ตามรอยสามก๊ก จากจีนสู่บางกอก กวนอู จากขุนพล สู่เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์

Page 1

7TCEOD 9è+4*2!9$"<L2Q9 8k 9 D2 /$ 2ę9$ < ò@D&Ĕ*ĝ Dò4ò$9$ Dò4D&Ĕ*ĝ D <*é @ 9$ < E-7 é ;Lé

> A % 6E ï & > 9 3%9E > D % *1 6E ï I #*I ð > 4= @U 6@ # $@U

'/@3= %ó =%#/

28 9+709-D Ě9 /$4@ G$ +?éD"ê6 è)9ê2-8 0;-9 E-7)9ê ; + ++è29è Ĝ


ISBN 978-616-465-047-3 หนังสือ  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก : กวนอู จากขุนพลสู่เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ผู้เขียนและถ่ายภาพ  ปริวัฒน์ จันทร © สงวนลิขสิทธิ์โดยส�ำนักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด  ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ ราคา ๔๙๙ บาท

คณะผู้จัดท�ำ บรรณาธิการเล่ม : นฤมล สุวรรณอ่อน   ออกแบบปกและรูปเล่ม : ชาญศักดิ์ สุขประชา   คอมพิวเตอร์ : วัลลภา สะบู่ม่วง  วันทนี เจริญวานิช พิสูจน์อักษร : นวลจันทร์ ทองมาก   ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด (ส�ำนักพิมพ์สารคดี) จัดจ�ำหน่าย  บริษัทวิริยะธุรกิจ จ�ำกัด ๓ ซอยนนทบุรี ๒๒ ถนนนนทบุรี (สนามบินน�้ำ) ต�ำบลบางกระสอ   อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐  โทร. ๐-๒๕๔๗-๒๗๐๐ (อัตโนมัติ) โทรสาร ๐-๒๕๔๗-๒๗๒๑ เพลต  เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. ๐-๒๒๑๕-๗๕๕๙ พิมพ์  โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. ๐-๒๔๓๓-๗๗๐๔ ส�ำนักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำนวยการ : สุวพร ทองธิว   ผู้จัดการทั่วไป : จ�ำนงค์ ศรีนวล   ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง   ผู้อ�ำนวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จ�ำนงค์ ศรีนวล   ผู้จัดการฝ่ายตลาด/โฆษณา : กฤตนัดตา หนูไชยะ   บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของนํ้ามันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากนํ้ามันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

AW3Kok-1-122_final.indd 2

10/19/2564 BE 3:32 PM


จากส�ำนักพิมพ์

วรรณกรรมสามก๊ก คือวรรณกรรมระดับโลก เป็นมรดกทางภูมิปัญญา  ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของจีน ที่ขจรขจายแพร่หลายสู่นักอ่าน  ทุกเพศทุกวัย จากอดีตถึงปัจจุบัน  นอกจากหนังสือและหนังสือแปลที่  เผยแพร่ตัววรรณกรรมเอง ยังมีผู้เขียนหนังสืออีกจ�ำนวนมากที่เก็บเกี่ยว  เนื้อหาและตัวละครจากสามก๊ก มาน�ำเสนอในแง่มุมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น  วาทะค�ำคม พิชัยสงคราม ปรัชญาชีวิต กลยุทธ์การบริหาร รวมทั้งยังมี  ภาพยนตร์ ซีรีส์โทรทัศน์ หนังสือการ์ตูนหรือมังงะ เกมออนไลน์ ทั้งแบบ  เดินเรื่องตามวรรณกรรมต้นฉบับ หรือตีความใหม่เพื่อสร้างความร่วมสมัย สามก๊ก จึงเป็นวรรณกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วโลก  และหนึ่งในนั้นคือ  ปริวัฒน์  จันทร ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ สามก๊ก  ที่  พิเศษสุดเล่มนี้ พิเศษสุด เพราะในบรรดาหนังสือสามก๊ก ทั้งหมดทั้งปวง อาจกล่าว  ได้ว่าตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก : กวนอู จากขุนพลสู่เทพเจ้า ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเล่มเดียวที่จะพาผู้อ่านเดินทางไปสัมผัสสถานที่ส�ำคัญตาม  ท้องเรื่องมากแห่งที่สุด โดยผู้เขียนใช้เวลาเก็บเกี่ยวจากประสบการณ์  การเดินทางในประเทศจีนหลายครั้งหลายหนเป็นเวลาถึง ๘ ปี  ตัวละครอย่างเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ขงเบ้ง บังทอง จิวยี่ ซุนกวน  ฯลฯ รวมถึงบ้านเมือง สมรภูมิ และเหตุการณ์ส�ำคัญต่าง ๆ นั้นจะปรากฏ  ตามสถานที่และภูมิประเทศจริงในลักษณะและบรรยากาศเช่นไร เชื่อว่าแฟนพันธุ์แท้สามก๊ก ทุกคนต่างอยากรู้ และอยากไปสัมผัส  ด้วยตาตนเองสักครั้ง

ปริวัฒน์ จันทร 3

AW3Kok-1-122_final.indd 3

10/19/2564 BE 3:32 PM


ยิ่งกว่านั้นเมื่อกวนอู ยอดขุนพลผู้ยึดมั่นสัจจะ ได้รับความศรัทธา  จากประชาชนสื บ ต่ อ มาเป็ น พั น ปี   จนกลายเป็ น เทพเจ้ า กวนกงแห่ ง  โชคลาภ  ผู้เขียนจึงพาผู้อ่านไปคารวะศาลเจ้ากวนอูต่าง ๆ ในประเทศจีน  แล้วย้อนกลับมาเมืองไทย สัมผัสความฮอตฮิตแต่ครั้งอดีต จนเป็นหนึ่งใน  วรรณกรรมต่างประเทศเพียงไม่กี่เรื่องที่มีปรากฏภาพในวัดวาอาราม  และศาลเจ้า นอกจากเรื่องราวหลักในสามก๊ก ตลอดรายทางผู้เขียนยังเก็บเกี่ยว  เรื่องราวของอาหาร ต�ำนานท้องถิ่น บุคคลในประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อม  โยงกับสามก๊ก มาเล่าเป็นเกร็ดความรู้สนุก  ๆ ขยายมุมมองซึ่งผู้อ่าน  แฟนสามก๊ก ไม่เคยรับรู้มาก่อน เชื่อว่าใครก็ตามเมื่ออ่านวรรณกรรมสามก๊ก จะเกิดความชื่นชอบ  กับตัวละครบางตัวเป็นพิเศษ ทั้งจดจ�ำและประทับใจกับเหตุการณ์บางตอน  ไม่ลืมเลือน ส�ำนักพิมพ์สารคดีก็เชื่อมั่นเช่นกันว่า  ตามรอยสามก๊กจากจีน สู่บางกอก จะท�ำให้ผู้อ่านชื่นชอบกับสถานที่บางแห่งหรืออาจหลายแห่ง  เป็นพิเศษ และมีความหวังว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตจะได้เดินทางตามรอย  ไปยังสถานที่เหล่านั้นในประเทศจีนบ้าง ณ บัดนี้ ขอเชิญเปิดหนังสือในมือ และร่วมเดินทางไปกับผู้เขียน  ปริวัฒน์ จันทร ถือเป็นก้าวแรกของการพลิกตัวอักษรกว่าพันปีให้เห็น  เป็นภาพจริงในวันนี้ สิขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน...เก่า ๆ ใหม่ ๆ เสพสราญ ว่ากันไป ส�ำนักพิมพ์สารคดี ตุลาคม ๒๕๖๔

