สายใยใต้สมุทร 1

Page 1

0.55 cm

หนังสือชุด

ส�ำรวจโลก และธรรมชาติ

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร เมธิรา เกษมสันต์

ลึกลงไปภายใต้ผืนน�ำ้ สีฟ้าของมหาสมุทร ี ิ อยใหญ่ คือโลกอีกใบที่เต็มไปด้วยชวตน้ ที่อาศัยที่นเี่ ป็นบ้าน ิ๋ จากแพลงก์ตอนตัวจวจนถึ งพี ่วาฬตัวใหญ่... ี ิ วนมีความส�ำคัญ ทุกชวตล้ และพวกเขาเหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้อง กับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์บนแผ่นดิน

“แม้ว่าเธอจะไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมหาสมุทร แต่มหาสมุทรสัมผัสเธอในทุกลมหายใจ ในน�้ำทุกหยดที่เธอดื่ม ในอาหารทุกค�ำที่เธอกิน ื่ เราทุกคนในทุกแห่งหนล้วนเชอมโยงและพึ ่งพาการมีอยู่ของผืนทะเล อย่างไม่สามารถแยกจากกันได้” ดร. ซิลเวีย เอิร์ล

ห ม ว ด ห นั ง สื อ เ ด็ ก

ราคา 290 บาท

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

ISBN 978-616-465-042-8

เมธิรา เกษมสันต์

290.-


0.55 cm

ขอขอบคุณ

หนังสือชุดส�ำรวจโลกและธรรมชาติ

1 เมธิรา เกษมสันต์

ISBN  978-616-465-042-8 พิมพ์ครั้งแรก  เมษายน 2564  ราคา 290 บาท เรื ่องและภาพวาดประกอบ  เมธิรา เกษมสันต์ จัดพิมพ์และจัดจ�ำหน่าย บริษัทวิ ริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี ) โทรศัพท์ 0-2547-2700 โทรสาร 0-2547-2721 บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ  บรรณาธิการเล่ม  ปณต ไกรโรจนานันท์  ผู้ช่วยบรรณาธิการ  นฤมล สุวรรณอ่อน พิสูจน์อักษร  นวลจั นทร์ ทองมาก  ออกแบบและจัดรูปเล่ม  วันทนี เจริญวานิช  ควบคุมการผลิต  ธนา วาสิกศิริ เพลต  เอ็น. อาร์. ฟิล์ม  โทรศัพท์  0-2215-7559  พิมพ์  โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์  โทรศัพท์  0-2433-7704 Ī สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

• New Heaven Reef Conservation Program : ส�ำหรับจุดเริ่มต้นแห่งแรงบันดาลใจ ความรู้  และความรักต่อท้องทะเล... Thank you for being my inspiration and introducing me  to the fascination in the marine world. Those times were such a meaningful experience.  My love of the ocean began here. • Love Wildlife Foundation : Thank you for the opportunity given to me as a grantee  in the 2018 Reef Ambassador Program, especially Mr. Chris Shepherd for providing  this grant. It was a life changing experience. • Dr. Rahul Mehrotra : Thank you for helping me review this book and giving many useful  comments. • ทีมงานส�ำนักพิมพ์สารคดี  โดยเฉพาะพี ่ด�ำ พี ่น้อง และพี ่บี ที่สนใจและให้โอกาสตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้  และน้องวันทนีฝ่ายอาร์ตเวิ ร์กที่ช่วยจั ด layout ใหม่จนสวยงามน่าอ่านขึ้น 90 เท่า  • เพื่อน ๆ เดอะแก๊ง - นก, เมวลิน, โรส, ก้อ, อิ๋ง, กิ๊ก, ทีม Refill Station, เพื่อน ๆ สายสิ่งแวดล้อม  และเพื่อน ๆ ที่น่ารักทุกคน ที่คอยสนับสนุนและให้ก�ำลังใจเราเสมอมา • สุดท้าย ขอขอบคุณผู้อา่ นและแฟนเพจทุกคนที่คอยสนับสนุน ติดตามผลงาน คอยกดไลก์ กดแชร์ สิ่งนี้คือก�ำลังใจที่ส�ำคัญมาก  หนังสือเล่มนี้คงส�ำเร็จไม่ได้ถา้ ไม่มีผู้อ่านทุกคน

