รวมแผนการสอน
คำ�สอน
หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ
ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับประถมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี ารปรับปรุงอยูบ่ า้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บางสิง่ ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้นำ�แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
สารบัญ หน้า แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พระเจ้าทรงสรรพานุภาพและพระทัยดี ....................................................................1 เรื่อง มนุษย์ร่วมมือกับพระเจ้าพัฒนาสิ่งสร้าง ...................................................................5 เรื่อง การสร้างจักรวาลและทูตสวรรค์ ..............................................................................8 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงประกาศข่าวดี ................................................................................12 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงช่วยคนบาปให้กลับใจ ....................................................................16 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้เจ็บป่วย .............................................................................20 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงผู้หิวโหย ................................................................................25 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงให้ชีวิต ........................................................................................29 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของพระเยซูเจ้า ..........................................................................33 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง พระศาสนจักร : สหพันธ์นักบุญ ...........................................................................39 เรื่อง พระศาสนจักร : หนึ่งเดียว ...................................................................................43 เรื่อง พระศาสนจักร : ศักดิ์สิทธิ์ ....................................................................................47 เรื่อง พระนางมารีย์พาเราไปหาพระเยซูเจ้า ....................................................................51 เรื่อง ความศรัทธาต่อพระนางมารีย์ ...............................................................................55 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การพิพากษา สวรรค์ นรก ไฟชำ�ระ ......................................................................60 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พระคัมภีร์ (ภาคพันธสัญญาเดิม) ..........................................................................64 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง พิธีกรรมเป็นคารวกิจของมนุษย์ต่อพระเจ้า ............................................................70 เรื่อง ปีพิธีกรรม ..........................................................................................................74 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง การภาวนา 4 รูปแบบ .........................................................................................81 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง มโนธรรมคริสตชน ..............................................................................................85
1
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง พระเจ้าทรงสรรพานุภาพและพระทัยดี
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเจ้าทรงสรรพานุภาพ ทรงฤทธิท์ กุ ประการทรงล่วงรูท้ กุ อย่าง และทุกอย่างเป็นปัจจุบันสำ�หรับพระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนสำ�นึกว่าตนอยูต่ อ่ พระพักตร์ของพระตลอดเวลา จึงควรทำ�แต่สงิ่ ทีด่ แี ละ ถูกต้อง สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงเป็นพระบุคคลที่ทรงสรรพานุภาพ หมายความว่า พระองค์ทรงฤทธานุภาพอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทรงฤทธิ์ทุกประการ พระองค์จึงทรงรอบรู้ทุกสิ่ง สำ�หรับพระองค์ไม่มีกาลเวลา ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ ทรงทำ�ได้ทุกอย่าง ทรงเป็นองค์ความรัก น้ำ�พระทัยของพระองค์เป็นสิ่งดีที่สุด (CCC 268-271) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกม “อะไรเอ่ย?” โดยให้ผู้เรียนคนหนึ่งเป็นคนถามและ เฉลยคำ�ตอบ ส่วนคนอื่นช่วยกันหาคำ�ตอบ ประมาณ 10-15 ข้อ ผู้ตอบถูกให้ข้อละ 1 คะแนน เมื่อถามเสร็จแล้วให้ผู้เล่นดูว่าตนตอบได้กี่คะแนน - เมื่อเสร็จแล้ว ให้ผู้ถามและผู้ตอบแบ่งปันความรู้สึกของการเป็นผู้ไม่รู้ ตอบไม่ ได้ และผู้รู้หรือผู้ถามที่สามารถตอบได้ทุกคำ�ถาม
☆ ดูตัวอย่างเกม
“อะไรเอ่ย?” ท้ายแผน
- ผู้สอนสรุปท้ายเกมได้ว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเกี่ยวกับความรู้และไม่รู้ ของเรามนุษย์ ซึ่งทำ�ให้เราเห็นชัดเจนว่า แม้บางครั้งเราจะเชื่อว่าตนเองเก่งมากเพียง ใดก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถรู้ทุกเรื่องหรือตอบคำ�ถามได้ทุกอย่าง - ผู้สอนสามารถยกระดับประสบการณ์ถามต่อไปว่า “มีมนุษย์คนใดบ้างไหมที่ ฉลาดรอบรูท้ กุ อย่าง?...มีฤทธิอ์ �ำ นาจทำ�ได้ทกุ เรือ่ ง?...แล้วมีใครไหมทีร่ ทู้ กุ เรือ่ ง?...และ ทำ�ได้ทุกอย่าง?...” 3 พระวาจา (รม 1:19-23) - พระเยซูเจ้าตรัสแก่บรรดาศิษย์ว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า คน มั่งมีจะเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์ได้ยาก เราบอกท่านอีกว่า อูฐจะลอดรูเข็ม ยังง่ายกว่า คนมั่งมีเข้าสู่อาณาจักรสวรรค์” เมื่อบรรดาศิษย์ได้ยินเช่นนี้ ต่างรู้สึกประหลาดใจมาก จึงทูลถามว่า “แล้วดังนี้ ใครเล่าจะรอดพ้นได้” พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรบรรดาศิษย์ แล้วตรัสว่า “สำ�หรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้ แต่สำ�หรับพระเจ้าทุกอย่างเป็นไปได้”
☆ ภาพอูฐและภาพเข็ม
ท้ายแผน
2
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
4 อธิบายพระวาจา - ในพระวาจาตอนนี้ พ ระเยซู เจ้ า ได้ ท รงกล่ า วถึ ง อู ฐ กั บ รู เข็ ม เพื่ อ สอนเรื่ อ ง ความยากจนและความร่ำ�รวยก็จริง แต่เราอยากจะเน้นตอนท้ายของเรื่องก็คือประโยค ที่ว่า สำ�หรับมนุษย์หลายๆ อย่างอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ “สำ�หรับพระเจ้า ทุกอย่างเป็น ไปได้” - คำ�ว่า “ทุกอย่าง” ของพระเยซูเจ้าก็หมายความว่า ทุกอย่าง ไม่ยกเว้นสักสิ่ง เดียว ทำ�ไมพระเจ้าจึงทรงทำ�ได้ทกุ อย่าง? ก็เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้านัน่ เอง และ มนุษย์ทำ�ทุกอย่างไม่ได้ก็เพราะไม่ว่าจะยังไงก็ตามเรายังคงเป็นมนุษย์อยู่นั่นเอง - นี่คือความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพระเจ้า พระผู้สร้างกับมนุษย์ผู้เป็นสิ่งสร้าง - นอกนั้น เราสามารถได้ตัวอย่างง่ายๆ จากเรื่องการสร้างโลกที่พระคัมภีร์เล่า ว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกจากความว่างเปล่า นั่นหมายความว่า พระเจ้าทรงฤทธิ์ยิ่งกว่า ผู้ใด หรือแม้จะดูจากชีวิตของพระเยซูเจ้าเอง พระองค์ทรงทำ�อัศจรรย์เพื่อช่วยเหลือ คนเจ็บไข้ คนตาย ทรงมีอ�ำ นาจเหนือธรรมชาติ ฯลฯ ซึง่ สิง่ เหล่านีไ้ ม่มมี นุษย์หรือเทวดา หรือปีศาจใดสามารถทำ�ได้ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนลองให้ผู้เรียนปิดตาสักครู่ จากนั้นให้แต่ละคนจินตนาการว่าในเวลานี้ อยากจะทำ�อะไร 1 อย่างและอยากจะไปทีไ่ หนสัก 1 แห่ง จากนัน้ ให้เปิดตาแล้วให้แต่ละ คนแบ่งปันว่าอยากทำ�อะไรและอยากไปที่ไหนกันบ้าง? - ผู้สอนจับประเด็นต่อไปว่า ในฐานะมนุษย์ เราอาจจะอยากทำ�อะไรมากมาย หรื อ อาจจะอยากไปในที่ ที่ ต นเองชอบ แต่ ใ นเวลานี้ เราทำ � ได้ แ ค่ ค วามคิ ด และ ความปรารถนา เพราะเราไม่สามารถทำ�และไปได้จริงๆ ดังที่ใจเราต้องการ - นี่คือประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีขอบเขตจำ�กัด และเราไม่สามารถออกจาก ขอบเขตนี้ได้เลย ยิ่งเราดิ้นรนเท่าไรเราอาจยิ่งผิดหวังมากขึ้นก็ได้ เพราะถ้าสิ่งที่เรา ปรารถนานั้นไม่ใช่สิ่งที่ดีและถูกต้อง เราก็คงจะไม่มีวันได้มันมาอย่างแน่นอน - แต่สำ�หรับพระเจ้าไม่เป็นเช่นนี้เลย เพราะพระองค์ทรงมีความพิเศษยิ่งกว่า มนุษย์อย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย พระองค์ทรงสามารถทำ�ได้ทกุ สิง่ ทรงอยูท่ กุ แห่ง ทุกหนได้ในเวลาเดียวกัน สำ�หรับพระองค์ไม่มีกาลเวลา เพราะทรงเป็นปัจจุบันเสมอ - เราคงไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่พระเจ้าทรงเป็นได้เพราะพระองค์ทรงอยู่ใน ระดับเหนือธรรมชาติ แต่เราอยู่ได้เพียงในระดับธรรมชาติเท่านั้น ตราบใดที่เรายังมี ชีวติ อยูเ่ ราก็คงจะเข้าใจไม่ได้อยูด่ ี แต่เมือ่ ใดทีเ่ ราตายไปแล้วเมือ่ นัน้ เราจะสามารถเข้าใจ อะไรได้ดีขึ้น เพราะเราจะหลุดจากร่างกายนี้ที่มีขอบเขต และวิญญาณของเราจะอยู่ใน ระดับเหนือธรรมชาติได้ - ดังนั้น เราจึงไม่สามารถอธิบายลักษณะของพระเจ้าดังกล่าวนี้ด้วยคำ�พูดให้ เข้าใจทั้งหมดได้ คริสตชนจึงต้องใช้ “ความเชื่อ” ในพระองค์ - ในเมื่อพระเจ้าทรงอิทธิฤทธิ์ ล่วงรู้ทุกสิ่ง เป็นปัจจุบันเสมอ ที่สำ�คัญคือ ทรง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
3
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เป็นองค์แห่งความรัก ดังนั้นน้ำ�พระทัยของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ดีและประเสริฐที่สุด แน่นอน เราจึงต้องเชื่อเช่นนี้และเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับน้ำ�พระทัยของพระองค์ให้ มากที่สุดเช่นเดียวกับพระเยซูเจ้า เพราะพระอาจารย์ของเราได้ตรัสไว้ว่า “เรามีอาหาร อืน่ ทีท่ า่ นทัง้ หลายไม่รจู้ กั …อาหารของเราคือการทำ�ตามพระประสงค์ของพระผูท้ รงส่ง เรามา และการประกอบภารกิจของพระองค์ให้สำ�เร็จลุล่วงไป” - นีค่ อื อุดมการณ์ทพี่ ระเยซูเจ้าทรงกำ�หนดให้พระองค์เอง ซึง่ ต้องเป็นอุดมการณ์ ของเราคริสตชนแต่ละคนด้วย 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนสำ�นึกว่าตนอยู่ต่อพระพักตร์ของพระตลอดเวลา จึงควรทำ�แต่สิ่งที่ดีและ ถูกต้อง 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ
☆
บทภาวนาท้ายแผน
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพ “เข็มและอูฐ”
4
เกม “อะไรเอ่ย?” 1. อะไรเอ่ย..ตามไดโนเสาร์มา ? - ไดโนอาทิตย์ 2. พิษอะไร กินไม่ตาย ? - พิษซ่า (พิซซ่า) 3. ถั่วโก๋แก่ทำ�มาจากอะไร ? - มัน (โก๋แก่มันทุกเม็ด) 4. ถ้า 30 ซ.ม. เท่ากับ 1 ฟุต แล้ว 2 ฟุต จะมีกี่นิ้ว ? - 2 ฟุต (เท้า) มี 10 นิ้ว 5. คนที่มีขาขวาเพียงข้างเดียวเรียกว่า ? - คนปกติเนี่ยแหละ ใครจะมีขาขวา 2 ข้าง 6. พริกอะไรเอ่ยมีมือ ? - พริกชี้ฟ้า 7. ครูอะไรใช้ปากกาด้ามเดียว ? - ครูวันเพ็ญ (one pen) 8. โดเรมอนกับโนบิตะเป็นอะไรกัน ? - เป็นตัวการ์ตูนเหมือนกัน
9. ไทยอะไรเอ่ยอยู่สูงที่สุด ? - ไทยคม (ดาวเทียม) 10. อะไรเอ่ยพอหงายใส่เข้า พอตะแคงใส่ยาก พอควํ่าใส่ ไม่ได้ ? - รองเท้า 11. เกาะอะไรมีเสาไฟฟ้าเยอะที่สุด ? - เกาะกลางถนน 12. 1112 เป็นเบอร์อะไร ? - เบอร์โทร 13. ทำ�ไมคำ�ว่า Coca-Cola ถึงต้องใช้ซีตัวใหญ่ ? - ถ้าซีเล็กต้องเป็นทูน่า 14. หมอนอะไรคนชอบ แต่ไม่ยอมนอนกอด ? - หมอนทอง 15. สระอะไรเอ่ยในภาษาไทยที่เหม็นที่สุด ? - สระอึ
บทแสดงความรัก ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้ารักพระองค์สุดดวงใจยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวง เพราะพระองค์ทรงเป็นความดีงามหาที่สุดมิได้ และทรงสมควร ได้รับความรักจากมนุษย์ทั้งมวล และเพราะรักพระองค์ ข้าพเจ้าจึงรักผู้อื่น เหมือนรักตนเอง และพร้อมจะให้อภัยผู้อื่นเสมอ โปรดทรงเพิ่มพูนความรักของข้าพเจ้าด้วยเถิด อาแมน
5
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง มนุษย์ร่วมมือกับพระเจ้าพัฒนาสิ่งสร้าง
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาเพื่อให้มีความสุขกับพระองค์และ เพื่อให้ร่วมมือกับพระองค์ในการพัฒนาสร้างสรรค์โลกให้เจริญก้าวหน้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนขยันขันแข็งในการทำ�หน้าที่ทุกอย่างของตน สาระการเรียนรู ้ เมือ่ พระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์มาแล้ว พระองค์ทรงอวยพรเขาและมอบหน้าทีท่ จี่ ะร่วมมือกับพระองค์ ในการสร้างสรรค์โลกต่อไป มนุษย์จึงต้องใช้สติปัญญาที่พระประทานให้เพื่อพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้าในทางที่ดีอย่างสุด ความสามารถ (CCC 373-378, 380) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพ “เทคโนโลยีสมัยใหม่” มาให้ผู้เรียนพิจารณาดูประมาณ 10 ภาพ เมือ่ ดูแล้วให้ผเู้ รียนพิจารณาต่อว่า สิง่ เหล่านีใ้ ครเป็นผูส้ ร้างมา? คำ�ตอบก็คอื มนุษย์เรา สร้างมันขึน้ มาเอง เพราะพระเจ้ามิได้ทรงสร้างสิง่ เหล่านีแ้ บบสำ�เร็จรูปให้มนุษย์ใช้ แต่ มนุษย์ได้ใช้สติปัญญาของตนสร้างมันขึ้นมาเพื่อพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น - ผู้สอนนำ�ผู้เรียนให้พิจารณาถึงภาพเหล่านั้นอย่างใกล้ชิดและละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่ง จะพบว่า ภาพเทคโนโลยีสมัยใหม่ทเี่ ห็นนัน้ มิใช่สงิ่ ทีส่ ร้างกันขึน้ มาง่ายๆ ในเวลาสัน้ ๆ และราคาถูกๆ แต่ตรงกันข้าม แต่ละสิง่ นัน้ ล้วนต้องการความรูท้ ลี่ ะเอียดและลึกซึง้ มาก เพือ่ จะประดิษฐ์มนั ขึน้ มาได้ อีกทัง้ ต้องการเงินจำ�นวนมหาศาล เวลา บุคคล และปัจจัย อืน่ ๆ อีกมากมายนับไม่ถว้ น รวมทัง้ การทดลองซ้�ำ แล้วซ้�ำ อีกเพือ่ จะให้ได้สงิ่ ทีด่ ที สี่ ดุ มา - ดังนัน้ หากจะให้ผเู้ รียนทำ�สิง่ เหล่านัน้ คงจะเป็นไปไม่ได้แน่ เพราะความสามารถ ยังไม่พอ จึงทำ�ให้เราเห็นว่าสิ่ง “ไฮ-เทคฯ” เหล่านี้ต้องการความสามารถพิเศษรวม ทั้งอีกสารพัดมากมายเพื่อให้สิ่งเหล่านี้สำ�เร็จลงได้ - นี่แสดงว่ามนุษย์มีความเก่งกาจสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะสิ่งประดิษฐ์ เหล่านี้มีความน่าพิศวงจริงๆ - ให้เราถามตนเองว่า ทำ�ไมมนุษย์จึงทำ�ได้ถึงขนาดนี้? ลำ�พังเพียงกำ�ลังมนุษย์ เท่านั้นจะสามารถทำ�สิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมดหรือไม่? ให้เรามาพิจารณาดูว่าพระคัมภีร์ กล่าวถึงการสร้างมนุษย์ตอนแรกเริ่มไว้ว่าอย่างไร?
☆
ดูตัวอย่างภาพ “เทคโนโลยี สมัยใหม่” ท้ายแผน
6
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3 พระวาจา (ปฐก 1:28; 2:15) - “พระเจ้าทรงอวยพระพรแก่มนุษย์ ตรัสแก่เขาว่า จงมีลูกดกทวีมากขึ้นจนเต็ม แผ่นดิน จงมีอำ�นาจเหนือแผ่นดิน จงครอบครองฝูงปลาในทะเล และฝูงนกในอากาศ กับบรรดาสัตว์ที่เคลื่อนไหวบนแผ่นดิน” - “พระเจ้าจึงทรงให้มนุษย์นั้นอยู่ในสวนเอเดน ให้ทำ�และรักษาสวน” 4. อธิบายพระวาจา - พระคัมภีร์ได้เล่าเรื่องการสร้างโลกและมนุษย์ไว้ค่อนข้างยาก ทีละวันจนครบ 6 วัน และพระเจ้าได้ทรงให้มนุษย์ “มีอำ�นาจเหนือ” และให้ “ครอบครอง” สิ่งสร้าง ต่างๆ “ให้ท�ำ และรักษา” สวน (โลก) ทีพ่ ระองค์ทรงสร้างนัน้ คำ�ตรัสเหล่านีห้ มายความ ว่า พระองค์ทรงมอบหมายหน้าที่ให้มนุษย์ร่วมส่วนในการสร้างสรรค์โลกพร้อมกับ พระองค์ - มนุษย์สามารถทำ�หน้าที่นี้ได้อย่างไร? มนุษย์ทำ�ได้เพราะเหตุว่ามนุษย์เป็น “ภาพลักษณ์” ของพระเจ้า มี “สติปัญญาและอำ�เภอใจ” ซึ่งเป็นสมรรถภาพของ “จิต” พระเจ้าได้ประทานความสามารถมากมายแก่มนุษย์ เขาจึงมีอำ�นาจเหนือโลก ครอบครองโลก ประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ และเขาสามารถ รักษาสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาได้เป็นอย่างดี - เป้าหมายของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ก็คือเพื่อให้เขามีความสุขนิรันดรกับ พระองค์ มิใช่เพื่อให้เขามาทำ�งานแต่อย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้นหน้าที่การงานที่มนุษย์ ต้องทำ�นั้นแม้จะทำ�ให้เขาต้องลำ�บาก (ผลของบาปกำ�เนิด) แต่ในเวลาเดียวกันก็ทำ�ให้ เขาสบายและมีความสุขด้วย เพราะมนุษย์ได้ใช้พระพรที่พระประทานให้อย่างเต็ม ความสามารถในการพัฒนาสร้างสรรค์โลก 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากจะมองดูสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ให้ดีแล้ว เราพบว่าสิ่งเหล่านั้นมีคุณค่าและ ดีทกุ อย่าง แต่บางคนอาจแย้งว่าสิง่ เหล่านัน้ คือดาบสองคม ทีค่ นส่วนใหญ่อาจนำ�ไปใช้ ในทางที่ไม่ดีด้วยซ้ำ� นั่นก็เพราะมนุษย์เห็นแก่ตัว ชอบเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์กันเอง และธรรมชาติ ทำ�ให้เกิดความไม่ดีเป็นผลที่ตามมามากมาย หลายคนจึงมองและสรุป ว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ที่จริงแล้ว เป็นมนุษย์เองที่นำ�ไปใช้ในทางผิด ต่างหาก - เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต หากใช้ในทางที่ดีจะเกิดประโยชน์มหาศาล แต่หากใช้ ในทางที่ผิดก็จะเกิดความเสียหายแก่มนุษย์ยิ่งกว่าอีก - มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ให้เข้าใจถึงแผนการดั้งเดิมของพระ ปฏิบัติตนในทางที่ ถูกต้อง ขยันขันแข็งในการทำ�งานเพื่อร่วมมือกับพระเจ้าในการพัฒนาสร้างสรรค์โลก อย่างสุดความสามารถตามวัยของตน ใช้สิ่งของต่างๆ อย่างประหยัด ถูกวิธี เพื่อ ประโยชน์สขุ ของส่วนรวม มิใช่เพือ่ ผลประโยชน์ของตนเองแต่เพียงผูเ้ ดียวเท่านัน้ เพราะ หากทำ�เช่นนีผ้ ลเสียก็จะเกิดกับธรรมชาติอย่างทีเ่ ราเห็นว่ามีภยั พิบตั มิ ากมายได้เกิดขึน้ ทำ�ให้มนุษย์ได้รบั ผลกระทบและเสียหายอย่างเหลือคณานับ ในเวลาเดียวกันเครือ่ งมือ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
7
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เทคโนโลยีต่างๆ ก็กลับกลายเป็นสิ่งไม่ดีหรือน่ากลัวหรือสร้างปัญหา แทนที่จะเป็นสิ่ง ดีที่สร้างความดีงามให้แก่มนุษย์และสิ่งแวดล้อม - ดังนั้น เราคริสตชนจึงต้องปฏิบัติตามแผนการของพระเจ้า ทำ�หน้าที่ที่พระองค์ ทรงมอบหมายไว้ตั้งแต่สร้างโลกให้สำ�เร็จไป คือเราต้องขยันขันแข็งในการสร้างสรรค์ สิ่งดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง คนรอบข้าง และธรรมชาติแวดล้อมรอบตัว
6. หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนขยันขันแข็งในการทำ�หน้าที่ทุกอย่างของตน 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความหวัง” พร้อมกันอย่างตั้งใจ
☆
ดู “บทแสดงความหวัง” ท้ายแผน
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................
ภาพ “เทคโนโลยีสมัยใหม่”
บท “แสดงความหวัง” ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าหวังอย่างแน่วแน่ว่า เดชะพระบารมีของพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์จะประทานพระหรรษทานแก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ และสันติสุขนิรันดรในโลกหน้า ทั้งนี้เพราะพระองค์ทรงรักษาพระสัญญา ที่ทรงให้ไว้เสมอ . . . อาแมน
8
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง การสร้างจักรวาลและทูตสวรรค์
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้สร้างจักรวาลและทูตสวรรค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าที่พระทัยดี สร้างทุกอย่างที่ดีสำ�หรับตน สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่งทุกอย่างจากความว่างเปล่าด้วยฤทธิ์อำ�นาจของพระองค์ ทรงสร้างฟ้าและดิน ซึ่งหมายถึงจักรวาล นอกจากมนุษย์แล้วพระองค์ยังทรงสร้างทูตสวรรค์หรือเทวดา ซึ่งเป็นจิต ไม่มีร่างกาย รู้รับผิดชอบและ มีอำ�เภอใจ ทรงประทานปรีชาญาณ อำ�นาจ และความศักดิส์ ทิ ธิท์ ยี่ งิ่ ใหญ่แก่พวกเขา มีทงั้ ทูตสวรรค์ทดี่ แี ละไม่ดี (CCC 325336) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพจักรวาล กาแล็กซี่ ดวงดาวในท้องฟ้าที่สวยงามมาให้ผู้เรียนดู พร้อมกับอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความหมายของจักรวาล กาแล็กซี่ ฯลฯ เพื่อให้ ผู้เรียนรู้สึกพิศวงในสิ่งสร้างที่น่ามหัศจรรย์ของพระเจ้านี้ - ให้ผู้เรียนดูภาพเทวดาที่สวยงาม โดยให้ผู้เรียนอธิบายเองว่า เทวดาเป็นใคร? ทำ�หน้าที่อะไรบ้าง? ฯลฯ - ย้อนเข้ามาใกล้ตัวอีกเล็กน้อย คือ มองดูโลกของเราซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง เช่นกัน โลกของเรามีสิ่งน่าพิศวงมากมายรวมทั้งสิ่งต่างๆ ในโลก ซึ่งจักรวาล โลก และ ดวงดาวต่างๆ เหล่านี้อยู่กันเป็นระบบได้อย่างไม่น่าเชื่อ - พูดถึงเรื่องต่างๆ เหล่านี้แล้ว จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือการบังคับ บัญชาของมนุษย์แน่นอน เพราะไม่มมี นุษย์คนใดสามารถขึน้ ไปจัดการจักรวาลของเรา ได้ หรือมีอำ�นาจเหนือบรรดาเทวดาได้ - แล้วใครคือผู้สร้างและคอยดูแลจักรวาล โลก และระบบสุริยะจักรวาล หรือเป็น เจ้าของเทวดาเหล่านี้? 3 พระวาจา (ปฐก 1:1..) - ในปฐมกาล พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน
☆
ภาพ “จักรวาล เทวดา โลก” ท้ายแผน
☆
ดูภาพ “สร้างโลก” ท้ายแผน
9
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
4 อธิบายพระวาจา - พระคัมภีร์ได้เล่าให้เราฟังถึงเรื่องการสร้างจักรวาลและระบบสุริยะจักรวาลว่า ในตอนแรกเริม่ ยังไม่มอี ะไรทัง้ สิน้ มีแต่ความว่างเปล่าและความมืด แต่พระเจ้าทรงพอ พระทัยจะสร้างสิ่งต่างๆ โดยทรงเริ่มสร้างจักรวาลและสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ทำ�ให้โลกของ เรามีความสวยงามและแสงสว่างดังที่เราเห็นทุกวันนี้ - พระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า คำ�ว่า “ฟ้า” หมายถึงสวรรค์ ซึ่งเป็นที่ประทับ ของพระเจ้า รวมทั้งสิ่งสร้างที่เป็นจิต คือ ทูตสวรรค์ที่ห้อมล้อมพระเจ้าอยู่ด้วย (CCC 326; สดด 115:16; มธ 5:16) - ดังนั้น พร้อมกับการสร้างจักรวาล พระเจ้าได้ทรงสร้างบรรดาทูตสวรรค์มาด้วย พวกเขาเป็นจิตล้วน ไม่มีร่างกายจึงเป็นอมตะ ทรงมอบหน้าที่ให้พวกเขาด้วย คือเป็น ผู้รับใช้และผู้ถือสารของพระเจ้า สรรเสริญพระเจ้าตลอดเวลา อีกทั้งยังมีส่วนช่วยใน ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งดีสำ�หรับมนุษย์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - มนุษย์เราที่ถูกสร้างมานี้มีความโชคดีเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าทรงเตรียมทุกสิ่ง ทุกอย่างให้พร้อมก่อนเพื่อให้มนุษย์ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดเมื่อเขาเกิดมาในโลก - นี่คือพระญาณสอดส่องของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้าง ดูแล รักษาทุกสิ่งอย่างดี ที่สุด ด้วยความเฉลียวฉลาดอย่างที่สุด เพราะใครเล่าจะสามารถทำ�ให้จักรวาลเกิดมา ได้ดมี รี ะบบเช่นนี?้ ไม่มอี ย่างแน่นอน ยิง่ ถ้าพิจารณาว่าโลกนีเ้ กิดมาเป็นเวลานานเท่าใด แล้ว? นับไม่ถ้วนเลย แต่จักรวาลและระบบต่างๆ ยังคงเป็นไปอย่างเป็นระเบียบมาก ที่สุด ซึ่งหากไม่มีใครดูแลจัดระบบแล้วมันคงเป็นเช่นนี้ไปไม่ได้ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ดาวนพเคราะห์” - อาจมีบางคนแย้งว่า แล้วภัยพิบัติของธรรมชาติมาจากไหน? แน่นอนเรื่องนี้ เราต้องตอบว่าเพราะมนุษย์ทำ�เองด้วยความเห็นแก่ตัว ต้องการหาผลประโยชน์จาก ธรรมชาติและสิ่งสร้าง จึงจัดการกับสิ่งสร้างทุกอย่างตามที่เขาต้องการเพื่อให้เขาได้รับ ผลประโยชน์มากที่สุด โดยไม่คำ�นึงว่าธรรมชาติเหล่านั้นจะเสียหายอย่างไรและมาก เพียงใด? - แม้แต่เทวดา พระเจ้าก็ทรงสร้างมาเพื่อให้การสร้างของพระองค์สมบูรณ์มากขึ้น เทวดาคือสิง่ สร้างของพระเจ้าทีพ่ เิ ศษ เพราะพวกเขามีความศักดิส์ ทิ ธิท์ ยี่ งิ่ ใหญ่ในระดับ หนึ่ง (น้อยกว่าพระเจ้า) รู้รับผิดชอบและมีอำ�เภอใจ มีปรีชาญาณและอำ�นาจ เทวดา เชยชม รัก และนมัสการพระเจ้า มีหน้าที่รับใช้พระเจ้า สรรเสริญพระองค์ ในเวลา เดียวกันก็ช่วยมนุษย์ด้วยการอารักขาให้ปลอดภัย ช่วยภาวนาให้เรา ปกป้องเราให้พ้น อันตรายทั้งทางกายและใจ ดลใจให้เราทำ�ดี - แต่เทวดาก็มีทั้งดีและไม่ดี เทวดาที่ไม่ดีคือเทวดาจำ�นวนหนึ่งที่ไม่ยอมรับพระเจ้า อยากเป็นใหญ่กว่าพระเจ้า แต่สงิ่ นีไ้ ม่มวี นั เป็นไปได้ เพราะไม่มใี ครยิง่ ใหญ่กว่าพระเจ้า ได้ ดังนั้นเทวดาไม่ดีก็คือปีศาจ ที่ตั้งตนเป็นศัตรูของพระเจ้า คอยล่อลวงมนุษย์ให้ ทำ�ความชั่วจะได้ไปอยู่ในนรกกับมัน
☆
ใบงาน “ดาวนพเคราะห์” ท้ายแผน
10
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- อย่างไรก็ดี สิ่งทั้งหลายที่พระเจ้าทรงสร้างมานั้นล้วนเป็นสิ่งที่ดี ทรงสร้างมา เพื่อให้มนุษย์ได้รับสิ่งที่ดีและอำ�นวยความสะดวกสบายในการดำ�รงชีวิต 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนขอบคุณพระเจ้าที่พระทัยดี สร้างทุกอย่างที่ดีสำ�หรับตน 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บททูตสวรรค์ของพระเจ้า” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ หรืออาจร้องเพลง “ข้าแต่อารักขเทวดา” พร้อมกันก็ได้
☆
ดู “บททูตสวรรค์ของ พระเจ้า” ท้ายแผน
8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
จักรวาล
เทวดา
การสร้างโลก
โลก
11
บท “ทูตสวรรค์ของพระเจ้า” ทูตสวรรค์ของพระเจ้า พระองค์ทรงพระกรุณา มอบข้าพเจ้าไว้ในความอารักขาของท่าน โปรด ส่องสว่างพิทักษ์รักษา คุ้มครองและนำ�ทาง ชีวิตข้าพเจ้าในวันนี้ (คืนนี้) ด้วยเทอญ . . .