4  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-1-122_final.indd 4

10/19/2564 BE 3:32 PM


ค�ำน�ำผู้เขียน

ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก : กวนอู จากขุนพลสู่เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ หนังสือที่เพื่อนนักอ่านก�ำลังเปิดอยู่ในเวลานี้ อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนังสือ  ที่ผู้เขียนใช้เวลาในการรอคอยโอกาสไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการ  เดินทางในหลายทริปหลายเมืองหลายมณฑลของจีนที่ยาวนานสุด ทั้งในมณฑลเสฉวน ส่านซี หูเป่ย์ เหอหนาน เหอเป่ย์ เจียงซู  ซานซี และฉงชิ่ง จึงสามารถรวบรวมและเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือ  เล่มนี้ เพื่อให้เพื่อนนักอ่านและแฟนสามก๊ก ได้รับประสบการณ์ตรง  จากการเดินทางไปเยือนสถานที่ส�ำคัญตามพงศาวดารเอกของโลกสามก๊ก ที่มีอยู่จริงให้มากที่สุด การเดินทางตามรอยเส้นทางสามก๊กนี้ ด้วยแรงบันดาลใจของ  ผู้เขียนตั้งแต่สมัยวัยเด็กที่ได้รับหนังสืออ่านนอกเวลาเล่มแรกจากคุณ  พ่อคุณแม่คือ สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)  ต่อมาเมื่อได้ชม  ภาพยนตร์ซีรีส์โทรทัศน์ชุด สามก๊ก ฉบับ ค.ศ. ๑๙๙๔ ก็ยิ่งใฝ่ฝันว่า  สถานทีท่ ปี่ รากฏตามพงศาวดารและภาพยนตร์ทเี่ ราคุน้ ชือ่ กันนัน้  มีอยูจ่ ริง  ในประเทศจี น หรื อ ไม่   และอยากไปตามรอยให้ เ ห็ น กั บ ตามากที่ สุ ด  สักครั้งหนึ่ง  เมื่อมีโอกาสเดินทางไปประเทศจีน ก็พยายามจัดทริปให้ผูกโยง  เข้ากับสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสามก๊ก หรือบางครั้งก็ไปพบสถานที่เหล่า  นั้นโดยบังเอิญ เช่น จัตุรัสหลอก้วนจงในนครไท่หยวน มณฑลซานซี  บ้านเกิดแม่นางเตียวเสี้ยนที่เมืองอวิ๋หลิน ภาคเหนือของมณฑลส่านซี  หรือศาลเจ้านักรบอู่จั้งหยวนในเมืองเป่าจี มณฑลส่านซี บนเส้นทาง

ปริวัฒน์ จันทร 5

AW3Kok-1-122_final.indd 5

10/19/2564 BE 3:32 PM


สายแพรไหม เป็นต้น รวมทั้งได้เชื่อมโยงวัฒนธรรมสามก๊กที่เข้ามา  สู่บางกอกในหลากหลายรูปแบบที่น่าสนใจ ตามรอยสามก๊กจากจีนสูบ่ างกอก เล่มนีแ้ บ่งออกเป็นสีภ่ าคด้วยกันคือ ภาค ๑ ตามรอยเส้นทางสามก๊กในเสฉวน หรือซานกว๋อสู่เต้า  เป็นเส้นทางสามก๊กที่คลาสสิกที่สุด  เพราะอยู่ในมณฑลเสฉวนเกือบ  ทั้งหมด เป็นเส้นทางที่แฟนสามก๊ก รู้จักกันดีมากที่สุด มีสถานที่น่าสนใจ  ศึกษาเรียนรู้มากมาย  ในภาคนี้เรียบเรียงเป็นเรื่องราวทั้งการยกทัพ  เข้าเสฉวนของเล่าปี่ และการออกศึกกิสานของขงเบ้ง จนถึงวาระสุดท้าย  ในชีวิตของท่าน ภาค ๒ ตามรอยสามก๊กบนสองฝั่งแม่น�้ำแยงซี ฮั่นซุย และฮุยโห ที่ตั้งอยู่กระจัดกระจายในหลายมณฑลใจกลางประเทศจีนบนสองฝั่ง  แม่น�้ำสายส�ำคัญ อันเป็นดินแดนที่ทั้งสามก๊กต่างหมายปองแย่งชิงมา  ครอบครองเพื่อความเป็นใหญ่ เป็นการตามรอยเส้นทางสามก๊กที่ใช้  ระยะเวลายาวนานที่สุดของผู้เขียน ภาค ๓ กวนอู จากขุนพลสู่เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์  ท�ำไมขุนพลกวนอู  จึงได้รับยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ จงรักภักดี และหาญกล้า  เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวจีน  ชาวไทย  ในภาคนี้จะพาเพื่อนนัก อ่านไปเยือนศาลกวนอูที่ส�ำคัญที่สุดในชีวิตของท่านครบทั้งห้าแห่งใน  สี่เมืองคือ อวิ้นเฉิง มณฑลซานซี, ลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน, ตังหยาง  และจิงโจว มณฑลหูเป่ย์  ภาค ๔ สามก๊กในบางกอก  มรดกทางวัฒนธรรมของสามก๊ก ได้มาปรากฏอยู่ในสถานที่ส�ำคัญในบ้านเราจ�ำนวนมาก ทั้งภาพสลักศิลา  ศาลเจ้า จิตรกรรมฝาผนัง รูปปั้น ภาพเขียน รวมถึงอุปรากรจีนตอน  ส�ำคัญของเรื่องสามก๊ก ที่นิยมจัดแสดงเพื่อถวายศาลเจ้าพ่อกวนอูหรือ  ศาลเจ้าต่าง ๆ ซึ่งหาชมได้ในช่วงงานเทศกาลส�ำคัญของชาวไทยเชื้อ  สายจีนในบ้านเรา ผลงานตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก เล่มนี้มิอาจส�ำเร็จได้เลย  หากขาดแรงสนับสนุนจากคุณสุวฒ ั น์ อัศวไชยชาญ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์

6  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-1-122_final.indd 6

10/19/2564 BE 3:32 PM


สารคดี ผู้เป็นทั้งเพื่อนร่วมทางและผู้สนับสนุนให้เขียนบทความ (ใน  ภาค ๑ ของหนังสือเล่มนี)้  ลงในนิตยสารสารคดี ฉบับรายเดือนเมือ่ หลายปี  ก่อน และรอคอยผู้เขียนไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาให้มากที่สุด เพื่อมา  รวมผลงานเล่มครั้งนี้  อาจารย์ทองแถม นาถจ�ำนง (“โชติช่วง นาดอน”)  ที่กรุณาให้นำ� ผลงานแปลบทกวีที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊ก หลายบท  อาจารย์  เดวิด บุญทวี ที่กรุณาเขียนภาคผนวกเรื่อง “สยามสามก๊ก” เพื่อให้เนื้อหา  ในภาค ๔ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น  “มหา สุรารินทร์” หรือ  คุณชัยวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต เพื่อนน�้ำหมึกที่มอบบทกลอนร�ำลึกถึงสถานที่  ส�ำคัญบนเส้นทางสามก๊ก  และคุณนฤมล สุวรรณอ่อน บรรณาธิการเล่ม  ผู้ใส่ใจรายละเอียดของหนังสือเล่มนี้  ที่มีทั้งชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ค�ำ  ในภาษาจีนเป็นจ�ำนวนมาก (ผู้เขียนพยายามใช้คำ� อ่านภาษาจีนให้คุ้นเคย  ในการออกเสียงกับผู้อ่านมากที่สุด)  ท้ายที่สุดต้องขอขอบพระคุณเพื่อน  นักอ่านทุกท่านที่ได้ให้ความสนใจและสนับสนุนหนังสือเล่มนี้ และหวัง  เป็นอย่างยิ่งว่า ทุกหน้านับจากนี้ไปจะสร้างแรงบันดาลใจไม่มากก็น้อย  ให้แก่เพื่อน ๆ ได้ออกท่องไปบนเส้นทางสามก๊กจากจีนสู่บางกอก อัน  เป็นพงศาวดารจีนที่ชาวโลกและชาวไทยรักและรู้จักดีมากที่สุดกันต่อไป ด้วยจิตน้อมคารวะ ปริวัฒน์ จันทร Pariwat8899@gmail.com FB : Pariwat Chanthorn ต้นเหมันตกาล ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔

ปริวัฒน์ จันทร 7

AW3Kok-1-122_final.indd 7

10/19/2564 BE 3:32 PM


สารบัญ บทน�ำ ภาค ๑ : ตามรอยเส้นทางสามก๊กในเสฉวน

๑๐ ๑๗

ศาลเจ้านักรบ สุสานเล่าปี่ ฟู่เล่อซาน และด่านโปยสิก๋วน เนินหงส์ร่วง สุสานบังทอง เจาฮว่ากู่เฉิง-ด่านแฮบังก๋วน ล่างจง เมืองเตียวหุย ด่านเกียมก๊ก ปราการอันดับ ๑ กลางขุนเขา ค่ายบัญชาการรบของขงเบ้งที่ฮันต๋ง และด่านยังเบงก๋วน คารวะสุสานขงเบ้งที่เตงกุนสัน

๓๓ ๔๙ ๕๓ ๖๔ ๙๐ ๑๐๐ ๑๐๖ ๑๑๒

ภาค ๒ : ตามรอยสามก๊ก บนสองฝั่งแม่น�้ำแยงซี ฮั่นซุย และฮุยโห

๑๒๓

เกงจิ๋ว เมืองกวนอู เป๊กเต้เสีย เมืองเล่าปี่สิ้นลม หลงจง เขาโงลังกั๋ง บ้านของขงเบ้งอยู่ที่ใดแน่ ? เขาโงลังกั๋งกับแม่ทัพงักฮุย และฎีกาออกศึก ซงหยง อ้วนเสีย เมืองฝาแฝดบนสองฝั่งแม่น�้ำฮั่นซุย ตังหยาง สมรภูมิเตียงปันโป๋ ซื่อปี้ ยุทธนาวีหน้าผาแดง ลมใบไม้ร่วง ณ อู่จั้งหยวน สามพี่น้องร่วมสาบานที่สวนดอกท้อเมืองตุ้นกวน ชิงสวี บ้านเกิดหลอก้วนจง แม่นางเตียวเสี้ยน ใครว่าไม่มีตัวตนจริง ?! เจี่ยงหลิง สุสานซุนกวนกลางสวนดอกเหมย

๑๔๐ ๑๔๘ ๑๕๙ ๑๗๑ ๑๗๘ ๑๙๗ ๒๐๐ ๒๐๖ ๒๑๘ ๒๒๑ ๒๒๔ ๒๒๗

8  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-1-122_final.indd 8

10/19/2564 BE 3:32 PM


สวี่ชาง ราชธานีวุยก๊ก เกาหลิง ปริศนาสุสานโจโฉ สุสานม้าเฉียว หนึ่งในห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก

๒๓๐ ๒๓๕ ๒๔๐

ภาค ๓ : กวนอู จากขุนพลสู่เทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ๒๔๕

เทพเจ้ากวนอูคือใคร อวิ้นเฉิง ศาลบ้านเกิดกวนอู กวนตี้เมี่ยว เมืองเกงจิ๋ว จวนว่าราชการของกวนอู กวนหลิน สุสานฝังศีรษะกวนอู กวนหลิง สุสานฝังร่างกวนอู

ภาค ๔ : สามก๊กในบางกอก

๒๖๓ ๒๖๙ ๒๗๖ ๒๗๙ ๒๘๖

ภาพสลักศิลาสามก๊ก วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ภาพสลักศิลาสามก๊ก ในสวนขวา เมืองโบราณ ภาพจิตรกรรมสามก๊ก วัดประเสริฐสุทธาวาส ภาพจิตรกรรมสามก๊ก ในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ศาลเจ้ากวนอู คลองสาน เก่าแก่ที่สุดในบางกอก ศาลเจ้ากวนอู ตลาดพลู กับความร่วมมือของชุมชน ศาลเจ้ากวนอู คลองบางไส้ไก่ สมาคมกวงร่วมใจ ศาลเจ้าชิ้นทันเก็ง (ศาลเจ้าเล่าปี่) ริมคลองบางไส้ไก่ ศาลเจ้ากวนอู ตลาดเก่าเยาวราช ศาลเจ้ากวนอู สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย การแสดงงิ้วสามก๊กที่ศาลเจ้ากวนอู อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ

ภาคผนวก : สยาม-สามก๊ก

๒๙๗

๓๑๖ ๓๒๓ ๓๓๑ ๓๓๔ ๓๓๙ ๓๔๓ ๓๔๕ ๓๔๗ ๓๔๙ ๓๕๑

๓๕๓

๓๕๖ ปริวัฒน์ จันทร 9

AW3Kok-1-122_final.indd 9

10/19/2564 BE 3:32 PM


บทน�ำ

น�้ำแยงซี  รี่ไหล ไปบูรพา 滚滚长江东逝水,

คลื่นซัดกวาดพา วีรชน หล่นลับหาย 浪花淘尽英雄。

ถูกผิดแพ้ชนะ วัฏจักรเวียนว่างดาย 是非成败转头空。

สิขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน 青山依旧在,几度夕阳红。

10  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-1-122_final.indd 10

10/19/2564 BE 3:32 PM


เกาะกลางชล คนตัดฟืนผมขาว เฒ่าหาปลา 白发渔樵江渚上,

สารทวสันต์เห็นมา เหลือหลาย ที่กรายผ่าน 惯看秋月春风。

สรวลสุราขุ่น ป้านใหญ่  ให้ต�ำนาน 一壶浊酒喜相逢。

เก่า ๆ ใหม่ ๆ เสพสราญ ว่ากันไป 古今多少事,都付笑谈中。

บทโคลงเปิดเรื่องของซานกว๋อเหยียนอี้  (三国演义)  หรือสามก๊ก ฉบับของหลอก้วนจง  (罗贯中)  ช�ำระโดย  เหมาหลุน/เหมาจงกั่ง  ( 毛纶/ 毛宗岗)  ประพั น ธ์ โ ดย  หยางเซิ ง อาน  ( 杨升庵)  ส� ำ นวน  แปลเป็นไทยโดย “โชติช่วง นาดอน”

โคลงบทนี้หยางเซิงอาน (ค.ศ. ๑๔๘๘-๑๕๕๙) จอหงวนชาวเมือง  เฉิงตู  สมัยราชวงศ์หมิง ได้ประพันธ์ขึ้นอยู่ในตอนที่  ๕ ประวัติศาสตร์  ราชวงศ์ฉิน-ฮั่นของเอ้อสืออีสื่อถานฉือ  (二十一史弹词)  หรือบทโคลง ๒๑ สมัย ที่กล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ฉินจนถึง  ราชวงศ์หยวน  และเป็นที่รู้จักแพร่หลายกันดี  เพราะภาพยนตร์จีนชุด  สามก๊ก ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีจีน (ฉบับ ค.ศ. ๑๙๙๔) ได้น�ำมาใช้  ขับร้องเป็นฉากเปิดเรื่อง ด้วยมีความหมายลุ่มลึก ฉายให้เห็นสัจธรรม  ของชีวติ ท่ามกลางความวุน่ วายของบ้านเมืองและสังคมทีแ่ ก่งแย่งชิงอ�ำนาจ  ในยุคสมัยนั้นได้ดี

