ในเคราะห์มีโชค
เปิดประตูใจ รับมือกับอารมณ์ที่มาเยือน ดาบสองคม ความสุดโต่งในยุคข่าวสารข้อมูล มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้ เป็นเลิศได้เมื่อไม่มี “ฉัน” ชีวิตที่ถูกอำ�นาจกัดกร่อน ม้านอกสายตา ความดีไม่มีเส้นแบ่ง ในโชคมีเคราะห์ ในเคราะห์มีโชค ช้าลงสักนิด เหนือความยากคือความง่าย ปัญหาอยู่ที่ผู้มอง พร้อมรับความสูญเสีย อย่าผัดผ่อน รื่นรมย์บนผาสูง เคยเสียแล้ว ออกจากกรงที่ขังตนเอง ความสุขที่ปลายทาง
หมวดศาสนา/ปรัชญา ISBN 978-974-7727-83-8
ราคา ๑๕๐ บาท
๑๕๐.-
ในเคราะห์ มีโชค
พระไพศาล วิสาโล
โชคหรือเคราะห์ สุขหรือทุกข์ ก็เป็นคุณ
ISBN 978-974-7727-83-8 หนังสือ ในเคราะห์มีโชค ผู้เขียน พระไพศาล วิสาโล © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ จำ�นวนพิมพ์ ๔,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๕๐ บาท คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : นัทธินี สังข์สุข พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ สำ�นักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด) จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์ โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๕๕-๗ สำ�นักพิมพ์สารคดี ผู้อำ�นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ที่ปรึกษาสำ�นักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน้�ำ มันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน้�ำ มันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
แด่ นิโคลาส เบนเนตต์ ครูผู้เป็นแบบอย่างแห่งการดำ�เนินชีวิต และการอุทิศตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ ด้วยอหิงสธรรม
คำ�ปรารภ เราทุกคนย่อมเป็นผลจากการปรุงแต่งของสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อย แต่ในเวลา เดียวกันเราก็มีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน แม้ความจริงจะมีอยู่ว่า มนุษย์ เราอยู่ไม่ได้ถ้าขาดธรรมชาติ ส่วนธรรมชาติน้นั อยู่ได้แม้ไม่มีเราก็ตาม ศักยภาพ ที่เพิ่มพูนในหลายศตวรรษที่ผ่านมาทำ�ให้เรามีความสามารถในการดัดแปลง สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ถูกกำ�หนดโดยสิ่งแวดล้อมน้อยลง ทุกวันนี้ เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้ขยายสมรรถนะของมนุษย์อย่างมากมายจนสามารถ พลิกผันธรรมชาติทั้งบนดิน ในน้ำ� และบนฟ้า ได้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ศักยภาพดังกล่าวถูกใช้เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่มนุษย์ แต่มักลงเอยด้วย ความพินาศของสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามมนุษย์ยังมีศักยภาพอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ความสามารถ ในการรักษาใจให้เป็นอิสระจากสิ่งแวดล้อม ไม่ผันผวนตกต่ำ�แม้สิ่งแวดล้อมจะ ผันแปร ถึงกายจะถูกบีบคั้นกระทบกระแทก แต่ใจก็สงบเย็นได้ ใช่แต่เท่านั้น เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากสถานการณ์อันเลวร้ายย่ำ�แย่ ทำ�ให้จิตใจนอกจาก จะไม่เป็นทุกข์แล้ว ยังมีความเจริญงอกงามมั่นคง ความสามารถดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถเปลี่ยนเคราะห์ให้กลายเป็นโชค เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เปลี่ยนขยะปฏิกูล ให้กลายเป็นปุย๋ บำ�รุงดอกไม้ให้งดงามและผลไม้ให้หอมหวาน แต่ทกุ วันนีศ้ กั ยภาพ ดังกล่าวมักถูกมองข้ามไป ผู้คนจึงมุ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ครั้นสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นไปดั่งใจหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
