พระราชพิธี ๑๒ เดือน : ปฏิทินชีวิตของชาวสยามประเทศ

Page 1

หมวดศิลปะไทย ราคา ๔๐๐ บาท ISBNราคา 978-616-465-005-3 XXX บาท

พ ร ะ ร า ช พิ ธี   ๑ ๒   เ ดื อ น   ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ   ภาพลายรดนํ้าและภาพลายก�ำมะลอภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมืองโบราณ

พระราชพิธี ๑๒ เดือน คือพระราชพิธีและพิธีกรรมที่ชาวสยามได้กระท�ำปฏิบัติสืบเนื่องกันมา  ในรอบปี (๑๒ เดือน) พระราชพิธีต่าง ๆ ที่กระท�ำขี้นมานั้นมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ บางพิธกี ระท�ำขึน้ จากความเชือ่ ในศาสนาพราหมณ์หรือความเชือ่ ในศาสนาพุทธ  และบาง  พิธี ได้ผสมผสานทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์เข้าด้วยกัน พระราชพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวสะท้อน  ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำ� รงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม จุดมุ่งหมายที่สำ� คัญของ  การประกอบพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวเพื่อความสุขสงบมั่นคงของแผ่นดินและความอุดมสมบูรณ์  ของพืชพรรณธัญญาหาร พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในเมืองโบราณคือสัญลักษณ์ของสังคมเมืองกรุงแห่งกรุง  รัตนโกสินทร์ ช่างเมืองโบราณได้วาดภาพลายรดนํ้าและลายก�ำมะลอพระราชพิธี ๑๒ เดือน  ตกแต่งภายในพระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาทโดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ รักษารูปแบบภาพวาดไทยโบราณ  รวมทั้งความหมายและความส�ำคัญของพระราชพิธีต่อวิถีชีวิตไทย

พระราชพิธี ๑๒ เดือน ปฏิทินชีวิต ของชาวสยามประเทศ ภาพลายรดนํ้าและภาพลายกำ�มะลอ ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เมืองโบราณ


สารบัญ

ค�ำน�ำ พระราชพิธี ๑๒ เดือน ภาพลายรดนํ้าและภาพลายก�ำมะลอภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมืองโบราณ ความหมายของพระราชพิธี ๑๒ เดือน ๑  พระราชกุศลเทศนามหาชาติ ๒  พระราชพิธี ไล่เรือ (ไล่นํ้า) ๓  พระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย ๔  พระราชพิธีลงสรง ๕  พิธีธานยเฑาะห์ (เผาข้าว) ๖  พระราชกุศลมาฆบูชา ๗  พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษ จีน ๘  พิธีศิวาราตรี ๙  พิธีทอดเชือก ดามเชือก ๑๐  พิธีแห่สระสนาน ๑๑  พระราชกุศลก่อพระทราย ๑๒  พิธีรดเจตร ๑๓  พระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ๑๔  พระราชกุศลสังเวยเทวดา ๑๕  สรงนํ้าพระศรีมหาโพธิ ๑๖  พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล ๑๗  พระราชพิธีวิสาขบูชา ๑๘  พระราชพิธีทูลนํ้าล้างพระบาท ๑๙  พระราชกุศลสลากภัต ๒๐  พระราชพิธีเคณฑะ (ทิ้งข่าง) ๒๑  พระราชพิธีพรุณศาสตร์ ๒๒  พิธีตุลาภาร ๒๓  พิธีกวนข้าวทิพย์ ๒๔  พิธีอาศยุชย (แข่งเรือ) ๒๕  พระราชพิธีสมโภชช้างต้น ๒๖  พระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ๒๗  พระราชพิธีลอยพระประทีป ๒๘  พระราชพิธีฉัตรมงคล ๒๙  พระราชกุศลฉลองไตรปี ๓๐  พระราชพิธีกะติเกยา ๓๑  พระราชพิธีจองเปรียง ๓๒  พิธีอาพาธพินาศ บรรณานุกรม 4

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

๓ ๕ ๑๒ ๑๔ ๑๘ ๒๐ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๓๐ ๓๒ ๓๔ ๓๖ ๓๘ ๔๐ ๔๒ ๔๖ ๔๘ ๕๐ ๕๔ ๕๖ ๕๘ ๖๐ ๖๒ ๖๖ ๖๘ ๗๒ ๗๔ ๗๖ ๘๐ ๘๒ ๘๔ ๘๖ ๘๘ ๙๐ ๙๒


พระราชพิธี ๑๒ เดือน ภาพลายรดนํ้าและภาพลายกำ�มะลอ ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมืองโบราณ

ารสร้างสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองโบราณเป็นการ  ก่อสร้างที่มีความหมายอยู่ในแต่ละสถานที่ เพื่อ  บอกเล่าให้ผู้ที่เข้ามาชมได้เรียนรู้และเข้าใจถึงภาพรวม  และเรือ่ งราวในอดีตของเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ทัง้ ความ  เป็นมา วิถีชีวิต ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของเมือง  ไทย เมืองโบราณสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้น  เป็นตัวแทนของกรุงรัตนโกสินทร์ เนือ่ งจากพระทีน่ งั่ องค์  นี้เป็น พระที่นั่งทรงไทยแท้ที่สร้างขึ้น มาตั้งแต่เมื่อเริ่ม  สร้างกรุงรัตนโกสินทร์เพื่อแทนพระที่นั่งอินทราภิเษกที่  ถูกอสนีบาตและไฟไหม้  การก่อสร้างและการตกแต่ง  ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทของเมืองโบราณใช้  เวลาประมาณ ๑๐ ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุที่  พระทีน่ งั่ องค์นเี้ ป็นพระทีน่ งั่ ในพระมหากษัตริย ์ ผูจ้ ะสร้าง  พระที่นั่งได้ก็คือพระมหากษัตริย์เท่านั้น ดังนั้นการสร้าง  พระที่นั่งองค์ต่าง ๆ ในเมืองโบราณจึงถือคติโบราณที่  จะไม่ท�ำอะไรเทียมเจ้านาย ไม่ว่าจะเป็น ท้องพระโรง  กรุงธนบุรี พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท และพระที่นั่ง  ดุสิตมหาปราสาทจึงไม่สร้างขนาดเท่าจริง แต่ลดส่วนลง  มาเหลือเพียงสามในสี่ส่วนเท่านั้น ในส่ ว นของการตกแต่ ง ภายใน เมื อ งโบราณมี  วัตถุประสงค์ให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวได้รู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับ  เหตุ ก ารณ์ แ ละประเพณี วั ฒ นธรรมที่ ส�ำคั ญ ของกรุ ง

รัตนโกสินทร์ จึงใช้พื้นที่บริเวณเหนือช่องหน้าต่างวาด  จิ ต รกรรมฝาผนั ง เล่ า เรื่ อ งราวส�ำคั ญ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในกรุ ง  รัตนโกสินทร์ เช่น เหตุการณ์ปลายแผ่นดินกรุงธนบุรี  การสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของสยาม  ประเทศ สงครามเก้าทัพ ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน  เป็นต้น พื้นที่ว่างระหว่างช่องหน้าต่างมีทั้งหมด ๓๒ ช่อง  เมืองโบราณมอบหมายให้ช่างวาดของเมืองโบราณวาด  ภาพพระราชพิธี ๑๒ เดือน โดยเป็นการเขียนภาพไทย  แบบโบราณ ทั้งกรรมวิธีและรูปแบบในการเขียนภาพ  แบบดั้งเดิมสองแบบคือ ภาพเขียนลายรดน�้ำและภาพ  เขียนลายก�ำมะลอ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็ก  น้อยจึงจัดให้เป็นภาพเขียนลายก�ำมะลอแบบที่ ๑ แบบที่  ๒ และแบบที่ ๓ ภาพแต่ละแบบวาดอยู่ในพื้นที่ผนังของ  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทดังนี้ ภาพทางมุขด้านเหนือ เขียนลายก�ำมะลอ  แบบที่ ๓ ภาพทางมุขด้านใต้ เขียนลายรดน�้ำ ภาพทางมุขด้านตะวันออก เขียนลายก�ำมะลอ  แบบที่ ๑ ภาพทางมุขด้านตะวันตก เขียนลายก�ำมะลอ  แบบที่ ๒

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

5


ความหมายของพระราชพิธี ๑๒ เดือน

ระราชพิธี ๑๒ เดือนเป็นเสมือนปฏิทินในการ  ด�ำเนินชีวิตของผู้คนพลเมืองในสยามประเทศว่า  ในรอบ ๑ ปีมีการประกอบพระราชพิธีหรือพิธี ใดบ้าง  บางเดือนอาจจะมีสองถึงสามพิธี แต่บางเดือนอาจจะ  ว่างเว้นไม่มีพิธีกรรม พระราชพิธีมีทั้งที่เป็นพิธีพราหมณ์  ฝ่ายเดียว แต่ภายหลังเมื่อมีการรับนับถือศาสนาพุทธ  เข้ามาในดินแดนแถบนี้จึงมีพิธีที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ  และบางพิ ธี มี ทั้ ง พิ ธี พุ ท ธและพิ ธี พ ราหมณ์ ค ละเคล้ า  ผสมผสานกันไป ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดศาสนา  หนึ่ง มีต้นก�ำเนิดในดินแดนชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย  ปั จ จุ บั น  พราหมณ์ถือว่าตนเป็น หนึ่งในสี่วรรณะตาม  คติศาสนาพราหมณ์ (ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะ  กษั ต ริ ย ์   วรรณะแพศย์   และวรรณะศู ท ร)  วรรณะ  พราหมณ์ ได้แก่ นักบวช มีหน้าที่สั่งสอนและประกอบ  พิธีกรรมทางศาสนา เปรียบเสมือนส่วนศีรษะของมนุษย์  ซึง่ เป็นบ่อเกิดความคิดและสติปญ ั ญา  พราหมณ์มหี น้าที่  บูชาเทพเจ้า สวดมนตร์ภาวนา และสมโภชทีเ่ ทวาลัย ถือ  เป็นผู้สื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้า พราหมณ์ทอี่ ยู่ในสยามประเทศเป็นพราหมณ์ทเี่ ดิน  ทางมาจากอินเดียโดยทางเรือ มาขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของ  ประเทศ คือบริเวณเมืองท่าที่นครศรีธรรมราช ปัจจุบัน  ยังมีหลักฐานคือเสาชิงช้าที่นครศรีธรรมราช พราหมณ์ ที่ เ ข้ า มาอยู ่ ใ นดิ น แดนประเทศไทยมี  บทบาทในราชส�ำนั กโดยเป็ น ผู ้ ป ระกอบพิ ธี ก รรม  ที่  สุโขทัยปรากฏศาสนสถานของพวกพราหมณ์ เช่น วัด  ศรีสวายและวัดพระพายหลวงในตัวเมืองสุโขทัย และหอ  เทวาลัยมหาเกษตรพิมานทีน่ อกเมืองทางด้านทิศตะวันตก  12

