๓ ลำ�ดับที่
โครงการหนังสือชุด
ISBN 978-974-7385-54-0
ราคา ๒๕๐ บาท
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
พัฒนาการ ทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
๗๒ ปี • ศรีศักร วัลลิโภดม
เรื่อง พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย นี้เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่เป็นภาพรวมของพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมของผู้คน ในดินแดนประเทศไทย เป็นผลงานค้นคว้าทางวิชาการทางภูมิศาสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยา ที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรมและเรียนรู้มา ทั้งจากมหาวิทยาลัยและประสบการณ์ ในภาคสนามที่ยาวนานกว่า ๔๐ ปี โดยเฉพาะภาพการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์จากสมัยอยุธยามา ถึงยุคสงครามเย็น ที่แลเห็นมิติทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมเข้าสู่สมัยใหม่ อันทำ�ให้เกิดภาวะความล้าหลังทางวัฒนธรรม ขึ้นในสังคมไทย...จำ�เป็นที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อให้เกิด ดุลยภาพด้วยการพัฒนาจากล่างขึน้ บน โดยผูค้ นจากข้างล่างตามท้องถิน่ ต่างๆ ในกระบวนการที่เรียกว่า ท้องถิ่นวัฒนา หรือท้องถิ่นวิวัฒน์...
โครงการหนังสือชุด
๗๒ ปี • ศรีศักร วัลลิโภดม ลำ�ดับที่ ๓
พัฒนาการ ทางสังคม-วัฒนธรรมไทย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
ISBN 978-974-7385-54-0 หนังสือ พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม พิมพ์ครั้งที่ ๑ (โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ) มีนาคม ๒๕๕๔ จำ�นวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม ราคา ๒๕๐ บาท © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด บรรณาธิการเล่ม ออกแบบปก/รูปเล่ม ควบคุมการผลิต แยกสี/เพลท พิมพ์ที่ จัดจำ�หน่าย
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ นฤมล ต่วนภูษา ธนา วาสิกศิริ เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ ด่านสุทธาการพิมพ์ โทร. ๐-๒๙๖๖-๑๖๐๐-๖ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ ศรีศักร วัลลิโภดม. พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย.--กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ ๒๕๕๔. ๒๔๐ หน้า. ๑. ไทย--ภาวะสังคม. ๒. วัฒนธรรมไทย. I. ชื่อเรื่อง. ๓๐๖.๐๙๕๙๓ ISBN 978-974-7385-54-0
สำ � นั กพิ ม พ์ เ มื อ งโบราณ (ในนาม บริ ษัทวิริยะธุรกิจ จำ �กัด ) ๒๘, ๓๐ ถนนปรินายก แขวง บ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๑-๖๑๑๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๗๐๐๓ ที่ปรึกษา ศรีศักร วัลลิ โภดม ธิดา สาระยา เสนอ นิลเดช พิชัย วาศนาส่ง สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้อำ�นวยการ สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป/ผู้อำ�นวยการฝ่ายศิลป์ จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ปฏิมา หนูไชยะ บรรณาธิการ สำ�นักพิมพ์ อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษากฎหมาย สมพจน์ เจียมพานทอง
2
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
สารบัญ
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ คำ�นำ�ผู้เขียน
๔ ๕
ความนำ� บทที่ ๑ การปรับตัวของกลุ่มชนกับสภาพแวดล้อม ในดินแดนไทย บทที่ ๒ การสังสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับภายนอก ที่ทำ�ให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองและวัฒนธรรม บทที่ ๓ การเป็นคนไทยและชาติไทย บทที่ ๔ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในราชอาณาจักรสยาม บทที่ ๕ สังคม-วัฒนธรรมไทยสมัยสงครามเย็น บทที่ ๖ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สมัยโลกาภิวัตน์ บทที่ ๗ สรุป : ท้องถิ่นวัฒนา
๗
๑๗๖ ๑๙๐
ภาคผนวก ๑ นิเวศเดรัจฉาน : การสร้างบ้านแปงเมือง ในยุคโลกาภิวัตน์ ภาคผนวก ๒ ที่นี่ประเทศไทย “รัฐไร้สังคม” ภาคผนวก ๓ ประวัติศาสตร์กับตำ�นาน ภาคผนวก ๔ เพื่อชาติภูมิ : สยามประเทศ
๒๐๔ ๒๑๓ ๒๒๒ ๒๒๙
๑๑ ๒๒ ๖๒ ๙๗ ๑๔๗
รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
3
คำ�นำ�สำ�นักพิมพ์ พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย เป็นหนังสือลำ�ดับที่ ๓ ของหนังสือ ชุด ๗๒ ปี ศรีศักร วัลลิโภดม ที่สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์ขึ้นในวาระ ที่รองศาสตราจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม มีอายุครบ ๖ รอบใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ใน การพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดทำ�ภาพประกอบ รูปเล่ม ของหนังสือเล่มนี้ใหม่แตกต่าง ไปจากการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ จุดเด่นของงานเขียนเล่มนี้คือ อาจารย์ศรีศักรอธิบายให้เราเข้าใจถึงภาพรวมของพื้นฐานและพัฒนาการ ทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ ในดินแดนไทยตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ทำ�ให้เราได้เห็นว่าเรื่องของประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม มิ ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง ตายตัว หากแต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน พร้อมกันนี้อาจารย์ศรีศักรได้มอบบทความ ๔ เรื่อง ที่ทำ�ให้เห็นถึง ภาวะทางสังคมไทยในปัจจุบันที่สืบเนื่องกับเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียน เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว เราคงต้องยอมรับว่าสังคมไทยมีความเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว เร็วจนก่อเกิดปัญหามากมายทัง้ ในระดับภาครัฐและระดับปัจเจกบุคคล หนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ ให้ผู้อ่านได้รู้ถึงพัฒนาการของสังคม และวัฒนธรรมที่หล่อมหลอมชีวิตทางสังคมของเรา และตระหนักถึงความ เป็นไปที่เราจะอยู่ ในสังคมท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกรากของการพัฒนา ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้
