เพื่อนร่วมโลก

Page 1


ISBN 978-616-7767-08-6 หนังสือ   เพื่อนร่วมโลก ผู้เขียน พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่งามดี” © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ จ�ำนวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๗๐ บาท คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ไตรรงค์ ประสิทธิผล พิสูจน์อักษร : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ : ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย : บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็น. อาร์.  ฟิล์ม  โทร.  ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์   โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์  โทร.  ๐-๒๔๓๓-๗๗๕๕-๗ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�ำ้ มันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�ำ้ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

2 เพื่อนร่วมโลก


แด่ ติ่งและพี่อูฐ ผู้เอื้ออารีต่อทุกชีวิต ไม่เว้นแม้แต่พืชและสัตว์

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 3


ค�ำปรารภ อนุรักษ์ เป็นชื่อจดหมายข่าวรายเดือนที่ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ  ได้ช่วยกันจัด ท�ำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๒ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์ธรรมชาติจากมุมมองของพุทธศาสนา  นอกจากเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  แต่ละเดือนยังมีบทความว่าด้วยธรรมะ กับธรรมชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศและสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการอนุรักษ์ธรรมชาติ   โดยเฉพาะ กิจกรรมที่ริเริ่มโดยพระสงฆ์ คอลัมน์หนึ่งที่อยู่คู่กับอนุรักษ์ ตั้งแต่ปีแรกจนปีสุดท้าย คือ “ร่วม โลกเดียวกัน”  ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่าง  ๆ ตั้งแต่แบคทีเรียไปจนถึงช้าง ทั้งในแง่ที่มีความส�ำคัญต่อมนุษย์และโลกที่ เราอาศัย  และในแง่ที่บ่งชี้ถึงความมีสติปัญญาและความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล อันเป็นคุณสมบัติที่ครั้งหนึ่งเราเคยคิดว่าเป็นของมนุษย์เท่านั้น  แต่อัน ที่จริงแล้วก็มีอยู่ในสัตว์ด้วยเช่นกันแม้ในระดับที่น้อยกว่าก็ตาม   ข้อมูล เหล่านี้บางส่วนข้าพเจ้าเก็บมาจากข่าวหนังสือพิมพ์  อีกส่วนก็สรุปจาก บทความหรือรายงานทางวิทยาศาสตร์  โดยน�ำมาเรียบเรียงให้น่าอ่าน มากขึ้น   ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เราเห็นว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายหาใช่สิ่งต้อยต�่ำที่มี ขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์  แต่เป็นเพื่อนร่วมโลก  ร่วมเกิด  แก่ เจ็บ  ตาย  ที่เราควรให้ความเคารพ  และพึงถือว่าเป็นเจ้าของโลกเช่นเดียว กับเรา 4 เพื่อนร่วมโลก


บทความเหล่านี้ได้เคยรวมพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็ก  ๆ  สองเล่ม ด้วยกัน คือ ร่วมโลกเดียวกัน (พ.ศ. ๒๕๓๘) และเพื่อนร่วมโลก (พ.ศ. ๒๕๔๓) อย่างไรก็ตามแม้เวลาจะผ่านไปนับสิบปีแล้ว เนื้อหาในหนังสือ ทั้งสองเล่มก็ยังมีประโยชน์อยู่ ด้วยเหตุนี้สำ� นักพิมพ์สารคดีจึงขออนุญาต น� ำ ข้ อ เขี ย นจากทั้ ง สองเล่ ม มารวมพิ ม พ์ เ ป็ น เล่ ม เดี ย วกั น   โดยมี ก าร ปรับปรุงแก้ไขบ้างเล็กน้อย  แต่ก็ไม่ถึงกับเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ที่เกิดจาก การค้นคว้าและค้นพบในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  (ซึ่งเชื่อว่าคงมีอยู่ไม่น้อย) ทั้งนี้เป็นเพราะข้อจ�ำกัดส่วนตัวของข้าพเจ้า  แต่หากท่านผู้ใดเห็นว่าข้อมูล ในเล่มนั้นล้าสมัยแล้ว  กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยจะขอบคุณมาก  เพื่อการ ปรับปรุงในครั้งต่อไป ขอขอบคุณคุณนงลักษณ์  ตรงศีลสัตย์  ที่เป็นก�ำลังส�ำคัญคน หนึ่ ง ในการจั ด ท� ำ อนุ รั ก ษ์ ม าตั้ ง แต่ ป ี แ รกจนปี สุ ด ท้ า ย  รวมทั้ ง ช่ ว ยหา ข้อมูลหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อข้อเขียนในหนังสือเล่มนี้  ขอขอบคุณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ส ารคดี ที่ ฟ ื ้ น ชี วิ ต ของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ขึ้ น มา  โดยเฉพาะคุ ณ กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ที่เป็นบรรณาธิการให้แก่หนังสือเล่มนี้ในการ พิมพ์ครั้งล่าสุด พระไพศาล  วิสาโล ๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖ พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 5