ผลงานอื่น ๆ ของผู้เขียน • หนังสือ สายใยที่มองไม่เห็น  • การ์ดความรู้ชุด “นกอะไรเอ่ย” • สามารถติดตามผลงานอื่น ๆ ของผู้เขี ยนได้ในเพจ “Nature Toon การ์ตูนสื่อความหมายธรรมชาติ”  แหล่งข้อมูลอ้างอิง


ใต้เกลียวคลื่น ณ ระเบี ยงไม้ชั้น 2 ของโรงเรียนสอนด�ำน�้ำ New Heaven Dive School  ฉันก�ำลังนัง่ มองผืนน�้ำทะเลสีฟ้าใสของอ่าวโฉลกบ้านเก่า เกาะเต่า จั งหวัดสุราษฎร์ธานี  การนัง่ มองทะเลวันนี้ มีความหมายแตกต่างจากที่เคยเป็นมาทั ้งชี วิต นีค่ ือวันสุดท้ายของคอร์สด�ำน�้ำเชิงอนุรักษ์ New Heaven Reef Conservation Program ที่ฉันได้ทุนจาก มูลนิธิรักสัตว์ป่าเพื่อมาฝึกงานที่นเี่ ป็นระยะเวลา 3 เดือน ตลอดระยะเวลา ช้ เป็นชาวเกาะที่น ี่ ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศทะเล ได้รู้จักชื ่อปลา ชื ่อปะการัง  ชื ่อสิ่งมีชีวิตตัวเล็กตัวน้อยมากมาย ม่เคยรู้จักมาก่อน ได้รับรู้ถึงความมหัศจรรย์ ความส�ำคัญ และสายใยที่เชื ่อมสิ่งมีชีวิต เหล่านั้นกับเรา นอกจากนั้นพวกเรายังได้ด�ำน�้ำเพื่อท�ำกิจกรรมเชิงอนุรักษ์หลายอย่าง ซึ่งระยะเวลาเพี ยงไม่กี่เดือนนี้  ได้เปลี่ยนความรู้สึกและมุมมองที่ฉันมีต่อท้องทะเลไปตลอดกาล ภาพทะเลสีฟ้าใสที่ปรากฏตรงหน้าตอนนี้ ไม่ได้มีแค่ H20 แต่ลึกลงไปภายใต้เกลียวคลื่นที่เราเห็นตรงนั้น คือ  “บ้าน” ของสิ่งมีชีวิตมากมาย และสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นล้วนมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับชี วิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ที่เราหายใจ ผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่เราใช้ อาหารส่วนใหญ่ที่เรากิน สภาพอากาศ ม่ร้อนไม่หนาวเกินไป ล้วนมีที่มาจาก ใต้ผืนน�้ำสีฟา้ นี้ ตลอดเวลาที่ฉันได้มาเรียนรู้และลงไปสัมผัสโลกใต้น�้ำที่น ี่ ความรู้สึกหนึง่ ที่เกิดขึ้นคือ ความรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งมีชีวิต เหล่านั้น ที่ท�ำหน้าที่เป็น life support system ให้เรา และรู้สึกโชคดี ที่มีโอกาสเห็นความสวยงามเหล่านี้  แต่ในขณะเดี ยวกันฉันก็ได้เห็นอีกมุมหนึง่ ที่น่าเศร้า นัน่ คือความจริงที่วา่  มหาสมุทรของเราก�ำลังถูกท�ำร้าย อย่างแสนสาหัส ความสวยงามที่เห็นอยู่ตรงหน้าในวันนี้อาจไม่เหลือให้เห็นถึงรุ่นลูกรุ่นหลานอีกแล้ว...   อย่างไรก็ตามผู้คนมากมายที่ฉันได้พบเจอในโปรแกรมด�ำน�้ำเชิงอนุรักษ์แห่งนี้ท�ำให้ฉันรู้สึกว่า โลกสีฟ้าของเรา ยังมีความหวัง และในมุมต่าง ๆ ของโลกยังมีคนมากมายที่ก�ำลังลุกขึ้นมาท�ำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ……………………………….. ในหนังสือเล่มนี้ เราจะพาทุกคนด�ำดิ่งไปใต้มหาสมุทร เพื่อไปท�ำความรู้จักสัตว์ทะเลหลากชนิด เพื่อค้นพบ ความมหัศจรรย์ที่ราวกับหลุดมาจากนิทานแฟนตาซี  จากนั้นเราจะค่อย ๆ พาไปค้นหาสายสัมพั นธ์อันซับซ้อนระหว่าง ชี วิตเหล่านั้น ไปรู้จัก “อาชี พ” ของพวกเขาต่อระบบนิเวศ ซึ่งทุกชี วิตล้วนมีความส�ำคัญ  ต่อจากนั้นเราจะกลับขึ้นฝั่ง  แล้วพาไปส�ำรวจชี วิตประจ�ำวันของเราตั้งแต่เช้าจดเย็นว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาสมุทรอย่างไรบ้าง  จากนั้นในเล่มที่ 2 เราจะพาไปเรียนรู้ปัญหาที่มหาสมุทรของเราก�ำลังเผชิญ และผู้คนมากมายทั ่วโลกที่ก�ำลัง ท�ำอะไรบางอย่างเพื่อช่วยมหาสมุทร  หนังสือเล่มนี้เขี ยนขึ้นด้วยความหวังที่วา่  อยากให้ทุกคนได้รู้สึกต่อท้องทะเลเหมือนที่ฉันรู้สึก - นัน่ คือความรู้สึก ตื่นตาตื่นใจ มหัศจรรย์ ไปจนถึงความรัก ความหวงแหน และอยากดูแลรักษาโลกสีครามและเพื่อนน้อยใหญ่ อยู่ที่นนั่ ไว้ให้นานที่สุด   และเมื่อเราดูแลมหาสมุทร... มหาสมุทรก็จะย้อนกลับมาดูแลเราเช่นกัน

