รวมแผนการสอน คำสอนจันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า บทเรียนสำ�หรับครูคำ�สอน ..............................................................................................1 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แผนการของพระเจ้าและประวัติแห่งความรอดพ้นของมนุษย์ .....................................2 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูเจ้ากับฉัน ..................................................................8 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในพันธกิจของพระศาสนจักร ................................................12 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเป็นประจักษ์พยานของคริสตชนในสังคม .........................................................16 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พระคัมภีร์กับชีวิตคริสตชน ...............................................................................19 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พิธีบูชาขอบพระคุณและชีวิตคริสตชน ....................................................................23 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ความสำ�คัญของการภาวนาในชีวิตคริสตชน ........................................................27 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง คุณค่าของคุณธรรมหลัก 4 ประการ ....................................................................32



1

ครูคําสอน บทเรียนสําหรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่�น แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนก�รจัดก�รเรียนรูค้ ริสตศ�สนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจ�กที่ได้มีก�รนำ�เสนอ “แผนก�รสอนคำ�สอนระดับมัธยมศึกษ�” ม�ม�กม�ยหล�ย ครั้งหล�ยปีในส�รคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่�นม� ณ เวล�นี้ จึงได้มีก�รนำ�แผนฯ ดังกล่�วม�รวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้ม�กขึ้น ก�รรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี �รปรับปรุงอยูบ่ �้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บ�งสิง่ ที่ต้องก�รก�รปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งท�งคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจ�กทุกท่�น อยู่เสมอ เพื่อพัฒน�ง�นชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ท�งคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอก�สนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่�นทีไ่ ด้น�ำ แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่�งๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่�งยิง่ เป็นก�รร่วมมือกันสร้�งสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภ�พสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหล�นของเร�ต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้�ทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่�งสำ�หรับคุณครูทุกท่�นในภ�รกิจสำ�คัญ ของก�รเป็นสือ่ นำ� “คว�มรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เร�ทุกคนไม่ว�่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้�วเดินไปด้วยกันในหนท�งที่นำ�เร�ไปสู่ คว�มเชื่อ คว�มไว้ใจและคว�มรักในพระองค์อย่�ง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนส�ม�รถบรรลุถึง “คว�มรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประท�นแก่เร�ทุกคน แผนกคริสตศ�สนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี


2

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง แผนการของพระเจ้าและประวัติศาสตร์แห่ง ความรอดพ้น ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษย์อยู่ในแผนการ แห่งความรอดพ้นที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรู้คุณต่อพระเจ้าด้วยการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและ รับศีลศักดิ์สิทธ์ต่างๆ สาระการเรียนรู้ เมือ่ พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงมีแผนการจะให้เขามีความสุขกับพระองค์ตลอดนิรนั ดร แต่มนุษย์ ได้ท�ำ บาป พระเจ้าจึงทรงส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพือ่ ไถ่บาปของมวลมนุษย์ ดังนี้ ประวัตศิ าสตร์ แห่งความรอดพ้นของมวลมนุษยชาติจึงได้เกิดขึ้นในแผนการของพระเจ้า พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นการระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึก ปัสกาของพระเยซูคริสตเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันทำ�ใบงาน “ช่วยชีวิต” เมื่อทำ�เสร็จแล้ว ผู้สอนเปิดโอกาส ให้มีอาสาสมัครมาแบ่งปันคำ�ตอบ หรืออาจสุ่มตัวแทนบางกลุ่มมาแบ่งปันก็ได้ - เมื่อแบ่งปันเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้สอนสรุปประเด็นคำ�ตอบของทั้งสองข้อ โดยในข้อ ที่ 1 ให้เน้นถึง “การวางแผน” เพื่อให้ได้มาซึ่ง “น้องหมา” ที่อยากได้มากที่สุด ส่วน ในข้อ 2 ให้เน้นถึง “การทุ่มเท” ที่กลุ่มนำ�เสนอมาเพื่อช่วยชีวิตน้องหมานั้น - ใบงานนี้ช่วยให้ไตร่ตรองถึง 2 ประเด็นที่สำ�คัญคือ การวางแผน และการทุ่มเท เสียสละตนเองอย่างเต็มกำ�ลังเพือ่ ให้บรรลุถงึ เป้าหมายของการช่วยบุคคลทีร่ กั ให้ได้รบั ความรอด นี่คือสิ่งที่มนุษย์ซึ่งมีสติปัญญากระทำ�เป็นปกติ - พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์มากนัก เมื่อทรงสร้างมนุษย์พระองค์ทรงประทาน วิญญาณ สติปัญญาและน้ำ�ใจอิสระให้ด้วย ซึ่งเป็นส่วนนี้เองที่ทำ�ให้มนุษย์กลายเป็น “ภาพลักษณ์” ของพระเจ้า ทำ�ให้มนุษย์มีส่วนที่คล้ายคลึงกับพระองค์ - 2 ประเด็นที่กล่าวข้างต้นก็เช่นกัน เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราเข้าใจ ได้เล็กน้อยถึงพระสัพพัญญูญาณของพระเจ้า เฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของ “แผนการของ พระเจ้า” และ “ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษย์” (เหตุที่เข้าใจได้เพียงเล็ก น้อยก็เพราะพระเจ้าทรงเป็นผูไ้ ม่มขี อบเขต ส่วนมนุษย์ผถู้ กู สร้างมานัน้ เป็นผูม้ ขี อบเขต)

ดูใบงาน “ช่วยชีวิต” ท้ายแผน


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพอย่างไม่มีขอบเขตทรงเป็นผู้จัดระบบของทุกสิ่งใน จักรวาล ทุกสิ่งที่เราเห็นจึงเป็นระเบียบอย่างน่ามหัศจรรย์อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถ เข้าใจและอธิบายได้ทั้งหมด - เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของแผนการที่พระเจ้าทรงมีสำ�หรับมนุษย์ อันที่จริงแล้ว พระเจ้าทรงสามารถอยูไ่ ด้ดว้ ยพระองค์เองโดยไม่ตอ้ งมีมนุษย์ แต่พระองค์ทรงความล้�ำ เลิศและทรงเป็นองค์แห่งความรัก พระองค์จงึ ทรงมีด�ำ ริจะสร้างมนุษย์ขนึ้ เพือ่ ให้มนุษย์ เป็น “ภาพลักษณ์” ของพระองค์และเป็นผูท้ รี่ บั ความรักและความสุขจากพระองค์อย่าง เต็มเปี่ยมชั่วนิรันดร - ถึงแม้ว่ามนุษย์ได้ทำ�บาปจึงได้ทำ�ลายแผนการนิรันดรของพระเจ้า พระองค์ก็ ยังทรงมีพระทัยเมตตา ประทานอภัยแก่มนุษย์โดยให้พระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ คือพระเยซูคริสตเจ้าทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อสละชีวิตของพระองค์ไถ่บาปมนุษย์ - ให้เราอ่านและทำ�ความเข้าใจกับพระวาจาของพระเจ้าผ่านทาง น.ยอห์น

3 พระวาจา : (ยน. 1:1-5, 10, 12, 14) - เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์ทรงดำ�รงอยู่แล้ว พระวจนาตถ์ประทับอยู่กับ พระเจ้าและพระวจนาตถ์เป็นพระเจ้า พระองค์ประทับอยู่กับพระเจ้าแล้วตั้งแต่แรกเริ่ม พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งอาศัยพระวจนาตถ์ ไม่มีสักสิ่งเดียวที่พระเจ้าไม่ทรงสร้าง โดย ทางพระวจนาตถ์ ชีวิตอยู่ในพระองค์ และชีวิตเป็นแสงสว่างสำ�หรับมนุษย์ แสงสว่าง ส่องในความมืด และความมืดชนะแสงสว่างนั้นไม่ได้ - พระวจนาตถ์ประทับอยู่ในโลก และโลกถูกสร้างโดยอาศัยพระองค์ แต่โลกไม่รู้ จักพระองค์ ผู้ใดที่ยอมรับพระองค์ คือผู้ที่เชื่อในพระนามพระองค์ พระองค์ประทาน อำ�นาจให้ผู้นั้นกลายเป็นบุตรของพระเจ้า - พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์ และเสด็จมาประทับอยู่ในหมู่เรา

4 อธิบายพระวาจา - น.ยอห์นเป็นผู้เดียวที่ได้นิพนธ์พระวรสารโดยกล่าวถึง “พระเจ้า” ตั้งแต่เวลา “แรกเริม่ ” ซึง่ ไม่มใี ครทราบได้วา่ เป็นเมือ่ ใดแน่ ซึง่ ตรงกับหนังสือปฐมกาลทีเ่ ริม่ ด้วย คำ�ว่า “ปฐมกาล” โดยท่านกล่าวว่า ตัง้ แต่แรกเริม่ นัน้ “พระเจ้า” และ “พระวจนาตถ์” ทรงดำ�รงอยูแ่ ล้ว พระวจนาตถ์ทรงเป็นพระเจ้า ทุกสิง่ ถูกสร้างมาและมีชวี ติ อยูไ่ ด้ดว้ ย ชีวิตและแสงสว่างจากพระวจนาตถ์ - นี่คือ “แผนการของพระเจ้า” ที่พระองค์ทรงดำ�ริไว้ตั้งแต่แรกเริ่มสำ�หรับ มนุษยชาติและสิ่งสร้างทั้งมวล - พระเจ้ายังทรงดำ�ริด้วยว่า ให้แสงสว่างของพระองค์นั้นชนะความมืด อันเป็น ชัยชนะตัง้ แต่แรกเริม่ จนถึงกัลปาวสาน เพราะไม่มคี วามมืดใดจะยิง่ ใหญ่กว่าพระองค์ และจะชนะพระองค์ได้ พระองค์ทรงเป็นเจ้าของและทรงอยู่เหนือทุกสิ่ง - แต่ก็ยังมี “โลก” บางส่วนที่ไม่รู้จักพระองค์ ไม่ยอมรับพระองค์ ซึ่งส่วนนี้ แหละที่ทำ�ให้แผนการของพระเจ้าไม่บรรลุเป้าหมาย

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


4

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- บาปได้ทำ�ลายแผนการของพระเจ้า ผู้ทำ�บาปคือผู้ไม่ยอมรู้จักและไม่ยอมรับ พระเจ้า การทำ�บาปเป็นการปฏิเสธพระเจ้าและความรักอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ - พระเจ้าจะทรงปล่อยให้มนุษย์ตกอยู่ในบาปอันนำ�ไปถึงจุดจบแห่งความพินาศ ไม่ได้ แผนการของพระองค์นั้นดีอย่างที่สุดไม่มีที่ติใดๆ พระองค์จึงทรงต้องกอบกู้ มนุษยชาติและสากลโลกให้กลับสู่สภาพเดิมตามแผนการของพระองค์โดยทรงส่งพระ บุตรของพระองค์ลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพือ่ ไถ่บาปมนุษย์และนำ�สรรพสิง่ ทัง้ มวลกลับ สู่สภาพใหม่ตามพระดำ�ริของพระเจ้า - ด้วยเหตุนี้จึงเกิด “ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” ขึ้นในแผนการของ พระเจ้าด้วย ซึง่ ในประวัตศิ าสตร์นผี้ เู้ ป็นศูนย์กลางของทุกสิง่ คือพระเยซูคริสตเจ้านัน่ เอง ผู้ทรงมาฟื้นฟูทุกสรรพสิ่งขึ้นใหม่อาศัยธรรมล้ำ�ลึกปัสกาของพระองค์และนำ�ถวายทุก สิ่งแด่พระบิดาเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระองค์ทรงเป็นอัลฟาและโอเมกา ทรงเป็นจุด เริ่มต้นและเป้าหมายของสรรพสิ่ง - ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ซึ่งได้ทำ�บาปจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อาศัยการทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า มนุษย์จึงได้ถูกไถ่ให้พ้น จากบาปและความตายชั่วนิรันดร์ ไปสู่ชีวิตแห่งความสุขนิรันดร (ดู กจ. 2:23-36) 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากประสบการณ์ในการทำ�ใบงาน “ช่วยชีวิต” และจากการไตร่ตรองพระวาจา ดังกล่าว ผู้เรียนจะสามารถเข้าใจได้บ้างเกี่ยวกับเรื่อง “แผนการของพระเจ้าและ ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษย์” ซึ่งเป็นเรื่องที่สำ�คัญสำ�หรับมนุษย์ทุกคน อย่างใกล้ชิดเพราะในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราแต่ละคนมากที่สุด - เราทุกคนคงเข้าใจความหมายของคำ�ว่า “project” และเข้าใจความสำ�คัญของ คำ�นีอ้ ย่างเป็นรูปธรรม เพราะในชีวติ จริงของมนุษย์เรามักจะทำ�สิง่ หนึง่ ด้วยการวางแผน ก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่หรือเล็กน้อยเท่าใดก็ตาม ถ้าเราอยากจะให้งานที่เรา ทำ�ประสบความสำ�เร็จสูงสุดเท่าที่จะเป็นได้ - พระเจ้าทรงทำ�ทุกสิ่งได้อย่างดีล้ำ�เลิศ พระองค์ทรงดำ�ริวิธีที่ดีที่สุดซึ่งทำ�ให้ มนุษย์ระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาบ่อยๆ คือในพิธีบูชาขอบพระคุณ - คริตชนจึงต้องศึกษาให้เข้าใจความหมายของพิธีบูชาขอบพระคุณให้ครบถ้วน ถ่องแท้ เพือ่ จะได้ไปร่วมพิธนี ดี้ ว้ ยความศรัทธาและตัง้ ใจ เพราะเงือ่ นไขสำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้ ผู้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณได้รับพระพรแห่งความรอดพ้นก็คือการร่วมพิธีอย่างศรัทธา รู้ความหมาย รู้ตัว ตั้งใจ และเปิดใจรับพระพรของพระเจ้าเข้ามาในจิตใจของตน - ให้ผู้เรียนจับคู่เดิมอ่านใบความรู้ “ทำ�ไมถึงต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวัน อาทิตย์” จากนั้นให้ผู้เรียนช่วยกันสรุปใจความสำ�คัญของเนื้อหา และผู้สอนช่วยสรุป ปิดท้ายให้ครบสมบูรณ์ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความรู้คุณต่อพระเจ้าด้วยการไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณและรับ ศีลศักดิ์สิทธ์ต่างๆ

ดูใบความรู้ “ทำ�ไมถึงต้อง ไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ วันอาทิตย์” ท้ายแผน


5

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ ให้ตัวแทนบางคนอาสาสมัครภาวนาจากใจ จาก นั้นให้ผู้เรียนทุกคนสวดภาวนาบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ใบงาน “ช่วยชีวิต” คำ�ชี้แจง - จับคู่กับเพื่อนอีกคนหนึ่ง และช่วยกันตอบคำ�ถาม 1. สมมติวา่ นักเรียนทัง้ สองคนเป็นพีน่ อ้ งกันและต้องการได้ลกู สุนขั ทีน่ า่ รักมากแต่ราคา แพงมากสัก 1 ตัวมาเลี้ยง ทั้งสองไม่มีเงินเพียงพอจะซื้อมา... ให้เขียนบรรยายว่าจะทำ�อย่างไร เพื่อให้ได้สุนัขตัวนั้นมาให้ได้? 2. หลังจากได้สุนัขตัวโปรดนั้นมาแล้ว ทุกวันทั้งสองคนก็กันช่วยดูแลเลี้ยงมันอย่าง ทะนุถนอมมาก ต่อมาวันหนึ่ง ทั้งสองคนก็หาน้องหมาตัวโปรดนั้นไม่พบ จึงพยายามค้นหากัน ทุกซอกทุกมุมของบ้าน ในที่สุด จึงไปพบน้องหมานั้นลอยคออยู่ในคูน้ำ�หลังบ้าน มันพยายาม ตะเกียกตะกายว่ายน้�ำ เอาชีวติ รอด แต่มนั ตัวเล็กมากจึงมีก�ำ ลังน้อย ทัง้ สองคนไปพบมันเมือ่ มัน หมดแรงและกำ�ลังจะจม... ให้เขียนบรรยายว่าทัง้ สองคนจะทำ�อย่างไรเพือ่ ช่วยน้องหมาสุดรักนัน้ ให้รอดชีวิต?