ใบงาน “ดาวนพเคราะห์” คำ�ชี้แจง - ให้ใส่ชื่อทั้ง 9 ของดาวนพเคราะห์ที่ล้อมรอบดวงอาทิตย์ให้ถูกต้อง
12
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงประกาศข่าวดี
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ประกาศ “ข่าวดี” ของพระเจ้าอันเป็น ข่าวดีแห่งความรอดพ้นสำ�หรับมนุษย์ที่ตอบรับข่าวดีนี้ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเรียนคำ�สอนด้วยความสนใจและตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ ทรงมีพันธกิจสำ�คัญคือการไถ่บาปมนุษย์ ซึ่งองค์ ประกอบสำ�คัญหนึง่ ของการไถ่บาปคือการประกาศข่าวดีทชี่ ว่ ยให้รอดพ้นของพระเจ้า เพือ่ ให้มนุษย์ได้รบั รูถ้ งึ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า และแผนการอันยิ่งใหญ่นี้ของพระองค์ เขาจะได้ตอบสนองแผนการของพระองค์ด้วยความรู้ตัว เต็มใจ และสำ�นึกในพระคุณ อันยิ่งใหญ่นี้ของพระองค์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสร้างสถานการณ์โดยแจกสลาก “ข่าวดี” ให้ผู้เรียนบางคนหยิบแล้ว เปิดอ่านอย่างเป็นความลับ โดยไม่ให้คนอื่นทราบว่าข่าวดีนั้นคืออะไร แล้วสังเกต ปฏิกิริยาของผู้ได้รับและไม่ได้รับสลากข่าวดี - ผู้สอนสัมภาษณ์ผู้ไม่ได้รับสลากข่าวดีว่าแต่ละคนรู้สึกอย่างไร? แล้วจึงให้ผู้ได้ รับสลากบอกเล่าข่าวดีที่ตนได้รับพร้อมกับแบ่งปันความรู้สึก - ให้ผู้เรียนเทียบเคียงประสบการณ์กันและกัน โดยสรุปว่า ตามธรรมดาแล้ว คนเรามักชอบได้รับข่าวสารต่างๆ เพราะการอยากรู้หรืออยากเห็นเป็นปกติวิสัยของ มนุษย์อยู่แล้ว แต่เมื่อเราเห็นคนอื่นได้รับข่าวดีเราก็ยิ่งอยากรู้มากขึ้นเป็นหลายเท่า เพราะเราเองก็อยากได้รับข่าวดีนั้นบ้าง - นี่คือประสบการณ์ของข่าวดีทั่วๆ ไป ซึ่งบางครั้งไม่ได้สำ�คัญอะไรมากนัก แต่ ยังมี “ข่าวดี” อีกอย่างหนึ่งซึ่งสำ�คัญต่อตัวเราแต่ละคนมาก เพราะเกี่ยวกับความเป็น ความตายเลยทีเดียว ข่าวดีนนั้ คืออะไร? ใครคือผูป้ ระกาศข่าวดีนนั้ เราอยากรูก้ นั ไหม? - ให้เรามาดูกันดีกว่าว่า ข่าวดีนั้นคืออะไร? 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงเริ่มประกาศข่าวดี (มก 1:14-15) หลังจากที่ยอห์นถูกจองจำ� พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังแคว้นกาลิลี ทรงประกาศ เทศนาข่าวดีของพระเจ้า ตรัสว่า “เวลาทีก่ �ำ หนดไว้มาถึงแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้า อยู่ใกล้แล้ว จงกลับใจ และเชื่อข่าวดีเถิด”
☆
ตัวอย่างสลากท้ายแผน
.
13
ที่ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารที่ยกมาตอนนี้อาจจะสั้นและไม่ได้เล่าถึงบริบททั้งครบ ดังนั้นผู้สอน อาจเล่าเพิ่มเติมในเกร็ดย่อยให้น่าสนใจได้อีก
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- แต่สิ่งที่ต้องการจะเน้นในบริบทนี้ก็คือ “ข่าวดี” ที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศ ซึ่ง ก็คือ “พระอาณาจักรของพระเจ้าใกล้เข้ามาแล้ว ให้เรากลับใจ และเชื่อข่าวดีของ พระองค์” ซึ่งอันที่จริงแล้ว พระอาณาจักรของพระเจ้าก็คือ “สวรรค์” นั่นเอง เพราะ พระอาณาจักรนีม้ พี ระองค์อยูร่ ว่ มกับบรรดานักบุญทัง้ หลาย เป็นอาณาจักรทีเ่ ราทุกคน ก็อยากจะเข้าไปด้วยเพราะหากเราต้องอยูน่ อกอาณาจักรนีก้ อ็ นั ตรายอย่างยิง่ ว่าเราคงจะ ไม่รอดเป็นแน่ เพราะเราเชื่อว่า ที่ใดที่ไม่มีพระเจ้าที่นั่นก็มีปีศาจอยู่ และเราไม่อยาก อยู่กับปีศาจแน่นอนเพราะนั่นคือนรก - ดังนั้น ข่าวดีที่พระเยซูเจ้ามาประกาศแก่เรานั้นจึงเป็นข่าวดีที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับ เรา เพราะเราเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนใดจะมีชีวิตยืนยาวโดยไม่ต้องตาย ดังนั้นความสุขที่ เราหากันในโลกนี้นั้นมีจริงแต่เป็นความสุขที่สั้นๆ และทุกอย่างจะจบสิ้นไปพร้อมกับ ความตายของเรา แต่หลังความตายล่ะ? ความเชื่อคริสตชนของเราสอนว่า หลัง ความตายนั้นมีความจริงที่แน่นอน 4 อย่างคือ การพิพากษาไฟชำ�ระ สวรรค์ และนรก ซึง่ หากเราต้องเลือกแล้ว ทุกคนคงจะเลือก “สวรรค์” อย่างแน่นอน เพราะทุกคนอยาก มีความสุขแบบ 100 % และชั่วนิรันดร - “พระอาณาจักรของพระเจ้า “สวรรค์” หรือ “ความสุข” นี้เองจึงเป็น “ข่าวดี” ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงประกาศแก่เรา เหตุนจี้ งึ ต้องเป็น “ข่าวดี” ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของชีวติ มนุษย์ คือของเราแต่ละคนนั่นเอง - พระเยซูเจ้าทรงบอกวิธีที่จะได้รับความสุขในพระอาณาจักรของพระเจ้านี้ด้วย นั่นคือ ต้องเชื่อใน “ข่าวดี” ของพระองค์และต้องกลับใจ ซึ่งหมายถึงต้องเปลี่ยนวิธี ดำ�เนินชีวิตให้สอดคล้องกับคุณค่าของพระวรสารนั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรม “ข่าวดีของฉัน” จากใบงาน เพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกว่า อะไรบ้างคือข่าวดีสำ�หรับพวกเขาแต่ละคน - หากพิจารณาให้ดีเราจะเข้าใจได้ว่า “ข่าวดี” ต่างๆ ที่เราพบในชีวิตประจำ�วัน นัน้ เทียบไม่ได้เลยกับ “ข่าวดี” ของพระเยซูเจ้า ดังนัน้ จึงชัดเจนว่าข่าวดีของพระเยซูเจ้า นั้นควรนำ�ความยินดีมาให้แก่เรามากสักเพียงใด? - แต่หลายครั้งเราไม่ได้สนใจในข่าวดีของพระองค์เลย เพราะเรามัวแต่ไปหลง ดีใจอยูก่ บั สิง่ ยัว่ ยวนทีไ่ ม่เทีย่ งแท้ ซึง่ บางครัง้ เป็นการประจญของปีศาจด้วยทีม่ นั ไม่อยาก ให้เราเชื่อฟังพระแต่ให้เราเชื่อฟังมันจะได้พินาศเช่นเดียวกับมัน - เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้ว เราจะยังหลงใหลกับการหลอกล่อและคำ�ชวนเชิญที่ น่ากลัวของปีศาจอยู่อีกหรือ? ผู้ชาญฉลาดย่อมไม่ทำ�เช่นนี้แน่นอน เราจะต้องเลือก สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับตนเอง ปีศาจจะไม่เสนอสิ่งที่ดีให้แก่เราแน่เพราะมันอิจฉาไม่อยาก ให้เราได้ดีกว่ามัน เราจึงต้องเลือกสิ่งที่ดีและถูกต้องที่สุดให้แก่ตนเอง นั่นก็คือตอบรับ
☆
ใบงาน “ข่าวดีของฉัน” ท้ายแผน
14
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
“ข่าวดี” ที่พระเยซูเจ้าทรงประกาศแก่เราด้วยความยินดีและเต็มใจที่จะปฏิบัติสิ่งที่ พระองค์ทรงบอกเพื่อจะได้บรรลุถึงพระอาณาจักรของพระเจ้า หรือ “สวรรค์” นั่นเอง - ข่าวดีของพระเจ้าสามารถมาถึงผู้เรียนได้หลายทาง เช่น การอ่านพระวรสาร การเชื่อฟังคำ�สอนของผู้ใหญ่ การฟังเทศน์ในมิสซาวันอาทิตย์ การเรียนคำ�สอน ซึ่ง ผู้เรียนสามารถนำ�มาปฏิบัติได้เป็นประจำ� เฉพาะอย่างยิ่งการเรียนคำ�สอน เพราะเป็น ช่วงเวลาทีผ่ เู้ รียนจะได้รจู้ กั กับพระเยซูเจ้าและข่าวดีของพระองค์อย่างละเอียดลึกซึง้ เป็น พิเศษ - (ผู้สอนแต่ละท่านสามารถเน้นข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันได้ โดยคำ�นึงถึงสภาพ บริบทของตนเป็นสำ�คัญ) 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเรียนคำ�สอนด้วยความสนใจและตั้งใจ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้สวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่าง ตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ตัวอย่างสลาก “ข่าวดี” 1. 2. 3. 4.
ขอชมเชยว่าคุณเป็นนักเรียนที่ขยันเรียนมาก ขอชมเชยว่าคุณเป็นนักเรียนที่เสียสละตนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนๆ ขอแสดงความยินดี ที่คุณจะได้รับประทานขนมเมื่อเรียนจบวิชานี้ ขอแสดงความยินดี ที่เพื่อนๆ ในห้องหลายคนชอบคุณมาก
5. ขอแสดงความยินดี ที่คุณเป็นนักเรียนที่มีความประพฤติดี
15
ใบงาน “ข่าวดีของฉัน” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนสิ่งที่คิดว่าเป็น “ข่าวดีของฉัน” ลงในช่องว่าง
16
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงช่วยคนบาปให้กลับใจ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่บาปที่มาเพื่อช่วยคนบาปให้ กลับใจสู่ความรอดพ้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสำ�นึกว่าตนเป็นคนอ่อนแอและคนบาป สาระการเรียนรู ้ ในการกระทำ�พันธกิจของพระเยซูเจ้านัน้ พระองค์ทรงมีความชัดเจนเป็นทีส่ ดุ ถึงเป้าหมายของพันธกิจของ พระองค์ว่า ทรงมาเพื่อช่วยคนบาปให้กลับใจ มิใช่เพื่อจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่บนแผ่นดินนี้ แต่เพื่อ “เรียกแกะที่หลงไปให้กลับเข้า คอก” เพื่อให้มนุษย์ทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งคนบาปที่อยู่ห่างไกลจากพระเจ้า และไม่เข้าใจในพระประสงค์ของพระองค์ได้กลับ มารับความรอดพ้นจากพระองค์ และจะได้ไม่ต้องพินาศไป ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเล่านิทานเรื่อง “มิตรสหาย” ให้ผู้เรียนฟัง - เมื่อเล่าเสร็จแล้ววิเคราะห์เรื่องนี้กับผู้เรียนพร้อมกัน โดยสามารถตั้งคำ�ถามว่า ระหว่างลาและสุนัขใครทำ�ถูกต้องกว่ากัน? ให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกว่า เขาจะทำ�แบบ ลาหรือแบบสุนัขหรือไม่? เพราะเหตุใด? - ผู้สอนสามารถให้บทสรุปของนิทานเรื่องนี้คือ ในตัวเรามนุษย์แต่ละคนมี ความโน้มเอียงที่จะเห็นแก่ตัวหรือใจแคบ ไม่อยากให้ผู้อื่นได้ดีกว่าตน อยากแก้แค้น ฯลฯ ซึง่ ล้วนเป็นการโน้มเอียงในทางทีไ่ ม่ดหี รือทางบาป อาจจะมีบางคนทีไ่ ม่เป็นหรือ เป็นน้อย เขาก็จะมีลักษณะเป็นคนใจดีกว่าคนอื่น แต่หากสังเกตความรู้สึกของเราแล้ว จะเห็นว่าส่วนใหญ่เรามักมีความเห็นแก่ตัวมากกว่า - นิทานเรื่องนี้ให้อุทาหรณ์แก่เราว่า ไม่มีใครบอกได้ว่า “ฉันเป็นคนดีบริบูรณ์” ที่ไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขนิสัยต่างๆ ของตนเองอีกแล้ว ดังนั้น ไม่มากก็น้อยเราทุกคน ต้องยอมรับว่าเราคือคนบาปนัน่ เอง เราจึงไม่มสี ทิ ธิท์ จี่ ะดูถกู คนอืน่ ทัง้ ในความคิดหรือ ด้วยวาจาโดยชี้หน้าด่าว่าเขา “ไม่ดี ชั่ว เลว” กว่าเรา - ให้เรามาดูในพระวรสารว่า พระเยซูเจ้าทรงทำ�อย่างไรต่อหน้าคนที่คนอื่นบอก ว่าเป็นคนบาป
☆
ดูนิทานท้ายแผน
17
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3 พระวาจา : หญิงผิดประเวณี (ยน 8:3-11) บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำ�หญิงคนหนึ่งเข้ามา หญิงคนนี้ถูกจับขณะ ล่วงประเวณี เขาให้นางยืนตรงกลาง แล้วทูลถามพระองค์ว่า “อาจารย์ หญิงคนนี้ถูก จับขณะล่วงประเวณี ในธรรมบัญญัติ โมเสสสัง่ เราให้ทมุ่ หินหญิงประเภทนีจ้ นตาย ส่วน ท่านจะว่าอย่างไร” เขาถามพระองค์เช่นนี้ เพื่อทดลองพระองค์ หวังจะหาเหตุปรักปรำ� พระองค์ แต่พระเยซูเจ้าทรงก้มลง เอานิว้ พระหัตถ์ขดี เขียนทีพ่ นื้ ดิน เมือ่ คนเหล่านัน้ ยัง ทูลถามย้ำ�อยู่อีก พระองค์ทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสว่า “ท่านผู้ใดไม่มีบาป จงเอาหิน ทุม่ นางเป็นคนแรกเถิด” แล้วทรงก้มลงขีดเขียนบนพืน้ ดินต่อไป เมือ่ คนเหล่านัน้ ได้ฟงั ดังนี้ ก็คอ่ ยๆ ทยอยออกไปทีละคน เริม่ จากคนอาวุโส จนเหลือแต่พระเยซูเจ้าตามลำ�พัง กับหญิงคนนั้น ซึ่งยังคงยืนอยู่ที่เดิม พระเยซูเจ้าทรงเงยพระพักตร์ขึ้น ตรัสกับนางว่า “นางเอ๋ย พวกนั้นไปไหนหมด ไม่มีใครลงโทษท่านเลยหรือ” หญิงคนนั้นทูลตอบว่า “ไม่มีใครเลย พระเจ้าข้า” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และ ตั้งแต่นี้ไป อย่าทำ�บาปอีก” 4 อธิบายพระวาจา - จากพระวรสารนี้เราพบว่า แม้หญิงคนนี้จะได้ทำ�ผิดจริง และตามประเพณีของ ชาวยิวนางสมควรจะได้รับโทษให้ถึงตายด้วยการถูกขว้างหิน แต่พระเยซูเจ้ามิได้ทรง ยึดกฎบัญญัตเิ ป็นเกณฑ์ในการตัดสินลงโทษ พระองค์ทรงเมตตาสงสารคนบาปทีส่ �ำ นึก ผิดอย่างมากจนไม่ทรงต้องการให้เขาต้องตาย แต่ทรงต้องการให้เขากลับใจและมีชีวิต อยู่ต่อไป ด้วยความปรีชาฉลาดพระองค์มิได้ทรงละเมิดพระบัญญัติแต่ทรงบอกให้ผู้ที่ คิดว่าตนไม่มีบาปเลยเอาหินขว้างใส่หญิงนั้นเป็นคนแรก แล้วพระองค์ก็ทรงก้มลง ขีดเขียนที่พื้นดินคล้ายกับไม่ได้ตั้งใจมองดูพวกเขา - พระวรสารเล่าต่อไปว่า กลุ่มชนนั้นค่อยๆ ทยอยหายไปทีละคนสองคน เพราะ ไม่มใี ครกล้าเอาหินขว้างปาใส่นางเป็นคนแรก เนือ่ งจากพวกเขายังพอมีจติ สำ�นึกว่า ตน ก็เคยทำ�บาปผิดมาแล้วเช่นกันไม่มากก็น้อย จนที่สุดก็เหลือแต่หญิงนั้นกับพระเยซูเจ้า เพียงสองคน พระองค์ทรงแสดงพระทัยเมตตาต่อนางยกบาปให้ทั้งหมดโดยตรัสเพียง ประโยคเดียวว่า “เราก็ไม่ลงโทษท่านด้วย ไปเถิด และตั้งแต่นี้ไป อย่าทำ�บาปอีก” - คำ�ตรัสนี้บ่งบอกถึงพระทัยดีของพระเยซูเจ้าก็จริงแต่ในเวลาเดียวกันก็บอกถึง คำ�สัง่ ของพระองค์ส�ำ หรับชีวติ ของหญิงคนนีค้ อื ตัง้ แต่นไี้ ปนางจะทำ�บาปแบบเดิมอีกไม่ ได้แล้ว ซึ่งก็เป็นเสมือนคำ�สั่งที่พระองค์อยากจะตรัสแก่เราคนบาปในศีลอภัยบาปเช่น กันว่า ตั้งแต่นี้ไปจงอย่าทำ�บาปอีก - พระวรสารนี้ทำ�ให้เข้าใจชัดขึ้นถึงลักษณะของพระเจ้าว่า พระองค์ทรงรักคนบาป แต่ทรงเกลียดบาป เพราะทรงอภัยให้คนบาปได้แต่ไม่ทรงต้องการให้เขาทำ�บาปอีก ต่อไป 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เป็นความน่ายินดีสำ�หรับเราแต่ละคนที่พระเจ้าของเราทรงเป็นองค์แห่งความรัก และความเมตตา ทรงอภัยให้ได้แม้แต่คนทีท่ �ำ บาปผิดจริงๆ ดังนัน้ เราแต่ละคนทีท่ �ำ บาป
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
18
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ผิดอยู่เสมอก็ไม่ต้องหวั่นกลัวว่าเราจะต้องถูกลงโทษนิรันดร เพราะหากเราสำ�นึกถึง ความบาปผิดของเราด้วยความเสียใจและวอนขออภัยโทษจากพระองค์ เราก็มั่นใจได้ ว่า พระเจ้าผู้ทรงเป็น “บิดา” ของเรานี้จะทรงอภัยโทษให้แก่เราอย่างแน่นอน ยิ่งกว่า นั้นยังจะทรงคืนสิทธิ์ที่จะได้ไปสวรรค์ให้แก่เราด้วย ทั้งหมดนี้มีมนุษย์คนใดจะทำ�ให้ แก่เราได้ ถ้ามิใช่พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น - แต่หากว่าเราไม่ยอมรับความเป็นจริงของตนเองว่าเราคือคนบาป และทำ�ตน หยิง่ ผยองต่อหน้าพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ พระเจ้าก็คงจะอภัยให้แก่เราไม่ได้เพราะเป็น ฝ่ายเราเองที่ไม่ได้ต้องการการอภัยจากพระองค์ด้วยใจที่สุภาพถ่อมตน อย่าว่าแต่ พระเจ้าเลยแม้แต่เพื่อนมนุษย์กันเองก็ยังรังเกียจผู้ที่หยิ่งจองหองและเห็นแก่ตัว - ดังนั้น หากเราสำ�นึกว่าเราเป็นคนอ่อนแอและเป็นคนบาปด้วยจิตใจที่สุภาพ จริงๆ พระเจ้าจะทรงเอ็นดูเราและพร้อมเสมอที่จะอภัยให้แก่เรา ดัง “พ่อ” ที่รักลูกของ ตนเสมอ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ท่าทีของฉัน” เพื่อให้แต่ละคนพิจารณาตนเองว่า ตนมี ท่าทีใดเมื่ออยู่ต่อหน้าบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ใบงาน “ท่าทีของฉัน” ท้ายแผน
6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสำ�นึกว่าตนเป็นคนอ่อนแอและคนบาป 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้สอนเตรียมตัวแทนผู้เรียนบางคนล่วงหน้าเพื่อให้นำ�สวดภาวนาจากใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................
19
นิทานเรื่อง “มิตรสหาย” ชายผู้หนึ่งนำ�ลาและสุนัขเดินทางไปยังต่างเมืองด้วย ลามีหน้าที่แบกสัมภาระ ส่วนสุนัขนั้นต้องคอย ระวังภัยอันตรายไปตลอดทาง ครั้นถึงทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง ชายผู้เป็นเจ้าของรู้สึกเมื่อยล้าจึงเอนกายลงนอน พักผ่อนใต้ร่มไม้และเผลอม่อยหลับไป ลาจึงเล็มหญ้าบริเวณนั้นเป็นอาหารจนเดินห่างออกไปทุกทีๆ ฝ่าย สุนัขนั่งคอยเฝ้าระวังภัยอยู่เป็นเวลานานไม่เห็นผู้เป็นนายตื่น รู้สึกหิวจึงออกเดินทางตามหาลาจนพบ กล่าว ว่า “แหม...ทำ�ไมเดินออกมาไกลนักล่ะ ตอนนี้ข้ารู้สึกหิวเหลือเกิน ช่วยย่อตัวลงหน่อยได้ไหมเพื่อน ข้าจะได้ กินขนมปังที่เจ้าบรรทุกอยู่สักสองชิ้นพอมีอาหารรองท้องไปก่อน” เจ้าลากำ�ลังเล็มยอดหญ้าอ่อนอยูอ่ ย่างเพลิดเพลินจึงแกล้งทำ�เป็นไม่ได้ยนิ เมือ่ สุนขั วิงวอนหลายครัง้ เข้ามันจึงเงยหน้าขึ้นกล่าวอย่างไม่พอใจว่า “จะบอกอะไรให้นะ เจ้าควรรอจนเจ้านายตื่นนอนแล้วเขาก็จะ จัดการให้อาหารเจ้าเองแหละ” ในตอนนั้นเองหมาป่าตัวหนึ่งท่าทางหิวโซได้วิ่งออกมาจากดงไม้ เจ้าลาเห็น เข้าถึงกลัวจนลนลานร้องเสียงหลงว่า “ช่วยฉันด้วย ช่วยฉันด้วย หมาป่ามันมาแล้ว เห็นไหม” แต่สุนัขกลับ ทำ�ไม่สนใจและพูดว่า “จะบอกอะไรให้นะ เจ้าควรรอจนเจ้านายตื่นนอนและเขาก็จะไล่หมาป่าให้เองนั่น แหละ” กล่าวจบเจ้าสุนัขก็เดินทอดน่องกลับไปยังโคนต้นไม้ที่เจ้านายของมันนอนหลับอยู่ (บทสอน : อย่ากระทำ�สิ่งไม่ดีตอบแทนสิ่งไม่ดี แต่จงช่วยเหลือกันและกันอยู่เสมอเพื่อไม่ให้ศัตรูมา ทำ�อันตรายเราได้)
ใบงาน “ท่าทีของฉัน” คำ � ชี้ แจง - ให้ เขี ย นท่ า ที ห รื อ การแสดงออกของตนในช่ อ งว่ า งด้ า นขวามื อ ให้ ต รงกั บ สถานการณ์ ต่ า งๆ ด้านซ้ายมือ ที่ สถานการณ์ 1 หากพี่หรือน้องทำ�สมุดการบ้านของฉันเปียกน้ำ� 2 หากเพื่อนโมโหฉันและด่าว่าฉัน 3 หากฉันถูกพ่อแม่ตำ�หนิเพราะท่านเข้าใจผิด 4 หากฉันถูกครูตีเพราะไม่ได้ส่งการบ้าน 5 หากเพื่อนขโมยปากกาของฉันไป
ท่าทีของฉัน
20
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้เจ็บป่วย
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงมีฤทธิ์อำ�นาจในการรักษาผู้เจ็บป่วยต่างๆ ให้ หายจากโรคด้วย - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนวอนขอพระเยซูเจ้าให้ช่วยรักษาโรคฝ่ายจิตใจของตน สาระการเรียนรู ้ ในการกระทำ�พันธกิจของพระเยซูเจ้า พระผู้ไถ่บาป นอกจากการประกาศข่าวดีถึงพระอาณาจักรพระเจ้า การเรียกคนบาปให้กลับใจแล้ว พระองค์ยังทรงอุทิศตนในการช่วยรักษาคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หาย แม้โรคที่รักษาไม่ หายก็ตาม เพื่อแสดงถึงพระฤทธานุภาพแห่งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ ที่
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับประสบการณ์การเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นตัวเอง หรือเห็นผู้อื่นเป็น วิเคราะห์สถานการณ์ดูว่า ในการเจ็บป่วยไม่ว่าด้วยโรคใดๆ ก็ตาม นั้นเกิดความรู้สึกอะไรบ้าง? ให้ผู้เรียนแบ่งปันกัน ยกตัวอย่างเช่น ปวดฟัน ปวดท้อง มีดบาด หกล้ม ฯลฯ - สิ่งหนึ่งที่จำ�เป็นหลังจากที่เป็นโรคต่างๆ ก็คือ การเยียวยารักษาเพื่อเราจะได้ หายจากโรคนั้นๆ และไม่ต้องทุกข์ทรมานอีกต่อไป หากไม่มีการรักษาหรือรักษาไม่ ตรงจุด โรคอาจจะไม่หายหรือลุกลามต่อไปได้ ซึ่งจะนำ�ความเจ็บปวดมาให้แก่เรามาก เป็นทวีคูณได้ - มีโรคหนึ่งที่ผู้เรียนอาจไม่ค่อยรู้จัก คือโรคเรื้อน ผู้สอนอาจอธิบายโดยสังเขป ว่าโรคเรื้อนเป็นอย่างไร? นำ�ความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยมากเพียงใด? ที่สำ�คัญคือเป็น โรคที่รักษาให้กลับหายดีดังเดิมไม่ได้ จึงเป็นโรคที่สังคมรังเกียจและไม่มีใครอยากเข้า ใกล้คนทีเ่ ป็นโรคนี้ จนต้องมีการกำ�หนดเขตการอยูอ่ าศัยให้คนเหล่านีเ้ พือ่ จะได้ไม่ตอ้ ง มาปะปนกับคนอื่นๆ
☆
ภาพ “คนโรคเรื้อน” ท้ายแผน
- ในพระวรสารก็มีเล่าถึงเรื่องคนโรคเรื้อนอยู่ด้วย ให้เรามาดูกันว่า เมื่อพระเยซูเจ้า ทรงพบปะคนเหล่านี้แล้ว พระองค์ทรงแสดงความรังเกียจหรือเปล่า? หรือทรงกระทำ� สิ่งใดกับพวกเขา? 3 พระวาจา : คนโรคเรื้อนสิบคน (ลก 17:11-19) ขณะที่ พ ระเยซู เจ้ า เสด็ จ ไปยั ง กรุ ง เยรู ซ าเล็ ม นั้ น พระองค์ เ สด็ จ ผ่ า นแคว้ น
☆
ภาพ “พระเยซูเจ้าทรงรักษา คนโรคเรื้อน” ท้ายแผน
21
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ สะมาเรียและกาลิลี เมื่อเสด็จเข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง คนโรคเรื้อนสิบคนเข้ามาเฝ้า พระองค์ ยืนอยู่ห่างพระองค์ ร้องตะโกนว่า ‘พระเยซู พระอาจารย์ โปรดสงสารพวกเรา เถิด’ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นจึงตรัสกับเขาว่า ‘จงไปแสดงตนแก่บรรดาสมณะเถิด’ ขณะที่เขากำ�ลังไป เขาก็หายจากโรค คนหนึ่งในสิบคนนี้ เมื่อพบว่าตนหายจากโรค แล้ว ก็กลับมา พลางร้องตะโกนสรรเสริญพระเจ้า ซบหน้าลงแทบพระบาท ขอบพระคุณ พระองค์ เขาผูน้ เี้ ป็นชาวสะมาเรีย พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า ‘ทัง้ สิบคนหายจากโรคมิใช่หรือ อีกเก้าคนอยู่ที่ใดเล่า ไม่มีใครกลับมาถวายพระเกียรติแด่พระเจ้านอกจากคนต่างชาติ คนนี้หรือ’ แล้วพระองค์ตรัสกับเขาว่า ‘จงลุกขึ้น ไปเถิด ความเชื่อของท่านทำ�ให้ท่าน รอดพ้นแล้ว’
4 อธิบายพระวาจา - ในภารกิจการไถ่บาปของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงสั่งสอนประชาชน ทรงทวี ขนมปังเลี้ยงพวกเขา และเพื่อช่วยพวกเขาให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ พระองค์ยังทรงทำ�อัศจรรย์ต่างๆ อีกด้วย - พระกิตติศัพท์ของพระเยซูเจ้าเลื่องลือไปในหมู่ประชาชนอย่างมาก จนแม้ กระทั่งคนโรคเรื้อนก็ยังอยากจะพบและขอความช่วยเหลือจากพระองค์ จริงๆ แล้วโรค นีร้ กั ษาให้หายดีดงั เดิมไม่ได้เพราะหากร่างกายส่วนไหนเป็นโรคนีม้ นั จะค่อยๆ กุดหาย ไป อย่างมากหากรักษาแล้วจะไม่กุดอีกต่อไปเท่านั้น - น่าสังเกตว่าคนโรคเรื้อนเหล่านี้มีความไว้ใจอย่างเต็มเปี่ยมในพระเยซูเจ้า เพราะพวกเขาทราบดีว่าโรคนี้รักษาไม่หาย แต่พวกเขาก็ยังมาหาพระองค์และวอนขอ ให้ทรงรักษาพวกเขา ความเชื่อและไว้วางใจนี้เองที่ทำ�ให้พระเยซูเจ้าทรงอดสงสารและ ทรงทำ�อัศจรรย์ช่วยพวกเขาให้หายจากโรคนั้น - เหตุการณ์นี้ทำ�ให้เราเข้าใจว่า ต่อหน้าคนโรคเรื้อนที่น่าสงสารและถูกรังเกียจ จากทุกคนแต่เต็มด้วยความเชื่อในพระเยซูเจ้านั้น พระองค์ทรงมีพระทัยเมตตาสงสาร พวกเขาสักเพียงใด อีกทัง้ ยังทรงฤทธานุภาพยิง่ ใหญ่จนทรงทำ�ให้โรคทีไ่ ม่สามารถรักษา ได้กลับหายเป็นปกติในทันทีทันใด - พระวรสารนี้ยังเน้นอีกประเด็นหนึ่งคือ ท่าทีของคนโรคเรื้อนทั้งสิบคนที่หาย จากโรค มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ย้อนกลับมาหาพระเยซูเจ้าเพื่อขอบคุณพระองค์ นี่ แสดงให้เห็นว่าความกตัญญูเป็นท่าทีที่พระเยซูเจ้าพอพระทัย เหตุว่าเฉพาะผู้ที่มีใจ สุภาพถ่อมตนเท่านั้นจึงจะรู้จักรู้คุณของผู้ที่ทำ�ดีแก่ตน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คนโรคเรื้อนในพระวรสารติดตามพระเยซูเจ้าจนพบและพวกเขาวอนขอให้ พระองค์ทรงรักษา ที่สุดพวกเขาก็ได้รับอัศจรรย์ให้หายจากโรค - เรื่องนี้สอนให้เราเลียนแบบอย่างของคนโรคเรื้อน นั่นคือ ให้เรารู้จักวอนขอ พระองค์ให้ชว่ ยรักษาโรคภัยไข้เจ็บของเราหรือคนทีเ่ รารูจ้ กั เพราะพระองค์เป็น “แพทย์” ทีร่ กั ษาโรคของเราได้ ไม่วา่ จะเป็นโรคฝ่ายกายหรือวิญญาณก็ตาม หากเรามีความสุภาพ และไว้วางใจในพระเมตตาของพระองค์ เราก็จะได้รับการรักษาให้หายอย่างแน่นอน
