รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน ..............................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ .....................................................................................2 เรื่อง พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดโดยทางประชากรเลือกสรร ..7 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความหมายของธรรมล้ำ�ลึกปัสกา ...........................................................................10 เรื่อง ประวัติของพระเยซูเจ้า .........................................................................................13 เรื่อง พันธกิจของพระเยซูเจ้า .....................................................................................17 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร ......................................................................21 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง พระศาสนจักรไม่ผิดพลั้ง ...................................................................................25 เรื่อง พระอาจาริยานุภาพ ..........................................................................................29 เรื่อง พระนางมารีย์ : แบบอย่างของคริสตชน ...............................................................33 เรื่อง ศาสนสัมพันธ์ ..................................................................................................37 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พระวาจาในชีวิตคริสตชน .................................................................................42 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ศีลสมรส ...........................................................................................................46 เรื่อง ศีลบรรพชา .........................................................................................................50 เรื่อง ศีลเจิมคนไข้ .......................................................................................................54 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง วิธีการภาวนาพระวาจา .......................................................................................58 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง กฎจริยธรรม : ความสำ�คัญ ..................................................................................63 เรื่อง คุณค่าของความบริสุทธิ์ ......................................................................................67 เรื่อง กิจวัตรประจำ�วันของคริสตชน ..............................................................................71



1

ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่บ้างแต่ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์ จึงยังมีบางสิ่งที่ ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ ความเชื่อ ความไว้ใจและความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พระเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่งเหนือกว่าสิ่งสร้างทั้งมวล - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนแสดงความเคารพต่อพระเจ้าในทุกโอกาส ไม่ว่าจะด้วยคำ�พูดหรือกิรยิ า ท่าที สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ ความศักดิ์สิทธิ์คือคุณลักษณะหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์อันมิมี ใครเทียบได้ของพระองค์ เพราะทรงเป็นผู้ทรงสรรพานุภาพ ไม่มีขอบเขต พระองค์จึงทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดยิ่งกว่าใคร ทั้งสิ้น เรารู้และเชื่อในข้อนี้อาศัยคำ�สอนจากพระคัมภีร์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ที่เขียนชื่อสิ่งต่างๆ มาประมาณ 10 คำ� แจกให้ผู้เรียนคนละ 1 ใบ โดยให้คนที่ถือบัตรคำ�ปิดไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาจึงค่อยๆ ให้แต่ละคนเปิดบัตรคำ�ทีละ ใบ จนถึงคนสุดท้าย ผู้สอนจึงตั้งคำ�ถามให้ผู้เรียนตอบว่า “ในจำ�นวนบุคคลเหล่านี้ ทั้งหมดใครคือผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด?” โดยให้ผู้เรียนอ้างเหตุผลด้วยว่า “เพราะเหตุใด?” เมื่อตัวแทนผู้เรียนตอบแล้ว ผู้สอนสามารถเฉลยได้เลยว่า คำ�ตอบคือ “พระเจ้า” - จากนั้นอาจป้อนคำ�ถามต่อไปว่า “ความศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของพระเจ้านี้ มีผลต่อ เราแต่ละคนอย่างไรบ้างไหม?” ให้ผู้เรียนตอบ - พระคัมภีร์คือกุญแจที่จะไขให้เราทราบว่า ทำ�ไมพระเจ้าจึงทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ สูงสุด ดังนั้นเราควรแสดงท่าทีใดที่เหมาะสมต่อพระองค์ ให้เรามาดูกัน 3 พระวาจา 1. ข้าพเจ้า (ยอห์น) เห็นนิมิต ประตูสวรรค์เปิดบานหนึ่ง... ทันใดนั้น ข้าพเจ้าก็ ตกอยู่ในภวังค์และเห็นพระบัลลังก์องค์หนึ่งตั้งอยู่ในสวรรค์ ผู้หนึ่งประทับอยู่บน พระบัลลังก์นนั้ ... ทรงมีลกั ษณะเหมือนเพชรและทับทิมแดง มีรงุ้ ลักษณะเหมือนมรกต ล้อมรอบพระบัลลังก์... มีบัลลังก์อีกยี่สิบสี่องค์ล้อมอยู่ ผู้อาวุโสยี่สิบสี่คนนั่งอยู่บน บัลลังก์เหล่านั้น แต่ละคนสวมเสื้อขาว มีมงกุฎทองคำ�บนศีรษะ...

มีผู้มีชีวิตสี่ตนซึ่งมีตาเต็มตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อยู่ตรงกลางและรอบๆ พระบัลลังก์ ตนแรกคล้ายสิงโต ตนที่สองคล้ายโค ตนที่สามใบหน้าเหมือนมนุษย์ และตนที่สี่คล้ายนกอินทรีกำ�ลังบิน ทั้งสี่ตนต่างมีปีกหกปีก ตาอยู่รอบตัวและอยู่ใต้

☆ ดูตัวอย่างบัตรคำ�ท้ายแผน


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

ปีก ต่างร้องสรรเสริญตลอดวันตลอดคืนโดยไม่หยุดเลยว่า ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ ผู้ทรงดำ�รงอยู่ในอดีต ผู้ทรงดำ�รงอยู่ในปัจจุบันและผู้เสด็จมา เมื่อผู้มีชีวิตทั้งสี่ตนถวายคำ�สรรเสริญ ถวายพระเกียรติ และขอบพระคุณแด่ พระองค์ผปู้ ระทับอยูบ่ นพระบัลลังก์และทรงพระชนม์ตลอดนิรนั ดรนัน้ บรรดาผูอ้ าวุโส ทั้งยี่สิบสี่คนจะกราบลงเฉพาะพระพักตร์พระผู้ประทับบนพระบัลลังก์ และนมัสการ พระองค์ผู้ทรงพระชนม์ตลอดนิรันดร และจะวางมงกุฎไว้หน้าพระบัลลังก์ พลางทูลว่า ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์ทรงสมควรจะได้รับ พระสิริรุ่งโรจน์ พระเกียรติและพระอานุภาพ เพราะพระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง และ ทุกสิ่งถูกสร้างและดำ�รงอยู่ตามพระประสงค์ของพระองค์ (เทียบ วว 4:1-11) 2. “พระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงดำ�รงอยู่ในปัจจุบัน ผู้ทรงดำ�รงอยู่ในอดีต และผูเ้ สด็จมา พระผู้ทรงสรรพานุภาพตรัสว่า “เราคือ อัลฟาและโอเมก้า” (วว 1:8) 4 อธิบายพระวาจา - หนังสือวิวรณ์ได้แสดงภาพของเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งแม้จะ เป็นเสมือนเหตุการณ์ในภาพนิมิต แต่เหตุการณ์นี้ก็ต้องการจะบอกกับเราว่าจุด ศูนย์กลางของทุกสิ่งคือพระเจ้า สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหมดล้วนห้อมล้อมพระองค์ สรรเสริญพระองค์ตลอดวันตลอดคืนอย่างไม่หยุดหย่อน ย้ำ�คำ�เดียวกันว่า “ศักดิ์สิทธิ์ๆๆ ... พระองค์คือผู้สมควรจะได้รับเกียรติและพระอานุภาพเพราะพระองค์คือผู้สร้างและ ทำ�ให้ทุกสิ่งดำ�รงอยู่”

- ภาพนี้แสดงถึงความอลังการของบรรยากาศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้อาวุโส ที่ แ ต่ ง กายสง่ า งามด้ ว ยมงกุ ฎ ทองคำ � เทวดา ผู้ มี ชี วิ ต แปลกตาที่ ดู น่ า เกรงขาม พระบัลลังก์งามวิจิตรล้อมรอบพระบัลลังก์ที่อยู่ตรงกลาง ฯลฯ รวมถึงการแสดง ความเคารพของทุกสรรพสิง่ ต่อพระองค์ผปู้ ระทับอยูบ่ นพระบัลลังก์และทรงพระชนม์ ตลอดนิรันดร - ดังนั้น เหตุการณ์เหล่านี้จึงยืนยันถึง “ความศักดิ์สิทธิ์” สูงสุดขององค์พระผู้ เป็นเจ้า - ในหนังสือวิวรณ์ยังย้ำ�อีกว่า พระองค์ผู้นี้ ทรงดำ�รงอยู่ในปัจจุบัน ในอดีต และ ในอนาคต ทรงเป็นจุดเริ่มและปลายทางของทุกสิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีใครอีก เล่าที่ยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์กว่าพระเจ้าองค์นี้ได้? 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ประสบการณ์ของเราแต่ละคนคงจะทำ�ให้เราเข้าใจว่า ในโลกนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหนือธรรมชาติมากมายหลายอย่าง เช่น พระเจ้าทีห่ ลายศาสนานับถือ อำ�นาจของภูตผี หรือวิญญาณ พระภิกษุหรือเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ไสยศาสตร์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้แม้จะ ทำ�ให้มนุษย์หวาดกลัวแต่กย็ อมรับว่ามีจริง เพราะหลายครัง้ อำ�นาจเหล่านีก้ ม็ ผี ลต่อชีวติ ของมนุษย์หลายๆ คนด้วยไม่ว่าจะในทางดีหรือทางร้ายก็ตาม

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เราจึงไม่สามารถปฏิเสธอำ�นาจดังกล่าวได้ เพราะสิ่งเหนือธรรมชาตินั้นมีอยู่ จริง แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า ในระหว่างอำ�นาจเหนือธรรมชาติทั้งหมดนั้น มีผู้หนึ่งที่ ยิ่งใหญ่กว่าอำ�นาจอื่นใดทั้งสิ้น เพราะผู้นั้นทรงเป็นผู้เดียวที่ไม่มีขอบเขต ส่วนอำ�นาจ อื่นนั้นล้วนด้อยกว่าทั้งสิ้น เราเรียกพระองค์ผู้นี้ว่า “พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งพระเจ้านั้นจะ ต้องมีแต่ผู้เดียวที่สูงสุด อยู่เหนืออำ�นาจทั้งปวง - เรามนุษย์เป็นแต่เพียงสิ่งถูกสร้างที่มีชีวิตตามกฎธรรมชาติ คนโดยทั่วไปจึงไม่ มีอำ�นาจเหนือธรรมชาติ เราจึงต้องยอมรับอำ�นาจเหนือธรรมชาติของพระเจ้า ผู้ทรง เป็นผู้สร้างเรามา ว่าพระองค์ทรงศักดิ์สิทธิ์สูงสุดยิ่งกว่าอำ�นาจอื่นใดทั้งสิ้น เรายอมรับ ว่าอำ�นาจอื่นมีจริงแต่สิ่งที่จริงยิ่งกว่านั้นคือ พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้ทรงยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่ง และทุกอย่าง - ความไม่มีขอบเขตของพระเจ้าคือปัจจัยหนึ่งที่ทุกสรรพสิ่งต้องยอมรับ เพราะไม่ มีสิ่งสร้างใดเลยทั้งในโลกหรือจักรวาลที่จะบอกได้ว่าตนไม่มีขอบเขต ทุกสิ่งล้วนมีจุด เริม่ ต้น ยกเว้นพระเจ้าแต่ผเู้ ดียวเท่านัน้ ทีท่ รงมีความเป็นอยูต่ ลอดกาล ไม่มเี ริม่ และไม่มี จบ ทรงเป็นปัจจุบันตลอดกาล - ผู้สอนสามารถนำ�ภาพเปรียบเทียบกับ “เครื่องเล่นรถไฟ” มาประกอบการ อธิบายได้ว่า เปรียบเสมือนมนุษย์ในโลกที่เดินทางอยู่ในรถไฟ เมื่อเริ่มออกเดินทาง ไม่มใี ครสามารถรูไ้ ด้วา่ จะพบสิง่ ใดบ้างตามเส้นทางนัน้ แต่เมือ่ รถไฟวิง่ ไปเรือ่ ยๆ จึงจะ ค่อยๆ พบว่าเขาต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น ทะเล ภูเขา ฟ้าผ่า ฯลฯ แต่เขา จะไม่รู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น นี่ทำ�ให้เข้าใจถึงขอบเขตของการเป็นมนุษย์ที่ ไม่สามารถรู้อนาคตได้ ซึ่งต่างจากพระเจ้าพระองค์ทรงอยู่เหนือกาลเวลา ทุกอย่างจึง เป็นปัจจุบันสำ�หรับพระองค์เสมอ

☆ ดูภาพท้ายแผน

- นี่เป็นเพียงภาพเพื่ออธิบายให้เข้าใจได้เล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องขอบเขตและเวลาที่ ต่างกันของมนุษย์และพระเจ้า ซึ่งจริงๆ แล้วเราไม่สามารถใช้คำ�พูดภาษามนุษย์ที่มี ขอบเขตมาอธิบายถึงสิง่ ทีไ่ ม่มขี อบเขตให้เข้าใจอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งทัง้ หมดได้ นีก่ เ็ ป็น ประเด็นหนึ่งที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าเช่นกัน - เมื่อเราเข้าใจความจริงข้อนี้กระจ่างชัดขึ้นแล้ว เราต้องสำ�นึกถึงความจริงของ พระเจ้าและของตัวเราเองให้มากยิง่ ขึน้ ด้วยว่า พระองค์ทรงเป็นใครและเราเป็นใคร เรา จะได้สำ�รวมตนอย่างสุภาพต่อหน้าพระองค์เสมอและมีท่าทีที่แสดงความเคารพต่อ พระองค์ด้วยใจจริง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนแสดงความเคารพต่อพระเจ้าในทุกโอกาส ไม่ว่าจะด้วยคำ�พูดหรือกิริยา ท่าที 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนร่วมกันร้องเพลง “ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าจอมโยธา” อย่างศรัทธาด้วยความตั้งใจ

☆ ผู้สอนเตรียมเนื้อเพลงให้


5

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ตัวอย่างบัตรคำ� พระสันตะปาปา

หมอผี

พระภิกษุ

พระเจ้า

ปีศาจ

ไดโนเสาร์

แม่พระ

จักรวาล

เทวดา

นักบุญ


6

ภาพเปรียบเทียบกับ

“เครื่องเล่นรถไฟ”


7

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในประวัติศาสตร์แห่งความรอด โดยทางประชากรเลือกสรร ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้น ของมวลมนุษยชาติ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนนมัสการพระเจ้าด้วยการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอ สาระการเรียนรู ้ พระเจ้า พระผู้สร้างทรงต้องการให้มนุษย์ที่ทรงสร้างมาได้รับรู้ถึงความจริงของตนเองและของพระเจ้า นั่น คือแผนการแห่งความรักและความรอดพ้นของพระองค์ต่อมวลมนุษย์ ดังนั้นในประวัติศาสตร์แห่งความรอด พระเจ้าทรงเปิด เผยความจริงนี้ให้แก่มนุษย์ บางครั้งผ่านทางบุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ แต่บางครั้งก็ทรงแสดงพระองค์เองโดยตรงแก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์มีหลักประกันที่มั่นคงและเชื่อถือได้ถึงแผนการแห่งความรอดพ้นนี้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพ “โหราจารย์ 3 คน” มาให้ผู้เรียนดูแล้วตั้งคำ�ถามว่า “บุคคล เหล่านี้คือใคร? มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับศาสนาคริสต์? ฯลฯ” แล้วให้ผู้เรียนได้ แสดงความเห็น - จากนัน้ จึงให้ผเู้ รียนแต่ละคนตัง้ ชือ่ ของภาพดังกล่าว จดชือ่ เหล่านัน้ ไว้ทกี่ ระดาน หน้าห้อง ในตอนท้ายให้ผสู้ อนเลือกเอาหนึง่ ชือ่ ทีใ่ กล้เคียงทีส่ ดุ กับหัวข้อทีว่ า่ “พระเยซู คริสตเจ้าทรงแสดง (เปิดเผย) พระองค์...” เพื่อเป็นการเปิดประเด็นว่า พระเจ้าทรง ต้องการเปิดเผยความจริงบางอย่างให้แก่เรามนุษย์ทุกคน ความจริงนั้นคืออะไร? - ดังนั้นในช่วงต่อไป จึงให้ผู้เรียนได้อ่านพระวรสารตอน “โหราจารย์มาเฝ้า พระกุมาร” หรืออาจนำ�เสนอเป็นภาพยนตร์ให้ผู้เรียนชมก็ได้ 3 พระวาจา : (มธ 2:1-12 โหราจารย์มาเฝ้าพระกุมาร) ในรัชสมัยกษัตริย์เฮโรด พระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย โหราจารย์บางท่านจากทิศตะวันออกเดินทางมายังกรุงเยรูซาเล็ม สืบถามว่า “กษัตริย์ ชาวยิวที่เพิ่งประสูติอยู่ที่ใด พวกเราได้เห็นดาวประจำ�พระองค์ขึ้น จึงพร้อมใจกันมา เพือ่ นมัสการพระองค์” เมือ่ กษัตริยเ์ ฮโรดทรงทราบข่าวนี้ พระองค์ทรงวุน่ วายพระทัย ชาวกรุงเยรูซาเล็มทุกคนต่างก็วุ่นวายใจไปด้วย พระองค์ทรงเรียกประชุมบรรดา หัวหน้าสมณะและธรรมาจารย์ ตรัสถามเขาว่า “พระคริสต์จะประสูตทิ ใี่ ด” เขาจึงทูล ตอบว่า “ในเมืองเบธเลเฮม แคว้นยูเดีย เพราะประกาศกเขียนไว้วา่ เมืองเบธเลเฮม... ผู้นำ�คนหนึ่งจะออกมาจากเจ้า ซึ่งจะเป็นผู้นำ�อิสราเอล ประชากรของเรา”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ภาพโหราจารย์ ท้ายแผน


8

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น กษัตริย์เฮโรดทรงเรียกบรรดาโหราจารย์มาเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ทรงซักถามถึงวันเวลาที่ดาวปรากฏ แล้วทรงใช้บรรดาโหราจารย์ไปที่เมืองเบธเลเฮม ทรงกำ�ชับว่า “จงไปสืบถามเรื่องพระกุมารอย่างละเอียด และเมื่อพบพระกุมารแล้ว จง กลับมาบอกให้เรารู้ เราจะได้ไปนมัสการพระองค์ด้วย” เมื่อบรรดาโหราจารย์ได้ฟัง พระดำ�รัสแล้วก็ออกเดินทาง ดาวทีเ่ ขาเห็นทางทิศตะวันออกปรากฏอีกครัง้ หนึง่ นำ�ทาง ให้ และมาหยุดนิง่ อยูเ่ หนือสถานทีป่ ระทับของพระกุมาร เมือ่ เห็นดาวอีกครัง้ หนึง่ บรรดา โหราจารย์มีความยินดียิ่งนัก เขาเข้าไปในบ้าน พบพระกุม ารกับพระนางมารีย์ พระมารดา จึงคุกเข่าลงนมัสการพระองค์ แล้วเปิดหีบสมบัตินำ�ทองคำ� กำ�ยาน และ มดยอบออกมาถวายพระองค์ แต่พระเจ้าทรงเตือนเขาในความฝันมิให้กลับไปหา กษัตริย์เฮโรด เขาจึงกลับไปบ้านเมืองของตนโดยทางอื่น

4 อธิบายพระวาจา - เมื่อเราคิดถึงสภาพจริงของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด พระนางมารีย์และนักบุญยอแซฟเป็นบุคคลธรรมดาสามัญมากๆ ที่สมัยนี้ใช้คำ�ว่า “โนเนม” คือไม่ใช่คนโด่งดัง ไม่มีใครรู้จักนอกจากในวงญาติใกล้ชิดเท่านั้น ใครล่ะจะ รู้ได้ว่า สามีภรรยาคู่นี้เป็นบุคคลสำ�คัญในประวัติศาสตร์? บุตรที่จะเกิดจากครรภ์ของ หญิงนี้จะเป็นผู้สำ�คัญที่สุดของประวัติศาสตร์โลก? - จนกระทั่งว่าเมื่อทั้งคู่ไปหาที่พักในโรงแรมจึงไม่มีใครให้พักเลย เพราะทั้งสองดู เหมือนเป็นคนยากจนด้วยซ้ำ� ดังนั้น แผนการไถ่บาปของพระเจ้าที่มีการทำ�นายไว้ใน พระคัมภีร์ว่าพระเจ้าจะส่งพระเมสสิยาห์มาไถ่บาปมนุษย์ เป็นสิ่งที่ชาวยิวทุกคนรู้แต่ ไม่มใี ครรูเ้ ลยว่าจะมาเมือ่ ใดและมาอย่างไร? หลายๆ คนจึงคิดว่าพระองค์คงจะมาอย่าง ผู้ยิ่งใหญ่ ทรงอำ�นาจ - แต่เหตุการณ์จริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทุกอย่างผิดคาด เมื่อพระกุมารทรงบังเกิด แล้วมีแต่คนเลี้ยงแกะเท่านั้นที่ได้รับการแจ้งจากเทวดาให้ไปเฝ้าพระองค์ นอกนั้น พระเจ้าได้ทรงใช้กลุ่มโหราจารย์นี้แหละที่เดินทางตามดวงดาวจากแดนไกลเพื่อมา นมัสการกษัตริย์ที่เพิ่งประสูติ ดังนั้น บรรดาคนเลี้ยงแกะและโหราจารย์กลุ่มนี้จึงเป็น เสมือนตัวแทนของมนุษย์อกี มากมายทีพ่ ระเจ้าทรงมีพระประสงค์จะเผยแสดงความจริง ของพระองค์แก่พวกเขา นอกนั้นพระเจ้ายังทรงยืนยันถึงการเปิดเผยนี้ด้วยการเตือน พวกโหราจารย์โดยทางความฝันถึงแผนการร้ายของกษัตริย์เฮโรดและให้พวกเขากลับ ไปบ้านอีกเส้นทางหนึ่ง - พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ทราบถึงแผนการแห่งการไถ่กู้ของพระองค์ จึง ทรงให้โหราจารย์ได้พบประสบการณ์นี้ พวกเขาคงจะได้ไปประกาศแก่คนเป็นอันมาก ถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ� สำ�หรับเราแต่ละคนก็เช่นกัน เมื่อเราอ่านพระวาจาตอนนี้ แล้ว เราก็ตอ้ งเชือ่ ในสิง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงต้องการจะบอกแก่เรา นัน่ คือ พระองค์ทรงต้องการ ให้เราทราบว่าพระองค์ทรงเป็นใคร? ทรงเสด็จมาในโลกนี้เพื่ออะไร? และเราควรจะ ตอบรับสารของพระองค์ด้วยท่าทีอย่างไร?

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


9

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในโลกนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่รู้ และไม่มีมนุษย์คนไหนด้วยที่จะรู้ไป เสียทุกเรือ่ ง นีค่ อื สิง่ ทีป่ กติ แต่สงิ่ หนึง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงต้องการให้เรารูค้ อื แผนการไถ่บาป ของพระองค์ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเราแต่ละคนโดยตรงและอย่างใกล้ชิด การเจริญชีวิตของเราในโลกนี้ส่วนใหญ่ก็ไม่เกินร้อยปีแล้วเราก็ตายไป เราเชื่อว่าเรามี ชีวิตนิรันดรหลังความตาย นั่นคือชีวิตแท้ซึ่งสำ�คัญที่สุดหลังจากชีวิตชั่วคราวในโลกนี้ พระเจ้าทรงต้องการให้เรามีความสุขนิรันดรกับพระองค์หลังจากความตาย ไม่ใช่ ความทุกข์ชั่วนิรันดร์ - พระเจ้าที่ทรงสร้างเรามาทรงรักเรา มีพระทัยดีต่อเราอย่างมากมาย ทรงทำ�เพื่อ เราทุกอย่างแม้กระทั่งส่งพระบุตรมาไถ่บาปมนุษย์ สิ่งเหล่านี้พระองค์ทรงต้องการให้ มนุษย์รบั รูเ้ พราะเราเป็นสิง่ สร้างทีม่ สี ติปญ ั ญา สามารถตอบสนองความรักของพระเจ้า ได้ แต่พระองค์ทรงต้องการให้เราทำ�ด้วยใจอิสระ ไม่ใช่เพราะถูกบังคับ - ความสำ�นึกในสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ�เพื่อเรานี้ต้องผลักดันเราให้เจริญชีวิตด้วย ท่าทีของความกตัญญูรู้คุณต่อพระ ซึ่งอาจจะแสดงออกในหลากหลายรูปแบบที่เป็น รูปธรรม ซึง่ วิธกี ารปฏิบตั หิ นึง่ ทีส่ ามารถทำ�ได้ไม่ยากแต่หลายครัง้ คริสตชนยังไม่ซอื่ สัตย์ พอก็คือ การไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ ด้วยความตั้งใจและพยายามที่ จะเข้าใจความหมายของพิธีอย่างจริงจัง เพื่อให้พิธีนั้นได้เกิดผลในตนเองมากที่สุดเท่า ที่จะมากได้ 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนนมัสการพระเจ้าด้วยการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้ตัวแทนคนหนึ่งมาสวดภาวนาจากใจหน้าชั้น 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ภาพ

“โหราจารย์ 3 คน”


10

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง ความหมายของธรรมล้ำ�ลึกปัสกา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2

ชั้น ม.1

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าธรรมล้ำ�ลึกปัสกา หมายถึงการทรมาน สิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพ ของพระเยซูเจ้า ได้ช่วยให้มนุษย์ทุกคนรอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมมิสซาทุกวันอาทิตย์อย่างสม่ำ�เสมอด้วยความตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ ธรรมล้ำ�ลึกปัสกาคือความจริงหนึ่งที่สำ�คัญและมีความหมายต่อความรอดพ้นของคริสตชน รวมทั้งมนุษย์ ทุกคนอย่างมากที่สุด ไม่มีความจริงอื่นใดจะใหญ่ยิ่งกว่านี้อีกแล้ว เพราะการทรมาน สิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของ พระเยซูเจ้า (ธรรมล้ำ�ลึกปัสกา) เป็นสาเหตุเดียวแห่งความรอดพ้นของมนุษย์ ที่ช่วยให้มนุษย์พ้นจากบาปและความตาย ไปสู่ ความสุขนิรันดร ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเรื่อง “ความตาย” โดยตั้งเป็นคำ�ถามเช่น “ใครต้องตาย บ้าง? ความตายคืออะไร? ตายแล้วเป็นอย่างไร? ทำ�ไมจึงต้องตาย? ฯลฯ” เพื่อให้ ผู้เรียนแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักจะกลัว ไม่กล้าเผชิญ แต่สำ�หรับ เราคริสตชน เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องที่เราไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้เจริญชีวิตให้ สอดคล้องกับความจริงนี้ ซึ่งเป็นเรื่องสำ�คัญสำ�หรับเรา - ประเด็นที่เราต้องการหยุดพิจารณากับผู้เรียนคือ เรามนุษย์ทุกคนต้องตาย แต่ เรายังมีอกี ชีวติ หนึง่ หลังความตาย แต่ปศี าจและบาปทำ�ให้ความตายของมนุษย์นา่ กลัว เพราะมันนำ�ไปสู่ความหายนะคือความทุกข์นิรันดร - ในสภาพเช่นนี้ ให้ผู้เรียนช่วยกันออกความเห็นว่า เราจะทำ�อย่างไรจึงจะพ้น จากชะตากรรมนี้ได้? ใครสามารถช่วยเราได้? และจะช่วยเราได้อย่างไร? 3 พระวาจา : (เทียบ กจ 2:22-24; 32-33) เปโตรพูดปราศรัยต่อหน้าประชาชนในวันเปนเตกอสเตว่า ชาวอิสราเอลทั้ง หลาย จงฟังวาจาเหล่านีเ้ ถิดพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เป็นบุรษุ ทีพ่ ระเจ้าทรงส่งมาหาท่าน พระเจ้าทรงรับรองพระองค์โดยประทานอำ�นาจทำ�อัศจรรย์ ปาฏิหาริยแ์ ละเครือ่ งหมาย ต่างๆ เดชะพระเยซูเจ้า พระเจ้าทรงกระทำ�การเหล่านี้ในหมู่ท่านทั้งหลาย ดังที่ท่านรู้ อยู่แล้ว พระเยซูเจ้าทรงถูกมอบในเงื้อมมือของท่านตามที่พระเจ้ามีพระประสงค์และ ทรงทราบล่วงหน้าแล้ว ท่าน ใช้มือของบรรดาคนอธรรมประหารพระองค์โดยตรึงบน ไม้กางเขน แต่พระเจ้าทรงบันดาลให้พระองค์กลับคืนพระชนมชีพ พ้นจากอำ�นาจแห่ง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


11

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ความตายเพราะความตายยึดพระองค์ไว้ใต้อ�ำ นาจอีกต่อไปไม่ได้... พระเยซูเจ้าพระองค์ นี้ พระเจ้าทรงบันดาลให้กลับคืนพระชนมชีพ เราทุกคนเป็นพยานได้ พระองค์ทรงได้ รับการเทิดทูนให้ประทับเบื้องขวาของพระเจ้า... 4. อธิบายพระวาจา - หลังจากเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าที่เขากัลวารีโอแล้ว บรรดาศิษย์ ทุกคนกลัวเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่หนีไปซ่อน จนถึงวันเปนเตกอสเตหรือวันพระจิต เจ้าเสด็จลงมา เมื่อได้รับพระจิตแล้วพวกเขาจึงกล้าออกมาประกาศถึงความจริงแห่ง ความรอดพ้น นั่นคือประกาศถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ที่ถูกทรมาน ตรึงกางเขนจน สิ้นพระชนม์และได้ทรงกลับคืนชีพ - น.เปโตรได้เชื่อมโยงเหตุการณ์สิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้ากับบรรดา ผูฟ้ งั นัน่ คือ พระองค์นจี้ ะเป็นผูเ้ ดียวกันกับผูท้ จี่ ะมาประทับเบือ้ งขวาของพระเป็นเจ้าใน วันสิ้นพิภพและพระองค์นั่นเองคือพระผู้ไถ่บาปของเรา - ดังนั้น เหตุการณ์ที่สำ�คัญและมีความหมายมากที่สุดของชีวิตคริสตชนก็คือ ธรรมล้�ำ ลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า เพราะนัน่ คือเหตุการณ์ทที่ �ำ ให้ได้รอดพ้นจากความพินาศชั่วนิรันดร พระเยซูเจ้าได้ทรงรับเอาชะตากรรมของมนุษย์ทุกคนหลังจากที่ได้ ทำ�บาปไว้ เพราะบาปมนุษย์ได้ท�ำ ให้แผนการดัง้ เดิมของพระเจ้าต้องเสียไป บาปทำ�ให้ มนุษย์ตอ้ งตาย แต่พระเจ้าไม่ทรงต้องการให้มนุษย์ทที่ รงสร้างมาและทีท่ รงรักเป็นอย่าง ยิ่งต้องพินาศไป พระองค์จึงได้ทรงเสียสละองค์พระบุตรแต่องค์เดียวมารับโทษทัณฑ์ แทนเรามนุษย์ดว้ ยการทรมาน สิน้ พระชนม์บนกางเขน ดังนี้ มนุษย์จงึ ได้พน้ โทษทัณฑ์ ดังกล่าว และมีสิทธิ์ที่จะเข้าสู่สวรรค์อีกครั้งหนึ่ง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ พิจารณาว่า ตั้งแต่เกิดมามีใครบ้างที่ได้เสียสละเพื่อ ตนเองมากที่สุด โดยให้ผู้เรียนเขียนใส่สมุดหรือกระดาษไว้สักประมาณ 3 คน โดยให้ ระบุว่าบุคคลนั้นๆ ได้เสียสละเพื่อตนอย่างไรบ้าง? - เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนบางคนแบ่งปันหน้าชั้น พร้อมทั้งบอกด้วยว่า ประสบการณ์นั้นๆ ทำ�ให้ตนประทับใจอย่างไรบ้าง? - เมื่อทุกคนได้ฟังแบ่งปันประสบการณ์แล้ว ผู้สอนสามารถนำ�ไตร่ตรองต่อไปว่า ให้แต่ละคนเลือกไว้ในใจว่า ใครคือผูท้ ตี่ นรูส้ กึ ว่าเสียสละเพือ่ ตนเองมากทีส่ ดุ 1 คน เมือ่ เลือกได้แล้ว ผู้สอนจึงค่อยอธิบายถึงเหตุการณ์ธรรมล้ำ�ลึกปัสกาของพระเยซูคริสตเจ้า โดยเน้นถึงความรักและความเสียสละของพระองค์ทมี่ ากกว่ามนุษย์ทกุ คน ไม่มคี วามรัก ใดจะยิ่งใหญ่กว่านี้ได้อีกแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประทับใจ จะได้เข้าใจใน ความรักของพระเจ้ามากขึ้น มิใช่เพียงเข้าใจถึงความรักของพระองค์แค่ในระดับสติ ปัญญาเท่านั้น จากนั้นผู้สอนแจกใบงานที่ 2 ให้แก่ผู้เรียน ก่อนจะลงมือทำ�ให้ผู้สอน อธิบายถึงประโยคตรงกลางที่ว่า “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่กว่าการสละชีวิตของตน เพื่อมิตรสหาย” (ยน 15:13) จากนั้นจึงให้ผู้เรียนเขียนในใบงานว่า จะตอบสนอง ความรักของพระผู้ทรงยอมสละพระบุตรให้มาตายเพื่อเราอย่างไรบ้าง? หรืออยากจะ บอกอะไรพระองค์ด้วยคำ�ภาวนาบ้าง?