แต่เมื่อใดที่เราตระหนักถึงศักยภาพในทางจิตดังกล่าว เราจะเห็นความ สำ�คัญของการเปลี่ยนแปลงตนเอง ฝึกจิตให้ฉลาดในการมองโลกและเข้าใจชีวิต อันจะทำ�ให้เราเห็นโลกในมุมใหม่ ขณะเดียวกันก็ยกจิตให้เป็นอิสระจากสิง่ แวดล้อม และมีความสุขได้ง่ายขึ้น ข้อเขียนทั้งหมดในเล่มนี้เคยตีพิมพ์มาก่อนในคอลัมน์ “รับอรุณ” และ “ริมธาร” ในนิตยสารสารคดี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔ นับเป็นเล่มที่ ๓ ต่อจากเดินสู้ทุกข์ และ ยิ้มได้แม้พ่ายแพ้ บทความเหล่ า นี้ เ มื่ อ ครั้ ง ตี พิ ม พ์ ใ นนิ ต ยสารสารคดี ได้ รั บ การดู แ ล ตรวจตราทางด้ า นข้ อ มู ล ด้ ว ยความเอาใจใส่ ข องคุ ณวิ ร พา อั ง กู ร ทั ศ นี ย รั ต น์ บรรณาธิการต้นฉบับ ข้าพเจ้าจึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
พระไพศาล วิสาโล ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
สารบัญ เปิดประตูใจ รับมือกับอารมณ์ที่มาเยือน ดาบสองคม ความสุดโต่งในยุคข่าวสารข้อมูล มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้ เป็นเลิศได้เมื่อไม่มี “ฉัน” ชีวิตที่ถูกอำ�นาจกัดกร่อน ม้านอกสายตา ความดีไม่มีเส้นแบ่ง ในโชคมีเคราะห์ ในเคราะห์มีโชค ช้าลงสักนิด เหนือความยากคือความง่าย ปัญหาอยู่ที่ผู้มอง พร้อมรับความสูญเสีย อย่าผัดผ่อน รื่นรมย์บนผาสูง เคยเสียแล้ว ออกจากกรงที่ขังตนเอง ความสุขที่ปลายทาง
๘ ๑๖ ๒๖ ๓๔ ๔๔ ๕๕ ๖๒ ๗๑ ๗๙ ๘๙ ๙๘ ๑๐๔ ๑๑๗ ๑๒๔ ๑๓๔ ๑๔๑ ๑๕๑ ๑๕๘ ๑๖๙
“เมื่อมองจากมุมของคนอื่น หรือเปิดใจรับฟัง เขา โดยเฉพาะคนที่มีความทุกข์ เมตตากรุณา ในใจเราจะถูกปลุกขึ้นมา ทำ�ให้เกิดความเห็น อกเห็นใจ และปรารถนาที่จะช่วยเหลือเขาโดย ไม่คำ�นึงถึงความลำ�บากของตนเอง แม้เหนื่อย กายแต่ใจไม่ทุกข์ คนที่มองจากมุมของผู้อื่นจึง เป็นสุขได้ง่ายกว่าคนที่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง”
ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค
๗
เปิดประตูใจ
ขึน้ ชือ่ ว่าหมอ ก็ตอ้ งพร้อมทำ�งานในทุกสถานการณ์เพราะความเจ็บป่วย เกิดขึน้ ได้ตลอดเวลา แต่บางครัง้ หมอก็ทำ�ใจยากหากคนไข้มาหาในเวลา ที่ไม่สมควรมา หมอผู้หนึ่งเล่าว่า คืนหนึ่งขณะอยู่เวรดึก ประมาณตี ๔ ก็ถูก ปลุกให้มาตรวจคนไข้คนหนึ่งซึ่งเพิ่งมาถึงโรงพยาบาล ตอนนั้นรู้สึก หงุดหงิดมาก อดบ่นในใจไม่ได้วา่ “ทำ�ไมถึงมาตอนนี”้ ยิง่ มารูว้ า่ คุณลุง วัย ๖๐ ผู้นี้ไม่ได้เป็นโรคปัจจุบันทันด่วน เป็นแต่ปวดหัวมาได้ ๑๐ วัน แล้ว หมอยิ่งรู้สึกไม่พอใจเพราะไม่มีความจำ�เป็นที่แกต้องมาเวลานี้เลย หมอเก็บความรู้สึกเอาไว้เมื่อเจอคนไข้ ระหว่างซักประวัติ คนไข้เล่าว่าตลอด ๑๐ วันที่ผ่านมา พยายามหายามากินแต่อาการไม่ด ี ขึ้นเลย อยากจะมาหาหมอแต่ลูก ๆ ไม่มีใครว่างมาส่งตอนกลางวัน จึง ต้องทนเอา ครั้นรู้ว่าวันนี้คนข้างบ้านจะออกมาตลาดสดตอนตี ๓ เลย ๘
พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
