Kamsonchan vol26

Page 1

คําสอน

วารสารคาทอลิก ราย 3 เดือน ปที่ 9 ฉบับที่ 25 เดือน มกราคม-มีนาคม 2016

มตตาธรรม] ปศักดิ์สิทธ�์ แหง

เรามอบความวางใจ ในปศกั ดิส์ ทิ ธิ์ แก่พระแม่แห่งเมตตาธรรม ขอพระมารดาผูท รงเมตตา ทรงทอดพระเนตรมาเฝาดูแล หนทางชีวติ ของเรา

- สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส -


JUBILEE

The Extraordinary Year of Mercy Dec.8,2015 - Nov.20,2016


บ.ก.

ขอกลาว ่ ถึง ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน

ในช่วงเวลานี้ คงไม่มีใครไม่ได้ยินเรื่องปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรมอย่างแน่นอน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ประกาศเชิญชวนให้เราทุกคนได้กา้ วเข้ามาสัมผัสความรักและ พระเมตตาของพระเป็นเจ้ากันอย่างถ้วนหน้า เป็นพิเศษสำ�หรับบุคคลที่ถูกทอดทิ้ง คนบาป คนจน คนชายขอบ ผู้ป่วย และผู้ที่ทนทุกข์ ก็คงจะไม่แปลกนักถ้าในคำ�สอนจันท์ฉบับนี้ ท่าน ผู้อ่านจะพบกับเรื่องต่างๆ ของความเมตตา และจะดีมากๆ ถ้าผู้อ่านได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับปี ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมให้ตนเอง ไปทางไหนใครพูดถึงเรื่องนี้ เราไม่ตกเทรนด์อย่างแน่นอน ในคำ�สอนจันท์ฉบับนี้เรามีค วามยินดีที่จะนำ�เสนอเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่เ กี่ยวกับ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมนี้ มาให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านและไตร่ตรอง รวมถึงเข้าใจปีศักดิ์สิทธิ์ นี้มากขึ้น ในคำ�สอนจันท์ฉบับนี้มีเรื่องราวของพระคุณการุณย์ เมื่อผู้อ่านอ่านจบจะรู้ว่าต้องทำ� อย่างไรจึงจะได้รับพระคุณการุณย์ในปีนี้ รวมถึงประวัติของบุญราศีที่ขึ้นชื่อเรื่องความเมตตา กรุณา เกร็ดความรูเ้ รือ่ งศีลอภัยบาป กิจกรรม และเพลงคาทอลิกทีค่ รูค�ำ สอนสามารถนำ�ไปสอน เด็กๆ ได้

ขอพระเป็นเจ้าอวยพระพรผู้อ่านทุกท่าน ด้วยความเคารพรักในองค์พระเยซูคริสต์ อรุณประภา สุขกสี


คําสอน วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางสำาหรับการสอนคำาสอนในโรงเรียนและการสอนคำาสอนแก่บุคคลทั่วไป เพื่อ นำาเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทางคริสตศาสนา และเพื่อประชาสัมพันธ์ข่าว ความเคลื่อนไหว และกิจกรรมในแวดวงงานสอนคำาสอนและแผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี คณะผู้จัดทำ� คุณพ่อเอนก นามวงษ์บาทหลวงเอนกซิสนามวงษ์ เตอร์สุมาลีซิสุสดเตอร์ จินดาสุมาลี สุดจินดา คุณพัชราภรณ์ สายพรหมคุณคุอรุ ณอรุ ณประภาสุขกสี คุณพัชราภรณ์ สายพรหม ณประภา คุณสรพจน์ คุณราตรีพร แซ่คุสณ ง ราตรีพร แซ่สง คุณสิริพจน์ วัฒนจริยา คุณปริยากร ฉายแก้ว คุณคุชิณ ดชนก นรสิฉายแก้ งห์ ว คุณชิดชนก นรสิงห์ ปริยากร ฝ�ยเนื้อห� คุณพ่อเอนก นามวงษ์ สุมาลี ดจิยนาดา บาทหลวงเอนก นามวงษ์ คุซิณสเตอร์ สิริพจน์ วัฒสุนจริ คุณอรุณสุประภา คุณราตรี สรพจน์ คุณอรุณประภา ขกสี คุณ พร แซ่สง ฝ�ยพิสูจน์อักษร ณพัสชุมราภรณ์ พร สายพรหม แซ่สง ซิสคุเตอร์ าลี สุดสายพรหม จินดา คุณคณราตรี พัชราภรณ์ คุณคุณ ปริปริ ยากร ว ว คุณชิดชนก นรสิงห์ ยากรฉายแก้ ฉายแก้ ฝ�ยออกแบบ ปก/รูปเล่ม คุณพีรภรณ์ ศรีโชค จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี 21/3 หมู่ 1 ตำาบล สุรศักดิ์ อำาเภอ ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ : 089-7725589 โทรสาร : 038-324251 เว็บไซต์ : http://www.kamsonchan.com

2

| KAMSONCHAN


KAMSONCHAN

Contents

ปที่ 9 ฉบับที่ 25 เดือน มกราคม-มีนาคม 2016

1 4 9

9

บ.ก. ขอกลาว

โดย อรุณประภา สุขกสี

คุณพอเลาเรื่อง

หลักปฏิบัติเป็นผู้เมตตาในปีศักดิ์สิทธิ์แห่ง เมตตาธรรม โดย บาทหลวงเอนก นามวงษ์

บทความปศักดิ์สิทธิ์

ปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee) โดย Francisco@Sriracha

24

30

พระวาจาทรงชีวิต

34

ประมวลภาพกิจกรรม

35

ขาวประชาสัมพันธ

36

แนะนําสื่อใหม

โดย Francisco@Sriracha

โดย KAMSONCHAN

โดย KAMSONCHAN

15

บทความคําสอน

24

บุญราศีและนักบุญประจําเลม

38

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์ (Holy Song)

28

เกมและกิจกรรม

40

พระคัมภีรทางไปรษณีย

ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี โดย AURORA คุณแม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา โดย hiclasssociety.com / catholic.co.th เกม “ประตูสวรรค์” โดย ซาลาเปา

โดย MARIUM

โดย Francisco@Sriracha

โดย แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลจันทบุรี

WWW.KAMSONCHAN.COM

|

3


คุณพ่อเล่าเรื่อง

โดย : บาทหลวงเอนก นามวงษ์

4

| KAMSONCHAN


หลักปฏิบัติเป็นผู้เมตตา ในปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม

เมื่อเห็นดังนี้ ชาวฟาริสีจึงถามศิษย์ของพระองค์ว่า “ทำ�ไม อาจารย์ของท่านจึงกินอาหารร่วมกับคนเก็บภาษีและคนบาป เล่า” พระเยซูเจ้าทรงได้ยินดังนั้น จึงตรัสตอบว่า “คนสบายดี ย่ อ มไม่ ต้ อ งการหมอ แต่ ค นเจ็ บ ไข้ ต้ อ งการ จงไปเรี ย นรู้ ความหมายของพระวาจาทีว่ า่ ‘เราพอใจความเมตตากรุณา มิใช่ พอใจเครื่องบูชา’ เพราะเราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่ มาเพื่อเรียกคนบาป” (มธ 9:11-13)

WWW.KAMSONCHAN.COM

|

5


• ลองส่งไลน์ เขียนเฟซบุก๊ ส่งอีเมล ขอโทษ จากพระวาจาข้างต้น จะเห็นว่าพระเป็นเจ้า เป็น ผู้ที่เมตตาต่อเราเสมอ พระองค์ทรงเรียกร้อง เพือ่ น แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตามที กิจการที่ดีๆ จากตัวของเรา โดยเฉพาะกิจการที่เป็น • วางโทรศัพท์ ฟังเพื่อนคุยบ้าง กิจเมตตาต่อเพื่อนพี่น้องรอบข้าง • เข้าวัดแล้วสวดว่า “พระเยซูเจ้าข้า โปรด นี่คือตัวอย่างกิจการที่ดี หรือข้อปฏิบัติใน อวยพระพรให้แก่ ........... (ออกชื่อคนนั้นที่เราไม่ชอบ ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมทีจ่ ะนำ�เสนอต่อครูค�ำ สอน เกลียด ทำ�ร้าย เอาเปรียบตัวฉัน) ลองไตร่ตรองดูว่าข้อไหนบ้างที่คุณครูสามารถทำ�ได้ ตลอดปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมนี้ เพือ่ เราจะได้เป็น • ทำ�ดีเล็กๆ น้อยๆ เพื่อคนที่ทำ�ผิดต่อเรา “ผูเ้ มตตากรุณาดังทีพ่ ระบิดาของท่านทรงพระเมตตา • ไปแสวงบุญทีว่ ดั ใดวัดหนึง่ ในสังฆมณฑล กรุณาเถิด” (ลก 6:36) ของเรา • สำ�รวมคำ�พูดตนเอง แล้วภาวนาต่อพระ • ใช้เวลาในการสวดภาวนานานขึ้น เป็นเจ้าว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ ขอทรงวางยามเฝ้า ปากของข้าพเจ้าไว้ ขอทรงวางยามไว้ตรงประตูริม • ยิ้ ม ทั ก ทายเพื่ อ นร่ ว มงาน เพื่ อ นร่ ว ม ฝีปากของข้าพเจ้า” (สดด 141:3) โรงเรียนเดียวกัน • เสียสละของใช้ เสื้อผ้า แบ่งปันให้กับ • มี ส ติ เ วลาจะเล่ น สั ง คมออนไลน์ ด้ ว ย ผู้ขัดสนและผู้ที่ขาดแคลน ความสร้างสรรค์ ไม่ใช้เป็นเครื่องมือออนไลน์ ว่าใคร ดูถูก เยาะเย้ย ถากถาง ตำ�หนิ ทำ�ลายใคร • ยกโทรศัพท์ แล้วโทรหาเพื่อนที่ต้องการ กำ�ลังใจ สำ�หรับเรื่องเศร้าๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวของเขา • อ่านหนังสือให้ผู้สูงอายุฟัง

6

| KAMSONCHAN


• ยอมให้เพื่อนทำ�อะไรดีให้เราบ้าง เพื่อน จะได้รู้สึกดีที่ได้ทำ�ความดีให้เรา

• จูงคนตาบอด ผูส้ งู อายุขา้ มถนน ขึน้ บันได

• เดินไปขอเพื่อนให้ยกโทษให้แก่เรา ใน เรื่องที่เราทำ�ผิดต่อเขา

• บริจาคเงินเพื่อคนไร้บ้าน

• ไปเลีย้ งอาหารทีบ่ า้ นเด็กกำ�พร้า บ้านพัก คนชรา • แม้ไม่สามารถไปเลี้ยงอาหารด้วยตนเอง ได้ ก็สามารถบริจาคปัจจัยสำ�หรับบ้านเด็กกำ�พร้า บ้านพักคนชรา • ส่งการ์ด ส่งดอกไม้ ร่วมแสดงความยินดี กับคนที่แต่งงาน วันเกิด ได้เลื่อนตำ�แหน่ง

• ทำ�กับข้าวหรือซื้อกับข้าวเผื่อเพื่อนบ้าน

• พาเพือ่ นทีท่ �ำ งานทีย่ ากจนไปทานข้าวบ้าง

• อาหารที่ทานไม่หมด แทนที่จะทิ้ง ก็เก็บ ไว้ สำ�หรับนำ�ไปให้ผู้ที่ไม่มีอะไรจะทาน • ป้อนข้าวให้พ่อ ให้แม่บ้าง ไม่ต้องรอให้ ท่านป่วยก่อน แล้วค่อยทำ�

• อาสาสมัครช่วยสอนหนังสือเด็กยากจน

• แม้ เ ราไม่ ส ามารถไปทำ � ดี ที่ บ้ า นเด็ ก กำ�พร้า แต่เราสามารถบริจาคปัจจัยอื่นๆ แก่เด็ก กำ�พร้าได้ นี่ คื อ กิ จ การตั ว อย่ า งที่ ไ ด้ นำ � เสนอ ยั ง มี กิจการดีอีกมากมายที่เราสามารถทำ�ได้

WWW.KAMSONCHAN.COM

|

7


ครูคำ�สอนทุกท่านครับ พระศาสนจักร พระเยซู เ จ้ า ได้ แ นะนำ � กิ จ การดี ที่ ใ ห้ เ รา กำ�ลังฉลองปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม การฉลองนี้ ปฏิบัติด้วย เช่น เป็นการฉลองระยะยาว เพื่อให้ครูคำ�สอนมีโอกาส • จงรักศัตรู จงทำ�ดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน เติบโตในความศักดิ์สิทธิ์ เป็นเวลาที่ให้ครูคำ�สอน (ลก 6:27) ได้ค้นพบ ค้นหา สัมผัส พระเมตตาจากพระเป็น • จงอวยพรผู้ที่สาปแช่งท่าน จงอธิษฐาน เจ้า เพือ่ จะนำ�สิง่ ทีค่ รูค�ำ สอนได้มปี ระสบการณ์พระ เมตตานี้ นำ�ไปแบ่งปันต่อคนรอบข้างครูค�ำ สอนต่อ ภาวนาให้ผู้ที่ทำ�ร้ายท่าน (ลก 6:28) ไปโดยผ่านทางกิจการที่ดีของครูคำ�สอนทุกท่าน • ผู้ใดตบแก้มท่านข้างหนึ่ง จงหันแก้มอีก ข้างหนึ่งให้เขาตบด้วย ผู้ใดเอาเสื้อคลุมของท่านไป จงปล่อยให้เขาเอาเสื้อยาวไปด้วย (ลก 6:29) • จงให้แก่ทกุ คนทีข่ อท่าน และอย่าทวงของ ของท่านคืนจากผู้ที่ได้แย่งไป (ลก 6:30) • เมื่อเราหิว ท่านให้เรากิน เรากระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลกหน้า ท่านก็ต้อนรับ (มธ 25:35) • เราไม่มเี สือ้ ผ้า ท่านก็ให้เสือ้ ผ้าแก่เรา เรา เจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา (มธ 25:36)