ใบงาน 1 ท้ายแผน

ใบงาน 2 ท้ายแผน


12

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนไปร่วมมิสซาทุกวันอาทิตย์อย่างสม่ำ�เสมอด้วยความตั้งใจ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 ชื่อบุคคล.............................. เรื่องราวที่ฉันประทับใจ

1

ชื่อบุคคล...............................

ชื่อบุคคล..............................

2

3

เรื่องราวที่ฉันประทับใจ

ใบงานที่ 2 “ไม่มีใครมีความรักยิ่งใหญ่ กว่าการสละชีวิตของตนเพื่อ มิตรสหาย” (ยน 15:13)

เรื่องราวที่ฉันประทับใจ


13

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง ประวัติของพระเยซูเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประวัติของพระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธ ในฐานะที่ทรงเป็น พระผู้ไถ่บาปของมวลมนุษยชาติ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดภาวนาต่อพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่บาปของตน สาระการเรียนรู ้ ตามแผนการของพระบิดาเจ้าทีท่ รงส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์มาไถ่บาปมวลมนุษย์นนั้ พระบุตร องค์นี้ทรงรับเอาเนื้อหนังมาบังเกิดในสมัยของกษัตริย์เฮโรด มีพระนามว่า “พระเยซูเจ้า” ดังที่มีบันทึกไว้ในพระวรสาร เรื่อง ราวของพระองค์มไิ ด้เป็นนวนิยายปรัมปราแต่เป็นเรือ่ งจริงทีถ่ กู จารึกไว้ในประวัตศิ าสตร์ ซึง่ นักเทวศาสตร์และนักวิชาการด้าน พระคัมภีรไ์ ด้พสิ จู น์แล้วว่า พระเยซูเจ้าชาวนาซาเร็ธและพระผูไ้ ถ่บาปหรือพระเมสสิยาห์ทชี่ าวยิวรอคอยนัน้ คือพระบุคคลเดียวกัน ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ� “เขาคือใคร?” มาให้ผู้เรียนดูทีละคำ� โดยให้ผู้เรียนแบ่งปัน ความรู้ว่า บุคคลนั้นเป็นใคร? มาจากประเทศใด? มีความสำ�คัญอย่างไร? มีความโดด เด่นในเรื่องใด? ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า ผู้เรียนได้รู้จัก พระเยซูเจ้ามากน้อยเพียงใดและรูเ้ กีย่ วกับพระองค์ในเรือ่ งใดบ้าง? ต้องเสริมเติมเนือ้ หา ในส่วนใดบ้าง?

ดูบัตรคำ� “เขาคือใคร?” ท้ายแผน

- หลังจากที่ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลต่างๆ แล้ว ผู้สอน สามารถเข้าสู่ประเด็นเรื่องของ “พระเยซูเจ้า” โดยถามว่า “พระเยซูเจ้าทรงเป็นใคร? พระองค์ได้ทรงกระทำ�สิ่งใดบ้าง? ทรงกระทำ�สิ่งเหล่านั้นเพื่ออะไร?...” - คำ�ตอบทั้งหมดที่ถูกต้องนั้น จะพบได้จากพระคัมภีร์ ดังนั้นจึงจำ�เป็นที่เราจะ ต้องอ่านพระคัมภีร์ เฉพาะอย่างยิง่ ในภาคพันธสัญญาใหม่ ทีเ่ ล่าเรือ่ งเกีย่ วกับพระเยซูเจ้าโดยตรง แต่ในทีน่ เี้ ราไม่สามารถอ่านพระคัมภีรท์ งั้ เล่มได้ เราจึงได้คดั พระวาจาเพียง บางตอนเท่านั้นมาอ่านและไตร่ตรองกัน - พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงพระเยซูเจ้าว่าอย่างไรบ้าง? 3 พระวาจา 1. ชาวอิสราเอลทั้งหลาย จงฟังวาจาเหล่านี้เถิดพระเยซูชาวนาซาเร็ธ เป็นบุรุษ ทีพ่ ระเจ้าทรงส่งมาหาท่าน พระเจ้าทรงรับรองพระองค์โดยประทานอำ�นาจทำ�อัศจรรย์ ปาฏิหาริย์และเครื่องหมายต่างๆ เดชะพระเยซูเจ้า พระเจ้าทรงกระทำ�การเหล่านี้ใน

.


14

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ หมู่ท่านทั้งหลาย ดังที่ท่านรู้อยู่แล้ว พระเยซูเจ้าทรงถูกมอบในเงื้อมมือของท่านตามที่ พระเจ้ามีพระประสงค์และทรงทราบล่วงหน้าแล้ว ท่านใช้มือของบรรดาคนอธรรม ประหารพระองค์โดยตรึงบนไม้กางเขน แต่พระเจ้าทรงบันดาลให้พระองค์กลับคืน พระชนมชีพ พ้นจากอำ�นาจแห่งความตายเพราะความตายยึดพระองค์ไว้ใต้อำ�นาจอีก ต่อไปไม่ได้ (กจ 2:22-24) 2. มารธาทูลตอบว่า “เชื่อพระเจ้าข้า ดิฉันเชื่อว่าพระองค์เป็นพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ที่จะต้องเสด็จมาในโลกนี้” (ยน 11:27) 3. ในองค์พระคริสตเจ้า เราได้รับการไถ่กู้ เดชะพระโลหิต คือได้รับ การอภัยบาป นี่คือพระหรรษทานอันอุดม (อฟ 1:7) 4. พระองค์เสด็จเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเพียงครั้งเดียวตลอดไป สิ่งที่ พระองค์ทรงนำ�ไปด้วยมิใช่เลือดแพะและเลือดลูกโค แต่ทรงนำ�พระโลหิตของพระองค์ เข้าไป และทรงกระทำ�ให้การไถ่กู้นิรันดรสำ�เร็จ (ฮบ 9:12)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนแรกมาจากหนังสือกิจการอัครสาวก เป็นเหตุการณ์ตอนที่ต่อ จากเรื่องวันเปนเตกอสเต คือวันพระจิตเจ้าเสด็จลงมา โดยเปโตรกับอัครสาวกอีกสิบ เอ็ดคนได้ปราศรัยกับประชาชนถึงเรื่องราวของพระเยซูเจ้าโดยรับรองว่า พระเยซูเจ้า ชาวนาซาเร็ธที่บรรดาชาวยิวรู้จักนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงส่งมา จึงทรงมี อำ�นาจในการทำ�อัศจรรย์ ปาฏิหาริย์และเครื่องหมายต่างๆ ขณะที่ทรงกระทำ�ภารกิจ ในโลกนี้ แต่ชาวยิวได้ประหารพระองค์บนไม้กางเขน พระเจ้าจึงทรงให้พระองค์ทรง กลับคืนพระชนมชีพเพื่อเป็นการยืนยันว่า พระองค์นี่แหละคือพระผู้ไถ่บาปของมวล มนุษย์ - พระวาจาตอนที่ 2 มาจากเรื่อง “การกลับคืนชีพของลาซารัส” มีความสำ�คัญ คือ เป็นตอนที่มารธาได้ประกาศยืนยันว่า พระเยซูเจ้าผู้นี้คือพระคริสตเจ้า เป็น พระบุตรของพระเจ้าทีจ่ ะต้องเสด็จมาในโลกนี้ นีจ่ งึ กลายเป็นความเชือ่ ของเราคริสตชน ที่พระคัมภีร์ได้ยืนยันไว้ เราจะเชื่อต่างจากนี้ไม่ได้ - ตอนที่ 3 น.เปาโลในจดหมายถึงชาวเอเฟซัส ได้ประกาศว่า เราทุกคนได้รับ การไถ่กู้ คือได้รับการอภัยจากบาปและจากความตายชั่วนิรันดร์ อาศัยพระโลหิตของ พระเยซูคริสตเจ้าองค์นี้ - ตอนที่ 4 ย้ำ�ว่า การไถ่บาปของพระเยซูคริสตเจ้านี้ แม้พระองค์จะทรงพลีชีวิต ของพระองค์เป็นบูชาไถ่บาปเรามนุษย์เพียงครั้งเดียวในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์แท้ แต่ ผลการไถ่บาปของพระองค์นนั้ สามารถทำ�ให้เกิดการไถ่กชู้ วั่ นิรนั ดร ในฐานะทีท่ รงเป็น พระเจ้าแท้และเป็นพระบุตรของพระเจ้า 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - แม้ว่าเราได้นำ�พระคัมภีร์บางตอนมานำ�เสนอให้ผู้เรียนได้รู้จักพระเยซูเจ้ามาก ขึ้น แต่ชีวิตของพระเยซูเจ้านั้นยิ่งใหญ่และมีรายละเอียดมากมาย จนกระดาษในโลกนี้ ทั้งหมดก็ไม่สามารถจะบันทึกได้ครบถ้วน เพราะพระองค์มิได้ทรงเป็นเพียงมนุษย์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ธรรมดาเหมือนเรา แต่เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผูท้ รงไม่มขี อบเขตนัน่ เอง ดังนัน้ การรูจ้ กั พระองค์ของเราจึงถูกจำ�กัดขอบเขตอย่างมาก พระเจ้าได้ทรงเผยแสดงพระองค์ ผ่านทางพระคัมภีร์และสิ่งสร้างต่างๆ - แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาพระวาจาหนึ่งตอน ดังหัวข้อต่อ ไปนี้ 1. การบังเกิดของพระเยซูเจ้า 2. การเทศน์สอนของพระเยซูเจ้า 3. การทำ�อัศจรรย์ของพระเยซูเจ้า 4. เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า 5. พระทรมานและการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า - เมื่อแต่ละกลุ่มศึกษาพระวาจาเสร็จแล้ว ให้สมาชิกช่วยกันทำ� “mind mapping” ของพระวาจาตอนนัน้ ๆ ใส่ในกระดาษแผ่นใหญ่ เพือ่ นำ�เสนอหน้าชัน้ เป็นการแบ่งปัน ความรู้ที่ได้แก่ทุกกลุ่มด้วย - เมื่อทุกกลุ่มได้นำ�เสนองานเสร็จแล้ว ผู้สอนควรเสริมเติมการรายงานของแต่ละ กลุม่ ให้สมบูรณ์ เพือ่ ผูเ้ รียนทุกคนจะได้รบั ความรูเ้ รือ่ งของพระเยซูเจ้าอย่างครบครันให้ มากเท่าที่จะทำ�ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนได้รู้ถึงภาพรวมของชีวิตพระเยซูเจ้า แล้ว ให้เน้นถึงเหตุผลที่พระองค์ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ นั่นคือ เพื่อไถ่บาปเราด้วย การพลีชีวิตของพระองค์บนกางเขน - ดังนั้น เมื่อได้รู้จักพระเยซูเจ้ามากขึ้นแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันทำ� “mind mapping” สรุปประวัติของพระเยซูเจ้าบนกระดานหน้าห้อง โดยให้พยายามใส่ข้อมูล เกี่ยวกับชีวิตและพันธกิจของพระเยซูเจ้าให้ครบถ้วนที่สุด - เมื่อทำ� “mind mapping” เสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละคนไตร่ตรองภาพนั้นใน ความเงียบสักครู่ เพื่อทำ�ความเข้าใจและสามารถจดจำ�เนื้อหานั้นได้อย่างดี จากนั้นให้ ผู้เรียนแต่ละคนบันทึก “mind mapping” นั้นลงในสมุดของตน - หลังจากที่ทุกคนได้บันทึกเสร็จแล้ว ผู้สอนอาจตั้งคำ�ถามต่อว่า “เมื่อเราได้รู้จัก พระเยซูเจ้าดีขึ้นแล้ว เราควรมีข้อปฏิบัติหรือข้อตั้งใจอะไรบ้าง?” 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดภาวนาต่อพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่บาปของตน (ข้อเสนอแนะ) 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิ สงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ตัวแทนคนหนึ่งภาวนาจากใจ หลัง จากนั้นจึงให้ทุกคนร้องเพลง “ชีวิตตัวอย่าง” พร้อมกัน

ดูเนื้อเพลงจากการเรียน ครั้งหน้า

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


16

บัตรคำ� “เขาคือใคร?” คำ�ชีแ้ จง : ให้ผเู้ รียนดูบตั รคำ�ชือ่ บุคคลสำ�คัญๆ ทีละชือ่ แล้วให้ผเู้ รียนตอบสัน้ ๆ ว่า บุคคลนัน้ เป็นใคร? สำ�คัญอย่างไร?

อับราฮัม ลินคอน กาลิเลโอ มหาตมะ คานธี ยอห์น บัปติสต์ คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา หลวงตาบัว พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระเยซูเจ้า กษัตริย์เฮโรด พระสังฆราชสิริพงษ์ จรัสศรี พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2

อับราฮัม ลินคอน : .................................................................................................................................... กาลิเลโอ : .................................................................................................................................... มหาตมะ คานธี : ................................................................................................................................... ยอห์น บัปติสต์ : .................................................................................................................................... คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา : .................................................................................................................................... หลวงตาบัว : .................................................................................................................................... พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 : .................................................................................................................................... พระเยซูเจ้า : .................................................................................................................................... กษัตริย์เฮโรด : ................................................................................................................................... พระสังฆราชสิริพงษ์ จรัสศรี : ................................................................................................................................... พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 : ...................................................................................................................................


17

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พันธกิจของพระเยซูเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พันธกิจของพระเยซูเจ้าคือการประกาศถึงพระอาณาจักรพระเจ้า และการไถ่บาปเพื่อให้มนุษย์ได้คืนดีกับพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านพระวรสารทุกวันเพื่อรู้จักพระเยซูเจ้าและพระพันธกิจของพระองค์ มากยิ่งขึ้น สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ พระองค์ได้ทรงรับเอาเนื้อหนังมาเป็น มนุษย์ตามแผนการของพระบิดาเจ้า เพือ่ ปฏิบตั พิ นั ธกิจสำ�คัญแห่งการไถ่บาปมวลมนุษยชาติ ด้วยการยอมรับทรมานและสละ ชีวิตของพระองค์ ซึ่งพันธกิจนี้มีพระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่กระทำ�ให้สำ�เร็จได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระบุตรพระเจ้า การพลีบูชาของพระองค์จึงมีผลยิ่งใหญ่มหาศาล เป็นบุญบารมีที่สามารถนำ�ผลแก่มนุษย์ทุกคนในทุกยุคทุกสมัยได้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนร้องเพลง “ชีวิตตัวอย่าง” พร้อมกัน (โดยผู้สอนอาจใช้ซีดีเพลงเพื่อ ให้ง่ายต่อการนำ�เพลง) เมื่อร้องเพลงแล้ว ให้ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์จากเนื้อเพลงว่า พระเยซูเจ้าทรงทำ�อะไรบ้างขณะทีย่ งั ทรงมีชวี ติ อยูใ่ นโลกนี?้ โดยจดคำ�ตอบบนกระดาน หน้าชั้น - จากนั้นจึงให้ผู้เรียนช่วยกันพิจารณาคำ�ตอบบนกระดาน แล้วให้แต่ละคนคิด ต่อไปว่า มีอะไรอีกบ้างที่พระเยซูเจ้าได้ทรงกระทำ�แต่ยังไม่มีเขียนไว้ ให้เขียนเพิ่มเติม ลงไป - เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรู้จักพระเยซูเจ้าได้ดีขึ้น ให้นำ�ผู้เรียนสู่การอ่านและ ไตร่ตรองถึงสิง่ ทีพ่ ระวรสารบอกแก่เราเกีย่ วกับพันธกิจของพระเยซูเจ้า โดยใช้พระวรสาร ลก 4:16-21 และ ลก 18:31-33 3 พระวาจา 1) พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัย ในวันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรมเช่นเคย ทรงยืนขึน้ เพือ่ ทรงอ่านพระคัมภีร์... ทรงพบข้อความที่เขียนไว้ว่า พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะ พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศ การปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� คืนสายตา ให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็น อิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า แล้วพระเยซูเจ้า...ตรัสว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” (เทียบ ลก 4:16-21)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูเนื้อเพลงท้ายแผน


18

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ 2) พระเยซูเจ้าทรงนำ�อัครสาวกสิบสองคนออกไปตามลำ�พัง ตรัสกับเขาว่า ‘บัดนี้ พวกเรากำ�ลังขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม และทุกสิ่งที่บรรดาประกาศกได้เขียนไว้เกี่ยวกับ บุตรแห่งมนุษย์จะเป็นความจริง บุตรแห่งมนุษย์จะถูกมอบแก่บรรดาคนต่างศาสนา จะ ถูกสบประมาทเยาะเย้ย ถูกทำ�ทารุณ และถูกถ่มน้�ำ ลายรด เขาเหล่านัน้ จะโบยตีพระองค์ และฆ่าพระองค์เสีย แต่ในวันทีส่ ามพระองค์จะทรงกลับคืนพระชนมชีพ’ (ลก 18:31-33)

4 อธิบายพระวาจา - ข้อความจากพระคัมภีร์สองตอนนี้ เมื่อนำ�มาประกอบกันทำ�ให้เราเข้าใจถึง พันธกิจของพระเยซูเจ้าได้ชัดเจน - จากตอนแรก เล่าถึงเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงเข้าไปในศาลาธรรมในวันสับบา โตเช่ น เดี ย วกั บ ชาวยิ ว อื่ น ๆ พระองค์ มิ ไ ด้ ท รงร่ ว มพิ ธี แ บบคนเฉื่ อ ยเฉยแต่ อ ย่ า ง กระตือรือร้น ทรงประกาศพระคัมภีร์ตอนที่ประกาศกอิสยาห์ทำ�นายถึงพันธกิจของ พระผู้ไถ่หรือพระเมสสิยาห์ที่ชาวยิวรอคอย คือ 1) ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน 2) ประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� 3) คืนสายตาให้แก่คนตาบอด 4) ปลดปล่อย ผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ 5) ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า - สิ่งซึ่งถูกทำ�นายไว้ว่าเป็นพันธกิจของพระเมสสิยาห์นั้นอาจจะถูกกำ�หนดไว้เป็น ประเด็นใหญ่ๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่หากจะพิจารณาดีๆ แล้วจะพบว่าเป็นสิ่งที่ คนธรรมดาทำ�ไม่ได้อย่างแน่นอน - พระคัมภีร์ตอนที่สองเป็นส่วนสำ�คัญที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงพันธกิจของพระเมสสิยาห์ได้อย่างสมบูรณ์ขนึ้ เฉพาะอย่างยิง่ เหตุการณ์ทที่ �ำ นายถึงช่วงชีวติ ตอนสุดท้ายของ พระเยซูเจ้า ซึ่งแม้เป็นการทำ�นายของพระองค์ แต่พระวรสารได้ยืนยันว่าพระเยซูเจ้า ได้ทรงสิน้ พระชนม์ตามทีไ่ ด้ทรงกล่าวไว้ลว่ งหน้าจริงๆ และเราทุกคนก็เชือ่ เช่นนัน้ อย่าง ไม่สงสัย - ดังนั้น พระวาจาทั้งสองตอนทำ�ให้เราเข้าใจถึงพันธกิจของพระเยซูเจ้าได้ชัดเจน ขึ้นว่า พระองค์ซึ่งทรงเป็นพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ ได้ทรงบังเกิดมาในโลก นี้เพื่อทำ�อะไร พระองค์มิได้ทรงอยู่เพื่อตนเอง แต่พันธกิจของพระองค์คือเพื่อนำ� ความรอดพ้นแก่คนอื่น หรืออาจเรียกได้ว่า เพื่อมวลมนุษยชาติทั้งหมด 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเราได้เรียนรู้แล้วว่ามีบุคคลหนึ่งที่เกิดมาเพื่อพันธกิจดังกล่าวโดยเฉพาะ และบุคคลนั้นมีชื่อว่า พระเยซูเจ้า เราก็ควรจะเรียนรู้จักพระองค์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะ พระบุคคลผู้นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราแต่ละคนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสิ่งที่ พระองค์เป็นและกระทำ�นั้นมีจุดประสงค์เดียวเพื่อความรอดพ้นของเราแต่ละคน

- วิธีหนึ่งที่เราสามารถทำ�ได้เพื่อจะรู้จักพระเยซูเจ้าได้ดีขึ้นคือ การอ่านพระวรสาร เพราะพระวรสารคือหนังสือเล่มเดียวทีเ่ ล่าเรือ่ งของพระองค์ได้ดที สี่ ดุ โดยเรา ต้องยึดหลักที่ถูกต้องในการอ่านคือ อ่านทั้งสี่เล่ม ตั้งแต่ มธ มก ลก และ ยน เพราะ พระศาสนจักรได้ก�ำ หนดว่าพระวรสารทัง้ สีเ่ ล่มนัน้ อยูใ่ นสารบบพระคัมภีรพ์ นั ธสัญญา ใหม่ ดังนั้น ความรู้ รายละเอียดที่เราได้จากการอ่านพระวรสารทั้งสี่เล่มนั้นจะ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


19

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ประกอบกันทำ�ให้เราได้ภาพลักษณ์ของพระเยซูเจ้าทีค่ อ่ นข้างจะสมบูรณ์ (เหตุทใี่ ช้ค�ำ ว่า “ค่อนข้างสมบูรณ์” เพราะคำ�เขียนของมนุษย์ที่มีขอบเขตจะไม่สามารถอธิบาย ลักษณะของพระเจ้าที่ไม่มีขอบเขตอย่างสมบูรณ์ได้) - ให้แบ่งกลุ่มนักเรียนตามจำ�นวนที่เหมาะสม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มศึกษาพระวรสารจากใบงาน ตามหัวข้อทีเ่ สนอแนะให้หรืออาจใช้หวั ข้ออืน่ ทีเ่ หมาะสมก็ได้ เพือ่ ว่า อาศัยการศึกษาไตร่ตรองการกระทำ�ของพระเยซูเจ้า ผูเ้ รียนจะสามารถเข้าใจถึงพันธกิจ ของพระองค์ในฐานะพระผู้ไถ่บาปหรือพระเมสสิยาห์ได้ดีขึ้น - กระบวนการอ่านพระวรสารดังกล่าวนอกจากจะทำ�ให้เรารู้จักพระเยซูเจ้าได้ดี ขึ้นในระดับส่วนรวม ยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจวิธีการในการอ่านพระวรสาร แบบส่วนตัวให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นอีกด้วย

ดูใบงานพระวรสาร ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านพระวรสารทุกวันเพื่อรู้จักพระเยซูเจ้าและพระพันธกิจของพระองค์ มากยิ่งขึ้น 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ แล้วร้องเพลง “ชีวิตตัวอย่าง” พร้อมกันอย่างตั้งใจและ ไตร่ตรองถึงความหมาย 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................

เพลง “ชีวิตตัวอย่าง” 1. ชีวิตจนๆ ของชายคนหนึ่ง บังเกิดยากจนอย่างน่าอดสู ทรมานหนาวเย็น เยือกกาย 2. ชีวิตเยาว์วัยพ้นกาลเลยผ่าน ไปเทศนาเยี่ยมเยียนสั่งสอน เยียวยารักษาใจกาย

ที่ฉันรู้จักมา มีชื่อนามว่าเยซู ในถ้ำ�พิงพัก ของชุมพาบาล ครอบครัวยากไร้เหลือทน จึงถึงวันจากลา ไปสู่งานที่มอบหมาย ปวงประชากรถึงพระราชัย หทัยประเสริฐแสนงาม

(ต่อ)


20

(รับ) แต่อนิจจา บางคนไม่เห็นคุณค่า ปรับโทษประหาร กางเขนแท้คือราคา 3. ชีวิตคนดีเหมือนกระจกส่อง ยอมเป็นผู้แพ้ ใครจะรังแก เดินตามพระองค์แน่ใจ

ความดีที่เพียรสรรสร้าง กลับเพิ่มอิจฉาระราน เยี่ยงผู้ผิดร้ายคดีอาญา ไถ่โทษมนุษย์ทั้งมวล ให้ฉันรู้จักมอง จองเลือกความดีเที่ยงแท้ ฉันไม่แยแส ขอเดินทางธรรม ไปสู่ชีวิตนิรันดร์

ใบงาน “พระวรสาร” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาพระวรสารที่กำ�หนดให้ โดยไตร่ตรองว่า พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�สิ่งใด บ้างสำ�หรับพระอาณาจักรพระเจ้าและเพื่อประชาชน?

1. พระเยซูเจ้าทรงประกาศข่าวดีและทรงรักษาผู้เจ็บป่วย (มธ 4:23-25) พระองค์เสด็จไปทั่วแคว้นกาลิลี ทรงสั่งสอนในศาลาธรรม ทรงประกาศข่าวดีเรื่องพระอาณาจักร ทรงรักษาโรคและความเจ็บไข้ทุกชนิดของประชาชน กิตติศัพท์เกี่ยวกับพระองค์เลื่องลือไปทั่วแคว้นซีเรีย ประชาชนจึงนำ�ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ผู้ที่ถูกความทุกข์เบียดเบียน ผู้ถูกปีศาจสิง ผู้เป็นลมบ้าหมู และ ผู้ที่เป็นง่อยมาเฝ้าพระองค์ พระองค์ทรงรักษาคนเหล่านั้นให้หายจากโรคและความเจ็บไข้ ประชาชน มากมายจากแคว้นกาลิลี จากทศบุรี จากกรุงเยรูซาเล็ม จากแคว้นยูเดีย และจากฟากโน้นของแม่น้ำ� จอร์แดนต่างติดตามพระองค์ สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�เพื่อพระอาณาจักร 1. 2. 3. 4. 5.

2. บทเทศน์บนภูเขา ความสุขแท้จริง (มธ 5:1-12) 3. พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนโรคเรื้อน (มธ 8:1-4) 4. พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้พายุสงบ (มธ 8:23-27) 5. พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาต (มธ 9:1-8) 6. อัศจรรย์การทวีขนมปังครั้งที่สอง (มธ 15:32-39) 7. การล้างเท้า (ยน 13:1-20)

สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�เพื่อประชาชน 1. 2. 3. 4. 5.


