รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน .......................................................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระเจ้าประทับอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทรงเห็นฉันและรักฉัน......................................................................2 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้เมตตา .......................................................................................................................6 เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้ให้อภัย ....................................................................................................................10 เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้ยุติธรรม ..................................................................................................................14 เรื่อง พระเยซูเจ้า แบบอย่างผู้รับใช้ ........................................................................................................18 เรื่อง พระเยซูเจ้า องค์แห่งการภาวนา ....................................................................................................22 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในกิจการคาทอลิก .......................................................................................26 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง น.เปาโล และงานแพร่ธรรมของท่าน .............................................................................................29 เรื่อง การเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักร ............................................................................33 เรื่อง กระแสเรียก (พระสงฆ์/นักบวช/ฆราวาส) .......................................................................................37 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์ .............................................................................................................42 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การร่วมมิสซาอย่างมีประสิทธิผล ...................................................................................................47 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้น ..........................................................................................................52 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรักษา ........................................................................................................... 56 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรับใช้ชุมชน ....................................................................................................60 เรื่อง เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ .........................................................................................63 เรื่อง เทศกาลพระคริสตสมภพ ..............................................................................................................67 เรื่อง เทศกาลมหาพรต .........................................................................................................................72 เรื่อง เทศกาลปัสกา ..............................................................................................................................77 เรื่อง เทศกาลธรรมดา ..........................................................................................................................82 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การภาวนาด้วยใจ (แบบส่วนตัว) ...................................................................................................87 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง บุญลาภ 8 ประการ ......................................................................................................................92 เรื่อง คุณค่าของมิตรภาพ ......................................................................................................................98



1

ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี ารปรับปรุงอยูบ่ า้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บางสิง่ ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ ความเชื่อ ความไว้ใจและความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พระเจ้าประทับอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทรงเห็นฉันและรักฉัน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงสรรพานุภาพ ประทับอยู่ทุกหนแห่ง ทรงเห็น เราและรักเรา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนระลึกถึงความจริงข้อนี้บ่อยๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการทำ�บาปทุกชนิด สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะโดดเด่นมากมายหลายประการ แต่คุณลักษณะที่ทำ�ให้เรามนุษย์รู้สึกอบอุ่นไม่ โดดเดี่ยวก็คือ พระองค์ทรงสรรพานุภาพ ทรงประทับอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง ที่สำ�คัญคือ เป็นการประทับอันเต็มเปี่ยมด้วย ความรัก ความเมตตา ความเอือ้ อาทรต่อเราแต่ละคนอย่างมากมาย การสำ�นึกถึงความจริงข้อนีต้ อ้ งทำ�ให้เราเกิดจิตสำ�นึกทีจ่ ะ หลีกเลี่ยงการทำ�บาป แม้ข้อเล็กน้อยที่สุดและพยายามทำ�แต่สิ่งที่ดีๆ เพื่อให้พระเจ้าพระบิดาทรงรู้สึกชื่นชมยินดีในตัวเรา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 โดยให้เขียนจากความเป็นจริงของตน (ไม่ใช่ แกล้งเขียน) - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครแบ่งปันคำ�ตอบให้เพื่อนๆ ฟัง เพื่อให้ทุกคนพิจารณาคำ�ตอบของตนว่าเหมือนหรือต่างจากของเพื่อนๆ มากน้อย เพียงใด - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนในประเด็นที่ว่า “ในความเป็นจริงแล้ว เป็นไป ได้ไหมที่เราจะอยู่ในที่ที่ไม่มีใครเห็นได้เลย?” คำ�ตอบของผู้เรียนอาจจะแตกต่างกัน ออกไป ให้ผู้เรียนแสดงความเห็นอย่างอิสระ - ผู้สอนปิดท้ายการเสวนาด้วยคำ�ถามชวนคิดต่อไปว่า “ใครมั่นใจ 100% ว่า มี บางเวลาที่เราอยู่แบบส่วนตัว แบบไม่มีใครเห็นเราได้เลยบ้าง ให้ยกมือขึ้น...” - ถ้ามีผู้ยกมือ ให้ถามผู้ยกมือว่า “ทำ�ไมจึงมั่นใจเช่นนั้น?” จากนั้นจึงถามผู้ไม่ ยกมือว่า “เหตุใดจึงไม่มั่นใจ?” ผู้สอนให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ - เมื่อจบการเสวนาแล้ว ผู้สอนถามต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ความจริงคืออะไร?... เป็นความจริงหรือเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะไม่มีใครเห็นเราเลยในบางเวลา???” - ให้เรามาดูกันว่า พระวาจาของพระเจ้าจะตอบแก่เราในเรื่องนี้ว่าอย่างไร? 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงสำ�แดงพระองค์ในแคว้นกาลิลี ทรงส่งบรรดาอัครสาวกไป ทั่วโลก (มธ 28:16-20)

☆ ดูใบงานที่

1 ท้ายแผน


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ บรรดาศิษย์ทั้งสิบเอ็ดคนได้ไปยังแคว้นกาลิลี ถึงภูเขาที่พระเยซูเจ้าทรงกำ�หนด ไว้ เมื่อเขาเห็นพระองค์ ก็กราบนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ ตรัสแก่เขาเหล่านั้นว่า “พระเจ้าทรงมอบอำ�นาจ อาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง ไปสัง่ สอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำ�พิธลี า้ งบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบตั ติ ามคำ�สัง่ ทุกข้อทีเ่ ราให้แก่ทา่ น แล้วจงรูเ้ ถิด ว่า เราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ”

4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารตอนนี้เป็นเรื่องราวสุดท้ายที่ น.มัทธิวได้เล่าในพระวรสารของท่าน อยู่ในบริบทของการเสด็จสู่สวรรค์ของพระเยซูเจ้าที่แคว้นกาลิลี - ประเด็นที่จะเน้นในการเรียนครั้งนี้อยู่ในข้อสุดท้ายที่กล่าวว่า “จงรู้เถิดว่า เรา อยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:20) - ประโยคนี้ของพระเยซูเจ้าถือว่าเป็นคำ�สัญญาของพระองค์ที่ทำ�ให้คริสตชนเชื่อ มัน่ และไว้วางใจอยูเ่ สมอว่า “พระเยซูเจ้าทรงประทับอยูก่ บั เราเสมอ” ไม่เพียงในทุกวัน แต่ในทุกเวลา - พระเจ้าทรงเปิดเผยให้มนุษย์ทราบว่า พระองค์ทรง “สรรพานุภาพ” พระศาสนจักรได้เชื่อมั่นในความจริงข้อนี้จึงได้ประกาศเป็นข้อความเชื่อในบท “ข้าพเจ้า เชื่อ” (CCC ข้อ 268-274) - อีกข้อความเชื่อหนึ่งของพระศาสนจักรที่สร้างความมั่นใจให้แก่เราในเรื่องนี้คือ การยืนยันของพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็น “ผู้ทรงชีวิต” (CCC ข้อ 205) และ “ผู้เป็น” (CCC ข้อ 206-209) ซึ่งพระศาสนจักรยืนยันว่า “พระเจ้าคือสัมบูรณภาพแห่ง การดำ�รงอยู่และความสมบูรณ์พร้อมทุกประการ ปราศจากบ่อเกิดที่มาและปราศจาก จุดจบ” (CCC ข้อ 213) - เป็นคำ�ยืนยันนี้เองที่ทำ�ให้เราเชื่อมั่นว่า พระเจ้าประทับอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง และตลอดเวลา

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ความจริงข้อนี้ที่เราได้เรียนรู้ต้องไม่ปล่อยให้เราอยู่นิ่งเฉยในแบบที่ว่า “รู้ ไม่รู้ ก็มีค่าเท่ากัน” เรื่องบางเรื่องในชีวิตอาจเป็นเช่นนี้ได้เพราะมันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ ความรอดพ้นของเรา แต่ความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าต้องจุดประกายให้เราเกิดความกระตือรือร้นที่จะเปิดใจตนเองรับเอาความจริงข้อนี้ และทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภายในและภายนอก - การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมมาจากการเกิดจิตสำ�นึกที่ว่า “พระเจ้าประทับอยู่ กับฉันตลอดเวลา” ดังนัน้ ฉันจึงต้องสำ�นึกตนว่า “ฉันอยูเ่ ฉพาะพระพักตร์พระเจ้าเสมอ” เป็นความสำ�นึกนี้เองที่จะทำ�ให้เราอยู่นิ่งเฉยเป็น “คนเดิมๆ” อยู่ต่อไปไม่ได้ - สิง่ ทีม่ าพร้อมกับความสำ�นึกนีก้ ค็ อื การสร้างความมัน่ ใจให้กบั ตนเองว่า “พระเจ้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ทรงเป็นองค์แห่งความรัก” (CCC ข้อ 218-221) ดังนั้น ความสำ�นึกที่ว่าพระองค์ทรง ประทับอยู่กับเราเสมอนั้นจะต้องควบคู่ไปกับความมั่นใจว่า พระองค์ทรงรักเราอย่าง มากมาย - ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงานที่ 2 โดยให้ตอบอย่างตรงกับความจริงของตนเอง ให้มากที่สุด จากนั้น ให้ผู้สอนสำ�รวจคะแนนของแต่ละข้อ (1-5) มาขึ้นไว้ที่บอร์ดหน้า ชั้นว่าข้อใดมีกี่คะแนน - ให้สังเกตดูว่า ข้อใดมีผู้เรียนเลือกมากที่สุด แล้วให้นำ� 3 อันดับแรกที่มีผู้เลือก มากที่สุดมาพิจารณา เฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 3 คือ “รู้สึกรันทด โดดเดี่ยว โศกเศร้า เพราะไม่มีใครรักฉันเลย” โดยถามผู้เรียนทุกคนว่า “มีใครไม่กลัวที่จะต้องตกอยู่ใน สถานการณ์แบบนี้บ้าง? เหตุใดจึงกลัว?” - ให้ผู้เรียนไตร่ตรองว่า ชีวิตของหลายๆ คนคงเคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ และทางออกของแต่ละคนคืออะไร? บางคนก็เลือกวิธีแก้ปัญหาและพบคำ�ตอบที่ดีซึ่ง ช่วยให้ชีวิตของเขาดีขึ้นกว่าเดิมเหมือนฟ้าหลังฝน แต่บางคนก็อาจไม่พบหนทางอะไร จึงอาจเลือกวิธกี ารแก้ปญ ั หาทีท่ �ำ ให้ชวี ติ เลวร้ายกว่าเดิม หรือหลายๆ คนก็ได้คดิ สัน้ ดับ ชีวิตของตนไป ซึ่งเป็นการทำ�บาปหนักแบบที่ไม่ควรจะทำ� - ถ้าเราต้องตกอยู่ในกรณีปัญหาชีวิตแบบนี้ เราจะทำ�อย่างไร? ในฐานะที่เป็น คริสตชน เป็นลูกของพระเจ้านั้น ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่เคยถูกทอดทิ้งให้อยู่โดด เดี่ยว เปล่าเปลี่ยวเลยเพราะพระเจ้าทรงรักเราเสมอ และไม่ใช่อยู่แบบยามหรือตำ�รวจ แต่ทรงเป็นดั่ง “พ่อ” ที่รักเราแต่ละคนมากที่สุด เพียงแต่หลายๆ ครั้งเป็นเราเองไม่ ค่อยสำ�นึกถึงความจริงข้อนี้ต่างหาก เราจึงรู้สึกถูกทอดทิ้งแบบนั้น - “ผู้ที่มีความสุขที่สุดคือผู้ที่รู้สึกว่ามีคนรักตนอยู่ตลอดเวลา” จริงหรือไม่? แม้แต่ เงินก็ไม่สามารถซื้อความรักแท้จากใครได้ ให้เรามองดูตัวอย่างชีวิตจากคนมากมายที่ เขาอาจรวยล้นฟ้า แต่ทุกๆ วันอาจต้องระทมทุกข์เพราะขาดความรัก เนื่องจากเขา แสวงหาแต่เงิน ไม่เคยที่จะมอบรักแท้ให้แก่ใครก็ได้ - ดังนั้น การสร้างจิตสำ�นึกในตนว่า “พระเจ้าทรงอยู่กับฉันตลอดเวลา ทรงเห็น ฉัน และรักฉัน” จะทำ�ให้เรารู้สึกอบอุ่นและมีความสุขสักเท่าใด - หากเราสามารถสร้างจิตสำ�นึกนี้ได้ ผลดีที่จะตามมาก็คือ เราจะหลีกเลี่ยง การทำ�บาปแม้ที่เล็กน้อยที่สุด เพราะเราจะรู้สึกในทุกหนทุกแห่งที่ไปว่า “มีพระอยู่กับ ฉันเสมอ ทรงเห็นฉันและรักฉัน” ฉันจึงต้องไม่ท�ำ สิง่ ไม่ดดี งั เช่นแต่กอ่ น แต่ตอ้ งทำ�ดีอยู่ เสมอเพราะพระองค์ทรงรักฉัน และฉันก็ต้องตอบแทนความรักของพระองค์ด้วย การทำ�ให้พระองค์ทรงชื่นชมยินดีในตัวฉัน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนระลึกถึงความจริงข้อนี้บ่อยๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการทำ�บาปทุกชนิด 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “แผ่นดินของเรา” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

☆ ดูใบงานที่

2 ท้ายแผน


5

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง : ให้ทำ�กิจกรรมตามขั้นตอนต่อไปนี้ 1. 2. 3.

- ให้ผู้เรียนสมมติตนเองว่าอยู่ในที่ลี้ลับส่วนตัว ที่ซึ่งไม่มีใครจะสามารถเห็นตนเองได้เลย และ ณ ตรงนี้ เราสามารถทำ�อะไรก็ได้ตามใจชอบอย่างอิสระเต็มที่ - จากนั้น ให้ผู้เรียนเขียนสิ่งที่ตนอยากทำ�มากที่สุดเมื่อไม่มีใครจะเห็นเราได้เลย อย่างน้อย 3 ข้อ .......................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................

ใบงานที่ 2 คำ�ชี้แจง : จากตารางให้เลือก 3 เหตุการณ์ที่เธอรู้สึกไม่ต้องการให้เกิดกับตนเองมากที่สุด โดยเรียงลำ�ดับจากมากไป หาน้อย (3, 2, 1) ที่ 1 2 3 4 5

เหตุการณ์ ถูกพ่อแม่ตำ�หนิติเตียนอย่างไม่ยุติธรรมเสมอๆ สอบตกหลายวิชา ไม่อยากไปสอบซ่อมเลย รู้สึกรันทด โดดเดี่ยว โศกเศร้า เพราะไม่มีใครรักฉันเลย ต้องฝืนใจไปขอโทษแม่ เพราะฉันได้ทำ�ผิด รู้สึกอิจฉาที่เพื่อน “คนนั้น” ได้ดีกว่าฉันเสมอ

คะแนน


6

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้เมตตา ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าคือผูท้ รงมีพระเมตตากรุณาต่อมนุษย์ทกุ คน เฉพาะ อย่างยิ่งต่อบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนแสดงความเมตตาต่อบุคคลรอบข้าง เฉพาะอย่างยิง่ ต่อผูต้ อ้ งการความ ช่วยเหลือเป็นพิเศษ สาระการเรียนรู ้ เพราะเหตุที่พระเจ้าทรงเป็นองค์แห่งความรักอย่างไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์จึงทรงมีพระเมตตาต่อเรามนุษย์ อย่างไม่มที สี่ นิ้ สุดเช่นกัน พระองค์ทรงแสดงพระเมตตาของพระองค์ตอ่ มนุษย์เป็นพิเศษเพราะหลังจากบาปกำ�เนิดแล้ว มนุษย์ เป็นดัง “คนตาบอด” ที่หลงและสับสนในสิ่งที่ถูกและผิด แม้ในสภาพเช่นนี้พระเจ้าก็ยังทรงแสดงพระทัยดีและพระเมตตาของ พระองค์ผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 โดยเน้นให้เป็นเหตุการณ์จริง - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้อาสาสมัคร 2-3 คน เล่าเรื่องที่ตนเขียนให้ เพื่อนๆ ฟัง จากนั้น ผู้สอนสามารถเปิดอภิปรายได้โดยตั้งประเด็นว่า “เหตุการณ์โหด เหี้ยมเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร?... ถ้าสังคมของเรามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นอย่างไร?... เราสามารถให้ข้อเสนอแนะบางอย่างเพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ บ้างไหม?... ฯลฯ” - ผูส้ อนควรให้เวลาพอสมควรในการตอบคำ�ถามเหล่านี้ โดยให้แต่ละคนไตร่ตรอง ไปถึงเหตุการณ์ทตี่ นเขียนในใบงานด้วย และมุง่ ประเด็นไปทีส่ าเหตุของความเหีย้ มโหด ซึ่งก็คือ “จิตใจที่ไร้ความเมตตากรุณา” เพราะเมื่อมนุษย์คนใดมีจิตใจเช่นนี้ เขาจะไม่ สามารถรักเพื่อนมนุษย์คนใดได้ เพราะเขามีแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น เสียมากกว่า - ในฐานะที่เป็นคริสตชน เราควรจะมีท่าทีเดียวกันกับพระอาจารย์เจ้าของเรา คือ องค์พระเยซูคริสตเจ้า ให้เรามาดูว่า ต่อหน้าเหตุการณ์แห่งความทุกข์ทรมานที่บุคคล หนึ่งได้รับ พระองค์จะทรงทำ�เช่นไร? 3 พระวาจา : คนถูกปีศาจสิง (ลก 9:37-43) ต่อมา เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขาพร้อมกับศิษย์ทั้งสามคน ประชาชน จำ�นวนมากเข้ามาเฝ้าพระองค์ ทันใดนั้น ชายคนหนึ่งร้องตะโกนในหมู่ประชาชน

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


7

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ว่า “พระอาจารย์เจ้าข้า ข้าพเจ้าอ้อนวอนพระองค์โปรดทอดพระเนตรบุตรชายของ ข้าพเจ้าด้วย เขาเป็นบุตรคนเดียวของข้าพเจ้า เมือ่ ปีศาจเข้าสิง เขาก็ตะโกนขึน้ มาทันที และเริ่มชัก น้ำ�ลายฟูมปาก และก่อนที่ปีศาจจะออกไปมันก็จะทำ�ให้เด็กหมดแรง ข้าพเจ้าวอนขอศิษย์ของท่านให้ขับไล่ปีศาจ แต่เขาทำ�ไม่ได้” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “คนหัวดื้อ เชื่อยากและเลวร้าย เราจะต้องอยู่กับท่านอีกนานเท่าใด จะต้องทนท่านอีก นานเท่าใด จงพาบุตรของท่านมาทีน่ ”ี่ ขณะทีเ่ ด็กคนนัน้ กำ�ลังเข้ามาใกล้ ปีศาจก็ท�ำ ให้ เด็กล้มลงชัก พระเยซูเจ้าตรัสสำ�ทับปีศาจร้ายและทรงรักษาเด็กให้หายเป็นปกติ แล้ว มอบเขาให้บิดา ทุกคนประหลาดใจมากเมื่อเห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า

4 อธิบายพระวาจา - ในพระวรสารตอนนี้ผู้ที่เป็น “ตัวร้าย” คือปีศาจที่เข้าสิงผู้เป็นบุตร ดังนั้น จึงมี ผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานถึง 2 คนคือ ผู้เป็นบิดาและบุตร - จากเรื่องที่เล่า เราคงจะพอเข้าใจได้ว่า ทั้งบิดาและบุตรต้องถูกกระทำ�จากปีศาจ โดยบุตรถูกปีศาจเข้าสิงจึงเกิดอาการ “ตะโกน ชัก น้ำ�ลายฟูมปาก หกล้ม” ซึ่งเป็น อาการที่ทำ�ให้เกิดความทุกข์ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างแสนสาหัส ส่วนผู้เป็นบิดาเมื่อ เห็นบุตรในสภาพเช่นนี้ ก็ยิ่งเจ็บในใจมากกว่าผู้เป็นบุตรเสียอีก - ด้วยความเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้าอย่างสุดจิตใจ บิดาจึงตะโกนเรียกหา พระองค์ทา่ มกลางฝูงชน วอนขอให้พระองค์ทรงช่วย เพราะเขาเคยให้ศษิ ย์ของพระองค์ ขับไล่ปศี าจแล้วแต่พวกเขาก็ยงั ทำ�ไม่ได้ เขาไม่ได้หมดความหวังแต่ได้เพียรพยายามต่อ ไปด้วยความเชื่อมั่นว่า พระเยซูเจ้าจะทรงทำ�อัศจรรย์นี้ได้ - เมื่อพระเยซูเจ้าได้ทรงฟังคำ�อ้อนวอนของเขาแล้ว พระองค์ทรงทำ�อัศจรรย์ไล่ผี ปีศาจออกจากบุตรชายของเขาทันที ผีปีศาจได้ออกจากร่างของบุตรชายนั้น แล้วเขา ก็ได้หายเป็นปกติ - แม้พระเยซูเจ้าจะได้ทรงตำ�หนิติเตียนบางคนเหล่านั้นว่า หัวดื้อ เชื่อยาก เลวร้าย พระองค์ได้ทรงทำ�ถูกต้องแล้วเพราะพวกเขาเหมาะสมจะได้รบั การตำ�หนิตเิ ตียน จริงๆ พระองค์มิได้ทรงอารมณ์เสีย หงุดหงิด แต่เพราะทรงเป็นองค์แห่งความรักและ เมตตา พระองค์ทรงมีความเมตตาสงสารอย่างสุดหัวใจ จึงได้ทรงช่วยให้ทั้งบิดาและ บุตรได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานดั่งอยู่ในขุมนรก

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงให้ภาพลักษณ์ของผู้ที่มีจิตใจเมตตา พระองค์ทรงทนเห็นมนุษย์ ถูกทรมานอย่างโหดเหีย้ มไม่ได้ ทรงทนให้เขาอยูใ่ นความทุกข์กายทุกข์ใจไม่ได้ พระองค์ จึงทรงปลดปล่อยคนเหล่านั้นที่มาวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ - จากเรื่องราวในพระวรสารนี้ พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้เราเข้าใจว่า เราต้องไม่อยู่นิ่ง เฉยต่อหน้าความทุกข์ของคนอื่น เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เราสามารถยื่นมือให้ความช่วยเหลือได้ แต่เราจะทำ�แบบนีไ้ ด้กเ็ ฉพาะเมือ่ เรามีความรักและความเมตตาอยูใ่ นจิตใจ เท่านั้น เราจึงจะมีความรู้สึกสงสารบุคคลที่ทุกข์ทรมานด้วยสาเหตุต่างๆ และต้องการ ปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระพ้นจากความทุกข์เหล่านั้น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


8

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ที่สำ�คัญคือ นอกจากเราจะต้องเป็นผู้ช่วยบรรเทาทุกข์ของผู้อื่นแล้ว เราแต่ละ คนต้องไม่เป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่เราชอบหรือไม่ชอบ เขาก็ตาม เพราะการเป็นเหตุแห่งความทุกข์นั้นจะเป็นบาปหนักยิ่งกว่าเสียอีก - ไม่ว่าเราจะเดินไปไหน จะทำ�อะไรกับใคร หากเราสังเกตดีๆ แล้ว เราจะพบ เหตุการณ์ที่เป็นโอกาสให้เราฝึกตนเป็นคนมีเมตตาเสมอ ความเมตตาไม่เพียงแต่จะ ทำ�ให้เราเป็นคนดีเท่านั้น แต่ความเมตตาแท้จะเรียกร้องเราให้เลือกทำ�สิ่งที่ “ดีกว่า” อีกด้วย - ให้ผเู้ รียนอ่านใบความรูเ้ รือ่ ง “จิตใจกษัตริย”์ แล้วให้ผเู้ รียนไตร่ตรองในประเด็น ที่ว่า สาเหตุแท้จริงที่ทำ�ให้บุตรคนที่ 3 ไม่ปล่อยให้ศัตรูตกหน้าผาตายคืออะไร?

ดูใบความรู้เรื่อง “จิตใจ กษัตริย์” ท้ายแผน

- ให้ผู้เรียนแต่ละคนนั่งนิ่งๆ สักครู่ จากนั้นให้คิดว่า มีบุคคลใดบ้างที่ฉันต้อง ปฏิบตั คิ วามเมตตาต่อเขา โดยให้เลือกเพียงหนึง่ บุคคลเท่านัน้ ทีร่ สู้ กึ ว่าทำ�ยากทีส่ ดุ แล้ว ให้นำ�การไตร่ตรองนี้ไปปฏิบัติจริง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนแสดงความเมตตาต่อบุคคลรอบข้าง เฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “เมตตา” พร้อมกันอย่างตั้งใจ โดยคิดถึงความหมายของเนื้อเพลง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


9

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง : ให้เขียนเหตุการณ์จริง 1 เรื่อง ที่สำ�หรับท่านคิดว่าเป็นเรื่องโหดเหี้ยมมากที่สุด โดยอาจเป็นเรื่องที่มาจาก ชีวิตจริงของท่านเอง หรือเรื่องที่รับรู้มาจากข่าวสารประจำ�วันก็ได้ (ไม่ใช่เรื่องสมมติหรือนิทาน) ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................

ใบความรู้ เรื่อง “จิตใจกษัตริย์” กษัตริยพ์ ระองค์หนึง่ ชราแล้ว มีบตุ ร 3 คน ต้องการมอบอาณาจักร ให้ดูแล จึงบอกลูกให้ออกไปนอกวัง ทำ�สิ่งที่ลูกอยากจะทำ� หลังจากหายไปช่วงระยะเวลาหนึง่ คนแรกก็กลับมา บอกว่า “พ่อ ครับ... ผมซื่อสัตย์และคืนของแก่เขาจนครบ” พ่อจึงชมว่า ลูกทำ�สิ่งที่ดี คนทีส่ องกลับมา ก็บอกพ่อว่า เขาได้ชว่ ยเด็กคนหนึง่ ทีก่ �ำ ลังจะจม น้�ำ ให้มชี วี ติ ใหม่ ด้วยการผายปอดเรียบร้อย พ่อบอกว่า “เป็นสิง่ ทีด่ เี หมือน กันที่ได้ช่วยคนที่ได้รับอุบัติเหตุ” คนที่สามก็มาบอกว่า “ผมขี่ม้าไปเจอศัตรูที่เชิงเขา ผมสองจิต สองใจเพราะเขากำ�ลังจะตกหน้าผา ผมคิดว่าจะทำ�อย่างไรดี สุดท้าย ผม ตัดสินใจช่วยเขาทั้งๆ ทีเ่ ป็นศัตรู ให้รอดชีวติ ” พ่อบอกว่า “ดีมากลูก... ลูก มีจิตใจที่ดีมาก พ่อจะมอบอาณาจักรให้ลูก” (จากหนังสือ อูมา “มี้” โดย “พ่อมี้” หน้า 114)


10

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้ให้อภัย

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2

ชั้น ม.3

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าคือผู้ที่รักและให้อภัยแก่เราเสมอ แม้ว่าเราจะเป็น คนบาปสักเพียงใดก็ตาม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้อภัยแก่บุคคลที่รู้สึกว่าทำ�ยากที่สุด สาระการเรียนรู ้ การให้อภัยเป็นลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดของผู้มีความรักแท้ เพราะหากไร้ซึ่งความรักแท้แล้วการให้อภัย ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้ พระเยซู พระอาจารย์เจ้าทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่ได้ให้อภัยแม้กระทั่งต่อผู้ที่ฆ่าพระองค์ ดังที่พระองค์ได้ ตรัสบนไม้กางเขนว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ�อะไร” (ลก 23:34 เชิงอรรถ j) แม้การให้อภัยเป็นสิง่ ทีย่ ากมาก แต่ผเู้ ป็นคริสตชนต้องทำ�ให้ได้เพราะการอภัยเป็นเงือ่ นไขสำ�คัญของการทีเ่ ราจะได้รบั การอภัย จากพระเจ้าเช่นกัน (มธ 6:12,14) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเริ่มด้วยการตั้งคำ�ถามกับผู้เรียนว่า “ใครคิดว่า ‘การอภัย’ เป็นเรื่องง่าย ให้ยกมือขึ้น...ทำ�ไมจึงง่าย?...แล้วทำ�ไมเราจึงต้อง ‘ให้อภัย’ ด้วย?...เราจะไม่ให้อภัย ไม่ได้หรือ?...ผลของการให้อภัยคืออะไร?...ผลของการไม่ให้อภัยคืออะไร?” - ให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่างๆ ได้อย่างอิสระเพื่อผู้สอนจะได้มีข้อมูล ที่ถูกต้องของผู้เรียนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว - จากประสบการณ์ของคนส่วนใหญ่แล้ว เราสัมผัสว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ยากถึง ยากมาก สิ่งนี้ย่อมมาจากบริบทและวัฒนธรรมของประเทศไทยเราซึ่งอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่สอนให้ “แก้แค้น” หรือ “เอาคืน” ต่อทุกคนที่ทำ�ให้เราเจ็บ ไม่ว่าจะด้วย เหตุผลอันใดก็ตาม - แต่ในฐานะที่เราเป็นคริสตชน เราจะทำ�ตามความรู้สึกแบบนี้ได้ไหม? แน่นอน พระเยซูเจ้ามิได้ทรงสอนศิษย์ของพระองค์แบบนี้ ให้เรามาดูกันว่าพระองค์ทรงสอน อย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการอภัย... 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ (ยน 8:1-11) เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อม พระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำ� หญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูล ถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ถูกจับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสส

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


11

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สั่งเราให้ทุ่มหินหญิงประเภทนี้จนตาย ส่วนท่านจะว่าอย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุปรักปรำ�พระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลง เอานิ้ว พระหัตถ์ขดี เขียนทีพ่ นื้ ดิน เมือ่ คนเหล่านัน้ ยังทูลถามย้�ำ อยูอ่ กี พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหินทุ่มนางเป็นคนแรกเถิด” แล้วทรงก้มลงขีด เขียนบนพืน้ ดินต่อไป เมือ่ คนเหล่านัน้ ได้ฟงั ดังนี้ ก็คอ่ ยๆ ทยอยออกไปทีละคน เริม่ จาก คนอาวุโส จนเหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำ�พังกับหญิงคนนั้น ซึ่งยังคงยืนอยู่ที่เดิม พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มี ใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนัน้ ทูลตอบว่า “ไม่มใี ครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้า ตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำ�บาปอีก” 4. อธิบายพระวาจา - พระวรสารตอนนี้ไม่ใช่เรื่องอุปมา แต่ น.ยอห์นได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ พระเยซูเจ้านีข้ ณะทีพ่ ระองค์เสด็จไปในพระวิหาร ทรงอยูท่ า่ มกลางบรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสี ผู้ซึ่งต้องการจะจับผิดพระองค์ด้วยการนำ�หญิงผิดประเวณีคนหนึ่งมาให้ พระองค์ทรงตัดสิน - พระเยซูเจ้าทรงทราบดีถึงจุดประสงค์ร้ายของคนเหล่านั้น ทรงทราบดีว่า ไม่ว่า พระองค์จะทรงตอบอย่างไร ก็ตอ้ งถูกพวกเขาตัดสิน ถ้าพระองค์จะทรงให้ประหารหญิง คนนั้น ก็จะถูกกล่าวหาว่าพระองค์ให้ฆ่านางทั้งๆ ที่ทรงสอนให้รักเพื่อนมนุษย์ แต่ถ้า พระองค์บอกว่าให้ปล่อยนางไป ก็จะถูกกล่าวหาว่าทรงละเมิดธรรมบัญญัติ - ด้วยความปรีชาฉลาด พระเยซูเจ้าจึงทรงสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านี้ด้วย วิธที เี่ ฉียบแหลมทีส่ ดุ ด้วยการตรัสว่า ถ้าใครไม่มบี าปก็ให้ทมุ่ หินฆ่านางเป็นคนแรก นี่ เป็นประโยคที่สร้างความสมดุลให้กับสถานการณ์นี้ได้ดีที่สุด พระองค์มิได้ทรงละเมิด ธรรมบัญญัติเพราะมิได้ทรงบอกว่าห้ามทุ่มหิน แต่พระองค์ได้บอกสิ่งที่ทำ�ให้ทุกคน ณ ที่นั่นละอายแก่ใจในความบาปของตนเองจนไม่มีใครกล้าเอาหินทุ่มหญิงนั้นเป็นคน แรก - พระเยซูเจ้าทรงสอนด้วยคำ�พูดและการกระทำ�ว่า มนุษย์ทุกคนต้องการการอภัย เพราะทุกคนเป็นคนบาป และต้องการได้รับการอภัยจากพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ พระองค์ทรงให้ตวั อย่างของผูท้ ใี่ ห้อภัยแก่คนบาปด้วยการตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่าน ด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำ�บาปอีก” แม้ว่าในประโยคนี้ไม่ใช้คำ�ว่า “อภัย” แต่ ก็มีความหมายเดียวกันที่ทำ�ให้หญิงคนนี้เข้าใจว่านางได้รับการอภัยให้รอดพ้นจาก ความตายและบาปที่ได้ทำ� รวมทั้งผู้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมดก็เข้าใจด้วยเช่นกัน แต่จะ ปฏิบัติได้หรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องของพวกเขาแต่ละคน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในพระวรสารยังมีอีกหลายๆ ตอนที่กล่าวถึง “การอภัย” จึงทำ�ให้เราเข้าใจว่า เรือ่ งนีเ้ ป็นประเด็นทีพ่ ระเจ้าทรงให้น�้ำ หนักค่อนข้างมาก เนือ่ งจากสัมพันธ์โดยตรงอย่าง ใกล้ชิดกับ “พระบัญญัติแห่งความรัก” ซึ่งเป็นบัญญัติสำ�คัญที่สุด ดังนั้น ให้เรามา พิจารณาต่ออีกเล็กน้อยว่า เรือ่ งทีป่ รากฏในพระวรสารเกีย่ วกับการอภัยมีเรือ่ งอะไรบ้าง เพื่อเราจะได้เข้าใจถึงเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


12

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

- ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “Pardon” โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม - เมื่อทุกกลุ่มทำ�กิจกรรมตามใบงานเรียบร้อยแล้ว ให้ตัวแทนกลุ่มมาเล่าเรื่องย่อ ของพระวรสารทั้ง 2 เรื่องของแต่ละกลุ่มให้ทุกคนฟัง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ ☆

ดูใบความรู้เรื่อง “Pardon” ท้ายแผน

- จากนั้นผู้สอนจึงเปิดอภิปรายอีกครั้งถึงคำ�ถามที่ตั้งไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของคาบ คือ “ทำ�ไมเราจึงต้อง ‘ให้อภัย’ ด้วย?...เราจะไม่ให้อภัยไม่ได้หรือ?...ผลของการให้อภัย คืออะไร?...ผลของการไม่ให้อภัยคืออะไร?” เพื่อให้ผู้เรียนได้ช่วยกันตอบคำ�ถามนั้น ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยผู้สอนช่วยเสริมเติมคำ�ตอบให้ครบสมบูรณ์ 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนให้อภัยแก่บุคคลที่รู้สึกว่าทำ�ยากที่สุด 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “ยกบาปข้าเทอญ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ และคิดถึงความหมายของเนื้อเพลง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................


13

ใบงาน “Pardon” คำ�ชี้แจง : 1. ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเตรียมตัวแทน 1 คน 2. ให้ตัวแทนกลุ่มมาจับฉลาก คนละ 2 ใบ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8

ฉลากพระวาจา ลก 5:20 ลก 6:37 ลก 7:48 ลก 11:3-4 ลก 17:3 ลก 19:9 มธ 18:22 มธ 18:25

3. ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันหาในพระคัมภีร์ว่า ฉลากพระวาจาแต่ละอันนั้นอยู่ในหัวข้อใด? และให้เขียน ข้อความของ code พระวาจา ลงในตารางข้างล่างนี้ (ผู้สอนกำ�หนดเวลาตามความเหมาะสม) ที่ ตย.

ฉลากพระวาจา ลก 23:34

1 2 3 4 5 6 7 8

ลก 5:20 ลก 6:37 ลก 7:48 ลก 11:3-4 ลก 17:3 ลก 19:9 มธ 18:22 มธ 18:25

ข้อพระวาจา หัวข้อ พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิด พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงบนไม้ แก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ� กางเขน อะไร

4. เมื่อแต่ละกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้อ่านพระวรสารทั้ง 2 ตอนนั้น (ทั้งเรื่อง) สรุปย่อ และเตรียมตัวแทน เล่าให้ทุกคนฟัง


14

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้า ผู้ยุติธรรม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าคือผูท้ ที่ รงความยุตธิ รรมสูงสุด เพราะพระองค์ทรง เป็นพระเจ้าที่ทรงรับรู้ทุกสิ่ง แม้ในมุมที่ซ่อนเร้นที่สุดของมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกข้อตั้งใจที่เป็นรูปธรรม 1 ข้อ และนำ�ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงมีลักษณะของพระเจ้าครบถ้วน พระองค์ทรงความยุตธิ รรมอย่างอนันต์ พระองค์ทรงรูเ้ ห็นทุกสิง่ แม้ในมุมลีล้ บั ทีส่ ดุ ทีม่ นุษย์ไม่สามารถรับรูไ้ ด้ ทัง้ ในความดีและความชัว่ ของมนุษย์ แต่ละคน ไม่มีสิ่งใดปิดบังได้ต่อพระพักตร์ของมนุษย์ พระเยซูคริสตเจ้าจึงทรงเป็นผู้เดียวที่เหมาะสมที่จะตัดสินมนุษย์ได้อย่าง ยุติธรรมที่สุด ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ยุติธรรมไหม?” โดยเน้นให้ผู้เรียนเขียนจาก ประสบการณ์จริง - เมื่อผู้เรียนเขียนเรื่องจากใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนถามว่า “มีผู้เขียนเกี่ยวกับ เรื่อง ‘ความยุติธรรม’ กี่คน? ยกมือขึ้น” ผู้สอนนับจำ�นวนแล้วเขียนไว้ที่บอร์ด จากนั้น ให้ถามว่า “มีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความอยุติธรรม’ กี่คน? ยกมือขึ้น” ให้ผู้สอนนับ จำ�นวนและเขียนที่บอร์ดเช่นกัน - ผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่า จำ�นวนคนที่เขียนเกี่ยวกับ “ความอยุติธรรม” นั้นจะ มากกว่าเรือ่ งเกีย่ วกับ “ความยุตธิ รรม” นัน่ เพราะคนส่วนใหญ่ในโลกนีม้ กั จะโอนเอียง ในทางความอยุติธรรมมากกว่าความยุติธรรม - ต่อหน้าสถานการณ์เช่นนี้ เราจะนิ่งเฉยอยู่ต่อไปเหมือนเดิมได้ไหม? จะเกิด อะไรขึ้นถ้าเราปล่อยให้โลกของเรามีความอยุติธรรมมากกว่าความยุติธรรม? ถ้าเป็น เราเองที่ต้องตกเป็นเหยื่อของความอยุติธรรม เราจะทำ�อย่างไร? นี่คือ “ภาพสังคมใน ฝัน” ของเราหรือเปล่า? - พระเยซู พระอาจารย์เจ้า ทรงสอนเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไร? ให้เรามาดู จากพระวรสารกัน 3 พระวาจา : อุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น (มธ 20:1-16) อาณาจักรสวรรค์เปรียบเหมือนพ่อบ้านผู้หนึ่งซึ่งออกไปตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อจ้าง คนงานมาทำ�งานในสวนองุ่น ครั้นได้ตกลงค่าจ้างวันละหนึ่งเหรียญกับคนงานแล้ว ก็

ดูใบงาน “ยุติธรรมไหม?” ท้ายแผน

.


