ลมหายใจในภูเขียว

Page 1



ป่าภูเขียวมีความอุดมสมบูรณ์  หนาแน่นไปด้วยพฤกษานานาพรรณและสัตว์ป่า



ทุ่งกะมังเป็นสถานที่ปลอดภัยส�ำหรับสัตว์ป่า  แม้กระทั่งกวางป่าที่มีสัญชาตญาณระวังภัยสูงยังปรากฏตัวให้เห็นใกล้ ๆ ได้


เนื้อทรายกลับมามีลมหายใจโลดแล่นอย่างอิสรเสรีในทุ่งหญ้ากว้างใหญ่แห่งป่าภูเขียว



ป่าดิบเขาบริเวณที่มีรายงานการพบร่องรอยซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นของกระซู่

ภาพ : กิตติ กรีติยุตานนท์


“ข้าพเจ้ามีความภูมิใจในทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสัตว์ป่าของไทยมาก ข้าพเจ้าเห็นว่า เราควรจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อย่างระมัดระวัง และทะนุบำ� รุงให้คงอยู่ตลอดไป มิใช่ให้ประวัติศาสตร์ จารึกได้ว่าทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ถูกท�ำลาย หมดสิ้นไปในระยะเวลาอันสั้นแค่ช่วงอายุของเรา ทรัพยากรธรรมชาตินับเป็นสมบัติล�้ำค่าของชาติ และเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ สมควรที่เราทั้งหลาย จะช่วยกันรักษาไว้ให้คงอยู่เป็นประโยชน์สืบชั่วลูกชั่วหลาน”

พระราชด�ำรัส ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


หนังสือ  ลมหายใจในภูเขียว ผู้เขียน  ณรงค์  สุวรรณรงค์ ผู้ถ่ายภาพ  ณรงค์  สุวรรณรงค์ และ วรรณชนก สุวรรณกร © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี  ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต

พิมพ์ครั้งที่  ๑ ตุลาคม ๒๕๕๖  จ�ำนวนพิมพ์  ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๔๐ บาท ข้อมูลบรรณานุกรม     ณรงค์  สุวรรณรงค์.       ลมหายใจในภูเขียว.--กรุงเทพฯ : สารคดี, ๒๕๕๖.       ๑๖๐ หน้า.       I. สัตว์ป่า. II. การอนุรักษ์สัตว์ป่า  1. ชื่อผู้แต่ง.     ๕๙๑.๕     ISBN 978-616-7767-19-2

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์  ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา  พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์  ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  ส�ำนักพิมพ์สารคดี  (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ เพลต  เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์  บริษัททวีวัฒน์การพิมพ์  จ�ำกัด  โทร. ๐-๒๗๒๐-๕๐๑๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อำ� นวยการ : สุวพร ทองธิว  ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์  ศรีนวล  ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์  เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ  ผู้อำ� นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์  ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน  ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์  : สุดารา สุจฉายา บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์  : สุวัฒน์  อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�ำ้ มันถั่วเหลือง ลมหายใจในภู ยว ้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการใช้ วัตถุดิบเขีจากน�


ค�ำนิยม นอกเหนือจากความช�ำนาญในทางเทคนิควิธี  การถ่ายภาพสัตว์ป่า เรียกร้อ งต้อ งการช่างภาพที่มีคุณลักษณะพิเศษข้อหนึ่ง  คือความ อดทนและการรอคอย อุ ป มาดั่ ง กี ฬ าแบดมิ น ตั น   แต่ ล ะภาพที่   “ใช้ ไ ด้ ”   คื อ แต่ ล ะ คะแนนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งบางครั้งต้องทั้งตบ ทั้งโยก ทั้งหยอด สารพัด ต่างกันตรงที่ในการเล่นเกมนี้  ช่างภาพต้องเป็นทั้งผู้เล่นฝ่าย ตนเอง และเป็นผูเ้ ล่นฝ่ายตรงข้าม ในเวลาเดียวกัน แข่งกันบันทึกภาพ สัตว์ป่า โดยมิหมายเอาชีวิตสัตว์ป่า ภายใต้กติกาที่จะไม่เอาเปรียบ ด้วยการไปรบกวนวิถีการด�ำเนินชีวิตของสัตว์ป่า กรรมการผู้รักษากฎ กติกา และมารยาท ก็คือตัวช่างภาพเอง อีกนั่นแหละ สุดท้าย รางวัลที่ได้รับ คือรางวัลจากการชนะใจตนเอง ชนะใจที่อ่อนล้าในบางครั้ง เบื่อหน่ายการรอคอยในบางขณะ อันเป็นชัยชนะที่ลำ�้ เลอค่ากว่าชัยชนะอื่นใดทั้งสิ้น ณรงค์  สุวรรณรงค์  เลือกหนทางเป็นนักกีฬาที่ได้รับ “การ ชนะใจตนเอง” เป็นรางวัลมานานนับทศวรรษ  ภาพนิ่งแต่ละภาพของ เขามีความเคลื่อนไหวอันน่าอัศจรรย์ใจของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ส่งผล สะเทือนสองด้านที่แตกต่างให้ผู้ที่ชมภาพ คือทั้งปีติยินดีที่แผ่นดินนี้ยังมีผืนป่าเพียงพอให้สรรพสัตว์ได้ พักพิง กับอีกด้านหนึ่งคือความสลดหดหู่ใจที่นับวันสัตว์ป่าของเราจะ ลดน้อยถอยจ�ำนวนลง ด้วยเหตุผลใดคงไม่ต้องเสียเวลาบรรยาย ใจชื้นขึ้นสักนิด ตรงที่เชื่อว่าผลสะเทือนสองด้านที่แตกต่างนั้น จะน�ำไปสู่จุดหมายเดียวกัน คือสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตใจใฝ่การอนุรักษ์ ธรรมชาติและสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น สิบปีบนหนทางแห่งการท�ำงานที่มุ่งชนะใจตน ณรงค์รังสรรค์ ผลงานภาพสัตว์ป่าอันทรงคุณค่าไว้มากมาย พร้อมกับการก้าวขึ้นมา ยืนอยู่ตรงแถวหน้าของช่างภาพสัตว์ป่าอย่างสง่าผ่าเผย ณรงค์ สุวรรณรงค์   11


พู ด ก็ พู ด เถอะ  ทุ ก ครั้ ง ที่ เ จอตั ว เขา  หรื อ พานพบเขาในโลก ออนไลน์  อาทิในเครือข่าย Facebook สิ่งที่ผมอยากจะพูด จะคุย จะถามกับเขามากที่สุด คือเบื้องหลังความเป็นมาของภาพสัตว์ป่าที่ เขาถ่ายแต่ละภาพ หรือกล่าวได้ว่าทุก ๆ ภาพ แต่ผมก็ตระหนักดีวา่  ความประสงค์ของผมมันขัดกับคุณลักษณะ พื้นฐานของคนท�ำงานสายนี้  ที่มักพูดน้อย ไม่โอ้อวด และให้เวลาส่วน ใหญ่กับการพินิจพิเคราะห์  เท่า ๆ กับการรอคอย ทว่าอาจจะเป็นโชคดีของผม ทีแ่ ม้ณรงค์จะมีคณุ ลักษณะดังกล่าว ครบถ้วน แต่เขายังมีความสามารถพิเศษอีกประการหนึ่งทีห่ าได้ไม่ง่าย นักในกลุ่มคนหลังเลนส์  คือการที่เขาเขียนความเรียง และสารคดีได้ดี พอ ๆ กับความสามารถในการถ่ายภาพสัตว์ป่า ครั้นเมื่อทราบว่า  ส�ำนักพิมพ์สารคดีรวบรวมงานเขียนของ ณรงค์  สุวรรณรงค์  มาตีพิมพ์เป็นหนังสือ ภายใต้ชื่อ ลมหายใจใน ภูเขียว ก็ท�ำให้ผมเบิกบานใจที่จะได้ฟังเรื่องเล่าจากไพรพฤกษ์  และ เบือ้ งหลังภาพสัตว์ปา่ ทีน่ า่ อัศจรรย์ใจหลาย ๆ ภาพทีผ่ มอยากรู ้ ผ่านตัว อักษรของเขา เสมือนหนึ่งได้นั่งจับเข่าคุยกับเขา โดยมีท่านผู้อ่านร่วม วงคุยไปด้วยกัน เอาละครับ ถ้าท่านพร้อมแล้ว เราเปิดวงเสวนากับช่างภาพ สัตว์ปา่ ในดวงใจคนนี ้ ด้วยการพลิกไปบทที ่ ๑ ของลมหายใจในภูเขียว บัดเดี๋ยวนี้เลยนะครับ ธีรภาพ โลหิตกุล