21

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระศาสนจักรดำ�รงอยู่ได้ก็โดยอาศัยการประทับอยู่และ การทรงนำ�ของพระศาสนจักรตั้งแต่สมัยแรกจนถึงปัจจุบัน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่อนน้อมต่อการดลใจของพระจิตเจ้าด้วยการเสียสละตนเองอย่างเป็น รูปธรรมร่วมกิจกรรมของโรงเรียนหรือวัด สาระการเรียนรู ้ เมื่อพระเยซูคริสตเจ้าได้เสด็จสู่สวรรค์แล้ว พระองค์ได้ทรงตั้งพระศาสนจักร ซึ่งเป็น “พระกายทิพย์” ของ พระองค์ให้เป็นผูส้ บื ทอดพระภารกิจของพระองค์ตอ่ ไปในโลกนี้ ซึง่ ในการปฏิบตั พิ นั ธกิจสำ�คัญนีพ้ ระจิตเจ้าทรงเป็นผูม้ บี ทบาท หลัก เพราะพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้ร่วมปฏิบัติภารกิจกับพระเยซูเจ้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นพระจิตเจ้าจึงทรงประทับอยู่และร่วม ดำ�เนินการกับพระศาสนจักรในการสืบทอดพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้าต่อไปเช่นเดียวกัน ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาบท “อัญเชิญพระจิตเจ้า” หรือร้องเพลงเชิญพระจิต 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนเปิดประเด็นพูดคุยกับผูเ้ รียนโดยให้ไตร่ตรองว่า “ตัง้ แต่นกั เรียนจำ�ความ ได้ เมื่อต้องทำ�สิ่งต่างๆ นักเรียนทำ�เองทุกอย่างได้หรือไม่?... บางอย่างที่ทำ�เองไม่ได้ ทำ�อย่างไร?... เช่น ตั้งแต่เรียนชั้นอนุบาล อาบน้ำ�แต่งตัวเองได้ไหม? ไปโรงเรียนเอง เป็นไหม? เมื่อเรียนชั้นประถมฯ ทำ�การบ้านเองได้เสมอไหม? หาเงินมาเลี้ยงชีพตัว เองได้ไหม? ทำ�กับข้าว หาอาหารมาทานเองได้ไหม?... ฯลฯ” ให้ผเู้ รียนได้พดู คุยแสดง ความคิดเห็นกัน โดยนำ�การสนทนาเข้าสูป่ ระเด็นทีว่ า่ “เราต้องการความช่วยเหลือของ ผูอ้ นื่ เสมอ เราไม่สามารถทำ�ทุกอย่างด้วยลำ�พังกำ�ลังของตนเองเท่านัน้ ได้... ดังนัน้ หาก เราต้องการให้ชีวิตของเรามีความสุขและประสบความสำ�เร็จ เราจึงต้องการความช่วย เหลือของผู้อื่นหลายๆ คน เช่น บิดามารดา ครู พี่ น้อง ญาติ คนขายอาหาร ฯลฯ” - นี่คือประสบการณ์เล็กๆ ของมนุษย์แต่ละคนในการตอบสนองความต้องการ ขั้นพื้นฐานของตน - แต่หากเราจะยกระดับให้กว้างไปกว่าความต้องการระดับส่วนบุคคล เช่น ใน ระดับพระศาสนจักร ซึง่ มีชวี ติ ความเป็นอยูแ่ ละการดำ�เนินงานทีเ่ ป็นระบบและต่อเนือ่ ง ด้วยสมาชิกจำ�นวนมากมายมหาศาลที่กระจายอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก ยิ่งกว่านั้น พระศาสนจักรมีอายุมากกว่าสองพันปีแล้ว ทำ�ไมพระศาสนจักรจึงสามารถดำ�เนินการ ต่างๆ ได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมาจนถึงปัจจุบันได้? - หากพิจารณาดีๆ แล้ว เราพบว่านี่เป็นอัศจรรย์ทีเดียว เพราะบางครั้งเพียงแค่ องค์กรเล็กๆ ของมนุษย์หลายครั้งยังแตกแยกจนต้องถึงจุดจบในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


22

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น อะไรคือตัวจักรสำ�คัญที่ทำ�ให้พระศาสนจักรขับเคลื่อนมาถึงขนาดนี้? ให้เรามา ศึกษาดูจากสิ่งที่พระเจ้าตรัสในพระวาจา

3 พระวาจา ลก 4:1

พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยมทรงพระดำ�เนินจากแม่น้ำ� จอร์แดน พระจิตเจ้าทรงนำ�พระองค์ไปยังถิ่นทุรกันดาร ยน 14:16-17 และเราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีก องค์หนึ่งให้ท่าน เพื่อจะอยู่กับท่านตลอดไป คือพระจิตแห่งความจริงซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้ เพราะมองพระองค์ไม่เห็น และไม่รู้จักพระองค์ แต่ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงดำ�รงอยู่กับ ท่าน และอยู่ในท่าน ยน 15:26 เมื่อพระผู้ช่วยเหลือซึ่งเราจะส่งมาจากพระบิดาจะเสด็จมา คือพระจิต แห่งความจริง ผู้ทรงเนื่องมาจากพระบิดา พระองค์จะทรงเป็นพยาน ให้เรา ยน 14:26 แต่พระผู้ช่วยเหลือ คือพระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของ เรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่ เราเคยบอกท่าน ยน 16:13 เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำ�ท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ ทรงได้ฟังมา และจะทรงแจ้งให้ท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น มก 13:11 “เมื่อเขานำ�ท่านไปส่งมอบนั้น จงอย่ากังวลเลยว่าจะต้องพูดอะไร แต่จงพูดตามที่พระเจ้าทรงดลใจในเวลานั้นเถิด เพราะผู้พูดนั้นไม่ ใช่ท่าน แต่เป็นพระจิตเจ้า ยน 20:22-23 ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับ พระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้ รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้ รับการอภัยด้วย” มธ 28:19 เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และ พระจิต

4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่พระเยซูเจ้ายังทรงมีชีวิตอยู่นั้น พระองค์ทรงกระทำ�ภารกิจต่างๆ โดย การนำ�ของพระจิตเจ้าเสมอ เพราะพระองค์กับพระบิดาและพระจิตเจ้าทรงเป็นหนึ่ง เดียวกันเสมอ ไม่ทรงเคยแยกจากกันเลย ดังนั้น สิ่งที่พระบุคคลหนึ่งทรงกระทำ�ก็ทำ� พร้อมกับอีกสองพระบุคคลเสมอ เหตุว่าพระเจ้าแม้ทรงมีสามพระบุคคลแต่ก็ทรงเป็น พระเจ้าหนึ่งเดียว

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


23

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระเยซูเจ้าทรงมีภารกิจเอกคือการไถ่บาปของมวลมนุษยชาติ ดังนั้นเมื่อยังทรง มีชวี ติ อยูใ่ นโลกนี้ ทุกกิจการของพระองค์ลว้ นมุง่ สูเ่ ป้าหมายเดียวกัน พระเยซูเจ้าได้ทรง ปฏิบัติพันธกิจของพระองค์จนสำ�เร็จอย่างสมบูรณ์ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้และ มนุษย์แท้อาศัยธรรมล้�ำ ลึกปัสกา (ดังทีเ่ ราจะเข้าใจได้ดขี นึ้ จากการอ่านเรือ่ งราวทัง้ หมด จากพระวรสารทั้งสี่เล่ม) - พระเยซูเจ้าทรงไถ่บาปเพียงครั้งเดียว และผลการไถ่บาปนั้นมีผลต่อมนุษย์ทุก คนในทุกยุคทุกสมัยก็จริง แต่เมื่อทรงเสด็จสู่สวรรค์แล้ว พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ พระศาสนจักรรับพันธกิจร่วมการไถ่บาปนี้ต่อไป ดังนั้น พระองค์จึงทรงมอบบุคคล สำ�คัญที่สุดที่จะช่วยให้การสานต่องานของพระองค์นั้นประสบความสำ�เร็จได้ให้แก่ พระศาสนจักร นั่นคือ องค์พระจิตเจ้า เพราะพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้กระทำ�งานนี้ร่วมกับ พระเยซูคริสตเจ้า - ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่พระเยซูคริสตเจ้าจะเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์จะไม่ทรงทอด ทิ้งพระศาสนจักรให้เป็นกำ�พร้าและต้องทำ�งานโดดเดี่ยว แต่จะทรงมอบพระผู้ช่วย คือ องค์พระจิตเจ้าให้เป็นผู้นำ�งานอันสำ�คัญนี้ต่อไปในพระศาสนจักรด้วย - โดยอาศัยพระคุณของพระจิตเจ้า บรรดาสาวกจะเต็มเปี่ยมด้วยความกล้าหาญที่ จะเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า จะสามารถเข้าใจในพระวาจาทุกคำ�ที่พระองค์ ทรงสั่งสอน จะสามารถสานต่อพันธกิจแห่งความรอดพ้นที่พระคริสตเจ้าทรงมอบฝาก ไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มทำ�ใบงาน “Working Church” เพื่อปลุกจิตสำ�นึกให้ผู้เรียน ไตร่ตรองถึงกลุ่มองค์กรต่างๆ ในพระศาสนจักรรวมทั้งหน้าที่ของกลุ่มองค์กรเหล่านั้น เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ถึงการปฏิบัติพันธกิจของพระศาสนจักรตามหน้าที่ที่พระเยซูเจ้า ทรงมอบหมายให้ในงานร่วมการไถ่บาปกับพระองค์ - เมื่อผู้เรียนทำ�งานกลุ่มตามใบงานเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มแบ่งปันคำ�ตอบหน้า ชั้นเพื่อเปรียบเทียบกัน จากนั้นผู้สอนควรนำ�เข้าประเด็นที่ว่า “เราแต่ละคนมีส่วน เกี่ยวข้องกับงานของกลุ่มองค์กรเหล่านั้นหรือไม่? อย่างไร? ทำ�ไมต้องเกี่ยวข้อง? และ จะเกีย่ วข้องอย่างไร?...” ให้ผเู้ รียนได้รว่ มกันตอบคำ�ถามเหล่านีโ้ ดยปลุกจิตสำ�นึกว่า เรา แต่ละคนคือส่วนหนึง่ ของพระศาสนจักร จึงมีหน้าทีร่ ว่ มรับผิดชอบงานของพระศาสนจักร ด้วย แต่ถ้าให้เราต้องทำ�โดยลำ�พัง เราจะทำ�ได้ไหม? ใครจะสามารถช่วยเราได้? - ด้วยเหตุที่เป้าหมายของพันธกิจของพระศาสนจักรเป็นเป้าหมายเดียวกันกับของ พระเยซูคริสตเจ้า นัน่ คือ ความรอดพ้นของมวลมนุษยชาติ ดังนัน้ งานของพระศาสนจักร จึงไม่ธรรมดาเพราะไม่ใช่งานที่เกี่ยวกับวัตถุเท่านั้น แต่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับจิต วิญญาณโดยตรง พระศาสนจักรจึงต้องมีผู้นำ�องค์เดียวกันกับพระเยซูคริสตเจ้าด้วย ซึ่ง ก็คือองค์ “พระจิตเจ้า” ที่พระองค์ได้ทรงประทานแก่พระศาสนจักรนั่นเอง - พระจิตเจ้าองค์นี้ได้ทรงอยู่เคียงข้างกับพระเยซูคริสตเจ้าขณะที่พระองค์ทรงกระทำ� ภารกิจเมื่อทรงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างไร ก็จะทรงอยู่และช่วยเหลือพระศาสนจักร

ดูใบงาน “Working Church” ท้ายแผน


24

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

เช่นนัน้ ด้วย ดังนัน้ เราจึงไม่ตอ้ งกลัวทีจ่ ะทำ�งานอย่างโดดเดีย่ วลำ�พัง เพราะพระจิตเจ้า จะทรงประทับอยู่กับเราทุกคนเสมอในพระศาสนจักร - ในช่วงนี้ผู้สอนควรนำ�ใบงานเดิมมาให้ผู้เรียนพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แต่ละ กลุ่มไตร่ตรองว่า ในฐานะที่ฉันเป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักร ฉันจะช่วยงานของ พระศาสนจักรได้อย่างไรบ้าง อาศัยความช่วยเหลือของพระจิตเจ้า? 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่อนน้อมต่อการดลใจของพระจิตเจ้าด้วยการเสียสละตนเองอย่างเป็นรูป ธรรมร่วมกิจกรรมของโรงเรียนหรือวัด 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิ สงบนิ่งสักครู่ แล้วจึงร้องเพลง “เชิญพระจิต” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “Working Church” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มตอบคำ�ถามว่า “กลุ่มต่างๆ ในพระศาสนจักรมีอะไรบ้าง? และกลุ่มต่างๆ นั้น มีหน้าที่อะไรบ้าง?” ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ ที่ 1

2

ชื่อกลุ่ม

หน้าที่ 1. ............................................................ 2. ........................................................... 3. ........................................................... 1. ........................................................... 2. ........................................................... 3. ...........................................................

3 ............................................................... ................................................................. ............................................................... .................................................................


25

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง พระศาสนจักรไม่ผิดพลั้ง

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระศาสนจักรทำ�หน้าที่ดูแลและประกาศสอนข้อความเชื่อ คาทอลิกอย่างไม่มีวันผิดพลั้ง อาศัยอำ�นาจของพระจิตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านหนังสือคำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกโดยเริ่มจากเล่ม 1 เพื่อ จะรู้จักข้อความเชื่อคาทอลิกมากยิ่งขึ้น สาระการเรียนรู้ พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งมีหน้าที่ประกาศสอนและดูแลรักษา ข้อความเชื่อคาทอลิกมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถทำ�หน้าที่นี้ได้ภายใต้การทรงนำ�ของพระจิตเจ้า ด้วยเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงไม่มีวันผิดพลั้ง เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกาศในเรื่องข้อความเชื่อ นี่คืออัศจรรย์หนึ่งของพระจิตเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนบางคนทำ�ใบงาน “ใครไม่ผิด” เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นส่วน ตัวเกี่ยวกับสิ่งที่ตนพบเห็นจากผู้อื่นว่าสิ่งนั้น “ผิด” หรือ “ไม่ผิด” ขณะเดียวกัน ให้ ผู้เรียนอีกบางคนทำ�ใบงาน “หรือฉันผิด” เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่ “ผิด” - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนบางคนจากกลุ่มใบงานทั้งสองมา แบ่งปันเรื่องราวของตนให้เพื่อนๆ ฟัง - จุดประสงค์ของกิจกรรมดังกล่าว ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองถึงประสบการณ์ พื้นฐานของมนุษย์ กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีการผิดพลาด ไม่มีใครไม่ผิดพลาด ไม่ว่า จะเป็นผู้อื่นหรือตนเองก็ตาม จากตรงนี้ผู้สอนสามารถนำ�เข้าสู่อีกประเด็นหนึ่งของบท เรียนนี้ คือ มีใครบ้างไหมทีไ่ ม่เคยผิดพลาดเลย? โดยให้ผเู้ รียนแสดงความคิดเห็น อย่างอิสระ - ทีส่ ดุ ผูส้ อนสามารถสรุปคำ�ตอบว่า “ผูไ้ ม่เคยผิดพลัง้ เลยคือพระศาสนจักร” ในทุกกรณีหรือไม่? คำ�ตอบคือ “ไม่” พระศาสนจักรจะไม่พลาดพลั้งเลยก็เฉพาะใน เวลาที่ “ประกาศเรื่องข้อความเชื่อ” เท่านั้น - เรื่องแบบนี้จะเป็นไปได้อย่างไร? เป็นไปได้จริงหรือ? ทำ�ไมจึงเป็นไปได้? - ให้เรามาศึกษาความจริงนี้จากพระวาจาของพระเจ้าจากพระวรสาร น.ยอห์น และหนังสือกิจการอัครสาวก

ดูใบงาน “ใครไม่ผิด” และ “หรือฉันผิด” ท้ายแผน


26

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา - เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำ�ท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา และจะทรงแจ้งให้ ท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น... เพราะพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำ�สอนที่ทรงได้รับ จากเรา ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นก็เป็นของเราด้วย ดังนั้น เราจึงบอกว่า พระจิตเจ้าจะ ทรงแจ้งให้ท่านรู้คำ�สอนที่ทรงรับจากเรา (เทียบ ยน 16:13-15) - แต่พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และท่านจะรับอานุภาพเพื่อจะเป็นพยาน ถึงเราในกรุงเยรูซาเล็ม ทัว่ แคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรียจนถึงสุดปลายแผ่นดิน (กจ 1:8) 4 อธิบายพระวาจา - จากพระวาจาทั้งสองตอน เราเข้าใจได้ว่า บุคคลหนึ่งซึ่งสำ�คัญและมีบทบาทมาก ที่สุดต่อชีวิตของพระศาสนจักรคือ “พระจิตเจ้า” เพราะพระองค์ได้ทรงเป็นหนึ่งเดียว กับพระเยซูเจ้าในชีวิตและพันธกิจของพระองค์ นอกจากนั้น ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะเสด็จ สู่สวรรค์ พระองค์ได้ทรงมอบพระจิตเจ้าแก่พระศาสนจักรเพื่อเป็น “ผู้ช่วย” สำ�คัญที่ จะทำ�ให้พระศาสนจักรสามารถสานต่อพันธกิจของพระเยซูเจ้าได้ - พระจิตเจ้าจึงทรงเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญที่สุดในทุกกิจการของพระศาสนจักร เฉพาะอย่างยิ่ง ในข้อความเชื่อที่ว่า “พระศาสนจักรไม่รู้จักผิดหลง” ซึ่งบางคนอาจคิด ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพระศาสนจักรประกอบด้วยมนุษย์มากมายทีท่ กุ คนล้วนทำ�ผิดได้ - แต่พระเยซูเจ้าทรงยืนยันถึงการประทับอยู่ของพระจิตในพระศาสนจักรเพราะ เป็นพระองค์เองทีไ่ ด้ทรงสัญญาจะประทานพระจิตแก่พระศาสนจักรและในวันเปนเตกอสเตเหตุการณ์นกี้ ไ็ ด้เกิดขึน้ จริง ดังนัน้ เราจึงเชือ่ ว่า พระจิตเจ้าซึง่ เป็นองค์แห่งความจริงอันไม่มขี อบเขตจะทรงทำ�หน้าทีด่ แู ลรักษาข้อความเชือ่ คาทอลิกทีม่ มี าตัง้ แต่ก�ำ เนิด ของพระศาสนจักรจนถึงทุกวันนี้ให้ดำ�รงอยู่อย่างซื่อสัตย์ไม่ผิดเพี้ยนอย่างแน่นอน ยิ่ง กว่านั้น ข้อความเชื่อเหล่านี้จะดำ�รงคงอยู่อย่างไม่ผิดหลงจนถึงวันสิ้นพิภพเลยทีเดียว - แต่หากจะถามว่า ทุกอย่างในพระศาสนจักรไม่ผิดหลงใช่หรือไม่? คำ�ตอบคือ ไม่ใช่ เพราะเหตุที่ว่า เราอาจพบบางสิ่งที่ผิดพลาดในพระศาสนจักรได้ แต่สิ่งเหล่านั้น อาจเป็นเรื่องส่วนตัว ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อความเชื่อของพระศาสนจักร - พระจิ ต เจ้ า ทรงรั ก ษาข้ อ ความเชื่ อ คาทอลิ ก ไม่ ใ ห้ เ กิ ด ความผิ ด หลงเพราะ คุณลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของพระศาสนจักรคือ ความเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเรื่องของ ข้อความเชื่อก็เป็นปัจจัยสำ�คัญอันหนึ่งที่ทำ�ให้พระศาสนจักรยืนยันได้ว่ามีความเป็น หนึง่ เดียวกัน เพราะแม้วา่ จะมีสมาชิกอยูท่ วั่ โลกแต่ทกุ คนก็ยนื ยันความเชือ่ อันเดียวกัน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ทำ�ไมคริสตชนจากทั่วทุกมุมโลกจึงยืนยันได้ว่าเรามีความเชื่ออันเดียวกัน? ตัวอย่างของคำ�ตอบนี้ได้มาจากประสบการณ์ของคนที่เคยร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณใน สถานที่มากมายหลายแห่งหรือหลายประเทศ เขาพบว่า พิธีมิสซาในบริบทที่แตกต่าง กันนั้นล้วนมีโครงสร้างเดียวกัน ทุกคนประกาศยืนยันความเชื่ออันเดียวกัน นี่เป็น ประสบการณ์หนึง่ ทีท่ �ำ ให้คริสตชนสัมผัสได้ถงึ ความจริงข้อนี้ ทำ�ให้รสู้ กึ คล้ายกับว่าเรา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


27

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ทุกคนเป็นพีน่ อ้ งทีพ่ ดู ภาษาเดียวกัน นีค่ อื อัศจรรย์หนึง่ ของการนับถือศาสนาคริสต์ ซึง่ จริงๆ แล้วก็คืออัศจรรย์ขององค์พระจิตเจ้านั่นเอง - ในช่วงนี้อาจให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมเล่นเกม “โทรศัพท์” (โดยแบ่งเป็นกลุ่มตาม จำ�นวนทีเ่ หมาะสม ให้สมาชิกนัง่ เป็นแถวตอน จากนัน้ ผูส้ อนจึงให้คนแรกของแถวหยิบ ฉลากทีเ่ ขียนประโยคใดประโยคหนึง่ ไว้ เมือ่ เขาอ่านแล้วก็ให้กระซิบต่อไปยังคนทีส่ อง... สาม...จนถึงคนสุดท้าย แล้วให้คนสุดท้ายเขียนใส่กระดาษว่าประโยคที่ตนได้ยินคือ อะไร จากนั้นให้เขาอ่านดังๆ ให้ทุกคนได้ยิน) - เราทราบว่า ผลของเกมนี้คือ ส่วนใหญ่คนสุดท้ายจะได้ฟังประโยคที่ต่างจาก ประโยคแรกในฉลาก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ทุกคนเห็นว่าธรรมดาเพราะปกติมันจะเป็นแบบ นี้อยู่แล้ว จุดประสงค์ของเกมนี้คือ การให้ผู้เรียนสัมผัสถึงความจำ�กัดของเรามนุษย์ว่า ความผิดพลาดเป็นเรือ่ งปกติ ดังนัน้ การทีพ่ ระศาสนจักรตัง้ แต่สมัยแรกเริม่ จนถึงปัจจุบนั สามารถรักษาความไม่ผดิ พลัง้ ของข้อความเชือ่ ได้นนั้ ถือเป็นอัศจรรย์ทนี่ า่ พิศวงมากของ พระจิตเจ้า - ให้ผู้สอนถามว่า ข้อความเชื่อของพระศาสนจักรมีอะไรบ้าง? หรือว่า คริสตชน เชื่อถึงอะไรบ้าง? แล้วสังเกตว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับข้อความเชื่อคาทอลิกมากเพียง ใด ทัง้ นีเ้ พือ่ นำ�เข้าสูก่ ารกำ�หนดข้อปฏิบตั หิ ลังจากบทเรียนนี้ คือ ข้อเสนอแนะให้ผเู้ รียน อ่านหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งผู้เรียนอาจค้นคว้าจากห้องสมุด หรือ จากอินเทอร์เน็ต หรือซื้อหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกฉบับย่อก็ได้ - ดังนั้น เราควรสนับสนุนให้คริสตชนคาทอลิกทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ และ เยาวชนใฝ่รเู้ รือ่ งข้อความเชือ่ คริสตชน จะได้มคี วามเชือ่ ทีห่ นักแน่นมัน่ คงมากยิง่ ขึน้ และ สามารถเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับความเชื่อของตน ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่งของการเป็น คริสตชนแท้ในยุคปัจจุบัน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านหนังสือคำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกโดยเริ่มจากเล่ม 1 เพื่อ จะรู้จักข้อความเชื่อคาทอลิกมากยิ่งขึ้น 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความเชื่อ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


28

ใบงาน “ใครไม่ผิด” คำ�ชีแ้ จง - ให้ผเู้ รียนแต่ละคนเขียนเล่าสิง่ ทีต่ นคิดว่าเป็นความผิดของผูอ้ นื่ โดยสรุปเป็นเรือ่ งย่อๆ และให้เหตุผล ด้วยว่าทำ�ไมจึงคิดว่าเรื่องนั้นเป็นความผิด ที่

เรื่องราว

เหตุผลที่คิดว่าผิด

1 2 3

ใบงาน “หรือฉันผิด” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนเล่าเรื่องราวที่คิดว่าเป็นความผิดของตน โดยสรุปเป็นเรื่องย่อๆ และให้ เหตุผลด้วยว่าทำ�ไมจึงคิดว่าเรื่องนั้นเป็นความผิด ที่

1 2 3

เรื่องราว

เหตุผลที่คิดว่าผิด


29

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง พระอาจาริยานุภาพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระอาจาริยานุภาพของพระศาสนจักรคือ “พระศาสนจักร ผู้สั่งสอน” เป็นผู้เดียวที่มีอำ�นาจหน้าที่ในการสั่งสอนข้อความเชื่อคาทอลิก - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านหนังสือคำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะ รู้จักข้อความเชื่อคาทอลิกให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น สาระการเรียนรู ้ ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งที่สำ�คัญยิ่งของพระศาสนจักรคือ พระอาจาริยานุภาพ ซึ่งหมายความว่า “พระศาสนจักรผู้มีหน้าที่สั่งสอน” เป็นผู้เดียวที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องคลังแห่งข้อความเชื่อคาทอลิก ซึ่ง จะไม่มีวันผิดพลั้งในเรื่องการประกาศ การดูแลรักษา และการถ่ายทอดข้อความเชื่อที่พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดงแก่บรรดา อัครสาวก และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงวันสิ้นพิภพ พระอาจาริยานุภาพสามารถทำ�งานดังกล่าวนี้ได้ภายใต้การทรงนำ�ของ พระจิตเจ้าเพื่อรักษาความเชื่อคาทอลิกให้มีลักษณะแห่งความเป็นหนึ่งเดียว ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมโดยแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น จากนั้นให้ผู้เรียน เขียนคำ�นิยามของคำ�ว่า “เสรีภาพ” ลงในกระดาษนั้นตามความเข้าใจของตนโดยไม่ ปรึกษากันโดยใช้เวลาสัน้ ๆ เมือ่ เสร็จแล้วให้ผเู้ รียนแต่ละคนอ่านสิง่ ทีต่ นเขียนโดยผูส้ อน เขียนประเด็นคำ�ตอบเหล่านั้นที่กระดานหน้าห้องโดยแยกประเภทเป็นกลุ่มคำ�ตอบที่ เหมือนกันและต่างกัน - เมื่อทุกคนได้บอกคำ�ตอบของตนแล้ว ให้ผู้เรียนพิจารณาคำ�ตอบเหล่านั้นว่า มี ความต่างความเหมือนกันมากน้อยเพียงใด หรือมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากแค่ไหน จากนัน้ จึงสรุปกิจกรรมว่า ในการอธิบายหรือตีความของคำ�เพียงคำ�เดียว เราซึง่ มีจ�ำ นวน เพียงเท่านี้ยังเข้าใจและคิดแบบต่างๆ กัน ถ้าเราให้คนอีกจำ�นวนเท่าตัวหรือเป็นร้อย เป็นพันเป็นล้านคนทำ�เช่นเดียวกัน เราจะได้คำ�ตอบที่แตกต่างกันอีกมากเท่าใด - นี่คือประสบการณ์ที่เราคงต้องยอมรับว่าเป็นความจริง ซึ่งเป็นเรื่องของคำ�เพียง คำ�เดียว ให้เราลองจินตนาการว่า ถ้าเรารวมทุกคำ�พูด ทุกเรื่องรอบตัวเรามาให้ทุกคน ตีความหมาย มันจะเกิดความวุ่นวายอย่างมากมายมหาศาลเพียงใด? - ให้มาเข้าเรื่องของ “ข้อความเชื่อคาทอลิก” ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในระดับยากและ ซั บ ซ้ อ นเพราะเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งที่ เ ป็ น “นามธรรม” ซึ่ ง การตี ค วามหมายในประวั ติ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระศาสนจักร เราพบแล้วว่า หากใครทำ�แบบอิสระไม่เชื่อฟังพระอาจาริยานุภาพก็จะ เกิดกรณีของบุคคลที่ได้แยกตัวออกจากพระศาสนจักรคาทอลิกแล้วไปตั้งลัทธิใหม่ - มีคำ�ถามเกิดขึ้นคือ ทำ�ไมพระศาสนจักรคาทอลิกจึงสามารถรักษาความเป็น หนึ่งเดียวของความเชื่อ ตั้งแต่สมัยแรกของพระศาสนจักรจนถึงทุกวันนี้ได้? นี่ต้องเป็น ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เพราะจากประสบการณ์ประสามนุษย์ของเราแล้ว สิ่งนี้ เกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอน - ให้เรามาดูว่า พระคัมภีร์ได้บอกเราเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่าอย่างไร?

