รวมแผนการสอน
คำ�สอน
หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ
ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับประถมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี ารปรับปรุงอยูบ่ า้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บางสิง่ ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้นำ�แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
สารบัญ
หน้า
แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในสิ่งสร้าง .......................................................................................1 เรื่อง พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่และดูแลสิ่งสร้าง ................................................................................5 เรื่อง การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ......................................................................................9 เรื่อง ชีวิตเป็นพระพรของพระ ........................................................................................................13 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ...........................................................................................17 เรื่อง พระเยซูเจ้า ทรงเติบโตฝ่ายกายและวิญญาณ ..........................................................................21 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงอวยพรเด็ก ....................................................................................................25 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องเปรียบเทียบ ......................................................................................29 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พระจิตเจ้าทรงทำ�ให้ เราเป็นหนึ่งเดียวกัน ..............................................................................33 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง พระศาสนจักรคือครอบครัวของพระเจ้า ..................................................................................36 เรื่อง พระนางมารีย์ พระมารดาของเราทุกคน ................................................................................40 เรื่อง วันฉลองแม่พระ ...................................................................................................................44 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ชีวิตหลังความตาย ................................................................................................................48 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง อิสราแอลชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรร (อับราฮัม) ................................................................53 เรื่อง โมเสส .................................................................................................................................57 เรื่อง กษัตริย์ดาวิด ........................................................................................................................61 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ : ท่อธารแห่งพระหรรษทาน .............................................................................66 เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน ..............................................................................70 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง บท “ข้าแต่พระบิดาฯ” ........................................................................................................75 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 1-3 ...................................................................................................79 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 4 .......................................................................................................83 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 5 .......................................................................................................88 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 6,9 ....................................................................................................93 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 7,10 ..................................................................................................97 เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 8 .....................................................................................................102
1
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง พระเจ้าทรงแสดงพระองค์ในสิ่งสร้าง
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า สิ่งสร้างทุกอย่างล้วนถูกสร้างมาโดยพระเจ้า เพื่อให้มนุษย์ได้ มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ พระเจ้าทรงเป็นผู้สรรพฤทธิ์ ผลงานจากฝีพระหัตถ์ของพระองค์จึงเป็น สิ่งดีพร้อม ไม่มีที่ติใดๆ สิ่งสร้างทั้งปวงจึงล้วนเป็นสิ่งที่จริง ดีและสวยงาม เพราะสะท้อน ลักษณะของพระผู้สร้าง ผู้ทรงเป็นองค์ความจริง ความดีและความงาม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกและกระทำ�สิ่งต่างๆ โดยให้พระเจ้ามาเป็นเอก สาระการเรียนรู ้ เรารู้และเชื่อมั่นแล้วว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างโลกและมนุษย์ ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมานั้นล้วนแต่มี เพื่อเอื้อให้มนุษย์ได้เจริญชีวิตอย่างสมบูรณ์ สิ่งเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ดีและสวยงาม หากมีสิ่งใดไม่ดีก็เพราะมนุษย์เองเป็นผู้ทำ�ให้ เกิดขึ้นด้วยความเห็นแก่ตัวของตน สิ่งสร้างทั้งปวงจึงเป็นสิ่งที่จริง ดีและสวยงามในตนเอง เพราะเป็นผลงานจากพระหัตถ์ของ พระเจ้า จึงสะท้อนและแสดงถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงเป็นให้แก่เราได้รู้จัก นั่นคือ พระเจ้าทรงเป็นองค์ความจริง ความดี และ ความงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนบทเรียนครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - สอนเพลง “เช้าวันใหม่” โดยอธิบายความหมายของเพลงให้ผู้เรียนเข้าใจและ เน้นประเด็นที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ - ผู้สอนแจกดอกไม้ที่สวยงามให้ผู้เรียน 2 คน/1 ดอก แล้วให้ผู้เรียนพิจารณา ความงดงามและความดี (ประโยชน์) ของดอกไม้นั้น โดยถามว่า “ชอบดอกไม้ไหม?” “ชอบ เพราะอะไร?” “ไม่ชอบ เพราะอะไร?” “นอกจากดอกไม้นแี้ ล้วยังมีสงิ่ สร้างอะไร อื่นอีกที่สวยงามบ้าง?” ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบ - จากนั้นจึงนำ�เข้าสู่ประเด็นว่า สิ่งงดงามเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองได้ไหม? คนที่นำ� ดอกไม้นี้มาปลูกเกิดขึ้นเองได้ไหม? มนุษย์คู่แรกเกิดขึ้นเองได้ไหม? - สรุปว่า เมื่อต้นกำ�เนิดของทุกสิ่งที่ดีงามนั้นมาจากพระเจ้า แล้วพระเจ้าจะทรง ดีและสวยงามมากกว่าสักเพียงใด? 3 พระวาจา (รม 1:19-23) - พระวาจา (รม 1:19-23)“...พระเจ้าทรงทำ�ให้สิ่งที่รู้ได้เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏ
☆ เนื้อเพลงท้ายแผน
/ ซีดี เพลงชุด “ทำ�ด้วยความรัก” เพลงที่ 2 / เครื่องเล่นซีดี
“ดอกไม้” สวยงามหลายๆ ดอกที่ผู้สอนเตรียมล่วงหน้า
☆
2
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ชัดอยูแ่ ล้ว กล่าวคือ ตัง้ แต่เมือ่ ทรงสร้างโลก คุณลักษณะทีไ่ ม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือพระอานุภาพนิรนั ดรและเทวภาพของพระองค์ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปญ ั ญามนุษย์ ในสิง่ ทีท่ รงสร้าง ดังนัน้ คนเหล่านีจ้ งึ ไม่มขี อ้ แก้ตวั ใดๆ พวกเขารูจ้ กั พระเจ้า แต่ (มนุษย์) ไม่ได้เคารพบูชาพระองค์เป็นพระเจ้าหรือขอบพระคุณพระองค์ ความคิดหาเหตุผลของ พวกเขากลับใช้การไม่ได้ และจิตใจทีไ่ ม่ยอมเข้าใจกลับมืดบอดลง พวกเขาคิดว่าตนเป็น คนฉลาด แต่ในความเป็นจริง พวกเขากลับโง่ จนถึงกับนำ�พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า ผู้เป็นอมตะมาแลกกับภาพเลียนแบบ คือภาพมนุษย์ที่ไม่เป็นอมตะ ภาพสัตว์ปีก ภาพ สัตว์สี่เท้า หรือภาพสัตว์เลื้อยคลาน...”
4 อธิบายพระวาจา - พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้แตกต่างจากสัตว์ทุกชนิด จนบางคนบอกว่า มนุษย์ คือ “สัตว์ประเสริฐ” ความประเสริฐนั้นมาจาก “วิญญาณ” ของมนุษย์ เพราะเรามี วิญญาณ เราจึงมีสติปัญญาและน้ำ�ใจที่สัตว์ทุกชนิดไม่มี - สติปัญญาของมนุษย์นี้เองที่ทำ�ให้เขาสามารถรู้จักพระเจ้าได้ แม้ไม่ต้องมี คนมาบอก เขาสามารถรู้ได้จากการมองดูสิ่งสร้างทั้งปวง เพราะสิ่งสร้างเหล่านั้นมี ความเป็นอยู่จริง ไม่ใช่ภาพลวง มันจึงเป็นความจริง และมันยังมีความสวยงาม น่าอัศจรรย์อย่างทีไ่ ม่มมี นุษย์คนใดจะทำ�ให้เหมือนได้ นอกนัน้ สิง่ เหล่านีย้ งั มีประโยชน์ ล้ำ�ค่าต่อมนุษย์หากมนุษย์รู้จักใช้ในทางที่ถูกต้องและอย่างไม่เห็นแก่ตัว ดังนั้นสิ่ง เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ดีต่อมนุษย์ เพราะมันเป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ - ในเมื่อสิ่งสร้างต่างๆ ยังดีเลิศขนาดนี้ แล้วผู้สร้างมันขึ้นมาจะดีกว่าสักกี่เท่า? น.ออกัสตินกล่าวว่า “จงถามความงามของแผ่นดิน ถามความงามของท้องทะเล ถามความงามของอากาศซึง่ พองตัวและแพร่กระจายออกไป ถามความงามของท้องฟ้า ถามความเป็นจริงทัง้ หลายเหล่านี.้ .. จะได้ค�ำ ตอบเหมือนกันหมดว่า จงดูซิ เรานีง้ ดงาม ความงามของสิง่ เหล่านีเ้ ป็นการประกาศยืนยัน (confessio) ความงามเหล่านีซ้ งึ่ อยูใ่ น สภาพที่เปลี่ยนแปลงได้ ใครเป็นผู้ทำ�ขึ้นมา หากมิใช่องค์แห่งความงาม (Pulcher) ซึ่ง ไม่อยู่ในสภาพที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเลย” - น.ออกัสตินได้สรุปตอนท้ายว่า สิ่งสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้และมีวันจบสิ้นเหล่า นี้ประกาศยืนยันถึงผู้ที่สร้างมันขึ้นมา ผู้นั้นจะต้องไม่มีวันเปลี่ยนแปลงและไม่มีวันจบ สิ้นด้วย นั่นคือองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน - ในเมื่อสิ่งสร้างยังบอกเราว่า มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มันมีความสวยงามและมัน เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อมนุษย์ แล้วพระเจ้าผู้สร้างมันขึ้นมาจะต้องเป็นองค์แห่ง ความจริง ความดีและความงามอย่างไม่มีขอบเขตแน่นอน เพราะพระเจ้าทรงประทาน คุณสมบัติเหล่านี้ให้แก่ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา แต่สิ่งสร้างเหล่านั้นมิใช่พระเจ้า มันจึงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาตามอายุ และในที่สุดก็ร่วงโรยจบสิ้นไป 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - บางครั้งเราอาจคิดว่าบางสิ่งบางอย่างมันก็ไม่ดี นั่นเป็นเพราะมนุษย์เรานำ�มา ใช้ในทางที่ไม่ดีต่างหาก เพราะถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนการเดิมของพระเจ้า ทุกสิ่ง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
3
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
มีไว้เพื่อรับใช้มนุษย์ให้เขาเจริญชีวิตอย่างมีความสุข แต่หลายครั้งมนุษย์จองหองและ เห็นแก่ตัวจึงสร้างความเสียหายให้แก่ตนเองโดยใช้สิ่งสร้างของพระเจ้าเป็นเครื่องมือ - หากมนุษย์รู้จักเห็นคุณค่าของทุกสิ่งและใช้มันอย่างถูกต้อง สิ่งต่างๆ เหล่านั้น จะเป็นเครือ่ งมือ เป็นเสมือน “บันได” ทีพ่ าเราไปหาพระเจ้า เพราะสิง่ เหล่านัน้ สามารถ สะท้อนลักษณะของพระผู้สร้างมันขึ้นมา นั่นคือ พระเจ้าทรงเป็นองค์ความจริง องค์ ความดีและองค์ความงาม - คนที่เคยดูรายการโทรทัศน์ชุด “Discovery” จะสัมผัสได้อย่างดีถึงความน่าทึ่ง น่าอัศจรรย์ของสัตว์โลก ของธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งทำ�ให้เข้าใจได้ชัดเจนว่า แค่สิ่งสร้างนั้น ซึ่งวันนี้มันเกิดมา พรุ่งนี้มันก็จะตายไป มันยังน่าพิศวงได้ถึงขนาดนี้ แล้วผู้สร้างมันมา จะน่าพิศวงมากกว่าสักเท่าใด? - เมื่อเราเข้าใจชัดถึงสิ่งเหล่านี้แล้ว เราคงต้องยอมรับและเชื่อว่าพระเจ้าทรงยิ่ง ใหญ่สักเพียงใด? ทรงรักมนุษย์สักเพียงใด? ไม่มีใครจะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์อีกแล้ว ไม่มีใครจะดีต่อเราได้มากกว่าพระองค์อีกแล้ว ดังนั้น ให้เราได้รับรู้และเชื่อถึงความยิ่ง ใหญ่ของพระองค์ โดยรู้จักเลือกให้พระองค์ทรงมาก่อนในชีวิตของเราเสมอ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “พระเจ้ามาก่อน” แล้วให้ผู้สอนอธิบายสรุปในตอนจบ
☆
ให้ดูซีดี “Discovery” สั้นๆ ก็ได้
☆
ใบงาน “พระเจ้ามาก่อน” ท้ายแผน
6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนนำ�สิ่งที่ได้ทำ�ในใบงาน “พระเจ้ามาก่อน” ไปปฏิบัติจริงในชีวิต 7 ภาวนาปิดท้าย - สวดบท “แสดงความรัก” พร้อมๆ กัน แล้วร้องเพลง “เช้าวันใหม่” อีกครั้งหนึ่ง
จากเพลงชุด “ทำ�ด้วย ความรัก” เพลงที่ 2
☆
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมกิจกรรม - การทำ�ใบงาน 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
เพลง “เช้าวันใหม่” (รับ) เช้าวันใหม่เบิกฟ้า ดวงตาฉันมองเห็น ความรักของพระองค์ 1. ท้องฟ้าสีคราม ในน้ำ�มีปลา นกบินร่อนมา พาฉันสุขใจเหลือเกิน (รับ) 2. ท้องน้ำ�เยือกเย็น เป็นประกายวับวาว ทิวสนเรียงยาว พาฉันสุขใจเหลือเกิน (รับ) 3. ท้องทุ่งรุ้งงาม ยามฝนโปรยปราย รวงข้าวเรียงราย พาฉันสุขใจเหลือเกิน (รับ)
4
ใบงาน “พระเจ้ามาก่อน” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนจับคู่กิจกรรม โดยนำ�ตัวอักษรของกิจกรรมด้านบนใส่ลงในช่องว่างของข้อที่มีกิจกรรม สอดคล้องกันให้ถูกต้อง
คำ�ถาม - ถ้าฉันให้พระเจ้ามาก่อนใน ทุกกิจกรรม ฉันต้อง............
ก. ทำ�เดชะ พระนาม
จ. แต่งตัวไป ง. สวดถวาย มิสซา การเรียน
ฉ. เก็บใส่ ถังขยะ
ค. สวดก่อน อาหาร
ช. สวด ภาวนา ก่อนนอน
ข. รีบช่วย อย่างดี
1. ตื่นนอน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .( .ก. .) . 2. รับประทานอาหาร. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (. ค. .). 3. เรียนหนังสือ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .( .ง.). 4. ครูหรือเพื่อนขอให้ช่วย. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (. ข. .). 5. เห็นเศษขยะ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .( .ฉ. ). 6. วันอาทิตย์. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (. จ. .). 7. ก่อนนอน. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . (. ช. .).
5
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่และดูแลสิ่งสร้าง
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า เมือ่ พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิง่ ต่างๆ มาแล้ว พระองค์ได้ทรงดูแล รักษาทุกสิ่งเหล่านั้นต่อไปเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านั้นจึงมีความเป็นอยู่และมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ รวมถึงมนุษย์ด้วย - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าสำ�หรับพระพรแห่งสิ่งสร้างที่ทรงประทานแก่มนุษย์ สาระการเรียนรู ้ หลังจากที่พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งมาแล้ว พระองค์มิได้ทรงปล่อยปละละเลยทุกสิ่งเหล่านั้น แต่ได้ ทรงติดตาม ดูแล รักษาทุกอย่างตามธรรมชาติของมัน ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์ พืช สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ฯลฯ ให้ แต่ละสิ่งนั้นดำ�เนินชีวิตของมันตามธรรมชาติ แม้ว่ามันจะมีขอบเขตและมีชีวิตอยู่ได้ตามเวลาของมันเท่านั้น แต่พระองค์ก็ยัง ทรงให้มีทุกอย่างสืบต่อมาทุกยุคทุกสมัย เพราะทรงเห็นแก่เรามนุษย์ เนื่องจากทรงสร้างสิ่งเหล่านี้เพื่อให้มนุษย์มีความเป็น อยูท่ สี่ มบูรณ์ สัตว์หรือมนุษย์กย็ งั รูจ้ กั รักลูกของมัน พระเจ้ายิง่ รักเราและทุกสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงสร้างมากกว่านัน้ สักเท่าใด เพราะ ทรงสรรพฤทธิ์ไม่มีขอบเขตจึงทรงดูแลรักษาทุกอย่างได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนร้องเพลง “พระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง”
เนื้อเพลงท้ายแผน / ซีดี - ผู้สอนนำ� “ต้นหญ้าตายแล้ว” หลายๆ ต้นมาให้ผู้เรียนพิจารณาดูว่า พืชนั้นเป็น เพลงชุด “Young Grace 2” ชนิดใด? ทำ�ไมมันจึงตาย? และหากเป็นต้นไม้ของเรา เราจะทำ�อย่างไรให้มนั ไม่ตาย? เพลงที่ 4 / เครื่องเล่นซีดี ☆ ต้นหญ้าตายแล้วหลายๆ - นอกจากต้นไม้แล้ว สัตว์ก็เช่นเดียวกัน มันมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? ที่ผ่านมาเคยมี ต้นที่ผู้สอนเตรียมมาล่วงหน้า ข่าวว่า ปลาพะยูนตายแล้วมาเกยตืน้ ทีช่ ายหาด หลังจากนัน้ ไม่นานก็มขี า่ วอีกว่า มีวาฬ ตัวใหญ่มาเกยตื้นเช่นกัน สัตว์เหล่านี้ตายเพราะมนุษย์ไปทำ�ร้ายมัน ต้องการเอาชีวิต ของมันหรือไม่ก็ต้องการเอาอวัยวะบางส่วนในร่างกายของมันมาใช้ มันจึงอายุสั้น - ผู้สอนอาจยกตัวอย่างของแพนด้า “หลินปิง” ที่แม่ของมันและพี่เลี้ยงรักและ ดูแลมันเป็นอย่างดีตั้งแต่แรกเกิดจนถึงบัดนี้ ทำ�ให้หลินปิงเติบโตอย่างรวดเร็วและ แข็งแรงมาก - แล้วเราแต่ละคนล่ะ? พระเจ้าทรงเอาพระทัยใส่ดูแลรักษาเราอย่างไร? ให้ ผู้เรียนช่วยกันตอบ
☆
6
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
3 พระวาจา (ลก 12:24-30) “จงสังเกตดูนกกาเถิด นกกามิได้หว่าน มิได้เก็บเกี่ยว ไม่มีโรงนา ไม่มียุ้งฉาง แต่ พระเจ้าทรงเลี้ยงมัน ท่านทั้งหลายมีค่ามากกว่านกสักเพียงใด ท่านใดบ้างที่กังวลแล้ว ต่ออายุของตนให้ยาวออกไปอีกสักหนึ่งวันได้ ดังนั้น ถ้าสิ่งเล็กน้อยเช่นนี้ยังอยู่เหนือ อำ�นาจของท่านแล้ว ท่านจะกังวลถึงเรื่องอื่นๆ ทำ�ไมเล่า จงสังเกตดูดอกไม้ใน ทุ่งนาเถิด ดอกไม้ไม่ปั่นด้ายหรือทอผ้า แต่เราบอกท่านทั้งหลายว่ากษัตริย์ซาโลมอน เมือ่ ทรงเครือ่ งอย่างหรูหราก็ยงั ไม่งดงามเท่าดอกไม้นดี้ อกหนึง่ แม้แต่หญ้าในทุง่ นาซึง่ มีชีวิตอยู่วันนี้รุ่งขึ้นจะถูกโยนทิ้งในเตาไฟ พระองค์ยังทรงตกแต่งเช่นนี้ พระองค์จะไม่ สนพระทัยท่านมากกว่านี้นั้นหรือ ท่านช่างมีความเชื่อน้อยจริง ท่านอย่ากังวลใจ แสวงหาว่าจะกินอะไรหรือจะดื่มอะไร สิ่งเหล่านี้ชนชาติอื่นๆ ในโลกเท่านั้นที่แสวงหา พระบิดาของท่านทรงทราบดีว่าท่านต้องการสิ่งเหล่านี้” 4 อธิบายพระวาจา - ให้เราสังเกตดูว่า สัตว์ต่างๆ โดยธรรมชาติแล้วมันไม่ต้องทำ�งาน แต่มันก็มี อาหารกิน และส่วนใหญ่มันก็มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ สัตว์มากมายหลายชนิดจึงยังไม่ สูญพันธ์ุไป เราลองคิดดูว่าในโลกนี้มีสัตว์ทั้งหมดกี่ชนิด? เรานับไม่ถ้วนแน่นอน - พืชก็เช่นกัน เมื่อมันขึ้นเป็นต้นไม้แล้ว พืชมากมายหลายชนิดก็ยังคงมีชีวิตอยู่ ได้โดยไม่มีใครต้องไปคอยรดน้ำ�ให้มัน เช่น พืชตามป่าเขา จนทุกวันนี้เราก็ยังพบว่ามี พืชมากมายที่ไม่ได้สูญพันธ์ไป ทำ�ไมพืชเหล่านั้นจึงยังคงมีชีวิตอยู่ได้? - ส่วนเรามนุษย์ พระวรสารบอกว่า เราไม่ต้องกังวลว่าจะกินอะไร? หรือวันพรุ่งนี้ จะเป็นอย่างไร? เพราะพระเจ้าจะทรงเป็นผู้ดูแลเราเอง พระองค์ทรงเป็น “บิดา” ของ เรา พระองค์ได้ทรงสร้างเรามาให้ประเสริฐกว่าสัตว์และพืชมากมายหลายเท่านัก แล้ว พระองค์จะไม่ทรงดูแลเราให้ดีกว่าสัตว์และพืชเหล่านั้นหรือ? เป็นไปไม่ได้แน่นอน - พ่อแม่ (ส่วนใหญ่) ที่เป็นเพียงมนุษย์ยังรู้จักที่จะดูแลเอาใจใส่ลูกของตนเป็น อย่างดี แล้วพระเจ้าจะทำ�ได้น้อยกว่ามนุษย์ได้อย่างไร? เป็นไปไม่ได้ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเจ้าทรงดูแลเรามนุษย์ได้อย่างไร? ก็อาศัยบิดามารดา ผู้ใหญ่ ครู และ ทุกคนรอบข้างเรา นอกนั้น เรายังมีสิ่งที่จำ�เป็นๆ หลายอย่างที่พระเจ้าทรงประทานให้ แก่เราโดยตรง เช่น อากาศ น้ำ� พืช ผัก ต้นไม้ ฯลฯ เราจึงมีชีวิตและสุขภาพที่ดีจนทุก วันนี้ - แต่เนื่องจากสิ่งสร้างเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างมาไม่ได้เป็นอมตะ (พระเจ้า เท่านั้นที่เป็นอมตะ) มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและอายุ มีเกิด เติบโต แก่ เจ็บป่วย และตาย ดังนัน้ การทีส่ งิ่ สร้างสลายตายไป มิได้หมายความว่าเพราะพระเจ้า ไม่ทรงดูแล แต่เป็นเพราะสสารทั้งปวงย่อมสูญสลายไปตามธรรมชาติของมันต่างหาก วงจรชีวิตของมันเป็นเช่นนั้น - เปรียบเทียบภาพพืช สัตว์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับผู้เรียนถึงสภาพของพืช สัตว์ ทั้ง 2 แบบ เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า สภาพของ คน สัตว์ พืช ที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ช่างประเสริฐ
☆
ภาพ พืช สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และที่ตายไปแล้ว
7
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
และน่าอัศจรรย์สกั เพียงใด พระเจ้าทรงรักเรามากเท่าใดจึงทรงให้ทกุ สิง่ ทุกอย่างแก่เรา อย่างสมบูรณ์แบบเช่นนี้ - เราจึงควรรู้สึกกตัญญูรู้คุณต่อพระองค์ ขอบคุณพระองค์อยู่ตลอดเวลา และ เจริญชีวิตนี้ให้ดีที่สุด - ให้ทำ�ใบงาน “พระเจ้าทรงดีต่อฉัน” เป็นการบ้าน
ใบงาน “พระเจ้า ทรงดีต่อฉัน” ท้ายแผน ☆
6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าสำ�หรับพระพรแห่งชีวิตและสิ่งสร้างต่างๆ ที่พระองค์ ทรงประทานแก่ตน 7 ภาวนาปิดท้าย - สวดภาวนาบท “ข้าแต่พระบิดา” ร้องเพลง “พระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง”
เนื้อเพลงท้ายแผน / ซีดี เพลงชุด “Young Grace 2” เพลงที่ 4 /เครื่องเล่นซีดี ☆
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมกิจกรรม - การทำ�ใบงาน 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
เพลง “พระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง” คืนที่ดาวเต็มท้องฟ้า หมู่เมฆลอยมาสู่ดวงจันทร์ ฟ้าสีครามตอนกลางวัน หากไม่เห็นจันทร์ดวงอาทิตย์ก็มา พื้นดินโอบกอดพื้นน้ำ� ดอกไม้งามฝูงปลานับร้อย นกและสัตว์ใหญ่น้อย ต่างมาเฝ้าคอยสรรเสริญพระบิดา ** ท่ามกลางต้นไม้และสายลม เราจะชื่นชมสรรเสริญพระนาม พระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง สร้างโลกสวยงาม และเราจะสาธุการ เทิดทูนพระนามยกย่องบูชา พระเจ้าสร้างโลกา พระเจ้าของเรา
8
ภาพ พืช สัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่... และ...ที่ตายไปแล้ว
ใบงาน “พระเจ้าทรงดีต่อฉัน” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนว่าพระเจ้าทรงดูแลฉันอย่างไรบ้าง? โดยใส่คำ�ตอบลงในช่องว่าง
1. ___________________________ 2. ___________________________ 3. ___________________________ 4. ___________________________ 5. ___________________________ 6. ___________________________ 7. ___________________________
9
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ทุกสิง่ เป็นผลงานของพระเจ้า ทีพ่ ระองค์ทรงประทานแก่มนุษย์ เราจึงต้องรู้คุณค่าของทุกสิ่งและรักษาไว้เป็นอย่างดี เพื่อตนเองและคนรุ่นหลัง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนดูแลรักษาตนเองและธรรมชาติอย่างดี สาระการเรียนรู ้ เมื่อสิ่งทั้งหลายที่พระเจ้าทรงสร้างมานั้นเป็นสิ่งที่จริง ดี และสวยงาม ก็สะท้อนลักษณะของพระเจ้าให้มนุษย์ ได้เห็นด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์เพื่อการดำ�รงชีพของมนุษย์ทั้งสิ้น หากมนุษย์รู้จักใช้มันอย่างดีและอย่างถูกต้อง ดังนัน้ เราจึงต้องดูแลรักษา อนุรกั ษ์ให้ทรัพยากรเหล่านีค้ งอยูส่ บื ไปให้นานทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะทำ�ได้ โดยรูจ้ กั เจริญชีวติ อย่างพอเพียง และประหยัด เพื่อให้พระพรของพระเหล่านี้ได้ดำ�รงอยู่ไปถึงลูกหลานของเราด้วย ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนร้องเพลง “ทะเลแสนงาม” พร้อมทำ�ท่าประกอบ
เนื้อเพลง “ทะเลแสนงาม” - วิเคราะห์พร้อมกับผู้เรียนว่าหากไม่มีธรรมชาติที่สวยงามและมีประโยชน์เหล่า ท้ายแผน/ซีดีเพลงชุด “เด็กดี” เพลงที่ 4/เครื่องเล่นซีดี นี้แล้ว ชีวิตมนุษย์จะเป็นอย่างไร? และหากเราไม่อนุรักษ์มันไว้ในวันนี้ ลูกหลานของ เราในวันหน้าจะมีชีวิตอยู่กันอย่างไร? ดังนั้นเราควรจะมีท่าทีใดต่อธรรมชาติเหล่านี้ ☆
- นอกจากธรรมชาติรอบตัวแล้ว ตัวเราเองก็เช่นกัน หากเราไม่ระวังรักษาสุขภาพ ของเราให้ดี ผลที่ตามมาจะกระทบต่อชีวิตของเรามากเพียงใด? ให้ผู้เรียนช่วยกัน วิเคราะห์ อาจยกตัวอย่างคนที่ติดยาเสพติด หรือคนที่ขับขี่รถอย่างประมาทก็ได้ - แล้วผู้เรียนแต่ละคนล่ะ จะเลือกกระทำ�อย่างไร? 3 พระวาจา (ปฐก 1:30-31) “ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายบนแผ่นดิน นกทั้งปวงในอากาศและบรรดาสัตว์เลื้อยคลาน บนแผ่นดินทุกสิ่งทุกอย่างที่มีลมปราณนั้น เราให้พืชเขียวสดทั้งปวงเป็นอาหารก็เป็น ดังนัน้ พระเจ้าทอดพระเนตรสิง่ ทัง้ ปวงทีพ่ ระองค์ทรงสร้างไว้ ทรงเห็นว่าดีนกั มีเวลา เย็นและเวลาเช้าเป็นวันที่หก” 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาที่ยกมานี้เป็นเพียงตอนเดียวที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงเห็นว่า ทุกสิ่งที่
.
10
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
พระองค์ทรงสร้างนั้นดี เพราะยังมีอีกหลายตอนในหนังสือปฐมกาลที่กล่าวเช่นนี้ (เช่น ปฐก 1:4; 1:10; 1:12; 1:18; 1:21; 1:26 ฯลฯ) ทั้งนี้ ทำ�ให้เราเข้าใจได้ชัดเจนว่า สิ่งทั้งปวงที่พระเจ้าทรงสร้างมานั้นดีทั้งสิ้น - ดังที่เราได้เรียนรู้มาแล้วว่า เมื่อพระเจ้าได้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งปวงมาแล้ว พระองค์ก็ทรงดูแลรักษาปกป้องสิ่งเหล่านั้นให้มีชีวิตอยู่ต่อไป ให้มีการสืบพันธุ์เพื่อ รักษาพงศ์พันธุ์ของมันไว้ต่อไปตราบจนสิ้นอายุขัย - ด้วยพระฤทธานุภาพอันไม่มีขอบเขตของพระเจ้า พระองค์ทรงทำ�ให้ทุกสิ่ง ในโลกและจักรวาลนี้ดำ�เนินไปอย่างสมดุล หมายความว่ามีความพอดีกันที่สุด - แต่หากในทุกวันนี้ เราเห็นว่ามีหลายอย่างที่ไม่พอดี หรือเป็นสิ่งร้ายแรง เช่น ภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ก็เป็นเพราะมนุษย์เองได้ใช้ธรรมชาติเหล่านั้นอย่างไม่ สมดุลเพราะความเห็นแก่ตัวนั่นเอง หลายอย่างจึงแปรผันไปในทางลบ และกลับมา ทำ�ลายมนุษย์เสียเอง เช่น ภาวะโลกร้อน ศึกสงคราม การขาดแคลนอาหาร ฯลฯ - แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการของพระเจ้า พระองค์ทรงต้องการให้ ทุกสิ่งดำ�เนินไปในทางที่เอื้อให้มนุษย์เจริญชีวิตอย่างมีความสุข พระองค์จึงทรงเรียก เราแต่ละคนให้ร่วมมือกับพระองค์ในการสร้างสรรค์โลกให้กลับสู่สภาพดีดังเดิม 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเราเข้าใจในสถานการณ์เช่นนี้ เราก็ควรจะร่วมมือกันช่วยทำ�ให้สิ่งต่างๆ ค่อยๆ กลับคืนสูส่ ภาพทีด่ ตี ามแผนการของพระเจ้า โดยอาจเริม่ จากสิง่ เล็กน้อยใกล้ตวั ของเรา และสิ่งสำ�คัญกว่านั้นคือ ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน กล่าวคือ รักษาตัวเราเอง ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เพราะหากเราเองมีสุขภาพที่อ่อนแอ มีโรคภัยไข้เจ็บแล้ว เราก็ไม่อาจจะช่วยใครหรือช่วยอะไรได้เลย - การช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ธรรมชาตินั้น สำ�หรับผู้เรียนในชั้นนี้ อาจทำ�ได้โดยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว เช่น การทิ้งขยะให้ถูกที่ การไม่ทำ�ลายสัตว์หรือต้นไม้ การรักษาความสะอาดของเครื่องใช้ เสื้อผ้า บ้านเรือน การใช้สิ่งต่างๆ อย่างประหยัด เช่น กระดาษ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ การรับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและไม่ ทิ้งขว้าง ฯลฯ - ให้ผู้เรียนตระหนักว่า หากเราไม่ช่วยกันรักษาธรรมชาติรอบตัวแล้วจะเกิดอะไร ขึ้นบ้าง? โดยให้ดูภาพตัวอย่างมลภาวะด้านต่างๆ และผู้สอนอาจเพิ่มเติมภาวะอื่นๆ อีกก็ได้ - ให้ผู้เรียนจับคู่กันทำ�กิจกรรมตามใบงาน “ช่วยโลก” เพื่อเรียนรู้ว่าในกรณี ต่างๆ นั้นเราจะช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างไรบ้าง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนดูแลรักษาตนเองและธรรมชาติอย่างดี ตามที่เขียนไว้ในใบงาน “ช่วย โลก”
☆
ภาพ “มลภาวะ” ท้ายแผน
☆
ใบงาน “ช่วยโลก” ท้ายแผน
☆
ใบงาน “ช่วยโลก” ท้ายแผน
11
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
7 ภาวนาปิดท้าย - ร้องเพลง “ทะเลแสนงาม” พร้อมกันแล้วสวดบท “วันทามารีย์” อย่างตั้งใจ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ เนื้อเพลง “ทะเลแสนงาม” ท้ายแผน/ซีดีเพลงชุด “เด็กดี” เพลงที่ 4/เครื่องเล่นซีดี
☆
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
เพลง “ทะเลแสนงาม” โอ้ทะเลแสนงาม ฟ้าสีครามสดใส มองเห็นเรือใบ แล่นอยู่ในทะเล หาดทรายงามเห็นปู ดูซิดูหมู่ปลา กุ้งหอยนานา อยู่ในท้องทะเล นี่แหละฝีพระหัตถ์ พระเจ้าทรงสร้างไว้ ให้เราชื่นใจ ยามเมื่อได้ชื่นชม
12
ใบงาน “ช่วยโลก” คำ�ชี้แจง - ในฐานะที่เธอเป็นคนที่รักธรรมชาติ เธอจะทำ�อย่างไรในเหตุการณ์ต่างๆ โดยนำ�ข้อด้านขวามือ มาใส่ในวงเล็บท้ายข้อด้านซ้ายมือ ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
เหตุการณ์ เห็นเพื่อนกำ�ลังทิ้งขยะลงบนพื้นหรือในน้ำ� (h) เห็นบางคนกำ�ลังรังแกสัตว์ เช่น แมว สุนัข แมลง ฯลฯ (e) เห็นบางคนทำ�ลายต้นไม้ ดอกไม้ (a) เห็นข่าวน้ำ�ท่วมเพราะป่าไม้ถูกทำ�ลาย (j) เห็นรถบางคันจอดโดยติดเครื่องไว้นานๆ (b) เห็นชาวบ้านใช้ปุ๋ยเคมีใส่ต้นไม้ (d) ต้องการทิ้งขยะ (i) เห็นบางคนใช้น้ำ�อย่างฟุ่มเฟือย (c) เห็นบางคนเผาขยะเป็นประจำ� (g) เห็นบางห้องมีไฟฟ้าเปิดโดยไม่มีคนอยู่ (f)
วิธีช่วยธรรมชาติ a. แนะนำ�ให้เขารักษาต้นไม้ ดอกไม้ไว้ b. ขอให้เขาดับเครื่องยนต์เพื่อไม่เพิ่มมลพิษในอากาศ c. ขอให้เขาช่วยกันประหยัดน้ำ� d. ถามเขาว่าทำ�ไมเขาไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพ e. ขอร้องให้เขาเลิกทำ�เพื่อเห็นแก่ชีวิตสัตว์ f. รีบปิดไฟเพื่อการประหยัดพลังงาน g. เสนอแนะให้เขาแยกขยะและฝังไว้เพื่อใช้ทำ�ปุ๋ยชีวภาพ h. ขอให้เขานำ�ไปทิ้งในถังขยะ i. ทิ้งโดยแยกขยะเพื่อจะสามารถนำ�ไปรีไซเคิล j. รณรงค์ไม่ให้ตัดต้นไม้ทำ�ลายป่า ให้ทุกคนช่วยกันปลูก ต้นไม้ *หมายเหตุ – มีเฉลยอยู่ในวงเล็บท้ายข้อแล้ว
ตัวอย่างมลภาวะด้านต่างๆ
13
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ชีวิตเป็นพระพรของพระ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ชีวิตคือพรประเสริฐสุดที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ด้วย ความรัก มนุษย์ต้องรักษาพระพรนี้ไว้ ดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อตอบสนองความรักของ พระโดยการรับใช้พระและเพื่อนมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนรับใช้พระเจ้าในคนรอบข้าง สาระการเรียนรู ้ ในบรรดาพระพรมากมายหลายอย่างทีพ่ ระเจ้าประทานให้แก่มนุษย์นนั้ พระพรทีป่ ระเสริฐทีส่ ดุ คือ “ชีวติ ” จำ�เป็นที่เราจะต้องเข้าใจในเรื่องนี้เพื่อจะเจริญชีวิตอย่างดีและในทางที่ถูกต้อง บางคนไม่เห็นคุณค่าชีวิตของตนจึงทำ�ลายเสีย บางคนเข้าใจผิดจึงดำ�เนินชีวิตในทางที่ผิด รักตนเองในทางที่ไม่ถูกต้อง การแสวงหาความสุข ความสบายในชีวิตจึงค่อยๆ ทำ�ลายชีวติ ของเขาทีละน้อย ซึง่ เป็นการทำ�ลายพระพรของพระเช่นกัน เมือ่ เราเข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวติ ของตนว่าเป็นพระพร อันประเสริฐสุดยิง่ กว่าสิง่ ใดๆ แล้ว เราก็ตอ้ งใช้ชวี ติ ทัง้ หมดทีม่ อี ยูเ่ พือ่ ตอบสนองความรักของพระโดยการรับใช้พระองค์ในเพือ่ น พี่น้องรอบข้าง ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - เปิดประเด็นเสวนากับผูเ้ รียนในเรือ่ งการช่วยพ่อ-แม่ท�ำ งาน : เคยช่วยบ่อยไหม? ช่วยทำ�อะไรบ้าง? มีทา่ ทีอย่างไรในการช่วย เช่น ยินดีและเต็มใจ ทำ�ทันทีหรือผลัดไป ก่อนเสมอ? ฯลฯ และการช่วยทัง้ หมดนัน้ เคยเรียกร้อง “ค่าตอบแทน” หรือไม่? ใบความรู้ 1 - เสวนากับผู้เรียนว่า ประทับใจอะไรในเรื่องนี้บ้าง? เรื่องนี้ให้บทสอนอะไร เรื่อง “หัวใจของแม่” ท้ายแผน แก่ตน? เคยมีประสบการณ์ทคี่ ล้ายหรือแตกต่างกับเรือ่ งนีบ้ า้ งไหม? เมือ่ ปฏิบตั เิ ช่นนัน้ แล้วเกิดความรู้สึกเช่นไร? มีความสุขดี? หรือรู้สึกเสียใจบ้างไหม? - เล่าเรื่อง “หัวใจของแม่”
☆
- ถามผู้เรียนว่า “เคยเห็นใครบ้างไหมที่เป็นเหมือนแม่ในเรื่องนี้?” 3 พระวาจา (สดด 8:3-8) “เมื่อข้าพระองค์มองดูฟ้าสวรรค์อันเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และ ดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้ มนุษย์เป็นผู้ใดเล่าซึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงเขา และบุตรของมนุษย์เป็นใครเล่าซึง่ พระองค์ทรงเยีย่ มเขา เพราะพระองค์ทรงสร้างเขาให้ ต่ำ�กว่าพระเจ้าแต่หน่อยเดียว และสวมศักดิ์ศรีกับเกียรติให้แก่เขา พระองค์ทรงมอบ
.
