รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน ..............................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระบิดา .................................................................................2 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระบุตร .................................................................................8 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระจิต .................................................................................13 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเยแผ่ศาสนาคริสต์และคริสตชนสมัยแรกเริ่ม .....................................................20 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ชีวิตหลังความตาย ...........................................................................................27 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์ .................................................................................31 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ .............................................................................................37 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง มโนธรรมและกฎจริยธรรม ................................................................................43



1

ครูคําสอน บทเรียนสําหรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่�น แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนก�รจัดก�รเรียนรูค้ ริสตศ�สนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจ�กที่ได้มีก�รนำ�เสนอ “แผนก�รสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษ�” ม�ม�กม�ยหล�ย ครั้งหล�ยปีในส�รคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่�นม� ณ เวล�นี้ จึงได้มีก�รนำ�แผนฯ ดังกล่�วม�รวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้ม�กขึ้น ก�รรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี �รปรับปรุงอยูบ่ �้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บ�งสิง่ ที่ต้องก�รก�รปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งท�งคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจ�กทุกท่�น อยู่เสมอ เพื่อพัฒน�ง�นชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ท�งคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอก�สนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่�นทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่�งๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่�งยิง่ เป็นก�รร่วมมือกันสร้�งสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภ�พสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหล�นของเร�ต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้�ทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่�งสำ�หรับคุณครูทุกท่�นในภ�รกิจสำ�คัญ ของก�รเป็นสือ่ นำ� “คว�มรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เร�ทุกคนไม่ว�่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้�วเดินไปด้วยกันในหนท�งที่นำ�เร�ไปสู่ คว�มเชื่อ คว�มไว้ใจและคว�มรักในพระองค์อย่�ง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนส�ม�รถบรรลุถึง “คว�มรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประท�นแก่เร�ทุกคน แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระบิดา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระบิดาคือพระเจ้า เป็นพระบุคคลแรกในพระตรีเอกภาพ ผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขนอย่างตั้งใจทุกครั้ง สาระการเรียนรู้ พระบิดาทรงเป็นพระเจ้า ทรงเป็นพระบุคคลแรกในพระตรีเอกภาพ พระองค์ทรงสร้างโลกจักรวาลทัง้ หมด มวลมนุษย์และทุกสรรพสิ่งตามแผนการแห่งความรักและความรอดพ้นของพระองค์ เพื่อให้ทุกสิ่งเหล่านี้ได้ร่วมความบรมสุข นิรันดรกับพระองค์ เพราะพระองค์ทรงเป็น “ปฐมเหตุ” และ “เป้าหมายสุดท้าย” ของทุกสรรพสิ่ง ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนโดยถามว่า “มีใครรู้จักพระบิดาเจ้าบ้าง?” โดย ให้ผเู้ รียนพยายามแสดงความคิดเห็นกันอย่างสุดความสามารถ จากนัน้ ให้ผสู้ อนถาม ต่อไปว่า “เราทราบทุกคำ�ตอบนั้นจากที่ใด? ใครเป็นผู้ยืนยัน? เราจะพบคำ�ตอบเหล่า นั้นได้จากที่ไหน?... ” โดยให้ผู้เรียนแต่ละคนค้นคว้าอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของคำ�ตอบ ของตนภายในเวลาไม่เกิน 2-3 นาที - แน่นอนว่า คำ�ตอบของผู้เรียนนั้นน่าจะถูกต้อง เพราะแต่ละคนได้เรียนคำ�สอนมา เป็นเวลาหลายปี รวมทั้งได้รับความรู้จากการเทศน์สอนของคุณพ่อเจ้าวัดเวลาไปร่วม พิธีบูชาของพระคุณ อีกทั้งเคยได้ยินจากที่อื่นๆ มาอีกมากมาย แต่ที่สำ�คัญก็คือ ใคร คือผู้เปิดเผยเรื่องลี้ลับที่เป็นธรรมล้ำ�ลึกนี้แก่เรามนุษย์? บุคคลนั้นก็คือพระเยซูคริสตเจ้า - ไม่มีใครในพวกเราที่เคยรู้จักพระเยซูเจ้าแบบ “ตัวเป็นๆ” เพราะเราเกิดหลัง จากพระองค์ถึงสองพันกว่าปี แต่คริสตชนในทุกยุคทุกสมัยได้มีความเชื่อเรื่องพระบิดา เจ้าและได้ถ่ายทอดความเชื่อนั้นมาถึงเราได้อย่างไร? - ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมมีการกล่าวถึงพระเจ้าบ่อยครั้งมาก แต่ก็ไม่เคย เปิดเผยให้มนุษย์ทราบถึงความสัมพันธ์แบบ “บิดา-บุตร” แก่มนุษย์ มีแต่ในภาค พันธสัญญาใหม่เท่านั้นที่ได้เปิดเผยความจริงนี้ให้เราทราบอย่างชัดเจนโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า สือ่ กลางเทีย่ งแท้แต่ผเู้ ดียวระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ (www.clerus.org) - ดังนั้น เพื่อจะรู้จัก “พระเจ้า” ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดา” ให้ดียิ่งขึ้น เราจึง จำ�เป็นต้องศึกษาคำ�สอนของพระเยซูเจ้าเมื่อพระองค์ตรัสถึงพระบิดา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ดังนั้น ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้าได้ตรัสแก่เราถึง “พระบิดาเจ้า” ตอนใดบ้าง?

3 พระวาจา : บทภาวนาของพระเยซูเจ้า (ลก 11:1-4) วันหนึง่ พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยูใ่ นสถานทีแ่ ห่งหนึง่ เมือ่ ทรงอธิษฐาน จบแล้ว ศิษย์คนหนึง่ ทูลพระองค์วา่ “พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือน กับทีย่ อห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด” พระองค์จงึ ตรัสกับเขาว่า “เมือ่ ท่านทัง้ หลายอธิษฐาน ภาวนา จงพูดว่า “ข้าแต่พระบิดา พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง โปรดประทานอาหารประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนข้าพเจ้าทั้งหลายให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ให้แพ้การผจญ”

4 อธิบายพระวาจา - เราทุกคนทราบดีว่า นี่คือบทภาวนา “classic” และหลายๆ คนคงจะรู้จักบท ภาวนานีเ้ ป็นอย่างดีเพราะอาจได้เคยเรียนรูม้ าหลายครัง้ แล้ว แต่การเรียนเรือ่ งเกีย่ ว กับพระเจ้าไม่มีวันจบสิ้น เพราะความรู้เรื่องของพระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตจำ�กัด เป็น เรือ่ งเหนือธรรมชาติ สติปญ ั ญาทีจ่ �ำ กัดของมนุษย์จงึ ไม่สามารถรูจ้ กั พระเจ้าได้ทงั้ หมด เหตุวา่ หากมนุษย์สามารถรูจ้ กั พระเจ้าได้อย่างสิน้ เชิงแล้ว มนุษย์กค็ งจะเท่าเทียมกับ พระเจ้า และพระเจ้าก็จะไม่ใช่พระเจ้าอีกต่อไป - จากบทภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนให้บรรดาศิษย์และเราคริสตชนสวด ภาวนานัน้ พระองค์ได้ทรงเปิดเผยความจริงยิง่ ใหญ่แห่งความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้า พระบิดาและเรามนุษย์ นั่นก็คือ พระองค์ทรงเป็นดัง “พ่อ” ของมนุษย์ทุกคน - พ่อโดยธรรมชาติของเราทุกคน “เป็นมนุษย์” ดังนั้น จึงมีข้อบกพร่องมากบ้าง น้อยบ้าง จากประสบการณ์เราจึงไม่พบว่ามีพ่อคนไหนที่จะสมบูรณ์แบบ (perfect) เลย ตัวของเราเองก็เป็นมนุษย์ที่มีขอบเขตจำ�กัดด้วย หลายๆ ครั้งความสัมพันธ์กับ ผู้เป็นพ่อของเราจึงมีข้อจำ�กัดด้วยเช่นกัน - พระเจ้าทรงพระทัยดี พระองค์ไม่ทรงต้องการปล่อยให้เราอยู่ในสภาพเช่นนั้น โดยทางศีลล้างบาป พระองค์จึงทรงให้เรามีโอกาสดีได้เป็น “บุตร” ของพระองค์ อาศัย “การสร้าง” มนุษย์ทกุ คนได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า แต่การเป็น “บุตร” ของผู้ที่รับศีลล้างบาปกับผู้ที่ไม่ได้รับศีลนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง (ควรให้ ทบทวนผลของศีลล้างบาป) เราจึงมี “โชคดี” ที่จะมีพระเจ้าเป็น “บิดา” ของเราอีก บุคคลหนึ่ง ซึ่งเป็น “พระพรพิเศษ” ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่เราด้วยความรัก เพราะแม้พ่อในโลกนี้ของเราจะดีหรือไม่ดีเพียงใดก็ตาม แต่เราก็มี “พ่อ” อีกองค์ หนึ่งซึ่งรักเราและทรงความดีอย่างหาที่สุดมิได้ - พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า พระบิดาองค์นี้ทรงความศักดิ์สิทธิ์ พระองค์จึงทรง สมควรได้รับการสักการะจากมนุษย์ทุกคน พระอาณาจักรของพระองค์คือสวรรค์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

พระองค์จึงทรงปรารถนาจะให้พระอาณาจักรนี้มาถึงในใจของมนุษย์ นั่นหมายความ ว่าการบรรลุถึงพระอาณาจักรของพระองค์ก็เท่ากับได้บรรลุถึงสวรรค์นิรันดรนั่นเอง - นอกนั้น พระเยซูเจ้ายังทรงสอนให้เราภาวนาวอนขอสองสิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่ง สำ�หรับมนุษย์ ซึ่งก็คือ “อาหารประจำ�วัน” และ “การอภัย” เพราะมนุษย์จำ�เป็นต้อง เติบโตจึงต้องการอาหารทีเ่ ลีย้ งตนเองทัง้ ฝ่ายร่างกายและฝ่ายจิตใจ ขึน้ ชือ่ ว่ามนุษย์แล้ว เราไม่สามารถจะเลี้ยงตนเองโดยลำ�พังโดยปราศจากพระเจ้าได้ เพราะเราจำ�เป็นต้อง พึง่ พาพระเจ้าอยูต่ ลอดเวลา พระเจ้าเท่านัน้ จะทรงเป็นผูป้ ระทานอาหารนีใ้ ห้แก่มนุษย์ ได้ - ส่วนเรื่อง “การอภัย” นั้น ก็เป็นเงื่อนไขที่จำ�เป็นเช่นกัน เพราะหากมนุษย์คน ใดไม่รู้จักอภัยให้แก่ผู้อื่น ก็หมายความว่า เขาไม่สามารถรักเพื่อนพี่น้องได้เลย ซึ่ง “ความรัก” คือเกณฑ์ทพี่ ระเจ้าได้ทรงวางไว้เพือ่ การเข้าสวรรค์ เพราะพระองค์ได้ยนื ยัน ว่า “ท่านทำ�สิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำ�สิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) - นอกจากพระวาจาตอนนีแ้ ล้ว ยังมีพระวาจาอีกหลายๆ ตอนในพระคัมภีรท์ ส่ี อน เราว่า “พระเจ้า พระบิดา” ทรงมีคุณลักษณะเฉพาะอีกมากมาย ดังที่เราจะศึกษาได้ จากคำ � สอนพระศาสนจั ก รคาทอลิ ก โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง จากหนั ง สื อ คำ � สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 198-324 ที่สอนโดยตรงถึงเรื่อง “พระเจ้า พระบิดา” ว่า พระบิดาทรง • เป็นปฐมเหตุและเป้าหมายสุดท้ายของทุกสิ่ง (หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิก ข้อ 198) • เป็นพระผู้ทรงสร้างฟ้าและดิน (หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 279-384) 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หลังจากที่เราได้เรียนรู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราขานพระนามพระเจ้าว่า “พระบิดา” แล้ว ให้เรามาดูเพิม่ เติมอีกว่า ในพระวรสารพระเยซูเจ้าทรงกล่าวถึง “พระบิดา” หรืออีกนัยหนึ่งคือ พระองค์ทรงต้องการสอนเราให้เข้าใจถึงพระประสงค์ของ พระบิดาในด้านใดบ้าง? - ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามใบงาน “ใครพบก่อนกัน” ทั้งภาคที่ 1 และที่ 2 ให้ครบ สมบูรณ์ เมื่อเสร็จแล้วให้ตัวแทนของทุกกลุ่มมาแบ่งปันคำ�ตอบให้เพื่อนๆ ทุกคนฟัง - ใบงาน “ใครพบก่อนกัน” มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยกับพระวาจาที่ กล่าวถึงพระบิดาเจ้าในพระวรสาร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ได้นับว่ามีจำ�นวนถึง ประมาณ 170 ครั้ง (www.clerus.org) ซึ่งตามปกติผู้อ่านหรือผู้ฟังพระวาจามักจะไม่ ค่อยสังเกตในมุมมองของพระบิดาเท่าไรนัก ใบงานนี้จึงให้ตัวอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้เรียนมากในการเรียนรู้ด้วยการค้นคว้าให้รู้จักพระเจ้ามากขึ้น - ในชีวิตประจำ�วันของเราคริสตชนตั้งแต่เช้าถึงเย็นก็มีการเอ่ยพระนามของพระบิดาอยู่เช่นเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งในการทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขน (เดชะ

☆ ดูใบงาน

“ใครพบก่อนกัน” ท้ายแผน


5

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

พระนามฯ) แต่จะมีสกั กีค่ รัง้ ทีเ่ ราทำ�อย่างตัง้ ใจและคิดถึงความหมายของทุกคำ�พูดนัน้ จริงๆ - ดังนั้น เมื่อเราได้เรียนรู้จักพระบิดามากขึ้นบ้างแล้ว ให้เราตั้งใจทุกครั้งที่เราเอ่ย ถึงพระนามของพระองค์ เฉพาะอย่างยิ่งในการทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขน 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขนอย่างตั้งใจทุกครั้ง 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนทำ�สำ�คัญมหากางเขนและสวด “บท พระสิริรุ่งโรจน์” อย่างช้าๆ และตั้งใจ โดยคิดถึงความหมายของทุกคำ�พูดในบทภาวนานี้ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “ใครพบก่อนกัน” คำ�ชี้แจง : ภาคที่ 1 - ให้ผู้เรียนทุกคน (อาจเล่นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ก็ได้) เล่นเกมแข่งขันเปิดพระคัมภีร์ โดยผู้สอนบอก โค้ดพระคัมภีร์ทีละ 1 โค้ด (มีทั้งหมด 10 ตอน) ผู้เรียนคนใดสามารถเปิดพบพระวาจาตอนนั้นก่อน และถูกต้องถือว่าได้ไป 1 คะแนน เมื่อครบ 10 ข้อแล้ว ใครได้คะแนนมากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ 1. มธ 5:43-45 : “ท่านทั้งหลายได้ยินคำ�กล่าวว่า จงรักเพื่อนบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จง อธิษฐานภาวนาให้ผทู้ เี่ บียดเบียนท่าน เพือ่ ท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม” 2. มธ 6:2-4 : “... เมื่อท่านให้ทาน จงอย่าเป่าแตรข้างหน้าท่านเหมือนที่บรรดาคนหน้าซื่อใจคด มักทำ�ในศาลาธรรม และตามถนนเพื่อจะได้รับคำ�สรรเสริญจากมนุษย์ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า เขาได้รับบำ�เหน็จของเขา


6

แล้ว ส่วนท่าน เมื่อให้ทาน อย่าให้มือซ้ายของท่านรู้ว่ามือขวากำ�ลังทำ�สิ่งใด เพื่อทานของท่านจะได้เป็นทานที่ไม่ เปิดเผย แล้วพระบิดาของท่านผู้ทรงหยั่งรู้ทุกสิ่ง จะประทานบำ�เหน็จให้ท่าน” 3. มธ 6:16-18 : “เมื่อท่านทั้งหลายจำ�ศีลอดอาหาร จงอย่าทำ�หน้าเศร้าหมองเหมือนบรรดาคนหน้าซื่อใจคด เขาทำ�หน้า หมองคล้ำ� เพื่อแสดงให้ผู้คนรู้ว่าเขากำ�ลังจำ�ศีลอดอาหาร เราบอกความจริงแก่ท่านว่า เขาได้รับบำ�เหน็จของเขา แล้ว ส่วนท่าน เมื่อจำ�ศีลอดอาหาร จงล้างหน้า ใช้น้ำ�มันหอมใส่ศีรษะ เพื่อไม่แสดงให้ผู้คนรู้ว่าท่านกำ�ลังจำ�ศีล อดอาหาร แต่ให้พระบิดาของท่านผูส้ ถิตทัว่ ทุกแห่งทรงทราบ และพระบิดาของท่านผูท้ รงหยัง่ รูท้ กุ สิง่ ก็จะประทาน บำ�เหน็จให้ท่าน” 4. มธ 6:14-15 : “เพราะถ้าท่านให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ ก็จะประทานอภัยแก่ท่านด้วย แต่ ถ้าท่านไม่ให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านก็จะไม่ประทานอภัยแก่ท่านเช่นเดียวกัน” 5. มธ 6:31-34 : “ดังนัน้ อย่ากังวลและกล่าวว่า ‘เราจะกินอะไร หรือจะดืม่ อะไร หรือเราจะนุง่ ห่มอะไรเพราะสิง่ ต่างๆ เหล่า นีค้ นต่างศาสนาแสวงหา พระบิดาของท่านผูส้ ถิตในสวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการทุกสิง่ เหล่านี้ จงแสวงหา พระอาณาจักรของพระเจ้าและความชอบธรรมของพระองค์กอ่ น แล้วพระองค์จะทรงเพิม่ ทุกสิง่ เหล่านีใ้ ห้” “ดังนัน้ ท่านทั้งหลายอย่ากังวลถึงวันพรุ่งนี้ เพราะวันพรุ่งนี้จะกังวลสำ�หรับตนเอง แต่ละวันมีทุกข์พออยู่แล้ว” 6. มธ 7:11 : “แม้แต่ท่านทั้งหลายที่เป็นคนชั่ว ยังรู้จักให้ของดีๆ แก่ลูก แล้วพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์จะไม่ ประทานของดีๆ แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ” 7. มธ 11:25 : “เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ข้าแต่พระบิดา เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้าสรรเสริญพระองค์ที่ทรงปิดบัง เรื่องเหล่านี้จากบรรดาผู้มีปรีชาและรอบรู้ แต่ทรงเปิดเผยแก่บรรดาผู้ต่ำ�ต้อย” 8. มธ 11:27 : “พระบิดาทรงมอบทุกสิ่งแก่ข้าพเจ้า ไม่มีใครรู้จักพระบุตร นอกจากพระบิดา และไม่มีใครรู้จักพระบิดา นอกจากพระบุตรและผู้ที่พระบุตรเปิดเผยให้รู้” 9. มธ 18:10 : “จงระวังให้ดี อย่าดูหมิ่นคนธรรมดาๆ เหล่านี้คนใดเลย เราบอกท่านทั้งหลายว่า ตลอดเวลาในสวรรค์ ทูตสวรรค์ของเขาเฝ้าชมพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์” 10. ลก 12:29-32 : “ท่านอย่ากังวลใจแสวงหาว่าจะกินอะไรหรือจะดื่มอะไร สิ่งเหล่านี้ชนชาติอื่นๆ ในโลกเท่านั้นที่แสวงหา พระบิดาของท่านทรงทราบดีว่าท่านต้องการสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น จงแสวงหาพระอาณาจักรของพระองค์เถิด แล้ว พระองค์จะทรงเพิ่มเติมทุกสิ่งให้ ฝูงแกะน้อยๆ เอ๋ย อย่ากลัวเลย เพราะพระบิดาของท่านพอพระทัยจะประทาน พระอาณาจักรให้แก่ท่าน”


7

ภาคที่ 2 - 1. ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 10 กลุ่ม (หรือตามความเหมาะสม) จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มจับฉลาก หัวข้อพระคัมภีร์ 1 หัวข้อ (ใช้ทั้ง 10 หัวข้อจากภาคที่ 1)

2. เมื่อกลุ่มได้ฉลากพระคัมภีร์แล้ว ให้สมาชิกทุกคนอ่านพระวาจาตอนนั้นๆ แล้วช่วยกันไตร่ตรอง วิเคราะห์เพื่อตอบคำ�ถามว่า “จากพระวาจาตอนนี้ พระเยซูเจ้าทรงต้องการสอนถึงพระบิดาเจ้าว่า อย่างไรบ้าง? และพระองค์ทรงต้องการให้คริสตชนปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง?” (ใส่คำ�ตอบในตาราง ตัวอย่าง) โดยให้พยายามตอบในทุกแง่มุมที่พระวาจาจะดลใจ พระวาจา

เกี่ยวกับพระบิดา

คริสตชนปฏิบัติ...