ปริวัฒน์ จันทร 11

AW3Kok-1-122_final.indd 11

10/19/2564 BE 3:32 PM


เดิมของมังกรซ่อนกายทั้งที่กู่หลงจงและว่อหลงกั่ง  เมืองหนานหยาง  ในมณฑลเหอหนาน  เมื อ งซงหยง  เมือ งอ้ ว นเซีย   สองเมือ งฝาแฝด  บนฝั่งแม่น�้ำฮั่นซุย/สมรภูมิศึกเซ็กเพ็ก  (ผาแดง)  ริมฝั่งแม่น�้ ำแยงซี  มณฑลหูเป่ย์  ไปจนถึงสมรภูมิอู่จั้งหยวน  สถานที่ขงเบ้งสิ้นลมกลาง  สมรภูมิศึกกิสานครั้งที่  ๖ บนลุ่มแม่น�้ำฮุยโห เมืองเป่าจี  มณฑลส่านซี  นอกจากนี้ยังรวมถึงบ้านเกิดเล่าปี่ที่เมืองจวอโจว  (ตุ้นกวน)  มณฑล  เหอเป่ย ์ บ้านเกิดหลอก้วนจงนครไท่หยวน มณฑลซานซี  (山西-Shansi)๓  สุสานเจี่ยงหลิงของพระเจ้าซุนกวนที่นครนานกิง  และบ้านเกิดแม่นาง  เตียวเสี้ยนที่เมืองอวิ๋หลิน  มณฑลส่านซีภาคเหนือของจีน รวมไปถึง  เมืองสวี่ชาง (ฮูโต๋) และสุสานเกาหลิงของโจโฉในมณฑลเหอหนานด้วย ภาคที ่ ๓ กวนอู  จากขุนพลสูเ่ ทพเจ้าศักดิส์ ทิ ธิ์  ว่าด้วยวัฒนธรรม  กวนอูและศาลเทพเจ้ากวนอูที่ส� ำคัญที่สุดในประเทศจีนทั้งห้าแห่งใน  สี่เมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตกวนอู  คือ ไห้โจวกวนตี้จู่เมี่ยว เมืองอวิ้นเฉิง  ศาลเจ้ า แห่ ง แรกของกวนอู   ฉางผิ ง กวนตี้ เ จี ย เมี่ ย ว  เมื อ งอวิ้ น เฉิ ง  บ้านเกิดของกวนอู  กวนตี้เมี่ยว เมืองเกงจิ๋ว (จิงโจว) จวนว่าราชการ  ของกวนอู  กวนหลิน นครลั่วหยาง สถานที่ฝังศีรษะกวนอู  และกวนหลิง  เมืองตังหยาง สถานที่ฝังร่างกวนอู   ทั้งนี้ศาลเทพเจ้ากวนอูในประเทศจีน  ยั ง ได้ รั บ ความเลื่ อ มใสศรั ท ธาจากชาวจี น ทั้ ง ในและนอกประเทศมา  ต่อเนื่องยาวนาน ภาคที ่ ๔ สามก๊กในบางกอก ว่าด้วยเรือ่ งมรดกทางวัฒนธรรมและ  คติความเชื่อเรื่องเทพเจ้ากวนอู  และเรื่องราวในพงศาวดารสามก๊กที่  กลมกลืนอยู่ในสังคมไทย ทั้งศาลเจ้าจีน ภาพสลักศิลา ภาพจิตรกรรมใน  วัดไทย การแสดงงิว้ ในฉากเรือ่ งสามก๊ก เพือ่ ถวายเทพเจ้ากวนอู   ในทีน่ จี้ ะ  กล่าวถึงเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในสถานที่น่าสนใจควร ค่าแก่การตามรอยศึกษาเรียนรู้กันต่อไป

ค�ำนี้ออกเสียงตามความนิยม แต่ในก�ำหนดชื่อประเทศฯ ถอดเสียงว่า ชานซี

16  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-1-122_final.indd 16

10/19/2564 BE 3:32 PM


ภาค

ตามรอย เส้นทางสามก๊ก ในเสฉวน

三 国 蜀 道

AW3Kok-1-122_final.indd 17

10/19/2564 BE 3:32 PM


ในจีน ã¹àʩǹ งเ

มื อ

ง จี

ตามรอย µÒÁÃÍÂ แพ

กํ า

กิจิ๋ว

แม

 นํ้ า

ฮว

งโ

เสเหลียง

เตียงอั๋น

อูจั้งหยวน

ลกเอี๋ยง

กัวตอ

ชีจิ๋ว ฮูโต

ฮันตง เซวยหยุนหลาง ปาเส/ลองจิ๋ว

หลงจง

จกกก

ดานเขวยเหมิน

เขางูปสัน

อวนเสีย ซงหยง

ซินเอี๋ย

วุยกก

หับปา เบาะเหลง /เกี๋ยนเงียบ

เปกเตเสีย อิเหลง เตียงปนแ โป ฮั่ น ซุ ย ม นํ้ า เกงจิ๋ว กังแฮ /กังเหลง เซ็กเพ็ก

ลําหยง /ลํากุน

 นํ้ า

ดานอิมเปง เขากิสาน เขาเตงกุนสัน ดานยังเบงกวน ดานแฮบังกวน ดานเกียมกก โปยเสีย/ดานโปยสิกวน ลกหองโห ลกเสีย เซงโต

อวิ้นเฉิง

แม

เกเตง แ ม นํ้ า ฮ ุยโห

ยง

ซี

งอกก

เตียงสา

เมืองหลวง, ราชธานี เมืองใหญ เมือง ตําบล ดาน เขา

เสน แบง

เขต

แดน

สาม

กกโ

ดยป ระม

าณ

แผนดินจีน สมัยสามกก

๑๔๐

มิถุนายน ๒๕๕๕

SCP 3GOG BW.indd 140

AW3Kok-1-122_final.indd 18

21/6/2012 16:55

10/19/2564 BE 3:32 PM


แผนที่สมัยสามก๊กจากห้องนิทรรศการในสุสานเตียวหุย เมืองล่างจง สีส้ม (บน) คืออาณาเขตของวุยก๊ก สีน�้ำเงิน (ขวา) คืออาณาเขตของง่อก๊ก  สีเหลือง (ซ้าย) คืออาณาเขตของจ๊กก๊ก ค�ำบรรยายภาพด้านขวาล่างเขียนว่า “ในสมัยสามก๊ก วุยก๊กมีจ�ำนวนประชากร ๔.๔๓ ล้านคน มีก�ำลังทหาร ๒-๕ แสนคน จ๊กก๊กมีจ�ำนวนประชากร ๙ แสน-๙.๑ แสนคน มีก�ำลังทหาร ๘ หมื่น-๑.๒ แสนคน ง่อก๊กมีจ�ำนวนประชากร ๒.๓-๒.๔ ล้านคน มีก�ำลังทหาร ๑.๕ แสน-๒ แสนคน”

012 16:55

AW3Kok-1-122_final.indd 19

10/19/2564 BE 3:33 PM


AW3Kok-1-122_final.indd 22

10/19/2564 BE 3:33 PM


เฉิงตู

(ซ้าย) รูปปั้นพระเจ้าเล่าปี่ ศาลเจ้านักรบ นครเฉิงตู (บนสุด) ศาลเจ้านักรบ นครเฉิงตู (บน) นานาสินค้าที่ระลึกน่าซื้อหาบนถนนจิ๋นหลี่ (ขวา) รูปปั้นขงเบ้ง ศาลเจ้านักรบ นครเฉิงตู

AW3Kok-1-122_final.indd 23

10/19/2564 BE 3:33 PM


เต๋อหยาง

ป้ายสลักตัวอักษร “รว่อเฟิ่งพอ” เนินหงส์ร่วง เป็นอนุสรณ์ว่า บังทอง กุนซือของเล่าปี่ได้มาสิ้นบุญลง ณ บริเวณนี้

AW3Kok-1-122_final.indd 32

10/19/2564 BE 3:33 PM


ศาลเจ้านักรบ  สุสานเล่าปี่

ในประเทศจี น มี ศ าลเจ้ า ที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ วี ร ชนสามก๊ ก  หลายสิบแห่ง ทัง้ ของขงเบ้ง เล่าปี ่ กวนอู  เตียวหุย ฯลฯ  กระจั ด กระจายอยู ่ ใ นหลายมณฑลภาคกลางของจี น  ที่มีเรื่องราวของวีรชนเอกเหล่านี้เกี่ยวข้อง ทั้งบ้านเกิด  ด่านปราการ สถานทีส่ นิ้ ชีพ หรือสมรภูมริ บส�ำคัญ ฯลฯ  หากแต่เมื่อกล่าวถึง  อู่โหวฉือ  (武侯祠-Temple  of  Marquis)  หรื อ ศาลเจ้ า นั ก รบ แล้ ว   ชาวจี น จะรู ้ จั ก กั น ดี ว ่ า  เป็ น ชื่ อ เรี ย กเฉพาะ  ของศาลเจ้ า ที่ เ ซ่ น สรวงบู ช ามหาอุ ป ราช  “ผู ้ ห ยั่ ง รู ้ ดิ น ฟ้ า มหาสมุ ท ร”

