หนังสือ ท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม ผู้เขียน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2555 จ�ำนวนพิมพ์ 4,000 เล่ม ราคา 150 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ. ท่องยานเวลา บุกฝ่าอารยธรรม.--กรุงเทพฯ : สารคดี, 2555. 144 หน้า. 1. อารยธรรม. I. ชื่อผู้แต่ง. 2. ประวัติศาสตร์ 909 ISBN 978-974-7727-96-8
คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : กนกวรรณ โสภณวัฒนวิจิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปก/รูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ ส�ำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด) จัดจ�ำหน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2282-7003 เพลต เอ็น.อาร์. ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. 0-2433-7755-7 ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด/โฆษณา : ปฏิมา หนูไชยะ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ ที่ปรึกษาส�ำนักพิมพ์ : สุดารา สุจฉายา หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของน�้ำมันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากน�้ำมันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
จากส�ำนักพิมพ์ มีหลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้ชวนให้สงสัยใคร่รู้ บางเรื่องที่คิดว่า รู้แล้ว เอาเข้าจริงกลับยังมิรู้แน่ชัด แต่ก็เหลือวิสัยจะไปค้นคว้า หาค�ำตอบให้ได้ดัง ใจคิด คงได้แต่เพี ย งนึ ก อยากมี ประตู วิ เศษ สักบานเปิดไปโผล่ตรงจุดที่เราอยากรู้อยากดูให้เห็นกับตา ไปหา ค�ำตอบให้หายคาใจ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้สนุกกับการค้นคว้าหาความรู้ ใหม่ๆ อยู่เสมอ จะพาคุณผู้อ่านขึ้นยานเวลาเดินทางผ่านตัวอักษร ย้อนกลับไปสู่เรื่องราวที่น่าค้นหา สิ่งละอันพันละน้อยที่หยิบมา บอกเล่านั้นน่าสนใจชวนติดตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต�ำรากับข้าวเก่า แก่ที่สุดในโลก หรือโฉนดที่ดินแห่งโลกโบราณ รวมถึงวิธีการ เดินเรือในยุคโบราณ ศัลยกรรมความงามก�ำเนิดในอินเดีย หรือ แม้แต่วิธีการสร้างพีระมิดก็ยังมีอะไรๆ ให้พูดถึงอยู่เสมอ ฯลฯ ทัง้ หมดทีก่ ล่าวล้วนเป็นความรู ้ ความคิด ทักษะ และวิทยาการของ คนยุคโบราณที่ท�ำให้คนยุคปัจจุบันอย่างเราอดพิศวงแกมอัศจรรย์ ใจไม่ได้กับความรู้ความสามารถอันมิมีขีดจ�ำกัดนั้นๆ คุณผู้อ่านคงเห็นด้วยว่าความรู้คู่ความสนุกนั้นไปด้วยกันได้ ยิ่งเป็นลีลาการเล่าผ่านฝีมือของ ดร. บัญชาด้วยแล้ว คงไม่ต้อง การันตีให้มากความ ขอเชิญขึน้ ยานเวลาล�ำนีไ้ ปท่องอดีตกับผูเ้ ขียน กันเลย ส�ำนักพิมพ์สารคดี
ค�ำน�ำ
