รวมแผนฯ คำสอนจันท์ เล่ม 5

Page 1

รวมแผนการสอน

คำ�สอน

หนังสือรวมแผนการสอนคริสตศาสนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

จัดทำ�โดย แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



ครูคำ�สอน บทเรียนสำ�หรับ

ครูคำ�สอนที่รักทุกท่าน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรไี ด้จดั ทำ� “แผนการจัดการเรียนรูค้ ริสตศาสนธรรม” เล่มนี้ขึ้น หลังจากที่ได้มีการนำ�เสนอ “แผนการสอนคำ�สอนระดับประถมศึกษา” มามากมายหลาย ครั้งหลายปีในสารคำ�สอนจันท์ฉบับที่ผ่านมา ณ เวลานี้ จึงได้มีการนำ�แผนฯ ดังกล่าวมารวมเป็นเล่ม เพื่อเอื้อให้สะดวกใช้มากขึ้น การรวมเล่มแผนฯ ในครัง้ นีไ้ ด้มกี ารปรับปรุงอยูบ่ า้ งแต่ยงั ไม่ถงึ ขัน้ สมบูรณ์ จึงยังมีอกี บางสิง่ ที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทางคณะผู้จัดทำ�ยังยินดีรับคำ�ติ ชม เสนอแนะจากทุกท่าน อยู่เสมอ เพื่อพัฒนางานชิ้นนี้ให้สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงโครงการในอนาคตที่จะทำ�แผนการสอนฯ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาต่อไปด้วย ทางคณะผูจ้ ดั ทำ�ขอถือโอกาสนีข้ อบพระคุณทุกๆ ท่านทีไ่ ด้นำ�แผนฯ นีไ้ ปใช้และได้ให้ขอ้ เสนอ แนะต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์เป็นอย่างยิง่ เป็นการร่วมมือกันสร้างสรรค์บทเรียนคำ�สอนทีม่ คี ณ ุ ภาพสำ�หรับ ลูกศิษย์และลูกหลานของเราต่อไป ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพละกำ�ลังและแสงสว่างสำ�หรับคุณครูทุกท่านในภารกิจสำ�คัญ ของการเป็นสือ่ นำ� “ความรัก” ของพระองค์ไปยังผูเ้ รียนทุกคน เพือ่ เราทุกคนไม่วา่ “ศิษย์” หรือ “ครู” จะได้ก้าวเดินไปด้วยกันในหนทางที่นำ�เราไปสู่ความเชื่อ ความไว้ใจ และความรักในพระองค์อย่าง มั่นคงลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถบรรลุถึง “ความรอดพ้น” ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราทุกคน แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี



สารบัญ หน้า แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง บทบาทของพระตรีเอกภาพ ................................................................................1 เรื่อง คริสตชน : ที่ประทับของพระตรีเอกภาพ .................................................................5 เรื่อง แผนการแห่งความรอดของพระเจ้า .......................................................................9 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องการให้อภัย .....................................................................14 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงทำ�อัศจรรย์ ..............................................................................19 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงภาวนา .....................................................................................23 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเรียกสาวก ................................................................................28 เรื่อง พระเยซูเจ้าเรียกเปโตรเป็นหัวหน้าอัครสาวก .........................................................31 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของคริสตชน ..........................................................................36 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง พระศาสนจักร : พระศาสนจักรสากล .................................................................41 เรื่อง พระศาสนจักร : แพร่ธรรม ..................................................................................45 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ..............................................................49 เรื่อง เทศกาลพระคริสตสมภพ ................................................................................54 เรื่อง เทศกาลมหาพรต .........................................................................................57 เรื่อง เทศกาลปัสกา ................................................................................................61 เรื่อง เทศกาลธรรมดา .............................................................................................65 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การภาวนาของพระเยซูเจ้า ...................................................................................70 แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรารักกันและกัน ..............................................................74 เรื่อง กิจวัตรประจำ�วันของคริสตชน ...........................................................................82


1

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง บทบาทของพระตรีเอกภาพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระตรีเอกภาพทรงมีบทบาทที่สำ�คัญที่สุดต่อเราแต่ละคน ในฐานะทีพ่ ระบิดาทรงเป็นผูส้ ร้างเรามา พระบุตรทรงเป็นพระผูไ้ ถ่เราให้พน้ จากบาปและ ประทานชีวิตใหม่ และพระจิตทรงเป็นผู้ทำ�ให้เราศักดิ์สิทธิ์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบตั ิ : ผูเ้ รียนทำ�เครือ่ งหมาย “สำ�คัญมหากางเขน” อย่างดีและตัง้ ใจคิดถึงความหมาย สาระการเรียนรู ้ พระตรีเอกภาพทรงเป็นพระเจ้าที่เป็นปฐมเหตุของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจักรวาล โลก สิ่งสร้างทั้งมวล เฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ ดังนั้นบทบาทของพระองค์มีความสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างใกล้ชิด เพราะพระบิดาทรงสร้างโลกและ ทุกสิ่งเพื่อมนุษย์ พระองค์ยังทรงให้พระบุตรมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่มวลมนุษย์ให้รอดพ้นจากบาปและความตาย ชั่วนิรันดร์และที่สุดทรงส่งพระจิตมาในโลกนี้เพื่อทรงทำ�ให้ทุกสิ่งและมนุษย์ศักดิ์สิทธิ์ไป ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน / โดยให้ผเู้ รียนตัง้ ใจทำ�เครือ่ งหมาย “สำ�คัญมหากางเขน” อย่างดี 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - นำ�ภาพของ “พระตรีเอกภาพ” ทั้งสองภาพมาให้ผู้เรียนดู เพื่อให้ผู้เรียนบอกว่า เป็นภาพอะไร? รูจ้ กั ภาพนีไ้ หม? รูจ้ กั จากทีไ่ หน? และแต่ละภาพมีความหมายอย่างไร? - ผู้สอนสามารถอธิบายความหมายของภาพเพิ่มเติมได้ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ อย่างถูกต้องและชัดเจนยิ่งขึ้น จากนั้นจึงอาจเข้าประเด็นต่อไปด้วยคำ�ถามว่า คำ�ว่า “พระตรีเอกภาพ” แปลว่าอะไร? มีความเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร? - ผู้สอนสรุปท้ายเกมได้ว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยเกี่ยวกับความรู้และไม่รู้ ของเรามนุษย์ ซึ่งทำ�ให้เราเห็นชัดเจนว่า แม้บางครั้งเราจะเชื่อว่าตนเองเก่งมากเพียง ใดก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถรู้ทุกเรื่องหรือตอบคำ�ถามได้ทุกอย่าง - ผู้สอนอาจอธิบายต่อไปว่า พระตรีเอกภาพคือ พระเจ้าหนึ่งเดียวที่ประกอบด้วย สามพระบุคคลคือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต ทั้งสามพระบุคคลทรงเท่าเสมอกัน พระองค์ทรงกระทำ�ทุกสิง่ พร้อมกันเพราะทรงเป็นหนึง่ เดียวกัน แต่พระคัมภีรไ์ ด้เล่าถึง บทบาทของแต่ละพระองค์ต่างกันอยู่บ้าง ให้เรามาดูว่าพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงแต่ละ พระองค์อย่างไร? 3 พระวาจา (รม 1:19-23) (1) เมื่อแรกเริ่มนั้น พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างฟ้าและแผ่นดิน (ปฐก 1:1)

☆ ภาพ

“พระตรีเอกภาพ” ท้ายแผน


2

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ (2) ครั้นถึงเวลาบ่ายสามโมง พระเยซูเจ้าทรงร้องเสียงดังว่า “เอลี เอลีลามาสะบัคทานี” ซึง่ แปลว่า “ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้า ทำ�ไมพระองค์ จึงทรงทอดทิ้งข้าพเจ้าเล่า” บางคนที่อยู่ที่นั่นได้ยินจึงพูดว่า “เขากำ�ลังร้องเรียก เอลียาห์” ทันใดนั้น ชายคนหนึ่งวิ่งไปนำ�ฟองน้ำ�จุ่มเหล้าองุ่นเปรี้ยวเสียบปลายไม้อ้อ ส่งให้พระองค์เสวย แต่คนอื่นพูดว่า “อย่าเพิ่ง คอยดูซิว่า เอลียาห์จะมาช่วยเขาไหม” แต่พระเยซูเจ้าทรงเปล่งเสียงดังอีกครั้งหนึ่งแล้วสิ้นพระชนม์ (มธ 27:46-50) (3) เมื่อบรรดาศิษย์อธิษฐานภาวนาจบแล้ว สถานที่ที่เขามาชุมนุมกันนั้นก็สั่น สะเทือน ทุกคนได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยมและเริ่มประกาศพระวาจาของพระเจ้าอย่าง กล้าหาญ (กจ 4:31)

4 อธิบายพระวาจา - พระวาจาทั้งสามตอนนี้เล่าถึงบทบาทของสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพ - ในพระวาจาตอนแรกจากหนังสือปฐมกาล เล่าว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกเพื่อ มนุษย์เพราะความรัก ซึ่งความเชื่อของพระศาสนจักรสอนว่าบทบาทของการสร้างโลก และสรรพสิ่งนี้เป็นของพระบิดาเจ้า - พระวาจาตอนที่สองเล่าถึงเหตุการณ์สุดท้ายในชีวิตของพระเยซูเจ้าจนถึง ตอนทีพ่ ระองค์สนิ้ พระชนม์ ซึง่ ความเชือ่ คาทอลิกสอนว่า พระเยซูเจ้าองค์นคี้ อื พระบุคคล ที่สองในพระตรีเอกภาพ พระองค์ทรงรับเอากายมาเป็นมนุษย์เหมือนเราเพื่อทรง ไถ่บาปเรามนุษย์ให้พน้ จากบาปและความตาย จะได้กลับเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า และมีสิทธิ์ไปสวรรค์ - ส่วนพระวาจาตอนที่สาม เล่าเรื่องเกี่ยวกับบรรดาผู้เชื่อที่อธิษฐานภาวนาวอน ขอพระคุณของพระจิตเจ้าสำ�หรับรักษาโรคให้หาย พระจิตเจ้าทรงเป็นผูด้ ลใจเรามนุษย์ กระทำ�การดีต่างๆ นั่นหมายถึงทรงช่วยเราให้ดำ�เนินชีวิตอย่างดีและศักดิ์สิทธิ์ เพราะ หากขาดพระจิตเจ้าแล้ว เราจะกระทำ�สิ่งที่ดีด้วยตนเองไม่ได้เลย 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระวาจาของพระเจ้าได้บอกชัดเจนถึงบทบาทของพระตรีเอกภาพ นอกจาก พระวาจาสามตอนทีย่ กมานัน้ ยังมีอกี หลายตอนทีย่ นื ยันเรือ่ งดังกล่าวด้วย ซึง่ เราอาจจะ ศึกษาให้ลึกซึ้งมากกว่านี้ต่อไปได้ - หากสังเกตจะพบว่าบทบาทของพระบิดา พระบุตร และพระจิตที่พระคัมภีร์เล่า ให้เราทราบนั้น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์อย่างใกล้ชิดทั้งสิ้น เพราะไม่ว่าจะเป็น จุดเริม่ ต้น จุดจบ หรือในการดำ�เนินชีวติ ของมนุษย์ ซึง่ ในความเป็นจริงนัน้ เราต้องบอก ว่าผูเ้ ป็นคริสตชนจะเจริญชีวติ โดยขาดพระตรีเอกภาพไม่ได้เลย หากจะเปรียบก็เหมือน กับปลาที่ต้องว่ายอยู่ในน้ำ� เมื่อใดที่ปลาออกมานอกน้ำ� มันก็จะต้องตาย ไม่มีทางมี ชีวิตอยู่ต่อไปได้ - เราจึงต้องสำ�นึกถึงความสัมพันธ์อันสำ�คัญนี้อยู่เสมอๆ เพราะมิฉะนั้น เราก็จะ เจริญชีวิตแบบคนที่ไม่มีพระหรือคนที่ไม่มีศาสนาได้ ซึ่งเท่ากับว่าเราดำ�เนินชีวิตอย่าง คนหลงทางหรือแบบคนตาบอดเพราะลืมต้นกำ�เนิดและเป้าหมายปลายทางของตัวเอง

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


3

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- ในช่วงนี้ ผู้สอนสามารถเน้นถึงบทบาทของสามพระบุคคลในพระตรีเอกภาพให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยนำ �ให้ผู้เรียนไตร่ตรองต่อไปถึงความสัมพันธ์กับ พระบิดา ว่า พระบิดาทรงเป็นต้นกำ�เนิดชีวิตของเราเพราะแม้เรามีพ่อแม่บังเกิดเกล้าก็จริง แต่พ่อ แม่สามารถให้ได้แค่เพียงร่างกายแก่เราเท่านัน้ ส่วนวิญญาณนัน้ มีแต่พระเจ้าเท่านัน้ ที่ ให้ได้ หากขาดวิญญาณมนุษย์กค็ อื ศพ เป็นร่างไร้วญ ิ ญาณ – เมือ่ อธิบายตรงนีแ้ ล้วอาจ ให้ผเู้ รียนไตร่ตรองในความเงียบสักครูเ่ พือ่ ให้ความจริงนีไ้ ด้ลงลึกในแต่ละคน เสร็จแล้ว อาจให้ผู้เรียนบางคนแบ่งปันสิ่งที่ได้ไตร่ตรองให้ทุกคนฟัง - ส่วนในความสัมพันธ์กับ พระบุตร เราสามารถไตร่ตรองให้เข้าใจโดยใช้ การพูดคุยให้เกิดจินตนาการได้ เช่น อาจสมมติตัวเราว่าเป็นนางเอกหรือพระเอกใน ละครทีก่ �ำ ลังถูกคนร้ายยิง ทันใดนัน้ ก็มพี ระเอกหรือนางเอกวิง่ เข้ามารับลูกกระสุนแทน เรา จนเขาต้องบาดเจ็บสาหัสหรืออาจต้องตายไปเพราะปกป้องเรา โดยสรุปคือ พระเอก หรือนางเอกคนนัน้ เปรียบได้กบั พระเยซูเจ้าทีท่ รงยอมตายเพือ่ ให้เราได้รอดชีวติ - เมือ่ อธิบายตรงนีแ้ ล้วอาจให้ผเู้ รียนไตร่ตรองในความเงียบสักครูเ่ พือ่ ให้ความจริงนีไ้ ด้ลงลึก ในแต่ละคน เสร็จแล้วอาจให้ผู้เรียนบางคนแบ่งปันสิ่งที่ได้ไตร่ตรองให้ทุกคนฟัง - สำ�หรับ พระจิตเจ้า อาจเปรียบพระองค์กับ “ยา” ที่ให้กำ�ลัง เมื่อเราป่วยไข้ไม่ มีแรงที่จะทำ�อะไรได้ เช่น เหมือนกับคนที่ปวดหัวหรือปวดฟันอย่างรุนแรงจนต้อง ทรมานมาก พระจิตเจ้าทรงเปรียบเหมือน “ยา” นั้นที่ทำ�ให้เราหายจากอาการปวด กลับมีเรี่ยวแรงขึ้นใหม่ สรุปได้ว่า พระจิตเจ้าทรงเป็นเสมือนตัวจักรสำ�คัญที่ทำ�ให้เรามี ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข หากขาดพระองค์เราก็ไม่สามารถทำ�อะไรดีๆ ได้ - เมื่ออธิบาย ตรงนีแ้ ล้วอาจให้ผเู้ รียนไตร่ตรองในความเงียบสักครูเ่ พือ่ ให้ความจริงนีไ้ ด้ลงลึกในแต่ละ คน เสร็จแล้วอาจให้ผู้เรียนบางคนแบ่งปันสิ่งที่ได้ไตร่ตรองให้ทุกคนฟัง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผูเ้ รียนทำ�เครือ่ งหมาย “สำ�คัญมหากางเขน” อย่างดีและตัง้ ใจคิดถึงความหมาย 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วจึงทำ�เครื่องหมาย “สำ�คัญมหากางเขน”อย่าง ตั้งใจ แล้วสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


4

ภาพ “พระตรีเอกภาพ”


5

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง คริสตชน : ที่ประทับของพระตรีเอกภาพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า โดยทางศีลล้างบาป คริสตชนกลายเป็นที่ประทับของพระตรี เอกภาพ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเฝ้าระวังรักษาร่างกายและจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากบาป สาระการเรียนรู ้ พระตรีเอกภาพทรงเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวและเที่ยงแท้ พระองค์ทรงเป็นจิตล้วน จึงไม่ทรงต้องการที่อยู่ แต่ดว้ ยความสัมพันธ์อนั แน่นแฟ้นระหว่างพระองค์กบั มนุษย์ จึงทรงอยากอยูอ่ ย่างใกล้ชดิ กับมนุษย์ พระองค์จงึ ทรงประทับอยู่ ในตัวของคริสตชนอาศัยศีลล้างบาปดังนั้นในฐานะที่คริสตชนเป็น “ที่ประทับ” ของพระตรีเอกภาพ จึงต้องรักษาร่างกายและ จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์เพื่อสมจะเป็นที่ประทับของพระองค์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน โดยให้ผู้เรียนทำ�เครื่องหมาย “สำ�คัญมหากางเขน” ด้วยความตั้งใจ 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนนำ�ภาพพระราชวังต่างๆ (ดูภาพท้ายแผน) มาให้ผู้เรียนได้พิจารณาดู ความสง่า สวยงาม ยิง่ ใหญ่ ตระการตา น่าพิศวง ฯลฯ พร้อมกับป้อนคำ�ถามเชิงวิเคราะห์ ว่า “ทำ�ไมจึงต้องมีการสร้างพระราชวังให้ยิ่งใหญ่และสวยงามขนาดนั้น? ใครคือ ผู้ประทับอยู่ในพระราชวังเหล่านั้น? บุคคลเหล่านั้นเป็นใคร? มีความยิ่งใหญ่และ สำ�คัญขนาดไหน? ฯลฯ” ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบและแบ่งปัน - เมื่อผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนพอประมาณแล้ว ผู้สอนอาจสรุปเข้า ประเด็นว่า พระราชวังคือที่ประทับของกษัตริย์ หลายๆ ประเทศมีวัฒนธรรมที่ตรงกัน คือ บุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศก็ต้องมีที่ประทับให้เหมาะสมกับพระราชฐานะ หรือแม้กระทั่งภาษา เช่น ในประเทศไทยก็ต้องใช้ราชาศัพท์กับบุคคลในพระราชวงศ์ จะพูดแบบชาวบ้านไม่ได้เพราะเป็นการไม่เหมาะสม - สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นประสบการณ์ที่เราทุกคนทราบดี ซึ่งทุกคนก็ถือว่าเป็น ความถูกต้อง เพราะมาจากวัฒนธรรมของแต่ละประเทศซึ่งเป็นเช่นนี้มานานนับร้อยๆ ปี แต่ในวันนี้เราจะใช้ประสบการณ์นี้มาเข้าใจถึงความจริงหนึ่งซึ่งเราอาจจะไม่เคยคิด เลยก็ได้ นัน่ คือความจริงทีว่ า่ “ฉันคือทีป่ ระทับของพระตรีเอกภาพ” เราจะอธิบาย ความจริงข้อนี้ได้อย่างไร? นักบุญเปาโลได้ช่วยให้เราเข้าใจเรื่องนี้ ให้เราไปดูจากบท จดหมายของท่าน

ดูภาพท้ายแผน


6

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา : (1คร 3:16-17) - นักบุญเปาโลกล่าวแก่ชาวโครินธ์ว่า “ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่าท่านเป็น พระวิหารของพระเจ้า และพระจิตของพระเจ้าทรงพำ�นักอยู่ในท่าน ถ้าใครทำ�ลาย พระวิหารของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงทำ�ลายเขา เพราะพระวิหารของพระเจ้านัน้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ และท่านก็คือพระวิหารนั้น” 4 อธิบายพระวาจา - อันที่จริง พระเจ้าทรงเป็นจิตบริสุทธิ์ ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงมีความต้องการ ที่จะมีที่อยู่ ยิ่งกว่านั้นไม่มีที่ใดๆ ในโลกนี้จะบรรจุพระองค์ได้เพราะพระองค์ทรง ความยิง่ ใหญ่ไม่มขี อบเขต แต่ในเวลาเดียวกันพระองค์ทรงฤทธิไ์ ม่มขี อบเขตด้วยจึงทรง สามารถทำ�ทุกอย่างที่ทรงต้องการได้ - แต่ที่น่าพิศวงยิ่งกว่านั้นอีกคือ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ไม่มีขอบเขตองค์นี้ทรงมา รักมนุษย์เราที่เป็นคนบาปได้อย่างไร? ไม่ใช่รักน้อยๆ แต่เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่แบบ ไม่มีขอบเขตด้วยเช่นกัน จนกระทั่งทำ�ให้พระองค์ทรงอยากประทับอยู่กับเราอย่างใกล้ ชิดที่สุดตลอดไป ซึ่งพระองค์ได้ทรงเลือกวิธีการที่เลิศล้ำ� นั่นคือ เข้ามาประทับอยู่ในใจ เรามนุษย์ - คำ�ว่า “พระวิหาร” ที่ น.เปาโลใช้นั้นก็หมายความถึง “ที่ประทับ” ของพระเจ้า นั่นเอง - บริบทของพระวาจาตอนนี้ เป็นตอนที่ น.เปาโลสอนถึงเรื่องบทบาทของ ผูเ้ ทศน์สอนว่าผูป้ ระกาศพระวาจานัน้ ล้วนเป็นผูร้ บั ใช้ทที่ �ำ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า เป็นผู้ร่วมงานกับพระองค์ อาจเปรียบได้กับผู้ปลูกต้นไม้หรือผู้รดน้ำ� ซึ่งทั้งสองก็ล้วนมี ความสำ�คัญน้อยกว่าพระเจ้าผู้ทรงบันดาลให้มันเติบโตขึ้น นอกนั้นท่านยังเปรียบเรา ทุกคนว่าเป็นเสมือน “ไร่นา” หรือ “อาคาร” ของพระเจ้า” อีกด้วย (1 คร 3:9) - น.เปาโลได้เข้าใจถึงความจริงที่ผู้รับศีลล้างบาป “เป็น” คือ เป็น “พระวิหาร” ของพระเจ้า เป็นทีป่ ระทับของพระจิตเจ้า ท่านจึงสามารถกล่าวยืนยันได้ดว้ ยความมัน่ ใจ พร้อมทั้งย้ำ�ให้เข้าใจยิ่งขึ้นอีกว่า ใครจะทำ�ลาย “พระวิหาร” นี้ไม่ได้ เพราะพระวิหาร นี้ เ ป็ น ที่ ป ระทั บ ของพระเจ้ า จึ ง เป็ น “สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ” ดั ง นั้ น ทุ ก สิ่ ง ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พระผู้ศักดิ์สิทธิ์จึงต้องศักดิ์สิทธิ์ด้วย - ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องรักษาตัวเองให้ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะได้เหมาะสมที่จะเป็น “พระวิหารหรือที่ประทับ” ของพระองค์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เราจะมีวิธีใดที่จะทำ�ให้ตัวเรา “ศักดิ์สิทธิ์” อย่างที่ น.เปาโลกล่าวไว้? คำ�ถาม นีอ้ าจทำ�ให้เรารูส้ กึ กลัวทีจ่ ะตอบเพราะเหมือนกับว่าต้องหาคำ�ตอบสูงๆ ยากๆ ซึง่ ทีจ่ ริง แล้วมันไม่เป็นเช่นนั้นเลยเพราะพระเจ้าไม่ทรงเรียกร้องให้เราทำ�สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ - ทำ�ไมเราจึงต้องทำ�ตัวให้ศักดิ์สิทธิ์? ก็คงตอบไม่ยากเพราะหากเราจะดูใน ระดับมนุษย์ ผู้ที่เป็นกษัตริย์ก็สมควรจะได้รับการเคารพยกย่องเชิดชูให้อยู่สูงกว่าคน ธรรมดาทัว่ ไป แต่สงิ่ ทีเ่ ราพิจารณากันนีไ้ ม่ใช่เกีย่ วกับมนุษย์ธรรมดา พระองค์ทรงเป็น

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


7

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ถึงพระเจ้าสูงสุด จึงสมควรอย่างยิ่งที่เราจะถวายนมัสการพระองค์ ผู้ทรงประทับอยู่ใน ตัวเรา ด้วยการภาวนาและด้วยการกระทำ�ทีเ่ หมาะสมกับการเป็นทีป่ ระทับของพระองค์ - ดังนั้น วิธีการหนึ่งที่ไม่ยากเกินไปสำ�หรับเราในการทำ�ตนให้เป็นที่ประทับ ของพระเจ้าอย่างเหมาะสมคือ การทำ�สิง่ ทีด่ ี ละเว้นจากการทำ�บาปไม่วา่ จะเป็นบาปเบา หรือบาปหนักก็ตาม เพราะการทำ�บาปคือการทำ�วิญญาณของเราให้สกปรก มีมลทิน ไม่สมจะเป็นที่ประทับของพระเจ้า - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรม โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามจำ�นวนที่เหมาะสม แล้วให้แต่ ละกลุ่มทำ�ใบงานที่ 1 โดยตอบว่า “สิ่งใดบ้างที่ทำ �ให้วิญญาณของฉันต้องเปื้อน ด้วยบาป? ฉันจะละเว้นสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง?”

ดูใบงานที่ 1 ท้ายแผน

- เมื่อเสร็จกิจกรรมนี้แล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาแบ่งปันหน้าชั้น เพื่อให้ ผูเ้ รียนได้เทียบเคียงคำ�ตอบของกันและกัน จากนัน้ ผูส้ อนสามารถสรุปคำ�ตอบให้ชดั เจน อีกครั้งหนึ่ง 6 หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนเฝ้าระวังรักษาร่างกายและจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากบาป 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้มีตัวแทนคนหนึ่งนำ�สวดภาวนาจากใจจาก เนื้อหาที่ได้เรียน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................


8

ตัวอย่างภาพพระราชวังต่างๆ

พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร

พระราชวังบัคคิงแฮม ประเทศอังกฤษ

พระราชวังเซินบรุนน์ ประเทศออสเตรีย

ใบงานที่ 1 คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามว่า “สิ่งใดบ้างที่ทำ�ให้วิญญาณของฉันต้องเปื้อนด้วยบาป? ฉันจะละเว้นสิ่ง เหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง?” โดยใส่คำ�ตอบในช่องว่างทั้งสองให้สมบูรณ์ ที่ 1 2 3 4 5

บาปที่ทำ�ให้วิญญาณไม่สะอาด...

ฉันต้องละเว้นโดย...


9

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง แผนการแห่งความรอดของพระเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.1

ชั้น ป.5

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า หลังจากที่มนุษย์คู่แรกได้ทำ�บาปแล้ว พระเจ้าทรงมีแผนการที่ จะไถ่บาปมนุษย์ เพื่อให้เขารอดพ้นจากบาปและความตาย ไปสู่ความสุขนิรันดรในสวรรค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตั้งใจจะสวดภาวนาเช้าและภาวนาค่ำ�อย่างซื่อสัตย์ทุกวัน สาระการเรียนรู ้ เมื่อพระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์มาแล้ว พระองค์ทรงดูแลรักษาเขาตลอดเวลา แม้เมื่อมนุษย์ได้ทำ�บาป พระองค์มิได้ทรงกริ้วโกรธและทอดทิ้งเขา ตรงข้ามกลับทรงเอาพระทัยใส่เขายิ่งกว่าเดิม โดยทรงกำ�หนดในแผนการแห่ง ความรอดทีจ่ ะส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพือ่ ไถ่บาปเขาให้พน้ จากบาปและความตายชัว่ นิรนั ดร เพื่อให้เขากลับเป็นบุตรของพระองค์อีกครั้งหนึ่งและมีสิทธิ์จะมีความสุขชั่วนิรันดรในสวรรค์ด้วย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับ “เหตุการณ์ที่ ทำ�ให้ฉันชอบ” โดยให้แต่ละคนเล่าประสบการณ์ของตนให้เพื่อนๆ ฟัง - เมื่อได้เวลาแล้ว ผู้สอนสามารถถามต่อไปว่า “แล้วเรารู้สึกอย่างไรกับบุคคล นั้นที่ทำ�ให้เราโกรธ เสียใจ เจ็บใจ ไม่พอใจ แค้น ชิงชัง ฯลฯ บ้าง?” ให้ผู้เรียนแบ่งปัน ต่อไป - จากนั้น อาจถามต่อไปว่า “แล้วทุกวันนี้ยังรู้สึกอย่างนั้นกับบุคคลนั้นอีกหรือ ไม่? อย่างไร?” - สรุปประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอยากอภัยให้แก่บุคคลที่ทำ�ให้ตน ต้องเจ็บปวดหรือเสียใจ หลายๆ คนมักเก็บเรื่องนั้นไว้ในใจ ไม่อยากลืมมัน ยิ่งกว่านั้น อีกบางคนอาจจะอยากแก้แค้นด้วยก็ได้ - ให้เรามาลองดูวา่ ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นกับพระเจ้าบ้างหรือไม่? - (ผู้สอนควรใช้วิธีการเล่าพระวาจาตอนที่มนุษย์ทำ�บาปให้ผู้เรียนฟัง) 3 พระวาจา (ปฐก 2:15-3:15) พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงนำ�มนุษย์มาไว้ในสวนเอเดน เพื่อเพาะปลูกและดูแล สวน แล้วพระยาห์เวห์พระเจ้าทรงบัญชามนุษย์นั้นว่า “ท่านจะกินผลไม้จากต้นไม้ทุก ต้นในสวนได้ แต่อย่ากินจากต้นไม้แห่งความรูด้ รี ชู้ วั่ วันใดทีท่ า่ นกินผลจากต้นนัน้ ท่าน จะต้องตาย”

ดูภาพเหตุการณ์สร้าง มนุษย์ท้ายแผน


10

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ งูเป็นสัตว์เจ้าเล่ห์ที่สุดในบรรดาสัตว์ป่าที่พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงสร้าง มันถาม หญิงว่า “จริงหรือที่พระเจ้าตรัสห้ามว่าอย่ากินผลจากต้นไม้ใดๆ ในสวนนี้” หญิงจึง ตอบงูว่า “ผลของต้นไม้ต่างๆ ในสวนนี้เรากินได้ แต่ผลของต้นไม้ที่อยู่กลางสวน เท่านั้น” พระเจ้าตรัสห้ามว่า “อย่ากินหรือแตะต้องเลย มิฉะนั้นท่านจะต้องตาย” งู บอกกับหญิงว่า “ท่านจะไม่ตายดอก พระเจ้าทรงทราบว่า ท่านกินผลไม้นั้นวันใด ตา ของท่านจะเปิดในวันนั้น ท่านจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือ รู้ดีรู้ชั่ว” หญิงเห็นว่า ต้นไม้ นัน้ มีผลน่ากิน งดงามชวนมอง ทัง้ ยังน่าปรารถนาเพราะให้ปญ ั ญา นางจึงเด็ดผลไม้มา กิน แล้วยังให้สามีซึ่งอยู่กับนางกินด้วย เขาก็กิน ทันใดนั้น ตาของทั้งสองคนก็เปิดและ เห็นว่าตนเปลือยกายอยู่ จึงเอาใบมะเดื่อมาเย็บเป็นเครื่องปกปิดร่างไว้ เย็นวันนัน้ มนุษย์และภรรยา ได้ยนิ เสียงพระยาห์เวห์พระเจ้ากำ�ลังทรงพระดำ�เนิน ในสวน จึงหลบไปซ่อนให้พ้นจากพระพักตร์พระยาห์เวห์พระเจ้าในหมู่ต้นไม้ของสวน แต่พระยาห์เวห์พระเจ้าทรงเรียกมนุษย์ ตรัสถามว่า “ท่านอยู่ไหน” มนุษย์ทูลตอบว่า “ข้าพเจ้าได้ยินเสียงของพระองค์ในสวน ก็กลัวเพราะข้าพเจ้าเปลือยกายอยู่ จึงได้ซ่อน ตัว” พระองค์ตรัสถามว่า “ใครบอกท่านว่าท่านเปลือยกายอยู่ ท่านได้กนิ ผลจากต้นไม้ ทีเ่ ราห้ามมิให้กนิ นัน้ หรือ” มนุษย์ทลู ตอบว่า “หญิงทีพ่ ระองค์ประทานให้อยูก่ บั ข้าพเจ้า ได้ให้ผลจากต้นไม้แก่ขา้ พเจ้า ข้าพเจ้าจึงกิน” พระยาห์เวห์พระเจ้าตรัสกับหญิงว่า “ท่าน ทำ�อะไรไปนี่” หญิงทูลตอบว่า “งูหลอกลวงข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงกิน” พระยาห์เวห์พระเจ้าจึงตรัสกับงูว่า “เพราะเจ้าทำ�เช่นนี้ เจ้าจงถูกสาปแช่ง ใน บรรดาสัตว์เลีย้ งและสัตว์ปา่ ทัง้ ปวง เจ้าจะต้องใช้ทอ้ งเลือ้ ยไปตามพืน้ ดิน และกินฝุน่ เป็น อาหารทุกวันตลอดชีวิต เราจะทำ�ให้เจ้าและหญิงเป็นศัตรูกัน ให้ลูกหลานของเจ้าและ ลูกหลานของนางเป็นศัตรูกนั ด้วย เขาจะเหยียบหัวของเจ้าและเจ้าจะกัดส้นเท้าของเขา”

4. อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนที่เราได้ฟังนี้ เล่าถึงเหตุการณ์ตอนแรกๆ ของการสร้างโลกและ มนุษย์ ซึ่งจริงๆ น่าจะเป็นตอนที่เล่าถึงความสุขอย่างมากมาย เพราะเป็นเหตุการณ์ แห่งความสัมพันธ์ระหว่างพระผู้สร้างกับมนุษย์ผู้ถูกสร้าง แต่ความสุขแรกเริ่มนั้นมีได้ เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น เพราะไม่นานที่มนุษย์เกิดขึ้นมาเขาก็ได้ทำ�ลายแผนการของ พระเจ้าและทำ�ลายความสุขของตัวเองเสียจนหมดสิ้นแทนที่จะได้อยู่ในสวนสวรรค์ เอเดนกลับต้องเจริญชีวติ ด้วยความทุกข์ยากลำ�บากเพราะความไม่เชือ่ ฟังของตน อยาก เป็นใหญ่เท่าพระเจ้า แม้มนุษย์จะรู้ตัวเต็มที่ถึงผลของการกระทำ�ของตนอย่างเต็มที่ หรือไม่กต็ าม พระเจ้าแม้จะทรงรักมนุษย์อย่างไม่มขี อบเขตแต่กท็ รงพระยุตธิ รรมอย่าง ไม่มีขอบเขตด้วยเช่นกัน ดังนั้น พระองค์จึงทรงต้องตัดสินการกระทำ�ของมนุษย์ตาม ความเป็นจริงอย่างสมควรและถูกต้อง - พระวาจาตอนที่เล่าเรื่องนี้ทำ�ให้เราเข้าใจได้ชัดเจนถึงความหนักของบาปกำ�เนิด ที่มนุษย์คู่แรกได้กระทำ� การลงโทษเช่นนั้นหมายความว่าพระเจ้าไม่ได้อภัยให้มนุษย์ ใช่หรือไม่? ไม่ใช่เลย แต่เพราะความยุตธิ รรมและความถูกต้องต่างหากทีท่ �ำ ให้พระองค์ ทรงต้องทำ�เช่นนั้น พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงเคยทำ�สิ่งใดที่ผิด เราต้องเชื่อว่าทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำ�นั้นถูกต้องที่สุดเสมอ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