ค�ำน�ำจากร่วมโลกเดียวกัน ในธรรมชาติมีทั้งปลาใหญ่และปลาเล็ก  แต่ปลาใหญ่ก็มิได้กินปลาเล็ก เสมอไป  บ่อยครั้งปลาใหญ่กับปลาเล็กก็พึ่งพาอาศัยกัน   การแก่งแย่ง แข่งขันกันอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในธรรมชาติ  แต่เคล็ดลับที่ส�ำคัญ ส�ำหรับการอยู่รอดในโลกใบนี้ก็คือ  การร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของทุก ฝ่าย ทุกชีวิตต้องพึ่งพาอาศัยกัน  เพราะต่างอาศัยอยู่ในโลกใบเดียว กัน   จึงเปรียบเสมือนหุ้นส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน    ความวิบัติที่ เกิ ด กั บ สิ่ ง มี ชี วิ ต ชนิ ด ใดชนิ ด หนึ่ ง ย่ อ มก่ อ ผลกระทบเป็ น ลู ก โซ่ ต ่ อ ชี วิ ต ชนิดอื่น ๆ  อย่างไม่อาจประมาณได้   ถ้าหากชีวิตต้องแข่งขันกันอย่าง เดียว  ตัวที่มีเขี้ยวเล็บแหลมคมหรือมีพลก�ำลังแข็งแรงก็ย่อมเป็นผู้มีชัย แต่เป็นเพราะธรรมชาติปรารถนาความร่วมมือกัน ดอกไม้จึงต้องเติมสีสัน ให้ตนเองสวยเด่นเพื่อเชิญชวนนกและแมลง  ส่วนนกก็เพียงแต่พัฒนา จะงอยปากให้ยาวขึ้นเพื่อดูดน�้ำหวานได้ง่ายขึ้น  แม้ไม่มีเขี้ยวเล็บก็อยู่รอด ได้ ไม่ใช่แต่พืชและสัตว์เท่านั้นที่ปรับตัวเข้าหากัน  แม้แต่มนุษย์ก็ จ�ำเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้าหาธรรมชาติด้วย   การส�ำคัญตนว่าเป็นใหญ่ เหนือธรรมชาติทั้งมวล  ไม่เพียงแต่จะเป็นภัยต่อพืชและสัตว์ทั้งหลาย หากยังเป็นอันตรายต่อมนุษย์เอง หากมนุษยชาติจะอยู่รอดได้ในอนาคต มนุษย์จ�ำต้องมองธรรมชาติในแง่มุมใหม่ คือ เห็นเป็นเพื่อนร่วมโลกที่พึงมี เมตตาต่อกัน 6 เพื่อนร่วมโลก


แม้ว่าสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ก�ำลังถูกท�ำลายด้วยเทคโนโลยี  แต่ ในอีกแง่หนึ่งความก้าวหน้าทางวิทยาการก็พาเราเข้าใกล้ธรรมชาติมาก ขึ้น  ความรู้ใหม่  ๆ  ทางวิทยาศาสตร์ท�ำให้เราเห็นสายสัมพันธ์อันล�้ำลึกใน ธรรมชาติและระหว่างมนุษย์กับพืชและสัตว์นานาชนิด เป็นความสัมพันธ์ ที่มิได้จ�ำกัดเพียงแค่การร่วมมือกันหากินเท่านั้น  หากยังครอบคลุมไปถึง การช่วยเหลือเกื้อกูลในทางชีวิตจิตใจ และลงลึกไปถึงหน่วยมูลฐานที่เล็ก ที่สุดของร่างกายคือยีน บทความทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เคยตีพิมพ์ในอนุรักษ์  อันเป็น จดหมายข่ า วรายเดื อ นที่ มุ ่ ง สร้ า งสั ม พั น ธภาพใหม่ ร ะหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ ธรรมชาติ   เนื้อหาส่วนใหญ่ผู้เขียนเก็บความจากนิตยสารและหนังสือ ภาษาอังกฤษ  แล้วน�ำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้กระชับและน่าอ่าน  เป็น เวลา  ๓  ปีนับตั้งแต่อนุรักษ์ฉบับแรกจนปัจจุบัน  คอลัมน์  “สัตว์โลกผู้ น่ารัก”  ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็น  “ร่วมโลกเดียวกัน”  ได้รับความนิยมจาก ผู้อ่านมาตลอด   จึงคิดว่าน่าจะพิมพ์รวมเล่มเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านที่อยู่ นอกแวดวงอนุรักษ์ด้วย ขอขอบคุณมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์  ซึ่งนอกจากจะให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่ อนุรักษ์มาตั้งแต่แรกแล้ว ยังให้คำ� แนะน�ำในทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ ในการเขียน  “ร่วมโลกเดียวกัน” “สมควร ใฝ่งามดี” ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๘ พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 7