ในการตีพิมพ์ครั้งที่ 1-2 ในชื่อ เปิดกรุเวลา ผ่าอารยธรรม ความรู้ใหญ่น้อย รวมทั้งขีดความสามารถใน การสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ ของเราในปัจจุบัน ล้ ว นแต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ต ่ อ ยอดมาจากมรดกทาง ปัญญาที่ผู้คนจ�ำนวนมากในอดีตมอบให้ผ่าน เวลาอันยาวนาน บางอย่ า งเกิ ด ขึ้ น และพั ฒ นาภายใน วัฒนธรรมของตนเองจนมีเอกลักษณ์โดดเด่น เช่น การแพทย์แผนจีน บางอย่ า งเกิ ด ขึ้ น และพั ฒ นาจนถึ ง จุ ด สูงสุด แต่ก็เสื่อมสลายไปจนแม้กระทั่งคนใน ปัจจุบันก็ยังฉงน เช่น เทคโนโลยีในการสร้าง พีระมิดของอียิปต์โบราณ บางอย่ า งเกิ ด ขึ้ น ในที่ ห นึ่ ง แต่ ก ลั บ ไป เติบโตงอกงามในที่อื่น เช่น การท�ำศัลยกรรม ซ่ อ มแซมความงามบนใบหน้ า ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ใน อินเดีย แต่กลับได้รับการต่อยอดโดยการแพทย์ ทางตะวันตก บางอย่างก็เกิดขึน้ มานานหลายพันปี และ พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจวบจนถึงปัจจุบัน จน
ก้าวเข้าไปทับซ้อนกับปรัชญา (หรือแม้แต่อภิปรัชญา) เช่น ดารา ศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันมีทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการก�ำเนิดของ จักรวาลที่พิลึกพิลั่นไม่แพ้ค�ำอธิบายของคนโบราณในวัฒนธรรม ต่างๆ เพียงเท่านีก้ ค็ งจะพอเห็นมิตติ า่ งๆ ทีห่ ลากหลายของมนุษย์ บ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้ยกตัวอย่างบางมิติที่น่าสนใจโดยใช้กรณี ศึกษา แต่ไม่ว่าจะอ่านเล่นหรืออ่านจริง ก็เชื่อว่าน่าจะมีข้อมูลบาง อย่างที่ท�ำให้คุณได้ฉุกคิด และน�ำไปค้นคว้าต่อได้ตามความสนใจ ผมตระหนักดีว่าตนเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี หรืออารยธรรมโบราณ เป็นเพียงผูท้ ส่ี นใจ จึงค้นคว้าและ น�ำมาเล่าต่อเท่านั้น เป็นไปได้ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะเผลอ “ปล่อย ไก่” ออกไปจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ขอให้คุณผู้อ่านช่วย ชี้แนะแนวทางแก้ไขมาด้วย จักขอบคุณยิ่ง ขอขอบคุณ กองบรรณาธิการของจุดประกาย เสาร์สวัสดี หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณชุติมา ซุ้นเจริญ บรรณาธิการ ที่ได้ให้เกียรติแก่ผมในการน�ำเสนอบทความต่างๆ ที่ ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ผ่านคอลัมน์ “ท่องเวลา-ผ่าอารยธรรม” บัญชา ธนบุญสมบัติ ศุกร์ 30 มกราคม 2552
ค�ำน�ำ เรื่องแนวประวัติศาสตร์-โบราณคดีนั้น หาก เรี ย นรู ้ โ ดยเชื่ อ มโยงเข้ า กั บ มิ ติ ต ่ า งๆ ของ มนุษย์ ก็ยอ่ มจะมีชวี ติ ชีวาขึน้ มาอย่างมาก ใคร ที่ได้รู้ว่าวัตถุโบราณบางชิ้นอาจเล่าเรื่องราว การกินอยู่ สิทธิในการครอบครองที่ดิน หรือ แม้กระทั่งภูมิปัญญาทางคณิตศาสตร์ของคน เมื่อหลายพันปีก่อน ก็อาจจะรู้สึกสนุกหรือ ถึงกับทึ่ง (เหมือนผม) เลยทีเดียว อี ก มุ ม หนึ่ ง แก่ น ความคิ ด -ความเชื่ อ ของคนโบราณที่ส่งผ่านเป็นมรดกมาถึงเราใน ปัจจุบัน ได้มีส่วนก�ำหนดวิถีชีวิตทั้งแบบรู้ตัว และ (มัก) ไม่รตู้ วั ส่วนความคิด-ความรู-้ ทักษะ ต่างๆ ก็ก่อให้เกิดวิทยาการต่างๆ ที่เราใช้อยู่ มากมายในปัจจุบัน หากปราศจากความรู้เกี่ยว กับร่างกายของมนุษย์ที่สั่งสมกันมานาน ไฉน เลยเราจะมีการแพทย์ที่ละเอียดซับซ้อนอย่าง เช่นในปัจจุบัน ? หากปราศจากความรู้ในการ ออกแบบ-ก่ อ สร้ า ง ไฉนเลยเราจะมี ขี ด ความ สามารถในการสรรค์สร้างโครงสร้างใหญ่น้อย มากมายในตอนนี้ ?