11

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- แต่ที่สุด พระเจ้ามิได้ทรงตัดสินพิพากษาเท่านั้น แต่ทรงทำ�ให้เหตุการณ์ที่ เลวร้ายนั้นจบลงอย่างดี เราทราบได้จากทำ�นายล่วงหน้าของพระองค์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ ลูกหลานของหญิงนี้จะเหยีบบหัวของงู นักพระคัมภีร์ได้อธิบายถึงคำ�ทำ�นายนี้ ว่า พระเจ้าทรงต้องการหมายถึงพระเยซูคริสตเจ้า ผูท้ รงจะมาทำ�ลายบาปและความตาย เพราะพระองค์ไม่ทรงต้องการให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างมาด้วยความรักนั้นต้อง พินาศไป แต่ทรงปรารถนาให้เขาได้กลับมาเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์เสียใหม่ ดังนั้น พระองค์จึงทรงวางแผนการแห่งความรอดพ้นขึ้นเพื่อช่วยมนุษย์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนเล่นเกม “แปะฉันที” เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ลองให้ผู้เรียนแบ่งปัน ประสบการณ์ว่า ขณะที่กำ�ลังจะถูกจับมีความรู้สึกอะไร? เมื่อถูกจับแล้วคิดอะไร? รู้สึก อะไร? หรือเมื่อเป็นผู้ไล่จับคนอื่นมีความรู้สึกอย่างไร? เมื่อเป็นผู้ที่วิ่งหนีและช่วยผู้อื่น ได้รู้สึกอย่างไร? และความรู้สึกเมื่อมีผู้อื่นมาช่วย - การวิเคราะห์ถึงความรู้สึกเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้บ้างถึงสภาพของ มนุษย์ทตี่ กในภาวะวิกฤติทจี่ ะต้องตาย หรือผูท้ ดี่ ใี จเพราะมีผชู้ ว่ ยให้เขารอดแล้ว นีเ่ ป็น เพียงตัวอย่างเล็กๆ ทีท่ �ำ ให้มนุษย์ลมิ้ รสของความตายทีไ่ ม่ได้เป็นจริง มันเป็นเพียงแค่ เกมสนุกๆ แต่ก็สามารถสร้างความหวาดกลัวหรือความดีใจให้เกิดขึ้นได้ - แต่ความเป็นจริงของผลของบาปนั้นน่ากลัวกว่านี้หลายหมื่นเท่าเพราะนี่เป็น เรื่องของชีวิตจริง หมายความว่ารอดพ้นจริงหรือพินาศจริง ในพระวรสารก็มีเล่าถึง ความจริงนี้หลายตอน เช่น เรื่อง “ต้นมะเดื่อเทศไร้ผล” (มธ 21:18-22) ใน “อุปมา เรื่องหญิงสาวสิบคน” (มธ 25:1-13) เรื่อง “การเตรียมพร้อมเมื่อนายกลับมา” (ลก 12:35-48) เรื่อง “ความฉลาดของผู้จัดการ” (ลก16:1-8) อุปมาเรื่อง “เศรษฐีกับ ลาซารัส” (ลก 16:19-31) ฯลฯ - พระวรสารเรื่ อ งต่ า งๆ ที่ ก ล่ า วนี้ ต้ อ งการบ่ ง บอกเราถึ ง ความจำ � เป็ น ของ การดำ�เนินชีวิตอย่างดีและอย่างจริงจังต่อพระพักตร์พระเจ้า เพราะปลายทางของชีวิต เรานั้นคือความเป็นและความตายชั่วนิรันดรของเราเอง - พระเจ้าทรงต้องการให้มนุษย์เข้าใจในแผนการแห่งความรอดของพระองค์ อัน เป็นแผนการแห่งความรัก โดยพระองค์ได้ทรงส่งพระบุตรสุดที่รักแต่พระองค์เดียว มาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่เราให้พ้นจากบาปและความตาย โดยพระบุตรทรงต้องยอม สละชีวติ ของพระองค์เองอย่างทรมานแสนสาหัส สิน้ พระชนม์อย่างน่าอัปยศ แต่ในทีส่ ดุ พระบิดาเจ้าทรงแสดงถึงความพอพระทัยในการพลีบูชาของพระบุตรโดยให้พระองค์ ทรงกลับเป็นขึน้ มาจากความตายในวันทีส่ าม และได้เสด็จสูส่ วรรค์ประทับเบือ้ งขวาของ พระบิดา - สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำ�ให้เราเข้าใจได้กระจ่างชัดขึ้นถึงความเลวร้ายของบาป เพราะเป็นทีช่ ดั เจนว่าการไถ่บาปไม่ได้ทำ�กันง่ายๆ พระบิดาเจ้าทรงต้อง “ลงทุน” อย่าง สูงจนไม่มีอะไรจะมาเปรียบค่าได้ เพราะเท่ากับชีวิตขององค์พระบุตรเลยทีเดียวดังนี้ แล้ว เราก็ควรจะเข้าใจถึงความหมายของแผนการแห่งความรอดของพระเจ้าและ เจริญชีวิตในแต่ละวันด้วยการตอบสนองความรักของพระองค์ด้วยการมีความเชื่อ

ดูท้ายแผน


12

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ความไว้วางใจ และความรักต่อพระองค์อย่างมากที่สุดด้วยเช่นกัน ซึ่งเราสามารถ แสดงออกได้ด้วยกิจปฏิบัติที่ไม่ยาก เช่น การซื่อสัตย์ในการสวดภาวนาเช้าและภาวนา ค่ำ�อย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อบอกกับพระองค์ว่า “ลูกเข้าใจในความรักของพระองค์ ชีวิตของ ลูกต้องการพระองค์ พระองค์ทรงมีความสำ�คัญต่อชีวิตของลูก ฯลฯ” 6. หาข้อปฏิบัติ - ผู้เรียนตั้งใจจะสวดภาวนาเช้าและภาวนาค่ำ�อย่างซื่อสัตย์ทุกวัน 7 ภาวนาปิดท้าย - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อม กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................

ภาพเหตุการณ์สร้างมนุษย์


13

เกม “แปะฉันที ” กลุ่มเป้าหมาย

1. นักเรียนระดับชั้น ป.5-ม.3 2. ไม่จำ�กัดจำ�นวนผู้เล่น

จุดประสงค์ 1. เพื่อให้ผเู้ ล่นรู้และเข้าใจว่าความเชื่อต้องแสดงออกด้วยการกระทำ�และอย่าให้ปัญหามาเป็นอุปสรรค ในการเจริญเติบโตของความเชื่อในชีวิตคริสตชน 2. เพื่อให้ผู้เล่นมีความรักและความสามัคคีมากขึ้น 3. เพื่อให้ผู้เล่นจะได้รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันซึ่งกันและกัน

กติกาในการเล่น

1. แบ่งผูเ้ ล่นออกเป็นทีม ทีมละประมาณ 10 คน 2. ใช้พนื้ ทีใ่ นการเล่นเป็นรูปวงกลม 1 วง (เส้น ผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เมตรหรือปรับเปลี่ยนตาม ความเหมาะสม) 3. ให้ผู้เล่นทีมที่ 1 เข้าไปอยู่ในวงกลม และให้ ทีมที่ 2 ส่งผู้เล่นหนึ่งคนเข้าไปในวงกลมด้วย 4. ให้ผู้เล่นทีมที่ 2 ที่อยู่ในวงกลมวิ่งไล่แปะ ผู้เล่นทีมที่ 1 5. เมื่อผู้เล่นทีมที่ 1 คนใดถูกแปะให้หยุดอยู่ กั บ ที่ ผู้ เ ล่ น ที่ ห ยุ ด อยู่ กั บ ที่ จ ะสามารถกลั บ มา เคลื่อนไหวได้ก็ต่อเมื่อผู้เล่นทีมเดียวกันมาแปะ 6. ถ้าผูเ้ ล่นคนใดออกจากพืน้ ทีท่ ใี่ ช้ในการเล่น ให้ผู้เล่นคนนั้นออกจากเกม 7. ใช้เวลาในการเล่นทัง้ หมด 1 นาที เมือ่ หมด เวลาแล้วผู้เล่นทีมที่ 1 คนใดที่ยังหยุดอยู่กับที่เพราะ โดนผู้เล่นทีมที่ 2 แปะ ให้ผู้เล่นคนนั้นออกจากเกม 8. สลับให้ทีมที่ 2 เล่นแบบเดียวกัน 9. ทีมใดเหลือผู้เล่นมากกว่าเป็นผู้ชนะ 10. สรุปกิจกรรม

สรุปกิจกรรม

1. ในปัจจุบันมีปัญหาทางสังคมมากมาย เช่น มีการแก่งแย่งแข่งขันไล่ล่าหาอำ�นาจ เกียรติยศ ชื่อ เสี ย ง เงิ น ทอง ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง ผลต่ อ การดำ�เนินชีวิต ซึ่งเปรียบได้กับผู้เล่นที่ไล่แปะในเกม ที่ทำ�ให้หยุดนิ่งหรือต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด 2. การหลุดออกจากพื้นที่ที่ใช้ในการเล่นจน ต้องออกจากเกม หมายถึง การทีเ่ ราหาทางเอาตัวรอด จนทำ�ให้เราหลุดออกไปในทางทีไ่ ม่ดหี รือจากสิง่ ทีค่ วร จะเป็น 3. ผู้เล่นที่ถูกไล่แปะ เปรียบได้กับตัวของเรา เอง ซึง่ บ้างครัง้ ก็มวั แต่เอาตัวเองรอดจนไม่ได้ชว่ ยเหลือ คนอื่นๆ 4. ผู้เล่นในทีมเดียวกันไปแปะผู้เล่นที่หยุดนิ่ง ให้กลับมาเคลือ่ นไหวได้ หมายถึง การเข้าไปช่วยเหลือ แบ่งปันให้กับผู้อื่นในสังคม 5. เรื่องราวหรือปัญหาต่างๆ ในชีวิตสามารถ แก้ไขได้โดยใช้ความเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน และด้วย วิธนี มี้ ติ รภาพทีด่ กี จ็ ะเกิดขึน้ ในสังคมของเราได้ (เทียบ CCC ข้อ 1939-1942 )


14

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องการให้อภัย

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า การให้อภัยคือข้อปฏิบัติที่สำ�คัญมากของผู้เป็นคริสตชน เพราะเป็นเงื่อนไขสำ�คัญของการรักเพื่อนพี่น้องและการเข้าพระอาณาจักรสวรรค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนให้อภัยแก่ผู้ที่ทำ�ผิดต่อตนด้วยความจริงใจ สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าทรงสอนให้ผู้ที่ติดตามพระองค์ทราบถึงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องของการเป็นคริสตชนวิธีหนึ่งที่ สำ�คัญมากก็คือ การรู้จักให้อภัยเพราะพระองค์ได้ตรัสไว้ในบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” ว่า หากเราไม่อภัยให้แก่เพื่อนพี่น้อง เราเองก็จะไม่ได้รับการอภัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น การอภัยจึงเป็นเงื่อนไขที่สำ�คัญอันดับต้นๆ ของการเข้าสวรรค์ เพราะหากเรา ไม่อภัย เราก็จะไม่สามารถรักเพื่อนพี่น้องได้ ซึ่งผู้ที่ไม่รักพี่น้องก็ไม่มีสิทธิ์จะเข้าสวรรค์นั่นเอง ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยตั้งคำ�ถามว่า “มีใครบ้างที่เคยทำ�ผิดพลาด?” ให้ผู้เรียน ยกมือตอบและหากเห็นเหมาะสมอาจให้ตวั แทนบางคนแบ่งปันประสบการณ์ความผิด พลาดของตนให้เพื่อนๆ ฟัง โดยที่สุดผู้สอนอาจปิดประเด็นโดยแยกแยะให้เห็นว่า มนุษย์ทกุ คนอ่อนแอจึงทำ�ผิดพลาดได้ทงั้ นัน้ ไม่ยกเว้นใคร แต่ทสี่ �ำ คัญคือ เมือ่ ผิดพลาด แล้ ว ผู้ ทำ � ผิ ด รู้ จั ก ขอโทษหรื อ ไม่ ? ส่ ว นอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง รู้ จั ก ให้ อ ภั ย หรื อ ไม่ ? เพราะ การขอโทษและการให้อภัยคือเรื่องที่สำ�คัญมากในชีวิตของเราคริสตชน เนื่องจาก การให้อภัยคือมิติหนึ่งของการแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์ - ให้ผู้เรียนอ่านเรื่อง “เครื่องหมาย” เสร็จแล้วให้แต่ละคนแบ่งปันความรู้สึก ที่ได้จากการอ่านเรื่องนี้

ดูใบความรู้ เรื่อง “เครื่องหมาย” ท้ายแผน ☆

- ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้า พระอาจารย์ของเราจะสอนอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว 3 พระวาจา : อุปมาเรื่องลูกหนี้ไร้เมตตา (มธ 18:23-35) อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงประสงค์จะตรวจบัญชี หนี้สินของผู้รับใช้ ขณะที่ทรงเริ่มตรวจบัญชีนั้น มีผู้นำ�ชายผู้หนึ่งเข้ามา ชายผู้นี้เป็นหนี้ อยูเ่ ป็นพันล้านบาท เขาไม่มสี งิ่ ใดจะชำ�ระหนีไ้ ด้ กษัตริยจ์ งึ ตรัสสัง่ ให้ขายทัง้ ตัวเขา บุตร ภรรยาและทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อใช้หนี้ ผู้รับใช้กราบพระบาททูลอ้อนวอนว่า ‘ขอทรง พระกรุณาผลัดหนีไ้ ว้กอ่ นเถิด แล้วข้าพเจ้าจะชำ�ระหนีใ้ ห้ทงั้ หมด’ กษัตริยท์ รงสงสารจึง ทรงปล่อยเขาไปและทรงยกหนี้ให้ ขณะที่ผู้รับใช้ออกไป ก็พบเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกันซึ่ง

.


15

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นหนี้เขาอยู่ไม่กี่พันบาท เขาเข้าไปคว้าคอบีบไว้แน่น พูดว่า ‘เจ้าเป็นหนี้ข้าอยู่เท่าไร จงจ่ายให้หมด’ “เพื่อนคนนั้นคุกเข่าลงอ้อนวอนว่า ‘กรุณาผลัดหนี้ไว้ก่อนเถิด แล้วข้าพเจ้าจะ ชำ�ระหนี้ให้’ แต่เขาไม่ยอมฟัง นำ�ลูกหนี้ไปขังไว้จนกว่าจะชำ�ระหนี้ให้หมด เพื่อนผู้รับ ใช้อื่นๆ เห็นดังนั้นต่างสลดใจมาก จึงนำ�ความทั้งหมดไปทูลกษัตริย์ พระองค์จึงทรง เรียกชายผู้นั้นมา ตรัสว่า ‘เจ้าคนสารเลว ข้ายกหนี้สินของเจ้าทั้งหมดเพราะเจ้าขอร้อง เจ้าต้องเมตตาเพื่อนผู้รับใช้ด้วยกัน เหมือนกับที่ข้าได้เมตตาเจ้ามิใช่หรือ’ กษัตริย์กริ้ว มาก ตรัสสั่งให้นำ�ผู้รับใช้นั้นไปทรมานจนกว่าจะชำ�ระหนี้หมดสิ้น พระบิดาของเรา ผู้สถิตในสวรรค์จะทรงกระทำ�ต่อท่านทำ�นองเดียวกัน ถ้าท่านแต่ละคนไม่ยอมยกโทษ ให้พี่น้องจากใจจริง”

4 อธิบายพระวาจา - พระเจ้าทรงทราบดีว่ามนุษย์นั้นอ่อนแอเพียงไร คำ�สั่งสอนของพระองค์จึงตรง ประเด็นในทุกเรือ่ ง เฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของการอภัย เพราะหากเราปล่อยตัวเองตาม ความรู้สึกธรรมชาติแล้ว มนุษย์อาจจะเป็นเช่นเดียวกับสัตว์ คือ ใช้วิธีตาต่อตา ฟันต่อ ฟันเสมอไป ยิ่งกว่านั้นจะเกิดการล้างแค้นอย่างไม่มีสิ้นสุด ซึ่งหากสังคมและโลกเป็น อย่างนี้แล้ว มนุษย์ไม่มีวันจะมีความสุขได้เพราะมีแต่จะทำ�ลายล้างกันและกัน ผู้ที่มี ปัญหาหรือทะเลาะวิวาทกันจะไม่มีวันอยู่ร่วมโลกเดียวกันได้ - อุปมาเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงเล่านี้ทำ�ให้เราเข้าใจความหมายของการอภัยได้ อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เป็นหนี้พระเจ้าอย่างมากมาย มหาศาลหากเทียบกับหนี้ที่มนุษย์เรามีต่อกันและกัน พระองค์ทรงพระทัยดียกหนี้ให้ แก่เราก่อน ไม่ทรงถือโทษต่อความบาปผิดชั่วช้ามากมายนั้นทรงให้แบบอย่างของผู้มี ใจยิง่ ใหญ่ทไี่ ม่โกรธเคืองแต่สามารถอภัยให้แก่เราได้ไม่วา่ หนีข้ องเราต่อพระองค์นนั้ จะ มากแค่ไหนก็ตาม เพือ่ ให้เราสำ�นึกถึงความรักและพระทัยดีอนั ไม่มขี อบเขตของพระองค์ และให้เราทำ�ตามแบบอย่างของพระองค์ - แต่ผู้รับใช้ในเรื่องนี้เมื่อได้รับการอภัยจากกษัตริย์แล้ว เขาไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำ� เช่นเดียวกันต่อเพือ่ นพีน่ อ้ ง แต่กลับมีใจโหดร้าย จัดการกับลูกหนีข้ องเขาอย่างเหีย้ มโหด ทั้งๆ ที่เขาควรจะรู้ตัว มีความสำ�นึกผิดต่อความไม่ดีที่ได้กระทำ� ให้แต่ละคนลอง ไตร่ตรองดูว่า เราก็เป็นเช่นเดียวกับผู้รับใช้ใจโหดคนนี้บ้างไหม? เมื่อใดบ้าง? ถ้าหาก เป็นเช่นนี้จริง เราก็สมควรจะได้รับการตัดสินเช่นเดียวกับเขาหรือไม่? 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเจ้าทรงพระทัยดี พระองค์ทรงให้เวลาและโอกาสแก่เราในการไตร่ตรอง ชีวิตของตัวเอง เพื่อเราจะได้กลับตัวเป็นคนดีเสียใหม่ โดยการรู้จักให้อภัยเพื่อนพี่น้อง ด้วยจริงใจ มิฉะนั้นแล้ว เราจะไม่อยู่ในเงื่อนไขของผู้ที่มีสิทธิ์จะเข้าสวรรค์เพราะเราไม่ ได้อภัยให้แก่เพื่อนพี่น้องดังที่บทข้าแต่พระบิดาฯ กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “โปรดอภัย แก่ขา้ พเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผอู้ นื่ ” ซึง่ ประโยคนีม้ คี วามหมายด้วยว่า เราจะได้ รับการอภัยก็ต่อเมื่อเราได้ให้อภัยแก่ผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้นนี่คือเงื่อนไขจำ�เป็นที่เราต้อง ปฏิบัติ หากเราอยากได้รับการอภัยจากพระเจ้าและอยากรอดพ้นไปสวรรค์

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


16

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - หากจะเปรียบเทียบแล้ว หนี้สินที่เพื่อนมนุษย์ติดค้างเราอยู่นั้นเปรียบเทียบ ไม่ได้เลยกับทีเ่ ราแต่ละคนติดหนีพ้ ระองค์ เพราะบาปของเราทำ�ให้พระบุตรของพระองค์ ต้องทรมานและสิน้ พระชนม์อย่างแสนสาหัส สำ�หรับความผิดเช่นนีม้ มี นุษย์นอ้ ยคนนัก ทีใ่ ห้อภัยได้ แต่เพราะความรักของพระเจ้าไม่มขี อบเขตพระองค์จงึ ทรงอภัยได้ แต่จติ ใจ ของเรามนุษย์นนั้ ส่วนใหญ่ไม่คอ่ ยมีความรักบางคนมีแต่ความเกลียดชังในใจ จึงทำ�ให้ เราอภัยกันได้ยาก ดังนั้นบางครั้งเพื่อนมนุษย์ทำ�ผิดต่อเราเพียงนิดเดียว เราก็รู้สึกว่า เป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องชำ�ระสะสาง ซึ่งเราจะพบได้จากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์หรือ ในทีวีเป็นประจำ� - ถ้ามนุษย์ยังคงปล่อยตนเองให้อยู่ในสภาพนี้ สภาพจิตใจและสภาพสังคมของ มนุษย์ก็ไม่มีวันจะดีขึ้นได้ มีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ เพราะหากเราไม่อบรมจิตใจของตนเอง ให้ทำ�ในสิ่งที่ดี มนุษย์จะไม่ต่างอะไรกับสัตว์ซึ่งดำ�เนินชีวิตแค่เพียงตามสัญชาติญาณ เท่านั้น เนื่องจากธรรมชาติใฝ่ต่ำ�ของมนุษย์จะครอบงำ�ตัวเขามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงานเรื่อง “ยากหรือง่าย?” - เมื่อทำ�ใบงานเสร็จแล้ว ผู้สอนควรนำ�ผู้เรียนแต่ละคนให้สังเกตดูว่าคำ�ตอบ ของตนนั้น สอดคล้องกับคุณค่าพระวรสารมากเพียงใด? เพราะเหตุใด? และเราควร พัฒนาตนในแต่ละประเด็นอย่างไร? - ด้วยความสำ�นึกที่เราคริสตชนเป็นบุตรของพระเจ้า เราจึงต้องไม่ปล่อยตัวเอง ให้คล้อยตามธรรมชาติใฝ่ต่ำ� เพราะเรามีพระพรและพละกำ�ลังจากพระจิตเจ้าคอยช่วย เหลือ เพื่อให้เราเลือกดำ�เนินชีวิตในทางที่ดีและถูกต้องอย่างสอดคล้องกับคุณค่าแห่ง พระวรสาร - มิติที่สำ�คัญที่สุดของชีวิตคริสตชนก็คือ การเจริญชีวิตในความรัก ซึ่งความรัก ย่อมเรียกร้องการให้อภัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากคนเรามักทำ�ผิดพลาดได้เสมอเพราะ ความอ่อนแอ ถ้าหากเราจะมองกันให้ดีแล้ว เราย่อมต้องการอภัยให้แก่กันและกัน เพราะไม่มีใครที่ไม่ทำ�ผิดเลยและไม่มีใครที่ผิดเสมอไม่เคยถูกเลย ดังนั้น การเข้าใจ ความจริงข้อนี้จะช่วยเราให้รู้จักอภัยแก่ผู้อื่นได้ง่ายขึ้น - ให้ผู้เรียนอ่านใบความรู้เรื่อง “การให้อภัย”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “ยากหรือง่าย” ท้ายแผน

ดูใบความรู้ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนให้อภัยแก่ผู้ที่ทำ�ผิดต่อตนด้วยความจริงใจ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนเงียบทำ�สมาธิสักครู่ แล้วให้แต่ละคนไตร่ตรองดูว่า ตนไม่ได้ให้อภัย แก่ใครบ้าง? จากนั้นให้สวด “บทแสดงความทุกข์” พร้อมกัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้+ผล - การสังเกต / การตอบคำ�ถาม / การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................


17

ใบความรู้ เรื่อง “เครื่องหมาย” หนุ่มคนหนึ่งกำ�ลังนั่งอยู่อย่างโดดเดี่ยวในรถประจำ�ทาง จ้องมองออกไปข้างนอกรถ เขาอายุยี่สิบปีกว่า รูปร่างหน้าตาดี ใบหน้าส่อให้เห็นว่าเป็นคนดี มีสตรีผู้หนึ่งมานั่งข้างๆ เขา หลังจากที่ได้ทักทายกันเล็กน้อย ในบรรยากาศอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิ เด็กหนุ่มนั้นกล่าวขึ้นมากะทันหันว่า ผมได้เข้าคุกมาสองปี เพิ่งจะออกมา เมื่อเช้านี้เอง และผมก็กำ�ลังจะกลับบ้าน คำ�พูดต่างๆ พรั่งพรูออกมาจากปากของเขาดังแม่น้ำ�ที่มีน้ำ�ล้น ขณะที่เขาเล่าถึงวัยเด็กในครอบครัวที่ ยากจนแต่ซื่อสัตย์ คดีของเขาทำ�ให้พ่อแม่และคนในครอบครัวต้องอับอายและเป็นทุกข์มากขนาดไหน ในสอง ปีนนั้ เขาไม่เคยได้รบั ข่าวคราวของครอบครัวเลย เขาทราบดีวา่ พ่อแม่ของเขายากจนเกินกว่าจะมีเงินค่าเดินทาง ไปเยีย่ มเขาทีค่ กุ ได้ อีกทัง้ พวกเขาก็ไม่รหู้ นังสือพอทีจ่ ะเขียนจดหมายถึงเขาด้วย ส่วนตัวเขาเองก็เลิกเขียนจดหมาย ไปแล้วเพราะแม้จะส่งไปก็ไม่เคยได้รับคำ�ตอบเลย สามสัปดาห์กอ่ นทีจ่ ะได้รบั อิสรภาพ เขาได้พยายามเป็นครัง้ สุดท้ายทีจ่ ะติดต่อกับพ่อและแม่ของเขาโดย ทางจดหมาย เขาได้กล่าวขอโทษและวอนขอให้พวกเขาอภัยให้แก่เขา หลังจากทีเ่ ขาออกจากคุกแล้วจึงได้มาขึน้ รถประจำ�ทางคันนี้ ทีจ่ ะนำ�เขาไปยังบ้านและสวนนัน้ ซึ่งเขาเคย เจริญเติบโตมา บ้านที่พ่อแม่ของเขายังคงอาศัยอยู่จนทุกวันนี้ ในจดหมายเขาได้บอกกับพ่อแม่ว่า หากพวกเขาอภัยให้แก่เขาและต้องการให้เขากลับบ้าน ก็ขอให้พ่อ แม่ผกู ริบบิน้ สีขาวไว้บนต้นแอปเปิล้ ทีห่ น้าบ้าน แต่ถา้ เขาผ่านมาและไม่เห็นเครือ่ งหมายริบบิน้ นัน้ เขาก็จะนัง่ รถ เลยผ่านไป จะออกไปจากเมืองนั้นและจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาอีกต่อไป ยิ่งรถที่เขานั่งแล่นเข้าไปใกล้บ้านมากเท่าไร เขาก็ยิ่งกระวนกระวายใจมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่เขาไม่ อยากมองออกไปนอกหน้าต่างเลยด้วยซ้ำ� เพราะเขาเกือบแน่ใจว่าคงจะไม่มี ริบบิ้นผูกอยู่บนต้นไม้นั้นแม้แต่เพียงอันเดียว หลังจากทีไ่ ด้คยุ กันแล้ว สตรีนนั้ จึงกล่าวว่า “เธออยาก เปลีย่ นทีน่ งั่ กับฉันไหม? ฉันจะเป็นคนมองดูรบิ บิน้ ทีต่ น้ ไม้นนั้ ให้เอง” พวกเขาจึงเปลี่ยนที่กัน รถประจำ�ทางก็ขับเคลื่อนต่อไปอีกเล็กน้อย หลังจาก นั้นไม่นาน สตรีผู้นั้นก็มองเห็นต้นแอปเปิ้ลแต่ไกล เธอแตะที่ ไหล่ของเด็กหนุ่มเบาๆ กล่าวด้วยน้ำ�ตาคลอเบ้าว่า “มองดูนั่นสิ พวกเขาได้ใส่ริบบิ้นสีขาวที่ต้นไม้จนเต็มต้นเลย” . . . เราจะคล้ายกับสัตว์เมื่อเราฆ่าคนอื่น . . . เราจะคล้ายกับมนุษย์เมื่อเราตัดสินคนอื่น . . . เราจะคล้ายกับพระเจ้าเมื่อเราอภัยให้คนอื่น


18

ใบงาน เรื่อง “ยากหรือง่าย?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนใส่ตัวเลข 1, 2, และ 3 ลงหน้าข้อที่รู้สึกว่าเป็นการกระทำ�ที่สอดคล้องกับการกระทำ�ของ ตนมากที่สุดตามความเป็นจริง โดยให้ใส่เลข 1 หน้าข้อที่รู้สึกว่าสอดคล้องมากที่สุด ตามลำ�ดับลงมา (......) 1. เมื่อเพื่อนไม่ตามใจ ฉันมักจะด่าว่าเพื่อนอย่างแรงๆ เพื่อให้เขาต้องทำ�ตามที่ฉันต้องการ (......) 2. เวลาที่มีบางคนชอบมาแกล้ง ฉันจะตอบกลับให้แรงกว่าที่เขาทำ�กับฉันเพื่อเขาจะได้ไม่ต้องแกล้งฉันอีก (......) 3. ถ้าพ่อแม่เตือนฉันในสิ่งที่ฉันไม่ผิด ฉันมักจะโกรธและไม่พูดกับท่าน (......) 4. เมื่อฉันทำ�ผิดกฎระเบียบของห้องเรียน ฉันมักจะขอโทษครูเสมอ (......) 5. เวลาที่ฉันสวดขออะไรจากพระแล้วไม่ได้ ฉันก็จะโกรธและไม่สวดอีก (......) 6. เมื่อบางคนมาชนหรือเหยียบเท้าของฉันโดยบังเอิญ ฉันมักจะอภัยให้เขา เพราะเขาไม่รู้ตัว (......) 7 ฉันจะไม่พอใจมาก เมื่อฉันขอลอกการบ้านของเพื่อน แต่เขาไม่ให้ (......) 8. ฉันมักจะตีและตำ�หนิน้องหรือพี่ เมื่อเขามาแย่งขนมของฉัน (......) 9. เมื่อมีใครมาด่าว่าหรือพูดไม่ดีกับฉัน ฉันมักจะพยายามนิ่งและอภัยให้แก่เขา (......) 10. ฉันสามารถอภัยให้กับทุกคนที่ทำ�ให้ฉันต้องเสียใจ

ใบความรู้ เรื่อง “การให้อภัย” มีเรื่องเล่าว่า... มีคนสองคนเป็นเพื่อนซี้กัน ต่างร่วมเดินทางไปในทะเลทรายด้วยกัน ระหว่างทางเกิด โต้เถียงขัดแย้งไม่เข้าใจกัน เพือ่ นคนหนึง่ พลัง้ ลงมือตบหน้าอีกฝ่าย คนถูกทำ�ร้ายเจ็บปวด แต่ไม่เอ่ยวาจา กลับ เขียนลงบนผืนทรายว่า “วันนี้...ฉันถูกเพื่อนตบหน้า” พวกเขายังคงเดินทางต่อ กระทั่งถึงแหล่งน้ำ� พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำ�ชำ�ระร่างกาย พลันคนที่ถูกตบ หน้ากลับจมน้ำ� เพื่อนอีกคนไม่รั้งรอเข้าช่วยชีวิต คนรอดตายยังคงไม่เอ่ยวาจา กลับสลักลงไปบนหินใหญ่ “วันนี้...เพื่อนรักช่วยชีวิตฉันไว้” อีกคนไม่เข้าใจ ถามว่า... “เมื่อถูกตบหน้า เธอเขียนลงทราย แล้วทำ�ไมเมื่อครู่ต้องสลักบนหิน?” อีกคนยิ้มพราง กล่าวตอบ... “เมื่อถูกคนที่รักทำ�ร้าย เราควรเขียนมันไว้บนทราย ซึ่งสายลมแห่ง การให้อภัย จะทำ�หน้าทีพ่ ดั ผ่านลบล้างไม่เหลือ แต่เมือ่ มีสงิ่ ทีด่ มี ากมายบังเกิด เราควรสลักไว้บนก้อนหินแห่ง ความทรงจำ�ในหัวใจ ซึ่งต่อให้มีสายลมแรงเพียงใด ก็ไม่อาจลบล้าง ทำ�ลาย” ที่มา www.ThaiFWD.com


19

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงทำ�อัศจรรย์

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงทำ�อัศจรรย์ได้ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงทำ�อัศจรรย์ช่วยเหลือผู้ที่เชื่อและไว้วางใจในพระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความเชื่อในพระเยซูเจ้าด้วยการไปร่วมมิสซาทุกวันอาทิตย์ อย่างซื่อสัตย์ สาระการเรียนรู ้ นอกจากพระเยซูเจ้าจะทรงสอนประชาชนด้วยพระวาจาแล้ว พระองค์ยังทรงให้ความช่วยเหลือต่างๆ มากมายแก่ประชาชน เฉพาะอย่างยิ่งโดยทางอัศจรรย์ที่พระองค์ทรงกระทำ�เพื่อช่วยให้บรรดาผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้รอดพ้นจากความทุกข์ทรมานที่คุกคามพวกเขาอยู่ พระองค์ทรงทำ�เช่นนี้ได้เพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า แต่เงื่อนไขหนึ่ง ของการได้รับอัศจรรย์จากพระองค์ก็คือ การเชื่อในพระองค์ด้วยสิ้นสุดจิตใจ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนดูภาพ “ผู้ป่วย” ด้วยโรคต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันอธิบาย ว่า คนที่เจ็บป่วยนั้นเขาต้องทุกข์ทรมานอย่างไรบ้าง? จากนั้นให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามว่า “ใครเคยเจ็บป่วยบ้างไหม? เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร? ความทุกข์ทมี่ าจากการเจ็บป่วยนัน้ เป็นอย่างไร?” โดยให้ผู้เรียนแบ่งปันประสบการณ์แก่กัน - ผู้สอนอาจป้อนคำ�ถามอีกว่า “อะไรคือสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด? เพราะ อะไร?” ซึง่ คำ�ตอบทีส่ รุปได้นา่ จะเป็นความ “ต้องการหายจากโรค” เพราะการเป็นโรค นั้นทำ�ให้เราต้องทุกข์ทรมานไม่ว่าทั้งฝ่ายร่างกายและจิตใจ - ตามปกติแล้ว วิธีรักษาให้หายจากโรคภัยคือการไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และการปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์อย่างเคร่งครัด แต่มีผู้หนึ่งที่เก่งกว่าหมอซึ่ง ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำ�การรักษาคนที่เจ็บป่วยมากมาย เพื่อช่วยพวกเขาให้ หายจากความทุกข์ทรมาน ให้เรามาดูกันว่าบุคคลท่านนี้เป็นใคร? และท่านได้ช่วย ผู้อื่นให้หายจากโรคด้วยวิธีใด? 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนอัมพาต (มธ 9:1-8) พระเยซูเจ้าเสด็จลงเรือข้ามฝั่งกลับมายังเมืองของพระองค์ ทันใดนั้น มีผู้หาม คนอัมพาตคนหนึ่งนอนบนแคร่มาเฝ้าพระองค์ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเห็นความเชื่อ ของเขา จึงตรัสแก่คนอัมพาตว่า “ทำ�ใจดีๆ ไว้เถิด ลูกเอ๋ย บาปของท่านได้รับการอภัย แล้ว” ธรรมาจารย์บางคนคิดในใจว่า “คนนีก้ ล่าวดูหมิน่ พระเจ้า” พระเยซูเจ้าทรงทราบ