เมธิรา เกษมสันต์

AWText-Ocean_1.indd 1

4/2/2564 BE 12:26 PM


สารบัญ P a r t

1

มหัศจรรย์ในความเรียบง่าย

มหัศจรรย์โลกสีคราม 10 ฟองน�้ำ อ่อนนุ่มแต่ถึกทน

11 ปะการัง

13 แมงกะพรุน

ริบบิ้นหลากสี

เซเลบใต้ทะเล

แปดหนวดเจ้าปัญญา

17 ทากทะเล

22 หมึกยักษ์

16 หนอนตัวแบน

2

สวยสยองนักล่องเรือใบ

สุดยอดช่างก่อสร้าง

15 แมงกะพรุนไฟ

เรือรบโปรตุเกส

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 2

4/2/2564 BE 12:26 PM


พลิ้วไหวใต้ทะเล

25 หนอนท่อ ผู้น�ำแฟชั่น

28 ปู คุณพ่อดีเด่น

31 ม้านํ้า ฟันกรามสยองขวัญ

34 ปลาไหลมอเรย์

ฝันร้ายยามวิกาล

26 หนอนบ็อบบิ ต ฤåเธอคือเอเลียน

หมัดสะท้านฟ้า

27 กั้งตั๊กแตน สู้ด้วยไส้

29 ดาวทะเล

30 ปลิงทะเล

ศิลปินโรแมนติก

ล่อเหยื่อในความมืด

32 ปลาปักเป้า

33 ปลาตกเบ็ด

ปลาน้อยแปลงเพศ

ผู้ลึกลับใต้ทะเล

35 ปลาการ์ตูน

36 สัตว์นํ้าลึก

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 3

3

4/2/2564 BE 12:27 PM


P a r t

2

สายใยอันซับซ้อน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 44

ผู้ให้บริการที่พัก

นักตัดหญ้า 49

47

ขนส่งมวลชน 52

เครื่องกรองน�้ำมีชวต แม่ครัว

54

53

ผู้พิทักษ์ปะการัง

เครื่องดูดฝุ่น 56

58

เทศบาล 57

โรงงานผลิตปุ๋ย 60

4

คสช. (คณะรักษาความสงบ แห่งชี วิตใต้ทะเล)

62

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 4

4/2/2564 BE 12:27 PM


P a r t

3

เครื่องปรับอากาศ ของโลก 72

มหาสมุทรที่ดูแลเรา

ทะเลในปิ่นโต 74

ตู้ยาใต้สมุทร 78

ที่มาของลมหายใจ 70

ผู้ให้ก�ำเนิดฝน 82

สีครามและความสุข 94

ผู้ปกป้องชายฝั่ง 84

ผู้จุดประกาย นวัตกรรม 90

ผู้สร้างอาชี พ 86

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 5

5

4/2/2564 BE 12:27 PM


ฟองน�้ำ (sponge) นับเป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ  ที่ถือก�ำเนิดมาบนโลก พวกมันมีรูปทรงที่หลากหลาย  บางชนิดมีขนาดใหญ่จนคนสามารถลงไปได้  บางชนิดมีอายุยืนนับพั นปี เช่นฟองน�้ำแก้ว ในทะเลแถบแอนตาร์กติก นักวิ ทยาศาสตร์พบว่า  มันมีอายุถึง 15,000 ปี ครองต�ำแหน่งสัตว์อายุยืน ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