ผมเชื่ อ ว่ า การได้ เ ข้ า ใจความคิ ด -ความเชื่ อ -ทั ก ษะความ สามารถของคนในอดีต จะเป็นกระจกสะท้อนที่อาจท�ำให้เราเข้าใจ ตนเองได้ดียิ่งขึ้น และนี่คือที่มาของการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ ใน หนังสือชุดนี้ (เล่มนี้เป็นเล่มแรก และจะมีเล่มอื่นๆ ตามมาเป็น ระยะ) ผมสนุกกับการค้นคว้าและเรียบเรียง และหวังว่าคุณผู้อ่าน จะสนุกกับการอ่านและน�ำไปต่อยอดเสาะหาความรู้-ความจริงได้ ตามความสนใจ
บัญชา ธนบุญสมบัติ พุธ 22 สิงหาคม 2555
สารบัญ Archaeology : โบราณคดี
เปิดต�ำราท�ำกับข้าวเก่าแก่ที่สุดในโลก ! 0 1 2 คูเดอร์รู โฉนดที่ดินแห่งโลกโบราณ 0 1 8 ไขปริศนาตราประทับทรงกระบอก VA 243 0 2 4 แท็บเลตคณิตศาสตร์ ณ รุ่งอรุณแห่งอารยธรรม 0 3 0
History : ประวัติศาสตร์
มัจฉาจมวารี ไซซี - หญิงงามผู้พลิกแผ่นดิน 0 3 8 ฮิตไทต์ มหาอ�ำนาจแห่งยุคโบราณ 0 4 4 รู้จัก Huns ที่ไม่ใช่ ‘ฮั่น’ ! 0 5 2
Culture : ปรัชญา ศาสนา & วัฒนธรรม จารวาก ปรัชญาวัตถุนิยมฉบับแรกของโลก 0 6 4 ศาสนาโซโรอัสเตอร์ มรดกความเชื่ออันทรงพลัง 0 6 8 มหาวีระ ศาสดาแห่งศาสนาเชน 0 8 0 ท�ำไมฮินดูจึงถือว่าวัวศักดิ์สิทธิ์ ? 0 9 0 จักรวาลทัศน์ นานาอารยธรรม 0 9 4
Technology : วิทยาการ
เดินเรือรอบทวีปแอฟริกาในสไตล์ฟีนิเชีย 1 0 0 การเดินเรือในยุคโบราณใช้อะไรน�ำทาง ? 1 0 8 คนอียิปต์สร้างพีระมิดได้อย่างไร ? 1 1 6 ย้อนรอยหัตถศาสตร์โบราณ 1 2 2 ปฐมคัมภีร์การแพทย์แดนมังกร 1 3 0 ศัลยกรรม (ซ่อม) ความงามถือก�ำเนิดในอินเดีย 1 3 8 008
ขออุทิศแด่
คุณเล็ก-คุณประไพ วิริยะพันธุ์ ผู้สร้างสรรค์เมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ และปราสาทสัจธรรม ไว้เป็นมรดกแก่มวลมนุษยชาติ
เปิดต�ำรา ท�ำกับข้าว เก่าแก่ที่สุดในโลก !