1. มธ 5:43-45 “ท่านทั้งหลายได้ยินคำ�กล่าวว่า จงรักเพือ่ นบ้าน จงเกลียดศัตรู แต่เรา กล่าวแก่ทา่ นว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐาน ภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อ ท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้า สวรรค์ พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว โปรดให้ ฝ นตกเหนื อ คนชอบธรรม และคนอธรรม” 3. ให้มีเลขาฯ กลุ่มสรุปรวบรวมคำ�ตอบ เพื่อเตรียมนำ�ไปเสนอในกลุ่มใหญ่


8

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระบุตร ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเยซูคริสตเจ้าคือพระบุคคลทีส่ องในพระตรีเอกภาพ พระองค์ ทรงเป็นพระเจ้าและเป็นพระผู้ไถ่บาปของมวลมนุษยโลก - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขนและสวดภาวนาบทพระสิริรุ่งโรจน์ อย่างตั้งใจ สาระการเรียนรู้ พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ ทรงเป็นพระบุตรของพระบิดาผู้ทรงมารับ เอากายเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเราต่างกันเพียงพระองค์ไม่ทรงมีบาป ทรงเป็นพระผูไ้ ถ่บาปของมวลมนุษย์ทงั้ ปวงตามแผนการ แห่งความรักและความรอดพ้นของพระบิดาเจ้า พระนามของพระองค์คือ “พระเยซูเจ้า / พระคริสตเจ้า / พระบุตรองค์เดียว ของพระเจ้า และ องค์พระผู้เป็นเจ้า” (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 422-455) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนเปิดประเด็นการเสวนากับผูเ้ รียนโดยถามว่า “พระเยซูคริสตเจ้าคือใคร?” ผูใ้ ดต้องการตอบให้ไปเขียนคำ�ตอบทีบ่ อร์ดหน้าห้องได้ในช่องด้านซ้าย (แบ่งบอร์ดเป็น 2 ช่อง) โดยมีกติกาว่า ห้ามเขียนคำ�ตอบซ้ำ�จากที่เขียนไปแล้ว ให้เวลาตอบประมาณ 3-4 นาที - จากนั้น ให้ผู้สอนถามใหม่ว่า “สำ�หรับเราแต่ละคนล่ะ พระเยซูเจ้าทรงเป็น ใคร?” ผู้เรียนที่ต้องการตอบก็ให้เขียนคำ�ตอบไว้ที่บอร์ดด้านขวาเช่นกัน - เมื่อทุกคนเขียนคำ�ตอบเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตโดยให้ผู้เรียนตอบว่า คำ� ตอบด้านใดมีมากกว่ากัน? เพราะเหตุใด? - กิจกรรมข้างต้นนี้จะเป็น pre-test ได้ว่า ในฐานะที่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ผูเ้ รียนแต่ละคนรูจ้ กั พระเยซูคริสตเจ้ามากเพียงใด? คำ�ตอบทัง้ หมดนัน้ มีความกว้างและ ลึกซึ้งเพียงใด? - บรรดาสาวกก็เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าเช่นกัน ให้เรามาดูว่า พวกท่านได้ตอบ พระเยซูเจ้าอย่างไรสำ�หรับคำ�ถามเดียวกันนี้ และคำ�ตอบที่โดนใจพระองค์มากที่สุดคือ คำ�ตอบของใคร? คำ�ตอบนั้นคืออะไร? 3 พระวาจา : เปโตรประกาศความเชื่อ (มธ 16:13-17) พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเขตเมืองซีซารียาแห่งฟีลิปและตรัสถามบรรดาศิษย์ว่า “คนทัง้ หลายกล่าวว่าบุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร” เขาทูลตอบว่า “บ้างกล่าวว่าเป็นยอห์น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


9

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ผูท้ �ำ พิธลี า้ ง บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเอลียาห์ บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเยเรมียห์ รือ ประกาศกองค์ใดองค์หนึ่ง” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านล่ะคิดว่าเราเป็นใคร” ซีโมนเปโตรทูลตอบว่า “พระองค์คอื พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผูท้ รงชีวติ ” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านเป็นสุขเพราะไม่ใช่มนุษย์ ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดา เจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย”

4 อธิบายพระวาจา - หลังจากทีบ่ รรดาสาวกได้ตดิ ตามพระเยซูเจ้ามาเป็นเวลานานพอควรแล้ว พระองค์ ทรงปรารถนาจะทราบจากพวกเขาว่า ประชาชนคิดว่าพระองค์ทรงเป็นใคร? แต่ค�ำ ตอบ ที่ได้มานั้นล้วนเป็นคำ�ตอบที่ไม่ถูกต้อง - พระเยซูเจ้าจึงทรงปรารถนาจะทราบว่า แล้วบรรดาสาวกเองล่ะคิดว่าพระองค์ ทรงเป็นใคร? ในจำ�นวนสาวกทัง้ สิบสองคนนัน้ มีผทู้ ตี่ อบอย่างมัน่ ใจและถูกต้องไม่ลงั เล คือ น.เปโตร ท่านได้ตอบว่า “พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรง ชีวิต” นี่เป็นคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดซึ่งไม่มีมนุษย์ธรรมดาคนใดจะตอบได้ - พระเยซูเจ้าจึงทรงยืนยันกับบรรดาสาวกอย่างชัดเจนว่า คำ�ตอบที่ถูกต้องเช่นนี้ ไม่สามารถมาจากปากของมนุษย์แต่ลำ�พังได้ เพราะมีแต่พระจิตเจ้าเท่านั้นที่จะดลใจ ให้ น.เปโตรกล่าวสิง่ นีไ้ ด้ พระเยซูเจ้าจึงตรัสประโยคทีน่ �ำ ความสุขใจมาให้แก่ น.เปโตร เป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านเป็นสุขเพราะไม่ใช่มนุษย์ ที่เปิดเผย ให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย” - คำ�ตอบของ น.เปโตรได้เปิดเผยความจริงสองมิติของพระเยซูเจ้าคือ 1) ทรงเป็น พระคริสตเจ้า และ 2) ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นมากกว่า นั้นอีก ในหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกเราได้พบความจริงเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าอีกมากมาย ดังที่เราจะอ่านพบได้เฉพาะอย่างยิ่งในภาคที่ 1 คือภาคการประกาศ ยืนยันความเชื่อ - จากหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 422-423 และ 426 มีการ ยืนยันว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระบุตรนิรนั ดรของพระบิดาเจ้า” ผูเ้ สด็จมาจากสวรรค์ เพื่อมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ทรงเป็นพระวจนาตถ์ที่ทรงรับเอากาย เพื่อช่วยมนุษย์ที่ตก อยูภ่ ายใต้ธรรมบัญญัตใิ ห้ได้รบั ฐานะแห่งการเป็นบุตร ทัง้ หมดนีอ้ ยูใ่ นแผนการนิรนั ดร ทั้งหมดของพระเจ้า - นอกนั้น พระศาสนจักรยังได้ยืนยันถึงเอกลักษณ์ของพระเยซูเจ้าโดยประกาศ เป็นข้อความเชือ่ ซึง่ เราจะพบได้ในหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) ดังนี้ • ข้อ 430-435 • ข้อ 436-440 • ข้อ 441-445 • ข้อ 446-451

กล่าวถึง “พระเยซูเจ้า” กล่าวถึง “พระคริสตเจ้า” กล่าวถึง “พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า” กล่าวถึง “องค์พระผู้เป็นเจ้า”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


10

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มปฏิบัติตามใบงาน “Fallow Him” โดยใบงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเอกลักษณ์ทั้ง 4 มิติของพระเยซูเจ้า คือ “พระเยซูเจ้า / พระคริสตเจ้า / พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า และ องค์ พระผู้เป็นเจ้า” อย่างละเอียด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ ☆

ดูใบงาน “Fallow Him” ท้ายแผน

- เมื่อเสร็จงานทุกกลุ่มแล้ว ให้ตัวแทนของทั้ง 4 กลุ่มมาแบ่งปันข้อสรุปของตนให้ เพื่อนๆ ทุกคนฟัง เพื่อให้ทุกคนจะได้เรียนรู้ถึงเอกลักษณ์ของพระเยซูเจ้าครบทั้ง 4 มิติ - เมื่อการแบ่งปันสิ้นสุดลงแล้ว ให้ผู้สอนเล่นเกมตอบคำ�ถามตามใบงาน “ใคร ตอบก่อน?” เมื่อเล่นเกมตอบคำ�ถามเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบที่ถูกต้องด้วย เฉลย (ที่ท้ายคำ�ถามจะมีคำ�ตอบเฉลยอยู่) เพื่อจะนับคะแนนและสรุปเนื้อหาการเรียน จากคำ�ตอบที่ผู้สอนเฉลยให้

ดูใบงาน “ใครตอบก่อน?” ท้ายแผน

- แน่นอนว่าเอกลักษณ์ทั้งสี่ของพระเยซูเจ้าที่ได้ศึกษากันมานี้มีลักษณะเหนือ ธรรมชาติอยูเ่ พราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้ามิใช่มนุษย์ ดังนัน้ เราทีเ่ ป็นมนุษย์มขี อบเขต จำ�กัดจึงไม่มีทางที่จะเข้าใจสิ่งที่พระองค์ทรงเป็นได้อย่างละเอียดถ่องแท้ แต่เราก็ สามารถเข้าใจได้ในระดับหนึ่งตามแต่ความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์จะเข้าถึง ได้ - ดังนั้น เราจำ�เป็นต้องยอมรับว่า เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซูคริสตเจ้าได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่เหนือระดับนี้แล้ว เราต้องใช้จิตแห่งความเชื่อ เพื่อยอมรับความจริงของพระองค์ - เพื่อเป็นการสรุปและกำ�หนดข้อปฏิบัติ ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ แต่ละคนเขียนในสมุดส่วนตัวว่าชอบพระนามไหนของพระเยซูเจ้ามากทีส่ ดุ ? เพราะเหตุ ใด? ทั้งนี้ เพื่อจะได้ให้ผู้เรียนพบคำ�ตอบว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นใครสำ�หรับตนเอง? 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนทำ�เครื่องหมายสำ�คัญมหากางเขนและสวดภาวนา “บทพระสิริรุ่งโรจน์” อย่างตั้งใจทุกครั้ง โดยคิดถึงพระบุคคลของพระเยซูเจ้า 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ตัวแทนอาสาสมัครผู้เรียนสัก 2-3 คน สวด ภาวนาจากใจ จบแล้วให้ทุกคนสวดบทพระสิริรุ่งโรจน์ฯ พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


11

ใบงาน “Fallow Him” คำ�ชี้แจง : 1) ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลากที่ผู้สอนเตรียมไว้ดังนี้ ฉลากที่ 1 ฉลากที่ 2 ฉลากที่ 3 ฉลากที่ 4

หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 430-435 + งานกลุม่ : “ให้สรุปคำ�สอนพระศาสนจักร เกี่ยวกับ ‘พระเยซูเจ้า’ โดยสังเขป” หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 436-440 + งานกลุม่ : “ให้สรุปคำ�สอนพระศาสนจักร เกี่ยวกับ ‘พระคริสตเจ้า’ โดยสังเขป” หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 441-445 + งานกลุม่ : “ให้สรุปคำ�สอนพระศาสนจักร เกี่ยวกับ ‘พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า’ โดยสังเขป” หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 446-451 + งานกลุม่ : “ให้สรุปคำ�สอนพระศาสนจักร เกี่ยวกับ ‘องค์พระผู้เป็นเจ้า’ โดยสังเขป”

2) เมื่อแต่ละกลุ่มได้รับฉลากเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดดูและศึกษาตามข้อของหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิกที่กำ�หนดให้ พร้อมกับปฏิบัติงานกลุ่มตามหัวข้อที่ได้รับ

3) ให้เลขาฯ กลุ่มบันทึกข้อสรุปของการศึกษาทั้งหมด และเตรียมตัวแทนแบ่งปันให้กับกลุ่มใหญ่


12

ใบงาน “ใครตอบก่อน?” คำ�ชี้แจง : 1) ให้ผู้สอนตั้งคำ�ถามที่กำ�หนดให้นี้ทีละข้อ

คำ�ถาม 10 ข้อ คือ a. b. c. d. e. f. g. h. i. j. k. l.

“เยซู” ในภาษาฮีบรูแปลว่าอะไร? (พระเจ้าช่วย – CCC ข้อ 430) ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น พระเจ้ามิได้ทรงพอพระทัยแค่ช่วยชาวอิสราเอลให้พ้นจาก แดนทาสในแผ่นดินอียปิ ต์เท่านัน้ แต่ยังทรงทำ�อะไรอีก? (ช่วยชาวอิสราเอลให้รอดพ้นจากบาป ของเขาด้วย - CCC ข้อ 431) ประโยคที่ว่า “ใต้ฟ้านี้ไม่มีนามอื่นใดอีกแล้วที่ตั้งให้แก่มนุษย์ ซึ่งจะสามารถช่วยเราให้รอดพ้น ได้” มีบันทึกอยู่ในหนังสือเล่มใด? (กจ 4:12 - CCC ข้อ 432) ใครคือผู้ที่กล่าวว่า “พระเจ้าได้ทรงตั้งพระเยซูไว้ให้เป็นที่ลบล้างพระอาชญา ด้วยพระโลหิตของ พระองค์”? (น.เปาโล ใน รม 3:25 - CCC ข้อ 433) บทภาวนาในพิธีกรรมทั้งหมดลงท้ายด้วยคำ�ว่าอะไร? (เดชะพระคริสตเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้า ทั้งหลาย - CCC ข้อ 435) คำ�ว่า “คริสต์” เป็นคำ�ภาษาอะไร? (กรีก) แปลมาจากคำ�ภาษาฮีบรูว่าอะไร? (เมสสิยาห์) แปล ว่าอะไร? (การเจิม) - CCC ข้อ 436 ทำ�ไมคำ�ว่า “คริสต์” จึงกลายเป็นชื่อเฉพาะของพระเยซูเจ้า? (เพราะพระเยซูได้ทรงปฏิบัติพันธ กิจของพระองค์สำ�เร็จลุล่วงไปอย่างสมบูรณ์ ตรงกับความหมายของพระนามนี้ - CCC ข้อ 436) ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างจากยอห์น พระเจ้าได้ทรงเจิมพระองค์ด้วยอะไร? (พระจิตและ ฤทธานุภาพ - CCC ข้อ 438) ในพันธสัญญาเดิม พระนาม “บุตรของพระเจ้า” บ่งบอกถึงสถานะใดของผูร้ บั ตำ�แหน่งนี?้ (บุตร บุญธรรม - CCC ข้อ 441) เหตุการณ์ใดในชีวิตของพระเยซูเจ้าที่มีพระสุรเสียงของพระบิดาที่ตรัสว่า “พระเยซูคือพระบุตร สุดที่รักของพระองค์”? (การรับพิธีล้างและการสำ�แดงพระองค์ในโรจนาการของพระคริสตเจ้า - CCC ข้อ 444) ในพันธสัญญาเดิมพระเจ้าทรงเผยแสดงว่า พระองค์คือ “Kyrios” หรือ “องค์พระผู้เป็นเจ้า” กับ มนุษย์คนใดเป็นบุคคลแรก? (โมเสส - CCC ข้อ 446) การแสดงออกใดของพระเยซูเจ้าทีแ่ สดงว่าพระองค์คอื “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า”? (การมีอ�ำ นาจเหนือ ธรรมชาติ เหนือโรคภัยไข้เจ็บ เหนือปีศาจ เหนือความตายและบาป - CCC ข้อ 447)

2) ให้ผู้เรียนที่ต้องการตอบคำ�ถามก่อน ยกมือขึ้น ถ้าตอบถูกผู้นั้นได้ 1 คะแนน ถ้าตอบผิด ให้คนอื่น ยกมือก่อนตอบจนกว่าจะได้คำ�ตอบที่ถูกต้อง 3) ผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ


13

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง พระตรีเอกภาพ : พระจิต

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระจิตเจ้าคือพระบุคคลที่สามในพระตรีเอกภาพ ทรงเป็น พระเจ้า ทรงทำ�ให้มนุษย์และสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปรึกษาพระจิตเจ้าเสมอก่อนจะทำ�กิจการใดๆ สาระการเรียนรู้ พระจิตเจ้าทรงเป็นพระบุคคลที่สามในพระตรีเอกภาพ ทรงเป็นพระเจ้าเท่าเสมอพระบิดาและพระบุตร ทรงเป็นสายสัมพันธ์แห่งความรักของพระบิดาและพระบุตร ทรงปฏิบัติงานพร้อมกับพระบิดาและพระบุตร พระองค์ทรงเป็น ผู้ทำ�ให้มนุษย์และสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป (ดู CCC ข้อ 683-747) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ที่เตรียมไว้ทั้ง 9 คำ�มาให้ผู้เรียนดูทีละคำ� (คำ�ต่างๆ ที่เกี่ยว กับพระจิตเจ้า คือ น้ำ� การเจิม ไฟ เมฆ แสงสว่าง ตราประทับ มือ นิ้ว นกพิราบ) โดย ให้ผู้เรียนบอกว่า ของแต่ละสิ่งนั้นเป็นสัญลักษณ์ของอะไร? - เมื่อได้ครบทั้ง 9 คำ�แล้ว ให้ผู้สอนเฉลยว่า คำ�ทั้งหมดเหล่านั้นล้วนแต่เป็น สัญลักษณ์ของพระจิตเจ้าทั้งสิ้น (ดู CCC ข้อ 694-701) - คำ�ตอบที่ผู้เรียนได้ให้สำ�หรับสัญลักษณ์ทั้ง 9 นั้นจะบ่งบอกถึงพื้นฐานความรู้ ของผูเ้ รียนเกีย่ วกับพระจิตเจ้า ซึง่ ในคาบเรียนนีผ้ เู้ รียนจะได้มโี อกาสเรียนรูเ้ กีย่ วกับพระ จิตเจ้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความหมายของสัญลักษณ์แต่ละประการนั้นด้วย - ในพระคัมภีร์มีกล่าวถึงพระจิตเจ้ามากมายหลายตอน แต่ในที่นี้เราจะนำ�เสนอ ตอนทีก่ ล่าวถึงการเสด็จมาของพระจิตเจ้าเหนือบรรดาสาวกในวันเปนเตกอสเตเพราะ เป็นตอนที่กล่าวถึงพระจิตเจ้าโดยตรงอย่างเป็นทางการ 3 พระวาจา : วันเปนเตกอสเต (กจ 2:1-12) เมื่อวันเปนเตกอสเตมาถึง บรรดาศิษย์ทุกคน มาชุมนุมในสถานที่เดียวกัน ทันใดนั้นมีเสียงจากฟ้าเหมือนเสียงลมพัดแรงกล้า ทุกคนที่อยู่ในบ้านได้ยิน เขาเห็น เปลวไฟลักษณะเหมือนลิน้ แยกไปอยูเ่ หนือศีรษะของเขาแต่ละคน ทุกคนได้รบั พระจิต เจ้าเต็มเปี่ยมและเริ่มพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระจิตเจ้าประทานให้พูด ขณะนั้นที่กรุงเยรูซาเล็มมีชาวยิวผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระเจ้ามาจากทุกชาติทั่ว โลก เมื่อประชาชนได้ยินเสียงนี้ จึงมาชุมนุมกันจำ�นวนมาก รู้สึกฉงนสนเท่ห์เพราะ

.