ฟองนํ้า

มหัศจรรย์ในความเรียบง่าย

โครงสร้างที่เรียบง่ายของฟองน�้ำ ซ่อนความสามารถอันน่าทึ่งไว้  หากน�ำฟองน�้ำมาใส่เครื่องปั่นหรือท�ำให้เซลล์ของมันหลุดจากกัน แล้วแช่น�้ำไว้สักพั ก  เซลล์ที่กระจั ดกระจายเหล่านั้นจะกลับมารวมกันกลายเป็นโครงสร้างแบบเดิมได้ !

10

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 10

4/2/2564 BE 12:27 PM


ปะการัง (coral) ที่เราเห็นคือ “อพาร์ตเมนต์”  ของมันเท่านั้น  ตัวปะการังจริง ๆ นั้น มีขนาดเล็กมาก ต้องดูใกล้ ๆ จึงจะเห็น ในปะการังหนึง่ กอมีตัวปะการัง (polyps) มากมายอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยสมาชิกทุกตัว มี DNA เหมือนกันเป๊ะ แถมมีเนื้อเยื่อเชื ่อมกัน เพื่อแบ่งปันสารอาหารและสื่อสารกัน

ชมคลิป

ปะการัง สุดยอดช่างก่อสร้าง

ปะการังไม่มีมือมีเท้า แต่มันเป็นช่างก่อสร้างชั้นยอด  เพราะสามารถดึงโมเลกุลที่ล่องลอยในน�้ำมาสังเคราะห์ เป็นหินปูนแล้วสร้างเป็นบ้านให้ตัวเองอยู่อาศัยได้ โดยไม่ต้องไป ระเบิ ดภูเขา หนเลย ปะการังบางชนิด เช่นปะการังเห็ด ไม่อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์ แต่หากินเดี ่ยว ๆ ตามพื้นทะเล  มันมีความสามารถพิเศษคือ หากจมทราย มันจะดูดน�้ำเข้า ท�ำตัวยุบหนอพองหนอให้ตัวเอง โผล่พ้นทรายได้ หรือถ้ามันถูกคลื่นซัดจนหงายท้อง มันก็ใช้วิธี ยุบ ๆ พอง ๆ ให้พลิกกลับคืนต�ำแหน่งเดิมได้เช่นกัน

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 11

11

4/2/2564 BE 12:27 PM


หมึกยักษ์หรือหมึกสาย (octopus) ได้ชื่อว่า เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ฉลาดที่สุด  ความสามารถของมันไม่ธรรมดา ในสารคดี  Blue Planet 2  มีฉากหนึง่ ที่หมึกยักษ์ถูกฉลามโจมตี แต่มันก็เอาตัวรอดได้โดยใช้หนวด ยื่นเข้าไปอุดรูเหงือกที่ฉลามใช้หายใจ  จนฉลามต้องยอมแพ้และปล่อยมันไป หรือในสารคดี My Octopus Teacher ก็มีฉากที่หมึกยักษ์หนีฉลามโดยขึ้นไปขี ่หลังฉลาม ท�ำให้ฉลามงับมันไม่ได้

หมึกยักษ์ แปดหนวดเจ้าปัญญา

พวกมันยังมีความสามารถใช้เครื่องมือ  หมึกยักษ์ชื่อหมึกมะพร้าว  ได้รับการบันทึกว่าเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดแรกที่มีความสามารถนี้  โดยมันใช้กะลามะพร้าวหรือเปลือกหอยเป็นบ้านเคลื่อนที่  ใช้หนวดหิ้วไปไหนมาไหน แล้วหลบอยู่ข้างในคอยซุ ่มโจมตีเหยื่อ

ชมคลิป

แอบมองเธออยู่นะจ๊ะ  แต่เธอไม่รู้บ้างเลย

22

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 22

4/2/2564 BE 12:28 PM


ฉันไม่ใช่ หมึกยักษ์นะ

อีกกรณีหนึง่   หมึกยักษ์น�ำเปลือกหอยมาหุ้ม เป็นเกราะเพื่อซ่อนตัว จากฉลามที่ตามล่ามัน