6

ใบความรู้ “ทำ�ไมถึงต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์” ทำ�ไมถึงต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์? ทำ�ไมทุกวันอาทิตย์ถือเป็นวันสำ�คัญทางศาสนา? ทำ�ไมวันอาทิตย์ถึงสำ�คัญ? คริสตชนกลุ่มแรกนั้นเป็นชาวยิว ชาวยิวถือวันเสาร์เป็นวัน ศักดิ์สิทธิ์ หรือ วันสับบาโต ซึ่งเป็นพื้นฐานของการดำ�เนินชีวิตของชาว ยิวที่สำ�คัญมาก เหนือสิ่งอื่นใด นี่เป็นสิ่งที่กำ�หนดไว้ในบทบัญญัติ 10 ประการ หนึ่งวันในสัปดาห์ถูกกำ�หนดไว้แด่พระเป็นเจ้า นี่เป็นโอกาสที่ จะได้พักผ่อนและใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและชุมชน โดยมีพระเจ้าเป็น ศูนย์กลาง และปราศจากการรบกวนของงาน คริสตชนชาวยิวยังคงถือวันสับบาโตเรื่อยมา แต่เนื่องจากพระ เยซูเจ้าทรงกลับเป็นขึ้นจากความตายในวันอาทิตย์ พวกเขาจึงค่อยๆ เปลีย่ นมาถือวันอาทิตย์เป็นวันศักดิส์ ทิ ธิแ์ ทน นักบุญ อิกญาซิโอ ชาวอัน ติโอ๊ค กล่าวไว้วา่ “ผูท้ มี่ ชี วี ติ อยูก่ บั สิง่ เก่าๆ ได้มาสูค่ วามหวังใหม่ ไม่ตอ้ ง ถือวันสับบาโตอีกต่อไป แต่ถือวันของพระเจ้าแทน เพราะชีวิตของเราได้ รับพระพรจากพระองค์และจากความตายของพระองค์” ข้าพเจ้าอธิษฐานเพียงลำ�พังไม่ได้หรือ? บางคนคิดว่าชีวติ จิตเป็นประสบการณ์สว่ นบุคคล แต่พระเจ้าทรงสร้างให้เราเป็นสัตว์สงั คม ส่วนทีเ่ กีย่ วกับ จิตที่สุดในตัวเราคือความสามารถที่จะรัก พระเจ้าทรงเป็นความรัก และมนุษย์เราถูกสร้างขึ้นในภาพลักษณ์ของ พระองค์ ความรักเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งมอบให้และรับไว้ เพราะฉะนัน้ การอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ จึงเป็นสิง่ จำ�เป็นสำ�หรับการจะเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีชีวิตจิตที่สมบูรณ์ พระเยซูเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร? พระเยซูเจ้ารับสั่งกับผู้ติดตามพระองค์ให้รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง โดยเริ่มจากศาสนบริกร พระองค์ ทรงอาศัยและทำ�งานร่วมกับอัครสาวก 12 คน พระองค์ทรงหมั่นสอนและรักษาผู้ที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ พระองค์ยัง ตรัสอีกว่า “ที่ใดที่มีสองหรือสามคนชุมนุมกันในนามของเรา เราอยู่ที่นั่นในหมู่พวกเขา” ในคืนทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงถูกทรยศ พระองค์ทรงให้ค�ำ สอนแก่ผตู้ ดิ ตามว่าต้องทำ�เช่นไรในการระลึกถึงพระองค์ พระองค์ไม่ได้ตรัสให้แยกย้ายกันไปและให้จินตนาการถึงพระองค์ แต่พระองค์ทรงเรียกเหล่าอัครสาวกมารวมตัว กันเพื่อทานอาหารค่ำ�มื้อสุดท้าย และตรัสกับพวกเขาว่า “จงทำ�การนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” จึงไม่น่าแปลกใจที่ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ คริสตชนพยายามชุมนุมกันทุกวัน เพื่อที่จะ ‘บิปัง’ (คำ�ที่พวกเขานิยามสำ�หรับการฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณ) คริสตชนได้สืบต่อธรรมเนียมนี้จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งวันอาทิตย์ วันของพระเจ้า


7

เราฉลองอะไรกันในพิธีบูชาขอบพระคุณ หนังสือ คำ�สอนอธิบายสิ่งที่เราทำ�ในพิธีบูชาขอบพระคุณดังต่อไปนี้ “เรา ทำ�ตามคำ�สั่งของพระเยซูเจ้าโดยการฉลองการระลึกถึงการเสียสละโดยสิ้นพระชนม์ ของพระองค์ เราทูลถวายพระบิดาในสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงมอบให้กบั เรา ของถวายอันเป็นสิง่ สร้างของพระองค์ ขนมปังและเหล้าองุ่นที่ถูกเปลี่ยนเป็นพระกายและพระโลหิตของ พระคริสตเจ้าด้วยอำ�นาจของพระจิตเจ้าและพระวาจาของพระเยซูเจ้า พระคริสตเจ้า ทรงดำ�รงอยู่อย่างล้ำ�ลึกในกาลปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงพิจารณาศีลมหาสนิทว่าเป็น - การขอบพระคุณและสรรเสริญพระบิดา - การระลึกถึงการเสียสละ และพระกายของพระคริสตเจ้า - การปรากฏองค์ (ประทับอยู่) ของพระคริสตเจ้าด้วยอานุภาพของพระวาจาและพระจิตเจ้า ส่วนสำ�คัญของพิธีบูชาขอบพระคุณคืออะไรบ้าง? ส่วนแรกของพิธบี ชู าขอบพระคุณมุง่ เน้นไปทีก่ ารฟังพระวาจาของพระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางพระคัมภีร์ ส่วน ที่สองของพิธีบูชาขอบพระคุณมุ่งเน้นการเสกปังและเหล้าองุ่นเป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า ส่วน แรกได้รวมเราเข้าไว้ดว้ ยกัน ด้วยการทีเ่ ราร้องขอการอภัย ภาวนาร่วมกัน และสะท้อนถ้อยคำ�ในพระคัมภีรผ์ า่ นจิตใจ โดยพืน้ ฐานของการเป็นหนึง่ เดียวกันนี้ เราเสนอของถวายอันได้แก่ ปังและเหล้าองุน่ และรับของถวายอันล้�ำ ค่าจาก พระเจ้า ได้แก่ การประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในพิธีศีลมหาสนิท นำ�มาซึ่งการอภัยบาป สันติสุข และการใกล้ชิด อย่างลึกซึ้งกับพระเจ้า ทำ�งานวันอาทิตย์? พระศาสนจักรคาดหวังและสนับสนุนให้ทกุ คนได้มโี อกาสร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณและพักผ่อนในวันอาทิตย์ วันของพระเจ้า แต่เนื่องจากอาชีพการงานของพวกเรา บางคนอาจมีภารกิจที่จำ�เป็นต้องทำ�งานในวันอาทิตย์ เช่น แพทย์ พยาบาล และบริการฉุกเฉิน คนกลุม่ นี้ พระศาสนจักรอนุโลมให้พวกเขาสามารถร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณใน วันเสาร์ตอนเย็นได้ และเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันธรรมดาเมื่อพวกเขามีโอกาส ข้อความข้างต้นนี้รวมถึง กลุม่ คนทีถ่ กู บังคับให้ท�ำ งานในวันอาทิตย์และรวมถึงถูกบังคับไม่ให้มาร่วมพิธบี ชู าขอบพระคุณอีกด้วย การมิได้เข้า ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ด้วยเหตุผลที่ดีพอ เช่น ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ก็ไม่ถือเป็นบาป เพราะท่านจะ เข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างแน่นอน ถ้าท่านสามารถทำ�ได้ สรุป บทบัญญัติ 10 ประการได้มอบพันธะให้เราถือวันสับบาโตเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งกลายเป็นหน้าที่ของเราชาว คริสตชนที่จะต้องเข้าร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ การละเลยบทบัญญัติ 10 ประการและคำ�สอนอันสำ�คัญยิ่งของพระเยซูเจ้า เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ�และจะนำ�มา ซึ่งบาปหนัก จึงเป็นเหตุผลว่าทำ�ไมพระศาสนจักรถึงสอนเราว่า เรามีพันธกิจต้องไปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณวัน อาทิตย์ เว้นเสียแต่ว่าเราจะป่วยจนไม่สามารถไปร่วมได้ หรือด้วยเหตุผลที่ดีพอ (ที่มา www.sjs.ac.th)


8

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูเจ้ากับฉัน ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อไถ่ “ฉัน” ให้ รอดพ้นจากบาปและความตาย เพื่อให้ “ฉัน” ได้รับชีวิตนิรันดร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนคิดถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในชีวิตของตนบ่อยๆ สาระการเรียนรู้ “ฉัน” ถูกสร้างมาโดยพระตรีเอกภาพ คือ พระบิดา พระบุตรและพระจิต “ฉัน” ยังถูกไถ่ให้พ้นจากบาป และความตายนิรนั ดรโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า ชีวติ ของ “ฉัน” จึงขึน้ กับพระเจ้าและมีความสัมพันธ์ในแบบพิเศษกับพระองค์ เฉพาะอย่างยิ่งกับพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ไถ่บาปของ “ฉัน” ความสัมพันธ์ระหว่าง “ฉัน” กับพระเยซูเจ้าจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของความสนิทสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งแน่นแฟ้นระหว่างสองบุคคล ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “คิดอะไร” - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้บางคนอาสาสมัครแบ่งปันคำ�ตอบของตนแก่เพื่อนๆ หรือถ้าเห็นเหมาะสมผู้สอนอาจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างก็ได้ - หลังจากที่ผู้เรียนได้แบ่งปันคำ�ตอบของตนแล้ว ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตจาก คำ�ตอบต่างๆ ว่า ตามปกติคนส่วนใหญ่มักจะคิดอะไรและคิดถึงใครเมื่ออยู่ต่อหน้า เหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิตที่ทำ�ให้ตนรู้สึกสะเทือนใจ ทั้งในเชิงบวก (เหตุการณ์ทำ�ให้ รูส้ กึ มีความสุข) และในเชิงลบ (เหตุการณ์ทที่ �ำ ให้รสู้ กึ เป็นทุกข์) เช่น คิดถึงเพือ่ น ผูใ้ หญ่ คนที่รัก - ในจำ�นวนคำ�ตอบทั้งหมดนั้น มีกี่คำ�ตอบที่คิดถึงพระหรือพระเยซูเจ้ามาเป็น อันดับแรกบ้าง (ทั้งนี้ไม่หมายความว่าประเด็นอื่นไม่มีความสำ�คัญ) - เหตุ ที่ เ ราต้ อ งให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ ประเด็ น นี้ เ ป็ น พิ เ ศษ ก็ เ พราะเราเป็ น “คริสตชน” คือผูท้ ไี่ ด้ชอื่ ว่าเป็น “ศิษย์ตดิ ตามพระคริสตเจ้า” เป็น “น้องของพระองค์” เป็น “บุตรของพระเจ้า” - ดังนั้น เราจึงต้องสำ�นึกถึงความจริงของการเป็นคริสตชน นั่นก็คือ การมีความ สนิทสัมพันธ์กบั พระเยซูเจ้าเป็นพิเศษ ในฐานะทีพ่ ระองค์ทรงเป็น “พระผูไ้ ถ่บาป” ของ เรา ไม่มีใครจะสำ�คัญมากไปกว่าพระองค์อีกแล้ว แต่หลายครั้งการไม่ได้ใส่ใจในความ จริงข้อนี้ อาจทำ�ให้เราเผลอให้ความสำ�คัญแก่บุคคลหรือสิ่งของอื่นมากกว่าพระองค์ นั่นเอง

ดูใบงาน “คิดอะไร” ท้ายแผน


9

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ความจริงข้อนี้ไม่ได้ทำ�ให้เราต้องละเลยความสำ�คัญของบุคคลหรือสิ่งของอื่นๆ แต่หมายความถึงการจัดลำ�ดับความสำ�คัญให้ถกู ต้องนัน่ เองว่า บุคคลใด “ต้องมาก่อน” อย่างอื่น - น.ยอห์นได้ให้ภาพแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูเจ้าและเราแต่ละคนไว้ อย่างน่าพิศวงและน่ารักมาก ให้เรามาพิจารณาดูกัน...