14

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ แต่ละคนได้ยินคนเหล่านี้พูดภาษาของตนและประหลาดใจอย่างยิ่ง กล่าวว่า “ทุกคน ทีก่ �ำ ลังพูดอยูน่ เี้ ป็นชาวกาลิลมี ใิ ช่หรือ แล้วทำ�ไมเราแต่ละคนจึงได้ยนิ เขาพูดภาษาท้อง ถิ่นของเรา เราชาวปารเธีย ชาวมีเดีย และชาวเอลาม บางคนอาศัยอยู่ในเขตเมโสโปเต เมีย แคว้นยูเดีย แคว้นคัปปาโดเซีย แคว้นปอนทัสและแคว้นอาเซีย แคว้นฟรีเจียและ แคว้นปัมฟีเลีย บางคนมาจากอียิปต์และเขตของประเทศลิเบียรอบๆ เมืองไซรีน บาง คนมาจากกรุงโรม ทั้งชาวยิวและผู้กลับใจเข้านับถือลัทธิยิว บางคนเป็นชาวเกาะครีต และชาวอาหรับ พวกเราได้ยินคนเหล่านี้ประกาศกิจการยิ่งใหญ่ของพระเจ้าเป็นภาษา ของเรา” ทุกคนประหลาดใจและฉงนสนเท่ห์พูดกันว่า “นี่หมายความว่าอย่างไร”

4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงยังพระชนม์อยู่นั้น พระองค์ได้ตรัสถึงพระจิตเจ้าหลาย ครั้ง รวมถึงคำ�สัญญาของพระองค์ที่จะประทานพระจิตของพระองค์มายังบรรดาสาวก หลังจากที่พระองค์ทรงจากไปแล้ว - พระสัญญาของพระองค์ได้กลายเป็นความจริงในวันเปนเตกอสเตนี้เอง หนังสือ กิจการอัครสาวกได้บันทึกเหตุการณ์แปลกอัศจรรย์เหนือธรรมชาติ นั่นคือ การเสด็จ มาของพระจิตเจ้าเหนือบรรดาศิษย์ พี่น้องของพระองค์ บรรดาสตรี และพระนางมารีย์ ในห้องชั้นบนที่กรุงเยรูซาเล็ม - เมื่อพระจิตเจ้าเสด็จมา ทุกคนได้ยินเสียงจากฟ้าเหมือนเสียงลมพัดแรงกล้า ได้เห็นเปลวไฟลักษณะเหมือนลิ้นแยกไปอยู่เหนือศีรษะของทุกคน ในเวลานั้นเองทุก คนก็ได้รับพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม เครื่องหมายของเหตุการณ์นี้คือการที่ทุกคน สามารถพูดให้คนที่มาชุมนุมกัน ณ ตอนนั้นซึ่งมาจากที่ต่างกันและพูดภาษาต่างกัน สามารถเข้าใจในภาษาของเขาได้ - มิใช่เพียงเท่านั้น ให้เราย้อนไปดูพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ได้ตรัสกับบรรดา สาวกในคำ�ปราศรัยอำ�ลาระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้ายว่า “เราบอกสิ่งเหล่า นีใ้ ห้ทา่ นฟัง ขณะทีเ่ รายังอยูก่ บั ท่าน แต่พระผูช้ ว่ ยเหลือคือพระจิตเจ้าทีพ่ ระบิดาจะทรง ส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เรา เคยบอกท่าน” (ยน 14:25-26) - ดังนั้น หน้าที่ของพระจิตเจ้านั้นมิใช่เพียงแต่ให้บรรดาสาวกสามารถพูดภาษา ต่างๆ ได้ แต่ที่สำ�คัญคือ พระองค์ทรงสถิตในบุคคลเหล่านั้นทำ�ให้กลายเป็น “พระ คริสต์” อีกองค์หนึ่ง เพื่อสานต่อพระพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้าต่อไปในโลกนี้ - พระจิตเจ้าทรงมีพระธรรมชาติเป็นจิตล้วนหรือจิตบริสุทธิ์ พระองค์มิได้ทรง รับเอากายเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับพระเยซูเจ้าผู้ได้ทรงใช้ช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตร่วมกับ มนุษย์ ถึงกระนั้นก็มิใช่ว่าสติปัญญาอันจำ�กัดของเรามนุษย์จะไม่สามารถรู้จักพระองค์ ได้ เพระพระจิตเจ้าได้ทรงประทาน “ร่องรอย” ของพระองค์ไว้ให้เราสัมผัสได้โดยผ่าน ทางสัญลักษณ์ต่างๆ - เรายังสามารถเห็นผลของพระจิตเจ้าได้จากชีวติ ทีเ่ ป็นประจักษ์พยานของบรรดา นักบุญ ชีวติ ของบรรดาธรรมทูต ผูแ้ พร่ธรรมทัง้ หลาย ในพระพรพิเศษทีแ่ ต่ละคนมี เรา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ลองมองไปรอบๆ ตัวของเรา เราจะเห็นคนดีทสี่ ามารถกระทำ�ความดีได้โดยทีไ่ ม่ยอ่ ท้อ แม้ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็ตาม นี่เป็นผลของพระจิตเจ้าประการหนึ่ง - นอกจากนั้น พระศาสนจักรยังได้สอนอีกว่า พระจิตเจ้าทรงเป็นพระบุคคลที่ สามในพระตรีเอกภาพ ทรงเป็นพระเจ้าเท่าเสมอพระบิดาและพระบุตร ทรงเป็นสาย สัมพันธ์แห่งความรักของพระบิดาและพระบุตร ทรงปฏิบัติงานพร้อมกับอีกสองพระ บุคคล พระองค์ทรงเป็นผู้ทำ�ให้มนุษย์และสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไป - พระจิตทรงเป็นผู้ร่วมปฏิบัติพันธกิจร่วมกับพระบุตรในทุกกิจการของพระองค์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 8 กลุ่ม (หรือตามความเหมาะสมหากมีผู้เรียนจำ�นวนน้อย) จากนั้นให้แต่ละกลุ่มศึกษา “สัญลักษณ์แห่งพระจิตเจ้า” จากหนังสือคำ�สอนพระ ศาสนจักรคาทอลิก ตั้งแต่ข้อ 694 ถึงข้อ 701 กลุ่มละ 1 ข้อ [1) น้ำ� 2) การเจิม 3) ไฟ 4) เมฆและแสงสว่าง 5) ตราประทับ 6) มือ 7) นิ้ว 8) นกพิราบ] ให้เวลา ทำ�งานไม่เกิน 10 นาที โดยหลังจากที่ได้อ่านแล้ว สมาชิกทุกคนจะต้องช่วยกันสรุป สาระของข้อนั้นๆ ให้ได้ใจความที่เข้าใจได้และครบถ้วน โดยให้มีเลขาฯ บันทึกสรุปไว้ และให้กลุม่ นำ�ข้อสรุปนัน้ มาเขียนใส่กระดาษโปสเตอร์แผ่นใหญ่เพือ่ เตรียมนำ�เสนอให้ แก่เพื่อนๆ ทุกคนด้วย

ดูเรื่อง “สัญลักษณ์แห่งพระ จิตเจ้า” จากหนังสือคำ�สอน (CCC) ข้อ 694-701

- เมื่อทุกกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้ทุกกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันเนื้อหาสาระที่ สรุปได้ (ใช้โปสเตอร์) ให้เพื่อนๆ ทุกคนฟัง การที่ได้รับฟังเนื้อหาของทุกกลุ่มจะทำ�ให้ ผู้เรียนมีภาพรวมที่ค่อนข้างครบเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของพระจิตเจ้า - การเรียนรู้เกี่ยวกับพระจิตเจ้าในช่วงเวลาสั้นๆ คงจะทำ�ให้เราเข้าใจถึงพระองค์ ได้น้อยมาก ยิ่งกว่านั้นการเข้าใจยากยังมีสาเหตุมาจากพระธรรมชาติที่เป็นนามธรรม ของพระองค์ แต่เราทราบว่าพระองค์ทรงทำ�งานในใจของผู้ที่ปรารถนาเป็น “คนดี” หรืออย่างน้อยแม้บางคนไม่ได้เจริญชีวติ อย่างดี แต่ในวาระสุดท้ายของชีวติ เขาก็จะเข้าใจ ทุกอย่างได้จากการกระทำ�ของตนเอง - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 5 กลุ่ม และทำ�ใบงาน “ดีอีกได้” โดยการตอบคำ�ถามที่ว่า “เหตุใดเรือ่ งนีจ้ งึ จบแบบนี?้ ” จะช่วยให้ผเู้ รียนไตร่ตรองถึงพฤติกรรมของตัวเอกในเรือ่ ง ว่าการปฏิบัติแบบใดจะจบลงอย่างใด? ความสุขและความสำ�เร็จในชีวิตจะเกิดขึ้นได้ อย่างไร? ทีส่ �ำ คัญคือผูข้ บั เคลือ่ นในใจมนุษย์ให้เขาทำ�สิง่ ทีด่ ๆี ก็คอื องค์พระจิตเจ้านัน่ เอง เพราะลำ�พังมนุษย์นั้นเขามักจะเอนเอียงไปในการทำ�สิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติฝ่ายเนื้อ หนังซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมชาติฝ่ายจิต - เรื่องเล่าทั้ง 5 เรื่องที่ได้อ่านกันนั้นอาจเป็นเพียงเรื่องเล่า แต่ในชีวิตจริงเรา สามารถพบบุคคลที่ทำ�ดีและทำ�ชั่วได้ขนาดนี้เช่นกัน บุคคลที่ดีคือรูปแบบที่เป็น นามธรรมของผูด้ �ำ เนินชีวติ ตามการดลใจของพระจิตเจ้าทีเ่ ราเห็นและสัมผัสได้ ในทาง กลับกันผูท้ ี่ท�ำ ชั่วก็เป็นรูปแบบของผูท้ ี่ด�ำ เนินชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ� ไม่ฟังเสียงของ พระจิตซึ่งอาจมาถึงเราผ่านทางเสียงมโนธรรม บุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ และที่สุดก็ จะพบจุดจบที่เลวร้ายของชีวิต

ดูใบงาน “ดีอีกได้” ท้ายแผน


16

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ในมุมมองเดียวกันนี้ จะทำ�ให้เราเข้าใจว่า พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทสำ�คัญที่สุด ต่อมนุษย์แต่ละคนในการทำ�ให้ชวี ติ ของเขาศักดิส์ ทิ ธิเ์ พราะเมือ่ ผูใ้ ดฟังเสียงของพระจิต เจ้าอยู่เสมอในการกระทำ�ต่างๆ เขาจะเลือกทำ�แต่สิ่งที่ดีๆ ไม่ปฏิบัติตนในทางชั่วร้าย ทั้งต่อพระเจ้า ต่อตนเองและต่อเพื่อนพี่น้องรอบข้าง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนปรึกษาพระจิตเจ้าเสมอก่อนจะทำ�กิจการใดๆ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้สวด “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “ดีอีกได้” คำ�ชี้แจง : 1. ให้ทุกกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลากเรื่องเล่าของแต่ละกลุ่ม 2. สมาชิกกลุ่มอ่านเรื่องที่กำ�หนดให้ จากนั้นให้ตอบคำ�ถามว่า “เหตุใดเรื่องนี้จึงจบแบบนี้?” 3. หาตัวแทนกลุ่มเพื่อเล่าเรื่องย่อของเรื่องที่กลุ่มจับได้ให้เพื่อนๆ ทุกคนฟัง พร้อมกับคำ�ตอบของโจทย์ที่ ว่า “เหตุใดเรื่องนี้จึงจบแบบนี้?” เรื่องเล่า 5 เรื่อง คือ . . .


17

กลุ่มที่ 1 เรื่อง “ขนมปงก้อนเดียว” ฉันกำ�ลังทำ�ง�นทีห่ �้ งสรรพสินค้� มีหน้�ทีต่ รวจเช็คสินค้� และวันหนึง่ ฉันเครียดม�ก เมือ่ เจอเด็กคน หนึ่งเดินม�ที่เช็คสินค้�พร้อมกับขนมปัง 1 ก้อน ฉันบอกเด็กคนนั้นว่� “ราคา 1 ดอลลาร์ 90 เซ็นต์” เด็กคน นัน้ ลดมือทีถ่ อื ขนมปังลงและตัง้ ใจจะนำ�ไปคืนทีเ่ ดิมเพร�ะไม่มเี งินพอ เด็กมองม�ทีฉ่ นั อย่�งขอโทษทีห่ ยิบของ ม�แต่ไม่มีเงิน เข�พย�ย�มนับเศษเงินอีกครั้งด้วยมืออันสั่นเท� ฉันช่วยเด็กนับ ฉันรู้สึกไม่สบ�ยใจเมื่อได้ยิน เสียงจ�กผู้หญิงพูดขึ้นม�ว่� “ฉันคิดว่าช่องนี้น่าจะเช็คของได้เร็วกว่านี้...ช้าจริงๆ !” เด็กน้อยคนนั้นมีเงินแค่ 28 เซ็นต์เท่�นั้น ฉันมองที่เด็กด้วยคว�มสงส�ร แก้มของเข�แดงน่�รักม�ก ฉันถ�มตัวเองว่� “พระเยซูจะทำาอย่างไรถ้าพระองค์อยู่ที่นี่ คุณพ่อจะแนะนำาอย่างไรถ้าเราไปวัดวันอาทิตย์” ด้วยคว�มรวดเร็วฉันเขียนใส่กระด�ษเล็กๆ ว่� “ฉันขอโทษ ขนมปังนีร้ าคา 28 เซ็นต์เท่านัน้ เอง” เด็ก น้อยคนนัน้ รูท้ นั ทีว�่ คนเช็คสินค้�เป็นคนจ่�ยเงินแทนทีข่ �ด เข�จึงขอบคุณพร้อมกับมอบรอยยิม้ ทีน่ �่ รักแถม ม�ด้วย หลังจ�กที่ลูกค้�หล�ยคนบ่นฉัน แต่ฉันกลับรู้สึกมีคว�มสุขอย่�งม�กอย่�งที่ไม่เคยรู้สึกม�ก่อน ฉันยังรู้สึกแปลกใจกับตัวเองว่� “ทำาไมขนมปังก้อนเดียวฉันถึงมีความสุขมากขนาดนี้” (คัดจากหนังสือ Happy Time by พ่อมี้ หน้า 57-58)

กลุ่มที่ 2 เรื่อง “ความโลภฆ่าเรา” น�นม�แล้ว... จักรพรรดิพระองค์หนึ่งมีรับสั่งกับคนเลี้ยงม้�ของพระองค์ว่� “ถ้าสามารถขี่ม้าของเขา ได้ไกลเท่าไหร่ ก็จะมอบที่ดินให้เท่านั้น” ทันทีทันใดคนเลี้ยงม้�รีบกระโดดขึ้นม้�ทันที และรีบควบม้�อย่�ง เร็วเท่�ที่เป็นไปได้ เข�ขี่ไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุดพัก แม้เข�เริ่มเหนื่อยเข�ก็ไม่ยอมพัก เพร�ะเข�ต้องก�รได้ที่ ดินม�กเท่�ที่ม�กได้ เข�ขี่ม้�ม�ถึงจุดที่พอใจและคงได้ที่ดินม�กม�ย เข�ลงจ�กม้�และล้มลงสิ้นใจทันที เข�ถ�มตัวเองว่� “ทำาไมผมถึงทำาตัวอย่างนี้ ทำาให้ชีวิตต้องลำาบากอยากได้ที่ดินมากๆ แต่ต้องจบชีวิตลงและได้ที่ดินผืนเล็กๆ สำาหรับฝังเท่านั้น” เรื่องนี้สอนใจเร�ทุกคนที่ใช้ชีวิตในโลกนี้ เร�ทำ�ทุกอย่�งเพื่อได้เงินม�กขึ้น มีอำ�น�จม�กขึ้น เป็นที่ ประทับใจของผู้คนม�กขึ้น เร�ละทิ้งสุขภ�พ ครอบครัว คว�มงดง�มรอบๆ ตัวเร� ง�นที่เร�รัก วันหนึ่งที่เร�มองย้อนหลังกลับไป เร�จะตระหนักว่� จริงๆ แล้วเร�ไม่ได้ต้องก�รมันม�กเท่�ไหร่ แต่ เวล�นั้นก็ส�ยไปเสียแล้ว เร�ไม่ส�ม�รถเอ�สิ่งดีๆ ที่เร�ได้พล�ดไปกลับม�ได้ (คัดจากหนังสือ Happy Time by พ่อมี้ หน้า 69)


18

กลุ่มที่ 3 เรื่อง “ความคิด” เรื่องเล่�ถึงช�ยคนหนึ่งเดินท�งไปถึงสวรรค์ของช�วฮินดู เข�พบต้นไม้ต้นหนึ่งที่เรียกว่� “Kalptaru” มีคว�มหม�ยว่�ต้นไม้แห่งคว�มสมปร�รถน� เมื่อช�ยคนนี้ม�ถึงเข�รู้สึกเหนื่อยม�กจึงนั่งพักลง เข�รู้สึกหิว ม�กและเริ่มคิดถึงอ�ห�ร เข�คิดว่� “ถ้ามีใครอยู่แถวนี้ ผมขออาหารทานสักหน่อย” เพียงครู่เดียวที่คว�มคิดเกี่ยวกับอ�ห�รปร�กฏขึ้นในใจเข� ทันทีอ�ห�รก็ปร�กฏม�ต่อหน้�เข� และ เข�หิวม�กก็เลยกินอ�ห�รที่เห็นทันที สักพักหนึ่งเข�เริ่มง่วงนอน เข�เริ่มคิดอีก “ถ้ามีเตียงนอนที่นี่ก็จะดี” ทันทีที่คิดเตียงนอนก็ปร�กฏต่อหน้�ทันที เข�ล้มตัวนอนทันทีและคว�มคิดก็ผุดขึ้นม�อีก “เกิดอะไรขึ้นแน่ เขาไม่เห็นคนทีน่ าำ อาหารมา ไม่เห็นคนทีน่ าำ เตียงมา บางทีอาจเป็นผีเองทีน่ าำ สิง่ ต่างๆ เหล่านีม้ าให้กไ็ ด้” (เขา คิด) ทันทีทนั ใดผีกป็ ร�กฏตัวม�ให้เข�เห็นทันที เข�เริม่ กลัวและคิดต่อไปว่� ผีคงจะฆ่�เข�แน่นอนเลย ระหว่�ง ที่เข�คิดอยู่นั้นผีก็รุมและฆ่�เข�ทันที (คัดจากหนังสือ Happy Time by พ่อมี้ หน้า 70)