ดูภาพ “ผู้ป่วย” ท้ายแผน


20

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ความคิดของเขา จึงตรัสว่า “ท่านคิดร้ายในใจทำ�ไม อย่างใดง่ายกว่ากัน การบอกว่า ‘บาปของท่านได้รับการอภัยแล้ว’ หรือบอกว่า ‘ลุกขึ้น เดินไปเถิด’ แต่เพื่อให้ท่าน ทราบว่า บุตรแห่งมนุษย์มีอำ�นาจอภัยบาปได้บนแผ่นดินนี้” พระองค์จึงตรัสสั่ง คนอัมพาตว่า “จงลุกขึน้ แบกแคร่ กลับบ้านเถิด” เขาก็ลกุ ขึน้ กลับไปบ้าน เมือ่ ประชาชน เห็นดังนี้ต่างมีความกลัว ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าผู้ประทานอำ�นาจเช่นนี้ให้แก่ มนุษย์

4 อธิบายพระวาจา - เรื่องเล่าจากพระวรสารนี้ ทำ�ให้เรารู้จักพระเยซูเจ้าได้ดียิ่งขึ้นว่าพระองค์ทรง เป็นผูท้ มี่ จี ติ ใจเมตตากรุณา จนกระทัง่ ว่าพระองค์ไม่ทรงอยูน่ งิ่ เฉยเมือ่ ทรงเห็นคนทีอ่ ยู่ ในความทุกข์ ขณะเดียวกันบุคคลเหล่านี้ก็มีความเชื่อและไว้วางใจในความช่วยเหลือ ของพระองค์เป็นอย่างมาก พวกเขามั่นใจว่าพระองค์ทรงสามารถทำ�สิ่งที่มนุษย์ทำ�ไม่ ได้ พวกเขาจึงมาหาพระองค์ - พระเยซูเจ้าทรงสามารถมองเห็นในใจของทุกคน ทรงเห็นว่าผู้ป่วยและคนที่ หามเขามานัน้ มีความเชือ่ ในพระองค์และทรงล่วงรูอ้ กี ด้วยว่าพวกธรรมาจารย์คดิ ตัดสิน พระองค์ในแง่ร้าย - แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พระเยซูเจ้าทรงรักษาโรคทั้งฝ่ายวิญญาณและร่างกายของ ผูท้ เี่ ชือ่ ในพระองค์ดว้ ยใจสุภาพ คนอัมพาตนัน้ จึงได้รบั พระคุณอันยิง่ ใหญ่มหาศาลจาก พระองค์ เพราะไม่มีแพทย์คนใดสามารถรักษาเขาเช่นนี้ได้อย่างแน่นอน - พวกธรรมาจารย์ไม่เชื่อว่าพระองค์ทรงสามารถรักษาคนอัมพาตได้ พวกเขาจึง ตัดสินว่าพระองค์ทรงดูหมิ่นพระเจ้า ซึ่งเป็นความผิดที่หนักมาก เพราะจริงๆ แล้วไม่มี มนุษย์คนใดที่สามารถยกบาปให้แก่คนอื่นได้นอกจากพระเจ้าเท่านั้น แต่พระเยซูเจ้า ทรงมีพระทัยเมตตาสงสารผูท้ ตี่ อ้ งทุกข์ทรมานจากโรคร้ายทัง้ ฝ่ายร่างกายและวิญญาณ พระองค์ทรงให้ความสำ�คัญกับโรคฝ่ายวิญญาณมากกว่าโรคฝ่ายกายเสียด้วยซ้�ำ พระองค์ จึงทรงรักษาวิญญาณของคนอัมพาตนี้ก่อนโดยทรงกล่าวว่า “ทำ�ใจดีๆ ไว้เถิด ลูกเอ๋ย บาปของท่านได้รับการอภัยแล้ว” หลังจากคำ�ตรัสนี้ คนอัมพาตก็ได้รับการอภัยบาป ทั้งสิ้นของเขา - แต่เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าคำ�ตรัสของพระองค์นั้นเป็นจริง พระองค์จึงทรงรักษา โรคฝ่ายกายของคนอัมพาตด้วยเพื่อพิสูจน์ถึงพระฤทธานุภาพของพระองค์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เรื่องนี้เป็นเพียงหนึ่งในจำ�นวนหลายๆ ตัวอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงรักษาผู้เจ็บ ป่วยด้วยการทำ�อัศจรรย์ ยังมีเรื่องราวแบบนี้อีกมากมายที่เราสามารถพบได้ใน พระวรสารทั้งสี่เล่ม ซึ่งการอ่านเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ ของพระเยซูเจ้านั้นทำ�ให้เรารู้จัก พระองค์ได้ดยี งิ่ ขึน้ เฉพาะอย่างยิง่ ทำ�ให้เชือ่ ในพระเมตตากรุณาอันหาขอบเขตมิได้และ พระฤทธานุภาพของพระองค์ - หากเราแต่ละคนจะพิจารณาตนเองอย่างดีแล้ว เราอาจจะมีโรคบางอย่างก็ได้ ซึ่งถ้าไม่ใช่โรคฝ่ายกายก็ต้องมีโรคฝ่ายวิญญาณอย่างแน่นอน เพราะเราแต่ละคนย่อม

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


21

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

มีนสิ ยั ทีไ่ ม่ดบี า้ งไม่มากก็นอ้ ย ซึง่ เป็นต้นเหตุท�ำ ให้เรามีปญ ั หากับผูอ้ นื่ ไม่วา่ จะเป็นกับ พ่อ-แม่ พี่ น้อง บุคคลในครอบครัว ครู เพื่อนๆ ฯลฯ และที่แย่กว่านั้นคือมันเป็นต้น เหตุให้เราทำ�บาปต่างๆ ซึ่งทำ�ให้เราต้องห่างเหินจากพระเจ้าด้วยเพราะมันอาจทำ�ให้ เราไม่อยากไปวัด ไปแก้บาป-รับศีลมหาสนิท ไม่อยากสวดภาวนา... สิง่ เหล่านีเ้ องเป็น เหตุให้เราขาด พระหรรษทานที่จำ�เป็นสำ�หรับวิญญาณ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “โรค (ฝ่าย) จิต” เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ว่า นอกจากโรค ฝ่ายกายที่มองเห็นได้ชัดเจนแล้ว เราแต่ละคนยังมีโรคฝ่ายจิตใจอีกที่แม้จะมองไม่เห็น แต่ก็มีผลร้ายต่อตัวเราและต้องการการรักษาเช่นกัน - ดังนั้น เมื่อเราเชื่อว่าพระเยซูเจ้าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ พระองค์ก็จะทรง รักษาโรคฝ่ายวิญญาณของเราได้เช่นกัน หากเรามีความเชื่อและความไว้วางใจใน พระองค์อย่างเต็มเปี่ยมและปรารถนาให้พระองค์ทรงรักษาเราจริงๆ - วิธีหนึ่งที่จะแสดงว่าเราเชื่อในพระองค์ก็คือ การไปร่วมพิธีมิสซาฯ เป็นประจำ� ทุกวันอาทิตย์ และไปแก้บาป-รับศีลเป็นประจำ�อย่างสม่�ำ เสมอ เพราะนัน่ จะเป็นหนทาง ที่จะทำ�ให้เราได้รับพระหรรษทานจากพระองค์ ทำ�ให้เราได้ใกล้ชิดกับพระเจ้า และเรา จะได้รับ “อัศจรรย์” จากพระองค์อย่างแน่นอน

ดูใบงาน “โรค (ฝ่าย) จิต” ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความเชื่อในพระเยซูเจ้าด้วยการไปร่วมมิสซาทุกวันอาทิตย์อย่าง ซื่อสัตย์ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้สวด “บทแสดงความเชื่อ” อย่างตั้งใจพร้อม กัน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


22

ภาพ “ผู้เจ็บป่วย”

ใบงาน “โรค (ฝ่าย) จิต” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนเติม “โรคฝ่ายจิตหรือฝ่ายวิญญาณ” ลงในวงกลม


23

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงภาวนา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระบิดา พระองค์ทรงติดต่อ กับพระบิดาด้วยการภาวนาเสมอ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนซื่อสัตย์ในการสวดภาวนาเช้า-ค่ำ� และก่อนนอนทุกวัน สาระการเรียนรู ้ พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุคคลหนึ่งที่ขยันขันแข็งในการทำ�งานมาก พระองค์ทรงทำ�งานตลอดเวลากับ บรรดาสาวก แต่แม้พระองค์จะทำ�งานมากเพียงใดพระองค์กท็ รงมีเวลาให้กบั การภาวนาเสมอ เพราะพระองค์และพระบิดาทรง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระองค์จึงทรงมักปลีกตัวไปสวดภาวนาเพื่ออยู่กับพระบิดาตามลำ�พัง เราจึงควรเลียนแบบอย่างจาก พระองค์ในการสวดภาวนา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับพระบิดาเจ้าเช่นเดียวกับพระองค์ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนในเรื่อง “ความคิดถึง” โดยพูดคุยหรือ ถามตอบกันว่า “หากเราคิดถึงคนๆ หนึง่ เราจะทำ�อย่างไร? อะไรคือความรูส้ กึ ทีท่ �ำ ให้ รู้ว่าเรากำ�ลังคิดถึงคนๆ หนึ่งมาก? ถ้าคิดถึงมากๆ จะทำ�อย่างไร? มีวิธีใดบ้างที่ทำ�ให้ หายคิดถึงคนๆ นั้นได้? ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น - สรุปได้ว่า สิ่งที่ทำ�ให้เราเห็นว่าเราคิดถึงอีกคนหนึ่งก็คือ การอยากอยู่ใกล้เขา อยากพูดคุยกับเขา เพราะผู้เรียนหลายคนอาจเคยโทรศัพท์คุยกับเพื่อนที่รักเป็นเวลา นานๆ สาเหตุเพราะอยากคุยกับเขา อยากให้เขาอยู่ใกล้ๆ นั่นเอง - สิ่งที่กล่าวมาคือการกระทำ�ตามประสามนุษย์ แต่ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าล่ะ เกิดสิ่งนี้ขึ้นด้วยหรือไม่? ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น - อาจเป็นความจริงที่ว่า มนุษย์เรามักไม่ค่อยคิดถึงพระเจ้า แต่ก็เป็นความจริง อีกว่า พระเจ้าทรงคิดถึงเราตลอดเวลา ทรงอยากอยูใ่ กล้ชดิ เราตลอดเวลาเพราะทรงรัก เราทุกคนมาก แม้ว่าเราอาจจะไม่ได้รู้สึกเช่นเดียวกับพระองค์ แต่เราก็ต้องยอมรับรู้ ความจริงข้อนี้ และเมื่อเรารับรู้แล้ว เราก็ต้องตอบสนองความรักของพระองค์ มิฉะนั้น เราก็จะเป็นคนอกตัญญู - ให้เรามาดูว่าพระเยซูเจ้า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระบิดา พระองค์ทรงมี “ความคิดถึง” เช่นเดียวกับเราหรือเปล่า?

ดูภาพ “จดหมายและ โทรศัพท์” ท้ายแผน


24

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา 1. วันต่อมา พระองค์ทรงลุกขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่ เสด็จออกจากบ้านไปยังที่สงัด และทรงอธิษฐานภาวนาที่นั่น ซีโมนและผู้ที่อยู่กับเขาตามหาพระองค์ เมื่อพบแล้ว จึงทูลพระองค์ว่า “ทุกคนกำ�ลังแสวงหาพระองค์” (มก 1:35-39) 2. ทันทีหลังจากนั้น พระเยซูเจ้าทรงสั่งให้บรรดาศิษย์ลงเรือข้ามฟากล่วงหน้าไป ทีเ่ มืองเบธไซดาขณะทีพ่ ระองค์ทรงให้ประชาชนกลับเมือ่ ทรงอำ�ลาจากเขาแล้ว พระองค์ ก็เสด็จขึ้นไปบนภูเขาเพื่อทรงอธิษฐานภาวนา (มก 6:45-46) 3. ครั้งนั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปบนภูเขาเพื่ออธิษฐานภาวนาและทรงอธิษฐาน ภาวนาต่อพระเจ้าตลอดทั้งคืน ครั้นถึงรุ่งเช้า พระองค์ทรงเรียกบรรดาศิษย์เข้ามาแล้ว ทรงคัดเลือกไว้สิบสองคน ประทานนามว่า “อัครสาวก” (ลก 6:12-13) 4 อธิบายพระวาจา - ในชีวิตของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงทำ�งานตลอดเวลา ทรงเทศน์สอนทำ� อัศจรรย์ทวีขนมปังเลีย้ งประชาชน ทรงทำ�อัศจรรย์ชว่ ยเหลือคน เจ็บป่วยทัง้ ด้านร่างกาย และจิตใจ มีคนมากมายติดตามพระองค์จนทำ�ให้พระองค์ไม่มีเวลาว่าง บรรดาสาวก ที่ติดตามพระองค์อย่างใกล้ชิดรู้เห็นเหตุการณ์เหล่านี้อย่างดี วันแล้ววันเล่า - แต่บ่อยครั้ง พระวรสารก็บันทึกอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำ�ให้เราเห็นอีกภาพหนึ่ง ของพระเยซูเจ้า นั่นคือ พระองค์ทรงเลี่ยงผู้คนไปอยู่ตามลำ�พังเพื่อสวดภาวนา สิ่งที่น่า สนใจจากพระวรสารตอนแรกคือพระเยซูเจ้าทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ทำ�ให้เห็นว่าพระองค์ ไม่ทรงตืน่ สายแต่ลมหายใจแรกหลังจากตืน่ ขึน้ มาคือทรงคิดถึงพระบิดาและทรงเสวนา กับพระองค์ - พระวรสารตอนที่สอง มีอีกจุดเด่นหนึ่งคือ พระองค์เสด็จขึ้นไปภาวนาบนภูเขา นั่นทำ�ให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงหาที่สงัดเงียบไกลผู้คน ณ ที่นั้นไม่มีใครรบกวนเวลา ของพระองค์ กั บ พระบิ ด าเจ้ า และนั่ น เป็ น เวลาเย็ น หลั ง จากที่ ท รงทำ � งานอย่ า ง เหน็ดเหนื่อยมาตลอดวันแล้ว - พระวรสารตอนที่สาม เล่าว่าพระเยซูเจ้าทรงภาวนาตลอดทั้งคืนนั่นหมายความ ว่า พระองค์ทรงอยู่กับพระบิดาตลอดทั้งคืน - จากพระวรสารทั้งสามตอนทำ�ให้เราเห็นภาพของพระเยซูเจ้าชัดขึ้นว่าพระองค์ กับพระบิดาทรงเป็นหนึง่ เดียวกัน และทรงทำ�ให้เราเห็นด้วยว่าวิธกี ารทีพ่ ระองค์ทรงใช้ ในการติดต่อกับพระบิดาก็คือการภาวนา 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - จากประสบการณ์ของมนุษย์ เราคงยอมรับว่า เมื่อเรารักคนๆ หนึ่งและคิดถึง เขา เราย่อมอยากอยู่และอยากพูดคุยกับผู้นั้นบ่อยๆ และนานๆ พระเยซูเจ้าในฐานะ ที่ทรงเป็นมนุ ษย์ แ ท้ พระองค์ ก็ ท รงกระทำ � เช่ นเดี ย วกั น แต่ ใ นสมั ย ของพระองค์ ไม่มีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็วเช่นสมัยนี้ วิธีการที่พระองค์ทรงเลือกใช้คือ การภาวนา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ ☆

ดูภาพ “พระเยซูเจ้าทรง ภาวนา” ท้ายแผน


25

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เพื่อจะภาวนาให้ดี ก่อนอื่นต้องสร้างบรรยากาศให้เหมาะสม พระเยซูเจ้า ทรงสอนแบบอย่างให้แก่เรา ทรงเลือกที่สงัด หรือที่เปลี่ยว หรือบนภูเขา อันเป็นที่ที่ ทรงอยู่ตามลำ�พัง ไม่มีเสียงรบกวน มีความเงียบ ซึ่งเป็นบรรยากาศภายนอก ส่วนใน จิตใจนัน้ พระองค์ทรงเป็นหนึง่ เดียวกับพระบิดาอยูแ่ ล้วเพราะพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ด้วย - ทั้งหมดนี้สอนเราว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างการภาวนาให้แก่เรา อย่างไร - เมื่อเราคริสตชนได้รับศีลล้างบาป เราได้รับพระหรรษทานศักดิ์สิทธิกรที่ทำ�ให้ เราเป็นบุตรบุญธรรมของพระเจ้า เราจึงเป็นลูกที่มีพระบิดาเป็น “พ่อ” และพ่อองค์นี้ ไม่เหมือนพ่อธรรมดาสามัญทั่วไป เพราะพระองค์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า ที่เป็น เจ้าของทุกสิ่ง เราจึงเป็นผู้โชคดีอย่างยิ่ง แต่สิ่งที่เราเป็นโดยศีลล้างบาปนี้ จะต้องได้รับ การพัฒนาให้เติบโตขึ้น หมายความว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพระบิดากับเรา แต่ละคนนั้นจะอยู่ในระดับที่น้อยมากหากเราไม่พัฒนาความสัมพันธ์นี้ให้กระชับ แน่นแฟ้นยิง่ ขึน้ เรือ่ ยๆ และวิธหี นึง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอนเราแล้วคือ การภาวนา นั่นเอง - ความหมายแท้จริงของการภาวนานี้ต้องช่วยเราให้ทำ�ตัวเหมือนพระเยซูเจ้า มากขึ้นด้วย นั่นคือ เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว เราแต่ละคนก็ต้องหมั่นสวดภาวนาด้วย ความรู้สึกนึกคิดเดียวกับพระเยซูเจ้า พยายามสร้างความสัมพันธ์ฉันบุตรกับพระเจ้า ด้วยการเสวนากับพระองค์บอ่ ยๆ ไม่วา่ จะด้วยบทภาวนาทีพ่ ระศาสนจักรสอนหรือด้วย การภาวนาจากใจของเราเอง ซึ่งวิธีหนึ่งที่พระศาสนจักรผู้เป็นมารดาได้เสนอให้เรา คริสตชนปฏิบตั เิ ป็นประจำ�อยูแ่ ล้วคือ การสวดภาวนาเช้า-ค่�ำ และก่อนนอน ดังนัน้ เรา แต่ละคนควรใช้โอกาสอันดีนภี้ าวนาอย่างซือ่ สัตย์ มิใช่เพราะเป็นหน้าทีเ่ ท่านัน้ แต่ดว้ ย ใจที่ปรารถนาจะสร้างความสัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างลึกซึ้งมากขึ้นทุกวัน - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “สวดไงถึงดี?” เพื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งว่า เพื่อจะภาวนา ได้ดีจำ�เป็นต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง? - ให้ ผู้ เรี ย นแต่ ล ะคนเขี ย นคำ � ภาวนาจากใจ โดยใส่ จุ ด ประสงค์ อ ะไรก็ ไ ด้ คนละ 1 ข้อ เพื่อนำ�มาสวดตอนจบบทเรียน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตั้งใจจะสวดภาวนาเช้าและภาวนาค่ำ�อย่างซื่อสัตย์ทุกวัน 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ ผู้ เรี ย นทำ � สมาธิ สั ก ครู่ จากนั้ น ให้ ทุ ก คนสวดบท “ข้ า แต่ พ ระบิ ด าฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม

ดูใบงาน “สวดไงถึงดี?” ท้ายแผน


26

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

ภาพ “โทรศัพท์และจดหมาย”


27

ภาพ “พระเยซูเจ้าทรงภาวนา”

ใบงาน “สวดไงถึงดี?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ว่า “สวดอย่างไรถึงดี” โดยใส่คำ�ตอบไว้ในช่องว่าง


28

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงเรียกสาวก

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงเรียกบรรดาสาวกเพื่อร่วมในพันธกิจ การไถ่บาปกับพระองค์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนตอบรับการเรียกของพระเจ้าด้วยการเป็นแบบอย่างของคริสตชนที่ดี แก่บุคคลรอบข้าง สาระการเรียนรู ้ แม้พระเยซูเจ้าจะทรงมีพระธรรมชาติพระเจ้า ที่ทรงสามารถทำ�ทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยพระฤทธานุภาพ แต่พระองค์ก็ทรงแสดงพระประสงค์ที่จะให้มนุษย์มีส่วนร่วมในพระพันธกิจของพระองค์ จึงทรงเรียกบรรดาสาวกให้เป็นศิษย์ ติดตามพระองค์และร่วมในภารกิจการไถ่มนุษย์ให้รอดพ้นกับพระองค์ เพือ่ ว่าพวกเขาจะเป็นผูส้ านต่อพันธกิจของพระองค์ตอ่ ๆ ไปในทุกยุคทุกสมัย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน - ทบทวนเนื้อหาครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนสามารถเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องการจัดงานใหญ่ๆ เช่น พิธีแต่งงาน งานเสกบ้าน งานวันเกิด งานครบรอบวันสำ�คัญต่างๆ ฯลฯ โดยให้ ผูเ้ รียนมีสว่ นร่วมในการแบ่งปันประสบการณ์เกีย่ วกับการจัดงานว่า เพือ่ ให้งานผ่านไป ได้อย่างดีเรียบร้อยต้องการสิ่งใดบ้าง? ส่วนงานที่จบลงแบบแย่ๆ นั้นเกิดจากสาเหตุ ใดเป็นสำ�คัญ? - ประเด็นสำ�คัญของการทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ส่วนใหญ่แล้ว อยู่ที่ตัวบุคคล หากมีบุคคลที่มีคุณภาพก็จะมีการบริหารจัดการที่ดีแต่ก็ต้องมีปริมาณ บุคลากรทีเ่ พียงพอด้วยในเวลาเดียวกันเพือ่ จะรองรับทุกงานได้อย่างเหมาะสมและทัน เวลา - นี่คือประสบการณ์ของมนุษย์ แม้แต่พระเยซูเจ้าเองก็ได้ทรงทำ�เช่นเดียวกัน พระองค์ได้ทรงเรียกบรรดาสาวกให้มสี ว่ นร่วมในพันธกิจ การไถ่บาปของมนุษย์ เพราะ นี่คือพันธกิจที่ยิ่งใหญ่และสำ�คัญที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับความรอดพ้นของมนุษยชาติ โดยตรง - ให้เรามาดูตัวอย่างการเรียกสาวกของพระเยซูเจ้ากันสักหนึ่งตอน นั่นคือ กระแสเรียกของเลวี หรือ น.มัทธิว

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


29

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงเรียกเลวี (ลก 5:27-28) หลังจากนั้น พระองค์เสด็จออกไป ทอดพระเนตรเห็นคนเก็บภาษีคนหนึ่ง ชื่อเลวีนั่งอยู่ที่ด่านภาษี จึงตรัสสั่งเขาว่า “จงตามเรามาเถิด” เลวีก็ลุกขึ้น ละทิ้งทุกสิ่ง แล้วตามพระองค์ไป 4 อธิบายพระวาจา - แม้ พ ระวรสารตอนนี้ จ ะค่ อ นข้ า งสั้ น แต่ ไ ด้ ใจความที่ ชั ด เจนว่ า บุ ค คลที่ พระเยซูเจ้าทรงเรียกนั้นมีอาชีพเป็นคนเก็บภาษี ถ้าจะมองในทัศนคติของชาวยิวสมัย นั้น คนที่มีอาชีพนี้คือคนที่สังคมรังเกียจ เป็นคนเห็นแก่ตัวที่ “ทำ�นาบนหลังคนอื่น” เพราะเขารีดไถเงินประชาชนเพื่อส่งเป็นเงินภาษีแก่โรม แต่ในเวลาเดียวกันเขาก็เอา เงินส่วนหนึ่งเก็บไว้เองดังนั้นคนมีอาชีพนี้ส่วนใหญ่จึงร่ำ�รวย แต่ไม่ใช่เงินที่ได้มาอย่าง บริสุทธิ์ - เหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกเลวีให้มาเป็นสาวกติดตามพระองค์นั้น จึง เป็นเรื่องสะเทือนขวัญของทุกคน ทั้งสำ�หรับบรรดาอัครสาวกและสำ�หรับพวกธรรมา จารย์และฟาริสีด้วย เพราะพวกเขาต่างคาดไม่ถึงว่าพระอาจารย์ที่ดูเหมือนเป็นคนดี ไม่มีที่ติจะสนิทสนมกับคนบาปและเรียกให้เขาติดตามพระองค์ได้อย่างไร? - พระเยซูเจ้าทรงทำ�เช่นนี้เพื่อให้บทสอนแก่ทุกคนว่าพระองค์ทรงมองเห็นในใจ ไม่ทรงหยุดอยู่ที่สิ่งปรากฏภายนอกเท่านั้น อีกทั้งทรงต้องการจะประกาศอย่างชัดเจน ด้วยการกระทำ�ว่า ทุกคนสามารถติดตามพระองค์ได้ พระองค์มิได้ทรงเลือกที่รัก มักที่ชัง แต่ทรงรักทุกคนเหมือนๆ กัน มิได้ทรงเกลียดชังคนบาป พระองค์ทรงรัก แม้กระทั่งคนบาปแต่ทรงเกลียดบาป จึงทรงต้องการให้คนบาปละทิ้งบาปเพื่อกลับใจ เป็นคนดี ดังนั้นพระองค์จึงทรงเรียกทุกคนเพื่อให้เขามาเป็นศิษย์ที่รู้จักดำ�เนินชีวิต อย่างดีและถูกต้อง - เมื่อเลวีได้ยินพระเยซูเจ้าทรงเรียก ท่านก็ละทิ้ง “ทุกสิ่ง” ซึ่งคำ�นี้หมายถึง ทุกอย่างรวมทั้งเงินทองข้าวของที่กองอยู่ตรงหน้าโดยไม่สนใจและไม่เสียดายมันอีก แต่ ท่ า นตั ด สละอย่ า งสิ้ น เชิ ง และติ ด ตามพระอาจารย์ เจ้ า ไปโดยท่ า นต้ อ งเชื่ อ และ มั่นใจเกินร้อยว่า การติดตามพระองค์นั้นจะต้องดีกว่าอาชีพเดิมอย่างแน่นอน แม้ว่า อาชีพนั้นจะทำ�ให้ท่านร่ำ�รวยและอยู่อย่างสุขสบายไปตลอดชาติ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้เราลองคิดดูว่า เราจะทำ�เช่นเดียวกับเลวีไหม? เมื่ออยู่ดีๆ ก็มีชายคนหนึ่ง ซึง่ เราไม่ได้รจู้ กั สนิทสนมกับเขาอย่างมากมายมาเรียกให้ทงิ้ ทุกอย่างและติดตามเขาไป ซึ่งจะไปทำ�อะไร? ที่ไหน? และอย่างไรก็ยังไม่รู้? - เลวี ได้ ทิ้ ง ความมั่ นคงสำ � หรั บตนเองและครอบครัว หมดทั้งสิ้น ทิ้งคนใน ครอบครัวด้วย เพราะการติดตามพระเยซูเจ้านั้นต้องไปโดยลำ�พัง ท่านไม่สามารถเอา ครอบครัวไปด้วยได้ อนาคตยังเป็นสิ่งมืดมน แต่ทำ�ไมท่านจึงตัดสินใจทำ�เช่นนั้นได้? นี่คืออัศจรรย์ของกระแสเรียก ซึ่งมีแต่เฉพาะบางคนเท่านั้นที่สามารถเข้าใจและทำ�ได้ - เลวีหรือ น.มัทธิวจึงได้เป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่ตอบรับการเรียกของ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


30

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

พระเยซูเจ้า เราจึงควรเลียนแบบอย่างของท่านในการติดตามพระเยซูเจ้าเฉพาะอย่าง ยิ่งในการละทิ้งทุกสิ่งที่ขัดขวางมิให้เราเป็นศิษย์ที่ดีของพระองค์ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น ทรัพย์สินเงินทอง ความเกียจคร้านที่ทำ�ให้อยู่อย่างสะดวกสบาย การกินดีอยู่ดี ความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ความเห็นแก่ตัวที่แสดงออกด้วยการเอารัดเอาเปรียบคนอื่น สรุปง่ายๆ ก็คือการละเมิดพระบัญญัติต่างๆ ของพระเจ้า - ดังนั้น เราที่พระเจ้าได้ทรงเรียกให้ติดตามพระองค์แล้วอาศัยศีลล้างบาปจึง ต้องเจริญชีวติ ให้สอดคล้องกับกระแสเรียกการเป็นคริสตชนด้วยการรูส้ �ำ นึกตัวอยูเ่ สมอ ในสิ่งที่กำ�ลังกระทำ�ว่า สิ่งใดควรทำ�และสิ่งใดควรละเว้นในฐานะที่ตนเป็นคริสตชน เป็นบุตรของพระเจ้า - ข้อปฏิบัติหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถเลือกกระทำ�ได้ง่ายๆ ในการติดตามพระเยซูคริสตเจ้าคือ การร่วมมิสซาในวันอาทิตย์เป็นประจำ�อย่างสม่ำ�เสมอ - ให้ผู้เรียนร้องเพลง “เพลงสาวก 12 คน” พร้อมๆ กัน โดยอาจฝึกร้องก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนปิดเนื้อเพลงแล้วแข่งขันกันเขียนชื่อสาวกทั้ง 12 คน ลงในสมุดหรือ แผ่นกระดาษก็ได้ใครเขียนได้มากกว่าอาจมีคะแนนหรือรางวัลให้

ดูเพลง “สาวก 12 คน” ท้ายแผน

6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนตอบรับการเรียกของพระเจ้าด้วยการเป็นแบบอย่างของคริสตชนที่ดี แก่บุคคลรอบข้าง 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นอาจให้ตัวแทนคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ .............................................................................................................................................................................