ค�ำน�ำจากเพื่อนร่วมโลก เมื่อยังเด็ก  โลกของเราแม้จะไกลไม่เกินรั้วบ้านหรือหัวถนน  แต่ก็อบอุ่น และกว้างขวาง  เพราะมิตรภาพและสายสัมพันธ์ไม่ได้จ�ำกัดแต่พ่อแม่ หรือพี่ป้าน้าอาเท่านั้น  หากยังขยายไปถึงสิงสาราสัตว์ทั้งน้อยทั้งใหญ่ ชีวิต ซึ่งแม้จะอยู่คนละภูมิกับเรา แต่ก็ถูกนับญาติหรือรวมเข้าเป็นแวดวง เดียวกันกับเรา   ถึงเราจะพูดไม่คล่องและปราศจากโวหารอันไพเราะ  แต่ เราสามารถพูดกับสัตว์ต่าง  ๆ  ได้ทั้งบนบก  บนอากาศ  ทั้งในน�้ำ  และใน ฝัน   เมื่อยังเด็กโลกของเราเต็มไปด้วยเพื่อนต่างพันธุ์ต่างภูมิที่ปลุกเร้า จินตนาการได้ไม่สิ้นสุด แต่ทุกวันนี้เพื่อนเก่าของเรากลับถูกลืมเลือน  แม้โลกของเราจะ กว้างขวางไร้พรมแดน  ทั้งเรายังสามารถพูดข้ามทวีปได้อย่างสะดวกดาย แต่เรากลับมีเพื่อนน้อยลงและอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้น   สายสัมพันธ์ของ เราหดแคบอยู่กับชีวิตพันธุ์เดียวเท่านั้น  และในชีวิตพันธุ์เดียวนั้น  เราก็คุ้น เคยเพียงไม่กี่ชีวิตเท่านั้น การศึกษาท�ำให้เราหลงตัวว่าเหนือกว่าเพื่อนเก่าเพื่อนแก่เหล่า นั้น  เรามีคุณธรรม  เรามีความรัก  เรามีน�้ำจิตน�้ำใจ  ฯลฯ  มากกว่าสัตว์ เหล่านั้น   ยิ่งเรียนสูง  เราก็ยิ่งเหยียดเพื่อนเหล่านั้น  ไม่ต่างจากที่เราเหยียด คนยากคนจนหรือคนที่เรียนต�่ำกว่าเรา  แต่การศึกษาแบบนั้นนับวันจะล้า สมัยไปทุกที  เพราะนอกจากจะท�ำให้เรามีความสุขน้อยลงแล้ว  ยังตอกย�ำ้ ความเขลาของเราให้ฝังลึกด้วย เพื่อนต่างพันธุ์ของเราล้วนมีจิตใจ  มีความรักความห่วงใยเช่น เดียวกับเรา ถ้าการช่วยเหลือเกื้อกูลเป็นเครื่องหมายของคุณธรรม เพื่อน ของเราเหล่านั้นก็มีคุณธรรมไม่น้อยกว่าเรา  เช่นเดียวกับที่มีความโกรธ ความโลภ  ความหลงเหมือนเรา 8 เพื่อนร่วมโลก


