SKY ALWAYS ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
เมฆสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ● ดูสัญญาณว่าจะเกิดลูกเห็บตกและอากาศเลวร้ายจากโดมยอดเมฆ ● แสงปริศนารอบเงาศีรษะคืออะไร ? ● รู้จักรุ้งเผือกและรุ้งแฝดสาม ● เบื้องหลังทรงกลดอัศจรรย์เหนือฟ้าเมืองไทย ●
SKY ALWA S ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ชมรมคนรักมวลเมฆ
หมวดวิทยาศาสตร์ ISBN 978-616-7767-55-0 ราคา 150 บาท
150.-
หนังสือ SKY ALWAYS ผู้เขียน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ © สงวนลิขสิทธิ์โดยสำ�นักพิมพ์สารคดี ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด ห้ามลอกเลียนไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2558 จำ�นวนพิมพ์ 3,000 เล่ม ราคา 150 บาท ข้อมูลบรรณานุกรม บัญชา ธนบุญสมบัติ. SKY ALWAYS.--กรุงเทพฯ : สารคดี, 2558. 120 หน้า. 1. เมฆ. I. บัญชา ธนบุญสมบัติ. 551.576 ISBN 978-616-7767-55-0
คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการเล่ม : ปณต ไกรโรจนานันท์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นฤมล สุวรรณอ่อน ออกแบบปกและจัดรูปเล่ม : ณิลณา หุตะเศรณี พิสูจน์อักษร : สินี ศิริศักดิ์ ควบคุมการผลิต : ธนา วาสิกศิริ จัดพิมพ์ บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด (สำ�นักพิมพ์สารคดี) จัดจำ�หน่าย บริษัทวิริยะธุรกิจ จำ�กัด 28, 30 ถนนปรินายก แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2281-6110 (อัตโนมัติ) โทรสาร 0-2282-7003 เพลต เอ็นอาร์ฟิล์ม โทร. 0-2215-7559 พิมพ์ โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ โทร. 0-3445-2362-3 สำ�นักพิมพ์สารคดี ผู้อ�ำ นวยการ : สุวพร ทองธิว ผู้จัดการทั่วไป : จำ�นงค์ ศรีนวล ที่ปรึกษากฎหมาย : สมพจน์ เจียมพานทอง ผู้อ�ำ นวยการฝ่ายศิลป์/ฝ่ายผลิต : จำ�นงค์ ศรีนวล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด : พิเชษฐ ยิ้มถิน บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ : สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ หนังสือเล่มนี้ใช้หมึกพิมพ์ซึ่งมีส่วนผสมของนํ้ามันถั่วเหลือง ช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากนํ้ามันปิโตรเลียม ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
แด่เพื่อนๆ ชมรมคนรักมวลเมฆ ผู้นำ�พาความรื่นรมย์มาสู่ชีวิต
จากผู้เขียน ปรากฏการณ์ฝนฟ้าอากาศนับวันยิ่งส�ำคัญและใกล้ตัวเรามากขึ้น ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะเรื่องนี้มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจ�ำวันโดยตรง อีกส่วนหนึ่ง เป็นเพราะข่าวและข้อมูลต่างๆ เผยแพร่ผ่านสื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์ อย่างรวดเร็ว (คุณผู้อ่านอาจเคยได้รับข่าวฝนฟ้าอากาศข่าวเดียวกันที่ส่งมา หลายรอบก็เป็นได้) ความเข้าใจอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ เพราะจะช่วยให้เรา