3 พระวาจา - พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัย ใน วันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรมเช่นเคย ทรงยืนขึ้นเพื่อทรงอ่านพระคัมภีร์ มีผสู้ ง่ ม้วนหนังสือประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงคลีม่ ว้ นหนังสือ ออก ทรงพบข้อความที่เขียนไว้ว่า พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะ พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศ การปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็น อิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า แล้วพระเยซูเจ้าทรงม้วนหนังสือส่ง คืนให้เจ้าหน้าที่และประทับนั่งลง สายตาของทุกคนที่อยู่ในศาลาธรรมต่างจ้องมอง พระองค์ พระองค์จงึ ทรงเริม่ ตรัสว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีรท์ ที่ า่ นได้ยนิ กับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” ทุกคนสรรเสริญพระองค์และต่างประหลาดใจใน ถ้อยคำ�น่าฟังที่พระองค์ตรัส... (เทียบ ลก 4:16-22) - ประชาชนต่างประหลาดใจและพูดว่า “คนนี้เอาปรีชาญาณและอำ�นาจทำ� อัศจรรย์มาจากที่ใด” (เทียบ มธ 13:54) 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงเรียกได้ว่าเป็นชาวเมืองนาซาเร็ธเพราะพระองค์ทรงเจริญวัยที่ นัน่ ตัง้ แต่ยงั เด็กจนถึงอายุประมาณ 30 ปี ทำ�ให้ชาวเมืองนัน้ ต่างรูจ้ กั พระองค์เป็นอย่าง ดี พระวรสารไม่ได้บันทึกว่าระหว่างอายุประมาณ 12 – 30 ปีนั้นชีวิตของพระองค์เป็น อย่างไรบ้าง เราจึงพอเข้าใจว่า ชีวิตในช่วงนั้นของพระองค์คงจะดำ�เนินไปตามปกติ เหมือนชาวบ้านคนอืน่ ๆ ไม่มอี ะไรทีเ่ ป็นความพิเศษแตกต่างจากคนอืน่ ดังนัน้ จึงไม่ใช่ สิ่งแปลกที่พระองค์จะไปอ่านพระคัมภีร์ในศาลาธรรมเพราะพระวรสารใช้คำ�ว่า “เช่น เคย” แต่สงิ่ แปลกทีเ่ กิดขึน้ ในเหตุการณ์วนั นัน้ ก็คอื เมือ่ อ่านพระวาจาตอนนัน้ เสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าทรงประกาศยืนยันว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยิน กับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” เพราะไม่เคยมีผู้ใดพูดแบบนี้มาก่อน

- พระวรสารยังเล่าอีกว่า ทันทีที่พระองค์กล่าวประโยคนี้จบ ประชาชน “ทุก คนสรรเสริญพระองค์และต่างประหลาดใจในถ้อยคำ�น่าฟังทีพ่ ระองค์ตรัส” แสดงให้ เห็นว่า ประชาชนทีม่ จี ติ ใจสุภาพสามารถยอมรับความจริงข้อนีไ้ ด้ จนถึงกับประหลาด ใจและกล่าวสรรเสริญพระองค์ดว้ ยซ้�ำ ไป แต่กเ็ ป็นทีน่ า่ เสียดายว่าในตอนจบของเรือ่ ง นีก้ ลับมีบคุ คลกลุม่ หนึง่ ทีไ่ ม่ยอมรับการยืนยันของพระองค์อย่างรุนแรงจนกระทัง่ ขับ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


31

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ไล่พระองค์ออกไปจากเมืองและพยายามจะฆ่าพระองค์ด้วยการผลักให้ตกลงไปจาก หน้าผา ซึ่งตรงกับคำ�อ้างอิงของพระเยซูเจ้าเองต่อคนกลุ่มนี้ว่า “ไม่มีประกาศกคนใด ได้รับการต้อนรับอย่างดีในบ้านเมืองของตน” - ทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึงต้องยืนยันด้วยประโยคที่ว่า “ในวันนี้ ข้อความจากพระคัมภีรท์ ที่ า่ นได้ยนิ กับหูอยูน่ เี้ ป็นความจริงแล้ว”? คำ�ตอบคือ พระองค์ทรงต้องการ ประกาศให้ประชาชนทุกคนทราบว่า บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในข้อความจากหนังสือ ประกาศกอิสยาห์นั้นคือพระองค์เอง เพราะหนังสือของประกาศกได้กล่าวทำ�นายถึง บุคคลหนึ่งที่จะมาเป็นพระผู้ไถ่บาปและจะมีพันธกิจสำ�คัญซึ่งเป็นภารกิจพิเศษเฉพาะ ของพระองค์เท่านั้นที่ไม่มีมนุษย์คนใดจะทำ�ได้ - การยืนยันนี้เองเผยแสดงถึงเอกลักษณ์หรือตัวตนจริงของพระองค์ คือพระเมสสิยาห์ที่ชาวยิวรอคอยมาเป็นเวลาช้านาน พระเยซูเจ้าจะยืนยันเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะพระองค์จะกล่าวแต่ความจริงเท่านัน้ แม้วา่ ประชาชนจะรับได้หรือไม่ได้กต็ าม ดัง นั้นจากพระวรสารตอนเดียวกันนี้ที่เขียนโดย น.มัทธิว ได้มีอีกประโยคหนึ่งที่ น.ลูกา ไม่ได้เขียนไว้ แต่มคี วามหมายทีส่ �ำ คัญมากจนเราถือว่าเป็นรากฐานของข้อความเชือ่ ใน ประเด็นที่เรากำ�ลังกล่าวกันอยู่นี้นั่นคือ ความอัศจรรย์ใจของประชาชนต่อพระเยซูเจ้า และการยอมรับที่ถูกแสดงออกมาด้วยคำ�พูดที่ว่า “คนนี้เอาปรีชาญาณและอำ�นาจทำ� อัศจรรย์มาจากที่ใด” - อำ�นาจดังกล่าวนี้ พระเยซูเจ้าได้ทรงรับมอบมาจากพระบิดาเจ้า และในฐานะที่ พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าด้วย อำ�นาจนีจ้ งึ ทรงฤทธานุภาพและไร้ขอบเขตจำ�กัด มนุษย์ ที่มีจิตใจซื่อตรงจึงยอมรับอำ�นาจนี้ได้และประกาศออกมาด้วยวาจาอย่างชัดเจนด้วย ตนเอง - ในเมื่อพระเยซูเจ้าทรงเป็นหัวหน้า เป็นเศียรของพระศาสนจักร ก่อนจะเสด็จสู่ สวรรค์พระองค์ได้ทรงมอบอำ�นาจทัง้ หมดให้แก่บรรดาอัครสาวกผูส้ บื ทอดตำ�แหน่งจาก พระองค์ให้เป็นผู้ปกครองพระศาสนจักรต่อไป ดังนั้นพระศาสนจักรจึงมีอำ�นาจพิเศษ นีแ้ ละใช้อ�ำ นาจนีผ้ า่ นทางพระอาจาริยานุภาพ ซึง่ เป็นกลุม่ บุคคลเฉพาะทีไ่ ด้รบั การแต่ง ตัง้ จากพระศาสนจักร จึงหมายความว่ามิใช่ทกุ คนจะทำ�ได้ และถ้าใครทำ�การสอนหรือ ตีความเกีย่ วกับข้อความเชือ่ โดยพลการก็เท่ากับว่าผูน้ นั้ ไม่เชือ่ ฟังพระศาสนจักร ซึง่ เป็น สิ่งที่ไม่ถูกต้อง

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ข้อความเชื่อคาทอลิกมีอะไรบ้าง? หลายคนคงจะตอบทันทีไม่ได้เพราะมีมากมาย ซึง่ คริสตชนหลายคนก็ไม่สามารถบอกได้หมดด้วยเพราะบางคนก็ได้เรียนคำ�สอนมาไม่ มาก หรืออีกหลายคนก็จำ�ไม่ได้แล้ว แต่พระศาสนจักรไม่ได้เรียกร้องให้คริสตชนต้อง รู้ต้องบอกได้ทั้งหมด เพราะพระศาสนจักรมีตัวช่วยคือหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิกที่คริสตชนแต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา - ที่สำ�คัญคือ คริสตชนต้องทราบว่าข้อความเชื่อเหล่านี้เป็นขุมทรัพย์ที่พระเจ้า ทรงประทานให้ เป็นตัวกำ�หนดสิ่งที่พระศาสนจักรเป็น ดังนั้น จึงต้องมีการรักษา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


32

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ขุมทรัพย์นี้ให้ดำ�รงคงอยู่ตามเอกลักษณ์ดั้งเดิม จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะความจริง เรื่องพระเจ้า เรื่องแผนการไถ่บาป เรื่องความรอดพ้น เรื่องมนุษย์ เรื่องบาป และทุกๆ เรือ่ งตามข้อความเชือ่ คาทอลิกนัน้ ล้วนเป็นความจริงนิรนั ดรทีม่ าจากการเผยแสดงของ พระเจ้า มิใช่เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดหรือสมมติขึ้นมาเอง และที่สำ�คัญคือเป็นความจริงที่จะ ไม่มวี นั ใดผิดเพีย้ นได้เพราะพระเจ้าทรงเป็นองค์แห่งความจริง และความจริงทีพ่ ระองค์ ทรงเผยแสดงแก่มนุษย์ตงั้ แต่ยคุ แรกเริม่ ของอาดัมเอวามาจนถึงสมัยของพระเยซูเจ้านัน้ เกี่ยวข้องกับจุดกำ�เนิดและปลายทางของมนุษย์อย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่อมตะ เพราะ พระเจ้าทรงเป็นอมตะ - ดังนั้น จากประสบการณ์ของมนุษย์ เราทราบดีว่าด้วยกระบวนการปกติแล้ว การทำ�ให้ความจริงหรือความรู้เกี่ยวกับบางอย่าง ดำ�รงคงอยู่สืบเนื่องมาเป็นหลาย ศตวรรษโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ นั้นเป็นไปไม่ได้เลย แต่สำ�หรับพระเจ้าแล้วทุก อย่างเป็นไปได้เพราะไม่มอี ะไรทีพ่ ระองค์จะทรงทำ�ไม่ได้ และวิธที พี่ ระองค์ทรงเลือกนัน้ ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดด้วย ดังนั้น เราจึงต้องเชื่อในพระอาจาริยานุภาพของพระศาสนจักร เพราะเป็นวิธที พี่ ระเจ้าทรงเลือกเพือ่ ธำ�รงรักษาคำ�สอนของพระองค์เกีย่ วกับข้อความเชือ่ - ใครบ้างคือพระอาจาริยานุภาพของพระศาสนจักร? – คือ สภาพระสังฆราช ผูส้ บื ตำ�แหน่งต่อจากอัครสาวก ร่วมกับพระสันตะปาปาผูท้ รงสืบตำ�แหน่งจากนักบุญเป โตร ในฐานะที่เป็นอาจารย์แห่งความเชื่อ ภายใต้การทรงนำ�ของพระจิตแห่งความจริง - อำ�นาจการสอนของพระอาจาริยานุภาพมีกี่แบบ? อะไรบ้าง? - มี 2 แบบคือ 1) แบบปกติ เมื่อมีการประกาศข้อความเชื่อผ่านทางสมณสาส์น สมณลิขิตเชิงอภิบาล และสาส์นอื่นๆ หรืออาศัยการเทศน์สอนของสมเด็จพระสันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราช 2) แบบพิเศษ เกิดขึ้นเมื่อพระศาสนจักรเรียกประชุมสภาสังคายนา หรือเมื่อ พระสันตะปาปาทรงประกาศบางเรือ่ งเป็นกรณีพเิ ศษทีเ่ กีย่ วกับความจริงแห่งความเชือ่ - ดังนั้น เราที่เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรจะต้องไม่ทำ�การตีความพระคัมภีร์ หรือข้อความเชื่ออย่างพลการโดยไม่เชื่อฟังคำ�สั่งสอนของพระอาจาริยานุภาพ เพราะ นั่นทำ�ให้เกิดความแตกแยกในความจริงแห่งความเชื่อและความแตกแยกในพระศาสนจักร 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านหนังสือคำ�สอนของพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะ รู้จักข้อความเชื่อคาทอลิกให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ตัวแทนคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจแบบเสียง ดังให้เพื่อนๆ ร่วมสวดตาม จบด้วยการสวด “บทข้าพเจ้าเชื่อ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................


33

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง พระนางมารีย์ : แบบอย่างของคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระนางมารีย์ พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงติดตามพระบุตร จนถึงแทบเชิงกางเขน และทรงเป็นผู้ร่วมไถ่บาปกับพระบุตรด้วยความเชื่อ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรัก ความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ด้วยการสวดบทวันทามารีย์ อย่างตั้งใจ 3 บททุกวันก่อนนอน สาระการเรียนรู ้ พระนางมารีย์คือผู้ถูกเลือกสรรจากพระเจ้าให้เป็นพระมารดาของพระบุตร พระผู้ไถ่บาปของมนุษย์ พระนาง จึงมีพันธกิจพิเศษที่ได้รับจากพระเจ้าในการเป็นผู้ร่วมไถ่บาปกับพระบุตร พระนางได้เริ่มทำ�หน้าที่นี้ตั้งแต่วินาทีแรกที่พระบุตร ทรงจุตใิ นครรภ์ของพระนางจนถึงวินาทีสดุ ท้ายแห่งชีวติ ของพระบุตรบนไม้กางเขนทีแ่ ทบเชิงกางเขน เป็นการจาริกไปบนเส้นทาง แห่งความเชื่อ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมโดยเชิญตัวแทนผู้เรียนมาหน้าชั้นหนึ่งคน จากนั้น ให้ตัวแทนนั้นบวกเลข 10 จำ�นวนโดยใช้เครื่องคิดเลข โดยให้คิดอย่างถูกต้องและให้ จับเวลาว่าใช้กี่นาที? (ถ้าได้คำ�ตอบไม่ถูกต้องให้คิดใหม่) - เมื่อเสร็จแล้ว ให้เชิญตัวแทนออกมาอีกหนึ่งคนแล้วให้ทั้งสองคนช่วยกันบวก เลขชุดเดิมโดยให้คนที่สองเป็นผู้บอกตัวเลขทั้งสิบชุด แล้วดูว่าเมื่อได้ผลบวกที่ถูกต้อง นั้นใช้เวลาเท่าใด? - จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระกับกิจกรรมนี้ โดยผู้สอน เก็บประเด็นต่างๆ ไว้เพื่อตั้งข้อสังเกต - เมื่อผู้เรียนแสดงความเห็นแล้ว ผู้สอนสามารถสรุปโดยตั้งเป็นประเด็นได้ว่า • ผูเ้ รียนคนแรกสามารถบวกเลขได้เสร็จและถูกต้องหรือไม่? เขาใช้เวลาเท่าใด? • เมื่อทั้งสองคนช่วยกันบวกเลข ได้คำ�ตอบที่ถูกต้องหรือไม่? ทั้งสองคนใช้เวลา เท่าใด? - ผู้สอนอาจใช้กิจกรรมหรือตัวอย่างอื่นแทนได้ เช่น แม่ที่เตรียมอาหาร หากมี ลูกมือคอยช่วยเหลือก็จะสะดวกและเสร็จได้เร็วขึน้ หรือพ่อทีซ่ อ่ มรถจักรยาน หากมีแม่ หรือลูกคอยช่วยงานซ่อมรถก็จะสะดวกและเสร็จได้เร็วขึ้น ฯลฯ - นี่เป็นเพียงกิจกรรมเล็กๆ ที่ช่วยให้เข้าใจว่า สิ่งที่ต้องทำ�นั้นแม้ทำ�คนเดียวก็ สำ�เร็จได้ แต่การมีผชู้ ว่ ยก็ดกี ว่า แต่หากเราเปรียบเทียบกับงานทีย่ ากกว่านัน้ คือการไถ่

ดูตัวอย่างจำ�นวนเลข ท้ายแผน


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ บาปของพระคริสตเจ้า หากจะถามว่าพระเจ้าทรงทำ�เองได้ไหม? แน่นอนพระองค์ทรง ทำ�ได้ แม้ไม่มีการร่วมมือของมนุษย์ แต่พระองค์ทรงต้องการให้มนุษย์มีส่วนร่วมใน งานการไถ่กนู้ ี้ เพราะพระองค์ทรงต้องการให้มนุษย์รว่ มรับผิดชอบในสิง่ ทีต่ นเองได้กอ่ ขึ้นด้วย - บุคคลแรกที่พระเจ้าทรงให้มีส่วนร่วมในงานไถ่บาปนี้คือใคร?

3 พระวาจา : (ยน 19:25-27) พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์พร้อมกับ น้องสาวของพระนาง มารียภ์ รรยาของเคลโอปัส และมารียช์ าวมักดาลา เมือ่ พระเยซูเจ้า ทรงเห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูก ของแม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่าน” นับตั้งแต่นั้น ศิษย์ผู้นั้นก็รับ พระนางเป็นมารดาของตน 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนที่ยกมานี้ เล่าถึงช่วงเวลาสุดท้ายของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน และเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกันที่พระมารดาทรงประทับอยู่กับพระบุตร แต่เรารู้ว่ายังมี พระวรสารอีกหลายตอนที่เล่าเรื่องของพระนางมารีย์ เริ่มตั้งแต่ตอนที่ทูตสวรรค์แจ้ง ข่าวแด่พระนาง และตอนอื่นๆ อีกหลายตอน ซึ่งเปิดเผยเรื่องราวของแม่พระให้เราได้ รู้จักมากขึ้น และหากเราศึกษาแต่ละตอนอย่างดีแล้ว จะพบว่าแม่พระคือบุคคลที่ถูก ต้องที่สุดแล้วที่พระเจ้าจะทรงเลือกเพื่อมารับพันธกิจสำ�คัญ คือการเป็นพระมารดา พระเจ้าและผู้ร่วมการไถ่บาปกับพระบุตร เพราะตั้งแต่วินาทีแรกที่พระนางปรากฏมา ในพระวรสาร พระนางทรงเป็นบุคคลที่เต็มด้วยพลังในจิตใจ เป็นพลังที่พร้อมจะตอบ รับพระเจ้าและทำ�ตามพระประสงค์ของพระองค์เยี่ยง “ผู้รับใช้” (ลก 1:38) ที่ซื่อสัตย์ - เมื่อพระเจ้าทรงปรารถนาจะเลือกบุคคลหนึ่งให้มาเป็นพระมารดาของพระบุตร สุดทีร่ กั พระองค์จะต้องเลือกคนทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ซึง่ ถ้าหากพระองค์ได้ทรงเลือกพระนาง มารีย์ ก็หมายความว่าต้องไม่มีใครดีไปกว่าพระนางอย่างแน่นอน ดังนั้น ถึงแม้พระ คัมภีรจ์ ะไม่ได้เล่าเรือ่ งของพระนางอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น แต่นนั่ คือสิง่ ทีท่ า้ ทายเราให้อยาก รู้จักพระนางมากขึ้น พระวรสารทั้งสี่เล่มได้เล่าเรื่องต่างๆ ของแม่พระดังนี้ คือ 1) ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้า (ลก 1:26-38) 2) โยเซฟรับพระเยซูเจ้าเป็นบุตรบุญธรรม (มธ 1:18-25) 3) พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ (ลก 1:39-45) 4) บทเพลงสรรเสริญของพระนางมารีย์ (ลก 1:46-58) 5) การประสูติของพระเยซูเจ้า (ลก 2:1-20) 6) โหราจารย์มาเฝ้าพระกุมาร (มธ 2:1-12) 7) พระกุมารเสด็จหนีไปประเทศอียิปต์ (มธ 2:13-18) 8) พระกุมารเสด็จกลับจากประเทศอียิปต์ไปเมืองนาซาเร็ธ (มธ 2:19-23) 9) การถวายพระกุมารในพระวิหาร (ลก 2:22-28) 10) สิเมโอนกล่าวทำ�นาย (ลก 2:33-35) 11) พระเยซูเจ้าในหมู่ธรรมาจารย์ (ลก 2:41-50)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


35

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

12) 13) 14) 15)

งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (ยน 2:1-12) พระญาติแท้ของพระเยซูเจ้า (มธ 12:46-50) พระเยซูเจ้ากับพระมารดา (ยน 19:25-27) บรรดาอัครสาวก (กจ 1:12-14)

- ผู้สอนสามารถเพิ่มคาบสอนหัวข้อนี้ก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่ออธิบายพระวรสารตอนต่างๆ ทีย่ กมาข้างบนนีใ้ ห้ผเู้ รียนได้เข้าใจดีขนึ้ โดยเน้นว่า ในแต่ละเรือ่ งนัน้ พระนางมารีย์ทรงมีบทบาทอย่างไรในการร่วมไถ่บาปกับพระเยซูเจ้า 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเจ้าจะทรงไถ่บาปมนุษย์โดยลำ�พังพระองค์เองโดยไม่ต้องมีความร่วมมือ จากมนุษย์ได้หรือไม่? ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าพระองค์ทรงทำ�ทุกอย่างได้แน่นอน โดยไม่ตอ้ งมีใครช่วย แต่จากประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้น เราพบว่า พระเจ้าทรงให้ มนุษย์ได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในแผนการแห่งความรอดเสมอเพราะมนุษย์เองคือ ผู้รับผลการไถ่บาปนั้น - นี่คือวิธีการหนึ่งของการปฏิบัติงานหรือการอบรมของพระเจ้า พระองค์ไม่ทรง นำ�ความรอดพ้นที่มีค่าประเสริฐยิ่งอันมาจากการพลีบูชาขององค์พระบุตรนั้นมาป้อน ให้โดยปราศจากการยอมรับหรือการยินยอมของมนุษย์แต่ละคน ซึ่งการยอมรับนั้น เรียกร้องให้มีการร่วมมือรับผิดชอบด้วยตามรูปแบบและลักษณะเฉพาะของแต่ละคน ดังเช่นทีเ่ ราจะเห็นได้ชดั จากชีวติ ของพระมารดามารียต์ ามทีป่ รากฏในพระวรสารแต่ละ ตอนข้างต้น - เมื่อพระนางมารีย์ทรงตอบรับพระเจ้าที่จะเป็นพระมารดาของพระบุตร ก็เท่ากับ ว่าพระนางทรงยินดีที่จะร่วมมือกับพระองค์ในทุกอย่าง ตรงตามความหมายของคำ�ว่า “ผูร้ บั ใช้” เพราะผูร้ บั ใช้จะไม่ท�ำ อะไรตามใจตนเอง แต่ตามความประสงค์ของผูเ้ ป็นเจ้า นายในทุกเรื่อง แม้ในสิ่งที่ตนอาจไม่ชอบก็ตาม - พระประสงค์ของพระเจ้าคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตของพระนาง พระนางจึง ทรงยอมสละตัวเองในทุกเรื่อง

• เริ่มตั้งแต่การยอมที่จะสมรสกับ น.ยอแซฟทั้งที่พระนางทรงต้องการเจริญ ชีวิตพรหมจรรย์ตลอดชีวิต • ในการเสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบ็ธ ทั้งๆ ที่พระนางทรงครรภ์และถือได้ว่า เป็นพระมารดาของพระเจ้า แต่พระนางก็ยังสุภาพถ่อมตน เสียสละรับใช้ผู้อื่นโดยไม่ คิดถึงความยากลำ�บากของตน • ในความยากลำ�บากของการประสูติพระกุมารเจ้า โดยต้องเดินทางขณะมี ครรภ์แก่และไม่มหี อ้ งให้พระกุมารประสูติ จึงทรงต้องบังเกิดในถ้�ำ เลีย้ งสัตว์ ซึง่ พระนาง ก็คงเข้าใจไม่ได้ว่า ทำ�ไมพระบุตรพระเจ้าจึงทรงต้องบังเกิดอย่างทุกข์ทรมานเช่นนี้ แต่ พระนางก็ได้ท�ำ ทุกอย่างๆ ดีทสี่ ดุ โดยไม่มคี �ำ บ่นว่าออกจากพระโอษฐ์ของพระนางเลย • ในการพาพระกุมารเสด็จหนีไปประเทศอียิปต์ แม้จะมี น.ยอแซฟเป็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


36

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

หัวหน้าครอบครัวที่คอยดูแลปกป้องทุกอย่าง แต่พระนางซึ่งเป็น “แม่ลูกอ่อน” ก็ต้อง ลำ�บากอย่างมากมายในการเดินทางแบบสมัยก่อน ทีไ่ ม่มรี ถส่วนตัว หรือรถประจำ�ทาง หรือรถไฟ มีเพียงแต่ลาตัวเดียวที่ช่วยบรรเทาความลำ�บากได้ พระนางไม่ได้ต่อว่า พระเจ้าในสภาพนั้น ทรงยอมรับแต่โดยดีแม้จะไม่สามารถเข้าใจอะไรเลยก็ตาม • ในการค้นหาพระเยซูเจ้าไม่พบขณะเดินทางกลับบ้าน แม้พระเยซูเจ้าจะมีอายุ 12 ปีแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์แบบนั้นทำ�ให้พระนางต้องพิศวงใจอย่างที่สุด เพราะ พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า พระองค์ต้องอยู่ในบ้านของพระบิดา พระนางคงต้องใช้ ความเชื่ออย่างแรงกล้าเพื่อจะรับเหตุการณ์นี้ได้ • ในงานสมรสที่หมู่บ้านคานา พระนางมารีย์ทรงมีความเชื่อสูงสุดว่า พระบุตร องค์นี้คือพระบุตรของพระเจ้า ทรงเป็นพระเจ้าด้วย พระนางจึงขออัศจรรย์แรกจาก พระบุตรแม้วา่ จะยังไม่ถงึ เวลาของพระองค์กต็ าม แต่พระบุตรทรงนบนอบต่อพระมารดา ดัง “ลูกที่เชื่อฟังแม่” • ที่เชิงกางเขน เป็นเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งยากที่แม่คนหนึ่งจะรับได้ แต่ พระนางทรงรู้จักพระคัมภีร์ดี ทรงดำ�เนินชีวิตด้วยความเชื่อมาตั้งแต่วินาทีแรกจนถึง เวลานั้น แม้จะเจ็บปวดที่สุดด้วยความรู้สึกของผู้เป็นแม่ แต่พระนางก็ได้ทรงรับ เหตุการณ์นั้นอย่างดีที่สุดด้วย เพราะพระนางทรงทราบดีด้วยความเชื่อว่า นั่นคือช่วง เวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการร่วมไถ่บาปกับพระบุตรเจ้า และเป็นวันที่การไถ่บาปของ พระบุตรบรรลุถึงความสมบูรณ์แล้ว

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความรัก ความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ด้วยการสวดบทวันทามารีย์ อย่างตั้งใจ 3 บท ทุกวันก่อนนอน 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนร้องเพลง “สุขในพระแม่” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ

จากหนังสือเพลงสรรเสริญ สดุดี หน้า 241

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................