นบรรดาแผ่นดินเหนียวโบราณจ�ำนวนมากจาก อาณาจักรบาบิโลเนีย มีอยูส่ องแผ่นทีโ่ ดดเด่น อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นต�ำราอาหารเก่าแก่ ที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน เก่าขนาดย้อนกลับ ไปในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี เมื่อ 1750 ปีก่อน คริสตกาลโน่นเลย ต�ำราอาหารรุ่นเก่ากึ้กนี้จารึกด้วยภาษา อั ก คาเดี ย น (Akkadian) โดยใช้ อั ก ษรรู ป ลิ่ ม (cuneiform) ท�ำให้เรารู้ว่าต�ำราเหล่านี้น่าจะ เป็น “สูตรชาววัง” หรือไม่ก็สูตรส�ำหรับนักบวช เพราะคนทีอ่ า่ นออกเห็นจะมีแต่บรรดาอาลักษณ์ ที่ท�ำงานรับใช้กษัตริย์หรือนักบวชเท่านั้น ต�ำราแผ่นแรกมีสูตรท�ำอาหารประเภท ต้มเคี่ยว 25 สูตร เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ 21 อย่าง สูตรที่เหลือเป็นผักอีกสี่อย่าง ต�ำรา แผ่ น นี้ บ อกเฉพาะเครื่ อ งปรุ ง และล� ำ ดั บ การ เติมลงไปเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดวิธีการท�ำ หรือเวลาที่ใช้ 012
แผ่นจารึกต�ำราอาหาร แผ่นที่ 1 หรือ YBC 4644 (YBC ย่อมาจาก Yale Babylonian Collection)
เมือ่ เป็นเช่นนีน้ กั โบราณคดีเลยตีความว่า ต�ำราแผ่นนีน้ า่ จะ เป็นคู่มือส�ำหรับพ่อครัวหรือแม่ครัวมือโปรเท่านั้น ต�ำราแผ่นที่ 2 น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะแม้จะมีสูตรอาหาร เพียงแค่เจ็ดอย่าง แต่ให้รายละเอียดขั้นตอนการปรุงไว้แบบเห็น ภาพอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
013
แผ่นจารึกต�ำราอาหาร แผ่นที่ 2
ลองดูตวั อย่างเมนูจานเด็ดทีท่ ำ� จากนกตัวเล็กๆ ซึง่ ไม่แน่ชดั ว่าเป็นนกอะไร (แต่มีคนเดาว่าอาจจะเป็นนกกระทา) ดังนี้ “ตัดหัวและขาออก ผ่าล�ำตัวและท�ำความสะอาด โดยเก็บ กึน๋ และอวัยวะภายในอืน่ ๆ ทีใ่ ช้เป็นอาหารได้เอาไว้ ผ่ากึน๋ ออกและ ท�ำความสะอาด จากนัน้ ก็ลา้ งตัวนกและจัดรูปร่างให้แบนราบลงไป ตระเตรียมหม้อ และน�ำตัวนก กึน๋ และอวัยวะภายในใส่ลงไป เสร็จ แล้วก็น�ำหม้อไปตั้งไฟ” น่าสังเกตว่าตรงนี้ไม่ได้ระบุว่าให้เติมน�้ำหรือน�้ำมันลงหม้อ ด้วย ท�ำให้เชือ่ กันว่าอาจจะเป็นเพราะรูก้ นั ดีในหมูพ่ อ่ ครัวแม่ครัวอยู่ แล้วจึงละไว้ หลังจากต้มและปรุงในเบื้องต้นแล้ว สูตรท�ำอาหาร บอกขั้นตอนต่อไปว่า “น�ำหม้อที่มีนกอยู่กลับไปตั้งไฟใหม่ ใช้น�้ำเปล่าชะล้างหม้อ 014
รูปนูนแสดงการท�ำครัวในวังชิ้นนี้ ขุดค้นได้จากพระราชวังของพระเจ้าอัสสุรบานิปาล ที่เมืองนิเนเวห์ มีอายุราว 700 ปีก่อนคริสตกาล