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
22
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ - โรคฝ่ายร่างกายเป็นสภาพที่เรามองเห็นชัดเจนและสัมผัสได้ ส่วนโรคฝ่าย วิญญาณนัน้ เราอาจจับต้องไม่ได้แต่เราก็ “สัมผัส” ได้จากผลของการกระทำ�ซึง่ แสดงออก มา เช่น ผู้เป็นโรคเห็นแก่ตัวมักแสดงออกด้วยการเลือกสิ่งที่ดีกว่าให้ตนเองและเอา เปรียบผู้อื่นตลอดเวลา คนจองหองมักจะดูถูกคนอื่นเสมอ คนเกียจคร้านมักจะไม่ช่วย ใครเลย ฯลฯ - หากจะเปรียบเทียบกันจริงๆ แล้ว คนที่เป็นโรคฝ่ายจิตนั้นยังน่ารังเกียจมากกว่า คนทีเ่ ป็นโรคฝ่ายกายด้วยซ้�ำ ไป เพราะโรคฝ่ายกายเราอาจเป็นโดยไม่สามารถหลีกเลีย่ ง ได้ แต่โรคฝ่ายจิตนั้นเราสามารถจะระวังและฝึกฝนตนเองให้เป็นหรือไม่เป็นก็ได้ ขึ้นอยู่กับจิตใจที่เข้มแข็งหรืออ่อนแอของเราเอง - ทำ�ใบงาน “ฉันมักจะ...” เพื่อให้ผู้เรียนสำ�รวจตนเองเพื่อจะได้รู้ว่าตนมี ความโอนเอียงฝ่ายจิตทางใด? - ตามปกติ เรามักจะค่อนข้างอ่อนแอในการเอาชนะตนเองเพื่อทำ�สิ่งที่ดีๆ และ มักจะปล่อยตัวเองให้ทำ�สิ่งที่ชอบซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีก็ได้ นี่แหละคือโรคร้ายที่เราเองจะ ไม่คอ่ ยรูต้ วั แต่มผี ลเสียต่อตนเองและผูอ้ นื่ อย่างแน่นอน เพราะการทำ�สิง่ ทีช่ อบแต่ไม่ดี นั้นก็คือทำ�บาป ดังที่เรารู้ดีว่า ความจองหอง ตระหนี่ อิจฉา โมโห ตัณหา โลภอาหาร และเกียจคร้านนั้นล้วนเป็นต้นเหตุของบาปต่างๆ นานา นี่แหละจึงเป็นเหตุผลอัน สมควรยิ่งที่เราจะต้องวอนขอให้พระเยซูเจ้าทรงช่วยรักษาให้เราหายจากโรคฝ่าย วิญญาณเหล่านี้ เพราะแม้พระองค์จะทรงรักคนบาปแต่ก็ไม่ทรงประสงค์จะให้เราจม อยูใ่ นบาปอย่างแน่นอน เนือ่ งจากพระองค์ทรงมาในโลกนี้ ก็เพือ่ ไถ่เราให้พน้ จากบาป และได้รอดพ้นไปสู่สวรรค์นั่นเอง - เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราก็ไม่ควรจะปล่อยตนเองตามธรรมชาติมากเกินไป แต่ ควรจะฝึกฝนตนเองให้เลือกทำ�สิ่งที่ดีโดยเสียสละตนเองเพื่อคนอื่นบ้าง โดยวอนขอให้ พระเยซู เจ้ า ทรงช่ ว ยเรารั ก ษาโรคฝ่ า ยจิ ต ของเราเพื่ อ เราจะได้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ใน การทำ�ความดีอย่างสม่ำ�เสมอ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ใบงาน “ฉันมักจะ...” ท้ายแผน
6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนวอนขอพระเยซูเจ้าให้ช่วยรักษาโรคฝ่ายจิตใจของตน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
23
ภาพ “คนโรคเรื้อน”
ภาพ “พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนโรคเรื้อน”
24
ใบงาน “ฉันมักจะ...” คำ�ชี้แจง - ให้เลือกตอบคำ�ถามเหล่านี้โดยวงกลมหมายเลขหน้าข้อความด้านขวามือที่คิดว่าถูกต้อง ที่ สถานการณ์ ท่าทีของฉัน 1 หากเพื่อนชวนฉันให้อ่านหนังสือตอนปล่อยพัก 1. ฉันจะปฏิเสธว่าตอนนี้ฉันยังไม่ว่าง 2. ฉันจะทำ�เป็นไม่ได้ยินและเดินผ่านไปอย่าง เร็ว 3. ฉันจะรีบตอบรับด้วยความยินดี 2 หากแม่เรียกฉันให้ช่วยล้างจานขณะที่ฉันดูทีวี รายการที่ชอบอยู่
1. ฉันจะบอกแม่ว่าอีกประเดี๋ยวจะทำ�ให้ 2. ฉันจะรีบไปทำ�ทันที 3. ฉันจะเรียกน้องให้ไปช่วยทำ�แทนก่อน
3 หากน้องขอให้ฉันช่วยสอนการบ้านขณะที่ฉันเล่น 1. ฉันจะบ่นว่าทำ�ไมทำ�เองก็ไม่ได้ เกมอยู่ 2. ฉันจะเล่นให้จบแล้วค่อยไปช่วย 3. ฉันจะไปช่วยสอนก่อนแล้วค่อยเล่นเกมต่อ ทีหลัง 4 หากครูเตือนให้ฉันหยุดพูดคุยขณะที่ครูกำ�ลัง สอนเรียน
1. ฉันจะหยุดพูดและบ่นว่าครูในใจ 2. ฉันจะหยุดคุยและรีบตั้งใจเรียนต่อ 3. ฉันจะหยุดพูดสักครู่แล้วค่อยแอบคุย ตอนครูไม่เห็น
5 หากฉันเห็นเศษขยะตกอยู่ที่พื้น
1. ฉันจะเก็บไปทิ้งถังขยะอย่างไม่รังเกียจ 2. ฉันจะทำ�เป็นไม่เห็นแล้วเดินผ่านไปเฉยๆ 3. ฉันจะชี้ให้เพื่อนเห็นและให้เขาเก็บไปทิ้ง
6 หากฉันเห็นเพื่อนกำ�ลังมีความทุกข์
1. ฉันจะสงสารและคอยให้กำ�ลังใจ 2. ฉันจะถามว่าไปโดนใครทำ�อะไรมา 3. ฉันจะอยู่เฉยๆ ไม่รบกวนเขา
25
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเลี้ยงผู้หิวโหย
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงดูแลเลีย้ งเรามนุษย์โดยทรงให้อาหารทัง้ ฝ่ายกาย และฝ่ายจิตแก่เรา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ สาระการเรียนรู ้ แม้พระเยซูเจ้าจะทรงเป็นพระเจ้า แต่ในฐานะมนุษย์แท้ พระองค์ทรงเข้าใจสภาพจริงของมนุษย์เป็นอย่าง ดีว่า มนุษย์ต้องการการดูแล พระองค์จึงทรงเลี้ยงดูเขาทั้งฝ่ายร่างกายและวิญญาณ โดยอาศัยศีลมหาสนิทและการทวีขนมปัง เลีย้ งผูค้ นมากมายทีต่ ดิ ตามฟังพระวาจาของพระองค์ เพือ่ ให้เราได้เอิบอิม่ ด้วยพระองค์เอง ซึง่ ทรงเป็น “ปังสวรรค์” อันนำ�ชีวติ นิรันดรให้แก่ผู้ที่กินและดื่มพระกายและพระโลหิตของพระองค์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพเด็กชายที่ผอมและกำ�ลังกินเศษขนมปังบนพื้นถนนให้ผู้เรียน พิจารณาดู จากนัน้ ให้ผเู้ รียนทำ�สมาธิจนิ ตนาการว่าหากเด็กคนนัน้ เป็นตนเอง ทีห่ วิ โหย มากและผอมโซจนต้องกินเศษอาหารตามข้างถนน ความรูส้ กึ ในเวลานีจ้ ะเป็นอย่างไร? - จินตนาการที่ทำ�ให้เกิดความรู้สึกของความหิวโหยนี้อาจทำ �ให้เรารู้สึกถึง ความทุกข์และความยากลำ�บากของคนที่หิวโหยบ้าง เป็นความหิวฝ่ายร่างกายซึ่งหาก ไม่ได้รับการเลี้ยงดูต่อไปนานๆ ก็คงต้องตายไปในที่สุด - แต่มนุษย์มิได้มีเพียงร่างกายเท่านั้นที่ต้องเลี้ยงดูและเติบโต เรายังมีวิญญาณ ด้วยที่ต้องดูแลและเลี้ยงให้เจริญเติบโต ซึ่งมีความสำ�คัญไม่น้อยไปกว่าร่างกายเสียอีก เพราะร่างกายเราเกิดมาแล้วตายไปแต่วิญญาณของเราเกิดมาครั้งเดียวไม่มีวันตายอีก เลย จะมีชีวิตอยู่ไปชั่วนิรันดร ดังนั้นชะตากรรมของวิญญาณต่างหากที่เราต้องดูแลให้ ดีที่สุด - หากเราปล่อยให้วญ ิ ญาณของเราหิวมากๆ แล้วจะเกิดอะไรขึน้ ? อะไรคืออาหาร สำ�หรับวิญญาณของเรา? ใครสามารถเลี้ยงวิญญาณของเราให้อิ่มหนำ�ได้? - ให้เรามาดูว่า ต่อหน้าฝูงชนหลายพันคนที่ติดตามฟังพระองค์จนเป็นเวลาสาม วันแล้ว พวกเขาทุกคนเหนื่อย หิวและไม่มีอะไรจะกิน อีกทั้งหนทางที่จะกลับบ้านก็ยัง อีกไกล พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกอะไรและทรงกระทำ�อย่างไร?
☆
ภาพเด็กผอมโซท้ายแผน
26
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3 พระวาจา : อัศจรรย์การทวีขนมปังครั้งที่สอง (มก 8:1-10) “ครั้งนั้น ประชาชนมากมายชุมนุมกันอีก และไม่มีอะไรกิน พระองค์จึงเรียก บรรดาศิษย์เข้ามา ตรัสกับเขาว่า “เราสงสารประชาชนเพราะเขาอยู่กับเรามาสามวัน แล้ว และเวลานี้ไม่มีอะไรกิน ถ้าเราให้เขากลับบ้านโดยไม่ได้กินอะไร เขาจะหมด เรี่ยวแรงขณะเดินทาง เพราะมีหลายคนเดินทางมาจากที่ไกล” บรรดาศิษย์จึงทูลตอบ ว่า “ใครจะหาอาหารในทีเ่ ปลีย่ วเช่นนีม้ าให้คนเหล่านีก้ นิ จนอิม่ ได้” พระองค์ตรัสถาม ว่า “ท่านมีขนมปังกี่ก้อน” เขาทูลว่า “เจ็ดก้อน” พระองค์ทรงสั่งให้ประชาชนนั่งลงบน พื้นดิน ทรงหยิบขนมปังเจ็ดก้อนนั้น ตรัสขอบพระคุณพระเจ้า แล้วทรงบิขนมปัง ประทานให้บรรดาศิษย์ไปแจกจ่าย เขาก็แจกจ่ายขนมปังให้ประชาชน เขายังมีปลาตัว เล็กๆ อยูบ่ า้ ง พระองค์ทรงกล่าวถวายพระพรพระเจ้า ทรงสัง่ ให้แจกจ่ายปลาเช่นเดียวกัน ทุกคนกินจนอิ่ม และยังเก็บเศษที่เหลือได้อีกเจ็ดตะกร้า ผู้ที่กินขนมปังและปลามี ประมาณสี่พันคน” 4 อธิบายพระวาจา - นี่ก็เป็นพระวรสารอีกตอนหนึ่งในจำ�นวนหลายๆ ตอนที่เล่าถึงพระทัยดีของ พระเยซูเจ้าต่อประชากรของพระองค์ที่กำ�ลังหิวและต้องการอาหาร - พระองค์ทรงเป็นผู้นำ�ศาสนาที่ไม่ได้ต้องการสอนเท่านั้น เหมือนกับผู้นำ�บาง ศาสนาทีท่ �ำ ทุกวิถที างเพือ่ เพิม่ จำ�นวนสมาชิกให้มากทีส่ ดุ โดยอาจมองข้ามความต้องการ บางอย่างของสมาชิกไป แต่พระวรสารเล่าว่าพระเยซูเจ้าทรงห่วงใยผูท้ ตี่ ดิ ตามพระองค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลาเย็นจวนค่ำ�แล้ว แต่พวกเขายังอยู่กันในที่เปลี่ยว กว่าจะเดินทางถึง บ้านคงต้องใช้เวลานาน เมือ่ ถึงบ้านแล้วก็ยงั ต้องเตรียมอาหารกันอีก กว่าจะเสร็จก็คงจะ ใช้เวลาอีกมาก พระองค์จึงทรงรู้สึกสงสารพวกเขาจนถือเป็นธุระของพระองค์เองที่จะ จัดหาอาหารให้แก่พวกเขา โดยให้บรรดาสาวกและประชาชนบางคนทีย่ งั มีขนมปังเหลือ อยู่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยทำ�ให้การเลี้ยงสำ�เร็จไปด้วยดี - จริงๆ แล้วพระเยซูเจ้ามิได้เพียงดูแลประชาชนให้อิ่มแต่เพียงร่างกายเท่านั้น พระองค์ยังเลี้ยงพวกเขาด้วยศีลมหาสนิทให้เอิบอิ่มฝ่ายวิญญาณด้วย คือพระกายและ พระโลหิตของพระองค์ ซึ่งหมายถึง “ชีวิต” ของพระองค์นั่นเอง - ดังนี้ พระองค์ก็เปรียบเสมือน “ทั้งพ่อและแม่” ที่ทราบความต้องการทุกอย่าง ของลูกและทรงดูแลเราอย่างดี อย่างที่เราคาดคิดไม่ถึงเลยทีเดียว 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากจะเปรียบเทียบระหว่างร่างกายกับวิญญาณของเรามนุษย์แล้ว ทั้งสองมี ความสำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากัน วิญญาณก็ต้องการร่างกายเพื่อเป็น “แขนขา” ใน การทำ�ความดี ร่างกายก็ต้องการวิญญาณเพื่อจะคิด ไตร่ตรอง และเข้าใจ ว่าสิ่งใดดี ควรทำ�และสิ่งใดไม่ดีควรเลี่ยง - พระเยซูเจ้าเองยังทรงสนใจเรามนุษย์ในทั้งสองด้าน แล้วทำ�ไมเราจะไม่สนใจ ตัวเองทัง้ สองด้านด้วยเล่า? ตามปกติเรามักจะคิดแต่ดา้ นร่างกาย เพราะความต้องการ ฝ่ายกายนั้นเรารู้สึกได้ทันที หากไม่ตอบสนองจะเกิดอาการต่างๆ ตามมาทันที เช่น
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
27
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
หากปล่อยให้หิวจะปวดกระเพาะอาหาร หากร้อนมากๆ จะเหงื่อแตกท่วมตัวและ หงุดหงิด หากปล่อยให้หนาวจะตัวสัน่ และไม่สบายได้ หากง่วงนอนแล้วไม่ได้นอนก็จะ อ่อนเพลียและหมดเรี่ยวแรง ฯลฯ - การไม่กินอาหารมีผลทำ�ให้ร่างกายของเราต้องเจ็บป่วยด้วยโรคฝ่ายร่างกาย แต่การไม่กินอาหารฝ่ายวิญญาณก็มีผลทำ�ให้วิญญาณของเราต้องเจ็บป่วยด้วยเช่นกัน ซึ่งผลฝ่ายวิญญาณมีมากกว่าอีกแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นก็ตาม - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “โรคฝ่ายจิต” เพื่อเรียนรู้ว่าการกระทำ�ใดเป็นบาปชนิดใด - พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจธรรมชาติมนุษย์เป็นอย่างดี จึงทรงเลี้ยงประชากรของ พระองค์ดว้ ยขนมปัง และทรงเลีย้ งวิญญาณของเราด้วยสิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ นัน่ ก็คอื พระกายและ พระโลหิตของพระองค์ในศีลมหาสนิท - ด้วยการประทานพระกายและพระโลหิตของพระองค์ให้เป็นอาหารฝ่ายวิญญาณ แก่เรา พระองค์กท็ รงประทานชีวติ นิรนั ดรให้แก่เราด้วย ซึง่ สำ�หรับเรามนุษย์กไ็ ม่มอี ะไร จะดีกว่านี้ได้อีกแล้ว
☆
ดูใบงาน “โรคฝ่ายจิต” ท้ายแผน
- ดังนั้น เราจึงควรจะไปร่วมมิสซาเป็นประจำ�ทุกวันอาทิตย์และเตรียมตัวรับศีล มหาสนิทอย่างดีด้วยการไปแก้บาปก่อน หากเราได้ทำ�บาปหนักไปบ้างหรือหากเรา ไม่ได้ไปแก้บาปนานแล้ว เพื่อจะได้มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์พร้อมจะรับพระเยซูเจ้าเข้า มาในวิญญาณของเรา 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความทุกข์” อย่างตั้งใจพร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การสัมภาษณ์ - การร่วมกิจกรรม 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
28
ภาพ “เด็กผอมโซที่หิวโหย”
ใบงาน “โรคฝ่ายจิต” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเขียนชื่อของบาปในด้านขวามือให้สอดคล้องกับการกระทำ�ด้านซ้ายมือ ที่ การกระทำ� 1 การคิดว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอ คิดว่าคนอื่นผิดเสมอ 2 เมื่อไม่พอใจอะไรก็โมโห และด่าว่าคนอื่นอย่างหยาบคาย 3 ไม่เคยแบ่งขนมหรืออาหารให้ใครเลย 4 ชอบแอบดูภาพหรือหนังลามก 5 ไม่เคยช่วยเหลือใครเลย ไม่ว่าที่โรงเรียนหรือที่บ้าน
ชื่อบาป
29
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงให้ชีวิต
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ผู้ที่จะประทานชีวิตให้แก่มนุษย์ได้นั้นมีแต่พระเจ้าแต่ผู้เดียว เท่านั้น และพระองค์ทรงประทานชีวิตใหม่ให้แก่เราอาศัยองค์พระเยซูคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนขอบพระคุณพระเยซูคริสตเจ้าสำ�หรับชีวิตที่พระองค์ประทานให้ สาระการเรียนรู ้ แม้มนุษย์จะถือกำ�เนิดมาจากผู้เป็นบิดามารดา แต่ความเชื่อคริสตชนสอนว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ประทาน ชีวติ แก่มนุษย์เพราะมนุษย์ไม่ได้เป็นเจ้าของชีวติ ของตนเอง นอกนัน้ มนุษย์ยงั ต้องรับผลของบาปทีน่ �ำ ไปสูค่ วามทุกข์ยากลำ�บาก และความตาย มีแต่องค์พระเยซูคริสตเจ้าเท่านั้นที่เอาชนะความตายและประทานชีวิตใหม่ให้แก่เราได้ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนในเรื่อง “ความตาย” โดยยกตัวอย่างความตายของ สัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น สุนัข แมว ปลา ฯลฯ เพื่อให้ไตร่ตรองถึงความแตกต่างระหว่าง สัตว์ที่มี “ชีวิต” และที่ “ไม่มีชีวิต” รวมทั้งความรู้สึกของเจ้าของที่ดูแลเอาใจใส่สัตว์ เลี้ยงของตนด้วยความรักแต่ต้องมาสูญเสียมันไป - เมื่อได้พิจารณาถึง “ชีวิตของสัตว์” แล้ว ให้มาพิจารณาถึง “ชีวิตของคน” ต่อ ไป ซึง่ มีความแตกต่างจากสัตว์เป็นอันมากเพราะสัตว์มชี วี ติ ระดับสัตว์ แต่คนมีชวี ติ ระดับ มนุษย์ซึ่งเป็นถึงพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้า เพราะคนมีจิตวิญญาณที่สัตว์ไม่มี - ทำ�ไมจึงกล่าวเช่นนี้? ก็เพราะว่าเมื่อสัตว์ต่างๆ ตายแล้วทุกอย่างก็จบสิ้น แต่ เมือ่ มนุษย์ตายไปแล้วทุกอย่างยังไม่จบ เพราะชีวติ มนุษย์มคี า่ มากกว่าสัตว์อย่างเปรียบ เทียบกันไม่ได้ พระเยซูเจ้าทรงทำ�ให้เราเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างดี ให้เรามาดูว่าต่อ หน้าบุคคลที่สิ้นชีวิตพระเยซูเจ้าทรงมีปฏิกิริยาอย่างไร? 3 พระวาจา : มก 5 : 35-43 พระเยซูเจ้าทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้คืนชีพ “ขณะกำ�ลังตรัสอยู่นั้น มีคน มาจากบ้านหัวหน้าศาลาธรรม บอกเขาว่า “บุตรหญิงของท่านตายแล้ว ไปรบกวน พระอาจารย์อีกทำ�ไมเล่า” แต่พระเยซูเจ้าทรงได้ยินเขาพูดดังนั้น จึงตรัสแก่หัวหน้า ศาลาธรรมว่า “อย่ากลัวเลย จงมีความเชื่อไว้เถิด” พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ใคร ติดตามไปนอกจากเปโตร ยากอบ และยอห์นน้องชายของยากอบ เมือ่ ทุกคนมาถึงบ้าน หัวหน้าศาลาธรรม พระเยซูเจ้าทรงเห็นความวุน่ วายและเห็นผูค้ นร่�ำ ไห้พลิ าปรำ�พันเป็น
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
30
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
อันมาก พระองค์เสด็จเข้าไป ตรัสแก่คนเหล่านั้นว่า “วุ่นวายและร้องไห้ไปทำ�ไม เด็ก คนนี้ไม่ตาย เพียงแต่นอนหลับไปเท่านั้น” เขาต่างหัวเราะเยาะพระองค์ พระองค์ทรง ไล่เขาออกไปข้างนอก ทรงนำ�บิดามารดาของเด็กและศิษย์ที่ติดตามเข้าไปยังที่ที่เด็ก นอนอยู่ ทรงจับมือเด็ก ตรัสว่า “ทาลิธาคูม” แปลว่า “หนูเอ๋ย เราสั่งให้หนูลุกขึ้น” เด็กหญิงนั้นก็ลุกขึ้นทันทีและเดินไปมา เด็กนั้นอายุสิบสองขวบแล้ว คนทั้งหลายต่าง ประหลาดใจอย่างยิง่ พระองค์ทรงกำ�ชับอย่างแข็งขันมิให้แพร่งพรายเรือ่ งนีแ้ ก่ผใู้ ด และ ทรงสั่งให้เขานำ�อาหารมาให้เด็กนั้นกิน” 4 อธิบายพระวาจา - (เรื่องที่พระวรสารตอนนี้เล่ามานั้น ประกอบด้วยเรื่องย่อย 2 เรื่อง คือเรื่อง พระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงตกโลหิตและทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้กลับคืนชีพ แต่ เพื่อความเหมาะสมเราจึงเลือกเรื่องที่สองมาพิจารณาแต่เพียงเรื่องเดียว) - ต่อหน้าสภาพเด็กที่เพิ่งเสียชีวิตไป พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกสงสารบิดามารดาของ เด็กน้อยจึงทรงปลอบใจพวกเขาว่า ให้ทำ�ใจดีๆ ไว้ เพราะเด็กยังไม่ตายเพียงแต่นอน หลับเท่านั้น เพื่อปลอบใจให้พวกเขามีความหวังและที่สำ�คัญคือหวังว่าพระองค์จะทรง ช่วยให้เด็กน้อยกลับคืนสู่ชีวิตอีกครั้งหนึ่งได้ เป็นความหวังที่ยากที่จะมีหวังเพราะเป็น เรือ่ งของชีวติ เพราะมนุษย์คนใดล่ะทีจ่ ะให้ชวี ติ แก่มนุษย์กนั เองได้? และนีเ่ ป็นอีกโอกาส หนึง่ ทีพ่ ระเยซูเจ้าจะทรงแสดงพระฤทธานุภาพของพระองค์ในฐานะพระเจ้าให้ปรากฎ เพื่อมนุษย์จะได้เชื่อในพระองค์ - เมื่อพระองค์ได้ทรงปลุกบุตรสาวของไยรัสให้คืนชีพแล้ว ทรงสั่งให้นำ�อาหาร มาให้เด็กหญิงนั้นรับประทาน เพื่อให้ทุกคนรู้อย่างชัดเจนว่าเด็กที่กลับคืนชีพมานั้น เป็นคนจริงๆ ไม่ใช่ผีเพราะสามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ - เนื่องจากพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่บาป ทรงไถ่เรามนุษย์ด้วยความตาย และชีวติ ของพระองค์ พระองค์จงึ ทรงเป็นผูป้ ระทานชีวติ ใหม่แก่มนุษย์ หลังจากทีม่ นุษย์ คู่แรกได้ทำ�บาปกำ�เนิด ทำ�ให้มนุษย์ต้องตกอยู่ในชะตากรรมที่อันตรายต่อความรอด นิรันดร 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระวรสารเล่าเรื่องนี้เพื่อทำ�ให้เราเข้าใจอย่างชัดเจนว่า พระเยซูเจ้าคือผู้ทรง สามารถประทานชีวิตแก่มนุษย์ได้ พระองค์ไม่ทรงนิ่งดูดายเมื่อเห็นมนุษย์ต้องประสบ กับความทุกข์ทรมานเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวกับความเป็นความตายของชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงดูแลชีวิตมนุษย์ทั้งครบ หมายความว่าทั้งชีวิตฝ่ายวิญญาณและ ร่างกาย เพราะพระองค์ทรงมีพระทัยเมตตากรุณาและเพราะชีวิตเป็นสิ่งมีคุณค่าสูงสุด ที่พระองค์จะทรงมองข้ามไปไม่ได้ - ให้ผู้เรียนเล่มเกม “ยิงระเบิด” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความรู้สึกของบุคคล ที่จะต้องสูญเสียชีวิต แม้ว่าจะเป็นเพียงกรณีสมมติก็ตามแต่ก็ทำ�ให้ผู้เล่นเข้าใจได้ถึง ความ รู้สึกของผู้ที่ต้องตายและผู้รอดชีวิต
☆
เกม “ยิงระเบิด” ท้ายแผน
31
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ - ให้ผู้เรียนดูภาพ (หรือคลิป) น้ำ�ท่วมและคนที่เดือดร้อนหนีน้ำ�หลายๆ ภาพ เพื่อเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าสภาพที่ทุกข์ยากลำ�บากเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะมนุษย์พยายาม ปกป้องชีวิตของตนเองให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้เมื่อมีภัยมาคุกคามชีวิต ผู้เรียนทุกคนคงได้ติดตามข่าวน้ำ�ท่วมหลายจังหวัดของประเทศเราที่ได้เกิดขึ้น ทำ�ให้ ผู้คนต้องอพยพย้ายถิ่นที่อยู่เป็นเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ทั้งหมดนี้ทำ�เพื่อเป็นการเอาชีวิต ของตนให้รอด ในเวลาเดียวกัน ผู้เดือดร้อนเพราะน้ำ�ท่วมก็สามารถเอาชีวิตรอดได้ เพราะได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆ คน เช่น ผู้ที่บริจาคเงิน สิ่งของอุปโภคบริโภค และที่พักอาศัย อาสาสมัครที่นำ�อาหารและน้ำ�ไปให้ ช่วยอพยพคนออกมาไปอยู่ศูนย์ พักพิงต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งเด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้พิการและผู้ป่วย
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ ☆
ภาพ “คนหนีน้ำ�” ท้ายแผน
- ผู้สอนควรเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำ�คัญของผู้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน เหล่านีว้ า่ เพือ่ ให้ความช่วยเหลือบุคคลเหล่านีก้ ต็ อ้ งได้รบั ความลำ�บากไม่นอ้ ย แต่พวก เขาได้เสียสละตนเองด้วยวิธีที่หลากหลายเพื่อช่วยผู้อื่นให้รอด นี่คือรูปแบบต่างๆ ของ ความช่วยเหลือที่มนุษย์ให้แก่กันและกันเพื่อช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้รอด ทั้งๆ ที่เพื่อน มนุษย์คนอื่นนั้นเราไม่ได้เป็นผู้ให้กำ�เนิดเขาขึ้นมา แต่เราก็ยังมีใจรักเพื่อนมนุษย์ด้วย กันมากถึงขนาดนี้ - นี่เองที่ทำ�ให้เราเข้าใจองค์พระเยซูคริสตเจ้ามากขึ้นว่า ทำ�ไมพระองค์จึงทรง ช่วยเหลือเรามนุษย์ให้รอดพ้น เพราะพระองค์ทรงประทานชีวติ นีแ้ ก่เรา และทรงอยาก ให้มีชีวิตนี้อย่างสมบูรณ์ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนขอบพระคุณพระเยซูคริสตเจ้าสำ�หรับชีวิตที่พระองค์ประทานให้ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
32
เกม “ยิงระเบิด” จุดประสงค์ - เพื่อให้ผู้เล่นเข้าใจถึงความสำ�คัญของชีวิตและการใช้ความสามารถของตนเพื่อความอยู่รอด ผู้เล่น วิธีเล่น
- อายุระหว่าง 9 - 12 ปี จำ�นวนประมาณ 10-20 คน 1. กำ�หนดจุดที่เป็นเมืองต่างๆ ประมาณ 5-6 จุด ให้แต่ละจุดอยู่ห่างกันประมาณ 24 เมตร แล้วเขียนป้ายชื่อเมืองติดไว้ทุกจุด (เช่น กรุงเทพฯ นนทบุรี ราชบุรี ชลบุรี นครปฐม ฯลฯ)
2. ให้ผู้เล่นเดินวนไปรอบๆ เมืองเรื่อยๆ ขณะที่เปิดเพลงโดยไม่ให้หยุดก่อนปิดเพลง 3. เมื่อปิดเพลงแล้ว ให้ผู้เล่นแต่ละคนเลือกวิ่งไปพักพิงที่เมืองใดก็ได้ 4. เมื่อทุกคนหยุดนิ่งในเมืองที่ตนเลือกแล้ว ให้พี่เลี้ยงคนหนึ่งที่ถูกปิดตาไว้ไปยืนกลางวง ประกาศว่าเมืองไหนจะต้องถูกทำ�ลายด้วยระเบิด โดยกล่าวว่า “ระเบิดลงที่เมือง...” 5. ผู้เล่นที่ยืนในเมืองที่ถูกระเบิดก็จะต้องตายและออกจากการเล่นไปพัก จากนั้นก็คัดชื่อ เมืองนี้ออกไป ให้เหลือแต่เมืองที่ยังไม่ระเบิดเท่านั้น 6. ทำ�เช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งเหลือเพียงเมืองเดียว ผู้เล่นที่พักพิงในเมืองนั้นก็จะเป็นผู้ชนะ
ภาพ “คนหนีน้ำ�”
33
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของพระเยซูเจ้า