14
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
อำ�นาจให้ครอบครอง บรรดาหัตถกิจของพระองค์ พระองค์ทรงให้สงิ่ ทัง้ ปวงอยูใ่ ต้ฝา่ เท้า ของเขา คือฝูงแกะและฝูงวัวทั้งสิ้น ทั้งสัตว์ป่าด้วย ตลอดทั้งนกในอากาศ ปลาในทะเล และอะไรต่างๆ ที่ไปมาอยู่ตามทะเล” 4 อธิบายพระวาจา - หากเราจะพิจารณาสิ่งสร้าง เช่น ดวงดาว เราก็จะรู้สึกทึ่งมากว่าพระเจ้าทรง ทำ�ได้ดถี งึ เพียงนี้ การสร้างมนุษย์กย็ งิ่ น่าทึง่ กว่าอีกเป็นพันเป็นหมืน่ เท่า หากเราคิดถึง พระวาจาที่ยกมาแล้วก็คงจะหาคำ�ตอบได้ เพราะพระวาจาบอกว่าพระเจ้าทรงสร้าง มนุษย์มาให้ดอ้ ยกว่าพระองค์เพียงแค่นดิ เดียว ทำ�ไมพระเจ้าผูท้ รงยิง่ ใหญ่ไม่มขี อบเขต ทรงสรรพฤทธิ์ ทรงสร้างมนุษย์ให้มีความยิ่งใหญ่มากถึงขนาดนั้น? ก็เพราะความรัก ต่อมนุษย์อย่างไม่มีขอบเขตนั่นเองที่ทำ�ให้พระองค์ทรงประทานสิ่งที่ดีที่สุดแก่เขา นั่น คือ “ชีวิตมนุษย์” - ชีวิตมนุษย์นี้ประเสริฐกว่าสิ่งสร้างอื่นทั้งหมด เพราะเป็นชีวิตที่เป็นภาพลักษณ์ ของพระเจ้าเอง นัน่ คือมนุษย์มวี ญ ิ ญาณทีเ่ ป็นอมตะ ไม่รจู้ กั ตาย วิญญาณนีม้ สี มรรถภาพ พิเศษคือ มีสติปัญญาและน้ำ�ใจอิสระที่ไม่มีสัตว์ใดมีเหมือนกับเราเลย เพราะสัตว์ไม่มี วิญญาณ ไม่มีสติปัญญาและน้ำ�ใจ แต่มันเจริญชีวิตตามสัญชาตญาณของมัน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อพระเจ้าทรงประทานชีวิตให้แก่มนุษย์แล้ว ทรงดูแลเขาทุกอย่างอย่างดี ที่สุดด้วย เป็นการให้อย่างไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้นเพราะความรัก ดังเราจะเห็น ตัวอย่างได้จากเรื่องเล่า “หัวใจของแม่” - สิ่งที่พระเจ้าทรงทำ�เพื่อมนุษย์นั้นไม่สามารถบันทึกหรือพูดได้ทั้งหมด เช่น เดียวกับแม่ในเรือ่ งนีท้ เี่ ขียนรายการต่างๆ ซึง่ บางรายการวัดค่าเป็นหน่วยไม่ได้ เพราะ เป็ น การแสดงความรั ก ที่ มี คุ ณ ค่ า สู ง ส่ ง จนไม่ มี อ ะไรมาวั ด ได้ เช่ น ความห่ ว งใย ความเสียสละ ความรัก ความเอื้ออาทร ฯลฯ - พระเจ้ามิได้ทรงเพียงสร้างมนุษย์มาให้มีเกียรติและศักดิ์ศรีสูงส่งเท่านั้น พระองค์ยงั ทรงให้พระบุตรมาไถ่บาปเราจนถึงความตายบนไม้กางเขนอีกด้วย สิง่ เหล่า นีไ้ ม่มที างทีจ่ ะวัดค่าเป็นหน่วยหรือเป็นคำ�พูดได้เลย เพราะเป็นการแสดงความรักแบบ ไม่มีขอบเขตนั่นเอง - ตัวอย่างของแม่ที่ทำ�เพื่อลูกในเรื่องเล่านี้ จึงเปรียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่พระเจ้า ทรงทำ�เพื่อเรามนุษย์ เพราะแม่กับลูกมีธรรมชาติมนุษย์เหมือนกัน แต่พระเจ้ากับเรา มนุษย์มีธรรมชาติที่ต่างกัน กล่าวคือ พระเจ้าทรงมีธรรมชาติพระเจ้า แต่มนุษย์มี ธรรมชาติมนุษย์ แล้วพระองค์ยังทรงทำ�เพื่อเราถึงเพียงนี้!!! - แต่บางครั้งความทุกข์หรือความยากลำ�บากอาจทำ�ให้มนุษย์เราไม่ค่อยรู้ถึง คุณค่าของชีวิตของตนเอง และบางคนอาจคิดสั้นทำ�ลายชีวิตของตน นั่นคือสิ่งที่เป็น บาปหนักที่สุด เพราะเป็นการทำ�ลายพระพรประเสริฐสุดที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา ☆ ใบความรู้ 2 - เล่าเรื่อง “ลูกแมงมุม” แล้วอภิปรายพร้อมกับผู้เรียนถึงความรักที่แม่สัตว์มีให้ เรื่อง “ลูกแมงมุม” ท้ายแผน กับลูกของมัน
15
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- เพื่อจะรู้คุณค่าของชีวิตได้นั้น จำ�เป็นที่เราจะต้องมีชีวิตเพื่อคนอื่น นี่แหละคือ การรับใช้พระเจ้าในเพื่อนพี่น้องนั่นเอง - สิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ�เพื่อเรานั้น เราคงไม่มีวันจ่ายได้หมด และพระองค์ก็ไม่ ทรงต้องการให้เราจ่ายตอบแทนด้วย เพราะสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงกระทำ�นัน้ ไม่ทรงต้องการ การตอบแทน จึงขอให้เราแสดงความรักต่อพระองค์ด้วยการแสดงความใจดีต่อผู้อื่น ด้วยการรับใช้เขา ด้วยการเสียสละเพื่อคนอื่น เมื่อนั้นเราจะเห็นว่าชีวิตของเรามีคุณค่า จริงๆ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนรับใช้พระเจ้าในคนรอบข้างด้วยการช่วยเหลือทุกคน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้สอนภาวนาจากใจอย่างช้าๆ โดยให้ผู้เรียนสวดตามพร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
16
ใบความรู้ 1 : เรื่อง “หัวใจของแม่” ในขณะทีแ่ ม่ก�ำ ลังทำ�อาหารเย็น เด็กชายตัวเล็กคนหนึง่ ก็เดินเข้าไปหาแม่ในครัว แล้วยืน่ ข้อความทีเ่ ขา เขียนให้แม่อ่าน เมื่อแม่เช็ดมือแล้วอ่านจดหมาย เขียนว่า ค่าถอนหญ้า 5 บาท ค่าทำ�ความสะอาด 1 บาท ค่าวิ่งซื้อของ 3 บาท ค่าเอาขยะไปทิ้ง 10 บาท ค่าดูแลน้อง 6 บาท ค่าขยันเรียน 9 บาท รวมทั้งสิ้น 34 บาท แม่มองดูลกู ชายตัวน้อยทีย่ นื แหงนหน้ารอคอยอยูอ่ ย่างมีความหวัง สีหน้าเต็มไปด้วยความทรงจำ�รำ�ลึก นานัปการ แล้วเธอก็หยิบปากกาขึ้นมา เขียนข้อความลงด้านหลังกระดาษแผ่นนั้นว่า
ค่าอุ้มท้อง 9 เดือนที่ลูกอาศัยอยู่ในท้องแม่ ฟรี ค่าเฝ้าไข้และสวดภาวนาให้ลูกตลอดคืนทุกครั้ง ฟรี ค่าเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฟรี ค่าข้าว กับข้าว ขนมทั้งหมด ฟรี รวมยอด = ยอดรวมของความรักที่แท้จริง ไม่คิดเงิน พอลูกอ่านรายการของแม่จบก็น้ำ�ตาคลอ เงยหน้ามองแม่ พูดได้แค่ว่า “แม่ครับ ผมรักแม่” แล้วก็จับปากกาเขียนลงบนหน้าแรกของตนว่า “จ่ายครบแล้ว แต่ลูกยังทอนให้แม่ไม่หมด”
ใบความรู้ 2 : เรื่อง “ลูกแมงมุม” มีครอบครัวหนึ่ง ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูกสาวตัวน้อยๆ หนึ่งคน ครอบครัวนี้กำ�ลังพักผ่อนตากอากาศกัน ขณะทีเ่ ดินไปตามถนนร่มๆ แห่งหนึง่ ก็พบบ้านเล็กๆ หลังหนึง่ อยูข่ า้ งทาง ดูจากภายนอกเป็นบ้านทีน่ า่ สนใจ ทุกคนจึงเดิน เข้าไปดู แต่เมือ่ เปิดประตูแล้วปรากฏว่าไม่มใี ครอยูข่ า้ งในบ้านเลย ทัง้ 3 คนจึงเดินเข้าไปสำ�รวจดูขา้ งใน พบว่ามีใยแมงมุม มากมาย ผู้เป็นพ่อจึงเอาไม้ปาดใยแมงมุมทิ้ง แต่ปรากฏว่ามีลูกแมงมุมมากมายที่วิ่งไปมา เพราะ “บ้าน” ของมันพังไป แล้ว พ่อจึงไล่ตีลูกแมงมุมเหล่านั้นเมื่อเห็นดังนั้นลูกจึงบอกพ่อว่า
“พ่อคะ อย่าตีมันเลย มันน่าสงสารนะคะ”
“ลูกไม่เห็นหรือว่า มันน่าเกลียดแค่ไหนและทำ�ให้ บ้านสกปรก มากเลยนะ” “ก็ใช่ค่ะ แต่หนูว่า สำ�หรับแม่ของมันแล้ว มันน่ารักเสมอนะคะ”
17
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้า
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้ เพราะพระบิดาเจ้าทรงเผยแก่ เราว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระบุตรสุดที่รัก” ของพระองค์ทรงเป็น “คนกลาง”ระหว่าง พระเจ้ากับมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลียนแบบพระเยซูเจ้าโดยปฏิบัติตนเป็น “ลูกที่ดี” ของบิดามารดาและ ผู้ใหญ่ สาระการเรียนรู ้ เหตุการณ์บงั เกิดของพระเยซูเจ้าทำ�ให้เราเข้าใจว่า พระองค์ทรงเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา แต่ในการไถ่บาป นั้น มนุษย์จะไถ่บาปกันเองไม่ได้ เพราะมนุษย์เป็นเพียงสิ่งสร้างเหมือนกัน จึงต้องการ “คนกลาง” ที่พิเศษกว่ามนุษย์มาเป็น ผู้ไถ่บาป พระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นพระบุตรจึงทรงมารับเอากายเป็นมนุษย์ เพื่อทำ�ให้แผนการไถ่บาปของพระบิดาเจ้าสำ�เร็จไป พระบิดาเจ้าทรงเปิดเผยให้เราทราบว่า พระองค์ทรงพอพระทัยในพระเยซูเจ้าจึงตรัสแก่เราว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “พระบุตร สุดที่รัก” ของพระองค์ในเหตุการณ์รับพิธีล้างจาก น.ยอห์น บัปติสตาที่แม่น้ำ�จอร์แดน ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่าเรื่อง “พระเจ้าอยู่ไหน” ให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นให้ผู้เรียนแสดง ความเห็นว่า ลุงท้วมคิดและกระทำ�ถูกต้องหรือไม่? เพราะเหตุใด? - ผู้สอนเกริ่นประยุกต์เรื่องนี้เข้ากับชีวิต โดยให้ผู้เรียนแสดงความเห็นว่า เรื่อง แบบนี้เกิดขึ้นกับเราบ้างหรือไม่ โดยอาจยกตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายขึ้น เช่น การวอนขอพระให้ตนเรียนเก่งๆ ได้คะแนนมากๆ แต่ไม่ได้... / การขอพระให้ทุกคน รักเรา แต่ไม่เห็นเป็นเช่นนั้นสักที... / การขอให้ได้ของบางอย่างแต่ไม่ได้รับ... ให้ผู้เรียนได้แบ่งปันประสบการณ์กัน - ผู้สอนอาจใช้เหตุการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนยกมาเปิดประเด็นว่า “ทำ�ไมในหลายๆ เหตุการณ์ของชีวิต ฉันจึงไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า?” คล้ายกับเรื่องของ ลุงท้วมหรือเปล่า? “ทำ�ไมเหตุการณ์แบบนีจ้ งึ เกิดขึน้ กับฉัน? ฉันจะแก้ปญ ั หาแบบนีไ้ ด้ อย่างไร?”...ฯลฯ... 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง (มก 19-11) “ครั้งนั้น พระเยซูเจ้าเสด็จจากเมืองนาซาเร็ธ แคว้นกาลิลี และทรงรับพิธีล้าง
ใบความรู้ 1 เรื่อง “พระเจ้าอยู่ไหน” ท้ายแผน ☆
18
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
จากยอห์นในแม่น�้ำ จอร์แดน ทันทีทพี่ ระองค์เสด็จขึน้ จากน้ำ� ก็ทรงเห็นท้องฟ้าถูกแหวก ออก พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระองค์ดจุ นกพิราบ และมีเสียงมาจากฟากฟ้าว่า ‘ท่าน เป็นบุตรที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา’” 4 อธิบายพระวาจา - เมื่อพระเยซูเจ้าทรงพระชนมายุได้ประมาณ 30 พรรษาแล้ว พระองค์ทรงเริ่ม ชีวิตการเทศนาสั่งสอนเรื่องพระอาณาจักรสวรรค์ให้แก่ประชาชน แต่ก่อนจะเริ่มงาน นั้น พระบิดาเจ้าทรงใช้เหตุการณ์รับพิธีล้างที่แม่น้ำ�จอร์แดนนี้เป็นการประกาศอย่าง เปิดเผยว่า พระเยซูเจ้าองค์นี้เองคือพระบุตรสุดที่รักของพระองค์ - การประกาศเช่นนี้ เป็นการยืนยันแก่เราว่า พระเยซูเจ้ามิใช่มนุษย์ธรรมดา สามัญเหมือนเรา แต่พระองค์มีความพิเศษกว่าเรา เพราะทรงเป็นถึงพระบุตรของ พระเจ้า ดังนั้นทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ�คือพระประสงค์ของพระบิดาเจ้านั่นเอง รวม ทั้งเหตุการณ์การไถ่บาปมนุษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรับทนทรมาน สิ้นพระชนม์บน ไม้กางเขน และกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สามนั้น บ่งบอกแก่เราว่า พระเยซูเจ้าคือ “คนกลาง” ทีพ่ ระบิดาเจ้าทรงมอบภารกิจสำ�คัญแห่ง “การไถ่บาป” ให้พระองค์ท�ำ ให้ สำ�เร็จ - ภารกิจสำ�คัญของ “การไถ่บาป” นี้ พระบิดาจะทรงมอบให้คนอื่นทำ�ได้หรือไม่? ย่อมไม่ได้ เพราะคนอืน่ ล้วนเป็นมนุษย์ เป็นสิง่ สร้างทัง้ สิน้ จะให้มนุษย์มาไถ่บาปกันเอง ได้อย่างไร? ถ้าจะยกตัวอย่างก็คงจะคล้ายๆ กับให้ “แมวช่วยแมว” ด้วยกันเอง มันคง สำ�เร็จไม่ได้แน่ แต่ถ้าให้มนุษย์ช่วยแมวแล้วคงจะสำ�เร็จได้มากกว่าแน่นอน - ดังนั้น ภารกิจการไถ่กู้จึงเรียกร้อง “คนกลาง” ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือ องค์พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ในเวลาเดียวกัน จึงทำ �ให้ ภารกิจนั้นสำ�เร็จไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เพียงครั้งเดียว แต่ การไถ่บาปนัน้ มีผลต่อมนุษย์ทกุ คนในทุกยุคทุกสมัยเลยทีเดียว มีมนุษย์คนใดบ้างไหม จะทำ�เช่นเดียวกับพระองค์ได้? - พระเยซูเจ้า พระบุตรของพระบิดาทรงยินดีทำ�หน้าที่นี้อย่างเต็มใจ แม้จะต้อง ยากลำ�บากถึงชีวิต เพราะพระองค์ทรงเป็น “ลูกที่ดี” ของพระบิดา 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในเมื่อพระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างของ “ลูกที่ดี” แก่เราแล้ว เราควรจะปฏิบัติ ตนอย่างไรให้เหมาะสม? เราก็ควรจะเลียนแบบพระองค์นั่นเอง - ผู้สอนสามารถยกประเด็นที่ค้างไว้ในขั้นตอนที่ 2 มาเฉลยให้ชัดเจน โดยเน้น ว่า หลายๆ ครั้งในเหตุการณ์ต่างๆ เราไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ อาจมีสาเหตุมาจากการที่ เราไม่เชื่อฟัง “คนกลาง” ที่พระส่งมา ซึ่งคนกลางนั้นอาจจะเป็นพ่อ แม่ ครู พี่ หรือ ผูใ้ หญ่คนใดคนหนึง่ ก็ได้ การไม่เชือ่ ฟังจึงทำ�ให้เราไม่ประสบความสำ�เร็จในสิง่ ทีต่ อ้ งการ นั้น หรือทำ�ให้เราได้รับผลเสียจากการที่เราชอบทำ�ตามใจตนเอง เพราะคนกลาง (ผู้ใหญ่) เหล่านั้นมักจะหวังดีต่อเรา สอนให้เราปฏิบัติในสิ่งที่ดีเสมอ แต่เมื่อใดก็ตาม ทีเ่ ราไม่รจู้ กั ทำ�ตนเป็นลูกทีด่ ขี องพ่อแม่ หรือของผูใ้ หญ่แล้ว เราก็จะได้รบั ผลเสียแน่นอน
☆
ดูภาพ “พระเยซูทรงรับ พิธีล้าง” ท้ายแผน
19
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- ดังนั้น เมื่อเราขอสิ่งใดจากพระแล้วเราต้องการให้สำ�เร็จ จำ�เป็นที่เราจะต้อง รูจ้ กั เชือ่ ฟัง “คนกลาง” ของพระทีเ่ ป็นผูบ้ อกเราว่า เราควรปฏิบตั ติ นอย่างไรด้วย เพราะ จะไม่มีอัศจรรย์ใดๆ เกิดขึ้น หากเราไม่ช่วยตัวของเราเองด้วย เช่นเดียวกับลุงท้วมที่ไม่ สนใจ “คนกลาง” ที่พระส่งมาแม้แต่น้อย เขาจึงต้องจมน้ำ�ตาย - ผู้สอนอาจสรุปท้ายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ความสำ�เร็จของชีวิตไม่มาจากการทำ� อะไรตามใจตนเองเสมอไป แต่มาจากการรู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ โดยทำ�ตนเป็น “ลูกที่ดี” เสมอ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเลียนแบบพระเยซูเจ้าโดยปฏิบัติตนเป็น “ลูกที่ดี” ของบิดามารดา และผู้ใหญ่ 7 ภาวนาปิดท้าย ข้าแต่พระบิดา... วันทามารีย์... พระสิริรุ่งโรจน์... 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การถาม-ตอบ - การร่วมกิจกรรม ทำ�ใบงาน ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
20
ใบความรู้ 1 : เรื่องพระเจ้าอยู่ไหน ? ลุงท้วมเป็นคนหนึ่งที่มีความเชื่อและวางใจในพระเจ้ามาก เป็นคนขยันทำ�งาน ไม่เที่ยว ไม่กินเหล้า วันหนึง่ น้�ำ ท่วมอย่างหนักในหมูบ่ า้ น ลุงท้วมก็ยงั ไว้วางใจในความช่วยเหลือของพระเจ้าอย่างเต็มที่ คงทำ�งาน ต่อไป มีเรือลำ�หนึ่งแวะมารับลุง แต่ลุงตอบว่า “ไม่เป็นไร เดี๋ยวพระเจ้าจะช่วยลุงเอง” น้ำ�ท่วมมากขึ้นอีก จนเกือบถึงบ้านชั้น 2 แล้ว มีเรืออีกลำ�หนึ่งมาจอดรับลุงจะได้หนีน้ำ�ท่วม ลุงก็ยังนิ่งและยืนยันว่า พระเจ้า จะช่วยลุงเอง ในที่สุด น้ำ�ก็ท่วมมิดชั้นที่ 2 ลุงจึงปีนขึ้นไปอยู่บนหลังคา มีเฮลิคอปเตอร์มารับลุงอีก ลุงก็ ยังยืนยันคำ�เดิมและไม่ไป ทีส่ ดุ น้�ำ ทีเ่ ชีย่ วกรากได้พดั พาลุงหายจมไปกับสายน้�ำ ลุงท้วมได้เสียชีวติ เมือ่ ได้พบกับพระเจ้าจึงถาม พระองค์ว่า “ผมได้ไว้ใจในพระองค์เต็มที่ แต่ทำ�ไมพระองค์ไม่ช่วยผม?” พระองค์ตรัสตอบว่า “เราส่งเรือ มา 2 ลำ� เฮลิคอปเตอร์อีก 1 ลำ� ลูกไม่ยอมรับความช่วยเหลือที่เราส่งให้ต่างหาก”
ภาพพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง
21
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเติบโตฝ่ายกายและวิญญาณ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์แท้ ทรงเติบโตทั้งฝ่ายกายและ จิตใจ โดยทำ�ตามพระประสงค์ของพระบิดาเสมอ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนนบนอบเชื่อฟังผู้ใหญ่ สาระการเรียนรู ้ แม้พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้ พระองค์ก็ยังทรงเป็นมนุษย์แท้ด้วย เหตุนี้ในฐานะมนุษย์พระองค์จึงทรง เติบโตทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทรงเรียนรู้ที่จะเจริญชีวิตเช่นเดียวกับเราทุกคน แต่พระองค์ทรงชัดเจนในเป้าหมายของชีวิต คือ การทำ�ตามน้ำ�พระทัยพระบิดาเจ้าเหนือสิ่งอื่นใด แม้จะยังทรงเยาว์วัยก็ตาม ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนสมมติว่าตนมีน้อง บางเวลาที่พ่อแม่ฝากให้ดูแลน้อง เมื่อน้องเล่น สิ่งที่เป็นอันตราย เช่น เล่นมีด หรือไฟแช็ค หรือหยิบจับของร้อนๆ ฯลฯ พี่ก็มักจะ ตักเตือนน้องว่าเล่นไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะเจ็บตัว แต่ถ้าน้องไม่ฟัง ไม่ทำ�ตาม จนทำ�ให้ เกิดทะเลาะกันขึ้น เช่นนี้พี่จะรู้สึกอย่างไร? เมื่อพี่เตือนด้วยความรัก ความหวังดี ด้วยเหตุผลที่ดีและเจตนาดี แต่น้องก็ยังดื้อ ถ้าน้องไม่ทำ�ตามแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? - ในทางกลับกัน ในชีวิตจริงเราอาจเป็นน้องคนนั้นก็ได้ที่ดื้อรั้นเวลาที่พ่อ แม่ พี่ๆ ผู้ใหญ่เตือนสอนบางเรื่องแล้วเราเชื่อฟังเสมอไหม? เช่นนี้ บุคคลเหล่านั้นจะรู้สึก อะไร? หากเราไม่ทำ�ตามบ่อยๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? - ช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ต่อไปอีกว่า ถ้าหากน้องเชื่อฟังเราและเราเชื่อฟังผู้ใหญ่ จะเกิดอะไรขึ้น? ผู้นบนอบเชื่อฟังจะได้รับผลที่ดีกว่าใช่ไหม? 3 พระวาจา (ลก 12:24-30) “โยเซฟพร้อมกับพระมารดาของพระเยซูเจ้าเคยขึน้ ไปยังกรุงเยรูซาเล็มในเทศกาล ปัสกาทุกปี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุสิบสองพรรษา โยเซฟพร้อมกับพระมารดาก็ขึ้น ไปกรุงเยรูซาเล็มตามธรรมเนียมของเทศกาลนั้น เมื่อวันฉลองสิ้นสุดลง ทุกคนก็เดิน ทางกลับ แต่พระเยซูเจ้ายังประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มโดยที่บิดามารดาไม่รู้ เพราะคิด ว่าพระองค์ทรงอยู่ในหมู่ผู้ร่วมเดินทาง เมื่อเดินทางไปได้หนึ่งวันแล้ว โยเซฟพร้อมกับ พระนางมารียต์ ามหาพระองค์ในหมูญ ่ าติและคนรูจ้ กั เมือ่ ไม่พบจึงกลับไปกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อตามหาพระองค์ที่นั่น
. ☆ ให้ดูวีซีดี เรื่อง “พระเยซูเจ้า ทรงหายไปในพระวิหาร”
22
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ในวันที่สาม โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์พบพระองค์ในพระวิหารประทับนั่ง อยูใ่ นหมูอ่ าจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุกคนทีไ่ ด้ฟงั พระองค์ตา่ งประหลาด ใจในพระปรีชาที่ทรงแสดงในการตอบคำ�ถาม เมื่อโยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์เห็น พระองค์ก็รู้สึกแปลกใจ พระมารดาจึงตรัสถามพระองค์ว่า “ลูกเอ๋ยทำ�ไมจึงทำ�กับเรา เช่นนี้ ดูซิ พ่อกับแม่ต้องกังวลใจตามหาลูก” พระองค์ตรัสตอบว่า “พ่อกับแม่ตามหา ลูกทำ�ไม พ่อแม่ไม่รู้หรือว่า ลูกต้องอยู่ในบ้านของพระบิดาของลูก” โยเซฟพร้อมกับ พระนางมารีย์ไม่เข้าใจที่พระองค์ตรัส พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดาและเชื่อฟังท่านทั้งสอง พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งใน พระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระหรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าและ ต่อหน้ามนุษย์”
4 อธิบายพระวาจา - เมื่อพระเยซูเจ้าทรงพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้ทรงหลงหายไปอยู่ใน พระวิหารท่ามกลางบรรดาธรรมาจารย์ ขณะที่ น.ยอแซฟและแม่พระเดินทางกลับบ้าน ทั้งสองได้ตามหาพระเยซูเจ้าแต่ไม่พบ จึงได้กลับไปยังพระวิหารและได้พบพระองค์ที่ นั่น เมื่อแม่พระได้ถามว่า ทำ�ไมพระองค์ทรงทำ�เช่นนี้? พระองค์ตรัสตอบว่า “เพราะ พระองค์ต้องทำ�ตามที่พระบิดาทรงต้องการ” - ในฐานะพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรงทราบดีว่า พระองค์ทรงมีภารกิจสำ�คัญ คือ การเป็นผู้ไถ่บาปมนุษย์ พระองค์ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา ดังนั้น ตั้งแต่ยังทรงเยาว์วัย พระองค์ทรงทราบดีอย่างชัดเจนถึงภารกิจนีแ้ ล้ว ไม่วา่ จะทำ�อะไร พระองค์ทรงมีเป้าหมาย นี้อยู่ต่อหน้าเสมอ จึงทรงตอบแม่พระและ น.ยอแซฟไปแบบนั้น ซึ่งในเวลานั้นแม่พระ และ น.ยอแซฟอาจจะยังคงเข้าใจไม่ได้ทั้งหมด แต่ทำ�ให้ท่านทั้งสองต้องยอมรับว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นบุตรพระเจ้าด้วย - ในเวลาเดียวกันพระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์แท้ด้วย เมื่อได้ทรงบังเกิดมาแล้ว พระองค์ตอ้ งรับสภาพมนุษย์ทกุ อย่าง ต้องลำ�บากเหมือนเราทุกคน ทรงมีความต้องการ ต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ขับถ่าย เจริญเติบโต เรียนรูส้ ง่ิ ต่างๆ ความรัก ความอบอุน่ การดูแลเอาใจใส่ ฯลฯ - น.ยอแซฟและพระมารดามารีย์ได้ทรงทำ�หน้าที่บิดามารดาที่ดีที่สุดของพระองค์ ได้มอบทุกสิ่งที่พระกุมารเยซูทรงต้องการ เพื่อให้พระองค์ได้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ที่สุด เป็นประสบการณ์ของพ่อแม่ลูกในครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่นที่สุด - พระวรสารได้เล่าตอนจบว่า เมื่อครอบครัวศักดิ์สิทธิ์กลับไปที่นาซาเร็ธแล้ว พระเยซูเจ้าทรงเชื่อฟังท่านทั้งสองเป็นอย่างดี 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนเปิดการสนทนาให้ผู้เรียนมองลึกเข้าไปในตนเองว่า เมื่อพระเยซูเจ้าทรง เป็นตัวอย่างให้เราอย่างนี้แล้ว ให้เราหันมามองตัวเราเองกันดูบ้างว่า ส่วนใหญ่แล้วเรา มักจะมีท่าทีอย่างไรต่อผู้ใหญ่?
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
23
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- เพราะพระเยซูเจ้าทรงเชื่อฟังพระบิดาเจ้า ทรงทราบดีถึงภารกิจที่พระบิดาทรง มอบหมายให้ จึงทรงค้างอยูท่ พ่ี ระวิหารเพือ่ สนทนากับบรรดาธรรมาจารย์ ด้วยความเชือ่ ฟัง พระเยซูเจ้าจึงทรงกลับบ้านกับนักบุญยอแซฟและแม่พระและนบนอบท่านทั้งสอง เป็นอย่างดี - ส่วนเราเองล่ะ? ทุกครั้งที่เราทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราทำ�เพราะอยากตามใจตัวเอง หรือเปล่า? หรือเพราะพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ อยากให้เราทำ�? เราเชื่อมากแค่ไหนว่า สิ่งที่ ท่านเหล่านั้นบอกให้เราทำ�เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำ�หรับเราเอง? - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1
☆
ใบงานที่ 1 ท้ายแผน
- เมื่อเสร็จใบงานที่ 1 แล้วให้ผู้สอนนำ�เอาคำ�สั่งหรือคำ�แนะนำ�ในกิจกรรม C ลำ�ดับที่ 1-3 ของทุกคนเขียนไว้ที่กระดานหน้าห้อง พร้อมกับให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึง ประโยชน์และความสำ�คัญของคำ�สัง่ หรือคำ�แนะนำ�เหล่านัน้ พร้อมทัง้ เน้นถึงความจำ�เป็น ที่จะต้องนบนอบเชื่อฟังผู้ใหญ่ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนนบนอบเชื่อฟังผู้ใหญ่ 7 ภาวนาปิดท้าย ข้าแต่พระบิดา... วันทามารีย์... พระสิริรุ่งโรจน์... 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การถาม-ตอบ - การร่วมกิจกรรม ทำ�ใบงาน ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
ภาพพระเยซูเจ้า
ทรงอยู่ท่ามกลางนักปราชญ์
ในพระวิหาร
24
ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ทำ�ใบงานนี้ตามลำ�ดับกิจกรรม A) B) C) โดยทำ�แต่ละกิจกรรมสำ�เร็จสมบูรณ์แล้วจึงค่อยทำ� กิจกรรมต่อไป กิจกรรม A – ให้เขียนคำ�สั่งหรือคำ�แนะนำ�ที่ผู้ใหญ่ (พ่อ แม่ พี่ๆ ผู้ใหญ่ ครู ฯลฯ) เคยบอกกับฉันลงในสี่เหลี่ยม ข้างล่างนี้ อย่างน้อย 10 อย่าง
- ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________
- ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________ - ____________________________________
กิจกรรม B – ให้นำ�คำ�สั่งหรือคำ�แนะนำ�ในสี่เหลี่ยมของกิจกรรม A มาเรียงลำ�ดับ โดยเริ่มจากคำ�สั่งหรือ คำ�แนะนำ�ที่ฉันไม่ชอบมากที่สุดก่อน
1. ____________________________________ 6. ____________________________________ 2. ____________________________________ 7. ____________________________________ 3. ____________________________________ 8. ____________________________________ 4. ____________________________________ 9. ____________________________________ 5. ____________________________________ 10. ____________________________________ กิจกรรม C – ให้นำ�คำ�สั่งหรือคำ�แนะนำ�จากกิจกรรม B มาเรียงลำ�ดับใหม่ โดยเริ่มจากคำ�สั่งหรือคำ�แนะนำ� ที่สำ�คัญที่สุดก่อน
1. ____________________________________ 6. ____________________________________ 2. ____________________________________ 7. ____________________________________ 3. ____________________________________ 8. ____________________________________ 4. ____________________________________ 9. ____________________________________ 5. ____________________________________ 10. ____________________________________
25
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงอวยพรเด็ก
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงรักเด็กๆ ทุกคน ทรงอวยพรและให้ความสำ�คัญ แก่พวกเขาเป็นพิเศษ ทรงสอนว่าเฉพาะผู้มีจิตใจเยี่ยงเด็กเท่านั้น จึงจะเข้าพระอาณาจักร สวรรค์ได้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนประพฤติตนด้วยจิตใจที่ใสซื่อแบบ “เด็ก” ไม่ประพฤติตนเกินตัวใน ทุกด้าน สาระการเรียนรู ้ ความเหลื่อมล้ำ�หรือวัฒนธรรมของบางสังคมทำ�ให้เด็กๆ ซึ่งเป็นผู้อ่อนแอกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าจะ ในสมัยของพระเยซูเจ้าหรือในสมัยปัจจุบันนี้ก็ตาม ผู้ใหญ่มักมองข้ามเด็กๆ ไป แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนว่าเราควรให้เกียรติแก่ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ เฉพาะผู้มีจิตใจเยี่ยงเด็กเท่านั้นจึงจะเข้าพระอาณาจักรสวรรค์ได้ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่าเรื่อง “หลง” ให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นจึงตั้งคำ�ถามว่า “เหตุใดน้อง คนเล็กสุดจึงสามารถช่วยบิดาและทุกๆ คนได้?”