ตัวอย่างจำ�นวนเลข 59,713 / 451,782 / 2,470 / 349,538 / 40,051 / 1,951 / 73,286 / 209,071 / 394 / 106,038 (ผลรวมได้ 1,294,294)


37

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง ศาสนสัมพันธ์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4

ชั้น ม.1

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ศาสนสัมพันธ์ คือการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่มีความเชื่อ แตกต่างกัน โดยยึดจิตตารมณ์ความรัก ความเป็นพี่น้องกันเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างความ เข้าใจอันดีต่อกัน รับรู้คุณค่าที่มีในศาสนาของกันและกัน และร่วมมือกันสร้างสรรค์ภราดร ภาพและสันติภาพในสังคม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้ความเคารพต่อผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน โดยการพูดจากันด้วย ความสุภาพ สาระการเรียนรู ้ ศาสนสัมพันธ์คืองานแขนงหนึ่งของพระศาสนจักรสากลและในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะพระศาสนจักร มีนโยบายที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผู้มีความเชื่อแตกต่างกันด้วยจิตตารมณ์แห่งความรักและภราดรภาพ อาศัย การเสวนาธรรม การทำ�กิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพือ่ ช่วยกันแก้ไขปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจร่วมกัน ทำ�ให้สงั คมอยูไ่ ด้อย่าง มีสันติสุข ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกม “เหยียบลูกโป่ง” โดยเตรียมลูกโป่งเพียง 3 สี แบ่ง ผูเ้ ล่นเป็น 3 ฝ่าย ให้ผเู้ ล่นเป่าลูกโป่งแล้วผูกไว้ทขี่ อ้ เท้าของตนทัง้ สองข้าง ให้ทกุ คนเอา มือทั้งสองไขว้หลังไว้ ห้ามแตะต้องตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เมื่อเป่านกหวีดให้แต่ละฝ่าย พยายามเหยียบลูกโป่งของฝ่ายอืน่ ฝ่ายใดทีส่ ามารถเหยียบลูกโป่งของฝ่ายอืน่ แตกหมด ถือว่าเป็นผู้ชนะ - เมื่อเล่นเกมเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนนั่งไตร่ตรองสักครู่ว่า เกมนี้สอนอะไรบ้าง? จาก นั้นให้ตัวแทนบางคนแบ่งปันข้อคิดที่ได้จากการเล่นเกมนี้ - จากนั้น ให้ผู้สอนสรุปข้อคิดในความสัมพันธ์กับเรื่องศาสนสัมพันธ์ว่า ตามปกติ ของชีวิต เราไม่ค่อยชอบคนที่ทำ�ตัวแตกต่าง คิดต่าง แปลกแยก ฯลฯ สรุปคือ คนที่ ไม่ใช่พวกของเรา เราก็มักจะไม่อยากคบด้วย ยิ่งกว่านั้น บ่อยครั้งในสังคมหรือชุมชน เราจะพบว่า มีการตีกันหรือทะเลาะกันระหว่างกลุ่มนักเลง หรือกลุ่มต่างๆ บางครั้ง สถานการณ์รุนแรงถึงขั้นที่ประกาศว่า “จะอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้” หลายครั้งสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในระหว่างศาสนาต่างๆ ด้วย - ธรรมชาติมนุษย์มักเป็นเช่นนี้ แต่ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักร ได้สอนอะไรแก่เราในเรื่องนี้

เตรียมลูกโป่ง 3 สี จำ�นวน เท่าผู้เรียน


38

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

3 พระวาจา (ยน 17:11) พระเยซูเจ้าได้ตรัสตอนค่ำ�วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกจับกุมว่า “ข้าพเจ้าไม่อยูใ่ นโลกอีกต่อไป แต่เขายังอยูใ่ นโลก และข้าพเจ้ากำ�ลังกลับไปเฝ้าพระองค์ ข้าแต่พระบิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ โปรดเฝ้ารักษาบรรดาผู้ที่ทรงมอบให้ข้าพเจ้าไว้ในพระนาม ของพระองค์ เพื่อเขาจะได้เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนกับพระองค์และข้าพเจ้า” 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงรักทุกคน ทรงประทานพระพรให้แก่ทุกคนไม่เว้นใคร แต่ในบท ภาวนานี้ พระองค์ทรงภาวนาอย่างชัดเจนสำ�หรับผู้ที่พระบิดาทรงมอบให้ในนามของ พระองค์ เพื่อให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังที่พระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา - พระศาสนจักรได้เข้าใจดีถึงเจตนารมณ์ของพระอาจารย์เจ้าเมื่อทรงกล่าวถึง ประโยคนี้ นั่นคือ พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้ทุกคนที่เชื่อในพระนามของพระองค์เป็น หนึ่งเดียวกัน แม้จะมีบางส่วนของความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นก็คือ ผู้ที่เชื่อในพระองค์มีความขัดแย้ง แตกแยก ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน เสวนากันไม่ได้ - บุคคลเป้าหมายที่พระเยซูเจ้าทรงหมายถึงจึงมิใช่เพียงเฉพาะบรรดาผู้เป็น คาทอลิกเท่านั้น แต่พระองค์ทรงต้องการให้ผู้ที่ประกาศตนเป็น “คริสต์” ไม่ว่าจะ ความเชื่อใดหรือนิกายใดมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะทุกคนล้วนมีความเชื่อใน พระองค์เดียวกัน - ความรักคือเอกลักษณ์ของผู้เป็นคริสตชน ผู้เป็นศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้า ดังนั้น ศิษย์ทุกคนของพระองค์ ไม่ว่าจะยึดถือความเชื่อใด นิกายใด ก็ควรจะปฏิบัติความรัก แบบคริสตชนให้เห็นเด่นชัด ซึ่งรูปธรรมของความรักนี้ก็คือความเป็นหนึ่งเดียวกันใน ภาคปฏิบัตินั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้เข้าใจถึงพระดำ�ริของพระเยซูเจ้า จึงได้จัดให้มี นโยบายที่จะสานสัมพันธ์กับผู้มีความเชื่อที่แตกต่างกัน เช่น โปรเตสเตนท์ ออร์โธดอกซ์ ฯลฯ ซึง่ เชือ่ ในพระเจ้าองค์เดียวกัน ในองค์พระเยซูคริสตเจ้าและคำ�สัง่ สอนของพระองค์ แม้ว่าแต่ละกลุ่มจะกำ�หนดข้อความเชื่อเฉพาะของตนซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่ต่างจาก กลุ่มอื่น - ดังนั้น พระศาสนจักรจึงได้ไตร่ตรองและริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ความเป็น หนึ่งเดียวระหว่างผู้มีความเชื่อที่แตกต่างกันค่อยกลายเป็นความจริงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ตามเจตนารมณ์ของพระเยซูคริสตเจ้า - ผู้ทำ�งานด้านศาสนสัมพันธ์หลายท่านในหลายยุคหลายสมัยจึงได้อุทิศชีวิต อย่างกระตือรือร้นสำ�หรับงานนี้ ทั้งในการหาจุดร่วมด้านข้อความเชื่อ ทั้งในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ให้บุคคลเป้าหมายทำ�ร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคม - เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องศาสนสัมพันธ์ในเชิงลึกมากขึ้น ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้เพียงใบเดียว จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา แบ่งปันข้อสรุปของกลุ่มให้ทุกคนเข้าใจ

ดูใบความรู้ที่ 1-3 ท้ายแผน


39

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ในคาบเรียนนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงลักษณะของศาสนาคริสต์ นิกายต่างๆ อย่าง ละเอียด ดังนั้น เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ เหล่านี้ ผู้สอนสามารถให้ ผู้เรียนทำ�การบ้าน โดยไปค้นคว้า ทำ�รายงานเกี่ยวกับลักษณะของศาสนาคริสต์แต่ละ นิกายมาส่ง โดยอาจทำ�เป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่มก็ได้ และเมื่อมาถึงคาบเรียนต่อไป ควรให้ตัวแทนกลุ่มหรือจับฉลากตัวแทนบางคนมาแบ่งปันความรู้โดยสังเขปเกี่ยวกับ แต่ละนิกายให้ผู้เรียนทุกคนได้รู้และเข้าใจด้วย 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนให้ความเคารพต่อผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน โดยการพูดจากันด้วย ความสุภาพ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวด “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อม กัน โดยใส่จุดประสงค์เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของผู้ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


40

ใบความรู้ที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ศึกษาข้อความในใบความรู้นี้อย่างละเอียด แล้วสรุปใจความสำ�คัญ จากนั้นให้เลือกตัวแทนไป แบ่งปันกับผู้เรียนทุกคน

1) ทำ�ไมจึงต้องทำ�ศาสนสัมพันธ์? 1. ทางการเมื อ ง โลกปั จ จุ บั น แคบลง ประเทศต่ า งๆ มี ก ารติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ กั น โดยจำ � เป็ น ไม่ มี ป ระเทศใดอยู่ โดดเดี่ยวได้ การติดต่อกันมีในระดับต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้าขาย สาธารณสุข การศึกษา การทหาร ฯลฯ รวมทั้ง การศาสนาด้วย 2. มนุษยวิทยา มนุษย์มีหลายสิ่งแตกต่างกัน แต่ก็มีหลายสิ่งเหมือนกัน เราไม่สามารถบอกได้ว่าของใครดีกว่าของใคร เพราะดีเลวโดยทั่วไปเป็นอัตวิสัย ( subjective ) ขึ้นอยู่กับสภาพและความต้องการในแต่ละสถานที่และกาลเวลา เช่น เราไม่อาจ ตัดสินชี้ขาดลงไปว่าเครื่องบินดีกว่าเกวียน เพราะมันดีคนละอย่าง เครื่องบินอาจจะดีกว่าในที่ที่เจริญแล้ว แต่เกวียนอาจจะดีกว่า ในชนบทที่ยังไม่เจริญ ไม่มีถนนหนทาง สิ่งที่ควรคำ�นึงในความแตกต่างและความเหมือนก็คือ จะอย่างไรก็ตาม มนุษย์ก็มีสิ่งที่ ตรงกัน คือมุ่งแสวงหาสิ่งที่ดีสำ�หรับตนเอง เพียงแต่เครื่องมือที่ใช้อาจแตกต่างกันตามสภาพเท่านั้น ศาสนาก็เช่นเดียวกัน จะว่าใครดีกว่าใครไม่ได้ เพราะต่างก็เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อบรรลุจุดหมายเดียวกัน คือ ความดีสูงสุด 3. ทางด้านสังคม ทุกศาสนาต้องช่วยเสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น เพราะศาสนาคือวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่งของสังคม ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าศาสนาเป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางสังคม ซึ่งจะต้องขึ้นกับสังคมและอยู่ใต้อาณัติของสังคม แต่ หมายความว่าศาสนาต้องพูดจาภาษามนุษย์ ต้องอยู่กับมนุษย์และอยู่เพื่อมนุษย์ ทุกศาสนาพึงร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์สังคม โดยรวมพลังกัน แทนที่จะต่างคนต่างทำ� หรือบางทีทำ�สิ่งที่ขัดแย้งกัน 4. ทางด้านศาสนา ธรรมชาติของคนเรามักจะมีปมเขื่อง คือถือว่าตัวดีกว่าคนอื่น นอกจากเข้าประเด็นที่กล่าวในข้อ 2 แล้ว ยังมีขอ้ คิดอีกว่าเราจะรูว้ า่ ศาสนาของเราดีกว่าของคนอืน่ นัน้ เราจำ�เป็นต้องรูจ้ กั ทัง้ ศาสนาของเราและศาสนาของคนอืน่ อย่าง ดี จึงจะสามารถเปรียบเทียบกันได้ แต่ถ้าคนหนึ่งรู้ศาสนาของคนอื่นอย่างดีแล้ว จะเลิกคิดถึงปมเขื่องของตนทันที แต่จะเกิด ความคิดใหม่ว่า ความดี ความจริง ไม่มีใครสามารถผูกขาดได้ แต่เป็นสมบัติของส่วนรวม ยิ่งกว่านั้น การรู้จักศาสนาอื่นอย่างดี นั้น ยังทำ�ให้รู้จักศาสนาของตัวดีขึ้นด้วย สังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวไว้ว่า “พระศาสนจักรพิจารณาด้วยความเคารพอย่างจริงใจ ในวิธปี ฏิบตั แิ ละการดำ�รงชีวติ ตลอดจนกฎและพระธรรมคำ�สอนเหล่านีข้ องศาสนาอืน่ ๆ ซึง่ ถึงแม้จะแตกต่างจากทีพ่ ระศาสนจักร สอนหลายประการ แต่บ่อยครั้ง ก็นำ�แสงสว่างแห่งความจริงมาส่องสว่างให้แก่มนุษย์ทุกคน” 5. ทางเทววิทยา ศาสนาเจริญและพัฒนา โดยอาศัยความสัมพันธ์ เหมือนมนุษย์แต่ละคนเจริญและพัฒนาโดยอาศัย ความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ศาสนาจะอยู่เฉยๆไม่ได้ ต้องเปี่ยมด้วยพลัง ต้องพัฒนาก้าวหน้าอยู่เสมอ สู่วุฒิภาวะโดย พบปะสัมพันธ์กับศาสนาอื่นๆ ที่แม้จะมีอะไรที่แตกต่างกัน แต่ก็มีอะไรที่จะแบ่งปันเพื่อความเจริญก้าวหน้าของกันและกัน ไม่มี ศาสนาใดครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ต้องพัฒนาอีกแล้ว “ไม่มีใครเกิดเป็นคริสตัง แต่ต้องสร้าง (ความเป็นคริสตัง) ขึ้นมา” (Joachim Wach)


41

ใบความรู้ที่ 2 คำ�ชี้แจง - ให้ศึกษาข้อความในใบความรู้นี้อย่างละเอียด แล้วสรุปใจความสำ�คัญ จากนั้นให้เลือกตัวแทนไป แบ่งปันกับผู้เรียนทุกคน

2) ท่าทีที่ควรทบทวนพิจารณาในการทำ�ศาสนสัมพันธ์ 1. คิดว่าศาสนาแตกต่างกันจนไม่มีทางสัมพันธ์กันได้ (Exclusivism) เมื่อเชื่อว่าศาสนาของตัวจริง ศาสนาอื่นก็ต้องเท็จ ศาสนาของตัวดี ศาสนาอื่นก็ต้องไม่ดี ผลตามมาก็คือการไม่ผ่อนปรน การดูถูกเหยียดหยามศาสนาอื่น คริสตศาสนามิได้เป็นเจ้าของความจริงทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ศาสนาอื่นก็มีความจริงด้วย สังคายนาวาติกันที่ 2 จึง ประกาศว่า “พระศาสนจักรไม่ปัดทิ้งสิ่งที่จริงและศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น” 2. ศาสนาเหมือนกันทุกศาสนา ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ( Inclusivism ) เอกลักษณ์ของแต่ละศาสนาจะหายไป กลายเป็น ศาสนารวม ใครจะนับถือศาสนาใด หรือนับถือกี่ศาสนาก็มีค่าเท่ากัน เป็นการเข้าใจคำ�ว่า “ศาสนาไหนๆ ก็ดีทั้งนั้น” อย่างไม่ ถูกต้อง คำ�ว่า “ดีทั้งนั้น” ไม่ได้หมายความว่าต้องเหมือนกัน แต่อาจจะดีคนละอย่าง ท่าทีเช่นนีท้ �ำ ให้ศาสนสัมพันธ์ไม่มคี วามจำ�เป็น เพราะสัมพันธ์กนั อย่างแยกไม่ออกอยูแ่ ล้ว จึงเป็นท่าทีทไี่ ม่ถกู ต้องเช่นกัน 3. แต่ละศาสนาต่างเดินไปคนละทาง แต่ไปบรรจบกันที่จุดหมายปลายทาง (Parallelism) ยอมรับว่าศาสนาแตกต่าง กัน คือเดินคนละทาง และเหมือนกัน คือมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน แต่ไม่จำ�เป็นต้องสัมพันธ์กันในโลกนี้ จะไปสัมพันธ์ กันในโลกหน้า ท่าทีนี้เท่ากับสนับสนุนว่าแต่ละศาสนามีความสามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งศาสนาอื่น ศาสนสัมพันธ์จึงไม่มี ความจำ�เป็น ซึ่งเป็นท่าทีที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน 4. แต่ละศาสนามีทงั้ สิง่ ทีเ่ หมือนและแตกต่างกัน แต่มคี วามกลมเกลียวกัน (Harmony) ทำ�ให้เกิดมิตใิ หม่ทสี่ วยงามและ หลายหลากโดยอาศัยเอกลักษณ์ของแต่ละศาสนา เปรียบเสมือนเพชรงามหลายชนิดมาประดับเรือนแหวนหรือสร้อยเส้นเดียวกัน ช่วยเพิ่มคุณค่าและความงามยิ่งขึ้น

ใบความรู้ที่ 3 คำ�ชี้แจง - ให้ศึกษาข้อความในใบความรู้นี้อย่างละเอียด แล้วสรุปใจความสำ�คัญ จากนั้นให้เลือกตัวแทนไป แบ่งปันกับผู้เรียนทุกคน ต่อไปนีค้ อื ท่าทีของศาสนสัมพันธ์ทถี่ กู ต้องและควรสนับสนุน โดยนัยนีเ้ ราจึงควรเข้าสูก่ ระบวนการศาสนสัมพันธ์โดยยึด จิตตารมณ์ต่อไปนี้เป็นหลักประจำ�ใจ คือ

ก. พึงมีความเคารพต่อกัน เพราะแต่ละศาสนาก็มีสิ่งที่จริง สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์มาจากพระ และนำ�ไปสู่พระได้เช่นเดียวกัน ข. พึงมีความสุภาพถ่อมตน ซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความดี ยิ่งดีก็ยิ่งต้องสุภาพ ไม่ยกตนข่มท่าน ค. พึงมีความฉลาดรอบคอบ เพราะเรื่องศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นจุดที่ไวต่อความรู้สึกมาก จึงควรรู้จัก กาลเทศะ รู้จักว่าควรหรือไม่ควร ง. พึงมีความเข้าอกเข้าใจ อย่าด่วนตัดสินใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา จ. พึงดำ�เนินชีวิตที่ซึมซาบด้วยศาสนา ทำ�ให้เกิดศาสนสัมพันธ์ขั้นลึกซึ้ง คือขั้นชีวิตซึ่งเป็นหัวใจของศาสนสัมพันธ์


42

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง พระวาจาในชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระวาจาคือสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชนให้เจริญ เติบโตในความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก และเป็นแนวทางปฏิบัติสู่ความศักดิ์สิทธิ์ แบบคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านพระวาจาทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ตอน และนำ�ไปปฏิบัติจริงใน วันนั้นๆ สาระการเรียนรู้ พระวาจาคือพระวจนาถต์ของพระเจ้าอันเป็นพระคุณพิเศษที่พระองค์ทรงประทานแก่มนุษย์ มนุษย์มิได้ เจริญชีวิตด้วยอาหารเลี้ยงร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีวิญญาณที่ต้องดูแลเลี้ยงให้เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นมิติที่ไม่ ได้สำ�คัญน้อยไปกว่าร่างกายเลยเพราะวิญญาณเป็นอมตะแต่ร่างกายนั้นจะจบสิ้นลงเมื่อเราตายไป ดังนั้น คริสตชนต้องไม่ลืม มิติสำ�คัญของมนุษย์ และต้องหล่อเลี้ยงวิญญาณของตนด้วยพระวาจาเสมอ ให้เติบโตในความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักต่อ พระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมโดยนำ�บัตรคำ�ให้ผู้เรียนดูทีละคำ� จากนั้นให้ผู้เรียนเลือก เอาสิ่งที่ตนชอบเขียนใส่ในสมุดหรือกระดาษไว้ แต่ละคนสามารถเลือกได้มากกว่า 1 คำ�ตอบ เมื่อตอบเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละคนบอกว่าคำ�ตอบของตนคืออะไร ให้ผู้สอน จดคำ�ตอบของทุกคนโดยแยกเป็นประเภทไว้ เพือ่ จะดูวา่ คำ�ตอบไหนมีความถีม่ ากทีส่ ดุ หรือน้อยทีส่ ดุ รวมทัง้ เขียนคำ�ตอบทีไ่ ม่มคี นเลือกไว้ทกี่ ระดานด้วย เพือ่ จะเป็นประเด็น ในการพิจารณาต่อไป

- เมื่อผู้เรียนได้เห็นแล้วว่ามีกี่คำ�ตอบ คำ�ตอบไหนมีคนชอบมากที่สุดหรือน้อย ที่สุด และสิ่งใดที่ไม่มีคนเลือกเลย จากนั้นให้ผู้เรียนแสดงความเห็นว่า ทำ�ไมจึงได้ผล คำ�ตอบแบบนั้น? และทำ�ไมจึงไม่มีคนเลือกอีกบางคำ�เลย? - ณ จุดนี้ ให้ผู้สอนสังเกตว่ามีผู้เรียนคนใดเลือกคำ�ว่า “อ่านพระวรสาร” บ้าง หรือเปล่า? (เพราะคำ�ตอบของผู้เรียนจากแต่ละบริบทจะต่างกันด้วย) โดยตั้งข้อสังเกต ว่าทำ�ไมจึงไม่เลือก? ทำ�ไมจึงมีคนเลือกน้อย? ทำ�ไมจึงมีคนเลือกมาก?... - ผลจากการทำ�กิจกรรมนี้ ทำ�ให้ได้ข้อมูลว่า ผู้เรียนเข้าใจมากเพียงใดถึง ความสำ�คัญของการอ่านพระวาจา และในกิจวัตรประจำ�วันนั้นมีผู้เรียนกี่คนที่อ่าน พระวาจากันบ้าง?

ดูบัตรคำ�ท้ายแผน


43

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ทำ�ไมคริสตชนต้องให้ความสำ�คัญกับพระวาจาและต้องอ่านพระวาจาเป็นประจำ� ทุกวัน? ให้ผู้เรียนลองตอบคำ�ถามนี้...

- จากนัน้ จึงค่อยให้ผเู้ รียนทำ�สมาธิให้นงิ่ สักครู่ แล้วให้อา่ นพระวรสารตอนทีเ่ สนอ แนะนี้ 3 พระวาจา เวลานั้น พระจิตเจ้าทรงนำ�พระเยซูเจ้าไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้ปีศาจมาผจญ พระองค์ เมื่อทรงอดอาหารสี่สิบวันสี่สิบคืนแล้ว ทรงหิว ปีศาจผู้ผจญจึงเข้ามาใกล้ ทูล ว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรพระเจ้า จงสัง่ ก้อนหินเหล่านีใ้ ห้กลายเป็นขนมปังเถิด” แต่พระองค์ ตรัสตอบว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์มิได้ดำ�รงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น แต่ ดำ�รงชีวิตด้วยพระวาจาทุกคำ�ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้า” (มธ 4:1-4) 4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารนี้เป็นตอนแรกของพระวรสารเรื่อง “พระเยซูเจ้าทรงถูกทดลองในถิ่น ทุรกันดาร” ซึง่ มีทงั้ หมดสามตอน ในทีน่ จี้ ะคัดมาเพียงตอนเดียวเพราะเป็นคำ�ตอบของ คำ�ถามทีว่ า่ “ทำ�ไมคริสตชนต้องให้ความสำ�คัญกับพระวาจาและต้องอ่านพระวาจาเป็น ประจำ�ทุกวัน?” - หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้ทรงอดอาหารมาเป็นเวลา 40 วัน พระองค์ทรงหิวเป็น อย่างมาก ปีศาจเห็นโอกาสเหมาะจึงได้เข้ามาประจญพระองค์ โดยเริ่มจากความต้องการพืน้ ฐานฝ่ายร่างกายก่อนคือ เรือ่ งอาหาร ซึง่ มันคิดว่าด้วยความหิว พระเยซูเจ้า คงจะลืมทุกสิ่งและยอมรับข้อเสนอของมันอย่างง่ายดาย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น พระเยซูเจ้ามิได้ทรงปล่อยให้สงิ่ ใดทัง้ สิน้ มาบดบังเป้าหมายของพันธกิจของพระองค์ จึง ทรงตอบปีศาจด้วยการอ้างอิงพระวาจาของพระเจ้า ทำ�ให้ปีศาจต้องผิดหวังและหาวิธี ด้วยการตั้งคำ�ถามใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง - คำ�ตอบดังกล่าวมิได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาของพระเยซูเจ้าต่อการประจญของ ปีศาจ ณ เวลานั้นเท่านั้น แต่ที่สำ�คัญเป็นคำ�สอนแก่เรามาจนถึงทุกวันนี้ เพื่อให้เรา คริสตชนเข้าใจว่า สิ่งสำ�คัญที่มนุษย์ต้องรับประทานมากกว่าอาหารฝ่ายร่างกายก็คือ พระวาจาพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงยืนยันและทรงเป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิตของ พระองค์เอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - มนุษย์ประกอบด้วย 2 มิติ คือ ร่างกายและวิญญาณ แต่ตามปกติคนเรามักไม่ ค่อยคำ�นึงถึงความจริงนี้และส่วนใหญ่จะเจริญชีวิตเสมือนว่าตนมีเพียงแต่ร่างกาย จึง แสวงหาวัตถุสิ่งของมากกว่าสิ่งของฝ่ายจิตเพราะวัตถุเป็นเรื่องใกล้ตัว สัมผัสได้ ทำ�ให้ อิ่มท้องได้ สรุปคือสามารถตอบสนองความรู้สึกและความต้องการฝ่ายร่างกายได้แบบ ทันท่วงทีมคี วามสุขชัว่ ครูช่ วั่ ยาม ทำ�ให้คนเรามักจะอยูก่ บั ความรูส้ กึ ฝ่ายร่างกายมากกว่า ฝ่ายจิต จนเหมือนกับลืมความจริงที่สำ�คัญอีกด้านหนึ่งของตนไป - ทั้งสองมิติของมนุษย์จำ�เป็นต้องได้รับการหล่อเลี้ยงให้มีการพัฒนา มิฉะนั้น ส่วนที่ไม่ได้รับการพัฒนาก็จะพิการแคระแกร็นไป ร่างกายคือส่วนของมนุษย์ที่สัมผัส

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


44

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้ทันที เราจึงเลี้ยงดูร่างกายแบบอัตโนมัติเกือบจะเป็นสัญชาตญาณ เพราะร่างกาย มนุษย์กม็ สี ญ ั ชาติญาณคล้ายกับสัตว์ จึงดำ�เนินชีวติ ตอบสนองความต้องการขัน้ พืน้ ฐาน อยู่ตลอดเวลา เช่น หนาวก็ใส่เสื้อ หิวก็รับประทานอาหาร เหนื่อยก็พัก ง่วงนอนก็หลับ ไม่สบายก็ทานยาหาหมอ มีศัตรูก็หนี ฯลฯ ดังนั้น ในมิติด้านนี้จึงไม่น่าเป็นห่วง แต่ จะมีสกั กีค่ นทีม่ องเห็น ให้ความสนใจ และตอบสนองด้วยความใส่ใจอย่างถูก วิธีต่อความต้องการฝ่ายจิตวิญญาณบ้าง? - ดังนั้น เพื่อจะดำ�รงชีวิตให้มีความสุขได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า จำ�เป็นที่ ทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งคริสตชน (ผู้ได้เรียนคำ�สอน) จะต้องเจริญชีวิตอย่างสมดุล คือ ดูแลตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณไปพร้อมๆ กัน - วิญญาณมนุษย์เกิดมาพร้อมกับร่างกาย เป็นส่วนที่ทำ�ให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นพระพรพิเศษที่ทำ�ให้มนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า แต่ วิญญาณก็ตอ้ งการการเจริญเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง แม้กระทัง่ คริสตชนทีไ่ ด้รบั ศีลล้างบาป แล้ว ซึ่งได้รับคุณธรรมเหนือธรรมชาติมาด้วย คือ ความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาพระคุณเหล่านี้ในตนเอง เพราะพระคุณเหล่านี้เปรียบได้เสมือน กับ “เมล็ดพันธุ์” ที่แม้เป็นสิ่งเล็กมากๆ แต่มีศักยภาพมากมายมหาศาล ดังที่พระเยซูเจ้าได้ทรงเปรียบเทียบพระอาณาจักรพระเจ้าว่าเป็น “เมล็ดมัสตาร์ด” ซึ่งสามารถ เติบโตกลายเป็นต้นไม้ใหญ่มากจนกระทั่งเป็นที่พักของนกในอากาศได้ แต่กว่าจะถึง วันนั้น เมล็ดเล็กๆ นั้นต้องได้รับการดูแลรักษา เอาใจใส่ เลี้ยงดู ถ้าขาดกระบวนการ นี้ เมล็ดพันธ์ุนั้นอาจแคระแกร็นพิการไม่เติบโตเต็มที่ และบางเมล็ดอาจตายไปโดย ไม่มีโอกาสเติบโตเลยก็ได้ - การดูแลรักษาชีวิตต้องทำ�โดยการเอาใจใส่ให้อาหารทั้งฝ่ายร่างกายและจิตใจ ตามปกติ เราไม่เคยปล่อยให้ร่างกายของเราต้องหิวโหย อดอยาก หรือเมื่อป่วยก็จะรีบ รักษา เช่นเดียวกัน เราต้องดูแลจิตวิญญาณของเราให้เติบโตอย่างสมดุลและสมบูรณ์ ด้วย ซึง่ อาหารและยารักษาโรคฝ่ายวิญญาณก็คอื พระวาจาของพระเจ้านัน่ เอง นีจ่ งึ เป็น เหตุผลสำ�คัญว่าการอ่านพระวาจาสำ�คัญอย่างไร เฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับเราคริสตชน - ผู้สอนสามารถยกตัวอย่างของผู้ที่เจริญชีวิตตามธรรมชาติหรือตามสัญชาตญาณได้จากละครตอนค่ำ�ที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มีโอกาสดู หรือจากภาพยนตร์บางเรื่องที่ กำ�ลังออกอากาศอยูก่ ไ็ ด้ ซึง่ เกือบทุกเรือ่ งก็จะมีบทพระเอกนางเอกและบทตัวร้าย ผูส้ อน อาจใช้เวลาสั้นๆ ในช่วงนี้วิเคราะห์เล็กน้อยถึงพฤติกรรมของผู้เป็นตัวร้าย โดยสรุปว่า นั่นคือตัวอย่างของผู้ที่เจริญชีวิตโดยไม่สนใจเลี้ยงวิญญาณของตนให้เติบโตในทางที่ดี และถูกต้อง จึงทำ�ให้แสดงตนเป็นคนชั่วร้ายแบบนั้น - ให้ผู้สอนนำ�ภาพของนักแสดงบางคน ทั้งที่เป็นพระเอก นางเอก หรือตัวร้าย มาให้ผู้เรียนได้ดู บอกว่าเป็นภาพของใคร? ชอบเขาไหม? ถ้าชอบ เพราะอะไร? ถ้าไม่ ชอบ เพราะอะไร? - จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนอยู่ในความสงบนิ่งสักครู่ เพื่อให้แต่ละคนมีโอกาส พิจารณาถึงพฤติกรรมของตนว่า ส่วนใหญ่มักแสดงเป็น “พระเอก” “นางเอก” หรือ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


45

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

“ตัวร้าย” โดยให้พิจารณาต่อด้วยว่า เมื่อแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกไปนั้นรู้สึกอะไร บ้าง? เคยรู้สึกผิดบ้างไหม? เมื่อต้องตัดสินใจทำ�อะไรเคยคิดถึงคำ�สอนของพระเยซูเจ้า บ้างไหม? 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านพระวาจาบ่อยๆ และนำ�มาใช้จริงในทุกกรณีของชีวิต โดยให้แต่ละ คนนำ�ประสบการณ์ของการนำ�พระวาจาไปใช้มาเล่าสูก่ นั ฟังในการพบปะครัง้ ต่อไปด้วย 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้แต่ละคนยกมือขึ้นระดับไหล่ทั้งสอง ข้าง สวดภาวนา “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................