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงกระทำ�ทุกสิ่งโดยติดตามการทรงนำ�ของ พระจิตเจ้าเสมอ เพราะพระองค์และพระจิตเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกัน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติตามการดลใจของพระจิตเจ้าโดยเลือกกระทำ�สิ่งที่ดี สาระการเรียนรู ้ พระเยซูคริสตเจ้าแม้วา่ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแท้ แต่ในฐานะมนุษย์แท้ พระองค์กท็ รงต้องการความช่วย เหลือขององค์พระจิตเจ้าในการดำ�เนินชีวิต พระองค์ไม่ทรงเคยทำ�สิ่งใดโดยลำ�พังแต่เพียงผู้เดียว แต่ทรงกระทำ�พร้อมกับ พระจิตเจ้าอยู่เสมอเพราะพระจิตเจ้าคือ องค์ปรีชาญาณของพระเจ้า ผู้ทรงรอบรู้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ดีที่สุด ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนา “บทอัญเชิญพระจิตเจ้า” ก่อนเริ่มเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับประสบการณ์เรื่อง “ขีดจำ�กัด” ของแต่ละคน โดยให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่ตนทำ�ไม่เป็น ทำ�ไม่ได้ หรือ ทำ�ไม่ค่อยได้ เช่น การสอบ การทำ�การบ้าน การทำ�กับข้าว การใช้บางโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ฯลฯ - สิ่งที่ผู้เรียนแบ่งปันนี้เป็นการแสดงถึงขอบเขตจำ�กัดที่ช่วยให้เข้าใจว่าในชีวิต ของเรายังมีอกี หลายกิจกรรมทีเ่ กินความสามารถของเรา หากต้องทำ�ให้ส�ำ เร็จก็จ�ำ เป็น ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีความสามารถมากกว่าเรา เพื่อช่วย แนะนำ�วิธีที่ถูกต้องให้บรรลุเป้าหมาย - ให้ผู้เรียนเล่มเกม “ผีเสื้อไม้ขีดไฟ” โดยผู้สอนอาจถามก่อนและให้ผู้ที่เคยเล่น แล้วเป็นผู้ชมไปก่อน ขณะเล่นหากมีผู้เล่นคนใดค้นพบคำ�ตอบแล้วก็ให้นิ่งเงียบไว้ เมื่อ หมดเวลาแล้วหากยังมีผู้ตอบไม่ได้ ก็ให้ผู้สอนเฉลยคำ�ตอบให้ - เกมนี้จะทำ�ให้ผู้เล่นเข้าใจได้อย่างดีว่า การชี้แนะของผู้นำ�นั้นมีความจำ�เป็น มากเพียงใดเพือ่ ช่วยให้สามารถเล่นเกมสำ�เร็จได้ เพราะอันทีจ่ ริงแล้วเกมนีค้ อ่ นข้างยาก ผู้เล่นส่วนใหญ่จึงมักต้องการคำ�ชี้แนะเพื่อจะพบคำ�ตอบได้ - เกมนี้เป็นเพียงตัวอย่างของสิ่งเล็กน้อยเพียงเรื่องเดียวที่เราอาจไม่สามารถทำ� เองได้ ซึง่ ในชีวติ จริงมีหลายเรือ่ งมากทีเ่ ราทำ�เองคนเดียวไม่ได้ ทัง้ ในเรือ่ งฝ่ายวัตถุและ ฝ่ายจิตใจ ใครคือผู้ช่วยที่ดีที่สุดของเรา? ให้ผู้เรียนลองตอบกันดู (โดยไม่ต้องเฉลย)
☆ ดูเกม
“ผีเสื้อไม้ขีดไฟ” ท้ายแผน
34
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3 พระวาจา : มก 4:1-13 พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ทรงพระดำ�เนินจากแม่น้ำ�จอร์แดน พระจิตเจ้าทรงนำ�พระองค์ไปยังถิน่ ทุรกันดาร ทรงถูกปีศาจผจญเป็นเวลาสีส่ บิ วัน ตลอด เวลานั้นพระองค์มิได้เสวยสิ่งใดเลย ในที่สุด ทรงหิว ปีศาจจึงทูลพระองค์ว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรพระเจ้า จงสั่งให้หิน ก้อนนี้กลายเป็นขนมปังเถิด” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์มิได้ดำ�รงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น” ปีศาจจึงนำ�พระองค์ไปยังที่สูงแห่งหนึ่ง แสดงให้พระองค์ทอดพระเนตรอาณาจักรต่างๆ ของโลกทั้งหมดในคราวเดียว และทูลพระองค์ว่า “ข้าพเจ้าจะให้อำ�นาจและ ความรุ่งเรืองของอาณาจักรเหล่านี้ทั้งหมดแก่ท่านเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้ผใู้ ดก็ได้ตามความปรารถนา ดังนัน้ ถ้าท่านกราบนมัสการข้าพเจ้า ทุกสิง่ จะเป็นของท่าน” พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีรว์ า่ ‘จงกราบ นมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียว เท่านั้น’” ปีศาจนำ�พระองค์ไปยังกรุงเยรูซาเล็มวางพระองค์ลงที่ยอดพระวิหาร แล้วทูลว่า “ถ้าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า จงกระโจนลงไปเบื้องล่างเถิด เพราะมีเขียนไว้ใน พระคัมภีร์ว่า ‘พระเจ้าจะทรงสั่งทูตสวรรค์ให้พิทักษ์รักษาท่าน’ และยังมีเขียนอีกว่า ‘ทูตสวรรค์จะคอยพยุงท่านไว้มิให้เท้ากระทบหิน’” แต่พระเยซูเจ้าตรัสตอบปีศาจว่า มี เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “อย่าทดลององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านเลย” เมื่อปีศาจทดลองพระองค์ทุกวิถีทางแล้วจึงแยกจากพระองค์ไป รอจนกว่าจะ ถึงเวลาที่เหมาะสม 4 อธิบายพระวาจา - ในตอนต้นของพระวรสารตอนนี้กล่าวถึงพระจิตเจ้าที่ทรงนำ�พระเยซูเจ้าเข้าไป ในถิน่ ทุรกันดาร ซึง่ หากมองผิวเผินแล้วดูเหมือนว่าพระจิตเจ้าทรงนำ�พระองค์ไปให้ถกู ประจญ แต่เมื่อมองให้ลึกแล้วเราสามารถเข้าใจว่าเหตุการณ์นี้ก็อยู่ในแผนการของ พระเจ้าด้วยทีจ่ ะพิสจู น์ให้เราเห็นและเรียนรูว้ า่ ในฐานะทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์แท้ พระองค์กท็ รงได้รบั การทดลองหรือประจญจากปีศาจด้วยเช่นกัน แต่ดว้ ยพระปรีชาญาณ อันล้ำ�ลึกพระองค์ทรงเอาชนะการประจญทั้งหมดได้อย่างสวยงาม จนปีศาจยอมพ่าย แพ้และหนีไปในที่สุด - วิธีการที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เพื่อเอาชนะการประจญนี้คือ การไม่หลงตาม คำ�สรรเสริญเยินยอ การอ้างอิงสิ่งน่าเชื่อถือให้หลงไหลไขว้เขว หรือการเลือกเพื่อหวัง ผลประโยชน์ฝา่ ยวัตถุหรือฝ่ายโลก แต่ตอ้ งมีสติ ใช้เหตุผลเลือกสิง่ ทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ โดยยึด เอาพระวาจาของพระเจ้าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน - พระเยซูเจ้าได้เลือกพระวาจา 3 ตอนเพื่อตอบโต้การประจญของปีศาจ คือ 1. “มนุษย์มิได้ดำ�รงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น” เพื่อปฏิเสธเรื่องความโลภ
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
35
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
2. “จงกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้ พระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้น” เพื่อปฏิเสธเรื่องความอยากครอบครอง 3. “อย่าทดลององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านเลย” เพื่อปฏิเสธ เรื่องการทำ�ตามใจชอบอย่างไร้เหตุผล 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เหตุการณ์นี้จึงเป็นบทเรียนสอนว่า เราสามารถถูกประจญได้ตลอดเวลา แต่วิธี ที่จะเอาชนะการประจญนั้นพระเยซูเจ้าทรงให้แนวทางไว้แล้ว เป็นวิธีที่ดีที่สุดใน การเอาชนะการประจญของปีศาจได้ นั่นคือ การยึดพระวาจาของพระเจ้าเป็นที่ตั้ง - ไม่ว่าในเวลาใดที่เราจะต้องเลือกระหว่างสิ่งดีและไม่ดี หรือสิ่งที่ดีและดีกว่า ใน เวลานั้นเราอาจสับสนเพราะมนุษย์เรามีความอ่อนแอตามธรรมชาติ ทำ�ให้เราไม่ สามารถจะทำ�ดีด้วยความสามารถของตนเองเท่านั้น เราจึงต้องการ “ผู้ช่วยที่รอบรู้” นั่นคือ องค์พระจิตเจ้า - พระจิตเจ้าได้ทรงนำ�ทางในชีวิตของพระเยซูเจ้าอย่างไร พระองค์ก็จะทรงนำ� ทรงเราเช่นเดียวกันด้วย เพราะทรงทราบดีว่าความอ่อนแอตามประสามนุษย์นั้นจะ ทำ�ให้เราพ่ายแพ้ต่อการประจญของปีศาจได้โดยง่าย เพราะเราจะหลงกลและเชื่อมัน ทำ�ให้เราผิดพลาดและกระทำ�ในบาป - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 “ฉัน OK” เมื่อทำ�เสร็จ แล้วให้สุ่มผู้เรียนประมาณ 3-4 คนมาอ่านคำ�ตอบของตนหน้าชั้น - จากคำ�ตอบของผู้เรียน ให้ผู้สอนตั้งข้อสังเกตแก่ทุกคนว่า ส่วนใหญ่คำ�ตอบอาจ จะคล้ายกัน คือโอนเอียงไปในทางที่ตนชอบและสะดวก แต่หากเรากระทำ�เช่นนั้นทุก ข้อจะมีผลดีและผลเสียอย่างไร ให้ผู้สอนอธิบายถึงความแตกต่างและผลที่จะตามมา เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสรุปได้ว่า หากเราทำ�สิ่งต่างๆ โดยใช้ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินเท่านัน้ ส่วนใหญ่แล้วสิง่ นัน้ จะนำ�เราไปกระทำ�บาปในทีส่ ดุ เช่น ความหยิง่ จองหอง ความเกียจคร้าน การไม่รจู้ กั เสียสละ ความโลภ ความฟุม่ เฟือย ฯลฯ - ดังนั้น บาปไม่ช่วยเราให้มีความสุขในโลกนี้หรือในชีวิตนิรันดรได้ เพราะบาป คือสิ่งเลวร้ายที่จะอยู่กับพระเจ้าไม่ได้ เราจึงต้องทำ�ตัวให้สะอาดปราศจากบาป ด้วย การขอให้พระจิตเจ้าทรงนำ�ทางเราเช่นเดียวกับพระเยซูเจ้าในการเลือกสิ่งที่ดีกว่าและ ดีที่สุด เพราะพระเจ้าทรงต้องการให้เราเป็นบุคคลที่ดีเช่นเดียวกับพระองค์ - เมื่อผู้เรียนเข้าใจแล้ว ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 2 “เอ๊ะ...แต่ฉันว่า...” เพื่อปรับ ความคิดและความเข้าใจให้ถูกต้อง - พระจิตเจ้าทรงเป็นองค์แห่งปรีชาญาณของพระเจ้า เราจึงควรเปิดใจให้พระองค์ ทรงเป็นผู้ช่วยนำ�ทางชีวิตของเรา 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติตามการดลใจของพระจิตเจ้าโดยเลือกกระทำ�สิ่งที่ดี
☆ ใบงานที่
1 “ฉัน OK” ท้ายแผน
☆ ใบงานที่ 2 “เอ๊ะ...แต่ฉันว่า...”
36
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วสวด “บทข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
เกม “ผีเสื้อไม้ขีดไฟ” เฉลย จุดประสงค์ ให้ผู้เล่นฝึกเชาว์ปัญญาในการแก้ปัญหา ผู้เล่น อายุระหว่าง 9 – 15 ปี อุปกรณ์ 1. โจทย์ภาพไม้ขีดไฟ 2. ไม้ขีดไฟคนละ 10 ก้าน กำ�หนดเวลา 5 นาที วิธีเล่น 1. นำ�ภาพที่กำ�หนดให้ผู้เล่นแต่ละคนดู โดยอ่านคำ�สั่งให้เข้าใจ 2. แจกไม้ขีดไฟให้คนละ 10 ก้าน ให้เรียงก้านไม่ขีดตามโจทย์ แล้วให้แต่ละคนหาตอบ โดยปฏิบัติตามคำ�สั่งการเล่นอย่างเคร่งครัด 3. ผู้เล่นที่ค้นพบคำ�ตอบแล้วให้อยู่ในความสงบเงียบและไม่เฉลยคำ�ตอบให้แก่ผู้เล่นอื่น
“ช่วยเจ้าผีเสื้อน้อยด้วย มันกำ�ลังบินหลงทางไปนรกแล้ว แค่ย้ายไม้ขีด 3 ก้านเท่านั้น ให้มันบินกลับขึ้นมา”
37
ใบงานที่ 1 “ฉัน O.K.” คำ�ชี้แจง - ให้ขีดเครื่องหมาย P ในช่องหน้าประโยคที่ฉันชอบและคิดว่าถูกต้อง และขีดเครื่องหมาย O ในช่องหน้าประโยคที่ฉันไม่ชอบ ที่ 1
ประโยค ฉันชอบให้ครูยกย่องชมเชยฉันต่อหน้าทุกคน แม้บางทีครูคิดไปเองว่าฉันเป็นคนทำ�ความดีนั้น
2
แม่รักฉันมากกว่าพี่ ฉันก็เลยไม่ต้องทำ�งาน จึงสบายกว่าคนทุกคน มีเวลาไปเที่ยวเล่นได้ทั้งวัน ฉันทำ�ตนเป็นคนดีเสมอ ฉันจึงสมควรต้องได้สิทธิ์พิเศษกว่าคนอื่นๆ บางทีคนที่ทำ�ดีเขาก็ได้สิ่งที่ไม่ดี ส่วนคนชั่วกลับได้สิ่งที่ดี ดังนั้น จึงไม่จำ�เป็นที่ฉันต้องทำ�ดีเสมอไป แต่ฉันก็ยังเชื่อในประโยคที่ว่า “ทำ�ดีได้ดี และทำ�ชั่วได้ชั่ว” นะ ฉันจึงต้องพยายามทำ�สิ่งที่ดีเสมอ
3 4 5 6
การมีสิ่งของมากๆ ให้ความสุขกับฉันได้ ฉันจึงต้องพยายามหามันมาให้มากที่สุดด้วยทุกวิถีทาง
7
แต่ในหลวงสอนให้เราอยู่อย่างพอเพียง เหมือนกับที่พระเยซูเจ้าสอนให้เรามีใจยากจนไง
8
ฉันไม่ใช่คนขี้ขโมย แต่ฉันถือว่าสิ่งของที่วางหรือหล่นอยู่นั้นไม่มีเจ้าของ มันจึงควรเป็นของฉัน การกินให้ความสุขกับฉันมากเลย ฉันจึงกินแต่สิ่งที่ฉันชอบ ทำ�ไมฉันต้องกินสิ่งที่ฉันไม่ชอบด้วยล่ะ? เพราะฉันขยันก็เลยทำ�งานเสร็จก่อน ฉันมีสิทธิ์ไปเล่นได้ ฉันจะต้องลำ�บากไปช่วยเพื่อนทำ�ไมกัน?
9 10
38
ใบงานที่ 2 “เอ๊ะ...แต่ฉันว่า...” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนประโยคที่เธอคิดว่าถูกต้องเพื่อแก้ไขข้อที่เธอคิดว่าเป็นความคิดที่ผิด ลงในช่องว่าง ของแต่ละข้อ
1. ฉันชอบให้ครูยกย่องชมเชยฉันต่อหน้าทุกคน แม้บางทีครูคิดไปเองว่าฉันเป็นคนทำ�ความดีนั้น ...................................................................................................................................................... 2. แม่รักฉันมากกว่าพี่ ฉันก็เลยไม่ต้องทำ�งาน จึงสบายกว่าคนทุกคน มีเวลาไปเที่ยวเล่นได้ทั้งวัน ...................................................................................................................................................... 3. ฉันทำ�ตนเป็นคนดีเสมอ ฉันจึงสมควรต้องได้สิทธิ์พิเศษกว่าคนอื่นๆ ...................................................................................................................................................... 4. บางทีคนที่ทำ�ดีเขาก็ได้สิ่งที่ไม่ดี ส่วนคนชั่วกลับได้สิ่งที่ดี ดังนั้น จึงไม่จำ�เป็นที่ฉันต้องทำ�ดีเสมอไป ...................................................................................................................................................... 5. แต่ฉันก็ยังเชื่อในประโยคที่ว่า “ทำ�ดีได้ดี และทำ�ชั่วได้ชั่ว” นะ ฉันจึงต้องพยายามทำ�สิ่งที่ดีเสมอ ...................................................................................................................................................... 6. การมีสิ่งของมากๆ ให้ความสุขกับฉันได้ ฉันจึงต้องพยายามหามันมาให้มากที่สุดด้วยทุกวิถีทาง ...................................................................................................................................................... 7. แต่ในหลวงสอนให้เราอยู่อย่างพอเพียง เหมือนกับที่พระเยซูเจ้าสอนให้เรามีใจยากจนไง ...................................................................................................................................................... 8. ฉันไม่ใช่คนขี้ขโมย แต่ฉันถือว่าสิ่งของที่วางหรือหล่นอยู่นั้นไม่มีเจ้าของ มันจึงควรเป็นของฉัน ...................................................................................................................................................... 9. การกินให้ความสุขกับฉันมากเลย ฉันจึงกินแต่สิ่งที่ฉันชอบ ทำ�ไมฉันต้องกินสิ่งที่ฉันไม่ชอบด้วยล่ะ? ...................................................................................................................................................... 10. เพราะฉันขยันก็เลยทำ�งานเสร็จก่อน ฉันมีสิทธิ์ไปเล่นได้ ฉันจะต้องลำ�บากไปช่วยเพื่อนทำ�ไมกัน? ......................................................................................................................................................
39
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระศาสนจักร : สหพันธ์นักบุญ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า สหพันธ์นักบุญของพระศาสนจักรประกอบด้วยสัตบุรุษใน โลกนี้ นักบุญในสวรรค์ และวิญญาณในไฟชำ�ระ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนภาวนาอุทศิ ให้แก่วญ ิ ญาณในไฟชำ�ระทุกวันโดยสวด “บทวันทามารีย”์ 3 ครั้ง สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักร “สหพันธ์นักบุญ” ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) สัตบุรุษในโลกนี้ 2) บรรดานักบุญใน สวรรค์ 3) วิญญาณในไฟชำ�ระ ซึ่งบุคคลที่อยู่ในสามสภาพนี้มีความสนิทสัมพันธ์กัน สามารถติดต่อกันและช่วยเหลือกันได้ อาศัยการเสนอวิงวอนต่อพระเจ้าเพื่อกันและกัน ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ที่ 1 คำ�ว่า “สหพันธ์” มาให้ผู้เรียนดู แล้วถามว่าใครเข้าใจ คำ�ๆ นี้บ้าง? อย่างไรบ้าง? ให้ผู้เรียนลองตอบตามความเข้าใจ - จากนั้น ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนต่อไปเกี่ยวกับประสบการณ์ของ “การรวม พล” กันเพื่อทำ�กิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง แล้วเปิดอภิปรายให้ ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน (เช่น รวมกลุ่มเพื่อติวหนังสือเตรียมสอบ เพื่อซ้อมกีฬา เพื่อละครหรือซ้อมโต้วาที ฯลฯ) การสนทนานี้มีเป้าหมายเพื่อนำ�ผู้เรียน เข้าสู่ความหมายของคำ�ว่า “สหพันธ์” - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ที่ 2 มาให้ผู้เรียนดูและอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของ คำ�นี้ให้ถูกต้อง แล้วอาจให้ผู้เรียนยกตัวอย่างของสหพันธ์ สหภาพ หรือสมาคมที่เขา รู้จัก เช่น สหภาพแรงงาน สหพันธรัฐ... เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นคำ�ยากสำ�หรับผู้เรียนใน วัยนี้ แต่ก็อาจเป็นการเริ่มให้รู้จักกับคำ�นี้ได้ - ผู้สอนให้ผู้เรียนดูบัตรคำ�ใบที่ 3 : “สหพันธ์นักบุญ” และให้ผู้เรียนทดลองบอก ว่าใครบ้างอยู่ในสหพันธ์นักบุญบ้าง? โดยที่ผู้สอนยังไม่ต้องเฉลยคำ�ตอบที่ถูก เพื่อจะ พิจารณาดูต่อไปว่าความหมายที่ถูกต้องของคำ�นี้คืออะไร?
☆
ดูบัตรคำ�ที่ 1 ท้ายแผน
☆
ดูบัตรคำ�ที่ 2 ท้ายแผน
☆
ดูบัตรคำ�ที่ 3 ท้ายแผน
3 พระวาจา : อุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลก 16:19-31) “เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุก ☆ ดูภาพพระวรสารเรื่อง วัน คนยากจนผู้หนึ่งชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประตูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขามีบาดแผล “เศรษฐีและลาซารัส” ท้ายแผน
40
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เต็มตัว อยากจะกินเศษอาหารทีต่ กจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สนุ ขั มาเลียแผลของเขา วัน หนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์นำ�เขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้น ก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้ ‘เศรษฐีซงึ่ กำ�ลังถูกทรมานอยูใ่ นแดนผูต้ าย แหงนหน้า ขึ้นมองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก จึงร้องตะโกนว่า “ท่านพ่อ อับราฮัม จงสงสารลูกด้วย กรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิว้ จุม่ น้�ำ มาแตะลิน้ ให้ลกู สดชืน่ ขึ้นบ้าง เพราะลูกกำ�ลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้” แต่อับราฮัมตอบว่า “ลูก เอ๋ย จงจำ�ไว้ว่า เมื่อยังมีชีวิต ลูกได้รับแต่สิ่งดีๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลวๆ บัดนี้เขา ได้รบั การบรรเทาใจทีน่ ี่ ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิง่ กว่านัน้ ยังมีเหวใหญ่ขวางอยูร่ ะหว่าง เราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้ามจากที่นี่ไปหาลูก ก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะ ข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้ด้วย” ‘เศรษฐีจึงพูดว่า “ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่ง นีเ้ ลย” อับราฮัมตอบว่า “พีน่ อ้ งของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยูแ่ ล้ว ให้เขาเชือ่ ฟังท่านเหล่านั้นเถิด” แต่เศรษฐีพูดว่า “มิใช่เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่ง จากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ” อับราฮัมตอบว่า “ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสส และบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะไม่เชื่อ” 4 อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องนี้เพื่ออธิบายว่า ขณะยังมีชีวิตอยู่นี้เราต้องมีใจกว้าง และเมตตากรุณาต่อเพื่อนพี่น้องที่ยากจนขัดสน ต้องแบ่งปันสิ่งที่มีให้แก่คนที่ไม่มี เพราะเราคริสตชนต้องแสดงความรักต่อ “เพื่อนพี่น้อง” เนื่องจากพระเยซูเจ้าทรงอยู่ ในเพื่อนพี่น้องที่ทุกข์ยากเหล่านี้ (มธ 25:40) - ในเวลาเดียวกัน หากพิจารณาให้ดีจะพบว่าอุปมาเรื่องนี้ยังสอนเราอีกเกี่ยวกับ เรื่อง “สหพันธ์นักบุญ” ด้วย เพราะทำ�ให้เราเข้าใจว่ามีบุคคลที่อยูใ่ นสวรรค์ ในไฟ ชำ�ระ และในโลกนี้ เป็นบุคคล 3 กลุ่มที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วย - พระเยซูเจ้าทรงสอนโดยอาศัยอุปมาเรื่องนี้ว่า เราต้องเจริญชีวิตในโลกนี้โดย รู้จักเสียสละและแบ่งปันให้แก่ผู้ขัดสนเพราะทุกคนคือ “พี่น้อง” ของเรา 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ที่ 3 มาให้ผู้เรียนตอบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเฉลยด้วยบัตรคำ� ที่ 4 โดยอาจให้ผู้เรียนอ่านคำ�ตอบพร้อมๆ กัน - เราทราบได้อย่างไรว่าคำ�ตอบนี้ถูกต้อง? - เราได้ค�ำ ตอบนีม้ าจากพระวรสารเรือ่ งทีเ่ พิง่ อ่านไปนีซ้ งึ่ บอกแก่เราว่า “สหพันธ์ นักบุญ” ประกอบด้วย 1) สัตบุรุษในโลกนี้ คือเราคริสตชนทุกคน 2) นักบุญในสวรรค์ คือผู้ตายไปแล้วซึ่งได้ดำ�เนินชีวิตในโลกนี้อย่างดีจึงได้รับรางวัลแห่งความสุขในสวรรค์ นิรันดร และ 3) วิญญาณในไฟชำ�ระ คือผู้ที่ตายในศีลในพรของพระแต่เนื่องจากได้ ทำ�บาปจึงยังมีวญ ิ ญาณทีไ่ ม่สะอาดบริสทุ ธิท์ �ำ ให้ตอ้ งไปชำ�ระวิญญาณของตนในไฟชำ�ระ ให้สะอาดเสียก่อนแล้วจึงสามารถไปสวรรค์ได้
☆
ดูบัตรคำ�ที่ 3 และ 4 ท้ายแผน
ดูภาพ “สวรรค์” และ “ไฟชำ�ระ” ท้ายแผน
☆
41
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- บุคคลทั้งสามกลุ่มนี้สามารถติดต่อกันได้อาศัยการเสนอวิงวอนต่อพระเป็นเจ้า เพือ่ อีกกลุม่ หนึง่ เช่น นักบุญในสวรรค์และวิญญาณในไฟชำ�ระสามารถเสนอวิงวอนต่อ พระเจ้าสำ�หรับคนในโลกนีไ้ ด้ เพือ่ ช่วยให้เขาสามารถเจริญชีวติ อย่างถูกต้องเทีย่ งธรรม เป็นคนดี ทำ�ตามน้ำ�พระทัยของพระเจ้า - ส่วนคนทีย่ งั มีชวี ติ อยูส่ ามารถช่วยวิญญาณในไฟชำ�ระได้ดว้ ยการถวายคำ�ภาวนา การพลีกรรม ขอมิสซาอุทศิ แด่วญ ิ ญาณในไฟชำ�ระได้ แต่สงิ่ หนึง่ ทีผ่ เู้ รียนในวัยนีส้ ามารถ ทำ�ได้โดยไม่ยากก็เช่น สวดบทวันทามารีย์วันละ 3 ครั้ง อุทิศแด่วิญญาณเหล่านี้ เพื่อ วอนขอพระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดช่วยเหลือให้ท่านเหล่านั้นได้ชำ�ระบาปโดยเร็วและ สามารถไปร่วมความสุขกับพระองค์ในสวรรค์ได้เร็วขึ้น - คำ�สอนเรื่องสหพันธ์นักบุญนี้จึงทำ�ให้ เรารู้สึกว่าไม่อยู่โดดเดี่ยว นอกจาก พระเป็นเจ้าแล้วยังมีอีกหลายบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและสามารถช่วยเราได้ด้วย ซึ่งก็คือ นักบุญและวิญญาณในไฟชำ�ระนั่นเอง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนภาวนาอุทิศให้แก่วิญญาณในไฟชำ�ระทุกวันโดยสวด “บทวันทามารีย์” 3 ครั้ง 7 ภาวนาปิด ผู้เรียนสวด “บทข้าแต่พระบิดา วันทามารีย์ พระสิริรุ่งโรจน์” อุทิศแด่วิญญาณ ในไฟชำ�ระพร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
ภาพเรื่อง
เศรษฐีและลาซารัส
42
ใบความรู้เรื่อง “สหพันธ์” บัตรคำ�ที่ 1 : “สหพันธ์” คืออะไร?
บัตรคำ�ที่ 3 : “สหพันธ์นักบุญ” ประกอบ ด้วยใครบ้าง?