8

| KAMSONCHAN


บทความปีศักดิ์สิทธิ์

โดย : Francisco@Sriracha

JUBILEE Mercy EXTRAORDINARY

OF

ปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee)

ระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรงประกาศ ให้ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ถึง วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เป็น “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม” (The Holy Year of Mercy) เป็นปีที่มีความเมตตาของ พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง ปีศักดิ์สิทธิ์นี้จะเริ่มขึ้นในวัน สมโภชแม่พระผู้ปฏิสนธินิรมล (8 ธันวาคม ค.ศ. 2015) วันที่พระราชกิจของพระเจ้าจากจุดเริ่มต้น ของประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ หลังจากที่อาดัม และเอวาได้ท�ำ บาป พระเจ้าไม่ทรงประสงค์ทจี่ ะทอด ทิง้ มนุษย์ให้อยูต่ ามลำ�พังท่ามกลางความลำ�เค็ญของ ความชั่วร้าย พระองค์จึงทรงมุ่งพระเนตรไปยังพระ นางมารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์และปลอดมลทินด้วยความรัก (เทียบ อฟ1:4) พระองค์ทรงเลือกพระนางเป็น พระมารดาของพระผู้ ไ ถ่ เมื่ อ ต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ การโน้มน้าวของบาป พระเจ้าทรงสนองตอบด้วย สมบูรณภาพแห่งพระเมตตาของพระองค์ และจะไป สิ้นสุดในวันสมโภชพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากล จักรวาล ซึง่ ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016

ซึ่ ง เป็ น วั น สิ้ น สุ ด ปี พิ ธี ก รรมของพระศาสนจั ก ร คาทอลิก ความเป็นมาของปีศักดิ์สิทธิ์ ในพระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาเดิม หนังสือเลวีนติ ิ ได้บนั ทึกไว้วา่ “ท่านจะต้องประกาศว่าปีทหี่ ้าสิบนัน้ เป็น ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ และประกาศการปลดปล่อยสำ�หรับ ทุกคนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดิน ปีนั้นจะได้ชื่อว่า ‘ปีเป่า เขาสัตว์’ สำ�หรับท่านแต่ละคนจะได้รับที่ดินของ ตระกูลคืนมา แต่ละคนจะกลับไปยังครอบครัวของ ตน... ดังนั้น เมื่อท่านขายที่ดินแก่เพื่อนบ้าน หรือซื้อ จากเขา ท่านจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เมือ่ ซือ้ ทีด่ นิ จากเพือ่ นบ้าน ท่านจะต้องคำ�นวณราคาซือ้ ตาม จำ�นวนปี ที่ผ่านมาจากปีเป่าเขาสัตว์ครั้งก่อน ราคา ขายจะขึ้นอยู่กับจำ�นวนปีการผลิตที่ยังเหลืออยู่ ยิ่ง เหลือจำ�นวนปีมากเท่าใด ราคาก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิง่ จำ�นวนปีนอ้ ยลงเท่าใด ราคาก็นอ้ ยลงตามไปด้วย เพราะสิง่ ทีเ่ ขาขายให้ทา่ นนัน้ คือจำ�นวนการเก็บเกีย่ ว พืชผล เพราะฉะนัน้ ท่านจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบ WWW.KAMSONCHAN.COM

|

9


กัน แต่จงยำ�เกรงพระเจ้าของท่าน เพราะเราคือพระ ยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน” (ลนต 25:8-17) ซึ่งชาว ยิวจะเฉลิมฉลองทุก 50 ปี จะเป็นปีแห่งอิสรภาพ การปลดปล่อย และการยกโทษ มาถึงสมัยของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรง ประกาศข่าวดี และนำ�อิสรภาพมาสู่คนกลุ่มต่างๆ (มธ 11:5,15:31) อาทิเช่น คนตาบอดกลับมองเห็น (มธ 9:27-31, มก 8:22-26, ลก 7:21,..) คนหูหนวก กลับได้ยนิ (มก 7:37, ลก 7:22) คนง่อยกลับเดินได้ (มก 2:3-12, ลก 5:18-25) และคนตายกลับมีชวี ติ ใหม่ (มธ 9:18-25, ลก 7:12-15, ยน 11:17-44) พระศาสนจักรคาทอลิกได้มีการประกาศ เฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee) อย่างเป็นทางการ โดยเริ่ ม ในรั ช สมั ย ของสมเด็ จ พระสั น ตะปาปา โบนิเฟสที่ 8 ในปี ค.ศ. 1300 พระสันตะปาปาทรง ประกาศให้ผู้ที่ มาจาริกแสวงบุญที่กรุงโรมในโอกาส ปีศกั ดิส์ ทิ ธิจ์ ะได้รบั พระคุณการุณย์ และทรงกำ�หนด ให้ มี ก ารฉลองปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ทุ ก 50 ปี ต ามธรรม ประเพณีดั้งเดิม และต่อมาในปี ค.ศ. 1470 พระ สันตะปาปาปอลที่ 2 ทรงมีพระราชกฤษฎีกาให้มี การประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ทุก 25 ปี เพื่อให้คริสตชน ได้มโี อกาสเฉลิมฉลองปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละมีโอกาสพิเศษ ในการรับพระคุณการุณย์เพื่อชดเชยบาปอย่างน้อย หนึ่งครั้งในชีวิตของตน และถือเป็นธรรมประเพณี ของพระศาสนจักรสืบต่อมา โดยที่การเฉลิมฉลองปี ศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมประเพณีครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2000 (ปีปีติมหาการุญ) ในรัชสมัยของนักบุญ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 แต่ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้ครบกำ�หนด 25 ปี หรือ 50 ปี พระสันตะปาปามีอ�ำ นาจทีจ่ ะประกาศ ปีศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ ได้ โดยเรียกว่า Extraordinary Jubilee ปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) ในปี

10 | KAMSONCHAN

ค.ศ. 1423 สมเด็จพระสันตะปาปามาร์ตินที่ 5 ทรง ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) ตามเจตนารมณ์ของ พระสันตะปาปาเออร์บันที่ 6 เพื่อระลึกถึง 33 ปี การดำ � รงพระชนมชี พ ของพระคริ ส ตเจ้ า บนโลก (33 ปี จากปี ค.ศ. 1390) และการประกาศปี ศักดิส์ ทิ ธิ์ (พิเศษ) เกิดขึน้ ในรัชสมัยของนักบุญสมเด็จ พระสั น ตะปาปายอห์ น ปอลที่ 2 พระองค์ ท รง ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษ (Extraordinary Jubilee) “ปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) แห่งการไถ่กู้” เนื่องในโอกาส ครบ 1950 ปี ของการไถ่กู้มนุษยชาติขององค์พระ เยซูคริสตเจ้า และเป็นการประกาศที่ต่อเนื่องครบ รอบ 50 ปี ทีพ่ ระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ทรงประกาศ ปีศักดิ์สิทธิ์ในโอกาสครบ 1900 ปีของการไถ่กู้ในปี ค.ศ. 1933 ในครัง้ นีส้ มเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรง ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ก่อนครบกำ �หนด 25 ปีตาม ธรรมประเพณีของพระศาสนจักร โดยทรงประกาศ Extraordinary Jubilee ปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) “ปี ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” (The Holy Year of Mercy) ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ก ารปิ ด สภา สังคายนาวาติกันที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1965 (วันสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล) ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม เมื่อช่วงเย็นของวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2015 วันครบรอบปีที่ 2 ของการได้รับเลือกเป็น พระสันตะปาปาของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ทรงเป็นประธานในการโปรดศีลอภัยบาปใน งาน “24 ชั่วโมงเพื่อพระเจ้า” ภายในมหาวิหาร นักบุญเปโตร, นครวาติกัน พระองค์ได้ทรงประกาศ ให้ช่วงเวลาวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015 – วันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เป็น “ปียูบิลีแห่งเมตตา ธรรม” เป็ น ปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ พิ เ ศษ (Extraordinary


Jubilee) และในบทเทศน์ของพระองค์ในวันดังกล่าว พระองค์ทรงตรัสว่า “พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความ เมตตา พระเมตตาของพระเจ้ามีอย่างล้นเหลือให้กบั ทุกคนทีก่ ลับมาหาพระองค์ดว้ ยใจจริง นักบุญเปาโล เตือนใจเราว่า พระเจ้าไม่เคยเลิกที่จะแสดงถึงความ อุดมแห่งพระเมตตาของพระองค์ที่มีต่อชนทุกยุค สมัย การแปรเปลี่ยนของหัวใจเราจะนำ�เราไปสู่การ ยอมรับบาปของเราและนี่คือของขวัญจากพระเจ้า นีค่ อื ผลงานของพระองค์ และพระองค์ทรงเน้นย้�ำ ถึง การกลับใจไปหาพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงมีพระทัย เมตตากรุณา โดยทรงตรัสว่า “จงอย่ากลัวที่จะเดิน ไปรับศีลอภัยบาป พระเจ้าทรงรอต้อนรับท่าน และ ท่านจะได้รจู้ กั พระนามของพระองค์ เวลาทีพ่ วกท่าน ไปรั บ ศี ล อภั ย บาป พวกท่ า นไม่ ต้ อ งพาทนายไป แก้ต่างในบาปที่ทำ� เพราะท่านมีผู้ปกป้องอยู่แล้วก็

คือพระเยซูนั่นเอง พระเจ้าทรงลบล้างบาปของเรา และพระองค์ทรงไม่จดจำ�บาปผิดเหล่านั้น ถ้าเรา สำ�นึกและกลับใจด้วยใจจริง ฉะนั้น ไม่มีใครที่ไม่ได้ รับพระเมตตาจากพระเจ้า พระศาสนจักรเปิดประตู ต้อนรับทุกคน ไม่มใี ครทีถ่ กู ปฏิเสธ นีค่ อื ประตูทเี่ ปิด ต้อนรับทุกคนที่ต้องการจะได้รับการอภัยโทษจาก พระเจ้า” และพระองค์ได้ทรงสรุปในตอนท้ายของ บทเทศน์ว่า “พีน่ อ้ งทีร่ กั พ่อคิดอยูเ่ สมอว่าจะทำ�อย่างไร ที่ พ ระศาสนจั ก รจะทำ � พั น ธกิ จ ของตนให้ เ ป็ น ที่ ประจั ก ษ์ ชั ด ถึ ง การเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานต่ อ ความ เมตตา นี่คือการจาริกที่เริ่มต้นด้วยการกลับใจของ จิตวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ พ่อได้ตัดสินใจที่จะเปิดปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นวาระพิ เ ศษเพื่ อ ให้ ค วามเมตตาของ พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง นี่จะเป็นปียูบิลีแห่งเมตตา ธรรม พวกเราต้องการทีจ่ ะดำ�เนินชีวติ ในปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ นีอ้ ยูใ่ นแสงสว่างของพระวาจาของพระเจ้า ทีต่ รัสไว้ ว่า ‘จงเป็นผูเ้ มตตากรุณาดังทีพ่ ระบิดาของท่านทรง พระเมตตากรุณาเถิด’ (ลก 6:36)” และในเย็นวันเสาร์ที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2015 (Solemn Vespers) ก่อนวันอาทิตย์ฉลอง พระเมตตา พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ได้ ป ระกาศ โองการ Misericordiae Vultus (พระพักตร์แห่ง เมตตาธรรม) จำ�นวน 25 ข้อ ซึ่งสรุปความจากบท แปลโดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รตั น์ ได้ดังนี้ “พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระพักตร์แห่ง เมตตาธรรมของพระบิดา เราจำ�เป็นต้องไตร่ตรอง บ่อยๆ ถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งเมตตาธรรม เพื่อเราจะได้ เป็นเครือ่ งหมายแห่งเมตตาธรรมในชีวติ ของเรา เป็น พยานแห่งความยินดี ความสงบและสันติ ความ รอดพ้นของเราขึ้นกับธรรมล้ำ�ลึกแห่งความเมตตา WWW.KAMSONCHAN.COM

| 11


ขอให้ ทุ ก สั ง ฆมณฑลมี พิ ธี เ ปิ ด ประตู แ ห่ ง เมตตาธรรมที่ อ าสนวิ ห ารหรื อวั ด ที่ มี ค วามหมาย พิเศษ พระเมตตาของพระเจ้ามิได้เป็นเพียงความคิด ลอยๆ แต่เป็นจริงได้ ซึ่งพระองค์ทรงเปิดเผยความ รักมั่นคงของพระองค์ เหมือนพ่อแม่ที่รักลูก เปี่ยม ด้วยความอ่อนโยนและเมตตาธรรม พันธกิจที่พระ เยซูเจ้าได้รบั จากพระบิดา คือ เผยแสดงว่า “พระเจ้า ทรงเป็นความรัก” (1 ยน 4:8, 16) ทรงทำ�งานเป็น พิเศษเพือ่ คนบาป คนยากจน คนชายขอบ ผูป้ ว่ ยและ ทนทุกข์ เพื่อสอนเมตตาธรรม พระเยซูเจ้าทรงเรียก นักบุญมัทธิวให้เป็นอัครสาวกด้วยสายตาแห่งความ เมตตา ในอุปมาเรือ่ งพระเมตตา พระเยซูเจ้าทรงเปิด เผยธรรมชาติของพระเจ้า ดังบิดาผูใ้ ห้อภัยด้วยความ เมตตา เป็นพิเศษ 3 เรื่อง คือ แกะที่พลัดหลง เงิน เหรียญทีห่ ายไป และลูกล้างผลาญและลูกทีค่ ดิ ว่าตน ทำ�ดีแล้ว (ลก 15:1-32) พระเจ้าทรงอภัยด้วย ความยินดี ความเมตตาเป็นพลังชนะทุกสิ่ง ทำ�ให้ หัวใจเต็มไปด้วยความรัก และนำ�ความบรรเทาใจ โดยอาศัยการให้อภัย