บัตรคำ� มะม่วง / พิซซ่า / ไอศครีม / เล่นเกม / ดูละครทีวี / คุยโทรศัพท์กับเพื่อน / สปาเก็ตตี้ / ไปเที่ยว / ฟังเพลง / อ่านหนังสือ / อ่านพระวรสาร / อ่านนวนิยาย / เล่นกับพี่หรือน้อง / เล่นกับเพื่อน / ไปดูภาพยนตร์ / สุกี้ MK / ช่วยพ่อหรือแม่ทำ�งาน / คุยกับพ่อหรือแม่ / ขนมหวาน / อยู่คนเดียวเงียบๆ / นินทาเพื่อน

ตัวอย่างภาพนักแสดง


46

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลสมรส

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ศีลสมรสคือศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ ที่ �ำ ให้ชายและหญิงผูร้ บั ศีลนีม้ พี นั ธะ และหน้าที่สามประการคือ เป็นหนึ่งเดียวกัน หย่าร้างไม่ได้และการให้กำ�เนิดบุตร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งใจเรียนและร่วมทำ�กิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่มอย่างดี สาระการเรียนรู ้ ศีลสมรสคือศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ทำ�ให้ความสัมพันธ์รักระหว่างคริสตชนชาย-หญิงศักดิ์สิทธิ์และแยกกันไม่ได้ ด้วยพันธะและหน้าที่ 3 อย่าง คือ 1) การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน 2) การหย่าร้างไม่ได้ 3) การให้กำ�เนิดและอบรมบุตร ให้เขาเติบโตเป็นคริสตชนที่ดี โดยคู่บ่าว-สาวเองคือศาสนบริกรของศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ และพระสงฆ์ทำ�หน้าที่พยานในฝ่ายของ พระศาสนจักร ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพคู่แต่งงานหลายๆ แบบให้ผู้เรียนดู (ตัวอย่างภาพท้ายแผน) โดย ในตอนแรกปล่อยให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกแบบอิสระจากการดูภาพ - ในขั้นต่อไปป้อนคำ�ถามให้ผู้เรียนช่วยกันตอบว่า ภาพเหล่านี้แสดงถึงความจริง ใด? โดยให้ผู้เรียนพยายามตอบคำ�ถาม ที่สุดให้ผู้สอนจับประเด็นสำ�คัญคือ หลังจากที่ ชายและหญิงมีความชอบพอและความรักต่อกันแล้ว ก่อนจะอยู่ด้วยกันเพื่อสร้าง ครอบครัว ทั้งทางด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านศาสนา ล้วนกำ�หนดให้ทั้งคู่และ ครอบครัวของเขาปฏิบัติตามแนวที่ถูกต้องคือ พิธีแต่งงาน ซึ่งแต่ละวัฒนธรรมและ ศาสนาก็ได้ก�ำ หนดวิธกี ารเฉพาะในแบบของตนทีแ่ ตกต่างกันไป ดังนัน้ เราคริสตชนก็ จำ�เป็นต้องเคารพกฎเกณฑ์นี้เช่นกัน - ผู้เรียนแต่ละคนคงจะเคยเห็นพิธีการแต่งงานแบบคริสต์มาแล้ว รู้สึกอย่างไร บ้าง? (เป็นวันที่น่าตื่นเต้นที่สุด... เป็นวันที่เจ้าสาวจะสวยที่สุด...เป็นวันที่ชื่นชมยินดี ทีส่ ดุ ...เป็นวันเริม่ ครอบครัวใหม่...ฯลฯ) แม้วา่ จะเป็นสิง่ ทีอ่ าจเห็นกันบ่อยๆ แต่ผเู้ รียน ทราบไหมว่าความหมายแท้จริงของพิธีแต่งงานหรือศีลสมรสนั้นคืออะไร? - ให้เรามาหาคำ�ตอบจากพระคัมภีร์และค้นคว้าดูว่าพระศาสนจักรสอนเกี่ยวกับ เรื่องนี้ว่าอย่างไร? 3 พระวาจา 1) งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (ยน 2 :1-10) สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี พระมารดาของ

ดูภาพท้ายแผน


47

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระเยซูเจ้าทรงอยู่ในงานนั้น 2พระเยซูเจ้าทรงได้รับเชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาใน งานนั้นด้วย 3เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขา ไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว” 4พระเยซูเจ้าตรัสว่า “แม่ครับ แม่ต้องการสิ่งใด เวลาของลูก ยัง มาไม่ถงึ ” 5พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่าน ทำ�อะไร ก็จงทำ�เถิด” 6ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำ�ระตามธรรมเนียมของชาว ยิว แต่ละใบจุน้ำ�ได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร 7พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้ว่า “จง ตักน้ำ�ใส่โอ่งให้เต็ม” เขาก็ตักน้ำ�ใส่จนเต็มถึงขอบ 8แล้วพระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จง ตักไปให้ผู้จัดงานเลี้ยงเถิด” เขาก็ตักไปให้ 9ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำ�ที่เปลี่ยนเป็นเหล้า องุ่นแล้ว ไม่รู้ว่าเหล้านี้มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำ�รู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้า บ่าวมา 10พูดว่า “ใครๆ เขานำ�เหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้ว จึงนำ�เหล้าองุ่นอย่างรองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้” 2) การสมรสหย่าร้างไม่ได้ (ลก 16:18) ‘ทุกคนที่หย่าร้างภรรยาและแต่งงานใหม่ก็ทำ�ผิดประเวณี และผู้ที่แต่งงานกับ หญิงที่หย่าร้างแล้วก็ทำ�ผิดประเวณีด้วย’

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาสองตอนที่ยกมานี้บอกชัดเจนถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่เผยทาง เรื่องราวของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการแต่งงานหรือศีลสมรส - เรื่องงานวิวาห์ที่คานา สามารถมองและเข้าใจในหลายประเด็น แต่ในที่นี้เราจะ มองในมุมของพิธสี มรสว่า พระเยซูเจ้าและพระมารดามารียเ์ สด็จไปร่วมพิธนี ี้ นัน่ ทำ�ให้ เราเข้าใจได้วา่ พระองค์ทรงรับรองว่าเป็นพิธที ดี่ ี ถูกต้อง เหมาะสม ไม่เพียงเท่านัน้ เมือ่ เจ้าภาพเกิดปัญหาที่จะต้องพบกับความอับอาย ทั้งสองพระองค์ก็ยื่นพระหัตถ์เข้าช่วย เหลือทันทีเพือ่ ให้งานวิวาห์นนั้ ดำ�เนินไปอย่างราบรืน่ และไม่ตอ้ งอับอายต่อหน้าแขกรับ เชิญ แม้พระเยซูเจ้าจะตรัสกับแม่พระว่ายังไม่ถึงเวลาของพระองค์ที่จะเริ่มทำ�อัศจรรย์ ก็ตาม แต่พระเยซูเจ้าก็ทรงยอมนบนอบต่อพระแม่ แม้การทำ�อัศจรรย์นั้นดูเหมือนจะ ไม่เกี่ยวข้องกับความรอดพ้นเท่าไรนัก - เรื่องการแต่งงานที่หย่าร้างไม่ได้ เป็นเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างชัดเจนถึง ผลของศีลสมรสซึง่ กลายเป็นพันธะถาวรสำ�หรับทุกคนทีร่ บั ศีลประการนี้ ในพระคัมภีร์ มีกล่าวถึงเรื่องนี้อยู่หลายตอน แต่ ณ ที่นี้ได้ยกตอนที่ชัดเจนและสั้นที่สุด

- ดังนั้น จึงเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่จะให้คริสตชนชาย-หญิงที่รักกันและ ปรารถนาจะมีชีวิตครอบครัวด้วยกันเข้ารับพิธีศีลสมรส เพราะการเข้าพิธีนี้จะทำ�ให้ คูบ่ า่ วสาวได้รบั พระพรเฉพาะของศีลนีอ้ นั จะช่วยให้พวกเขาสามารถถือตามสัญญาทีจ่ ะ ต้องซื่อสัตย์ไปจนตลอดชีวิตและทำ�หน้าที่สำ�คัญของพวกเขาซึ่งไม่ง่ายเลยอย่างดีที่สุด นั่นคือการอบรมบุตรและสร้างครอบครัวของตนให้เป็น “พระศาสนจักรระดับบ้าน” อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของการสร้างของพระเจ้า คือ ให้ ทุกคนบรรลุถึงความรอดพ้นทั้งฝ่ายกายและฝ่ายวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


48

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - สังคมปัจจุบันมักแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปไม่ได้ของพันธะแห่งศีลสมรส คือ การซือ่ สัตย์ตอ่ กันของคูแ่ ต่งงานจนตลอดชีวติ แต่เราทีเ่ ป็นคริสตชนต้องมีความเชือ่ และ ความเชื่อมั่นว่า นั่นคือสิ่งที่เป็นไปได้และคริสตชนเองต้องเป็นประจักษ์พยานถึงสิ่งที่ พระเจ้าทรงเรียกร้องนี้ แน่นอนโดยลำ�พังกำ�ลังของตนอาจเป็นไปไม่ได้เพราะธรรมชาติ ของมนุษย์นั้นอ่อนแอมาก แต่ในศีลสมรสพระเจ้าทรงประทานพระหรรษทานเฉพาะ ศีลแก่คู่บ่าวสาว อันจะทำ�ให้เขามีพลังที่จะปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้าได้จนถึง ทีส่ ดุ รวมถึงหน้าทีส่ �ำ คัญของผูเ้ ป็นบิดามารดาต่อบุตร คือ การเลีย้ งดู อบรมเขาให้เติบ โตเป็นคริสตชนที่ดี - ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามจำ�นวนที่เหมาะสม แล้วทำ�ใบงาน ที่ 1 โดยให้อ่าน คำ�ถามคำ�ตอบของข้อที่ 1 และ 2 อย่างดี แล้วค่อยตอบคำ�ถามในข้อที่ 3 โดยให้ผู้เรียน ทำ�โดยไตร่ตรองอย่างตั้งใจทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสซึมทราบสิ่งที่พระศาสนจักร สอนเกี่ยวกับเรื่องศีลสมรสเพื่อเป็นการใช้โอกาสนี้วางพื้นฐานถึงคุณค่าที่ถูกต้องเกี่ยว กับความสัมพันธ์ชายหญิงและเรื่องการแต่งงานอย่างถูกต้องด้านศาสนาและสังคม ซึ่ง จำ�เป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตครอบครัวที่ต้องมีการวางพื้นฐานเป็นอย่างดี เพื่อให้บุคคลและ ครอบครัวมีความสุข อีกทั้งทำ�ให้สังคมมีความเข้มแข็งด้วย

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งใจเรียนและร่วมทำ�กิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่มอย่างดี 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนวอนขอความช่วยเหลือจากพระมารดา มารีย์สำ�หรับบรรดาคู่แต่งงานโดยสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


49

ภาพ “การแต่งงาน”

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาของใบงานข้อ 1 และข้อ 2 จากนั้นให้ช่วยกันตอบคำ�ถามในข้อ ที่ 3 โดยให้เลขาฯ กลุ่มบันทึกคำ�ตอบ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนไปแบ่งปันคำ�ตอบของกลุ่ม หน้าชั้น 1. ผลของศีลสมรสคืออะไร? ทำ�ให้คู่บ่าวสาวเป็นสามีภรรยาอย่างถูกต้องต่อหน้าพระและต่อพระศาสนจักร อยู่ในชีวิตพระหรรษทาน มีพันธะที่มิอาจแยกจากกันได้ รับความช่วยเหลือพิเศษจากพระเจ้าที่จะรักกันอย่างซื่อสัตย์จนตลอดชีวิต สร้าง ครอบครัวคริสตชนใหม่ที่พร้อมจะให้กำ�เนิดบุตร อบรมเลี้ยงดูเขาแบบคริสตชน เป็นพยานประกาศความรักของ พระในความสมบูรณ์ครบครันของชีวิตครอบครัวของเขา 2. เพื่อจะรับศีลสมรสได้อย่างเหมาะสมต้องทำ�อย่างไรบ้าง? 2.1 ต้องอยู่ในสถานะพระหรรษทาน 2.2 รูจ้ กั หน้าทีข่ องสามี-ภรรยาแบบคริสตชน โดยเรียนคำ�สอนเตรียมตัวรับศีลสมรสอย่างดีจากพระสงฆ์ 2.3 ถือตามกฎหมายการแต่งงานของพระศาสนจักร 3. ให้ตอบคำ�ถามต่อไปนี้ 3.1 ตามกฎของพระศาสนจักร การจะเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องต้องทำ�อย่างไรบ้าง? 3.2 ผู้เรียนคิดอย่างไรเมื่อได้อ่านเกี่ยวกับผลของศีลสมรส? 3.3 ผู้เรียนประทับใจผลของศีลสมรสข้อใดมากที่สุด? เพราะเหตุใด? 3.4 ผู้เรียนคิดว่า ทำ�ไมพระศาสนจักรจึงกำ�หนดกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเคร่งครัดในเรื่องการแต่งงาน?


50

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลบรรพชา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ศีลบรรพชาคือศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ ที่ �ำ ให้เกิดมีศาสนบริกรผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์และสังฆานุกร เพื่อทำ�หน้าที่สอน ปกครองและทำ�ให้สัตบุรุษ ศักดิ์สิทธิ์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้สอนให้ความเคารพต่อศาสนบริกรของพระศาสนจักร เฉพาะอย่างยิ่ง พระสังฆราชและพระสงฆ์ สาระการเรียนรู ้ ศีลบรรพชาคือ ศีลศักดิส์ ทิ ธิท์ ที่ �ำ ให้เกิดศาสนบริกรผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องพระศาสนจักร คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร อาศัยการเจิมที่ประทับตราอันไม่รู้เลือนรางบนวิญญาณ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นสอน ปกครอง และทำ�ให้สัตบุรุษ ผู้เป็นประชากรของพระเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ในพระบุคคลของพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเศียร ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนดูคลิปหรือภาพพิธีบวชหรือการถือศีลในศาสนาต่างๆ เช่น พุทธ อิสลาม และคริสต์ จากนัน้ ให้ผเู้ รียนช่วยกันตอบคำ�ถามทีว่ า่ “พิธบี วชของศาสนาต่างๆ เหล่านีต้ า่ งกันอย่างไร?” “ความแตกต่างทีภ่ ายนอกคืออะไร และความแตกต่างทีแ่ ก่น แท้นั้นคืออะไร?” - ผู้สอนปล่อยให้ผู้เรียนเสนอคำ�ตอบอย่างอิสระ และหากอยากจะได้คำ�ตอบที่ ถูกต้อง คงต้องถามต่อไปว่า “ผลของศีลบรรพชามีอะไรบ้าง? เงื่อนไขสำ�คัญๆ ของ การบวชเป็นพระสงฆ์มีอะไรบ้าง?” - ให้เรามาค้นดูจากพระคัมภีร์และจากคำ�สอนของพระศาสนจักรว่ากล่าวถึงศีล บรรพชาว่าอย่างไรบ้าง? 3 พระวาจา : (ยน 20:21-23) พระองค์ตรัสกับเขาอีกว่า “สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด พระบิดา ทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น” ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงเป่าลม เหนือเขาทั้งหลาย ตรัสว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด บาป ของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับ การอภัยด้วย” 4 อธิบายพระวาจา - พระศาสนจักรได้เข้าใจถึงความหมายของพระวาจาและการกระทำ�ของพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะของพระศาสนจักรในทุกมิติชีวิต ในเรื่องของศีลบรรพชาก็

ดูภาพท้ายแผน


51

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เช่นกัน แม้พระเยซูเจ้าจะมิได้ทรงกล่าวหรือกระทำ�อย่างชัดเจนถึงพิธีศีลบรรพชาแต่ พระอาจาริยานุภาพของพระศาสนจักรก็ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระอาจารย์เจ้าได้ อย่างถูกต้องไม่มีสิ่งใดผิดพลั้ง - การเลือกอัครสาวก การแต่งตั้งให้พวกเขาออกไปเทศนาสั่งสอนและปกครอง บรรดาคริสตชนนั้นเป็นสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงบัญชาให้อัครสาวกและศิษย์กระทำ� อีกทั้ง ยังทรงบัญชาให้พวกเขากระทำ�ต่อไปจนกระทั่งสิ้นพิภพ - พระองค์ทรงเป็นดังนายชุมพาบาลที่เป็นเจ้าของฝูงแกะ เป็นคนเลี้ยงแกะ ดังนั้น พระองค์จะไม่ทรงทอดทิง้ บรรดาแกะของพระองค์อย่างเด็ดขาด ตรงกันข้าม แม้พระองค์ ไม่ทรงอยู่ในโลกนี้แล้ว พระองค์ก็ยังทรงมอบหมายหน้าที่นี้ให้แก่บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร ให้ท่านเหล่านั้นสืบสานเจตนารมณ์ของพระองค์ในการดูแล เลี้ยง “แกะ” เหล่านั้น - หน้าที่ที่พระเยซูเจ้าทรงมอบหมายให้แก่ “นายชุมพาบาล” ผู้สืบทอดงานต่อ จากพระองค์นนั้ เป็นกระแสเรียกและหน้าทีท่ ศี่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ เหตุวา่ พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระภารกิจของพระองค์จึงศักดิ์สิทธิ์ด้วย ผู้สืบทอดพระภารกิจนี้จึงต้องได้ รับการแต่งตัง้ ด้วยพิธศี กั ดิส์ ทิ ธิอ์ ย่างเป็นทางการ พิธนี นั้ จึงถูกเรียกว่า ศีลบรรพชา หรือ ศีลอนุกรม (ในอดีต)

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พิธีศีลบรรพชาเป็นพิธีที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นผู้กำ�หนดตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะมีความจำ�เป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลประชากรของพระองค์ บุคคลที่เข้ามารับหน้าที่ ศักดิ์สิทธิ์นี้จึงต้องเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรเป็นพิเศษ โดยได้รับการเตรียมตัวเป็น อย่างดีให้มีความพร้อมที่จะรับภารกิจอันสำ�คัญยิ่ง - บุคคลเหล่านี้ต้องได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์เฉพาะ ซึ่งเราเรียกว่า “ศีลบรรพชา” ทำ�ให้ ผู้รับศีลได้ชื่อว่าเป็น “ศาสนบริกร” ของพระเจ้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลำ�ดับคือ พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร แต่ละระดับจะได้รับภารกิจเฉพาะตามบทบาทหน้าที่ของ ระดับนั้นๆ - ผู้รับศีลบรรพชาจะได้รับการปกมือ การเจิมซึ่งจะเป็นการประทับตราฝ่ายจิตที่ ไม่มีวันเลือน พร้อมกับการสวดภาวนาด้วยบทสวดเฉพาะ โดยมีพระสังฆราชเป็น ประธานในพิธี - ทันทีที่ได้รับศีลบรรพชา ผู้รับศีลจะได้รับมอบหน้าที่สำ�คัญ 3 ประการจาก พระเยซูคริสตเจ้าด้วยคือ การเป็นสงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ โดยต้องกระทำ�หน้าที่ เหล่านั้นตามเจตนารมณ์ของพระองค์ - ผู้ได้รับศีลบรรพชา จะได้รับพระหรรษทานเฉพาะของศีล ซึ่งจะนำ�ผลเฉพาะมา สู่ผู้รับศีลด้วยคือ 1) การทวีพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร 2) ความช่วยเหลืออันจำ�เป็น ในการปฏิบตั หิ น้าทีศ่ าสนบริกรของท่าน 3) การประทับตราทีไ่ ม่รเู้ ลือนของการมีสว่ น ร่วมในพระสังฆภาพของพระคริสตเจ้า และอำ�นาจเหนือธรรมชาติที่พิเศษแก่พระสงฆ์ (การเสกปังและเหล้าองุ่นให้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสตเจ้าใน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


52

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

พิธีบูชาขอบพระคุณ และการอภัยบาปในศีลอภัยบาป)

- ดังนั้น เมื่อเราทราบถึงที่มา บทบาทหน้าที่ และผลของศีลบรรพชาแล้ว เราจะ เข้าใจได้ชัดเจนขึ้นว่า ผู้เข้ามารับศีลนี้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ศีลนี้กำ�หนดด้วยคือ 1) ผู้รับ ต้องอยู่ในสถานะพระหรรษทาน มีอุปนิสัยที่เหมาะสม 2) มีอายุและการศึกษาครบ ตามกำ�หนด 3) ต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะอุทิศชีวิตในศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์ 4) ต้องได้รับการเรียกให้มารับศีลบวชจากพระสังฆราชของตนหรือจากผู้ใหญ่ทาง ศาสนาโดยตรงของเขา - หากผู้สอนต้องการขยายเนื้อหาให้ละเอียดและชัดเจนกว่านี้ ก็สามารถค้นคว้า เพิ่มเติมได้จากหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1536-1600 - การเรียนรู้เรื่องศีลบรรพชาทำ�ให้เราทราบถึงความจริงเกี่ยวกับผู้รับศีลนี้ด้วยว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรให้มาเป็นตัวแทนของพระองค์ใน โลกนีเ้ พือ่ สืบทอดภารกิจการไถ่บาปของพระองค์ ผ่านทางงานอภิบาลในรูปแบบต่างๆ ของพระศาสนจักร ดังนั้น เราที่เป็นสัตบุรุษหรือประชากรของพระเจ้า จึงมีหน้าที่ให้ ความเคารพ ให้เกียรติ แด่ท่านเหล่านั้นอย่างเหมาะสม อีกทั้งเชื่อฟังและให้ความร่วม มือกับท่านในงานอภิบาลต่างๆ เป็นอย่างดี 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้ ส อนให้ ค วามเคารพต่ อ ศาสนบริ ก รของพระศาสนจั ก ร เฉพาะอย่ า งยิ่ ง พระสังฆราชและพระสงฆ์ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนตั้งใจสวดภาวนาจากใจแบบเงียบๆ สักครู่ โดยใส่จดุ ประสงค์เพือ่ องค์สมเด็จพระสันตะปาปา บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และผู้ปกครองในพระศาสนจักรทุกคน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................


53

ภาพ “พิธีบวชของศาสนาต่างๆ”

1. ใครคือผู้โปรดศีลนี้? พระสังฆราช คือศาสนบริกรของศีลบรรพชา 2. ผลของศีลบรรพชามีอะไรบ้าง? ทำ�ให้ผู้รับศีลได้รับ 1) การทวีพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร 2) ความช่วยเหลืออันจำ�เป็นในการปฏิบัติหน้าที่ศาสนบริกรของท่าน 3) การประทับตราที่ไม่รู้เลือนของการมีส่วนร่วมในพระสังฆภาพของพระคริสตเจ้า และอำ�นาจเหนือ ธรรมชาติที่พิเศษแก่พระสงฆ์ (การเสกปังและเหล้าองุ่นให้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู คริสตเจ้าในพิธีบูชาขอบพระคุณ และการอภัยบาปในศีลอภัยบาป) 3. เงื่อนไขสำ�คัญๆ ของการบวชเป็นพระสงฆ์มีอะไรบ้าง? 1) ผู้รับต้องอยู่ในสถานะพระหรรษทาน มีอุปนิสัยที่เหมาะสม 2) มีอายุและการศึกษาครบตามกำ�หนด 3) ต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะอุทิศชีวิตในศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์ 4) ต้องได้รับการเรียกให้มารับศีลบวชจากพระสังฆราชของตนหรือจากผู้ใหญ่ทางศาสนาโดยตรงของเขา


54

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลเจิมคนไข้

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ศีลเจิมคนไข้คือศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ทำ�ให้ผู้ป่วยได้รับสุขภาพและ พละกำ�ลังฝ่ายวิญญาณ บางครั้งก็ให้พละกำ�ลังแก่ร่างกายด้วยในกรณีที่ป่วยหนัก - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนช่วยดูแลรักษาสุขภาพของผูป้ ว่ ยในครอบครัวของตนหรือบุคคลใกล้บ้าน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างดี สาระการเรียนรู ้ ศีลเจิมคนไข้คือศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา ที่ให้สุขภาพและพละกำ�ลังแก่วิญญาณ แต่ในบางกรณี ที่ป่วยหนักก็อาจให้สุขภาพกายด้วย ผู้โปรดศีลนี้ได้มีแต่พระสงฆ์เท่านั้น ผลของศีลนี้คือ 1) เพิ่มพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร 2) ยกบาปเบา หรือบาปหนัก 3) ยกโทษชั่วคราวอันเนื่องมาจากบาปที่ยังไม่ได้รับการอภัย 4) ให้พลังแก่คนไข้ในการรับ ความทุกข์ทรมานและในการต่อสู้กับการประจญ 5) คืนสุขภาพร่างกายถ้าหากเป็นการดีสำ�หรับวิญญาณนั้น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการสนทนากับผู้เรียนโดยกล่าวว่า “ใครไม่เคยป่วยเลย ยกมือขึ้น” “เมื่อป่วยแล้วทำ�อย่างไร?” “ถ้าป่วยแล้วไม่รักษาจะเป็นอย่างไร?” “การป่วยของคน เรามีแบบ?” (ด้านร่างกายและจิตใจ) “มีใครทราบว่า ป่วยด้านจิตใจเป็นอย่างไร?” “ใน ครอบครัวของเราเคยมีใครป่วยหนักไหม?” “เมื่อมี​ีผู้ป่วยหนักมากๆ คนในครอบครัว จะทำ�อย่างไร?” “นอกจากพาผูป้ ว่ ยหนักไปรักษาทีโ่ รงพยาบาลแล้ว ยังมีการช่วยผูป้ ว่ ย ด้วยวิธีอื่นบ้างไหม?”... ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบทุกคน - คำ�ตอบต่างๆ ของผู้เรียนล้วนถูกต้องทั้งสิ้น แต่ให้ผู้สอนสังเกตว่า มีคำ�ตอบ ใดที่กล่าวถึง “ศีลเจิมคนไข้” บ้างหรือไม่? มิฉะนั้น ก็ให้ผู้สอนเปิดประเด็นนี้เอง โดย ให้ผเู้ รียนตัง้ ข้อสังเกตว่า ตามปกติเมือ่ เราไปร่วมมิสซาทีว่ ดั ในวันอาทิตย์เราจะเคยได้ยนิ คุณพ่อเจ้าวัดประกาศอยู่บ่อยๆ ว่าจะมีการส่งศีลให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมาวัดได้ เรา ทราบไหมว่า การไปส่งศีลเป็นประจำ�แบบนัน้ สำ�หรับผูป้ ว่ ยหนักบางคน คุณพ่อเจ้าวัด ก็โปรดศีลเจิมคนไข้ให้ด้วย - ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับศีลเจิมคนไข้มากน้อยเพียงใด? เราควรจะศึกษาเรื่อง ของศีลนี้ให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ปกติจะพูดถึงกันน้อยมาก

3 พระวาจา 1. ต่อมาอีกสองสามวัน พระเยซูเจ้าเสด็จกลับมาที่เมืองคาเปอรนาอุม เมื่อเป็น ทีร่ กู้ นั ว่าพระองค์ประทับอยูใ่ นบ้าน ประชาชนจำ�นวนมากจึงมาชุมนุมกันจนไม่มที วี่ า่ ง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


55

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ แม้กระทั่งที่ประตู พระองค์ประทานพระโอวาทสอนประชาชนเหล่านั้น ชายสี่คนหาม คนอัมพาตคนหนึง่ มาเฝ้าพระองค์ แต่เขานำ�คนอัมพาตนัน้ ฝ่าฝูงชนเข้าไปถึงพระองค์ไม่ ได้ เขาจึงเปิดหลังคาบ้านตรงที่พระองค์ประทับอยู่ แล้วหย่อนแคร่ที่คนอัมพาตนอนอยู่ ลงมาทางช่องนัน้ เมือ่ พระเยซูเจ้าทรงเห็นความเชือ่ ของคนเหล่านีจ้ งึ ตรัสแก่คนอัมพาต ว่า “ลูกเอ๋ย บาปของท่านได้รบั การอภัยแล้ว” ทีน่ นั่ มีธรรมาจารย์บางคนนัง่ อยูด่ ว้ ย เขา คิดในใจว่า “ทำ�ไมคนนี้จึงพูดเช่นนี้เล่า เขากล่าวดูหมิ่นพระเจ้า ใครเล่าอภัยบาปได้ นอกจากพระเจ้าเท่านั้น” ทันใดนั้น พระเยซูเจ้าทรงทราบความคิดของเขาด้วยพระจิต ของพระองค์ จึงตรัสว่า “ท่านทัง้ หลายคิดเช่นนีใ้ นใจทำ�ไม อย่างใดง่ายกว่ากัน การบอก คนอัมพาตว่า ‘บาปของท่านได้รับการอภัยแล้ว’ หรือบอกว่า ‘ลุกขึ้น แบกแคร่เดินไป เถิด’ แต่เพื่อให้ท่านรู้ว่า บุตรแห่งมนุษย์มีอำ�นาจอภัยบาปได้บนแผ่นดินนี้” พระองค์ ตรัสแก่คนอัมพาตว่า “เราสั่งท่าน จงลุกขึ้น แบกแคร่ กลับไปบ้านเถิด” เขาก็ลุกขึ้น แบกแคร่ออกเดินไปทันทีต่อหน้าคนทั้งปวง ทุกคนต่างประหลาดใจ ถวายพระเกียรติ แด่พระเจ้าและพูดว่า “พวกเรายังไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อนเลย” (มก 2:1-12) 2. พระเยซูเจ้าทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสตอบว่า “คนสบายดีไม่ต้องการหมอ แต่คน เจ็บไข้ตอ้ งการ เราไม่ได้มาเพือ่ เรียกคนชอบธรรม แต่เรามาเพือ่ เรียกคนบาป” (มก 2:17)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาสองตอนนี้มีความเกี่ยวโยงกับเรื่องศีลเจิมคนไข้อย่างไร? เราจะพบ ความเกี่ยวโยงได้จากการที่พระเยซูเจ้าทรงแสดงน้ำ�พระทัยของพระองค์ให้เห็นชัดเจน ว่า พระองค์ทรงเสด็จมาในโลกนีเ้ พือ่ มาหาผูท้ ปี่ ว่ ย ทรงต้องการรักษาเขาให้หายทัง้ ด้าน ร่ายกายและจิตใจ - จากพระวรสารเรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาตนั้น พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับเรื่องสุขภาพฝ่ายวิญญาณมากกว่าร่างกายเสียอีก เพราะทรงรักษาวิญญาณ ของคนอัมพาตด้วยการให้เขาได้รบั การอภัยบาปก่อนแล้วจึงทรงรักษาโรคฝ่ายร่างกาย ของเขาทีหลัง แม้วา่ จะทรงถูกตำ�หนิจากประชาชนทีเ่ ห็นเหตุการณ์วา่ “เขากล่าวดูหมิน่ พระเจ้า ใครเล่าอภัยบาปได้ นอกจากพระเจ้าเท่านั้น” ก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงเป็น ประจักษ์พยานถึงน้ำ�พระทัยของพระบิดาเจ้าต่อมนุษย์และแผนการแห่งความรอดพ้น นั่นก็คือ ทรงต้องการให้มนุษย์ได้รับความรอดพ้นทั้งวิญญาณและร่างกาย - แผนการแห่งความรอดพ้นนี้ ยังถูกแสดงออกมาอย่างชัดเจนผ่านทางพระวรสาร ตอนทีส่ อง ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า “คนสบายดีไม่ตอ้ งการหมอ แต่คนเจ็บไข้ตอ้ งการ เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่เรามาเพื่อเรียกคนบาป” เป็นพระวาจาที่แสดง ถึงความห่วงใยของพระองค์ตอ่ ผูเ้ จ็บป่วย ซึง่ ยังมีพระวรสารอีกมากมายหลายตอนทีเ่ ล่า ถึงอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�เพื่อรักษาคนเจ็บไข้โรคต่างๆ - พระเจ้าทรงพระเมตตากรุณาและทรงสงสารมนุษย์ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ทั้ง ด้านร่างกายและจิตใจ พระองค์ทรงทนดูความพินาศของมนุษย์ไม่ได้ พระองค์จึงทรง ให้ผู้ป่วยหนักได้รับพระหรรษทานและความบรรเทาอาศัย “ศีลเสบียง” ซึ่งช่วยให้ได้ รับ “การเตรียมตัวไปสู่บ้านเกิด” และทำ�ให้ “การจาริกแสวงบุญบนแผ่นดินโลกนี้ สมบูรณ์ไป”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