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

ส่วนทีอ่ ยุธยาในเขตเกาะพระนครศรีอยุธยาบริเวณใกล้ ๆ  บึ ง พระรามปรากฏที่ ตั้ ง เทวสถานและศาลพระกาฬ  ส�ำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ที่ตั้งของเทวสถานอยู่ ใกล้กับ  เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม   ต่ อ มาเมื่ อ เรารั บ นั บ ถื อ ศาสนาพุ ท ธเป็ น ศาสนา  ประจ�ำชาติ ในส่วนพิธีกรรมต่าง ๆ จึงมีพิธีทางศาสนา  พุทธแต่เพียงอย่างเดียวเพิ่มเติมขึ้น มา บางพิธีซึ่งเคย  เป็นพิธีพราหมณ์ก็ได้เพิ่มเติมพิธีทางพุทธศาสนาเข้าไป  เช่น มีการท�ำบุญเลี้ยงพระและการสวดพระพุทธมนต์  เพิ่มเติมเข้าไปจึงกลายเป็นทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์  ผสมผสานกัน การพระราชพิธีที่มีการเพิ่มเติมพิธีสงฆ์  เข้าไปนัน้ มีหลายพิธกี ารซึง่ ส่วนใหญ่มกี ารเพิม่ เติมในสมัย  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั   อาจจะเนือ่ งจาก  พระองค์ทรงผนวชอยู่ ในบวรพระพุทธศาสนาเป็นเวลา  ยาวนานถึง ๒๗ ปีกอ่ นทีจ่ ะเสด็จขึน้ ครองราชย์  จึงโปรด  ให้เอาการพระราชกุศลในทางพระพุทธศาสนาเข้ามา  ประกอบในพิธีของศาสนาพราหมณ์ พระราชพิธีต่าง ๆ ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่  สมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ บางพิธีได้ยกเลิก  กระท�ำไปแล้ว  เพราะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน  เช่นพระราชพิธีไล่เรือ (ไล่น�้ำ) แต่บางพิธีก็ยังคงกระท�ำ  สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่นพระราชพิธีพืชมงคลและ  จรดพระนังคัล บางพิธีก็ยังคงกระท�ำกันเป็นการภายใน  ราชส�ำนัก เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชกุศล  สังเวยเทวดา เป็นต้น บางพิธีมีทั้งที่ราชส�ำนักท�ำและ  คลี่คลายมาเป็น พิธีที่ราษฎรปฏิบัติ เช่น พระราชพิธี  พรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นประเพณีหลวง แต่ส�ำหรับชาวบ้าน  หากฝนแล้งก็จะท�ำ พิธีแห่นางแมว หรือจุดบั้งไฟบูชา


พญาแถนเพื่อขอฝน การประกอบพระราชประเพณีตา่ ง ๆ มีจดุ มุง่ หมาย  หลายประการ เช่น - ประกอบพิ ธี เ พื่ อ ความมั่ น คงของสถาบั น และ  บ้านเมือง เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีศรี-  สัจจปานกาล พิธีแห่สระสนาน เป็นต้น - ประกอบพิธีเพื่อขอบคุณต่อเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์  สิทธิ์นอกเหนือธรรมชาติ ได้แก่ พิธีกวนข้าวทิพย์ - ประกอบพิธเี พือ่ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ  ธัญญาหาร ได้แก่ พระราชพิธพี ชื มงคลและจรดพระนัง-  คัล พระราชพิธีพรุณศาสตร์ - ประกอบพิธีเพื่อกุศลผลบุญในชาติหน้าภพหน้า  ได้แก่ พระราชกุศลเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีวิสาขบูชา  พระราชกุศลมาฆบูชา พิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกัน มาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ตาม มีหลักการหรือจุดมุ่งหมายที่ส�ำคัญคือ เพื่อก่อให้ เกิคความสวัสดิมงคลต่อชาติบ้านเมือง เพื่อความมั่นคง ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ของพืชพรรณธัญญาหาร ท�ำให้บ้านเมืองอยู่ ในภาวะ ที่สมัยก่อนเรียกว่า “ข้าวเหลือเกลืออิ่ม” ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ บ้านเมืองสงบร่มเย็น นอกจากนี้ จ ะเห็ นได้ ว ่ า ผู ้ ที่ ท รงเป็ น ผู ้ น�ำในการ  ประกอบพระราชพิ ธี   ๑๒ เดื อ นในอดี ต คื อ พระมหา  กษัตริย์ ด้วยเหตุที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของสยามประเทศ  ทรงเป็นผู้น�ำทั้งทางโลกและทางธรรม ทรงพระวิริย-  อุตสาหะที่จะบ�ำบัดทุกข์บ�ำรุงสุขให้แก่ราษฎร จึงทรง  ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง เช่น พระ  ราชพิธี ไล่เรือ (ไล่น�้ำ) พระราชพิธีพืชมงคลและจรด-  พระนังคัล แต่ภายหลังพระมหากษัตริยอ์ าจจะมีพระราช-  ภารกิจมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปเป็น  ประธานในพิธแี ทน เช่น พระจันทกุมารในพิธธี านยเฑาะห์  พระยายื น ชิ ง ช้ าในพระราชพิ ธี ต รี ยั ม ปวาย ตรี ป วาย  พระยาแรกนาในพระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล  เป็นต้น การประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ จะสัมฤทธิผลมาก  น้อยเพียงใดคงจะวัดกันยาก แต่จากการพิจารณาถึง