3 พระวาจา : (ยน. 10:14-16, 27-28) เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา พระบิดา ทรงรู้จักเราฉันใด เราก็รู้จักพระบิดาฉันนั้น เรายอมสละชีวิตเพื่อแกะของเรา เรายังมี แกะอื่นๆ ซึ่งไม่อยู่ในคอกนี้ เราต้องนำ�หน้าแกะเหล่านี้ด้วย แกะจะฟังเสียงของเรา จะ มีแกะเพียงฝูงเดียว และผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา เรารู้จักมัน และมันก็ตามเรา เราให้ชีวิตนิรันดร แก่แกะเหล่านั้น และมันจะไม่พินาศเลยตลอดนิรันดร ไม่มีใครแย่งชิงแกะเหล่านั้นไป จากมือเราได้ 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงให้ภาพลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับเราแต่ละ คนดัง “ผูเ้ ลีย้ งแกะ” และ “แกะ” ผูเ้ ลีย้ งแกะย่อมเป็นเจ้าของแกะ ทัง้ สองจึงรูจ้ กั กันเป็น อย่างดี ไม่ว่าจะด้วยเสียง กลิ่นหรือ การสัมผัส พระเยซูเจ้ากับเราแต่ละคนก็เช่นกัน เพราะพระองค์ทรงเป็นดั่งผู้เลี้ยงของเรา - สิ่งที่ยิ่งกว่าการรู้จักกันก็คือ พระเยซูเจ้าทรงยอมเสียสละชีวิตเพื่อ “แกะ” ของ พระองค์ เฉพาะอย่างยิง่ แกะตัวทีห่ ลงหายไป เพือ่ ให้แกะตัวทีอ่ ยูใ่ นอันตรายได้รอดชีวติ พ้นจากการเป็นเหยื่อของศัตรู - พระเยซูเจ้ามิได้ทรงเพียงแต่ตรัสด้วยคำ�พูด แต่ทรงกระทำ�ให้เป็นจริงด้วยชีวิต ได้ทรงแสดงให้เห็นด้วยการทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของ พระองค์ เพื่อไถ่มนุษย์ทุกคนให้รอดพ้นจากบาป จึงเป็นการเสียสละด้วยการแลกชีวิต ด้วยชีวิต มิใช่ด้วยการได้มาอย่างง่ายๆ - ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเป็นผู้เลี้ยงแต่ผู้เดียว และในฐานะที่พระองค์ทรงเป็น พระเจ้า พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า พระองค์จึงทรงเป็นผู้เดียวที่จะประทานชีวิต นิรันดรแก่ “แกะ” ซึ่งก็คือเราทุกคนได้ และในท้ายที่สุดพระองค์จะทรงทำ�ให้แกะเข้า มาอยูใ่ นคอกเดียวกัน โดยมีพระองค์ทรงเป็นผูเ้ ลีย้ งแกะแต่ผเู้ ดียว และมีฝงู แกะแต่เพียง ฝูงเดียว - จากความจริงนี้ มนุษย์ที่ถูกพระเจ้า พระบิดา พระบุตร และพระจิตทรงสร้างมา ก็ได้รบั การไถ่ให้พน้ จากบาปและความตายนิรนั ดรอาศัยพระบุตรพระเยซูคริสตเจ้าด้วย ความรักต่อมนุษย์อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ ดังนัน้ ในความเป็นจริง เราทุกคนจึงมีความสัมพันธ์ ในแบบพิเศษกับพระเจ้า พระเยซูคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้งแน่นแฟ้น เพียงแต่ว่ามนุษย์บาง คนไม่ได้เปิดใจของตนยอมรับความจริงนี้จึงทำ�ให้ไม่ได้สัมผัสกับพระเจ้าและความรัก ของพระองค์ จึงไม่ได้สำ�นึกถึงความสัมพันธ์อันพิเศษที่ตนมีกับพระเยซูคริสตเจ้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


10

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ภาพความสัมพันธ์ของผู้เลี้ยงแกะและแกะที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านั้นน่าซาบซึ้ง และกินใจ แต่เรื่องจริงนั้นยิ่งกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ เพราะพระเยซูเจ้าทรงรักเรามิใช่ เพราะเราเปรียบเสมือนแกะ แต่ทรงรักเราเพราะมนุษย์คอื ภาพลักษณ์ของพระองค์ คือ สิ่งสร้างที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งสร้างทั้งหลาย - ให้ผู้เรียนนำ�ใบงานที่ทำ�ในช่วงแรกของคาบเรียนมาพิจารณาใหม่ ในมุมมอง ของความสัมพันธ์ระหว่างตนกับพระเยซูเจ้า แน่นอนโดยไม่ลดความสำ�คัญของสาย สัมพันธ์กับเพื่อนพี่น้อง แต่ในฐานะที่พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่เราให้พ้นจากความ ตายนิรันดร พระองค์ย่อมทรงเป็นบุคคลสำ�คัญที่สุดซึ่งเราจะต้องคิดถึงพระองค์เป็น บุคคลแรก

ดูใบงาน “คิดอะไร” ที่ได้ทำ�แล้ว

- เมื่อผู้เรียนแต่ละคนได้พิจารณาใบงานของตนแล้ว ให้ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ ไตร่ตรองถึงความสัมพันธ์ของตนที่ควรจะมีกับพระเยซูเจ้า โดยอาจใช้จินตนาการของ “ผู้เลี้ยงแกะ” และ “แกะ” ช่วยก็ได้ - ในชีวิตของเรา เฉพาะอย่างยิ่งคริสตชน จำ�เป็นต้องสำ�นึกถึงการประทับอยู่ของ พระเยซูเจ้าบ่อยๆ ในชีวิตเพราะนี่คือความเป็นจริงที่แม้ว่าเราจะไม่ค่อยไตร่ตรองและ สำ�นึกถึงก็ตาม เราจึงจำ�เป็นต้องฝึกฝนที่จะคิดถึงการประทับอยู่ของพระองค์อยู่เสมอ ด้วยความเชื่อในทุกขณะของชีวิตของเรา

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนคิดถึงการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในชีวิตของตนบ่อยๆ 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนนั่งสงบนิ่งสักครู่ แล้วให้ตัวแทนคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจ จากนั้นให้ ทุกคนสวดบท “ข้าแต่พระบิดา” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................


11

ใบงาน “คิดอะไร” คำ�ชี้แจง - ตอบคำ�ถามว่า “เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ นี้ เธอคิดอะไร” โดยใส่คำ�ตอบไว้ในช่องด้านขวามือ ที่ 1.

เหตุการณ์ ทำ�การบ้านไม่ได้

2. ถูกผู้ใหญ่ดุและตักเตือน 3. ใกล้สอบ 4. ไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเที่ยวหรือเล่นเน็ต 5. ต้องทำ�หน้าที่ที่ไม่ชอบ 6. ทะเลาะกับเพื่อน 7. ป่วยเองหรือคนในครอบครัวป่วย 8. ได้รับสิ่งดีๆ อย่างไม่คาดคิด 9. ได้รับประทานสิ่งที่ชอบมากๆ 10. สอบได้คะแนนดีในบางวิชา

ฉันคิดว่า...


12

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง บทบาทของพระจิตเจ้าในพันธกิจของพระศาสนจักร

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระจิตเจ้าคือ “ผู้ขับเคลื่อน” ของพระศาสนจักรในการสาน ต่อพันธกิจแห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระเยซูเจ้าตราบจนสิ้นพิภพ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนภาวนาถึงพระจิตเจ้าบ่อยๆ และเปิดใจรับการดลใจของพระองค์ สาระการเรียนรู้ ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ทรงสัญญาจะส่งพระจิตเจ้ามายังบรรดาศิษย์ของพระองค์ซึ่งก็ คือ “พระศาสนจักร” เพื่อให้พระจิตเจ้าทรงเป็นผู้นำ�บรรดาคริสตชนในการสานต่อพระพันธกิจของพระเยซูเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระจิตเจ้าจึงทรงเป็นผู้มีบทบาทที่สำ�คัญยิ่งในการเป็น “ผู้ขับเคลื่อน” ในพระศาสนจักร จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่คริสตชนต้องเปิด ใจตอบรับการดลใจของพระจิตเจ้าและกล้าหาญที่จะทำ�หน้าที่คริสตชนอย่างกระตือรือร้นในพระศาสนจักร ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนจับคู่กับเพื่อนคนใดก็ได้ แล้วทำ�ใบงาน “รู้จักไหม” - ใบงานนี้เป็น pretest ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความรู้พื้นฐานของตนเกี่ยว กับเรื่องของ “พระจิตเจ้า” - เนื่องจากผู้เรียนใกล้จะจบการศึกษาชั้น ม.6 แล้ว จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องตระหนักถึงความสำ�คัญและการประทับอยู่ของพระจิตเจ้าในตนและในพระ ศาสนจักรด้วยเพราะพระจิตเจ้าคือ “ผูข้ บั เคลือ่ น” สำ�คัญสำ�หรับพระศาสนจักรทีจ่ ะสาน ต่อพระพันธกิจของพระเยซูเจ้าต่อไปในปัจจุบัน - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนทุกกลุ่มแบ่งปันผลงานของตนให้เพื่อนๆ ทราบ โดยให้มีการบันทึกไว้ที่บอร์ดหน้าห้องด้วย เพื่อจะได้มีภาพรวมของคำ�ตอบ pretest ทั้งหมด - การรู้จักพระจิตเจ้าและมีสัมพันธ์อันสนิทแน่นแฟ้นกับพระองค์เป็นสิ่งสำ�คัญ สำ�หรับคริสตชนเพราะพระองค์ทรงเป็น “ผู้ขับเคลื่อน” ที่จำ�เป็นต่อแต่ละคนและต่อ พระศาสนจักร ดังนั้น การรู้จักพระองค์เพียงแค่ผิวเผินเท่านั้นจึงยังไม่เพียงพอ - ในพระวรสาร พระเยซูเจ้าได้กล่าวถึงพระจิตเจ้าไว้อย่างลึกซึ้งมากในหลายตอน แต่ในที่นี้เราจะนำ�มาเพียงแค่สองตอนที่กล่าวถึงบทบาทของพระองค์ต่อพันธกิจของ พระศาสนจักร

ดูใบงาน “รู้จักไหม” ท้ายแผน


13

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 หาข้อปฏิบัติ : (ยน. 16:13-15; มธ. 28:19-20) เมื่อพระจิตแห่งความจริงเสด็จมา พระองค์จะทรงนำ�ท่านไปสู่ความจริงทั้งมวล พระองค์จะไม่ตรัสโดยพระองค์เอง แต่จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา และจะทรงแจ้งให้ ท่านรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น พระองค์จะทรงให้เราได้รับพระสิริรุ่งโรจน์เพราะพระองค์ จะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำ�สอนที่ทรงได้รับจากเรา ทุกสิ่งที่พระบิดาทรงมีนั้นก็เป็นของเรา ด้วย ดังนั้น เราจึงบอกว่า พระจิตเจ้าจะทรงแจ้งให้ท่านรู้คำ�สอนที่ทรงรับจากเรา (ยน. 16:13-15) ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้ เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อ ที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ (มธ. 28:19-20)

4 อธิบายพระวาจา - ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ทรงสัญญาจะส่งพระจิตเจ้ามายัง บรรดาศิษย์ของพระองค์ซึ่งก็คือ “พระศาสนจักร” เพื่อให้พระจิตเจ้าทรงเป็นผู้นำ� บรรดาคริสตชนในการสานต่อพระพันธกิจของพระเยซูเจ้าบนแผ่นดินนี้ - พระจิตเจ้าจึงทรงมีบทบาทหน้าที่ที่สำ�คัญมากเพราะการสานต่อพระพันธกิจ ของพระเยซูเจ้าโดยบรรดาคริสตชนในทุกยุคทุกสมัยจะเป็นไปไม่ได้หากขาดซึง่ การทรง นำ�ของพระจิตเจ้า - พระเยซูเจ้าตรัสว่า พระจิตจะทรงนำ�เราไปสู่ “ความจริงทั้งมวล” โดยพระองค์ จะตรัสทุกสิ่งที่ทรงได้ฟังมา... จะทรงแจ้งให้เรารู้คำ�สอนที่ทรงได้รับจากพระเยซูเจ้า… การได้รคู้ �ำ สอนและความจริงต่างๆ ของพระเยซูเจ้าเป็นเงือ่ นไขจำ�เป็นและสำ�คัญสำ�หรับ ผู้ที่จะกระทำ�ภารกิจของพระองค์และสานต่อพระภารกิจนั้นให้บรรลุถึงเป้าหมาย เดียวกันกับของพระองค์ - คริสตชนจึงต้องเปิดใจรับองค์พระจิตเจ้าและรับคำ�สอนของพระเยซูเจ้าทั้งครบ เพื่อจะเจริญชีวิตด้วยจิตตารมณ์เดียวกันกับพระองค์ด้วย นี่คือแนวทางแห่งการเจริญ ชีวิตภายในหรือชีวิตฝ่ายจิตอันเป็นสิ่งสำ�คัญมากสำ�หรับผู้เป็นคริสตชนหรือเป็นศิษย์ ติดตามพระเยซูเจ้า เพราะก่อนที่จะไปทำ�ภารกิจที่สำ�คัญนั้นจำ�เป็นต้องมีการฝึกฝนที่ จะปฏิบัติคำ�สอนของพระเยซูเจ้าด้วยตนเองเสียก่อน - พระเยซูเจ้ายังตรัสสั่งอีกว่า ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ ของเรา... ทำ�พิธลี า้ งบาปให้เขา เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต... จงสอน เขาให้ปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน... - คำ�ตรัสนี้ทำ�ให้เราสามารถเข้าใจถึง “พันธกิจ” ที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้แก่ บรรดาศิษย์ของพระองค์ คือการไปสัง่ สอนเพือ่ นำ�ผูค้ นทีย่ งั ไม่รจู้ กั พระองค์ให้มาเป็นศิษย์ ของพระองค์ ผู้ท่ีเชื่อในพระองค์ก็ให้โปรดศีลล้างบาปแก่เขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต และเพียงแค่การรับศีลล้างบาปเท่านัน้ ยังไม่พอ พระองค์ยงั ตรัส สัง่ ให้ศษิ ย์ของพระองค์ทกุ คนต้องปฏิบตั ติ ามคำ�สัง่ ทุกข้อทีพ่ ระองค์ทรงประทานให้ดว้ ย

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


14

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - “พันธกิจ” หรือ “หน้าที่” ที่พระเยซูเจ้าประทานให้แก่พระศาสนจักรซึ่งหมาย ถึงคริสตชนแต่ละคนนั้นยิ่งใหญ่มาก เพราะเป็นการสานต่องานของพระเยซูเจ้าต่อไป ในโลกนี้ ลำ�พังกำ�ลังของมนุษย์เองคงไม่สามารถทำ�สิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ได้ พระองค์จึง ทรงประทานพระจิตเจ้าให้เป็น “ผู้ขับเคลื่อน” งานของพระองค์ในพระศาสนจักร ผ่านทางคริสตชนแต่ละคน