4
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
สำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ มีนาคม ๒๕๕๔
คำ�นำ�ผู้เขียน
(ในการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๔)
งานเขียนเรื่อง พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย นี้ ข้าพเจ้าเขียนและ มีการจัดพิมพ์ข้นึ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ คือ ๑๐ ปีมาแล้ว เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เป็นภาพรวมของพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมของ ผู้คนในดินแดนประเทศไทย ที่รู้จักกันแต่เดิมตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมาว่า “สยามประเทศ” เป็นผลงานค้นคว้าทางวิชาการทางภูมศิ าสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยา ที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรมและเรียนรู้มาทั้งจาก มหาวิทยาลัยและประสบการณ์ ในภาคสนามที่ยาวนานกว่า ๔๐ ปี การเขียน งานประวัติศาสตร์ทางสังคม-วัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของ ดินแดนและผู้คนในสยามประเทศนี้ได้ทำ�มาอย่างต่อเนื่อง เพราะก่อนหน้า ที่จะเขียนเรื่องพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทยนั้นก็มีบทความและ หนังสือหลายเรื่อง เช่น ชีวิตวัฒนธรรมกับความเชื่อในสังคมไทย กรุงศรีอยุธยาของเรา และสยามประเทศ โดยเฉพาะเรื่องหลังนี้เขียนขึ้นและ พิมพ์ครัง้ แรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ คือก่อนพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย เป็นเวลา ๑๐ ปี ความต่างกันระหว่างเรื่อง สยามประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กับ พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ก็คือ เรื่องหลัง ขยายเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์จากสมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงสมัยกรุงเทพฯ จนถึงยุคสงครามเย็นที่แลเห็นมิติทางสังคม และการ เปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรมเข้าสูส่ มัยใหม่ อันเป็นสมัยทีม่ กี ารพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมแบบข้างบนลงล่าง (top down development) แต่ครั้งรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรั ช ต์ เพื่ อ เปลี่ ย นแปลงประเทศจากสั ง คมกสิ ก รเข้ า สู่ สั ง คม อุตสาหกรรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาจากข้างบนลงล่างครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
5
ทำ�ให้เกิดภาวะความล้าหลังทางวัฒนธรรม (culture lag) ขึ้นในสังคมไทย อย่างมากมายในทางการ จำ�เป็นทีจ่ ะต้องมีการเคลือ่ นไหวทางสังคม (Social movement) ที่ทำ�ให้เกิดกระแสการต่อรองเพื่อเกิดดุลยภาพด้วยการพัฒนา จากล่างขึน้ บน (bottom up development) โดยผูค้ นจากข้างล่างตามท้องถิน่ ต่างๆ ในกระบวนการทีเ่ รียกว่า ท้องถิน่ วัฒนา หรือท้องถิน่ วิวฒั น์ (localization) แต่จากปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่เขียนเรื่อง พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๕๔ ในช่วง ๑๐ ปีให้หลังนี้สังคมไทยพัฒนา อย่างรวดเร็ว เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (globalization) ที่เข้าสู่การเป็น‑สังคม อุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว และเกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมากมายในทางลบ อย่างมหาศาลในขณะนี้ ก็ยังหาได้มีการรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์ ให้ แลเห็นพัฒนาการทางสังคมที่มาถึงทุกวันนี้อย่างเป็นภาพรวมได้ ทั้งๆ ที่ ข้าพเจ้าได้ทำ�การศึกษาอยู่อย่างต่อเนื่องด้วยแนวคิดและวิธีการที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์สังคม ในนามของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อันเป็นประวัติศาสตร์ ทีม่ ชี วี ติ (living history) แต่ก็ได้เขียนบทความขึน้ หลายเรือ่ งทีแ่ สดงถึงเรือ่ ง แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการ ตลอดจนเนื้อหาที่เห็นควรนำ�มาเสนอเพิ่มเติม ให้กบั การนำ�เอาเรือ่ งพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมทีส่ ำ�นักพิมพ์เมืองโบราณ ได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวาระนี้ เพื่อให้เห็นการสืบเนื่องจากอดีตมาสู่ ปัจจุบันอย่างเป็นกระบวนการ จากประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแต่ละยุคสมัย มาถึงประวัติศาสตร์สังคมอันเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตในปัจจุบัน
6
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
ศรีศักร วัลลิโภดม กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ความนำ�
ทุกวันนี้ทั้งคนไทยและคนในที่อื่นเกือบทั่วโลกต่างหัน
มาสนใจเรื่ อ งวั ฒ นธรรมกั น จึ ง มั ก มี ก ารกล่ า วขวั ญ กั น ถึ ง ค�ำนี้ อ ยู ่ บ ่ อ ยๆ จนบางทีดูเฟ้อไปก็มี เลยท�ำให้เป็นสิ่งที่สงสัยกันว่าเข้าใจความหมายความ ส�ำคัญของวัฒนธรรมกันอย่างใดบ้าง แต่ที่พอสังเกตเห็นสิ่งที่ท�ำให้สะดุด คิดได้ก็คือ ในหมู่คนไทยส่วนใหญ่นั้น การกล่าวถึงค�ำว่า “วัฒนธรรม” มักเป็นการกล่าวถึงอย่างลอยๆ เหมือนอย่างที่เคยกล่าวหรือเรียกกันมา แต่สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ประมาณร่วม ๔๐ ปีมาแล้ว ซึ่งในยุคนั้นมีการตั้งกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นมา แทนในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เลยท�ำให้ ค�ำว่าวัฒนธรรมค่อยๆ เลือนหายไป ปรากฏค�ำว่าเศรษฐกิจขึ้นมาติดปาก แทน สิ่งที่ตอกย�้ำค�ำว่าเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาเห็นจะได้แก่การจัดท�ำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐที่มาจนถึงปัจจุบัน* มีทั้งหมดแปดแผนด้วยกัน *หมายถึงปีที่เขียนบทความนี้คือ พ.ศ. ๒๕๔๔ ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๔ อยู่ ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔) -บก.
รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
7
และในแผนที่แปดที่ท�ำขึ้นไม่นานมานี้เพิ่งมีค�ำว่าวัฒนธรรมและการเน้น ความส�ำคัญของวัฒนธรรมขึ้นมา ถ้าหากมองอย่างเผินๆ ค�ำว่าวัฒนธรรม ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับค�ำว่าวัฒนธรรมในสมัยจอมพลสฤษดิ์ มาจนถึงทุกวันนี้ก็น่าจะเหมือนกันเพราะถูกอ้างถึงหรือกล่าวถึงในลักษณะ ลอยๆ ด้วยกัน แต่ทว่าแท้จริงแล้วความหมายแตกต่างกันมาก ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น วัฒนธรรมเป็นภาพนิ่ง เพราะมุ่งเน้นสิ่งที่เป็นศิลปวัฒนธรรมเป็นส�ำคัญ เป็นมรดกทางภูมิปัญญาและสิ่งที่ดีงามของชาติบ้าน เมืองและแผ่นดินที่จะต้องท�ำการอนุรักษ์ อย่างเช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ วัดวาอาราม และปราสาทราชวัง รวมทั้งบรรดาอาคาร บ้านเรือนและสิ่งที่เป็นโบราณสถานวัตถุต่างๆ รวมไปถึงลักษณะทางภาษา และการแต่งกายด้วย นอกจากการอนุรักษ์แล้วก็ยังมีการแต่งตั้งคณะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมสร้างสรรค์ประเพณีและรูปแบบใหม่ๆ ทางด้ า นศิ ล ปกรรมและวั ฒ นธรรมขึ้ น มา บั ง คั บ ใช้ ใ นลั ก ษณะที่ แ สดง ความรักชาติหรือชาตินิยมด้วย วัฒนธรรมที่เป็นภาพนิ่งในลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า วัฒนธรรมหลวง หรือ ประเพณีหลวง (Great tradition) เป็น วัฒนธรรมเพื่อการบูรณาการและจะพบเห็นในสังคมที่เป็นรัฐเป็นประเทศ ชาติ อันเนื่องมาจากในสังคมนั้นมีผู้คนหลายกลุ่ม หลายชาติพันธุ์ หลาย อาชี พ ที่ นั บ ถื อ ศาสนาและมี ข นบธรรมเนี ย มประเพณี แ ละภาษาต่ า งกั น แต่อยู่รวมกัน ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้ท�ำให้เกิดปัญหาขัดแย้งและ เป็นอุ ป สรรคในการมี ชี วิ ต ร่ ว มกั น ได้ จ�ำเป็ น ต้ อ งสร้ า งความเหมื อ นกั น และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้น ซึ่งจะท�ำได้ก็ต้องจัดท�ำสิ่งที่สามารถ สื่อสารให้เข้าใจและปฏิบัติร่วมกันได้ เช่น การใช้ภาษากลางร่วมกัน มี ระบบการปกครองร่วมกัน ขนบประเพณีอย่างเดียวกัน รวมทั้งกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนศิลปกรรมและลักษณะทางสัญลักษณ์อื่นๆ โดยที่รัฐหรือ ผู้มีอ�ำนาจในการปกครองเป็นผู้จัดท�ำและก�ำหนดขึ้น และบังคับใช้ให้กลุ่ม ผู้คนที่มีความแตกต่างกันทั้งหลายได้ปฏิบัติและยอมรับ ดังตัวอย่างการที่
8
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม บังคับให้คนไทยต้องสวมหมวกและยกเลิกการ กินหมาก เป็นต้น ท�ำนองตรงกั น ข้ า ม “วั ฒ นธรรม” ในความหมายปั จ จุ บั น นั้ น หาจ�ำกั ด อยู ่ แ ค่ ก ารเป็ น วั ฒ นธรรมหลวงแต่ เ พี ย งอย่ า งเดี ย วไม่ หาก มองวัฒนธรรมในรูปขององค์รวมที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (dynamic) มี วัฒนธรรมสองระดับปะทะสังสรรค์กันคือ วัฒนธรรมหลวง กับ วัฒนธรรม ราษฎร์ หรือ ประเพณีราษฎร์ (Little tradition) วัฒนธรรมหลวงที่ ได้พูดไปแล้วคือวัฒนธรรมในระดับบน ในขณะที่วัฒนธรรมราษฎร์เป็น วัฒนธรรมในระดับล่าง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นชีวิตวัฒนธรรม เพราะ เป็นเรื่องของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในกลุ่มต่างๆ ทั้งในเมือง และชนบท นั่นก็คือ คนแต่ละกลุ่มแต่ละชุมชนต่างก็มีวัฒนธรรมหรือวิถี ชีวิตที่จะต้องอยู่รอดร่วมกัน และวิถีชีวิตของคนแต่ละกลุ่มนั้นก็เป็น สิ่ง ที่เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปรับตัว เองเข้ากับสภาพแวดล้อมของถิ่นฐานที่มนุษย์ตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัย และท�ำมาหากิน ความแตกต่างกันของท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมจึง มีผลท�ำให้รูปแบบทางวัฒนธรรมของแต่ละถิ่นไม่เหมือนกัน ยิ่งกว่า นั้นความเป็นมาทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์ก็เป็นอีกปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่ท�ำให้รูปแบบของวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมในท้องถิ่นแตกต่างกัน เพราะ ฉะนั้ น ความแตกต่ า งกั น ระหว่ า งวั ฒ นธรรมหลวงและวั ฒ นธรรมราษฎร์ จึงเป็นเรื่องระหว่างการท�ำให้เกิดความเหมือนกันกับความแตกต่างกัน วั ฒ นธรรมหลวงเป็ น เรื่ อ งของการบู ร ณาการ คื อ การสร้ า งให้ เ กิ ด ความ คล้ายคลึงกันเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นพวกเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน ใน ขณะที่วัฒนธรรมราษฎร์คือสิ่งที่ด�ำรงความแตกต่าง เรื่องของวัฒนธรรมนั้น ไกลตัว คนจึงเห็นแต่รูปแบบและระบบสัญลักษณ์ที่เรียกว่าศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมราษฎร์นั้นแลเห็นชีวิตคนหรือกลุ่มคนที่มีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัฒนธรรมทั้งสองระดับนี้เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกันอย่างแยกไม่ออกทั้ง รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
9