กลุ่มที่ 4 เรื่อง “คุณทอนเงินเกิน” หล�ยปี ผ่ � นม�แล้ ว นั ก เทศน์ ค นหนึ่ ง เดิ น ท�งออกจ�กประเทศไปที่เมือง Houston ในรัฐ Texas 2-3 อ�ทิตย์ที่ม�ถึง คุณพ่อมีโอก�สที่ต้องเดินท�งโดย ใช้รถประจำ�ท�งเพื่อเข้�ไปในเมือง เมือ่ คุณพ่อได้ทนี่ งั่ ในรถ คนเก็บตัว๋ ทอนเงินเกิน ให้คณ ุ พ่อ คุณพ่อคิดว่�ควรทำ�อย่�งไร สักครูค่ ณ ุ พ่อก็พดู ว่� “คุณทอนเงินเกิน เป็นการไม่ถูกต้องที่จะเก็บเงินคน อืน่ เอาไว้ แม้จะเป็นจำานวนเงินไม่มากแต่กไ็ ม่ดถี า้ เก็บไว้ มันไม่ยุติธรรม” เมื่อถึงที่หม�ยคุณพ่อก็เตรียมตัวลง และยิ้มให้กับคนเก็บตั๋วอีกครั้งหนึ่ง คนเก็บตั๋วยิ้มตอบ และพูดว่� “คุณเป็นคุณพ่อใหม่ที่เพิ่งมาที่ Texas ใช่ไหม?” คุณพ่อตอบว่� “ใช่แล้ว” คนเก็บตั๋วตอบว่� “ดีเลย ผมกำาลังคิดอยู่ว่าจะไปวัดไหนดี ผมต้องการทดสอบคุณพ่อว่า วัดที่ผมจะ ไปอาทิตย์นี้คุณพ่อเจ้าวัดน่าเชื่อถือได้แค่ไหน แล้วเจอกันวันอาทิตย์ครับ” เมื่อคุณพ่อลงจ�กรถประจำ�ท�ง คุณพ่อพูดกับตัวเองว่� “โอ พระเจ้า ผมเกือบขายพระองค์ด้วยเศษเงินเพียงไม่กี่ตังซะแล้ว” (คัดจากหนังสือ Happy Time by พ่อมี้ หน้า 83)


19

กลุ่มที่ 5 เรื่อง “พระคุณพระจิต” นักกวีชื่อ Josef Rending ได้เล่าถึงชายคนหนึ่งดื่มเบียร์ 3 แก้ว ระหว่างประชุมตอนเย็น หลังจากนั้นเขารีบกลับบ้านโดยรถใหม่ของเขา เพื่อพบภรรยาและลูก เขาขับรถชนชายคนหนึ่งที่ขี่จักรยาน ชายคนนั้นล้มลงและเต็มไป ด้วยแผล ชายที่ดื่มเบียร์มองดูไปรอบๆ เพื่อดูว่าใครเห็นเหตุการณ์บ้าง ไหม เมื่อไม่เห็นใครจึงรีบขับรถหนีอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มคิดกังวลว่าถ้า ตำ�รวจมาพบเข้าและรู้ว่าเขาดื่มเบียร์มาด้วย เขาคงถูกริบใบอนุญาต เขา คงหมดอนาคตแน่นอน ขณะทีเ่ ขากำ�ลังคิดและกังวลอยูน่ นั้ เขาคิดว่าควรทำ�อะไรสักอย่างเพือ่ ความถูกต้อง ภาพชายถูกรถชน ก็แว้บมาหาเขาอีก เขาเริม่ คิดว่า “ชายทีถ่ กู ชนคงมีครอบครัวเหมือนกัน” ส่วนฉันมีรถยนต์ขบั เขามีแค่จกั รยาน และเขาคงจะต้องการรีบกลับบ้านพบภรรยาและลูกเหมือนกัน ในที่สุดเขาขับรถมาถึงบ้านเขาคิดอีกว่า “ชายที่ถูกชนคงลำ�บาก โดดเดี่ยว และเจ็บปวดอย่างมาก” เขารู้สึกแย่มากไม่สามารถสงบจิตใจได้ เขาจึงตัดสินใจกลับไปช่วยชายที่ถูกชนทันที เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุเขาเห็นชายคนนั้นนั่งร้องไห้อยู่ในความมืด มีบาดแผลเต็มตัว จักรยานแยกเป็น ชิ้นๆ ชายที่ถูกชนวิ่งเข้ามาคุกเข่าต่อหน้าเขาและพูดว่า “คุณกลับมาช่วยผม ขอบคุณมาก” ชายที่ถูกชนไม่ได้ ด่าว่าเขาเลย เขาเพียงขอบใจที่กลับมาช่วยเท่านั้น (คัดจากหนังสือ Happy Time by พ่อมี้ หน้า 131-132)


20

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง การเผยแผ่ศาสนาคริสต์และคริสตชนสมัยแรกเริ่ม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนสมัยแรกเริ่มเป็นรูปแบบของการดำ�เนินชีวิตของ คริสตชนในปัจจุบัน ในความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกันฉันพี่น้อง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนลด ละ เลิก ความเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น สาระการเรียนรู้ คริสตชนสมัยแรกเริ่มต่อจากสมัยของพระเยซูเจ้านั้นเป็นแบบอย่างของทุกชีวิตหมู่คณะและชีวิตครอบครัว สมาชิกทุกคนเจริญชีวิตด้วยความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ตามแนวพระวรสารที่พระเยซูเจ้าทรงสอน โดยการร่วมพิธี บิขนมปัง อ่านพระวาจาด้วยกัน การสละทรัพย์สมบัติส่วนตนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องที่ขัดสนกว่า การช่วยเหลือซึ่งกันและ กันโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ อย่างปราศจากความเห็นแก่ตัว และนี่คือภาพของ “วิถีชุมชนวัด” ที่พระศาสนจักรพยายาม ทำ�ให้เกิดขึ้นในทุกชุมชนคริสตชน ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยตั้งคำ�ถามว่า “ทุกวันนี้ เรามีความสุขมากไหม?... อะไร คือสิง่ ทีท่ �ำ ให้การอยูร่ ว่ มกันในครอบครัวหรือกับเพือ่ นๆ มีความสุขบ้าง?...และอะไรคือ สิ่งที่เป็นสาเหตุทำ�ให้การอยู่ด้วยกันนั้นไม่มีความสุข?” - ให้ผู้เรียนมีเวลาไตร่ตรองถึงความจริงนี้สักครู่ จากนั้น ให้ผู้เรียนทุกคนไปเขียน คำ�ตอบของตนไว้ทบ่ี อร์ดหน้าห้อง (แบ่งบอร์ดเป็น 2 ช่อง คือช่องเหตุแห่งความเป็นหนึง่ เดียว และช่องเหตุแห่งความแตกแยก) โดยหากมีค�ำ ตอบซ้�ำ กันให้เขียนเป็นความถีไ่ ว้ - เมื่อผู้เรียนทุกคนได้เขียนคำ�ตอบเสร็จแล้ว ให้พิจารณาไปพร้อมๆ กันว่า คำ� ตอบทั้งหมดนั้นถูกต้อง เป็นความจริงหรือไม่? เพราะเหตุใด? - การเจริญชีวิตของเราแต่ละคนกับบุคคลรอบข้างนั้น ไม่ว่าจะในครอบครัว ที่ โรงเรียน หรือในกลุม่ ใดก็ตาม มักจะมีสขุ ปนทุกข์อย่างแน่นอน แต่ให้แต่ละคนพิจารณา อย่างจริงจังว่า จำ�เป็นทีช่ วี ติ ของเราต้องเป็นเช่นนี้ แบบนีห้ รือ จะมีการพัฒนาเปลีย่ นแปลง ไปในทางทีด่ กี ว่านีไ้ ด้หรือไม่? เราอยากจะให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในเชิงบวกบ้างหรือไม่? นัน่ หมายความว่าเราต้องการดำ�เนินชีวติ ให้มคี วามสุขมากกว่านีใ้ ช่หรือไม่? - มีหมู่คณะหนึ่งที่สมาชิกเจริญชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุขแม้ว่าจะต้องพบกับ ปัญหาหรืออุปสรรคเช่นเดียวกัน อะไรคือสาเหตุที่ทำ�ให้พวกเขามีความสุขใจในการ เจริญชีวิตอยู่ด้วยกัน? และสิ่งนั้นจะทำ�ให้ชีวิตของการอยู่ด้วยกันของเราในปัจจุบันมี ความสุขได้ด้วยหรือไม่?

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - พระคัมภีร์ได้นำ�เสนอตัวอย่างของหมู่คณะนี้แก่เราในหนังสือกิจการอัครสาวก

3 พระวาจา : ชีวิตของกลุ่มคริสตชนสมัยแรก กจ 2:42-48 คนเหล่านั้นประชุมกันอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อฟังคำ�สั่งสอนของบรรดาอัครสาวก ดำ�เนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง ร่วม “พิธีบิขนมปัง” และอธิษฐานภาวนา พระเจ้าทรง บันดาลให้บรรดาอัครสาวกทำ�ปาฏิหาริยแ์ ละเครือ่ งหมายอัศจรรย์เป็นจำ�นวนมาก ทุก คนจึงมีความยำ�เกรง ผู้มีความเชื่อทุกคนดำ�เนินชีวิตร่วมกันและมีทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม เขาขาย ที่ดินและทรัพย์สินอื่นๆ แบ่งเงินให้ทุกคนตามความต้องการ ทุกๆ วัน เขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหารและไปตามบ้านเพื่อทำ�พิธีบิขนมปัง ร่วมกินอาหารด้วยความยินดีและเข้าใจกัน เขาทัง้ หลายสรรเสริญพระเจ้าและได้รบั ความ นิยมจากประชาชนทุกคน องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำ�ให้จำ�นวนผู้ที่ได้รับความรอดพ้น เพิ่มขึ้นทุกวัน กจ 4:32-35 กลุ่มผู้มีความเชื่อดำ�เนินชีวิตเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดว่าสิ่งที่ตนมีเป็น กรรมสิทธิ์ของตน แต่ทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม บรรดาอัครสาวกยังคงเป็นพยานยืนยันถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าด้วยเครือ่ งหมายอัศจรรย์ยงิ่ ใหญ่ และทุกคนได้รบั ความเคารพนับถือ อย่างสูง ในกลุ่มของเขาไม่มีใครขัดสน ผู้ใดมีที่ดินหรือบ้านก็ขายและมอบเงินที่ได้ ให้ บรรดาอัครสาวก เพื่อแจกจ่ายให้ผู้มีความเชื่อแต่ละคนตามความต้องการ

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งสองตอนนี้มาจากหนังสือกิจการอัครสาวกเดียวกัน แต่มาจากสอง ตอนที่เล่าเรื่องเดียวกัน คือเรื่องราวสั้นๆ ของหมู่คณะคริสตชนสมัยแรกเริ่ม เสมือน เป็นการตอกย้ำ�ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับหมู่คณะแรกเริ่มนั้นเป็นความจริงอย่างไม่ต้องสงสัย - พระวาจาทั้งสองตอนดังกล่าวทำ�ให้เราสามารถค้นพบมิติสำ�คัญที่ทำ�ให้หมู่คณะ แรกนั้นมีลักษณะพิเศษจนกลายเป็น “หมู่คณะต้นแบบ” ของทุกหมู่คณะคริสตชนใน ปัจจุบัน ดังนี้คือ 1. ทุกคนประชุมกันอย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อฟังคำ�สอนของบรรดาอัครสาวก 2. ทุกคนร่วมพิธีบิขนมปังและอธิษฐานภาวนา สรรเสริญพระเจ้า 3. ดำ�เนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง มีความเข้าใจกัน เป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน.. ร่วม กินอาหารด้วยความยินดี 4. ทุกคนถือว่าทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม ไม่ยึดติดกับการมีกรรมสิทธิ์ในของๆ ตน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


22

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5. เป็นพยานยืนยันถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า 6. จำ�นวนผู้ได้รับความรอดพ้นเพิ่มขึ้นทุกวัน

- เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปเราจะพบว่า ข้อ 1 และ 2 คือเหตุของข้ออื่นๆ ที่ตาม มา กล่าวคือ ข้อ 1 และ 2 ทำ�ให้ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกแน่นแฟ้นขึ้นเพราะใน ระหว่างพวกเขามีการพบปะพูดคุยกันอย่างสม่�ำ เสมอ มีการฟังคำ�สอนของบรรดาสาวก ซึง่ เป็นผูถ้ า่ ยทอดพระวาจาของพระเยซูเจ้า ทำ�ให้บรรดาคริสตชนมีอาหารฝ่ายจิตทีค่ อย หล่อเลี้ยงวิญญาณของตนอยู่เสมอ นอกจากอาหารที่ได้จากการฟังคำ�สอนและการ พบปะกันแล้ว ทีส่ �ำ คัญกว่านัน้ ก็คอื อาหารทิพย์ทพี่ วกเขาได้รบั จากการร่วมพิธบี ขิ นมปัง และอธิษฐานภาวนา สรรเสริญพระเจ้า - ผลจากการปฏิบัติข้อที่ 1 และ 2 จึงเกิดเป็นข้อที่ 3-6 นั่นก็คือ เมื่อทุกคนได้ ซึมซับพระวาจาของพระเจ้าผ่านทางการเทศน์สอนของบรรดาสาวกและการพบปะกัน ก็ได้พบปะกับพระเจ้าผ่านทางพิธบี ขิ นมปัง การภาวนาสรรเสริญพระเจ้าร่วมกัน ทำ�ให้ พวกเขาเกิดมีพลังแห่งความรักต่อพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์อย่างยิง่ ใหญ่ จนกระทัง่ พวก เขาสามารถลืมตนเองโดยสิ้นเชิง เจริญชีวิตเพื่อผู้อื่น สามารถแสดงความรักต่อพระเจ้า และเพือ่ นพีน่ อ้ งอย่างเป็นรูปธรรมในการปฏิบตั จิ ริง ยึดพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวติ ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ยึดติดอยู่กับวัตถุสิ่งของใดๆ ไม่ถือว่าสิ่งที่ตนมีเป็นของตนเท่านั้น แต่คดิ ว่าเป็นพระพรทีพ่ ระให้เพือ่ ความดีสว่ นรวม ดังนัน้ การได้เสียสละเพือ่ ผูอ้ นื่ จึงนำ� ความสุขใจอย่างเหลือล้นมายังผู้ให้ เขาเข้าใจว่าการทำ�สิ่งดีๆ เหล่านั้นคือพระพรของ พระและในเวลาเดียวกันก็ยังเป็นบุญกุศลที่แต่ละคนสะสมไว้ในโลกนี้ด้วย ซึ่งบุญกุศล เหล่านี้ไม่มีใครสามารถทำ�แทนกันได้ เพราะบุญบาปนั้นเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล - การเข้าใจความจริงเหล่านี้อย่างลึกซึ้งและการพยายามดำ�เนินชีวิตให้สอดคล้อง กับสิง่ ทีเ่ ชือ่ นัน้ ในเวลาเดียวกันก็คอื การเป็นประจักษ์พยานถึงความรักและความเมตตา ของพระเจ้าต่อมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอานิสงค์แห่งความรักของพระเจ้าก็จะเกิดใน ใจของบุคคลมากมาย จนกระทั่งพวกเขาก็กลายเป็นหนึ่งในจำ�นวนผู้รอดพ้นด้วยเช่น กัน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คำ�สอนทั้ง 5 ข้อที่ได้จากการศึกษาพระวาจาข้างต้นนี้คือลักษณะเด่นที่ถูก บันทึกไว้ให้เราคริสตชนรุ่นหลังได้กลับไปค้นพบ ศึกษา เรียนรู้ และเลียนแบบ หาก เราต้องการให้การดำ�รงชีวิตอยู่ของเราในปัจจุบันเป็นไปอย่างมีความรักและเป็นหนึ่ง เดียวกัน กล่าวคือ * สมาชิกต้องมีการพบปะกันอย่างสม่ำ�เสมอ ฟังคำ�สอนของผู้นำ� ไม่ว่าจะเป็น พระสงฆ์เจ้าอาวาส ครูคำ�สอน หรือผู้นำ�กลุ่มต่างๆ * มีการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณเป็นประจำ�ตามที่พระบัญญัติกำ�หนด * อยู่ร่วมกันฉันพี่น้องอย่างเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน เฉลิม ฉลองด้านพิธีกรรมและฝ่ายวัตถุด้วยกัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


23

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

* ไม่มีใครเห็นแก่ตัว ทุกคนมีความเสียสละ ถือว่าสิ่งที่ตนมีเป็นของส่วนรวม * ดำ�เนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงความรักของพระเจ้าอย่างเป็นรูปธรรม - ผู้เรียนคงเคยทราบทิศทางอภิบาลของพระศาสนจักรแล้วว่า ได้มีการรณรงค์ให้ ทุกวัดสร้าง “ชุมชนคริสตชนพื้นฐาน” (BCC: Basic Christian Community) มา เป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้ก็มีแหล่งมาจากพระวาจาตอนที่เราได้ศึกษา มาแล้วนั้น เพราะพระศาสนจักรต้องการให้ชุมชนคริสตชนของทุกวัดดำ�เนินชีวิตแบบ คริสตชนกลุ่มแรกเริ่มนั่นเอง - หากแต่ละชุมชนวัด สามารถสร้างตนเองให้เป็นดังคริสตชนสมัยแรกได้แล้ว พระศาสนจักรทัง้ ครบก็จะบรรลุถงึ สิง่ ทีพ่ ระเยซูคริสตเจ้าต้องการให้เราเป็น นัน่ คือ พระ กายทิพย์ทศี่ กั ดิส์ ทิ ธิข์ องพระองค์ ในทางกลับกัน หากแต่ละชุมชนวัดยังไม่สามารถเริม่ ดำ�เนินชีวิตตามแนวทางแห่งพระวรสารได้ พระศาสนจักรสากลก็ยังไม่สามารถเป็น ภาพลักษณ์ที่สมบูรณ์ถึงพระคริสตเจ้าได้อย่างแน่นอน - เพื่อให้ผู้เรียนมีภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับ “วิถีชุมชนวัด” ให้ผู้เรียนจับคู่กับ เพื่อนที่นั่งข้างๆ แล้วอ่านสิ่งที่บรรดาพระสังฆราชซึ่งร่วมประชุมสหพันธ์สภาพระ สังฆราชแห่งเอเชียครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1990) ณ เมืองบันดุง อินโดนีเซีย ได้สรุปลักษณะ สำ�คัญของ “วิถีชุมชนวัด” หรือ “วิถีทางใหม่ของการเป็นชุมชนวัด” ไว้ในใบความรู้ เรื่อง “วิถีชุมชนวัด หรือ วิถีทางใหม่ของการเป็นชุมชนวัด”

ดูใบความรู้เรื่อง “วิถีชุมชน วัดฯ” ท้ายแผน

- เมื่อทุกคนได้อ่านเสร็จแล้วให้ทุกคู่ทำ�ใบงานเรื่อง “พรุ่งนี้ค่อยทิ้ง” โดยให้ทำ� ภารกิจท้ายใบงานให้สมบูรณ์ - จากการทำ�ใบงานและอ่านใบความรู้ดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสองแง่ มุมที่มีความเกี่ยวข้องกัน นั่นคือ ความโลภมาก ความเห็นแก่ตัวไม่เคยมองเห็นคนอื่น การเจริญชีวติ ในโลกทีม่ แี ต่ตนเองเท่านัน้ วัตถุนยิ ม การไม่เคยมองหน้าขึน้ เบือ้ งบนหา พระเจ้า การไม่เคยรักใครเลยนอกจากตัวเอง ฯลฯ หรือทีเ่ ราเรียกกันในสมัยนีว้ า่ ปัจเจก นิยม คืออุปสรรคยิ่งใหญ่ของการสร้างหมู่คณะหรือชุมชนที่มีความสุข ซึ่งก็คือชุมชน ตามภาพลักษณ์ทพี่ ระเยซูเจ้าทรงต้องการให้ศษิ ย์ของพระองค์สร้างขึน้ คือชุมชนแห่งผู้ เป็นศิษย์ของพระองค์ ที่มีสมาชิกทุกคนเจริญชีวิตในโลกนี้ด้วยการมองไปยังโลกหน้า คือโลกที่มีแต่ความรักและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในองค์พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

ดูใบงานเรื่อง “พรุ่งนี้ค่อย ทิ้ง” ท้ายแผน

- ให้แต่ละคนเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการพยายามมองตนเองในความ เป็นจริงว่า แต่ละคนมีใครที่รู้สึกว่า เราเป็น “ปฏิปักษ์” กับเขาหรือไม่? แม้ด้วยเหตุที่ เล็กน้อยเพียงใดก็ตาม แล้วให้แต่ละคนพยายามลด ละ เลิก ความเป็นปฏิปักษ์ต่อ บุคคลผู้นั้นด้วยการมอบสิ่งที่ดีๆ ให้แก่เขา เช่น รอยยิ้มหรือวาจาที่สุภาพ ฯลฯ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนลด ละ เลิก ความเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ยืนเป็นวงกลม จับมือกัน และสวด “บท แสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ


24

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................