- เราจึงต้องเปิดใจรับการดลใจของพระจิตเจ้าและรับพละกำ�ลังจากพระองค์ใน การปฏิบัติภารกิจพิเศษนี้ เพราะไม่ใช่เป็นการทำ�งานระดับมนุษย์เท่านั้น แต่เป็นงาน ที่อยู่ในระดับจิตวิญญาณ แต่เราก็มีความมั่นใจว่าจะไม่ทำ�งานนี้อย่างโดดเดี่ยวเพราะ พระเยซูเจ้าจะทรงประทับอยู่กับเราเสมอเฉพาะอย่างยิ่งโดยทางองค์พระจิตเจ้า - ผู้สอนตั้งคำ�ถามว่า “งานของคริสตชนในพระศาสนจักรมีอะไรบ้าง” โดยให้ผู้ เรียนแต่ละคนตอบโดยเขียนคำ�ตอบไว้ที่บอร์ดหน้าห้องเพื่อรวบรวมให้มีภาพรวมของ คำ�ตอบ เมือ่ ผูเ้ รียนทุกคนได้ตอบและเขียนคำ�ถามของตนแล้ว ผูส้ อนสามารถเสริมเติม คำ�ตอบที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์ - จากนั้นให้ผู้เรียนพิจารณาคำ�ตอบที่บอร์ดอย่างสงบนิ่งสักครู่ แล้วให้แต่ละคน เลือกข้อปฏิบัติที่ตนสามารถทำ�ได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างน้อยคนละ 2 ประการ โดย ทำ�เครื่องหมาย / ไว้หลังข้อทุกครั้งที่ถูกเลือก แล้วให้ผู้เรียนแบ่งปันถึงแรงจูงใจที่ได้ เลือกข้อปฏิบัตินั้นและวิธีการที่จะนำ�ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง - ผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่าคำ�ตอบข้อใดถูกเลือกบ้าง แต่ละข้อมีกี่คะแนน และมีคำ� ตอบข้อใดบ้างทีไ่ ม่ถกู เลือกเลย โดยช่วยให้ผเู้ รียนไตร่ตรองว่าเหตุใดบางคำ�ตอบนัน้ จึง ไม่มีผู้ใดเลือกเลย... ซึ่งบางคำ�ตอบที่ไม่ถูกเลือกนั้นอาจเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับพระ ศาสนจักรก็ได้ ดังนั้น คริสตชนต้องยึดเป้าหมายของพระศาสนจักรเป็นหลักของชีวิต มิใช่ความสะดวกสบายของตนเอง... - งานของพระศาสนจักรไม่ใช่งานที่ง่ายหรือสบายแต่เป็นงานที่เรียกร้องความ เสียสละจากสมาชิกทุกคน ทั้งนี้เพื่อให้พระศาสนจักรได้ก้าวเดินไปบนหนทางที่พระ เยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะของพระวรกายได้ตั้งเป้าหมายไว้ - พระจิตเจ้าซึ่งทรงเป็น “ผู้ขับเคลื่อน” สำ�คัญจะทรงทำ�งานของพระองค์อยู่ เสมอในจิตใจของบรรดาคริสตชน เราจึงต้องปฏิบัติงานของพระศาสนจักรด้วยความ มัน่ ใจนี้ และด้วยความพร้อมทีจ่ ะเปิดสติปญ ั ญารับการดลใจจากพระองค์ เปิดใจรับพละ กำ�ลังและความกล้าหาญของพระองค์ในการปฏิบัติพันธกิจนั้น 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนภาวนาถึงพระจิตเจ้าบ่อยๆ และเปิดใจรับการดลใจของพระองค์ 7 ภาวนาปิดท้าย ผูเ้ รียนสงบนิง่ สักครู่ จากนัน้ สวดบท “อัญเชิญพระจิตเจ้า” พร้อมกันอย่างตัง้ ใจ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


15

ที่

กระบวนก�รจัดก�รเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

8 ก�รประเมินผลก�รเรียนรู้ - ก�รสังเกต - ก�รตอบคำ�ถ�ม - ก�รร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังก�รสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ใบงาน “รู้จักไหม” คำ�ชี้แจง - ให้กลุ่มตอบคำ�ถ�มว่� “เธอรู้จักอะไรเกี่ยวกับพระจิตเจ้�บ้�ง” โดยเขียนเป็น Mind mapping

พระจิตเจ้า


16

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง การเป็นประจักษ์พยานของคริสตชนในสังคม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า คริสตชนมีหน้าทีป่ ระกาศถึงพระเยซูคริสตเจ้าและพระอาณาจักร ของพระองค์ด้วยชีวิต - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนประกาศถึงพระเยซูคริสตเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์ด้วยคำ�พูด และการกระทำ� สาระการเรียนรู้ อาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้น คริสตชนได้รับการเข้าเป็นสมาชิกของพระศาสนจักรอย่างเป็นทางการ อีกทัง้ ยังได้รบั พระจิตเจ้าและพระพรของพระองค์อย่างเต็มเปีย่ ม คริสตชนจึงมีหน้าทีพ่ เิ ศษในการเจริญชีวติ เป็นประจักษ์พยาน ของพระเยซูเจ้า ดั่งเป็น “พระคริสต์” อีกคนหนึ่งที่ดำ�รงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ ผู้เป็นคริสตชนจึงต้องมุ่งอุทิศตนประกาศถึง พระเยซูเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์ในสังคมอย่างกระตือรือร้น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - แบ่งกลุ่มผู้สอนเป็น 2 หรือ 3 กลุ่มก็ได้ตามความเหมาะสม ให้กลุ่มช่วยกันตอบ คำ�ถามว่า “หน้าที่ของ ‘คริสตชน’ ในสังคมมีอะไรบ้าง” หลังจากที่ได้ให้เวลาไตร่ตรอง ประมาณ 2-3 นาทีแล้ว ให้กลุ่มส่งตัวแทนมาแข่งขันเขียนคำ�ตอบที่บอร์ด โดยแบ่ง บอร์ดเป็น 2 หรือ 3 ช่องตามจำ�นวนของกลุ่ม - เมื่อหมดเวลาให้นับจำ�นวนคำ�ตอบของทุกกลุ่มว่า กลุ่มไหนตอบได้ถูกต้องมาก ที่สุด (โดยตัดคำ�ตอบที่ไม่ถูกต้องออก) - เมื่อตอบคำ�ถามเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนไตร่ตรองถึงหัวข้อในคาบเรียนนี้กับของครั้ง ก่อนว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ซึง่ ความแตกต่างอยูต่ รงทีว่ า่ พันธกิจของพระ ศาสนจักรได้รับการค้ำ�จุนและขับเคลื่อนโดยพระจิตเจ้า ทำ�ให้คริสตชนสามารถเป็นผู้ ปฏิบัติภารกิจนั้นได้อย่างกระตือรือร้น ส่วนในบทเรียนนี้เน้นที่ “การเป็นประจักษ์ พยาน” ของคริสตชนในสังคม - ปกติเราจะเคยได้ยินคำ�ว่า “คริสตังนอน” ซึ่งหมายถึงผู้เป็นคริสตชนที่ได้รับศีล ล้างบาปหลังจากทีเ่ กิดมาหรือตัง้ แต่ยงั เล็กอยู่ แต่ค�ำ นีต้ อ้ งไม่มากำ�กับลักษณะของผูเ้ ป็น คริสตชนให้กลายเป็นคนเย็นเฉยเฉื่อยชา ขาดความกระตือรือร้นที่จะยืนยันถึงพระ คริสตเจ้าในชีวิตของตน - แม้คริสตชนหลายคนจะได้รับศีลล้างบาปตั้งแต่ยัง “นอน” อยู่ก็จริง แต่หลังจาก ที่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นคริสตชนแล้ว (ศีลล้างบาป ศีลกำ�ลัง ศีลมหาสนิท)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


17

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เขาจำ�เป็นที่จะต้องเจริญชีวิตตอบสนองกระแสเรียกแห่งการเป็นคริสตชนของตนด้วย การเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นของพระศาสนจักรในสังคม - ดังนั้น จึงจำ�เป็นที่คริสตชนต้องสำ�นึกในหน้าที่อันสำ�คัญนี้ของตน ซึ่งมีรากฐาน มาจากพระวาจาของพระเยซูเจ้า ตลอดพระวรสารพระองค์ได้ทรงสอนผู้ที่ติดตาม พระองค์ให้ทราบถึงพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์และให้เขาเจริญชีวติ สอดคล้อง กับสิ่งนี้ เฉพาะอย่างยิ่งก่อนจะเสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ได้ตรัสคำ�ที่เป็นดัง “พินัยกรรม” ให้แก่คริสตชนทุกคน

3 พระวาจา : (ลก. 24:44-48) หลังจากนั้น พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่คือความหมายของถ้อยคำ�ที่เรากล่าวไว้ ขณะที่ยังอยู่กับท่าน ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเราในธรรมบัญญัติของโมเสส บรรดาประ กาศกและเพลงสดุดีจะต้องเป็นความจริง” แล้วพระองค์ทรงทำ�ให้เขาเกิดปัญญาเข้าใจ พระคัมภีร์ ตรัสว่า “มีเขียนไว้ดังนี้ว่า พระคริสตเจ้าจะต้องทนทุกข์ทรมานและจะกลับ คืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายในวันที่สาม จะต้องประกาศในพระนามพระองค์ให้ นานาชาติกลับใจเพื่อรับอภัยบาปโดยเริ่มจากกรุงเยรูซาเล็ม ท่านทั้งหลายเป็นพยาน ถึงเรื่องทั้งหมดนี้”

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาเหล่านี้เป็น “คำ�พูด” ประโยคท้ายๆ ของพระเยซูเจ้าก่อนที่พระองค์จะ เสด็จสู่สวรรค์ จึงเป็นพระวาจาที่พระองค์ทรงต้องการเน้นเป็นพิเศษแก่บรรดาศิษย์ - พระองค์ตรัสว่า “ทุกสิ่งที่เขียนไว้เกี่ยวกับเราในธรรมบัญญัติของโมเสส บรรดา ประกาศกและเพลงสดุดีจะต้องเป็นความจริง” หมายความว่า ทุกสิ่งที่บันทึกไว้ในพระ คัมภีร์นั้นล้วนมีคุณค่า ไม่มีสิ่งใดไร้สาระ และทุกสิ่งเหล่านั้นจะต้องเป็นความจริง ดัง นั้น เราจึงต้องให้คุณค่าอันสูงส่งกับพระวาจาของพระเจ้าในพระคัมภีร์ - ก่อนจะเสด็จจากไป พระเยซูเจ้าจึงทรงทำ�ให้บรรดาศิษย์ “เกิดปัญญา” เข้าใจ พระคัมภีร์ตอนที่สำ�คัญที่สุดอันเป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นคือ “พระคริสตเจ้าจะต้องทนทุกข์ทรมานและจะกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดา ผู้ตายในวันที่สาม” - ดังนั้น นี่จึงเป็นสาระสำ�คัญของข่าวดีที่คริสตชนทุกคนต้องประกาศ เพื่อให้ นานาชาติกลับใจมาหาพระองค์ เชื่อในพระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแท้แต่ผู้เดียว ซึ่งพระ เยซูเจ้าได้ทรงย้�ำ อย่างชัดเจนอีกครัง้ หนึง่ ในประโยคต่อมาว่า “ท่านทัง้ หลายเป็นพยาน ถึงเรื่องทั้งหมดนี้” - ดังที่กล่าวแล้วว่า พระวาจาเหล่านี้คือคำ�ตรัสในช่วงชีวิตสุดท้ายของพระเยซูเจ้า ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสู่สวรรค์ ดังนั้น จึงเป็นพระวาจาที่มีน้ำ�หนักมากเป็นพิเศษด้วย เพราะเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งให้บรรดาศิษย์กระทำ�

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


18

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเข้าใจดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เราต้องใส่ใจที่จะดำ�เนินชีวิตตามคำ�สั่งของ พระเยซูเจ้าด้วยความกระตือรือร้น มิใช่ด้วยความเย็นเฉยเฉื่อยชา เพราะคริสตชนก็ได้ ชื่อว่าผูเ้ ป็น “คริสต์” อีกคนหนึง่ เป็นตัวแทนของพระเยซูคริสตเจ้าในสังคมยุคปัจจุบัน นี้ - เราจะเป็น “ประจักษ์พยาน” ของพระเยซูเจ้าได้อย่างไรบ้าง... ให้ผู้เรียน พิจารณาไตร่ตรองถึงทุกคำ�ตอบที่เขียนไว้บนบอร์ด ตั้งแต่ตอนต้นของคาบเรียน แล้ว ให้ชว่ ยกันเติมกิจกรรมเหล่านัน้ ให้สมบูรณ์มากขึน้ โดยผูส้ อนอาจช่วยเสริมให้ครบถ้วน - จากนั้น ให้ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่า ในสังคมยุคนี้ ด้วยลักษณะที่เป็นอยู่เช่น นี้ การเป็นประจักษ์พยานของคริสตชนแบบไหนจึงจะเร่งด่วนทีส่ ดุ ... แล้วให้ผเู้ รียนเรียง ลำ�ดับความสำ�คัญเร่งด่วนอย่างน้อย 5 ลำ�ดับเพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกข้อปฏิบัติ คนละ 2 ข้อ และนำ�ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด - เมื่อผู้เรียนทุกคนเลือกข้อปฏิบัติแล้ว ให้แต่ละคนเขียนข้อปฏิบัติที่ได้เลือกนั้น ลงในสมุด พร้อมกับไตร่ตรองและบันทึกว่าจะปฏิบัติกิจกรรมเหล่านั้นอย่างไร กับใคร และเมื่อใดบ้าง

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนประกาศถึงพระเยซูคริสตเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์ด้วยคำ�พูด และการกระทำ� 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดบท “วันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ เพื่อวอนขอพระนางมารีย์ ผู้ทรงเป็น “ดวงดาว” แห่งการแพร่ธรรม ได้ช่วยให้แต่ละ คนเจริญชีวิตด้วยความกระตือรือร้นที่จะประกาศพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................


19

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง พระคัมภีร์กับชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 2 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระคัมภีรเ์ ปิดเผยให้มนุษย์ทราบถึงพระเจ้าและพระประสงค์ ของพระองค์สำ�หรับมนุษย์แต่ละคน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนอ่านพระคัมภีร์เป็นประจำ�ทุกวันและนำ�ไปปฏิบัติจริงในชีวิต สาระการเรียนรู้ พระคัมภีร์คือหนังสือศักดิ์สิทธิ์ที่เผยแสดงถึงพระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์ พระคัมภีร์จึงมีความ สำ�คัญยิ่งต่อชีวิตคริสตชน ด้วยเหตุที่พระเจ้าและพระประสงค์ของพระองค์จะต้องเป็นเป้าหมายสุดท้ายของมนุษย์ คริสตชนจึง ต้องสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์อย่างใกล้ชิด อาศัยการอ่านและรำ�พึงพระวาจาของพระเจ้าเป็นประจำ� เพื่อเราจะได้รู้จักพระเจ้ามากขึ้นและเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระองค์โดยยึดเอาคุณค่าแห่งพระวรสารเป็น กฎเกณฑ์เดียวของชีวิต ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนโดยถามถึงความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์ที่แต่ละคน มี จากนั้นผู้สอนนำ�ป้ายนิเทศเกี่ยวกับพระคัมภีร์มาให้ผู้เรียนดูทีละคำ� โดยให้ผู้เรียน ยกมือตอบทีละคนถึงสิ่งที่ตนรู้เกี่ยวกับคำ�นั้นๆ หรือบางคำ�อาจให้ผู้เรียนตอบพร้อมๆ กันก็ได้ - กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้ถึงพระคัมภีร์มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้เรียนมาพอสมควรแล้ว - จำ�เป็นทีค่ ริสตชนต้องรูเ้ รือ่ งพระคัมภีรเ์ ป็นอย่างดีเพราะพระคัมภีรเ์ ป็นพระวาจา ของพระเจ้าทีจ่ ะต้องเป็นแสงสว่างนำ�ทางชีวติ คริสตชน เฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ ผูเ้ รียนจบชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปแล้ว เพราะส่วนใหญ่อาจจะไม่มีโอกาสเรียนคำ�สอนแล้วก็ได้ - ดังนั้น ผู้เรียนควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อพระคัมภีร์หรือพระวาจาของ พระเจ้าเพราะพระวาจาของพระเจ้าต้องเป็นหลักยึดเหนี่ยวของชีวิตคริสตชน เป็นกฎ เกณฑ์พื้นฐานที่เราต้องใช้เทียบเคียงตนเองอยู่ตลอดเวลา - แต่การเรียนรู้ การจำ�พระวาจาได้กย็ งั ไม่เป็นการเพียงพอเพราะความรูไ้ ม่สามารถ นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จได้หากขาดซึ่งการนำ�ไปปฏิบัติอย่างแท้จริง - พระเยซูเจ้าได้ตรัสไว้อย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระคัมภีร์และชีวิต คริสตชนว่าไม่ใช่อยูบ่ นพืน้ ฐานของความรู้ แต่ทสี่ �ำ คัญคือการปฏิบตั อิ ย่างจริงจังในชีวติ