ในสังคมที่เป็นเมืองและเป็นรัฐ เพราะต่างมีหน้าที่ส�ำคัญในการด�ำรงชีพ และความเป็นมนุษย์ของกลุ่มชน วัฒนธรรมราษฎร์คือสิ่งที่ท�ำให้มนุษย์ มี ชี วิ ต อยู ่ ร อดร่ ว มกั น และปรั บ ตั ว เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ มเหมื อ นกั น ใน ขณะที่วัฒนธรรมหลวงมีหน้าที่ระงับความขัดแย้งและสร้างความเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกันในบรรดาชุมชนที่มีความเป็นมาทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมในพื้นที่ซึ่งต่างกัน แต่การที่จะท�ำความเข้าใจเรื่องเช่นนี้ไม่ใช่ ง่าย ต้องอาศัยการอธิบายและพรรณนาเชิงวิวัฒนาการไม่ใช่น้อย ที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ลอยๆ และหยุดนิ่ง หาก สัมพันธ์กับบริบททางสังคม เวลา และสถานที่ โดยเฉพาะบริบททาง สังคมนั้นเป็นสิ่งส�ำคัญมาก เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้น มาเพื่อมีชีวิตรอดร่วมกัน จึงเป็นของสังคมนั้นๆ หาอยู่ลอยๆ หรือโดดๆ ไม่ จะต้องเป็นของสังคมหรือของคนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้เสมอ ดังนั้นการที่จะรู้ใน เรื่องพัฒนาการของวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องควบคู่ไปกับพัฒนาการทาง สังคมด้วย อย่างเช่นวัฒนธรรมไทยอันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นคน ไทยนั้น จะรู้ได้อย่างลึกซึ้งและมีความหมายก็ต่อเมื่อได้แลเห็นพัฒนาการ ทางสังคมที่มีมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และที่จะต่อเนื่องไปยังอนาคตด้วย นั่นก็คือต้องศึกษาในเรื่องของวิวัฒนาการนั่นเอง ในที่นี้การศึกษาเรื่องพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทยใน เชิงวิวัฒนาการก็คือ การศึกษาให้เห็นถึงการปรับตัวเองของกลุ่มชนที่อยู่ใน ดินแดนประเทศไทยกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มาแต่แรกเริ่ม การ สังสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับภายนอกที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางการ เมืองและวัฒนธรรม การเป็นคนไทยและชาติไทย และการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมและวัฒนธรรม วิวัฒนาการแต่ละขั้นตอนอาจก�ำหนดอยู่ในสอง ช่วงเวลาใหญ่ๆ คือ ยุคศาสนาการเมืองและยุคเศรษฐกิจการเมือง ในยุค แรกระบบความความเชื่อและศาสนาเป็นตัวแปรที่ท�ำให้เกิดอ�ำนาจทางการ เมืองที่น�ำไปสู่พัฒนาการทางสังคม ขณะที่ในยุคหลัง เศรษฐกิจมีอิทธิพล ที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
10
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
บทที่ ๑
การปรับตัวของกลุ่มชน กับสภาพแวดล้อม ในดินแดนประเทศไทย
ดินแดนในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับการอยู่อาศัย
ของมนุษย์มาแล้วไม่ต�่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ ปี จากการค้นคว้าและขุดค้นทาง โบราณคดีของศาสตราจารย์ดักลัส แอนเดอร์สัน แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรชัย สุจิตต์ พบว่า ในสมั ย ไพลสโตซี น คื อ ราว ๓๐,๐๐๐ ปี ขึ้ น ไป อั น เป็ น ช่ ว งเวลาที่ ภู เ ขา น�้ำแข็งยังไม่ละลาย ท�ำให้บริเวณคาบสมุทรมลายูยังเชื่อมต่อเป็นแผ่นดิน เดียวกันกับเกาะชวา สุมาตรา และเกาะอื่นๆ นั้น มีมนุษย์อยู่อาศัยตาม ถ�้ำและเพิงหินในบริเวณถ�้ำหลังโรงเรียนอ�ำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็น เขตชายทะเลอ่าวพังงาแล้ว มนุษย์เหล่านี้สามารถเดินทางไปมาระหว่าง บริเวณตอนใต้ของประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ ในภูมิภาคอื่นของประเทศยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุมากกว่า ๓๐,๐๐๐ ปี ขึ้นไป ตรงกันข้าม กลับพบร่องรอยของมนุษย์ตั้งแต่สมัย ๑๐,๐๐๐ ปีลง มาตามบริเวณถ�้ำและธารน�้ำตามเทือกเขาในบริเวณภายใน กับตามถ�้ำและ เขาชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นทะเลตมและป่าชายเลน หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการด�ำรงอยู่ของกลุ่มมนุษย์ดังกล่าวนี้ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
11
ก็คือ บรรดาเครื่องมือหินที่ใช้สับตัดที่เรียกว่า โฮบินเนี่ยน จากลักษณะ สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม มนุษย์ในสมัยนี้อาจนับเนื่องอยู่ใน ยุคหินเก่าหรือหินกะเทาะ อันเป็นช่วงสมัยที่มนุษย์ในดินแดนประเทศ ไทยยั ง มี พั ฒ นาการทางเทคโนโลยี อ ยู ่ ใ นระดั บ ต�่ ำ มี ก ารอยู ่ ร วมกั น เป็ น กลุ่มเล็กๆ ตามป่าเขาและชายทะเล มีที่อยู่อาศัยไม่เป็นที่แน่นอน มัก โยกย้ายร่อนเร่ไปตามฤดูกาลที่พืชพันธุ์ธัญญาหารและสัตว์ป่าตามธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ในสมัยนี้ยังไม่สามารถเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อ ผลิตเป็นอาหารได้ แต่ที่ส�ำคัญก็คือ ผู้คนมีจ�ำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบ กับพื้นที่อยู่อาศัยและแหล่งท�ำมาหากิน ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์และ พืชพันธุ์ธัญญาหารกับการมีอยู่ของผู้คนจ�ำนวนน้อย เป็นเหตุให้ผู้คนเหล่านี้ มีอิสระและไม่เดือดร้อน ท�ำให้มีพัฒนาการทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และ สังคมล่าช้า เพราะไม่มีความจ�ำเป็นอะไรที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา การมีผู้คนเป็นจ�ำนวนน้อยและกระจายกันอยู่ตามสภาพแวดล้อม ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ดังกล่าวนี้ไม่จ�ำกัดเฉพาะในดินแดนประเทศไทย เท่านั้น หากยังรวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดทั้งบริเวณ หมู ่ เ กาะ คาบสมุ ท ร และพื้ น แผ่ น ดิ น ใหญ่ ท� ำ ให้ เ มื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ภูมิภาคอื่น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ จีนและอินเดียแล้ว คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความล้าหลังทางวัฒนธรรมกว่า เพราะคนในภูมิภาคอื่นดังกล่าวที่มีจ�ำนวนมากกว่าและมีพื้นที่ท�ำกินน้อย กว่านั้น มีความจ�ำเป็นที่จะต้องคิดค้นเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม และสร้างความอยู่รอดร่วมกันในการด�ำรงชีวิต เหตุนี้ชีวิตวัฒนธรรมของคนในสมัยโฮบินเนี่ยนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉี ย งใต้ อั น เป็ น วั ฒ นธรรมในยุ ค หิ น เก่ า หรื อ หิ น กะเทาะ จึ ง ด� ำ รงอย่ า ง สืบเนื่องแต่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีลงมา จนถึงประมาณ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปี ที่แล้ว ในขณะที่คนในภูมิภาคอื่น เช่น จีนและอินเดีย ได้พัฒนาเข้าสู่ สมัยหินใหม่และสมัยโลหะที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว ถึงแม้ ว่าสังคมมนุษย์ในดินแดนประเทศไทยและทีอ่ นื่ ๆ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก
12
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
เฉียงใต้จะมีพัฒนาการเข้าสู่สมัยหินขัด อันเป็นเวลาที่ผู้คนสามารถท�ำการ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ได้แต่สมัยราว ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปีมาแล้วก็ตาม ยังมีนักวิชาการอีกเป็นจ�ำนวนมากที่มีความเคลือบแคลงและสงสัยว่าผู้คน ที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้ คือผู้ที่สืบเนื่องและพัฒนามาจากกลุ่มคนในวัฒนธรรม โฮบินเนี่ยนที่เป็นคนในท้องถิ่นมาแต่เดิม หรือเป็นกลุ่มคนที่เคลื่อนย้าย จากภายนอกเข้ามา อย่างไรก็ตามสิ่งที่นักวิชาการเป็นจ�ำนวนมากเชื่อคือ ในสมั ย หิ น ขั ด หรื อ บางที ก็ เ รี ย กว่ า หิ น ใหม่ และสมั ย โลหะนั้ น มี ผู ้ ค นจาก ภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามา และพวกที่เข้ามาใหม่นี้มีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีกว่า ได้กดดันและขับไล่ให้คนที่อยู่มาแต่เดิมออกไปอยู่ตามป่าเขา และพวกตนเองก็ตั้งถิ่นฐานขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มที่สามารถท�ำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ได้ การอธิบายให้เห็นว่าเป็นจริงในเรื่องนี้ก็คือ การให้ความเห็นใน เรื่องเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีความหลากหลายทางด้านกายภาพ โดยแบ่งกลุ่ม คนที่อยู่ในท้องถิ่นมาแต่เดิมว่า คือ พวกออสโตรลอยด์ (Austroloid) และนิกรอย (Nigroid) พวกแรกรูปร่างสูงเพรียว ผมหยักศก ปากหนา และผิวคล�้ำ ปัจจุบันเห็นได้จากชนพื้นเมืองบางเผ่าในเกาะลังกาและพวก คนพื้นเมืองในประเทศออสเตรเลีย ในขณะที่พวกหลังมีรูปร่างเตี้ย ผิวด�ำ ผมหยิกหยอง และมีริมฝีปากหนา พวกนี้เห็นได้จากพวกเงาะป่าซาไกที่ อยู่ในคาบสมุทรมลายู และพวกชาวเกาะบางเผ่าในทะเลอันดามัน ส่วน กลุ่มคนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาใหม่นั้นคือ พวกมองโกลอยด์ (Mongoloid) ผ่านประเทศจีนลงมาจากเหนือ ลักษณะของคนเผ่านี้คือ รูปร่างสันทัด ผิวเหลือง นัยน์ตาชั้นเดียว ผมเหยียดตรง เป็นต้น ทั้งหลายแหล่เหล่านี้ เป็นการมองผ่านจากรูปร่างลักษณะของมนุษย์เผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังแลเห็น ได้จากอดีตที่ไม่ไกลและปัจจุบันทั้งสิ้น แต่จุดอ่อนในเรื่องการตีความอดีต ที่ห่างไกลจากอดีตอันใกล้และปัจจุบันก็คือ ความคิดที่ว่าคนกลุ่มใหม่จาก ภายนอกเข้ามารุกไล่คนท้องถิ่นเดิมให้ไปอยู่ในพื้นที่ชายขอบ เช่น ป่าเขา จนกลายเป็ น พวกล้ า หลั ง ไป จนท� ำ ให้ เ กิ ด ภาพที่ ว ่ า ต่ า งฝ่ า ยต่ า งอยู ่ ไ ม่ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
13
บทที่ ๒
การสังสรรค์ทางเศรษฐกิจ และสังคมกับภายนอก ที่ทำ�ให้เกิดพัฒนาการ ทางการเมืองและวัฒนธรรม
การเติบโตทางสังคมตั้งแต่สมัย ๒,๕๐๐ ปีลงมา หรืออีก
นัยหนึ่งสมัยเหล็กนั้น คือการขยายตัวของชุมชนหมู่บ้านอิสระมาเป็นกลุ่ม ของบ้านและเมือง แต่ละเมืองมีหัวหน้าผู้ปกครอง และสาเหตุของการ ขยายตัวนั้นไม่ได้มาจากการกสิกรรมท�ำนาแต่อย่างใด หากเกิดจากการ สังสรรค์กับภายนอกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในด้านเศรษฐกิจนั้นพบว่ามีการขยายพรมแดนทางเศรษฐกิจเข้า ไปตามพื้นที่ป่าเขา อันเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนบนที่สูง เพื่อแลกเปลี่ยน สินค้าป่าและแร่ธาตุกับสินค้าจ�ำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือยจากแหล่งที่เป็น ชุมชนบ้านเมือง ซึ่งการแลกเปลี่ยนดังกล่าวนี้เป็นผลท�ำให้เกิดเส้นทาง การค้าและคมนาคมจากที่ราบไปสู่ที่สูงตามป่าเขา ลักษณะเช่นนี้แลเห็น ได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบอยู่เรื่อยๆ ในปัจจุบัน ดังเช่น ในหุบเขาในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีผู้ค้นพบถ�้ำบนหน้าผาที่เป็นสุสาน ของคนโบราณ มีโลงศพรูปร่างคล้ายเรือที่ขุดจากต้นซุงมากมาย ภายใน โลงศพพบโครงกระดูกและยังพบพวกเครื่องประดับ เช่น ลูกปัดท�ำด้วย หินและแก้ว ก�ำไลส�ำริด และเครื่องมือเหล็ก ในขณะที่เบื้องล่างในหุบเขา
22
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
พบเนินดินที่อยู่อาศัยของคนที่มีเศษภาชนะดินเผา เครื่องประดับส�ำริด ลูกปัดแก้ว และหินสี รวมทั้งเครื่องมือเหล็กที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน สินค้าและแร่ธาตุกับภายนอก บริเวณลุ่มน�้ำแควน้อยในเขตต�ำบลบ้านเก่า อ�ำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุร ี และเลยขึ้นไปตามล�ำแม่น�้ำจนถึงเขตอ�ำเภอ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยในเขตเมืองสิงห์นักโบราณคดีขุดพบโครง กระดูกมนุษย์ที่มีอาวุธและเครื่องประดับที่ท�ำด้วยส�ำริด และที่ถ�้ำองบะซึ่ง อยูเ่ หนือน�ำ้ ขึน้ ไปพบโลงศพรูปเรือทีท่ ำ� จากท่อนซุง กลองส�ำริดแบบวัฒนธรรม ดองซอนทีม่ าจากเวียดนามเหนือ อันเป็นของทีน่ บั เนือ่ งในยุคเหล็ก สิง่ ของ เหล่านี้นับเป็นสมบัติของคนตายที่อยู่ในบริเวณชายขอบหรือบริเวณที่สูง ที่มีการแลกเปลี่ยนกับคนบนพื้นราบในลุ่มน�้ำแม่กลอง-ท่าจีนอย่างสม�่ำเสมอ โดยมีเส้นทางคมนาคมที่แสดงให้เห็นจากแหล่งโบราณคดีเป็นจุดๆ ไป เมืองสิงห์ริมแม่น�้ำแควน้อยนับเนื่องเป็นแหล่งชุมชนทางคมนาคมที่มีมา แต่สมัยยุคเหล็กอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ก็เกิดเป็นเมืองขึ้น