56

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อพระศาสนจักรซึ่งมีหน้าที่สืบทอดภารกิจต่อจากพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็น ศีรษะได้เข้าใจถึงพระประสงค์ของพระเจ้า จึงได้กำ�หนดให้การดูแลจิตวิญญาณของ ผูป้ ว่ ยหนักเป็นศีลศักดิส์ ทิ ธิป์ ระการหนึง่ นัน่ คือศีลเจิมคนไข้ ซึง่ ศาสนบริกรของศีลเจิม คนไข้มีแต่พระสงฆ์เท่านั้นที่โปรดได้ - การประกอบพิธีกรรมศีลเจิมคนไข้นั้นสามารถทำ�ได้ทั้งที่บ้าน โรงพยาบาลและ ที่วัด หากสภาพแวดล้อมเอื้ออำ�นวยจะเป็นการเหมาะมากหากจัดให้มีพิธีรับศีลเจิม คนไข้ระหว่างมิสซาด้วย โดยให้ผู้รับศีลมีโอกาสรับทั้งศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท เพราะจะเป็น “ศีลเสบียง” เพื่อ “การผ่าน” ไปสู่ชีวิตนิรันดร - ผลของศีลเจิมคนไข้มีดังนี้คือ 1) เพิ่มพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกร หรือในบาง กรณีกใ็ ห้ชวี ติ พระหรรษทานกลับคืนมา 2) ยกบาปเบา หรือบาปหนักถ้าผูป้ ว่ ยเป็นทุกข์ ถึงบาปแต่ไม่อาจสารภาพบาปได้ 3) ยกโทษชั่วคราวอันเนื่องมาจากบาปที่ยังไม่ได้รับ การอภัย 4) ให้พลังแก่คนไข้ในการรับความทุกข์ทรมานและในการต่อสูก้ บั การประจญ 5) คืนสุขภาพร่างกายถ้าหากเป็นการดีสำ�หรับวิญญาณนั้น - บุคคลใดบ้างควรต้องได้รับศีลเจิมคนไข้? * สัตบุรุษที่ป่วยหนักน่าอันตราย / ก่อนการผ่าตัด / คนชราที่อ่อนแอมาก / เด็กป่วยหนัก / คนไข้ที่หมดสติหรือไม่รู้ตัว * หากผู้ป่วยตายก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ควรภาวนาขอพระเจ้ายกบาป แต่ อย่าประกอบพิธีเจิม แต่ถ้าไม่แน่ใจว่า ผู้ป่วยตายแล้วหรือยัง จะประกอบพิธีศีลนี้แบบ มีเงื่อนไขก็ได้ * ศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ประกอบซ้ำ�ได้ ถ้าหลังรับศีลแล้วผู้ป่วยหายหรือฟื้นไข้ แต่ล้ม ป่วยใหม่หรือเป็นการเจ็บป่วยคราวเดียวกัน อาการกลับหนักขึ้นอีก - จะเห็นได้ว่า พระเจ้าโดยผ่านทางพระศาสนจักรของพระองค์ทรงดูแลเรา มนุษย์อย่างดีตั้งแต่เกิดจนถึงวาระสุดท้าย เราจึงต้องโมทนาคุณพระองค์ที่ทรงพระเมตตาอย่างใหญ่หลวงต่อเรา อีกทั้งควรจะช่วยผู้ป่วยในครอบครัวหรือบุคคลใกล้บ้าน ให้เขามีชีวิตอยู่โดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมานมากนัก ด้วยการอยู่ใกล้ชิดและการให้ ความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ตามที่ผู้เรียนสามารถทำ�ได้ 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนช่วยดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยในครอบครัวของตนหรือบุคคลใกล้บ้าน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างดี 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง โดยคิดถึงผู้ป่วยในครอบครัวของตนหรือคนที่รู้จัก และสวด ภาวนาเพื่อวอนขอพระพรแห่งความบรรเทาทุกข์แก่เขา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


57

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................


58

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง วิธีการภาวนาพระวาจา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการภาวนาด้วยพระวาจา เข้าใจความหมายและความสำ�คัญของ การภาวนาด้วยวิธีนี้ว่าเป็นการภาวนาโดยให้พระวาจาของพระเจ้านำ�ทางชีวิตของตน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนอ่านพระวาจาของพระเจ้าบ่อยๆ และฝึกปฏิบตั กิ ารภาวนาด้วยพระวาจา สาระการเรียนรู ้ การภาวนามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบการใช้บทสวดของพระศาสนจักรและการภาวนาแบบส่วนตัว ซึ่ง การภาวนาแบบส่วนตัวก็ยังมีหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน การภาวนาด้วยพระวาจาถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งที่มีความสำ�คัญมาก ซึ่งมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้คือ 1) ยอมรับว่าพระคัมภีร์คือพระวาจาของพระเจ้า 2) อ่านพระวาจาด้วยตนเอง 3) ศึกษาไตร่ตรอง พระวาจาที่อ่าน 4) สนทนากับพระเจ้าด้วยการภาวนา 5) นำ�พระวาจานั้นมาปฏิบัติจริงในชีวิต ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียนโดยตั้งภาพ “พระเยซูเจ้ากับพระคัมภีร์” ไว้ที่ ด้านหน้าของห้องเรียน จากนั้นให้ทุกคนเงียบสักครู่ แล้วให้ผู้สอนสวดด้วยคำ�ภาวนา จากใจ 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพ “ภาวนาพระคัมภีร์” มาให้ผู้เรียนดูทีละภาพ จากนั้นให้ผู้เรียน แสดงความคิดเห็นเกีย่ วกับภาพแบบอิสระ จากนัน้ ให้ผสู้ อนตัง้ คำ�ถามต่อว่า “มีใครเคย ภาวนาเป็นกลุ่มบ้าง?” “ใครเคยภาวนาเป็นกลุ่มแบบใช้พระคัมภีร์บ้าง?” “มีใครเคย ภาวนาพระคัมภีร์ด้วยตนเองบ้าง?” “มีใครไม่เคยภาวนาด้วยตนเองเลยบ้าง? เพราะ เหตุใด?” ฯลฯ โดยปล่อยให้ผู้เรียนตอบอย่างอิสระ

ดูภาพท้ายแผน

ดูภาพท้ายแผน

- เมื่อผู้เรียนได้ตอบกันพอสมควรแล้ว ให้ผู้สอนนำ�เข้าประเด็นว่า “พระคัมภีร์ หรือพระวาจาของพระเจ้ามีความสำ�คัญอย่างไรต่อการภาวนาของคริสตชน?” - เราสามารถสวดภาวนาโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจใช้อุปกรณ์ อะไรก็ได้ แต่การภาวนาด้วยพระวาจานั้นสำ�คัญและแตกต่างจากแบบอื่นอย่างไร? - ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้าเองได้ทรงให้ความสำ�คัญกับพระวาจาของพระเจ้า อย่างไร? 3 พระวาจา : (ลก 4:16-22) พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธ ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัย ใน วันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรมเช่นเคย ทรงยืนขึ้นเพื่อทรงอ่าน พระคัมภีร์ มีผู้ส่งม้วนหนังสือประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงคลี่ม้วน หนังสือออก ทรงพบข้อความที่เขียนไว้ว่า

ภาพพระเยซูเจ้าทรงอ่าน พระคัมภีร์


59

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า แล้วพระเยซูเจ้าทรงม้วนหนังสือส่งคืนให้เจ้าหน้าที่และประทับนั่งลง สายตา ของทุกคนทีอ่ ยูใ่ นศาลาธรรมต่างจ้องมองพระองค์ พระองค์จงึ ทรงเริม่ ตรัสว่า “ในวัน นี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” ทุกคนสรรเสริญ พระองค์และต่างประหลาดใจในถ้อยคำ�น่าฟังที่พระองค์ตรัส

4

อธิบายพระวาจา - เราทราบได้จากพระวรสารว่า พระเยซูเจ้าทรงภาวนาหลายครั้งขณะที่ทรงดำ�รง ชีวิตอยู่ในโลกนี้ บางครั้งทรงภาวนาแบบจากใจ แต่ในบางครั้งพระองค์ทรงแสดงให้ เห็นด้วยว่า พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับพระคัมภีร์เป็นอย่างมาก ดังที่เราเห็นจาก พระวรสารตอนทีย่ กมานี้ แม้พระองค์จะทรงมาในโลกนีเ้ พือ่ ทำ�ให้พระบัญญัตสิ มบูรณ์ ขึ้น แต่ไม่ทรงดูถูกสิ่งที่ถูกเขียนอยู่ในพระคัมภีร์ ตรงกันข้าม ทรงทำ�ให้ชาวยิวและเรา ทุกคนเห็นว่า พระองค์ไม่ทรงละเลยทีจ่ ะไปร่วมการอ่านพระคัมภีรแ์ ละทรงไปอ่านเอง ด้วยในบางโอกาส - จริงๆ แล้ว พระองค์ไม่จำ�เป็นต้องไปอ่านพระคัมภีร์ เพราะพระองค์เองทรง เป็นพระวาจาของพระเจ้าอยู่แล้ว แต่พระองค์ทรงปรารถนาจะทำ�หน้าที่ของชาวยิวที่ ดีและเพื่อประกาศให้ทุกคนได้ทราบว่า พระวาจานั้นได้สำ�เร็จไปในตัวของพระองค์ เองแล้ว - บ่อยครั้ง พระเยซูเจ้าทรงปรารถนาจะแสดงให้เราเห็นว่า พระคัมภีร์หรือ พระวาจาของพระเจ้ากับตัวของพระองค์นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมากเพียงใด?

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเราเข้าใจความปรารถนาของพระเยซูเจ้าแล้ว ให้เรามาพิจารณาดูต่อไปว่า เป็นการดีทหี่ ลายๆ ครัง้ เราภาวนาด้วยวิธแี บบต่างๆ รวมทัง้ แบบจากใจ แต่การภาวนา ด้วยพระวาจาก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เราควรจะเข้าใจถึงความหมายและความสำ�คัญ อีกทัง้ ควรจะฝึกปฏิบตั ใิ ห้ตดิ เป็นนิสยั ด้วย เพราะจะเป็นทางทีช่ ว่ ยให้เราค้นพบความจริง ของการเป็นคริสตชน ทำ�ให้เราเข้าใกล้ชิดพระมากขึ้นอาศัยการอ่านพระคัมภีร์และ การปฏิบัติชีวิตที่สอดคล้องกับน้ำ�พระทัยของพระเจ้ามากขึ้น

- แนวทางงานอภิบาลที่พระศาสนจักรได้เริ่มมานานพอสมควรแล้วคือ การสร้างวิถีชุมชนวัด (BEC) ซึ่งผู้เรียนควรจะทราบว่าแกนหลักของหมู่คณะนี้ก็คือ “การภาวนาด้วยพระวาจา” เพราะหากขาดซึง่ สิง่ นีแ้ ล้วหมูค่ ณะดังกล่าวก็จะไม่สามารถ มีตัวตนอยู่ได้เลย

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


60

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - แต่ก่อนจะแนะนำ�วิธีการภาวนาด้วยพระวาจาแบบกลุ่ม (ซึ่งก็ไม่ต่างกันมากนัก กับแบบส่วนตัว) ในที่นี้ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติแบบส่วนตัวเสียก่อน เพราะ ว่าการทำ�แบบส่วนตัวอย่างดีจะมีผลช่วยให้การทำ�แบบกลุ่มได้ผลดีมากขึ้นด้วย - ดังนัน้ ผูเ้ รียนจึงควรจะรูจ้ กั การภาวนาด้วยพระวาจาและฝึกปฏิบตั อิ ย่างสม่�ำ เสมอ เพื่อให้ความจริงของการสร้างวิถีชุมชนวัดเกิดขึ้นได้จริงทั้งในตัวเราแต่ละคนและใน ระดับวัด - วิธีการภาวนาด้วยพระวาจามีขั้นตอนหลักๆ อยู่ 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้น 1 “ยอมรับพระคัมภีร์” – เป็นการยอมรับด้วยใจจริงว่าพระคัมภีร์ เป็นพระวาจาของพระเจ้า (เป็นขั้นตอนที่จำ�เป็นมาก เพราะหากผู้หนึ่งไม่ยอมรับสิ่งนี้ แล้วจะไม่สามารถภาวนาแบบนี้ได้ พระคัมภีร์มิใช่เป็นเพียงหนังสือที่เล่าถึงพระเจ้า กิจการหรือแผนการแห่งความรอดพ้นของพระองค์เท่านั้น แต่พระคัมภีร์ตามสารบบ ของพระศาสนจักรนั้นได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วว่าเป็นพระวาจาของ พระเจ้าเองที่ไม่มีวันผิดพลั้งอย่างเด็ดขาด การยอมรับว่าพระคัมภีร์เป็นพระวาจาของ พระเจ้าอย่างแท้จริงนัน้ จะนำ�มาซึง่ การให้เกียรติ ความเคารพและการเทิดทูนอย่างถูก ต้องเหมาะสมต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นท่าทีพื้นฐานที่จำ�เป็นของการภาวนา) 2. ขั้น 2 “อ่านพระคัมภีร์” – อ่านพระวาจาด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้จำ�เป็น อย่างยิง่ เพราะจะหยิบยืน่ หรือทำ�แทนกันไม่ได้ (การอ่านพระคัมภีรส์ �ำ หรับผูป้ รารถนา จะภาวนาด้วยพระวาจา เป็นการแสดงถึงความตั้งใจที่จะตั้งตนอยู่เฉพาะพระพักตร์ พระเจ้าด้วยความพร้อมที่จะฟังสิ่งที่พระองค์จะตรัสแก่ตน เปิดใจรับฟังทุกอย่างจาก พระองค์ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสอน การติเตียน การแนะนำ� การชมเชย ฯลฯ ที่สำ�คัญ คือ เป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะกับพระองค์ผู้กำ�ลังตรัสบางอย่างกับเรา)

3. ขั้น 3 “ศึกษาพระคัมภีร์” – ศึกษาไตร่ตรองพระคัมภีร์ หลังจากที่ได้ อ่านแล้ว (พระวาจาของพระเจ้าทีไ่ ด้อา่ นหรือฟังด้วยจิตใจนัน้ เป็นสิง่ ทีถ่ กู เขียนขึน้ เมือ่ สองพันกว่าปีก่อนแล้ว ดังนั้นจึงมีบางอย่างที่เราซึ่งเป็นคนยุคนี้อาจเข้าใจยากหรือไม่ ชัดเจน จึงจำ�เป็นต้องมีการศึกษาเพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้องลึกซึ้งมากขึ้น เพราะอันที่ จริงแล้วพระวาจาเป็นดาบสองคมที่จำ�เป็นต้องได้รับการอธิบายหรือตีความอย่างถูก ต้อง การเข้าใจพระวาจาอย่างผิดๆ จะนำ�ผลเสียกับผู้อ่านเป็นอย่างมาก ในขั้นตอนนี้ จึงควรจะเตรียมคำ�อธิบายของพระวาจาตอนทีไ่ ด้เลือกไว้ลว่ งหน้าเพือ่ ช่วยให้เข้าใจมาก ขึ้น ซึ่งผู้สอนควรเตรียมไว้ให้หรืออาจแนะนำ�แหล่งที่ผู้เรียนสามารถไปค้นคว้าด้วย ตนเองได้)

4. ขั้น 4 “ภาวนาพระคัมภีร์” – เมื่อได้เข้าถึงพระวาจาจริงๆ หลังจาก ที่ได้อ่านพระวาจาแล้ว จะมีการตอบรับหรือสนทนากับพระเจ้าด้วยการภาวนา (จะ เป็นขั้นตอนของการพบปะในส่วนลึกของจิตใจระหว่างผู้ภาวนากับพระเจ้า หากมี การเปิดจิตใจกับพระเจ้าและปล่อยให้พระองค์ทรงนำ�ด้วยพระวาจาของพระองค์ ผูใ้ ดทีม่ าถึงขัน้ นีแ้ น่นอนว่าการได้พบกับพระเจ้าจะนำ�การเปลีย่ นแปลงมาสูจ่ ติ ใจของ เขา เพราะพระองค์จะไม่ทรงปล่อยให้ผพู้ บกับพระองค์ตอ้ งคงอยูใ่ นสภาพเดิม แต่จะ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


61

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ทรงช่วยให้เขาเข้าใจสภาพจิตวิญญาณของตนเองและรูส้ กึ ถึงความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องแก้ไข ปรับเปลีย่ นและพัฒนาตนเองให้ดขี นึ้ กว่าเดิมอยูต่ ลอดเวลา เพราะพระเจ้าทรงต้องการ ให้ลูกของพระองค์เจริญชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์จนบรรลุขั้นสมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ) 5. ขั้น 5 “ดำ�เนินชีวิตพระคัมภีร์” – การนำ�พระวาจาเข้าสู่ชีวิตทุกลม หายใจ ด้วยการนำ�มาใช้ในทุกโอกาสของชีวิต (เป็นผลมาจากขั้นตอนที่ 4 กล่าวคือ การพบกับพระเจ้านำ�มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงชีวิต ไม่ใช่แบบนามธรรมแต่ต้องเป็นรูป ธรรมมากที่สุด มิฉะนั้นจะยังไม่เป็นการพบปะกับพระเจ้าอย่างแท้จริง ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ จะไม่ส�ำ คัญตนผิดว่าเขาเป็นคนดีแล้ว แต่เขาจะสำ�นึกอยูเ่ สมอว่าตนยังต้องเปลีย่ นแปลง ในทางที่ดีขึ้นอยู่เสมอ จะหยุดทำ�ดีหรือหยุดเป็นคนดีไม่ได้ เขาจะยึดแนวทางปฏิบัติที่ ได้จากการภาวนาด้วยพระวาจานี้เองเป็นกฎเกณฑ์แห่งการเจริญชีวิต)

- ผู้สอนควรอธิบายแต่ละขั้นตอนให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างละเอียด จากนั้นควรให้ ผูเ้ รียนมีเวลาเพียงพอในการฝึกปฏิบตั ใิ นห้องเรียนด้วย เพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถนำ�ไป ปฏิบัติเองแบบส่วนตัวได้ - หากเป็นไปได้ ผู้สอนควรจะให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการภาวนาแบบนี้หลายๆ ครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจว่าจะทำ�ด้วยตนเองได้ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านพระวาจาของพระเจ้าบ่อยๆ และฝึกปฏิบัติการภาวนาด้วยพระวาจา 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ต่อหน้าภาพ “พระเยซูเจ้ากับพระคัมภีร์” จากนั้นให้ ตัวแทนผูเ้ รียนบางคนนำ�สวดภาวนาจากใจ จากนัน้ ให้ทกุ คนสวด “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกันด้วยสมาธิอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


62

ภาพ “พระเยซูเจ้ากับพระคัมภีร์”

ภาพ “พระเยซูเจ้าอ่านพระคัมภีร์”

ภาพ “ภาวนาพระคัมภีร์”


63

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง กฎจริยธรรม : ความสำ�คัญ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงตรากฎจริยธรรมไว้ในใจของมนุษย์ทุกคน เพื่อ ช่วยให้เขาดำ�เนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง อาศัยมโนธรรมที่ถูกต้องและเที่ยงตรง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนหมั่นพิจารณามโนธรรมของตนเองทุกคืนก่อนนอน สาระการเรียนรู ้ กฎจริยธรรมคือกฎหมายของพระเจ้าที่ใช้ตราไว้ในใจของมนุษย์ เพื่อช่วยควบคุมความประพฤติให้อยู่ใน หนทางที่ถูกต้องอาศัยเสียงของมโนธรรมที่ถูกต้องและเที่ยงตรง เป็นกฎธรรมชาตินิรันดรที่ได้รับการไขแสดงจากพระเจ้า ซึ่ง มีลักษณะเป็นสากล เด็ดขาด และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามในใบงานที่ 1 พร้อมๆ กันว่า การกระทำ�นั้นถูก หรือผิด โดยให้ท�ำ อย่างรวดเร็ว และผูส้ อน (หรือตัวแทนผูเ้ รียน) บันทึกคำ�ตอบของเสียง ส่วนใหญ่ไว้ที่บอร์ดหน้าชั้นทีละข้อ - ผลจากการทำ�ใบงานนี้จะทำ�ให้เข้าใจว่า มนุษย์เรามีกฎหนึ่งฝังอยู่ในส่วนลึก ของจิตใจ เป็นกฎธรรมชาติแห่งความรู้ดีรู้ชั่วซึ่งพระเจ้าทรงประทานให้แก่แต่ละคน ตั้งแต่เกิด - แต่เหตุไฉนคำ�ตอบของผู้เรียนจึงแตกต่างกัน ไม่ใช่ทุกคนที่ตอบเหมือนกัน? ความแตกต่างนีม้ าจากไหน? และคำ�ตอบใดเล่าคือคำ�ตอบทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ ? เราจะนำ�เอา กฎเกณฑ์ใดมาวัดความถูกต้องเที่ยงตรงของคำ�ตอบเหล่านี้?... - ด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นเจ้าของการกระทำ�ของตนเองเพราะเรามีเสรีภาพ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบทุกการกระทำ�ของตน แต่ในฐานะที่เราเป็นคริสตชน เราต้อง รับผิดชอบแต่ละการกระทำ�ของเราบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ใด? - ให้มาดูกันว่า พระเยซูเจ้าทรงให้ความสำ�คัญต่อกฎเกณฑ์หรือบทบัญญัติ อย่างไรบ้าง? 3 พระวาจา 1) “จงอย่าคิดว่าเรามาเพื่อลบล้างธรรมบัญญัติหรือคำ�สอนของบรรดาประกาศก เรามิได้มาเพือ่ ลบล้าง แต่มาเพือ่ ปรับปรุงให้สมบูรณ์ เราบอกความจริงแก่ทา่ นทัง้ หลาย ว่า ตราบใดที่ฟ้าและดินยังไม่สูญสิ้นไป แม้แต่ตัวอักษรหรือจุดเดียวจะไม่ขาดหาย ไปจากธรรมบัญญัติจนกว่าทุกอย่างจะสำ�เร็จไป ดังนั้น ผู้ใดละเมิดธรรมบัญญัติ

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


64

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพียงข้อเดียว แม้เล็กน้อยที่สุดและสอนผู้อื่นให้ละเมิดด้วย จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ต่ำ�ต้อย ที่สุดในอาณาจักรสวรรค์ ส่วนผู้ที่ปฏิบัติและสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติด้วย จะได้ชื่อว่าเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ในอาณาจักรสวรรค์” (มธ 5:17-19) 2) “ผู้ใดเป็นเหตุให้คนธรรมดาๆ ที่มีความเชื่อในเราทำ�บาป ถ้าเขาจะถูกแขวน คอด้วยหินโม่ถ่วงลงใต้ทะเล ก็ยังดีกว่าสำ�หรับเขา” (มธ 18:6)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้สอนให้เราเห็นชัดเจนถึงพระดำ�ริของพระเยซูเจ้าเกี่ยวกับเรื่อง กฎเกณฑ์หรือบทบัญญัติต่างๆ แม้พระองค์จะตรัสว่า ทรงมาเพื่อปรับปรุงให้ธรรม บัญญัติสมบูรณ์ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงต้องการทำ�ลายล้างบทบัญญัติเดิม ตรงกันข้าม พระองค์ทรงมีความเคารพต่อบทบัญญัติเหล่านั้น เพราะทรงตรัสว่า “ตราบใดที่ฟ้า และดินยังไม่สญ ู สิน้ ไป แม้แต่ตวั อักษรหรือจุดเดียวจะไม่ขาดหายไปจากธรรมบัญญัติ จนกว่าทุกอย่างจะสำ�เร็จไป” - พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎบัญญัติโดย ทรงชมเชยคนที่ปฏิบัติและสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติว่า เขาจะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในอาณาจักร สวรรค์ นี่ไม่ใช่สิ่งเล็กน้อยเลยเพราะบางคนมักคิดว่า “ให้ฉันได้เข้าไปแค่ขอบสวรรค์ ก็พอแล้ว” - ในทางตรงกันข้าม พระองค์ทรงกล่าวถึงผู้ที่ละเมิดและชักชวนให้คนอื่นละเมิด กฎบัญญัติว่า เขาไม่เพียงจะเป็นแค่ผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดในอาณาจักรสวรรค์เท่านั้น แต่ควร “จะถูกแขวนคอด้วยหินโม่ถ่วงลงใต้ทะเล” เสียจะดีกว่า - พระวาจาดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่า การปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระเจ้านั้นสำ�คัญ เพียงใด ซึ่งกฎบัญญัติของพระเจ้านั้นได้จารึกอยู่ในกฎจริยธรรมนั่นเอง

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - แน่นอน กฎจริยธรรมของพระเจ้าไม่ใช่สิ่งเดียวกับกฎหมายบ้านเมือง เพราะ กฎหมายบ้านเมืองเป็นสิ่งที่ถูกตราด้วยฝีมือของมนุษย์ แต่กฎจริยธรรมเป็นสิ่งที่มา จากพระเจ้า ได้รับการไขแสดงจากพระองค์ จึงมีลักษณะเป็นสากล เด็ดขาด และ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ - ได้รับการไขแสดง หมายความว่า เป็นพระเจ้าเองที่ทรงเปิดเผยพระประสงค์ ของพระองค์ผา่ นทางกฎเหล่านี้ ความเป็นสากล หมายความว่า สำ�หรับมนุษย์ทกุ คน ความเด็ดขาด หมายความว่า จำ�เป็นต้องถือตามโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความว่า ไม่มีใครมีอำ�นาจที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้ - เมื่อพิจารณาลักษณะดังที่กล่าวมานี้จะพบว่า กฎจริยธรรมนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ ในตัวเอง เพราะมาจากพระเจ้า การปฏิบัติตามกฎนี้จึงเป็นการกระทำ�ที่สอดคล้องกับ น้ำ�พระทัยของพระเจ้า ดังนั้น แต่ละคนจึงใช้กฎจริยธรรมนี้กับการกระทำ�ของตนผ่าน ทางมโนธรรมของตน - แต่หากเราถามว่า มโนธรรมของทุกคนถูกต้องหรือไม่? ก็ต้องตอบว่า ไม่ใช่

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


65

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ทุกคนที่มีมโนธรรมถูกต้อง เพราะมโนธรรมของมนุษย์ไม่ใช่ตัวกำ�หนดกฎจริยธรรม แต่เป็นมโนธรรมที่ช่วยให้เราเอากฎจริยธรรมของพระเจ้ามาใช้ในการกระทำ�ต่างๆ ของเราต่างหาก - มโนธรรมที่ผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องเที่ยงตรงเกิดจากการรู้สิ่งที่ผิดๆ การไม่ได้อบรม มโนธรรมในความถูกต้อง จึงทำ�ให้เกิดการตัดสินแบบถูกเป็นผิดและผิดเป็นถูกได้ ผูท้ มี่ มี โนธรรมเช่นนีย้ อ่ มยากทีจ่ ะเจริญชีวติ ให้สอดคล้องกับกฎจริยธรรมได้ ดังนัน้ เขา อาจทำ�ผิดพลาดบ่อยๆ ทำ�ให้ต้องได้รับโทษทัณฑ์ ฯลฯ นี่คือลักษณะของคนที่เห็นผิด เป็นชอบ เขาจึงไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดีขึ้น ชีวิตก็มีแต่จะตกต่ำ�ลง เรื่อยๆ... กลายเป็นคนน่าสงสารมาก - ด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับกฎจริยธรรมและ เรื่องของมโนธรรม เพราะเป็นจุดเริ่มต้นสำ�คัญที่เป็นเหตุแห่งความสุขและความทุกข์ ของตัวเราเองแต่ละคน - สิ่งที่กล่าวมานี้อาจทำ�ให้เรารู้สึกหวาดหวั่น เพราะมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ความสุข ความทุกข์ของเราทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า และเราทุกคนคงปรารถนาจะ ดำ�รงชีวิตอย่างราบรื่นด้วยความสุข - ดังนั้น ขณะนี้ที่ผู้เรียนยังอยู่ในวัยเรียน ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น เราควรจะอบรม ฝึกฝนตนเองให้มมี โนธรรมทีถ่ กู ต้องเทีย่ งตรงอยูเ่ สมอ สิง่ หนึง่ ทีช่ ว่ ยให้เราบรรลุได้คอื การฝึกพิจารณามโนธรรมอยูเ่ สมอ เป็นต้น ในเวลาก่อนนอน ด้วยการไตร่ตรองตนเอง อย่างซื่อสัตย์จริงใจว่า ในวันที่ผ่านมานี้ได้ทำ�สิ่งดีถูกต้องอะไรบ้าง? และมีสิ่งใดบ้างที่ ได้ทำ�ผิดพลาดบกพร่อง ควรแก้ไขปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมในวันต่อไป ในเวลาเดียวกัน ก็ให้โมทนาคุณพระสำ�หรับสิ่งดีๆ ที่ได้ทำ� และขออภัยโทษต่อพระสำ�หรับความบาป ผิดต่างๆ ด้วยเช่นกัน 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนหมั่นพิจารณามโนธรรมของตนเองทุกคืนก่อนนอน

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้แต่ละคนฝึกพิจารณามโนธรรมของตนเอง สักครู่ จบแล้วให้ร้องเพลง “จงขอบพระคุณพระเป็นเจ้า เพราะพระองค์พระทัยดี” พร้อมกัน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................


66

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง -ให้ผู้สอนอ่านคำ�ถามทีละข้อ (อย่างรวดเร็ว) แล้วให้ผู้เรียนตอบพร้อมๆ กันทันทีหลังจากคำ�ถาม แต่ละข้อว่าการกระทำ�นั้นถูกหรือผิด โดยให้มีการบันทึกคำ�ตอบของเสียงส่วนใหญ่ในแต่ละข้อไว้ที่ บอร์ดหน้าชั้นด้วย

1. ฉันชอบปลาสวยงามข้างบ้านมาก เลยไปตักมันมาเลี้ยงอย่างดี 2. ฟ้ารักแฟนของเขามาก เลยย้ายไปอยู่กับเขา เพราะบ้านอยู่ใกล้กัน 3. ณเดชมีฐานะดี จึงให้เงินขอทานบ่อยๆ 4. ไมค์ไม่ชอบเรียนหนังสือ จึงลอกการบ้านเพื่อนทุกวัน 5. บ้านของสุดายากจน แต่เขาใช้เงินฟุ่มเฟือยมาก 6. แดง (เป็นคาทอลิก) เป็นคนขยันเรียนมาก จึงไม่เคยไปร่วมมิสซาวันอาทิตย์เลย 7. นพทะเลาะพ่อแม่ทุกครั้งที่ให้เงินเขาใช้น้อย 8. กานดามักกลับจากโรงเรียนช้า เพราะไปช่วยดูแลป้าที่ป่วยหนัก 9. ญาญ่าเป็นคนเรียนเก่งมาก จึงใช้ทุกวันหยุดไปดูหนังกับแฟน 10. คิมไม่เคยมีเงินเหลือเลย เพราะเขาชอบเล่นไพ่


67

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณค่าของความบริสุทธิ์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความบริสุทธิ์คือคุณค่าสำ�คัญตามแนวทางพระวรสารที่ คริสตชนพึงรักษาไว้ตามสถานะของตน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนรักษาร่างกายและจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่ปฏิบัติสิ่งชั่วร้าย ต่างๆ สาระการเรียนรู้ ความบริสุทธิ์คือคุณค่าพระวรสารประการหนึ่งที่สำ�คัญสำ�หรับคนเราในยุคนี้มาก เพราะปัจจุบันคุณค่า พระวรสารหลายประการถูกมองข้ามและถือว่าไม่สำ�คัญจึงละเลยการปฏิบัติ เฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับคริสตชนเองด้วย แต่ใน ความเป็นจริงแล้วไม่มีคุณค่าพระวรสารประการใดที่คริสตชนสามารถละเลยได้เพราะพระเจ้าทรงเรียกร้องการปฏิบัติตาม พระบัญญัติของพระองค์ ความบริสุทธิ์ที่พระเยซูเจ้าต้องการให้เราปฏิบัตินั้นมิใช่เรื่องของการไม่ปฏิบัติสิ่งอุลามกเท่านั้น แต่ หมายถึงการไม่ปฏิบัติสิ่งชั่วร้ายทุกชนิดที่ทำ�ให้ร่างกายและวิญญาณของเราต้องแปดเปื้อนด้วยบาป ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงานที่ 1 แต่เพื่อให้ได้ข้อมูลตามความเป็นจริงจึงให้ ผู้เรียนตอบโดยคิดว่าผู้กระทำ�คือคนอื่น อาจเป็นเพื่อนหรือใครก็ได้ โดยไม่ต้องเป็นตัว เอง ทั้งนี้ เพื่อให้ได้คำ�ตอบตรงตามความเป็นจริงที่สุด (หากตอบด้วยตนเองอาจจะไม่ ได้ข้อมูลตามความจริง) - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นำ�ทุกคำ�ตอบมารวบรวมจำ�นวนบน กระดานหน้าชั้น จนเมื่อได้สถิติของทุกข้อแล้ว ผู้สอนจึงตั้งข้อสังเกตให้ผู้เรียนเห็นว่า โดยแนวโน้มตามธรรมชาติของเรานั้น มักจะเลือกทำ�สิ่งดีหรือไม่ดี? - ให้ผู้สอนถามผู้เรียนต่อไปอีกว่า เพราะเหตุใดข้อมูลจึงออกมาเป็นแบบนี้? นอกจากเด็กและวัยรุน่ แล้ว คนทีเ่ ป็นผูใ้ หญ่มพี ฤติกรรมแตกต่างจากเด็กและวัยรุน่ มาก หรือไม่? หรือว่าอาจจะใกล้เคียงกัน? อะไรน่าจะเป็นสาเหตุของสิ่งนี้? - พฤติกรรมแบบนี้สอดคล้องกับความเป็นคริสตชน ศิษย์ของพระเยซูเจ้าหรือไม่? พระอาจารย์เจ้าได้ตรัสว่าอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้? ให้เรามาดูกัน 3 พระวาจา : (มธ 15:10-20) พระเยซูเจ้าทรงเรียกประชาชนเข้ามา ตรัสว่า “จงฟังและเข้าใจเถิด สิ่งที่เข้าไป ทางปากไม่ท�ำ ให้มนุษย์มมี ลทิน แต่สงิ่ ทีอ่ อกมาจากปากต่างหากทำ�ให้มนุษย์มมี ลทิน”

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


68

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

บรรดาศิษย์จึงเข้ามาทูลถามพระองค์ว่า “พระองค์ทรงทราบหรือไม่ว่าพวกฟาริสี ไม่พอใจเมื่อได้ยินคำ�นี้” พระองค์ทรงตอบว่า “ต้นไม้ทุกต้นที่พระบิดาของเราผู้สถิต ในสวรรค์มไิ ด้ทรงปลูกไว้ จะถูกถอนทิง้ เสีย ปล่อยเขาเถิด เขาเป็นคนตาบอดทีน่ �ำ ทาง คนตาบอดด้วยกัน ถ้าคนตาบอดนำ�ทางคนตาบอด ทั้งสองคนก็จะตกลงไปในคู” เปโตรทูลพระองค์ว่า “โปรดอธิบายข้อความที่เป็นปริศนานี้เถิด” พระเยซูเจ้า ทรงตอบว่า “ท่านก็ไม่เข้าใจด้วยหรือ ท่านไม่เข้าใจหรือว่าสิ่งต่างๆ ที่เข้าไปในปาก ย่อมลงไปในท้อง แล้วออกไปจากร่างกาย แต่สิ่งที่ออกมาจากปากนั้น ออกมาจากใจ สิ่งเหล่านี้แหละ ทำ�ให้มนุษย์มีมลทิน ใจเป็นที่เกิดของความคิดชั่วร้าย การฆ่าคน การประพฤติผิดทางเพศ การผิดประเวณี การลักขโมย การเป็นพยานเท็จ การใส่ร้าย การกระทำ�เหล่านี้ทำ�ให้มนุษย์มีมลทิน ส่วนการกินโดยไม่ล้างมือ ไม่ทำ�ให้มนุษย์มี มลทิน”

4

อธิบายพระวาจา - จากพระวรสารตอนนี้ พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราเข้าใจถึงคุณค่าของความบริสทุ ธิ์ เป็นความหมายในแง่กว้าง นั่นคือ เป็นความบริสุทธิ์ของร่างกายและจิตใจที่ไม่แปด เปื้อนด้วยมลทินบาปใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งในเรื่องของบาปอุลามกและบาปอื่นๆ - พระเจ้าทรงสร้างเรามนุษย์มาเพื่อให้มีความสุขนิรันดรกับพระองค์ แต่มีเงื่อนไข เดียวที่มนุษย์จะบรรลุถึงความจริงนั้นได้คือ เราต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ บาป แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำ�ให้จิตใจของมนุษย์ไม่บริสุทธิ์แล้ว พระเยซูเจ้าจึงทรงต้องสอน อย่างชัดเจนถึงคุณค่าของความบริสทุ ธิ์ ทีค่ นเราในปัจจุบนั มักละเลยความจริงข้อนี้ จึง ทำ�บาปกันมากมายแล้วยังคิดว่าตนเป็นคนดีอยู่ตลอดเวลา - จิตใจคือบ่อเกิดของความดีและความชั่ว หากคนหนึ่งทำ�ความชั่วก็ไม่สมควรจะ โทษผู้อื่นเพราะตนเองคือผู้เลือกจะกระทำ�ด้วยตนเอง สิ่งที่มาจากภายนอกนั้นไม่ สามารถจะบังคับให้เราเลือกทำ�ดีหรือชั่วได้ มันอาจเชื้อเชิญแต่บังคับไม่ได้ เป็นตัวเรา เองต่างหากที่เป็นเจ้านายของการกระทำ�ของตนเอง - หากตัวเรามีความหนักแน่นแล้ว เราก็คงจะมีวิจารณญาณพอควรที่จะดูออกว่า ใครคือผู้ที่เราควรจะเลือกเป็นผู้นำ�หรือแนะนำ�ทางชีวิตของเรา เราคงจะไม่เลือกคนที่ ตาบอดมานำ�ทางในความมืด พระเยซูเจ้าทรงกล่าวถึงเรือ่ งนีเ้ พือ่ จะสอนเรือ่ งฝ่ายจิตใจ มากกว่า เพราะความรอดพ้นฝ่ายวิญญาณนั้นสำ�คัญยิ่งกว่าฝ่ายร่างกายอย่างเปรียบ เทียบกันไม่ได้เลย

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากเปรียบเทียบคำ�สอนของพระเยซูเจ้าและผลจากการทำ�ใบงานที่ 1 เราจะพบ ว่า พฤติกรรมของเรากับสิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอนให้กระทำ�นัน้ มีความต่างหรือเหมือน กันมากเพียงใด?

- ผูส้ อนให้ผเู้ รียนนำ�ใบงานที่ 1 มาทำ�อีกครัง้ หนึง่ โดยในครัง้ นีใ้ ห้ขดี เครือ่ งหมาย / หน้าข้อที่เป็นพฤติกรรมของตนเอง โดยให้ผู้เรียนทราบว่าผลการตอบใบงานครั้ง นี้จะเป็นความลับเฉพาะบุคคล ไม่ต้องมีการส่งหรือรายงานแต่ประการใด

ใช้ใบงานที่ 1 ท้ายแผน


69

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ทุกคนนั่งสงบนิ่งสักครู่ มองดูใบงานที่อยู่ต่อ หน้าตนเอง แล้วไตร่ตรองว่า การกระทำ�เช่นนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว? ดีแล้ว? ถูก ต้องแล้ว? ใช่หรือไม่? มีบางข้อไหมที่ทำ�ให้รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง? หรือมีข้อไหน บ้างที่ทำ�ให้รู้สึกต้องละอายแก่ใจ? หากจะต้องนำ�ผลของใบงานนี้ไปอวดคนอื่น เราจะ กล้าหรือไม่? - จากนั้น ให้ผู้เรียนสงบนิ่งพิจารณาต่อไปว่า สมมติว่าเราต้องตายไปในตอนนี้ ผลการกระทำ�ข้อใดบ้างทีจ่ ะทำ�ให้เราเหมาะสมจะไปสวรรค์? มีขอ้ ใดบ้างทีเ่ ป็นอุปสรรค ทำ�ให้เราไปสวรรค์ไม่ได้? หรือมีขอ้ ใดบ้างไหมทีท่ �ำ ให้เราสมควรจะไปนรก? ในจำ�นวน คำ�ตอบทัง้ หมดนัน้ มีกขี่ อ้ ทีต่ รงกับสิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราปฏิบตั ?ิ มีกขี่ อ้ ทีต่ รง กันข้าม? - เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนเชิญตัวแทนผู้เรียนบางคน (หรือผู้สมัครใจ) มา แบ่งปันผลการไตร่ตรองที่ได้ทำ� (ไม่ต้องแบ่งปันถึงเรื่องบาปของตน) ว่า การเรียนคำ� สอนในวันนี้ได้สอนอะไรแก่ตนบ้าง? จากนี้ไปจะมีข้อตั้งใจอะไร? ฯลฯ 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนรักษาร่างกายและจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่ปฏิบัติสิ่งชั่วร้าย ต่างๆ โดยผู้เรียนแต่ละคนกำ�หนดข้อปฏิบัติของตนอย่างเป็นรูปธรรม

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความทุกข์” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................


70

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - 1) ให้ตอบคำ�ถามทุกข้อต่อไปนี้ โดยไม่ต้องคิดว่าเป็นตนเองที่กระทำ� แต่อาจเป็นเพื่อนคนใด คนหนึ่งก็ได้ 2) ให้ใส่เครือ่ งหมาย / หน้าข้อที่ “เพื่อน” น่าจะเลือกกกระทำ�

1.

............ ชอบพูดจาลามก สองแง่สองง่ามให้เพื่อนขำ�หรือคิด

2.

............ พูดจาสุภาพเรียบร้อยเสมอ

3.

............ ชอบแต่งตัวเปรี้ยว โป๊

4.

............ ชอบนินทาว่าร้าย พูดไม่ดีถึงผู้อื่นบ่อยๆ

5.

............ เมื่อเจอซีดีหรือภาพลามก ไม่เคยพลาดที่จะดู

6.

............ ขยันเรียนหนังสือมาก ไม่เคยดูซีดีหรือภาพลามกเลย

7.

............ ชอบช่วยเหลือคนอื่นอยู่เสมอ

8.

............ เมื่อเจ้าของเผลอ เพื่อนคนนี้ชอบหยิบของผู้อื่นโดยไม่ขออนุญาต

9.

............ ชอบยุ่งในเรื่องของคนอื่นทั้งๆ ที่ตนเองไม่เกี่ยวสักนิด

10. ............ เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่เคยลอกการบ้านเลย


71

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง กิจวัตรประจำ�วันของคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.1 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนควรเอาใจใส่การเจริญชีวิตในปัจจุบันอย่างดีที่สุด เพราะงานทุกชนิดเป็นการร่วมในงานสร้างของพระเจ้า และงานทีด่ ที กุ อย่างล้วนเป็นบันได เพื่อการก้าวสู่ความศักดิ์สิทธิ์ได้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนทำ�กิจวัตรประจำ�วันของตนอย่างดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กน้อยที่สุด ก็ตาม สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงเรียกให้มนุษย์ทุกคนมุ่งสู่ความศักดิ์สิทธิ์และให้ร่วมส่วนในงานสร้างของพระองค์ ดังนั้น คริสตชนจึงต้องรู้จักเป้าหมายชีวิตของตนอย่างชัดเจนและเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับกระแสเรียกนี้ โดยมีจิตสำ�นึกอยู่เสมอว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตมิได้มาจากการ “เป็น” ผู้ยิ่งใหญ่ “VIP” หรือ “กระทำ�” สิ่งยิ่งใหญ่ที่โดดเด่นเหนือคนอื่น แต่แท้จริง แล้วมาจากการกระทำ�ทุกกิจการในชีวิตประจำ�วันของตนตามแนวทางแห่งคุณค่าพระวรสาร ซึ่งสิ่งนี้เรียกร้องการทำ�ปัจจุบัน ของตนให้ดีที่สุดตามอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงสอนนั่นเอง ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ดูคลิปหรือเล่าเรื่องของ น.ดอมินิก ซาวีโอ ให้ผู้เรียนได้รู้จัก - จากนั้น ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระจากเรื่องที่ได้ฟังหรือดู - ให้ผู้สอนนำ�การสนทนาต่อไปด้วยคำ�ถามที่ว่า “หากเป็นเธอ เธอจะตอบคุณ พ่อบอสโกว่าอย่างไร?” โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนไปเขียนคำ�ตอบของตนที่กระดานไวท์ บอร์ดหน้าชั้น - เมื่อผู้เรียนเขียนคำ�ตอบของตนครบทุกคนแล้ว ให้ผู้สอนแยกประเภทคำ�ตอบ ทั้งหมด เป็นสองประเภทคือ ด้านวัตถุ และด้านจิตใจ - เราควรจะพิจารณาว่า การที่ น.ดอมินิก ซาวีโอ สามารถตอบคุณพ่อบอสโกได้ เช่นนั้น เพราะท่านยึดคำ�สอนใดในจิตใจอยู่เสมอ? 3 พระวาจา : (มธ 25:31-46) “เมื่อบุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์ พร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ ทัง้ หลาย พระองค์จะประทับเหนือพระบัลลังก์อนั รุง่ โรจน์ บรรดาประชาชาติ จะมาชุมนุม กันเฉพาะพระพักตร์ พระองค์จะทรงแยกเขาออกเป็นสองพวก ดังคนเลีย้ งแกะแยกแกะ ออกจากแพะ ให้แกะอยู่เบื้องขวา ส่วนแพะอยู่เบื้องซ้าย แล้วพระมหากษัตริย์จะตรัส

ดูใบความรู้ท้ายแผน


72

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ แก่ผู้ที่อยู่เบื้องขวาว่า ‘เชิญมาเถิด ท่านทั้งหลายที่ได้รับพระพรจากพระบิดาของเรา เชิญมารับอาณาจักรเป็นมรดกทีเ่ ตรียมไว้ให้ทา่ นแล้วตัง้ แต่สร้างโลก เพราะว่า เมือ่ เรา หิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ให้เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็ มาหา’ “บรรดาผู้ชอบธรรมจะทูลถามว่า ‘พระเจ้าข้า เมื่อไรเล่าข้าพเจ้าทั้งหลายเห็น พระองค์ทรงหิว แล้วถวายพระกระยาหาร หรือทรงกระหาย แล้วถวายให้ทรงดืม่ เมือ่ ใดเล่าข้าพเจ้าทัง้ หลายเห็นพระองค์ทรงเป็นแขกแปลกหน้า แล้วต้อนรับ หรือทรงไม่มี เสื้อผ้า แล้วถวายให้ เมื่อใดเล่าข้าพเจ้าทั้งหลายเห็นพระองค์ประชวรหรือทรงอยู่ใน คุกแล้วไปเยี่ยม’ พระมหากษัตริย์จะตรัสตอบว่า ‘เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย ว่า ท่านทำ�สิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำ�สิ่งนั้นต่อเรา’” “แล้วพระองค์จะตรัสกับพวกที่อยู่เบื้องซ้ายว่า ‘ท่านทั้งหลายที่ถูกสาปแช่ง จง ไปให้พ้น ลงไปในไฟนิรันดรที่ได้เตรียมไว้ให้ปีศาจและพรรคพวกของมัน เพราะว่า เมื่อเราหิว ท่านไม่ให้อะไรเรากิน เรากระหาย ท่านไม่ให้อะไรเราดื่ม เราเป็นแขก แปลกหน้า ท่านก็ไม่ต้อนรับ เราไม่มีเสื้อผ้า ท่านก็ไม่ให้เสื้อผ้า เราเจ็บป่วยและอยู่ใน คุก ท่านก็ไม่มาเยี่ยม’ พวกนั้นจะทูลถามว่า ‘พระเจ้าข้า เมื่อไรเล่าที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เห็นพระองค์ทรงหิว ทรงกระหาย ทรงเป็นแขกแปลกหน้า หรือไม่มีเสื้อผ้า เจ็บป่วย หรืออยู่ในคุก และไม่ได้ช่วยเหลือ’ พระองค์จะตรัสตอบว่า ‘เราบอกความจริงแก่ท่าน ทัง้ หลายว่า ท่านไม่ได้ท�ำ สิง่ ใดต่อผูต้ �่ำ ต้อยของเราคนหนึง่ ท่านก็ไม่ได้ท�ำ สิง่ นัน้ ต่อเรา’ แล้วพวกนี้ก็จะไปรับโทษนิรันดร ส่วนผู้ชอบธรรมจะไปรับชีวิตนิรันดร”

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้เปิดเผยสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์หลังจากที่เขาได้ตายไปแล้ว อาศัยการเล่าที่เข้าใจง่ายแต่เปิดเผยความจริงที่อมตะ ทำ�ไมพระวรสารตอนนี้จึงมา เกี่ยวข้องกับเรื่องกิจวัตรประจำ�วันของคริสตชน ก็เพราะว่า ทุกสิ่งที่มนุษย์ทำ�ในโลกนี้ มีผลต่อชีวติ ในโลกหน้าอย่างแน่นอน พระเยซูเจ้าผูท้ รงปรีชาญาณและพระทัยดีจงึ ทรง ให้เราได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดต่อวิญญาณของเรา - เป็นความจริงอมตะว่า มนุษย์ทุกคนต้องตาย มนุษย์เกือบ 100% กลัว ความตาย แต่พระวาจาตอนนี้สอนให้เรารู้จักวิธีเตรียมตัวตายอย่างดี นั่นคือ เจริญ ชีวิตตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้า ทำ�ทุกสิ่งด้วยความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง ไม่ ว่าจะเป็นสิง่ เล็กหรือใหญ่กต็ าม สิง่ ทีใ่ หญ่ในความคิดของมนุษย์อาจจะไร้คา่ ในสายตา ของพระเจ้าก็ได้หากผู้นั้นกระทำ�ทุกอย่างเพื่อความรักต่อตนเอง ดังนั้นสิ่งที่เล็กที่สุด ในสายตามนุษย์แต่หากทำ�เพราะความรักต่อพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์แล้ว ก็กลายเป็น สิ่งยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน - พระวาจานี้จึงสอนให้เราเข้าใจว่า เกณฑ์การตัดสินบุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่ง ต่างๆ ของมนุษย์อาจจะต่างจากของพระเจ้าลิบลับ พระเจ้าจึงทรงเปิดเผยความจริงที่ มีความสำ�คัญยิง่ ต่อความรอดพ้นของมนุษย์ดว้ ยเรือ่ งเล่าทีเ่ ข้าใจง่าย แต่ทปี่ ฏิบตั ไิ ม่งา่ ย นักสำ�หรับผู้ไม่ตระหนักถึงความจริงของชีวิตหลังความตายอยู่เสมอ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


73

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระวรสารตอนนี้มีความเกี่ยวข้องกับงานในชีวิตประจำ�วันที่เราต้องกระทำ� หรือ? แน่นอน มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดมากที่สุด เพราะพระวรสารเล่าถึงวิธีที่ มนุษย์จะรอดพ้น ซึ่งการปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวนั้น มนุษย์ต้องกระทำ�ขณะที่ยังมีชีวิต อยู่เท่านั้น เวลาของมนุษย์สิ้นสุดลงพร้อมกับความตายของเขา

- กิจวัตรประจำ�วันของเราคริสตชนนั้นคืออะไร? ก็คืองานที่เราทำ�ตั้งแต่เช้าถึง เย็น มนุษย์ทุกคนทำ�งานแบบนี้ ไม่ว่าสิ่งที่ทำ�นั้นจะเป็นการรับประทานอาหาร การหวีผม การซักผ้า การล้างจาน การกวาดบ้าน การทำ�อาหารสำ�หรับคนในครอบครัว หรือเป็นงานอาชีพที่ทำ�เพื่อหารายได้ ฯลฯ ก็คือ สิ่งที่คนเราทำ�ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา จนถึงวินาทีสุดท้ายก่อนจะหลับนอน - มีคนบางส่วนซึ่งอาจเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่เขาต้องทำ�สิ่งใหญ่โตในแต่ละวัน เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้บริหารประเทศ เจ้าของกิจการใหญ่ๆ ฯลฯ แต่ปกติคนธรรมดา สามัญมักใช้ชวี ติ ประจำ�วันด้วยการงานธรรมดาๆ นีค่ อื สัจธรรมของชีวติ แต่หากจะมอง อีกมุมหนึง่ ด้วยคำ�ถามทีว่ า่ “ใครคือผูม้ คี วามสุขจริง?” ก็คงไม่มใี ครตอบได้ว่า เฉพาะ ผู้มีกิจการงานใหญ่โตเท่านั้นที่มีความสุขแท้จริง - ผู้มีความสุขแท้จริงก็คือผู้ที่เจริญชีวิตในปัจจุบันของเขาอย่างดีที่สุด นั่นคือ ตามแนวทางแห่งคุณค่าพระวรสารที่พระเยซูเจ้าทรงสอนไว้ ทุกสิ่งดีๆ ที่เราทำ�ล้วน เป็นการร่วมส่วนในงานสร้างสรรค์โลกของพระเจ้า เช่น การกวาดบ้าน ก็เป็นการทำ�ให้ โลกส่วนน้อยๆ นัน้ สะอาดขึน้ การปลูกต้นไม้ท�ำ ให้โลกเขียวชอุม่ และอากาศสะอาดขึน้ เพราะมีออกซิเจนมากขึ้น การเลี้ยงสัตว์ก็เพื่อทำ�ประโยชน์แก่มนุษย์ในหลายๆ ทาง ทั้งเพื่อเป็นการเลี้ยงชีวิตและการทำ�ให้ระบบนิเวศน์สมดุล ฯลฯ - หากเราจะค่อยๆ ไตร่ตรองอย่างละเอียดทีละอย่าง เราจะพบว่า แม้สิ่งเล็ก น้อยที่สุดที่เราทำ�ก็ไม่เล็กเลย การให้น้ำ�เพียงแก้วเดียวแก่ผู้หิวกระหายดูเหมือนเป็น สิ่งเล็กน้อยมาก แต่พระเยซูเจ้าตรัสในพระวรสารว่า การกระทำ�สิ่งเล็กน้อยที่สุดแก่ ผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดก็เท่ากับทำ�กับพระองค์เอง - นี่คือคำ�สอนของพระเยซูเจ้าที่เราคริสตชนต้องเข้าใจ จดจำ� และกระทำ�ใน ทุกนาทีแห่งชีวติ เราจึงต้องไม่ดถู กู สิง่ เล็กน้อยหรือบุคคลทีถ่ กู มองว่าต่�ำ ต้อยในสายตา ของชาวโลก เพราะมนุษย์ทุกคนคือตัวแทนของพระเยซูเจ้าเองในโลกนี้ - น.มารีอา มัสซาแรลโล ได้สอนว่า ความศักดิ์สิทธิ์คือการทำ�สิ่งที่ต้องทำ�ใน เวลาปัจจุบนั นีอ้ ย่างดีทสี่ ดุ ซึง่ ก็สอดคล้องทีส่ ดุ กับเรือ่ งของ น.ดอมินกิ ซาวีโอ และนักบุญ ทั้งสององค์นี้ล้วนเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์ของ น.ยอห์น บอสโก

6

หาข้อปฏิบัติ ผูเ้ รียนทำ�กิจวัตรประจำ�วันของตนอย่างดีทสี่ ดุ ไม่วา่ จะเป็นงานเล็กน้อยทีส่ ดุ ก็ตาม

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


74

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ตั้งสมาธิโดยถามตนเองว่า “ทุกกิจการที่ฉันทำ� จะมีผล อย่างไรต่อชีวติ ในโลกหน้าของฉัน?” เมือ่ ได้หยุดไตร่ตรองสักครูแ่ ล้ว ให้สวด “บทแสดง ความทุกข์” พร้อมๆ กัน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................

ใบความรู้เรื่อง “น.ดอมินิก ซาวีโอ” วันหนึ่งนักบุญยอห์นบอสโกถามเด็กนักเรียนในห้องว่า “สมมุติโลกสิ้นพิภพ ระหว่างพวก เธอกำ�ลังเล่นกันอยู่ พวกเธอจะต้องทำ�อะไรบ้าง?” บางคนตอบว่า “ผมต้องรีบไปแก้บาป” บางคน บอกว่า “ผมต้องรีบกลับบ้าน” และคำ�ตอบอื่นๆ นักเรียนคนหนึ่งชื่อ ดอมินิก ซาวีโอ พูดว่า “ผมก็เล่นต่อไป” คำ�ตอบนี้แสดงว่า เขาเตรียม ตัวเผชิญความตายตลอดเวลา ภาษิตแห่งการดำ�รงชีวติ ของเขา คือ “ตายดีกว่าทำ�บาป” พระศาสนจักร ได้แต่งตั้งเขาเป็นนักบุญ (ที่มา www.thaicath.net/diarybible/cathsuebsiri/new/05.html)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.