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ส่งไปทำ�งานในสวนองุ่น ประมาณสามโมงเช้า พ่อบ้านออกมาก็เห็นคนอื่นๆ ยืนอยู่ที่ ลานสาธารณะโดยไม่ทำ�งาน จึงพูดกับคนเหล่านี้ว่า ‘จงไปทำ�งานในสวนองุ่นของฉัน เถิด ฉันจะให้ค่าจ้างตามสมควร’ คนเหล่านี้ก็ไป พ่อบ้านออกไปอีกประมาณเที่ยงวัน และบ่ายสามโมง กระทำ�เช่นเดียวกัน ประมาณห้าโมงเย็น พ่อบ้านออกไปอีก พบคน อืน่ ๆ ยืนอยู่ จึงถามเขาว่า ‘ทำ�ไมท่านยืนอยูท่ นี่ ที่ งั้ วันโดยไม่ท�ำ อะไร’ เขาตอบว่า ‘เพราะ ไม่มีใครมาจ้าง’ พ่อบ้านพูดจึงว่า ‘จงไปทำ�งานในสวนองุ่นของฉันเถิด’ ครั้นถึงเวลาค่ำ� เจ้าของสวนบอกผู้จัดการว่า ‘ไปเรียกคนงานมา จ่ายค่าจ้างให้ เขาโดยเริม่ ตัง้ แต่คนสุดท้ายจนถึงคนแรก’ เมือ่ พวกทีเ่ ริม่ งานเวลาห้าโมงเย็นมาถึง เขา ได้รับคนละหนึ่งเหรียญ เมื่อคนงานพวกแรกมาถึง เขาคิดว่าตนจะได้รับมากกว่านั้น แต่กไ็ ด้รบั คนละหนึง่ เหรียญเช่นกัน ขณะรับค่าจ้างเขาก็บน่ ถึงเจ้าของสวนว่า ‘พวกทีม่ า สุดท้ายนีท้ �ำ งานเพียงชัว่ โมงเดียว ท่านก็ให้คา่ จ้างแก่เขาเท่ากับเรา ซึง่ ต้องตรากตรำ�อยู่ กลางแดดตลอดวัน’ เจ้าของสวนจึงพูดกับคนหนึง่ ในพวกนีว้ า่ ‘เพือ่ นเอ๋ย ฉันไม่ได้โกง ท่านเลย ท่านไม่ได้ตกลงกับฉันคนละหนึ่งเหรียญหรือ จงเอาค่าจ้างของท่านไปเถิด ฉันอยากจะให้คนทีม่ าสุดท้ายนีเ้ ท่ากับให้ทา่ น ฉันไม่มสี ทิ ธิใ์ ช้เงินของฉันตามทีฉ่ นั พอใจ หรือ ท่านอิจฉาริษยาเพราะฉันใจดีหรือ’ “ดังนี้แหละ คนกลุ่มสุดท้ายจะกลับกลายเป็นคนกลุ่มแรก และคนกลุ่มแรกจะ กลับกลายเป็นคนกลุ่มสุดท้าย”

4 อธิบายพระวาจา - เรื่องราวนี้ในพระวรสารดูผิวเผินจะคล้ายเป็นความไม่ยุติธรรม หรืออาจให้ ความรูส้ กึ แก่บางคนในแง่ลบมากกว่าแง่บวก แต่ในความเป็นจริงแล้วมิใช่เช่นนัน้ เพราะ พระเจ้าทรงเป็นองค์แห่งความดีและความจริงอย่างไม่มขี อบเขตตลอดกาล ในพระองค์ จึงมีแต่ความดีเสมอ ไม่มีสิ่งใดไม่ดีเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น ด้วยความเชื่อเราจึงมั่นใจว่า อุปมาเรือ่ งนีท้ พี่ ระเยซูเจ้าทรงเล่าต้องการสอนเราถึงธรรมล้�ำ ลึกแห่งความยุตธิ รรมของ พระเจ้า - พระเยซูเจ้าทรงเปรียบได้กับพ่อบ้านในอุปมานี้ที่ออกไปจ้างคนงานมาทำ�งาน ในสวนองุ่นแต่เช้าตรู่ มีคนงานมาสมัครงานหลายคนตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย 5 โมงเย็น โดยตกลงค่าจ้างกันคนละ 1 เหรียญ - พอตกเย็น ถึงเวลาจ่ายค่าจ้าง ทุกคนก็ได้รับเงิน 1 เหรียญตามที่ตกลงไว้ แบบ นี้จะเรียกว่านายจ้างอยุติธรรมได้หรือไม่? ในสายตาของคนส่วนใหญ่คงเห็นว่า นี่คือ ความไม่ยตุ ธิ รรมอย่างแน่นอน แต่แท้จริงแล้ว มนุษย์กต็ ดั สินด้วยความรูส้ กึ นึกคิดแบบ มนุษย์ คือแบบผู้ที่มีขอบเขต รู้เห็นด้วยขอบเขต ดั่งผู้ที่รู้แค่บางอย่างไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ พระเจ้าทรงเป็นผู้รู้ทุกอย่างจึงทรงสามารถตัดสินด้วยข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด เพราะทรง เห็นทั้งในสิ่งที่มนุษย์เห็นได้และเห็นไม่ได้ด้วย ดังนั้น การตัดสินของพระองค์จึงไม่มี วันผิดพลาดอย่างแน่นอน - วิธีคิดเช่นนี้มิใช่เป็นการเข้าข้างพระเจ้า เพราะถ้าคิดตามประสามนุษย์ ก็พอจะ เข้าใจได้ว่า หากเราเป็นนายจ้างในเรื่องนี้ เราก็คงจะไม่พลาดที่จะติดตามดูการทำ�งาน ของคนงานแต่ละคนอย่างใกล้ชดิ จนกระทัง่ มีขอ้ มูลเกีย่ วกับการทำ�งานของคนงานเหล่า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


16

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

นั้น และสามารถที่จะวินิจฉัยได้ว่า ควรจะให้ค่าจ้างแก่แต่ละคนเท่าไรจึงจะเหมาะสม 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงเล่าอุปมาเรื่องนี้เพื่อจะสื่อสารแก่เราว่า พระองค์ทรงความยุติธรรมสูงสุด แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นองค์ความรักอันไร้ขอบเขตก็ตาม ความรัก มากมายเหลือคณานับของพระองค์ไม่ได้ทำ�ให้พระองค์ทรงบกพร่องในความยุติธรรม ได้ - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 10 กลุ่ม (หรือตามความเหมาะสม) จากนั้น ให้ทุกกลุ่มทำ� ใบงาน “ยุติธรรมอย่างไร?”

ดูใบงาน “ยุติธรรม อย่างไร?” ท้ายแผน

- เมื่อทุกกลุ่มแบ่งปันเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนสรุปเนื้อหาทั้งหมดให้สมบูรณ์อีกครั้ง หนึ่ง จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกข้อตั้งใจที่เป็นรูปธรรม และนำ�ไปปฏิบัติอย่าง จริงจัง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนเลือกข้อตั้งใจที่เป็นรูปธรรม 1 ข้อ และนำ�ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ผู้เรียนคนหนึ่งอาสาสมัครภาวนาจากใจ แล้ว ให้จบด้วยการสวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้+ผล - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “ยุติธรรมไหม?” คำ�ชีแ้ จง : ให้แต่ละคนเขียนเรือ่ งสัน้ ๆ หนึง่ เรือ่ ง จากประสบการณ์จริงของท่านเกีย่ วกับ “ความยุตธิ รรม” โดยสามารถ เลือกจากเรื่องที่เกี่ยวกับ “ความยุติธรรม” หรือ “ความอยุติธรรม” ก็ได้ ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................


17

ใบงาน “ยุติธรรมอย่างไร?” คำ�ชี้แจง : 1. ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลาก 1 ใบ (ถ้ามี 5 กลุ่ม ก็จับกลุ่มละ 2 ใบ) ที่ ฉลากพระวาจา 1 มธ 7:2 2 มธ 7:12 3 มธ 6:24 4 มธ 13:47-50 5 มธ 14:3-10 6 มธ 17:24-27 7 มธ 22:15-21 8 มธ 23:1-4 9 มธ 24:45-51 10 มธ 25:14-30 2. ในฉลากแต่ละใบจะบรรจุ ฉลากพระวาจา 1 ตอน ให้กลุ่มเปิดพระวาจาตอนนั้นๆ แล้วอ่าน ทำ�ความเข้าใจด้วยกัน โดยให้ตอบประเด็นที่ว่า “พระวาจาตอนนี้เน้นให้ปฏิบัติความยุติธรรมในเรื่องใด?” แล้ว เขียนคำ�ตอบในตารางนี้ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

ฉลากพระวาจา มธ 7:2 มธ 7:12 มธ 6:24 มธ 13:47-50 มธ 14:3-10 มธ 17:24-27 มธ 22:15-21 มธ 23:1-4 มธ 24:45-51 มธ 25:14-30

ข้อพระวาจา

3. เมื่อทำ�งานเสร็จแล้ว ให้กลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันแก่ทุกคน

หัวข้อ


18

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้า แบบอย่างผู้รับใช้

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของผู้รับใช้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนรับใช้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ แม้ในงานที่คิดว่าต่ำ�ต้อย สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสอนเราถึงคุณค่าสำ�คัญต่างๆ ที่คริสตชนต้องปฏิบัติ เพื่อจะเข้า อาณาจักรสวรรค์ได้ หนึ่งในคุณค่าสำ�คัญนั้นคือ “การรับใช้” พระเยซูเจ้าทรงสอนและให้แบบอย่างของการเป็น “ผู้รับใช้” ซึ่ง เป็นคุณค่าที่ทวนกระแสสังคมของยุคนี้ซึ่งเน้นแต่การกินอยู่อย่างสบายๆ หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ชอบทำ�งานหนักหรืองานที่ถูก มองว่า “ต่�ำ ต้อย” แต่การรับใช้คอื รูปธรรมของคุณค่าแห่งความสุภาพถ่อมตน อันเป็นคุณค่าประเสริฐทีพ่ ระเจ้าทรงพอพระทัย ยิ่งนัก ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนอาสาสมัคร 5 คนมาจับฉลาก (ฉลาก 5 ใบคือ 1. ไปเที่ยว 2. ไปดูหนัง 3. กินของอร่อย 4. ไปช้อปปิ้ง 5. รับใช้ผู้อื่น) โดยสร้างสถานการณ์ว่า ผู้จับฉลากแต่ละคนจะต้องไปทำ�สิ่งที่ระบุในฉลากนั้น - ให้อาสาสมัครทั้ง 5 คนยืนที่ด้านหน้าของห้อง หันหน้าเข้าหาเพื่อนๆ ทิ้งระยะ ห่างกันเล็กน้อย จากนั้นให้มาจับฉลากทีละคน เมื่อได้ฉลากแล้วให้เปิดออกอ่านในใจ เสร็จแล้วจึงค่อยอ่านออกเสียงดังๆ ให้เพื่อนๆ ทุกคนฟังด้วย อาสาสมัครให้คะแนนว่า ตนชอบกิจกรรมนั้นมากเพียงใด? (คะแนนเต็ม 10) ให้ทำ�เช่นนี้จนครบทั้ง 5 คน - เมื่อเสร็จแล้ว ให้ทั้ง 5 คนกลับเข้าที่ ผู้สอนถามผู้เรียนที่ไม่ใช่อาสาสมัครว่า “สีหน้าของอาสาสมัครแต่ละคนขณะเปิดดูฉลากเป็นอย่างไร? คะแนนของกิจกรรมทั้ง 5 เป็นอย่างไร? ทำ�ไมผู้จับฉลากจึงมีสีหน้าเช่นนั้น?” ให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น กันพอสมควร - หลังจากนั้นจึงค่อยให้อาสาสมัครทั้ง 5 คนมาแบ่งปันความรู้สึกของตนขณะ จับฉลากนั้นว่า เมื่ออ่านสิ่งที่ต้องทำ�แล้ว รู้สึกอย่างไร? ทำ�ไมจึงรู้สึกเช่นนั้น? - ให้ผู้สอนเน้นไปยังอาสาสมัครที่จับฉลากได้คำ�ว่า “รับใช้ผู้อื่น” ว่า เขารู้สึก “ยินดี” หรือ “ยินร้าย” กับสิง่ นีท้ ตี่ อ้ งทำ�? หากผูเ้ รียนคนนีม้ คี วามยินดีและให้คะแนน สูงกับ “การรับใช้ผู้อื่น” เขาก็เป็นบุคคลที่น่าชื่นชมยินดี เพระเขารู้สึกว่ายินดีที่จะรับใช้ ไม่น้อยไปกว่าการไปเที่ยวหรือการได้รับประทานอาหารอร่อยๆ แต่หากผู้เรียนคนนี้ ไม่รู้สึกยินดีและให้คะแนนค่อนข้างต่ำ� ก็เป็นเรื่องปกติที่หลายๆ คนย่อมรู้สึกเช่นนั้น และไม่ต้องการถ่อมตนลงไปรับใช้ใคร ด้วยทัศนคติที่ว่า “งานรับใช้คืองานต่ำ�”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


19

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ให้เรามาดูว่า สำ�หรับพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงรังเกียจหรือให้คุณค่าแก่ การรับใช้กันแน่?

3 พระวาจา - ผู้ใดที่ปรารถนาจะเป็นคนที่หนึ่งในหมู่ท่าน ก็จะต้องทำ�ตนเป็นผู้รับใช้ทุกคน เพราะบุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และมอบชีวิต ของตนเป็นสินไถ่เพื่อมวลมนุษย์ (มก 10:44-45)

- ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ� ปีศาจดลใจยูดาส อิสคาริโอท บุตรของซีโมนให้ ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิง่ ไว้ในพระหัตถ์ของ พระองค์แล้ว และทรงทราบว่า พระองค์ทรงมาจากพระเจ้า และกำ�ลังเสด็จกลับไป หาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ ทรงถอดเสื้อคลุมออกวางไว้ ทรงใช้ผ้าเช็ดตัวคาด สะเอว แล้วทรงเทน้ำ�ลงในอ่าง เริ่มล้างเท้าบรรดาศิษย์ และใช้ผ้าที่คาดสะเอวเช็ด ให้… เมื่อทรงล้างเท้าของบรรดาศิษย์เสร็จแล้ว พระเยซูเจ้าทรงสวมเสื้อคลุมอีกครั้ง หนึง่ เสด็จกลับไปทีโ่ ต๊ะ ตรัสว่า “ท่านเข้าใจไหมว่าเราทำ�อะไรให้ทา่ น” ท่านทัง้ หลาย เรียกเราว่าอาจารย์และองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็ถูกแล้ว เพราะเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ ใน เมือ่ เราซึง่ เป็นทัง้ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าและอาจารย์ยงั ล้างเท้าให้ทา่ น ท่านก็ตอ้ งล้างเท้า ให้กนั และกันด้วย เราวางแบบอย่างไว้ให้แล้ว ท่านจะได้ท�ำ เหมือนกับทีเ่ ราทำ�กับท่าน (ยน 13:2-5, 12-15) 4 อธิบายพระวาจา - จากพระวาจาตอน มก 10:44-45 พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า ผู้ที่อยากเป็นใหญ่ ต้องรับใช้ผู้อื่น ดังที่พระองค์เองมิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็น พระเจ้า แต่พระองค์ทรงมาเพื่อรับใช้ผู้อื่น และการรับใช้สูงสุดคือ การเสียสละชีวิตของ ตนเองเพื่อให้เรามนุษย์ได้รับความรอดพ้น - พระเยซูเจ้ามิได้ทรงสอนด้วยคำ�พูดเท่านั้น แต่ทรงให้แบบอย่างของการรับใช้ ด้วยการล้างเท้าให้อัครสาวกในระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้าย ซึ่งเราพบใน ยน 13:4-5 - การล้างเท้าให้ผู้อื่นเป็นสัญลักษณ์ของงานที่ “ต่ำ�ต้อย” ที่สุดในสายตาของ มนุษย์ ซึ่งตามปกติคนเราจะไม่ทำ�ให้แก่กัน เพราะเราถือว่าเท้าเป็น “ของต่ำ�” จึงไม่มี ใครอยากไปยุ่งกับเท้าของคนอื่น - พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจความคิดของมนุษย์เป็นอย่างดี เพื่อจะสอนเรื่องการรับใช้ ซึ่งปกติก็ไม่ค่อยมีใครชอบรับใช้ผู้อื่นอยู่แล้ว พระองค์ได้ทรงเลือกทำ�ในสิ่งที่มนุษย์ทุก คนดูแล้วเข้าใจในทันทีว่า พระองค์ต้องการสอนให้เรารู้จักความสุภาพด้วยการรับใช้ ช่วยเหลือผู้อื่น แม้ในสิ่งที่ดูเหมือนต่ำ�ต้อยที่สุดในสายตาของมนุษย์ - ไม่มีมนุษย์คนใดยิ่งใหญ่เท่าพระเยซูเจ้า นั่นหมายความว่า พระองค์ทรงอยู่ใน ระดับทีส่ งู ส่งกว่ามนุษย์ทกุ คนอย่างหาทีเ่ ปรียบไม่ได้ แต่ยงั ทรงยอมถ่อมพระองค์ลงทำ� สิ่งที่มนุษย์ไม่ทำ�ให้แก่กัน นั่นคือ การล้างเท้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


20

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึงทรงต้อง “ลงทุน” ทำ�ถึงขนาดนี?้ ก็เพราะพระองค์ทรงต้องการ สื่อให้เราเข้าใจว่า “การรับใช้” นั้น มีคุณค่าสูงส่ง - ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า ตลอดชีวิตของพระเยซูเจ้า พระองค์ไม่ทรงเคยใช้ชีวิต แบบคน “มีระดับ...ไฮโซ...เท้าไม่ติดดิน... ชีวิตที่หรูหราฟู่ฟ่า กินดีอยู่ดี...ฯลฯ” แบบ ที่หลายๆ คนในสมัยนี้ใฝ่ฝันหรือทำ�กัน จนกระทั่งบางคนยอมทิ้งคุณงามความดี ทุกอย่างแล้วผันตัวไปรับใช้ “พระเจ้าแห่งเงินทอง อำ�นาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง” บุคคล เหล่านีย้ อมทำ�ทุกสิง่ ทีช่ วั่ ร้าย ทีน่ �ำ ผลเสียหายแก่คนอืน่ เพือ่ ให้ตนเองได้บรรลุเป้าหมาย ที่ต้องการ ซึ่งนี่ไม่ใช่ชีวิตแบบที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เรามีและเป็น - พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักรับใช้ผู้อื่นก็เพื่อให้เรารู้จักดำ�รงชีวิต “เพื่อผู้อื่น” นี่คือการเจริญชีวิตที่สอดคล้องกับบัญญัติแห่งความรัก เพราะความรักคือการเสียสละ ผู้ใดรักผู้นั้นต้องเสียสละ ดังนั้น ชีวิตแบบที่พระเยซูเจ้าทรงนำ�เสนอกับที่สังคมสมัยนี้ เสนอให้นั้นมันช่างตรงกันข้ามจริงๆ - เราคริสตชนที่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์เจ้าจึงต้องยึดมั่นในหนทางที่ถูกต้อง ชีวิตนี้ไม่ได้อยู่ยงคงกระพัน บางคนก็มีชีวิตสั้นมาก แต่ที่สำ�คัญคือ การเจริญชีวิตอยู่ เพือ่ ผูอ้ นื่ แสดงความรักต่อผูอ้ นื่ ด้วยการรักและรับใช้ ไม่ใช่ท�ำ ทุกวิถที างเพือ่ ให้ผอู้ นื่ ต้อง รักและรับใช้ตน แม้จะด้วยวิธีที่ผิดๆ ก็ตาม - ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม จากนั้นให้อภิปรายในกลุ่มย่อย โดยให้แต่ละคนตอบคำ�ถามที่ว่า “ฉันไม่ชอบงานรับใช้ประเภทใดมากที่สุด? เพราะ เหตุใด?” โดยให้มีเลขาฯ บันทึกคำ�ตอบทั้งหมดเพื่อไปแบ่งปันให้กับกลุ่มใหญ่ด้วย - เมื่อเสร็จงานกลุ่มย่อยแล้ว ให้ตัวแทนกลุ่มมานำ�เสนอคำ�ตอบของกลุ่มให้ ทุกคนได้รับฟังด้วย ในเวลาเดียวกันให้ผู้สอน (หรือเลือกผู้เรียนก็ได้) มาเขียนคำ�ตอบ เหล่านั้นที่บอร์ดหน้าห้องด้วย เพื่อดูว่ามีคำ�ตอบใดบ้างและมีความถี่เท่าใด

- เมื่อทุกกลุ่มได้รายงานแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่า งานรับใช้แบบใดที่ผู้เรียน ในห้องนีไ้ ม่ชอบมากทีส่ ดุ ? และมีเหตุผลอะไรประกอบบ้าง? จากนัน้ ให้ผสู้ อนหยิบเอา ข้อที่ผู้เรียนไม่ชอบมากที่สุดนี้มาอภิปรายกันเพื่อทำ�ให้ผู้เรียนเข้าใจว่า งานรับใช้แต่ละ อย่างนัน้ ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ราควรจะรังเกียจหรือไม่ชอบ เพราะการรับใช้แต่ละอย่างหรือแต่ละ ครั้งนั้นมี “คุณค่า” มาก เราสามารถทำ�ให้ผู้รับมีความสุขหรือทำ�ให้เขาได้รับ ความช่วยเหลือที่จำ�เป็น หรืออาจเป็นการแสดงความรัก ความกตัญญูต่อบุพการีหรือ ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ได้... ฯลฯ ดังนั้น ในทุกๆ การรับใช้ที่เราสามารถมอบให้แก่ผู้อื่น ได้นนั้ เท่ากับเป็นการมอบความสุขแก่ผอู้ นื่ และนีค่ อื สิง่ ทีส่ งั คมของเราหาได้ยากเหลือ เกิน สังคมของเราจึงพบแต่ความเห็นแก่ตวั ... มีนอ้ ยคนนักทีจ่ ะยอมเสียสละตนเองเพือ่ ความสุขของผู้อื่น - ดังนั้น ทุกครั้งที่เรารับใช้ผู้อื่น ให้เราจำ�พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ตรัสว่า “เรา บอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำ�สิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำ�สิ่งนั้นต่อเราเอง” (มธ 25:40) และหากเราทำ�ทุกสิ่งที่ต้องเสียสละเพื่อเห็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

แก่พระองค์ เมื่อเราจะถูกพิพากษาในวันสุดท้าย เราจะได้ยินพระวาจาของพระองค์ ที่ว่า “ส่วนผู้ชอบธรรมจะได้รับชีวิตนิรันดร” (เทียบ มธ 25:46) 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนรับใช้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ แม้ในงานที่คิดว่าต่ำ�ต้อย 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


22

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้า องค์แห่งภาวนา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงภาวนาติดต่อสัมพันธ์กับพระบิดาเจ้าตลอด เวลา ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ภาวนา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดภาวนาแบบส่วนตัว อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้ามิเพียงสอนให้ศิษย์ของพระองค์ภาวนาเท่านั้น แต่พระองค์ทรงให้แบบอย่างของผู้ภาวนาด้วย หลายๆ ครั้งขณะที่พระองค์ทรงอยู่กับบรรดาสาวก เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรงต้องเผชิญกับภารกิจสำ�คัญๆ ในฐานะมนุษย์แท้ พระองค์ได้ทรงแสดงถึงความสัมพันธ์กับพระบิดาเจ้าด้วยการภาวนา เพราะเป็นช่วงเวลานั้นเองที่จิตของมนุษย์จะพบปะกับ พระเจ้าผู้ทรงเป็นจิต และการพบปะนี้เองที่จะเสริมความสัมพันธ์กับพระเจ้าให้ลึกซึ้งแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นธารของ ปรีชาญาณและพละกำ�ลังในการดำ�เนินชีวิต ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “สิ่งที่จะทำ�...” โดยพยายามให้ผู้เรียน เขียนสิ่งที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของตนเองให้มากที่สุด - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้อาสาสมัครประมาณ 2-3 คน มาอ่านใบงานของ ตนให้เพื่อนๆ ฟังโดยให้ผู้เรียนเข้าใจว่าทุกคำ�ตอบนั้นใช้ได้ทั้งหมดเพราะมาจากชีวิต จริงของผู้เรียนเอง - ทุกคำ�ตอบที่ผู้เรียนเขียนมานั้นย่อมเป็นสิ่งปกติที่สุด แต่ก็มีแง่มุมที่น่าคิดว่า จะมีสักกี่คนที่เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ แล้วเขาคิดถึงพระบ้าง? หรือจะมีไหมที่ จะคิดถึงพระเป็นบุคคลแรก? แน่นอนหลายคนอาจแย้งว่า “เราไม่ใช่นักบุญ หรือพระ สงฆ์ นักบวช ทำ�ไมเราต้องคิดถึงพระด้วย? การคิดถึงพระหรือสวดภาวนาจะช่วยให้ ชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงหรือ?” - คำ�ถามเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในใจของผู้ที่เชื่อในพระเจ้า เพราะชีวิตของมนุษย์ ทุกคนต้องมีทงั้ 2 มิติ คือ แนวตัง้ และแนวนอน แนวตัง้ หมายถึงความสัมพันธ์กบั พระเจ้า ส่วนแนวนอนคือความสัมพันธ์กบั เพือ่ นมนุษย์ แต่เราในฐานะทีเ่ ป็นคริสตชน เป็นบุตร ของพระเจ้า เราจะลืมมิติแนวตั้งของชีวิตเราไม่ได้ - ดังนั้น ให้เรามาดูตัวอย่างชีวิตของพระเยซูเจ้า พระอาจารย์ที่เราต้องเลียนแบบ

ดูใบงาน “สิ่งที่จะทำ�...” ท้ายแผน


23

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา - เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ข้าแต่พระบิดา เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ข้าพเจ้า สรรเสริญพระองค์ทที่ รงปิดบังเรือ่ งเหล่านี้ จากบรรดาผูม้ ปี รีชาและรอบรู้ แต่ทรงเปิด เผยแก่บรรดาผู้ต่ำ�ต้อย” (มธ 11:25) - สรรเสริญ

- ขณะประทับที่โต๊ะกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงถวายพระพร ทรงบิ ขนมปังและยื่นให้เขา (ลก 24:30) - ถวายพร - ขณะที่ทุกคนกำ�ลังกินอาหารอยู่นั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ตรัสถวาย พระพร ทรงบิขนมปัง ประทานให้เขาเหล่านั้น (มก 14:22) - ถวายพร - แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ตรัสขอบพระคุณ ประทานให้เขาและทุกคนดื่ม จากถ้วยนั้น (มก 14:23) - ขอบพระคุณ - พระเยซูเจ้าตรัสว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขา ไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ�อะไร’ (ลก 23:34) - วอนขอ - แล้วพระองค์ทรงพระดำ�เนินไปข้างหน้าอีกเล็กน้อย ทรงซบพระพักตร์ลงกับ พื้นดิน อธิษฐานภาวนาว่า “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้พ้นข้าพเจ้าไป เถิด ถ้าเป็นไปไม่ได้ ก็ขออย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ ของพระองค์เถิด” (มธ 26:39) - วอนขอ - พระองค์เสด็จไปอีกครั้งหนึ่ง ทรงอธิษฐานภาวนาว่า “พระบิดาเจ้าข้า ถ้า ข้าพเจ้าต้องดื่มจากถ้วยนี้โดยหลีกเลี่ยงมิได้แล้ว ขอให้เป็นไปตามพระประสงค์ของ พระองค์เถิด” (มธ 26:42) - วอนขอ - พระองค์จึงเสด็จจากเขาทั้งสามคน ไปอธิษฐานภาวนาอย่างเดียวกันเป็นครั้ง ที่สาม (มธ 26:44) - วอนขอ 4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารทั้ง 4 เล่มได้เล่าเรื่องราวของพระเยซูเจ้า ต่างกับหนังสือชีวประวัติ อื่นๆ ตรงที่ว่าพระวรสารเล่าเรื่องราวของพระผู้ไถ่ ดังนั้น ในพระวรสารอาจไม่มีเขียน ประวัตขิ องพระเยซูเจ้าในทุกรายละเอียด แต่พระศาสนจักรก็ได้รบั รองพระวรสารให้อยู่ ในสารบบพระคัมภีร์ ดังนั้น เราจึงมั่นใจว่าทุกเรื่องราวที่สำ�คัญของพระเยซูเจ้าได้ถูก บรรจุอยู่ในพระวรสารแล้ว - ในมุมมองด้านการภาวนา พระวรสารได้เล่าหลายเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรง ภาวนาต่อพระบิดาเจ้า เพื่อแสดงให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระบิดาและ พระบุตรในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิตของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระองค์มิใช่เพียงแต่วอนขอ ความช่วยเหลือของพระบิดาเมื่อต้องอยู่ต่อหน้าสถานการณ์ที่สำ�คัญๆ เท่านั้น แต่ พระองค์ทรงคิดถึงพระบิดาในทุกเวลานาทีของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการสรรเสริญ การถวายพร การขอบพระคุณ และการวอนขอ - ให้ผู้สอนอ่านพระวรสารทั้ง 8 ตอนให้ผู้เรียนฟัง จากนั้น ให้ถามว่า พระเยซูเจ้า ทรงภาวนาด้วยท่าทีใด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


24

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ชีวิตคริสตชนคือชีวิตของผู้ที่ไม่ได้เป็นกำ�พร้า แต่เป็นผู้ที่มีบิดาที่รักเราอย่าง มาก ทรงอยู่ใกล้ชิดเราตลอดเวลา จึงจำ�เป็นที่เราทุกคนต้องสร้างจิตสำ�นึกถึงความจริง ข้อนี้ และเจริญชีวิตแบบใหม่ของผู้ที่มีชีวิตในมิติแนวตั้งด้วย - นั่นคือ การมีชีวิตอยู่โดยคิดถึงพระเจ้า พระบิดาบ่อยๆ ทั้งในยามสุขและยาม ทุกข์ ทั้งเมื่อดีใจและเสียใจ เป็นชีวิตแห่งความสัมพันธ์ฉันบิดา-บุตร ที่มีความรัก ความผูกพันต่อกันอยู่เสมอ - ในสังคมยุคนี้ที่เอนเอียงไปในทางนำ�เสนอชีวิตแบบปัจเจกบุคคลอันเป็นชีวิต ที่เห็นแต่ตัวเอง ไม่มองบุคคลรอบข้าง ไม่สนใจใครนอกจากตัวเอง บุคคลที่เป็นเหยื่อ ของสังคมแบบนี้ จะไม่มคี วามสามารถเจริญชีวติ ในมิตแิ นวตัง้ ได้เลย นอกจากจะค่อยๆ สำ�นึกในสภาพความจริงของชีวติ ของตน ค่อยๆ ปรับเปลีย่ นชีวติ ของตน และปลดปล่อย ตนเองให้หลุดจากวงจรบ่วง “อุบาทว์” ของสังคมยุคนี้ แล้วค่อยๆ ไตร่ตรองดูวา่ พระเจ้า พระบิดาทรงเข้ามามีบทบาทในชีวิตของตนอย่างไรบ้าง? - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ผู้ใจดี” โดยตั้งใจเขียนอย่างจริงใจ ไม่เสแสร้ง

ดูใบงาน “ผู้ใจดี” ท้ายแผน

- หลังจากการไตร่ตรองเหตุการณ์ในใบงานนี้แล้ว ให้ผู้เรียนฝึกคิดแบบนี้บ่อยๆ ในทุกๆ เหตุการณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง ให้ฝึกภาวนาติดต่อกับพระเจ้าบ่อยๆ อาศัยการภาวนาสัน้ ๆ ในทุกเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เพราะพระเจ้าทรงเป็นจิต เราจึงต้องใช้จติ ติดต่อ กับพระองค์ แล้วเราก็จะได้แสงสว่างแห่งปรีชาญาณและพละกำ�ลังจากพระองค์ใน การดำ�เนินชีวิต 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดภาวนาแบบส่วนตัว อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “จิตวิญญาณข้ากระหาย” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ โดยคิดถึงความหมายของเนื้อเพลง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


25

ใบงาน “สิ่งที่จะทำ�” คำ�ชี้แจง : เมื่อท่านต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำ�ให้รู้สึกดังตารางด้านซ้ายมือ... ให้ท่านเขียนสิ่งที่ท่านจะทำ�ลงใน ตารางด้านขวามือให้สอดคล้องกันและตรงกับความเป็นจริง ที่ เหตุการณ์ ฉันจะ... 1 ตื่นเต้นยินดี 2 โศกเศร้า 3 เสียใจ 4 ชื่นชม 5 ดีใจมาก 6 เป็นทุกข์ 7 ต้องการความช่วยเหลือ 8 สมปรารถนา

ใบงาน “ผู้ใจดี” คำ�ชี้แจง : ให้ผู้เรียนคิดถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง (เพียงเหตุการณ์เดียว) แล้วไตร่ตรองให้ดีว่า ในเหตุการณ์นั้น มีบุคคลใจดีบางคนอยู่ด้วยหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ผู้ใหญ่ เพื่อน หรือใครก็ตามที่เขาได้มามี บทบาทเชิงบวกต่อตนเอง แล้วตอบคำ�ถามต่อไปนี้ลงในตารางที่กำ�หนดให้

1. เมื่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้ผ่านไปแล้ว ผู้เรียนได้รู้สึกอย่างไรต่อบุคคลนั้น? 2. ได้บอกสิ่งใดแก่เขา? 3. หรือหากยังไม่ได้บอกอะไร ถ้ามีโอกาสพบเขา จะบอกอะไรแก่เขาบ้าง? 4. นอกจากบอกบางสิ่งแก่บางบุคคลแล้ว จะบอกอะไรกับพระเจ้าบ้าง? เหตุการณ์ (ย่อๆ)

บอกกับคนนั้นว่า...

บอกกับพระเจ้าว่า...


26

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในกิจการคาทอลิก

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทสำ�คัญมากในการทรงนำ�ทุกกิจการ คาทอลิกให้ดำ�เนินไปในหนทางแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมกิจกรรมคาทอลิกของโรงเรียนและวัดด้วยความกระตือรือร้น สาระการเรียนรู้ พระศาสนจักรมารดาศักดิ์สิทธิ์คอยดูแลบรรดาบุตรเป็นอย่างดีด้วยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ เพื่อหล่อเลี้ยง ชีวิตวิญญาณของบรรดาบุตรให้เติบโตในฐานะ “บุตรพระเจ้า” นอกนั้น ยังมีกิจการคาทอลิกต่างๆ ที่ช่วยให้สมาชิกใน พระศาสนจักรได้รับการหล่อเลี้ยงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และช่วยให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งกิจการดีทั้งหลายเหล่า นี้ดำ�เนินไปภายใต้การทรงนำ�ของพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็นจิตวิญญาณของพระศาสนจักร พระจิตเจ้าได้ทรงเป็นผู้นำ�ชีวิตของ พระเยซูเจ้าขณะที่ทรงดำ�รงชีวิตอยู่ในโลกนี้ฉันใด พระองค์ก็จะทรงนำ�ชีวิตของพระศาสนจักรในทุกกิจการด้วยฉันนั้น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / ภาวนาก่อนเรียนด้วยการร้องเพลงเทเซ่ “เชิญมาเถิดองค์พระจิตเจ้า” / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเริ่มด้วยการป้อนคำ�ถามเกี่ยวกับ “กิจการคาทอลิก” ว่า “ใครรู้บ้างว่า กิจการคาทอลิกมีอะไรบ้าง?” โดยให้ผเู้ รียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ (เช่น กลุม่ พลมารี กลุ่มวินเซนต์ เดอ ปอล กลุ่มแบ่งปันพระวาจา นอกนั้น ในวัยผู้เรียนจะมี กลุ่ม พลศีล กลุ่มกองหน้าร่าเริง กลุ่มวายซีเอส ฯลฯ) - ให้ผู้เรียนแบ่งปันต่อไปว่า กลุ่มองค์กรต่างๆ เหล่านี้มีจุดประสงค์อะไรบ้าง? (เช่น เพื่อสวดภาวนา ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยกิจการของวัด ช่วยงานสังคม ฯลฯ) - ผู้สอนจึงสรุปว่า กลุ่มองค์กรเหล่านี้ล้วนมีจุดประสงค์ที่ดี ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่ เพื่ อ ชี วิ ต ของพระศาสนจั ก ร ซึ่ ง ล้ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ ความรอดพ้ น ของสมาชิ ก ของ พระศาสนจักร ไม่ว่าจะเกี่ยวกับด้านร่างกายหรือจิตวิญญาณก็ตาม - ดังนั้น กิจการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เท่านั้น เพราะ เป็นงานของพระศาสนจักร ซึง่ เป็นพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า จึงเป็นงานทีม่ าจาก ความคิดริเริ่มของพระเจ้า จึงเป็นกิจการที่ล้วนมีพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้นำ�ทั้งสิ้น - ให้เรามาดูกันว่า คำ�กล่าวอ้างข้างต้นนี้มีหลักฐานจากพระวาจาของพระเจ้าจริง หรือไม่? ถ้าจริง พระวาจานั้นกล่าวว่าอย่างไร?