ขอติดรถมาด้วย ทันทีทห่ี มอรูค้ วามเป็นมาของคนไข้ ความรูส้ กึ หงุดหงิดก็หายไป ความเห็นใจมาแทนที่ เพราะได้คิดว่าถ้าไม่มีเหตุจำ�เป็นจริง ๆ ลุงคงไม่ อยากลุกมาโรงพยาบาลตอนตี ๓ หรอก แกคงอยากพักผ่อนเช่นกัน หมอผู้นี้เล่าว่า นับแต่นั้นมาเวลาตรวจคนไข้ จะลองสมมุติว่า ถ้าคนไข้เป็นพ่อแม่หรือน้องของเรา เราอยากให้หมอพูดหรือปฏิบัติ กับเขาอย่างไร การมองในแง่นี้ทำ�ให้หมอปฏิบัติกับคนไข้ดีขึ้น ขณะ เดียวกันก็พบว่าความรู้สึกได้เปลี่ยนไปด้วย จากเดิมรู้สึกหงุดหงิดกับ คนไข้ ก็กลายเป็นความรู้สึกสงบ ใจเย็น และเห็นใจคนไข้มากขึ้น สิ่งที่ ตามมาคือมีความสุขกับการตรวจรักษาคนไข้ ไม่เป็นทุกข์กับจำ�นวน คนไข้ที่มีมากมาย เมื่อมีเหตุการณ์กระทบใจเรา ความหงุดหงิดหรือความสงบนิ่ง เกิดขึน้ กับเราได้ทง้ั นัน้ อยูท่ ว่ี า่ เราจะมองมันอย่างไร หรือมองในมุมไหน ถ้ามองจากมุมของตัวเอง หรือเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เราย่อมหงุดหงิดเมื่อ ถูกปลุกตอนตี ๔ เพื่อไปตรวจคนไข้ แต่หากมองจากมุมของผู้อื่น หรือ รับรู้ความทุกข์ยากของเขา เราก็จะมีแต่ความเห็นใจ ไม่มีความขุ่นเคือง ใด ๆ ที่จะเผาลนจิตใจให้รุ่มร้อน บ่อยครั้งเรานึกถึงแต่ความทุกข์ของตนเองจนไม่สนใจรับรู้ ความทุกข์ของผู้อื่น การทำ�เช่นนั้นกลับทำ�ให้เราทุกข์มากขึ้น เพราะ ยิ่งนึกถึงตัวเองมากเท่าไร ความทุกข์ของตนเองก็เป็นเรื่องใหญ่โตมาก ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค
๙
ดาบสองคม
บิลล์ คลินตัน เป็นผูห้ นึง่ ที่ได้ชอ่ื ว่าประสบความสำ�เร็จสูงสุดในชีวติ เขา ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของ สหรัฐอเมริกา และเมื่อก้าวสู่การเมืองระดับชาติก็สามารถชิงตำ�แหน่ง ประธานาธิบดีได้เลยโดยไม่ได้เป็น ส.ส. หรือวุฒิสมาชิกมาก่อน เขา สามารถเอาชนะคูแ่ ข่งซึง่ เป็นประธานาธิบดีได้อย่างไม่ยากเย็น ระหว่าง ครองตำ�แหน่งประมุขของประเทศนานถึง ๘ ปี เขาได้นำ�พาเศรษฐกิจ ของสหรัฐอเมริกาให้พ้นจากภาวะถดถอยจนกลับเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง แม้ จ ะมี เ รื่ อ งอื้ อ ฉาวมากมายเกี่ ย วกั บ ตั ว เขา แต่ ใ นวั น ที่ เ ขาพ้ น จาก ตำ�แหน่งเขายังได้รับคะแนนนิยมท่วมท้นจากประชาชนทั่วประเทศ เมื่อกลับมาเป็นประชาชนเต็มขั้นเขาก็ยังเป็นที่กล่าวขานถึง และได้รับ เชิญให้กล่าวปาฐกถาหรือแสดงสุนทรพจน์ ในงานต่าง ๆ ด้วยค่าตัวที่ แพงลิบลิ่ว ๒๖ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
เขาน่าจะเป็นผู้ที่มีความสุขที่สุดคนหนึ่งในชีวิต แต่หลังจาก พ้นตำ�แหน่งประธานาธิบดีได้ ๗ ปี เขาเผยความในใจตอนหนึ่งว่า “คิด ดูสิว่าตอนผมเป็นประธานาธิบดี เขาจะบรรเลงเพลงทุกครั้งที่ผมเดิน เข้าห้อง (แต่ตอนนี้) ไม่มีใครบรรเลงเพลงอีกแล้ว ผมไม่รู้เลยว่าผมอยู่ ที่ไหน” ทุกวันนี้เขาดูไม่มีความสุขเลยที่ไปไหนมาไหนโดยไม่ได้รับการ ต้อนรับเยี่ยงประธานาธิบดี ดูเหมือนว่าเขายังเคลิบเคลิ้มอยู่กับอดีตอัน รุ่งโรจน์ จึงทำ�ใจไม่ค่อยได้กับการเป็นราษฎรเต็มขั้น เขารู้สึกราวกับ คนที่ยังไม่สร่างจากฝัน ยังงงงวยอยู่ว่าตนอยู่ที่ไหนกันแน่ ความโหยหาอาลัยอดีตที่เคยยิ่งใหญ่เป็นแรงผลักดันสำ�คัญ ที่ทำ�ให้เขาพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ภรรยาคือ ฮิลลารี คลินตัน ได้ รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เพราะนั่นหมายความว่าเขาจะได้กลับคืน ทำ�เนียบขาวอีกครั้ง และจะมีเพลงบรรเลงทุกครั้งที่เขาเดินเข้าห้องแม้ ในฐานะคู่สมรสของประธานาธิบดีหญิงก็ตาม แต่ยิ่งเขาดิ้นรนที่จะกลับคืนสู่ทำ�เนียบขาว เขาก็ยิ่งสร้างปัญหา ให้แก่ตนเองและภรรยา การโดดเข้ามาหาเสียงช่วยภรรยาอย่างเต็มตัว เพื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ถึงขั้นโจมตีสาดโคลนใส่คู่แข่งของ ภรรยา คือ บารัก โอบามา ทำ�ให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าทำ� ตัวไม่เหมาะสมกับผู้ที่เคยเป็นประมุขของประเทศ และทำ�ให้ประชาชน ไม่แน่ใจว่าหากฮิลลารีได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เขาจะมาครอบงำ� ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๒๗
ชีวิตที่ถูก อํานาจกัดกร่อน
วลาดีมีร์ เลนิน เป็นทั้งนักปรัชญาและนักทฤษฎีการเมืองที่ฉลาดปราด เปรื่อง และมีอิทธิพลทางความคิดต่อคนทั้งโลกมานานนับศตวรรษ แต่เขาเป็นที่รู้จักมากกว่าในฐานะนักปฏิวัติที่หลักแหลม นำ�พรรคบอล- เชวิคยึดอำ�นาจรัฐได้สำ�เร็จ และสถาปนารัสเซียเป็นรัฐสังคมนิยมแบบ คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ห่ ง แรกของโลก จุ ด ประกายให้ ลั ท ธิ ค อมมิ ว นิ ส ต์ แ พร่ กระจายไปทั่วทั้งโลก และเกิดสงครามตามมาอีกนับไม่ถ้วน ก่อนที่รัฐ สังคมนิยมแห่งนี้จะล่มสลายเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เลนินต้องการสร้างรัฐตามอุดมคติของคอมมิวนิสต์ คือ รัฐ ที่ไม่มีชนชั้น ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ ผู้คนมีความเสมอภาคกันทั้ง ในฐานะ ศักดิ์ศรี และชีวิตความเป็นอยู่ แต่ตลอด ๗ ปีที่ปกครอง ประเทศ เขากลายเป็นผู้นำ�สูงสุดที่อำ�นาจทั้งปวงรวมศูนย์อยู่ที่ตัวเขา แต่ผู้เดียว เมื่อต้องเผชิญกับการต่อต้านจากผู้คนหลายภาคส่วน โดย ๖๒ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
เฉพาะชนชั้นนำ�ที่สูญเสียผลประโยชน์ เขาได้ ใช้อำ �นาจที่มีอยู่อย่าง เต็มที่ในการปราบปรามผู้ที่เป็น “ศัตรูของประชาชน” ยิ่งฝ่ายตรงข้าม พยายามลอบสังหารเขา เขาก็ตอบโต้ด้วยการกวาดล้างผู้ที่ไม่เห็นด้วย กับอุดมการณ์สังคมนิยมอย่างรุนแรง มีการสังหารผู้คนเป็นจำ�นวนมาก ขณะที่ผู้คนหลายหมื่นถูกจับกุมคุมขังและทรมานในค่ายกักกัน คราวหนึง่ เกิดการลุกฮือขึน้ โดยเหล่านักบวชนิกายออร์ทอดอกซ์ ในเมือง Shuia เนื่องจากรัฐต้องการยึดทรัพย์สินมีค่าจากโบสถ์ เลนิน ได้เขียนจดหมายถึงกรรมการพรรคฯ ว่า “เราต้องปราบปรามผู้ต่อต้าน ด้วยความเหี้ยมโหดชนิดที่พวกเขาจะไม่ลืมไปอีกหลายสิบปี...ยิ่งเรา สังหารตัวแทนนักบวชและพวกกระฎุมพีปฏิกิริยาได้มากเท่าไร ก็ยิ่งดี มากเท่านั้น” ผลก็คือมีนักบวชและประชาชนประมาณ ๘,๐๐๐ คน ถูกฆ่า ในทำ�นองเดียวกันการลุกฮือที่เกิดขึ้นในอีกหลายเมืองก็จบลง ด้วยการสังหารคนนับหมื่น สองปีสุดท้ายของชีวิต เลนินล้มป่วยด้วยโรคเส้นโลหิตในสมอง แตกถึงสามครั้งอันเป็นผลจากการตรากตรำ�ทำ�งานหนัก ครั้งสุดท้ายนั้น ถึงกับทำ�ให้เขาพูดไม่ได้และต้องนอนแบ็บจนเสียชีวิตในอีก ๑ ปีต่อมา คนส่วนใหญ่รู้จักเลนินจากภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และกล้าแกร่ง แต่เลนินในช่วงปีสุดท้ายนั้นกลับให้ภาพที่ตรงกันข้าม ภาพถ่ายของเลนิน ๖ เดือนก่อนเสียชีวิตนั้น เป็นภาพของคนไร้ชีวิต ชีวา อมทุกข์ ตาเบิกโพลง ราวกับหวาดกลัวอะไรบางอย่าง บางครั้ง ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๖๓