เพลง “สาวก 12 คน” สาวกสิบสองคน ที่พระเยซูทรงเรียก เปโตร อันดรูว์ ยากอบ และยอห์น ฟิลิป มัทธิว โธมัส ยากอบบุตรอัลเฟอัส ธัดเดอัส ซีโมน ยูดาส บาร์โธโลมิว ทรงเรียกเธออีกคน ทรงเรียกเธออีกคน เป็นสาวกพระเยซู รวมทั้งเธอและฉัน ทรงเรียกเธออีกคน ทรงเรียกเธออีกคน เป็นสาวกพระเยซู ร่วมทำ�งานพระองค์


31

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง พระเยซูเจ้าเรียกเปโตรเป็นหัวหน้าอัครสาวก

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.2 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า น.เปโตรคือพระสันตะปาปาคนแรก เป็นผูส้ บื ตำ�แหน่งหัวหน้า พระศาสนจักรต่อจากพระเยซูเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนนำ�เนื้อหาสมณสาส์นที่ได้รับไปอ่าน ทำ�ความเข้าใจ และ มาแบ่งปันกัน ในครั้งต่อไป โดยเน้นถึงสิ่งที่พระสันตะปาปาทรงต้องการให้คริสตชนปฏิบัติ สาระการเรียนรู ้ ก่อนที่พระเยซูเจ้าจะทรงจากโลกนี้ไป พระองค์ทรงเลือก น.เปโตรให้เป็นหัวหน้าอัครสาวก นั่นหมายความ ว่า ให้ท่านเป็นผู้นำ�และหัวหน้าคนแรกของพระศาสนจักรต่อจากพระเยซูคริสตเจ้า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมี ผู้สืบตำ�แหน่งผู้นำ�ของพระศาสนจักรหรือพระสันตะปาปามาหลายคนจนถึงองค์ปัจจุบัน คือ พระสันตะปาปาฟรานซิส คริสตชนทุกคนในฐานะสมาชิกของพระศาสนจักรมีหน้าที่เคารพและเชื่อฟังพระดำ�รัสของพระสันตะปาปา เพราะพระองค์คือ ผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้าในโลกนี้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นเสวนากับผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องประสบการณ์ “กลุ่ม” โดยให้ ผูเ้ รียนแบ่งปันกันถึงปัจจัยสำ�คัญของการเจริญชีวติ แบบกลุม่ ว่า ประกอบด้วยส่วนสำ�คัญ อะไรบ้าง? แล้วตั้งข้อสังเกตว่ามีกี่คนที่ให้ความสำ�คัญกับ “ผู้นำ�กลุ่ม” บ้าง? - สิ่งที่ผู้เรียนแบ่งปันนี้เป็นการแสดงถึงขอบเขตจำ�กัดที่ช่วยให้เข้าใจว่าในชีวิต ของเรายังมีอกี หลายกิจกรรมทีเ่ กินความสามารถของเรา หากต้องทำ�ให้ส�ำ เร็จก็จ�ำ เป็น ต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีความสามารถมากกว่าเรา เพื่อช่วย แนะนำ�วิธีที่ถูกต้องให้บรรลุเป้าหมาย - ปัจจัยหนึ่งที่สำ�คัญมากของกลุ่มคือ ผู้นำ�กลุ่ม เพราะเป็นตัวจักรสำ�คัญที่มีผล สูงสุดต่อการเคลือ่ นไปข้างหน้าของกลุม่ และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุม่ ด้วย เพราะผู้นำ�คือผู้มีบทบาทสูงมากในการกำ�หนดทิศทางของกลุ่ม - เกมนี้จะทำ�ให้ผู้เล่นเข้าใจได้อย่างดีว่า การชี้แนะของผู้นำ�นั้นมีความจำ�เป็น มากเพียงใดเพือ่ ช่วยให้สามารถเล่นเกมสำ�เร็จได้ เพราะอันทีจ่ ริงแล้วเกมนีค้ อ่ นข้างยาก ผู้เล่นส่วนใหญ่จึงมักต้องการคำ�ชี้แนะเพื่อจะพบคำ�ตอบได้ - ที่กล่าวมาคือประสบการณ์ของกลุ่มโดยทั่วไป แต่สำ�หรับพระศาสนจักรซึ่งเป็น กลุ่มที่ประกอบด้วยสมาชิกแบบ “ครอบครัวใหญ่” มากนั้นยิ่งต้องมีการจัดระบบและ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


32

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

การนำ�กลุ่มอย่างดีมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เพราะกลุ่ม “พระศาสนจักร” นั้น มีสมาชิกมากมายทั่วโลกและเป็นกลุ่มที่มีอายุยืนยาวมากจนถึงสิ้นพิภพเลยทีเดียว - นี่คือความน่าทึ่งอย่างยิ่งของพระศาสนจักร ให้เรามาดูกันดีกว่าว่าใครคือ ผู้ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำ�คนแรกของพระศาสนจักร? - พระวรสารมีคำ�ตอบที่ชดั เจนแก่เราในเรื่องนี้ 3 พระวาจา : เปโตรประกาศความเชื่อ (มธ 16:13-19) พระเยซูเจ้าเสด็จมาถึงเขตเมืองซีซารียาแห่งฟิลิปและตรัสถามบรรดาศิษย์ว่า “คนทั้งหลายกล่าวว่าบุตรแห่งมนุษย์เป็นใคร” เขาทูลตอบว่า “บ้างกล่าวว่าเป็น ยอห์นผู้ทำ�พิธีล้าง บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศกเอลียาห์ บ้างกล่าวว่าเป็นประกาศก เยเรมีย์หรือประกาศกองค์ใดองค์หนึ่ง” พระองค์ตรัสกับเขาว่า “ท่านล่ะคิดว่าเราเป็น ใคร” ซีโมน เปโตรทูลตอบว่า “พระองค์คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรง ชีวติ ” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “ซีโมน บุตรของยอห์น ท่านเป็นสุขเพราะไม่ใช่มนุษย์ ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเราผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย เราบอกท่านว่า ท่านคือศิลาและบนศิลานี้ เราจะตั้งพระศาสนจักรของเรา ประตูนรกจะไม่มีวันชนะ พระศาสนจักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดิน นี้ จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้ ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย” 4 อธิบายพระวาจา - ในจำ�นวนอัครสาวกทั้ง 12 คนนั้น มี น.เปโตรคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการแต่ง ตั้งเป็นพิเศษอย่างเจาะจงจากพระเยซูเจ้า โดยที่ทรงกล่าวแก่ท่านว่า “ท่านคือศิลา และบนศิลานี้ เราจะตั้งพระศาสนจักรของเรา” นั่นหมายความว่าท่านจะเป็น หัวหน้าของพระศาสนจักร ซึง่ น.เปโตรเองรวมทัง้ อัครสาวกทุกองค์กเ็ ข้าใจความหมาย นี้อย่างชัดเจน - วิธีการที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เพื่อเอาชนะการประจญนี้คือ การไม่หลงตามคำ� สรรเสริญเยินยอ การอ้างอิงสิ่งน่าเชื่อถือให้หลงไหลไขว้เขว หรือการเลือกเพื่อหวังผล ประโยชน์ฝา่ ยวัตถุหรือฝ่ายโลก แต่ตอ้ งมีสติ ใช้เหตุผลเลือกสิง่ ทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ โดยยึดเอา พระวาจาของพระเจ้าเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน - น.เปโตรได้ทำ�หน้าที่ของท่านในการเป็นผู้นำ�ของพระศาสนจักรอย่างดีที่สุด ตลอดชีวิตของท่านจนกระทั่งต้องสิ้นชีวิตด้วยการถูกประหารบนกางเขนเช่นเดียวกับ พระอาจารย์เจ้า แต่ท่านขอให้กลับเอาศีรษะลงเพราะท่านรู้สึกไม่เหมาะสมที่จะตาย แบบเดียวกันกับพระองค์ - พระเยซูเจ้าไม่ได้เลือกเอาผู้รอบรู้ทุกสิ่ง นักปราชญ์ราชบัณฑิตมาเป็นหัวหน้า ของพระศาสนจักร ไม่ได้ทรงเลือกคนที่ร่ำ�รวยเป็นเศรษฐี หรือคนที่เพียบพร้อมด้วย ทุกสิ่งในชีวิต แต่ทรงเลือกบุคคลคนหนึ่งที่ธรรมดาสามัญเป็นที่สุด น.เปโตรเป็น ชาวประมงที่ไม่ร่ำ�รวย เป็นชาวบ้านที่ประกอบอาชีพซื่อสัตย์ มีรายได้พอประทังชีวิต หากวันไหนท่านไม่ออกจับปลาวันนั้นก็จะไม่มีรายได้... - หากมองตามประสามนุษย์แล้ว เราก็คงเข้าใจได้ยากว่า ทำ�ไมพระเยซูเจ้าจึง

ดูภาพ “พระเยซูเจ้าแต่งตั้ง น.เปโตร” ท้ายแผน


33

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ทรงเลือกบุคคลเช่นนี้มาทำ�ภารกิจที่สำ�คัญและยิ่งใหญ่มากของพระองค์? แต่หากมอง ในอีกแง่หนึ่งด้วยความเชื่อ เราต้องยอมรับว่าในฐานะที่พระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงทราบดีว่ามนุษย์คนใดเหมาะสมที่สุดสำ�หรับงานของพระองค์ ดังนั้น พระองค์ไม่มีทางเลือกผิดอย่างแน่นอน - น.เปโตรเป็นบุคคลที่มีลักษณะผู้นำ� แม้ตามประสามนุษย์ท่านจะอ่อนแอและ ผิดพลาดไปบ้างในบางครั้ง นั่นเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีใครเลยที่ไม่เคยผิดแต่ น.เปโตรมีความสุภาพมาก ในเวลาเดียวกันท่านรักพระเยซูเจ้าเป็นอย่างมาก และ พระเยซูเจ้าก็รักท่านมากเช่นเดียวกัน เพราะจากพระวรสารเราพบได้ว่า ในเหตุการณ์ สำ�คัญๆ ของพระเยซูเจ้านัน้ น.เปโตรจะเป็นผูไ้ ด้มสี ว่ นร่วมด้วยเสมอ เช่น ในการแสดง พระองค์อย่างรุ่งเรือง (มธ 17:1) หรือในสวนเกทเสมนี (มก 14:33) ฯลฯ นอกจาก เหตุการณ์ในพระวรสารแล้ว เรายังสามารถรู้จัก น.เปโตรได้อีกจากหนังสือกิจการ อัครสาวก ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ หลังจากที่พระเยซูคริสตเจ้าเสด็จสู่สวรรค์แล้ว อันเป็นเรื่องราวที่บ่งบอกแก่เราอย่างชัดเจนว่าน.เปโตรเป็นผู้เหมาะสมที่สุดที่จะเป็น ผู้นำ�คนแรกของพระศาสนจักรต่อจากพระอาจารย์เจ้า 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - น.เปโตรได้ เ ป็ น ผู้ นำ � คนแรกของพระศาสนจั ก รตั้ ง แต่ ส มั ย แรกเริ่ ม ต่ อ จาก พระเยซูเจ้ามาถึงปัจจุบันผู้สืบตำ�แหน่งพระสันตะปาปาต่อจากท่านก็มีต่อมาเรื่อยๆ จนถึงพระสันตะปาปาฟรานซิส - เราแต่ละคนทีเ่ ป็นสมาชิกของพระศาสนจักรนีจ้ งึ ต้องรับรูว้ า่ องค์พระสันตะปาปา คือผูน้ �ำ ฝ่ายจิตของเราด้วย เพราะพระศาสนจักรไม่ใช่องค์กรทีม่ งุ่ จะพัฒนาให้บา้ นเมือง เจริญก้าวหน้า ให้มีเศรษฐกิจดีเพื่อสมาชิกจะได้อยู่ดีกินดี - แต่พระศาสนจักรที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงตั้งขึ้นนั้นมีเป้าหมายที่พิเศษกว่านั้น คือเพื่อให้สมาชิกได้รับ “ความรอดพ้น” หมายความว่า จะได้รับความสุขชั่วนิรันดร อันเป็นความสุขเที่ยงแท้ ที่ทำ�ให้เราอิ่มได้อย่าง “อมตะ” ซึ่งไม่ใช่เป็นความสุขฝ่าย ร่างกายทีม่ เี พียงชัว่ ครูช่ วั่ ยามแล้วก็หมดไป เป็นความสุขไม่แท้ทที่ �ำ ให้คนเราไม่รจู้ กั อิม่ เพราะมีความต้องการอยู่เรื่อยๆ - ดังนั้น เราจึงต้องให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟังพระสันตะปาปา เพราะ ท่านคือผูแ้ ทนของพระเยซูคริสตเจ้าในโลกนี้ ท่านจึงมุง่ นำ�เราทุกคนให้บรรลุเป้าหมาย ของชีวิตฝ่ายวิญญาณดังกล่าวซึ่งหากวิญญาณของเราได้รอดพ้นแล้วผลที่ตามมาก็คือ ร่างกายของเราจะรับความสุขนิรันดรด้วยเช่นกัน - กิจกรรม : ให้ผู้เรียนดูภาพพระสันตะปาปาบางองค์ (ตัวอย่างจากท้ายแผน) แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันบอกว่า องค์ใดชื่ออะไรบ้าง? ผู้ที่ตอบถูกอาจมีรางวัลให้ก็ได้ - ผู้สอนสามารถนำ�สมณสาส์นของพระสันตะปาปาองค์ต่างๆ มาให้ผู้เรียนได้ รู้จัก และอาจแบ่งบางเนื้อหาให้ผู้เรียนได้ไปอ่านและมาแบ่งปันกันในครั้งต่อไป 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนนำ�เนื้อหาสมณสาส์นที่ได้รับไปอ่าน ทำ�ความเข้าใจ และมาแบ่งปันกัน

ดูภาพพระสันตะปาปา ฟรานซิส

☆ ดูภาพพระสันตะปาปาต่างๆ

จากท้ายแผน


34

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ในครั้งต่อไป โดยเน้นถึงสิ่งที่พระสันตะปาปาทรงต้องการให้คริสตชนปฏิบัติ 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” อย่างตั้งใจเพื่อ จุดประสงค์ของพระสันตะปาปาและพระศาสนจักร 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................

ภาพ “พระเยซูเจ้าแต่งตั้งนักบุญเปโตร”


35

ภาพ “พระสันตะปาปาฟรานซิส”

ภาพ “พระสันตะปาปาองค์ต่างๆ”

พระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23

พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6

พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16


36

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง พระจิตเจ้าในชีวิตของคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.3

ชั้น ป.5

ภาคเรียนที่ ................

เวลา 50 นาที

วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า ผู้ที่จะประทานชีวิตให้แก่มนุษย์ได้นั้นมีแต่พระเจ้าแต่ผู้เดียว เท่านั้น และพระองค์ทรงประทานชีวิตใหม่ให้แก่เราอาศัยองค์พระเยซูคริสตเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อจากใบงานที่ตรงกับตนเองมากที่สุด สาระการเรียนรู ้ ในศีลล้างบาป คริสตชนได้รับพระจิตเจ้าเข้ามาในตนเอง พระองค์ทรงมีบทบาทหน้าที่ในการนำ�คริสตชน ให้เจริญชีวิตอย่างดีเหมาะสมกับการเป็นบุตรของพระเจ้าด้วยการเลือกกระทำ�สิ่งที่ดีและถูกต้องเหมาะสมในการดำ�เนินชีวิต ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ผู้เรียนอ่านเรื่อง “ถ้วยเก่ากับคนแก่” หรือผู้สอนเป็นฝ่ายเล่าก็ได้ - เมื่ออ่านเสร็จแล้วให้ผู้เรียนช่วยกันแสดงความเห็นว่า “ชอบเรื่องนี้ไหม? เพราะ เหตุใด?” จากนั้นผู้สอนอาจเข้าประเด็นว่า “ทำ�ไมเด็กคนนี้จึงมีความคิดชาญฉลาด อย่างไม่น่าเชื่อเช่นนั้น?” (เพราะเขาเป็นคนมีใจดี) และ “ทำ�ไมแม่ของเขา (ลูกสะใภ้) จึงทำ�สิ่งที่ไม่ดีแบบนั้น จนแม้กระทั่งลูกชายตัวน้อยของเขาเองยังไม่เห็นด้วยและคิด แผนการแก้ไขเลย?” (เพราะเขามีใจร้ายและอกตัญญู) - จากเรื่องนี้ทำ�ให้เราเห็นถึงสองบุคคลที่มีพฤติกรรมต่างกันอย่างชัดเจนคนหนึ่ง ดีและอีกคนหนึง่ ไม่ดี ผูเ้ รียนทราบไหมว่า “อะไรคือสาเหตุของการกระทำ�ทีต่ า่ งกันเช่น นี้?” ให้ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นของตน - เราสามารถพบคำ�ตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้จากพระวาจาของพระเจ้าที่เขียนโดย น.เปาโลถึงชาวโรม 3 พระวาจา : จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโรม (รม 8:5-9) ผูท้ ยี่ งั ดำ�เนินชีวติ ตามธรรมชาติ ย่อมสนใจสิง่ ทีเ่ ป็นของธรรมชาติสว่ นผูท้ ดี่ �ำ เนิน ชีวิตตามพระจิตเจ้าก็สนใจสิ่งที่เป็นของพระจิตเจ้า ความต้องการตามธรรมชาติมนุษย์ นำ�ไปสูค่ วามตาย แต่ความปรารถนาของพระจิตเจ้านำ�ไปสูช่ วี ติ และสันติ ความต้องการ ตามธรรมชาติมนุษย์นำ�ไปสู่เป็นศัตรูกับพระเจ้า เพราะไม่ยอมเชื่อฟังธรรมบัญญัติ ของพระองค์ และไม่อาจอ่อนน้อมยอมรับด้วย ผูท้ ดี่ �ำ เนินชีวติ ตามธรรมชาติไม่อาจเป็น ที่พอพระทัยของพระเจ้าได้ ส่วนท่านทั้งหลาย ท่านไม่ดำ�เนินชีวิตตามธรรมชาติ แต่ ดำ�เนินชีวิตตามพระจิตเจ้า เพราะพระจิตของพระเจ้าสถิตอยู่ในตัวท่าน ถ้าผู้ใดไม่มี พระจิตของพระคริสตเจ้า ผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์

ดูจากใบความรู้ท้ายแผน


37

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

4 อธิบายพระวาจา - (พระวาจาของพระเจ้าในตอนนี้อธิบายแก่เราอย่างชัดเจนว่า มนุษย์มีการกระทำ� สองแบบที่ชัดเจนคือ เจริญชีวิตตามธรรมชาติแบบไม่ดีหรือตามการดลใจของพระจิต เจ้าซึ่งเป็นการกระทำ�ที่ดีเสมอ เพราะพระจิตเจ้าคือพระเจ้าซึ่งทรงเป็นองค์แห่งความดี อย่างไม่มีขอบเขตพระองค์จะไม่ทรงทำ�ไม่ดีอย่างแน่นอนเพราะพระองค์จะไม่ทรงทำ� สิ่งที่ขัดกับพระธรรมชาติของพระองค์ - ในศีลล้างบาป คริสตชนทุกคนได้รับพระจิตเจ้าเข้ามาในตนเอง เขากลายเป็น “พระวิหาร” ของพระจิตเจ้า (ดู 1 คร 6:19) เมื่อเป็นดังนี้พระจิตเจ้าจะทรงเป็นผู้นำ�เขา ให้กระทำ�สิ่งที่ดี เหมาะสม และถูกต้องเสมอ - แต่ความไม่ดีของมนุษย์เกิดขึ้นจากการที่เขาไม่เปิดใจรับฟังการดลใจขององค์ พระจิตเจ้า แต่กลับปล่อยตัวตามธรรมชาติใฝ่ต�่ำ ทีน่ �ำ พาเขาไปสูก่ ารทำ�บาป ซึง่ แสดงออก มาในพฤติกรรมที่ไม่ดีในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนำ�ความเดือดร้อนเสียหายมาสู่ผู้อื่นและ ตนเอง ดังที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งในตัวเราเองและในเพื่อนพี่น้องรอบข้าง - คริสตชนคือผู้ที่ “เป็นของพระคริสตเจ้า” แล้ว เขาต้องสำ�นึกในสิ่งที่ตน “เป็น” นี้อยู่เสมอ และต้องเจริญชีวิตให้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเป็นอย่างซื่อสัตย์ นั่นคือ เป็น “ลูก” ของพระเจ้า ดังนั้น จึงต้องเลือกทำ�สิ่งที่ดีไม่ใช่ทำ�สิ่งที่ไม่ดี เพราะผู้ที่เป็น “ลูก” ของพระเจ้าไม่ควรจะทำ�สิ่งที่ไม่เหมาะสมกับนามชื่อนี้ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ตามใจฉันหรือตามพระจิต?” เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ ตนเองตามสถานการณ์วา่ ในกรณีตา่ งๆ ของชีวติ นัน้ ตนเลือกกระทำ�แบบใดมากกว่า? การกระทำ�ของตนนั้นดีและถูกต้องหรือไม่ในฐานะที่เราเป็นคริสตชนหรือ “บุตรของ พระเจ้า”? - จากเรื่องเล่าในตอนแรก เราจะพบว่าผู้เป็นลูกสะใภ้นั้น เจริญชีวิตแบบตามใจ ฉันซึ่งเป็นแบบตามธรรมชาติที่ไม่ดี แต่หลานชายตัวน้อยนั้น แม้ยังเป็นเด็กแต่ก็ สามารถเจริญชีวิตตามการดลใจของพระจิตเจ้า ผลการกระทำ�ของทั้งสองคนจึงออกมา อย่างแตกต่างกัน - ขึ้นชื่อว่า “มนุษย์” ยิ่งกว่านั้น เราเป็น “คริสตชน” เรามีวิญญาณ มีสติปัญญา ที่จะสามารถสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมรอบข้างเราให้มีความสุขได้ด้วยการทำ�ดี เพราะ เราทราบดีว่าการทำ�ดีย่อมนำ�ความสุขสู่ตนเองและผู้อื่น ตรงกันข้ามการทำ�ไม่ดีหรือ ทำ�ชัว่ ย่อมนำ�ความทุกข์และความเสียหายมาสูต่ นเองและผูอ้ นื่ เช่นเดียวกัน หากสังเกต ตั ว เราเองหรื อ สั ง คมทุ ก วั น นี้ จ ะพบว่ า ส่ ว นใหญ่ มี แ ต่ เรื่ อ งที่ นำ � ความทุ ก ข์ ม ากกว่ า ความสุข ซึ่งสาเหตุมักจะมาจากความเห็นแก่ตัวและความหยิ่งจองหองของมนุษย์เรา นั่นเองที่ทำ�ให้คนเราสามารถทำ�ร้ายผู้อื่นได้ในทุกรูปแบบ และยิ่งเราทำ�ร้ายผู้อื่น มากเท่าใด เราก็ยิ่งทำ�ร้ายตัวเองมากเท่านั้นเพราะกฎแห่งกรรมสอนไว้ว่า “ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชัว่ ได้ชวั่ ” ซึง่ ทุกศาสนาก็เชือ่ เช่นนีจ้ งึ สอนให้คนทำ�ดี ไม่มใี ครตัดสินเราได้นอกจาก การกระทำ�ของตัวเราเอง

ดูใบงาน “ตามใจฉันหรือ ตามพระจิต?” ท้ายแผน


38

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระเจ้าก็เช่นกัน พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดที่ทำ�ผิดต่อพระจิตเจ้าจะไม่ได้รับการอภัย เลย (ดู มก 3:29) นั่นหมายความว่า ผู้ใดไม่ฟังเสียงของพระจิตเจ้าที่ดลใจให้เขาทำ�ดี แล้วหันกลับไปทำ�ความชัว่ เขาจะไม่มสี ทิ ธิไ์ ด้เข้าสูส่ วรรค์ เพราะคนชัว่ ทีป่ ฏิเสธพระเจ้า เขาก็จะได้รับผลตามการกระทำ�ของเขา - เราแต่ละคนคงไม่อยากเป็นคนที่ปฏิเสธพระเจ้าและปรารถนาจะได้รับรางวัล แห่งการทำ�ดีคือ ได้มีความสุขนิรันดรในโลกหน้าหรือในสวรรค์ แต่ข้อแลกเปลี่ยนเพื่อ จะได้สิ่งนี้คือ การต้องสละละทิ้งสิ่งไม่ดีและพยายามซื่อสัตย์ในการทำ�ดีนั่นเอง 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเลือกข้อปฏิบัติ 1 ข้อจากใบงานที่ตรงกับตนเองมากที่สุด 7 ภาวนาปิดท้าย ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่แล้วสวดบท “พระสิริรุ่งโรจน์ฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


39

ใบความรู้ เรื่อง “ถ้วยเก่ากับคนแก่” ครั้งหนึ่ง มีบ้านหลังหนึ่งมีสามี ภรรยา ลูกชาย และอาม่าแก่ๆ คน หนึ่ง อาม่าแก่มากและไม่แข็งแรง มีอาการมือสั่นตลอดเวลา ทำ�ให้ถือ ของลำ�บาก โดยเฉพาะเวลาที่อาม่าทานข้าวร่วมกับครอบครัว อาม่า จะถือชามข้าวได้ลำ�บากและทำ�ข้าวหกลงบนโต๊ะตลอดเวลา ลูกสะใภ้อาม่ารำ�คาญกับเรื่องนี้มาก จึงปรึกษากับสามีว่า เวลาอาม่าทานข้าวเขาจะทำ�ข้าวหกเกลือ่ นโต๊ะ นางทนไม่ได้เพราะมัน ทำ�ให้รู้สึกกินข้าวไม่ลง สามีก็ไม่รู้จะทำ�อย่างไร เพราะเขาไม่สามารถ ทำ�ให้อาม่าหายมือสั่นได้ อีกไม่กี่วัน ลูกสะใภ้ก็พูดกับสามีเรื่องนี้อีกว่าจะไม่แก้ไขอะไรเลยหรือ นางทนไม่ได้แล้ว หลังจากโต้เถียงกันไปสักพัก สามีก็ยอมตามภรรยา โดยเมื่อถึงเวลาทานข้าว เขาจะจัดให้แม่ นั่งแยกโต๊ะต่างหากเพียงคนเดียว และใช้ถ้วยข้าวถูกๆ บินๆ เพราะอาม่าทำ�ถ้วยแตกบ่อยๆ เมื่อถึงเวลาทานข้าว อาม่าเศร้าใจมาก เพราะอาม่าก็ไม่มีปัญญาจะแก้ไขอะไรได้ นางนึกถึงอดีต ที่นาง เลีย้ งดูลกู ชายด้วยความรักเสมอมา นางไม่เคยบ่นต่อความเหนือ่ ยยาก และเวลาทีล่ กู ชายเจ็บไข้นางก็ดแู ลอย่าง ดี เวลาลูกชายมีปัญหาก็ช่วยแก้ไขทุกครั้ง แต่ตอนนี้อาม่ารู้สึกว่าถูกทิ้ง อาม่าเสียใจมาก หลายวันผ่านไป อาม่ายังเศร้าใจ รอยยิ้มเริ่มจางหายไปจากใบหน้าของอาม่า หลานชายน้อยๆ ขอ งอาม่าซึ่งเฝ้าดูทุกอย่างมาตลอดก็เข้ามาปลอบใจและบอกคุณย่าว่า เขารู้ว่าคุณย่าเสียใจมากที่พ่อแม่ของเขาทำ� แบบนี้ แต่หลานชายมีวิธีที่จะให้อาม่ากลับไปทานข้าวรวมกับทุกคนได้ ความหวังเริ่มเกิดขึ้นในหัวใจของหญิงชรา จึงถามหลานชายว่าจะทำ�อย่างไร หลานก็ตอบว่าเย็นนี้ให้ คุณย่าแกล้งทำ�ชามของคุณย่าตกแตกเหมือนกับไม่ได้ตงั้ ใจ อาม่าได้ฟงั ก็แปลกใจ แต่เด็กน้อยยืนยันว่า ให้คณ ุ ย่า ทำ�ตามที่บอก ที่เหลือปล่อยเป็นหน้าทีของหลานเอง และแล้วเมือ่ ได้เวลาอาหารเย็น หญิงชราก็ตดั สินใจลองทำ�ตามทีห่ ลานพูด เพือ่ จะดูวา่ หลานมีแผนอะไร หญิงชรายกถ้วยข้าวเก่าทีเ่ ต็มไปด้วยรอยบิน่ ขึน้ แล้วแกล้งปล่อยลงบนพืน้ เหมือนกับหลุดมือ ถ้วยข้าวเก่าๆ แตก กระจายยับเยิน ลูกสะใภ้เห็นถ้วยแตกเสียหายก็ลุกขึ้นเตรียมจะด่าว่าอาม่า แต่ลูกชายตัวน้อยของนางกลับชิงพูดขึ้นมา ก่อนว่า “คุณย่าทำ�ไมทำ�ชามแตกหมดเลยล่ะครับ หนูกะว่าจะเก็บไว้ให้คุณแม่ใช้ตอนแก่นะ แล้วคุณแม่จะได้ใช้ ชามเก่าที่ไหนกันล่ะเนี่ย…”

ลูกสะใภ้เมื่อได้ยินลูกชายพูดเช่นนี้ก็หน้าซีดและด่าอาม่าไม่ออกอีกต่อไป นางรู้ทันทีว่าสิ่งที่นางทำ�จะ เป็นตัวอย่างให้ลกู ชายของนางปฏิบตั เิ มือ่ นางแก่ตวั ลง นางรูส้ กึ อับอายและสำ�นึกกับการกระทำ�ของตัวเอง ตัง้ แต่ นั้นมาทุกคนก็ทานข้าวรวมกันมาตลอด


40

ใบงาน “ตามใจฉันหรือตามพระจิต” คำ�ชีแ้ จง - ให้ผเู้ รียนเขียนการกระทำ�ของตนลงในช่องที่ 2 และ 3 ตามความเป็นจริงของตน (ไม่ตอ้ งให้คะแนน) 1) เหตุการณ์ 1. เมื่อถูกผู้ใหญ่ตักเตือนเพราะฉัน ทำ�ผิด 2. เมื่อรู้สึกเกียจคร้านในการเรียน หรือช่วยงานบ้าน 3. เมื่อเก็บเงินหรือสิ่งของมีค่าของ เพื่อนหรือคนอื่นได้ 4. เมื่อเห็นเพื่อนมีสิ่งของที่ดีหรือ แพงกว่าของฉัน 5. เมื่อเห็นครูหรือคุณพ่อคุณแม่ ถือของหนักมากมาย

2) การกระทำ�ตามธรรมชาติ 3) ทำ�ตามการดลใจของพระจิต


41

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง พระศาสนจักร : พระศาสนจักรสากล

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า พระศาสนจักรมีลักษณะเป็นสากล คือเปิดให้ทุกคนทุกชาติ ทุกศาสนาเข้ามาเป็นสมาชิกได้ เพื่อทุกคนจะได้รับความรอดพ้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงตนเป็นมิตรต่อผู้ที่นับถือต่างศาสนา โดยไม่แสดงความรังเกียจ หรือว่าตนดีกว่าเขา สาระการเรียนรู้ ลักษณะเด่นอันหนึ่งของพระศาสนจักรคือ ความเป็นสากล หมายถึงการเปิดตนเองให้คนทุกชาติและ ศาสนาสามารถเข้ามาอยู่ในพระอาณาจักรของพระเจ้าได้ เพราะพระเยซูคริสตเจ้าทรงประทานความรอดพ้นให้แก่มนุษย์ ทุกคนที่เปิดใจรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้นคริสตชนแต่ละคนจะต้องแสดงความเคารพและเป็นมิตรต่อคนที่นับถือ ศาสนาอื่น เพื่อให้เขาเปิดใจและเข้ามาอยู่ร่วมในพระอาณาจักรของพระเจ้าด้วย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย / สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเอาบัตรคำ�ที่เขียนว่า “INTER” มาให้ผู้เรียนดูและให้ช่วยกันแปล ความหมาย โดยถามเพิม่ เติมว่าคำ�นีย้ อ่ มาจากคำ�ว่าอะไร? ซึง่ แปลว่าอะไร? (แปลตาม ตัวอักษรว่า “ระหว่างประเทศ/ชาติ”) นอกนั้นอาจให้ผู้เรียนยกประสบการณ์ของตน เกี่ยวข้องกับคำ�ว่า “INTER” มาแบ่งปันเพิ่มเติมได้ เช่น มีดาราหรือนักร้องไทยที่ “Go Inter” กันหลายคน ฯลฯ - ผู้สอนถามต่อว่า แล้วเราแต่ละคนมีความเป็น “INTER” กันบ้างไหม? ให้ ผู้เรียนไตร่ตรองและแบ่งปันตามที่แต่ละคนเข้าใจ - ในที่สุด ผู้สอนอาจสรุปว่า เราคริสตชนโดยอาศัยศีลล้างบาป ในฐานะสมาชิก ของพระศาสนจักร เราทุกคนก็มีความเป็น “INTER” กันด้วยทุกคน เพราะเหตุใด? - ให้เรามาหาคำ�ตอบจากพระวาจาของพระเยซูเจ้ากัน 3 พระวาจา 1.พระเยซูเจ้าทรงส่งบรรดาอัครสาวกไปทั่วโลก (มธ 28:16-20) บรรดาศิษย์ทั้งสิบเอ็ดคนได้ไปยังแคว้นกาลิลี ถึงภูเขาที่พระเยซูเจ้าทรงกำ�หนด ไว้เมื่อเขาเห็นพระองค์ก็กราบนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ พระเยซูเจ้าเสด็จเข้ามา ใกล้ ตรัสแก่เขาเหล่านัน้ ว่า “พระเจ้าทรงมอบอำ�นาจอาชญาสิทธิท์ งั้ หมดในสวรรค์และ บนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนัน้ ท่านทัง้ หลายจงไปสัง่ สอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอนเขา

ดูตัวอย่างบัตรคำ�ท้ายแผน

ดูภาพท้ายแผน


42

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้ปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไป ตราบจนสิ้นพิภพ” 2.อุปมาเรื่องงานวิวาหมงคล (มธ 22:1-10) พระเยซูเจ้าทรงเล่าเป็นอุปมาอีกเรื่องหนึ่งว่า “อาณาจักรสวรรค์เปรียบได้กับ กษัตริยพ์ ระองค์หนึง่ ซึง่ ทรงจัดงานอภิเษกสมรสให้พระโอรส ทรงส่งผูร้ บั ใช้ไปเรียกผูร้ บั เชิญให้มาในงานวิวาห์ แต่พวกเขาไม่ต้องการมา พระองค์จึงทรงส่งผู้รับใช้อื่นไปอีก รับสั่งว่า ‘จงไปบอกผู้รับเชิญว่า บัดนี้เราได้เตรียมการเลี้ยงไว้พร้อมแล้ว ได้ฆ่าวัวและ สัตว์อ้วนพีแล้ว ทุกสิ่งพร้อมสรรพ เชิญมาในงานวิวาห์เถิด’ แต่ผู้รับเชิญมิได้สนใจ คนหนึ่งไปที่ทุ่งนา อีกคนหนึ่งไปทำ�ธุรกิจ คนที่เหลือได้จับผู้รับใช้ของกษัตริย์ ทำ�ร้าย และฆ่าเสีย กษัตริย์กริ้ว จึงทรงส่งกองทหารไปทำ�ลายฆาตกรเหล่านั้นและเผาเมือง ของเขาด้วย แล้วพระองค์ตรัสแก่ผู้รับใช้ว่า ‘งานวิวาห์พร้อมแล้ว แต่ผู้รับเชิญไม่เหมาะ สมกับงานนี้ จงไปตามทางแยก พบผู้ใดก็ตาม จงเชิญมาในงานวิวาห์เถิด’ บรรดาผู้รับ ใช้จึงออกไปตามถนน เชิญทุกคนที่พบมารวมกัน ทั้งคนเลวและคนดี แขกรับเชิญจึงมา เต็มห้องงานอภิเษกสมรส

4 อธิบายพระวาจา - จะเห็ น ได้ ว่ า พระวรสารตอนแรกนั้ น เป็ น ตอนเดี ย วกั น กั บ บทเรี ย นเรื่ อ ง “พระศาสนจักรคือผู้แพร่ธรรม” แต่ในหัวข้อนี้เราจะเน้นในอีกประเด็นหนึ่ง คือ “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา” กล่าวคือ นอกจากที่ พระเยซูเจ้าจะทรงต้องการให้บรรดาศิษย์ไปเทศนาให้มีคนมากมายมาเป็นศิษย์ ของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงต้องการให้บรรดาสาวกไปยัง “นานาชาติ” นั่น หมายความว่า ไปทั่วโลก ไปยังทุกชาติ ทุกภาษา ทุกศาสนา เพราะความรอดพ้นของ พระองค์นั้นเพื่อมนุษย์ทุกคน ไม่ได้จำ�กัดว่าต้องเป็นชาติหรือศาสนาใด - ส่วนพระวรสารตอนที่สอง เน้นให้เราเห็นชัดเจนขึ้นอีกว่า ชนชาติที่พระเจ้า ทรงเลือกสรรตั้งแต่แรกนั้นได้ปฏิเสธคำ�เชิญของพระองค์ในการเข้าสู่งานวิวาหมงคลที่ พระองค์ ไ ด้ ท รงตระเตรี ย มไว้ อ ย่ า งดี ที่ สุ ด ซึ่ ง หมายถึ ง เข้ า ร่ ว มงานเลี้ ย งนิ รั น ดร ของพระองค์ ดังนั้น อาศัยอุปมาเรื่องนี้ พระองค์จึงทรงอยากสอนเราให้เข้าใจชัดว่า พระอาณาจักรของพระองค์นั้นมีไว้สำ�หรับทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ความรอดพ้นของ พระองค์ไม่มีการปิดกั้นแต่เปิดสู่ทุกคนที่มีน้ำ�ใจดีจะรับ “ข่าวดี” ของพระองค์ - ดังนั้น พระวาจาทั้งสองตอนสอดคล้องกันอย่างดี และอยากจะบอกแก่เราว่า พระอาณาจักรของพระเจ้าเปิดสำ�หรับทุกคน การไถ่บาปของพระเยซูคริสตเจ้านั้นมี สำ�หรับทุกคนเช่นกัน พระองค์ไม่ทรงจำ�กัดพระพรของพระองค์แก่ผู้ใดทั้งสิ้น เพราะ ทุกคนล้วนเป็น “ลูก” ของพระองค์ - ในความหมายนี้เองที่พระศาสนจักรเข้าใจธรรมชาติของตนเองว่า จะต้องเปิด สู่ทุกคนตามพระประสงค์ของพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นศีรษะ นี่แหละคือความหมาย ของคำ�ว่า พระศาสนจักรมีความเป็น “สากล”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูภาพท้ายแผน


43

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากพระเยซูเจ้าทรงต้องการประทานความรอดพ้นของพระองค์ให้แก่ทุกคน แล้วเราเองก็ตอ้ งมีหน้าทีร่ ว่ มมือกับพระองค์ดว้ ยการสร้างสัมพันธ์ฉนั มิตรในเชิงบวกกับ ผูท้ นี่ บั ถือศาสนาอืน่ เพราะการเป็นมิตรทีด่ ตี อ่ กันนัน้ เป็นวิธหี นึง่ ทีเ่ ราจะนำ�บุคคลเหล่า นั้นให้มารู้จักและรักพระเยซูเจ้าได้ - แต่หากเราประพฤติตนไม่ดี ไม่ทำ �ตนเป็นคริสตชนที่ดีตามพระวาจาของ พระเยซูเจ้า บุคคลอื่นจะสัมผัสได้ว่าผู้เป็นคริสตชนนั้นแย่กว่าคนอื่น เมื่อเป็นดังนี้ แล้วใครเล่าจะเกิดความศรัทธาและความรักในศาสนาของเราได้ - ดังนั้น คำ�ว่า “สากล” ที่เป็นเอกลักษณ์ของพระศาสนจักรนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อเราแต่ละคนประพฤติตนเป็นศิษย์ที่ดีของพระเยซูเจ้า เราจึงสามารถเป็นแบบ อย่างทีท่ �ำ ให้ผพู้ บเห็นประทับใจในตัวเรา และจะเกิดศรัทธาในองค์พระเยซูเจ้าได้ เฉพาะ ด้วยวิธนี เี้ ท่านัน้ เราจึงจะสามารถทำ�ให้ผอู้ นื่ เข้าใจความเป็นสากลของพระศาสนจักรได้ 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงตนเป็นมิตรต่อผู้ที่นับถือต่างศาสนา โดยไม่แสดงความรังเกียจ หรือว่าตนดีกว่าเขา 7 ภาวนาปิด ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้มีตัวแทนคนหนึ่งมานำ�สวดภาวนาจากใจ จากเนื้อหาที่ได้เรียนไป 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - การสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................