เทพวิถี-เสินเต้า สองฝั่งเรียงรายประดับสัตว์มงคลและสัตว์พาหนะศิลาสลัก ทางเข้าสู่สุสานฮุ่ยหลิงของพระเจ้าเล่าปี่ ด้านหลังศาลเจ้านักรบขงเบ้ง นครเฉิงตู

ปริวัฒน์ จันทร 33

AW3Kok-1-122_final.indd 33

10/19/2564 BE 3:33 PM


เกงจิ๋ว

(บน) หอปินหยางบนก�ำแพงเมืองเกงจิ๋วกับรูปปั้นทหารเอกของจ๊กก๊ก (ขวาบน) สินค้าที่ระลึกจากเมืองเกงจิ๋วเป็นตุ๊กตาตัวละครเอกขึ้นชื่อ และก�ำแพงเมืองจ�ำลอง ฯลฯ (ขวา) รูปเคารพเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ภายในศาลเจ้ากวนอู เมืองเกงจิ๋ว

AW3Kok_123-296_final.indd 126

10/19/2564 BE 3:38 PM


AW3Kok_123-296_final.indd 127

10/19/2564 BE 3:38 PM


เซียงหยาง

AW3Kok_123-296_final.indd 136

10/19/2564 BE 3:38 PM


(ซ้ายบน) รูปปั้นขงเบ้ง พญามังกรซ่อนกาย ที่ศาลเจ้านักรบกู่หลงจง (ซ้าย) รูปปั้นขงเบ้ง องค์ประธานภายในศาลเจ้านักรบกู่หลงจง เหนือรูปปั้นมีแผ่นป้ายจารึกตัวอักษรสรรเสริญขงเบ้ง “เทียนเซี่ยฉีไฉ”-อัจฉริยะในใต้หล้า (บน) ประตูทางเข้าซานกู้ถางอันสวยงามร่มรื่น สถานที่เชื่อกันว่า เล่าปี่มาเยือนกระท่อมหญ้าสามครั้ง พบขงเบ้ง ณ ที่แห่งนี้

AW3Kok_123-296_final.indd 137

10/19/2564 BE 3:38 PM


เกงจิว๋   เมืองกวนอู

เกงจิ๋วเป็นแคว้นที่มีชื่อเสียงโด่งดังและถูกกล่าวถึงมาก ที่สุดในสามก๊ก ในพงศาวดารสามก๊ก ๑๒๐ บท กล่าว ถึงเมืองเกงจิ๋วถึง ๘๒ บท เพราะเกงจิ๋วเป็นแคว้นหน้า ด่านส�ำคัญที่สุดบนริมฝั่งแม่น�้ำแยงซีในยุคสามก๊ก  ซึ่ง ทั้งสามก๊กต่างหมายปองครอบครอง โดยมีศาลาว่าการ แคว้นทางเหนือตั้งอยู่ที่เมืองซงหยง  ริมแม่น�้ำฮั่นซุย และศาลาว่าการแคว้นทางตอนใต้ตั้งอยู่ที่เมืองกังเหลง ริมแม่น�้ำแยงซี

ทางเดินอันร่มรื่นด้วยแมกไม้เป็นสวนสาธารณะและคูเมืองรอบก�ำแพง เมืองเกงจิ๋วที่สวยสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจีน

140  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok_123-296_final.indd 140

10/19/2564 BE 3:39 PM


ชาวจีนรู้จักเกงจิ๋วกันดีในสองตอนคือ  เล่าปี่ยืมเกงจิ๋ว  (刘备借  荆州) และกวนอูพ่ายกลศึกเสียเกงจิ๋ว (关羽大意失荆州)  “เล่าปี่ยืมเกงจิ๋ว” หลังเสร็จศึกเซ็กเพ็ก โจโฉแตกทัพกลับภาคเหนือ เล่าปี่ฉวยโอกาสเข้ายึดเกงจิ๋วตามแผนยุทธศาสตร์บันไดขั้นที่ ๑  ของ ขงเบ้ง เพื่อใช้เป็นเมืองตั้งฐานที่มั่น และให้สัญญากับซุนกวน-พันธมิตร ร่วมต้านโจโฉว่า เมื่อใดที่ได้ครองเสฉวนจะคืนเกงจิ๋วให้   ทว่าเมื่อเล่าปี่ สถาปนาจ๊กก๊กแล้ว ซุนกวนส่งคนไปทวงคืนเกงจิ๋วเท่าไร เล่าปี่ก็ไม่ยอม คืนให้  เพราะเกงจิ๋วถือเป็นแคว้นหน้าด่านกันชนที่ส�ำคัญระหว่างทาง สามก๊ก แล้วมอบหมายให้ขุนพลกวนอูเป็นผู้รักษาเมืองไว้  โดยระหว่าง นั้นเล่าปี่  เตียวหุย ขงเบ้ง และแม่ทัพคนส�ำคัญอื่น ๆ ยกทัพเข้าครอง เสฉวนและฮันต๋งตามล�ำดับ จนกลายเป็นส�ำนวนของชาวจีนทั่วไปที่ใช้ เปรียบเทียบการยืมของคนอื่นแล้วไม่ยอมคืน กระทั่ง  “กวนอูพ่ายกลศึกเสียเกงจิ๋ว”  โดยกวนอูพ่ายกลศึกของ แม่ทัพลิบองและลกซุน จนเสียเกงจิ๋วกลับคืนไปให้ง่อก๊ก เรื่องราวโดย สังเขปของตอนนี้มีว่า เมื่อเล่าปี่ได้ครองเสฉวนและต่อมายึดเมืองฮันต๋งจากโจโฉแล้ว ก็ มิอาจขัดข้อเสนอของขงเบ้งและเหล่าขุน นางให้สถาปนาตนขึ้น เป็น ฮันต๋งอ๋อง   เล่าปี่จึงมีหนังสือไปเมืองฮูโต๋กราบทูลพระเจ้าเหี้ยนเต้ ให้ทรงทราบ  โจโฉเห็นหนังสือดังกล่าวเข้าก็โกรธ สั่งเตรียมทหารให้ออก ไปรบกับเล่าปี่  ฝ่ายสุมาอี้จึงแนะโจโฉออกอุบาย  ส่งคนไปเกลี้ยกล่อม ให้ซุนกวนน�ำทัพไปยึดเกงจิ๋วคืนจากเล่าปี่  จากนั้นจึงฉวยโอกาสยกทหาร ไปตีเมืองฮันต๋งและเสฉวน ซุนกวนผู้เสียรู้ในการทวงคืนแคว้นเกงจิ๋วจากเล่าปี่หลายครั้ง  ก็ มีความคับแค้นอยู่ในใจเสมอ เมื่อเห็นโจโฉแต่งคนถือหนังสือมาหา จึง ได้หารือกับที่ปรึกษาขุนนาง  จูกัดกิ๋น พี่ชายของขงเบ้งซึ่งรับราชการ อยู่กับซุนกวน อาสาเป็นพ่อสื่อไปสู่ขอบุตรสาวกวนอูให้แต่งงานกับบุตร ชายซุนกวน ถ้ากวนอูยินยอมก็คิดการกับกวนอูไปก�ำจัดโจโฉ หากกวนอู มิยอมให้ก็ค่อยร่วมมือกับโจโฉรบเอาเมืองเกงจิ๋วคืน  ซุนกวนเห็นดีด้วย