12

ลมหายใจในภูเขียว


จากส�ำนักพิมพ์ ทุ ก วั น นี้ ห นั ง สื อ เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ นั้ น   หากมิ ใ ช่ คู ่ มื อ น� ำ เที่ ย วก็ มั ก เป็นการพรรณนาความประทับใจในการเดินทาง หายากที่จะบรรยาย ความรู้ให้ผู้อ่านเข้าใจธรรมชาติจริง ๆ  โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับ สัตว์ป่านั้นก็แทบจะนับเล่มได้ ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะการบันทึกเรือ่ งราววิถชี วี ติ สัตว์ปา่ ในธรรมชาติ มิใช่เรือ่ งง่าย ทัง้ จากความทุรกันดารของพืน้ ที ่ สภาพอากาศทีม่ กั ไม่เอือ้ อ�ำนวย และแม้แต่ตวั สัตว์ปา่ เป้าหมายเองทีเ่ มือ่ พบตัวแล้วก็ใช่วา่ จะเฝ้า สังเกตและถ่ายภาพได้ทนั ที  ดังนัน้ นักเขียนหรือผูถ้ า่ ยภาพจะต้องอาศัย ความอดทน ความมุ่งมั่น และที่ส�ำคัญก็คือ ความเข้าใจในสัตว์ป่า จึง จะได้ข้อมูลและภาพออกมาตามต้องการ ส�ำหรับลมหายใจในภูเขียวเล่มนี้เป็นผลงานจากความพยายาม ติดตามบันทึกเรื่องราวชีวิตของสัตว์ป่าในธรรมชาติ  โดยคุณณรงค์ สุวรรณรงค์  ช่างภาพผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  จากการประกวดภาพถ่าย อนุรักษ์ธรรมชาติ  “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้เขียนใช้เวลากว่า ๑๐ ปีเฝ้าติดตามศึกษาสัตว์ป่าในเขตรักษา พันธุส์ ตั ว์ปา่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูม ิ ซึง่ เป็นผืนป่าอนุรกั ษ์ทมี่ คี วามส�ำคัญ อย่างยิ่ง จนรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของสัตว์ป่า  และความเข้าใจในสัตว์ ป่านีเ้ องก็ชว่ ยให้ผเู้ ขียนสามารถบันทึกและถ่ายทอดเรือ่ งราวชีวติ สัตว์ปา่ ออกมาเป็นภาพถ่ายและตัวหนังสือเพือ่ เผยแพร่ให้ผอู้ นื่ ได้รจู้ กั และเข้าใจ ในชีวิตของสัตว์ป่าบ้าง ส�ำนักพิมพ์หวังว่าเรื่องราวชีวิตสัตว์ป่าในลมหายใจในภูเขียวนี้ จะเพิม่ พูนความเข้าใจวิถกี ารด�ำรงชีวติ ตามธรรมชาติของสัตว์ปา่  อันจะ น�ำไปสู่การช่วยกันอนุรักษ์และปกป้องผืนป่าของไทยให้อุดมสมบูรณ์ ตราบนานเท่านาน สมดังความตั้งใจของผู้เขียน ส�ำนักพิมพ์สารคดี ณรงค์ สุวรรณรงค์   13