ใบความรู้ 1 เรื่อง “หลง” ท้ายแผน ☆
- เมื่อผู้เรียนตอบได้พอสมควรแล้วจึงสรุปว่า เพราะน้องคนเล็กมีจิตใจใสซื่อ บริสุทธิ์ จึงไม่หลงใหลไปกับสิ่งยั่วยวนต่างๆ จนลืมเป้าหมายที่แท้จริงไป ทำ�ให้เขา สามารถทำ�งานนี้ได้สำ�เร็จ สามารถช่วยตัวเขาเองและทุกคนให้รอดชีวิตได้ - เปิดประเด็นสนทนาให้ผู้เรียนแบ่งปันว่า เขารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่? ผู้ใหญ่ให้ความสำ�คัญกับเด็กๆ มากน้อยแค่ไหน? เขาอยากเป็นผู้ใหญ่เร็วๆ ไหม? - ผู้สอนเปิดประเด็นทิ้งไว้ว่า 1. เมื่อผู้ใหญ่ให้ความสำ�คัญกับเด็ก เขารู้สึกอย่างไรบ้าง? 2. หากผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำ�คัญแก่เด็ก เขารู้สึกอย่างไรบ้าง? เพราะเหตุใด? - ถามผู้เรียนต่อไปว่า “มีผู้หนึ่งที่ให้ความสำ�คัญแก่เด็กเสมอ ผู้นั้นคือใคร?” 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าและเด็กเล็กๆ (มก 10:13-16) “มีผู้นำ�เด็กเล็กๆ มาเฝ้าพระเยซูเจ้าเพื่อทรงสัมผัสอวยพร แต่บรรดาศิษย์กลับดุว่า คนเหล่านัน้ เมือ่ ทรงเห็นเช่นนี้ พระองค์กริว้ ตรัสแก่บรรดาศิษย์วา่ “ปล่อยให้เด็กเล็กๆ มาหาเราเถิด อย่าห้ามเลย เพราะพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นของคนที่เหมือนเด็ก
. ☆ ดูภาพ “พระเยซูเจ้ากับ เด็กเล็กๆ” ท้ายแผน
26
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เหล่านี้ เราบอกความจริงกับท่านว่า ผูใ้ ดไม่รบั พระอาณาจักรของพระเจ้าอย่างเด็กเล็กๆ เขาจะไม่เข้าสู่พระอาณาจักรนั้นเลย” แล้วพระองค์ทรงอุ้มเด็กเหล่านั้นไว้ ทรงปก พระหัตถ์ และประทานพระพร” 4 อธิบายพระวาจา - ในสมัยของพระเยซูเจ้าก็คล้ายๆ กับสมัยปัจจุบันที่ผู้ใหญ่บางคนยังไม่ค่อย สนใจเด็กๆ เท่าไรนัก แม้แต่บรรดาอัครสาวกก็เช่นเดียวกัน จนพระเยซูเจ้าทรงสังเกต เห็นและห้ามปรามว่า ปล่อยให้เด็กๆ เข้าไปหาพระองค์ แล้วพระองค์กท็ รงอวยพรเด็กๆ ทุกคน - หากจินตนาการภาพเหตุการณ์นี้ เราจะเห็นถึงพระทัยเอ็นดูกรุณาของ พระเยซูเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาเด็กๆ พระองค์ไม่ทรงเหมือนคนอื่นๆ ทรงกล้าทำ�แตก ต่างจากผู้ใหญ่อื่นๆ เพื่อสอนให้ทุกคนรู้ว่า คนทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่าเทียม กันไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ - นอกจากพระทัยเมตตากรุณาต่อเด็กๆ แล้วยังทรงใช้โอกาสนี้สอนทุกๆ คน อีกว่า เพื่อจะเข้าพระอาณาจักรสวรรค์ได้ จำ�เป็นที่ทุกคนต้องมี “ความเป็นเด็ก” ซึ่ง หมายถึงจิตใจที่ใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่ฝักใฝ่ทางบาป รู้จักมองโลกในแง่ดี ไม่ทำ�ตนเป็นพิษ เป็นภัยแก่ผู้อื่น - พระเยซูเจ้าทรงสอนโดยใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากเรื่องเล่าในพระวรสารจะเข้าใจได้ทันทีว่า ผู้ที่ให้ความสำ�คัญแก่เด็กเสมอ นั้นคือพระเยซูเจ้านั่นเอง พระองค์ไม่สนพระทัยที่จะต้องทำ�ตนให้เหมือนคนอื่นๆ ใน สมัยนั้น แต่ทรงยอมทำ�ตนให้แปลกจากคนอื่น เพื่อสอนทุกคนว่า เด็กคือผู้มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับผูใ้ หญ่ ไม่ตอ้ งดูถกู เหยียดหยามเด็ก แต่ตอ้ งให้คณ ุ ค่าและความสำ�คัญด้วย เช่นกัน
- เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ผู้เรียนคงจะชื่นชมยินดีและรักพระเยซูเจ้ามากขึ้น เพราะ พระองค์ไม่ทรงทำ�ให้เด็กๆ ต้องรู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงเป็น พี่ชายที่ดีที่สุดของเรา - นอกจากพระองค์จะทรงแสดงพระทัยดีต่อเด็กแล้ว พระองค์ยังทรงสอนผู้ใหญ่ ให้รู้จักทำ�ตนเป็น “เด็ก” อีกด้วย เพื่อจะเข้าในสวรรค์ได้ - แม้เราเองจะยังเป็นเด็กอยู่ก็ต้องทำ�ตนให้เป็น “เด็ก” ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ทำ�ตน แบบโตเกินวัย เลียนแบบผู้ใหญ่ในบางเรื่องที่ไม่ดี ทำ�ให้เป็นเด็กที่ “ไม่น่ารัก” ซึ่ง อาจเกิดผลเสียต่อตนเอง เช่นเดียวกับเรื่อง “หลง” ที่พี่ทั้งสองคนต้องกลายเป็นหินไป เพราะมัวแต่ไปหลงอยู่กับสิ่งที่เป็นโทษต่อตนเอง - ส่วนน้องคนเล็กนัน้ ยังมีจติ ใจเป็นเด็กจึงไม่ได้หลงใหลไปกับสิง่ ทีไ่ ม่ดี สามารถ ทำ�หน้าที่ของตนจนสำ�เร็จและช่วยทุกคนได้ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 “เด็กหรือไม่เด็ก?”
☆
ใบงานท้ายแผน
27
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนประพฤติตนด้วยจิตใจที่ใสซื่อแบบ “เด็ก” ไม่ประพฤติตนเกินตัวใน ทุกด้าน 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งนำ�สวดภาวนาจากใจ จากนั้นจึงให้ทุกคนสวดบท วันทามารีย์พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การถาม-ตอบ - การร่วมกิจกรรม ทำ�ใบงาน ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพ “พระเยซูเจ้ากับเด็กเล็กๆ”
28
ใบความรู้ 1 : เรื่อง “หลง” ชายชาวสเปนคนหนึ่งป่วยมาก จึงบอกลูกทั้งสาม ว่า พ่อคงจะอยู่กับลูกได้อีกไม่นานพ่อก็ต้องตายแล้ว ลูกทั้ง สามต่างร่ำ�ไห้ ต่อมา เขาทั้งสามก็ได้ยินข่าวว่า มีน้ำ�พุ ศักดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นน้�ำ ทิพย์ทวี่ เิ ศษมาก พีช่ ายคนโตก็ออกเดินทาง ไปหาน้ำ�พุศักดิ์สิทธิ์นั้น เขาพบชายชราที่ใจดีบริเวณเชิงเขา ชายชราเตือนว่า อย่าหลงไปกับอะไร มิเคยมีใครได้กลับมา อีกเลย ให้จงระวังมิฉะนัน้ เธอจะพลาดสิง่ ทีส่ �ำ คัญในชีวติ ไป เมื่อเขาเดินขึ้นไปก็ได้ยินเสียงดนตรีที่ไพเราะมาก เขาเดิน ตามเสียงดนตรีนั้นไป และมีเสียงถามว่า อะไรคือสิ่งที่เจ้า ชอบที่สุดในชีวิต ดนตรีใช่หรือไม่ เขาเป็นคนหลงใหลใน เสียงดนตรีมาก เขาตอบว่าใช่ ทันใดนั้นเขาก็กลายเป็นหิน อยู่บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อผ่านไปหนึ่งอาทิตย์แล้ว น้อง ชายคนกลางเห็นว่าพีช่ ายคนโตยังไม่กลับมา เขาจึงออกมา
ตามและพบเหตุการณ์เดียวกันกับพีค่ นโต แต่เมือ่ เขาได้ยนิ เสียงต่อว่าเขาเรื่องสัมพันธภาพในครอบครัว ฯลฯ เขาเป็น คนโกรธง่าย เมื่อถูกยั่วยุอารมณ์ให้โกรธ เขาก็โกรธและ กลายเป็นหินอยู่เช่นกัน ส่วนน้องคนเล็กซึ่งอยู่ชั้น ป.2 ยัง เล็กมาก เห็นพี่ๆ ไม่กลับมาสักที จึงขอพ่อออกตามหาพี่ พ่อไม่อยากให้ไปแต่ต้องจำ�ยอม เขาพบเหตุการณ์เช่น เดียวกันกับพี่ แต่เขาบอกว่าเขาหยุดแวะไม่ได้เพราะพีๆ่ และ พ่อที่รักของเขารอเขาอยู่ และเขาก็ได้พบน้ำ�พุวิเศษ เขาตัก ขึน้ มา แต่เขาเดินสะดุดก้อนหินทีว่ างระเกะระกะอยู่ น้�ำ ทิพย์ ทีห่ กใส่กอ้ นหินก้อนใดก็กลายเป็นคน เขาจึงตักน้�ำ ทิพย์ราด ก้อนหินทุกก้อน และเขาก็ได้พชี่ ายของเขาคืนมาพร้อมด้วย น้�ำ ทิพย์กลับมารักษาพ่อ ใครๆ ต่างขอบคุณเด็กคนนีท้ ชี่ ว่ ย พวกเขาให้กลับคืนเป็นคนเหมือนเดิม
ใบงานที่ 1 “เด็กหรือไม่เด็ก?” คำ�ชี้แจง - ให้เติมคำ�ในช่องว่างให้เต็มอย่างถูกต้อง ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
กิจกรรมแบบเด็ก -OK-
กิจกรรมโตเกินวัย -NO K-
29
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องเปรียบเทียบ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงประกาศข่าวดีของพระอาณาจักรพระเจ้าแก่ ประชาชน โดยใช้เรื่องเปรียบเทียบด้วย (เรื่องลูกหนี้ไร้เมตตา) - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้อภัยแก่ผู้ที่ทำ�ผิดต่อตน สาระการเรียนรู ้ หน้าที่หนึ่งของพระเยซูเจ้าคือการประกาศสอนข่าวดีเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าแก่ทุกคน ตามปกติ พระองค์จะทรงใช้ภาษาง่ายๆ แต่บางครั้งพระองค์ทรงใช้เรื่องเปรียบเทียบด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของสิ่งที่พระองค์ ทรงสอนได้อย่างลึกซึ้งกว่า เช่น ทรงสอนเรื่องการให้อภัยโดยเล่า “เรื่องลูกหนี้ไร้เมตตา” ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนเล่าเรื่อง “กระต่ายตื่นตูม” โดยให้ผู้ที่จำ�เรื่องนี้ได้เป็นผู้เล่า - จากนั้นให้ทุกคนสรุปว่า “เรื่องนี้สอนว่าอะไร?” ผู้สอนสรุปท้ายว่า สอนเรื่อง “อย่าหลอกลวงผู้อื่น” มิฉะนั้นจะไม่มีใครไว้วางใจเราอีกเลย - ผู้สอนอธิบายให้เข้าใจว่า เราสามารถเข้าใจบางเรื่องได้ดีหากใช้เรื่องเล่า เช่น ตัวอย่างเรื่อง “กระต่ายตื่นตูม” ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่เข้าใจได้ง่าย แต่ให้บทสอนที่ลึกซึ้ง และจำ�ง่ายดีกว่าการตอกย้ำ�แต่คำ�ว่า “อย่าหลอกลวงผู้อื่น” ซึ่งยังไม่สื่อถึงความหมาย และผลของการกระทำ�นั้นเลย - ยังมีอีกผู้หนึ่งที่ชอบสอนเราด้วยเรื่องเปรียบเทียบผู้นั้นคือใคร? ก็พระเยซูเจ้า นั่นเอง พระองค์ทรงสอนเรื่องอะไรบ้าง? ให้ผู้เรียนลองยกตัวอย่างที่แต่ละคนจำ�ได้ - จากนั้นผู้สอนจึงให้ดูวีซีดีเรื่อง “ลูกหนี้ไร้เมตตา” 3 พระวาจา : อุปมาเรื่องลูกหนี้ไร้เมตตา (มธ 18:23-35) “อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงประสงค์จะตรวจบัญชี หนี้สินของผู้รับใช้ ขณะที่ทรงเริ่มตรวจบัญชีนั้น มีผู้นำ�ชายผู้หนึ่งเข้ามา ชายผู้นี้เป็นหนี้ อยูเ่ ป็นพันล้านบาท เขาไม่มสี งิ่ ใดจะชำ�ระหนีไ้ ด้ กษัตริยจ์ งึ ตรัสสัง่ ให้ขายทัง้ ตัวเขา บุตร ภรรยาและทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อใช้หนี้ผู้รับใช้กราบพระบาททูลอ้อนวอนว่า ‘ขอทรง พระกรุณาผัดหนี้ไว้ก่อนเถิด แล้วข้าพเจ้าจะชำ�ระหนี้ให้ทั้งหมด’ กษัตริย์ทรงสงสารจึง ทรงปล่อยเขาไปและทรงยกหนี้ให้ ขณะที่ผู้รับใช้ออกไปก็พบเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกันซึ่ง
. ☆ ดูวีซีดีเรื่อง “ลูกหนี้ไร้เมตตา” (มธ 18:23-35)
30
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เป็นหนี้เขาอยู่ไม่กี่พันบาท เขาเข้าไปคว้าคอบีบไว้แน่น พูดว่า ‘เจ้าเป็นหนี้ข้าอยู่เท่าไร จงจ่ายให้หมด’ “เพื่อนคนนั้นคุกเข่าลงอ้อนวอนว่า ‘กรุณาผัดหนี้ไว้ก่อนเถิด แล้วข้าพเจ้าจะ ชำ�ระหนี้ให้’ แต่เขาไม่ยอมฟัง นำ�ลูกหนี้ไปขังไว้จนกว่าจะชำ�ระหนี้ให้หมด เพื่อนผู้รับ ใช้อื่นๆ เห็นดังนั้นต่างสลดใจมาก จึงนำ�ความทั้งหมดไปทูลกษัตริย์ พระองค์จึงทรง เรียกชายผู้นั้นมา ตรัสว่า ‘เจ้าคนสารเลว ข้ายกหนี้สินของเจ้าทั้งหมดเพราะเจ้าขอร้อง เจ้าต้องเมตตาเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกัน เหมือนกับที่ข้าได้เมตตาเจ้ามิใช่หรือ’ กษัตริย์กริ้ว มาก ตรัสสั่งให้นำ�ผู้รับใช้นั้นไปทรมานจนกว่าจะชำ�ระหนี้หมดสิ้น พระบิดาของเรา ผู้สถิตในสวรรค์จะทรงกระทำ�ต่อท่านทำ�นองเดียวกัน ถ้าท่านแต่ละคนไม่ยอมยกโทษ ให้พี่น้องจากใจจริง” 4 อธิบายพระวาจา - เรื่องเปรียบเทียบนี้สอนเราชัดเจนในเรื่อง “การให้อภัย” และการมีใจเมตตา กรุณาต่อผู้อื่น โดยพระเยซูเจ้าทรงเน้นให้เห็นว่า หากเราไม่อภัยให้แก่ผู้อื่นแล้วเราเอง ก็จะไม่ได้รับการอภัยจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน - ดังนั้นเงื่อนไขที่ทำ�ให้เราได้รับการอภัยจากบาปก็คือ การให้อภัยแก่ผู้อื่น - อีกประเด็นหนึ่งที่พระเจ้าอยากจะสอนแก่เราผ่านทางเรื่องเล่านี้ก็คือ บาปที่เรา ทำ�ต่อพระเจ้านัน้ ยิง่ ใหญ่กว่าบาปทีเ่ พือ่ นมนุษย์ท�ำ ต่อเราอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย - ผู้สอนอาจจะใช้การเปรียบเทียบก็ได้ กล่าวคือ ความผิดเดียวกันถ้าเราทำ�ผิดต่อ เพื่อนหรือน้อง ก็จะมีความผิดน้อยกว่ากระทำ�ให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือถ้ากระทำ� ต่อคนที่สูงกว่าอีก เช่น ต่อพระสงฆ์ หรือต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อกษัตริย์ ก็ยิ่งทำ�ให้ ความผิดนั้นหนักขึ้นไปอีก ดังนั้น ความผิดที่เราทำ�ต่อพระเจ้าคือความผิดที่สูงที่สุด เพราะพระองค์คอื พระผูส้ งู สุดกว่าสิง่ สร้างใดๆ ดังนัน้ ความผิดทีเ่ ราทำ�ต่อพระองค์จะไป เทียบกับความผิดที่เพื่อนพี่น้องทำ�กับเราไม่ได้เลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนอาจยกตัวอย่างเรื่องเปรียบเทียบอื่นๆ ให้ผู้เรียนได้รู้จัก เช่น เรื่องคนงาน ในสวนองุ่น (มธ 20:1-16) เรื่องข้าวละมาน (มธ 13:369-43) เรื่องผู้หว่าน (มธ 13:39) ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ที่ดี ทรงใช้เรื่องใกล้ตัวที่ ประชาชนฟังแล้วเข้าใจง่ายมาเป็นเรื่องเปรียบเทียบ เพื่อใช้สอนเกี่ยวกับเรื่องที่เข้าใจ ยาก ทำ�ให้แม้แต่คนที่ไม่มีการศึกษาสูงมากก็เข้าใจได้ทุกคน - จากเรื่องเล่า “ลูกหนี้ไร้เมตตา” ที่ได้ฟัง ให้ผู้เรียนใช้เวลาเล็กน้อยไตร่ตรองดู ว่าในชีวิตของแต่ละคนนั้นมี “ลูกหนี้” บ้างไหม? และเวลาเดียวกันก็ให้ไตร่ตรองว่า ใครคือ “เจ้าหนี้” ของตนบ้าง? โดยทำ�ใบงานที่ 1 - เมื่อผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 แล้วให้ผู้สอนสรุปโดยเน้นประเด็นที่ว่า เราแต่ละคน ล้วนเป็น “ลูกหนี”้ ของพระในรูปแบบใดบ้าง? เพือ่ ให้ผเู้ รียนตระหนักว่า เพราะพระเจ้า ทรงอภัยบาปให้แก่เรามากมาย เราจึงต้องอภัยให้แก่ผู้อื่นด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นเราก็จะ ไม่ได้รับการอภัยจากพระองค์
☆
ใบงานที่ 1 ท้ายแผน
31
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- ผู้สอนอาจสรุปท้ายโดยเน้นถึงความสุข ความสบายใจที่ได้จากการได้รับ การอภัย ดังนัน้ การอภัยให้แก่ผอู้ นื่ จึงเป็นการนำ�ความสุข ความสบายใจให้แก่เขาด้วย เช่นกัน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนให้อภัยแก่ผู้ที่ทำ�ผิดต่อตน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันโดยคิดถึงความหมาย เฉพาะ อย่างยิ่งในประโยคที่ว่า “โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ ผู้อื่น” 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การถาม-ตอบ - การร่วมกิจกรรม ทำ�ใบงาน ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ...............................................................................................................................................................................
32
ใบงานที่ 1 : เรื่อง “ใครเป็นหนี้ใคร?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรม A ให้เรียบร้อยแล้วจึงทำ�กิจกรรม B ต่อไป กิจกรรม A – ให้เขียนในช่องว่างว่า “ใครเป็นลูกหนี้ของฉันบ้าง?” และ “เขาเป็นหนี้อะไรฉันบ้าง?”
กิจกรรม B – ให้เขียนในช่องว่างว่า “ใครคือเจ้าหนี้ของฉันบ้าง?” และ “ฉันเป็นหนี้อะไรเขาบ้าง?”
33
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง พระจิตเจ้าทรงทำ�ให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คนเรามีความสุขเมื่อเป็นหนึ่งเดียวกัน พระจิตเจ้าคือผู้ช่วยที่ สำ�คัญในการช่วยให้มนุษย์มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้ากับเพื่อนมนุษย์ และกับ สิ่งสร้างทั้งมวล - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแบ่งปันสิ่งที่มีแก่คนที่ขาดแคลนตามความเหมาะสม สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาเพื่อให้เขามีความสุข แต่บาปได้สร้างความแตกแยกระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และกับสิ่งสร้าง ทำ�ให้มนุษย์ที่ตกในบาปไม่มีความสุขเพราะเขาเจริญชีวิตอยู่ในความเกลียดชังกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน อิจฉา ริษยากัน ฯลฯ พระจิตเจ้าคือผู้ช่วยที่จำ�เป็นในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้นใหม่ในใจมนุษย์ เพราะพระองค์คือองค์ แห่งความรัก ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนพิจารณาภาพ 2 ภาพที่ตรงข้ามกัน คือ 1. ภาพของคนที่ทะเลาะกัน 2. ภาพของคนที่มีความรัก ความเมตตาต่อกัน - ให้ผู้เรียนแสดงความรู้สึกต่อภาพทั้งสองที่ได้เห็น ให้แต่ละคนไตร่ตรองว่า ตามปกติแล้วเขาเป็นคนในภาพไหน? เพราะเหตุใด? - ผลที่เกิดจากแต่ละภาพเป็นอย่างไร? ผลจากภาพทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร? - หากสังคมนี้มีแต่คนในภาพที่ 1 จะเป็นอย่างไร? และสังคมในภาพที่ 2 จะ เป็นอย่างไร? ผู้เรียนแต่ละคนอยากให้สังคมของตนเป็นอย่างไร? - ความสุขจะเกิดขึ้นแก่มนุษย์ได้เมื่อใด? ใครจะเป็นผู้ช่วยเราในเรื่องนี้ได้ดีที่สุด? 3 พระวาจา (1 คร 12:12-17) “แม้ร่างกายเป็นร่างกายเดียว แต่ก็มีอวัยวะหลายส่วน อวัยวะต่างๆ เหล่านี้แม้ จะมีหลายส่วนก็รว่ มเป็นร่างกายเดียวกันฉันใด พระคริสตเจ้าก็ฉนั นัน้ เดชะพระจิตเจ้า พระองค์เดียว เราทุกคนจึงได้รับการล้างมารวมเข้าเป็นร่างกายเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ชาวยิวหรือชาวกรีก ไม่ว่าจะเป็นทาสหรือไทก็ตาม เราทุกคนต่างได้รับพระจิตเจ้าองค์ เดียวกัน ร่างกายไม่ได้ประกอบด้วยอวัยวะส่วนเดียว แต่มีอวัยวะหลายส่วน ถ้าเท้าจะ พูดว่า “ข้าพเจ้าไม่ใช่มือ จึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย” แต่เท้าไม่ได้เป็นอวัยวะของ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ดูภาพ 2 ภาพท้ายแผน
34
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ร่างกายน้อยกว่าอวัยวะส่วนอื่นเพราะเป็นเพียงเท้า หรือถ้าหูจะพูดว่า “ข้าพเจ้าไม่ใช่ ดวงตา จึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของร่างกาย” แต่ก็ไม่ได้ทำ�ให้หูไม่เป็นอวัยวะของร่างกายเลย ถ้าร่างกายทั้งหมดเป็นดวงตา แล้วจะได้ยินได้อย่างไร ถ้าร่างกายทั้งหมดเป็นหู แล้ว จะได้กลิ่นได้อย่างไร” 4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนีท้ �ำ ให้เราเห็นภาพค่อนข้างชัดเจนว่า แต่ละหน่วยของครอบครัว หรือสังคมต้องทำ�หน้าที่ของตนอย่างดี ไม่ต้องอิจฉาและอยากไปทำ�หน้าที่ของคนอื่น เพราะอาจทำ�ไม่ดีเท่าคนอื่นก็ได้ - ลองให้ผู้เรียนจินตนาการว่า ถ้าร่างกายของเขามีแต่มืออย่างเดียวจะเป็น อย่างไร? จะเกิดอะไรขึน้ ? หรือมีแต่เท้า ปาก จมูก ฯลฯ ร่างกายของเขาจะสวยงามและ ปฏิบัติการต่างๆ ได้สะดวกแค่ไหน? ในทำ�นองเดียวกัน - สิ่งเดียวกันจะเกิดขึ้นกับครอบครัวและสังคมของเรา หากแต่ละคนอิจฉาริษยา คนอื่น อยากเป็นสิ่งที่เขาเป็น อยากทำ�สิ่งที่เขาทำ� ฯลฯ แน่นอนว่าในสังคมที่เป็นแบบ นี้จะไม่มีใครรักผู้อื่น เพราะแต่ละคนจะรักแต่ตนเองและเอาสิ่งที่ดีให้แก่ตนเองเท่านั้น ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็จะให้คนอื่นทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมจะมีความสุขได้อย่างไร? - โดยปกติแล้ว มนุษย์จะมีความเห็นแก่ตัว จะเอาสิ่งดีๆให้แก่ตนเองก่อนเสมอ แต่ถ้าเราเข้าใจความจริงดังกล่าว เราสามารถฝึกตนเองให้เป็นคนใจกว้างได้ เพราะ พระจิตเจ้าจะทรงช่วยเราให้เข้าใจความจริงนั้น และประทานพละกำ�ลังแก่เราให้เอา ชนะความเห็นแก่ตัว ให้เรารู้จักรักและแบ่งปันสิ่งที่ดีกว่าให้แก่ผู้อื่น พูดง่ายๆ ก็คือ นำ� ความสุขให้แก่คนอื่น - เมื่อเราแต่ละคนเจริญชีวิตร่วมกันด้วยท่าทีที่ใจกว้างเช่นนี้ สังคมของเราจะมี ความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกัน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต กิจกรรม 1 : 1. ให้ผู้สอนนำ�คุกกี้ 1 กล่อง (หรือใช้ขนมอื่นก็ได้) วางที่โต๊ะกลางห้อง แล้วถาม ผู้เรียนว่าใครอยากรับประทานบ้าง? ให้มาเอาไปได้ 2. อาจมีผู้เรียนหลายคนที่ยกมือแสดงความต้องการ ให้คนที่ยกมือก่อนนำ�เอา กล่องขนมนั้นไปได้ 3. ให้ผู้เรียนคนนั้นเปิดกล่องขนมแล้วรับประทานคนเดียว แล้วสังเกตปฏิกิริยา ของเพื่อนๆ 4. ถามผู้เรียนที่รับประทานว่า – เมื่อได้กล่องขนมรู้สึกอย่างไร? – เมื่อรับประทานคนเดียวรู้สึกอย่างไร? – มองเพื่อนๆ แล้วรู้สึกอย่างไร? – เขาอยากทำ�อะไรต่อไป?
☆
ผู้สอนเตรียมกล่องขนม ไว้ล่วงหน้า
35
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ได้คำ�ตอบแล้วให้ถามผู้เรียนคนอื่นๆ ว่ารู้สึกอย่างไร? และจะทำ�เช่นเดียวกับ เพื่อนคนนั้นหรือไม่? แล้วถามต่อไปว่า วิธีดีที่สุดที่จะทำ�ให้ทุกคนมีความสุขร่วมกัน คืออะไร? (การแบ่งปัน) ผู้สอนแบ่งปันขนมแก่ผู้เรียน ให้ทุกคนได้รับประทาน พร้อมกัน กิจกรรม 2 : ผู้สอนเตรียมด้ายที่ไม่ต้อง 2. ผู้สอนแจกด้ายให้อีกคนละเส้น แล้วให้ผู้เรียนเอาเส้นด้ายนั้นมารวมกัน แล้ว แข็งแรงมากให้ผู้เรียน คนละ 2 เส้น ความยาว เส้นละ ให้บางคนดึงให้ขาดอีก จะพบว่าเขาไม่สามารถทำ�ให้ด้ายนั้นขาดได้ ประมาณ 15-20 ซม. ผู้สอนอธิบายสรุปกิจกรรมข้างต้น เพื่อเน้นให้เข้าใจถึงความสำ�คัญว่า การอยู่ร่วม กันของคนเรานัน้ ต้องการความรักและความเป็นหนึง่ เดียวกัน และผลดีของสังคมทีร่ กั กัน นั้น จะทำ�ให้คนที่ปองร้ายเรานั้นทำ�ร้ายเราไม่ได้ เพราะรวมกันแล้วเรามีพลังมากมาย 1. ผู้สอนแจกด้ายให้ผู้เรียนคนละเส้น แล้วให้แต่ละคนดึงด้ายให้ขาด
☆
การทำ�ความดีนั้นไม่ใช่ง่าย เพราะความเห็นแก่ตัว ดังนั้น เราต้องวอนขอ พละกำ�ลังจากพระจิตเจ้าบ่อยๆ เพื่อให้พระองค์ทรงมาช่วยเราในเวลาที่จำ�เป็น 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแบ่งปันสิ่งที่มีแก่คนที่ขาดแคลนตามความเหมาะสม 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพ “คนตีกัน”
ภาพ “คนช่วยเหลือกัน”
36
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระศาสนจักรคือครอบครัวของพระเจ้า
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่าพระศาสนจักรคือ “ครอบครัวของพระเจ้า” ประกอบด้วย คริสตชนทุกคนที่มีบทบาทหน้าที่ต่างๆ กัน โดยมีพระสันตะปาปาทรงเป็นหัวหน้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปวัดร่วมมิสซาฯ ทุกวันอาทิตย์ สาระการเรียนรู ้ อาศัยศีลล้างบาป คริสตชนทุกคนได้เข้าร่วมส่วนอยู่ใน “ครอบครัวของพระเจ้า” คือพระศาสนจักร ทุกคน เป็นพี่น้องกันในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระศาสนจักรนี้มีพระสันตะปาปาทรงเป็นหัวหน้า สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ ต่างๆ กัน เสมือนเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเดียวกัน แต่ละคนจึงต้องทำ�หน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนดูภาพครอบครัวที่ประกอบด้วย บิดามารดาและบุตร หรืออาจมี บุคคลอื่นในครอบครัวด้วยก็ได้ ให้ผู้เรียนพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน ครอบครัวว่าทำ�ไมจึงมีความสนิทสนมกัน? ทำ�ไมจึงรักและเป็นห่วงกัน? ทำ�ไมบ้านจึง เป็นสถานทีท่ ที่ กุ คนรูส้ กึ อบอุน่ ? สมาชิกในครอบครัวมีบทบาทหน้าทีต่ า่ งกันอย่างไร? - เมือ่ ได้ค�ำ ตอบแล้ว ผูส้ อนนำ�ให้ผเู้ รียนไตร่ตรองอีกขัน้ หนึง่ ว่า นอกจากครอบครัว ที่บ้านแล้วเรายังมีครอบครัวที่ใหญ่กว่านั้นอีก ครอบครัวนั้นคืออะไร? (ไม่ต้องเฉลย) - ให้เรามาหาคำ�ตอบจากพระวาจาของพระเจ้าด้วยกัน 3 พระวาจา (1 คร 12:27-30) ท่านทั้งหลายเป็นพระกายของพระคริสตเจ้า แต่ละคนต่างก็เป็นอวัยวะของ พระกายนั้น พระเจ้าทรงแต่งตั้งบางคนให้ทำ�หน้าที่ต่างๆ ในพระศาสนจักร คือ หนึ่ง ให้เป็นอัครสาวก สองให้เป็นประกาศก และสามให้เป็นครูอาจารย์ ต่อจากนั้นคือผู้มี อำ�นาจทำ�อัศจรรย์ ผู้รักษาโรค ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปกครอง และผู้พูดภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ ทุกคนเป็นอัครสาวกหรือ ทุกคนเป็นประกาศกหรือ ทุกคนเป็นครูอาจารย์หรือ ทุกคน เป็นผู้ทำ�อัศจรรย์หรือ ทุกคนบำ�บัดโรคได้หรือ ทุกคนพูดภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจหรือ ทุกคนเป็นผู้ตีความอธิบายความหมายของภาษานั้นหรือ 4 อธิบายพระวาจา - คำ�ว่า “พระกายทิพย์” แปลว่า “ร่างกายของพระคริสตเจ้า” หมายความว่า
☆
ภาพ “ครอบครัว” ท้ายแผน
37
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
คริสตชนทุกคนประกอบกันรวมเป็นเสมือนร่างกายของพระคริสตเจ้า โดยทุกคนเข้ามา อยูใ่ นร่างกายนีอ้ าศัยศีลล้างบาป เราทุกคนในร่างกายนีอ้ ยูก่ นั แบบครอบครัวเดียวกัน เป็นพี่เป็นน้องกัน โดยมีพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็น “ศีรษะ” คือเป็นหัวหน้าของ ครอบครัวนี้ - ดังนั้นเราทุกคนจึงโชคดีมาก เพราะนอกจากครอบครัวเล็กๆ ที่บ้านแล้ว เรา ยังได้เข้ามาอยู่ในครอบครัวใหญ่นี้ด้วยกัน - ครอบครัวนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า “พระศาสนจักร” หรือเราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ครอบครัวของพระเจ้า” - ในครอบครั ว นี้ มี พ ระสั น ตะปาปาทรงเป็ น ผู้ นำ � เราแทนพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันชื่อว่า พระสันตะปาปาฟรังซิส และสมาชิกแต่ละคนใน ครอบครัวนี้ก็มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไป 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - บางครั้งเราพบว่าครอบครัวของเรามีปัญหา อะไรคือสาเหตุของปัญหาเหล่า นั้น? - บางครั้งสาเหตุของปัญหาคือ การที่แต่ละคนไม่ทำ�หน้าที่ของตนเองอย่างดี เช่น ผู้เป็นพ่อไม่ขยันขันแข็งในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ใช้ความสามารถของตนเองอย่าง เต็มที่ในการพัฒนางานที่ทำ� ทำ�ให้มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายของครอบครัวก็เป็น ปัญหา หรือแม่บางคนอาจไม่ค่อยสนใจลูกเท่าที่ควร ใช้เวลาสนใจความต้องการ ของตนเองมากกว่า จึงไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูก ทำ�ให้ลูกมีปัญหาหลายๆ อย่างที่ตาม มา หรือคนในครอบครัวบางคนชอบไปนอกบ้านมากกว่าอยู่ในบ้านจึงบกพร่อง ต่อหน้าที่ของตน แทนที่จะช่วยคนในบ้านในเรื่องต่างๆ กลับใช้เวลาไปเที่ยวหรือ เล่น ฯลฯ - ส่วนเราที่เป็นลูก แม้ยังเป็นนักเรียนอยู่ เราก็มีหน้าที่สำ�คัญที่ต้องปฏิบัติเช่นกัน ในช่วงนี้ผู้สอนอาจจะแบ่งผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม ให้กลุ่ม 1 ทำ�ใบงานที่ 1 และกลุ่ม 2 ทำ� ใบงานที่ 2 - เมื่อแต่ละกลุ่มทำ�งานเสร็จแล้ว ให้นำ�คำ�ตอบที่ได้มาแบ่งปันในกลุ่มใหญ่เพื่อ ทุกคนจะได้รับรู้คำ�ตอบของทั้ง 2 ใบงาน - ผู้สอนสรุปคำ�ตอบของใบงานทั้งสอง ให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายอย่างชัดเจน อีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นถึงบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนในครอบครัวและในระดับวัด 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนไปวัดร่วมมิสซาฯ ทุกวันอาทิตย์ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนยืนขึ้นจับมือกันเป็นวงกลมหรือเป็นแถวก็ได้ แล้วสวดบท “ข้าแต่ พระบิดาฯ” ด้วยความตั้งใจพร้อมกัน
☆
ใบงานที่ 1 และ ใบงานที่ 2 ท้ายแผน
38
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
ภาพ “ครอบครัว”
39
ใบงานที่ 1 : “บ้านของฉันน่าอยู่ เมื่อ...” คำ�ชี้แจง - ให้เติมคำ�ตอบในช่องว่างโดยตอบว่าบ้านของฉันจะน่าอยู่เมื่อแต่ละบุคคลทำ�หน้าที่ของตน โดย...? พ่ อ ................................................................................................................... แม่ . .................................................................................................................... พี่ . .................................................................................................................... น้ อ ง.................................................................................................................. ตั ว ฉั น ............................................................................................................... บุ ค คลอื่ น ในบ้ า น..............................................................................................
ใบงานที่ 2 : “วัดของฉันน่าอยู่ เมื่อ....” คำ�ชี้แจง - ให้เติมคำ�ตอบในช่องว่างโดยตอบว่าวัดของฉันจะน่าอยู่เมื่อแต่ละบุคคลทำ�หน้าที่ของตน โดย...? คุณพ่อเจ้าวัด........................................................................................................................ คุณพ่อปลัด........................................................................................................................... ผู้ช่วยจัดวัด.......................................................................................................................... นักขับร้อง.............................................................................................................................. ผู้อ่านบทอ่าน.......................................................................................................................... เด็กช่วยมิสซา......................................................................................................................... ผู้เก็บถุงทาน.......................................................................................................................... สภาอภิบาลวัด....................................................................................................................... สัตบุรุษแต่ละคน.....................................................................................................................