ขณะที่บริเวณรอบทะเลสาบจอมบึงในเขตจังหวัดราชบุรี เคยเป็นแหล่งชุมชนบนที่ราบลุ่มก่อนที่จะเกิดเมืองคูบัวและเมืองราชบุรี อีกแหล่งหนึ่งที่เพิ่งพบไม่นานมานี้ก็คือ บริเวณเขาต้นน�้ำแม่ล�ำพัน ในเขตต�ำบลตลิ่งชัน อ�ำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย เป็นบริเวณ ที่เป็นเหมืองแร่เหล็ก มีผู้ขึ้นไปท�ำการขุดเหล็ก ถลุงเหล็ก และท�ำแหล่ง อุตสาหกรรมท�ำเครื่องมือเหล็ก และท�ำลูกปัดแก้วและดินเผาจนเป็นบริเวณ ใหญ่ เป็นแหล่งโบราณคดีที่นับเนื่องแต่ยุคเหล็กมาจนถึงสมัยทวารวดี เป็นแหล่งทีส่ มั พันธ์กบั ศูนย์กลางการคมนาคมทีเ่ มืองสุโขทัย และแสดง ให้เห็นว่าพัฒนาการของเมืองสุโขทัยนัน้ มีทมี่ าและสัมพันธ์กบั แหล่งแร่ธาตุ และของป่าในบริเวณต้นน�้ำแม่ล�ำพันมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และ สมัยทวารวดีแล้ว โดยเฉพาะในสมัยทวารวดีนั้น เส้นทางการค้าและสถานี การค้าแลเห็นได้จากการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่มีเหรียญเงินตราศรีวัตสะ เป็นหลักฐาน เมืองละโว้หรือลพบุรีเองก็เป็นเมืองที่เกิดมาจากศูนย์กลาง คมนาคมแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สัมพันธ์กับบรรดาแหล่งโลหะธาตุและ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
23
บทที่ ๓
การเป็นคนไทยและชาติไทย
ทุ ก วั น นี้ ก ารมองความเป็ น คนไทยและชาติ ไ ทยอยู ่ ใ น
ลักษณะที่สับสน จนเกิดเป็นข้อถกเถียงและขัดแย้งกันอยู่บ่อยๆ ที่เป็น เช่นนี้เพราะการมุ่งให้ความสนใจที่กลุ่มชนเป็นส�ำคัญ เช่นว่าคนไทยมาจาก ไหน ในขณะเดียวกันก็ขาดความสนใจในเรื่องดินแดนที่เป็นประเทศไทย เท่าที่ควร โดยเหตุนี้การเกิดของความเป็นคนไทยจึงจ�ำกัดอยู่เพียงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ อันเป็นเวลาที่เกิดรัฐสุโขทัยในสมัยราชวงศ์พระร่วง ที่มีภาษาไทยและอักษรไทยใช้กันแล้ว จึงเป็นเหตุให้คนไทยและชาติไทย กลายเป็นคนกลุ่มใหม่และรัฐที่มีอายุน้อยกว่าหลายๆ ชาติในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ข้าพเจ้าคิดว่าการมองประวัติศาสตร์ของประเทศชาติส่วนใหญ่ ในโลกนี้หาได้เอากลุ่มชนเชื้อชาติเป็นที่ตั้งไม่ หากเอาดินแดนที่เป็น ประเทศชาติในปัจจุบันเป็นตัวตั้ง แล้วดูการเคลื่อนไหวของกลุ่มชน ทัง้ ทีเ่ กิดในดินแดนนัน้ และการเคลือ่ นย้ายจากภายนอกเข้ามาตัง้ ถิน่ ฐาน เป็นส�ำคัญ โดยยอมรับความหลากหลายในเรือ่ งกลุม่ ภาษาและวัฒนธรรม ที่จะเข้ามาผสมผสานกันเป็นกลุ่มชนกลุ่มเดียวกันในดินแดน ซึ่งถ้า
62
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
อ่านประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองทางยุโรปหรืออเมริกา ก็จะแลเห็นการ เคลื่อนไหวและผสมผสานของคนกลายกลุ่มหลายเผ่าพันธุ์เหล่านี้ เพราะ ฉะนั้นความเป็นคนในชาติ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส หรืออเมริกา จึงไม่ไปติด อยู่ที่กลุ่มใดหรือเผ่าใดเป็นพิเศษ ดังนั้นถ้าท�ำความเข้าใจในเรื่องนี้กระจ่าง แล้วก็จะแลเห็นได้ว่า พัฒนาการของการเป็นคนไทยและชาติไทยนั้น หาได้เกิดขึน้ แต่เพียงการเคลือ่ นย้ายของคนไทยจากตอนใต้ของประเทศ จีนเข้ามาตั้งอาณาจักรสุโขทัยดังที่เชื่อถือกันเช่นทุกวันนี้ไม่ จากการ ที่ได้เสนอข้อมูลและเรื่องราวให้เห็นถึงพัฒนาการของบ้านเมืองและรัฐใน ดินแดนประเทศไทยที่กล่าวมานั้น อาจแลเห็นกระบวนการทางสังคมและ วัฒนธรรมที่ท�ำให้เกิดความเป็นคนไทยชาติไทยได้ชัดเจน ประการแรก กล่าวคือ พัฒนาการของดินแดนทีเ่ รียกว่าสยามประเทศนี้ ในขัน้ แรกคือ บริเวณลุ่มน�้ำท่าจีน-แม่กลองทางซีกตะวันตกของลุ่มน�้ำเจ้าพระยา ที่ ปรากฏหลักฐานความสัมพันธ์กับชาวอินเดียตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๓-๔ จนกล่าวอ้างได้ว่า น่าจะเป็นบริเวณสุวรรณภูมิที่พระสมณทูต แต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชเข้ามาสั่งสอนพุทธศาสนา บริเวณที่ปรากฏ ร่องรอยชุมชนที่ซับซ้อนและต่อเนื่องมาจนถึงสมัยฟูนานก็เกิดเมืองอู่ทอง เป็นศูนย์กลาง ซึ่งในช่วงเวลานี้ปรากฏหลักฐานการนับถือพระพุทธศาสนา เถรวาทอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงสมัยทวารวดี บ้านเมืองในลุ่มน�้ำนี้ขยายตัวเป็นรัฐใหญ่ มี นครชัยศรีหรือนครปฐมโบราณเป็นเมืองส�ำคัญ อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการ นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่นและบ้านเมือง ต่างแคว้นที่ร่วมสมัยเดียวกัน นับแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สยามประเทศ มี ก ารขยายตั ว เป็ น เครื อ ข่ า ยของบ้ า นเมื อ งที่ ก ว้ า งไกลกว่ า บริ เ วณลุ ่ ม น�้ ำ ท่าจีน-แม่กลอง ไปถึงสุโขทัยและนครศรีธรรมราช และเมืองส�ำคัญที่เคย อยู่ที่นครปฐมก็เปลี่ยนมาอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิ บนสองฝั่งแม่น�้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน พระพุทธศาสนาเถรวาทก็ยังสืบเนื่องเป็นศาสนาส�ำคัญของ ดิ น แดนที่ เ รี ย กว่ า สยามประเทศนี้ ซึ่ ง เห็ น ได้ ชั ด เจนจากรู ป แบบและ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
63
ปราสาทเมืองสิงห์ กาญจนบุรี สะท้อนการรับอิทธิพลทางศาสนา และความเชื่อจากขอม
96
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
บทที่ ๔
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ในราชอาณาจักรสยาม
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เราเห็นการรวมตัวของบ้านเมือง