ปริวัฒน์ จันทร 141

AW3Kok_123-296_final.indd 141

10/19/2564 BE 3:39 PM


ค่ายกล พยุหะแปดทิศ  กับดักของขงเบ้ง

รูปปั้นอุ๋ยสิง่าน บิดาของนางอุ๋ยซี พ่อตาขงเบ้ง

บริเวณทางด้านตะวันตกของเมืองไป๋ตี้เฉิง  ยังมีผลงานขึ้นชื่อของ ขงเบ้งอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเคยยืนยงอยู่มานานราว ๑,๘๐๐ ปี  (ทว่าเมื่อ ค.ศ.  ๒๐๐๓  หลังจากระดับน�้ำในแม่น�้ำแยงซีสูงขึ้นจากการเก็บ กักของเขื่อนยักษ์ต้าซานเสีย ท�ำให้ผลงานชิ้นนี้จมอยู่ใต้น�้ำลึกลงไป ๖๐ เมตร) และปรากฏบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เรื่องสามก๊ก ตอน  โจโฉแตกทัพเรือภาค  ๑  คือ  กระบวนยุทธค่ายกลพยุหะแปดทิศ หรือปาเจิ้นถู  (八阵图) ที่ใช้ทหารจัดเรียงเป็นค่ายกลสามารถสยบ ทัพบกของโจโฉที่มีก�ำลังพลมากกว่าหลายเท่าลงได้อย่างราบคาบ และที่เมืองเป๊กเต้เสียนี้เอง  ระหว่างขงเบ้งเดินทัพเข้าเสฉวน ครั้ ง แรก  ได้ น� ำ ก้ อ นหิ น มาจั ด เรี ย งเป็ น ค่ า ยกลแปดทิ ศ ที่ แ สดง แสนยานุภาพอย่างน่าทึ่ง  ดั่งค�ำที่ขงเบ้งกล่าวกับม้าเลี้ยง  (หม่าเหลียง-马良)  คราวเดินทางกลับไปเซงโต๋   เพื่อหารือการตั้งทัพ

154  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok_123-296_final.indd 154

10/19/2564 BE 3:39 PM


กับขงเบ้ง   เมื่อขงเบ้งเห็นแผนการจัดทัพของพระเจ้าเล่าปี่แล้ว ก็ตกใจและทราบทันทีว่าพระเจ้าเล่าปี่ต้องแตกทัพแน่นอน ม้าเลี้ยง กังวลว่า  ทัพง่อก๊กจะตามตีเข้ามาถึงเสฉวน  ขงเบ้งจึงกล่าวอย่าง มั่นใจว่า “เราได้จัดแจงทหารไว้ถึงสิบหมื่น ตั้งไว้ที่ต�ำบลอิปักโป้  (อวิ๋ฟู่ผู่ - 鱼腹浦  ปั จ จุ บั น คื อ อ� ำ เภออวิ๋ ฟู ่ - 鱼复县)  ปากทางเข้ า สู ่ เ มื อ ง เป๊กเต้นั้นกองหนึ่ง  มาตรแม้นลกซุนจะไล่ตามตี  ก็ไม่อาจฝ่ากอง ทหารทั้งสิบหมื่นที่เราจัดวางไว้ได้  ท่านอย่าได้ปรารมภ์เลย”   ม้าเลี้ยงได้ฟังดังนั้นก็ประหลาดใจ จึงกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเดินทางผ่านมาทางเมืองอิปักโป้  แต่ไม่เคยทราบว่า ท่านได้จัดเตรียมทหารไว้ถึงสิบหมื่นคน ตั้งอยู่  ณ ที่ใด” ขงเบ้งฟังแล้วจึงว่า “ท่านอย่าว่าไปเลย เมือ่ ไรไปถึงทีน่ นั้ แล้วจึงจะได้เห็นตามความคิด ที่คิดไว้” ทหาร ๑๐ หมืน่ คนตามค�ำขงเบ้งนัน้ มิใช่ทหารจริง แต่เป็นกองหิน ซึ่งกองไว้สลับซับซ้อน จัดเรียงเป็นค่ายกลพยุหะแปดทิศ  ลกซุน น�ำทัพง่อก๊กไล่ตามตีทัพจ๊กก๊กมาถึงต�ำบลอิปักโป้  มองไปข้างหน้า เห็นเป็นรูปคนยืน อาวุธมากมาย ก็เกิดสงสัย เมื่อให้ทหารเข้าไป สอดแนมก็กลับมารายงานว่า ที่เห็นเหมือนกองทหารแปรขบวนทัพ นั้น พอมองใกล้ ๆ เป็นเพียงกองหิน ๘๐-๙๐ กองวางระเกะระกะอยู่ ลกซุนจึงพาทหารเข้าไปในค่ายกองหิน สังเกตดูศิลาแต่ละกอง ว่าเป็นศิลาธรรมดา แต่ต�ำแหน่งที่จัดวางนั้นดูประหลาดนัก ลกซุน เดินอยู่สักระยะเวลาหนึ่ง บังเกิดพายุพัดหนัก แล้วได้ยินเหมือนเสียง กระบี่ชักออกจากฝัก  ศิลากระทบกันเป็นประกาย  ทรายก็ปลิวขึ้น มืดครึ้ม แล้วเห็นคนถืออาวุธยืนขวางหน้าล้อมหลังไว้มากมายไม่มี ทางออก ลกซุนกับทหารใช้กระบี่เข้าฟาดฟันก็กระทบแต่ก้อนหิน

ปริวัฒน์ จันทร 155

AW3Kok_123-296_final.indd 155

10/19/2564 BE 3:39 PM


เซียงหยาง

(บนสุด) รูปปั้นนางอุ๋ยซี ศรีภรรยาขงเบ้ง ที่หมู่บ้านหวงเจียวาน บ้านของอุ๋ยสิง่าน ผู้บิดา (บน) อาจารย์สุมาเต๊กโซ ปราชญ์เอกแห่งแคว้นเกงจิ๋ว ก�ำลังดีดพิณกู่ฉินในอาศรมอาจารย์แว่นน�้ำ เมืองเซียงหยาง (ขวาบน) ภาพวาดบนผนังภายในสวนสาธารณะเนินฉางป่าน ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า (ขวา) ซุ้มประตูทางขึ้นเนินฉางป่านมีสามตัวอักษร “ฉางป่านพอ” เมืองตังหยาง

AW3Kok_123-296_final.indd 182

10/19/2564 BE 3:39 PM


ตังหยาง

AW3Kok_123-296_final.indd 183

10/19/2564 BE 3:39 PM


อนุสาวรีย์กวนอูขนาดความสูงถึง ๖๑ เมตร (เท่ากับอายุของกวนอูเมื่อสิ้นบุญตามความเชื่อของคนท้องถิ่น) ฐานกว้าง ๑๙ เมตร เท่ากับอายุกวนอูเมื่อออกจากบ้าน บนเนินเขาของหมู่บ้านฉางผิง เมืองอวิ้นเฉิง มณฑลซานซี ตัวอักษรใหญ่-กวน-แซ่ของกวนอู สี่ตัวอักษรรองลงมา-กวนตี้เซิ่งจวิน-เทพเจ้ากวนอูศักดิ์สิทธิ์

AW3Kok_123-296_final.indd 246

10/19/2564 BE 3:41 PM


อวิ้นเฉิง

AW3Kok_123-296_final.indd 247

10/19/2564 BE 3:41 PM


เกงจิ๋ว

(บนสุด) รูปเคารพกวนอู องค์ประธาน ขนาบข้างด้วยสององครักษ์ กวนเป๋งและจิวฉอง ด้านบน มีสี่ตัวอักษร “จงอี้เชียนชิว”-ความจงรักภักดี คุณธรรม ยืนยงพันปี ภายในศาลกวนอู เมืองเกงจิ๋ว (บน) รูปแกะสลักไม้กวนอูชิ้นงามหน้าศาลกวนอู เมืองเกงจิ๋ว มณฑลหูเป่ย์ (ขวา) รูปปั้นกวนอูสวมชุดนักรบถือง้าวมังกรเขียวอันองอาจสง่างาม หน้าฐานด้านหลังมีจารึกว่าสร้างขึ้น จากดินศักดิ์สิทธิ์จากสามแห่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของกวนอู คือ หมู่บ้านฉางผิง อ�ำเภอไห้โจว-บ้านเกิด ตังหยาง-สุสานฝังร่าง และกวนหลิน ลั่วหยาง-สุสานฝังศีรษะ