ดูคำ�ป้ายนิเทศ ท้ายแผน


20

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

3 พระวาจา : (ลก. 6:46-49) ทำ�ไมท่านจึงเรียกเราว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า” แต่ไม่ปฏิบัติตามที่เรา บอกทุกคนที่มาหาเราย่อมฟังคำ�ของเราและนำ�ไปปฏิบัติ เราจะชี้ให้ท่านทั้งหลาย เห็นว่า เขาเปรียบเสมือนผูใ้ ด เขาเปรียบเสมือนคนทีส่ ร้างบ้าน เขาขุดหลุม ขุดลงไปลึก และวางรากฐานไว้บนหิน เมื่อเกิดน้ำ�ท่วม น้ำ�ในแม่น้ำ�ไหลมาปะทะบ้านหลังนั้น แต่ ทำ�ให้บา้ นนัน้ สัน่ คลอนไม่ได้ เพราะบ้านหลังนัน้ สร้างไว้อย่างดี แต่ผทู้ ฟี่ งั และไม่ปฏิบตั ิ ตาม ก็เปรียบเสมือนคนทีส่ ร้างบ้านไว้บนพืน้ ดินโดยไม่มรี ากฐาน เมือ่ น้�ำ ในแม่น�้ำ ไหล มาปะทะ บ้านนั้นก็พังทลายลงทันที และเสียหายมาก 4 อธิบายพระวาจา - ผู้ที่ภาวนาว่า “ข้าแต่พระเจ้า ข้าแต่พระเจ้า” อย่างน้อยเขาก็เป็นผู้ที่มีพระเจ้าใน ใจและภาวนาถึงพระองค์ แต่พระเยซูเจ้าได้ทรงยกตัวอย่างนี้เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า การ ภาวนาเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ - เช่นเดียวกันการรู้จักพระคัมภีร์หรือพระวาจาของพระเจ้าเท่านั้นก็ไม่เป็นการ เพียงพอด้วย เพราะหากไม่นำ�ไปปฏิบัติก็ไม่ได้ช่วยให้เขาบรรลุถึงความรอดพ้นได้ ดัง เช่นคนที่สร้างบ้านไว้บนพื้นดิน ตรงกันข้ามพระเยซูเจ้าทรงเน้นให้เห็นความจำ�เป็น อย่างยิ่งของการปฏิบัติพระวาจาอย่างจริงจังในชีวิตเพราะหมายถึงความรอดพ้นของ วิญญาณเลยทีเดียว - ความเชื่อถือของคริสต์ศาสนา ความเชื่อของเราคริสตชนคือเราเกิดครั้งเดียว และตายครั้งเดียว ดังนั้น เราต้องทำ�ชีวิตนี้ให้ดีที่สุดเพราะจะไม่มีการแก้ตัวใดๆ หลัง ความตายอีกแล้ว ถ้ารอดก็คอื ไปสวรรค์นริ นั ดร แต่ถา้ ไม่รอดก็คอื ความพินาศแห่งความ ทุกข์ทรมานตลอดไป - ในทางกลับกัน การเจริญชีวิตที่ดีที่สุดดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอนนั้นจะเป็นไปไม่ ได้หากไม่มีการเรียนรู้จักพระคัมภีร์หรือพระวาจาของพระเจ้าให้ดีอย่างลึกซึ้งเสียก่อน เพราะจะไม่มีการปฏิบัติพระวาจาใดๆ หากผู้หนึ่งไม่ได้รู้จักพระคัมภีร์มาก่อน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนเปิดการเสวนากับผู้เรียนถึงการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิต ว่าตามปกติแต่ละคนมีวิธีการอย่างไร และใช้กฎเกณฑ์ใดในการแก้ปัญหาต่างๆ ของ ชีวิต โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ - จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “พระวาจาประจำ�ใจ” เพื่อฝึกค้นคว้าพระ วาจาตอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิต ที่สำ�คัญคือเพื่อนำ�พระวาจาตอน นัน้ ๆ ไปใช้จริงๆ เมือ่ เราอยูใ่ นช่วงเวลาต่างๆ ของชีวติ ทีต่ อ้ งการหลักยึดเหนีย่ วในจิตใจ โดยให้ผู้เรียนมีเวลาทำ�ใบงานนี้มากพอสมควร - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้วให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันคำ�ตอบในใบงานของตนให้ ทุกคนฟัง เพื่อเป็นการเปิดวิสัยทัศน์ของผู้เรียนให้กว้างขึ้น - ขณะที่มีการแบ่งปัน ผู้สอนสามารถเสริมเติมด้วยข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เกิดความ สมบูรณ์มากขึ้น

ดูใบงาน “พระวาจา ประจำ�ใจ” ท้ายแผน


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- จากการทำ�ใบงานดังกล่าว ผู้เรียนจะมีประสบการณ์ว่าการจะหาพระวาจามาใช้ ให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นจะต้องค้นคว้า และบางคนก็ใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่บาง คนก็ท�ำ ได้ในเวลาสัน้ ๆ ความแตกต่างนีเ้ กิดขึน้ จากอะไร... ให้ผเู้ รียนแลกเปลีย่ นความ คิดเห็นกันถึงประสบการณ์นี้ - ผู้สอนสามารถสรุปถึงความจำ�เป็นของการอ่านพระคัมภีร์หรือพระวาจาของ พระเจ้าเป็นประจำ�ทุกวัน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับพระวาจา จนพระวาจาซึมซับอยู่ ในตนและสามารถนำ�มาใช้ปฏิบัติได้ในกรณีที่เหมาะสม - นี่คือชีวิตคริสตชนที่แท้จริง อันเป็นชีวิตที่มีคุณค่าแห่งพระวาจาเป็นที่ยึดเหนี่ยว ของจิตใจและการปฏิบตั ิ ดังนัน้ ให้ผเู้ รียนทุกคนตัง้ ใจทีจ่ ะอ่านพระคัมภีรอ์ ย่างสม่�ำ เสมอ

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนอ่านพระคัมภีร์เป็นประจำ�ทุกวันและนำ�ไปปฏิบัติจริงในชีวิต 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนร้องเพลง “พระวาจาบันดาลชีวิต” อย่าง ตั้งใจ โดยผู้สอนอาจเตรียมเป็นวีดีทัศน์หรือเนื้อเพลงก็ได้ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................

ป้ายนิเทศ “พระคัมภีร์” การสร้างโลก อับราฮัม โมเสส น้ำ�ท่วมโลก หอบาเบล ดาวิด ซาโลมอน ยอแซฟ พระนางมารีย์ ศักเคียส เปโตร เปาโล นาซาเร็ธ มัทธิว ฟาริสี


22

ใบงาน “พระวาจาประจำ�ใจ” คำ�ชี้แจง : ให้ค้นหาพระวาจาของพระเจ้าที่จะนำ�ไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับกรณีต่างๆ ของชีวิต

ที่

เหตุการณ์ชีวิต

1. โศกเศร้า 2. โกรธ ฉุนเฉียว 3. อิจฉาริษยา 4. พูดปด 5. อยากแก้แค้น 6. โลภอาหาร 7. ใส่ความ นินทาว่าร้าย 8. พูดจาลามก 9. 10.

พระวาจา


23

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง พิธีบูชาขอบพระคุณและชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นพิธีกรรมที่มีความสำ�คัญที่สุดต่อชีวิต คริสตชน เพราะเป็นพิธีที่ทำ�ให้ธรรมล้ำ�ลึกปัสกากลับมาเป็นจริงอีกครั้งหนึ่ง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอและอย่างตั้งใจ สาระการเรียนรู้ ในบรรดาพิธีกรรมและศาสนพิธีต่างๆ ของคาทอลิกนั้น พิธีบูชาขอบพระคุณคือพิธีที่มีความสำ�คัญสูงสุด เพราะระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกาของพระเยซูเจ้า คือ การทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ในแบบพิเศษ ซึ่งทำ�ให้ความจริงนั้นกลับเป็นปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง ธรรมล้ำ�ลึกปัสกาเป็นธรรมล้ำ�ลึกที่สำ�คัญที่สุดของคริสตชน เพราะนำ�ผลแห่งความรอดพ้นมาสูม่ นุษย์ทกุ คนโดยตรง คริสตชนจึงต้องทำ�ความเข้าใจถึงความหมายของพิธบี ชู าขอบพระคุณ อย่างลึกซึ้ง และให้ความสำ�คัญโดยไปร่วมพิธีนี้อย่างตั้งใจและอย่างสม่ำ�เสมอ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่สำ�คัญ “ที่สุด” ในศาสนาคริสต์ ว่ามีอะไรบ้าง โดยให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ - จากนั้น ให้ผู้เรียนจับคู่กันตอบคำ�ถามในใบงาน “ที่สุดของที่สุด” โดยให้ผู้เรียน ไตร่ตรองเป็นอย่างดีก่อนที่จะตอบคำ�ถามแต่ละข้อ - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบข้อ 1-4 พร้อมกันทันที ส่วนคำ�ตอบข้อที่ 5 ให้ผเู้ รียนแต่ละกลุม่ ส่งตัวแทนไปเขียนคำ�ตอบทีบ่ อร์ดหน้าห้อง โดย คำ�ตอบที่ซ้ำ�กันให้เขียนเป็นความถี่กำ�กับไว้ท้ายข้อ - เมื่อทุกกลุ่มเขียนคำ�ตอบเสร็จแล้ว ให้นับว่าคำ�ตอบข้อใดมีความถี่มากที่สุด โดย ให้ผู้ที่เลือกแต่ละคำ�ตอบนั้นให้เหตุผลของตน - จากคำ�ถามในใบงานนี้ เราจะให้ความสำ�คัญกับคำ�ถามและคำ�ตอบข้อ 5 มาก ที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำ�คัญต่อชีวิตคริสตชนมากกว่าอีกหลายประเด็นอื่นๆ - หากเราจะย้อนไปดูการดำ�เนินชีวิตของคริสตชนสมัยแรก เราจะพบว่า พวกเขา เจริญชีวิตโดยปฏิบัติพิธีกรรมไม่กี่อย่างเท่านั้น เช่น การอธิษฐานภาวนา การชุมนุม กันฟังพระวาจา ร่วมพิธีบิขนมปัง เป็นต้น ดังที่เราจะเห็นได้จากพระวาจาตอนนี้ใน หนังสือกิจการอัครสาวก

ดูใบงาน “ที่สุดของที่สุด” ท้ายแผน


24

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

3 พระวาจา : (กจ. 2:42-43, 46) คนเหล่านั้นประชุมกันอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อฟังคำ�สั่งสอนของบรรดาอัครสาวก ดำ�เนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง ร่วม “พิธีบิขนมปัง” และอธิษฐานภาวนา พระเจ้าทรง บันดาลให้บรรดาอัครสาวกทำ�ปาฏิหาริยแ์ ละเครือ่ งหมายอัศจรรย์เป็นจำ�นวนมาก ทุก คนจึงมีความยำ�เกรง ทุกๆ วันเขาพร้อมใจกันไปทีพ่ ระวิหารและไปตามบ้านเพือ่ ทำ�พิธี บิขนมปัง ร่วมกินอาหารด้วยความยินดี และเข้าใจกัน 4 อธิบายพระวาจา - จากเรื่องเล่าของหนังสือกิจการอัครสาวก พระศาสนจักรได้เข้าใจเสมอมาว่า พิธี “บิขนมปัง” นั้นหมายถึง “พิธีบูชาขอบพระคุณ” ซึ่งในสมัยนั้นและสมัยนี้แม้จะใช้คำ� ที่แตกต่างกันแต่ก็หมายถึงพิธีเดียวกัน - หนังสือกิจการฯ เล่าว่า “ทุกๆ วันเขาพร้อมใจกันไปที่พระวิหารและไปตามบ้าน เพือ่ ทำ�พิธบี ขิ นมปัง...” คำ�ว่า “ทุกๆ วัน” มีน�้ำ หนักทีน่ า่ สนใจเพราะไม่มกี ารเล่าว่าพิธี หรือกิจกรรมอื่นพวกเขากระทำ�ทุกวัน แต่ “พิธีบิขนมปัง” นี้ทำ�กันทุกวัน จึงเป็นพิธีที่ มีน้ำ�หนักและบ่งบอกว่าคริสตชนสมัยนั้นเข้าใจความสำ�คัญของพิธีนี้อย่างแท้จริง - พระวาจานี้ยังเล่าให้ทราบอีกว่า บรรดาคริสตชน “พร้อมใจกัน” ทำ� “พิธีบิ ขนมปัง” ทั้งในพระวิหารและในบ้านด้วย ดังนั้น ในสมัยแรกพิธีนี้มิได้มีเฉพาะเพียง ในพระวิหารเท่านัน้ เพราะพระวิหารมีเพียงทีเ่ ดียวเท่านัน้ แต่หากทำ�ในบ้านด้วยก็อาจ จะเอื้ออำ�นวยความสะดวกสำ�หรับทุกคนได้มากขึ้น - เราจำ�เป็นต้องรื้อฟื้นและเน้นย้ำ�ถึงความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีบิขนมปัง หรือพิธีบูชาขอบพระคุณว่า เป็นพิธีที่ระลึกถึงการทรมาน สิ้นพระชนม์ และการกลับ คืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ซึง่ หมายถึงธรรมล้�ำ ลึกปัสกา ซึง่ เป็นการระลึกถึงทีท่ �ำ ให้ เหตุการณ์นนั้ กลับเป็นจริงอีกครัง้ หนึง่ ดังนัน้ นีจ่ งึ เป็น “ความจริง” ทีส่ �ำ คัญมากสำ�หรับ มนุษย์ทุกคนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรอดพ้นของเรา ด้วยเหตุที่ว่าพระเยซูเจ้า ทรงไถ่บาปมนุษย์ดว้ ยการทรมาน สิน้ พระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ - ดังนั้น พิธีบูชาขอบพระคุณจึงมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์แต่ละคน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนแต่ละคนนำ�รูปตอนวัยเด็กของตนมาดู... จากนั้นผู้สอนสามารถนำ� การไตร่ตรองว่า รูปในอดีตที่เราดูนั้นจะนำ�เราสู่ความทรงจำ� สู่การ “รำ�ลึก” ถึงบุคคล หรือเหตุการณ์นั้นในอดีตไม่ว่าจะสั้นหรือยาวนานแล้วก็ตาม ซึ่งให้ความรู้สึกที่ต่างๆ กันแล้วแต่เหตุการณ์ในภาพ เช่น อาจเป็นความรู้สึกแห่งความสุขของบรรยากาศดีๆ ในอดีต หรืออาจให้ความรู้สึกเหงา เศร้า โกรธแค้น น้อยใจ ฯลฯ - เมื่อพิจารณาภาพแล้ว อาจให้บางคนอาสาสมัครมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ก็ได้ ขณะที่มีผู้แบ่งปันให้สังเกตความรู้สึกของเขาด้วย - จากนั้น ให้ผู้สอนนำ�รูปภาพ “การเลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้าย” และภาพ “พระ เยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนที่เขากัลวารีโอ” มาให้ผู้เรียนพิจารณา เพื่อประกอบการอธิบาย ให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างละเอียดชัดเจนถึงเรื่องพิธีบูชาขอบพระคุณ