ในโลกที่นับวันจะแคบลง  ชีวิตและการกระท�ำของเราต่างมีผล กระทบต่อกันและกันได้ง่ายและมากกว่าแต่ก่อน   เรามีความจ�ำเป็นที่ จะต้องเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันมากกว่าเดิม  เพื่อจะได้เบียดเบียนกันน้อย ลงในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ   นอกจากเราจะต้องเรียนรู้คุณธรรมและ มารยาทในการอยู่ร่วมกันแล้ว  เรายังจะเป็นต้องรู้จักเพื่อนต่างพันธุ์ของเรา ให้ดีขึ้นเพื่อจะได้เคารพเขาและเห็นอกเห็นใจเขาให้มากกว่านี้ เพื่อนร่วมโลก ขอเป็นส่วนหนึ่งในการรื้อฟื้นมิตรภาพระหว่าง มนุษย์กับเพื่อนต่างพันธุ์   ความหวังเช่นนี้จะใหญ่เกินตัวหรือไม่ส�ำหรับ หนังสือเล่มเล็ก  ๆ นี้  ท่านคงจะตอบได้เมื่ออ่านถึงหน้าสุดท้ายแล้ว ข้อเขียนในเล่มเคยทยอยพิมพ์ในอนุรักษ์  ซึ่งเป็นจดหมายข่าว รายเดือนว่าด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   การพิมพ์รวมเล่มครั้งนี้นับ เป็นครั้งที่  ๒  ต่อจากร่วมโลกเดียวกัน  ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๓๘  ส�ำหรับการพิมพ์ครั้งนี้ส�ำเร็จขึ้นได้เพราะครอบครัวลือชาพัฒนพรโดย แท้  เพราะนอกจากคุณสง่าและคุณสมถวิลจะเป็นต้นคิดให้เกิดหนังสือ เล่มนี้แล้ว  ยังด�ำเนินการจัดพิมพ์ด้วยตนเอง   อีกทั้งลูกสาวทั้งสามคือ ใบเตย  ใบตอง  และใบตาล  ยังได้เอื้อเฟื้อภาพประกอบอันมีชีวิตชีวา  จึง ขอขอบคุณทุกคนที่เอ่ยนามมานี้   อีกผู้หนึ่งที่ขอขอบคุณในโอกาสนี้ด้วย เช่นกันคือคุณนงลักษณ์  ตรงศีลสัตย์  ซึ่งเป็นผู้ประสานงานด้านต้นฉบับ ตั้งแต่ครั้งตีพิมพ์ในอนุรักษ์มาจนถึงการรวมพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ขอให้ทุกท่านระลึกถึงเพื่อนร่วมโลกทั้งเก่าและใหม่ด้วยไมตรีจิต อันไม่มีประมาณ พระไพศาล วิสาโล ๑ มกราคม ๒๕๔๓ พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 9


สารบัญ ช่ วยเหลือเกื้อกูล เต่ากู้ภัย โลมาผู้เมตตา วีรกรรมของลูลู แม่ต่างพันธุ์ รักสัตว์ยิ่งชีพ อานุภาพของนกการเวก ความรักจักเกื้อหนุน เพื่อน

10 เพื่อนร่วมโลก

๑๖ ๑๘ ๒๒ ๒๖ ๓๐ ๓๔ ๓๖ ๓๘


พึ่งพาอาศัย อยู่รอดได้โดยไม่ต้องแก่งแย่งกัน โลกนี้กว้างพอส�ำหรับทุกชีวิต อยู่รอดได้ด้วยน�้ำใจไมตรี ความรักไม่มีพรมแดน ทองค�ำผู้เมตตา ข่าวดีส�ำหรับพ่อลูกอ่อน ลิงก็รักสันติ (เหมือนกัน) ถ้าจะดูคน  ก็ให้ดู...! ด้วยรักและห่วงใย รักจ�ำพราก

๔๔ ๔๘ ๕๒ ๕๖ ๖๐ ๖๔ ๖๘ ๗๒ ๗๖ ๘๐

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 11


กายและใจ สัตว์มิได้มีเพียงกาย นกแก้วก็มีความคิด เทคโนโลยีในธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์แห่งความประหยัดในธรรมชาติ คุณธรรมประจ�ำลิง จะเลือกคู่ ต้องดูที่ผลงาน ซูเปอร์ม้าและคณะ จ๋อก็เป็นหมอเหมือนกันนะ...จะบอกให้ ช่างประดิษฐ์เครื่องมือ ศิลปินที่โลกลืมไม่ลง

12 เพื่อนร่วมโลก

๘๖ ๙๐ ๙๒ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๘ ๑๑๒ ๑๑๘ ๑๒๒ ๑๒๔


ใด ๆ ในโลกล้วนเกี่ยวพัน พี่น้องของเรา พันธมิตรในธรรมชาติ ญาติและมิตรของมนุษย์ : ค้างคาว เพื่อนใหม่ที่กำ� ลังมาแรง : แบคทีเรีย พี่น้องในสายเลือด ญาติที่มนุษย์เพิ่งรู้จัก : รา กลวิธีที่เพิ่งค้นพบ ชีวิตที่ไม่กลัวมลพิษ นักปลูกป่า ฟาร์มเก่าแก่ที่สุดในโลก กลวิธีของดอกไม้ ดอกบัวเลือดอุ่น ความลับระหว่างเรากับยีสต์ ท�ำไมหมาจึงเห่า  ? ท�ำไมม้าลายจึงตัวลาย  ? ธรรมชาติเกื้อกูลทั้งกายและใจ