บัตรคำ�


44

ภาพ “พระเยซูเจ้าส่งศิษย์ไปเทศนา”

ภาพ “งานวิวาห์ที่เตรียมพร้อม”


45

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง พระศาสนจักร : แพร่ธรรม

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.1.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เอกลักษณ์หนึ่งของพระศาสนจักรคือ การแพร่ธรรม หรือ การประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้าให้แก่ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น คริสตชนจึงต้องปฏิบัติ หน้าที่นี้อย่างซื่อสัตย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเลือกปฏิบัติตามข้อตั้งใจจากใบงาน 1 ข้อ สาระการเรียนรู ้ พระศาสนจักรผู้เป็นพระวรกายของพระเยซูคริสตเจ้ามีหน้าที่หนึ่งที่สำ�คัญคือ การประกาศข่าวดีแห่ง ความรอดพ้นของพระองค์ให้แก่คนทุกชาติ ทุกศาสนาได้รู้จัก หรือที่เราเรียกกันว่า การแพร่ธรรม หรืองานธรรมทูต ซึ่ง การประกาศข่าวดีนี้สามารถทำ�ได้ทั้งด้วยวาจาและกิจการ และที่สำ�คัญคือ แต่ละคนต้องทำ�ตามวัยและความสามารถของตน อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบุคคลเป้าหมายด้วย ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ทักทาย - สวดภาวนาก่อนเรียน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ว่า “เคยรู้สึกดีใจ อะไรมากๆ ไหม? ดีใจเรื่องอะไรบ้าง? เมื่อดีใจแล้วทำ�ยังไงต่อไป? ...” ซึ่งส่วนใหญ่ ประสบการณ์ทที่ �ำ ให้ดใี จมักจะทำ�ให้เราเก็บเรือ่ งนัน้ ไว้คนเดียวไม่ได้ แต่ตอ้ งรีบแบ่งปัน ให้กับผู้อื่นอย่างเร็ว - ผู้สอนอาจยกตัวอย่างบางเรื่องที่เข้าใจง่าย เช่น คนที่ถูกลอตเตอรี่ส่วนใหญ่มัก จะประกาศให้คนอื่นรู้ บางคนก็อาจเลี้ยงอาหารด้วยจนเงินไม่เหลือก็มี - ในฐานะที่เราเป็นคริสตชน เราก็มีข่าวดีที่จะประกาศแก่คนอื่นเหมือนกัน ข่าว ดีนั้นคืออะไร? ผู้เรียนคนไหนทราบบ้าง? ลองให้แบ่งปันกัน 3 พระวาจา : พระเยซูเจ้าทรงส่งบรรดาอัครสาวกไปทั่วโลก (มธ 28:16-20) บรรดาศิ ษ ย์ ทั้ ง สิ บ เอ็ ด คนได้ ไ ปยั ง แคว้ น กาลิ ลี ถึ ง ภู เขาที่ พ ระเยซู เจ้ า ทรง กำ�หนดไว้ เมื่อเขาเห็นพระองค์ ก็กราบนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ พระเยซูเจ้า เสด็จเข้ามาใกล้ ตรัสแก่เขาเหล่านั้นว่า “พระเจ้าทรงมอบอำ�นาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมด ในสวรรค์และบนแผ่นดินให้แก่เรา เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติ ให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำ�พิธีล้างบาปให้เขาเดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และ พระจิต จงสอนเขาให้ปฏิบัติตามคำ�สั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับ ท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ”

ดูใบความรู้ 1 ท้ายแผน


46

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

4 อธิบายพระวาจา - พระวรสารตอนนี้เล่าถึงช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซูเจ้า นั่นคือเป็นช่วงหลัง จากที่พระองค์ได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากความตายแล้ว - พระองค์ได้ทรงปรากฏมาพบสาวกหลายครั้ง เช่น ที่เอมมาอุส ฯลฯ เพื่อ ยืนยันกับสาวกถึงสิง่ ทีพ่ ระองค์ได้ตรัสไว้กอ่ นจะสิน้ พระชนม์วา่ ในวันทีส่ ามพระองค์จะ ทรงกลับเป็นขึน้ มา ซึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ส�ำ หรับมนุษย์ธรรมดาทัว่ ไป แต่พระเยซูเจ้า ได้ทรงพิสูจน์ว่า คำ�ทำ�นายของพระองค์นั้นกลับเป็นความจริง - เหตุการณ์สุดท้ายบนโลกนี้ของพระเยซูเจ้าคือ การเสด็จสู่สวรรค์ ที่เราได้เห็น จากพระวาจาข้างต้น ในเหตุการณ์นั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ให้เรามาดูกัน 1. พระเยซูเจ้าทรงนัดบรรดาสาวกให้มาพบกันบนภูเขาในแคว้นกาลิลีเมื่อได้ พบแล้ว บรรดาสาวกและศิษย์ต่างก็กราบลงนมัสการพระองค์ แม้ยังมีอีกบางคนที่ยัง สงสัยอยู่ 2. พระเยซูเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้รับมอบอำ�นาจอาชญาสิทธิ์ทั้งหมดในสวรรค์ และบนแผ่นดิน 3. พระองค์ตรัสสั่งสาวกว่า ไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของพระองค์ ให้โปรดศีลล้างบาปแก่พวกเขาในนามของพระบิดา พระบุตร และพระจิต 4. ให้บรรดาสาวกสอนให้ผู้รับศีลล้างบาปทุกคนเหล่านั้นปฏิบัติตามคำ�สั่ง สอนทุกข้อที่พระเยซูเจ้าทรงสอน 5. ให้สาวกมั่นใจว่า พระองค์จะทรงอยู่กับเราทุกคนตราบจนวันสิ้นพิภพ - ตามปกติ คำ�สั่งสุดท้ายก่อนจากไปของคนๆ หนึ่งจะมีความสำ�คัญมาก และ คนรอบข้างจะให้ความสนใจที่จะนำ�ไปปฏิบัติตามเป็นพิเศษ ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน บรรดาสาวกได้จดจำ�ทุกคำ�พูดของพระเยซูเจ้าและนำ�ไปปฏิบัติตาม ดังนั้นเราทุกคน ในวันนี้จึงได้รับศีลล้างบาปและเข้าอยู่ในพระศาสนจักรของพระองค์ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - ในเมื่อคำ�สั่งสุดท้ายของพระเยซูเจ้าสำ�คัญมากเช่นนี้แล้ว เราคริสตชนในฐานะ ทีเ่ ป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าจะนำ�พระวาจาของพระองค์ทวี่ า่ “ท่านทัง้ หลายจงไปสัง่ สอน นานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา” ไปปฏิบัติได้อย่างไร? - แน่นอนว่าการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมขึ้นกับอายุและความสามารถตามวัย ของผูน้ นั้ ด้วย ดังนัน้ ผูเ้ รียนในวัยนีจ้ ะสามารถนำ�คนอืน่ ให้มาเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ได้อย่างไร? - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “ฉันจะประกาศข่าวดีถึงพระเยซูเจ้าได้อย่างไร?” - การสั่งสอนให้คนมาเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้านั้น เราสามารถเรียกได้ด้วย คำ�อื่นอีก เช่น การแพร่ธรรม งานธรรมทูต หรือการประกาศพระวรสาร ซึ่งหมายถึง การทำ�ให้คนศาสนาอื่นมาสัมผัสกับพระเยซูเจ้าด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เขารู้จัก เกิดความรักและศรัทธาในพระองค์ จนกระทั่งพวกเขาอยากจะกลายเป็น “ศิษย์”

ดูใบงานท้าย ท้ายแผน


47

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

“ผู้เชื่อ” “ผู้ติดตาม” ของพระองค์ด้วยเช่นกัน - เหตุผลที่เราคริสตชนต้องประกาศถึงพระเยซูเจ้าให้ทุกคนรู้จักก็เพราะพระองค์ คือพระผู้ไถ่บาปของมนุษย์ ทรงเป็นคนกลางเดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ดังนั้น มนุ ษ ย์ ที่ ต้ อ งการพบกั บ ความสุ ข แท้ นิ รั น ดรต้ อ งยอมรั บ พระองค์ แ ละข่ า วดี แ ห่ ง ความรอดพ้นของพระองค์ โดยการดำ�เนินชีวติ ตามคำ�แนะนำ�แห่งพระวรสารอย่างซือ่ สัตย์ - การประกาศถึงพระเยซูเจ้านั้น เราสามารถทำ�ได้ทั้งด้วยคำ�พูดและด้วยกิจการ ดังนั้น ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเลือกได้ตามสถานการณ์และความเหมาะสมกับบุคคล เป้าหมายด้วยว่าตนควรจะใช้วิธีใด? 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้ เรี ย นเลื อ กปฏิ บั ติ ต ามข้ อ ตั้ ง ใจจากใบงาน “ฉั น จะประกาศข่ า วดี ถึ ง พระเยซูเจ้าได้อย่างไร?” 1 ข้อ 7 ภาวนาปิด ให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งสวดภาวนาจากใจ ขอบคุณพระเจ้าที่ได้ทรงโปรด ให้เราเป็นคริสตชน ได้รู้จักข่าวดีแห่งความรอดพ้นก่อนมนุษย์อีกหลายๆ คน 8 การประเมินผลการเรียนรู้ - จากการสังเกต - การตอบคำ�ถาม - การร่วมมือ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ 9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ..............................................................................................................................................................................


48

ใบความรู้ 1

“คุณยายดวงเฮง ถูกหวยที่ 1 รับ 8 ล้าน เป็นเศรษฐีในพริบตา” จาก นสพ.เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 เมื่อเวลา 14.00น. วันที่17 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่ามีคนถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 จำ�นวน 2 คู่ เป็นเงิน 8 ล้านบาท อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 77 บ้านห้วยค้อ หมู่ 2 ต.หนองแวงนางเบ้า อ.พล จ.ขอนแก่น จึงเดินทาง ไปตรวจสอบและทราบว่าผูโ้ ชคดีรายนีไ้ ด้เปิดร้านขายยากาแฟ ทราบชือ่ คุณยายแฉล้ม มะลิ อายุ 78 ปี และ ขณะนี้ไม่อยู่เดินทางไปขึ้นเงินกับกองสลากตั้งแต่ช่วงเช้ามืดวันเดียวกันนี้แล้ว จากการสอบถามนางหนู สายอินทร์ อายุ 64 ปี เพื่อนบ้านคนสนิทของคุณยายแฉล้ม เปิดเผยว่า คุณยายแฉล้ม เป็นเพื่อนสนิทและเคยเล่าสู่ฟังก่อนถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 ว่า ในวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา มี คนขับขี่รถ จยย.มาเร่ขายลอตเตอรี่ที่บ้าน จึงซื้อลอตเตอรี่หมายเลข 683877 ไว้ 2 ฉบับ เนื่องจากเคยฝัน ว่าไปจับปลาในหนองน้ำ�และได้ปลาเป็นจำ�นวนมาก จนจับไม่หมด และคิดว่างวดนี้น่าจะมีโชคใหญ่อย่าง แน่นอน ขณะที่ชาวบ้านทราบข่าวจึงพากันซื้อหวยเลขท้าย 2 ตัว 77 ถูกหวยรวยทรัพท์ไปตามกันๆ อีกด้วย

ใบงาน

“ฉันจะประกาศข่าวดีถึงพระเยซูเจ้าได้อย่างไร?” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามว่า “ฉันจะประกาศถึงพระเยซูเจ้าแก่คนต่างศาสนาได้อย่างไรบ้าง?” 1. ......................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................

2. ......................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................

3. ......................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................


49

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นช่วงเวลาทีพ่ ระศาสนจักร กำ�หนดให้เพื่อคริสตชนจะได้เตรียมจิตใจต้อนรับการเสด็จมาขององค์พระผู้ไถ่บาปของเรา อย่างเข้มข้น - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ ด้วยการเตรียมตัวเป็นอย่างดี สาระการเรียนรู ้ เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นเทศกาลแรกของปีพิธีกรรมที่พระศาสนจักรกำ�หนดขึ้น เพื่อให้ คริสตชนเข้าใจถึงความหมายและความสำ�คัญของการเสด็จมาของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่บาปของเราและได้มีระยะเวลาที่ เหมาะสมในการเตรียมตัวต้อนรับการเสด็จมาของพระองค์ ด้วยการปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับจิตตารมณ์ของเทศกาลนี้ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นโดยตั้งคำ�ถามว่า “คุณเคยรอคอยใครไหม?” จากนั้นให้ ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกว่า การรอคอยใครสักคนนั้น เราทำ� ไปเพื่ออะไร? หากเขามาเรารู้สึกอย่างไร? ถ้าเขาไม่มาเราจะรู้สึกอย่างไร? ก่อนที่เขา จะมาถึงเราจะมีการเตรียมตัวไหม? จะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? - ให้ ผู้ เรี ย นไตร่ ต รองว่ า ในเทศกาลคริ ส ต์ ม าสนั้ น เกิ ด เหตุ ก ารณ์ อ ะไรขึ้ น ? ความหมายแท้ของคริสต์มาสคืออะไร? เทศกาลนี้เกี่ยวข้องอะไรกับ “การรอคอย” บ้างไหม? 3 พระวาจา : (มก 1:2-3) “มีเขียนไว้ในหนังสือประกาศกอิสยาห์ว่าดูซิ เราส่งผู้นำ�สารของเราไปข้างหน้า ท่าน เพื่อเตรียมทางสำ�หรับท่านคนคนหนึ่งร้องตะโกนในถิ่นทุรกันดารว่า จงเตรียม ทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า จงทำ�ทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด” 4 อธิบายพระวาจา - บริ บ ทพระวาจาตอนนี้ คื อ ตอนที่ อ้ า งอิ ง ถึ ง คำ � กล่ า วของประกาศกอิ ส ยาห์ ซึ่งกล่าวถึงผู้นำ�สารที่ประกาศถึงการเตรียมทางต้อนรับการเสด็จมาของพระเจ้า ที่ชาว อิสราเอลรอคอยมาเป็นเวลาช้านานเพื่อให้พระองค์มานำ�ความรอดพ้นให้แก่พวกเขา ชาวอิสราเอลสั่งสอนถ่ายทอดแก่ลูกหลานมาทุกชั่วอายุคนแบบนี้ และที่สำ�คัญคือ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


50

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

เขาสอนให้เตรียมตัวที่จะรับเสด็จองค์พระผู้ไถ่ด้วยการ “เตรียมทาง” โดยทำ�ทางเดิน ของพระองค์ให้ตรง - สำ�หรับเรา คำ�สอนของชาวอิสราแอลอาจมีความหมายในเชิงจิตใจมากกว่า ความหมายตามตัวอักษร ดังนัน้ เราคริสตชนกำ�ลังรอใครอยู?่ การเตรียมทางทีพ่ ระองค์ จะเสด็จให้ “ตรง” นั้นหมายความว่าอย่างไร? - พระเยซูเจ้าคือบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังนั้นการที่บุคคลยิ่งใหญ่จะเสด็จมานั้น จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม? - พระเยซูเจ้าคือพระผู้ไถ่บาป ดังนั้นพระองค์มิใช่ผู้ที่จะมาปลดแอกมนุษย์ ให้พ้นจากความทุกข์ยากฝ่ายวัตถุ แต่เป็นฝ่ายจิตวิญญาณพระองค์ทรงมาเพื่อนำ�สิ่งที่ สำ�คัญที่สุดแก่มนุษย์ นั่นคือ ความรอดพ้นชั่วนิรันดร นี่มิใช่สิ่งที่จะได้มาง่ายๆ โดยใช้ เงินทองซื้อ แต่เป็นสิ่งประเสริฐสุดที่ได้มาด้วยชีวิตขององค์พระเยซูคริสตเจ้าเอง ดังนั้น เราจะไม่เตรียมตัวต้อนรับการเสด็จมาของบุคคลที่สำ�คัญสำ�หรับเราเช่นนี้ได้หรือ? การเตรียมตัวอย่างไรเล่าจึงจะเหมาะสมที่สุด - พระศาสนจักรจึงได้กำ�หนดเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าเป็นเวลา ประมาณหนึ่งเดือนเพื่อให้เราคริสตชนเตรียมรับเสด็จพระองค์อย่างเหมาะสม - ให้ผู้เรียนอ่านเรื่อง “เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า” โดยแบ่งกลุ่ม ☆ ดูเรื่อง “เทศกาลเตรียมรับ และแบ่งเนือ้ หาตามความเหมาะสม จากนัน้ ให้ตวั แทนกลุม่ มาแบ่งปันรายงานหน้าชัน้ เสด็จพระคริสตเจ้า” ท้ายแผน 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - แม้กระทั่ง บุคคลสำ�คัญฝ่ายบ้านเมื อ งเมื่ อ จะไปที่ ไ หน สถานที่ นั้ น ก็ จ ะมี การเตรียมการอย่างดีทสี่ ดุ เพือ่ ว่าเมือ่ บุคคลนัน้ มาถึงจะได้รบั ความประทับใจ หรือแม้แต่ ในบ้านของเราเองซึง่ อาจจะไม่ใช่บา้ นหลังใหญ่โต เมือ่ เราทราบว่าจะมีคนมาเยีย่ มบ้าน เราก็จะเก็บกวาดบ้านให้สะอาดเรียบร้อย เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมเยียนรู้สึกดี นี่เป็นสิ่งปกติ สำ�หรับเราทุกคน เพราะเรามีความสำ�นึกถึงความสำ�คัญของการต้อนรับแขก และเราก็ ไม่ตอ้ งการให้ใครมาว่าได้วา่ บ้านเราไม่นา่ อยู่ ไม่สะอาดเรียบร้อย เราย่อมอยากให้แขก รู้สึกดีและประทับใจที่ได้มา - แต่ในความจริงก็คือ การเสด็จมาของพระเยซูคริสตเจ้านั้นไม่สามารถจะนำ�มา เปรียบเทียบกับการเยี่ยมเยียนของมนุษย์คนใดได้เลย เพราะเป้าหมายของมนุษย์นั้น อาจจะมีหลากหลายมากมายซึ่งสำ�หรับบางคนอาจเป็นเป้าหมายที่เห็นแก่ตัวก็ได้ แต่ สำ�หรับพระองค์แล้ว พระองค์ทรงมาเพื่อความรอดพ้นของเรามนุษย์แต่อย่างเดียว เท่านั้น ไม่มีผลประโยชน์ใดของพระองค์เองเจือปนอยู่ด้วยเลย - ดั ง นั้ น เวลาประมาณหนึ่ ง เดื อ นของการเตรี ย มรั บ เสด็ จ การบั ง เกิ ด ของ พระเยซูเจ้านั้น จึงเป็นเวลาที่สำ�คัญและเหมาะที่สุดสำ�หรับเราที่จะ “เตรียมทางของ พระองค์ให้ตรง” เพือ่ ว่าเมือ่ พระองค์จะเสด็จมานัน้ จะได้ไม่พบว่าเส้นทางทีน่ �ำ สูบ่ า้ น ของเรานั้นคดเคี้ยวเลี้ยวลด มีแต่ขวากหนามกั้นอยู่ เป็นหลุมเป็นบ่อ สกปรก ฯลฯ จน ทำ�ให้พระองค์ตอ้ งเดินมา ด้วยความยากลำ�บากเสมือนว่าเราไม่อยากจะต้อนรับพระองค์ เสี ย เลย ยิ่ ง เมื่ อ เข้ า มาในบ้ า นแล้ ว ยั ง ต้ อ งพบกั บ สิ่ ง สกปรกมากมาย กลิ่ น เหม็ น


51

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

แมลงสาป ฯลฯ จนทำ�ให้พระองค์ต้องรีบกลับออกไปอย่างรวดเร็ว เพราะสภาพบ้าน เช่นนีเ้ ท่ากับว่าเราไม่ตอ้ งการต้อนรับพระองค์แน่นอน เมือ่ เป็นอย่างนีแ้ ล้ว เราจะได้รบั พระพรแห่งความรอดพ้นทีพ่ ระองค์ทรงนำ�มานัน้ ได้อย่างไร? ถ้าเราฉลาดพอทีจ่ ะเข้าใจ ว่าพระพรนัน้ สำ�คัญต่อชีวติ นิรนั ดรของเรามากเพียงใด เราก็คงจะไม่ปล่อยตนเองให้อยู่ ในสภาพเช่นนี้แน่ - การ “เตรียมทางให้ตรง” หมายความว่า เตรียมจิตใจของเราให้สะอาดบริสทุ ธิ์ ปราศจากบาป ประดับประดาด้วยคุณธรรมมากมาย เช่น มีความเชื่อ ความรัก และ ความไว้วางใจต่อพระเจ้า และในเวลาเดียวกันก็รู้จักที่จะแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ด้ ว ยความเสี ย สละในหลากหลายรู ป แบบตามแต่ โ อกาส ด้ ว ยความสำ � นึ ก ต่ อ พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่สอนว่า “ท่านทำ�สิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดของเรา คนหนึ่ง ท่านก็ทำ�สิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) ซึ่งจริงๆ แล้วนี่คือสิ่งที่คริสตชนต้อง ปฏิบัติเป็นประจำ�อยู่แล้ว แต่บางคนอาจจะหลงลืมและไม่ใส่ใจ พระศาสนจักรจึงได้ กำ�หนดช่วงเวลาพิเศษเพื่อเตือนใจเราให้สำ�นึกถึงความสำ�คัญของการเตรียมรับเสด็จ พระเยซูคริสตเจ้า และให้แต่ละคนเตรียมตัวอย่างดีที่สุดด้วย - กิ จ กรรม ให้ ผู้ เรี ย นเข้ า กลุ่ ม ย่ อ ย ตอบคำ � ถามว่ า “ฉั น จะปฏิ บั ติ อ ย่ า งไร เพื่อจะเตรียมรับเสด็จพระเยซูคริสตเจ้าอย่างดีที่สุด?” กลุ่มละ 5 คำ�ตอบ แล้วให้ส่ง ตัวแทนมาแบ่งปันหน้าชั้น จากนั้นผู้สอนจึงให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกข้อปฏิบัติของตน 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ ด้วยการเตรียมตัวเป็นอย่างดี 7 ภาวนาปิด ให้ตัวแทนผู้เรียนหนึ่งคนนำ�สวดภาวนาจากใจ จากเนื้อหาที่ได้เรียนมา จากนั้น ให้ทุกคนสวดบท “วันทามารีย์” พร้อมๆ กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผูเ้ รียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

สมุดบันทึกการประเมินผล

9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................


52

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าหรือทีค่ ริสตชนคาทอลิกรุน่ เก่าๆ มัก จะใช้ทับศัพท์ว่า “อัดแวนโต” (Advento) ซึ่งให้ความหมายตามคำ�ศัพท์ภาษา ลาตินว่า“การมาถึง” เป็นเทศกาลทีไ่ ด้รบั การถือปฏิบตั ใิ นพระศาสนจักรตะวันตก ส่วนใหญ่อันเป็นช่วงเวลาของการรอคอยและของการเตรียมตัวเตรียมจิตใจเพื่อ การสมโภชการสมภพของพระเยซูคริสตเจ้าในวันคริสต์มาสเทศกาลเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้าถือว่าเป็นการเริ่มต้นปีพิธีกรรมของพระศาสนจักรตะวันตก ส่วน พระศาสนจักรตะวันออกเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลถือศีลอดพระคริสตสมภพ” (Nativity Fast) ซึ่งจะแตกต่างออกไปทั้งในช่วงระยะเวลาและการถือปฏิบัติและ มิได้เป็นการเริ่มต้นของปีพิธีกรรมของพระศาสนจักรตะวันออกซึ่งจะเริ่มต้น เทศกาลนี้ในวันที่ 1 กันยายน ในปฏิทินปีพิธีกรรมของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ศาสนจักรนิกายลูเธอรันและศาสนจักรแองคลีกัน เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าจะเริ่มต้นจากวันอาทิตย์ที่ 4 โดยให้นับถอยหลังจากก่อนวันที่ 25 ธันวาคม คือจะเป็นวันอาทิตย์ที่อยู่ในช่วงของวันที่ 27 พฤศจิกายนและวันที่ 3 ธันวาคม เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าหรือที่ภาษาลาตินใช้คำ�ว่า “Adventus” เป็นการแปลจากภาษากรีก คำ�ว่า “Parousia” ซึ่งโดยปรกติแล้วมักจะหมายถึง “การเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า” บรรดา คริสตชนต่างเชื่อว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นการรำ�ลึกถึงการเสด็จมาครั้งแรกที่บรรดาชาวฮีบรู รอคอยการมาบังเกิดของพระแมสสิยาห์ของพวกเขาเช่นเดียวกับทีบ่ รรดาชาวคริสตชนกำ�ลังรอคอยการเสด็จกลับมา อีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า เนื้อหาและคำ�สอนของบทอ่านระหว่างเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเตรียม รับเสด็จการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า ในขณะเดียวกันก็ร่วมรำ�ลึกถึงการเสด็จมาครั้งแรกของ พระคริสตเจ้าในวันคริสต์มาสและเพือ่ เป็นการชีน้ ำ�ความคิดอ่านของบรรดาคริสตชนให้มงุ่ ไปสูก่ ารเสด็จมาครัง้ แรก ของพระเยซูคริสตเจ้าในฐานะที่เป็นพระผู้ไถ่และมุ่งไปสู่การเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์ ในฐานะที่เป็น พระตุลาการผู้สูงสุดพระศาสนาจักรผู้เป็นมารดาก็ได้นำ�เสนอบทอ่านเป็นพิเศษสำ�หรับแต่ละวันอาทิตย์ตลอดทั้ง 4 สัปดาห์ เพื่อเป็นการปลุกจิตสำ�นึกแห่งวันสมโภชพระคริสตสมภพให้กับบรรดาสัตบุรุษ สำ�หรับพระศาสนจักรตะวันตกสีที่ใช้ในพิธีกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบูชาขอบพระคุณ ก็คือสีม่วง ณ วันอาทิตย์ที่ 3 ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า “วันอาทิตย์แห่งความชืน่ ชมยินดี” (Gaudete Sunday) ก็ให้ใช้สดี อกกุหลาบได้ เช่นเดียวกับ ณ วันอาทิตย์ที่ 4 ของเทศกาลมหาพรตแต่กม็ ศี าสนจักรบางแห่งและบางนิกาย ที่ให้ใช้สีน้ำ�เงินแทนสีม่วง เพราะถือว่าสีน้ำ�เงินเป็นสีแห่งความหวัง ซึ่งก็เหมาะกับเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ส่วนพระศาสนจักรตะวันออกก็ให้ใช้สีแดงในเทศกาลถือศีลอดพระคริสตสมภพ


53

ในช่วงเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า มีบทสร้อยขับร้องเป็นพิเศษสำ�หรับเทศกาลนี้ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง “เชิญเถิด เชิญเถิด องค์เอมมานูเอล” ฯลฯ จากศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าได้มีการถือปฏิบัติเรื่องการจำ�ศีลอด อาหารอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับเทศกาลมหาพรตพระศาสนจักรบางท้องที่ได้เริ่มการจำ�ศีลอดอาหารตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนซึ่งเป็นวันฉลองนักบุญมารติน เดอ ตูรส์หรือที่มักเรียกกันว่า “40 วันของนักบุญมารติน” ใน วันสุกดิบหรือวันก่อนฉลองนักบุญมารตินนี้ พระศาสนจักรบางท้องทีไ่ ด้มกี ารทานเลีย้ งกันอย่างขนาดใหญ่เนือ่ งจาก วันรุ่งขึ้นก็จะต้องเริ่มทำ�การจำ�ศีลอดอาหาร ต่อมาพระศาสนจักรนิกายลูเธอรันและนิกายแองคลีกันได้ผ่อนคลาย ลงในเรื่ อ งนี้ รวมทั้ ง พระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิ ก ในเวลาต่ อ มาด้ ว ยแต่ ก็ ยั ง คงรั ก ษาจิ ต ตารมณ์ ข องการทำ � พลีกรรมใช้โทษบาปสำ�หรับเทศกาลนี้ต่อไปอย่างไรก็ตามพระศาสนจักรตะวันออกยังคงรักษาการถือปฏิบัติการ จำ�ศีลอดอาหารเป็นเวลา 40 ปีไว้ดั้งเดิม ในพระศาสนจักรบางท้องที่ ยังคงรักษาธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมบางอย่างอยู่แต่บางท้องที่ก็ได้ยกเลิกไป แล้วเช่นในประเทศตอนเหนือๆ ของยุโรปที่หญิงยากจนจะอุ้มตุ๊กตา 2 ตัว ซึ่งแต่งตัวเป็นพระกุมารเยซูและแม่พระ ไปเยี่ยมตามบ้านโดยหวังว่าบ้านที่ได้รับการเยี่ยมจากพระกุมารและแม่พระจะทำ�บุญให้บ้าง ในแคว้นนอร์มังดีประเทศฝรั่งเศส พวกชาวนาจะใช้เด็กๆ ที่อายุต่ำ�กว่า 12 ให้วิ่งไปรอบๆ ทุ่งนาและสวน ผลไม้ ใช้ไต้จุดไฟเผาฟางข้าวเพราะเชื่อว่าจะเป็นการขับไล่ตัวหนอนและแมลงที่จะมาทำ�ลายพืชผล และในแคว้น คาลาเบรียประเทศอิตาลีกจ็ ะมีการเล่นเป่าปี/่ ขลุย่ หน้าสักการะสถานของแม่พระพระมารดาของพระกุมารเยซู เพราะ พวกเขาเชื่อว่าคนเลี้ยงแกะได้เป่าปี่/ขลุ่ยให้พระกุมารเยซูฟัง เมื่อพวกเขามาที่ถ้ำ�เลี้ยงสัตว์ที่เบธเลเฮมเพื่อมาถวาย คารวะแด่องค์พระกุมารเยซู เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเสด็จมาของพระเยซูคริสตเจ้าในเวลาและ ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เป็นช่วงเวลาแห่งการรอคอย ดังนั้นการเตรียมตัวเตรียมจิตใจในเทศกาลที่สำ�คัญ นี้เพื่อการสมโภชพระคริสตสมภพอย่างมีคุณค่าและอย่างบังเกิดผลสำ�หรับชีวิตของคริสตชนแต่ละคน ก็คือ - ตื่นตัวตื่นเฝ้าในความเชื่อ ในการสวดภาวนา เปิดหัวใจยอมรับรู้ “เครื่องหมาย” แห่งการเสด็จมาของ องค์พระคริสตเจ้าในทุกๆ กรณีแวดล้อมและในทุกๆ ขณะของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ที่กำ�ลังรอคอยการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์ - ดำ�เนินชีวิตตามแบบอย่างขององค์พระเยซูคริสตเจ้ากลับใจละทิ้งกิเลส ปลูกฝังคุณธรรม - เป็นประจักษ์พยานความชื่นชมยินดีที่องค์พระผู้ไถ่ได้นำ�มาให้กับมนุษยชาติในการเสด็จมาบังเกิดเป็น มนุษย์ของพระองค์ รู้จักอดทนและให้อภัยซึ่งกันและกัน - เฝ้ารักษาจิตใจให้ยากจนและว่างเปล่าปล่อยวางโดยเลียนแบบอย่างของแม่พระ นักบุญยอแซฟ และ นักบุญยอห์น แบปติสต์ - ร่วมในพิธบี ชู าขอบพระคุณในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าอันเป็นการต้อนรับองค์พระเยซูคริสตเจ้า ที่เสด็จมาอยู่ท่ามกลางพวกเราอย่างต่อเนื่องในชีวิตของเรา


54

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลพระคริสตสมภพ

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลคริสต์มาสหรือพระคริสตสมภพคือช่วงเวลาแห่ง การเฉลิมฉลองการบังเกิดของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่บาปมนุษย์ - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ อย่างตั้งใจและด้วยการเตรียม ตัวอย่างดี สาระการเรียนรู ้ เทศกาลพระคริสตสมภพอยู่ในลำ�ดับเทศกาลที่สองในปีพิธีกรรม (ต่อจากเทศกาลเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้า) เป็นช่วงเวลาประมาณยี่สิบวันที่คริสตชนเฉลิมฉลองการบังเกิดของพระเยซูคริสตเจ้า พระผู้ไถ่บาปของเรา ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ให้ครูร้อง (หรือเปิดซีดี) เพลง “Happy Birthday” ให้ผู้เรียนฟังเมื่อจบแล้วให้ ผู้สอนสังเกตดูว่า ผู้เรียนจะมีปฏิกิริยาอะไร (อาจถามว่า “ใครเกิดวันนี้?” ฯลฯ) ทำ�ไม ผู้เรียนจึงถามเช่นนี้? เพราะเขาได้ทำ�ประสบการณ์ว่า ในบริบทของเราเมื่อมีการฉลอง วันเกิดจะร้องเพลงนี้กัน รวมทั้งในอีกหลายๆ ประเทศด้วย ผู้สอนอาจป้อนคำ�ถาม อืน่ อีกว่าเวลามีคนอืน่ ฉลองวันเกิดให้กบั เรา เรารูส้ กึ อะไรบ้าง? ทำ�ไมจึงต้องมีการฉลอง วันเกิดกันด้วย? วันเกิดของเรานั้นสำ�คัญไฉน? เราคงดีใจมากเมื่อมีคนคิดถึงเรา ในวันเกิดและจัดฉลองให้กับเรา - แต่ตามปกติคนส่วนใหญ่ก็ทำ�ฉลองแค่ในวงคนรู้จักของตนเท่านั้น แต่ให้เรา มาดูว่า มีบุคคลหนึ่งที่มีวันเกิดซึ่งทุกชาติทั่วโลกทำ�การฉลองให้ผู้นั้นคือใคร? ทำ�ไม วันเกิดของเขาจึงยิง่ ใหญ่มากขนาดนี?้ แน่นอนไม่มวี นั เกิดของมนุษย์คนไหนจะยิง่ ใหญ่ เทียบเท่ากับของพระองค์ได้ 3 พระวาจา : (ลก 2:4-7) “โยเซฟออกเดินทางจากเมืองนาซาเร็ธในแคว้นกาลิลีไปยังเมืองของกษัตริย์ดาวิด ชื่อเบธเลเฮมในแคว้นยูเดีย เพราะโยเซฟสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์กษัตริย์ดาวิด ท่านไปลงทะเบียนพร้อมกับพระนางมารีย์ซึ่งกำ�ลังทรงพระครรภ์ ขณะที่อยู่ที่นั่น ก็ถงึ กำ�หนดเวลาทีพ่ ระนางมารียจ์ ะมีพระประสูตกิ าล พระนางประสูตพิ ระโอรสองค์แรก ทรงใช้ผ้าพันพระวรกายพระกุมารนั้น แล้วทรงวางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากไม่มีที่ใน ห้องพักแรมเลย”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


