คู่มือชีวิตป่าเมืองกรุง

Page 1

Guide to Common Wildlife of Bangkok เรยี นรู้ค วา ม

ัตว หลากหลายทางชีวภาพของพชื  ส

งุ งกร อ ื ม ในเ ว ีชี ติ งิ่ ม ส ะ ์ แล


มูลนิธิโลกสีเขียว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2534 โดย ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์  เพื่อท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาควบคู่ไปกับการสื่อสาร และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยหวังให้เด็กและผู้ใหญ่เกิดแรงบันดาลใจ ติดตามความเป็นไปของธรรมชาติ และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนและท้องถิ่นได้ด้วยตัวเอง

ประธานผู้ก่อตั้ง : ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ ประธานกรรมการ : ดร. สรณรัชฎ์  กาญจนะวณิชย์ รองประธาน : สายสิริ  ชุมสาย ณ อยุธยา เลขาธิการ : นิตยา วงษ์สวัสดิ์ กรรมการ : ดร. อนุชาติ  พวงส�ำลี   วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์   ดร. นณณ์  ผาณิตวงศ์ ส�ำนักงาน :  2 ซอยสุขุมวิท 43 (แสงมุกดา) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2662-5766  โทรสาร 0-2662-5767 อีเมล : gwf@greenworld.or.th เว็บไซต์ : www.greenworld.or.th Social : Facebook : มูลนิธิโลกสีเขียว   Twitter/Instagram/Line : gwfthailand หากคุณผู้อ่านพบว่าหนังสือของมูลนิธิโลกสีเขียวมีข้อบกพร่อง ช�ำรุด หรือมีความเสียหายอื่น  อันเกิดจากการผลิต โปรดส่งกลับคืนมายังมูลนิธิฯ ทางมูลนิธิฯ ยินดีจะจัดส่งเล่มใหม่ให้ท่าน


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ธิติยา บุญประเทือง. คู่มือชีวิตป่าเมืองกรุง Guide to Common Wildlife of Bangkok. – กรุงเทพฯ : มูลนิธิโลกสีเขียว, 2562. 312 หน้า. 1. ธรรมชาติวิทยา. 2. เห็ดรา. 3. พืช. 4. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง. 5. สัตว์มีกระดูกสันหลัง. I. ธิติยา บุญประเทือง และคณะ 503 ISBN 978-974-7076-36-3

หนังสือ : คู่มือชีวิตป่าเมืองกรุง Guide to Common Wildlife of Bangkok ผู้เขียน : ธิติยา บุญประเทือง ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ วิชัย อัยกูล ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหา ดร. รัฐพล ศรีสนไชย เกรียงไกร สุวรรณภักดิ ์ ทัศนัย จีนทอง อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ อายุวัต เจียรวัฒนกนก บุตดา โชติมานวิจิต จัดท�ำโดย : มูลนิธิโลกสีเขียว สนับสนุนโดย : บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2562 ราคา : 350 บาท © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยมูลนิธิโลกสีเขียว ผู้จัดการ : นิตยา วงษ์สวัสดิ์ บรรณาธิการเล่ม : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ปณต ไกรโรจนานันท์ ภาพประกอบ : ธิติยา บุญประเทือง ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ วิชัย อัยกูล ศ. ดร. สมศักดิ์ ปัญหา ดร. รัฐพล ศรีสนไชย เกรียงไกร สุวรรณภักดิ ์ ทัศนัย จีนทอง อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ อายุวัต เจียรวัฒนกนก บุตดา โชติมานวิจิต ออกแบบและจัดท�ำรูปเล่ม : ส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด พิมพ์ที่ : บริษัท ทวีวัฒน์การพิมพ์ จ�ำกัด


สารบัญ 10 ธรรมชาติกรุงเทพฯ 17 แหล่งศึกษาธรรมชาติในกรุงเทพฯ

เห็ดรา & พืช

23

24 เห็ด 31 ไลเคน 38 พรรณพืช

8    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

111

112 119 125 129 134 145 153 158 161 165 174 177 196

หอยทากบก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ตะขาบ แมงมุม อันดับแมลงปอ อันดับตั๊กแตน อันดับแมลงสาบ อันดับมวน อันดับด้วง อันดับแมลงวัน อันดับผีเสื้อ อันดับผึ้ง ต่อ แตน และมด


สัตว์มีกระดูกสันหลัง

205

206 215 222 246 272

ปลา สัตว์สะเทินน�ำ้ สะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนม

294 แนะน�ำคู่มือศึกษา ธรรมชาติเพิ่มเติม 296 ดัชนีชื่อสามัญ (ไทย) 302 ดัชนีชื่อสามัญ (อังกฤษ) 307 ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์