ภาพ “สวรรค์”
บัตรคำ�ที่ 2 : คือ สหภาพหรือสมาคม ตั้งแต่ 2 สหภาพหรือ 2 สมาคม ขึ้นไปรวมตัวกัน เพื่อการอย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพหรือ สมาคมที่เข้าร่วมกันนั้น
บัตรคำ�ที่ 4 : “สหพันธ์นักบุญ” ของ พระศาสนจักรประกอบด้วย 1) สัตบุรุษในโลกนี้ 2) นักบุญในสวรรค์ 3) วิญญาณในไฟชำ�ระ
ภาพ “ไฟชำ�ระ”
43
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระศาสนจักร : หนึ่งเดียว
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความเป็น “เอกภาพ” คือหนึ่งในลักษณะเฉพาะของ พระศาสนจักร ซึง่ แสดงออกโดยมีความเชือ่ ในพระเจ้าเดียว มีพธิ กี รรม ผูน้ �ำ เดียวกัน และ ความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นด้วยการไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกัน สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้าจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะ “ร่างกาย” เดียวกันจะแบ่งแยกกันไม่ได้ ความเป็นเอกภาพหรือหนึง่ เดียวกันนีจ้ ะแสดงออกในเรือ่ งของข้อความเชือ่ การเชือ่ ในพระเจ้าเดียว มีพิธีกรรม และมีพระสันตะปาปาเป็นผู้นำ�พระศาสนจักรองค์เดียวกัน และบรรดาคริสตชนต้องมี ความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่แตกแยก ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ชุดที่ 1 มาให้ผู้เรียนดู แล้วถามว่ามีใครเคยรู้จักหรือเคยได้ยิน คำ�เหล่านั้นบ้างไหม? ให้ผู้เรียนแบ่งปันกัน - คำ�ต่างๆ ดังกล่าวอาจเป็นคำ�ที่ผู้เรียนบางคนไม่เคยเห็น แต่สำ�หรับผู้เรียนใน ชั้นนี้ก็โตพอที่จะเริ่มรู้จักกับคำ�เหล่านี้ได้แล้ว - เมื่อผู้เรียนแสดงความคิดเห็นแล้ว ผู้สอนอาจจะสรุปความหมายของแต่ละคำ� พอสังเขป โดยใช้คำ�อธิบายจากใบงานที่ 1 และ 2 - แม้ว่าจะเป็นคำ�ที่แปลกและยากที่จะเข้าใจบ้าง แต่ก็มีความสำ�คัญไม่น้อย เพราะเกีย่ วข้องกับการแตกแยกในประวัตศิ าสตร์ของพระศาสนจักร การเรียนในครัง้ นี้ มิได้มจี ดุ ประสงค์เพือ่ เรียนรูถ้ งึ รายละเอียดประวัตศิ าสตร์ของการแตกแยก แต่ตอ้ งการ เน้นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักรมากกว่าโดยอ้างอิงถึงข้อมูลในอดีต - ดังนั้น จึงเป็นเพียงการเกริ่นนำ�ให้ผู้เรียนได้เริ่มรับรู้ว่าพระศาสนจักรยังไม่มี ความเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะยังมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่มต่างๆ อยู่ - ความเป็นหนึ่งเดียวเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของพระศาสนจักร แต่ ความเป็นหนึ่งเดียวนี้แสดงออกในด้านใดบ้าง? เราสามารถหาคำ�ตอบได้จากบท จดหมาย น.เปาโลถึงชาวเอเฟซัส
☆
ดูบัตรคำ�ชุดที่ 1 ท้ายแผน
☆
ดู “ใบงาน 1 และ 2” ท้ายแผน
44
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
3 พระวาจา : อฟ 4:3-5 “พยายามรักษาเอกภาพแห่งพระจิตเจ้าด้วยสายสัมพันธ์แห่งสันติ มีกายเดียว และจิตเดียว ดังทีพ่ ระเจ้าทรงเรียกท่านให้มคี วามหวังประการเดียว มีองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า องค์เดียว ความเชื่อหนึ่งเดียว ศีลล้างบาปหนึ่งเดียว พระเจ้าหนึ่งเดียว” 4 อธิบายพระวาจา - นักบุญเปาโลได้ให้คำ�ตอบแก่เราในจดหมายถึงชาวเอเฟซัสว่า “เอกภาพ” หรือความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตชนจะแสดงออกด้วยการ 1. นมัสการพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน 2. ยึดถือความเชื่อเดียวกัน 3. มีพิธีกรรมเดียวกัน 4. เชื่อฟังผู้นำ�พระศาสนจักรองค์เดียวกัน 5. มีความเป็นหนึ่งเดียวกันของบรรดาสัตบุรุษ - ทัง้ หมดนีเ้ พราะคริสตชนคือ “พระกายทิพย์” ของพระคริสตเจ้า ทุกคนประกอบ กันเป็นร่างกายเดียวกัน มีพระองค์ทรงเป็นศีรษะ ร่างกายนี้จึงต้องมีความเป็นหนึ่ง เดียวกันไม่แตกแยก มิฉะนั้นก็จะเป็นร่างกายที่ตายไปแล้ว 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในร่างกายนี้ พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ประทานชีวิตแก่ร่างกาย ทุกคนมีชีวิตอยู่ ในพระองค์ ทุกคนประกอบกันเป็นเสมือนอวัยวะต่างๆ ของร่างกายนี้ จึงต้องการ การช่วยเหลือพึ่งพากันและกัน โดยแต่ละคนทำ�หน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อให้ร่างกาย ทั้งครบเจริญชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข เพราะหากร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งป่วยหรือเป็น “มะเร็ง” ร่างกายส่วนอื่นทั้งหมดก็ได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างแน่นอน - เราสามารถเข้าใจเรื่องความเป็นเอกภาพได้ดังนี้ ด้านความเชื่อ หมายถึงคริสตชนทุกคนยึดมั่นในข้อความเชื่อคาทอลิก เดียวกัน ดังที่เราท่องกันใน “บทข้าพเจ้าเชื่อ” ด้านพิธีกรรม คือยึดถือแนวทางในการร่วมมิสซาฯ รับศีลศักดิ์สิทธิ์ และ สวดภาวนาในลักษณะเดียวกัน ด้านผู้นำ� คือเชื่อฟังพระสันตะปาปาองค์เดียวกันเป็นผู้นำ�พระศาสนจักร ซึ่ง ปัจจุบันคือ พระสันตะปาปาฟรังซิส ด้านความเป็นหนึ่งเดียว คือสมาชิกเจริญชีวิตร่วมกันด้วยสายสัมพันธ์แห่ง ความรัก ตามบัญญัติแห่งความรักที่พระเยซูเจ้าทรงสอน - สิ่งหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นเรื่องใกล้ตัวคือ การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องด้วยการแสดงความรักต่อกันและกัน ซึ่ง สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การพูดจาดีกับทุกคน การรู้จักแบ่งปันแก่ คนที่ขาดแคลน การไม่ทะเลาะวิวาทกัน เป็นต้น 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นด้วยการไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกัน
☆
ดูภาพ “พระกายทิพย์” ท้ายแผน
45
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียน 1 คนเป็นตัวแทนนำ�สวดภาวนาจากใจ แล้วให้เพื่อนๆ สวดตาม 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................
บัตรคำ�ชุดที่ 1 “นิกายต่างๆ” คาทอลิก
แองกลิกัน
ออร์โธดอกซ์
โปรแตสแตนท์
ใบงาน 1 : สรุปการแยกนิกายของ “คริสตศาสนา” นิกายใหญ่ของคริสตศาสนามี 3 นิกาย โดยในช่วงแรกเริ่ม บรรพชนของพวกเราก็รวมกันมาไม่ได้มี การแยกนิกายอะไร ต่อมาในศตวรรษที่ 11 เริ่มมีความขัดแย้งระหว่างพระศาสนจักรตะวันออกและโรม (พระศาสนจักรตะวันตก) จึงแยกตัวออกไป เกิดเป็น นิกายออร์โธดอกซ์ ในปี ค.ศ. 1054 ต่อมา ในศตวรรษ ที่ 16 พระศาสนจักรได้ประสบปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งจากระบบและความประพฤติของผู้นำ�ศาสนาบางคน มีอดีตบาทหลวงมาร์ติน ลูเธอร์ ยื่นประท้วงให้แก้ไขเกี่ยวกับข้อความเชื่อ 95 ข้อ โดยต้องการให้มีการปฏิรูป แต่สมเด็จพระสันตะปาปาไม่ทรงอนุญาต จึงเกิดการแตกแยกเป็นนิกายโปรแตสแตนท์ขึ้นมา ส่วนพระศาสนจักรที่ถือข้อความเชื่อเดิมมีชื่อว่า นิกายโรมันคาทอลิก ดังนั้น สามารถสรุปนิกายใหญ่ๆ ของคริสตศาสนาได้ดังนี้ 1. โรมันคาทอลิก 2. ออร์โธดอกซ์ แยกออกไป เมื่อ ปี ค.ศ. 1054 3. โปรเตสแตนท์ แยกออกไป เมื่อ ปี 1517 โดยมาร์ติน ลูเธอร์
46
ใบงาน 2 : สรุปย่อการแยกนิกาย “แองกลิกัน” นิกายแองกลิกัน หรือนิกายคริสตจักรแห่งอังกฤษ มีกำ�เนิดในประเทศอังกฤษ ใน ค.ศ. 1534 โดยมี สาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ต้องการให้พระสันตะปาปา ที่กรุงโรมอนุญาตให้หย่าร้างและอภิเษกสมรส ใหม่ แต่ได้รับการปฏิเสธจากพระสันตะปาปา จึงไม่พอพระทัย ประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่า เชิร์ชออฟ อิงแลนด์ ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม และทรงแต่งตั้งโธมัส แคลนเมอร์ เป็นพระสังฆราชแห่งแคนเทอเบอรี่
ภาพพระกายทิพย์
47
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระศาสนจักร : ศักดิ์สิทธิ์
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระศาสนจักรมีศักดิ์สิทธิภาพเพราะถูกสถาปนาขึ้น โดย พระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนมุ่งดำ�รงชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเลือกข้อปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม คนละ 1 ข้อ สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักรมีศกั ดิส์ ทิ ธิภาพ เพราะเป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า ผูท้ รงเป็นองค์ความศักดิส์ ทิ ธิ์ พระศาสนจักรสอนข้อคำ�สอนที่ศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระผู้สถาปนาพระศาสนจักร และจัดหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้สมาชิกสามารถ ดำ�เนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ในทุกยุคทุกสมัย ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนแจกใบงานที่ 1 : “+ และ -” ให้ผู้เรียนทำ�คนละ 1 ใบ - เมื่อทำ�เสร็จแล้วอาจให้ผู้สมัครใจหรือสุ่มตัวอย่างผู้เรียนบางคนให้แบ่งปันสิ่ง ที่ตนเขียน - ผู้สอนเสวนากับผู้เรียนต่อไปว่า ในการเขียนด้านบวกและลบของตัวเองนั้น สิ่งใดเขียนง่ายกว่า? เพราะเหตุใด? ปกติคนส่วนใหญ่มักแสดงสิ่งที่ดีหรือไม่ดีของตน ออกมา? และหากเราไม่ระวังตัว แสดงแต่สิ่งที่ตนเองรู้สึกสะดวก ชอบ หรืออารมณ์ที่ รูส้ กึ ออกมาโดยไม่ค�ำ นึงว่าสิง่ นัน้ มีผลต่อผูร้ บั อย่างไรนัน้ จะทำ�ให้อะไรเกิดขึน้ ในสังคม ของเราบ้าง ไม่ว่าจะในระดับแคบหรือกว้างก็ตาม? - ยกตัวอย่าง เช่น หากทุกคนในกลุ่มแสดงแต่ด้านลบออกมา (ให้ทุกคนอ่าน ด้านลบของตนเองทั้งหมด) ให้ผู้เรียนลองจินตนาการว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกลุ่มบ้าง? ทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ไหม? - ข้อสรุปคือ นี่แหละคือสภาพของชีวิตที่แสดงถึงความเห็นแก่ตัวในหลากหลาย รูปแบบ ซึง่ เราสามารถบอกได้วา่ ทำ�ให้สงั คมเสือ่ มลง และมีผลทำ�ให้พระศาสนจักรเสือ่ ม “ความศักดิ์สิทธิ์” ลงด้วยเช่นกัน - การดำ�รงชีวิตเช่นนี้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าหรือไม่? ให้เรามาดูว่า พระเยซูเจ้าซึง่ ทรงเป็นศีรษะของพระศาสนจักรนัน้ ทรงต้องการให้พระกายทิพย์ของพระองค์ เป็นอย่างไร?
☆
ใบงานทื่ 1: “+ และ -” ท้ายแผน
48
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
3 พระวาจา 1. (พระเจ้า) ทรงบันดาลให้พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ ทรงใช้น้ำ�และพระวาจาชำ�ระ พระศาสนจักรให้บริสทุ ธิ์ พระองค์จะได้ทรงพบว่า พระศาสนจักรนัน้ รุง่ โรจน์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ปราศจากมลทิน ปราศจากตำ�หนิริ้วรอยหรือสิ่งใดๆ (อฟ 5:26-27) 2. ฉะนั้น ท่านจงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรง ความดีอย่างสมบูรณ์เถิด (มธ 5:48) 4 อธิบายพระวาจา - พระศาสนจักรคือพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ผู้ทรงเป็น พระผู้เป็นเจ้า ทรงเป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์ไม่มีที่สิ้นสุด ทรงเป็นองค์ความดีล้วน ใน พระองค์ไม่มีแม้แต่เงาของความไม่ดีหรือความบาปอยู่เลย เพราะพระองค์กับบาปจะ อยู่ร่วมกันไม่ได้ - ด้วยเหตุนี้ พระกายทิพย์ของพระองค์ก็จะต้องเป็นเช่นเดียวกับพระองค์ด้วย แม้ว่าครั้งหนึ่งมนุษย์ได้ทำ�บาปและทำ�ลายแผนการดั้งเดิมของพระองค์เสียไป แต่ พระองค์ก็ได้ทรงชำ�ระพระศาสนจักรให้บริสุทธิ์แล้วด้วยการไถ่บาปของพระองค์ บาป และความตายจึงไม่มีทางชนะพระองค์ได้เพราะพระองค์คือพระผู้เป็นเจ้า - พระศาสนจักรก็มีเป้าหมายเดียวกันกับพระองค์ คือ จะต้องมุ่งไปสู่สวรรค์ มนุษย์ จะได้ร่วมความบรมสุขกับพระเจ้าในสวรรค์ชั่วนิรันดร แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หาก มนุษย์มัวแต่สาละวนอยู่แต่ในบาปหรือในความเห็นแก่ตัวเองเท่านั้น ไม่เคยคิดที่จะ เสียสละตนเองเพื่อแสดงความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์เลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระศาสนจักรจะศักดิ์สิทธิ์ดังที่พระบิดาเจ้าทรงต้องการไม่ได้ หากสมาชิกแต่ ละคนไม่มงุ่ หาความศักดิส์ ทิ ธิเ์ ป็นการส่วนตัว สมาชิกทุกหน่วยจะต้องร่วมมือกันทำ�ให้ “พระกายทิพย์” บรรลุความศักดิ์สิทธิ์ - คำ�ว่า “ความศักดิ์สิทธิ์” เป็นคำ�ที่ทำ�ให้รู้สึกว่า สูงส่ง ยิ่งใหญ่ ทำ�ยาก ไม่สามารถ บรรลุได้ ฯลฯ เพราะเป็นคำ�ที่เป็น “นามธรรม” แต่หากจะแปลคำ�นี้เป็น “รูปธรรม” แล้วก็สามารถเข้าใจและกระทำ�ได้โดยไม่ยากนัก เพราะนักบุญทุกองค์ก็ได้กระทำ�ให้ สำ�เร็จไปแล้ว เนื่องจาก “นักบุญ” คือผู้ที่พระศาสนจักรรับรองแล้วว่าเป็นผู้ที่ได้เจริญ ชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง - ความศักดิ์สิทธิ์ในเชิงรูปธรรมหมายความว่าอย่างไร? ก็หมายความตามคำ�สอน ของนักบุญนั้นเอง เช่น นักบุญ Luigi Monza สอนว่า “ความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้อยู่ที่ การทำ�สิ่งพิเศษ แต่เป็นการทำ�สิ่งธรรมดาสามัญให้มีความพิเศษ” ส่วน น.มารีอา มัสซาแรลโล สอนว่า “ความศักดิส์ ทิ ธิ์ คือการทำ�หน้าทีข่ องตนอย่างดีตามกำ�หนด เวลาและสถานที่” นั่นย่อมหมายความว่า การพยายามบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่จำ�เป็นต้องใฝ่ฝันที่จะทำ�สิ่งใหญ่โตสุดเอื้อม แต่เป็นการทำ�สิ่งธรรมดาๆ ในหน้าที่ ประจำ�วันให้ดีที่สุด ตามเวลาและในสถานที่ที่หน้าที่นั้นเรียกร้อง อาจกล่าวในอีก ความหมายหนึ่งคือ เป็นการทำ�หน้าที่ของตนอย่างดีและอย่างซื่อสัตย์นั่นเอง ซึ่ง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
49
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ การกระทำ�เช่นนี้เรียกร้องความพากเพียรพยายาม ความอดทน การเสียสละ และ ความซื่อสัตย์ที่สูงสุด ซึ่งสำ�หรับเราแล้วคือการทำ�หน้าที่ทุกอย่างตามเอกลักษณ์ของ คริสตชน คือตามแนวทางคุณค่าพระวรสารทุกประการอย่างครบถ้วนนั่นเอง - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 2 : “ทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์” โดยอาจตอบจากความจำ� หรืออาจให้ผู้เรียนเปิดพระวรสารตอบก็ได้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยกับ พระวาจาที่ คริสตชนต้องปฏิบัติมากขึ้น
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
ดูใบงานที่ 2 “ทางสู่ ความศักดิ์สิทธิ์” ท้ายแผน ☆
- จากใบงานที่ 2 ผู้เรียนจะได้สัมผัสกับหน้าที่บางประการที่คริสตชนต้องปฏิบัติ ตามคำ�สั่งสอนของพระเยซูเจ้า ซึ่งจริงๆ แล้วมีจำ�นวนมากมาย ณ จุดนี้ผู้สอนอาจใช้ เป็นประเด็นเพือ่ เน้นถึงความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องอ่านพระวาจาทุกๆ วัน เพือ่ จะได้รวู้ า่ ผูเ้ ป็น คริสตชนต้องปฏิบตั หิ น้าทีอ่ ะไรบ้าง เพือ่ เขาจะบรรลุถงึ ความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นชีวติ ประจำ�วัน ได้ - สำ�หรับข้อปฏิบตั ใิ นครัง้ นี้ อาจให้ผเู้ รียนเลือก 1 ข้อทีเ่ หมาะสมกับความต้องการ ของเขามากที่สุด 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนมุ่งดำ�รงชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเลือกข้อปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมคนละ 1 ข้อ 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วผู้สอนนำ�สวดภาวนาโดยใช้เพลง “พระวาจาทรง ชีวิต” 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
50
ใบงานที่ 1 “+ และ -” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนลักษณะด้านบวกของตัวเอง 3 อย่างลงในช่องทางซ้ายมือและเขียนลักษณะด้านลบ ของตัวเอง 3 อย่างลงในช่องทางขวามือ ที่ 1
ด้านบวก
ด้านลบ
2 3
ใบงานที่ 2 “ทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์” คำ�ชี้แจง - ให้เขียนคำ�ต่อท้ายพระวาจาทุกตอนให้ครบสมบูรณ์และถูกต้อง (สามารถใช้คำ�ของตนเองได้) หมายเหตุ – คำ�ในวงเล็บคือเฉลยคำ�ตอบ 1. ผู้มีใจยากจนย่อมเป็นสุข เพราะ.............................................. (อาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา - มธ 5:3) 2. ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะ....................................................... (เขาจะได้รับพระเมตตา - มธ 5:7) 3. ผู้มีใจบริสุทธิ์ย่อมเป็นสุข เพราะ......................................................... (เขาจะได้เห็นพระเจ้า - มธ 5:8) 4. ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะ............................................. (เขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรพระเจ้า - มธ 5:9) 5. ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ดีไปกว่าความชอบธรรมของบรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีแล้ว ท่านจะ ............................................................................................ (เข้าอาณาจักรสวรรค์ไม่ได้เลย - มธ 5:20) 6. ถ้ามือขวาของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำ�บาป จงตัดมันทิ้งเสียเพราะ........................................................... .................................... (เพียงแต่เสียอวัยวะส่วนเดียวยังดีกว่าปล่อยให้ร่างกายทั้งหมดตกนรก - มธ 5:30) 7. ส่วนท่านเมื่อให้ทาน อย่าให้มือซ้ายของท่านรู้ว่า.................................................................................. (มือขวากำ�ลังทำ�สิ่งใด เพื่อทานของท่านจะได้เป็นทานที่ไม่เปิดเผย – มธ 6:3) 8. เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา จงเข้าไปในห้องส่วนตัว................................................................................. (ปิดประตู อธิษฐานต่อพระบิดาของท่าน - มธ 6:6) 9. อย่าตัดสินเขา และ.................................................................. (ท่านจะไม่ถูกพระเจ้าตัดสิน - มธ 5:3) 10. จงขอเถิด แล้ว ................................... (ท่านจะได้รับ) จงแสวงหาเถิด แล้ว ....................................... (ท่านจะพบ) จงเคาะประตูเถิดแล้ว...................................................... (เขาจะเปิดประตูรับท่าน - มธ 7:7)
51
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง พระนางมารีย์พาเราไปหาพระเยซูเจ้า
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระนางมารียค์ อื ผูท้ รงนำ�เราไปหาพระเยซูเจ้า เพราะพระนาง ทรงต้องการให้มนุษย์ทุกคนได้รับความรอดพ้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรักต่อพระมารดามารีย์ด้วยการสวดบทวันทามารีย์อย่าง ตั้งใจ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง สาระการเรียนรู ้ แม้คริสตชนจำ�นวนมากมีความรักและความศรัทธาต่อพระมารดามารีย์ แต่พระนางทรงทราบดีถงึ บทบาท ของตนในแผนการแห่งความรอดพ้นของพระเจ้า คือพระนางทรงเป็นผูร้ ว่ มไถ่บาปกับองค์พระบุตร โดยทรงเป็นผูช้ ว่ ยนำ�มนุษย์ ทั้งหลายเข้าหาพระเยซูเจ้าเพื่อรับการไถ่ให้รอดพ้นจากพระองค์ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนา “บทวันทามารีย์” ก่อนเริ่มเรียนด้วยความตั้งใจ 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพ “พระนางมารีย์” มาให้ผู้เรียนพิจารณาดู แล้วถามว่า “นี่คือ ภาพของใคร?” “ทำ�ไมจึงรู้ว่าเป็นภาพของพระนางมารีย์?” “พระนางเป็นใคร?” “มี ความเกี่ยวข้องกับพระเยซูเจ้าอย่างไร?” “มีความเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่? อย่างไร?” - ผู้สอนสามารถสรุปว่า พระนางมารีย์ทรงเป็นพระมารดาของพระเยซูเจ้า และ ทรงเป็นมารดาของเราแต่ละคนด้วย (ดังที่เรียนแล้วในชั้น ป.1)
☆
ภาพ “พระนางมารีย์” ท้ายแผน
- ให้ผู้เรียนแต่ละคนพิจารณาว่า หากพระนางทรงเป็น “แม่แห่งสวรรค์” ของเรา แล้ว “เรามีความสัมพันธ์กับพระนางอย่างไรบ้าง? เคยคิดถึงพระนางบ้างไหม? เคย สวดบทภาวนาที่พระนางพอพระทัย (บทวันทามารีย์) บ้างไหม? เวลาสวดภาวนาบท นี้แล้วคิดถึงอะไรบ้าง? บทบาทหน้าที่ของพระนางต่อเราแต่ละคนคืออะไร?...” - ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นได้ แต่ผู้สอนอาจสรุปคำ�ตอบในตอนท้าย - ให้เรามาหาคำ�ตอบจากพระวรสารตอน “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา” กัน 3 พระวาจา : งานสมรสที่หมู่บ้านคานา (ยน 2:1-10) สามวันต่อมา มีงานสมรสที่หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลี พระมารดาของ พระเยซูเจ้าทรงอยูใ่ นงานนัน้ พระเยซูเจ้าทรงได้รบั เชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์มาในงาน นั้นด้วย เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงมาทูลพระองค์ว่า “เขาไม่มี เหล้าองุน่ แล้ว” พระเยซูเจ้าตรัสว่า “แม่ครับ แม่ตอ้ งการสิง่ ใด เวลาของลูกยังมาไม่ถงึ ”
☆
ภาพ “งานสมรสที่หมู่บ้าน คานา” ท้ายแผน
52
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระมารดาของพระเยซูเจ้าจึงกล่าวแก่บรรดาคนรับใช้ว่า “เขาบอกให้ท่านทำ�อะไร ก็ จงทำ�เถิด” ที่นั่นมีโอ่งหินตั้งอยู่หกใบ เพื่อใช้ชำ�ระตามธรรมเนียมของชาวยิว แต่ละใบ จุน้ำ�ได้ประมาณหนึ่งร้อยลิตร พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาคนรับใช้ว่า “จงตักน้ำ�ใส่โอ่ง ให้เต็ม” เขาก็ตักน้ำ�ใส่จนเต็มถึงขอบ แล้วพระองค์ทรงสั่งเขาอีกว่า “จงตักไปให้ผู้จัด งานเลีย้ งเถิด” เขาก็ตกั ไปให้ ผูจ้ ดั งานเลีย้ งได้ชมิ น้�ำ ทีเ่ ปลีย่ นเป็นเหล้าองุน่ แล้ว ไม่รวู้ า่ เหล้านี้มาจากไหน แต่คนรับใช้ที่ตักน้ำ�รู้ดี ผู้จัดงานเลี้ยงจึงเรียกเจ้าบ่าวมา พูดว่า “ใครๆ เขานำ�เหล้าองุ่นอย่างดีมาให้ก่อน เมื่อบรรดาแขกดื่มมากแล้ว จึงนำ�เหล้าองุ่น อย่างรองมาให้ แต่ท่านเก็บเหล้าอย่างดีไว้จนถึงบัดนี้”
4 อธิบายพระวาจา - เรื่องเล่านี้เกิดขึ้น 3 วันหลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกสานุศิษย์กลุ่มแรกให้ ติดตามพระองค์ พระองค์จึงทรงนำ�บรรดาศิษย์ไปร่วมในงานเลี้ยงสมรสนี้ด้วย แต่ บังเอิญเจ้าภาพคำ�นวณผิดพลาดจึงทำ�ให้เหล้าองุน่ หมดก่อนทีง่ านเลีย้ งจะเสร็จ พระนาง มารียซ์ งึ่ มีลกั ษณะของ “แม่บา้ น” ทรงสังเกต เห็นว่างานเลีย้ งกำ�ลังจะมีปญ ั หา พระนาง ไม่ทรงต้องการให้เจ้าภาพอับอาย จึงทรงช่วยเหลือเพื่อให้ทุกอย่างดำ�เนินไปอย่าง ราบรื่น - พระนางมั่นใจในพระเทวภาพของพระบุตร ทรงทราบดีว่าพระเยซูเจ้าสามารถ ทำ�อัศจรรย์ได้แน่ แม้ว่าก่อนหน้านั้นพระองค์จะไม่ทรงเคยทำ�มาก่อนเลยก็ตาม แต่ พระนางก็เห็นควรเป็นอย่างยิ่งที่จะให้พระเยซูเจ้าทรงช่วยเหลือเจ้าภาพของงานเลี้ยง นั้น และทรงมั่นใจว่าพระองค์จะไม่ทรงปฏิเสธคำ�ขอร้องของพระนางแน่นอน แม้ พระองค์จะตรัสว่า เวลาของพระองค์ “ยังมาไม่ถึง” ก็ตาม ด้วยความเป็นบุตรที่เคารพ นับถือต่อบิดามารดาเสมอ พระเยซูเจ้าทรงต้องทำ�ตามพระประสงค์ของพระมารดา และ ทรงทำ�อย่างดีที่สุด เพราะทรงทำ�อัศจรรย์ให้มีเหล้าองุ่นชนิดดีเลิศรสที่สุด - ประโยคเด็ดที่แสดงถึงความมั่นใจของแม่พระในเรื่องนี้และเป็นประโยคที่ พระนางจะทรงบอกแก่เราแต่ละคนด้วยก็คือ “เขาบอกให้ท่านทำ�อะไร ก็จงทำ�เถิด” เพราะพระนางทรงทราบว่าลำ�พังตัวของพระนางเองก็ไม่สามารถทำ�อะไรได้ แต่อศั จรรย์ จะสามารถเกิดขึ้นได้มากมายก็เมื่อเราทำ�สิ่งที่พระเยซูเจ้าบอกนั่นเอง 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระนางมารีย์คือมนุษย์คนเดียวที่ “รู้ใจ” พระเยซูเจ้ามากที่สุด พระนางทรง ทราบดีถึงความคิด ความเป็นห่วงและเป้าหมายในชีวิตของพระเยซูเจ้าองค์พระบุตรที่ ทรงเป็น “พระเมสซียาห์หรือพระผู้ไถ่บาป” ของมนุษย์ทั้งหลาย ทรงทราบดีว่า พระภารกิจของพระเยซูเจ้าคือทรงประสงค์จะทำ�ให้พระประสงค์ของพระบิดาสำ�เร็จ อันเป็นพระประสงค์ที่จะไถ่มนุษย์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากบาป - พระนางผู้ทรงเป็น “แม่” จะไม่ร่วมมือทำ�ให้พระประสงค์สำ�เร็จไปได้อย่างไร? เพราะสิ่งที่พระเจ้าทรงปรารถนาสำ�หรับมนุษย์นั้นคือสิ่งที่ดี ถูกต้องและวิเศษสุด ไม่มี อะไรจะดีไปกว่านี้ได้อีกแล้ว
- เรื่อง “งานสมรสที่คานา” ให้ภาพที่ชัดเจนแก่เราว่า แม่พระทรง “รู้ใจ” องค์
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
53
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
พระบุตรของพระนาง ไม่เพียงเท่านั้น ทรงรู้ใจเรามนุษย์ทุกคนด้วย จึงทรงทำ�ตนเป็น คนกลาง เสนอวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพือ่ ความต้องการต่างๆ ของมนุษย์ - แค่เพียงความต้องการฝ่ายวัตถุ “เหล้าองุ่น” ซึ่งสมัยนี้เราถือว่าเป็นสิ่งเสพติด ของมึนเมา แต่ในบริบทนั้นการขาดเหล้าองุ่นเป็นสิ่งที่จะนำ�ความอับอายมาให้แก่ เจ้าภาพเป็นอย่างมาก เหมือนกับเป็นความผิดที่ไม่น่าให้อภัยเลยทีเดียว พระนางจึง ทรงยืน่ มือเข้ามาช่วยเหลือเจ้าภาพ แม้จะต้องขอร้องให้พระเยซูเจ้าทำ�อัศจรรย์กอ่ นเวลา ก็ตาม - นี่เป็นเหตุการณ์หรือกรณีตัวอย่างที่พระวรสารเล่าให้เราฟังเพื่อให้เข้าใจว่า พระนางมารียค์ อื ผูท้ รงรับรูค้ วามต้องการต่างๆ ของเราและทรงนำ�เราไปหาพระเยซูเจ้า เพื่อพระองค์จะทรงประทานสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับความรอดพ้นของเรา ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย ร่างกายหรือวิญญาณก็ตาม ดังทีพ่ ระนางทรงนำ�คนรับใช้ในเรือ่ งเล่านีไ้ ปหาพระเยซูเจ้า เพื่อจะให้พระองค์ทรงบอกว่าเขาจะต้องทำ�สิ่งใด - ในชี วิ ต จริ ง ของเราก็ เช่ น กั น หลายครั้ ง เราอาจรู้ สึ ก ว่ า การทำ � สิ่ ง ที่ ดี ต าม พระประสงค์ของพระเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ยากลำ�บาก แต่หากเราทำ�พร้อมกับแม่พระแล้ว พระนางจะอยู่ใกล้ๆ ทำ�ทุกสิ่งพร้อมกับเราและจูงมือเราไปหาพระเยซูเจ้า ดังนี้แม่พระ จึงทรงเป็นหนทางที่สั้นและถูกต้องแม่นยำ�ที่สุดที่จะพาเราไปหาพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็น “องค์แห่งความรอด” ของเรา - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “จับคู่ผู้นำ�” เพื่อช่วยให้เข้าใจว่า ในการกระทำ�สิ่งหนึ่ง สิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายจำ�เป็นต้องมีผู้นำ�ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หากขาดผู้นำ�ที่รู้จริง แล้วก็ยากที่ไปถึงเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและอย่างไม่ทุกลักทุเลมากนัก
☆
ดูใบงาน “จับคู่ผู้นำ�” ท้ายแผน
- เพื่อเป็นการเตือนใจเราถึงความจริงเรื่องนี้และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันลูก กับแม่พระให้แน่นแฟ้นมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ผู้เรียนกำ�หนดข้อปฏิบัติด้วยการสวด “บท วันทามารีย์” อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งอย่างตั้งใจ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความรักต่อพระมารดามารีย์ด้วยการสวด “บทวันทามารีย์” อย่าง ตั้งใจอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้สวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................