๑๓๐ ๑๓๖ ๑๔๐ ๑๔๒ ๑๔๖ ๑๕๐ ๑๕๒ ๑๕๖ ๑๖๐ ๑๖๒ ๑๖๔ ๑๖๘ ๑๗๒ ๑๗๔ ๑๗๘ ๑๘๒

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 13


14 เพื่อนร่วมโลก


ช่ วยเหลือเกื้อกูล

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 15


เต่ากู้ภัย

เหตุการณ์ดังปาฏิหาริย์ครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่  ๒๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๓๔ ขณะที่ ลิม กัง ยง กะลาสีเรือเมย์สตาร์  วัย ๓๒ ก�ำลังโยนเศษอาหารลง ทะเลในน่านน�ำ้ เขาเกิดเสียหลักพลัดตกลงไปจากเรือ    เวลาผ่านไปชั่วโมง ครึ่งกว่าคนในเรือจะรู้ว่าเขาหายไป    ทันทีที่รู้ข่าวกัปตันเรือก็หันหัวเรือ กลับ  เพื่อตามหาเขาในท้องทะเลกว้างห่างจากฝั่งถึง  ๑๓๐  กิโลเมตร หลังจากตามหาอย่างไร้ผล  ๔  ชั่วโมงครึ่ง  ลูกเรือก็สังเกตเห็น “วัตถุลอยน�้ำ”  อยู่กลางทะเล    เมื่อเรือแล่นเข้าไปใกล้ก็พบว่าเป็นเต่ายักษ์ บนเต่านั้นคือร่างของกะลาสีเรือซึ่งหมดสติ  แต่ไม่มีริ้วรอยบาดแผลใด  ๆ 16 เพื่อนร่วมโลก


เมื่อฟื้นสติ ลิม กัง ยง เล่าว่า เขาลอยคออยู่กลางทะเลเป็นเวลา ชั่วโมงครึ่ง    ขณะที่นึกว่าจะไม่รอดแล้ว  ก็พลันเห็นวัตถุคล้ายไม้แผ่นใหญ่ เขาจึงปีนขึ้นไป  ปรากฏว่ามีหัวสัตว์ใหญ่หันมามอง  เขาเลยรู้ว่าก�ำลังอยู่ บนกระดองเต่ายักษ์    เขาจ�ำค�ำบางคนได้ว่า  หากจับคอเต่าเอาไว้มันจะไม่ ด�ำน�ำ   ้ เขาเลยท�ำตาม  เต่าก็ไม่ว่าอะไร  มันไม่ขีดข่วนหรือพยายามสลัดเขา ลงแต่อย่างใด  ตัวเขามีแต่รอยขีดข่วนเล็กน้อยเพราะเล็บของมันเท่านั้น เมื่อ ลิม กัง ยง ได้รับความช่วยเหลือแล้ว เต่าก็ยังไม่หนีไปไหน คงลอยตัวอยู่ข้างเรือ  ลูกเรือเลยหว่านแหดึงมันขึ้นมา    คนเกาหลีนั้นขึ้น ชื่อว่าเสพอาหารทุกอย่าง ไม่ว่างูหรือแม้แต่หมา แต่คราวนี้กลับน�ำเต่ามา เลี้ยงฉลองอย่างดี    อาหารมีทั้งกล้วย  เนื้อ  รวมทั้งสุราฮะกึ๋น  คือวิสกี้และ เบียร์  ให้เต่าเลือกกินได้ตามสบาย    ระหว่างการเลี้ยงดูปูเสื่อ  มีคนวัดตัว เต่าพบว่ายาวกว่า  ๙  ฟุต ก่อนที่เต่าจะถูกหย่อนลงทะเล  กะลาสีคนหนึ่งผูกสร้อยไว้กับคอ เต่ามีข้อความว่า  “เต่าตัวนี้ช่วยชีวิตมนุษย์ไว้  อย่าท�ำร้ายมัน”