แยกแยะข้อมูลและค�ำกล่าวอ้างต่างๆ ว่าน่าเชื่อถือเพียงใด ในกรณีที่เป็น เรือ่ งสนุก (เช่น ปรากฏการณ์แสงสีแปลกๆ) ก็อาจชวนคนทีอ่ ยูใ่ กล้ๆ ได้รว่ ม ชื่นชมหรือเล่นด้วยได้ ในกรณีเรื่องที่อาจมีอันตราย (เช่น พายุ หรือผล กระทบต่างๆ จากเมฆฝนฟ้าคะนอง) ก็จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ลด ความเสี่ยงอันตรายดังกล่าวอย่างถูกวิธี คุณผู้อ่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการแลกเปลี่ยนความ รู้-ข้อคิดเห็น อาจติดต่อกับผมโดยตรง หรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชมรม คนรักมวลเมฆ ได้ท ี่ www.facebook.com/groups/CloudLoverClub ทีน่ นั่ มีคนที่สนใจเมฆและท้องฟ้ามากมายรอคุณอยู่ครับ บัญชา ธนบุญสมบัติ อังคาร 19 พฤษภาคม 2558
4
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
สารบัญ
เมฆหมั่นโถว vs Cumulus humilis เมื่อภูมิปัญญาจีนโบราณพบวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน 6 เมฆสึนามิ...เกิดขึ้นได้อย่างไร? 14 ดูเมฆให้เป็น...อาจเห็นทิศทางลม 20 เบื้องหลังเมฆฝนฟ้าคะนองถล่มเมืองกรุง 26 “โดมยอดเมฆ” สัญญาณลูกเห็บ & อากาศเลวร้าย 34 ศัพท์เมฆฟ้าในอักขราภิธานศรับท์ 40 ภูเขาไฟ...เหตุไฉนมีฟ้าผ่า? 46 ปรากฏการณ์ TLE เหนือพายุฝนฟ้าคะนอง 52 นาคเล่นน�้ำแห่งบางตะบูน 62 แสงปริศนารอบเงาศีรษะคืออะไร? 68 มหัศจรรย์รุ้งเผือก 76 รุ้งแฝดสามแห่งเชียงดาว 82 เบื้องหลังทรงกลดอัศจรรย์เหนือฟ้าเมืองไทย 88 ดัชนี 114
5
SKY ALWAYS
เมฆหมั่นโถว vs Cumulus humilis เมื่อภูมิปัญญาจีนโบราณ พบวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน
ผมเคยอ่านเจอค�ำพังเพยพื้นบ้านเกี่ยวกับเมฆและสภาพอากาศในหนังสือ ต้นก�ำเนิดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ซึ่งแปลโดย อาจารย์สุกัญญา วศินานนท์ แล้วคิดว่าน่าจะสนุกดี จึงขอลองขยายความโดยเปรียบเทียบกับ ความรู้ความเข้าใจในปัจจุบัน มาดูตัวอย่างกันนะครับ
หนังสือต้นก�ำเนิดวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจีน
6
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
“เมฆหมั่นโถว อากาศสดใส”
ภาพโดย พญ. ฉัฐสุดา สุกทน
หมั่นโถวเป็นอาหารจีนที่ท�ำจากแป้งและยีสต์ แล้วน�ำไปนึ่ง อาจนึกถึงซาลาเปา ที่ไม่มีไส้ก็พอได้ ข้อความนี้โดนใจผมยิ่งนักเพราะวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยัน ว่า เมฆก้อนรุ่นเล็กสุด (ซึ่งมีความหนาน้อยกว่าความกว้าง) ที่เรียกว่า คิวมูลัส ฮิวมิลิส (Cumulus humilis) นั้นไม่เคยมีฝนโปรยปราย ฝรั่งจึงเรียกว่า คิวมูลัส อากาศดี (cumulus of fair weather หรือ fair weather cumulus) น่ารู้ด้วยว่า แม้แต่เมฆก้อนรุ่นกลาง (ซึ่งมีความหนาพอๆ กับความ กว้าง) ที่เรียกว่า คิวมูลัส มีดิโอคริส (Cumulus mediocris) ก็นานๆ ทีจะมีฝน เช่นเดียวกัน แบบนีก้ พ็ อสรุปได้วา่ ไม่วา่ “เมฆหมัน่ โถว” จะผอมบางหรือหนานุม่ สักหน่อย ค�ำพังเพยของจีนโบราณก็ยังคงแม่นย�ำ :-)
7
SKY ALWAYS
เมฆสึนามิ...
เกิดขึ้นได้อย่างไร?