ในดินแดนประเทศไทยทางด้านภาษาและศาสนา เกิดเป็นเมืองไทย เมือง มอญ เมืองลาว เมืองเขมร เป็นต้น ครั้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็มีการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองเกิดขึ้น คือในแต่ละเมืองแต่ละกลุ่ม ต่างก็พยายามสร้างบูรณาการทางการเมือง ที่ท�ำให้เกิดรัฐรวมศูนย์หรือ อาณาจักร ซึ่งแต่ละแห่งจะประสบความส�ำเร็จมากหรือน้อยนั้นแตกต่าง กั น ไปตามเวลาและโอกาส แต่ ใ นดิ น แดนประเทศไทยนั้ น ได้ เ กิ ด ขึ้ น ที่ พระนครศรีอยุธยาในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ผู้ทรง เป็นเชื้อสายของกษัตริย์ทางสุพรรณภูมิและสุโขทัย เพราะนอกจากทรง รวบรวมบรรดารัฐอิสระตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ไม่ว่าจะเป็นนคร ศรี ธ รรมราช สุ โ ขทั ย และรั ฐ อื่ น ๆ ให้ ม าอยู ่ ภ ายใต้ อ� ำ นาจของพระนคร ศรีอยุธยาแล้ว ยังทรงปฏิรูปการปกครองให้มีระเบียบแบบแผนที่รวมอ�ำนาจ มาไว้ที่พระมหากษัตริย์ ณ เมืองราชธานีหรือเมืองหลวง แต่ที่ส�ำคัญก็คือ การเกิดระบบและสถาบันขุนนางที่เรียกรวมๆ กันว่าระบบศักดินาขึ้น ซึ่ง เป็นที่มาของการเกิดชนชั้นที่สร้างความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในเรื่อง รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
97
ความเป็ น คนไทย ในที่ นี้ จ ะไม่ ใ ห้ อ รรถาธิ บ ายว่ า ระบบศั ก ดิ น าคื อ อะไร เพราะมีผู้อธิบายกันมากต่อมากแล้ว แต่จะกล่าวโดยย่อๆ ว่า คือ การให้ อ�ำนาจยศถาบรรดาศักดิ์แก่บุคคล สัตว์ และสิ่งของโดยพระมหากษัตริย์ ท�ำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอ�ำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ในขณะเดียวกัน ก็เกิดกลุ่มคนในระดับชั้นต่างๆ ที่ลดหลั่นกันลงมา อาจแสดงออกได้เป็น ๒ ชั้นใหญ่ๆ คือ ชนชั้นปกครอง อันนับแต่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง ตั้งแต่ระดับใหญ่ลงมาจนถึงระดับเล็ก กับชนชั้นที่ถูกปกครอง ถึงพวกสามัญชนที่เรียกว่าไพร่และทาส ในสายตาของพระมหากษัตริย์ คนทุ ก คนตั้ ง แต่ เ จ้ า ขุ น นาง ไพร่ ทาส อยู ่ ใ นฐานะที่ เ ท่ า เที ย มกั น หมด เพราะจะทรงแต่งตั้งใคร เช่น ไพร่ ทาส ให้เป็นขุนนางในวันเดียวได้ และ ในขณะเดียวกัน เจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็อาจถูกถอดถอนให้เป็น ไพร่หรือตะพุ่นหญ้าช้างได้ โดยความหมายและนัยทางสังคม ระบบศักดินาเป็นทัง้ กลไกทีใ่ ห้ อ�ำนาจเต็มทีแ่ ก่พระมหากษัตริย ์ จนพระมหากษัตริยค์ อื ศูนย์รวมอ�ำนาจ ก็วา่ ได้ และเป็นเครือ่ งมือทีส่ ร้างบูรณาการทางสังคมและวัฒนธรรมทีจ่ ะ ท�ำให้ความหลากหลายทางชาติพนั ธุแ์ ละหลายหมูเ่ หล่ามาเป็นพวกเดียวกัน และเปิดหนทางให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามารับราชการเป็น ประโยชน์แก่รฐั และบ้านเมือง ดังเห็นได้จากการให้ตำ� แหน่งยศถาบรรดาศักดิ์ แก่พระสงฆ์และช้าง ที่อ้างให้เห็นจากค�ำพังเพยที่ว่า “ยศช้างขุนนางพระ” ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เ พราะจารี ต ประเพณี ไ ด้ ก� ำ หนดให้ พ ระมหากษั ต ริ ย ์ คื อ องค์ อั ค รศาสนู ป ถั ม ภก ในขณะที่ ก ารให้ ย ศช้ า งนั้ น คื อ สิ่ ง ที่ แ สดงพระอ� ำ นาจ อย่างเต็มที่ หรือการแต่งตั้งชาวต่างชาติ เช่น ฝรั่งหรือจีน ที่มีความรู้ทาง ศิลปวิทยามาเป็นขุนนางนั้น ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้มีคนดีไว้ท�ำงาน และ ในขณะเดียวก็ท�ำให้กลายเป็นคนไทยไปด้วยในเวลาเดียวกัน ตรงนี้เองคือ สิ่งที่ท�ำให้แลเห็นค่านิยมอย่างหนึ่งของคนไทยที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คือ การไม่รังเกียจคนจากภายนอก และรู้จักการประสานสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผลที่ตามมาก็คือ การเปิดโอกาสให้คนต่างชาติต่างภาษาเข้ามาค้าขายและ
98
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย พอถึงยุคลูกหลานก็กลายเป็นคนไทยไป ยิ่งกว่านั้น ระบบขุนนางศักดินาภายใต้พระราชอ�ำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ ยัง เป็นบันไดทางสังคมที่ท�ำให้คนที่พระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่ามีความสามารถ มีความรู้ความช�ำนาญ ความคิดริเริ่มใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในหรือคนนอก สามารถไต่เต้าจากการเป็นสามัญชน จากไพร่ในชนชั้นที่ถูกปกครองมาเป็น ข้าราชการ เจ้าขุนมูลนายในชนชั้นปกครองได้ ผลที่ตามมาก็คือ นอกจาก บ้านเมืองจะมีคนมากมายหลายเหล่าแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมได้ง่ายและบ่อยกว่าบรรดาบ้านเมืองที่เป็นเพื่อนบ้าน ไม่ว่า พม่า เขมร มอญ ลาว ต�ำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การสร้างพระบรมมหาราชวังและ การสร้างก�ำแพงเมืองตั้งแต่สมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา การก�ำหนดเขตพระราชวังเป็นสามส่วน สามชั้น หรือที่ในวรรณคดี ก�ำสรวล สมุทร กล่าวว่า “อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร” นั้นคือสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจาก พระราชวังของกษัตริย์จีน คือ ชั้นนอกเป็นเขตรักษาความปลอดภัย มีกอง ทหารล้อมวังและเป็นที่ท�ำการของหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารบ้านเมือง ชั้นที่ ๒ คือ ที่ตั้งของพระมหาปราสาทที่ใช้ในการออก ว่าราชการ รับรองราชทูต และประกอบพระราชพิธีส�ำคัญของราชอาณาจักร ในขณะที่ ชั้ น ที่ ๓ คื อ ที่ ร โหฐานส� ำ หรั บ พระมหากษั ต ริ ย ์ เจ้ า นาย และ ข้าราชบริพารฝ่ายใน ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมืองที่เกิดใหม่ เช่น เมืองพิษณุโลก มีการสร้างก�ำแพงเมืองด้วยอิฐด้วยศิลาแลง มีใบเสมา และป้อมปราการแบบอย่างตะวันตก เพราะการติดต่อกับพวกโปรตุเกส ท�ำให้ได้ความรู้และวิทยาการใหม่ในการรบ การท�ำสงครามมีการใช้ปืนเป็น อาวุธ สมัยต่อมามีการท�ำต�ำราพิชัยสงคราม การขึ้นทะเบียนบัญชีพลใน สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช มีทหารอาสาสมัครโปรตุเกส จนเกิดลูกหลาน ของคนโปรตุเกสขึ้นในสมัยหลัง ผลที่ตามมาคือ กรุงศรีอยุธยาเป็นรัฐที่มี ความก้าวหน้าทันสมัยในการรบ จึงสามารถขยายอ�ำนาจไปยังล้านนาและ เมืองมอญ จนเป็นเหตุให้มีการเผชิญหน้ากับพม่าในเวลาต่อมา ในความ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