54
ภาพ “พระนางมารีย์” ภาพ “งานสมรสที่หมู่บ้านคานา”
ใบงาน “จับคู่ผู้นำ�” คำ�ชี้แจง - ให้โยงเส้นคู่คำ�ที่มีความหมายเหมือนกันให้ถูกต้อง (ลูกศรคือเฉลย)
Bus Driver
กะลาสี
Guide
คนขับรถ
Train Driver
ผู้นำ�ประเทศ
Pilot
คนนำ�เที่ยว
Driver
คนขับเครื่องบิน
Sailor
คนขับรถเมล์
Jockey
คนขับรถไฟ
Government Leader
คนขี่ม้าแข่ง
55
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง ความศรัทธาต่อพระนางมารีย์
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ความศรัทธาที่แท้จริงต่อพระนางมารีย์ คือ การเลียนแบบชีวิต ที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางในมิติต่างๆ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกปฏิบัติตามแบบอย่างของพระนางมารีย์ 1 อย่าง สาระการเรียนรู ้ คริสตชนส่วนมากมีความรักและความศรัทธาต่อพระมารดามารีย์ เพราะพระนางคือ “ต้นแบบ” ของ บุคคลที่เจริญชีวิตอย่าง “ศักดิ์สิทธิ์” ตามพระประสงค์ของพระเจ้า เราจึงควรเลียนแบบอย่างชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระนาง ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - นำ�รูปภาพของดารา นักแสดง นักร้อง ฯลฯ ให้ผู้เรียนดูแล้วให้แต่ละคนบอก ว่ารู้จักบุคคลเหล่านั้นหรือไม่? พวกเขาคือใคร? มีใครอีกไหมที่พวกเขานิยมชมชอบ? ทำ�ไมจึงชอบ? ฯลฯ โดยให้ผู้เรียนได้พูดคุยอย่างอิสระ - ผู้สอนอาจถามต่อไปว่า แล้วบุคคลในศาสนาของเราล่ะรู้จักใครบ้าง? ใครที่ รู้สึกประทับใจบ้าง? เพราะอะไร? ให้สังเกตว่าในจำ�นวนบุคคลเหล่านี้มี “พระนาง มารีย์” อยู่ด้วยหรือไม่? - ให้ผู้เรียนบอกว่าตนรู้จัก “แม่พระ” ไหม? รู้จักอะไรเกี่ยวกับแม่พระบ้าง? สำ�หรับแต่ละคนแล้วแม่พระคือใคร? (ทบทวนบทเรียนครัง้ ก่อน) ทำ�ไมคริสตชนจึงสวด บทวันทามารีย์บ่อยๆ ? ทำ�ไมคนหลายๆ คนจึงมีความรักและความศรัทธาต่อแม่พระ มาก? ความศรัทธาต่อแม่พระนั้นหมายความว่าอย่างไร? - ให้เรามาดูว่า พระวรสารเล่าเรื่องเกี่ยวกับแม่พระอย่างไร? เหตุใดจึงมีคนที่รัก พระนางมากเช่นนั้น?
☆
ดู “ภาพดารา นักร้อง” ท้ายแผน
☆
ดูภาพ “พระนางมารีย์” ท้ายแผน
3 พระวาจา : พระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมนางเอลีซาเบธ (ลก 1:39-45) . หลังจากนั้นไม่นาน พระนางมารีย์ทรงรีบออกเดินทางไปยังเมืองหนึ่งในแถบ ☆ ดูภาพ “พระนางมารีย์เสด็จ ภูเขาแคว้นยูเดีย พระนางเสด็จเข้าไปในบ้านของเศคาริยาห์และทรงทักทายนาง เยี่ยมนางเอลีซาเบธ” ท้ายแผน เอลีซาเบธ เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำ�ทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รบั พระจิตเจ้าเต็มเปีย่ ม ร้องเสียงดังว่า “เธอได้รบั พระพรยิง่ กว่าหญิง ใดๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ทำ�ไมหนอพระมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้าจึง เสด็จมาเยี่ยมข้าพเจ้า เมื่อฉันได้ยินคำ�ทักทายของเธอ ลูกในครรภ์ของฉันก็ดิ้นด้วย
56
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ ความยินดี เธอเป็นสุขที่เชื่อว่าพระวาจาที่พระเจ้าตรัสแก่เธอไว้จะเป็นจริง”
4
อธิบายพระวาจา - เหตุการณ์ของพระวรสารตอนนี้เกิดขึ้นหลังจากที่อัครเทวดาได้มาแจ้งข่าวแก่ พระนางมารีย์แล้วว่า พระนางจะกลายเป็นพระมารดาขององค์พระบุตร ดังนั้น ขณะ ที่เกิดเหตุการณ์นี้พระนางมารีย์ได้ทรงตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งหมายความว่าทรงกลายเป็น “พระมารดา” ของพระเยซูคริสตเจ้าแล้ว - แน่นอนพระนางได้รับสารจากอัครเทวดาด้วยความสุภาพ แต่ในเวลาเดียวกัน เราสามารถเข้าใจอีกความรู้สึกหนึ่งของพระนางได้ คือความยินดีอย่างเต็มเปี่ยมที่ พระบุตรของพระเจ้าได้มาอยูใ่ นครรภ์ของพระนาง เป็นความจริงทีเ่ หลือเชือ่ แต่นนั่ คือ ความจริงที่เกิดขึ้นแล้วแก่พระนาง พระนางคือผู้เดียวที่ถูกเลือกสรรจากหญิงจำ�นวน นับไม่ถ้วนที่เกิดมาในโลกนี้ - แต่ความยินดีอย่างลึกซึ้งนี้มิได้เป็นอุปสรรคให้พระนางแสดงความถ่อมตน โดยออกเดินทางไปเยี่ยมเยียนนางเอลีซาเบธผู้เป็นญาติซึ่งอยู่ห่างไกลจากที่พระนาง อยู่เป็นอันมาก - ขณะที่พระนางพำ�นักอยู่กับนางเอลีซาเบธเป็นเวลา 3 เดือนนั้น พระนางมิได้ ทรงวางตัวว่าตนเป็นถึงพระมารดาพระเจ้า แต่ทรงถ่อมพระองค์ทำ�งานทุกอย่างเพื่อ รับใช้ครอบครัวนี้ ซึ่งต้องยุ่งอยู่กับการต้อนรับสมาชิกใหม่คือ “น.ยอห์น บัปติสตา” ที่เพิ่งเกิดมา พระนางทรงทำ�งานของแม่บ้านธรรมดาๆ ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยและ “ต่ำ�ต้อย” ในสายตาของมนุษย์ - ภาพทั้งหมดนี้ทำ�ให้เราเข้าใจถึงลักษณะเด่นของแม่พระได้ว่า พระนางทรงเป็น ผู้สุภาพถ่อมตน เสียสละและพร้อมจะรับใช้เสมอแม้ว่าจะทรงเป็น “แม่” อยู่ก็ตาม
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ชีวิตของแม่พระนี้แหละคือแบบอย่างของชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหากเราอ่านพระวรสารตอนอืน่ ๆ อีกทีเ่ กีย่ วกับแม่พระ เราจะเห็นว่าพระนางทรงประกอบด้วยคุณธรรม อีกมากมายหลายอย่าง เช่น ผูม้ คี วามเชือ่ (ลก 1:38; 2:19) ผูป้ ฏิบตั ติ ามพระวาจา (มก 3:34) ผู้มีความพร้อมจะช่วยเหลือ (ยน 2:3) ผู้นอบน้อมเชื่อฟัง (มธ 2:14-15) ฯลฯ - จริงๆ แล้วเรื่องราวเกี่ยวกับพระนางมารีย์ที่เราพบในพระวรสารมีไม่มากนัก แต่ทุกครั้งที่พระนางปรากฏตัวมาก็ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่สำ�คัญและน่าประทับใจ เสมอ เพราะพระนางมิได้มีชีวิตที่ผิวเผินแต่เข้มข้นและลึกซึ้งด้วยคุณธรรมที่บ่งบอกถึง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระนางเสมอ อาจสรุปสั้นๆ ได้ว่า พระนางทรงเจริญชีวิตเพื่อผู้อื่น คือเพื่อพระเป็นเจ้าและเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง - ด้วยเหตุนเี้ องทีเ่ ราทัง้ หลายผูเ้ ป็น “ลูก” ของพระนางจึงอยากอยูใ่ กล้ๆ พระนาง ผูท้ รงเป็น “แม่” อยูเ่ สมอ เพราะผูเ้ ป็นแม่ยอ่ มให้ความรัก ความอบอุน่ และการปกป้อง แก่ลูกอยู่ตลอดเวลา ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งนี้จึงค่อยๆ กลายเป็นความรักและ ความศรัทธาที่คริสตชนมีต่อพระนางมาตลอดทุกยุคทุกสมัย
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
57
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- สำ�หรับคริสตชน ความสัมพันธ์กับพระนางมารีย์นี้ต้องไม่เป็นไปในรูปแบบ ของ “การหวังผลประโยชน์” กล่าวคือเป็นความศรัทธาต่อผู้ที่ให้ประโยชน์แก่เราได้ ทุกเมื่อที่เราต้องการ เช่น ต้องได้รับความช่วยเหลือเสมอทุกครั้งที่เราวอนขอต้องให้ ถูกลอตเตอรี่เราจะได้มีเงินเยอะๆ ต้องให้สอบได้ที่ 1 หรือได้ที่ดีๆ ต้องให้ได้ไปเที่ยว ต้องให้ได้รถหรือรถจักรยานยนต์ ต้องช่วยให้คนนั้นคนนี้หายจากการเจ็บป่วย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหลายๆ คน ก็มีความศรัทธาต่อแม่พระในรูปแบบเช่นนี้ - ทว่าความรักและความศรัทธาที่แท้จริงต่อพระนางมารีย์นั้น ไม่ใช่เป็นท่าทีของ การหวังที่จะ “ได้” เท่านั้น แต่เป็นท่าทีของการเลียนแบบอย่างของพระนางใน การเจริญชีวิตมากกว่า เพราะนี่คือน้ำ�พระทัยของพระเจ้าที่ทรงต้องการจากเรา คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของเราแต่ละคนให้ละม้ายคล้ายคลึงกับพระเยซูเจ้าพระบุตรของ พระนางให้มากขึ้นทุกๆ วัน และนี่แหละคือการเลียนแบบการเจริญชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ ของพระนาง - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “คุณค่า” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจว่ากิจการดีแม้จะเล็ก น้อยก็ถือว่าเป็น “คุณค่า” ที่เราเลียนแบบจากแม่พระและทำ�ให้เราศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น
☆
ดูใบงาน “คุณค่า” ท้ายแผน
6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเลือกปฏิบัติตามแบบอย่างของพระนางมารีย์ 1 อย่าง
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่แล้วสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกันอย่างตั้งใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
58
ภาพ “ดารา นักร้อง”
ภาพ “พระนางมารีย์”
ภาพ “พระนางมารีย์เสด็จ เยี่ยมนางเอลิซาเบธ”
59
ใบงาน “คุณค่า” คำ�ชี้แจง - ให้นำ�คำ� “คุณค่า” ที่อยู่ด้านบนไปใส่ในท้ายข้อที่มีความหมายตรงกันให้ถูกต้อง (เฉลยใน วงเล็บ)
ความซื่อสัตย์ ความบริสุทธิ์ ความอดทน
การรับใช้ การทำ�บุญ ความเสียสละ ความศรัทธา ความขยันหมั่นเพียร
(ความอดทน) 1. ฉันอภัยให้เพื่อนที่มาด่าว่าฉัน ........................................................................................ (การรับใช้) 2. ฉันช่วยพ่อแม่ทำ�งาน ...................................................................................................... (ความศรัทธา) 3. ฉันไปวัดวันอาทิตย์เสมอ ............................................................................................... (ความขยันหมั่นเพียร) 4. ฉันทำ�การบ้านส่งครูเป็นประจำ� ................................................................................... 5. ฉันช่วยเพื่อนทำ�กิจกรรมที่โรงเรียน (ความเสียสละ) แม้ไม่ใช่งานของฉัน ......................................................................................................... (การทำ�บุญ) 6. ฉันบริจาคเงินให้คนยากจน .......................................................................................... 7. ฉันเก็บเงินของคนอื่นได้ (ความซื่อสัตย์) แต่ก็นำ�ส่งครูเพื่อประกาศหาเจ้าของ ........................................................................... (ความบริสุทธิ์) 8. ฉันเก็บซีดีโป๊ได้ แต่ก็ไม่ดูและนำ�ไปทิ้ง .........................................................................
60
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
เรื่อง การพิพากษา สวรรค์ นรก ไฟชำ�ระ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.5 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า มนุษย์จะได้รับการพิพากษาอย่างยุติธรรมเมื่อเขาสิ้นชีวิต วิญญาณที่ยังมีบาปจะรับการชำ�ระในไฟชำ�ระ วิญญาณที่บริสุทธิ์แล้วจะได้เข้าสวรรค์ ส่วน วิญญาณที่ตายในบาปหนักจะรับโทษในนรก - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งใจพิจารณามโนธรรมอย่างดีทุกคืนก่อนนอน สาระการเรียนรู ้ ความเชื่อคาทอลิกสอนว่า ทันทีที่มนุษย์ตาย เขาจะได้รับการพิพากษาถึงความดีและความชั่วที่เขาได้ทำ� ขณะมีชีวิตอยู่ หลังจากนั้น วิญญาณของเขาจะต้องรับผลของการพิพากษา คือ ไปไฟชำ�ระหากวิญญาณนั้นรักพระเจ้าแต่ยังไม่ บริสุทธิ์ ไปสวรรค์หากวิญญาณนั้นบริสุทธ์แล้ว หรือไปนรกหากเขาสิ้นใจด้วยการปฏิเสธพระเจ้า ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ของ “การตัดสินพิพากษา” โดย ให้ผู้เรียนแต่ละคนยกตัวอย่างของตนหรือเรื่องราวที่ตนรู้จักแบ่งปันกับเพื่อนๆ หรือ ผู้สอนอาจเพิ่มเติม เช่น ผู้ที่ถูกตัดสินให้เข้าคุกชั่วคราวหรือตลอดชีวิต ผู้ถูกปรับจาก การทำ�ผิดกฎหมาย นักเรียนที่ถูกลงโทษในรูปแบบต่างๆ เพราะผิดระเบียบโรงเรียน หรือการถูกลงโทษบางอย่างที่บ้าน ฯลฯ - ผู้สอนสรุปเข้าประเด็นว่า ทั้งหมดนั้นคือเรื่องราวของมนุษย์โดยทั่วไป สาเหตุ อาจเป็นเพราะบางคนมักลืม บางคนประมาท บางคนไม่สนใจในเรื่องของสิทธิและ เสรีภาพของตนและของผู้อื่น จึงทำ�อะไรตามใจตนเองจนทำ�ให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่นและตนเอง จึงต้องถูกดำ�เนินการตามกฎระเบียบหรือกฎหมายบ้านเมือง - ให้ผู้เรียนออกความเห็นว่า เหตุการณ์ในลักษณะนี้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว หรือไม่ ทีผ่ กู้ ระทำ�ผิดต้องได้รบั การพิพากษาตัดสินและรับการลงโทษ? เพราะเหตุใด? - ให้เรามาดูกันว่า พระเยซูเจ้าทรงสอนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? 3 พระวาจา : อุปมาเรื่องเงินตะลันต์ (มธ 25:14-30) “อาณาจักรสวรรค์ยังจะเปรียบได้กับบุรุษผู้หนึ่งกำ�ลังจะเดินทางไกล เรียกผู้รับ ใช้มามอบทรัพย์สินให้ ให้คนที่หนึ่ง ห้าตะลันต์ ให้คนที่สอง สองตะลันต์ ให้คนที่สาม หนึ่งตะลันต์ ตามความสามารถของแต่ละคน แล้วจึงออกเดินทางไป”
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
61
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ “คนที่รับห้าตะลันต์รีบนำ�เงินนั้นไปลงทุน ได้กำ�ไรมาอีกห้าตะลันต์ คนที่รับ สองตะลันต์กไ็ ด้ก�ำ ไรมาอีกสองตะลันต์เช่นเดียวกัน แต่คนทีร่ บั หนึง่ ตะลันต์ไปขุดหลุม ซ่อนเงินของนายไว้” “หลังจากนั้นอีกนาน นายของผู้รับใช้พวกนี้ก็กลับมาและตรวจบัญชีของพวกเขา คนที่รับห้าตะลันต์เข้ามา นำ�กำ�ไรอีกห้าตะลันต์มาด้วย กล่าวว่า ‘นายขอรับ ท่านให้ ข้าพเจ้าห้าตะลันต์ นีค่ อื เงินอีกห้าตะลันต์ทขี่ า้ พเจ้าทำ�กำ�ไรได้’ นายพูดว่า ‘ดีมาก ผูร้ บั ใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ เจ้าซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย เราจะให้เจ้าจัดการในเรื่องใหญ่ๆ จงมา ร่วมยินดีกับนายของเจ้าเถิด’ คนที่รับสองตะลันต์เข้ามารายงานว่า ‘นายขอรับ ท่าน ให้ขา้ พเจ้าสองตะลันต์ นีค่ อื เงินอีกสองตะลันต์ทขี่ า้ พเจ้าทำ�กำ�ไรได้’ นายพูดว่า ‘ดีมาก ผู้รับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ เจ้าซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย เราจะให้เจ้าจัดการในเรื่องใหญ่ๆ จงมาร่วมยินดีกับนายของเจ้าเถิด’” “คนที่รับหนึ่งตะลันต์เข้ามารายงานว่า ‘นายขอรับ ข้าพเจ้ารู้ว่าท่านเป็นคน เข้มงวด เก็บเกี่ยวในที่ที่ท่านไม่ได้หว่าน เก็บรวบรวมในที่ที่ท่านไม่ได้โปรย ข้าพเจ้า มีความกลัว จึงนำ�เงินของท่านไปฝังดินซ่อนไว้ นีค่ อื เงินของท่าน’ นายจึงตอบว่า ‘ผูร้ บั ใช้เลวและเกียจคร้าน เจ้ารูว้ า่ ข้าเก็บเกีย่ วในทีท่ ขี่ า้ มิได้หว่าน เก็บรวบรวมในทีท่ ขี่ า้ มิได้ โปรย เจ้าก็ควรนำ�เงินของข้าไปฝากธนาคารไว้ เมื่อข้ากลับมาจะได้ถอนเงินของข้า พร้อมกับดอกเบี้ย จงนำ�เงินหนึ่งตะลันต์จากเขาไปให้แก่ผู้ที่มีสิบตะลันต์ เพราะผู้ที่มี มากจะได้รับมากขึ้น และเขาจะมีเหลือเฟือ แต่ผู้ที่มีน้อย สิ่งเล็กน้อยที่เขามีก็จะถูกริบ ไปด้วย ส่วนผูร้ บั ใช้ทไี่ ร้ประโยชน์นี้ จงนำ�ไปทิง้ ในทีม่ ดื ข้างนอก ทีน่ นั่ จะมีแต่การร่ำ�ไห้ คร่ำ�ครวญและขบฟันด้วยความขุ่นเคือง’”
4
อธิบายพระวาจา - แม้พระวาจาตอนนี้จะไม่ได้ให้ภาพของการตัดสินพิพากษาโดยตรง แต่ก็ทำ�ให้ เห็นชัดเจนว่าแต่ละคนจะต้องถูกเรียกมาให้การตามหน้าทีแ่ ละพระพรทีต่ นได้รบั ตาม ความเหมาะสมและตามที่แต่ละคนจะต้องรับผิดชอบ - นี่คือภาพของการพิพากษาและการให้รางวัลหรือการลงโทษตามความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อและคำ�สอนของอีกหลายๆ ศาสนา คือ “ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ ชั่ว” นั่นหมายถึงหากคนหนึ่งทำ�ความดี ผลตอบแทนที่เขาได้รับก็คือรางวัลแห่ง ความดี สำ�หรับผูท้ ที่ �ำ ชัว่ ไม่วา่ จะมากหรือน้อย ก็ตอ้ งได้รบั ผลตอบแทนการกระทำ�ของ เขาอย่างเหมาะสมคือการลงโทษ - เรื่องเล่าของพระวรสารนี้จึงทำ�ให้เห็นภาพของมนุษย์ที่ต้องถูกพิพากษา หลัง จากนัน้ เขาอาจจะต้องไป ไฟชำ�ระ สวรรค์ หรือนรก ก็แล้วแต่ความดีและความชัว่ ทีเ่ ขา ได้สะสมไว้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ - พระเจ้าทรงเป็นองค์ความยุติธรรมอย่างหาขอบเขตมิได้ พระองค์จึงทรงเป็น ผู้เดียวที่เหมาะสมจะตัดสินการกระทำ�ของมนุษย์แต่ละคน เพราะพระองค์ทรงล่วงรู้ ทุกสิ่งชัดเจนแจ่มแจ้ง ไม่มีสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
62
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - การตัดสินพิพากษาและการได้รับผลแห่งการกระทำ�ที่มนุษย์ต้องได้รับหลัง จากความตายตามคำ�พิพากษานัน้ (บางคนอาจได้รบั บ้างแล้วตัง้ แต่ในโลกนี)้ คือสิง่ ที่ จำ�เป็น ถูกต้องและควรมีเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ซึ่งหลายครั้ง หลายๆ คนไม่ได้รับ ความยุติธรรมเลยขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ - พระศาสนจักรจึงสอนคริสตชนในเรื่องนี้เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและ ความสำ�นึกถึงเรื่อง บาป-บุญ-คุณ-โทษ ซึ่งสอดคล้องกับกฎเกณฑ์การ “ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว” อันเป็นกฎที่พระเจ้าทรงใส่ไว้ในส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว - พระศาสนจักรสอนว่า 1. มนุษย์แต่ละคนจะได้รับการพิพากษาทันทีที่สิ้นใจ (คำ�สอนพระศาสนจักร คาทอลิก ข้อ 1021-1022) และจะได้รับการพิพากษาอีกครั้งพร้อมกับทุกคนในวัน พิพากษาครั้งสุดท้าย (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1038 -1041) 2. ผู้ที่ตายในสถานะพระหรรษทาน แต่ยังมีบาปติดตัวอยู่ หรือว่ายังไม่ได้ ทำ�การใช้โทษให้เหมาะสมกับบาปของตนขณะยังอยูบ่ นโลกนี้ จะถูกลงโทษในไฟชำ�ระ (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1030-1032) 3. ผู้ที่ตายในสถานะพระหรรษทาน และ (หากจำ�เป็น) ได้รับการชำ�ระในไฟ ชำ�ระให้พ้นบาปเบาทั้งหมดพร้อมทั้งหนี้ของโทษบาปในโลกนี้แล้ว จะได้รับรางวัลใน สวรรค์ เขาจะได้เชยชมพระเจ้าหน้าต่อหน้า จะมีส่วนร่วมในสิริมงคลและความสุข นิรันดรกับพระองค์ (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1023-1029) 4. ส่วนผู้ที่ตายในบาปหนักจะถูกลงโทษในนรก พวกเขาจะไม่ได้เชยชมพระเจ้า และจะรับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสตลอดนิรันดร (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1033-1037) - มีวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เรารู้ตัวและใส่ใจที่จะปฏิบัติชีวิตคริสตชนให้เหมาะสมคือ การพิจารณามโนธรรม ซึ่งตามปกติจะทำ�กันในช่วงสวดภาวนาก่อนนอน โดยไม่ต้อง ใช้เวลามาก แต่ละครั้งอาจจะประมาณ 3-5 นาทีก็ได้ - การพิจารณามโนธรรมทำ�ได้ง่ายๆ โดย 1) ทำ�จิตใจให้สงบนิ่ง 2) คิดทบทวน การกระทำ�ของตนที่เกิดขึ้นในระหว่างวันบนพื้นฐานของความรักต่อพระเจ้าและต่อ เพือ่ นมนุษย์ 3) ขอโทษพระเจ้าสำ�หรับความผิดบกพร่องทีไ่ ด้ท�ำ และขอบคุณพระองค์ สำ�หรับพระพรต่างๆ ที่ได้รับในวันนั้น - ผลของการพิจารณามโนธรรมเป็นประจำ�จะทำ�ให้เรามี มโนธรรมที่ละเอียดขึ้น ทำ�ให้เราสำ�นึกได้ค่อนข้างเร็วว่าสิ่งใดดีควรกระทำ� และสิ่งใดเป็นบาปควรหลีกเลี่ยง - การเรียนรู้เรื่องการพิพากษา ไฟชำ�ระ สวรรค์ นรกนั้น มิใช่ต้องทำ�ให้เรารู้สึก กลัว แต่พระเจ้าทรงเปิดเผยสิ่งเหล่านี้ให้เราทราบเพื่อเราจะได้พบหนทางที่ถูกต้อง สำ�หรับชีวิต ไม่เดินหลงผิดไปทำ�สิ่งที่ชั่วร้าย เพราะในที่สุดแล้วมิใช่ใครอื่นที่จะตัดสิน พิพากษาเรา แต่เป็นการกระทำ�ของเราแต่ละคนนั่นแหละที่จะตัดสินชะตากรรมของ เราเอง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
63
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งใจพิจารณามโนธรรมอย่างดีทุกคืนก่อนนอน
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ตัวแทนผู้เรียนหนึ่งคนนำ�สวดภาวนา จากใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
64
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
เรื่อง พระคัมภีร์ (ภาคพันธสัญญาเดิม)
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.6 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า พระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาเดิมเป็นหนังสือเล่าเรือ่ งประวัตศิ าสตร์ แห่งความรอดพ้นอาศัยประวัติศาสตร์ชนชาติอิสราแอล และให้รู้จักภาพรวมของพระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งใจอ่านพระวาจาในบทอ่านของมิสซาทุกวัน สาระการเรียนรู ้ พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม เป็นภาคแรกของพระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ เล่าถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติที่ พระเจ้าทรงเลือกสรรคือชาวอิสราแอล ประกอบด้วยหนังสือ 46 เล่ม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มปัญจบรรพ 2) กลุ่มหนังสือ ประกาศก 3) ประเภทข้อเขียน 4) กลุ่ม“สารบบที่สอง” ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บัตรคำ�ของชื่อหนังสือบางเล่มในพระคัมภีร์ ทั้งในพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ มาให้ผู้เรียนแยกแยะดูว่า เล่มใดอยู่ในภาคพันธสัญญาเดิมหรือ เล่มใดอยู่ในภาคพันธสัญญาใหม่? และถามอีกว่าพระคัมภีร์มีกี่ภาค? แต่ละภาคมีกี่ เล่ม? ทำ�ไมคริสตชนต้องรู้จักพระคัมภีร์? พระวาจาเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างไร? - ผู้ ส อนอาจเสวนากั บ ผู้ เรี ย นในประเด็ น เหล่ า นี้ เ พื่ อ กระตุ้ น ให้ ผู้ เรี ย นเกิ ด ความสนใจเกี่ยวกับพระคัมภีร์ โดยอาจนำ�หนังสือพระคัมภีร์เล่มครบมาให้ผู้เรียนได้ เห็นและพิจารณาด้วย - หนังสือพระคัมภีร์บรรจุพระวาจาของพระเจ้า ซึ่งบันดาลความรอดพ้นให้แก่ เรา ดังนัน้ หากเราอยากจะทำ�ให้ชวี ติ ของเราได้รบั ความรอดพ้นเราจึงต้องอ่านพระคัมภีร์ - ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้าได้ตรัสอย่างไรเกี่ยวกับพระวาจาของพระเจ้า? 3 พระวาจา : ศิษย์แท้ (มธ 7:21-27) “คนทีก่ ล่าวแก่เราว่า ‘พระเจ้าข้า พระเจ้าข้า’ นัน้ มิใช่ทกุ คนจะได้เข้าสูอ่ าณาจักร สวรรค์ แต่ผทู้ ปี่ ฏิบตั ติ ามพระประสงค์ของพระบิดาของเรา ผูส้ ถิตในสวรรค์นนั่ แหละจะ เข้าสู่สวรรค์ได้ ในวันนั้นหลายคนจะกล่าวแก่เราว่า ‘พระเจ้าข้า พระเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้ง หลายได้ประกาศพระวาจาในพระนามของพระองค์ ขับไล่ปศี าจในพระนามของพระองค์
☆
ดูตัวอย่างบัตรคำ�ท้ายแผน
65
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
และได้กระทำ�อัศจรรย์หลายประการในพระนามของพระองค์มิใช่หรือ’ เมื่อนั้น เราจะ กล่าวแก่เขาว่า ‘เราไม่เคยรู้จักท่านทั้งหลายเลย ท่านผู้กระทำ�ความชั่ว จงไปให้พ้น หน้าเรา’ “ผู้ใดฟังถ้อยคำ�เหล่านี้ของเราและปฏิบัติตาม ก็เปรียบเสมือนคนมีปัญญาที่ สร้างบ้านไว้บนหิน ฝนจะตก น้ำ�จะไหลเชี่ยว ลมจะพัดโหมเข้าใส่บ้านหลังนั้น บ้านก็ ไม่พัง เพราะมีรากฐานอยู่บนหิน ผู้ใดที่ฟังถ้อยคำ�เหล่านี้ของเรา และไม่ปฏิบัติตามก็ เปรียบเสมือนคนโง่เขลาที่สร้างบ้านไว้บนทราย เมื่อฝนตก น้ำ�ไหลเชี่ยว ลมพัดโหม เข้าใส่บ้านหลังนั้น มันก็พังทลายลงและเสียหายมาก” 4
อธิบายพระวาจา - คำ�สอนนี้ของพระเยซูเจ้าทำ�ให้เราเข้าใจว่าพระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับพระวาจาของพระเจ้าอย่างมากทีส่ ดุ เพราะพระวาจานัน้ เป็นหนทางทีน่ �ำ เราไปสูค่ วามรอด พ้นได้ แต่เงื่อนไขสำ�คัญเพื่อให้บรรลุความรอดพ้นอย่างแท้จริงก็คือ การปฏิบัติตาม พระวาจาของพระองค์ เพียงแค่การเรียกขานพระนามของพระองค์ทกุ วัน หรือการสวด ภาวนาแต่ปากไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ทำ�ให้พระวาจาหรือการภาวนาเปลี่ยนชีวิตของตน นั้นจึงเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์สำ�หรับจิตวิญญาณของตน - ดังนี้ คริสตชนจึงต้องให้ความสำ�คัญแก่ทั้งสองมิติข้างต้น คือ การอ่านพระวาจา ให้รู้และเข้าใจ และการนำ�พระวาจานั้นไปปฏิบัติจริงในชีวิต - พระศาสนจักรจึงให้ความสำ�คัญกับพระคัมภีร์มาโดยตลอด เพราะพระคัมภีร์ นั้นบรรจุพระวาจาของพระเจ้าอยู่
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระวาจาจำ�เป็นต่อชีวิตคริสตชนเพราะเป็นอาหารเลี้ยงวิญญาณ แต่คริสตชน จะกินอาหารนี้ได้ก็ต่อเมื่อเข้าใจว่า “อาหาร” นี้จำ�เป็น สำ�คัญและมีผลดีต่อวิญญาณ ของเรา - เพื่อให้คริสตชนรู้จักสิ่งเหล่านี้เขาก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์เสียก่อน มิฉะนั้นเขาจะไม่สามารถเห็นคุณค่าของพระคัมภีร์ได้ - ก่อนที่จะเรียนรู้จักพระคัมภีร์แบบลึกๆ ควรที่จะให้ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้ในแบบ กว้างๆ คือในภาพรวมเสียก่อน - พระคัมภีร์ประกอบด้วยสองภาค คือภาคพันธสัญญาเดิมและภาคพันธสัญญา ใหม่ แต่ในคาบนีเ้ ราจะเรียนรูเ้ ฉพาะในภาคพันธสัญญาเดิมเท่านัน้ เพราะความจำ�กัด ของเวลา - พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมประกอบด้วยหนังสือทั้งหมด 46 เล่ม แบ่งออก เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มปัญจบรรพ มีหนังสือทั้งหมด 5 เล่ม คือ ปฐมกาล, อพยพ, เลวีนิติ, ☆ ดูผังภาพรวมของหนังสือ กันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ พระคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ท้ายแผน
66
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ 2. กลุ่มหนังสือประกาศก มี 21 ฉบับ แบ่งเป็นประกาศกดั้งเดิม 6 ฉบับคือ โย ชูวา, ผู้วินิจฉัย, 1 ซามูแอล, 2 ซามูแอล, 1 พงศ์กษัตริย์, 2 พงศ์กษัตริย์, ประกาศก ใหญ่ 3 ท่านคือ อิสยาห์, เยเรมีย์, เอเสเคียล, ประกาศกน้อย 12 องค์ คือ โฮเชยา, โยเอล, อาโมส, โอบาดีย์, โยนาห์, มีคาห์, นาฮูม, ฮะบากุก, เศฟันยาห์, ฮักกัย, เศคาริยาห์และมาลาคี 3. ประเภทข้อเขียน มี 13 ฉบับคือ เพลงสดุดี, สุภาษิต, โยบ, ดาเนียล, เอสรา, เนหะมีย์, 1 พงศาวดาร, 2 พงศาวดาร, เพลงซาโลมอน, นางรูธ, เพลงคร่ำ�ครวญ, ปัญญาจารย์ และเอสเธอร์ 4. กลุ่ม “สารบบที่สอง” มี 7 ฉบับ คือ โทบิต, ยูดิธ, ปรีชาญาณ, บุตรสิรา, บารุค, 1 มัคคาบีและ 2 มัคคาบี - หนังสือทั้งหมดนี้เล่าถึงประวัติศาสตร์ของชาติอิสราแอล ประชากรที่พระเจ้า ทรงเลือกสรร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าถึงประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นของมนุษยชาติ ด้วยในเวลาเดียวกัน - เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้นนี้ เกีย่ วข้องกับตัวเราอย่างไร? เกีย่ วข้อง เพราะทำ�ให้เรารู้เกี่ยวกับพระเจ้าและน้ำ�พระทัยของพระองค์ถึงความรอดพ้นของ มนุษยชาติ วิธกี ารปฏิบตั ขิ องพระเจ้าต่อมนุษย์ทพี่ ระองค์ทรงรัก เป็นเรือ่ งราวทีจ่ ะบอก แก่เราว่า พระเจ้าทรงเป็นใครสำ�หรับฉัน? พระองค์ทรงสำ�คัญต่อมนุษย์เพียงใด? อย่างไร? ฉันต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะบรรลุถึงเป้าหมายปลายทางชีวิตของฉัน? - เราจะพบคำ�ตอบเหล่านี้ได้ทั้งหมดจากการอ่านพระคัมภีร์ ซึ่งแม้ว่าพระคัมภีร์ จะประกอบด้วยหนังสือเล่มย่อยๆ ถึง 46 เล่ม แต่เราคริสตชนก็สามารถอ่านทั้งหมด ได้ โดยเริ่มต้นอ่านวันละ 2-3 หน้าก็ได้ ทีละเล่ม อย่างซื่อสัตย์ทุกวัน และหากเราพบ สิ่งใดที่ไม่สามารถเข้าใจก็สามารถขอคำ�อธิบายไขข้อข้องใจจากคุณพ่อเจ้าวัด ซิสเตอร์ หรือครูคำ�สอนได้ - กิจกรรมเสนอแนะ : ให้ผู้เรียนท่องชื่อหนังสือพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิม ทัง้ หมดให้ได้ จากนัน้ แบ่งผูเ้ รียนเป็นสองกลุม่ หรือมากกว่าก็ได้ แบ่งกระดานหน้าห้อง เป็นช่องๆ ตามจำ�นวนกลุ่ม ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มเวียนกันมาเขียนชื่อหนังสือในภาค พันธสัญญาเดิมในช่องของตนให้ครบถ้วนและถูกต้อง กลุ่มใดทำ�เสร็จเร็วที่สุดถือว่า ชนะ
6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งใจอ่านพระวาจาในบทอ่านของมิสซาทุกวัน
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วผู้สอนนำ�สวดภาวนาจากใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - สัมภาษณ์
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
67
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................