25

ใบความรู้เรื่อง “วิถีชุมชนวัด หรือ วิถีทางใหม่ของการเป็นชุมชนวัด” “วิถีชุมชนวัด” หรือ “วิถีทางใหม่ของการเป็นชุมชนวัด” สามารถสร้างขึ้นได้บนพื้นฐานสำ�คัญ 4 ประการดังนี้ 1) ภราดรภาพของบรรดาบุตรธิดาของพระเจ้า ชุมชนวัด (และพระศาสนจักร) ในเอเชียจะต้องเป็นชุมชนที่มีความเป็นจิตหนึ่งใจเดียวกันของชุมชนย่อยๆ เป็นที่ซึ่งฆราวาส นักบวชและพระสงฆ์รับรู้และยอมรับกันและกันในฐานะเป็นพี่น้องชายหญิงต่อกัน (FABC 5: 8.1.1-2) 2) พระวาจาต้องเป็นจุดศูนย์กลาง พวกเขามารวมกันเป็นหนึ่งเดียวรอบๆ พระวาจาของพระเจ้า ภาวนา แบ่งปันพระวาจาและสนทนากัน เพื่อ แสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าร่วมกันในชุมชน พวกเขาสนับสนุนค้ำ�จุนกันและกันในชีวิตประจำ�วัน 3) ชุมชนวัดแห่งการมีส่วนร่วม ชุมชนวัด (และพระศาสนจักร) แห่งการมีส่วนร่วม เป็นที่ซึ่งฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ตระหนักรู้ถึง พระพรและพระคุณพิเศษที่พระจิตเจ้าประทานให้แต่ละคน เพื่อเสริมสร้างพระวรกายของพระคริสตเจ้า เป็นพระ ศาสนจักรในระหว่างเพื่อนบ้าน เพื่อปฏิบัติภารกิจให้สำ�เร็จลุล่วงไปในที่นั้น 4) ชุมชนคริสตชนที่เป็นประจักษ์พยานและประกาศข่าวดี พวกเขาเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ ที่ออกไปพบปะกับผู้ต้องการความช่วย เหลือด้วยความรัก สนทนาและร่วมมือกับทุกคนรอบข้างเพื่อทำ�ให้พระอาณาจักรของพระเจ้าปรากฏเป็นจริง 5) เครื่องหมายเชิงประกาศกถึงพระอาณาจักรของพระเจ้าในระหว่างเพื่อนบ้าน ชุมชนคริสตชนกลายเป็นเครื่องหมายเชิงประกาศก กล้าที่จะชี้ให้เห็นพระอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งเป็นอีก มิติหนึ่งที่ต่างไปจากโลกนี้ โดยความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนสังคมที่พวกเขาดำ�รงชีวิตอยู่ 6) ภาวะผู้นำ�ที่ไม่ครอบงำ�ผู้อื่น การเป็นผู้นำ�ทุกระดับในพระศาสนจักรนี้ จะไม่มีการใช้อำ�นาจเหนือคนอื่นแต่ทำ�ตัวเป็นดังผู้รับใช้ ยอมสละ ตัวตนแบบพระคริสตเจ้า ผู้นำ�ต้องไม่แสวงหาที่จะให้ผู้อื่นมารับใช้ตน แต่ยอมอุทิศตนเพื่อสร้างสังคมมนุษยชาติ

(คัดมาจาก เอกสารประกอบกระบวนการฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์ จาก www.diokorat.in.th/BEC/BEC/Bec.html)


26

ใบงานเรื่อง “พรุ่งนี้ค่อยทิ้ง” คำ�ชี้แจง : ให้อ่�นเรื่อง “พรุ่งนี้ค่อยทิ้ง” แล้วทำ�ภ�รกิจที่กำ�หนดให้ท้�ยแผน มีเศรษฐีคนหนึง่ เป็นคนร่�ำ รวยแต่ขเี้ หนียว เข�ให้อ�ห�รแก่ลกู และภรรย�น้อยม�กจนไม่เพียงพอจะดำ�เนิน ชีวติ นอกนัน้ เข�ยังพูดอีกว่� “พวกเธอไม่รหู้ รอก ควรกินเท่าไร ควรกินแต่นอ้ ยเพือ่ ไม่ตอ้ งจ่ายค่าหมอภายหลัง ฉัน ไม่มีเงินพอจะให้กินมากเกินไป ให้แค่ไหนก็กินแค่นั้น” เศรษฐีครุ่นคิดเรื่องเงินทองทั้งวันทั้งคืน คืนหนึ่งเข�ได้ยินเสียงบอกว่� “ท่านเศรษฐี ท่านช่างร่ำารวยจริงๆ ทำาไมไม่ช่วยคนจนบ้าง” เศรษฐีตอบว่� “เงินเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่ารวย ฉันยังช่วยคนจนไม่ได้เพราะฉันยังไม่รวย จริง” เสียงนั้นจึงบอกว่� “จงรับถุงเงินนี่ไว้ นี่เป็นถุงวิเศษ เงินในถุงไม่มีวันหมด ล้วงออกมาเท่าไหร่ก็ได้ ท่านล้วง ออกมาได้มากตามใจ วันใดทีท่ า่ นพอใจกับเงินทีล่ ว้ งออกมาแล้วก็ขอให้ขว้างถุงทิง้ ในแม่นา้ำ ทันที มีขอ้ แม้วา่ ถ้าท่าน ตายก่อนขว้างถุง เงินทองที่ล้วงมาจะกลายเป็นหินกรวดทั้งหมด” พอเสียงพูดจบ เศรษฐีก็ตื่นขึ้นทันที เข�พบถุง วิเศษอยู่บนเตียง เข�รีบล้วงเงินทันทีและเมื่อเข�ล้วงลงไปอีกครั้งเข�ดีใจม�กเพร�ะเงินในถุงไม่หมดสักที เป็นเช่น นี้ทุกครั้ง เข�จึงคิดว่� “ฉันเป็นคนมีความสุขที่สุดในโลก ฉันรวยแล้ว ฉันจะล้วงเงินให้ได้มากๆ ตลอดคืนเลยให้ถึง เช้า ให้ได้เงิน 1 กองใหญ่ๆ ค่อยพอ แล้วฉันจะขว้างถุงทิ้ง ฉันจะเก็บเงินครึ่งหนึ่งไว้อีกครึ่งให้คนจน” พอรุ่งเช้�มี กองเงินหล�ยกองบนเตียงของเศรษฐี เมือ่ ถึงเวล�เช้� เศรษฐีมองทีก่ องเงินแล้วทำ�หน้�ไม่พอใจ พูดกับตัวเองว่� “ยังรวยไม่พอ ต้องมากอีกหน่อย ฉันจะใช้เวลาทั้งวันล้วงเงินอีก คืนนี้ฉันถึงจะขว้างถุงทิ้ง ฉันจะเก็บไว้ 1 ส่วน อีก 1 ส่วนให้คนจน... ไม่สิ...ไม่ดีกว่า ฉันจะเก็บไว้ 3 ส่วน ให้คนจน 1 ส่วนก็พอ เพราะฉันทำางานอยู่คนเดียว” ตลอดวันเข�ไม่ทำ�อะไรนอกจ�กล้วงเงิน จ�กถุง เข�ไม่สนใจจะกินหรือดื่มอะไรทั้งสิ้น ภรรย�ม�เรียกกินก็ไม่ยอมกิน เข�ตะโกนออกม�ว่� “ไม่หิว วันนี้ไม่ กิน” มีกองเงินเต็มห้อง แต่เข�ยังไม่ยอมขว้�งถุง เข�พูดว่� “ถ้าฉันขว้างถุงลงแม่นา้ำ ทุกอย่างก็จบ ฉันไม่จาำ เป็นต้อง รีบ ขอเวลาอีก 2 วัน จะได้มีเงินเยอะๆ แล้วค่อยแบ่งให้คนจน” เมื่อคิดดังนั้นแล้ว เข�ก็ล้วงเงินต่อไป จ�กวันเป็น เดือน เป็นปี เงินกล�ยเป็นภูเข�แต่เศรษฐียังไม่ยอมหยุด เข�ลืมคำ�สัญญ� ลืมคนจน คิดไปว่� “ทำาไมต้องขว้างถุง ทิ้ง ถ้าทิ้งก็อดเงิน” หล�ยปีผ�่ นไป ภรรย�ของเศรษฐีต�ยเพร�ะคว�มอดอย�ก ลูกทะเล�ะกับพ่อเรือ่ งเงิน ย้�ยหนีพอ่ ไป เปลีย่ น ชื่อเปลี่ยนน�มสกุล ส่วนเศรษฐีนับแต่เงินจนแก่เฒ่� วันหนึ่งเข�เดินไปขว้�งถุง แต่ไม่กล้�ขว้�งให้เหตุผลว่� ถุงนี้ ไม่อันตร�ยอะไร พร้อมทั้งเพิ่มคว�มมั่งมีได้เสมอ เข�แก่ม�ก ข�และมืออ่อนแรง แต่เข�ไม่ยอมหยุดที่จะล้วงเงิน วันหนึ่งเศรษฐีต�ยลง มือของเข�ยังคงล้วงถุงอยู่เลย ลูกช�ยกลับม�หลังเศรษฐีต�ย เข�พบแต่ก้อนกรวดกองเป็น ภูเข�ในบ้�น ไม่เว้นแม้ในหม้อต้มน้ำ� ตู้กับข้�ว และแม้แต่ในถ้วยช�มก็เต็มไปด้วยก้อนกรวด

ภารกิจ – หลังจากอ่านเรือ่ ง “พรุง่ นีค้ อ่ ยทิง้ ” แล้ว ให้เขียนว่า “ฉันจะบอกกับเศรษฐีให้หยุดเป็นคนโลภ มากด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ...”


27

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง ชีวิตหลังความตาย

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.5 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า คริสต์ศาสนาสอนถึงความจริงหลังความตายว่า มนุษย์จะเกิด และตายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงต้องพยายามดำ�เนินชีวิตให้ดีที่สุด - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนยึดมั่นกับการปฏิบัติสิ่งที่ดี ละเว้นความชั่วร้ายทุกชนิด สาระการเรียนรู้ ปัจจุบันมีคำ�สอนเกี่ยวกับความจริงหลังความตายมากมายหลายรูปแบบ ในฐานะที่เป็นคริสตชนเราต้อง ยึดมั่นในคำ�สอนของพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรอย่างมั่นคง เพราะความเชื่อเกี่ยวกับความตายจะมีผลต่อการดำ�รงชีวิตใน ปัจจุบัน ความเชื่อคริสตชนสอนว่ามนุษย์จะเกิดเพียงครั้งเดียวและตายเพียงครั้งเดียว ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ตรรกะที่ สอดคล้องกับความเชื่อนี้จึงเป็นการพยายามเจริญชีวิตในโลกนี้อย่างดีที่สุด ละเว้นความชั่วร้ายทุกชนิดเพราะเมื่อใดที่มนุษย์ หมดลมหายใจแล้วเขาจะไม่มีโอกาสที่จะแก้ตัวหรือแก้ไขอะไรอีกต่อไป ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนโดยตั้งคำ�ถามว่า “ใครทราบบ้างว่า เมื่อ ตายแล้วมนุษย์จะไปไหน?... จะเกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์...ศาสนาต่างๆ สอนเรื่องความ จริงหลังความตายอย่างไรบ้าง?...และพระศาสนจักรคาทอลิกสอนให้เราเชื่ออย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?...” - ผู้สอนปล่อยให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่โดยยังไม่ต้องตัดสิน ว่าคำ�ตอบใดถูกต้องที่สุด - ไม่วา่ ศาสนาใดจะสอนเกีย่ วกับเรือ่ งความจริงหลังความตายแตกต่างกันอย่างไร ก็ตาม แต่คริสตชนจะเชือ่ ในคำ�สอนของพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรว่า มนุษย์เราเกิด มาเพียงครั้งเดียวและจะตายเพียงครั้งเดียวเช่นกัน ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดดังที่บาง ศาสนาเชื่อกัน - ผลที่ตามมาจากการเชื่อเช่นนี้ก็คือ การดำ�เนินชีวิตในโลกนี้โดยคิดว่าหลังจาก ความตายนั้นไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้ว จึงต้องดำ�เนินชีวิตขณะยังมีลมหายใจให้ดีที่สุด - มีพระวาจาหลายตอนจากหนังสือหลายเล่มในพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องความ ตายของมนุษย์ ในที่นี้เราจะนำ�มาเพียงบางตอนเท่านั้นเพื่อช่วยให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้น ถึงเรื่องนี้ตามความเชื่อคาทอลิก

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


28

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา 1. เรื่องต้นมะเดื่อเทศไร้ผล วันรุ่งขึ้น ขณะที่พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากหมู่บ้านเบธานีพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระองค์ทรงรูส้ กึ หิว เมือ่ ทอดพระเนตรแต่ไกล ทรงเห็นมะเดือ่ เทศต้นหนึง่ มีใบ จึงเสด็จ เข้าไปทอดพระเนตรว่ามีผลหรือไม่ ทรงพบแต่ใบ เพราะมิใช่ฤดูมะเดือ่ เทศ พระองค์จงึ ตรัสแก่มะเดือ่ เทศต้นนัน้ ว่า “ตัง้ แต่นตี้ อ่ ไป อย่าให้ใครได้กนิ ผลของเจ้าอีกเลย” บรรดา ศิษย์ได้ยินพระวาจานี้ เช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่บรรดาศิษย์ผ่านมา ได้เห็นต้นมะเดื่อเทศเหี่ยวเฉาไปจนถึง ราก (มก 11:12-14, 20) 2. ร่างกายของท่านจะกลายเป็นฝุ่นดินดังเดิม และลมปราณจะกลับไปหาพระ เจ้าผู้ประทานลมปราณแก่ท่าน (ปญจ 12:7) 3. มนุษย์ถูกกำ�หนดให้ตายเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะมีการพิพากษา... (ฮบ 9:27) 4. เรามีความมั่นใจและปรารถนาที่จะถูกเนรเทศจากร่างกายมากกว่า เพื่อไป อยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า (2 คร 5:8) 4 อธิบายพระวาจา - จากเรื่องต้นมะเดื่อไร้ผล เราอาจรู้สึกว่าพระเยซูเจ้าทรงใจร้อนหรือไม่ได้ให้ เวลาแก่ต้นมะเดื่อเพื่อให้มันได้ออกผล หรือบางคนอาจคิดแย่กว่านั้นอีกคือ เห็นว่า พระองค์ทรงโมโหเพราะความหิว แต่เราจะเอากฎเกณฑ์ของมนุษย์ไปตัดสินพระองค์ ไม่ได้ มนุษย์เรามองด้วยเกณฑ์หรือสายตาของมนุษย์แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า พระองค์จึงมิได้ทรงทำ�สิ่งต่างๆ ด้วยความคิดแบบมนุษย์ - เรื่องของต้นมะเดื่อนี้จึงต้องการให้บทสอนแก่เราว่า ธรรมชาติของต้นไม้นั้น ปกติเมือ่ โตแล้วจะต้องให้ผล เฉพาะอย่างยิง่ ต้นมะเดือ่ เป็นพืชยืนต้นทีใ่ ห้ผลดกมาก พระ เยซูเจ้าจะไม่ทรงเรียกร้องให้มะเดื่อต้นอ่อนๆ ออกผลแน่นอนเพราะยังไม่ถึงเวลาของ มัน แต่หากพระองค์ได้ตรัสเช่นนั้น ก็แปลว่ามันเป็นต้นมะเดื่อที่ไร้ผลและไร้ประโยชน์ จริงๆ - บทสอนจากเรื่องนี้ก็คือ ต้นมะเดื่อเปรียบได้กับมนุษย์ ขณะที่ยังมีชีวิตและมี โอกาสในโลกนี้นั้นจะต้องดำ�เนินชีวิตให้มีผลที่ดี ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ โดยไม่ได้ทำ�ความดี อะไรเลย หรือที่แย่กว่านั้นก็คือ ทำ�แต่ความชั่วร้าย สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น เพราะความเห็นแก่ตัวและการเอาแต่ผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง ผู้ที่ปฏิบัติตนเช่นนี้ โดยไม่ต้องการกลับใจก็เปรียบได้กับต้นมะเดื่อไร้ผลนี่แหละ แม้จะมีชีวิตอยู่ก็ไร้ ประโยชน์ - คำ�สอนนี้ของพระเยซูเจ้าต้องช่วยเราให้เข้าใจความจริงที่ว่า ทุกนาทีที่เรายังมี ชีวติ อยูน่ นั้ เป็นพระพรอันประเสริฐของพระทีเ่ ราจะทำ�ให้เสียเปล่าไปไม่ได้ เราต้องทำ�ให้ ชีวิตของเรามีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดสำ�หรับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ เมื่อเป็นเช่น นีแ้ ล้ว ตัวเราเองก็จะได้อานิสงค์เป็นผลทีต่ ามมาด้วย นัน่ คือ เราจะได้สวรรค์เป็นรางวัล นิรันดร