“ความดี นั้ น ไม่ ว่ า จะทำ � กั บ ใคร กั บ ผู้ อื่ น หรื อ ตนเองก็ตาม อานิสงส์อันได้แก่ความสุขและ ความเจริญงอกงามในจิตใจย่อมแผ่ไปยังทั้ง สองฝ่ า ยเสมอ เพราะถึ ง ที่ สุ ด แล้ ว เส้ น แบ่ ง ระหว่างเรากับผู้อื่น หามีไม่”
๗๘ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
ความดี ไม่มีเส้นแบ่ง
ชีวิตของ “ปาน” เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเธอรู้ว่าได้รับเชื้อเอช ไอวีจากสามี แต่เธอไม่มัวคับแค้นใจในชะตากรรมของตนหรือโกรธแค้น สามี หากพยายามทำ�หน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เธอดูแลสามีจนเขา สิ้นลม จากนั้นก็มองไปข้างหน้าว่าเธอจะทำ�อะไรต่อไปกับชีวิตที่เหลือ อยู่ ไม่นานเธอก็พบคำ�ตอบ นั่นคือการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อคนอื่น ๆ ที่มี ชะตากรรมเหมือนเธอ รวมทั้งใช้ประสบการณ์ของตัวเธอเองเพื่อเตือน ใจไม่ให้คนอื่นมาเป็นเหมือนอย่างเธอ เธอได้กลายเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ ต่อมาได้กลาย เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนในหมู่บ้าน และตามโรงเรียนต่าง ๆ ในภาคเหนือ แม้นั่นจะหมายถึงการเปิดเผย ตนเองว่ามีเชื้อที่ผู้คนประหวั่นพรั่นพรึงก็ตาม จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๑๗ ปีแล้วที่เธอรู้ว่ามีเชื้อร้าย ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๗๙
อยู่ในร่างกาย แต่เธอก็ยังมีสุขภาพดีไม่ต่างจากคนอื่น ๆ โดยไม่เคยรับ ยาต้านเชือ้ เลย มิหนำ�ซ้�ำ เธอยังมีอารมณ์ด ี อาจจะดีกว่าคนทัว่ ไปเสียอีก ทั้ง ๆ ที่เธอน่าจะทุกข์มากกว่าคนรอบตัว เพราะนอกจากร่างกายจะมี เชื้อเอชไอวีแล้ว ยังต้องเจอกับปฏิกิริยาของผู้คนที่ไม่เข้าใจโรคนี้ดีพอ โดยเฉพาะในยุคแรก ๆ ที่ใคร ๆ ก็รังเกียจผู้ติดเชื้อ อะไรทำ�ให้เธอมีสขุ ภาพดีและมีชวี ติ ยืนยาวมาจนบัดนี ้ คำ�ตอบ ของเธอก็คือ “ถ้าคิดแต่เรื่องของตัวเองก็ป่วยไปนานแล้ว” การช่วยเหลือผู้อื่นอย่างต่อเนื่องไม่ได้ทำ�ให้เธอแย่ลง ตรงข้าม เธอกลับมีความสุขมากขึ้น เช่นเดียวกับอีกหลายคนที่พบว่า การเป็น จิตอาสาไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้ให้เท่านั้น หากตนยังเป็นผู้รับด้วย นั่นคือได้รับความสุข หญิงผู้หนึ่งปวดหัวไมเกรนต้องกินยาระงับปวด ทุกวัน แต่หลังจากที่เธอไปเป็นอาสาสมัครดูแลเด็กอ่อนบ้านปากเกร็ด ติดต่อกันไม่กี่สัปดาห์ เธอสังเกตว่าวันไหนที่ไปเป็นอาสาสมัครที่นั่น วันนั้นเธอจะลืมกินยา สาเหตุก็เพราะไม่รู้สึกปวดหัวเลย ความสุข จากการดูแลเด็กทำ�ให้อาการปวดหัวหายไปอย่างไม่รู้ตัว มิใช่แต่ความสุขเท่านั้น หลายคนยังพบว่ามีความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นในจิตใจของตน “กบ” ชายวัยปลาย ๓๐ ซึ่งเป็นอาสาสมัครดูแล เด็กอ่อนบ้านปากเกร็ดอีกผู้หนึ่ง รู้สึกว่าตนเองใจเย็นขึ้น เพราะเวลา อยู่กับเด็กจะพูดจาโผงผาง หรือทำ�อะไรแรง ๆ ไม่ได้ กลายเป็นการฝึก ๘๐ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