พิธีกรรมต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าคนสมัยโบราณนั้นมีความ  เข้าใจในเรื่องสภาพภูมิศาสตร์และธรรมชาติที่แวดล้อม  เป็ น อย่ า งดี    ผู ้ ค นสมั ย ก่ อ นด�ำรงชี วิ ต กลมกลื น กั บ  ธรรมชาติ ไม่คุกคามหรือท�ำร้ายธรรมชาติ และเชื่อใน  เรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกเหนือธรรมชาติ  การประกอบพิธี  ต่าง ๆ มีจุดมุ่งหมายส�ำคัญคือ ความมั่นคงของชาติบ้าน  เมืองและความสมบูรณ์พูนสุขของชีวิต  อย่างน้อยที่สุด  เมือ่ ได้ประกอบพิธีไปแล้วท�ำให้ราษฎรสบายใจและมีขวัญ  ก�ำลังใจดีขึ้น สมัยโบราณมีพระราชพิธี ๑๒ เดือนจ�ำนวนมาก  บางพิธีไม่ได้กระท�ำมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บางพิธีก็ไม่ได้  กระท�ำในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะในสมัย  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หาก  พิธี ใดกระท�ำเพื่อพระมหากษัตริย์แต่เพียงฝ่ายเดียวก็  โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกกระท�ำ หรือตัดทอนขั้นตอนของ  พิธีกรรม หรือลดระยะเวลาให้สั้นลง แต่ถ้าพิธีใดท�ำเพื่อ  ประโยชน์สุขของราษฎรหรือแผ่นดิน โปรดเกล้าฯ ให้  ปฏิบัติอยู่ สมดังพระราชปณิธานของพระองค์ที่ ได้มี  พระราชด�ำรัสแก่ราษฎรเมื่อวันเสด็จขึ้นครองสิริราช-  สมบัติว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์  สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”  จนถึงทุกวันนีพ้ ระองค์ได้ทรง  จัดตั้งโครงการในพระราชด�ำริจ�ำนวนมากกว่า ๔,๐๐๐  โครงการเพื่อให้ราษฎรของพระองค์มีชีวิตที่สุขสบายไม่  อดอยากยากแค้น นับเป็นบุญของคนไทยที่ได้เกิดมาอยู่  ใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์โดยแท้

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

13


14

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชกุศลเทศนามหาชาติ

พระราชพิธนี กี้ ระท�ำในเดือนอ้าย (เดือน ๑) นับเป็นเทศนา  ส�ำหรับแผ่นดิน มหาชาติ คือ ชาติก�ำเนิดอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จ  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระ  เวสสันดร อันเป็น พระชาติสุดท้ายก่อนที่จะตรัสรู้เป็น  พระพุทธเจ้า ในชาตินี้ทรงบ�ำเพ็ญบารมีที่ยิ่งใหญ่ คือ  ทานบารมี

พระภิกษุขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ แสดงพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ รวม ๑,๐๐๐ คาถา เชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังคาถาพัน จบภายในวันเดียว เมื่อตายไปจะได้พบอนาคตพระพุทธเจ้าคือพระศรีอาริย์

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

15


18

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชพิธี ไล่เรือ (ไล่นํ้า) พระราชพิธีนี้จัดในเดือนอ้าย (เดือน ๑) พระราชพิธนี กี้ ระท�ำเพือ่ รักษาพืชพรรณธัญญาหาร  ไม่ให้เสียหาย กล่าวคือ ในเดือนอ้ายเมื่อต้นข้าวแก่แล้ว  รอเวลาเก็บเกีย่ ว ในช่วงนีต้ น้ ข้าวไม่ตอ้ งการน�ำ้ อีก ระดับ  น�ำ้ ในท้องนาควรจะลดลง หากน�ำ้ ไม่ลดจะก่อให้เกิดความ  เสียหายแก่ขา้ ว  พระมหากษัตริยใ์ นฐานะเป็นเจ้าแผ่นดิน  ต้องบ�ำบัดทุกข์และบ�ำรุงสุขให้ราษฎร ดังนัน้ หากถึงเดือน  อ้ายแล้วน�้ำยังไม่ลด พระเจ้าแผ่นดินจะทรงประกอบ  พระราชพิธีไล่เรือเพื่อท�ำให้น�้ำลดลงโดยเร็ว โดยจะทรง