14
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 (ค.ศ. 2012) ได้เกิดเมฆพิสดาร ปกคลุมกลุ่มคอนโดมิเนียมที่เรียงรายอยู่บนชายหาดของเมืองปานามาซิตี (Panama City) รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์นี้กลาย เป็นข่าวดังไปทั่วโลก เพราะขนาด CNN ก็ยังให้ความสนใจ แถมสื่อหลาย แห่งยังตั้งชื่อเล่นให้ว่า “เมฆสึนามิ” รวมทั้งสื่อไทยด้วย ภาพเมฆสึ น ามิ ดั ง กล่ า วเป็ น ผลงานของ เจ. อาร์ . ฮอตต์ (J. R. Hott) แห่ง Panhandle Helicopter ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการทัวร์ ทางอากาศรอบๆ บริเวณชายหาดของเมืองปานามาซิตีและเมืองเดสทิน (Destin) ฮอตต์บอกว่าเขาเคยเห็นเมฆแบบนี้ปีละสองสามครั้ง แต่ก่อน หน้านีไ้ ม่มโี อกาสเก็บภาพงามๆ เพราะเกิดเหตุทไี รก็ยงั ไม่ได้น�ำ เฮลิคอปเตอร์ ขึ้นสักที (จนกระทั่งครั้งนี้) คุณผู้อ่านสงสัยไหมครับว่าเมฆสึนามิที่ถล่มแนวคอนโดมิเนียมนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร? ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
เมฆสึนามิที่ปานามาซิตี ภาพโดย J. R. Hott ที่มา : http://www.united-academics.org/blog/tag/panama-city/
เพื่อตอบคำ�ถามนี้ ลองจินตนาการว่าเราไปเที่ยวภูเขาซึ่งมีเนิน เขาสลับสล้าง หากมีลมเบาๆ หอบอากาศอุ่นและชื้นมาปะทะกับภูเขา ลม นี้ จ ะถู ก สั น เขาบั ง คั บ ให้ มี ทิ ศ ทางสู ง ขึ้ น ไป แต่ เ นื่ อ งจากยิ่ ง สู ง ความดั น อากาศยิ่งตํ่า ทำ�ให้อากาศขยายตัวออกและเย็นลง เมื่ออากาศเย็นลงจน ถึงจุดนํ้าค้าง (dew point คือ อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเริ่มกลั่นตัวออก มาเป็ น หยดนํ้ า ณ ความดั น อากาศค่ า หนึ่ ง ๆ) ไอนํ้ า ในอากาศบริ เ วณ นั้นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดนํ้าจำ�นวนมาก ซึ่งเมื่อเรามองภาพรวมก็คือ หมอกนั่นเอง หมอกที่เกิดขึ้นด้วยกลไกนี้เรียกว่า หมอกลาดเนินเขา (upslope fog) หมอกลาดเนินเขาซึ่งเกิดจากลมพัดเบาๆ มักเกิดในระดับไม่สูง มากนัก แต่หากลมพัดแรงขึ้นอีกสักหน่อย หมอกก็อาจจะเกิดในบริเวณที่ SKY ALWAYS
15
เบื้องหลังเมฆฝนฟ้า คะนองถล่มเมืองกรุง
เรือ่ งของฟ้าฝนนัน้ นับวันมีแต่จะส�ำคัญขึน้ เรือ่ ยๆ ในครัง้ นีจ้ งึ ขอเชิญชวนไป รู้จักเมฆฝนฟ้าคะนองให้ละเอียดขึ้นอีกนิด เพราะเมฆสกุลนี้สามารถส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตของทุกคน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตามที ค�ำว่า เมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) เป็นชื่อง่ายๆ ที่ใช้เรียก เมฆที่มีฟ้าร้องฟ้าผ่า และอาจมีลูกเห็บได้ด้วย ส่วนนักอุตุนิยมวิทยาจัดให้ เมฆแบบนีเ้ ป็นสกุล (genus) หนึง่ ทีม่ ชี อื่ ว่า คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus)