55

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

4 อธิบายพระวาจา - ขณะที่พระนางมารีย์ท รงครรภ์แ ก่ ใกล้จะคลอดบุตร ทั้ง น.ยอแซฟและ พระนางมารีย์ก็ต้องออกเดินทางไปลงทะเบียนที่เมืองของกษัตริย์ดาวิดตามคำ�สั่งใน พระราชกฤษฎีกา ดังนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็ออกเดินทางด้วยเช่นกัน ทำ�ให้ห้องพัก ไม่วา่ งเพราะมีคนเข้าไปพักอยูก่ อ่ นท่านทัง้ สองจึงต้องเร่รอ่ นไปหาทีพ่ กั แต่ขณะเดินทาง นั้น ก็ถึงเวลาที่พระนางจะให้กำ�เนิดบุตร ทั้งสองท่านจึงต้องไปพักอาศัยอยู่ในถ้ำ�เลี้ยง สัตว์ ในถ้�ำ นัน้ เองทีอ่ งค์พระเยซูกมุ ารเจ้าได้ทรงบังเกิดมา พระองค์คอื พระผูไ้ ถ่บาปของ มวลมนุษย์ - แม้พระองค์จะทรงบังเกิดอย่างคนยากจน ที่ไม่มีแม้แต่บ้านหรือที่พักตาม โรงแรมดีๆ แต่พระองค์กท็ รงเป็นผูท้ มี่ นุษย์ในประวัตศิ าสตร์หลายคนรอคอย พระองค์ ได้ทรงเจริญชีวติ โดยทำ�ให้แผนการไถ่บาปของพระบิดาเจ้าสำ�เร็จไป ดังนัน้ การบังเกิด ของพระองค์จึงเป็นที่จดจำ�ของมนุษย์มากมาย ตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว จนถึง ปัจจุบันนี้ 5 ประยุกต์เข้ากับชีวิต - นี่แหละ จึงเป็นที่มาของการฉลองวันเกิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก นั่นคือการเฉลิม ฉลองคริสต์มาส หรือพระคริสตสมภพ หรือทีเ่ ราเรียกกันภาษาง่ายๆ ว่า การบังเกิด ของพระเยซูคริสตเจ้า ไม่มีใครอีกแล้วที่จะฉลองวันเกิดได้ยิ่งใหญ่และสง่างามเท่ากับ พระองค์ เพราะแม้แต่คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็ยังฉลองคริสต์มาสกันด้วย ความชื่นชมยินดี เพราะกลายเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่เป็นสากลไปเสียแล้ว - เราคริสตชนมิได้ฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าเพียงวันเดียวเท่านั้นแต่มี การเตรียมฉลองล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า และ ฉลองคริสต์มาสอีกเป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ - เป็นเรื่องปกติของคนเราที่จะต้องเตรียมการณ์ล่วงหน้าสำ�หรับเหตุการณ์สำ�คัญ เช่น งานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะเตรียมตัวกันในระยะยาว เพราะเป็นงานที่มีความสำ�คัญและมีความหมายซึ่งมีรายละเอียดมากมายซึ่งดูผิวเผิน อาจคล้ายกับว่าเป็นการฉลองที่เน้นภายนอก แต่ที่จริงแล้ว การฉลองแต่ละอย่างล้วน มีความสำ�คัญและความหมายต่อจิตใจด้วยทั้งสิ้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฉลอง คริสต์มาส” - สำ �หรับเราคริสตชน “คริสต์มาส” ต้องเป็นการฉลองที่มิใช่แบบผิวเผิน ภายนอกเท่านั้น แต่ต้องมีความหมายที่ลงลึกเข้าถึงจิตใจเรา คือการที่ “พระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่ทรงมาบังเกิดในจิตใจของเรา เพื่อทรงมานำ�ความรอดพ้น ให้ แ ก่ เราแต่ ล ะคน” แต่ จ ะมี สั ก กี่ ค นที่ ฉ ลองคริ ส ต์ ม าสแบบลึ ก ซึ้ ง เช่ น นี้ ไ ด้ ? พระศาสนจักรผู้เป็นเสมือนมารดาจึงได้กำ�หนดให้ “การฉลองพระคริสตสมภพ” ยาวนานเป็น “เทศกาล” เพื่อให้คริสตชนได้มีเวลาเจริญชีวิตของธรรมล้ำ�ลึกที่สำ�คัญ และยิง่ ใหญ่นอี้ ย่างเต็มเปีย่ มด้วยความหมายมากกว่า ดังนัน้ จึงมิใช่เป็นการฉลองเพียง ไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันเท่านั้น ดังเช่นการฉลองอื่นทั่วๆ ไป

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


56

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- “หลังจากที่ได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ผู้เรียนควรจะปฏิบัติเช่นไรบ้าง?” ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มย่อยๆ เพื่อตอบคำ�ถามนี้ จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มมา แบ่งปันหน้าชั้น เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนเลือกข้อปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด - ข้อปฏิบัติหนึ่งที่สามารถเสนอแนะให้กับผู้เรียนได้คือ การไปร่วมมิสซาและ รับศีลมหาสนิทอย่างตั้งใจด้วยการเตรียมตัวเป็นอย่างดี เพราะการฉลองพระคริสตสมภพคือการรับเสด็จพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงบังเกิดเข้ามาในจิตใจของเราซึ่งแม้ว่า การระลึกถึงอย่างเป็นทางการนั้นจะมีเพียงปีละครั้ง แต่เราคริสตชนสามารถรับเสด็จ พระเยซูเจ้าเข้ามาในจิตใจได้เสมอทุกครั้งที่เรารับศีลมหาสนิท ดังนั้น ข้อปฏิบัตินี้จึง เหมาะสมอย่างมากเพราะเราสามารถทำ�ได้บ่อยๆ ทุกครั้งที่เรารับศีลมหาสนิท 6 หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนไปร่วมมิสซาและรับศีลมหาสนิทบ่อยๆ อย่างตั้งใจและด้วยการเตรียม ตัวอย่างดี 7 ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ทุกคนสวด “บทวันทามารีย์” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผู้เรียน สมุดบันทึก กิจกรรมและคำ�ภาวนาของผู้เรียน

สมุดบันทึกการประเมินผล

9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


57

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลมหาพรต

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลมหาพรตคือช่วงเวลา 40 วันในปีพิธีกรรมคาทอลิก ที่คริสตชนเตรียมตัวเข้าสู่เทศกาลปัสกา ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำ�คัญที่สุดของชีวิตคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนเจริญชีวิตในช่วงมหาพรตด้วยจิตตารมณ์แห่งการชดเชยใช้โทษบาป สาระการเรียนรู ้ เทศกาลมหาพรต (Lent) แปลเป็นภาษาลาตินว่า “ที่สี่สิบ” เริ่มตั้งแต่วันพุธรับเถ้าไปจนถึงช่วงบ่ายของ วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ เป็นเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ หรือ 42 วัน เป็นช่วงเวลาเพื่อเตรียมสู่การสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่ง ใหญ่และสำ�คัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เทศกาลมหาพรตเป็นช่วงเวลาเฉพาะที่คริสตชนจะชดเชยใช้โทษบาปของตน ด้วยการเสียสละตนเอง ทำ�พลีกรรม อดอาหาร สวดภาวนา และให้ทาน ทำ�หน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ปฏิบัติกิจเมตตาปรานี และความรักเป็นพิเศษแก่ทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่อยู่ในความทุกข์ยากลำ�บากตามกฎของพระศาสนจักรคาทอลิก ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนป้อนคำ�ถามแก่ผู้เรียน เช่น นักเรียนคนใดอยากสอบได้เกรด 4 ทุกวิชา บ้าง?...ใครอยากสอบได้ที่ 1 บ้าง?...ใครอยากเรียนเก่งๆ บ้าง?...เพราะเหตุใด?...ฯลฯ ผู้เรียนหลายคนคงจะยกมือเพราะต้องการสอบได้คะแนนดีๆ อยากได้รางวัลจาก ผูป้ กครองหรือครู...หรือไม่บางคนก็อยากให้มคี นชมว่าตัวเองเรียนเก่งบ้างเพราะมักจะ สอบตกหลายๆ วิชา ฯลฯ - แต่เพื่อจะบรรลุถึงสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้นั้น ผู้เรียนจะต้องทำ�อะไรบ้าง? ให้ ผู้เรียนเสนอความเห็นแบบหลากหลาย...โดยที่สุดผู้สอนอาจสรุปคำ�ตอบทั้งหมดได้ว่า เพื่อเราจะบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม จำ�เป็นที่เราจะต้อง เจริญชีวิตในปัจจุบันให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น มิฉะนั้นเราก็ไม่มีวันจะบรรลุถึง ความสำ�เร็จทีต่ งั้ ไว้ได้เพราะเส้นทางทีเ่ รากำ�ลังเดินไปนัน้ มันอาจจะนำ�เราไปสูเ่ ป้าหมาย อื่นก็ได้ - เช่นเดียวกัน ปัสกาคือเหตุการณ์สำ�คัญที่สุดของชีวิตคริสตชน เพราะเป็น การร่วมในการทรมาน การสิ้นพระชนม์ เพื่อจะกลับคืนชีพพร้อมกับพระเยซูเจ้า และ ร่วมในความสุขนิรนั ดรกับพระองค์ นีค่ อื เป้าหมายของชีวติ คริสตชน เพราะคงไม่มใี คร อยากมีความทุกข์ในนรกชัว่ นิรนั ดร ดังนัน้ ปัสกาก็เปรียบเสมือนกับการสอบครัง้ สำ�คัญ ที่สุดของชีวิต ซึ่งเราต้องสอบผ่านเท่านั้น จะสอบตกไม่ได้ แล้วเราจะสอบผ่านได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


58

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

อย่างไร? ให้เรามาดูกัน 3

พระวาจา : (ยน 12:24-25) “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงในดินและตาย ไปมันก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามันตายมันก็จะบังเกิดผลมากมายผู้ที่รัก ชีวติ ของตนย่อมจะเสียชีวติ นัน้ ส่วนผูท้ พี่ ร้อมจะสละชีวติ ของตนในโลกนีก้ ย็ อ่ มจะรักษา ชีวิตนั้นไว้สำ�หรับชีวิตนิรันดร”

4

อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงใช้เรื่องจริงที่เข้าใจไม่ยากในการอธิบายถึงความจริงของชีวิต เพราะเรื่องของเมล็ดข้าวเป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งชาวยิวซึ่งส่วนใหญ่ เป็นเกษตรกร ดังนั้น การอธิบายถึงความจริงที่เป็นนามธรรมด้วยสิ่งที่มองเห็นและ แตะต้องได้เป็นตัวช่วยที่ทำ�ให้เข้าใจเรื่องนั้นๆ ได้ดีที่สุด - เรื่องเมล็ดข้าวเกี่ยวข้องกับความหมายของ “มหาพรต” ได้อย่างไร? อธิบาย ได้คอื ถ้าเมล็ดข้าวใดไม่ตกในดิน ไม่เน่าเปือ่ ย ไม่สลายไป มันก็ไม่สามารถจะเกิดชีวติ ใหม่ได้ ซึ่งชีวิตใหม่ที่เกิดมานั้น แม้จะมาจากข้าวเพียงเม็ดเดียวแต่เมื่อมันเติบโตขึ้น มาแล้ว มันสามารถออกรวงทีใ่ ห้เมล็ดข้าวอย่างนับไม่ถว้ น ซึง่ ข้าวแต่ละเม็ดก็สามารถ เกิดเป็นข้าวต้นใหม่อีกได้ ดังนั้น จากข้าวเพียงเม็ดเดียวที่ “ยอมเน่าเปื่อยและ สลายไป” จะทำ�ให้เกิดข้าวได้อีกมากมาย - เปรียบเทียบกับชีวิตของมนุษย์ทุกคน เฉพาะอย่างยิ่งของคริสตชนก็เช่นกัน ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายก็คือ “ความสุขนิรันดร” แต่ความสุขนั้นจะบรรลุถึงไม่ได้หาก ชีวิตของเราแต่ละคนไม่ได้ผ่าน “การเน่าเปื่อยและสลายไป” เช่นเดียวกับสิ่งที่ได้เกิด ขึ้นกับเมล็ดข้าวนั้น สิ่งนี้หมายความว่าอะไร? ก็หมายความตรงกับที่พระเยซูเจ้าได้ ตรัสไว้ว่า “...ผู้ที่ยอมเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราจะพบชีวิตนั้นอีก” (มธ 10:39) - พระเยซูคริสตเจ้า ในฐานะพระอาจารย์เจ้า พระองค์ทรงให้แบบอย่างที่ชัดเจน แก่เราทุกคน นั่นคือ พระองค์ทรงยอมสละชีวิตของพระองค์เองตั้งแต่ทรงบังเกิดมา อย่างยากจน ทรงเจริญชีวิตอย่างดีและบริสุทธิ์ไร้ตำ�หนิ ทรงอุทิศตนเทศน์สอน ประชาชนด้วยความอุตสาหะและลำ�บากอย่างมากมาย เพราะพระองค์ทรงยืนยันถึง ภารกิจของพระองค์ว่า แม้แต่ “สุนัขจิ้งจอกยังมีโพรงนกในอากาศยังมีรังแต่บุตรแห่ง มนุษย์ไม่มีที่จะวางศีรษะ” (มธ 8:20) จนที่สุดพระองค์ได้ทรงเดินเข้ากรุงเยรูซาเล็ม เพื่อรับความตาย เสมือนเมล็ดข้าวที่ “ตาย” แต่เป็นความตายที่ทำ�ให้มนุษย์อีก มากมายได้เกิดสู่ชีวิตใหม่

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า สิ่งใดมีค่าย่อมไม่ได้มาง่ายๆ ดังนั้นในทางกลับกัน สิ่ง ใดทีไ่ ด้มาง่ายๆ ย่อมไม่คอ่ ยมีคา่ การจะได้มาซึง่ สิง่ มีคา่ นัน้ ย่อมเรียกร้องจากเราอย่าง มาก เช่น การทีจ่ ะประสบความสำ�เร็จในการเรียน เราย่อมต้องยอมสละการดูทวี ี อย่าง น้อยในช่วงก่อนสอบ ต้องขยันทำ�การบ้าน อ่าน-ทบทวนหนังสือ ฯลฯ บางคนต้อง ยอมนอนดึกและตื่นแต่เช้าเพื่อจะท่องหนังสือ หรือการจะประหยัดอดออมสะสมเงิน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


59

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพือ่ จะได้ซอื้ สิง่ ของบางอย่างทีต่ อ้ งการ จำ�เป็นทีเ่ ราจะต้องงดหลายสิง่ หลายอย่างทีเ่ คย ทำ�เพื่อจะได้มีเงินเหลือสำ�หรับสะสมให้เพียงพอที่จะนำ�ไปซื้อสิ่งที่ต้องการได้ หรือ การอยากไปเทีย่ วบางแห่งซึง่ ต้องใช้เงินจำ�นวนมาก ก็เรียกร้องให้เราต้องสะสมเงินอีก เช่นกัน มันทำ�ให้เราฟุ่มเฟือยเหมือนเดิมไม่ได้ - สิ่งเหล่านี้แม้เป็นเพียงแค่ความต้องการฝ่ายวัตถุเท่านั้น แต่มันก็ช่วยให้เรา เข้าใจได้วา่ เพือ่ จะได้บรรลุเป้าหมายบางอย่างทีเ่ ราตัง้ ไว้นนั้ จำ�เป็นทีเ่ ราจะต้องเตรียม ตัวโดยสละอะไรบางอย่าง ยิ่งหากเป็นเป้าหมายฝ่ายจิตใจหรือวิญญาณด้วยแล้ว เรา ยิ่งต้องมีการเตรียมตัวทั้งทางกายและใจอย่างเต็มที่เลยทีเดียวและนี่คือความหมาย สำ � คั ญ ของเทศกาลมหาพรต เพราะเป็ น เทศกาลที่ จ ะช่ ว ยเราให้ เ ตรี ย มตั ว เข้ า สู่ เทศกาลปัสกาได้อย่างดี อันเป็นเทศกาลทีเ่ ราจะต้องร่วมในการทรมาน ตาย และกลับ คืนชีพร่วมกับพระเยซูคริสตเจ้า - ดังนั้น ให้เราแต่ละคนเจริญชีวิตในช่วงเทศกาลมหาพรตด้วยจิตตารมณ์แห่ง การชดเชยใช้โทษบาป ด้วยข้อปฏิบัติที่พระศาสนจักรกำ�หนดให้ดังนี้ 1. ตามบัญญัติของพระเป็นเจ้าคริสตชนทุกคนต้องชดเชยใช้โทษบาปของตน ตามวิธกี ารของแต่ละคนและเพือ่ การปฏิบตั ริ ว่ มกันจึงได้ก�ำ หนดวันชดเชยใช้โทษบาป ซึ่งคริสตชนจะได้สวดภาวนาปฏิบัติกิจเมตตาปราณีและความรักเป็นพิเศษ เสียสละ ตนเอง และทำ�หน้าที่ของตนอย่างซื่อสัตย์ (ม.1249) 2. ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมใน พระศาสนจักรทั่วไป (ม.1250) 3. ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่เป็นวันอดเนื้อหรืออดอาหารอื่น ตามข้อกำ�หนดของสภาพระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นวันอด เนื้อและอดอาหาร (ม.1252) 4. คริสตชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ คริสตชน ทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 59 ปีบริบูรณ์ต้องอดอาหาร - พระศาสนจักรยังสอนในเรื่องของการอดเนื้อและการอดอาหาร ซึ่งสามารถ ดูได้จากใบความรู้เรื่อง “การอดเนื้อและอดอาหาร” - นอกจากกฎของพระศาสนจักรข้างบนนี้แล้ว เราแต่ละคนยังสามารถหา ข้อปฏิบัติที่ช่วยให้เราได้เจริญชีวิตในช่วงเวลามหาพรตอย่างเข้มข้นด้วยการเลือกข้อ ปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเองอีก เช่น จะไม่พูดจาหยาบคายแต่จะพูดจาดีเสมอกับ ทุกคน เฉพาะอย่างยิง่ กับคนทีเ่ ราไม่ชอบ หรืออาจจะเป็นการอดออมเงินบางส่วนเพือ่ แบ่งปันให้กับคนที่ยากไร้ ฯลฯ เพื่อให้การปฏิบัติตนของเราในช่วงนี้เตรียมเราสู่ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงกับธรรมล้ำ�ลึกปัสกาที่กำ�ลังจะมาถึง

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนเจริญชีวิตในช่วงมหาพรตด้วยจิตตารมณ์แห่งการชดเชยใช้โทษบาป

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


60

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

7 ภาวนาปิดท้าย ผู้สอนให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ ให้แรงจูงใจในการสำ�นึกถึงความเป็นคนบาป ของเรา จากนั้นให้สวด “บทแสดงความทุกข์” พร้อมๆ กันอย่างตั้งใจ 8 การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผู้เรียน สมุดบันทึก กิจกรรมและคำ�ภาวนาของผู้เรียน

สมุดบันทึกการประเมินผล

9 บันทึกผลหลังการสอน .......................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................................ .................................................................................................................................................................................


61

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลปัสกา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า เทศกาลปัสกาเป็นช่วงเวลาที่คริสตชนระลึกถึงเหตุการณ์ ที่สำ�คัญที่สุดแห่งประวัติศาสตร์แห่งความรอดซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่การทรมาน การ สิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนร่วมพิธีมิสซาด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์ต่อการไปร่วมมิสซาใน วันอาทิตย์ สาระการเรียนรู ้ เทศกาลมหาพรตจะสิ้นสุดลงในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ต่อจากนั้นจะเข้าสู่เทศกาลปัสกา ซึ่งในเทศกาลนี้ พระศาสนจักรต้องการให้คริสตชนเจริญชีวิตร่วมกับการทรมาน การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้าอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้ ร่วมส่วนในการกลับคืนชีพของพระองค์ด้วยเพราะนี่คือเหตุการณ์ที่เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์แห่งความรอดของ คริสตชนแต่ละคนและของมนุษยชาติทั่วโลกในความหมายดั้งเดิมของชาวอิสราแอล ปัสกาหมายถึง “การผ่าน” จากการเป็น ทาสของชาวอียิปต์ไปสู่อิสรภาพในแผ่นดินแห่งพระสัญญาโดยการนำ�ของโมเสสและด้วยอัศจรรย์ต่างๆ 10 ประการ ส่วนใน พันธสัญญาใหม่ ปัสกาหมายถึงการผ่านจากความตายนิรันดรไปสู่อิสรภาพของการเป็นบุตรของพระเจ้า ได้รับสิทธิ์ที่จะมี ความสุขนิรันดรกับพระองค์ อาศัยชีวิตและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้า ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผูส้ อนเปิดการเสวนาโดยตัง้ คำ�ถามว่า “มีใครทราบบ้างว่า ‘ปัสกา’ หมายความ ว่าอย่างไร?” จากนั้นให้ผู้เรียนตอบคำ�ถาม แล้วดูว่ามีใครสามารถตอบถูกบ้างไหม? พยายามให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามทุกคนเพื่อกระตุ้นให้แต่ละคนคิดถึงเหตุการณ์ที่สำ�คัญ มากที่สุดในชีวิต แต่คริสตชนส่วนใหญ่มักไม่คิดและไม่ให้ความสำ�คัญเลย - แต่เราควรจะเป็นคริสตชน “คุณภาพ” ที่ใส่ใจในทุกมิติของชีวิตและเจริญ ชีวติ อย่างลึกซึง้ ถึงแก่น ไม่ใช่อย่างผิวเผินแค่ระดับกะพี้ เพราะถ้าเราไม่ใส่ใจทำ�อะไรให้ จริงจังสิ่งนั้นมันมักไม่ค่อยมีค่า - ให้เรามาดูกันดีกว่าว่า ปัสกาที่เรากล่าวถึงนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราจริง หรือไม่? อย่างไรบ้าง? - พระคัมภีร์มีกล่าวถึงเรื่อง “ปัสกา” ไว้ว่าอย่างไรบ้าง? ให้เรามาดูกันอย่าง ย่อๆ เพราะหากจะเรียนรู้ฉบับเต็มต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


62

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

3

พระวาจา 1. “ตั้งแต่นั้นมาพระเยซูเจ้าทรงเริ่มแจ้งแก่บรรดาศิษย์ว่า พระองค์จะต้องเสด็จ ไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับการทรมานอย่างมากจากบรรดาผู้อาวุโส หัวหน้าสมณะและ ธรรมาจารย์จะถูกประหารชีวติ แต่จะทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันทีส่ าม” (มธ 16:21) 2. เปโตรยืนขึ้นพร้อมกับบรรดาอัครสาวกสิบเอ็ดคนและพูดกับประชาชนด้วย เสียงดังว่า “ท่านทั้งหลาย ชาวยูเดีย และท่านที่อาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม จงตั้งใจฟัง วาจาของข้าพเจ้าเถิด แล้วท่านจะรูว้ า่ เกิดอะไรขึน้ ...พระเยซูเจ้าทรงถูกมอบในเงือ้ มมือ ของท่านตามทีพ่ ระเจ้ามีพระประสงค์และทรงทราบล่วงหน้าแล้ว ท่านใช้มอื ของบรรดา คนอธรรมประหารพระองค์โดยตรึงบนไม้กางเขน แต่พระเจ้าทรงบันดาลให้พระองค์ กลับคืนพระชนมชีพ พ้นจากอำ�นาจแห่งความตายเพราะความตายยึดพระองค์ไว้ใต้ อำ�นาจอีกต่อไปไม่ได้” (กจ 2:14, 23-24)

4

อธิบายพระวาจา - พระเยซูเจ้าทรงทราบดีถึงภารกิจที่พระบิดาเจ้าทรงมอบให้พระองค์ทรงกระทำ� เพราะในฐานะมนุษย์พระองค์ทรงมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับพระคัมภีร์ ทรงทราบอย่าง ชัดเจนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็น “พระผู้ไถ่” ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เอง ถึงกระนั้น พระองค์กท็ รงยินดีและเต็มพระทัยทีจ่ ะกระทำ�ให้การไถ่บาปสำ�เร็จไปแม้วา่ จะเรียกร้อง ให้พระองค์ตอ้ งสละชีวติ ก็ตาม แต่พระองค์กท็ รงกระทำ�ด้วยความรักอันหาขอบเขตมิได้ ต่อพระบิดาเจ้าและต่อเรามนุษย์ทุกคนที่ทรงสร้างมา - เหตุการณ์ปัสกา หรือการทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของ พระเยซูเจ้านั้นได้เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่ชนร่วมสมัยเดียวกันกับ พระเยซูเจ้าได้เห็นเป็นประจักษ์พยาน ได้เล่าและได้บันทึกไว้ให้ชนรุ่นหลังรับรู้สืบต่อ กันมา ดังที่เราจะเห็นได้จากหนังสือกิจการอัครสาวกที่เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับวัน เปนเตกอสเตว่า เปโตรและอัครสาวกอีกสิบเอ็ดคนได้ประกาศให้แก่ประชาชนรู้ถึง เรือ่ งราวช่วงสุดท้ายของพระเยซูคริสตเจ้าซึง่ ตรงกับคำ�ทีป่ ระกาศกอิสยาห์ได้ท�ำ นายไว้ และที่พระเยซูเจ้าได้กล่าวอ้างอิงถึง

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - คำ�ว่าปัสกา ในความหมายเดิมของชาวยิวแปลว่า “การผ่าน” จากการเป็นทาส ของชาวอิ ยิ ป ต์ ไ ปสู่ อิ ส รภาพในดิ น แดนแห่ ง พระสั ญ ญา คื อ แผ่ น ดิ น คานาอั น ที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก หลังจากเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น ชาวยิว ในยุคต่อๆ มาได้ระลึกถึงฉลองปัสกานั้นเป็นประจำ�ทุกปี จนกลายเป็นธรรมเนียมที่ ชาวยิวอาวุโสจะเล่าให้ลูกหลานฟังถึงมหัศจรรย์ที่พระเจ้าทรงกระทำ�กับพวกเขาเพื่อ ช่วยให้พวกเขาได้รอดพ้นจากการเป็นทาสจากประเทศอียิปต์ - แต่พระเจ้าทรงมีแผนการยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก พระองค์ไม่ทรงต้องการช่วยเฉพาะ ชาวยิวเท่านั้น แต่ทรงต้องการให้มนุษย์ทุกคนที่ทรงสร้างมานั้นได้รับปัสกาที่มี ความหมายบริบูรณ์ นั่นคือ “การผ่าน” จากการเป็นทาสของบาปและปีศาจ ซึ่งนำ�ไป สู่ความตายนิรันดร ไปสู่ความรอดพ้น นั่นคือไปสู่ความสุขนิรันดรแห่งชีวิต อาศัย การสละชีวิตของพระบุตรพระเยซูคริสตเจ้า

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


63

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ - เทศกาลปัสกาจึงเป็นช่วงเวลาพิเศษที่พระศาสนจักรต้องการให้คริสตชนระลึก ถึงเหตุการณ์นี้ที่มีความหมายและความสำ�คัญที่สุดต่อเราแต่ละคน เพราะเป็นเรื่องที่ เกีย่ วกับความเป็นความตายของเราชัว่ นิรนั ดรเลยทีเดียว แต่นา่ เสียดายว่าจะมีคริสตชน สักกี่คนที่รู้และเข้าใจถึงความหมายของปัสกาอย่างแท้จริงและเจริญชีวิตให้สอดคล้อง กับความหมายแท้ของปัสกา - ตามพระบัญญัติของพระศาสนจักรนั้น คริสตชนจะต้องไปร่วมมิสซาที่วัดเพื่อ “รั บ ศี ล อภั ย บาปอย่ า งน้ อ ยปี ล ะครั้ ง และรั บ ศี ล มหาสนิ ท อย่ า งน้ อ ยปี ล ะครั้ ง ใน กำ�หนดปัสกา” ถ้าจะพิจารณาให้ดีแล้ว นี่เป็นข้อกำ�หนดที่ถือว่าน้อยมาก เพราะ พระศาสนจักรเรียกร้องให้ท�ำ เพียงปีละครัง้ เดียว แต่กเ็ ป็นทีน่ า่ สังเกตว่าให้ท�ำ เพียงครัง้ เดียวก็จริงแต่เจาะจงชัดเจนว่าต้องทำ�ในช่วงเทศกาลปัสกาเท่านัน้ ซึง่ มีเวลานานถึง 40 วัน ดังที่เมื่อก่อนนี้เรียกกันว่า “ทำ�ปัสกา” - ให้เรามาไตร่ตรองความหมายแท้ของปัสกากัน ในเมื่อเราทราบแล้วว่าปัสกา มีความสำ�คัญต่อเราเพียงใด แต่เราจะไม่ได้รับผลของปัสกาหากเราไม่เจริญชีวิตให้ สอดคล้องกับจิตตารมณ์ปสั กา นัน่ คือ จำ�เป็นต้องร่วมในการทรมานและการสิน้ พระชนม์ ของพระเยซูเจ้า เราจึงจะได้ร่วมส่วนในการกลับคืนชีพของพระองค์ด้วย - การร่วมส่วนในปัสกาของพระเยซูเจ้านัน้ จะเกิดขึน้ ได้ในชีวติ จริงของเราอย่างไร? ให้ผเู้ รียนเข้ากลุม่ ย่อย แล้วตอบคำ�ถามนี้ โดยเน้นให้เป็นคำ�ตอบทีเ่ ป็นรูปธรรมให้มาก ที่สุดเพื่อผู้เรียนจะสามารถนำ�ไปเป็นข้อปฏิบัติที่มีผลต่อชีวิตของตนจริงๆ - วิธีหนึ่งที่เราจะเจริญชีวิตปัสกาได้ดีที่สุดคือ การไปร่วมมิสซาด้วยความตั้งใจ เป็นอย่างดี เพราะมิสซาคือการระลึกถึงธรรมล้�ำ ลึกปัสกาโดยการทำ�ให้เหตุการณ์ของ การทรมาน สิ้นพระชนม์และการกลับคืนชีพของพระเยซูคริสตเจ้าเกิดเป็นจริงขึ้นมา อีกครั้งหนึ่ง - ให้ ผู้ เรี ย นศึ ก ษาใบความรู้ “ปั ส กา” แล้ ว ให้ แ ต่ ล ะคนแบ่ ง ปั น ว่ า ตนเข้ า ใจ ความหมายของปัสกาอย่างไร? จากนัน้ ให้ผสู้ อนสรุปความหมายทีถ่ กู ต้องอีกครัง้ หนึง่

6

หาข้อปฏิบัติ ผูเ้ รียนร่วมพิธมี สิ ซาด้วยความตัง้ ใจและซือ่ สัตย์ตอ่ การไปร่วมมิสซาในวันอาทิตย์

7

ภาวนาปิดท้าย จากนั้นให้ตัวแทนผู้เรียนคนหนึ่งนำ�สวดภาวนา “โมทนาคุณพระเจ้า” จากใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผูเ้ รียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

9

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบความรู้ “ปัสกา” ท้ายแผน

สมุดบันทึกการประเมินผล

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................


64

ใบความรู้ “ปัสกา” คำ�ว่า “ปัสกา” ตรงกับภาษาฮีบรูวา่ “Paschal” และภาษาอังกฤษใช้คำ�ว่า “Passover” แปลว่า “ผ่าน เว้น” เป็นเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำ� พวกเขาออกจากการเป็นทาสในอียิปต์ ในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในคืนก่อนที่ฟาโรห์จะยอม ปล่อยชาวอิสราเอลให้ออกเดินทาง พระเจ้าทรงสำ�แดง อิทธิฤทธิ์ให้เกิดภัยพิบัติประการที่ 10 หลังจากที่ฟาโรห์ ปฏิเสธที่ปล่อยพวกอิสราเอล ตามคำ�บัญชาของพระเจ้า มาแล้ว 9 ครั้ง ภัยพิบัติประการที่ 10 คือ ทูตสวรรค์จะเข้าไปใน ทุกครัวเรือนของชาวอียปิ ต์ เพือ่ ปลิดชีพของบุตรหัวปีของ ทุกครอบครัว ยกเว้นแต่ครอบครัวที่เชื่อฟังพระเจ้า โดย การนำ�เอาเลือดของลูกแกะมาทาไว้ที่ประตูบ้านของตน “บ้านใด ได้กระทำ�ตามที่พระเจ้าทรงบัญชาทูตสวรรค์ก็ จะไม่เข้าไปในบ้านแต่จะ “ผ่านเว้นไป” (Pass-over) และบุตรหัวปีของครอบครัวนั้นก็จะรอดตาย!”