บ๊าย บาย ไปละนะ

นอกจากนี้พวกมันยังมีความสามารถบี บตัว ให้ผ่านรูที่แคบกว่าตัวมันหลายเท่าได้  โดยมีประวัติวา่  มันหนีจากเรือลงน�้ำ ไปจนถึงหนีจากตู้อะควาเรียมลงทะเล  โดยแทรกตัวผ่านช่องระบายน�้ำ

จะออกไป แตะขอบฟ้าาาาา

ชมคลิป

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 23

23

4/2/2564 BE 12:28 PM


นีค่ อื ตา

นีค่ ือจมูก

ปลาหัวใส

(barreleye fish) ปลาชนิดนี้มีหัวใสแจ๋ว  มองทะลุได้ราวกับห้องนักบิ น ลูกตาฝังในหัว มองขึ้นบนเสมอ

สัตว์นํ้าลึก

ผู้ ลึกลับใต้ทะเล

ปลาแฟงทูท

(fangtooth) ปลานักล่าที่เขี ้ยวยาวจนหุบปากไม่ได้

ไซโฟโนฟอร์ยักษ์

(giant siphonophore) เติบโตด้วยการโคลนนิงตัวเองให้ยาวไปเรื่อย ๆ  จนบางตัวยาวยิ่งกว่าวาฬสีน�้ำเงิน

คางคกทะเล

(sea toad) ปลาที่มีครีบเอาไว้เดิน

36

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 36

4/2/2564 BE 12:29 PM


ปลาไหลกัลเปอร์

(gulper eel) นีค่ ือปลาไหลที่มีปากกว้าง ราวหนึง่ ในสี่ของความยาวล�ำตัว  ท�ำให้มันกินเหยื่อที่ ใหญ่เท่าตัวเองได้

ปลาออร์ฟิช

(oar fish) ปลาที่ว่ายน�้ำในแนวตั้ง  ล�ำตัวยาวได้ถึง 10 เมตร

หวีวุ้นท้องสีเลือด

(ฺbloodbelly comb jelly) ในน�้ำลึกที่ ไร้แสงจะไม่มีใครมองเห็นมัน  แต่เมื่อแสงตกกระทบ จะเกิดประกายสีรุ้ง ตามแนวซี่ขนราวกับไฟคริสต์มาส

ปะการังนํ้าลึก

(deep sea coral) หากินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพา สาหร่ายเซลล์เดี ยว อายุยืนได้เป็นพั นปี

ปีศาจไกไร้ ่ หัว

(headless chicken monster) นีค่ ือปลิงทะเลที่ว่ายน�้ำได้ ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 37

37

4/2/2564 BE 12:29 PM


เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ลองจิ นตนาการว่าเราเป็นปลาที่ว่ายอยู่ในทะเล ปัญหาด้านสุขภาพอย่างหนึง่ ที่เราต้องเจอคือปรสิต ที่เกาะตามตัว มาดูดเลือดแย่งสารอาหารไปจากเราทุกวี่ทุกวัน สุดแสนน่าร�ำคาญ แต่ปัญหาคือเรา ไม่มีมือ ไม่มีแขน อยากจะเอื้อมไปดึงมันออกก็ไม่ได้... เราจะท�ำยังไง ?

ใช่แล้ว... ค�ำตอบคือเราต้องการผู้ช่วย และนีก่ ็คือหน้าที่ส�ำคัญของเหล่า “ปลาพยาบาล” และ  “กุ้งพยาบาล” ที่จะเข้าเวรประจ�ำการอยู่ตามกองหินใต้ทะเล หรือ “สถานีอนามัย” ในแนวปะการัง เหล่าปลาน้อยใหญ่รวมถึง เต่าทะเลชอบแวะเวียนมา หยุดพั กให้เหล่าพยาบาล ตอดปรสิตตามตัว  เป็นความสัมพั นธ์แบบพึ่งพา ที่พยาบาลก็ได้อาหาร  ส่วนลูกค้าก็สบายตัวสบายใจ ไร้ปรสิต

44

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 44

4/2/2564 BE 12:30 PM


ที่ออสเตรเลียมีงานวิ จัยที่ลองน�ำปลาพยาบาลออกไปจากพื้นที่ แล้วติดตามผลเป็นระยะเวลา 8 ปีครึ ่ง  ผลปรากฏว่าปลาพยาบาลเล็ก ๆ แค่ไม่กี่ตัวนี้มีผลต่อสังคมปลาในแนวปะการังอย่างมหาศาล