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


27

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา - ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา และเราจะวอนขอ พระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่งให้ท่าน เพื่อจะอยู่กับท่าน ตลอดไป คือพระจิตแห่งความจริง... ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรง ดำ�รงอยู่กับท่าน และอยู่ในท่าน (เทียบ ยน 14:15-17) - เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่เรายังอยู่กับท่าน แต่พระผู้ช่วยเหลือคือ พระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้นจะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรง ให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน (ยน 14:25-26) - เราไม่เรียกท่านว่าเป็นผู้รับใช้อีกต่อไป เพราะผู้รับใช้ไม่รู้ว่านายของตนทำ�อะไร เราเรียกท่านเป็นมิตรสหายเพราะเราแจ้งให้ทา่ นรูท้ กุ สิง่ ทีเ่ ราได้ยนิ มาจากพระบิดาของ เรา มิใช่ท่านทั้งหลายได้เลือกเรา แต่เราได้เลือกท่าน มอบภารกิจให้ท่านไปทำ�จนเกิด ผล และผลของท่านจะคงอยู่ เพือ่ ว่าท่านจะขอสิง่ ใดจากพระบิดาในนามของเรา พระบิดา จะประทานแก่ท่าน เราสั่งท่านทั้งหลายดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรักกัน (ยน 15:15-17) 4 อธิบายพระวาจา - จากพระวาจาข้างต้นนี้ พระเยซูเจ้าทรงย้�ำ กับศิษย์ของพระองค์วา่ หากผูใ้ ดปฏิบตั ิ ภารกิจของพระองค์ พระบิดาจะทรงประทานพระผู้ช่วยเหลือให้ คือ องค์พระจิตเจ้า พระองค์จะทรงดำ�รงอยู่ในตัวของบรรดาศิษย์ และจะทรงสอนพวกเขาให้จดจำ�ทุกสิ่งที่ พระเยซูเจ้าทรงสอนได้ - เมื่อมีพระจิตเจ้าประทับอยู่ด้วย บรรดาศิษย์ก็ไม่ใช่ผู้รับใช้ แต่เป็นมิตรสหายที่ พระเยซูเจ้าทรงเลือก เพื่อไปทำ�ภารกิจของพระองค์ให้บังเกิดผล - พระเยซูเจ้ายังได้ทรงกำ�ชับบรรดาศิษย์ทปี่ ฏิบตั ภิ ารกิจของพระองค์ให้สวดภาวนา วอนขอต่อพระบิดาในนามของพระเยซูเจ้า เมือ่ ทำ�เช่นนีพ้ ระองค์จะทรงประทานให้ตาม คำ�วอนขอ - อีกสิ่งหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงย้ำ�แก่บรรดาศิษย์ของพระองค์คือ ให้ทำ�งานด้วย ความรักซึ่งกันและกัน - ทั้งการภาวนา การทำ�ภารกิจ และการเจริญชีวิต ล้วนเป็นงานของบรรดาศิษย์ ของพระเยซูเจ้าที่พระศาสนจักรได้นำ�มาสานต่อ และภารกิจทั้ง 3 มิตินี้จะสำ�เร็จลงได้ ก็อาศัยการทรงนำ�ของพระจิตเจ้าเท่านั้น 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คริสตชนต้องเป็นผูส้ านงานของพระเยซูคริสตเจ้าต่อไปในพระศาสนจักร พระองค์ ผู้ทรงเป็นศีรษะของพระกายทิพย์คือพระศาสนจักร ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลสมาชิกของ พระกายทิพย์นี้อยู่ตลอดเวลา ทรงเลี้ยงดูให้เติบโตในชีวิตฝ่ายจิตด้วยพระวาจาและศีล ศักดิ์สิทธิ์ อาศัย “ผู้เลี้ยงแกะ” ที่ดูแล “ฝูงแกะ” ของพระองค์อยู่ตลอดเวลา - นอกนั้น พระเยซูเจ้ายังทรงให้บรรดาคริสตชนดูแลซึ่งกันและกัน อาศัยกิจการ คาทอลิกต่างๆ เช่น กลุ่มองค์กรที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่เนื่องจากภารกิจของ กลุ่มองค์กรเหล่านี้มีการปฏิบัติงานและมีเป้าหมายที่มุ่งสู่การให้ความช่วยเหลือที่ให้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


28

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

เกิดผลสัมฤทธิ์ทั้งฝ่ายวัตถุและฝ่ายวิญญาณ ดังนั้น จึงไม่ใช่กิจการของมนุษย์ปุถุชน ธรรมดา แต่เป็นงานของพระคริสตเจ้านั่นเอง - ดังนั้น พันธกิจเหล่านี้จึงได้รับการค้ำ�จุน ช่วยเหลือจากพระจิตเจ้า ผู้ทรงเป็น จิตวิญญาณของพระศาสนจักรเสมอ พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทสำ�คัญยิ่งต่อกิจการ คาทอลิกเหล่านี้ เพื่อทรงนำ�กิจการเหล่านี้ให้บรรลุเป้าหมายที่พระเยซูเจ้าได้ทรงริเริ่ม ไว้ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “My spirit” จากนั้น ให้อาสาสมัครบางคนมาแบ่งปัน คำ�ตอบของตนให้เพื่อนๆ ฟัง

ดูใบงาน “My spirit” ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมกิจกรรมคาทอลิกของโรงเรียนและวัดด้วยความกระตือรือร้น 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลงเทเซ่ “เชิญมาเถิดองค์พระจิตเจ้า” พร้อมกันอย่างตั้งใจ ประมาณ 3 รอบ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................

ใบงาน “My spirit” คำ�ชี้แจง : ให้เขียนว่าเธอจะสามารถเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นขององค์กรคาทอลิกใดได้บ้าง โดยให้เรียงลำ�ดับ ความชอบจากมากไปหาน้อย และใส่ชื่อองค์กรที่ชอบที่สุดไว้เป็นอันดับแรกและอันดับอื่นต่อๆ ไป ที่ 1 2 3

องค์กรคาทอลิก

ลำ�ดับ


29

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง น.เปาโล และงานแพร่ธรรมของท่าน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า น.เปาโลคือแบบอย่างของผูแ้ พร่ธรรมทีอ่ ทุ ศิ ตนเองเพือ่ พันธกิจ ที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้ด้วยใจรักและเสียสละ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนช่วยเหลือบุคคลรอบข้างด้วยจิตตารมณ์ผู้แพร่ธรรม สาระการเรียนรู ้ น.เปาโลเป็นอัครสาวกคนเดียวทีไ่ ม่ได้อยูใ่ นกลุม่ อัครสาวก 12 คนของพระเยซูเจ้า ตรงกันข้ามท่านได้เป็น ผู้เบียดเบียนบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า แต่พระเจ้าได้ทรงเลือกท่านให้เป็น “อัครสาวก” โดยที่ท่านไม่เคยเจริญชีวิตอยู่กับ พระองค์ แม้กระนัน้ ท่านก็ยงั ได้กลายเป็น “แบบอย่างของผูแ้ พร่ธรรม” คือผูป้ ระกาศถึงพระเจ้าและแผนการแห่งความรอดพ้น ของพระองค์ ด้วยการอุทิศชีวิตของท่านอย่างเสียสละ เพื่อเผยแผ่ข่าวดีแห่งความรักและความรอดพ้นของพระเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนแจกกระดาษเปล่าให้ผู้เรียนคนละ 1 ใบ (ประมาณขนาดครึ่ง A4) จาก นัน้ ให้ผเู้ รียนปิดตาสักครูแ่ ล้วคิดว่า ณ เวลาปัจจุบนั นีแ้ ต่ละคนอยากได้รบั “message” จากใครมากที่สุดเพียง 1 ชื่อเท่านั้น แล้วให้เขียนชื่อของบุคคลนั้นไว้ที่มุมขวาด้านล่าง ของกระดาษ - ให้ผู้เรียนปิดตาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้จินตนาการถึง “message” ที่ตนอยากได้ รับจากบุคคลนั้นมากที่สุด แล้วให้เขียนข้อความนั้นใส่ในกระดาษแผ่นเดียวกันเหนือ ชื่อของบุคคลนั้น - จากนั้น ให้ผู้เรียนอาสาสมัครประมาณ 4-5 คน (หรืออาจมากกว่าก็ได้) มา แบ่งปันสิง่ ทีไ่ ด้เขียนในกระดาษว่า เขียนถึงใคร? ต้องการให้บคุ คลนัน้ บอกอะไรแก่ตน? ทำ�ไมจึงต้องการเช่นนั้น? (เอาเฉพาะคนที่ปรารถนาจะแบ่งปันเท่านั้น เพราะบางคน อาจต้องการเก็บเป็นความลับ) - เมื่อแบ่งปันเสร็จแล้ว ให้สังเกตว่าลักษณะของ “message” ต่างๆ นั้นเป็น อย่ า งไร? เป็ น แนวโศกเศร้ า ยิ น ดี เสี ย ใจ ชื่ น ชม ฯลฯ ซึ่ ง เราพอจะสรุ ป ได้ ว่ า “message” ทีแ่ ต่ละคนปรารถนาจะได้รบั นัน้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้อความทีน่ �ำ ความสุข ความยินดี แก่ตน คงจะมีส่วนน้อยมากที่ต้องการรับข้อความที่ทำ�ให้ตนเป็นทุกข์ (ซึ่งเราจะไม่เน้นประเด็นนี้) และก็พอจะสังเกตได้ว่า ข้อความเหล่านั้นอยู่ใน 2 ระดับ ด้วยกันคือ ร่างกายและจิตใจ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - เมื่อผู้สอนได้ตั้งข้อสังเกตเสร็จแล้วจึงเปิดประเด็นต่อไปว่า หากเราทุกคนชอบ message ที่นำ�ความสุข ความยินดีแก่ตน เราก็ควรจะเป็นผู้ส่งสารแห่งความสุข ความรัก ความยินดีแก่ทุกๆ คนด้วยเพราะหากไม่มีใครส่งข้อความที่ดีๆ ให้แก่ผู้อื่น แล้วจะมีคนที่รับข้อความดีๆ ได้อย่างไร? - ในชีวิตของเรานั้น ข้อความดีๆ มีหลายประเภท หลายระดับ เช่น ข้อความชวน ไปเที่ยว ชวนไปช้อปปิ้ง ชวนไปร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นข้อความของการสนอง ตอบความต้องการฝ่ายร่างกายหรือวัตถุ นอกนั้น ยังมีข้อความในระดับจิตใจ เช่น การให้ความรู้ ความบรรเทา ฯลฯ ที่ทำ�ให้ผู้รับมีความสุข ความยินดีในจิตใจ โดยไม่ ได้เกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของใดๆ ทั้งสิ้น - สิ่งที่นำ�ความสุขเที่ยงแท้แก่เรามนุษย์จะต้องเป็นความสุขที่จีรังยั่งยืน (ไม่ใช่ แบบได้มาแล้วก็หมดไปหรือชนิดที่ไม่เคยทำ�ให้เราอิ่มเอิบ) ให้เราไตร่ตรองดูว่าเราจะ มอบความสุขชนิดนี้แก่กันและกันได้อย่างไร? - น.เปาโลได้คน้ พบด้วยจิตใจอันซือ่ บริสทุ ธิข์ องท่านว่า ความสุขแท้จริงของมนุษย์ คือสิ่งใด? ดังนั้น หลังจากที่ได้ค้นพบแล้ว ท่านได้อุทิศชีวิตทั้งครบของท่านเพื่อมอบ message นั้นแก่ทุกคน รวมทั้งแก่บุคคลที่ท่านเคยเบียดเบียนด้วย - Message ของ น.เปาโลนั้น คืออะไร?

3 พระวาจา : เปาโลตรากตรำ�ทำ�งานเพื่อรับใช้คนต่างศาสนา (คส 1:24-29) บัดนี้ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รับทุกข์ทรมานเพื่อท่านทั้งหลาย ความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิง่ ใด ข้าพเจ้าก็เสริมให้สมบูรณ์ดว้ ยการทรมานในกายของข้าพเจ้าเพือ่ พระกายของพระองค์คอื พระศาสนจักร ข้าพเจ้าเป็นผูร้ บั ใช้พระศาสนจักรนีต้ ามภารกิจ ทีพ่ ระเจ้าทรงมอบให้ เพือ่ จะได้ประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ทา่ นอย่างสมบูรณ์ นัน่ คือธรรมล้ำ�ลึกที่ซ่อนอยู่ตลอดทุกยุคสมัย บัดนี้ธรรมล้ำ�ลึกปรากฏชัดแจ้งแก่บรรดา ผูศ้ ักดิส์ ทิ ธิข์ องพระองค์แล้ว พระเจ้าทรงปรารถนาทีจ่ ะแสดงให้เขาเหล่านัน้ รูว้ า่ ธรรม ล้ำ�ลึกนี้ได้นำ�พระสิริรุ่งโรจน์ล้นเหลือมาให้คนต่างศาสนา นั่นคือการที่พระคริสตเจ้า ทรงดำ�รงอยู่ในท่าน ทรงเป็นความหวังเพื่อให้ท่านได้รับความรุ่งเรือง เราประกาศถึง พระคริสตเจ้าพระองค์นี้ โดยเตือนและสอนทุกคนให้มคี วามรูท้ กุ อย่างเพือ่ ให้แต่ละคน ดีพร้อมเดชะพระคริสตเจ้า ด้วยเหตุนขี้ า้ พเจ้าจึงตรากตรำ�ทำ�งาน และต่อสูด้ ว้ ยพลังทีม่ า จากพระองค์ พลังนี้กำ�ลังมีอำ�นาจผลักดันให้ข้าพเจ้าทำ�งานอย่างเข้มแข็ง 4 อธิบายพระวาจา - หลังจากที่ น.เปาโลได้กลับใจแล้ว ท่านได้มุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อประกาศข่าวดีแห่ง ความรอดพ้นของพระเจ้าด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้รับสมญานามว่า “อัครสาวก” อีกองค์หนึ่ง แม้ท่านจะไม่ใช่หนึ่งใน 12 อัครสาวกที่เคยเจริญชีวิตร่วมกับ พระเยซูเจ้าก็ตาม - น.เปาโลได้สำ�นึกอย่างลึกซึ้งในความบาปผิดของตนที่ได้ทำ� ท่านได้ค้นพบและ เข้าใจถึงความจริงเที่ยงแท้ที่สำ�คัญที่สุด ดังเช่นอุปมาเรื่องขุมทรัพย์และไข่มุก (มธ 13:44-45) ท่านจึงได้ยอมเปลีย่ นชีวติ โดยทุม่ เททำ�งานแพร่ธรรม ประกาศถึงข่าวดีแห่ง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


31

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ความรอดพ้นของพระเจ้าให้คนต่างศาสนามากมายได้มารับความจริงนี้ - นี่คือ message เที่ยงแท้ที่มีคุณค่าสูงสุดต่อวิญญาณของมนุษย์ทุกคน เป็น “ข่าวดี” ประเสริฐเลิศล้ำ�ที่ไม่มี “ข้อความ” ใดจะมีค่ามากกว่านี้อีกแล้ว - น.เปาโลได้ปฏิบัติตามพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ว่า “ผู้ที่หวงชีวิตของตนไว้ ก็ จะสูญเสียชีวิตนั้น แต่ผู้ที่ยอมเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เรา จะพบชีวิตนั้นอีก” (มธ 10:39) ดังนั้น เมื่อท่านได้พบกับขุมทรัพย์เที่ยงแท้แล้ว ท่านก็ไม่เคยนิ่งดูดายแต่ ได้ทมุ่ สุดตัว ใช้ชวี ติ ดังหน้ามือเป็นหลังมือ เพือ่ ช่วยเหลือผูท้ ที่ า่ นได้เคยพิจารณาว่าเป็น “ศัตรู” ให้เขาได้รับสิ่งที่ดีที่สุดคือ ความรอดพ้น 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 5-6 คน จากนั้นให้ทำ�กิจกรรมตามใบ งาน “ข่าวดีของฉัน” โดยพยายามทำ�อย่างตั้งใจและจริงจัง

ดูใบงาน “ข่าวดีของฉัน” ท้ายแผน

- เมื่อผู้เรียนทำ�กิจกรรมตามใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครมา แบ่งปันข้อความของตนให้ทุกคนได้ทราบด้วย เพื่อเป็นการจุดประกายความศรัทธา ร้อนรนในการประกาศข่าวดีของพระเยซูเจ้าแก่บางคนที่เราน่าจะบอกเขาเป็นพิเศษ - ในยุคนี้ที่คนเราชอบคิดร้าย พูดร้ายต่อกันและกัน เราที่เป็นคริสตชนต้องเป็น ประจักษ์พยานถึงพระเยซูเจ้าเช่นเดียวกับ น.เปาโลด้วยการหยุดพูดไม่ดถี งึ คนอืน่ แล้ว นำ�สิ่งดีๆ ไปมอบให้แก่เขาแทนด้วยการนำ� “message” ที่เป็นน้ำ�ทิพย์ชโลมใจให้แก่ บุคคลที่เรารักและเฉพาะอย่างยิ่งแก่บุคคลที่เรารู้สึกรักยากด้วย - เราอาจยังอายุน้อย ไม่สามารถทำ�กิจการใหญ่โตในงานแพร่ธรรมได้แบบ เดียวกับ น.เปาโล แต่เราสามารถเป็นผู้แพร่ธรรมหรือธรรมทูตน้อย ที่นำ� “สารแห่ง ความรอดพ้น” ไปมอบให้แก่บุคคลรอบข้างได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะด้วยคำ�พูดหรือ การกระทำ�ก็ตาม

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนช่วยเหลือบุคคลรอบข้างด้วยจิตตารมณ์ผู้แพร่ธรรม 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


32

ใบงาน “ข่าวดีของฉัน” คำ�ชี้แจง : ให้ทำ�กิจกรรมตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. แบ่งกลุ่มผู้เรียนให้มีสมาชิกกลุ่มละประมาณ 5-6 คน 2. ให้ผู้เรียนทุกคนมีพระวรสารคนละ 1 เล่ม 3. ให้ผู้เรียนทุกคนเลือกข้อความในพระวรสาร คนละ 1 ข้อความ ซึ่งพิจารณาแล้วว่าจะเป็น “ข่าวดี” ซึ่งตน อยากไปประกาศแก่ผู้อื่น โดยให้กำ�หนดในใจด้วยว่า บุคคลนั้นคือใคร? 4. ให้สมาชิกแต่ละคนเขียนข้อความที่ตนเลือกลงในตารางที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้ ที่

ผู้ส่ง

พระวาจา

ผู้รับ (อักษรย่อ)

1 2 3 4 5 6

5. เมื่อได้เขียนงานในตารางเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนในกลุ่มแบ่งปันกันว่า ทำ�ไมจึงเลือกพระวาจาประโยคนั้นๆ? รู้สึกประทับใจอะไร?


33

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง การเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักร

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนต้องเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรด้วยความ กระตือรือร้น ทั้งที่วัด โรงเรียน และในครอบครัว - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงตนเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าด้วยกิจการอย่างเป็นรูปธรรม ใน ทุกแห่งที่ไป สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทยได้ริเริ่มและมีชีวิตต่อมาจนถึงปัจจุบันด้วยเวลาเป็นร้อยๆ ปี แต่จำ�นวน คาทอลิกในประเทศไทยยังมีไม่มากเท่าที่ควรคือ ยังไม่ถึง 1 % ของจำ�นวนประชากรทั้งหมด ดังนั้น คริสตชนคาทอลิกทุกคนจึง ควรดำ�เนินชีวติ อย่างกระตือรือร้นในการเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า เพราะการเจริญชีวติ ทีส่ อดคล้องกับพระวรสารนัน้ ก็ คือ การเจริญชีวิตด้วยความรักแท้นั่นเอง นี่คือวิธีแพร่ธรรมที่ดีที่สุด ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “My day” - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้อาสาสมัครประมาณ 2-3 คน แบ่งปันข้อมูล ของตนให้เพือ่ นๆ ฟัง จากนัน้ อาจให้ผเู้ รียนอีกบางคนแบ่งปันข้อมูลของตนทีไ่ ม่ซ�้ำ กับ เพื่อนๆ เพื่อให้มีข้อมูลที่หลากหลายและครบถ้วน - ผู้สอนสามารถตั้งข้อสังเกตให้แก่ผู้เรียนว่า กิจวัตรประจำ�วันของผู้เรียนส่วน ใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แต่มีข้อมูลที่แตกต่างออกไปอะไรบ้าง เฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สอนควร เน้นประเด็นทีเ่ กีย่ วกับกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือแก่ผอู้ นื่ การสวดภาวนา การเสีย สละ การแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้อง สรุปคือ มิติของการเป็นประจักษ์พยานถึง พระคริสตเจ้า - ให้เรามาดูว่า น.เปาโลสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติชีวิตของคริสตชนอย่างไรบ้าง? 3 พระวาจา : บทเพลงสรรเสริญความรัก (1คร 13:1-7) แม้ข้าพเจ้าพูดภาษาของมนุษย์และของทูตสวรรค์ได้ ถ้าไม่มีความรัก ข้าพเจ้า ก็เป็นแต่เพียงฉาบหรือฉิง่ ทีส่ ง่ เสียงอึกทึก แม้ขา้ พเจ้าจะประกาศพระวาจา เข้าใจธรรม ล้ำ�ลึกทุกข้อ และมีความรู้ทุกอย่าง หรือมีความเชื่อพอที่จะเคลื่อนภูเขาได้ ถ้าไม่มี ความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มคี วามสำ�คัญแต่อย่างใด แม้ขา้ พเจ้าจะแจกจ่ายทรัพย์สนิ ทัง้ ปวง ให้แก่คนยากจน หรือยอมมอบตนเองให้นำ�ไปเผาไฟเสีย ถ้าไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ มิได้รับประโยชน์ใด

ดูใบงาน “My day” ท้ายแผน


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตนเอง ไม่จองหอง ไม่ หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำ�ความผิดที่ได้รับ ไม่ยินดีใน ความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง ความรักให้อภัยทุกอย่าง เชื่อทุกอย่าง หวัง ทุกอย่าง อดทนทุกอย่าง

4 อธิบายพระวาจา - ในพระวาจาตอนนี้ น.เปาโลได้ยกย่องสรรเสริญ พรรณนาถึงความรักอย่าง สวยงามที่สุด โดยนำ�ไปเปรียบเทียบกับกิจการมหัศจรรย์ต่างๆ หรือกิจการดีขั้นเทพ แต่หากทำ�กิจการเหล่านัน้ ทัง้ หมดโดยปราศจากความรักแล้ว สิง่ เหล่านัน้ ก็ไร้ประโยชน์ - จากนั้น น.เปาโลยังได้อธิบายอย่างชัดเจน เข้าใจง่ายจนเกือบเป็นรูปธรรม ของคำ�ว่า “ความรัก” เป็นการบรรยายสีสันของความรักดังเสมือนเป็น “ไม้บรรทัด” แห่งความรักที่ใช้วัดว่า ถ้าใครไม่สามารถทำ�ได้เช่นนี้ ก็แปลว่า คนนั้นยังไม่ได้มี ความรักที่แท้จริง - ความรักเป็นสะพานระหว่าง 2 บุคคล สะพานนี้ต้องทำ�ด้วย ความอดทน ใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวด ไม่จองหอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำ�ความผิดที่ได้รับ ไม่ยินดีในความชั่ว ให้อภัยทุกอย่าง เชื่อและหวังทุกอย่าง - การเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักรมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ ความรักทีเ่ รากล่าวข้างต้นนี้ ความสัมพันธ์ของสองประเด็นนีอ้ ยูท่ วี่ า่ “การเป็นประจักษ์ พยาน” ถึงพระคริสตเจ้านั่นเองเพราะสมาชิกของพระศาสนจักรต้องดำ�เนินชีวิตเป็น ประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า และการเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้าก็คือ การเจริญชีวิตในความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนพี่น้องนั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากคริสตชนสามารถเจริญชีวิตในความรักอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทาง แห่งพระวรสารแล้ว เรามัน่ ใจได้เลยว่าการแพร่ธรรมของพระศาสนจักรจะเกิดจาก “ชีวติ ดีๆ” แบบนี้แน่นอน เพราะชีวิตเช่นนี้จะเป็นดัง “แม่เหล็ก” ที่ดึงดูดทุกคนให้มาสนใจ ติดตามดูมหัศจรรย์ในชีวิตประจำ�วันที่เกิดขึ้นกับตนเอง แล้วก็ถามตัวเองว่า “ทำ�ไม คนๆ นี้จึงสามารถรักฉัน... รักเพื่อนมนุษย์... ได้มากถึงขนาดนี้?” - เป็นการแสวงหาคำ�ตอบของคำ�ถามนี้นั่นเองที่จะทำ�ให้ผู้แสวงหาได้สัมผัสกับ ความรักของพระเจ้า ได้พบกับพระเจ้าผูท้ รงรักเขาผ่านทางบุคคลเหล่านีท้ เี่ ป็นประจักษ์ พยานถึงพระองค์ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “Like? หรือ Unlike?” อย่างตั้งใจ - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ผู้สอนให้ตัวแทนกลุ่มมาแบ่งปันคำ�ตอบให้ เพื่อนๆ ทุกคนฟัง โดยผู้สอนสามารถสรุปประเด็นที่คล้ายคลึงและแตกต่าง และเขียน ไว้ที่บอร์ด พร้อมกับใส่ความถี่ไว้ด้วยเพื่อจะได้ข้อมูลที่ครบสมบูรณ์ - จากผลสรุปที่ผู้สอนได้เขียนเป็นประเด็นไว้ รวมทั้งความถี่จะทำ�ให้เข้าใจได้ว่า ผูเ้ รียนในกลุม่ นีม้ องภาพพจน์อย่างไรเกีย่ วกับคริสตชนทีเ่ ขาได้พบเห็น ทัง้ ในด้านบวก และด้านลบ รวมทั้งเหตุผลประกอบด้วย

ดูใบงาน “Like? หรือ Unlike?” ท้ายแผน


35

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ให้ตงั้ ข้อสังเกตว่า ข้อมูลดังกล่าวนีถ้ กู ต้อง เหมาะสมหรือเป็นการวิพากษ์วจิ ารณ์ ที่เกินความเป็นจริง ซึ่งผู้สอนสามารถเปิดอภิปรายได้ในเวลาสั้นๆ และสรุปโดย การเสริมเติมบางอย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมดุลมากขึ้น - จากนัน้ ให้ทกุ คนช่วยกันตอบคำ�ถามว่า “ถ้าคริสตชนเป็นแบบนี้ พระศาสนจักร ของเราจะเป็นแบบใด? งานของพระศาสนจักรจะเกิดผลได้ดีมากน้อยแค่ไหน? มีวิธี อะไรทีจ่ ะช่วยให้คริสตชนสามารถเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้าได้มากกว่านีบ้ า้ ง? ฯลฯ” - คำ�ตอบก็คือ เราคริสตชนทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักรให้มากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ ด้วยการเจริญชีวติ ตามคำ�สอนของ น.เปาโล คือ ดำ�เนิน ชีวิตโดยแสดงถึงความรักของพระคริสตเจ้าให้ปรากฏแก่เพื่อนพี่น้อง เพื่อทุกคนจะได้ สัมผัสถึงความรักแห่งความรอดพ้นของพระเจ้า และหันกลับมาเชื่อถึงพระองค์ - ใครก็ตามที่ได้สัมผัสกับข่าวดี ได้รู้สึกประทับใจ เขาก็จะนำ�สารนั้นไปประกาศ กับทุกคนอีกต่อหนึ่งอย่างแน่นอน - ให้ผู้เรียนแต่ละคนกลับไปอ่าน “บทเพลงสรรเสริญความรัก” ของ น.เปาโลอีก ครั้งหนึ่ง แล้วเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อ เพื่อนำ�ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความตั้งใจ ที่จะเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้าแก่บุคคลรอบข้าง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงตนเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าด้วยกิจการอย่างเป็นรูปธรรม ใน ทุกแห่งที่ไป 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


36

ใบงาน “My day” คำ�ชี้แจง : ให้ตอบคำ�ถามต่อไปนี้ว่า “กิจวัตรประจำ�วันหลักๆ ของฉันมีอะไรบ้าง?” แล้วใส่คำ�ตอบในตารางที่กำ�หนด ให้ ที่

เวลา

กิจวัตร

1 2 3 4 5

ใบงาน “Like? หรือ Dislike?” คำ�ชี้แจง : 1. ให้ผู้เรียนจับกลุ่ม 3 คน 2. จากนั้นให้สมาชิกกลุ่มช่วยกันตอบคำ�ถามต่อไปนี้ คำ�ถาม 1. ฉันประทับใจอะไรบ้าง จากสิ่งที่พบเห็นในบรรดาคริสตชน? เพราะเหตุใด? 2. ฉันไม่ประทับใจอะไรบ้าง จากสิ่งที่ได้พบเห็นในบรรดาคริสตชน? เพราะเหตุใด?

3. เมื่อได้คำ�ตอบแล้ว ให้ใส่คำ�ตอบลงในตารางต่อไปนี้ ที่ 1 2 3

สิ่งที่ประทับใจ+เหตุผล

สิ่งที่ไม่ประทับใจ+เหตุผล


37

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง กระแสเรียก (พระสงฆ์ / นักบวช / ฆราวาส)

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4

ชั้น ม.3

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า กระแสเรียกคือพระพรที่พระเจ้าประทานแก่ทุกคน แต่ละคน ต้องเลือกเส้นทางชีวิตของตนให้สอดคล้องกับแผนการของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนหาผู้ปรึกษาเพื่อแนะแนวทางชีวิตที่ถูกต้องของตน สาระการเรียนรู ้ มนุษย์ทุกคนต้องการประสบความสำ�เร็จในชีวิตเพราะนี่คือเหตุแห่งความสุขแท้ การค้นพบทางเดินชีวิตที่ ถูกต้องของตนเองจึงเท่ากับการพบทางแห่ง “กระแสเรียก” ของตน ในแผนการแห่งความรักและความรอดพ้นของพระเจ้านั้น มนุษย์แต่ละคนเป็นดัง “ชิ้นจิ๊กซอว์” ซึ่งมีรูปทรง ขนาดและสีสันเฉพาะตัว ไม่มีใครเหมือนกัน ที่มีคุณค่าและความสำ�คัญยิ่ง ต่อภาพรวมของจิ๊กซอว์นั้น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนโดยตั้งคำ�ถามว่า “ใครคือผู้ประสบความสำ�เร็จ มากที่สุดในสายตาของเธอ?... เพราะเหตุใดจึงเลือกบุคคลนี้?” จากนั้นให้ผู้เรียน ไตร่ตรองแล้วตอบคำ�ถามทีละคน โดยผูส้ อนพยายามจับประเด็นในภาพรวมว่า คำ�ตอบ ของผู้เรียนส่วนใหญ่นั้น ยกย่องใครให้เป็น “Idol” ของตน? เพราะเหตุใด? - ผู้สอนตั้งคำ�ถามต่อไปว่า “ในความคิดของผู้เรียนแต่ละคน ใครคือผู้ไม่ประสบ ความสำ�เร็จหรือมีชีวิตที่ล้มเหลว?” โดยให้ผู้เรียนบางคนตอบคำ�ถามนี้ - คำ�ถามทั้งสองมีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองถึงภาพของ ผู้ที่ประสบความสำ�เร็จในชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากการมีอาชีพดี รายได้สูง ครอบครัวดี สุขภาพดี โอกาสดีๆ มีเพื่อนดี มีความรู้ดี มีทรัพย์สมบัติมาก เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ฯลฯ และผู้ไม่ประสบความสำ�เร็จในชีวิตคือผู้มีชีวิตในทางกลับกัน - ข้อมูลของผู้เรียนเหล่านี้มีความถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่อาจไม่ทั้งหมด เช่น ผู้ที่ ร่ำ�รวยมีทรัพย์สมบัติมากมายอาจไม่ได้เป็นผู้ประสบความสำ�เร็จที่แท้จริงของชีวิตก็ได้ เนือ่ งจากความร่�ำ รวยไม่ได้ชว่ ยให้เขามีความสุข หากเขาเป็นคนทะเยอทะยาน เป็นคน บูชาเงินเป็นพระเจ้า เพราะเขาอาจ “ทำ�นาบนหลังคน” ก็ได้ ฯลฯ ดังนั้น ผู้ที่ประสบ ความสำ�เร็จแท้จริงคือ ผู้ที่มี “ความสุขใจอันแท้จริง” นั่นเอง เขาอาจเป็นคนต่ำ�ต้อยใน สายตาของสังคม แต่ในสายพระเนตรของพระเจ้าเขาอาจเป็นผู้สูงส่งก็ได้ - เราแต่ละคนจึงมีหนทางเฉพาะของตนเองที่ต้องค้นพบ แต่ละคนไม่ซ้ำ�แบบใคร ตามเอกลักษณ์ของตน เฉพาะเมื่อได้เดินในหนทางชีวิตที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะถือว่า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


38

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประสบความสำ�เร็จและความสุขอย่างแท้จริง - ให้เรามาดูว่า น.เปาโลสอนเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไร?

3 พระวาจา (1คร 12:27-30) ท่านทั้งหลายเป็นพระกายของพระคริสตเจ้า แต่ละคนต่างก็เป็นอวัยวะของ พระกายนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งบางคนให้ทำ�หน้าที่ต่างๆ ในพระศาสนจักร คือ หนึ่ง ให้เป็นอัครสาวก สองให้เป็นประกาศก และสามให้เป็นครูอาจารย์ ต่อจากนั้น คือ ผู้มีอำ�นาจทำ�อัศจรรย์ ผู้รักษาโรค ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปกครอง และผู้พูดภาษาที่ไม่มีใคร เข้าใจ ทุกคนเป็นอัครสาวกหรือ ทุกคนเป็นประกาศกหรือ ทุกคนเป็นครูอาจารย์หรือ ทุกคนเป็นผู้ทำ�อัศจรรย์หรือ ทุกคนบำ�บัดโรคได้หรือ ทุกคนพูดภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ หรือ ทุกคนเป็นผู้ตีความอธิบายความหมายของภาษานั้นหรือ 4 อธิบายพระวาจา - เราคงเคยได้ฟังพระวาจาตอนนี้มาหลายครั้งแล้ว ในแต่ละครั้งอาจมีผู้อธิบาย ความหมายแบบแตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องเพราะพระวาจาของ พระเจ้านัน้ เป็นดัง “ท่อธาร” ที่หลัง่ ไหลมาแบบไม่มสี ิ้นสุด หล่อเลีย้ งชีวติ ของเราได้ใน กรณีต่างๆ ตอบปัญหาชีวิตของเราได้ในทุกกรณี - ในวันนี้ เราจะมองพระวาจาตอนนี้ในมุมมองด้านความแตกต่างของ “กระแส เรียก” เพราะแม้เราทุกคนจะเป็นส่วนของพระกายเดียวกันของพระคริสตเจ้า แต่ น.เปาโลได้สอนว่า ในร่างกายเดียวกันนั้นประกอบด้วยอวัยวะที่ต่างกัน แต่ละอวัยวะ ทำ�หน้าที่เฉพาะของตนเอง ทุกอวัยวะล้วนมีความสำ�คัญ ไม่มีอวัยวะใดอวดอ้างได้ว่า ตนสำ�คัญกว่าส่วนอืน่ ๆ เพราะหากร่างกายของเราขาดอวัยวะส่วนใดไปแล้ว แม้จะเป็น ชิน้ ส่วนทีเ่ ล็กทีส่ ดุ ร่างกายนัน้ ก็จะไม่สามารถทำ�งานเป็นปกติสขุ หรือทีเ่ รียกว่า “พิการ” นั่นเอง - นี่คือความหมายของ “กระแสเรียก” ที่เข้าใจได้ไม่ยาก หมายความว่า พระเจ้า ทรงมีแผนการของพระองค์ส�ำ หรับมนุษย์ทกุ คน เป็นแผนการแห่งความรักของพระองค์ ที่เหมาะสมกับมนุษย์แต่ละคน เพียงแต่มนุษย์ต้องเปิดใจค้นหา “กระแสเรียก” หรือ เส้นทางชีวิตนี้ให้พบ แล้วก้าวเดินไปด้วยความพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับอุปสรรค ทุกอย่าง เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้นที่พระองค์ทรงเรียกเราให้ได้ - ดังนั้น พระเจ้าทรงเรียกบางคนให้เป็นอัครสาวก ประกาศก ครู อาจารย์ ผู้ทำ� อัศจรรย์ แพทย์ ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปกครอง และอื่นๆ อีกมากมาย ใช่แล้ว ก็เพื่อให้พระกาย ของพระคริสตเจ้ามีความสมบูรณ์และทุกอย่างดำ�เนินไปอย่างดี และในเวลาเดียวกันก็ เพื่อให้เราแต่ละคนดำ�เนินชีวิต ประกอบอาชีพ สร้างครอบครัว มีฐานะในสังคม อย่าง ประสบความสำ�เร็จและประสบความสุขด้วยเช่นเดียวกัน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เราจึงต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมด้วยความสำ�นึกในมิติของการ “บูรณาการ” นัน่ หมายความว่า เราต้องพึง่ พาซึง่ กันและกัน ช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน มองผูอ้ นื่ ด้วยสายตา ของผู้เป็น “พี่น้อง” กันในพระคริสตเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า แต่ละคนประสบ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


39

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ความสำ�เร็จในชีวิตของตนแล้ว เพราะจะรู้จักเห็นคุณค่าของตนเองในทุกมิติ ไม่ว่าจะ เป็นฐานะทางสังคม อาชีพการงาน ความรู้ ครอบครัว ฯลฯ และดังนี้ แต่ละคนจะมอบ ส่วนที่ดีที่สุดของตนเองแก่ครอบครัวและสังคม ทำ�ให้ทั้งตนเองและผู้อื่นมีความสุขได้ - ภาพของ “พระกายของพระคริสตเจ้า” ที่ น.เปาโลได้ให้แก่เรานัน้ ยังอาจเปรียบ ได้กับ “ภาพจิ๊กซอว์” ใหญ่ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนเล็กๆ มากมายเรียงรายอยู่ด้วยกัน แบบถูกที่ไม่มีผิดพลาด เพราะหากมีชิ้นส่วนใดอยู่ผิดที่แล้ว ภาพนั้นก็จะมีตำ�หนิ หมด ความสวยงามไป และชิ้นส่วนนั้นก็จะเป็นต้นเหตุของความไม่งดงามสมบูรณ์ของ ภาพ - ในแต่ละชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์นั้น จะมีรูปร่าง สีสัน และขนาดเฉพาะที่แตกต่างจาก ชิ้ น อื่ น ๆ ซึ่ ง ก็ ค ล้ า ยกั บ อวั ย วะในร่ า งกายของมนุ ษ ย์ นั่ น เอง นี่ จึ ง เป็ น เหตุ ผ ลถึ ง ความจำ�เป็นที่แต่ละชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์นั้นต้องอยู่ในที่ของมันอย่างถูกต้อง - สมาชิกแต่ละคนในพระศาสนจักร มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน ล้วน เป็น “ส่วนหนึ่ง” หรือ “ชิ้นส่วนหนึ่ง” ของภาพรวมใหญ่ที่สวยงาม ดังนั้น เราแต่ละ คนจึงจำ�เป็นต้องค้นพบ “กระแสเรียก” ที่ถูกต้องของตน และค่อยๆ สร้าง “อวัยวะ” หรือ “ชิ้นส่วน” นั้นให้มีรูปร่าง สีสัน ขนาด และอยู่ในที่ที่ถูกต้อง - ให้เรามาดูว่า เมื่อบุคคลหนึ่งได้ค้นพบ “กระแสเรียก” ของตนแล้ว เขาจะทำ� เช่นไรกับชีวิตของเขา ซึ่งการค้นพบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่า จะอายุใด หรือในสถานการณ์ใดก็ตาม - ให้ผู้เรียนอ่านใบความรู้ “ศักเคียส” (ลก 19:1-10) อย่างช้าๆ แล้วให้แต่ละคน ทำ�ใบงาน “ใยจึงเปลี่ยน?” - ศักเคียสคือตัวอย่างของบุคคลที่ได้พยายามค้นพบทางแห่งชีวิตที่ถูกต้องของ ตนเอง หลังจากที่ได้เดินหลงผิดมานาน “กระแสเรียก” ของศักเคียสต้องไม่ใช่เป็นคน เก็บภาษีทคี่ ดโกง พระวรสารไม่ได้เล่าตอนจบว่า ศักเคียสได้เปลีย่ นไปทำ�อาชีพใดหรือ ไม่ แต่เราพอจะคาดเดาได้ว่า ศักเคียสคงไม่กลับไปทำ�ชั่วร้ายเหมือนเดิม ไม่ว่าเขาจะ หันไปทำ�อาชีพใด เขาก็คงต้องดำ�รงชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุจริตอย่างแน่นอน เพราะเขาได้ พบปะกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง และพระองค์ได้เป็นผูส้ รุปเองว่า “วันนี้ ความรอดพ้น มาสู่บ้านนี้แล้ว...” (ลก 19:9)

- ผู้ เรี ย นยั ง อยู่ ใ นวั ย เรี ย น ยั ง ไม่ ไ ด้ ยึ ด อาชี พ ใดเป็ น หลั ก ดั ง นั้ น จึ ง ต้ อ งมี ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเองตั้งแต่ในปัจจุบัน เช่น ในการเรียน การเป็นบุตรที่ดี ของพ่อแม่ ฯลฯ เพื่อจะส่งผลให้เราไม่เลือกเส้นทางชีวิตที่ผิดพลาดในอนาคต - ดังนี้ หากเราสามารถเลือกเส้นทางชีวิตที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช หรือฆราวาส ในอาชีพใดก็ตาม อันเป็นเส้นทางชีวิตตาม “กระแสเรียก” ที่พระเจ้าทรง วางแผนไว้ เพื่อให้เราได้ประสบความสำ�เร็จอย่างสูงสุดในชีวิต เราก็จะเป็นบุคคลที่มี “ความสุข” ที่สุด และจะสามารถนำ�ความสุขนั้นให้แก่บุคคลรอบข้างเราด้วย - เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ ให้ผู้เรียนหาผู้ปรึกษาเพื่อแนะแนวทางชีวิตที่ถูกต้องของตน

ดูใบงาน “ใยจึงเปลี่ยน?” ท้ายแผน

ดูใบความรู้เรื่อง “จิตใจ กษัตริย์” ท้ายแผน


40

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนหาผู้ปรึกษาเพื่อแนะแนวทางชีวิตที่ถูกต้องของตน 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................