AW3Kok_123-296_final.indd 254

10/19/2564 BE 3:41 PM


AW3Kok_123-296_final.indd 255

10/19/2564 BE 3:41 PM


กวนหลิง สุสานฝังร่างกวนอู เซินว่อตังหยาง  โถวเจิ่นลั่วหยาง (身卧当阳,头枕洛阳 ) ร่างอยู่ตังหยาง  ศีรษะอยู่ลั่วหยาง เมื่อกล่าวสองประโยคนี้  แฟนสามก๊ก  จะทราบทันทีว่าคือสุสาน ของกวนอู   ใน  ค.ศ.  ๒๑๙  เมื่อกวนอูสูญเสียเมืองเกงจิ๋วเเละถูกฝ่าย ซุนกวนประหารชีวิต  ซุนกวนส่งศีรษะกวนอูไปให้โจโฉที่เมืองลกเอี๋ยง เพื่อให้เล่าปี่เข้าใจผิดว่าโจโฉเป็นฝ่ายสังหารกวนอู  แล้วซุนกวนได้ฝังร่าง

ผู้ศรัทธาเคารพสุสานกวนหลิง สถานสถิตร่างของกวนอูอยู่ชั่วนิรันดร์

286  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok_123-296_final.indd 286

10/19/2564 BE 3:42 PM


กวนอูไว้ที่ตงหยง (ตังหยาง) ตั้งอยู่ทางภาคกลางของมณฑลหูเป่ย ์ ต่อมา เรียกว่า กวนหลิง (关陵) แม้กวนอูจะเป็นสามัญชน แต่คุณธรรมของกวนอูสูงส่งลือเกียรติ จึงได้รับยกย่องเทียบเท่าจักรพรรดิ  ท�ำให้มีชื่อเรียกสุสานว่า  หลิง (陵) แทนที่จะใช้ค�ำว่า  มู่  (墓) เช่นเดียวกับสามัญชนและขุนนางนักรบทั่วไป (นอกจากสุสานกวนอูจะได้รับยกย่องให้เรียกว่าหลิงแล้ว ยังมีบุคคลส�ำคัญ ของจีนอีกท่านหนึง่  คือ ดร. ซุนจงซาน สุสานของท่านทีน่ ครนานกิงได้รบั ยกย่องเป็นจงซานหลิง (中山陵) เพื่อให้เกียรติอย่างสูงสุดเช่นเดียวกัน) สุสานกวนหลิงเดิมเรียกว่า  ฮัน่ อีห้ ย่งอูอ่ านหวังฉือ (汉义勇武安王祠) หรือศาลนักรบผู้หาญกล้าเปี่ยมด้วยคุณธรรมแห่งราชวงศ์ฮั่น   ในสมัย ราชวงศ์ซ่งใต้ปรากฏศาลเซ่นสรวงบูชากวนอู   ต่อมาในสมัยราชวงศ์ หยวนมีการสร้างประตูและทางเดินเข้าสุสาน  ครัน้ รัชกาลจักรพรรดิเจียจิง้ แห่งราชวงศ์หมิง ค.ศ. ๑๕๓๖ ได้บูรณะครั้งใหญ่  และพระราชทานนาม ว่า  กวนหลิง มาจนถึงปัจจุบัน  จัดเป็น ๑ ใน ๑๐ ทิวทัศน์ที่ต้องมาชม ของมณฑลหูเป่ย์ กวนหลิงมีอาณาบริเวณกว้างขวางถึง ๔๕,๐๐๐ ตารางเมตร  มี แปดกลุ ่ ม อาคาร  สร้ า งตามแนวเส้ น ตรง  ด้ า นหน้ า มี ซุ ้ ม ประตู สี่ เ สา สามช่อง สร้างในรัชกาลจักรพรรดิเจียจิ้ง  ถัดเข้าไปมีซุ้มประตูเหนือทาง เข้าเขียนตัวอักษร  กวนหลิง เดินต่อไปเป็นต�ำหนักม้า (马殿) มีรูปปั้น ม้าเซ็กเธาว์  อาชาคู่บุญของกวนอู  กับม้าขาว-ไป๋หม่า อาชาคู่กายของ กวนเป๋ง ม้าทั้งสองตัวได้รับยกย่องให้เป็น “เทพแห่งอาชา” เป็นองครักษ์ เฝ้าพิทักษ์สุสานกวนหลิงแห่งนี้ด้วยความจงรักภักดีเสมอมา ถัดเข้าไปเป็นป้ายเตี้ยน (拜殿)-ต�ำหนักสักการะ ต�ำหนักประธาน ภายในมีรูปปั้นของกวนอู  เคียงคู่ด้วยกวนเป๋ง บุตรบุญธรรม และจิวฉอง ใช้ประกอบพิธีบวงสรวงสักการะเทพเจ้ากวนอู   จากนั้นจะถึงต�ำหนัก เทียนเซี่ยอู่เซิ่ง (เทพเจ้านักรบในใต้หล้า) มีรูปปั้นทองเหลืองกวนอูสูง ๔.๒ เมตร หนัก ๐.๘ ตัน

ปริวัฒน์ จันทร 287

AW3Kok_123-296_final.indd 287

10/19/2564 BE 3:42 PM


ท�ำไมกวนอู

จึงเป็นพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนามหายาน

อารามพระสังฆารามปาล โพธิสัตว์แห่งแรก เกิดขึ้นที่ วัดอวิ้ฉวน ต่อมาแพร่หลาย ไปทั่วประเทศจีนและโพ้นทะเล

ในเมื อ งตั ง หยาง  มณฑลหู เ ป่ ย ์   มี วั ด โบราณที่ มี ป ระวั ติ ส� ำ คั ญ แห่งหนึ่งนามว่า อวิ้ฉวนซื่อ (玉泉寺) หรือวัดน�้ำพุหยก (Yuquan Temple) มีอายุกว่า ๑,๕๐๐ ปี  สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์เหนือใต้  (ค.ศ. ๕๒๘) ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย จักรพรรดิสุยเหวินตี้พระราชทานนาม “อวิฉ้ วนซือ่ ” ตัง้ อยูใ่ นเขตป่าไม้อนั ร่มรืน่ บนเชิงภูเขาอวิฉ้ วน  ในสมัย ต้นราชวงศ์ถังจัดเป็นหนึ่งในสี่วัดส�ำคัญของจีน  พระอาจารย์เฉินซิ่ว (神秀禅师) ศิษย์เอกของพระอาจารย์หงเหริ่น-สังฆนายกองค์ที่  ๕ ได้เคยมาเทศนา เมื่อมรณภาพแล้ว อัฐิของท่านก็ฝังอยู่ที่วัดแห่งนี้ วัดอวิ้ฉวน (ในสามก๊กเรียกจวนหยกสัน) แห่งนี้ยังเชื่อว่าเป็น สถานที่สิงสถิตของวิญญาณกวนอู  และท่านได้รับการสถาปนาให้ เป็ น พระสั ง ฆารามปาลโพธิ สั ต ว์   หรื อ เฉี ย หลานผู ซ ่ า - 伽蓝菩萨 (ในส�ำเนียงแต้จิ๋วเรียก แคน�้ำผ่อสัก)  นับถือกันว่าเป็นศาลบูชาใน วัดพุทธมหายานของกวนอูแห่งแรกของประเทศ

290  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok_123-296_final.indd 290

