รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน ..............................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า .....................................................................................2 เรื่อง อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี ..................................................................................6 เรื่อง อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส .................................................................................10 เรื่อง อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคน .................................................................................13 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง คริสตชนคือพระวิหารของพระจิตเจ้า .....................................................................17 เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในกระแสเรียกคริสตชน ........................................................20 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง อิสราเอล : ประชากรเดิมของพระเจ้า ....................................................................25 เรื่อง พระศาสนจักร : ประชากรใหม่ของพระเจ้า ............................................................29 เรื่อง พระนางมารีย์ : แบบอย่างของผู้รับใช้ ................................................................33 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความเชื่อของคริสตชนเรื่องชีวิตหลังความตาย .........................................................37 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พระเยซูเจ้า : ศูนย์กลางประวัติศาสตร์แห่งความรอด ...........................................41 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง สิ่งคล้ายศีล .........................................................................................................45 เรื่อง การสวดสายประคำ� ..............................................................................................50 เรื่อง ความหมายของพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ..............................................................55 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การภาวนาด้วยบทเพลงสดุดี .................................................................................60 เรื่อง การทำ�วัตร ..........................................................................................................66 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง คุณธรรมความรอบคอบ ........................................................................................71 เรื่อง คุณธรรมความยุติธรรม ......................................................................................76 เรื่อง คุณธรรมความกล้าหาญ ......................................................................................80 เรื่อง คุณธรรมความมัธยัสถ์ ...................................................................................86 เรื่อง ความหมายของอิสรภาพ .....................................................................................91



1

ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่บ้างแต่ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์ จึงยังมีบางสิ่ง ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ ความเชื่อ ความไว้ใจและความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง เรื่องอุปมาของพระเยซูเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่าพระเยซูเจ้าทรงสอนความจริงเกี่ยวกับความรอดพ้นด้วยเรื่อง อุปมา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านพระวรสารบ่อยขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องอุปมา สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าทรงสั่งสอนประชาชนด้วยคำ�สอนต่างๆ มากมาย รวมทั้งอาศัยเรื่องอุปมาด้วย เหตุที่พระองค์ ทรงใช้เรือ่ งอุปมาก็เพราะคำ�สอนบางอย่างนัน้ สามารถเข้าใจได้งา่ ยกว่าหากสอนด้วยเรือ่ งอุปมาเนือ่ งจากคำ�สอนหลายอย่างนัน้ อยู่ในระดับนามธรรม การใช้เรื่องอุปมาจึงทำ�ให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจในระดับรูปธรรมได้ง่ายขึ้น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่าเรื่อง “คนใช้ไร้เมตตา” ให้ผู้เรียนฟัง (หรือเปิดซีดีให้ดู) เมื่อจบแล้ว ให้ถามผู้เรียนว่า “เรื่องนี้สอนว่าอะไร?...เข้าใจความสำ�คัญและความหมายของคำ�ว่า “ให้อภัย” มากน้อยเท่าใด?...” - ให้ถามผู้เรียนว่า ถ้าผู้สอนอธิบายเรื่องการให้อภัยโดยใช้คำ�พูดเท่านั้น (ไม่เล่า เรื่องหรือไม่ให้ดูซีดี) ผู้เรียนจะเข้าใจได้ดีมากแค่ไหน? จะสนใจฟังไหม? จะจำ�สิ่งที่ได้ ฟังไปได้ยาวนานแค่ไหน? โดยให้ผู้เรียนตอบอย่างอิสระ - ให้เรามาดูเรื่องอุปมาอีก 1 เรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเพื่ออธิบายให้เราเข้าใจถึง การให้อภัยของพระเจ้า 3 พระวาจา : เรื่องลูกล้างผลาญ (ลก 15:11-24) พระองค์ยังตรัสอีกว่า ชายผู้หนึ่งมีบุตรสองคน บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า “พ่อ ครับ โปรดให้ทรัพย์สมบัติส่วนที่เป็นมรดกแก่ลูกเถิด” บิดาก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ ลูกทั้งสองคน ต่อมาไม่นาน บุตรคนเล็กรวบรวมทุกสิ่งที่มีแล้วเดินทางไปยังประเทศ ห่างไกล ที่นั่นเขาประพฤติเสเพลผลาญเงินทองจนหมดสิ้น เมื่อเขาหมดตัว ก็เกิดกันดารอาหารอย่างหนักทั่วแถบนั้น และเขาเริ่มขัดสน จึงไปรับจ้างอยูก่ บั ชาวเมืองคนหนึง่ คนนัน้ ใช้เขาไปเลีย้ งหมูในทุง่ นาเขาอยากกินฝักถัว่ ที่หมูกินเพื่อระงับความหิว แต่ไม่มีใครให้ เขาจึงรู้สำ�นึกและคิดว่า คนรับใช้ของพ่อฉัน มีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ ส่วนฉันอยู่ที่นี่ หิวจะตายอยู่แล้ว ฉันจะกลับไปหาพ่อ พูดกับ พ่อว่า “พ่อครับ ลูกทำ�บาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อว่าเป็นลูกของ พ่ออีก โปรดนับว่าลูกเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพ่อเถิด” เขาก็กลับไปหาบิดา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

☆ ผู้สอนใช้วิธีการเล่าหรือเปิด

ซีดี


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ขณะที่เขายังอยู่ไกล บิดามองเห็นเขา รู้สึกสงสาร จึงวิ่งไปสวมกอดและจูบเขา บุตรจึงพูดกับบิดาว่า “พ่อครับ ลูกทำ�บาปผิดต่อสวรรค์และต่อพ่อ ลูกไม่สมควรได้ชื่อ ว่าเป็นลูกของพ่ออีก” แต่บดิ าพูดกับผูร้ บั ใช้วา่ “เร็วเข้า จงไปนำ�เสือ้ สวยทีส่ ดุ มาสวมให้ ลูกเรา นำ�แหวนมาสวมนิ้ว นำ�รองเท้ามาใส่ให้ จงนำ�ลูกวัวที่ขุนอ้วนแล้วไปฆ่า แล้วกิน เลี้ยงฉลองกันเถิด เพราะลูกของเราผู้นี้ตายไปแล้วกลับมีชีวิตอีก หายไปแล้ว ได้พบกัน อีก” แล้วการฉลองก็เริ่มขึ้น 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้เล่าถึงความสัมพันธ์ฉันท์พ่อลูกในครอบครัว แสดงให้เห็นถึง ความรักของพระบิดาที่มีมากมายมหาศาลต่อลูก อาจยอมให้ในสิ่งที่ลูกขอ แม้จะคาด การณ์ได้ว่าลูกอาจไม่สามารถบรรลุความสำ�เร็จตามความประสงค์ของเขาได้ แต่พ่อก็ ไม่ขัดขวางให้ลูกได้พิสูจน์ตนเอง และพร้อมจะเปิดแขนโอบกอดลูก เมื่อเขากลับบ้าน ในสภาพที่โทรมที่สุดและได้สูญเสียทุกอย่างก็ตาม นั่นคือ พ่อพร้อมที่จะให้โอกาสลูก เสมอ และแม้ลูกจะตกต่ำ�แค่ไหน นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำ�ให้พ่อยังคงรักลูกต่อไป - พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องอุปมานี้ให้ผู้ฟังเข้าใจถึงความรักและการให้อภัยนี้ อย่างชัดเจนทีส่ ดุ เพือ่ จะสอนเรามนุษย์ทกุ คนให้เข้าใจถึงความรักของพระบิดาเจ้า เหตุ ที่พระเยซูเจ้าทรงต้องทำ�เช่นนี้เพราะพระเจ้าทรงเป็นจิต พระองค์ไม่ทรงมีร่างกาย เหมือนเรา การกล่าวถึงพระเจ้าจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก หากใช้เพียงแต่คำ�พูดอธิบาย - พระเยซูเจ้าจึงทรงเลือกใช้เรื่องอุปมาเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เข้า ใจโดยใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระอาจารย์ที่ชาญฉลาด พระองค์ทรงใช้วิธีการที่ล้ำ�เลิศ ที่สุดในการอธิบายถึงธรรมล้ำ�ลึกเกี่ยวกับพระเจ้าซึ่งมนุษย์ผู้มีขอบเขตอย่างเราจะ สามารถเข้าใจได้โดยไม่ยาก หรือบางอย่างก็อาจไม่สามารถเข้าใจได้ดว้ ยลำ�พังกำ�ลังสติ ปัญญา จึงต้องใช้ความเชื่อเท่านั้น - เรื่องเล่าเปรียบเทียบที่พระเยซูเจ้าทรงใช้นั้นมีหลายเรื่อง โดยแต่ละเรื่องก็มี เป้าหมายที่จะสอนอัตถ์ความจริงที่ต่างกัน - ให้ผู้เรียนเล่นเกม “หาเลขเด็ด”โดยดูคำ�อธิบายจากใบงานท้ายแผน - จากเกมที่ได้เล่นนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงชื่อเรื่องอุปมาที่พระเยซูเจ้าได้ทรง เล่าในพระวรสาร - ในคาบต่อๆ ไป ผู้เรียนจะได้เรียนรู้รายละเอียดของเรื่องอุปมาอีกบางเรื่อง แต่คงไม่ใช่ทั้งหมดเพราะเรื่องอุปมาที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านั้นมีจำ�นวนมากมาย จึงอาจ ทำ�ให้ต้องใช้เวลามากพอสมควร 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนอ่านพระวรสารบ่อยขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องอุปมา

☆ ดูใบงานท้ายแผน


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน เกม “หาเลขเด็ด” คำ�ชี้แจง - 1. ให้ผู้สอนเตรียมฉลากไว้ 22 เลข และให้มีฉลากกระดาษเปล่าอีก 8 ใบ (รวม 30 ใบ) แล้วเอา ฉลากทั้งหมดไปซ่อนตามจุดต่างๆ ในห้องเรียน และให้เตรียมกระดาษเฉลยตามภาพนี้ ขนาด A4 จำ�นวน 2 แผ่น

1. อุปมาเรื่องผู้หว่าน 2. อุปมาเรื่องข้าวละมาน 3. อุปมาเรื่องเมล็ดมัสตาร์ด 4. อุปมาเรื่องเชื้อแป้ง 5. อุปมาเรื่องขุมทรัพย์และไข่มุก 6. อุปมาเรื่องอวน 7. อุปมาเรื่องลูกหนี้ไร้เมตตา 8. อุปมาเรื่องคนงานในสวนองุ่น 9. อุปมาเรื่องบุตรสองคน 10. อุปมาเรื่องคนเช่าสวนชั่วร้าย 11. อุปมาเรื่องงานวิวาหมงคล

12. อุปมาเรื่องผู้รับใช้ที่รับผิดชอบ 13. อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคน 14. อุปมาเรื่องเงินตะลันต์ 15. อุปมาเรื่องการตวง 16. อุปมาเรื่องตะเกียง 17. อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี 18. อุปมาเรื่องมะเดื่อไร้ผล 19. อุปมาเรื่องแกะที่พลัดหลง 20. อุปมาเรื่องเงินเหรียญที่หายไป 21. อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส 22. อุปมาเรื่องผู้รับใช้สิบคนที่รับเงินไปทำ�ทุน


5

คำ�ชี้แจง - 2. ให้แบ่งผู้เรียนเป็นสองฝ่ายโดยอาจตั้งชื่อเป็น “กลุ่มบู๊” และ “กลุ่มบุ๋น” (หรือใช้ชื่ออื่นก็ได้) 3. ผู้สอนเตรียมปากกาไวท์บอร์ด 2 สีแจกให้กลุ่มละ 1 สี 4. จากนั้นให้ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันค้นหาฉลาก “หมายเลข” ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ โดยทั้งสองกลุ่มต้องได้ฉลากรวมกันทั้งหมดจำ�นวน 30 ชิ้น 5. เมือ่ ผูเ้ ล่นทัง้ สองกลุม่ หาฉลากรวมกันได้ครบทุกชิน้ แล้ว ให้แต่ละกลุม่ เปิดดูฉลากของตนเองว่า มีเลขอะไรบ้าง? กี่หมายเลข? และมีฉลากขาวกี่ชิ้น ฝ่ายที่มีเลขมากกว่าถือว่าเป็นผู้ชนะขั้นที่ 1 6. จากนั้นผู้สอนเอากระดาษเฉลยแจกให้กลุ่มละ 1 แผ่น แล้วให้สมาชิกแต่ละกลุ่มท่องจำ�ให้ได้ ว่าเลขที่กลุ่มตนได้นั้นตรงกับเรื่องอุปมาเรื่องใด โดยให้เวลาประมาณ 2-3 นาทีจากนั้นให้ ผู้สอนเก็บกระดาษเฉลย 7. ให้ทั้งสองกลุ่มส่งตัวแทนมาเขียนชื่อเรื่องอุปมาตามลำ�ดับเลขที่กลุ่มหามาได้บนกระดานไวท์ บอร์ดหน้าห้อง (ตามตารางด้านล่าง) กลุ่มที่เขียนได้ถูกต้องทั้งหมด ถือว่าเป็นฝ่ายชนะขั้นที่ 2 ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 ... ... 22

ชื่อเรื่องอุปมา

กลุ่ม


6

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง อุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า คริสตชนต้องรักเพือ่ นมนุษย์ทกุ คน โดยไม่แบ่งแยกหรือเลือก ปฏิบัติ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรักต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่ตนเอง ไม่ชอบ สาระการเรียนรู ้ เรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีเป็นอุปมาเรื่องหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงเล่า เพื่อสอนนักกฎหมายและเราทุกคนว่า การรัก “เพือ่ นมนุษย์” หมายความว่า เราต้องรักเพือ่ นมนุษย์ทกุ คนโดยไม่เว้นใครแม้กระทัง่ ศัตรู เพราะพระเยซูเจ้าทรงต้องการ ให้เราทำ�ให้ผู้ที่เขาตั้งตนเป็นศัตรูกับเรา รวมทั้งคนที่เราไม่ชอบหรือเกลียดเขา กลายมาเป็น “เพื่อนมนุษย์” ของเรา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “คนน่ารัก” โดยใช้เวลาประมาณ 5 นาที - เมื่อทุกคนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้เอาจำ�นวนเต็มทั้งหมดของผู้เรียนลบจำ�นวน เพื่อนในใบงาน ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นจำ�นวนของเพื่อนที่มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ระหว่างเพื่อนๆ ในห้อง - ผลจากการทำ�ใบงานนี้ทำ�ให้พิจารณาได้ว่า ในสังคมของเรา คนส่วนใหญ่มักมี ปัญหากัน ไม่ว่าจะเป็นการโกรธ เกลียด ชิงชัง แค้น แก้แค้น อิจฉาริษยา อาฆาตมาด ร้าย ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากสาเหตุของความเห็นแก่ตัวและความหยิ่งจองหอง และนี่คือสาเหตุของความทุกข์ของการอยู่ร่วมกันในทุกระดับ - สังคมที่พระเยซูเจ้าทรงปรารถนาให้เราอยู่คงไม่เป็นแบบนี้ แล้วพระองค์ทรง ต้องการให้ศิษย์ของพระองค์เป็นเช่นไร? ให้เรามาดูกัน... 3 พระวาจา : เรื่อง ชาวสะมาเรียผู้ใจดี (ลก 10:29-37) ชายคนนั้นต้องการแสดงว่าตนถูกต้อง จึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “แล้วใครเล่า เป็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า “ชายคนหนึ่งกำ�ลังเดิน ทางจากกรุงเยรูซาเล็มไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิ่ง ทุบตีเขา แล้วก็จากไป ทิง้ เขาไว้อาการสาหัสเกือบสิน้ ชีวติ สมณะผูห้ นึง่ เดินผ่านมาทางนัน้ โดย บังเอิญ เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึง่ ชาวเลวีคนหนึง่ ผ่านมาทางนัน้ เห็น เขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึง่ เช่นเดียวกัน แต่ชาวสะมาเรียผูห้ นึง่ เดินทางผ่าน มาใกล้ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึงเดินเข้าไปหา เทน้ำ�มันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผล

ดูใบงาน “คนน่ารัก” ท้ายแผน


7

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

แล้วพันผ้าให้ นำ�เขาขึน้ หลังสัตว์ของตนพาไปถึงโรงแรมแห่งหนึง่ และช่วยดูแลเขา วันรุง่ ขึ้นชาวสะมาเรียผู้นั้นนำ�เงินสองเหรียญออกมามอบให้เจ้าของโรงแรมไว้กล่าวว่า ‘ช่วย ดูแลเขาด้วย เงินทีท่ า่ นจะจ่ายเกินไปนัน้ ฉันจะคืนให้เมือ่ กลับมา’ ท่านคิดว่าในสามคน นีใ้ ครเป็นเพือ่ นมนุษย์ของคนทีถ่ กู โจรปล้น” เขาทูลตอบว่า “คนทีแ่ สดงความเมตตาต่อ เขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไปและทำ�เช่นเดียวกันเถิด” 4. อธิบายพระวาจา - เรื่องอุปมาที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านี้สะท้อนให้เห็นความจริงของชีวิตได้ดีที่สุดว่า สังคมของเราไม่ว่าคนกลุ่มไหน ระดับใด เชื้อชาติใด ก็ล้วนมักจะใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ ในการดำ�รงชีวิต ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง อ้างทุกเหตุผลเพื่อผลประโยชน์ ของตนเอง จะมีสกั กีค่ นทีอ่ ยูแ่ ละทำ�เพือ่ ผลประโยชน์ของผูอ้ นื่ อย่างจริงใจโดยไม่หวังผล ตอบแทน - พระเยซูเจ้าทรงสอนความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยพระปรีชาญาณ โดยเล่าเรื่อง อุปมาให้ฟัง ไม่ทรงอธิบายยืดยาวโดยใช้คำ�พูดมากมาย ผู้ที่ฟังพระองค์ได้เข้าใจสิ่งที่ พระองค์ทรงต้องการสอนอย่างลึกซึ้ง - ประเด็นท้าทายที่พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้ผู้ฟังและเราทุกคนรู้สึกสะกิดใจอย่าง มากคือ การช่วยเหลือผูท้ เี่ ป็นศัตรูกนั คือชาวสะมาเรีย และการละเลยให้ความช่วยเหลือ ของผู้ที่ควรจะช่วย คือ สมณะและเลวี พระเยซูเจ้าทรงจี้จุดของผู้ฟังทุกคน ทั้งสำ�หรับ คนที่คิดว่าตัวเองดีสมบูรณ์แบบแล้ว และคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนบาป 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ไม่มีใครอยากอยู่ในความทุกข์ แต่เป็นสิ่งแปลกที่คนส่วนใหญ่มักเป็นต้นเหตุ แห่งความทุกข์ของคนอืน่ นัน่ เพราะบางคนชอบหาความสุขใส่ตวั บนความทุกข์ของคน อื่น ซึ่งก็คือความเห็นแก่ตัวนั่นเอง ด้วยการเอาตนเองเป็นศูนย์กลางของโลกจักรวาล และทุกสิ่ง มนุษย์มักยึดติดกับทิฐิของตนเอง และหลงกลปีศาจแห่งความหยิ่งจองหอง - แต่ด้วยอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีนี้ พระเยซูเจ้าทรงสอนสิ่งที่ทวนกระแส กับโลกและธรรมชาติมนุษย์ เพื่อจะบอกแก่ทุกคนว่า ความสุขเที่ยงแท้ย่อมมาจาก การที่เราสามารถมองเห็นทุกคนเป็นดัง “เพื่อนมนุษย์” ทุกคนไม่เว้นใคร ไร้ซึ่ง พรมแดนใดมากีดกั้น เพราะตราบใดที่เรายังมีการแบ่งแยก การเลือกปฏิบัติ การเห็น แต่ความสุขส่วนตัว ตราบนั้นสังคมมนุษย์ไม่มีวันจะอบอวลด้วยความสุขได้ - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมในใบงาน “หอคอย” ตามคำ�สั่งอย่างเคร่งครัด ภายใน เวลาไม่เกิน 5 นาที หรือตามที่ผู้สอนเห็นว่าเหมาะสม - ขณะที่ผู้เรียนประกอบ “หอคอย” เสร็จแล้ว ให้ผู้สอนแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงข้อ สังเกตที่ได้ ทั้งนี้ จุดประสงค์ของการทำ�กิจกรรมนี้คือ การสังเกตแนวโน้มของผู้เรียน ในเรื่องการรู้จักทำ�งานร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การยอมรับความ แตกต่างที่สามารถสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันได้ และการยอมรับผู้ที่ตนไม่ชอบ ฯลฯ - ดังนั้น เมื่อจบคาบเรียนนี้แล้ว จึงควรเสนอแนะข้อปฏิบัติให้ผู้เรียนฝึกมองเห็น ว่า คนที่ตนไม่ชอบนั้นคือ “เพื่อนมนุษย์” ทั้งในครอบครัวและที่โรงเรียน

ดูใบงาน “หอคอย” ท้ายแผน


8

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนแสดงความรักต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่ง ต่อผู้ที่ตนเองไม่ ชอบ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนกางแขนออก จับมือกัน ภาวนา “บทข้าแต่พระบิดา” อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “คนน่ารัก” คำ�ชีแ้ จง - ให้ผเู้ รียนเขียนชือ่ ของเพือ่ นในห้องเรียนเดียวกันทีร่ สู้ กึ ว่า เขาเป็นผูท้ ที่ กุ คนรักทัง้ หมด โดยใส่เพียง ตัวอักษรแรกหน้าชื่อของเขาเท่านั้น และบอกเหตุผลด้วยว่า ทำ�ไมจึงเป็นเช่นนั้น? ที่ 1 2 3 4 5

ชื่อตัวอักษร

เหตุผล


9

ใบงาน “หอคอย” คำ�ชี้แจง - ให้สร้างหอคอยให้สูงที่สุดในแบบอิสระ โดยใช้วัสดุใดก็ได้ ตามความเหมาะสม หอคอยที่ชนะคือ หอคอยที่สูงที่สุด


10

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2

ชั้น ม.2

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจถึงคำ�สอนของพระเยซูเจ้าที่ว่า ให้เจริญชีวิตในความรักโดยช่วย เหลือผู้อื่น และให้ปฏิบัติตามพระบัญญัติคือหัวใจสำ�คัญของการเป็นคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนหาโอกาสช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น สาระการเรียนรู ้ เรื่องเศรษฐีกับลาซารัสเป็นอุปมาที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าเพื่อสอนว่า เราคริสตชนต้องไม่เจริญชีวิตในโลกนี้ โดยคิดแต่เพียงเพื่อสรรหาความสุขใส่ตัวเองเท่านั้นโดยไม่มองเพื่อนพี่น้องรอบข้างที่ยังขัดสนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุหรือ จิตใจก็ตาม ในเวลาเดียวกันการดำ�เนินชีวิตเช่นนี้เป็นการปฏิบัติตามพระบัญญัติแห่งความรักที่พระเยซูเจ้าทรงสอนด้วย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “อยาก...รวย?...จน?” โดยให้ไตร่ตรอง เป็นอย่างดี - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้แบ่งผู้เรียนเป็นสองกลุ่มแบบเลือกอย่างอิสระ ให้ทั้ง สองกลุม่ เขียน “เหตุผลทีเ่ ลือก” ของตนไว้ทบี่ อร์ดหน้าชัน้ ถ้ามีขอ้ ซ้�ำ ให้เขียนความถีไ่ ว้ ด้วย เพื่อจะเก็บข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน - เมื่อผู้เรียนได้เขียนเหตุผลทั้งหมดเสร็จแล้ว ผู้สอนจะได้ข้อมูลถึงความคิด ความเข้าใจและความปรารถนาของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องความร่ำ�รวยและความยากจน ซึ่งความคิดแต่ละอย่างนั้นจะถูก ผิด หรือไม่? อย่างไร? ให้มาดูกันว่า พระเยซูเจ้าทรง สอนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? 3 พระวาจา : เรื่อง เศรษฐีกับลาซารัส (ลก 16:19-31) เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน คนยากจนผูห้ นึง่ ชือ่ ลาซารัส นอนอยูท่ ปี่ ระตูบา้ นของเศรษฐีผนู้ นั้ เขามีบาดแผลเต็มตัว อยากจะกินเศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สุนัขมาเลียแผลของเขา วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำ�เขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตาย เช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้ เศรษฐีซึ่งกำ�ลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก จึงร้องตะโกนว่า “ท่านพ่อ อับราฮัม จงสงสารลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิว้ จุม่ น้�ำ มาแตะลิน้ ให้ลกู สดชืน่ ขึน้ บ้าง เพราะลูกกำ�ลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี”้ แต่อบั ราฮัมตอบว่า “ลูก เอ๋ย จงจำ�ไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่งดีๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลวๆ บัดนี้เขา

ดูใบงาน “อยาก...รวย?... จน?” ท้ายแผน


11

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้รบั การบรรเทาใจทีน่ ี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิง่ กว่านัน้ ยังมีเหวใหญ่ขวางอยูร่ ะหว่าง เราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะ ข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย” เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่ง นีเ้ ลย” อับราฮัมตอบว่า “พีน่ อ้ งของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยูแ่ ล้ว ให้เขาเชือ่ ฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่ง จากบรรดาผูต้ ายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ” อับราฮัมตอบว่า “ถ้าเขาไม่เชือ่ ฟังโมเสส และบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ”

4. อธิบายพระวาจา - อุปมาเรื่องนี้อยู่ในบริบทของพระวรสาร น.ลูกาตอนที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการ สอนเรื่องการเจริญชีวิตอย่างถูกต้องในโลกนี้ เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการใช้เงินอย่าง ถูกต้อง - การที่คนๆ หนึ่งเป็นเศรษฐีนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด พระเยซูเจ้ามิได้ทรงประณาม เศรษฐีทกุ คนว่าเป็นคนบาป แต่จากอุปมานีพ้ ระเยซูเจ้าทรงต้องการสอนว่า เศรษฐีชนิด ใดที่ไม่มีสิทธิ์จะเข้าพระอาณาจักรสวรรค์ได้ - ถ้าดูจากเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าแล้ว เศรษฐีนั้นไม่ได้ปฏิบัติสิ่งที่ชั่วร้ายเลว ทรามเลย เพียงแต่เขาจัดงานเลีย้ งใหญ่ทกุ วัน นัน้ หมายถึงการทีเ่ ขาบำ�รุงบำ�เรอตนเอง ด้วยการกินดีอยู่ดีอย่างอิ่มหมีพีมันทุกวัน แต่ไม่เคยมองพี่น้องรอบข้างตนเองเลย - ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เศรษฐีจะไม่รู้ว่าที่หน้าประตูบ้านของเขามีคนขอทานมานั่ง อยู่เป็นประจำ� และมีเพียงลาซารัสคนเดียวหรืออาจมีคนขอทานอื่นๆ อยู่ด้วย? แต่ เศรษฐีก็คงไม่เคยสนใจบุคคลเหล่านั้น เพราะพวกเขาไม่สามารถทำ�ผลประโยชน์อะไร ให้แก่เขาได้ ตรงข้ามอาจนำ�แต่ความน่ารำ�คาญมาให้เสียด้วยซ้ำ� เขาคงคิดว่าการไม่ไล่ ลาซารัสให้ไปอยู่ที่อื่นก็ถือว่าเป็นการทำ�ดีแล้ว - สิ่งที่เศรษฐีได้ขอจากอับราฮัมให้ส่งลาซารัสไปเตือนพี่น้องของเขา เพื่อพวกเขา จะได้ไม่ตอ้ งไปนรกดังเช่นตนนัน้ บ่งบอกให้เข้าใจว่า เศรษฐีได้เข้าใจถึงชีวติ ทีป่ ระพฤติ ปฏิบตั อิ ย่างไม่ถกู ต้องเหมาะสมของตนและของพีน่ อ้ งของเขา และชีวติ เช่นนัน้ จะทำ�ให้ พวกพี่น้องต้องมีชะตากรรมเดียวกันกับเขาอย่างแน่นอน - คำ�ตอบของอับราฮัมที่ว่า “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ใคร ที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” เป็นการสรุปชัดเจนว่า ไม่ จำ�เป็นต้องมีปาฏิหาริย์ใดๆ เพื่อทำ�ให้คนหนึ่งกลับใจ เพราะความช่วยเหลือที่พระเจ้า ประทานให้แก่แต่ละคนในปัจจุบันนั้นเพียงพอแล้วเพื่อจะช่วยให้เกิดการกลับใจ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนย้อนกลับไปที่เรื่องราวของพระวรสาร โดยให้เวลาไตร่ตรองสักครู่ว่า “ถ้าเลือกได้ ผู้เรียนต้องการเป็นใครระหว่างเศรษฐีกับลาซารัส? เพราะเหตุใด?” โดย ให้ผเู้ รียนแต่ละคนไปเขียนเหตุผลของตนไว้ทบี่ อร์ดหน้าชัน้ เช่นเดียวกัน (แบ่งบอร์ดเป็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


12

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

2 ช่องคือ ช่องเศรษฐีและช่องลาซารัส) - เมื่อเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนย้อนกลับไปเปรียบเทียบคำ�ตอบของตนระหว่างสิ่งที่ เขียนในบอร์ดครั้งที่ 1 กับครั้งนี้ว่า มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? เพราะเหตุ ใด? ผู้สอนอาจให้เวลาตอนนี้สักเล็กน้อยเพื่อให้ผู้เรียนแสดงความเห็นของตนอย่าง อิสระ - การไตร่ตรองข้างต้นนี้จะทำ�ให้เข้าใจว่า ความสุขหรือความทุกข์ในชีวิตหน้า ย่อมขึน้ กับวิธกี ารดำ�เนินชีวติ ในโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การแสดงความรักต่อเพือ่ น พี่น้องด้วยการยื่นมือให้ความช่วยเหลือบุคคลที่ขัดสน หรือต้องการความช่วยเหลือ เป็นพิเศษ 6. หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนหาโอกาสช่วยเหลือบุคคลใกล้ตัวที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้มีอาสาสมัคร 1 คน สวดภาวนา จากใจ เสร็จแล้วจึงให้ทุกคนสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “อยาก...รวย?...จน?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเลือกว่า อยากเป็น “คนมั่งมี” หรือ “คนยากจน” โดยขีดเครื่องหมายถูก ( ✓ ) หน้า ข้อที่ต้องการ จากนั้นให้เขียนเหตุผลว่า ทำ�ไมจึงเลือกเช่นนั้น? คนมั่งมี

คนยากจน

เหตุผลที่เลือก คือ 1. ................................................................................................................................................................. 2. ............................................................................................................................................................... 3. .............................................................................................................................................................. 4. .............................................................................................................................................................. 5. ..............................................................................................................................................................


13

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การเฝ้าระวังตนเองคือสิ่งที่สำ�คัญมากสำ�หรับชีวิตคริสตชน อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคนให้บทสอนที่ดีมากในเรื่องนี้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเฝ้าระวังตนเองโดยตั้งใจไม่ทำ�บาป แม้ที่เล็กน้อยที่สุด สาระการเรียนรู ้ การเจริญชีวิตของคริสตชนสมัยนี้เป็นเรื่องค่อนข้างลำ�บาก เพราะกระแสสังคมของยุคนี้ไม่ค่อยคำ�นึงถึง คุณธรรม จริยธรรมมากนัก หลายสิ่งหลายอย่างจึงตรงกันข้ามกับคุณค่าแห่งพระวรสาร ทำ�ให้คริสตชนเจริญชีวิตตามคำ�สอน ของพระเยซูเจ้าด้วยความยากลำ�บาก พระองค์จึงทรงอธิบายถึงวิธีอัญชาญฉลาดที่จะช่วยให้คริสตชนเจริญชีวิตตามเอกลักษณ์ ของตนอย่างได้ผล นั่นคือ “การเฝ้าระวังตนเอง” ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนปิดตา จินตนาการว่าได้ไปเที่ยวที่สวนสนุกแห่งหนึ่ง โดย กิจกรรมเดียวที่พวกเขาต้องทำ�คือ การผจญภัยใน “บ้านผีสิง” โดยจะมีผู้นำ�อยู่ส่วนหัว และท้ายของแถว - การเดินทางในครั้งนี้จะใช้เวลาเพียง 2 นาที เมื่อผู้เรียนพร้อมแล้ว ให้ทุกคน นั่งนิ่งๆ และจินตนาการว่า กำ�ลังเดินเข้าไปในบ้านผีสิงโดยต้องเผชิญกับการท้าทาย ของผีเป็นระยะๆ โดยผู้สอนค่อยๆ สร้างสถานการณ์ด้วยคำ�พูดที่ระทึกใจ... (ถ้ามีวีดีโอ บ้านผีสิง ก็ให้ดูแทนการจินตนาการได้) - เมื่อครบ 2 นาทีแล้ว ให้ผู้เรียนเปิดตา จากนั้นให้ผู้สอนถามว่า “รู้สึกอย่างไร ที่เข้าไปในบ้านผีสิงนั้น? สิ่งจำ�เป็นที่ต้องมีในการเดินผ่านเส้นทางนั้นคืออะไร? อะไรที่ ช่วยให้เดินทางไปถึงเป้าหมายได้? ฯลฯ” โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสอภิปรายได้อย่างอิสระ - ให้ผู้สอนสังเกตว่ามีผู้เรียนคนใดที่กล่าวถึง “การระมัดระวัง” บ้างหรือไม่? ถ้าไม่ ผูส้ อนอาจนำ�เข้าสูป่ ระเด็นด้วยคำ�ถามทีว่ า่ “การเดินในบ้านผีสงิ นัน้ มีใครหลับตา เดินอย่างเดียวโดยไม่เปิดตาเลยไหม? ทำ�ไมบางคนจึงเปิดตาเดินทั้งๆ ที่กลัวมาก ถ้า ปิดตาเดินอย่างเดียวจะเกิดอะไรขึ้น?” คำ�ถามเหล่านี้จะทำ�ให้เกิดคำ�ตอบที่ว่า “ต้อง มองดู เพื่อระวัง...” นี่คือประเด็นสำ�คัญในบ้านผีสิง... แต่สำ�หรับชีวิตจริงของเราแต่ละ คน “การระมัดระวังตน” นั้น มีความสำ�คัญยิ่งกว่าการเดินในบ้านผีสิงหลายร้อยพัน เท่า เพราะนี่คือชีวิตจริงที่เราจะต้องพบกับ “ผี” มากมาย ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้า ทรงเตือนสอนเราอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


14

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา : อุปมาเรื่องหญิงสาวสิบคน (มธ 25:1-13) อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับหญิงสาวสิบคนถือตะเกียงออกไปรอรับ เจ้าบ่าว ห้าคนเป็นคนโง่ อีกห้าคนเป็นคนฉลาด

หญิงโง่นำ�ตะเกียงไป แต่มิได้นำ�น้ำ�มันไปด้วย ส่วนหญิงฉลาด นำ�น้ำ�มัน ใส่ขวดไปพร้อมกับตะเกียง ทุกคนต่างง่วงและหลับไปเพราะเจ้าบ่าวมาช้า ครั้นเวลา เที่ยงคืน มีเสียงตะโกนบอกว่า ‘เจ้าบ่าวมาแล้ว จงออกไปรับกันเถิด’ หญิงสาวทุกคนจึงตื่นขึ้นแต่งตะเกียง หญิงโง่พูดกับหญิงฉลาดว่า ‘ขอน้ำ� มันให้เราบ้าง เพราะตะเกียงของเราจวนจะดับแล้ว’ หญิงฉลาดจึงตอบว่า ‘ไม่ได้ เพราะน้ำ�มันอาจไม่พอสำ�หรับเราและสำ�หรับ พวกเธอด้วย จงไปหาคนขายแล้วซื้อเอาเองดีกว่า’ ขณะที่หญิงเหล่านั้นกำ�ลังไปซื้อ น้�ำ มัน เจ้าบ่าวก็มาถึง หญิงสาวทีเ่ ตรียมพร้อมจึงเข้าไปในห้องงานแต่งงานพร้อมกับ เจ้าบ่าว แล้วประตูก็ปิด ในที่สุดพวกหญิงโง่ก็มาถึง พูดว่า ‘นายเจ้าขา นายเจ้าขา เปิดรับพวกเราด้วย’ แต่เขาตอบว่า ‘เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า เราไม่รู้จัก ท่าน’ เพราะฉะนั้น จงตื่นเฝ้าระวังไว้เถิด เพราะท่านไม่รู้วันและเวลา” 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับ “อาณาจักรสวรรค์” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของคำ� สอนของพระองค์ด้วยอุปมาเรื่อง “หญิงสาวสิบคน” โดยทรงเปรียบเทียบอาณาจักร สวรรค์กับหญิงสาวสิบคนที่ถือตะเกียงไปรอรับเจ้าบ่าว โดยที่ในจำ�นวนนั้น 5 คนเป็น คนโง่ และอีก 5 คนเป็นคนฉลาด - พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่อง “อาณาจักรสวรรค์” ด้วยอุปมานี้ แสดงว่าบทสอน ของอุปมานี้มีความสำ�คัญและจำ�เป็นมากต่อการเจริญชีวิตของมนุษย์ทุกคน นั่นคือ “การเฝ้าระวังตนเอง” - หญิงฉลาดเป็นรูปแบบของผู้รู้จัก “ตื่นเฝ้าระวังตนเอง” อยู่ตลอดเวลา และ เหตุทตี่ อ้ งทำ�เช่นนัน้ เพราะการไม่รถู้ งึ “วันและเวลา” ทีเ่ จ้าบ่าวจะมา ส่วนหญิงโง่กเ็ ป็น รูปแบบของผูท้ ไี่ ม่รจู้ กั เฝ้าระวังตนเอง ไม่มคี วามรอบคอบ ไม่วางแผนล่วงหน้า ไม่ใส่ใจ ในชีวิตของตนเองในทางที่ถูกต้อง ไม่ขยันขันแข็งที่จะเตรียมตนเองให้พร้อมอยู่ตลอด เวลาในการต้อนรับเจ้าบ่าวที่จะมาถึงได้ในทุกวินาที ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่เจ้าบ่าวจะมา พวกเขาจะไม่มีเวลาอีกต่อไปที่จะเตรียมตัวเองอย่างแน่นอน เฉพาะผู้ที่ระวังตนเองอยู่ ตลอดเวลาเท่านัน้ จึงจะพร้อมเสมอทีจ่ ะเข้าใน “ห้องแต่งงาน” ซึง่ ก็หมายถึง “อาณาจักร สวรรค์” นั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึงต้องกำ�ชับให้เห็นความสำ�คัญของการเฝ้าระวังตนเอง? เพราะพระองค์ทรงทราบดีถึงความอ่อนแอ ความโน้มเอียงตามธรรมชาติของมนุษย์ นอกนั้น ยังมีการประจญล่อลวงของปีศาจ ซึ่งแฝงมาในรูปแบบหลากหลายที่ทำ�ให้ มนุษย์หลงใหลคลั่งไคล้ ทั้งหมดนี้อาจเป็นสาเหตุให้มนุษย์เห็นผิดเป็นชอบไปได้โดย ไม่รู้ตัวหรืออาจจะรู้ตัวก็ตาม

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - สภาพเช่นนี้จะเป็นอุปสรรคทำ�ให้เราเจริญชีวิตโดยก้าวไปถึงเป้าหมายแท้จริง ของมนุษย์ได้โดยยาก นั่นคือ การได้รับความรอดพ้นนิรันดร ซึ่งหมายถึง ความสุข นิรนั ดรในสวรรค์ เพราะการหลงใหลไปกับความสุขทีไ่ ม่เทีย่ งแท้ในโลกนี้ ก็เท่ากับเป็น “การทำ�บาป” นั่นเอง - พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างชัดเจนว่า การไม่ปฏิบัติตามพระบัญญัติ ตามเสียง อันถูกต้องของมโนธรรม คือการทำ�บาป ผู้ทำ�บาปคือผู้ที่เจริญชีวิตอย่างไม่เกิดผลดี ซึ่ง ก็นำ�ผลร้ายมาสู่ตนเองอย่างแน่นอน และผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้จะถึงจุดจบแห่ง ความพินาศ อันเป็นความทุกข์นิรันดรในนรกนั่นเอง - พระเจ้าไม่ทรงประสงค์จะปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรง สอนให้มนุษย์เข้าใจถึงความจริงของตนเอง เพื่อเราจะได้รู้จักตัวตนเที่ยงแท้ของตนเอง จะได้ปรับปรุงแก้ไข พัฒนาตนเองให้พ้นจากชะตากรรมอันเลวร้ายนั้น และจะได้ก้าว เดินสู่หนทางแห่งชีวิตใหม่ - การเฝ้าระวังตนเองคือวิธีการอันล้ำ�เลิศที่จะช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความเป็น มนุษย์เก่าสู่การเป็นมนุษย์ใหม่ได้ ในสังคมปัจจุบันที่เราพบ “ผี” มากมายหลายรูป แบบ ผีของสังคมปัจจุบนั ต่างจากผีในบ้านผีสงิ เพราะผีในบ้านผีสงิ เป็นผีปลอม แต่ “ผี” รอบตัวเราในปัจจุบันอยู่ในชีวิตจริง มันช่างน่ารัก น่าสนใจ น่าติดตามมาก เช่น Facebook Line Instagram วิธีการสื่อสารทุกชนิด บุคคล สิ่งของ เหตุการณ์ เพื่อน ไม่ดี ความหรูหราฟุม่ เฟือย ฯลฯ ผีเหล่านีด้ งึ ดูดเรามาก และหลายคนก็ปล่อยใจให้เป็น ทาสของมัน เมื่อถลำ�เข้าไปแล้วก็จะเป็นเหมือนสิ่งเสพติดที่เลิกไม่ได้ ขาดมันไม่ได้ - สิ่งเดียวที่ช่วยได้ในสภาพเช่นนี้ก็คือ “การเฝ้าระวังตนเอง” เมื่อใดก็ตามที่ เรารู้จักเฝ้าระวังตนเองอย่างแท้จริงแล้ว เราจะมองเห็นความจริงด้วยสายตาที่ถูกต้อง ว่า สิ่งใดคือ “ผี” ที่ต้องกลัวและหลีกเลี่ยง และสิ่งใดคือ “สิ่งดี” ที่ควรปฏิบัติ - เราจะสามารถเฝ้าระวังตนเองอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงสอนได้อย่างไรบ้าง? - ในขั้นแรกก็คือ ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้องถ่องแท้ว่า แต่ละสิ่งที่เราเลือก ให้แก่ตัวเองนั้นมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร? เราใช้มันเพื่อจุดประสงค์ใด? เมื่อได้ใช้มัน แล้ว มันนำ�ผลดีหรือผลเสียให้แก่ตนเองอย่างไรบ้าง? เราต้องศึกษาเรื่องนี้ด้วยดวงใจ ทีเ่ ปิดกว้าง ด้วยท่าทีของการกลับใจ เฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ ต้องรับรูว้ า่ แต่ละสิง่ ทีน่ �ำ ผลเสีย เลวร้ายแก่ตนนั้นเป็นสิ่งที่ต้องสละละทิ้ง เช่น ความเห็นแก่ตัว ความใจแคบ การติดใจ กับสิ่งลามก การเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ฯลฯ - การเฝ้าระวังตนเองอย่างดี ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน จะทำ�ให้เราไม่พลาด พลั้งตกในบาป มีการเตรียมตัวอย่างดี มีความดีและความรัก ดังเช่นมี “น้ำ�มัน” ใน ตะเกียงที่เตรียมพร้อมจะต้อนรับเจ้าบ่าวที่จะมาอยู่ตลอดเวลา

6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนเฝ้าระวังตนเองโดยตั้งใจไม่ทำ�บาป แม้ที่เล็กน้อยที่สุด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


16

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทโปรดระลึกเถิด” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


17

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง คริสตชนคือพระวิหารของพระจิตเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระจิตทรงประทับอยู่ในตัวคริสตชน อาศัยศีลล้างบาป คริสตชนแต่ละคนจึงเป็น “พระวิหาร” ของพระจิตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสำ�นึกถึงความจริงข้อนี้บ่อยๆ ด้วยการระวังตนเองไม่ทำ�บาป แม้ที่เล็ก น้อยที่สุด สาระการเรียนรู ้ หลังจากการทำ�บาปของอาดัมและเอวา มวลมนุษยชาติได้ตัดตนเองออกจากพระเจ้า ผู้ทรงสร้างเขามา แต่ อาศัยการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า มวลมนุษย์กไ็ ด้กลับมาเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้าอีกครัง้ หนึง่ อาศัยศีลล้างบาป คริสตชน ได้รับพระจิตเจ้า ผู้ทรงทำ�ให้เราสามารถเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” ด้วยเหตุนี้ คริสตชนแต่ละคนจึงถูกเรียกว่าเป็น “พระวิหาร” ของพระจิตเจ้า (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1197) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดบทอัญเชิญพระจิตเจ้า / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนเรื่อง “ตัวเอก-ตัวร้าย” ในภาพยนตร์ ละคร หรือในชีวิตจริง โดยให้ผู้เรียนมีเวลาไตร่ตรองสักครู่ถึงบางบุคคลใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็น บุคคลดีประทับใจ และบุคคลที่มีพฤติกรรมไม่ดี หรือเลวร้าย - จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนไปเขียนที่บอร์ดหน้าชั้นถึงลักษณะของพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยหากมีคำ�ตอบตรงกันก็ให้ใส่เป็นความถี่ไว้ จะได้เป็นข้อมูลให้ทราบถึงพฤติกรรม ด้านลบส่วนใหญ่ของมนุษย์ - เมื่อเสร็จแล้วให้ผู้สอนตั้งคำ�ถามว่า “พฤติกรรมทั้งหมดที่เขียนบนบอร์ดนั้นมี ผลกระทบใดต่อเราแต่ละคนบ้างไหม? เรามีพฤติกรรมเช่นนั้นบ้างหรือไม่? สังคมที่มี แต่คนแบบนี้จะเป็นเช่นไร? ภาพของสังคมแบบนี้เป็นภาพที่เราปรารถนาหรือไม่? เพราะเหตุใดคนเราจึงมีพฤติกรรมเช่นนี้?...” โดยให้ผู้เรียนตอบอย่างอิสระ 3 พระวาจา 1. ผู้ที่ยังดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติ ย่อมสนใจสิ่งที่เป็นของธรรมชาติ ส่วนผู้ที่ ดำ�เนินชีวติ ตามพระจิตเจ้า ก็สนใจสิง่ ทีเ่ ป็นของพระจิตเจ้า ความต้องการตามธรรมชาติ มนุษย์นำ�ไปสู่ความตาย แต่ความปรารถนาของพระจิตเจ้านำ�ไปสู่ชีวิตและสันติ (รม 8:5-6) 2. ผู้ที่ดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อาจเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้ ส่วน ท่านทั้งหลาย ท่านไม่ดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติ แต่ดำ�เนินชีวิตตามพระจิตเจ้า เพราะ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


18

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระจิตของพระเจ้าสถิตอยูใ่ นตัวท่าน ถ้าผูใ้ ดไม่มพี ระจิตของพระคริสตเจ้าผูน้ นั้ ก็ไม่เป็น ของพระองค์ (รม 8:8-9) 3. ถ้าพระจิตของพระผูท้ รงบันดาลให้พระเยซูเจ้ากลับคืนพระชนมชีพจากบรรดา ผู้ตายนั้นสถิตอยู่ในท่าน พระผู้ทรงบันดาลให้พระคริสตเยซูทรงกลับคืนพระชนมชีพ จากบรรดาผู้ตายก็จะทรงบันดาลให้ร่างกายที่ตายได้ของท่านกลับมีชีวิต เดชะพระจิต ของพระองค์ ซึ่งสถิตอยู่ในท่านด้วย ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย เราไม่มีภารกิจใดๆ ที่จะ ต้องดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ� ถ้าท่านดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ� ท่านก็ จะตาย แต่ถ้าท่านกำ�จัดกิจการตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ� ด้วยเดชะพระจิตเจ้า ท่านก็จะมี ชีวิต (รม 8:11-13)

4 อธิบายพระวาจา - ในจดหมายถึงชาวโรมตอนนี้ น.เปาโลได้เน้นอย่างมากถึงการเจริญชีวิต 2 แบบ คือ 1) แบบตามธรรมชาติ 2) แบบมีพระจิตเจ้าเป็นผู้นำ� โดยใช้คำ�ว่า “สิ่งที่เป็น ของธรรมชาติ” และ “สิง่ ทีเ่ ป็นของพระจิตเจ้า” ซึง่ การกระทำ�แบบนีม้ าจากสาเหตุส�ำ คัญ 2 ประการทีต่ รงกันข้าม คือ 1) การดำ�เนินชีวติ โดยไม่ยอมทำ�ตามการดลใจของพระจิต เจ้า และ 2) ผู้เจริญชีวิตโดยสำ�นึกตลอดเวลาว่า ตนเป็นที่ประทับของพระจิตเจ้า - ผลของการเจริญชีวิต 2 แบบนี้ต่างกันไกลมาก ดังที่ น.เปาโลได้กล่าวไว้ใน จดหมายถึงชาวเอเฟซัสว่า อย่าดำ�เนินชีวิตแบบไร้ความคิด โง่เขลา จิตใจแข็งกระด้าง ไม่ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด จงอย่าปล่อยตัวในความลามก ตามราคะตัณหาแบบ “มนุษย์ เก่า” แต่ต้องเจริญชีวิตโดยสวมใส่สภาพ “มนุษย์ใหม่” อย่างมีความชอบธรรมและ ความศักดิส์ ทิ ธิท์ มี่ าจากความจริง ด้วยการเลิกความประพฤติเลวร้ายทุกอย่าง ไม่ท�ำ ให้ พระจิตเจ้าต้องเศร้าหมอง ให้มีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อกัน รักและให้อภัยแก่กัน ดังที่พระเจ้าทรงกระทำ�ต่อเรา (เทียบ อฟ 4:17-32) ส่วนคนที่ผิดประเวณี คนลามก โสมม คนโลภ... ซึ่งคนแบบนี้ “ไม่มีสิทธิ์รับมรดกในพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้า และของพระเจ้าเลย” (อฟ 5:3-5) 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเจ้ามิได้ทรงสร้างมนุษย์มาเพื่อให้เจริญชีวิตในบาป ตรงกันข้าม ทรง ต้องการให้เรามีความสุขนิรันดรกับพระองค์ แต่อาดัมและเอวาได้พลาดพลั้งทำ�บาป กำ�เนิดจนมีผลทำ�ให้มนุษย์ทุกคนตกในบาปไปด้วย นี่คือสาเหตุที่ทำ�ให้มนุษย์สูญเสีย สภาพความสมบูรณ์ดงั้ เดิม การได้ตกในบาปทำ�ให้มนุษย์เจริญชีวติ ตามความโน้มเอียง ของธรรมชาติฝ่ายต่ำ� จึงทำ�ให้มีพฤติกรรมต่างๆ ดังที่ผู้เรียนได้เขียนไว้บนบอร์ด - พฤติกรรมไม่ดีเหล่านี้ หากปล่อยไปเรื่อยๆ จะนำ�มาซึ่งความหายนะแก่ ผู้ปฏิบัติได้ ทั้งในโลกนี้และในชีวิตหน้า ในโลกนี้ก็อาจไปถึงจุดที่ทำ�ผิดกฎหมายและ ต้องถูกกฎหมายบ้านเมืองลงโทษ ส่วนในโลกหน้าก็คือการที่คนหนึ่งทำ�บาปต่างๆ จะ ทำ�ให้คนนั้นเห็นผิดเป็นชอบได้ มโนธรรมของเขาจะบิดเบือนไป เพราะเขาไม่ยอมฟัง เสียงของพระเจ้าที่ตักเตือนเขา ดังนั้น หากผู้หนึ่งดำ�เนินชีวิตเช่นนี้จนวันตายและไม่ ยอมกลับใจ เขาอาจสูญเสียความสุขหรือความรอดพ้นนิรันดรไปก็ได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


19

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- แต่พระเจ้าไม่ทรงต้องการให้บุตรของพระองค์ต้องไปถึงจุดจบเช่นนี้ ด้วยพระทัย ดีพระองค์จึงทรงส่งพระบุตรของพระองค์ พระเยซูคริสตเจ้ามาไถ่บาปเรามนุษย์ทุกคน ให้เราได้รอดพ้นจากความตายนิรันดรและไปสู่ความรอดพ้น คือสวรรค์ - แต่เราทราบดีว่า คนบาปจะไปสวรรค์ไม่ได้ พระเจ้าจึงทรงประทานพระจิตเจ้า ให้แก่เราแต่ละคนในศีลล้างบาป เพื่อพระองค์จะทรงเป็นผู้นำ�ชีวิตของเราสู่เส้นทางที่ ถูกต้องตามพระบัญญัติของพระเจ้า - ดังนั้น ในสภาพนี้ เราแต่ละคนเป็น “พระวิหารของพระจิตเจ้า” เพราะเราเป็น ที่ประทับของพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะยังคงทำ�บาปต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะเราจะ ทำ�ให้พระวิหารนี้มีมลทินและหมดความศักดิ์สิทธิ์ไปไม่ได้ - ให้ผู้เรียนเขียนข้อปฏิบัติของตนโดยตอบประโยคที่ว่า “ฉันจะต้องหยุดทำ�บาป โดย 1).....2).....3).....” 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสำ�นึกถึงความจริงข้อนี้บ่อยๆ ด้วยการระวังตนเองไม่ทำ�บาป แม้ที่เล็ก น้อยที่สุด 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


20

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในกระแสเรียกคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระจิตเจ้าคือผู้นำ�ทางของชีวิตคริสตชน ทรงเป็นผู้ส่องสว่าง สติปัญญาและประทานพละกำ�ลังแก่น้ำ�ใจอิสระของมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนฟังการดลใจจากพระจิตเจ้า และปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม สาระการเรียนรู ้ พระบิดาเจ้า พระเยซูเจ้า และพระจิตเจ้า ทรงเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแยกไม่ออก เพราะพระองค์ทรงเป็น พระตรีเอกภาพ พระเยซูเจ้าจึงทรงดำ�เนินชีวิตโดยติดตามการทรงนำ�ของพระจิตเจ้าอยู่เสมอ คริสตชนก็ต้องเลียนแบบ พระเยซูเจ้าด้วยการให้พระจิตเจ้าทรงนำ�ทางชีวิตของตนทั้งในการคิด ตัดสินใจ และในการปฏิบัติจริงของชีวิต (ดู คำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1830-1832) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกม “คำ�ปริศนา” แบบที่ 1 คือให้เล่นโดยมีแค่ตารางเกม และคำ�เฉลย โดยให้เวลาเล่นไม่เกิน 5 นาที ผู้สอนดูจากผลงานของผู้เรียนว่า มีผู้ทำ� สำ�เร็จกี่คน? - จากนั้น ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตกับผู้เรียนว่า ทำ�ไมการเล่นเกมนี้จึงไม่ประสบ ความสำ�เร็จ? อะไรเป็นสาเหตุ? ถ้าจะเล่นให้สำ�เร็จยังต้องการอะไร? - นีเ่ ป็นเพียงตัวอย่างประสบการณ์เล็กๆ ของการเล่นเกมเท่านัน้ ทีท่ �ำ ให้เราเข้าใจ ถึงความจำ�เป็นของการมีโจทย์นำ� เพื่อช่วยให้การเล่นเกมนั้นไปถึงชัยชนะได้ แต่ถ้ามี เพียงแค่คำ�เฉลยก็ยังเล่นให้สำ�เร็จได้ยาก - เรื่องราวในชีวิตจริงของเราแต่ละคนก็ไม่ต่างจากการเล่นเกมดังกล่าวมากนัก... อย่างไร? - การที่ชีวิตของเราจะบรรลุความสำ�เร็จได้ด้วยดีนั้นจำ�เป็นต้องมีสิ่งสำ�คัญอะไร บ้าง? อะไรคือส่วนประกอบจำ�เป็นที่ขาดไม่ได้? - ชีวิตของพระเยซูเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์แท้ก็ไม่ต่างจากชีวิตของเรา แต่ เพราะเหตุใดพระองค์จึงประสบความสำ�เร็จอย่างมากในการทำ�พันธกิจที่พระบิดาทรง มอบให้ในโลกนี้? 3 พระวาจา - “พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ทรงพระดำ�เนินจากแม่น้ำ�จอร์แดน พระจิตเจ้าทรงนำ�พระองค์ไปยังถิ่นทุรกันดาร” (ลก 4:1)

ใบงาน “คำ�ปริศนา” แบบที่ 1 ท้ายแผน


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- “พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปแคว้นกาลิลีพร้อมด้วยพระอานุภาพของพระจิตเจ้า กิตติศัพท์ของพระองค์เลื่องลือไปทั่วแว่นแคว้นนั้น” (ลก 4:14) - “พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผถู้ กู จองจำ� คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ” (ลก 4:18)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจา 3 ตอนที่เราได้ฟัง เป็นบางตัวอย่างของเหตุการณ์ในชีวิตของ พระเยซูเจ้าทีเ่ ล่าให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูเจ้ากับองค์พระจิตเจ้าว่า เป็น ความสัมพันธ์อนั แน่นแฟ้นในแบบทีว่ า่ ในทุกการกระทำ�ของพระเยซูเจ้ามีพระจิตเจ้าอยู่ เสมอ เพราะพระเยซูเจ้ากับพระบิดาและพระจิตทรงเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแยกไม่ออก - แม้พระเยซูเจ้าจะทรงเป็นพระเจ้า แต่ในความเป็นมนุษย์แท้ พระองค์ก็ยังทรง นอบน้อมต่อการทรงนำ�ของพระจิตเจ้า เพราะการนอบน้อมต่อพระจิตเจ้าจะไม่มวี นั ผิด พลาดได้เลย - พระเยซูเจ้าทรงได้รบั มอบหมายพันธกิจยิง่ ใหญ่จากพระบิดาเจ้า เพราะพระองค์ ทรงต้องไถ่บาปของมนุษย์ทั้งโลกทุกยุคทุกสมัย ด้วยการสละชีวิตของพระองค์ ดังนั้น ธรรมชาติมนุษย์แท้ของพระองค์อาจทำ�ให้พระองค์ทรงรู้สึกหวาดกลัวก็ได้ ซึ่งถ้าเป็น เช่นนีพ้ ระองค์จะไม่สามารถกระทำ�พันธกิจสำ�คัญนีใ้ ห้ส�ำ เร็จได้แน่ แต่พระองค์จะไม่ทรง ทรยศต่อพระบิดาเจ้าและแผนการของพระองค์อย่างแน่นอน - ดังนั้น ในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระจิตเจ้า พระเยซูเจ้าทรงทำ�ทุกสิ่งใน การทรงนำ�ของพระจิตเจ้าเสมอ ไม่มีอะไรที่พระองค์ทรงทำ�แบบโดดเดี่ยว แต่ทรงเป็น หนึ่งเดียวกับพระบิดาเจ้าและพระจิตเจ้าเสมอ - ดังนี้ พระเยซูเจ้าจึงทรงสามารถกระทำ�ภารกิจของพระองค์ มุ่งหน้าเดินสู่เป้า หมายได้อย่างชัดเจนที่สุด แม้ว่าจะมีความน่ากลัว ความเหน็ดเหนื่อย การทรยศ และ การประจญล่อลวงจากปีศาจซึ่งมาในรูปแบบที่หลากหลายของสิ่งยั่วยวนชวนใฝ่ฝัน ก็ตาม 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนเล่นเกม “คำ�ปริศนา” แบบที่ 2 ในเวลาไม่เกิน 5 นาที หากมีผู้เรียน คนใดทำ�เสร็จก่อนให้ยกมือและส่งได้ - ผู้สอนตั้งข้อสังเกตให้เห็นว่า การเล่นเกม “คำ�ปริศนา” แบบที่ 2 นี้จะต่างจาก แบบแรก โดยอาจตั้งคำ�ถามว่า “ทำ�ไมจึงเล่นเสร็จก่อนครั้งแรก?... ง่ายกว่าไหม?... สนุกเพลิดเพลินกว่าไหม?... เพราะเหตุใด?” - เกมนี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงการทำ�งานของพระจิตเจ้าในตัวเราได้อย่างไร? เราจะ หาคำ�ตอบนี้ได้ไม่ยากหากคิดถึงบทบาทหน้าที่ของ “โจทย์” ในเกม “คำ�ปริศนา” เพราะโจทย์เป็นตัวช่วยที่ทำ�ให้เราสามารถพบกับคำ�ตอบ สามารถเล่นเกมนี้ได้อย่าง สนุกเพลิดเพลินและรวดเร็วทันใจ

ดูใบงาน “คำ�ปริศนา” แบบที่ 2 ท้ายแผน


22

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ในชีวิตของเรา พระจิตเจ้าทรงเป็นผู้ช่วยให้เราสามารถเล่น “เกมชีวิต” ได้อย่าง ไม่ยากลำ�บากเกินไปในการมุ่งสู่เป้าหมายเที่ยงแท้ของชีวิต แม้จะต้องพบกับอุปสรรค ปัญหา และหลายสิ่งที่ดึงดูดเราให้ไขว้เขว ก้ าวออกนอกเส้นทางที่จะนำ�เราไปสู่ ความสำ�เร็จแท้จริงของชีวิต นั่นคือ ความสุขนิรันดร - พระจิตเจ้าทรงทำ�อะไรเพื่อช่วยเราได้บ้าง? พระองค์ทรงทำ�มากมายหลายสิ่ง ที่ สำ�คัญยิ่งคือ พระองค์ทรงช่วยส่องสว่างสติปัญญาของมนุษย์ทุกคน ทรงจำ�เป็นต้องทำ� เช่นนี้เพราะหลังจากบาปกำ�เนิด ทั้งสติปัญญาและน้ำ�ใจอิสระของมนุษย์ถูกทำ�ลายไป ทำ�ให้เกิดความมืดบอด มนุษย์จึงอ่อนแอ ตกในความมืดมนและหลงทาง ก้าวสู่ เป้าหมายแท้จริงของชีวิตได้ยากยิ่งนัก - พระเจ้ามิได้ทรงส่งผู้อื่นมาช่วยมนุษย์ แต่ทรงมอบพระจิตของพระองค์เองเลย ทีเดียว นี่คือสิ่งที่ทำ�ให้เราต้องเข้าใจถึงความสำ�คัญของมนุษย์และความรักของพระเจ้า ที่มีต่อมนุษย์อย่างมากมาย จนพระองค์ทรงต้องทำ�ถึงขนาดนี้ - เมื่อพระจิตเจ้าทรงส่องสว่างสติปัญญาของมนุษย์ให้เห็นความจริงและหนทางที่ ถูกต้องเที่ยงแท้แล้ว พระองค์ก็ยังทรงประทานพละกำ�ลังอันเข้มแข็งแก่น้ำ�ใจอิสระของ เราด้วย เพราะลำ�พังสติปัญญาแม้จะเข้าใจหลายสิ่งหลายอย่างได้ แต่ถ้าขาดความเข้ม แข็งของน้ำ�ใจอิสระแล้ว มนุษย์ก็ไม่สามารถจะดำ�รงตนในความดีได้ - พระจิตเจ้าจึงทรงประทานความช่วยเหลือทั้งแก่สติปัญญาและน้ำ�ใจอิสระของ มนุษย์ เพือ่ ให้มนุษย์ได้รอดพ้นจากบ่วงของบาปและปีศาจทีต่ รึงให้มนุษย์เป็นทาสของ มั น มนุ ษ ย์ จ ะได้ มี อิ ส รภาพและสามารถเจริ ญ ชี วิ ต ทำ � ความดี ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ พระประสงค์ของพระเจ้าได้ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนฟังการดลใจจากพระจิตเจ้า และปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


23

ใบงาน เกม “คำ�ปริศนา” แบบที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้เติมคำ�ที่กำ�หนดให้ในช่องว่างอย่างถูกต้อง

1. มาร์ธา 2. โยนาห์ 3. นักบุญลูกา 4. นักบุญมัทธิว 5. นักบุญเปโตร 6. มารีอา 7. วิวรณ์ 8. โรม


24

ใบงาน เกม “คำ�ปริศนา” แบบที่ 2 คำ�ชี้แจง - ให้เติมคำ�ในช่องว่างตามที่โจทย์กำ�หนดให้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนอย่างถูกต้อง หมายเหตุ : สระ 1 ตัว ใส่ 1 ช่อง โดยให้ผู้สอนเติมสระในตารางนี้ให้ครบสมบูรณ์ทุกคำ�ก่อนที่จะนำ�ไปใช้

แนวตั้ง 1. ชื่อผู้นิพนธ์พระวรสารเล่มที่ 3 (น.ลูกา) 2. ชื่อหนังสือเล่มสุดท้ายในพระ คั ม ภี ร์ ภ าคพั น ธสั ญ ญาใหม่ (วิวรณ์) 3. ชื่ อ เมื อ งหลวงของประเทศ อิตาลี (โรม) 4. ชื่อประกาศกที่อยู่ในท้องปลา 3 วัน (โยนาห์)

โ ย น า ห ์ ั

น น ั ก บ ุ ญ เ ก ก บ ุ ญ ม ั ท ุ ญ ล ู ก า

แนวนอน 1. ชื่อผูน้ พิ นธ์พระวรสารแล่มแรก (นักบุญมัทธิว) 2. ชื่อพระสันตะปาปาองค์แรก (นักบุญเปโตร) 3. ชื่อพระมารดาของพระเยซูเจ้า (มารีอา) 4. พีส่ าวของมารีอา น้องสาวของ ลาซารัส (มาร์ธา)

ต ิ ว ว ร ณ ์

โ ร ม


25

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง อิสราเอล : ประชากรเดิมของพระเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า อิสราเอลคือประชากรทีพ่ ระเจ้าทรงเลือกสรรในพันธสัญญาเดิม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมทุกวัน สาระการเรียนรู้ ในแผนการแห่งความรอดพ้นของพระเจ้าต่อมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงเลือกชนชาติหนึ่ง คือ ชนชาติ อิสราเอลให้เป็นต้นตระกูลของพระเมสสิยาห์ พระผูไ้ ถ่ พระเยซูคริสตเจ้า โดยพระองค์ทรงเรียกอับราฮัมให้เป็นบิดาของชนชาติ นี้ และทำ�พันธสัญญากับท่าน อิสราเอลจึงเป็นชนชาติเลือกสรรของพระเจ้าในพันธสัญญาเดิม ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่น “ใบ้คำ�” ตามคำ�สั่งในใบงานที่ 1 - เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนทบทวนคำ�ตอบทั้งหมดให้ผู้เรียนทราบ - เมื่อเฉลยคำ�ตอบครบจนเห็นภาพรวมแล้ว ให้ตั้งคำ�ถามกับผู้เรียนว่า “คำ�ตอบ ทุกข้อเหล่านี้มาจากที่ไหน?” - คำ�ตอบที่ถูกต้องคือ จากพระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม จากนั้นจึงถามต่ออีก ว่า ชือ่ บุคคลและเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นของชนชาติใด? คำ�ตอบก็คอื ชนชาติอิสราเอล - “ผู้เรียนรู้จักชนชาติอิสราเอลดีหรือไม่? พวกเขาเป็นใคร? มีต้นกำ �เนิดมา จากไหน? และที่สำ�คัญก็คือ ทำ�ไมพระคัมภีร์จึงเล่าเรื่องราวของชนชาตินี้ยาวถึงครึ่ง เล่ม? ชนชาตินี้มีความสำ�คัญอย่างไร?” ให้เรามาดูจุดเริ่มต้นของชนชาตินี้กันจากใน พระคัมภีร์ 3 พระวาจา : (ปฐก 12:1-9) พระยาห์เวห์ตรัสแก่อับรามว่า “จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง จากบ้านของบิดา ไปยังแผ่นดินที่เราจะชี้ให้ท่าน เราจะทำ�ให้ท่านเป็นชนชาติใหญ่ จะอวยพรท่าน จะทำ�ให้ท่านมีชื่อเสียงเลื่องลือ ท่านจะนำ�พระพรมาให้ผู้อื่น เราจะ อวยพรผู้ที่อวยพรท่าน เราจะสาปแช่งผู้ที่สาปแช่งท่าน บรรดาเผ่าพันธุ์ทั้งสิ้น ทั่วแผ่นดิน จะได้รับพรเพราะท่าน” อับรามจึงออกเดินทางตามที่พระยาห์เวห์ตรัส โลทไปกับเขาด้วย อับรามมีอายุเจ็ดสิบห้าปีเมื่อเขาออกจากฮาราน อับรามพานาง ซาราย ภรรยาของตนกับโลท บุตรของน้องชายและทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่ได้สะสม ไว้ รวมทั้งบรรดาผู้คนที่หามาได้ในเมืองฮาราน ออกเดินทางไปยังแผ่นดินคานาอัน

ดูใบงาน “ใบ้คำ�” ท้ายแผน


26

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เมื่อเขาทั้งหลายมาถึงแผ่นดินคานาอันแล้ว อับรามก็เดินผ่านแผ่นดินนั้นจนถึง ต้นโอ๊กของโมเรห์ ที่เชเคม ในเวลานั้นชาวคานาอันยังอยู่ในแผ่นดิน พระยาห์เวห์ทรง สำ�แดงพระองค์แก่อบั รามตรัสกับเขาว่า “เราจะให้แผ่นดินนีแ้ ก่ลกู หลานของท่าน” อับ รามจึงสร้างพระแท่นบูชาทีน่ นั่ ถวายแด่พระยาห์เวห์ผสู้ �ำ แดงพระองค์แก่เขา แล้วเดินทาง ต่อไปถึงภูเขาทางตะวันออกของเบธเอล และตัง้ กระโจมทีน่ นั่ ให้เบธเอลอยูท่ ศิ ตะวันตก ให้อยั อยูท่ ศิ ตะวันออก และยังได้สร้างพระแท่นบูชาถวายแด่พระยาห์เวห์ทนี่ นั่ แล้วขาน พระนามพระยาห์เวห์ อับรามย้ายกระโจมเดินทางเป็นระยะๆ ไปจนถึงดินแดนเนเกบ

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แน่นอน ไม่สามารถเล่าเรื่องของชนชาติอิสราเอล ได้ทงั้ หมด เพราะหากจะเล่าให้หมดก็ตอ้ งใช้เวลายาวนานมาก พระคัมภีรต์ อนนีจ้ งึ เป็น เพียงตอนสัน้ ๆ ซึง่ กล่าวถึงการทีพ่ ระเจ้าทรงเรียกอับรามให้ออกจากดินแดนดัง้ เดิมของ ท่าน และอพยพไปยังดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาจะประทานให้ - พระเจ้าทรงรู้จักมนุษย์ทุกคนอย่างชัดเจน ทรงรู้จักอับรามเป็นอย่างดี พระองค์ ทรงพอพระทัยที่จะเลือกอับราม และตั้งเขาให้เป็นบิดาของชนชาติเลือกสรรที่ยิ่งใหญ่ - แต่การเป็นหัวหน้าของชนชาติใหญ่นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะพระเจ้าทรงบอก ให้อบั รามอพยพย้ายถิน่ จากบ้านเกิดเมืองนอนเดิมไปยังแผ่นดินทีพ่ ระองค์จะทรงชีใ้ ห้ ซึ่งอับรามไม่ทราบเลยว่าคือที่ใด? และพระดำ�รัสของพระเจ้านั้นจะไว้ใจได้สักเพียงไร? ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว หนทางข้างหน้านั้นยังมืดมัว ใครจะรับประกันได้ว่า พระดำ�รัสของพระเจ้าจะเป็นจริง? ทั้งๆ ที่อับรามมีความมั่นคงและมั่งคั่งอยู่แล้ว ท่าน ไม่จำ�เป็นต้องเชื่อฟังคำ�สั่งนั้นก็ได้ และอีกเหตุผลหนึ่งคือ อับรามมีอายุถึง 75 ปีแล้ว คงจะไม่สะดวกนักที่จะอพยพย้ายถิ่นแบบไม่รู้จุดหมายปลายทาง - แต่อับรามไม่ได้กล่าวทัดทานสิ่งใด จิตใจของท่านเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อ จึง นอบน้อมต่อพระเจ้าอย่างไม่มเี งือ่ นไข ท่านนำ�ครอบครัวทัง้ หมดพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ และฝูงสัตว์ที่มีอยู่ อพยพไปตามที่พระเจ้าทรงบอก กลายเป็นคนเร่ร่อนที่ไม่รู้ว่า การเดินทางนั้นจะจบลงเมื่อใด? และจะสิ้นสุดลงอย่างไร? - แน่นอนว่า ในการเดินทางนั้นต้องมีอุปสรรค ความยากลำ�บากต่างๆ ที่คนกลุ่ม ใหญ่ขนาดนั้นต้องเผชิญ แต่อับรามก็ไม่ย่อท้อ ท่านไว้ใจในพระเจ้า และพระเจ้าก็ได้ ทรงช่วยท่านให้เดินทางถึงจุดหมายอย่างดี นั่นคือ แผ่นดินคานาอัน ซึ่งเป็นแผ่นดิน แห่งพระสัญญา และเมื่อถึงที่นั่นแล้ว การเดินทางก็มิใช่จะสิ้นสุดลงในทันที ท่านยังคง เดินทางต่อไปตามพระบัญชาของพระเจ้า ท่านจึง “ย้ายกระโจมเดินทางเป็นระยะๆ ไป จนถึงดินแดนเนเกบ” (ปฐก 12:9) - ทั้งหมดนี้ อับรามได้กระทำ�เพราะเชื่อในพระเจ้าและในแผนการอันล้ำ�ลึกที่ มิอาจเข้าใจได้ของพระองค์ พระองค์ทรงต้องการให้ท่านและบุตรหลานของท่านกลาย เป็นชนชาติใหญ่ คือ ชนชาติเลือกสรรของพระเจ้า อับรามทำ�ให้พระประสงค์ของพระเจ้า และเป้าหมายชีวิตของท่านกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าพระเจ้าจะยังไม่ได้เปิด เผยให้อบั รามได้ทราบเลยว่า จากเชือ้ สายของท่านนัน้ จะมีพระเมสสิยาห์บงั เกิดมา เพือ่ ไถ่บาปของมวลมนุษยชาติ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


27

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เราทราบว่าปัจจุบนั เรือ่ งราวของชนชาติอสิ ราเอลกลายเป็นเรือ่ งราวในพระคัมภีร์ ในภาคพันธสัญญาเดิม เพราะในพระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่ไม่ได้เล่าเรือ่ งราวของ ชนชาติอิสราเอลที่ต่อเนื่องมาจากพันธสัญญาเดิม - ให้ผู้เรียนเปิดพระคัมภีร์ที่หน้าสารบัญ เพื่อดูว่าพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม เริม่ ต้นทีห่ นังสือปฐมกาลซึง่ เล่าเรือ่ งของชนชาติอสิ ราเอลและจบลงทีป่ ระกาศกมาลาคี จากนั้นให้ดูภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งเริ่มต้นที่พระวรสารของ น.มัทธิว และสิ้นสุดลงที่ หนังสือวิวรณ์ - หากสังเกตให้ดี ผู้ที่อ่านพระคัมภีร์จะเห็นชัดว่า ทั้งสองภาคนี้ไม่ได้เล่าเรื่องที่ต่อ เนื่องกัน เพราะในภาคพันธสัญญาใหม่ พระวรสารทั้ง 4 เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงเรื่อง ราวธรรมล้ำ�ลึกแห่งการรับเอากายเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้า การเชื่อมโยงนั้นมีเพียง ว่า พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมาในครอบครัวชาวยิว ทรงมีพระมารดาและบิดาเลี้ยงที่มา จากเชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด ซึ่งมีอับรามเป็นบรรพบุรุษนั่นเอง - การเรียนในคาบนี้ทำ�ให้เรารู้จักที่มาของชนชาติอิสราเอลว่า เป็นพระเจ้าเองที่ ทรงริเริ่มให้กำ�เนิดชาตินี้ขึ้นมาโดยทรงทำ�พันธสัญญากับอับราฮัม พระเจ้าได้ทรง ซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาของพระองค์ ส่วนอับราฮัมก็เช่นกัน ท่านได้ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้า ดังนั้น ชนชาติอิสราเอลจึงได้เกิดขึ้น - แต่เมื่อมาถึงยุคสมัยที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดมา ชนชาตินี้กลับไม่ยอมรับรู้ว่า พระเยซูเจ้าคือพระเมสสิยาห์ พระผู้ไถ่บาปที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับชนชาตินี้ ว่าจะ ทรงส่งพระผู้ไถ่บาปมาช่วยให้เขารอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร เพื่อพวกเขา จะได้มโี อกาสรับความสุขนิรนั ดร พวกเขากลับได้สงั หารพระองค์ เพราะพวกเขายอมรับ ไม่ได้ว่า พระเยซูเจ้าคือพระบุตรของพระบิดา ทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา และที่สุด สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงยืนยันนี้เองก็กลับกลายเป็นข้อหาที่ชาวอิสราเอลได้กล่าวโทษ พระองค์จนถึงกับนำ�พระองค์ไปประหารชีวิตบนกางเขน - เพราะเหตุนี้ ชนชาติอิสราเอลจึงจบสิ้นวาระของการเป็นประชากรเลือกสรรของ พระเจ้าอีกต่อไป พระเจ้าได้ทรงเลือกประชากรใหม่มาแทนชนชาตินี้แล้ว ซึ่งก็คือ บรรดาคริสตชนทั้งปวงนั่นเอง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมทุกวัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูหนังสือพระคัมภีร์

7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ผู้เรียนอาสาสมัคร 1 คน สวด ภาวนาจากใจ จากนั้นให้ทุกคนสวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................


28

ใบงาน “ใบ้คำ�” คำ�ชี้แจง - 1. ผู้สอนเลือกผู้ใบ้คำ� 1 หรือ 2 คน 2. แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย นั่งเป็น 2 กลุ่ม 3. เมื่อทุกคนพร้อม ให้ผู้ใบ้คำ�เริ่มใบ้ทีละคำ� จากคำ�ที่กำ�หนดให้ ดังนี้

ผู้อพยพ / บูชายัญ / อาดัม-เอวา / เรือโนอาห์ / รุ้งกินน้ำ� / โมเสส / แผ่นพระบัญญัติ 10 ประการ / กษัตริย์ดาวิด

4. ฝ่ายใดที่ตอบถูกต้องก่อน ถือว่าได้ 1 คะแนน 5. เมือ่ ใบ้ครบทุกคำ�แล้ว ให้รวมคะแนนของทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายที่ได้คะแนนสูงกว่า ถือว่าเป็นผู้ชนะ


29

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง พระศาสนจักร : ประชากรใหม่ของพระเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระศาสนจักรคือประชากรใหม่ของพระเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ผู้ที่รับศีลล้างบาป อยู่ภายใต้ผู้นำ�คนเดียวกันและมีเอกภาพในด้านต่างๆ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสำ�นึกตนว่าเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้า ด้วยการไปร่วมมิสซาทุกวัน อาทิตย์ สาระการเรียนรู ้ ประชากรเดิมของพระเจ้าไม่ได้ตอบรับคำ�เชิญของพระองค์ในการยอมรับพระเยซูคริสตเจ้าเป็นพระผูไ้ ถ่บาป พระเจ้าจึงทรงเลือกสรรประชากรใหม่คือ พระศาสนจักร ซึ่งหมายถึงผู้รับศีลล้างบาปทุกคน ประชากรใหม่นี้นมัสการพระองค์ องค์เดียวกัน ดำ�รงอยู่อย่างมีเอกภาพ ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสากล และสืบเนื่องมาจากบรรดาอัครสาวกของพระเยซูคริสตเจ้า (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 781-796) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเอาภาพ “พระสันตะปาปาทำ�มิสซา ณ หน้าพระวิหาร น.เปโตร” ที่ นครรัฐวาติกัน ให้ผู้เรียนดูโดยถามว่า “เคยเห็นภาพแบบนี้ไหม?... เป็นภาพอะไร?... ในภาพมีใครบ้าง?... กำ�ลังทำ�อะไร? ฯลฯ...” ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามแบบอิสระ เพื่อ ผูส้ อนจะได้เก็บข้อมูลถึงความรูข้ องผูเ้ รียนในมุมมองเรือ่ งพระศาสนจักรซึง่ เป็นประชากร ใหม่ของพระเจ้า - จากนั้ น ผู้ ส อนจึ ง นำ � ผู้ เรี ย นเข้ า สู่ ค วามหมายเชิ ง ลึ ก ของภาพนี้ นั่ น คื อ “พระศาสนจักร” โดยอาจถามนำ�ว่า “ทำ�ไมภาพนีจ้ งึ สือ่ ความหมายถึงพระศาสนจักร? และพระศาสนจักรในยุคพันธสัญญาใหม่มีชื่อเรียกว่าอะไร?” 3 พระวาจา : อุปมาเรื่อง คนเช่าสวนชั่วร้าย (มธ 21:33-46) “ท่านทั้งหลาย จงฟังอุปมาอีกเรื่องหนึ่งเถิด คหบดีผู้หนึ่งปลูกองุ่นไว้สวนหนึ่ง ทำ�รั้วล้อม ขุดบ่อย่ำ�องุ่น สร้างหอเฝ้า ให้ชาวสวนเช่า แล้วก็ออกเดินทางไปต่างเมือง เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บผล เจ้าของสวนจึงให้ผู้รับใช้ไปพบคนเช่าสวนเพื่อรับส่วนแบ่งจาก ผลผลิต แต่คนเช่าสวนได้จับคนใช้ ทุบตีคนหนึ่ง ฆ่าอีกคนหนึ่ง เอาหินทุ่มอีกคน หนึง่ เจ้าของสวนจึงส่งผูร้ บั ใช้จ�ำ นวนมากกว่าพวกแรกไปอีก คนเช่าสวนก็ท�ำ กับพวก นี้เช่นเดียวกัน ในที่สุด เจ้าของสวนได้ส่งบุตรชายของตนไปพบคนเช่าสวน คิดว่า

ดูภาพ “พระสันตะปาปา” ท้ายแผน


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

‘คนเช่าสวนคงจะเกรงใจลูกของเราบ้าง’ แต่เมือ่ คนเช่าสวนเห็นบุตรเจ้าของสวนมา ก็ พูดกันว่า ‘คนนี้เป็นทายาท เราจงฆ่าเขาเสียเถิด เราจะได้มรดกของเขา’ “เขาจึงจับบุตรเจ้าของสวน นำ�ตัวออกไปนอกสวนแล้วฆ่าเสีย ดังนี้ เมื่อเจ้าของ สวนมา เขาจะทำ�อย่างไรกับคนเช่าสวนพวกนั้น” บรรดาผู้ฟังตอบว่า “เจ้าของสวนจะ กำ�จัดพวกใจอำ�มหิตนี้อย่างโหดเหี้ยม และจะยกสวนให้คนอื่นเช่า ซึ่งจะแบ่งผลคืนให้ เขาตามกำ�หนดเวลา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า “ท่านมิได้อ่านในพระคัมภีร์หรือว่า หินที่ช่างก่อสร้างทิ้งเสียนั้น ได้กลายเป็นศิลาหัวมุม องค์พระผู้เป็นเจ้าได้ทรง กระทำ�เช่นนั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่เรายิ่งนัก” “ดังนั้น เราบอกท่านว่า พระอาณาจักรของพระเจ้าจะถูกยกจากท่านทั้งหลาย ไปมอบให้แก่ชนชาติอื่นที่จะทำ�ให้บังเกิดผล” “เมื่อบรรดาหัวหน้าสมณะและชาวฟาริสีได้ยินอุปมาเหล่านี้ก็เข้าใจว่า พระองค์ ตรัสถึงพวกเขา จึงพยายามจับกุมพระองค์ แต่ยงั เกรงประชาชน เพราะประชาชนนับถือ พระองค์เป็นประกาศก” 4 อธิบายพระวาจา - ใครที่ฟังอุปมาเรื่องนี้คงรู้สึกหดหู่ เพราะเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านี้ไม่มีอะไรให้ รูส้ กึ ชืน่ ชมยินดีเท่าไรนัก เนือ่ งจากเล่าถึงการฆ่าและความตายของหลายชีวติ ซึง่ ทีห่ นัก ทีส่ ดุ ก็นา่ จะเป็นการฆ่าบุตรของเจ้าของสวน คหบดีผนู้ นั้ ทีเ่ ตรียมสวนองุน่ ไว้อย่างพร้อม เพื่อให้คนเช่าสวนได้มีโอกาสทำ�มาหาเลี้ยงชีพ พวกเขาทุกคนล้วนได้อานิสงค์และผล ประโยชน์จากเจ้าของสวนเป็นอย่างมาก จนกระทัง่ ผลประโยชน์เหล่านัน้ มันบังตา ทำ�ให้ พวกเขาตาบอดมืดและกระทำ�การอันชั่วร้ายที่ทำ�ให้เจ้าของสวนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน อย่างที่สุด นั่นคือ พวกเขาได้ฆ่าลูกชายเจ้าของสวนโดยฝันไปว่าจะได้มรดกมาครอบ ครองเสียเอง - ที่สุด เรื่องนี้ก็จบลงอย่างอนาถ เพราะบรรดาผู้ฟังตอบเองว่า พวกใจอมหิตนั้น จะต้องถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหดและถูกเอาสวนไปให้คนอื่นเช่า - พระเยซูเจ้าทรงยืนยันความคิดนี้โดยทรงกล่าวว่า หินที่ช่างก่อสร้างทิ้งแล้วจะ กลายเป็นศิลาหัวมุม และพระอาณาจักรของพระเจ้าจะถูกยกจากพวกนั้นไปให้แก่ ชนชาติอื่นที่จะทำ�ให้บังเกิดผลดีกว่า - พระวรสารตอนนี้จบลงด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนของชาวยิวว่า พระเจ้ามิได้ทรง เลือกพวกเขาอีกต่อไปแล้ว เพราะพวกเขาคือผู้ที่ฆ่าพระบุตรของพระองค์ และพระองค์ จะทรงเลือกชนชาติอื่นมาแทน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากพระวรสารตอนนี้ เราจึงเข้าใจว่า การเป็นประชากรเลือกสรรของชาวอิสราเอล ได้สิ้นสุดลงแล้วกับการประหารชีวิตพระเยซูเจ้าเพราะการไม่ยอมรับพระองค์เป็น พระผูไ้ ถ่บาป พระเยซูเจ้าจึงได้ประกาศชัดเจนว่าจะมีคนกลุม่ ใหม่ทจี่ ะถูกเลือกสรรแทน และสิ่งนั้นก็เกิดขึ้นจริงแล้ว นั่นคือทุกคนที่ได้เชื่อในพระเยซูเจ้าและได้รับศีลล้างบาป ก็ได้กลายเป็นประชากรใหม่ของพระองค์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


31

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- บุคคลกลุ่มนี้ได้เกิดขึ้นตามพระบัญชาสุดท้ายของพระเยซูเจ้าก่อนที่จะเสด็จสู่ สวรรค์ต่อหน้าบรรดาศิษย์ที่ให้ท่านเหล่านั้นไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของ พระองค์ ทำ�พิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร และพระจิต สอนให้ เขารู้และปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อที่พระองค์ได้ทรงสอน (เทียบ มธ 28:18-20)

- บุคคลกลุ่มนี้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วจึงได้รับชื่อว่า “พระศาสนจักร” อยู่ภายใต้ การปกครองของผู้นำ�แต่องค์เดียวคือ สมเด็จพระสันตะปาปา มีความเป็นเอกภาพใน ทุกข้อความเชื่อ พระคัมภีร์ พิธีกรรม และธรรมประเพณี - ในฐานะที่พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ตั้งพระศาสนจักรเป็น “ประชากรใหม่” ของ พระเจ้า ซึ่งเป็น “พระกายทิพย์” ของพระองค์ พระศาสนจักรนี้จึงมีศักดิ์สิทธิภาพ คือ สมาชิกทุกคนเจริญชีวติ มุง่ สูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิเ์ พราะปฏิบตั ติ ามคำ�สอนทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ มีสากล ภาพ คือจะคงอยูต่ ลอดกาลตามลักษณะทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงเป็น และมีการสืบสานต่อจาก บรรดาอัครสาวก อาศัยการแต่งตั้งและมอบอำ�นาจแก่ผู้สืบตำ�แหน่งที่ถูกต้องแท้จริง ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มของอัครสาวกจนถึงปัจจุบันนี้ - ทุกเครื่องหมายเหล่านี้ทำ�ให้พระศาสนจักรมีลักษณะสำ�คัญที่ชัดเจน นั่นคือ การนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้แต่องค์เดียว ผู้ทรงเป็นพระตรีเอกภาพ ที่ประกอบด้วย พระบิดา พระบุตร และพระจิต สามพระบุคคลที่เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวกัน - ภาพพระศาสนจักรที่ผู้สอนนำ�มาให้ดูตอนต้นของคาบเรียนนี้ทำ�ให้เห็นถึง ความเป็นรูปธรรมของพระศาสนจักรนี้ เพราะจากภาพเราเห็นพระสันตะปาปา ผู้ทรง เป็นผู้นำ�ของพระศาสนจักร บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ และคริสตชน ที่ห้อมล้อม รอบพระแท่นบูชา ร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เดียวกัน ประกาศความเชื่อถึงพระเจ้าองค์ เดียวกัน - ณ จุดนี้ ให้ผู้เรียนปิดตา และจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่เกิดกับตนเป็นประจำ� ทุกสัปดาห์ นั่นคือ การไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณประจำ�ทุกวันอาทิตย์ เหตุการณ์นี้ อาจทำ�ให้เรารูส้ กึ ว่าไปวัดเพราะเป็นหน้าที่ อาจทำ�ให้เรารูส้ กึ เบือ่ ๆ เพราะทุกครัง้ ทีเ่ รา ไปร่วมพิธีนี้ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ส่วนใหญ่ก็เหมือนๆ กันทุกครั้ง บทภาวนาในมิสซา ก็ไม่มีอะไรต่างกันมาก ยกเว้นบทอ่าน บทเพลง บทเทศน์ และบทภาวนาของประธาน เท่านั้น

- แต่จริงๆ แล้ว ให้เราสำ�นึกถึงความจริงที่ลึกซึ้งมากกว่าภาพที่เราเห็น คือ ภาพของคริสตชนที่ไปวัดร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์นั้น เป็นภาพลักษณ์ ที่หมายถึง “พระศาสนจักร ระดับท้องถิ่น” ซึ่งหมายถึงประชากรใหม่ของพระเจ้า ที่ ประกอบด้วยเราคริสตชนแต่ละคนนั่นเอง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสำ�นึกตนว่าเป็นประชากรใหม่ของพระเจ้า ด้วยการไปร่วมมิสซาทุกวัน อาทิตย์

ภาพ “พระสันตะปาปา” ท้ายแผน


32

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทข้าพเจ้าเชื่อ” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ภาพ “พระสันตะปาปาทำ�มิสซา ที่หน้าพระวิหาร น.เปโตร กรุงโรม”


33

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง พระนางมารีย์ : แบบอย่างของผู้รับใช้

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระนางมารีย์ พระมารดาของพระเจ้า ทรงเป็นแบบอย่างของ ผู้รับใช้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนรับใช้บุคคลรอบข้าง (กำ�หนดข้อปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างน้อย 1 อย่าง) สาระการเรียนรู ้ ในสังคมปัจจุบัน เรื่อง “การรับใช้” หรือ “จิตอาสา” เป็นเรื่องที่ตกกระแสไปเสียแล้ว เพราะวัฒนธรรมของ สังคมปัจจุบันไม่ได้ให้คุณค่าแก่ “การรับใช้” เท่าที่ควรจะเป็น เราจึงพบเห็นบุคคลที่แสดงออกถึงความเห็นแก่ตัว ไม่ยอมช่วย เหลือรับใช้ผู้อื่น พระมารดามารีย์ทรงเป็นแบบอย่างของผู้ที่เจริญชีวิตสวนกระแสนี้ โดยทรงถ่อมพระองค์ลงรับใช้ทุกคน แม้จะ ทรงเป็นถึง “พระมารดาพระเจ้า” ก็ตาม (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 967-972) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมตามใบงาน “เอาที่ชอบ” - เมื่อเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้สึกหลังจากการทำ�กิจกรรมนี้โดยผู้สอน สามารถป้อนคำ�ถาม เช่น “รู้สึกอย่างไรที่ต้องเลือกบัตรคำ�ที่ชอบที่สุด?...ขณะที่เลือก นั้นพบปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้างไหม?...ข้อสังเกตที่ได้จากการทำ�กิจกรรมนี้คือ อะไร?...” - จากนั้น ให้ผู้เรียนบางคนบอกว่า ตนเลือกบัตรคำ�ใด? เพราะอะไร? - ให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่ผู้เรียนเลือก กับสิ่งที่เหลืออยู่ ซึ่งผู้สอนได้เขียนไว้ บนบอร์ดหน้าชัน้ มีลกั ษณะเหมือน คล้าย หรือแตกต่างกันอย่างไร? คำ�ทีเ่ หลือมากทีส่ ดุ คือคำ�ว่าอะไร? มีผู้เลือกคำ�ว่า “การรับใช้” กี่คน? คำ�นี้มีเหลืออยู่กี่ใบ? เราทุกคนชอบ “การรับใช้” หรือไม่? เพราะเหตุใด? - ให้เรามาดูว่า พระเจ้าทรงต้องการสอนเราเรื่อง “การรับใช้” นี้อย่างไร? 3 พระวาจา : (ลก 1:39-45, 56) หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบ ภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนางเอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำ�ทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นาง เอลีซาเบธได้รบั พระจิตเจ้าเต็มเปีย่ ม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รบั พระพรยิง่ กว่าหญิงใดๆ และลูกของเธอก็ได้รบั พระพรด้วย ทำ�ไมหนอพระมารดาขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้าจึงเสด็จ

ดูใบงาน “เอาที่ชอบ” ท้ายแผน


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ มาเยี่ ย มข้ า พเจ้ า เมื่ อ ฉั น ได้ ยิ น คำ � ทั ก ทายของเธอ ลู ก ในครรภ์ ข องฉั น ก็ ดิ้ น ด้ ว ย ความยินดี เธอเป็นสุขที่เชื่อว่า พระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”... พระนางมารีย์ประทับอยู่กับนางเอลีซาเบธประมาณสามเดือนจึงเสด็จกลับ

4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารตอนนี้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สำ�คัญมาก นั่นคือ การที่ทูตสวรรค์แจ้งข่าวการประสูติของพระเยซูเจ้าแก่พระนางพรหมจารีมารีย์ ซึ่งเมื่อทูตสวรรค์แจ้งข่าวนี้เสร็จแล้ว พระนางมารีย์ก็ทรงตั้งครรภ์ ทำ�ให้พระนางกลาย เป็นบุคคลที่สำ�คัญและยิ่งใหญ่ในทุกยุคทุกสมัย นั่นคือเป็น “พระมารดาพระเจ้า” - พระนางมารียเ์ องทรงตระหนักในสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับพระนางเป็นอย่างดี แม้กระนัน้ เมื่อได้ทราบจากทูตสวรรค์ว่า นางเอลีซาเบธผู้เป็นญาติก็ได้ตั้งครรภ์แล้วถึง 6 เดือน พระนางรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ทรงเก็บทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับพระนางไว้ในใจ และรีบออก เดินทางไปหานางเอลีซาเบธทันที - ระยะทางระหว่างเมืองนาซาเร็ธและเมืองที่นางเอลีซาเบธอยู่นั้นห่างไกลกัน มาก เพราะเมืองนาซาเร็ธอยู่ในแคว้นกาลิลี ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ส่วนแคว้นยูเดียนั้น อยู่ทางตอนใต้ พระนางมารีย์จะต้องเดินทางผ่านแคว้นสะมาเรียไปยังแคว้นยูเดีย - พระวรสารไม่ได้เล่าว่าพระนางมารีย์ใช้เวลาเดินทางนานเท่าใด แต่เราพอจะ คาดคะเนได้จากแผนที่ว่า คงต้องเดินทางเป็นเวลานานมากพอควรเพราะในสมัยนั้น ไม่มยี านพาหนะใดๆ นอกจากอูฐ ลาหรือม้าเท่านัน้ แต่ดว้ ยสภาพของผูม้ คี รรภ์พระนาง คงจะทรงลาสำ�หรับการเดินทางนั้น - นางเอลีซาเบธเองก็ได้รับพระพรและอัศจรรย์จากพระเจ้าเช่นเดียวกัน เพราะ เดิมทีนางเองก็เป็นหมันและชราแล้ว แต่ก็ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ นางจึงได้เห็นสิ่ง อัศจรรย์ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าในพระนางมารีย์อีกด้วย และคำ�ทักทายของเธอก็ได้กลาย เป็นบทสรรเสริญที่อมตะสำ�หรับคนทุกยุคทุกสมัยคือ “เธอได้รับพระพรกว่าหญิงใดๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย” (ลก 1:42) - คำ�ทักทายนี้ยิ่งเป็นการยืนยันถึงสภาวะจริงแห่งการเป็นพระมารดาพระเจ้าของ พระนางมารีย์ แต่พระนางไม่ได้ถือตนอย่างหยิ่งผยองถึงสิ่งที่ตนเป็น แต่ตรงข้าม พระนางทรงถ่อมพระองค์อย่างทีส่ ดุ ตัง้ แต่ยอมรับความยากลำ�บากของการเดินทางอัน ยาวไกล ซึง่ ในพระวรสารไม่ได้ระบุวา่ มีใครเป็นเพือ่ นเดินทางด้วยหรือไม่? หรือพระนาง อาจจะไปคนเดียวหรือเปล่า? แต่เราคงจินตนาการได้ไม่ยากว่า มันจะต้องยากลำ�บาก แค่ไหน? - การไปอยู่กับนางเอลีซาเบธนานถึง 3 เดือนขณะที่นางเอลีซาเบธตั้งครรภ์ได้ถึง 6 เดือนแล้วนั้นก็ทำ�ให้เราเข้าใจได้ไม่ยากว่า พระนางมารีย์ไปเพื่อทำ�อะไรที่นั่น คงจะ ไม่ใช่ไปพักผ่อนตากอากาศ หรือไปเยีย่ มเยียนแบบธรรมดาๆ เพราะนัน่ คือช่วงเวลา 3 เดือนสุดท้ายก่อนที่นางเอลีซาเบธจะคลอดบุตร ดังนั้น พระนางมารีย์คงจะต้องเสด็จ ไปทีน่ นั่ เพือ่ ช่วยเหลือญาติในช่วงเวลาทีเ่ ธอต้องการความช่วยเหลือมากทีส่ ดุ ดังนัน้ ถ้า จะเรียกอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดก็คือ พระนางไปเพื่อ “รับใช้” แม้จะทรงตั้งครรภ์แล้ว

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


35

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ก็ตาม งานที่พระนางต้องทำ�ก็น่าจะเป็นงานบ้าน ซึ่งก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่างานเหล่านี้ ก็เป็นงานของ “คนใช้” ในสายตาของหลายๆ คนนั่นเอง - พระนางมารีย์คงไปที่นั่นพร้อมด้วยความตั้งใจว่า จะเป็น “คนใช้” ที่ทำ�หน้าที่ ของตนอย่างดีที่สุด แม้ตนจะต้องลำ�บากยากเย็นเพียงใดก็ตาม เพื่อให้ความช่วยเหลือ แก่ญาติอย่างดีที่สุดในยามที่เธอต้องการความช่วยเหลือ

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้เราเปรียบเทียบดูว่า สิ่งที่พระนางได้กระทำ�นี้ เหมือน หรือ ต่างกัน กับผล การทำ�กิจกรรมของเราตอนต้นคาบนี้... เหมือน... เพราะเหตุใด? ต่าง... เพราะเหตุ ใด? - พระนางมารีย์ได้สอนเราด้วยชีวิตของพระนางเองว่า “การรับใช้” คือ “คุณค่า” ผู้คนปัจจุบันรวมถึงพวกเราด้วยอาจเข้าใจไม่ได้ถึงคุณค่าของการรับใช้ และปกติก็จะ หลีกหนีหรือหลีกเลีย่ งเพราะงานรับใช้คอื งานทีต่ อ้ งถูกดูถกู ว่าเป็นงานต่�ำ ๆ เป็นงานซึง่ พวก “ผู้ดีมีอันจะกิน” ส่วนใหญ่เขามักไม่ทำ�กันเพราะเขาจะให้ “คนใช้” ทำ�เท่านั้น เฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ “สื่อ” มอบให้นั้นเน้นแต่ภาพลักษณ์ของชีวิตที่สะดวกสบาย งานหนักไม่เอา เบาไม่สู้ แต่งตัวสวยทันสมัย ชอบการกินดีอยู่ดี ชอบเที่ยว เอาภาพลง FB, Line, IG ฯลฯ เพื่อแสดงให้ทั่วโลกรู้ถึง “ชีวิตดี๊ดี” ของตนในทุกซอกทุกมุม ฯลฯ สำ�หรับคนที่มีชีวิตเช่นนี้ยังจะมีที่ให้แก่ “การรับใช้” อีกหรือ? ถ้ามีการแชร์ในโซเชียล ว่าตนกำ�ลังทำ� “งานต่ำ�ๆ” แบบนั้น ก็คงไม่ทราบว่าจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน? คงจะต้อง อับอายชาวโลก แล้วรีบ “จัดแถลงข่าว” ทันที - นี่อาจเป็น lifestyle ของคนส่วนหนึ่งในยุคนี้ แต่เราควรจะมาไตร่ตรองว่า มัน ควรจะเป็น lifestyle ของผู้ที่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าหรือเปล่า? - พระนางมารีย์ต่างหากคือผู้เจริญชีวิตด้วยคำ�สอนของพระเยซูเจ้าโดยแท้จริง เพราะพระเยซูเจ้าได้ตรัสว่า “บุตรแห่งมนุษย์มิได้มาเพื่อให้ผู้อื่นรับใช้ แต่มาเพื่อรับใช้ ผูอ้ นื่ ” (มธ 20:28) พระนางมารียค์ อื แบบอย่างของศิษย์ผทู้ �ำ ให้ค�ำ สอนของพระอาจารย์ เป็นจริงในชีวิตของพระนางอย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ที่จริง พระนางอาจอ้างได้ว่า “ฉันเป็นพระมารดาพระเจ้า ฉันเองก็ตั้งครรภ์ จึงไม่เหมาะและไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะ ต้องลดตัวลงไปรับใช้คนอื่น” - แน่นอน คำ�พูดเหล่านี้ไม่เคยอยู่ในความคิดและในการปฏิบัติของพระนางมารีย์ ถ้าไม่เช่นนัน้ พระวรสารคงจะไม่ได้บนั ทึกสิง่ ทีเ่ ราพบเห็นในวันนีเ้ กีย่ วกับเรือ่ งนี้ แต่ให้ เรายอมรับสิ่งหนึ่งคือ สิ่งใดที่เป็นคุณค่าแท้จริง สิ่งนั้นจะเป็นอมตะ เพราะอะไรที่เป็น “คุณค่าแท้จริง” ยังไงก็คือ “คุณค่า” ไม่ว่าจะในยุคไหน ศตวรรษไหนก็ตาม - ดังนั้น “การรับใช้” คือสิ่งที่มีคุณค่าอมตะ เพราะการปฏิบัติสิ่งนี้ก็เท่ากับเป็น การมอบ “สิง่ ดี” ให้แก่คนอืน่ อันหมายถึง “ความรัก” ซึง่ การจะทำ�ให้เกิดขึน้ ได้ จำ�เป็น ต้องมีการเสียสละตนเอง การไม่เห็นแก่ตน การยอมลำ�บากเพื่อผู้อื่น นี่คือการ “รัก เพื่อนบ้าน” อย่างเป็นรูปธรรมดังที่พระเยซูเจ้าทรงบัญชาให้ศิษย์ของพระองค์ทุกคน ปฏิบัติ ดังที่พระองค์เองได้ทรงเป็นแบบอย่างของคุณค่านี้ ด้วยการมอบทั้งชีวิตของ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


36

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

พระองค์เพื่อรับใช้มนุษย์ เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดแก่มนุษย์ นั่นคือ ความสุขแห่งความรอดพ้นนิรันดร - พระนางมารีย์เองได้ทรงเป็นสาวกองค์แรกที่ได้ปฏิบัติตนเป็น “ผู้รับใช้” เช่น เดียวกัน พระนางจึงได้ให้แบบอย่างที่ดีที่สุดแก่เราในเรื่องนี้ - ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนลงในสมุดของตนว่า จะปฏิบัติการรับใช้อย่างเป็นรูป ธรรมได้อย่างไร? กับใคร? และให้นำ�ไปปฏิบัติจริงต่อบุคคลนั้น 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนรับใช้บุคคลรอบข้าง (กำ�หนดข้อปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างน้อย 1 อย่าง) 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 3 ครั้ง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................

ใบงาน “เอาที่ชอบ” คำ�ชี้แจง - ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ให้ผสู้ อนเตรียมบัตรคำ�ต่างๆ คำ�ละประมาณ 3-4 ใบ (อาจมากหรือน้อยกว่านีก้ ไ็ ด้ขนึ้ กับจำ�นวน ของผู้เรียน) ดังนี้ ความร่ำ�รวย / กินดีอยู่ดี / ไปเที่ยว / พักผ่อน / อาหารอร่อยๆ / เสื้อผ้าแบรนด์ดัง / ของใช้หรูๆ / ทำ�บุญทำ�ทาน / การช่วยเหลือ / การรับใช้ / เรียนเก่งๆ / รูปร่างหน้าตาดี / มีเสน่ห์ / โทรศัพท์รุ่นล่าสุด / มีเพื่อนมากๆ / มีคนรู้ใจ / มีคนช่วยเหลือรับใช้ / ฯลฯ

2. 3. 4. 5.

ผู้สอนวางบัตรคำ�เหล่านั้นที่บริเวณหน้าห้องหรือรอบๆ ห้องเรียน ผู้สอนเขียนคำ�ทุกคำ�ในบัตรคำ�บนบอร์ดหน้าชั้น ให้ผู้เรียนไปเลือกหยิบบัตรคำ�ที่ตนชอบมากที่สุดมาคนละ 3 ใบ ผู้สอนเก็บบัตรคำ�ที่เหลือทั้งหมดมา แล้วบันทึกจำ�นวนของบัตรคำ�ที่เหลือทั้งหมดว่า คำ�ใดมี บัตรเหลือเท่าใด?


37

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง ความเชื่อของคริสตชนเรื่องชีวิตหลังความตาย

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.5

ชั้น ม.2

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความเชื่อคริสตชนสอนว่า ความจริงหลังจากความตายของ มนุษย์ทุกคนคือ การพิพากษา ไฟชำ�ระ นรก สวรรค์ การกลับคืนชีพของร่างกายและ การพิพากษาครั้งสุดท้าย - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนคิดถึงความตายบ่อยๆ ละเว้นการทำ�บาปแม้ที่เล็กน้อยที่สุด สาระการเรียนรู ้ ความตายคือสัจธรรมของทุกสิ่งที่มีชีวิต แต่ความตายของมนุษย์ต่างจากความตายของสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะ มนุษย์มีวิญญาณที่เป็นอมตะ ทำ�ให้มนุษย์เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า หลังจากความตายมนุษย์จะได้รับการพิพากษาทีละคน จากนั้นวิญญาณจะได้รับรางวัลหรือโทษขึ้นอยู่กับความดีและความชั่วที่แต่ละคนกระทำ�เมื่อยังมีชีวิตอยู่ อาจเป็นไฟชำ�ระ นรก หรือสวรรค์ก็ได้ แต่ร่างกายของมนุษย์ทุกคนจะกลับเป็นขึ้นมาพร้อมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับการพิพากษาครั้งสุดท้าย (ดู คำ� สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1020-1050) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมตามใบงานที่ 1 - เมื่อผู้เรียนทำ�กิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนถามว่า “จากสิ่งที่ทุกกลุ่มบอกมานี้ ใครสามารถสรุปได้วา่ ในคาบนีเ้ ราจะเรียนกันในหัวข้ออะไร?” เมือ่ ผูเ้ รียนเสนอคำ�ตอบ กันหมดแล้ว ผู้สอนจึงสรุปว่า คำ�ตอบคือ เรื่อง “ความเชื่อคริสตชนเกี่ยวกับชีวิตหลัง ความตาย” - ผู้สอนป้อนคำ�ถามว่า “ใครรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับความเชื่อคริสตชนเรื่องชีวิตหลัง ความตาย?” แล้วจึงให้ผู้เรียนเขียนคำ�ตอบที่บอร์ดหน้าชั้นทีละคน - สิ่งที่ผู้เรียนเขียนนั้นจะถูกหรือผิด ให้มาดูกันต่อไปว่าพระศาสนจักรสอนอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้... 3 พระวาจา - ผู้สอนให้ผู้เรียน 6 กลุ่มเดิมจับฉลากกลุ่มละ 1 ใบ แต่ทุกกลุ่มต้องเปิดดูพร้อมกัน หลังจากสัญญาณ ฉลาก 6 ใบ บรรจุโค้ดพระวาจา ดังนี้ 1. ฮบ 9:27 - มนุษย์ถูกกำ�หนดให้ตายเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะมี การพิพากษาฉันใด {เฉลย: ความตาย / การพิพากษาที ละคน}

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


38

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

2. 2มคบ 12:45 - แต่ถ้าเขาทำ�ไปเพราะคิดว่าผู้ที่ตายขณะที่ยังเลื่อมใสต่อ พระเจ้าจะได้รับบำ�เหน็จรางวัลงดงาม ก็เป็นความคิดที่ ดีและศักดิ์สิทธิ์ เขาสั่งให้ถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปของ ผู้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากบาป {เฉลย: ไฟชำ�ระ} 3. 1ยน 3:2 - ท่านที่รักทั้งหลาย บัดนี้ เราเป็นบุตรของพระเจ้าแล้ว แต่ เราจะเป็นอย่างไรในอนาคตนั้นยังไม่ปรากฏชัดแจ้ง เรา ตระหนักดีว่า เมื่อพระองค์ทรงปรากฏ เราจะเป็นเหมือน พระองค์ เพราะเราจะได้เห็นพระองค์อย่างทีพ่ ระองค์ทรง เป็น {เฉลย: สวรรค์} 4. ยน 5:29 - ผูท้ ไี่ ด้ท�ำ ความดีจะกลับคืนชีวติ มารับชีวติ นิรนั ดร ส่วนผูท้ ี่ ทำ�ความชัว่ ก็จะกลับคืนชีวติ มารับโทษทัณฑ์ {เฉลย: สวรรค์ / นรก} 5. ยน 6:39 - พระประสงค์ของผู้ทรงส่งเรามาก็คือ เราจะไม่สูญเสียผู้ใด ที่พระองค์ทรงมอบให้แก่เรา แต่จะให้ผู้นั้นกลับคืนชีพใน วันสุดท้าย {เฉลย: การกลับคืนชีพ} 6. ยน 5:28-29 - ท่านทัง้ หลายอย่าแปลกใจในเรือ่ งนีเ้ ลย เพราะถึงเวลาแล้ว ทีท่ กุ คนในหลุมศพจะได้ยนิ พระสุรเสียงของพระบุตร และ จะออกมา ผูท้ ไี่ ด้ท�ำ ความดีจะกลับคืนชีวติ มารับชีวติ นิรนั ดร ส่ ว นผู้ ที่ ทำ � ความชั่ ว ก็ จ ะกลั บ คื น ชี วิ ต มารั บ โทษทั ณ ฑ์ {เฉลย: การพิพากษาครั้งสุดท้าย} - เมื่อให้สัญญาณแล้ว ทุกกลุ่มจะแข่งขันกันค้นหาพระวาจาตามโค้ดในฉลาก ของตน (ขณะเดียวกันผู้สอนเขียนโค้ดทั้ง 6 ที่บอร์ดหน้าชั้น) กลุ่มใดเสร็จก่อนให้ ส่งตัวแทนไปเขียนพระวาจาตอนนั้นๆ ตามโค้ดพระวาจาของกลุ่ม (ผู้สอนตรวจ ความถูกต้องของพระวาจาแต่ละกลุ่ม) - เมื่อทุกกลุ่มเสร็จแล้ว บนบอร์ดจะปรากฏพระวาจา 6 ตอนที่ครบสมบูรณ์ - ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านพระวาจาทีละตอนอย่างช้าๆ ให้ครบทั้ง 6 ตอน จากนั้น ให้ผเู้ รียนช่วยกันวิเคราะห์วา่ พระวาจาแต่ละตอนนัน้ บ่งชีถ้ งึ ความจริงหลังความตายข้อ ใด? เมือ่ ผูเ้ รียนช่วยกันเสนอคำ�ตอบแล้ว ให้ผสู้ อนเฉลยคำ�ตอบโดยเขียนใส่ไว้ในวงเล็บ ท้ายพระวาจาแต่ละตอน 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้ง 6 ตอนนี้เป็นการเปิดเผยของพระเจ้าเกี่ยวกับความจริงหลัง ความตายของมนุษย์ นั่นคือ ความตาย การพิพากษาทีละคน ไฟชำ�ระ นรก สวรรค์ การกลับคืนชีพของร่างกาย และการพิพากษาครัง้ สุดท้าย ซึง่ เมือ่ มนุษย์ตายแล้วจะต้อง ประสบเกือบทั้งหมด หมายความว่า ผู้ที่ไปสวรรค์ก็จะไม่ไปนรก ผู้ที่ไปนรกก็ไม่ไปไฟ ชำ�ระและสวรรค์ นอกนั้นต้องพบเจอทั้งหมด

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


39

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ความจริงหลังความตายเป็นเรื่องจริงที่มนุษย์ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถบอกเล่าได้ โดยละเอียดว่าเป็นอย่างไร เพราะมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะยังไม่ผ่านความตาย ส่วน ผูท้ ตี่ ายไปแล้วก็ไม่สามารถกลับมาเป็นมนุษย์ได้อกี ดังนัน้ ความจริงนีจ้ งึ เป็นเรือ่ งลึกลับ สำ�หรับมนุษย์ทุกคน เหตุนี้เองจึงทำ�ให้มนุษย์ส่วนใหญ่กลัวความตายและสิ่งที่จะเกิด ขึ้นหลังความตาย เพราะมนุษย์ไม่ทราบว่า ความตายเป็นอย่างไร? ตายแล้วจะพบกับ อะไร? จะไปไหน? สวรรค์ นรก มีจริงหรือไม่? ผีเป็นอย่างไร? ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนพูด ได้ ด้ ว ยทฤษฎี เหตุ ผ ล จิ น ตนาการ ฯลฯ แต่ ไ ม่ มี ใ ครเลยสามารถบอกเล่ า ด้ ว ย ประสบการณ์จริงได้ (แม้อาจมีบางคนบอกว่าเคยตายไปแล้ว แต่เขาก็สามารถเล่าได้ เพียงบางส่วนเท่านั้น) - พระเจ้าจึงทรงเปิดเผยความจริงเหล่านี้ให้มนุษย์ได้ทราบผ่านทางพระคัมภีร์ ซึ่งเราคริสตชนเชื่อว่า ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงเปิดเผยในพระคัมภีร์นั้นล้วนเป็นความจริง เที่ยงแท้ทั้งสิ้น

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - การรู้ความจริงเรื่องนี้อาจทำ�ให้บางคนหวาดหวั่น กลัว เพราะโดยธรรมชาติ แล้ว คนเรามักจะกลัวผีและความตาย ความรูส้ กึ นึกคิดของมนุษย์จงึ อาจหยุดอยูเ่ พียง ทีค่ วามตายและผี และสำ�หรับหลายคนความคิดประเภทนีก้ ไ็ ม่ได้ชว่ ยอะไรเขาเลย ไม่ ได้มีผลต่อชีวิตปัจจุบันของเขาเลย

- แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ควรเป็นเช่นนั้น เพราะความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้อง ช่วยกระตุ้นให้เราไปถึงสัจธรรมสำ�คัญอันหนึ่ง คือ เราทุกคนกำ�ลังเข้าใกล้ความตาย เข้าทุกที ดังนั้น จำ�เป็นที่เราจะต้องเตรียมตัวตายอย่างดีเพราะคนเราเกิดครั้งเดียว ตายครั้งเดียว ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น เรามีเวลาทำ�ความดีก็เฉพาะในชีวิต นี้เท่านั้นซึ่งบางคนอาจอายุยืน แต่อีกหลายๆ คนก็ตายตั้งแต่อายุยังน้อยๆ หรืออาจ ถูกทำ�ให้ตายตัง้ แต่ยงั เล็กๆ ก็ได้ เราจึงไม่ควรเจริญชีวติ แบบไร้สาระ ไม่คดิ ถึงคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมอันดีงาม เพราะโลกของเรามีคนประเภทนี้มากมายแล้ว - สังคมของเราในปัจจุบันมีปัญหามากมาย เพราะบุคคลประเภทนี้ที่ไม่เคยคิด สร้างสรรค์สิ่งดีให้แก่ตัวเองและสังคม แต่เจริญชีวิตบนพื้นฐานของความเห็นแก่ตัว ทำ�ทุกอย่างเพือ่ ตัวเองในทางทีผ่ ดิ ๆ แบบเห็นผิดเป็นชอบ และยิง่ วันชีวติ ก็ยงิ่ ไร้สาระ หรือเลวร้ายมากขึ้น ซึ่งชีวิตแบบนี้มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ตนเอง และผู้อื่น และที่สำ�คัญคือ ชีวิตแบบนี้จะเป็นอันตรายต่อความรอดพ้นของวิญญาณ หลังจากความตาย เพราะสัจธรรมพื้นฐานเที่ยงแท้ก็คือ ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว ซึ่ง การได้ดีหรือได้ชั่วนั้น มิใช่ใครอื่นจะลิขิตให้แก่เราได้ นอกจากตัวของเราเองเท่านั้น - ดังนั้น หลังจากที่เราเรียนเรื่องนี้ไปแล้ว ความจริงเรื่องนี้ต้องช่วยเราให้คิดถึง ความตาย การพิพากษาไฟชำ�ระ นรก สวรรค์บ่อยๆ และความคิดเช่นนี้ต้องทำ�ให้ เราหลีกเลี่ยงความชั่วหรือบาป แม้ที่เล็กน้อยที่สุด และพยายามปฏิบัติแต่สิ่งดีๆ ใน ชีวิต

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


40

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนคิดถึงความตายบ่อยๆ ละเว้นการทำ�บาปแม้ที่เล็กน้อยที่สุด 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทวันทาพระราชินี” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - 1. ให้ผู้สอนเตรียมฉลากดังนี้

ยน 6:39 ยน 5:29 ฮบ 9:27 1ยน 3:2 2มคบ 12:45 ยน 5:28-29 2. ผู้สอนเตรียมพระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์แจกให้กลุ่มละ 1 เล่ม (หรือตามจำ�นวนผู้เรียน) 3. แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 6 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มหยิบฉลาก 1 ใบ 4. ให้ทุกกลุ่มเปิดฉลากพร้อมกัน แข่งขันกันหาพระวาจาตามที่เขียนในใบฉลาก กลุ่มไหนเสร็จ ก่อนรีบยกมือ ผู้สอนบันทึกว่ากลุ่มใดยกมือก่อน 5. เมื่อทุกกลุ่มยกมือแล้ว ให้ภายในกลุ่มอ่าน ทำ�ความเข้าใจพระวาจาตอนนั้นๆ ให้เวลา ประมาณ 2-3 นาที 6. จากนั้นให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มบอกความคิดรวบยอดที่ได้จากการสรุปพระวาจาตอนนั้นๆ ให้ ทุกคนรับฟัง


41

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง พระเยซูเจ้า : ศูนย์กลางประวัติศาสตร์แห่งความรอด

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ในแผนการแห่งความรอดพ้นของพระเจ้า พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นสำ�หรับมวลมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดภาวนาขอบพระคุณพระเจ้าบ่อยๆ สาระการเรียนรู้ หลังจากที่อาดัมและเอวาได้ทำ�บาปกำ�เนิดแล้ว พระเจ้าทรงมีพระดำ�ริจะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาป และความตายนิรันดร นี่คือแผนการแห่งความรอดพ้นของพระเจ้าสำ�หรับมนุษย์ จากแผนการแห่งความรอดพ้นนี้จึงเกิด ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นขึ้น ซึ่งมีพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นจุดศูนย์กลางของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น (ดู คำ� สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 599-617) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ใครคู่ใคร?” - จากนั้น ให้ผู้สอนเฉลยว่า ใครทำ�ถูกกี่ข้อ? ได้กี่คะแนน? คะแนนที่ได้จะเป็น ข้อมูลบอกให้ทราบว่า ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประเด็นเหล่านั้นมากเพียงใด? - แต่ ป ระเด็ น หลั ก ที่ เราต้ อ งการศึ ก ษาให้ ลึ ก ซึ้ ง ในช่ ว งเวลาต่ อ ไปนี้ คื อ เรื่ อ ง ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นนั่นเอง - ผู้เรียนทราบไหมว่า “ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” คืออะไร?... มี ความเกี่ยวข้องกับเราแต่ละคนอย่างไร?... ใครคือผู้ที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ แห่งความรอดพ้นนี้?... ทำ�ไมเราต้องเรียนให้รู้จักเรื่องนี้ด้วย?... - ให้เรามาศึกษาเรื่องนี้กัน เพื่อจะสามารถเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับความจริง แห่งธรรมล้ำ�ลึกแห่งความรอดพ้นซึ่งเป็นเรื่องสำ�คัญที่สุดสำ�หรับชีวิตของเราแต่ละคน 3 พระวาจา : (รม 1:1-6) จากเปาโล ผู้รับใช้ของพระคริสตเยซู ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกมาเป็นอัครสาวก และทรงมอบหมายให้ประกาศข่าวดีซงึ่ พระเจ้าทรงสัญญาไว้ทางประกาศกในพระคัมภีร์ ข่าวดีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์ ซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์ ทรงบังเกิดใน เชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด และโดยทางพระจิตเจ้าผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ทรงได้รับ การสถาปนาขึน้ เป็นพระบุตรผูท้ รงอำ�นาจของพระเจ้าโดยการกลับคืนพระชนมชีพจาก บรรดาผู้ตาย พระองค์คือพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ด้วยเดชะพระเยซู-

ดูใบงาน “ใครคู่ใคร?” ท้ายแผน


42

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ คริสตเจ้านี้ เราได้รับพระหรรษทาน และภารกิจการเป็นอัครสาวกเพื่อนำ�ประชาชาติ ทัง้ หลายให้มาปฏิบตั ติ ามความเชือ่ ทัง้ นี้ เพือ่ ถวายพระเกียรติแด่พระนามของพระองค์ และท่านทัง้ หลายก็อยูใ่ นบรรดาบุคคลเหล่านี้ ท่านเป็นของพระเยซูคริสตเจ้าแล้วเพราะ พระองค์ทรงเรียก

4 อธิบายพระวาจา - น.เปาโลได้ยืนยันในพระวาจาตอนนี้ว่า ข่าวดีที่ท่านประกาศนั้นเป็นเรื่องของ พระเยซูคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา อาศัยพระองค์นี้เองที่เราได้รับพระหรรษทานและภารกิจการเป็นอัครสาวก - เรื่องประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นเป็นเรื่องราวอันยาวนานมากกว่าสี่พันปี ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้เล่าเรื่องนี้ในทุกรายละเอียดเพราะไม่มีมนุษย์คนใดที่ สามารถมีอายุยืนยาวถึงขนาดนั้นได้ แต่พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยแผนการแห่งความรอดพ้นของพระองค์ให้แก่บางคนเป็นพิเศษ เช่น นักบุญผู้นิพนธ์พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ หรืออัครสาวกบางองค์ที่สามารถบันทึกสิ่งที่พระองค์ทรงเปิดเผยได้ - น.เปาโลก็เป็นผู้หนึ่งที่พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยความจริงแห่งความรอดพ้นให้ ท่านทราบ และพระจิตเจ้าได้ทรงนำ�ท่านในการบันทึกลงในจดหมายหลายฉบับทีท่ า่ น เขียนถึงบรรดาคริสตชนในที่ต่างๆ - แต่จากจดหมายทุกฉบับของท่านเราจะพบว่า น.เปาโลได้เข้าใจว่าจุดศูนย์กลาง แห่งประวัติศาสตร์แห่งความรอดนั้นมีองค์พระเยซูคริสตเจ้าอยู่ พระองค์คือบุคคลที่ สำ�คัญที่สุดในแผนการแห่งความรอดพ้นของพระเจ้า เพราะพระองค์คือพระบุคคลที่ สองในพระตรีเอกภาพ เป็นพระบุตรของพระบิดา ผูท้ รงรับเอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นพระผู้ไถ่มนุษย์ให้พ้นจากบาปและความตายนิรันดร ดังนั้น หากขาดพระองค์ แล้ว ประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้นซึง่ อยูใ่ นแผนการแห่งความรอดพ้นจะสำ�เร็จไปไม่ ได้เลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เราทราบดีว่า อาดัมและเอวาเป็นมนุษย์คู่แรกที่ได้ทำ�ให้บาป มนุษย์ทุกคนจึง มีบาปกำ�เนิดติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผลของบาปนั้นทำ�ให้มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่น่า กลัว นั่นคือ ความตายและความทุกข์นิรันดร แต่พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ซึ่งเป็น บุตรของพระองค์มชี วี ติ และมีความสุขกับพระองค์ชวั่ นิรนั ดร พระองค์จงึ ทรงดำ�ริแผนการ แห่งความรอดพ้นขึ้น - จากแผนการแห่งความรอดพ้นนี้เอง จึงเกิดมีประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ขึ้น ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนั้นมีเล่าอยู่ในพระคัมภีร์ - เราคริสตชนส่วนใหญ่รจู้ กั เรือ่ งราวบางส่วนของประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้น นี้แล้ว อาศัยการอ่านพระคัมภีร์ การฟังเรื่องราวบางตอนในบทอ่านระหว่างการร่วม พิธีบูชาขอบพระคุณ การฟังเทศน์อบรมจากพระสงฆ์ หรือการรับอบรมเกี่ยวกับ พระคัมภีร์ ฯลฯ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


43

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ผู้สอนให้ผู้เรียนดูภาพ “ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” และอธิบายให้ผู้เรียน ☆ ดูภาพ “ประวัติศาสตร์แห่ง เข้าใจว่า ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษย์นั้นได้เริ่มตั้งแต่การสร้างโลก ความรอดพ้น” ท้ายแผน การทำ�บาปของมนุษย์ จนมาถึงสมัยของอับราฮัม (ประมาณ 1,900 ปี ก่อนคริสตกาล) ☆ * ดู “ภาพรวม ผูเ้ ป็น “บิดาแห่งความเชือ่ ” ชนชาติอสิ ราเอลทีท่ วีมากขึน้ อิสราเอลเข้าไปอยูใ่ นประเทศ อียิปต์ เรื่องราวของโมเสส สมัยของผู้วินิจฉัย สมัยของกษัตริย์ บรรดาประกาศก เรื่อย ประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์” จัดพิมพ์โดยศูนย์คำ�สอนอัคร มาจนถึงสมัยของพระเยซูเจ้า สังฆมณฑลกรุงเทพฯ - หลังสมัยของพระเยซูเจ้าก็จะเป็นยุคของพระศาสนจักร ซึ่งสืบเนื่องต่อมาโดย บรรดาอัครสาวกของพระเยซูเจ้า มีพระสันตะปาปาทรงเป็นพระประมุข มีข้อความเชื่อ อันเดียวกันซึ่งมาจากพระคัมภีร์และธรรมประเพณีของพระศาสนจักรเป็นหลักยึดที่ สำ�คัญ - เมื่อได้พิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดโดยย่อๆ แล้ว เราจะเห็นได้ชัดว่า ในภาพรวม ของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นนี้มีพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นศูนย์กลาง จาก พระองค์นี้เองได้มีการแบ่งประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง พันธสัญญาเดิมและช่วงพันธสัญญาใหม่ ที่สำ�คัญกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมดก็คือ เพราะ พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่บาปของเราแต่ละคนนั่นเอง - เมื่อเราได้เรียนรู้และทราบถึงความมหัศจรรย์ของแผนการแห่งความรอดพ้น ของพระเจ้า และประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นนี้แล้ว ให้เรารู้จักที่จะโมทนาคุณ พระเจ้าบ่อยๆ สำ�หรับพระทัยดีอันหาขอบเขตมิได้นี้ของพระองค์ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดภาวนาขอบพระคุณพระเจ้าบ่อยๆ 7 ภาวนาปิด ให้ ผู้ เรี ย นสงบนิ่ ง ทำ � สมาธิ สั ก ครู่ จากนั้ น ให้ ส วด “บทข้ า แต่ พ ระบิ ด า วันทามารีย์ พระสิริรุ่งโรจน์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


44

ใบงาน “ใครคู่ใคร?” คำ�ชี้แจง - 1. ให้พิจารณาว่า ข้อความทางขวามือข้อความใดที่มีความสัมพันธ์เป็นจุดศูนย์กลางหรือเป็นส่วน สำ�คัญที่สุดของข้อความด้านซ้ายมือ 2. เมือ่ ได้ค�ำ ตอบจากข้อ 1 แล้ว ให้จบั คูโ่ ดยนำ�ตัวอักษรหน้าข้อความด้านขวามือ มาใส่หน้าข้อความ ด้านซ้ายมือให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

.......(ฉ)...... 1. พระคัมภีร์ .......(ซ)...... 2. วงกลม .......(ฐ)...... 3. วัด .......(ช)...... 4. ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น .......(ก)...... 5. บ้าน ......(ญ)...... 6. โรงเรียน .......(ค)...... 7. เครื่องบิน .......(ง)...... 8. พระศาสนจักร .......(จ)...... 9. มนุษย์ .......(ข)...... 10. ต้นไม้

ก. ครอบครัว ข. ราก ค. กล่องดำ� ง. พระสันตะปาปา จ. หัวใจ ฉ. พระวาจาพระเจ้า ช. พระเยซูคริสตเจ้า ซ. จุดศูนย์กลาง ญ. นักเรียน ฎ. ครู ฏ. พิธีกรรม ฐ. ตู้ศีล

ใบความรู้ “ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” ยุคแห่งพันธสัญญาเดิม

ยุคแห่งพันธสัญญาใหม่ : ยุคของพระศาสนจักร

การสร้างโลก

พระเยซูเจ้าทรงเป็น “ศูนย์กลาง” ของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น * หมายเหตุ – ให้ผู้สอนจัดเตรียม “ภาพรวมประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์” ซึ่งจัดพิมพ์โดย ศูนย์คำ�สอนอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ไว้ล่วงหน้า


45

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง สิ่งคล้ายศีล

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า สิ่งคล้ายศีลคือ สิ่งของหรือการกระทำ�ที่พระศาสนจักรใช้ เพื่อ ให้ความช่วยเหลือทั้งฝ่ายร่างกายและวิญญาณแก่บรรดาสัตบุรุษ อาศัยการวิงวอนของ พระศาสนจักร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนใช้สิ่งคล้ายศีลอย่างเหมาะสมถูกต้อง สาระการเรียนรู ้ สิ่งคล้ายศีลคือ สิ่งของหรือการกระทำ�ซึ่งเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์คล้ายกับศีลศักดิ์สิทธิ์ ที่นำ�พระพรของ พระเจ้าแก่ผรู้ บั ทัง้ ฝ่ายร่างกายและวิญญาณ อาศัยการภาวนาวิงวอนของพระศาสนจักร เพือ่ ช่วยให้คริสตชนสามารถเจริญชีวติ ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ สิ่งคล้ายศีลประกอบด้วย 1) การอวยพร 2)การปกมือ และ 3)การขับไล่ปีศาจ สิ่งคล้ายศีลมีความแตกต่าง จากศีลศักดิ์สิทธิ์คือได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระศาสนจักร (ไม่ใช่จากพระเยซูคริสตเจ้า) ผลพระหรรษทานที่จะได้รับจึงขึ้น กับการเสนอวิงวอนของพระศาสนจักร ความเชือ่ และสภาวะของบุคคลผูใ้ ช้สงิ่ คล้ายศีลนัน้ (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1667-1673) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนดูภาพจากท้ายแผนทีละภาพ โดยให้ผู้เรียนตอบว่า “นี่เป็น ภาพอะไร?... มีความหมายอย่างไร?... เอาไว้ใช้ทำ�อะไร?... มีความเกี่ยวข้องกับเรา แต่ละคนหรือไม่ อย่างไร?... ” โดยผู้สอนยังไม่ต้องเฉลยคำ�ตอบในทันที - เมื่อดูทุกภาพแล้ว ผู้สอนจึงค่อยถามต่อไปว่า “ทุกสิ่งเหล่านี้คืออะไร?... จัดอยู่ ในหมวดหมู่สิ่งของประเภทใด?...” โดยให้ผู้เรียนเสนอความเห็นอย่างเต็มที่ แล้วดูว่า มีผู้เรียนคนใดสามารถตอบถูกไหมว่ า สิ่งใดคือ “สิ่งคล้ายศีล”? และสิ่งใดเป็น “ความศรัทธาที่ประชานิยม?” ณ ที่นี้ ผู้สอนสามารถเฉลยคำ�ตอบได้ทันที เพื่อให้ ผู้เรียนแยกแยะได้ว่า สิ่งใดคือ “สิ่งคล้ายศีล” และสิ่งใดไม่ใช่ - ให้เรามาดูต่อไปว่า ใครคือผู้กำ�หนดสิ่งคล้ายศีลขึ้น? และสิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อ อะไร? พระเยซูเจ้าทรงเคยใช้สิ่งเหล่านี้บ้างหรือไม่?... 3 พระวาจา • ขณะนั้น มีผู้นำ�เด็กเล็กๆ มาให้พระองค์ทรงปกพระหัตถ์อวยพร แต่บรรดาศิษย์ กลับดุวา่ คนเหล่านัน้ พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาว่า “ปล่อยให้เด็กเล็กๆ มาหาเราเถิด อย่า ห้ามเลย เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของคนที่เหมือนเด็กเหล่านี้” พระองค์ทรงปก พระหัตถ์ให้เด็กเหล่านั้น แล้วจึงเสด็จไปจากที่นั่น (มธ 19:13-15)

ดูภาพท้ายแผน


46

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ • เย็นวันนั้น ประชาชนนำ�ผู้ถูกปีศาจสิงจำ�นวนมากมาเฝ้าพระองค์ พระองค์ทรง ขับปีศาจเหล่านีอ้ อกไปด้วยพระวาจา และทรงบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ยทุกคน เพือ่ ให้พระวาจา ทีไ่ ด้ตรัสไว้ทางประกาศกอิสยาห์เป็นความจริงว่า พระองค์ทรงรับเอาความอ่อนแอของ เราไว้ และทรงแบกความเจ็บป่วยของเรา (มธ 8:16-17) • ขณะที่ทุกคนกำ�ลังกินอาหารอยู่นั้น พระเยซูเจ้าทรงหยิบขนมปัง ตรัสถวาย พระพร ทรงบิขนมปังประทานให้บรรดาศิษย์ ตรัสว่า “จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของ เรา” แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ตรัสขอบพระคุณ ประทานให้เขาเหล่านั้น ตรัสว่า “ทุกท่านจงดื่มจากถ้วยนี้เถิด นี่เป็นโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญา ที่หลั่งออกมา สำ�หรับคนจำ�นวนมาก” (มธ 26:26-28)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้ง 3 ตอนนี้เล่าถึงเรื่องราวบางส่วนในชีวิตของพระเยซูเจ้าที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องของ “สิ่งคล้ายศีล” ดังต่อไปนี้ - เรื่องที่ 1 เล่าเรื่องราวของ “พระเยซูเจ้าและเด็กๆ” พระเยซูเจ้าทรงแสดงให้ เห็นว่า ทรงรักเด็กๆ จึงทรงอวยพรแก่พวกเขา แม้ว่าในสมัยนั้นเด็กๆ จะดูไม่มี ความสำ�คัญนักก็ตาม เรื่องนี้ทำ�ให้เราเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงใช้รูปแบบหนึ่งของสิ่ง คล้ายศีลด้วย นั่นคือ “การอวยพร” - เรื่องที่ 2 เล่าเรื่องราวของ “พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนถูกผีสิง” ประชาชนรู้จัก พระเยซูเจ้าเป็นอย่างดี พวกเขาทราบว่าพระองค์ทรงมีฤทธิ์จะขับไล่ผีปีศาจได้ จึงได้นำ� คนถูกผีสงิ มากมายมาให้พระองค์ทรงรักษา พระเยซูเจ้ามิได้ท�ำ ให้พวกเขาผิดหวัง แต่ได้ ทรงขับไล่ปีศาจออกจากบุคคลเหล่านั้นและยังได้รักษาผู้ป่วยอีกมากมาย เหตุการณ์นี้ ทำ�ให้เราเข้าใจถึงอีกรูปแบบหนึง่ ของ “สิง่ คล้ายศีล” เช่นกัน นัน่ คือ “การขับไล่ปศี าจ” - เรื่องที่ 3 เล่าเรื่องราวของ “พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท” แม้ว่าในตอน ที่นำ�มานี้จะไม่บ่งบอกชัดเจนว่า พระเยซูเจ้าทรง “เสก” ปังและเหล้าองุ่นให้กลายเป็น พระกายและพระโลหิตของพระองค์ แต่พระศาสนจักรได้เข้าใจ ได้เชื่อ และสั่งสอน บรรดาคริสตชนเสมอมาว่า แผ่นปังและเหล้าองุ่นนั้นได้กลับกลายเป็นพระกายและ พระโลหิตได้ก็เพราะสาเหตุเดียว นั่นก็คือ “การเสก” - ดังนั้น จากพระวาจาทั้ง 3 ตอนนี้ เราได้ทราบชัดเจนว่า “สิ่งคล้ายศีล” มิใช่เป็น อะไรทีค่ ริสตชนคิดค้นกันขึน้ มาเอง แต่พระศาสนจักรได้ศกึ ษาชีวติ ของพระเยซูเจ้า และ ได้เข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงใช้เครือ่ งหมายบางอย่างเหล่านีเ้ พือ่ ประทานพรของพระองค์ แก่ประชาชนด้วย - ชื่อ “สิ่งคล้ายศีล” ก็บอกแก่เราแล้วว่า ไม่ใช่ “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ดังนั้น การทำ� หน้าที่ของสิ่งคล้ายศีลก็ต่างจากศีลศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์เป็น เครื่องหมายที่ประทานพระหรรษทานแก่ผู้รับ โดยพระหรรษทานนั้นมาจากพระเยซูคริสตเจ้าโดยตรง มิได้มาจากความศักดิ์สิทธิ์ของผู้รับ สิ่งคล้ายศีลเป็นเครื่องหมายที่ ช่วยประทานพรของพระอาศัยการสวดภาวนาวิงวอนของพระศาสนจักร ดังนัน้ สิง่ คล้าย ศีลจึงไม่ใช่เครื่องหมายที่มีฤทธิ์ในตัวเอง แต่จะเกิดผลมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


47

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

และสภาวะด้านจิตวิญญาณของผูร้ บั ด้วยเหตุนี้ สิง่ คล้ายศีลจึงไม่ใช่ศลี ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ต่เป็น สิ่งที่คล้ายกับศีลศักดิ์สิทธิ์

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันบอกว่า “เคยรู้จักสิ่งคล้ายศีลทั้งสามประการนี้หรือไม่? มีใครเคยเห็นมาบ้าง? เห็นที่ไหน? มีใครเคยได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเองไหม? เวลาใดบ้าง? ฯลฯ” โดยให้ผเู้ รียนจับคูท่ �ำ ใบงาน “จะตอบได้ไหม ตอบได้รเึ ปล่า?”

ดูใบงาน “จะตอบได้ไหม ตอบได้รึเปล่า?” ท้ายแผน

- เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ทุกคนช่วยกันบอกสิ่งที่ได้ตอบ โดยผู้สอนจด บันทึกสรุปคำ�ตอบนั้นที่บอร์ดหน้าห้อง และเพิ่มเติมคำ�ตอบเหล่านั้นให้สมบูรณ์ด้วย เฉลย ที่อยู่ในใบงาน - จากนั้น ผู้สอนจึงอธิบายต่อไปถึงผลของสิ่งคล้ายศีลว่า มีดังต่อไปนี้ 1. ได้รับพระหรรษทานปัจจุบัน 2. ได้รับการอภัยบาปเบา 3. ได้รับการยกโทษชั่วคราว 4. ได้รับสุขภาพแก่ร่างกายและพระพรฝ่ายวัตถุ 5. ได้รับการป้องกันจิตชั่ว - ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีการใช้หรือปฏิบัติสิ่งคล้ายศีล ผู้รับจะได้รับผลของสิ่ง คล้ายศีลไปด้วย แต่ตอ้ งย้�ำ ว่า จะเกิดผลหรือไม่ มากน้อยเพียงใดนัน้ ขึน้ อยูก่ บั ความเชือ่ ความศรัทธา และสภาวะจิตวิญญาณที่อยู่ในพระหรรษทานของผู้รับ และต้องพึงระวัง ว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นเครื่องราง ของขลัง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ให้เหมาะสม ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนใช้สิ่งคล้ายศีลอย่างเหมาะสมถูกต้อง 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทพระสิริรุ่งโรจน์” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 3 ครั้ง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


48

ภาพ “ความศรัทธาที่ประชานิยม”

ภาพ “สิ่งคล้ายศีล”

การเสก

การอวยพร

การไล่ผี


49

ใบงาน “จะตอบได้ไหม ตอบได้รึเปล่า?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามต่อไปนี้โดยใส่คำ�ตอบที่ถูกต้องลงในช่องด้านขวามือ ที่ สิ่งคล้ายศีล 1. การอวยพร

พบที่ไหน? อย่างไร? นำ�ผลอะไร? - การอวยพรบุคคล สิง่ ของ อาหาร - เป็นการสรรเสริญพระเจ้า สถานที่ - วอนขอพรจากพระเจ้า - ตอนท้ายพิธีบูชาขอบพระคุณ - ในพิธีนมัสการศีลมหาสนิท - มักทำ�โดยใช้เครื่องหมายสำ�คัญ มหากางเขน

2. การขับไล่ปีศาจ

- การไล่ผี - ได้รอดพ้นจากการครอบงำ�ของ - กระทำ�ระหว่างพิธีศีลล้างบาป ปีศาจและความชั่วร้าย - เฉพาะพระสงฆ์ที่ได้รับอนุญาต - ได้รับความคุ้มครองจากพระ เท่านั้นจึงทำ�ได้

3. การเสก

- การเสกบุคคล เช่น ศาสนบริกร - ถวายบุคคลนั้นแด่พระเจ้า ของพระศาสนจั ก ร (ผู้ อ่ า นพระ- - สงวนรักษาสิ่งของและสถานที่ไว้ คัมภีร์ ผู้ช่วยจารีต ครูคำ�สอน ฯลฯ) ใช้ทางพิธีกรรม การถวายตัวของนักบวช - การเสกสิ่ ง ของ เช่ น น้ำ � มั น ศักดิ์สิทธิ์ ภาชนะศักดิ์สิทธิ์ อาภรณ์ ระฆัง ฯลฯ - การเสกสถานที่ เช่น วัด พระแท่น ฯลฯ


50

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง การสวดสายประคำ�

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การสวดสายประคำ�เป็นความศรัทธาประชาชนรูปแบบหนึ่ง เป็นคำ�ภาวนาล้�ำ เลิศทีถ่ วายแด่พระมารดาของพระเจ้าด้วยการรำ�พึงภาวนาธรรมล้�ำ ลึกของ พระคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดสายประคำ�วันละ 1 สาย (หรือวันทามารีย์วันละ 20 บท) สาระการเรียนรู ้ การสวดสายประคำ�เป็นหนึ่งในจำ�นวนหลายๆ รูปแบบของความศรัทธาประชาชนต่อพระนางมารีย์ พระมารดาพระเจ้า เป็นการภาวนาถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งความรอดพ้นที่มีพระเยซูคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง บทภาวนาสายประคำ� ได้เกิดขึน้ ในพระศาสนจักรตัง้ แต่ในศตวรรษแรกๆ และได้มกี ารปฏิบตั กิ นั ตลอดมาด้วยความศรัทธา บนพืน้ ฐานของความเชือ่ ที่ว่า พระมารดามารีย์คือหนทางแน่นอนที่นำ�เราสู่พระเจ้า (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1674-1676) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกมตามใบงาน “ต่อได้ไหม?” - เมื่อเล่นเกมเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนกลับไปนั่งที่เดิมของตน แล้วถามว่า “รู้จักบท ภาวนานีด้ แี ค่ไหน?... คริสตชนสวดบทภาวนานีเ้ มือ่ ใดบ้าง?... สวดเพือ่ อะไร?... มีใคร เคยสวดบทภาวนานี้แบบส่วนตัวบ้าง?... ปกติคริสตชนสวดบทภาวนานี้เมื่อใด?... ฯลฯ...” - ผู้สอนสังเกตทุกคำ�ตอบของผู้เรียน แต่ประเด็นสุดท้ายที่ต้องเน้นคือ ปกติ คริสตชนจะสวดบทภาวนานี้ในการสวดสายประคำ� - ดังนั้น ในวันนี้ เราจะมารู้จักการสวดสายประคำ�กันอย่างดีและลึกซึ้งมากขึ้น 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้ากับพระมารดา (ยน 19:25-27) พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์พร้อมกับน้อง สาวของพระนาง มารียภ์ รรยาของเคลโอปัสและมารียช์ าวมักดาลา เมือ่ พระเยซูเจ้าทรง เห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือลูกของ แม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่าน” นับตั้งแต่นั้น ศิษย์ผู้นั้นก็รับ พระนางเป็นมารดาของตน 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้ทำ�ให้เราเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างพระมารดามารีย์กับ พระเยซูเจ้า ในช่วงเวลาสูงสุดของธรรมล้ำ�ลึกแห่งการไถ่บาปของมนุษย์ นั่นคือการสิ้น

ดูใบงาน “ต่อได้ไหม?” ท้ายแผน


51

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระชนม์บนกางเขนของพระเยซูเจ้า ณ เชิงกางเขนนัน้ พระเยซูเจ้ามิได้ทรงถูกปล่อยให้ อยู่โดดเดี่ยวในช่วงเวลาอันสำ�คัญยิ่งนั้น แต่พระมารดาของพระองค์ได้ทรงเข้าใจใน ความสำ�คัญของธรรมล้ำ�ลึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนี้ พระนางจึงทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อ เป็น “ผู้ร่วมไถ่บาป” กับองค์พระบุตร พระนางมิได้ทรงทิ้งพระบุตรดังที่ศิษย์หลายๆ คนได้กระทำ� - ในเวลาเดียวกัน ภาพดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ฉนั ท์มารดา-บุตร ของพระมารดามารีย์และ น.ยอห์น ซึ่งเป็นพระประสงค์ของพระเยซูเจ้าที่ทรงต้องการ ให้เป็นเช่นนั้น ด้วยพระวาจาของพระองค์ที่ว่า “แม่ นี่คือลูกของแม่”... แล้วตรัสอีกว่า “นี่คือแม่ของท่าน” (เทียบ ยน 19:26-27) - การที่พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบพระนางมารีย์ให้เป็นมารดาของ น.ยอห์นนั้น เป็น ภาพลักษณ์ที่มีความหมายต่อเราแต่ละคน เพราะ น.ยอห์นคือตัวแทนของมนุษยโลก ที่ตอบรับเอาพระนางมารีย์มาเป็นมารดาของเราทุกคน - พระมารดามารีย์ทรงอยู่ในที่พิเศษของการไถ่บาปของพระบุตร ซึ่งมิใช่เป็น เพราะพระนางทรงอยูใ่ ต้เชิงกางเขนเท่านัน้ แต่พระวรสารได้เล่าให้เราทราบว่า พระนาง คือ “ผู้ร่วมไถ่บาป” ซึ่งเริ่มตั้งแต่เรื่องราวแรกของพระนางที่ปรากฏในพระวรสารคือ เมื่อทูตสวรรค์ได้แจ้งข่าวเรื่องการประสูติของพระเยซูเจ้า และในอีกทุกเรื่องราวของ พระนางที่พระวรสารได้เล่า ล้วนแสดงให้เห็นชัดถึงความสัมพันธ์นี้ - บทวันทามารีย์คือบทภาวนาจากใจของผู้เป็นลูกที่ปรารถนาจะสรรเสริญ สดุดี อ้อนวอน ผู้ที่เป็นมารดาสุดที่รักของตน ความปรารถนาที่มิใช่เกิดขึ้นเพียงเพราะ พระนางทรงเป็นทีร่ กั เช่นเดียวกับมารดาอืน่ ๆ เท่านัน้ แต่เฉพาะอย่างยิง่ เพราะพระนาง ทรงมีความเป็นมารดาที่มีความรักล้นเหลือต่อพระเจ้า ต่อองค์พระบุตร และต่อเราที่ เป็นเหล่าบุตรของพระนาง

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - บท “วันทามารีย์” แบ่งได้เป็น 2 ภาค โดยพระศาสนจักรเชื่อว่า ในภาคแรก ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นคำ�ทักทายของทูตสวรรค์ในขณะที่แจ้งข่าว การประสูติของพระเยซูเจ้าแก่พระนางมารีย์ (เทียบ ลก 1:28) และส่วนที่ 2 จากคำ� ทักทายของนางเอลีซาเบ็ธ ขณะต้อนรับพระนางมารีย์ที่มาเยี่ยมเธอ (เทียบ ลก 1:42) ทั้งสองส่วนนี้ได้ถูกนำ�มาร้อยเรียงเข้าด้วยกันอย่างสละสลวย ดังที่เราเห็นคือ “วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ” - ภาคที่ 2 ของบทวันทามารีย์คือ “สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนา เพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน” เป็นส่วนที่ถูกเสริมเติม เข้ามาในภายหลังจากคริสตชนที่มีความศรัทธาต่อพระมารดามารีย์อย่างลึกซึ้ง - ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีบุคคลมากมายในพระศาสนจักรที่มีความศรัทธา เป็นพิเศษต่อพระนางมารีย์ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ นักบวช นักพรต ฆราวาส ทุกบุคคล เหล่านี้ล้วนแสดงความรักต่อแม่พระด้วยบทภาวนาของตนในหลากหลายรูปแบบนับ ไม่ถ้วน แต่เพื่อความเป็นเอกภาพพระศาสนจักรจึงได้กำ�หนดหนึ่งรูปแบบเพื่อให้เป็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


52

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

คำ�ภาวนาที่เป็นทางการสำ�หรับคริสตชนทุกคนในการแสดงความรัก ความศรัทธาต่อ แม่พระ นั่นคือ “บทวันทามารีย์” ที่เรารู้จักในปัจจุบัน - หากผู้เรียนบางคนสังเกตจะทราบว่า เมื่อประมาณไม่กี่ปีที่แล้ว ได้มีการเปลี่ยน แปลงภาษาของบทภาวนาหลายบทรวมทั้งบทวันทามารีย์ด้วย ทั้งนี้เพราะบทภาวนา เหล่านั้นได้ถูกแปลมาจากภาษาต่างชาติ ดังนั้น เมื่อมีวิวัฒนาการของภาษา พระศาสนจักรประเทศไทยซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมและภาษาได้พิจารณาบทภาวนา ต่างๆ แล้วจึงได้ปรับปรุงแก้ไขบทภาวนาเหล่านั้นให้เป็นภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สุด แล้วจึงได้ประกาศใช้อีกครั้งหนึ่ง - การเรียงร้อยบทวันทามารียท์ ลี ะบทเข้าด้วยกัน 10 บท คัน่ ด้วยบทพระสิรริ งุ่ โรจน์ และบทข้าแต่พระบิดาฯ รวมทั้งหมด 5 ครั้ง นอกนั้นยังมีส่วนแรกที่ประกอบด้วยบท ข้าพเจ้าเชื่อ บทวันทามารีย์ 3 บท พระสิริรุ่งโรจน์ และข้าแต่พระบิดาฯ ตามภาพใน ใบความรู้ที่ 1 “วิธีการสวดสายประคำ�” - ทั้งหมดนี้เราเรียกว่า “สายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งหลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่า บทภาวนาสายประคำ�นั้นเป็นการสวดถวายเกียรติแด่แม่พระเท่านั้น ในความเป็นจริง มิใช่เช่นนั้น เพราะบทภาวนาสายประคำ�ที่แท้จริงจะเป็นการภาวนาที่มุ่งสู่ธรรมล้ำ�ลึก แห่งการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า เพราะในขณะภาวนานั้นจะมีการรำ�พึงถึงธรรมล้ำ�ลึก แห่งความรอดพ้นควบคู่กันไป - ผู้สอนติดโปสเตอร์วิธีสวดสายประคำ�ไว้ที่บอร์ดหน้าห้อง (ดูตัวอย่างท้ายแผน) ณ ช่วงเวลานี้ให้ผู้เรียนสวดสายประคำ�พร้อมกัน โดยอาจสวดบทวันทามารีย์เพียง 20 เม็ด และรำ�พึงถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งความรอดพ้นควบคู่กันไปด้วย (ใช้บทรำ�พึงตามวัน) - นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการภาวนาสายประคำ� ซึ่งหากจะภาวนาให้ครบก็จะต้อง สวดหมดทัง้ สายพร้อมกับรำ�พึงถึงธรรมล้�ำ ลึกต่างๆ ของพระเยซูเจ้าจนครบ 5 ตอนด้วย กัน ตามข้อรำ�พึงประจำ�วันที่ทางฝ่ายพิธีกรรมได้กำ�หนดให้ - ดังนั้น ขณะที่สวดสายประคำ� ผู้สวดจะไม่เพียงคิดถึงพระมารดามารีย์เท่านั้น เพราะอันทีจ่ ริงเป็นการภาวนาทีม่ งุ่ ตรงไปยังพระเยซูเจ้าผูท้ รงเป็นศูนย์กลางของธรรม ล้ำ�ลึกแห่งความรอดพ้น ผ่านทางพระนางมารีย์ - พระมารดามารีย์คือบุคคลที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการเป็นผู้เสนอวิงวอนต่อ พระเจ้าเพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ผู้เป็นลูกของพระนาง เพราะพระนางคือ พระมารดาของพระบุตร พระเยซูคริสตเจ้า พระผูไ้ ถ่บาปของเรา พระนางทรงเป็นมารดา ของเราทุกคน และพระนางยังทรงเป็นผู้ร่วมไถ่บาปกับพระบุตรด้วย - ดังนั้น เราจึงเชื่อว่าการภาวนาวิงวอนขอจากพระเจ้าโดยผ่านทางพระมารดา มารีย์นั้น จึงเป็นหนทางเที่ยงแท้ที่จะนำ�เราไปสู่พระเจ้าได้อย่างแน่นอน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดสายประคำ�ด้วยบทวันทามารีย์วันละ 20 บท (หรือผู้ที่ปรารถนา สามารถสวดสายประคำ� 1 สายได้)

ดูใบความรู้ที่ 1 “วิธีการ สวดสายประคำ�”


53

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนนั่งสมาธิสักครู่ จากนั้นให้แต่ละคนสวด “บทวันทามารีย์” ในใจอย่าง ช้าๆ ด้วยความตั้งใจและไตร่ตรองถึงความหมายของทุกคำ�พูด 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “ต่อได้ไหม?” คำ�ชี้แจง - ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

1. แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน แล้วให้ยืนเป็นวงกลมโดยทิ้งระยะห่างระหว่างกลุ่มประมาณ 1 ช่วงแขน 2. ผู้สอน (หรือตัวแทนผู้เรียน 1 คน) ทำ�หน้าที่เป็น “ผู้สั่ง” ยืนกลางวงกลม ในมือถือไม้เท้า วิเศษ 1 อัน 3. เมื่อผู้สั่งชี้ไม้วิเศษไปยังกลุ่มใด กลุ่มนั้นต้องเริ่มสวด “บทวันทามารีย์” เมื่อชี้ไปยังกลุ่มใด กลุ่มนั้นต้องต่อบทวันทามารีย์ให้ได้ถูกต้องและพร้อมเพรียงทุกคน ถ้ากลุ่มใดต่อผิด หรือช้า หรือไม่พร้อมกัน กลุ่มนั้นต้องออกไปจากวงกลม ทำ�เช่นนี้เรื่อยไปจนจบบทวันทามารีย์ 4. กลุ่มใดที่เหลืออยู่ถือว่าชนะ


54

ใบความรู้ที่ 1 “วิธีการสวดสายประคำ�”


55

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง ความหมายของพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พิธีบูชาขอบพระคุณคือ พิธีกรรมที่ระลึกถึงการพลีบูชาแห่ง ธรรมล้�ำ ลึกปัสกาขององค์พระเยซูคริสตเจ้าเพือ่ โมทนาคุณพระเจ้าพระบิดาและเพือ่ ไถ่บาป ของมวลมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ ด้วยการเตรียมตัวอย่างดีและ เหมาะสม สาระการเรียนรู ้ พิธบี ชู าขอบพระคุณคือพิธที พี่ ระเยซูเจ้าทรงพลีบชู าพระองค์เองเพือ่ ถวายเกียรติและโมทนาคุณพระบิดาเจ้า เป็นพิธรี ะลึกถึงธรรมล้�ำ ลึกแห่งการทรมาน สิน้ พระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชพี ของพระเยซูเจ้าในรูปแบบทีท่ �ำ ให้การพลี บูชานั้นกลับมาเป็นจริงทุกๆ ครั้งที่มีพิธีบูชาขอบพระคุณ แต่ในแบบที่ปราศจากโลหิต และด้วยรูปแบบภายนอกของการเลี้ยง อาหารค่ำ�ครั้งสุดท้าย (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1345-1383) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมตามใบงานที่ 1 เมื่อทำ�เสร็จแล้วให้ผู้เรียนทุกคน ช่วยกันพิจารณาดูว่า บัตรคำ�นั้นถูกวางในลำ�ดับที่ถูกต้องทุกใบหรือไม่? - จากนั้น ให้ผู้สอนเฉลยลำ�ดับที่ถูกต้องให้ผู้เรียนทราบ - ผู้สอนถามต่อไปว่า “ใครทราบว่า ‘พิธีบูชาขอบพระคุณ’ นั้น มีความหมายว่า อย่างไร?” ในช่วงนี้ให้ผู้เรียนออกความเห็นอย่างอิสระ เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยว กับเรื่องนี้มากและลึกซึ้งเพียงใด? - ให้เรามาดูว่า พระคัมภีร์และคำ�สอนพระศาสนจักรกล่าวเกี่ยวกับพิธีบูชา ขอบพระคุณว่าอย่างไร? 3 พระวาจา - “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ ท่าน คือในคืนทีท่ รงถูกทรยศนัน้ เอง พระเยซูองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า ‘นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำ�การนี้เพื่อระลึกถึงเรา เถิด’ เช่นเดียวกัน หลังอาหารค่ำ� ก็ทรงหยิบถ้วย ตรัสว่า ‘ถ้วยนี้คือพันธสัญญาใหม่ ในโลหิตของเรา ทุกครั้งที่ท่านจะดื่ม จงทำ�การนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด’ ทุกครั้งที่ท่านกิน ปังนี้ และดื่มจากถ้วยนี้ ท่านก็ประกาศการสิ้นพระชนม์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าจนกว่า พระองค์จะเสด็จมา ดังนั้น ผู้ใดที่กินปังหรือดื่มจากถ้วยขององค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน


56

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

สมควร ก็ผิดต่อพระกายและผิดต่อพระโลหิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (1คร 11:23-26) - “เมื่อถึงเวลา พระเยซูเจ้าประทับที่โต๊ะพร้อมกับบรรดาอัครสาวก พระองค์ตรัส กับเขาว่า ‘เราปรารถนาอย่างยิ่งจะกินปัสกาครั้งนี้ร่วมกับท่านก่อนจะรับทรมาน เรา บอกท่านทั้งหลายว่าเราจะไม่กินปัสกาอีกจนกว่าปัสกานี้จะเป็นความจริงในพระ อาณาจักรของพระเจ้า’” (ลก 22:14-16) - “พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณ ทรงบิขนมปังประทานให้บรรดา ศิษย์ ตรัสว่า ‘นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำ�ดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา เถิด’ ในทำ�นองเดียวกัน เมื่อกินอาหารเสร็จแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยตรัสว่า ‘ถ้วยนี้ เป็นพันธสัญญาใหม่ในโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย’” (ลก 22:19-20) 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจา 3 ตอนข้างบนนี้มีความใกล้เคียงกันมาก ต่างกันตรงที่ว่า ตอนที่ 1 มาจากคำ�บอกเล่าที่ น.เปาโลเขียนถึงชาวโครินธ์ ส่วนตอนที่ 2 และ 3 มาจาก พระวรสาร น.ลูกา - แต่ผู้นิพนธ์ทั้งสองท่านนี้ได้เล่าถึงเหตุการณ์เดียวกันคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในการเลี้ยง อาหารค่ำ�ครั้งสุดท้ายและการตั้งศีลมหาสนิท ซึ่งพระศาสนจักรถือว่าเป็นเหตุการณ์ สำ�คัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น นั่นคือ “พิธีบูชาขอบพระคุณและ การตั้งศีลมหาสนิท” - ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะทรงพลีพระองค์เองโดยยอมรับทรมานและสิ้นพระชนม์บน ไม้กางเขน ณ เขากัลวารีโอนัน้ พระองค์ได้ทรงมอบพระองค์เองเป็นพลีบชู าในการเลีย้ ง อาหารค่�ำ ครัง้ สุดท้ายด้วยการมอบพระกายและพระโลหิตของพระองค์เพือ่ ถวายเกียรติ และโมทนาคุณพระบิดาเจ้า และเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณของมวลมนุษย์ แม้จะ เป็นการพลีบชู าทีไ่ ม่มกี ารหลัง่ เลือดแต่กเ็ ป็นการบูชาแท้จริงทีน่ �ำ ผลแห่งการไถ่บาปไม่ ต่างจากการบูชาของพระองค์บนไม้กางเขน ซึง่ อันทีจ่ ริงก็เป็นการพลีบชู าเดียวกันนัน่ เอง - เพราะเหตุที่พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ การบูชาของพระองค์ จึงมีความพิเศษคือ พระองค์ทรงเป็นทัง้ ผูถ้ วายและเป็นเครือ่ งบูชาเอง พระองค์ทรงพลี บูชาพระองค์เองเพียงครั้งเดียวแต่สามารถนำ�ผลแห่งความรอดพ้นมาสู่มนุษย์ทุกคน ตลอดกาล นอกนั้น ทุกครั้งที่พระสงฆ์ประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ ธรรมล้ำ�ลึกปัสกา ก็กลายเป็นจริงในปัจจุบันนั้นอีกครั้งหนึ่ง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม (หรือตามความเหมาะสม) แล้วให้แต่ละกลุ่ม ☆ ดูใบความรู้ “อัศจรรย์แห่ง อ่านใบความรู้ “อัศจรรย์แห่งพิธีบูชาขอบพระคุณ” โดยให้ทุกกลุ่มอ่าน สรุป พิธีบูชาขอบพระคุณ” ท้ายแผน ใจความสำ�คัญ และเตรียมตัวแทนกลุ่มแบ่งปันให้ทุกคน

- จากนั้น ให้ตัวแทนของทุกกลุ่มแบ่งปันข้อสรุปที่ได้จากใบงานให้ทุกคนฟัง และไตร่ตรอง เพือ่ จะได้เข้าใจอย่างลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ เกีย่ วกับธรรมล้�ำ ลึกแห่งความรอดพ้น ผ่านทางพิธีบูชาขอบพระคุณ


57

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อตัวแทนของทุกกลุ่มได้แบ่งปันเสร็จแล้ว ผู้สอนสามารถเปิดอภิปรายใน ประเด็นสำ�คัญๆ ที่ควรเน้น เฉพาะอย่างยิ่ง ความรักของพระเยซูเจ้าที่มีต่อพระบิดาเจ้า และต่อมนุษย์จนกระทั่งทรงยอมสละพระองค์เองเป็นพลีบูชานิรันดร เพื่อโมทนาคุณ พระบิดาเจ้า และเพื่อนำ�ความรอดพ้นมาสู่เรามนุษย์... - การเตรียมตัวอย่างดีเพื่อร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณนั้น ผู้เรียนสามารถทำ�ได้โดย ทำ�จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนไปร่วมพิธีฯ อาศัยการ 1) ไปรับศีลแห่งการคืนดี (ศีล อภัยบาป) หากได้ทำ�บาปหนักก่อนหน้านั้น ทำ�จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ 2) อดอาหาร ก่อนไปรับศีลมหาสนิท 1 ชั่วโมง 3) แต่งกายไปวัดอย่างสุภาพเรียบร้อย

6 หาข้อปฏิบัติ ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทข้าแต่พระบิดา” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง โดยคิดถึงผู้ป่วยในครอบครัวของตนหรือคนที่รู้จัก และสวด ภาวนาเพื่อวอนขอพระพรแห่งความบรรเทาทุกข์แก่เขา 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................


58

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - 1. แบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม 2. ให้กลุ่มส่งตัวแทน 1 คนมาจับฉลากบัตรคำ� กลุ่มละ 2 ใบ

บัตรคำ� 1. เพลงเริ่มพิธี (1) 3. บทข้าแต่พระบิดา (7) 5. บทภาวนาเพื่อมวลชน (4) 7. พิธีเสกศีล (6)

2. พิธีรับศีล (8) 4. บทอ่าน (2) 6. พระวรสาร (3) 8. เพลง “ศักดิส์ ทิ ธิ”์ (5)

3. เมื่อทุกกลุ่มได้บัตรคำ�ครบแล้ว ให้แต่ละกลุ่มนำ�บัตรคำ�ไปติดที่บอร์ดหน้าชั้นครั้งละ 1 ใบ โดย ให้วางเรียงตามลำ�ดับที่ถูกต้องของพิธีบูชาขอบพระคุณ (คำ�เฉลยอยู่ในวงเล็บท้ายบัตรคำ�) 4. กลุ่มที่ใส่บัตรคำ�ในลำ�ดับที่ถูกต้องทั้งหมดถือว่าชนะ ส่วนกลุ่มที่ใส่บัตรคำ�ผิดลำ�ดับถือว่าแพ้

ใบความรู้

“อัศจรรย์แห่งพิธีบูชาขอบพระคุณ” คำ�สอนเรื่องพิธีบูชาขอบพระคุณ กิจการดีทงั้ หลายในโลกนีร้ วมกันไม่อาจเทียบได้กบั คุณค่าของพิธบี ชู าขอบพระคุณได้เลย เพราะกิจการทีเ่ รา ทำ�เป็นกิจการของมนุษย์ ขณะที่การถวายบูชามิสซาขอบพระคุณเป็นกิจการของพระ ดังนั้น การเป็นมรณสักขีซึ่งเป็น การถวายชีวติ ของมนุษย์จงึ ไม่อาจเทียบชัน้ ได้กบั การถวายชีวติ ของพระเยซูคริสตเจ้าแด่พระบิดา พิธมี สิ ซาฯ เป็นการถวายพระกายและพระโลหิตของพระเพือ่ มนุษย์ พระสงฆ์ชา่ งยิง่ ใหญ่จริงๆ! หากพระสงฆ์สามารถเข้าใจถึงความยิง่ ใหญ่ ของตนแล้ว ท่านคงถึงกับเสียชีวติ (เพราะร่างกายมนุษย์ไม่อาจแบกรับสภาพการเป็นพระเจ้าได้)... พระเจ้าทรงนบนอบ พระสงฆ์ พระสงฆ์เพียงกล่าวคำ�พูด 2 คำ� และพระคริสตเจ้าก็เสด็จลงมาจากสวรรค์ตามคำ�กล่าวของท่าน จากนั้น พระองค์ก็จะทรงขังพระองค์เองอยู่ในแผ่นศีลเล็กๆ พระเจ้า (พระบิดา) ทรงทอดพระเนตรไปบนพระแท่นและตรัสว่า “นั่นคือบุตรสุดที่รักและโปรดปราน” พระองค์ไม่สามารถปฏิเสธผลบุญจากการถวายบูชาได้ หากเรามีความเชื่อ เรา ควรทราบว่าพระเจ้าทรงซ่อนพระองค์อยู่ในร่างของพระสงฆ์เช่นเดียวกับที่แสงสว่างเกิดขึ้นหลังแผ่นกระจก หรือเช่น เดียวกับเหล้าองุ่นที่ผสมปนกับน้ำ� หลังการเสกศีล เมื่อพ่อ (เจ้าวัดแห่งอารส์) ถือพระกายของพระคริสตเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดไว้ในมือ และเมื่อพ่อ รูส้ กึ ท้อแท้ทที่ ราบว่าตนเองมิได้มคี า่ ใดๆ เลยนอกจากการตกนรก พ่อก็จะพูดกับตัวเองว่า “เอาละ อย่างน้อยถ้าพ่อ สามารถถือพระองค์ไว้ในมือได้! แม้แต่นรกก็ยงั คงเป็นสิง่ ทีห่ อมหวานเมือ่ มีพระองค์ประทับอยูด่ ว้ ยทีน่ นั่ ในกรณีนี้พ่อคงจะยินดีรับความทรมานตลอดนิรันดร หากเราทั้งสองได้อยู่ด้วยกัน แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นก็


59

แสดงว่าไม่มนี รกอีกแล้ว เพราะเปลวไฟแห่งความรักของพระองค์จะทรงดับพระยุตธิ รรมเหล่านัน้ ไปแล้ว” เป็นความสวยงามสักเพียงใด หลังการเสกศีล พระเจ้าผู้พระทัยดีประทับอยู่ที่นั่นเช่นเดียวกับการประทับอยู่ในสวรรค์ ของพระองค์ หากมนุษย์เข้าใจดีถึงธรรมล้ำ�ลึกนี้ มนุษย์ก็คงจะตายจากไปในความรัก พระเจ้าทรงไว้ชีวิตเราเพราะ สภาพที่อ่อนแอของความเป็นมนุษย์ ครั้งหนึ่งเคยมีพระสงฆ์ที่สงสัยอยู่บ้างว่า คำ�พูดเพียงไม่กี่คำ�ของท่านขณะเสกศีล สามารถสัง่ ให้พระคริสตเจ้าเสด็จลงมาประทับอยูบ่ นพระแท่นได้จริง และทันใดนัน้ เอง ท่านก็แลเห็นแผ่นศีลนัน้ กลาย เป็นสีแดงไปทั่วและมีกายที่เปื้อนโลหิตด้วย หากมีใครสักคนบอกเราว่า “เมื่อถึงเวลาที่กำ�หนดไว้ จะมีคนตายคนหนึ่งกลับคืนชีพ” เราคงจะรีบวิ่ง ไปดู ถ้าเช่นนั้นการเสกศีลซึ่งเป็นการเปลี่ยนแผ่นปังและเหล้าองุ่นเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเจ้าจะมิเป็น อัศจรรย์ทยี่ งิ่ ใหญ่กว่าการคืนชีพของมนุษย์คนหนึง่ หรือ? เราจึงควรเตรียมตัวอย่างน้อย 15 นาทีกอ่ นจะร่วมพิธมี สิ ซาฯ และได้รบั ผลจากมิสซาอย่างเต็มที่ เราควรจะถ่อมตนเมือ่ อยูต่ อ่ หน้าพระเจ้า หลังจากทีไ่ ด้เห็นตัวอย่างการถ่อมพระองค์ อย่างล้ำ�ลึกในศีลมหาสนิท และเราควรพิจารณามโนธรรมของเราด้วย เนื่องจากเราต้องอยู่ในสถานะพระหรรษทาน เพื่อจะได้ร่วมถวายพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างเหมาะสม หากเรารู้จักคุณค่าของการถวายบูชามิสซาฯ หรือกล่าวอีกนัย หนึ่งว่า หากเรามีความเชื่อ เราก็ควรจะมีความกระตือรือร้นมากกว่าเดิมในการร่วมถวายมิสซาฯ ลูกรัก ลูกยังจำ�เรื่องที่พ่อเคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับพระสงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์นั้นขณะที่สวดภาวนาอุทิศให้เพื่อนคน หนึง่ ใช่ไหม ตามเรือ่ งปรากฏว่าเพือ่ นคนนัน้ อยูใ่ นไฟชำ�ระ พระสงฆ์องค์นนั้ ทราบดีวา่ สิง่ ทีท่ า่ นทำ�ได้ดที สี่ ดุ คือการถวาย มิสซาให้ เมือ่ ถึงตอนเสกศีล ท่านถือแผ่นปังไว้ในมือและพูดว่า “ข้าแต่พระบิดาผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิน์ ริ นั ดร ให้เรามาแลก กัน พระองค์ทรงมีดวงวิญญาณของเพื่อนอยู่ในพระหัตถ์ ขณะที่ลูกมีพระกายของพระบุตรอยู่ในมือ ขอ พระองค์โปรดให้วิญญาณของเพื่อนพ้นโทษไฟชำ�ระ และลูกจะถวายพระบุตรพร้อมกับบุญกุศลจากการ สิ้นพระชนม์และพระมหาทรมานแด่พระองค์... เมื่อถึงตอนยกศีล พระสงฆ์องค์นั้นก็ได้แลเห็นวิญญาณ ของเพื่อนลอยขึ้นสวรรค์ในลักษณะของรัศมีที่สว่างรุ่งโรจน์” ลูกรัก เมือ่ เราต้องการจะได้สงิ่ ใดจากพระเจ้าผูพ้ ระทัยดี ก็ให้เราทำ�เช่นเดียวกับพระสงฆ์องค์นี้ คือหลังจากรับ ศีลมหาสนิทแล้ว ให้เราถวายพระบุตรสุดที่รักพร้อมกับบุญกุศลจากการสิ้นพระชนม์และพระมหาทรมานแด่พระบิดา พระองค์จะไม่ปฏิเสธสิ่งใดๆ ที่เราทูลขอเลย

ข้อมูลจากคุณพ่อวิจิตต์ แสงหาญ เจ้าอาวาสวัดเซนต์จอห์น แปลจาก http://saints.sqpn.com/stj18012.htm จาก http://www.kamsondeedee.com


60

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง การภาวนาด้วยบทเพลงสดุดี

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า คริสตชนสามารถภาวนาด้วยบทเพลงสดุดไี ด้ เพือ่ ใช้สรรเสริญ อ้อนวอน และโมทนาคุณพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนใช้เพลงสดุดีในการสวดภาวนาส่วนตัวที่บ้าน สาระการเรียนรู ้ คริสตชนสามารถภาวนาด้วยรูปแบบทีห่ ลากหลาย วิธหี นึง่ ทีน่ า่ สนใจคือ การสวดภาวนาด้วยบทเพลงสดุดี เพราะเป็นการภาวนาที่ใช้บทภาวนาซึ่งมีที่มาตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิม ไม่ว่าจะเป็นการสรรเสริญ การอ้อนวอน หรือ การขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า บทประพันธ์เหล่านี้แสดงถึงความรู้สึกต่างๆ ของมนุษย์ในความสัมพันธ์ติดต่อกับพระเจ้า ตั้งแต่ความเศร้าโศก หมดหวัง จนถึงความชื่นชมโสมนัสยินดี จึงเหมาะอย่างยิ่งสำ�หรับคริสตชนที่จะใช้บรรยายความรู้สึกหรือ สภาพจิตใจของตนในการติดต่อสัมพันธ์กับพระเจ้า (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1093, 2579, 2585-2589) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนาเรื่อง “การภาวนา” กับผู้เรียน ด้วยการตั้งคำ�ถามว่า “มี ใครเคยคิดที่จะสวดภาวนาด้วยตนเองบ้าง?... ทำ�ไมจึงคิด?... ทำ�ไมจึงไม่คิด?... เมื่อ สวดภาวนาใช้คำ�พูดอะไร? หรือใช้บทสวดตามแบบฟอร์ม?... หรือมีวิธีอื่นในการสวด ภาวนา?...” โดยปล่อยให้ผู้เรียนมีอิสระแสดงความเห็นอย่างเต็มที่ - จากนั้น จึงให้ผู้เรียนดูภาพที่เกี่ยวกับ “เพลงสดุดี” ทีละภาพจนครบ 4 ภาพ แล้วถามผู้เรียนว่า รู้จักภาพเหล่านี้ไหม? เป็นภาพอะไร? มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ พระคัมภีร์? มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตคริสตชน? บุคคลในภาพที่ 4 น่าจะเป็น ใคร? ภาพที่ 4 นี้มีความหมายอย่างไร? ฯลฯ - ทั้ง 4 ภาพนี้เป็นภาพที่มีความเกี่ยวโยงกับบทเพลงสดุดีในพระคัมภีร์ ดังนี้คือ 1. เป็นภาพม้วนหนังสือเพลงสดุดี ที่มีกำ�เนิดมาตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิม 2. ภาพพระคัมภีร์ที่บรรจุหนังสือเพลงสดุดีอยู่ภายใน 3. ภาพมือของบุคคลซึ่งอยู่ในท่าทีของการภาวนาด้วยบทเพลงสดุดี 4. ภาพกษัตริย์ดาวิดที่ทรงเล่นพิณ เชื่อกันว่าเป็นผู้นิพนธ์บทเพลงสดุดี - ในวันนี้ เราจะมาทำ�ความเข้าใจและทำ�ประสบการณ์ของการสวดภาวนาด้วย บทเพลงสดุดีกัน

ดูภาพ “เพลงสดุดี” 4 ภาพ ท้ายแผน


61

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระวาจา : พระเจ้าทรงช่วยโยนาห์ให้รอดชีวิต (ยนา 2:2-11) (ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการอ่านพระวาจาตอนนี้ โดยแบ่ง กลุ่มผู้เรียนตามความเหมาะสม) ผู้สอน - “จากท้องปลา โยนาห์อธิษฐานภาวนาต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของ ตนว่า 1. ‘ในยามทุกข์ยาก ข้าพเจ้าร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ก็ทรงตอบ ข้าพเจ้า 2. ข้าพเจ้าร้องหาพระองค์จากท้องแดนผู้ตาย พระองค์ก็ทรงฟังเสียงของ ข้าพเจ้า 3. เพราะพระองค์ทรงเหวี่ยงข้าพเจ้าลงไปในที่ลึก ในท้องทะเล น้ำ�ก็ท่วม ล้อมรอบข้าพเจ้าไว้ 4. กระแสคลื่นทั้งเรียบรื่นและแตกฟองของพระองค์กลบข้าพเจ้าแล้ว 5. ข้าพเจ้าจึงทูลว่า ข้าพเจ้าถูกขับไล่ให้พ้นจากพระพักตร์พระองค์ 6. แล้วข้าพเจ้าจะเงยหน้ามองพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ได้อีกหรือ 7. น้ำ�ล้อมข้าพเจ้าขึ้นจนถึงคอ ทะเลลึกล้อมรอบข้าพเจ้า 8. สาหร่ายทะเลพันรอบศีรษะข้าพเจ้า ข้าพเจ้าลงไปถึงรากภูเขาทั้งหลาย 9. แผ่นดินลั่นดาลประตูปิดกั้นข้าพเจ้าไว้ตลอดไป 10. แต่พระองค์ ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระเจ้าของข้าพเจ้า พระองค์ทรงนำ� ชีวิตของข้าพเจ้าขึ้นมาจากขุมลึก 11. เมื่อชีวิตของข้าพเจ้ากำ�ลังอ่อนเปลี้ย ข้าพเจ้าระลึกถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า 12. คำ�อธิษฐานของข้าพเจ้ามาถึงพระองค์ ในพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ 13. ผู้กราบไหว้รูปเคารพไร้สาระ ละทิ้งความจงรักภักดีต่อพระองค์ แต่ ข้าพเจ้าจะถวายบูชาแด่พระองค์ด้วยบทเพลงขอบพระคุณ 14. ข้าพเจ้าบนบานอะไรไว้ ข้าพเจ้าก็จะแก้บนตามนั้น ความรอดพ้นมาจาก องค์พระผู้เป็นเจ้า’ ผูส้ อน - แล้วองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตรัสสัง่ ปลาให้ส�ำ รอกโยนาห์ออกไว้บนแผ่นดินแห้ง”

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้เล่าถึงประสบการณ์ที่น่าหวาดกลัวของประกาศกโยนาห์ ขณะที่อยู่ในท้องปลาเป็นเวลาถึง 3 วัน 3 คืน ซึ่งตามความเห็นของนักวิชาการ พระคัมภีร์เรื่องนี้อาจเป็นเพียงเรื่องเล่าที่ไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้ แต่เราก็ต้องยอมรับว่า พระศาสนจักรได้บรรจุเรื่องนี้ในสารบบพระคัมภีร์ เพื่อเปิดเผยความจริงบางอย่างที่ พระเจ้าทรงต้องการจะบอกแก่เรา นั่นคือ น้ำ�พระทัยของพระเจ้าที่ไม่ทรงต้องการ ทำ�ลายมนุษย์ ไม่ว่าดีหรือชั่ว กระแสเรียกของประกาศกโยนาห์ การไม่นบนอบเชื่อ ฟังของประกาศก การสั่งสอนของพระเจ้า ฯลฯ - แม้โยนาห์จะอยู่ในท้องปลาและได้รับความทุกข์ยากลำ�บากหรือการทดลอง แต่ ท่ า นก็ มิ ไ ด้ ท้ อ แท้ ตำ � หนิ ติ เ ตี ย นพระเจ้ า ตรงกั น ข้ า ม ท่ า นได้ ใช้ เวลานั้ น ใน การไตร่ตรองถึงสภาพจิตใจของตนเองและพระทัยดีของพระเจ้าที่ทรงมีต่อท่าน เป็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


62

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ โอกาสทำ�ให้ท่านสำ�นึกได้ถึงการกระทำ�ที่ไม่ถูกต้องของตนเองและกลับใจ ท่านได้หัน หลังกลับไปสู่หนทางที่พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านไป นั่นคือ กลับไปยังกรุงนีนะเวห์ที่ ซึ่ ง พระเจ้ า ทรงต้ อ งการส่ ง ท่ า นไปเทศน์ ส อนให้ ป ระชาชนในเมื อ งนี้ ก ลั บ ใจจาก การดำ�เนินชีวิตที่ชั่วร้ายตกในบาป - เรื่องราวของประกาศกโยนาห์ที่เราได้อ่านในพระวาจาตอนนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ สุ ด ของการภาวนาด้ ว ยเพลงสดุ ดี ที่ บ่ ง บอกถึ ง ความจริ ง ใจ ไม่ เ สแสร้ ง ปิ ด บั ง การยอมรับสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ สรุปก็คือ ทำ�ให้เห็นความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของ ผู้ภาวนาที่มีต่อพระเจ้าของท่าน

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เป็นความจริงที่ว่า ในชีวิตของเราบางครั้งเราอาจจะต้องการภาวนาด้วยบท สูตรสำ�เร็จ บางครัง้ เราอาจจะไม่ตอ้ งการใช้ค�ำ พูดในการสวดภาวนา อาจอยากอยูเ่ งียบๆ รำ�พึงไตร่ตรอง และอีกบางครั้งเราอาจไม่รู้จะพูดอะไรกับพระเจ้าเพราะชีวิตสับสน วุ่นวาย หรือตกอยู่ในสภาวะบางอย่างที่แก้ปัญหาไม่ได้ มีความทุกข์หนักในชีวิต ฯลฯ - ในช่วงเวลานั้นเองที่เราคิดอะไรไม่ออกเพราะจมอยู่ในความทุกข์ เราอาจทำ� ตามตั ว อย่ า งของประกาศกโยนาห์ คื อ พู ด กั บ พระเจ้ า อาศั ย บทเพลงสดุ ดี เป็ น การภาวนาด้วยพระวาจาของพระเจ้าเอง ปล่อยให้พระวาจานั้นตรัสดังๆ ในใจของเรา ให้พระวาจานั้นปลอบบรรเทาจิตใจของเรา นั่นเป็นช่วงเวลาวิเศษสุดที่จะเปิดใจเราให้ พระเจ้าทรงเข้าครอบครองและตรัสบางสิง่ บางอย่างกับเรา แทนทีจ่ ะเป็นคำ�พูดของเรา ซึ่งบ่นรำ�พันสิ่งต่างๆ กลับกลายเป็นพระวาจานั้นเองที่เป็นเสมือนน้ำ�ทิพย์ชโลมใจ ทำ�ให้จิตใจของเราสดชื่น กระชุ่มกระชวยขึ้นได้ - ในช่วงเวลานี้ หากมีความเป็นไปได้และเหมาะสม ผู้สอนอาจนำ�ผู้เรียนให้ ภาวนาด้วยเพลงสดุดที ี่ 139 (หรืออาจเลือกบทอืน่ ก็ได้) โดยให้ผเู้ รียนนัง่ นิง่ ๆ ทำ�สมาธิ สักครู่ จากนั้นให้สวดบทอัญเชิญพระจิตเจ้า โดยอาจใช้จากบทภาวนาในหนังสือหรือ ภาวนาจากใจก็ได้ จากนั้นให้ดำ�เนินตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ผู้สอนหรือตัวแทนผู้เรียนที่เตรียมไว้ล่วงหน้า 1 หรือ 2 คน อ่านเพลงสดุดีที่ 139 อย่างช้าๆ โดยหยุดเป็นช่วงๆ เพราะเป็นบทที่ค่อนข้างยาว (ควรให้ผู้เรียนมีชีท บทเพลงสดุดีนี้ในมือด้วย เพื่อป้องกันการวอกแวก) • เมื่ออ่านครั้งแรกเสร็จแล้ว ควรให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านในใจทั้งหมดอีกรอบ หนึ่ง • จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละคน (ทุกคน) บอกคำ�หรือประโยคที่ตนรู้สึกประทับ ใจที่สุด อย่างช้าๆ 3 ครั้ง • หลังจากที่ทุกคนได้บอกแล้ว ให้ตัวแทนบางคนที่สมัครใจ (3-4 คน หรือ แล้วแต่ความเหมาะสมของเวลา) แบ่งปันต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงประทับใจคำ�หรือ ประโยคนั้นๆ? - นี่เป็นตัวอย่างการทำ�ประสบการณ์การสวดภาวนาด้วยบทเพลงสดุดีแบบ ส่วนรวม ซึ่งตามปกติแล้วเราจะไม่ค่อยมีโอกาสทำ�เช่นเดียวกันนี้ ดังนั้น ให้ผู้เรียนฝึก

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


63

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

อ่านเพลงสดุดีแบบส่วนตัวด้วยวิธีการเดียวกันคือ 1) เตรียมตัวให้พร้อม อัญเชิญ พระจิตเจ้า 2) อ่านพระวาจาอย่างช้าๆ อย่างน้อย 2 รอบ 3) หยุดรำ�พึงไตร่ตรอง พระวาจาตอนทีร่ สู้ กึ ประทับใจทีส่ ดุ ในความสัมพันธ์กบั ชีวติ จริงของตนด้วยสายตาแห่ง ความเชื่อและศรัทธาในพระเจ้า - ให้ผู้เรียนเลือกเพลงสดุดีสำ�หรับตนเอง 1 บท (หรือมากกว่า) จากหนังสือ พระคัมภีร์ เพือ่ นำ�ไปใช้ในการภาวนาส่วนตัวทีบ่ า้ น หรือหากบางคนอยากนำ�ไปใช้สวด ภาวนาร่วมกับคนในครอบครัวก็ได้ และทุกครั้งที่ได้สวดภาวนาด้วยเพลงสดุดีแล้วให้ บันทึกการไตร่ตรองที่ได้ไว้ในสมุดด้วย เพื่อนำ�มาแบ่งปันในการเรียนคราวต่อไป

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนใช้เพลงสดุดีในการสวดภาวนาส่วนตัวที่บ้าน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวดบทเพลงสดุดีที่ 139 อย่างตั้งใจ อีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................

ภาพเกี่ยวกับ “เพลงสดุดี”


64

เพลงสดุดีที่ 139 สรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงรอบรู้ เพลงสดุดีประเภทปรีชาญาณบทนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการคำ�นึงถึงพระเจ้าโดยสนทนากับพระองค์ เนื้อหา ส่วนใหญ่ของเพลงสดุดบี ทนีก้ ล่าวถึงการทีพ่ ระเจ้าทรงรูจ้ กั มนุษย์อย่างสมบูรณ์และกล่าวถึงการทีพ่ ระเจ้าประทับอยูใ่ น ทุกส่วนของจักรวาล นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการที่ทรงสร้างจักรวาลอย่างน่าพิศวงอีกด้วย ส่วนสุดท้ายของเพลงสดุดี เป็นคำ�ภาวนาขอให้พระเจ้าทรงขจัดคนชัว่ ทัง้ หลายให้หมดสิน้ เราจะต้องมีสนั ติและความสงบใจเสมอเพราะรูว้ า่ เราอยู่ เฉพาะพระพักตร์ของพระบิดาผู้ทรงรักเรานั่นเอง 1. ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงตรวจสอบ และทรงรู้จักข้าพเจ้า 2. พระองค์ทรงทราบว่าเมื่อใดข้าพเจ้านั่ง เมื่อใดข้าพเจ้าลุกขึ้น พระองค์ทรงเข้าใจความคิดของข้าพเจ้าแม้อยู่ห่างไกล 3. พระองค์ทรงตรวจสอบเมื่อข้าพเจ้าเดินทางและหยุดพัก ทรงทราบหนทางทั้งหมดของข้าพเจ้า 4. คำ�พูดแม้เพียงคำ�เดียวยังไม่ทันหลุดจากปากของข้าพเจ้า ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ทรงทราบแล้วว่าข้าพเจ้าจะพูดอะไร 5. พระองค์ทรงโอบข้าพเจ้าไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง พระองค์ทรงวางพระหัตถ์ไว้เหนือข้าพเจ้าแล้ว 6. ความรู้เช่นนี้ช่างน่าพิศวงเกินกำ�ลังข้าพเจ้า เป็นเรื่องสูงเกินกว่าที่ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้ 7. ข้าพเจ้าจะไปที่ใดจึงจะพ้นจากพระจิตของพระองค์ ข้าพเจ้าจะหนีไปไหนจึงจะพ้นพระพักตร์ของพระองค์ได้? 8. หากข้าพเจ้าปีนขึ้นไปถึงท้องฟ้า พระองค์ก็ประทับอยู่ที่นั่น หากข้าพเจ้าลงไปนอนในแดนมรณะ พระองค์ก็ประทับอยู่ที่นั่นด้วย 9. แม้ข้าพเจ้าติดปีกแห่งอรุโณทัย บินไปพำ�นักอยู่สุดปลายทะเล 10. พระหัตถ์ของพระองค์ก็ยังจะนำ�ทางข้าพเจ้าอยู่ พระหัตถ์ขวายังยึดข้าพเจ้าไว้ 11. ถ้าข้าพเจ้าจะพูดว่า “ความมืดจงปกคลุมข้าพเจ้า และแสงสว่างจงเป็นกลางคืนล้อมรอบข้าพเจ้าเถิด” 12. สำ�หรับพระองค์ แม้ความมืดก็มิได้มืดมิด กลางคืนก็ยังส่องแสงเหมือนกลางวัน และความมืดจะเป็นเหมือนแสงสว่าง


65

13. พระองค์ทรงปั้นส่วนภายในของข้าพเจ้า ทรงถักทอร่างข้าพเจ้าในครรภ์มารดา 14. ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงสร้างข้าพเจ้าให้เป็นดังปาฏิหาริย์ พระราชกิจของพระองค์น่าพิศวง พระองค์ทรงรู้จักข้าพเจ้าอย่างดี 15. ร่างของข้าพเจ้าไม่เป็นสิ่งลึกลับสำ�หรับพระองค์เลย เมื่อข้าพเจ้าถูกปั้นอย่างเงียบๆ และถูกถักทอขึ้นในส่วนลึกของแผ่นดิน 16. ข้าพเจ้ายังเป็นตัวอ่อนในครรภ์ พระองค์ก็ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทุกอย่างมีเขียนไว้ในหนังสือของพระองค์ วันเวลาถูกกำ�หนดไว้แล้ว ก่อนที่จะเกิดขึ้น 17. ข้าแต่พระเจ้า ความคิดของพระองค์ช่างลึกซึ้งนี่กระไร ความคิดของพระองค์ช่างมีมากมายเหลือเกิน 18. ถ้าข้าพเจ้านับ ก็คงจะมีจำ�นวนมากกว่าเม็ดทราย เมื่อข้าพเจ้าตื่นขึ้นก็ยังจะคงนับอยู่กับพระองค์ 19. ข้าแต่พระเจ้า โปรดทรงประหารคนชั่วร้าย บรรดาคนที่ชอบใช้ความรุนแรงจงออกไปจากข้าพเจ้า 20. เขากล่าวร้ายถึงพระองค์ เป็นศัตรูที่กบฏต่อพระองค์ แต่ไร้ผล 21. ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าเกลียดผู้ที่ชิงชังพระองค์ ข้าพเจ้ารังเกียจทุกคนที่เป็นกบฏต่อพระองค์ 22. ข้าพเจ้าเกลียดชังเขาอย่างที่สุด เขาเป็นศัตรูของข้าพเจ้าด้วย 23. ข้าแต่พระเจ้า ขอพระองค์ทรงตรวจสอบข้าพเจ้า และทรงรู้ใจของข้าพเจ้า โปรดทรงทดสอบข้าพเจ้า และทรงรู้ความคิดของข้าพเจ้า 24. โปรดทอดพระเนตรเถิดว่า ข้าพเจ้าเดินบนเส้นทางที่เลวร้ายหรือไม่ และโปรดทรงนำ�ข้าพเจ้าไปบนหนทางของพระองค์ตลอดไป


66

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง การทำ�วัตร

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การทำ�วัตรสรรเสริญพระ คือ พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ประเภทหนึ่ง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการภาวนาของประชากรทั้งมวลของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมกันภาวนาทำ�วัตรสรรเสริญพระด้วยความตั้งใจ สาระการเรียนรู้ การทำ�วัตรสรรเสริญพระคือพิธีกรรมที่แสดงออกในรูปแบบของการภาวนาส่วนรวมของพระศาสนจักร ประชากรของพระเจ้า ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ธรรมล้ำ�ลึกของพระคริสตเจ้า การบังเกิดเป็นมนุษย์และปัสกาของพระองค์ จุดหมาย ของการทำ�วัตรสรรเสริญพระคือ เป็นการทำ�ให้เวลาในวันหนึ่งๆ ศักดิ์สิทธิ์ไป และเป็นการตอบรับคำ�เตือนของอัครธรรมทูตที่ ว่า “จงอธิษฐานภาวนาอย่างสม่ำ�เสมอ” (1ธส 5:17) (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1174-1178, 1196 และ สังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม ข้อ 83-101) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนอ่านบทสดุดีที่ 107 ข้อ 1-32 พร้อมกันอย่างช้าๆ เมื่ออ่านจบ แล้วให้ผู้เรียนนั่งเงียบสักครู่ จากนั้นผู้สอนจึงสุ่มเลือกให้ผู้เรียนบางคนบอกสิ่งประทับ ใจที่ได้จากการอ่านบทเพลงสดุดีนั้น - หลังจากนั้น ให้เวลาผู้เรียนอ่านเพลงสดุดีเดิมอีกครั้งหนึ่งแบบส่วนตัว เมื่อเสร็จ แล้ว ให้ผู้สอนสุ่มเลือกผู้เรียนอีกบางคนให้บอกสิ่งประทับใจที่ได้จากการอ่านเช่น เดียวกัน - ผู้สอนสามารถตั้งข้อสังเกตว่า การอ่านบทเพลงสดุดีแบบครั้งแรกอาจทำ�ให้ ผูเ้ รียนมีความตัง้ ใจคิดถึงความหมายของสิง่ ทีอ่ า่ นน้อยกว่าครัง้ ทีส่ อง เพราะบรรยากาศ วิธีการที่ต่างกัน ฯลฯ - พระศาสนจักรได้กำ�หนดให้พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสคริสตชนสวดภาวนา แบบ “ทำ�วัตรสรรเสริญพระ” ซึ่งเป็นวิธีการสวดภาวนาแบบผสมผสานระหว่าง บทเพลงสดุดี พระวาจาพระเจ้า บทเพลงสรรเสริญต่างๆ บทภาวนาเพื่อมวลชน ฯลฯ ซึ่งเป็นการภาวนาอย่างเป็นทางการที่พระศาสนจักรกำ�หนดให้เป็นพิธีกรรมรูปแบบ หนึ่ง - อันที่จริง พระศาสนจักรเน้นให้การสวดทำ�วัตรเป็นการภาวนาแบบส่วนรวม คือให้มหี ลายๆ คนสวดภาวนาด้วยกัน เพราะถือว่าเป็นเสียงสรรเสริญพระในนามของ พระศาสนจักร แต่ในบางกรณีที่ไม่มีใครก็สามารถสวดภาวนาแบบส่วนตัวได้

ดู “เพลงสดุดี ที่ 107” ท้ายแผน


67

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - การอ่านบทเพลงสดุดีข้างต้นของผู้เรียนนั้นเป็นเพียงประสบการณ์เล็กๆ ส่วน หนึ่งของการสวดภาวนาแบบทำ�วัตรเท่านั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ลิ้มชิมรสความหมายอัน มั่งคั่งและลึกซึ้งของบทเพลงสดุดี - ให้เรามาดูกันว่า การภาวนาแบบทำ�วัตรสรรเสริญพระมีความหมายและ ความสำ�คัญอย่างไร? และมีวิธีการสวดอย่างไร?

3

พระวาจา 1. บรรดาอัครสาวกเดินทางจากภูเขาที่เรียกว่า “ภูเขามะกอกเทศ” กลับไปยังกรุง เยรูซาเล็ม ภูเขานีอ้ ยูใ่ กล้กรุงเยรูซาเล็มเป็นระยะทางทีเ่ ดินได้ในวันสับบาโต เมือ่ เข้าไป ในเมืองแล้ว เขาขึ้นไปยังห้องชั้นบนซึ่งเคยเป็นที่พักของเขา…ทุกคนร่วมอธิษฐาน ภาวนาสม่�ำ เสมอเป็นน้�ำ หนึง่ ใจเดียวกัน พร้อมกับบรรดาสตรี รวมทัง้ มารียพ์ ระมารดา ของพระเยซูเจ้าและพี่น้องของพระองค์ (เทียบ กจ 1:12-14) 2. จงอธิษฐานภาวนาอย่างสม่ำ�เสมอ จงขอบพระคุณพระเจ้าในทุกกรณี เพราะ พระองค์ทรงปรารถนาให้ท่านทำ�สิ่งเหล่านี้ในพระคริสตเยซู (1ธส 5:17-18) 3. ทุกๆ วัน เขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหารและไปตามบ้านเพื่อทำ�พิธีบิขนมปัง ร่วมกินอาหารด้วยความยินดีและเข้าใจกัน สรรเสริญพระเจ้า และได้รบั ความนิยมจาก ประชาชนทุกคน (กจ 2:46) 4. เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำ�รงอยู่ในเรา และเราดำ�รงอยู่ ในเขา ก็ย่อมเกิดผลมาก เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ทำ�อะไรไม่ได้เลย (ยน 15:5) 5. ท่านเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่รักของพระองค์ จง เห็นอกเห็นใจกัน จงมีความใจดี ความถ่อมตน ความอ่อนโยนและความพากเพียร อดทนเป็นเสมือนเครื่องประดับตน (คส 3:12)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งห้าตอนที่นำ�มานี้อาจไม่ได้บ่งบอกชัดเจนนักว่า บรรดาสาวกและ กลุ่มคริสตชนแรกเริ่มนั้นสวดภาวนากันด้วยวิธีทำ�วัตรสรรเสริญพระอย่างในปัจจุบัน แต่พระวาจาทั้งหมดล้วนยืนยันว่าบรรดาบุคคลเหล่านั้น “สรรเสริญพระเจ้า” และ “ร่วมอธิษฐานภาวนาสม่ำ�เสมอเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน” - จากพระวาจาเรายังทราบถึงพระประสงค์ของพระเจ้าอีกว่า พระองค์ทรงต้องการ ให้เราขอบพระคุณพระเจ้าเสมอ ในทุกกรณี - เพราะการภาวนาเป็นหนทางพิเศษเพื่อการติดต่อกับพระเจ้า เป็นวิธีที่จะบอก กับพระองค์ว่า “ลูกต้องการพระองค์” ดังเช่น “เถาองุ่นที่ติดสนิทอยู่กับกิ่งก้าน” เป็นการ “ดำ�รงอยู่” ในกันและกัน เป็นการแสดงออกถึงความหมายที่ว่า “ถ้าไม่มีเรา ท่านก็ท�ำ อะไรไม่ได้เลย” แต่หากมีพระองค์อยูด่ ว้ ยแล้ว ชีวติ ของเราจะบังเกิดผลมากมาย - เหตุที่คริสตชนต้องภาวนาและมีชีวิตชิดสนิทกับพระเจ้าก็เพราะว่าเรา “เป็น ผูท้ พี่ ระเจ้าทรงเลือกสรร เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละเป็นทีร่ กั ของพระองค์” ถ้ามีสงิ่ นี้ ชีวติ ของ เราก็จะเป็นประจักษ์พยานถึงความรักของพระเจ้าต่อทุกคนได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


68

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อพระศาสนจักรภาวนาก็เป็นประชากรของพระเจ้าที่ภาวนา และทุกคำ� ภาวนาของพระศาสนจักรก็ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า การทำ�วัตร สรรเสริญพระจึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- แม้ว่าการสวดภาวนาทำ�วัตรจะมีโครงสร้างเฉพาะคือประกอบด้วย บทเพลง ☆ ผู้สอนเตรียมบททำ�วัตรฯ อัญเชิญ เพลงสรรเสริญ บทสร้อยต่างๆ บทเพลงสดุดี บทอ่านจากพระคัมภีร์พันธ- ให้ผู้เรียนดู หรือดูจาก website ท้ายแผน สัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ บทเพลงสรรเสริญของเศคารยาห์และของพระนาง มารีย์ บทภาวนาเพื่อมวลชน บทภาวนาประธาน แต่พระศาสนจักรก็ได้เป็นผู้กำ�หนด บทภาวนาอย่างเป็นทางการนีด้ ว้ ยการเลือกทุกบทภาวนาเหล่านัน้ ทีม่ ลี กั ษณะเน้นองค์ พระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็น “ศูนย์กลาง” ของธรรมล้ำ�ลึกแห่งการบังเกิดเป็นมนุษย์ และธรรมล้ำ�ลึกปัสกาของพระองค์ - ทำ�ไมพระสงฆ์ นักบวชและคริสตชนต้องสวดทำ�วัตรสรรเสริญพระด้วย?... จุด หมายของการทำ�วัตรสรรเสริญพระคือ เป็นการทำ�ให้เวลาในแต่ละวัน แต่ละนาที ศักดิ์สิทธิ์ไป และการทำ�วัตรยังเป็นการตอบรับคำ�เตือนของอัครธรรมทูตที่ว่า “จง อธิษฐานภาวนาอย่างสม่ำ�เสมอ” (1ธส 5:17) นั่นเอง - ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม และให้สวดบท “ทำ�วัตรสรรเสริญพระ” เต็มรูป แบบ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รู้จักวิธีการทำ�วัตรอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นการสวด ภาวนาปิดการเรียนในคาบนี้ด้วย

ดูบททำ�วัตรฯ

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมกันภาวนาทำ�วัตรสรรเสริญพระด้วยความตั้งใจ

7

ภาวนาปิดท้าย สวดบทภาวนาทำ�วัตรสรรเสริญพระพร้อมกัน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................


69

เพลงสดุดีที่ 107 พระเจ้าทรงช่วยเหลือผู้มีความทุกข์ 1. จงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะพระองค์พระทัยดี ความรักมั่นคงของพระองค์ดำ�รงอยู่เป็นนิตย์ 2. ผู้ทอี่ งค์พระผู้เป็นเจ้าทรงไถ่กู้จงกล่าวเช่นนี้ ผู้ที่พระองค์ทรงช่วยให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของศัตรู 3. และทรงรวบรวมจากแผ่นดินต่างๆ จากทิศตะวันออกและตะวันตก จากทิศเหนือและทิศใต้ จงกล่าวเช่นนี้เถิด 4. บางคนเร่ร่อนอยู่ในถิ่นทุรกันดารและในที่เปลี่ยว ไม่พบทางไปยังเมืองที่มีคนอาศัย 5. เขาหิวโหยและกระหายน้ำ� ชีวิตของเขากำ�ลังอ่อนแรงลง 6. เมื่อต้องลำ�บาก เขาร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้น 7. ทรงบันดาลให้เขาเดินบนเส้นทางที่ถูกต้อง ตรงไปถึงเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่ 8. เขาทั้งหลายจงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ เพราะพระราชกิจน่าพิศวงที่ทรงกระทำ�เพื่อมวลมนุษย์ 9. พระองค์ประทานน้ำ�ให้ผู้กระหายดื่ม ประทานอาหารดีๆให้ผู้หิวโหยกินจนอิ่ม 10. บางคนถูกจองจำ�อยู่ในที่มืดและในเงาแห่งความตาย มีความทุกข์และถูกล่ามด้วยโซ่ตรวน 11. เพราะเขากบฎต่อพระบัญชาของพระเจ้า และดูหมิ่นแผนการของพระผู้สูงสุด 12. พระองค์ทรงให้เขาต้องทำ�งานหนักเพื่อปราบจิตใจให้หมดพยศ เมื่อเขาล้มลงก็ไม่มีผู้ใดช่วยเหลือ 13. เมื่อต้องลำ�บาก เขาร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้น 14. ทรงนำ�เขาออกมาจากความมืดและเงาแห่งความตาย ทรงหักโซ่ตรวนที่ล่ามเขาอยู่ 15. เขาทั้งหลายจงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ เพราะพระราชกิจน่าพิศวงที่ทรงกระทำ�เพื่อมวลมนุษย์


70

16. พระองค์ทรงพังประตูทองสัมฤทธิ์ และทรงหักลูกกรงเหล็ก 17. บางคนโง่เขลาเพราะประพฤติชั่วร้าย ได้รับทุกข์ทรมานเพราะความผิดที่กระทำ� 18. เขาเบื่ออาหารทุกชนิด เขามาอยู่ที่ธรณีประตูแห่งความตาย 19. เมื่อต้องลำ�บาก เขาร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้น 20. พระองค์ทรงส่งพระวาจามารักษาเขา พระองค์ทรงช่วยชีวิตของเขาให้พ้นจากเหวลึก 21. เขาทั้งหลายจงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ เพราะพระราชกิจน่าพิศวงที่ทรงกระทำ�เพื่อมวลมนุษย์ 22. เขาทั้งหลายจงถวายเครื่องบูชาเพื่อขอบพระคุณ จงโห่ร้องยินดีบอกเล่าพระราชกิจของพระองค์ 23. บางคนลงเรือเดินทางไปในทะเล ค้าขายอยู่ในท้องทะเล 24. เขาเห็นสิ่งทีอ่ งค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกระทำ� เห็นพระราชกิจน่าพิศวงของพระองค์ในน้ำ�ลึก 25. เมื่อพระองค์ตรัส ก็ทรงปลุกลมพายุ บันดาลให้เกิดคลื่นสูงใหญ่ 26. คลื่นขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า และลงไปลึกจนถึงก้นเหว เขาตกใจกลัวมากเพราะอันตราย 27. เขาเดินโซเซโงนเงนเหมือนคนเมาเหล้า ความชำ�นาญทั้งหมดของเขาหายไป 28. เมื่อต้องลำ�บาก เขาร้องหาองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ก็ทรงช่วยเขาให้รอดพ้นจากความคับแค้น 29. พระองค์ทรงทำ�ให้พายุสงบลงกลายเป็นลมอ่อน ทรงทำ�ให้คลื่นเงียบเสียงลง 30. เขาทั้งหลายยินดีเพราะพายุสงบ พระองค์ทรงนำ�เขาไปถึงท่าเรือที่เขาต้องการ 31. เขาทั้งหลายจงขอบพระคุณองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะความรักมั่นคงของพระองค์ เพราะพระราชกิจน่าพิศวงที่ทรงกระทำ�เพื่อมวลมนุษย์ 32. เขาจงยกย่องพระองค์ในที่ชุมนุมประชากร และจงสรรเสริญพระองค์ในหมู่ผู้อาวุโส เว็บไซต์ของบททำ�วัตร : https://www.youtube.com/watch?v=zJlMhUHu8hw


71

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณธรรมความรอบคอบ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ความรอบคอบคือ คุณธรรมหลักซึง่ แสดงเหตุผลในทางปฏิบตั ิ เพือ่ แยกแยะสิง่ ดีงามแท้จริงในทุกสถานการณ์ และเลือกวิธที เี่ หมาะสมในการลงมือปฏิบตั ิ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไตร่ตรองด้วยเหตุผลก่อนที่จะตัดสินใจลงมือปฏิบัติ เฉพาะอย่างยิ่งใน เหตุการณ์ที่มักจะไม่รอบคอบ สาระการเรียนรู ้ ความรอบคอบคือหนึ่งในคุณธรรมหลัก 4 ประการ เป็นตัวควบคุมคุณธรรมอื่นๆ จึงถูกเรียกว่า “คนขับรถ ม้าของคุณธรรม” ความรอบคอบเป็นกฎเกณฑ์เที่ยงตรงของการกระทำ� ความรอบคอบไม่ใช่ความขี้อายหรือความกลัว ไม่ใช่ การเสแสร้งแกล้งทำ� คุณธรรมความรอบคอบจะช่วยให้รู้จักคิดพิจารณาด้วยเหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรงก่อนจะทำ�การณ์ใดๆ ก็ตาม ผู้ที่รอบคอบจึงรู้จักทำ�สิ่งที่ดีงามและหลีกเลี่ยงสิ่งชั่วร้าย (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1806) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกม “ทายคำ�ตอบ” โดยอาจให้เล่นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ - เมื่อเล่นเกมเสร็จแล้ว ผู้สอนจึงยืนยันคำ�เฉลย ซึ่งก็คือ “ความรอบคอบ” - จากนั้น จึงป้อนคำ�ถามให้ผู้เรียนไตร่ตรองต่อไปว่า “ความรอบคอบคืออะไร?” โดยให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามตามความเข้าใจของตนเอง - ให้เรามาดูกันว่า ในฐานะที่เราเป็นคริสตชน ทำ�ไมเราต้องให้ความสำ�คัญและ ต้องเข้าใจความหมายของคุณธรรมประการนี้ด้วย? - พระคัมภีร์ซึ่งเป็นพระวาจาของพระเจ้าได้สอนเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง? พระเยซูเจ้าเองเคยตรัสถึงประเด็นนี้บ้างไหม? 3 พระวาจา 1. เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงส่งอัครสาวกสิบสองคน - “จงฟังเถิด เราส่งท่านไป เหมือนแกะในฝูงสุนัขป่า ท่านจงฉลาดประดุจงูและซื่อประดุจนกพิราบ” (มธ 10:16) 2. อุปมา เรือ่ งผูร้ บั ใช้ทรี่ บั ผิดชอบ - “ใครเล่าเป็นผูร้ บั ใช้ทซี่ อื่ สัตย์และรอบคอบ ซึง่ นายแต่งตัง้ ให้ดแู ลผูร้ บั ใช้ เพือ่ แจกจ่ายอาหารให้ตามเวลาทีก่ �ำ หนด ผูร้ บั ใช้นนั้ ย่อม เป็นสุข เมื่อนายกลับมาพบเขากำ�ลังทำ�เช่นนี้ (มธ 24:45-46) 3. อุปมา เรื่องหญิงสาวสิบคน - “อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับหญิงสาวสิบ คนถือตะเกียงออกไปรอรับเจ้าบ่าว ห้าคนเป็นคนโง่ อีกห้าคนเป็นคนฉลาด หญิงโง่นำ�

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูเกม “ทายคำ�ตอบ” ท้ายแผน


72

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตะเกียงไป แต่มิได้นำ�น้ำ�มันไปด้วย ส่วนหญิงฉลาด นำ�น้ำ�มันใส่ขวดไปพร้อมกับ ตะเกียง” (มธ 25:1-4)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้ง 3 ตอนข้างต้นนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับคุณธรรม “ความรอบคอบ” แม้วา่ เรือ่ งที่ 2 และ 3 จะใช้ค�ำ ว่า “ฉลาด” เพราะภาษาไทยเป็นภาษาแปล แต่ตน้ ฉบับ นั้นใช้คำ�ว่า “ความรอบคอบ” - พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราเข้าใจว่า “ความรอบคอบ” เป็นหนึง่ ในคุณธรรม หลักที่จำ�เป็นมากสำ�หรับมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นคุณธรรมที่ทำ�ให้มีความสุขุม มี เหตุผล มีสามัญสำ�นึก มีความสามารถในการเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า มีความสมดุล มีความรู้สำ�นึกผิดชอบชั่วดี ฯลฯ ซึ่งหมายความว่าการมีคุณธรรมประการนี้จะทำ�ให้ เกิดคุณธรรมประการอื่นๆ ตามมาด้วย - ในพระวรสารตอน พระเยซูเจ้าทรงส่งอัครสาวกสิบสองคน นั้น พระองค์ ทรงทราบดีวา่ บรรดาสาวกทีไ่ ปทำ�งานประกาศพระอาณาจักรสวรรค์นนั้ จะต้องพบกับ ปัญหาอุปสรรคและผูท้ เี่ บียดเบียน ในสารพัดรูปแบบ พระองค์จงึ ทรงสัง่ สอนให้บรรดา สาวกเข้าใจล่วงหน้าว่าจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรบ้าง? ซึ่งตัวช่วยที่สำ�คัญคือ “ความรอบคอบ” จะช่วยให้สามารถเผชิญกับทุกสิ่งได้ - ในอุปมา เรื่องผู้รับใช้ที่รับผิดชอบ (เทียบ มธ 24:45-51) พระเยซูเจ้าทรง ใช้ตัวอย่างของผู้รับใช้ที่ได้รับมอบหมายจากนายให้ดูแลผู้รับใช้อื่น เขาต้องมีความรับ ผิ ด ชอบซึ่ ง หมายถึ ง ความฉลาดรอบคอบในการทำ � หน้ า ที่ อ ย่ า งซื่ อ สั ต ย์ มิ ใช่ ใช้ ความฉลาดแบบแกมโกงในการทำ�หน้าที่ของตน นั่นหมายความว่า แม้ในหน้าที่ การงานประจำ�วัน ความรอบคอบก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน - ส่วนอุปมา เรื่องหญิงสาวสิบคน (เทียบ มธ 25:1-13) เป็นคำ�สอนของ พระเยซูเจ้าที่เฉียบคมมาก เพราะเป็นเรื่องที่อ่านแล้วทำ�ให้รู้สึกว่า “ฉันจะต้องไม่โง่” มิฉะนั้น คงจะต้องพลาดโอกาสเดียวของชีวิตที่จะได้รับความสุขนิรันดร ซึ่งสิ่งเดียวที่ จะช่วยได้ก็คือ ความฉลาด หรือ ความรอบคอบ นั่นเอง ในการเตรียมตนเองด้วย การเฝ้าระวังให้พร้อมเสมอถึงทุกสิ่งที่ตนต้องมีและเป็นเพราะพระเจ้าจะเสด็จมาใน เวลาที่ตนไม่คาดคิด - เรื่องราวทั้งสามนี้สอนประเด็นสำ�คัญเพียงเรื่องเดียวคือ ความรอบคอบ แต่ เป็น “ประเด็นแม่” เพราะหากมี “แม่” แล้วก็จะมี “ลูกๆ” ตามมาด้วย

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระอาจารย์ที่ทรงปรีชาฉลาดยิ่ง เพราะเหตุที่ทรงเป็นทั้ง พระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ พระองค์จึงทรงรู้ทุกสิ่งเกี่ยวกับพระเจ้าและมนุษย์ พระองค์ แต่ผู้เดียวจึงเป็นอาจารย์ที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับเรา เพราะพระองค์ทรงทราบดีว่า สิ่ง ใดดีที่สุดสำ�หรับเรา

- คุณธรรมหลักพื้นฐานของมนุษย์มี 4 อย่างคือ ความรอบคอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ และความมัธยัสถ์ (พอประมาณ) นี่คือคุณธรรมจำ�เป็นเพื่อช่วยให้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


73

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

มนุษย์ทุกคนเจริญชีวิตในความชอบธรรม ซึ่งหมายถึงเป็นมนุษย์ที่ดำ�เนินชีวิตใน ความถูกต้องเที่ยงตรงในหนทางของพระเจ้า - แต่บาปกำ�เนิดได้ทำ�ให้มนุษย์เดินออกนอกหนทางของพระไปแสวงหาตัวเอง หาปีศาจและทุกสิง่ ทีไ่ ม่ใช่พระเจ้า ดังนัน้ โดยลำ�พังกำ�ลังของมนุษย์เขาไม่สามารถเอา ตัวรอดไปสวรรค์ได้ นอกจากการไถ่บาปของพระเยซูคริสตเจ้าแล้ว พระเจ้ายังทรง ประทาน “ตัวช่วย” อื่นๆ อีกหลายอย่าง ในจำ�นวนนั้น คุณธรรมหลัก 4 ประการเป็น สิ่งที่พระเจ้าประทานไว้ในใจของมนุษย์ทุกคน แม้ในคนที่ไม่ได้รับศีลล้างบาปด้วย - ให้แบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่มหรือตามความเหมาะสม (ให้ทำ�งานแบบส่วน ตัวก็ได้) แต่ละกลุ่มให้จับฉลากใบความรู้ 1 ใบ (ใบความรู้มี 2 เรื่อง ให้ทำ�สำ�เนาเรื่อง ละ 2 ใบ) จากนั้นให้ทุกคนอ่านเรื่องในใบความรู้ ไตร่ตรองทำ�ความเข้าใจ แล้วตอบ คำ�ถามว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...”

ดูใบความรู้เรื่อง “เงินแลก กับปัญญา” และเรื่อง “แพะ อยากกินน้ำ�” ท้ายแผน

- เมื่อทุกคนทำ�งานเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนกลุ่มมาแบ่งปันให้ทุกคนได้รับรู้ถึง ข้อคิดที่ได้จากทั้งสองเรื่อง - จากนั้น ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ทำ�ที่ไหน? ทำ�อย่างไร?” โดยเน้นให้ผู้เรียน เขียนกรณีเหตุการณ์ที่ตนมักขาดความรอบคอบ เพื่อว่าหลังจากที่ได้เรียนคุณธรรม เรื่องนี้แล้ว ผู้เรียนจะได้ระมัดระวังตนเองในเรื่องนี้ให้มากขึ้น

ดูใบงาน “ทำ�ที่ไหน? ทำ�อย่างไร?” ท้ายแผน

- สรุปข้อปฏิบัติของการเรียนครั้งนี้โดยให้ผู้เรียนนำ�เอาสิ่งที่ได้เขียนในใบงาน ไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม 6

หาข้อปฏิบัติ ผูเ้ รียนไตร่ตรองด้วยเหตุผลก่อนทีจ่ ะตัดสินใจลงมือปฏิบตั ิ เฉพาะอย่างยิง่ ใน เหตุการณ์ที่ตนมักจะไม่รอบคอบ

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความหวัง” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................


74

ใบงานเกม “ทายคำ�ตอบ” คำ�ชี้แจง

ให้ผู้เรียน (เดี่ยวหรือกลุ่มก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม) ตอบคำ�ถามต่อไปนี้ทีละคำ�ถาม โดยใคร ยกมือก่อนมีสิทธิ์ได้ตอบก่อน ใครสามารถตอบได้ถูกต้องก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ 1. อยู่ในหมวดคุณธรรมหลัก 2. เป็นคำ�ที่มีสองพยางค์ 3. ทั้งสองพยางค์ลงท้ายด้วยตัวอักษร “บ” 4. เป็นคุณธรรมที่ควบคุมคุณธรรมอื่นๆ หรือเรียกว่า “คนขับรถ ม้าของคุณธรรม” 5. ทำ�ให้มั่นใจในสิ่งที่งามที่ต้องทำ� และรู้จักหลีกเลี่ยงความชั่วร้าย 6. ทั้งสองพยางค์มีอักษรก่อนสุดท้ายเป็น “อ” 7. เป็นคุณธรรมหลักประการแรก 8. เป็นเกณฑ์เที่ยงตรงแห่งการกระทำ� 9. (หากไม่มีใครตอบได้จึงถามข้อนี้) พยางค์แรกเริ่มด้วยตัวอักษร “ร” พยางค์สุดท้ายลงท้ายด้วยตัวอักษร “ค”

ใบความรู้ เรื่อง “เงินแลกกับปัญญา” ครั้งหนึ่ง ขณะที่ชายคนหนึ่งกำ�ลังซ่อมกำ�แพงที่ถล่มลงมา หลังจากฝนตกลงมาอย่างหนัก เขาได้ขุดพบทองคำ�ก้อน ใหญ่ ก้อนหนึง่ เลยกลายเป็นเศรษฐีในชัว่ พริบตา ชายคนนัน้ รูต้ วั เองดีวา่ ตัวเองค่อนข้างโง่ จึงไปปรึกษากับพระอาจารย์ทา่ น หนึ่ง พระอาจารย์แนะนำ�ว่า

“เจ้ามีเงิน ผู้อื่นมีปัญญา เจ้าทำ�ไมไม่ใช้เงินไปซื้อปัญญาของคนอื่น”

ชายคนนัน้ จึงเข้าไปในเมืองเจอพระรูปหนึง่ ชายนัน้ จึงถามพระรูปนัน้ ว่า “ท่านจะขายปัญญาของท่านให้แก่ขา้ พเจ้า ได้หรือเปล่า”

พระนั้นตอบว่า “ปัญญาของอาตมาแพงนะ เจ้าสู้ไหวหรือ?”

“ขอเพียงซื้อปัญญาได้แพงเท่าไหร่ ข้าพเจ้าก็สู้” ชายนั้นตอบ

“เมื่อเจ้าพบสิ่งที่ยากลำ�บากใจ เจ้าอย่าเพิ่งเร่งรีบตัดสินใจ ให้เดินไปข้างหน้า 3 ก้าว หลังจากนั้นเดิน ถอยไปข้างหลัง 3 ก้าว ทำ�ซ้ำ�อย่างนี้ อีก 3 ครั้ง เจ้าก็จะได้ปัญญา” “ปัญญา ง่ายอย่างนี้หรือ?” ชายคนนั้นทำ�ท่าไม่เชื่อและลังเล กลัวพระรูปนั้นจะหลอกเอาเงิน พระรูปนั้นอ่าน สายตานั้นออก จึงพูดว่า “เจ้ากลับไปก่อน ถ้าหากเจ้ารู้สึกว่าปัญญาของข้าพเจ้าไม่คุ้มกับเงินเหล่านี้ เจ้าก็ไม่ต้องกลับมาแล้ว หากเจ้าคิดว่า คุ้ม เจ้าค่อยกลับมา”


75

เมื่อกลับถึงบ้านในตอนค่ำ�มืด ชายคนนั้นเห็นเหมือนกับภรรยา กำ�ลังนอนอยู่กับคนอื่นจึงถืออีโต้เข้าไปหวังจะฆ่า คนนั้น แต่ทันใดนั้นนึกถึงคำ�พูดของพระรูปนั้นในตอนกลางวันจึงเดินไปข้างหน้า 3 ก้าว เดินถอยหลัง 3 ก้าว ทำ�ซ้ำ�อีก 3 ครั้ง ขณะที่กำ�ลังเดินอยู่นั้น คนที่นอนอยู่กับภรรยาของเขาพูดขึ้นว่า “ลูกเอ๊ย ดึกๆ อย่างนี้ทำ�อะไรอยู่นั่น?” ชายคนนั้นเมื่อรู้ว่าเป็นเสียงมารดาของตนเอง จึงคิดในใจว่า “หากกลางวันนี้ไม่ซื้อปัญญามา วันนี้คงจะฆ่า แม่ของตนเองแล้ว”

วันรุ่งขึ้นจึงรีบนำ�เงินไปถวายพระรูปนั้นแต่เช้า

ใบความรู้ เรื่อง “แพะอยากกินน้ำ�” มีเเพะตัวหนึง่ เดินมาทีบ่ อ่ น้�ำ เมือ่ ชะโงกหน้าลงไปก็เห็น สุนขั จิง้ จอกตัวหนึง่ อยู่ ในบ่อ จึงเอ่ยถามกับสุนัขจิ้งจอกว่า “เพื่อนเอ๋ย บ่อนี้ลึกมากหรือไม่” สุนัขจิ้งจอกซึ่งได้พลัดตกลงมาในบ่อน้ำ�เเล้วขึ้นไปไม่ได้ จึงโกหกออกไปด้วย ความเจ้าเล่หว์ า่ “ไม่ลกึ เลยเพือ่ นเอ๋ย น้�ำ ในบ่อนีก้ ใ็ สเเละเย็นชืน่ ใจดีจริงๆ เจ้าก็ลงมากินด้วย กันกับข้าเถิด”

เเพะไม่ทันได้คิดให้รอบคอบก็รีบกระโจนลงไปในบ่อน้ำ�นั้นในทันที

สุนขั จิง้ จอกจึงเหยียบเขาเเพะเเล้วปีนขึน้ มาทีป่ ากบ่อน้�ำ ได้ส�ำ เร็จ เเล้วก็หนั กลับมาหัวเราะ เยาะในความเขลาของเเพะ ก่อนที่จะเดินจากไป

ใบงาน “ทำ�ที่ไหน? ทำ�อย่างไร?” คำ�ชีแ้ จง - ให้ตอบคำ�ถามว่า “ตามปกติ ฉันมักจะขาดความรอบคอบ เมือ่ ใด? และฉันควรจะแก้ไขอย่างไร” โดยเขียน อย่างน้อย 5 เรื่อง ในตารางที่กำ�หนดให้

ที่ 1 2 3 4 5

เหตุการณ์ใด?

ทำ�อย่างไร?


76

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณธรรมความยุติธรรม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ความยุตธิ รรมคือคุณธรรมหลักทีท่ �ำ ให้บคุ คลทำ�หน้าทีข่ องตน ทั้งต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์อย่างซื่อสัตย์ และถูกต้องเที่ยงตรง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติตนด้วยความยุติธรรมทั้งในด้านความคิดและการกระทำ� สาระการเรียนรู้ ความรอบคอบเป็นคุณธรรมหลักประการหนึ่ง ผู้มีความยุติธรรมจะประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องในการให้ สิง่ ทีต่ อ้ งให้แด่พระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ เป็นผูพ้ ร้อมจะให้ความเคารพนับถือต่อสิทธิของแต่ละคน สนับสนุนความเท่าเทียมกัน ของเพื่อนมนุษย์ มุ่งหาความดีและประโยชน์ของส่วนรวม (ดู คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1807) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “แม่ไก่สองตัว” ให้ผู้เรียนฟัง เมื่อจบแล้วให้อาสาสมัคร ตัวแทนผู้เรียนบางคนสรุปสาระสำ�คัญของนิทานเรื่องนี้ - หลังจากนั้น ผู้สอนจึงให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันเสนอข้อคิดที่ได้จากนิทาน และ ให้ทุกคนช่วยกันสรุปว่า เป็นนิทานที่ต้องการเน้นประเด็นหลักเกี่ยวกับเรื่องอะไร? (ความยุติธรรม) - จากนั้น ผู้สอนจึงเปิดอภิปรายต่อไปสั้นๆ ว่า ในชีวิตส่วนตัวของเราแต่ละคน หรือในสังคมปัจจุบันนั้นเราพบ “ความยุติธรรม” กันมากหรือน้อย? ผลของความอยุติธรรมคืออะไร? ฯลฯ - ให้เรามาดูว่า พระคัมภีร์ได้กล่าวกับเราเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมว่าอย่างไร? 3 พระวาจา : (ลนต 19:11-18) “ท่านจะต้องไม่ลักขโมย ฉ้อโกง หรือพูดเท็จต่อกัน ท่านจะต้องไม่สาบานเท็จ โดยใช้นามของเรา มิฉะนั้นท่านจะลบหลู่พระนามของพระเจ้าของท่าน เราคือ องค์ พระผูเ้ ป็นเจ้า ท่านจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบหรือปล้นสะดมเพือ่ นบ้าน ท่านจะต้องไม่ ยึดค่าจ้างของลูกจ้างไว้จนถึงวันรุง่ ขึน้ ท่านจะต้องไม่สาปแช่งคนหูหนวก เอาของไปวาง ขวางทางคนตาบอด แต่ท่านจะต้องยำ�เกรงพระเจ้าของท่าน เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า” “ท่านจะต้องไม่ตัดสินคดีอย่างอยุติธรรม ท่านจะต้องไม่ลำ�เอียงเข้าข้างคน ยากจนหรือคนมีอำ�นาจ แต่จงตัดสินคดีของเพื่อนบ้านอย่างยุติธรรม ท่านจะต้องไม่ โพนทะนาใส่ร้ายชนชาติเดียวกับท่าน และไม่ซ้ำ�เติมเพื่อนบ้านของท่านให้ถูกประหาร

ดูนิทานท้ายแผน


77

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

เราคือองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ท่านจะต้องไม่เก็บความเกลียดชังพีน่ อ้ งไว้ในใจ แต่จงตักเตือน เพือ่ นบ้านอย่างตรงไปตรงมา ท่านจะได้ไม่ตอ้ งรับผิดชอบบาปของเรา ท่านจะต้องไม่ แก้แค้น หรืออาฆาตชนชาติเดียวกับท่าน แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง เราคือ องค์พระผู้เป็นเจ้า”

4

อธิบายพระวาจา - หนังสือเลวีนติ เิ ป็นหนังสือซึง่ บรรจุสงิ่ ทีเ่ ป็นกฎเกณฑ์ บทบัญญัติ ทีช่ าวอิสราเอล ต้องประพฤติปฏิบตั ิ พระเจ้าได้ทรงเลือกอิสราเอลให้เป็นชนชาติเลือกสรรของพระองค์ ในแง่หนึง่ นัน้ เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าทีจ่ ะให้ชนชาตินดี้ �ำ เนินชีวติ อย่างศักดิส์ ทิ ธิ์ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ก็เป็นความเข้าใจของชาวอิสราเอลเองที่จะต้องทำ�ตนให้บริสุทธิ์ ปราศจากมลทินด้วย เพื่อให้เหมาะสมที่จะเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า - พระวาจาตอนที่นำ�มานี้ เป็นเพียงจำ�นวน 8 ข้อ ในจำ�นวนพระวาจาทั้งหมดที่ กล่าวถึงกฎบัญญัตซิ งึ่ บรรจุอยูใ่ นหนังสือเลวีนติ ิ แต่หากเรามาวิเคราะห์ในมุมมองของ ความยุติธรรมแล้ว เราจะพบรายละเอียดมากมาย คือ • การไม่ลักขโมย ฉ้อโกง ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ปล้นสะดม ต้องจ่ายค่าจ้าง ตามเวลา • ไม่พูด (หรือสาบาน) เท็จ ไม่ใส่ร้าย ไม่ซ้ำ�เติม เพื่อนบ้าน • ไม่ทำ�ร้ายคนพิการ • ต้องตัดสินคดีอย่างยุติธรรม ไม่ลำ�เอียงเข้าข้างฝ่ายใด • ไม่เก็บความเกลียดชังพี่น้องไว้ในใจ ไม่อาฆาต แก้แค้น - ความหมายของ “ความยุติธรรม” มิใช่มีเพียงเท่านี้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ ทำ�ให้เรามองความยุติธรรมด้วยสายตาที่กว้างไกลขึ้น แต่หากพิจารณาที่บรรทัด สุด ท้ายของพระวาจาตอนนี้ เราจะพบว่า แท้จ ริงแล้ว “ความยุติธรรม” ก็มี ความหมายไม่ต่างไปจากคำ�สั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรัก ตนเอง” - ดังนั้น พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยให้เราทราบว่า หากเราต้องการปฏิบัติความรัก ต่อเพื่อนพี่น้องแล้วไซร้ เราก็ต้องเป็นผู้มีความยุติธรรมต่อพี่น้องเช่นกัน ซึ่งคล้ายกับ เป็นการบอกว่า การแสดงออกซึ่ง “ความยุติธรรม” ก็เท่ากับเป็นการปฏิบัติ “ความรัก” ต่อเพื่อนพี่น้องอย่างเป็นรูปธรรมส่วนหนึ่งนั่นเอง - เหตุที่ใช้คำ�ว่า “ส่วนหนึ่ง” ก็เพราะ “ความยุติธรรม” คือการแสดงออกซึ่งส่วน หนึ่งของ “ความรัก” (เพราะความรักและความยุติธรรมไม่ได้มีความหมายเดียวกัน แต่เป็นคุณธรรมสองประการที่เสริมเติมและควบคู่กัน)

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนพิจารณาภาพ “สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม” ทั้งสองภาพ ภาพแรก เป็นภาพโบราณที่มีมาแต่ในอดีต: สตรีคนหนึ่งถือตาชั่งอยู่ในมือซ้าย ส่วนในปัจจุบัน เป็นภาพที่สองซึ่งมักใช้เพียงรูป “ตาชั่งสองแขน” เท่านั้น

ดูภาพ “สัญลักษณ์แห่ง ความยุติธรรม” ท้ายแผน


78

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ให้ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่า ทำ�ไมคนในอดีตจนถึงปัจจุบันจึงเลือก “ตาชั่ง สองแขน” เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม? ทำ�ไมความหมายของทั้งสองสิ่งนี้จึงมี ความสอดคล้องตรงกัน? - ตาชั่งสองแขนที่ดีบ่งบอกถึงความถูกต้องเที่ยงตรง ซึ่งหมายความว่า ต้องไม่ เอนเอียงหนักไปทางด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องมีความสมดุลและเท่ากันทั้งสองข้าง บุคคลทีม่ คี วามยุตธิ รรมก็จะต้องมีจติ ใจและการกระทำ�ทีส่ มดุล ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น - ความยุติธรรมคือคุณธรรมประจำ�ใจของมนุษย์ทุกคน เพียงแต่ว่า บุคคลใด เปิดใจให้พระจิตเจ้าทรงนำ�ทาง เขาก็จะยึดมัน่ ในการทำ�ความดีและยอมเสียสละตนเอง เพื่อจะดำ�รงตนในความยุติธรรม ทั้งต่อพระเจ้า ต่อเพื่อนมนุษย์ และต่อตนเอง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำ�ถามที่ว่า “ฉันจะปฏิบัติตนเป็นผู้มีความยุตธิ รรม ต่อพระเจ้า ต่อเพือ่ นมนุษย์ และต่อตนเองได้อย่างไร?” โดยให้เขียน คำ�ตอบทั้งสามประเด็นอย่างเป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้ ลงในใบงาน “ความยุติธรรมที่แลเห็นได้”

ดูใบงาน “ความยุติธรรมที่ แลเห็นได้” ท้ายแผน

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติตนด้วยความยุติธรรมทั้งในด้านความคิดและการกระทำ�

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ภาพ “สัญลักษณ์ แห่งความยุติธรรม”


79

นิทานเรื่อง “แม่ไก่สองตัว” แม่ไก่สองตัวทะเลาะกันเพราะแย่งข้าวโพดหนึ่งเมล็ด เมื่อตกลงกันไม่ได้แม่ไก่ก็วิ่งไปฟ้องไก่โต้งให้ช่วยตัดสิน “ไปนำ�ข้าวโพดมาให้ฉันซิ” ไก่โต้งสั่ง แม่ไก่ทงั้ สองก็เชือ่ ฟัง คาบเมล็ดข้าวโพดมาวางตรงหน้าผูต้ ดั สินความ แต่ไก่โต้งกลับรีบจิกข้าวโพดกินอย่างรวดเร็ว “เอ๊ะ ไม่ยุติธรรม” แม่ไก่ท้วงเสียงแหลม แล้ววิ่งเข้าป่าไปร้องทุกข์หมาจิ้งจอก “พาไก่โต้งมาพบฉันหน่อย” หมาจิ้งจอกสูดปาก แม่ไก่กลับมาหลอกล่อไก่โต้งให้เข้าไปในป่า หมาจิ้งจอกงับไก่โต้งทันที “ไม่ยุติธรรมเลยนะ” แม่ไก่บ่นและพากันไปหาความยุติธรรมจากหมาป่าอีก “ทำ�อย่างนี้ไม่ถูกเรื่อง ไปตามเจ้าหมาจิ้งจอกมาซิ” หมาป่าคำ�ราม แกล้งทำ�เป็นโกรธแค้น แต่เมือ่ แม่ไก่หาอุบายหลอกลวงหมาจิง้ จอกมาจนถึงถ้�ำ ของหมาป่า หมาจิง้ จอกก็ตกเป็นเหยือ่ ของหมาป่าอีกเช่นกัน “โอ๊ย ไม่ยุติธรรม” แม่ไก่ตะโกนวิ่งเตลิดหนีไปพึ่งหมีเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง “ตอนแรกเราก็ทะเลาะแย่งข้าวโพดกัน แล้วก็ไปขอให้ไก่โต้งช่วยตัดสิน ไก่โต้งกลับกินข้าวโพดของ เรา ไปฟ้องหมาจิ้งจอก หมาจิ้งจอกก็กินไก่โต้ง ไปร้องทุกข์หมาป่า หมาป่าก็กินหมาจิ้งจอกอีก” “เห็นมั๊ย ไม่ยุติธรรมเลย” แม่ไก่บ่น “เอาละไปพาเจ้าหมาป่ามาพบข้า” หมีออกคำ�สั่ง แล้วเรื่องก็ลงรอยเดิม หมาป่าตกเป็นเหยื่อของหมี “ตอนนี้ก็ถึงคราวเจ้าละ ข้าจะกินเจ้าด้วย” หมีหันมาขู่ตะคอกแม่ไก่ทั้งสอง แม่ไก่จึงวิ่งหนีสุดฝีเท้า พอรอดพ้นอันตรายแล้ว ก็หันหน้าเข้าปรับทุกข์กัน “ดูซิ ข้าวโพดเพียงเมล็ดเดียวทำ�ให้สัตว์ทั้งหลายอิ่มหนำ�สำ�ราญไปตามๆ กัน มีแต่สองเราเท่านั้นที่ ทะเลาะแย่งข้าวโพด กลับหิวโหยไม่ยุติธรรมเลยนะ” จากหนังสือ “นิทานก่อนนอน” แปลจากเรื่อง “The Two Hens” ผู้แปล “ต้อยติ่ง”

ใบงาน “ความยุติธรรมที่แลเห็นได้” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแต่ละคนตอบคำ�ถามที่ว่า “ฉันจะปฏิบัติตนเป็นผู้มีความยุติธรรม ต่อพระเจ้า ต่อเพื่อน มนุษย์ และต่อตนเองได้อย่างไร?” โดยให้เขียนคำ�ตอบทั้งสามประเด็นอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดลงใน ตารางข้างล่างนี้

ที่ ความยุติธรรม 1 ต่อพระเจ้า 2 ต่อเพื่อนพี่น้อง 3 ต่อตนเอง

ที่แลเห็นได้


80

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณธรรมความกล้าหาญ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คุณธรรมความกล้าหาญคือ ความสามารถที่พระเจ้าประทาน แก่มนุษย์เพื่อจะเผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคและการเบียดเบียนต่างๆ ด้วยการตัดสินใจ และการกระทำ�ที่ถูกต้องเที่ยงตรง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความกล้าหาญในเหตุการณ์ที่ปกติตนมักจะกลัว สาระการเรียนรู้ ความกล้าหาญเป็นคุณธรรมหลักทางศีลธรรมของมนุษย์ เป็นความเข้มแข็งที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา ความกลัว การทดลอง อุปสรรค รวมถึงการเบียดเบียนต่างๆ อย่างไม่หวั่นเกรง ด้วยการตัดสินใจและการแก้ปัญหาในทางที่ ถูกต้องเหมาะสม ความกล้าหาญช่วยให้เลือกทีจ่ ะปกป้องสิง่ ชอบธรรมโดยยอมปฏิเสธสิง่ ชัว่ ร้ายแม้จะต้องสละด้วยชีวติ (ดู คำ� สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1808) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “กลัวจังเลย!” โดยให้ผู้เรียนเขียนจากเรื่องจริงของ ตนเอง โดยให้เวลาทำ�ใบงานอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาไตร่ตรองอย่าง จริงจัง - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนอาสาสมัครบางคนมาแบ่งปันหน้า ห้อง แล้วให้ผู้เรียนคนอื่นฟังเปรียบเทียบกับคำ�ตอบของตนเอง - เพื่อจะเข้าใจคุณธรรมความกล้าหาญเป็นอย่างดี ให้เรามาดูตัวอย่างชีวิตของ บุคคลที่มีความกล้าหาญในการเผชิญกับสิ่งที่ “น่ากลัว” ของชีวิต 3 พระวาจา : (2คร 11:23-29) “เขาเป็นผู้รับใช้ของพระคริสตเจ้าหรือ ข้าพเจ้าพูดอย่างคนเสียสติว่าข้าพเจ้า เป็นมากกว่าเขาเสียอีก ข้าพเจ้าลำ�บากตรากตรำ�มากกว่าเขา ถูกจองจำ�มากกว่าเขา ถูก โบยตีมากกว่าเขาจนนับครั้งไม่ถ้วน ต้องเผชิญกับความตายหลายครั้ง ข้าพเจ้าถูกชาว ยิวลงแส้หา้ ครัง้ ครัง้ ละสามสิบเก้าที ข้าพเจ้าถูกชาวโรมันเฆีย่ นตีสามครัง้ ถูกขว้างด้วย หินหนึง่ ครัง้ เรืออับปางสามครัง้ ลอยคออยูก่ ลางทะเลหนึง่ คืนกับหนึง่ วัน ข้าพเจ้าต้อง เดินทางเสมอ ต้องเผชิญอันตรายในแม่น้ำ� อันตรายจากโจรผู้ร้าย อันตรายจากเพื่อน ร่วมชาติ อันตรายจากคนต่างชาติ อันตรายในเมือง อันตรายในถิน่ ทุรกันดาร อันตราย ในทะเล อันตราย จากพี่น้องทรยศ ข้าพเจ้าต้องทำ�งานเหน็ดเหนื่อยลำ�บากตรากตรำ� อดนอนบ่อยๆ ต้องหิวกระหาย ต้องอดอาหารหลายครั้ง ต้องทนหนาว ไม่มีเสื้อผ้า

ดูใบงาน “กลัวจังเลย!” ท้ายแผน


81

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

สวมใส่ นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ข้าพเจ้ายังถูกบีบคั้นทุกวัน นั่นคือเป็นห่วงพระศาสนจักรทุกแห่ง ใครบ้างอ่อนแอ และข้าพเจ้ามิได้อ่อนแอด้วย ใครบ้างถูกชักนำ�ให้ ทำ�บาป และข้าพเจ้าไม่เป็นทุกข์ด้วย...”

4

อธิบายพระวาจา - บุคคลที่พระวาจาตอนนี้กล่าวถึงก็คือ น.เปาโลนั่นเอง - น.เปาโลได้เล่าถึงวิบัติต่างๆ ที่ท่านต้องประสบขณะเดินทางเพื่อกระทำ�ภารกิจ ให้ชาวโครินทร์ได้รบั รู้ เพือ่ จะบอกแก่พวกเขาว่า ท่านไม่ตอ้ งการโอ้อวดสิง่ ใดนอกจาก ความอ่อนแอของตนเอง - ท่านเรียกสิ่งที่ต้องเผชิญทั้งหมดเหล่านั้นว่า “ความอ่อนแอ” แต่แท้ที่จริงแล้ว หากเราจะพิจารณาให้ดี “ความอ่อนแอ” ทีท่ า่ นเรียกนัน้ กลับแสดงให้เราเห็นถึงความเข้มแข็งกล้าหาญของท่านอย่างที่ทำ�ให้เรารู้สึกว่ามันตรงกันข้ามกับความอ่อนแอโดย สิ้นเชิงเหตุว่าผู้อ่อนแอจะชนะความยากลำ�บากทั้งหมดเหล่านั้นได้อย่างไร? น.เปาโล เป็นคนสุภาพถ่อมตน ท่านจึงไม่ปรารถนาจะยกย่องเชิดชูตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น - น.เปาโลสามารถทนรับทุกอย่างเหล่านั้นได้อย่างไร? ในจดหมายถึงชาวฟิลิปปี ท่านได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าทำ�ทุกสิ่งได้ในพระองค์ผู้ประทานพละกำ�ลังแก่ ข้าพเจ้า” (ฟป 4:13) นี่คือคำ�ตอบที่ท่านได้ให้แก่เรา - ดังนั้น ท่านสามารถมีพละกำ�ลัง ความกล้าหาญเข้มแข็งในการผจญความทุกข์ ทรมาน ปัญหา อุปสรรค และความยากลำ�บากทุกชนิดได้กเ็ พราะท่านมีความสัมพันธ์ ที่สนิทแน่นแฟ้นกับพระเจ้า เชื่อมั่นในพระองค์ผู้ทรงเป็น “โล่กำ�บัง” (เทียบ สดด 89:18) “แหล่งลี้ภัยและป้อมปราการ” (เทียบ สดด 91:2) ของท่านนั่นเอง

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ ที่ น.เปาโลได้พบ โดย ไตร่ตรองเปรียบเทียบกับชีวติ ของตนเองว่า ในชีวติ ของแต่ละคนนัน้ ต้องพบกับปัญหา อุปสรรค ความทุกข์อะไรบ้าง? และท่าทีทแี่ ต่ละคนเผชิญหน้ากับสิง่ เหล่านัน้ คืออะไร? เป็นความกลัว ความขลาด หรือ ความกล้าหาญกันแน่? - แน่นอนว่า ความกล้าหาญที่เรากล่าวถึงอยู่นี้ มิได้หมายถึงความกล้าที่จะทำ� อะไรก็ได้ สู้ไป บุกไป ลุยไป โดยไร้เหตุผลหรือเป้าหมายที่ถูกต้อง จากตัวอย่างของ น.เปาโลเราจะเห็นชัดเจนว่า ท่านเดินหน้าสูไ้ ปเรือ่ ยๆ ไม่ยอมท้อหรือถอย เพราะท่าน ไม่ได้ท�ำ เพือ่ ตัวเอง แต่ทา่ นมีเป้าหมายทีถ่ กู ต้องชัดเจน และมีหลักยึดทีม่ นั่ คงทีส่ ดุ นัน่ คือ องค์พระผู้เป็นเจ้า - ให้แต่ละคนพิจารณาดูอย่างเป็นกลางว่า ชีวิตของเราแต่ละคนมีความคล้าย หรือต่างจากท่านมากเพียงไร? ฉันเป็นคนกล้าหาญหรือไม่? ถ้าฉันเป็นคนกล้า... ฉัน ทำ�เพื่อพระเจ้า? เพื่อเพื่อนพี่น้อง? หรือเพื่อตนเอง?... - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “ต้นโอ๊กกับต้นอ้อ” ให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นจึงให้ผู้เรียน ช่วยกันสรุปบทสอนทีไ่ ด้จากเรือ่ งนี้ โดยผูส้ อนสามารถเสริมเติมคำ�ตอบให้สมบูรณ์ได้ (ต้องกล้าอย่างชาญฉลาด)

ดูภาพ “สัญลักษณ์แห่ง ความยุติธรรม” ท้ายแผน

ดูนิทานเรื่อง “ต้นโอ๊กกับ ต้นอ้อ” ท้ายแผน


82

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนอ่านใบความรู้เรื่อง “7 กลยุทธ์” แล้วไตร่ตรอง สิ่งที่อ่านนั้นกับชีวิตของตนเอง จากนั้น จึงให้ทำ�ใบงาน “กลัวไปใย...สู้ตาย” โดย ให้ผเู้ รียนนำ�สิง่ ทีเ่ ขียนไว้ในใบงาน “กลัวจังเลย” มาใส่ไว้ในตารางด้านซ้ายมือ “กลัว ไปใย...” และให้เขียนคำ�ตอบของตนไว้ในตารางด้านขวามือ “สู้ตาย”

ดูใบความรู้ท้ายแผน ☆ ดูใบงาน “กลัวไปใย...สู้ ตาย” ท้ายแผน ☆

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความกล้าหาญในเหตุการณ์ที่ปกติตนมักจะกลัว

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “กลัวจังเลย!” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนว่า กลัวสิ่งใดที่สุด 5 ลำ�ดับ โดยเริ่มจากมากสุดไปยังน้อยสุดในช่องด้านซ้ายของตาราง พร้อมกับ เขียนเหตุผลกำ�กับในช่องด้านขวามือ

ที่ 1 2 3 4 5

กลัวจังเลย...

เพราะว่า...


83

นิทานอีสปเรื่องสั้น “ต้นโอ๊กกับต้นอ้อ” ครั้งหนึ่งเมื่อมีลมพายุพัดมา ต้นโอ๊กพยายามยืนต้านกระแส ลม อย่างเต็มกำ�ลัง ส่วนต้นอ้อที่ขึ้นอยู่ข้างๆ นั้นกลับเอนลู่ไปกับพื้น “เจ้าช่างไม่กล้าหาญเอาซะเลย เพราะเหตุใดจึงต้องเกรงกลัว ต่อพายุ” ต้นโอ๊กเอ่ยถามต้นอ้อเมื่อลมเริ่มสงบ “เนื่องจากข้าอ่อนแอไม่มีกำ�ลังมากเช่นท่าน” ต้นโอ๊กได้ฟัง ดังนั้น ยิ่งทำ�ให้รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ต่อมาไม่นาน เกิดลมพายุรนุ แรงกว่าครัง้ แรก ต้นโอ๊กพยายาม ยืนต้านขัดขืนไม่ยอมเอนลูเ่ หมือนต้นอ้อ ในทีส่ ดุ ก็ถกู พัดจนโค่น แต่ตน้ อ้อนั้นเมื่อลมสงบก็สามารถทรงตัวขึ้นไปเหมือนเช่นเดิม (นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้กล้าหาญบ้าบิ่นย่อมพบกับภัยพิบัติ แต่ผู้กล้าที่ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโอนอ่อนผ่อน ปรนตามสถานการณ์ย่อมได้รับความปลอดภัย)

ใบความรู้ เรื่อง “7 กลยุทธ์”

ลองดู 7 กลยุทธ์ต่อไปนี้ อาจจะช่วยปลุกความกล้าที่หลับใหลอยู่ในตัวคุณ ให้ตื่นขึ้นมาอย่างมีพลัง

1. เลือกทำ�สิ่งใหม่ๆ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก กล่าวว่า “มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำ�สิ่งเดิมซ้ำ�ๆ แต่หวัง ผลลัพธ์ที่แตกต่าง” แล้วคุณล่ะ... จะปล่อยให้สถานการณ์เป็นตัวกำ�หนดชีวิตตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า หรืออยากจะลองทำ�สิ่งใหม่ๆ เพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์ทดี่ กี ว่าเดิม ซึง่ มันอาจจะดูนา่ กลัวในช่วงแรกๆ แต่นคี่ อื ก้าวแรกทีจ่ ะสร้างความกล้าหาญให้กบั ตัวคุณเอง


84

2. อยู่ห่างกลุ่มคนมองโลกในแง่ร้าย มันเป็นเรือ่ งแปลกแต่จริง ทีค่ นมีความทุกข์มกั ชอบสุงสิงกับคนมีความทุกข์เหมือนๆกัน ดังนัน้ หากคนทีอ่ ยูร่ อบ ข้าง ไม่วา่ จะเป็นญาติสนิทมิตรสหาย ทีไ่ ม่คดิ จะยืน่ มือเข้าช่วยเหลือยามคุณมีปญ ั หา หรือมักพูดกรอกหูวา่ คุณไม่เอาไหน ละก็ จงกล้าทีจ่ ะถอยห่างออกจากกลุม่ คนทีม่ องคุณในแง่รา้ ย และอย่าเก็บคำ�พูดของพวกเขามาใส่ใจ นีค่ อื ความกล้าของ คุณในการเดินหน้าต่อไป

3. อย่ากลัวจนเกินเหตุ บางครั้งการจินตนาการหรือมโนถึงเรื่องเลวร้ายเกินไปที่อาจเกิดขึ้น เช่น การพูดในที่สาธารณะ จะพูดผิดหรือ เปล่า จะมีคนโห่ฮามั้ย หรือการเปลี่ยนงานที่ไม่คุ้นเคย จะทำ�ได้หรือเปล่า เป็นต้น อาจทำ�ให้คุณชะงักอยู่กับที่ และไม่ กล้าที่จะก้าวต่อไป ดังนั้น ทางที่ดีต้องตั้งสติ อย่ากลัวจนเกินเหตุ พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้รอบคอบ แล้วหาวิธีป้องกัน ไว้ก่อน ที่สำ�คัญคือต้องปล่อยวางสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ จงเชื่อมั่นว่า เมื่อกล้าลงมือทำ� ย่อมเกิดผลดีกว่าการปล่อยให้ ความกลัวหยุดยั้งให้อยู่กับที่ และเมื่อสามารถผ่านมันไปได้ด้วยดี คุณย่อมมีความกล้าเพิ่มขึ้นแน่นอน 4. ยึดมั่นคุณธรรม รู้มั้ยว่า...คนที่เข้มแข็งและกล้าหาญที่สุดนั้น จะยึดมั่นคุณธรรมที่ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในตัวเอง ทุกครั้งที่ต้อง ตัดสินใจ เขาจะไม่ใช้เพียงความคิดหรือสัญชาตญาณเท่านัน้ แต่จะพิจารณาจากคุณธรรมทีอ่ ยูใ่ นใจ ดังนัน้ เมือ่ ต้องตัดสิน ใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จงถามตัวเองว่า “หากทำ�เช่นนี้แล้ว ฉันยังรู้สึกภูมิใจในตัวเองหรือไม่ ยังคงรักษาความซื่อสัตย์ไว้ได้ หรือเปล่า และไม่ทำ�ให้ผู้อื่นเดือดร้อน” ถ้าคำ�ตอบคือ “ใช่” นั่นคือคุณเดินมาถูกทางแล้ว 5. สะสมความกล้า กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันใด ความกล้าหาญก็ไม่จ�ำ เป็นต้องเกิดขึน้ อย่างยิง่ ใหญ่ในครัง้ เดียวฉัน นัน้ แต่มนั จะค่อยๆเพิม่ พูนขึน้ ทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ ทำ�การงานสำ�เร็จ ความมัน่ ใจในตัวเองก็จะงอกเงยตามมา จนถึงวันทีค่ ณ ุ บรรลุ เป้าหมาย และได้ยินคนอื่นพูดว่า “ไม่อยากเชื่อเลยว่า คุณทำ�ได้สำ�เร็จ” ดังนั้น จงผลักดันตัวเองไปข้างหน้าวันละนิด เพื่อหล่อเลี้ยงความกล้าหาญให้งอกงาม และเติบโตต่อไปในหัวใจของคุณ 6. มีความพยายาม การสร้างความเข้มแข็งกล้าหาญ เป็นเรือ่ งท้าทายสำ�หรับคนเรา ดังคำ�พังเพยต่างชาติทกี่ ล่าวว่า “คุณจะไม่มที าง เห็นความแข็งแกร่งของถุงชาได้เลย จนกว่ามันจะแช่อยู่ในน้ำ�ร้อน” และเมื่อใดก็ตามที่คุณกำ�ลังทำ�สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้อง อาศัยความกล้าหาญ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งเล็กหรือใหญ่ นัน่ คือคุณต้องมีความพยายาม พึงระลึกเสมอว่า ความกล้าหาญเกิด จากความพยายาม และความพยายามจะช่วยให้คุณก้าวหน้าไปเรื่อยๆ 7. คิดนอกกรอบ การคิดนอกกรอบ หมายถึง การมองเห็นสิ่งต่างๆ ในมุมมองของตัวเอง และเชื่อมั่นในคุณค่าของมัน โดยอาจ นำ�แนวคิดดั้งเดิมมาปรับใช้ในวิถีทางใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย และต้องอาศัยความกล้าหาญ แต่เชื่อเถอะว่า เส้นทางที่ยัง ไม่เคยเดินนั้น มักเต็มไปด้วยทิวทัศน์ที่งดงาม และเรื่องราวผจญภัยที่น่าตื่นเต้นเป็นที่สุด ดังนั้น การคิดนอกกรอบจึง เป็นความกล้าหาญ ที่จะผลักดันให้คุณเดินไปข้างหน้า และนำ�ไปสู่ชีวิตที่ดีกว่านั่นเอง

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 166 ตุลาคม 2557 โดย ประกายรุ้ง)


85

ใบงาน “กลัวไปใย...สู้ตาย” คำ�ชี้แจง - เมื่อได้ไตร่ตรองใบความรู้เรื่อง “7 กลยุทธ์” อย่างดีแล้ว ให้นำ�สิ่งที่เขียนไว้ในช่องด้านซ้ายของใบงาน “กลัวจังเลย” มาใส่ในช่อง “กลัวไปใย” ซึ่งอยู่ ด้านซ้ายของตารางนี้ จากนั้นให้ตอบคำ�ถามว่า “ฉันจะ กล้าหาญและเผชิญกับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร? ” โดยใส่คำ�ตอบไว้ในช่อง “สู้ตาย” ซึ่งอยู่ด้านขวาของ ตารางนี้

ที่ 1 2 3 4 5

กลัวไปใย...

สู้ตาย


86

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณธรรมความมัธยัสถ์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความมัธยัสถ์คือคุณธรรมหลักของมนุษย์ ที่ช่วยให้มีสมดุล หรือความพอประมาณในการใช้ทุกสิ่งทุกอย่ างภายใต้ก ารควบคุมน้ำ�ใจให้อยู่เหนือ สัญชาตญาณ ด้วยความเคารพรักต่อพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติความพอประมาณด้วยการเลือกข้อตั้งใจที่ตนรู้สึกว่ายากที่สุด อย่างน้อย 1 ข้อ สาระการเรียนรู้ คุณธรรมความมัธยัสถ์หรือความพอประมาณ เป็นคุณธรรมที่ช่วยให้รู้จักยับยั้งชั่งใจความยั่วยวนของราคะ ตัณหาและของประสาทสัมผัส รูจ้ กั ควบคุมสัญชาตญาณในตนให้อยูใ่ นขอบเขตของผูม้ เี กียรติและศักดิศ์ รี มีความสุขมุ รอบคอบ ดำ�เนินชีวติ ด้วยสติสมั ปชัญญะ ด้วยความชอบธรรมและเคารพรักต่อพระเจ้า (เทียบ คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1809) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “ความโลภเป็นเหตุ” ให้ผู้เรียนฟัง เมื่อจบแล้วให้ อาสาสมัครสัก 1-2 คนสรุปข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้ - จากนัน้ ให้ผเู้ รียนไตร่ตรองโดยถามว่า “ถ้าฉันเป็นชายคนนี้ ฉันจะทำ�อย่างไร?... ในชีวติ จริงของเราแต่ละคน ในบางครัง้ เราเคยรูต้ วั ไหมว่า ทำ�ไมฉันจึงทำ�ตัวเป็นคนโลภ แบบนี้???... ความโลภมีกี่แบบ?... ฉันเป็นคนชอบแบ่งปันหรือไม่เคยอยากแบ่งของ ให้ใครเลย?... ฯลฯ” โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสแบ่งปันอย่างอิสระ - ความโลภที่กล่าวมานี้ตรงกันข้ามกับคุณธรรมอะไร? หรืออีกนัยหนึ่งคือ คุณธรรมใดที่ช่วยให้เราไม่เป็นคนโลภ? ถ้าในสังคมมีแต่คนโลภ ชีวิตของเราจะเป็น เช่นไร? - ให้เรามาดูกันว่า พระวาจาของพระเจ้าสอนเราเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร? 3 พระวาจา : (อฟ 5:5-10) ท่านทั้งหลายจงรู้ไว้เถิดว่า คนผิดประเวณี คนลามกโสมม และคนโลภซึ่งเป็น เสมือนคนนับถือรูปเคารพ ไม่มีสิทธิ์รับมรดกในพระอาณาจักรของพระคริสตเจ้าและ ของพระเจ้าเลย อย่าให้ใครใช้คำ�พูดไร้สาระหลอกลวงท่าน ผู้ที่ไม่ยอมเชื่อฟังและ ทำ�ความผิดเหล่านี้สมควรจะได้รับโทษจากพระเจ้า จงอย่าสมาคมกับคนเหล่านี้เลย ในอดีตท่านเคยเป็นความมืด แต่บัดนี้ท่านเป็นความสว่างในองค์พระผู้เป็นเจ้า จง ดำ�เนินชีวิตเช่นบุตรแห่งความสว่างเถิด ผลแห่งความสว่างคือความดี ความชอบธรรม

ดูนิทานเรื่อง “ความโลภ เป็นเหตุ” ท้ายแผน


87

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

และความจริงทุกประการ จงแสวงหาสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัย

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่งของจดหมาย น.เปาโลถึงชาวเอเฟซัส ซึ่งแม้ เราจะไม่ได้พบคำ�ว่า “ความมัธยัสถ์” หรือคำ�ว่า “ความพอประมาณ” แต่ น.เปาโล ได้ใช้คำ�ตรงข้ามที่ทำ�ให้เราเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ความมืด” และ “ความสว่าง” กล่าวคือ “คนผิดประเวณี คนลามกโสมม และคนโลภซึ่งเป็นเสมือนคนนับถือรูป เคารพ” - ลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นเสมือนคำ�สรุปของบุคคลที่เมามัวในความชั่วร้าย ซึ่ง น.เปาโลได้สอนว่า ผูท้ ไี่ ม่ยอมละทิง้ สิง่ เหล่านีจ้ ะ “ไม่มสี ทิ ธิร์ บั มรดกในพระอาณาจักร ของพระคริสตเจ้าและของพระเจ้าเลย” ดังนั้น เขาเหล่านั้นจึง “สมควรจะได้รับโทษ จากพระเจ้า” และให้เรา “อย่าสมาคมกับคนเหล่านี้เลย” - ส่วนผู้ที่เจริญชีวิตตรงกันข้าม คือผู้ที่ได้ละทิ้ง “ความมืด” แห่งความชั่วร้าย เหล่านั้นแล้ว น.เปาโลกล่าวว่า “ท่านเป็น ‘ความสว่าง’ ในองค์พระผู้เป็นเจ้า” และ ผลแห่งความสว่างนั้นก็คือ “ความชอบธรรมและความจริงทุกประการ” - น.เปาโลต้องการให้เราเข้าใจว่า ในเมื่อ “ความมืด” คือการเมามัวในสิ่งชั่วร้าย “ความสว่าง” ก็คือ “การหลุดพ้น” จากสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง - ดังนั้น ผู้ที่จะได้รับผลแห่ง “ความชอบธรรมและความจริงทุกประการ” ซึ่ง เป็นสิ่งที่ “องค์พระผู้เป็นเจ้าพอพระทัย” ก็คือ ผู้เจริญชีวิตในความพอประมาณ รู้จัก มัธยัสถ์ทั้งเรื่องฝ่ายวัตถุและฝ่ายจิตใจ ไม่มัวเมาในสิ่งที่เป็นบาปและความชั่วร้าย ทุกชนิดนั่นเอง

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “สัญชาตญาณรึเปล่า?” โดยให้ผู้เรียนเติม ข้อความในตารางอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของผู้เรียนให้มากที่สุด ไม่ใช่ตอบ ด้วยทฤษฎีแต่ด้วยชีวิตจริงของแต่ละคน

- เมื่องานดังกล่าวเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานต่อไปให้สมบูรณ์ โดยให้แต่ละ คนขีดในช่อง “หมายเหตุ” ด้วยเครื่องหมาย “ ✓ ” ใน “เรื่อง” ที่ปกติตนใช้ ความพอประมาณ และด้วยเครื่องหมาย “ X ” ในเรื่องปกติที่ตนใช้สัญชาตญาณ ให้ ตรงกับความเป็นจริงของตนที่สุด (ให้ทำ�งานและเก็บงานนี้แบบส่วนตัว) - หากเราพิจารณาแล้ว จะพบว่าสิง่ ทีผ่ เู้ รียนเติมระหว่างช่อง “ตามสัญชาตญาณ” และช่อง “อย่างพอประมาณ” นั้นคือสิ่งที่ตรงกันข้าม นั่นหมายความว่า หากผู้หนึ่ง ดำ�เนินชีวติ ตามสัญชาตญาณแล้ว เขาจะไม่เป็นผูร้ จู้ กั ประมาณตนเลย และตรงกันข้าม ผู้ที่รู้จักประมาณในทุกสิ่งจะไม่ใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณอย่างแน่นอน - ช่องว่างระหว่าง “สัญชาตญาณ” กับ “ความพอประมาณหรือความมัธยัสถ์” นั้น มันกว้างมาก แต่คนๆ หนึ่งสามารถเปลี่ยนตนเองโดยละทิ้งการดำ�เนินชีวิตตาม สัญชาตญาณได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะสิ่งนี้ก็คือ “คุณธรรม” (virtue) นั่นเอง

ดูใบงาน “สัญชาตญาณ รึเปล่า?” ท้ายแผน


88

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- แต่แม้จะยากลำ�บากเพียงใดก็ไม่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำ�ได้ เพราะพระเจ้าทรงประทานความช่วยเหลือแก่เราทุกคนในการทำ�ความดี คุณธรรม ความมัธยัสถ์ก็เป็นพระพรของพระที่ทรงประทานแก่มนุษย์ทุกคน - การปฏิบัติคุณธรรมความมัธยัสถ์หรือความพอประมาณนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมือ่ เรารูจ้ กั ควบคุมทุกประสาทสัมผัสของตน ควบคุมน้�ำ ใจให้อยูเ่ หนือสัญชาตญาณ ด้วยการใช้เหตุและผลที่ถูกต้องในการตัดสินใจเลือกทำ�หรือไม่ทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใช้ ความสุขุมรอบคอบและสติสัมปชัญญะด้วยความรู้ตัวอยู่เสมอ ดำ�เนินชีวิตบนพื้นฐาน ของความชอบธรรมและเคารพรักต่อพระเจ้า 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติความพอประมาณด้วยการเลือกข้อตั้งใจที่ตนรู้สึกว่ายากที่สุด จากใบงาน “สัญชาตญาณรึเปล่า?” อย่างน้อย 1 ข้อ

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................


89

นิทานเรื่อง “ความโลภเป็นเหตุ” ในเมืองอันอุดมสมบูรณ์เมืองหนึง่ ยังมีชายพเนจรคนหนึง่ เป็นคนไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย เขาไม่มที ดี่ นิ ทำ�กิน วันๆ ได้ แต่เดินเร่ร่อนไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เพื่อรับจ้างคนในเมือง แลกกับข้าวปลาอาหาร ทุกๆ วันเขาได้แต่นั่งอ้อนวอนเทวดา เพื่อขอที่ดินสักผืนไว้เป็นที่ทำ�กิน แต่เขาก็ยังไม่ได้สมความปรารถนา จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ข่าวว่าเจ้าเมืองจะออกเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ชายหนุ่มดีใจมาก จึงไปรอพบเจ้าเมืองพร้อมกับ พวกชาวบ้าน ขณะที่เจ้าเมืองกำ�ลังเดินทักทายชาวบ้านอยู่นั้น ได้มีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปหาเจ้าเมืองอย่างรวดเร็ว ชาย หนุ่มเห็นดังนั้นจึงรีบพุ่งตัวออกไปจับงูร้ายก่อนที่มันจะฉกกัดท่าน เมื่อเจ้าเมืองรอดตายจากงูร้าย จึงบอกกับชายหนุ่มว่า “ขอขอบใจเจ้าที่ช่วยชีวิตข้าไว้ เจ้าต้องการอะไร ข้าก็จะให้” ชายหนุ่มรู้สึกดีใจมาก จึงบอกกับเจ้าเมืองว่า “ข้าต้องการที่ดินสักผืนหนึ่ง ไว้ปลูกบ้าน ปลูกผัก ปลูกข้าว ทำ�มาหากิน” เจ้าเมืองได้ฟังดังนั้น จึงเอ่ยขึ้นว่า “ตกลง ข้าจะให้ที่ดินแก่เจ้าผืนหนึ่ง เอาเป็นว่าตั้งแต่ชานเมืองนี้ไป เจ้าเดินไปถึงแค่ไหน แค่นั้นก็เป็นที่ดิน ของเจ้าก็แล้วกัน” ชายหนุม่ รับคำ�ด้วยความดีใจ เขากราบลาท่านเจ้าเมือง แล้วรีบเดินออกไปยังชานเมืองทันที เขาเริม่ ต้นเดินๆ ๆๆๆ ไปเรื่อยๆ ระหว่างทางเขาก็ครุ่นคิดถึงคำ�ของท่านเจ้าเมืองไปตลอด “ถ้าหากเราเดินไปเรื่อยๆ เราก็จะได้ที่ดินมากเท่าที่เราต้องการ” ดังนั้น แม้ว่าอากาศในตอนบ่ายจะร้อนอบอ้าว ทำ�ให้เขารู้สึกหิวโหยและกระหายน้ำ�มากเพียงใด ชายหนุ่มก็ ไม่ยอมหยุดพัก เขายังคงก้มหน้าก้มตาเดินต่อไปจนกระทั่งมืด ค่ำ� เขาเริ่มรู้สึกหิวและอ่อนล้ามากขึ้น ขาทั้งสองก้าว ได้ชา้ ลง แต่เขาก็ไม่ยอมหยุดเดิน เพราะคิดอยูต่ ลอดว่า ยิง่ เดินได้ไกลเท่าไหร่ ก็ยงิ่ ได้ทดี่ นิ มากขึน้ เท่านัน้ เขาจึงกัดฟัน เดินฝ่าความมืดต่อไปเรื่อยๆ จนถึงรุ่งเช้า ในที่สุดเขาก็ล้มลงและไม่นานก็ขาดใจตาย ชายหนุ่มไม่ได้ที่ดินดังหวัง แม้ กระทั่งที่ดินที่จะฝังศพตัวเอง ก็เพราะความไม่รู้จักพอเป็นเหตุนั่นเอง ........................................................... ข้อคิดจากนิทานเรื่องนี้คือ คนที่ไม่รู้จักพอ ย่อมก่อความเดือดร้อนให้กับตนเองได้ในภายหลัง เพราะความไม่รู้จักพอทำ�ให้ ไม่รจู้ กั ประมาณในการกินการอยู่ และความโลภทีแ่ ม้เกิดขึน้ ในใจเพียงเล็กน้อย ก็จะปิดบังปัญญาในการ ยั้งคิดไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 โดยไม้หอม)


90

ใบงาน “สัญชาตญาณรึเปล่า?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเติมเครื่องหมาย “ ✓ ” และ เครื่องหมาย “ X ” ในช่องตาราง “ตามสัญชาตญาณ” และ “อย่างพอประมาณ” ด้วยการปฏิบัติตามความเป็นจริงที่สอดคล้องกับ “เรื่อง” ที่กำ�หนดให้ (ดูข้อ กำ�หนดการใช้เครื่องหมายในข้อ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต) ที่

เรื่อง

1 อาหาร 2 ความอยากได้ 3 ความโกรธ 4 สิ่งลามก 5 การเรียน 6 การแต่งกาย 7 การช่วยเหลือ 8 การนินทาใส่ร้าย 9 การพูดจา 10 การนอบน้อมเชื่อฟัง 11 การทำ�งาน 12 ความคิด 13 การทำ�งาน

ตามสัญชาตญาณ

อย่างพอประมาณ

หมายเหตุ


91

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง ความหมายของอิสรภาพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า เสรีภาพความสามารถของมนุษย์ในการเลือกสิง่ ทีด่ ดี ว้ ยเหตุผล และน้ำ�ใจอิสระ ซึ่งเป็นวิถีทางเดียวแห่งการดำ�เนินชีวิตตามพระประสงค์ของพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกสิ่งที่ “พันธนาการตน” 1 ข้อ แล้วพยายามเจริญชีวิตให้เป็นอิสระ หลุดพ้นจากพันธนาการนั้น สาระการเรียนรู้ เสรีภาพคือพลังซึ่งมีรากฐานอยู่บนเหตุผลและน้ำ�ใจอิสระต่อหน้าการเลือกสิ่งต่างๆ ในการเลือกสิ่งที่ “ดี” หรือ “ดีกว่า” เพื่อพระเจ้า เพื่อนพี่น้องและตนเองด้วยความรับผิดชอบ เป็นพลังที่ทำ�ให้มนุษย์เจริญเติบโตจนบรรลุวุฒิภาวะ ในความจริงและในความใจดี เสรีภาพจะบรรลุความสมบูรณ์เมือ่ มุง่ หาพระเจ้าผูท้ รงเป็นความสุขนิรนั ดรของมนุษย์ (ดู คำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1730-1742) ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนเปิดประเด็นเสวนากับผูเ้ รียนเกีย่ วกับเรือ่ งความหมายของคำ�ว่า “เสรีภาพ” โดยให้ผู้เรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่า “เสรีภาพแปลว่าอะไร?” และผู้สอนบันทึก คำ�ตอบทั้งหมดไว้ที่บอร์ด เพื่อเป็นข้อมูลถึงความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ - แต่ละคำ�ตอบจะแสดงถึงความเข้าใจที่ถูกต้องหรือผิดของผู้เรียน และแต่ละ คำ�ตอบย่อมนำ�ผลแห่งการกระทำ�ทีต่ า่ งกันมาก เพราะความเข้าใจทีผ่ ดิ ของเสรีภาพย่อม มีผลให้บคุ คลนัน้ เจริญชีวติ แบบเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง ทำ�อะไรตามใจตนเอง ยึดผล ประโยชน์และความรูส้ กึ ของตนเท่านัน้ เป็นหลักเกณฑ์ของการกระทำ� หากมีบคุ คลเช่น นี้มากๆ สังคมของเราจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร? - ดังนั้น จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมาเรียนรู้ความหมายที่ถูกต้องของคำ�ว่า “เสรีภาพ” กัน เพือ่ เราจะได้เจริญชีวติ ในแบบทีส่ ามารถสร้างความสุขให้แก่ทกุ คนและ สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอิสระแท้เท่านั้นจะสามารถบันดาลความสุขเที่ยงแท้ ให้แก่ตนเองได้ - ให้เรามาศึกษาดูว่า พระคัมภีร์ได้ให้ความหมายแก่คำ�ว่า “เสรีภาพ” อย่างไร บ้าง? 3 พระวาจา 1. พระองค์ทรงเนรมิตมนุษย์แต่แรกเริ่ม ทรงปล่อยให้เขาตัดสินใจด้วยตนเอง (บสร 15:14)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


92

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ 2. องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระจิต และพระจิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าสถิตอยู่ที่ ใด เสรีภาพย่อมอยู่ที่นั่น (2คร 3:17) 3. พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� คื น สายตาให้ แ ก่ ค นตาบอด ปลดปล่ อ ยผู้ ถู ก กดขี่ ใ ห้ เ ป็ น อิ ส ระ ประกาศปี แ ห่ ง ความโปรดปรานจากพระเจ้า (ลก 4:18-19) 4. พี่น้องทั้งหลาย พระเจ้าทรงเรียกท่านให้มารับอิสรภาพ ขอเพียงแต่อย่าใช้ อิสรภาพนั้นเป็นข้อแก้ตัวที่จะทำ�ตามใจตน แต่จงรับใช้ซึ่งกันและกันด้วยความรัก เพราะธรรมบัญญัติทั้งหมดสรุปได้เป็นข้อเดียวว่า จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง (กท 5:13-14)

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนที่ 1: บสร 15:14 ยืนยันถึงสมรรถภาพของมนุษย์ในการเป็น ผู้มีเสรีภาพ เพราะตั้งแต่แรกเริ่มที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ได้ทรงประทาน ความสามารถนี้ให้แล้ว ดังนั้น มนุษย์จึงมีสมรรภภาพแห่งเสรีภาพอย่างแน่นอน - พระวาจาตอนที่ 2: 2คร 3:17 ต้องการบอกแก่เราว่า “เสรีภาพอยู่ที่ใด” และ คำ�ตอบทีพ่ ระวาจาตอนนีใ้ ห้แก่เราก็คอื อยูท่ ๆี่ “พระจิตขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้าสถิตอยู”่ เราจึงต้องถามต่อไปว่า “แล้วพระจิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ที่ใด?” - พระวาจาตอนที่ 3: ลก 4:18-19 บอกเราว่า พระจิตของพระเจ้าอยู่ที่องค์ พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเจิมพระองค์ให้กระทำ�ภารกิจสำ�คัญ ดังนั้น เป็นภารกิจเหล่านี้ เองทีจ่ ะนำ�มนุษย์สเู่ สรีภาพ นัน่ คือ “การอยูเ่ พือ่ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ ” เพราะหากเราพิจารณา พระวาจาตอนนี้ให้ดีจะพบว่า สิ่งที่พระจิตของพระเจ้าทรงเจิมให้พระเยซูเจ้าไปทำ�นั้น มิได้มีสิ่งใดที่กระทำ�เพื่อตนเองเลย ซึ่งสิ่งนี้ก็สอดคล้องกับพระวาจาตอนที่ 4 - พระวาจาตอนที่ 4: กท 5:13-14 บอกชัดเจนอย่างสอดคล้องกับพระวาจา ตอนที่ 3 ว่า เราต้องไม่ใช้อิสระ เสรีภาพแบบตามแต่ใจตนเอง แต่เป็นการ “รับใช้” ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความรัก - ดังนัน้ หากจะพิจารณาสิง่ ทีพ่ ระวาจาได้เปิดเผยให้เราทราบเกีย่ วกับ “เสรีภาพ” แล้ว คงจะพอสรุปได้ว่า เสรีภาพเป็นการแสดงออกซึ่งสิ่งที่กระทำ�เพื่อความดีและ ประโยชน์ของผูอ้ นื่ คือเพือ่ ความรักต่อพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ ไม่ใช่เพือ่ ความพึงพอใจ ของตนเองเท่านั้น

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนนำ�สิ่งที่พระวาจาของพระเจ้าบอกเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพมาเปรียบ เทียบกับความเข้าใจของผูเ้ รียนข้างต้นซึง่ ได้บนั ทึกไว้ทบี่ อร์ดหน้าห้อง โดยพิจารณาว่า มีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร?

- หลังจากพิจารณาแล้ว ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระว่า เห็นด้วย กับสิ่งที่พระวาจาของพระเจ้าบอกมากเพียงใด? อะไรทำ�ให้คิดต่าง? ทำ�ไมพระวาจา ของพระเจ้าจึงได้ให้คำ�ตอบเช่นนี้? ฯลฯ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


93

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - การมีเสรีภาพคือการไม่ถูก “จองจำ�” คำ�นิยามนี้ใช้ได้ทั้งในระดับร่างกาย และระดับจิตใจ เพราะตราบใดที่ร่างกายหรือจิตใจของเราถูก “จองจำ�” เราก็จะไม่มี อิสระเสรีอย่างแน่นอน - การมีอิสระเสรีและการถูกจองจำ�นี้เกี่ยวข้องกับความหมายของเสรีภาพที่ พระวาจาได้บอกกับเราหรือไม่? อย่างไร? เพราะหากมองอย่างผิวเผินแล้วไม่น่าจะ เกี่ยวข้องกันเลย... ให้เรามาพิจารณาไตร่ตรองเรื่องนี้กัน... - เมื่อใดที่คนเราเข้าใจว่า อิสรภาพหรือเสรีภาพคือการทำ�อะไรตามใจตนเอง อย่างเต็มที่แบบ “ไม่อั้น” แล้วละก็ เขาจะเอาตนเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกคน เมือ่ นัน้ เขาจะเจริญชีวติ เพือ่ บำ�รุงบำ�เรอหาความสุขใส่ตวั ให้มากทีส่ ดุ เท่าที่ จะมากได้ จะทำ�ทุกวิถที างให้ตนเองร่�ำ รวยทีส่ ดุ เพราะคิดว่าเงินสามารถซือ้ “ความสุข” ให้กบั ตนเองได้ ดังนัน้ คนประเภทนีจ้ ะยึดติดกับสิง่ ทีเ่ รียกว่า “พระเท็จเทียม” มากมาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว คนแบบนี้จะไม่คิดที่จะอยู่เพื่อความสุขของผู้อื่นได้เพราะความสุข ของตนเองต้องมาเป็นที่หนึ่ง - สภาพชี วิ ต เช่ น นี้ ก็ ไม่ ต่ างอะไรกั บการถูก “จองจำ�” อยู่ในราคะตัณหา สัญชาตญาณ พยศชัว่ ธรรมชาติใฝ่ต�่ำ ของตนเอง เฉพาะคนทีห่ ลุดพ้นจากพันธนาการ ของตนเองเท่านั้นจึงจะบรรลุถึง “เสรีภาพ” ได้ - แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่มักคิดและเข้าใจว่า อิสระหรือเสรีภาพ คือ การทำ�อะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ หากไม่เป็นเช่นนี้ก็เท่ากับไม่มีอิสรภาพอย่าง แท้จริง ซึ่งแท้จริงแล้วนี่คือความเข้าใจที่ผิดอย่างมหันต์เพราะหากมนุษย์ทุกคนเชื่อ เช่นนี้และปฏิบัติแบบนี้ โลกของเราคงจะวุ่นวายไม่เลิกแน่นอน - เฉพาะเมื่อบุคคลหนึ่งสามารถหลุดจากการเป็นทาสของ “พระเท็จเทียม” ต่างๆ ของตนเองแล้ว เขาจึงจะสามารถมีใจที่เปิดกว้าง มองเห็นความต้องการของคน อืน่ สามารถเลือกสิง่ ทีด่ หี รือดีกว่าเพือ่ คนอืน่ มากกว่าเพือ่ ตนเอง ซึง่ การกระทำ�ดังกล่าว นี้แสดงถึงการค่อยๆ เติบโตด้านวุฒิภาวะในความจริงเที่ยงแท้และในการแสดง ความใจดีต่อผู้อื่น - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “จองจำ�...รึ?...Oh…No…” โดยพิจารณาคำ�ตอบจาก ชีวิตของตนเอง และให้ใส่ข้อมูลในช่อง “ผลกระทบ” อย่างเป็นจริงและเป็นรูปธรรม ที่สุด เพื่อผู้เรียนจะได้เข้าใจชัดเจนถึงผลกระทบ “อันร้ายกาจ” ของพันธนาการหรือ พระเท็จเทียมเหล่านั้น - สรุปก็คือ เมื่อใดที่บุคคลหนึ่ง “ลืมตนเอง” ได้เขาก็จะเจริญชีวิตเพื่อผู้อื่น และการอยู่เพื่อผู้อื่นนั้นเราเรียกว่า เป็นการแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์ และ การกระทำ�เช่นนีก้ เ็ ท่ากับเป็นการแสดงความรักต่อพระเจ้า ผูท้ รงเป็นความสุขนิรนั ดร ของเราทุกคนนั่นเอง

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเลือกสิ่งที่พันธนาการตน 1 ข้อจากใบงาน “จองจำ�...รึ?...Oh…No…” แล้วพยายามเจริญชีวิตให้เป็นอิสระหลุดพ้นจากพันธนาการนั้น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “จองจำ�...รึ?... Oh… No…” ท้ายแผน


94

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้อาสาสมัคร 1 คน สวดบทภาวนา จากใจ แล้วจึงให้ทุกคนสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “จองจำ�...รึ?...Oh...No...” คำ�ชี้แจง - ให้ระบุว่า อะไรคือ “พันธนาการ” หรือ “พระเท็จเทียม” ฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิต ซึ่งจองจำ�เรามิให้มีอิสระ เสรีภาพที่แท้จริง? และผลกระทบของพันธนาการนั้นคืออะไร? โดยใส่คำ�ตอบไว้ในช่องตารางที่กำ�หนด ให้ (ดูตัวอย่างในช่องที่ 1 และ 2) ที่ 1

“พันธนาการ” หรือ “พระเท็จเทียม” ฝ่ายวัตถุ

ฝ่ายจิตใจ

-

ชอบคิดแง่ร้าย

จะไม่ชอบบุคคลนั้นๆ แล้วแสดง “อาการ” ที่ไม่ดีๆ ต่อเขา ทำ�ให้เขาเสียใจ

-

“ต้องยี่ห้อนี้เท่านั้นจึงจะหรู ถูกกว่านี้ไม่เอา” ทำ�ให้ ต้องสิ้นเปลืองเงินเยอะมากตลอดเวลา

2 ติดไอศกรีม Swensens 3 4 5 6

ผลกระทบ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.