12 | KAMSONCHAN

เมตตาธรรมเป็ น รากฐานของชี วิ ต พระ ศาสนจักร กิจการด้านอภิบาลควรช่วยให้สัตบุรุษ สั ม ผั ส ความอ่ อ นหวาน ทั้ ง การเทศน์ ส อน และ ประจักษ์พยานชีวติ มีความยุตธิ รรม แต่ตอ้ งมีเมตตา ธรรมด้วย เพื่อช่วยผู้อ่อนแอให้มีชีวิตใหม่ สู่อนาคต ด้วยความหวัง พระศาสนจักรได้รับมอบหมายให้ ประกาศพระเมตตาของ พระเจ้า ความจริงของพระ ศาสนจักร คือ ความรักของพระคริสตเจ้า เราเป็น ผู้รับใช้ความรัก เราต้องทำ�ให้วัด ชุมชน และองค์กร ให้คริสตชนและทุกคนพบโอเอซิสแห่งเมตตาธรรม เราต้ อ งดำ � เนิ น ชี วิ ต ในปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ โดย ไตร่ตรองพระวาจา “จงเป็นผูเ้ มตตากรุณาดังทีพ ่ ระ บิดา ของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) เราต้องมีเวลาเงียบเพื่อไตร่ตรองพระวาจา จาริก แสวงบุญ โดยเราทุกคนต้องดำ�เนินชีวิตของตนแบบ มีจดุ มุง่ หมาย ตามทีต่ นปรารถนาตามความสามารถ ของแต่ละคน ให้แสวงบุญด้วยการอุทิศตนและเสีย สละ เพื่อไปสู่ประตูศักดิ์สิทธิ์ “เมตตากรุณาดังพระ


บิดา” เป็นคติพจน์ของปีศักดิ์สิทธิ์ ในระหว่างปี การรับพระคุณการุณย์ แม้เราได้รบั การอภัย ศักดิ์สิทธิ์นี้ พ่อปรารถนาให้คริสตชนพิจารณาเรื่อง บาป แต่ผลขัดแย้งของบาปยังมีอยู่ พระเจ้าทรงอภัย กิจเมตตาฝ่ายกายและฝ่ายจิต บาปโดยศีลอภัยบาป แต่ยังมีผล พระศาสนจักร ประทานพระคุณการุณย์เพือ่ ยกโทษบาป เพือ่ ให้เรา กิ จ เมตตาฝ่ า ยกาย คื อ ให้ อ าหารแก่ เติบโตในความรักมากกว่ากลับไปทำ�บาปอีก ผู้หิวโหย ให้น้ำ�แก่ผู้กระหาย ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มี เครื่องนุ่งห่ม ให้ที่พักแก่ผู้ไร้ที่อยู่ เยี่ยมผู้ป่วย เยี่ยม ขอให้ปีศักดิ์สิทธิ์ช่วยเราในการเจริญชีวิตมี ผู้ถูกคุมขัง และฝังศพผู้ล่วงลับ เมตตากรุณา ดังทีพ่ ระบิดาเมตตากรุณาเราทุกคน ให้ กิ จ เมตตาฝ่ า ยจิ ต คื อ ให้ คำ � แนะนำ � แก่ พระศาสนจั ก รเป็ น พยานชี วิ ต และประกาศพระ ผู้สงสัย สอนคนที่ไม่รู้ ตักเตือนคนบาป บรรเทาใจ เมตตา” ผูท้ กุ ข์ยาก ให้อภัยแก่ผกู้ ระทำ�ผิด อดทนต่อความผิด ของผูท้ ที่ �ำ ไม่ดกี บั เรา ภาวนาสำ�หรับผูเ้ ป็นและผูต้ าย คริสตชนกับปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม เทศกาลมหาพรต เป็นช่วงเวลาฉลองและ มีประสบการณ์พระเมตตาของพระเจ้า รำ�พึงพระ วาจาทีเ่ หมาะสมกับเรือ่ งนี้ เช่น มคา 7:18-19 ; อสย 58:6-11 เกี่ยวกับการภาวนา จำ�ศีลอดอาหาร และ กิ จ เมตตา ขอพระสงฆ์ ผู้ โ ปรดศี ล อภั ย บาปเป็ น เครื่องหมายแท้ของพระเมตตาเสมอ ทุกหนแห่ง และในทุกสถานการณ์ ระหว่างมหาพรตปีศักดิ์สิทธิ์ พ่อตัง้ ใจส่งธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม มีพระสงฆ์ทพี่ อ่ จะอนุ ญ าตให้ อภั ย บาปที่สงวนไว้ต่อ สันตะสำ�นัก มีธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมเป็น ผู้ประสานงาน รับ ผิดชอบ ขอให้สารพระเมตตาไปถึงทุกคน อย่าเย็น เฉยต่อการเรียกนี้ พ่อคิดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร อาชญากรรม อย่าเห็นแก่เงิน

ในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ นี้ คริสตชนควรมีความชืน่ ชมยินดีทจี่ ะได้กลับไปคืนดี กลับพระเจ้า ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่ชีวิตพระหรรษทาน เพื่อรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ โดยมีจุดศูนย์ กลางอยู่ ที่ ค วามเมตตา สมเด็ จ พระสั น ตะปาปา ฟรังซิสทรงประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) นี้ โดยทรง ปรารถนาให้ปศี กั ดิส์ ทิ ธิน์ จี้ ะเป็นช่วงเวลาทีค่ ริสตชน ทุ ก คนจะได้ มี โ อกาสที่ จ ะใกล้ ชิ ด กั บ พระบิ ด าเจ้ า ผูท้ รงมีพระทัยกรุณาอย่างเห็นได้ชดั เพือ่ ว่าความเชือ่ ของบรรดาคริสตชนจะได้เข้มแข็งขึ้นและการเป็น

ผู้ที่เกี่ยวข้องการทุจริตคอร์รัปชั่น เราต้อง รอบคอบ ระมัดระวัง โปร่งใส ร่วมมือด้วยความ กล้าหาญ ปฏิเสธการทำ�ผิดทุกชนิด ความสัมพันธ์ ระหว่างความยุตธิ รรมและเมตตาธรรม เป็นสิง่ ไม่ขดั แย้ ง กั น ความยุ ติ ธ รรมเป็นความคิด พื้นฐานของ สังคมบ้านเมือง เมตตาธรรมไม่ขัดแย้งกับความ ยุติธรรม แต่เป็นการแสดงวิถีทางของพระเจ้าช่วย คนบาป เปิดโอกาสให้เขากลับใจ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 13


ในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์นี้ พระองค์ทรงขอร้อง ให้พระศาสนจักรค้นหาความอุดมสมบูรณ์ทรี่ ายล้อม อยู่ โดยกิจการของเมตตาธรรมทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ จริงๆ แล้วประสบการณ์ของเมตตาธรรมนั้น กลายเป็นสิง่ ทีเ่ ห็นได้ในการเป็นพยานของสัญลักษณ์ ที่มั่นคงดังเช่นองค์พระเยซูคริสตเจ้าเองที่ได้ทรง สั่งสอนเรา ด้วยเหตุนี้การผูกพันกันเพื่อที่จะมีชีวิต อยู่ด้วยเมตตาธรรมดังที่ได้รับพระหรรษทานครบ บริบูรณ์ และการอภัยโทษอย่างหมดจดโดยอำ�นาจ ของความรักมิใช่ของใครอื่นเลย นอกจากพระบิดา เจ้ า แต่ พ ระองค์ เ ดี ย ว ดั ง นั้ น พระคุ ณ การุ ณ ย์ ปี ศักดิส์ ทิ ธิจ์ งึ ครบบริบรู ณ์ ผลลัพธ์ของทุกๆ เหตุการณ์ ที่ได้รับการเฉลิมฉลองและได้รับประสบการณ์ด้วย ความเชื่อ ความหวัง และความกรุณา (สรุปความ จากสมณสารปี ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง เมตตาตาธรรม 1 กันยายน ค.ศ. 2015)

14 | KAMSONCHAN

“จงเป็นผู้เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของท่านทรง พระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36)

พยานยื น ยั น ของคริ ส ตชนต่ อ พระเจ้ า นั้ น จะยิ่ ง มี ประสิทธิผลยิ่งขึ้น ช่วงเวลานี้ได้เชื่อมโยงกับสิ่งเดียว ที่สำ�คัญที่สุดคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี (ศีลอภัย บาป) และการประกอบพิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ ที่ สะท้อนถึงพระเมตตาธรรมของพระเจ้า เป็นความ จำ�เป็นมากที่ต้องมีการเฉลิมฉลองเหล่านี้กับการ ประกาศยืนยันความเชื่อ และกับการสวดภาวนา เพื่อตัวสัตบุรุษเอง และเพื่อความตั้งใจของเขาหรือ เธอว่า “พวกเขาหรือพวกเธอนั้นมีความปรารถนา ดีต่อพระศาสนจักรและโลกทั้งมวลด้วยการดำ�เนิน ชีวิตด้วยความเชื่อและความปีติยินดีนี้” ทำ�ให้เรามี ความหวังต่อช่วงเวลาแห่งการทุกข์ทรมาน การได้ รับศีลมหาสนิท หรือการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ และการสวดภาวนาร่วมกัน หรือกระทั่งด้วยวิธีการ ที่หลากหลายนั้น ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องมือในการได้ รับพระคุณการุณย์ปีศักดิ์สิทธิ์นี้ทั้งสิ้น

คริสตชนควรมีใบหน้าที่เปี่ยมด้วยความ เมตตากรุณาดั่ง “พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม” เพื่อ คนรอบข้างจะได้พบเห็นองค์พระเยซูคริสตเจ้าผูท้ รง พระเมตตาในตัวเรา และในกิจการต่างๆ ของเรา


บทความคำ�สอน โดย : AURORA

ศีลศักดิ์สิทธิ์ แห่งการคืนดี “ศีลศักดิ์สิทธิ์มีกี่ประการคะเด็กๆ ? 7 ประการค่ะ/ ครั บ ” คำ � ถาม-คำ � ตอบที่ เ รามั ก จะได้ ยิ น คุ ณ ครู คำ�สอนถามอยูบ่ อ่ ยๆ ในคาบเรียนคำ�สอน แต่ถา้ จะ พูดกันจริงๆ เมื่อผ่านเวลานั้นไปแล้ว โตขึ้นเราอาจ จะเริม่ จำ�สับสนแล้วล่ะว่าศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ 7 ประการ มี ศีลอะไรบ้าง แล้วการรื้อฟื้นคำ�สัญญาแห่งศีลล้าง บาป หรือที่เราเรียกว่าศีลสง่านั้น เป็นหนึ่งในศีล ศักดิ์สิทธิ์ด้วยหรือเปล่า? ในบทความนี้จึงอยากจะช่วยให้ผู้ที่อาจจะ ลืมไปแล้วหรือจำ�ได้ แต่จำ�ได้นิดหน่อยเกี่ยวกับศีล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ไ ด้ รื้ อ ฟื้ น ความทรงจำ � กั น หน่ อ ย ศี ล ศักดิ์สิทธิ์มี 7 ประการ ประกอบด้วย ศีลล้างบาป, ศีลอภัยบาป, ศีลมหาสนิท, ศีลกำ�ลัง, ศีลสมรส, ศีล บวช และศีลเจิมคนไข้ ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน

กลุ่ ม แรก ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง การเริ่ ม ชี วิ ต คริสตชน ประกอบด้วย ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำ�ลัง กลุ่มที่สอง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเยียวยา รักษา ประกอบด้วย ศีลอภัยบาป และศีลเจิมคนไข้ กลุ่มที่สาม ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เสริมสร้างความ สัมพันธ์ และการแพร่ธรรม ประกอบด้วย ศีลบวช และศีลสมรส ในบทความนีผ้ เู้ ขียนตัง้ ใจจะเขียนให้เข้ากับ ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตา ธรรม ซึ่งเป็นปีที่เรา คริสตชนจะคิดถึงพระเมตตา ของพระเป็นเจ้า ความเมตตาที่พระองค์มีต่อเรา โดยผ่านทางผู้แทนของพระองค์ในโลกนี้ ดังคำ�ของ สมเด็ จ พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ที่ ก ล่ า วในสมณWWW.KAMSONCHAN.COM

| 15


โองการปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมว่า “ขอให้พระ สังฆราชจัดพิธีศีลอภัยบาปให้สัตบุรุษกลับบ้านของ พระบิดา ขอให้บรรดาผู้อภิบาลช่วยสัตบุรุษให้รับ พระเมตตาและพบพระหรรษทาน (ฮบ 4:16)” เรา จะเห็นว่าสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเน้นเป็นพิเศษ เกี่ยวกับการคืนดี เพื่อจะได้รับพระคุณการุณย์ครบ บริบูรณ์ ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะมาว่ากันด้วย เรื่องของศีลอภัยบาปเป็นพิเศษ เพื่อว่าครั้งต่อไป เวลาที่เราไปรับศีลอภัยบาป เราจะได้เข้าใจอย่าง ลึกซึ้ง เตรียมตัวอย่างดี และไปแก้บาปด้วยหัวใจที่ ต้องการจะคืนดีกับพระเป็นเจ้าจริงๆ ประวัติความเป็นมาของศีลอภัยบาป พระเยซูเจ้าได้ทรงตัง้ ศีลอภัยบาปนีข้ นึ้ ในค่�ำ วันปัสกา ขณะที่ทรงแสดงพระองค์แก่บรรดาอัคร สาวก และตรัสกับพวกเขาว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทัง้ หลายอภัยบาปของผูใ้ ด บาปของผูน้ นั้ ก็ได้รบั การอภัย ท่านทัง้ หลายไม่อภัยบาปของผูใ้ ด บาปของ ผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัย” (ยน 20:22-23) ในช่วงศตวรรษแรกๆ ของพระศาสนจักร ได้มีการเริ่มที่จะกำ�หนดโทษแก่บุคคลที่ได้ทำ�บาป ซึง่ บาปนัน้ พระศาสนจักรได้ก�ำ หนดไว้แล้วว่าจะต้อง มีเครื่องหมายแห่งการสำ�นึกตัวกลับใจและการใช้ โทษบาปอย่างไร โดยจะต้องสารภาพบาปของตนต่อ หน้าที่ชุมนุมและยอมรับกิจใช้โทษบาปตามที่กฎ กำ�หนด ในหนังสือบางเล่มได้กล่าวถึงยุคแรกๆ ของ พระศาสนจักรกับศีลอภัยบาปว่า หลังจากให้ทำ�การ สารภาพบาปของตนต่ อ หน้ า ที่ ชุ ม นุ ม แล้ ว พระ สังฆราชจะเป็นผู้ตัดสินใจมอบการลงโทษตามที่กฎ กำ�หนดไว้สำ�หรับบาปแต่ละชนิดด้วย และหลังจาก

16 | KAMSONCHAN

ที่ ผู้ ทำ � บาปได้ ผ่ า นช่ ว งเวลาแห่ ง การลงโทษตาม ขั้นตอนแล้ว (บางคนอาจใช้เวลานานหลายปี) จะมี การทำ � พิ ธี คื น ดี กั บ พระศาสนจั ก รและได้ รั บ การอนุญาตให้รว่ มพิธบี ชู าขอบพระคุณได้ การคืนดี นี้จะเกิดขึ้นโดยผ่านทางพระสังฆราชซึ่งจะปกมือ เหนือผู้ทำ�บาปและภาวนาต่อพระเป็นเจ้าเพื่อจะได้ ยอมรับการใช้โทษบาปของผูท้ �ำ บาปและส่งคืนเขาให้ กับพระศาสนจักร และมีแต่พระเป็นเจ้าเท่านั้นที่ สามารถอภั ย บาปได้ เมื่ อ กาลเวลาหมุ น เปลี่ ย น พัฒนาการต่างๆ ของการขอคืนดีก็ได้มีการพัฒนา มากขึ้น จากที่ผู้ทำ�บาปมาขอคืนดีกับพระเป็นเจ้า เท่านั้น ก็มีการคืนดีกับพระศาสนจักรที่เห็นได้โดย การคืนดีกับเพื่อนพี่น้องด้วย แล้วเมื่อไหร่ล่ะที่การสารภาพบาปต่อหน้า สาธารณชนกลายมาเป็นการสารภาพแบบส่วนตัว...? การสารภาพบาปต่อหน้าสาธารณชนมีมาจนถึงช่วง เวลาประมาณกลางๆ ของศตวรรษที่ 3 ได้มีการ เบียดเบียนคริสตชนขึน้ และบรรดาคริสตชนจำ�นวน มากได้ตกในบาป เนือ่ งจากถูกบังคับให้กราบไหว้รปู เคารพต่างๆ และเนื่องมาจากความรักตัวกลัวตาย ก็ได้กราบไหว้รูปเคารพของผู้ที่มาเบียดเบียน เมื่อมี


การทำ�บาปก็ตอ้ งการมาสารภาพบาป และเนือ่ งจาก เป็นการสารภาพบาปแบบสาธารณชน จึงสามารถ ทำ�ได้ทีละคนเท่านั้น แถวของผู้ที่ต้องมาสารภาพ บาปก็ยาวและใช้เวลานานมาก พระสังฆราชจึงได้ตงั้ กฎและมอบหมายให้เลือกผู้สูงอายุบางคนมาฟัง การสารภาพบาปและมอบบทลงโทษให้ผู้กระทำ�ผิด บุคคลเหล่านี้ถูกเลือกจากพระสังฆราช ต้องเป็นผู้ที่ ไว้ ใ จได้ และบุ ค คลเหล่ า นี้ ถู ก เรี ย กว่ า ผู้ ฟั ง การ สารภาพบาป จากจุดนี้เองถือเป็นการเริ่มต้นของ การสารภาพบาปแบบส่วนตัว แต่แล้ว ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก็ได้มีการ ยกเลิกการฟังแก้บาปจากบุคคลที่ถูกเลือกเหล่านี้ เนือ่ งจากมีความสับสนรวมถึงปัญหาเกิดขึน้ มากมาย เช่น บาปบางชนิดควรจะต้องเป็นพระสังฆราชเท่านัน้ ทีส่ ามารถฟังและมอบบทลงโทษรวมถึงขออภัยบาป ได้ การไม่รักษาความลับของผู้มาสารภาพ ปัญหา ต่างๆ เหล่านี้ได้มีการพูดถึงในสังคายนาที่เมือง นีเชอา จนในที่สุด การฟังการสารภาพจากบุคคลที่ ถูกเลือกก็ได้ถูกยกเลิกไป เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงศตวรรษที่ 9 การฟัง แก้บาปแบบส่วนตัวกับพระสงฆ์ก็ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะพระสงฆ์เองก็ยังไม่มีอำ�นาจยกบาปเหมือน เช่นปัจจุบัน และการสารภาพแบบนี้ก็ไม่ได้ยืนยัน ความรอดด้วย เนื่องจากไม่มีการสอนให้ประชาชนรู้ และเข้าใจ เนื่องจากบางคนพูดว่าเป็นการดีกว่าถ้า จะสารภาพบาปกับพระเป็นเจ้าโดยตรง หรือบางคน ก็ว่าแก้กับพระสงฆ์ก็ได้ ในศตวรรษที่ 12 นักเทววิทยาของพระ สันตะปาปาได้ออกมาบอกว่าต้องไปแก้บาปกับพระ สงฆ์ แต่กย็ งั มีอกี หลายคนทีอ่ ยากจะแก้บาปกับพระ เป็นเจ้าเท่านั้น WWW.KAMSONCHAN.COM

| 17


ในช่วงเวลานี้สามารถพูดได้เลยว่า ไม่มีกฎ ที่ชัดเจนแน่นอน เกี่ยวกับการแก้บาป แต่เมื่อเวลา ผ่านไปทีละนิด ทีละนิด ประสบการณ์ต่างๆ ก็สอน ให้เรามองเครื่องหมายแห่งความเปลี่ยนแปลง และ ในที่สุด ศตวรรษที่ 13 ภายใต้การปกครองของ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซ็นต์ที่ 3 ในสังคายนา ที่เมืองฟลอเรนซ์ ปี ค.ศ. 1439 ก็ได้มีการประกาศ ให้มีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี หรือศีลอภัยบาป ที่ เกิดจากพระเยซูคริสตเจ้า เป็นยังไงคะ ประวัติเล็กๆ น้อยๆ ของศีล อภั ย บาปของพวกเรา กว่ า จะกลายมาเป็ น ศี ล ศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ ราสามารถไปแก้บาปแบบส่วนตัว๊ ส่วนตัว กับพระสงฆ์ได้ ผ่านกาลเวลามานานหลายศตวรรษ เลยทีเดียว เรามาดูกนั ต่อดีกว่าค่ะ ว่าพระศาสนจักร สอนอะไรเราบ้างเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ พระศาสนจักรคาทอลิกสอนอะไรเกี่ยวกับศีลอภัย บาป เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการค้นหาและอ่านเพื่อ ทำ�ความเข้าใจในรูปแบบคำ�ถาม - คำ�ตอบ ดังเช่น พระศาสนจักรคาทอลิกของเราให้ความ เนื้อหาเกี่ยวกับศีลอภัยบาปที่เรากำ�ลังพูดถึงอยู่นี้ สำ�คัญกับเนื้อหาในหนังสือคำ�สอนมาก ด้วยเหตุผล ที่ศาสนาของเรามีอยู่ในทุกทวีป แตกต่างด้วยภาษา ศี ล อภั ย บาปในหนั ง สื อ ประมวลคำ � สอน วัฒนธรรม ดังนั้น เพื่อให้ครูคำ�สอนได้ใช้ข้อคำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ได้ถูกสรุปออกเป็น 17 ข้อ คาทอลิกอย่างมั่นใจ สามารถทำ�เป็นตัวบทในการ ด้วยกัน โดยผู้เขียนขอยกเอาทั้ง 17 ข้อมาลง ด้วย อ้างอิงที่แน่นอนและที่แท้จริงในการสอนคำ�สอนได้ เหตุผลที่ว่า เมื่อผู้อ่านท่านใดต้องการจะนำ�เอาข้อ นั้ น พระศาสนจั ก รโดยนัก บุญสมเด็จ พระสันตะ คำ � สอนเรื่ อ งศี ล อภั ย บาปไปสอน ก็ ส ามารถนำ � ปาปายอห์น ปอล ที่ 2 จึงได้ประกาศใช้หนังสือคำ� หนังสือเล่มนี้ติดตัวไปด้วยได้เลย และอีกเหตุผลคือ สอนพระศาสนจักรคาทอลิกในปี ค.ศ. 1992 และ บางท่านไม่ได้อยู่ในโรงเรียนหรืออาจไม่มีหนังสือ ได้มกี ารแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย รวมถึงภาษา ประมวลคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกอยู่ที่บ้าน ไทยด้วย และอีกยีส่ บิ ปีตอ่ มา สมเด็จพระสันตะปาปา ท่านก็สามารถอ่านและเข้าใจได้ว่าพระศาสนจักร กิตติคุณเบเนดิกต์ที่ 16 ได้ให้การรับรองหนังสือ สอนอะไรเราเกี่ยวกับเรื่องศีลอภัยบาปนี้ ตัวเลขใน ประมวลคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็น วงเล็บท้ายคำ�ถามจะเป็นข้อในหนังสือคำ�สอนพระ การสังเขปหนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ศาสนจักรคาทอลิก (CCC - Catechism of the โดยมีการรวบรวมเนื้อหาต่างๆ เข้าเป็นหมวดหมู่ Catholic Church)

18 | KAMSONCHAN


✟ เราเรียกศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ว่าอย่างไร? ✟พระองค์ทรงตั้งศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้เมื่อไร (1422 - 1424)

(1485)

เราเรียกว่าศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการใช้โทษบาป องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าผูท้ รงกลับคืนพระชนมชีพ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี ศีลอภัยบาป ศีลแห่งการ ได้ทรงตั้งศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ขึ้นในค่ำ�วันปัสกา สารภาพบาป และศีลแห่งการกลับใจ ขณะที่ทรงแสดงพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก และ ตรัสกับพวกเขาว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้ง ✟ทำ�ไมจึงต้องมีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีหลัง หลายอภัยบาปของผู้ใด บาปของผู้นั้นก็ได้รับการ ศีลล้างบาป (1425-1426, 1484) อภัย ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด บาปของ ผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย” (ยน 20:22-23) เนื่องจากชีวิตใหม่แห่งพระหรรษทานที่ได้ รั บ ในศี ล ล้ า งบาปไม่ ไ ด้ ข จั ด ความอ่ อ นแอตาม ธรรมชาติของมนุษย์ให้หมดไป รวมทั้งความโน้ม ✟ผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วยังต้องการการกลับใจ เอียงไปในทางบาป (นั่นคือราคะตัณหา) พระคริสต อีกหรือ (1427-1429) เจ้ า จึ ง ได้ ท รงตั้ ง ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระการนี้ ขึ้ น เพื่ อ การเรี ย กของพระคริ ส ตเจ้ า ให้ ก ลั บ ใจ การกลับใจของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว แต่ได้ห่าง ดังกังวานอย่างต่อเนื่องในชีวิตของผู้ที่ได้รับศีลล้าง เหินไปจากพระองค์อันเนื่องมาจากบาป บาปแล้ว การกลับใจเป็นหน้าที่ที่ต่อเนื่องของพระ ศาสนจักรทัง้ ครบ พระศาสนจักรศักดิส์ ทิ ธิแ์ ต่รบั เอา คนบาปไว้ในอ้อมอก

✟ความสำ�นึกผิดภายในคืออะไร (1430-1433, 1490) คือการเปลีย่ นแปลงของ “จิตใจทีเ่ ป็นทุกข์” (สดด 51:19) ได้รับแรงบันดาลใจจากพระหรรษ ทานให้สนองตอบต่อความรักเมตตาของพระเป็นเจ้า รวมไปถึงความทุกข์และความเกลียดชังต่อบาปที่ได้ กระทำ� มีความตัง้ ใจอย่างแน่วแน่วา่ จะไม่ท�ำ บาปอีก ต่อไป พร้อมกับความวางใจในความช่วยเหลือของ พระเป็นเจ้าที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยความหวังใน พระเมตตาของพระองค์