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


29

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระวาจาอีกสามตอนจากหนังสือปัญญาจารย์ จดหมายถึงชาวฮีบรูและจดหมาย ฉบับที่สองของ น.เปาโลถึงชาวโครินธ์ก็ล้วนย้ำ�ความจริงเดียวกัน นั่นคือ มนุษย์จะเกิด ครั้งเดียวและตายครั้งเดียว เมื่อตายไปแล้วก็จะกลับไปหาพระเจ้า คืนวิญญาณให้แด่ พระองค์ผู้ทรงประทานให้มา - จากนั้น วิญญาณจะได้รับการพิพากษา แล้วก็จะไปยังไฟชำ�ระ หรือ นรก หรือ สวรรค์ ก็แล้วแต่ความดีหรือความชั่วที่แต่ละคนได้ทำ�ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และในที่สุด วิญญาณจะกลับเป็นขึ้นมาพร้อมกับร่างกายเพื่อรับการพิพากษาครั้งสุดท้ายพร้อมกัน ทุกคน เพื่อให้ร่างกายได้รับรางวัลหรือโทษนิรันดรพร้อมกับวิญญาณ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้สอนจัดเตรียมห้องเรียนเป็นสถานการณ์คล้ายกับพิธีงานศพ โดยจัดที่ ☆ ผ้าปูที่นอนสีขาว, เทียน 8 สำ�หรับนอนไว้หน้าห้อง รอบๆ ที่นอนนั้นให้จุดเทียนไว้ ใส่กรอบรูปเปล่าตั้งไว้ที่ด้าน เล่ม, กรอบรูป+ขาตั้ง, ดอกไม้ เหนือของที่นอน และหากมีดอกไม้ก็ควรใส่ไว้ด้วย - เมื่อจัดสถานที่ดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนค่อยๆ เข้าไปนั่งใกล้ๆ กับ ที่นอนนั้น (ให้ผู้สอนสังเกตด้วยว่า หากมีผู้เรียนบางคนที่มีจิตใจอ่อนมากเกินไป ไม่ กล้าร่วมทำ�ประสบการณ์ดังกล่าว เขาควรได้รับอนุญาตให้ไม่ร่วมกิจกรรมนั้นได้) - ผู้สอนกล่าวกับผู้เรียนว่า สมมติว่าสถานที่นี้คือที่จัดงานศพ แต่ศพของใคร? ณ ที่นอนนั้นยังว่างอยู่ ให้แต่ละคนสมมติว่าตนเองคือผู้ที่ต้องนอนอยู่ในที่นั้น ในกรอบ รูปก็มีภาพของตนเอง บุคคลอื่นๆ คือผู้ที่มาเพื่อสวดภาวนาให้กับเรา - ให้ผู้สอนถามผู้เรียนว่า มีใครอยากลองนอนลงตรงที่นอนนั้นไหม? อยาก สมมติว่าตนเองตายแล้วไหม? ถ้ามีผู้สมัครก็ให้คนนั้นลองนอนลงสักครู่ จากนั้นให้ สัมภาษณ์ผู้นั้นว่า “รู้สึกอย่างไร?... กลัวไหม?... กลัวอะไร?... คิดอะไรขณะนอนตรง นั้น?... ฯลฯ...” - ที่สำ�คัญก็คือให้คิดว่า เวลาในโลกนี้จบสิ้นแล้ว... จะไม่มีการเกิดใหม่สำ�หรับ ฉัน... วิญญาณต้องได้รับการพิพากษาถึงบาปบุญคุณโทษในชีวิตนี้... ต้องรับผลจาก การกระทำ�ทุกอย่างของฉันขณะที่ยังมีชีวิตอยู่... ฉันเคยทำ�สิ่งดีอะไรบ้าง?... เคยทำ�สิ่ง ไม่ดีอะไรบ้าง?... - เมื่อเสร็จสิ้นช่วงเวลาแห่งการจินตนาการแล้ว ให้อาสาสมัครบางคนแบ่งปัน ประสบการณ์ของตนให้ผู้เรียนอื่นๆ ฟัง - ผู้สอนควรเสริมในตอนท้ายว่า การคิดถึงเรื่องความตายเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะ เป็นแรงจูงใจให้เจริญชีวติ ปัจจุบนั ในความสัมพันธ์กบั ชีวติ หน้า ซึง่ คือชีวติ หลังความตาย การคิดถึงเรือ่ งความตายบ้างจะช่วยให้เรามีความเกรงกลัวทีจ่ ะทำ�บาปไม่วา่ จะเป็นบาป หนักหรือบาปเบาก็ตาม และจะพยายามทำ�ความดีไม่วา่ เล็กหรือใหญ่เพือ่ สะสมบุญกุศล ไว้สำ�หรับชีวิตหน้า - คนบางคนเชื่อว่ามนุษย์ตายแล้วตายเลย เขาจึงพยายามกอบโกยความสุขใน โลกนีใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ เพราะกลัวว่าตายแล้วจะหมดโอกาส แต่บางคนก็เชือ่ ว่ามีการเวียน ว่ายตายเกิด เมือ่ ตายแล้วก็จะได้เกิดใหม่ ดังนัน้ ความดีหรือความชัว่ ทีท่ �ำ ในชีวติ นีย้ งั มี


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

โอกาสแก้ตัวใหม่ในชีวิตหน้า ในโลกนี้จะทำ�อย่างไรก็ได้ จะเป็นคนดีก็ได้หรือไม่ดีก็ได้ - น.เปาโลได้กล่าวถึงเรื่องความตายไว้หลายตอน เช่น • ต่อไปนี้คือถ้อยคำ�ที่เชื่อถือได้ ถ้าเราตายพร้อมกับพระองค์ เราจะมีชีวิตอยู่ กับพระองค์ (2 ทธ 2:11) • ข้าพเจ้าคิดว่าการมีชีวิตอยู่ก็คือพระคริสตเจ้า และการตายก็เป็นกำ�ไร (ฟป 1:21) • ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในร่างกายหรือถูกเนรเทศจากร่างกาย เราก็มีความมุ่ง มั่นที่จะทำ�ให้เป็นที่พอพระทัย เพราะเราทุกคนจะต้องปรากฏเฉพาะพระบัลลังก์ของ พระคริสตเจ้า เพือ่ แต่ละคนจะได้รบั สิง่ ตอบแทนสมกับทีไ่ ด้ท�ำ เมือ่ ยังมีชวี ติ อยูใ่ นร่างกาย ขึ้นอยู่กับการกระทำ�นั้นว่าจะดีหรือชั่ว (2 คร 5:9-10) - ความเชื่อของ น.เปาโลก็ต้องเป็นความเชื่อของคริสตชนด้วย เราต้องมีความ มั่นใจเช่นเดียวกับ น.เปาโลว่า ชีวิตของเราอยู่กับและอยู่ในพระคริสตเจ้าเสมอไม่ว่าจะ เป็นหรือตาย ถ้าอยูก่ อ็ ยูเ่ พือ่ พระคริสต์ ถ้าตายก็เป็นสิง่ ทีด่ เี พราะจะได้ไปพบกับพระองค์ ผู้ซึ่งเราได้ใช้ทั้งชีวิตรับใช้พระองค์ในเพื่อนพี่น้อง ดังนั้นการตายจึงเป็นกำ�ไร เป็นการ ไปรับรางวัลสำ�หรับความซื่อสัตย์ของ “บ่าว” ที่มีต่อ “เจ้าชีวิต” ของตนจนตลอดชีวิต - ผู้ดำ�เนินชีวิตเช่นนี้ จะไม่หวาดหวั่นกับความตายและการถูกพิพากษา เพราะ ความตายเป็นเสมือน “ประตู” ไปหาพระเจ้าผู้ที่เขารักและรอคอยมาทั้งชีวิต ในเมื่อ ตลอดชีวิตได้พยายามทำ�สิ่งที่เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าก็ย่อมทำ�แต่สิ่งที่ดีแน่นอน ดังนั้น แม้จะต้องพบเจอกับการพิพากษาก็จะไม่กลัวเช่นกัน เพราะเขามีความวางใจใน พระเจ้าเสมอมาตลอดชีวิต พระเจ้าจะไม่ทรงปล่อยให้ผู้ที่รักและวางใจในพระองค์ต้อง เสียวิญญาณไปอย่างแน่นอน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนยึดมั่นกับการปฏิบัติสิ่งที่ดี ละเว้นความชั่วร้ายทุกชนิด 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดภาวนา “บทแสดงความหวัง” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


31

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า นักบุญคือผู้ยึดพระเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิต ยอมละทิ้งทุก สิ่งเพื่อติดตามและปฏิบัติตามน้ำ�พระทัยของพระองค์เท่านั้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างสอดคล้องกับคุณค่าพระวรสาร สาระการเรียนรู้ การเรียนรูจ้ กั บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีรจ์ ะช่วยสร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้องถึงความจำ�เป็นของการดำ�เนินชีวติ คริสตชนอย่างศักดิ์สิทธิ์ และช่วยสร้างแรงจูงใจให้เกิดความปรารถนาจะเจริญชีวิตอย่างสอดคล้องกับน้ำ�พระทัยของพระเจ้า น.เปโตรคือบุคคลตัวอย่างจากพระคัมภีร์ ที่ให้ภาพลักษณ์ของบุคคลที่ยอมสละทุกสิ่งเพื่อติดตามพระคริสตเจ้า อุทิศชีวิตของ ตนเพื่อพระอาณาจักรของพระเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�เข้าประเด็นโดยถามผู้เรียนว่า “ตามปกติในชีวิตประจำ�วัน สิ่งที่ไม่ชอบ ทำ�มากที่สุดคืออะไร?... เพราะเหตุใด?” แล้วให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันประสบการณ์ ถึงสิ่งที่ตนไม่ชอบแก่กัน - หลังจากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “เอาที่ช้อบชอบ” โดยให้ผู้เรียน พยายามเขียนให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด - เมื่อผู้เรียนทุกคนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แต่ละคนแบ่งปันคำ�ตอบของตนโดย ผู้สอนรวบรวมคำ�ตอบเหล่านั้นไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง เก็บความถี่ของข้อที่เหมือนกันไว้ ด้วย เพื่อใช้จำ�นวนความถี่เหล่านี้จัดลำ�ดับของคำ�ตอบทั้งหมดใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยเริ่ม จากข้อที่มีจำ�นวนมากที่สุดก่อน - เมื่อจัดอันดับใหม่ทั้งหมดเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่า ในจำ�นวนสิ่งที่ ผู้เรียนชอบทำ�ทั้งหมดเหล่านี้มีอะไรบ้างที่เป็นการทำ�เพื่อตัวเอง? อะไรบ้างที่ทำ�เพื่อผู้ อื่น? และอะไรบ้างที่ทำ�เพื่อพระเจ้า? - แน่นอน การทำ�สิ่งต่างๆ เพื่อตนเองไม่ใช่สิ่งที่ผิด และหลายอย่างก็เป็นสิ่งที่ถูก ต้องด้วย แต่ให้เรามาถามตัวเองว่า ในกิจวัตรทุกอย่างของเรานัน้ มีอะไรทีเ่ ราทำ�เพือ่ คน อื่นบ้าง? หรือว่าเราไม่เคยสนใจใครเลยนอกจากตัวเองเท่านั้น? - ในพระคัมภีร์มีหลายบุคคลสำ�คัญที่ได้อุทิศชีวิตของตนเพื่อพระเจ้าและเพื่อน มนุษย์จนกระทั่งลืมตนเองโดยสิ้นเชิง เราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” หรือ “นักบุญ”

ดูใบงาน “เอาที่ช้อบชอบ” ท้ายแผน


32

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ตัวอย่างของบุคคลหนึ่งที่มีสำ�คัญมากในพระคัมภีร์และในประวัติศาสตร์ของ พระศาสนจักรคือ น.เปโตร เพราะท่านได้สละชีวิตของตนเพื่อติดตามพระคริสตเจ้า ถึง แม้ว่าความเป็นมนุษย์จะทำ�ให้ท่านอ่อนแอไปบ้าง แต่ท่านก็ได้กลับใจและยึดมั่นใน หนทางแห่งการเป็นอัครสาวกของพระองค์จนถึงวาระสุดท้าย

3 พระวาจา 1) ทรงเรียกศิษย์ชุดแรกสี่คน ขณะที่ทรงดำ�เนินไปตามชายฝั่งทะเลสาบกาลิลี พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพี่ น้องสองคนคือซีโมนทีเ่ รียกว่าเปโตรกับอันดรูวน์ อ้ งชายกำ�ลังทอดแห เขาเป็นชาวประมง พระองค์ตรัสสั่งว่า “จงตามเรามาเถิด เราจะทำ�ให้ท่านเป็นชาวประมงหามนุษย์” เขา ทั้งสองคนก็ทิ้งแหไว้ แล้วตามพระองค์ไปทันที (มธ 4:18-20) 2) พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์ที่ทะเลสาบฝั่งทิเบเรียส เมื่อบรรดาศิษย์กินเสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมน บุตร ของยอห์น ท่านรักเรามากกว่าคนเหล่านีร้ กั เราไหม” เปโตรทูลตอบว่า “ใช่แล้ว พระเจ้า ข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเลีย้ งลูกแกะ ของเราเถิด” พระองค์ตรัสถามเขาอีกเป็นครั้งที่สองว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านรัก เราไหม” เขาทูลตอบว่า “ใช่แล้ว พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “จงดูแลแกะของเราเถิด” พระองค์ตรัสถามเป็นครัง้ ทีส่ ามว่า “ซี โมน บุตรของยอห์น ท่านรักเราไหม” เปโตรรูส้ กึ เป็นทุกข์ทพี่ ระองค์ตรัสถามตนถึงสาม ครัง้ ว่า “ท่านรักเราไหม” เขาทูลตอบว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบทุกสิง่ พระองค์ ทรงทราบว่าข้าพเจ้ารักพระองค์” พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “จงเลีย้ งดูแกะของเราเถิด” “เราบอกความจริงกับท่านว่า เมื่อท่านยังหนุ่ม ท่านคาดสะเอวด้วยตนเองและ เดินไปไหนตามใจชอบ แต่เมือ่ ท่านชรา ท่านจะยืน่ มือ แล้วคนอืน่ จะคาดสะเอวให้ทา่ น พาท่านไปในที่ที่ท่านไม่อยากไป” พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้เพื่อแสดงว่าเปโตรจะถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าโดยตาย อย่างไร เมื่อตรัสดังนี้แล้ว ทรงเสริมว่า “จงตามเรามาเถิด” (ยน 21:15-19)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งสองตอนที่นำ�มานี้เล่าถึงเรื่องราวตอนแรกและตอนสุดท้ายของ น.เปโตรทีป่ รากฏในหนังสือพระวรสาร คือ ตอนทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงเรียกศิษย์ชดุ แรก ซึง่ น.เปโตรและ น.อันดรูว์เป็นอัครสาวกคู่แรกที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกให้เป็นศิษย์ติดตาม พระองค์ - ส่วนพระวาจาตอนพระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์ที่ทะเลสาบฝั่งทิเบเรียสนั้น ก็ เป็นตอนสุดท้ายในพระวรสารที่กล่าวถึง น.เปโตร เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้พระเยซู เจ้าก็ทรงเสด็จสู่สวรรค์ - เหตุทพี่ ระวาจาทัง้ สองตอนนีม้ คี วามสำ�คัญมากก็เพราะตอนแรกเล่าถึงจุดกำ�เนิด ของกระแสเรียกของ น.เปโตร ส่วนตอนทีส่ องนัน้ เป็นเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ หลังจากทีท่ า่ น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


33

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ได้ผ่านเรื่องราวในชีวิตมากมายในการเป็นศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้า ทั้งเรื่องที่ดูเหมือน ทำ�ให้ทา่ นรูส้ กึ ภาคภูมใิ จเป็นทีส่ ดุ รวมทัง้ เรือ่ งทีท่ �ำ ให้ทา่ นต้องรูส้ กึ อับอายและต่�ำ ต้อย ทีส่ ดุ ด้วย นัน่ คือ การปฏิเสธพระเยซูเจ้าถึงสามครัง้ ขณะทีพ่ ระอาจารย์เจ้าทรงถูกจับกุม - กระนั้นก็ดี แม้จะมีสาวกอีกหลายคนที่ได้เริ่มติดตามพระอาจารย์เจ้าพร้อมกับ น.เปโตร แต่บคุ คลเหล่านัน้ ก็มไิ ด้ถกู เลือกให้เป็นหัวหน้าของพระศาสนจักรดังเช่นท่าน - พระศาสนจักรได้ตีความหมายของพระวรสารตอนที่สองนี้ว่าเป็นการยืนยัน ของพระเยซูคริสตเจ้าที่จะให้ น.เปโตรสานต่อหน้าที่ดูแลฝูงแกะของพระองค์ เพราะ พระองค์ทรงถามท่านซ้�ำ ถึงสามครัง้ ว่า “ท่านรักเราไหม” อันเป็นคำ�ถามทีพ่ ระองค์มไิ ด้ ทรงถามสาวกคนอืน่ ๆ และ น.เปโตรซึง่ ได้สมั ผัสถึงความอ่อนแอทีส่ ดุ ของตนมาแล้วก็ได้ ยืนยันกับพระองค์ดว้ ยคำ�ตอบเดียวกันทัง้ สามครัง้ ว่า “ข้าพเจ้ารักพระองค์” และทัง้ สาม ครั้งพระเยซูเจ้าก็ได้ทรงมอบหน้าที่แห่งการ “เลี้ยงดูแกะ” ของพระองค์ให้กับท่าน - พระวรสารตอนที่สองนี้เป็นการยืนยันถึงอำ�นาจที่พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบให้แก่ น.เปโตรก่อนหน้านี้ คือ หลังจากที่ น.เปโตรได้ประกาศความเชื่อว่า พระเยซูเจ้าทรง เป็น “พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต” (เทียบ มธ 16:16) แล้ว พระเยซู เจ้าได้ทรงกล่าวต่อไปว่า “ท่านคือศิลา และบนศิลานี้เราจะตั้งพระศาสนจักรของเรา ประตูนรกจะไม่มวี นั ชนะพระศาสนจักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิง่ ที่ท่านจะผูกบนแผ่นดินนี้ จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะ แก้ในสวรรค์ด้วย” (มธ 16:18-19) - จากพระวาจาเหล่านี้ เราจะเข้าใจได้ว่า พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบอำ�นาจพิเศษให้ แก่ น.เปโตร อย่างที่อัครสาวกคนอื่นไม่ได้รับ ดังนั้น อัครสาวกและบรรดาศิษย์ทุกคน จึงได้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า น.เปโตรเป็นผูไ้ ด้รบั แต่งตัง้ ให้เป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร อย่างเป็นทางการ และทุกคนก็ได้เคารพในอำ�นาจนี้ของท่านอย่างไม่ลังเลสงสัยเลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - นอกจากพระวรสารสามตอนข้างต้นนี้ที่กล่าวถึง น.เปโตรแล้ว ก็ยังมีพระวรสาร ตอนอื่นๆ อีกที่เล่าถึงเรื่องราวของท่าน รวมทั้งกิจการต่างๆ มากมายที่ท่านได้กระทำ� หลังจากที่พระเยซูเจ้าได้เสด็จสู่สวรรค์แล้วด้วย ซึ่งเราจะพบได้จากหนังสือกิจการอัคร สาวก - ประวัติของ น.เปโตรไม่ได้มีเขียนเล่าไว้เป็นเล่มๆ เช่นเดียวกับบุคคลสำ�คัญ อืน่ ๆ เราจะรูจ้ กั ท่านได้กจ็ ากพระวรสารบางตอนทีก่ ล่าวถึงท่านและจากหนังสือกิจการ อัครสาวกเท่านั้น ดังนั้น เราคงไม่สามารถรู้จักชีวประวัติของ น.เปโตร อย่างละเอียด ในทุกช่วงชีวติ ได้ แต่เท่าทีม่ บี นั ทึกไว้กเ็ ป็นข้อมูลทีเ่ พียงพอแล้วเพือ่ จะทำ�ให้ทกุ คนเข้าใจ ถึงการเจริญชีวติ อย่างศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละยอมรับอำ�นาจพิเศษทีท่ า่ นได้รบั จากพระเยซูคริสต เจ้าในการเป็นผู้นำ�ของพระศาสนจักรคนแรกต่อจากพระองค์ - เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จัก น.เปโตร อย่างละเอียดมากขึ้น ให้ผู้เรียนเล่นเกมตามใบ งาน “ล่าลายแทง” โดยการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 4-5 กลุ่ม แล้วปฏิบัติตามคำ�สั่งในใบ งาน