พื้นที่ควบคุม ที่มีปลาพยาบาลอยู่ตามปกติ

พื้นที่ทดลอง ที่ ให้ปลาพยาบาลหายไป

ปลาสลิดหิน

(ลูกค้าหลัก)  มีขนาดเล็กกว่า  ปลาประจ�ำถิ่น

มีจ�ำนวนน้อยกว่า ราว 37% ชนิดปลา

มีความหลากหลาย น้อยกว่าราว 23% ปลาวัยอ่อน

ที่มาจากพื้นที่อื่น มีจ�ำนวนน้อยกว่า 65%

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 45

45

4/2/2564 BE 12:30 PM


ลดลง

เพิ่มขึ้น

ลดลง

62

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 62

4/2/2564 BE 12:31 PM


คสช.

(คณะรักษาความสงบ แห่งชีวิตใต้ทะเล)

ฉลามที่หลายคนมองว่าเป็น “นักฆ่า” แต่จริง ๆ  แล้วมันคือ “ผู้ปกป้อง” ความสมดุลของนิเวศทะเล ฉลามกินปลาขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อใดที่ ฉลามหายไป ปลาขนาดใหญ่จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ กุ้งหอยปูปลาขนาดเล็กลดจ�ำนวนลง เพราะปลาใหญ่ กินพวกมันหมด นัน่ แปลว่าถ้าฉลามหายไป  อาหารทะเลในจานเราก็อาจได้รับผลกระทบไปด้วย กรณีศึกษาที่มหาสมุทรแอตแลนติกพบว่า  เมื่อฉลามถูกล่าจนหายไป ท�ำให้เหยื่อหลักของมัน อย่างปลากระเบนจมูกวัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้หอยเชลล์ลดลงจนการประมงแถบนั้น แทบจะล่มสลาย

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 63

63

4/2/2564 BE 12:31 PM


เครื่องปรับอากาศ ของโลก โอย... ร้อนจัง  มนุษย์ปล่อย CO2  มากไปแล้ว

ถ้าโลกเราไม่มีมหาสมุทร  พวกเราจะร้อนยิ่งกว่านี้ ไม่รู้อีกกี่เท่า

การที่เรามีสภาพอากาศที่พอเหมาะพอดี  อย่างแรกต้องขอบคุณกระแสน�้ำในมหาสมุทรที่ช่วยกระจาย ความร้อนจากแถบเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลก และน�ำพาน�้ำเย็นจากขั้วโลกกลับมา  ถ้าไม่มีกระแสน�้ำนี้  ประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรคงร้อนราวเตาอบ ในขณะที่ประเทศแถบขั้วโลกก็จะหนาวราวกับตู้แช่แข็ง

72

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 72

4/2/2564 BE 12:32 PM


ต่อมามหาสมุทรคือแหล่งดูดซับคาร์บอนขนาดใหญ่ ราว 93% ของคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกักเก็บไว้ที่นี่

1

ดูดซับโดยพืช เช่น แพลงก์ตอนพืช สาหร่าย หญ้าทะเล

2 ละลายในน�้ำในรูปกรดคาร์บอนิก กดึงไปใช้สร้างเปลือก 3 ถูและโครงสร้ างหินปูนของสัตว์ทะเล

4 ถูกเก็บอยู่ในตะกอนดินใต้พื้นทะเล ดงหญ้าทะเล ป่าชายเลน และป่าพรุก็นับเป็นโกดังเก็บคาร์บอนแห่งส�ำคัญที่มักถูกมองข้าม  หากเทียบกับป่าบนดินในพื้นที่ขนาดเท่ากันแล้ว พื้นที่เหล่านี้ดูดซับคาร์บอนได้ดีกว่าหลายเท่า  t CO2/ha/yr 9 8 7 6 5 4 3 2 1

หญ้าทะเล

ป่าชายเลน

พรุนำ�้ เค็ม

ป่าเขตร้อน

สาเหตุทีด่ งหญ้าทะเล ป่าชายเลน  และป่าพรุน�้ำเค็มมีความสามารถ ในการเก็บคาร์บอนได้มาก  เพราะคาร์บอนส่วนใหญ่ ไม่ได้เก็บไว้ บ แต่ถูกดึงลง ไปเก็บไว้ใต้ดิน ซึ่งอาจลึก ได้ถึง 6 เมตร