26
คิวมูโลนิมบัสแบ่งออกเป็นสองชนิด (species) ตามลักษณะของ ยอดเมฆ (ส่วนบนของเมฆ) อย่างนี้นะครับ ● หากยอดเมฆยั ง ดู ค ล้ า ยเมฆก้ อ น และยั ง ไม่ ป รากฏลั ก ษณะ คล้ายเส้นใย (fibrous) หรือเส้นริ้วรอย (striation) ฝรั่งนัก วิ ช าการมองว่ า เหมื อ นคนหั ว ล้ า น จึ ง เรี ย กว่ า ชนิ ด แคลวั ส (calvus) ค�ำว่า calvus เป็นภาษาละติน หมายถึงหัวล้าน ใน ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ชมรมคนรักมวลเมฆจึงเรียก คิวมูโลนิมบัส แคลวัส (Cumulo nimbus calvus) ว่า เมฆฝนฟ้าคะนองชนิด “หัวเหน่ง” ● หากยอดเมฆมี ลั ก ษณะคล้ า ยเส้ น ใย หรื อ มี ริ้ ว รอย หรื อ มี ลักษณะคล้ายรูปทัง่ ยืน่ ออกมาในแนวระดับ ฝรัง่ มองว่าเหมือน คนผมดกฟูกระเซิง จึงเรียกว่าชนิดแคพิลเลตัส (capillatus) ค�ำว่า capillatus เป็นภาษาละติน หมายถึงมีผมดก ในชมรม คนรักมวลเมฆจึงเรียก คิวมูโลนิมบัส แคพิลเลตัส (Cumulo nimbus capillatus) ว่า เมฆฝนฟ้าคะนองชนิด “หัวฟู”
เมฆฝนฟ้าคะนองชนิดหัวเหน่ง
27
SKY ALWAYS
“โดมยอดเมฆ”
สัญญาณลูกเห็บ & อากาศเลวร้าย
ใครที่เคยเห็นเมฆฝนฟ้าคะนองจากระยะไกล คงพอจะรู้สึกได้ว่าเมฆสกุล นี้มีขนาดใหญ่เพียงใด และถ้าลองสังเกตบริเวณด้านบนบางครั้งก็อาจ จะเห็นลักษณะแปลกๆ เสริมเข้ามา นัน่ คือ มีกอ้ นเมฆคล้ายโดมแปะอยูด่ ว้ ย
34
โดมยอดเมฆด้านบนเมฆฝนฟ้าคะนอง (ส่วนนูนตรงกลางภาพ)
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ลักษณะแบบนี้ส�ำคัญเพราะสามารถบอกสภาพอากาศใต้เมฆฝนฟ้าคะนอง ก้อนนั้นได้ ฝรั่งเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า overshooting top แปลว่าส่วนบนที่พุ่ง เกินออกไป เรียกย่อๆ ว่า โอที (OT) ฟังคล้ายๆ กับมนุษย์เงินเดือนท�ำงาน โอทีเกินเวลายังไงยังงั้น ส่วนผมยังไม่เจอศัพท์บัญญัติ จึงขอเรียกตาม รูปร่างของมันว่า “โดมยอดเมฆ” ไปพลางๆ ก่อน ส่วนเพื่อนๆ ในชมรม คนรักมวลเมฆตั้งชื่อน่ารักๆ ให้ว่า “เมฆหัวโน” ;-)
โดมยอดเมฆที่จังหวัดระยอง ภาพโดย บุญเอก ทรงเนติเชาลิต
โดมยอดเมฆนี้บางทีก็เรียกว่า overshooting cloud top (ส่วนบน ของเมฆที่พุ่งเกินออกไป), overshooting thunderstorm top (ส่วนบนของ เมฆฝนฟ้าคะนองที่พุ่งเกินออกไป) และ penetrating top (ส่วนบนที่ทะลุ เข้าไป) เป็นต้น
SKY ALWAYS
35
นาคเล่นนํ้า แห่งบางตะบูน
62
คุณกลยุทธิ์ เชาวน์คุณ ก�ำลังสังเกตนาคเล่นน�ำ้ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เวลา 16.29 น.