ดูใบงาน “ล่าลายแทง” ท้ายแผน


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมตามใบงานแล้ว ให้ตัวแทนของทุกกลุ่มมาแบ่งปันผลงาน ของกลุม่ ให้ทกุ คนได้ทราบตามลำ�ดับเลขของฉลาก เพือ่ ให้ได้ภาพของ น.เปโตร (เฉพาะ จากพระวรสารของ น.มัทธิว) มาประกอบเข้าด้วยกันดังชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์ - แน่นอนว่า จากกิจกรรมนี้เรายังไม่สามารถทราบทุกเรื่องที่พระคัมภีร์เล่าถึง น.เปโตรได้เพราะในหนังสือกิจการอัครสาวกยังมีเล่าถึงเรื่องของท่านอีกมากมาย แต่ ด้วยเวลาที่มีไม่มาก เราจึงจะจำ�กัดการค้นคว้าเพียงเท่านี้ (แต่หากมีเวลามากกว่านี้ผู้ สอนอาจขยายกิจกรรมต่อไปถึงหนังสือกิจการอัครสาวกด้วยก็ได้) - แม้กิจกรรมนี้จะเป็นตัวอย่างของการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับบุคคลสำ�คัญ ต่างๆ ในพระคัมภีรท์ ยี่ งั จำ�กัดอยูแ่ ต่กท็ �ำ ให้ผเู้ รียนได้ภาพรวมของ น.เปโตรทีอ่ าจจะไม่ เคยมีมาก่อน กล่าวคือ น.เปโตรทำ�ให้เราเข้าใจว่า พระเยซูเจ้ามิได้ทรงเรียกบุคคลที่ดี พร้อมสมบูรณ์แบบให้มาเป็นอัครสาวกของพระองค์ เฉพาะอย่างยิง่ บุคคลทีท่ รงแต่งตัง้ ให้เป็นหัวหน้าของผู้สานต่องานของพระองค์หรือพระสันตะปาปาองค์แรก เพราะจาก เรื่องราวต่างๆ เราได้สัมผัสกับความผิดพลาดอ่อนแอของ น.เปโตรด้วย แต่ท่านได้ จริงใจกับตนเอง ยอมรับความผิดของตนและยอมเป็นทุกข์เสียใจ กลับใจ เริ่มต้นชีวิต ใหม่ - ท่านได้ยึดพระเยซูเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์เป็นศูนย์กลางของชีวิต ของท่าน มิได้ยึดตนเองเป็นใหญ่ที่สุด ได้ยอมเสียสละแผนการชีวิตดั้งเดิมเพื่อน้อมรับ พระประสงค์และแผนการของพระเจ้าทีม่ ตี อ่ ท่าน และทีส่ ดุ ท่านก็ได้มอบตนเองอุทศิ ตน อย่างเสียสละด้วยชีวิตเพื่อรับใช้พระเจ้าและพันธกิจที่พระองค์ทรงมอบหมายแก่ท่าน จนที่สุด ท่านได้ถวายชีวิตแด่พระเจ้าด้วยการเป็นมรณสักขีตามแบบของพระอาจารย์ เจ้าด้วยการยอมถูกตรึงกางเขนและเอาหัวปักลงดิน เพราะท่านถือว่าไม่เป็นการสมควร ที่ศิษย์จะตายแบบเดียวกับพระอาจารย์ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างสอดคล้องกับคุณค่าพระวรสาร 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นจึงให้ตัวแทนผู้เรียนหนึ่งคนสวดภาวนาจากใจ เสร็จ แล้วจึงให้ทุกคนสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


35

ใบงาน “เอาที่ช้อบชอบ” คำ�ชี้แจง : 1) ให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำ�ถามที่ว่า “ในกิจวัตรประจำ�วัน ฉันชอบทำ�อะไรมากที่สุด?” 2) ให้ตอบคำ�ถามโดยใส่สิ่งที่ชอบลงในช่องซ้ายมือของตารางที่กำ�หนดให้ พร้อมกับใส่เหตุผลกำ�กับลงใน ช่องด้านขวาของตาราง 3) ให้เขียนอย่างน้อย 3 อย่าง โดยลำ�ดับจากมากที่สุดไปยังน้อยกว่า ที่ 1 2 3 4 5

สิ่งที่ชอบ

เหตุผล


36

ใบงาน “ล่าลายแทง” คำ�ชี้แจงสำ�หรับผู้สอน : 1. ให้ผู้สอนเตรียมฉลาก 15 ใบ ภายในฉลากทุกใบเขียนโค้ดพระคัมภีร์ (เขียนเฉพาะโค้ด ไม่เขียนหัวข้อ) ตามที่กำ�หนดให้ดังต่อไปนี้ 1. มธ 4:18-20 (ทรงเรียกศิษย์ชุดแรก 4 คน) 2. มธ 8:14-15 (พระเยซูเจ้าทรงรักษามารดาของภรรยาเปโตร) 3. มธ 10:1-4 (พระเยซูเจ้าทรงส่งอัครสาวก 12 คน) 4. มธ 14:22-33 (พระเยซูเจ้าทรงดำ�เนินบนผิวน้ำ�) 5. มธ 15:10-20 (สิ่งที่บริสุทธิ์และสิ่งที่เป็นมลทิน) 6. มธ 16:13-20 (เปโตรประกาศความเชื่อ) 7. มธ 16:21-23 (พระเยซูเจ้าทรงทำ�นายเรื่องพระทรมานเป็นครั้งแรก) 8. มธ 17:1-8 (พระเยซูเจ้าทรงสำ�แดงพระองค์อย่างรุ่งโรจน์) 9. มธ 17:24-27 (พระเยซูเจ้าและเปโตรเสียภาษีบำ�รุงพระวิหาร) 10. มธ 18:21-22 (การให้อภัยความผิด) 11. มธ 19:27-30 (รางวัลของการสละทุกสิ่ง) 12. มธ 26:30-35 (พระเยซูเจ้าทรงทำ�นายว่าเปโตรจะปฏิเสธพระองค์) 13. มธ 26:36-46 (ภายในสวนเกทเสมนี) 14. มธ 26:57-68 (พระเยซูเจ้าทรงถูกพิจารณาคดีในสภาซันเฮดริน) 15. มธ 26:69-75 (เปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า)

2. เมือ่ ผูส้ อนเตรียมฉลากเรียบร้อยแล้ว ให้เอาฉลากทัง้ หมดไปซ่อนตามจุดต่างๆ ของห้องเรียน

คำ�ชี้แจงสำ�หรับผู้เรียน : 1. ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 4-5 กลุ่ม 2. เมือ่ แบ่งกลุม่ เรียบร้อยแล้ว ให้ผเู้ รียนทุกคนแข่งขันกันค้นหา “ลายแทง” (ฉลากทีผ่ สู้ อน ได้ซ่อนไว้) ให้ได้ทั้งหมดจำ�นวน 15 อัน โดยกลุ่มไหนหาได้มากที่สุดถือว่าเป็นผู้ชนะ 3. เมื่อเสร็จสิ้นการค้นหา “ลายแทง” แล้ว ให้แต่ละกลุ่มเปิดดูพระคัมภีร์ตามที่เขียนไว้ใน ฉลาก แล้วสรุปย่อเรื่องนั้นๆ โดยเน้นบทบาทของ น.เปโตรเป็นหลัก (น.เปโตรได้ทำ� อะไรในเรื่องนี้?) 4. ให้เตรียมตัวแทนมานำ�เสนอผลงานของกลุ่มให้ทุกคนฟังด้วย


37

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1

ชั้น ม.4

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายและความสำ�คัญของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่อชีวิต คริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างตั้งใจทุกครั้ง สาระการเรียนรู้ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์คือคารวกิจที่มนุษย์ถวายแด่พระเจ้าโดยผ่านทางพิธีบูชาขอบพระคุณ ศีลศักดิ์สิทธิ์ บท ภาวนาทำ�วัตร พิธีกรรมเหล่านี้มีความสำ�คัญต่อชีวิตคริสตชนอย่างมากเพราะอาศัยกิจการพิเศษเหล่านี้พระเจ้าและมนุษย์จะ ได้ติดต่อกันและเป็นช่วงเวลาพิเศษที่พระเจ้าจะประทานพระพร พระหรรษทานที่จำ�เป็นแก่มนุษย์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ข้อมูลที่ได้จากการเรียนครั้งที่แล้วเรื่อง “บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์” มาใช้ในการเริ่มเรียนหัวข้อเรื่องพิธีกรรมในวันนี้ด้วย โดยให้ผู้เรียนพิจารณาคำ�ตอบ ของคำ�ถามที่ว่า “ในกิจวัตรประจำ�วัน ฉันชอบทำ�อะไรมากที่สุด?” รวมทั้งลำ�ดับมาก ที่สุดถึงน้อยที่สุดซึ่งได้สรุปไว้ด้วย - แต่ในวันนี้ให้มองข้อมูลเหล่านั้นในมุมของ “พิธีกรรม” หมายความว่า สิ่งที่ผู้ เรียนชอบทำ�มากที่สุดในกิจวัตรประจำ�วันนั้นมีปรากฏเรื่องพิธีกรรมอยู่บ้างหรือไม่? เช่น การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ การรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การสวดภาวนาทำ�วัตร หากปรากฏว่ามีก็แปลว่ามีผู้เรียนที่เจริญชีวิตในมิติแนวตั้งอยู่ด้วย นั่นคือ การติดต่อ สัมพันธ์กับพระเจ้า แต่ถ้าไม่มีก็แปลว่าผู้เรียนเจริญชีวิตตามแนวนอนเท่านั้น คือมอง เพียงด้านความสัมพันธ์กับมนุษย์เท่านั้น ซึ่งเป็นการยังไม่เพียงพอ - หลังจากที่ผู้สอนตั้งข้อสังเกตให้ผู้เรียนพิจารณาแล้ว จึงอธิบายต่อว่า ไม่ว่า ข้อมูลเดิมนัน้ จะเป็นอย่างไรก็ตาม ตราบใดทีเ่ รายังมีลมหายใจ เราสามารถปรับเปลีย่ น คุณภาพชีวิตของเราแต่ละคนให้ดีขึ้นได้ เหตุที่เราต้องสนใจในมิติแนวตั้งด้วยก็เพราะ ว่าชีวิตมนุษย์นั้นขึ้นกับพระเจ้าดังเช่นปลาในน้ำ�เลยทีเดียว ดังที่เราเคยกล่าวมาแล้ว (ในการเรียนคาบก่อนๆ) - พระศาสนจักรใช้ค�ำ ว่า “พิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ”์ เพือ่ หมายถึงทัง้ พิธบี ชู าขอบพระคุณ ศีลศักดิ์สิทธิ์ และบทภาวนาทำ�วัตร นั่นหมายความว่า รวมพิธีกรรมหรือคารวกิจที่ คริสตชนถวายแด่พระเจ้า อันเป็นช่วงเวลาพิเศษแห่งการพบปะระหว่างพระเจ้ากับ มนุษย์ ดังนั้น พิธีกรรมจึงเป็นช่วงเวลาที่มีความสำ�คัญอย่างมากที่สุดต่อมนุษย์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


38

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ในพระคัมภีร์มีตัวอย่างของบุคคลสำ�คัญท่านหนึ่งที่มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การ ถวายคารวกิจแด่พระเจ้า จนทำ�ให้ท่านได้รับอัศจรรย์จากพระเจ้า เป็นอัศจรรย์ที่ทำ�ให้ ท่านได้รับความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง บุคคลนั้นคือ เศคาริยาห์ บิดาของ น.ยอห์น บัปติสต์ นั่นเอง

3 พระวาจา : ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการเกิดของยอห์นผู้ทำ�พิธีล้าง (ลก 1:5-16) ในรัชสมัยของกษัตริย์เฮโรดผู้ปกครองแคว้นยูเดีย สมณะผู้หนึ่งชื่อเศคาริยาห์ ประจำ�เวรในหมวดของอาบียาห์ มีภรรยาชื่อเอลีซาเบธ จากตระกูลสมณะอาโรน ทั้ง สองคนเป็นผู้ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ปฏิบัติตามบทบัญญัติและข้อกำ�หนด ทุกข้อขององค์พระผู้เป็นเจ้าโดยไม่มีข้อตำ�หนิ แต่สามีภรรยาคู่นี้ไม่มีบุตร เพราะนาง เอลีซาเบธเป็นหมันและทั้งสองคนชรามากแล้ว วันหนึ่ง เศคาริยาห์กำ�ลังปฏิบัติหน้าที่สมณะเฉพาะพระพักตร์ตามเวรในหมวด ของตนตามธรรมเนียมของสมณะ เขาจับสลากได้หน้าทีเ่ ข้าไปในพระวิหารของพระเจ้า เพือ่ ถวายกำ�ยาน ขณะทีม่ กี ารถวายกำ�ยาน ประชาชนทีม่ าชุมนุมกันต่างอธิษฐานภาวนา อยู่ภายนอก ทันใดนั้น ทูตสวรรค์องค์หนึ่งของพระเจ้าปรากฏองค์ยืนอยู่เบื้องขวาของ พระแท่นถวายกำ�ยาน เมื่อเศคาริยาห์เห็นก็รู้สึกวุ่นวายใจและมีความกลัวอย่างมาก แต่ทูตสวรรค์กล่าวแก่เขาว่า “เศคาริยาห์ อย่ากลัวเลย พระเจ้าทรงฟังคำ� อธิษฐานของท่านแล้ว เอลีซาเบธภรรยาของท่านจะให้ก�ำ เนิดบุตรชายคนหนึง่ ท่านจะ ตั้งชื่อเขาว่ายอห์น ท่านจะมีความชื่นชมยินดีและคนจำ�นวนมากจะยินดีที่เขาเกิดมา เพราะว่าเขาจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่เฉพาะพระพักตร์องค์พระผู้เป็นเจ้า เขาจะไม่ดื่ม เหล้าองุ่นหรือสุราเมรัยเลย เขาจะรับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยมตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เขา จะนำ�บุตรหลานของอิสราเอลจำ�นวนมากกลับมายังองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า พระเจ้าของเรา” 4 อธิบายพระวาจา - ชาวยิวในยุคสมัยนั้นทุกคนหวังจะมีบุตรเพราะพวกเขารอคอยการบังเกิดมาของ พระเมสสิยาห์ หรือพระผูไ้ ถ่ ซึง่ พวกเขาคาดหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า พระองค์จะทรงมาปลด ปล่อยพวกเขาให้พน้ จากการอยูใ่ ต้อ�ำ นาจของจักรวรรดิโรมัน (แม้วา่ การรอคอยนีจ้ ะผิด เพีย้ นไปเพราะจริงๆ แล้วพระสัญญาของพระเจ้าหลังจากทีอ่ าดัมและเอวาได้ท�ำ บาปคือ พระองค์จะทรงส่งพระผู้ไถ่มาช่วยปลดปล่อยพวกเขาให้พ้นจากอำ�นาจของบาปและ ปีศาจต่างหาก) - ดังนั้น พวกเขาจึงถือว่าครอบครัวใดที่ปราศจากบุตร ครอบครัวนั้นถูกสาปแช่ง ครอบครัวของเศคาริยาห์ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกันเพราะสามีภรรยาคู่นี้ไม่มีบุตร แต่ พระเจ้าทรงมีแผนการทีแ่ ตกต่างจากมนุษย์ พระองค์ทรงปรารถนาให้ “ผูท้ มี่ าก่อนเพือ่ เตรียมทางให้พระเยซูเจ้า” (เทียบ ลก 1:2-3, 7) เกิดมาอย่างอัศจรรย์จากครอบครัว นี้ เพราะสามีภรรยาคู่นี้เป็นผู้ชอบธรรม เกรงกลัวพระเจ้า ปรนนิบัติพระองค์อย่างครบ ถ้วนไม่มีที่ติ พวกเขาเหมาะสมที่จะเป็นบิดามารดาของผู้เตรียมทางให้แก่พระผู้ไถ่ - ขณะทีเ่ ศคาริยาห์ก�ำ ลังปฏิบตั หิ น้าทีป่ ระจำ�ของท่านตามเวรอย่างซือ่ สัตย์ พระเจ้า ทรงโปรดให้ทูตสวรรค์ของพระองค์มาแจ้งข่าวว่าท่านจะมีบุตรชาย และให้ตั้งชื่อบุตร