ตัวอย่างบัตรคำ� ฮะบากุก
ฮักกัย
บุตรสิรา ฟิเลโมน
ยูดา ยากอบ
68
69
70
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
เรื่อง พิธีกรรม เป็นคารวกิจของมนุษย์ต่อพระเจ้า
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พิธีกรรมคือการถวายคารวกิจของมนุษย์ต่อพระเจ้า เพราะ มนุษย์เข้าใจว่า พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างทุกสิ่งและตนเองมา พระองค์ทรงเป็นเจ้านาย และเจ้าของชีวิตของเขา - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเข้าร่วมพิธีมิสซาฯ ด้วยความกระตือรือร้นทุกครั้ง สาระการเรียนรู ้ พิธกี รรมคือคารวกิจของคริสตชนทีถ่ วายแด่พระเจ้า เพือ่ นมัสการ สรรเสริญ โมทนาคุณ วิงวอนขอพร หรือ ขอโทษต่อพระองค์ อาศัยศาสนกิจรูปแบบต่างๆ คือ พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ศีลศักดิ์สิทธิ์ การทำ�วัตร และสิ่งคล้ายศีลที่ได้ รับการรับรองจากพระศาสนจักร เช่น การอวยพรของพระสงฆ์ สิ่งของเตือนศรัทธาที่ได้รับการเสก (เช่น น้ำ�เสก เทียน เถ้า ใบลาน กางเขน รูปพระ สายประคำ� ฯลฯ) การไล่ผี ฯลฯ (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1075, 1113, 1174 ,1670) ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�บางภาพเกี่ยวกับพิธีกรรมมาให้ผู้เรียนดู เช่น ชุดอาภรณ์มิสซา ถ้วย กาลิกส์ กำ�ยาน เทียน ศีลมหาสนิท พระคัมภีร์ ฯลฯ แล้วให้ผู้เรียนบอกว่าสิ่งของจาก ภาพเหล่านีเ้ รียกว่าอะไร? แต่ละสิง่ มีความหมายอย่างไร? เอาไว้ใช้ท�ำ อะไร? ใช้เมือ่ ไร? - ผู้สอนสามารถเฉลยชื่อและความหมายของแต่ละภาพให้ผู้เรียนได้รู้ พร้อมกับ ถามอีกว่า พระศาสนจักรกำ�หนดให้ใช้สิ่งเหล่านี้ในพิธีใด? พิธีต่างๆ นั้นเราเรียกว่า อะไร? - ผู้สอนอาจเฉลย ณ เวลานี้เลยได้ว่า พระศาสนจักรใช้สิ่งเหล่านี้ในพิธีกรรม ซึ่ง ประกอบด้วยพิธีต่างๆ ที่เราจะอธิบายกันต่อไป - แล้วพิธีกรรมมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของคริสตชนหรือเราแต่ละคนอย่างไร? เราสามารถร่วมพิธกี รรมต่างๆ นัน้ อย่างไร? เพือ่ จะให้เกิดผลดีมากทีส่ ดุ ต่อเราแต่ละคน 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าที่เมืองนาซาเร็ธ (ลก 4:16-30) “พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนาซาเร็ธซึ่งเป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงเจริญวัย ใน วันสับบาโต พระองค์เสด็จเข้าไปในศาลาธรรมเช่นเคย ทรงยืนขึ้นเพื่อทรงอ่าน พระคัมภีร์ มีผู้ส่งม้วนหนังสือประกาศกอิสยาห์ให้พระองค์ พระเยซูเจ้าทรงคลี่ม้วน หนังสือออก ทรงพบข้อความทีเ่ ขียนไว้วา่ พระจิตของพระเจ้าทรงอยูเ่ หนือข้าพเจ้า เพราะ
☆
ดูภาพตัวอย่างท้ายแผน
71
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศ การปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ� คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็น อิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า แล้วพระเยซูเจ้าทรงม้วนหนังสือส่งคืนให้เจ้าหน้าที่และประทับนั่งลง สายตา ของทุกคนที่อยู่ในศาลาธรรมต่างจ้องมองพระองค์ พระองค์จึงทรงเริ่มตรัสว่า “ในวัน นี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่นี้เป็นความจริงแล้ว” ทุกคนสรรเสริญ พระองค์และต่างประหลาดใจในถ้อยคำ�น่าฟังที่พระองค์ตรัส”
4
อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าคือศาสนิกชนที่มีความศรัทธาและกระตือรือร้นคนหนึ่งพระองค์จึง ทรงไปร่วมพิธีในศาลาธรรมเป็นประจำ�ในวันสับบาโต ครั้งนี้พระองค์จึงทรงเป็นผู้ที่ ได้อ่านม้วนพระวาจาของพระเจ้าให้สาธารณชนฟัง - นี่เป็นเหตุการณ์หนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์นับครั้งไม่ถ้วนที่เกิดขึ้นในศาลา ธรรมของชาวยิว ในทุกวันสับบาโตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน - เหตุการณ์เหล่านี้บอกเราว่าชนชาติอิสราเอลซึ่งเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือก สรร ได้วางรูปแบบชีวติ ของตนในความสัมพันธ์กบั พระเจ้าด้วยการจัดสร้างศาลาธรรม ประชาชนรวมตัวกันทุกวันสับบาโตเพื่ออ่านพระวาจา และภาวนาอันเป็นกิจกรรมที่ แสดงถึงคารวกิจต่อพระเจ้า - พระเยซูเจ้าเองแม้จะทรงเป็นพระเจ้า แต่ในฐานะที่ทรงเป็นมนุษย์แท้ พระองค์ ก็ทรงเข้าร่วมในกิจกรรมที่แสดงคารวกิจต่อพระบิดาเจ้าด้วยเช่นกัน มิใช่ในแบบของ ผู้เข้าร่วมที่เฉื่อยเฉย แต่ทรงเป็นผู้อ่านพระวาจาด้วยพระองค์เอง - สิ่งนี้บ่งบอกถึงจิตใจของประชากรของพระเจ้าที่ต้องการถวายคารวกิจแด่ พระเจ้า เพราะเข้าใจจากพระวาจาของพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นพระผู้สร้างทุกสิ่ง จึง ทรงเป็นเจ้าของและเจ้านายของทุกสิ่ง รวมทั้งตัวมนุษย์แต่ละคนด้วย พระองค์ทรง พระทัยดีและทรงรักมนุษย์อย่างหาขอบเขตมิได้ ทรงทำ�ทุกอย่างเพือ่ เรา ดังนัน้ จึงเป็น สิ่งสมควรที่สุดและเป็นความต้องการจากส่วนลึกในจิตใจมนุษย์เองที่อยากจะถวาย คารวกิจแด่พระเจ้า
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ไม่เฉพาะชนชาวอิสราเอลเท่านั้นที่ถวายคารวกิจแด่พระเจ้า หากเรามองโดย ทัว่ ไปจะพบว่า ทุกศาสนาล้วนมีการถวายคารวกิจนีแ้ ด่สงิ่ ศักดิส์ ทิ ธิเ์ บือ้ งบน ซึง่ กิจกรรม นี้เราเรียกว่า “พิธีกรรม” - พระศาสนจักรคาทอลิกเองก็มี “พิธีกรรม” เฉพาะของตน ซึ่งเป็นคารวกิจ สาธารณะที่พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าทั้งครบถวายแด่พระเจ้า กล่าวคือ โดย พระคริสตเจ้าและบรรดาสัตบุรษุ พระศาสนจักรได้ก�ำ หนดลักษณะวิธกี ารเฉพาะอย่าง เป็นทางการที่ใช้ถวายคารวกิจแด่พระเจ้า ซึ่งประกอบด้วย 1. พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ คือ การพลีบูชาที่พระคริสตเจ้าทรงถวาย
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
72
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
พระองค์เองแด่พระเจ้าในรูปแบบทีป่ ราศจากโลหิต ภายใต้รปู ปรากฏของปังและเหล้า องุน่ โดยผ่านทางศาสนบริการของพระสงฆ์ (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1367, 1410)
2. ศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ เครื่องหมายภายนอกที่มีประสิทธิผลของพระหรรษทาน สถาปนาขึน้ โดยพระเยซูคริสตเจ้า และทรงมอบให้แก่พระศาสนจักร เพือ่ ทำ�ให้มนุษย์ ศักดิ์สิทธิ์ สร้างสรรค์ร่างกายของพระคริสตเจ้าและถวายคารวกิจแด่พระเจ้า (คำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1114, 1123, 1131) 3. การสวดทำ�วัตร คือ คำ�ภาวนาที่พระคริสตเจ้าพร้อมกับพระกายของ พระองค์ถวายแด่พระบิดาเจ้า (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1174 -1178) 4. สิ่ ง คล้ า ยศี ล คื อ สิ่ ง ของหรื อ การกระทำ � ที่ พ ระศาสนจั ก รใช้ เ พื่ อ ให้ ความช่วยเหลือทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมแก่บรรดาสัตบุรุษ โดยผ่านทางการวิงวอน ของพระศาสนจักร (คำ�สอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1667) - นอกจากพิธีกรรมในรูปลักษณะต่างๆ เหล่านี้แล้ว พระศาสนจักรยังกำ�หนด ให้มีปีพิธีกรรมอีก เพื่อให้คริสตชนสามารถเจริญชีวิตในระหว่างปีให้สอดคล้องกับ ธรรมล้ำ�ลึกต่างๆ ของพระเยซูคริสตเจ้า - การอธิบายรายละเอียดทั่วไปของบางเรื่องดังกล่าวข้างต้นได้มีการทำ�มาบ้าง แล้ว เช่น เรื่องพิธีมิสซาฯ และเรื่องเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์บางประการ และจะมี การอธิบายในเชิงลึกต่อไปอีกในภายหน้า ในคาบเรียนนี้จึงจะจำ�กัดเพียงแค่การให้ คำ�จำ�กัดความของหัวข้อดังกล่าวเท่านั้น 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเข้าร่วมพิธีมิสซาฯ ด้วยความกระตือรือร้นทุกครั้ง
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งนำ�การภาวนา จากใจ
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................
73
เครื่องใช้ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีมิสซาฯ
74
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
เรื่อง ปีพิธีกรรม
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนได้รแู้ ละเข้าใจว่า ปีพธิ กี รรมของพระศาสนจักรคือ คารวกิจเฉพาะทีพ่ ระศาสนจักร ถวายแด่พระเจ้าในรอบปี เพื่อเฉลิมฉลองธรรมล้ำ�ลึกของพระเยซูคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมพิธีกรรมอย่างสม่ำ�เสมอด้วยความศรัทธาและตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักรได้จดั แบ่งคารวกิจทีถ่ วายแด่พระเจ้าตามปีพธิ กี รรม เพือ่ ระลึกถึงธรรมล้�ำ ลึกแห่งการไถ่บาป ของพระเยซูคริสตเจ้าในรอบปี อาศัยการถวายบูชามิสซาและการภาวนาในรูปแบบต่างๆ ปีพิธีกรรมแบ่งออกเป็นปีคู่และปีคี่ นอกนั้นยังจัดแบ่งให้มีการอ่านบทอ่านเป็นปี A ปี B และปี C เพื่อให้คริสตชนได้สัมผัสกับพระวาจาของพระเจ้าอย่างทั่วถึง และเหมาะสม ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพของ “จิ๊ก เนาวรัตน์” ภาพที่ “1 – หลัง” ให้ผู้เรียนดู โดยถาม ผู้เรียนตอบว่าเป็นภาพของใคร? หากผู้เรียนตอบไม่ได้ผู้สอนก็สามารถเฉลยได้ จาก นั้นจึงเอาภาพที่ “2 – ก่อน” ให้ผู้เรียนดูเช่นกัน โดยถามผู้เรียนว่าเป็นภาพของใคร? หากผู้เรียนตอบไม่ได้ค่อยเฉลยว่าเป็นภาพของบุคคลเดียวกัน แต่เป็นภาพตอนที่ยัง สาวอยู่และภาพในปัจจุบัน - ผู้สอนอาจนำ�ให้ผู้เรียนไตร่ตรองว่า สองภาพนี้บ่งบอกถึงอายุของจิ๊กว่าอาจ ต่างกันถึงประมาณ 20-25 ปี ทำ�ให้เห็นว่า “จิ๊กในเวลานั้น” ไม่เหมือน “จิ๊กในเวลา นี้” อีกแล้ว แม้จะเป็นคนๆ เดียวกันก็ตาม เพราะอายุที่ทำ�ให้แตกต่าง และ “จิ๊กใน เวลานี้” จะกลับไปเป็น “จิ๊กในเวลานั้น” ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะมันคนละเวลา - แต่สำ�หรับพระเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเป็นนิรันดร์ สำ�หรับพระองค์ไม่มีอดีต ปัจจุบนั และอนาคต หมายความว่าไม่มี “เวลา” สิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงกระทำ�จึงเป็นปัจจุบนั เสมอ ซึ่งเราไม่สามารถเข้าใจได้เพราะมนุษย์มีขอบเขตจำ�กัด - ทุกสิ่งที่พระเจ้าทรงกระทำ�ในแผนการแห่งความรอดพ้น เพื่อไถ่บาปของมวล มนุษย์นั้น แม้พระเยซูคริสตเจ้าในฐานะมนุษย์ พระองค์ได้ทรงรับความทุกข์ทรมาน สิน้ พระชนม์และกลับคืนชีพเมือ่ กว่า 2000 ปีทแี่ ล้ว แต่การกระทำ�ของพระองค์ทกุ อย่าง นั้นยังเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อาศัยพิธีกรรมที่พระศาสนจักรซึ่งหมายถึงคริสตชน
☆
ดูภาพท้ายแผน
75
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ “ระลึกถึง” ในรอบปี นี่คือสิ่งที่คริสตชนต้องใช้ความเชื่อ เพราะโดยลำ�พังสติปัญญา ของมนุษย์นั้นจะไม่สามารถเข้าใจได้ - ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร?
3
พระวาจา - การตั้งศีลมหาสนิท (ลก 22:19-20) พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ทรงขอบพระคุณ ทรงบิขนมปังประทานให้บรรดาศิษย์ ตรัสว่า ‘นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำ�ดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด’ ในทำ�นองเดียวกัน เมื่อกินอาหารเสร็จแล้ว พระองค์ทรงหยิบถ้วยตรัสว่า ‘ถ้วยนี้เป็น พันธสัญญาใหม่ในโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย’
4
อธิบายพระวาจา - บริบทของพระวาจานี้คือ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนค่ำ�ของวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ ใน ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ�ครั้งสุดท้าย ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงอยู่กับบรรดาศิษย์ พระองค์ทรงตั้งศีลมหาสนิทโดยทรงเปลี่ยนปังและเหล้าองุ่นให้เป็นพระกายและ พระโลหิตของพระองค์ - ในฐานะที่พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแท้ พระองค์สามารถทำ�ให้เหตุการณ์เกิด ขึ้นจริงได้ ด้วยความรักต่อมนุษย์พระองค์จึงทรงทำ�เช่นนี้เพราะพระองค์กำ�ลังจะทรง จากโลกนี้ไป จึงทรงฝากสิ่งที่มีค่าที่สุดไว้กับมนุษย์ต่อไป นั่นคือชีวิตของพระองค์เอง - พระเยซูเจ้าทรงสั่งบรรดาศิษย์ว่า “จงทำ�ดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” นั่น หมายความว่า พระองค์ทรงให้ “อำ�นาจ” แก่สาวกทั้งสิบเอ็ดคนให้ทำ�สิ่งที่พระองค์ ทรงกระทำ�นั้นและให้ “ศิษย์ของพระองค์” รุ่นต่อๆ มาคือ “พระสงฆ์” กระทำ�ต่อ ไปเรื่อยๆ จนถึงวันสิ้นพิภพ - ในฐานะ “พระผู้ไถ่บาป” สิ่งที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงกระทำ�ทั้งหมดมีผลเหนือ เวลา หมายความว่า มีผลชัว่ นิรนั ดร ไม่จ�ำ กัดอยูใ่ นเวลา ดังนัน้ ภารกิจการไถ่กทู้ งั้ หมด จึงมีผลเหนือกาลเวลาด้วย อาศัยคำ�สัง่ และการมอบอำ�นาจของพระองค์แก่บรรดาศิษย์ ในคื น วั น พฤหั ส ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นั้ น ทำ � ให้ พ ระศาสนจั ก รสามารถสานต่ อ พั น ธกิ จ ของ พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะได้ต่อไปอาศัยบรรดาพระสงฆ์ - ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์จึงมีฤทธิ์อำ�นาจเสมือนว่าเป็นพระเยซูเจ้า เองที่ทรงกระทำ�สิ่งนั้นอยู่
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระศาสนจักรเข้าใจความจริงข้อนี้ จึงได้นอบน้อมต่อคำ�สั่งของพระเยซูเจ้าที่ให้ “ระลึกถึง” สิง่ ทีพ่ ระองค์ได้ทรงกระทำ�อยูเ่ สมอ อาศัยคารวกิจในรูปแบบและในโอกาส ต่างๆ ที่กระทำ�ในรอบปีเพื่อระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกแห่งการไถ่บาปของพระเยซูคริสตเจ้า ซึง่ การระลึกถึงนีเ้ ป็นแบบพิเศษทีม่ ใิ ช่เป็นเพียงการเอาภาพมาดูและคิดถึงอดีต เท่านั้น (เหมือนการดูภาพของจิ๊ก เนาวรัตน์ข้างต้น) แต่เป็นการระลึกถึงที่ทำ�ให้ ความจริงทีร่ ะลึกถึงนัน้ เป็นปัจจุบนั ใหม่อกี ครัง้ หนึง่ เสมอ ดังนัน้ ทุกครัง้ ทีเ่ ราร่วม พิธีกรรมใดๆ ก็ตาม เท่ากับว่าเรากำ�ลังอยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นสดๆ อีกครั้งหนึ่ง
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
76
ที่
6
7
8
9
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- คารวกิจปีพิธีกรรมในโอกาสต่างๆ นั้น ประกอบด้วยการฉลองหรือระลึกถึง อะไรบ้าง? ให้เราศึกษาได้จากใบความรู้ที่ 1 “ปีพิธีกรรม” ผู้สอนสามารถอธิบาย ความหมายของแต่ ล ะเทศกาลและวั น ฉลองให้ ผู้ เรี ย นเข้ า ใจโดยย่ อ ได้ โ ดยดู จ าก ใบความรู้ 2 “ความหมายของเทศกาลในปีพิธีกรรม” - นอกจากตารางปีพิธีกรรมท้ายแผนที่ให้มานี้ ผู้สอนยังสามารถอธิบายเพิ่มเติม ได้อีกจากปฏิทินคาทอลิกประจำ�ปี เพราะในปฏิทินฯ จะบรรจุวันฉลองต่างๆ ครบ ตลอดทัง้ ปี ซึง่ ผูส้ อนอาจให้ผเู้ รียนได้ตดิ ตามไปตลอดปี เพือ่ จะได้ความรูเ้ รือ่ งปีพธิ กี รรม ได้ครบสมบูรณ์ - ดังนั้น เมื่อเราพิจารณาให้ดีจะเข้าใจได้ว่า “ปีพิธีกรรม” เป็นโอกาสให้ผู้ร่วม เกิดความสัมพันธ์กบั ธรรมล้�ำ ลึกนัน้ ทีค่ ริสตชนสัมผัสในหนึง่ ปีดงั เป็นเหตุการณ์ทเี่ กิด ขึ้นใหม่เสมอทุกครั้ง
ดูใบความรู้ 1 “ปีพิธีกรรม” ท้ายแผน ☆ ดูใบความรู้ 2 “ความหมาย ของเทศกาลในปีพิธีกรรม” ท้ายแผน ☆
- มีพิธีกรรมอันหนึ่งที่เราคริสตชนไปร่วมทุกวันอาทิตย์ คือ พิธีมิสซาบูชา ขอบพระคุณ ดังนั้น ให้ผู้เรียนทำ�ข้อตั้งใจว่า จะไปร่วมมิสซาฯ ในวันอาทิตย์อย่าง สม่ำ�เสมอ ด้วยความตั้งใจและสำ�รวมจิตใจเป็นอย่างดี หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนร่วมพิธีกรรมอย่างสม่ำ�เสมอด้วยความศรัทธาและตั้งใจ เฉพาะอย่างยิ่ง ในการร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ภาวนาปิดท้าย ให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่ง นำ�สวดภาวนาจากใจโดยเน้นการโมทนาคุณพระ จากนั้นให้ผู้เรียนทุกคนสวด “บทแสดงความรัก” พร้อมกัน การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................
หลัง
ก่อน
“จิ๊ก เนาวรัตน์” หลังและก่อน
ภาพ-1
ภาพ-2
77
ใบความรู้ 1 “ปีพิธีกรรม” (จากเอนไซโคลพีเดียคาทอลิก) เทศกาล
รายละเอียด
เตรียมรับเสด็จ มี 4 สัปดาห์ – เริ่มจากอาทิตย์ พระคริสตสมภพ ใกล้ๆ วันที่ 30 พฤศจิกายน
พระคริสตสมภพ
ธรรมดา
มหาพรต
วัน
ปฏิทินพิธีกรรม
อา
1. เตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ
อา อา
2. เตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ 3. เตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ
อา 4. เตรียมรับเสด็จพระคริสตสมภพ เริ่มจากคืนคริสต์มาสถึงฉลอง 25 ธ.ค. สมโภชพระคริสตสมภพ พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง อา ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า (วันอาทิตย์หลังพระคริสตเจ้า 6 ม.ค. สมโภชพระคริสตเจ้าแสดงองค์ แสดงองค์) อา ฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง
เริ่มจากวันจันทร์หลังฉลอง พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างถึง วันอังคารก่อนวันพุธรับเถ้า
มี 40 วัน เริ่มจากวันพุธรับเถ้า ถึงตอนบ่ายของวันพฤหัส ศักดิ์สิทธิ์
อา อา อา อา อา อา อา อา อา พ.