✟ การทำ � กิ จ ใช้ โ ทษบาปในชี วิ ต คริ ส ตชนจะ แสดงออกในรูปแบบใด (1434-1439) WWW.KAMSONCHAN.COM

| 19


การทำ�กิจใช้โทษบาปแสดงออกได้ในหลาย วิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการจำ�ศีลอดอาหาร การ ภาวนา และการทำ�บุญให้ทานพร้อมกับรูปแบบอืน่ ๆ ของการทำ�กิจใช้โทษบาป อาจกระทำ�ในชีวิตประจำ� วันของคริสตชน โดยเฉพาะในเทศกาลมหาพรตและ ทุกวันศุกร์ วันแห่งการทำ�กิจใช้โทษบาป

* การพิจารณามโนธรรมอย่างเอาใจใส่ * ความทุกข์ถึงบาป (หรือการสำ�นึกผิด) ซึง่ จะสมบูรณ์เมือ่ ได้รบั แรงบันดาลใจจากความรักต่อ พระเป็นเจ้า และจะไม่สมบูรณ์เมือ่ เกิดจากแรงจูงใจ อย่างอืน่ รวมทัง้ ความตัง้ ใจทีจ่ ะไม่กระทำ�บาปอีกต่อ ไป * การสารภาพบาป ซึ่งประกอบด้วยการ ✟องค์ประกอบจำ�เป็นของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการ บอกบาปที่ตนได้กระทำ�ต่อหน้าพระสงฆ์ * การทำ�กิจใช้โทษบาป หรือการกระทำ�กิจ คืนดีคืออะไร (1440-1449) ใช้ โ ทษบาปบางอย่ า งที่ ผู้ ฟั ง แก้ บ าปกำ � หนดให้ มีอยู่สองอย่างคือการกระทำ�ของผู้มีการ ผู้สารภาพกระทำ�เพื่อเป็นการชดเชยใช้โทษบาป กลับใจภายใต้การกระทำ�ของพระจิต และการให้ อภัยบาปของพระสงฆ์ ซึ่งให้อภัยในพระนามของ ✟ต้องสารภาพบาปอะไรบ้าง (1456) พระคริสตเจ้า พร้อมกับกำ�หนดกิจใช้โทษบาปให้ดว้ ย บาปหนักทุกประการทีย่ งั ไม่เคยได้สารภาพ ✟ ผู้ ส ารภาพบาปกระทำ � กิ จ การใด (1450- ซึ่งได้ทำ�การพิจารณามโนธรรมอย่างละเอียดแล้ว การสารภาพบาปหนักเป็นหนทางปกติหนทางเดียว 1460, 1487-1492) เท่านั้นที่จะได้รับการอภัย

✟เมือ่ ไรจึงมีความจำ�เป็นทีจ่ ะสารภาพบาปหนัก (1457) คริสตังทุกคนเมือ่ ถึงอายุรคู้ วามแล้วจำ�เป็น ทีจ่ ะต้องสารภาพบาปหนักทีต่ นได้กระทำ�อย่างน้อย ปีละครั้ง และต้องกระทำ�ก่อนรับศีลมหาสนิทเสมอ

✟ทำ�ไมจึงต้องสารภาพบาปเบาด้วย (1458) พระศาสนจั ก รแนะนำ � อย่ า งจริ ง จั ง ให้ สารภาพบาปเบา แม้วา่ ไม่จ�ำ เป็นจริงๆ ก็ตาม เพราะ ช่วยให้เรามีมโนธรรมทีถ่ กู ต้องและต่อสูก้ บั ความโน้ม เอียงไปในทางไม่ดี เพือ่ ให้พระคริสตเจ้าทรงเยียวยา รักษาเราและเพื่อจะได้ก้าวหน้าในชีวิตของพระจิต เจ้า

20 | KAMSONCHAN


✟ศาสนบริกรของศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้คือใคร (1461-1466, 1495) พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบศาสนบริการของ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดีให้แก่บรรดาอัครสาวก ให้ แก่บรรดาพระสังฆราช ผู้สืบตำ�แหน่งของท่าน และ บรรดาพระสงฆ์ทเี่ ป็นผูร้ ว่ มงานของพระสังฆราชด้วย ดังนั้น ท่านเหล่านี้จึงเป็นเครื่องมือแห่งพระเมตตา และความยุติธรรมของพระเป็นเจ้า พวกท่านปฏิบัติ อำ�นาจของการให้อภัยบาปในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต

✟การให้อภัยบาปบางประการถูกสงวนไว้ให้ผใู้ ด (1463) การให้ อ ภั ย บาปหนั ก พิ เ ศษบางประการ (เช่น บาปที่ถูกโทษตัดขาดจากพระศาสนจักร) ถูก สงวนไว้สำ�หรับพระสันตะปาปาหรือพระสังฆราช ของสังฆมณฑลหรือพระสงฆ์ทไี่ ด้รบั อำ�นาจจากท่าน อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์ทุกองค์สามารถให้อภัยบาป ทุ ก ประการได้ รวมทั้ ง บาปที่ ถู ก โทษตั ด ขาดจาก พระศาสนจักรในกรณีของผู้ที่ใกล้จะตาย

ผลของศีลอภัยบาปคือ การคืนดีกบั พระเป็น เจ้ า และการให้ อ ภั ย บาปต่ า งๆ การคื น ดี กั บ พระ ศาสนจักร การได้รับพระหรรษทานที่เสียไปกลับคืน มา การพ้นโทษถาวรทีไ่ ด้รบั อันเนือ่ งมาจากบาปหนัก และการพ้นโทษชั่วคราวอย่างน้อยเป็นบางส่วนที่ ✟ผูฟ้ งั แก้บาปต้องรักษาความลับหรือไม่ (1467) เป็น ผลตามมาของบาป สันติสุข ความสงบของ มโนธรรมและความบรรเทาทางจิตใจ และการเพิ่ม เมื่อกำ�หนดความละเอียดอ่อนและความ พลังฝ่ายจิตเพื่อการดำ�เนินชีวิตแบบคริสตชน ยิง่ ใหญ่ของศาสนบริการนี้ และความเคารพนับถือที่ ต้องให้กับตัวบุคคล ผู้ฟังแก้บาปทุกคนต้องรักษา “ตราแห่งศีลศักดิส์ ทิ ธิ”์ เป็นความลับเด็ดขาดเกีย่ วกับ ✟ในบางกรณีจะประกอบศีลอภัยบาปด้วยการ บาปทีไ่ ด้รบั การสารภาพในศีลอภัยบาป หากละเมิด สารภาพบาปรวมและการอภัยบาปรวมได้หรือไม่ (1480-1484) มีโทษหนัก โดยปราศจากข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีจ�ำ เป็นจริงๆ (เช่น ในกรณีทมี่ ภี ยั ถึง ✟ผลของศีลศักดิส์ ทิ ธิป์ ระการนีค้ อื อะไร (1468- ตาย) อาจมีการอภัยบาปรวม โดยมีการสารภาพบาป 1470, 1496) รวมและการอภัยบาปรวมตามกฎเกณฑ์ของพระ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 21


ศาสนจักร และพร้อมกับมีความตั้งใจจะสารภาพ ศีลอภัยบาปกับปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม บาปของตนเป็นรายบุคคลในบาปหนักทุกประการ ในสมณโองการปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรม เมื่อมีโอกาส สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ประกาศโองการ Misericordiae Vultus (พระพักตร์แห่งเมตตาธรรม) ✟พระคุณการุณย์ (indulgences) คืออะไร ซึ่งมีด้วยกัน 25 ข้อ และมีจำ�นวนไม่น้อยที่พระองค์ พระคุณการุณย์คอื การยกโทษบาปทีเ่ ราได้ ท่านได้กล่าวถึงศีลอภัยบาป และการกลับคืนดีกับ กระทำ� และบาปนั้นได้รับการอภัยความผิดแล้ว พระเป็นเจ้า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูกัน คริสตชนผูป้ รารถนาจะรับพระคุณการุณย์ตอ้ งปฏิบตั ิ ดีกว่าค่ะว่ามีข้อไหนบ้างที่กล่าวถึงศีลอภัยบาป ตามเงือ่ นไขทีก่ �ำ หนดไว้ สามารถรับพระคุณนีส้ �ำ หรับ ข้อ 2 ค่ะ “เราจำ�เป็นต้องไตร่ตรองบ่อยๆ ตนเอง หรือผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เราสามารถรับ ถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งเมตตาธรรม... ความรอดพ้นของ พระคุณการุณย์โดยผ่านทางศาสนบริการของพระ เราขึน้ กับธรรมล้�ำ ลึกแห่งความเมตตา” ช่วงท้ายของ ศาสนจั ก รในฐานะผู้แจกจ่ายพระหรรษทานแห่ง ข้อนี้ก็บอกเราแล้วนะคะว่าความรอดพ้นของเราขึ้น การไถ่กู้ แจกจ่ายคลังสมบัติแห่งพระบารมีของพระ กับธรรมล้�ำ ลึกแห่งความเมตตา ซึง่ อยูใ่ นศีลอภัยบาป คริสตเจ้า และบรรดานักบุญ นั่นเองค่ะ ข้อ 3 ค่ะ เกี่ยวกับการเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ และการจาริกแสวงบุญค่ะ เราควรจะค้นพบการกลับ ใจในโอกาสพิเศษนี้ และเปิดตัวเองเข้ารับพระหรรษ ทาน และการฟืน้ ฟูจติ วิญญาณของเราใหม่ ในความ รักและพระเมตตาของพระเป็นเจ้า ข้อ 6 ค่ะ “พระเมตตาของพระเจ้ามิได้เป็น เพียงความคิดลอยๆ แต่เป็นจริงได้ ซึ่งพระองค์ทรง เปิดเผยความรักมั่นคงของพระองค์เหมือนพ่อแม่ ที่รักลูก เปี่ยมด้วยความอ่อนโยนและเมตตาธรรม” ข้อนี้ เป็นการตอกย้ำ�เรา ให้เข้ามาพึ่งความรักและ พระเมตตาของพระเป็นเจ้า ข้อ 9 ค่ะ เป็นอุปมาที่สมเด็จพระสันตะ ปาปาทรงยกตัวอย่างมาให้เราเห็นถึงธรรมชาติแห่ง ความรักและพระเมตตาของพระเป็นเจ้า พระองค์ให้ อภั ย เราคนบาปด้ ว ยความยิ น ดี พระเมตตาของ พระองค์เป็นพลังชนะทุกสิ่ง เมื่อเรากลับคืนดีกับ

22 | KAMSONCHAN


พระเป็นเจ้าแล้ว เราอย่าลืมสวดขอพลังแห่งการให้ อภัย เพื่อเราจะสามารถให้อภัยแก่คนอื่นๆ ได้ง่าย ขึ้น ดังคำ�สวดของเราในบทข้าแต่พระบิดาว่า “โปรด ประทานอภัยแก่ขา้ พเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้ผอู้ นื่ ” ข้อ 17 ค่ะ ความพิเศษของข้อนี้อยู่ในช่วง เทศกาลมหาพรต ทีพ่ ระองค์ทา่ นมีความต้องการให้ เรามอบเวลาพิเศษให้กับพระเป็นเจ้าในช่วงวันศุกร์ และเสาร์ก่อนสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลมหาพรต เพื่อที่ ว่าอนาคตของพระศาสนจักรซึ่งก็หมายถึงน้องๆ เยาวชนจะได้มีโอกาสมารับศีลอภัยบาป และข้อ 22 ค่ะ การรับพระคุณการุณย์เพื่อ ให้เราเติบโตในความรักและความเมตตาของพระ เป็นเจ้า มิใช่เพื่อให้เรากลับไปทำ�บาปเพิ่มอีกนะคะ บางคนอาจคิดว่า ดีเลย บาปที่ทำ�มาแก้บาปแล้ว รับ พระคุณการุณย์แล้ว ตอนนีไ้ ม่มบี าป สามารถทำ�บาป

ได้อกี อย่าลืมว่าพระเป็นเจ้าทรงเล็งเห็นภายในจิตใจ ของเราแต่ละคน การขอรับศีลอภัยบาปที่มาจาก จิตใจทีย่ อมสำ�นึกผิดจริงๆ เท่านัน้ ทีพ่ ระเป็นเจ้าจะ ประทานพระเมตตาให้ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับข้อคำ�สอนเรือ่ ง ศีลอภัยบาป อย่าลืมนะคะว่า พระเป็นเจ้ารอให้เรา เข้าไปหาพระองค์เสมอ พระองค์ทรงเปี่ยมด้วย ความเมตตาสงสาร และสามารถให้อภัยเราได้เสมอ ไม่ว่าบาปนั้นจะหนักหนาขนาดไหน “ถึงบาปของ เจ้าเหมือนสีแดงเข้ม ก็จะขาวอย่างหิมะ” (อสย 1:18) ขอเพียงเรามีจติ ใจทีเ่ ป็นทุกข์ถงึ บาป ตัง้ ใจทีจ่ ะกลับ คืนดีและกลับมาขอคืนดีกับพระเป็นเจ้าโดยผ่าน ทางศีลอภัยบาป เราก็จะได้อยู่ในพระหรรษทาน ของพระต่อไป