อีกใบ ใส่นำ�้ นมลงในหม้อใบใหม่และน�ำหม้อไปตัง้ ไฟ รินน�ำ้ ออกจาก หม้อ (ทีม่ นี กอยู)่ ตัดส่วนทีก่ นิ ไม่ได้ออก เติมเกลือลงในส่วนทีเ่ หลือ และน�ำไปใส่ในหม้อใบที่มีน�้ำนม จากนั้นก็เติมไขมันลงไป เติม ต้นรู (rue) ซึง่ ถูกเด็ดและท�ำความสะอาดแล้ว เมือ่ น�ำ้ นมเดือด เติม ต้นกระเทียมบดแล้ว (minced leek) กระเทียม ซามิดู (samidu) และหัวหอม (แต่อย่าเติมหัวหอมมากเกินไป)” (ยังไม่มใี ครทราบว่า “ซามิดู” ที่กล่าวถึงในสูตรอาหารนี้ว่าคืออะไร) ระหว่างทีร่ อให้เมนูนกรสเด็ดเสร็จได้ทอี่ ยูน่ นั้ ก็เตรียมเครือ่ ง เคียงควบคู่กันไป ดังนี้ “เติมน�้ำลงในข้าวบด แล้วเติมน�ำ้ นมลงไปให้เนื้อข้าวบดนุ่ม จากนัน้ เติมเกลือ ซามิด ู ต้นกระเทียมและกระเทียม เติมน�ำ้ นมและ น�้ำมันให้เพียงพอเพื่อให้ได้เนื้อแป้งนุ่ม น�ำไปให้ความร้อนสักพัก 015
คูเดอร์รู
โฉนดที่ดินแห่งโลกโบราณ
ล
018
องจินตนาการว่าคุณมีชีวิตอยู่ในดินแดนแถบ บาบิ โ ลเนี ย ในช่ ว งราว 1600-1200 ปี ก ่ อ น คริสตกาล อันเป็นยุคสมัยที่ราชวงศ์แคสไซต์ (Kassite) ปกครองอยู่ อะไรกันเล่าที่ยืนยัน ว่ า คุ ณ มี สิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิน ที่ คุ ณ อาศั ย และท� ำ มา หากินอยู่นั้น ? ค�ำตอบคือ แท่งศิลาที่เรียกว่า คูเดอร์รู (Kudurru) ค�ำค�ำนีเ้ ป็นภาษาอักคาเดียน (Akkadian) หมายถึง เขตแดน (frontier) หรือขอบเขต (boundary) แท่ ง ศิ ล านี้ เ ป็ น เอกสารสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น ซึ่ ง กษั ต ริ ย ์ ผู ้ ป กครองมอบให้ แ ก่ พ ลเมื อ งผู ้ ที่ ไ ด้ รับสิทธิ์นั้น เนื้อหาหลักมีสองส่วน ส่วนแรก เป็นภาพสัญลักษณ์ของเทพเจ้าผู้คอยปกป้อง สัญญาและสัญลักษณ์อื่นๆ อีกส่วนหนึ่งเป็น เนื้อหาของสัญญาจารึกด้วยอักษรรูปลิ่ม ซึ่งปิด ท้ายด้วยค�ำสาปแช่งผู้ที่ละเมิดสัญญา หรือใคร
ก็ตามที่เคลื่อนย้ายหรือท�ำลายคูเดอร์รูนี้ เนื้อหาหลักทั้งสองส่วนอาจจะจารึกอยู่บนหน้าเดียวกัน คือ ส่วนแรกอยูด่ า้ นบนและส่วนหลังอยูด่ า้ นล่าง ดังทีป่ รากฏบนคูเดอร์รู กายยู มีโ ชซ์ (Caillou Michaux) และคู เ ดอร์ รู แ ห่ ง กู ล า-อี เ รช (Kudurru of Gula-Eresh) หรืออาจจะอยู่คนละหน้าก็ได้ ดังเช่น คูเดอร์รูแห่งเมลิชิฮู (Kudurru of Melishihu) ในทางปฏิบัติ แท่งศิลาของจริงถูกเก็บรักษาไว้ที่วิหาร โดย ผู้ได้รับมอบที่ดินจะได้รับชิ้นส�ำเนาซึ่งท�ำจากดินเหนียวเพื่อใช้ระบุ เขตแดนและยืนยันสถานภาพความเป็นเจ้าของที่ดินของตน