เตรียมรูปวัยเด็กของตนมา ล่วงหน้า

ดูภาพท้ายแผน


25

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นพิธีที่พระเยซูเจ้าทรง “ขอบพระคุณ” พระบิดาเจ้า อาศัยการพลีบูชาพระองค์เอง ด้วยการทรมาน การสิ้นพระชนม์บนกางเขน และการ กลับคืนชีพของพระองค์ (ธรรมล้ำ�ลึกปัสกา) ในรูปลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้ของ การเลี้ยงอาหารค่ำ�ของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระศาสนจักรได้เข้าใจถึงความหมายและความ จำ�เป็นของพระวาจาพระเจ้า จึงได้จัดให้มีภาควจนพิธีกรรมอยู่ส่วนแรกของพิธีบูชา ขอบพระคุณ คริสตชนผูไ้ ปร่วมพิธนี จี้ งึ ได้รบั อาหารหล่อเลีย้ งวิญญาณของตนเองทัง้ จาก พระวาจาของพระเจ้า (พระวจนาถต์) และจากศีลมหาสนิทซึง่ เป็นพระกายและพระโลหิต ขององค์พระเยซูเจ้าเองด้วยเช่นกัน - พิธีบูชาขอบพระคุณจึงมิใช่พิธีที่มนุษย์กำ�หนดขึ้นเองเพราะความศรัทธา แต่ เป็นพิธีศกั ดิส์ ิทธิ์ทบี่ ันดาลความรอดพ้นจากพระเจ้า เป็นพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระ บิดาเองที่ทรงเป็นผู้ถวายบูชาและเป็นเครื่องบูชา ซึ่งสำ�หรับพระเจ้าแล้วพระองค์ไม่มี จุดเริ่มต้นและจุดจบ พระองค์ทรงเป็นนิรันดร ดังนั้น การระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่ง ปัสกาในพิธบี ชู าขอบพระคุณจึงกลายเป็นความจริงในปัจจุบนั อีกครัง้ หนึง่ เสมอทุกครัง้ ทีม่ กี ารประกอบพิธนี ี้ การไถ่บาปและผลแห่งความรอดพ้นนัน้ จึงมาสูเ่ ราทุกคนทีไ่ ปร่วม พิธีนี้อย่างเป็นปัจจุบันเสมอด้วย - ผู้สอนควรให้ผู้เรียนมีเวลาสำ�หรับไตร่ตรองความจริงนี้อย่างเต็มที่ เพราะนี่คือ ความจริงที่มีผลโดยตรงต่อความรอดพ้นหรือความไม่รอดของวิญญาณ ดังนั้นเมื่อได้ อธิบายความหมายอันลึกซึ้งนี้แล้ว ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสถามสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ นอก นั้น ควรให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้กันอย่างเต็มที่ด้วย เพื่อให้ ผู้เรียนที่ยังไม่เข้าใจถึงเรื่องนี้หรืออาจเข้าใจผิดได้ปรับความเข้าใจของตนเองให้ถูกต้อง

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอย่างสม่ำ�เสมอและอย่างตั้งใจ 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จับมือกันยกมือขึ้น สวดภาวนาบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ...............................................................................................................................................................................


26

ใบงาน “ที่สุดของที่สุด” คำ�ชี้แจง : ให้ผู้เรียนจับคู่กันและตอบคำ�ถามเหล่านี้ในฐานะที่เป็นคริสตชน ที่

คำ�ถาม

คำ�ตอบ

1

พระบัญญัติข้อใดสำ�คัญที่สุด

บัญญัติแห่งความรัก

2

หนังสือใดสำ�คัญที่สุด

พระคัมภีร์

3

บุคคลใดสำ�คัญที่สุด

พระเจ้า

4

กิจการใดมีคุณค่ามากที่สุด

กิจการที่ทำ�ด้วยความรักเพื่อพระเจ้า

5

พิธีกรรมใดสำ�คัญที่สุด

พิธีบูชาขอบพระคุณ

ภาพ พระเยซูเจ้าในการเลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้าย / พระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนที่เขากัลวารีโอ


27

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง ความสำ�คัญของการภาวนาในชีวิตคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การภาวนาคือหนทางที่จำ�เป็นสำ�หรับคริสตชนในการติดต่อ สัมพันธ์กับพระเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าบ่อยๆ ด้วยการภาวนา สาระการเรียนรู้ ในฐานะทีเ่ ป็นผูถ้ กู สร้างของพระเจ้า พระองค์จงึ ทรงเป็นผูม้ คี วามสำ�คัญสูงสุดต่อชีวติ ของมนุษย์ เพราะขาด พระเจ้าแล้วมนุษย์ไม่สามารถมีชวี ติ อยูไ่ ด้ การภาวนาคือสะพานเชือ่ มระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้าเพราะเป็นช่องทางสำ�คัญสำ�หรับ มนุษย์ในการติดต่อสัมพันธ์กับพระองค์ แต่ที่สำ�คัญคือการภาวนานั้นต้องทำ�ด้วยจิตและด้วยใจอย่างรู้ตัว และด้วยตนเองทั้ง ครบ บทข้าแต่พระบิดาคือคำ�ภาวนาที่ดีที่สุดซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสอนแก่เรา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดการเสวนาโดยให้ผู้เรียนหลับตานั่งนิ่งๆ สักครู่ แล้วให้ผู้เรียนแต่ละ คนคิดถึงใครก็ได้สักคนหนึ่งที่ตนรักมากที่สุด แต่บุคคลนั้นอยู่ห่างไกล ยังไม่สามารถ ไปพบได้ แต่ก็รู้สึกคิดถึงเขามากเป็นที่สุด... ให้ผู้เรียนนั่งนิ่งๆ ประมาณ 2-3 นาที - จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันว่า เมื่อตนมีความคิดถึงบุคคลหนึ่งมากๆ จะ ใช้วิธีใดทำ�ให้บุคคลนั้นรู้ว่า “ฉันคิดถึงเธอมาก” - ประสบการณ์นี้จะช่วยให้เราเข้าใจได้บ้างถึงเรื่องความหมายของ “การภาวนา” เพราะจริงๆ แล้วประสบการณ์ของมนุษย์กับมนุษย์จะต่างกันอย่างลิบลับกับระหว่าง มนุษย์กบั พระ เพราะพระเจ้าทรงเป็นผูไ้ ม่มขี อบเขต แต่ประสบการณ์แห่งการ “คิดถึง” ก็จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกันสำ�หรับมนุษย์ที่รู้ว่าตนคือใครต่อหน้าพระเจ้า - การภาวนาเป็นการบ่งบอกว่ามนุษย์ “คิดถึง” พระเจ้า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์ควรจะคิดถึงพระเจ้าบ่อยๆ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้เดียวที่ทรงเป็น “คุณค่า สูงสุด” ด้วยเหตุที่ว่าพระองค์ทรงเป็น “เจ้าชีวิต” ของเราและ “เจ้าของ” ทุกสรรพสิ่ง - แต่ตามปกตินั้น เราคิดถึงพระเจ้า “อย่างไร” ให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันคำ�ตอบ ของคำ�ถามนี้อย่างอิสระเต็มที่และอย่างจริงใจ โดยผู้สอนตั้งข้อสังเกตว่า “ความคิดถึง พระเจ้า” ของผู้เรียนนั้นเป็นไปในลักษณะใดบ้าง - แต่ความคิดถึงพระเจ้าและความคิดถึงมนุษย์นนั้ มีความแตกต่างกันอย่างเปรียบ เทียบไม่ได้ เพราะความคิดถึงมนุษย์อาจอยู่เพียงระดับของจินตนาการและอารมณ์ เพราะการคิดถึงนัน้ ส่วนใหญ่เป็นการย้อนอดีตทีเ่ คยผ่านมาหรือคิดถึงปัจจุบนั ทีจ่ บั ต้อง ไม่ได้ ซึ่งบางคนก็จะเป็นการคิดถึงแบบหลงใหล “ไร้สาระ” เสียด้วยซ้ำ�

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


28

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรา “คิดถึง” พระเจ้าพระบิดา ในแบบที่ “มีสาระ” มากๆ เพราะเป็นการคิดถึงทีม่ ใิ ช่เอาตนเองเป็นหลัก แต่เป็นการคิดถึงแห่งการภาวนา ที่มีพระเจ้าและพระอาณาจักรของพระองค์เป็นศูนย์กลาง - ดังที่เราจะเห็นได้จากบทภาวนาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนแก่เราทุกคน

3 พระวาจา : (มธ. 6:7-14) เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา จงอย่าพูดซ้ำ�เหมือนคนต่างศาสนา เขาคิดว่าถ้าเขา พูดมากพระเจ้าจะทรงสดับฟัง อย่าทำ�เหมือนเขาเลย เพราะพระบิดาของท่านทรงทราบ แล้วว่าท่านต้องการอะไร ก่อนที่ท่านจะขอเสียอีก ดังนั้น ท่านทั้งหลายจงอธิษฐาน ภาวนาดังนี้ “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำ�เร็จในแผ่นดิน เหมือนในสวรรค์ โปรดประทานอาหารประจำ�วัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้ โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ” เพราะถ้าท่านให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ ก็จะ ประทานอภัยแก่ท่านด้วย แต่ถ้าท่านไม่ให้อภัยผู้ทำ�ความผิด พระบิดาของท่านก็จะไม่ ประทานอภัยแก่ท่านเช่นเดียวกัน

4 อธิบายพระวาจา - ผู้สอนอาจแบ่งกลุ่มผู้เรียนตามความเหมาะสม แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบาย ความหมายของบทภาวนานีต้ ามทีผ่ เู้ รียนจะเข้าใจ จากนัน้ ให้แต่ละกลุม่ แบ่งปันคำ�ตอบ ของตนให้ทุกคนฟังด้วย - เมื่อแบ่งปันแล้ว ผู้สอนสามารถเสริมเติมด้วยคำ�อธิบายจากหนังสือคำ�สอนพระ ศาสนจักรข้อ............. - หรือเสริมเติมด้วยความหมายต่อไปนี้ - พระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างมากมาย พระองค์เองก็ทรงปรารถนาให้มนุษย์รัก ตอบ แต่แน่นอนว่าความเป็นพระเจ้าของพระองค์มิได้เรียกร้องให้ต้องมีสิ่งนี้ แม้หาก มนุษย์จะไม่คดิ ถึงและไม่รกั พระเจ้าเลย ในพระองค์กม็ ไิ ด้มอี ะไรเปลีย่ นแปลง พระองค์ ก็ยังทรงเป็นในสิ่งที่พระองค์ทรงเป็นอยู่เสมอ - เพียงแต่ว่าการที่มนุษย์รักและคิดถึงพระเจ้านั้นคือสิ่งที่มนุษย์ “ควรจะทำ�” เพราะเป็นสิ่งที่เหมาะสมและถูกต้องสำ�หรับผู้ที่เป็น “ลูก” จะต้องทำ�ต่อผู้เป็น “บิดา” - ในบทข้าแต่พระบิดาที่พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราสวดภาวนานั้น ใน 4 ประโยค แรกเป็นการภาวนาที่เน้นพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


29

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ประโยคที่ว่า “พระองค์สถิตในสวรรค์” กล่าวถึง “ความเป็นอยู่” ของพระเจ้า คือย้ำ�เน้นความจริงที่ว่าพระองค์สถิตใน “สวรรค์” อันเป็นที่ๆ มนุษย์ทุกคนปรารถนา จะได้ไป ดังนั้น การได้อยู่ในสวรรค์คือการได้อยู่กับพระเจ้านั่นเอง - ประโยคที่สอง “พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ” แสดงถึงความปรารถนาจะ ให้พระนามของพระเจ้าได้รับการสักการะ สรรเสริญ สดุดี พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรา ภาวนาเช่นนี้เพื่อให้เราเข้าใจว่า พระนามของพระเจ้าคือสิ่งที่มนุษย์ต้องสักการะไม่ใช่ “พระเท็จเทียม” มากมายที่มนุษย์หลงใหลคลั่งไคล้และตั้งขึ้นมาเอง - “พระอาณาจักรจงมาถึง” พระอาณาจักรพระเจ้าในอีกความหมายหนึ่งก็คือ “อาณาจักรสวรรค์” ที่มีพระเจ้าทรงเป็น “ผู้ปกครอง” นั่นเอง เป็นการภาวนาที่ขอให้ พระเจ้าทรงเข้าครอบครองในจิตใจของมนุษย์ทกุ คน ให้มนุษย์ทงั้ หลายได้เข้าอยูใ่ นพระ อาณาจักรเดียวกันที่มีพระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองแต่ผู้เดียว - “พระประสงค์จงสำ�เร็จ” พระประสงค์ของพระเจ้าคือสิ่งที่สำ�คัญที่สุด เพราะต้อง มาเหนือความประสงค์ใดๆ ของมนุษย์ พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์ทุกคนที่เป็น “บุตร” ของพระองค์มคี วามสุขชัว่ นิรนั ดรกับพระองค์ ไม่ทรงต้องการให้ใครต้องพินาศ หรือมีความทุกข์ชั่วนิรันดร เหตุนี้พระประสงค์ของพระเจ้าจึงเป็นสิ่งสำ�คัญและยิ่งใหญ่ ที่สุดที่ต้องสำ�เร็จไปสำ�หรับมนุษย์ - “โปรดประทานอาหารประจำ�วัน” “อาหาร” คือสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับมนุษย์ เราจึง วอนขอพระเจ้าทรงประทานอาหารให้แก่เราด้วย เพราะมีแต่พระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้น ทีท่ รงทราบว่า “อาหาร” ใดเหมาะสมสำ�หรับเราแต่ละคนมากทีส่ ดุ เพราะพระองค์ทรง ทราบดีกว่าเราเสียอีกว่าสิ่งใดเหมาะกับเราจริงๆ - “โปรดประทานอภัย” ความอ่อนแอของมนุษย์ทำ�ให้เราผิดพลาด “หกล้ม” บ่อยๆ แต่ความรักของพระเจ้าก็ยิ่งใหญ่และอยู่เหนือความผิดใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์จึง ทรงพร้อมเสมอที่จะแสดงความรักของพระองค์ต่อเราทุกคนด้วยการให้อภัยทุกความ บาปผิดของเรา เพื่อให้เรามีโอกาสที่จะกลับใจและเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีและถูกต้องกว่า เดิม

- “โปรดช่วยไม่ให้แพ้การผจญ” มนุษย์ที่ “ถูกสร้าง” มานั้น โดยธรรมชาติแล้ว จะมีขอบเขตจำ�กัดจึงมีความอ่อนแออยู่เสมอ นอกจากนี้มนุษย์ยังอยู่ในโอกาสที่จะได้ รับ “การผจญ” จากปีศาจซึ่งเป็นศัตรูวิญญาณด้วย เราจึงต้องวอนขอความคุ้มครอง จากพระเจ้าที่จะช่วยไม่ให้ต้อง “แพ้” ต่อการผจญ เพราะการแพ้หมายถึงความพินาศ นิรันดร การวอนขอสิ่งนี้จึงสำ�คัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ - “โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้าย” เช่นเดียวกัน มนุษย์เจริญชีวิตอยู่ใน “ความ เสี่ยง” ตลอดเวลา รอบตัวเรามีความชั่วร้ายอยู่ตลอดเวลาไม่มากก็น้อย จึงเป็นเรื่อง ปกติของผู้มีความเชื่อว่าเป็น “ลูก” ที่จะวอนขอ “พ่อ” ให้ช่วยปกป้องลูกให้พ้นจาก ความชั่วร้าย อีกทั้งรู้จักระมัดระวังตัวเองไม่ให้เป็นเหยื่อของความชั่วร้าย ช่วยผู้อื่นให้ พ้นจากความชั่วร้ายและที่สุดไม่เป็นผู้ก่อความชั่วร้ายนั้นเสียเองด้วย

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - นี่คือคำ�ภาวนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษย์จะสามารถทำ�ได้ ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงทราบ ดีว่า จำ�เป็นที่พระองค์จะต้องสอนให้เรารู้จักสวดภาวนาอย่างถูกต้อง เพราะการ ไตร่ตรองอย่างจริงจังถึงสาระของคำ�ภาวนานีจ้ ะช่วยให้เราเข้าใจถึงความจริงของพระเจ้า แผนการของพระองค์ และความจริงของตัวมนุษย์เองด้วย

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อได้รำ�พึงไตร่ตรองถึงความหมายของบทข้าแต่พระบิดาอย่างดีแล้ว ผู้สอน สามารถเปิดการเสวนาถึงความเข้าใจและความรูส้ กึ ทีผ่ เู้ รียนมีตอ่ การภาวนาหรือบทข้า แต่พระบิดานี้ โดยให้ผู้เรียนทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและจริงใจ เพื่อ เป็นการประเมินถึงความเข้าใจของผู้เรียนต่อเรื่องนี้ - การไตร่ตรองถึงความจริงของการภาวนา เฉพาะอย่างยิ่งของบทข้าแต่พระบิดา และการเปิดใจรับความจริงนี้จะเป็นหนทางช่วยให้เราเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้น ช่วยให้ เรารูส้ �ำ นึกและเชือ่ มากขึน้ ถึงการประทับอยูข่ องพระองค์ อีกทัง้ จัดลำ�ดับคุณค่าต่างๆ ใน ชีวิตได้อย่างถูกต้องมากขึ้นว่าสิ่งใดต้องมาก่อนหรือหลัง - ที่สำ�คัญคือ การสวดภาวนาเป็นประจำ�จะช่วยให้เราคิดถึงพระเจ้าบ่อยๆ ทำ�ให้ เกิดสำ�นึกว่าพระองค์ทรงมีอยูจ่ ริง ทรงอยูก่ บั เราในทุกหนทุกแห่งตลอดเวลา ทรงรักเรา อย่างมากมาย ทรงพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เราอยู่เสมอ เพราะทรงรักเรามาก ดุจบิดารักบุตร... จะมีใครหรืออะไรโชคดีได้มากกว่านี้อีกแล้ว... นี่คือสิ่งที่คริสตชนทุก คนต้องตระหนักและต้องทำ�ให้เกิดเป็นจริงในชีวิต - ในโลกนี้อาจมีคนบางคนที่รักและดีต่อเรามากมาย จนกระทั่งเรารู้สึกรักเขาเป็น ที่สุด ซึ่งก็ถือว่าเป็นโชคดีของเราที่มีหรือได้พบบุคคลแบบนี้ในชีวิต แต่มนุษย์คือผู้มี ขอบเขต มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประสบการณ์มนุษย์ไม่ว่าของตัวเราเองหรือ ของคนใกล้ตัวก็มักจะย้ำ�ความจริงนี้แก่เรา เราจะพบค่อนข้างบ่อยว่า “วันนี้รัก พรุ่งนี้ ไม่รัก หรือเกลียด...” หรือ “วันนี้ไม่รัก พรุ่งนี้ก็กลับมารัก” ฯลฯ แต่เรื่องแบบนี้จะไม่ เกิดกับพระเจ้า เพราะในพระองค์จะไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงใดๆ ทรงเป็นอย่างทีท่ รงเป็น อยู่เสมอเพราะในพระองค์ไม่มีวันเริ่มต้นและไม่มีวันจบสิ้น ทรงเป็นอยู่ตั้งแต่นิรันดร ภาพ - ดังนั้น เราจึงสามารถมั่นใจในความรักของพระเจ้าได้อย่างเต็มเปี่ยม พระองค์จะ ไม่ทรงทำ�ให้เราผิดหวัง เพียงแต่เราต้องยอมเปิดใจและยอมรับพระประสงค์ของพระองค์ ในชีวติ เชือ่ มัน่ อย่างไม่มขี อ้ สงสัยว่าทุกสิง่ ทีเ่ ป็นพระประสงค์ของพระองค์ตอ่ เรานัน้ เป็น สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับเราเสมอ - ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ เพื่อไตร่ตรองถึงสิ่งที่ได้เรียนไป จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละ คนเขียนคำ�ภาวนาจากใจลงในสมุด

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าบ่อยๆ ด้วยการภาวนา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


31

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิด ผู้เรียนบางคนอาสาสมัครสวดภาวนาจากใจ (อ่านจากบันทึกหรือภาวนาเอง ก็ได้) แล้วจึงให้ผู้เรียนทุกคนสวดบทข้าแต่พระบิดาพร้อมๆ กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


32

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง คุณค่าของความรอบคอบ / ความกล้าหาญ / ความมัธยัสถ์ / ความยุติธรรม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความรอบคอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ และความ มัธยัสถ์ เป็นคุณธรรมหลักพื้นฐานอันจำ�เป็นสำ�หรับการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติคุณธรรมหลักทั้งสี่ประการด้วยความตั้งใจพัฒนาตนให้สมบูรณ์ อย่างต่อเนื่อง สาระการเรียนรู้ ความรอบคอบ (prudence) ความยุติธรรม (justice) ความกล้าหาญ (fortitude) และความมัธยัสถ์ (temperance) เป็นคุณธรรมหลัก (Cardinal virtues) พื้นฐานที่พระเจ้าทรงประทานไว้ในจิตใจของมนุษย์เพื่อเป็น “ตัวช่วย” ให้มนุษย์ทกุ คนสามารถดำ�รงชีวติ ยืนหยัดอยูใ่ น “ความดี” จนบรรลุถงึ การเป็น “คนดี” ในระดับมนุษย์ได้ ทุกคนจึงต้องดำ�เนิน ชีวิตด้วยคุณธรรมสี่ประการนี้อย่างดีเป็นประจำ� เพราะคุณธรรมแบบมนุษย์นี้เป็นพื้นฐานหลักอันจำ�เป็นสำ�หรับการสร้าง คุณธรรมทางเทววิทยาต่อไป ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน / ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนโดยตั้งคำ�ถามว่า “ใครสามารถอธิบายเกี่ยว กับคุณธรรมหลัก 4 ประการได้” โดยให้ผู้เรียนช่วยกันตอบ แล้วบันทึกคำ�ตอบไว้ที่ บอร์ดหน้าห้องด้วย - จากนั้น ให้ผู้เรียนแต่ละคนทำ�ใบงาน “นี่หรือเธอ” โดยในตอนแรกสมมติว่า เป็นคนอื่น แต่หลังจากนั้นให้สมมติว่าเป็นตนเอง - ลักษณะ 4 อย่างที่อยู่ในใบงานนั้นคือลักษณะของผู้ที่ขาดคุณธรรมข้อใดบ้าง... - สรุปก็คือ คุณธรรมหลัก (Cardinal virtues) 4 ประการแห่ง “ความรอบคอบ (prudence) ความยุติธรรม (justice) ความกล้าหาญ (fortitude) และความมัธยัสถ์ (temperance)” - จากการทำ�ใบงาน ผู้เรียนคงจะได้ตระหนักว่าคุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้มีความสำ�คัญ อย่างไรต่อการดำ�เนินชีวิตร่วมกันในสังคมมนุษย์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่า แม้จะเข้าใจ ในความจำ�เป็น แต่มนุษย์ก็ยังอ่อนแอและมีความจำ�กัดจึงทำ�ให้ไม่สามารถเจริญชีวิต ด้วยคุณธรรมทั้ง 4 ประการนั้นได้อย่างสมบูรณ์ครบครัน - ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ล้วนมี ปัญหา อุปสรรค และความยากลำ�บาก

ดูใบงาน “นี่หรือเธอ” ท้ายแผน


33

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ตั้งแต่แรกเริ่มพระเจ้าได้ทรงใส่คุณธรรมพื้นฐานเหล่านี้ในใจมนุษย์ แต่บาปได้ ทำ�ให้สติปญ ั ญาและจิตใจของมนุษย์พร่ามัวไป ไม่ชดั เจนในการทำ�สิง่ ดีและสิง่ ชัว่ หลาย ครั้งคนเราจึงอาจ “เพี้ยน” ไป เห็นดีเป็นชั่วหรืออาจเห็นชั่วเป็นดีไปก็ได้ - พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนเราในพระวรสารถึงประเด็นเหล่านี้ เพื่อบอกเราให้เข้าใจ อย่างถูกต้องถึงสิ่งที่ควรจะเป็นและเพื่อให้เราเข้าใจตัวเอง จะได้ปรับปรุงพัฒนาตนเอง ให้ดีขึ้นตามแนวแห่งคุณค่าพระวรสาร

3 พระวาจา 1. ท่านที่ต้องการสร้างหอคอย จะไม่คำ�นวณค่าใช้จ่ายก่อนหรือว่ามีเงินพอสร้าง ให้เสร็จหรือไม่ มิฉะนัน้ เมือ่ วางรากฐานไปแล้ว แต่สร้างไม่ส�ำ เร็จ ทุกคนทีเ่ ห็นจะหัวเราะ เยาะเขา พูดว่า “คนนี้เริ่มก่อสร้าง แต่ทำ�ให้สำ�เร็จไม่ได้” หรือกษัตริย์ที่ทรงยกทัพไป ทำ�สงครามกับกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง จะไม่ทรงคำ�นวณก่อนหรือว่า ถ้าใช้กำ�ลังพลหนึ่ง หมื่นคน จะเผชิญกับศัตรูที่มีกำ�ลังพลสองหมื่นคนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ขณะที่อีกฝ่าย หนึ่งยังอยู่ห่างไกล พระองค์จะได้ทรงส่งทูตไปเจรจาขอสันติภาพ ดังนั้น ทุกท่านที่ไม่ ยอมสละทุกสิ่งที่ตนมีอยู่ก็เป็นศิษย์ของเราไม่ได้ (ลก. 14:28-32) 2. พวกเขาจึงคอยจับตาดูพระองค์ ส่งสายลับซึ่งแสร้งทำ�ตนเป็นคนชอบธรรม เพื่อให้มาจับผิดพระองค์ในพระวาจา จะได้มอบพระองค์ให้ผู้ว่าราชการซึ่งมีอำ�นาจ ตัดสิน คนเหล่านี้ทูลพระองค์ว่า “พระอาจารย์ พวกเรารู้ว่าท่านพูดและสั่งสอนอย่าง ตรงไปตรงมาไม่เห็นแก่หน้าใคร แต่สั่งสอนวิถีทางของพระเจ้าตามความจริง เป็นการ ถูกต้องหรือไม่ที่จะเสียภาษีแก่ซีซาร์” พระเยซูเจ้าทรงทราบอุบายของเขา จึงตรัสว่า “เอาเงินเหรียญให้เราดูสักเหรียญหนึ่งเถิด รูปและคำ�จารึกนี้เป็นของใคร” เขาตอบว่า “เป็นของซีซาร์” พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า “ดังนั้น ของของซีซาร์จงคืนให้ซีซาร์ และ ของของพระเจ้าจงคืนให้พระเจ้าเถิด” (ลก. 20:20-25) 3. ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงพระดำ�เนินตามทางพร้อมกับบรรดาศิษย์ ชายผู้หนึ่งทูล พระองค์วา่ “ข้าพเจ้าจะติดตามพระองค์ไปทุกแห่งทีพ่ ระองค์จะเสด็จ พระเยซูเจ้าจึงตรัส กับเขาว่า “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรง นกในอากาศยังมีรัง แต่บุตรแห่งมนุษย์ไม่มีที่จะวาง ศีรษะ”... พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดที่จับคันไถแล้วเหลียวดูข้างหลัง ผู้นั้นก็ไม่เหมาะสม กับพระอาณาจักรของพระเจ้า” (ลก. 9:57-58, 62) 4. พระองค์ยังตรัสอุปมาเรื่องหนึ่งให้เขาทั้งหลายฟังอีกว่า “เศรษฐีคนหนึ่งมีที่ดิน ที่เกิดผลดีอย่างมาก เขาจึงคิดว่า ‘ฉันจะทำ�อย่างไรดี ฉันไม่มีที่พอจะเก็บพืชผลของฉัน’ เขาคิดอีกว่า ‘ฉันจะทำ�อย่างนี้ จะรื้อยุ้งฉางเก่าแล้วสร้างใหม่ให้ใหญ่โตกว่าเดิม จะได้ เก็บข้าวและสมบัติทั้งหมดไว้ แล้วฉันจะพูดกับตนเองว่า ดีแล้ว เจ้ามีทรัพย์สมบัติ มากมายเก็บไว้ใช้ได้หลายปี จงพักผ่อน กินดื่มและสนุกสนานเถิด’ แต่พระเจ้าตรัสกับ เขาว่า ‘คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เขาจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไป แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะเป็นของ ใครเล่า คนทีส่ ะสมทรัพย์สมบัตไิ ว้ส�ำ หรับตนเองแต่ไม่เป็นคนมัง่ มีส�ำ หรับพระเจ้า ก็จะ เป็นเช่นนี้’” (ลก. 12:16-21)