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 17


เพื่อน

เราทุกคนต้องการมิตร ในยามโดดเดี่ยวอ้างว้างเราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะ ได้เห็นใครสักคนทั้ง  ๆ ที่ไม่รู้จักกันเลยก็ตาม ในเวลาทุกข์ ความรู้สึกอย่าง แรกคืออยากมีใครสักคนที่เห็นใจเราและอยู่เคียงข้าง    ประสบการณ์ของ คนที่ก�ำลังเจ็บปวดทรมานขณะคลอดลูกก็คืออยากสัมผัสมือใครสักคนที่ อยู่ใกล้  ๆ แม้จะเป็นพยาบาลที่เพิ่งพบกันเป็นครั้งแรก เพื่อนคือความอบอุ่นนุ่มนวลที่สัมผัสได้  ไม่ว่าบุคคลจะมีจิตใจ เย็นชาหยาบกระด้างเพียงใด  โดยส่วนลึกเขาก็ยังปรารถนาสัมผัสความ อบอุ่นนุ่มนวลนั้น    มิตรที่จะให้ความอบอุ่นนุ่มนวลนั้นถึงจะหาซื้อไม่ได้ แต่ก็มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง แม้กระทั่งในป่าเขาและกลางทะเลทราย ขอ เพียงแต่มีชีวิตอาศัยอยู่ในที่นั้น  ๆ  ทั้งนี้ก็เพราะทุกชีวิตสามารถจะเป็นมิตร กับเราได้ทั้งนั้น  ไม่เว้นแม้แต่สัตว์และพืช 38 เพื่อนร่วมโลก


เรารู้มานานแล้วว่าสัตว์คลายเหงาให้เราได้  คนเป็นอันมากจึง นิยมเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน  แต่เพิ่งมาไม่กี่ปีนี้เองที่เราพบว่าสัตว์และพืช สามารถช่วยบ�ำบัดกล่อมเกลาคนที่มีปัญหาทางจิต    คลินิกจิตเวชหลาย แห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มน�ำสัตว์นานาชนิดให้ผู้ป่วยได้สัมผัส โดยเฉพาะเด็ก  ๆ จอห์นเป็นเด็กวัย ๑๑ ขวบที่เข้ามารับการบ�ำบัดในแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ  มาเป็นเวลา ๒ สัปดาห์แล้ว แผนกนี้ รั บ ผู ้ ป ่ ว ยที่ มี อ าการทางจิ ต อย่ า งรุ น แรงและมี ป ระวั ติ ก ่ อ ความ รุนแรง  ดังนั้นจึงมีมาตรการป้องกันการหลบหนีอย่างรัดกุม    หน้าตาของ จอห์นเคร่งเครียดตลอดเวลา  รอบเบ้าตาด�ำคล�้ำ  บ่งบอกถึงสภาพจิตใจ ข้างใน หมอได้ทดลองน�ำกระต่ายมาให้เขาสัมผัส    เขาก็ปราดเข้าหา ทันที  “ฉันอยากกอดแกจังเลย”  เขากล่าวอย่างดีใจ    หน้าตาเขากลับมา เป็นมิตรอีกครั้งหนึ่ง เขาลูบหูกระต่ายน้อย ทั้งยังจูบหน้าผาก โรงพยาบาลเมืองเคมบริดจ์แห่งนี้ยังได้ทดลองเอาพืช  หิน  และ เปลือกหอยมาให้เด็ก  ๆ  ๑๕  คนได้สัมผัสจับต้องและดมกลิ่นด้วย    ต่อมา หมอก็ค่อย  ๆ น�ำหมาสองตัวเข้ามา ตามด้วยกระต่ายและนกพิราบในที่สุด สัตว์ตัวสุดท้ายที่เข้ามาทอดมิตรภาพก็คือเหยี่ยวปีกพิการซึ่งท�ำให้มันบิน ไม่ได้ พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 39


42 เพื่อนร่วมโลก


พึ่งพาอาศัย

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 43


อยู ่รอดได้โดยไม่ต้องแก่งแย่งกัน

การแก่งแย่งแข่งขันมิใช่วิถีทางแห่งความอยู่รอดเสมอไป    มีสิ่งมีชีวิต นานาชนิดที่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องแข่งขันกัน  อย่างน้อยก็ไม่ต้อง แก่งแย่งกับสัตว์ต่างชนิด    พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีอะไรหลาย อย่างคล้ายกันจนอาจสรุปได้ว่า  ธรรมชาติสอนให้ชีวิตน้อยใหญ่เหล่านี้ หลีกเลี่ยงที่จะแก่งแย่งแข่งขันกัน วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ สั ต ว์ ใ ช้ เ พื่ อ จะไม่ ต ้ อ งต่ อ สู ้ กั น ก็ คื อ   หากิ น คนละ เวลา ตอนกลางวันเป็นเวลาของผึ้ง ผีเสื้อ กิ้งก่า และนกส่วนใหญ่    พอ ตกค�่ำก็เป็นเวลาของแมลงสาบ  หนู  ค้างคาว  และนกฮูก  ส่วนมากอาหาร ของสัตว์สองประเภทนี้ก็ต่างกันด้วย ตัวชีปะขาวหรือผีเสื้อกลางคืนอาศัย ดอกไม้สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนซึ่งมักจะบานตอนค�่ำ  ดังนั้นจึงไม่ต้องแย่ง ชิงอาหารของผีเสื้อและผึ้ง 44 เพื่อนร่วมโลก