ลมหายใจ แห่งความฝัน ผมมาเริ่มงานถ่ายภาพสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยติดตามชุดวิจัยเข้าไปถ่ายภาพค่างแว่นถิ่นเหนือ ปีแรกผมใช้เวลาส่วนใหญ่ได้แต่เฝ้ามอง  แทบ ไม่ได้ถ่ายภาพเลย ปีท่ี  ๒ พอรู้จักค่างจึงเริ่มได้ถ่ายภาพบ้าง แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกกว่า ๕ ปีจึงได้ภาพที่น่าพอใจ นอกจากค่างผมยังได้เรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าอีกหลายชนิด ไปพร้อมกัน โดยวิธีเดียวกัน คือเริ่มจากการเฝ้ามอง ซึ่งท�ำให้ รู้จักสัตว์ป่าดีขึ้น จากนั้นก็ค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือและ เรียนรูจ้ ากครูผทู้ ำ� งานในป่า เพือ่ เพิม่ มุมมองใหม่ให้หลากหลาย ขึ้น เมื่อเฝ้ามองนาน ๆ ก็จะเข้าใจพฤติกรรมและนิสัยของ สัตว์ป่า ท�ำให้รู้ว่าจะถ่ายภาพพฤติกรรมที่ต้องการได้ตอนไหน และท�ำอย่างไรจึงไม่ล่วงล�้ำวิถีชีวิตในธรรมชาติ  เราต้องเคารพ ความเป็นเจ้าของบ้านของสัตว์ป่าเสมอ สิ่งส�ำคัญที่สุดอย่างหนึ่งซึ่งท�ำให้ได้ภาพที่สวยงามคือ การทีส่ ตั ว์ปา่ ยอมรับเรา ต้องใช้เวลาสร้างความคุน้ เคยหรือท�ำตัว

14

ลมหายใจในภูเขียว


ให้กลมกลืนจนเป็นส่วนหนึ่งของป่า หากสัตว์ป่าไม่วางใจก็เป็นไปได้ ยากที่จะได้ภาพอิริยาบถอันงดงามและแสดงพฤติกรรมอิสรเสรีตาม ธรรมชาติ เมื่อได้เห็นวิถีการด�ำรงชีวิตอันงดงามตามธรรมชาติจึงมีภาพที่ วาดหวังไว้  แม้เวลาในการถ่ายภาพจริง ๆ อาจสั้นเพียงไม่กี่นาที  แต่ สัตว์ป่าหลายชนิด กว่าจะมีโอกาสได้ถ่ายภาพตามฉากที่วาดไว้  ก็ต้อง เพียรพยายามเฝ้าติดตามเป็นเวลานานหลายปี  แน่นอนว่ามีเหตุการณ์ มากมายที่ไม่สามารถถ่ายภาพได้  ซึ่งคงเป็นโอกาสครั้งเดียวในชีวิต เริ่มจากถ่ายภาพ แต่ที่ได้มานั้นมากกว่าภาพถ่าย ผมมีภาพชีวติ สัตว์ปา่ ทีอ่ ยากให้คนอืน่ ได้เห็น มีเรือ่ งราวทีอ่ ยาก ให้เยาวชนได้อา่ น เป็นเรือ่ งราวทีซ่ มึ ซับมาจากสัตว์ปา่  นักวิจยั  และคน ท�ำงานจริงในป่าภูเขียว หวังให้ผู้อ่านได้รู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของสัตว์ และคนท�ำงานในป่า หากใครสักคนจะตระหนักถึงความส�ำคัญของสิง่ ใด เขาต้องรูจ้ กั สิง่ นัน้ ก่อน เมือ่ รูจ้ กั มากขึน้  จนรูส้ กึ เข้าใจและเข้าถึง บางที ความฝันอีกอย่างหนึ่งของผมอาจจะเป็นจริง คิดถึงบ้านที่รักเสมอ ณรงค์  สุวรรณรงค์

ณรงค์ สุวรรณรงค์   15


สารบัญ

อิสรภาพที่ทุ่งกะมัง ๑๗ บ่อน�้ำมหัศจรรย์ ๔๓ การท�ำงานของหมาใน ๖๑ คนกับค่าง  ๙๑ ลิงวอกฝูงสุดท้ายในป่าเมืองไทย ? ๑๑๕ ชีวิตชะนีมือขาว ๑๒๕ บนเส้นทางชีวิตของลิงอ้ายเงี้ยะ ๑๓๗ ขอขอบคุณ ๑๕๗ เกี่ยวกับผู้เขียน ๑๕๘