ยืนที่หัวเรือ พระหัตถ์ทรงโบกพัชนีพัดไล่น�้ำให้ลดลง สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที ่ ๑ ประทับเรือพระทีน่ งั่   และมีเรืออัญเชิญพระชัยและพระคันธารราษฎร์ประกอบ  ในพระราชพิธี สมัยรัชกาลที ่ ๓ นอกจากจะมีเรือพระทีน่ งั่ แล้วยังมี  เรืออัญเชิญพระพุทธรูป ซึ่งในครั้งนี้อัญเชิญพระพุทธรูป  ปางห้ามสมุทร และมีเรือพระสงฆ์สวดมนต์ในระหว่าง  ประกอบพระราชพิธีด้วย ในเดือนอ้าย (เดือน ๑)  ถ้าน�้ำในท้องนายังไม่ลด จะท�ำความเสียหายให้กับ ต้นข้าว จึงต้องท�ำพระราชพิธีไล่เรือ (ไล่น�้ำ) โดยการ อัญเชิญพระพุทธรูปลงเรือ ล�ำหนึ่ง อีกล�ำหนึ่ง พระมหากษัตริย์ทรงยืน ที่หัวเรือ ทรงโบกพัดไล่นำ�้ เพื่อท�ำให้น�้ำลดลง

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

19


20

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย

พิธีนี้เรียกกันอย่างสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ท�ำในช่วงเวลา  ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างเดือนอ้ายและเดือนยี่ (เดือน ๑  และเดือน ๒) พิธีตรียัมปวาย ตรีปวายเป็นสองพิธีที่มีความเกี่ยว  เนื่องกัน เป็นพิธีปี ใหม่ของศาสนาพราหมณ์ นับเป็นพิธี  ใหญ่ ตรงกับ “พิธีมะหะหร�่ำ” ของแขกเจ้าเซ็น  พิธีนี้  จั ด ขึ้ น เพื่ อ ต้ อ นรั บ พระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ที่ ส�ำคั ญ สององค์ คื อ  พระอิศวรและพระนารายณ์ ที่จะเสด็จจากสรวงสวรรค์  มาเยี่ ย มมนุ ษ ยโลก  พวกพราหมณ์ จ ะจั ด พิ ธี ต ้ อ นรั บ  บวงสรวงบูชา เล่นโล้ชิงช้า และร�ำเสนงถวายพระผู้  เป็นเจ้า พิธตี รียมั ปวาย เป็นการถวายการต้อนรับพระอิศวร พิธตี รีปวาย เป็นการถวายการต้อนรับพระนารายณ์ พราหมณ์ทที่ �ำพิธตี รียมั ปวาย ตรีปวายเป็นพราหมณ์  พวก “โหรดาจารย์” ซึ่งนับถือพระอิศวรว่าใหญ่กว่าพระ  นารายณ์  ด้วยเหตุที่ว่าพระอิศวรทรงสงเคราะห์แก่คน  ทัว่ ไป นับว่าเป็น “พระคุณ”  ส่วนพระนารายณ์ทรงปราบ  ปรามเหล่าร้าย จึงถือว่าเป็น “พระเดช” ตามความเชื่อของพราหมณ์ เมื่อพระพรหมสร้าง  โลกแล้วพระอิศวรทรงทดสอบความแข็งแรงของโลก  ด้วยการเหยียบโลกด้วยพระบาทข้างเดียว  ในการนี้จึง

มีการโล้ชิงช้าและร�ำเสนงถวายพระอิศวร เสาของชิงช้า  ทั้งสองข้างแทนขุนเขาสองฝั่งมหาสมุทร นาลิวัน (คนที่  ขึ้นไปโล้ชิงช้า) สวมหัวพญานาค เล่นน�้ ำในขันสาครที่  เปรียบเสมือนมหาสมุทร พิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีถวายการต้อนรับพระอิศวร  ที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลกปีละครั้ง ครั้งละ ๑๐ วัน ตั้งแต่ขึ้น  ๗ ค�่ำ เดือนอ้ายถึงแรม ๑ ค�่ำเป็นวันเสด็จกลับ  การ  ถวายการต้อนรับพระอิศวรเป็นการครึกครืน้  เหล่าเทวดา  มาชุมนุมต้อนรับ เช่น พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี  พระคงคา เป็นต้น ส่วนพิธีตรีปวาย เป็น พิธีถวายการต้อนรับพระ  นารายณ์ที่จะเสด็จสู่โลกมนุษ ย์ในวันแรม ๑ ค�่ำ และ  เสด็จกลับอย่างเงียบ ๆ ในวันแรม ๕ ค�่ำ เดือนยี่ จนมีค�ำ  กล่าวว่า “พระนเรศวร์เดือนหงาย พระนารายณ์เดือนมืด”  ทั้งนี้เพราะในการแห่พระนเรศวร์คือแห่พระอิศวรนั้น  เวลาจะเสด็จกลับจากโลกนี้โปรดแสงสว่าง จึงแห่ ใน  เวลาเดือนขึน้ อย่างสนุกสนานครึกครืน้   ส่วนพระนารายณ์  ไม่โปรดการเอิกเกริก จึงจะเสด็จกลับในคืนข้างแรมแบบ  เงียบ ๆ ส่วนพิธกี รรมของพราหมณ์ซงึ่ จะกระท�ำทีเ่ ทวสถาน  คู่ขนานกันไปคือ ตั้งแต่วันขึ้น ๖ ค�่ำ พราหมณ์ช�ำระกาย