การแบ่งพื้นที่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในป่าสนของรัฐเมน สหรัฐอเมริกา มี น กห้ า ชนิ ด ซึ่ ง มี ข นาดและรู ป ร่ า งเหมื อ นกั น   กิ น หนอนในต้ น ไม้ ช นิ ด เดียวกัน    แต่ธรรมชาติจัดสรรอย่างไร  นกทั้งห้าชนิดจึงอยู่ร่วมกันได้อย่าง สงบสุข    ค�ำตอบก็คือ  แม้นกทั้งห้าจะอยู่ในต้นไม้ต้นเดียวกัน  แต่ก็หากิน คนละส่วน นอกจากนั้นนิสัยและวิธีการล่าเหยื่อก็ต่างกัน การมีนิสัยหากินต่างกันก็เป็นเหตุผลว่าท�ำไมม้าลาย  ไวล์เดอบีสต์  (สัตว์มีเขารูปร่างคล้ายม้าและวัวผสมกัน)  และละมั่งจึงอยู่ร่วมกัน ได้ทั้ง  ๆ  ที่กินหญ้าเหมือนกัน    ม้าลายนิยมกินต้นหญ้าที่ยาวและแห้ง เพราะมีฟันหน้าที่คม    ส่วนไวล์เดอบีสต์กินหน่อหญ้าที่ยาวพอให้ลิ้นรวบ ได้และบดกับฟัน    ส่วนละมั่งจะเล็มหญ้าที่สัตว์อีกสองชนิดเมิน พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 45


84 เพื่อนร่วมโลก


กายและใจ

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 85


สัตว์มิได้มีเพียงกาย

ณ  ศูนย์วิจัยลิงแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา  แดนดี้  เจ้าลิงชิมแปนซีตัวผู้เดิน ไปมาผ่านจุดที่นักวิจัยฝังพวงองุ่นเอาไว้   มันท�ำทีราวกับไม่รู้ว่ามีผลไม้ อยู่ใต้ดิน แต่หลังจากผ่านไปได้ ๓ ชั่วโมง เมื่อลิงตัวอื่น ๆ ในฝูงหลับหมด แล้ว มันก็ค่อย ๆ ย่องมาขุดเอาพวงองุ่นออกจากพื้นดินและสวาปามอย่าง เอร็ดอร่อย สัตว์มีความคิดหรือไม่ ?   นี่เป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ถกเถียงกันมาหลายปีแล้ว แต่ยิ่งนานวันก็มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่ส่อ ว่าสัตว์อาจคิดเป็น    จริงอยู่มันอาจคิดเลขไม่เป็น  เข้าใจภาษาคนได้ยาก แต่นักวิจัยสังเกตมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า สัตว์นั้นวางแผนเป็น ซึ่งก็หมายความ ว่ามันสามารถคาดค�ำนวณล่วงหน้าได้ 86 เพื่อนร่วมโลก