16

ลมหายใจในภูเขียว


อิ ส ร ภที า่ ท ุ่ งพ ก ะ มั ง ทุก ๆ  วินาทีป่าธรรมชาติหายไปเท่ากับหนึ่งสนาม

ฟุ ต บอล  และทุ ก  ๆ  ชั่ ว โมงสั ต ว์ ป ่ า สู ญ พั น ธุ ์ ไ ปหนึ่ ง ชนิ ด ” กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) รายงานสถานการณ์เกี่ยวกับ ป่าไม้และสัตว์ป่าของโลก ส่วนสถานการณ์ในบ้านเรา ผืนป่าธรรมชาติทเี่ คยมีอยู่ อย่างอุดมสมบูรณ์ได้ลดจ�ำนวนลงไปมาก สัตว์ปา่ ก็ถกู คุกคาม อย่างหนัก ทั้งจากการที่แหล่งอาศัยถูกบุกรุกท�ำลายและจาก การล่า  สัตว์ปา่ หลายชนิดถูกล่าแบบล้างผลาญจนสูญพันธุไ์ ป จากป่าเมืองไทย ขณะที่อีกหลายชนิดก็อยู่ในขั้นวิกฤต พื้นที่ป่าในเมืองไทยที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก การท�ำไม้ในอดีต  ผืนป่าหลายแห่งเคยผ่านยุคของการท�ำไม้ มาก่อนที่จะได้รับการประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์

อิสรภาพที่ทุ่งกะมัง   17



1 2 3

1. ช่วงฤดูผสมพันธุ ์ เนื้อทรายรุ่นใหญ่ ที่กำ� ลังติดสัดจะเฝ้ากลุ่มตัวเมียไม่ยอมห่าง ตัวผู้ตัวอื่นที่เข้ามาใกล้จะถูกขับไล่  ถ้าอีกฝ่าย ไม่ยอมหนีก็ต้องต่อสู้กัน 2-3. หลังจากขับไล่คู่แข่งออกไปแล้ว มันก็จะ คอยตามตื๊อตัวเมียแทบทั้งวัน จนกว่าสาวเจ้า จะพร้อมยอมผสมพันธุ์ด้วย


42

ลมหายใจในภูเขียว


บ่อมหันํศ้าจรรย์ ๑

เมื่ อ ลมมรสุ ม ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อที่ พั ดมาจาก

ดิ น แดนอั น ไกลโพ้ น แถบไซบี เ รี ย เดิ น ทางมาถึ ง บ้ า นเรา อุณหภูมิก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลง  หลังจากนั้นไม่ นานความแห้งแล้งก็คืบคลานเข้ามา  แหล่งน�้ำในป่าที่เคย มีอยู่ทั่วไปในฤดูฝนเริ่มเหือดแห้ง  สัตว์ป่าก็เหมือนกับคนที่ น�้ำเป็นปัจจัยส�ำคัญในชีวิต  เมื่อน�้ำหายากขึ้น สัตว์ป่าจึงไป รวมตัวกันตามแหล่งน�้ำบางแห่งที่เหลืออยู่เพื่อด�ำรงชีวิต ต้นไม้ก�ำลังทิ้งใบในตอนที่ผมกลับมาเยือนเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว  หลายปีมาแล้วที่ผมใช้เวลาในวันหยุด จากการท�ำมาหาเลี้ยงชีพเข้ามาเรียนรู้ชีวิตและถ่ายภาพ สัตว์ป่า

บ่อน�้ำมหัศจรรย์   43


นกกางเขนดงพอลงไปยืนในน�้ำก็ก้มลงจุ่มจะงอยปากลงกินน�้ำ อ้าปากแล้วยกหัวชูจะงอยปากขึ้นกลืนน�้ำให้ไหลลงไปตามล�ำคอ  นก ส่วนใหญ่จะกินน�ำ้ แบบนี ้ นกกางเขนดงกินน�ำ้ เสร็จก็บนิ ขึน้ ไปเกาะกิง่ ไม้ ส่งเสียงเจื้อยแจ้วอยู่พักใหญ่  ก่อนบินไปเกาะไม่ไกลจากบ่อน�ำ้ นัก ปกติช่วงเช้าจะไม่ค่อยมีนกมาใช้นำ�้   ช่วงกลางวันอาจทยอยมา บ้าง จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ  นกจะเริ่มมาใช้น�้ำกัน มากในช่วงบ่ายแก่ ๆ ไปจนกระทั่งสิ้นแสงสุดท้ายของวัน แม้รู้ว่านกจะมากันมากในช่วงบ่าย ๆ แต่ผมก็เลือกเฝ้าอยู่ทั้งวัน เพราะเป็นวิถีปกติของชีวิตคนท�ำงานกับสัตว์ป่าที่ต้องท�ำซ�้ำ ๆ บ่อย ๆ และนาน ๆ จนบางทีอาจดูน่าเบื่อด้วยซ�ำ้ การอยูใ่ นบังไพรนาน ๆ ถ้ามองในแง่การถ่ายภาพก็เพือ่ เพิม่ โอกาส ในการได้ภาพ แต่มากกว่านัน้ คือเราได้เรียนรูพ้ ฤติกรรมและนิสยั ของสัตว์ ป่า และยังเป็นการฝึกตนให้รจู้ กั อดทนเฝ้ารอ โดยเฉพาะถ้าใครอยากจะ เห็นหรือถ่ายภาพสัตว์ป่าขนาดใหญ่ในป่าเมืองไทยที่ต้องใช้ทั้งเวลาและ ความเข้าใจ ก็ต้องผ่านบันไดขั้นแรกนี้ไปให้ได้ หลังเที่ยง นกกลุ่มแรกก็มาใช้น�้ำ  ฝูงนกมุ่นรกตาขาวมาใช้น�้ำ พร้อมกับนกปรอดเล็กตาขาวทีม่ าตัวเดียว  นกมุน่ รกตาขาวกินน�ำ้ เสร็จ ก็กระโดดลงไปอาบน�้ำใช้ปีกตีน�้ำจนกระเซ็นไปทั่ว  แต่แล้วนกเล็ก ๆ ทีเ่ ล่นน�ำ้ อยูเ่ พลิน ๆ ก็พากันแตกกระเจิง เมือ่ นกกางเขนดงตัวผูบ้ นิ ลงไป ที่บ่อน�้ำ  มันชอบท�ำตัวเป็นเจ้าถิ่น คอยขับไล่นกชนิดอื่นที่เล็กกว่า ไม่ให้เข้าใกล้บอ่ น�ำ้ ราวกับว่าท�ำสัมปทานเอาไว้  เมือ่ มีขาใหญ่ปว้ นเปีย้ น อยู่แถวนี้  นกขนาดเล็กหลายชนิดจึงไม่สามารถลงมาใช้นำ�้ จนบ่ายแก่ ๆ นกกลุ่มหนึ่งก็มาที่บ่อน�้ำ  น�ำโดยนกสาลิกาเขียว เจ้าของปากสีแดงตัวสีเขียวทีบ่ นิ มาเกาะต้นไม้ใกล้ ๆ ก่อนถลาลงไปเกาะ ขอนไม้รมิ บ่อน�ำ  ้ ก้มลงกินน�ำ้ เสร็จแล้วก็กระโดดลงไปยืนในจุดทีน่ ำ�้ ท่วม ถึงท้องใช้ปีกตีน�้ำขึ้นอาบล�ำตัวทั่วทั้งหลัง ส่วนบริเวณหัวและคอที่ยัง ไม่เปียกน�้ำ  จะก้มหัวมุดลงน�้ำสะบัดไปมาอย่างรวดเร็ว  มันใช้ปีกตีน�้ำ ใส่หลังหลายครั้งจึงย่อขาลงอยู่ในท่าหมอบแช่น�้ำ  พองขนออกให้น�้ำ ไหลผ่านเข้าไปท�ำความสะอาดผิวหนัง ช่วยไล่แมลงและไรทีเ่ กาะอยูบ่ น ตัวออกไป  นกส่วนใหญ่จะอาบน�้ำคล้าย ๆ แบบนี้ 48

ลมหายใจในภูเขียว


1 2 4 ๓

1. เพียงพอนเส้นหลังขาว 2. นกกระทาดงอกสีน�้ำตาล 3. นกจับแมลงจุกด�ำ (ภาพ : พุทธชาติ  พวงคุ้มชู) 4. นกพญาปากกว้างหางยาว


60

ลมหายใจในภูเขียว


การท�ำงานของ

หมาใน

ความเฉอะแฉะ เปียกชื้นท�ำให้หลายคนไม่ชอบ

เดินทางท่องป่าในหน้าฝน  บางคนถ้ารู้ว่าต้องมาเผชิญกับ กองทัพทากก็พลอยงดเข้าป่าหน้านี้ไปเลย  ความจริงป่าแต่ ละฤดูมีเสน่ห์มีความงามในแบบฉบับของตัวเอง  หน้าฝนป่า เขียวขจีมีน�้ำท่าอาหารอุดมสมบูรณ์  เป็นฤดูกาลแห่งความ สุขของสรรพชีวติ ในป่าใหญ่  คนทีเ่ ข้าป่าหน้าฝนอาจจะล�ำบาก อยู่บ้าง แต่อุปสรรคก็มีไว้ให้ฝ่าฟันมิใช่หรือ ! บ่อน�้ำมหัศจรรย์ยังเป็นตัวเลือกแรกส�ำหรับการเรียนรู้ แม้ตอนนี้นกจะมีที่ให้เลือกไปใช้น�้ำได้มากมาย แต่ผมก็เลือก มาเฝ้ารออยูใ่ นบังไพร เผือ่ ว่าจะพบเห็นพฤติกรรมใหม่ ๆ ของ นกที่อาจต่างไปจากในฤดูแล้ง รวมทั้งอาจมีนกหรือสัตว์ชนิด ใหม่มาใช้น�้ำ การท�ำงานของหมาใน   61


1 2

1-2. ในการจู่โจมจะมีหมาในตัวหนึ่งคุมเชิงอยู่รอบนอกคอยเป็นยามระวังภัย ให้แก่ฝูงที่ก�ำลังท�ำงาน


ไม่กลัวใคร แม้แต่มนุษย์  กิตติศัพท์ของหมาในจึงมีแต่ด้านร้าย แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับอคติที่คนส่วนใหญ่มีต่อหมาใน แต่ด้วย ประสบการณ์อันน้อยนิด ท�ำให้ผมไม่อาจโต้แย้ง ผมจึงออกติดตาม ค้นหา และเรียนรูช้ วี ติ ของหมาในเพือ่ หาค�ำตอบให้แก่ขอ้ กล่าวหา รวม ทั้งข้อสงสัยส่วนตัวอีกหลายเรื่อง แต่กว่าที่ผมจะพูดได้ว่าพอรู้จักพวกมันบ้าง ก็ต้องใช้เวลากว่า ๓ ปี...

หลังจากเห็นการท�ำงานของหมาในสองครั้งในต้นฤดูฝน  พอ เข้าฤดูหนาวผมก็ออกแกะรอยหมาในบริเวณรอบ ๆ ทุง่ กะมังและหน่วย พิทักษ์ป่าศาลาพรม ซึ่งทั้งสองจุดอยู่ห่างกันราว ๑๘ กิโลเมตรถ้า วัดจากระยะทางตามถนน ผมเริ่มด้วยการสอบถามเจ้าหน้าที่ของเขตฯ ว่าเห็นหมาใน ปรากฏตัวอยูท่ ไี่ หนบ้าง  อีกทางหนึง่ ผมได้ขอ้ มูลจากคุณลอน กราสแมน เพื่อนนักวิจัยที่ก�ำลังท�ำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก งานส่วนหนึ่งของเขา คือดักจับสัตว์ผู้ล่าแล้วติดปลอกคอที่มีเครื่องส่งสัญญาณวิทยุขนาด เล็ก (radio-collar) เพื่อช่วยในการบอกต�ำแหน่งและกิจกรรมในรอบ วันของสัตว์  ซึ่งหมาในเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เขาศึกษา ข้อมูลจากคุณลอนท�ำให้รู้พื้นที่หากินของหมาใน  ส่วนใหญ่จุด ทีจ่ บั สัญญาณได้อยูใ่ นป่าทึบและเปลีย่ นไปเรือ่ ย ๆ ตามการเดินทางหากิน ของหมาใน ในฤดูหนาวพืชอาหารจะลดลง กวางป่าที่กระจายกันหากินอยู่ ทัว่ ไปจะมุง่ หน้ามาหากินอยูร่ อบ ๆ บริเวณหน่วยฯ ศาลาพรมซึง่ มีทงั้ น�ำ้ และอาหาร โดยเฉพาะลานหญ้าใกล้ ๆ บ้านพักมีกวางป่ามารวมฝูงกว่า ๕๐ ตัว ...เมื่อสัตว์กินพืชมารวมตัวกัน สัตว์ผู้ล่าก็มักจะตามมา ต้นฤดูหนาวหมาในออกท�ำงานที่ศาลาพรมบ่อยมาก เพราะมี กวางป่าให้เลือกตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่  หมาในจะใช้ทุกวิถีทาง เพื่ อ ล่ า เหยื่ อ ให้ ไ ด้   โดยมั ก ส่ ง สมาชิ ก เข้ า ไปก่ อ กวนในฝู ง กวางป่ า การท�ำงานของหมาใน   69


ณรงค์  สุวรรณรงค์

ภาพ : ธเนศ งามสม

158 ลมหายใจในภูเขียว


เกิดวันที่  ๔ ตุลาคม ๒๕๑๔ ที่อ�ำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร  จบ ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ปี  พ.ศ. ๒๕๓๖ เริม่ อาชีพวิศวกรพร้อมกับออกท่องธรรมชาติ  ดูนก ผีเสือ้  และสัตว์ปา่ ต่าง ๆ  หัดถ่ายภาพจากกล้องทีย่ มื เจ้านายมาใช้  หลงใหล ในวิถชี วี ติ ในธรรมชาติ  จึงออกเดินช้า ๆ ไปตามจังหวะชีวติ ของสัตว์ปา่   เริม่ ถ่ายภาพสัตว์ป่าจริงจังจากการได้เรียนรู้กับนักวิจัยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว ถ่ายภาพและเขียนงานสารคดีเรื่องราวชีวิตสัตว์ป่ามาเผยแพร่ใน นิตยสารสารคดี, อนุสาร อ.ส.ท., เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก (ภาษาไทย) ฯลฯ  หวังให้คนทั่วไปได้รู้จักและเข้าใจในชีวิตของสัตว์ป่า เผื่อว่าจะก่อให้ เกิดความรักและตระหนักถึงความส�ำคัญของชีวิตในธรรมชาติ ร่วมกับ วรรณชนก สุวรรณกร จัดท�ำหนังสือภาพถ่ายสัตว์ป่าใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว คือ เพื่อนไพรในภูเขียว, ลมหายใจใต้พระ บารมี  (รางวัลหนังสือดีเด่น รางวัลชมเชยหนังสือสวยงามทัว่ ไป งานสัปดาห์ หนังสือแห่งชาติประจ�ำปี  พ.ศ. ๒๕๕๔), Call of the Wild Paradise of the Thai Kingdom (ลมหายใจใต้พระบารมีฉบับภาษาอังกฤษ), สมุดบันทึก ทุ่งกะมังแดนสวรรค์ของสัตว์ป่า (รางวัลหนังสือดีเด่น รางวัลชมเชยหนังสือ สวยงามทั่วไป งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจ�ำปี  พ.ศ. ๒๕๕๕) นอกจากนี้ยังมี  กระทิงเขาแผงม้า หนังสือภาพถ่ายเล่าเรื่องชีวิต กระทิงทีเ่ ขาแผงม้า จังหวัดนครราชสีมา และ นกเงือก มรดกโลก มรดกไทย หนังสือภาพถ่ายเรื่องราวของนกเงือกในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  โดย ศ. ดร. พิไล พูลสวัสดิ์  เป็นผู้เขียน ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสามครั้ง จากการประกวดภาพถ่ายสัตว์ป่า โดยล่าสุด คือในปี  พ.ศ. ๒๕๕๕ ยังท�ำงานเป็นวิศวกร และออกเดินทางเรียนรู้ถ่ายภาพสัตว์ป่าเป็น ปกติ ณรงค์ สุวรรณรงค์   159



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.