สัปดาห์ ที่ 1 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 2 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 3 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 4 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 5 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 6 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 7 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 8 เทศกาลธรรมดา สัปดาห์ ที่ 9 เทศกาลธรรมดา วันพุธรับเถ้า
อา อา อา อา อา
สัปดาห์ ที่ 1 เทศกาลมหาพรต สัปดาห์ ที่ 2 เทศกาลมหาพรต สัปดาห์ ที่ 3 เทศกาลมหาพรต สัปดาห์ ที่ 4 เทศกาลมหาพรต สัปดาห์ ที่ 5 เทศกาลมหาพรต
78
เทศกาล
ปัสกา
รายละเอียด
เริ่มจากวันอาทิตย์ใบลาน ถึงวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า
วัน
ปฏิทินพิธีกรรม
อา พฤ ศ ส อา จ อา
วันอาทิตย์ใบลาน วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ สมโภชปัสกา วันจันทร์แรกในอัฐมวารปัสกา วันอาทิตย์ ที่ 2 (หลังสมโภชปัสกา) วันอาทิตย์ ที่ 3 (หลังสมโภชปัสกา) วันอาทิตย์ ที่ 4 (หลังสมโภชปัสกา) วันอาทิตย์ ที่ 5 (หลังสมโภชปัสกา) วันอาทิตย์ ที่ 6 (หลังสมโภชปัสกา) วันอาทิตย์ ที่ 7 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์
อา อา อา อา อา
ธรรมดา
เริ่มจากวันจันทร์หลังสมโภช พระจิตเจ้า ถึงวันเสาร์ก่อน อาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียม รับเสด็จพระคริสตสมภพ รวม 34 สัปดาห์
สมโภชพระจิตเจ้า สัปดาห์ที่ 8 (หลังสมโภชพระจิตเจ้า) สมโภชพระตรีเอกภาพ สัปดาห์ที่ 9 (หลังสมโภชพระจิตเจ้า) สมโภชพระวรกายและพระโลหิต พระคริสตเจ้า สัปดาห์ที่ 10 (หลังสมโภชพระจิตเจ้า) ถึงสัปดาห์ที่ 34 (หลังสมโภชพระจิตเจ้า)
79
ใบความรู้ 2 “ความหมายของเทศกาลในปีพิธีกรรม” ปีพิธีกรรม (Liturgical Year) 1. เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (Advent) เริม่ ต้นวันอาทิตย์ สีส่ ปั ดาห์กอ่ นคริสต์มาสจนถึง วันที่ 24 ธันวาคม เป็นการเตรียมตัวเพื่อช่วงเวลาของ พระคริสตสมภพ ทีก่ �ำ ลังจะมาถึง ช่วงเวลาแห่งการเตรียม นี้ เรียกว่า “เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ” เรารอคอย ด้วยความหวัง ถึงการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า พร้อมกับ พระนางมารีย์ 2. เทศกาลพระคริสตสมภพ (Christmastide) เริ่มต้นจากวันคริสต์มาส ถึงวันฉลองการรับพิธี ล้างของพระเยซูเจ้าในระหว่างสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธันวาคม และสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม คริสตชน ยังคงอยู่ในเทศกาลพระคริสตสมภพในช่วงเวลาแห่ง ความชื่นชมยินดีเหล่านี้ เราจะต้อนรับการเสด็จมาของ พระผู้ไถ่การประกาศถึงการแสดงองค์ของพระคริสตเจ้า (God’sepiphany) พระสิรริ งุ่ โรจน์ของพระเจ้ามายังแผ่น ดินช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัว และการเฉลิมฉลอง นำ� เราให้ผา่ นพ้นปีเก่าและเข้าสูป่ ใี หม่ สำ�หรับคริสตชนแล้ว ปีของเรามิใช่เพียงการหมุนเวียนไปของวันเวลาเท่านั้น แต่การเวียนไปจนครบรอบปีของคริสตชน คือการนำ� ออกนอกเวลาไปสู่ ค วามรุ่ ง เรื อ งแห่ ง นิ รั น ดร์ ก าลใน พระเจ้า 3. เทศกาลมหาพรต (The Lent) เริ่มจากวันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday) มหาพรต คือช่วงเวลา 40 วัน แห่งการเตรียมตัวเพื่อเข้า สูป่ สั กา เลข 40 เตือนให้เราระลึกถึงฝนทีต่ กตลอด 40 วัน 40 คืน ในสมัยโนอาห์ เพื่อชำ�ระล้างความชั่วร้ายของ
แผ่นดินให้สะอาดหมดจด 40 ปี แห่งการเดินทางของ ชาวฮี บ รู ใ นทะเลทราย เพื่ อ จะเข้ า สู่ ดิ น แดนแห่ ง พระสัญญา 40 วัน ที่พระเยซูเจ้าทรงอดอาหารและถูก ประจญในถิ่นทุรกันดาร มหาพรต คือช่วงเวลาแห่งการภาวนาที่เข้มข้น การอดอาหาร การพลีกรรม และประกอบกิจศรัทธา ห้วง เวลาแห่งการให้ความสดชืน่ แก่โลกของเรา เพือ่ ไปสูบ่ า้ น ของพระเจ้า สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ (Paschal Triduum) เราคริสตชน จะรักษาวันพระเจ้านี้ได้อย่างเหนียวแน่น เราอดอาหารในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และชิดสนิทกับพระ ด้วยการตืน่ เฝ้าในวันเสาร์ศกั ดิส์ ทิ ธิเ์ พราะเราตืน่ เฝ้า และ รอคอยให้การเสด็จกลับคืนพระชนมชีพในวันอาทิตย์ ปัสกาที่กำ�ลังมาถึงเรา ด้วยความกระหาย และโหยหา พระองค์ การร่วมชิดสนิท และการอวยพร วันศุกร์ ศักดิ์สิทธิ์ วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ และวันอาทิตย์ปัสกานี้ รวม เรียกว่า “Paschal Triduum” หมายถึงสามวันแห่ง การผ่านพ้น Triduum คือหัวใจของปีพิธีกรรม ส่วนวัน แห่งความตาย การถูกขัง และการกลับคืนพระชนมชีพ ของพระเยซูคริสตเจ้า ตลอดช่วงวันอันศักดิส์ ทิ ธิน์ ี้ เราจะ ฉลองการเสด็จผ่านความตายของ พระเยซูเจ้า (และของ เรา) ด้วยการโปรดศีลล้างบาป พิธยี นื ยันการเป็นคริสตชน และการรับศีลมหาสนิทในช่วงปัสกานี้ (แก่คริสตชน ใหม่) 4. เทศกาลปัสกา (Eastertime) เริ่ ม จากวั น อาทิ ต ย์ ปั ส กา จนถึ ง วั น อาทิ ต ย์ สมโภชพระจิตเจ้า เทศกาลปัสกา คือช่วงเวลา 50 วัน แห่งการเฉลิมฉลอง ซึ่งอยู่ถัด Triduum นับได้ว่าเป็น เทศกาลที่เก่าแก่ และงดงามที่สุดของพระศาสนจักร
80
วันแห่งความชืน่ ชมยินดีของโลก ซึง่ ตืน่ จากการหลับใหล 50 วัน (เปนเตก๊อสเต) คือ สัปดาห์ที่ทวีคูณ 7x7 = 49 บวกอีก 1 วันอาทิตย์ปัสกา ดังนั้นเทศกาลปัสกา จึงมีวันอาทิตย์ 8 ครั้ง (8 วัน) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึง ความลึกลับของนิรันดรภาพแต่ละสัปดาห์ เรามีวัน พระเจ้า และแต่ละปี เรามีเทศกาลปัสกา 50 วันแห่ง การเปล่งเสียง “อัลเลลูยา” สรรเสริญพระเจ้า 50 วัน แห่งการใช้ชีวิตตามบทบัญญัติแห่งความยุติธรรม และ สันติสขุ ซึง่ เต็มเปีย่ มในตัวเรา เมือ่ รวมทัง้ 3 ช่วงเข้าด้วย กัน คือ มหาพรต สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ และปัสกา จึงกลาย เป็นการผลิบานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร
5. เทศกาลธรรมดา (Ordinary Time) เป็ น เทศกาลที่ แ ทรกอยู่ ร ะหว่ า ง เทศกาล พระคริสตสมภพ กับมหาพรต และระหว่างเทศกาล ปัสกา กับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นเวลา ประมาณ 34 สัปดาห์ นอกเหนือไปจากเทศกาลสำ�คัญ ของ พระศาสนจักรแล้ว สัปดาห์เหล่านี้เรียกว่า เทศกาล ธรรมดา ดังนั้นในแต่ละสัปดาห์ จึงมีการนับเป็นตัวเลข เพื่อช่วยให้เราแบ่งการอ่าน บทอ่าน บทสวดต่างๆ ใน หนังสือพิธีกรรมได้อย่างถูกต้อง และรวมทั้งหนังสือสวด เป็นทางการของพระศาสนจักร ที่เรียกว่าหนังสือทำ�วัตร อีกด้วย
81
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8
เรื่อง การภาวนา 4 รูปแบบ
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนสามารถภาวนาต่อพระเจ้าได้ด้วยการสรรเสริญ โมทนาคุณ วิงวอน และขอโทษต่อพระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดภาวนาด้วยการสรรเสริญพระเจ้าอย่างจริงใจและตั้งใจ สาระการเรียนรู ้ การพบปะกับพระเจ้าในการภาวนานั้นสามารถทำ�ได้ในหลายรูปแบบ แต่คนส่วนใหญ่มักจะสวดภาวนา แบบวิงวอนเท่านั้นเพราะต้องการพระคุณบางอย่างจากพระ แต่การภาวนาที่ดีควรจะมีครบทั้ง 4 แบบด้วยกันคือ สรรเสริญ โมทนาคุณ วิงวอน และขอโทษต่อพระเจ้าผูท้ รงเป็นเจ้าของสรรพสิง่ และชีวติ ของเรา เพือ่ ให้การภาวนาของเรานัน้ สมบูรณ์แบบ ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนนำ�ภาพทิวทัศน์สวยงามหลากหลายรูปแบบ (ชุดที่ 1) ให้ผเู้ รียนพิจารณา ดู แล้วให้แต่ละคนแสดงความรู้สึกของตนออกมาเป็นคำ�พูด - จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้ก็เพื่อให้ผู้สอนสังเกตดูว่าหลังจากที่ผู้เรียนดูภาพ เหล่านัน้ แล้ว ส่วนใหญ่จะกล่าวคำ�ใดออกมาบ้าง? มีผเู้ รียนบางคนกล่าวสรรเสริญสดุดี หรือขอบคุณพระเจ้าสำ�หรับความสวยงามของธรรมชาติที่เห็นนั้นบ้างหรือไม่? - ต่อไปให้ผู้เรียนดูตัวอย่างภาพชุดที่ 2 แล้วให้ทำ�เช่นเดียวกัน เพื่อสังเกตดูว่า ผู้เรียนจะกล่าวถึงความรู้สึกใดบ้าง? จะมีคำ�วิงวอนหรือขอโทษพระเจ้าบ้างหรือไม่? - ผู้สอนสามารถถามผู้เรียนต่อไปว่า ในชีวิตจริงของแต่ละคนนั้นเขาเคยสนทนา กับพระเจ้าบ้างหรือไม่? เกีย่ วกับเรือ่ งอะไร? ให้ผทู้ อี่ ยากจะแบ่งปันเล่าให้เพือ่ นๆ ฟังได้ - ผู้สอนอาจสรุปในช่วงนี้ว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้เรียนมักจะสนทนากับพระเจ้าใน เรื่องใด? แล้วยังมีประเด็นอื่นอีกหรือไม่ที่เราควรภาวนาต่อพระเจ้า? - ให้เรามาดูว่าเมื่อผู้เรียนอ่านพระวาจาต่อไปนี้แล้วจะรู้สึกอย่างไร? 3 พระวาจา : คำ�ภาวนาที่ได้ผล (มธ 7:7-11) “จงขอเถิด แล้วท่านจะได้รับ จงแสวงหาเถิด แล้วท่านจะพบ จงเคาะประตูเถิด แล้วเขาจะเปิดประตูรับท่าน” “เพราะคนที่ขอย่อมได้รับ คนที่แสวงหาย่อมพบ คนที่ เคาะประตูยอ่ มมีผเู้ ปิดประตูให้ ท่านใดทีล่ กู ขออาหาร จะให้กอ้ นหินหรือ ถ้าลูกขอปลา จะให้งหู รือ แม้แต่ทา่ นทัง้ หลายทีเ่ ป็นคนชัว่ ยังรูจ้ กั ให้ของดี ๆ แก่ลกู แล้วพระบิดาของ ท่าน ผู้สถิตในสวรรค์จะไม่ประทานของดีๆ แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ”
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
☆
ดูตัวอย่างภาพชุดที่ 1 ท้ายแผน
☆
ดูตัวอย่างภาพชุดที่ 2 ท้ายแผน
82
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
4
อธิบายพระวาจา - พระเจ้าเองทรงเป็นผู้ตรัสคำ�เหล่านี้ ไม่ใช่มนุษย์คนหนึ่งคนใดหรือนักปราชญ์ คนสำ�คัญของโลก ดังนัน้ คำ�เหล่านีจ้ งึ มีความหมายสูงสุด และเป็นเรือ่ งจริงแท้แน่นอน - พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงนี้เพื่อเราจะได้เข้าใจสิ่งที่พระองค์ทรงเป็น คือทรง มีพระทัยดีและพระทัยเมตตาต่อเรามนุษย์อย่างหาขอบเขตมิได้ ในพระองค์ไม่มีอะไร ที่เปลี่ยนแปลง ทรงมั่นคงเสมอชั่วนิจนิรันดร ต่างจากเรามนุษย์ที่มีจิตใจโลเล อยาก ทำ�ดีบา้ ง อยากทำ�ชัว่ บ้าง ไม่มคี วามแน่นอน เปลีย่ นไปเปลีย่ นมาได้ตลอดเวลา ดังนัน้ ความใจดีมีเมตตาของมนุษย์จึงมีขอบเขตด้วยเช่นกัน วันนี้ใช่ พรุ่งนี้ก็อาจจะไม่ใช่แล้ว - จากพระวรสาร เราเข้าใจว่า พระเจ้าทรงต้องการให้เราที่เป็นลูกของพระองค์ “วอนขอ” คือสนทนากับพระองค์ พูดคุยกับพระองค์ แสดงถึงความต้องการของเรา ต่อพระองค์ นั่นหมายความถึงความเป็น “บุคคล” ของพระองค์ พระองค์มิใช่เป็น พระอิฐพระปูนที่ไม่รับรู้สิ่งใดๆ เกี่ยวกับตัวเรา แต่ทรงอยากให้เราแบ่งปันความรู้สึก นึกคิดและความต้องการต่างๆ กับพระองค์ มิใช่ว่าพระองค์ไม่ทรงทราบถึงสิ่งเหล่านี้ พระองค์ทรงทราบทุกอย่าง แต่ทรงอยากให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับพระองค์ - ดังนั้น พระองค์จึงทรงเป็นดัง “พ่อใจดี” ที่พร้อมจะฟังลูกๆ อยากคุยกับลูกๆ อยากรับรู้เรื่องต่างๆ ของลูกๆ เสมอ ยิ่งกว่านั้นทรงพร้อมที่จะให้สิ่งดีๆ ที่ลูกวอนขอ หากลูกขอสิง่ ทีไ่ ม่ดพี ระองค์ก็จะไม่ทรงประทานให้เพราะสิ่งนัน้ อาจนำ�หายนะมาสูล่ กู ก็ได้ ดังเช่นลูกที่เล่นมีดแต่พ่อก็อนุญาตให้ไม่ได้ นี่ก็บ่งบอกถึงปรีชาญาณ ความชาญ ฉลาดของพระเจ้า ทีท่ รงรูล้ ว่ งหน้าแล้วว่า พระองค์ควรจะประทานสิง่ ใดให้แก่เราจึงจะ ดีและเหมาะสมที่สุด
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เมื่อเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว เราแต่ละคนรู้สึกอะไรบ้าง? ลองให้ผู้เรียนแสดงความคิด และความรู้สึกของตนออกมา ผู้สอนสามารถให้ผู้เรียนไตร่ตรองถึงมิติต่างๆ ข้างล่างนี้ - พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่โดดเด่นในเรื่องความรัก ความใจดี เมื่อทรงรักเราถึง ขนาดนี้แล้ว เราควรจะคิดและรู้สึกอย่างไร? (สรรเสริญ) - พระเจ้าทรงพร้อมทีจ่ ะประทานสิง่ ทีด่ สี �ำ หรับเรา สิง่ ใดทีเ่ ราวอนขอแล้วดีพระองค์ จะประทานให้แก่เราอย่างแน่นอน ทรงพระทัยดียิ่งกว่ามนุษย์อย่างที่เราไม่สามารถ คาดคิดได้ (วอนขอ) - พระทัยดีของพระเจ้าทรงแสดงออกด้วยการไม่ทรงเคยโกรธเคืองเรามนุษย์จน อยากให้เราต้องพินาศไปชั่วนิรันดร แต่ทรงส่งพระบุตรมาไถ่บาปเรา นั่นหมายความ ว่าพระองค์ทรงอภัยให้แก่เราโดยสิน้ เชิง และทรงอยากให้เราคืนดีกบั พระองค์ แต่หลาย ครั้งเราก็กลับทำ�บาปให้พระองค์ต้องเสียพระทัยบ่อยๆ (ขอโทษ) - ในชีวิตของเรา เราคงเคยได้รับหลายสิ่งหลายอย่างที่ดีวิเศษอย่างไม่คาดคิด (ให้ แต่ละคนลองคิดดูสกั 2-3 นาที) แล้วให้ผเู้ รียนแบ่งปันกัน นัน่ คือหลายสิง่ หลายอย่าง ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่เราก่อนที่เราจะวอนขอด้วยซ้ำ� (ขอบคุณ)
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
83
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- นี่คือมิติต่างๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับเรา ซึ่งเมื่อเราไตร่ตรองให้ ดีแล้ว จะต้องเกิดความคิดและความรูส้ กึ อย่างหนึง่ ในจิตใจของเรา นัน่ คือ ความอยาก ที่จะ “บอก” บางอย่างกับพระเจ้าด้วยการสนทนากับพระองค์ การกระทำ�เช่นนี้ก็คือ การภาวนานั่นเอง - ให้ผู้เรียนวาดภาพคนละ 1 ภาพ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตนกับพระเจ้า อาจใช้ภาพจริงหรือสัญลักษณ์ก็ได้ พร้อมกับให้ความหมายและอธิบายภาพนั้นด้วย - สรุปได้ว่า ในการภาวนาต่อพระเจ้านั้น เราสามารถสรรเสริญ ขอบคุณ วอนขอ และขอโทษต่อพระองค์ - ก่อนจบการเรียน อาจให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่เพื่อไตร่ตรองในชีวิตของตนเอง ดูว่า “ฉันอยากจะสรรเสริญพระเจ้าในเรื่องใดบ้าง?” เมื่อได้คำ�ตอบแล้ว ให้ ผู้เรียนใช้เป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติข้อตั้งใจที่สรรเสริญพระเจ้า 6
หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดภาวนาด้วยการสรรเสริญพระเจ้าอย่างจริงใจและตั้งใจ
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจ สรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า สำ�หรับสิ่งดีๆ ที่ตนได้รับจากพระองค์ จากนั้นให้ทุกคนสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” อย่างตั้งใจพร้อมกัน
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ
9
บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................
84
1
ตัวอย่างภาพชุดที่
2
ตัวอย่างภาพชุดที่
85
แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9
เรื่อง มโนธรรมคริสตชน
มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.2 เวลา 50 นาที
ชั้น ป.4 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ
จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนแต่ละคนต้องปฏิบัติตามเสียงของพระที่อยู่ในใจของ เรา นั่นคือเสียงของมโนธรรมซึ่งจะเป็นเกณฑ์ของการกระทำ�แบบคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเชื่อฟังเสียงมโนธรรมของตนด้วยการทำ�แม้สิ่งเล็กน้อยอย่างดีที่สุด สาระการเรียนรู ้ พระเจ้าทรงประทานเสียงมโนธรรมให้แก่มนุษย์ทกุ คน สำ�หรับคริสตชนนัน้ พระองค์ทรงประทานหลักเกณฑ์ แห่งการเจริญชีวิตเฉพาะ นั่นคือคุณค่าแห่งพระวรสาร ซึ่งจะต้องเป็นเสียงมโนธรรมสำ�หรับคริสตชนทุกคน (เทียบคำ�สอน พระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 1785) จำ�เป็นที่ คริสตชนต้องอบรมมโนธรรมของตนให้ละเอียดและถูกต้อง เพือ่ จะสามารถดำ�เนิน ชีวิตให้สอดคล้องกับน้ำ�พระทัยพระเจ้า ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานที่ 1 “เธอล่ะ...คิดอย่างไร?” เพื่อทดสอบดูว่าแต่ละคน เลือกที่จะทำ�อย่างไร? แล้วอาจให้ผู้เรียนแบ่งปันคำ�ตอบแก่กันและกัน - จากนั้นผูส้ อนจึงเล่านิทานเรื่อง “ข้าวเปลือกสองหาบ” ให้ผู้เรียนฟัง - เมื่อจบแล้ว ผู้สอนสามารถตั้งข้อสังเกตให้ผู้เรียนพิจารณาว่า การกระทำ�ของ สองพี่น้องในเรื่องสั้นกับของตนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? อะไรคือสาเหตุของ ความต่างของการกระทำ�ของเรา? - ให้เรามาดูเรื่องจากพระวรสารกันบ้างว่า มีตัวอย่างของผู้เจริญชีวิตอย่างไม่ เหมาะสมบ้างหรือไม่? บุคคลผู้นั้นคือใคร? และพฤติกรรมของเขาคืออะไร? 3 พระวาจา : เรื่องยอห์นผู้ทำ�พิธีล้างถูกสั่งตัดศีรษะ (มก 6:17-29) กษัตริย์เฮโรดองค์นี้ทรงสั่งให้จับกุมยอห์น และล่ามโซ่ขังคุกไว้ เพราะเรื่องของ นางเฮโรเดียส ภรรยาของฟีลิปพระอนุชา ซึ่งกษัตริย์เฮโรดทรงรับมาเป็นมเหสี ยอห์น เคยทูลกษัตริยเ์ ฮโรดว่า “ไม่ถกู ต้องทีพ่ ระองค์ทรงรับภรรยาของน้องชายมาเป็นมเหสี” นางเฮโรเดียสจึงโกรธแค้นและปรารถนาจะฆ่ายอห์นเสีย แต่ฆ่าไม่ได้ เพราะกษัตริย์ เฮโรดยังทรงเกรงยอห์นอยู่ ทรงทราบว่ายอห์นเป็นคนชอบธรรมและศักดิ์สิทธิ์ จึงทรง ป้องกันไว้ เมือ่ กษัตริยเ์ ฮโรดทรงฟังคำ�พูดของยอห์น ทรงรูส้ กึ สับสน แต่กท็ รงยินดีทจี่ ะ ฟัง นางเฮโรเดียสได้โอกาสเมือ่ กษัตริยเ์ ฮโรดทรงจัดให้มงี านเลีย้ งขุนนางกับนายทหาร ชัน้ ผูใ้ หญ่และคนสำ�คัญในแคว้นกาลิลใี นวันคล้ายวันประสูตขิ องพระองค์ บุตรหญิงของ
☆
ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน
ดูใบความรู้เรื่อง “ข้าว เปลือกสองหาบ” ท้ายแผน ☆
86
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้ นางเฮโรเดียสออกมาเต้นรำ�เป็นที่พอพระทัยของกษัตริย์เฮโรด และเป็นที่พอใจของ ผู้รับเชิญ กษัตริย์จึงตรัสกับหญิงคนนั้นว่า “ท่านอยากได้อะไรก็ขอมาเถิด เราจะให้” และยังทรงสาบานอีกว่า “ท่านขออะไรเราก็จะให้ แม้จะเป็นครึ่งหนึ่งของอาณาจักร ของเราก็ตาม” หญิงสาวจึงออกไปถามมารดาว่า “ลูกจะขออะไรดี” มารดาตอบว่า “จงขอศีรษะของยอห์น ผูท้ �ำ พิธลี า้ ง” หญิงสาวจึงรีบกลับมาทูลกษัตริยท์ นั ทีวา่ “หม่อม ฉันขอศีรษะของยอห์นผู้ทำ�พิธีล้างใส่ถาดมาให้เดี๋ยวนี้” กษัตริย์ทรงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง แต่เพราะได้ทรงสาบานไว้ และเพราะทรงเห็นแก่ผู้รับเชิญ ไม่ทรงปรารถนาจะขัดใจ หญิงสาว จึงทรงสั่งเพชฌฆาตไปตัดศีรษะของยอห์นมาทันที เพชฌฆาตไปตัดศีรษะ ของยอห์นในคุก ใส่ถาดนำ�มาให้หญิงสาว หญิงสาวจึงนำ�ไปให้มารดา เมือ่ บรรดาศิษย์ ของยอห์นรู้เรื่อง จึงมารับศพของยอห์น นำ�ไปฝังไว้ในคูหา
4
อธิบายพระวาจา - เฮโรดคือกษัตริย์ของชาวยิว เป็นพี่ชายของฟิลิป นางเฮโรเดียสคือภรรยาของ ฟีลปิ แต่เฮโรดชอบนางเฮโรเดียสจึงเอานางมาเป็นภรรยา ยอห์น บัปติสต์คอื ญาติของ พระเยซูเจ้าทีเ่ ป็นคนชอบธรรมและเห็นว่าเฮโรดทำ�ไม่ถกู ต้องจึงได้ตกั เตือนเฮโรดๆ มี ความเกรงยอห์นอยู่จึงไม่ได้ฆ่าท่านแต่ได้จับท่านล่ามโซ่ไว้ในคุก แต่เมื่อถึงวันฉลอง วันคล้ายวันประสูตขิ องเฮโรด ลูกสาวของนางเฮโรเดียสได้เต้นรำ�เป็นทีพ่ อใจของเฮโรด ท่านจึงสัญญาจะให้ทุกสิ่งที่นางขอ แม่ของนางจึงยุยงให้ขอศีรษะของยอห์น เฮโรดจึง จำ�เป็นต้องทำ�ตามที่นางขอเพื่อมิให้เสียคำ�พูด - เรื่องนี้ทำ�ให้เราเห็นภาพของผู้หนึ่งที่เป็นกษัตริย์ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของบ้าน เมือง แต่เขาต้องมาเกรงคนๆ หนึ่งที่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา สาเหตุเป็นเพราะเขา รู้ดีว่า ยอห์นเป็นผู้ชอบธรรมมากกว่าเขา สิ่งที่ยอห์นคิดและพูดย่อมถูกต้องมากกว่า การกระทำ�ของเขา - เฮโรดจึงเป็นภาพหนึ่งของบุคคลที่มีจิตใจอ่อนแอ เขารู้ว่าตนทำ�ไม่ถูกแต่ก็ยังไม่ หยุด ไม่กลับใจ จนที่สุดเขาก็ทำ�บาปที่หนักไปกว่าอีกคือ การฆ่าบุคคลที่บริสุทธิ์ ซึ่ง เขาก็รู้ดีว่านั่นคือบาป แต่เขาก็ยอมทำ�เพราะเห็นแก่หญิงคนหนึ่งที่ไม่ดีและมีใจ เหี้ยมโหดมาก
5
ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในชีวิตของเรา มีเรื่องราวคล้ายกันนี้มากมาย อาจเป็นเรื่องของตัวเราเองบ้าง หรือของคนอื่นบ้าง เป็นเรื่องเล็กบ้างใหญ่บ้าง แตกต่างกันไป แต่ทุกเรื่องเรียกร้องให้ เรานำ�มาไตร่ตรองพิจารณาดู “ความถูกต้อง” เพราะผูท้ เี่ ป็นคริสตชนจะต้องเจริญชีวติ เลียนแบบอย่างของพระเยซูเจ้า คือเลือกทำ�สิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น เพราะสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คือบาปที่เราต้องหลีกเลี่ยง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งใดถูกต้อง? สิ่งใดผิด? - อะไรคือเกณฑ์ของความถูกต้องที่จะบอกเราว่า สิ่งใดควรทำ� สิ่งใดห้ามทำ�? น.เปาโลได้พดู ไว้ในจดหมายถึงชาวโรม เกีย่ วกับเรือ่ งของ “มโนธรรม” ว่าเป็นธรรม บัญญัติที่ถูกกำ�หนดไว้ในใจ ซึ่งเป็นความรู้และความจริงที่จะช่วยให้เราสามารถแยก ถูกจากผิดได้ (เทียบ รม 2:14-20)
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
87
ที่
กระบวนการจัดการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
- ดังนั้น มโนธรรมจึงเป็นดังเสียงที่พระเจ้าทรงใส่ไว้ในใจของมนุษย์ เพื่อเป็นดัง โคมไฟนำ�ทางให้มนุษย์เดินบนหนทางแห่งโลกนีท้ มี่ อี นั ตรายหลายอย่างมาล่อลวงเรา ให้เดินหลงทางได้ แต่เราจะไม่หลงไหลไปกับการล่อลวงนั้นหากเรามีใจซื่อตรง ตั้งใจ ฟังเสียงมโนธรรมเป็นอย่างดี พร้อมกับปฏิบตั ติ ามการเลือกทีส่ อดคล้องกับคุณค่าแห่ง พระวรสาร - นั่นหมายความว่า คริสตชนต้องอ่านพระวาจาของพระเจ้าเป็นประจำ� เพื่อจะ ได้มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในการยึดปฏิบัติ - แต่หากคริสตชนไม่ยึดหลักของพระวรสารเป็นเกณฑ์แล้ว มโนธรรมของเรา อาจผิดเพี้ยนไปได้ เพราะเราอาจเห็นผิดเป็นถูกได้ ดังที่หลายๆ คนเป็น บุคคลเหล่า นั้นจึงทำ�ความชั่วได้มากมายโดยไม่คิดว่ามันผิด เพราะมโนธรรมของเขาไม่ละเอียด พอที่จะช่วยให้เขาเห็นหรือตัดสินสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องอีกต่อไปแล้ว หากคนเป็น แบบนี้กันมากๆ แล้วสังคมเราจะอยู่อย่างสงบสุขได้อย่างไร? - จึงเป็นหน้าทีข่ องเราคริสชนทุกคนทีจ่ ะต้องอบรมตนเองให้มมี โนธรรมทีล่ ะเอียด ซึง่ หมายความว่า มีความไวต่อสิง่ ทีผ่ ดิ หรือถูก ไม่วา่ สิง่ นัน้ จะเป็นเรือ่ งใหญ่หรือเล็กแค่ ไหนก็ตาม
6
- จากเรื่อง “ข้าวเปลือกสองหาบ” ที่เล่าในตอนต้น สองพี่น้องนั้นไม่มีใคร ยากจนขัดสนจนต้องการความช่วยเหลือของอีกฝ่ายหนึง่ เพราะทัง้ คูแ่ บ่งข้าวทีเ่ ก็บเกีย่ ว ได้เท่าๆ กันอย่างยุติธรรม ดังนั้น ทั้งคู่ก็ไม่จำ�เป็นต้องเอาข้าวของตนไปให้กับอีกคน หนึ่ง แต่ทั้งสองกลับคิดด้วยมโนธรรมที่ละเอียดว่า เขาควรจะเอาข้าวของตนไปให้อีก คนหนึ่งด้วยเหตุผลที่เหมาะสม เรื่องนี้จึงจบลงอย่างน่าตื้นตัน แต่เราลองคิดในทาง กลับกัน หากแต่ละคนคิดว่าตนควรได้ขา้ วมากกว่าอีกคนหนึง่ แล้วไปขโมยข้าวของเขา มาตอนกลางคืน ทำ�อย่างนี้ทุกคืน เราคงจะจินตนาการได้ว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร? ตัวอย่างเรื่องนี้สอนเราได้อย่างชัดเจนถึงเรื่องความละเอียดของมโนธรรม และผลดีที่ ตามมา หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเชื่อฟังเสียงมโนธรรมของตนด้วยการทำ�แม้สิ่งเล็กน้อยอย่างดีที่สุด
7
ภาวนาปิดท้าย ให้ตัวแทนของผู้เรียน 1 คนสวดภาวนาจากใจ ขอบคุณพระเจ้าสำ�หรับสิ่งดีๆ ที่ เราทำ� และให้ตัวแทนอีกคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจสำ�หรับสิ่งไม่ดีที่ได้ทำ� แม้จะเล็ก น้อยเพราะไม่ฟังเสียงเตือนของมโนธรรม
8
การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................
9
88
ใบงานที่ 1 “เธอล่ะ...คิดอย่างไร?” คำ�ชี้แจง - ให้เลือกประโยคที่ตนเห็นด้วยมากที่สุด โดยกากบาท (x) ทับตัวเลือกข้อนั้น 1. หากเพื่อนที่เราไม่ชอบถูกครูทำ�โทษ ก. ดี สมน้ำ�หน้า ชอบทำ�ดีประจบประแจงครูนัก ข. น่าสงสารจัง เขาถูกลงโทษเพราะถูกเพื่อนใส่ความ 2. หากแม่ชอบใช้ให้น้องทำ�งานหนักกว่าเรา ก. ฉันแอบดีใจเพราะจะได้ดูทีวีสบายๆ ข. ฉันจะสงสารน้อง แล้วรีบไปช่วยทำ�งาน 3. หากพ่อกับแม่ทะเลาะกัน ก. ฉันมักเข้าข้างคนที่ชอบตามใจฉัน ข. ฉันจะพยายามห้ามทั้งคู่เพราะไม่ชอบแบบนี้ 4. หากฉันต้องแบ่งขนมให้พี่หรือน้อง ก. ฉันจะให้เขามากกว่าและส่วนที่ดีกว่า ข. ฉันจะให้เขาน้อยกว่าและส่วนที่แย่กว่า 5. หากครูแจกของแก่ทุกคนแล้วบังเอิญของไม่พอ ฉันจึงไม่ได้รับ ก. ฉันจะโกรธครูมากและต่อว่าครูลับหลัง ข. ฉันจะดีใจที่ได้เสียสละของนั้นให้แก่เพื่อนๆ 6. หากฉันพบสุนัขตัวหนึ่งถูกทำ�ร้ายและบาดเจ็บ ก. ฉันจะช่วยเหลือมันโดยการนำ�ไปพยาบาล ข. ฉันจะทิ้งมันไว้ที่นั่นเพราะฉันรักษามันไม่เป็น 7. หากฉันเจอดอกไม้ข้างทางที่สวยงามและหอมมาก ก. ฉันจะขอบคุณพระที่ใจดีสร้างดอกไม้นั้นให้เรา ข. ฉันจะเก็บมาดมให้ชื่นใจจนพอแล้วก็ทิ้งไป 8. หากในห้องเรียนเหลือไม้กวาดเพียงอันเดียวสำ�หรับทำ�ความสะอาด ก. ฉันจะให้เพื่อนเป็นคนกวาดแล้วฉันจะเป็นคนถูพื้น ข. ฉันจะเป็นคนกวาดแล้วให้เพื่อนเป็นคนถูพื้น
89
ใบความรู้ เรื่อง “ข้าวเปลือกสองหาบ” มีพนี่ อ้ งคูห่ นึง่ ตัง้ แต่เด็กรักใคร่สามัคคีกนั มาก ครัน้ โตเป็นผูใ้ หญ่ เนือ่ งจากต่างก็แต่งงานมีครอบครัว แล้ว พ่อแม่จึงให้พวกเขาแยกบ้านกันอยู่ แยกบ้านไม่แยกนาในสมัยก่อนเป็นเรื่องธรรมดา พี่น้องคู่นี้ก็เช่น เดียวกัน มีอยู่ปีหนึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ต่างก็แบ่งข้าวเปลือกกันคนละครึ่ง หาบกลับไปบ้านของตน แล้วกองไว้ทลี่ านตากข้าวหน้าบ้าน ตกค่�ำ ผูเ้ ป็นพีก่ ค็ ดิ ว่า น้องชายอายุยงั น้อย ลูกๆ ก็ยงั เล็กอยู่ เราควรทีช่ ว่ ย เหลือเขาให้มากถึงจะถูก เมือ่ คิดเช่นนัน้ แล้วก็หาบข้าวเปลือกหนึง่ หาบ ไป ที่บ้านของน้องชายอย่างเงียบๆ ข้างฝ่ายน้องชายก็คิดเช่นเดียวกันว่า พีช่ ายมีลกู หลายคน แบ่งข้าวเปลือกได้เพียงไม่กหี่ าบจะพอกินได้อย่างไร? คิดแล้วก็หาบข้าวเปลือกหนึง่ หาบส่งไปทีบ่ า้ นของพีซ่ ายอย่างเงียบๆ รุง่ เช้า เขาทั้งสองต่างก็ประหลาดใจที่ข้าวเปลือกของตนไม่ได้ลดน้อยลงเลย พอ ตกค่ำ�เขาทั้งสองต่างก็เกิดความคิดแบบเดิมขึ้นอีกเมื่อพี่หาบข้าวเปลือก ไปถึงหน้าบ้านของน้องชาย เป็นเวลาเดียวกับที่น้องชายก็กำ�ลัง หาบข้าวเปลือก เตรียมจะส่งไปให้พี่ชาย เช่ น กั น เขาทั้ ง สองเผชิ ญ หน้ า กั น เกิดความรู้สึกตื้นตันใจจนน้ำ�ตา ไหลอย่างไม่รู้สึกตัว