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนที่ 1 สอนให้เข้าใจถึงความสำ�คัญของ “ความรอบคอบ” โดยพระ เยซูเจ้าทรงยกเรื่องเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจถึงประเด็นนี้ได้โดยง่าย เช่น การสร้าง หอคอยหรือการจะยกทัพไปทำ�สงครามกับอีกเมืองหนึง่ จำ�เป็นต้องมีการคำ�นวณค่าใช้ จ่ายล่วงหน้าเพื่อจะได้รู้ว่าตนมีเงินเพียงพอที่จะเริ่มสร้างหอคอยหรือไม่ หรือการ คำ�นวณกำ�ลังพลเพือ่ จะประมาณได้วา่ ทหารจำ�นวนน้อยกว่าจะชนะจำ�นวนทีม่ ากกว่าได้ หรือไม่ ถ้าไม่แล้วก็ไม่ควรดำ�เนินการ - พระวาจาตอนที่ 2 เรื่องการเสียภาษีแก่ซีซาร์ แม้เรื่องนี้จะเกิดในบริบทของการ จับผิดพระเยซูเจ้า แต่พระองค์กท็ รงพระปรีชาญาณตอบคำ�ถามของคนเหล่านัน้ ได้อย่าง ชาญฉลาดทีส่ ดุ ว่า “...ของของซีซาร์จงคืนให้ซซี าร์ และของของพระเจ้าจงคืนให้พระเจ้า เถิด” เพราะถ้าหากพระองค์ทรงตอบผิดคนเหล่านั้นก็จะจับพระองค์ไปดำ�เนินคดี แต่ คำ�ตอบของพระองค์นี้สอนให้เราเข้าใจถึง “ความยุติธรรม” ที่พระเยซูเจ้าทรงต้องการ ให้ศิษย์ของพระองค์มีคุณธรรมประการนี้ - พระวาจาตอนที่ 3 สอนถึง “ความกล้าหาญ” ที่จะเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า การดำ�เนินชีวิตเป็นคนดีเรียกร้องความกล้าหาญที่จะยอมทิ้งนิสัยเดิมๆ บางอย่าง ทิ้ง ความมัน่ ใจทีม่ าจากทรัพย์สนิ ของโลกนี้ ทิง้ ตัวตนเดิมของตน ฯลฯ ซึง่ เป็นสิง่ ทีย่ ากมาก แต่การทำ�ความดีหรือสิ่งดีๆ ย่อมเรียกร้องความกล้าหาญดังกล่าว มิฉะนั้นแล้ว “ผู้นั้น ก็ไม่เหมาะสมกับพระอาณาจักรของพระเจ้า” - พระวาจาตอนที่ 4 กล่าวถึงเศรษฐีที่สะสมทรัพย์สมบัติมากมายของโลกนี้อย่าง ไม่รู้จักพอเพราะเขาต้องการเป็นคนมั่งมีสำ�หรับโลกนี้ พระเยซูเจ้าจึงตรัสอย่างชัดเจน และน่ากลัวว่า “...คนโง่เอ๋ย คืนนี้ เขาจะเรียกเอาชีวิตเจ้าไป แล้วสิ่งที่เจ้าได้เตรียมไว้จะ เป็นของใครเล่า...” คุณธรรมความมัธยัสถ์ความพอดีหรือพอประมาณจึงสำ�คัญอย่างยิง่ สำ�หรับผู้ที่ต้องการเจริญชีวิตเป็นคนดี เพราะการที่คนหนึ่งมุ่งมั่นสะสมทรัพย์สมบัติใน โลกนีจ้ ะทำ�ให้เขาตัง้ เป้าหมายทีผ่ ดิ พลาดโดยเอาสิง่ ทีเ่ ขาแสวงหานัน้ มาแทนพระเจ้าก็ได้ - ความจริงแล้วยังมีคำ�สอนอีกมากมายของพระเยซูเจ้าที่สอนเกี่ยวกับคุณธรรม ทั้งสี่ประการนี้ แต่ในที่นี้ได้ยกมาเพียงบางตอนเท่านั้น 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ใบงานที่ผู้เรียนได้ทำ�ไปในตอนต้นจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความจำ�เป็นของ คุณธรรมหลักทั้ง 4 ประการ เฉพาะอย่างยิ่งจากคำ�ถามในตอนท้ายที่ว่า “หากบุคคล นั้นคือฉันเองจะเป็นอย่างไร...” - แบ่งผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจัดเตรียมการแสดงสั้นๆ ความยาวไม่เกิน 5 หรือ 7 นาที/กลุ่ม (แล้วแต่ความเหมาะสม) โดยให้กลุ่มจับฉลาก 1 หัวข้อการแสดง คือ ความรอบคอบ ความกล้าหาญ ความยุติธรรม และความมัธยัสถ์ แต่ให้กลุ่มเก็บ หัวข้อของตนไว้เป็นความลับ - เมื่อจับฉลากเสร็จแล้ว ให้กลุ่มมีเวลาเตรียมเนื้อเรื่องและซ้อมการแสดง จากนั้น จึงให้แต่ละกลุ่มแสดงให้เพื่อนๆ ชม เมื่อกลุ่มแสดงเสร็จแล้ว ให้ผู้ชมแข่งขันกัน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


35

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ตอบคำ�ถามว่า กลุม่ แสดงถึงคุณธรรมข้อใด (ผูส้ อนอาจเตรียมรางวัลล่วงหน้าสำ�หรับผู้ ที่ตอบถูกต้องเป็นคนแรก) - เมื่อแสดงครบทั้ง 4 กลุ่มแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนช่วยกันโหวตอีกว่า การแสดงของ กลุ่มใดสามารถสื่อให้เห็นถึงหัวข้อคุณธรรมของกลุ่มได้ชัดเจนที่สุด...ตามลำ�ดับ... (ผู้สอนเตรียมรางวัล) - คุณธรรมหลัก 4 ประการดังกล่าวเป็นคุณธรรมพื้นฐานที่พระเจ้าทรงมอบไว้ใน ใจของมนุษย์ทุกคน เพื่อเป็น “ตัวช่วย” ให้มนุษย์ทำ�ความดีในระดับมนุษยธรรมจน สามารถกลายเป็น “คนดี” ได้ - ให้ผู้เรียนแบ่ง 4 กลุ่มเดิม แล้วให้แต่ละกลุ่มอ่านใบความรู้ของคุณธรรมหลัก 4 ประการ สมาชิกในกลุม่ ช่วยกันทำ�ความเข้าใจ หลังจากนัน้ ให้กลุม่ จับฉลากชือ่ คุณธรรม กลุ่มละ 1 ประการ แล้วแบ่งปันให้แก่กลุ่มอื่นๆ

ดูใบความรู้ “คุณธรรมหลัก 4 ประการ” ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติคุณธรรมหลักทั้งสี่ประการด้วยความตั้งใจพัฒนาตนให้สมบูรณ์ อย่างต่อเนื่อง 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวดภาวนาบท “แสดงความเชื่อ” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


36

ใบงาน “นี่หรือเธอ” คำ�ชี้แจง : อ่�นข้อคว�มแล้วตอบคำ�ถ�ม

สมมติว่าเรามีเพื่อนคนหนึ่งที่... - ทำ�อะไรข�ดคว�มยั้งคิด บุ่มบ่�ม ไม่ค่อยมีเหตุผล ใช้แต่อ�รมณ์ - ขี้กลัว คอยหลบข้�งหลังเร�เสมอ - ชอบเอ�รัดเอ�เปรียบผู้อื่นเสมอ ไม่มีคว�มเป็นกล�ง - ข�ดคว�มยับยั้งชั่งใจในทุกเรื่อง (กิน เที่ยว เล่น ฟุ่มเฟือย) เราจะรูส้ กึ อย่างไรกับเพือ่ นคนนี.้ .. จะมีปฏิกริ ยิ าอย่างไรต่อเขา... จะตักเตือนเขาหรือไม่... ถ้าจะตักเตือนเขา จะทำาอย่างไร... แต่หากบุคคลที่ว่านี้คือฉันเองล่ะ... ถ้าเป็นฉันจริงๆ จะน่ารังเกียจเพียงใด... ฉันจะทำาอย่างไรกับตัวเอง...


37

ใบความรู้ “คุณธรรมหลัก 4 ประการ”

คุณธรรมหลัก 4 ประการ (จากคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1805-1809)

1805 มีคุณธรรมสี่ประการที่มีหน้าที่สำ�คัญ ที่เรียกว่า “หลัก” คุณธรรมอื่นๆ ทั้งปวง มีความสำ�คัญรองลง มา คุณธรรมหลักทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ความรอบคอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ และความมัธยัสถ์ “ถ้าใครรัก ความชอบธรรม คุณธรรมก็คือผลของความเหน็ดเหนื่อยของเขา อันที่จริง คุณธรรมนั้นสอนให้มัธยัสถ์ และมีความ รอบคอบ ความยุติธรรมและความกล้าหาญ” (ปชญ.8:7) ภายใต้นามอื่นๆ คุณธรรมต่างๆ เหล่านี้ได้รับการชมเชย ในข้อความมากมายของพระคัมภีร์ 1806 ความรอบคอบ เป็นคุณธรรมซึ่งแสดงเหตุผลทางปฏิบัติ เพื่อแยกแยะสิ่ง ดีงามแท้จริงของเราในทุกสถานการณ์ และเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อลงมือปฏิบัติ “คน รอบคอบ มองดูว่าเขากำ�ลังไปทางไหน” (สภษ.14:15) “จงมีความสุขุมรอบคอบ รู้จัก ประมาณตนเพื่ออธิษฐานภาวนา” (1ปต.4:7) ความรอบคอบนั้นเป็นกฎเกณฑ์เที่ยงตรง แห่งการกระทำ� นักบุญโทมัส อไควนัส เขียนไว้ตาม อริสโตเติล ว่า ความรอบคอบไม่ สับสนปะปนกับความขี้อายหรือความกลัว ไม่ใช่เป็นการทำ�สองครั้งหรือการแกล้งทำ� ถูก เรียกว่า “คนขับรถม้าของคุณธรรม” คุณธรรมนี้ควบคุมคุณธรรมอื่นๆ โดยชี้ถึงกฎเกณฑ์ และมาตรวัด เป็นความรอบคอบซึ่งชี้นำ�การตัดสินของมโนธรรมในทันที คนที่รอบคอบ ตัดสินและสั่งการความประพฤติของตนให้ปฏิบัติตามการพิจารณานี้ เราประยุกต์ใช้หลัก การทางศีลธรรมกับกรณีเฉพาะโดยปราศจากข้อผิดพลาด และเราเอาชนะความสงสัยเกีย่ ว กับสิ่งดีงามที่จะกระทำ� และสิ่งชั่วร้ายที่จะหลีกเลี่ยง ทั้งนี้เนื่องมาจากคุณธรรมความ รอบคอบนี้เอง


38

1807 ความยุตธิ รรม เป็นคุณธรรมทางศีลธรรมซึง่ ประกอบด้วยน้�ำ ใจมัน่ คงและ คงที่ที่จะให้สิ่งที่ต้องให้แก่พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ความยุติธรรมต่อพระเจ้านั้นเรียกว่า “คุณธรรมทางศาสนา” ความยุตธิ รรมต่อเพือ่ นมนุษย์นนั้ พร้อมทีจ่ ะให้ความเคารพนับถือ สิทธิของแต่ละคน และทีส่ ร้างความกลมกลืนในมนุษยสัมพันธ์ซงึ่ ช่วยสนับสนุนความเท่า เทียมกันในเรือ่ งบุคคลต่างๆ และความดีงามส่วนรวม คนทีย่ ตุ ธิ รรมนัน้ ซึง่ มีกล่าวถึงบ่อยๆ ในพระคัมภีร์ แยกแยะจากกันโดยความคิดที่ถูกต้องและทำ�เป็นนิสัยและโดยทางความ ประพฤติเทีย่ งตรงต่อเพือ่ นมนุษย์ “จงสัตย์ซอื่ และยุตธิ รรม เมือ่ เจ้าตัดสินคดีทางกฎหมาย อย่าแสดงความเห็นอกเห็นใจคนยากจน หรือเกรงกลัวคนมัง่ มี อย่าโพนทะนาใส่รา้ ยบุคคล ใด และเมื่อผู้อื่นต้องขึ้นศาลในคดีอาญา จงแสดงเจตจำ�นงในอันที่จะเป็นพยานให้แก่เขา อย่างเต็มที่” (ลนต.19:15) “ท่านผู้เป็นเจ้านาย จงให้ทาสของท่านได้รับความยุติธรรม ตามความเหมาะสม ท่ า นทราบแล้ ว ว่ า ท่ า นก็ มี เจ้ า นายองค์ หนึ่ ง ในสวรรค์ เช่ น กั น ” (คส.4:1) 1808 ความกล้าหาญ เป็นคุณธรรมทางศีลธรรม ซึ่งรับประกันความมั่นคงและ ความคงที่สม่ำ�เสมอในการแสวงหาสิ่งดีงามในปัญหา อุปสรรคต่างๆ ความกล้าหาญนั้น เพิม่ ความเข้มแข็งให้กบั การตัดสินใจทีจ่ ะต่อต้านการทดลองใจ และเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวติ ทางศีลธรรม คุณธรรมความกล้าหาญทำ�ให้สามารถมีชยั ต่อความกลัว แม้กลัวความ ตาย และที่จะเผชิญการทดลองและการเบียดเบียนต่างๆ ความกล้าหาญช่วยให้เราเต็มใจ แม้กระทั่งยอมปฏิเสธและยอมเสียสละชีวิตตนเอง เพื่อป้องกันสิ่งที่ชอบธรรม “พระเจ้า ทรงเป็นกำ�ลังและบทเพลงของข้าพเจ้า” (สดด.118:14) “ท่านจะถูกข่มเหงในโลก แต่มานะ ไว้เถิด เราได้ชนะโลกแล้ว” (ยน.16:33) 1809 ความมัธยัสถ์ เป็นคุณธรรมทางศีลธรรม ซึ่งรู้จักยับยั้งความยั่วยวนของ ความสนุกให้พอประมาณและทำ�ให้มีสมดุลในการใช้สิ่งดีงามที่พระสร้างขึ้นมา ความ มัธยัสถ์นนั้ ช่วยเราให้ควบคุมน้�ำ ใจเหนือสัญชาตญาณ และคงรักษาความต้องการไว้ภายใน ขอบเขตของสิ่งที่มีเกียรติ คนที่มัธยัสถ์มุ่งความกระหายทางประสาทสัมผัสของตนสู่สิ่งที่ดี งาม และรักษาความสุขมุ รอบคอบไว้ “อย่ายโส โอหัง พลังตน ว่าให้ผล สัจจัง ดัง่ ปรารถนา มนุษยหวัง ตั้งใจ ในทุกครา แต่ทว่า เบื้องบน ดลบันดาล” (บสร.5:2) ความมัธยัสถ์ได้ รับการชื่นชมบ่อยๆ ในพันธสัญญาเดิม “อย่าปล่อยใจไปตามราคะตัณหา มีแต่พา ตัวเรา เศร้าหมอง จงควบคุม จิตใจ ที่ใฝ่ปอง อย่าทดลอง กับไฟ ไหม้ทุกครา” (บสร.18:30) ใน พันธสัญญาใหม่เรียกว่า “การรู้จักพอประมาณ” หรือ “ความมีสติ” เราต้อง “ดำ�เนินชีวิต อย่างมีสติสมั ปชัญญะด้วยความชอบธรรม และด้วยความเคารพรักพระเจ้าในโลกนี”้ (ทต. 2:12) นักบุญออกัสติน กล่าวว่า การเจริญชีวิตอย่างดีไม่ใช่อื่นไกลนอกจากเป็นการรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดใจ ด้วยสิ้นสุดวิญญาณและด้วยสิ้น สุดกำ�ลังของตน จากสิ่งนี้จึงทำ�ให้รักษาความรักทั้งครบและไม่สูญสลาย (ด้วยความมัธยัสถ์) ไม่มีความอัปโชคใดๆ สามารถทำ�ให้สั่นคลอนได้ (และสิ่งนี้คือความกล้าหาญ) นบนอบต่อพระองค์เท่านั้น (และเรื่องนี้คือความยุติธรรม) สนใจสิ่งต่างๆ เพื่อมิให้มีเล่ห์กล หรือการหลอกลวง (และนี่คือความรอบคอบ)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.