ที่เคนยา  นักวิจัยหญิงผู้หนึ่งได้เฝ้าดูสิงโตตัวเมียสองตัว  ไต่เนิน โดยมองเห็นตัวกนู (คล้ายวัวป่า) สองฝูงอยู่เต็มตา แต่ทั้งสองตัวยืนนิ่งราว ปูนปั้น  ส่วนสิงโตตัวที่ ๓ นอนอยู่ในคู ซึ่งทอดขนานฝูงกนูฝูงหนึ่ง   ทันใด นั้นสิงโตตัวที่  ๔  ก็โผล่จากป่า  กนูจึงแตกฮือไปหาอีกฝูงหนึ่งซึ่งมีคูขวาง หน้า สิงโตตัวที่ ๓ ได้ทีก็กระโดดขึ้นจากคูตะปบได้กนูหนึ่งตัว เป็นอันว่า ทั้งสี่ตัวได้อาหารสมใจ นักวิจัยหญิงผู้นั้นตั้งค�ำถามว่า สิงโตสองตัวจะไป ยืนอยู่ตรงจุดนั้นท�ำไมหากมิใช่เพื่อป้องกันมิให้กนูวิ่งไปยังทิศทางนั้น  ซึ่ง จะท�ำให้มันหนีห่างจากคู    เป็นเรื่องไม่บังเอิญแน่ที่สิงโตตัวที่ ๔ พุ่งจากป่า และไล่กนูไปยังสิงโตตัวที่ ๓ ซึ่งซุ่มซ่อนอยู่ในคู การใช้ความคิดแก้ปัญหานั้นแตกต่างจากการใช้สัญชาตญาณ สัญชาตญาณเห็นได้จากการท�ำอะไรซ�้ำ ๆ  กัน  แต่ความคิดนั้นดูจากการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยวิธีการที่ไม่ซ�้ำแบบ เอ็ดเวิร์ด วิลสัน ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งวิชาชีวสังคมวิทยา  เล่าถึงวิธีการของชิมแปนซีตัวหนึ่งที่หา ทางหยิบผลไม้  “มันนั่งและมองไปที่ต้นไม้อยู่นาน  แล้วก็เดินไปที่ซุงท่อน หนึ่ง  มันลากซุงมาพิงกับต้นไม้แล้วก็ถอยหลัง   จากนั้นก็วิ่งไปที่ซุงแล้ว อาศัยซุงท่อนนั้นเป็นฐานถีบตัวขึ้นไปเอาผลไม้จากต้นได้”

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 87


128 เพื่อนร่วมโลก


ใด ๆ ในโลกล้วนเกี่ยวพัน

พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 129


พี่น้องของเรา

คุณเคยเห็นลิงกอริลลาและลิงอุรังอุตังไหม ? ถึงจะไม่เคยเห็นตัวจริงก็คงเคยเห็นภาพเป็นแน่ หลังจากซักซ้อมความเข้าใจแล้ว  ทีนี้ขอถามค�ำถามง่าย ๆ ว่า ลิงชนิดใดที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับกอริลลามากที่สุด ? ค�ำตอบมีให้เลือกแค่สองข้อคือ อุรังอุตัง กับ ชิมแปนซี ถ้าคุณตอบอุรังอุตัง คุณก็เข้าใจผิดเสียแล้ว เพราะชิมแปนซีต่าง หากที่ใกล้ชิดกับกอริลลามากที่สุด  ถึงแม้ว่าอุรังอุตังจะตัวใหญ่ใกล้เคียง กับกอริลลาอย่างที่ชิมแปนซีเทียบไม่ได้ก็ตาม 130 เพื่อนร่วมโลก


ทีนี้ถามใหม่  ระหว่างคนกับอุรังอุตัง  ใครมีสายเลือดใกล้ชิดกับ กอริลลามากที่สุด ? ถ้าคุณตอบอุรังอุตังอีก  คุณก็ผิดอีกแล้ว    ค�ำตอบที่ถูกต้องคือคน ครับ ค�ำถามสุดท้าย  สัตว์ชนิดใดที่มีสายเลือดใกล้ชิดกับคนมากที่สุด กอริลลาหรือชิมแปนซี ? ถ้าคุณเลือก กอริลลา คุณก็ผิดอีกตามเคย ชิมแปนซีสิครับที่เป็น ญาติสนิทชิดใกล้คนมากที่สุด พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ญาติใกล้ชิดที่สุดของลิงชิมแปนซีไม่ใช่ กอริลลา อุรังอุตัง หรือชะนี  หากแต่คือคน  คือคุณ  คือผมนั่นเอง เรารู้ได้อย่างไรว่าคนกับชิมแปนซีเป็นพี่น้องใกล้ชิดที่สุด แต่เดิมสรีรวิทยาบอกได้แต่เพียงว่า  ชะนีเป็นญาติที่ไกลจากเรา มาก เมื่อเทียบกับกอริลลา อุรังอุตัง และชิมแปนซี แต่ความก้าวหน้าใน ทางพันธุศาสตร์ในชั่วไม่กี่ปีมานี้ ไปไกลถึงขั้นบอกได้ว่า ในบรรดาลิงไม่มี หางเหล่านี้  ชนิดใดที่มีสายเลือดใกล้ไกลแค่ไหน  และบรรพบุรุษได้แยก ทางกันเดินตั้งแต่เมื่อไร พระไพศาล วิสาโล และ “สมควร ใฝ่ งามดี” 131



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.