ตนเองให้เป็นคนพูดจานุ่มนวลขึ้น ไม่ใช่กับเด็กเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงคน อื่นด้วย “พอผมพูดกับลูกน้องที่ออฟฟิซ ผมก็รู้สึกได้ว่านุ่มนวลขึ้น คือ ใช้คำ�พูดที่ฟังรื่นหูหน่อย พูดได้โดยไม่เห็นต้องฝืนอะไรเลย” เช่นเดียวกับ “น้องด้าย” เด็กหญิงวัย ๑๔ แม่ของเธอสังเกตว่า หลังจากที่น้องด้ายไปเป็นอาสาสมัครบ้านปากเกร็ด เธอนิ่งและสุขุมขึ้น รับฟังคนอื่นมากขึ้น และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับอาสาสมัครหลายคนเกิดจาก การคิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง จากคนที่มักทำ�ตามอารมณ์ เมื่อมาดูแล ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้อื่นมีความสุข ก็จำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยนตนเอง จะ เอาแต่ใจตนตามนิสัยเดิมไม่ได้ กบพูดถึงประสบการณ์ของตนเองว่า “เมื่อเราดูแลใส่ใจเด็ก เราจะอ่อนโยนไปเองโดยอัตโนมัติ คือในขณะที่ เราพยายามจะให้เขามีพัฒนาการที่ดี เขาก็ช่วยขัดเกลาให้เราอ่อนโยน ในเวลาเดียวกันด้วย” ประสบการณ์ของกบชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เมื่อใดก็ตามที่เรา ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาดีหรือด้วยใจบริสุทธิ์ ความเปลี่ยนแปลงมิได้ เกิดขึ้นกับเขาเท่านั้น หากยังเกิดขึ้นกับเราด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อคิดถึง คนอื่นมากขึ้น อัตตาหรือความเห็นแก่ตัวก็ลดลง พร้อมจะละทิ้งนิสัย เดิม ๆ ที่ไม่ดี หรือเต็มใจที่จะขัดเกลาตนเองเพื่อความสุขของผู้อื่นมาก ขึ้น แต่ผลสุดท้ายตนเองกลับเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ หลายคนพบว่า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำ�ให้คุณภาพชีวิตของตนดีขึ้น รวมทั้งทำ�ให้ ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๘๑
เหนือความยาก คือความง่าย
อตุล กูวานเด (Atul Guwande) ศัลยแพทย์ชาวอเมริกัน เล่าถึงคนไข้ ผู้หนึ่งซึ่งมีเลือดออกมากระหว่างเข้ารับการผ่าตัดรักษาริดสีดวงทวาร และนิว่ ในกระเพาะปัสสาวะ แม้จะห้ามเลือดได้แต่ตบั ได้รบั ความเสียหาย อย่างรุนแรง ไม่กี่วันต่อมาเขามีอาการทรุดหนักจนต้องย้ายเข้าห้อง ไอซียู เนื้อตัวสั่นเทา ไข้ขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็วมาก และระดับออกซิเจน ในเลือดลดต่ำ� ผลจากห้องแล็บพบว่าเขามีอาการตับวายและติดเชื้อ นอกจาก นั้นถุงปัสสาวะที่ว่างเปล่ายังบ่งชี้ด้วยว่าไตของเขาก็วาย ไม่กี่ชั่วโมง ต่อมาความดันเลือดลดต่ำ�ลง การหายใจแย่ลง และเขาเริ่มไม่รู้สึกตัว เห็นได้ชัดว่าร่างกายของเขาทุกระบบรวมทั้งหัวใจกำ�ลังจะหยุดทำ�งาน ถึงตอนนี้แพทย์และพยาบาลระดมกำ�ลังช่วยเขาอย่างสุดความ สามารถ ท่อไม่น้อยกว่าสามท่อถูกแทงเข้าไปในร่างกายของเขาทั้งที่คอ ๑๐๔ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
ข้อมือ และหน้าอก อุปกรณ์นานาชนิดรวมทั้งเครื่องช่วยหายใจและ เครื่องฟอกไตถูกนำ�มาใช้อย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือดและ รักษาความดันเลือดให้คงที ่ รวมทัง้ ปรับสารต่าง ๆ ในร่างกายเช่นเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมให้เป็นปรกติด้วย ผ่านมาได้ ๑๐ วัน เขามีอาการดีขน้ึ ความดันเลือดกลับมาเป็น ปรกติ ไข้ลดลง ความต้องการออกซิเจนก็ลดลง แต่พอถึงวันที ่ ๑๑ ขณะ ทีแ่ พทย์เตรียมปลดเครือ่ งช่วยหายใจ จู ่ ๆ เขาก็ไข้ขน้ึ สูงอย่างเฉียบพลัน ความดันเลือดต่ำ� ออกซิเจนในเลือดลดลง ร่างกายหนาวสั่น แม้แต่แพทย์ก็ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เขาติดเชื้อแน่นอนแต่ ไม่มีใครรูว้ า่ มีสาเหตุจากอะไร เครือ่ งเอกซเรย์และเครือ่ งซีทสี แกนก็ตอบ ไม่ได้ แม้แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะไปสี่ชนิด ไข้ก็ยังขึ้นสูง มีช่วงหนึ่ง หัวใจเขาเต้นระรัว แพทย์ต้องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าจนกลับมาเต้นเป็น จังหวะปรกติ คณะพยาบาลใช้เวลาถึง ๒ วันกว่าจะรูว้ า่ ความผิดปรกติมาจาก ไหน สันนิษฐานได้ว่าท่อที่ใส่ไปในร่างกายเขาคงมีท่อใดท่อหนึ่งติดเชื้อ จึงมีการใส่ท่อใหม่แล้วเอาท่อเก่าไปเพาะเชื้อในห้องแล็บ หลังจากนั้น ๔๘ ชัว่ โมงผลออกมาว่าทุกท่อล้วนติดเชือ้ การติดเชือ้ อาจเริม่ ต้นทีท่ อ่ ใด ท่อหนึง่ ก่อน อาจเกิดขึน้ ตอนใส่ทอ่ เข้าไป จากนัน้ เชือ้ ก็เข้าสูก่ ระแสเลือด และลามไปยังท่อที่เหลือ จากประสบการณ์ของอตุล การติดเชื้อในท่อเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๑๐๕
พร้อมรับ ความสูญเสีย
ชีวติ คนเราล้วนวนเวียนอยูก่ บั เรือ่ งได้-เสีย มีเรือ่ งได้-เสียเป็นตัวขับเคลือ่ น ชีวิตทั้งในทางดีและทางร้าย ทั้งนี้เพราะสุขหรือทุกข์ของคนเราล้วนขึ้น อยู่กับได้หรือเสีย ถ้าได้ก็มีความสุข แต่หากเสียก็มีความทุกข์ ได้คือสุข เสียคือทุกข์ นี้คือสมการชีวิตที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี แต่สมการนี้แปลกตรงที่ ตามตรรกะแล้ว เวลาได้สิ่งหนึ่งมาแล้วสูญเสีย สิ่งนั้นไป สุขกับทุกข์ที่เกิดขึ้นตามมาน่าจะเท่ากัน เพราะเกี่ยวเนื่องกับ ของชิ้นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ เราสังเกต ไหมว่าสิ่งสิ่งเดียวกันนั้นเวลาเราได้มา ความสุขที่เกิดขึ้นมักจะน้อยกว่า ความทุกข์เมื่อสูญเสียสิ่งนั้นไป ๑๒๔ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
แดเนียล คาห์เนแมน (Daniel Kahneman) ซึ่งได้รับรางวัล โนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ กับคณะ ได้ทำ�การทดลองจนได้ ข้อสรุปว่า การสูญเสียสิ่งหนึ่งไปนั้นทำ�ให้เรามีความทุกข์เป็นสองเท่า ของความสุขเมื่อได้มันมา การทดลองอย่างหนึ่งที่เขาทำ�ขึ้นก็คือ แบ่ง นักศึกษาในชั้นเรียนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับถ้วยกาแฟซึ่งประทับ ตรามหาวิทยาลัย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนั้นได้แต่เพียงยืนดูถ้วยกาแฟ จาก นั้นก็เปิดโอกาสให้มีการซื้อขายกัน การซื้อขายนั้นไม่ได้ใช้เงินจริง ๆ เพียงแต่ตอบคำ�ถามว่า “จำ�นวนเงินเท่าใดที่คุณยินดีจะขายหรือซื้อถ้วย กาแฟ” ผลปรากฏว่าเจ้าของพร้อมสละถ้วยกาแฟหากได้เงินเป็นสอง เท่าของจำ�นวนที่ผู้ซื้อยินดีจ่าย การทดลองนับสิบ ๆ ครั้งให้ผลสรุป ทำ�นองเดียวกัน ซึ่งชี้ ให้เห็นว่าความไม่อยากสูญเสียถ้วยกาแฟนั้นมี มากเป็นสองเท่าของความอยากได้ถ้วยกาแฟ ดังนั้นหากต้องสูญเสีย ถ้วยกาแฟไปฟรี ๆ จึงมีความทุกข์เป็นสองเท่าของความสุขเมื่อได้ถ้วย กาแฟนั้น การทดลองอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตั้งโจทย์ว่าหากมีการเสี่ยงโชค ด้วยการโยนเหรียญ ถ้าออกก้อยต้องเสีย ๑๐๐ เหรียญ แต่ถ้าออกหัว จะได้...เหรียญ ถามว่าต้องเติมเงินในช่องว่างนั้นเป็นจำ�นวนเท่าไหร่ คุณถึงจะยอมเล่น ? คำ�ตอบของคนส่วนใหญ่อยู่ราว ๆ ๒๐๐ เหรียญ แต่ก็มีบางคนที่แม้ออกหัวได้ ๒๐๐ เหรียญก็ยังไม่ยอมเล่น ทั้ง ๆ ที่มี โอกาส ๕๐ เปอร์เซ็นต์ที่จะได้ ทั้งนี้ก็เพราะไม่อยากเสีย ๑๐๐ เหรียญ ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๑๒๕