ธรรมชาติกรุงเทพฯ

10    คู ่ มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


ถ้าจะเข้าใจกรุงเทพฯ เราต้องย้อนกลับไป 20,000 ปีก่อนในยุคน�ำ้ แข็ง ในยุคนั้นมวลน�้ำบนโลกจับตัวเป็นผืนน�้ำแข็งกินอาณาเขตกว้างไกล ระดับน�้ำทะเลจึงลดลงต�่ำกว่าปัจจุบัน บางขณะร่วม 200 เมตร  อ่าวไทยโผล่ พ้นน�้ำเป็นแผ่นดินใหญ่เชื่อมต่อกับอินโดนีเซีย เรียกว่าผืนแผ่นดินซุนดา

แผ่นดิน 20,000 ปีก่อน แผ่นดินปัจจุบนั

แผนที่แผ่นดินซุนดา 20,000 ปีก่อน

น�ำ้ หลายสายไหลมารวมตัวกันกลางผืนแผ่นดินซุนดาเป็น “แม่นำ�้ สยาม” สายใหญ่ ไหลผ่านทะเลสาบยักษ์กลางอ่าวไทยออกสู่ทะเลจีนใต้  นักวิทยา ศาสตร์บางคนยังเชือ่ ว่า บริเวณต้นน�ำ้ ในจังหวัดน่านเคยเชือ่ มต่อกับลุม่ น�ำ้ แม่โขง เป็นระบบแม่น�้ำเดียวกับแม่น�้ำโขง  แม่น�้ำสยามจึงเป็นแม่น�้ำที่อุดมสมบูรณ์ ที่สุด มีปลาหลายชนิด คล้ายกับเป็นแหล่งรวมพันธุ์ปลาและสัตว์น�้ำอื่น ๆ ที่มี เอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เพราะไหลมาตั้งแต่ที่หนาวเย็นลงสู่ เขตร้อนชื้นและยังเชื่อมโยงกับแม่น�้ำอื่นหลายสาย Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    11


แม้วา่ ปาที ่ ร่ าบต�ำ่ ต่าง ๆ เช่น ปาน� ่ ำ้ ท่วม (flooded forest)  ปาหนอง (broadleaf swamp forest)  และปาสะแก ่ ่ ทีด่ อน หรือทุง่ หนองธรรมชาติดงั้ เดิมจะหายไปหมดแล้ว แต่ป่ าชายเลนยังพอมีอยู่และเรายังพอหาพื้นที่ที่มนุษย์ สร้างกึง่ อิงธรรมชาติได้ในเมืองกรุง ซึง่ สะท้อนระบบนิเวศ สามน�้ำ  อีกทั้งสวนสาธารณะหลายแห่งก็เปนแหล่ ง ็ หลบภัยของชีวิตต่าง ๆ ได้ดีพอควร

ºÒ§ºÑÇ

7 ºÒ§ÍÍ

9

ºÒ§ÅÓ¾Ù

ºÒ§ä¼è

6

ºÒ§ËÇÒ Ë¹Í§á¢Á

ºÒ§á¤

¤Åͧµ¹ä·Ã

ªÍ§¹¹·ÃÕ ºÒ§¨Ò¡

2 ºÒ§ºÍ¹ ·Ø§¤ÃØ

áÊÁ´Ó

1

3


·Ø§ÃѧÊÔµ ´Í¹àÁ×ͧ (´Í¹ÍÕàËÂÕèÂÇ)

5

˹ͧ¨Í¡ ¡ÃзØÁÃÒÂ

ºÖ§¡ØÁ

Åӵ͵Ôè§

Çѧ·Í§ËÅÒ§ ¤Åͧµ¹¹Ø¹ ËÑǵÐà¢

4

¤Åͧ˹ͧºÍ¹

8

˹ͧ§ÙàËÒ

สัญลักษณ์สีแสดงระบบนิเวศของพื้นที่ ที่ดอน ดงไม้บนบก ไม้บกริมน�้ำ ทุ่ง (ท่วมหน้าน�ำ้ , ทุ่งหญ้าหน้าแล้ง) พื้นที่ชุ่มน�้ำแฉะ ๆ ระบบนิเวศน�ำ้ จืด ระบบนิเวศน�ำ้ กร่อย