*ตัวเลขในแหล่งข้อมูลแต่ละแห่งอาจต่างกันไปบ้าง ขึ้นกับชนิดของหญ้าทะเลที่ท�ำวิ จัย ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 73

73

4/2/2564 BE 12:32 PM


ตู้ยาใต้สมุทร ทุกวันนี้นักวิ จัยมากมายก�ำลังด�ำดิ่งไปใต้ทะเลเพื่อค้นหาตัวยาลับที่สามารถรักษาโรคร้าย  ตัวยาลับ ม่มีลายแทง ไม่ได้ซ่อนอยู่ในหี บสมบัติ แต่... มันซ่อนอยู่ในสิ่งมีชีวิต  ดังนั้นยิ่งใต้ทะเลมีความหลากหลายมากเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการค้นพบตัวยาใหม่ ๆ  ที่อาจเป็นประโยช นการรักษาผู้ป่วยในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น

ในอนาคตยาหลายชนิด ที่จะเพิ่มเข้ามาในตู้ยานี้  อาจมีที่มาจากมหาสมุทร

โอ๊ย !

มนุษย์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เจ๋งที่สุด เพราะพวกเราไม่สามารถท�ำอะไรหลาย ๆ อย่างที่ฟองน�้ำ ปะการัง  หรือปลิงทะเลท�ำได้  เราไม่สามารถงอกแขนที่ขาดได้อย่างดาวทะเล ไม่สามารถสร้างพิษในเนื้อเยื่อได้ อย่างฟองน�้ำ ไม่สามารถสร้างอวัยวะภายในใหม่ได้เองอย่างปลิงทะเล  ด้วยเหตุน้นี ักวิ ทยาศาสตร์ จึงใช้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจเพื่อค้นหาวิ ธีการใหม่ ๆ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ

78

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 78

4/2/2564 BE 12:32 PM


หากลองไปทั วร์โรงพยาบาลจะพบว่า ตัวยาหลายชนิด ช้กันทุกวันนี้  มีจุดตั้งต้นจากสารเคมีที่พบในทะเล

1

แผลหายเร็วด้วยกุ้งและปู !

งานวิ จัยล่าสุดพบว่าสารในเปลือกปูเปลือกกุ้งที่ชื่อไคโตซาน (chitosan)  มีสมบัติฆา่ เชื ้อแบคทีเรียและท�ำให้แผลหายเร็วขึ้นได้  ซึ่งมีการผลิตเป็นพลาสเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดแล้ว

2

Conus magus

3

Prialt

ยาแก้ปวดจากพิษหอยเต้าปูน แม้ว่าหอยชนิดนี้มีเข็มพิษที่ฆ่าปลาได้  แต่นักวิ จัยพบว่าในปริมาณที่เหมาะสม มันระงับอาการปวดส�ำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการปวดเรื้อรังอย่างผู้ป่วยมะเร็งได้  โดยมีประสิทธิภาพมากกว่ามอร์ฟีน 1,000 เท่า แถมมีผลข้างเคียงน้อยกว่า

ยารักษามะเร็งสกัดจากฟองนํ้า

Halichondria okadai

ช่วยยืดอายุผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ระยะลุกลามได้

Tethya crypta

เป็นยาคีโมรักษาผู้ป่วย มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน�้ำเหลืองบางชนิด ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 79

79

4/2/2564 BE 12:32 PM


ผู้จุดประกาย นวัตกรรม

ลุงละเบื่อไอ้เพรียงพวกนี้จริง ๆ มันท�ำให้เรือแล่นช้า แถมเปลืองน�้ำมันเพิ่มขึ้นอีก

โอ้โฮ เพรียงเกาะเรือเต็มเลย

แม้มนุษย์จะมีเทคโนโลยีล�้ำยุคมากมาย แต่ปัญหาหลายอย่างเราก็ยังเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะสัตว์ตา่ ง ๆ มีวิวัฒนาการมา นับพั นล้านปี ในขณะที่มนุษย์เพิ่งพั ฒนาเทคโนโลยี มาแค่ไม่กี่ร้อยปี ด้วยเหตุน้เี ราจึงอาจต้องใช้ธรรมชาติ เป็นแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหาหลายอย่าง ปัญหาที่เราคิดไม่ตกวันนี้ บางทีอาจมีค�ำตอบ ซ่อนอยู่ในผิ วของฉลาม ครีบของวาฬ หรือแม้กระทั ่งการว่ายน�้ำของฝูงปลา