ใบความรู้ “ศักเคียส” พระเยซูเจ้าเสด็จเข้าเมืองเยรีโคและกำ�ลังจะเสด็จผ่านเมือง นั้น ชายคนหนึ่งชื่อศักเคียส เป็นหัวหน้าคนเก็บภาษี เป็นคนมั่งมี เขาพยายามมองดูว่าใครคือพระเยซูเจ้า แต่ก็มองไม่เห็นเพราะมีคน มากและเพราะเขาเป็นคนร่างเตีย้ เขาจึงวิง่ นำ�หน้าไป ปีนขึน้ ต้นมะเดือ่ เทศ เพื่อให้เห็นพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์กำ�ลังจะเสด็จผ่านไปทาง นั้น เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงที่นั่น ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นทอด พระเนตรตรัสกับเขาว่า ‘ศักเคียส รีบลงมาเถิด เพราะเราจะไปพักที่ บ้านท่านวันนี้’ เขารีบลงมาต้อนรับพระองค์ด้วยความยินดี ทุกคน ที่ เ ห็ น ต่ า งบ่ น ว่ า ‘เขาไปพั ก ที่ บ้ า นคนบาป’ ศั ก เคี ย สยื น ขึ้ น ทู ล พระเยซูเจ้าว่า ‘พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะยกทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่ คนจน และถ้าข้าพเจ้าโกงสิ่งใดของใครมา ข้าพเจ้าจะคืนให้เขาสี่เท่า’ พระเยซูเจ้าตรัสว่า ‘วันนี้ ความรอดพ้นมาสู่บ้านนี้แล้ว เพราะคนนี้ เป็นบุตรของอับราฮัมด้วย บุตรแห่งมนุษย์มาเพือ่ แสวงหาและเพือ่ ช่วย ผู้ที่เสียไปให้รอดพ้น’


41

ใบงาน “ใยจึงเปลี่ยน?” คำ�ชี้แจง - 1. ให้อ่านใบความรู้ “ศักเคียส” เป็นอย่างดี 2. จากนั้น ให้อ่านข้อความต่อไปนี้ ศักเคียสมีอาชีพเก็บเงินภาษี และได้ใช้วิธีคดโกง จนทำ�ให้เขากลายเป็นคนมั่งมี เขาและ ครอบครัวจึงมีชวี ติ ทีส่ ะดวกสบายด้วยทรัพย์มากมายทีม่ ี โดยไม่สนใจเลยว่าชาวยิวอืน่ ๆ จะประณาม เขาว่าเป็น “คนบาป” เป็นผูท้ รยศต่อพีน่ อ้ งร่วมชาติ เพราะเขารูส้ กึ ว่านัน่ คือชีวติ ทีด่ ที สี่ ดุ ของเขาแล้ว... แต่ทำ�ไม... ในวันนั้น ด้วยเวลาเพียงไม่กี่นาทีท่ีศักเคียสได้พบกับพระเยซูเจ้า เขาได้ยอม กลับใจ ยอมเปลี่ยนแปลงชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือ...

3. เมื่ออ่านจบแล้วให้ตอบคำ�ถามว่า “ศักเคียสได้ค้นพบกระแสเรียกของตน หรือไม่? อย่างไร?”


42

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง บุคคลสำ�คัญในพระคัมภีร์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า บุคคลสำ�คัญคือผู้ที่เจริญชีวิตหยั่งรากลึกอยู่ในพระประสงค์ และพระวาจาของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนใช้พระวาจาของพระเจ้าเป็นหลักเกณฑ์ในทุกการปฏิบัติของตน สาระการเรียนรู้ ในพระคัมภีร์มีหลายบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็น “ผู้ชอบธรรม” บุคคลเหล่านั้นคือผู้ที่เจริญ ชีวิตโดยหยั่งรากลึกอยู่ในพระประสงค์และพระวาจาของพระเจ้า ยึดคุณค่าต่างๆ ตามแนวทางของพระคัมภีร์เป็นกฎเกณฑ์พื้น ฐานของการปฏิบัติในชีวิต อุทิศชีวิตตนเองทั้งครบเพื่อรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งเพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงพระเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพบุคคลต่างๆ ในพระคัมภีร์มาให้ผู้เรียนดูทีละภาพ (ไม่ใส่ชื่อ นักบุญ) โดยถามว่า บุคคลในภาพนั้นคือใครบ้าง? หากผู้เรียนตอบไม่ถูกก็ให้ผู้สอน เฉลยได้เลย - จากนั้นให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4-5 คน แล้วให้ผู้เรียนแบ่ง ปันกันว่า ชอบบุคคลใดในภาพมากทีส่ ดุ ? เพราะเหตุใด? โดยเขียนชือ่ บุคคลและเหตุผล ลงในใบงานที่ 1 - ผู้สอนให้ผู้เรียนบางกลุ่มอาสาสมัครส่งตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบของตนให้ ผู้เรียนทุกคนฟัง - ให้ผู้สอนตั้งใจสังเกตดูว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับบุคคลในภาพเหล่านั้นมาก หรือน้อยและลึกซึ้งแค่ไหน - ผู้สอนถามผู้เรียนว่า มีใครรู้จัก น.สเทเฟนบ้าง? รู้จักดีมากแค่ไหน? มีใคร อาสาสมัครมาเล่าเรื่องของ น.สเทเฟนให้เพื่อนๆ ฟังอย่างละเอียดบ้างหรือไม่? ถ้าไม่ ผู้สอนเล่าเรื่องของ น.สเทเฟนจากหนังสือกิจการอัครสาวกให้ผู้เรียนฟัง 3 พระวาจา การเลือกตั้งสังฆานุกร - เวลานั้น ศิษย์มีจำ�นวนมากขึ้น บรรดาศิษย์ที่พูดภาษากรีกไม่พอใจศิษย์ที่พูด ภาษาฮีบรู เพราะในการแจกทานประจำ�วัน บรรดาแม่มา่ ยของตนถูกละเลยมิได้รบั แจก อัครสาวกสิบสองคนจึงเรียกบรรดาศิษย์มาประชุม กล่าวว่า “ไม่สมควรที่เราจะละทิ้ง การประกาศพระวาจาของพระเจ้าเพื่อไปแจกอาหาร พี่น้องทั้งหลาย จงเลือกบุรุษเจ็ด

ดูภาพบุคคลในพระคัมภีร์ ท้ายแผน

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


43

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

คนจากกลุม่ ของท่านทัง้ หลาย เป็นคนทีม่ ชี อื่ เสียงดี เปีย่ มด้วยพระจิตเจ้าและปรีชาญาณ แล้วเราจะแต่งตั้งเขาให้ทำ�หน้าที่นี้ ส่วนเราจะอุทิศตนอธิษฐานภาวนาและประกาศ พระวาจา ทุกคนในที่ประชุมต่างเห็นชอบกับข้อเสนอนี้ จึงเลือกสเทเฟนบุรุษผู้เปี่ยม ด้วยความเชื่อและพระจิตเจ้า ฟิลิป โปรโครัส นิคาโนร์ ทิโมน ปาร์เมนัส และนิโคลัส ชาวอันทิโอกผู้กลับใจมานับถือศาสนายิว เขานำ�คนทั้งเจ็ดคนมาอยู่ต่อหน้าบรรดา อัครสาวกซึ่งอธิษฐานภาวนาและปกมือเหนือเขา พระวาจาของพระเจ้าแพร่หลายยิ่งขึ้น ศิษย์มีจำ�นวนมากขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม บรรดาสมณะหลายคนยอมรับความเชื่อด้วย (กจ 6:1-7) - ต่อจากนี้ สเทเฟนได้กล่าวเล่าเรื่องของประวัติชนชาติอิสราเอลตั้งแต่อับราฮัม มาจนถึงกษัตริย์ซาโลมอนสร้างพระวิหารแห่งกรุงเยรูซาเลม (เทียบ กจ 7:1-50) และ จบด้วยการกล่าวถึงมหาสมณะและสภาซันเฮดรินว่า “ท่านผูด้ อื้ รัน้ ใจกระด้างและหูตงึ ทั้งหลายเอ๋ย ท่านต่อต้านพระจิตเจ้าอยู่เสมอ บรรพบุรุษของท่านเคยทำ�เช่นไร ท่านก็ ทำ�เช่นนั้น มีประกาศกคนใดบ้างที่บรรพบุรุษของท่านมิได้เบียดเบียน เขาฆ่าผู้ที่ ประกาศล่วงหน้าถึงการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าผูท้ รงชอบธรรม และบัดนีท้ า่ นทัง้ หลาย ก็ทรยศและฆ่าพระองค์ด้วย ท่านทั้งหลายได้รับธรรมบัญญัติผ่านทางทูตสวรรค์ แต่ก็ หาได้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัตินั้นไม่” เมื่อได้ฟังดังนั้น ทุกคนรู้สึกขุ่นเคืองเจ็บใจ ขบ ฟันคำ�รามเข้าใส่สเทเฟน (กจ 7:51-54) สเทเฟนถูกหินขว้าง เซาโลผู้เบียดเบียน - สเทเฟนเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า เพ่งมองท้องฟ้า มองเห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของ พระเจ้า และเห็นพระเยซูเจ้าทรงยืนอยูเ่ บือ้ งขวาของพระเจ้า จึงพูดว่า “ดูซิ ข้าพเจ้าเห็น ท้องฟ้าเปิดออก และเห็นบุตรแห่งมนุษย์ทรงยืนอยูเ่ บือ้ งขวาของพระเจ้า” ทุกคนจึงร้อง เสียงดัง เอามืออุดหู วิ่งกรูกันเข้าใส่สเทเฟน ฉุดลากเขาออกไปนอกเมืองแล้วเริ่มเอา หินขว้างเขา บรรดาพยานนำ�เสื้อคลุมของตนมาวางไว้ที่เท้าของชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ “เซาโล” ขณะทีค่ นทัง้ หลายกำ�ลังเอาหินขว้างสเทเฟน สเทเฟนอธิษฐานภาวนาว่า “ข้า แต่พระเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า โปรดรับวิญญาณของข้าพเจ้าด้วย” เขาคุกเข่าลงและร้อง เสียงดังว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าทรงลงโทษพวกเขาเพราะบาปนี้เลย” เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว เขาก็สิ้นใจ (กจ 7:55-60) 4 อธิบายพระวาจา - คาดกันว่าสเทเฟนอาจเคยเป็นศิษย์ติดตามพระเยซูเจ้า ท่านจึงมีความเชื่อและ ความรู้ถึงพระองค์อย่างเต็มเปี่ยม นี่เป็นเพียงการคาดเดาเพราะเราทราบว่าใน พระวรสารมิเคยมีกล่าวถึงนามชื่อนี้ - ถึงกระนั้น สเทเฟนก็ยังมีชีวประวัติที่น่าประทับใจแห่งการเป็นประจักษ์พยาน ถึงพระเยซูเจ้า ดังที่เราได้เห็นจากพระวาจาข้างต้นนี้ - สเทเฟนได้กลายเป็นบุคคลหนึ่งในพระคัมภีร์ท่ีสำ�คัญ แม้ว่าเรื่องราวของท่าน จะถูกบันทึกในหนังสือเพียงเล่มเดียวในพระคัมภีร์ และยิ่งกว่านั้นเพียงไม่กี่บทและไม่ กีต่ อนเท่านัน้ หากจะเปรียบเทียบกับประวัตนิ กั บุญหรือบุคคลสำ�คัญอีกหลายๆ คนใน พระคัมภีร์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


44

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ชื่อสเทเฟนปรากฏในหนังสือกิจการอัครสาวกตั้งแต่บทที่ 6 เป็นต้นไป เริ่มจาก การที่ท่านถูกเลือกให้เป็นสังฆานุกรใน กจ 6:5 โดยกล่าวชัดเจนว่าสเทเฟนเป็นคน เดียวที่ถูกยกย่องอย่างชัดเจนว่าเป็น “บุรุษผู้เปี่ยมด้วยความเชื่อและพระจิตเจ้า” - ใน กจ 6:8 ยังกล่าวอีกว่า “สเทเฟนเปี่ยมด้วยพระหรรษทานและพระอานุภาพ ทำ�ปาฏิหาริย์และเครื่องหมายอัศจรรย์ยิ่งใหญ่ในหมู่ประชาชน” ท่านสามารถเอาชนะ ทุกคนทีโ่ ต้เถียงกับท่านได้ เพราะท่าน “พูดด้วยปรีชาญาณซึง่ มาจากพระจิตเจ้า” (เทียบ กจ 6:10) - ท่านได้ถูกใส่ความว่าพูดดูหมิ่นโมเสสและพระเจ้า ดูหมิ่นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และ ธรรมบัญญัตอิ ยูเ่ สมอ เป็นศิษย์ของเยซูชาวนาซาเร็ธผูไ้ ด้เคยกล่าวว่าจะทำ�ลายพระวิหาร และจะเปลี่ยนแปลงขนบประเพณีที่โมเสสมอบให้ (เทียบ กจ 6:14) - ดังนั้น สเทเฟนจึงได้กล่าวเล่าเรื่องของประวัติชนชาติอิสราเอลตั้งแต่อับราฮัม มาจนถึงกษัตริย์ซาโลมอนสร้างพระวิหารแห่งกรุงเยรูซาเลม (เทียบ กจ 7:1-50) ให้ คนเหล่านั้นฟัง และจบท้ายด้วยการสรุปว่าบรรดาผู้ฟังนั้นแม้จะได้รับธรรมบัญญัติแต่ ก็ไม่เคยปฏิบัติตามธรรมบัญญัติเหล่านั้นเลย พวกเขาเป็นคนดื้อรั้น ใจกระด้างที่ได้ทำ� กับพระเยซูเจ้าผู้ชอบธรรมเช่นเดียวกับที่บรรดาบรรพบุรุษของพวกเขาได้กระทำ�ต่อ บรรดาประกาศกของพระเจ้า พวกเขาได้ทรยศและฆ่าพระองค์ - ที่น่าประทับใจของเรื่องราวนี้ก็คือตอนสุดท้ายของเรื่องนี้ ก่อนที่สเทเฟนจะถูก เอาหินทุม่ จนตาย ท่านได้เปีย่ มด้วยพระจิตเจ้า มองเห็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเจ้า เห็น พระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า และขณะที่ท่านกำ�ลังจะสิ้นชีวิตท่านได้ อธิษฐานว่า “ข้าแต่พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดรับวิญญาณของข้าพเจ้าด้วย... ข้า แต่องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดอย่าทรงลงโทษพวกเขาเพราะบาปนี้เลย” (กจ 7:59-60) คำ�กล่าวเหล่านี้เป็นดังเสียงสะท้อนพระวาจาของพระเยซูเจ้าก่อนที่พระองค์จะทรง สิ้นพระชนม์บนกางเขนนั่นเอง - ชื่อของสเทเฟนได้ปรากฏครั้งสุดท้ายใน กจ 8:1-2 คือตอนที่เล่าถึงการรับรู้ของ เปาโลถึงการตายของท่าน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - แม้เราจะรู้เรื่องของ น.สเทเฟนได้ไม่มากนักเพราะพระคัมภีร์เล่าไว้เพียงเท่านี้ แต่ก็ทำ�ให้เรารู้จักและเข้าใจได้ว่า สเทเฟนคือบุคคลที่พระคัมภีร์เรียกว่าเป็น “ผู้ชอบ ธรรม” เพราะท่านคือผู้ที่เจริญชีวิตโดยมีรากลึกอยู่ในพระเจ้า ในพระประสงค์และ พระวาจาของพระองค์ ชีวิตของท่านคือประจักษ์พยานถึงพระเจ้า - ท่านอุทิศทั้งชีวิตเพื่อพันธกิจของพระเจ้าจนกระทั่งลมหายใจสุดท้าย เพื่อรับใช้ พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ - ให้เราแต่ละคนลองใช้เวลาสั้นๆ เพื่อไตร่ตรองเปรียบเทียบชีวิตของเรากับของ น.สเทเฟนดู เพือ่ ค้นพบความคล้ายคลึงและความแตกต่าง (หยุดไตร่ตรองสักประมาณ 1-2 นาที) - ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงานที่ 2 โดยให้พยายามทำ�อย่างตั้งใจและจริงใจที่สุด

ดูใบงานที่ 2 ท้ายแผน


45

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว อาจให้บางคนอาสาสมัครมาแบ่งปันให้ทุกคน ฟัง เพื่อเป็นการจุดประกายให้ผู้เรียนปรารถนาจะเลียนแบบท่านนักบุญในการเจริญ ชีวติ แห่งการเป็นประจักษ์พยานถึงพระเจ้า ด้วยการนำ�พระวาจาของพระองค์มาปฏิบตั ิ จริงอย่างเป็นรูปธรรมในชีวิต 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนใช้พระวาจาของพระเจ้าเป็นหลักเกณฑ์ในทุกการปฏิบัติของตน 7 ภาวนาปิด หลังจากที่ให้สงบนิ่งสักครู่แล้ว ให้ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครสวดภาวนาจากใจ สั้นๆ จากนั้นให้ทุกคนภาวนา “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ภาพบุคคลในพระคัมภีร์ น.ออกัสติน

น.เปโตร

น.เปาโล

น.เทเรซาแห่ง พระกุมารเยซู

น.คัทริน

น.มารีย์ มักดาลา

น.ลูเชีย

น.โทมัส อไควนัส


46

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มเลือกบุคคลในพระคัมภีร์ที่ตนชอบ 1 คน แล้วให้เลขาฯ เขียนชื่อบุคคล นั้นไว้ในตารางที่กำ�หนดให้ จากนั้นให้เขียนเหตุผลกำ�กับในช่องตารางที่ตามมา ที่ 1

ชื่อบุคคลที่ฉันชอบ

เหตุผล

2 3 4 5

ใบงานที่ 2 คำ�ชีแ้ จง - ให้ผเู้ รียนแต่ละคนตอบคำ�ถามว่า “ท่านจะเลียนแบบการเป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูเจ้าตามแบบ อย่างของ น.สเทเฟน ได้อย่างไร?” โดยให้ผู้เรียนตอบเพียง 1 เรื่องเท่านั้น อย่างตั้งใจและจริงใจ ที่สุด .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. .............................................................................................................. ..............................................................................................................


47

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง การร่วมมิสซาอย่างมีประสิทธิผล

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างเกิดผลเรียกร้องให้มีการ เตรียมตัวอย่างดี และการไตร่ตรองถึงความหมายแห่งธรรมล้ำ�ลึกปัสกาขณะร่วมพิธี - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณด้วยการเตรียมตัวอย่างดีและตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ พิธีบูชาขอบพระคุณคือพิธีกรรมที่มีความหมายและมีคุณค่ามากที่สุดในระหว่างพิธีกรรมทั้งหลาย เพราะ เป็นการระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาซึ่งหมายถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งการไถ่บาปมวลมนุษย์ อาศัยการทรมาน สิ้นพระชนม์ และ การกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้ากลับมาเป็นจริงในปัจจุบนั อีกครัง้ หนึง่ ทุกครัง้ ทีม่ กี ารทำ�พิธบี ชู าขอบพระคุณ เพือ่ ให้การร่วมพิธี สำ�คัญเช่นนี้บังเกิดผล จึงเรียกร้องการเตรียมตัวและการตั้งใจร่วมพิธีกรรมอย่างดี ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 4-5 คน จากนั้นให้ตอบคำ�ถามใน ใบงานที่ 1 อย่างตั้งใจและจริงจัง โดยให้กลุ่มหาตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบด้วย ซึ่ง การทำ�ใบงานที่ 1 นี้จะเป็นดัง “pretest” สำ�หรับผู้เรียน - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบให้เพื่อนๆ ฟัง โดยให้ผู้สอนสังเกตว่า คำ�ตอบของผู้เรียนนั้นมีความลึกซึ้งหรือผิวเผิน จริงจังเพียง ใด เพือ่ จะได้เสริมเติมข้อมูลความรูใ้ ห้แก่ผเู้ รียนในภายหลังได้อย่างตรงตามจุดประสงค์ - ผู้สอนตั้งคำ�ถามต่อไปว่า “มีใครชอบไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณบ้าง? ทำ�ไม จึงชอบ? ทำ�ไมจึงไม่ชอบ?” ให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็ม ที่ คำ�ตอบที่ได้จะเป็นข้อสังเกตสำ�คัญสำ�หรับผู้สอนเพื่อเสริมเติมข้อมูลความรู้ให้แก่ ผู้เรียนต่อไปเช่นกัน - ให้เรามาดูว่า บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าเองได้เข้าใจและมีประสบการณ์ เกี่ยวกับการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างไรบ้าง? 3 พระวาจา : การเดินทางไปหมู่บ้านเอมมาอูส (ลก 24:13-35) วันนั้น ศิษย์สองคนกำ�ลังเดินทางไปยังหมู่บ้านเอมมาอูส ซึ่งอยู่ห่างจาก กรุงเยรูซาเล็มประมาณ 11 กิโลเมตร ทั้งสองคนสนทนากันถึงเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิด ขึน้ ขณะทีก่ �ำ ลังสนทนาและถกเถียงกันอยูน่ นั้ พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามาร่วมเดินทางด้วย แต่เขาจำ�พระองค์ไม่ได้ เหมือนดวงตาถูกปิดบัง พระองค์ตรัสถามว่า ‘ท่านสนทนากัน เรื่องอะไรตามทาง ทั้งสองคนก็หยุดเดิน ใบหน้าเศร้าหมอง

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน

ดูจากพระวรสาร หรืออาจ ให้ดูจากซีดี


48

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ศิษย์ที่ชื่อเคลโอปัสถามว่า ‘ท่านเป็นเพียงคนเดียวในกรุงเยรูซาเล็มหรือที่ไม่รู้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นที่นั่นเมื่อสองสามวันมานี้’ พระองค์ตรัสถามว่า ‘เรื่องอะไรกัน’ เขา ตอบว่า ‘ก็เรื่องพระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ประกาศกทรงอำ�นาจในกิจการและคำ�พูดเฉพาะ พระพักตร์ของพระเจ้าและต่อหน้าประชาชนทัง้ ปวง บรรดาหัวหน้าสมณะและผูน้ �ำ ของ เรามอบพระองค์ให้ต้องโทษประหารชีวิต และตรึงพระองค์บนไม้กางเขน เราเคยหวัง ไว้ว่าพระองค์จะทรงปลดปล่อยอิสราเอลให้เป็นอิสระ แต่นี่เป็นวันที่สามแล้วตั้งแต่ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น สตรีบางคนในกลุ่มของเราทำ�ให้เราประหลาดใจอย่างยิ่ง เขาไปที่ พระคูหาตัง้ แต่เช้าตรู่ เมือ่ ไม่พบพระศพ เขากลับมาเล่าว่าได้เห็นนิมติ ของทูตสวรรค์ซงึ่ พูดว่า พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ บางคนในกลุ่มของเรา ไปที่พระคูหา และพบทุก อย่างดังที่บรรดาสตรีเล่าให้ฟัง แต่ไม่เห็นพระองค์’ พระองค์จงึ ตรัสกับเขาว่า ‘เจ้าคนเขลาเอ๋ย ใจของเจ้าช่างเชือ่ งช้าทีจ่ ะเชือ่ ข้อความ ที่บรรดาประกาศกกล่าวไว้ พระคริสตเจ้าจำ�เป็นต้องทนทรมานเช่นนี้เพื่อจะเข้าไปรับ พระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์มใิ ช่หรือ’ แล้วพระองค์ทรงอธิบายพระคัมภีรท์ กุ ข้อทีก่ ล่าว ถึงพระองค์ให้เขาฟังโดยเริ่มตั้งแต่โมเสสจนถึงบรรดาประกาศก เมื่อพระองค์ทรงพระดำ�เนินพร้อมกับศิษย์ทั้งสองคนใกล้จะถึงหมู่บ้านที่เขาตั้งใจ จะไป พระองค์ทรงทำ�ท่าว่าจะทรงพระดำ�เนินเลยไป แต่เขาทั้งสองรบเร้าพระองค์ว่า ‘จงพักอยูก่ บั พวกเราเถิด เพราะใกล้ค�่ำ และวันก็ลว่ งไปมากแล้ว’ พระองค์จงึ เสด็จเข้าไป พักกับเขา ขณะประทับที่โต๊ะกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงถวายพระพร ทรงบิ ขนมปังและยื่นให้เขา เขาก็ตาสว่างและจำ�พระองค์ได้ แต่พระองค์หายไปจากสายตา ของเขา ศิษย์ทั้งสองจึงพูดกันว่า ‘ใจของเราไม่ได้เร่าร้อนเป็นไฟอยู่ภายในหรือเมื่อ พระองค์ตรัสกับเราขณะเดินทาง และอธิบายพระคัมภีร์ให้เราฟัง’ เขาทั้งสองคนจึงรีบออกเดินทางกลับไปกรุงเยรูซาเล็มในเวลานั้น พบบรรดา อัครสาวกสิบเอ็ดคนกำ�ลังชุมนุมกันอยูก่ บั ศิษย์อนื่ ๆ เขาเหล่านีบ้ อกว่า ‘องค์พระผูเ้ ป็น เจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้วจริงๆ และทรงสำ�แดงพระองค์แก่ซโี มน’ ศิษย์ทงั้ สอง คนจึงเล่าเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ตามทางและเล่าว่าตนจำ�พระองค์ได้เมือ่ ทรงบิขนมปัง

4 อธิบายพระวาจา - เราทราบว่าศิษย์หนึ่งในสองคนที่พระวรสารตอนนี้กล่าวถึงนั้นชื่อว่า เคลโอปัส แต่อีกคนหนึ่งไม่มีการเอ่ยถึง เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าอีกคนหนึ่งจะเป็นอัครสาวก หรือไม่ แต่จากการเล่าของเคลโอปัสเกีย่ วกับเรือ่ งของพระเยซูเจ้านัน้ ทำ�ให้เราเข้าใจได้ ว่า ศิษย์ทงั้ สองมีความรูเ้ กีย่ วกับพระเยซูเจ้ามากพอสมควร พวกเขาอาจจะเคยได้อยูก่ บั พระองค์มาก่อน - แต่นักวิชาการพระคัมภีร์ได้สันนิษฐานว่าการที่ศิษย์ทั้งสองคนนั้นเดินทางไป เอมมาอูสก็เพราะพวกเขาผิดหวังที่พระเยซูเจ้าซึ่งพวกเขาได้เลือกให้เป็นหัวหน้าและ อาจารย์นั้นต้องจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถและอัปยศอดสู ดังนั้น ความหวังของพวกเขาที่ ได้ จ ากประสบการณ์ ข ณะที่ พ ระเยซู เจ้ า ยั ง ทรงมี ชี วิ ต อยู่ นั้ น ได้ ดั บ วู บ ไปพร้ อ มกั บ การสิน้ พระชนม์ของพระองค์ พวกเขาจึงคิดจะละจากกรุงเยรูซาเลมอาจจะเพือ่ ไปเริม่ ต้น ชีวิตใหม่

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


49

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

- พระเยซูเจ้าทรงใช้โอกาสนี้ปรากฏองค์มา เพื่อทำ�ให้ศิษย์ทั้งสองได้เข้าใจใน สถานการณ์จริงของพระองค์วา่ พระองค์ทรงเป็นพระผูไ้ ถ่ทแี่ ท้จริง ผูไ้ ด้ทรงกลับคืนชีพ จากความตาย ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่ชาวอิสราเอลรอคอยโดยทรงใช้เหตุการณ์ที่ ศิษย์ทั้งสองคุ้นเคยเพื่อทำ�ให้พวกเขาจำ�พระองค์ได้ - เริ่มต้นจากการทักทายด้วยคำ�ถามเพื่อให้พวกเขาเริ่มพูดถึงพระองค์ พร้อม กับการกล่าวถึงพระเยซูเจ้า พวกศิษย์ได้แสดงความรู้สึกที่มีต่อพระองค์ด้วย ทำ�ให้ พระองค์ทรงทราบว่าพวกเขารูส้ กึ ผิดหวังในพระองค์ จนพระองค์ทรงดุเขาด้วยอำ�นาจ ของอาจารย์ว่า “เจ้าคนเขลาเอ๋ย ใจของเจ้าช่างเชื่องช้าที่จะเชื่อข้อความที่บรรดา ประกาศกกล่าวไว้...” (ลก 24:25) พวกเขามิได้โกรธแต่กลับเหมือนถูกมนต์สะกดให้ ฟังพระวาจาของพระองค์ต่อไป - จนที่สุด พวกเขาก็เชิญให้พระองค์ทรง “อยู่กับ” พวกเขาในคืนนั้นหลังจาก ที่ได้ทรงอธิบายพระคัมภีร์ให้แก่พวกเขาระหว่างทางที่เดินไปด้วยกัน เมื่อพระองค์ ทรงเห็นว่าพวกเขาได้เปิดใจรับพระวาจาและพระองค์เองแล้ว พระองค์ได้ทรงทำ�ให้ เขาระลึกถึงเหตุการณ์เลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้ายแก่พวกเขาอีกครั้งหนึ่งโดยการบิ ขนมปัง ในระหว่างนี้เองพวกเขาก็ “ตาสว่างและจำ�พระองค์ได้” (ลก 24:31) จน พวกเขาต้องยอมรับว่า “ใจของเราไม่ได้เร่าร้อนเป็นไฟอยู่ภายในหรือ เมื่อพระองค์ ตรัสกับเราขณะเดินทางและอธิบายพระคัมภีร์ให้เราฟัง” (ลก 24:32) - เหตุการณ์การฟังพระวาจาขณะเดินทางและการได้ร่วมพิธีบิปังกับพระเยซูเจ้าทำ�ให้ศิษย์ท้ังสองได้เปิดตาแห่งดวงใจ ได้เข้าใจถึงความจริงแห่งความรอดพ้นที่ พระเยซูเจ้าได้ทรงนำ�มาให้แก่พวกเขา ซึ่งก็คือผ่านทางพิธีบูชาขอบพระคุณนั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้เรียนคงจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณหลายครั้งแล้ว แต่ มาจนถึงวันนี้มีใครได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของพิธีนี้บ้าง? หากพิจารณาดูจาก ใบงานตอนต้นคาบเรียนนี้แล้ว เราคงจะได้คำ�ตอบสำ�หรับคำ�ถามนี้อย่างชัดเจน - เพราะเหตุใดเราจึงยังต้องกล่าวถึงพิธีบูชาขอบพระคุณอีก? ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องซึ่ง หลายๆ คนอาจจะเบื่อ ไม่อยากรับรู้ ไม่อยากฟังอีกแล้วก็เป็นได้ แน่นอนการพูดถึง เรื่องนี้ไม่สนุกเหมือนกับการเล่นเกมออนไลน์หรือการไปเที่ยว รับประทานอาหารที่ ชอบ… ฯลฯ รวมไปถึงเรื่องข้อความเชื่อด้านคำ�สอนอื่นๆ ด้วย ทำ�ไมพระศาสนจักรจึง ไม่ตัดการเรียนคำ�สอนออกจากตารางเรียนสักที? ทำ�ไมจึงต้องมี “วิชาคำ�สอน” อยู่ อีก??? - ข้อความเชื่อของพระศาสนจักรมีอยู่มากมาย แต่ที่สำ�คัญที่สุดคือเรื่องธรรม ล้ำ�ลึกปัสกา เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความรอดพ้นฝ่ายวิญญาณและกายของมนุษย์ ทุกคน เนื่องจากอาศัยธรรมล้ำ�ลึกปัสกา พระเยซูคริสตเจ้าได้ทรงไถ่บาปมวลมนุษย์ และพิธีบูชาขอบพระคุณก็มีความเกี่ยวข้องกับธรรมล้ำ�ลึกปัสกามากที่สุดเพราะทั้งสอง เป็นความจริงอันเดียวกันนั่นเอง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


50

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นการระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาในรูปแบบของการเลี้ยง อาหารค่�ำ ครัง้ สุดท้าย กล่าวคือ มีโต๊ะอาหาร-พระแท่น อาหาร-ศีลมหาสนิท/พระวาจา พระเยซูเจ้า-พระสงฆ์ ผูร้ ว่ มโต๊ะ-คริสตชน แต่เป็นการระลึกถึงธรรมล้�ำ ลึกปัสกาทีก่ ลาย เป็นความจริงในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่งทุกครั้งที่มีการทำ�พิธีบูชาขอบพระคุณ นั่นหมาย ความว่าเป็นการทำ�ให้การทรมาน สิน้ พระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้ากลับ เป็นจริงทุกๆ ครั้งที่มีการทำ�พิธีบูชาขอบพระคุณ เพียงแต่เป็นการพลีบูชาที่ไม่มี การหลั่งเลือดดังเช่นที่เขากัลวารีโอเท่านั้น - ความจริงที่กล่าวมานี้เกี่ยวข้องกับตัวเราแต่ละคนอย่างไรหรือไม่? จำ�เป็นที่ ผู้เรียนแต่ละคนต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างความจริงนี้กับความรอดพ้นของ ตนเอง กล่าวคือ เราแต่ละคนสามารถได้รับความรอดพ้นทั้งฝ่ายกายและวิญญาณก็ อาศัยพระโลหิตจากการไถ่บาปของพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ทรงมาไถ่บาปมนุษย์โดย อาศัยธรรมล้�ำ ลึกแห่งปัสกาคือ การทรมาน สิน้ พระชนม์และการกลับคืนชีพของพระองค์ - นี่คือความจริงที่เราแต่ละคนต้องตระหนักอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะเจริญ ชีวติ เหมือนกับผูท้ ไี่ ร้ศาสนา อยูไ่ ด้ดว้ ยตนเอง ซึง่ นีค่ อื ความคิดหรือการกระทำ�ทีผ่ ดิ หลง อย่างใหญ่หลวง เพราะเราไม่สามารถเจริญชีวิตอยู่โดยขาดพระเจ้าได้ ไม่ว่าเราจะรู้ตัว หรือไม่ก็ตาม แต่ผู้เป็นคริสตชนจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องนี้อย่างดี เพราะนี่คือความจริง เที่ยงแท้ของชีวิต - ที่กล่าวมานั้นคือความหมายที่เป็นแก่นของพิธีบูชาขอบพระคุณ ดังนั้น ทุกครั้ง ที่เราไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ เราจะต้องคิดถึงความหมายนี้ให้ลึกซึ้ง มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะร่วมพิธแี บบผิวเผินหรือขอไปที ไปสายเป็นประจำ� พระวาจาในบทอ่านก็ฟงั บ้าง ไม่ฟังบ้าง หรือฟังบ้างหลับบ้าง วอกแวกคิดถึงเรื่องอื่นๆ ไปแก้บาปรับศีลมหาสนิท บ้างไม่ไปบ้าง คล้ายกับว่า การไปวัดร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณก็เป็นเหมือนกิจกรรมอืน่ ๆ ทั่วไป ที่จะไปหรือไม่ไปก็มีค่าเท่ากัน ฯลฯ... เราเป็นเช่นนี้กันบ้างไหม? เป็นบ่อย ไหม? - ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนประมาณกลุ่มละ 4-5 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มศึกษา คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกที่สอนเรื่องพิธีบูชาขอบพระคุณ ข้อ 1345-1383 โดย ผู้สอนแบ่งข้อให้แต่ละกลุ่มตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ จากคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก และให้เลขาฯ กลุม่ จดบันทึกสรุปเนือ้ หาเพือ่ เตรียม นำ�เสนอให้แก่ทุกคน - จากนั้นให้แต่ละกลุ่มนำ�เสนอความรู้ที่กลุ่มได้ศึกษาและสรุปแก่ทุกคนโดย ละเอียด - เมื่อสิ้นสุดการแบ่งปันของกลุ่มแล้ว ให้ผู้สอนสรุปท้ายด้วยการให้ผู้เรียนทุกคน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพิธีบูชาขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่งว่า มีความหมายและ ความสำ�คัญมากขนาดไหน? ที่สำ�คัญคือต้องให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดใน การรับศีลศักดิ์สิทธิ์และการร่วมพิธีกรรมคือการเตรียมตัวเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ จำ�เป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่างดีที่สุด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


51

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ผู้สอนควรให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างดีเรื่องการเตรียมตัวเพื่อร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึง่ สามารถทำ�ได้โดยการอดอาหารก่อนร่วมมิสซาประมาณ 1 ชม. การแต่งตัวด้วยเสือ้ ผ้า ที่สะอาดเรียบร้อย การไปรับศีลแห่งการคืนดี (ศีลอภัยบาป) หากอยู่ในสภาพที่มีบาป หนักหรือไม่ได้รับศีลอภัยบาปมาเป็นเวลานานแล้ว การเตรียมจิตใจของตนเองให้ สะอาดบริสุทธิ์ด้วยการไม่คิด พูด หรือทำ�สิ่งที่ไม่ดีหรือบาป การคิดถึงความหมายของ พิธีบูชาขอบพระคุณและธรรมล้ำ�ลึกปัสกาเพื่อจะเตรียมจิตวิญญาณของตนให้รับ พระหรรษทานของพระอย่างเต็มที่ขณะร่วมพิธีฯ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณด้วยการเตรียมตัวอย่างดีและตั้งใจ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวด “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามที่ว่า “ท่านชอบตอนไหนของพิธีบูชาขอบพระคุณมากที่สุด? เพราะเหตุใด?” อย่างตั้งใจและจากความเป็นจริง ที่ 1 2 3 4 5

ตอนที่ชอบ

เหตุผล


52

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้น

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชนมี 3 ประการคือ ศีลล้าง บาป ศีลกำ�ลัง และศีลมหาสนิท - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนกำ�หนดข้อปฏิบัติ 1 ข้อ ให้สอดคล้องกับผลของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสาม ประการ สาระการเรียนรู ้ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชน ประกอบด้วยศีลล้างบาป ศีลกำ�ลังและศีลมหาสนิท ที่ทำ�ให้ผู้รับศีล ได้รับการเกิดใหม่เป็นบุตรพระเจ้าอาศัยพระจิตเจ้า เป็นอิสระจากบาป เข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร ได้รับการบำ�รุงให้ เข้มแข็งด้วยพระคุณและพระพรของพระจิตเจ้า ได้รับอาหารทรงชีวิตนิรันดร์และได้เข้าร่วมในเครื่องบูชาเดียวกันขององค์พระ ผู้เป็นเจ้าโดยทางศีลมหาสนิท อาศัย 3 ศีลนี้คริสตชนได้รับชีวิตพระมากขึ้น และสามารถก้าวสู่ความสมบูรณ์แห่งความรักได้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นการเสวนากับผู้เรียนโดยถามว่า “มีใครเคยได้ยินคำ�ว่า ‘ศีล ศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชน’ ไหม?... คำ�นี้หมายความว่าอย่างไร?... หมายถึง ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการใดบ้าง?... มีความเกี่ยวข้องกับตัวเราแต่ละคนมากเพียงใด?...” โดยให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ - ผู้สอนสามารถเฉลยบางประเด็นให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้า เป็นคริสตชน ประกอบด้วย 3 ศีลคือ ศีลล้างบาป ศีลกำ�ลังและศีลมหาสนิท - ในวันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการถูกจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชน (ศีลล้างบาป ศีลกำ�ลัง ศีลมหาสนิท) 2) ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยารักษา (ศีลอภัยบาปและการคืนดี ศีลเจิมผู้ป่วย) 3) ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (ศีลบรรพชา ศีลสมรส) - ในคาบเรียนนี้เราจะมาพิจารณากันเพียงข้อแรกเท่านั้นคือ ความหมายของศีล ศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชน อันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างศีลล้างบาป ศีลกำ�ลัง และศีลมหาสนิท และความสัมพันธ์นี้เกี่ยวข้องกับเราแต่ละคนอย่างไร? 3 พระวาจา : (มก 1:9-11) ครั้งนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้นกาลิลี และทรงรับพิธีล้าง จากยอห์นในแม่น�้ำ จอร์แดน ทันทีทพี่ ระองค์เสด็จขึน้ จากน้�ำ ก็ทรงเห็นท้องฟ้าถูกแหวก ออก พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ดุจนกพิราบ และมีเสียงมาจากฟากฟ้าว่า “ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


53

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

4 อธิบายพระวาจา - จากพระวาจาตอน “พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง” นี้ พระเยซูเจ้าทรงเผยแสดง ให้เห็นถึงความสำ�คัญของการรับศีลล้างบาป เพราะแม้พระองค์จะไม่ทรงมีบาปเลย เนื่องจากพระองค์ไม่เคยทรงทำ�บาป แต่พระองค์ก็ยังทรงยอมถ่อมพระองค์ลงรับ การล้างจาก น.ยอห์น บัปติสต์ ซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เป็นการยืนยันถึง ความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีล้างบาป เพราะพระองค์มิได้ทรงมองข้ามหรือหาข้อยกเว้น - นี่เป็นบันไดขั้นแรกของกระบวนการเป็นคริสตชน เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมา แปดเปื้อนด้วยบาปกำ�เนิด บาปและปีศาจทำ�ให้มนุษย์เป็นศัตรูกับพระเจ้า การรับศีล ล้างบาปเป็นการลบล้างบาปนัน้ ทัง้ หมดเพือ่ ให้มนุษย์ตงั้ ต้นชีวติ ใหม่ได้ดงั บุตรบุญธรรม ของพระเจ้า - หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างแล้ว เมื่อทรงขึ้นจากน้ำ�พระจิตเจ้าได้ ปรากฏมาอยู่เหนือพระองค์คล้ายรูปนกพิราบ พร้อมกับมีเสียงยืนยันจากพระบิดาเจ้า ว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุตรที่รักและที่โปรดปรานของพระบิดา - นี่ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่รับรองกระบวนการเข้าเป็นคริสตชน นั่นคือ หลัง จากพิธีรับศีลล้างบาปให้วิญญาณสะอาดแล้ว พระจิตเจ้าจะเสด็จเข้ามาในจิตใจของเรา ทำ�ให้เรากลายเป็นบุตรที่สามารถเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” และทำ�ให้เรามีพลังใน การเจริญชีวติ ต่อสูก้ บั ศัตรูฝา่ ยวิญญาณ เพือ่ ทำ�ให้เราทำ�ตัวให้เหมาะสมกับการเป็นบุตร ของพระเจ้า - เช่นเดียวกัน เมื่อคริสตชนรับศีลล้างบาปและศีลกำ�ลังแล้ว พระบิดาเจ้าก็จะ มองเราว่าเป็นบุตรที่รักและโปรดปรานของพระองค์เช่นเดียวกัน อาศัยบุญบารมีแห่ง การไถ่บาปของพระเยซูเจ้า การรับพระองค์ในศีลมหาสนิททำ�ให้เราทุกคนมีความเป็น หนึ่งเดียวกัน กลายเป็นอวัยวะต่างๆ ในพระกายเดียวกัน - ภาพจากพระวาจาตอนนี้จึงทำ�ให้เราเข้าใจได้ไม่ยากถึงความสัมพันธ์แห่งศีล ศักดิ์สิทธิ์แห่งการเข้าเป็นคริสตชนทั้ง 3 ประการ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - อาศั ย ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทั้ ง 3 ประการ มวลมนุ ษ ย์ ไ ด้ เข้ า เป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ พระคริสตเจ้าในการสิ้นพระชนม์ การถูกฝังและการกลับคืนชีพของพระองค์ ได้รับการ ไถ่ให้เป็นอิสระจากความตาย ได้รับพระจิตแห่งการเป็นบุตรบุญธรรม และเฉลิมฉลอง การระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า - ด้วยการเป็นผู้ถูกสร้างที่มีขอบเขต มนุษย์ไม่สามารถคิดหรือทำ�สิ่งนี้ด้วยตัวเอง ได้ พระเจ้าจึงทรงริเริ่มกระบวนการนี้ด้วยพระทัยดีของพระองค์ มิใช่ด้วยการบังคับแต่ เป็นการเสนอสิ่งที่ดีท่ีสุด อันเป็นพระพรอันประเสริฐสุดคือ “ความรอดพ้น” ให้แก่ มนุษย์ - เราต้องเข้าใจความจริงอีกมิติที่สำ�คัญคือ เมื่อคนหนึ่งได้กลายเป็นคริสตชนแล้ว เขาก็ได้เป็นตลอดไปโดยธรรมชาติ แต่การ “กลายเป็น” คริสตชนนัน้ เป็นกระบวนการ ที่ต้องค่อยเป็นค่อยไปไม่มีวันสิ้นสุด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


54

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ศีลล้างบาปและศีลกำ�ลังเป็น 2 ศีลที่พระศาสนจักรจัดให้แก่ผู้เป็นคริสตชน ซึ่ง สองศีลนีจ้ ะรับเพียงครัง้ เดียวเท่านัน้ ในชีวติ แต่เราต้องตระหนักให้มากว่า ศีลมหาสนิท นั้นต่างกัน คือ เมื่อเราได้รับศีลมหาสนิทครั้งแรกแล้ว เราต้องรับผิดชอบวิญญาณของ ตัวเองด้วยการรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ เพื่อให้วิญญาณของเราได้มีอาหารหล่อเลี้ยงอยู่ ตลอดเวลา มิฉะนัน้ วิญญาณของเราก็จะแคระแกร็น ไม่ได้รบั การเลีย้ งดูให้เติบโต หาก เป็นเช่นนี้ ชีวิตคริสตชนของเราก็จะพิการไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ได้ - ที่กล่าวมานี้คือกระบวนการสำ�คัญซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ - ให้แบ่งผู้เรียนเป็น 3 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มจับฉลากว่า กลุ่มใดจะทำ�ใบงานที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 จากนั้นให้ทุกกลุ่มตอบคำ�ถามให้ถูกต้องและสมบูรณ์มากที่สุด กลุ่ม ใดตอบอย่างครบถ้วนและถูกต้องทั้งหมดในเวลาที่สั้นที่สุดถือว่าชนะ - เมื่อกลุ่มใดตอบเสร็จแล้วให้รีบไปเขียนคำ�ตอบไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง ...จนครบ ทั้งสามกลุ่ม - เมื่อทั้งสามกลุ่มได้เขียนคำ�ตอบของตนแล้ว ให้ผู้สอนเปรียบเทียบคำ�ตอบเหล่า นั้น กับบทเรียนเรื่องศีลล้างบาป ศีลกำ�ลัง และศีลมหาสนิท (ผู้สอนเตรียมคำ�ตอบมา ล่วงหน้า จากแผนการสอนคำ�สอนของ ป.6 หน่วยที่ 5) จากนั้นให้ผู้สอนตรวจคำ�ตอบ ของทัง้ สามกลุม่ และตัดสินว่า คำ�ตอบของกลุม่ ใดถูกต้อง ครบถ้วนทีส่ ดุ กลุม่ นัน้ จะเป็น ผู้ชนะ โดยตรวจจากกลุ่มที่เสร็จก่อนตามลำ�ดับ - คำ�ตอบต่างๆ จากทั้ง 3 กลุ่ม จะทำ�ให้ผู้เรียนได้ภาพรวมของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่ง การเข้าเป็นคริสตชน ซึ่งผลของศีลเหล่านั้นต้องไม่เป็นเพียงความรู้ระดับสติปัญญา เท่านัน้ แต่ตอ้ งเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงในชีวติ คริสตชนเพราะตัง้ แต่นไี้ ปผูเ้ รียนจะค่อยกลาย เป็นผูใ้ หญ่ฝา่ ยร่างกาย ซึง่ ในเวลาเดียวกันฝ่ายวิญญาณก็ตอ้ งเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ดว้ ยเช่น กันอาศัยการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับกระบวนการที่เราแต่ละคนได้รับ - นี่คือสิ่งที่เราคริสตชนแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบตนเอง เพราะพระหรรษทาน และพระพรต่างๆ ของพระนั้นเป็นสิ่งประเสริฐสุดที่เราจะนิ่งเฉยไม่สนใจไม่ได้ ถ้าจะ เปรียบก็คล้ายกับเราเป็นดินทีแ่ ห้งผาก แต่ไม่ยอมรับฝนทีต่ กลงมา ดังนัน้ แม้จะฝนมาก เพียงใดก็ตาม หากเราปิดตนเอง ดินของเราก็ไม่มที างจะเปียกได้ ดินนัน้ ก็กลายเป็นดิน ที่ไร้ประโยชน์ ไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์อะไรได้ ไม่สามารถทำ�ให้เกิดผลดีอะไรได้ - เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนในสมุดส่วนตัวของตนว่า จะกำ�หนดข้อ ปฏิบัติใดให้สอดคล้องกับผลของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสาม เพียงคนละ 1 ข้อ

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนกำ�หนดข้อปฏิบัติ 1 ข้อ ให้สอดคล้องกับผลของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสาม ประการ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้สวด “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงานที่ 1, 2, และ 3 ท้ายแผน


55

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้เขียนผลของ “ศีลล้างบาป” ให้ถูกต้องและครบสมบูรณ์และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 2 คำ�ชี้แจง - ให้เขียนผลของ “ศีลกำ�ลัง” ให้ถูกต้องและครบสมบูรณ์และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 3 คำ�ชี้แจง - ให้เขียนผลของ “ศีลมหาสนิท” ให้ถูกต้องและครบสมบูรณ์และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ .................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................


56

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรักษา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเยียวยารักษาประกอบด้วยศีล 2 ประการ คือ ศีลอภัยบาปและการคืนดี และศีลเจิมคนไข้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความตั้งใจเป็นอย่างดี สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงประทานศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเยียวยารักษาซึง่ ประกอบด้วย ศีลอภัยบาปและศีลเจิมคนไข้ เพราะ มนุษย์ตอ้ งเผชิญกับความทุกข์ทรมาน โรคภัยไข้เจ็บและความตายทัง้ ฝ่ายกายและวิญญาณ อันทำ�ให้ชวี ติ ใหม่ของเราต้องอ่อนแอ ลงจนอาจสูญเสียไปเพราะบาป พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นแพทย์ฝา่ ยวิญญาณและร่างกายของคริสตชน พระองค์ทรงคืนสุขภาพ แก่ผู้เจ็บป่วย เพื่อจะได้รับความรอดพ้นทั้งฝ่ายกายและวิญญาณ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นการเสวนากับผู้เรียนเรื่อง “ใครเคยป่วยยกมือขึ้น...!?!” จาก นัน้ ให้ผเู้ รียนพูดคุยสนทนาอย่างเต็มที่ แต่ผสู้ อนจับประเด็นการสนทนาไปที่ “ป่วยแล้ว ทำ�อย่างไร?... ปล่อยให้หายป่วยเองไหม?... เจ็บป่วยแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง?... อยาก หายป่วยมากแค่ไหน?... ใครช่วยให้หายป่วย?... มีบางโรคทีก่ ลัวจะเป็นมากๆ ไหม?... เพราะเหตุใด?... มีใครไม่เคยป่วยเลยบ้างไหม?...ฯลฯ” - จากนั้นผู้สอนจึงเปิดประเด็นเรื่อง “การเจ็บป่วยฝ่ายวิญญาณ” ว่า เป็นไป ได้ไหม? มันคืออะไร? แสดงอาการออกมาในลักษณะใดบ้าง? มันนำ�ผลร้ายอะไรสูเ่ จ้า ตัวบ้าง? หากไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น? ใครจะสามารถช่วยให้หายจากโรคร้ายฝ่าย วิญญาณได้?... ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน - พระเยซูเจ้าได้ทรงช่วยเราคริสตชนในเรื่องการเจ็บป่วยฝ่ายกายและวิญญาณ อย่างไร? ด้วยวิธีไหนบ้าง? - ให้เรามาดูบางตัวอย่างเหตุการณ์ในพระวรสารที่เล่าเรื่องท่าทีของพระเยซูเจ้า ต่อบรรดาผูเ้ จ็บป่วยทัง้ ฝ่ายกายและวิญญาณ และสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงทำ�เพือ่ เยียวยารักษา พวกเขา 3 พระวาจา : 3 เรื่อง คือ พระเยซูเจ้าทรงรักษามารดาของภรรยาซีโมน ทันทีที่ออกจากศาลาธรรม พระองค์เสด็จเข้าไปในบ้านของซีโมนและอันดรูว์ พร้อมกับยากอบและยอห์น มารดาของภรรยาซีโมนกำ�ลังนอนป่วยเป็นไข้อยู่ เขาจึงทูล

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


57

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระองค์ให้ทรงทราบทันที พระองค์เสด็จเข้าไปจับมือนาง พยุงให้ลุกขึ้น นางก็หายไข้ นางจึงรับใช้ทุกคน (มก 1:29-31)

พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้ป่วยจำ�นวนมาก เย็นวันนั้น เมื่อดวงอาทิตย์ตกแล้ว มีผู้นำ�คนป่วยและคนถูกปีศาจสิงมาเฝ้า พระองค์ คนทั้งเมืองมารวมกันที่ประตู พระองค์ทรงรักษาหลายคนที่เป็นโรคต่างๆ ให้หาย ทรงขับไล่ปีศาจออกไป แต่ไม่ทรงอนุญาตให้มันพูด เพราะมันรู้จักพระองค์ (มก 1:32-33) พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้เจ็บป่วยที่เมืองเยนเนซาเร็ธ พระเยซูเจ้าทรงข้ามฟากพร้อมกับบรรดาศิษย์ มาจอดเรือขึ้นฝั่งที่เมืองเยน เนซาเร็ธ เมื่อเสด็จขึ้นจากเรือประชาชนก็จำ�พระองค์ได้ทันที และคนในบริเวณนั้น ต่างรีบมาหา นำ�ผู้เจ็บป่วยนอนบนแคร่มาเฝ้าพระองค์ ณ สถานที่ที่เขาได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ ไม่วา่ พระองค์เสด็จไปทีใ่ ด ในหมูบ่ า้ น ในเมืองหรือในชนบท เขา ก็นำ�ผู้เจ็บป่วยมาวางตามลานสาธารณะ ทูลขอพระองค์ให้เขาสัมผัสเพียงชายฉลอง พระองค์เท่านั้น และทุกคนที่สัมผัสแล้วก็หายจากโรคภัย (มก 6:53-56) 4 อธิบายพระวาจา - จากเหตุการณ์ทั้ง 3 เรื่องนี้ เราจะเห็นว่า บรรดาประชาชน ผู้คนทั้งหลายที่อยู่ ใกล้ๆ พระเยซูเจ้าล้วนนำ�ผู้เจ็บป่วยทางด้านร่างกายและวิญญาณมาหาพระองค์ เพื่อ ให้พระองค์ทรงรักษา นั่นหมายความว่าบุคคลใกล้ชิดกับพระเยซูเจ้านั้นทราบดีว่า พระองค์ทรงมีพระทัยเมตตากรุณาต่อคนที่ทุกข์ทรมาน และพระองค์จะทรงรักษาพวก เขาให้หายอย่างแน่นอน - โรคร้ายต่างๆ ที่พระวรสารทั้ง 3 ตอนเล่ามานี้ หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า เป็น โรคร้ายสารพัดรูปแบบ จนไม่มีการแจกแจงว่าเป็นโรคอะไรบ้าง แต่ไม่ว่าจะเป็นโรค ลักษณะใดก็ตาม ทั้งด้านร่ายกายและจิตวิญญาณ พระเยซูเจ้าก็ทรงรักษาให้หายได้ทั้ง สิ้นเพราะพระองค์ทรงสรรพฤทธิ์ หลายคนมีความมั่นใจว่า เพียงแค่สัมผัสพระองค์ เท่านั้นพวกเขาก็จะหายจากโรคได้ และพวกเขาก็ได้รับเช่นนั้นจริงๆ - ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงเป็น “ผู้เยียวยารักษา” ทุกคน ที่ทุกข์ทรมานและเข้ามาขอความช่วยเหลือจากพระองค์ มิเพียงเท่านั้น แม้พระองค์จะ ทรงจากโลกนี้ไปแล้ว พระองค์ก็ยังทรงปฏิบัติงานนี้ต่อๆ ไปในพระศาสนจักร เฉพาะ อย่างยิง่ โดยผ่านทางศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ 2 ประการคือ ศีลอภัยบาปและการคืนดี (ศีลแก้บาป) และศีลเจิมคนไข้ - อาศัย 2 ศีลนี้ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็น “แพทย์ฝ่ายวิญญาณ” ทรงคืนสุขภาพ ฝ่ายกายและวิญญาณแก่ผู้รับศีลผ่านทางศาสนบริกรของพระศาสนจักร คือพระสงฆ์ ผู้ประกอบพิธี

- บาปทำ�ให้วิญญาณของมนุษย์เป็น “โรคร้าย” ฝ่ายวิญญาณ โรคนี้หนักหนา สาหัสกว่าโรคฝ่ายร่ายกายมากมายนัก เพราะสามารถทำ�ให้มนุษย์เสียวิญญาณและ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


58

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ต้องรับโทษในนรกชัว่ นิรนั ดรได้ ดังนัน้ ขณะทีค่ ริสตชนยังมีสขุ ภาพร่างกายแข็งแรง เขา อาจอยูใ่ นสภาพเจ็บป่วยฝ่ายวิญญาณอย่างแสนสาหัสก็ได้ เพราะมนุษย์มคี วามอ่อนแอ และตกในบาปอยู่เรื่อยๆ พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นแพทย์ฝ่ายวิญญาณทรงเข้าใจสภาพนี้ ของมนุษย์เป็นอย่างดี ทรงเมตตาจึงให้ความช่วยเหลือ และทรงประทานศีลศักดิ์สิทธิ์ แห่งการอภัยบาปและการคืนดี เพือ่ เยียวยารักษาวิญญาณของมนุษย์ตลอดเวลาทีค่ นๆ หนึ่งยังมีสุขภาพร่างกายที่ดี

- เมื่อมนุษย์เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ร่ายกายจะอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ ไม่ว่าจะเพราะเป็นโรคหรือเพราะอุบัติเหตุต่างๆ ณ เวลานั้น คนเราพอรู้ตัวว่าอีกไม่ นานเขาจะต้องละจากโลกนี้และต้องไปปรากฏตัวต่อหน้าพระ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนน่าจะ ปรารถนาก็คือ การเตรียมตัวตายอย่างดี พระเยซูเจ้าก็ทรงเข้าใจในสภาพนี้เช่นกัน จึงทรงประทานศีลเจิมผู้ป่วยมาช่วยเราในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต การได้เตรียมตัว ตายอย่างดีดว้ ยการรับศีลเจิมผูป้ ว่ ยเป็นโอกาสทีป่ ระเสริฐมากเพราะมีคนมากมายที่ ต้องตายโดยไม่มีโอกาสรู้ตัวและได้เตรียมตัวตายอย่างดีด้วยซ้ำ� 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ไม่มีมนุษย์คนใดหนีความตายพ้น แม้กระทั่งพระเยซูเจ้าและพระนางมารีย์ก็ยัง ทรงต้องเผชิญหน้ากับความตาย เพราะเป็นทางผ่านที่แน่นอนสำ�หรับมนุษย์ทุกคนซึ่ง นำ�สู่ประตูหลังความตาย คือการพิพากษา ไฟชำ�ระ สวรรค์ หรือนรก - มนุษย์ส่วนใหญ่จะกลัวความตาย เพราะไม่มีใครเคยตายมาก่อนจึงไม่สามารถ รู้ได้ว่าจริงๆ แล้วความตายเป็นอย่างไร? แต่ที่แน่ๆ ก็คือความตายปิดชีวิตในปัจจุบัน และเปิดสู่ความจริงหลังความตาย ร่ายกายจะต้องเน่าเปื่อยไป ส่วนวิญญาณจะต้อง เผชิญกับการพิพากษา ให้การต่อพระถึงความดีและความชั่วที่ได้ทำ�ขณะยังมีชีวิตอยู่ - ใครที่คิดถึงความจริงหลังความตายบ่อยๆ และพยายามเจริญชีวิตให้สอดคล้อง กับความจริงนั้น นั่นคือ การพบปะกับพระเจ้าและการพิพากษา พระเจ้าองค์นี้ที่ตนได้ พยายามรักและซือ่ สัตย์ตอ่ พระองค์ขณะทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ ความตายสำ�หรับเขาก็เป็นเสมือน การเปิดประตูไปพบกับบุคคลผู้นั้นที่เขารักและรอคอยมานาน การพบปะนั้นจึงเป็นสิ่ง ที่ไม่น่ากลัว และกลับทำ�ให้รู้สึกมีความสุข - ตรงกันข้าม หากผู้ใดเจริญชีวิตแบบไม่เคยคิดถึงความตายและใช้ชีวิตไปวันๆ อย่างสนุก สะดวก สบาย เพื่อตนเองเท่านั้นโดยไม่เคยปฏิบัติตามพระบัญญัติและ คำ�สอนของพระเยซูเจ้า เขาคงจะกลัวความตายอย่างมากเพราะลึกๆ แล้วมนุษย์แต่ละ คนย่อมรูถ้ งึ ความดีความชัว่ ของตน และสำ�นึกอยูเ่ สมอว่า ทำ�ดียอ่ มได้ดแี ละทำ�ชัว่ ย่อม ได้ชว่ั - ดังนั้น ก่อนที่คนหนึ่งจะสิ้นชีวิต เขาย่อมรู้สึกถึงบาปบุญคุณโทษของตน การที่ พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลอภัยบาปและการคืนดีมาเพื่อช่วยเตรียมจิตใจของเขาให้พร้อมที่ จะไปพบกับพระเจ้านั้นจึงเป็นพระพรที่ประเสริฐสุด ใครที่ได้รับศีลนี้ถือเป็นของขวัญ สูงสุดที่มนุษย์คนหนึ่งพึงจะมีได้ เพราะการได้เตรียมตัวตายอย่างดีนั้นเป็นสิ่งสำ�คัญ ที่สุด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


59

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ดังนั้น ทั้งศีลอภัยบาป/การคืนดี และศีลเจิมผู้ป่วยล้วนสำ�คัญยิ่งสำ�หรับมนุษย์ ในเวลาเดียวกันเป็นการแสดงถึงความรักของพระเจ้า พระทัยเมตตาของพระองค์ทรงมี ความพากเพียรอดทนที่จะอภัยบาปของมนุษย์ทุกคนอยู่เสมอ

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความตั้งใจเป็นอย่างดี 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง พิจารณามโนธรรมสักครู่ จากนั้น จึงให้แต่ละคนสวด “บท แสดงความทุกข์” ในใจอย่างช้าๆ โดยคิดถึงความหมายของแต่ละคำ�พูดอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


60

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรับใช้ชุมชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันประกอบด้วย ศีล 2 ประการคือ ศีลบรรพชา และศีลสมรส - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความตั้งใจเป็นอย่างดี สาระการเรียนรู ้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ (แห่งการรับใช้) ที่เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันประกอบด้วย ศีลบรรพชาและศีล สมรส เป็น 2 ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้บริการช่วยเหลือเพื่อความรอดพ้นของคนอื่น จึงเป็นศีลที่มอบภารกิจพิเศษใน พระศาสนจักร และช่วยเสริมสร้างประชากรของพระเจ้า สังฆภาพทีค่ ริสตชนได้รบั ในศีลล้างบาปและศีลกำ�ลังได้รบั การเจิมพิเศษ ในศีลบรรพชา ผู้ได้รับศีลสมรสก็ได้รับการเจิมเพื่อภาระหน้าที่และศักดิ์ศรีตามสภาพเฉพาะของเขา (CCC ข้อ 1533-1535) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนทบทวนเนื้อหาของการเรียนครั้งก่อน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้น และศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรักษา เพื่อเป็นการอารัมภบทก่อนการเริ่มเรียนในครั้งนี้และ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีภาพรวมเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธ์ที่ครบสมบูรณ์ - การทบทวนเนื้อหาของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 2 ประเด็นนั้นจะช่วยทำ�ให้ผู้เรียนได้ เห็นภาพของคริสตชนที่เริ่มชีวิตของการเป็นบุตรของพระเจ้าด้วยศีลล้างบาป ได้รับ การเลี้ยงดูด้วยศีลมหาสนิทและเสริมพลังให้เข้มแข็งอยู่เสมอด้วยศีลกำ�ลัง เมื่ออ่อนแอ ผิดพลาดทำ�บาปก็ได้รบั การอภัยบาปทุกครัง้ ทีเ่ ขาไปรับศีลอภัยบาปและการคืนดี และ ในวาระสุดท้ายพระเจ้ายังทรงประทานพระพรพิเศษสำ�หรับการเตรียมตัวไปพบปะกับ พระองค์เป็นอย่างดีผ่านทางศีลเจิมผู้ป่วย - ผู้สอนอาจให้เนื้อหาข้างต้นนี้อาศัยคำ�ถาม-คำ�ตอบก็ได้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น - ส่วนในการเรียนครั้งนี้ เราจะกล่าวถึงการรับใช้ 2 ลักษณะในพระศาสนจักร นั่นคือ การรับใช้ของผู้ได้รับการเจิมเป็นพิเศษให้เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวใน พระศาสนจักร อาศัยการเป็นสงฆ์ของพระเจ้า และเป็นผู้ถูกเรียกให้มาเสริมสร้าง ครอบครัวแห่งประชากรของพระเจ้า 3 พระวาจา - บรรดาอัครสาวกทำ�เครื่องหมายอัศจรรย์และปาฏิหาริย์หลายประการในหมู่ ประชาชน ผู้มีความเชื่อทุกคน มักจะมาชุมนุมกันที่เฉลียงซาโลมอน ไม่มีผู้อื่นกล้าเข้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


61

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ มารวมกลุ่มกับเขา แต่ประชาชนต่างยกย่องเขาอย่างมาก ผู้มีความเชื่อในองค์พระผู้ เป็นเจ้าเพิม่ จำ�นวนขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ชายและหญิง ประชาชนนำ�ผูป้ ว่ ยมาทีล่ านสาธารณะ วางไว้บนที่นอนและแคร่ อย่างน้อยเพื่อให้เงาของเปโตรที่เดินผ่านมาทอดปกคลุม ผูป้ ว่ ยบางคน ประชาชนจากเมืองต่างๆ รอบกรุงเยรูซาเล็มมาชุมนุมกัน นำ�ผูป้ ว่ ยและ ผู้ที่ถูกปีศาจชั่วร้ายทรมานมาที่นั่นด้วย ทุกคนได้รับการรักษาให้หาย (กจ 5:12-16) - กลุ่มผู้มีความเชื่อดำ�เนินชีวิตเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน ไม่คิดว่าสิ่งที่ตนมีเป็น กรรมสิทธิ์ของตน แต่ทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม บรรดาอัครสาวกยังคงเป็นพยานยืนยัน ถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซู องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าด้วยเครือ่ งหมายอัศจรรย์ยงิ่ ใหญ่ และทุกคนได้รับความเคารพนับถืออย่างสูง ในกลุ่มของเขาไม่มีใครขัดสน ผู้ใด มีที่ดินหรือบ้านก็ขายและมอบเงินที่ได้ให้บรรดาอัครสาวก เพื่อแจกจ่ายให้ผู้มีความเชื่อแต่ละคนตามความต้องการ (กจ 43:12-35)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งสองตอนนี้แสดงให้เราเห็นถึงภาพของหมู่คณะคริสตชนสมัยแรก ที่บรรดาอัครสาวกทำ�หน้าที่ของผู้สานต่อพระภารกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ทั้งใน การเทศน์สอน การดูแลปกครองประชาชน แจกจ่ายให้แต่ละคนตามความต้องการ ของเขา ให้ความช่วยเหลือและรักษาพวกเขาให้พ้นจากโรคภัยทั้งปวง - พวกเขาจึงเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าด้วย เครื่องหมายอัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่ และได้รับการเคารพนับถืออย่างสูง - ที่สำ�คัญคือ บรรดาคริสตชนดำ�เนินชีวิตเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน โดยคิดและ ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมว่า “ทุกสิ่งเป็นของส่วนรวม” (กจ 4:32) ไม่มีใครคิดว่าสิ่งที่ ตนมีเป็นกรรมสิทธิ์ของตน หลายคนได้ขายสมบัติส่วนตัวเพื่อนำ�เงินมาให้บรรดา อัครสาวกในการช่วยเหลือเจือจุนหมูค่ ณะ ด้วยการเจริญชีวติ เช่นนีจ้ งึ ไม่มใี ครรูส้ กึ ขัดสน - บรรดาคริสตชนทั้งปวงก็เจริญชีวิตด้วยความเชื่อ เป็นประจักษ์พยานใน ความเชื่อถึงพระเจ้า จนกระทั่งผู้มีความเชื่อเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - มนุษย์เราเพียงเกิดมาและได้รับการดูแลรักษาให้ดีฝ่ายร่างกายเท่านั้นยังไม่ เพียงพอ เพราะมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่เรามีวิญญาณ - วิญญาณของเราก็ต้องได้รับการดูแลรักษาเช่นเดียวกันเพราะในศีลล้างบาป เราได้รับพระหรรษทานที่จะได้รับการลบล้างบาปทั้งหมด ได้รับสิทธิ์ในการเป็นบุตร บุญธรรมของพระเจ้า ได้รับเมล็ดพันธ์ุแห่งความเชื่อที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาให้ เจริญเติบโตจนกระทั่งกลายเป็นบุคคลที่สามารถเจริญชีวิตด้วยความเชื่อแบบผู้ใหญ่ - การดูแลรักษาดังกล่าวนั้นจำ�เป็นต้องได้รับการปลูกฝังความเชื่อจากผู้เป็น บิดามารดาและศาสนบริกรของพระศาสนจักร เฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ ดังนั้น พระ ศาสนจักรจึงจำ�เป็นต้องรับประกันการดูแลคริสตชนแต่ละคนด้วยครอบครัวที่ดี และ ให้ผู้เกิดใหม่ในความเชื่อนั้นเติบโตในชีวิตฝ่ายวิญญาณอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งผู้ โปรดศีลเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นพระสงฆ์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


62

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ในเวลาเดียวกัน คริสตชนต้องเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงพระคริสตเจ้า ด้วย การปฏิบัติตามพระบัญญัติที่พระองค์ทรงสั่งสอน นั่นคือ บัญญัติแห่งความรัก และ การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมของการรักพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์กค็ อื การเจริญชีวติ ในความเป็นหนึ่งเดียวกันกับทุกคน ไม่ว่าจะกับผู้ที่เราชอบหรือไม่ชอบก็ตาม - ดังนี้ ผู้เป็นคริสตชนต้องเจริญชีวิตแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ของตนทั้งในครอบครัว ด้วย การเจริญชีวิตแห่งความรักและเป็นหนึ่งเดียวกันกับบุคคลในครอบครัว ทั้งในหมู่คณะ ชุมชนวัดด้วยการร่วมมือกันสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในระดับชุมชน - นี่คือวิสัยทัศน์ของพระศาสนจักรสำ�หรับทุกครอบครัวและทุกหมู่คณะชุมชนวัด ดังนั้น พระศาสนจักรจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำ�ให้ภาพฝันนี้เกิดขึ้น เฉพาะอย่างยิ่ง อาศัยศีลบรรพชาและศีลสมรส - หลังจากการรับศีลสมรสแล้ว อาศัยคำ�สอนและการติดตามช่วยเหลือของ พระสงฆ์เจ้าวัด ผู้เป็นบิดามารดามีหน้าที่สร้างครอบครัวให้กลายเป็น “พระศาสนจักร ระดับบ้าน” (เทียบ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1632) - สรุปว่า ทั้งศีลบรรพชาและศีลสมรส กล่าวคือ ทั้งผู้เป็นพระสงฆ์และผู้เป็นบิดา มารดาคาทอลิกล้วนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นใน ครอบครัว ในสังคมชุมชน และในพระศาสนจักร อาศัยการมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรง กันถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคนตามบทบาทเฉพาะที่ได้รับจากศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ประการ และพยายามปฏิบัติตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถเพื่อสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัวและในชุมชนของตน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยความตั้งใจเป็นอย่างดี 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “รักพระ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


63

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพคือ ช่วงเวลาแห่งการ รอคอยการบังเกิดของพระเยซูคริสตเจ้า องค์พระมหาไถ่ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเขียนข้อตั้งใจให้สอดคล้องกับเรื่องการเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ และนำ�ไปปฏิบัติจริงในชีวิต สาระการเรียนรู ้ เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (Advent) คือช่วงเวลาที่คริสตชนรอคอยการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า พระผู้ไถ่บาปของมวลมนุษย์ เวลาแห่งการรอคอยต้องเป็นช่วงเวลาที่คริสตชนเตรียมตัวเตรียมใจของตนด้วยการเปลี่ยนแปลง การดำ�เนินชีวิตในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมทุกๆ วันมิใช่เพียงปีละครั้งเท่านั้น ด้วยการละทิ้งความประพฤติแบบเก่าๆ ของ “มนุษย์ เก่า” แล้วหันมาเจริญชีวิตแบบใหม่ของ “มนุษย์ใหม่” เยี่ยงบุตรแห่งความสว่าง บุตรของพระเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “Advent” โดยพยายามให้ผู้เรียนตอบ ทุกข้อและตามความเป็นจริง - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอาสาสมัครประมาณ 4-5 คนมาแบ่ง ปันคำ�ตอบของตนให้เพื่อนๆ ฟังโดยให้ผู้สอนสังเกตในภาพรวมของคำ�ตอบว่าผู้เรียน ส่วนใหญ่มคี วามรูค้ วามเข้าใจอย่างไรเกีย่ วกับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าและ มีการปฏิบตั เิ พือ่ การเตรียมตัวต้อนรับพระเยซูเจ้าอย่างไรบ้างทัง้ ในด้านวัตถุและจิตใจ? - เมื่อแบ่งปันเสร็จแล้วให้ผู้สอนตั้งคำ�ถามให้ผู้เรียนช่วยกันตอบว่า * พระศาสนจักรสอนว่า “เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า” หมายความ ว่าอะไร * เทศกาลนี้มีความสำ�คัญต่อเราแต่ละคนอย่างไร? * เพื่อให้เทศกาลนี้เกิดผลดีอย่างเต็มที่ เราต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง? ใน ด้านวัตถุ? และด้านจิตใจ? - การตอบคำ�ถามเหล่านี้เป็นการค่อยๆ สร้างจิตสำ�นึกให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับ ความหมายและความสำ�คัญของเทศกาลนี้ และเป็นการนำ�สู่ความปรารถนาที่จะเรียน รูใ้ ห้ลกึ ซึง้ ถึงความจริงแห่งธรรมล้�ำ ลึกซึง่ มีความเกีย่ วข้องกับเราคริสตชนแต่ละคนเป็น อย่างมาก - พระวาจาของพระเจ้าที่เปิดเผยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราจะพบได้ จากจดหมายของ น.เปาโลถึงชาวกาลาเทีย (กท 4:4-9) และถึงชาวโรม (รม 13:11-14)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “Advent” ท้ายแผน


64

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3

พระวาจา - แต่เมื่อถึงเวลาที่กำ�หนดไว้พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจาก หญิงผูห้ นึง่ เกิดมาอยูใ่ ต้ธรรมบัญญัตเิ พือ่ ทรงไถ่ผทู้ อี่ ยูใ่ ต้ธรรมบัญญัตแิ ละทำ�ให้เราได้ เป็นบุตรบุญธรรมข้อพิสูจน์ว่าท่านทั้งหลายเป็นบุตรก็คือพระเจ้าทรงส่งพระจิตของ พระบุตรลงมาในดวงใจของเราพระจิตผู้ตรัสด้วยเสียงอันดังว่า “อับบาพ่อจ๋า” ดังนั้น ท่านจึงไม่เป็นทาสอีกต่อไปแต่เป็นบุตรถ้าเป็นบุตรก็ยอ่ มเป็นทายาทตามพระประสงค์ ของพระเจ้าในอดีตเมื่อยังไม่รู้จักพระเจ้าท่านทั้งหลายเป็นทาสรับใช้ของสิ่งที่ไม่มี ธรรมชาติเป็นพระเจ้าบัดนีท้ า่ นรูจ้ กั พระเจ้าแต่อนั ทีจ่ ริงพระเจ้าทรงรูจ้ กั ท่านแล้วทำ�ไม ท่านจึงหวนกลับไปหาจิตที่ไร้อำ�นาจและยากจนทำ�ไมท่านจึงต้องการเป็นทาสรับใช้ จิตเหล่านั้นเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่งเล่า (กท 4:4-9) - ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่าเวลาที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มาถึงแล้วบัดนี้ถึงเวลาที่ จะต้องตื่นขึ้นจากความหลับขณะนี้ความรอดพ้นอยู่ใกล้เรามากกว่าเมื่อเราเริ่มมี ความเชื่อกลางคืนล่วงไปมากแล้วกลางวันก็ใกล้จะมาถึงดังนั้นเราจงละทิ้งกิจการของ ความมืดมนเสียแล้วสวมเกราะของความสว่างเราจงดำ�เนินชีวิตอย่างมีเกียรติเหมือน กับเวลากลางวันมิใช่กินเลี้ยงเสพสุราเมามายมิใช่ปล่อยตัวเสพกามอย่างผิดศีลธรรม มิใช่วิวาทริษยาแต่จงดำ�เนินชีวิตโดยสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์อย่าทำ�ตาม ความต้องการของเนื้อหนัง (รม 13:11-14)

4

อธิบายพระวาจา - อาศัยพระเยซูเจ้าที่มาบังเกิดจากพระนางมารีย์ คริสตชนทุกคนได้รับพระจิต ในวันรับศีลล้างบาปแล้ว ทำ�ให้ได้รบั พระจิตเจ้าซึง่ ทำ�ให้เรากลายเป็น “บุตรบุญธรรม” ของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่เป็นทาสรับใช้ “จิตที่ไร้อำ�นาจและยากจน” (เทียบ กท 4:9) หรือ “สิ่งของที่ไม่มีธรรมชาติเป็นพระเจ้า” (เทียบ กท 4:8) อีกต่อไป - การเป็นทาสในลักษณะดังกล่าวในจดหมายถึงชาวโรมเรียกว่า “กิจการของ ความมืดมน” (เทียบ รม 13:12) เสมือนเป็นการหลับใหลในเวลากลางคืน (เทียบ รม 13:11-12) ซึง่ การกล่าวในลักษณะนีห้ มายถึง การเจริญชีวติ แบบบุตรของความมืดหรือ ปีศาจ อันเป็นการกระทำ�ของผู้ที่ทำ�แต่ความชั่วช้าตามความต้องการของเนื้อหนัง (เทียบ รม 13:14) ดังบุตรของปีศาจ - แต่สิ่งที่พระวาจานี้ต้องการเตือนเราก็คือ ในเมื่อเราเป็นบุตรแล้ว เราก็ต้อง เจริญชีวิตแบบผู้ที่เป็นทายาทตามพระประสงค์ของพระเจ้า มิใช่เยี่ยงทาสอีกต่อไป (เทียบ กท 4:7) ต้องตื่นจากความหลับใหล (เทียบ รม 13:11) ดำ�เนินชีวิตที่เยี่ยงกลาง วัน (เทียบ รม 13:13) ทีเ่ ต็มไปด้วยกิจการดี ด้วยการสวมเกราะแห่งความสว่าง (เทียบ รม 13:12) และสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์ (เทียบ รม 13:14) - บทสอนของพระวาจาสองตอนนี้จะเป็นแสงสว่างให้เราเข้าใจถึงจิตตารมณ์ของ เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า กล่าวโดยสรุปคือ การเจริญชีวิตเพื่อเตรียมการ บังเกิดของพระคริสตเจ้านั้นเรียกร้องการละทิ้งชีวิตแบบเก่าๆ ในความมืดของความประพฤติที่ไม่ดี การทำ�บาปต่างๆ เพื่อเจริญชีวิตเป็นคนใหม่ เป็นคนดีและชอบธรรม ในสายพระเนตรของพระเจ้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


65

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - การพยายามละทิ้งความไม่ดีในชีวิตเก่าคือการเจริญชีวิตเพื่อเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้า เพื่อจะเกิดในชีวิตใหม่พร้อมกับการบังเกิดของพระองค์

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าสำ�หรับเราต้องไม่ผ่านมาและผ่านไปแบบ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะพระเยซูเจ้าทรงมาบังเกิดเพื่อไถ่บาปของมนุษย์ ของเราแต่ละ คน แต่หากเราไม่เข้าใจในพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ ร่วมมื อกั บ พระองค์ ใ น การไถ่บาปของตนเอง แม้เราเองทีถ่ อื ว่าเป็นบุตรของพระเจ้านัน้ ก็อาจไม่ได้รบั พระคุณ อันยิ่งใหญ่แห่งการไถ่บาปก็ได้ นั่นก็คือ เราจะสูญเสียพระพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความรอดพ้นของวิญญาณของเรา

- เราแต่ละคนได้ผ่านเทศกาลนี้มานับครั้งไม่ถ้วนตามอายุของเรา แต่เราต้อง พิจารณาให้ดแี ละตอบคำ�ถามนีอ้ ย่างจริงใจว่า “ชีวติ ของฉันได้เปลีย่ นไปในทางทีด่ ขี นึ้ เพื่อเตรียมรับเสด็จการบังเกิดของพระเยซูเจ้ามากน้อยแค่ไหน?” - ดังนั้น หากเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดีขึ้นก็เท่ากับว่าเรายังเตรียมตัว ไม่ดีพอสำ�หรับต้อนรับการบังเกิดมาของพระเยซูเจ้าในใจของเรา - แม้ว่า ในขณะที่เราเรียนเรื่องนี้อยู่นั้นจะไม่ตรงกับเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ แต่ คำ�สอนที่เราได้จากการเรียนในครั้งนี้ต้องช่วยให้เราเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์แห่ง การเตรียมรับเสด็จฯ เป็นอย่างดีทุกๆ ครั้ง - เท่านั้นยังไม่เพียงพอ เพราะชีวิตในทุกๆ วันของเราก็เป็นการเตรียมรับเสด็จ การมาของพระเยซูเจ้าอยู่เสมอในทุกเวลานาที เพราะในทุกขณะของชีวิตของเรา พระเยซูเจ้าทรงเสด็จมาหาเราอยูต่ ลอดเวลา พระองค์ทรงต้องการเห็นเราเลือกทีจ่ ะทำ� ดีแทนที่จะทำ�บาป - ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนข้อตั้งใจของตนให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องการเตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพและนำ�ไปปฏิบัติจริงในชีวิต 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแต่ละคนเขียนข้อตั้งใจของตนให้สอดคล้องกับเรื่องการเตรียมรับเสด็จ พระคริสตสมภพและนำ�ไปปฏิบัติจริงในชีวิต

7

ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดบทภาวนานี้พร้อมกันอย่างตั้งใจ “ข้าแต่องค์พระกุมารเยซู ผู้ทรงน่ารักและอ่อนหวาน ขอสรรเสริญและถวายเกียรติแด่พระองค์ ที่โปรดประทับอยู่ท่ามกลางพวกลูกคนบาป ขอพระพรแห่งการบังเกิดของพระองค์ได้ปรับเปลี่ยนชีวิต และจิตใจของพวกลูกให้ละม้ายคล้ายพระองค์ เพื่อลูกทุกคนจะได้ดำ�เนินชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์และบริสุทธิ์ ในหนทางแห่งความรักและสันติสุขของพระองค์ตลอดไป อาแมน”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


66

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................

ใบงาน “Advent” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง

1. เราเรียกเทศกาลที่มาก่อนเทศกาลคริสต์มาสว่าเทศกาลอะไร? 2. ปกติเธอทำ�อะไรเป็นพิเศษในเทศกาลดังกล่าวนั้น (คำ�ตอบจากข้อ 1) บ้างไหม? (ขีดเครื่องหมาย /) ทำ�

ไม่ทำ�

3. ถ้าในข้อ 2 เธอตอบว่า “ทำ�” ให้ตอบว่า “เธอทำ�อะไรบ้าง?” 4. สิ่งที่เธอทำ�ในข้อ 3 มีผลต่อท่าทีด้านจิตใจของเธอบ้างไหม? อย่างไร? 5. เธอทราบไหมว่า พระศาสนจักรสอนให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างในเทศกาลดังกล่าว (คำ�ตอบจากข้อ 1)?


67

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลพระคริสตสมภพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลพระคริสตสมภพคือ ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง การบังเกิดของพระคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนโมทนาคุณพระเจ้าอย่างตั้งใจทุกครั้งหลังจากการรับศีลมหาสนิท สาระการเรียนรู้ เทศกาลพระคริสตสมภพเป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เป็นการระลึกถึง ธรรมล้ำ�ลึกแห่งการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระวจนาถต์ ผู้ทรงเป็นพระผู้ไถ่ที่จะมาปลดปล่อยมนุษย์ให้พ้นจากบาปและ ความตายนิรันดร ทุกครั้งที่เราเฉลิมฉลองคริสต์มาสต้องทำ�ให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นโดยเลียนแบบ พระเยซูเจ้าผู้ทรงมาเกิดเป็นมนุษย์ อาศัยการเจริญชีวิตด้วยความสุภาพ ความยากจน การเป็นประจักษ์พยานถึงพระเจ้า และ ด้วยการถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจของเรา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “Christmas” โดยพยายามให้ผู้เรียนตอบ ทุกข้อและตามความเป็นจริง - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอาสาสมัครประมาณ 4-5 คนมาแบ่ง ปันคำ�ตอบของตนให้เพื่อนๆ ฟัง โดยให้ผู้สอนสังเกตในภาพรวมของคำ�ตอบว่าผู้เรียน ส่วนใหญ่มคี วามรูค้ วามเข้าใจอย่างไรเกีย่ วกับเทศกาลพระคริสตสมภพและมีการปฏิบตั ิ ในเทศกาลนี้อย่างไรบ้างทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ? - เมื่อแบ่งปันเสร็จแล้ว ผู้สอนตั้งคำ�ถามให้ผู้เรียนช่วยกันตอบต่อไปว่า * พระศาสนจักรสอนว่า “เทศกาลพระคริสตสมภพ” หมายความว่าอะไร * เทศกาลนี้มีความสำ�คัญต่อเราแต่ละคนอย่างไร? * เพื่อให้เทศกาลนี้เกิดผลดีอย่างเต็มที่ เราต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง? ในด้าน วัตถุ? และด้านจิตใจ? - ขณะที่ผู้เรียนช่วยกันตอบคำ�ถามดังกล่าว ให้ผู้สอนเขียนสรุปคำ�ตอบของผู้เรียน ไว้ทบี่ อร์ดหน้าชัน้ ด้วยทัง้ ในด้านปริมาณและความถี่ เพือ่ จะได้ขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องของผูเ้ รียน เกี่ยวกับความรู้เรื่องเทศกาลพระคริสตสมภพ - จากคำ�ตอบของผู้เรียนรวมกัน ให้แต่ละคนถามตนเองว่า เมื่อถึงเทศกาลพระคริสตสมภพของทุกปี เราได้คิดถึงความหมายนี้และได้ปฏิบัติตนเช่นนี้จริงๆ หรือไม่? - ให้เรามาดูว่า พระวาจาของพระเจ้าให้แสงสว่างแก่เราในเรื่องนี้อย่างไร?

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “Christmas” ท้ายแผน


68

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3

พระวาจา : (ยน 1:10-14) พระวจนาตถ์ประทับอยู่ในโลกและโลกถูกสร้างโดยอาศัยพระองค์แต่โลกไม่รู้จัก พระองค์ พระองค์เสด็จมาสูบ่ ้านเมืองของพระองค์แต่ประชากรของพระองค์ไม่ยอมรับ พระองค์ ผู้ใดที่ยอมรับพระองค์คือผู้ที่เชื่อในพระนามของพระองค์ พระองค์ประทาน อำ�นาจให้ผู้นั้นกลายเป็นบุตรของพระเจ้า เขามิได้เกิดจากสายเลือด มิได้เกิดจาก ความปรารถนาตามธรรมชาติ มิได้เกิดจากความต้องการของมนุษย์แต่เกิดจากพระเจ้า พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ และเสด็จมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา เราได้เห็น พระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์ เป็นพระสิรริ งุ่ โรจน์ทที่ รงรับจากพระบิดาในฐานะพระบุตร เพียงพระองค์เดียวเปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง

4

อธิบายพระวาจา - น.ยอห์น เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นิพนธ์พระวรสารที่ได้รับการเปิดเผยเกี่ยวกับ ความจริงแห่งความรอดพ้นที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงนำ�มาให้แก่มนุษย์ แต่ในเรื่อง การรับเอากายของพระวจนาถต์ ท่านได้เล่าเรื่องนี้ในรูปแบบที่ต่างจากพระวรสารอีก สามเล่ม ดังที่เราได้เห็นจากพระวาจาที่ยกมานี้ - แต่สิ่งที่ผู้นิพนธ์พระวรสารทั้งสี่ยืนยันเหมือนกันก็คือ การมาบังเกิดในโลกของ พระวจนาถต์ พระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพ คือองค์พระเยซูเจ้า - พระวจนาถต์ได้เสด็จมาสู่บ้านเมืองของพระองค์ มาสู่โลกแต่โลกกลับไม่รู้จัก พระองค์ ไม่ยอมรับพระองค์ บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ไม่ยอมเชื่อในพระนามของพระองค์ คือพวกที่เกิดจากความปรารถนาตามธรรมชาติ - แต่บรรดาผูท้ เี่ ชือ่ ในพระองค์คอื ผูท้ พี่ ระองค์ประทานอำ�นาจให้กลายเป็นบุตรของ พระเจ้านั้น พวกเขาคือผู้ที่เกิดจากพระเจ้า และไม่ใช่เกิดจากความต้องการของมนุษย์ - น.ยอห์นได้ยืนยันว่า พระวจนาถต์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาอยู่ ท่ามกลางเรา เราได้เห็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ นี่คือการยืนยันอีกครั้งว่า พระเยซูเจ้า พระบุตรองค์เดียวของพระบิดาเจ้าได้ทรงบังเกิดมาเป็นมนุษย์จริงๆ พระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระหรรษทานและความจริง - คำ�สอนของ น.ยอห์นนี้ต้องเตือนใจเราให้ยอมรับความจริงเรื่องการบังเกิดมา ของพระเยซูเจ้าอย่างจริงใจ และเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับความเชื่อนี้

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หลายๆ คนคงจะยืนยันว่า เรายอมรับความจริงเรื่องการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เสมอ ไม่เคยปฏิเสธความจริงเรือ่ งนีเ้ ลย เราฉลองการบังเกิดของพระองค์ทกุ ปี เราไป เข้าวัดร่วมมิสซาในคืนวันที่ 24 ธันวาคมของทุกปี เรายังได้แก้บาปรับศีลอย่างศรัทธา อีกด้วย - นี่คือสิ่งที่คริสตชนทุกคนทำ�กันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ให้เราถามตัวเองอย่างลึกซึ้ง ขึ้นอีกสักเล็กน้อยว่า ทุกสิ่งดังกล่าวที่เราได้ทำ�นั้นได้ช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้น? มีความ สนิทสัมพันธ์กับพระมากขึ้น? มีการรักเพื่อนพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น? มีการ เสียสละเพือ่ ผูอ้ นื่ มากขึน้ ? มีการประกาศถึงพระเจ้าและความรักของพระองค์ให้แก่คน รอบข้างมากขึ้น? ใช่หรือไม่?...

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


69

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ถ้าหากชีวิตของเราเป็นดังเช่นที่กล่าวมานี้ก็แสดงว่า เราได้เฉลิมฉลองคริสต์มาส อย่างดีจริงๆ แบบผู้ที่ยอมรับและเชื่อในพระองค์ แบบผู้ที่เกิดจากพระเจ้าแต่ไม่ใช่เกิด จากความต้องการของมนุษย์ - แต่ถ้าไม่ใช่เช่นนี้แล้ว ก็แปลว่า เราแต่ละคนยังต้องพัฒนาตนเองให้ทวีความเชื่อ ในการบังเกิดของพระองค์ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับจิตใจและการปฏิบัติ และเราจะ ทำ�ให้สิ่งนี้เป็นจริงได้อย่างไร? - คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกข้อ 525-526 ได้แนะนำ�สิ่งที่บรรดาคริสตชนพึง เข้าใจและปฏิบัติ โดยกล่าวว่า พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดในถ้ำ�เลี้ยงสัตว์ต่ำ�ต้อย ในครอบครัวที่ยากจน (เทียบ ลก 2:6-7) คนเลี้ยงแกะธรรมดาๆ คือประจักษ์พยานกลุ่มแรกของเหตุการณ์ครั้งนั้น ใน ความยากจนนั้นเอง ซึ่งสิริโรจนาแห่งสวรรค์ได้ปรากฏให้เห็น (เทียบ ลก 2:8-20) พระศาสนจักรไม่เคยอ่อนล้าที่จะขับเพลงสรรเสริญสิริโรจนาแห่งราตรีนั้น... “กลายเป็นเด็ก” ในส่วนที่เกี่ยวกับพระเจ้า คือเงื่อนไขเพื่อเข้าในพระอาณาจักร (เทียบ มธ 18:3-4) ในการนี้จักต้องถ่อมตนเองกลายเป็นผู้น้อย ยิ่งกว่านั้น ยังต้อง “เกิดเสียใหม่” (ยน 3:7) “เกิดจากพระเป็นเจ้า” (ยน 1:13) เพือ่ “เป็นบุตรของพระเจ้า” (ยน 1:12) ธรรมล้ำ�ลึกแห่งพระคริสตสมภพสำ�เร็จไปในตัวเรา เมื่อพระคริสตเจ้า “จะ ปรากฏ” ขึ้นในเรา (เทียบ กท 4:19) พระคริสตสมภพคือธรรมล้ำ�ลึกแห่ง “การแลก เปลี่ยนอันน่าชื่นชม” นั้น (เทียบ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกข้อ 525-526) - ดังนั้น จากบทสอนเรื่องการบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า สิ่งที่เราคริสตชน ควรปฏิบัติคือ 1. เจริญชีวิตอย่างสุภาพ ไม่โอ้อวด เย่อหยิ่งจองหอง แต่ทำ�ตัวให้ “กลายเป็น เด็ก” อีกครั้งหนึ่ง คือมีใจบริสุทธิ์ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมซับซ้อน เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีจิตใจ และชีวิตที่โปร่งใส เจริญชีวิตอยู่ต่อหน้าพระเสมอ 2. เจริญชีวิตด้วยจิตตารมณ์ความยากจน ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอนในเรื่อง “ความสุขแท้ 8 ประการ” (มธ 5:1-10) 3. เจริญชีวิตด้วยการเป็นประจักษ์พยานถึงพระเจ้าในทุกเวลา เสมือนหนึ่งว่า คนที่เห็นเราเท่ากับเขาเห็นองค์พระเยซูคริสตเจ้าเอง 4. เจริญชีวิตด้วยการถวายเกียรติแด่พระเจ้าในทุกกิจการที่เราทำ� ดังนั้น ไม่ ว่าจะเราจะทำ�อะไรต้องไม่ท�ำ เพือ่ ตัวเอง แต่ท�ำ เพือ่ พระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเจ้า เพือ่ ช่วย วิญญาณคนบาปทั้งมวล และเพื่อร่วมการไถ่บาปกับพระเยซูคริสตเจ้า - เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งการรับเอากายของพระเยซูเจ้าดังนี้แล้ว เรา ต้องไม่นิ่งเฉยดำ�เนินชีวิตแบบเดิมๆ เช่นเดียวกับคนที่ไม่รู้ดีรู้ชั่ว ไม่รู้ร้อนรู้หนาวใน เรื่องของความดีความชั่ว แต่เราต้องเอาบทสอนที่ได้จากคำ�สอนนี้มาปฏิบัติเพื่อการกลับใจและเปลีย่ นแปลงชีวติ เพือ่ เราจะได้ด�ำ เนินชีวติ ให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของ พระเจ้ายิ่งวันยิ่งมากขึ้น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


70

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ทุกๆ ครั้งที่เราไปรับศีลมหาสนิทก็เป็นดังการรับพระเยซูเจ้าให้เข้ามาบังเกิดใน จิตใจของเรา ดังนัน้ เราจึงควรตัง้ ใจทีจ่ ะไปรับศีลมหาสนิททุกครัง้ ด้วยการเตรียมตัวเป็น อย่างดีและปฏิบัติตนหลังการรับศีลมหาสนิทด้วยการกลับใจจริง

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนโมทนาคุณพระเจ้าอย่างตั้งใจทุกครั้งหลังจากการรับศีลมหาสนิท 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดบทภาวนาพร้อมกันอย่างตั้งใจ

“ข้าแต่พระเจ้า พระองค์โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความชื่นชมยินดี ในการรับเสด็จพระบุตรแต่พระองค์เดียวของพระองค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์ พวกลูกซาบซึ้งในพระทัยอันดียิ่งของพระองค์ และขอโมทนาคุณพระองค์ในความรักอันหาขอบเขตมิได้ ที่ทรงมีต่อพวกลูกทุกคน ข้าแต่องค์พระกุมารเยซู พวกลูกขอถวายครอบครัวของลูกแด่พระองค์ ขอพระองค์โปรดคุ้มครองและอวยพระพรครอบครัวของลูก ให้มีความสุขและความชื่นชมยินดี ให้มีความรัก เอื้ออาทร และห่วงใยซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ด้วยเถิด อาแมน” 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


71

ใบงาน “Christmas” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง

1. เทศกาลคริสต์มาสมีชื่อตามปีพิธีกรรมว่าอะไร? 2. ปกติเธอทำ�อะไรเป็นพิเศษในเทศกาลคริสต์มาสบ้างไหม? (ขีดเครื่องหมาย /) ทำ�

ไม่ทำ�

3. ถ้าในข้อ 2 เธอตอบว่า “ทำ�” ให้ตอบว่า “เธอทำ�อะไรบ้าง?” 4. สิ่งที่เธอทำ�ในข้อ 3 มีผลต่อท่าทีด้านจิตใจของเธอบ้างไหม? อย่างไร? 5. เธอทราบไหมว่า พระศาสนจักรสอนให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างในเทศกาลคริสต์มาส?


72

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลมหาพรต

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลมหาพรตคือ ช่วงเวลาแห่งการกลับใจใช้โทษบาป เป็นการร่วมใน “การตาย” กับพระเยซูคริสตเจ้า เพื่อจะได้บังเกิดใน “ชีวิตใหม่” กับ พระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติการ ลด ละ เลิก บางสิ่งบางอย่างเพื่อฝึกตนในการ “ตายต่อ ตนเอง” สาระการเรียนรู ้ เทศกาลมหาพรตคือเทศกาลแห่งการกลับใจและใช้โทษบาป พระเยซูเจ้าทรงเน้นให้ปฏิบัติกิจใช้โทษบาป ใน 3 มิติคือ การให้ทาน การอธิษฐานภาวนา และการจำ�ศีลอดอาหาร ซึ่งการปฏิบัติกิจเหล่านี้อย่างเต็มกำ�ลังความสามารถ จะเท่ากับเป็นการยอมตายต่อตนเอง เป็นการตายพร้อมกับพระเยซูเจ้าบนกางเขน และเมื่อใครได้ตายแล้วก็จะสามารถอยู่ใน โอกาสที่จะเกิดในชีวิตใหม่พร้อมกับพระองค์ในวันปัสกาที่พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพด้วยเช่นกัน ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “Lent” โดยตอบคำ�ถามอย่างจริงใจและ ตั้งใจ - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอาสาสมัครบางคนแบ่งปันคำ�ตอบของตนให้ เพือ่ นๆ ทุกคนฟัง โดยขณะทีผ่ เู้ รียนแบ่งปันนัน้ ให้ผสู้ อนบันทึกคำ�ตอบต่างๆ ไว้ทบี่ อร์ด หน้าชั้นด้วย - เมื่ออาสาสมัครแบ่งปันเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอื่นๆ ที่ตอบไม่เหมือนเพื่อนๆ บอก คำ�ตอบของตนเพื่อผู้สอนจะได้บันทึกเพิ่มเติมต่อไป ส่วนคำ�ตอบที่เหมือนกันก็ใส่เป็น ความถี่ไว้เพื่อจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับความรู้เรื่องเทศกาลมหาพรตของผู้เรียน - เมื่อได้ภาพรวมของคำ�ตอบเกี่ยวกับเทศกาลมหาพรตแล้ว ให้ผู้เรียนช่วยกัน วิเคราะห์วา่ คำ�ตอบเหล่านัน้ ถูกต้องหรือไม่มากน้อยเพียงใด? และคำ�ตอบใดน่าจะเป็น คำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุด - ให้เรามาดูกันว่า พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราเข้าใจเกี่ยวกับจิตตารมณ์ มหาพรตอย่างไรบ้าง? โดยดูจากพระวรสารโดยนักบุญยอห์น และ นักบุญมัทธิว 3 พระวาจา - ชายคนหนึ่งจากกลุ่มชาวฟาริสีชื่อ นิโคเดมัส เป็นหัวหน้าคนหนึ่งของชาวยิว

ดูใบงาน “Lent” ท้ายแผน


73

ที่

4

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เขามาเฝ้าพระเยซูเจ้าตอนกลางคืน ทูลว่า “รับบี พวกเรารู้ว่า ท่านเป็นอาจารย์ที่มา จากพระเจ้า เพราะไม่มใี ครทำ�เครือ่ งหมายอัศจรรย์อย่างทีท่ า่ นทำ�ได้ นอกจากพระเจ้า จะสถิตกับเขา” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่าไม่มีใครเห็น พระอาณาจักรของพระเจ้า ถ้าเขาไม่ได้เกิดใหม่” นิโคเดมัสทูลถามว่า “คนชราแล้วจะ เกิดใหม่ได้อย่างไรกัน เขาจะเข้าไปในครรภ์มารดาอีกครั้งหนึ่ง แล้วเกิดใหม่ได้หรือ” พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านว่าไม่มีใครเข้าสู่พระอาณาจักรของ พระเจ้า ถ้าเขาไม่เกิดจากน้�ำ และพระจิตเจ้า สิง่ ใดทีเ่ กิดจากเนือ้ หนังย่อมเป็นเนือ้ หนัง สิ่งใดที่เกิดจากพระจิตเจ้า ย่อมเป็นจิต อย่าประหลาดใจถ้าเราบอกท่านว่า ท่านทั้ง หลายจำ�เป็นต้องเกิดใหม่จากเบือ้ งบน ลมย่อมพัดไปในทีล่ มต้องการ ท่านได้ยนิ เสียง ลมพัดแต่ไม่รวู้ า่ ลมพัดมาจากไหน และจะพัดไปไหนทุกคนทีเ่ กิดจากพระจิตเจ้าก็เป็น เช่นนี้” (ยน 3:1-8) - การให้ทาน : จงระวัง อย่าปฏิบัติศาสนกิจของท่านต่อหน้ามนุษย์เพื่ออวด คนอื่น... เมื่อท่านให้ทาน จงอย่าเป่าแตรข้างหน้าท่านเหมือนที่บรรดาคนหน้าซื่อใจ คด มักทำ�ในศาลาธรรมและตามถนนเพื่อจะได้รับคำ�สรรเสริญจากมนุษย์... อย่าให้ มือซ้ายของท่านรูว้ า่ มือขวากำ�ลังทำ�สิง่ ใด เพือ่ ทานของท่านจะได้เป็นทานทีไ่ ม่เปิดเผย แล้วพระบิดาของท่านผูท้ รงหยัง่ รูท้ กุ สิง่ จะประทานบำ�เหน็จให้ทา่ น (เทียบ มธ 6:1-4) - การอธิษฐานภาวนา : เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา จงอย่าเป็นเหมือนบรรดา คนหน้าซื่อใจคด เขาชอบยืนอธิษฐานภาวนาในศาลาธรรม และตามมุมลานเพื่อให้ ใครๆ เห็น... สำ�หรับท่านจงเข้าไปในห้องส่วนตัว ปิดประตู อธิษฐานต่อพระบิดาของ ท่านผู้สถิตอยู่ทั่วทุกแห่ง แล้วพระบิดาของท่านผู้ทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งจะประทานบำ�เหน็จ ให้ท่าน (เทียบ มธ 6:5-6) - การจำ�ศีลอดอาหาร : เมื่อท่านทั้งหลายจำ�ศีลอดอาหาร จงอย่าทำ�หน้าเศร้า หมองเพื่อแสดงให้ผู้คนรู้ว่าเขากำ�ลังจำ�ศีลอดอาหาร... จงล้างหน้า ใช้น้ำ�มันหอมใส่ ศีรษะ เพื่อไม่แสดงให้ผู้คนรู้ว่าท่านกำ�ลังจำ�ศีลอดอาหาร แต่ให้พระบิดาของท่าน ผู้สถิตอยู่ทั่วทุกแห่งทรงทราบ และพระบิดาของท่านผู้ทรงหยั่งรู้ทุกสิ่ง ก็จะประทาน บำ�เหน็จให้ท่าน (เทียบ มธ 6:16-18) อธิบายพระวาจา - พระเยซู เจ้ า ทรงยื น ยั น หลายครั้ ง กั บ นิ โ คเดมั ส ว่ า ไม่ มี ใ ครสามารถเห็ น พระอาณาจักรของพระเจ้าได้ ถ้าเขามิได้เกิดใหม่ แต่นิโคเดมัสไม่เข้าใจว่า “เกิดใหม่” แปลว่าอย่างไร? พระเยซูเจ้าจึงทรงอธิบายว่า “สิ่งใดที่เกิดจากเนื้อหนังย่อมเป็นเนื้อ หนัง สิ่งใดที่เกิดจากพระจิตเจ้าย่อมเป็นจิต” นั่นย่อมหมายความว่าการเกิดใหม่คือ การเกิดจากน้ำ�และพระจิตเจ้า ไม่ใช่เกิดจากเนื้อหนัง - นี่คือความหมายของจิตตารมณ์มหาพรตซึ่งพระเยซูเจ้าทรงต้องการสอนเราว่า ในเทศกาลมหาพรตนั้น เราต้อง “เกิดใหม่” ซึ่งการเกิดใหม่นี้มิใช่การเข้าไปในครรภ์ มารดาอีกครั้งหนึ่งแล้วเกิดใหม่อย่างที่นิโคเดมัสทูลถาม - มหาพรตต้องทำ�ให้เราตายต่อตนเองแล้วเกิดใหม่ ซึ่งก็คือตายต่อเนื้อหนังและ เกิดใหม่ในพระจิตเจ้า เกิดใหม่พร้อมกับพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงสิ้นพระชนม์และกลับ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


74

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ คืนชีพ - พระศาสนจักรได้เข้าใจในคำ�สอนของพระเยซูเจ้าจึงได้เน้น 3 มิติของการเจริญ ชีวติ ในเทศกาลมหาพรต คือ การให้ทาน การอธิษฐานภาวนา และการจำ�ศีลอดอาหาร เป็น 3 มิตขิ องการลด ละ เลิก เพือ่ อุทศิ ตนช่วยเหลือผูอ้ นื่ ผูใ้ ดทีป่ ฏิบตั ติ นตามคำ�สอน ของพระเยซูเจ้าก็เท่ากับเขาได้ตายต่อเนือ้ หนังของตนเอง เพือ่ เกิดใหม่พร้อมกับพระคริสตเจ้าในวันปัสกา - การให้ทาน – เรียกร้องการเสียสละสิ่งของที่เรามีไม่ว่าจะเป็นเงินหรือสิ่งของ เป็นการประหยัดหรือลดบางสิ่งที่เรามีเพื่อนำ�สิ่งนั้นไปช่วยเหลือผู้อื่น นำ�ความสุข ความยินดีแก่ผู้อื่น โดยคิดว่า สิ่งเล็กน้อยที่สุดที่เรากระทำ�แก่ผู้อื่น ก็เท่ากับเรากระทำ� ต่อพระเยซูเจ้าเอง นีจ่ งึ เป็นมิตแิ นวนอนซึง่ ก็คอื การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับเพือ่ น พี่น้อง เฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่ขัดสนและต้องการความช่วยเหลือ มิใช่ทำ�ทานเพื่ออวด คนอื่นหรือเพื่อได้หน้าได้ตา - การอธิษฐานภาวนา – นี่เป็นมิติแนวตั้ง ซึ่งก็คือการติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้า ในเทศกาลมหาพรตเราควรสวดภาวนามากกว่าปกติ แต่มิใช่เพื่ออวดอ้างว่าเราเป็น คนศักดิ์สิทธิ์ที่สวดภาวนามากมาย การทำ�เช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย เพราะเป็น การทำ�เอาหน้า แต่พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราอธิษฐานภาวนาในห้องส่วนตัว ไม่ จำ�เป็นต้องให้ใครๆ เห็น เพราะการภาวนาที่แท้จริงนั้นเรียกร้องจิตใจที่สงบ แล้ว พระเจ้าจะทรงเห็นทุกครั้งที่เราภาวนา

5

- การจำ�ศีล – การจำ�ศีลนั้นมีความหมายสองทางคือ จำ�ศีลฝ่ายร่างกายและฝ่าย จิตใจ ฝ่ายร่างกายย่อมหมายถึงการอดอาหาร ส่วนฝ่ายจิตใจนั้นหมายถึงการอด ลด ละ เลิก การปฏิบัติต่างๆ ของเราที่เป็นไปตามราคะตัณหา และความอยากต่างๆ ซึ่ง เป็นการทำ�ให้เกิดบาป อันจะเกิดผลกระทบเชิงลบทั้งต่อตนเองและต่อเพื่อนพี่น้อง การงดอาหารฝ่ายกายจะสามารถทำ�ให้เรามีพลังในการลดอาหารฝ่ายจิตได้ด้วย แต่ หากเราไม่ยอมลดอาหารฝ่ายกายใดๆ เลย จิตใจของเราก็จะไม่เข้มแข็งพอที่จะลด การทำ�บาปฝ่ายจิตด้วยเช่นกัน ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนเรื่องเทศกาลมหาพรตมาหลาย ครัง้ แล้ว แต่ในครัง้ นีเ้ ป็นการสรุปความหมายของเทศกาลนีเ้ พือ่ ให้สามารถเข้าใจภาพ รวมได้คอ่ นข้างง่าย เพือ่ ว่าหากในอนาคต ผูเ้ รียนคนใดทีอ่ าจไม่มโี อกาสเรียนคำ�สอน เรือ่ งนีอ้ กี จะได้เข้าใจความหมายของเทศกาลนีอ้ ย่างถูกต้อง จะได้สามารถดำ�เนินชีวติ ในการเตรียมตัวเข้าสู่เทศกาลปัสกาได้อย่างเกิดผล - ภาพเปรียบเทียบหนึ่งที่จะช่วยเราให้เข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างดีคือ กระบวนการ ตายแล้วเกิดใหม่ของเมล็ดพันธุ์พืช เช่น เมล็ดข้าว เมื่อชาวนาหว่านข้าวลงในนาแล้ว หากเมล็ดข้าวนั้นไม่ถูกฝังลงในดิน ไม่เน่าเปื่อยไป มันก็จะตายไป ไม่สามารถทำ�ให้ เกิดต้นกล้าใหม่ขึ้นมาได้ แต่ตรงข้าม หากเมล็ดข้าวนั้นยอมเน่าเปื่อย ยอมตาย เมล็ด ข้าวนั้นจะไม่ตาย แต่จะกลายเป็นต้นกล้าใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นต้นข้าวที่โตขึ้นเรื่อยๆ จนที่สุดจากข้าวเพียงเม็ดเดียว มันก็จะออกดอกออกเมล็ดข้าวอีกมากมายนับไม่ถ้วน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


75

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ภาพของการเตรียมจิตใจในเทศกาลมหาพรตก็เช่นกัน เราแต่ละคนต้องตายต่อ ตนเองดังเมล็ดข้าวนั้น เหมือนกับที่พระเยซูเจ้าทรงตรัสกับนิโคเดมัส การตายนี้จึง จำ�เป็นอย่างยิง่ สำ�หรับการเกิดสูช่ วี ติ ใหม่เพือ่ จะกลับเป็นขึน้ มาพร้อมกับพระเยซูเจ้าใน วันปัสกา - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนถึงข้อปฏิบัติ 3 ประการ คือ การให้ทาน การอธิษฐานภาวนา และการจำ�ศีลอดอาหาร ว่า ผู้เรียนเคยทำ�สิ่งเหล่านี้ด้วยจิตตารมณ์ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอนมากน้อยเพียงใด? การได้ปฏิบตั ติ ามคำ�สอนของพระเยซูเจ้านัน้ ยากลำ�บากเพียงใด? แต่จะบันดาลให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติมากเพียงใด? - ให้ผู้เรียนเลือกข้อตั้งใจที่จะ ลด ละ เลิก บางสิ่ง อย่างน้อยสัก 1 อย่าง เพื่อเป็น ข้อปฏิบัติ 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติการลด ละ เลิก บางสิ่งบางอย่างเพื่อฝึกตนในการ “ตายต่อ ตนเอง”

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสวดบทภาวนานี้อย่างช้าๆ พร้อมกัน “ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงเมตตาสงสาร ลูกมาหาพระเมตตาของพระองค์ ผู้ทรงคุณ ความดีแต่ผเู้ ดียว แม้ลกู จะมีบาปหนักและความผิดมากมาย แต่ลกู วางใจในพระเมตตา ของพระองค์ ข้าแต่พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่พักพิง ทรงเป็นสันติสุขและองค์แห่ง ความรอดพ้น ทรงเป็นแสงสว่างส่องทางชีวิตของลูก ทรงรู้จักความอ่อนแอของลูก ขอ พระองค์ทรงสอนลูกให้รู้จักตายต่อตนเอง เพื่อจะได้ตายและกลับคืนชีพพร้อมกับ พระองค์ในวันสุดท้ายด้วยเทอญ อาแมน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................


76

ใบงาน “Lent” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง

1. เราเรียกเทศกาลที่มาก่อนเทศกาลปัสกาว่าเทศกาลอะไร? 2. ปกติเธอทำ�อะไรเป็นพิเศษในเทศกาลดังกล่าวนั้น (คำ�ตอบจากข้อ 1) บ้างไหม? (ขีดเครื่องหมาย /) ทำ�

ไม่ทำ�

3. ถ้าในข้อ 2 เธอตอบว่า “ทำ�” ให้ตอบว่า “เธอทำ�อะไรบ้าง?” 4. สิ่งที่เธอทำ�ในข้อ 3 มีผลต่อท่าทีด้านจิตใจของเธอบ้างไหม? อย่างไร? 5. เธอทราบไหมว่า พระศาสนจักรสอนให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างในเทศกาลดังกล่าว (คำ�ตอบจากข้อ 1)?


77

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลปัสกา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลปัสกาคือ ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองการทรมาน สิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอ โดยไปให้ทันทุกครั้ง แก้ บาปและรับศีลมหาสนิทเป็นประจำ� ตั้งใจฟังพระวาจาและไตร่ตรองถึงทุก บทภาวนาเป็นอย่างดี สาระการเรียนรู ้ เทศกาลปัสกาเป็นช่วงเวลาแห่งการระลึกถึงการทรมาน สิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าที่ คริสตชนแต่ละคนต้องเตือนตนอยูเ่ สมอว่า ธรรมล้�ำ ลึกนีม้ คี วามพิเศษและมีความหมายต่อเรามากเสียจนเราไม่สามารถจะเจริญ ชีวิตอยู่ได้โดยขาดซึ่ง การทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า เพราะความรอดพ้นของเรา มนุษย์ขนึ้ โดยตรงกับธรรมล้�ำ ลึกปัสกานี้ เราสามารถไตร่ตรองถึงความหมายของปัสกาและการเจริญชีวติ แห่งธรรมล้�ำ ลึกปัสกา ได้ทุกครั้งที่เราไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “Easter 1” โดยให้แต่ละคนพยายามทำ�อย่างตั้งใจ และจริงใจ - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอาสาสมัครบางคนมาแบ่งปันคำ�ตอบของ ตนเองให้ผู้เรียนทุกคนฟัง จากนั้นจึงให้ผู้เรียนอื่นๆ เสริมเติมคำ�ตอบของตน เพื่อให้ ได้ ภ าพรวมของคำ � ตอบที่ ส มบู ร ณ์ ข องผู้ เรี ย นก่ อ นที่ จ ะเริ่ ม เรี ย นเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ เทศกาลปัสกา - เราอาจได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องของปัสกามาหลายครั้งแล้ว แต่ในฐานะที่เป็น คริสตชนมานาน เราควรถามตัวเองว่า “ฉันได้เข้าใจถึงความหมายแท้ของปัสกาหรือ ยัง?... ฉันได้เจริญชีวติ อย่างสอดคล้องกับความหมายของปัสกาจริงๆ ในชีวติ หรือไม่?... ฉันจะปฏิบตั ติ นอย่างไรเพือ่ จะมีสว่ นร่วมในธรรมล้�ำ ลึกแห่งปัสกาอย่างจริงจัง?...” โดย ให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันตอบคำ�ถามเหล่านี้ - การตอบคำ�ถามเหล่านีจ้ ะเป็นการจุดประกายในตัวผูเ้ รียนให้คดิ ถึงความหมาย อันลึกซึ้งของปัสกา ให้หลุดพ้นจากท่าทีเดิมๆ ซึ่งอาจเป็นท่าทีที่ผิวเผินต่อธรรมล้ำ�ลึก ซึ่งมีความสำ�คัญมากที่สุดต่อชีวิตของเราแต่ละคน

ดูใบงาน “Easter 1” ท้ายแผน


78

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ให้เรามาดูพระวาจาที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาได้อย่างดีและลึกซึ้ง มากขึ้น จาก................................?

3

พระวาจา - เมื่อมาถึงสถานที่ที่เรียกว่าเนินหัวกะโหลก บรรดาทหารตรึงพระองค์ที่นั่นพร้อม กับผู้ร้ายสองคน คนหนึ่งอยู่ข้างขวาและอีกคนหนึ่งอยู่ข้างซ้าย พระเยซูเจ้าตรัสว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ�อะไร’ ทหาร นำ�เสื้อผ้าของพระองค์ไปจับสลากแบ่งกัน (ลก 23:33-34) - ขณะนั้น เป็นเวลาประมาณเที่ยงวัน ทั่วแผ่นดินมืดไปจนถึงเวลาบ่ายสามโมง เพราะดวงอาทิตย์มืดลง ม่านในพระวิหารฉีกขาดตรงกลาง พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียง ดังว่า ‘พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์’ เมือ่ ตรัส ดังนี้แล้ว ก็สิ้นพระชนม์ (ลก 23:44-46) - ขณะที่บรรดาศิษย์สนทนากันอยู่นั้น พระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ในหมู่เขา ตรัสว่า ‘สันติสขุ จงดำ�รงอยูก่ บั ท่านทัง้ หลายเถิด’ เขาต่างตกใจกลัว คิดว่าได้เห็นผี แต่พระองค์ ตรัสว่า ‘ท่านวุ่นวายใจทำ�ไม เพราะเหตุใดท่านจึงมีความสงสัยในใจ จงดูมือและเท้า ของเราซิ เป็นเราเองจริงๆ จงคลำ�ตัวเราดูเถิด ผีไม่มีเนื้อ ไม่มีกระดูกอย่างที่ท่านเห็น ว่าเรามี’ ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ทรงให้เขาดูพระหัตถ์และพระบาท เขายินดีและแปลก ใจจนไม่น่าเชื่อ พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “ท่านมีอะไรกินบ้าง” เขาถวายปลาย่างชิ้น หนึ่งแด่พระองค์ พระองค์ทรงรับมาเสวยต่อหน้าเขา (ลก 24:36-43)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งสามตอนนี้เล่าถึงเรื่องการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า ซึง่ เราคงทราบดีจากพระวรสารเช่นกันว่า ก่อนทีพ่ ระเยซูเจ้าจะสิน้ พระชนม์นนั้ พระองค์ทรงต้องรับทนทรมานมากมายเพียงใด ถ้าหากจะนำ�มาลงไว้ ณ ที่นี้คงจะใช้ พื้นที่มาก แต่ผู้สอนสามารถอ้างอิงหรือให้ผู้เรียนอ่านได้จาก ลก 22:39-23:43 - เรื่องพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าก็เป็นส่วนหนึ่งในธรรมล้ำ�ลึกปัสกาของ พระเยซูเจ้า เพราะการไถ่บาปของพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่ได้มาไม่ใช่ด้วยความสะดวก สบายอย่างง่ายๆ แต่ตรงข้าม ก่อนทีพ่ ระองค์ตอ้ งสิน้ พระชนม์นนั้ พระองค์ทรงต้องรับ ความทุกข์ทรมานยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ เลย - พระเยซูเจ้าทรงถูกนำ�ไปประหารชีวิตดังผู้ร้ายกับผู้ร้ายอีกสองคน แม้กิจการดี ที่สุดที่พระองค์ทรงกระทำ�เป็นครั้งสุดท้าย ก็ยังถูกทำ�ให้โลกมองพระองค์ในทางที่เลว ร้าย เพราะแน่นอนว่าในสายตาชาวโลกแล้วไม่มีคนดีที่ไหนจะต้องถูกประหารชีวิต แบบนั้น - แต่วินาทีสุดท้ายก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ได้ทรงแสดงถึงความยิ่งใหญ่แห่ง ความรักในจิตใจของพระองค์ เป็นความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ เพราะพระองค์ทรง มาในโลกนีเ้ พือ่ สละชีวติ แทนมวลมนุษย์ แม้มนุษย์จะได้ท�ำ ให้พระองค์ทรงเจ็บปวดทัง้ กายและใจมากเพียงใด แต่พระองค์ก็ยังได้ตรัสประโยคนี้ว่า “พระบิดาเจ้าข้า โปรด อภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำ�ลังทำ�อะไร” (ลก 23:34)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


79

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- น.ลูกาได้เล่าถึงเหตุการณ์ขณะที่พระเยซูเจ้ากำ�ลังสิ้นพระชนม์ว่า ดวงอาทิตย์ มืดมนไปทัว่ แผ่นดินตัง้ แต่เทีย่ งจนถึงบ่ายสามโมง ม่านในพระวิหารฉีกขาดกลางตัง้ แต่ บนถึงล่าง ก่อนจะสิน้ พระชนม์พระเยซูเจ้าได้ตรัสประโยคสุดท้ายนีว้ า่ “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้ามอบจิตใจของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” (ลก 23:46) น.ลูกาได้เล่า ถึงเหตุการณ์ที่แปลกแบบนี้เพราะต้องการยืนยันให้ผู้อ่านเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรง เป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญแบบคนบาปทั้งหลาย แต่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์แบบ พระบุตรของพระเจ้า ผู้ทรงมาในโลกเพื่อกระทำ�พระภารกิจอันสำ�คัญที่สุดสำ�หรับ มนุษย์ทุกคน - ทีส่ ดุ หลังจากสิน้ พระชนม์ไปแล้วสามวัน พระเยซูเจ้าได้กลับคืนชีพดังทีพ่ ระองค์ ได้ตรัสไว้จริงๆ น.ลูกาได้เล่าอีกเหตุการณ์หนึง่ เพือ่ ยืนยันถึงเรือ่ งนีค้ อื พระองค์ได้ทรง ปรากฏมาอยูท่ า่ มกลางบรรดาศิษย์ จนพวกเขาตกใจอย่างมากคิดว่าเป็นผี เพราะไม่มี มนุษย์คนใดที่ตายแล้วยังกลับมาหาพวกเขาได้ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพวกเขา ต้องการบทพิสูจน์เพื่อยืนยันถึงการกลับคืนชีพของพระองค์ โดยให้พวกเขาดูและจับ ต้องรอยแผลที่มือ เท้า และสีข้างของพระองค์ ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังได้เสวยปลาย่าง ให้พวกเขาได้หายข้องใจอีกด้วย - เหตุการณ์เหล่านี้ยืนยันและทำ�ให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า การไถ่บาปซึ่งมาจาก ธรรมล้�ำ ลึกปัสกาของพระเยซูเจ้านัน้ ได้กระทำ�สำ�เร็จไปด้วยชีวติ และความรักอันยิง่ ใหญ่ ของพระบิดาเจ้าและพระเยซูเจ้าต่อมนุษย์ 5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในชีวิตประจำ�วันของเราซึ่งประกอบด้วยกิจการที่ต้องทำ�มากมาย ให้เราถาม ตัวเองว่า ขณะที่เราทำ�กิจการเหล่านั้นเราเคยคิดถึงพระ... คิดถึงบุคคลที่ทรงทำ�สิ่ง ต่างๆ มากมายเพื่อเราบ้างไหม?... เคยคิดถึงผู้ที่ทรงได้สละชีวิตของพระองค์เพราะ ทรงรักเราอย่างมากมายบ้างไหม?... หรือว่าในความเป็นจริงแล้ว เราไม่เคยคิดถึง พระองค์เลย?... ไม่เคยพูดถึงพระองค์เลย?... สรุปก็คือ เราทำ�เหมือนกับว่าพระองค์ ไม่เคยมีตัวตนเลยใช่หรือไม่?...

- การปฏิบัติศาสนกิจของเราแต่ละครั้งก็อาจทำ�เพราะเป็นหน้าที่?... เป็นความเคยชิน?... หรือทำ�เพื่ออีกหลายๆ แรงจูงใจ?... หรือเพื่อให้มโนธรรมของเราสงบนิ่ง เท่านั้น?... จะมีบ้างไหมที่เราปฏิบัติศาสนกิจเพื่อมุ่งหาพระเจ้าโดยตรง?... ปฏิบัติ ศาสนกิจเพราะมีความเชื่อ ความรัก และความศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างจริงใจ?... เมื่อ ผูส้ อนได้ปอ้ นคำ�ถามเหล่านีใ้ ห้ผเู้ รียนไตร่ตรองแล้ว ควรให้เวลาแก่ผเู้ รียนสักเล็กน้อย เพื่อแต่ละคนจะได้มีเวลาไตร่ตรองถึงความจริงของตนเอง - จากนั้น ให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มกัน อาจจะเป็นกลุ่มอิสระหรือผู้สอนจัดให้ตาม ความเหมาะสมก็ได้ แล้วให้แต่ละกลุ่มทำ�ใบงาน “Easter 2” - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้อาสาสมัครผู้เรียนจากบางกลุ่มมาแบ่งปันคำ�ตอบ ของกลุ่มให้เพื่อนๆ ทุกคนฟังเพื่อให้ทุกกลุ่มได้เทียบเคียงคำ�ตอบของกันและกัน และ เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ของผู้เรียนอาศัยคำ�ตอบที่ต่างกันของกลุ่มอื่นๆ

ดูใบงาน “Easter 2” ท้ายแผน


80

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระศาสนจักรกำ�หนดให้มีการระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาปีละครั้งในปีพิธีกรรม คือหลังจากเทศกาลมหาพรต แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกครัง้ ทีม่ พี ธิ บี ชู าขอบพระคุณ ก็มีการระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาอยู่เสมอ ดังนั้น ในแต่ละวันพระศาสนจักรระลึกถึง ธรรมล้ำ�ลึกปัสกาอยู่เสมออย่างนับครั้งไม่ถ้วนเพราะพระสงฆ์ทุกประเทศทั่วโลกล้วน ทำ�พิธีบูชาขอบพระคุณทุกวัน - ดังนัน้ เราแต่ละคนไม่จ�ำ เป็นต้องรอให้ถงึ วันปัสกาประจำ�ปีเพือ่ คิดถึงความหมาย ของธรรมล้ำ�ลึกปัสกาและปฏิบัติตนตามศาสนกิจประจำ�เทศกาล เพราะในความเป็น จริงคือทุกครัง้ ทีเ่ ราไปร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ เราต้องคิดถึงความหมายของธรรมล้�ำ ลึก แห่งความรอดพ้นนีอ้ ย่างลึกซึง้ ไม่ใช่แบบผิวเผิน - หลังจากการเรียนในครั้งนี้ เราจึงควรกำ�หนดข้อปฏิบัติที่จะไปร่วมพิธีบูชา ขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอ โดยไปให้ทันทุกครั้ง แก้บาปและรับศีลมหาสนิทเป็น ประจำ� ตั้งใจฟังพระวาจาและไตร่ตรองถึงทุกบทภาวนาเป็นอย่างดีไม่วอกแวก 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอ โดยไปให้ทันทุกครั้ง แก้บาป และรับศีลมหาสนิทเป็นประจำ� ตั้งใจฟังพระวาจาและไตร่ตรองถึงทุกบทภาวนาเป็น อย่างดีไม่วอกแวก

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนตั้งสมาธิ สงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ร้องเพลง “รักพระ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................


81

ใบงาน “Easter 1” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง

1. เราเรียกเทศกาลที่มาหลังจากเทศกาลมหาพรตว่าเทศกาลอะไร? 2. ปกติเธอทำ�อะไรเป็นพิเศษในเทศกาลดังกล่าวนั้น (คำ�ตอบจากข้อ 1) บ้างไหม? (ขีดเครื่องหมาย /) ทำ�

ไม่ทำ�

3. ถ้าในข้อ 2 เธอตอบว่า “ทำ�” ให้ตอบว่า “เธอทำ�อะไรบ้าง?” 4. สิ่งที่เธอทำ�ในข้อ 3 มีผลต่อท่าทีด้านจิตใจของเธอบ้างไหม? อย่างไร? 5. เธอทราบไหมว่า พระศาสนจักรสอนให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างในเทศกาลดังกล่าว (คำ�ตอบจากข้อ 1)?

ใบงาน “Easter 2” คำ�ชี้แจง - ให้แต่ละกลุ่มตอบคำ�ถามต่อไปนี้อย่างตั้งใจ

1. ธรรมล้ำ�ลึกปัสกาหมายความว่าอย่างไร? ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ 2. ธรรมล้ำ�ลึกปัสกามีความสำ�คัญต่อเราแต่ละคนอย่างไร? ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ 3. ในฐานะที่เป็นคริสตชน เราต้องมีท่าทีใดหรือต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้างในเทศกาลปัสกา? ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................


82

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลธรรมดา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลธรรมดาของปีพิธีกรรมเป็นช่วงเวลาพิเศษของ การทำ�ให้ชีวิตประจำ�วันที่ปกติธรรมดาของเราศักดิ์สิทธิ์ไปอาศัยการเปลี่ยนแปลงตนเอง ด้วยพระวาจาของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งใจอ่านพระวาจาของพระเจ้าทุกวัน และนำ�ไปเป็นข้อปฏิบัติที่เป็น รูปธรรม สาระการเรียนรู ้ เทศกาลธรรมดาของปีพิธีกรรมแม้จะไม่มีการฉลองใหญ่อะไรเป็นพิเศษ แต่พระศาสนจักรได้จัดเวลานี้ไว้ ถึง 33-34 สัปดาห์ เป็นการเตือนใจคริสตชนว่า แม้ชีวิตของเราจะมีความเป็นปกติธรรมดามากกว่าเวลาเฉลิมฉลอง แต่เราก็ ต้องรู้จักเจริญชีวิตในช่วงเทศกาลธรรมดาให้เป็นเวลาพิเศษแห่งการทำ�ให้ทุกกิจกรรมในชีวิตของเราศักดิ์สิทธิ์ไป เพราะชีวิต ของเราเป็นดังเช่นการเดินจาริกไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือการอยู่ร่วมกับพระเจ้าอาศัยการทำ�ให้ชีวิตในปัจจุบันเข้าร่วมส่วนอยู่ ในธรรมล้ำ�ลึกแห่งความรอดพ้นที่เราเฉลิมฉลองในเทศกาลพระคริสตสมภพและเทศกาลปัสกา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม จากนั้นให้แต่ละกลุ่มทำ�ใบงาน “Ordinary” อย่างตั้งใจและตอบตามความเป็นจริง - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบของกลุ่มให้ ผู้เรียนทุกคนฟัง - เมื่ อ ตั ว แทนทุ ก กลุ่ ม ได้ แ บ่ ง ปั น เสร็ จ แล้ ว ผู้ ส อนให้ ผู้ เรี ย นสรุ ป ด้ ว ยกั น ว่ า “เทศกาลธรรมดานั้นมีความสำ�คัญอย่างไรต่อเราคริสตชน?” โดยให้ผู้เรียนแต่ละคน ตอบอย่างอิสระ - จากนั้น ให้มาดูกันว่า พระวาจาพระเจ้าแนะนำ�ให้คริสตชนปฏิบัติตนอย่างไร ในยามปกติธรรมดาของชีวิต? 3 พระวาจา - (อุปมาเรื่องตะเกียง) ไม่มีใครจุดตะเกียงแล้วเอาถังครอบไว้หรือวางไว้ใต้ เตียง แต่เขาย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียง เพื่อคนที่เข้ามาจะเห็นแสงสว่างได้ ไม่มีสิ่งใดที่ ซ่อนอยูจ่ ะไม่ปรากฏชัดแจ้ง ไม่มคี วามลับใดจะไม่มใี ครรูแ้ ละเปิดเผย ดังนัน้ จงระวังว่า ท่านฟังพระวาจาอย่างไร เพราะผู้ที่มีมากจะได้รับมากขึ้น ส่วนผู้ที่มีน้อย สิ่งเล็กน้อยที่ เขามีจะถูกริบไปด้วย (ลก 8:16-18)

ดูใบงาน “Ordinary” ท้ายแผน


83

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - (เรื่องความดีบริบูรณ์) พระเยซูเจ้ายังตรัสอุปมาให้เขาเหล่านั้นฟังอีกว่า “คน ตาบอดจะนำ�ทางคนตาบอดได้หรือ ทัง้ คูจ่ ะตกลงไปในคูมใิ ช่หรือ ศิษย์ยอ่ มไม่อยูเ่ หนือ อาจารย์ แต่ทกุ คนทีไ่ ด้รบั การฝึกฝนอย่างดีแล้วก็จะเป็นเหมือนอาจารย์ของตน ทำ�ไม ท่านจึงมองดูเศษฟางในดวงตาของพี่น้อง แต่ไม่สังเกตเห็นท่อนซุงในดวงตาของตน เลย ท่านจะกล่าวแก่พนี่ อ้ งได้อย่างไรว่า ‘พีน่ อ้ ง ปล่อยให้ฉนั เขีย่ เศษฟางออกจากดวงตา ของท่านเถิด’ ขณะทีท่ า่ นไม่เห็นท่อนซุงในดวงตาของตนเอง ท่านคนหน้าซือ่ ใจคดเอ๋ย จงเอาท่อนซุงออกจากดวงตาของท่านก่อนเถิด ท่านจะเห็นชัดแล้วจึงค่อยไปเขี่ยเศษ ฟางออกจากดวงตาของพี่น้อง ต้นไม้ที่เกิดผลไม่ดีย่อมไม่ใช่ต้นไม้พันธุ์ดี หรือต้นไม้พันธุ์ไม่ดีย่อมไม่ให้ผลดี เช่นกัน เรารู้จักต้นไม้แต่ละต้นได้จากผลของต้นไม้นั้น เราย่อมไม่เก็บผลมะเดื่อเทศ จากพงหนาม หรือเก็บผลองุ่นจากกอหนาม คนดีย่อมนำ�สิ่งที่ดีออกจากขุมทรัพย์ที่ดี ในใจของตน ส่วนคนเลวย่อมนำ�สิ่งที่เลวออกมาจากขุมทรัพย์ที่เลวของตน เพราะปาก ย่อมกล่าวสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา” (ลก 6:39-45) - (เรื่องพระญาติแท้จริงของพระเยซูเจ้า) พระมารดาและพี่น้องของพระเยซูเจ้ามาเฝ้าพระองค์ แต่ไม่อาจเข้าถึงพระองค์ได้ เพราะมีประชาชนจำ�นวนมาก มีผู้ทูล พระองค์ว่า “มารดาและพี่น้องของท่านกำ�ลังยืนอยู่ข้างนอก ต้องการพบท่าน” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “มารดาและพี่น้องของเราคือผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าและ นำ�ไปปฏิบัติ” (ลก 8:19-21)

4

อธิบายพระวาจา - จากอุปมาเรื่องตะเกียงซึ่งแม้จะเป็นเพียงคำ�สอนสั้นๆ แต่เป็นคำ�สอนของพระเยซูเจ้าที่เข้มข้นมาก ทำ�ให้เราเข้าใจว่า ไม่ว่าในชีวิตของเราคริสตชนจะมีเหตุการณ์ พิเศษหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตาม เราต้องเจริญชีวิตให้ดีอยู่เสมอ เฉพาะอย่างยิ่ง ในยามปกติธรรมของชีวิตประจำ�วัน ดังนั้น คริสตชนแท้ต้องไม่รอฉายแสงเฉพาะใน วันฉลองเท่านั้น เพราะชีวิตของเราประกอบด้วยวันธรรมดามากกว่าวันฉลอง - เราจึงต้องดำ�เนินชีวิตอย่างบริสุทธิ์ สุจริต และโปร่งใสต่อหน้าพระและเพื่อนพี่ น้องเสมอ เพราะไม่มสี งิ่ ใดจะซ่อนเร้นต่อหน้าพระได้ ไม่มคี วามลับใดจะไม่ถกู เปิดเผย ทุกคนต้องรับผิดชอบพระพรที่ตนได้รับอย่างเต็มกำ�ลังความสามารถเพราะผู้ที่มีมาก จะได้รับมากขึ้น ส่วนผู้ที่เกียจคร้าน คิดว่าตนมีน้อยและไม่พยายามอย่างเต็มที่ เขาก็ จะต้องสูญเสียสิ่งที่มีไปด้วย - จากเรือ่ งความดีบริบรู ณ์ เราคริสตชนต้องดำ�เนินชีวติ ตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้าคือ ต้องมุง่ สูค่ วามดีบริบรู ณ์ ซึง่ การดำ�เนินชีวติ เช่นนีต้ อ้ งการผูน้ �ำ ทางหรืออาจารย์ เพราะใครเล่าจะสามารถอวดอ้างได้วา่ รูจ้ กั หนทางทีน่ �ำ ไปสวรรค์แล้ว เพราะศิษย์ยอ่ ม ไม่เก่งกว่าผูเ้ ป็นอาจารย์ ดังนัน้ เมือ่ ใดทีเ่ ราเห็นเศษฟางในตาของผูอ้ นื่ ก็ควรตระหนัก และถามตนเองก่อนว่า ในตาของเรานั้นมีท่อนซุงอยู่หรือเปล่า? ซึ่งก็แปลว่า เราต้อง ไม่ตัดสินพิพากษาผู้อื่นก่อนที่จะหันมามองดูความผิดบกพร่องของตนเอง ซึ่งหลายๆ ครั้งก็มีมากกว่าผู้ที่เราไปตัดสินเขาเสียอีก

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


84

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - พระเยซูเจ้าจึงทรงสอนว่า ให้แต่ละคนเอาท่อนซุงในตาของตนเองออกเสียก่อน ทีจ่ ะไปเขีย่ เศษฟางในตาของเพือ่ นพีน่ อ้ ง เพราะกิจการต่างๆ ทีอ่ อกจากตัวเราจะพิสจู น์ “ความเป็น” ของตัวเรา ดังที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า คนดีย่อมนำ�สิ่งที่ดีออกจากขุมทรัพย์ ที่ดีในใจของตน เหตุว่าต้นไม้ดีจะเกิดผลเลวไม่ได้ เช่นเดียวกัน คนที่เลวก็ย่อมนำ�สิ่ง ทีเ่ ลวออกมาจากขุมทรัพย์ทเี่ ลวของตน การเสแสร้งนัน้ ย่อมทำ�ได้ไม่นานนัก แล้วทีส่ ดุ ความจริงก็จะปรากฏออกมาเอง - ส่วนเรื่องพระญาติแท้จริงของพระเยซูเจ้า เป็นพระวาจาที่มาเน้นย้ำ�ถึง การปฏิบตั ิพระวาจา เพราะพระเยซูเจ้ามิเพียงแต่กล่าวยกย่องชมเชยเท่านั้น แต่ทรง ประกาศความจริงนีแ้ ก่ทกุ คนว่า ใครก็ตามทีฟ่ งั พระวาจาของพระเจ้าแล้วนำ�ไปปฏิบตั ิ ผู้นั้นก็กลายเป็นมารดาและพี่น้องของพระองค์ - พระวาจาทั้ง 3 ตอนนี้แม้จะไม่ได้กล่าวถึง “เทศกาลธรรมดา” แต่เป็นพระวาจา ที่ให้แสงสว่างแก่การปฏิบัติในชีวิตของเราทุกๆ วัน โดยไม่ต้องรอวันฉลองว่าเราต้อง ดำ�เนินชีวติ เป็นดังตะเกียงทีต่ อ้ งส่องแสงสว่างของพระแก่ทกุ คน ต้องเจริญชีวติ โดยมุง่ สูค่ วามดีบริบรู ณ์ ด้วยการปฏิบตั พิ ระวาจาของพระเจ้าอย่างสม่�ำ เสมอ แล้วนัน้ พระองค์ จะทรงประทานบำ�เหน็จรางวัลให้แก่เราเอง

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนให้ผู้เรียนลองนับวันฉลองต่างๆ ในปีพิธีกรรม และนับวันธรรมดาทุกๆ วันของปีพธิ กี รรม เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้เข้าใจชัดเจนมากขึน้ ว่า ชีวติ ของเราประกอบด้วยวัน ธรรมดามากกว่าวันฉลอง ดังนั้น เราไม่ต้องรอวันฉลองเท่านั้นเพื่อจะให้มีความสุข หรือทำ�กิจการพิเศษ แต่เราต้องทำ�ทุกๆ วันธรรมดาให้กลายเป็นวันพิเศษ ดังนี้ ชีวิต ของเราจึงจะมีความสุขและไม่น่าเบื่อหน่าย

- ในปีพิธีกรรมของช่วงเทศกาลธรรมดาซึ่งยาวนานถึง 33-34 สัปดาห์นั้น พระศาสนจักรให้คริสตชนได้มีโอกาสฟังพระวาจาอย่างต่อเนื่องมากกว่าช่วงเทศกาล อื่นๆ เราต้องไม่ปล่อยตนเองให้รู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาของความเบื่อหน่าย ซ้ำ�ซาก จำ�เจ จนอยากจะหนีจากสิง่ เก่าๆ ไปหาสิง่ แปลกใหม่ สิง่ นีก้ นิ ความรวมไปถึงหน้าทีก่ ารงาน หน้าที่ต่อครอบครัวและต่อบุคคลรอบข้าง และเฉพาะอย่างยิ่งต่อพระเจ้าด้วย - พระเยซูเจ้าเองก็เช่นกัน ทรงปรากฏองค์ดังเช่นคนธรรมดาสามัญจนแม้สาวก บางคน (นาธานาเอล) ยังกล่าวถึงพระองค์ว่า “จะมีอะไรดีมาจากนาซาเร็ธได้รึ” (ยน 1:46) แต่ น.ยอห์น บัปติสต์ผู้รู้จักมองเห็นความพิเศษในพระเยซูเจ้าได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าเห็นและเป็นพยานยืนยันว่า ท่านผู้นี้เป็นพระบุตรของพระเจ้า” (ยน 1:34) - ดังนั้น เราสามารถทำ�ให้เทศกาลธรรมดากลายเป็นเทศกาลพิเศษได้โดย การพบปะกับพระเจ้าทุกวัน เฉพาะอย่างยิ่งในพระวาจาของพระองค์ ทำ�ให้พระองค์ ทรงเป็นบุคคลพิเศษที่เข้ามาในชีวิตประจำ�วันของเรา ด้วยการสร้างสัมพันธ์อันลึกซึ้ง กับพระองค์ดงั เช่นลูกแกะกับผูเ้ ลีย้ งแกะทีด่ ี (เทียบ ยน 10:1-18) พระองค์ทรงเป็นฝ่าย ที่เลี้ยงเราอย่างดีทุกๆ วันอยู่แล้ว แต่เป็นหน้าที่ของเราต่างหากที่จะต้องตระหนักถึง ความจริงข้อนี้ เราสามารถใช้วันธรรมดาๆ ในเทศกาลธรรมดาไตร่ตรองถึงสิ่งนี้ได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


85

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

อย่างดีที่สุด - แกะต้องการการเลี้ยงดูและดูแลรักษาอย่างดีทุกๆ วัน มิใช่ต้องการในวันฉลอง เท่านัน้ ฉันใด เราเองทีเ่ ปรียบเสมือนแกะของพระเยซูเจ้า ก็ได้รบั การเลีย้ งดูอย่างดีจาก พระองค์อยูเ่ สมอมิได้ขาดฉันนัน้ เรามิได้กล่าวอ้างถึงสิง่ นีด้ ว้ ยตนเอง แต่พระวาจาของ พระเจ้าต่างหากเป็นผู้ยืนยันความจริงนี้แก่เรา - ให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มและทำ�ใบงาน “ผู้เลี้ยงแกะที่ดี” โดยศึกษาเนื้อหาจากพระวรสารที่ให้ไว้ท้ายแผน

ดูใบงาน “ผู้เลี้ยงแกะที่ดี” ท้ายแผน

- เมื่อทุกกลุ่มทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบของ กลุ่มให้เพื่อนๆ ทุกคนฟัง โดยให้ผู้สอนบันทึกสรุปคำ�ตอบทั้งหมดไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง พร้อมกับเสริมเติมหากขาดบางประเด็นทีส่ �ำ คัญไป จากนัน้ ให้ผเู้ รียนแต่ละคนบันทึก คำ�ตอบเหล่านั้นทั้งหมดลงในสมุดส่วนตัว - เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ให้ทุกคนสงบนิ่งสักครู่ แล้วให้แต่ละคนอ่านสิ่งที่ตนบันทึก ลงในสมุดโดยคิดถึงความหมายของทุกคำ�ตอบอย่างช้าๆ เพื่อให้เกิดการซึมซับลงใน จิตใจ - ดังนั้น เทศกาลธรรมดาจึงต้องไม่ทำ�ให้เรารู้สึกเฉยๆ เซ็งๆ... ไปวัดก็ได้ ไม่ไป ก็ได้... อ่านพระวาจาก็ได้ ไม่อ่านก็เฉยๆ... ทำ�ดีก็ได้ ไม่ทำ�ก็ไม่แปลกอะไร... แต่ตรง กันข้าม เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงความหมายและความสำ�คัญของเทศกาลนี้แล้ว เราจะต้อง พยายามเจริญชีวิตในเทศกาลนี้อย่างเข้มข้นที่สุดด้วยเช่นกัน 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งใจอ่านพระวาจาของพระเจ้าทุกวัน และนำ�ไปเป็นข้อปฏิบัติที่เป็น รูปธรรม

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้มีตัวแทนผู้เรียนสัก 1 หรือ 2 คน มานำ�สวด ภาวนาจากใจ จากนั้นให้ทุกคนร้องเพลงพร้อมกันว่า “จงขอบพระคุณพระเจ้า เพราะ พระองค์พระทัยดี... ความรักมั่นคงของพระองค์ ดำ�รงนิจนิรันดร์”

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................


86

ใบงาน “Ordinary” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง

1. เราเรียกเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองใหญ่ๆ น้อยที่สุดว่าเทศกาลอะไร? 2. ปกติเธอทำ�อะไรเป็นพิเศษในเทศกาลดังกล่าวนั้น (คำ�ตอบจากข้อ 1) บ้างไหม? (ขีดเครื่องหมาย /) ทำ�

ไม่ทำ�

3. ถ้าในข้อ 2 เธอตอบว่า “ทำ�” ให้ตอบว่า “เธอทำ�อะไรบ้าง?” 4. สิ่งที่เธอทำ�ในข้อ 3 มีผลต่อท่าทีด้านจิตใจของเธอบ้างไหม? อย่างไร? 5. เธอทราบไหมว่า พระศาสนจักรสอนให้ปฏิบัติอย่างไรบ้างในเทศกาลดังกล่าว (คำ�ตอบจากข้อ 1)?


87

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง การภาวนาด้วยใจ (แบบส่วนตัว)

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การภาวนาด้วยใจ คือการติดต่อพบปะกับพระเจ้าด้วยจิตและ ด้วยใจ มิใช่ด้วยคำ�พูดเท่านั้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนติดต่อกับพระเจ้าด้วยคำ�ภาวนาจากใจบ่อยๆ สาระการเรียนรู ้ มนุษย์คอื สิง่ สร้างของพระเจ้า ดังนัน้ พระเจ้าคือผูป้ ระทานชีวติ ให้แก่มนุษย์ทกุ คน โดยพืน้ ฐานแล้ว มนุษย์ จึงมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างลึกซึ้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะเป็นพระเจ้าเองที่ประทานทุกลมหายใจให้แก่เรา จาก ความจริงนี้เองที่ทำ�ให้มนุษย์ต้องขึ้นกับพระเจ้าอยู่เสมอ แม้มนุษย์จะตระหนักถึงความจริงนี้หรือไม่ก็ตาม เราทุกคนจึงต้อง เจริญชีวิตให้สอดคล้องกับความจริงที่เราเป็นอยู่ด้วยการติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้าเสมอด้วยจิตและด้วยใจ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงานที่ 1 โดยเน้นให้ทำ�อย่างตั้งใจและตอบตาม ความเป็นจริงมากที่สุด - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนอาสาสมัครบางคนมาแบ่งปันคำ�ตอบของตน ให้เพือ่ นๆ ฟัง โดยผูส้ อนอธิบายให้เข้าใจว่า คำ�ตอบชนิดนีไ้ ม่มกี ารตัดสินว่าถูกหรือผิด เพราะเป็นการตอบตามความเป็นจริงของแต่ละคน ดังนั้น จึงถือว่าไม่มีคำ�ตอบใดผิด แต่ให้สังเกตต่อไปว่า ทุกคำ�ตอบนั้นถูกต้องมากหรือน้อยแค่ไหน? เราคริสตชนมีพระ คัมภีร์ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์แห่งชีวิตของเรา “พระวาจาของพระเจ้า” จึงเป็น “ไม้บรรทัด” ทีเ่ ทีย่ งตรงทีส่ ดุ สำ�หรับเราทุกคนในการวัดว่า ชีวติ ของเราต้องพัฒนาไปในทิศทางไหน และเราอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายแท้ของชีวิตมากหรือน้อยเท่าใด? - การเจริญชีวติ ของมนุษย์เปรียบได้เสมือนกับการเดินทางตัง้ แต่เราเกิดไปจนถึง วันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเราทุกคนทราบดีว่าทุกจังหวะชีวิตของเรามีขึ้นมีลง มีความสุข และความทุกข์ควบคู่กันไป มีความอิ่มเอมใจและความอยากได้หลายสิ่งหลายอย่าง มากมาย ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงดำ�เนินชีวิตด้วยความคาดหวัง แรงจูงใจ หรือบางคน อาจด้วยความผิดหวัง เสียใจ ฯลฯ แต่ที่สำ�คัญที่สุดคือ มนุษย์ทราบดีว่า เขาไม่สามารถ บันดาลความสุขให้แก่ตนเองได้แบบ 100 % อย่างแน่นอน - ด้วยความเป็นผู้ถูกสร้างจากพระเจ้า มนุษย์จึงมีความปรารถนาลึกๆ ในใจถึง เป้าหมายที่พระเจ้าทรงสร้างเรามา ซึ่งก็คือ ความสุขถาวรนิรันดร ดังนั้น มนุษย์ทุกคน จึงโหยหาความช่วยเหลือจากเบื้องบน ซึ่งแต่ละศาสนาก็จะกราบไหว้นมัสการพระเจ้า

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


88

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่ต่างกัน แต่สำ�หรับเราก็คือ พระเจ้าของเรานั่นเอง - ให้เรามาดูว่า พระคัมภีร์สอนเราอย่างไรเมื่อเราตกอยู่ในห้วงชีวิตที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากพระองค์

3

พระวาจา : ผู้พิพากษาที่ไร้มโนธรรมและหญิงม่ายผู้รบเร้า (ลก 18:1-5) พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมาเรื่องหนึ่งแก่บรรดาศิษย์เพื่อสอนว่าจำ�เป็นต้อง อธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย พระองค์ตรัสว่า ‘ผู้พิพากษาคนหนึ่งอยู่ใน เมืองหนึง่ เขาไม่ย�ำ เกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผใู้ ด หญิงม่ายคนหนึง่ อยูใ่ นเมือง นั้นด้วย นางมาพบเขาครั้งแล้วครั้งเล่าพูดว่า “กรุณาให้ความยุติธรรมแก่ดิฉันสู้กับคู่ ความเถิด” ผู้พิพากษาผู้นั้นไม่ยอมทำ�ตามที่นางขอร้องจนเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จึง คิดว่า “แม้วา่ ฉันไม่ย�ำ เกรงพระเจ้าและไม่เกรงใจมนุษย์ผใู้ ด แต่เพราะหญิงม่ายผูน้ มี้ า ทำ�ให้ฉันรำ�คาญ ฉันจึงจะให้นางได้รับความยุติธรรม เพื่อมิให้นางรบเร้าฉันอยู่ตลอด เวลา”

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้หากเรามองอย่างผิวเผินจะดูคล้ายกับว่า พระเยซูเจ้าต้องการจะ สอนให้เรา “วอนขอ” เพียงอย่างเดียวเมือ่ มีความต้องการบางสิง่ บางอย่าง แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น เพราะพระเยซูเจ้าทรงต้องการจะสอนว่าให้เราภาวนาอย่างสม่ำ�เสมอ อย่าได้หยุด เราจึงเข้าใจได้ว่ามิใช่ภาวนาเฉพาะเมื่อมีความต้องการบางสิ่งบางอย่าง เท่านั้น - แม้ว่ามนุษย์จะแสวงหาบางสิ่งบางอย่างอยู่ตลอดเวลา และความต้องการเหล่า นั้นอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หมายความว่า มิใช่เป็นสิ่งที่ผิดหรือเป็นบาป หรือมาจาก ความเห็นแก่ตัวเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องการเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แต่พระเจ้าก็มิได้ทรง ต้องการให้เราภาวนาเพื่อวอนขอแต่เพียงอย่างเดียว - ดังนั้นการ “อธิษฐานภาวนาอยู่เสมอโดยไม่ท้อถอย” จึงหมายความว่า แม้เรา จะต้องการสิง่ ใดหรือไม่ จะอยูใ่ นช่วงเวลาสุขหรือทุกข์กต็ าม พระองค์กท็ รงต้องการให้ เราติดต่อสัมพันธ์กบั พระองค์อยูเ่ สมอเพราะพระองค์ทรงรักเราตลอดเวลา และพระองค์ ก็ทรงต้องการให้เรารักพระองค์ดว้ ยเช่นกัน เช่นเดียวกับคนทีร่ กั กันมักจะคิดถึงกันและ กันตลอดเวลา พระเจ้าทรงอยูไ่ ด้โดยปราศจากมนุษย์ แต่ตรงกันข้าม มนุษย์จะอยูด่ ว้ ย ตัวเองโดยปราศจากพระเจ้าไม่ได้ - นี่คือความจริงที่มนุษย์หลายคนไม่รู้และอีกหลายคนไม่อยากรับรู้ เขาจึงเจริญ ชีวิตเสมือนดังไม่มีพระเจ้าอยู่ในโลกนี้ ซึ่งความจริงแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้านัน้ เป็นดัง่ “ปลาในน้�ำ ” พระเจ้าทรงเปรียบเสมือนน้�ำ และมนุษย์เป็นเหมือน ปลา ดังนั้น เมื่อใดที่มนุษย์หนีออกห่างจากพระเจ้า เขาก็เป็นเสมือน “ปลานอกน้ำ�” ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นานก็ต้องตายอย่างแน่นอน - ถ้าเรามองในมุมกว้างเช่นนี้ เราจะเข้าใจพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ย้ำ�ให้ภาวนา “อยู่เสมอ” ว่า ให้มีความพากเพียรในการภาวนา ดังนั้น ทั้งในยามที่เรามีความต้องการบางสิ่งและในเวลาที่เรามีความสุขดี

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


89

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ด้วยการภาวนาอยู่เสมอเช่นนี้ คงจะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสวดภาวนาด้วยบท สูตรตลอดเวลา จะท่องบทภาวนาเหล่านัน้ ตามทุกคำ�พูดทีเ่ ขียนไว้ แต่เราสามารถทำ�ได้ ง่ายๆ แค่เพียงด้วยการยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้า คิดถึงพระองค์บ่อยๆ มอบถวายความ สุขความทุกข์ทั้งของตัวเองและของผู้ที่เราปรารถนาจะให้พระทรงอวยพรแก่เขาแด่ พระองค์ 5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีความต้องการบางสิ่งอยู่ตลอดเวลา ให้เราสำ�รวจตัวเองดู ในขณะนี้ได้เลยว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่? โดยผู้สอนให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักประมาณ 2 นาทีเพื่อไตร่ตรองดูว่า ในขณะปัจจุบันนี้ แต่ละคนมีความต้องการสิ่งใดบ้าง? แล้วให้ เขียนลงในกระดาษที่ผู้สอนจัดเตรียมและแจกให้ จะเขียนมากหรือน้อยก็ได้

แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น

- เมื่อผู้เรียนเขียนคำ�ตอบเสร็จแล้ว ผู้สอนถามว่า “มีใครไม่ได้เขียนอะไรบ้างเลย ไหม?...เพราะเหตุใด?...” ถ้ามี ให้ผู้เรียนแบ่งปันทีละคน - คำ�ถามและคำ�ตอบดังกล่าวจะเป็นตัวชี้วัดว่า มนุษย์มักอยู่คู่กับความต้องการ ต่างๆ ของตนเสมอ เพราะมนุษย์มักจะอยู่กับปัญหาและความคาดหวังทั้งของตนเอง และผู้อื่นอยู่ตลอดเวลานั่นเอง - จริงๆ แล้วปัญหาชีวิตของแต่ละคนนั้นมีความหนักเบาแตกต่างกันมาก ให้เรา มาดูตัวอย่างชีวิตของคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตาว่า ท่านต้องพบกับความยากลำ�บาก มากมายของหลายๆ ชีวิตของบุคคลที่ท่านได้พบเจอ ท่านพยายามแบ่งเบาความทุกข์ นั้นด้วยการยื่นมือช่วยเหลือทุกบุคคลเหล่านั้น การทำ�สิ่งนี้ทำ�ให้ท่านเองต้องพบกับ ปัญหา อุปสรรค ความลำ�บาก ความเหน็ดเหนือ่ ย การเสีย่ งอันตราย ฯลฯ เช่นเดียวกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านไม่เคยหยุดในการมอบให้แก่คนอื่นก็คือ “รอยยิ้ม” ท่านเอาพลัง จากที่ไหนมาทำ�สิ่งเหล่านี้ได้? - ให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านใบความรู้ “วางมือในพระเยซู” อย่างช้าๆ ด้วยการ ค่อยๆ ไตร่ตรองให้เข้าใจ - เมื่อได้ไตร่ตรองแล้วจะพบว่า “การวางมือในมือของพระเยซู” คือกุญแจตัว สำ�คัญทีท่ �ำ ให้เราเข้าใจ “รอยยิม้ ” ของคุณแม่เทเรซาแม้ในช่วงเวลาวิกฤติทสี่ ดุ ด้วยเช่น กัน - การวางมือของเราในมือของพระเยซูเจ้านี่แหละคือเคล็ดลับของการภาวนาอยู่ เสมออย่างไม่ย่อท้อ ซึ่งเราจะทำ�สิ่งนี้ได้ไม่ใช่ด้วยมือของร่างกาย แต่ด้วย “มือ” ฝ่าย จิต ซึ่งก็คือการ “คิดถึง” พระเจ้าอยู่เสมอหรือบ่อยๆ นั่นเอง 6

หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนติดต่อกับพระเจ้าด้วยคำ�ภาวนาจากใจบ่อยๆ

7

ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ทำ�สมาธิประมาณ 2-3 นาที จากนั้น ให้ผู้เรียนบางคน อาสาสมัครสวดภาวนาจากใจด้วยเสียงดังให้เพื่อนๆ ร่วมภาวนาด้วย

ดูใบความรู้ “วางมือใน พระเยซู” ท้ายแผน


90

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 คำ�ชีแ้ จง - ให้ผเู้ รียนตอบคำ�ถามทีว่ า่ “ตามปกติคณ ุ ภาวนาอย่างไร?” ตามความเป็นจริง โดยใส่เครือ่ งหมาย ✓ ในช่อง ที่เป็นคำ�ตอบของคุณ

1. ใช้บทสูตรเสมอ 2. ภาวนาด้วยใจไม่ใช่บทสูตรเลย

3. ใช้ทั้งบทสูตรและด้วยใจ

ไม่ใช่

ใช่

ไม่ใช่

ใช่

ใช่

ไม่ใช่

5. บางครั้งก็เคยภาวนาแบบขอบคุณพระ

ใช่

ไม่ใช่

6. ปกติจะไม่เคยภาวนาเลย

ใช่

ไม่ใช่

7. ไม่ชอบและไม่จำ�เป็นต้องสวดภาวนาเลย

ใช่

ไม่ใช่

ใช่

ไม่ใช่

4. จะสวดภาวนาเฉพาะเมื่อต้องการบางอย่าง

8. มักจะคิดถึงพระบ่อยๆ

ใช่

ไม่ใช่


91

ใบความรู้ “วางมือในพระเยซู” เรื่องเล่าถึงคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา ท่านทำ�งานที่สลัมในอินเดีย ท่านทำ�งานในสถานที่ ที่คนจนที่สุดในโลกอยู่อย่างน่าสงสารที่สุด การทำ�งานของท่านทำ�กับผู้ถูกทอดทิ้งทั้งหลาย เราทุก คนคงไม่ทำ�อย่างท่านแน่นอน ท่านอยู่กับคนจน คนที่เป็นโรคตลอดทั้งวัน ผู้ถูกไล่ออกจากสังคม ผู้ ถูกกดขีแ่ ละผูส้ นิ้ หวังทัง้ หลาย ทุกๆ คนทีไ่ ด้พบกับคุณแม่เทเรซาจะได้รบั การต้อนรับอย่างอบอุน่ ด้วย รอยยิ้มที่ประทับใจ เวลา 30 ปีผ่านมาแล้ว คุณแม่เทเรซาก็ยังรักษารอยยิ้มไว้ได้เหมือนเดิม แม่เทเรซาบอกว่า เมื่ออายุ 18 ปีท่านออกจากยูโกสลาเวีย เพื่อเป็นผู้รับใช้พระเจ้า เมื่อออกจากบ้าน แม่ของท่านบอก ถึงบางสิง่ ทีส่ วยงามและดูแปลกมาก คือ “ลูกจงวางมือของลูกในมือพระเยซูและเดินไปกับพระองค์” และนี่เป็นความลับของชีวิตคุณแม่เทเรซาเสมอมา เราทุกคนมีงานที่ดี มีบ้านที่สวย พบเจอแต่เรื่องง่ายๆ เบาๆ แต่เรากลับไม่มีรอยยิ้มที่อบอุ่น เหมือนบนใบหน้าของคุณแม่เทเรซา ซิสเตอร์ตัวเล็กๆ คนนี้ ผู้ซึ่งทำ�งานยากลำ�บาก หมดหวัง สิ้น หวังที่สุด แต่กลับมีรอยยิ้มที่งดงามเสมอ อะไรเป็นความแตกต่าง มันอาจเป็นเพราะว่าเราไม่เคย วางมือของเราในมือพระเยซูเลย เราเพียงแต่พูดถึงพระองค์เท่านั้น (คัดมาจากหนังสือ Happy Time หน้า 151-152)


92

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง บุญลาภ 8 ประการ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า บุญลาภหรือความสุขแท้ 8 ประการคือแนวทางเที่ยงแท้ใน การดำ�เนินชีวิตที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้แก่ทุกคนเพื่อจะบรรลุถึงความสุขถาวรนิรันดร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อจาก “ความสุขแท้จริง” สาระการเรียนรู ้ ความสุขคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา เฉพาะผู้ที่แสวงหา “สิ่งถูกต้อง” ด้วยวิธีที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะ สามารถบรรลุถงึ ความสุขแท้จริงได้ พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบหนทางทีแ่ น่นอนทีส่ ดุ เพือ่ ให้เราบรรลุถงึ ความสุขถาวรนิรนั ดร นัน่ คือ “ความสุขแท้จริง 8 ประการ” ซึง่ เป็นหนทางทีไ่ ม่งา่ ยเพราะสวนกระแสสังคมปัจจุบนั อย่างชัดเจน แต่กเ็ ป็นหนทางทีจ่ �ำ เป็น สำ�หรับมนุษย์ทกุ คนเพราะพระเยซูเจ้าทรงเป็น “คนกลาง” เทีย่ งแท้แต่ผเู้ ดียวผูท้ รงมาเปิดเผยถึงความจริงของพระเจ้าและของ มนุษย์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนถามผู้เรียนว่า “สิ่งใดให้ความสุขแก่เธอมากที่สุด?...เพราะเหตุใด?...” โดยให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มๆ ละประมาณ 4-5 คน และให้ตอบคำ�ถามในใบงาน “ความสุข ของฉัน” โดยให้ตอบตามความเป็นจริงของแต่ละคน - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้วให้กลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันคำ�ตอบของกลุ่มให้แก่ ทุกคน โดยให้มีการบันทึกสรุปคำ�ตอบของทุกกลุ่มไว้ที่บอร์ดหน้าห้องด้วย - จากคำ�ตอบทั้งหมดบนบอร์ด ให้ผู้เรียนใช้เวลาพิจารณาสักครู่ จากนั้น ให้ ผู้เรียนช่วยกันแยกแยะว่า ความสุขข้อใดจัดอยู่ในประเภทวัตถุ? และข้อใดอยู่ในระดับ ฝ่ายจิตใจ? จากนั้นให้มีการบันทึกไว้ที่บอร์ดเช่นกัน - เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความสุขฝ่ายวัตถุก็เป็นสิ่งที่มนุษย์เราปรารถนา แต่หาก พิจารณากันลึกๆ แล้ว เราคงต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกความสุขฝ่ายวัตถุจะนำ�เราไปสู่ ความสุขแท้ในสวรรค์ได้ ตรงกันข้าม บางอย่างอาจเป็นอุปสรรคทีจ่ ะทำ�ให้เราไปสวรรค์ ด้วย เพราะมันเป็นเพียงแค่ความสุขชั่วครู่ชั่วยามที่อาจชักนำ�ให้เราทำ�บาปอีกด้วย - ดังนั้นให้เรามาพิจารณาดูความสุขฝ่ายจิตใจดูว่า ความสุขใดเป็นความสุขแท้ที่ จะช่วยนำ�พาเราไปสู่ชีวิตนิรันดรได้บ้าง? ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์ ตรงของเราแต่ละคน - พระเยซูเจ้าเองก็ได้ทรงชี้แนวทางชีวิตให้เราก้าวเดินสู่ความสุขนิรันดรด้วย

ดูใบงาน “ความสุขของฉัน” ท้ายแผน


93

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เช่นกัน พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระบุตรของพระบิดาแห่งสวรรค์ พระองค์ทรงมา จากสวรรค์เพือ่ นำ�มนุษย์ไปสูส่ วรรค์ จะต้องชีแ้ นะแนวทางทีถ่ กู ต้องเทีย่ งแท้แก่เราอย่าง แน่นอน - ให้เรามาพิจารณาต่อไปว่า สิ่งที่ให้ความสุขแก่เราแต่ละคนนั้นมีความคล้ายคลึง กับสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงแนะนำ�แก่เรามากหรือน้อยเพียงใด?

3

พระวาจา : ความสุขแท้จริง (มธ 5:1-10) พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นประชาชนมากมาย จึงเสด็จขึ้นบนภูเขา เมื่อ ประทับแล้ว บรรดาศิษย์เข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ทรงเริ่มตรัสสอนว่า “ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้า ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน ผู้มีใจอ่อนโยน ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก ผู้หิวกระหายความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม ผู้มีใจเมตตา ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับพระเมตตา ผู้มีใจบริสุทธิ์ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้เห็นพระเจ้า ผู้สร้างสันติ ย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรม ย่อมเป็นสุข เพราะอาณาจักร สวรรค์เป็นของเขา”

4

อธิบายพระวาจา - “ความสุขแท้จริง” คือหนทางสำ�หรับมนุษย์ทุกคนในการก้าวสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และความสุขของชีวติ อันเป็นเส้นทางทีส่ นั้ ทีส่ ดุ ของการเดินไปสูส่ วรรค์ เพราะพระเจ้า ทรงสร้างมนุษย์มาเพื่อให้รู้จัก รับใช้ และรักพระองค์ และที่สุดก็คือเพื่อบรรลุสวรรค์ นิรนั ดร ความสุขแท้จริงนีจ้ ะทำ�ให้มนุษย์สามารถเข้าร่วมส่วนในธรรมชาติพระเจ้าและ ชีวิตนิรันดรได้ มนุษย์ก็จะได้เข้าในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าและรับความบรม สุขแห่งชีวิตในพระตรีเอกภาพ (เทียบ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1721) - พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความสุขแท้จริง ในการเทศน์ของ พระองค์ท่านในวันที่ 1 พ.ย. 2015 ณ กรุงวาติกันไว้ว่าดังนี้ • ใจยากจน – ให้ถามตัวเองว่า เป็นไปได้ไหมที่ผู้มีใจยากจน จะมีขุมทรัพย์เป็น พระอาณาจักรพระเจ้าได้ เพราะเมือ่ เขามีจติ ใจทีห่ ลุดพ้นจากความอยากและเป็นอิสระ จากสิ่งของของโลกนี้แล้ว เขาก็คือผู้รอคอยสวรรค์นั่นเอง • เป็นทุกข์โศกเศร้า – คนที่โศกเศร้าจะมีความสุขได้อย่างไร? คนที่ในชีวิตไม่ เคยได้ตอ้ งโศกเศร้า ทุกข์ทรมาน จะไม่เคยรูจ้ กั พลังแห่งการบรรเทา แต่ผทู้ รี่ จู้ กั สงสาร สามารถที่จะรับรู้ถึงความทุกข์ในชีวิตของตนเองและของผู้อื่น เขาจะมีความสุขเพราะ พระหัตถ์ที่ละมุนละไมของพระบิดาเจ้าจะให้ความบรรเทาและปลอบโยนเขา • มีใจอ่อนโยน – กี่ครั้งในชีวิตที่เรารู้สึกตรงกันข้าม คือ ขาดความอดทน อารมณ์เสีย ขี้บ่น เราคาดหวังมากมายจากคนอื่นแต่เมื่อเราต้องให้เขาบ้างก็ขึ้นเสียง อย่างกับว่าเราเป็นเจ้าของโลกนี้ ให้คิดถึงความอ่อนโยนและความอดทนของพระเจ้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


94

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่มีต่อเรามนุษย์ แล้วนั้นเราจะสามารถมีใจอ่อนโยนต่อผู้อื่นได้ • หิวกระหายและถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความชอบธรรม – บุคคลที่หิวและ กระหายความยุติธรรม เขาจะมีความยุติธรรมต่อผู้อื่นและต่อตนเอง พวกเขาจะได้รับ ความอิ่มหนำ�เพราะเขาจะได้รับความยุติธรรมที่มีแต่พระเจ้าเท่านั้นจะทรงให้ได้ • มีใจเมตตา – ความสุขจะมีแก่ผู้ที่รู้จักให้อภัยเพราะเขาจะมีเมตตาต่อผู้อื่นและ จะไม่ตัดสินทุกคนและทุกสิ่งด้วยการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา การให้อภัยคือสิ่งที่ทุก คนต้องการ เราสัมผัสกับพระเมตตาของพระเจ้าทุกครัง้ ทีเ่ ราไปร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณ ในตอนต้นของพิธีฯ และในตอนสวดบทข้าแต่พระบิดาฯ ที่เราวอนขอให้พระบิดาเจ้า ทรงประทานการอภัยให้แก่เราดังที่เราให้อภัยแก่เพื่อนพี่น้อง • มีใจบริสุทธิ์ – คนยุคสมัยนี้เข้าใจคำ�ว่า “ใจบริสุทธิ์” กันอย่างไร? เป็น ความหมายเดียวกับที่พระเยซูเจ้าทรงสอนรึเปล่า? ดังนั้นเพื่อจะเข้าใจคำ�สอนของ พระเยซูเจ้า จำ�เป็นที่เราต้องไปให้ถึงรากเหง้าของความหมายที่พระเยซูเจ้าทรงสอน นัน่ คือ ทรงให้เรามีจติ ใจซือ่ บริสทุ ธิเ์ หมือนเด็กเล็กๆ มีความโปร่งใสไร้เล่หเ์ หลีย่ มและ เงาแห่งบาปใดๆ • สร้างสันติ – ให้เรามองดูใบหน้าของบุคคลที่ก่อความเดือนร้อนให้แก่สังคม หรือพวกที่คอยเอาเปรียบคนอื่น พวกเขามีความสุขดีหรือ? ตรงกันข้าม ผู้ที่มีความสุข แท้คือผู้ที่คอยหว่านแต่สันติสุขให้แก่สังคม พวกเขาคือบุตรแท้ของพระบิดาเจ้าสวรรค์ ผู้ทรงต้องการให้มนุษย์อยู่ในความสงบสุขด้วยการส่งพระบุตรของพระองค์มาเพื่อ หว่านสันติสุขให้แก่มนุษยชาติ - “ความสุขแท้จริง” จึงเป็นคุณค่าแห่งชีวิตคริสตชนที่พระเยซูเจ้าทรงสอนและ ดำ�เนินชีวติ พระองค์ทรงต้องการให้ศษิ ย์ของพระองค์เดินในเส้นทางแห่งความสุภาพ ถ่อมตน มีเมตตากรุณา และรูจ้ กั ให้อภัย คำ�เทศนาบนภูเขาเรือ่ ง “ความสุขแท้จริง” จึงเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายใหญ่หลวงสำ�หรับเราทุกคน ในเวลาเดียวกันพระองค์ยงั ทรงสัญญา ที่จะประทานรางวัลยิ่งใหญ่ สำ�หรับผู้เจริญชีวิตตามคำ�สอนของพระองค์ “จงชื่นชม ยิ น ดี เ ถิ ด เพราะบำ � เหน็ จ รางวั ล ของท่ า นในสวรรค์ นั้ น ยิ่ ง ใหญ่ นั ก ” (มธ 5:12)

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเราได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “ความสุขแท้จริง” ตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้า แล้ว เราแต่ละคนรู้สึกอย่างไร? เห็นด้วย? คล้อยตาม? หรือรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้? ไม่ จริง? แม้ว่าหากมีใครรู้สึกแบบไม่เห็นด้วยก็ไม่ใช่สิ่งที่แปลกเพราะน่าจะมีหลายคนที่ ไม่เข้าใจคำ�สอนนีข้ องพระเยซูเจ้าและจะไม่เห็นด้วย ซึง่ ไม่ใช่เฉพาะพวกเราเท่านัน้ แต่ คริสตชนอีกมากมายหลายคนก็เป็นเช่นเดียวกัน - แต่ในฐานะที่เป็นคริสคชน เราต้องไม่หยุดเพียงเท่านี้ เราต้องศึกษาให้เข้าใจ อย่างลึกซึ้งถึงความหมายของคำ�สอนของพระเยซูเจ้า เพราะพระวาจาทุกคำ�ของ พระองค์เป็นสิ่งที่คริสตชนต้องเชื่อและปฏิบัติ - วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยเราให้เข้าใจได้ไม่ยากก็คือ ให้เราถามตัวเองว่า “การแสวงหา และทำ�ทุกอย่างเพือ่ ความร่�ำ รวย การเป็นคนก้าวร้าว เป็นคนเบียดเบียนผูอ้ นื่ ทำ�ให้เขา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


95

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ต้องเป็นทุกข์ การทำ�อะไรตามใจตัวเองแบบเห็นแก่ตัว การเจริญชีวิตในความสกปรก ลามกมักมากด้วยความโลภ โกรธ หลง การไม่เคยนำ�ความรักและสันติสุขให้แก่ใคร เลยแต่ทำ�ตรงกันข้ามเสมอ...” สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีใช่หรือไม่? เป็นสิ่งที่จะนำ�ความ สุขมาให้แก่ตนเองใช่หรือไม่? จะทำ�ให้บคุ คลรอบข้างและสังคมของเรามีสนั ติสขุ ใช่หรือ ไม่? ถ้าเพือ่ นๆ ของฉันทุกคนเป็นแบบนีห้ มด ฉันจะมีชวี ติ อยูอ่ ย่างเป็นสุขได้อย่างไร? แล้วความสุขแท้จริงที่เราพูดถึงหรือที่ทุกคนใฝ่ฝันหาจะเกิดขึ้นได้อย่างไร? - เพียงแค่คำ�ถามแบบนี้ เราก็คงต้องตอบอย่างเป็นกลางว่า “ความสุขจะเกิดขึ้น ไม่ได้อย่างแน่นอน” ดังนั้น เมื่อเรามองด้านตรงกันข้ามของคำ�สอนของพระเยซูเจ้า แล้วจะเห็นว่า คำ�สอนของพระองค์เรื่อง “ความสุขแท้จริง” นั้นต้องเป็นความจริงได้ แน่ - ให้เรามาลงในภาคปฏิบัติกันโดยให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเท่าครั้งแรก จากนั้นให้ แต่ละกลุ่มทำ�ภารกิจตามใบงาน “จัดการเลย” โดยให้แต่ละคนปฏิบัติสิ่งที่เป็น ธรรมชาติของตนให้มากที่สุด (ผู้สอนควรระวังไม่ให้เกิดสิ่งที่รุนแรงขึ้น) - เมื่อทุกกลุ่มได้ปฏิบัติงานของตนเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนกลับเข้าที่นั่งสงบนิ่งสักครู่ จากนัน้ ให้ผสู้ อนถามว่า “รูส้ กึ อย่างไรกันบ้าง?” โดยให้ผเู้ รียนแต่ละคนบอกความรูส้ กึ ของตนเอง และผูส้ อนบันทึกคำ�ตอบไว้ทบี่ อร์ดหน้าชัน้ เมือ่ ผูเ้ รียนได้ตอบคำ�ถามเสร็จ แล้ว ผู้สอนจึงตั้งข้อสังเกตให้ผู้เรียนไตร่ตรองต่อไปว่า หากในชีวิตจริงเกิดสิ่งเหล่านี้ ขึ้นกับเราหรือกับคนอื่นๆ สังคมและโลกของเราจะอยู่กันได้อย่างไร? - แน่นอน ปฏิกิริยาโต้ตอบของทุกกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน บางกลุ่มอาจเป็นเชิง ลบคือแบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” แต่อีกบางกลุ่มอาจเป็นแบบเชิงบวกคือ “ทำ�ความ ดีตอบแทนความชัว่ ” ดังนัน้ ไม่วา่ ปฏิกริ ยิ าจะเป็นเช่นไร ย่อมมีผลทีต่ ามมาในทิศทาง เดียวกันเสมอ - ประสบการณ์เล็กๆ สั้นๆ นี้คงจะช่วยให้เราเข้าใจถึงตรรกะของพระเยซูเจ้าได้ ว่า คำ�สอนของพระองค์นั้นไม่มีวันผิดพลาด ส่วนผู้ที่อาจพลาดก็คือเราเอง นั่นเพราะ ความคิดของมนุษย์อยูใ่ นขอบเขตจำ�กัด แต่ของพระเจ้านัน้ ไม่มขี อบเขต แม้บางครัง้ เรา อาจเข้าใจความจริงของพระองค์ไม่ได้ แต่หลายๆ ครั้งการไตร่ตรองและการทดลอง บางอย่างจะช่วยเราให้เข้าใจถูกต้องได้

- จากการเรียนข้างต้นนี้ จะทำ�ให้เราเข้าใจถึงความหมายและความสำ�คัญของ “ความสุขแท้จริง” ซึง่ เป็นหนทางเดียวทีจ่ ะทำ�ให้เรามีความสงบสุขในโลกนีแ้ ละในชีวติ หน้าด้วย แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจและปฏิบัติได้ไม่ง่าย แต่ก็จำ�เป็นที่สุดเพราะหาก เราปฏิบัติตรงกันข้าม เราไม่มีวันจะบรรลุถึงความสุขเที่ยงแท้ได้อย่างแน่นอน - ให้ผู้เรียนนั่งนิ่งสักครู่ จากนั้นให้แต่ละคนเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อจาก “ความสุข แท้จริง” ที่ตนรู้สึกว่าต้องพัฒนาตนเองในด้านนั้นมากที่สุด 6

หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อจาก “ความสุขแท้จริง”

ดูใบงาน “จัดการเลย” ท้ายแผน


96

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7

ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวดภาวนานี้พร้อมกันอย่างตั้งใจ : “ข้าแต่พระเจ้า พระบิดาผู้ทรงพระทัยดี พวกลูกวอนขอพระหรรษทานจากพระองค์ที่ จะช่วยให้พวกลูกเป็นคนเรียบง่ายและสุภาพถ่อมตน รู้จักร้องไห้กับผู้ที่เป็นทุกข์ เป็น คนอ่อนโยน ร่วมมือกันทำ�งานเพื่อความยุติธรรมและสันติสุข เฉพาะอย่างยิ่งพวกลูก วอนขอพระหรรษทานที่จะรับการอภัยโทษจากพระองค์ เพื่อพวกลูกจะได้กลายเป็น เครื่องมือแห่งพระเมตตากรุณาของพระองค์ อาแมน”

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................

ใบงาน “ความสุขของฉัน” คำ�ชี้แจง - ให้สมาชิกทุกคนช่วยกันตอบคำ�ถามที่ว่า “สิ่งใดให้ความสุขแก่เธอมากที่สุด?...เพราะเหตุใด?...” โดยให้ตอบตามความเป็นจริงอย่างน้อยกลุ่มละ 5 ข้อ ที่ 1 2 3 4 5

สิ่งที่ให้ความสุขแก่ฉันมากที่สุด

เพราะ...


97

ใบงาน “จัดการเลย” คำ�ชี้แจง - 1) ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มสมมติว่า ตนถูกคนอื่นทุกคนในห้องนี้รุมทำ�ร้าย จึงเกิดความเคียดแค้น และอยากเอาคืนให้สาสม 2) ให้ช่วยกันวางแผนว่า จะแก้แค้นคนอื่นๆ ด้วยวิธีใดได้บ้าง? 3) เมื่อวางแผนได้แล้ว ให้จัดการปฏิบัติได้ทันที (ผู้สอนให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนจับฉลากลำ�ดับที่จะ ปฏิบัติการแก้แค้น)


98

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณค่าของมิตรภาพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.3 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า มิตรภาพแท้คือความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างสองบุคคล อัน เป็นความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายเติบโตจนบรรลุวุฒิภาวะ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสร้างสัมพันธ์ฉันมิตรเชิงบวกกับเพื่อนทุกคน สาระการเรียนรู ้ มิตรภาพแท้คือความสัมพันธ์ฉันเพื่อนระหว่างสองบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม เป็น สัมพันธภาพที่ตั้งอยู่บนเหตุผลและเป้าหมายที่ถูกต้อง มิใช่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น ผู้ใดมีมิตรแท้ก็ เท่ากับเป็นเจ้าของ “ขุมทรัพย์” อันประเสริฐเลยทีเดียว ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นด้วยคำ�ถามที่ว่า “เธอชอบเพื่อนชนิดใดมากที่สุด?” โดยให้ ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “My friend” - จากนั้น ให้ผู้เรียนแบ่งปันคำ�ตอบให้แก่เพื่อนๆ โดยให้มีการสรุปบันทึก คำ�ตอบไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง รวมทั้งความถี่ของแต่ละคำ�ตอบไว้ด้วย - เมื่อแบ่งปันคำ�ตอบกันเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่า คำ�ตอบเหล่านี้คือสิ่ง ที่เป็นจริงในชีวิตของเรา แต่หากให้เรามามองในมุมของ “มิตรภาพแท้” นั้น ทุกคำ� ตอบเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่อย่างไร? - ให้ผู้เรียนไตร่ตรองคำ�ตอบเหล่านั้นสักครู่ จากนั้น จึงเปิดอภิปรายให้ทุกคน แสดงความคิดเห็น - อะไรจะเป็นเกณฑ์ให้เราตัดสินได้ว่า เพื่อนชนิดใดเป็นเพื่อนแท้ท่ีมีมิตรภาพ แท้ ให้เรามาดูว่า พระวาจาของพระเจ้าได้สอนเราเกี่ยวกับเรื่อง “มิตรภาพ” ไว้ว่า อย่างไร? 3 พระวาจา : มิตรภาพ (บสร 6:5-17) ปากหวานทวีจำ�นวนมิตรสหาย วาจาสุภาพส่งเสริมอัธยาศัยไมตรี มีมิตรมากไว้เป็นการดี แต่จงมีที่ปรึกษาเพียงคนเดียวในพันคน ถ้าท่านต้องการมีเพื่อน จงลองใจเขาก่อน อย่าด่วนไว้ใจเขา บางคนเป็นเพื่อนเมื่อได้ประโยชน์ แต่เมื่อท่านลำ�บาก เขาก็หายหน้าไป มิตรบางคนกลายเป็นศัตรู และนำ�การวิวาทกับท่านไปโพนทะนาให้ท่านต้อง อับอาย

ดูใบงาน “My friend” ท้ายแผน


99

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ บางคนเป็นเพื่อนกิน แต่เมื่อท่านลำ�บาก เขาก็หายหน้าไป เมื่อทุกอย่างราบรื่น เขาก็เป็นเพื่อนคู่ใจ ทำ�ตนเป็นนาย บังอาจสั่งผู้รับใช้ของ ท่าน แต่เมื่อท่านตกอับ เขาก็ลุกขึ้นมาเป็นศัตรูกับท่าน คอยหลีกเลี่ยงไม่พบหน้าท่าน จงอยู่ห่างจากศัตรูของท่าน และจงคอยระวังเพื่อนของท่าน เพื่อนซื่อสัตย์เป็นที่ปกป้องแข็งแรง ใครพบมิตรเช่นนี้ก็เหมือนได้พบสมบัติ เพื่อนซื่อสัตย์หาค่ามิได้ ไม่มีมาตรใดวัดค่าของเขาได้ เพื่อนซื่อสัตย์เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะ ผู้ยำ�เกรงองค์พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นจะพบ เขาได้ ผู้ยำ�เกรงองค์พระผู้เป็นเจ้าย่อมรักษามิตรภาพอย่างมั่นคง เขาเป็นเช่นใด เพื่อน ของเขาก็เป็นเช่นนั้น

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาคำ�แรกที่นำ�มานี้อาจทำ�ให้เรารู้สึกไม่เห็นด้วยแต่หากเรามองต่อไปอีก นิดจะเข้าใจได้ทันทีว่า สำ�หรับคนสองคนที่ปรารถนาจะรักษามิตรภาพไว้ให้ยาวนาน นัน้ จำ�เป็นต้องระวังเรือ่ งคำ�พูดให้มมี ารยาททีด่ ดี ว้ ย เพราะคงไม่มใี ครอดทนผูท้ ดี่ า่ ว่า เราอยู่ตลอดเวลาได้ ไม่เคยใช้วาจาสุภาพ น่ารักกับเราเลย แม้จะรู้ว่าเขาหวังดีกับเรา ก็ตาม - มิตรแท้นั้นหายาก ดังนั้น เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่ “ทุกคน” ซึ่งเรารู้จักเขา จะเป็นมิตรแท้ของเราได้ แม้ว่าจะมีหลายๆ คนที่เขาพยายามแสดงเจตจำ�นงเช่นนั้น ก็ตาม ดังนัน้ จึงจำ�เป็นทีเ่ ราจะต้องทดลองใจเพือ่ นก่อนทีเ่ ราจะสรุปว่า คนใดคือมิตรแท้ ของเรา เพราะเป็นจริงตามคำ�โบราณที่ว่า “เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก” คง ไม่มีใครแย้งว่า ความจริงนี้เป็นอมตะจริงๆ - ผู้ใดได้พบเพื่อนแท้เขาก็จะได้พบกับความสุขแท้เพราะ “ใครพบมิตรเช่นนี้ก็ เหมือนได้พบสมบัติ เพื่อนซื่อสัตย์หาค่ามิได้ ไม่มีมาตรใดวัดค่าของเขาได้ เพื่อน ซื่อสัตย์เป็นเสมือนยาอายุวัฒนะ...” - เงื่อนไขสำ�คัญหนึ่งที่จะทำ�ให้เกิดมิตรแท้ได้ นั่นก็คือ ความเกรงกลัวองค์พระผู้ เป็นเจ้า เพราะผู้เกรงกลัวพระเจ้าจะยึดพระองค์และพระบัญญัติของพระองค์เป็นหลัก ยึดเหนีย่ วในชีวติ ไม่ใช้ตนเองเป็นศูนย์กลางของการตัดสินและการกระทำ�สิง่ ต่างๆ ดัง นั้น หากมีสองคนที่ยึดมั่นในองค์พระเจ้าเช่นนี้เขาก็จะสามารถเป็น “เพื่อนแท้” ต่อ กันได้อย่างแน่นอน - พระวาจานี้ทำ�ให้เราเข้าใจว่า ตราบใดที่เราคบเพื่อนเพื่อตัวเราเอง เราจะไม่มี วันเป็นเพื่อนแท้ของใครได้ เพราะเราจะสร้างแต่ความสัมพันธ์กับคนอื่นบนพื้นฐาน ของความเห็นแก่ตัวและประโยชน์ของเราเอง แต่ตรงกันข้าม หากเราคบใครเพื่อ ความดีของคนๆ นั้น และบุคคลนั้นเขาก็มีพื้นฐานนี้เช่นเดียวกันกับเรา สัมพันธภาพ ของมิตรภาพแท้ระหว่างสองคนก็จะเกิดขึน้ ได้อย่างแน่นอน เพราะต่างฝ่ายต่างก็จะทำ� ทุกอย่างเพือ่ ให้อกี ฝ่ายหนึง่ เติบโตด้านจิตใจจนบรรลุวฒ ุ ภิ าวะได้ แม้แต่ละฝ่ายจะต้อง เสียสละตนเองมากเพียงใดก็ตาม

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


100

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า มิตรภาพสำ�คัญก็จริง แต่การเป็นแฟนกันนั้นมันไม่ เกี่ยวกับเรื่องมิตรภาพ เพราะมันเป็นคนละเรื่อง เพื่อนก็ส่วนเพื่อน แฟนก็ส่วนแฟน...

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- นี่คือความคิดที่ไม่ถูกต้องเพราะจริงๆ แล้ว มิตรภาพที่ดีต้องเป็นพื้นฐานของ ทุกสัมพันธภาพ ไม่ว่าจะเป็นกับบุคคลในครอบครัว ระหว่าง พ่อแม่ลูก พี่น้อง ญาติ กับเพื่อนๆ วัยเดียวกันหรือต่างวัย กับผู้ร่วมงาน กับผู้มีอายุมากหรือน้อยกว่าก็ตาม สรุปก็คอื ทุกคนต้องพยายามสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกกับทุกคน เพราะนีค่ อื มาตรวัด ถึงวุฒิภาวะของแต่ละบุคคล - พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาให้เป็น “สัตว์สังคม” นั่นหมายความว่า มนุษย์จะ ไม่อยู่คนเดียวแต่จะอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะรูปแบบของครอบครัว องค์การ ที่ทำ�งาน ทั้ง ในระดับสังคมเล็กและใหญ่ ชุมชน ประเทศชาติ นานาชาติ ดังนั้น จึงจำ�เป็นที่แต่ละ หน่วยของครอบครัวหรือสังคมต้องรู้จักเจริญชีวิตด้วยการสร้างสัมพันธ์เชิงบวกกับ บุคคลรอบข้าง มิฉะนัน้ แล้ว มนุษย์คงจะหาความสุขได้ยากเพราะทุกคนยึดตนเองเป็น ศูนย์กลางของทุกสิ่ง เช่นนี้มนุษย์จะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร? - ในระดับกลุ่มและครอบครัวของเราแต่ละคนก็ไม่ต่างกัน เราต้องเจริญชีวิตเพื่อ ผู้อื่นเสมอ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครเพราะนี่คือพื้นฐานของความสัมพันธ์เชิงบวกกับ ทุกคน - ให้แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ละประมาณ 4-5 คน จากนั้นให้ทำ�ใบงาน “Best friend” เพื่อให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรองเพิ่มเติมและเข้าใจในความหมายแท้จริงของ มิตรภาพมากขึ้น

ดูใบงาน “Best friend” ท้ายแผน

- เมื่อทำ�งานกลุ่มเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนสรุปเนื้อหาทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งโดยให้ ผู้เรียนช่วยกันสรุปว่า สัมพันธภาพของมิตรภาพแท้นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง? 6

หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนสร้างสัมพันธ์ฉันมิตรเชิงบวกกับเพื่อนทุกคน

7

ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้น ให้ทุกคนชูมือขึ้นระดับศีรษะ จับมือกัน แล้ว สวดภาวนา “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกัน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................


101

ใบงาน “My friend” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำ�ถามที่ว่า “เธอชอบเพื่อนชนิดใดมากที่สุด?... เพราะเหตุใด?” โดยใส่ คำ�ตอบลงในตาราง อย่างน้อย 3 คำ�ตอบโดยเริ่มเขียนจากมากไปหาน้อย ที่ 1 2 3

ลักษณะของเพื่อนที่ชอบมากที่สุด

เพราะ...


102

ใบงาน “Best friend” คำ�ชี้แจง - 1) ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนประมาณกลุ่มละ 4-5 คน 2) เมื่อจัดกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ให้แจกใบงาน “Best friend” แก่สมาชิกในกลุ่ม 3) ให้สมาชิกกลุ่มอ่านข้อความเรื่อง “เพื่อน” ทั้ง 5 ข้อความอย่างตั้งใจ แล้วไตร่ตรอง 4) ให้ตอบคำ�ถามที่ว่า “ท่านเห็นด้วยกับข้อความเกี่ยวกับ ‘เพื่อน’ ทั้ง 5 ข้อความนี้หรือไม่? เพราะเหตุใด?” โดยใส่คำ�ตอบไว้ในตารางที่กำ�หนดให้ ที่ 1

ข้อความ ความรักแท้นนั้ หายากฉันใด มิตรภาพ แท้ก็หายากฉันนั้น เพื่อนคือบุคคลที่ จะบอกเธอบางสิ่งบางอย่างที่เธอไม่ อยากจะบอกตัวเอง

2

ฉันไม่ต้องการเพื่อนที่เปลี่ยนเมื่อฉัน เปลีย่ น จามเมือ่ ฉันจาม เพราะเงาของ ฉันมันทำ�ได้ดีกว่าตั้งเยอะ

3

แต่ละคนมักจะมีเพื่อนในช่วงต่างๆ ของชีวิต น้อยคนนักที่จะมีเพื่อนคน เดียวในทุกช่วงของชีวิต

4

เพือ่ นคือคนทีอ่ ยูก่ บั เราตลอดเวลา ไม่ เคยปล่ อ ยให้ เราโดดเดี่ ย ว ไม่ เ คย ทำ�ให้เราเสียใจ ไม่ว่าจะด้วยคำ�พูด หรือการกระทำ�

5

ความพยายามทีย่ งิ่ ใหญ่ของมิตรภาพ มิ ใ ช่ อ ยู่ ที่ ก ารแสดงให้ เ ขาเห็ น ข้ อ บกพร่องของเรา แต่อยูท่ ที่ �ำ ให้เขาเห็น ข้อบกพร่องของเขาเอง

เห็นด้วยหรือไม่

เพราะ...




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.