40
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระนางมารีย์ พระมารดาของเราทุกคน
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระนางมารีย์ทรงเป็นมารดาฝ่ายจิตของเราทุกคน เพราะ พระเยซูเจ้าทรงมอบพระนางให้เป็นมารดาของเราก่อนจะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดบทวันทามารีย์ 3 บทก่อนนอนทุกคืน สาระการเรียนรู ้ นอกจาก “แม่” ที่แต่ละคนมีแล้ว เรายังมีแม่อีกคนหนึ่งในสวรรค์ คือ พระนางมารีย์พระเยซูเจ้าทรงมอบ พระนางให้เป็นมารดาของ น.ยอห์นที่เชิงกางเขน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า พระนางทรงเป็นแม่ฝ่ายจิตของเราแต่ละคนด้วย เรา จึงควรมีความรักความศรัทธาต่อพระนางให้มากๆ เพราะพระนางทรงคอยปกป้องคุม้ ครองดูแลเราให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ฝ่ายวิญญาณและร่างกายอยู่เสมอ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - เล่าเรื่อง “อัศจรรย์จากแม่พระ” ให้ผู้เรียนฟัง
☆
ใบความรู้ที่ 1 ท้ายแผน
☆
ภาพ “แม่พระแทบเชิง กางเขน” ท้ายแผน
- เมือ่ ฟังเรือ่ งอัศจรรย์จบแล้ว ให้ผเู้ รียนช่วยกันวิเคราะห์วา่ ทำ�ไมจึงเกิดอัศจรรย์ นั้นๆ ขึ้น? อัศจรรย์แบบนั้นจะเกิดขึ้นกับเราแต่ละคนด้วยได้ไหม? - ให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำ�ตอบ โดยผู้สอนไม่ต้องสรุปคำ�ตอบ เพื่อให้ผู้เรียน ร่วมกันค้นคว้าหาคำ�ตอบต่อไป 3 พระวาจา พระเยซูเจ้ากับพระมารดา (ยน 19:25-27) “พระมารดาของพระเยซูเจ้าทรงยืนอยู่ข้างไม้กางเขนของพระองค์พร้อมกับ น้องสาวของพระนาง มารีย์ภรรยาของเคลโอปัส และมารีย์ชาวมักดาลา เมื่อพระเยซู เจ้าทรงเห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักยืนอยู่ใกล้ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า “แม่ นี่คือ ลูกของแม่” แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือแม่ของท่าน” นับตั้งแต่นั้น ศิษย์ผู้นั้นก็รับ พระนางเป็นมารดาของตน” 4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่พระเยซูเจ้ายังทรงดำ�รงพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระมารดามารีย์ทรงอยู่ เคียงข้างพระบุตรตลอดเวลา แม้พระวรสารจะไม่ได้บนั ทึกทุกอย่างทีพ่ ระนางทรงกระทำ� แต่เราก็มั่นใจได้ว่าแม่พระไม่เคยทอดทิ้งและอยู่ห่างไกลจากพระบุตรเลย - พระศาสนจักรจึงเรียกขานพระนางว่าเป็น “ผู้ร่วมไถ่บาป” ของพระบุตร ดังนั้น
41
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ความรู้ สึ ก ของพระบุ ต รในความเป็ น ห่ ว งถึ ง ความรอดพ้ น ของมนุ ษ ยชาติ จึ ง เป็ น ความรู้สึกของพระนางด้วยอย่างแน่นอน - ด้วยเหตุนี้ เมือ่ พระเยซูเจ้าจะทรงลาจากโลกนีไ้ ป พระองค์จงึ ทรงมอบพระมารดา ให้เป็น “แม่” ของบรรดาศิษย์ ซึ่งท่านเหล่านั้นก็เป็นเสมือนตัวแทนของมนุษย์ทั้งปวง และทรงมอบศิษย์ให้เป็น “บุตร” ของพระนาง - จากเหตุการณ์นี้ ทำ�ให้เรากลายเป็นลูกของพระมารดามารีย์ด้วย พระนางไม่ ได้เป็นแม่ฝ่ายร่างกายของเราก็จริง แต่ทรงเป็นแม่ฝ่ายจิตที่คอยให้ความช่วยเหลือ ต่างๆ แก่เราอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามที่ได้รับความช่วยเหลือจาก พระนาง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - มนุษย์เราทุกคนมีแม่ แต่แม่ทุกคนไม่ได้ดีเท่ากัน แม่บางคนดีมาก แต่อีกบาง คนก็ไม่ทำ�ตัวให้เป็นแม่ที่ดีเท่าที่ควรสำ�หรับลูกของตน แม่ทุกคนแม้จะพยายามทำ�ดี เท่าไรเขาก็ยังเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ผู้เป็นแม่ จะมีข้อบกพร่อง มีขอบเขตจำ�กัด และทำ�ให้ลูกต้องเสียใจบ้าง เพราะแม่ก็ยังคงมี ธรรมชาติมนุษย์ - การที่เรามีพระนางมารีย์เป็นแม่ฝ่ายจิตของเรา เป็นพระพรประเสริฐที่พระเจ้า ประทานให้แก่เรา เพราะพระนางเป็นดัง “แม่สวรรค์” ทีไ่ ม่มขี อ้ บกพร่องใดเลย เพราะ พระนางทรงเป็นพระมารดาพระเจ้า เป็นสตรีที่ครบครันที่สุด ดังนั้น เราจึงเป็นผู้โชคดี ที่สุดที่มีพระนางเป็น “แม่” อีกคนหนึ่ง - ด้วยความเป็น “แม่” พระนางจะไม่ปล่อยให้ลูกของพระนางต้องตกอยู่ใน อันตราย ทรงปกป้องคุ้มครองลูกทุกคนของพระแม่เสมอ ทั้งทางร่างกายและเฉพาะ อย่างยิ่งทางจิตใจ เพราะพระนางทรงต้องการให้ลูกๆ ทุกคนมี “ความสุข” คือได้เอา วิญญาณรอดพ้นไปสวรรค์ เพราะพระนางทรงปล่อยให้ลูกของพระนางเสียวิญญาณไป ไม่ได้ - ผู้สอนยกบางตัวอย่างให้ผู้เรียนได้รู้ถึงความช่วยเหลือที่เขาได้รับจากแม่พระ เช่น การได้รอดพ้นจากการถูกงูกัดเวลาไปในที่มืดๆ การได้พ้นจากอุบัติเหตุเมื่อเดิน ตามถนนหรือเมื่อข้ามถนน การได้รับพรต่างๆ จากพระ เช่น มีครอบครัวที่ดีมีพ่อหรือ มีแม่ที่ดี มีเพื่อนที่ดี มีอาหารรับประทานทุกวันไม่เคยต้องหิวโหย การมีโอกาสที่ดีใน การศึกษา ฯลฯ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “แม่แห่งสวรรค์ของฉัน” - ขณะที่ผู้เรียนทำ�ใบงาน ให้ผู้สอนสังเกตว่าผู้เรียนตอบได้หรือไม่? เมื่อผู้เรียน ทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนสรุปคำ�ตอบให้อีกครั้งหนึ่ง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดบทวันทามารีย์ 3 บทก่อนนอนทุกคืน
☆
ใบงาน “แม่แห่งสวรรค์ ของฉัน” ท้ายแผน
42
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ประนมมือ ให้แต่ละคนคิดว่าตนต้องการจะวอนขอ ความช่วยเหลือใดจากแม่พระ จากนั้นจึงสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ และไว้วางใจในความช่วยเหลือของพระนาง 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
ภาพ “แม่พระแทบเชิงกางเขน”
43
ใบความรู้ที่ 1 : “อัศจรรย์จากแม่พระ”
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นกำ�ลังจะพ่ายแพ้เพราะถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ที่วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ในเมืองฮิโรชิมา วัดนี้ดูแลโดยพระสงฆ์เยซูอิตชื่อคุณพ่อฮิวเบิร์ต สคีเฟอร์ อายุ 30 ปี คุณพ่อได้เล่าให้คนหลายหมื่นคนฟังว่า “พ่อได้เห็นเพียงแสงไฟสว่างจ้าไปหมด ในทันใดนัน้ ระเบิดก็ดงั ขึน้ อย่างน่าสยดสยองมาก พ่อถูกแรง ระเบิดเหวี่ยงขึ้นไปในอากาศ หลังจากนั้นทุกอย่างก็มืดสนิท เงียบเชียบ พอรู้สึกตัวก็พบว่าพ่อนอนคว่ำ�หน้า อยู่บนกองไม้หักๆ ที่แก้มมีเลือดไหลนอง พ่อคิดว่าตัวเองตายไปแล้วซะอีก จากนั้นจึงได้ยินเสียงของตัวเอง สิง่ ทีน่ า่ กลัวทีส่ ดุ ในเวลานัน้ ก็คอื การพบว่าพ่อยังมีชวี ติ อยู่ พ่อพร้อมกับเพือ่ นสมาชิกอีก 3 คนต้องวนเวียนอยู่ ในกองปรักหักพังที่เต็มไปด้วยไฟ ควันไฟ และรังสีเป็นเวลา 3 วันเต็ม จนกระทั่งมีผู้มาพบและช่วยเหลือเรา ทุกคนบาดเจ็บสาหัส แต่ด้วยความช่วยเหลือจากพระ เราจึงรอดชีวิตมาได้...” ไม่มีใครสามารถอธิบายด้วยคำ�ตอบตามประสามนุษย์ได้ว่า สงฆ์เยซูอิตทั้ง 4 ท่านนี้รอดตายมาได้ อย่างไรทัง้ ๆ ทีอ่ ยูใ่ นระยะรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรของระเบิด ไม่มพี ระสงฆ์องค์ใดถูกทำ�ร้ายด้วยกัมมันตภาพรังสี ของปรมาณูเลย ทำ�ไมวัดและบ้านพักพระสงฆ์จงึ ไม่พงั ลงไปแต่ยงั คงตัง้ ตระหง่านอยูไ่ ด้ขณะทีต่ กึ รามบ้านช่อง ทุกหลังแถวนัน้ ถูกเผาจนพังพินาศราบเป็นหน้ากลอง หลังจากนัน้ 33 ปีคณะแพทย์ชาวอเมริกนั และชาวญีป่ นุ่ 200 คนได้ตรวจร่างกายคุณพ่อฮิวเบิร์ต ก็ไม่พบร่องรอยอันเป็นผลสืบเนื่องจากการรับกัมมันตภาพรังสีของ ระเบิดเลย ตรงข้ามท่านกลับมีชีวิตอยู่อย่างเป็นปกติด้วยสุขภาพอันดี ทุกคนทีไ่ ด้ถามคุณพ่อจะได้รบั คำ�ตอบเดียวกันก็คอื “เราได้เจริญชีวติ มิชชันนารีในหมูบ่ า้ นด้วยข่าวสาร ที่แม่พระแห่งฟาติมาได้ให้ไว้ นั่นคือ เราได้สวดสายประคำ�กันทุกวัน”
ใบงาน “แม่สวรรค์ของฉัน” คำ�ชีแ้ จง - ให้เขียนว่าเมือ่ ใดบ้างทีฉ่ นั ได้รบั ความช่วยเหลือจากแม่พระและได้รบั ความช่วยเหลืออะไรบ้าง? 1. เมื่อ............................................................................................................................
ฉันได้รับ............................................................................................................. 2. เมื่อ............................................................................................................................ ฉันได้รับ............................................................................................................. 3. เมื่อ............................................................................................................................ ฉันได้รับ............................................................................................................. 4. เมื่อ............................................................................................................................ ฉันได้รับ............................................................................................................. 5. เมื่อ............................................................................................................................ ฉันได้รับ.............................................................................................................
44
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง วันฉลองแม่พระ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนแสดงความรักและความศรัทธาต่อพระมารดามารีย์ ด้วยการเรียกขานพระนางด้วยนามที่หลากหลาย และระลึกถึงพระนางในวันฉลองต่างๆ ในรอบปีพิธีกรรมของพระศาสนจักร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมฉลองวันแม่พระอย่างศรัทธา สาระการเรียนรู ้ คริสตชนทุกยุคทุกสมัยทราบดีว่า พระนางมารีย์พระมารดาของเรามนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็น “มารดา” ที่รักเรายิ่งกว่าแม่ของเราเสียอีก จึงได้มีความรักความศรัทธาต่อพระนางอย่างเหลือล้น เรียกขานพระนางด้วย “พระนาม” ที่ หลากหลาย รวมทั้งกำ�หนดให้มีวันฉลองต่างๆ ของพระนาง เพื่อเผยแผ่ความรักและความศรัทธาต่อพระนาง เพื่อทุกคนจะได้ รับความรอดพ้นอาศัยคำ�เสนอวิงวอนของพระนางผู้เป็นมารดา ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - เล่าอัศจรรย์ของแม่พระเรื่อง “ประตูแห่งรุ่งอรุณ” ให้ผู้เรียนฟัง - ผู้สอนนำ�ให้ผู้เรียนพิจารณาว่า มีอัศจรรย์มากมายที่แม่พระได้ทำ�ในอดีต แต่ ในปัจจุบันแม่พระก็ยังไม่เลิกทำ�อัศจรรย์
☆
ใบความรู้เรื่อง “แม่พระ: ประตูแห่งรุ่งอรุณ”
- ให้ผู้เรียนไตร่ตรองว่า ในชีวิตของเขามีเหตุการณ์อัศจรรย์อะไรบ้างไหม? และ ให้ผู้เรียนไตร่ตรองอีกแง่มุมหนึ่งว่า ในชีวิตของตนมีเหตุการณ์ใดที่ต้องการอัศจรรย์ จากแม่พระบ้างไหม? แล้วลองให้เล่าสู่กันฟัง 3 พระวาจา : งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (ยน 2:1-11) “สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี พระมารดาของ พระเยซูเจ้าทรงอยูใ่ นงานนัน้ พระเยซูเจ้าทรงได้รบั เชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงาน นั้นด้วย เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มี เหล้าองุน่ แล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “แม่ครับ แม่ตอ้ งการสิง่ ใด เวลาของลูกยังมาไม่ถงึ ” พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่านทำ�อะไรก็จง ทำ�เถิด” ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำ�ระตามธรรมเนียมของชาวยิว แต่ละใบจุ น้�ำ ได้ประมาณหนึง่ ร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้วา่ “จงตักน้�ำ ใส่โอ่งให้ เต็ม” เขาก็ตักน้ำ�ใส่จนเต็มถึงขอบ แล้วพระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จงตักไปให้ผู้จัดงาน เลี้ยงเถิด” เขาก็ตักไปให้ผู้จัดงานเลี้ยงได้ชิมน้ำ�ที่เปลี่ยนเป็นเหล้าองุ่นแล้ว ไม่รู้ว่า
ดูวีซีดีตอน “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” ☆
45
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เหล้านี้มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำ�รู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใครๆ เขานำ�เหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้ว จึงนำ�เหล้าองุ่น อย่ า งรองมาให้ แต่ท่านเก็บ เหล้าอย่างดีไว้ จ นถึ งบั ด นี้ ” พระเยซู เจ้ า ทรงกระทำ � เครื่องหมายอัศจรรย์ครั้งแรกนี้ที่หมู่บ้านคานา แคว้นกาลิลี พระองค์ทรงแสดง พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ และบรรดาศิษย์เชื่อในพระองค์” 4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่พระมารดามารีย์ยังทรงเจริญชีวิตอยู่นั้น พระนางมิได้ทำ�ตนแปลกแยก จากคนอื่นแต่ได้ทำ�ทุกอย่างเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป ดังที่เราเห็นได้จากเรื่องเล่า ในพระวรสารข้างต้น - การไปร่ว มงานวิว าห์ที่เ มืองคานานี้ ก็ เป็ นอี ก เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ งที่ พระนางได้ รับเชิญไปร่วมงานเลี้ยงแต่งงาน พระเยซูเจ้าและบรรดาศิษย์ก็ไปร่วมงานด้วย ขณะที่ งานดำ�เนินไปอย่างดี เหล้าองุ่นเกิดหมดโดยเจ้าภาพไม่ทันรู้ตัว แม้ว่าแม่พระจะเป็น เพียงแขกรับเชิญ แต่พระนางก็ไม่ปิดหูปิดตาต่อความเดือดร้อนของเจ้าภาพ พระนาง รู้เห็นเหตุการณ์และรับสภาพดังว่านั่นเป็นความเดือดร้อนของพระนางเอง - แม้ว่าก่อนหน้านั้น พระเยซูเจ้าจะยังไม่เคยทำ�อัศจรรย์ใดๆ เลย แม่พระซึ่งเป็น “พระมารดาพระเจ้า” ก็ทรงทราบดีว่า พระเยซูเจ้าพระบุตรของพระนางนั้นสามารถ ช่วยเหลือคนเหล่านั้นที่เดือดร้อนได้อย่างแน่นอน - แม่พระจึงได้ทำ�ทุกวิถีทางเพื่อช่วยเจ้าภาพนั้น แม้ว่าจะถูกพระเยซูเจ้าทรง ตัดพ้อต่อว่าเล็กน้อยก็ตาม แต่พระนางก็มั่นใจว่า พระเยซูเจ้าจะทรงยอมทำ�ตามที่ พระนางขออย่างแน่นอนเช่นกัน - เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ น้ำ�ในโอ่งหิน 6 ใบ ได้กลับกลายเป็นเหล้าองุ่น ที่อร่อยที่สุดซึ่งเจ้าภาพเองก็ยังไม่รู้ถึงเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนไตร่ตรองดูว่า เหตุการณ์ทำ�นองนี้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราบ้างไหม? เราเคยได้รับความช่วยเหลือหรืออัศจรรย์จากแม่พระบ้างไหม? - ผู้เรียนบางคนอาจหาคำ�ตอบได้ แต่อีกบางคนอาจคิดไม่ออกเลยว่า เมื่อใดบ้าง ที่แม่พระได้ช่วยเขา - ให้ผู้สอนทำ�ใบงานที่ 1 พร้อมกับผู้เรียน - จากนั้นให้ผู้สอนติดป้ายนิเทศแผ่นใหญ่ที่เขียนวันฉลองต่างๆ ของแม่พระไว้ ที่กระดานหน้าห้อง แล้วให้ผู้เรียนอ่านพร้อมๆ กัน โดยผู้สอนอธิบายความหมายของ วันฉลองต่างๆ โดยย่อ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมฉลองวันแม่พระอย่างศรัทธา
☆
ดูจากท้ายแผน
46
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ประนมมือสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ใบความรู้เรื่อง “แม่พระ : ประตูแห่งรุ่งอรุณ
ในปี ค.ศ. 1671 (พ.ศ. 2214) ที่วัดแห่งหนึ่งในประเทศสเปน สัตบุรุษได้นำ�พระรูป
“แม่พระ : ประตูแห่งรุ่งอรุณ” มาประดิษฐานไว้ภายในวัด วันหนึ่งเด็กชายอายุ 2 ขวบคนหนึ่งได้ พลัดตกลงมาจากชั้นที่ 2 ของวัด กระแทกที่พื้นด้านล่างอย่างแรงมาก เป็นพื้นที่มีก้อนหินมากมาย เด็กคนนี้ได้สิ้นใจอย่างกะทันหันเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว แต่บิดามารดาของเด็กนั้นรีบอุ้มเขา ไปอยู่ต่อหน้าพระรูปแม่พระและสวดภาวนาพร้อมทั้งน้ำ�ตาขอให้แม่พระช่วยให้ลูกของเขามีชีวิตอยู่ ต่อไป ทัง้ สองคนมีความหวังอย่างเต็มเปีย่ มว่าแม่พระต้องช่วยลูกของเขาอย่างแน่นอน วันรุง่ ขึน้ เด็ก คนนั้นก็ลุกขึ้นจากที่นอนหายเป็นปกติ ปราศจากร่องรอยของแผลฟกช้ำ�ใดๆ บิดามารดาคู่นั้น จึง ได้ให้ช่างวาดภาพและบรรยายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราจึงได้ทราบถึงเหตุการณ์นี้
47
ใบงานที่ 1 คำ�ชีแ้ จง - 1) ให้ผสู้ อนทำ�ตารางด้านล่างนีใ้ ส่กระดาษแข็งแผ่นใหญ่เพือ่ ติดทีก่ ระดานหน้าห้องโดยเว้นช่อง ซ้ายมือไว้ใส่คำ�ตอบของผู้เรียน 2) ให้ผู้สอนบอกวลีด้านซ้ายมือทีละข้อ 3) ให้ผู้เรียนช่วยกันเติมคำ�ตอบว่า แม่พระช่วยเราได้อย่างไรบ้าง? ที่
เหตุการณ์
แม่พระช่วยฉันโดย...
1 เมื่อฉันเดินข้างถนนหรือข้ามถนน
(แม่พระคุ้มครองฉันให้ปลอดภัยจากรถที่อาจมาชนฉันได้)
2 เมื่อฉันเดินไปในที่มืดๆ
(แม่พระช่วยปกป้องฉันจากงูหรือสัตว์มีพิษร้ายแรง)
3 เมื่อฉันทำ�การบ้านไม่ได้ 4 เมือ่ ฉันเหลาดินสอ
(แม่พระดลใจให้พ่อ แม่ พี่หรือคนอื่นมาช่วยสอน) (แม่พระช่วยให้ฉันปลอดภัยจากการถูกมีดบาด)
5 เมื่อมีการทะเลาะกันในครอบครัว
(แม่พระช่วยคลี่คลายให้ปัญหาเบาบางลง)
วันฉลองสำ�คัญของแม่พระที่ควรรู้จัก 1 2 11 15 13 2 16 15
มกราคม กุมภาพันธ์ กุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม กรกฎาคม สิงหาคม
22 8 15 7 21 8
สิงหาคม กันยายน กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
สมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีของพระเจ้า แม่พระถือศีลชำ�ระ แม่พระแห่งเมืองลูร์ด สมโภชแม่พระรับสารจากอัครเทวดาคาเบรียล แม่พระแห่งฟาติมา แม่พระเสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล สมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้ง กายและวิญญาณ พระนางมารีย์ ราชินีแห่งสากลโลก แม่พระบังเกิด แม่พระมหาทุกข์ แม่พระแห่งสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ แม่พระถวายองค์ในพระวิหาร สมโภชแม่พระปฏิสนธินิรมล
48
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
เรื่อง ชีวิตหลังความตาย
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.5 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของชีวิตหลังความตายว่า ชีวิตมนุษย์ไม่ได้จบสิ้น ไปกับความตาย แต่วญ ิ ญาณต้องรับการพิพากษาจากพระเจ้าถึงทุกการกระทำ�ของตน และ จะรับผลการกระทำ�นั้นอย่างยุติธรรม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนกระทำ�แต่ละสิ่งโดยคำ�นึงถึงผลที่จะมีต่อชีวิตนิรันดร สาระการเรียนรู ้ เมื่อมนุษย์จบชีวิตในโลกนี้แล้ว จะต้องได้รับการพิพากษาถึงการกระทำ�ทุกอย่างของตนในทันที หลังจาก นั้นวิญญาณจึงจะไปอยู่ในที่ที่เหมาะสม นั่นคือ หากผู้ใดตายในพระพรของพระ ไม่มีบาปใดๆ เขาจะได้รับบำ�เหน็จในสวรรค์ นิรนั ดร แต่หากผูใ้ ดตายในบาปหนัก ปฏิเสธพระเจ้า เขาจะต้องไปรับโทษในนรกชัว่ นิรนั ดร ส่วนผูท้ ตี่ ายในบาปแต่มคี วามเชือ่ ความไว้ใจ และความรักต่อพระ เขามีสิทธิ์จะได้ไปสวรรค์หลังจากที่ได้ชำ�ระวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์ในไฟชำ�ระเสียก่อน ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่าเรื่อง “ฉันคือใคร?” ให้ผู้เรียนฟัง เสร็จแล้วให้วิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำ�ไมเรื่องนี้จึงจบลงแบบนี้? พระเจ้าต้องการให้สตรีผู้นั้นตอบว่าอะไรกันแน่? ถ้าเป็น เรา เราจะตอบพระองค์ว่าอย่างไร? ทำ�ไมพระองค์จึงทรงต้องการคำ�ตอบเช่นนั้น?
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง “ฉันคือใคร?” ท้ายแผน ☆
- ผู้สอนสามารถเปิดอีกประเด็นหนึ่งโดยเสวนากับผู้เรียนว่า เรื่องเล่านี้บ่งบอก ว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับสตรีคนนี้ที่ได้ตายไปแล้ว ให้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อคนหนึ่งตาย ไปแล้ว เขาจะถูกพระเจ้าไต่สวน เหตุการณ์นี้บอกอะไรแก่เราบ้าง? (อาจเปิดประเด็น ทิ้งไว้โดยยังไม่ต้องให้คำ�ตอบ) - แต่สำ�หรับเราคริสตชน ความจริงหลังความตายจะเป็นอย่างไร? น่ากลัวไหม? และเราจะต้องถูกพิพากษาในเรื่องอะไร? ใครจะให้คำ�ตอบแก่เราได้? ให้เรามาหา คำ�ตอบกันในพระวรสารดู 3 พระวาจา (ลก 16:19-31 อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส) ‘เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ ทุกวัน คนยากจนผูห้ นึง่ ชือ่ ลาซารัส นอนอยูท่ ปี่ ระตูบา้ นของเศรษฐีผนู้ นั้ เขามีบาดแผล เต็มตัว อยากจะกินเศษอาหารทีต่ กจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สนุ ขั มาเลียแผลของเขา วัน หนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำ�เขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้น ก็ตายเช่นเดียวกันและถูกฝังไว้ เศรษฐีซึ่งกำ�ลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงน
☆
ดูซีดี เรื่องเศรษฐีกับลาซารัส
49
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
หน้าขึน้ มองเห็นอับราฮัมแต่ไกลและเห็นลาซารัสอยูใ่ นอ้อมอกจึงร้องตะโกนว่า “ท่าน พ่ออับราฮัม จงสงสารลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำ�มาแตะลิ้นให้ลูก สดชืน่ ขึน้ บ้างเพราะลูกกำ�ลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี”้ แต่อบั ราฮัมตอบว่า “ลูกเอ๋ย จงจำ�ไว้วา่ เมือ่ ยังมีชวี ติ ลูกได้รบั แต่สงิ่ ดีๆ ส่วนลาซารัสได้รบั แต่สงิ่ เลวๆ บัดนี้ เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิ่งกว่านั้น ยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ ระหว่างเราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูกก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ ต้องการจะข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย” ‘เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่ง นีเ้ ลย” อับราฮัมตอบว่า “พีน่ อ้ งของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยูแ่ ล้ว ให้เขาเชือ่ ฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่ง จากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ” อับราฮัมตอบว่า “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสส และบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” 4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารให้เราเห็นภาพของบุคคลสองคนที่ต่างกันคนละขั้ว คือเศรษฐีกับ ยาจก เศรษฐีนั้นก็ไม่ใช่คนโหดเหี้ยมหรือใจร้ายมากมายนัก เขายอมให้ลาซารัสนอน อยูน่ อกประตูบา้ นโดยไม่ได้ไล่ให้ไปไกลๆ ไม่ได้ให้คนใช้ไปทำ�ร้ายเขาให้บาดเจ็บ เพียง แต่เศรษฐีเจริญชีวิตไปวันๆ กับการกินเลี้ยงทำ�ให้ตนเองมีความสุขด้วยการกินดีอยู่ดี โดยไม่ได้สนใจคนรอบข้างว่าจะอยู่อย่างไรเท่านั้น สรุปก็คือ แบบต่างคนต่างอยู่ ผู้ที่มี มากกว่าก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือคนที่ขัดสนกว่า เขาก็ทำ�บาปโดยละเลยในการทำ� ความดีนั่นเอง - แต่เมื่อทั้งคู่ตายลง ชีวิตของทั้งสองกลับกลายเป็นตรงกันข้าม ดังนั้น คนที่ เดือนร้อนกว่าก็คอื เศรษฐี เขาจึงต้องดิน้ รนขอความช่วยเหลือจากอับราฮัมและลาซารัส แต่พระวรสารทำ�ให้เราเข้าใจว่า หลังจากความตายแล้ว มนุษย์ทุกคนหมดเวลาของตน และต้องรับการพิพากษาถึงความดี ความชั่ว การละเลยที่ตนก่อไว้อย่างเหมาะสมและ ยุติธรรมที่สุด - พระเจ้าไม่เคยทรงทอดทิ้งใคร พระองค์ประทานความช่วยเหลือแก่ทุกคนอย่าง ยุติธรรมที่สุดไม่ว่าจะด้วยวิถีทางใดๆ ก็ตาม เพื่อให้เขาได้เข้าใจความจริงของชีวิต ได้ มีโอกาสสำ�นึกถึงบุญบาปของตน ได้มีโอกาสเลือกทางชีวิตของตน ดังนั้น ไม่จำ�เป็น ต้องให้คนตายกลับมาบอกแก่เราว่าควรจะต้องปฏิบตั ิตนอย่างไรเพือ่ จะได้ชีวติ นิรนั ดร อย่างที่เศรษฐีอยากจะทำ� - ผู้สอนให้ดูภาพ “ตายดี/ตายร้าย” แล้วให้ผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า แตกต่างกันอย่างไร? 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระวรสารเรื่องนี้อาจทำ�ให้เรารู้สึกกลัวที่จะต้องเผชิญกับความตายเพราะชะตา กรรมของเศรษฐีที่ต้องถูกทรมานใน “แดนผู้ตาย” แต่เรื่องที่พระเยซูเจ้าสอนนี้ควรจะ
☆
ดูภาพ “ตายดี/ตายร้าย” ท้ายแผน
50
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เป็นอุทาหรณ์แก่เราทีย่ งั มีชวี ติ อยูว่ า่ หากฉันไม่อยากจบชีวติ อย่างเศรษฐีคนนัน้ ฉันจะ ต้องเจริญชีวิตในโลกนี้อย่างไร? - จากเรื่องเล่า “ฉันคือใคร” เราคงได้ข้อคิดว่า จริงๆ แล้วพระเจ้าทรงต้องการ ให้เราเป็นอะไรในโลกนี้? ก็คือทรงต้องการให้เราเจริญชีวิตอย่างไรนั่นเอง ผู้เรียนได้ ให้ค�ำ ตอบอย่างถูกต้องไหมว่า พระเจ้าทรงต้องการให้เราแต่ละคนเจริญชีวติ เยีย่ ง “บุตร” ของพระองค์ ที่รู้จักแสดงความรักต่อทุกคน ไม่เฉพาะแต่ในวงแคบหรือเฉพาะคนใน บ้านเท่านัน้ แบบทีเ่ ศรษฐีได้ท�ำ ขณะมีชวี ติ อยู่ แต่ตอ้ งรูจ้ กั มองดูคนรอบข้างทัง้ ใกล้และ ไกล เปิดใจรักทุกคนในภาคปฏิบัติไม่ใช่เพียงแต่คำ�พูดเท่านั้น - ผู้สอนเล่าเรื่อง “มีค่าเท่าไร?” ให้ผู้เรียนฟัง เสร็จแล้วลองให้ผู้เรียนสรุปว่า จริงๆ แล้วมูลค่าความซื่อสัตย์ของคนขับแท็กซี่นั้นเป็นเท่าไร? - ผู้สอนอาจจะสรุปท้ายทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อมนุษย์ตายเขาจะได้รับ การพิพากษาจากพระเจ้าถึงการกระทำ�ทุกอย่างของตน หากทำ�ดีจะได้ไปสวรรค์ ทำ�ชัว่ และปฏิเสธพระเจ้าจะได้ไปนรก ส่วนผูต้ ายในบาปแต่ไม่ได้ปฏิเสธพระเจ้าจะต้องไปไฟ ชำ�ระจนกระทั่งวิญญาณถูกชำ�ระให้บริสุทธิ์จึงจะได้ไปสวรรค์ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ฉันรู้เท่าไร?” เพื่อสรุปเนื้อหาในรูปแบบของ Mind Mapping (หรืออาจให้เป็นการบ้านก็ได้)
☆
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง “มีค่า เท่าไร?” ท้ายแผน
☆
ใบงานเรื่อง “ฉันรู้เท่าไร?” ท้ายแผน
6 หาข้อปฏิบัติ กระทำ�แต่ละสิ่งโดยคำ�นึงถึงผลที่จะมีต่อชีวิตนิรันดร 7 ภาวนาปิด ให้ตัวแทนผู้เรียนหนึ่งคนนำ�สวดภาวนาแบบจากใจ หรือจะสวด “บทแสดง ความรัก” พร้อมกันก็ได้ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................
51
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง “ฉันคือใคร?” สตรีคนหนึ่ง ป่วยหนักมาก นางฝันว่านางอยู่เฉพาะ พระพักตร์พระเจ้า พระองค์ตรัสถามนางว่า “เจ้าเป็นใครและทำ� อะไรขณะยังมีชวี ติ อยูใ่ นโลก?” นางตอบว่า “เป็นภรรยารัฐมนตรี” พระองค์ตรัสถามนางอีกว่า “เจ้าเป็นใครและทำ�อะไรขณะยังมีชวี ติ อยู่ในโลก?” นางตอบว่า “ดิฉันมีลูกอยู่ 3 คน” พระองค์ตรัสถาม นางอีกว่า “เจ้าเป็นใครและทำ�อะไรขณะยังมีชวี ติ อยูใ่ นโลก?” นาง ตอบว่า “ดิฉันเป็นครู” พระองค์ตรัสถามนางอีกว่า “เจ้าเป็นใคร และทำ�อะไรขณะยังมีชีวิตอยู่ในโลก?” นางร่ำ�ไห้และไม่มีคำ�ตอบ ใดๆ อีก พระองค์ตรัสบอกนางว่า “ลูกรัก จงกลับไป และค้นหา คำ�ตอบให้ได้ว่า ลูกเป็นใครและทำ�อะไรขณะยังมีชีวิตอยู่ในโลก มิใช่อยู่ในตำ�แหน่งอะไร? ประกอบอาชีพอะไร? แต่แก่นแท้ที่เป็น คือ ลูกเป็นใคร และทำ�อะไรเมื่อยังมีชีวิตอยู่?”
ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง “มีค่าเท่าไร?” คนขั บ รถแท็ ก ซี่ ค นหนึ่ ง เก็ บ กระเป๋ า สตางค์ ข อง ผู้โดยสารได้ ด้วยความที่เป็นคนซื่อสัตย์ จึงออกตามหา เจ้าของกระเป๋าและพบเจ้าของกระเป๋าที่โรงแรมแห่งหนึ่ง เจ้าของกระเป๋าเป็นผู้จัดการบริษัทแห่งหนึ่ง เขาดีใจมาก เพราะในกระเป๋ามีเอกสารสำ�คัญต่างๆ มากมาย มีทรัพย์สนิ มูลค่าหลายล้าน จึงคิดจะตอบแทนน้ำ�ใจดีของคนขับรถ แท็กซี่ แต่คนขับรถแท็กซี่กลับตอบว่า “ไม่เป็นไรครับ ผม ไม่ต้องการค่าตอบแทน ผมดีใจที่ได้ทำ�อย่างนี้ครับ แต่ผม อยากทราบว่าของในกระเป๋านีม้ มี ลู ค่าเท่าไรครับ” ผูจ้ ดั การ ก็งงมากว่าคนขับรถแท็กซีอ่ ยากรูไ้ ปทำ�ไมในเมือ่ ไม่ตอ้ งการ รั บ เงิ น ตอบแทน เขาตอบว่ า “แค่ ผ มอยากทราบว่ า ความซื่อสัตย์ครั้งนี้ของผมมีมูลค่าเท่าไรครับ”
52
ใบงาน “ฉันรู้เท่าไร?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียน (เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อย) นำ�คำ�ที่กำ�หนดให้ใส่ในช่องว่างให้ตรงกับเรื่องที่ ได้ฟังทั้ง 3 เรื่อง ในรูปแบบของ Mind Mapping ตำ�แหน่ง / งานเลี้ยง / ประกาศก / มูลค่า / เสื้อผ้าราคาแพง / ฝัน / สุนัข / คนซื่อสัตย์ / อับราฮัม / ภรรยารัฐมนตรี / ทรัพย์สินหลายล้าน / เปลวไฟ / กระเป๋าสตางค์ / แดนผู้ตาย / ผู้จัดการบริษัท / เศษอาหาร / อาชีพครู / เศรษฐี / มีลูก 3 คน / น้ำ�
สตรีป่วยหนัก
คนขับแท็กซี่
ลาซารัส
53
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง อิสราแอลชนชาติเลือกสรรของพระเจ้า (อับราฮัม)
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่าพระเจ้าทรงเลือกสรรชนชาติอิสราแอลให้เป็นประชากรของ พระองค์ในพันธสัญญาเดิม พระผู้ไถ่บาปมนุษย์จะเกิดมาจากชนชาติอิสราแอลนี้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าที่ทรงเลือกตนให้เข้าอยู่ในพระศาสนจักร สาระการเรียนรู ้ แม้มนุษย์จะได้ท�ำ บาปและปฏิเสธพระเจ้า พระองค์กย็ งั ทรงรักมนุษย์เสมอ จึงได้ทรงเลือกชนชาติอสิ ราแอล ให้เป็นประชากรของพระองค์ อาศัยชาวอิสราแอลนีพ้ ระองค์ได้ทรงส่งพระผูไ้ ถ่ลงมาไถ่มนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปและความตาย นิรันดร เพื่อให้แผนการแห่งความรอดของพระองค์สำ�เร็จไป ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนดูภาพ “พระสันตะปาปาฟรังซิส” แล้วถามว่าเป็นภาพของใคร? บุคคลนี้มีความสำ�คัญอย่างไรต่อคริสตชนและพระศาสนจักร? ผู้สอนอาจช่วยผู้เรียน ตอบคำ � ถาม โดยเน้ น ว่ า พระสั น ตะปาปาคื อ ผู้ ที่ พ ระเจ้ า ทรงเลื อ กให้ เ ป็ น หั ว หน้ า พระศาสนจักร “ประชากรของพระเจ้า” ในยุคพันธสัญญาใหม่นี้ - จากนั้น ให้ผู้เรียนดูภาพ “อับราฮัม” โดยให้ผู้เรียนเดาว่านั่นเป็นภาพของใคร? บุคคลในภาพนั้นเป็นใครบ้าง? หากผู้เรียนเดาไม่ได้ผู้สอนสามารถเฉลยให้เลยว่า นั่น คือภาพของ “อับราฮัม”
☆
ภาพ “พระสันตะปาปา ฟรังซิส” ท้ายแผน
☆
ภาพ “อับราฮัม” ท้ายแผน
☆
ดูซีดี เรื่องการเรียกอับราม
- จากนั้น ให้เสวนากับผู้เรียนถึงอับราฮัมว่า บุคคลนี้เป็นใคร? สำ�คัญอย่างไร? (อับราฮัมคือบุรษุ ทีพ่ ระเจ้าทรงเรียกและเลือกให้เป็นต้นตระกูลของประชากรทีพ่ ระเจ้า ทรงเลือกสรรคือ ชาวอิสราแอล) - พระเจ้าทรงเรียกอับราฮัมอย่างไร? ทรงสัญญาจะประทานอะไรแก่ท่าน? ให้เรา มาดูคำ�ตอบจากพระคัมภีร์ ในหนังสือปฐมกาล 3 พระวาจา - เรื่องพระเจ้าทรงเรียกอับราม ปฐก 12:1-4, 7 พระยาห์เวห์ตรัสแก่อับรามว่า “จงออกจากแผ่นดินของท่าน จากญาติพี่น้อง จากบ้านของบิดา ไปยังแผ่นดินที่เราจะชี้ให้ท่าน เราจะทำ�ให้ท่านเป็นชนชาติใหญ่ จะ อวยพรท่าน จะทำ�ให้ทา่ นมีชอื่ เสียงเลือ่ งลือ ท่านจะนำ�พระพรมาให้ผอู้ นื่ เราจะอวยพร ผู้ที่อวยพรท่าน เราจะสาปแช่งผู้ที่สาปแช่งท่าน บรรดาเผ่าพันธุ์ทั้งสิ้นทั่วแผ่นดิน จะได้ รับพรเพราะท่าน” อับรามจึงออกเดินทางตามที่พระยาห์เวห์ตรัส โลทไปกับเขาด้วย
54
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
อับรามมีอายุเจ็ดสิบห้าปีเมื่อเขาออกจากฮาราน…พระยาห์เวห์ทรงสำ�แดงพระองค์แก่ อับรามตรัสกับเขาว่า “เราจะให้แผ่นดินนี้แก่ลูกหลานของท่าน” อับรามจึงสร้าง พระแท่นบูชาที่นั่นถวายแด่พระยาห์เวห์ผู้สำ�แดงพระองค์แก่เขา 4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่อับรามอยู่ที่เมืองฮารานนั้น พระเจ้าได้ทรงเรียกท่าน ให้ออกจากบ้าน เกิดเมืองนอนเดิมไปยังแผ่นดินคานาอันซึง่ เป็นแผ่นดินทีอ่ ดุ มสมบูรณ์มากเพือ่ ให้ทา่ น ได้เป็นต้นตระกูลของชนชาติยิ่งใหญ่ที่ทรงเลือกสรร เพราะพระผู้ไถ่จะทรงบังเกิดมา จากชนชาตินี้ (อาจให้ดูแผนที่ประกอบ)
☆
แผนที่แผ่นดินคานาอัน ท้ายแผน
☆
เล่นเกม “เก้าอี้ดนตรี”
- ขณะที่ได้ทำ�พันธสัญญากัน พระเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่ออับราม ซึ่งหมายความ ว่า “บิดาผูเ้ ป็นทีย่ กย่อง” ให้เป็น “อับราฮัม” ซึง่ หมายความว่าเป็น “บิดาของมวลชน” เมื่อท่านอายุได้ 99 ปี เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป พระเจ้าจะทรงเป็น พระเจ้าของท่านและท่านก็เป็นกรรมสิทธิข์ องพระเจ้าด้วย พระองค์จะประทานดินแดน อุดมสมบูรณ์แก่ท่าน รวมทั้งลูกหลานอีกมากมายจนกลายเป็นชนชาติใหญ่โต และ พระองค์จะเป็นพระเจ้าของพวกเขา - อับราฮัมได้เชื่อในพระเจ้า แม้ว่าขณะนั้นท่านไม่มีบุตร เพราะทั้งท่านและ ภรรยาก็แก่ชรามากแล้ว แต่ท่านได้ทำ�ตามที่พระเจ้าตรัสทุกประการ ต่อมาภายหลัง ท่านก็ได้มีบุตรชื่อว่าอิสอัคและอิชมาเอล และท่านได้มีทรัพย์สมบัติมากมาย - อับราฮัมได้นบนอบเชื่อฟังพระเจ้าเยี่ยงวีรบุรุษ ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็น “บิดา แห่งความเชื่อ” และได้รับการอวยพรให้เป็นต้นตระกูลของชนชาติที่จะให้บังเกิดแก่ พระผู้ไถ่ ผู้ซึ่งจะมาไถ่บาปมนุษย์ตามพระสัญญาของพระเจ้าที่ทรงให้ไว้แก่มนุษย์หลัง จากที่อาดัมและเอวาทำ�บาปกำ�เนิด 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนเล่นเกม “เก้าอี้ดนตรี” โดยค่อยๆ คัดผู้เล่นที่แพ้ออกไปทีละ 1 หรือ 2 คน โดยสมมติว่าคนที่แพ้ต้องตกไปอยู่ในนรก ให้เหลือคนชนะประมาณ 5 คน ให้ ผู้สอนเน้นความหมายของเกมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาว่า การต้องออกไปอยู่ข้างนอก เหมือนกับต้องออกไปนอกกลุ่มหรือนอกพระศาสนจักร หากประพฤติตัวไม่ดีก็อาจจะ ต้องตกนรก ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่ากลัว - เรื่องราวของอับราฮัมและการเริ่มประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราแอลนั้น ทำ�ให้ เราเข้าใจถึงความรักอันยิง่ ใหญ่ของพระเจ้าทีม่ ตี อ่ ชนชาตินแี้ ละมวลมนุษยชาติ พระองค์ ไม่ทรงยอมตัดสายสัมพันธ์รกั กับมนุษย์ แม้เมือ่ มนุษย์จะทำ�ให้พระองค์ทรงเคืองพระทัย มากเท่าใดก็ตาม พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งแต่กลับช่วยเหลือด้วยพระทัยเมตตากรุณา - หากคนอื่นทำ�กับเราแบบนี้บ้าง เราจะยังคงรักเขาอยู่หรือไม่ ทุกวันนี้ไม่ใช่ อาดัมและเอวาอีกต่อไปทีท่ �ำ บาป แต่กลับเป็นเราแต่ละคนต่างหากทีท่ �ำ ให้พระเจ้าทรง เคืองพระทัยเพราะบาปต่างๆ พระองค์ก็ยังไม่ทรงทอดทิ้งเรา แต่ได้ทรงให้พระบุตร พระเยซูคริสตเจ้ามาไถ่เราให้รอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร
55
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- ดังที่พระเจ้าทรงกระทำ�กับชนชาติอิสราแอลในประวัติศาสตร์ พระองค์ก็ทรง กระทำ�กับเราแต่ละคนในทุกวันนี้ด้วยเช่นกัน ทรงพระทัยดีเรียกเราให้เข้ามาอยู่ใน พระศาสนจักรของพระองค์ ทรงดูแลเราด้วยบุคคลต่างๆ ให้เราได้เรียนรู้จักพระองค์ ทางคำ�สอน ด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์ พิธีมิสซาฯ ฯลฯ - ที่สำ�คัญที่สุดคือ พระองค์ทรงให้เราได้รับการไถ่ให้รอดพ้นจากบาป และได้ สิทธิไ์ ปสวรรค์ ดังนัน้ เราจึงต้องสำ�นึกในพระเมตตากรุณาของพระเจ้า และขอบพระคุณ พระองค์ด้วยใจที่รู้คุณเสมอ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าที่ทรงเลือกตนให้เข้าอยู่ในพระศาสนจักร 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้สอนเตรียมตัวแทนผู้เรียนบางคนให้นำ�สวดภาวนาจากใจ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ เรียน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
56
ภาพ “พระสันตะปาปาฟรังซิส”
ภาพ “อับราฮัม”
แผนที่แผ่นดินคานาอัน
57
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง โมเสส
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเจ้าทรงเรียกโมเสสให้ชว่ ยกูช้ าวอิสราแอลให้เป็นอิสระจาก สภาพแห่งความทุกข์ทรมานในประเทศอียิปต์ เพื่อมาทำ�พันธสัญญากับพระองค์ที่ภูเขา ซีนาย - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา สาระการเรียนรู ้ ชนชาติอิสราแอลต้องอพยพไปอยู่ในประเทศอียิปต์ในสมัยของโยเซฟเพราะความกันดารอาหาร แต่ชาว อิสราแอลเติบโตอย่างรวดเร็วทำ�ให้กษัตริย์อียิปต์กลัวว่า ชาวอิสราแอลจะเข้มแข็งกว่าตน จึงได้กดขี่ข่มเหงชาวอิสราแอลเยี่ยง ทาส พระเจ้าจึงได้สง่ โมเสสไปช่วยชาวอิสราแอลให้เป็นอิสระจากชาวอียปิ ต์ และได้ท�ำ พันธสัญญากับชาวอิสราแอลทีภ่ เู ขาซีนาย ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนดูภาพ “ช่วยชีวิต” สุนัข แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันวิจารณ์ว่า หาก เด็กชายสองคนนั้นไม่ทำ�แบบนั้น สุนัขจะเอาชีวิตรอดได้หรือไม่? อย่างไร? หากเป็น เราจะทำ�แบบนั้นไหม? เพราะอะไร?
ภาพ “ช่วยชีวิต” สุนัขจาก คลองชลประทาน ท้ายแผน
☆
- หากมีผู้เรียนคนใดเลี้ยงสัตว์ เช่น แมว สุนัข ฯลฯ ที่คนอื่นให้หรือซื้อมาเอง เขารู้สึกอย่างไรต่อสัตว์ของตน? เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัตว์นั้นป่วย หรือถูกคนอื่นรังแก เขาดูแลเลี้ยงมันอย่างไร? แน่นอน เราคงจะเลี้ยงดูมันอย่างดี ดูแลอย่างเต็มที่เมื่อมัน ป่วย คงจะไม่พอใจคนที่มารังแกสัตว์ของเรา ฯลฯ - นี่คือความรู้สึกที่คนส่วนใหญ่มีต่อสัตว์เลี้ยง ซึ่งแม้มันเป็นเพียงแค่สัตว์ แต่ เจ้าของบางคนผูกพันกับมันมากเพราะรู้สึกว่ารักมันมากนั่นเอง หากสัตว์นั้นต้องตาย ไป หลายคนถึงกับเสียน้ำ�ตาร้องไห้เพราะมันเลยทีเดียว - แต่ความรู้สึกนี้คงเทียบไม่ได้หากบุคคลที่เรารู้จักและรักจะต้องพรากจากเรา ไป เพราะเราจะเปรียบเทียบคนกับสัตว์เหล่านั้นไม่ได้เลย - พระเจ้าเองก็ได้ทำ�เช่นนี้กับประชากรของพระองค์เช่นกัน อย่างไร? และกับ ใคร? 3 พระวาจา - พระเจ้าทรงเรียกโมเสส อพย 3:1-4, 7, 9-10 โมเสสเลี้ยงฝูงแพะแกะของเยโธร ผู้เป็นพ่อตาและสมณะแห่งมีเดียน วันหนึ่ง เขาต้อนฝูงแพะแกะข้ามทะเลทรายไปถึงโฮเรบ ภูเขาของพระเจ้า ทูตสวรรค์ของ
. ☆ ดูซีดี เรื่องโมเสส
58
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระยาห์เวห์ มาปรากฏแก่เขาเป็นเปลวไฟลุกอยู่กลางพุ่มไม้ โมเสสมองดูก็เห็นว่าพุ่มไม้ นั้นลุกเป็นไฟ แต่ไม่มอดไหม้ไป จึงคิดว่า “ฉันจะเข้าไปเหตุการณ์แปลกประหลาดนี้ ใกล้ๆ ทำ�ไมพุ่มไม้นั้นไม่มอดไหม้” พระยาห์เวห์ทอดพระเนตรเห็นเขาเข้ามาดูใกล้ๆ จึงตรัสเรียกเขาจากกลางพุ่มไม้ว่า “โมเสส โมเสส” เขาตอบว่า “ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่” พระยาห์เวห์ตรัสว่า “เราสังเกตเห็นความทุกข์ยากของประชากรของเราในอียิปต์ เรา ได้ยินเสียงร้องเพราะความทารุณของนายงาน เรารู้ดีถึงความทุกข์ทรมานของเขา เรา ได้ยนิ เสียงร้องคร่�ำ ครวญของชาวอิสราเอล และเห็นเขาถูกชาวอียปิ ต์ขม่ เหงอย่างทารุณ บัดนี้ เราจะส่งท่านไปเฝ้าพระเจ้าฟาโรห์ เพือ่ นำ�ชาวอิสราเอลประชากรของเราออกจาก อียิปต์
4 อธิบายพระวาจา - เมื่อชนชาติอิสราแอลได้อพยพเข้าไปอยู่ในประเทศอียิปต์สมัยของโยเซฟ เพราะ การกันดารอาหาร พวกเขาได้เพิ่มจำ�นวนขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนทำ�ให้ชาวอียิปต์กลัว ว่า หากชาวอิสราแอลรวมกำ�ลังกันต่อสู้ ชาวอียิปต์จะต้องพ่ายแพ้เพราะชาวอิสราแอล แข็งแรงกว่าและมีกำ�ลังมากกว่า - ชาวอียิปต์จึงหาทางกำ�จัดชาวอิสราแอลด้วยการกดขี่ข่มเหงให้เป็นทาส ฆ่าบุตร ชายหัวปีทุกคนของชาวอิสราแอล แต่โมเสสได้รอดพ้นจากการฆ่านั้น และได้เติบโต อย่างดีในพระราชวังของกษัตริย์ฟาโรห์ - พระเจ้าได้ทรงเรียกโมเสสให้เป็นผู้นำ�ประชากรของพระองค์ออกจากประเทศ อียปิ ต์ เพือ่ ช่วยพวกเขาให้พน้ จากสภาพทาสทีท่ กุ ข์ทรมานแสนสาหัส ไปสูแ่ ผ่นดินแห่ง พันธสัญญา ที่ซึ่งพระองค์จะทรงทำ�พันธสัญญากับพวกเขาบนภูเขาซีนาย - ทำ�ไมพระเจ้าจึงทรงต้องทำ�สิง่ นี?้ เพราะพระองค์ทรงสงสารประชากรของพระองค์ พวกเขาต้องรับความทุกข์ทรมานเพราะถูกกดขี่ข่มเหงเนื่องจากเป็นทาส พระองค์ทรง ได้ยินเสียงร้องแห่งความทุกข์ของพวกเขา ทรงเมตตาสงสาร จึงทรงเรียกโมเสสให้มี กระแสเรียกพิเศษนี้ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากประสบการณ์เรื่องการช่วยสัตว์ข้างต้นทำ�ให้เราเห็นว่า หลายครั้งเราสงสาร สัตว์ แต่อกี บางครัง้ กลับกลายเป็นว่าเราอาจไม่ได้สงสารคนรอบข้างเท่าทีค่ วรและละเลย ในการช่วยเหลือเขา - แต่พระเจ้ามิได้ทรงเป็นเช่นนั้น พระองค์มิได้ทรงนิ่งเฉยแต่ทรงฟังคำ�ร้องทุกข์ ของประชากรอิสราแอล จึงทรงส่งโมเสสมาช่วยพวกเขา แม้เราจะเห็นต่อจากเหตุการณ์ นี้ว่ากษัตริย์ฟาโรห์นั้นใจแข็งกระด้างไม่ยอมปล่อยให้ชาวอิสราแอลเป็นอิสระ จนต้อง เกิดภัยพิบัติอย่างมหันต์ต่อชาวอียิปต์ - เรายังสามารถคิดอีกมุมหนึ่งได้ก็คือ หากกษัตริย์ฟาโรห์และชาวอียิปต์เห็นว่า ชาวอิสราแอลเป็นพี่น้อง มีความเห็นอกเห็นใจ ไม่ทำ�กับพวกเขาเยี่ยงทาสเช่นนั้น ภัยพิบตั ทิ งั้ ปวงก็อาจจะไม่ตอ้ งเกิดขึน้ แต่ตรงข้ามชาวอิสราแอลต้องถูกกระทำ�เยีย่ งทาส ไม่ต่างจากสัตว์ ด้วยการกดขี่ข่มเหงต่างๆ นานา
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
59
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ในชีวิตของเราแต่ละคน เราทำ�กับคนรอบข้างเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ หรือทำ� เช่นเดียวกับพระเจ้า? เรามีท่าทีกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบคนอื่น หรือมีใจเมตตา กรุณาต่อเขา เราเห็นเขาเป็นพี่น้องที่ต้องรักหรือเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ บางอย่างของเราเท่านั้น? - ให้ผู้เรียนลองไตร่ตรองดูตนเองว่า เราเคยถูกคนอื่นข่มเหงหรือเอาเปรียบบ้าง ไหม? ในเรื่องอะไร? แล้วเรารู้สึกอย่างไร? ในทางตรงข้าม เราเคยเอาเปรียบใครด้วย เรื่องอะไรบ้างไหม? เพราะเหตุใดจึงทำ�เช่นนั้น? เราควรจะรู้สึกอย่างไรกับการกระทำ� เช่นนี้ของตน? - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานเรื่อง “ทำ�อย่างงี้ดีไหม?”
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ใบงาน “ทำ�อย่างงี้ดีไหม?” ท้ายแผน
6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเมตตากรุณา 7 ภาวนาปิดท้าย ให้สวดภาวนา “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพ
“ช่วยชีวิต” สุนัข
60
ใบงาน “ทำ�อย่างงี้ดีไหม?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนใส่คำ�ตอบตามความเป็นจริงในช่องด้านขวามือ
ที่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12.
หากเขา... เหยียบเท้าของฉัน... ทำ�หน้าบึ้งใส่ฉัน... ว่าหรือด่าฉัน... แย่งขนมของฉันไป... ไม่ยอมให้ฉันลอกการบ้าน... มาเตะหรือต่อยฉัน... หากฉัน... เหยียบเท้าของเพื่อน... ทำ�หน้าบึ้งใส่เพื่อน... ว่าหรือด่าเพื่อน... แย่งขนมของเพื่อน... ไม่ยอมช่วยเพื่อนทำ�การบ้าน... ไปเตะหรือต่อยเพื่อน...
ฉันจะ...
ฉันจะ...
61
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง กษัตริย์ดาวิด
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงเลือกดาวิดให้เป็นกษัตริย์คนที่สองของชาว อิสราแอล และพระผู้ไถ่บาปมนุษย์จะเกิดมาจากตระกูลของดาวิดนี้เอง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติตนด้วยท่าทีสุภาพอ่อนน้อม จริงใจต่อทุกคน สาระการเรียนรู ้ เมือ่ ชาวอิสราแอลทวีมากขึน้ และเข้มแข็งแล้ว พวกเขาได้วอนขอกษัตริยจ์ ากพระเจ้า พระเจ้าจึงได้ทรงเลือก ดาวิดให้เป็นกษัตริยค์ นทีส่ องต่อจากซาอูล พระผูไ้ ถ่ทชี่ าวอิสราแอลรอคอยจะเกิดมาจากพงศ์พนั ธ์ของกษัตริยด์ าวิดนีเ้ อง พระเจ้า ทรงมองคนจากภายในใจมิใช่จากภายนอกเท่านั้น พระองค์จึงได้ทรงเลือกดาวิดให้เป็นกษัตริย์ แม้ว่าท่านจะมิได้มีลักษณะ ภายนอกโดดเด่นเท่ากับบรรดาพี่ๆ ก็ตาม ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่าเรื่อง “ลูกฉัน” ให้ผู้เรียนฟัง - เมื่อเล่าจบแล้ว ผู้สอนอาจป้อนคำ �ถามว่า ทำ�ไมเรื่องเล่านี้จึงจบลงด้วยคำ � ชมเชยของอาจารย์ต่อเด็กคนที่สาม? เด็กคนที่ 1 และ 2 เขาทำ�ดีด้วยหรือไม่? อะไรคือ บทสอนของเรื่องเล่านี้? - เรื่องเล่านี้สะท้อนกระแสของสังคมปัจจุบันอย่างไร? หากมีแต่คนแบบเด็กคนที่ 1 และ ที่ 2 สังคมเราจะเป็นอย่างไร? หรือถ้าสังคมมีคนแบบเด็กคนที่ 3 จะมี ความแตกต่างกันอย่างไร? ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระเต็มที่ เพราะจะเป็นโอกาสให้ผู้สอนได้รู้จักทัศนคติของผู้เรียนได้อย่างดี - นี่คือความคิดของคนปัจจุบันและของเราแต่ละคน แต่สำ�หรับพระเป็นเจ้าแล้ว พระองค์ทรงคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? (ปล่อยประเด็นเปิดไว้) ให้มาดูเหตุการณ์ของ บุคคลสำ�คัญท่านหนึ่ง คือ ดาวิด 3 พระวาจา - เรื่องดาวิดได้รับการเจิมเป็นกษัตริย์ 1 ซมอ 16:1, 4-13 พระยาห์เวห์ตรัสแก่ซามูเอลว่า ‘ท่านจะเป็นทุกข์ใจถึงซาอูลต่อไปอีกนานเท่าใด เล่า บัดนี้เราละทิ้งเขาไม่ยอมให้เป็นกษัตริย์ปกครองอิสราเอลอีกแล้ว? จงเอาน้ำ�มัน มะกอกบรรจุใส่ขวดเขาสัตว์จนเต็ม และออกเดินทาง เราส่งท่านไปที่เมืองเบธเลเฮม ไปหาเจสซี เพราะเราเลื อ กบุ ต รคนหนึ่ ง ของเขาเป็ น กษั ต ริ ย์ ’ ‘ซามู เอลก็ ทำ � ตาม พระบัญชาของพระยาห์เวห์ เขาไปทีเ่ มืองเบธเลเฮม บรรดาผูอ้ าวุโสของเมืองออกมาพบ
ดูใบความรู้ที่ 1 เรื่อง “ลูกฉัน” ท้ายแผน
☆
☆
ดูซีดี เรื่องดาวิด
62
ที่
4
กระบวนการจัดการเรียนรู้ เขาด้วยความหวาดกลัว ถามว่า ‘ท่านผู้ทำ�นาย ท่านมาดีหรือ?’ ซามูเอลตอบว่า ‘ข้าพเจ้ามาดี ข้าพเจ้ามาเพือ่ ถวายเครือ่ งบูชาแด่พระยาห์เวห์ ท่านทัง้ หลายจงชำ�ระตน ให้บริสุทธิ์ แล้วมาร่วมถวายบูชากับข้าพเจ้าเถิด’ ซามูเอลให้เจสซี กับบุตรทำ�พิธีชำ�ระ ตน แล้วเชิญให้มาถวายเครื่องบูชา เมื่อเจสซีกับบุตรมาถึง ซามูเอลเห็นเอลีอับก็คิดว่า ‘ผู้ที่อยู่เฉพาะพระพักตร์ พระยาห์เวห์ ผู้นี้คือผู้ที่จะต้องรับเจิม’ แต่พระยาห์เวห์ตรัสกับซามูเอลว่า ‘อย่าสนใจ มองแต่รูปร่างหน้าตา หรือความสูงของเขา เพราะเราไม่เลือกเขา พระยาห์เวห์ไม่ทรง มองอย่างมนุษย์มอง มนุษย์มองแต่รูปร่างภายนอก แต่พระยาห์เวห์ทรงมองจิตใจ’ แล้วเจสซีเรียกอาบีนาดับมาพบซามูเอล ซามูเอลก็ว่า ’พระยาห์เวห์ไม่ทรงเลือกคนนี้ ด้วย’ เจสซีพาชัมมาห์เข้ามา แต่ซามูเอลก็กล่าวว่า ‘พระยาห์เวห์ไม่ทรงเลือกคนนี้เช่น กัน’ เจสซีพาบุตรทั้งเจ็ดคนมาพบซามูเอลทีละคน แต่ซามูเอลกล่าวแก่เจสซีว่า ‘พระยาห์เวห์ไม่ทรงเลือกคนเหล่านี้เลย’ ซามูเอลถามเจสซีว่า ‘บุตรชายของท่านมา หมดแล้วหรือ?’ เจสซีตอบว่า ‘ยังมีคนสุดท้องอีกคนหนึ่ง แต่ขณะนี้เขากำ�ลังเลี้ยงแกะ อยู่’ ซามูเอลสั่งเจสซีว่า ‘จงส่งคนไปตามเขามาเถิด เราจะไม่นั่งรับประทานอาหาร จนกว่าเขาจะมา’ เจสซีจึงส่งคนไปตามมา เด็กหนุ่มนั้นมีผมแดง ดวงตางดงาม และ รูปร่างดี พระยาห์เวห์ตรัสว่า ‘จงลุกขึ้น เจิมเขาเถอะ เป็นคนนี้แหละ! ซามูเอลก็เอา ขวดเขาสัตว์ที่บรรจุน้ำ �มันมะกอกมาเจิมดาวิดต่อหน้าบรรดาพี่ชาย พระจิตของ พระยาห์เวห์ทรงสถิตอยู่กับดาวิด ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ส่วนซามูเอลออกเดินทาง กลับไปที่เมืองรามาห์ อธิบายพระวาจา - หลังจากที่พระเจ้าได้ทรงเลือกซาอูลให้เป็นกษัตริย์คนแรกของชนชาติอิสราแอล แล้ว ซาอูลมิได้ท�ำ ตนให้เหมาะสม พระเจ้าจึงทรงเลือกดาวิดให้เป็นกษัตริยแ์ ทนซาอูล - พระเจ้าจึงทรงส่งประกาศกซามูเอลไปเจิมดาวิดให้เป็นกษัตริย์ แต่ก่อนจะพบ กับดาวิดนัน้ ซามูเอลต้องพบกับบุตรชายทัง้ 7 คนของเจสซี ซึง่ ทุกคนล้วนเป็นบุรษุ รูป งามมากจนท่านตัดสินใจไม่ถูกว่าใครคือผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นกษัตริย์ พระเจ้า ได้ตรัสกับซามูเอลว่า อย่ามองและตัดสินคนเฉพาะจากภายนอก เพราะพระเจ้าทรงดู คนที่จิตใจมากกว่า ทรงดลใจให้ซาอูลเลือกดาวิด แม้ว่าเขาจะยังเป็นเหมือนเด็ก รูปร่างไม่กำ�ยำ�ล่ำ�สันเหมือนพี่ๆ - ดาวิดคือผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรร พระองค์พอพระทัยดาวิดมากกว่าคนอื่นๆ เพราะพระองค์ทรงมองเห็นบุคคลจากความเป็นจริงภายในตัวเขา ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ ภายนอก ซึ่งอาจไม่ตรงกับความจริงภายในก็ได้ เพราะมนุษย์ย่อมมีความเสแสร้ง หลอกลวงอยู่ในตนเอง ไม่มากก็น้อย แต่พระเจ้าทรงเลือกผู้ที่ไม่โอ้อวดตนเอง หยิ่ง ทะนง หรือจองหอง พระองค์พอพระทัยผู้มีใจสุภาพถ่อมตน จริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้ง ทำ� หรือหน้าซื่อใจคด พระองค์ทรงโปรดปรานดาวิดมากจนกระทั่งว่าจะให้พระผู้ไถ่ เกิดมาในตระกูลของท่านเลยทีเดียว
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่ออ่านพระคัมภีร์ตอนนี้เราคงรู้สึกว่า ทำ�ไมพระเจ้าไม่ทรงต้องการให้ซาอูล
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
63
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เป็นกษัตริย์อีกต่อไป และเลือกดาวิดมาแทน แน่นอนว่าพระเจ้าทรงมีเหตุผลที่เหมาะ สมในการทำ�เช่นนัน้ เพราะพระองค์ทรงมองให้ในส่วนลึกของจิตใจนัน่ เอง ส่วนมนุษย์ เราไม่สามารถทำ�เช่นเดียวกับพระองค์ได้เพราะเราไม่ใช่พระเจ้า - ประสบการณ์ของเรามนุษย์เองก็คงจะคล้ายกับพระเจ้าบ้าง เช่น การไม่ชอบ คนที่ไม่ซื่อตรง คนโอ้อวด คนหน้าไหว้หลังหลอก ฯลฯ แต่คนโดยทั่วไปมักชอบผู้มี ความสุภาพถ่อมตน คนซื่อสัตย์ คนจริงใจ คนมีมรรยาท มีเมตตากรุณา ฯลฯ - แน่นอน การเลือกบุคคลคนหนึ่งมาเป็นกษัตริย์ปกครองคนจำ�นวนมาก ย่อม ต้องมีการเลือกให้เหมาะสมที่สุด เพราะสิ่งที่บุคคลนั้น “เป็น” จะมีอิทธิพลและผล กระทบต่อผูอ้ ยูใ่ ต้การปกครองเป็นอย่างมาก เหตุวา่ ผูม้ หี น้าทีป่ กครองควรจะทำ�ให้คนใน บังคับบัญชาอยูอ่ ย่างมีความสุขและสันติ พูดง่ายๆ คือผูป้ กครองต้องเป็นคนดีในระดับ หนึง่ จึงจะสามารถเสียสละตนเองเพือ่ ประโยชน์สขุ ของส่วนรวมได้ มิฉะนัน้ แล้วผูอ้ ยูใ่ น ปกครองคงจะต้องมีความทุกข์ทั่วหน้ากันเพราะความเห็นแก่ตัวของผู้ปกครอง - แต่สำ�หรับเราแล้ว แม้ว่าในวันนี้เรายังเป็นเด็ก เราก็ต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จัก ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี มีท่าทีที่เหมาะสมถูกต้อง รู้จักมีความสุภาพถ่อมตน ฯลฯ เพราะ การเป็นคนดีในวันนี้จะทำ�ให้เราเป็นคนในวันหน้าได้ด้วย ตรงกันข้ามหากเราเป็น คนไม่ดีในวันนี้แล้วในวันหน้าเราจะเป็นคนดีได้ยากแน่นอนเพราะเราจะเคยชินกับ ความไม่ดีนั่นเอง - ผู้ที่ปฏิบตั ิตนเป็นคนดีย่อมมีความสุขมากกว่า เพราะคนส่วนใหญ่มักชอบคนดี และอยากอยู่กับคนดีมากกว่าคนที่เห็นแก่ตัว ซึ่งคอยแต่จะเอารัดเอาเปรียบและกดขี่ ข่มเหงเรา - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “คุณธรรมหรือเปล่า?” เพื่อทบทวนคำ�ที่สำ�คัญ
☆
ใบงาน “คุณธรรมหรือ เปล่า?” ท้ายแผน
6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติตนด้วยท่าทีสุภาพอ่อนน้อม จริงใจต่อทุกคน
7
ภาวนาปิดท้าย เตรียมตัวแทนผู้เรียน 1 คนล่วงหน้าให้นำ�ภาวนาจากใจเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน แล้วให้ทุกคนสวดภาวนาตาม
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
64
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง “ลูกฉัน” อาจารย์คนหนึ่งคุยกับแม่ของนักเรียนสามคน แม่คนแรกเล่าว่า “ลูกของฉันเป็นนัก กายกรรมม้วนตัวได้อย่างคล่องแคล่ว” แม่คนที่สองเล่าว่า “ลูกของฉันร้องเพลงเพราะมาก” แต่ แม่คนที่สามกลับตอบว่า “ลูกของฉันเป็นเด็กธรรมดา ไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไร” เมื่อทั้งสี่ คนเดินไปตามทีต่ า่ งๆ พบเห็นเด็กคนหนึง่ กำ�ลังม้วนตัวโชว์ลลี าอย่างคล่องแคล่ว ยิง่ เห็นคุณแม่เดิน ผ่านยิ่งโชว์การแสดงมากขึ้น ผ่านไปอีกสักระยะหนึ่งพบเด็กคนหนึ่งกำ�ลังร้องเพลง มีเด็กมาล้อม หน้าล้อมหลังฟังกันอย่างมากมาย เขาเหลือบตาเห็นคุณแม่ก็ร้องและโชว์ลีลาประกอบเพลงมาก ยิ่งขึ้น เมื่อเดินต่อไปอีกก็เห็นเด็กกำ�ลังเล่นฟุตบอลที่สนาม และมีเด็กน้อยคนหนึ่งเลิกเล่น วิ่งออก มาจากสนามและกล่าวว่า “สวัสดีครับแม่ แม่มาโรงเรียนหรือครับ แม่ถือของหนักไหม ผมจะช่วย นะครับ” อาจารย์จึงกล่าวว่า “ฉันเพิ่งเห็นลูกที่ดี ก็คือคนที่มาช่วยเธอหิ้วกระเป๋าและทักทายเธอ นี่แหละ”
65
ใบงาน เรื่อง “คุณธรรมหรือเปล่า?” คำ�ชีแ้ จง - ให้แปลความหมายของคำ�ทีก่ �ำ หนดให้เป็นภาษาไทย แล้วใส่ตวั อักษรไทยลงในช่องปริศนาตาม แนวตั้งและแนวนอนให้ถูกต้อง
1
1 2
2
3
3
แนวตั้ง 1. ความสุภาพถ่อมตน 2. ความเมตตากรุณา 3. ความเสียสละ
แนวนอน 1. ความจริงใจ 2. ความหน้าซื่อใจคด 3. การเอารัดเอาเปรียบ
66
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์
เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ : ท่อธารแห่งพระหรรษทาน
- ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า ศีลศักดิส์ ทิ ธิค์ อื เครือ่ งมือทีพ่ ระเจ้าทรงใช้ประทานพระหรรษทาน แก่มนุษย์ ด้วยพระทัยดีของพระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนทำ�สิ่งที่ดีโดยเลือกปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมาะสมกับตน
สาระการเรียนรู ้ เมื่อพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มา พระองค์ได้ประทานพระหรรษทาน คือ “ชีวิตพระ” แก่เขา หลังจากที่ มนุษย์ได้ทำ�บาปแล้ว พระองค์ยังทรงส่งพระบุตรมาไถ่เขาให้พ้นจากบาป และยังทรงประทานพระหรรษทานแก่เขาอย่าง สม่ำ�เสมอต่อไปตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของเขาโดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ดังนั้น ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการจึง เป็นเครื่องมือที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อประทานพระหรรษทานแก่มนุษย์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ต้นไม้ขนาดพอประมาณที่มีกิ่งไม้และใบไม้สดที่ติดกับลำ�ต้นมาให้ ☆ ผู้สอนเตรียมต้นไม้ขนาดพอ ผู้เรียนดู จากนั้นให้เสวนากันว่า กิ่งไม้และใบไม้นั้นมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร? อะไรคือสิ่งที่ ประมาณ ที่มีกิ่งไม้และใบไม้สด ที่ติดอยูก่ ับลำ�ต้นมาล่วงหน้า ทำ�ให้มันมีชีวิตอยู่ได้? (น้ำ�เลี้ยงจากลำ�ต้น) (อาจะเป็นต้นหญ้าก็ได้) - ให้เสวนาต่อไปว่า หากเราหักกิ่งไม้นั้นออกจากลำ�ต้น จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? (กิ่งไม้และใบไม้จะเหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด) จากนั้นผู้สอนอาจหักกิ่งไม้นั้นจริงๆ แล้ววางกิ่งไม้ที่ถูกหักไว้ในที่ที่มองเห็นได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้สังเกตความเปลี่ยนแปลง ตอนท้ายคาบเรียนและในวันต่อไป