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

21


24

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชพิธีลงสรง พระราชพิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พิธีลงท่า” เป็นพระ  ราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง ในหนังสือค�ำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า เมื่อพระ  ราชโอรสมีพระชนมายุ ๓ พรรษา พระราชโอรสลงสรง  น�้ำได้ โปรดให้มีการสมโภชครั้งหนึ่ง พระราชพิธีลงสรงเป็นพิธีที่ต้องท�ำที่ท่าน�้ำ โดยมี  การสร้างแพพระมณฑปส�ำหรับลงสรงในแม่น�้ำ แพนั้น  ผูกเทียบที่หน้าพระต�ำหนักน�้ำ พระราชพิธีนี้เป็นพิธีในน�้ำ  ต่างจากพระราชพิธีโสกันต์ซึ่งเป็นพิธีที่ท�ำบนบกจึงต้องมี  การสรงน�้ำที่เขาไกรลาส สมัยรัตนโกสินทร์ จัดพระราชพิธีลงสรงเพียงสอง  ครั้งเท่านั้นคือ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ท�ำพระราชพิธีลงสรง  เจ้าฟ้ามงกุฎเมื่อมีพระชนมายุ ๙ พรรษา และในสมัย  รัชกาลที่ ๕ ท�ำพระราชพิธีลงสรงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหา-  วชิรุณหิศเมื่อมีพระชนมายุ ๘ พรรษา บริเวณพืน้ ทีท่ จี่ ะท�ำพระราชพิธลี งสรงจะมีการสร้าง  แพพระมณฑปที่สรงในแม่น�้ำ แพนั้นผูกเทียบที่หน้าพระ  ต�ำหนักน�้ำ  มีเรือบัลลังก์ประทับอยู่หน้าพระต�ำหนักแพ  เรือกัญญาและเรือครุฑทอดทุ่นเหนือน�้ำล้อมแพลงสรง  ภายในซี่กรงที่สรงจะกรุผ้าทั้งผืน  ข้าง ๆ มีบันไดลงจาก  พื้นแพถึงที่สรงโดยบันไดเงินอยู่ด้านทิศเหนือ บันไดทอง  อยู่ด้านทิศใต้ บันไดแก้วอยู่ด้านทิศตะวันออกริมพระ  ต�ำหนักน�้ำ  ทางด้านทิศตะวันตกตั้งพระแท่นสองชั้น  ส�ำหรับเป็นที่รับน�้ำสรง  ผู้ลงสรงท�ำพิธีลอยบัตร (ลอย  เครื่องบัตรพลี) ปล่อยกุ้ง  ปลาซึ่งท�ำจากทอง นาก เงิน  ลูกมะพร้าวคูป่ ดิ ทองและปิดเงินเพือ่ ใช้เกาะในการว่ายน�้ำ  มะพร้าวยังมีความหมายถึงความเจริญงอกงาม รอบแพที่ท�ำพิธีมีเรือและเหล่าทหารจุกช่องล้อมวง  เพื่ อ ป้ อ งกั น เหตุ ร ้ า ยทางน�้ ำ  รวมทั้ ง มี เ รื อ หมอจระเข้  ส�ำหรับจับสัตว์ร้ายในท้องน�้ำ

ภาพพระราชพิธลี งสรงในพระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท  ของเมืองโบราณถ่ายแบบมาจากภาพถ่ายพระราชพิธี  ลงสรงของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรณ ุ หิศ พระราชโอรสใน  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ  พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารองค์แรกของ  ไทย แต่ไ ม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติเพราะสิ้น พระชนม์  ก่อนเมื่อพระชนมายุเพียง ๑๗ พรรษาเท่านั้น

พระราชโอรสเสด็จไปประทับที่แพพระมณฑปส�ำหรับสรง ในแม่นำ�้  ภาพวาดพระราชพิธีนี้ถ่ายแบบมาจากภาพถ่าย ลงสรงของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร องค์แรกของไทย

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

25


28

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชกุศลมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ ค�ำ่  เดือน ๓  พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์

พิธีนี้เป็นพิธีส�ำคัญทางพุทธศาสนา กระท�ำในวันขึ้น ๑๕  ค�่ำ เดือน ๓ มูลเหตุของพิธีนี้คือ ในสมัยพุทธกาลก่อนที่พระ-  พุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินพิ พานได้เกิดนิมติ มงคลเป็น  อัศจรรย์ คือ จาตุรงคสันนิบาต ซึง่ ประกอบด้วยองค์สคี่ อื (๑) วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (๒) พระสงฆ์จ�ำนวน ๑,๒๕๐ รูปมาเฝ้าพระพุทธองค์  ที่เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย (๓) พระภิกษุเหล่านั้นเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ  พระภิกษุที่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์ (๔) พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น เนื่องด้วยเป็น นิมิตมงคลพิเศษ พระพุทธองค์จึง  ทรงแสดงธรรมที่มีชื่อว่า โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งถือเป็น  หลักและหัวใจของพระพุทธศาสนาคือ การไม่ท�ำความชัว่   ประพฤติดี และท�ำจิตใจให้ผ่องแผ้ว นอกจากนี้พระพุทธองค์ได้ทรงปลงอายุสังขาร คือ  ตกลงพระทัยที่จะปรินิพพานที่ปาวาลเจดีย์ แคว้นวัชชี  และพระองค์จะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แม้จะมีเหตุการณ์พิเศษทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นใน  วันเพ็ญเดือนมาฆะ แต่ก็ไม่ได้มกี ารประกอบพิธกี ารใด ๆ  จนมาถึ ง สมั ย รั ช กาลที่   ๔ โปรดเกล้ า ฯ ให้ ป ระกอบ  พระราชกุศลมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔  ทีว่ ดั พระศรีรตั นศาสดารามและถือเป็นพิธหี ลวงตลอดมา การที่ พ ระองค์ โ ปรดให้ มี พ ระราชกุ ศ ลมาฆบู ช า  อาจเนื่องมาจากว่าก่อนหน้าที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครอง  ราชสมบัติ พระองค์ทรงผนวชอยู่ในบวรพระพุทธศาสนา

เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๗ ปี จึงทรงพิจารณาเห็นถึง  ความส�ำคัญของเหตุการณ์ทางพุทธศาสนาดังกล่าว ปัจจุบนั เมือ่ ถึงวันมาฆบูชาชาวบ้านจะไปท�ำบุญทีว่ ดั   ฟังเทศน์ ฟังธรรม ทั้งพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านจะเวียน  เทียนรอบพระอุโบสถเพื่อร�ำลึกถึงเหตุการณ์ส�ำคัญทาง  พระพุทธศาสนานี้

๑ ๒

๒ ๑  ชาวบ้านฟังเทศน์ ฟังธรรม จากพระภิกษุสงฆ์ ๒  พระภิกษุและชาวบ้านเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ถวายเป็นพุทธบูชา

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

29


30

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษ จีน พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตน-  โกสินทร์ เนือ่ งด้วยในสมัยรัชกาลที ่ ๒ เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระองค์  ยังทรงด�ำรงต�ำแหน่งเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดิน ทร์ทรง  ก�ำกับกรมท่าควบคุมการค้าขาย น�ำรายได้เข้าแผ่นดินเป็น  จ�ำนวนมาก จนพระราชบิดา (รัชกาลที่ ๒) ตรัสล้อเรียก  พระองค์ว่า เจ้าสัว  เงินส่วนหนึ่งที่เป็นผลก�ำไรจากการ  ค้านั้น พระองค์ทรงเก็บไว้ในถุงแดงจึงเรียกเงินส่วนนี้  ว่า เงินถุงแดง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อลั ทธิล่าอาณา  นิคมได้คุกคามดินแดนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทางการสยามได้น�ำเงินถุงแดงที่รัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บ  ไว้ไปจ่ายค่าปรับให้แก่ฝรั่งเศสท�ำให้เมืองไทยรอดพ้น  จากวิกฤตการณ์ครั้งนั้นมาได้ จากการที่รัชกาลที่ ๓ เคยก�ำกับกรมท่าจึงท�ำให้  ทรงรูจ้ กั กับพ่อค้าวานิชและขุนนางชาวจีนเป็นจ�ำนวนมาก  เมือ่ ถึงช่วงเทศกาลตรุษจีนซึง่ เป็นช่วงปีใหม่ของจีน พ่อค้า  ขุนนางชาวจีนได้น�ำของสด เช่น หมู เป็ด ไก่ เป็นต้น  จ�ำนวนมากมาถวาย จึงโปรดให้น�ำอาหารสดเหล่านั้น  ไปประกอบอาหารเลี้ยงพระสงฆ์ โดยให้พระสงฆ์เข้ามา  รับฉันเป็นเวลา ๓ วัน วันละ ๓๐ รูป  นอกจากนี้โปรด  เกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการฝ่ายใน  จัดท�ำเรือขนมจีนมาเลี้ยงพระด้วย  ในพระราชพิธีนี้หลัง  จากพระสงฆ์ฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทรงถวายสบง  หมากพลู ธูป เทียน ใบชา และโปรดให้พระเจ้าลูกเธอ  ซื้อปลามาปล่อยด้วย สมั ย รั ช กาลที่   ๔ ทรงสื บ ต่ อ พระราชกุ ศ ลนี้ แ ต่ โปรดให้ท�ำเป็นแบบจีนมากยิ่งขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง  ศาลาหลังคาเก๋งหน้าพระทีน่ งั่ ราชกิจวินจิ ฉัย แล้วอัญเชิญ  เทวรูปและเจว็ดมุกไปประดิษฐาน มีเครือ่ งสังเวยแบบจีน  แม้พระพุทธรูปก็มีเครื่องสังเวยแบบจีน