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


39

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

นั้นว่า ยอห์น เขาจะเป็นผู้ที่มีพันธกิจยิ่งใหญ่คือเตรียมทางของพระเจ้า ก่อนที่พระผู้ไถ่ จะบังเกิดมา “เขาจะนำ�บุตรหลานของอิสราเอลจำ�นวนมากกลับมายังองค์พระผู้เป็น เจ้า” (ลก 1:16) - เศคาริยาห์ได้ประสบกับอัศจรรย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งนำ�ความยินดีอย่างท่วมท้นให้แก่ ตัวเขา ภรรยาและชาวอิสราเอลทั้งมวลก็จริง แต่ให้เราหันมาสังเกตอีกมุมหนึ่งคือ เหตุการณ์อัศจรรย์นี้ได้เกิดขึ้นตอนที่ท่านกำ�ลังปฏิบัติหน้าที่สมณะเฉพาะพระพักตร์ พระเจ้า ขณะที่กำ�ลังถวายกำ�ยานและประชาชนที่ชุมนุมกันก็กำ�ลังภาวนา - เหตุการณ์นี้จึงให้บทสอนแก่เราว่า การสวดภาวนาหรือการไปร่วมพิธีกรรม ต่างๆ นั้นคือหน้าที่ของคริสตชน แต่ทุกครั้งที่เราทำ�หน้าที่นี้เป็นอย่างดีและซื่อสัตย์ พระเจ้าทรงพร้อมจะประทานพระพร พระหรรษทานให้แก่เราอย่างมากมายมหาศาล แต่ทุกครั้งที่เราละเลย ไม่ปฏิบัติ ไม่ยอมที่จะพบปะกับพระองค์ เราก็พลาดโอกาสที่ สำ�คัญนั้นไปอย่างน่าเสียดายอย่างยิ่ง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อหันกลับไปดูคำ�ตอบของคำ�ถามในตอนต้นคาบเรียนนี้ (ในกิจวัตรประจำ� วัน ฉันชอบทำ�อะไรมากที่สุด?) ผู้เรียนคงจะพบเข้าใจแล้วว่า พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นั้นมี ความสำ�คัญมากต่อชีวติ ของเราเพียงใด เรามีชวี ติ อยูไ่ ด้กด็ ว้ ยทุกลมหายใจเข้า-ออกของ เรา หากขาดเพียงแค่ลมหายใจนี้เราทุกคนก็มีชีวิตอยู่ไม่ได้ฉันใด หากขาดพระเจ้าเรา ก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ฉันนั้น - พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้กำ�เนิดแก่เรามนุษย์ทุกคน ทรงบำ�รุงรักษาดูแลเราอยู่ทุก ขณะจิต ประทานแก่เราทุกลมหายใจ แม้ว่ามนุษย์จะรู้สำ�นึกถึงความจริงข้อนี้หรือไม่ พระเจ้าก็ยังทรงพระทัยดีประทานชีวิตแก่ทุกคนไม่ว่าดีหรือชั่ว เพราะความจริงก็คือ มนุษย์อยู่ในพระองค์ดั่ง “ปลาในน้ำ�” อย่างที่เราบอกตั้งแต่ต้น - ในคาบเรียนนี้เราคงไม่อธิบายซ้ำ�ถึงความหมายของพิธีกรรมแต่ละอย่างเพราะ เราได้เรียนรู้กันไปก่อนหน้านี้แล้ว เราจึงต้องการเน้นถึงความสำ�คัญของพิธีกรรมใน ชีวิตของเราแต่ละคน เพื่อว่าเราจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และในอนาคตเมื่อเราโตเป็น ผู้ใหญ่แล้ว เราจะได้ไม่ทิ้งการปฏิบัติศาสนกิจและเป็นคริสตชนเพียงแต่ชื่อเท่านั้น แต่ เราต้องปฏิบตั ศิ าสนกิจด้วยจิตและด้วยใจ อย่างรูค้ วามหมายและความสำ�คัญของศาสน กิจแต่ละอย่าง - เราต้องไม่เข้าใจผิดว่า การปฏิบัติศาสนกิจหรือการร่วมพิธีกรรมนั้นเป็นเพียง การปฏิบตั ภิ ายนอกตามธรรมเนียมปฏิบตั ทิ เี่ คยมีมาแต่โบราณและถ่ายทอดสืบต่อกัน มาเป็นธรรมประเพณีเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วการร่วมพิธีกรรมหรือการปฏิบัติศาสน กิจทุกอย่างล้วนมีบอ่ เกิดมาจากจิตใจ แม้กจิ การบางอย่างทีแ่ สดงออกอาจดูเหมือนเป็น ฝ่ายวัตถุก็ตาม - ให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านใบความรู้เรื่อง “วิธีจำ�ศีล” แล้วตอบคำ�ถาม 2 ข้อในใบ งาน “จำ�ศีลยุคไฮเทค” โดยให้ผู้เรียนพยายามทำ�ใบงานอย่างตั้งใจและจริงจัง

ดูใบความรู้เรื่อง “วิธีจำ�ศีล” และใบงานเรื่อง “จำ�ศีลยุค ไฮเทค” ท้ายแผน


40

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ทัง้ ใบความรูแ้ ละใบงานทัง้ สองนีจ้ ะช่วยให้ผเู้ รียนมีโอกาสไตร่ตรองถึงการปฏิบตั ิ ศาสนกิจของคริสตชนด้วยจิตตารมณ์ของพระเยซูเจ้า ซึ่งในที่นี้เราได้ยกตัวอย่างเพียง เรื่องเดียวเท่านั้น คือเรื่องการจำ�ศีล เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่า การจำ�ศีลมิใช่เป็นเพียง เรื่องภายนอกไม่กี่อย่าง แต่จริงๆ แล้วกินความกว้างมาก สรุปก็คือ การจำ�ศีลสามารถ เปลี่ยนตัวเราได้ทั้งชีวิตทีเดียว หากเราทำ�ด้วยจิตตารมณ์เที่ยงแท้ตามคำ�สอนของ พระเยซูเจ้า - ผู้สอนสามารถขยายความการปฏิบัติศาสนกิจในด้านอื่นๆ ด้วยก็ได้หากมีเวลา เพียงพอ แต่ที่สำ�คัญก็คือ การเน้นว่า การร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์หรือการปฏิบัติศาสน กิจต่างๆ นั้นมิใช่เป็นเพียงหน้าที่ซ้ำ�ๆ ซากๆ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ คำ�สวดเดิมๆ พระ วาจาเดิมๆ แต่ภายใต้สิ่งเดิมๆ นี้มีจิตตารมณ์อมตะของพระเยซูเจ้าอยู่ซึ่งผู้เป็นคริสต ชนต้องค้นให้พบเพื่อแต่ละคนจะได้ร่วมพิธีกรรมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็น สิ่งที่สำ�คัญที่สุดเพราะหมายถึงความรอดพ้นของเราแต่ละคนทีเดียว 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างตั้งใจทุกครั้ง 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ผู้เรียนอาสาสมัครบางคนสวดภาวนาจาก ใจ เสร็จแล้วให้ทุกคนสวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


41

ใบความรู้เรื่อง “วิธีจำ�ศีล” เมื่อเราจำ�ศีล เรามักหลีกเลี่ยงการกิน การดื่ม การดูโทรทัศน์ วิธีเหล่านี้เป็นวิธีปกติและเป็นวิธีที่ดีด้วย แต่ ยังมีอีกหลายวิธีที่ดีเหมือนกันและพระเจ้าทรงชอบพระทัย

ดังนั้น จึงขอแนะนำ� ถ้าท่านปรารถนาจะจำ�ศีลอย่างดี ตัดสินใจทำ�สิ่งต่อไปนี้ได้เลย

1. เลิกโกรธและเกลียดให้ได้ 2. ทำ�ดีกับครอบครัวให้ได้ก่อน 3. มีความสัมพันธ์กับสังคมผู้คนรอบข้าง 4. รักให้มากกว่าเดิม แสดงความรักให้ชัดเจน 5. เลิกตัดสินคนอื่น ปล่อยให้ผู้อื่นเป็นอย่างที่เขาอยากเป็น 6. อย่าหมดกำ�ลังใจง่ายๆ วางใจพระเจ้า 7. เลิกบ่น 8. ไม่มองโลกในแง่ร้าย พยายามเปลี่ยนแปลงตนเอง 9. ให้อภัยเสมอแม้พบเรื่องอยุติธรรม 10. เลิกใช้เงินฟุ่มเฟือย ตรวจดูการใช้เงิน ทำ�บุญ 11. รู้จักให้และแบ่งปัน (คัดจากหนังสือ Happy Time ของพ่อมี้ หน้า 153-154)


42

ใบงาน “จำ�ศีลยุคไฮเทค” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. อ่านใบความรู้เรื่อง “วิธีจำ�ศีล” อย่างตั้งใจ 2. เมื่ออ่านเสร็จแล้ว ให้ตอบคำ�ถามต่อไปนี้ 2.1 ฉันได้ข้อคิดอะไรจากการอ่านเรื่อง “วิธีจำ�ศีล” บ้าง? 2.2 ตัง้ แต่นไี้ ป เมือ่ ถึงเทศกาลมหาพรต ฉันจะเปลีย่ นวิธกี าร “จำ�ศีล” อย่างไรบ้าง?


43

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง มโนธรรมและกฎจริยธรรม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า คริสตชนต้องดำ�เนินชีวติ ตามเสียงมโนธรรมและกฎจริยธรรม ที่พระเจ้าทรงวางไว้ให้มนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนซื่อสัตย์ต่อการพิจารณามโนธรรมทุกวัน สาระการเรียนรู้ สังคมปัจจุบนั มักจะนำ�เสนอภาพลักษณ์ของบุคคลทีเ่ อาตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิง่ ซึง่ ค่อนข้างจะถูกใจ คนส่วนใหญ่ทชี่ อบทำ�อะไรตามใจตนเอง แต่การทำ�เช่นนีไ้ ม่ได้สอดคล้องกับกระแสเรียกคริสตชนเพราะผูเ้ ป็นคริสตชนจะต้อง ดำ�เนินชีวติ โดยตัง้ พระประสงค์ของพระเจ้าเป็นเป้าหมายของตน ด้วยการปฏิบตั ติ นตามเสียงของมโนธรรมและกฎจริยธรรมที่ พระเจ้าทรงวางไว้ให้ เหตุเพราะมีแต่พระเจ้าเท่านั้นทรงทราบดีถึงหนทางถูกต้องเที่ยงแท้ที่จะนำ�มนุษย์ไปสู่ความสุขแท้จริง ของชีวิตได้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยตั้งคำ�ถามว่า “เธอคิดว่าโลกนี้จะเป็นอย่างไร หากทุก คนสามารถทำ�ตามใจตัวเองได้อย่างไม่มีขอบเขตจำ�กัด?” - จากนั้นให้ผู้เรียนจับคู่กับคนนั่งใกล้กันแล้วตอบคำ�ถามนี้อย่างน้อยคู่ละ 5 ข้อ โดยเริ่มจากข้อที่คิดว่าสำ�คัญที่สุดและเรียงลำ�ดับต่อๆ ไป - เมื่อทำ�งานเสร็จแล้ว ให้จับกลุ่มๆ ละ 2-3 คู่ เพื่อแบ่งปันคำ�ตอบของกันและ กัน แล้วจึงรวมสรุปคำ�ตอบเข้าด้วยกัน หลังจากนั้น ให้ทุกกลุ่มแบ่งปันคำ�ตอบ (ที่รวม แล้ว) ให้ทุกคนฟัง - จากนั้น ผู้สอนจึงป้อนคำ�ถามต่อไปว่า “หากสังคมมนุษย์ของเราอยู่ในสภาพนี้ แล้วจะดีหรือไม่? ผลทีต่ ามมาคืออะไร? จะเกิดอะไรขึน้ ?” แล้วจึงให้ผเู้ รียนช่วยกันแสดง ความคิดเห็นอย่างเต็มที่ - แน่นอน ผลที่ตามมาจากสภาพเช่นนั้นก็คือ ความวุ่นวายอย่างแน่นอน เพราะ เมือ่ ทุกคนสามารถทำ�อะไรก็ได้ตามใจตัวเองแล้ว คนส่วนใหญ่กจ็ ะยึดความต้องการของ ตนเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เรายังจะพบความรัก ความเมตตากรุณา ความเอื้อ อาทร การให้อภัย การเสียสละ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และคุณค่าที่ดีอื่นๆ ในสังคมของเราอีกหรือ? - พระเจ้าไม่ทรงต้องการให้การอยู่ด้วยกันของมนุษย์เป็นไปอย่างไร้ความสุข

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


44

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระองค์ทรงต้องการให้แต่ละคนพยายามมอบสิ่งที่ดีๆ แก่คนอื่น ด้วยการอยู่ร่วม กันอย่างสันติและยุติธรรม สร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความรักและความเป็นหนึ่ง เดียวกัน - พระเยซูเจ้าทรงมาในโลกนี้ก็เพื่อนำ�ความสุขให้แก่มนุษย์ แต่ไม่ใช่ความสุขจอม ปลอมที่มาจากการทำ�อะไรก็ได้ตามใจชอบ ซึ่งมีแต่จะนำ�ความทุกข์มาสู่มนุษย์ พระองค์ทรงทราบดีวา่ มนุษย์ออ่ นแอจึงทรงประทาน “ตัวช่วย” ทีจ่ �ำ เป็นเพือ่ ให้มนุษย์ สามารถบรรลุถึงเป้าหมายแท้ของชีวิตของตน ซึ่งก็คือ “มโนธรรม” และ “กฎ จริยธรรม” นั่นเอง

3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้ธรรมบัญญัติสมบูรณ์ (มธ 5:17-19) จงอย่าคิดว่าเรามาเพื่อลบล้างธรรมบัญญัติหรือคำ�สอนของบรรดาประกาศก เรามิได้มาเพือ่ ลบล้าง แต่มาเพือ่ ปรับปรุงให้สมบูรณ์ เราบอกความจริงแก่ทา่ นทัง้ หลาย ว่า ตราบใดที่ฟ้าและดินยังไม่สูญสิ้นไป แม้แต่ตัวอักษรหรือจุดเพียงจุดเดียวจะไม่ขาด หายไปจากธรรมบัญญัติจนกว่าทุกอย่างจะสำ�เร็จไป ดังนั้น ผู้ใดละเมิดธรรมบัญญัติ เพียงข้อเดียว แม้เล็กน้อยทีส่ ดุ และสอนผูอ้ นื่ ให้ละเมิดด้วย จะได้ชอื่ ว่าเป็นผูต้ �่ำ ต้อยทีส่ ดุ ในอาณาจักรสวรรค์ ส่วนผูท้ ปี่ ฏิบตั แิ ละสอนผูอ้ นื่ ให้ปฏิบตั ดิ ว้ ย จะได้ชอื่ ว่าเป็นผูย้ งิ่ ใหญ่ ในอาณาจักรสวรรค์ 4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารหลายๆ ตอนที่เล่าเรื่องราวของพระเยซูเจ้าอาจทำ�ให้เราเข้าใจผิดไป ว่าพระเยซูเจ้าทรงอยู่เหนือกฎบัญญัติหรือทรงละเลยพระบัญญัติไปในบางครั้ง แต่ใน ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้นเลย เพียงแต่พระองค์ทรงสอนว่า บทบัญญัติต้องไม่อยู่ เหนือความรักซึ่งเราต้องแสดงต่อเพื่อนมนุษย์ที่อยู่ในความเดือดร้อน - กฎบัญญัติถูกกำ�หนดขึ้นมาเพื่อเป็น “ตัวช่วย” ให้มนุษย์สามารถเดินสู่เป้า หมายแท้จริงของชีวิตได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องหลงทาง - จากพระวรสารตอนนี้ พระเยซูเจ้าจึงตรัสอย่างชัดเจนว่า พระองค์มิได้ทรงมา เพื่อลบล้างธรรมบัญญัติหรือคำ�สอนที่มีมาแต่ในพันธสัญญาเดิม แต่พระองค์ทรงมา เพือ่ ปรับปรุงให้สมบูรณ์เพราะพระองค์คอื ผูไ้ ขแสดงความจริงของพระเจ้าทีส่ มบูรณ์ทสี่ ดุ ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้าแท้ และในฐานะมนุษย์แท้ พระองค์ทรงเป็นผู้ที่รู้จักมนุษย์ อย่างดีที่สุดเช่นกัน - พระองค์ทรงยืนยันว่า ตราบใดที่ฟ้าดินนี้ยังอยู่ ธรรมบัญญัติของพระองค์จะต้อง ไม่มแี ม้แต่อกั ษรหรือจุดเดียวทีจ่ ะหายไป นัน่ หมายความว่า พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ ใครละเมิดกฎบัญญัติเหล่านี้เลย อีกทั้งยังย้ำ�อีกว่า ใครที่ละเมิดธรรมบัญญัติแม้แต่ข้อ ที่เล็กน้อยที่สุดเพียงข้อเดียว เขาก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ต่ำ�ต้อยที่สุดในอาณาจักรสวรรค์ แต่ตรงข้าม ใครที่สอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม เขาจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในอาณาจักร สวรรค์เลยทีเดียว - ดังนั้น จากพระวาจานี้ เราสามารถเข้าใจได้ชัดเจนว่า พระเยซูเจ้าทรงให้ความ-

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


45

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

สำ�คัญแก่กฎบัญญัตเิ ป็นอย่างมาก และเราทุกคนจะต้องเชือ่ ฟังพระองค์ดว้ ยการดำ�เนิน ชีวิตให้สอดคล้องกับพระบัญญัติที่พระองค์ทรงประทานให้ - มโนธรรมก็เป็นอีกหนึ่ง “ตัวช่วย” ที่พระเจ้าประทานให้ในใจของมนุษย์ ซึ่ง เป็นเสมือนเสียงของพระองค์ทตี่ รัสในส่วนลึกของใจมนุษย์ทกุ คน เป็นเสียงทีช่ ว่ ยเตือน สติให้มนุษย์รู้ตัวว่า “สิ่งใดดีควรทำ� และสิ่งใดชั่วควรละเว้น”

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับ “มโนธรรม” ในใจ ที่พระเจ้าประทานให้มา ตั้งแต่เกิด ดังนั้น อาศัยเสียงมโนธรรม มนุษย์ทุกคนไม่ว่าเชื้อชาติศาสนาใดก็สามารถ ดำ�เนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง ด้วยเหตุด้วยผลและมีคุณธรรมได้ - แต่ก็เป็นไปได้ที่บางคนอาจมีมโนธรรมซึ่งไม่ค่อยถูกต้องเที่ยงตรง เพราะเขา อาจหล่อหลอมมโนธรรมของตนเองไปในทางที่ผิดต่อพระบัญญัติไม่ว่าจะด้วยเหตุผล หรือปัจจัยใดก็ตาม หรือไม่ว่าจะมีต้นเหตุมาจากตนเองหรือผู้อื่นก็ตาม - ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องมองเรื่อง “มโนธรรม” อย่างเป็นกลางเพราะเราไม่ควรจะ ยืนยันว่าเสียงมโนธรรมเป็นสิ่งถูกต้องเสมอไปด้วยเหตุผลดังกล่าว - พระเจ้าทรงใช้ทั้งมโนธรรมและกฎบัญญัติให้เป็นดัง “โคมไฟ” และ “หนทาง” ให้มนุษย์เดินสู่เป้าหมายแห่งชีวิตของตน ใครที่สามารถเข้าใจและยอมรับความจริงนี้ เขาก็จะมองมโนธรรมและกฎบัญญัตใิ นเชิงบวก เขาจะพยายามซือ่ สัตย์ตอ่ เสียงทีพ่ ระเจ้า ตรัสในใจของเขาและยินดีต่อการปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้า - ให้ผู้เรียนจับคู่ 2 คน แล้วให้ทำ�ใบงาน “ข้อนี้ดีไฉน?” โดยให้พยายามทำ�อย่าง จริงจังและตั้งใจที่สุด - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ทุกกลุ่มนำ�คำ�ตอบของตนมาแบ่งปันในกลุ่ม ใหญ่ เพือ่ ว่าคำ�ตอบของกลุม่ อืน่ ๆ จะได้ชว่ ยเปิดวิสยั ทัศน์ของแต่ละคนให้กว้างขึน้ เกีย่ ว กับข้อดีหรือ “ประโยชน์” ของการปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้า เพื่อจะได้ช่วย สร้างแรงจูงใจเชิงบวกให้แก่ทกุ คนในการปฏิบตั ติ ามเสียงมโนธรรมและกฎบัญญัตขิ อง พระเจ้า - สิ่งหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่เราแต่ละคนมากในการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ก็คือ “การพิจารณามโนธรรม” (ซึ่งผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ไปก่อนหน้านี้แล้ว) อย่างดีเป็น ประจำ�ทุกคืนก่อนนอนเพราะจะช่วยให้เรามีสติและความรู้ตัวมากขึ้นเมื่อต้องตัดสินใจ ทำ�สิ่งต่างๆ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนซื่อสัตย์ต่อการพิจารณามโนธรรมทุกวัน 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อมกัน อย่างช้าๆ และตั้งใจ

ดูใบงาน “ข้อนี้ดีไฉน?” ท้ายแผน


46

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “ข้อนี้ดีไฉน?” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนพระบัญญัติของพระเจ้าทั้ง 10 ประการลงในช่อง “พระบัญญัติ” จากนั้นให้เขียนข้อดีของ การปฏิบัติตามพระบัญญัติแต่ละข้อลงในช่อง “ข้อดี” ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

พระบัญญัติ

ข้อดี




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.