10/19/2564 BE 3:42 PM


เรื่องนี้มีประวัติเล่าว่า  พระอาจารย์พู่จิ้ง  (เภาเจ๋ง-普净和尚) เจ้ า อาวาสวั ด เจิ้ น กว๋ อ   ซึ่ ง เคยช่ ว ยชี วิ ต กวนอู ไ ว้   ได้ จ าริ ก มายั ง ภูเขาอวิ้ฉวน เล่าปี่จึงสร้างอารามให้ท่านนาม “พู่จิ้งอัน” (普净庵) เมื่ อ กวนอู ถู ก ซุ น กวนตั ด ศี ร ษะสิ้ น บุ ญ ลง  ดวงวิ ญ ญาณมาสถิ ต ที่ อวิ้ฉวนซาน คืนหนึ่งพระอาจารย์พู่จิ้งก�ำลังภาวนาอยู่ในกุฏิ  ได้ยิน เสียงร้องว่าเอาศีรษะคืนมาให้เรา พระอาจารย์ดูลักษณะแล้วทราบว่า เป็นกวนอู  กวนอูเข้ามาค�ำนับ ขอให้พระอาจารย์สวดมนต์ภาวนาแผ่ กุศลและส่วนบุญให้ตน พระอาจารย์พู่จิ้งจึงว่า “กงเกวียนก�ำเกวียน ตัวฆ่าเขา  เขาฆ่าตัว  เมื่อท่านฆ่างันเหลียง  บุนทิว  แลนายด่าน ห้าต�ำบลเสีย  ใครมาทวงศีรษะแก่ท่านบ้าง  ครั้งนี้ท่านเสียทีข้าศึก ถึงแก่ความตาย จะมาร้องทวงศีรษะแก่ใครเล่า”  พระอาจารย์พู่จิ้ง ว่าดังนัน้ แล้วก็สวดมนต์แผ่สว่ นบุญให้  กวนอูได้ซาบซึง้ ในรสพระธรรม และปวารณาตนเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย ค.ศ. ๕๙๒ พระอาจารย์จื้ออี่  (智顗  禅师)  จากเที ย นไถซานได้ ม าจาริ ก  ณ  ภู เ ขาอิ้ ว ฉวน  พ� ำ นั ก อยู ่ ที่ พู่จิ้งอัน บังเกิดวิญญาณสองดวงมาส�ำแดงกล่าวว่า “เรากวนอูขุนพลสมัยราชวงศ์ฮั่นได้สิ้นชีพและเป็นเทพารักษ์ ณ  ภูเขาแห่งนี้  และอีกวิญญาณหนึ่งคือบุตรชาย  มีชื่อว่ากวนเป๋ง บัดนี้ได้เห็นอาจารย์เป็นผู้เคร่งครัดในศีลาจารวัตรและทรงคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ  จึงมาปรากฏกายนมัสการและปวารณาตนช่วย สร้างอาราม” จากนั้ น วั ด อวิ้ ฉ วนจึ ง สร้ า งส� ำ เร็ จ   เป็ น วั ด พุ ท ธมหายานใน นิกายเทียนไถจง บรรดาศิษย์ในส�ำนักจึงช่วยกันสร้างศาลเทพารักษ์ บูชารูปกวนอูประจ�ำอาราม เพราะเป็นสถานที่ที่เทพเจ้ากวนอูส�ำแดง ปาฏิหาริยเ์ ป็นครัง้ แรก (汉云长显圣处)  เมือ่ ข่าวแพร่ออกไป วัดต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนจึงนิยมตั้งศาลกวนอูในบริเวณวัดและขนานนามกวนอู

ปริวัฒน์ จันทร 291

AW3Kok_123-296_final.indd 291

10/19/2564 BE 3:42 PM


ปริวัฒน์ จันทร

“ส�ำหรับผม เมืองจีนคือแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม และธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่มีเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสอย่างไม่รู้จบ หลาย ๆ เรื่องราวเมื่อยิ่งสืบค้นก็ยิ่งสนุก ท้าทายให้อยากเดินทางต่อ ให้เห็นจริง แล้ว เก็บเกีย่ วเรือ่ งราวเหล่านัน้ มาถ่ายทอดเล่าสูก่ นั ฟัง และบางเรือ่ งก็มคี วามเกีย่ วเนือ่ ง กับสังคมและศิลปวัฒนธรรมของบ้านเราอย่างแยกมิออกด้วย...”

รากเหง้า

การศึกษา ปัจจุบัน

สืบค้นจากปูมสาแหรกตระกูล บรรพบุรษุ ฝ่ายพ่อแซ่ซนุ มาจาก นครนานกิง (ง่อก๊กของซุนกวน) อพยพมาอยู่ต�ำบลจิงกั่ง อ�ำเภอเจี๋ยหยาง (กิ๊กเอี้ย) มณฑลกวางตุ้ง ใน ค.ศ. ๑๑๓๓ สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ สืบทอดมาถึงผมเป็นรุ่นที่ ๒๐ - คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ศึกษาภาษาจีนตัง้ แต่เด็กทีโ่ รงเรียนสหคุณศึกษา และวิทย สถานวัฒนธรรมตะวันออก (โอซีเอ) - เป็นที่ปรึกษาและผู้ประสานงานทริปรายการให้กับทีมงาน สารคดีโทรทัศน์ Spirit of Asia ทางสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS - งานอดิเรกพาสมาชิกประจ�ำและรับเชิญเป็นวิทยากร เดินทางไปท่องประเทศจีนปีละสามถึงสี่ครั้ง จนมีโอกาส เดินทางไปประเทศจีนแล้ว ๓๖ ครั้ง ท่องครบทุกมณฑล และเขตปกครองตนเองของจีนตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๘ และยังคงใฝ่ฝันที่จะเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในสถานที่ส�ำคัญของประเทศจีนให้มาก ที่สุด

366  ตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก

AW3Kok-297-368_final.indd 366

10/19/2564 BE 3:46 PM


- กรรมการชมรมสยามทั ศ น์ แ ละชมรมรั ก ษ์ วั ฒ นศิ ล ป์ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวและเสวนาความรู้เชิงวัฒนธรรม ให้กับบรรดาสมาชิกและผู้สนใจคอเดียวกันทั้งในและ ต่างประเทศ ผลงานรวมเล่ม - เมืองแมนที่ปลายฟ้า (เขียนร่วมกับ ธีรภาพ โลหิตกุล ขจิต จิตตเสวี  สุขสันต์ วิเวกเมธากร) ปี ๒๕๔๕ - ย�่ำรอยทราย บนสายแพรไหม ปี ๒๕๔๖   - เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที “ซ�ำปอกง” : รางวัลชมเชย หนังสือ ประเภทสารคดี ประจ�ำปี ๒๕๔๗   - ๖๐๐ ปี สมุทรยาตราเจิ้งเหอ แม่ทัพเรือผู้กลายมาเป็น เทพเจ้า “ซ�ำปอกง” อันศักดิ์สิทธิ์ ปี ๒๕๔๘   - คู่มือน�ำเที่ยวมาเลเซีย มะละกา ปี ๒๕๔๙   - ท่องแดนมังกร มณฑลซานซี ปี ๒๕๕๐   - สบสวรรค์ บนพื้นพิภพ แผ่นดินมังกร ปี ๒๕๕๒ - Silk Road เส้นทางสายแพรไหมในซินเจียง : รางวัล ชมเชยหนังสือประเภทสารคดี ประจ�ำปี ๒๕๕๓   - ท่องไปในดินแดนสามก๊ก อู่ฮั่น-หูเป่ย (เขียนร่วมกับ ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต) ปี ๒๕๖๔ เพื่อนนักอ่านที่สนใจตามรอยสามก๊กจากจีนสู่บางกอก เพิ่มเติม สามารถติดตาม ผลงานของผู้เขียนผ่านงานสารคดีโทรทัศน์รายการ Spirit of Asia จ�ำนวนห้าตอน โดยสแกนคิวอาร์โค้ดชมรายการได้ตามรายชื่อตอนด้านล่างนี้ครับ

๑ เดินบนแผ่นดินสามก๊ก ตอนที่ ๑

๔ ชุมชนสามก๊กในกรุงเทพฯ

เดินบนแผ่นดินสามก๊ก ตอนที่ ๒

สามก๊ก จากขุนพลสู่เทพเจ้า

๕ งิ้วสามก๊ก

ปริวัฒน์ จันทร 367

AW3Kok-297-368_final.indd 367

10/19/2564 BE 3:46 PM


êsw¢± ¬ û °

@sarakadeemag

òè/ 29+ <"ę4éD"<L*/

p ¼ÁÁ

D+>L4é+9/E-7 8/-7 +G$êé09/ 9+29è Ĝ HèęH Ě&+9 4*@ęE ęD ê97 G$/++ ++è 9+E2 éé;M/ 4$2Q9 8k ò+>4è? &9 7D+>L4éD-ę9 9$ G$28é èD"ę9$8M$ ò9 E ę*8é&+9 4*@ęG$09-D Ě9 /8 )9ê ; + ++è +@&&ĞĢ$ )9êD <*$ +/èH&!=é09-D Ě9 /$4@"<LH Ě+8% 9+D 9+ê%@ 9 4*ę9éEê+ęò-9*"8L/F-

§± ¬ ï


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.