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
พายุรปู แบบหนึง่ ทีผ่ มคิดว่าน่าตืน่ ตาตืน่ ใจ ได้แก่ นาคเล่นน�ำ ้ (waterspout) ซึ่งเคยเป็นข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์หลายครั้ง อย่างไรก็ดีหากเชื่อว่า สภาพลมฟ้าอากาศมีความส�ำคัญ เราก็ควรบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้เพื่อ เป็นข้อมูลในการศึกษาและอ้างอิง ไม่วา่ เหตุการณ์นนั้ จะเป็นข่าวในสือ่ กระแส หลั ก หรื อ ไม่ บทนี้ จ ะขอกล่ า วถึ ง พายุ น าคเล่ น น�้ำ ที่ อ ่ า วบางตะบู น เมื่ อ วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556 โดยใช้ภาพและข้อมูลจากคุณกลยุทธิ์ เชาวน์คุณ สมาชิกชมรมคนรักมวลเมฆ ซึ่งพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ตนเอง คุณกลยุทธิ์เล่าว่า เมื่อประมาณ 4 โมงครึ่ง เขาได้พบนาคเล่นน�้ำ ขณะอยู่บนเรือที่ก�ำลังแล่นเข้าทางฝั่งบางตะบูน โดย “สภาพอากาศใน ช่วงเช้าถึงกลางวัน ฟ้าหลัว มีลมเป็นระยะ อากาศร้อนแต่ไม่ร้อนจัด ทะเล เรียบ ก่อนเกิดนาคเล่นน�้ำได้เห็นเมฆก่อตัวหนาจากฝั่งบางตะบูนต่อเนื่อง ไปทางเขตอ�ำเภอบ้านแหลม จากนั้นเมฆก็เคลื่อนลงทะล ช่วงเวลาที่เกิด
63
แผนที่แสดงบริเวณโดยรอบต�ำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี
SKY ALWAYS
ดัชนี
114
กลอรี่ 72, 81 ก้อนอากาศ (parcel of air) 17 การกลายเป็นน�้ำแข็ง (glaciation) 32 การทรงกลดแบบเซอร์คัมสไครบด์ (circumscribed halo) 96, 101 การทรงกลดวงกลม 22 องศา (22-degree circular halo) 99 46 การแยกประจุ (charge separation) ขวานฟ้า 42 45 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออก (easterly wave) คอลัมนิฟอร์มสไปรต์ (columniform sprite) 56 ค�ำถาม-ค�ำตอบ 45 8, 9, 30, 67 คิวมูลัส คอนเจสตัส (Cumulus congestus) คิวมูลัส มีดิโอคริส (Cumulus mediocris) 7, 30 คิวมูลัส ฮิวมิสิส (Cumulus humilis) 7, 30 คิวมูลัสอากาศดี (cumulus of fair weather หรือ fair weather cumulus) 7 คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) 9, 26, 67, 69 27 คิวมูโลนิมบัส แคพิลเลตัส (Cumulonimbus capillatus) คิวมูโลนิมบัส แคพิลเลตัส อิงคัส (Cumulonimbus capillatus incus) 29 คิวมูโลนิมบัส แคลวัส (Cumulonimbus calvus) 27 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ ในคริสตศิลป์ 68 แคพิลเลตัส (capillatus) 27 แคลวัส (calvus) 26 70 เงาปิศาจแห่งบร็อคเคิน จุดน�้ำค้าง (dew point) 15 จุดแอนทีลิก (anthelic point) 96 ไจแกนติกเจ็ต (gigantic jet) 60 95, 100 ซันด็อก (sundog) ซีร์รัส (cirrus) 11 ซีร์รัส ไฟเบรตัส (Cirrus fibratus) 11 11 ซีร์รัส อันไซนัส (Cirrus uncinus) ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ซีร์โรสเตรตัส (cirrostratus) ซูเปอร์โบลต์พุ่งขึ้น (upward superbolt) ฐปนพัฒน์ ศรีปุงวิวัฒน์ โดมยอดเมฆ แถบมืดของอเล็กซานเดอร์ (Alexander’s dark band) ทอร์นาโด (tornado) ทิศทางลม เทนดริล (tendril) โทรโพพอส (tropopause) นาคเล่นน�้ำ (waterspout) น�้ำค้าง น�้ำฝน น�้ำฟ้า นิมโบสเตรตัส (nimbostratus) แนวปะทะอากาศอุ่น (warm front) บลูเจ็ต (blue jet) บลูสตาร์เตอร์ (blue starter) ปรากฏการณ์ TLE ปรากฏการณ์ทรงกลด โปรแกรม NOAA Solar Calculator ผลึกน�้ำแข็งรูปแท่ง (columnar crystal) ผลึกน�้ำแข็งรูปแผ่น (plate crystal) ฝน ฝนงาม ฝนชะช่อมะม่วง ฝนชะลาน ฝนชุก ฝนเชย ฝนปรอยๆ ฝนพร�ำ ฝนฟ้า
11 59 90 34 77 65 20 56 32 63 41 43 43 11 11 59 60 52 70 94 93 93 43 44 45 44 44 44 44 44 43 SKY ALWAYS
115
118