๒ ๑  การท�ำบุญเลี้ยงพระในเทศกาลตรุษ จีน ๒  ชาววังฝ่ายในร่วมกันท�ำขนมจีนเลี้ยงพระ

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

31


90

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ


พิธีอาพาธพินาศ

พิธีอาพาธพินาศนี้เกี่ยวเนื่องในพระราชพิธีตรุษ เป็น  งานนักขัตฤกษ์เมื่อเวลาสิ้นปี คือการท�ำบุญสิ้นปี ค�ำว่า ตรุษ แปลตามศัพท์ว่าตัดหรือขาด หมาย  ความว่าตัดปีเก่าที่ล่วงมาแล้วให้ขาดไป หรือขาดจาก  ปีเก่า  ชีวติ ผ่านพ้นมาด้วยความสุขสวัสดี จึงมีการท�ำบุญ ในค�ำให้การชาวกรุงเก่าเรียกพระราชพิธีตรุษ ว่า  พระราชพิธีสัมพัจฉรฉิน ท์  พระราชพิธีดังกล่าวมีการ  สวดเจริญพระพุทธมนต์ สวดอาฏานาฏิยปริตรหรือที่  เรียกว่า “สวดภาณยักษ์” เป็นบทสวดที่ท้าวจาตุมหา-  ราชิกาทั้งสี่ถวายพระผู้เป็นเจ้า  ถือว่าใครได้ฟังสวดนี้  จะมีความสุขความเจริญเพราะช่วยคุ้มครองไม่ ให้ภูตผี  ปีศาจมาเบียดเบียน ก่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่พระนคร  ในพิธีมีการยิงปืนใหญ่เรียกว่า “ยิงปืนอาฏานา” เพื่อขับ  ไล่ภตู ผีปศี าจ  เจ้าพนักงานยิงปืนใหญ่นอ้ ยรอบทัง้ ก�ำแพง  วังและก�ำแพงพระนคร  พระสงฆ์ประพรมน�้ำมนต์เครือ่ ง  ราชกกุธภัณฑ์ ช้างต้น ม้าต้น ตีระฆัง ยิงปืน ขับไล่สิ่ง  ชั่วร้ายให้พ้นจากบ้านเมือง สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้ง  เกิ ดไข้ ป ่ ว งใหญ่  (อหิ ว าตกโรค) ระบาดมาจากเกาะ  หมาก เมืองไทรบุรี  ผู้คนล้มตายเป็นจ�ำนวนมาก  และ  เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่เจริญเท่าที่ควร  ผู้คนจึงมีความคิดว่าโรคร้ายที่เกิดขึ้น นั้นเกิดจากการ  กระท�ำของภูตผีปีศาจ จึงต้องมีพิธีขับไล่ผีร้ายให้ออกไป  จากบ้านเมือง พระมหากษัตริย์จึงทรงหาวิธีการที่จะให้ก�ำลังใจ  ประชาชน โดยน�ำความสนใจไปสู่ศาสนาจนกว่าโรคร้าย

นัน้ จะบรรเทาเบาบางลง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ท�ำพิธอี าพาธ-  พินาศ แบบเดียวกับพิธีตรุษในสมัยกรุงเก่า  ให้ยิงปืน  ใหญ่รอบพระนคร อัญเชิญพระพุทธรูป พระบรมธาตุ  พระราชาคณะ ออกแห่  ประพรมน�้ำมนต์ทั้งทางบก  ทางเรือ  พระองค์เองก็ทรงศีล งดราชกิจ โปรดให้เหล่า  ขุนนางและประชาชนท�ำบุญสวดมนต์ ให้ทาน ไม่ฆา่ สัตว์  ตัดชีวิต จนความไข้ระงับดับลง

ขบวนแห่พระพุทธรูป พระสงฆ์ประพรมน�ำ้ มนต์ขจัดปัดเป่าโรค ร้ายและขับไล่ผีร้ายออกไปจากเมืองเพื่อให้โรคร้ายทุเลาเบาบาง ลง รวมทั้งเพื่อเรียกขวัญและก�ำลังใจของประชาชนกลับคืนมา

พ ร ะ ร า ช พิ ธี ๑ ๒ เ ดื อ น ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ

91


หมวดศิลปะไทย ราคา ๔๐๐ บาท ISBNราคา 978-616-465-005-3 XXX บาท

พ ร ะ ร า ช พิ ธี   ๑ ๒   เ ดื อ น   ป ฏิ ทิ น ชี วิ ต ข อ ง ช า ว ส ย า ม ป ร ะ เ ท ศ   ภาพลายรดนํ้าและภาพลายก�ำมะลอภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เมืองโบราณ

พระราชพิธี ๑๒ เดือน คือพระราชพิธีและพิธีกรรมที่ชาวสยามได้กระท�ำปฏิบัติสืบเนื่องกันมา  ในรอบปี (๑๒ เดือน) พระราชพิธีต่าง ๆ ที่กระท�ำขี้นมานั้นมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ บางพิธกี ระท�ำขึน้ จากความเชือ่ ในศาสนาพราหมณ์หรือความเชือ่ ในศาสนาพุทธ  และบาง  พิธี ได้ผสมผสานทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์เข้าด้วยกัน พระราชพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวสะท้อน  ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำ� รงชีวิตอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม จุดมุ่งหมายที่สำ� คัญของ  การประกอบพิธีต่าง ๆ ดังกล่าวเพื่อความสุขสงบมั่นคงของแผ่นดินและความอุดมสมบูรณ์  ของพืชพรรณธัญญาหาร พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในเมืองโบราณคือสัญลักษณ์ของสังคมเมืองกรุงแห่งกรุง  รัตนโกสินทร์ ช่างเมืองโบราณได้วาดภาพลายรดนํ้าและลายก�ำมะลอพระราชพิธี ๑๒ เดือน  ตกแต่งภายในพระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาทโดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ รักษารูปแบบภาพวาดไทยโบราณ  รวมทั้งความหมายและความส�ำคัญของพระราชพิธีต่อวิถีชีวิตไทย

พระราชพิธี ๑๒ เดือน ปฏิทินชีวิต ของชาวสยามประเทศ ภาพลายรดนํ้าและภาพลายกำ�มะลอ ภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  เมืองโบราณ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.