กายยู มีโชซ์ (Caillou Michaux) คูเดอร์รู ซึ่งค้นพบโดย อองเดร มีโชซ์ นักพฤกษศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส
019
คูเดอร์รูแห่งกูลา-อีเรช หรือ ME 102485
020
ลองมาดูรายละเอียดจากคูเดอร์รแู ห่งกูลา-อีเรชเป็นตัวอย่าง แท่งศิลานีส้ งู 14.25 นิว้ ยาว 9 นิว้ และกว้าง 5 นิว้ สร้างขึน้ ในช่วง 1125-1100 ปีก่อนคริสตกาล และ (คาดว่า) พบที่อิรักทางตอนใต้ ปัจจุบันอยู่ที่ British Museum ในห้อง 55 Mesopotamia โดย มีรหัสคือ BM 102485 หรือ ME 102485 คูเดอร์รเู ป็นสัญญาซึง่ เอียนา-ซูมา-อิดดินา (Eanna-sumaiddina) ผู้ปกครองซีแลนด์ (Sealand) ได้มอบที่ดินให้แก่ชาย ชื่อ กูลา-อีเรช (Gula-Eresh) เนื้อหามีข้อความระบุขอบเขตของ พื้นที่ แถมยังระบุชื่อพนักงานส�ำรวจพื้นที่ชื่อ อาเมอร์รู-เบล-เซรี (Amurru-bel-zeri) และชื่อของเจ้าหน้าที่ระดับสูงอีกสองคนซึ่ง ท�ำหน้าที่ส่งมอบที่ดินอีกด้วย ดินแดนที่เรียกว่าซีแลนด์คือพื้นที่บริเวณชายฝั่งทางใต้ของ อิ รั ก ในปั จ จุ บั น และเป็ น หนึ่ ง ในพื้ น ที่ ท างเศรษฐกิ จ ดี ที่ สุ ด ของ บาบิโลเนีย เดิมทีปกครองโดยราชวงศ์ซแี ลนด์ แต่ตอ่ มาถูกกษัตริย์ ชาวแคสไซต์เข้ายึดครองเมื่อราว 1500 ปีก่อนคริสตกาล สัญลักษณ์บริเวณด้านบน เช่น สัญลักษณ์ของเทพสุริยะ ชามาช (Shamash) สัญลักษณ์จนั ทร์เสีย้ วของเทพจันทรา ซิน (Sin) และสัญลักษณ์ดาวแปดแฉกของเทพีอิชทาร์ (Ishtar) ซึ่งเป็นเทพี แห่งความอุดมสมบูรณ์และสงคราม ถัดลงมามีภาพแท่นบูชาซึ่งรองรับสัญลักษณ์ของเทพเจ้า อื่นๆ เช่น เทพซึ่งมีเครื่องประดับพระเศียรรูปร่างคล้ายเขาสัตว์ (นักวิชาการบางคนก็วา่ เปลวไฟ) รูปสามเหลีย่ มคล้ายพลัว่ (triangle spade) เป็นสัญลักษณ์แทนเทพมาร์ดุก (Marduk) และรูปลิ่มของ เทพนาบู (Nabu) ซึ่งเป็นเทพแห่งการเขียน จุดน่าสนใจซึ่งบางคนถือว่าเป็นสีสันของคูเดอร์รู ได้แก่ ค�ำ สาปแช่งในส่วนสุดท้ายของสัญญา ในกรณีของคูร์เดอร์รูแห่งกูลาอีเรชมีข้อความน่าขนพองสยองเกล้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “...ขอให้เทพเจ้าผูย้ งิ่ ใหญ่ ได้แก่ อะนู (Anu) เอนลิล (Enlil) เอีย (Ea) และนินมาห์ (Ninmah) ทรงสาปแช่งเขาด้วยค�ำสาปแช่ง 021
มัจฉาจมวารี ไซซี - หญิงงามผู้พลิกแผ่นดิน
จี
038