พิธีปัสกา มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลขนมปัง ไร้เชือ้ เนือ่ งจากในเทศกาลดังกล่าว มีขอ้ กำ�หนดทีใ่ ห้รบั ประทานขนมปังไร้เชื้อ เป็นเวลา 7 วัน ทั้งนี้เพื่อเป็น เครื่องรำ�ลึกว่า พระเจ้าทรงเลือกอิสราเอลเป็นชนชาติ บริสุทธิ์ของพระเจ้า ไม่ปะปนกับชนชาติหรือเชื้อชาติอื่น และกำ�หนดให้ชาวต่างชาติที่ต้องการเข้าร่วมพิธีปัสกา ต้องผ่านพิธีเข้าสุหนัตก่อน เพื่อแสดงถึงการเป็นชนชาติ ของพระเจ้า ในหนั ง สื อ อพยพ พระเจ้ า ทรงให้ อิ ส ราเอล กินขนมปังไร้เชือ้ เป็นเวลา 7 วัน โดยเริม่ จากเย็นวันที่ 14 ของเดือนแรก ไปจนกระทั่งเย็นวันที่ 21 ของเดือนดัง กล่าว จะต้องปัดกวาดบ้านให้ปราศจากเชื้อใดๆ หาก ผูใ้ ดรับประทานขนมปังทีม่ เี ชือ้ ในช่วงเวลาดังกล่าว จะถูก อัปเปหิออกจากชุมชน และในวันที่ 7 กำ�หนดให้เป็นวัน เฉลิมฉลองบริสุทธิ์ของพระเจ้า สำ�หรับคริสตชน “ปัสกา” มีความหมายว่า เป็ น การผ่ า นความทุ ก ข์ สู่ ค วามยิ น ดี โดยอาศั ย พิธีปัสกาในพระคัมภีร์ การทนทุกข์ทรมาน การสิน้ พระชนม์และการกลับ พิธปี สั กา เป็นพิธที ถี่ กู กล่าวถึงครัง้ แรกในหนังสือ คื น ชี พ ของพระเยซู ค ริ ส ต์ ซึ่ ง แท้ จ ริ ง แล้ ว ก็ คื อ อพยพ ซึง่ ระบุวา่ พระเจ้าทรงกำ�หนดให้ชาวอิสราเอลถือ การฉลองการได้รับชีวิตที่เป็นอิสระจากบาป และ ปฏิบัติทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์เมื่อพระองค์ ความตายนั่นเอง ทรงนำ�อิสราเอลให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสของอียปิ ต์ เป็นไทแก่ตนเอง ปั ส กา เป็ น เหมื อ นเครื่ อ งหมายเพื่ อ บอกถึ ง “ชนชาติอิสราเอล” แท้ เนื่องจากในหนังสืออพยพ เมือ่ อิสราเอลเป็นทาสอยูใ่ นอียปิ ต์นนั้ พระเจ้าทรงตัง้ พิธี ปัสกาขึน้ เพือ่ เป็นเครือ่ งหมายสำ�หรับพระเจ้าในภัยพิบตั ิ ครัง้ สุดท้าย ทีพ่ ระเจ้าจะทรงพรากบุตรหัวปีแห่งอียปิ ต์ไป แต่จะทรงผ่าน (Passoverหรือ skip over) บ้านใดก็ตาม ที่ทาเลือดแกะปัสกา อันเป็นเครื่องหมายของพิธีปัสกา ติดไว้ที่หน้าบ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกของพิธีนี้


65

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง เทศกาลธรรมดา

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.3 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของเทศกาลธรรมดาในปีพิธีกรรม - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจในเทศกาลธรรมดาอย่างดีที่สุด สาระการเรียนรู้ เทศกาลธรรมดาในปีพิธีกรรมเป็นช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างเทศกาลและสมโภชหลักของศาสนาคริสต์ เป็น เวลาที่คริสตชนเจริญชีวิตอย่างเข้มข้นเช่นเดียวกับช่วงอื่น เพื่อรับพระพรและพระหรรษทานจากพระสำ�หรับความรอดพ้นของ วิญญาณตนเองและเพื่อนพี่น้อง เทศกาลธรรมดาแบ่งเป็น 2 ช่วง สีของอาภรณ์ที่ใช้ในช่วงนี้คือ สีเขียว ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนให้ผู้เรียนตอบคำ�ถามเกี่ยวกับเรื่องปีพิธีกรรม เป็นการทบทวนเนื้อหาที่ ได้เรียนไปก่อนหน้าแล้ว ด้วยการถามว่า * ตลอดปีที่เราไปร่วมพิธีกรรมที่วัด เราได้สังเกตว่าพิธีกรรมที่เราร่วมนั้นมี ความแตกต่างอะไรกันบ้างไหม? หรือบางคนรูส้ กึ ว่าเหมือนกันหมด ไม่มอี ะไรแตกต่าง กันเลย? * เราทราบไหมว่า ปีพิธีกรรมแบ่งเป็นเทศกาลอะไรบ้าง? * พระศาสนจักรมีเหตุผลอะไรจึงต้องแบ่งปีพิธีกรรมเป็นเทศกาลต่างๆ เหล่านี้ ด้วย? * ขณะนี้เรากำ�ลังอยู่ในระหว่างเทศกาลไหน? * เราเคยได้ยินคำ�ว่า “เทศกาลธรรมดา” บ้างไหม? คำ�นี้หมายความว่าอย่างไร? - ให้ผู้เรียนช่วยกันตอบคำ�ถามทั้งหมด โดยผู้สอนช่วยเพิ่มเติมคำ�ตอบให้สมบูรณ์ แต่จะเน้นเรื่อง “เทศกาลธรรมดา” เป็นประเด็นสุดท้ายเพื่อนำ�เข้าสู่เนื้อหาของ การเรียนครั้งนี้ - ทำ�ไมเราจึงต้องมาเรียนเรื่อง “เทศกาลธรรมดา” ด้วย เพราะสิ่งธรรมดาๆ ก็คง ไม่มีอะไรน่าสนใจมากนักเพราะมันเป็นแค่เรื่องธรรมดานั่นเอง... คำ�กล่าวนี้จริงหรือ ไม่? ให้เรามาดูกันต่อไป 3 พระวาจา : อุปมาเรื่องเงินตะลันต์ (มธ 25:14-30) “อาณาจักรสวรรค์ยังจะเปรียบได้กับบุรุษผู้หนึ่งกำ�ลังจะเดินทางไกล เรียกผู้รับ

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


66

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ใช้มามอบทรัพย์สินให้ ให้คนที่หนึ่ง ห้าตะลันต์ ให้คนที่สอง สองตะลันต์ ให้คนที่สาม หนึ่งตะลันต์ ตามความสามารถของแต่ละคน แล้วจึงออกเดินทางไป “คนที่รับห้า ตะลันต์รีบนำ�เงินนั้นไปลงทุน ได้กำ�ไรมาอีกห้าตะลันต์ คนที่รับสองตะลันต์ก็ได้กำ�ไร มาอีกสองตะลันต์เช่นเดียวกัน แต่คนที่รับหนึ่งตะลันต์ไปขุดหลุมซ่อนเงินของนายไว้ “หลังจากนัน้ อีกนาน นายของผูร้ บั ใช้พวกนีก้ ก็ ลับมาและตรวจบัญชีของพวกเขา คนที่ รับห้าตะลันต์เข้ามา นำ�กำ�ไรอีกห้าตะลันต์มาด้วย กล่าวว่า ‘นายขอรับ ท่านให้ขา้ พเจ้า ห้าตะลันต์ นี่คือเงินอีกห้าตะลันต์ ที่ข้าพเจ้าทำ�กำ�ไรได้’ นายพูดว่า ‘ดีมาก ผู้รับใช้ที่ดี และซื่อสัตย์ เจ้าซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย เราจะให้เจ้าจัดการในเรื่องใหญ่ๆ จงมาร่วม ยินดีกับนายของเจ้าเถิด’ คนที่รับสองตะลันต์เข้ามารายงานว่า ‘นายขอรับ ท่านให้ ข้าพเจ้าสองตะลันต์ นี่คือเงินอีกสองตะลันต์ที่ข้าพเจ้าทำ�กำ�ไรได้’ นายพูดว่า ‘ดีมาก ผู้รับใช้ที่ดีและซื่อสัตย์ เจ้าซื่อสัตย์ในสิ่งเล็กน้อย เราจะให้เจ้าจัดการในเรื่องใหญ่ๆ จง มาร่วมยินดีกับนายของเจ้าเถิด’ “คนที่รับหนึ่งตะลันต์เข้ามารายงานว่า ‘นายขอรับ ข้าพเจ้ารู้ว่าท่านเป็นคนเข้มงวด เก็บเกี่ยวในที่ที่ท่านไม่ได้หว่านเก็บรวบรวมในที่ที่ ท่านไม่ได้โปรย ข้าพเจ้ามีความกลัว จึงนำ�เงินของท่านไปฝังดินซ่อนไว้ นี่คือเงินของ ท่าน’ นายจึงตอบว่า ‘ผูร้ บั ใช้เลวและเกียจคร้าน เจ้ารูว้ า่ ข้าเก็บเกีย่ วในทีท่ ขี่ า้ มิได้หว่าน เก็บรวบรวมในที่ที่ข้ามิได้โปรย เจ้าก็ควรนำ�เงินของข้าไปฝากธนาคารไว้ เมื่อข้ากลับ มาจะได้ถอนเงินของข้าพร้อมกับดอกเบี้ย จงนำ�เงินหนึ่งตะลันต์จากเขาไปให้แก่ผู้ที่มี สิบตะลันต์ เพราะผูท้ มี่ มี ากจะได้รบั มากขึน้ และเขาจะมีเหลือเฟือ แต่ผทู้ มี่ นี อ้ ย สิง่ เล็ก น้อยที่เขามีก็จะถูกริบไปด้วย ส่วนผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์นี้ จงนำ�ไปทิ้งในที่มืดข้างนอก ที่นั่นจะมีแต่การร่ำ�ไห้คร่ำ�ครวญ และขบฟันด้วยความขุ่นเคือง”

4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาตอนนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง “เทศกาลธรรมดา” อย่างไร? หากสังเกต เนื้อเรื่องนี้ให้ดีจะพบว่า เวลาของเรื่องแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงที่บุรุษผู้เป็น เจ้านายอยู่ในบ้าน กับช่วงที่เขาไม่อยู่ ซึ่งเราอาจจะเปรียบเทียบช่วงที่เขาอยู่บ้านเป็น ช่วงเทศกาลสมโภชหรือฉลอง ส่วนช่วงที่เขาไม่อยู่นั้นเป็นช่วงเทศกาลธรรมดาก็ได้ - ตามปกติขณะที่เจ้านายอยู่บ้าน คนรับใช้มักต่างก็กุลีกุจอ ขยันขันแข็ง ทำ� หน้าที่อย่างดีด้วยความระมัดระวัง แต่เจ้านายคนนี้ก็อยากแจกเงิน (ตะลันต์) ให้แก่ พวกเขาก่ อ นจะออกเดิ น ทาง โดยพระวรสารเล่ า เพี ย งว่ า เขามอบเงิ น ให้ “ตาม ความสามารถของแต่ละคน” แต่กลับไม่ได้กล่าวกำ�ชับอะไรเลย... ทำ�ไม? - ช่วงเวลาที่เจ้านายไม่อยู่นั้นอาจเปรียบได้กับเทศกาลธรรมดา ก็คือการมีชีวิต เป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ไม่มอี ะไรมาควบคุม เร่งรัด ไม่มกี จิ กรรมพิเศษอะไร เป็น ช่วงชีวิตที่ดำ�เนินไปเรื่อยๆ อย่างปกติธรรมดา แต่ละคนสามารถแสดงตัวตนออกมา ได้อย่างเต็มที่ (ซึ่งหลายครั้งก็เป็นพฤติกรรมซึ่งต่างกับตอนที่เจ้านายอยู่) - และก็เป็นไปตามคาด นี่คือสิ่งที่เป็นปกติวิสัยของมนุษย์ ชอบมี “ต่อหน้า” และ “ลับหลัง” ให้เราลองจินตนาการว่า หากเจ้านายแจกเงินตะลันต์เสร็จแล้ว ไม่ได้ ออกเดินทางไปทีอ่ นื่ เขาอยูท่ บี่ า้ นคอยดูวา่ คนรับใช้จะทำ�อย่างไรกับเงินนัน้ จุดจบของ เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นคนละแบบก็ได้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


67

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- แต่เป็นช่วงเวลาธรรมดานี้แหละที่คนเรามักจะเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ซึ่ง เจ้านายคนนี้อาจทราบถึงเหตุการณ์แบบนี้มานานแล้ว มาครั้งนี้จึงใช้กุศโลบายอัน แยบยลจนทำ � ให้ ค นรั บ ใช้ ต้ อ งยอมจำ � นนและรั บ ผลแห่ ง กรรมของแต่ ล ะคนตาม ความเหมาะสม ผู้ที่ใช้พระพรและเวลาอย่างดี ฉลาดและซื่อสัตย์ก็ได้รับรางวัลเป็นผล ตอบแทน ส่วนผู้ที่ใช้พระพรและเวลาอย่างเกียจคร้านก็ได้รับโทษเป็นผลตอบแทน เช่นกัน ซึ่งผลตอบแทนทั้งสองแบบนั้นต่างกันดังฟ้ากับเหว 5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงเป็นมนุษย์ผู้ปราดเปรื่องที่สุด เรื่องเปรียบเทียบหรือเรื่องเล่า แต่ละเรื่องของพระองค์นั้นจึงเป็นความจริงที่สุด มีใครสักคนไหมที่กล้าโต้แย้งว่าสิ่งที่ พระองค์สอนมานั้นไม่จริง! และตนเองรู้จริงกว่าพระองค์? - นอกนั้น เพราะพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเจ้า สิ่งที่พระองค์สอนจึงมีความเป็น อมตะและเป็นเสมือนธารน้ำ�ที่ไม่มีวันเหือดแห้ง กล่าวคือพระวาจาของพระองค์นั้น สามารถให้คำ�ตอบแก่ทุกปัญหาชีวิตของมนุษย์ได้ - เรื่องเล่าของพระวรสารข้างต้นนั้น มาตอบคำ�ถามเกี่ยวกับ “เทศกาลธรรมดา” ได้ เพราะทำ�ให้เราเข้าใจว่า พระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราใช้เวลาที่มีอยู่อย่างดีที่สุด แม้ในเวลานั้นที่ดูเหมือนมันไม่มีอะไรพิเศษเลย ซึ่งเป็นเวลาที่หลายคนมักเบื่อเพราะ ไม่รจู้ ะทำ�อะไรดี เวลาทุกวินาทีมคี ณ ุ ค่ามหาศาลเพราะมันคือสิง่ ทีม่ นุษย์เราไม่สามารถ มีได้หากหมดลมหายใจไปแล้ว ดังนั้น เราจึงควรใช้ทุกวินาทีของชีวิตแม้ในช่วงเวลา นัน้ ทีเ่ ราอาจคิดหรือรูส้ กึ ว่าเป็นเวลาทีว่ า่ งหรือไร้คา่ เพราะเราไม่มกี จิ กรรมอะไรต้องทำ� แต่จากบทสอนข้างต้นเราเข้าใจได้ว่าพระเยซูเจ้าทรงต้องการให้เราใช้ทุกเวลาอย่างดี ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นช่วงใดก็ตาม - เวลาในปีพิธีกรรมก็ไม่ต่างกัน ช่วงเทศกาลธรรมดาอาจมีการฉลองหรือสมโภช อยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีการสมโภชใหญ่ๆ เช่น สมโภชปัสกา หรือ สมโภชพระคริสตสมภพ จึงอาจทำ�ให้บางคนรูส้ กึ ว่าเทศกาลธรรมดานัน้ ไม่ได้ส�ำ คัญอะไร ซึง่ เป็นความคิดทีไ่ ม่ ถูกต้อง ไม่วา่ เวลาใดย่อมสำ�คัญเท่ากันหมด เพราะต่อหน้าพระแล้วเราต้องใช้ทกุ นาที ให้มีคุณค่าสำ�หรับความรอดพ้นของวิญญาณของเรา พระเจ้าทรงให้เวลาแก่เราก็เพื่อ สิ่งนี้ เพื่อทำ�คุณประโยชน์แก่ตนเองและแก่ผู้อื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ดังนั้น แม้ เป็นเวลาของเทศกาลธรรมดาก็เป็นเวลาแห่งความรอดพ้นเช่นกัน เราจึงไม่ควรมอง ข้ามความสำ�คัญของเวลานี้และเจริญชีวิตให้ดีและเข้มข้นที่สุดเช่นกัน - สิ่งที่เราควรทำ�ในเทศกาลธรรมดาก็คือ การร่วมพิธีกรรมในระหว่างเทศกาลนี้ ให้ดีที่สุด เพราะแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่มีอะไรพิเศษหรือน่าตื่นเต้นมากนัก แต่ก็เป็น ช่วงที่เราสามารถตักตวงเอาพระหรรษทานและความรักของพระมาสู่ตัวเราได้อย่าง มากมายโดยอาศัยการร่วมพิธีกรรมเหล่านั้น และสามารถนำ�เอาพระพรของพระที่ได้ รับไปทำ�ประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างมากมายด้วยเช่นกัน - ให้ผเู้ รียนแบ่งกลุม่ ศึกษาใบความรูเ้ รือ่ ง “เทศกาลธรรมดา” แล้วตอบคำ�ถาม ในใบงาน

ดูใบความรู้และใบงาน ท้ายแผน


68

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนปฏิบัติศาสนกิจในเทศกาลธรรมดาอย่างดีที่สุด

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนนั่ง (หรือยืน) เป็นวงกลมสงบนิ่งสักครู่ จากนั้นให้จับมือกัน สวดบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” พร้อมกันอย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผู้เรียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

9

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

สมุดบันทึกการประเมินผล

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................


69

ใบความรู้ เรื่อง “เทศกาลธรรมดา” เทศกาลธรรมดา คือช่วงเวลาของปีพิธีกรรมที่ระลึกถึงธรรมล้ำ�ลึกของพระคริสตเจ้าในระดับธรรมดา เป็นช่วงคั่นอยู่ระหว่างเทศกาลสมโภชใหญ่ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1) ช่วงแรก เริ่มตั้งแต่วันจันทร์หลังสมโภช พระคริสตเจ้าแสดงองค์ถงึ วันอังคารก่อนวันพุธรับเถ้า 2) ช่วงสอง เริม่ ตัง้ แต่วนั จันทร์หลังสมโภชพระจิตเจ้าจนถึง วันเสาร์ก่อนเริ่มเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า รวมเวลาทั้งสองช่วงประมาณ 33 หรือ 34 สัปดาห์

บทอ่านของมิสซาวันอาทิตย์ จะแบ่งเป็นปี A ปี B ปี C ดังนี้คือ

ปี A ใช้บทอ่านจากพระวรสาร น.มัทธิว ปี B ใช้บทอ่านจากพระวรสาร น.มาระโก

ปี C ใช้บทอ่านจากพระวรสาร น.ลูกา

สีของอาภรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมเทศกาลนี้คือ สีเขียว ซึ่งหมายถึงสีแห่ง “ชีวิต” และ “กิจวัตรประจำ�วัน”

ใบงาน “เทศกาลของปีพิธีกรรม” คำ�ชี้แจง - ให้แต่ละคนตอบคำ�ถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ตามปกติเธอชอบไปร่วมมิสซาที่วัดไหม? เพราะ อะไร? 2. เธอชอบส่วนไหนของมิสซามากที่สุด? เพราะอะไร? 3. เทศกาลธรรมดาแบ่งเป็นกี่ช่วง? ช่วงไหนบ้าง? 4. เทศกาลธรรมดาในปีพิธีกรรมแตกต่างจากเทศกาล อื่นอย่างไร? 5. บทอ่านของมิสซาวันอาทิตย์ในเทศกาลธรรมดาแบ่ง เป็นอย่างไร? 6. สีของอาภรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมเทศกาลธรรมดาคือ สีอะไร? ความหมายของสีนั้นคืออะไร?


70

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

เรื่อง การภาวนาของพระเยซูเจ้า

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.2.4 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างของการภาวนาแบบคริสตชน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนสวดภาวนาโดยเลียนแบบอย่างของพระเยซูเจ้า สาระการเรียนรู ้ ในฐานะพระบุตร พระเยซูเจ้าทรงเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระบิดามากที่สุด ดังนั้นพระองค์จึงทรงทราบดีกว่า มนุษย์ทุกคนว่าการภาวนาที่ดีที่สุดนั้นต้องเป็นอย่างไร พระองค์ได้ทรงสอนเราด้วยการเทศน์สอนและการให้แบบอย่าง พระเยซูเจ้าทรงภาวนาเสมอ เฉพาะอย่างเมื่อทรงต้องทำ�ภารกิจสำ�คัญๆ ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้เรียนตั้งคำ�ถามว่า “ใครเคยสวดภาวนาบ้าง? สวดว่าอย่างไร? ทำ�ไมจึงสวด? สวดเพื่ออะไร?...” ให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ตอบคำ�ถาม เพื่อหาคำ�ตอบว่าผู้เรียนเข้าใจเกี่ยว กับเรื่องการสวดภาวนาอย่างไร - คำ�ตอบทั้งหมดนั้นถูกต้องเพราะนั่นคือสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติเกี่ยวกับ การภาวนา แต่สำ�หรับเราที่เป็นคริสตชนการภาวนามีเพียงเท่านี้หรือไม่ หรือว่ามีอีก บางอย่างที่เราควรรู้เกี่ยวกับการภาวนา เพราะคำ�ตอบของผู้เรียนนั้นมีความแตกต่าง กัน ใครล่ะคือผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องกว่า? ใครจะสามารถอธิบายเรื่องนี้แก่ เราได้อย่างกระจ่างชัดและถูกต้องมากที่สุด - แน่นอน บุคคลนั้นคือพระเยซูเจ้า ให้เรามาดูว่าพระองค์ทรงสวดภาวนา อย่างไร? 3 พระวาจา : (ลก 6:12-16) “ครั้งนั้น พระองค์เสด็จขึ้นไปบนภูเขาเพื่ออธิษฐานภาวนาและทรงอธิษฐาน ภาวนาต่อพระเจ้าตลอดทั้งคืน ครั้งถึงรุ่งเช้าพระองค์ทรงเรียกบรรดาศิษย์เข้ามา แล้ว ทรงคัดเลือกไว้สิบสองคน ประทานนามว่า “อัครสาวก” คือ ซีโมนซึ่งเรียกว่า เปโตร อันดรูว์น้องชายของเขา ยากอบ ยอห์น ฟิลิป บาร์โธโลมิว มัทธิว โทมัส ยากอบบุตร อัลเฟอัส ซีโมน ผู้มีสมญาว่า “ผู้รักชาติ” ยูดาสบุตรของยากอบ และยูดาส อิสคาริโอท ต่อมายูดาสผู้นี้จะเป็นผู้ทรยศ”

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


71

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

4

อธิบายพระวาจา - จากเรื่องพระวรสารข้างต้น เราพบว่า พระเยซูเจ้าทรงภาวนาตลอดคืนบนภูเขา นั่นหมายความว่าพระองค์มิได้ทรงนอนในคืนนั้นด้วย ทำ�ให้เราเข้าใจได้ว่าพระองค์ ทรงให้ความสำ�คัญกับการภาวนาเป็นอย่างมาก

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- เมื่อพระเยซูเจ้าภาวนาพระองค์ทรงทำ�อะไร? พระองค์ทรงอยู่กับพระบิดาเจ้า ทรงสนทนาอย่างใกล้ชิดกับพระองค์ การที่พระองค์สามารถภาวนาได้ตลอดคืน หมายความว่า พระองค์ทรงปรารถนาและทรงมีความสุขทีไ่ ด้ท�ำ เช่นนัน้ มิฉะนัน้ ก็คงจะ ภาวนาเพียงไม่กชี่ วั่ โมงแล้วก็ไปพักผ่อน แต่ตลอดพระวรสารเราพบว่าพระองค์ทรงทำ� เช่นนี้หลายครั้ง (มธ 14:23; 26:36; ลก 9:18; 9:28 ฯลฯ) ซึ่งเราเข้าใจว่า ในชีวิตของ พระองค์คงจะมีการภาวนาบ่อยๆ แม้พระวรสารอาจจะไม่ได้บันทึกไว้ทั้งหมดทุกครั้ง ก็ตาม - หากเราพลิกดูเรื่องราวพระวรสารก่อนเหตุการณ์นี้จะพบว่า พระเยซูเจ้ามิได้ ทรงอยู่เฉยๆ แต่ทรงทำ�งานตลอดเวลา พระองค์ได้ทรงเรียกมัทธิวให้ติดตามพระองค์ ทรงสอนเรือ่ งการจำ�ศีลอดอาหาร เรือ่ งวันสับบาโต ทรงทำ�อัศจรรย์รกั ษาคนมือลีบ ซึง่ ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์ที่พระองค์ต้องปะทะกับชาวฟาริสีที่คอยจับผิดพระองค์ อีกทั้ง ทรงต้องสอนด้วยคำ�สอนใหม่ทตี่ า่ งจากคำ�สอนเดิมๆ ซึง่ ชาวฟาริสที �ำ ให้ประชาชนเข้าใจ ความหมายของคำ�สอนของพระเจ้าผิดเพี้ยนไป - สรุปว่า ก่อนจะถึงค่ำ�คืนนั้นพระเยซูเจ้าทรงเหน็ดเหนื่อยมากพอสมควรเพราะ ได้ทรงกระทำ�ภารกิจต่างๆ มากมาย ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังทรงปรารถนาจะอยู่กับ พระบิดามากกว่าจะเข้านอนพักผ่อนร่างกาย - อีกประเด็นสำ�คัญหนี่งที่เราเรียนรู้จากเรื่องนี้คือ พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนา ก่อนทำ�ภารกิจสำ�คัญๆ เสมอ (เช่น มธ 26:36-46 ฯลฯ) - ให้ผู้เรียนทำ�กิจกรรมจากใบงาน “พระองค์ภาวนา” เพื่อค้นคว้าหาข้อมูลว่า พระวรสารได้เล่าถึงเรื่องการภาวนาของพระเยซูเจ้าไว้อย่างไรบ้าง 5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - พระเยซูเจ้าทรงเป็นแบบอย่างแก่เราในการเจริญชีวิต เฉพาะอย่างยิ่งในมิติ ด้านการภาวนา เราสามารถภาวนาได้ตลอดเวลา เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสำ�คัญๆ ของ ชีวิต มิใช่ต้องรอให้ว่างหรือให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายสบายๆ แล้วค่อยภาวนา - แม้ในช่วงเวลานั้นที่เราต้องวุ่นวายกับปัญหาการเรียนหรือการงานต่างๆ เรา ก็สามารถภาวนาได้ แค่เพียงเรายกจิตใจขึ้นหาพระเจ้า คิดถึงพระองค์ ฝากความเป็น ห่วงกังวล ความทุกข์สุขทุกอย่างไว้กับพระองค์ พระองค์ทรงพร้อมที่จะรับฟังและช่วย เหลือเรา ขอเพียงแค่ให้เรารูจ้ กั คิดถึงพระองค์เท่านัน้ นีค่ อื มิตแิ นวตัง้ คือความสัมพันธ์ ระหว่างเรากับพระเจ้า มิใช่คอยแต่ร้องเรียกให้มนุษย์ช่วย บ่น ด่าว่าโชคชะตาหรือ พระเจ้า ถ้าเราทำ�เพียงเท่านี้ก็แปลว่าในชีวิตเรามีแต่มิติแนวนอนเท่านั้น ซึ่งสำ�หรับ คริสตชนแล้วยังไม่เพียงพอ เพราะเราเป็นลูกของพระเจ้า เรามีพระองค์อยูแ่ ละพระองค์ ทรงอยู่เคียงข้างเราเสมอ

ดูใบงาน “พระองค์ภาวนา” ท้ายแผน


72

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

- พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เราสวดภาวนาอย่างไร? แม้ในพระวรสารข้างต้นมิได้ เล่ารายละเอียดว่าพระเยซูเจ้าทรงภาวนาอย่างไร แต่มีพระวรสารอีกตอนหนึ่งที่เล่า อย่างละเอียดถึงวิธกี ารสวดภาวนาแก่เราว่า เมือ่ สวดภาวนาไม่ตอ้ งพูดซ้�ำ ซาก และเรา ต้องอภัยให้เพือ่ นพีน่ อ้ งก่อนทีจ่ ะวอนขอให้พระเจ้าทรงอภัยให้แก่เรา อีกทัง้ ยังสอนให้ เราเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” (ดู มธ 6:7-15) ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่สุดสำ�หรับชาว ยิวเพราะนี่เป็นคำ�สอนที่ไม่เคยมีมาเลยในพันธสัญญาเดิม จนทำ�ให้ชาวยิวหลายคน ยอมรับไม่ได้และเป็นเหตุให้พวกเขาอยากจะประหารชีวิตพระองค์ แต่เราเชื่อมั่นว่า พระเยซูเจ้าทรงสอนแต่ความจริงเที่ยงแท้ จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเชื่อและจะปฏิเสธไม่ได้ 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนสวดภาวนาโดยเลียนแบบอย่างของพระเยซูเจ้า

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนนั่งนิ่งสักครู่ แล้วแต่ละคนสวดภาวนาในความเงียบประมาณ 2-3 นาที จากนั้นอาจให้คนหนึ่งเป็นตัวแทนสวดภาวนาจากใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผูเ้ รียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

9

สมุดบันทึกการประเมินผล

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...............................................................................................................................................................................


73

ใบงาน “พระองค์ภาวนา” คำ�ชี้แจง - ให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม แล้วแข่งขันกันเปิดหาในพระวรสารเพื่อตอบคำ�ถามว่า “พระเยซูเจ้าทรงสวดภาวนาเมื่อใดบ้าง?” โดยใส่คำ�ตอบลงในตารางด้านล่าง กลุ่มที่ตอบถูกต้อง มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ พระวรสาร (บท/ข้อ) เหตุการณ์/สถานที่

กับใคร

เวลาใด


74

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง พระเยซูเจ้าทรงสอนให้เรารักกันและกัน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพือ่ ให้ผเู้ รียนรูแ้ ละเข้าใจว่า แก่นแท้ของคำ�สอนของพระเยซูคริสตเจ้า คือ ให้คริสตชนเจริญ ชีวิตด้วยความรักซึ่งกันและกัน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนแสดงความรักต่อบุคคลรอบข้างอย่างเป็นรูปธรรม สาระการเรียนรู ้ การเจริญชีวิตด้วยความรักคือเอกลักษณ์ของชีวิตคริสตชน เพราะพระบัญญัติทั้งหมดทั้งในพระธรรมเดิม และพระธรรมใหม่สรุปได้ในประเด็นนี้เพียงประเด็นเดียวแต่มีสองปลายทางคือ 1) คริสตชนต้องรักพระเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจ และ 2) ต้องรักเพื่อนมนุษย์ดังรักตนเอง ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยตามความเหมาะสม แล้วให้แต่ละกลุ่มอ่านและ ศึกษาใบความรู้ 1 เรื่อง “ความรักของเพื่อนผู้เสียสละ” จากนั้น ให้กลุ่มตอบคำ�ถามว่า “1) หากฉันเป็นเพื่อนชายคนนั้น ฉันจะทำ�แบบเขาหรือไม่? เพราะเหตุใด? 2) ถ้าไม่ ทำ�แบบนั้น ฉันจะทำ�อย่างไร? เพราะเหตุใด? 3) ความรักแบบนี้มีจริงหรือไม่? ถ้ามี ลองยกตัวอย่าง...” - จากนั้น ให้ตัวแทนกลุ่มแบ่งปันคำ�ตอบหน้าชั้น แล้วให้ทุกคนอภิปราย - ปิดท้ายช่วงนี้ด้วยการเปิดประเด็นที่ว่า เรื่องของ “ความรัก” เกี่ยวข้องกับ ผูเ้ ป็นคริสตชนหรือไม่อย่างไร? ให้เรามาดูวา่ พระเยซู พระอาจารย์เจ้าทรงสอนเราเกีย่ ว กับเรื่องนี้อย่างไร? 3 พระวาจา : (มก 12:28-34) ธรรมาจารย์คนหนึ่ง... ทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “บทบัญญัติข้อใดเป็นเอกกว่าบท บัญญัติข้ออื่นๆ” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “บทบัญญัติเอกก็คืออิสราเอลเอ๋ยจงฟังเถิด องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าพระเจ้าของเราทรงเป็นองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว ท่าน จะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและ สุดกำ�ลังของท่าน บทบัญญัติประการที่สองก็คือ ท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรัก ตนเอง ไม่มบี ทบัญญัตขิ อ้ ใดยิง่ ใหญ่กว่าบทบัญญัตสิ องประการนี”้ ธรรมาจารย์คนนัน้ ทูลว่า “พระอาจารย์ทา่ นตอบได้ดจี ริงทีเดียวทีท่ า่ นกล่าวว่า พระเจ้ามีแต่เพียงพระองค์

ดูใบความรู้ “ความรักของ เพื่อนผู้เสียสละ” ท้ายแผน


75

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ เดียวและนอกจากพระองค์แล้วไม่มีพระเจ้าอื่นเลย การจะรักพระองค์สุดจิตใจสุด ความเข้าใจและสุดกำ�ลังและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง นี้มีคุณค่ามากกว่า เครื่องเผาบูชาหรือเครื่องสักการบูชาใดๆ ทั้งสิ้น” พระเยซูเจ้าทรงเห็นว่าเขาพูดอย่าง เฉลียวฉลาดจึงตรัสว่า “ท่านอยู่ไม่ไกลจาก พระอาณาจักรของพระเจ้า” หลังจากนั้น ไม่มีผู้ใดกล้าทูลถามพระองค์อีกเลย

4

อธิบายพระวาจา - ธรรมาจารย์คือผู้ที่รู้จักพระคัมภีร์และกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นอย่างดี เขาจึงอยาก จะทดสอบว่าพระเยซูเจ้าผูท้ รงสอนบุคคลมากมายในหลายๆ เรือ่ งนัน้ จะสามารถตอบ คำ�ถามของเขาได้ถูกต้องหรือไม่ แต่คำ�ตอบของพระเยซูเจ้านั้นไม่ได้ทำ�ให้เขาผิดหวัง แทนที่พระองค์จะเป็นเพียงผู้ถูกทดสอบ กลับเป็นผู้ให้ความมั่นใจแก่เขาว่า “ท่านอยู่ ไม่ไกลจากพระอาณาจักรของพระเจ้า” จนหลังจากนัน้ ไม่มใี ครกล้าทดสอบหรือจับผิด พระองค์อีก - ประโยคทีว่ า่ “รักองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าพระเจ้าของท่านสุดจิตใจสุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำ�ลัง” และ “รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” นั้น เป็น พระวาจาของพระเยซูเจ้าที่มีความหมายกว้างและลึกซึ้งจนบรรยายได้ไม่หมด เพราะ พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า ทรงเป็นองค์แห่งความรักที่ไม่มีขอบเขต ดังนั้น “ความรัก” ทีพ่ ระองค์ตรัสถึงนัน้ จึงลึกซึง้ อย่างไม่มขี อบเขตเช่นกัน จนทำ�ให้เรามนุษย์ ที่มีขอบเขตนั้นเข้าใจความหมายไม่ได้ทั้งหมด - แต่เพื่อให้เราเข้าใจพระวาจาของพระองค์ได้ชัดเจนขึ้น พระเยซูเจ้าทรงสอน และอธิบายแก่เราด้วยชีวิตของพระองค์เองว่า การรักพระเจ้าอย่างสิ้นสุดจิตใจ และรัก เพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเองนั้นจะแสดงออกได้อย่างไร - ภาพพระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์บนกางเขนเป็นสิ่งพิสูจน์แก่เราในเรื่องนี้ได้ดี ทีส่ ดุ พระองค์ทรงเจริญชีวติ ด้วยความรักอย่างไม่มขี อบเขตต่อพระบิดาเจ้าโดยทรงยอม กระทำ�ทุกอย่างเพือ่ ทำ�ให้พระประสงค์ของพระบิดาเจ้าสำ�เร็จไป เฉพาะอย่างยิง่ พระองค์ ทรงต้องยอมเสียสละแม้ชีวิตในการทำ�ให้แผนการไถ่บาปมนุษย์สำ�เร็จไป อันเป็น การแสดงถึ ง ความรั ก ที่ ไ ม่ มี ข อบเขตต่ อ มนุ ษ ย์ ด้ ว ยเช่ น กั น ทรงให้ แ บบอย่ า งถึ ง การปฏิบตั ติ ามพระวาจาทีพ่ ระองค์ตรัสถึงความรักทีค่ ริสตชนต้องมีตอ่ พระบิดาเจ้าและ ต่อเพื่อนมนุษย์

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - หากพิจารณาดีๆ จะพบว่า เรื่องสั้น “ความรักของเพื่อนผู้เสียสละ” ข้างต้นนั้น มีส่วนคล้ายคลึงกับชีวิตของพระเยซูเจ้าตรงที่ว่า เราต้องแสดงความรักต่อคนอื่นไม่ว่า เขาจะรักเราหรือไม่ก็ตาม แม้ว่าเขาจะตอบสนองความรักของเราหรือไม่ก็ตาม หน้าที่ ของเราคือต้อง “รัก” - บางคนอาจคิดว่า การรักพระเจ้านั้นยากเพราะเราไม่สามารถมองเห็นพระองค์ ได้ แต่จริงๆ แล้วพระเยซูเจ้าได้ทรงเปิดเผยความจริงหนึ่งแก่เราเพื่อให้เราปฏิบัติ ความรักได้ง่ายกว่า ถือว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว นั่นคือ ทุกครั้งที่เรา

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


76

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้ แสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์เท่ากับเป็นการแสดงความรักต่อพระเจ้าแล้ว ดังพระวาจาที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ท่านทำ�สิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำ�ต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่าน ก็ทำ�สิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) ดังนั้นจึงไม่ใช่สิ่งยากเกินไปที่เราจะแสดงความรักต่อ พระเจ้าทีเ่ รามองไม่เห็น เพราะพระองค์เองทรงยืนยันว่าทรงประทับอยูใ่ นเพือ่ นพีน่ อ้ ง ที่เรามองเห็นนั่นเอง - แต่พระเยซูเจ้ามิได้ทรงเคยกำ�หนดกรณียกเว้น “ความเป็นเพื่อนมนุษย์” ต่อ บุคคลใดทั้งสิ้น หมายความว่า “ทุกคน” ต้องเป็น “เพื่อนมนุษย์ของเรา” ไม่ยกเว้น ใครเลย ไม่วา่ จะเป็นบุคคลทีเ่ รารักเขาหรือเขารักเรา หรือเราไม่รกั เขาหรือเขาไม่รกั เรา ก็ตาม เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีหลัง แม้กับบุคคลที่เราไม่รักเขาหรือเขาไม่รักเรา เราก็ ยิ่งต้องแสดงความรักต่อเขาเป็นพิเศษ เพราะพระเยซูเจ้าไม่ทรงเคยบอกว่าพระองค์ มิได้ทรงอยู่ในบุคคลเหล่านั้น - ดังนั้น เรื่องสั้น “ความรักของเพื่อนผู้เสียสละ” ก็เป็นไปได้จริง เพราะนี่คือตัว อย่างของการแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้องแบบที่ไม่หวังผลตอบแทน เพราะความรัก ทีแ่ ท้จริงนัน้ ต้องไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทัง้ สิน้ ซึง่ ก็เป็นไปตามแนวทางทีพ่ ระเยซูเจ้า ทรงสอนไว้ และตามแบบฉบับชีวิตแห่งความรักที่พระองค์ทรงให้ไว้ - ให้ผู้เรียนทำ�ใบงาน “คุณเป็นเพื่อนที่ดีพอหรือยัง?” เพื่อทดสอบดูตัวเองว่า เป็นคนที่รู้จักรักผู้อื่นอย่างเป็นรูปธรรมมากน้อยแค่ไหน? เมื่อเสร็จแล้วผู้สอนอาจ วิเคราะห์คำ�ตอบไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้น

6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนแสดงความรักต่อบุคคลรอบข้างอย่างเป็นรูปธรรม

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนสงบนิ่ง ทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้สวดบท “แสดงความรัก” พร้อมกัน อย่างตั้งใจ

8

การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผูเ้ รียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

9

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

ดูใบงาน “คุณเป็นเพื่อนที่ดี พอหรือยัง?” ท้ายแผน

สมุดบันทึกการประเมินผล

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................