เห็ดรา & พืช


เห็ ด (Kingdom Fungi) ธิติยา บุญประเทือง

พิพิธภัณฑ์เห็ดรา ศูนย์พันธุวิศวกรรมเเละเทคโนโลยีชีวภาพเเห่งชาติ

เป็นสิ่งมีชีวิตจําพวกรา  มีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใย  เมื่อสภาพ  แวดล้อมเหมาะสมจะรวมตัวกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ส�ำหรับ  สร้างสปอร์ทใี่ ช้ขยายพันธุ ์ เรียกว่าดอกเห็ด หรือ fruiting body  เห็ด  ไม่สามารถสร้างอาหารเองจากการสังเคราะห์แสงเหมือนพืช ต้อง  อาศัยอาหารจากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ และอินทรียวัตถุ  รวมทั้งต้องการความชื้นและแสงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เห็ดโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนหมวก ครีบ และก้าน แต่  บางชนิดอาจมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างออกไป  ลักษณะรูปทรง  สี สั น ทั้ ง ที่ สั ง เกตได้ จ ากตาเปล่ า  และรู ป ร่ า งสปอร์ ที่ เ ห็ น ภายใต้  กล้องจุลทรรศน์ เป็นลักษณะที่นํามาใช้จัดจําแนกชนิด

24    คู ่ มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


Microporus xanthopus วงศ์  Polyporaceae ขนาดดอก 35-100 มิลลิเมตร

ดอกรูปกรวยปากกว้าง บาง มีริ้วเรียงเป็นรัศมี ผิว  ็ น วาว มี แ ถบวงกลม  ยนเล็ ่ ก น้ อ ยและเปนมั สีนำ�้ ตาลอมเหลือง สีน�ำ้ ตาลแดงถึงสีน�ำ้ ตาล  เข้ม ใต้หมวกมีรู 5-8 รูต่อมิลลิเมตร ก้าน  อยู่กึ่งกลางหมวก รูปทรงกระบอก เนื้อแข็ง  ผิวเรียบ โคนแผ่ออกเป็นแป้นวงกลมเล็ก ๆ เนื้อเหนียว  มักพบบนกิ่งไม้ร่วงและ  ขอนไม้ที่ตายแล้วในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา  ห้ามรับประทาน

เห็ดขอนขาว

ดอกรู ป ทรงกรวยตรงกลางเว้ า ตื้ น  ขอบบาง  ม้วนงอเล็กน้อย เป็นลอน มักฉีกขาด มีสีขาว  Lentinus squarrosulus และเปลี่ยนเป็นสีน�้ำตาลเมื่อแก่ ผิวดอกมีเกล็ด  วงศ์  Polyporaceae ขนาดดอก 20-90 มิลลิเมตร สีน�้ำตาลอ่อนกระจายทั้งดอก ครีบเรียวยาว  ลงไปติดก้าน แคบ เรียงถี่ ครีบสีขาว ก้านทรง  กระบอกอยู่กึ่งกลางดอกหรือไม่ก็ได้  พบบนขอนไม้และตอไม้ผุ ขึ้นเป็นดอก  เดี่ยวหรือเป็นกลุ่มในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง  รับประทานได้ Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    25

เห็ดรา & พืช

เห็ดกรวยทองตะกู


พรรณพื ช (Kingdom Plantae) วิชัย อัยกูล

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

็ ่ ง มี ชี วิ ต กลุ่ ม ใหญ ซึ เปนสิ ั บั น ทั่ ว โลกมี อ ยู่ ป ระมาณ  ่ ่ ง ในปจจุ 400,000 ชนิ ด  ประกอบด้ ว ยไม้ ยื น ต้ น  ไม้ ด อก ไม้ ล ้ ม ลุ ก   พบ  ได้ทั้งบนบกและในน�้ำ  เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว  โดยเห็นได้ชัดเจน เมื่อมีแดดส่องจะเอียงตัวไปหาแดด  นอกจากนี้  ยังมีลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่นคือการสังเคราะห์ด้วย แสง พืชมีประโยชน์ตอ่ คนเเละสัตว์ คือเป็นทัง้ อาหาร ยารักษาโรค  ที่อยู่อาศัย เเละเครื่องนุ่งห่ม  ประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดคืออาหาร  ผลของพืชเมื่อสุกจะส่งกลิ่นหอมชวนให้สัตว์เล็กสัตว์น้อยเข้ามากิน  เช่น กระรอก นก  ประโยชน์อกี อย่างหนึง่ คือทีอ่ ยูอ่ าศัย  เเน่นอนว่า  พื ช สามารถใช้ เ ป็ น ที่ อ าศั ย  หลบภั ย  ตลอดจนเป็ น ที่ เ ลี้ ย งดู เ เละ  อนุบาลตัวอ่อนของสัตว์ได้เป็นอย่างดี ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นในกรุงเทพฯ ทุกวันนี้มักเป็นไม้  ปลูกประดับตามสวนและริมถนนหนทาง  คู่มือฯ ฉบับนี้จึงคัดสรร  พรรณพืชที่พบเห็นได้ทั่วไปเหล่านี้บางชนิดมาให้รู้จักกัน รวมไปถึง  พืชน�้ำบางชนิดที่พบเห็นบ่อยตามหนองบึงรวมทั้งหมด 79 ชนิด

38    คู ่ มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


Mango Mangifera indica L. วงศ์  Anacardiaceae (วงศ์มะม่วง) ความสูง 30 เมตร

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนหนาทึบ  เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน เปลือก  สีน�้ำตาลอมด�ำ พื้นผิวเปลือกขรุขระเป็นร่องตามแนวยาว ใบ  ใบเดี่ยวเรียงเวียน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดูคล้ายรูปหอก แผ่นใบ  ค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม ดอก  ออกดอกเป็นช่อ สีเหลืองอ่อนหรือสีนวล ดอกมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม  อ่อน ๆ หนึ่งช่อมี 15-20 ดอก ผล  มีลกั ษณะต่างกันตามพันธุ ์ เช่น รูปมนรี ยาวรี หรือเป็นรูปกลมป้อม  ผลอ่อน  มีสเี ขียว เมือ่ สุกเต็มทีจ่ ะเปลีย่ นเป็นสีเหลืองสด ภายในมีเมล็ด  ขยายพันธุ์ด้วย  เมล็ด ตอนกิ่ง หรือการทาบกิ่ง

Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    39

เห็ดรา & พืช

มะม่วง


ล�ำดวน

White Cheesewood Melodorum fruticosum Lour. วงศ์  Annonaceae (วงศ์กระดังงา) ความสูง 8-10 เมตร

ไม้ยืนต้น เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่วไป เปลือก  เรียบสีน�้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องละเอียดตื้น ๆ ตามความยาว ใบ  ใบเดีย่ วเรียงสลับ รูปรียาว โคนใบและปลายใบ  ็ น  เรี ย วแหลม ขอบแผนใบเรี ย บ สี เ ขี ย วเปนมั ่ ด้านล่างสีเขียวนวล ดอก  สีเหลือง ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบและ  ็ ปลายยอด กลี บ ดอกมี  6 กลีบ เรีย งเปนสองวง  วงนอกมี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กว่า  กลีบดอกวงใน กลีบดอกหนาและแข็ง มีกลิน่ หอม ผล  เป็นผลกลุม่  รูปกลมรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว  เมือ่ สุกเป็นสีแดง แต่ละผลมีหลายเมล็ด  ขยายพันธุ์  ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการทาบกิ่ง

40    คู ่ มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


เห็ดรา & พืช

โสกอินเดีย

Mast Tree Polyalthia longifolia Sonn. วงศ์  Annonaceae (วงศ์กระดังงา) ความสูง 9-15 เมตร

ไม้ยืนต้นต่างถิ่น ล�ำต้นตั้งตรงสูง ทรงพุ่มเป็นรูปพีระมิดแคบ กิ่งโน้มลู่ลงทั้งต้น  ท�ำให้แลดูต้นสูงชะลูดมาก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและเป็นร่มเงา เปลือก  ขรุขระสีน�้ำตาลแก่หรือเทาปนน�้ำตาล ใบ  ใบเดีย่ วรูปใบหอกแคบ ปลายแหลมยาว สีเขียวเป็น  มันเงางาม ขอบใบเป็นคลื่น ดอก  สีเขียวอ่อนเป็นกระจุกตามข้างกิ่ง แต่ละดอกเป็น  รูปดาว 6 แฉก กลีบดอกเป็นคลื่นน้อย ๆ ผล  เป็นผลกลุ่ม รูปไข่ เมื่อสุกมีสีด�ำ

พญาสัตบรรณ

Devil Tree Alstonia scholaris (L.) R. Br. วงศ์  Apocynaceae (วงศ์ตีนเป็ด ลั่นทม โมก) ความสูง 12-20 เมตร

ไม้ยืนต้นสูงใหญ่ ล�ำต้นตรง แตกกิ่งก้าน  สาขาเป็นชั้น ๆ ทุกส่วนมีน�้ำยางสีขาว เปลือก  มีสะเก็ดเล็ก ๆ หนาเปราะ สีขาว  ปนน�้ำตาล ใบ  ใบเดีย่ ว เรียงออกเป็นกลุม่ ทีป่ ลายกิง่   มีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ก้านใบสั้น ดอก  ออกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของล�ำต้น ดอกสีขาว  อมเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผล  เป็นเส้น ๆ กลมเรียว เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดสีน้ำ� ตาลเข้มจ�ำนวน  มาก เมล็ดมีขนสีขาวติดคล้ายพู่ สามารถปลิวไปตามลมได้

Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    41



สัตวไม่ ์ มีกระดูกสันหลัง


หอยทากยักษ์แอฟริกัน หอยทากลาย

African Giant Snail Lissachatina fulica วงศ์ Achatinidae (วงศ์หอยทากลาย) ขนาด 30-60 มิลลิเมตร

มี ล ายน�้ ำ ตาลเข้ ม สลั บ กั บ  น�้ ำ ตาลออน ยอดเปลื อ ก  ่ แหลม ส่วนใหญ่มีวงเปลือก  ประมาณ 7-9 วง ปากเปลือก  คล้ายรูปไข่ ส่วนสะดือเปลือกปิด พฤติกรรม  หากินทั้งกลางวันและกลางคืนในที่ชื้น พบได้ทั่วไป มักพบมาก  ในฤดูฝน อาหาร  ยอดอ่อนพืช ดอกไม้ ขยะเปียกของมนุษย์ มูลสัตว์

หอยทากสยาม Siamese Cryptozona Cryptozona siamensis วงศ์  Ariophantidae ขนาด 10-15 มิลลิเมตร

114    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง

ล�ำตัวสีขาวนวลหรือสีนำ�้ ตาลอ่อนจนถึงสีเทาด�ำ  มีลักษณะเป็นโดมเตี้ยเกือบแบน ยอดเปลือก  โค้งนูนเล็กน้อย มีวงเปลือก 8-12 วง พื้นผิว  เปลือกด้านบนเป็นริ้วตาข่ายละเอียด เปลือก  ด้านบนมีสีนำ�้ ตาลเข้มกว่าเปลือกด้านล่างที่ม ี ผิ ว เรี ย บและสี อ ่ อ นกว่ า  ปากเปลื อ กคล้ า ย  รูปพระจันทร์เสี้ยว ส่วนสะดือของเปลือกแคบ  และเป็นหลุมลึก พฤติกรรม  มักออกมาคืบคลานหลังฝนตก  วางไข่ ใ นดิ น หรื อ ใต้ ใ บไม้   พบตามกองไม้  กองขยะ ผนังปูน อาหาร  ยอดอ่อนพืช เศษ  ใบไม้เน่า ผลไม้เน่า


หอยห่อเปลือกเมือกเหลือง

Macrochlamys sp. วงศ์  Ariophantidae ขนาด 10-15 มิลลิเมตร

ล�ำตัวสีด�ำหรือน�้ำตาลเข้ม เปลือกทรงกลมแบนบางมีสีน�้ำตาลอ่อน ยอดยกสูง  ขึ้ น เล็ ก น้ อ ย เปลื อ กมี  6-7 วง กว้ า ง 10-15 เซนติ เ มตร ปากเปลื อ กบางรู ป  พระจันทร์เสี้ยว สะดือเปลือกลึกและ  เปิดเป็นรูขนาดเล็ก พฤติ ก รรม  มั ก หลั่ ง เมื อ กสี เ หลื อ ง  เหนียวข้นเมื่อถูกสัมผัสหรือถูกรบกวน  พบตามขอนไม้ บนต้นไม้ และโพรงไม้ อาหาร  พืช ซากพืช รา สาหร่าย

หอยห่อเปลือกมาร์เทนส์

Martens’ Semi-slug Parmarion martensi วงศ์  Ariophantidae ขนาด 10 มิลลิเมตร

ล� ำ ตั ว สี ด� ำ หรื อ เทา เปลื อ กค่ อ นข้ า งกลม ขนาดเล็ ก  บางและมี สี เ หลื อ ง มี  จ�ำนวนชั้นหรือวงน้อย เปลือกลดรูปจนห่อหุ้มร่างกายไม่หมด ท�ำให้ไม่สามารถ  หดร่างกายเข้าไปในเปลือกเช่นหอยทากทั่วไป ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้น  แมนเทิล พฤติกรรม  หาอาหารในที่ชื้นและบน  ใบไม้ เมื่อถูกสัมผัสจะดิ้นหรือสลัด  หางเพือ่ หนีศตั รู  พบตามขอนไม้  เกาะบนใบไม้ อาหาร  พื ช  ซากพื ช  รา  สาหร่าย Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    115



สัตว์มีกระดูกสันหลัง


ปลา ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์

กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (siamensis.org)

กรุงเทพฯ เป็นทีร่ าบลุม่ ติดแม่นำ�้ ขนาดใหญ่และมีปลาอาศัยอยูห่ ลาก  หลายชนิด โดยเฉพาะในแม่น�้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น�้ำสายหลัก  เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชาวไทยมานาน  นอกจากนั้นคลอง  สายเล็กสายน้อยก็เคยมีปลาอาศัยมากมาย นับรวมจริง ๆ อาจได้  หลายร้อยชนิด  แต่ในปัจจุบนั คุณภาพน�ำ้ ตามคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ  แย่ลงมาก  สัตว์นำ�้ ทีเ่ คยพบลดลงอย่างต่อเนือ่ ง  ปลาทีเ่ หลืออยูต่ าม  คลองหรือบ่อน�้ำตามสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม  ปลาที่สามารถอยู่ได้ในน�้ำที่คุณภาพไม่ดีนัก โดยเฉพาะกลุ่มปลาที ่ หายใจอากาศได้ เช่น ปลาช่อน ปลากระดี ่ ปลากริม  ส่วนปลาเข็ม  เป็นปลาที่อาศัยบริเวณผิวน�้ำซึ่งมีออกซิเจนสูงกว่าบริเวณอื่น จึง  พออาศัยอยู่ได้  นอกจากปลาท้องถิ่นแล้วเรายังสามารถพบปลา  ต่างถิ่นด้วย

206    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


ปลาช่อน

Snake Head Fish Channa striata วงศ์  Channidae (วงศ์ปลาช่อน) ขนาด 60 เซนติเมตร

หัวมน มีฟันซี่เล็ก ๆ เต็ม  ปาก ล�ำตัวเป็นทรงกระบอกเพรียว ยาว สีนำ�้ ตาลแกมเทา ลูกปลามีสีส้ม พฤติกรรม  ท�ำรังและวางไข่ในช่วงฤดูฝน  พ่อแม่ปลาจะดูแลลูกปลาซึง่ เรียกว่าลูกครอกจนกว่า จะโต ปลาในกลุ่มปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจที่ทำ� ให้หายใจ  อากาศได้ และจะจมน�้ำตายหากไม่สามารถขึ้นมาหายใจที่ผิวน�้ำ อาหาร  สัตว์ขนาดเล็ก

Blotched Snakehead Channa lucius วงศ์  Channidae (วงศ์ปลาช่อน) ขนาด 40 เซนติเมตร

รูปร่างกลม แต่ล�ำตัวสั้นกว่าและมีส่วนหัวยื่นแหลมกว่าปลาช่อน ล�ำตัวมีลาย  เป็นเอกลักษณ์ ลูกปลามีสีส้มอมน�้ำตาลหม่นกว่าทั้งปลาช่อนและปลาชะโด พฤติกรรม  มีถิ่นอาศัยเหมือนกับปลาช่อน แต่ต้องการแหล่งน�้ำที่มีคุณภาพ  ดีกว่าและกว้างกว่าปลาช่อน อาหาร  สัตว์น�้ำขนาดเล็ก Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    207

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ปลากระสง


ปลากริมควาย

Croaking Gourami Trichopsis vittata  วงศ์  Osphronemidae (วงศ์ปลากัด) ขนาด 3.5 เซนติเมตร

ขนาดใกล้ เ คี ย งปลากั ด หม้ อ  แต่ล�ำตัวแบนบางข้างมากกว่า  เพศผู้มีครีบยาวกว่าและสีสัน  สวยงามกว่าเพศเมีย พฤติกรรม  ไม่ก้าวร้าวหวงถิ่นมากเท่าปลากัด ชอบอาศัยในแหล่งน�้ำตื้นนิ่ง  ทีม่ พี ชื ชายน�ำ้ หรือพืชน�ำ้ ขึน้   หายใจอากาศได้ จึงทนอาศัยในแหล่งน�ำ้ ทีค่ ณ ุ ภาพ  น�้ำไม่ดีนักได้  ขณะต่อสู้กันหรือเกี้ยวพาราสีกันสามารถสร้างเสียงสั่นแก๊ก ๆ ๆ ๆ  ได้  สร้างหวอดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตรตามชายตลิ่ง  หรือใต้ใบพืชน�้ำที่อยู่ใกล้ผิวน�ำ้ อาหาร  สัตว์นำ�้ ขนาดเล็ก

ปลากริมสี

Dwarf Croaking Gourami Trichopsis pumila วงศ์  Osphronemidae (วงศ์ปลากัด) ขนาด 2.5 เซนติเมตร

มี ข นาดเล็ ก กว่ า ปลากริ ม ควาย  ล�ำตัวและครีบมีสีสันสวยงาม พฤติกรรม  อาศัยในแหล่งน�ำ้ นิง่   ตื้น ๆ ที่มีพืชชายน�ำ้ หรือพืชน�ำ้ ขึน้   แหล่งน�้ำต้องมีคุณภาพน�้ำดีกว่า  ปลากริมควาย สามารถเป็นดัชนี  ชี้วัดคุณภาพน�้ำได้ อาหาร  สัตว์น�้ำขนาดเล็ก

210    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


ปลากัด

Siamese Fighting Fish Betta splendens วงศ์  Osphronemidae (วงศ์ปลากัด) ขนาด 3 เซนติเมตร

เพศผูม้ ขี นาดใหญ่กว่า ครีบ  ใหญ่ ก ว่ า  และมี สี สั น สวย  กว่าเพศเมีย พฤติกรรม  ก้าวร้าวและ  หวงถิ่นมาก อาศัยในแหล่ง  น�้ำตื้นที่มีพืชขึ้นปกคลุมหนาแน่นและน�้ำมีคุณภาพค่อนข้างดีหรือดีมาก อาหาร  สัตว์นำ�้ ขนาดเล็ก

Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    211

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ปลาหมอไทย

ครีบหลังมีเงี่ยงแหลมที่ต�ำแล้วปวด และมี  หนามที่แผ่นปิดเหงือก Climbing Perch พฤติกรรม  พบบ่อยในแหล่งน�้ำนิ่งที่มีพืช  Anabas testudineus ชายน�้ำและพืชน�้ำขึ้นบ้าง  ทนน�้ำเสียได้พอ  วงศ์  Anabantidae (วงศ์ปลาหมอ) สมควรเนื่องจากหายใจอากาศได้ดีมากจน  ขนาด 12 เซนติเมตร สามารถปีนขึ้นจากน�้ำแล้วใช้เหงือกแถกตัวไปแหล่งน�้ำอื่นได้ในช่วงฤดูฝน อาหาร  สัตว์นำ�้ ขนาดเล็ก


สัตว์เลื้อยคลาน

*

ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์

กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม (siamensis.org)

กลุ่มจิ้งจก/ตุ๊กแก สัตว์เลือ้ ยคลานในกลุม่ จิง้ จก/ตุก๊ แกนัน้ ฝรัง่ เรียกรวมๆ ว่า gecko แต่  ส่วนใหญ่แล้วคนไทยใช้เรียก gecko ขนาดเล็กถึงกลาง ความมหัศจรรย์  ของสัตว์ในกลุ่มนี้คือมีเทคโนโลยีนาโนติดอยู่ปลายนิ้วในรู ป ของ  ขนขนาดเล็กมากจนโมเลกุลเชื่อมติดกับพื้นผิวที่เกาะโดยไม่ต้อง  ออกแรงใด ๆ  เวลาดึงออกก็แค่ยกขึน้  พืน้ ผิวก็ไม่สกปรกด้วย  ขณะนี้  นักวิทยาศาสตร์ก�ำลังพยายามสร้างเทปทีเ่ ลียนแบบตีนตุ๊กแกกันอยู่  ความสามารถที่น่าสนใจอีกอย่างคือ หางหลุดออกแล้วงอกใหม่ได้ หลายคนเกลียดกลัวสัตว์ในกลุ่มนี้ แต่จริง ๆ แล้วเป็นสัตว์ที่  ไม่มีพิษมีภัยใด ๆ แถมยังช่วยกินแมลงให้เราด้วย * ขนาดสั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลานกลุ ่ ม จิ้ ง จก/ตุ ๊ ก แก กิ้ ง ก่ า  จิ้ ง เหลน และเหี้ ย  วั ด ความยาว  จากปลายจมูกถึงรูทวารไม่รวมหาง

222    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


ตุ๊กแกบ้าน

Calling Gecko Gekko gecko  วงศ์  Gekkonidae (วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก) ขนาด 15 เซนติเมตร

Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    223

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ในประเทศไทย ล�ำตัวทรง  กระบอกและแบน หัวขนาดใหญ่ ดวงตาทรงกลมและโปนออก ดวงตาสีเหลือง  ออกน�้ำตาล ม่านตาสีด�ำ ปิด-เปิดในแนวตั้งตรง หนังล�ำตัวมีเกล็ดเป็นตุ่มสาก  มีสีสันหลากหลายตั้งแต่สีน�้ำตาล สีเทา สีด�ำ สีฟ้าอ่อน และมีลายจุดสีส้ม  ทั่วตัว สามารถปรับสีได้ตามสภาพแวดล้อมที่อาศัย  นิ้วมี 5 นิ้ว ใต้อุ้งนิ้วและ  นิ้วมีแผ่นบาง ๆ เรียงซ้อนกันเหมือนตะขอขนาดเล็กจ�ำนวนมาก ปลายนิ้วมีเล็บ  ช่วยในการปีนป่าย พฤติกรรม  ปรกตินอนเวลากลางวัน ออกหากินเวลากลางคืน แต่บางครั้งอาจ  ออกหากินในเวลากลางวันเช่นกัน ในเวลากลางวันมักหลบซ่อนตามซอกอาคาร  บ้านเรือน กองไม้ โพรงต้นไม้ หรือมุมอับต่าง ๆ เพศผู้ร้องเสียงดัง “ตุ๊ก-แก  ตุ๊ก-แก ตุ๊ก-แก” ซ�้ำ ๆ เพื่อหาคู่ อาหาร  ไข่นก ลูกนก นกขนาดเล็ก สัตว์ฟนั แทะขนาดเล็ก แมลง และสัตว์ไม่มี  กระดูกสันหลังอื่น


กลุ่มงู เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีล�ำตัวยาว ไม่มีขา เคลื่อนที่โดยการเลื้อย  มีลนิ้ สองแฉกส�ำหรับใช้รบั กลิน่   โดยทัว่ ไปแล้วงูจะกลัวคนและไม่กดั   นอกจากถูกรบกวนหรือบุกรุก  ส่วนใหญ่กินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม  ยกเว้นบางชนิดกินงูด้วยกัน  งูมีทั้งที่ไม่มีพิษ พิษอ่อน และพิษ  ร้ายแรง

232    คู่  มื  อ  ชี  วิ  ต  ป่  า  เ  มื  อ  ง  ก  รุ  ง


งูเหลือม

ไม่ มี พิ ษ  ปากใหญ่   ฟั น แหลมคม ขากรรไกร  แข็งแรงมาก ล�ำตัวมีสีพื้นเป็นสีน�้ำตาลแดงและมี  Reticulated Python ลายเป็ น วง ๆ หลายสี ท้ อ งสีข าว เมื่อ โตเต็ม วัย  Python reticulatus วงศ์  Pythonidae (วงศ์งูเหลือม) แล้วมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ใน  ขนาด 500 เซนติเมตร เมืองใหญ่ ๆ การจะพบงูเหลือมใหญ่ขนาดนั้นก็  ยากขึ้นทุกวัน พฤติกรรม  ชอบอยู่ใกล้น�้ำ จึงพบอาศัยได้ทั่วไปตามริมคลองหรือแม้แต่ใน  ท่อระบายน�้ำ อาหาร  สัตว์แทบทุกชนิด เช่น หนู สุนัข แมว

Golden Tree Snake  Chrysopelea ornata วงศ์  Colubridae (วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง) ขนาด 100 เซนติเมตร

ล� ำ ตั ว เพรี ย วยาวสี เ ขี ย วลายสี ด� ำ เป็ น  เอกลักษณ์ เป็นเจ้าของต�ำนานงูเขียว  กิ น ตั บ ตุ ๊ ก แก คื อ ขณะงู พ ยายามจั บ  ตุ๊กแกขนาดใหญ่เกินไปกินเป็นอาหาร  แล้วพลาดโดนตุ๊กแกงับหัวเสียเอง พฤติกรรม  หากินในเวลากลางวันตาม  ต้ น ไม้  ขี้ ตื่ น กลั ว   พบได้ บ ่ อ ยในเมื อ ง  ทั้งในบ้าน ในสวน ตึกสูงหลาย  ชั้นก็ยังสามารถเจอได้ อาหาร  จิ้งจกและตุ๊กแก Guide  to  Common  Wildlife  of  Bangkok    233

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

งูเขียวพระอินทร์


คู่มือชีวิตป่าเมืองกรุง ประกอบด้วย

เห็ดรา & พืช เห็ด ไลเคน พรรณพืช

สัตว มมีกระดูกสันหลัง หอยทากบก ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ตะขาบ แมงมุม แมลงปอ ตั๊กแตน

แมลงสาบ มวน ด้วง แมลงวัน ผีเสื้อ ผึ้ง ต่อ แตน  มด

สัตว์มีกระดูกสันหลัง ปลา สัตว์สะเทินน�้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน�้ำนม

ส นั บ ส นุ น โ ค ร ง ก า ร โ ด ย

ราคา 350 บาท ISBN 978-974-7076-36-3


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.