นมีประวัติศาสตร์เนิ่นนานหลายพันปี และมี บันทึกเกี่ยวกับหญิงงามไว้มากมาย แต่หาก ถามว่าสตรีที่งดงามที่สุดในยุคโบราณคือใคร ค�ำตอบแรกสุดน่าจะเป็น ซีซือ หรือที่คนไทย เรียกว่า ไซซี ตามส�ำเนียงฮกเกี้ยนในเรื่อง เลียดก๊กนั่นเอง ชี วิ ต ของไซซี เ กี่ ย วพั น กั บ การเมื อ งการ ปกครองในยุ ค ที่ เ ธอมี ชี วิ ต อยู ่ คื อ ยุ ค ชุ น ชิ ว อย่างมาก ยุคชุนชิวเริ่มตั้งแต่ปี 722 จนถึงปี 476 ก่อนคริสตกาล เป็นส่วนหนึง่ ในสมัยราชวงศ์ โจวตะวันออก น่ารู้ไว้ด้วยว่ามีคนดังระดับโลก อยู่ร่วมสมัยกับไซซีอีกหลายคน เช่น ขงจื๊อจอม ปราชญ์ และซุนวูผู้แต่งคัมภีร์พิชัยสงครามอัน เลื่องชื่อ ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก ราชส�ำนัก โจวมีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วอี้ แต่ก็มีอ�ำนาจน้อยนิด
ไซซี ในจินตนาการของจิตรกร
เพราะอ�ำนาจทีแ่ ท้จริงอยูใ่ นมือของอ๋องแห่งแคว้นต่างๆ โดยรอบที่ แย่งชิงความเป็นใหญ่กนั ตลอด แคว้นทีส่ ำ� คัญ ได้แก่ ฉิน จิน้ ฉี ซ่ง ฉู่ อู๋ และเย่ว์ เรื่องของสาวงามไซซีเกี่ยวพันกับสองแคว้นสุดท้าย นี้ ได้แก่ อู๋และเย่ว์ นี่เอง เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นแบบแค้นนี้ต้องช�ำระ (ตามสไตล์นิยายจีน) โดยเจ้าแห่งแคว้นอู๋ชื่อ หวางฟูไซ ได้เปิดศึกและเอาชนะแคว้นเย่ว์ เพื่อล้างแค้นให้พ่อ ท�ำให้โกวเจี้ยนกับภรรยาถูกจับตัวเป็นเชลยอยู่ ที่แคว้นอู๋ ฟูไซแกล้งโกวเจีย้ นและภรรยาต่างๆ นานา เช่น ให้โกวเจีย้ น เฝ้าสุสานเหอหลู เลีย้ งม้า และจูงม้า ส่วนภรรยาก็ให้กวาดคอกม้า และเช็ดรถ พูดภาษาสมัยนี้คือฟูไซเหยียบย�่ำศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของโกวเจี้ยนซะป่นปี้ไม่มีชิ้นดี โกวเจี้ยนยอมทนความอัปยศ โดยท�ำทุกอย่าง เพือ่ ลวงให้ฟไู ซตายใจ อีกทัง้ ยังติดสินบนป๋อผี-่ ขุนนาง คนส�ำคัญของแคว้นอู ๋ จนฟูไซยอมปล่อยให้กลับไป ครองแคว้นเย่ว ์ (ในฐานะเมืองขึน้ ของแคว้นอู)๋ หลังจากตกเป็นเชลยอยู่ 3 ปี
โกวเจี้ยน
039
Zhou Dynasty The Spring and Autumn Period (770-464 BCE)
อาณาจักรจีนสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก
เมื่อกลับถึงแคว้นเย่ว์ โกวเจี้ยนจึงตั้งปณิธานว่าจะต้อง ล้างอายให้จงได้ โดยซุ่มสร้างกองก�ำลังขึ้นมาเพื่อรอโอกาส ทั้งนี้ โกวเจี้ยนยังเตือนตัวเองด้วยการกินอยู่อย่างเรียบง่าย นอนบน เสื่อ และหนุนฟืนต่างหมอน ส่วนในห้องพักก็แขวนดีสัตว์เอาไว้ ก่อนกินอาหารแต่ละมือ้ ก็จะชิมรสขมของดีนนั้ ก่อน พฤติกรรมของ โกวเจี้ยนนี้ต่อมากลายเป็นส�ำนวนจีน “โว่ซินฉางต่าน” ซึ่งอาจารย์ เล่า ชวน