99
บทที่ ๖
การเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม สมัยโลกาภิวัตน์
โดยย่อ การสิ้นสุดสงครามเย็นนั้นมาจากปัจจัยภายนอก
ที่ส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงภายในของประเทศ การเปลี่ยนแปลง ภายนอกที่ส�ำคัญเริ่มมาจากการเปลี่ยนแปลงของจีนในยุคที่เติ้งเสี่ยวผิงเป็น ผู้น�ำ ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดอันเป็นผลมาจากความพยายามของผู้นำ� คนก่อนคือ ประธานเหมาเจ๋อตุง ที่จะท�ำให้เป็นรัฐสังคมนิยมในอุดมคติ ที่ เน้นความรุนแรงและการน�ำสังคมโดยอ�ำนาจรัฐอย่างตึงเครียด มาเป็นความ ผ่อนคลายและความมีอิสระของปัจเจกบุคคลในการด�ำรงชีวิตอย่างพอควร จีนเปลี่ยนนโยบายมาเป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศไทย ท�ำให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยลดน้อยลง ก็เท่ากับ ท�ำให้การคุกคามความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจค่อยๆ หมดไปด้วย จนเป็นเหตุให้บรรดากลุ่มคนรักชาติที่หนีภัยการคุกคามของรัฐบาลหอย เข้าไปท�ำการต่อสู้อยู่ในป่ากลับออกมา ซึ่งมีจ�ำนวนหลายคนทีเดียวที่ด�ำรง ชีวิตช่วยเหลือสังคมในนามขององค์กรเอกชนต่างๆ และมีผลให้เกิดการ ขยายตัวของคนรุ่นใหม่ที่ท�ำงานเพื่อสังคมเพื่อคนด้อยโอกาสและความเป็น ธรรมในสังคมต่อมาอีกมากมาย ซึ่งการด�ำเนินชีวิตและด�ำเนินการของ
176
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
กลุ่มคนที่มีอุดมคติดังกล่าวนี้ คือกระบวนการและกลไกที่ถ่วงดุลความไม่ ถูกต้องทั้งหลายที่ทั้งรัฐและฝ่ายทุนนิยมที่บ้าวัตถุก�ำลังท�ำกันอยู่ แต่การ เปลี่ยนแปลงที่มาจากจีนฝ่ายเดียวนั้นก็ยังหายุติสงครามเย็นไม่ หากต้องรอ จนกระทั่งการสิ้นสุดของสหภาพโซเวียตอันเนื่องมาจากความพินาศทาง เศรษฐกิจ เป็ น สิ่ ง ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า ขุ ม พลั ง ใหญ่ ๆ ของค่ า ยสั ง คมนิ ย ม คอมมิวนิสต์สลายตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันอเมริกาที่เป็นหัวหอก และพลังใหญ่ฝ่ายทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยก็ประกาศชัยชนะด้วยการท�ำ สงครามอ่าวเปอร์เซียถล่มอิรัก ชัยชนะที่ได้จากการท� ำสงครามครั้งนี้มี ความหมายทางสัญลักษณ์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ความมีอ�ำนาจในการเป็นผู้น�ำโลกของอเมริกา ผู้น�ำสหรัฐฯ มักปราศรัยทาง โทรทัศน์บ่อยครั้งว่าสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงแล้ว และระเบียบโลกก็จะต้องมี การจัดกันใหม่ ระบบทุนนิยมเสรีเบ่งบานยิง่ กว่าครัง้ ใดๆ รวมทัง้ มีพฒ ั นาการ ด้านการสื่อสารของสารสนเทศที่รวดเร็ว ข้ามผ่านพรมแดนทั้งในมิติของ เวลาและสถานทีอ่ นั จะท�ำให้โลกเป็นหนึง่ เดียวกันได้ ดังนัน้ สิง่ ทีห่ ลายๆ คน ทัง้ ในวงการธุรกิจและวิชาการมักกล่าวขานถึงก็คอื ยุคทีเ่ รียกว่า โลกาภิวตั น์ นับเนื่องเป็นยุคที่สืบต่อจากสมัยสงครามเย็น สมัยสงครามเย็นเป็นยุคที่แบ่งโลกออกเป็นสองค่ายใหญ่ แต่ใน การจัดระเบียบโลกใหม่ในยุคหลังสงครามเย็น โลกมีฐานะเป็นหนึ่งเดียว ค�ำถามที่ตามมาก็คือ แล้วอะไรที่เป็นศูนย์กลางหรือแกนกลางของโลกที่มี พลังและอ�ำนาจ ค�ำตอบที่คนส่วนใหญ่พอแลเห็นได้ขณะนี้ก็คือ ประเทศ ที่มีพลังในยุคใหม่ที่อาจเป็นศูนย์กลางของโลกได้คือสหรัฐอเมริกา เพราะ ดูเหมือนเป็นผู้ควบคุมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีไว้ ได้มากกว่าประเทศใดๆ ในโลก ดังสะท้อนให้เห็นจากความแข็งของค่าเงิน ดอลลาร์อเมริกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านสื่อสาร และการใช้ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ ความเป็นผู้น�ำของโลก ดังกล่าวนี้ท�ำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นบุรุษสองหน้าไปในเวลาเดียวกัน นั่นคือ หน้าหนึ่งคือเทพที่เป็นผู้น�ำในด้านสิทธิมนุษยชน เสรีประชาธิปไตย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม
177
๓ ลำ�ดับที่
โครงการหนังสือชุด
ISBN 978-974-7385-54-0
ราคา ๒๕๐ บาท
หมวดประวัติศาสตร์/สังคม
พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
พัฒนาการ ทางสังคม-วัฒนธรรมไทย
๗๒ ปี • ศรีศักร วัลลิโภดม
เรื่อง พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย นี้เป็นงานเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่เป็นภาพรวมของพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมของผู้คน ในดินแดนประเทศไทย เป็นผลงานค้นคว้าทางวิชาการทางภูมิศาสตร์โบราณคดี และมานุษยวิทยา ที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรมและเรียนรู้มา ทั้งจากมหาวิทยาลัยและประสบการณ์ ในภาคสนามที่ยาวนานกว่า ๔๐ ปี โดยเฉพาะภาพการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์จากสมัยอยุธยามา ถึงยุคสงครามเย็น ที่แลเห็นมิติทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมเข้าสู่สมัยใหม่ อันทำ�ให้เกิดภาวะความล้าหลังทางวัฒนธรรม ขึ้นในสังคมไทย...จำ�เป็นที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อให้เกิด ดุลยภาพด้วยการพัฒนาจากล่างขึน้ บน โดยผูค้ นจากข้างล่างตามท้องถิน่ ต่างๆ ในกระบวนการที่เรียกว่า ท้องถิ่นวัฒนา หรือท้องถิ่นวิวัฒน์...
โครงการหนังสือชุด
๗๒ ปี • ศรีศักร วัลลิโภดม ลำ�ดับที่ ๓
พัฒนาการ ทางสังคม-วัฒนธรรมไทย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม