะสลักไม้ โดยเฉพาะกาแล
หัมยนต์ ไม้ปิดหัวแปหรือปิดอกไก่ และไม้ค้ำยัน เป็นต้น โดยได้นำมาวิจารณ์ใน
บทนี้ ยกเว้นไม้ค้ำยันได้กล่าวแล้วในบทที่ ๘ กาแล (อ่าน “ก๋าแล”) กาแล คือไม้แบนเหลี่ยม แกะสลักลวดลายเป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของ
ปั้นลม หรือทาบยึดติดกับปลายขอบบนปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่ ติดในลักษณะ
ไขว้กัน มีขนาดยาวประมาณ ๗๐-๑๐๐ ซม. ขนาดหนาประมาณ ๒-๓ ซม. และ
กว้างประมาณ ๑๕-๒๐ ซม. เนื่องจากมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงามเป็นการ
ตกแต่งให้เรือนกาแลงดงามยิ่งขึ้น จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะและเป็นสัญลักษณ์ประจำ
ท้องถิ่นของล้านนา ในสมัยโบราณซึ่งมีเรือนกาแลอยู่มากมาย คงจะเป็นทัศนียภาพ
ที่งดงามยิ่ง ความงามของกาแลอยู่ที่ลวดลายการแกะสลักและรูปทรง ฝีมือการแกะ
สลักไม้ของทางเหนือนับว่ายอดเยี่ยม ประกอบกับมีลวดลายบางชนิดเป็นลวดลาย
เฉพาะท้องถิ่น ทำให้เกิดความงามที่ไม่เหมือนกับที่อื่น จากการสำรวจเรือนกาแลทั้งหมด ๑๘ หลัง พบว่ายังมีกาแลติดอยู่เกือบทุก
หลัง ยกเว้น ๕ หลัง คือ เรือนหลังที่ ๔, ๗, ๘, ๑๑ และ ๑๘ ซึ่งเมื่อซ่อมปั้นลม
aw kalae 10.indd 160
10/7/09 4:18:38 PM
161
แล้วไม่ได้ทำกาแลติดไว้ เนื่องจากของเก่าผุไป สำหรับกาแลแบบต่างๆ ของเรือน
ที่สำรวจแสดงไว้ดังรูปที่ ๑๐๘ อย่างไรก็ตามกาแลที่เหลืออยู่แต่ละแห่ง บางแห่ง
มีหลายคู่ ประกอบกับกาแลที่ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมบันทึกภาพจากแหล่งต่างๆ
เช่น จากร้านขายของเก่า หรือการรวบรวมส่วนบุคคล จึงได้กาแลทั้งหมดประมาณ
๓๐ ชุด ทำให้สามารถจำแนกลักษณะของกาแลได้ดังนี้
รูปทรงกาแล
พบว่ามีรูปทรง ๓ ประเภท ตามลักษณะการอ่อนโค้งของตัวกาแลเองคือ - ทรงตรง มีลักษณะตรงต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกับส่วนอื่นของปั้นลม ไม่ม ี ลักษณะอ่อนโค้งที่เห็นชัด เป็นการช่วยนำสายตาให้มองทรงหลังคาสูงแหลมขึ้น
รูปทรงนี้พบมากที่สุด (รูปที่ ๑๐๔ ก.) - ทรงอ่อนโค้งคล้ายเขาควาย มีลักษณะสำคัญคือ ส่วนโคนของกาแลจะ
โค้งออกเล็กน้อยทั้งสองข้างและวกเข้าข้างในเล็กน้อย โดยปลายบนกลับโค้งออก
ด้านนอกอีก (รูปที่ ๑๐๔ ข.) กาแลลักษณะนี้พบได้น้อยกว่า อนึ่งไม่ว่ารูปทรงของกาแลจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างนี้ พบว่า
กาแลเป็นไม้แผ่นเดียวกับปั้นลม หรือหากมีการต่อก็จะต่อให้ดูเป็นไม้แผ่นเดียวกัน
ทั้ง ๒ ชนิดนี้มีขนาดยาวว่าชนิดที่ ๓ - ทรงคล้ายกากบาท มีความยาวน้อยกว่าสองชนิดข้างต้น ปลายบนมีลกั ษณะ
ของเศียรนาคผงาดหน้าเข้าหากัน ส่วนปลายล่างมน กลับมักมีการฉลุโปร่ง กาแล
ชนิดนี้เป็นชนิดที่นำมาทาบติดปั้นลมเสมอ (รูปที่ ๑๐๔ ค.) กาแลชนิดนี้ไม่พบตาม เรือนที่สำรวจเลย คงมีจำนวนน้อยกว่าหรือมีตามเรือนนอกเขตสำรวจ
ลวดลายแกะสลักของกาแล
กาแลทุกชนิดที่พบมีการแกะสลักเป็นลวดลาย มีความงดงามต่างๆ กันไป
ลักษณะลวดลายอาจแบ่งได้ ๓ ชนิด (รูปที่ ๑๐๕-๑๐๘) คือ
aw kalae 10.indd 161
ก.
ข.
ค.
รูปที่ ๑๐๔
รูปทรงของกาแลมี ๓ รูปแบบ ก. กาแลที่มีรูปทรงค่อนข้างตรง ข. กาแลรูปทรงอ่อนโค้งคล้ายเขาควาย ค. กาแลรูปทรงคล้ายกากบาท
10/7/09 4:18:39 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
162
รูปที่ ๑๐๕ ก. - จ.
ลวดลายกาแลชนิดที่เป็นลายกระหนก ตามระบบกระหนกสามตัวผูกลายเป็นช่อ ก้านกระหนกใหญ่มีกาบหลายชั้น
ค.
aw kalae 10.indd 162
ก.
ข.
ง.
จ.
10/7/09 4:18:41 PM
163
- ลายกระหนกสามตัว ซึ่งเป็นต้นแบบของลายไทย สามารถผูกเป็นลวดลาย
แยบยลต่างๆ ให้ละเอียดมากน้อยได้ ลวดลายเริ่มที่โคนของกาแล ประกอบด้วย
โคนช่อกระหนก ซึ่งมีกาบหุ้มก้านซ้อนกันหลายๆ ชั้น คล้ายก้านของไม้เถาที่ผุด
ออกมาตามธรรมชาติ จากนั้นก้านกระหนกก็แตกออกเป็นช่อตามระบบกระหนก
สามตัว ซึ่งสลับหัวกันคนละข้างจนถึงยอดกระหนกหรือยอดกาแล กาบก้านก็
สะบัดโค้งและเรียวแหลมสุดที่ยอด ลายกระหนกนั้นมีข้อปลีกย่อยต่างจากลายของ
ภาคกลางบ้าง เช่น การขมวดหัวมีมาก ขมวดกลมเป็นก้นหอยแต่ไม่นูนแหลมนัก
ใช้หัวใหญ่กว่า การสะบัดหางกระหนกสั้นกว่าแต่โค้งงอมาก เป็นต้น และลักษณะ
ทั่ ว ๆ ไป กระหนกตั ว ใหญ่ ก ว่ า ของภาคกลาง ก้ า นกระหนกดู ซ้ อ นกั น หลายชั้ น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีกาบหุ้มก้านมาก หัวกระหนกของกาบที่ขมวดจับก้านมีขนาด
ใหญ่ ม้วนกลมมาก จับก้านลึก และหัวกระหนกงอมาก (รูปที่ ๑๐๕) เนื่องจาก
กาแลถูกแดดฝน ทำให้ลวดลายลบเลือนตามเวลาที่ผ่านไป บางอันลบเลือนมาก
จนบอกรายละเอียดยาก - ลายเถาไม้หรือลายเครือเถา เป็นลวดลายซึ่งมีรูปแบบของลายกระหนก
อยู่บ้าง แต่มีลักษณะคล้ายเถาไม้หรือช่อ กิ่งและใบไม้ที่เกาะกันเป็นช่อปลายขมวด
ลายเริ่มที่โคนกาแลเหมือนกัน ประกอบด้วยก้านและกาบหุ้มหลายชั้น ส่วนนอก
ของกาบเมื่อใกล้ยอดจะกลายเป็นใบ ซึ่งปลายของใบขมวดงอเหมือนลายผักกูด
การโค้งงอของใบสลับกันคนละข้างจนถึงยอดช่อ ซึ่งสะบัดโค้งงออย่างสวยงาม
สำหรับกาแลที่ใช้ลวดลายชนิดนี้พบมีทั้งแกะสลักและฉลุโปร่งกับไม่ฉลุ โดยทั่วไป
ลายดูเรียบง่าย เข้าลักษณะศิลปะพื้นบ้าน (รูปที่ ๑๐๖) - ลายเมฆไหล ลายเมฆไหลเป็นลักษณะลายชนิดหนึ่งของล้านนา เป็น
เอกลักษณะเฉพาะท้องถิ่น เป็นลวดลายซึ่งคงเป็นจินตนาการของศิลปินที่มีต่อเมฆ
แต่ลายเมฆไหลที่นำมาใช้สำหรับกาแลไม่ค่อยเหมือนลายเมฆไหลที่ใช้สำหรับ
ส่วนอื่น คือมีองค์ประกอบของลายกระหนกหรือลายเครือเถาอยู่ ประกอบด้วย
ก้านกระหนกเป็นกาบหลายๆ ชั้น และแตกเป็นก้านและช่อตามระบบกระหนก
aw kalae 10.indd 163
รูปที่ ๑๐๖
กาแลที่มีลวดลายเถาไม้ หรือลายเครือเถา ลายผักกูด
รูปที่ ๑๐๗
กาแลลายเมฆไหล เป็นลวดลายเอกลักษณ์ของล้านนา ลวดลายขดหยัก ตวัดหัวขมวดกลม
10/7/09 4:18:42 PM
เ รื อ น ก า แ ล เฉลียว ปิยะชน
164
สามตัวเช่นกัน แต่ตัวกระหนกแต่ละตัวมีลักษณะเหมือนลายเมฆ หรือกล่าวอีก
อย่างหนึ่งก็คือ รูปแบบลายผูกเป็นเถา แต่ตัวกระหนกเป็นลายเมฆ ลักษณะลาย
เมฆไหลกล่าวโดยย่อคือ ลายประกอบด้วยก้านลายที่ขดหลักเหมือนไหลไปมา
และตวัดวกกลับอย่างเฉียบพลัน ตรงบริเวณที่ตวัดกลับจะเป็นหัวขมวดม้วนกลม
ได้ ลั ก ษณะหั ว ขมวด แต่แ ตกก้า นออกเป็ นสองก้ า น ซึ่ ง วิ่ ง แยกจากกั นคนละทิ ศ
(ดู ลวดลายการแกะสลักหัมยนต์ หน้า ๑๗๒-๑๘๗) ทีจ่ ริงแล้วลายเมฆไหลของกาแล
ดูคล้ายลายกระหนกสามตัวหรือลายเครือเถามาก (รูปที่ ๑๐๗) รูปที่ ๑๐๘
รูปถ่ายกาแลของเรือนหลังต่างๆ หมายเลขกำกับคือลำดับของเรือนหลังต่างๆ
๑
aw kalae 10.indd 164
๒
10/7/09 4:18:48 PM
165
๓
๓
aw kalae 10.indd 165
๕
10/7/09 4:18:53 PM
ประวัติ ศาสตราจารย นายแพทย เฉลียว ป ยะชน
“
งานชิ้นนี้เมื่อได ผ านสายตาละเอียด ข าพเจ าตระหนักดีว าเป นงานที่มีคุณค า มาก เป นผลงานค นคว าของคุณหมอ มิเสียทีที่ทุ มเทจิตใจมาทางศิลปวัฒนธรรม ไทยอย างเนิ่นนานและมิได ทิ้ง เป นที่สรรเสริญอย างยิ่ง เรือนกาแลทางเหนือเป นมรดกทางวัฒนธรรมของล านนาซึ่งเหลือตกทอด ให เราได ศึกษา รอวันที่ผู สนใจจะเจาะลึกลงไปทำความเข าใจให ถ องแท น. ณ ปากน้ำ
ราคา ๓๐๐ บาท ISBN 978-974-7385-43-4
หมวด ศิลปะและสถาป ตยกรรม
๓๐๐.-
”
ป จจุบัน • ศาสตราจารย เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม • ประธานมูลนิธิต อต านโรคมะเร็งภาคเหนือ • รังสีแพทย โรงพยาบาลลานนา • ป จจุบันเป นที่ปรึกษาที่จีรัง เฮลท วิลเลจ เชียงใหม ศ. นพ. เฉลียว ป ยะชน มีความสนใจในด านศิลปกรรมไทย มาโดยตลอด หนังสือ เรือนกาแล เล มนี้เกิดขึ้นจากการใช เวลาว าง จากหน าที่การงานประจำออกสำรวจเก็บข อมูลเรือนกาแลในเมือง เชี ย งใหม แ ละใกล เ คี ย ง เป น ผลงานด า นศิ ล ปะสถาป ต ยกรรม อันทรงคุณค าเล มหนึ่ง
เฉลียว ป ยะชน
การศึกษาและตำแหน งทางวิชาการ • แพทยศาสตร บัณฑิต (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร ) คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย • Diplomate American Board of Radiology University of Pittsburgh, USA • รองศาสตราจารย คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย • ศาสตราจารย คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม
เฉลี ย ว ป ย ะชน