WWW.KAMSONCHAN.COM

| 23


บุญราศีและนักบุญประจำ�เล่ม

โดย : hiclasssociety.com / catholic.co.th

คุณแม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา

อลัมน์นี้ เราก็ยังเกาะกระแสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมอยู่นะคะ ถ้า จะพูดถึงนักบุญที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เราก็มีตัวอย่างมากมาย หลายคนเลยทีเดียว วันนี้ขอนำ�เสนอบุญราศีคุณแม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา ที่ ขึ้นชื่อเรื่องความเมตตากรุณาและเป็นตัวอย่างที่ไม่ได้ไกลจากยุคสมัยของเรา เลยค่ะ และเชือ่ เหลือเกินว่าผูอ้ ่านหลายท่านจะสามารถนำ�ลักษณะแห่งความ เมตตาของคุณแม่มาใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ พร้อมแล้วนะคะ ไปกันเลยค่ะ

24 | KAMSONCHAN


คุณแม่เทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่เมืองสโกเปีย จักรวรรดิ ออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมา ซิโดเนีย) เป็นบุตรคนสุดท้อง บิดาชื่อนิโกลา (Nikola) มารดาชื่อดราเน (Drane Bojaxhiu) อยู่ใน ครอบครัวชนชัน้ กลางเชือ้ สายอัลเบเนีย เธอมีชอื่ เดิม ว่า “แอ็กเนส กอนจา โบยาจู” (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลัก ศาสนา ซึ่งทำ�ให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ ฟังคุณพ่อเทศน์สอนมาโดยตลอด

นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู และได้ปฏิญาณตน ตลอดชีพในปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) หลังจากปฏิญาณตนตลอดชีพแล้ว ซิสเตอร์ เทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นคร กัลกัตตา ไม่นานก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรี เซนต์ ม าเรี ย พาตนเองและเหล่ า นั ก เรี ย นผ่ า น เหตุการณ์เลวร้าย ทีเ่ กิดจากผลกระทบของเหตุการณ์ รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอินเดียมาได้ ด้วยดี

ขณะที่แอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เธอก็ได้รจู้ กั กับประเทศอินเดีย แต่กไ็ ด้ รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยัง ล้าหลังอยูม่ าก มีคนยากไร้มากมายในประเทศทีต่ อ้ ง ทนทรมาน และเริม่ สงสัยว่า จะมีวธิ ใี ดบ้างไหมทีเ่ ธอ จะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึง่ ในช่วงเวลานี้ นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นซิสเตอร์

ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1946 “วันที่ได้ รับการดลใจจากพระเจ้า” (Inspiration day) นี่เป็น คำ�ที่คุณแม่เทเรซาใช้เรียกวันนั้น เธอเล่าว่า “ขณะที่ ดิฉนั กำ�ลังเดินทางโดยรถไฟจากกัลกัตตาไปดาร์จลี งิ เพือ่ ทำ�กิจศรัทธาร่วมกับซิสเตอร์คนอืน่ ๆ ดิฉนั กำ�ลัง สวดภาวนาอยูเ่ งียบๆ เมือ่ ดิฉนั เกิดความรูส้ กึ มีเสียง เรียกขึ้นมาในกระแสเรียกของดิฉัน สารนั้นชัดเจน ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนส ยิ่งนัก ดิฉันจะต้องออกจากอาราม และอุทิศตนช่วย ตัดสินใจเดินทางไปบวชเป็นซิสเตอร์ทอี่ ารามโลเรโต (Loreto Abbey) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็น ครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาว แอ็กเนสตัง้ ใจศึกษาเล่าเรียนวิชาทีอ่ าราม หลังจากนัน้ จึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปี เดี ย วกั น และได้ เ ริ่ ม ออกเผยแผ่ คำ � สอนในเมื อ ง ดาร์จลี งิ รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดย เธอได้พักอยู่ที่อารามโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจ เข้ า พิ ธี ป ฏิ ญ าณตนเป็ น นั ก พรตหญิ ง คณะภคิ นี พระนางมารีย์พรหมจารีที่อารามโลเรโต ในเมือง ดาร์จีลิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับ ศาสนนามว่า ซิสเตอร์เทเรซา ซึ่งมาจากนามของ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 25


เหลือคนยากจนโดยไปใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา ซึ่งมีสุภาสิณี ดาส (Subashini Dad) สมัครมาร่วม ดิฉันรู้ว่าจะต้องไปที่ไหน แต่ดิฉันไม่ทราบว่าจะไป งานกับคุณแม่ และจะเป็นซิสเตอร์คนแรกของคณะ นักบวชที่จะเกิดขึ้น ที่นั่นได้อย่างไร” หลังจากปี ค.ศ. 1949 “ดิฉันก็เห็นสุภาพ สตรีตามกันมาคนแล้วคนเล่า คนพวกนั้นเคยเป็น ลูกศิษย์ของดิฉนั มาก่อนทัง้ สิน้ พวกเขาต้องการมอบ ทุกสิ่งแด่พระเจ้า และพวกเขาก็รีบที่จะทำ�เช่นนั้น” และในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1950 ตรงกับวันฉลอง แม่พระแห่งสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ (The Feast day of Our Lady of the Rosary) ทางกรุงโรมก็ได้รบั รอง คณะนักบวชธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม (The Constitution of the Society of the Missionaries of Charity โดยคุณแม่เทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร และ ก่อตั้งบ้านของผู้รอความตาย” (Home for the Dying) ในกั ล กั ต ตา (Calcutta) หรื อ โกลกาตา (Kolkata) ชื่อในปัจจุบัน เมืองหลวงของรัฐเบงกอล ในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 1949 มีผู้ติดตาม ตะวันตก โดยขอยืมพื้นที่จากวัดฮินดู และประสบ คุณแม่เทเรซากลุม่ แรกในกระแสเรียกใหม่ของคุณแม่ ปัญหาการต่อต้านจากชาวฮินดูมากมาย แต่กฝ็ า่ ฟัน มาได้ โดยความช่วยเหลือจากตำ�รวจอินเดีย

การจากบรรดาซิสเตอร์ พระแม่แห่งโลเรโต ไปนัน้ เป็นสิง่ ทีย่ ากยิง่ สำ�หรับซิสเตอร์เทเรซา เพือ่ จะ ทำ � เช่ น นั้ น เธอต้ องได้ รั บอนุ ญ าตจากทางกรุ ง โรม หลังจากมีการตกลงเรียบร้อยแล้วในคณะของเธอ ที่สุด เธอก็ได้รับอนุญาตให้เจริญชีวิตเป็นซิสเตอร์ นอกอารามได้ เธอออกจากอารามเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1948 หลังจากเปลี่ยนชุดนักบวช ซิสเตอร์พระแม่แห่งโลเรโตแล้ว สวมชุดส่าหรีสีขาว ซึง่ ก็ดเู หมือนๆ กับพวกผูห้ ญิงยากจนทีส่ ดุ ในอินเดีย สวมใส่อยู่ ส่าหรีนั้นมีแถบสีฟ้า เป็นสัญลักษณ์ถึง ความปรารถนาของคุณแม่เทเรซาที่อยากเลียนแบบ พระแม่มารีย์

ค.ศ. 1955 มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านเพื่อการ กุ ศ ล คุ ณ แม่ เ ทเรซาจึ ง เปิ ด เป็ น บ้ า นรั บ เลี้ ย งเด็ ก กำ�พร้า ตั้งชื่อว่า “บ้านเด็กใจบุญ” (Children’s Home of the Immaculate Heart) ค.ศ. 1957 เริ่มจัดหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ ไปรักษาชาวไร่ชาวนา และพบว่า ชาวอินเดียป่วยเป็น โรคเรื้อนกันมาก จึงเริ่ม หาทางแก้ไข และได้รับ บริจาคที่ดินจากรัฐบาลเบงกอลตะวันตก เพื่อก่อตั้ง สถานที่รักษาพยาบาลโรคเรื้อน แต่ก็มีงบประมาณ ไม่เพียงพอ จึงนำ�รถที่พระสันตะปาปาได้เคยให้ไว้ ออกมาประมูลโดยการออกสลากจับรางวัล จนได้ จำ�นวนเงินมาเพือ่ ดำ�เนินและสนับสนุนโครงการ และ หมู่บ้านสันติสุขก็เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1968

26 | KAMSONCHAN


ค.ศ. 1979 คุ ณ แม่ เ ทเรซาได้ รั บ รางวั ล 5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. โนเบลสาขาสันติภาพ 1997 คุณแม่เทเรซาได้ถึงแก่กรรมลงที่บ้านของ คุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดย ค.ศ. 1983 ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยม คำ�พูดคำ�สุดท้ายทีค่ ณ ุ แม่ได้พดู ออกมาคือ “หายใจไม่ สถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ท่านก็เริ่มป่วย ออกแล้ว” ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่ เป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำ�เริบครัง้ แรก โดยมีหวั ใจ เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพ เต้ น อ่ อนเกิ น ไปแต่ ปลอดภัย หลัง จากนั้นคุณแม่ ของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของ เทเรซาก็ทำ�งานอยูเ่ หมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็ ทางการอินเดีย มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซาได้ยื่น จดหมายต่ อ พระสั น ตะปาปา ว่ า ขอลาออกจาก ในช่วงเวลาทีค่ ณ ุ แม่เสียชีวติ คณะมิชชันนารี ตำ�แหน่งมหาธิการิณีคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม แห่งความรักของพระเจ้ามีซิสเตอร์มากกว่า 4,000 พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะ คน และอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ มาสืบทอดตำ�แหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าภคินีต่าง ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทัว่ โลก คัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือก ปัจจุบันร่างของคุณแม่เทเรซานอนหลับอยู่ที่บ้าน ตั้งผู้สืบทอดตำ�แหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่ คุณแม่ในอินเดีย เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือคุณแม่เทเรซาก็ได้ คุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตาได้รับการแต่ง รับเลือกตั้งกลับมาเป็นมหาธิการิณีคณะฯ อีกครั้ง ตั้งเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 การทำ � งานของท่ า นก็ มี อ าการโรคหั ว ใจ ขอบุ ญ ราศี คุ ณ แม่ เ ทเรซาแห่ ง กั ล กั ต ตาได้ โ ปรด กำ�เริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับ เสนอวิงวอนต่อพระเป็นเจ้าเพื่อเราด้วยเทอญ หนักมากเกิดขึ้นกับคุณแม่เทเรซาอีกใน ค.ศ. 1989 และอี ก ครั้ ง ใน ค.ศ. 1996 หลั ง จากนั้ น คุ ณ แม่ เทเรซาก็ปว่ ยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสือ่ ลุกนัง่ ไม่ได้ เมือ่ คุณแม่เห็นว่า ตนคงไม่อาจปฏิบตั หิ น้าที่ ได้ ในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1997 จึงได้ลาออกจาก ตำ�แหน่งมหาธิการิณีคณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม อีกครัง้ ครัง้ นีเ้ หล่าซิสเตอร์เห็นว่า คุณแม่เทเรซาควร ได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านใน การลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียง ให้คณ ุ แม่เทเรซา เพือ่ ให้คณ ุ แม่ได้พกั รักษาตัวไม่ตอ้ ง มีภารกิจ ดังนั้น ภคินี นิร มลาจึงได้รับเลือกเป็น มหาธิ ก าริ ณี ค ณะธรรมทู ต แห่ ง เมตตาธรรมแทน คุณแม่เทเรซา

หลักฐานอ้างอิง : http://www.hiclasssociety.com/?p=17889 http://www.catholic.or.th/archive/motherterasa WWW.KAMSONCHAN.COM

| 27


เกมและกิจกรรม โดย : ซาลาเปา

เกม “ประตูสวรรค์”

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน มาพบกับ “ซาลาเปา” กันในคอลัมน์นี้ แหม... หนาวๆ แบบ นี้ ซาลาเปาอุ่นๆ สักลูกก็คงดี ..อิอิ.. (ยังไม่หมดฤดูหนาวใช่ไหมเอ่ย?) ในคอลัมน์นี้เรามีเกมที่ จะมาแนะนำ� คือเกม “ประตูสวรรค์” ส่วนมากเกมนี้มักจะใช้ในค่ายหรือห้องเรียนที่มีนักเรียน พอสมควร ถ้าใครไม่ถนัดจะนำ�ไปปรับเปลี่ยนก็ได้ ไปดูกันเลยดีกว่าว่าเล่นกันยังไง ...

กลุ่มเป้าหมาย 1. นักเรียนระดับชั้น ม.1 - ม.6 2. จำ�นวนนักเรียนประมาณ 20 - 50 คน จุดประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตกลุ่ม การอยู่ร่วมกันในสังคมและมีสัมพันธภาพ ที่ดีต่อกันในการเป็นแบบอย่างของชีวิตคริสตชน 2. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การอยู่ด้วยกันโดยไม่แบ่งแยกศาสนาและเชื้อชาติ 3. เพื่อให้นักเรียนได้ทำ�ความรู้จักเพื่อนๆ ในค่ายหรือในห้องเรียนและเรียนรู้กันและ กันมากขึ้น

28 | KAMSONCHAN


กติกาในการเล่น 1. ให้นักเรียนนั่งกับพื้นเป็นวงกลมและเว้นช่องว่างไว้ 1 ที่ คือประตูสวรรค์ 2. ให้นักเรียน 2 คน ที่นั่งระหว่างช่องว่าง จับมือและวิ่งไปหาเพื่อนคนไหนก็ได้ที่อยาก พาไปสวรรค์ดว้ ยมานั่งลงตรงที่ว่าง คู่ถัดมาเมื่อเพื่อนถูกพาไปแล้วและเกิดช่องว่าง ก็ตอ้ งวิ่งไปหา เพื่อนคนใหม่มาเติมตรงช่องว่างของตน ทำาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ กับคู่อื่นๆ 3. ให้พี่เลี้ยงหรือคุณครูร้องเพลงหรือเปิดเพลงบรรเลงไปด้วยขณะเล่น และหยุดเพลง เมื่อถึงระยะหนึ่ง คู่ที่ค้างอยู่หรือหาเพื่อนไม่ได้ ให้คัดออกมาสัก 3-4 คู่ 4. เมื่อได้เหยื่อมาแล้ว ให้เพื่อนๆ ในวงกลมเสนอว่าอยากให้เพื่อนทำาอะไร เช่น เต้น เพลงไก่ย่าง เป็นต้น สรุปกิจกรรม 1. การทีน่ กั เรียนทุกคนนัง่ เป็นวงกลม เป็นการใช้ชวี ติ กลุม่ ร่วมกันในสังคม ทุกคนมีหน้า ที่ของตัวเองที่ต้องรับผิดชอบ 2. ช่องว่าง 1 ที่ ในวงกลม เป็นการเตือนให้เราเ½้าระวังว่าเราต้องไปหาเพื่อนมาเติม ช่องว่างถ้าเกิดช่องว่างขึ้น เช่นเดียวกัน เมื่อเตรียมตัวไปสวรรค์เราจะต้องมิให้ตัวเองบกพร่อง 3. การจับมือกันเป็นการทำางานร่วมกันเป็นทีม ช่วยส่งเสริมกัน ดังในพระคัมภีร์ที่ได้ กล่าวไว้ว่าพระเยซูเจ้าได้ทรงส่งศิÉย์ออกไปประกาศเป็นคู่ๆ 4. การที่นักเรียนวิ่งไปหาเพื่อนมาเติมตรงช่องว่าง เป็นการระลึกถึงคนที่เรารัก คิดถึง เพื่อนมนุÉย์ด้วยกัน โดยการชักชวนเขาและพาเขาไปสวรรค์กับเราด้วย เป็นการช่วยเหลือเพื่อน มนุÉย์ด้วยกันและเป็นหน้าที่ของคริสตชนทุกคน

WWW.KAMSONCHAN.COM

| 29


พระวาจาทรงชีวิต

โดย : Francisco@Sriracha

ดังที่พระบิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด (ลก 6:36)

จงเป็นผู้เมตตากรุณา

สิบสองคน หลังจากที่พระองค์ทรงเลือกพวกเขามา เป็นศิษย์เพื่อติดตามพระองค์ ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะ เริ่มธรรมเทศนาแรก พระองค์ทรงทอดพระเนตร บรรดาศิษย์ (ลก 6:20ก) พระองค์ทรงประกาศสุข คติสี่ประการของการเป็นศิษย์พระองค์ “ท่านทั้ง พระวาจาตอนนี้เป็นบทสรุปบทเทศน์ของ หลายทีย่ ากจนย่อมเป็นสุข เพราะพระอาณาจักรของ พระเยซู เ จ้ า ที่ ท รงเทศน์ ส อนบรรดาอั ค รสาวกทั้ ง พระเจ้าเป็นของท่าน ท่านทีห่ วิ ในเวลานีย้ อ่ มเป็นสุข พระวาจาของพระเจ้าจากพระวรสารนักบุญ ลูกานีจ้ ะต้องดังก้องอยูใ่ นหัวใจของคริตชนตลอด “ปี ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” นี้ และควรดังก้องอยู่ ตลอดชีวิตของคริสตชนเพราะ “พระเจ้าทรงสร้าง มนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์” (ปฐก1:27)

30 | KAMSONCHAN


เพราะท่านจะอิม่ ท่านทีร่ อ้ งไห้ในเวลานีย้ อ่ มเป็นสุข เพราะท่านจะหัวเราะ ท่านทั้งหลายเป็นสุข เมื่อคน ทั้งหลายเกลียดชังท่าน ผลักไสท่าน ดูหมิ่นท่าน รังเกียจนามของท่านประหนึง่ นามชัว่ ร้ายเพราะท่าน เป็นศิษย์ของบุตรแห่งมนุษย์” (ลก 6:20-22) และ พระองค์ทรงตรัสวิบตั สิ ปี่ ระการต่อผูร้ �่ำ รวย “วิบตั จิ ง เกิดกับท่านทีร่ �่ำ รวย เพราะท่านได้รบั ความเบิกบาน ใจแล้ว วิบัติจงเกิดกับท่านที่อิ่มเวลานี้ เพราะท่าน จะหิว วิบัติจงเกิดกับท่านที่หัวเราะเวลานี้ เพราะ ท่านจะเป็นทุกข์และร้องไห้ วิบัติจงเกิดกับท่านเมื่อ ทุกคนกล่าวยกย่องท่าน” (ลก 6:24-26) และช่วงที่ สองพระองค์ทรงตรัสต่อบรรดาผู้ที่ฟังพระองค์ “แต่ เรากล่าวกับท่านทัง้ หลายทีก่ �ำ ลังฟังอยูว่ า่ จงรักศัตรู จงทำ�ดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน จงอวยพรผู้ที่สาปแช่ง ท่าน จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่ทำ�ร้ายท่าน ผู้ใดตบ แก้มท่านข้างหนึ่ง จงหันแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขาตบ ด้วย ผูใ้ ดเอาเสือ้ คลุมของท่านไป จงปล่อยให้เขาเอา เสือ้ ยาวไปด้วย จงให้แก่ทกุ คนทีข่ อท่าน และอย่าทวง ของของท่านคืนจากผู้ที่ได้แย่งไป ท่านอยากให้เขา ทำ � ต่ อ ท่ า นอย่ า งไร ก็ จ งทำ � ต่ อ เขาอย่ า งนั้ น เถิ ด ” (ลก 6:27-31) สิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงสอนประชาชน ของพระองค์คือ จงรักศัตรู (ลก 6:27) อย่าสาปแช่ง พวกเขา (ลก 6:28) จงหันแก้มอีกข้างหนึง่ ให้เขาตบ และอย่าตำ�หนิคนที่เอาของของท่าน (ลก 6:29) สิ่ง ที่พระองค์ทรงสอนนี้ ดูช่างยากที่จะเข้าใจจริงๆ แต่ ความหมายทั้งหมดได้ถูกสรุปไว้ในพระวาจาของปี ศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมนี้แล้ว

รู้จักที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเอง ดังเช่นที่ พระวรสารนักบุญมัทธิวได้กล่าวไว้วา่ “จงรักศัตรู จง อธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อท่านจะ ได้เป็นบุตรของพระบิดาเจ้าสวรรค์ พระองค์โปรดให้ ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้า สวรรค์ ข องท่ า นทรงความดี อ ย่ า งสมบู ร ณ์ เ ถิ ด ” (มธ 5:44-45,48) ความรักต้องอยู่บนความดีของ ผู้อื่น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาทำ�อะไรให้กับเราหรือเรา ได้อะไรจากเขา โอกาสปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมนี้ สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงกำ�หนดให้พระศาสนจักร ท้องถิ่น ทำ�พิธีเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ที่วัดหรืออาสน วิหาร ในสังฆมณฑลของตนเอง สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดพิธีเปิดประตูศักดิสิทธิ์ที่อาสนวิหารฯ จันทบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ที่ผ่านมา

“จงเป็น ผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของ ท่านทรงเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) สุขคติของ บรรดาศิษย์กบั วิบตั แิ ก่คนร่�ำ รวย ไม่ได้หมายความถึง การขัดแย้งระหว่างคนจนกับคนรวย พระองค์ทรง สอนให้ เ รามี ที ท่ า ที่ ต รงกั น ข้ า ม “จงรั ก ศั ต รู ” (ลก 6:27) พระองค์ทรงสอนให้เรารู้จักที่จะกลับใจ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 31


ท่านไปรับศีลอภัยบาป พวกท่านไม่ต้องพาทนายไป แก้ต่างในบาปที่ทำ� เพราะท่านมีผู้ปกป้องอยู่แล้วก็ คือพระเยซูนั่นเอง พระเจ้าทรงลบล้างบาปของเรา และพระองค์ทรงไม่จดจำ�บาปผิดเหล่านั้น ถ้าเรา สำ�นึกและกลับใจด้วยใจจริง ฉะนั้น ไม่มีใครที่ไม่ได้ รับพระเมตตาจากพระเจ้า พระศาสนจักรเปิดประตู ต้อนรับทุกคน ไม่มใี ครทีถ่ กู ปฏิเสธ นีค่ อื ประตูทเี่ ปิด ต้อนรับทุกคนที่ต้องการจะได้รับการอภัยโทษจาก พระเจ้า” และปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระองค์ พระสังฆราชซิลวีโอสิรพิ งษ์ จรัสศรี ทรงเป็นประธาน ที่ประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) นี้เพื่อคริสตชนทุกคน ในพิธีเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์และพิธีบูชาขอบพระคุณ “พีน่ อ้ งทีร่ กั พ่อคิดอยูเ่ สมอว่าจะทำ�อย่างไร ในช่วงบทเทศน์พระคุณเจ้าฯ เชิญชวนให้คริสตชนได้ รำ�พึงไตร่ตรองพระวาจาเป็นพิเศษ สำ�หรับช่วงเวลา ที่ พ ระศาสนจั ก รจะทำ � พั น ธกิ จ ของตนให้ เ ป็ น ที่ “ปีศักดิ์สิทธิ์พิเศษแห่งเมตตาธรรม” นี้ พระคุณเจ้า ประจั ก ษ์ ชั ด ถึ ง การเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานต่ อ ความ ได้เชิญชวนให้เราได้ไตร่ตรองพระวาจาเกี่ยวกับชาว เมตตา นี่คือการจาริกที่เริ่มต้นด้วยการกลับใจของ สะมาเรียผู้ใจดี (ลก 10:29-30) และเมื่อเราทราบ จิตวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ พ่อได้ตัดสินใจที่จะเปิดปี และรับรูพ้ ระประสงค์ขององค์พระเยซูเจ้าทีท่ รงตรัส ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ใ นวาระพิ เ ศษเพื่ อ ให้ ค วามเมตตาของ อุปมานีแ้ ล้ว ให้เราไปปฏิบตั ติ ามพระวาจาทีก่ ล่าวไว้ พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง นี่จะเป็นปียูบิลีแห่งเมตตา ในตอนท้ายของอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดีเถิด ธรรม พวกเราต้องการทีจ่ ะดำ�เนินชีวติ ในปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ นีอ้ ยูใ่ นแสงสว่างของพระวาจา ของพระเจ้าทีต่ รัสไว้ “ท่านจงไปและทำ�เช่นเดียวกันเถิด” (ลก 10:37) ว่า ‘จงเป็นผู้เมตตากรุณาดังที่พระบิดาของท่านทรง พระวรสารของนักบุญลูกาได้กล่าวไว้อกี ว่า พระเมตตากรุณาเถิด’” (ลก 6:36) “อย่าตัดสินเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวหาเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรงกล่าวโทษ ท่าน จงให้อภัยเขา แล้วพระเจ้าจะทรงให้อภัยท่าน” (ลก 6:36-37) ปีศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมตตาธรรมนีเ้ ป็นช่วง เวลาพิ เ ศษ เป็ น ช่ ว งเวลาที่ เ ราจะได้ ก ลั บ ใจ ได้ เปลี่ยนแปลงชีวิต ได้กลับไปคืนดีกับพระเจ้าโดย ผ่ า นทางศี ล แห่ ง การคื น ดี (ศี ล อภั ย บาป) และ ศีลมหาสนิท ดังที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ ตรัสไว้ในบทเทศน์โอกาสประกาศปีศกั ดิส์ ทิ ธิ์ (พิเศษ) “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” ว่า “จงอย่ากลัวที่จะ เดินไปรับศีลอภัยบาป พระเจ้าทรงรอต้อนรับท่าน และท่านจะได้รจู้ กั พระนามของพระองค์ เวลาทีพ่ วก

32 | KAMSONCHAN


WWW.KAMSONCHAN.COM

| 33


ประมวลภาพกิจกรรม โดย : KAMSONCHAN

ม�สเตอร์เณรร่วมส่งคว�มสุขในโอก�ส “วัน คริสต์ม�ส”

จัดโครงก�รม�ร�น�ธ� ฟื้นฟูชีวิตคริสตชน ประจำ�เดือนพฤศจิก�ยน

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2015 มาสเตอร์เณรร่วมส่งความ สุขให้ คุณพ่อเอนก นามวงษ์, ซิสเตอร์สุมาลี สุดจินดา และ พนักงานแผนกคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ และแผนก สื่อมวลชน เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ณ ห้องแผนก คริสตศาสนธรรม ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี

แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี จัด “โครงการ มารานาธา” ประจำ า เดื อ นพฤศจิ ก ายน เมื่ อวั น ที่ 27-29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ณ ศูนย์สงั ฆมณฑลจันทบุรี อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมีคุณพ่อเอนก นามวงษ์ เป็นผู้นำากิจกรรม ซึ่งมี ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 47 คน

จัดแข่งขันตอบคำ�ถ�มพระคัมภีร์ “หนังสือ ประก�ศกเยเรมีย์”

บุ ค ล�กรแผนกคำ � สอนร่ ว มง�นชุ ม นุ ม ครู คำ�สอนระดับช�ติ ครั้งที่ 5

แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ร่วมกับแผนก พระคัมภีร์ จัดการแข่งขันตอบคำาถามพระคัมภีร์ ในหัวข้อ “หนังสือประกาศกเยเรมีย์” เนื่องในงานวันวิชาการสัมพันธ์ รสจ. ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 ณ โรงเรียนดาราสมุทร อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

บุคลากรแผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี เข้าร่วม งานชุมนุมครูคำาสอนระดับชาติ ครั้งที่ 5 ณ สักการสถาน พระมารดาแห่งมรณสักขี สองคอน จ.มุกดาหาร ระหว่างวันที่ 13-15 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ที่ผ่านมา โดยมีคุณครูคำาสอนเข้า ร่วมทั้งสิ้น 457 ท่าน

เทศน์อบรมก�รเข้�เงียบและฝกสม�ธิ (ม�ร� น�ธ�)

อบรมฟื้ น ฟู จิ ต ใจสม�คมค�ทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย

เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม ค.ศ. 2015 คุณพ่อเอนก นามวงษ์ ได้ รับเชิญไปเทศน์อบรมการเข้าเงียบและฝกสมาธิ (มารานาธา) ให้กับสมาชิกผู้ฝกหัด คณะรักกางเขน สังฆมณฑลจันทบุรี ณ ศูนย์อบรมคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี โดยมีสมาชิกผู้ฝกหัด เข้ารับการอบรม จำานวน 20 คน

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2015 คุณพ่อเอนก นามวงษ์ ได้รับ เชิญไปเทศน์อบรมฟืน้ ฟูจติ ใจสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย เรือ่ ง “การใช้พระคัมภีรใ์ นการภาวนาประจำาวัน” ให้กบั สมาชิก สมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย จำานวน 50 ท่าน ณ โบสถ์ พระมหาไถ่ ซ.ร่วมฤดี กรุงเทพฯ

34 | KAMSONCHAN


ประชาสัมพันธ์

โดย : KAMSONCHAN

ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ กิจกรรมต่างๆ ของ แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ข่าว แวดวงคำ�สอนต่างประเทศ รำ�พึงพระวาจาประจำ� วัน บทเรียนคำ�สอนออนไลน์ สื่อคำ�สอนต่างๆ และข้อมูลเกี่ยวพระศาสนจักร ได้ทางเว็บไซต์คำ� สอนจันท์ www.kamsonchan.com

ติดตามข่าวสารของแผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑล จันทบุรี ได้ทางแฟนเพจ Bible Chantaburi

ติดตามและดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสอน “หนั ง สื อ รวมแผนการสอน คำ � สอนจั น ท์ ” ชั้ น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ได้ที่ http://kamsonchan.com/index.php/

kamsonchanmedia/lesson-plan

ร่วมส่งข่าวและภาพกิจกรรมคำ�สอนต่างๆ ของโรงเรียนท่าน ได้ที่ : แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ที่อยู่ : 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 ร้านศาสนภัณฑ์ สังฆมณฑลจันทบุรี เปิดร้าน จำ � หน่ า ยศาสนภั ณ ฑ์ ค าทอลิ ก ออนไลน์ ทาง เว็บไซต์ www.chancathshop.com

E-mail : chancathshop@hotmail.com

WWW.KAMSONCHAN.COM

| 35


แนะนำ�สื่อใหม่ โดย : MARIUM

Catholic update คู่มือสำ�หรับ..ศีลกำ�ลัง เขียนโดย Rev. Fr.Thomas Richastattet,O.F.M., Lawrence Mick และ Mary Kendzia พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2014 จำ�นวน 61 หน้า ราคา 50.00 บาท

“ศีลกำ�ลัง” ศีลศักดิ์สิทธิ์อีกประการหนึ่งของ “ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มชีวิตคริสตชน”

คุณครูจะทราบได้ว่าศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้คืออะไรบ้าง มีความสำ�คัญอย่างไร ต้องเตรียมตัว อย่างไร และเมื่อไหร่จะได้รับศีลกำ�ลัง รวมทั้งพระจิตมีของประทานพิเศษที่แจกจ่ายแก่ผู้เป็นสมาชิก ในพระคริสตวรกาย

คุณครูสามารถเพิ่มเติมความรู้ได้จาก “Catholic update คู่มือสำ�หรับ..ศีลกำ�ลัง” ค่ะ

Catholic update คู่มือสำ�หรับ..ศีลล้างบาป เขียนโดย Rev. Fr.Thomas Richastattet,O.F.M., Lawrence Mick และ Mary Kendzia พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 จำ�นวน 72 หน้า ราคา 50.00 บาท

หนังสือเล่มนี้พูดถึงศีลศักดิ์สิทธิ์ประการแรกของศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นสามประการ ของคริสตชน ได้รบั การเชิดชูให้เด่นในพระวาจาของพระเยซูเจ้าทีก่ ล่าวอำ�ลาบรรดาอัครสาวกว่า “ท่าน ทั้ ง หลายจงไปสั่ ง สอนนานาชาติ ใ ห้ ม าเป็ น ศิ ษ ย์ ข องเรา ทำ � พิ ธี ล้ า งบาปให้ เ ขา เดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร และพระจิต (มธ 28:18)

คุณครูสามารถเข้าใจและตอบคำ�ถามได้อย่างมั่นใจจาก Catholic update คู่มือสำ�หรับ.. ศีลล้างบาป นะคะ

36 | KAMSONCHAN


Catholic update คู่มือสำ�หรับ..ศีลมหาสนิท เขียนโดย Rev. Fr.Thomas Richastattet,O.F.M., Lawrence Mick และ Mary Kendzia พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 จำ�นวน 76 หน้า ราคา 50.00 บาท แหล่งขุมทรัพย์สุดยอดของชีวิตคริสตชนคือ “พิธีบูชา ขอบพระคุณ” ขุมทรัพย์ทางวิญญาณของพระศาสนจักร ศีลมหาสนิทเป็นการประทับอยู่อย่างแท้จริงของพระเยซูคริสตเจ้า เป็นการระลึกถึงพระทรมาน การสิ้นพระชนม์ การกลับคืนชีพ การบิปังจากอาหารค่ำ�มื้อสุดท้าย คุณครูสามารถอ่าน ทำ�ความเข้าใจ นำ�ไปปฏิบัติทั้งชีวิตส่วนตัว เป็นแบบอย่าง และถ่ายทอด ต่อในความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทได้ค่ะ

ความเชื่ออันเป็นชีวิต เขียนโดย พงศ์ ประมวล จำ�นวน 149 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1996 และ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2012 ราคา 190.00 บาท เนื้อหาในหนังสือบอกให้ทราบว่า เราคาทอลิกเชื่ออะไร ที่คุณครูสอนเด็กๆ เรียกว่าสอนคำ�สอนนั้น คือสอนอะไร เด็กๆ ต้องรู้อะไรบ้าง สอนแล้วรู้แล้วต้อง ปฏิบตั ติ ามคำ�สัง่ สอน เหมือนพ่อแม่สอนลูก บอกให้ลกู ทำ� ลูกทำ�ตาม ก็เกิดผลดีตอ่ ชีวติ เมือ่ เติบโตขึน้ ในหนังสือ “ความเชื่ออันเป็นชีวิต” มีข้อมูลอะไรบ้าง คุณครูจะพบสาระต่อไปนี้

1. ความเชื่อเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า 2. ศาสนกิจในชีวิตประจำ�วัน 3. คำ�สอนของพระเยซู 4. พระนางพรหมจารีมารีอา

5. พระศาสนจักร 6. ทัศนะที่ควรเข้าใจ 7. ความเข้าใจเรื่องรูปเคารพ 8. พระคัมภีร์

แต่ละเรื่องไม่ยาว อ่านแล้วรู้เรื่อง เป็นการสรุปภาพรวมความเชื่อที่คุณครูสามารถนำ�ไปพูด คุยกับเด็กๆ ได้ และใช้สนทนาหรือตอบคำ�ถามกับบุคคลต่างความเชื่อได้อย่างมั่นใจค่ะ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 37


บทเพลงศักดิ์สิทธิ์ (Holy Song) โดย : Francisco@Sriracha

บทภาวนาของนักบุญฟรังซิส (The Prayer of Saint Francis)

การสรรเสริญพระเจ้าอาจทำาได้ในหลายรูปแบบไม่วา่ จะผ่านการภาวนา การรำาพึง ฯลฯ แต่ สิง่ หนึง่ ทีม่ นุษย์ใช้ในการสรรเสริญพระเจ้าและมีมาแต่ยาวนาน นัน่ คือการสรรเสริญพระเจ้าผ่านทาง เสียงเพลงและบทเพลง ในช่วงเวลาพิเศษแห่งการรับพระหรรษทานในโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์ (พิเศษ) นี้ “ปีศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมตตาธรรม” (The Holy Year of Mercy) ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศให้ ช่วงเวลาของปีศกั ดิส์ ทิ ธิน์ เี้ ริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015 ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เป็นช่วงเวลาแห่งความเมตตา คริสตชนต้องแสดงความเมตตาเช่นที่พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความ เมตตากรุณา “จงเป็นผูเ้ มตต�กรุณ�ดังทีพ ่ ระบิด�ของท่�นทรงพระเมตต�กรุณ�เถิด” (ลก 6:36) คอลัมน์บทเพลงศักดิส์ ทิ ธิใ์ นฉบับนีจ้ งึ ขอแนะนำาบทเพลงหนึง่ ทีน่ า่ จะเหมาะอย่างยิง่ สำาหรับ ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม นี้ บทเพลงนั้นคือ The Prayer of Saint Francis แปลเป็นไทยได้ว่า บทภาวนาของนักบุญฟรังซิส ที่คริสตชนไทยคุ้นเคยกันอย่างดี C

Cmaj7

C

Cmaj7

Make me a channel of your peace, C

Cmaj7

Dm

Where there is hatred let me bring your love Dm

G7

Dm

G7

Where there is injury your pardon Lord Dm

G7

C

And where there’s doubt true faith in you. F

C

O spirit grant that I may never seek G

C

So much to be consoled as to console F

C

to be understood as to understand D7

G7

To be loved as to love with all my soul.

38 | KAMSONCHAN

C7

C7

G7


Prayer of Saint Francis Make me a channel of your peace Where there’s despair in life let me bring hope Where there is darkness, only light And where there’s sadness, ever joy. Make me a channel of your peace, It is in pardoning that we are pardoned In giving to all that we recieve And in dying that we’re born to eternal life

เพลง “บทภาวนาของนักบุญฟรังซิส” 1. ให้เราเป็นเครื่องมือสื่อสันติ ที่ใดมีความเกลียดชังนำ�รักพระไป ที่ใดมีความโกรธเคืองนำ�การอภัย ที่ใดสงสัยให้นำ�ความเชื่อ (รับ) โอ้พระเจ้าโปรดสดับฟังคำ�วิงวอน ให้เราเป็นผู้บรรเทามากกว่ารับการบรรเทา จะปลอบโยนดูแลและเข้าใจผู้อื่น มอบความรักมากกว่าการรอคอยความรักจากใคร 2. ให้เราเป็นเครื่องมือสื่อสันติ ที่ใดมีความหวังมลายนำ�ความหวังไป ที่ใดมีความมืดมัวจะส่องแสงไป ที่ใดทุกข์ใจนำ�ความยินดี 3. ให้เราเป็นเครื่องมือสื่อสันติ ให้เรารู้จักอภัยเหมือนดังพระองค์ ให้เรารู้จักแบ่งปันความรักมั่นคง เพื่อจะดำ�รงชีวิตนิรันดร์ WWW.KAMSONCHAN.COM

| 39


พระคัมภีร์ทางไปรษณีย์

โดย : แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลจันทบุรี

พระคัมภีร์ทางไปรษณีย์ บทเรียนชุดที่ 1 : พันธสัญญาเดิม 15 บทเรียน บทเรียนชุดที่ 2 : บุคคลในพันธสัญญาเดิม 10 บทเรียน บทเรียนชุดที่ 3 : พันธสัญญาใหม่ (มัทธิว) 11 บทเรียน บทเรียนชุดที่ 4 : พันธสัญญาใหม่ (ลูกา) 12 บทเรียน

ลักษณะก�รเรียน ☞ เรียนรู้ และทำาความเข้าใจบทเรียนด้วยตนเอง ☞ ไม่เสียค่าสมัคร ☞ ไม่จำากัดระยะเวลาในการเรียน ☞ เมื่อส่งบทเรียนตอนเก่ากลับ...

...รับบทเรียนใหม่ฟรีทันที! ยังไม่พอ!!! เมื่อศึกษาบทเรียนจบชุด... รับเกียรติบัตรสวยหรู พร้อมของที่ระลึก

สนใจสมัครเรียนหรือสอบถ�ม ร�ยละเอียดเพิ่มเติมได้ที่... แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลจันทบุรี ที่อยู่ : 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ : 087-4963669 038-312708 โทรส�ร : 038-324251

สมั ค รสมาชิ ก วารสารคํ า สอนจั น ท์ ชื่อ ........................................................................................................... นามสกุล ................................................................................................................ ที่อยู่ ................................................................................................................................................................... โทร ............................................................... สถานที่จัดส่ง .................................................................................................................................................. โทร ............................................................... ต้องการ ( ) สมัครสมาชิกวารสารคําสอนจันท์ จํานวน 1 ปี ( 6 เล่ม ) 200 บาท ( ) อุปถัมภ์ แด่ .................................................................................... จํานวน 1 ปี ( 6 เล่ม ) 200 บาท ชําระโดย ( ) ธนาณัติ สั่งจ่าย นางสาวสุมาลี สุดจินดา หรือ นายเอนก นามวงษ์ ( ) โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ นางสาวสุมาลี สุดจินดา ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย แปซิฟิคพาร์ค ศรีราชา เลขที่ 764-0-03660-7 ( ) เงินสด ( สามารถถ่ายสําเนาได้ )

40 | KAMSONCHAN




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.