หัว แปลเล่นสัมผัสว่า “ทนนอนบนท่อนฟืน กล�้ำกลืนรส ดีขม” อันหมายถึงความอดทนที่มีปณิธานแน่วแน่ นอกจากนี้ขุนนางคนส�ำคัญของแคว้นเย่ว์คือ ฟ่านหลีและ เหวินจ้ง ได้เสนอ “กลสาวงาม” เพื่อท�ำให้หวางฟูไซลุ่มหลง สาว งามสองคนคื อ ไซซี แ ละเจิ้ ง ตั้ น ได้ รั บ การคั ด เลื อ กเพื่ อ ภารกิ จ นี้ ก่อนส่งตัวไปได้ฝึกสอนศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น การขับร้อง การฟ้ อ นร� ำ รวมทั้ ง กิ ริ ย ามารยาทต่ า งๆ เพื่ อ ปรนนิ บั ติ ผู ้ ช าย ระหว่างที่ฝึกสอนอยู่ราว 3 ปีนี้ ต�ำนานเล่าว่าฟ่านหลีกับไซซีตก 040
หลุมรักซึ่งกันและกัน แต่ภารกิจเพื่อแผ่นดินเกิดนั้นยิ่งใหญ่กว่า จึงต้อง “จ�ำใจ จ�ำจากเจ้า จ�ำจร” ฝ่ า ยฟู ไ ซเมื่ อ ได้ ย ลโฉมสาวงามทั้ ง สองก็ น�้ ำ ลายหก รี บ รับไว้ ไม่ฟังค�ำทักท้วงใครทั้งนั้น บางต�ำรากล่าวว่า ช่วงนี้ซุนวูก็ ยังท�ำงานให้ฟไู ซอยู ่ แต่เมือ่ เห็นว่าฟูไซลุม่ หลงอิสตรีจนสุดจะปราม แล้ว จึงปิดต�ำราขอลาออกไปใช้ชีวิตในชนบท ไซซีงดงามขนาดไหนไม่มีเอกสารร่วมสมัยบรรยายไว้ แต่ หนังสือเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงคือ หนังสือของจวงจื่อ (ราว พ.ศ. 74-167) ระบุไว้ว่า ขนาดไซซีเอามือกุมหัวใจ ท�ำหน้านิ่วเพราะรู้สึก เจ็บ ก็ยังงดงามนัก ส่วนหลีไ่ ป๋ ยอดกวีของจีน (พ.ศ. 1244-1305) พรรณนาความ งามของไซซีเอาไว้ว่า “ได้ยลโฉมนงนุชสุดโสภา แม้มัจฉาตะลึงชม จมวารี” คือ ไซซีนั้นเดิมเป็นคนฟอกด้าย เมื่อไปฟอกด้ายที่ริมน�้ำ ปลาที่ก�ำลังว่ายน�้ำอยู่แลเห็นเข้า ถึงขนาดตกตะลึง เอาแต่จ้องจน ลืมว่าย ท�ำให้จมดิ่งลงในน�้ำ จนเป็นที่มาของ “มัจฉาจมวารี” อัน ลือลั่น มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสติปัญญาอันลึกล�้ำของไซซีด้วยว่า ครั้ง หนึ่ ง ฟู ไ ซฝั น ร้ า ยเห็ น ตะวั น ดั บ ลั บ ฟ้ า ทะเลเหื อ ดแห้ ง ภู เ ขา พังทลาย และดอกไม้เฉาโรย ขุนนางชื่อหวู่จื่อซีจึงเตือนสติว่าเป็น เพราะท่านอ๋องละเลยราชการแผ่นดิน มัวเมาในสุรานารี ในขณะที่ โกวเจีย้ นนอนหนุนฟืนแข็งกินดีขม จ้องล้างแค้น จึงควรฆ่าโกวเจีย้ น แล้วไล่หญิงงามจากแคว้นเย่ว์ออกไปซะ ฟูไซได้ฟังก็กังวลแต่ยังตัดใจไม่ลง ครั้นเมื่อไซซีรู้เข้าก็แก้ เกมโดยแสร้งหัวเราะแล้วบอกว่า ขุนนางท่านอ๋องพวกนีล้ ว้ นไม่เอา ไหน นี่เป็นฝันดีแท้ๆ ก็ไม่เข้าใจ ฟูไซจึงสงสัยยิ่ง ถามว่าฝันนี้ ดียังไง ไซซีจึงแก้ฝันเป็นบทกวี โดยอาจารย์ถาวร สิกขโกศล ถอด ความเป็นกลอนไทยไว้ดังนี้
041