90

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 90

4/2/2564 BE 12:33 PM


ทุกวันนี้มีศาสตร์แขนงใหม่ที่นักออกแบบมากมายให้ความสนใจ นัน่ คือ ชีวลอกเลียน (biomimicry) ซึ่งเป็นการลอกเลียนวิ ธีการที่ธรรมชาติใช้แก้ปัญหา มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบนวัตกรรมใหม่ ๆ

1

ฉลามกับปัญหาเพรียง เกาะเรือ เพรียงเกาะเรือนับเป็นปัญหาคู่มนุษยชาติ มานับพั นปี งานวิ จัยพบว่าเรือที่มีเพรียงเกาะ หนาขึ้น 1 มิลลิเมตรจะท�ำให้แรงเสียดทานเพิ่มขึ้น ถึง 80% โดยในรายงานของกองทั พเรือสหรัฐฯ ใน ค.ศ. 1981 ระบุวา่ เพรียงเหล่านี้ท�ำให้พวกเขา ต้องเปลืองน�้ำมันเพิ่มขึ้นถึง 3.3 ล้านบาร์เรล ตามมาด้วยการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้น แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามมากมายในการ แก้ปัญหานี้ แต่ยังไม่มีวิธีไหนได้ผลเป็นที่นา่ พอใจ สารบางชนิดที่เคยผลิตก็พบว่าเป็นพิษจนต้องเลิกใช้ไป

จนกระทั ่งวันหนึง่ มีคนสังเกตว่าผิ วฉลามต่างจากปลาอื่น ๆ ตรง ม่มีสาหร่ายหรือปรสิตเกาะมากนัก ก็น�ำมาสู่การค้นพบที่ว่า ผิ วของฉลามมีรอยหยักพิเศษขนาดจิ ๋วที่เรียกว่า dentricle ซึ่งท�ำให้แบคทีเรียรวมถึงปรสิตต่าง ๆ ไม่สามารถเกาะติดได้

ความรู้น้จี ึงถูกน�ำมาประยุกต์ เป็นสีเคลือบเรือป้องกันเพรียงมาเกาะ ไปจนถึงเทปป้องกันแบคทีเรีย แปะตามจุดต่าง ๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งลดปัญหาการติดเชื ้ออย่างได้ผล โดยไม่ต้องพึ่งยาฆ่าเชื ้อที่เสี่ยงต่อ ปัญหาแบคทีเรียดื้อยา

นอกจากนั้นรอยหยักขนาดจิ ๋วนี้ยังช่วยลด แรงต้านของน�้ำ น�ำมาสู่การออกแบบชุ ดว่ายน�้ำ ส�ำหรับนักกีฬาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร  1

AWText-Ocean_1.indd 91

91

4/2/2564 BE 12:33 PM


0.55 cm

หนังสือชุด

ส�ำรวจโลก และธรรมชาติ

ส า ย ใ ย ใ ต้ ส มุ ท ร เมธิรา เกษมสันต์

ลึกลงไปภายใต้ผืนน�ำ้ สีฟ้าของมหาสมุทร ี ิ อยใหญ่ คือโลกอีกใบที่เต็มไปด้วยชวตน้ ที่อาศัยที่นเี่ ป็นบ้าน ิ๋ จากแพลงก์ตอนตัวจวจนถึ งพี ่วาฬตัวใหญ่... ี ิ วนมีความส�ำคัญ ทุกชวตล้ และพวกเขาเหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้อง กับความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์บนแผ่นดิน

“แม้ว่าเธอจะไม่เคยเห็นหรือสัมผัสมหาสมุทร แต่มหาสมุทรสัมผัสเธอในทุกลมหายใจ ในน�้ำทุกหยดที่เธอดื่ม ในอาหารทุกค�ำที่เธอกิน ื่ เราทุกคนในทุกแห่งหนล้วนเชอมโยงและพึ ่งพาการมีอยู่ของผืนทะเล อย่างไม่สามารถแยกจากกันได้” ดร. ซิลเวีย เอิร์ล

ห ม ว ด ห นั ง สื อ เ ด็ ก

ราคา 290 บาท

สั่งซื้อออนไลน์ที่ @sarakadeemag

ISBN 978-616-465-042-8

เมธิรา เกษมสันต์

290.-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.