- ให้ผู้เรียนลองยกตัวอย่างเหตุการณ์คล้ายคลึงกันนี้อีก เช่น ลูกสุนัข หรือลูกนก เพิ่งเกิดที่ยังต้องคอยให้แม่ดูแลให้อาหาร หากไม่มีแม่สุนัขหรือแม่นกแล้วจะเกิดอะไร ขึ้นแก่ลูกของมัน? ให้ผู้เรียนจินตนาการแล้วแบ่งปันความคิดเห็นแก่กัน - นำ�ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาโดยเกริ่นนำ�ว่า มนุษย์เราก็มีสภาพคล้ายๆ กับต้นไม้ หรือลูกนกเช่นกันอย่างไร? ให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำ�ตอบ 3 พระวาจา - เรื่องเถาองุ่นแท้ (ยน 15:5-7,10) เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ดำ�รงอยู่ในเรา และเราดำ�รงอยู่ ในเขาก็ย่อมเกิดผลมาก เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ทำ�อะไรไม่ได้เลย ถ้าผู้ใดไม่ดำ�รงอยู่ ในเรา ก็จะถูกโยนทิ้งไปข้างนอกเหมือนกิ่งก้าน และจะเหี่ยวแห้งไป ถ้าท่านทั้งหลาย ดำ�รงอยู่ในเรา และวาจาของเราดำ�รงอยู่ในท่าน ท่านอยากได้สิ่งใดก็จงขอเถิด แล้ว
☆
ภาพ “พระเยซูเจ้ากับต้น องุ่น” ท้ายแผน
67
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ท่านจะได้รับ ถ้าท่านปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา ท่านก็จะดำ�รงอยู่ในความรักของเรา เหมือนกับทีเ่ ราปฏิบตั ติ ามบทบัญญัตขิ องพระบิดาของเรา และดำ�รงอยูใ่ นความรักของ พระองค์ 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงชอบใช้ธรรมชาติในการช่วยอธิบายคำ�สอนของพระองค์ เพราะ ทำ�ให้เข้าใจง่ายขึ้น สถานที่ที่พระองค์อยู่นั้นมีต้นองุ่นมากมาย จึงทรงใช้ต้นไม้นี้เพื่อ อธิบายให้เราเข้าใจว่า น้�ำ เลีย้ งของต้นไม้จ�ำ เป็นสำ�หรับชีวติ ของมันฉันใด การอยูต่ ดิ กับ พระองค์ก็จำ�เป็นสำ�หรับเราแต่ละคนฉันนั้น
☆
ภาพ “ต้นองุ่นสวย” ท้ายแผน
- สิ่งนี้หมายความว่า... เนื่องจากพระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์มา ทรงเป็น ผู้ประทานชีวิตแก่เรา ซึ่งชีวิตนั้นมีทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ด้านร่างกายเรา หล่อเลี้ยงชีวิตด้วยการรับประทานอาหาร ส่วนด้านจิตวิญญาณนั้นเรารับชีวิตมาจาก พระเจ้า เสมือนกิ่งก้านใบของต้นไม้ที่มีชีวิตเขียวชอุ่มอยู่ได้เพราะได้รับน้ำ�เลี้ยงจาก ลำ�ต้น ชีวิตจากพระเจ้านี้เองที่เราเรียกว่า “พระหรรษทาน” หรือ “ชีวิตพระ” - พระหรรษทานคือพระพรเหนือธรรมชาติที่พระเจ้าได้ประทานแก่เราตั้งแต่เรา ☆ ผู้สอนเตรียมต้นไม้อีก ได้รับศีลล้างบาป ทำ�ให้เราอยู่ติดกับพระองค์โดยรับ “น้ำ�เลี้ยง” หรือ “ชีวิต” จาก ต้นหนึ่งที่สวยงามเพื่อเปรียบ พระองค์ ทำ�ให้เรามีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เมื่อใดที่เราตัดตัวเองออกจาก “ลำ�ต้น” หรือ เทียบกับต้นไม้ที่ถูกตัดกิ่งก้าน พระเจ้า เมื่อนั้นเราก็จะต้องตายเช่นเดียวกับต้นไม้ ไปแล้ว - พระหรรษทานหรือชีวติ พระทีเ่ ราได้รบั นัน้ ทำ�ให้เรากลายเป็น “บุตรบุญธรรม” ของพระเจ้า เพราะพระหรรษทานนั้นทำ�ให้เราได้รับชีวิตพระจากพระองค์เข้ามาสู่ชีวิต ของเรา 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ทั้งเรื่องต้นองุ่น ต้นไม้ และลูกอ่อนของสัตว์ ล้วนบอกเราถึงความสัมพันธ์ของ ชีวิต กล่าวคือ ชีวิตของต้นองุ่นผ่านไปถึงกิ่งก้านใบได้เพราะได้รับน้ำ�เลี้ยงจากลำ�ต้น ส่วนลูกสัตว์เติบโตมีชวี ติ อยูไ่ ด้เหมือนแม่ของมันเพราะได้รบั การเลีย้ งดูดว้ ยอาหารและ ความรักความอบอุ่นจากแม่ - ชีวิตของฉันก็เช่นเดียวกัน แม้ฝ่ายร่างกายเราเติบโตได้เพราะอาหาร แต่ชีวิต ฝ่ายจิตวิญญาณสำ�คัญยิ่งกว่าฝ่ายร่างกายเสียอีก เพราะชีวิตฝ่ายร่างกายของเรามี การเกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตายไปตามธรรมชาติ แต่ชวี ติ ฝ่ายวิญญาณนัน้ เป็นชีวติ ทีเ่ ราต้อง ให้ความสนใจมากเพราะชีวติ ในโลกหน้าหรือความสุข-ทุกข์ชวั่ นิรนั ดรของวิญญาณของ เราขึ้นอยู่กับการกระทำ�ของเราในโลกนี้ - พระเจ้าทรงพระทัยดีประทานพระหรรษทานของพระองค์แก่เราอย่างมากมาย แล้วตั้งแต่ในศีลล้างบาป และยังทรงประทานให้แก่เราอีกอย่างสม่ำ�เสมอในศีล ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ คือ ศีลมหาสนิทเพื่อเลี้ยงวิญญาณ ศีลอภัยบาปเพื่อแสดงพระเมตตา อภัยบาปแก่เรา ศีลกำ�ลังเพือ่ ให้เรามีพละกำ�ลังในการทำ�ดี ศีลสมรสเพือ่ สร้างครอบครัว ที่ศักดิ์สิทธิ์ ศีลบรรพชาเพื่อให้มีพระสงฆ์ดูแลคริสตชน และศีลเจิมคนไข้เพื่อประทาน
68
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
กำ�ลังฝ่ายวิญญาณในการต่อสู้กับความเจ็บป่วยและตายในศีลในพรของพระ - ดังนั้น ศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประการนี้จึงเป็นดังท่อธารสำ�คัญที่พระเจ้าทรงใช้เพื่อ ประทานพระหรรษทานของพระองค์แก่เราในโอกาสต่างๆ ของชีวิต เพื่อให้เราสามารถ เจริญชีวิตคริสตชนอย่างเข้มแข็งในความเชื่อ แต่เราก็มีหน้าที่จะต้องรักษาวิญญาณของ ตนเองให้ดี ไม่ให้ตกในบาปหรือสิง่ ไม่ดตี า่ งๆ เพราะนัน่ จะทำ�ให้พระหรรษทานหรือชีวติ พระในตัวเราลดน้อยลง ตรงกันข้าม หากเราพยายามทำ�สิ่งที่ดีพระหรรษทานของพระ ในตัวเราจะเพิ่มพูนขึ้นทำ�ให้เราสามารถกลายเป็นกิ่งก้านใบที่เติบโตแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกิ่งที่แข็งแรงสมบูรณ์ ผลิดอกออกผลมากมายให้แก่ทุกคนรอบข้างได้ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ตัวช่วยสำ�คัญ” โดยอาจให้ทำ�ในห้องเรียนก็ได้หากมีเวลา พอ มิฉะนั้นอาจให้ทำ�เป็นการบ้าน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนทำ�สิ่งที่ดีโดยเลือกปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เหมาะสมกับตน
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ใบงาน “ตัวช่วยสำ�คัญ” ท้ายแผน
7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ ประนมมือสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพพระเยซูเจ้ากับต้นองุ่น ภาพต้นองุ่นสวย
69
ใบงาน “ตัวช่วยสำ�คัญ” คำ�ชี้แจง - ให้โยงเส้นความหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์แต่ละประการให้ตรงกับศีลนั้นๆ
ศีลสมรส
●
●
ให้อภัยความผิด
ศีลบรรพชา
●
●
อาหารเลี้ยงวิญญาณ
ศีลเจิมคนไข้
●
●
เป็นบุตรบุญธรรม ของพระเจ้า
ศีลล้างบาป
●
●
สร้างครอบครัว ให้ศักดิ์สิทธิ์
ศีลมหาสนิท
●
●
ให้กำ�ลังในการต่อสู้ กับบาป
ศีลอภัยบาป
●
●
มีกำ�ลังต่อสู้โรคภัย และช่วยให้หายดี
ศีลกำ�ลัง
●
●
มีพระสงฆ์โปรด ศีลศักดิ์สิทธิ์
70
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจถึงความหมายของศีลศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งการเริม่ ชีวติ คริสตชนซึง่ ประกอบ ด้วย ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำ�ลัง - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนประพฤติตนทำ�สิง่ ทีด่ ี โดยเลือกข้อปฏิบตั ขิ อ้ ใดข้อหนึง่ ทีเ่ หมาะสมกับตน สาระการเรียนรู ้ เพื่อให้การกระทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งประสบความสำ�เร็จอย่างดี จำ�เป็นต้องมีการเริ่มต้นที่ดี ชีวิตคริสตชนก็เช่น กัน พระเจ้าทรงประทาน “ตัวช่วย” ที่จำ�เป็นเพื่อเราจะได้เริ่มต้นชีวิตคริสตชนอย่างดี นั่นคือ ศีลศักดิ์สิทธิ์ 3 ประการแห่ง การเริม่ ต้นเป็นคริสตชน ซึง่ ประกอบด้วย ศีลล้างบาป เพือ่ รับการล้างบาปและกลับเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า ศีลมหาสนิท เพื่อหล่อเลี้ยงให้เติบโตด้วยพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า และ ศีลกำ�ลัง ช่วยเสริมกำ�ลังฝ่ายจิตให้เข้มแข็งขึ้น ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - ให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลง “องค์พระเจ้าเป็นความสว่างและเป็นความรอดของ ข้าพเจ้า” เมื่อทุกคนร้องได้แล้วจึงใช้ร้องเป็นบทภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกม “ใครไปถึงก่อน?” - เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ให้ผู้สอนนำ�บันทึกเวลาทั้งหมดมาเปรียบเทียบกัน ให้ผู้เรียน แสดงความเห็นว่า สาเหตุใดทำ�ให้ผลการเล่นแตกต่างกันมากขนาดนัน้ จากนัน้ ให้ถาม ความรู้สึกของผู้เล่น 2 คนแรกว่า การเดินไปให้ถึงเป้าหมายในรอบแรกโดยต้องถูกปิด ตานั้นเป็นอย่างไร? มีความมั่นใจมากแค่ไหน? รู้สึกกลัวบ้างไหม? จากนั้นให้ผู้เล่น คนที่ 1 แบ่งปันว่าเขารู้สึกอย่างไรกับการเดินสู่เป้าหมายโดยมีผู้นำ�ทางที่ตาบอด เหมือนกัน? และสุดท้ายให้ผู้เล่นคนที่ 2 แบ่งปันว่า เขารู้สึกอย่างไรกับการเดินสู่ เป้าหมายที่มีผู้นำ�ทางที่มองเห็นชัดเจน? - หลังจากนั้น ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “จัดกระเป๋า” เพื่อเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่า หาก ต้องเดินทางไกล นอกจากต้องมีผู้นำ�ที่ดีแล้ว ยังจำ�เป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นหากเป็นการเดินทางฝ่ายวิญญาณด้วยแล้ว เรายิ่งจำ�เป็นต้องเตรียมเสบียง และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบถ้วน - ผู้สอนสรุปได้ว่า นี่คือประสบการณ์ของการเล่นและการเตรียมเดินทางแบบที่ ไม่จริง แต่ในชีวิตจริงเรามีเป้าหมายจริงของชีวิตด้วย ซึ่งก็คือความสุขนิรันดรนั่นเอง พระเป็นเจ้าทรงทราบดีว่าการเดินทางชีวิตนี้ จำ�เป็นต้องมีการเตรียมตัวที่ดี มีผู้นำ�ที่ รู้จริงและแม่นยำ� พระองค์ทรงพร้อมที่จะประทานสิ่งจำ�เป็นแก่เราเพื่อเริ่มต้นการเดิน
☆
เกม “ใครไปถึงก่อน?” ท้ายแผน
☆
ใบงาน “จัดกระเป๋า” ท้ายแผน
71
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ทางอันสำ�คัญนี้ แต่ทรงประทานอะไรให้แก่เราบ้าง? ใครคือผู้นำ�ของเรา? ให้เรามา พิจารณาหาคำ�ตอบด้วยกันต่อไป 3 พระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก (ยน 8:12) (หากสามารถปิดห้องให้มืดได้ ให้ปิดไฟ จุดเทียนใหญ่ 1 เล่ม จากนั้นให้อ่าน พระวรสาร แต่ถา้ เป็นห้องทีส่ ว่างก็อาจนำ�ภาพเทียนจุดในความมืดมาให้ผเู้ รียนดู แล้ว ค่อยอ่านพระวรสาร) พระเยซูเจ้าตรัสกับประชาชนอีกว่า “เราเป็นแสงสว่างส่องโลก ผู้ที่ตามเรามา จะไม่เดินในความมืด แต่จะมีแสงสว่างส่องชีวิต” 4 อธิบายพระวาจา - อาศัยพระวาจาตอนสั้นๆ นี้ พระเยซูเจ้าได้ตรัสให้เราเข้าใจอย่างชัดเจนว่า พระองค์มิใช่แสงที่ส่องสว่างเพียงห้องๆ หนึ่ง หรือบ้านหลังหนึ่งเท่านั้น แต่ทรงทำ�ให้ ทัง้ โลกสว่างเจิดจ้าด้วยแสงของพระองค์ เมือ่ มีพระองค์จะไม่มคี วามมืดอีกต่อไป ดังนัน้ เมือ่ มีพระองค์อยูเ่ ราไม่ตอ้ งกลัวทีจ่ ะเดินในความมืด เพราะพระองค์เองคือแสงสว่าง แต่ หากไร้แสงสว่างของพระองค์แล้ว การเดินทางคงจะน่ากลัวมากเพราะเราต้องเดินใน ความมืด อาจเดินตกน้ำ� อาจเหยียบหนามหรือเหยียบงู อาจเดินหลงทาง อาจหลงเชื่อ ผู้นำ�ทางที่ไม่ดี ฯลฯ ทำ�ให้เราอาจไปไม่ถึงปลายทางแห่งสวรรค์ก็ได้ ซึ่งหมายความว่า ต้องพลาดพลั้งไปชั่วนิรันดร - แต่พระบิดาผู้ทรงพระทัยดีไม่ทรงต้องการให้เป็นเช่นนั้น จึงทรงประทาน พระเยซูเจ้าให้เป็นแสงสว่างนำ�ทางแก่เรา มิใช่เพียงเท่านั้น แต่พระองค์ทรงทราบดีว่า เพือ่ เราจะสามารถเดินถึงปลายทางได้อย่างดีนนั้ ยังต้องมีสงิ่ ของต่างๆ ทีจ่ �ำ เป็นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสบียงหรืออุปกรณ์ต่างๆ ก็ตาม เช่น อาหาร แผนที่ เข็มทิศ ยารักษาโรค ฯลฯ.. - “สิ่งของ” ฝ่ายวิญญาณที่พระเจ้าทรงเตรียมให้แก่เราก็คือ ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่ง การเริ่มต้นชีวิตคริสตชน นั่นคือ ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลกำ�ลัง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในการเดินทางฝ่ายกาย ปกติก่อนออกเดินทางไกลๆ (สำ�หรับเด็กๆ) พ่อและ แม่มักจะให้เด็กเข้านอนพักผ่อนตั้งแต่หัวค่ำ� เพื่อจะมีกำ�ลังในการเดินทางในวันต่อไป พอถึงรุง่ เช้าก็ให้อาบน้�ำ แต่งตัวให้เหมาะสมสวยงาม จะเตรียมเสบียงอาหารทีจ่ �ำ เป็นใส่ กระเป๋าให้ หากไปกับทางโรงเรียนก็จะส่งเราไปขึ้นรถ ฝากฝังให้ครูประจำ�ชั้นดูแลเรา อย่างดี ทั้งนี้ เพื่อให้เราเดินทางสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีความสุข - ในชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ เราก็ต้องเดินทางเช่นกัน เพราะปลายทางของเราคือ บ้านแท้ในสวรรค์มิใช่ความสุขในโลกนี้ ทุกวันคือการเดินทาง พระเจ้าทรงทราบดีถึง ความต้องการต่างๆ ฝ่ายจิตใจของเรา จึงทรงเตรียมเสบียงและเตรียมตัวให้เรามี ความพร้อมเพื่อจะเดินทางนี้ - ชีวิตฝ่ายวิญญาณอาจจะมืด เพราะบาปกำ�เนิดทำ�ให้เราพลาดพลั้งทำ�สิ่งไม่ดี
ภาพ “เทียนจุดใน ความมืด” ท้ายแผน
☆
72
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เช่น ดื้อรั้นต่อพ่อแม่ ครู... เกียจคร้านในการเรียนและช่วยเหลือคนอื่น พูดจา หยาบคาย ฯลฯ แต่เมื่อเราได้รับศีลล้างบาป วิญญาณของเราจะสะอาด พระเยซูเจ้า จะทำ�ให้เรากลายเป็น “ลูก” ของพระบิดาเจ้าเสียใหม่ - ชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราต้องกินอาหารและเติบโต มิฉะนั้นจะแคระแกร็นไป พระเจ้าทรงประทานอาหารทิพย์เป็นเสบียงแก่วิญญาณของเรา นั่นคือ ศีลมหาสนิท เพื่อเลี้ยงวิญญาณของเรา - หลายๆ ครั้งชีวิตฝ่ายวิญญาณของเราต้องพบกับการล่อลวงให้ทำ �สิ่งที่ไม่ดี ต่างๆ พระเจ้าทรงประทานพละกำ�ลังที่เข้มแข็งแก่เราโดยทาง ศีลกำ�ลังเพื่อให้เรา สามารถต่อสู้กับการประจญของปีศาจได้ และทำ�ความดีแทนที่จะทำ�ความชั่ว - ทั้งสามประการนี้คือความช่วยเหลือขั้นต้นที่จำ�เป็นซึ่งพระเจ้าทรงประทาน ให้แก่ ผู้เริ่มต้นเป็นคริสตชน - ดังนั้น เราซึ่งได้รับศีลล้างบาปแล้ว กำ�ลังเตรียมตัวที่จะรับศีลมหาสนิทและ ศีลกำ�ลังต่อไป ให้เราประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะรับพระพรมากมายจากพระอาศัย ศีลศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะได้รับนี้ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนประพฤติตนทำ�สิ่งที่ดี โดยเลือกข้อปฏิบัติที่เหมาะสมกับตน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผเู้ รียนร้องเพลง “องค์พระเจ้าเป็นความสว่างและเป็นความรอดของข้าพเจ้า” ด้วยความตั้งใจพร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................
73
เกม “ใครไปถึงก่อน” จุดประสงค์ - เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจว่า การเดินสู่จุดหมายปลายทางอย่างถูกต้องและรวดเร็วนั้น จำ�เป็น ต้องมีผู้นำ�ที่รู้จริงอย่างแม่นยำ� วิธีเล่น 1. ให้กำ�หนดระยะต้นทางและปลายทางที่เหมาะสมในห้องเรียน 2. ให้มีผู้อาสาสมัครเล่น 4 คน ส่วนคนอื่นให้เป็นผู้สังเกต 3. นำ�ผู้เล่นคนที่ 1 และ 2 ไปคอยที่จุดเริ่มต้น ให้เขามองจุดปลายทางไว้ให้ดี จากนั้น ปิดตา ผู้เล่น 2 คนแรกนี้แล้วให้ทั้ง 2 คน เดินแข่งกันไปยังปลายทาง ผู้สอนบันทึกว่าแต่ละคนใช้ เวลาเท่าใด? 4. นำ�ผู้เล่นคนที่ 3 มาอยู่หน้าผู้เล่นคนที่ 1 ให้คนที่ 3 มองจุดปลายทางให้ดี ปิดตาคนที่ 3 แล้ว ให้คนที่ 3 จูงมือคนที่ 1 เดินไปยังจุดปลายทางด้วยกัน ผู้สอนจับเวลาว่าใช้กี่นาที บันทึกไว้ 5. นำ�ผู้เล่นคนที่ 4 มาอยู่หน้าผู้เล่นคนที่ 2 ให้จูงมือคนที่ 2 พาเดินไปยังจุดปลายทางด้วยกัน ผู้สอนจับเวลาว่าใช้กี่นาที แล้วเปรียบเทียบกับคู่แรก แล้วบอกเวลาให้ผู้เรียนทุกคนทราบ
ภาพ “จุดเทียนในความมืด”
74
ใบงาน “จัดกระเป๋า” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนสมมติว่าตนต้องเดินทางไกลเพื่อไปเที่ยวทะเลเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จึงจำ�เป็นต้อง เตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทาง โดยให้แต่ละคนเขียนสิ่งที่จำ�เป็นเพื่อใส่ในกระเป๋า เดินทางของตน
75
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
เรื่อง บท “ข้าแต่พระบิดาฯ”
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า มนุษย์คือสิ่งสร้างที่อยู่ด้วยลำ�พังตนเองไม่ได้ เขาจึงแสดงถึง ความต้องการรับความช่วยเหลือจากพระเจ้าด้วยการภาวนาต่อพระองค์ บทภาวนาที่ดี ที่สุดคือบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดบทข้าแต่พระบิดาฯ ด้วยความตั้งใจและรู้ตัวถึงความหมายของ บทภาวนานี้ สาระการเรียนรู ้ คนเราส่วนใหญ่มักทำ�ประสบการณ์ของขอบเขตจำ�กัดของตน เพราะเขาไม่สามารถทำ�ทุกอย่างให้ประสบ ความสำ�เร็จด้วยลำ�พังกำ�ลังของตนเท่านั้น เขาจึงเรียนรู้ที่จะภาวนาวอนขอจากพระเจ้า แต่ไม่มีผู้ใดรู้ใจพระบิดาเจ้าได้ดีเท่ากับ พระบุตร บท “ข้าแต่พระบิดาฯ” ที่พระบุตรทรงสอนเราจึงเป็นบทภาวนาที่พอพระทัยพระบิดามากที่สุด ในบทภาวนานี้มี การทูลขอเจ็ดครั้ง สามครั้งแรกมุ่งไปที่การถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้า และสี่ครั้งหลังแสดงถึงความต้องการอันจำ�เป็นซึ่ง เราปรารถนาจะได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดบทเพลง “ข้าแต่พระบิดาฯ” ให้ผู้เรียนฝึกร้อง
☆
ซีดีเพลง / เครื่องเล่นซีดี
- เสวนากับผู้เรียนว่ารู้จักบทเพลงหรือบทภาวนานี้ไหม? เป็นบทภาวนาอะไร? รู้ถึงความหมายของบทภาวนาไหม? ให้ผู้เรียนแบ่งปันและเสวนากัน จากนั้นผู้สอน สามารถตั้งคำ�ถามต่อไปว่าใครคือ ผู้แต่งบทภาวนาบทนี้? แต่งขึ้นมาเพื่อสอนใคร? บทภาวนานี้สำ�คัญต่อเราคริสตชนมากน้อยแค่ไหน? - ผู้สอนเก็บข้อมูลทั้งหมดจากผู้เรียน และยังไม่ต้องสรุปคำ�ตอบ เพื่อให้ผู้เรียน สนใจค้นคว้าหาคำ�ตอบต่อไป ซึ่งจะได้จากพระวรสารที่จะอ่านต่อไป 3 พระวาจา - บทข้าแต่พระบิดา (ลก 11:1-4) วันหนึง่ พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยูใ่ นสถานทีแ่ ห่งหนึง่ เมือ่ ทรงอธิษฐาน จบแล้ว ศิษย์คนหนึง่ ทูลพระองค์วา่ “พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือน กับทีย่ อห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด” พระองค์จงึ ตรัสกับเขาว่า “เมือ่ ท่านทัง้ หลายอธิษฐาน ภาวนา จงพูดว่า “ข้าแต่พระบิดา พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง โปรด ประทานอาหารประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า
. ☆ ภาพ “พระเยซูเจ้ากำ�ลังสอน ศิษย์” ท้ายแผน
76
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ทั้งหลาย เหมือนข้าพเจ้าทั้งหลายให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ให้แพ้ การประจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ””
4
อธิบายพระวาจา - ขณะเมื่อพระเยซูเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น บรรดาศิษย์ได้เคยเห็นพระองค์ ภาวนาอยู่บ่อยๆ แต่พวกศิษย์เองก็ไม่เข้าใจว่าพระเยซูเจ้าทรงทำ�อะไร ทรงพูดอะไร ขณะที่สวดภาวนา พวกเขาอยากภาวนาเป็นบ้าง จึงได้ขอให้พระองค์ทรงสอน - เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเห็นว่าพวกศิษย์อยากจะเรียนรู้ที่จะภาวนาด้วยจึงได้สอน “บทข้าแต่พระบิดาฯ” แก่พวกเขา จากนัน้ เป็นต้นมา บทภาวนานีไ้ ด้กลายเป็นบทสวด ของคริสตชนทุกคนในพระศาสนจักรจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเราอาจเรียกว่าเป็น บทภาวนา “คลาสสิก” ก็ได้ เพราะไม่มีภาวนาใดจะดีและอมตะเท่าบทนี้แล้ว เพราะเป็นบทที่ พระอาจารย์ทรงสอนแก่พวกเราเอง - บทข้าแต่พระบิดาฯ มีความหมายโดยสรุปดังนี้ (ผู้สอนอาจอธิบายทีละหัวข้อ และจดลงบนกระดานเพื่อให้ผู้เรียนลอกใส่สมุดด้วยลายมือตนเอง จะทำ�ให้เกิด ความสนใจมากกว่าการแจกเป็นใบงานให้) พระบิดา – พระองค์ไม่ใช่เจ้านายหรือเป็นเจ้าของ แต่เป็น “พ่อ” ฉันรู้สึกเป็น “ลูก” ของพระองค์ ฉันเข้าหาพระองค์ด้วยความเคารพและไว้วางใจ ฉันมั่นใจว่า พระองค์ทรงรักฉัน แม้ในเวลาทีฉ่ นั ไม่สามารถเข้าใจแผนการของพระองค์ หรือรูส้ กึ ว่า ไม่ได้รับความยุติธรรม ในความผิดหวังฉันอาจลืมพระองค์ไปบางเวลา พระองค์ทรง รอคอยให้ฉันกลับมาหาพระองค์ดังบิดาของลูกล้างผลาญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย – พระองค์ไม่ใช่ “พ่อ” ของฉันเพียงคนเดียวหรือของ ครอบครัวของฉันเท่านั้น แต่ของทุกๆ คน ไม่ว่าจะรวยหรือจน ศักดิ์สิทธิ์หรือคนบาป พระองค์ไม่ทรงลำ�เอียงต่อใครทั้งสิ้น เพราะทรงเป็น “พ่อ” ของทุกคน พระองค์สถิตในสวรรค์ – พระองค์ไม่ได้อยู่ในสถานที่ห่างไกล ไปไม่ถึง ไม่มีที่ ใดเลยที่พระองค์ไม่ประทับอยู่ในใต้หล้าและในจักรวาลนี้ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ – เป็นการให้ความเคารพต่อพระองค์ ไม่ใช่ ความน่ากลัว แต่เป็นความน่ารัก ขอให้ความประพฤติของฉันทำ�ให้คนอื่นเคารพ สักการะพระองค์ ขอให้พระนามของพระองค์ไปถึงผู้ที่ยังไม่รู้จักพระองค์ด้วย อาศัย ความรักที่ฉันมีต่อเพื่อนพี่น้องทุกคน พระอาณาจักรจงมาถึง – ขอให้กิจการที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มตั้งแต่การสร้างโลก ได้สำ�เร็จไป ให้พระอาณาจักรของพระองค์มาถึงในจิตใจของมนุษย์ทุกคน พระประสงค์จงสำ�เร็จ – เพราะความรอดพ้นของฉันคือน้ำ�พระทัยของพระองค หลายครัง้ น้�ำ ใจของฉันเองมักพาไปสูค่ วามหายนะเฉพาะอย่างยิง่ ในความทุกข์โศกหรือ ในช่วงที่ยากลำ�บาก โปรดทรงเติมฉันให้เต็มด้วยความไว้วางใจในพระองค์ โปรด ประทานความหวังและความบรรเทาใจ โปรดให้ฉนั จำ�ได้เสมอว่าชีวติ นีส้ นั้ นักและชีวติ นิรันดรนั้นไม่มีวันสิ้นสุด
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
77
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ – เพราะในสวรรค์นั้นมีการปฏิบัติตามน้ำ�พระทัย ของพระองค์อยู่เสมอ ซึ่งเป็นน้ำ�พระทัยแห่งสันติ ความรัก ความยินดีไม่มีสิ้นสุด โปรด ให้ฉันเป็นเครื่องมือแห่งน้ำ�พระทัยของพระองค์ในแผ่นดินนี้ เพื่อว่าเมื่อพระเยซูเจ้าจะ เสด็จมา พระองค์จะยังทรงพบความเชื่อบนแผ่นดิน โปรดประทานอาหารประจำ�วันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้ – มีพี่น้องของเรา มากมายที่ต้องตายด้วยความหิวและกระหาย ขอโปรดให้ฉันได้ออกจากความเห็นแก่ ตัว โปรดสอนฉันให้แบ่งปันสิง่ ทีม่ แี ก่พวกเขาด้วย ให้ฉนั ระลึกเสมอว่านีค่ อื สิง่ ทีฉ่ นั ต้อง ให้การต่อพระองค์ดว้ ย โปรดให้ฉนั เป็นอิสระจากสิง่ ทีไ่ ม่จ�ำ เป็น โปรดประทานสิง่ จำ�เป็น แก่ฉันในการดำ�รงชีวิต เฉพาะอย่างยิ่ง “ปังทรงชีวิต” โปรดให้อีกหลายๆ คนได้พบ และได้รักพระองค์ โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า – โปรดทรงอภัยบาปโทษของฉัน ฉันอยากทำ� ตามพระประสงค์ของพระองค์ แต่หลายครัง้ ก็ออ่ นแอเกินไปและทำ�เคืองพระทัยพระองค์ ตกในบาปครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยความไม่ซื่อสัตย์ ไม่พากเพียรอดทน อย่างไรก็ตามฉัน ก็ไว้วางใจในพระองค์เสมอ โปรดอภัยบาปของลูกอีกเถิด เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น – โปรดทรงสอนฉันให้รู้จักให้อภัยด้วยใจจริง ลืมความเคืองใจต่างๆ ที่ได้รับ เพราะนี่คือสิ่งที่พระเยซูทรงเรียกร้องจากฉัน เพื่อให้ พระองค์ทรงอภัยแก่ฉันได้เต็มที่ โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ – ปราศจากการผจญทุกอย่างคงจะง่ายดาย เกินไป พระองค์ทรงอนุญาตให้มเี พือ่ ฉันจะได้แสดงความรักต่อพระองค์และเพือ่ นมนุษย์ เพราะการเอาชนะเช่นนี้เท่านั้นจะทำ�ให้ฉันเรียกตนเองได้ว่าเป็นลูกของพระองค์และ สมควรได้รับพระพรแห่งความรอดพ้น แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้าย – เมื่อฉันถูกจู่โจมอย่างรุนแรงให้ทำ�บาป หรือตกในการผจญทีจ่ ะต้องเสียวิญญาณ โปรดทรงอย่าปล่อยฉันตกในมือของคนชัว่ ร้าย หรือปีศาจ ให้ฉันสามารถเห็นและเลือกเดินใน “หนทางแคบ” ที่นำ�ไปสู่ความรอด 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในช่วงนี้อาจให้ผู้เรียนเล่มเกม “ต่อคำ�” เพื่อทดสอบดูว่าทุกคนสามารถสวด บทข้าแต่พระบิดาได้อย่างคล่องแคล่วหรือไม่? หากยังมีบางคนที่ยังท่องไม่ได้ควรให้ ผู้เรียนได้ท่องเป็นการบ้านต่อไป - เมื่อเรามีความสัมพันธ์กับพระบิดาดีเช่นนี้แล้ว เราก็ควรขอบพระคุณพระองค์ ทุกๆ วัน และที่สำ�คัญต้องทำ�ตนเป็นลูกที่ดีของพระองค์เสมอ เพราะพระองค์ไม่ทรง ปล่อยให้เราต้องผจญกับโชคชะตาชีวิตด้วยตัวเอง แต่ทรงดูแลเราอย่างใกล้ชิด ดังที่เรา เห็นได้จากบทข้าแต่พระบิดาฯ เพียงแต่หลายๆ ครั้งเราไม่รู้ตัวถึงสิ่งที่พระองค์ “ทรง เป็น” และ “ทรงทำ�” เพื่อเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง - หากเราสำ�นึกดีๆ ถึงความจริงนี้ เราคงจะมีความรักและความกตัญญูรู้คุณต่อ พระเจ้ามากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้ แล้วเราก็จะรู้สึกว่าเราเป็นคนที่โชคดีกว่าใครๆ ที่มี พระเจ้าทรงเป็น “พ่อที่แสนดี” ของเรา
☆
วิธีเล่นท้ายแผน
78
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
6 หาข้อปฏิบัติ ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ ประนมมือแล้วสวดบทข้าแต่พระบิดาฯ พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 7 ภาวนาปิดท้าย 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
ภาพ พระเยซูเจ้าสอนศิษย์
9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
เกม “ต่อคำ�” วิธีเล่น 1. แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ข้างจำ�นวนเท่าๆ กัน 2. ให้ผู้เล่นแต่ละข้างส่งตัวแทนครั้งละ 1 คนไปเริ่มเขียนบทข้าแต่พระบิดาฯ ที่กระดานหน้าชั้น 3. เมือ่ ผู้สอนเป่านกหวีดให้ตัวแทนคู่แรกกลับมา และทั้ง 2 ข้างส่งตัวแทนคู่ที่ 2 ไปเขียนบท ภาวนาต่อ ทำ�เช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเขียนบทภาวนาจบก่อน ฝ่ายนั้นเป็น ฝ่ายชนะ
79
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 1-3
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระบัญญัติคือหนทางเที่ยงแท้ที่นำ�คริสตชนไปสู่เป้าหมาย สุดท้ายของชีวิต คือ ความสุขชั่วนิรันดร - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมมิสซาบูชาขอบพระคุณด้วยความตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ มนุษย์เราเมื่อจะทำ�อะไรมักจะมีเป้าหมายปลายทาง ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามการมุ่งสู่เป้าหมายนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่มักจะพบกับอุปสรรคเสมอไม่มากก็น้อย ทำ�ให้เราเดินถึงเป้าหมายได้ยากและใช้เวลามากขึ้น สำ�หรับคริสตชนทุกคน เป้าหมายสุดท้ายของชีวิตคือความสุขนิรันดร พระเจ้าทรงทราบว่าการบรรลุถึง 10 ประการเป้าหมาย นีไ้ ม่ใช่เรือ่ งง่าย จึงทรงประทาน “ตัวช่วย” วิเศษสุดให้แก่เราคือ พระบัญญัติ ซึง่ จะแสดงให้เรารูจ้ กั หนทางทีจ่ ะนำ�ไปสูเ่ ป้าหมาย ของชีวิตได้อย่างถูกต้อง (ในแผนใหญ่นี้ เราจะแยกออกเป็น 6 แผนย่อย คือแบ่งเป็นพระบัญญัติประการที่ 1-3, 4, 5, 6 และ 9, 7 และ 10, 8 เพื่อให้เหมาะสมแก่เวลา) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนเล่มเกม ‘บันไดงู’ โดยอาจแบ่งผู้เล่นออกเป็น 3 หรือ 4 กลุ่มเพื่อ แข่งกันเดินแต้ม - เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ผู้สอนอาจตั้งข้อสังเกตให้ผู้เรียนพิจารณาว่า ทำ�ไมบางกลุ่ม จึงไปถึงเป้าหมายเร็วกว่ากลุ่มอื่น และทำ�ไมบางกลุ่มจึงถึงเป้าหมายเป็นกลุ่มสุดท้าย? - หากจะเปรียบเทียบกับชีวิตของคนเราก็คล้ายๆ กัน คือ เราจะเห็นว่าบางคน ประสบความสำ�เร็จในชีวติ ได้รวดเร็วและอย่างดี แต่อกี บางคนก็เชือ่ งช้า ทำ�แล้วทำ�อีกก็ ไม่สำ�เร็จสักที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตาม เช่น เรื่องการเรียน การทำ � การบ้าน ทำ�ไมบางคนจึงเสร็จเร็วและถูกต้อง บางคนไม่เคยเสร็จสักที บางคนทำ�ผิดเสมอ ฯลฯ ทุกอย่างเหล่านีค้ งไม่ได้ขน้ึ กับโชคชะตาเท่านัน้ ดังทีบ่ างคนอาจบอกในเกมบันไดงู - ให้ตั้งข้อสังเกตว่า บางครั้งแค่เป้าหมายเล็กๆ สั้นๆ เรายังไปถึงได้ยากหรือไป ไม่ถงึ แต่ท�ำ ไมอีกบางคนเขาดูเหมือนทำ�ได้งา่ ยๆ สิง่ ใดคือความแตกต่าง? อะไรสามารถ ช่วยให้ฉันได้บรรลุเป้าหมายของการทำ�สิ่งต่างๆ ได้อย่างดีและรวดเร็วที่สุด? - แล้วในชีวิตของคนเรามีเป้าหมายอะไรที่จำ�เป็นและสำ�คัญที่สุดบ้าง? ซึ่งถ้าเรา ไปไม่ถงึ หรือพลาดพลัง้ แล้วจะเกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อความสุขชัว่ นิรนั ดรของ เรา? ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้าทรงตรัสถึงเรื่องนี้ว่าอย่างไร?
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
เตรียมเกมบันไดงู
80
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
3
พระวาจา - เรื่องบัญญัติเอก (เทียบ ลก 10:25-28) ขณะนั้น นักกฎหมายคนหนึ่งยืนขึ้นทูลถาม...(พระเยซูเจ้า) ว่า “พระอาจารย์ ☆ ดูแผนภาพพระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าจะต้องทำ�สิง่ ใดเพือ่ จะได้ชวี ติ นิรนั ดร” พระองค์ตรัสถามเขาว่า “ในธรรมบัญญัติ ท่ามกลางบรรดานักกฎหมาย มีเขียนไว้อย่างไร ท่านอ่านว่าอย่างไร” เขาทูลตอบว่า “ท่านจะต้องรักองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ท้ายแผน พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำ�ลัง และสุดสติปญ ั ญาของท่าน ท่านจะต้อง รั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ เ หมื อ นรั ก ตนเอง” พระองค์ ต รั ส กั บ เขาว่ า “ท่ า นตอบถู ก แล้ ว จงทำ�เช่นนี้แล้วจะได้ชีวิต”
4
อธิบายพระวาจา - ธรรมาจารย์ในเรือ่ งนีเ้ ห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงสัง่ สอนประชาชนและบรรดาสาวก อย่างดีมาก จึงอยากจะทดสอบพระองค์โดยการป้อนคำ�ถามที่ยากมากเกี่ยวกับเรื่อง การบรรลุถึงชีวิตนิรันดร พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าจึงทรงรู้ความจริงทุกอย่าง ไม่มี คำ�ถามใดที่พระองค์จะทรงตอบไม่ได้ แต่ในเรื่องนี้พระองค์ทรงย้อนให้ธรรมาจารย์ คนนัน้ เป็นผูต้ อบเอง ซึง่ เป็นการยืนยันไปในตัวว่าพระองค์ทรงทราบดีแล้วว่าพระคัมภีร์ ตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไร? - คำ�ตอบทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงให้แก่ธรรมาจารย์คนนัน้ ไม่ได้เป็นคำ�ตอบด้านปรัชญา หรือเทวศาสตร์ที่ยากและซับซ้อน แต่ทรงให้คำ�ตอบจากพระคัมภีร์ที่เข้าใจได้ง่าย คือ การ “รักองค์พระผู้เป็นเจ้าสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำ�ลัง และสุดสติปัญญา” และ “รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” - นี่คือคำ�ถามและคำ�ตอบที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับมนุษย์ทุกคน เพราะเป็นการชี้แนะ ให้เราได้รู้ถึงเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของเรา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 มิติใหญ่ๆ คือ เกี่ยว กับความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า และความสัมพันธ์กับมนุษย์ - จากคำ�ตอบนี้ ทำ�ให้เราทราบว่านี่คือหนทางที่พระเยซูเจ้าทรงชี้แนะเพื่อ การบรรลุถึงเป้าหมายสุดท้ายของมนุษย์ นั่นคือความสุขนิรันดร ซึ่งก็มีความหมาย แฝงด้วยว่า หากไม่ได้ความสุขนิรันดรก็จะได้ความทุกข์นิรันดรเช่นกัน - ดังนั้นสรุปได้ว่า “การปฏิบัติความรัก” นั้นคือหนทางที่จะนำ�ไปถึงปลายทาง แห่งความสุขของมนุษย์นั่นเอง
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - (ในแผนฯ นี้เราจะเน้นเฉพาะในส่วนแรกของพระวาจานี้เท่านั้น คือการ “รัก องค์พระผู้เป็นเจ้าสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำ�ลัง และสุดสติปัญญา” และในแผนฯ ต่อ ไปเราจะดูส่วนที่สองกันต่อไป) - จากคำ�ตอบของพระเยซูเจ้าในพระวรสารทำ�ให้เราเข้าใจได้ว่า พระบัญญัติแห่ง ความรักคือหนทางที่จะนำ�เราไปสู่ปลายทางแห่งความสุขที่แท้จริงได้ ในการเล่นเกม บันไดงูข้างต้นนั้น ผู้เล่นต้องสะดุดกับอุปสรรคหลายๆ อย่างทำ�ให้ไปถึงเป้าหมายได้ ช้าหรืออาจแพ้คนอืน่ แต่ในชีวติ จริงของเรานัน้ แม้จะมีอปุ สรรคใดๆ เข้ามาในชีวติ แต่ ถ้าเรามี “ตัวช่วย” ทีด่ แี ล้ว เราจะเดินไปข้างหน้าสูเ่ ป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ซึง่ ตัวช่วย นั้นคือพระบัญญัติแห่งความรักนั่นเอง
81
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- พระบัญญัติส่วนแรกเน้นให้เราต้องรักพระเจ้า สุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดกำ�ลัง และสุดสติปัญญา นั่นหมายความว่า ต้องมากกว่าตนเองและสิ่งใดทั้งสิ้น - เราสามารถแสดงความรักต่อพระเจ้าด้วยการปฏิบัติพระบัญญัติ 3 ประการ แรกใน 3 รูปแบบคือ 1. จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าองค์เดียวของท่าน – หมายความว่า เราต้องมีความเชื่อ ความรัก และไว้วางใจใน พระเจ้าแต่องค์เดียว ไม่กราบไหว้พระ อื่นใดทั้งสิ้น ไม่ต้องเชื่อในหมอดู ไสยศาสตร์ ภูตผี ฯลฯ 2. อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ – หมายความว่า เราต้องออก พระนามพระเจ้าด้วยความเคารพเสมอ ไม่กล่าวคำ�หยาบคายต่อพระองค์ ไม่สาบาน โดยอ้างถึงพระเจ้าในสิ่งที่ไม่จริง ไม่สาปแช่งให้ร้ายแก่ใครทั้งสิ้น 3. อย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ – หมายความว่า เราต้องไปวัด ร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณด้วยความศรัทธาในวันอาทิตย์และในวันฉลองสำ�คัญ อีกทั้งไม่ทำ�งานหนักเกินความจำ�เป็นในวันอาทิตย์ เพราะพระเจ้าทรงต้องการให้เรา ได้พกั ผ่อน ทัง้ ทางร่างกายและจิตใจ เพือ่ จะได้มเี วลาให้กบั พระองค์และมีพละกำ�ลังใน การดำ�เนินชีวิตอย่างดีต่อไป - ดังนั้น พระบัญญัติจึงไม่ใช่ “แอกหนัก” อย่างที่ใครบางคนคิด แต่เป็นทางช่วย ให้เราเป็นอิสรภาพจากบาป หากเราสามารถปฏิบัติพระบัญญัติทั้ง 3 ประการนี้อย่าง ดี เราก็จะสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้เพราะเรากำ�ลังเดินอยู่ในหนทาง ที่ถูกต้องซึ่งจะนำ�สู่เป้าหมายแท้ของชีวิต ทำ�ให้เราไม่ต้องถอยหลังตกบันได (เหมือน ในเกม) และอาจต้องพ่ายแพ้ในที่สุด - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ข้อนี้ข้อไหน?” หรืออาจทำ�เป็นการบ้านก็ได้ เพื่อย้ำ�ให้ ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้นถึงการปฏิบัติพระบัญญัติทั้ง 3 ประการ
☆
ใบงาน “ข้อนี้ข้อไหน?” ท้ายแผน
6
หาข้อปฏิบัติ ผูเ้ รียนไปร่วมพิธมี สิ ซาบูชาขอบพระคุณด้วยความตัง้ ใจ (หรือผูส้ อนอาจกำ�หนด ข้อปฏิบัติอื่นที่เหมาะสมตามโอกาสก็ได้)
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้ตั้งใจสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกัน
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
ภาพ พระเยซูเจ้ากับธรรมาจารย์
82
ใบงานเรื่อง “ข้อนี้ข้อไหน?” คำ�ชี้แจง - ให้โยงเส้นข้อปฏิบัติทางขวามือให้ตรงกับความหมายของข้อพระบัญญัติด้านซ้ายมือ รักพระเจ้า ● ซื่อสัตย์ต่อคำ�สัญญาที่ให้กับพระเจ้า ● ไปร่วมมิสซาฯ ทุกวันอาทิตย์และวันฉลองสำ�คัญ ● กราบไหว้พระเจ้าแต่ผู้เดียว ● ไม่สาปแช่งพระเจ้า คน หรือสิ่งของใดๆ ● ไม่ทำ�งานหนักในวันอาทิตย์ หากไม่จำ�เป็นจริงๆ ● ไม่ด่าว่าหรือพูดจาหยาบคายถึงพระเจ้า ● เชื่อในพระเจ้า ● ไม่สาบานเท็จโดยอ้างพระเป็นเจ้า ● พักผ่อนร่างกายและจิตใจ ● ไม่ดูหมอดู ไม่เชื่อหมอผี ● สวดภาวนามากกว่าวันอื่นๆ ● ไว้ใจในพระเจ้า ●
พระบัญญัติประการที่ 1
●
พระบัญญัติประการที่ 2
●
พระบัญญัติประการที่ 3
●
83
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 4
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของพระบัญญัติประการที่ 4 ว่า ต้องให้ความเคารพ นับถือบิดามารดาหรือผู้ใหญ่ เพราะท่านคือตัวแทนของพระเจ้าผู้มีบุญคุณต่อเรา ที่ได้ให้ กำ�เนิดและเลี้ยงดูเรามา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรัก ต่อบิดามารดาและผู้ใหญ่ของตนด้วยการให้ความรัก เคารพ นบนอบ และช่วยเหลือท่าน สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงเป็นพระบุคคลแรกที่ประทานชีวิตแก่เราแต่ละคน ต่อจากพระองค์ก็คือบิดามารดาที่ได้ให้ กำ�เนิดชีวิตฝ่ายร่างกายแก่เรา ดังนั้นท่านจึงเป็นตัวแทนของพระเจ้าเป็น “บุพการี” ที่เราต้องให้ความรัก ความเคารพ กตัญญู รู้คุณ นบนอบ และช่วยเหลือท่านทุกเวลา นอกนั้นเรายังต้องให้ความเคารพแก่ผู้ที่เป็นญาติผู้ใหญ่ ครูอาจารย์ ผู้นำ� ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองด้วย ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “แลกกัน” ให้ผู้เรียนฟัง จากนั้นให้ผู้เรียนช่วยกัน วิเคราะห์ว่า - เรื่องนี้น่าจะจบลงอย่างไร? เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น? - เหตุใดลูกๆ ในเรื่องจึงไม่มีใครยอมแลกชีวิตของตนเองกับพ่อ ทั้งๆ ที่ทุกคน อยากให้พ่อของตนกลับมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง - ถ้าเป็นเรา เราจะยอมแลกชีวิตของเรากับพ่อไหม? เพราะเหตุใด? - ผู้สอนสรุปท้ายด้วยคำ�ถามว่า เรื่องนี้ให้บทสอนอะไรแก่เรา? (สิ่งที่แสดงต่อ บิดามารดาเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นต้องออกมาจากความรัก ความกตัญญูที่จริงใจ ถ้า เป็นเช่นนั้นจริงเราก็สามารถเสียสละชีวิตแทนท่านได้ไม่ว่าในตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หรือตายไปแล้วก็ตาม) - ทำ�ไมเราจึงต้องแสดงความรักและความเคารพต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ด้วย? - พระเยซูเจ้า พระอาจารย์ของเราทรงตรัสสอนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? 3 พระวาจา ขณะที่พระเยซูเจ้ากำ�ลังเสวนากับพวกฟาริสีอยู่นั้น พระองค์ทรงต่อว่าในเรื่อง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ใบความรู้เรื่อง “แลกกัน” ท้ายแผน
84
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ที่พวกเขาสอนให้การกระทำ�สิ่งที่ไม่เคารพต่อบิดามารดา โดยตรัสว่า “...โมเสสกล่าว ว่า จงนับถือบิดามารดา และใครด่าบิดาหรือมารดาจะต้องรับโทษถึงตาย...” (มก 7:10) 4
อธิบายพระวาจา - พระวรสารนี้เป็นตอนที่พระเยซูเจ้าทรงต่อว่าพวกฟาริสีในหลายๆ เรื่องที่ พวกเขาทำ�ไม่ถูกต้อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือการไม่ให้ความช่วยเหลือบิดามารดา โดย อ้างว่าหากเอาเงินที่ต้องใช้สำ�หรับช่วยเหลือบิดามารดานั้นไปถวายแด่พระเจ้า ก็ไม่ ต้องช่วยเหลือบิดามารดาอีกต่อไป - การที่พระเยซูเจ้าทรงประนามพวกฟาริสีในเรื่องนี้ ก็เท่ากับพระองค์ทรงอยาก สอนเราว่า รองจากพระเจ้าแล้ว เราต้องให้ความเคารพนับถือบิดามารดาเป็นบุคคล แรก เพราะท่านคือผูใ้ ห้ก�ำ เนิดชีวติ แก่เรา จึงเป็นบุพการีผมู้ พี ระคุณต่อเรา พระบัญญัติ ข้อนี้มีตั้งแต่ในสมัยพระธรรมเดิมมาแล้ว แต่พวกฟาริสีได้ให้ความหมายผิดพลาดไป เป็นการทำ�ให้พระบัญญัติเดิมนั้นเป็นโมฆะพระเยซูเจ้าจึงทรงประกาศสอนเกี่ยวกับ เรื่องนี้ให้เข้าใจกันอย่างถูกต้องเสียใหม่ - ชีวิตมนุษย์คือสิ่งสำ�คัญยิ่งที่เราได้รับมาจากพระเจ้า ดังนั้น ผู้ให้กำ�เนิดชีวิตแก่ เราก็มคี วามสำ�คัญมากเช่นเดียวกัน พระเยซูเจ้าจึงทรงต้องการให้เราเคารพนับถือบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง และตอบแทนบุญคุณของท่านด้วยความกตัญญู ดังที่ในสมัย ก่อนเรียกกันว่า “อภิชาตบุตร”
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนเล่นเกม “นิ้วทองคำ�” พร้อมกับทำ�ใบงาน ข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผู้สอน สามารถประเมินได้ในเวลาอันสัน้ ว่า ผูเ้ รียนมีความสัมพันธ์อย่างไรต่อบิดามารดาหรือ ผู้ปกครองของตน เพื่อได้ข้อมูลจริงประกอบการสอนต่อไป (กล่าวคือ หากในใบงาน มีปรากฏพ่อแม่เป็นบุคคลแรก ก็หมายความว่าความสัมพันธ์ทมี่ รี ะหว่างพ่อแม่และลูก น่าจะราบรืน่ ดี แต่หากไม่มพี อ่ หรือแม่ปรากฏมา ก็ท�ำ ให้คดิ ได้วา่ ความสัมพันธ์นนั้ อาจ ไม่ราบรื่นเท่าที่ควรหรืออาจมีปัญหาก็ได้) - หลังจากทำ�ใบงานแล้ว ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแบ่งปันหน้าชั้น โดยให้ผู้เรียนบอก เหตุผลด้วยว่าทำ�ไมจึงเลือกบุคคลนั้นๆ และทำ�ไมจึงอยากมอบสิ่งเหล่านั้นให้แก่เขา - ผู้สอนสามารถอธิบายเสริมในเรื่องนี้ว่า ในหลายๆ ครั้ง บิดามารดาหรือผู้ ปกครองมักให้สงิ่ ทีเ่ ราต้องการหรือขอ เราก็รสู้ กึ ว่าท่านใจดี แต่เมือ่ เราไม่ได้สงิ่ ทีข่ อเรา ก็คิดว่าท่านไม่รักเราหรือใจร้ายกับเรา แต่จริงๆ แล้ว เราอาจเข้าใจผิดก็ได้ เพราะ การที่ท่านไม่ตามใจเราไม่ใช่การแสดงว่าท่านไม่รักเราทุกครั้งไป เราควรต้องเข้าใจ ด้วยว่า ความต้องการบางอย่างของเรานั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี และไม่นำ�ผลดีต่อตัวเราเสมอ ไป เช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานๆ และบ่อยๆ ฯลฯ (ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ทุกคนแบ่งปันประสบการณ์ของตน) - เมื่อผู้เรียนแบ่งปันครบทุกคนแล้ว ผู้สอนสามารถสรุปได้ว่า ไม่ว่า บิดามารดา หรือผู้ปกครองจะตามใจเราหรือขัดใจเราก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วล้วนมีสาเหตุมาจาก ความรักและความเป็นห่วงที่ท่านมีต่อเราทั้งสิ้น แม้ว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจเหตุผล
เกม “นิ้วทองคำ�” และใบงานท้ายแผน
☆
85
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ได้ทุกครั้งก็ตาม ดังคำ�โบราณท่านว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” เพราะการตามใจลูก ทุกครั้งอาจนำ�ผลเสียมากกว่าผลดีมาสู่ลูกก็ได้ - ให้ผู้เรียนฝึกร้องเพลง “ใครหนอ” เมื่อเสร็จแล้วให้นำ�สิ่งที่พ่อแม่ทำ�เพื่อลูก เขียนใส่ในใบงาน “ใครหนอ?” พร้อมทัง้ สรุปในบรรทัดสุดท้ายเป็นข้อปฏิบตั วิ า่ แต่ละ คนจะทำ�อะไรเพื่อพ่อแม่บ้าง?
เนื้อเพลง “ใครหนอ” และใบงานท้ายแผน
☆
- ผู้สอนสรุปในตอนท้ายว่าพ่อแม่คือผู้แทนของพระเจ้า ท่านเป็นผู้ให้กำ�เนิดชีวิต แก่เรา ท่านจึงเป็นบุคคลแรกที่มีบุญคุณต่อเรา พ่อแม่ มิเพียงให้กำ�เนิดเราเท่านั้นแต่ ท่านยังเลีย้ งดู เอาใจใส่ ให้การศึกษาอบรม ฯลฯ อีกมากมาย รวมทัง้ ผูท้ เี่ ป็นผูป้ กครอง ของเราด้วย เราจึงต้องให้ความเคารพ นับถือ และช่วยเหลือท่าน เพราะนี่เป็นหน้าที่ ของลูกทีด่ ี และในเวลาเดียวกัน เราก็ปฏิบตั พิ ระบัญญัตปิ ระการที่ 4 ด้วยทีว่ า่ จงนับถือ บิดามารดา 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความรักต่อบิดามารดาและผู้ใหญ่ของตนด้วยการให้ความรัก เคารพ นบนอบ และช่วยเหลือท่าน
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนคนหนึ่งสมัครเป็นตัวแทน นำ�สวดภาวนาจากใจสำ�หรับบิดามารดา ของตน จากนั้นให้ทุกคนสวดบท “วันทามารีย์” พร้อมกัน
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
86
ใบความรู้เรื่อง “ แลกกัน ” ครอบครัวหนึ่งมีลูกชาย 5 คน เป็นครอบครัวที่รักกันมาก แต่ละคนล้วนแสดงว่ารักบิดาของ ตนมาก ครั้นพอบิดาแก่ชราและสิ้นชีวิต ลูกชายทั้ง 5 ต่างพากันร้องไห้ฟูมฟายปิ่มว่าจะขาดใจตามไป ชาวบ้านใกล้เรือนเคียงต่างก็อิจฉาบิดาคนนี้ที่มีลูกซึ่งรักและกตัญญูต่อพ่อมาก พอดีมีคนหนึ่งไปรู้มาว่า มีฤาษีคนหนึง่ ทีอ่ ยูเ่ มืองไกลมีอทิ ธิฤทธิม์ าก สามารถทำ�ให้คนตายกลับมีชวี ติ ใหม่ได้ พวกเขาจึงได้น�ำ ร่าง ไร้ชีวิตของบิดาไปหาฤาษีคนนั้น เพื่อให้ท่านชุบชีวิตบิดาขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ฤาษีบอกแก่พวกเขาว่า เรา สามารถทำ�ให้บิดาของเจ้าฟื้นขึ้นมาได้ แต่มีขอ้ แม้ 1 ข้อ คือ “คนหนึ่งในพวกเจ้าต้องตายแทนพ่อ 1 ชีวติ แลก 1 ชีวิต” เมื่อฟังเช่นนี้พวกลูกๆ พากันนิ่งอึ้งสักครู่ จากนั้นต่างคนต่างบอกให้คนอื่นสละชีวิตแทน พ่อ แต่ไม่มีใครยอม จนที่สุดเกิดการทะเลาะกันเสียงดังในระหว่างพี่น้องเพราะตกลงกันไม่ได้ ฤาษีจึง เดินกลับเข้าในอาศรมของตนอย่างสงบและสวดภาวนาต่อไป
เกม “นิ้วทองคำ�” วิธีเล่น
1. ให้ผู้เล่นนั่งในท่าที่ผ่อนคลาย หลับตา หายใจเข้า-ออก ช้าๆ จนเห็นว่าทุกคนสงบนิ่ง 2. ให้ผู้เรียนจินตนาการว่าตนเองมีความสามารถพิเศษ คือมีนิ้วทองคำ� ที่สามารถจะเสกทุกอย่าง ได้ตามที่ตนต้องการ 3. ให้ผู้เรียนคิดต่อไปว่า ใครบ้างคือบุคคลที่เขารัก? โดยให้เรียงลำ�ดับโดยเริ่มจากผู้ที่รักมากที่สุด ก่อน จำ�นวน 5 ลำ�ดับ 4. จากนัน้ ให้ผเู้ รียนจินตนาการโดยใช้นวิ้ ทองคำ�ของตนชีไ้ ปยังบุคคลนัน้ ๆ โดยมอบสิง่ ทีต่ นอยาก ให้ที่สุดแก่บุคคลนั้น ใช้เวลาประมาณ 4-5 นาที 5. ให้ผู้เรียนเปิดตา แล้วเขียนสิ่งที่ตนเองได้จินตนาการลงในใบงาน
คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเขียนบุคคลในจินตนาการและสิ่งที่ตนมอบให้แก่บุคคลนั้นๆ โดยทาง “นิ้วทองคำ�” ลงในใบงาน ที่ บุคคลที่คิดถึง (เรียงจากคนที่คิดถึงมากที่สุดก่อน) 1 2 3 4 5
สิ่งที่ “นิ้วทองคำ�” มอบให้
87
เพลง “ใครหนอ”
ใครหนอ รักเรา เท่าชีวี (คุณพ่อ คุณแม่) ใครหนอ ปราณี ไม่มีเสื่อมคลาย (คุณพ่อ คุณแม่) ใครหนอ รักเราใช่เพียงรูปกาย รักเขาไม่หน่าย มิคิดทำ�ลาย ใครหนา ใครหนอ เห็นเรา เศร้าทรวงใน (คุณพ่อ คุณแม่) ใครหนอ เอาใจปลอบเราเรื่อยมา (คุณพ่อ คุณแม่) ใครหนอ รักเราดังดวงแก้วตา รักเขากว้างกว่า พื้นพสุธา นภากาศ จะเอาโลก มาทำ�ปากกา แล้วเอานภามาแทนกระดาษ เอาน้ำ�หมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด ประกาศพระคุณไม่พอ ใครหนอ รักเรา เท่าชีวัน (เท่าชีวัน) ใครหนอ ใครกันให้เราขี่คอ (คุณพ่อ คุณแม่) ใครหนอ ชักชวนดูหนังสี่จอ รู้แล้วละก็ อย่ามัวรั้งรอ ทดแทนบุญคุณ
ใบงาน “ใครหนอ” วิธีเล่น 1. ให้ผู้เรียนพิจารณาเพลง “ใครหนอ” แล้วเขียนสิ่งที่พ่อแม่ทำ�เพื่อลูก 2. ให้เขียนในบรรทัดสุดท้ายว่า “แล้วฉันล่ะ อยากจะทำ�อะไรให้พ่อแม่มากที่สุด?” (ควรเน้นให้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง)
1. _________________________________________________ 2. _________________________________________________ 3. _________________________________________________ 4. _________________________________________________ 5. _________________________________________________ แล้วฉันล่ะ อยากจะทำ�อะไรให้พ่อแม่มากที่สุด ____________________________________ _______________________________________________________________
88
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 5
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของพระบัญญัติประการที่ 5 ว่า การห้ามฆ่าคน คือ การดูแลรักษาชีวติ เพราะพระเจ้าทรงเป็นผูป้ ระทานชีวติ ให้แก่มนุษย์ ชีวติ มนุษย์จงึ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ดังนั้น ใครจะทำ�ลายไม่ได้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและของผู้อื่น สาระการเรียนรู ้ มนุษย์ได้รับ “ชีวิต” มาจากพระเจ้า “ชีวิต” นี้เองทำ�ให้เขากลายเป็น “ภาพลักษณ์” ของพระองค์ ชีวิต มนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะพระเจ้าทรงเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เราจึงต้องรักษาชีวิตนี้ไว้อย่างดีที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่มีค่า ประเสริฐทีส่ ุด พระเจ้าจึงทรงประทานพระบัญญัติที่ 5 ให้มนุษย์ปฏิบตั ิคือ อย่าฆ่าคน เพราะการฆ่าคนเป็นการทำ�ลายพระคุณ อันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา การปฏิบัติพระบัญญัติประการนี้ ยังหมายความว่า เราต้องเอาใจใส่ ดูแลสุขภาพวิญญาณและร่างกายของเรา และของเพื่อนพี่น้องด้วย ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนบางคนแบ่งปันถึงประสบการณ์ที่ตนเคยทำ�กับสัตว์ เช่น การทรมาน สัตว์ดว้ ยวิธตี า่ งๆ พร้อมทัง้ ให้แบ่งปันถึงความรูส้ กึ หรือแรงจูงใจด้วยว่า ทำ�ไมจึงทำ�เช่น นั้น? ทำ�แล้วรู้สึกอย่างไร? (ดูภาพประกอบ)
☆
ภาพ “สัตว์ถูกทำ�ร้าย” ท้ายแผน
- นำ�ผู้เรียนให้ไตร่ตรองต่อไปว่า การทรมานหรือฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ควรทำ�หรือไม่? เพราะเหตุใด? และให้ผู้เรียนแบ่งปันต่อไปว่า เคยทำ�สิ่งคล้ายๆ กันนั้นกับคนอื่นหรือ ไม่? คือทำ�ให้คนอื่นรู้สึกเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือจิตใจ ทำ�ไมจึงทำ�เช่นนั้น? เมื่อทำ�แล้วรู้สึกอย่างไร? - หากเราจินตนาการว่า เราเป็นสัตว์ตัวนั้น หรือเป็นเพื่อนคนนั้นที่เรารังแกเขา เราจะรู้สึกอย่างไรเมื่อถูกกระทำ�? - ดังนั้น การรังแกผู้อื่น ย่อมเกิดผลไม่ดีเสมอ เพราะเป็นการแสดงความใจร้าย ต่อเขา มิใช่แสดงความรัก ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราปฏิบัติความรักต่อผู้อื่น มิใช่ โกรธ เกลียด เคียดแค้นเขา ให้เรามาดูกันว่าพระเยซูเจ้าตรัสอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 พระวาจา 1. ให้ดูวีซีดีเรื่องกาอินฆ่าอาแบล เสร็จแล้วให้เปิดประเด็นคำ�ถามว่า “ทำ�ไม
☆
วีซีดี ตอน กาอินฆ่าอาแบล
89
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ กาอินต้องฆ่าอาแบล?” การกระทำ�เช่นนัน้ ผิดมากเพียงไร? พระเยซูเจ้ากล่าวเกีย่ วกับ เรื่องนี้อย่างไร? 2. พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านได้ยินคำ�กล่าวแก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ผู้ใดฆ่า คนจะต้องขึ้นศาล แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า ทุกคนที่โกรธเคืองพี่น้อง จะต้องขึ้นศาล ผูใ้ ดกล่าวแก่พนี่ อ้ งว่า ‘ไอ้โง่’ ผูน้ นั้ จะต้องขึน้ ศาลสูง ผูใ้ ดกล่าวแก่พนี่ อ้ งว่า ‘ไอ้โง่บดั ซบ’ ผู้นั้นจะต้องถูกปรับโทษถึงไฟนรก” (มธ 5:21-22)
4
อธิบายพระวาจา - เรื่องของกาอินกับอาแบลทำ�ให้เราเห็นว่า การฆ่ากันนั้นมีมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม บาปทำ�ให้มนุษย์เกลียดชังกัน อิจฉากันและฆ่ากัน ซึ่งสิ่งนี้ทำ�ให้แผนการเดิมของ พระเจ้าทีต่ อ้ งการให้มนุษย์มคี วามสุขต้องเสียไป พระองค์ไม่ทรงต้องการให้มนุษย์ฆา่ ซึ่งกันและกัน - พระวาจาของพระเยซู เจ้ า ตอนนี้ ทำ � ให้ เราเข้ า ใจได้ ว่ า พระองค์ ท รงให้ ความสำ�คัญมากแก่ชีวิตมนุษย์ ซึ่งมิใช่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงการกระทำ�ทุกอย่าง ที่ทำ�ให้พี่น้องต้อง “เจ็บ” ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายและจิตใจก็ตาม - ทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึงทรงสอนให้คริสตชนปฏิบัติเช่นนี้? ทั้งๆ ที่พระบัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ในพระธรรมเดิมมีระบุว่า ให้ทำ�แบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ซึ่ง หมายความว่าเขาทำ�เราเท่าไร เราก็มีสิทธิ์ทำ�ต่อเขาได้เท่ากัน เป็นอันว่าถูกต้อง แต่ เนือ่ งจากพระเยซูเจ้าทรงเป็นผูท้ �ำ ให้พระบัญญัตสิ �ำ เร็จไปอย่างสมบูรณ์ พระองค์จงึ ทรง เสริมเติมการปฏิบัติพระบัญญัติให้สมบูรณ์ในพันธสัญญาใหม่ เพราะพระองค์ทรง ต้องการให้เราปฏิบตั ติ นเป็นคนดีบริบรู ณ์ตามแบบอย่างของพระบิดาเจ้าสวรรค์ผทู้ รง ความดีสูงสุด - พระเยซูเจ้าทรงให้ความหมายและคุณค่าต่อ “ชีวติ มนุษย์” ไว้สงู มาก เนือ่ งจาก “ชีวิต” นั้นมาจากพระเจ้าโดยตรงพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ตามพระฉายาลักษณ์ของ พระองค์ ผูท้ รงเป็นองค์ความศักดิส์ ทิ ธิส์ งู สุด ดังนัน้ ชีวติ ทีม่ นุษย์ได้มาจากพระเจ้านัน้ ก็ศักดิ์สิทธิ์ด้วย เพราะเป็นชีวิตที่มาจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าทรงต้องการให้ เราเคารพชีวิตของตนเองและของเพื่อนพี่น้อง จึงทรงให้มนุษย์ปฏิบัติพระบัญญัติ ประการที่ 5 นั่นคือ อย่าฆ่าคน
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อกล่าวว่า “อย่าฆ่าคน” หลายคนอาจคิดว่า “ยังไงฉันคงไม่ทำ�บาปนี้แน่ เพราะฉันไม่มีวันจะไปฆ่าใคร” ดังนั้น ฉันจึงไม่เคยผิดพระบัญญัติประการนี้เลย แต่ จริงๆ แล้ว พระศาสนจักรได้ให้ความหมายของพระบัญญัตปิ ระการนีไ้ ว้อย่างกว้างและ ละเอียดชัดเจน ซึ่งเราสามารถดูได้จากคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกเล่มที่ 3 ซึ่งให้ คำ�อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องความหมายและการปฏิบัติพระบัญญัติ 10 ประการ - จากคำ�สอนของพระศาสนจักรเราเข้าใจได้ว่า นอกจากการฆ่าคนในความหมาย ของการทำ�ลายชีวิตให้ตายแล้ว พระบัญญัติประการนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง การห้ามจงใจทำ�แท้ง การุณยฆาต (การฆาตกรรมด้วยความเมตตาในทุกรูปแบบ)
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
90
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
การฆาตกรรมในทุกรูปแบบ การอัตวินบิ าต การทำ�หมันโดยตรง การทะเลาะกัน โกรธ กัน เกลียดกัน การแก้แค้น การเมามาย การติดยาเสพติด การขับรถด้วยความประมาท ตัวอย่างที่ไม่ดีและการเป็นที่สะดุด (เทียบคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 22592317) - นี่คือความหมายในภาพกว้างของพระบัญญัติซึ่งผู้เรียนควรจะทราบ แม้ว่าบาง เรือ่ งผูเ้ รียนอาจจะยังไม่สามารถปฏิบตั ไิ ด้กต็ าม แต่ตามปกติแล้วผูเ้ รียนวัยนีก้ ส็ ามารถ ผิดพระบัญญัติประการนี้ได้ด้วยการทะเลาะกัน โกรธ เกลียด แก้แค้นผู้อื่น ฯลฯ - นอกจากการเข้าใจพระบัญญัติในแง่ของการห้ามแล้ว เรายังสามารถปฏิบัติ พระบัญญัติในด้านบวกด้วยคือ การเอาใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเอง และของผูอ้ นื่ อย่างดี หากเราทำ�ได้เช่นนีน้ อกจากจะไม่ผดิ พระบัญญัตแิ ล้ว เรายังได้บญ ุ จากการปฏิบัติความรักต่อผู้อื่นอีกด้วย - แล้วเราจะดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองและของผู้อื่นได้อย่างไรบ้าง? ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ต้นไม้ชีวิตของฉัน” - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแบ่งปันคำ�ตอบกันและกัน
☆
ใบงาน “ต้นไม้ชีวิตของฉัน” ท้ายแผน
6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเอาใจใส่สุขภาพของตนเองและของผู้อื่น
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ ผู้ เรี ย นสงบนิ่ ง ทำ � สมาธิ ค รู่ ห นึ่ ง แล้ ว ให้ ทุ ก คนตั้ ง ใจสวดบท “ข้ า แต่ พระบิดาฯ” พร้อมกันเพื่อบิดามารดาและผู้ใหญ่ของเราทุกคน
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
91
ภาพ “สัตว์ถูกทำ�ร้าย”
92
ใบงาน “ต้นไม้ชีวิตของฉัน” คำ�ชี้แจง - 1. ให้ผู้เรียนพิจารณาดูภาพ “ต้นไม้ชีวิตของฉัน” ซึ่งกิน “น้ำ�เลี้ยง” ที่ดีๆ ทำ�ให้ต้นไม้เจริญ งอกงามเต็มที่เกิดผลดีอย่างอุดมสมบูรณ์ 2. ให้ผู้เรียนนำ� “ผล” ในกรอบสี่เหลี่ยมไปใส่ในช่องวงกลม โดยให้คำ�ตอบด้านบนเป็นผล ที่มาจาก “น้ำ�เลี้ยง” (1)
(2)
(3)
พัฒนาตนเองในทุกด้าน // เป็นมิตรกับทุกคน สบายใจดี // ไม่ทำ�ร้ายผู้อื่น // (4)
(5)
(6)
ทำ�ให้ทันโลกและทันคน // เติบโตดี ไม่เป็นโรค // แสดงความเอื้ออาทรและใจดีต่อคนรอบข้าง // (7)
(8)
(9)
รู้จักพระเจ้ามากขึ้น // นำ�เราให้ทำ�ความดี // รักพระเจ้าศรัทธาในศาสนามากขึ้น
a.
e.
........................ (7) ........................... ...................
g.
........................ (3) ........................... ...................
b.
........................ (5) ........................... ...................
........................ (6) ........................... ...................
c.
h.
........................ (2) ........................... ...................
........................ (9) ........................... ...................
f.
d.
........................ (1) ........................... ...................
........................ (4) ........................... ................... a. การเร
i.
........................ (8) ........................... ...................