เส้นโค้งอินฟราแลตเทอรัล (infralateral arc) 96 เส้นทางเดินของแสง (ray path) 98 หนังสือแสดงกิจจานุกิจ 42 หมอกลาดเนินเขา (upslope fog) 15 หยดน�้ำเย็นยิ่งยวด (supercooled water droplet) 23, 32 41 หิมะ เหตุการณ์แสงสว่างแบบชั่วคราว (transient luminous events, TLEs) 61 40 อักขราภิธานศรับท์ อัตราการลดลงของอุณหภูมิเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นในกระบวนการแอเดียแบติก (dry adiabatic lapse rate) 17 36 อัปดราฟต์ (updraft) อากาศแห้ง (dry air) 17 อาทิตย์ทรงกลด 88 อิงคัส (incus) 29, 36 เอลฟส์ (ELVES) 58 11 แอลโตสเตรตัส (altostratus) ไฮลิเกนไชน์ 72 c-sprite 57 65 EF scale ELVES 58 glory 70 halo 70 HaloPoint 2.0 93 heiligenschein 72 Jukka Ruoskanen 93 Kelvin-Helmholtz wave cloud 24 nimbus 69 nowcasting 38 overshooting top 35
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ผมจบประถมศึกษาจากโรงเรียนบ�ำรุงวิทยาธนบุรี มัธยมต้นจากโรงเรียน ทวีธาภิเศก และมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ด้วย ความโชคดีที่มีโอกาสได้เรียนกับครูวิทยาศาสตร์ที่รักและเอาใจใส่หลาย ท่าน ประกอบกับในช่วงที่เรียนมัธยมฯ ก็มีนิตยสารวิทยาศาสตร์ชั้นเยี่ยม ให้อ่านหลายฉบับ ท�ำให้ตัดสินใจเอนทรานซ์ โดยเลือกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอันดับ 1 และเรียนจบปริญญาตรี สาขา ฟิสิกส์ ในปี 2531 ต่อมาผมได้รับทุนจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถ พิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ไปศึกษาในระดับปริญญา โทและปริญญาเอก สาขาโลหะวิทยา ที่ภาควิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรม (School of Materials Science and Engineering) สถาบันเทคโนโลยี แห่งรัฐจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบก็กลับมาท�ำงานในต�ำแหน่งนักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC-เอ็มเทค) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในปี 2537 SKY ALWAYS
119
ในระหว่ า งการท� ำ งานที่ สวทช. ผมได้ มี โ อกาสเรี ย นรู ้ เ กี่ ย วกั บ สถานภาพและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบ้านเราในหลาย แง่มุม ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนา การแก้ปัญหาและให้ค�ำปรึกษาแก่ภาค อุตสาหกรรมการผลิต การจัดตั้งและบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ การ ฝึกอบรมสัมมนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการจัดท�ำสื่อวิชาการ ประเภทต่างๆ งานที่ท�ำอยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการเผยแพร่ความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน โดยเป็นคอลัมนิสต์ของนิตยสารสารคดี และ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเป็นบล็อกเกอร์ในระบบ GotoKnow ก่อน หน้านี้ผมเคยมีประสบการณ์ในการท�ำรายการวิทยาศาสตร์ Know How & Know Why ใน Nation Channel อยู่ระยะหนึ่ง กิจกรรมทั้งหมดนี้ผมท�ำด้วยความเชื่อที่ว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่อง น่าสนุกและมีประโยชน์ในชีวติ ประจ�ำวัน และสังคมไทยควรจะได้รบั ประโยชน์ จากความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
120
ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
E-mail address : buncha2509@gmail.com Blog : http://gotoknow.org/blog/science Facebook : http://www.facebook.com/buncha2509
SKY ALWAYS ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ
เมฆสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ● ดูสัญญาณว่าจะเกิดลูกเห็บตกและอากาศเลวร้ายจากโดมยอดเมฆ ● แสงปริศนารอบเงาศีรษะคืออะไร ? ● รู้จักรุ้งเผือกและรุ้งแฝดสาม ● เบื้องหลังทรงกลดอัศจรรย์เหนือฟ้าเมืองไทย ●
SKY ALWA S ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ชมรมคนรักมวลเมฆ
หมวดวิทยาศาสตร์ ISBN 978-616-7767-55-0 ราคา 150 บาท
150.-