อย่าผัดผ่อน
พยาบาลผู้หนึ่งเล่าว่า วันนั้นเธอกำ�ลังทำ�งานอยู่ น้องชายวัยรุ่นมาหา และชวนเธอคุย ทั้งสองคนสนิทกันมาก โดยเฉพาะน้องชายค่อนข้าง ติดพี่สาว จู่ ๆ น้องชายก็ถามพี่สาวว่า “พี่รักผมไหม ?” แต่เธอกำ�ลัง พัวพันกับงาน จึงรู้สึกรำ�คาญ เลยพูดตัดบทไปว่า อย่ามายุ่งได้ไหม ตอนนี้ไม่ว่าง น้องชายจึงเลิกตอแย สักพักก็ขับรถมอเตอร์ ไซค์กลับ บ้าน แต่ไม่ทันถึงที่หมาย ก็ประสบอุบัติเหตุ ตายคาที่ เธอใจหายวาบ ทันทีที่ทราบข่าว แม้ต่อมาจะทำ�ใจได้ที่น้องชายจากไป แต่ทุกวันนี้เธอ ก็ยังรู้สึกเสียใจ อดโทษตัวเองไม่ได้ว่าทำ�ไมวันนั้นไม่บอกเขาว่า “พี่รัก น้อง” ๑๓๔ พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล
หญิงสาวอีกรายเล่าว่า เย็นวันหนึ่งลูกพี่ลูกน้องมาขอร้องให้ เธอไปนอนเป็นเพื่อน ฟังจากน้ำ�เสียงแล้ว เธอรู้สึกว่าลูกพี่ลูกน้องคน นั้นมีความทุกข์ ใจ แต่ตัวเธอเองมีงานต้องทำ�จึงปฏิเสธไป วันรุ่งขึ้น เธอตกใจเมื่อได้ทราบข่าวว่า ลูกพี่ลูกน้องคนนั้นผูกคอตายในคืนนั้นเอง เนื่องจากน้อยใจที่ถูกพี่สาวด่าว่าอย่างรุนแรง ผ่านไปหลายปีเธอก็ยัง รู้สึกผิดที่ปฏิเสธคำ�ขอของลูกพี่ลูกน้อง เหตุร้ายคงไม่เกิดขึ้นหากเธอ ตอบตกลงในคืนนั้น ความเจ็บปวดในชีวิตบางครั้งเกิดจากการที่เราละเลยที่จะทำ�สิ่ง ที่ควรทำ�กับคนที่เรารัก กว่าจะรู้ตัวว่าได้ทำ�ความผิดพลาดลงไป การณ์ ก็สายเกินกว่าที่จะแก้ไขแล้ว ทั้งสองคนที่เล่าเรื่องนี้ได้รับบทเรียนราคา แพงอย่างยิ่งว่า ควรทำ�ดีที่สุดกับคนที่อยู่ต่อหน้าเรา หรือคนที่เรากำ�ลัง เกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลผู้เป็นที่รักของเรา หาไม่แล้วก็ อาจจะต้องเสียใจในภายหลังเพราะไม่มีโอกาสจะทำ�เช่นนั้นได้อีก ตอนนั้นทั้งสองคนยอมรับว่าใจกำ �ลังนึกถึงงาน จึงไม่ได้ ให้ ความใส่ใจอย่างเต็มที่กับบุคคลที่ก�ำ ลังสนทนาด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เห็นว่างานนั้นเป็นความรับผิดชอบที่ต้องรีบทำ�ให้เสร็จ ส่วนเรื่องของ น้องชายหรือลูกพี่ลูกน้องนั้นผัดผ่อนได้ เอาไว้คุยวันหลังก็ไม่สาย แต่ ความจริงอย่างหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความไม่ แน่นอนอย่างยิ่ง เห็นหน้ากันอยู่หลัด ๆ ปุบปับก็จากไปอย่างไม่มีวัน กลับ ความคิดที่ว่าการปฏิบัติต่อคนที่เรารักนั้นผัดผ่อนไปวันหลังก็ได้ ใ น เ ค ร า ะ ห์ มี โ ช ค ๑๓๕
ในเคราะห์มีโชค
เปิดประตูใจ รับมือกับอารมณ์ที่มาเยือน ดาบสองคม ความสุดโต่งในยุคข่าวสารข้อมูล มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้ เป็นเลิศได้เมื่อไม่มี “ฉัน” ชีวิตที่ถูกอำ�นาจกัดกร่อน ม้านอกสายตา ความดีไม่มีเส้นแบ่ง ในโชคมีเคราะห์ ในเคราะห์มีโชค ช้าลงสักนิด เหนือความยากคือความง่าย ปัญหาอยู่ที่ผู้มอง พร้อมรับความสูญเสีย อย่าผัดผ่อน รื่นรมย์บนผาสูง เคยเสียแล้ว ออกจากกรงที่ขังตนเอง ความสุขที่ปลายทาง
หมวดศาสนา/ปรัชญา ISBN 978-974-7727-83-8
ราคา ๑๕๐ บาท
๑๕๐.-
ในเคราะห์ มีโชค
พระไพศาล วิสาโล
โชคหรือเคราะห์ สุขหรือทุกข์ ก็เป็นคุณ