ากรุณา
ียนคำ�สอ
ต i. มีเมต
น
h. ร่วมมิสซา รับศีล ศักดิ์สิทธิ์ภาวนาสม่ำ�เสมอ
b. รับประทานอาหารที่เป็น ประโยชน์และพอประมาณ
g. รู้จักบังคับอารมณ์ โกรธ เกลียด แค้น
c. คบเพื่อนที่ดี ษาอบรม d. รับกาพร่อศึกแม่ ครู จาก
e. รู้จัก ให้อภัย
f. ความรู้ที่เ
ป็นประโยช
น์
93
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 6, 9
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจความหมายของพระบัญญัตปิ ระการที่ 6 และ 9 ว่า “อย่าผิดประเวณี” คือต้องรักษาความบริสุทธิ์ของจิตใจและร่างกาย ไม่ปลงใจหรือผิดประเวณีในรูปแบบต่างๆ เพราะร่างกายคือพระวิหารของพระจิตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไม่พูด คิด หรือกระทำ�สิ่งที่ผิดประเวณี สาระการเรียนรู ้ การไม่ผิดประเวณีคือการเจริญชีวิตปฏิบัติคุณธรรมความบริสุทธิ์และความรู้ประมาณในความประพฤติ ของตนตามแบบของผู้ที่แต่งงานและไม่แต่งงาน การรู้จักใช้เพศให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า คือการให้ กำ�เนิดชีวิตในการแต่งงานเท่านั้น พระบัญญัติประการที่ 6 ห้ามการใช้คำ�พูด การมอง หรือการกระทำ�ที่ไม่บริสุทธิ์ และที่ไม่รู้ จักบังคับอารมณ์ความรูส้ กึ ด้านเพศของตน ไม่วา่ จะต่อตนเองหรือกับผูอ้ นื่ ส่วนพระบัญญัตปิ ระการที่ 9 นัน้ ห้ามคิดและปรารถนา ทุกอย่างที่ขัดกับความบริสุทธิ์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนดูชุด “ภาพชวนคิด” ทีละภาพ โดยให้มองจ้องแต่ละภาพ สักประมาณ 10 วินาทีแล้วให้ผู้เรียนปิดตาประมาณ 5 วินาที แล้วถามผู้เรียนว่าเมื่อปิดตาแล้วเกิด อะไรขึ้น? มีจินตนาการหรือความคิด ความรู้สึกใดตามมาบ้าง? - กิ จ กรรมข้ า งต้ น เป็ น ประสบการณ์ สั้ น ๆ ที่ ทำ � ให้ ผู้ เรี ย นเรี ย นรู้ โ ดยการทำ � ประสบการณ์ว่า สิ่งใดก็ตามที่ผ่านเข้ามาในประสาทสัมผัสของเขานั้น จะส่งผลให้มี “การตกตะกอน” เหลืออยูใ่ นความคิดและจิตใจ กลายเป็นภาพในจินตนาการหรือเกิด เป็นบางอารมณ์ได้อย่างไร - ให้ผู้เรียนพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว หากบางคนเอาภาพโป๊หรือเอา ภาพยนตร์ลามกมาดูเองหรือให้คนอื่นดูด้วย จะเกิดผลอะไรในตัวผู้ดูบ้าง? - ให้มาดูกันว่าพระเยซูเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องความอุลามกว่าอย่างไร? 3 พระวาจา พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านได้ยินคำ�กล่าวที่ว่า อย่าล่วงประเวณี แต่เรากล่าวแก่ ท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองหญิงด้วยความใคร่ ก็ได้ล่วงประเวณีกับนางในใจแล้ว ถ้าตา ขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำ�บาป จงควักมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วน เดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดของท่านตกนรก ถ้ามือขวาของท่านเป็นเหตุให้
☆
ชุด “ภาพชวนคิด” ท้ายแผน
94
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ท่านทำ�บาป จงตัดมันทิ้งเสีย เพราะเพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียว ยังดีกว่าปล่อยให้ ร่างกายทั้งหมดตกนรก” (ดู มธ 5:27-30) - ในบทจดหมายถึงชาวโครินธ์ น.เปาโลยังสอนอีกว่า “จงหลีกหนีการล่วงประเวณี บาปทัง้ หลายนัน้ มนุษย์ท�ำ นอกร่างกาย แต่ผทู้ ลี่ ว่ งประเวณีท�ำ บาปต่อร่างกายของตนเอง ท่านไม่รู้หรือว่า ร่างกายของท่านเป็นพระวิหารของพระจิตเจ้าผู้สถิตอยู่ในท่าน ท่านได้ รับพระจิตนี้จากพระเจ้า ท่านจึงไม่เป็นเจ้าของของตนเอง พระเจ้าทรงซื้อท่านไว้ด้วย ราคาแพง ดังนัน้ จงใช้รา่ งกายของท่านถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าเถิด” (1 คร 6:18-20)
4
อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ขณะที่ทรงเทศน์สอนอยู่บนภูเขา หลังจากที่ได้ทรง สอนเรื่องความสุขแท้จริง (บุญลาภ 8 ประการ) และเรื่องเกลือดองแผ่นดินแล้ว ทรง อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าพระองค์คอื ผูท้ มี่ าเพือ่ ทำ�ให้พระบัญญัตเิ ดิมสมบูรณ์มากขึน้ ดังนั้น มาตรฐานใหม่ของการปฏิบัติพระบัญญัติจึงต้องสูงกว่ามาตรฐานเดิม ในกรณี ของเรื่องความอุลามกหรือการล่วงประเวณีนั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า แค่มองคนอื่นด้วย ความใคร่หรือตัณหาก็ผิดประเวณีในความคิดและในใจแล้ว ดังนั้นการทำ�ผิดในเรื่อง นี้ไม่จำ�กัดอยู่ที่การเป็นชู้กับคนอื่นเท่านั้น แต่ยังมีความหมายกว้างกว่าเดิมมาก นั่นคือ การต้องรักษาทั้งกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อนด้วยบาป - พระองค์ตรัสว่า หากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเหตุให้ทำ�บาป ให้ตัดอวัยวะ ส่วนนัน้ ทิง้ ไปแล้วจะได้ไปสวรรค์ ยังดีกว่าการต้องไปนรกพร้อมกับอวัยวะส่วนนัน้ ทัง้ นี้ ก็หมายความว่าผู้ที่จะไปสวรรค์ได้นั้นต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระศาสนจั ก รอาศั ย การดลใจของพระจิ ต เจ้ า ได้ ส อนเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งนี้ ใ น หนังสือคำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างเป็นรูปธรรม (ข้อ 2351-2357) ว่า บาป ผิดต่อพระบัญญัติประการนี้คือ การล่วงละเมิดทางเพศหรือการร่วมเพศก่อนแต่งงาน การเล่นชู้ การใช้ยาคุมกำ�เนิด ภาพลามก โสเภณี การข่มขืน การสำ�เร็จความใคร่ด้วย ตนเอง และการรักร่วมเพศ - สำ � หรั บ ผู้ เรี ย นวั ย นี้ บ างคนอาจไม่ ส ามารถเข้ า ใจได้ ทั้ ง หมดว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ หมายความว่าอย่างไร? แต่อีกบางคนอาจมีโอกาสได้รับรู้แล้ว ผู้สอนจึงควรใช้ วิจารณญาณในการอธิบายเรื่องเหล่านี้อย่างเหมาะสม - เพื่อจะไม่ตกอยู่ในโอกาสหรือการปลงใจในบาปเหล่านี้ พระศาสนจักรผู้เป็น ทั้งแม่และครูยังได้สอนให้เข้าใจถึงอันตรายของความบริสุทธิ์ที่ควรหลีกเลี่ยง นั่นคือ การอยู่ว่าง ความมักรู้มักเห็นที่เป็นบาป เพื่อนที่ไม่ดี การดื่มจนเกินขนาด การแต่ง กายไม่สุภาพ หนังสือพิมพ์ ละคร ภาพยนตร์ที่ไม่ดี รวมไปถึงการบันเทิงที่ไม่ดี ทุกชนิด - นอกนั้น พระศาสนจักรยังได้เสนอแนะวิธีการต่างๆ เพื่อฝึกฝนและให้ได้มา ซึ่งคุณธรรมความบริสุทธิ์ด้วย (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 2520) คือ การ ภาวนา การแก้บาปรับศีลบ่อยๆ การร่วมพิธมี สิ ซาบูชาขอบพระคุณ การมีความศรัทธา
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
95
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ต่อพระมารดามารีย์ การแสวงหาจิตตารมณ์แห่งการใช้โทษบาป และการบังคับตัวเอง การหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไม่จำ�เป็นทุกอย่าง - ผู้สอนนำ�ดอกกุหลาบดอกใหญ่สวยงามมาให้ผู้เรียนได้เห็นทุกคน ให้ผู้เรียน ช่วยกันบรรยายความสวยงามและความหอมของดอกกุหลาบนัน้ จากนัน้ ผูส้ อนค่อยๆ เด็ดกลีบกุหลาบออกทีละกลีบ ขยี้กลีบดอกนั้นให้ช้ำ�แล้วทิ้งไป ทำ�เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จน ให้เหลือแต่เกสร แล้วให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้สึกที่มีแก่กันและกัน
ผู้สอนเตรียมดอกกุหลาบ ดอกใหญ่สวยงามมา 1 ดอก
☆
- ผู้สอนอาจเปรียบเทียบดอกกุหลาบกับตัวเรา การทำ�ลายดอกกุหลาบที่สวยงาม นั้นเป็นเรื่องน่าเสียดายมากเพียงใด การทำ�ลายร่างกายหรือจิตใจมนุษย์ให้สกปรก และเสียหายนัน้ เป็นเรือ่ งน่าเสียดายยิง่ กว่าดอกกุหลาบอย่างเปรียบเทียบคุณค่าไม่ได้ - ทำ�ไมเรามนุษย์จึงต้องรักษาความบริสุทธิ์ของร่างกายและจิตใจแต่ละคนตาม สภาพของตน คือแบบคนโสด หรือแบบคนที่แต่งงาน? น.เปาโลได้ให้คำ�ตอบแก่เรา ว่า เพราะร่างกายของเราคือ “พระวิหารขององค์พระจิตเจ้า” นั่นเอง เราจึงต้องรักษา ร่างกายของเราให้ “ศักดิ์สิทธิ์” ด้วยการปฏิบัติตามพระบัญญัติประการที่ 6 และที่ 9 นี้ มิฉะนั้นเราก็จะทำ�ตนคล้ายๆ กับสัตว์ที่ปฏิบัติตนตามสัญชาตญาณ ทำ�ทุกสิ่ง ทุกอย่างตามที่ธรรมชาติและความรู้สึกเรียกร้องเท่านั้น - พระเจ้าได้ประทานจิตวิญญาณ สติปัญญาและน้ำ�ใจแก่เรามนุษย์ ทำ�ให้เราเป็น “ภาพลักษณ์” ของพระองค์ เรามนุษย์จึงแตกต่างจากสิ่งสร้างอื่นทั้งหมด พระเจ้าทรง ต้องการให้เราเจริญชีวิตต่างจากสัตว์ทั่วไป โดยให้เรายกระดับตัวเองขึ้นเป็นดัง “บุตรของพระเจ้า” ผู้มีสิทธิ์เป็นทายาทรับมรดกสวรรค์จากพระองค์ แต่เพื่อจะได้ สวรรค์เราจำ�เป็นต้องมีร่างกายและจิตวิญญาณที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วย 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเขียนข้อตั้งใจ 1 ข้อเกี่ยวกับพระบัญญัติประการนี้ลงในสมุดเพื่อใช้ปฏิบัติ ตลอดสัปดาห์
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบ ตั้งสมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวดบท “วันทามารีย์” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
96
บทวันทามารีย์ (แบบใหม่) วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้า สถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซู โอรสของท่านทรงได้รับพระพรยิ่งนัก สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อ ลู ก ทั้ ง หลายผู้ เ ป็ น คนบาป บั ด นี้ แ ละเมื่ อ จะตาย อาแมน
ชุดภาพชวนคิด
97
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 7 : อย่าลักขโมย และ ประการที่ 10 : อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของพระบัญญัติประการ 7 ที่ว่า “อย่าลักขโมย” และ ประการ 10 ที่ว่า “อย่ามักได้ทรัพย์ของผู้อื่น” - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ขโมยของผู้อื่น สาระการเรียนรู ้ การปฏิบัตพิ ระบัญญัติข้อ 7 และ 10 คือการพึงพอใจในสิ่งที่ตนเป็นและมี มีความเคารพต่อบุคคลและ ทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่โลภหรือมักได้สิ่งของของเขา ไม่คดโกงฉ้อฉล ไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีความยุติธรรม ไม่ตระหนี่ รู้จักรักษา สัญญาในการคืนหรือจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่เราต้องจ่ายให้เขา ไม่อิจฉาใครแต่ชื่นชมในสิ่งที่เขาเป็นและมี ไม่เสียใจเมื่อเห็นคนอื่น ได้ดี มีใจกว้างทีจ่ ะช่วยเหลือผูท้ ยี่ ากจนขัดสนกว่า การปฏิบตั คิ ณ ุ ธรรมข้อนีต้ รงกับพระวาจาของพระเยซูเจ้าทีว่ า่ “ผูม้ ใี จยากจน ย่อมเป็นสุข เพราะพระอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” (มธ 5:3) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “ต้นไทรมหัศจรรย์” ให้ผู้เรียนฟัง - เมื่อเล่าเสร็จแล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันกัน จากนั้นผู้สอน อาจตัง้ คำ�ถามให้ผเู้ รียนไตร่ตรองหาคำ�ตอบว่า “ถ้าฉันเป็นพ่อค้านัน้ ฉันจะทำ�อย่างไร?” - ผู้สอนอาจนำ�ผู้เรียนให้เปรียบเทียบลักษณะของพ่อค้าเหล่านี้กับเหตุการณ์ใน ชีวิตประจำ�วัน โดยช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ชีวิตของตนว่า * เมื่อใดบ้างที่ทำ�ตนเหมือนกับพ่อค้าที่ไม่ดีเหล่านั้น? (เช่น เมื่อไม่พึงพอใจที่ พ่อหรือแม่ให้เงินจำ�นวนที่ตนเองรู้สึกว่าน้อยเกินไป ฯลฯ) * เมื่อได้ทำ�สิ่งไม่ดีแบบนั้นแล้วเรารู้สึกอย่างไรบ้าง? * เมื่อได้ทำ�สิ่งไม่ดีนั้นแล้ว คนที่รับผลไม่ดีนั้นเขารู้สึกอย่างไร? * หากคนรอบข้างเราประพฤติแบบนี้กันมากๆ สังคมเราจะมีความสุขกันได้ หรือไม่? * หากมีเวลาพออาจให้ผู้เรียนหลายๆ คนแบ่งปัน มิฉะนั้นอาจให้เพียงตัวแทน เท่านั้นก็ได้ * แล้วพระเยซูเจ้าทรงกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง?
☆
ดูนิทานท้ายแผน
98
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3
พระวาจา : อันตรายจากทรัพย์สมบัติ (มก 10:23-27) พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรโดยรอบ แล้วตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ยากจริงหนอ ที่คนมั่งมีจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า” บรรดาศิษย์แปลกใจกับพระวาจานี้ พระเยซูเจ้าจึงตรัสอีกว่า “ลูกเอ๋ย ยากจริงหนอที่จะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า อูฐจะลอดรูเข็มยังง่ายกว่าคนมั่งมีเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า” บรรดาศิษย์ยิ่ง ประหลาดใจมากขึน้ พูดกันว่า “ดังนี้ ใครเล่าจะรอดพ้นได้” พระเยซูเจ้าทอดพระเนตร บรรดาศิษย์แล้วตรัสว่า “สำ�หรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้ แต่ส�ำ หรับพระเจ้าเป็นเช่นนัน้ ได้ เพราะพระองค์ทรงทำ�ได้ทุกสิ่ง”
4
อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ พระองค์จึงทรงตรัสได้ชัดเจน เด็ดขาดมากว่า มนุษย์มักติดใจกับทรัพย์สมบัติมากเพียงไร แต่พระองค์ก็ทรงบอกชัด ยิง่ กว่าอีกว่า การติดใจกับทรัพย์สมบัตนิ นั้ เป็นอุปสรรคกับการไปสวรรค์มากแค่ไหน? - คำ�ว่า “คนมั่งมี” ที่พระวรสารตอนนี้กล่าวถึงนั้นมีหมายความว่าอย่างไร? พระเยซูเจ้าทรงต้องการหมายความถึงคนที่มีจิตใจยึดติดรักทรัพย์สมบัติหรือวัตถุใน โลกนี้จนทำ�ให้ใจของเขาเต็มไปด้วยเรื่องวัตถุทรัพย์สิน เงินทองธุรกิจเท่านั้น ใจของ เขาห่วงแต่ต้องการจะมีให้มากๆ หามาให้ได้มากๆ ซึ่งบางคนอาจไม่สนใจด้วยซ้ำ�ไป ว่าจะได้มาด้วยวิธีสุจริตหรือไม่ก็ตาม - พระเยซูเจ้าได้ตรัสเปรียบเทียบอย่างชัดเจนว่า อูฐจะเข้าในรูเข็มยังเป็นเรื่องง่าย กว่าที่ “คนมั่งมี” จะเข้าในสวรรค์ นี่หมายความว่า สวรรค์กับความร่ำ�รวยจะไปด้วย กันไม่ได้ ซึ่งก็แปลว่าเฉพาะคนที่มี “จิตใจยากจน” เท่านั้นจะเข้าสวรรค์ได้ - พระเยซูเจ้าจึงได้ตรัสอีกว่า “ทรัพย์สินของท่านอยู่ที่ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั่น ด้วย” (มธ 6:21) และพระองค์ได้ย้ำ�อีกว่า “ท่านทั้งหลายจะปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า และเงินทองพร้อมกันไม่ได้” (มธ 6:24) - พระวาจาเหล่านี้ของพระเยซูเจ้าทำ�ให้เราเข้าใจชัดเจนมากขึ้นว่า “คนมั่งมี” นั้น เป็นเช่นไร และพระองค์ทรงคิดอย่างไรเกีย่ วกับคนเหล่านี้ การเลือกพระเจ้าหมายความ ว่าจะเลือกเงินทองไม่ได้ ไม่ว่าคนจนหรือคนรวยสามารถเป็น “คนมั่งมี” ได้ทั้งนั้น หากเขาติดใจ โลภ งก ฯลฯ รักสิ่งของและเงินทองมากกว่าพระเจ้า ให้ความสำ�คัญแก่ เงินทองมากกว่าพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ - สิ่งที่พระเยซูเจ้าตรัสนี้เองจึงเป็นที่มาของพระบัญญัติประการที่ 7 และ 10
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คนที่มี “จิตใจยากจน” ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับ “หัวหน้ากองเกวียน” นั่นเอง ทีเ่ ขาไม่มกั มาก ไม่โลภ แต่พงึ พอใจในสิง่ ทีม่ ี ไม่เบียดเบียนคนอืน่ หรือทำ�ลายธรรมชาติ เพื่อให้ตนเองร่ำ�รวยขึ้น - ในสังคมคนไทยเราก็มีตัวอย่างให้เห็นไม่น้อยในเรื่องนี้ เช่น การที่ผู้บริหาร ประเทศบางคน หรือ อบต. ฯลฯ คดโกงเงินของชาติ หรือขององค์กร เอาเงินนั้นมา ใส่กระเป๋าตนเอง ทำ�ให้กลายเป็นคนร่�ำ รวยเร็วผิดปกติ หรือบางคนค้ายาเสพติดเพราะ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
99
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ต้องการรวยเร็ว แต่การค้ายาเสพติดนั้นทำ�ให้เกิดผลเสียมหาศาลต่อผู้อื่นและที่สุดก็ ต่อตนเองด้วยเมื่อถูกตำ�รวจจับได้ - ให้ ผู้ เรี ย นแต่ ล ะคนลองวิ เ คราะห์ ดู ว่ า ในชี วิ ต ของตนเคยทำ � อะไรที่ เ อา เปรียบคนอืน่ โดยมุง่ หวังให้ตนเองมีสงิ่ ของเงินทองมากขึน้ เพือ่ ให้ตนเองสบายหรือไม่? - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ผิดพระบัญญัติประการ 7 และ 10?” เพื่อให้ผู้เรียนทำ� ☆ ใบงาน “ผิดพระบัญญัติ ประการ 7 และ 10?” ท้ายแผน Pre-test ดูว่าผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับพระบัญญัติสองประการนี้อย่างไร? - เมื่ อ ผู้ เรี ย นทำ � ใบงานเสร็ จ แล้ ว ผู้ ส อนสามารถอธิ บ ายเพิ่ ม เติ ม เกี่ ย วกั บ ความหมายของพระบัญญัติทั้งสองประการว่า การลักขโมยและการมักได้ทรัพย์ของ ผู้อื่นนั้นคือการเป็น “ผู้มั่งมีหรือคนรวย” แต่ “คนยากจน” ตามความหมายที่ พระเยซูเจ้าตรัสในพระวรสารมีรายละเอียดกว้างมาก หมายถึง การมีความเคารพต่อ บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่โลภหรือมักได้สิ่งของของเขา ไม่คดโกงฉ้อฉล ไม่เอา เปรียบผู้อื่น มีความยุติธรรม ไม่ตระหนี่ รู้จักรักษาสัญญาในการคืนหรือจ่ายเงิน ให้แก่ผู้ที่เราต้องจ่ายให้เขา ไม่อิจฉาใครแต่ชื่นชมในสิ่งที่เขาเป็นและมี ไม่เสียใจเมื่อ เห็นคนอื่นได้ดี มีใจกว้างที่จะช่วยเหลือผู้ที่ยากจนขัดสนกว่า ดังนั้นคำ�ว่า “ยากจน” ในที่นี้จึงหมายความสอดคล้องตรงกับคำ�ว่า “ยุติธรรม” ด้วย - ผู้สอนอาจเน้นบางลักษณะที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงของผู้เรียนในกลุ่ม แล้วยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว อาจจะเป็นเรื่องเชิง บวกหรือลบก็ได้ เพื่อใช้เหตุการณ์นี้อบรมผู้เรียนให้เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับพระบัญญัติ ประการนี้ให้มากขึ้น - เมื่อผู้สอนได้ยกตัวอย่างหรือให้ตัวแทนผู้เรียนบางคนแบ่งปันแล้ว อาจให้ ผู้เรียนคนอื่นๆ ร่วมอภิปรายซักถามด้วยก็ได้ 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนพึงพอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่ขโมยของผู้อื่น
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนหลับตาทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้พนมมือสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมๆ กันด้วยความตั้งใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
100
นิทานเรื่อง “ต้นไทรมหัศจรรย์” ในอดีต ณ เมืองพาราณสี ชาวเมืองอยู่ กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข พ่อค้าวาณิชทั้งหลายต่าง ทำ�มาค้าขายกันโดยเสรี พ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เข้า ร่วมหุน้ กัน จัดกองเกวียน บรรทุกสินค้า 500 เล่ม เพื่อเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง โดยแต่งตั้ง พ่อค้าผูม้ ปี ญ ั ญาคนหนึง่ ให้ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นหัวหน้า กองเกวียนขบวนนั้น ในระหว่างการเดินทางนั้น ขบวนเกวียนต้องเคลือ่ นผ่านป่าอันทุรกันดาร คือ ไม่มีทั้งน้ำ�และอาหารให้ดื่มกิน เมื่อเหล่าพ่อค้า นำ�ขบวนเกวียนเดินทางเข้ามาในป่า ก็ไม่สามารถกำ�หนดทิศทางในการเดินทางได้ ทำ�ให้ขบวนเกวียนหลง ทางอยู่ในป่า จนอาหารและน้ำ�ที่ตระเตรียมมาถูกใช้จนหมดสิ้น ขบวนเกวียนเคลื่อนวกวนอยู่ในป่า จนมา ถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ต้นไทรต้นนี้ มีลำ�ต้นใหญ่โต มีกิ่งก้านสาขาแผ่ปกคลุมทำ�ให้เกิดร่มเงา ร่มเย็นน่า รื่นรมย์ พ่อค้าทั้งหลายจึงชวนกันพักผ่อนใต้ต้นไทรนั้น พ่อค้าทุกคนเห็นด้วย พวกเขาจึงพักแรมกันที่ใต้ ต้นไทรนั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งสังเกตเห็นว่าต้นไทรนั้นชุ่มฉ่ำ�ผิดปกติ จึงตกลงกันที่จะตัดกิ่งต้นไทรออกดู เมื่อ ได้ตัดกิ่งหนึ่งแล้วพบว่ามีน้ำ�ใสสะอาดไหลพรั่งพรูออกมาจากกิ่งของ ต้นไทรใหญ่ทนั ทีทถี่ กู ตัดขาด พ่อค้าเหล่านัน้ พากันอาบและดืม่ กิน น้ำ�นั้นจนสบาย ทุกคนดีใจกันสุดๆ พ่อค้าอีกคนหนึ่งออก ความคิดว่า ควรตัดกิ่งไม้ทางทิศตะวันออกด้วยเพื่อดูว่าจะ มีอะไรออกมาบ้าง ทุกคนก็เห็นด้วย ทันทีที่กิ่งนั้นถูก ตัดขาด ข้าวสาลีสุก และอาหารหลายชนิดก็ไหล ทะลักออกมาเป็นจำ�นวนมากมาย พวกเขาได้กนิ ดื่มกันอย่า งอิ่มหนำ � สำ �ราญและเอร็ ด อร่ อ ย อย่างไม่น่าเชื่อ จากนั้น พ่อค้าเหล่านั้นได้ไป ตัดกิง่ ไม้ทางทิศตะวันตกอีกเพือ่ ดูวา่ จะมีอะไร ทันทีที่กิ่งนั้นถูกตัดขาด ก็มีหญิงสาวสวยงาม 25 คนออกมาปรนนิบัติเอาใจ พ่อค้าเหล่านั้นรู้สึก เป็นสุขอย่างยิง่ จากนัน้ พ่อค้าเหล่านัน้ ได้พากันไป ตัดกิ่งไม้ทางทิศเหนืออีกเพื่อดูว่าจะมีอะไร ทันทีที่ กิ่งนั้นถูกตัดขาด เครื่องประดับ ทรัพย์สินเงิน ทองไหลออกมาจำ�นวนมากมาย พ่อค้าเหล่า นั้นต่างเอาสมบัติทั้งหมดใส่ไว้ในเกวียน...
101
...แต่บัดนี้พ่อค้าเหล่านั้นต่างลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ละโมบโลภมาก จึงคิดตัดต้นไทรที่โคนต้นเพื่อจะได้พบสิ่งที่วิเศษกว่า ทันใดนั้นหัวหน้ากอง เกวียนได้คัดค้านว่า ต้นไทรนี้ได้ให้สิ่งที่ท่านปรารถนาทุกอย่างแล้ว จะทำ�ลายต้นไทรไปทำ�ไม ไม่มีใครทำ�ลายผู้ที่ให้สิ่งของมากมาย แก่ตนหรอก เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรคือคนเลวทราม พ่อค้าเหล่านั้นไม่ฟัง จิตใจมืดบอดด้วยความโลภ จึงพา กันจะไปตัดต้นไม้นนั้ แต่ใต้ตน้ ไทรนัน้ มีพญานาคสิงสถิต อยู่ พญานาคคือผู้ที่ได้ให้ทุกสิ่งแก่พวกพ่อค้านั้น แต่พวก เขาก็ไม่มีวันพึงพอใจ ที่สุดพญานาคได้ฆ่าพ่อค้าเหล่านั้น ทั้งหมดและไว้ชีวิตหัวหน้ากองเกวียนเพียงคนเดียว เพราะ เขาเป็นคนดีไม่โลภมากในทีส่ ดุ ทรัพย์สมบัตทิ งั้ หมดก็ตกเป็นของ นายกองเกวียนแต่เพียงผู้เดียว
ใบงานเรื่อง “ผิดพระบัญญัติประการ 7 และ 10?” คำ�ชี้แจง - ให้นำ�เลขของลักษณะที่กำ�หนดให้ด้านขวามือใส่ในวงเล็บท้ายประโยคด้านซ้ายมือให้มี ความหมายสอดคล้องกัน - นิดหน่อยเอาหินขว้างปาสุนัขของคนข้างบ้านที่เขาไม่ชอบ ( 5 )
1. มักได้ขโมย
- แดงไม่เคยแอบเปิดดูหนังสือเวลาสอบเลย แม้คนอื่นจะแอบเปิดดู ( 8 ) 2. ไม่ยุติธรรม - ฟ้าหนีเวรไม่ยอมช่วยทำ�ความสะอาดห้องเรียน ( 6 ) 3. อิจฉา - พี่ตุ้มแบ่งงานให้น้องต้อมหนักกว่าคนอื่น ( 2 ) 4. ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน - ทุกครั้งที่แป๋มยืมเงินของฉันไปแล้ว เขาจะเอามาคืนให้ตรงเวลาเสมอ ( 7 ) 5. ไม่เคารพทรัพย์สินคนอื่น - แบมช่วยบุ๋มทำ�การบ้านเสมอ เพราะรู้ว่าบุ๋มเรียนไม่เก่ง ( 4 )
6. เอาเปรียบคนอื่น
- เพื่อนอยากได้กระเป๋าของฉันจึงขโมยเอาไปตอนที่ฉันวางไว้ ( 1 )
7. ยืมแล้วรู้จักคืน
- แนนมักดีใจเมื่อกุ๊กไก่ถูกครูดุว่า และแสดงว่าเจ็บใจเมื่อครูชมกุ๊กไก่ ( 3 ) 8. ไม่คดโกงหรือทุจริต
102
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง พระบัญญัติประการที่ 8 – อย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.2 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของพระบัญญัติประการที่ 8 คือ อย่าพูดเท็จใส่ร้าย ผู้อื่น แต่ต้องดำ�เนินชีวิตใน “ความจริง” - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนพูดแต่ความจริงเสมอในทุกโอกาส สาระการเรียนรู ้ การไม่พดู เท็จใส่รา้ ยผูอ้ นื่ หมายถึงการปฏิบตั คิ ณ ุ ธรรม “ความซือ่ สัตย์” ให้เกียรติผอู้ นื่ โดยดำ�เนินชีวติ ตาม ความจริง เป็นพยานถึงความจริง พูดจริงทำ�จริง ทำ�ตนให้ผอู้ นื่ ไว้วางใจได้รกั ษาคำ�พูดโดยหลีกเลีย่ งการหลอกลวง การเสแสร้ง และการหน้าไหว้หลังหลอก ไม่เป็นพยานเท็จ ไม่นินทาหรือใส่ความผู้อื่น ไม่ทำ�ลายชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อนบ้าน ไม่ ประจบสอพลอเยินยอด้วยคำ�พูดและท่าทีต่างๆ ไม่พูดโอ้อวดหรือคุยโต ไม่โกหก หลอกลวง อีกทั้งยังหมายความรวมไปถึง การชดใช้ความผิดทุกข้อที่ผิดต่อความยุติธรรม และความจริงทั้งในที่ชุมชนหรือที่ส่วนตัว ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนเล่น “เกมโทรศัพท์” โดยผู้สอนกระซิบประโยคอะไรก็ได้ให้กับผู้เล่น คนแรก (เช่น แม้เธอจะน่ารักแต่ฉนั ชอบทีเ่ ธอเป็นคนดีมากกว่า ฯลฯ) จากนัน้ ให้แต่ละ คนทีไ่ ด้รบั สารกระซิบให้เพือ่ นต่อไปจนถึงคนสุดท้าย เมือ่ ครบทุกคนแล้วให้คนสุดท้าย ประกาศที่หน้าชั้นว่าประโยคที่ตนได้ยินคืออะไร? - เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนแต่ละคนบอกดังๆ ว่าตนได้ยินประโยคอะไร เพื่อ ลองหาต้นตอของความผิดเพี้ยน และการวิวัฒนาการของความผิดเพี้ยนนั้น - เมื่อทุกคนได้กล่าวประโยคของตนแล้ว ผู้สอนอาจประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำ� วันได้วา่ เหตุการณ์แบบนีเ้ กิดขึน้ กับเราบ้างไหม? เมือ่ ใด? และผลทีเ่ กิดขึน้ เป็นอย่างไร? นำ�ความเสียหายแค่ไหนหากเป็นการตั้งใจนินทาหรือใส่ความผู้อื่น? ให้ผู้เรียนลอง ยกตัวอย่างและแบ่งปันกัน - พฤติกรรมการนินทาหรือใส่ความนี้แม้เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับเราแต่ละคนใน ชีวิตประจำ�วัน แต่เป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติหรือไม่? เพราะอะไร? - พระเยซูเจ้าได้ตรัสอย่างไรเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ ให้เรามาดูจากพระวรสาร 3 พระวาจา - เมื่อคนที่เคยตาบอดทั้งสองคนจากไปแล้ว มีผู้พาคนใบ้ถูกปีศาจสิงคนหนึ่ง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
103
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
มาเฝ้าพระเยซูเจ้า ครัน้ ปีศาจถูกขับออกไปแล้ว คนใบ้กพ็ ดู ได้ ประชาชนต่างประหลาด ใจ กล่าวว่า “ยังไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้เลยในอิสราเอล” แต่ชาวฟาริสีกล่าวว่า “คนนี้ ขับไล่ปีศาจด้วยอำ�นาจของเจ้าแห่งปีศาจนั่นเอง” (มธ 9:32-34) - พระเยซูเจ้ายังได้ตรัสในพระวรสารอีกตอนหนึ่งว่า “ท่านจงกล่าวเพียงว่า ‘ใช่’ หรือ ‘ไม่ใช่’ ที่เกินไปนั้นมาจากปีศาจ” (มธ 5:37) 4
อธิบายพระวาจา - พระเยซู เจ้ า ทรงอุ ทิ ศ พระองค์ เ องในการช่ ว ยประชากรให้ ร อดพ้ น ทั้ ง จาก ความเลวร้ายฝ่ายวิญญาณและร่างกาย เมื่อพระองค์เสด็จที่ใดก็จะช่วยเหลือด้วย การรักษาคนที่เป็นโรคต่างๆ ให้หาย เฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ไม่มีทางจะรักษาให้หายได้ อีกเลย เช่น การพิการแต่ก�ำ เนิด โรคเรือ้ น ฯลฯ ในกรณีนหี้ ลังจากทีพ่ ระองค์ทรงรักษา คนตาบอดสองคนเสร็จแล้ว ได้ทรงรักษาคนใบ้ทถี่ กู ปีศาจสิงให้หายอีกด้วย เพราะทรง สงสารคนเหล่านี้ที่ต้องทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ - ฟาริสีเป็นพวกที่ตั้งตนเป็นศัตรูของพระเยซูเจ้าด้วยความอิจฉา พวกเขาจึงไม่ เคยเห็นว่าสิง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงกระทำ�เป็นสิง่ ทีด่ ี ตรงกันข้ามกลับเห็นเป็นเรือ่ งไม่ดแี ละ คอยกล่าวหาใส่ร้ายพระองค์อยู่เสมอ ดังที่เราจะพบได้หลายๆ ครั้งในพระวรสาร เช่น เรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาชายมือลีบ (มธ 12:9-14) พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาต (มก 2:1-13) ฯลฯ - แม้พระเยซูเจ้าจะทรงเป็นคนดีที่สุด แต่กลับถูกมองว่าเป็นคนเลวร้ายที่สุดถึง ท่านเป็นหัวหน้าของปีศาจ พระองค์คงจะรูส้ กึ เจ็บปวดไม่ใช่นอ้ ยทีพ่ วกฟาริสไี ม่เคยมอง พระองค์ในแง่ดแี ละอย่างถูกต้องเลย แม้ทรงเป็นพระเจ้าแต่ตอ้ งมาถูกมนุษย์ทพี่ ระองค์ ทรงสร้างมานั้นกล่าวร้ายใส่ความ - การที่พระองค์ถูกกระทำ�เช่นนี้ยิ่งทำ�ให้พระองค์เข้าใจดีมากถึงสภาพแท้จริง ของเรามนุษย์เมื่อถูกผู้อื่นกระทำ� เพราะพระองค์ทรงเป็นมนุษย์แท้ด้วย - แต่พระเยซูเจ้ามิได้ทรงหวาดหวั่นกับสิ่งชั่วร้ายที่พวกฟาริสีหรือพวกศัตรูแสดง ต่อพระองค์ เพราะในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงยิ่งใหญ่กว่าทุกสิ่งและ ทุกคน และพระองค์ทรงทราบดีว่าสิ่งที่ทรงกระทำ�นั้นถูกต้องและดีที่สุด
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรม “ข่าวสารน้อย” โดยก่อนเริ่มให้ผู้เรียนนั่งนิ่งๆ สักครู่ ☆ ผู้สอนเตรียม “ข่าวสาร แล้วแจ้งแก่ผู้เรียนว่า มีผู้ส่ง “ข่าวสารน้อย” มาถึงแต่ละคน อาจสร้างบรรยากาศให้ น้อย” ม้วนหรือพับเป็นชิ้น ผู้เรียนตื่นเต้นและอยากรู้ว่าข่าวสารน้อยนั้นจะบอกอะไรแก่ตน แล้วให้ผู้สอนแจก เล็กๆ แจกให้ผู้เรียนคนละชิ้น (ดูท้ายแผน) ข่าวสารทีเ่ ตรียมมาให้ผเู้ รียนคนละ 1 ชิน้ จากนัน้ จึงให้ผเู้ รียนค่อยๆ เปิดกระดาษออก แล้วอ่านข่าวสารนั้นในใจ เสร็จแล้วเงียบต่ออีกสักครู่ - ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้เปิดดู “ข่าวสารน้อย” แล้ว - ผู้สอนสังเกตดูว่า จะมีผู้เรียนสักกี่คนที่รู้สึกว่าตนถูกใส่ความเพราะตนไม่ได้ เป็นหรือไม่ได้ทำ�เช่นนั้นจริงๆ อาจป้อนคำ�ถามต่อไปว่า เมื่อถูกใส่ความว่าร้ายเช่นนี้
104
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
แล้วอยากจะทำ�อะไรต่อไป?
- ผู้สอนจึงอธิบายต่อได้ว่า เมื่อเราถูกใส่ร้าย ส่วนใหญ่แล้วเราจะรู้สึกเลวร้าย เพราะเราไม่ได้ผิดจริง ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราทำ�แก่ผู้อื่นก็เท่ากับเรากระทำ�บาปผิด ต่อเขา เพราะเรากำ�ลังฆ่าเขาด้วยคำ�พูด เท่ากับว่าเราไม่ได้ให้เกียรติเพือ่ นพีน่ อ้ งเพราะ เรากำ�ลังทำ�ลายชือ่ เสียงของเขาทัง้ ๆ ทีเ่ ขาไม่ได้ท�ำ ผิดแม้แต่นอ้ ย นัน่ ยังหมายความว่า เราเป็นคนทีไ่ ม่ซอื่ สัตย์ตอ่ คำ�พูดเพราะเราใช้ค�ำ พูดฆ่าคนอืน่ โดยการพูดปด หลอกลวง ผู้ฟังให้เชื่อตาม เพื่อผลประโยชน์ของเราเอง ดังนี้ เมื่อใดที่ความจริงถูกเปิดเผยขึ้นมา ก็จะไม่มีใครไว้วางใจเราอีกเพราะเราเป็นคนเชื่อถือไม่ได้และนิสัยไม่ดี - การปฏิบัติพระบัญญัติประการที่ 8 นี้ นอกจากจะหลีกเลี่ยงการกระทำ�ที่ผิด ดังกล่าวแล้ว ยังหมายถึงการต้องชดใช้ความผิดต่อความยุตธิ รรมทุกข้อทีไ่ ด้กระทำ� ทัง้ ในแบบส่วนตัวและชุมชน หมายความว่า หากเรากล่าวร้ายต่อผู้ใด เราต้องขอโทษต่อ ผู้นั้นและต้องประกาศให้ชุมชนรู้ด้วยว่าเราทำ�ผิดด้วยการกล่าวร้ายใส่ความผู้นั้น และ เขาผู้นั้นคือผู้บริสุทธิ์ - พระเจ้าทรงให้ปากแก่เราเพือ่ ทำ�ความดี ไม่ใช่เพือ่ ทำ�บาป ดังนัน้ เราจะสามารถ ทำ�ความดีด้วยปากของเราได้อย่างไรบ้าง? ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “มธุรสวาจา”
☆
ใบงาน “มธุรสวาจา” ท้ายแผน
- เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนคำ�ตอบกันและกัน แล้วอภิปราย โดยผู้สอนย้ำ�เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำ�คัญของการรู้จักมองโลกใน แง่บวกและใช้คำ�พูดเพื่อแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้องไม่ใช่เพื่อทำ�ร้ายและทำ�ลายกัน และกัน 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนพูดแต่ความจริงเสมอ
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนเงียบสักครู่ จับมือกันและกัน แล้วสวดภาวนา“บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................
105
วิธีเตรียม “ข่าวสารน้อย” 1. ผู้สอนเตรียมกระดาษชิ้นเล็กๆ เท่าจำ�นวนผู้เรียน 2. ผู้สอนเขียนคำ�ที่ไม่ดี ตัวอย่างเช่น “เธอคือคนโง่บัดซบ” “เธอ ทำ�ตัวเป็นคนเด่นดังเกินไปแล้วนะ” “เธอคิดว่าเก่งกว่าคนอืน่ แล้วหรือไง?” “อย่าคิดว่าเธอทำ�ตัวดีแล้วนะ” “หน้าตาอย่างงี้ใครเขาจะชอบ” “คิดว่า เพื่อนๆ รักเธอมากนักหรือ?” ฯลฯ 3. ม้วนหรือพับชิ้นกระดาษ ใส่รวมไว้ในภาชนะ
ใบงาน “มธุรสวาจา” คำ�ชี้แจง - ให้เติมในช่องว่างด้วยคำ�พูดที่มองโลกในแง่ดีและมีเมตตาในการสนทนาระหว่างฝนกับฟ้า
ตัวอย่างเช่น ฝน - “ฟ้า ฉันว่าเมฆเขากำ�ลังมองเราแบบไม่ดีเลยนะ” ฟ้า - “อย่าคิดอย่างนัน้ สิ เขาอาจจะไม่ได้คดิ อะไรอยูก่ ไ็ ด้” 1. ฝน - “นี่ฟ้า ฉันว่าเมฆเขาเป็นคนขี้เกียจมากเลยนะ ไม่เคยช่วยยกหนังสือเลย” ฟ้า - “.................................................................................................................................” 2. ฝน - “เธอเห็นไหมฟ้า ว่าเมฆเป็นคนที่ไม่เคยมาตรงเวลาเลย” ฟ้า - “.................................................................................................................................” 3. ฝน - “ฟ้า เธอคิดเหมือนฉันไหมว่า เมฆเขาไม่ชอบเธอเลยนะ” ฟ้า - “.................................................................................................................................” 4. ฝน - “ฉันรู้สึกว่าเมฆเขาทำ�ดีเอาหน้าเป็นประจำ�เลย...เธอว่าไหม?” ฟ้า - “.................................................................................................................................” 5. ฝน - “ฟ้า ฉันคิดว่าเมฆเขาชอบฟ้องครูว่าเราคุยกันในห้องเรียนนะ” ฟ้า - “.................................................................................................................................”