77

ใบความรู้ 1

เรื่อง “ความรักของเพื่อนผู้เสียสละ” ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง... มีเพื่อนต่างเพศอยู่คู่หนึ่งเป็นเพื่อนที่รักกันมาก ฝ่ายชายจะเดินไปส่งฝ่ายหญิงที่ บ้านเสมอทุกวัน เมือ่ เวลาผ่านไป จนทัง้ สองอยูม่ หาวิทยาลัย ฝ่ายหญิงเริม่ ไปแอบชอบผูช้ ายคนหนึง่ และได้ถาม เพื่อนชายว่า “นี่ เธอว่า เค้าเหมาะกับเราไหม” “เค้าก็หล่อดีนะ นิสัยก็ดีด้วย” “เหรอ! อืม อยากให้เค้ามานั่งอยู่ข้างๆ เราจังเลยเนอะ” ต่อมาไม่นาน หญิงสาวก็ได้เป็นแฟนกับผูช้ ายคนนัน้ จริงๆ วันหนึง่ หญิงสาวบอกกับเพือ่ นชายของตนว่า “นี ่ เธอไม่ต้องมาส่งเราทุกวันแล้วแหละ ตอนนี้เค้าจะมาส่งเราแล้ว เราไม่อยากให้เค้าเข้า ใจผิดน่ะ” “อืม” ฝ่ายชายตอบรับ และเขาก็ไม่ได้ไปส่งหญิงสาวอีก ต่อมาหญิงสาวเกิดทะเลาะกับแฟนของตนจึง มาปรึกษาเพื่อนชายว่า “เธอ! เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยสนใจเราเลยแหละ เธอว่า . . . เราจะทำ�อย่างไรดีล่ะ!” “ก็ เธอยังรักเค้าอยู่หรือเปล่าล่ะ” ฝ่ายชายถาม “ก็รักสิ และก็รักมากด้วย” “ถ้าอย่างนั้น ก็มอบความรักให้เขาต่อไปสิ ก็เธอรักเค้านี่นา” “อืม . . .” หญิงสาวทำ�ตามคำ�แนะนำ�ของเพื่อนชายหลังจากนั้น. . .วันหนึ่ง ระหว่างที่เพื่อนชายหนุ่ม เดินกลับบ้าน เค้าเห็นหญิงสาวนั่งร้องไห้อยู่ข้างทาง “เธอเป็นอะไรน่ะ ทำ�ไมถึงร้องไห้ มีอะไรให้เราช่วยไหม” “เค้าไม่รักเราเลยล่ะ เขาเปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้เขาไม่เคยมาส่งเราที่บ้านเลย” “แล้วเราจะช่วยอะไรเธอได้บ้างล่ะ” “ช่วยอยู่กับเราซักพักได้ไหม?” หญิงสาวร้องขอ “ก็ได้ซิ! ทำ�ไมจะไม่ได้ล่ะ” ทั้งสองได้นั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่พูดจาอะไรกันเลย ในที่สุดหญิงสาวก็เอ่ยขึ้นมาว่า “เราควรจะทำ�อย่างไรดี เธอจะช่วยบอกเราได้ไหมว่าเราควรจะทำ�อย่างไรดี” “เธอยังรัก...เขาอยู่หรือเปล่าล่ะ” “รักสิ เรารักเค้ามากเลย แต่เค้าไม่รักเราเลยนี่นา” หญิงสาวร้องไห้โฮ


78

“แต่เธอก็รัก . . . เขาไม่ใช่เหรอ” และชายหนุ่มก็ไปส่งหญิงสาวที่บ้านอย่างที่เคยทำ�มาแต่ก่อน “ถ้าเมื่อไหร่...ก็ตามที่เธออยากให้เรามาส่งเธอที่บ้าน อย่าลืมเรียกเรานะ” “อืม” และหญิงสาวก็เดินขึ้นบ้านไป ต่อมาวันหนึ่งชายหนุ่มได้รับโทรศัพท์จากหญิงสาว “เราไม่ไหวแล้ว ช่วยมารับเราที” เสียงของหญิงสาวดูช่างอ่อนล้าและหมดกำ�ลัง เธอกำ�ลังร้องไห้ อย่างฟูมฟายอยู่ ชายหนุ่มได้ไปหาเธอและพาเธอมาส่งบ้าน เธอยังคงถามชายหนุ่มนั้นเหมือนที่เคยถามมา... “เราจะทำ�อย่างไรต่อไปดี เราไม่รู้จะทำ�อย่างไรแล้ว..ดูยังไงๆ เขาก็เหมือนไม่ได้รักเราเลย” “แล้วเธอเลิกรักเค้าแล้วเหรอ” “เปล่า! เรายังรักเค้ามาก เรายังรักเขาอยู่เหมือนเดิม” “งัน้ ก็เหมือนทีเ่ ราเคยพูดไว้ จงรักเขาต่อไป...แม้มนั จะเจ็บบ้างก็ตามเพราะมันไม่ส�ำ คัญหรอก ว่า เขาจะรักเธอไหม แต่ถ้าเธอยังรักเขา เธอก็คงทำ�ได้แค่เพียงรักเขา... และจงรักเขาให้มากกว่า เดิม เพื่อแสดงให้เขารู้ว่าเธอรักเขามาก และก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง มีแต่เพิ่มมากขึ้น” อืม ม ... แล้วหญิงสาวก็เดินขึ้นบ้านไป และในที่สุดวันที่เธอเรียนจบก็มาถึง เพื่อนชายหนุ่มของเธอมา แสดงความยินดีกับเธอ เธอรู้สึกแปลกใจมากที่เพื่อนชายหนุ่มของเธอยังเรียนไม่จบ เธอถามเขาว่า “ทำ�ไม... ?” ชายหนุ่มตอบว่า เขาขี้เกียจไปหน่อย ทำ�ให้เขาต้องเรียนซ้ำ�วิชาหนึ่งจึงยังเรียนไม่จบหญิงสาวแปลกใจ เพราะตลอดมา ชายหนุ่มคนนี้เป็นคนขยัน แต่ก็ไม่ได้เซ้าซี้อะไรต่อ.. และต่อมาไม่นานแฟนของหญิงสาวก็ได้ มาขอเธอแต่งงาน เนื่องด้วยเห็นถึงความรักที่หญิงสาวมีให้ หญิงสาวจึงได้ไปชวนเพื่อนชาย เพื่อให้มางานแต่ง ของเธอ “เราไม่ว่างจริงๆ เราติดธุระน่ะ! ขอโทษด้วยนะ” เพื่อนชายตอบเธอด้วยน้ำ�เสียงแผ่วเบา หญิงสาวโกรธและเสียใจที่เพื่อนชายไม่ยอมมางานแต่ง จึงวาง หูกระแทกไป แต่หญิงสาวก็ต้องประหลาดใจ เมื่อวันที่เธอแต่งงาน ชายหนุ่มได้มาปรากฎตัวก่อนที่งานแต่งจะ จบลง “ยินดีด้วยนะ เรามาแล้วล่ะ” หญิงสาวดีใจมากที่เห็นเพื่อนชายของเธอมา ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม เธอรู้สึกมี ความสุขมากถึงกับกลั้นน้ำ�ตาไม่ให้มันไหลออกมาไม่ได้และเพื่อนชายก็พูดว่า “เธอมีอะไรให้เราช่วยไหม . . . ?” ยิ่งทำ�ให้เธอร้องไห้หนักกว่าเดิม . . . ต่อมาหญิงสาวก็มคี วามสุขกับชีวติ แต่งงานของเธอ จนไม่มเี วลาได้ตดิ ต่อกับเพือ่ นชายอีกเลย จนวันหนึง่ หญิงสาวได้ทะเลาะกับสามีของตน หญิงสาวไม่รู้จะไปปรึกษาใคร จึงนึกถึงเพื่อนชายขึ้นมา แม้ว่าหญิงสาวจะ โทรไปหาเท่าไหร่? ก็ไม่สามารถติดต่อกับชายหนุ่มคนนั้นได้เลย เธอจึงโทรไปหาเพื่อนของชายหนุ่มคน นั้น เพื่อนของชายหนุ่มเล่าว่า ชายหนุ่มเป็นโรคร้าย เขาไม่สามารถไปไหนได้ ตอนนี้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล มาร่วมหลายเดือนแล้ว หญิงสาวตกใจมากถามว่า . . . เขาเป็นอะไร?


79

เพื่อนชายหนุ่มบอกว่า อาการเขากำ�เริบเพราะวันที่ชายหนุ่มต้องมาผ่าตัด ชายหนุ่มดัน...หายตัวไป เฉยๆ โดยไม่มีใครรู้ และเพื่อนของชายหนุ่ม ก็ยังบอกอีกว่า “เป็นนิสัยเสียของมันน่ะ มันชอบหายตัวไปไหนก็ไม่รู้ ในช่วงเวลาสำ�คัญๆ คราวที่แล้ว ตอนสอบไล่ มันก็หายตัวไปจากห้องสอบเฉยเลย ไม่รู้มันหายไปไหน...ถามใคร ก็ไม่มีใครรู้” หญิงสาวตกใจมาก เลยขอที่อยู่ของโรงพยาบาลที่ชายหนุ่มรักษาตัว หญิงสาวไปเยี่ยมชายหนุ่มที่โรง พยาบาล เมื่อเปิดประตูเข้าไปก็ต้องตกใจ! ชายหนุ่มที่เคยดูแข็งแรงกลับผอมซูบไม่มีแรง เมื่อชายหนุ่มเห็นเธอ ก็ดีใจ ทักทายเธอเป็นการใหญ่ “เป็นอย่างไรมั่ง ไม่เจอกันตั้งนานเลยน่ะ” หญิงสาวนิ่งเงียบซักพัก น้ำ�ตาหญิงสาวก็ไหลออกมา “อ้าวร้องไห้ท�ำ ไมล่ะ เธอน่ะ ไปทะเลาะกับแฟนมาอีกแล้วเหรอ จะให้เราช่วยอะไรไหม...? แต่ เราก็คงจะแนะนำ�เธอได้เหมือนเดิมนะ” หญิงสาวเข้าไปหาชายหนุ่ม แล้วก็บอกกับชายหนุ่มว่า “วันที่เธอมารับเราเป็นวันสอบไล่ของเธอใช่ไหม . . . ?” ชายหนุ่มทำ�หน้าตกใจและไม่กล้าพูดอะไรทั้งสิ้น กลับนิ่งเงียบไป หญิงสาวจึงพูดต่อ. . . “และวันที่เธอต้องผ่าตัดใหญ่ เธอกลับมางานแต่งงานของเราใช่ไหม . . . ?” ชายหนุ่มไม่รู้จะพูดอะไรอีกแล้ว กลับนิ่งเงียบกว่าเดิม หญิงสาวเข้าไปกอดชายหนุ่มแล้วพูดด้วยน้ำ�เสียง สั่นๆ “ตลอดเวลาเรารักแต่คนอืน่ มองแต่คนอืน่ เรากลับไม่รเู้ ลยว่าเธอรักเรามากแค่ไหน เรารูส้ กึ เสียใจจริงๆ ที่ไม่ได้รักเธอมากกว่านี้” ชายหนุ่มได้แต่ยิ้มแล้วก็บอกกับหญิงสาวด้วยเสียงอันแผ่วเบาว่า “เราบอกเธอแล้วไง..ถ้าเรารักใครสักคน เราก็ต้องรักเขาให้มากๆ และมากขึ้นกว่าเดิม มัน ไม่สำ�คัญหรอกว่าเขาจะรักเราหรือไม่ มันสำ�คัญแค่เพียงว่า . . . เรายังรักเธออยู่หรือเปล่า แค่เรา สามารถช่วยเธอได้ นั่นมันก็เป็นความสุขของเราแล้ว ต่อให้เราจะเจ็บสักแค่ไหน . . . เราก็ยังรัก เธอต่อไป และไม่เคยคิดจะเปลี่ยนแปลง . . .” หญิงสาวรู้สึกเสียใจมาก นั่งร้องไห้โฮ...อยู่ที่ตักของชายหนุ่ม ชายหนุ่มจึงพูด . . . ขึ้นว่า “ถ้าเราหายเมื่อไหร่. . . . เราจะไปส่งเธอที่บ้านอีกนะ . . .” ปล. เขายอมทำ�ทุกอย่างเพื่อเธอโดยไม่หวังสิ่งตอบเเทนเลยเเม้ตัวเองจะเป็นยังไงก็ตาม


80

ใบงาน “คุณเป็นเพื่อนที่ดีพอหรือยัง?” วิธีตอบแบบทดสอบ ก. ขีดเครื่องหมาย P ใน ที่อยู่ข้างหน้าตัวเลือกของแต่ละข้อเพียง 1 ตัวเลือก ข. ให้ตอบคำ�ถามตามความเป็นจริง (ตามความคิด ความรู้สึกของคุณเอง)

1. หลังจากพบกับความเครียดมาตลอดสัปดาห์ พอถึงวันหยุดคุณตั้งใจจะหาหนังดีๆ นอนดูอยู่ที่บ้าน คนเดียวให้สบายใจ เพื่อนของคุณดันส่งเสียงกริ๊งมาตามสาย พร้อมบอกว่า “เหงา…มาก” คุณจะ… บอกเพื่อนว่า “ความเหงาอยู่ที่ใจ ก็หาอะไรทำ�ไปสิ” บอกเพื่อนว่า “เสียดายที่วันนี้คุณมีธุระ ไม่งั้นจะชวนออกไปดูหนัง” รีบแต่งตัวตรงดิ่งไปบ้านเพื่อน และอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยทั้งวัน 2. วันหยุดยาวสิ้นปีเพื่อนรับปากกับคุณว่าจะไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน คุณตระเตรียมทุกอย่างพร้อม แต่เพื่อนกลับมาบอกว่า “คงต้องงด” เพราะเพื่อน (เป็นเพื่อนของเพื่อนคุณ) เขาต้องใช้เงินด่วน เพื่อนคุณจึงให้ เงินก้อนที่เตรียมจะไปเที่ยวไป คุณจะ… ถ้างั้นขอไปคนเดียวก่อนก็แล้วกัน คราวหน้าค่อยว่ากัน ก็ใช้วิธีกิน – เที่ยวอย่างประหยัดหน่อยก็ได้นี่ ต้องขอต่อว่าซะหน่อย 3. คุณกำ�ลังเข้าห้องน้ำ� บังเอิญได้ยินคนพูดถึงเพื่อนของคุณในแง่ลบที่ไม่ได้เป็นจริง คุณจะ…

ฟังเฉย ๆ แล้วค่อยไปถามเพื่อนอีกทีว่าตกลงเรื่องที่เขาพูดกันมันยังไง เปิดประตูออกไป แล้วเอ่ยด้วยน้ำ�เสียงเรียบๆ ว่า “พวกคุณกำ�ลังเข้าใจผิดนะ” เฉยๆ ทำ�เป็นไม่สนใจ เม้าธ์เพื่อนฉัน…ได้ แต่ถ้าเม้าธ์ฉัน…โดน

4. ถ้าเพื่อนกำ�ลังโมโหคุณเป็นฟืนเป็นไฟ คุณจะ…

พยายามทำ�ใจเย็นเป็นน้ำ�ให้มากที่สุด เป็นไงเป็นกัน ฉันก็ไม่ใช่คนยอมคน เดินหนีก่อนเป็นอันดับแรก


81

5. จำ�ได้ไหมครั้งสุดท้ายที่คุณคิดถึงเพื่อน

เวลามีความสุข เวลาที่ไม่ได้เจอหน้ากัน เวลามีเรื่องวุ่นวายเดือดร้อน

6. จำ�ได้ไหมครั้งสุดท้ายที่คุณมีปัญหาไม่เข้าใจกับเพื่อน

ไม่ค่อยมีเรื่องไม่เข้าใจนะ เอาครั้งไหนล่ะ เพราะไม่เข้าใจกันบ่อยมาก นาน…น้านจะมีสักครั้ง 7. คุณไม่ชอบขี้หน้าแฟนคนใหม่ของเพื่อนตั้งแต่เห็นครั้งแรก คุณจะ…

รีบยื่นคำ�ขาดให้เพื่อนเลือก ระหว่างคุณกับแฟน พยายามหาจุดบกพร่องให้เพื่อนเห็นว่าไอ้คนนี้ของเธอมันไม่ดีจริง ๆ เอาน่า…ลองทำ�ความรู้จักให้มากกว่าแค่หน้าตาภายนอกที่เห็น

8. เพือ่ นคุณไปซอยผมทรงใหม่มา บังเอิญไปเจอช่างฝึกหัด ผมบนศีรษะของเพือ่ นคุณเลยออกมาเหมือน กับคนเพิ่งสึก คุณจะปลอบเพื่อนว่า…

เอาน่า ของแบบนี้มันสั้นได้ ก็ยาวได้ สมควรแล้ว แทนที่จะดูก่อนว่าช่างน่ะมืออาชีพหรือเปล่า ผมสั้นเกรียนก็ดูเก๋ไปอีก อินเทรนด์เหมือนกันนี่

9. เมื่อคุณรู้ว่าเพื่อนกำ�ลังโกหกในเรื่องที่คุณสงสัย เมื่อคุณมีโอกาสได้นั่งคุยกับเพื่อนสองต่อสองเพื่อ ปรับความเข้าใจ คุณจะเริ่มต้นประโยคแรกกับเพื่อนว่า…

เรายังเป็นเพื่อนกันอยู่ใช่ไหม จากนั้นถามเหตุผลทำ�ไมถึงโกหก ฉันเป็นคนที่ให้โอกาสคนนะ จากนั้นถามเชิงต่อว่า…มันเกิดอะไรขึ้น คิดว่าฉันโง่เหรอ จากนัน้ ถามต่อว่า…”นอกจากฉันแล้ว เธอคิดว่ายังจะมีใครอยากคบเธออีกเหรอ!!!”

10. ชื่อหนังสือเล่มไหนที่คุณจะเลือกให้เพื่อน

เมื่อโลกนี้ไม่มีมิตรแท้ มิตรภาพ…ไม่มีวันตาย 108 วิธีหลีกหนีเพื่อนสารพัดพิษ


82

แผนการจัดการเรียนรู้ “คริสตศาสนธรรม” แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

เรื่อง กิจวัตรประจำ�วันของคริสตชน

มฐ. การเรียนรู้ ส 1.3.1 เวลา 50 นาที

ชั้น ป.5 ภาคเรียนที่ ................ วันที่สอน ......./......./....... จำ�นวน 1 คาบ

จุดประสงค์ - ด้านความรู้ : เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจว่า คริสตชนต้องปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วันด้วยการทำ�ทุกสิ่งโดย สำ�นึกถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าในชีวิตของตน - ด้านพฤติกรรม/ข้อปฏิบัติ : ผู้เรียนทำ�ทุกสิ่งโดยคิดว่าตนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าเสมอ สาระการเรียนรู ้ การสำ�นึกถึงการประทับอยูข่ องพระเจ้าในชีวติ ของตนเป็นการแสดงออกถึงความเชือ่ คริสตชนทีว่ า่ พระเจ้า ทรงสรรพานุภาพ ประทับอยู่ทุกหนทุกแห่ง ความเชื่อนี้ต้องทำ�ให้คริสตชนคิดเสมอว่าตนอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าและช่วยให้ เขาเลือกทำ�ดีแทนที่จะทำ�สิ่งไม่ดี ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

1 นำ�เข้าสู่บทเรียน - ให้ผู้เรียนทำ�สมาธิสักครู่ - สวดภาวนา - ทบทวนถึงเนื้อหาของครั้งก่อน 2 เข้าสู่ประเด็น (ประสบการณ์) - ผู้สอนเปิดประเด็นสนทนากับผู้เรียนเรื่อง “กิจวัตรประจำ�วัน” โดยอาจแบ่ง ผูเ้ รียนเป็น 2 ฝ่าย ให้แต่ละฝ่ายแข่งกันเขียนทีบ่ อร์ดหน้าชัน้ ในเวลา 1 นาที ตอบคำ�ถาม ว่า “กิจวัตรประจำ�วันของนักเรียนมีอะไรบ้าง?” โดยฝ่ายใดเขียนได้ถกู ต้องและจำ�นวน มากที่สุดก็เป็นฝ่ายชนะ - จากนั้นจึงถามผู้เรียนว่า ทุกสิ่งที่เราทำ�ในแต่ละวันนั้นทำ�แบบไหน? ทำ� อย่างไร? ด้วยอารมณ์ความรู้สึกใด? (ทำ�อย่างดีที่สุด...แบบงั้นๆ...แบบจำ�ใจ...ถูก บังคับ...ไม่ทำ�ได้ก็ดี...ชอบ...ดีใจ...เบื่อ...เครียด...โกรธ...ฯลฯ) - กิจการต่างๆ ที่เราทำ�ในแต่ละวันนั้น เราทำ�ด้วยหลายเหตุผล หลายความรู้สึก ฯลฯ แต่เหตุผลและความรู้สึกต่างๆ ที่เรามีเป็นประจำ�นั้นเป็นสิ่งที่ดี เหมาะคู่ควรกับ การเป็นคริสตชนหรือการเป็นลูกของพระเจ้าหรือไม่? ให้เรามาวิเคราะห์กันว่าเราทำ� สิ่งต่างๆ กันอย่างไร? 3 พระวาจา : (มธ 10:26-30) “อย่ากลัวมนุษย์เลย ไม่มีสิ่งใดที่ปิดบังไว้ จะไม่ถูกเปิดเผย ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้น จะไม่มีใครรู้ สิ่งที่เราบอกท่านในที่มืด ท่านจงกล่าวออกมาในที่สว่าง สิ่งที่ท่านได้ยิน กระซิบที่หู จงประกาศบนดาดฟ้าหลังคาเรือน อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่อาจฆ่า วิญญาณได้ จงกลัวผู้ที่ทำ�ลายทั้งกายและวิญญาณให้พินาศไปในนรก นกกระจอกสอง ตัว เขาขายกันเพียงหนึ่งบาทมิใช่หรือ ถึงกระนั้นก็ไม่มีนกสักตัวเดียวที่ตกถึงพื้นดิน

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้


83

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

โดยที่พระบิดาของท่านไม่ทรงเห็นชอบ ผมทุกเส้นบนศีรษะของท่านถูกนับไว้หมด แล้ว” 4

อธิบายพระวาจา - พระวาจาที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่ปิดบังไว้ จะไม่ถูกเปิดเผย ไม่มีสิ่งใดที่ซ่อนเร้น จะ ไม่มีใครรู้” นั้นบ่งบอกถึงความหมายว่า พระเจ้าทรงล่วงรู้ทุกสิ่ง ไม่มีอะไรจะซ่อนเร้น เฉพาะพระพักตร์พระองค์ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างแม้ว่าจะลึกลับซับซ้อนสักแค่ไหนก็ชัดแจ้ง สำ�หรับพระองค์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะพระเจ้าทรงสรรพฤทธิ์และทรงสรรพานุภาพ - ความรู้ดังกล่าวนี้น่าจะให้ความอบอุ่นใจแก่เรามากที่สุด คือ พระเจ้าทรงเอา พระทัยใส่เรามนุษย์มากอย่างทีเ่ ราเข้าใจไม่ได้ เพราะแม้เส้นผมทุกเส้นทีเ่ รานับไม่ถว้ น นั้น พระเจ้าทรงทราบจำ�นวนหมดแล้ว มีใครอีกไหมที่จะสนใจเราได้มากขนาดนี้? ความจริงนี้ไม่ทำ�ให้เรารู้สึกพิศวงในพระสัพพัญญูญาณของพระเจ้าและความรักอย่าง เอนกอนันต์ที่ทรงมีต่อเราแต่ละคนหรือ? - สิ่งที่พระเจ้าทรงสอนเรา คือ ให้เราเป็นห่วงกังวลฝ่ายวิญญาณมากกว่าร่างกาย เพราะผูท้ ที่ �ำ ลายวิญญาณได้นนั้ จะส่งเราไปลงนรกได้ ซึง่ แน่นอนว่าไม่มอี ะไรจะน่ากลัว เท่านี้อีกแล้ว ร่างกายของมนุษย์ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ได้ก็ไม่เกิน 100 ปีแล้วก็ตายผุพัง เน่าเปื่อยไปเช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย แต่วิญญาณไม่ใช่เช่นนั้น วิญญาณมีความเป็น อมตะ เมื่อพระเจ้าทรงประทานชีวิตแก่ร่างกายของเราโดยให้มีวิญญาณแล้ว วิญญาณ ของเราก็จะไม่มวี นั ตายอีกเลย และวิญญาณจะต้องเป็นผูร้ บั รางวัลหรือโทษจากผลกรรม ที่แต่ละคนทำ�ไปขณะยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ส่วนร่างกายแม้จะตายผุพังไปแล้วก็ยังต้อง ร่วมรับผิดชอบเช่นกันในวันพิพากษาครั้งสุดท้ายโดยการมารวมกับวิญญาณอีกครั้ง หนึ่ง - ให้ ผู้ เรี ย นทำ � ใบงาน “ฉั น หรื อ เขา?” เพื่ อ วั ด ลั ก ษณะของแต่ ล ะคนว่ า มี ความสำ�นึกถึงการประทับอยู่ของพระในชีวิตของตนมากเพียงไร?

5

ประยุกต์เข้ากับชีวิต - เพราะความจำ�กัดในขอบเขตของตน มนุษย์จึงไม่สามารถเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ พระเจ้าได้อย่างชัดเจนทั้งหมด เพราะแม้มนุษย์จะมีวิญญาณแต่ก็เป็นสิ่งสร้างที่จำ�กัด อยูใ่ นร่างกาย จึงถูกจำ�กัดอยูใ่ นสถานทีแ่ ละในเวลา ทำ�ให้เราไม่สามารถล่วงรูส้ งิ่ ต่างๆ มากมายทั้งภายนอกและภายในตนเอง มีความจริงและไม่จริงต่างๆ มากมายที่เรา ไม่มวี นั รูไ้ ด้หากเรายังมีชวี ติ อยู่ แม้แต่ความจริงเกีย่ วกับตัวเราเอง เช่น เหตุผลหรือแรง จูงใจในการทำ�หรือไม่ทำ�บางสิ่งบางอย่างนั้น ฯลฯ หลายครั้งเราก็ยังบอกไม่ได้อย่าง ชัดเจนเลย แต่ผทู้ ที่ ราบดีกว่าเราคือพระเจ้าอย่างแน่นอน มิฉะนัน้ พระองค์จะทรงตัดสิน เราอย่างยุติธรรมได้อย่างไร? นี่คือความสรรพฤทธิ์ของพระเจ้าที่เหนือกว่าเรามนุษย์ อย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ - ความจริงข้อนี้ต้องทำ�ให้เราสำ�นึกถึงการประทับอยู่ของพระเจ้าทุกเวลานาทีใน ชีวติ ของเรา ดังทีห่ นังสือเพลงสดุดกี ล่าวว่า “ถ้าข้าพระองค์จะขึน้ ไปยังสวรรค์ พระองค์ ทรงสถิตที่นั่น ถ้าข้าพระองค์จะทำ�ที่นอนไว้ในแดนผู้ตาย พระองค์ทรงสถิตที่นั่น...

ดูใบงาน “ฉันหรือเขา” ท้ายแผน


84

ที่

กระบวนการจัดการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้

เมื่อข้าพระองค์ถูกสร้างอยู่ในที่ลับลี้ ประดิษฐ์ขึ้นมา ณ ภายในที่ลึกแห่งโลก โครงร่าง ของข้าพระองค์ไม่ปิดบังไว้จากพระองค์” (สดด139: 8,15) - เป็นความรู้สึกดี ซาบซึ้งและน่าภาคภูมิใจมากเท่าใดที่เรามีพระเจ้าเช่นนี้ พระบุ ค คลนี้ เ องที่ ท รงรั ก เราอย่ า งที่ สุ ด ทรงยอมกระทำ � ทุ ก สิ่ ง ได้ เ พื่ อ เราแม้ ต้ อ งให้ พระบุตรสละชีวิตเพื่อความรอดพ้นของวิญญาณของเราก็ตาม - การสำ�นึกถึงการประทับอยูข่ องพระเจ้าต้องให้กำ�ลังใจแก่เราในการดำ�เนินชีวิต เพราะทำ�ให้เรารู้สึกว่ามีพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างเสมอ เราไม่เคยอยู่โดดเดี่ยวลำ�พัง พระองค์ทรงเห็นในทุกการเสียสละของเราแม้มนุษย์อนื่ ไม่เห็นก็ตาม และความสำ�นึก นี้ก็ยังช่วยเราไม่ให้ทำ�บาป ทำ�สิ่งไม่ดี ทำ�ความชั่วอีกด้วย เพราะเราจะรู้สึกละอายแก่ ใจจากความคิดว่าพระทรงเห็นฉันเสมอไม่ว่าในที่ลี้ลับแค่ไหนก็ตาม แม้เป็นเพียงแค่ ความคิดที่ไม่ดีมันก็บาปแล้ว ดังนั้นเราก็จะระวังไม่ทำ�บาปเพราะพระองค์ทรงรู้เห็น และมันทำ�ให้พระองค์เสียพระทัย 6

หาข้อปฏิบัติ ผู้เรียนทำ�ทุกสิ่งโดยคิดว่าตนอยู่ต่อพระพักตร์พระเจ้าเสมอ

7

ภาวนาปิดท้าย ให้ผู้เรียนนิ่งทำ�สมาธิสักครู่ จากนั้นให้ผู้สอนอาจนำ�สวดภาวนาจากใจ แล้วจบ ด้วยการสวด “บทวันทามารีย์ฯ” พร้อมกัน

8

การประเมินผลการเรียนรู้ สังเกตจากการสนทนา ซักถาม การร่วมกิจกรรมของผูเ้ รียน สมุดบันทึกกิจกรรม และคำ�ภาวนาของผู้เรียน

9

บันทึกผลหลังการสอน ......................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ..............................................................................................................................................................................


85

ใบงาน “ฉันหรือเขา?” คำ�ชี้แจง - ให้ขีดเครื่องหมาย P หรือ O ให้ตรงกับลักษณะของท่านลงในช่องว่างหน้าข้อความ

1. .......... ฉันมักเก็บขยะที่ตกพื้นใส่ในถังขยะ ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่ก็ตาม 2. .......... ฉันมักจะซื้อของจากคนแก่ๆ ที่นำ�มาขายข้างทาง 3. .......... ฉันชอบแบ่งปันอาหารหรือขนมให้แก่คนอื่น เฉพาะอย่างยิ่งคนที่เขายากจนกว่า 4. .......... ฉันไม่อยากช่วยเพื่อนทำ�การบ้าน เพราะฉันไม่ต้องการให้เขาเก่งกว่าฉัน 5. .......... ฉันมักจะอยู่บ้านเพื่อช่วยพ่อแม่ทำ�งาน หรืออยู่เป็นเพื่อนพี่ๆ น้องๆ มากกว่าไปอยู่ที่ ร้านเน็ต 6. .......... ฉันไม่อยากสนใจคนรอบข้าง เพราะเรื่องมันเยอะ ไม่ชอบเสียเงินเสียเวลาช่วยใคร 7. .......... ฉันไม่ชอบดูคลิปโป๊เพราะมันไร้สาระและทำ�ให้ฟุ้งซ่าน 8. .......... ฉันชอบเล่นเน็ตทุกครั้งที่มีเวลาว่างเพราะมันให้ความเพลิดเพลินดี 9. .......... ฉันมักจะอ่านหนังสือและทำ�การบ้านให้เสร็จก่อนที่จะไปเล่น 10. ......... ฉันจะไม่หยิบเงินหรือสิ่งของของผู้อื่น ไม่ว่าจะมีมูลค่ามากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.